ฉบับที่ 117 “ขนมนำเข้า” เอาอันตรายมาฝากเราหรือเปล่า?

  “ฉลาดซื้อ” เราชอบเรื่องอาหาร (หมายถึงเรื่องการทดสอบนะ) ยิ่งเป็นขนมเรายิ่งชอบเป็นพิเศษ (ก็หมายถึงการทดสอบอีกนั้นแหละ...จริงๆ นะ) ฉบับนี้เราจึงขอนำเสนอผลการทดสอบที่แอบโกอินเตอร์นิดๆ กับการทดสอบ “ปริมาณน้ำตาลและสารปนเปื้อนในขนมนำเข้า”  ขนมนำเข้าแปลกตาแปลกลิ้น แม้แต่แพ็คเก็จที่ชวนให้สนใจและชวนให้น่าชิมกว่าขนมธรรมด้าธรรมดาทั่วไป หลายๆ คนไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่จึงชื่นชอบที่จะลิ้มลองขนมจากต่างประเทศ จนอาจมองข้ามเรื่องปลอดภัยเพราะเข้าใจเอาเองว่ามาจากเมืองนอกต้องเป็นของดี “ฉลาดซื้อ” เราจึงอยากจะรู้ว่าขนมนำเข้าเอาอันตรายมาฝากเราหรือเปล่า?   ตารางผลวิเคราะห์ตัวอย่าง “ขนมนำเข้าจากต่างประเทศ” (เก็บตัวอย่าง เดือนกันยายน 2553) ชื่อตัวอย่าง รูปแบบของขนม ประเทศที่ผลิต ผู้ผลิต ผู้นำเข้า วัน/เดือน/ปี ผลิต/หมดอายุ สถาที่ซื้อ/ชื่อร้าน ข้อมูลโภชนาการ ผลการตรวจวิเคราะห์ น้ำตาล (/100 กรัม) อะฟลาท็อกซิน สีผสมอาหาร เวจเจทเทเบิล แครกเกอร์ ตราฮาจูกุ ขนมปังกรอบโรยด้วยผัก จีน บริษัท โกลเด้นฟูจิ จำกัด เมืองตงก๋วน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท แพรรี่มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 1 ซอยกรุงเทพกรีฑา 2 (เลิศนาวา) หัวหมาก บางกะปิ กทม. 10240 โทร 0-2379-3191-2 23/04/10 22/04/11 เยาวราช มี 12.4 ไม่พบ ไม่พบ บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม ตรากู๊ดดี้ บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม จีน Zhaoan Tongsheng Foods Co.,Ltd Zhaoan Minyue Trading&Developing Area Fujian Provine บริษัท ซันฟู้ดส์ เทรดดิ้ง จำกัด 840/3 ถ.เจริญกรุง บางโคล่ บางคอแหลม กทม. 10120 10/07/08 12/01/08 เยาวราช ไม่มี 61.0 ไม่พบ ไม่พบ ลูกพลัมแห้ง train brand ลูกพลัมแห้ง จีน Shan tou Sanwa Seike Co.,Ltd China บริษัท อ.เพชรเกษมฮาร์ดโดรม จำกัด 64 หมู่ 2 ตลาดสามพราน จ.นครปฐม 73110 หมดอายุ 28/2/12 เยาวราช มี-ภาษาอังกฤษ 57.5 ไม่พบ ไม่พบ Koala’s March Chocolate Snack ขนมปังบิสกิตส์สอดไส้ช็อคโกแลต จีน Lotte China Foods Co., Ltd. No.8 Yongchang North Road, Economic & Technological Development Area, Beijing, China - 1/6/10 2/9/11 เยาวราช ไม่มี 24.2 ไม่พบ ไม่พบ ลักซูรี บิสกิตส์ ไส้ครีมชีส ขนมปังบิสกิตส์ ไส้ครีมชีส มาเลเซีย Hwa Tai Industries Berhad 12 Jalan Jorak, Kawasan Perindustrian Tongkang Pecah, 83010 Batu Pahat, Johor, Malaysia บริษัท เฮาเหว่ย (ประเทสไทย) จำกัด howei (Thailand) Co., Ltd. 193/100 อาคารเลครัชดาภิเษก ออฟฟิส คอมเพล็กซ์ ชั้น 23 เขตคลองเตย กทม. 10110 www.howei.co.th โทร 0-2264-0610-3 21/5/10 21/8/11 เยาวราช มี – ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ 20.4 ไม่พบ ไม่พบ ช็อกโกแลต ชิพ อัลมอนด์ คุกกี ตราโคโค่แลนด์ คุกกีผสมช็อกโกแลตชิพและอัลมอนด์ มาเลเซีย โคโค่แลนด์ อินดัสทรี เอสดีเอ็น บีเอชดี รัฐเชลังกอร์ ประเทศมาเลเซีย บริษัท แพรรี่มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 1 ซอยกรุงเทพกรีฑา 2 (เลิศนาวา) หัวหมาก บางกะปิ กทม. 10240 โทร 0-2379-3191-2 7/6/10 7/6/11 เยาวราช มี – ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ 34.8 ไม่พบ ไม่พบ ยู้ปี้ กัมมี่ ไอซ์ โคล่า ชูการ์ โคทเต็ด วุ้นเจลาตินสำเร็จรูปกลิ่นโคล่าคลุกน้ำตาล อินโดนีเซีย พี ที ยูปิ อินโด เจลลี่กัม ประเทศอินโดนีเซีย บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด 122/2-3 ถ.นนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม. 10120 โทร. 0-2681-5081 หมดอายุ 30/6/12 พารากอน มี-ภาษาอังกฤษ และภาษาอินโดนีเซีย 49.5 ไม่พบ ไม่พบ คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลต ตราโอรีโอ คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลต อินโดนีเซีย Kraft Foods Indonesia, Bekasi 17530, Indonesia บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด 2535 ถนนสุขุมวิท บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260 10/6/10 9/6/11 พารากอน มี – ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ 38.4 ไม่พบ ไม่พบ ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต ตราฮัลโหล แพนด้า ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต สิงคโปร์ บริษัท เมจิ เซกะ (สิงคโปร์) จำกัด จูร่ง ประเทศสิงคโปร์ Thai Meiji Food Co., Ltd. 252/95 ยูนิต เอ และ บี ชั้น 18 อาคารเมืองไทย-ภัทร คอมเพล็กซ์ อาคาร 2 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทร 0-2694-3311 หมดอายุ 0/8/11 พารากอน มี – ภาษาไทย 29.3 ไม่พบ ไม่พบ sunsweet ลูกพรุนชนิดไม่มีเม็ด อเมริกา ซันสวีต โกรวเออร์ เมืองยูบา รัฐคาลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา บริษัท เฮาเหว่ย (ประเทสไทย) จำกัด howei (Thailand) Co., Ltd. 193/100 อาคารเลครัชดาภิเษก ออฟฟิส คอมเพล็กซ์ ชั้น 23 เขตคลองเตย กทม. 10110 www.howei.co.th โทร 0-2264-0610-3 25/02/10 25/02/12 พาหุรัด มี - ภาษาอังกฤษ 26.9 ไม่พบ ไม่พบ  การทดสอบขนมนำเข้าจากต่างประเทศ -เป้าหมายแรกและเป้าหมายหลักของเราคือการเก็บขนมนำเข้าที่มาจากเมืองจีน เพราะจีนถือเป็นประเทศที่ส่งขนมต้องสงสัยมาขายบ้านเรามากที่สุด (แบบที่ไม่มีฉลากภาษาไทยหรือไม่มีเลขที่ อย. กำกับ) ซึ่งนอกจากขนมแล้วเรายังเก็บพวกผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้งด้วย เพราะถือเป็นของกินเล่นอีกชนิดที่ฮิตมากในหมู่ผู้รักของอิมพอร์ตจากเมืองจีน เรียกว่าป๊อปปูล่าไม่แพ้แพนด้าหลินปิงเลยทีเดียว แต่ “ฉลาดซื้อ” ก็ไม่ได้มีใจเอนเอียงให้กับจีนเพียงประเทศเดียว เพราะเราก็เก็บตัวอย่างขนมที่มาจากอีกหลายประเทศ ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และอเมริกา เรียกว่าเป็นงานระดับนานาชาติ -พื้นที่ที่ “ฉลาดซื้อ” บุกไปเก็บตัวอย่างสินค้าทดสอบก็คือกรุงเทพฯ ซึ่งพื้นที่เป้าหมายที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของขนมต่างชาติในกรุงเทพฯ ก็คือ “ตลาดเยาวราช” ไล่ไปจนถึง “สำเพ็ง” และ “พาหุรัด” เรียกว่าไปเดินแถวนี้มีขนมให้เลือกสารพัดซึ่งว่ากันว่าที่มาที่ไปกว่าจะจบที่ตลาดเยาวราชของขนมเหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องตรวจวีซ่าที่ 3 จุดหลักๆ คือ ที่แม่สายจ.เชียงราย ที่ตลาดโรงเกลือ จ.สระแก้ว และบริเวณชายแดนติดประเทศมาเลเซีย จ.ยะลา ซึ่งขนมที่เข้ามาทาง 3 จุดนี้จะเป็นขนมจากจีนและประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก   ส่วนขนมจากอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี มักจะได้อภิสิทธิพิเศษกว่า เพราะมักจะได้ขึ้นห้าง อย่างในการเก็บตัวอย่างทดสอบครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ” ไปสำรวจห้างดังอย่างพารากอน ที่โซน กรูเมต์ มาร์เก็ต เราพบขนมอินเตอร์เพียบ!!! นอกจากนี้เดี๋ยวนี้ยังมีอีกหนึ่งช่องทางที่ขนมต่างชาติจะเข้าถึงผู้บริโภค นั่นก็การสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งคนมีใจดีไปซื้อจากประเทศนั้นๆ แล้วนำมาขายต่อเราอีกที ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนมยี่ห้อดังๆ ที่ไม่มีขายในบ้านเราจาก ญี่ปุ่นบ้าง เกาหลีบ้าง (จากการที่เราได้ไปเก็บตัวอย่างขนมในย่านเยาวราชและพาหุรัด เราพบว่าขนมชนิดเดียวกันยี่ห้อเดียวกัน หากซื้อที่เยาวราช อาจได้ราคาถูกกว่าที่ขายอยู่ที่พาหุรัดถึงเกือบ 20 บาท!) ผลการทดสอบ-ผลการทดสอบครั้งนี้เราตั้งใจตรวจสอบหาปริมาณน้ำตาล สีผสมอาหาร และสารอะฟลาท็อกซิน ในขนมนำเข้าซึ่งผลที่ออกมาน่าดีใจ เพราะสีผสมอาหาร และสารอะฟลาท็อกซินไม่พบการปนเปื้อนเลยในทั้ง 10 ตัวอย่าง  -ปริมาณน้ำตาลที่พบก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากแต่ก็ถือว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับน้ำตาลมากเกินไปอยู่เหมือนกัน โดยปกติคนไทยเราไม่ควรได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชาต่อวันผลการทดสอบที่ออกมาจะเป็นการเทียบในปริมาณ 100 กรัม ทำให้มีหลายๆ ตัวอย่างมีปริมาณน้ำตาลเกิน 24 กรัมไปพอสมควร แต่แน่นอนว่าเราคงไม่ค่อยได้กินขนมครั้งละ 100 กรัมกันบ่อย ยกตัวอย่าง “บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม ตรากู๊ดดี้” ซึ่งพบปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ 61 กรัม / 100 กรัม ซึ่งปกติ “บ๊วยหวานผสมเปลือกส้ม ตรากู๊ดดี้” 1 เม็ดจะมีน้ำหนักประมาณ 10 กรัม เท่ากับว่าถ้าเรากิน 1 เม็ดก็จะได้น้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 6.1 กรัม หรือ 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำตาลที่เราต้องใน 1 วัน ดังนั้นถ้าขนมเป็นแค่ของรับประทานเล่น แค่เม็ดเดียวก็น่าจะเพียงพอกับหนึ่งวัน เพราะเรายังต้องรับประทานอาหารจานหลักอีกตั้ง 3 มื้อ และยังมีอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่างที่เรารับประทานใน 1 วัน ซึ่งทุกอย่างก็ล้วนแล้วแต่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมทั้งนั้น  หรืออย่าง “ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต ตราฮัลโหล แพนด้า” ที่พบน้ำตาล 29.3 กรัม / 100 กรัมขณะที่ “ขนมปังกรอบสอดไส้ช็อกโกแลต ตราฮัลโหล แพนด้า” ขนาดเล็กที่สุดจะหนักอยู่ที่ 27 กรัมต่อซองเท่ากับว่าถ้าน้องๆ หนูๆ กินหมด 1 ซองก็จะได้น้ำตาลไป 7.9 กรัม ก็ถือว่าสูงไม่น้อยเลยทีเดียว   ฉลาดซื้อแนะ สรุปง่ายๆ ก็คือ อย่างที่เรารู้กันว่า ขนมส่วนใหญ่ส่วนประกอบหลักๆ ก็คงหนีไม่พ้นน้ำตาล ไม่ว่าจะขนมนำเข้าหรือขนมบ้านเราเอง ซึ่งขนมส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีประโยชน์กับร่างกาย ให้แค่พลังงานซึ่งเราได้จากการรับประทานอาหารจานหลักอยู่แล้ว แต่ก็ยังไงซะขนมก็มีรสชาติและเสน่ห์เฉพาะของมัน บางคนพอได้กินแล้วก็มีความสุข ที่เครียดๆ เหนื่อยๆ มา ได้กินขนมสักหน่อยก็ยิ้มได้หายเครียด ยิ่งกับเด็กๆ ขนมก็เหมือนเป็นของคู่ใจจะห้ามไม่ให้กินเลยก็ดูจะใจร้ายไปหน่อย  เอาเป็นว่าใครที่ยังติดใจรสหวานๆ ของขนม ก็ขอให้รับประทานในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป คือแค่กินเล่นไม่ใช้กินเอาอิ่มหรือกินแทนข้าว และให้ค่อยเตือนตัวเองไว้เสมอว่าทุกครั้งที่เรากินขนมเรากำลังกินน้ำตาลที่ไม่จำเป็นกับร่างกายเข้าไปด้วย ยิ่งกินมากก็ยิ่งอ้วน ยิ่งกินมากก็ยิ่งมีสิทธิป่วยเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ________________________________________________________________________ (คนไทยรับประทานขนมหวานเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 700 กรัมต่อคนต่อปี ซึ่งถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ คนอเมริกาที่รับประทานขนมหวานกันเฉลี่ยปีละ 14 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือคนอังกฤษที่รับประทานเฉลี่ย 10 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือเทียบกับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเราอย่างเวียดนามก็ยังรับประทานขนมหวามมากกว่าเราคือ เฉลี่ยที่ 2 กิโลกรัมต่อคนต่อปี)ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ________________________________________________________________________

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 116 สำรวจคุณภาพผักในประเทศ(1)

ใครๆ ก็รู้ว่าทาน “ผัก” นั่นดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย กินแล้วสุขภาพดี ผิวพรรณดี แต่หน้าตาจะดีด้วยหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่เดี๋ยวก่อน!? คนที่รักการกินผักอย่าเพิ่งมีความสุขกับการกินผักจนมองข้ามเรื่องความปลอดภัย เพราะเดี๋ยวนี้โลกของเราเปลี่ยนไป ผักดีๆ ก็อาจกลายเป็นวายร้ายทำลายสุขภาพเราได้ ก็จะเพราะอะไรซะอีกละ ถ้าไม่ใช้บรรดาสารเคมีตกค้างจากการเพราะปลูก ที่ใส่เพื่อให้ผักโตไว ไล่แมลง และจะได้มีใบสวยๆ แต่ถ้าเรารับประทานเข้าไปรับรองชีวิตนี้ไม่สวยแน่ๆ “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้เราจึงมีผลทดสอบสารเคมีตกค้างในผักยอดนิยม 3 ชนิด ได้แก่ คะน้า บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี จาก 8 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล มานำเสนอ   บร็อคโคลี่ตัวอย่างที่ทดสอบ : 16 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง คือ เดือนกันยายน 2552 กับเดือนมกราคม 2553 สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)  ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในบร็อคโคลี่ :1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของคาร์เบนดาซิมได้แก่(1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.92 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.43 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.สตูล เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.005 มก./กก.  2.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 7 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดที่ไม่ใช่มาลาไธออน (Malathion) ซึ่งมาตรฐาน มกอช. และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 288 ระบุให้ใช้ได้ สารเคมีที่พบได้แก่ อะซีเฟต (Acephate) โพรฟิโนฟอส (Profenofos) เมทามิโดฟอส (Methamidophos) และคลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) และมีปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.005 – 0.09 มก./กก. ตัวอย่างที่พบสารเคมีสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างที่เก็บจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบ เมทามิโดฟอส (Methamidophos) ที่ปริมาณ 0.09  มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กทม. เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบอะซีเฟต (Acephate) ที่ปริมาณ 0.08 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาพระราม 1 กทม. และ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 พบคลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. ทั้ง 2 ตัวอย่าง 3.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดได้แก่ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) แลมป์ดา-ไซแฮโลทริน (Lambda-cyhalothrin) เฟนวาเลอเรต (Fenvalerate) และไซฟลูทริน (Cyfluthrin) และมีปริมาณสารเคมีที่พบในแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.01 – 0.97 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนมากในปริมาณที่ต้องระวังได้แก่ (1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบสารเคมีทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นในปริมาณรวมกันเท่ากับ 1.61 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. พบสารเคมีทั้ง 5 ชนิดเช่นเดียวกับตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ที่ปริมาณรวมกันเท่ากับ 0.59 มก./กก.   สรุปความเสี่ยงของสารเคมีในบร็อคโคลี่จากผลการทดสอบจะเห็นว่าบร็อคโคลี่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมีหลายชนิดโดยเฉพาะตัวอย่างที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยาเช่นเดียวกับผักคะน้าแต่อยู่ในอัตราความเสี่ยงที่น้อยกว่าเนื่องจากปริมาณสะสมของสารเคมีที่พบมีน้อยกว่า     คะน้า ตัวอย่างที่ทดสอบ : 24 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง คือ เดือนกันยายน 2552 เดือนมกราคม 2553 และเดือนมีนาคม 2553  สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่ม   ออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod) ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในคะน้า :1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง (*มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช. – 2551) มีระบุไว้ว่ายากันรา-คาร์เบนดาซิมจะพบมากในของแห้ง เครื่องเทศ และผลไม้ แต่ในผักคะน้าไม่มีระบุไว้ (ซึ่งน่าจะหมายความว่าไม่ควรพบสารดังกล่าวตกค้างในผักคะน้า) 3 ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ (1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขามหาสารคาม จ.มหาสารคาม เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 2.41 มก./กก. (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) (2) ตัวอย่างจากห้างแมคโครสาขาหาดใหญ่ จ.สงขลา เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 ปริมาณของสารเคมีที่พบเท่ากับ 1.93 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยาเก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.48 มก./กก.  2.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่พบการปนเปื้อนของสารเคมี 2 – 3  ชนิดในตัวอย่างเดียว โดยมีชนิดของสารเคมีที่พบ ได้แก่ เมทามิโดฟอส (Methamidophos), โพรฟิโนฟอส (Profenophos) และ ไดโครโทฟอส (Dicrotrophos) กับ อีพีเอ็น (EPN) ซึ่ง 2 ตัวหลังเป็นสารเคมีอันตรายที่กระทรวงเกษตรเฝ้าระวังการใช้งาน โดยสารเคมีทั้งหมดไม่อนุญาตให้ใช้ในผักคะน้า สำหรับตัวอย่างที่พบสารเคมีปนเปื้อนสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 พบสารเคมีร่วมกันหลายชนิดแต่อยู่ในปริมาณน้อยมากยกเว้นเพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณสูงอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ โพรฟิโนฟอส ที่ปริมาณ 0.67 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 พบสารเคมีชนิด อีพีเอ็น (EPN) ที่ปริมาณ 0.38 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 พบสารเคมีชนิด ไดโครโทฟอส (Dicrotrophos)* ที่ปริมาณ 0.36 มก./กก.   3.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod) ในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่พบยาฆ่าแมลงสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 สารเคมีที่พบคือ ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 8.54 มก./กก. [จัดอยู่ในเกณฑ์อันตรายเพราะหากเทียบกับผักตระกูลกะหล่ำแล้ว ปริมาณสารเคมีที่พบสูงกว่าที่มาตรฐานมกอช. กำหนดไว้ถึง 8 เท่า] คู่กับ แลมป์ดาไซแฮโลทริน (lambda-cyhalothrin) ที่ปริมาณ 0.04 มก./กก. คิดเป็นปริมาณสารเคมีรวมเท่ากับ 8.58 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 สารเคมีที่พบคือ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ที่ปริมาณ 4.22 มก./กก. [จัดอยู่ในเกณฑ์อันตรายเพราะปริมาณสารเคมีที่พบสูงกว่าที่มาตรฐาน มกอช. ระบุให้ใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 มก./กก. ไปเกือบ 9 เท่า] ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.1 มก./กก. ไซฟลูทริน (Cyfluthrin) ที่ปริมาณ 0.09 มก./กก. และ เปอร์เมทริน (Permethrin) ที่ปริมาณ 0.03 มก./กก. คิดเป็นปริมาณสารเคมีรวมเท่ากับ 4.44 มก./กก. (หมายเหตุ: สารเคมีที่มาตรฐานอนุญาตให้ใช้ได้และมีการใช้ไม่เกินมาตรฐานจะไม่ถูกนำมารวมคำนวนด้วย) (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 สารเคมีที่พบคือ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ที่ปริมาณ 0.97 มก./กก. ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.43 มก./กก. และ แลมป์ดาไซแฮโลทริน ((lambda-cyhalothrin) ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. รวมปริมาณสารเคมีทั้งหมดเท่ากับ 1.42 มก./กก.   สรุปความเสี่ยงของสารเคมีในผักคะน้าคะน้าถือเป็นผักยอดฮิตนิยมนำมาทำเป็นอาหารหลายเมนู จากปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละประเภทในการทดสอบ สามารถสรุปได้ว่าผักคะน้าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายจากสารพิษตกค้างทางการเกษตร ดังนั้นควรต้องมีการล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนรับประทาน เวลาซื้อมาทำอาหารก็ควรเลือกที่ใบมีรอยกัดกินของแมลงบ้าง ถ้าเลือกแต่ที่ใบสวยงามเรียบร้อยรับประกันได้เลยว่าได้รับสารเคมีมาเพียบแน่นอน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 115 สารรบกวนฮอร์โมนในเครื่องสำอาง

สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินเรื่องของการเกิดมะเร็งเต้านมที่คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายซึ่งมีสารพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบกันมาบ้าง   แม้จะยังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ชัดลงไปได้ว่าพาราเบนส์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอางมากที่สุดนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่ หลายๆ ประเทศก็เริ่มให้ความสนใจและเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น สหรัฐกำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ในขณะที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเน้นที่ยาสีฟัน แชมพู สบู่ และครีมบำรุงผิว  อังกฤษนั้นให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง ในขณะที่เกาหลีเน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเครื่องสำอางสำหรับดวงตาเป็นพิเศษ  Consumers Korea หรือ สคบ. ของประเทศเกาหลีจึงถือโอกาสนี้เป็นเจ้าภาพในการสำรวจว่ามีการใช้สารพาราเบนส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสารรบกวนฮอร์โมน (Endocrine Disruptors หรือ EDCs) เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่เราใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายเพียงใด ว่าแล้วก็ชักชวนองค์กรผู้บริโภคในอีก 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย รวมเป็น 13 ประเทศร่วมการสำรวจครั้งนี้  แต่ละประเทศจะทำการเก็บตัวอย่างและบันทึกข้อมูลจากฉลากผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2552 พร้อมไปกับการทำสำรวจพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง รวมถึงความเห็นของของสาวๆ ในแต่ละประเทศด้วย  ในการสำรวจครั้งนี้แต่ละประเทศจะเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางยี่ห้อหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ยี่ห้อ รวมๆ แล้วจึงมีเครื่องสำอางในการสำรวจครั้งนี้ทั้งหมด 314 ชิ้น  แต่ทั้งนี้มีเพียง 259 ชิ้นเท่านั้นที่มีการระบุส่วนผสมบนฉลาก การสำรวจส่วนผสมที่เป็นพาราเบนส์ จึงเป็นการทำกับ 259 ชิ้นนี้เท่านั้น   ผลสำรวจจาก 13 ประเทศ • ร้อยละ 73 ของตัวอย่างเครื่องสำอางจาก 13 ประเทศนั้นมีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม • จากฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 259 ชนิด นั้นเราพบว่ามีส่วนผสมทั้งหมด 626 ชนิด โดยส่วนผสมยอดฮิตที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. Talc2. Mica3. Propylparaben4. Ethylparaben5. Dimethicone • บลัชออนคือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์มากที่สุด  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์น้อยที่สุดได้แก่ลิปกลอส   • เกาหลีเป็นประเทศที่มีเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนส์มากที่สุด (ร้อยละ 95 ของตัวอย่าง) รองลงมาได้แก่ ฟิจิ (ร้อยละ 84.5 ของตัวอย่าง) และไทย (ร้อยละ 70.5 ของตัวอย่าง)   • ทั้งเครื่องสำอางราคาถูกและราคาแพง ต่างก็มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสมเช่นเดียวกัน   • เครื่องสำอางส่วนใหญ่ไม่มีการระบุอายุที่เหมาะสมแก่การเริ่มใช้ ยกเว้นศรีลังกา ที่ร้อยละ 40 ของเครื่องสำอางมีการระบุอายุของผู้ใช้ไว้ด้วย   • การแจ้งผลข้างเคียงบนฉลาก พบมากที่สุดในเครื่องสำอางจากเกาหลี (ร้อยละ 75) รองลงมาได้แก่ศรีลังกา (ร้อยละ 70) ตามด้วยออสเตรเลียและจีน (ร้อยละ 40)   • คำเตือนเรื่องอาการแพ้ พบมากที่สุดในเครื่องสำอางของศรีลังกา (ร้อยละ 80) รองลงมาคือออสเตรเลีย (ร้อยละ 60)  พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง จากการสำรวจความเห็นของผู้บริโภค จำนวนทั้งหมด 1,645 คน ใน 13 ประเทศ เราพบว่า   • คนส่วนใหญ่เริ่มใช้เครื่องสำอางเมื่ออายุ 20 ขึ้นไป ยกเว้น บังคลาเทศ อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย และมองโกเลีย ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงอายุ 17 – 19 โดยเฉพาะกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆมองโกเลียเริ่มใช้ในช่วงอายุดังกล่าว   • ลิปสติกคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการใช้สูงสุด รองลงมาคือแป้ง   • สำหรับประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กันมากที่สุดคือ แป้งทาหน้า ตามด้วยลิปกลอส และลิปสติก   • ร้อยละ 40 ของผู้บริโภคใช้แป้งฝุ่น/แป้งแข็งเกือบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทยก็ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแทบทุกวัน รองจากไทยได้แก่อินโดนีเซียและมาเลเซีย   • ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ลิปสติกแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆ ฟิจิ   • ผู้บริโภคที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอางมากที่สุดได้แก่ ผู้บริโภคในมองโกเลีย (ร้อยละ 93.5) สาวไทยก็ใช่ย่อย มีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ตอบว่าเคยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอาง   • สิ่งที่ผู้บริโภคเกินครึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพ้ คือสารเคมีในเครื่องสำอาง เหตุผลรองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับสภาพผิว   • สาวอินเดียทุกคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า สาเหตุของอาการแพ้มาจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สาวไทย ร้อยละ 71 เชื่อเช่นนั้น ส่วนที่เหลือเชื่อว่าเป็นเพราะไม่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง   • ร้อยละ 45 ของคนไทยที่ตอบ บอกว่าหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงด้วยการล้างหน้าให้สะอาด และสาวไทยเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติสูงที่สุดเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 30.3) รองจากอินเดีย (ร้อยละ 31.2)   ความรู้เรื่องพาราเบนส์• ร้อยละ 28 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามทราบว่าในเครื่องสำอางมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ   • ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่รู้จักพาราเบนส์น้อยที่สุด ได้แก่ผู้บริโภคจากมองโกเลีย ไทย และอินเดีย (มีผู้รู้ว่ามีพาราเบนส์ในเครื่องสำอางเพียงร้อยละ 4.3  ร้อยละ 16 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ)   • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ไม่ทราบว่าพาราเบนส์เป็นหนึ่งในสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน   • สามประเทศที่มีการรับรู้ว่าพาราเบนส์เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนน้อยที่สุดได้แก่  เกาหลี มองโกเลีย และไทย (ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 7.5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ)   • โดยรวมแล้ว ร้อยละ 57.3 ตอบว่าจะหยุดใช้ถ้าเครื่องสำอางดังกล่าวมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้บริโภคในมองโกเลีย อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย ตอบว่าจะหยุดใช้ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น   • โดยรวมแล้วร้อยละ 40 ของผู้บริโภคที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้มองว่า ทางออกของเรื่องนี้คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทย  ส่วนสาวอินเดียนั้น กว่าร้อยละ 80 เชื่อว่าทางออกคือการปรับปรุงฉลาก • บทบาทของภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้บริโภคไทยมองคือ การผลิตเครื่องสำอางให้มีมาตรฐานสูงขึ้น   ฉลาก• ร้อยละ 58 อ่านฉลากเครื่องสำอาง และจากการสำรวจครั้งนี้พบว่าประเทศไทยมีคนที่อ่านฉลากมากที่สุด (ร้อยละ 94) ตามด้วยบังคลาเทศ และจีน ส่วนผู้บริโภคที่อ่านฉลากน้อยที่สุดคือ เกาหลี และมองโกเลีย (ร้อยละ 31 และร้อยละ 44 ตามลำดับ)   • ข้อมูลที่ผู้บริโภคอ่านมากที่สุดได้แก่ วิธีใช้ ตามด้วยวันผลิต และส่วนผสม   • เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่อ่านฉลากได้แก่ “ตัวอักษรเล็กเกินไป”  “ได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจากผู้ขาย” และ “รู้จักสินค้านั้นดีอยู่แล้ว”  กรณีของสาวไทยนั้น เหตุผลหลักๆ ที่ไม่อ่านคือ เรื่องของขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไป   • สิ่งที่สาวไทยต้องการให้ปรับปรุงมากที่สุด คือการให้ข้อมูลส่วนผสมที่ถูกต้องชัดเจนมากขึ้น  ผลสำรวจการใช้พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างฉลากจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ 55 บาท (ดินสอเขียนคิ้ว มิสทีน บิวตี้พลัส) จนถึง 1,225 บาท (แป้งผสมรองพื้น อาทิสตรี้ ไอเดียล ดูอัล พาวเวอร์ ฟาวน์เดชั่น  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากห้าง ซูเปอร์มาร์เก็ต และจากตัวแทนขายตรง 1. มิสทีน2. ชีเน่3. สกินฟู้ด4. เคมา (KMA)5. บีเอสซี6. อาทิสตรี้7. เทลมี8. โอเรียนทอล พริ้นเซส9. คัฟเวอร์มาร์ค10. อินทูอิท11. กิฟฟารีน12. อิทูดี้13. คิวท์เพรส     รู้จักกับพาราเบนส์  (Parabens)พาราเบนส์ เป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี มีการใช้มาตั้งแต่อดีต ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางทุกชนิด ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทั่วโลก ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการเป็นสารกันเสียและมีความปลอดภัยข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัย 1. เนื่องจากมีการใช้พาราเบนส์อย่างมากมายในเกือบทุกสินค้า ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางส่วนเป็นห่วงถึงความปลอดภัยในผู้บริโภคที่ใช้เป็นประจำ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่ระบุว่ามีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้ถูกดูดซึมได้และจะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกายได้ 2. ปริมาณที่ผสมในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา จะเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จึงไม่มีนัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษได้ 3. นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ทำการวิจัยและพบว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีการผสมพาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน ขณะนี้มีการขยายวงการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มอื่นๆยังมีข้อโต้แย้งว่าโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งนั้นน้อยมาก 4. เช่นเดียวกับข้อ 3 มีการวิจัยถึงผลของสารพาราเบนส์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโฮโมนเอสโตรเจนของ ผู้หญิง แต่ทดลองแล้วมีความแรงน้อยกว่าโฮโมนธรรมชาติถึง 100,000 เท่า จึงไม่น่ากังวล ข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทฯยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ methylparabens อย่างไรก็ตามสำนักงาน อย.ทั่วโลกก็ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้อยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่อย.อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 กินเส้นใหญ่ระวังไตพัง

ก๋วยเตี๋ยวหนึ่งในอาหารจานด่วนที่บริโภคกันมาก เพราะมีสารพัดสูตรให้เลือกชิมเลือกทาน ไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ก๋วยเตี๋ยวเรือ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ บะหมี่หมูแดง ราดหน้า ผัดซีอิ้ว ก็ใช่ เรียกว่ามากมาย จนสาธยายไม่หมด ซึ่งตัวเส้นก๋วยเตี๋ยวก็มีหลากหลาย ชนิด ทั้ง เส้นเล็ก เส้นใหญ่ เส้นหมี่ วุ้นเส้น บะหมี่ โซบะ เส้นขนมจีน และเส้นก๋วยจั๊บ โดยเส้นก๋วยเตี๋ยว  ส่วนใหญ่จะทำจากแป้งข้าวเจ้า บะหมี่ทำจากแป้งสาลี  ผสมไข่ ส่วนวุ้นเส้นทำจากแป้งถั่วเขียวผสมน้ำโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความ  ปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ได้เก็บตัวอย่างเส้น  ก๋วยเตี๋ยวจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ เส้นใหญ่จำนวน 8  ตัวอย่าง เส้นเล็กจำนวน 8 ตัวอย่าง เส้นหมี่(ขาว)  จำนวน 5 ตัวอย่าง เส้นบะหมี่จำนวน 6 ตัวอย่าง  และเส้นขนมจีนจำนวน 4 ตัวอย่าง จากตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานโครงการทั้ง 8 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ  สมุทรสงคราม   ขอนแก่น   มหาสารคาม    เชียงใหม่   พะเยา สงขลา และ สตูล ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 3   เมื่อเดือนมกราคม 2553 รวมจำนวนตัวอย่างที่เก็บทั้งสิ้น 31 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสิ่งปนเปื้อนใน  อาหารกลุ่มสารกันบูดและสีผสมอาหารที่เป็นวัตถุ   เจือปนอาหาร นอกจากนั้นยังมีการตรวจหาสารพิษ  จากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซินในเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทเส้นแห้ง และการทดสอบทางจุลินทรีย์ในเส้นก๋วยเตี๋ยว  ประเภทเส้นสดเพื่อหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์รวม เชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล และเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลล่า   ผลการทดสอบเส้นก๋วยเตี๋ยวทั้ง 5 ชนิดพบว่า เส้นใหญ่  ข่าวดี – พบสารกันบูดในปริมาณที่น้อยลงกว่า  ที่ศูนย์วิทยาศาสตรการแพทย์อุบลราชธานีเคย  แถลงข่าวเมื่อปี พ.ศ. 2550 กว่าหกเท่าตัว คือจาก ประมาณ 3,900 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเหลือไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ข่าวร้าย – ไม่มีตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภท  เส้นใหญ่ใดที่ไม่พบการปนเปื้อน โดยทุกตัวอย่างมี อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นทางจุลินทรีย์หรือทางเคมี ดังมีรายละเอียดดังนี้ - พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค จำนวน 7 ตัวอย่างจากตัวอย่างทดสอบทั้งสิ้น 8 ตัวอย่าง โดย มีอัตราเฉลี่ยของกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 570.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือเท่ากับประมาณ 125 - 175  มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่  1 ชาม (ประมาณ 150 - 250 กรัม) จำนวนกรด  เบนโซอิคที่พบสูงสุด 3 อันดับแรกคือ (1) ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดคลองเตยกรุงเทพฯ มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 836.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ 209 มิลลิกรัม/250 กรัม หรือเท่ากับ 2 ใน 3 ของปริมาณที่แนะให้บริโภคได้สูงสุดต่อวันในคน น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม [ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ได้สูงสุดต่อวัน (ADI) เท่ากับ 0-5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวกิโลกรัม หรือ ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ในคนที่มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม] (2) ก๋วยเตี๋ยวเส้นสดตราเส้นทิพย์ที่เก็บจากตลาดบรบือ จังหวัดมหาสารคาม มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 598 มิลลิกรัม/กิโลกรัมเทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ148 มิลลิกรัม/250 กรัม (3) ตัวอย่างที่เก็บจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ596.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ 146 มิลลิกรัม/250 กรัม- พบสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิคจำนวน2 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ โดยมีอัตราเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 428.8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตัวอย่างที่พบกรดซอร์บิคทั้ง 2 ตัวอย่าง ได้แก่เส้นใหญ่สดของโรงก๋วยเตี๋ยวไทยเจริญ เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีปริมาณกรดซอร์บิคที่พบเท่ากับ 505.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมและเส้นใหญ่แสงชัยตราพระอาทิตย์ เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณกรดซอร์บิคที่พบเท่ากับ 352 มิลลิกรัม/กิโลกรัม- พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา – อะฟลาท็อกซิน จำนวน 1 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ โดยพบที่ตัวอย่างจากตลาดคลองเตยกรุงเทพฯ ที่ปริมาณ 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าน้อยมากและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย- พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในการทดสอบค่าจุลินทรีย์รวม (Total plate count) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความสะอาดของเส้น จำนวน 6 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ แต่มีเพียง 1 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่างที่พบเท่านั้นที่มีค่าจุลินทรีย์รวมสูงเกินกว่าที่ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะ และผู้สัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดไว้ที่ 100,000 โคโลนี/กรัม โดยพบที่ตัวอย่าง จากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบค่าจุลินทรีย์รวมที่ 200,000 โคโลนี/กรัม หมายเหตุ- เส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทเส้นใหญ่ตราพระอาทิตย์ที่เก็บตัวอย่าง  จากตลาดสดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่นพบสารกันบูดทั้ง  กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค ในผลิตภัณฑ์เดียวโดยปริมาณ  รวมของกรดทั้ง 2 ชนิดเท่ากับ 942 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ เกือบจะเท่ากับที่เกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศหรือ CODEX กำหนดไว้ที่ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - เส้นก๋วยเตี๋ยวจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงครามไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานวัตถุเจือปนอาหารด้านสารกันบูด (กรดเบนโซอิค) และไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาฯ ของกรมวิทยาสตร์การแพทย์ - เส้นก๋วยเตี๋ยวกว่าครึ่งไม่ทราบผู้ผลิตและทั้งหมดไม่ระบุวันหมดอายุ  อะฟลาท็อกซิน จำนวน 1 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่าง  ที่ทำการทดสอบ โดยพบที่ตัวอย่างจากตลาดคลองเตย  กรุงเทพฯ ที่ปริมาณ 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่ง  ถือว่าน้อยมากและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย - พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในการทดสอบ ค่าจุลินทรีย์รวม (Total plate count) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ความสะอาดของเส้น จำนวน 6 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ แต่มีเพียง 1 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่างที่พบเท่านั้นที่มีค่าจุลินทรีย์รวมสูงเกินกว่าที่ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะ และผู้สัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดไว้ที่ 100,000 โคโลนี/กรัม โดยพบที่ตัวอย่าง จากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบค่า  จุลินทรีย์รวมที่ 200,000 โคโลนี/กรัม   ฉลาดซื้อแนะเส้นก๋วยเตี๋ยวที่บริโภคนอกบ้าน  เราไม่สามารถรู้ได้ว่าผลิตจากที่ไหน และมี  กระบวนการผลิตอย่างไรบ้าง ดังนั้นหาก  ต้องการบริโภคเส้นใหญ่นอกบ้านไม่ว่าจะเป็น  ผัดซีอิ้ว ก๋วยเตี๋ยวหลอด หรือก๋วยเตี๋ยวน้ำ  เส้นใหญ่ไม่ควรรับประทานเกิน 1 ชามต่อวัน   และไม่ควรบริโภคติดต่อกันทุกวัน เนื่องจาก  จะเกิดการสะสมและทำให้ประสิทธิภาพการ ทำงานของตับและไตลดลง และอาจเป็น  สาเหตุให้เกิดโรคไตได้ ค่ามาตรฐานเส้นก๋วยเตี๋ยว- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร จะไม่ระบุให้ผู้ประกอบการใช้กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิคใน  เส้นก๋วยเตี๋ยวได้ - ขณะที่มาตรฐานสากล (CODEX) ระบุให้ใช้ได้ที่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมสำหรับกรดเบนโซอิค และไม่ระบุว่าให้ใช้ได้หรือไม่สำหรับกรดซอร์บิค - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน อนุญาตให้มีสารอะฟลาทอกซินปนเปื้อนในอาหารได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ไม่อนุญาตให้ใส่สีผสมอาหารในเส้นบะหมี่ - เกณฑ์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดเรื่องจุลินทรีย์ในอาหารไว้ดังนี้ - Total plate count หรือ จุลินทรีย์ทั้งหมด ไม่เกิน 1 x 106 cfu/g - E. coli อี.โคไล

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 114 ชื่นใจอย่างปลอดภัย กับ เก็กฮวย

    “ดอกเก๊กฮวย” เป็นไม้ดอกในตระกูลเบญจมาศ มี ถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน ถือเป็นไม้ดอกที่ มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ดอกจะบานสวยงามในหน้าหนาว ในประเทศจีนยกให้เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง และความมีคุณธรรมที่ไม่ยอมโอนอ่อนตามฤดูกาล ซึ่งดอกเบญจมาศถือเป็นดอกไม้ที่มีการซื้อขายกันมากทั่วโลก เพราะปลูกง่ายและมีหลากหลายพันธุ์ ทั้งแบบสวยงามใช้เพื่อการประดับตกแต่ง และแบบที่นำมาทำเครื่องดื่มซึ่งก็คือ ดอกเก๊กฮวย นั่นเอง   ชื่นใจอย่างปลอดภัย กับ “เก๊กฮวย” เป็นธรรมดาเวลาที่เราต้องเจอกับอากาศร้อนๆ หรือทำงานมาเหนื่อยๆ หลายคนก็คงรู้สึกกระหายอยากดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ ที่ดื่มแล้วทำให้รู้สึกชื่นใจ หายเหนื่อย และถ้ามีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยก็จะดีไม่น้อย แต่ก็คงมีบางคนที่อาจจะเบื่อน้ำเปล่า หรือถ้าเป็นชา กาแฟก็ไม่ค่อยถูกใจ น้ำอัดลมดื่มแล้วไม่มีประโยชน์ ส่วนน้ำผลไม้ก็แพงเกินไป  “ฉลาดซื้อ” จึงอยากแนะนำเครื่องดื่มสมุนไพร ดื่มแล้วชื่นใจ แถมให้ประโยชน์ ที่ไม่ว่าใครก็รู้จักกันดี อย่าง “เก๊กฮวย” น้ำเก๊กฮวย เป็นเครื่องดื่มในดวงใจของใครหลายๆ คน ด้วยกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ จะต้มดื่มเองก็ง่าย จะซื้อแบบพร้อมดื่มก็สะดวกดีเพราะมีขายอยู่ทั่วไป ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น   ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับเก๊กฮวยว่า มีการตรวจพบอาหารหลายชนิดที่นำเข้ามาจากจีนที่ด่านอาหารและยาเชียงแสน จ.เชียงราย มีการปนเปื้อนของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปริมาณสูง ซึ่งมีดอกเก๊กฮวยแห้งรวมอยู่ด้วย เพื่อความสบายใจของคนที่ชอบดื่มน้ำเก๊กฮวย “ฉลาดซื้อ” จึงขออาสาพิสูจน์ความจริง มาดูกันซิว่าจะมีสิ่งไม่พึ่งประสงค์อยู่ในเก๊กฮวยหรือเปล่า   “ซัลเฟอร์ไดออกไซด์” อันตรายยังไง?  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นสารเจือปนอาหารที่มีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย จุลินทรีย์ และรา จึงช่วยชะลอการเน่าเสียของอาหาร ยืดอายุของอาหาร แถมยังช่วยป้องกันการเปลี่ยนสีของอาหารได้ด้วย   แต่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นอันตรายต่อร่างกาย แม้ร่างกายสามารถขับสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้โดยการปัสสาวะ แต่ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะมีผลไปลดประสิทธิภาพการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกาย และมีฤทธิ์ทำลายวิตามิน B1 อาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ได้รับสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้าสู่ร่างกายมากๆ คือ จะทำให้หายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนหัว คนที่แพ้มากๆ หรือเป็นหอบหืดอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้   นอกจากดอกเก๊กฮวยแห้งแล้ว ยังมีอาหารอีก   หลายชนิดที่มีโอกาสเสี่ยงซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เช่น  ผักผลไม้แห้ง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน ผักผลไม้กระป๋อง แยม น้ำตาลทราย เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ แป้ง อาหารแช่แข็ง ฯลฯ    ผลทดสอบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้ง   “ฉลาดซื้อ” ได้เก็บตัวอย่าง ดอกเก๊กฮวยแห้ง สำหรับนำไปต้มดื่มเองที่บ้าน ซึ่งตัวอย่างที่เราเก็บส่วนใหญ่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายในห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง มีเพียงหนึ่งตัวอย่าง (ดอกเก๊กฮวยแห้งตราเสือ) ที่เราไปเลือกซื้อที่ตลาดเยาวราช เพราะน่าจะเป็นที่ที่แม่ค้าหลายเจ้าไปซื้อเพื่อนำมาต้มเป็นน้ำเก๊กฮวยขาย ต่ออีกที ซึ่งช่วงที่เราไปซื้อตัวอย่างยี่ห้อดังกล่าว พบว่ามีวางจำหน่ายอยู่หลายร้านในตลาดเยาวราช เราจึงคาดว่า ดอกเก๊กฮวยแห้งยี่ห้อนี้น่าจะเป็นที่นิยมพอสมควร     • สำหรับข้อกำหนดของการปนเปื้อนของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้งนั้น ประกาศกระทรวง  สาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ.2547 เรื่อง ชาสมุนไพร ซึ่งนับรวมดอกเก๊กฮวยแห้งเอาไว้ด้วย ได้กำหนดไว้ว่าอนุญาตให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม • ในการทดสอบหาสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้งครั้งนี้ มีอยู่ 2 ตัวอย่างจากทั้งหมด 8 ตัวอย่าง  ซึ่งพบในระดับที่สูงที่เกินกว่าประกาศของกระทรวงสาธารณสุขค่อนข้างมาก คือ สมุนไพร ดอกเก๊กฮวย  ตรา ดร.กรีน พบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปนเปื้อน 754.37 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ ดอกเก๊กฮวย ตรา Tesco  พบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปนเปื้อน 155.67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   • อย่าเพิ่งตกใจแม้จะเห็นตัวเลขการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในดอกเก๊กฮวยแห้งที่เราทดสอบสูงกว่า  มาตรฐานที่กำหนดค่อนข้างมาก แต่ก็ถือเป็นตัวเลขที่เทียบจากปริมาณดอกเก๊กฮวยแห้ง 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เยอะมากยิ่งนำไปต้มเป็นน้ำดื่มก็ยิ่งมีปริมาณมากขึ้นไปอีก แถมยังมีเพียงแค่ 2 จาก 8 ตัวอย่างเท่านั้น ที่พบการปนเปื้อน นั่นก็แสดงให้เห็นว่า ดอกเก๊กฮวยแห้งในวางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่ปลอดภัย   • แต่คราวหน้าถ้าจะซื้อดอกเก๊กฮวยแห้งมาต้มน้ำเก๊กฮวยดื่มที่บ้าน ก็ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่บรรจุมิดชิด สะอาด มีชื่อที่อยู่ผู้ผลิตและวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุระบุไว้ชัดเจน หรือถ้ามีบอกกรรมวิธีการผลิตหรือวัตถุดิบที่ใช้ก็จะยิ่งดีมาก • ในการทดสอบดอกเก๊กฮวยแห้งครั้งนี้ ”ฉลาดซื้อ” ยังได้ทดสอบหาการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซินด้วยซึ่งผลที่ออกมาน่าดีใจ เพราะไม่พบการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินในดอกเก๊กฮวยแห้งทั้ง 8 ตัวอย่าง -------------------------------------------------- ประโยชน์ของการดื่มน้ำเก๊กฮวย -น้ำเก๊กฮวยดื่มแล้วชื่นใจ ทำให้รู้สึกสดชื่น แก้กระหาย แถมช่วยแก้ร้อนใน ขับพิษร้อน ขับลม ขับเหงื่อได้ด้วย -ดอกเก๊กฮวยสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ช่วยบำรุงสายตา บรรเทาอาการไข้ แก้วิงเวียนศีรษะ และอาการหน้ามืด -เป็นยาระบายและช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง -ดื่มน้ำเก๊กฮวยช่วยบำรุงหัวใจ และระบบการทำงานของหลอดเลือด ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงหัวใจ จึงช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดตีบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 114 เฟรนช์ฟราย จานด่วน อันตราย

  เฟรนช์ฟราย ของอร่อยที่มากับความน่ากลัว (รึเปล่า) หากพูดถึงร้านอาหารจานด่วนหรือร้านฟาสต์ฟู้ด ผมมั่นใจได้ว่าเฟรนช์ฟรายจะมาเป็นลำดับต้น ๆ ของรายการอาหารในร้านอาหารจานด่วนที่ท่านผู้อ่านจะนึกถึง เฟร้นช์ฟรายหรือมันฝรั่งแท่งทอดมีต้นกำเนิดมาจากประเทศเบลเยียมในปี ค.ศ. 1680 ภายหลังได้แพร่กระจายไปหลายประเทศในยุโรปจนมาถึงประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1856 โดยพ่อครัวชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งทำอาหารชนิดนี้และนำไปเสิร์ฟให้กับประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา ในชื่อสั้น ๆ ว่า ฟราย (Fries) และกลายเป็นรายการอาหารหลักในร้านฟาสต์ฟู้ด จัดว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่ทำกำไรได้มากที่สุดของร้านอาหารจานด่วนต่างๆ ทั่วโลกรวมไปถึงประเทศไทย   เพื่อทดสอบความปลอดภัยของเฟรนช์ฟรายที่บริโภคกันอยู่ในปัจจุบัน ทางโครงการพัฒนากลไกการ เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคจึงได้เก็บตัวอย่างเฟรนช์ฟราย จำนวน 30 ตัวอย่าง ในการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง ครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2552 เก็บตัวอย่างจากร้านอาหารจานด่วน หรือฟาสต์ฟู้ดเฟรนไชส์ใหญ่ จำนวน 6 ยี่ห้อ ได้แก่ เคเอฟซี แมคโดนัลด์ เชสเตอร์กริลล์ เบอร์เกอร์คิง เอแอนด์ดับบลิว และมอสเบอร์เกอร์ ในกรุงเทพมหานคร กับ ร้านเคเอฟซี จำนวน 2 สาขาในจังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างเฟรนช์ฟรายจากร้านอาหารจานด่วนขนาดเล็ก อีก 2 ร้าน คือร้านยูเฟรนและร้านอีสานคลาสสิคในจังหวัดสมุทรสงคราม การเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างเมื่อเดือนมีนาคม 2553 จากร้านอาหารจานด่วนเฟรนไชส์ขนาดใหญ่ จำนวน 4 ยี่ห้อ ได้แก่ เคเอฟซี แมคโดนัลด์ เชสเตอร์กริลล์ และเบอร์เกอร์คิง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กับ ร้านเคเอฟซี จำนวน 2 สาขาในจังหวัดสมุทรสงคราม การเก็บตัวอย่างครั้งที่ 3 เก็บตัวอย่างซ้ำของครั้งที่ 1 และ 2 ในเดือนเมษายน 2553 ดำเนินการเก็บตัวอย่างจากร้านอาหารจานด่วนเฟรนไชส์ขนาดใหญ่จำนวน 6 ยี่ห้อที่เก็บเมื่อการเก็บตัวอย่างครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2552 รวม 9 ตัวอย่าง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และตัวอย่างจากร้านเคเอฟซีอีก 2 สาขา จำนวน 4 ตัวอย่าง กับตัวอย่างจากร้านยูเฟรน และร้านทีสเต็ก รวม 4 ตัวอย่าง ในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยตรวจหาปริมาณเกลือ (Salt) ไขมันทรานส์ (Trans fat) และค่าของกรด (Acid Value) ผลการทดสอบ(3 ครั้ง) พบว่า• เกลือหรือโซเดียมยังสูง...น่าห่วงการทดสอบปริมาณเกลือหรือโซเดียมในเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่ที่เก็บเมื่อเดือนมีนาคม 2553 นั้นทั้ง 6 ตัวอย่างของเฟรนช์ฟรายที่ทดสอบ มีปริมาณเกลือในระดับที่สูงและจัดว่ามีความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อไตได้หากมีการบริโภคติดต่อกันในระยะยาว โดยมีปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 1.48 กรัม/100 กรัม เทียบน้ำหนักต่อห่อของเฟรนช์ฟรายจะพบว่า 1 ห่อมีน้ำหนักอยู่ที่ 150 – 200 กรัม ซึ่งหากใช้ปริมาณเฉลี่ยที่ตรวจพบเป็นฐานคิดจะพบว่าในการบริโภคเฟรนช์ฟราย 1 ห่อจะได้รับเกลือเข้าร่างกายประมาณ 2.2 กรัม – 2-9 กรัม/หน่วยบริโภค ซึ่งเกือบจะเทียบเท่าหรือสูงกว่าปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทย(Thai RDI) ที่ระบุไว้ว่าควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัมหรือ 2.4 กรัมต่อวัน   • ไขมันทรานส์ ต่ำกว่าเกณฑ์เป็นอันตรายการทดสอบไขมันทรานส์ (Trans fat) ที่เป็นตัวเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL: low-density lipoprotein) ในเลือดและลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL: high-density lipoprotein) ในเลือด อันก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น พบว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยในการบริโภค โดยพบไขมันทรานส์ในทั้ง 10 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจในการเก็บตัวอย่างเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ด้วยอัตราเฉลี่ย เท่ากับ 0.09 กรัม/100 กรัม หรือเท่ากับ 0.14 – 0.18 กรัม/หน่วยบริโภคที่ 150 – 200 กรัม ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมีนาคม 2553 พบไขมันทรานส์ในตัวอย่างจำนวน 5 จาก 6 ตัวอย่างที่ทดสอบด้วยอัตราเฉลี่ยเท่ากับ 0.04 กรัม/100 กรัม หรือเท่ากับ 0.06 – 0.08 กรัม/หน่วยบริโภค 150 – 200 กรัมซึ่งค่าเฉลี่ยของไขมันทรานส์ที่พบในการทดสอบทั้งสองครั้งนั้นต่ำกว่าค่ามาตรฐานการบริโภคไขมันทรานส์ที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริการแนะนำให้บริโภคไม่เกิน 0.7 กรัม/หน่วยบริโภคอยู่อย่างน้อยกว่า 3 เท่า     • น้ำมันทอดซ้ำ ยังเข้าข่ายเฝ้าระวังการทดสอบค่าของกรด (Acid Value) [จำนวนมิลลิกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ที่ทำปฏิกิริยาเป็นกลาง (Neutralize) พอดีกับกรดไขมันอิสระที่มีอยู่ในน้ำมันหรือไขมัน 1 กรัม] ซึ่งค่าของกรดจะเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพของน้ำมันที่ใช้ในการทอดอาหาร โดยหากค่าของกรดต่ำหมายความว่าน้ำมันที่ใช้มีคุณภาพดีและหากค่าของกรดสูงหมายความว่าน้ำมันที่ใช้ผ่านการใช้ซ้ำมาแล้วหลายครั้ง จากการทดสอบพบว่า มีค่าเฉลี่ยของค่าของกรดจากการทดสอบครั้งที่ 3 เดือนเมษายน 2553 เท่ากับ 2.06 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) โดยมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 15 ตัวอย่างส่งตรวจ ที่พบค่าของกรดสูงกว่า 3 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) [อ้างอิงโดยอนุโลมจากค่ามาตรฐานตามกฎหมายสาธารณสุขด้านอาหารของประเทศญี่ปุ่น (Japan Food Sanitation Act) เรื่อง น้ำมันในอาหารซึ่งสกัดออกจากอาหารของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป]       ได้แก่ ตัวอย่างจากร้าน เคเอฟซี สาขาเซ็นทรัลลาดพร้าวที่ปริมาณ 5.44 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) และตัวอย่างจากร้านเบอร์เกอร์คิง สาขามาบุญครอง ที่ปริมาณ 4.47 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างอีก 3 ตัวอย่างที่มีปริมาณค่าของกรดใกล้เคียงกับมาตรฐาน (สูงกว่า 2 แต่ไม่ถึง 3 mgKOH/g oil โดยอ้างอิงเกณฑ์พึงระวังจากมาตรฐานกลางหรือโคเด็กซ์ - Codex Commodity Standard) คือตัวอย่างจากร้านแมคโดนัลด์ สาขาเซ็นทรัลลาดพร้าว ที่ปริมาณ 2.52 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) ในการเก็บตัวอย่างเดือนมีนาคม 2553 ตัวอย่างจากร้านเคเอฟซี สาขาเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่ปริมาณ 2.3 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) และ ตัวอย่างจากร้านแมคโดนัลด์ สาขาเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่ปริมาณ 2.22 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม (mgKOH/g oil) ในการเก็บตัวอย่างเดือนพฤศจิกายน 2552         บริโภคแต่น้อย เพื่อสุขภาพที่ดีเมื่อดูภาพรวมหลังการทดสอบ การบริโภคเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไตอันเนื่องมาจากได้รับโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็ง ความดันโลหิต และหลอดเลือดหัวใจอันเนื่องมาจากการบริโภคน้ำมันทอดซ้ำ แต่ถ้ายังรู้สึกว่า ชีวิตจะไร้สีสันไปสักนิดหากงดบริโภคไปเลย ก็มีข้อแนะนำดังนี้  • ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเฟรนช์ฟรายที่ขายในร้านอาหารจานด่วนทั้งหลาย โดยเฉพาะเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่ เพราะโอกาสที่จะกินให้หมดเนื่องจากเสียดายมีสูง • หากจะบริโภคจริงๆ ก็เลือกขนาดเล็ก กินให้น้อยและไม่ควรบริโภคติดต่อกันเป็นประจำ ถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้เจ้าของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารในร้านบ่อยๆ และใส่เกลือลงในเฟรนช์ฟรายให้น้อยลง • ทำกินเองที่บ้านก็ดีนะครับ เพราะสามารถควบคุมปริมาณเกลือที่จะใช้และอุณหภูมิในการทอดและคุณภาพของน้ำมันที่ใช้ทอดได้------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------  “น้ำมันทอดซ้ำ” น้ำมันทอดซ้ำ ถือเป็นภัยใกล้ตัวคนไทย เพราะบ้านเรามีพวกอาหารทอดๆ ขายเยอะแยะเต็มไปหมด น้ำมันทอดซ้ำก็คือน้ำมันที่ผ่านการทอดมาหลายครั้งจนเสื่อมคุณภาพและเกิดการแตกตัวเป็นสารโพลาร์ ซึ่งทำให้น้ำมันเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็นหืน และเป็นต้นเหตุทำให้เกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร ทำให้ตับเสื่อม นอกจานี้ยังก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด วิธีที่จะเลี่ยงภัยเสี่ยงจากน้ำมันทอดซ้ำ ก็ต้องพยายามสังเกตน้ำมันที่ร้านค้านั้นใช้ ต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหืน หรือมีสีดำคล้ำ เวลาทอดต้องไม่มีฟองกับควันมากเกินไป เพราะนั้นแสดงว่าน้ำมันใช้มานาน ส่วนใครที่ทำกับข้าวกินเองที่บ้าน มีหลายวิธีหลีกหนีจากภัยน้ำมันทอดซ้ำ เช่น ไม่ควรใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำเกิน 2 ครั้ง หรือหากจำเป็นต้องใช้จริงๆ ให้เทน้ำมันเก่าทิ้ง 1 ใน 3 แล้วเติมน้ำมันใหม่ลงไปแทน ไม่ควรทอดไฟแรงเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 160 – 180 องศาเซลเซียส หรือซับน้ำส่วนที่เกินบริเวณผิวหน้าอาหารดิบก่อนทอด ก็ช่วยชะลอการเสื่อมสลายตัวของน้ำมันได้ เฟรนช์ฟราย จานด่วน อันตราย!โดย นายพชร แกล้วกล้าผู้ประสานงานโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 ปลาหมึกแห้ง ของดีแต่มีเสี่ยง

ปลาหมึกแห้ง จัดเป็นอาหารแปรรูปที่ขายดีอันดับหนึ่ง หาซื้อไม่ยากจะเอามาทำอะไรกินก็ง่ายจะทอดหรือย่างก็อร่อย ปลาหมึกที่นำมาทำปลาหมึกแห้งมีหลายชนิด แต่ที่นิยมกันมากๆ ก็คือ  ปลาหมึกกล้วย และปลาหมึกสาย ผลการทดสอบที่นำเสนอนี้เป็นผลจากการทดสอบตัวอย่างอาหารจำนวน 8 ตัวอย่างจาก 8 จังหวัด ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ โดยเก็บตัวอย่างในเดือนมกราคม 2553 ครับ   ปลาหมึกแห้งที่เก็บตัวอย่างนี้เรานำมาทดสอบหาสิ่งปนเปื้อนในอาหาร 3 กลุ่ม คือ สารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซิน ซึ่งอาจจะมาจากการเก็บรักษาที่ไม่สะอาด โลหะหนักในอาหาร ซึ่งมักปนเปื้อนในอาหารทะเลและสารปรุงแต่งรส สีผสมอาหาร และสารเคมีทางการเกษตรที่พ่อค้า-แม่ค้าบางรายมักฉีดพ้นเพื่อป้องกันแมลงมาตอมปลาหมึกแห้งในร้านครับ   ผลการทดสอบ - ข่าวดี ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซินในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ (8 ตัวอย่าง) - ข่าวร้าย พบการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทแคดเมียมในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีค่าเฉลี่ยของแคดเมียมที่พบอยู่ที่ 3.43 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ-CODEX อยู่ที่ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และหากนำค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศมาเป็นตัวชี้วัดจะพบว่ามีตัวอย่างที่พบค่าแคดเมียมเกินกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ตัวอย่างจากร้านเจ๊ต้อย ซึ่งเก็บจากตลาดสดมหาสารคาม พบแคดเมียมที่ปริมาณ 13 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (2) ตัวอย่างจากร้านเจ๊ดม ซึ่งเก็บตัวอย่างจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบแคดเมียมที่ปริมาณ 4.77 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (3) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบแคดเมียมที่ปริมาณ 3.36 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (4) ตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 3 จังหวัดขอนแก่น พบแคดเมียมที่ปริมาณ 2.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม -พบการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทตะกั่วในทุกตัวอย่าง (8 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณตะกั่วที่พบเท่ากับ 0.137 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีตัวอย่างใดที่มีการปนเปื้อนสูงเกินกว่ามาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) กำหนดที่ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีปริมาณตะกั่วสูงสุดที่พบในตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดตำบลจำปาหวาย จังหวัดพะเยาที่ปริมาณ 0.46 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - พบการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทปรอทในทุกตัวอย่าง (8 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบเท่ากับ 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีตัวอย่างใดที่มีการปนเปื้อนสูงเกินกว่ามาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) กำหนดที่ 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับอาหารทะเล โดยมีปริมาณปรอทที่พบสูงสุดในตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดเทศบาล 3 จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - พบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ (ยาฆ่าแมลง) จำนวน 5 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 62 โดยพบสารตกค้างชนิดเพอร์เมทริน (Permethrin) ในตัวอย่างจากตลาดสดตำบลจำปาหวาย จังหวัดพะเยา และ ตัวอย่างจากผู้ผลิต บมจ.สยามแมคโคร กรุงเทพฯ โดยมีปริมาณที่พบเท่ากับ 0.18 และ 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบสารตกค้างชนิดไซไฟทริน (Cyflythrin) ในตัวอย่างจากร้านเจ๊ดม จังหวัดสมุทรสงครามและตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ที่ปริมาณ 0.12 และ 0.10 มิลลิกรัม/กิโลกรัมตามลำดับ ท้ายที่สุด พบสารพิษตกค้างชนิดไบเฟนทริน (Bifenthrin) ในตัวอย่างเก็บจากร้านป้าอร ตลาดสดละงู จังหวัดสตูล ที่ปริมาณ 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - พบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตรประเภทคาเบนดาร์ซิม (ยากันรา) ในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 37.5 โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบเท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดของสารเคมีที่พบคือ 0.44 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จากตัวอย่างที่เก็บในตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่   ข้อสังเกต- ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และตัวอย่างที่เก็บจากห้างแมคโคร กรุงเทพฯ พบการปนเปื้อนทั้งแคดเมียม สารตกค้างทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ และยากันรา-คาร์เบนดาซิมในปริมาณที่ค่อนข้างสูงและอาจก่อให้เกิดอันตรายหากมีการบริโภคติดต่อกันเป็นระยะเวลานานได้ - ตัวอย่างที่เก็บจากร้านเจ๊ดม จังหวัดสมุทรสงคราม พบการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณที่สูงเกินกว่าที่มาตรฐานอาหารสากล (CODEX) กำหนด (2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) โดยพบในปริมาณที่สูงถึง 4.77 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของตะกั่วและปรอทในระดับพอสมควร อีกทั้งยังพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างอีกด้วย - ตัวอย่างกว่าร้อยละ 90 ที่ทำการทดสอบไม่ระบุยี่ห้อ ไม่ทราบผู้ผลิต และไม่ทราบวันผลิตและวันหมดอายุ ----------------------------------------------------------------------------------------------------- อันตรายของโลหะหนักที่ปนเปื้อนในปลาหมึกแห้งอันตรายจากแคดเมียม – ทำให้เกิดความเจ็บปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างมาก ทำให้กระดูกและไตพิการ อันตรายจากตะกั่ว – จะทำให้เบื่ออาหาร ปวดท้อง มือเท้าอ่อนแรง เลือกจาง ถ้าเป็นเด็กจะทำให้สมองพิการได้ การเรียนรู้ด้อยลงอันตรายจากปรอท – เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า รวมไปถึงแขน ขา ริมฝีปากและเป็นอัมพาตในที่สุด ---------------------------------------------------------------------------------------------------- *จากผลทดสอบจะเห็นว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในปลาหมึกแห้งก็คือ การปนเปื้อนของแคดเมียม และสารเคมีในกลุ่มไพรีทอยด์ ซึ่งเป็นสารเคมีในกลุ่มยากำจัดศัตรูพืช การปนเปื้อนของแคดเมียมส่วนหนึ่งก็มาจากเหตุผลเรื่องธรรมชาติความสะอาดในท้องทะเล เพราะมนุษย์เรานี่แหละที่ทำร้ายธรรมชาติชอบทิ้งสารเคมีลงในทะเล ถ้าอยากกินอาหารทะเลดีๆ ที่ปลอดภัยก็ต้องช่วยกันดูแลรักษาท้องทะเล ส่วนเรื่องสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ก็ต้องฝากวอนไปถึงพ่อค้า-แม่ค้าอย่าได้ใส่อะไรไม่พึ่งประสงค์ลงไปเลย ผู้บริโภคเราอยากรับประทานของสะอาดและมาจากธรรมชาติจริงๆ ครับ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- -ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนข้อ 4 (2) ระบุการปนเปื้อนของ อฟลาทอกซิน ได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมข้อ 4 (1) (ง) ระบุการปนเปื้อน ตะกั่ว ได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เว้นแต่อาหารที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนตามธรรมชาติในปริมาณสูง ให้มีได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาข้อ 4 (1) (ฉ) ระบุการปนเปื้อน ปรอท   ได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารทะเล และไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารอื่น -ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่288  (พ.ศ. 2548) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ไม่ระบุว่าอนุญาติให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในอาหารทะเลแห้ง ดังนั้นจึงไม่ควรมีปนเปื้อนมาในอาหาร -ค่ามาตรฐานอาหารสากล (CODEX)กำหนดค่าการปนเปื้อนของ แคดเมียม ในอาหารประเภทปลาหมึก อยู่ที่ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้นโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่) วิธีการทำปลาหมึกแห้ง ไม่ยากแต่อาจจะมีหลายขั้นตอนอยู่สักหน่อย เอาปลาหมึกไปตากแดดแล้วก็คอยพลิกกลับตัวปลาหมึกเพื่อให้ปลาหมึกแห้งทั่วกัน ถ้าแดดดีๆ 20 -30 ชั่วโมงก็ถือว่าใช้ได้ แต่ยังกินไม่ได้นะ ต้องนำปลาหมึกที่ตากแล้วนำมาวางซ้อนทับกันแล้วใช้ผ้าใบหรือพลาสติกคลุมไว้แล้วหาอะไรหนักๆ ทับไว้ ทิ้งไว้ 2 – 3 วัน ปลาหมึกจะยืดหยุ่นมากขึ้นเพราะความชื้นเกิดขึ้นในเนื้อปลาหมึก หลังจากนั้นก็นำมาตากแดดให้แห้งอีกครั้งประมาณอีก 2-3 วัน ที่นี้ก็นำมาทำอาหารรับประทานได้แล้ว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 112-113 กุ้งแห้ง แดงนี้อาจมีปัญหา

เมนูยอดฮิตอย่าง ส้มตำ ผัดไทยและยำรสเด็ด กุ้งแห้งตัวแดงๆ นี้ถือเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้เชียว เพราะมันทั้งช่วยเพิ่มรสชาติและสีสันให้อาหารชวนรับประทานมากยิ่งนัก กุ้งแห้งที่เรารับประทานกันทุกวันนี้มีหลายไซด์หลายราคา เกรดดีเกรดไม่ดี ก็แล้วแต่กำลังทรัพย์ ยิ่งกุ้งตัวใหญ่อ้วนท้วนสมบูรณ์ราคาก็จะสูงตามไปด้วย กุ้งแห้งที่ขายกันอยู่ในตลาดนั้นมีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละร้อยกว่าบาทไปจนถึงพันบาท ปัจจัยในการซื้อไม่เพียงแค่เรื่องราคา ขนาด ความสะอาดและแหล่งผลิตแล้ว เราต้องไม่มองข้ามเรื่อง “สี” นะครับเพราะกุ้งแห้งที่ดีไม่ควรผสมสีใดๆ ลงไปทั้งสิ้น ผลการทดสอบที่นำมาเสนอนี้เป็นการเก็บตัวอย่างอาหารครั้งที่ 3 ของโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคเช่นเคยครับ มีจำนวนตัวอย่างที่เก็บทั้งสิ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมกราคม 2553 จากพื้นที่ดำเนินงานโครงการ ใน 8 จังหวัดจาก 4 ภูมิภาค ดังนี้ ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรสงคราม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยา และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล กุ้งแห้งที่นำมาทดสอบเป็นกุ้งแห้งขนาดเล็กไม่แกะเปลือกสำหรับใช้ประกอบอาหาร และมีสิ่งที่ต้องการทดสอบคือตรวจหาสิ่งปนเปื้อนในอาหาร 3 ชนิดได้แก่ สารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาทอกซิน สีปรุงแต่งอาหาร และสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์   ผลการทดสอบ - ข่าวดี ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาทอกซินในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ (8 ตัวอย่าง) - ข่าวร้าย พบสีสังเคราะห์ในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ของตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บ โดยตัวอย่างที่เก็บจากร้านเจ๊รัตนา ในตลาดสดจังหวัดมหาสารคามพบสีตระกูลสีส้ม ซึ่งไม่ใช่สีสังเคราะห์ที่กฎหมายอนุญาตให้ใส่ในอาหาร และตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบสีสังเคราะห์ชนิดสีแดง-ปองโซ 4 อาร์ และชนิดสีเหลือง-ซันเซ็ตเยลโลว์ เอฟซีเอฟ อันนี้อนุญาตให้ใช้กับอาหารแต่ไม่อนุญาตในกุ้งแห้งครับ   - พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บ คือ 1. กุ้งแห้งใหญ่ ยี่ห้อ BDMP ของบริษัทบางกอกดีไฮเดรทมารีนโปรดักส์ จำกัด เก็บตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กรุงเทพฯ พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin )ที่ปริมาณ 0.098 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.131 มิลลิกรัม/กิโลกรัม2. กุ้งแห้งจากร้านเจ๊ดม ณ ตลาดเทศบาลเมืองสมุทรสงครามพบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.052 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.235 มิลลิกรัม/กิโลกรัม3. กุ้งแห้งที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.031 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.061 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 4. กุ้งแห้งนำเข้าจากประเทศจีนที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.048 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.33 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   ข้อสังเกต• ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบการปนเปื้อนทั้งสีสังเคราะห์สีแดงและสีเหลืองและพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ (ยาฆ่าแมลง) • ผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดสอบกว่าร้อยละ 90 ไม่ระบุยี่ห้อ ไม่ทราบวันผลิตและวันหมดอายุ และไม่ทราบผู้ผลิต ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ข้อ 4 (2) ระบุว่าให้พบการปนเปื้อนของ อฟลาทอกซิน ได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สาระน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนที่พบในกุ้งแห้ง สีผสมอาหาร นิยมใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีสีสันสดใสดึงดูดใจให้รู้สึกอยากรับประทาน ซึ่งสีที่ใส่ในอาหารมีทั้งสีจากธรรมชาติและสีที่สังเคราะห์ขึ้นมา แน่นอนสีผสมอาหารไม่มีคุณค่าทางอาหารแถมถ้าสะสมอยู่ในร่างกายในปริมาณมากๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อตัวเราได้ โดยเฉพาะกับระบบการทำงานของกระเพาะอาหาร เพราะสีผสมอาหารจะเข้าไปเคลือบกระเพาะอาหารการดูดซึมสารอาหารก็จะมีปัญหา และอาจลุกลามไปกระทบต่อการทำงานของไตด้วย สำหรับวิธีง่ายๆ เพื่อจะดูว่ากุ้งแห้งที่เราจะซื้อใส่สีหรือเปล่า แม่ค้าอาหารทะเลแห้งจากตลาดมหาชัยแนะนำว่าให้ดูที่ท้องกุ้ง ถ้ากุ้งแห้งไม่ใส่สีท้องกุ้งจะขาว แต่ถ้าเกิดเป็นสีแดงหรือส้มก็ให้สงสัยได้เลยว่าใส่สี สารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ เป็นสารเคมีในกลุ่มยาจำกัดแมลงซึ่งสารพิษชนิดนี้จะทำอันตรายกับคนเราไม่มาก แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายสัมผัสหรือหายใจเข้าไป ยิ่งถ้าหากเข้าสู่ร่างกายโดยการดื่มกินเข้าไปก็ต้องระวัง โดยเฉพาะคนที่เป็นและเคยเป็นโรคหอบหืด เพราะจะทำให้อาการหอบหืดปรากฏขึ้นมาได้ อาการเบื้องต้นก็มีทั้ง คลื่นไส้ อาเจียน ไปจนถึงชีพจรเต้นช้า หายใจติดขัด ผิวหนังซีด เหงื่อออก กล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งเหตุผลที่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาปนเปื้อนอยู่ในกุ้งแห้งก็เพราะพ่อค้า-แม่ค้าบางคนนำเจ้าสารเคมีดังกล่าวมาฉีดลงบนกุ้งแห้งเพราะไม่อยากให้มีแมลงวันมาตอมกลัวจะดูไม่ดีลูกค้าไม่มาซื้อ อะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักเกิดกับพืชตระกูลถั่ว ข้าว และอาหารแห้งต่างๆ โดยเฉพาะยิ่งเมื่ออยู่ในสภาพอาการที่ร้อนชื้น สำหรับพิษของอะฟลาทอกซินจะไปทำอันตรายกับตับ คือทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับตับ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง รวมทั้งอาจทำให้เกิดอาการสมองอักเสบ วิธีหลีกเลี่ยงสารอะฟลาทอกซินอย่างแรกก็คือ ไม่ทานอาหารที่มีเชื้อราขึ้น สังเกตง่ายๆ ก็คือถ้ามีรอยสีดำหรือสีเขียวเข้มๆ เกิดที่อาหาร ให้สงสัยได้เลยว่าเป็นเชื้อรา วิธีทำกุ้งแห้ง บ้านเราแดดจัดดี ถ้าพอมีพื้นที่โล่ง ทำกุ้งแห้งกินเองก็ดีนะครับ กุ้งที่นิยมนำมาทำกุ้งแห้งคือกุ้งทะเลเปลือกบางครับ นำมาต้มหรือนึ่งจนสุก โดยเคล้าเกลือพอให้มีรสเค็ม จากนั้นก็นำไปตากแดด ถ้าแดดดี ๆ แค่วันเดียวก็แห้งใช้ได้แล้วครับ จากนั้นก็หาถุงผ้าใส่กุ้งลงไปแล้วบุบหรือทุบด้วยไม้ตีพริก จะทำให้เปลือกร่อนออกมา แกะส่วนเปลือกทิ้งไป เราก็จะได้กุ้งแห้งอย่างดี รสชาติอร่อย ไม่ปนเปื้อนสารเคมีครับ อ้อสำหรับบ้านที่ไม่มีพื้นที่สำหรับตากแดด ลองนำกุ้งสดหรือกุ้งแช่แข็ง(ละลายก่อนนะครับ) เคล้าเกลือแล้วอบด้วยเตาอบไฟฟ้า ก็พอจะเป็นกุ้งแห้งแบบบ้านๆ ได้แล้วครับ กุ้งขนาดกลาง 1 กิโลกรัม พอตากแดดแห้งแล้วจะเหลือน้ำหนักประมาณ 250 กรัมครับ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281( พ.ศ.2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ระบุว่า เนื้อสัตว์ทุกชนิด ที่ปรุงแต่ง รมควัน ทำให้แห้ง ห้ามใส่สี ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่288 (พ.ศ. 2548) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ไม่ระบุว่าอนุญาติให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในอาหารทะเลแห้ง ดังนั้นจึงไม่ควรมีปนเปื้อนมาในอาหาร (ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้นโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 111 ผลทดสอบ เห็ดหอม เห็ดหูหนูขาวและสาหร่ายทะเล

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอรายงานผลการทดสอบของแห้งสำหรับปรุงอาหารยอดนิยม 3 ชนิดคือ เห็ดหอมแห้ง เห็ดหูหนูขาว และสาหร่ายทะเลแห้ง ครับผลการทดสอบที่จะนำเสนอคราวนี้มาจากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกเดือนกันยายน และครั้งที่สอง เดือนพฤศจิกายน 2552 โดยเก็บตัวอย่างจากทั้งในห้างสรรพสินค้าและในตลาดสด ของพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สตูล และสงขลา เห็ดหอมแห้ง จำนวนรวมของตัวอย่างที่ทดสอบ คือ 17 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ครั้งที่ 1 จำนวน 9 ตัวอย่าง และ ครั้งที่ 2 จำนวน 8 ตัวอย่าง 1. การทดสอบสารตกค้างทางการเกษตรประเภทยากันรา พบยากันรา (คาร์เบนดาซิม: Carbendazim) 12 จาก 17 ตัวอย่าง จากการทดสอบครั้งที่ 1 จำนวน 5 ตัวอย่าง + ทดสอบครั้งที่ 2 จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็น 2 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมด ค่าเฉลี่ยของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.33 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีปริมาณที่พบสูงสุด 3 อันดับแรก ดังนี้ (1) 1.71 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่มียี่ห้อและไม่ระบุผู้ผลิต เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่น (2) 0.67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่มียี่ห้อ และไม่ทราบผู้ผลิต เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเมืองสตูล (3) 0.54 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตราตะวัน บ. ตะวันพืชผล จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ เก็บตัวอย่างจากบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม 2. การทดสอบสารเคมีตกค้างทางการเกษตรกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) พบตัวอย่างที่ปนเปื้อนสารตกค้างทางการเกษตรกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต 9 จาก 17 ตัวอย่าง จากการทดสอบครั้งที่ 1 จำนวน 5 ตัวอย่าง และ จากการทดสอบครั้งที่ 2 จำนวน 4 ตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.016 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีปริมาณสารเคมีที่พบซึ่งมีค่าสูงกว่า 0.02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 2 ตัวอย่าง คือ (1) ยี่ห้อเทสโก้ โลตัส ปริมาณที่พบ 0.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาจังหวัดสมุทรสงคราม และ (2) ยี่ห้อ บิ๊กซี ปริมาณที่พบ น้อยกว่า 0.035 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขาพระราม 2 กรุงเทพฯ 3. การทดสอบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) พบตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนอะฟลาทอกซิน จำนวน 5 จาก 17 ตัวอย่าง จากการทดสอบครั้งที่ 1 จำนวน 3 ตัวอย่าง และ จากการทดสอบครั้งที่ 2 จำนวน 2 ตัวอย่าง หรือประมาณ 1 ใน 4 ของตัวอย่างทั้งหมด มีปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 5.42 ไมโครกรัม/กิโลกรัม (เทียบเท่ากับ 1 ใน 4 ของปริมาณสูงสุดที่กำหนดให้มีได้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ซึ่งระบุไว้ว่าไม่เกิน 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม) โดยมีปริมาณอะฟลาทอกซินทั้งหมดที่พบสูง 3 อันดับดังนี้ (1) ตราคุ้มค่า ของ บ. ตะวันพืชผล จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ปริมาณที่พบ 11.0 ไมโครกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจาก ห้างเทสโก้ โลตัส สาขาบางประกอก กรุงเทพฯ (2) ยี่ห้อ บิ๊กซี ของ บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์มาร์เก็ต ปริมาณที่พบ 8.1 ไมโครกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขาพระราม 2 กรุงเทพฯ (3) ยี่ห้อ เทสโก้ โลตัส ของบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด กรุงเทพฯ ปริมาณที่พบ 5.0 ไมโครกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ข้อสังเกต1. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 7 ตัวอย่าง จาก 17 ตัวอย่าง ที่ไม่ผ่านเกณฑ์เชื้อรา (Mold) ซึ่งแสดงถึงความไม่สะอาดในกระบวนการผลิต และมีอัตราเฉลี่ยของปริมาณที่พบเท่ากับ 1,764.3 โคโลนี/กรัม (เกณฑ์มาตรฐานกรมวิทย์ฯ เท่ากับ 500 โคโลนี/กรัม)2. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่างจาก 2 ตัวอย่าง (อีก 15 ตัวอย่าง ไม่ได้วิเคราะห์) ที่ตรวจพบการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เกินมาตรฐาน โดยทั้งสองตัวอย่างเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา ปริมาณที่พบ 2,379.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่พบเท่ากับ 2,065.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม3. ผลิตภัณฑ์กว่า 3 ใน 4 ของที่เก็บตัวอย่างไม่สามารถระบุวันผลิตและวันหมดอายุได้ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีอายุแค่ไหน เหมาะสมแก่การบริโภคหรือไม่4. ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากห้างค้าส่งหรือค้าปลีกขนาดใหญ่หรือผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสด ล้วนมีความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างทางการเกษตร อะฟลาทอกซิน หรือแม้กระทั่งซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่แตกต่างกัน ** อย่างไรก็ตามปริมาณการปนเปื้อนในเห็ดหอมแห้งที่พบโดยภาพรวมยังถือว่ามีปริมาณไม่มากนัก และไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายฉับพลันจากการบริโภค ยกเว้น แต่ในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ อาจจะพบอาการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจจากการบริโภคเห็ดหอมแห้งที่มีการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณสูงได้   เห็ดหูหนูขาว เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 16 ตัวอย่าง (ครั้งที่ 1 เดือนกันยายน และครั้งที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2552 ครั้งละ 8 ตัวอย่าง) 1.พบการปนเปื้อนของยากันรา – คาร์เบนดาซิม 2 จาก 16 ตัวอย่างที่ทดสอบ ทั้งหมดพบในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เดือนกันยายน 2552 คิดเป็นร้อยละ 12.5 โดยตัวอย่างที่พบ ได้แก่ ยี่ห้อปลาทอง ของ บ. เฮอริเทจ สแน็ค แอนด์ฟู้ด จำกัด เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาสตูล ปริมาณที่พบ 0.282 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดพะเยา ปริมาณที่พบ น้อยกว่า 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 2.พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร กลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต 6 จาก 16 ตัวอย่าง โดยทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 เดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 37.5 ค่าเฉลี่ยของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.073 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สารเคมีที่พบ มี 2 ชนิดคือ Methamidophos (จำนวน 2 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบ 0.28 และ 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยเป็นตัวอย่างที่เก็บจาก จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล ตามลำดับ) และ Chlorpyrifos (จำนวน 4 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.0037 – 0.0027 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยเป็นตัวอย่างที่เก็บจาก ห้างเทสโก้ โลตัส สมุทรสงคราม, ตลาดเก่าเยาวราช กรุงเทพฯ, ห้างแมคโคร เชียงใหม่, และตลาดเมืองพะเยา 3.พบการปนเปื้อนของสารฟอกขาว-ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในตัวอย่างทั้งสิ้น 12 จาก 16 ตัวอย่างที่ทดสอบ ปริมาณเฉลี่ยที่พบ 1,638.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มี 8 ตัวอย่างที่พบมีการปนเปื้อนเกินมาตรฐานวัตถุเจือปนอาหาร (1,500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ดังนี้ (1) ตัวอย่างนำเข้าจากประเทศจีนไม่ทราบยี่ห้อ ที่เก็บจากตลาดนิวกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เดือน กันยายน 52 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 3,588 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (2) ยี่ห้อ Tai Liang Yao เก็บตัวอย่างจากตลาดเก่าเยาวราช กรุงเทพ ฯ ในการเก็บตัวอย่างครั้งทื่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2552 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,978.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(3) ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดเทศบาล 3 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เดือน กันยายน 52 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,585 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(4) ผลิตภัณฑ์ของ บ. ทริปเปิ้ลทู มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เก็บตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ สาขารังสิต ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เดือน กันยายน 52 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,226.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(5) ผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดละงู จังหวัดสตูล ในการเก็บตัวอย่างครั้งทื่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2552 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,250.49 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (6) ผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองพะเยา ในการเก็บตัวอย่างครั้งทื่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2552 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,183.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(7) ผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการเก็บตัวอย่างครั้งทื่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2552 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2,038.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(8) ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดเทศบาล 2 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 เดือน พฤศจิกายน 52 มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 1526.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 4.พบสารพิษจากเชื้อรา อะฟลาท็อกซิน 1 จาก 16 ตัวอย่างที่ทดสอบ โดยเป็นตัวอย่างที่เก็บจากการเก็บต้วอย่างครั้งที่ 2 เดือน พฤศจิกายน 52 ยี่ห้อตะวัน ของ บริษัท บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สมุทรสงคราม สารพิษที่พบ คือ อะฟลาทอกซิน ชนิด B1 ปริมาณที่พบ 0.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ข้อสังเกต1. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 1 ตัวอย่างจากทั้งหมด 16 ตัวอย่างที่พบค่าเชื้อรา (Mold) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสะอาดจากการผลิตเกินมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ไม่เกิน 500 โคโลนี/ต่อกรัม) ที่จำนวน 5,800 โคโลนี/กรัม โดยเป็นตัวอย่าง ยี่ห้อตะวัน ของ บริษัท บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สมุทรสงคราม2. ผลิตภัณฑ์ที่เก็บส่วนใหญ่ ( 14 จาก 16 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 87.5) ไม่มีการระบุวันผลิตและวันหมดอายุ สาหร่ายทะเลแห้ง เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 22 ตัวอย่าง (ครั้งที่ 1 เดือนกันยายน 52 จำนวน 7 ตัวอย่าง และ ครั้งที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 52 จำนวน 15 ตัวอย่าง) ผลทดสอบ1.ไม่พบการปนเปื้อนของสารกันรา – คาร์เบนดาซิม ในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ2.พบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตรกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต 10 จาก 22 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนกันยายน 52 จำนวน 2 ตัวอย่างและตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนพฤศจิกายน 52 จำนวน 8 ตัวอย่าง ปริมาณเฉลี่ยของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.005 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณบริโภคปกติจึงไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย3.ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซิน ในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ 4.พบการปนเปื้อนของโลหะหนัก ตะกั่ว (Lead) ทุกตัวอย่าง โดยมีปริมาณเฉลี่ยของตะกั่วที่พบเท่ากับ 0.57 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของ ค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) กำหนด (ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) เมื่อนำมาตรฐานมาเทียบพบว่ามีผลิตภัณฑ์จำนวน 3 ตัวอย่างมีค่าตะกั่วสูงเกินกว่ามาตรฐาน (ร้อยละ 13.6) โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บเมื่อเดือนกันยายน 2552 จำนวน 1 ตัวอย่าง ได้แก่ยี่ห้อ เขียวธรรมชาติ เก็บตัวอย่างจาก เทสโก้ โลตัส สมุทรสงคราม ปริมาณที่พบ 1.31 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และเป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 จำนวน 2 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อ Seaweed ผลิตโดย Poo tradind and export ,Pinang , Malaysia เก็บตัวอย่างจากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปริมาณตะกั่วที่พบเท่ากับ 1.88 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และยี่ห้อ ใบเขียว ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ปริมาณที่พบเท่ากับ 1.06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 5.พบการปนเปื้อนของโลหะหนัก แคดเมียม (Cadmium) ทุกตัวอย่าง โดยมีปริมาณเฉลี่ยของแคดเมียมที่พบเท่ากับ 1.86 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ เกือบสิบเท่าของมาตรฐานอาหารสากลกำหนด (CODEX ใบผัก – 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณแคดเมียมสูงกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีทั้งสิ้น 9 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากตลาดสดมหาสารคาม ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 52 ปริมาณที่พบเท่ากับ 5.06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (2) สาหร่ายทะเลแห้งยี่ห้อปลาทองของ บ.เฮอริเทจ สแน็ค แอนด์ฟู้ด เก็บตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบ เท่ากับ 4.66 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (3) ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Donghu seaweed เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเมืองสตูลเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณที่แคดเมียมที่พบ เท่ากับ 3.93 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(4) ผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเมืองพะเยาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 3.26 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(5) ผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่น เดือนกันยายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 2.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(6) สาหร่ายทะเลแห้งยี่ห้อปลาทองของ บ.เฮอริเทจ สแน็ค แอนด์ฟู้ด เก็บตัวอย่างจากเทสโก้ โลตัส สาขาสมุทรสงคราม เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 2.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(7) ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเป็นภาษาจีน เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 3 จังหวัดขอนแก่น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 2.11 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(8) ผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย เก็บตัวอย่างจากตลาดสดละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เมื่อเดือนกันยายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบเท่ากับ 2.09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(9) สาหร่ายทะเลแห้งตราแมกซ์ นำเข้าโดย บจก.แมกซ์เมริตี้ เก็บตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกันยายน 2552 ปริมาณแคดเมียมที่พบ เท่ากับ 2.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ข้อมูลที่ต้องลงกำกับไปพร้อมกับตาราง • ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้นโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดลภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่นคณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ฉลาดซื้อ “ของแห้ง”1. ทั้ง เห็ดหอมแห้ง เห็ดหูหนูขาวและสาหร่ายแห้ง ส่วนมากเป็นอาหารที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จึงยากที่เราจะทราบเรื่องวันเดือนปีที่ผลิต ดังนั้นวิธีการง่ายๆ ที่เราพอจะทำได้ในการสังเกตคุณภาพของอาหารแห้งเหล่านี้ก็คือ ดูที่บรรจุภัณฑ์ว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ ไม่มีร่องรอยฉีกขาด หรือดูไม่สะอาดจนน่าสงสัย2. ขึ้นชื่อว่าอาหารแห้ง ตัวผลิตภัณฑ์ก็ต้องอยู่ในสภาพที่แห้งจริงๆ ไม่มีความชื้น เพราะถ้าหากมีความชื้นปนเปื้อนมาในอาหารแห้งที่เราซื้อ ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าสินค้าตัวนั้นไม่มีคุณภาพ3. เห็ดหอมแห้ง เห็ดหูหนูขาว และสาหร่ายแห้ง ที่ซื้อมาควรล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย แช่น้ำให้นานๆ ก่อนนำไปปรุงอาหาร ช่วยกำจัดได้ทั้งฝุ่นและแมลงตัวเล็กๆ ที่มักปนเปื้อนมากับอาหารแห้ง รวมทั้งยังช่วยชะล้างสารเคมีบางชนิดได้ด้วย 4. ไม่เลือกผลิตภัณฑ์ที่ดูขาวจนผิดธรรมชาติ เพราะมีการปนเปื้อนของซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือสารฟอกขาวแน่ๆ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 110 ชาโบราณยี่ห้อไหนใส่สีมากเกินไป

เสน่ห์ของ ชาโบราณ ที่มัดใจใครหลายๆ คนให้หลงใหล คงหนีไม่พ้นเรื่องของรสชาติที่สะดุดลิ้นกับกลิ่นหอมที่ดึงดูดใจ และคงรวมไปถึงสีสันที่เป็นเอกลักษณ์ ฉูดฉาดบาดใจ แต่นักดื่มชาโบราณทั้งหลายเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า สีของชาเย็น ชาดำเย็นที่เราดื่มนั้นมันเป็นสีจากธรรมชาติหรือมาจากการเติมแต่งเข้าไป “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้มีความจริงเรื่อง “สีในชา” ที่น่าตกใจมาเปิดเผยให้ทุกคนได้รู้กัน ชาโบราณ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชาปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม ที่ทางการอนุญาตให้ใส่สีได้ โดยต้องมาจดแจ้งขออนุญาตกันก่อน เพื่อจำกัดปริมาณสีที่ผสมเข้าไปไม่ให้มากจนอาจเกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ดังนั้น “ฉลาดซื้อ” ได้ตระเวนเก็บตัวอย่างชาผงสำเร็จรูป แบบที่นำมาชงเป็นชาดำเย็นหรือชาเย็นใส่นมที่หลายๆ คนชอบซื้อดื่มจากร้านหรือรถเข็นขายชา-กาแฟทั่วๆ ไป ซึ่งชาชนิดนี้มีชื่อเรียกหลายๆ แบบ ไม่ว่าจะเป็น ชาโบราณ ชาแดง ชาซีลอน ชาดำ ---------------------------------------------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 196) พ.ศ. 2543 ระบุเอาไว้ว่า ชาผงสำเร็จรูป ต้องมีคุณภาพและมาตรฐานดังนี้ คือ (1) มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 6 ของน้ำหนัก (2) มีเถ้าทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักชาผงสำเร็จรูปแห้ง (3) มีกาเฟอีน (caffeine) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.0 ของน้ำหนัก เว้นแต่ชาผงสำเร็จรูปที่สกัดเอากาเฟอีนออกแล้ว ให้มีกาเฟอีนได้ในปริมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และข้อที่ (4) ที่สำคัญมากๆ คือ เรื่อง สี ซึ่งในประกาศระบุไว้ว่า “ไม่ให้ใส่สี” แม้จะแต่งกลิ่นและรสได้ แต่ห้ามใส่สีเด็ดขาดทั้งในชาผงสำเร็จรูปและใบชา จะยกเว้นก็เฉพาะชาปรุงสำเร็จพร้อมดื่มที่ไม่ได้ระบุเรื่องการห้ามใส่สีเอาไว้ ---------------------------------------------------------------------------------------------------- ผลทดสอบ “สี” ในชาผงปรุงสำเร็จ- ในการทดสอบครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ” ได้เก็บตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ซึ่งเลือกจากการบอกเล่าของแม่ค้า พ่อค้า ที่ขายชาโบราณว่า นิยมใช้ยี่ห้อใดในการขาย โดยฉลาดซื้อได้เก็บตัวอย่างของชาเขียว 1 ตัวอย่าง คือ ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม เพิ่มเติม นอกนั้นเป็นชาดำ ทั้งหมด - การทดสอบตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จทั้ง 13 ยี่ห้อ พบว่ามีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่ไม่พบการใส่สีสังเคราะห์เพิ่มเติม คือ Yoku ซึ่งที่ข้างซองไม่ได้แจ้งรายละเอียดใดๆ ไว้เลย แจ้งเพียงแค่ ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรเลขที่ 10-3-13-13446 - สีผสมอาหารที่พบในการทดสอบครั้งนี้คือ ซันเซ็ต เย็ลโลว์ (Sunset yellow) และ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) ซึ่งเป็นกลุ่มสีที่ให้สีเหลือง, ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4R) และ คาร์โมอีซีน (Carmoisine) กลุ่มสีที่ให้สีแดง และ บริลเลียนท์ บลู (Brilliant blue) กลุ่มสีที่ให้สีน้ำเงิน ซึ่งทั้งหมดเป็นสีผสมอาหารที่เป็นสีสังเคราะห์ - ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เป็นสีที่พบในทุกตัวอย่าง (ยกเว้น Yoku ที่ไม่พบสีผสมอยู่เลย) ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ ยี่ห้อ ตราแพะ (ชาซีลอน) ซึ่งมีถึง 7356.70 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งในการชงชาดื่ม 1 แก้ว ปริมาณชาผงปรุงสำเร็จที่ใช้ชงจะอยู่ที่ 2 ช้อนชา หรือประมาณ 10 กรัม เมื่อคำนวณดูแล้ว ปริมาณสีสังเคราะห์ต่อการดื่มชาตราแพะ (ชาซีลอน) 1 แก้ว จะอยู่ที่ประมาณ 73.56 มิลลิกรัม ซึ่งถือเป็นปริมาณที่สูง เพราะโดยทั่วไปแล้วปริมาณที่ให้ใช้โดยปลอดภัยกำหนดไว้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน (จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ภัยมืดจากสารพิษ. เชษฐ สตูดิโอ แอน กราฟิคดีไซน์ จำกัด : กรุงเทพฯ. 2537) - ตัวอย่างอื่นๆ ที่ตรวจพบสีในปริมาณที่สูงรองลงมา คือ ตรามังกรบิน (5091.60 มิลลิกรัม/ 1 กิโลกรัม), Racehorse (ตราม้าแข่ง) (4338.03 มล./ 1 กก.), ตรางูเห่า สูตรเข้มข้น (4012.31 มล./ 1 กก.) และ ตราเทพพนม (3191.35 มล./ 1 กก.) - Racehorse (ตราม้าแข่ง), ตราเทพพนม, ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม, ตราสามแพะ และ Kapak (ใบชาตราขวาน) ตรวจพบสีสังเคราะห์ปนเปื้อนมากกว่า 1 ชนิด คือ พบทั้ง ซันเซ็ต เย็ลโลว์ กับ ตาร์ตราซีน ซึ่งเป็นสีในกล่มสีเหลือง และ ปองโซ 4 อาร์ กับ คาร์โมอีซีน ซึ่งเป็นสีในกลุ่มสีแดง ยกเว้น ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม ที่ไม่ใส่สีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง แต่พบสีในกลุ่มสีน้ำเงินคือ บริลเลียนท์ บลู - ชาโบราณ Finest Ceylontea Dust 999, ชาโบราณ Finest Ceylon Tea Dust 666 และ Racehorse (ตราม้าแข่ง) เป็นผลิตภัณฑ์ชาผงปรุงสำเร็จที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเมื่อหลายปีก่อนเคยมีข่าวว่า อย. เก็บตัวอย่างของทั้ง 3 ยี่ห้อมาทดสอบแล้วก็พบการเติมสีสังเคราะห์ในปริมาณสูงเช่นกัน ซึ่งแม้ อย. จะออกมาตรการคุมเข้มการนำเข้าสินค้าไม่มีคุณภาพ แต่ก็ยังมีสินค้าเหล่านี้เล็ดรอดเข้ามาได้อยู่ดี - ชาผงปรุงสำเร็จ ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม และ ตรามือ ฉลากแดง (ชนิดเติม) มีการระบุไว้ที่ฉลากว่า เจือสี ซึ่งทั้ง 2 ตัวอย่างมาจากผู้ผลิตเดียวกัน - นอกจากเรื่องสีผสมอาหารแล้ว ในการทดสอบชาผงปรุงสำเร็จครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ”  ได้เลือกวิเคราะห์หาสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ด้วย ซึ่งผลที่ออกมาน่าจะทำให้ผู้บริโภคสบายใจขึ้นบ้าง เพราะไม่พบการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินในทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ ฉลาดซื้อแนะ1.ตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จที่เรานำมาทดสอบในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ร้านขายชา – กาแฟโบราณ ซื้อจากตลาดหรือร้านค้าส่งขนาดใหญ่ เพื่อไปต้มชงขายอีกที ซึ่งปกติเราก็ไม่ค่อยได้ทราบกันอยู่แล้วว่าร้านที่เราซื้อเขาใช้ชาแบบไหนมาชงให้เรา แบบนี้การหลีกเลี่ยงสีสังเคราะห์ที่อยู่ในชาก็เป็นเรื่องยาก นอกจากจะลดการดื่มชา ทั้งชาดำเย็นและชานมเย็น เพราะตอนนี้เรารู้แล้วว่าสีส้มสวยๆ ของชา มาจากสีสังเคราะห์ซึ่งถ้าเราได้รับเข้าสู่ร่างกายมากๆ ก็อาจเป็นอันตราย2.แต่ถ้าหากอยากดื่มชา แนะนำว่าให้ซื้อมาชงกินเอง โดยเลือกซื้อชาผงสำเร็จรูปที่มีบรรจุภัณฑ์สะอาดเรียบร้อย มีเลขที่อย.ถูกต้อง มีการแจ้งชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต วันที่ผลิต วันหมดอายุ และส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งนอกจากจะลดความเสี่ยงในการได้รับสีสังเคราะห์มากเกินไปแล้ว เรายังสามารถควบคุมเรื่องความหวานจากน้ำตาลและนมได้ด้วย---------------------------------------------------------------------------------------------------- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการกำหนดปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภท เครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน ดังนี้สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม * สีแดง ได้แก่ - เอโซรูบีน , เออริโทรซิน * สีเหลือง ได้แก่ - ตาร์ตราซีน , ซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ * สีเขียว ได้แก่ - ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ * สีน้ำเงิน ได้แก่ - อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกตินสีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้ บริโภค 1 กิโลกรัม * สีแดง ได้แก่ - ปองโซ 4 อาร์ * สีน้ำเงิน ได้แก่ - บริลเลียนห์บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/.../candy.htm - ---------------------------------------------------------------------------------------------------- อันตรายของสีผสมอาหาร1.การรับประทานสีสังเคราะห์ในปริมาณมากร่างกายอาจได้รับอันตราย สีสังเคราะห์เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้น้ำย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องผูก และยังมีผลทำให้การดูดซึมอาหารถูกขัดขวาง ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และอาจส่งผลต่อการทำงานของไตและตับ 2.ในสีสังเคราะห์มักจะมีสารตกค้างอื่นๆ ปะปนมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารประเภทโลหะหนัก เช่น แคดเมียม  ตะกั่ว สารหนู ปรอท พลวง  โครเมียม เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้แม้จะได้รับในปริมาณเล็กน้อยแต่ก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย ปล่อยไว้นานเข้าก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ---------------------------------------------------------------------------------------------------- ตารางแสดงผลทดสอบสีผสมอาหารในชาผงปรุงสำเร็จ     ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น วิเคราะห์ผลโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 110 ‘สารกันบูด’ สูตรอร่อยเสี่ยงในลูกชิ้น

ลูกชิ้น หนึ่งในอาหารยอดนิยม ทั้งกินเล่นกินจริง นำไปปรุงเป็นอาหารต่างๆ ได้หลายเมนู ทั้งใส่ ก๋วยเตี๋ยว ปิ้ง ทอด หรือยำลูกชิ้นก็มี ลูกชิ้นมีขายทั่วไปทั้งหน้าโรงเรียน หน้าปากซอย ตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ตในห้างสรรพสินค้า และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ด้วยความหลากหลายในการนำไปประกอบอาหารนี้เอง ทำให้โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารสนใจและอยากรู้ว่าจะมีการปนเปื้อนอะไรบ้างในลูกชิ้น ทางโครงการฯ ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ และพื้นที่ดำเนินงานอีก 7 จังหวัด ของโครงการพัฒนากลไก ฯ จึงได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นไก่ และ ลูกชิ้นปลา จากทั้งตลาดสด ร้านค้าปลีกในจังหวัด และ ห้างค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่ (โลตัส แมคโคร คาร์ฟูร์) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เพื่อตรวจหาสารกันบูด 4 ประเภท คือ กรดเบนโซอิค กรดซอร์บิค ไนเตรท และไนไตรท์ นอกจากนั้นยังตรวจหาน้ำประสานทองหรือ บอแรกซ์ อีกด้วย โดยเก็บตัวอย่างลูกชิ้นหมูจากพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ และ พะเยา จำนวน 22 ตัวอย่าง (22 ยี่ห้อ) เก็บตัวอย่างลูกชิ้นไก่จากจังหวัดสงขลา และ จังหวัดสตูล จำนวน 8 ตัวอย่าง (8 ยี่ห้อ) และ เก็บตัวอย่างลูกชิ้นปลา จากจังหวัดพะเยา จำนวน 2 ตัวอย่าง (2 ยี่ห้อ) รวมตัวอย่างลูกชิ้นที่เก็บ ทั้งสิ้น 32 ตัวอย่าง (32 ยี่ห้อ) ผลการทดสอบ1. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร ประเภทสารกันบูด – กรดเบนโซอิค1.1. พบว่าลูกชิ้นหมูทุกยี่ห้อ (22 ยี่ห้อ) ที่เก็บตัวอย่างใส่สารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบอยู่ที่ 2,206.97 มิลลิกรัม/กิโลกรัม การแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามผลที่พบออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 7 ตัวอย่าง (ร้อยละ 32) และกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคสูงกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 15 ตัวอย่าง (ร้อยละ 68) ปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบสูงสุด 5 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ยี่ห้อกวางตุ้ง 9536.19 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างโลตัสจังหวัดเชียงใหม่ (2) ยี่ห้อหมูรวมดาว 3,572 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากจังหวัดมหาสารคาม (3) ยี่ห้อหมูสยาม 3317.59 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดยิ่งเจริญ กรุงเทพฯ (4) ยี่ห้อคุณหมอ 3,163.27 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดห้วยขวาง กรุงเทพฯ และ (5) ยี่ห้อน้องเพียร 3,152 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากจังหวัดมหาสารคาม 1.2. พบว่าลูกชิ้นไก่ทุกยี่ห้อ (8 ยี่ห้อ) ที่เก็บตัวอย่างใส่สารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบอยู่ที่ 2,243.668 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 37.5) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคสูงกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 5 ตัวอย่าง (ร้อยละ 62.5) ปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบสูงสุด 3 ตัวอย่างได้แก่ (1) ยี่ห้ออร่อย 5 ดาว 5,796 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (2) ยี่ห้อบีบี 4,371.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดสดละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล และ (3) ยี่ห้อจงหยวน 2,672 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 1.3. พบว่าลูกชิ้นปลาจำนวน 1 ตัวอย่างจาก 2 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจในจังหวัดพะเยาใส่สารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค คือยี่ห้อห้าดาว ซึ่งเก็บจากตลาดสดแม่ต๋ำ โดยพบที่ปริมาณ 167.37 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 2. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหารประเภทสารกันบูด – กรดซอร์บิคพบว่ามีลูกชิ้นจำนวน 5 ตัวอย่างที่ใช้กรดซอร์บิคในผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นลูกชิ้นหมูจำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ยี่ห้อแชมป์ 138.07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่เก็บจากห้างแม็คโคร จังหวัดเชียงใหม่ (2) ยี่ห้อหมูดี 61.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่เก็บจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ และ (3) ยี่ห้อเทสโก้ 103.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่เก็บจากห้างโลตัสจังหวัดพะเยา อีก 2 ตัวอย่างที่พบกรดซอร์บิค ได้แก่ลูกชิ้นไก่ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดสตูล ประกอบด้วยยี่ห้อบีวัน 406 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ ยี่ห้อไก่ยิ้ม 143.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 3. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหารประเภทสารกันบูด – ไนเตรทจากการทดสอบทั้งสิ้น 28 ตัวอย่าง พบการใช้ไนเตรทในลูกชิ้นทั้งสิ้น 11 ตัวอย่าง แบ่งเป็นลูกชิ้นหมู 7 ตัวอย่าง (กรุงเทพ ฯ 4 ตัวอย่าง สมุทรสงคราม 2 ตัวอย่าง และมหาสารคาม 1 ตัวอย่าง) และลูกชิ้นไก่ 4 ตัวอย่าง (ทั้งหมดจากจังหวัดสงขลา) โดยมีปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 2.5 – 35 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 4. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหารประเภทสารกันบูด – ไนไตรท์จากการทดสอบทั้งสิ้น 28 ตัวอย่าง พบการใช้ไนไตรท์ในลูกชิ้นทั้งสิ้น 11 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ลูกชิ้นหมู 7 ตัวอย่าง (กรุงเทพฯ 3 ตัวอย่าง และ สมุทรสงคราม 4 ตัวอย่าง) และลูกชิ้นไก่ 4 ตัวอย่าง (ทั้งหมดจากจังหวัดสงขลา) โดยมีปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.2 – 4.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 5. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร – น้ำประสานทอง หรือ บอแรกซ์ไม่พบน้ำประสานทอง (บอแรกซ์) ในทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ ข้อสังเกต1. มีลูกชิ้นหมูทั้งสิ้น 3 ยี่ห้อ ที่ใช้สารกันบูด 2 ชนิด คือกรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิคร่วมกันในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อหมูดีและยี่ห้อแชมป์ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดขอนแก่น และยี่ห้อเทสโก้ ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดพะเยา 2. มีลูกชิ้นไก่จำนวน 2 ยี่ห้อ ที่ใช้สารกันบูด 2 ชนิด คือกรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิคร่วมกันในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อ บีวันของบริษัทอาหารเบทเทอร์ และ ยี่ห้อไก่ยิ้มของบริษัท ซีพี ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดสงขลา 3. มีลูกชิ้นหมูจำนวน 5 ยี่ห้อ ที่ใส่สารกันบูดตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป (กรดเบนโซอิค ไนเตรท และไนไตรท์) ในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อหมูสยาม วีไอพี และคุณหมอ ซึ่งเก็บจากตลาดสดในกรุงเทพฯ และ ยี่ห้อ พีพีเอ็น และ ศรีปทุม ซึ่งเก็บจากร้านค้าในจังหวัดสมุทรสงคราม 4. มีลูกชิ้นไก่จำนวน 4 ยี่ห้อ ที่ใส่สารกันบูดตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป (กรดเบนโซอิค ไนเตรท และไนไตรท์) ในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อจงหยวน อร่อย 5 ดาว บอลลูน และดิสโก้ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากตลาดสดในจังหวัดสงขลา สรุปผลในการทดสอบครั้งนี้ พบว่าตัวอย่างลูกชิ้นเกือบทุกยี่ห้อที่เรานำมาทดสอบครั้งนี้มีการใช้สารกันบูด โดยเฉพาะกรดเบนโซอิค ซึ่งถึงแม้ อย. จะอนุญาตให้ใช้ได้ แต่ปริมาณที่ตรวจพบอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก เมื่อเทียบมาตรฐานอาหารสากล (Codex Alimentarius Commission) ซึ่งกำหนดปริมาณการใช้กรดเบนโซอิคในอาหารไว้ว่าไม่ควรเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับคนที่ชอบลูกชิ้น เห็นตัวเลขของสารกันบูดจากผลการทดสอบครั้งนี้แล้วอาจตกใจ แต่ก็ต้องทำความเข้าใจว่า สารกันบูดสามารถใส่ลงในลูกชิ้นได้แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่กำหนด ซึ่งเราในฐานะผู้บริโภคก็ต้องรู้จักเลือกที่จะรับประทาน คือเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงข้อมูลส่วนผสมต่างๆ ชัดเจน แสดงแหล่งที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ล่าสุด อย. ก็ได้ออกกฎระเบียบใหม่ให้ผู้ผลิตลูกชิ้นต้องติดฉลากแสดงข้อมูลสำคัญต่างๆ ลงบนสินค้าของตัวเอง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อ นอกจากนี้คนที่ชอบทานลูกชิ้นก็ต้องรู้จักควบคุมปริมาณการรับประทาน คือทานแต่พอดี เพราะถ้าทานมากไปก็ยิ่งเสี่ยงอันตราย ตารางแสดงผลการทดสอบสารกันบูดในลูกชิ้น    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 95 หมูยอ ก็ไม่พ้นสารกันบูด

หมูยอ อาหารพื้นบ้านที่คนส่วนใหญ่นิยมชมชอบรับประทานและนิยมซื้อเป็นของฝากเวลาไปแอ่วเมืองเหนือหรือเยือนถิ่นอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ได้ชื่อว่า มีผลิตภัณฑ์แหนมและหมูยอ เป็นของดีของฝากประจำจังหวัดเดิมเวลาอยากกินหมูยอ เราอาจต้องรอให้คนซื้อมาฝาก แต่ตอนนี้แค่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อก็มีขายแล้ว เพราะเขาพัฒนาให้หมูยอกลายเป็นสินค้าที่สามารถส่งขายได้ทั่วประเทศ แต่ผู้บริโภคก็ต้องระวังไว้นะคะ เพราะหมูยอ จำเป็นมากที่ต้องใส่สารกันบูด เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อหมู ที่เอามาปั่นให้ละเอียดและผสมเครื่องปรุงตามสูตร ตีให้เหนียวหนับจนสามารถปั้นเป็นแท่งกลมๆ ได้ ก่อนจะทำให้สุก  แม้เป็นอาหารที่สุกแล้ว แต่ก็อย่างที่ทราบกันว่า อากาศบ้านเรานั้นเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุดๆ ดังนั้นอาหารชนิดนี้หากจะส่งขายทั่วประเทศหรือแม้แต่เจ้าดังที่ขายในท้องถิ่นหรือตลาดสดประจำเมืองท่องเที่ยวทั้งหลาย ก็จำเป็นต้องผสมสารกันบูดกันไว้ก่อน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เพื่อถนอมรักษาให้ผลิตภัณฑ์ไม่บูดเน่าเสียก่อนจะเข้าปากผู้บริโภค  ------------------------------------------------------------------------------------------------------- กรดเบนโซอิกหรือเกลือเบนโซเอทมีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี เมื่อใส่ลงในอาหาร ทำให้รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง และมีราคาถูก ประสิทธิภาพของกรดเบนโซอิก คือสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อจุลินทรีย์จำพวกยีสต์และแบคทีเรียได้ดี โดยปกติร่างกายของคนเรา สามารถกำจัดกรดเบนโซอิกออกได้โดยขับออกมาทางปัสสาวะ ------------------------------------------------------------------------------------------------------- การผสมสารกันบูดทั้งสองชนิดที่กล่าวมา ไม่ใช่เรื่องต้องห้าม สามารถทำได้ค่ะ ทางกระทรวงสาธารณสุขเขาอนุญาต แต่มีมาตรฐานกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  เพราะถ้ามากกว่านี้เราก็เสี่ยงกับการรับสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายมากเกินไป (ต้องไม่ลืมว่าวันหนึ่งเรากินอะไรสารพัดอย่าง อาจไปเจอเอาสารกันบูดสองตัวนี้เข้าอีกก็ได้)ฉลาดซื้อจึงไปเดินตลาด เดินซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างและร้านสะดวกซื้อ แล้วได้หมูยอชนิดที่วางขายทั่วประเทศจำนวน  5 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.เจ๊หงษ์  หมูยอ 2.เจ้าสัว เตียหงี่เฮียง 3.เวียงเหนือ หมูยอ 4.บ้านไผ่ หมูยอ  5.ส.ขอนแก่น หมูยอเล็ก แล้วยังได้หมูยอที่จำหน่ายใน กาดวโรรส ตลาดดังเมืองเชียงใหม่ มาอีก 3 ยี่ห้อ คือ ป้าย่น หมูยอตำรับจีนไหหลำ วิมลรัตน์ หมูยอพริกไทยดำและสมพัตร หมูยอ ตำรับอุดร ซึ่ง 3 ตัวหลังนี้ไม่มีวันหมดอายุระบุ เพราะแม่ค้าเขาแจ้งว่า “ขายหมดวันต่อวันจ้า” ตารางทดสอบ สารกันบูด Benzoic and Sorbic acid ;ในผลิตภัณฑ์หมูยอ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 94 มีถั่วลิสงที่ไหน มีอะฟลาท็อกซินที่นั่น ?

ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย เนื่องจากเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ และใช้บริโภคได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบสด หรือนำไปประกอบอาหารอื่นๆ อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดีและราคาไม่แพง แต่ก็นั่นแหละ เวลาที่กระทรวงสาธารณสุขสำรวจอาหารทั่วประเทศทีไร ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอๆ ก็คือ การปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซิน ที่มักตรวจพบในถั่วลิสงมากที่สุด โดยเฉพาะถั่วคั่วที่นำมาปรุงอาหารหลายชนิด อย่างก๋วยเตี๋ยวผัดไท ก๋วยเตี๋ยวต้มยำหรือส้มตำไทยที่คนนิยมกันทุกหัวระแหงนั่นแหละตัวดีเลย ตรวจเจอเป็นประจำ ผู้บริโภคจึงไม่ควรรับประทานให้บ่อยมากนัก ในส่วนของถั่วคั่วเราอาจพอคาดเดาได้ว่า มีสารอะฟลาท็อกซินอยู่มากและควรหลีกเลี่ยง แต่ในกรณีของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีถั่วเป็นตัวชูโรง อย่างถั่วลิสงอบเกลือ หรือถั่วลิสงเคลือบแป้ง ตลอดจนถั่วลิสงที่อบกรอบทั้งเปลือกที่บรรจุซองขายในลักษณะของอาหารว่างนั้น ก็เข้าข่ายต้องสงสัยเหมือนกันว่า มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนต่อการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาท็อกซิน ตารางทดสอบถั่วลิสงอบเกลือ/ถั่วลิสงเคลือบแป้ง/ถั่วลิสงอบกรอบทั้งเปลือก ทดสอบที่สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดลส่งตัวอย่างวิเคราะห์เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2551ผลการวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 94 พริกป่น…เสี่ยงอะฟลาท็อกซินไม่แพ้ถั่วลิสง

เกิดเป็นไทยกินอาหารอะไรก็ต้องให้แซ่บไว้ก่อน พริกเลยเป็นเครื่องเทศที่เกือบขาดไม่ได้ในอาหารไทย นอกจากเรื่องกินแล้ว พริกยังจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญระดับประเทศ เพราะสามารถนำไปพัฒนาในระดับอุตสาหกรรมได้อีกหลายอย่างนอกจากเรื่องอาหาร ได้แก่ ยา ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ยาฆ่าแมลง ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ปลวก หนู ส่วนผสมของสายเคเบิล ผลิตภัณฑ์แก้ง่วง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ป้องกันตนเองในกลุ่มของผลิตภัณฑ์อาหารนอกจากน้ำพริก ซอสพริกแล้ว พริกแห้ง พริกป่น ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน ดูอย่างก๋วยเตี๋ยวถ้าสั่งใส่ถุงกลับบ้าน ทุกถุงก็จะได้รับพริกป่นในแบบซองเล็กๆ ใส่ให้ด้วย ถ้าเป็นแบบเดิมคนขายจะตักแยกใส่ถุงพลาสติกแบ่งครึ่งกับน้ำตาลทรายให้ลูกค้า แต่แบบซองเล็กๆ นี้ก็สะดวกมากขึ้นเพราะดูผนึกเรียบร้อยมิดชิดดี พริกป่นนั้นควรต้องเก็บในที่แห้งสนิท เพราะเชื้อราจะขึ้นได้ง่ายมาก และหากเกิดเชื้อราขึ้นแล้วเราก็จะได้รับสารพิษ “อะฟลาท็อกซิน” เป็นของแถม จากข้อมูลที่ผ่านมา พริกป่น จัดว่าเป็นอาหารที่เสี่ยงต่ออะฟลาท็อกซินไม่แพ้ถั่วลิสง ยิ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าพริกป่นจากต่างประเทศมากขึ้น ความเสี่ยงก็มีมากขึ้น เพราะผู้บริโภคจะขาดข้อมูลในเรื่องแหล่งผลิตสินค้า ทำให้ไม่อาจมั่นใจได้ว่าวัตถุดิบที่นำมาผลิตพริกป่นนั้นมีการควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน ฉลาดซื้อทดสอบเพื่อเฝ้าระวังปัญหาเรื่อง อะฟลาท็อกซินในพริกป่น ฉลาดซื้อ ได้เก็บตัวอย่างพริกป่นที่บรรจุในซองสำเร็จรูปที่แถมกับอาหารตามสั่งหรือก๋วยเตี๋ยว ยี่ห้อยอดนิยมสองยี่ห้อได้แก่ ไร่ทิพย์และข้าวทอง พร้อมด้วยพริกป่นที่บรรจุซองขายในห้างสรรพสินค้าอีก 5 ยี่ห้อ ได้แก่ พริกขี้หนูป่นตรา เจเจ พริกขี้หนูป่นตราบางช้าง พริกขี้หนูป่น ตรามือที่ 1 พริกขี้หนูป่น ตรานักรบ และพริกขี้หนูป่น ตราศาลาแม่บ้าน และพริกขี้หนูแบบแบ่งขายในตลาดสดพระประแดงและตลาดสดดินแดง แล้วมอบให้ห้องทดสอบของสถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล ตรวจหาสารพิษอะฟลาท็อกซิน ผลทดสอบพบว่า มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในพริกป่นเกือบทุกตัวอย่าง แต่ในปริมาณที่ไม่มากจนน่าห่วง พบน้อยกว่าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดไว้ คือ ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม อีกอย่างพริกนั้นเรากินไม่มาก แค่พอชูรสให้อร่อย จากผลทดสอบจึงไม่น่าจะมีปัญหาต่อการบริโภค แต่ก็ไม่ควรประมาทเพราะวันหนึ่งๆ เราก็กินอาหารอื่นที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินด้วยเช่นเดียวกัน ให้ดีที่สุดก็คือ เลือกพริกแห้งมาคั่วทำพริกป่นกินเองจะดีที่สุด ส่วนแม่ค้าแม่ขายที่ซื้อพริกป่นจากตลาดสด ควรเลือก เจ้าที่เชื่อถือได้และมีการหมุนเวียนขายพริกได้ไว อย่างที่ตลาดพระประแดง ฉลาดซื้อไม่พบอะฟลาท็อกซินในตัวอย่างพริกป่นเลย เพราะของเขาขายดีมาก หมดไวมาก ขณะที่ตัวอย่างอื่นๆ พบอะฟลาท็อกซินกันอย่างละเล็กละน้อย  (ดูตาราง) ตารางผลทดสอบปริมาณอะฟลาท็อกซินในพริกป่น

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 92 เมลามีน ที่ไม่ได้อยู่แค่ในจาน

นอกจาก อย.ที่เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจหา “เมลามีน” ปนเปื้อนกันวันต่อวันแล้ว ฉลาดซื้อก็นำตัวอย่างสินค้าบางรายการที่แอบสงสัยว่า มีเมลามีนปะปนอยู่หรือไม่ เข้าทดสอบที่ ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลที่ออกมา…เป็นข่าวดี ถึงตอนนี้ “เมลามีน” คงเป็นคำที่คุ้นเคยกันแล้ว  แต่ขอกล่าวถึงสักหน่อยล่ะกันเผื่อใครยังค้างใจอยู่ เมลามีนเป็นสารที่ใช้ทำพลาสติกและปุ๋ย มีสารฟอร์มาลดีไฮด์เป็นองค์ประกอบสำคัญ เมลามีนบริสุทธิ์ยังมีองค์ประกอบของไนโตรเจนสูงมาก 66.67% คิดเป็นปริมาณโปรตีนได้ 416.66% ดังนั้นเมื่อนำเมลามีนมาผสมในน้ำนมหรือนมผงก็ทำให้ผลการตรวจพบเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนสูงขึ้นด้วย ทำให้เข้าใจผิดได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจนั้นมีโปรตีนสูง คุณภาพดีได้มาตรฐานด้วย (ทั้งนี้ก็เพราะการตรวจหาปริมาณโปรตีนในนมผงปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้โดยตรง แต่จะทำทางอ้อมด้วยการตรวจหาปริมาณไนโตรเจนแทน เนื่องจากโปรตีนมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกัน) กรณีนมผงปนเปื้อนเมลามีนนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของอาหารปลอมปน ที่แม้แต่คนในแวดวงอุตสาหกรรมนมยังงงๆ กันอยู่ เนื่องจากไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีคนนำมาใส่ในอาหารได้ โดยเฉพาะนม เลยไม่จัดเป็นสารต้องห้ามที่ต้องตรวจสอบในขั้นตอนควบคุมคุณภาพตามปกติ กระทรวงสาธารณสุขไทยก็เพิ่งออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ฉบับที่ 311 พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2551เรื่องควบคุมอาหารปนเปื้อนสารเมลามีน โดยห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 10 ต.ค.2551 จริงๆ เมื่อสองปีที่แล้ว ก็มีข่าวพบเมลามีนในอาหาร แต่เป็นอาหารของน้องแมว น้องหมา ที่ทางการสหรัฐตรวจพบในอาหารสัตว์ที่มาจากประเทศจีน เนื่องจากมีหมาแมวจำนวนมากในสหรัฐฯ ที่เจ็บป่วย ตายจากภาวะไตวาย ทำนองเดียวกัน สารเมลามีน ที่ปนอยู่ในอาหารหากเรารับประทานเข้าไป ร่างกายจะไม่ย่อยสลาย แต่จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ หากกรณีสารเมลามีนเข้าไปในร่างกายปริมาณมากจึงจะก่อให้เกิดพิษ โดยเฉพาะที่ไต กรณีทารกเสียชีวิต 4 คนที่ประเทศจีน ก็เกิดจากสาเหตุไตวายเฉียบพลัน ทั้งนี้เพราะอาหารหลักของเด็กทารกคือ นม ขณะที่ผู้ใหญ่จะรับประทานอาหารหลากหลายกว่า โอกาสได้รับสารเมลามีนเข้าไปจึงมีปริมาณไม่มาก ในสหรัฐอเมริกากำหนดค่าการได้รับสัมผัสหรือการกิน เท่ากับ 0.63 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน และสหภาพยุโรปกำหนดไว้ที่ 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน ต่อไปก็ไม่รู้ว่าจะมีการนำสารตัวอื่นที่เป็นอันตรายมาปลอมปนกับอาหารในทำนองเดียวกับเมลามีนอีกหรือไม่ ดังนั้นคงถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาคุยกันเรื่องระบบเฝ้าระวังอาหารที่ปลอดภัยและรัดกุม เพื่ออย่างน้อยก็ให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ฉลาดซื้อทดสอบ ในวันประชุมกองบรรณาธิการเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2551 ฉลาดซื้อสนใจข่าวเรื่องเมลามีนอย่างมาก โดยเราไม่ค่อยเชื่อมั่นว่า บรรดานมผงสำหรับเด็กแม้ว่าจะมาจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่เมืองจีน จะปลอดจากสารเมลามีน หรือผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนผสมภายในประเทศหลายตัว เราก็กังวลว่าอาจมีการนำนมจากเมืองจีนมาใช้  ประกอบกับมีหลายคนโทรศัพท์มาถามที่ฉลาดซื้อกันมาก ว่ายี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้เป็นอย่างไรบ้าง ปลอดภัยไหม (ส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อดังๆ ที่นำเข้านมผงจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่จีน) เผอิญว่าเรามีผลิตภัณฑ์นมผงที่นำมาวิเคราะห์ฉลาก (เรื่องเด่นฉบับนี้) ซึ่งเป็นลอตการผลิตที่เข้าข่ายต้องสงสัย จึงทยอยส่งห้องทดสอบพร้อมๆ กับสินค้าอาหารหลายรายการที่เก็บจากห้างสรรพสินค้า (เก็บตัวอย่างวันที่ 23 กันยายน)  เพื่อส่งตรวจหาเมลามีนพร้อมๆ กัน ผลทดสอบปรากฏว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่ปนเปื้อนสารเมลามีนหรือสารในกลุ่มเดียวกัน เป็นอันว่าปลอดภัยและเชื่อมั่นได้ อย่างที่ผู้ผลิต โดยเฉพาะกลุ่มสมาชิกผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย ระบุว่า ผลิตภัณฑ์นมของพวกเขาปลอดภัยจากสารเมลามีน รวมทั้ง อย.เองก็ขยันขันแข็ง ยิ่งช่วงอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกันยายน อย.ตรวจสินค้าอาหารกันวันต่อวันมากกว่า 90 รายการ ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนแต่อย่างใด เว้นนมผงนำเข้าจากจีนของบริษัทดัชมิลล์บางรายการที่พบ แต่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่ง อย.บอกว่าสกัดไว้ได้ทันก่อนนำมาผลิตเป็นอาหารวางจำหน่าย ผลทดสอบรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบการปนเปื้อนเมลามีน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 91 ปลาเส้นปรุงรส รสยิ่งเข้มยิ่งมีปัญหา

ปลาเส้นปรุงรส เป็นอาหารว่างอีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกันมาก โดยเฉพาะเด็กๆ และสาวกลัวอ้วนทั้งหลาย เพราะนักโฆษณาเขานำจุดขายไขมันต่ำ โปรตีนสูงมาเรียกความสนใจจากผู้บริโภค เพื่อให้แทนที่ขนมขบเคี้ยวที่มีทั้งแป้ง น้ำตาลและไขมัน ซึ่งล้วนส่งเสริมความอ้วนและโดนโจมตีหนักว่าทำให้เด็กไทยกลายเป็นเด็กอ้วน แต่…ข้อด้อยสำคัญของปลาเส้นปรุงรส ที่ถูกละเลยไปจากโฆษณาคือ ปริมาณโซเดียมที่สูงจนน่าเป็นห่วง ยิ่งประเภทรสจัดจ้าน รสเข้มข้นยิ่งมีปัญหา หลายคนอาจมองว่า ปลาเส้นก็เป็นอาหารว่างประเภทหนึ่ง มันคงไม่มีอะไรนักหนา อย่าประมาทไปนะ ถ้าลองพลิกดูฉลากด้านหลังซองแล้วเพ่งมองดูปริมาณโซเดียมตรงฉลากโภชนาการสักนิด จะรู้สึกถึงความไม่ธรรมดาของมัน เพราะอาหารชนิดนี้มีปริมาณโซเดียมสูงมากๆ ความจริงแล้วถ้ามีการระบุทุกฉลากก็น่าจะดีใช่ไหมคะ เพราะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจให้ผู้บริโภคได้ แต่บางฉลากก็ละเลยไม่มีรายละเอียดอะไรเลย นอกจากแสดงวิธีกินและการดัดแปลงเป็นอาหารแบบต่างๆ ฉลาดซื้อเลยนำผลิตภัณฑ์ปลาเส้นปรุงรส ยี่ห้อยอดนิยมบวกด้วยยี่ห้อของห้างสรรพสินค้าที่เรียกว่า โลคอลแบรนด์ มาทดสอบหาปริมาณโซเดียม พร้อมกับปริมาณโปรตีนที่อ้างว่ามีสูง และแถมด้วยผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกันได้แก่ ปลาหมึกปรุงรส อีก…  ตัวอย่างเพราะเห็นว่ามีคนนิยมชมชอบไม่แพ้กัน ผลทดสอบปริมาณโปรตีนและโซเดียมในผลิตภัณฑ์ ปลาเส้นปรุงรสและปลาหมึกปรุงรส 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 90 สำรวจ : นวดไทย โดนใจอย่างแรง

“แพทย์แผนไทย” ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาไทย ยาสมุนไพร อบ ประคบหรือนวด จัดเป็นบริการทางการแพทย์สาขาหนึ่งที่แทรกอยู่ในสถานพยาบาลของรัฐ ทั้งโรงพยาบาลระดับศูนย์ โรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย  แม้จะไม่ทุกแห่งแต่ก็ครอบคลุมทั่วประเทศ คุณที่มีบัตรทองหรือสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นสามารถขอใช้บริการได้ หรือไม่มีสิทธิหลักประกันก็ร่วมจ่ายค่ารักษาได้ในราคาไม่แพง เรียกว่า ถูกและดี ทั้งเป็นการส่งเสริม “คุณค่าแบบไทย” อีกด้วย ก่อนปี พ.ศ.2551 รู้ไหมว่า “นวดไทย” ครองใจชาวบ้านมากที่สุด จาก “รายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ประจำปี พ.ศ.2548-2550” โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในรายงานฉบับนี้ระบุว่า เมื่อสำรวจข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพการแพทย์แผนไทย 57 แห่ง จากทั้งหมด 70 แห่ง พบว่า ปี 2546 มีผู้ใช้บริการแพทย์แผนไทย ทั้งเพื่อการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวม 407,651 ครั้ง โดย นวดไทย ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 48 ประคบ ตามมาห่างๆ ที่ร้อยละ 19.3 การใช้ยาไทยและยาสมุนไพร ร้อยละ 17.8 อบไอน้ำสมุนไพร ร้อยละ 10.2 ที่เหลือก็เป็นนั่งสมาธิ การขอความรู้ หรือแม้แต่การทำฤาษีดัดตน ปวดหลัง ปวดไหล่นวดไทยช่วยคุณได้ ทำไมนวดไทยมาแรง เรามาดูสาเหตุของการเจ็บป่วยกันก่อน ในรายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทยฯ อาการเจ็บป่วยที่พึ่งแพทย์แผนไทย สูงสุดอันดับหนึ่งร้อยละ 59.3 คือ เจ็บป่วยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก ทายสิว่า ปวดอะไรมากที่สุด เฉลย…ปวดหลังมากที่สุด รองลงมาก็ปวดเมื่อย/เคล็ดขัดยอก ปวดขา/ข้อเท้าแพลง ปวดไหล่/สะบัก/บ่า   และปวดเข่า/เข่าอักเสบ อันนี้สอดรับกับข้อมูลของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2546 ซึ่งพบว่า คนไทยที่เจ็บป่วยและเลือกใช้การรักษาในแนวทางแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ทั้งเกษตรและประมง โดยกลุ่มโรคที่พบมากสุดคือ  โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ ซึ่งโรคกลุ่มนี้จัดเป็นอาการแบบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ เพราะรู้กันอยู่ว่า คนในภาคเกษตรกรรมนั้น ทำงานหนักใช้แรงกายมาก อาการปวดเมื่อยหลังไหล่เลยพบได้บ่อย นวดนี่แหละช่วยได้มาก ไม่ต้องกินยาให้เสี่ยงกับอาการไม่พึงประสงค์จากยา  แต่บริการนวดเขาก็ไม่ได้ปิดกั้นคนทำงานออฟฟิสนะ เดี๋ยวนี้โรคปวดหลัง ปวดไหล่ ไม่เข้าใครออกใคร ไม่เฉพาะคนสูงอายุ วัยทำงานแหละตัวดี ดังนั้นหากปวดหลังไหล่ เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว แล้วกินแต่ยากันจนเคย ลองเปลี่ยนมาใช้บริการนวดไทยในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเอกชนที่เปิดให้บริการนวด ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวเลย  นวดไทยเป็นสิทธิประโยชน์ในบัตรทองตอนปี 2549 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกาศนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทย โดยการเพิ่มการรักษาพยาบาลด้วยระบบนี้ไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ของผู้ถือ “บัตรทอง” และเพิ่มเงินสนับสนุนอย่างจริงจังในปี 2551 ให้กับการจัดบริการแพทย์แผนไทย เน้นการนวดเพื่อการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ   ปรากฏว่า ผ่านมา 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน 2551) ผู้ถือบัตรทองนิยมบริการนวดแผนไทยเพื่อรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพ ถึง 60,000 ครั้ง โดยเขตเชียงใหม่ใช้บริการมากสุด 17,000 ครั้ง จากหน่วยบริการ 122 แห่ง ส่วนเขตพื้นที่ที่มีการใช้บริการน้อยที่สุดคือ เขตพื้นที่สุราษฎร์ธานี ใช้บริการ 600 ครั้ง จากหน่วยบริการ 13 แห่ง โดยขณะนี้มีสถานพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย และศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ให้บริการแพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวกับการนวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพทั้งสิ้น 708 แห่ง นวดไทย เสน่ห์ไทย นวดไทยนับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วว่าสามารถผ่อนคลายบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้หลายกลุ่มอาการโรค ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการเรียนการสอนด้านการนวดไทยอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐานถูกต้องตามหลักวิชาการ ประโยชน์ของการนวด มีมากมาย ทั้งลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง กระตุ้นระบบประสาท เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจ ฟื้นฟูสภาพของระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบประสาท และทำให้รู้สึกสบายคลายเครียด แล้วคุณล่ะ จะลองไปนวดกันสักครั้งดีไหม 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 90 นมแคลเซียมสูง คุ้มค่าแค่ไหน

นมโคเป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี ในนมสดหนึ่งแก้ว (200 มิลลิลิตร) มีปริมาณแคลเซียม 240 มิลลิกรัม ซึ่งนับว่าสูงมากแล้ว แต่ทำไมยังต้องมีนมแคลเซียมสูงออกมาวางขายอีก เรื่องนี้วารสารฉลาดซื้อเคยสำรวจมาครั้งหนึ่งเมื่อปี 2542 ตอนนั้นมีผลิตภัณฑ์นมที่ระบุว่า แคลเซียมสูงอยู่ 9 ยี่ห้อ  ฮือฮาสุดก็เห็นจะเป็นแอนลีน นมผงแคลเซียมสูงที่เน้นกลุ่มผู้สูงวัยเป็นหลัก แต่ตอนนี้ทำบรรจุภัณฑ์พร้อมดื่มเพื่อขายทุกกลุ่มวัยแล้ว แสดงว่าการสื่อสารประชาสัมพันธ์ได้ผลดี กิจการจึงต่อมาอีกยาว พลอยทำให้นมยี่ห้ออื่นแห่กันมาเติมแคลเซียมสูงตามไปด้วย แม้แต่นมถั่วเหลือง ที่โดนโจมตีว่าแคลเซียมต่ำ ก็เติมแคลเซียมลดจุดอ่อนตัวเองเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดนมแคลเซียมสูงได้ด้วย เลยกลายเป็นว่า อะไรๆ ก็ต้องแคลเซียมสูง แต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจว่า แคลเซียมสูงนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า “ร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ประโยชน์” ได้ทั้งหมดหรือเปล่า เรื่องนี้ต่างหากที่ต้องมาสร้างความเข้าใจกันให้มากขึ้น ฉลาดซื้อทดสอบหลังจากเดินซูเปอร์มาร์เก็ตหลายรอบ ฉลาดซื้อก็หยิบนมพร้อมดื่มและนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม รวมทั้งสิ้น 19 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นนมโค 3 ยี่ห้อ (แต่ทำออกมาหลายสูตร) ได้แก่ แอนลีน นูต้าแม็กซ์ ฟาร์มโชคชัยและโฟรโมสต์ แคลซีแม็กซ์   นมถั่วเหลือง 4 ยี่ห้อ ได้แก่ แลคตาซอย ดีน่า ไวตามิ้ลค์และวีซอย ซึ่งต่างอ้างว่า “แคลเซียมสูง” ส่งเข้าไปทดสอบหาปริมาณแคลเซียมในนมแต่ละผลิตภัณฑ์ จากการทดสอบ • นมโคยี่ห้อแอนลีนและโฟร์โมสต์ แคลซีแม็กซ์ มีปริมาณแคลเซียมสูงกว่านมธรรมดา ยกเว้นยี่ห้อนูต้าแม็กซ์ที่มีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่า  นมโคธรรมดามีปริมาณแคลเซียม 120 มก./100 มล.นมแคลเซียมสูงที่นำมาทดสอบ มีปริมาณแคลเซียมระหว่าง 97-428 มก./100 มล. •    ส่วนนมถั่วเหลืองมีปริมาณแคลเซียมทั้งต่ำกว่า สูงกว่าและใกล้เคียงกับนมโคธรรมดา โดยยี่ห้อวีซอย สูตรน้ำตาลน้อย พบมากสุดคือ 173 มก./100 มล. และแลคตาซอยน้อยที่สุด 66 มก./100 มล.นมโคธรรมดามีปริมาณแคลเซียม 120 มก./100 มล.นมถั่วเหลืองแคลเซียมสูงที่นำมาทดสอบมีปริมาณแคลเซียมระหว่าง 66 – 173 มก./100 มล. •    ปริมาณแคลเซียม ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับฉลากโภชนาการที่ระบุไว้ข้างกล่อง (บวก ลบ  5) เว้นยี่ห้อนูต้าแม็กซ์ ทั้งสองสูตร ที่มีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่าที่ระบุในฉลากค่อนข้างมาก ส่วนนมถั่วเหลืองที่ปริมาณแคลเซียมมีน้อยกว่าที่ระบุในฉลากได้แก่ ดีน่า สูตรผสมน้ำแครอท และวีซอย สูตรไม่มีน้ำตาล แคลเซียมสูงไม่สำคัญเท่าการดูดซึมก่อนเขียนบทความได้เรียนถาม ผศ.ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคในเรื่องของนมแคลเซียมสูง อาจารย์ได้กรุณาอธิบายอย่างละเอียด ซึ่งสรุปเป็นใจความสำคัญได้ว่า ดื่มนมแคลเซียมสูงหรือนมถั่วเหลืองแคลเซียมสูง ไม่ได้พิเศษไปกว่าดื่มนมธรรมดา เพราะถึงแม้จะมีปริมาณแคลเซียมสูงจริง แต่แคลเซียมที่เข้าสู่ร่างกายในการดื่มนมแต่ละครั้ง ร่างกายจะไม่ดูดซึมเอาแคลเซียมไปใช้ได้ทั้งหมด ร่างกายมีกลไกเฉพาะในการดูดซึมธาตุแคลเซียม กล่าวคือหากเข้าไปมากในครั้งเดียวร่างกายจะดูดซึมน้อย แต่หากทยอยเข้าไปทีละน้อย ร่างกายจะดูดซึมมาก ดังนั้นสมมติว่าคุณดื่มนมแอนลีน สูตรเข้มข้น 1 กล่องปริมาณ 110 มล. มีแคลเซียมเข้าไปทันที 428 มก. แต่ร่างกายจะดูดซึมไว้แค่ประมาณร้อยละ 30 – 40 ส่วนที่เหลือก็ถูกร่างกายขับออกไป นอกจากนี้ในกระบวนการดูดซึมแคลเซียมยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น ดื่มตอนท้องว่างหรือเปล่า เพราะตอนท้องว่างร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยกว่าตอนที่มีอาหารอื่นอยู่ด้วย  แต่อาจารย์ก็บอกมาว่า ถ้ามีเงินพอและสบายใจว่าได้ดื่มนมแคลเซียมสูง ก็ไม่ว่ากัน แต่ท่านที่ต้องการประหยัด ให้ดื่มนมธรรมดาที่ราคาถูกกว่าหลายบาท เพียงแต่ว่าดื่มให้บ่อยหน่อยโดยทิ้งช่วงห่างพอสมควรก็จะได้ปริมาณแคลเซียมมากกว่าการดื่มนมแคลเซียมสูงที่อัดไว้ในกล่องเดียว ครั้งเดียว นอกจากนี้แคลเซียมไม่ได้มีอยู่แต่ในนม ในอาหารอย่างเต้าหู้แข็ง ถั่ว งา ปลาเล็กปลาน้อย ปลากรอบ ปลาป่น กะปิ กุ้งแห้ง หรือผักอย่างคะน้า กวางตุ้ง ก็มีแคลเซียมสูง เช่นกัน ความจริงเกี่ยวกับแคลเซียมและเรื่องคลุมเครือในโฆษณา •    แคลเซียม –10 มีขนาดเล็กกว่าแคลเซียมธรรมดาถึง  10 เท่า อันนี้ประมาณว่าลวงให้คิดว่าเล็กแล้วดูดซึมได้ดี ซึ่งจริงๆ การดูดซึมมีกฎของร่างกายดังที่กล่าวไว้ข้างต้นควบคุมอยู่แล้ว และขนาดของธาตุแคลเซียมมีขนาดเดียว ถ้าจะโฆษณาว่าดีกว่ายี่ห้ออื่นต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าดูดซึมดีกว่าจริง อันนี้ อย.ควรจัดการ•    แคลเซียมสูงอย่างเดียวไม่พอ ต้องวิตามิน เค สูง ด้วย อันนี้เอางานวิจัยบางชิ้นมาขยายให้ใหญ่โต ประมาณว่า วิตามิน เค อาจมีส่วนช่วยในการป้องกันการสลายตัวของแคลเซียม แต่ วิตามิน เค ร่างกายสร้างได้เอง ไม่ต้องรับจากอาหารข้างนอก และยังต้องหางานวิจัยมาพิสูจน์อีกมากว่า อะไรบ้างที่ป้องกันการสลายตัวของแคลเซียม •    1 กล่องมีปริมาณแคลเซียมมากกว่าสูตรปกติ 4 เท่า คือปริมาณแคลเซียมเยอะจริง อันนี้ไม่เถียง แต่มันไม่สำคัญเท่ากับเรื่องการดูดซึม ตามที่เขียนบอกไปข้างต้น สูตรเข้มข้นจึงเป็นเรื่องของการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ•    ผสมโอลิโก ฟรุกโตส มาแบบเดียวกับวิตามิน เค เพราะว่ามีการนำผลวิจัยมาขยายว่า โอลิโก ฟรุกโตส อาจช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียม แต่มันยังไม่ชัดเจน ยังต้องการงานวิจัยรองรับอีกมากๆ โดยสรุปคือ การขายจำเป็นต้องมีการสร้าง "นวัตกรรม" ที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมใหม่ให้สินค้า ทั้งบรรจุภัณฑ์ใหม่ รีแบรนด์ใหม่ เพิ่มรสชาติใหม่ หรือแม้แต่การเติมส่วนผสมใหม่เพื่อสุขภาพเข้าไป ก็เป็นหนทางในการเติมความคุ้มค่าให้สินค้า เพื่อแลกกับราคาใหม่ที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเพิ่มขึ้น  ดังนั้นจะกินอะไรก็ต้องรู้หลักการเบื้องต้นไว้บ้าง อย่าให้เขา “ชวนเชื่อ” ได้ง่ายๆ นะพวกเราตลาดนมไฮแคลเซียม ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดรวม 1,600 ล้านบาท แต่มีอัตราการเติบโตปีละกว่า 10%

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 89 เมื่อน้ำส้มจะทำร้ายนางเอก

น้ำผลไม้ในความคิดของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพราะต่างก็รู้ว่า ผลไม้นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะน้ำส้มคั้นเป็นน้ำผลไม้ที่นิยมกันมาก ขนาดนางเอกหนังไทยต้องสั่งมาดื่มทุกครั้งที่มีฉากในร้านอาหาร จึงถูกเรียกอย่างน่ารักๆ ว่า “น้ำนางเอก” น้ำส้มหากคั้นสดแล้วดื่มเลยทันที ย่อมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่เพียงเวลาผ่านไปไม่นาน วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ในน้ำส้มจะเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อให้น้ำส้มคงคุณภาพได้นานขึ้นและสะดวกในการขนส่ง จึงได้มีการผลิตน้ำส้มพร้อมดื่ม (น้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท) ออกมาจำหน่ายเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ทุกวันนี้ตามชั้นวางเครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า เราจะพบน้ำส้มพร้อมดื่มหลากหลายยี่ห้อ มีทั้งที่เป็นน้ำส้มแท้ (100%) น้ำส้มผสม ที่มีปริมาณน้ำส้มตั้งแต่ 25% ขึ้นไป และอีกหลายยี่ห้อมีน้ำส้มผสมเป็นหัวเชื้ออยู่ประมาณ 10 – 15% แล้วแต่งสี กลิ่น รส สังเคราะห์ให้คล้ายน้ำส้ม ซึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทหลังนี้ อย.ไม่ให้เรียกว่า “น้ำส้ม” แต่ต้องเรียกว่า “น้ำรสส้ม” (จริงๆ ฉลาดซื้ออยากเรียกว่า “น้ำสีส้ม” มากกว่า เพราะสีส้มได้ใจมาก) แม้ว่าในระยะสองสามปีที่ผ่านมานี้ น้ำส้มพร้อมดื่มอาจจะถูกตีตลาดด้วย “ชาเขียว” ทำให้ซบเซากันไประยะหนึ่ง แต่เมื่อมาถึงวันนี้ที่ชาเขียว out ไปแล้ว น้ำส้มกำลังกลับมาผงาดอีกครั้ง ลองสังเกตปรากฏการณ์น้ำส้มฟีเวอร์ได้จากโฆษณาและชั้นวางสินค้าเครื่องดื่ม ลองดูสิ คุณจะเห็นขวดและกล่องสีส้มละลานตาไปหมด กับสินค้าสุดฮิต ฉลาดซื้อย่อมไม่พลาดที่จะหยิบมาทดสอบ เราเก็บตัวอย่างน้ำส้มและน้ำรสส้มพร้อมดื่ม จำนวน 22 ยี่ห้อ จากชั้นวางเครื่องดื่มในห้างสรรพสินค้า มาทดสอบหาปริมาณ “น้ำตาล” และ “วิตามิน ซี” ที่คนส่วนใหญ่มักเชื่อกันไปเองว่า ส้มเป็นผลไม้ที่มีวิตามิน ซี สูง เมื่อทำให้เป็นน้ำส้มแล้ววิตามิน ซี ย่อมสูงตามไปด้วย  ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกือบถูก แต่ไม่ถูกต้อง เพราะคนส่วนใหญ่จะยังขาดความเข้าใจอีกมากเกี่ยวกับวิตามินตัวนี้ ผลทดสอบน้ำส้มและน้ำรสส้มพร้อมดื่ม จำนวน 22 ยี่ห้อ •    น้ำส้ม น้ำรสส้ม สามอันดับแรกที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ได้แก่ น้ำรสส้ม ฟรุ้ตฟิตฟอร์ฟัน มีปริมาณน้ำตาลถึง 15 ช้อนชาต่อขวด ขนาด 330 มล.(19.3 กรัม/100 มล.) อันดับสอง มาลี จู๊ซมิกซ์ 13 ช้อนชาครึ่งต่อขวด ขนาด 350 มล.(16.4 กรัม/100 มล.) และน้ำส้ม 30% ทิบโก้ คูลฟิต 11 ช้อนชาครึ่งต่อขวด ขนาด 300 มล.(16.3 กรัม/100 มล.)•    น้ำส้ม 100% ที่ไม่เติมน้ำตาลจะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 5.5 ช้อนชา ต่อ 200 มล.(1 แก้ว) ส่วนน้ำส้มผสมจะมีปริมาณน้ำตาลโดยเฉลี่ยที่ 12.8  กรัมต่อ 100 มล.หรือประมาณ 6 ช้อนชา ต่อ 1 แก้ว (200 มล.)   •    เมื่อนำน้ำส้ม น้ำรสส้มมาทดสอบหาวิตามิน ซี พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีวิตามิน ซี เหลืออีกแล้ว หรือไม่ก็เหลือในปริมาณที่น้อยมาก บางผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า มีการเติมวิตามิน ซี ก็ไม่พบ ได้แก่ น้ำส้ม 25% ฟิวเจอร์ น้ำรสส้ม 20 % โออิชิ เซกิ •    จากการทดสอบ มีผลิตภัณฑ์อยู่สามยี่ห้อที่พบว่ามีวิตามิน ซี อยู่มากกว่า 20 มก./100 มล. ได้แก่ น้ำรสส้ม แบร์รี่ ซันเบลสท์ มีปริมาณวิตามิน ซี 24 มก. น้ำส้ม 40% ยูเอฟซี มีวิตามิน ซี 23 มก. น้ำรสส้ม อะมิโนโอเค มีวิตามิน ซี 20 มก. ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนผสม 7 ช้อนชา ต่อ 1 กระป๋อง น้ำหวาน 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 6 ช้อนชา นมถั่วเหลือง1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 5 ช้อนชาชาเขียว 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 5 ช้อนชา ฉลาดซื้อแนะ•    ภาชนะบรรจุน้ำส้ม น้ำรสส้มพร้อมดื่มที่นำมาทดสอบมีขนาดตั้งแต่ 180 – 500 มล. โดยขนาดบรรจุที่ปริมาณ 180 – 350 มล. จะเป็นขนาดที่ดื่มได้หมดภายในครั้งเดียว ทำให้ปริมาณน้ำตาลที่ดื่มเข้าไปในแต่ละครั้งมีปริมาณที่ค่อนข้างสูง แต่ปริมาณน้ำตาลที่นักโภชนาการแนะนำต่อวัน คือระหว่าง 6 - 8 ช้อนชา ดังนั้นน้ำส้มพร้อมดื่ม จึงไม่น่าจะใช่เครื่องดื่มที่เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพสำหรับนางเอกหรือผู้ที่รักสุขภาพ  •    บางครั้งคนเราก็ต้องการดื่มอะไรที่หวานเย็นชื่นใจบ้าง ดังนั้นหากคิดจะดื่มน้ำส้มหรือน้ำรสส้มจึงไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพียงแต่ควรจะเลือกขวดหรือกล่องขนาดเล็กหรือแบ่งดื่มเพื่อไม่ให้ร่างกายรับความหวานมากเกินไป เพราะคุณต้องไม่ลืมว่าวันหนึ่งคุณยังต้องกินอาหารที่มีน้ำตาลผสมอยู่อีกหลายชนิด รวมๆ กันแล้วต่อวันก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ •    น้ำรสส้มที่ผลิตโดยค่ายน้ำอัดลมยักษ์ สแปลช (ลิขสิทธิ์โคค่า โคล่า) และทรอปิคานา ทวิสเตอร์ (ลิขสิทธิ์เป๊ปซี่) ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหวานไม่ต่างจากน้ำอัดลม โดยที่ สแปลช มีปริมาณน้ำตาล 6 ช้อนชาต่อขนาดกล่อง 180 มล.(14 กรัม/100 มล.) และ ทรอปิคานา มีปริมาณน้ำตาล ประมาณ 12 ช้อนชาต่อขนาดขวด 350 มล.(14.3 กรัม/100 มล.) พอๆ กับน้ำอัดลมหรือมากกว่า โดยน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 7 ช้อนชาต่อ 1 กระป๋อง •    ข้อแตกต่างระหว่างผลไม้สดกับน้ำผลไม้ คือเส้นใยอาหาร เมื่อผลไม้ถูกสกัดมาเป็นน้ำผลไม้ กากใยอาหารถูกแยกออกไป ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้เร็ว แต่ไม่ช่วยเรื่องการขับถ่าย  ส่วนการกินผลไม้สดซึ่งมีใยอาหารสูง การดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดจะช้ากว่าและเนื้อของผลไม้จะช่วยให้เราไม่รับประทานน้ำตาลมากจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยในเรื่องการขับถ่ายอีกด้วย•    อย่าเข้าใจผิดว่า น้ำส้มหรือน้ำรสส้มพร้อมดื่มจะมีวิตามิน ซี สูง เสมอไป อย่างที่ฉลาดซื้อได้ทดสอบให้เห็นแล้วว่า ขนาดผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า เติมวิตามิน ซี ลงไปด้วยหรือผลิตด้วยเทคโนโลยีสุดทันสมัยก็ยังหาแทบไม่เจอ ทั้งนี้คุณต้องมีความเข้าใจในเรื่องจริงที่ว่า วิตามิน ซี นั้นถูกทำลายได้ง่ายมาก และกว่าที่เครื่องดื่มจะมาถึงผู้บริโภคก็ต้องผ่านการขนส่ง ผ่านการจัดเก็บในสถานที่ต่างๆ อาจโดนทั้งแสง ความร้อน ทำให้ปริมาณวิตามิน ซี (ที่เหลือมาบ้างจากกระบวนการผลิต) ลดลงไปเรื่อยๆ จนไม่เหลือค่าอะไรให้วัดได้อีก•    น้ำส้มที่ผสมวิตามิน ซี ไม่ควรมาพร้อมกับวัตถุกันเสีย(เบนโซอิก) เพราะมีข้อมูลที่ชวนให้สงสัยว่า เมื่อทั้งสองมาอยู่รวมกันอาจเกิดเป็นสารพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ (หาอ่านได้จากเรื่อง วันนี้คุณดื่มน้ำอัดลมแล้วหรือยัง ในฉลาดซื้อฉบับที่ 80)  •    น้ำส้มเสื่อมคุณภาพได้ง่าย ดังนั้นควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา •    ไม่แนะนำสำหรับเด็กและสาวๆ ที่ต้องการมีหุ่นแบบนางเอก เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง เสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวาน ตลาดน้ำผลไม้มีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท เป็นน้ำผลไม้ 100% มูลค่า 2,500 ล้านบาท ส่วนน้ำผลไม้ต่ำกว่า 25% มีมูลค่าอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นน้ำผลไม้ 40% รสชาติที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ "น้ำส้ม" ที่มีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดน้ำผลไม้ปริมาณวิตามินซีในผัก ผลไม้และน้ำผลไม้คั้นสด

อ่านเพิ่มเติม >