ฉบับที่ 180 หมู่บ้านในแอ่งกระทะ

หลังเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 บ้านเรือนหลายหลังได้รับความเสียหายหนัก ผู้ประสบภัยบางรายตัดสินใจขายทิ้งบ้านมากกว่าซ่อมแซม แต่หากทั้งขายและซ่อมไม่ได้ เพราะเพิ่งรู้ความจริงทีหลังว่าบ้านอยู่ในพื้นที่ต่ำ ที่ต่อให้ซ่อมแล้วก็ยังต้องผจญกับปัญหาน้ำท่วมขังเช่นนี้ตลอดไป เราควรแก้ปัญหาอย่างไรดีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับผู้ร้อง ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้เสียหายจำนวน 465 หลังคาเรือน จากโครงการ ศุภาลัย แกรนด์เลค (Suphalai Grand Lake Village) ที่มีมูลค่าการซื้อขายไม่ต่ำกว่าหลังคาเรือนละ 4 ล้านบาท โดยภายหลังน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 พวกเขาพบว่า เวลาฝนตกจะมีน้ำไหลซึมเข้ามาภายในโครงการตลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อตรวจสอบจึงทราบว่าพื้นที่ของทั้งโครงการต่ำกว่าพื้นที่รอบนอก หรือเป็นแอ่งกระทะนั่นเอง ทำให้สามารถตอบโจทย์ได้ว่าทำไมทั้งๆ ที่มีรั้วกั้นน้ำ จึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะรั้วดังกล่าวกลับสร้างในระดับเดียวกันกับพื้นที่รอบนอกภายหลังทางโครงการฯ ได้แก้ปัญหาด้วยการนำเครื่องสูบน้ำมาช่วยระบายน้ำออก แต่ก็ยังไม่สามารถระบายน้ำเสียออกจากหมู่บ้านได้ทันกับระดับน้ำขังที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ผู้พักอาศัยจะแจ้งให้โครงการฯ เข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวหลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถทำได้ ชี้แจงเพียงว่า สาธารณูปโภคเป็นไปตามมาตรฐานและสามารถใช้งานได้อย่างปกติ ไม่มีความเสียหายหรือก่อให้เกิดปัญหาต่อการอยู่อาศัย โดยได้มีการแก้ปัญหาเรื่องที่ดินต่ำไว้แล้ว ด้วยการนำท่อน้ำ พีวีซี มาเจาะรูแล้วนำไปฝังดักน้ำตามแนวรั้วด้านหลังบ้านแต่ละหลัง และนำอิฐมอญมาก่อเป็นกระถางต้นไม้ด้านหลังบ้านแล้วใส่ดินในกระถางอย่างไรก็ตามผู้ร้องต้องการให้บริษัทฯ ดำเนินการซ่อมแซมรั้วของหมู่บ้านใหม่ หรือหาแนวทางเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมเข้ามาภายในหมู่บ้านระยะยาว เนื่องจากบริษัทฯ ควรมีหน้าที่ส่งมอบสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐานให้กับผู้บริโภค จึงมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อขอคำแนะนำ แนวทางการแก้ไขปัญหากรณีนี้ผู้ร้องได้ทำสัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินกับโครงการฯ โดยที่ไม่ทราบมาก่อนว่าโครงการฯ มีที่ดินสภาพต่ำกว่าพื้นที่รอบนอกหมู่บ้าน เพราะที่ดินดังกล่าวเคยเป็นบ่อเลี้ยงปลาเก่า และเมื่อมีการก่อสร้างก็ไม่ได้ถมที่ดินเพิ่มเติมให้เท่ากับพื้นที่รอบนอก ทำให้มีน้ำขังเวลาฝนตก โดยน้ำจะซึมผ่านใต้บ้านตลอดเวลา ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงแนะนำให้ผู้ร้องเก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพิ่มเติม เช่น รูปถ่ายสถานที่ และข้อพิสูจน์เรื่องพื้นที่ต่างระดับดังกล่าว ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในระหว่างการฟ้องคดี โดยศูนย์ฯ ยังคงติดตามความคืบหน้าต่อไปทั้งนี้ก่อนรับโอนบ้านเราควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้รอบด้าน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการซื้อบ้านแล้วไม่ได้บ้านอย่างที่ฝันไว้ ดังนี้1. พิจารณารายรับรายจ่าย ของตัวเองว่ามีกำลังซื้อหรือผ่อนบ้านได้หรือไม่2. ศึกษาข้อมูลรายละเอียดโครงการ ที่ประกาศขายบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ว่ามีความน่าเชื่อถือ หรือสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่3. ไปดูสถานที่จริง ว่าบ้านได้คุณภาพมาตรฐานหรือไม่ ไม่ควรดูตามโฆษณาหรือโบชัวร์อย่างเดียว4. ศึกษารายละเอียดของสัญญา การจองซื้อบ้าน การโอนกรรมสิทธิ์ หรือการให้ประโยชน์ตอบแทนที่ชัดเจน ซึ่งในสัญญาจองควรระบุว่า หากกู้ธนาคารไม่ผ่านสามารถขอเงินคืนทั้งหมดได้5. สัญญาการจะซื้อจะขาย ควรจะมีการรับประกันโครงสร้างหรือการรับประกันบ้าน6. อย่าหลงเชื่อคำโฆษณา หรือคำกล่าวอ้างของพนักงานขาย ที่เร่งให้โอนกรรมสิทธิ์ขณะที่บ้านยังไม่แล้วเสร็จ เพราะผู้ประกอบการอาจละทิ้งงานเพราะไม่มีข้อต่อรองแล้ว บางทีผู้ประกอบการอาจอ้างว่าจะมาซ่อมให้จนหมดอายุการรับประกันบ้านได้ ซึ่งอายุการรับประกันจะนับหนึ่งตั้งแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์ ควรระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่าผู้ประกอบการต้องเข้ามาซ่อมแซมให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด7. การโอนกรรมสิทธิ์บ้าน หลังสร้างเสร็จแล้วผู้บริโภคต้องตรวจสอบว่า เป็นไปตามแปลนหรือข้อตกลงหรือไม่ หากยังจะผู้สร้างจะได้ปรับแก้ให้ตรงความต้องการที่ตกลงกันไว้8. ไม่ควรซื้อบ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะอาจเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน9. ใช้สิทธิ์เมื่อเกิดปัญหา ทั้งหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาได้ที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ ผ่านทางเว็บไซต์  http://www.consumerthai.org หรือโทรศัพท์ 02-2483737ที่มา: เว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. รู้ไว้ใช้สิทธิ์ก่อนซื้อบ้านต้องศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน. http://www.consumerthai.org

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 อาหารหมดอายุ แต่ทำไมยังวางจำหน่าย

ในคอลัมน์เสียงผู้บริโภคเล่มก่อนๆ เราเคยเสนอประเด็นเรื่อง “ของหมดอายุควรมีอยู่ในห้างหรือไม่” เพราะผู้บริโภคอย่างเรา ไม่ได้มีหน้าที่นำสินค้าที่หมดอายุไปคืน แต่ควรเป็นทางร้านมากกว่าที่ต้องวางขายสินค้าที่ไม่หมดอายุให้กับเรา อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวก็ยังเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ จนเกิดคำถามจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ว่า เมื่อไรที่ปัญหานี้จะได้รับการดูแลอย่างจริงจังจากผู้จัดจำหน่ายสินค้านั้นๆกรณีนี้เกิดขึ้นกับผู้ร้องที่ซื้ออาหารจากห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี โดยเขาได้ซื้อฟักทองนึ่ง และปลานิลทอด 4 ตัว เมื่อนำกลับมารับประทานที่บ้าน(ไม่เกิน 20 นาที นับจากเวลาที่ชำระเงินเรียบร้อย) ก็พบว่าฟักทองดังกล่าวมีกลิ่นบูดและมียางเหนียวๆ ติดมือ และปลานิลทอดก็มีกลิ่นเน่าโชยออกมาทุกตัว เขาจึงตัดสินใจเก็บใส่ตู้เย็นไว้ และโทรศัพท์ไปร้องเรียนที่ห้างดังกล่าวในวันรุ่งขึ้นเมื่อได้รับการแจ้งร้องเรียนพนักงานของทางห้างได้แจ้งว่า ให้นำใบเสร็จมารับเงินคืน แต่ผู้ร้องเห็นว่านี่เป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งทางห้างควรให้ความสนใจมากกว่าประเด็นเรื่องการคืนเงิน เขาจึงขอพูดสายกับผู้บริหารระดับสูง เพราะต้องการให้ห้างดังกล่าวมีความรับผิดชอบมากกว่านี้อย่างไรก็ตามพนักงานกลับโอนสายให้ผู้จัดการระดับแผนกเป็นผู้รับเรื่องแทน ผู้ร้องจึงตอบกลับไปว่า จะไม่เป็นฝ่ายไปรับเงินคืนที่ห้าง แต่ให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของห้างเป็นผู้มารับสินค้ากลับไปและมารับเรื่องร้องเรียนด้วยตนเองแทน แต่ก็กลับพบว่าคนที่มารับสินค้าเป็นเพียงหัวหน้าแผนกซีฟู้ด ซึ่งได้ขอโทษและคืนเงินให้ ทำให้ผู้ร้องเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เขาจึงนำคลิปที่ถ่ายอาหารดังกล่าวไว้ลงในสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook ส่วนตัว) และเว็บไซต์ยูทูบ เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร และร้องเรียนมายังมูลนิธิ เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แนวทางการแก้ไขปัญหาทางศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องทำจดหมายแจ้งรายละเอียด และความประสงค์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่ของห้างสรรพสินค้าดังกล่าว และนัดให้มีการเจรจาที่มูลนิธิฯ ซึ่งภายหลังการเจรจาตัวแทนของบริษัทฯ ยืนยันที่นำข้อเสนอต่างๆ ของผู้ร้องกลับไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้มีมาตรฐานในการดูแลสินค้าให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคต่อไปทั้งนี้สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการร้องเรียนในประเด็น อาหารหมดอายุ หรือเสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุ สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้1. เก็บบรรจุภัณฑ์ของสินค้า และใบเสร็จรับเงินมาเป็นหลักฐาน อย่างไรก็ตามในกรณีที่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน สิ่งที่สามารถเรียกร้องได้โดยทั่วไปคือการเปลี่ยนสินค้าชิ้นใหม่ (ขึ้นอยู่กับการต่อรองกับผู้ขาย) ซึ่งควรดำเนินการทันทีที่พบว่าได้บริโภคอาหารหมออายุ หรือเสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุ2. ถ่ายรูป ฉลาก (ที่ระบุ ว/ด/ปี ที่ผลิต – หมดอายุ) รูปสินค้า และใบเสร็จรับเงิน 3. นำหลักฐานทั้งหมดแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษที่สถานีตำรวจท้องที่4. ติดต่อแหล่งจำหน่ายอาหารที่ซื้อมา ซึ่งควรคิดล่วงหน้าว่าต้องการให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา พร้อมชดเชย เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างไร เช่น เปลี่ยนสินค้าใหม่ คืนเงิน จ่ายค่าเสียเวลา หรือให้ทำหนังสือชี้แจงเหตุของสิ่งผิดปกติดังกล่าว 5. หากไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร โดยบรรยายสรุปปัญหาที่พบ พร้อมข้อเรียกร้อง ถึงประธานกรรมการบริหารที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้นๆ ซึ่งสามารถให้ทางศูนย์ฯ ช่วยตรวจสอบข้อมูลก่อนได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 นำเครื่องเก่ามาแลกใหม่

หลัง เอไอเอส (AIS) ประกาศสิ้นสุดการให้บริการเครือข่าย AIS 2G (GSM Advance และ 1-2-Call 2G) บนคลื่นความถี่ 900 MHz ผู้ที่ใช้บริการเครือข่ายดังกล่าวในระบบ 2G จึงต้องเปลี่ยนซิมและเครื่องโทรศัพท์ใหม่ ให้สอดคล้องกับการใช้งานในระบบ 3G โดยทางเครือข่ายก็ออกโปรโมชั่นมาอำนวยความสะดวกลูกค้าด้วยการให้ “นำเครื่องเก่ามาแลกเครื่องใหม่ฟรี” อย่างไรก็ตามโปรโมชั่นดังกล่าวก็ได้สร้างความสับสนให้กับลูกค้าบางราย เมื่อพนักงานแจ้งว่าให้เปลี่ยนเครื่อง ทั้งๆ ที่ไม่มีความจำเป็นกรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมากับผู้ร้องที่ใช้บริการเครือข่ายดังกล่าว โดยขณะที่เขากำลังโทรศัพท์พูดคุยกับเพื่อน ก็มีสายแทรกจากโอเปอเรเตอร์ถึง 2 ครั้งว่า มือถือของเขาไม่รองรับระบบ 3G ให้นำเครื่องเก่ามาเปลี่ยนที่ศูนย์บริการของ AIS ฟรี ซึ่งหากไม่นำมาเปลี่ยนจะทำให้ใช้งานต่อไปไม่ได้ ภายหลังเขานำมือถือที่ใช้งานอยู่คือ ยี่ห้อ I-mobile รุ่น I-style 2.8 ไปเปลี่ยนเป็น  AIS LAVA ตามคำแนะนำของโอเปอเรเตอร์ดังกล่าวอย่างไรก็ตามพนักงานที่ศูนย์ฯ กลับแจ้งว่า รุ่นที่เขาต้องการหมด และแนะนำให้เปลี่ยนเป็น ยี่ห้อ I-mobile รุ่น I-style 7.8 DTV แทน โดยให้เพิ่มเงินอีก 1,190 บาท พร้อมจ่ายค่าบริการเหมาจ่ายล่วงหน้าอีก 200 บาท รวมเป็น 1,390 บาท และเซ็นสัญญาผูกมัดการใช้งานกับเครือข่ายดังกล่าว (AIS One - 2 – Call) อีก 1 ปีทั้งนี้เมื่อผู้ร้องนำมือถือเครื่องใหม่กลับมาใช้งานก็พบว่า เครื่องมีอาการค้าง เปิด - ปิดเอง (Restart) ตลอดเวลา ความละเอียดภาพหน้าจอไม่ชัดเจน และการเชื่อมต่อสัญญาณ WIFI ก็แย่ลง เมื่อเปรียบเทียบกับมือถือเครื่องเก่าที่เคยใช้งานมา เขาจึงนำมือถือดังกล่าวกลับไปที่ศูนย์ฯ เพื่อแก้ไข พนักงานจึงนำเครื่องใหม่มาเปลี่ยนให้ แต่เป็นยี่ห้อและรุ่นเดิม ซึ่งหลังจากที่เขาลองทดสอบดู ก็พบว่ายังมีปัญหาเหมือนเดิมทางศูนย์บริการ จึงแนะนำให้ผู้ร้องนำเครื่องใหม่ที่มีปัญหา ไปซ่อมที่ศูนย์บริการของ I-mobile ด้วยตนเอง โดยการซ่อมดังกล่าวอาจใช้เวลา 1 เดือน ซึ่งผู้ร้องไม่สามารถส่งซ่อมได้ เพราะระหว่างนั้นมีความจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ อย่างไรก็ตามเมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ เขาจึงกลับไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโทรศัพท์ยี่ห้อดังกล่าว ซึ่งพบความจริงหลังได้ลองเปรียบเทียบข้อมูลจำเพาะ (Spec) ระหว่างเครื่องรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ว่า ไม่มีความแตกต่างกันมากเท่าไรนัก นอกจากนี้มือถือเครื่องเก่าของเขาก็สามารถรองรับระบบ 3G ได้อยู่แล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้ผู้ร้องมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพราะเห็นว่า เครือข่ายดังกล่าวมีการเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยการให้ข้อมูลที่ผิดพลาด สร้างความสับสนให้ลูกค้า และยังใช้วิธีแกมบังคับให้นำเครื่องมาเปลี่ยนใหม่ ทั้งๆ ที่เครื่องเดิมนั้นไม่มีปัญหาในการใช้งานแต่อย่างใด โดยมีข้อเรียกร้องคือ1. ขอให้ทางบริษัท คืนเครื่องเก่าให้ คือ โทรศัพท์มือถือยี่ห้อ I-mobile รุ่น I-style 2.8 พร้อมคืนเงินค่าส่วนต่างที่ได้จ่ายไปแล้วจำนวน 1,390 บาท พร้อมยกเลิกสัญญาผูกมัดดังกล่าว2. ขอให้ทางบริษัท เปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ โดยเป็นรุ่นอื่นที่มีคุณภาพดี ในมูลค่าเทียบเท่ากับโทรศัพท์เครื่องเก่าของเขา และบวกเงินค่าส่วนต่างที่ได้เสียไปประมาณ 2,500 – 3,000 บาท พร้อมกับยกเลิกสัญญาผูกมัดดังกล่าวแนวทางการแก้ไขปัญหาในประเด็นเรื่องโทรศัพท์ใช้งานได้ไม่ดีนั้น ศูนย์พิทักษ์สิทธิ ได้แนะนำให้ผู้ร้องตรวจเช็คระบบของตัวเครื่องโทรศัพท์และ SIM AIS ที่ใช้งานอยู่ก่อน เพราะอาจเกิดจากสัญญาณในพื้นที่การใช้งานนั้นๆ ไม่เสถียร แต่อาการเครื่องค้างยังเหมือนเดิม ส่วนในประเด็นเรื่องข้อเรียกร้องผู้ร้องสามารถทำได้ เพราะบริษัทไม่สามารถบังคับให้ผู้ร้องทำสัญญาผูกมัดดังกล่าว โดยอิงตามประกาศของ กสทช. ที่เคยออกมาชี้แจงสิทธิผู้บริโภคในด้านกิจการโทรคมนาคมว่า การใช้บริการโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตที่มีสัญญาให้ใช้ 6 เดือนหรือ 1 ปี สามารถยกเลิกก่อนได้ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ ซึ่งหากผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคประสบปัญหา จากการใช้บริการโทรคมนาคมสามารถร้องเรียนต่อ กสทช . โดยตรงได้ที่เบอร์ 1200 กด 1 (ฟรี) อย่างไรก็ตามภายหลังผู้ร้องได้มีการไปเจรจาไกล่เกลี่ยกับทางบริษัทที่ สคบ. ซึ่งยินยอมทำตามข้อเรียกร้องข้อ 2 ด้านผู้ร้องก็ยินดีรับข้อเสนอดังกล่าว เรื่องจึงยุติลงทั้งนี้สำหรับผู้ที่ต้องนำเครื่องเก่าไปแลกเครื่องใหม่ ควรศึกษารายละเอียดด้านข้อมูลจำเพาะต่างๆ ของเครื่องเดิมก่อน และเงื่อนไขต่างๆ ในการเปลี่ยนเครื่อง โดยเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของเครื่องข่ายดังกล่าวได้ที่ http://www.ais.co.th/judhai/ ข้อมูลอ้างอิงเรื่อง สิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม : http://tcp.nbtc.go.th/uploads/vdo/pdfPublication/RightConsumer.pdf

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 180 เสียงผู้บริโภค

หมู่บ้านในแอ่งกระทะหลังเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 บ้านเรือนหลายหลังได้รับความเสียหายหนัก ผู้ประสบภัยบางรายตัดสินใจขายทิ้งบ้านมากกว่าซ่อมแซม แต่หากทั้งขายและซ่อมไม่ได้ เพราะเพิ่งรู้ความจริงทีหลังว่าบ้านอยู่ในพื้นที่ต่ำ ที่ต่อให้ซ่อมแล้วก็ยังต้องผจญกับปัญหาน้ำท่วมขังเช่นนี้ตลอดไป เราควรแก้ปัญหาอย่างไรดี เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับผู้ร้อง ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้เสียหายจำนวน 465 หลังคาเรือน จากโครงการ ศุภาลัย แกรนด์เลค (Suphalai Grand Lake Village) ที่มีมูลค่าการซื้อขายไม่ต่ำกว่าหลังคาเรือนละ 4 ล้านบาท โดยภายหลังน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 พวกเขาพบว่า เวลาฝนตกจะมีน้ำไหลซึมเข้ามาภายในโครงการตลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อตรวจสอบจึงทราบว่าพื้นที่ของทั้งโครงการต่ำกว่าพื้นที่รอบนอก หรือเป็นแอ่งกระทะนั่นเอง ทำให้สามารถตอบโจทย์ได้ว่าทำไมทั้งๆ ที่มีรั้วกั้นน้ำ จึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะรั้วดังกล่าวกลับสร้างในระดับเดียวกันกับพื้นที่รอบนอก ภายหลังทางโครงการฯ ได้แก้ปัญหาด้วยการนำเครื่องสูบน้ำมาช่วยระบายน้ำออก แต่ก็ยังไม่สามารถระบายน้ำเสียออกจากหมู่บ้านได้ทันกับระดับน้ำขังที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ผู้พักอาศัยจะแจ้งให้โครงการฯ เข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวหลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถทำได้ ชี้แจงเพียงว่า สาธารณูปโภคเป็นไปตามมาตรฐานและสามารถใช้งานได้อย่างปกติ ไม่มีความเสียหายหรือก่อให้เกิดปัญหาต่อการอยู่อาศัย โดยได้มีการแก้ปัญหาเรื่องที่ดินต่ำไว้แล้ว ด้วยการนำท่อน้ำ พีวีซี มาเจาะรูแล้วนำไปฝังดักน้ำตามแนวรั้วด้านหลังบ้านแต่ละหลัง และนำอิฐมอญมาก่อเป็นกระถางต้นไม้ด้านหลังบ้านแล้วใส่ดินในกระถาง อย่างไรก็ตามผู้ร้องต้องการให้บริษัทฯ ดำเนินการซ่อมแซมรั้วของหมู่บ้านใหม่ หรือหาแนวทางเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมเข้ามาภายในหมู่บ้านระยะยาว เนื่องจากบริษัทฯ ควรมีหน้าที่ส่งมอบสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐานให้กับผู้บริโภค จึงมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อขอคำแนะนำ แนวทางการแก้ไขปัญหากรณีนี้ผู้ร้องได้ทำสัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินกับโครงการฯ โดยที่ไม่ทราบมาก่อนว่าโครงการฯ มีที่ดินสภาพต่ำกว่าพื้นที่รอบนอกหมู่บ้าน เพราะที่ดินดังกล่าวเคยเป็นบ่อเลี้ยงปลาเก่า และเมื่อมีการก่อสร้างก็ไม่ได้ถมที่ดินเพิ่มเติมให้เท่ากับพื้นที่รอบนอก ทำให้มีน้ำขังเวลาฝนตก โดยน้ำจะซึมผ่านใต้บ้านตลอดเวลา ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงแนะนำให้ผู้ร้องเก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพิ่มเติม เช่น รูปถ่ายสถานที่ และข้อพิสูจน์เรื่องพื้นที่ต่างระดับดังกล่าว ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในระหว่างการฟ้องคดี โดยศูนย์ฯ ยังคงติดตามความคืบหน้าต่อไป ทั้งนี้ก่อนรับโอนบ้านเราควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้รอบด้าน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการซื้อบ้านแล้วไม่ได้บ้านอย่างที่ฝันไว้ ดังนี้1. พิจารณารายรับรายจ่าย ของตัวเองว่ามีกำลังซื้อหรือผ่อนบ้านได้หรือไม่2. ศึกษาข้อมูลรายละเอียดโครงการ ที่ประกาศขายบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ว่ามีความน่าเชื่อถือ หรือสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่3. ไปดูสถานที่จริง ว่าบ้านได้คุณภาพมาตรฐานหรือไม่ ไม่ควรดูตามโฆษณาหรือโบชัวร์อย่างเดียว4. ศึกษารายละเอียดของสัญญา การจองซื้อบ้าน การโอนกรรมสิทธิ์ หรือการให้ประโยชน์ตอบแทนที่ชัดเจน ซึ่งในสัญญาจองควรระบุว่า หากกู้ธนาคารไม่ผ่านสามารถขอเงินคืนทั้งหมดได้5. สัญญาการจะซื้อจะขาย ควรจะมีการรับประกันโครงสร้างหรือการรับประกันบ้าน6. อย่าหลงเชื่อคำโฆษณา หรือคำกล่าวอ้างของพนักงานขาย ที่เร่งให้โอนกรรมสิทธิ์ขณะที่บ้านยังไม่แล้วเสร็จ เพราะผู้ประกอบการอาจละทิ้งงานเพราะไม่มีข้อต่อรองแล้ว บางทีผู้ประกอบการอาจอ้างว่าจะมาซ่อมให้จนหมดอายุการรับประกันบ้านได้ ซึ่งอายุการรับประกันจะนับหนึ่งตั้งแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์ ควรระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่าผู้ประกอบการต้องเข้ามาซ่อมแซมให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด7. การโอนกรรมสิทธิ์บ้าน หลังสร้างเสร็จแล้วผู้บริโภคต้องตรวจสอบว่า เป็นไปตามแปลนหรือข้อตกลงหรือไม่ หากยังจะผู้สร้างจะได้ปรับแก้ให้ตรงความต้องการที่ตกลงกันไว้8. ไม่ควรซื้อบ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะอาจเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน9. ใช้สิทธิ์เมื่อเกิดปัญหา ทั้งหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาได้ที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ ผ่านทางเว็บไซต์  http://www.consumerthai.org หรือโทรศัพท์ 02-2483737 ที่มา: เว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. รู้ไว้ใช้สิทธิ์ก่อนซื้อบ้านต้องศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน. http://www.consumerthai.org   อาหารหมดอายุ แต่ทำไมยังวางจำหน่ายในคอลัมน์เสียงผู้บริโภคเล่มก่อนๆ เราเคยเสนอประเด็นเรื่อง “ของหมดอายุควรมีอยู่ในห้างหรือไม่” เพราะผู้บริโภคอย่างเรา ไม่ได้มีหน้าที่นำสินค้าที่หมดอายุไปคืน แต่ควรเป็นทางร้านมากกว่าที่ต้องวางขายสินค้าที่ไม่หมดอายุให้กับเรา อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวก็ยังเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ จนเกิดคำถามจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ว่า เมื่อไรที่ปัญหานี้จะได้รับการดูแลอย่างจริงจังจากผู้จัดจำหน่ายสินค้านั้นๆ กรณีนี้เกิดขึ้นกับผู้ร้องที่ซื้ออาหารจากห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี โดยเขาได้ซื้อฟักทองนึ่ง และปลานิลทอด 4 ตัว เมื่อนำกลับมารับประทานที่บ้าน(ไม่เกิน 20 นาที นับจากเวลาที่ชำระเงินเรียบร้อย) ก็พบว่าฟักทองดังกล่าวมีกลิ่นบูดและมียางเหนียวๆ ติดมือ และปลานิลทอดก็มีกลิ่นเน่าโชยออกมาทุกตัว เขาจึงตัดสินใจเก็บใส่ตู้เย็นไว้ และโทรศัพท์ไปร้องเรียนที่ห้างดังกล่าวในวันรุ่งขึ้น เมื่อได้รับการแจ้งร้องเรียนพนักงานของทางห้างได้แจ้งว่า ให้นำใบเสร็จมารับเงินคืน แต่ผู้ร้องเห็นว่านี่เป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งทางห้างควรให้ความสนใจมากกว่าประเด็นเรื่องการคืนเงิน เขาจึงขอพูดสายกับผู้บริหารระดับสูง เพราะต้องการให้ห้างดังกล่าวมีความรับผิดชอบมากกว่านี้ อย่างไรก็ตามพนักงานกลับโอนสายให้ผู้จัดการระดับแผนกเป็นผู้รับเรื่องแทน ผู้ร้องจึงตอบกลับไปว่า จะไม่เป็นฝ่ายไปรับเงินคืนที่ห้าง แต่ให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของห้างเป็นผู้มารับสินค้ากลับไปและมารับเรื่องร้องเรียนด้วยตนเองแทน แต่ก็กลับพบว่าคนที่มารับสินค้าเป็นเพียงหัวหน้าแผนกซีฟู้ด ซึ่งได้ขอโทษและคืนเงินให้ ทำให้ผู้ร้องเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เขาจึงนำคลิปที่ถ่ายอาหารดังกล่าวไว้ลงในสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook ส่วนตัว) และเว็บไซต์ยูทูบ เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร และร้องเรียนมายังมูลนิธิ เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแนวทางการแก้ไขปัญหาทางศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องทำจดหมายแจ้งรายละเอียด และความประสงค์ส่งไปยังสำนักงานใหญ่ของห้างสรรพสินค้าดังกล่าว และนัดให้มีการเจรจาที่มูลนิธิฯ ซึ่งภายหลังการเจรจาตัวแทนของบริษัทฯ ยืนยันที่นำข้อเสนอต่างๆ ของผู้ร้องกลับไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้มีมาตรฐานในการดูแลสินค้าให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคต่อไป ทั้งนี้สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการร้องเรียนในประเด็น อาหารหมดอายุ หรือเสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุ สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้1. เก็บบรรจุภัณฑ์ของสินค้า และใบเสร็จรับเงินมาเป็นหลักฐาน อย่างไรก็ตามในกรณีที่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน สิ่งที่สามารถเรียกร้องได้โดยทั่วไปคือการเปลี่ยนสินค้าชิ้นใหม่ (ขึ้นอยู่กับการต่อรองกับผู้ขาย) ซึ่งควรดำเนินการทันทีที่พบว่าได้บริโภคอาหารหมออายุ หรือเสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุ2. ถ่ายรูป ฉลาก (ที่ระบุ ว/ด/ปี ที่ผลิต – หมดอายุ) รูปสินค้า และใบเสร็จรับเงิน 3. นำหลักฐานทั้งหมดแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษที่สถานีตำรวจท้องที่4. ติดต่อแหล่งจำหน่ายอาหารที่ซื้อมา ซึ่งควรคิดล่วงหน้าว่าต้องการให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา พร้อมชดเชย เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างไร เช่น เปลี่ยนสินค้าใหม่ คืนเงิน จ่ายค่าเสียเวลา หรือให้ทำหนังสือชี้แจงเหตุของสิ่งผิดปกติดังกล่าว 5. หากไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร โดยบรรยายสรุปปัญหาที่พบ พร้อมข้อเรียกร้อง ถึงประธานกรรมการบริหารที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทนั้นๆ ซึ่งสามารถให้ทางศูนย์ฯ ช่วยตรวจสอบข้อมูลก่อนได้ นำเครื่องเก่ามาแลกใหม่หลัง เอไอเอส (AIS) ประกาศสิ้นสุดการให้บริการเครือข่าย AIS 2G (GSM Advance และ 1-2-Call 2G) บนคลื่นความถี่ 900 MHz ผู้ที่ใช้บริการเครือข่ายดังกล่าวในระบบ 2G จึงต้องเปลี่ยนซิมและเครื่องโทรศัพท์ใหม่ ให้สอดคล้องกับการใช้งานในระบบ 3G โดยทางเครือข่ายก็ออกโปรโมชั่นมาอำนวยความสะดวกลูกค้าด้วยการให้ “นำเครื่องเก่ามาแลกเครื่องใหม่ฟรี” อย่างไรก็ตามโปรโมชั่นดังกล่าวก็ได้สร้างความสับสนให้กับลูกค้าบางราย เมื่อพนักงานแจ้งว่าให้เปลี่ยนเครื่อง ทั้งๆ ที่ไม่มีความจำเป็น กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมากับผู้ร้องที่ใช้บริการเครือข่ายดังกล่าว โดยขณะที่เขากำลังโทรศัพท์พูดคุยกับเพื่อน ก็มีสายแทรกจากโอเปอเรเตอร์ถึง 2 ครั้งว่า มือถือของเขาไม่รองรับระบบ 3G ให้นำเครื่องเก่ามาเปลี่ยนที่ศูนย์บริการของ AIS ฟรี ซึ่งหากไม่นำมาเปลี่ยนจะทำให้ใช้งานต่อไปไม่ได้ ภายหลังเขานำมือถือที่ใช้งานอยู่คือ ยี่ห้อ I-mobile รุ่น I-style 2.8 ไปเปลี่ยนเป็น  AIS LAVA ตามคำแนะนำของโอเปอเรเตอร์ดังกล่าว อย่างไรก็ตามพนักงานที่ศูนย์ฯ กลับแจ้งว่า รุ่นที่เขาต้องการหมด และแนะนำให้เปลี่ยนเป็น ยี่ห้อ I-mobile รุ่น I-style 7.8 DTV แทน โดยให้เพิ่มเงินอีก 1,190 บาท พร้อมจ่ายค่าบริการเหมาจ่ายล่วงหน้าอีก 200 บาท รวมเป็น 1,390 บาท และเซ็นสัญญาผูกมัดการใช้งานกับเครือข่ายดังกล่าว (AIS One - 2 – Call) อีก 1 ปี ทั้งนี้เมื่อผู้ร้องนำมือถือเครื่องใหม่กลับมาใช้งานก็พบว่า เครื่องมีอาการค้าง เปิด - ปิดเอง (Restart) ตลอดเวลา ความละเอียดภาพหน้าจอไม่ชัดเจน และการเชื่อมต่อสัญญาณ WIFI ก็แย่ลง เมื่อเปรียบเทียบกับมือถือเครื่องเก่าที่เคยใช้งานมา เขาจึงนำมือถือดังกล่าวกลับไปที่ศูนย์ฯ เพื่อแก้ไข พนักงานจึงนำเครื่องใหม่มาเปลี่ยนให้ แต่เป็นยี่ห้อและรุ่นเดิม ซึ่งหลังจากที่เขาลองทดสอบดู ก็พบว่ายังมีปัญหาเหมือนเดิม ทางศูนย์บริการ จึงแนะนำให้ผู้ร้องนำเครื่องใหม่ที่มีปัญหา ไปซ่อมที่ศูนย์บริการของ I-mobile ด้วยตนเอง โดยการซ่อมดังกล่าวอาจใช้เวลา 1 เดือน ซึ่งผู้ร้องไม่สามารถส่งซ่อมได้ เพราะระหว่างนั้นมีความจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ อย่างไรก็ตามเมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ เขาจึงกลับไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโทรศัพท์ยี่ห้อดังกล่าว ซึ่งพบความจริงหลังได้ลองเปรียบเทียบข้อมูลจำเพาะ (Spec) ระหว่างเครื่องรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ว่า ไม่มีความแตกต่างกันมากเท่าไรนัก นอกจากนี้มือถือเครื่องเก่าของเขาก็สามารถรองรับระบบ 3G ได้อยู่แล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้ผู้ร้องมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพราะเห็นว่า เครือข่ายดังกล่าวมีการเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยการให้ข้อมูลที่ผิดพลาด สร้างความสับสนให้ลูกค้า และยังใช้วิธีแกมบังคับให้นำเครื่องมาเปลี่ยนใหม่ ทั้งๆ ที่เครื่องเดิมนั้นไม่มีปัญหาในการใช้งานแต่อย่างใด โดยมีข้อเรียกร้องคือ 1. ขอให้ทางบริษัท คืนเครื่องเก่าให้ คือ โทรศัพท์มือถือยี่ห้อ I-mobile รุ่น I-style 2.8 พร้อมคืนเงินค่าส่วนต่างที่ได้จ่ายไปแล้วจำนวน 1,390 บาท พร้อมยกเลิกสัญญาผูกมัดดังกล่าว2. ขอให้ทางบริษัท เปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ โดยเป็นรุ่นอื่นที่มีคุณภาพดี ในมูลค่าเทียบเท่ากับโทรศัพท์เครื่องเก่าของเขา และบวกเงินค่าส่วนต่างที่ได้เสียไปประมาณ 2,500 – 3,000 บาท พร้อมกับยกเลิกสัญญาผูกมัดดังกล่าวแนวทางการแก้ไขปัญหาในประเด็นเรื่องโทรศัพท์ใช้งานได้ไม่ดีนั้น ศูนย์พิทักษ์สิทธิ ได้แนะนำให้ผู้ร้องตรวจเช็คระบบของตัวเครื่องโทรศัพท์และ SIM AIS ที่ใช้งานอยู่ก่อน เพราะอาจเกิดจากสัญญาณในพื้นที่การใช้งานนั้นๆ ไม่เสถียร แต่อาการเครื่องค้างยังเหมือนเดิม ส่วนในประเด็นเรื่องข้อเรียกร้องผู้ร้องสามารถทำได้ เพราะบริษัทไม่สามารถบังคับให้ผู้ร้องทำสัญญาผูกมัดดังกล่าว โดยอิงตามประกาศของ กสทช. ที่เคยออกมาชี้แจงสิทธิผู้บริโภคในด้านกิจการโทรคมนาคมว่า การใช้บริการโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตที่มีสัญญาให้ใช้ 6 เดือนหรือ 1 ปี สามารถยกเลิกก่อนได้ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ ซึ่งหากผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคประสบปัญหา จากการใช้บริการโทรคมนาคมสามารถร้องเรียนต่อ กสทช . โดยตรงได้ที่เบอร์ 1200 กด 1 (ฟรี) อย่างไรก็ตามภายหลังผู้ร้องได้มีการไปเจรจาไกล่เกลี่ยกับทางบริษัทที่ สคบ. ซึ่งยินยอมทำตามข้อเรียกร้องข้อ 2 ด้านผู้ร้องก็ยินดีรับข้อเสนอดังกล่าว เรื่องจึงยุติลง ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ต้องนำเครื่องเก่าไปแลกเครื่องใหม่ ควรศึกษารายละเอียดด้านข้อมูลจำเพาะต่างๆ ของเครื่องเดิมก่อน และเงื่อนไขต่างๆ ในการเปลี่ยนเครื่อง โดยเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของเครื่องข่ายดังกล่าวได้ที่ http://www.ais.co.th/judhai/ ข้อมูลอ้างอิงเรื่อง สิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม : http://tcp.nbtc.go.th/uploads/vdo/pdfPublication/RightConsumer.pdf    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 คำมั่นสัญญา มีผลทางกฎหมายอย่างไร

 สวัสดีครับท่านผู้อ่าน เราจะมาคุยกันถึงเรื่องการไปสัญญามั่นหมายกับคนอื่นในการซื้อของ บางครั้งการที่กล่าวอะไรออกไป เหมือนจะไม่มีอะไร แต่ในทางกฎหมายนั้น คำมั่นคือสัญญาที่ผู้ให้คำมั่นผูกพันตนเองในการที่จะให้คำมั่นแก่ผู้รับคำมั่น เรียกง่ายๆ ว่าผู้ให้สัญญายอมผู้ผูกพันตนเองแต่ฝ่ายเดียวนั่นเอง ตามกฎหมายแล้วถือว่ามีผลผูกพันมีผลใช้บังคับกันได้นะครับ ดังนั้นจะต้องระวังกันให้ดี อย่างเช่นเรื่องดังต่อไปนี้ มีคนสองคนเขาเป็นญาติกัน วันหนึ่งพวกเขาตกลงขายที่ดินและโรงเรือนให้แก่กัน  โดยมีเงื่อนไขว่า ภายใน 10 ปี ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายมาซื้อคืนได้ แต่ตกลงกันด้วยปากเปล่า แล้วต่อมาจึงมีการทำสัญญากันภายหลัง โดยมีคำมั่นต่อกันว่า ผู้ขายจะไม่นำที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวไปขายคนอื่น และภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ซื้อขาย หากผู้ขายมีเงินสามารถซื้อคืนได้    เช่นนี้ คำมั่นดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ เมื่อต่อมา ผู้ขายมีเงินมาซื้อที่ดินและโรงเรือนคืน ผู้ซื้อไม่ยอมขาย ผู้ขายจึงมีสิทธิมาฟ้องบังคับตามคำมั่นในสัญญาได้ ดังตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่  170/2497  และ คำพิพากษาฎีกาที่ 3670/2528 คำพิพากษาฎีกาที่  170/2497   “ขายที่ดินและโรงเรือนให้แก่ญาติกัน โดยตกลงกันด้วยปากเปล่า ก่อนทำหนังสือสัญญาซื้อขายว่า ภายใน 10 ปีผู้ซื้อยอมให้ผู้ขายมีสิทธิไถ่คืนได้ ถือว่าการตกลงด้วยปากเปล่าดังนี้เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนแล้ว ข้อตกลงเช่นนี้ ก็สูญเปล่าไม่มีผลบังคับแก่กันได้ สัญญาซื้อขายที่ทำกันในภายหลังนั้น จึงสำเร็จเด็ดขาดไป แต่เมื่อปรากฏว่าต่อมาอีก 2 ปีเศษ ผู้ซื้อกับผู้ขายได้ทำหนังสือสัญญากันอีก ให้คำมั่นสัญญาว่า ที่ดินและโรงเรือนรายนี้จะไม่ขายคนอื่น และภายใน 10 ปีนับแต่วันซื้อขาย ผู้ขายมีเงินจะซื้อกลับผู้ซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันเซ็นสัญญา ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นคำมั่นจะขายตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 456 วรรค 2 ผู้ขายเดิมจึงมีสิทธิจะฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาใหม่นี้ได้” คำพิพากษาฎีกาที่ 3670/2528 “ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์จำเลยทำสัญญาต่อกันอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนได้ภายใน 10 ปี ดังนี้ สัญญาที่ทำต่อกันไม่ใช่สัญญาขายฝากหรือนิติกรรมอำพราง แต่ข้อกำหนดที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลยได้ภายใน 10 ปี เป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 2 จึงมีผลผูกพันคู่กรณีใช้บังคับกันได้” อีกเรื่องที่อยากให้ผู้อ่านทราบคือ เวลาให้คำมั่นกับใครก็ตาม หากเราได้กำหนดระยะเวลาไว้ คำมั่นนั้นก็มีผลเพียงเท่าระยะเวลาที่กำหนด  แต่ถ้าเกิดให้คำมั่นแล้วไม่กำหนดเวลาไว้ ศาลได้ตัดสินว่า คำมั่นที่ไม่มีกำหนดเวลา จะมีผลผูกพันตลอดไป ดังเช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 1004/2485 คำพิพากษาฎีกาที่ 1004/2485(ประชุมใหญ่) “ทำสัญญาขายนาแล้ว ต่อมาทำหนังสือมีข้อความว่า ถ้าผู้ขายมีเงินมาไถ่คืนเมื่อใด ผู้ซื้อจะคืนนาให้เมื่อนั้น โดยไม่มีกำหนดเวลา ดังนี้เป็นคำมั่นในการซื้อขาย คำมั่นในการซื้อขายซึ่งไม่มีกำหนดเวลา ถ้าผู้ให้คำมั่นมิได้บอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งตอบตกลงให้เสร็จไป คำมั่นนั้นก็ผูกพันอยู่ตลอดไป แม้จะเกิน 10 ปี อีกฝ่ายก็ยังตอบตกลงให้ทำการซื้อขายได้”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 สะดวกสบายกับแอพพลิเคชั่นค่าน้ำค่าไฟ

สาธารณูปโภคของหน่วยงานรัฐเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน เมื่อตื่นขึ้นมาทุกคนต้องอาบน้ำ แปรงฟัน เปิดเครื่องทำน้ำร้อน เป่าผม ฯลฯ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทุกย่างก้าวของการดำรงชีวิตนั้น เราทุกคนต้องใช้น้ำและไฟในการดำเนินชีวิต น้ำและไฟเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เมื่อมีเหตุขัดข้องเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นน้ำประปาไม่ไหล ไฟไม่ติด หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องน้ำและไฟ ก็จะสร้างความลำบากให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก   ฉบับนี้ผู้เขียนจึงขอกล่าวถึงแอพพลิเคชั่นของการไฟฟ้านครหลวง และแอพพลิเคชั่นการประปานครหลวง ที่ได้ผลิตออกมาเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายมากขึ้น และช่วยเพิ่มช่องทางที่มีความรวดเร็วในการขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานได้อย่างทันถ่วงที แอพพลิเคชั่นของการไฟฟ้านครหลวง มีชื่อว่า “Smart Life”  ส่วนแอพพลิเคชั่นการประปานครหลวง มีชื่อว่า “MWA on Moblie” เมื่อดาวน์โหลดทั้งสองแอพพลิเคชั่นนี้มาไว้บนสมาร์ทโฟนเรียบร้อยแล้ว แอพพลิเคชั่นจะให้ผู้ใช้ลงทะเบียน โดยกรอกหมายเลขโทรศัพท์และหมายเลขบัตรประชาชน ซึ่งเป็นขั้นตอนในการเข้าใช้แอพพลิเคชั่นในหมวดต่างๆ หลังจากนั้นผู้ใช้ต้องกรอกรหัสเฉพาะ ดังนี้ แอพพลิเคชั่นของการไฟฟ้านครหลวง จะให้กรอกเลขบัญชีแสดงสัญญาและรหัสเครื่องวัดฯ บ้านของผู้ใช้ ส่วนแอพพลิเคชั่นการประปานครหลวง จะให้กรอรกเลขสาขา เขต และเลขทะเบียนผู้ใช้น้ำ เมื่อกรอกเลขรหัสเฉพาะเสร็จสิ้น ข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้จะปรากฏขึ้น คุณสมบัติของแอพพลิเคชั่น “Smart Life”  จะมีหมวดค่าไฟฟ้า ประวัติการใช้ไฟ สถานที่ชำระเงินที่ใกล้บริเวณที่ผู้ใช้ยืนอยู่ แผนที่แสดงจุดให้บริการ นอกจากนี้ยังมีหมวดของข่าวสารที่จะแจ้งข้อมูลความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับการไฟฟ้านครหลวง หมวดประกาศดับไฟเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่าบริเวณใดบ้างที่จะไม่สามารถใช้ไฟได้ และหมวดที่สำคัญที่สุดคือ หมวดรับแจ้งไฟฟ้าขัดข้อง เมื่อมีเหตุไฟฟ้าขัดข้องผู้ใช้สามารถกดแจ้งผ่านแอพพลิเคชั่นนี้ได้ทันที สำหรับคุณสมบัติของแอพพลิเคชั่น “MWA on Moblie” จะมีหมวดแอพพลิเคชั่นคล้ายคลึงกับ “Smart Life”  ได้แก่ หมวดข้อมูลผู้ใช้น้ำ ค่าน้ำ สถิติการใช้น้ำในแต่ละเดือน แจ้งข่าวสารพื้นที่ที่น้ำไม่ไหล สาขาหน่วยงานที่สามารถติดต่อได้สะดวกที่สุด รวมถึงมีหมวดการแจ้งปัญหาน้ำไม่ไหล ท่อรั่ว ท่อแตก ฯลฯ ได้อีกด้วย โดยทั้งแอพพลิเคชั่นทั้งสองนั้น สามารถเปลี่ยนจากแอพพลิเคชั่นมาเป็นใบแจ้งค่าน้ำค่าไฟได้ด้วย เพราะภายในแอพพลิเคชั่นได้สร้างบาร์โค้ด (Barcode) เพื่อเพิ่มความสะดวกโดยการกดสัญลักษณ์เครื่องหมายบาร์โค้ด (Barcode) แล้วนำสมาร์ทโฟนนั้นยื่นให้กับผู้บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสเพื่อชำระเงินได้ทันที เพียงมีแอพพลิเคชั่นภายในสมาร์ทโฟน ก็ช่วยเพิ่มช่องทางในการติดต่อกับการไฟฟ้านครหลวงและการประปานครหลวง และยังช่วยลดความกังวลในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์น้ำไม่ไหล ท่อรั่ว ท่อแตก ไฟดับ หม้อแปลงระเบิด ฯลฯ ได้บ้าง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 เทรนด์ใหม่มาแรง..แย่งอาหารจิ้งหรีด

จำได้ว่าสมัยเด็กๆ  ผมเคยได้ยินผู้ใหญ่บอกว่า ถ้าอยากเสียงดี ต้องไปกินน้ำค้างที่ยอดหญ้าเหมือนจิ้งหรีด ตอนนั้นยังขำๆ กับคำพูดนี้  จนปัจจุบัน ได้มาทำงานคุ้มครองผู้บริโภค  มิคาดว่าเรื่องเล่าขานตำนานน้ำค้าง มันจะกลายมาเป็นจริง เพราะเดี๋ยวนี้มีผลิตภัณฑ์จำหน่าย โดยแจ้งว่าเป็น น้ำค้างเพื่อสุขภาพ นี่เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ผลิตภัณฑ์ที่ผมกำลังพูดถึง มีการประกาศขาย โดยให้สั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต ระบุว่าเป็น  “น้ำค้างบริสุทธิ์แท้” ที่รวบรวมน้ำค้างจากธรรมชาติ โดยใช้อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้จับน้ำค้างโดยเฉพาะ  ทำให้ได้น้ำค้างที่มีความบริสุทธิ์และมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับน้ำค้างที่เกาะบนใบหญ้า 100%  จึงอุดมไปด้วยออกซิเจนจากธรรมชาติ และมีโครงสร้างโมเลกุลขนาดเล็กที่เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ  เสมือนน้ำที่บริสุทธิ์ที่สุดในธรรมชาติ ไหนๆ ก็พร่ำพรรณนากระบวนการผลิตมาขนาดนี้แล้ว เรื่องสรรพคุณคงไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยนแล้ว เพราะเล่นบรรยายจะเคลิบเคลิ้มไปเลย.. ขายเด่นๆ ที่อ้าง คือการเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับอวัยวะต่างๆ และเกิดผลได้อย่างมหัศจรรย์ เช่น  เพิ่มให้กับสมอง(ทำให้สมองปลอดโปร่ง คลายเครียด ความจำดี และมีสมาธิมากขึ้น บรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน และลดภาวะสมองขาดออกซิเจน) เพิ่มให้กับตับ (ทำให้ตับสามารถกำจัดสารพิษต่างๆ ในร่างกายได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันอันตรายต่อเซลล์ตับจากสารพิษต่างๆ จากอาหารเครื่องดื่มและยาที่ปนเปื้อนสารพิษ ชำระล้างของเสียที่สั่งสมมานานออกไปจากร่างกาย) เพิ่มให้กับผิวหนังและเนื้อเยื่อ(ทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นสดใส เพิ่มการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายเร็ว) เพิ่มปริมาณออกซิเจนธรรมชาติให้กับเลือด(ทำให้เม็ดเลือดและเกล็ดเลือดมีจำนวนมากขึ้น ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจากภาวะขาดเลือด รักษาระดับความดันเลือดให้ปกติ) เพิ่มให้กับข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ(ทำให้ข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ช่วยเจือจางระดับของกรดยูริก บรรเทาอาการปวดเมื่อย และอาการข้อเสื่อม) เพิ่มให้กับปอด (ป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด และภูมิแพ้) ส่วนเรื่องราคาจะขายถูกเหมือนน้ำดื่มบรรจุขวดทั่วไปก็จะกระไรอยู่ น้ำค้างบริสุทธิ์นี้ ขวด 300 มิลลิลิตร ราคาขายประมาณ 120 – 144 บาท หวังว่าผู้บริโภคที่ฉลาดคงจะตัดสินใจได้นะครับว่า ผลิตภัณฑ์นี้มันมีสรรพคุณมหัศจรรย์พันลึกได้อย่างที่ว่าหรือเปล่า ยังไงก็ฝากเตือนๆ เพื่อนฝูงด้วยนะครับ “ การดื่มน้ำสะอาดเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าน้ำสะอาด แต่ดันโอ้อวดเกินจริง ถึงไม่ตาย ก็อาจเสียเงินเกินเหตุได้นะครับ”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 ศัลยกรรมตกแต่งริมฝีปากอย่างไร ให้สวยและปลอดภัย

การมีริมฝีปากที่สวยงามได้รูป ถือเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายคน เพราะสามารถช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับใบหน้าและช่วยสร้างความมั่นใจได้ ทำให้เกิดกระแสการศัลยกรรมตกแต่งริมฝีปากให้เป็นทรงกระจับ หรือการฉีดปากให้อวบอิ่ม อย่างไรก็ตามหากเราไม่อยากเจ็บตัวฟรีๆ ข้อควรรู้เบื้องต้นก่อนการศัลยกรรมริมฝีปากมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย รู้จักประเภทการศัลยกรรมตกแต่งริมฝีปากกันก่อนรูปแบบการตกแต่งริมฝีปากที่คนส่วนใหญ่นิยมมี 3 ประเภทดังนี้ 1. การศัลยกรรมปากกระจับหรือทรงปีกนก เป็นการตัดหรือเย็บริมฝีปากด้านบนเข้าไป เพื่อให้ได้รูปทรงที่ต้องการ เหมาะสำหรับผู้ที่มีริมฝีปากหนาไม่ได้รูป โดยอาจมีการทำศัลยกรรมปากบางทั้งริมฝีปากบนและล่างควบคู่ไปด้วย ซึ่งการศัลยกรรมดังกล่าวจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต การหาข้อมูลก่อนตัดสินใจทำจึงสำคัญมาก ทั้งนี้เราควรทำเมื่ออายุ 18 ปีขึ้นไปแต่ไม่ควรเกิน 45 ปี เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้นปากจะตกตามธรรมชาติ การศัลยกรรมริมฝีปากในลักษณะดังกล่าวอาจออกมาไม่สวยดั่งใจได้ 2. การฉีดริมฝีปากให้อวบอิ่ม หรือการฉีดฟิลเลอร์ด้วยสารเติมเต็มที่เรียกว่า ไฮยาลูโลนิค แอซิด (Hyaluronic acid) ซึ่งเป็นสารที่ได้รับรองมาตรฐาน อย. ทำให้มีความปลอดภัยสูง สามารถสลายตัวได้ตามธรรมชาติ เหมาะกับผู้ที่มีริมฝีปากบาง ขอบปากไม่ชัดเจนหรือผู้ที่มีร่องใต้มุมปากและมุมปากตกนิดๆ โดยหากทำแล้วจะอยู่ได้นานประมาณ 6 เดือน - 1 ปี (ขึ้นอยู่กับการดูแลเป็นหลัก) 3. การศัลยกรรมยกริมฝีปาก เพื่อปรับริมฝีปากให้ได้สัดส่วนที่ดูเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่ริมฝีปากเสียรูป โดยขณะพูดหรือยิ้มอาจมองไม่เห็นส่วนของฟันบน ทั้งนี้อัตราค่าบริการการศัลยกรรมตกแต่งริมฝีปากแต่ละประเภท ในสถานพยาบาลต่างๆ นั้นไม่เท่ากัน แต่ส่วนใหญ่ราคาจะเริ่มที่ 10,000 บาทขึ้นไป   ควรเปรียบเทียบข้อมูลก่อนตัดสินใจในยุคแรกของการทำศัลยกรรมริมฝีปากมีจุดประสงค์เพื่อรักษา หรือแก้ไขข้อบกพร่องของผู้ที่มีความพิการ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ หรือผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุจนทำให้มีแผลเป็นบริเวณริมฝีปาก เช่น ผู้ที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวกหรือเสียโฉม แต่ปัจจุบันมักทำเพื่อความสวยงามโดยเฉพาะ โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ทำศัลยกรรมปากกระจับหรือปากบาง มักต้องการให้ริมฝีปากได้รูปเหมือนกำลังยิ้มอ่อนๆ อยู่ตลอดเวลา ส่วนผู้ที่ฉีดริมฝีปากให้อวบอิ่มมักเน้นให้ปากดูเซ็กซี่ ซึ่งบางส่วนยอมรับว่าได้รับอิทธิพลจากคนดังฝั่งตะวันตก เช่น ไคลี่ เจนเนอร์ (Kylie Jenner) หรือเพื่อให้หน้าดูเด็กลง เพราะเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ริมฝีปากจะเริ่มบางและริ้วรอยบริเวณริมฝีปากก็มากขึ้น การเพิ่มขนาดของริมฝีปาก ด้วยการฉีดริมฝีปากให้อวบอิ่ม ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยลดรอยย่นและร่องที่ริมฝีปากได้ อย่างไรก็ตามการทำศัลยกรรมในลักษณะดังกล่าวก็สามารถส่งผลข้างเคียงได้ เช่น - การทำปากกระจับเกินไป อาจทำให้ปิดริมฝีปากไม่สนิท เพราะตัดเนื้อบริเวณริมฝีปากบนออกไป ทำให้แม้เกร็งกล้ามเนื้อให้ปากบนล่างปากประกบกันแล้วก็อาจเห็นช่องว่างระหว่างปากอยู่ดี หรือเวลายิ้มก็จะเห็นเหงือกมากขึ้น - การทำปากบาง โดยหากทำกับศัลยแพทย์ที่ไม่ชำนาญหรือไม่พอใจภายหลัง แม้สามารถแก้ไขได้ด้วยการฉีดปากให้อวบอิ่มขึ้น (ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 เดือน) แต่ไม่สามารถทำศัลยกรรมปากกระจับได้ เพราะไม่เหลือเนื้อปากให้ทำต่อแล้ว นอกจากนี้เมื่ออายุมากขึ้นริมฝีปากก็จะยิ่งบางไปอีกเรื่อยๆ จนอาจมองไม่เห็นริมฝีปากเลย - การทำปากอวบอิ่ม แม้จะฉีดด้วยสารที่มีความปลอดภัย แต่บางคนก็อาจแพ้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสารที่ไม่ได้รับมาตรฐานก็สามารถทำให้เกิดผลร้ายแรงได้มากขึ้น เช่น ฉีดผิดตำแหน่งจนสารดังกล่าวเข้าไปในกระแสเลือด จนเกิดการอุดตันของหลอดเลือดทำให้เนื้อตาย หรืออาจติดเชื้อจนเน่า เทคนิคการเลือกทำให้ “สวยและปลอดภัย”1. เลือกศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญ ทั้งนี้ควรตรวจสอบรายชื่อศัลยแพทย์ตกแต่งที่ได้รับวุฒิบัตร และการอนุมัติจากแพทยสภาก่อนรับการรักษาที่เว็บไซต์ http://www.tmc.or.th/ 2. เลือกสถานพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานและดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย 3. เลือกฉีดสารเติมเต็มที่ได้รับมาตรฐาน อย. 4. สำรวจความพร้อมของตัวเอง เช่น ไม่เป็นคนเลือดออกง่าย ไม่มีประวัติการแพ้รุนแรง หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ ซึ่งหากมีข้อสงสัยใดๆ ควรสอบถามศัลยแพทย์ให้แน่ใจก่อน 5. เลือกเทคนิคการทำปากอวบอิ่มหรือปากบางด้วยตนเองง่ายๆ ด้วยเครื่องสำอาง เช่น การเขียนขอบปากให้หนาขึ้นด้วยลิปสติกเขียนขอบปาก (Lip liner) หรืออาจจะใช้ลิปสติกสีแดงเข้มระบายด้านในริมฝีปากบน โดยทำเป็นทรงกระจับด้วยตัวเอง ข้อมูลอ้างอิง สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย : http://www.dst.or.th/html/index.php /  สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย : http://www.surgery.or.th/topics/thin-lip.pdf  และ http://www.plasticsurgery.or.th/pub_method.php  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 รู้เท่าทันกัญชากับการรักษามะเร็ง

ระยะนี้มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์จากต่างประเทศเกี่ยวกับน้ำมันกัญชาว่ามีประโยชน์สารพัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง  มีผู้ป่วยหลายรายที่กินแล้วอาการดีขึ้น บางรายหายจากมะเร็ง  ในประเทศไทยเริ่มมีการพูดคุยเรื่องนี้กันมากพอควรว่า ถ้ามีประโยชน์จริงก็ควรนำมาใช้กับผู้ป่วยเพราะเป็นพืชที่ขึ้นได้ง่ายและจะเป็นการประหยัดเงินทองในการซื้อยาราคาแพงจากต่างประเทศ  เราจึงควรรู้เท่าทันเรื่องกัญชากับการรักษามะเร็งกัน มารู้จักกัญชากัญชาเป็นพืชจากเอเชียกลางแต่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในหลายๆ ส่วนของโลก กัญชาจะผลิตน้ำยางที่เป็นสารประกอบชื่อ แคนนาบินอยด์ (cannabinoids) ซึ่งมีฤทธิ์ทางยา มีผลต่อทั่วร่างกายรวมทั้งระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน  สารในแคนนาบินอยด์หลักที่มีฤทธิ์คือ delta-9-THC  สารมีฤทธิ์ตัวอื่นคือ แคนนาบิดอล (cannabidol) ซึ่งอาจช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ มีการใช้กัญชามาตั้งแต่ดั้งเดิมมากกว่า 3,000 ปี  ทั้งในตะวันออกและตะวันตก  ปีค.ศ. 1942 กัญชาได้ถูกตัดออกจากเภสัชตำรับในสหรัฐอเมริกาด้วยสาเหตุเรื่องความปลอดภัย และในปีค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494)  ถูกจัดเป็นยาเสพติดเป็นครั้งแรก  สำหรับประเทศไทย กัญชาได้กลายเป็นยาเสพติดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แม้ว่ากัญชาจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา  แต่ก็มีการอนุญาตให้ใช้ทางการแพทย์อย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ต่ำกว่า 12 รัฐ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กัญชาอาจใช้กิน สูดดม หรือพ่นทางใต้ลิ้น  เมื่อกินทางปาก สาร delta-9-THC จะถูกกระบวนการของตับเปลี่ยนเป็นสารเคมีที่มีผลต่อจิตประสาท  เมื่อสูบหรือสูดดม สารแคนนาบินอยด์จะซึมเข้ากระแสเลือดอย่างรวดเร็ว  ผลกระตุ้นทางจิตจะเกิดน้อยกว่าการกินทางปากการศึกษาทางการแพทย์ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) ได้รายงานว่า มีการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการหรือในสัตว์ทดลองเกี่ยวกับการยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกชนิดต่างๆ ตั้งแต่การทำให้เซลล์มะเร็งแก่ตายเร็วขึ้น ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่  มะเร็งเต้านม มะเร็งสมอง มะเร็งตับ ฯลฯ  นอกจากนี้ยังช่วยการอยากอาหาร ลดปวด ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ลดความกระวนกระวาย และช่วยให้นอนหลับดีขึ้น การศึกษาการใช้กัญชาเพื่อการรักษามะเร็งในผู้ป่วยนั้นยังไม่มีในระบบฐานข้อมูลใน PubMed ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ แต่มีการศึกษาทางคลินิกเพื่อหาทางในการบำบัดอาการข้างเคียงของมะเร็งและการบำบัดมะเร็ง ได้แก่ •    การรักษาเนื้องอกที่เป็นก้อน มะเร็งสมอง ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา•    ยาสกัดจากกัญชา 2 ชนิดสามารถขึ้นทะเบียนยาในสหรัฐอเมริกา ชื่อทางการค้าคือ dronabinol และ nabilone  เพื่อใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยจากการรักษาตามมาตรฐานหรือการรับยาเคมีบำบัด •    ในเรื่องการเจริญอาหาร พบว่ายาจากกัญชามีผลในการเจริญอาหารหรือเพิ่มน้ำหนักร่างกายน้อยกว่าการรักษาตามมาตรฐาน  แต่กลับได้ผลดีในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี•    มีงานวิจัยในขนาดเล็กที่พบว่าสารประกอบในกัญชานั้นได้ผลดีในการลดอาการปวด รวมทั้งอาการคลื่นไส้อาเจียน  แต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายังไม่ยอมรับให้เป็นแนวทางในการรักษาความปวด•    มีการศึกษาในผู้ป่วยจำนวนน้อย พบว่า กัญชาที่ใช้สูดดมช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น พัฒนาความรู้สึกของสุขภาวะ และลดความวิตกกังวลโดยสรุป มีหลักฐานทางการแพทย์มากพอที่ยืนยันได้ว่า กัญชามีผลดีในการรักษาอาการข้างเคียงของมะเร็งและโรคอื่นๆ เช่น เอชไอวี  สารสกัดจากกัญชาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาถึงสองชนิดในอเมริกา  แม้ว่าการวิจัยเรื่องการใช้กัญชาในการรักษามะเร็งนั้นยังไม่มากเพียงพอ  แต่สำหรับการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ซึมเศร้า นอนไม่หลับในผู้ป่วยมะเร็งนั้นก็เกิดประโยชน์มากมายเพียงพอแล้ว  ประเทศไทยจึงควรทบทวนเรื่องคุณค่าของกัญชาเสียใหม่  เพื่อนำมาใช้บำบัดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยจำนวนมหาศาล                            

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 ผู้บริโภคทั่วโลกกดดันบริษัทฟาสต์ฟู้ด ยุติการใช้เนื้อสัตว์ที่เลี้ยงโดยใช้ยาปฏิชีวนะ

ผู้บริโภคทั่วโลกร่วมมือกันกดดัน 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ฟาสต์ฟู้ดของโลก ทั้งแม็คโดนัลส์ เคเอฟซี และซับเวย์ ยุติการใช้เนื้อสัตว์ที่เลี้ยงโดยมีการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะทั่วโลกได้มาก ในวันที่ 15 มีนาคมซึ่งเป็นวันสิทธิผู้บริโภคสากล50% ของยาปฏิชีวนะทั่วโลก ถูกใช้ในทางการเกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อและการเจ็บป่วยเล็กน้อยซึ่งเคยรักษาได้ในอดีต นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข เผยปัจจุบันปัญหาการดื้อยาของเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากขึ้น ทั้งการใช้อย่างไม่จำเป็นและเกินความจำเป็น โดยมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะของคนไทยมากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี และมีการติดเชื้อชนิดที่ดื้อยาปฏิชีวนะปีละกว่า 100,000 คน มีผู้ป่วยติดเชื้อชนิดดื้อต่อยาปฏิชีวนะ 5 ชนิด เสียชีวิต 38,481 ราย แซงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มูลค่าสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรปีละกว่า 40,000 ล้านบาท ทำให้ยาปฏิชีวนะตัวเก่าที่เคยใช้ ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้ป่วยบางรายต้องเปลี่ยนใช้ยาตัวใหม่ซึ่งมีราคาแพงมาก เชื้อดื้อยาบางชนิดไม่มียารักษาที่มีประสิทธิผลดีและปลอดภัย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้นและโอกาสเสียชีวิตสูง ผลเสียต่อไปหากเชื้อชนิดนี้แพร่ไปสู่ผู้ป่วยรายอื่นและเกิดการระบาดในชุมชน จะมีผลทำให้โรคติดต่อที่เคยควบคุมได้กลับมาระบาดมากขึ้น นอกจากนี้ เชื้อดื้อยายังสามารถถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมดื้อยาไปสู่เชื้อสายพันธุ์อื่น ทำให้ปัญหาการดื้อยาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น นิตยสารฉลาดซื้อ เชิญชวนผู้บริโภคร่วมปฏิบัติการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ สอบถามความจำเป็นทุกครั้งจากแพทย์ก่อนใช้ยาปฏิชีวนะ และร่วมรณรงค์เรียกร้องให้ทั้งสามบริษัทฟาสต์ฟู้ด ยุติการใช้เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการเลี้ยงโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ร่วมมือรณรงค์กันง่าย ๆ ด้วยการด้วยการโพสต์รูปตัวเองขณะถือป้าย “ยุติการใช้ยาปฏิชีวนะในเมนูอาหารของเรา #‎AntibioticsOfftheMenu‬ ลงในเฟสบุ้ค และติดแฮชแท็ก #AntibioticsOfftheMenu

อ่านเพิ่มเติม >