ฉบับที่ 110 ชาโบราณยี่ห้อไหนใส่สีมากเกินไป

00022

เสน่ห์ของ ชาโบราณ ที่มัดใจใครหลายๆ คนให้หลงใหล คงหนีไม่พ้นเรื่องของรสชาติที่สะดุดลิ้นกับกลิ่นหอมที่ดึงดูดใจ และคงรวมไปถึงสีสันที่เป็นเอกลักษณ์ ฉูดฉาดบาดใจ


แต่นักดื่มชาโบราณทั้งหลายเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า สีของชาเย็น ชาดำเย็นที่เราดื่มนั้นมันเป็นสีจากธรรมชาติหรือมาจากการเติมแต่งเข้าไป “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้มีความจริงเรื่อง “สีในชา” ที่น่าตกใจมาเปิดเผยให้ทุกคนได้รู้กัน


ชาโบราณ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชาปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม ที่ทางการอนุญาตให้ใส่สีได้ โดยต้องมาจดแจ้งขออนุญาตกันก่อน เพื่อจำกัดปริมาณสีที่ผสมเข้าไปไม่ให้มากจนอาจเกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ดังนั้น “ฉลาดซื้อ” ได้ตระเวนเก็บตัวอย่างชาผงสำเร็จรูป แบบที่นำมาชงเป็นชาดำเย็นหรือชาเย็นใส่นมที่หลายๆ คนชอบซื้อดื่มจากร้านหรือรถเข็นขายชา-กาแฟทั่วๆ ไป ซึ่งชาชนิดนี้มีชื่อเรียกหลายๆ แบบ ไม่ว่าจะเป็น ชาโบราณ ชาแดง ชาซีลอน ชาดำ

----------------------------------------------------------------------------------------------------


ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 196) พ.ศ. 2543 ระบุเอาไว้ว่า ชาผงสำเร็จรูป ต้องมีคุณภาพและมาตรฐานดังนี้ คือ (1) มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 6 ของน้ำหนัก (2) มีเถ้าทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักชาผงสำเร็จรูปแห้ง (3) มีกาเฟอีน (caffeine) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.0 ของน้ำหนัก เว้นแต่ชาผงสำเร็จรูปที่สกัดเอากาเฟอีนออกแล้ว ให้มีกาเฟอีนได้ในปริมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และข้อที่ (4) ที่สำคัญมากๆ คือ เรื่อง สี ซึ่งในประกาศระบุไว้ว่า “ไม่ให้ใส่สี” แม้จะแต่งกลิ่นและรสได้ แต่ห้ามใส่สีเด็ดขาดทั้งในชาผงสำเร็จรูปและใบชา จะยกเว้นก็เฉพาะชาปรุงสำเร็จพร้อมดื่มที่ไม่ได้ระบุเรื่องการห้ามใส่สีเอาไว้

----------------------------------------------------------------------------------------------------

ผลทดสอบ “สี” ในชาผงปรุงสำเร็จ
- ในการทดสอบครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ” ได้เก็บตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ซึ่งเลือกจากการบอกเล่าของแม่ค้า พ่อค้า ที่ขายชาโบราณว่า นิยมใช้ยี่ห้อใดในการขาย โดยฉลาดซื้อได้เก็บตัวอย่างของชาเขียว 1 ตัวอย่าง คือ ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม เพิ่มเติม นอกนั้นเป็นชาดำ ทั้งหมด


- การทดสอบตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จทั้ง 13 ยี่ห้อ พบว่ามีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่ไม่พบการใส่สีสังเคราะห์เพิ่มเติม คือ Yoku ซึ่งที่ข้างซองไม่ได้แจ้งรายละเอียดใดๆ ไว้เลย แจ้งเพียงแค่ ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรเลขที่ 10-3-13-13446

- สีผสมอาหารที่พบในการทดสอบครั้งนี้คือ ซันเซ็ต เย็ลโลว์ (Sunset yellow) และ ตาร์ตราซีน 
00023
(Tartrazine) ซึ่งเป็นกลุ่มสีที่ให้สีเหลือง, ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4R) และ คาร์โมอีซีน (Carmoisine) กลุ่มสีที่ให้สีแดง และ บริลเลียนท์ บลู (Brilliant blue) กลุ่มสีที่ให้สีน้ำเงิน ซึ่งทั้งหมดเป็นสีผสมอาหารที่เป็นสีสังเคราะห์

- ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เป็นสีที่พบในทุกตัวอย่าง (ยกเว้น Yoku ที่ไม่พบสีผสมอยู่เลย) ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ ยี่ห้อ ตราแพะ (ชาซีลอน) ซึ่งมีถึง 7356.70 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งในการชงชาดื่ม 1 แก้ว ปริมาณชาผงปรุงสำเร็จที่ใช้ชงจะอยู่ที่ 2 ช้อนชา หรือประมาณ 10 กรัม เมื่อคำนวณดูแล้ว ปริมาณสีสังเคราะห์ต่อการดื่มชาตราแพะ (ชาซีลอน) 1 แก้ว จะอยู่ที่ประมาณ 73.56 มิลลิกรัม ซึ่งถือเป็นปริมาณที่สูง เพราะโดยทั่วไปแล้วปริมาณที่ให้ใช้โดยปลอดภัยกำหนดไว้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน (จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. ภัยมืดจากสารพิษ. เชษฐ สตูดิโอ แอน กราฟิคดีไซน์ จำกัด : กรุงเทพฯ. 2537) 

- ตัวอย่างอื่นๆ ที่ตรวจพบสีในปริมาณที่สูงรองลงมา คือ ตรามังกรบิน (5091.60 มิลลิกรัม/ 1 กิโลกรัม), Racehorse (ตราม้าแข่ง) (4338.03 มล./ 1 กก.), ตรางูเห่า สูตรเข้มข้น (4012.31 มล./ 1 กก.) และ ตราเทพพนม (3191.35 มล./ 1 กก.)

- Racehorse (ตราม้าแข่ง), ตราเทพพนม, ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม, ตราสามแพะ และ Kapak (ใบชาตราขวาน) ตรวจพบสีสังเคราะห์ปนเปื้อนมากกว่า 1 ชนิด คือ พบทั้ง ซันเซ็ต เย็ลโลว์ กับ ตาร์ตราซีน ซึ่งเป็นสีในกล่มสีเหลือง และ ปองโซ 4 อาร์ กับ คาร์โมอีซีน ซึ่งเป็นสีในกลุ่มสีแดง ยกเว้น ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม ที่ไม่ใส่สีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง แต่พบสีในกลุ่มสีน้ำเงินคือ บริลเลียนท์ บลู

- ชาโบราณ Finest Ceylontea Dust 999, ชาโบราณ Finest Ceylon Tea Dust 666 และ Racehorse (ตราม้าแข่ง) เป็นผลิตภัณฑ์ชาผงปรุงสำเร็จที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเมื่อหลายปีก่อนเคยมีข่าวว่า อย. เก็บตัวอย่างของทั้ง 3 ยี่ห้อมาทดสอบแล้วก็พบการเติมสีสังเคราะห์ในปริมาณสูงเช่นกัน ซึ่งแม้ อย. จะออกมาตรการคุมเข้มการนำเข้าสินค้าไม่มีคุณภาพ แต่ก็ยังมีสินค้าเหล่านี้เล็ดรอดเข้ามาได้อยู่ดี

- ชาผงปรุงสำเร็จ ตรามือ สำหรับชงชาเขียวนม และ ตรามือ ฉลากแดง (ชนิดเติม) มีการระบุไว้ที่ฉลากว่า เจือสี ซึ่งทั้ง 2 ตัวอย่างมาจากผู้ผลิตเดียวกัน

- นอกจากเรื่องสีผสมอาหารแล้ว ในการทดสอบชาผงปรุงสำเร็จครั้งนี้ “ฉลาดซื้อ”  ได้เลือกวิเคราะห์หาสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ด้วย ซึ่งผลที่ออกมาน่าจะทำให้ผู้บริโภคสบายใจขึ้นบ้าง เพราะไม่พบการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินในทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ

ฉลาดซื้อแนะ
1.ตัวอย่างชาผงปรุงสำเร็จที่เรานำมาทดสอบในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ร้านขายชา – กาแฟโบราณ ซื้อจากตลาดหรือร้านค้าส่งขนาดใหญ่ เพื่อไปต้มชงขายอีกที ซึ่งปกติเราก็ไม่ค่อยได้ทราบกันอยู่แล้วว่าร้านที่เราซื้อเขาใช้ชาแบบไหนมาชงให้เรา แบบนี้การหลีกเลี่ยงสีสังเคราะห์ที่อยู่ในชาก็เป็นเรื่องยาก นอกจากจะลดการดื่มชา ทั้งชาดำเย็นและชานมเย็น เพราะตอนนี้เรารู้แล้วว่าสีส้มสวยๆ ของชา มาจากสีสังเคราะห์ซึ่งถ้าเราได้รับเข้าสู่ร่างกายมากๆ ก็อาจเป็นอันตราย

2.แต่ถ้าหากอยากดื่มชา แนะนำว่าให้ซื้อมาชงกินเอง โดยเลือกซื้อชาผงสำเร็จรูปที่มีบรรจุภัณฑ์สะอาดเรียบร้อย มีเลขที่อย.ถูกต้อง มีการแจ้งชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต วันที่ผลิต วันหมดอายุ และส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งนอกจากจะลดความเสี่ยงในการได้รับสีสังเคราะห์มากเกินไปแล้ว เรายังสามารถควบคุมเรื่องความหวานจากน้ำตาลและนมได้ด้วย

----------------------------------------------------------------------------------------------------


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการกำหนดปริมาณสีที่อนุญาต
ให้ใช้ผสมในอาหารประเภท เครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน ดังนี้
สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม 
* สีแดง ได้แก่ - เอโซรูบีน , เออริโทรซิน 
* สีเหลือง ได้แก่ - ตาร์ตราซีน , ซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ 
* สีเขียว ได้แก่ - ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ 
* สีน้ำเงิน ได้แก่ - อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน
สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้ บริโภค 1 กิโลกรัม 
* สีแดง ได้แก่ - ปองโซ 4 อาร์ 
* สีน้ำเงิน ได้แก่ - บริลเลียนห์บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ 

----------------------------------------------------------------------------------------------------


อันตรายของสีผสมอาหาร
1.การรับประทานสีสังเคราะห์ในปริมาณมากร่างกายอาจได้รับอันตราย สีสังเคราะห์เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้น้ำย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องผูก และยังมีผลทำให้การดูดซึมอาหารถูกขัดขวาง ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และอาจส่งผลต่อการทำงานของไตและตับ


2.ในสีสังเคราะห์มักจะมีสารตกค้างอื่นๆ ปะปนมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารประเภทโลหะหนัก เช่น แคดเมียม  ตะกั่ว สารหนู ปรอท พลวง  โครเมียม เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้แม้จะได้รับในปริมาณเล็กน้อยแต่ก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย ปล่อยไว้นานเข้าก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย

----------------------------------------------------------------------------------------------------

ตารางแสดงผลทดสอบสีผสมอาหารในชาผงปรุงสำเร็จ

15_table

 

16_table

 

ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น 
วิเคราะห์ผลโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

300 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ชาโบราณ รสชาติ ปลอดภัย สี

ฉบับที่ 277 ผลวิเคราะห์การสำรวจฉลากเนื้อหมูสด-เนื้อไก่สด และการโฆษณา ณ สถานที่ขาย

        เมื่อเดือนกันยายน 2566 นิตยสารฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างเนื้อหมู เนื้อไก่ ที่มีการแสดงฉลากระบุคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ว่า เป็นสินค้าเกรดพรีเมียม กล่าวอ้างว่า ไม่มีสารเร่งการเจริญเติบโต ไม่มีการตกค้างของยาปฏิชีวนะ เป็นต้น ตอนนั้นได้ทำการเปรียบเทียบราคาพบว่า แพงกว่าราคาปกติสองเท่า แต่ยังไม่ได้ทำการวิเคราะห์ตัวฉลากของสินค้าว่า มีจุดบกพร่องหรือข้อมูลที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภคหรือไม่ ทางนิตยสารฉลาดซื้อจึงได้ร่วมกับนักวิชาการด้านเภสัชกรรมและนักกิจกรรมที่ปฏิบัติการขับเคลื่อนเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง การดื้อยาปฏิชีวนะ  ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง ที่มีความหมายแตกต่างจากคำว่า ปลอดจากยาปฏิชีวนะ         อ.ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  ทำการวิเคราะห์ประเด็นการใช้ยาปฏิชีวนะ และสารอื่นๆ จากฉลากผลิตภัณฑ์ที่นิตยสารฉลาดซื้อเก็บตัวอย่างเมื่อเดือนกันยายน ปีที่แล้ว ได้ให้ข้อสังเกต ดังนี้         - มีความหลากหลายของการแสดงฉลาก (อาจสะท้อนว่าไม่มีการกำกับดูแลให้มีรูปแบบเดียวกันหรือไม่)         - การแสดงฉลากในเรื่องยาปฏิชีวนะของเนื้อหมูและเนื้อไก่ พบว่าเนื้อหมูและไก่เกรดพรีเมียม 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 42.9) มีการแสดงข้อความในฉลากที่สื่อว่าไม่ใช้เลยตลอดการเลี้ยง และ 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 42.9) ที่ฉลากมีการกล่าวอ้างว่าไม่เจอโดยใช้ข้อความหลายรูปแบบ เช่น ‘ปลอดยาปฏิชีวนะ’ แตกต่างจาก ‘เลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ’  ในขณะที่เนื้อหมูและเนื้อไก่แบบธรรม 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 14.3) ไม่ได้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ         - บางยี่ห้อเน้นที่รางวัลที่ได้รับ ทำให้ผู้บริโภคสนใจคำว่าชนะรางวัล มากกว่าคุณค่าทางโภชนาการ         - ข้อความคำแนะนำเป็นภาษาอังกฤษ อ่านยาก ควรเป็นภาษาไทยเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจ         ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องยาปฏิชีวนะ มีการใช้คำสองความหมายคือ “เลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ (RAISED WITHOUT ANTIBIOTICS)” ซึ่งแตกต่างจากคำว่า “ปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะตกค้าง (ANTIBIOTICS CONTROLLED หรือ ANTIBIOTICS FREE)” มีการใช้คำกล่าวอ้างที่มีรูปแบบหลากหลายอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เช่น มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง แต่หยุดการใช้ก่อนเชือดจนไม่มีการตกค้างอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยงดูเลยได้ ควรมีการกำหนดมาตรฐานและการตรวจสอบก่อนอนุญาตให้ใช้คำดังกล่าว และควรมีการกำหนดให้ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง ทั้งในฉลากทั้งเนื้อสัตว์แบบพรีเมียม และไม่พรีเมียม รวมทั้งระบุถึงมาตรฐานฟาร์มที่เป็นที่มาของเนื้อสัตว์ดังกล่าว ใครดูแลฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่แปรรูป         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ข้อสังเกตจากฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่แปรรูปว่า “ประเทศไทยมีการกำหนดฉลากผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ประเภทลูกชิ้น ไส้กรอก แหนม หมูยอ กุนเชียง และผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการผลิตทำนองเดียวกันนี้ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 243) พ.ศ. 2544 เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ และมีการกำหนดฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ แต่ประกาศนี้ก็ไม่ใช้กับอาหารสดที่ไม่ผ่านกรรมวิธีใดๆ หรืออาหารสดที่ผ่านกรรมวิธีการแกะ ชำแหละ ตัดแต่ง หรือวิธีการอื่นใดเพื่อลดขนาด ซึ่งอาจแช่เย็นหรือไม่แช่เย็นและบรรจุในภาชนะที่สามารถมองเห็นสภาพของอาหารสด ฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่แปรรูปขาดการควบคุม         ดังนั้นจึงส่งผลให้ผลการสำรวจฉลากพบการแสดงฉลากที่หลากหลาย ขาดความชัดเจน ทั้งขนาดตัวอักษร รูปแบบการแสดงข้อความ ตลอดจนความชัดเจนของการสื่อความหมายของข้อความ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดได้ จึงทำให้เกิดความสงสัยว่าบทบาทหน้าที่ในการกำหนดมาตรการด้านฉลากดังกล่าวควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือหน่วยงานอื่น ฉลากมีปัญหา โฆษณาก็ไม่ต่าง         การสำรวจฉลากเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ทำให้เกิดข้อสงสัยเพิ่มเติมในเรื่องของการโฆษณา ณ จุดขาย ดังนั้นทีมงานนิตยสารฉลาดซื้อจึงได้ลงสำรวจจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อหมู เนื้อไก่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 44 ร้าน มีทั้งร้านตั้งเดี่ยวนอกห้างสรรพสินค้า ร้านค้าในตลาด ร้านสะดวกซื้อ แผงในตลาดสด เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยเทียบกับหลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พบการโฆษณาที่เข้าข่ายการแสดงคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร โดยมีการแจ้งคุณภาพของสินค้า พบ 16 ร้าน (คิดเป็นร้อยละ 36.3) ซึ่งรูปแบบการแจ้งคุณภาพอาจจะกล่าวเพียงประเด็นเดียวหรือหลายประเด็นได้ จากการสำรวจร้านขายได้กล่าวถึงความสะอาด 8 ร้าน, สด 6 ร้าน, คุณภาพ 4 ร้าน, อนามัย 2 ร้าน, ชุ่มฉ่ำ 2 ร้าน และพบคำว่าพรีเมี่ยม 1 ร้าน และเลี้ยงด้วยโปรไบโอติกส์อย่างละ 1 ร้าน         การอนุญาตให้สินค้าแต่ละชื่อการค้าโฆษณาตัวเอง พบ 8 ร้าน  (คิดเป็นร้อยละ 18.18) นอกจากนี้ยังพบการโฆษณาว่าปลอดภัย พบ 6 ร้าน (คิดเป็นร้อยละ 13.63) การโฆษณาว่าปลอดสารเร่งเนื้อแดง พบ 4 ร้าน (คิดเป็นร้อยละ 9.09) การโฆษณาว่าไม่ใช้ฮอร์โมน พบ 2 ร้าน (คิดเป็นร้อยละ 4.55) การโฆษณาสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK พบ 16 ร้าน (คิดเป็นร้อยละ 36.3) แต่ร้านที่มีสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK มีแจ้งคุณภาพของสินค้าเพียง 8 ร้านเท่านั้น การแจ้งคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อสัตว์ที่ขาย พบเพียง 1 ร้าน และการกล่าวอ้างอื่น เช่น การกล่าวอ้างด้านกระบวนการเลี้ยงดูที่เป็นธรรมชาติ พบคำว่า “100% organic” การรับรองตนเอง พบคำรับรองประกันคุณภาพในบริษัท “มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ” “วงจรคุณภาพและความสดของแผนกเนื้อสัตว์”         จากข้อมูลการสำรวจการโฆษณา ณ จุดขายข้างต้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ วิเคราะห์ว่า ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 นั้นกำหนดให้การแสดงคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร ต้องได้รับอนุญาตก่อนการโฆษณา ซึ่งหากพิจารณาตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564 การใช้คำว่า “สด” “ธรรมชาติ” “ผลิตภัณฑ์อินทรีย์” “ออร์แกนิก” “อนามัย” “ถูกสุขอนามัย” “สะอาด” “คุณภาพ” เข้าข่ายบัญชีหมายเลข 3 ของประกาศนี้ ซึ่งเป็นลักษณะการโฆษณาที่เข้าข่ายลักษณะเป็นคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารที่ต้องยื่นคำขออนุญาตโฆษณาอาหาร หากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาถือว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่แปรรูปเป็นอาหารที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 การกล่าวอ้างในลักษณะนี้ก็ควรจะต้องมีการตรวจสอบโฆษณาทั้งเรื่องการขออนุญาต หรืออย่างน้อยก็ควรมีบทบาทในการตรวจสอบสิ่งที่กล่าวอ้างนั้นเป็นความจริงหรือไม่         “หากมองในมุมกฎหมายการโฆษณาลักษณะนี้โดยไม่ได้รับอนุญาตก็เป็นปัญหาด้านกฎหมายได้ หากมองในมุมของผู้บริโภคก็ต้องการทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายเชื่อถือหรือไว้วางใจได้หรือไม่ หากไม่ทราบข้อมูลจากผู้ขายเลยก็อาจขาดข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ หากผู้ขายให้ข้อมูลมา แต่ไม่สามารถตรวจสอบหรือยืนยันได้ว่าเรื่องใดจริงหรือเท็จผู้บริโภคก็ถูกเอาเปรียบได้เช่นกัน”         ด้าน ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ฉลากมีความหลากหลายของการนำเสนอ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้อง คำว่า’ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง’ ที่มีความหมายแตกต่างจากคำว่า ’ปลอดจากยาปฏิชีวนะ’ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของการใช้คำต่าง ๆ เช่น วันหมดอายุ มีขนาดเล็กมาก รวมถึงการระบุสรรพคุณของเนื้อสัตว์ จากการวิเคราะห์กฎหมาย ระเบียบ กติกา อาจมีช่องว่างของการควบคุมฉลากเนื้อสัตว์ดิบประเภทหมูและไก่ เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์แปรรูปแปรรูปหรือไม่ จึงมีช่องว่างของการใช้คำโฆษณาผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ เช่นคำว่า ปศุสัตว์  OK หมายถึงอะไรบ้าง การเคลมคุณสมบัติบนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือ การแสดง ณ จุดจำหน่ายนี้ มีหน่วยงานใดมีหน้าที่ตรวจสอบบ้าง มีหน่วยงานใดทำหน้าที่ควบคุม การกำหนดราคาสินค้าพรีเมียม มาตรฐานต่างๆข้อเสนอเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค         1. ควรมีเจ้าภาพรับผิดชอบในการกำหนดลักษณะฉลากเนื้อสัตว์สดและการโฆษณาของร้านขายเนื้อสัตว์ ซึ่งอาจจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค         2 .ควรมีข้อกำหนดในการใช้คำให้ชัดเจน เนื่องจากพบการใช้คำโฆษณานี้มีความหลากหลาย มีทั้งการกล่าวอ้างด้านกระบวนการเลี้ยงดูที่เป็นธรรมชาติ และการกล่าวอ้างด้านไม่พบสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจที่แตกต่างกันได้ เช่น คำว่า “ปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ” อาจสื่อความหมายได้ตั้งแต่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยงดู หรือมีระยะหยุดยาก่อนการฆ่า หรือมีการใช้ยาแต่มีเนื้อสัตว์พบยาปฏิชีวนะตกค้างไม่เกินที่กำหนดในกฎหมาย จึงควรมีข้อกำหนดในการใช้คำให้ชัดเจน เช่น “Raised without antibiotics” (ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะทุกขั้นตอนของการเลี้ยง)         3. ควรมีหน่วยงานที่ติดตามและตรวจสอบการกล่าวอ้าง เพื่อไม่ให้เกิดการกล่าวอ้างเกินจริง ซึ่งจูงใจให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ และการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวอาจมีผลทำให้ราคาสินค้าเกินกว่าความเป็นจริงได้ โดยเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เข้ามาตรวจสอบการโฆษณาดังกล่าว        4. มีระบบฐานข้อมูลการตรวจสอบฉลากของสินค้า

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 277 สำรวจฉลากโภชนาการ “นมโปรตีนสูง”

        เมื่อ นมโปรตีนสูง ถูกสื่อสารเชื่อมโยงผ่านกลุ่มคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ คนที่ต้องการลดน้ำหนัก รักษามวลกล้ามเนื้อ หรือกลุ่มคนที่มองหาเครื่องดื่มมาทดแทนมื้ออาหาร ว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก มีโปรตีนสูงกว่านมธรรมดาหลายเท่า หาซื้อง่าย มีหลายรสชาติ อร่อย ดื่มได้ทันที และอิ่มท้องนาน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้บริโภคที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้หลายคนตัดสินใจซื้อมาดื่มตามแบบไม่ลังเล โดยบางทีก็มองข้ามเรื่องความจำเป็น ความปลอดภัย และความคุ้มค่าไป         นิตยสารฉลาดซื้อ ได้สุ่มเลือกนมโปรตีนสูง จำนวน 8 ตัวอย่าง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มาสำรวจฉลากและส่วนประกอบหลักเพื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการและราคา สำหรับเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคเลือกได้ว่ายี่ห้อไหนมีโปรตีนสูงกว่ากัน หรือมีคุณลักษณะอื่นๆ ที่ตรงใจคุณ เช่น พลังงานสูง น้ำตาลน้อย ไขมันน้อย โซเดียมต่ำ และแคลเซียมสูง เป็นต้น ส่วนรสชาติไหนอร่อยคงต้องลองชิมกันเองแล้ว  ผลสำรวจ         -ทั้งหมด 8 ตัวอย่าง มีโปรตีนจากนมเป็นหลัก  5 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อดัชมิลล์ นมคืนรูปปรุงแต่ง พร่องมันเนย พาสเจอร์ไรส์ โปรตีนสูง กลิ่นอัลมอนด์ สูตรเวย์พลัส ไม่เติมน้ำตาลทราย, ฮูเร่ ผลิตภัณฑ์นมชนิดพร่องมันเนย พาสเจอร์ไรส์ โปรตีนสูง รสช็อกโกแลต สูตรปราศจากน้ำตาลแลคโตส, แม็กซิมัส น้ำโกโก้ ผสมโปรตีนนม, เมจิ ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนยพาสเจอร์ไรส์ โปรตีนสูง รสช็อกโกแลต สูตรเวย์ และมูฟ น้ำโกโก้ 20% ผสมโปรตีนนม ปราศจากน้ำตาลแลคโตส ส่วนอีก 3 ตัวอย่างมีโปรตีนจากพืชเป็นหลัก ได้แก่ ยี่ห้อออลลี่ เครื่องดื่มผสมโปรตีนจากพืช(ถั่วเหลือง ข้าวและถั่วลันเตา)ใยอาหารจากอินนูลิน วิตามินรวม และแร่ธาตุรวม รสโกโก้, โทฟุซัง นมถั่วเหลือง สูตรโปรตีนสูง รสช็อกโกแลต และอัพ เครื่องดื่มโปรตีนไอโซเลทจากพืช กลิ่นช็อกโกแลตฮาเซลนัท         -ทั้ง 8 ตัวอย่าง มีปริมาณต่อ 1 ขวด ตั้งแต่ 310 – 360 มิลลิลิตร และมีราคาขายปลีกตั้งแต่ 40 – 59 บาทต่อขวด         -มี 4 ตัวอย่างที่ระบุว่า มีเวย์โปรตีนเข้มข้น ในส่วนประกอบ ได้แก่ ยี่ห้อดัชมิลล์ (2.4%), ฮูเร่ (0.5%), แม็กซิมัส (ไฮโดรไลท์ 0.7%) และเมจิ (10.7%) เมื่อพิจารณาคุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 หน่วยบริโภคที่แนะนำ (1 ขวด) พบว่า        -ยี่ห้ออัพ มีโปรตีนมากที่สุด คือ 36 กรัม ส่วนยี่ห้อออลลี่มีน้อยที่สุด คือ 25 กรัม        -ยี่ห้อฮูเร่ มีพลังงานมากที่สุด คือ 230 กิโลแคลลอรี ส่วนยี่ห้อดัชมิลล์และเมจิ มีน้อยที่สุด คือ 170 กิโลแคลลอรี        -ยี่ห้อโทฟุซัง มีไขมันมากที่สุด คือ 7 กรัม ส่วนยี่ห้อเมจิและมูฟมีน้อยที่สุด คือ 2 กรัม        -ยี่ห้อดัชมิลล์ มีน้ำตาลมากที่สุด คือ 10 กรัม ส่วนยี่ห้อโทฟุซังและอัพมีน้อยที่สุด คือ

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 275 สำรวจฉลากดาร์กช็อกโกแลต

        ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพามาสำรวจฉลากกับภารกิจเตือนภัย ”ขมซ่อนหวาน” ในดาร์กช็อกโกแลตกัน         ดาร์กช็อกโกแลต (Dark Chocolate) จัดเป็นหนึ่งในซูเปอร์ฟูดที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะกินแล้วมีประโยชน์มาก ช่วยคลายเครียด อารมณ์ดีมีความสุข และยังอาจรวมถึงการป้องกันโรคต่างๆ เช่น อัลไซเมอร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น แต่ดาร์กช็อกโกแลตที่ดีต่อสุขภาพควรมีเปอร์เซ็นต์โกโก้ทั้งหมดสูงกว่า 70% ขึ้นไป ซึ่งจะมีรสขม หลายคนลองชิมแล้วอาจรู้สึกว่ากินยาก จึงไปเลือกที่ผสมน้ำตาลและนมเพิ่มรสชาติให้กินง่ายขึ้น ดังนั้นผู้บริโภคต้องระวังว่าดาร์กช็อกโกแลตที่มีน้ำตาลและนมในสัดส่วนมากๆ เพราะแม้จะอร่อยแต่กินบ่อยๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้         นิตยสารฉลาดซื้อ ได้สุ่มเลือกดาร์กช็อกโกแลต จำนวน 15 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมกราคม 2567 มาสำรวจฉลากเพื่อดูส่วนประกอบว่าผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดตามมาตรฐานหรือไม่ เปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการและราคา เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจซื้อในครั้งต่อๆ ไป   ผลการสำรวจฉลาก เมื่อพิจารณาในส่วนประกอบสำคัญ พบว่า         - ยี่ห้อลินด์ เอ็กเซอร์เล็นซ์ ดาร์ก 99% โกโก้ มีโกโก้รวมทั้งหมดมากที่สุด คือ 99% ส่วนยี่ห้อเมจิ แบล็ค ช็อกโกแลต คอนแฟคชั่นเนอรี่ มีน้อยที่สุดคือ 40.4%         - ยี่ห้อบอนโอบอน ดาร์ค ช็อกโกแลต บาร์ มีน้ำตาลมากที่สุด คือ 49% ส่วนยี่ห้อมีอา อินเทนส์ ดาร์ก ช็อกโกแลต 85% และยี่ห้อเวทโทรส เบลเยี่ยน ดาร์ค ช็อกโกแลต 72% มีน้อยสุด คือ 10%         - ยี่ห้อเดียโบล ดาร์ก ช็อคโกแลต วิท สวีทเทนเนอร์ ใส่วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล (มอลตินอล)ส่วนยี่ห้อลินด์ เอ็กเซอร์เล็นซ์ ดาร์ก 99% โกโก้ ไม่ระบุว่ามีน้ำตาลในส่วนประกอบ  เมื่อพิจารณาคุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 หน่วยบริโภคที่แนะนำ พบว่า         - ยี่ห้อลินด์ เอ็กเซอร์เล็นซ์ ดาร์ก 99% โกโก้ มีมากที่สุดทั้งพลังงาน (310 กิโลแคลอรี) ไขมัน (25 กรัม) และโซเดียม (140 กรัม) ส่วนน้ำตาลมีน้อยที่สุดคือ 3 กรัม          - ยี่ห้อเนสท์เล่ ลัทเตอริฮ์เย่ ดาร์คช็อกโกแลต 80% มีพลังงานน้อยที่สุดคือ 120 กิโลแคลอรี         - ยี่ห้อบอนโอบอน ดาร์ค ช็อกโกแลต บาร์ มีไขมันน้อยที่สุดคือ 7 กรัม         - ยี่ห้อลอตเต้ กาน่า แบล็ก ช็อกโกแลต มีน้ำตาลมากที่สุดคือ 23 กรัม และมีโซเดียมน้อยที่สุดคือ 5 กรัม        และเมื่อคำนวณเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่า ยี่ห้อลินด์ เอ็กเซอร์เล็นซ์ ดาร์ก 99% โกโก้ แพงสุดคือ 3.50 บาท ส่วนยี่ห้อบอนโอบอน ดาร์ค ช็อกโกแลต บาร์ ถูกสุดคือ 0.48 บาท  ข้อสังเกต         - ทุกตัวอย่างผลิตและนำเข้ามาจากต่างประเทศ ได้แก่  มาเลเซีย ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม อาร์เจนติน่า สเปน ไอร์แลนด์ สาธารณรัฐกานา และสาธารณรัฐเช็ก         - มี  2 ตัวอย่างที่พบว่ามีเปอร์เซนต์โกโก้ทั้งหมดในส่วนประกอบน้อยกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก คือ ยี่ห้อลอตเต้ กาน่า แบล็ก ช็อกโกแลต ฉลากระบุ 50% แต่ในส่วนประกอบรวมได้ 48% และดัลซีเนีย ดาร์ค ช็อกโกแลต 72% ในส่วนประกอบรวมได้ 67%         - มี 2 ตัวอย่างที่เติมไขมันอื่นนอกจากไขมันโกโก้ ได้แก่ ยี่ห้อโมรินากะ ดาร์ส ดาร์ก (ไขมันปาล์ม 4 %) และเมจิ แบล็ค ช็อกโกแลต คอนแฟคชั่นเนอรี่ (มีน้ำมันพืช 14%)         - เมื่อคำนวณคุณค่าทางโภชนาการต่อปริมาณ 40 กรัมเท่ากัน (ค่าเฉลี่ยของหน่วยบริโภคที่แนะนำ) พบว่า ยี่ห้อริตเทอร์สปอร์ต โกโก้ ซีเล็คชั่น 81% มีมากที่สุดทั้งพลังงาน (256 กิโลแคลอรี) และไขมัน (20.8 กรัม) ยี่ห้อบอนโอบอน ดาร์ค ช็อกโกแลต บาร์ มีน้ำตาลมากที่สุดคือ 20.8 กรัม ส่วนยี่ห้อบัตเลอรส์ ดาร์กช็อกโกแลต 70% ยี่ห้อเดียโบล ดาร์ก ช็อคโกแลต วิท สวีทเทนเนอร์ และยี่ห้อเวทโทรส เบลเยี่ยน ดาร์ค ช็อกโกแลต 72% มีพลังงานน้อยที่สุดคือ 210 กิโลแคลอรี         - มีตราประทับ Rainforest Alliance Certified บนฉลากยี่ห้อเนสท์เล่ ลัทเตอริฮ์เย่ ดาร์คช็อกโกแลต 80% ยี่ห้อริตเทอร์สปอร์ต โกโก้ ซีเล็คชั่น 81% และยี่ห้อคาสิโน ช็อกโกล่าต์ นัวร์ เดอ ดีกัสตาซีอง 85% ซึ่งสัญลักษณ์นี้หมายความว่า ผลิตภัณฑ์หรือส่วนผสมที่ผ่านการรับรองนั้นผลิตขึ้นโดยใช้วิธีการที่สนับสนุนหลักสามประการของความยั่งยืน ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ฉลาดซื้อแนะ         - ดาร์กช็อกโกแลตส่วนใหญ่ผลิตและนำเข้าจากต่างประเทศ ควรเลือกซื้อที่มีฉลากภาษาไทยกำกับไว้ชัดเจน มีเลขทะเบียน อย. ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและเปรียบเทียบปริมาณของส่วนประกอบได้         - ก่อนซื้อดาร์กช็อกโกแลตควรดูเปอร์เซ็นต์ของโกโก้ทั้งหมด น้ำตาลและนม และเลือกให้ตอบโจทย์กับความต้องการ โดยมีคำแนะนำว่าหากอยากลดน้ำหนัก ให้เลือกที่ 80 - 100 % ใครเพิ่งลองกินและยังไม่ชินกับรสขม ให้เลือกที่ 50 - 80 % ใครชอบหวานให้เลือกน้อยกว่า 50% ส่วนใหญ่จะใส่น้ำตาลเยอะ ควรกินแต่น้อย         - ดาร์กช็อกโกแลตมีแคลอรี่สูงและมีคาเฟอีนด้วย ควรกินในประมาณที่เหมาะสม หรือไม่เกิน 60 กรัมต่อวัน แหล่งข้อมูลอ้างอิง https://bestreview.asia/best-dark-chocolate/#google_vignettehttps://www.thaihealth.or.th (บทความ กินช็อกโกแลตถูกหลัก ช่วยสร้างสุข)https://www.bio100.co.th/knowledge/rainforest-alliance-certified/

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 274 สำรวจฉลากโภชนาการ “ขนมในกระเช้าปีใหม่”

        ช่วงเทศกาลส่งความสุขในปีใหม่นี้ ผู้บริโภคคนไหนกำลังคิดจะเลือกซื้อขนมอบกรอบหวานหอม และขนมขบเคี้ยวเค็มๆ มันๆ ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์สีสันสดใส มาจัดกระเช้าปีใหม่ ด้วยหวังว่าผู้รับจะชอบใจ อยากให้แตะเบรกไว้ก่อน เพราะแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ยอดฮิตที่มักมอบให้กันในโอกาสพิเศษต่างๆ แต่อย่าลืมว่าขนมเหล่านี้มีส่วนผสมหลักเป็นแป้ง น้ำตาล เนย นม เกลือ ผงฟู และสารกันเสีย ซึ่งหากกินเข้าไปเยอะๆ บ่อยๆ อาจเกิดการสะสมของน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดได้         นิตยสารฉลาดซื้อ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างขนมในกระเช้าปีใหม่ (คุกกี้ บิสกิต แครกเกอร์ และพาย) จำนวน 11 ตัวอย่าง ในช่วง 1 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2566 มาเปรียบเทียบข้อมูลบนฉลากโภชนาการ (ปริมาณพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม) และราคาต่อปริมาณ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภคว่าจะเลือกขนมเหล่านี้จัดใส่กระเช้าปีใหม่ดีไหมหนอ  ผลการสำรวจ        ·     ทุกตัวอย่างระบุเลขที่ใบอนุญาตจาก อย. ไว้ถูกต้อง ตรวจสอบข้อมูลได้         ·     เมื่อพิจารณาฉลากโภชนาการของขนม 11 ตัวอย่าง พบว่า ยี่ห้ออิมพีเรียล บัตเตอร์คุกกี้ สูตรเดนมาร์ค มีปริมาณต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำมากที่สุดคือ 34 กรัม ส่วนยี่ห้อไฮไท แครกเกอร์ รสดั้งเดิม และ ยี่ห้อเดนม่า คุกกี้สอดไส้รสผลไม้ มีน้อยที่สุดคือ 25 กรัม         ·     เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 หน่วยบริโภค พบว่า            -        ปริมาณพลังงานมากที่สุด = 180 กิโลแคลอรี คือยี่ห้ออิมพีเรียล บัตเตอร์คุกกี้ สูตรเดนมาร์ค ส่วนยี่ห้อล็อตเต้ ช็อกโกพาย บานาน่า มีน้อยที่สุด  = 120 กิโลแคลอรี            -        ปริมาณน้ำตาลมากที่สุด = 11 กรัม  คือยี่ห้อโอรีโอ ช็อกโกแลต ครีม ส่วนยี่ห้อไฮไท แครกเกอร์ รสดั้งเดิม มีน้อยที่สุด = 2 กรัม             -        ปริมาณไขมันมากที่สุด = 9 กรัม ได้แก่ ยี่ห้ออิมพีเรียล บัตเตอร์คุกกี้ สูตรเดนมาร์ค และยี่ห้อดานิสา ช็อกโกแลต บัตเตอร์คุกกี้ ผสมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ส่วนยี่ห้อล็อตเต้ ช็อกโกพาย บานาน่า และยี่ห้อแซง มิเชล กาเลต โอ เบอร์ ทิน บัตเตอร์ คุกกี้ มีน้อยที่สุด = 5 กรัม             -        ปริมาณโซเดียมมากที่สุด = 135 มิลลิกรัม คือ ยี่ห้อแมคไวตี้ส์ ไดเจสทีฟ ออริจินอล(บิสกิตข้าวสาลี) ส่วนยี่ห้อเดนม่า คุกกี้สอดไส้รสผลไม้  มีน้อยที่สุด = 40 มิลลิกรัม         ·     เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่า ยี่ห้อบาวเซ่น เดโลบา บลูเบอร์รี่ แพงสุดคือ 0.95 บาท ส่วนยี่ห้อโอรีโอ ช็อกโกแลต ครีม ถูกสุดคือ  0.22 บาท  ข้อสังเกต        - เมื่อคำนวณในปริมาณ 1 หน่วยบริโภคที่เท่ากัน คือ 30 กรัม (ปริมาณเฉลี่ย ได้จากผลรวมของปริมาณต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ÷ 11) พบว่า ยี่ห้อดานิสา ช็อกโกแลต บัตเตอร์คุกกี้ผสมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มีปริมาณพลังงานมากที่สุด = 160 กรัม ส่วนยี่ห้อโอรีโอ ช็อกโกแลต ครีม มีทั้งน้ำตาล (11.96 กรัม) และโซเดียม (141.30 มิลลิกรัม) ในปริมาณมากที่สุด         - หากเรากินโอรีโอ ช็อกโกแลต ครีม 1 ห่อ (3 ชิ้น) จะได้รับน้ำตาลเกือบครึ่งหนึ่งของที่แนะนำให้กินได้ต่อวัน(ไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 24 กรัมต่อวัน) ถ้าเผลอกินเพลินเกิน 2 ห่อต่อวัน ร่างกายจะได้น้ำตาลเกินจำเป็น         - วัยผู้ใหญ่ไม่ควรกินขนมขบเคี้ยวที่มีโซเดียมเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้น หากกินขนมแมคไวตี้ส์ ไดเจสทีฟ ออริจินอล (บิสกิตข้าวสาลี) 2 ชิ้น หรือโอรีโอ ช็อกโกแลตครีม 3 ชิ้น ก็จะได้รับโซเดียมเกินครึ่งหนึ่งของที่แนะนำไว้แล้ว        - เมื่อลองนำเกณฑ์สัญลักษณ์โภชนาการ”ทางเลือกสุขภาพ” มาพิจารณา ในปริมาณขนม 100 กรัม         ขนมบิสกิตและแครกเกอร์   กำหนดให้มีน้ำตาล ≤ 7 กรัม  และโซเดียม ≤ 500 มิลลิกรัม พบว่าทุกตัวอย่างมีน้ำตาลเกิน และมีโซเดียมอยู่ในเกณฑ์        ขนมคุกกี้  กำหนดให้มีน้ำตาล ≤ 20 กรัม และ โซเดียม ≤ 300 มิลลิกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างมีน้ำตาลเกิน และมีโซเดียมเกินเกณฑ์นี้ 3 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อโอรีโอ ช็อกโกแลต ครีม (471.01 มก.)  ยี่ห้อบาวเซ่น เดโลบา บลูเบอร์รี่ (348.48 มก.) และยี่ห้ออิมพีเรียล บัตเตอร์คุกกี้ สูตรเดนมาร์ค (323.53 มก.)         - ทุกตัวอย่างบอกวันผลิตและวันหมดอายุไว้ มีอายุตั้งแต่ 10 – 21 เดือน โดยมี 8 ตัวอย่างที่อายุ 1 ปี         - ยี่ห้อดานิสา ช็อกโกแลต บัตเตอร์คุกกี้ผสมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ระบุวันหมดอายุ 01.12.23 และมีอายุนับจากวันผลิตนานถึง 21 เดือน         - มี 3 ตัวอย่างที่ผลิตในประเทศไทย ส่วนใหญ่ผลิตจากต่างประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย เยอรมันฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร         - ทุกตัวอย่างแสดงข้อความเตือนว่า “บริโภคแต่น้อยและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ”     ฉลาดซื้อแนะสำหรับผู้ให้        - หากจะซื้อขนมมาจัดกระเช้าปีใหม่ ต้องดูวันหมดอายุให้ดีๆ เพราะอาจมีสินค้าใกล้หมดอายุมาวางขายปะปนบนชั้นได้ ยิ่งถ้าใครซื้อแบบกระเช้าสำเร็จรูปก็ต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนเสมอ         - เลือกซื้อขนมที่ผลิตในประเทศไทย สนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศ         - เปลี่ยนเป็นขนมที่ดีต่อสุขภาพแทน เช่น กระเจี๊ยบมอญอบกรอบ บร็อคโคลี่อบแห้ง งาดำอัดแท่งหวานน้อย ลูกเดือยกล้อง ถั่วเปลือกแข็ง (อัลมอนด์ วอลนัท) อบไม่ปรุงรส ดาร์คช็อคโกแล็ต (มี %cocoa มากกว่า 70%) เป็นต้น         - อย. แนะนำให้มอบกระเช้าของขวัญปีใหม่ในแบบ “สุขใจผู้ให้ ห่วงใยผู้รับ” โดยเลือกที่มีสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice) เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองแล้วว่ามีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) สำหรับผู้รับ        - เมื่อได้รับขนมเหล่านี้เป็นของขวัญ มักได้เป็นกล่องหรือกระป๋องใหญ่ แกะแบ่งห่อเล็กปันคนอื่นๆ ด้วยก็ดีไม่ต้องเก็บไว้เยอะ และอย่าเผลอกินเกินจำนวนหน่วยบริโภคที่แนะนำบนฉลากโภชนาการ เดี๋ยวจะอ้วน         - ถ้าวันไหนรู้ตัวว่ากินคุกกี้ แครกเกอร์ เยอะเกินแล้ว ก็ควรจะออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานส่วนเกินออกไป จะได้กินขนมให้อร่อยต่อไปได้โดยไม่ต้องกลัวอ้วนหรือรู้สึกผิดต่อตัวเอง         - กินขนมคู่กับน้ำเปล่าดีที่สุด หากไม่อยากได้รับน้ำตาล ไขมันและโซเดียมเพิ่มอีก         - อย่าชะล่าใจ กินขนมอบกรอบรสหวานๆ เสี่ยงเป็นเบาหวานแล้วยังเสี่ยงเป็นโรคไตด้วย เพราะโซเดียมไม่ได้มีแต่ในเกลือที่ให้รสเค็ม แต่ยังแฝงอยู่ในผงฝูและสารกันบูดที่เป็นส่วนผสมของขนมเหล่านี้ด้วย  ข้อมูลอ้างอิงwww.thaihealth.or.thwww.oryor.com

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)