ฉบับที่ 181 ค้างชำระค่างวดรถ โดนยึดทันทีจริงหรือ

หนึ่งในปัญหาเรื่องการเช่าซื้อรถทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้เช่าซื้อมาตลอดคือ การค้างชำระค่างวดรถแล้วไม่แน่ใจว่าควรแก้ปัญหาอย่างไรดี เพราะรถกำลังจะโดนบริษัทมายึดไปแล้ว ดังกรณีของผู้ร้องรายนี้ผู้ร้องซื้อรถมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อฮอนด้า เวฟ โดยตกลงกันให้มีการผ่อนชำระเดือนละ 1,130 บาท อย่างไรก็ตามภายหลังการผ่อนชำระไปได้ไม่กี่เดือน ผู้ร้องก็มีปัญหาทางการเงิน ทำให้ต้องหยุดการผ่อนค่างวดรถคันดังกล่าวเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งภายหลังพนักงานของบริษัทก็เดินทางมายึดรถไป โดยไม่มีหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์ที่เตือนให้มีการชำระค่างวดที่ค้างไว้ก่อนแต่อย่างใด แม้จะพยายามเจรจาด้วยการขอชำระค่างวดทั้งหมดในขณะนั้นทันที แต่พนักงานก็ไม่ยอมและยืนยันที่จะยึดรถคืนแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้แม้ผู้ร้องจะผิดชำระค่างวดรถมอเตอร์ไซค์ แต่บริษัทก็ไม่สามารถดำเนินการยึดรถคืนได้ทันที เพราะตามประกาศของคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์กำหนดว่า บริษัทสามารถยึดรถคืนได้ กรณีที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระค่างวด 3 งวดติดๆ กัน โดยผู้ให้เช่าซื้อต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีก 30 วัน ดังนั้นถ้ายังไม่ครบกำหนด 4 เดือน ผู้ให้เช่าซื้อไม่สามารถยึดรถ หากฝ่าฝืนถือว่าผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญญา และผู้เช่าซื้อสามารถร้องเรียนหรือฟ้องต่อศาลคุ้มครองผู้บริโภคได้ ทั้งนี้หากเราพบว่าโดนเอาเปรียบด้วยการกระทำดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องส่งรถคืนแต่ควรเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจ พร้อมรายละเอียดการค้างชะระค่างวดและขอให้มีการเจรจา แต่ถ้าในกรณีที่บริษัทได้แจ้งเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว และเราก็ยังไม่สามารถชำระค่างวดได้ สิ่งที่ควรทำคือ1. ให้มีการประเมินสภาพรถหรือราคาเบื้องต้นก่อนการส่งมอบ เพื่อเป็นหลักฐานในกรณีที่บริษัทนำรถคันดังกล่าวไปขาย และเรียกร้องให้เราจ่ายค่าส่วนต่างที่เหลือให้ครบ2. ในกรณีที่เราอยากได้รถคืนก็ต้องกลับไปติดต่อที่บริษัทดังกล่าวและจ่ายค่างวด รวมทั้งเบี้ยปรับต่างๆ ให้ครบ หรือหากไม่ต้องการรถคันดังกล่าวแล้ว ก็รอจ่ายเงินส่วนต่างที่เหลือภายหลังบริษัทนำรถไปขาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 ระวังผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัด เถื่อน

สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่คอยดูดเลือดและแฝงตัวอยู่กับน้องหมาอย่างเห็บหมัด ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงน้องหมาทุกคนไม่อยากเจอ ทำให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้กำจัดเห็บหมัดอย่างกว้างขวาง ซึ่งเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ายาดังกล่าวจะทำให้เห็บหมัดหายไป หรือมีความปลอดภัยต่อน้องหมาและเราจริงๆเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ร้องได้เห็นข่าวจากกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ ที่ออกมาเตือนถึงผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดเถื่อน ซึ่งสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงได้ เขาจึงต้องการให้ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ช่วยเป็นอีกหนึ่งในผู้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งทางนิตยสารฉลาดซื้อเห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้รักสัตว์ทั้งหลาย จึงค้นข้อมูลเพื่อนำมาเผยแพร่ต่อไปแนวทางการแก้ไขปัญหาภายหลังได้รับเรื่องศูนย์ฯ ก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติม และพบข่าวการแจ้งเตือนดังกล่าวว่า นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เตือนผู้เลี้ยงสัตว์อย่าหลงเชื่อผู้ผลิตหรือผู้ขายยาสัตว์อวดอ้างสรรพคุณ เพราะใช้แล้วอาจมีพิษต่อตับ ไต ระบบประสาท และการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ อาจทำให้สัตว์เลี้ยงของท่านพิการและตายได้ ซึ่งหากร้านใดมีการขายยาสัตว์จะต้องได้รับใบอนุญาต หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้สำหรับหลักการเบื้องต้นในการสังเกตว่าผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดยี่ห้อไหนได้รับมาตรฐาน เราสามารถตรวจสอบได้ดังนี้ 1. ยาแท้ต้องมีชื่อยา: โดยมีทั้งชื่อทางการค้า (ยี่ห้อ) และชื่อสามัญทางยาหรือสารออกฤทธิ์สำคัญ2. ยาแท้ต้องมีเลขทะเบียนยา: โดยจะสังเกตเห็นข้อความว่าทะเบียนยา เลขทะเบียนยา หรือ Reg. No. หรือเลขทะเบียนวัตถุอันตราย ซึ่งจะสังเกตเห็นข้อความ “อย. วอส.” ในกรอบสัญลักษณ์เช่น วอส. 1266/25543. ยาแท้ต้องระบุปริมาณ: หรือขนาดบรรจุของยา เช่น มียากี่เม็ด มียากี่หลอด และแต่ละหลอดบรรจุปริมาณเท่าใด เป็นต้น4. ยาแท้ต้องระบุเลขที่ผลิต: หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต หรือครั้งที่วิเคราะห์ ซึ่งมักใช้คำย่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Lot No. Cont. No. หรือ Batch No. แล้วตามด้วยเลขแสดงครั้งที่ผลิต5. ยาแท้ต้องมีการระบุวันเดือนปีที่ผลิต: ซึ่งจะใช้อักษรย่อว่า Mfd. หรือ Mfd. Date ตามด้วยวันเดือนปีที่ผลิต และระบุวันเดือนปีที่หมดอายุ โดยมีคำย่อว่า Exp. Date แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่หมดอายุ6. ยาแท้ต้องมีชื่อและสถานที่ผู้ผลิต: มีชื่อและสถานที่ผู้นำเข้ามาจำหน่ายระบุไว้อย่างละเอียดด้วย7. ยาแท้ต้องมีวิธีใช้: รวมถึงคำเตือน ข้อควรระวังและวิธีการเก็บรักษา ระบุไว้อย่างชัดเจน8. หากเป็นยาพิเศษจะมีข้อความระบุด้วยอักษรสีแดงชัดเจน: เช่น ยาสำหรับสัตว์ ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาใช้ภายนอก ยาใช้เฉพาะที่ แล้วแต่ว่าจะเป็นยาอะไรนอกจากนี้ยังมีหลัก 5 สอ เพื่อป้องกันพิษภัยจากยาฆ่าเห็บหมัดในสุนัข คือ1. ศึกษา: ควรศึกษาผลิตภัณฑ์ก่อนใช้ทุกครั้ง โดยอ่านจากเอกสารกำกับยาหรือฉลากยา ซึ่งภายในนั้นจะชี้แจงรายละเอียดให้ทั้งหมด2. สอบถาม: ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสัตวแพทย์หรือผู้รู้ให้ดีก่อนนำยามาใช้ อย่าเชื่อจากคำบอกเล่าโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการ3. สวมใส่: ควรสวมถุงมือและหน้ากากเพื่อป้องกันการรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ส่วนตัวน้องหมาให้สวมปลอกคอกันเลียหรือสวมเสื้อไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เลียสารพิษเข้าสู่ร่างกาย4. สัมผัส: หลักเลี่ยงการสัมผัสลูบคลำตัวน้องหมาที่เพิ่งใส่ยา หยอดยา ทายา หรือพ่นยาตามตัวมา ที่สำคัญควรเก็บยาที่เหลือใช้ให้พ้นมือเด็ก5. สังเกต: ให้สังเกตอาการน้องหมาหลังได้รับยาด้วยว่า มีอาการแพ้หรือเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ใช้หรือไม่ ถ้ามีให้รีบปฐมพยาบาล แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลต่อไปอ้างอิงข้อมูล: กรมปศุสัตว์ http://secretary.dld.go.th/index.php/informationdld/newsdld/1491-19-12-58 และ Doglike.com/สังคมอบอุ่นของน้องหมาสุดรัก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 กระแสต่างแดน

โทรทัศน์จีนแฉธุรกิจยอดแย่ทุกๆ ปีในวันสิทธิผู้บริโภคสากล 15 มีนาคม สถานีโทรทัศน์แห่งชาติของจีน Central China Television หรือ CCTV จะถ่ายทอดรายการ “315 Gala” ซึ่งเป็นที่รอคอยของผู้ประกอบการทั้งหลายที่ ลุ้นตัวโก่งว่าจะติดบัญชีดำของรัฐบาลจีนหรือไม่315 Gala นำเสนอผลสำรวจปัญหายอดฮิตจากผู้บริโภค รวมถึงคลิป “ซ่อนกล้อง” เข้าไปแอบถ่ายการทำธุรกิจของผู้ประกอบการหลายๆ เจ้าด้วย ร้อยละ 25 ของปัญหาที่ผู้บริโภคพบในปีที่ผ่านมาได้แก่ การได้รับ “ของปลอม” ทั้งๆ ที่สั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ (แต่ไม่ได้บอกว่าเจ้าไหนบ้าง)ปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเข้ามามากเป็นอันดับสองคือปัญหาการซื้อขายรถ ที่ผู้ขายบังคับให้ผู้ซื้อจ่ายค่าประกันและค่าป้ายทะเบียน หรือนำรถรุ่นที่ถูกประกาศเรียกคืนแล้วมาขาย เป็นต้น  อันดับสามได้แก่ โทรศัพท์มือถือที่ชำรุดบกพร่อง หรือไม่มีบริการหลังการขายที่ดี ที่ผ่านมารายการนี้สร้างความสั่นสะเทือนให้กับบริษัทใหญ่ๆ ของจีนเอง อย่าง ไชน่าโมไบล์ เจเอซีมอเตอร์ส หรือแม้แต่ ไป่ตู้อิงค์ และบริษัทต่างชาติอย่าง แลนด์โรเวอร์ และแอปเปิ้ล มาแล้วเจมส์ เฟลด์แคมป์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์จัดอันดับสินค้าและบริการ www.Mingjian.com ให้ความเห็นว่าผู้ประกอบการในจีนเริ่มตระหนักแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าตัวเองตกเป็นดาราจำเป็นในรายการนี้ จึงหันมาเพิ่มความโปร่งใสเป็นธรรมในการทำธุรกิจ เพื่อจะได้ไม่ถูกประจานออกทีวีเบน คาเวนเดอร์ นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยการตลาดในเซี่ยงไฮ้บอกว่ารายการนี้ช่วยยกระดับการรับรู้เรื่องสิทธิผู้บริโภคของผู้บริโภค และเมื่อพวกเขารู้สึกว่าตนเองได้รับการดูแลคุ้มครอง พวกเขาก็จะเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น  เคเบิลทีวี ... บริการนี้ต้องเลือกได้กสทช.ไต้หวันเสนอให้บริษัทเคเบิลทีวีเพิ่มทางเลือกให้สมาชิกสามารถจ่ายเงินเฉพาะช่องที่อยากดู ปัจจุบันสมาชิกเคเบิลทีวีจ่ายค่าบริการรายเดือนในอัตราเดียว (ระหว่าง 500 ถึง 600 เหรียญไต้หวัน) แลกกับช่องรายการกว่า 100 ช่อง (รวมช่อง must-carry ที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้เป็นพื้นฐานแล้ว)ปีหน้าผู้ประกอบการถึงคิวต้องมีระบบคิดค่าบริการที่หลากหลายขึ้น กสทช. เขาเสนอให้มีแพ็คเกจที่สมาชิกสามารถเลือกเฉพาะช่องที่ต้องการดู แล้วจ่ายเงินตามนั้น เขาไม่ได้กำหนดเพดานของค่าบริการรายเดือน เนื่องจากไต้หวันมีผู้ประกอบการหลายเจ้า แล้วยังมีบริการทีวีอินเตอร์เน็ทโดยผู้ประกอบการจากต่างประเทศเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดอีก กลไกตลาดจะทำงานของมันเอง ที่สำคัญคือผู้บริโภคจะมีเวลา 1 สัปดาห์ในการ “ทดลองดู” ถ้าไม่พอใจก็สามารถยกเลิกได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินทางสิงคโปร์ก็ไม่น้อยหน้า ตามข้อกำหนดใหม่ ถ้าผู้ประกอบการขึ้นค่าบริการหรือยกเลิกรายการหลักๆ ผู้บริโภคสามารถยกเลิกบริการก่อนกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาได้เลยโดยไม่เสียค่าปรับ แต่ต้องไปรับดำเนินการภายใน 30 วันนับจากรับทราบความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  รถไฟเยอรมันเตรียมยกเครื่องปีที่ผ่านมา ดอยทช์บาห์น หรือการรถไฟเยอรมนี มีรายรับมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 40,000 ล้านยูโร (1.5 ล้านล้านบาท) แต่ในขณะเดียวกันก็ประสบการขาดทุนสูงที่สุดในรอบ 12 ปี สาเหตุมาจากการลดมูลค่าของสินทรัพย์ในธุรกิจรับส่งสินค้า การรวมตัวนัดหยุดงานของเจ้าหน้าที่ และการที่ผู้โดยสารหันไปใช้บริการรถบัสกันมากขึ้นแผนเพิ่มผลกำไรของดอยทช์บาห์น ซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของ ณ จุดนี้ได้แก่การวางมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย และขายกิจการบางอย่างให้กับเอกชน ที่ฮือฮามากที่สุดคือแผนเลิกธุรกิจรับส่งสินค้า ที่อาจทำให้พนักงานกว่า 3,500 คนทั่วประเทศถูกเลิกจ้าง  บริษัทประกาศว่าจะปรับปรุงคุณภาพบริการ โครงสร้างพื้นฐาน ตัวรถ ระบบราง ฯลฯ ให้ทันสมัย ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เงินถึง 55 ล้านยูโร (ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาท) งบประมาณที่ใช้บางส่วนจะมาจากบริษัทเอง แต่อีกส่วนที่ใหญ่กว่าจะมาจากงบประมาณกลาง สื่อเยอรมันบอกว่ารัฐบาลเลยไม่ปลื้มกับแผนนี้สักเท่าไร  กิน เที่ยว ต้องเรื่องเดียวกันผู้ว่าฯ เมืองฟลอเรนซ์บอกว่าเมืองเก่าระดับ “มรดกโลก” ของอิตาลีนี้กำลังจะสูญเสียภาพลักษณ์เพราะบรรดาร้านที่ขายแต่อาหารต่างถิ่นและร้านขายของคุณภาพต่ำที่นำเข้ามาจากต่างประเทศสมาชิกสภาเมืองเชื่อว่านักท่องเที่ยวที่มาเยือนควรได้ลองลิ้มชิมรสอาหารที่มีชื่อเสียงประจำเมืองนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ จึงออกข้อบังคับให้ร้านอาหารที่กำลังจะเปิดใหม่ขายเฉพาะอาหารท้องถิ่นดั้งเดิมที่ใช้วัตถุดิบจากแคว้นทัสกานีเท่านั้น ส่วนร้านที่เปิดมาก่อนแล้ว ก็ยังมีเวลา 3 ปีในการปรับเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นให้ได้ถึงร้อยละ 70 เรื่องนี้ ออสกา ฟาริเน็ตติ เจ้าของ Eataly เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตระดับโลกเห็นต่าง เขาบอกว่าตัวเลข ร้อยละ 70 นั้นสูงเกินไปและจะสร้างภาระให้กับร้านอาหารมากเกินไปอย่างไรก็ตาม มีข่าวออกมาแล้วว่าเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ ก็อาจนำเอาข้อบังคับนี้ไปใช้เช่นเดียวกัน   เรื่องนี้เข้าทางนักท่องเที่ยว แต่ถ้ามีการควบคุมราคาด้วยจะดียิ่งขึ้นไปอีกนะนี่  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนมีนาคม 2559เริ่มเก็บค่าผ่านทางอัตราใหม่ “มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรี” 18 เม.ย.กรมทางหลวงออกประกาศว่า ในวันที่ 18 เมษายนนี้ จะเริ่มต้นเก็บค่าผ่านทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์) สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร โดยในระยะทางตอนแรกจากกรุงเทพฯ-ชลบุรี 78 กิโลเมตร จะเป็นระบบปิด คือเก็บตามระยะทางรับบัตรจากต้นทาง แล้วจ่ายเงินเมื่อออกจากด่าน เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1 บาท จากเดิมที่เก็บในอัตราเดียวคือด่านละ 30 บาท โดยมี 5 ด่าน คือ ด่านลาดกระบัง ด่านบางบ่อ ด่านบางปะกง ด่านพนัสนิคม และด่านพานทอง ซึ่งอัตราค่าผ่านทางใหม่นี้จะทำให้ผู้ใช้เส้นทางได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น เพราะเป็นการคิดตามระยะทางโดยอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทาง ประเภทรถ 4 ล้อ เริ่มต้นที่ 10 - 60 บาท รถ 6 ล้อ เริ่มต้นที่ 15 - 95 บาท และ รถที่มากกว่า 6 ล้อ เริ่มต้นที่ 20  – 140 บาท ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊คของกรมทางหลวง เพิ่มความคุ้มครองอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะถือว่าเป็นข่าวดี เมื่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีมติปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครองการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับทั้งกรณีเสียชีวิตและบาดเจ็บ โดยเพิ่มความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตและทุพลภาพจาก 200,000 บาท เป็น 300,000 บาท และเพิ่มค่าชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาลจาก 50,000 บาท เป็น 80,000 บาท ซึ่งจะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 59 นี้เป็นต้นไปนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่าการเพิ่มเติมวงเงินชดเชยครั้งนี้ เป็นข้อสรุปที่ได้จากการร่วมประชุมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย และตัวแทนบริษัทประกันภัย ซึ่งการปรับปรุงเพิ่มความคุ้มครองครั้งนี้ จะครอบคลุมกับผู้ที่ทำประกันทั้งหมด ทั้งผู้ประกันรายใหม่และผู้ที่ทำประกันเดิมที่ยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาประกัน ที่สำคัญคือค่าเบี้ยประกันยังคิดในอัตราเดิมไม่มีการปรับเพิ่มขึ้น   เมืองไทยยังขาดแคลนนักบินปัจจุบันนี้ในบ้านเราการสัญจรโดยเครื่องบินโดยเฉพาะการเดินทางภายในประเทศมีแน้วโน้มความต้องการการใช้บริการที่มีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยราคาที่ถูกลง จำนวนเที่ยวและสายการบินที่เพิ่มขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามขณะนี้เรากำลังประสบปัญหาขาดแคลนนักบินจากการเปิดเผยข้อมูลโดย สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) พบว่าขณะนี้ไทยมีนักบินอยู่จำนวน 2,500 - 3,000 คน ซึ่งในแต่ละปี ธุรกิจการบินต้องการนักบินใหม่เพื่อเพิ่มและทดแทนปีละ 400 - 500 คน แต่ปัจจุบันสามารถผลิตนักบินได้เพียงปีละ 200 - 300 คน รวมถึงกลุ่มวิศวกรด้านการบินและช่างอากาศยาน มีทั้งสิ้น 8,000 - 9,000 คน แต่ละปีสามารถผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมการบินได้เพียง 300 - 400 คนต่อปี จากความต้องการมากกว่า 400 คนต่อปีด้าน ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจคุณภาพของหลักสูตรของสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เปิดสอนด้านการบิน เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรด้านการบิน จำนวน 26 แห่ง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีจำนวนนักศึกษาสนใจเข้าเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ตามการขยายตัวของธุรกิจการบินในประเทศ แต่สายการบินส่วนใหญ่โดยเฉพาะสายการบินที่เปิดใหม่ก็ยังมีความต้องการนักบินและช่างอากาศยานที่มีความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์มากกว่านักบินหรือช่างที่จบใหม่ ทำให้เกิดการขาดช่วงแรงงาน เอาผิด “สุรชัย Face Off” โฆษณาเกินจริงกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เอาผิดโรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล หลังมีความผิดจากการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง กรณีทำศัลยกรรมเสริมความงามให้แก่ นายสุรชัย สมบัติเจริญ นักร้องลูกทุ่ง ในโครงการ “เฟซออฟ ผ่าแหลก ศัลยกรรม 10 อย่างบนหน้ากระชากความแก่จาก 60 ให้เหลือ 35 โดย ดร.เซปิง” โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล มีการยินยอมให้มีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณบริการเสริมความงาม เนื่องจากไม่ได้มีการทักท้วงหรือปฏิเสธ การโฆษณาประชาสัมพันธ์เรื่องดังกล่าวเลย ซึ่งถือว่าผิดมาตรา 38 พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 11 พ.ศ. 2546 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล โดยจะมีการเปรียบเทียบปรับเป็นจำนวน 20,000 บาท และจะปรับต่อวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะยุติการเผยแพร่การโฆษณา นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภาได้ให้ความเห็นถึงการโครงการ “เฟซออฟ” ผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้าให้ดูอ่อนวัยลงครั้งนี้ว่า “การทำศัลยกรรมของคุณสุรชัยครั้งนี้ เป็นการทำเฟซลิฟต์ (Face Lift) คือ การดึงหน้าให้ตึงขึ้น ทั้งส่วนของหน้าผาก การดึงแก้มไปซ่อนที่หลังหู นอกจากนี้ ยังมีการทำตา ฉีดโบท็อกซ์เพื่อลดการหดตัวของกล้ามเนื้อไม่ให้เกิดร่องลึก และฟิลเลอร์ให้เต่งตึง ซึ่งตรงนี้จะอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน การทำศัลยกรรมดึงหน้าและทำตา ถือว่าเป็นหัตถการที่ไม่เสี่ยงมาก หากประชาชนทั่วไปอยากทำก็สามารถทำได้ แต่ต้องพิจารณาฝีมือของหมอด้วย”   เอายาปฏิชีวนะ ออกจากอาหารของเราคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ได้ร่วมรณรงค์ในประเด็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างเรื่อง การปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะในอาหารซึ่งส่งผลต่อมายังสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่ง สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International) ได้ยกเป็นประเด็นรณรงค์ที่สำคัญและเร่งด่วน โดยได้มีการขอความร่วมมือไปยังร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดชื่อดังซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก ให้เลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตอาหารโดยเฉพาะพวกเนื้อสัตว์ที่มาจากการเลี้ยงที่ปลอดจากการใช้ยาปฏิชีวนะนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสมาชิกสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล ได้กล่าวว่า ในต่างประเทศร้านฟาสต์ฟู้ดชื่อดังอย่าง  แมคโดนัลด์ เริ่มตื่นตัวกับปัญหานี้บ้างแล้ว โดยสาขาในอเมริกาได้ให้คำมั่นว่าจะรับซื้อเฉพาะเนื้อไก่จากฟาร์มที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้ในคนภายในปี พ.ศ. 2560 การรณรงค์ในประเทศไทยครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ร้านฟาสต์ฟู้ดที่เปิดสาขาในเมืองไทยเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยด้าน ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้อำนวยการ กพย. กล่าวว่า การดื้อยาทำให้เกิดวิกฤติทางสุขภาพของผู้คนทั่วโลก สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นในการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้คาดว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในภาคการเกษตรจะเพิ่มขึ้นจาก 63,200 ตันในปี พ.ศ. 2553 เป็น 105,600 ตันในปี พ.ศ. 2573 ถ้าไม่จัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งการดื้อยาจะส่งผลต่อการรักษาอาการป่วยบางโรค อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจเป็นเป็นโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนได้การรณรงค์ครั้งนี้เปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถร่วมลงชื่อสนับสนุนให้เกิดการยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ได้ที่ www.change.org ในหัวข้อ เอายาปฏิชีวนะ ออกจากอาหารของเรา (Antibiotics Off the Menu)

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 180 ที่นั่งสำหรับเด็กในรถยนต์

ฉบับนี้เรามีผลทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารตัวน้อยมาฝากสมาชิกที่กำลังมองหาที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (หรือที่เรียกกันติดปากว่าคาร์ซีท) มาติดรถไว้ยามที่มีเด็กเล็กร่วมเดินทางไปด้วย  เราใช้ผลทดสอบที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ได้ทำไว้กับคาร์ซีทรุ่นที่วางตลาดในยุโรปในปีที่ผ่านมา สนนราคาค่าทดสอบก็ไม่มากเลย แค่ตัวอย่างละประมาณ 8,000 ยูโร (240,000 บาท) เท่านั้น การทดสอบครั้งนี้มีคะแนนให้ ด้านความปลอดภัย (การป้องกันอันตรายจากการชนด้านหน้า ด้านข้าง รวมถึงความแข็งแรงในการยึดกับเบาะรถ) ตามด้วยความสะดวกในการติดตั้ง/การใช้/การปรับให้พอดี/การทำความสะอาด การออกแบบที่ถูกหลักทางการยศาสตร์ (ergonomics) ที่เกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอย ลักษณะการนั่ง และความนุ่มสบาย นอกจากนี้ยังดูเรื่องของการใช้สารเคมีอันตรายที่ถูกห้ามใช้ในยุโรปด้วย ที่นั่งนิรภัยเหล่านี้ดีจริงสมราคาหรือคำร่ำลือในสังคมออนไลน์หรือไม่ ติดตามได้ในหน้าถัดไป•    หมายเหตุ ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่ค้นจากอินเตอร์เน็ทในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 กรุณาตรวจสอบราคา นอกจากนี้อย่าลืมสอบถามผู้ขายเพื่อความแน่ใจว่าที่นั่งนิรภัยรุ่นดังกล่าวสามารถใช้ได้กับรถยนต์ที่ท่านต้องการติดตั้งหรือไม่   ECE R44/04ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา พาหนะทุกคันในยุโรปต้องมีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย และมีการใช้ที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็ก นอกจากนี้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการใช้ที่นั่งเสริมในรถสำหรับเด็กจนกว่าเด็กจะมีความสูงถึง 135 หรือ 150 ซม.ด้วยทั้งนี้ที่นั่งสำหรับเด็กจะต้องมีฉลากแสดงตรารับรอง ECE R44/04 เมื่อผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นใน พ.ศ. 2525 ที่นั่งสำหรับเด็ก สามารถแบ่งกลุ่มตามน้ำหนักตัวของเด็ก ดังนี้Group O    ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม (หรืออายุต่ำกว่า 9 เดือน)Group O+    ต่ำกว่า 13 กิโลกรัม (หรืออายุต่ำกว่า 15 เดือน)Group I        9 - 18 กิโลกรัม (ประมาณ 8 เดือน – 3 ปีครึ่ง)Group II    15 - 25 กิโลกรัม (ประมาณ 3 – 7 ปี)Group III      22 - 36 กิโลกรัม (ประมาณ 6 – 12 ปี)i-Size คืออะไร?i-Size คือมาตรฐานใหม่ของยุโรปสำหรับที่นั่งในรถสำหรับเด็ก ปัจจุบันรถยนต์ที่ได้รับการประเมิน 5 ดาวจาก Euro NCAP ทุกคันจะต้องสามารถใช้กับที่นั่งเด็กตามมาตรฐาน i-Size ได้   มาตรฐานนี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็ก เพื่อใช้ควบคู่ไปกับ R44/04 ตัวเดิม สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือการรองรับศีรษะและคอของเด็ก การป้องกันที่ดีขึ้นทั้งจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง ที่จะทำให้เด็กยังคงอยู่ในที่นั่งแม้รถจะพลิกคว่ำการจัดกลุ่มจะแบ่งตามความสูงของเด็ก (ไม่ใช่น้ำหนัก) ที่นั่งมาตรฐาน i-Size จะใช้ได้กับรถยนต์ที่มีหัว IsoFix เพื่อรองรับการติดตั้ง (รถส่วนใหญ่ที่ผลิตหลัง พ.ศ. 2550 จะมีอุปกรณ์ดังกล่าว)                                    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 สารกันบูดในขนมจีน

“ขนมจีน” อาหารยอดนิยมของคนเกือบทุกภาค เป็นอาหารที่รับประทานสะดวก มีคุณค่าทางสารอาหารจากผักเคียงและมีหลายเมนูให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นขนมจีนน้ำยากะทิของคนภาคกลาง ขนมจีนน้ำเงี้ยวของภาคเหนือ ขนมจีนราดแกงไตปลาของคนใต้ หรือขนมจีนในต่ำซั่วของคนอีสาน ซึ่งนอกจากจะอร่อยถูกปากแล้ว บางส่วนยังมีความเชื่อว่าการนำขนมจีนเลี้ยงพระในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน จะทำให้ชีวิตคู่อยู่ยืนนานเหมือนเส้นขนมจีนอีกด้วย อย่างไรก็ตามในทุกครั้งที่เรากำลังเพลิดเพลินกับขนมจีนที่เอร็ดอร่อยนั้น รู้หรือไม่ว่าส่วนใหญ่แล้วเราได้รับประทาน “สารกันบูด” เข้าไปด้วย ซึ่งหากเรารับประทานสารดังกล่าวมากเกินไปจนทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง หรืออาจส่งผลถึงขั้นพิการได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงออกประกาศ (ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547) เรื่อง ค่ามาตรฐานของสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลของโคเด็กซ์ (CODEX) สำหรับอาหารจำพวกพาสตา ก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกันว่า ต้องมีปริมาณ ไม่เกิน 1,000 มก./กก. ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปทดสอบสารกันบูด(เบนโซอิก) ตกค้างในขนมจีนทั้งหมด 12 ยี่ห้อจากแหล่งซื้อต่างๆ ว่ามีมากน้อยแค่ไหนกัน ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรเราไปดูกันเลย   ผลทดสอบผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐาน                       ไม่ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐาน    *ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจ เก็บตัวอย่างเดือนมกราคม 2559สรุปผลการทดสอบจากตัวอย่างเส้นขนมจีนที่นำมาทดสอบทั้งหมดพบว่า ทุกยี่ห้อมีการปนเปื้อนของสารกันบูด - 2 ยี่ห้อที่มีปริมาณสารกันบูดตกค้างมากที่สุด และเกินกว่าปริมาณสูงสุดที่ อย . กำหนดไว้คือ ขนมจีนตราดาว จากตลาดยิ่งเจริญสะพานใหม่ จำนวน 1,121.37 มก./กก. รองลงมาคือ ไม่มียี่ห้อ จากตลาดสะพานขาวจำนวน 1,115.32 มก./กก.- ยี่ห้อที่มีปริมาณสารกันบูดตกค้างน้อยที่สุดคือ ขนมจีนจาก ตลาดพระประแดง จำนวน 147.43 มก./กก. เทคนิคการหลีกเลี่ยงสารกันบูดตกค้างในร่างกาย แม้กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) หรือสารกันบูดที่ใส่ในขนมจีน จะมีประโยชน์ในการช่วยยืดอายุของอาหาร ด้วยการยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย และถูกจัดอยู่ในประเภทพิษปานกลาง ซึ่งร่างกายสามารถขจัดออกมาได้เอง แต่ก็สามารถส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภคได้ หากมีการตกค้างหรือสะสมในร่างกายมากเกินไปดังที่กล่าวไปข้างต้น เราจึงควรระมัดระวังในการรับประทาน ดังนี้ - บริโภคอาหารให้หลากหลายชนิดหมุนเวียนกัน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมสารพิษตกค้างในร่างกาย โดยควรทำอาหารรับประทานเองบ้าง เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบที่นำมาปรุงมีความสดใหม่ หรือปลอดภัยจากสารเคมี- เลือกซื้ออาหารที่ระบุ ว/ด/ป ที่ผลิต-หมดอายุ และมี อย เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารดังกล่าวไม่ได้ใส่สารกันบูดมากเกินกว่าที่กำหนดไว้- หลีกเลี่ยงอาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารพร้อมบริโภคบรรจุกล่อง เพราะอาหารเหล่านี้หากไม่บรรจุในภาชนะปิดสนิท หรือต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่กำหนดไว้ อาจมีสารกันบูดเจือปนในปริมาณมาก- นอกจากขนมจีนแล้วก็ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่นิยมใส่สารกันบูด เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ผลไม้แช่อิ่ม หรือน้ำผลไม้ ซึ่ง อย . ก็ได้กำหนดค่ามาตรฐานไว้ต่างกัน เราจึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคในปริมาณมากติดต่อเป็นเวลานานข้อมูลอ้างอิง: http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food/data/news/2556/560902/Update%20Food%20Additives.pdf กรดเบนโซอิก (Benzoic acid)กรดเบนโซอิก (benzoic acid) เป็นสารเคมีที่นิยมใช้เป็นวัตถุกันเสียในอุตสาหกรรมอาหารอย่างแพร่หลาย เป็นสารที่พบได้ในธรรมชาติ ได้แก่ ลูกพรุน, อบเชย, แอปเปิล, กานพลู และมะกอกสุก เป็นต้น โดยมีจำหน่ายในท้องตลาดในรูปผงผลึกสีขาวหรือเป็นเกล็ด มักใช้ร่วมกับกรดซอร์บิก และพาราเบนส์สำหรับเป็นวัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอตจะต้านเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีในสภาวะเป็นกรดที่ต่ำกว่า 4.5 ดังนั้น อาหารที่ใช้กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอตเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บ จึงควรเป็นอาหารที่มีความเป็นกรด สูง เช่น เครื่องดื่มชนิดต่างๆ น้ำผลไม้ แยม เยลลี ผักดอง ผลไม้ดอง น้ำสลัด ฟรุตสลัด และเนยเทียม เป็นต้น ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 84

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 สำรวจราคา “ก๊าซหุงต้ม” ที่ไหนขายแพงบ้าง?!!

“ก๊าซหุงต้ม” ถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะบ้านไหนๆ ก็ใช้ “ก๊าซถัง” เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารกันทั้งนั้น เดี๋ยวนี้คงแทบไม่มีใครที่ยังใช้วิธีก่อฟืนจุดไฟเพื่อทำกับข้าวกันอีกแล้ว เพราะ “ก๊าซหุงต้มบรรจุถัง” สะดวกและง่ายกว่ากันเยอะ ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กับตามบ้านเรือนและร้านค้าทั่วไปในปัจจุบัน ชื่อเรียกเต็มๆ ก็คือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก็คือ ก๊าซ LPG (Liquefied Petroleum Gas) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน และจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซก๊าซถังมีการควบคุมราคา “ห้ามขายแพงเกิน” (แต่ควบคุมเฉพาะ กทม.และ ปริมณฑล เท่านั้น) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาของก๊าซหุงต้มมีการปรับตัวขึ้นเช่นเดียวกับสินค้าด้านพลังงานชนิดอื่นๆ เดิมทีเราเคยซื้อก๊าซหุงต้ม 1 ถังน้ำหนัก 15 กิโลกรัม ที่ราคาถังละ 300 บาท เมื่อปี 2555 แต่ในปี 2556 กระทรวงพลังงานได้มีการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มทุกเดือนเฉลี่ยเดือนละประมาณ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ติดต่อกัน 12 เดือน จากเดิมที่ราคากิโลกรัมละ 18.13 บาท ขยับขึ้นไปสูงถึง 24.82 บาท ซึ่งทำให้ในเวลานั้นราคาก๊าซ 1 ถังพุ่งขึ้นไปสูงสุดถึง 400 บาทเลยทีเดียว!!! แต่ว่าเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติปรับลดราคาจำหน่ายส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) หลังต้นทุนก๊าซ LPG ลดลงตามราคาตลาดโลก โดยปรับลดลงกิโลกรัมละ 0.67 บาท ทำให้ราคาจำหน่ายปลีกลดลงจากเดิมกิโลกรัมละ 22.96 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22.29 บาท ประกาศสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ*** เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ปี 2558 (ฉบับที่ 3) ซึ่งมีผลตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2558 กำหนดให้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง ขนาด 15 กิโลกรัม ในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำหน่ายปลีกในราคาไม่เกินถังละ 370 บาท โดยราคาดังกล่าวรวมค่าบริการขนส่งถึงสถานที่ของผู้ซื้อ ซึ่งมีระยะทางขนส่งในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร แต่ไม่รวมค่าบริการขนส่งขึ้นบนอาคารสูง ***ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2559 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติปรับลดราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม (LPG) ลงอีก 2 บาทต่อกิโลกรัม เท่ากับว่าราคาจะลดลงมาอยู่ 20.29 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ในประกาศสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ฉบับล่าสุดปี 2559 กำหนดราคาของก๊าซหุงต้มบรรจุถังขนาด 15 กิโลกรัมไว้ใหม่ว่าจะต้องมีราคาจำหน่ายไม่เกิน 340 บาทต่อถัง ซึ่งเป็นราคาที่ร่วมค่าขนส่งในระยะรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร แต่ก็ยังเป็นราคาที่กำหนดเฉพาะพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น ส่วนจังหวัดอื่นๆ กบง. แจ้งว่าก็จะมีปรับลดเช่นกัน แต่อัตราที่ลดจะไม่เท่ากันแตกต่างกันไปตามระยะทาง การสำรวจครั้งนี้ยังคงใช้เกณฑ์ราคาแนะนำเดิมคือที่ 370 บาทเป็นเกณฑ์ในการสำรวจ เพราะการสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจในเดือนธันวาคม 2558 ซึ่งยังยึดตามประกาศฉบับเดิม แต่หลังจากนี้ไปผู้บริโภคในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล ควรเลือกซื้อก๊าซหุงต้มที่ราคา 340 บาทต่อถังเท่านั้นนอกจากนี้ในประกาศฉบับดังกล่าวยังกำหนดให้ร้านค้าต้องแสดงราคาจำหน่ายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง และค่าบริการขนส่งถึงสถานที่ของผู้ซื้อ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ หากทางร้านมีการคิดเพิ่มนอกเหนือจากราคาจำหน่าย ซึ่งถ้าหากร้านค้าก๊าซบรรจุถังร้านใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในประกาศถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยหากร้านค้าใดจำหน่ายในราคาที่สูงกว่าที่กำหนด หรือแจ้งราคาไม่ตรงกับราคาขาย มีสิทธิ์ถูกลงโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั่วประเทศไทยมีที่ไหนขายเกินราคาบ้าง?    จากประกาศของสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ปี 2558 (ฉบับที่ 3) จะเห็นว่ามีจุดอ่อนอยู่ที่การกำหนดราคาขายก๊าซหุงต้มบรรจุถังมีผลบังคับกับร้านค้าเฉพาะที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ทำให้อีกหลายจังหวัดจำหน่ายก๊าซหุงต้มบรรจุถังขนาด 15 กิโลกรัม สูงกว่าราคาแนะนำที่ 370 บาท     คณะอนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ ภายใต้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ จึงได้ทำการสำรวจราคาซื้อขายก๊าซหุงต้มตามร้านจำหน่ายก๊าซทั้งในเขตกรุงเทพฯ และในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อดูว่ามีการตั้งราคาจำหน่ายแตกต่างจากที่ภาครัฐกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ผลการสำรวจราคาก๊าซหุงต้มทั่วประเทศกรุงเทพมหานคร (16 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     3 ร้าน (19%)เท่ากับราคาแนะนำ    10 ร้าน (62%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    3 ร้าน (19%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ     380 บาท (2 ร้าน) 375 บาท (1 ร้าน)พื้นที่ที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ เขตพระนคร เขตทุ่งครุ และ เขตสะพานสูงการติดป้ายแสดงราคา ทุกร้านติดป้ายแสดงราคาปริมณฑล (20 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     13 ร้าน (65%)เท่ากับราคาแนะนำ    2 ร้าน (10%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    5 ร้าน (25%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    400 บาท (1 ร้าน) 395 บาท (1 ร้าน) 390 บาท (5 ร้าน) 385 บาท (1 ร้าน)  380 บาท (5 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ปทุมธานี (10 ร้าน) สมุทรปราการ (3 ร้าน) การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 4 ร้าน ไม่แจ้ง 16 ร้านภาคกลาง (24 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     8 ร้าน (33%)เท่ากับราคาแนะนำ    4 ร้าน (17%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    12 ร้าน (50%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    400 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (6 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ชัยนาท (4 ร้าน) พระนครศรีอยุธยา (4 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 12 ร้าน ไม่แจ้ง 12 ร้านภาคตะวันตก (94 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     50 ร้าน (53%)เท่ากับราคาแนะนำ    16 ร้าน (17%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    28 ร้าน (30%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 415 บาท (2 ร้าน) 410 บาท (9 ร้าน) 400 บาท (1 ร้าน) 395 บาท (1 ร้าน) 390 บาท (4 ร้าน) 385 บาท (1 ร้าน) 380 บาท (22 ร้าน) 375 บาท (9 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ประจวบคีรีขันธ์ (12 ร้าน) ราชบุรี (12 ร้าน) นครปฐม (7 ร้าน) เพชรบุรี (7 ร้าน) กาญจนบุรี (6 ร้าน) สมุทรสาคร (6 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 31 ร้าน ไม่แจ้ง 63 ร้านภาคตะวันออก (48 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     41 ร้าน (86%)เท่ากับราคาแนะนำ    3 ร้าน (6%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    4 ร้าน (8%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 410 บาท (1 ร้าน) 400 บาท (4 ร้าน) 395 บาท (2 ร้าน) 390 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (23 ร้าน) 375 บาท (8 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ สระแก้ว (12 ร้าน) จันทบุรี (11 ร้าน) ปราจีนบุรี (9 ร้าน) ฉะเชิงเทรา (9 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 6 ร้าน ไม่แจ้ง 42 ร้านภาคเหนือ (81 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     56 ร้าน (69%)เท่ากับราคาแนะนำ    11 ร้าน (14%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    14 ร้าน (17%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 410 บาท (1 ร้าน) 405 บาท (4 ร้าน) 400 บาท (11 ร้าน) 390 บาท (10 ร้าน) 385 บาท (4 ร้าน) 380 บาท (16 ร้าน) 379 (1 ร้าน) 375 บาท (8 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ พิษณุโลก (12 ร้าน) น่าน (12 ร้าน) เชียงใหม่ (9 ร้าน) ลำพูน (9 ร้าน) พะเยา (8 ร้าน) ลำปาง (5 ร้าน) แพร่ (1 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 35 ร้าน ไม่แจ้ง 46 ร้านภาคอีสาน (119 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     91 ร้าน (76%)เท่ากับราคาแนะนำ    9 ร้าน (8%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    19 ร้าน (16%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    440 บาท (4 ร้าน) 430 บาท (12 ร้าน) 420 บาท (13 ร้าน) 415 บาท (2 ร้าน) 410 บาท (4 ร้าน) 400 บาท (14 ร้าน) 395 บาท (3 ร้าน) 390 บาท (17 ร้าน) 385 บาท (5 ร้าน) 380 บาท (13 ร้าน) 379 บาท (1 ร้าน) 375 บาท (3 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ บึงกาฬ (24 ร้าน) หนองบัวลำภู (12 ร้าน) ร้อยเอ็ด (10 ร้าน) ขอนแก่น (9 ร้าน) เลย (8 ร้าน) บุรีรัมย์ (8 ร้าน) อุดรธานี (8 ร้าน) กาฬสินธุ์ (6 ร้าน) สุรินทร์ (6 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 13 ร้าน ไม่แจ้ง 106 ร้านภาคใต้ (78 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     68 ร้าน (87%)เท่ากับราคาแนะนำ    6 ร้าน (8%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    4 ร้าน (5%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    520-550 บาท (2 ร้าน*เป็นร้านที่ตั้งอยู่บนเกาะพีพี จ.กระบี่ เนื่องจากมีพื้นที่เป็นเกาะ ทำให้การตั้งราคาสูงกว่าพื้นที่อื่นค่อนข้างมาก) 470 บาท (1 ร้าน) 460 บาท (1 ร้าน) 450 บาท (1ร้าน) 430 บาท (4 ร้าน) 420 บาท (9 ร้าน) 410 บาท (6 ร้าน) 405 บาท (1 ร้าน) 400 บาท (10 ร้าน) 395 บาท (2 ร้าน) 390 บาท (9 ร้าน) 385 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (17 ร้าน) 375 บาท (2 ร้าน) 373 บาท (1 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ กระบี่ (16 ร้าน) ปัตตานี (12 ร้าน) สตูล (12 ร้าน) สุราษฎร์ธานี (11 ร้าน) ชุมพร (10 ร้าน) สงขลา (7 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 20 ร้าน ไม่แจ้ง 53 ร้านสรุปผลการสำรวจราคา-จากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า มีเพียงแค่ กทม. และ ภาคกลาง เท่านั้น ที่สัดส่วนจำนวนของร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้มบรรจุถังเท่ากับหรือต่ำกว่าราคาแนะนำที่ 370 บาท มากกว่าจำนวนของร้านค้าที่สูงกว่าราคาแนะนำ -หลายร้านค้ามีการคิดค่าขนส่งเพิ่มจากราคาขาย ตั้งแต่ 5 – 20 บาท- มีร้านอีกจำนวนไม่น้อยที่ขายก๊าซหุงต้มบรรจุถังถูกกว่าราคาแนะนำ -การติดป้ายแสดงราคา ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่กฎหมายกำหนด พบว่ามีเพียงตัวอย่างร้านค้าในกทม.เท่านั้น ที่ติดป้ายครบทุกร้านที่ทำการสำรวจ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ยังพบร้านที่ไม่ติดป้ายแสดงราคาอีกเป็นจำนวนมาก-ราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้มบรรจุถังในพื้นที่ในต่างจังหวัด ยังไม่มีข้อบังคับที่เป็นการกำหนดราคาที่ชัดเจน โดยกรมการค้าภายในได้มอบอำนาจในการจัดการควบคุมดูแลเรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการส่วนจังหวัดว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กจร.) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน สามารถกำหนดราคาได้เองตามความเหมาะสมของแต่ละจังหวัด แต่ ณ ปัจจุบันก็ยังไม่มีจังหวัดไหนที่ออกประกาศเรื่องนี้ ทำให้ราคามีความแตกต่างกันหลากหลายราคาตามข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพื้นที่และจำนวนจังหวัดในการสำรวจพื้นที่    จังหวัดที่สำรวจ    จำนวนร้านค้ากรุงเทพฯ    14 เขต (1.พระนคร 2.ทุ่งครุ 3.สะพานสูง 4.ป้อมปราบศัตรูพ่าย 5.ราษฎร์บูรณะ 6.บางกะปิ 7.ห้วยขวาง 8.คลองเตย 9.พระโขนง 10.ดินแดง 11. ลาดพร้าว 12.ธนบุรี 13.บางแค และ 14.บางนา)    16 ร้านปริมณฑล    2 จังหวัด (1.สมุทรปราการ และ 2.ปทุมธานี)    20 ร้านภาคกลาง    2 จังหวัด (1.ชัยนาท และ 2.พระนครศรีอยุธยา)    24 ร้านภาคตะวันตก    8 จังหวัด (1.ประจวบคีรีขันธ์ 2.กาณจนบุรี 3.สมุทรสาคร 4.ราชบุรี 5.เพชรบุรี 6.นครปฐม 7.สมุทรสงคราม และ 8.สุพรรณบุรี)    94 ร้านภาคตะวันออก    4 จังหวัด (1.สระแก้ว 2.ปราจีนบุรี 3.จันทบุรี และ 4.ฉะเชิงเทรา)    48 ร้านภาคเหนือ    7 จังหวัด (1.ลำปาง 2.พิษณุโลก 3.น่าน 4.เชียงใหม่ 5.ลำพูน 6.แพร่ และ 7.พะเยา)    81 ร้านภาคอีสาน    9 จังหวัด (1.กาฬสินธุ์ 2.บึงกาฬ 3.เลย 4.สุรินทร์ 5.ขอนแก่น 6.หนองบัวลำภู 7.ร้อยเอ็ด 8.บุรีรัมย์ และ 9.อุดรธานี)    119 ร้านภาคใต้    6 จังหวัด (1.สุราษฎร์ธานี 2.ปัตตานี 3.กระบี่ 4.ชุมพร 5.สตูล และ 6.สงขลา)    73 ร้านรวม    39 จังหวัด    480 ร้านระยะเวลาการสำรวจ : ระหว่างวันที่ 1 – 15 ธันวาคม 2558    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 ข้าวโพดฝักอ่อน

พืชตระกูลหญ้าที่นิยมบริโภคกันมาแต่โบราณ ต้องนับข้าวโพดให้เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งไม่เพียงกินได้เมื่อฝักแก่ ยามเป็นฝักอ่อนก็นำมากินได้ ว่ากันว่าชาวอินเดียนแดงเป็นผู้ริเริ่มปลูกข้าวโพดเพื่อใช้กินภายในครอบครัว ก่อนที่ข้าวโพดจะถูกแพร่พันธุ์มายังทวีปเอเชียและทวีปอื่นๆ ทั่วโลก ในประเทศไทยก็เริ่มจากเพาะปลูกบริโภคกันในครัวเรือนก่อน จนต่อมามีการส่งเสริมให้ปลูกเป็นพืชไร่เพื่อเลี้ยงสัตว์ เมื่อเกษตรกรไทยเริ่มมีการนำฝักอ่อนมาบริโภคเช่นเดียวกับผักทั่วไป และมีเก็บขายในตลาดท้องถิ่น จึงเริ่มมีการส่งเสริมเพื่อให้เก็บเกี่ยวเฉพาะฝักอ่อนเพื่อเป็นพืชการค้า จนกลายเป็นสินค้าส่งออกไปทั่วโลก มีมูลค่าส่งออกมากกว่า 1,500 ล้านบาทต่อปี ข้าวโพดฝักอ่อนก็คือ ฝักหรือซังข้าวโพดขนาดเล็กในระยะก่อนที่จะมีการผสมเกสร โดยเมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 38 วัน ช่อดอกตัวผู้จะเริ่มโผล่ออกมาจากใบยอด เกษตรกรจะดึงช่อดอกตัวผู้ทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมเกสรกับฝักที่เป็นตัวเมีย ทิ้งเวลาไว้สักระยะเราจะได้ฝักอ่อนขนาดเท่านิ้วก้อยมารับประทาน ข้าวโพดฝักอ่อนจะใช้เป็นผักแนมกับน้ำพริก หรือผัด แกงได้หลายอย่าง รสชาติดี หวาน กรอบและมีคุณค่าทางอาหารสูง สำคัญคือ สารเคมีฆ่าแมลงจะไม่มาก เพราะว่าใช้เวลาผลิตสั้น แมลงจึงยังไม่รบกวนเท่าไร นับว่าเป็นผักอีกชนิดที่น่าสนใจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 กระแสต่างแดน

เมนูนี้ต้องไม่มียาปฏิชีวนะ!วันผู้บริโภคสากล (15 มีนาคม) ปีนี้ ผู้บริโภคทั่วโลกจะร่วมกันเรียกร้องให้ผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีสาขาทั่วโลกอย่าง แม็คโดนัลด์ เคเอฟซี ซับเวย์ ฯลฯ ยกเลิกการใช้เนื้อสัตว์ที่ผ่านการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ประมาณร้อยละ 50 ของยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อที่ผลิตขึ้นในโลก ถูกใช้ในภาคการเกษตร แม้ว่ายานี้จะมีไว้เพื่อหยุดยั้งการติดเชื้อในสัตว์ แต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้าในปัจจุบันกลับนิยมใช้เพื่อป้องกัน (ไม่ใช่รักษา) การติดเชื้อ ที่แย่ไปกว่านั้นคือการใช้ในปริมาณต่ำร่วมกับฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโต วิถีปฏิบัติแบบนี้ทำให้เกิดปัญหาการดื้อยา หลายๆ ประเทศประสบปัญหานี้ในระดับร้ายแรงแล้ว องค์การอนามัยโลกเตือนว่าถ้านานาประเทศยังไม่ร่วมกันแก้ไขเรื่องนี้ เราก็จะเข้าสู่โลกยุคหลังยาปฏิชีวนะ นั่นหมายความว่ายาที่มีอยู่จะไม่สามารถรักษาโรคได้และการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เราเสียชีวิตได้ แม้จะมีความกังวลในเรื่องนี้มาระยะหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าการใช้ยาปฏิชีวนะจะลดลง ข้อมูลจากสหพันธ์ผู้บริโภคสากลระบุว่าเมื่อถึงในปีค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) การใช้ยาฆ่าเชื้อจะเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 70 ที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายประกาศว่าจะยกเลิกการใช้วัตถุดิบเนื้อสัตว์ที่ผ่านการเร่งโตด้วยยาปฏิชีวนะ แต่การสำรวจร้านอาหารฟาสต์ฟูด 25 แบรนด์ในอเมริกาครั้งล่าสุดในปี 2558 โดยองค์กรผู้บริโภค พบว่ามีถึง 20 รายที่ยังไม่มีนโยบายงดซื้อเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะเลยนางสาวอมานดา ลอง ผู้อำนวยการสหพันธ์ผู้บริโภคสากลกล่าวว่าธุรกิจอาหารขนาดใหญ่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างกว้างขวาง เป็นกำลังสำคัญในการรณรงค์ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับธุรกิจอื่นๆ ผู้บริโภคเองก็เป็นกำลังสำคัญเช่นกัน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หนึ่งในองค์กรสมาชิกของสหพันธ์ผู้บริโภคสากลจึงขอเชิญชวนผู้อ่านฉลาดซื้อ ร่วมเรียกร้องให้ร้านฟาสต์ฟู้ดยกเลิกเมนูที่มีเนื้อสัตว์ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ ด้วยการถ่ายรูปตัวเองขณะถือป้าย #AntibioticsOffTheMenu (เมนูนี้ต้องไม่มียาปฏิชีวนะ) หน้าร้านฟาสต์ฟู้ด โพสต์ลงในเฟสบุ้คแล้วติดแฮชแท็ก #AntibioticsOffTheMenu ก่อนวันที่ 15 มีนาคม 2559 นี้   ทีพีพี ที่ไม่พอเพียงเกษตรกรญี่ปุ่นส่วนหนึ่งกำลังหวั่นวิตกว่าแผนเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (TPP) ของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ จะทำให้วิถีชีวิตแบบเรียบง่ายของพวกเขาเปลี่ยนไป   เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในเวทีโลก นายอาเบะเสนอให้ญี่ปุ่นทำการเกษตรเชิงรุก โดยเกษตรกรรายเล็กจะได้รับการส่งเสริมให้ขยายกิจการ หลายคนมองว่าแผนนี้หมายถึงการเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งจากสภาพอากาศและราคาน้ำมันที่ผันผวนตลอดเวลา โซอิจิ ยามาชิตะ เกษตรกรวัย 79 ปี เป็นหนึ่งในเกษตรกรรายย่อยที่ไม่ต้องการรวยจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว  ด้วยพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ในแต่ละปีครอบครัวยามาชิตะผลิตข้าวได้ 2.5 ตัน ส้ม 7 ตัน มะนาวเหลือง 500 กิโลกรัม พลัมและผักหลากหลายชนิดอีก 200 กิโลกรัม พวกเขารู้สึกเพียงพอแล้วสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ชาวสวนผลไม้ในญี่ปุ่นยังไม่ลืมความล้มเหลวของนโยบายส่งเสริมการปลูกส้มของรัฐบาลในช่วงปี 70 ที่ส่งผลให้ผลผลิตส้มล้นตลาดในช่วงปี 80 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเปิดเสรีทางการค้าที่ทำให้ส้มจากต่างประเทศสามารถเข้ามาตีตลาดในญี่ปุ่นด้วย ผู้ดีกินดี นิสัยการกินของคนอังกฤษกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เรื่องนี้ยืนยันโดยงานสำรวจ National Food Survey ของรัฐบาลอังกฤษ ในสองสามทศวรรษที่ผ่านมา คนอังกฤษหันมาบริโภคนมพร่องมันเนย ขนมปังโฮลวีท และผลไม้สดกันมากขึ้น ผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่กล้วย ด้วยสถิติการบริโภคคนละ 221 กรัมต่อสัปดาห์ ตามด้วยแอปเปิ้ล (131 กรัม) และส้ม (48 กรัม) แม้แต่การดื่มน้ำอัดลมก็หันมาเลือกดื่มชนิดที่มีแคลอรี่ต่ำกันมากกว่าเดิม คนอังกฤษมีนิสัยการกินดีขึ้นทั้งๆ ที่มีการใช้จ่ายด้านอาหารลดลง เมื่อ 40 ปีก่อนพวกเขาใช้จ่ายร้อยละ 24 ของรายได้เพื่อซื้ออาหารแต่ปัจจุบันการใช้จ่ายดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 11 เท่านั้น ในทางกลับกันเขาพบว่าการบริโภคชาของชาวเมืองผู้ดีลดลงครึ่งหนึ่งจากช่วงปี 70 จากที่เคยดื่มสัปดาห์ละ 23 ถ้วย ปัจจุบันเหลือเพียงสัปดาห์ละ 8 ถ้วยเท่านั้น และแม้ว่าชาจะเป็นเครื่องดื่มร้อนที่นิยมมากที่สุด คนอังกฤษกลับมีรายจ่ายไปกับกาแฟมากกว่า งานสำรวจนี้เก็บข้อมูลจาก 150,000 ครัวเรือน ระหว่างปีค.ศ.1974 ถึง ค.ศ. 2014

อ่านเพิ่มเติม >