ฉบับที่ 182 ชนาธิป ไพรพงษ์ ผู้บริโภคต้องมี ”ภูมิคุ้มกัน”

ถ้าใครเคยฟังรายการภูมิคุ้มกัน รายการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ทางสถานีวิทยุไทยพีบีเอส คงจะคุ้นกับเสียงหวานๆ ของคุณน้ำ ชนาธิป ไพรพงษ์ กันดี วันนี้ฉลาดซื้อจะทำให้รู้จักเธอมากขึ้นจากงานที่เธอทำ เล่าถึงงานที่ทำและประสบการณ์เรื่องการถูกละเมิดสิทธิ   เรียนจบมนุษยศาสตร์  สื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ว่าตอนเรียนก็ทำงานไปด้วย คือทำที่สถานีวิทยุและจัดรายการวิทยุ เริ่มจัดตั้งแต่รายการเพลง รายการเกี่ยวกับบ้าน รายการเศรษฐกิจ พอเข้ามาทำงานที่ไทยพีบีเอส  ต้องมารับผิดชอบเป็นโปรดิวเซอร์ให้หลายรายการ รวมทั้งในส่วนของรายการที่ออกอากาศทางวิทยุไทยพีบีเอส อย่าง รายการภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นรายการเกี่ยวกับผู้บริโภค เริ่มตั้งแต่ปี 2553 ในการผลิตรายการ เราก็ต้องติดตามข่าว  ทำข่าวเองด้วย  หาข้อมูล ติดต่อแขกสัมภาษณ์ ตัดต่อรายการ จัดรายการเอง ทำให้เราได้รู้ข้อมูลอะไรที่มากขึ้น คือทั้งที่แต่ก่อน เราก็เป็นผู้บริโภคคนหนึ่งนะ แต่ว่าก็ไม่ได้ใส่ใจว่าถ้าเราซื้อของมาแล้วมันหมดอายุจะทำอย่างไร  ของไม่มีคุณภาพ เราก็แค่ไปซื้อมาใหม่ มารู้ทีหลังว่า  เราสามารถเรียกร้องให้ผู้ผลิตรับผิดชอบได้ คือเราไม่ได้รู้สิทธิของผู้บริโภคอะไรขนาดนั้น แล้วยิ่งพอมาจัดรายการภูมิคุ้มกัน ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ทั้งผู้เสียหายกรณีต่างๆ และผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาทำให้เรารู้ว่า จริงๆ แล้วเราทุกคนควรใส่ใจการบริโภค รู้สิทธิของเรา ไม่ควรปล่อยผ่าน แต่ไม่ใช่ว่าไปเครียดอะไรกับการเลือกบริโภคนะคะ มีอยู่ครั้งหนึ่งเคยเกิดปัญหากับตัวเอง คือเราไปต่างประเทศ แล้วเปิดใช้บริการโรมมิ่ง แล้วซื้อแพจเกจอินเตอร์เน็ทใน 7 วัน ราคา 1,400 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ กำหนดเวลา 00.00 น.วันที่ 18 ม.ค  ถึงเวลา 23.59 น. วันที่ 24 ม.ค แล้วระบบจะตัดอัตโนมัติ ตอนเปิดใช้บริการคือโทรจากสนามบินก่อนขึ้นเครื่อง แต่เราก็ได้รับการยืนยันโดยทางค่ายมือถือส่ง sms มาว่าเราใช้บริการโรมมิ่งแพจเกจนี้ๆ นะ คือตอนนั้น การไปซื้อซิมมือถือใช้ระหว่างเดินทางไปต่างประเทศยังไม่ค่อยมี หรือเราไม่รู้ตรงนี้ก็ไม่รู้  แต่ได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับการให้บริการเปิดโรมมิ่งดาต้าของค่ายมือถือต่างๆ ในไทยมา ก็เลยเลือกใช้แต่มันเกิดปัญหาคือ พอไปใช้ที่ต่างประเทศคือ ตอนนั้นเราไปญี่ปุ่น แล้วเครือข่ายที่ญี่ปุ่นสัญญาณไม่ครอบคลุม คือบางพื้นที่ที่เราไปเที่ยวก็ไม่มีสัญญาณ อันนี้ยังไม่ค่อยเท่าไรปัญหาที่ทำให้เรารู้ว่าผู้บริโภคควรเรียกร้องสิทธิคือเมื่อกลับมาเมืองไทย  แล้วบิลเรียกเก็บค่าโทรศัพท์มาถึงเราปรากฏว่า มีค่าโรมมิ่งที่เกินจากเวลาที่ตกลงกันในแพจเกจคือกำหนดถึงแค่ 23.59 น. ของวันที่ 24 ม.ค ใช่ไหมคะ แต่ในบิลบอกว่ามีค่าโรมมิ่ง ของ 00.00.26 น.ของวันที่ 25 ม.ค เกินมาเป็นเงินถ้าจำไม่ผิดประมาณ 680 บาท เราก็เลยงงว่า ก็ในเงื่อนไขทางค่ายมือถือบอกจะตัดสัญญาณอัตโนมัติตามเวลาท้องถิ่นของญี่ปุ่น แล้วคุณปล่อยสัญญาณโรมมิ่งหลุดมา แล้วมาเก็บค่าบริการจากเรามันไม่ยุติธรรม เพราะเราไม่ได้เป็นคนรู้ว่าจะตัดสัญญาณตอนไหน “คือถ้าคุณตัดตามเวลามันก็ไม่เกิดปัญหา เราก็คิดว่าเราจะไม่ยอมจ่าย เพราะความผิดไม่ได้อยู่ที่เราก็เลยโทรไปคอลเซ็นเตอร์ค่ายมือถือชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ฟังว่าเงื่อนไขเป็นยังไง ค่ายมือถือก็บอกขอตรวจสอบรายละเอียดก่อนแล้วจะแจ้งเรากลับ เราก็โอเค น้ำก็เลยขอให้เขาส่งรายการและเวลาการใช้โรมมิ่งทั้งหมดมาให้ พอเห็นเวลาว่าโรมมิ่งที่เกิน คือไม่อยู่ในเงื่อนไขเวลาที่ตกลงกันก็เลยท้วงเขาไป พอค่ายบอกว่ากำลังตรวจสอบ เราก็บอกว่า งั้นเรายังจะไม่จ่ายเงินตามใบแจ้งหนี้นะรอผ่านไปเกือบ 2 สัปดาห์ก็ไม่เห็นติดต่อเรากลับสักที เราเลยติดต่อไปที่คอลเซ็นเตอร์ใหม่เจ้าหน้าที่ก็บอกกำลังตรวจสอบอยู่ ผ่านไปอีกเกือบ 2 สัปดาห์ เราก็รอว่าเขาจะติดต่อมาไหม  คือไม่ จนเราต้องติดต่อคอลเซ็นเตอร์ไปเอง สุดท้ายคือ เขาแจ้งว่าจะทำการยกเลิกรายการเก็บเงินค่าโรมมิ่งที่เกินเวลามา ก็คือเราไม่ต้องจ่าย 680 บาท คือเรื่องนี้ทำให้เรารู้ว่า ถ้าเรายอมจ่ายเราก็เสียเงิน 680 บาท  ก็ไม่น้อยนะ กินข้าวได้หลายจานอยู่ แต่ต้องยอมเสียเวลาจัดการไปประมาณเดือนหนึ่ง”     ยังมีอีกเรื่อง คือเรื่องคอนโดที่อาศัยอยู่ปัจจุบัน มีลูกบ้านหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าคอนโด มีอะไรหลายอย่างที่ไม่เหมือนเดิม คือจากที่ลิฟท์เคยมีเครื่องสแกนบัตรเข้าออก ขึ้นลิฟท์แบบล็อคชั้น เพี่อความปลอดภัยไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในตึกนั้นขึ้นไปได้เพื่อความเป็นส่วนตัว แล้วก็ยังมีประตูเข้าออกตึกที่บัตรเข้าออกจะใช้ได้เฉพาะตึกนั้นๆ แต่ระยะหลังนี่ไม่ใช่ คือบัตรสามารถใช้ได้ทุกตึก แล้วนิติบุคคลยังไม่แสดงงบคอนโดประจำปีอีกด้วย หรือแสดงงบก็เป็นกระดาษแผ่นเดียว ไม่ชี้แจงรายละเอียด ทั้งที่ลูกบ้านจ่ายค่าส่วนกลางปีละหมื่นกว่าบาท จนนำไปสู่การที่ลูกบ้านรวมกลุ่ม เพื่อขอเปิดประชุมเอง มีวาระคือถอดถอนกรรมการชุดเดิม แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ เลือกบริษัทนิติบุคคลใหม่ แต่ว่าไม่สำเร็จ เพราะกรรมการชุดเดิมไปแย้งที่สำนักงานที่ดินเขตว่าการประชุมไม่ชอบ เพราะลูกบ้านไม่ส่งหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้า 15 วัน ตามข้อบังคับคอนโด “มันก็เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งของผู้พักคอนโดนะคะ ว่าต้องรู้กฏหมายด้วย แล้วต้องมีที่ปรึกษาเป็นทนาย  ถ้าจะติดต่อทำธุรกรรมเรื่องที่ดิน  ให้ติดต่อโดยตรงที่สำนักงานที่ดินเขตเลย เรื่องนี้ทำให้ต้องตระหนักมากๆ ถึงสิทธิผู้บริโภคว่า  อย่าปล่อยให้การบริหารงานของนิติบุคคลมาเอาเปรียบเรา  เสียเงินค่าส่วนกลางไปแล้ว  ควรได้รับบริการในที่พักอาศัยที่ดี จนถึงตอนนี้เรื่องคอนโดก็ยังไม่จบ เพราะกรรมการชุดเดิมหมดวาระไปแล้ว แต่ยังรักษาการอยู่  แล้วก็กำหนดประชุมสามัญประจำปีเพื่อเลือกกรรมการใหม่ แต่ก็เลื่อนการประชุมอีก ตอนแรกบอก 24 เม.ย เลื่อนเป็น 30 เม.ย ทำป้ายประกาศก็ลงวันที่ผิด และยังไม่ส่งหนังสือเชิญประชุมลูกบ้าน เหมือนจะยื้อเพื่อรักษาการต่อ  แล้วค่อยหาคนของตัวเองมาลงสมัครเป็นกรรมการเพื่อจะได้มีอำนาจในการคัดสรรบริษัทนิติบุคคลเอง เหมือนมีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งถ้าเราไม่ติดตาม ก็เหมือนเราซื้อคอนโดห้องหนึ่ง  อยู่อาศัยไปโดยไม่รู้ว่า ค่าส่วนกลางที่เราเสียทุกปี เขาเอาไปใช้อะไรบ้าง เอาไปดูแลสระว่ายน้ำ เหมือนที่โฆษณาไว้ไหม รักษาตึก ประตู ตรวจลิฟท์ประจำปีหรือเปล่าทุกอย่างก็เพื่อความปลอดภัยของลูกบ้านก็คือเรานั่นเอง” มีความคิดอย่างไรกับเรื่องสิทธิผู้บริโภคจากประสบการณ์ตรงที่เกิดกับตัวเองเราต้องตระหนักสิทธิผู้บริโภคให้มากขึ้น ไม่ใช่ว่าอะไรๆ ก็จ้องจับผิดผู้ประกอบการนะคะ เพียงแต่ว่า ไม่ว่าเราจะเลือกซื้อเลือกใช้อะไร เราก็ต้องใส่ใจหารายละเอียดก่อน แม้แต่เรื่องฉลากสินค้า เช่น ล่าสุดไปหาซื้อกะปิ ก็ดูสีว่าสีจัดไหม ถ้าสีจัดไปเราก็ไม่ซื้อเพราะเกรงว่าจะใส่สี แต่ว่าพอดูฉลาก ฉลากก็ตัวหนังสือเล็กมาก ตาก็ไม่ค่อยดี บางทีเราก็รู้ว่า เลือกเท่าที่เลือกได้แล้วกัน คิดว่าการคุ้มครองผู้บริโภคบ้านเรายังขาดอะไรบ้างขาดหลายอย่างเลยค่ะ ผู้บริโภคยังไม่ค่อยตื่นตัว ภาครัฐยังให้ความสำคัญกับผู้บริโภคน้อยมาก เห็นได้จากการแก้ปัญหาที่ล่าช้าและเรื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ไทยยังไม่มีประสิทธิภาพ มีช่องโหว่อยู่มาก คือเหมือนคนไทยยอมมากเกินไป เมื่อเกิดปัญหาก็คิดว่าช่างมันเถอะ ทั้งที่คนได้รับผลกระทบคือตัวเรา อย่างการรักษาพยาบาลตามสิทธิต่างๆ เช่นสิทธิประกันสังคม บางคนยังไม่รู้ว่าประกันสังคมครอบคลุมการรักษาโรคใดบ้าง ทำฟันได้ปีละกี่ร้อยบาท เพราะไม่เคยไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลเลยซึ่งก็ดีนะ มันหมายถึงคุณมีสุขภาพดีแต่พอไปรักษาทีก็ งง ไปเหมือนกันว่าประกันสังคมเขาให้สิทธิอย่างไร หรือแม้แต่เมื่อลาออกจากงาน ประกันสังคมจะให้อะไรบ้าง ดิฉันเคยเป็นผู้ประกันตนเหมือนกันตอนทำงานกับบริษัทเอกชน ทีนี้ พอลาออก  ไม่ได้ไปใช้สิทธิตัวเองที่ว่าให้ไปแจ้งที่ประกันสังคมภายใน 6 เดือนว่าคุณลาออกจากงาน อยู่ระหว่างการหางานใหม่  ซึ่งประกันสังคมจะให้เงินเป็นรายเดือนระหว่างที่ยังหางานทำไม่ได้ คืออันนี้ดิฉันก็ลืมไม่ไปแจ้งสิทธิ  ก็เลยเสียสิทธิไปเลย ทั้งที่ตัวเองจ่ายเงินประกันสังคมตั้ง 8 ปี หลายๆ คนน่าจะไม่รู้สิทธิตรงนี้ “เรื่องการบริโภคเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เราต้องบริโภคอาหาร ใช้บริการต่างๆ คือไม่ว่าเรื่องเล็กๆ น้อย ไปจนถึงเรื่องใหญ่ มันเกี่ยวพันกับเราทั้งสิ้น บางทีการหาข้อมูลความรู้ หรือการติดตามข่าวสารไว้  ก็จะเป็นสิ่งที่เมื่อเราเกิดปัญหาจะสามารถแก้ได้ค่ะ เช่น ตอนนี้ในเวปไซต์หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็มักจะมีข้อมูลเหล่านี้อยู่  ให้เราเพิ่มความสนใจอีกนิด ส่วนผู้ประกอบการก็ขอให้นึกถึงใจเขาใจเรา  เพราะว่าถึงคุณจะผลิตสินค้าหรือให้บริการอย่างหนึ่ง  แต่คุณก็ต้องไปซื้อสินค้าหรือรับบริการอย่างอื่นอยู่ดี ถ้าคุณผลิตสินค้าดี  ให้บริการดี ก็จะช่วยลดปัญหาได้ จะเห็นว่าผู้ประกอบการถ้ามีคุณภาพจะประกอบการได้นาน ทำกำไรได้โดยไม่ต้องเอาเปรียบผู้บริโภคค่ะ” **รายการภูมิคุ้มกัน ฟังและดาวน์โหลดรายการได้ที่  www.thaipbsonline.net  และ แอพพลิเคชั่น Thaipbsแฟนเพจ www.facebook.com/ThaipbsRadioFan/  และสถานีวิทยุชุมชนที่เชื่อมโยงสัญญาณ  ได้แก่  สถานีวิทยุชุมชน คนหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี FM 107.5 Mhz, สถานีวิทยุชุมชนปฐมสาคร FM 106.25 Mhz, สถานีวิทยุชุมชนคนเมืองลี้ จ.ลำพูน  103.75 MHz, สถานีวิทยุชุมชนวัดโพธิ์บัลลังก์ จ.ราชบุรี  FM 103.75 MHz.  สถานีวิทยุเทศบาลทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน  FM 106.25  MHz,  สถานีวิทยุชุมชนคนเขาวง  จ.กาฬสินธุ์  FM 89.5  MHz

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 ฉลากอาหารไม่มีเลข อย. 13 หลักถือว่าผิดกฎหมาย

เครื่องหมาย อย. เป็นสิ่งที่การันตีความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง เมื่อซื้ออาหารแปรรูปต่างๆ มารับประทาน แต่เครื่องหมาย อย. อย่างเดียวอาจไม่ถูกต้อง เพราะจำเป็นต้องมี เลขสารบบอาหารหรือเลขประจำตัวผลิตภัณฑ์อาหาร 13 หลักแสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย. ด้วย จึงจะเรียกว่า ถูกต้องคุณสุจิตราซื้อนมปรุงแต่งพาสเจอร์ไรส์ยี่ห้อ อืมม!..มิลค์ (Umm!..Milk) รสกล้วยหอม ราคา 55 บาท จากห้างสรรพสินค้าเซ็นทัลลาดพร้าวกลับมารับประทานที่บ้าน แต่ได้สังเกตว่านมดังกล่าว แม้จะมีเครื่องหมาย อย.แต่ไม่มีเลขสารบบอาหาร เธอจึงสอบถามไปยังหน้าแฟนเพจเฟซบุ๊กของนมยี่ห้อดังกล่าวซึ่งชี้แจงกลับมาว่า “นมปรุงแต่ง 0% แล็กโทส รสกล้วยหอม เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของ อืมม!..มิลล์ ที่อยู่ในขั้นตอนการขอ อย. และสามารถจำหน่ายได้เนื่องจากจำหน่ายในจำนวนจำกัด โดยมีการส่งตรวจคุณภาพกับ อย. เสมอ”อย่างไรก็ตามคุณสุจิตรา ยังข้องใจในคำตอบของบริษัทฯ เธอจึงได้ส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะไม่แน่ใจว่านมดังกล่าวได้รับมาตรฐานและมีความปลอดภัยจริงหรือไม่ แนวทางการแก้ไขปัญหาหลังได้รับเรื่องร้องเรียนศูนย์ฯ จึงไปซื้อนมดังกล่าวจากห้างสรรพสินค้าทั่วไป เพื่อนำมาตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง ซึ่งพบว่ามีเพียงเครื่องหมาย อย. แต่ไม่มีเลขสารบบอาหารจริง จึงทำหนังสือสอบถามและขอให้มีการตรวจสอบไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่ง อย. ตอบกลับมากว่า ได้ขอความร่วมมือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ให้มีการตรวจสอบสถานที่ผลิตพร้อมเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งตรวจเพื่อวิเคราะห์คุณภาพ ซึ่งพบว่ามีคุณภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข แต่การแสดงอาหารดังกล่าวไม่ถูกต้อง ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 367 พ.ศ.2557 เรื่องการแสดงฉลากอาหารในภาชนะบรรจุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาจึงได้ดำเนินการปรับตามประกาศ (ไม่เกิน 30,000 บาท) เรียบร้อยแล้วทั้งนี้สำหรับอาหารใดๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ต้องมีฉลากอาหาร ก็ไม่ควรวางจำหน่ายก่อนได้รับเครื่องหมาย อย. เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังกระทบต่อความน่าเชื่อถือ และส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 ย้ายค่ายใหม่เบอร์เดิม ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด

ความคาดหวังของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือคงหนีไม่พ้นเรื่อง สัญญาณเครือข่ายที่ดีและมีความคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคอย่างเราสามารถเลือกใช้บริการเครือข่ายที่ต้องการได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเลขหมายผ่านการบริการที่เรียกว่า การย้ายค่ายใหม่เบอร์เดิม อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้บริการบางส่วนที่ได้รับความไม่สะดวกจากการใช้บริการดังกล่าว โดยเขาไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้เลยเป็นเวลาเกือบ 10 วัน ภายหลังการติดต่อขอย้ายเครือข่ายใหม่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณสุชาติ ซึ่งเดิมทีใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ ดีแทค (Dtac) แต่พบว่าในพื้นที่ที่เขาใช้งานไม่ค่อยมีสัญญาณโทรศัพท์ของเครือข่ายดังกล่าว ส่งผลให้การติดต่องานต่างๆ ไม่สะดวกเท่าที่ควร เขาจึงต้องการเปลี่ยนค่ายใหม่เป็นเครือข่าย ทรูมูฟเอช (TrueMove-H) อย่างไรก็ตามภายหลังไปดำเนินการย้ายค่ายในวันที่ 13 มี.ค.และรอให้มีการรีเซทสัญญาณใหม่ครบ 3 วันแล้ว เขาก็ยังไม่สามารถใช้บริการเครือข่ายใหม่ได้ โดยทางทรูมูฟเอชแจ้งว่าไม่สามารถดึงสัญญาณโทรศัพท์ได้ เนื่องจากเครือข่ายเดิมไม่อนุญาต ทำให้ผู้ร้องมาขอความช่วยเหลือที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะได้รับความเดือนร้อนติดต่องานหรือธุระต่างๆ ทางโทรศัพท์มือถือไม่ได้เลย แนวทางการแก้ไขปัญหาภายหลังศูนย์ฯ โทรศัพท์ไปสอบถามปัญหาดังกล่าวที่ Call center ของเครือข่ายดีแทค (1678) ก็ได้รับการชี้แจงว่าขณะนี้มีปัญหาเรื่องการดึงสัญญาณ ซึ่งทางเครือข่ายกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยผู้ร้องจะสามารถโอนย้ายเครือข่ายใหม่ได้ภายในวันที่ 21 มี.ค.ทำให้สิ่งที่ผู้ร้องทำได้ในขณะนั้นคือ รอ! ให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเสร็จสิ้น และในที่สุดหลังจากรอเครือข่ายเดิมดำเนินการย้ายค่ายไปทั้งหมดเกือบ 10 วัน เขาก็สามารถกลับมาใช้งานโทรศัพท์มือถือได้ตามปกติสำหรับเหตุการณ์นี้แม้ผู้ร้องจะได้ใช้งานเครือข่ายใหม่ที่เขาต้องการ แต่ก็ต้องแลกกับเวลาที่เสียไป ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่าประกาศการย้ายค่ายเบอร์เดิมของ กสทช. ที่กำหนดให้ประชาชนสามารถเลือกใช้เครือข่ายใหม่ที่ดีกว่าได้ตามต้องการ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ คือ กรอกแบบคำขอโอนย้ายพร้อมแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่นๆ ที่ออกให้โดยหน่วยงานของราชการ ณ จุดให้บริการของค่ายใหม่ที่จะย้ายไป และชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 29 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากนั้นก็รอรับ SMS แจ้งผลการอนุมัติ ซึ่งประมาณ 3 วันทำการ (วันจันทร์ - ศุกร์ ไม่รวมเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ก็จะสามารถใช้บริการเครือข่ายใหม่ได้นั้น ผู้บริโภคสามารถทำตามได้จริงแค่ไหน* หมายเหตุ สำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการย้ายค่าย หรือผู้ให้บริการเครือข่ายไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว สามารถโทรศัพท์ร้องเรียนโดยตรงได้ที่ กสทช. Call center 1200 (โทรฟรี) ซึ่งมีอำนาจตาม พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 64, 65, 66 ในการสั่งให้ผู้ประกอบการดำเนินการย้ายค่าย ซึ่งหากฝ่าฝืน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 โปรดดูวันหมดอายุก่อนซื้อ

แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการร้องเรียนจำนวนมาก เกี่ยวกับอาหารหมดอายุที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งทางบริษัทฯ ทั้งหลายก็ยินดีที่จะตรวจสอบให้มากขึ้น แต่ปัจจุบันเราก็พบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขเท่าไรนัก ทำให้ผู้บริโภคที่ไม่ได้ตรวจสอบฉลากก่อนซื้อ ต้องเสี่ยงดวงว่าจะสังเกตเห็นก่อนรับประทานเข้าไปหรือเปล่า อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่ดวงดีอย่างกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณสมชายซื้อนมกล่องยี่ห้อดูแม็กไฮคิววัน จำนวน 2 แพ็ค ราคา 132 บาท จากห้างเทสโกโลตัสแถวบ้าน ภายหลังลูกชายนำนมไปดื่มก็มีอาการอาเจียนและอุจจาระเหลว เขาจึงนำนมกล่องดังกล่าวมาตรวจสอบดูและพบว่า มีกลิ่นเปรี้ยวผิดปกติและเลยวันหมดอายุไปตั้งแต่ 3 เดือนที่แล้ว เขาจึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยต้องการให้ทางห้างสรรพสินค้าดังกล่าวมีความรอบคอบในการวางจำหน่ายสินค้า และแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีที่เกิดขึ้นอีกกรณีหนึ่ง ผู้ร้องซื้อกาแฟยี่ห้อมอคโคน่า ราคา 99 บาท จากห้างเทสโกโลตัสสาขามหาชัย โดยไม่ได้ตรวจสอบวันหมดอายุ ภายหลังนำกลับมาที่บ้านจึงสังเกตเห็นว่าสินค้าดังกล่าวหมดอายุไปเมื่อ 3 เดือนก่อน เธอจึงนำสินค้าพร้อมใบเสร็จรับเงิน กลับไปที่ห้างดังกล่าว ซึ่งภายหลังการติดต่อที่จุดบริการลูกค้า เธอเรียกร้องให้ทางห้างเยียวยาค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 1,000 บาท แต่พนักงานกลับนำกระเช้าของขวัญมาให้ พร้อมขอเก็บสินค้าดังกล่าวไปแทน ซึ่งเธอยินยอมให้สินค้าไป แต่ยืนยันที่จะขอรับค่าเสียหาย เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้พนักงานจึงเสนอให้คูปองเงินสดจำนวน 1,000 บาท ด้านผู้ร้องเห็นว่าห้างดังกล่าวควรมีความรับผิดชอบต่อกรณีที่เกิดขึ้นมากกว่านี้ จึงปฏิเสธข้อเสนอของพนักงานและขอสินค้านั้นคืน แต่พนักงานก็ได้แจ้งว่าทำสินค้าดังกล่าวหายไปแล้ว เธอจึงร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธ์เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับ 2 กรณีข้างต้นมีประเด็นเหมือนกันคือ สินค้าหมดอายุแล้วแต่ยังวางจำหน่าย และมีคู่กรณีเดียวกันคือห้างสรรพสินค้าเทสโกโลตัส ศูนย์ฯ จึงนัดเจรจาพร้อมกันระหว่างผู้ร้องทั้ง 2 กรณีและสำนักงานใหญ่ของห้างสรรพสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้สำหรับในกรณีแรกผู้จัดการห้างได้ติดต่อผู้ร้องเพื่อขอตรวจสอบสินค้า และพร้อมจ่ายค่าเยียวยาให้จำนวน 5,000 บาท อย่างไรก็ตามภายหลังการนัดเจรจา ผู้ร้องทั้งคู่ต้องการค่าชดเชยคนละ 20,000 บาท ทำให้ทางบริษัทฯ ขอนำข้อเรียกร้องดังกล่าวกลับไปพิจารณาก่อน ซึ่งผลจะเป็นอย่างไร ผู้บริโภคจะได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ ทางศูนย์ฯ ก็จะคอยติดตามความคืบหน้าต่อ ทั้งนี้แนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหา เมื่อเราซื้อสินค้ามาโดยไม่ได้ตรวจสอบฉลากก่อน แล้วพบว่าหมดอายุไปแล้ว สิ่งที่เราควรทำคืออย่ารีบทิ้งสินค้าดังกล่าว โดยให้ถ่ายรูปผลิตภัณฑ์ / วันหมดอายุ / ใบเสร็จรับเงิน* และแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการร้องเรียน*หมายเหตุ เนื่องจากใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานสำคัญในการเอาผิด เราจึงไม่ควรทิ้งทันทีที่ซื้อของเสร็จ เพราะหากมีปัญหาอาจทำให้การฟ้องร้องเป็นไปอย่างลำบาก  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 รองเท้าใหม่ใช้ได้แค่วันเดียว

ของใช้ต่างๆ ย่อมเสื่อมสภาพตามวันเวลา แต่หากเราซื้อของมาแล้วใช้ได้แค่วันเดียว ถึงแม้จะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องปกติที่น่ายินดีสักเท่าไร  ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณมัลลิษาซื้อรองเท้าคู่ใหม่มือหนึ่งยี่ห้อ Kito ราคาเกือบ 400 บาท จากการออกบูทขายสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าย่านอนุสาวรีย์ชัย แต่วันแรกที่สวมใส่ก็พบว่ารองเท้าดังกล่าวชำรุด โดยพื้นรองเท้ากับรองเท้าได้แยกออกจากกัน ซึ่งเธอคิดว่าปัญหาดังกล่าวน่าจะมาจากล็อต (Lot) การผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะมั่นใจในตราสินค้าว่ามีคุณภาพและเชื่อว่าอย่างน้อยก็ต้องใช้งานได้เป็นปี จึงส่งอีเมล์ร้องเรียนปัญหาดังกล่าว พร้อมแนบรูปถ่ายสินค้าที่ชำรุดไปยังบริษัท เพื่อให้มีการตรวจสอบและชดเชยความเสียหาย เพราะถือว่าเป็นการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ อย่างไรก็ตามภายหลังส่งเรื่องร้องเรียนไปก็ไม่มีการตอบรับจากบริษัท เธอจึงมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ โทรศัพท์ไปสอบถามความคืบหน้ากับทางบริษัทฯ ซึ่งแจ้งว่ายังไม่พบการร้องเรียนดังกล่าว จึงขอให้ส่งรายละเอียดปัญหาไปอีกครั้งทางแฟกซ์ โดยภายหลังได้รับทราบปัญหาก็ขอโทษพร้อมชดเชยผู้ร้องด้วยการส่งรองเท้าคู่ใหม่มาให้ พร้อมชี้แจงว่าปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากการข้อผิดพลาดทางการผลิต ซึ่งพนักงานฝ่ายการผลิตอาจลืมขัดพื้นรองเท้าที่สำหรับทากาวให้ยึดเกาะ ด้านผู้ร้องเมื่อได้รับรองเท้าคู่ใหม่ก็ยินดียุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 182 เสียงผู้บริโภค

  ฉลากอาหารไม่มีเลข อย. 13 หลักถือว่าผิดกฎหมาย เครื่องหมาย อย. เป็นสิ่งที่การันตีความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง เมื่อซื้ออาหารแปรรูปต่างๆ มารับประทาน แต่เครื่องหมาย อย. อย่างเดียวอาจไม่ถูกต้อง เพราะจำเป็นต้องมี เลขสารบบอาหารหรือเลขประจำตัวผลิตภัณฑ์อาหาร 13 หลักแสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย. ด้วย จึงจะเรียกว่า ถูกต้อง คุณสุจิตราซื้อนมปรุงแต่งพาสเจอร์ไรส์ยี่ห้อ อืมม!..มิลค์ (Umm!..Milk) รสกล้วยหอม ราคา 55 บาท จากห้างสรรพสินค้าเซ็นทัลลาดพร้าวกลับมารับประทานที่บ้าน แต่ได้สังเกตว่านมดังกล่าว แม้จะมีเครื่องหมาย อย.แต่ไม่มีเลขสารบบอาหาร เธอจึงสอบถามไปยังหน้าแฟนเพจเฟซบุ๊กของนมยี่ห้อดังกล่าวซึ่งชี้แจงกลับมาว่า “นมปรุงแต่ง 0% แล็กโทส รสกล้วยหอม เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของ อืมม!..มิลล์ ที่อยู่ในขั้นตอนการขอ อย. และสามารถจำหน่ายได้เนื่องจากจำหน่ายในจำนวนจำกัด โดยมีการส่งตรวจคุณภาพกับ อย. เสมอ” อย่างไรก็ตามคุณสุจิตรา ยังข้องใจในคำตอบของบริษัทฯ เธอจึงได้ส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะไม่แน่ใจว่านมดังกล่าวได้รับมาตรฐานและมีความปลอดภัยจริงหรือไม่ แนวทางการแก้ไขปัญหาหลังได้รับเรื่องร้องเรียนศูนย์ฯ จึงไปซื้อนมดังกล่าวจากห้างสรรพสินค้าทั่วไป เพื่อนำมาตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง ซึ่งพบว่ามีเพียงเครื่องหมาย อย. แต่ไม่มีเลขสารบบอาหารจริง จึงทำหนังสือสอบถามและขอให้มีการตรวจสอบไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่ง อย. ตอบกลับมากว่า ได้ขอความร่วมมือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ให้มีการตรวจสอบสถานที่ผลิตพร้อมเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งตรวจเพื่อวิเคราะห์คุณภาพ ซึ่งพบว่ามีคุณภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข แต่การแสดงอาหารดังกล่าวไม่ถูกต้อง ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 367 พ.ศ.2557 เรื่องการแสดงฉลากอาหารในภาชนะบรรจุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาจึงได้ดำเนินการปรับตามประกาศ (ไม่เกิน 30,000 บาท) เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้สำหรับอาหารใดๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ต้องมีฉลากอาหาร ก็ไม่ควรวางจำหน่ายก่อนได้รับเครื่องหมาย อย. เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังกระทบต่อความน่าเชื่อถือ และส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคอีกด้วย   ย้ายค่ายใหม่เบอร์เดิม ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดความคาดหวังของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือคงหนีไม่พ้นเรื่อง สัญญาณเครือข่ายที่ดีและมีความคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคอย่างเราสามารถเลือกใช้บริการเครือข่ายที่ต้องการได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเลขหมายผ่านการบริการที่เรียกว่า การย้ายค่ายใหม่เบอร์เดิม อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้บริการบางส่วนที่ได้รับความไม่สะดวกจากการใช้บริการดังกล่าว โดยเขาไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้เลยเป็นเวลาเกือบ 10 วัน ภายหลังการติดต่อขอย้ายเครือข่ายใหม่ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณสุชาติ ซึ่งเดิมทีใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ ดีแทค (Dtac) แต่พบว่าในพื้นที่ที่เขาใช้งานไม่ค่อยมีสัญญาณโทรศัพท์ของเครือข่ายดังกล่าว ส่งผลให้การติดต่องานต่างๆ ไม่สะดวกเท่าที่ควร เขาจึงต้องการเปลี่ยนค่ายใหม่เป็นเครือข่าย ทรูมูฟเอช (TrueMove-H) อย่างไรก็ตามภายหลังไปดำเนินการย้ายค่ายในวันที่ 13 มี.ค.และรอให้มีการรีเซทสัญญาณใหม่ครบ 3 วันแล้ว เขาก็ยังไม่สามารถใช้บริการเครือข่ายใหม่ได้ โดยทางทรูมูฟเอชแจ้งว่าไม่สามารถดึงสัญญาณโทรศัพท์ได้ เนื่องจากเครือข่ายเดิมไม่อนุญาต ทำให้ผู้ร้องมาขอความช่วยเหลือที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะได้รับความเดือนร้อนติดต่องานหรือธุระต่างๆ ทางโทรศัพท์มือถือไม่ได้เลยแนวทางการแก้ไขปัญหาภายหลังศูนย์ฯ โทรศัพท์ไปสอบถามปัญหาดังกล่าวที่ Call center ของเครือข่ายดีแทค (1678) ก็ได้รับการชี้แจงว่าขณะนี้มีปัญหาเรื่องการดึงสัญญาณ ซึ่งทางเครือข่ายกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยผู้ร้องจะสามารถโอนย้ายเครือข่ายใหม่ได้ภายในวันที่ 21 มี.ค.ทำให้สิ่งที่ผู้ร้องทำได้ในขณะนั้นคือ รอ! ให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเสร็จสิ้น และในที่สุดหลังจากรอเครือข่ายเดิมดำเนินการย้ายค่ายไปทั้งหมดเกือบ 10 วัน เขาก็สามารถกลับมาใช้งานโทรศัพท์มือถือได้ตามปกติ สำหรับเหตุการณ์นี้แม้ผู้ร้องจะได้ใช้งานเครือข่ายใหม่ที่เขาต้องการ แต่ก็ต้องแลกกับเวลาที่เสียไป ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่าประกาศการย้ายค่ายเบอร์เดิมของ กสทช. ที่กำหนดให้ประชาชนสามารถเลือกใช้เครือข่ายใหม่ที่ดีกว่าได้ตามต้องการ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ คือ กรอกแบบคำขอโอนย้ายพร้อมแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่นๆ ที่ออกให้โดยหน่วยงานของราชการ ณ จุดให้บริการของค่ายใหม่ที่จะย้ายไป และชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 29 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากนั้นก็รอรับ SMS แจ้งผลการอนุมัติ ซึ่งประมาณ 3 วันทำการ (วันจันทร์ - ศุกร์ ไม่รวมเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ก็จะสามารถใช้บริการเครือข่ายใหม่ได้นั้น ผู้บริโภคสามารถทำตามได้จริงแค่ไหน * หมายเหตุ สำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการย้ายค่าย หรือผู้ให้บริการเครือข่ายไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว สามารถโทรศัพท์ร้องเรียนโดยตรงได้ที่ กสทช. Call center 1200 (โทรฟรี) ซึ่งมีอำนาจตาม พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 64, 65, 66 ในการสั่งให้ผู้ประกอบการดำเนินการย้ายค่าย ซึ่งหากฝ่าฝืน โปรดดูวันหมดอายุก่อนซื้อแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการร้องเรียนจำนวนมาก เกี่ยวกับอาหารหมดอายุที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งทางบริษัทฯ ทั้งหลายก็ยินดีที่จะตรวจสอบให้มากขึ้น แต่ปัจจุบันเราก็พบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขเท่าไรนัก ทำให้ผู้บริโภคที่ไม่ได้ตรวจสอบฉลากก่อนซื้อ ต้องเสี่ยงดวงว่าจะสังเกตเห็นก่อนรับประทานเข้าไปหรือเปล่า อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่ดวงดีอย่างกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้ คุณสมชายซื้อนมกล่องยี่ห้อดูแม็กไฮคิววัน จำนวน 2 แพ็ค ราคา 132 บาท จากห้างเทสโกโลตัสแถวบ้าน ภายหลังลูกชายนำนมไปดื่มก็มีอาการอาเจียนและอุจจาระเหลว เขาจึงนำนมกล่องดังกล่าวมาตรวจสอบดูและพบว่า มีกลิ่นเปรี้ยวผิดปกติและเลยวันหมดอายุไปตั้งแต่ 3 เดือนที่แล้ว เขาจึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยต้องการให้ทางห้างสรรพสินค้าดังกล่าวมีความรอบคอบในการวางจำหน่ายสินค้า และแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีที่เกิดขึ้น อีกกรณีหนึ่ง ผู้ร้องซื้อกาแฟยี่ห้อมอคโคน่า ราคา 99 บาท จากห้างเทสโกโลตัสสาขามหาชัย โดยไม่ได้ตรวจสอบวันหมดอายุ ภายหลังนำกลับมาที่บ้านจึงสังเกตเห็นว่าสินค้าดังกล่าวหมดอายุไปเมื่อ 3 เดือนก่อน เธอจึงนำสินค้าพร้อมใบเสร็จรับเงิน กลับไปที่ห้างดังกล่าว ซึ่งภายหลังการติดต่อที่จุดบริการลูกค้า เธอเรียกร้องให้ทางห้างเยียวยาค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 1,000 บาท แต่พนักงานกลับนำกระเช้าของขวัญมาให้ พร้อมขอเก็บสินค้าดังกล่าวไปแทน ซึ่งเธอยินยอมให้สินค้าไป แต่ยืนยันที่จะขอรับค่าเสียหาย เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้พนักงานจึงเสนอให้คูปองเงินสดจำนวน 1,000 บาท ด้านผู้ร้องเห็นว่าห้างดังกล่าวควรมีความรับผิดชอบต่อกรณีที่เกิดขึ้นมากกว่านี้ จึงปฏิเสธข้อเสนอของพนักงานและขอสินค้านั้นคืน แต่พนักงานก็ได้แจ้งว่าทำสินค้าดังกล่าวหายไปแล้ว เธอจึงร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับ 2 กรณีข้างต้นมีประเด็นเหมือนกันคือ สินค้าหมดอายุแล้วแต่ยังวางจำหน่าย และมีคู่กรณีเดียวกันคือห้างสรรพสินค้าเทสโกโลตัส ศูนย์ฯ จึงนัดเจรจาพร้อมกันระหว่างผู้ร้องทั้ง 2 กรณีและสำนักงานใหญ่ของห้างสรรพสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้สำหรับในกรณีแรกผู้จัดการห้างได้ติดต่อผู้ร้องเพื่อขอตรวจสอบสินค้า และพร้อมจ่ายค่าเยียวยาให้จำนวน 5,000 บาท อย่างไรก็ตามภายหลังการนัดเจรจา ผู้ร้องทั้งคู่ต้องการค่าชดเชยคนละ 20,000 บาท ทำให้ทางบริษัทฯ ขอนำข้อเรียกร้องดังกล่าวกลับไปพิจารณาก่อน ซึ่งผลจะเป็นอย่างไร ผู้บริโภคจะได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ ทางศูนย์ฯ ก็จะคอยติดตามความคืบหน้าต่อ ทั้งนี้แนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหา เมื่อเราซื้อสินค้ามาโดยไม่ได้ตรวจสอบฉลากก่อน แล้วพบว่าหมดอายุไปแล้ว สิ่งที่เราควรทำคืออย่ารีบทิ้งสินค้าดังกล่าว โดยให้ถ่ายรูปผลิตภัณฑ์ / วันหมดอายุ / ใบเสร็จรับเงิน* และแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการร้องเรียน *หมายเหตุ เนื่องจากใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานสำคัญในการเอาผิด เราจึงไม่ควรทิ้งทันทีที่ซื้อของเสร็จ เพราะหากมีปัญหาอาจทำให้การฟ้องร้องเป็นไปอย่างลำบาก รองเท้าใหม่ใช้ได้แค่วันเดียวของใช้ต่างๆ ย่อมเสื่อมสภาพตามวันเวลา แต่หากเราซื้อของมาแล้วใช้ได้แค่วันเดียว ถึงแม้จะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องปกติที่น่ายินดีสักเท่าไร  ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้ คุณมัลลิษาซื้อรองเท้าคู่ใหม่มือหนึ่งยี่ห้อ Kito ราคาเกือบ 400 บาท จากการออกบูทขายสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าย่านอนุสาวรีย์ชัย แต่วันแรกที่สวมใส่ก็พบว่ารองเท้าดังกล่าวชำรุด โดยพื้นรองเท้ากับรองเท้าได้แยกออกจากกัน ซึ่งเธอคิดว่าปัญหาดังกล่าวน่าจะมาจากล็อต (Lot) การผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะมั่นใจในตราสินค้าว่ามีคุณภาพและเชื่อว่าอย่างน้อยก็ต้องใช้งานได้เป็นปี จึงส่งอีเมล์ร้องเรียนปัญหาดังกล่าว พร้อมแนบรูปถ่ายสินค้าที่ชำรุดไปยังบริษัท เพื่อให้มีการตรวจสอบและชดเชยความเสียหาย เพราะถือว่าเป็นการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ อย่างไรก็ตามภายหลังส่งเรื่องร้องเรียนไปก็ไม่มีการตอบรับจากบริษัท เธอจึงมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ โทรศัพท์ไปสอบถามความคืบหน้ากับทางบริษัทฯ ซึ่งแจ้งว่ายังไม่พบการร้องเรียนดังกล่าว จึงขอให้ส่งรายละเอียดปัญหาไปอีกครั้งทางแฟกซ์ โดยภายหลังได้รับทราบปัญหาก็ขอโทษพร้อมชดเชยผู้ร้องด้วยการส่งรองเท้าคู่ใหม่มาให้ พร้อมชี้แจงว่าปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากการข้อผิดพลาดทางการผลิต ซึ่งพนักงานฝ่ายการผลิตอาจลืมขัดพื้นรองเท้าที่สำหรับทากาวให้ยึดเกาะ ด้านผู้ร้องเมื่อได้รับรองเท้าคู่ใหม่ก็ยินดียุติการร้องเรียน    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 กระแสต่างแดน

ราคาคงเดิมการสำรวจราคาสินค้าในชีวิตประจำวันของนิตยสาร Which? ของอังกฤษพบว่า แม้จะยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงของราคาเท่าไร ... แต่ขนาดและปริมาณนี่สิ! กระดาษทิชชู Andrex ที่เคยมี 240 แผ่นต่อม้วนก็ลดลงเหลือ 221 แผ่น แผ่นทำความสะอาดห้องน้ำของ Dettol ที่เคยมีแพคละ 36 แผ่นก็เหลือแค่ 32 แต่ทั้งสองผลิตภัณฑ์นี้ยังราคา 2 ปอนด์ (ประมาณ 100 บาท) เหมือนเดิม ด้านอาหารก็ไม่น้อยหน้า น้ำส้มและราสพ์เบอร์รี่ Tropicana ลดปริมาณฮวบจาก 1 ลิตร เหลือเพียง 850 มิลลิลิตร บิสกิตเคลือบช็อกโกแล็ตของ McVitie’s จากที่เคยให้ 332 กรัมก็ลดเหลือเพียง 300 กรัมถ้วน แถมยังแพงขึ้นกว่าเดิมอีกหน่อย ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณให้ผู้บริโภคอังกฤษเตรียมใจ ว่าจากนี้ไปสินค้าสำเร็จรูปในซูเปอร์มาร์เก็ตจะค่อยๆ หดเล็กลง เพราะการเพิ่มราคามันสะเทือนใจน้อยกว่าการแอบลดไซส์เนียนๆ แต่บางเจ้าก็ยอมรับตรงๆ เหมือนกัน เช่น เมื่อต้นปีที่ผ่านมาค่ายยูนิลิเวอร์ออกมาประกาศว่าจะค่อยๆ ลดขนาดไอศกรีมลง ราคาเกินจริงระบบการเดินรถประจำทาง Rejsekot ของเมืองโคเปนเฮเกนกำลังถูกจับตาอย่างใกล้ชิดหลังจากมีข่าวว่าระบบของเขาคิดเงินผู้โดยสารเกินจริงมากว่า 3 ปีแล้ว! สืบไปสืบมาพบว่าเป็นความผิดพลาดของพนักงานขับรถที่ลืมลงทะเบียนตั้งค่าเส้นทางใหม่ทุกครั้งหลังจากส่งผู้โดยสารที่สถานีปลายทาง เลยส่งผลต่อระบบคำนวณราคาสำหรับผู้โดยสารที่ขึ้นรถเที่ยวต่อไป แต่ละปีมีผู้ได้รับผลกระทบประมาณ 6,000 คน มาดูว่า Movia หรือ “ขนส่งมวลชนโคเปนเฮเกน” จะแก้ปัญหาขี้หลงขี้ลืมของพขร. อย่างไร ก่อนหน้านี้เคยมีปัญหาเรื่องผู้โดยสารเมาแล้วสร้างความวุ่นวายบนรถ พนักงานขับรถจึงต้องไปฝึกศิลปะป้องกันตัวเพื่อมา “สยบ” คนเหล่านี้ เมืองโคเปนเฮเกนมีค่าใช้จ่ายในเดินทางด้วยรถสาธารณะสูงที่สุดในโลก ราคาเฉลี่ยของตั๋วรถรถเมล์ รถไฟ และรถราง 1 เที่ยว อยู่ที่ 31 โครน หรือประมาณ 165 บาท (โชคดีที่ชาวเมืองมีทางออกด้วยการเปลี่ยนไปใช้จักรยาน) ตามมาติดๆ ได้แก่ สต็อกโฮล์ม (150 บาท) ลอนดอน (143 บาท) และออสโล (133 บาท) โดยนิวยอร์กมีราคาตั๋วรถสาธารณะเฉลี่ยถูกที่สุดในกลุ่ม (95 บาท) ... อ้างอิงจากข้อมูลสำรวจของ Statista ที่ทำในเมืองหลวง 12 แห่งทั่วโลก  จินตนาการสูงเป็นเรื่องแล้ว เมื่อผู้รับเหมางานตรวจสอบความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่งถูกจับได้ว่ารายงานความปลอดภัยที่พวกเขาส่งให้กับทางการเป็นระยะนั้น เกิดจากจินตนาการของพวกเขาเอง EnBW ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าที่เมืองฟิลิปสเบิร์ก พบว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่จ้างมาตรวจสอบมาตรวัดการแผ่รังสีนั้นไม่เคยลงพื้นที่เลย แต่มีรายงานส่งตลอด ในเมืองเฮสส์ ที่ห่างออกไป 60 กิโลเมตร ก็เจอปัญหาเจ้าหน้าที่นั่งเทียนเขียนรายงานเหมือนกัน ถ้า เจ้าของโรงไฟฟ้าและกระทรวงสิ่งแวดล้อมยังไม่พบความผิดปกติ เขาก็คงจะทำเช่นนี้ต่อไป การค้นพบดังกล่าวทำให้กระทรวงสิ่งแวดล้อมประกาศชะลอแผนการเปิดใช้เตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งอีกครั้ง เพราะต้องอาศัยผลการตรวจสอบ ... ซึ่งรู้กันแล้วว่าไม่มีอยู่จริง ด้านบริษัทที่รับทำรายงานก็เตรียมตัวโดนฟ้องได้เลย หลังเหตุการณ์ที่ฟุกุชิมะ รัฐบาลเยอรมันประกาศจะปิดเตาปฏิกรณ์ทั้งหมดให้ได้ภายในปี 2022 ตามนโยบายการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energiewende) ที่เคยประกาศไว้ ปัจจุบันร้อยละ 18 ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศมาจากนิวเคลียร์ ในขณะที่ร้อยละ 27 มาจากพลังงานหมุนเวียน คนเยอรมันส่วนใหญ่ยังหวาดระแวงพลังงานนิวเคลียร์ รัฐบาลจึงต้องลงทุนเพิ่มอีกมากเพื่อให้สามารถผลิตพลังงานทางเลือกอื่นๆ มาตอบสนองความต้องการ  เราต้องการคำขอโทษองค์กรผู้บริโภคออกมาเชิญชวนชาวเกาหลีให้เลิกซื้อ เลิกใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท Oxy Reckitt Benckiser ถ้าใครมีอยู่แล้วในบ้านก็ให้เอาออกมาเททิ้งด่วน! บริษัทนี้คือผู้ผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับเครื่องทำความชื้นยี่ห้อ OXY SSACK SSACK ที่มีจำหน่ายเฉพาะในเกาหลีเมื่อหลายปีก่อน และผลิตภัณฑ์ประเภทนี้นี่เองที่เป็นสาเหตุให้เด็กเล็กและสตรีมีครรภ์เสียชีวิตด้วยอาการปอดล้มเหลว ในช่วงปี 2011 มีผู้ได้รับปัญหาสุขภาพประมาณ 500 คน เสียชีวิตแล้วเกือบ 150 คน แม้จะมีผลิตภัณฑ์หลายยี่ห้อในตลาด (ซึ่งปัจจุบันถูกเรียกเก็บหมดแล้ว) แต่ผู้บริโภคเชื่อว่า OXY ซึ่งครอบครองถึงร้อยละ 80 ของตลาดต้องรับผิดชอบต่อการตายของแม่และเด็กถึง 103 คน ในปี 2014 บริษัทบริจาคเงินเข้ากองทุนประมาณ 5,000 ล้านวอน (150 ล้านบาท) ให้ญาติผู้เสียหาย แต่พวกเขาไม่ต้องการ และยืนยันว่าต้องการคำขอโทษอย่างเป็นทางการเท่านั้น ซึ่งจนบัดนี้ก็ยังไม่มีให้ได้ยิน จึงเป็นที่มาของการออกมาบอยคอตดังกล่าว บริษัทยังมีเรื่องต้องเคลียร์อีกมาก ข้อกล่าวหา ณ จุดนี้ได้แก่ ... บริษัทรู้เรื่องอันตรายของสารเคมีที่ใช้ในน้ำยาฆ่าเชื่อโรคแต่ปกปิดไว้ บริษัทจ่ายเงินให้มหาวิทยาลัยทำวิจัย(ปลอมๆ) ออกมาสนับสนุนการขาย บริษัทแม่ที่อังกฤษสั่งให้สาขาที่เกาหลีทำลายหลักฐานทั้งหมด ... เรื่องเดียวที่ศาลตัดสินแล้วคือบริษัทมีความผิดฐานติดฉลากหลอกลวงผู้บริโภคว่า “รับประกันความปลอดภัย ไม่มีสารพิษ”   เรื่องไม่หมูเวียดนามก็เป็นอีกประเทศที่ผู้คนยังมีความเสี่ยงต่ออาหารไม่ปลอดภัย สำนักข่าวเวียดนามเน็ทบริดจ์ เขาสรุปสาเหตุไว้พอเป็นน้ำจิ้มดังนี้ อย่างแรกคือ ความโลภของผู้ประกอบการ การตรวจสอบโรงฆ่าสัตว์ในเมืองบินทันที่ฆ่าหมูคืนละ 1,000 ตัว พบสารเร่งเนื้อแดง ซัลบูทามอล ที่ห้ามใช้ไปแล้วในหมู 124 ตัว ในระยะการตรวจ 10 วันเขาพบหมูที่มีสารต้องห้ามถึง 1,000 ตัว ... หมูที่เลี้ยงด้วยสารต้องห้ามจะขายได้ราคาดีกว่าหมูธรรมดาถึงตัวละ 1 ล้านดอง (1,500 บาท) เลยทีเดียว สอง สารเคมีราคาถูกที่นำเข้าจากจีนโดยไม่มีการควบคุม เช่นสารเร่งเนื้อแดงที่ว่า หรือสารโอรามีนสำหรับย้อมสีหน่อไม้ให้เหลืองน่ากิน (แต่กินแล้วอาจเป็นมะเร็ง) ก็ราคาแค่กิโลกรัมละไม่ถึง 40 บาท ถ้ามีเงิน 8 บาทก็ซื้อมาย้อมหน่อไม้ได้ถึง 50 กิโลกรัม ทางการบอกว่าชายแดนเวียนนามยาวมาก ยากต่อการดูแลให้ทั่วถึง และสุดท้าย เวียดนามยังมีห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจหาสารพิษในอาหารไม่เพียงพอ และยังไม่ได้รับการรับรองจากทางการ ทำให้นำผลไปอ้างอิงเพื่อจัดการกับผู้ประกอบการไม่ได้ ในขณะที่ชาวบ้านร้านตลาดก็ยังไม่รู้เท่าทันกลโกงของพ่อค้าหัวใสที่มี “สิ่งดีๆ” มานำเสนอกันตลอด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนเมษายน 2559“สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน” เตือนระวังพวกแอบอ้าง“สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน” เตือนผู้บริโภคตรวจสอบข้อมูลผู้รับเหมาสร้างบ้านให้ชัดเจนว่าเป็นสมาชิกของสมาคมฯ จริงหรือไม่ก่อนตัดสินใจทำสัญญา หลังพบบริษัทรับสร้างบ้านนอกสมาคมฯ แอบนำโลโก้สมาคมฯ ไปใช้เพื่อหวังผลทางธุรกิจ นายพิชิต อรุณพัลลภ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า เจตนารมณ์ในการจัดตั้งสมาคมฯเพราะต้องการยกระดับบริษัทรับสร้างบ้านทั้งในและนอกสมาคมฯ ให้ยึดมั่นในความสุจริต มีความเป็นมืออาชีพในการให้บริการ มีความน่าเชื่อถือ และพัฒนาในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาทางสมาคมฯ ได้จัดทำสัญญามาตรฐานขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้สำหรับเปรียบเทียบกับบริษัทรับสร้างบ้านที่ใช้บริการ ป้องกันบริษัทรับสร้างบ้านที่หวังเอาเปรียบผู้บริโภค การที่บริษัทนอกสมาคมฯ นำโลโก้ของสมาคมไปแอบอ้าง แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีเจตนาหลอกลวง จงใจทำทุจริต ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการได้รับการบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมได้ออกหนังสือเพื่อแจ้งไปยังบริษัทที่แอบอ้างให้ปลดโลโก้ออก เพราะสิทธิในการใช้โลโก้เฉพาะบริษัทที่เป็นสมาชิกเท่านั้น การนำโลโก้ไปแอบอ้างโดยไม่ได้รับอนุญาติถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ ผู้บริโภคต้องการตรวจสอบว่าบริษัทที่จะว่าจ้างให้ปลูกสร้างบ้านให้นั้นเป็นสมาชิกของสมาคมฯ จริงหรือไม่ สามารถที่จะหาข้อมูลได้ที่ เว็บไซต์ www.hba-th.org   อย่ากินเกลือแร่สำหรับคนเล่นกีฬาตอนท้องร่วงยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดเรื่องการบริโภคน้ำเกลือเพื่อแก้อาการอุจจาระร่วง หลายคนเลือกซื้อเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับผู้เสียเหงื่อจากการออกกำลังกายมาดื่มเมื่อท้องเสีย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เกลือเเร่ที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปมี 2 ประเภท คือ 1.เกลือแร่สำหรับคนที่ท้องเสีย (ORS) กับ 2.เกลือแร่สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย (ORT) เมื่อเกิดการสูญเสียน้ำจากอาการท้องเสีย ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายขาดน้ำและเกลือเเร่แบบทันที ร่างกายจึงต้องการเกลือเเร่และน้ำมาทดเเทน ควรจิบเกลือเเร่ ORS แต่ถ้าสูญเสียน้ำจากการออกกำลังกาย ร่างกายจะเสียน้ำและน้ำตาลเป็นหลัก ดังนั้นร่างกายจึงต้องการน้ำและน้ำตาลเพื่อมาทดเเทนในส่วนที่สูญเสียไป ควรดื่มเกลือเเร่ ORT การดื่มเกลือแร่สำหรับผู้ออกกำลังกายหรือเกลือแร่ ORT ในเวลาที่ท้องเสีย ร่างกายจะได้รับแค่น้ำกับน้ำตาล ไม่ได้รับเกลือแร่ ซึ่งร่างกายจะดึงน้ำตาลเข้าสู่ทางเดินอาหารจะส่งผลให้ลำไส้บีบตัวมากขึ้นกระตุ้นให้ยิ่งถ่ายมากขึ้นอีก ข้อมูลการเฝ้าระวังจากสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 21 มีนาคม 2559 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงแล้ว 245,988 คน เตรียมคุมเข้มสถานบริการดีท็อกซ์ในโซเชียลมีเดียได้มีการโพสต์กรณีที่คนเสียชีวิตจากการล้างพิษหรือดีท็อกซ์กับสถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากหักโหมกับการทำดีท็อกซ์มากเกินไป มีการอดอาหารและดื่มแต่น้ำสมุนไพรที่อ้างว่าเป็นสูตรการกินเพื่อล้างพิษ ซึ่งการล้างพิษที่อ้างว่าเป็นการล้างสำไส้เพื่อให้ร่างกายได้ขับถ่ายสารพิษออกไปนั้น  หากทำมากเกินไปจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ขาดสมดุล อาจส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ เกิดอาการช็อก เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ในที่สุด จากเหตุการณ์ดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น  กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ต่างก็รีบออกมาแจ้งเตือนและตรวจสอบทันที โดยปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ควบคุมดูแลสถานประกอบการที่มีบริการล้างพิษทำดีท็อกซ์ จึงทำให้มีสถานที่ต่างๆ ที่โฆษณาว่ามีการให้บริการทำล้างพิษดีท็อกซ์ ทั้งตามบ้านเรือนทั่วไป หรือตามวัดต่างๆ โดยที่ไม่มีมาตรฐานและข้อกำหนดควบคุมใดๆ ทั้งสิ้น ล่าสุดกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ผลักดัน “พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559” ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะคอยควบคุมดูแลธุรกิจสปา การนวด รวมไปถึงศูนย์บำบัดและการล้างพิษต่างๆ ที่ต่อไปต้องมีการขึ้นทะเบียนกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพก่อนเปิดบริการ และจะต้องมีการควบคุมเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ไม่ให้เป็นไปในลักษณะโอ้อวดเกินจริง เช่นเดียวสถานบริการด้านสุขภาพประเภทอื่นๆ “น้ำมะเขือเทศกล่อง” ไม่ใช่ต้นเหตุของโรคไต แต่ระวังเรื่องน้ำตาล    “น้ำมะเขือเทศ” กำลังเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะกับคนที่รักสุขภาพ เห็นได้จากการที่มีผลิตภัณฑ์น้ำมะเขือเทศบรรจุกล่องพร้อมดื่มหลากหลายยี่ห้อผลิตออกมาวางขายเอาใจคนรักสุขภาพเป็นจำนวนมาก แต่การดื่มน้ำมะเขือเทศพร้อมดื่มยังไงคุณค่าทางอาหารที่ได้รับก็สู้การกินมะเขือเทศสดไม่ได้ แถมมีสิทธิได้รับน้ำตาลมากเกินไปด้วย     รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล กล่าวว่า มะเขือเทศถือเป็นผลไม้ที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์อยู่มาก โดยมะเขือเทศ 1 ถ้วยตวง มีน้ำค่อนข้างมาก คือ ประมาณ 124 กรัม ให้แบตาแคโรทีนและลูทีน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ให้วิตามินซีประมาณ ร้อยละ 26 ใยอาหาร ร้อยละ 3 โพแทสเซียม ร้อยละ 6 ทองแดง ร้อยละ 5 ฟอสฟอรัส ร้อยละ 4 และแมกนีเซียม ร้อยละ 3 ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคใน 1 วัน แต่หากบริโภคน้ำมะเขือเทศกล่องจะได้สารอาหารน้อยกว่า แถมยังมีน้ำตาลมากกว่า เพราะเชื่อว่าน้ำมะเขือเทศบรรจุกล่องไม่ได้คั้นสด อาจจะทำโดยการนำผงมาละลายแล้วผสมน้ำตาลลงไปทำให้ได้ประโยชน์ของมะเขือเทศน้อย     ส่วนที่มีข่าวลือในโซเชียลมีเดียว่ากินน้ำมะเขือเทศติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดโรคไตนั้น รศ.ดร.รัชนี กล่าวว่า ไม่เป็นความจริง เพราะมะเขือเทศไม่ก่อให้เกิดโรคไต แต่มาจากพฤติกรรมการกินโดยรวมที่อาจกินเค็มมากเกินไป   ร้อง กสทช. ตรวจสอบ แจส โมบาย ทิ้งใบอนุญาต 4Gจากกรณี บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ตัดสินใจทิ้งใบอนุญาต 4G คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และยอมให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยึดเงินค้ำประกัน 644 ล้านบาท หลังไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าใบอนุญาตงวดแรก 8,040 ล้านบาท จากราคาประมูลทั้งหมด 75,654 ล้านบาท เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มีความกังวลว่าการทิ้งใบอนุญาต 4G ของบริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด จะทำความเสียหายให้เกิดขึ้นกับประเทศ ทางเครือข่ายฯ จึงได้เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เพื่อให้ตรวจสอบ 2 ประเด็นดังนี้ 1.ขอให้ตรวจสอบบริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ว่าการทิ้งใบประมูลเป็นการกระทำในลักษณะการฮั้วประมูลหรือไม่ ให้ กสทช.เร่งดำเนินการตรวจสอบว่าเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐหรือไม่ 2.ขอให้ กสทช.เร่งประมูลคลื่นใหม่โดยเร็ว เพื่อให้คลื่นความถี่ที่มีอยู่ได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภคและการพัฒนาประเทศ เพราะยิ่งทิ้งคลื่นไว้นานโดยไม่มีการนำมาจัดสรรอย่างถูกต้อง ประเทศก็มีแต่จะเสียประโยชน์ รัฐขาดรายได้ ผู้บริโภคไม่ได้ใช้ประโยชน์ โดย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ที่เป็นตัวแทนมารับหนังสือในครั้งนี้ กล่าวว่าที่ประชุม กสทช.มีมติกำหนดราคาประมูลรอบใหม่ เริ่มต้นที่ราคาเดิมที่บริษัท แจส โมบาย เคาะราคาไว้คือ 75,654 ล้านบาท และกำหนดวันเคาะราคาประมูล วันที่ 24 มิ.ย.นี้

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 181 สารในโรลออนเสี่ยงมะเร็งเต้านมจริงหรือ?

เพราะเหงื่อมักออกมากในบริเวณใต้วงแขนหรือรักแร้ ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหากลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์ คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยระงับเหงื่อหรือกลิ่นกายอย่าง “โรลออน” เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ในทุกครั้งที่เราปาดหรือทาลงใต้วงแขน เรามั่นใจหรือเปล่าว่าจะไม่มีสารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมะเร็งเต้านมได้ แม้ว่าการถกเถียงหรือความสงสัยในประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาเคยมีข่าวว่าสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท (Aluminum chlorohydrate) ที่เป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม โดย รศ.ดร.ภญ.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยระบุไว้ในคอลัมน์สวยอย่างฉลาด นิตยสารฉลาดซื้อว่า กลไกการระงับเหงื่อของสารดังกล่าวคือ ตัวสารจะเข้าไปอุดรูขุมขนเพื่อไม่ให้เหงื่อไหล ซึ่งหากมีการใช้ผลิตภัณฑ์เป็นประจำ จะมีผลทำให้เกิดการสะสมและตกค้างของสารในบริเวณใต้วงแขนเป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นเป็นรอยด่างดำ และจากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ พบว่า สารตกค้างเหล่านี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาเหตุที่เกิดมะเร็งเต้านมในหญิงหรือชายบางรายได้ เนื่องจากท่อและต่อมต่างๆ ของบริเวณเต้านมมีส่วนเชื่อมต่อกับต่อมเหงื่อและรูขุมขนใต้วงแขน โดยเฉพาะเกลือโลหะหนักอลูมิเนียมจะไปจับกับดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์ทำให้เกิดความผิดปกติ และมีการตรวจพบสารตกค้างของอลูมิเนียมในเนื้อเยื่อมะเร็งจากเต้านมของคนไข้ ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีหลายสถาบันที่วิจัยเกี่ยวกับด้านมะเร็ง ออกโรงคัดค้านงานวิจัยนี้ โดยย้ำว่าการใช้เครื่องสำอางระงับกลิ่นกายไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ได้มีกรณีที่น่าสนใจของสุภาพสตรี จากเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ที่ใช้แป้งเด็กยี่ห้อจอห์นสันทาบริเวณจุดซ่อนเร้นมาตลอดกว่า 30 ปีแล้วตรวจพบภายหลังว่าเธอเป็นมะเร็งรังไข่ โดยแพทย์ระบุสาเหตุว่ามาจากแป้งดังกล่าวที่มีส่วนประกอบของแร่หินชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ทัลค์ (Talc) หรือเรียกว่า "แป้งทัลคัม" (Talcum Powder) ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ภายหลังการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ทางบริษัทแป้งดังกล่าวก็ยินดีจ่ายเงินชดเชยให้ พร้อมยังคงโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ต่อไป และยืนยันว่าส่วนผสมที่ใช้มีความปลอดภัย ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านร่วมเฝ้าระวัง สารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทในโรลออนกันอีกครั้ง ซึ่งถึงตรงนี้เราอาจยังมีข้อสงสัยในสารดังกล่าวว่า มีหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะมะเร็งเต้านม ฉลาดซื้อจึงขออาสาพาไปดูฉลาก “ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นใต้วงแขน” ทั้งหมด 20 ยี่ห้อ ว่ายี่ห้อไหนมีส่วนประกอบของสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท บ้าง *หมายเหตุ ราคาอาจแตกต่างกันตามแหล่งซื้อต่างๆ**เก็บตัวอย่าง กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2559   ผลทดสอบฉลาก   "ไม่มีบนฉลาก"  คือ ไม่แสดงว่ามีส่วนผสมหรือไม่"ไม่แจ้งส่วนประกอบ" คือ ไม่มีรายละเอียดบนขวดว่าผสมอะไร"มีแสดงบนฉลาก" คือ แสดงส่วนประกอบว่ามีสารดังกล่าว ทั้งนี้  "ไม่มีบนฉลาก" และ  "ไม่แจ้งส่วนประกอบ"  ทางเราไม่สามารถบอกได้ว่ามีหรือไม่มี เพราะการเสนอครั้งนี้เราสำรวจจากฉลาก ที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผู้บริโภคตัดสินใจในซื้อมาใช้ และการมีฉลากที่แจ้งข้อมูลก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผลจากการเปรียบเทียบฉลาก- โรลออนทุกยี่ห้อเกือบทุกยี่ห้อที่สำรวจมีสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทเป็นส่วนประกอบ แต่มี 3 ยี่ห้อ คือ Nivea Rexona และ Dove ที่ไม่ระบุส่วนประกอบบนฉลาก- สารส้มแบบแท่งและแบบโรลออน ไม่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าว- ทุกยี่ห้อจะมีคำโฆษณาคล้ายกัน โดยเน้นเรื่องการระงับเหงื่อ ให้กลิ่นกายหอมสดชื่นยาวนาน และบางยี่ห้ออาจเพิ่มเติมว่าปราศจากแอลกอฮอล์ รู้จักสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทกันอีกสักหน่อยสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท มีชื่อพ้องหรือชื่อเรียกอื่นที่อาจพบได้อีกคือ Aluminum hydroxychloride, Aluminium chlorhydroxide, Aluminium chloride basic, Aluminium chlorohydrol, Polyaluminium chloride เมื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายอย่างโรลออน จะสามารถช่วยลดเหงื่อหรือทำให้เหงื่อออกน้อยลงได้ เพราะทำให้ผิวหนังและรูขุมขนในบริเวณที่ทาหดตัว ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและกลิ่นกาย มักจะมีส่วนประกอบของสารอะลูมิเนียมคลอไฮเดรท ที่เข้มข้นสูงถึง 30-50% เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ จึงเป็นผลให้เกิดเป็นรอยด่างดำที่ใต้วงแขนเนื่องมาจากการสะสมของสารชนิดนี้ แม้ในส่วนโรลออนที่เป็นแบบไวท์เทนนิ่ง (whitening) หรือช่วยให้ผิวใต้วงแขนดูกระจ่างใสขึ้น ก็พบว่ามีสารตัวนี้เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเช่นกัน แต่จะมีสารตัวอื่นๆ ผสมเข้ามาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยด่างดำที่เป็นผลมาจากสารอะลูมิเนียมคลอไฮเดรท

อ่านเพิ่มเติม >