ฉบับที่ 178 ของหมดอายุ ควรมีอยู่ในห้างหรือไม่

ผู้บริโภคส่วนใหญ่เมื่อเลือกซื้อสินค้าสำหรับการบริโภค สิ่งหนึ่งที่จำเป็นในการตรวจสอบคือ วันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุ แต่หากเรารีบและไม่ได้ซื้อจำนวนมาก ผู้บริโภคบางส่วนก็อาจจะลืมตรวจสอบสิ่งสำคัญเหล่านี้ไป ซึ่งหากเราดวงซวยไปซื้อของที่หมดอายุมากิน ก็มีวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าการทิ้งไปเฉยๆ ดังกรณีของผู้ร้องรายนี้คุณกิตติยาซื้อขนมปัง ยี่ห้อ เอ พลัส ราคา 14 บาท จากมินิ บิ๊กซี ที่ปั๊มน้ำมัน บางจาก สาขา นวมินทร์ มารับประทาน ด้วยความเร่งรีบจึงไม่ได้ตรวจสอบวันเดือนปีที่หมดอายุ เพราะคาดว่าทางร้านไม่น่าจะวางจำหน่ายสินค้าที่หมดอายุไปแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อจะนำมารับประทานก็พบว่าขนมปังดังกล่าวขึ้นรา และเลยวันหมดอายุตามที่ระบุไว้ข้างซองมานานแล้วผู้ร้องจึงเก็บใบเสร็จที่ซื้อไว้ และส่งเรื่องมาร้องเรียนที่มูลนิธิ เพราะอยากให้ห้างดังกล่าวมีความรับผิดชอบในการนำสินค้ามาวางจำหน่ายมากกว่านี้ เนื่องจากอาจมีผู้บริโภคคนอื่นที่รีบซื้อสินค้า และพบปัญหาเดียวกันกับเธอก็ได้ ซึ่งเธอก็ต้องการให้ทางบริษัทรับผิดชอบ ด้วยการชดใช้เป็นเงินจำนวน 20,000 บาท แนวทางการแก้ไขปัญหา หลังจากผู้ร้องส่งเรื่องร้องเรียนมาทางอีเมล์ โดยแนบรูปขนมปังดังกล่าวและใบเสร็จมาด้วย ศูนย์พิทักษ์สิทธิจึงติดต่อไปยังสำนักงานใหญ่ของห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี ซึ่งทางบริษัทฯ ได้นัดเจรจาติดต่อกับลูกค้า โดยภายหลังได้มีการขอโทษและมอบกระเช้าให้ผู้ร้อง แต่สำหรับการชดใช้เป็นจำนวนเงินดังกล่าว ทางบริษัทฯ ได้ขอพิจารณาก่อน ซึ่งในที่สุดบริษัทก็ได้แจ้งว่า ยินยอมที่จะชดใช้ให้เป็นจำนวน 12,000 บาท แม้ตอนแรกผู้ร้องจะยืนยันจำนวนเท่าเดิม แต่เพื่อไม่ให้เรื่องยืดเยื้อไปนานกว่านี้ จึงต้องยินดีตอบตกลงจำนวนเงินนั้นไปถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ผู้ร้องรักษาสิทธิของตนเอง เพราะ การวางจำหน่ายสินค้าที่หมดอายุ แสดงให้ถึงความรับผิดชอบของผู้ขาย นอกจากนี้ผู้บริโภคอย่างเรา ไม่ได้มีหน้าที่นำสินค้าที่หมดอายุไปคืน แต่ควรเป็นทางร้านมากว่า ที่ต้องวางขายสินค้าที่ไม่หมดอายุให้กับเรา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 สินค้าซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนคืน ผู้บริโภคมีสิทธิอะไรบ้าง

หลายครั้งที่ผู้บริโภคอย่างเราจำเป็นต้องซื้อสินค้าที่ติดป้ายว่า “ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนคืน” ซึ่งบางคนอาจจะโชคดีที่ได้ของมีคุณภาพไป ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งอาจจะต้องเสียเงินเพิ่ม เพื่อซ่อมสินค้าชิ้นนั้นหรือแก้ปัญหาด้วยการซื้อของใหม่ให้รู้แล้วรู้รอดไป อย่างไรก็ตามไม่ใช่สินค้าทุกประเภท ที่มีสิทธิจะติดป้ายเอาเปรียบดังกล่าว ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณภา ต้องการซื้อกล้องวงจรปิด ที่มีความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล ไปเดินดูที่ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต ก็พบร้านที่ถูกใจ พนักงานขายแจ้งว่ามีกล้องวงจรปิดอย่างที่ต้องการ จึงตกลงซื้อมา ในราคา 1,450 บาท อย่างไรก็ตามในวันนั้น คุณภาต้องรีบไปทำธุระอย่างอื่นต่อ พร้อมกับที่ทางร้านแจ้งว่าคอมพิวเตอร์สำหรับไว้ใช้ทดสอบการทำงานของกล้องเสีย จึงทำให้เธอไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดของกล้องให้ครบถ้วนเมื่อกลับมาทดสอบด้วยตนเองที่บ้านจึงพบว่า กล้องดังกล่าวมีความละเอียดเพียง 3 แสนพิกเซลเท่านั้น นอกจากนี้เมื่อพลิกดูใบเสร็จรับเงินก็พบข้อความว่า สินค้าซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนหรือคืน แต่มีการรับประกัน 1 ปี เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงเกรงว่าอาจจะไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงส่งเรื่องร้องเรียนมาทางอีเมล์ของศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอคำแนะนำก่อนเบื้องต้น   แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ แนะนำให้ผู้ร้องเข้าไปเจรจากับทางร้านก่อน พร้อมส่งหลักฐานการชำระเงินและรูปสินค้ามาให้ ซึ่งผู้ร้องก็ได้ติดต่อกลับไปที่ร้าน ตามนามบัตรที่ร้านเคยให้ไว้ โดยทางร้านแจ้งว่า ไม่มีกล้องวงจรปิดที่มีความละเอียดเกิน 3 แสนพิกเซล อาจมีการเข้าผิดระหว่างผู้ร้องกับพนักงานขายหน้าร้าน อย่างไรก็ตามให้ผู้ร้องกลับไปที่ร้านเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อน ซึ่งภายหลังการเจรจาทางร้านก็ยินดีรับคืนสินค้า พร้อมคืนเงินให้เต็มจำนวน เพราะผู้ร้องมีหลักฐานการชำระเงินจากทางร้านนับว่าผู้ร้องโชคดีที่ยังเก็บหลักฐานดังกล่าวไว้ เพราะหากเราไม่มีเอกสารอะไรไปยืนยัน ก็อาจต้องเสียเงินฟรีให้กับสินค้าที่ไม่ต้องการ และยังเปลี่ยนคืนไม่ได้อีกต่างหาก อย่างไรก็ตามสำหรับการซื้อสินค้าที่ติดป้ายเช่นนี้ ผู้บริโภคอย่างเรา จำเป็นต้องตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อมา โดยสังเกตรายละเอียดเบื้องต้นต่างๆ คือ1. ป้ายราคาที่ชัดเจน 2. สินค้านั้นต้องสามารถจับต้อง พิสูจน์คุณภาพด้วยมือและตาของผู้ซื้อก่อนได้ หรือให้ลองได้ 3. เป็นสินค้าที่ไม่ต้องเปลี่ยนอะไหล่ เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าอะไหล่ข้างใน มีประสิทธิภาพหรือเสื่อมภาพมากน้อยแค่ไหนแล้ว เช่น กรณีสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ หากผู้ขายติดป้ายห้ามเปลี่ยนคืน อย่างน้อยก็ต้องมีป้ายการรับประกันไว้ ทั้งนี้ หากเราโดนหลอกขายของคุณภาพต่ำ ไม่ตรงกับป้ายประกาศโฆษณา ก็สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ เพราะแสดงถึงเจตนาของร้านค้าที่จงใจไม่แสดงรายละเอียดให้ชัดเจน อาจมีเจตนาที่จะหลอกลวงเรา หรือเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นความผิดอาญาหลอกให้ซื้อด้วยวิธีการต่างๆ นั่นเอง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 ตู้เติมน้ำมัน (ไม่) อัตโนมัติ

คงไม่มีใครอยากซื้อของมาเพื่อซ่อม ยิ่งเป็นสินค้าที่มีราคาสูงและเสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่าง ตู้เติมน้ำมันอัตโนมัติด้วยแล้ว มาตรฐานด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งาน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดกรณีนี้เกิดขึ้นกับผู้ร้องที่อยู่ในสถานะเป็นผู้ให้บริการ เขาซื้อตู้น้ำมันอัตโนมัติเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ราคาเกือบ 60,000 บาท พร้อมการรับประกัน 1 ปี มาให้บริการประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตามตั้งแต่เปิดใช้เครื่องก็มีปัญหาจุกจิกมาตลอด แม้จะแก้ไขปัญหาด้วยการให้ช่างของบริษัทมาเปลี่ยนอะไหล่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้หายขาดได้ในที่สุดความอดทนของผู้ร้องก็หมดลงเมื่อใช้ไปได้ประมาณครึ่งปี เขาต้องการคืนสินค้าและขอเงินคืนเต็มจำนวน โดยให้เหตุผลว่าเครื่องดังกล่าวน่าจะมีปัญหาอยู่แล้วตั้งแต่แรก ทำให้สินค้าเสียบ่อยเกินเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องระบบเตือนภัย ลูกค้าเติมเงินแล้วไม่ได้น้ำมัน หรือหัวจ่ายน้ำมันออกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าไม่พอใจและไม่อยากมาใช้บริการอีก นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน และที่สำคัญคือไม่ประทับใจบริการหลังการขายมากที่สุดอย่างไรก็ตามเมื่อเขาเสนอข้อเรียกร้องไปยังบริษัท กลับได้รับคำตอบว่าจะคืนเงินให้จำนวน 30,000 บาทเท่านั้น โดยไม่ชี้แจงเหตุผลที่ไม่คืนเงินเต็มจำนวน ซึ่งทำให้ผู้ร้องรู้สึกว่าราคาไม่เป็นธรรม และมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ แนะนำให้ผู้ร้องทำให้หนังสือไปยังบริษัท โดยให้มีข้อมูลเพิ่มเติมเป็นรูปถ่ายของตู้นำมันดังกล่าว และนัดเจรจากับทางบริษัท ซึ่งภายหลังการเจรจาก็สามารถตกลงกันได้ โดยบริษัทชี้แจงว่า ปกติสินค้าซื้อแล้วไม่รับคืน แต่หากสินค้าอุปกรณ์ชำรุด เนื่องจากผิดพลาดจากการผลิต ก็ยินดีเปลี่ยนอุปกณ์หรือซ่อมให้ฟรี อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีนี้หากผู้ร้องต้องการคืนเครื่องก็สามารถทำได้ แต่บริษัทจะคืนเงินให้เพียง 30,000 บาท เพราะอ้างว่าเป็นค่าเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ หรือจะรับข้อเสนออื่นๆ จากบริษัทก็ได้ เช่น เปลี่ยนเครื่องใหม่ ด้านผู้ร้องไม่ต้องการใช้บริการกับบริษัทนี้แล้ว จึงต้องยินยอมรับเงินจำนวนนั้นไป ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อตู้นำมันอัตโนมัติ เมื่อได้เครื่องมาแล้วสามารถติดต่อกรมการค้าภายในที่เบอร์โทรศัพท์ 1569 ฝ่ายชั่งตวงวัด เพื่อให้มาตรวจสอบตู้น้ำมันก่อนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อป้องกันปัญหาการได้รับตู้น้ำมันอัตโนมัติที่ไม่ได้รับมาตรฐานนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 178 เสียงผู้บริโภค

ของหมดอายุ ควรมีอยู่ในห้างหรือไม่ ผู้บริโภคส่วนใหญ่เมื่อเลือกซื้อสินค้าสำหรับการบริโภค สิ่งหนึ่งที่จำเป็นในการตรวจสอบคือ วันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุ แต่หากเรารีบและไม่ได้ซื้อจำนวนมาก ผู้บริโภคบางส่วนก็อาจจะลืมตรวจสอบสิ่งสำคัญเหล่านี้ไป ซึ่งหากเราดวงซวยไปซื้อของที่หมดอายุมากิน ก็มีวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าการทิ้งไปเฉยๆ ดังกรณีของผู้ร้องรายนี้ คุณกิตติยาซื้อขนมปัง ยี่ห้อ เอ พลัส ราคา 14 บาท จากมินิ บิ๊กซี ที่ปั๊มน้ำมัน บางจาก สาขา นวมินทร์ มารับประทาน ด้วยความเร่งรีบจึงไม่ได้ตรวจสอบวันเดือนปีที่หมดอายุ เพราะคาดว่าทางร้านไม่น่าจะวางจำหน่ายสินค้าที่หมดอายุไปแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อจะนำมารับประทานก็พบว่าขนมปังดังกล่าวขึ้นรา และเลยวันหมดอายุตามที่ระบุไว้ข้างซองมานานแล้ว ผู้ร้องจึงเก็บใบเสร็จที่ซื้อไว้ และส่งเรื่องมาร้องเรียนที่มูลนิธิ เพราะอยากให้ห้างดังกล่าวมีความรับผิดชอบในการนำสินค้ามาวางจำหน่ายมากกว่านี้ เนื่องจากอาจมีผู้บริโภคคนอื่นที่รีบซื้อสินค้า และพบปัญหาเดียวกันกับเธอก็ได้ ซึ่งเธอก็ต้องการให้ทางบริษัทรับผิดชอบ ด้วยการชดใช้เป็นเงินจำนวน 20,000 บาท แนวทางการแก้ไขปัญหา หลังจากผู้ร้องส่งเรื่องร้องเรียนมาทางอีเมล์ โดยแนบรูปขนมปังดังกล่าวและใบเสร็จมาด้วย ศูนย์พิทักษ์สิทธิจึงติดต่อไปยังสำนักงานใหญ่ของห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี ซึ่งทางบริษัทฯ ได้นัดเจรจาติดต่อกับลูกค้า โดยภายหลังได้มีการขอโทษและมอบกระเช้าให้ผู้ร้อง แต่สำหรับการชดใช้เป็นจำนวนเงินดังกล่าว ทางบริษัทฯ ได้ขอพิจารณาก่อน ซึ่งในที่สุดบริษัทก็ได้แจ้งว่า ยินยอมที่จะชดใช้ให้เป็นจำนวน 12,000 บาท แม้ตอนแรกผู้ร้องจะยืนยันจำนวนเท่าเดิม แต่เพื่อไม่ให้เรื่องยืดเยื้อไปนานกว่านี้ จึงต้องยินดีตอบตกลงจำนวนเงินนั้นไป   ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ผู้ร้องรักษาสิทธิของตนเอง เพราะ การวางจำหน่ายสินค้าที่หมดอายุ แสดงให้ถึงความรับผิดชอบของผู้ขาย นอกจากนี้ผู้บริโภคอย่างเรา ไม่ได้มีหน้าที่นำสินค้าที่หมดอายุไปคืน แต่ควรเป็นทางร้านมากว่า ที่ต้องวางขายสินค้าที่ไม่หมดอายุให้กับเรา   สินค้าซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนคืน ผู้บริโภคมีสิทธิอะไรบ้างหลายครั้งที่ผู้บริโภคอย่างเราจำเป็นต้องซื้อสินค้าที่ติดป้ายว่า “ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนคืน” ซึ่งบางคนอาจจะโชคดีที่ได้ของมีคุณภาพไป ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งอาจจะต้องเสียเงินเพิ่ม เพื่อซ่อมสินค้าชิ้นนั้นหรือแก้ปัญหาด้วยการซื้อของใหม่ให้รู้แล้วรู้รอดไป อย่างไรก็ตามไม่ใช่สินค้าทุกประเภท ที่มีสิทธิจะติดป้ายเอาเปรียบดังกล่าว ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้ คุณภา ต้องการซื้อกล้องวงจรปิด ที่มีความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล ไปเดินดูที่ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต ก็พบร้านที่ถูกใจ พนักงานขายแจ้งว่ามีกล้องวงจรปิดอย่างที่ต้องการ จึงตกลงซื้อมา ในราคา 1,450 บาท อย่างไรก็ตามในวันนั้น คุณภาต้องรีบไปทำธุระอย่างอื่นต่อ พร้อมกับที่ทางร้านแจ้งว่าคอมพิวเตอร์สำหรับไว้ใช้ทดสอบการทำงานของกล้องเสีย จึงทำให้เธอไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดของกล้องให้ครบถ้วน เมื่อกลับมาทดสอบด้วยตนเองที่บ้านจึงพบว่า กล้องดังกล่าวมีความละเอียดเพียง 3 แสนพิกเซลเท่านั้น นอกจากนี้เมื่อพลิกดูใบเสร็จรับเงินก็พบข้อความว่า สินค้าซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนหรือคืน แต่มีการรับประกัน 1 ปี เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงเกรงว่าอาจจะไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงส่งเรื่องร้องเรียนมาทางอีเมล์ของศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอคำแนะนำก่อนเบื้องต้น แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ แนะนำให้ผู้ร้องเข้าไปเจรจากับทางร้านก่อน พร้อมส่งหลักฐานการชำระเงินและรูปสินค้ามาให้ ซึ่งผู้ร้องก็ได้ติดต่อกลับไปที่ร้าน ตามนามบัตรที่ร้านเคยให้ไว้ โดยทางร้านแจ้งว่า ไม่มีกล้องวงจรปิดที่มีความละเอียดเกิน 3 แสนพิกเซล อาจมีการเข้าผิดระหว่างผู้ร้องกับพนักงานขายหน้าร้าน อย่างไรก็ตามให้ผู้ร้องกลับไปที่ร้านเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อน ซึ่งภายหลังการเจรจาทางร้านก็ยินดีรับคืนสินค้า พร้อมคืนเงินให้เต็มจำนวน เพราะผู้ร้องมีหลักฐานการชำระเงินจากทางร้าน นับว่าผู้ร้องโชคดีที่ยังเก็บหลักฐานดังกล่าวไว้ เพราะหากเราไม่มีเอกสารอะไรไปยืนยัน ก็อาจต้องเสียเงินฟรีให้กับสินค้าที่ไม่ต้องการ และยังเปลี่ยนคืนไม่ได้อีกต่างหาก อย่างไรก็ตามสำหรับการซื้อสินค้าที่ติดป้ายเช่นนี้ ผู้บริโภคอย่างเรา จำเป็นต้องตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อมา โดยสังเกตรายละเอียดเบื้องต้นต่างๆ คือ 1. ป้ายราคาที่ชัดเจน 2. สินค้านั้นต้องสามารถจับต้อง พิสูจน์คุณภาพด้วยมือและตาของผู้ซื้อก่อนได้ หรือให้ลองได้ 3. เป็นสินค้าที่ไม่ต้องเปลี่ยนอะไหล่ เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าอะไหล่ข้างใน มีประสิทธิภาพหรือเสื่อมภาพมากน้อยแค่ไหนแล้ว เช่น กรณีสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ หากผู้ขายติดป้ายห้ามเปลี่ยนคืน อย่างน้อยก็ต้องมีป้ายการรับประกันไว้ ทั้งนี้ หากเราโดนหลอกขายของคุณภาพต่ำ ไม่ตรงกับป้ายประกาศโฆษณา ก็สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ เพราะแสดงถึงเจตนาของร้านค้าที่จงใจไม่แสดงรายละเอียดให้ชัดเจน อาจมีเจตนาที่จะหลอกลวงเรา หรือเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นความผิดอาญาหลอกให้ซื้อด้วยวิธีการต่างๆ นั่นเอง   ตู้เติมน้ำมัน (ไม่) อัตโนมัติคงไม่มีใครอยากซื้อของมาเพื่อซ่อม ยิ่งเป็นสินค้าที่มีราคาสูงและเสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่าง ตู้เติมน้ำมันอัตโนมัติด้วยแล้ว มาตรฐานด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งาน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดกรณีนี้เกิดขึ้นกับผู้ร้องที่อยู่ในสถานะเป็นผู้ให้บริการ เขาซื้อตู้น้ำมันอัตโนมัติเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ราคาเกือบ 60,000 บาท พร้อมการรับประกัน 1 ปี มาให้บริการประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตามตั้งแต่เปิดใช้เครื่องก็มีปัญหาจุกจิกมาตลอด แม้จะแก้ไขปัญหาด้วยการให้ช่างของบริษัทมาเปลี่ยนอะไหล่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้หายขาดได้ ในที่สุดความอดทนของผู้ร้องก็หมดลงเมื่อใช้ไปได้ประมาณครึ่งปี เขาต้องการคืนสินค้าและขอเงินคืนเต็มจำนวน โดยให้เหตุผลว่าเครื่องดังกล่าวน่าจะมีปัญหาอยู่แล้วตั้งแต่แรก ทำให้สินค้าเสียบ่อยเกินเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องระบบเตือนภัย ลูกค้าเติมเงินแล้วไม่ได้น้ำมัน หรือหัวจ่ายน้ำมันออกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าไม่พอใจและไม่อยากมาใช้บริการอีก นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน และที่สำคัญคือไม่ประทับใจบริการหลังการขายมากที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อเขาเสนอข้อเรียกร้องไปยังบริษัท กลับได้รับคำตอบว่าจะคืนเงินให้จำนวน 30,000 บาทเท่านั้น โดยไม่ชี้แจงเหตุผลที่ไม่คืนเงินเต็มจำนวน ซึ่งทำให้ผู้ร้องรู้สึกว่าราคาไม่เป็นธรรม และมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ แนะนำให้ผู้ร้องทำให้หนังสือไปยังบริษัท โดยให้มีข้อมูลเพิ่มเติมเป็นรูปถ่ายของตู้นำมันดังกล่าว และนัดเจรจากับทางบริษัท ซึ่งภายหลังการเจรจาก็สามารถตกลงกันได้ โดยบริษัทชี้แจงว่า ปกติสินค้าซื้อแล้วไม่รับคืน แต่หากสินค้าอุปกรณ์ชำรุด เนื่องจากผิดพลาดจากการผลิต ก็ยินดีเปลี่ยนอุปกณ์หรือซ่อมให้ฟรี อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีนี้หากผู้ร้องต้องการคืนเครื่องก็สามารถทำได้ แต่บริษัทจะคืนเงินให้เพียง 30,000 บาท เพราะอ้างว่าเป็นค่าเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ หรือจะรับข้อเสนออื่นๆ จากบริษัทก็ได้ เช่น เปลี่ยนเครื่องใหม่ ด้านผู้ร้องไม่ต้องการใช้บริการกับบริษัทนี้แล้ว จึงต้องยินยอมรับเงินจำนวนนั้นไป ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อตู้นำมันอัตโนมัติ เมื่อได้เครื่องมาแล้วสามารถติดต่อกรมการค้าภายในที่เบอร์โทรศัพท์ 1569 ฝ่ายชั่งตวงวัด เพื่อให้มาตรวจสอบตู้น้ำมันก่อนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อป้องกันปัญหาการได้รับตู้น้ำมันอัตโนมัติที่ไม่ได้รับมาตรฐานนั่นเอง    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 กระแสต่างแดน

ผลิตภัณฑ์/บริการยอดแย่แห่งปี Shonkys 2015มาถึงปีที่ 10 แล้วสำหรับการประกาศผลรางวัลผลิตภัณฑ์/บริการยอดแย่แห่งปี 2015 โดยสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคแห่งออสเตรเลียซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์นิตยสาร CHOICE รางวัลนี้ได้มาไม่ยาก คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเขาคัดเลือกจากสินค้าและบริการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคอย่างหน้ามึน ตั้งแต่การกล่าวอ้างที่ไม่เป็นจริง ตัวสินค้า/บริการตกมาตรฐาน หรือการดำเนินงานโดยปราศจากความโปร่งใส เป็นต้น … มาดูกันเลยดีกว่า ว่าปีนี้ใครได้รางวัลนี้ไปเชยชมกันบ้าง   “บัตรเครดิตดอกเบี้ยต่ำ” (ที่ดอกเบี้ยสูงมาก) ผู้บริโภคพึงสังวร อย่าได้หลงเชื่อคำว่า “ดอกเบี้ยต่ำ” ของธนาคารรายใหญ่อย่าง National Australia Bank หรือ NAB เด็ดขาด ในภาพรวมนั้นอัตราดอกเบี้ยของออสเตรเลียลดลงจากร้อยละ 4.75 เมื่อ 4 ปีก่อน ลงมาเหลือเพียงร้อยละ 2 ในปัจจุบัน แต่พฤติกรรมของ NAB กลับสวนกระแส ใช้ช่วงชุลมุนเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อปีของบัตรเครดิตจากร้อยละ 12.99 เป็นร้อยละ 13.99 จะว่าไปเขาก็สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่มันสร้างความคับข้องใจให้กับผู้บริโภคนี่สิ ... อัตราดอกเบี้ย “ต่ำ” ของเขานี่มันต่ำยังไง เมื่อธนาคารเจ้าเล็กๆเขาคิดไม่เกินร้อยละ 10 คุณต้องทำใจนะ ถ้าอยากอยู่กับเจ้าใหญ่ที่ถือเป็นบิ๊กโฟร์ (อีก 3 ธนาคารได้แก่ Westpac Commonwealth Bank และ Australia and New Zealand Banking Group) เพราะเฉลี่ยแล้วดอกเบี้ยของหนี้จากบัตรเครดิตของธนาคารทั้ง 4 นี้ สูงถึงร้อยละ 18.98 เลยเชียว     หลอกคุณพ่อคุณแม่แน่นอนกว่า ขนมขบเคี้ยวที่คุณจะเลือกให้ลูกน้อยต้องมีความดีงามตามสมควรใช่หรือไม่ แล้วถ้าเรามีบิสกิตพร้อมตรา “รับรองโดยโรงอาหารของโรงเรียน” มันก็น่าจะไม่มีทางผิดพลาด ... รึเปล่า?!! ตราที่ว่านี้พบได้บนซองขนมไทนี่ เทดดี้ ของอาร์น็อต บริษัทอ้างว่าตรานี้จะช่วยให้พ่อแม่ตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น แต่คำถามคืออาร์น็อตไปได้การรับรองนี้จากที่ไหน? ไม่มีหลักฐานว่าโรงอาหารของโรงเรียนใดให้การรับรองที่ว่าเลย ที่มีแน่ๆ คือคำแนะนำเรื่องการจัดอาหารในโรงเรียนที่ระบุว่า ขนมทุกชนิดรวมถึงช็อคโกแล็ตชิพและขนมเคลือบช็อคโกแลตนั้นให้ถือว่าเป็นของหวาน ซึ่ง “ไม่แนะนำให้มีในเมนูอาหารของโรงเรียน” เรื่องนี้ถึงหูหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ACCC แล้ว ล่าสุดอาร์น็อตประกาศว่าจะยกเลิก ตราประทับเก๊ๆ ดังกล่าวภายในกลางปี 2016   รีดเลือดกับปู เมื่อเงินไม่พอใช้ คนออสซี่บางคนเลือกใช้บริการบริษัทเงินกู้ แต่ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และค่าโน่นนี่สารพัด มันไม่ช่วยกอบกู้สถานการณ์การเงินเอาเสียเลย ถ้าเรายืมเงิน 250 เหรียญ ระยะเวลายืม 2 สัปดาห์ เราจะต้องใช้คืนพร้อมดอกเบี้ยที่คิดเป็นอัตราร้อยละ 742 ต่อปี เอิ่ม ... แล้วจะกู้มาให้ปวดหัวทำไม โชคดีที่รัฐบาลประกาศห้ามการคิดดอกเบี้ยแบบนี้แล้ว ตั้งแต่มีนาคม 2013 เป็นต้นมาออสเตรเลียประกาศห้ามการให้กู้ในวงเงินไม่เกิน 2,000 เหรียญ ที่มีระยะเวลาจ่ายคืนภายใน 15 วัน และให้จำกัดค่าธรรมเนียมที่ไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนเงินที่กู้ รวมถึงการคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 4 ต่อเดือน แต่ผู้ประกอบการใช่จะยอมถอยไปง่ายๆ อัจริยะทางการเงินเหล่านี้หันมาให้กู้ 100 เหรียญ ในระยะเวลา 16 วัน ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้ว คุณยังต้องใช้คืนถึง 124 เหรียญ   ลูกบอลขยัน แต่มันไม่ช่วยขยี้CHOICE ฟันธง! ลูกบอลนาโนสมาร์ตที่อ้างว่าจะมา “ปฏิวัติวิธีซักผ้าของคุณ” และปลดแอกคุณจากเทคโนโลยีแสนโบราณอย่างผงซักฟอกและน้ำยาปรับผ้านุ่มนั้น ... มันไม่เวิร์คการทดสอบโดยห้องปฏิบัติการของ CHOICE พบว่า มันทำอะไรไม่ได้เลย ... ยิ่งกว่านั้น เมื่อเทียบกันแล้วเขาพบว่า ผ้าที่ซักด้วยเครื่องซักผ้าที่มีเพียงน้ำเปล่า ยังสะอาดกว่าตอนที่ใส่ลูกบอลราคา 50 เหรียญนี้ลงไปเสียอีก แล้วเจ้า “ไบโอเซรามิกส์” ในลูกบอลมันไปทำอะไรอยู่ที่ไหน ไม่มาปล่อยแสงอินฟราเรด หรือยิงประจุลบลดขนาดโมเลกุลของน้ำให้มันเล็กจนชอนไชไปจัดการคราบสกปรกในเนื้อผ้าได้ … ดังที่โฆษณา   เครื่องซักผ้าไฟแรงรู้กันหรือยัง ว่าเครื่องซักผ้าอาจทำให้ไฟไหม้บ้านได้ ก่อนซื้อย่าลืมตรวจสอบว่ารุ่นที่คุณสนใจนั้นอยู่ในรายชื่อที่ถูกเรียกคืนหรือเปล่า แต่ถ้าบริษัทไม่ยอมประกาศเรียกคืนสินค้า แล้วผู้บริโภคอย่างเราจะทำอย่างไร ที่แน่ๆ CHOICE ขอมอบรางวัลเยี่ยมแย่ให้กับซัมซุง โทษฐานที่อิดออดเป็นนานกว่าจะยอมเรียกคืนเครื่องซักผ้าฝาบนที่มีความเสี่ยงเกิดไฟไหม้จำนวน 144,000 เครื่องออกจากตลาดออสเตรเลีย จะว่าไม่รู้ก็คงไม่ใช่ นับถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกิดปัญหากับเครื่องซักผ้าของซัมซุง 224 ครั้ง ในจำนวนนั้นบริษัทระบุว่าเป็นปัญหาไฟไหม้ถึง 76 ครั้ง ... เอิ่ม .. แต่เขากลับไม่ได้แจ้งต่อผู้บริโภคในช่องทางที่จะทำให้เกิดการรับรู้อย่างแพร่หลาย แถมยังผลักภาระค่าซ่อม ค่าอะไหล่กลับมาที่ผู้บริโภคอีกด้วย สุดท้าย หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ACCC ใช้อำนาจบังคับให้บริษัทรับซื้อเครื่องซักผ้าไฟแรงพวกนั้นคืนไป   หนังที่ไม่ใช่หนังถ้าคุณดูแคตาล็อคเฟอร์นิเจอร์ของอิเกีย หมวด “เฟอร์นิเจอร์หนัง” คุณจะพบว่ามีไม่น้อยเลยที่ทำจากวัสดุโพลีเอสเตอร์หรือโพลียูรีเทน เฉลยนั้นมีอยู่เป็นตัวเล็กๆ ภายใต้หัวข้อ “ข้อมูลผลิตภัณฑ์” ตัวอย่างเช่น โซฟารุ่นหนึ่งระบุว่า “สินค้ารุ่นนี้ทำจากวัสดุผ้าเคลือบที่มีความทนทาน ที่มีรูปลักษณ์และผิวสัมผัสคล้ายหนัง” หลังจากได้ทราบว่าตนเองเข้าข่ายผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลยอดแย่ บริษัทก็ได้ปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงแล้ว   มันต้องลดโค้กสิปีที่แล้ว โคคา โคลา ออสเตรเลีย มีกำไรลดลงจากสองปีก่อนหน้า ทำให้บริษัทต้องลงมือกอบกู้สถานการณ์โดยด่วน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่บริษัทเข้าไปเป็นผู้สนับสนุน “เครือข่ายความสมดุลในการใช้พลังงาน” Global Energy Balance Network (GEBN) ที่อุทิศตนเพื่อหยุดยั้งภาวะโรคอ้วน ... แต่ไม่ใช่ด้วยการทำให้ผู้คนเลิกนิสัยการกินที่ไม่ดี (เช่น บริโภคเครื่องดื่มรสหวานมากเกินไป) หรอกนะ เขารณรงค์เรื่องการใช้พลังงานให้สมดุลกับสิ่งที่บริโภคเข้าไป ทำนองว่ากินหวาน กินมากไม่เป็นไร แค่ต้องใช้แรงออกไปให้มากพอกันเป็นใช้ได้ เ พื่อเห็นแก่ “วิทยาศาสตร์” แบบเข้าข้างตัวเอง CHOICE เลยแจกรางวัลนี้ให้   กดไม่ลง พอเข้าใจได้ถ้าคุณจะทิ้งทิชชูเปียกสำหรับเด็กลงชักโครก เพราะฉลากของคลีเน็กซ์เขาระบุว่า “สามารถกดลงชักโครกได้” คือ ... คุณจะทิ้งก็ได้ แต่บอกเลยว่ามันไม่ได้เกิดมาเพื่อสิ่งนั้น และมันจะสร้างความขุ่นเคืองให้ช่างประปาแถวบ้านคุณมิใช่น้อย ทิชชูเปียกพวกนี้ นอกจากจะไม่เป็นมิตรต่อท่อน้ำทิ้งแล้ว มัยยังไม่เป็นมิตรกับผู้บริโภคที่เสียเงินซื้อสินค้าชนิดกดลงชักโครกได้ ที่ไม่ควรนำมากดลงชักโครก แล้วถ้าท่อเกิดตันขึ้นมา ใครจะเป็นคนจ่ายเงินค่าเรียกช่าง? คนออสซี่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์พวกนี้ทำให้พวกเขาเสียเงินไม่ต่ำกว่า 15 ล้านเหรียญ  

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 177 แร็คแขวนจักรยานท้ายรถ

ใกล้วันหยุดยาวกันแล้ว ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบอุปกรณ์เพื่อการพกพาจักรยานคันโปรดของคุณและสมาชิกครอบครัวไปด้วยในยามที่ไปพักผ่อนนอกสถานที่ แร็คจักรยานทั้งหมด 22 รุ่นยอดนิยมในยุโรป ถูกส่งไปที่ห้องแล็บของสถาบันทดสอบทางวิศวกรรมในสาธารณรัฐเช็ก โดยสมาชิกในยุโรปขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing การทดสอบดังกล่าวแบ่งการให้คะแนนออกเป็น 3 ด้านดังนี้ร้อยละ 50    ประสิทธิภาพการใช้งาน ดูจากเวลาที่ใช้ในการนำจักรยานขึ้นไปติดตั้ง การถอดจักรยานออก        จากอุปกรณ์ และการทดสอบบนถนน ด้วยการนำรถที่ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าววิ่งบนสภาพถนน         3 ประเภท แล้วตรวจสอบว่าเกิดการโยกแยก เลื่อนหลุด มากน้อยแค่ไหน -    ทางหลวง เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตร/ชั่วโมง-    ถนนสายรองประเภทที่ 2 และ 3 (ตามเกณฑ์ของยุโรป) ที่มีความชัน ทางโค้ง เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10-18 กิโลเมตร/ชั่วโมง-    ถนนดิน/กรวด เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10-18 กิโลเมตร/ชั่วโมงร้อยละ 35    ความแข็งแรงทนทาน ดูจากคุณภาพการประกอบชิ้นงาน ความปลอดภัยของชิ้นส่วนและ            กลไกต่างๆ  ความทนทานต่อการขึ้นสนิม (เมื่อทิ้งไว้ในห้องที่มีฝุ่นเกลือเป็นเวลา 48 ชั่วโมง)         รวมถึงความเป็นไปได้ในการล็อคกันขโมยร้อยละ 15     ความสะดวกในการประกอบอุปกรณ์ ติดตั้ง รวมถึงคู่มือและเวลาที่ใช้ในการติดตั้ง     คราวนี้เรานำเสนอเพียง 18 รุ่น (จากทั้งหมด 22 รุ่น) เพราะที่เหลือได้คะแนนน้อยกว่า 3 ดาว นอกจากนี้เรายังพบว่าของถูกนั้นมี แต่ของดีที่ได้คะแนนรวมสูงนั้นราคาไม่ถูก บอกเลยว่าถ้าอยากได้ของดี คุณต้องเตรียมควักเงินไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท  * หมายเหตุ ราคาที่นำเสนอส่วนใหญ่เป็นราคาที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ท และคำนวณเป็นเงินบาทจากอัตราแลกเงินในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 กรุณาตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจ                              

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 คนไทยยังต้องเสี่ยงภัยกับการโดยสารรถประจำทาง

ทุกวันนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า รถตู้โดยสาร ได้กลายมาเป็น รถโดยสารประจำทางในเกือบจะทุกเส้นทางรอบปริมณฑลกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงไปแล้ว ซึ่งไม่ใช่ว่ารถตู้นั้นเป็นทางเลือกยอดนิยม แต่ดูเหมือนไม่มีทางเลือกมากกว่า และแม้ว่าโดยสภาพของรถตู้เองที่ไม่เหมาะกับการเป็นรถขนส่งสาธารณะ แต่เมื่อเติบโตกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หลายฝ่ายจึงพยายามหามาตรการต่างๆ ออกมาบังคับเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการโดยสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การจำกัดความเร็วในการขับ การกำหนดปริมาณคนนั่ง ฯลฯ แต่เมื่อมองจากสถิติจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว ดูเหมือนมาตรการต่างๆ นั้น ไม่ได้ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับผู้โดยสารสักเท่าไรนัก โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย   ซึ่งพยายามทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ  ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 3,885 ตัวอย่าง (ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง เดือนกลางเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558   ) เพื่อสะท้อนสถานการณ์จริงที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน  ข้อมูลเฉพาะจำนวนตัวอย่างแบบสำรวจ  6 ภูมิภาคภาคเหนือ 177 ภาคใต้ 399 ภาคตะวันออก 479 ภาคตะวันตก 1867 ภาคกลาง 783 ภาคอีสาน 180 เพศชาย 57% หญิง 43%อาชีพนักเรียน     25.4%  รับจ้าง 17% พนักงานบริษัทเอกชน 15.7% ธุรกิจส่วนตัว 15.2% ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10%เกษตรกร    6%  แม่บ้านพ่อบ้าน 5.1% ว่างงาน 3% อื่นๆ 1.2% ไม่ตอบ 1.4% ผลสำรวจโดยสรุป1.รถตู้โดยสารสามารถตอบสนองการเดินทางของผู้บริโภค ทั้งในเรื่อง การทำธุระส่วนตัว การเดินทางกลับบ้าน การทำงานและการเรียน โดยมีเหตุผลเรื่อง ความสะดวก รวดเร็ว เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ส่วนเรื่องความปลอดภัยจัดอยู่ในลำดับท้ายสุด2. ความพึงพอใจต่อพนักงานขับรถอยู่ในระดับปานกลาง และ 66.5% ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่รู้สึกว่าพนักงานขับรถ ขับรถเร็วหรือหวาดเสียว 3. มีผู้บริโภคเพียง 9.6% ที่พบปัญหาการบรรทุกผู้โดยสารเกิน  4. ผู้บริโภคยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการคาดเข็มขัดนิรภัยโดย 57% ตอบว่าไม่คาดเข็มขัด จากสาเหตุ อึดอัด(21%) รู้สึกว่าระยะเดินทางเป็นช่วงสั้นๆ /ไม่มีเข็มขัดนิรภัย/เข็มขัดไม่พร้อมใช้งาน(8.6/8.4/8.3 %) และมีประมาณ  4% ที่ระบุว่า น่าอาย(หากต้องคาดเข็มขัดขณะที่คนอื่นไม่คาด)   5.มีผู้บริโภคถึง 31.4% ที่ไม่ทราบว่า ถ้าไม่คาดเข็มขัดจะมีโทษปรับสูงถึง 5000 บาท มีเพียง 23.9% ที่ทราบ  ทั้งนี้มีผู้ไม่ตอบแบบสำรวจถึง 44.7% ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจไม่แน่ใจในข้อบังคับกฎหมายเกี่ยวกับโทษปรับดังกล่าว           สถิติอุบัติเหตุรถตู้โดยสาร มกราคม – กันยายน 2558จำนวน 85 ครั้งบาดเจ็บ 675 รายเสียชีวิต 75 ราย ที่มา โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 สารกันราตกค้าง ในเห็ดหอมแห้ง

“เห็ดหอม” เป็นส่วนประกอบสำคัญในเมนูอาหารต่างๆ โดยเฉพาะอาหารจีน บางคนยกย่องให้เป็นอาหารชั้นเลิศ เพราะมีความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากชาวจีนว่า สามารถใช้บำรุงกำลัง และมีสรรพคุณทางยามากมาย สำหรับการนำมาปรุงอาหาร คนส่วนใหญ่จะนิยมใช้เห็ดหอมแห้ง เพราะให้กลิ่นหอมมากกว่าแบบสด บ้างว่านำมาเคี่ยวในน้ำ แล้วนำน้ำเห็ดที่เหลือไปใช้ปรุงอาหารต่อ เพราะให้รสชาติที่หวาน กลมกล่อม แต่จะมีใครเคยฉุกคิดกันไหมว่า กรรมวิธีก่อนที่จะมาเป็นเห็ดหอมแห้งนั้น ต้องผ่านสารอะไรมาบ้าง แล้วหากเรารับประทานเข้าไปจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เห็ดหอมแห้งเหล่านั้นไม่พ่วงสารปนเปื้อนอย่าง สารป้องกันกำจัดเชื้อรามาด้วย เมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา ฉลาดซื้อเคยเก็บตัวอย่างเห็ดหอมแห้ง 17 ตัวอย่าง จาก 8 จังหวัดมาทดสอบแล้ว ซึ่งผลการทดสอบครั้งนั้นพบว่า ตัวอย่างเห็ดหอมแห้งเกินครึ่งหนึ่งมีการปนเปื้อนยากันรา หรือคาร์เบนดาซิม (Carbendazim) อย่างไรก็ตามตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ที่กำหนดปริมาณขั้นต่ำของสารกันราแต่อย่างใด ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอทดสอบปริมาณสารกันราในเห็ดหอมแห้งอีกครั้ง เพราะเรายังเชื่อว่าสารดังกล่าว แม้จะยังไม่มีการควบคุมอย่างเป็นทางการ แต่ก็จัดเป็นสารเคมีทางการเกษตรที่อยู่ในกลุ่มกำจัดศัตรูพืช ที่ไม่ควรมีตกค้างมาอยู่ในพืชผักหรืออาหารที่เรารับประทาน โดยสุ่มเก็บตัวอย่างเห็ดหอมแห้งที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าต่างๆ รวมทั้งตามตลาดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวม 13 ยี่ห้อ ซึ่งผลการทดสอบจะออกมาเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลย   ผลทดสอบการปนเปื้อนสารป้องกันราในเห็ดหอมแห้งแต่ละยี่ห้อ               สรุปผลการทดสอบเห็ดหอมแห้งยี่ห้อไหน มีสารกำจัดเชื้อราปนเปื้อนมากที่สุด- ผลการทดสอบพบว่า จากตัวอย่างเห็ดหอมแห้งยี่ห้อ เอโร่ aro มีสารป้องกันราตกค้างมากที่สุด คือ 0.14 มก./กก.- ในขณะที่มีเพียงเห็ดหอมแห้ง 2 ยี่ห้อจากตัวอย่างทั้งหมด คือ ยี่ห้อปลาทอง และไม่มียี่ห้อ จากตลาดคลองเตยเท่านั้น ที่ไม่มีการปนเปื้อนของสารกันราเลย- นอกจากนี้ยังอีกมี 1 ตัวอย่างที่ฉลากแสดงปริมาณสุทธิบนใบเสร็จรับเงิน กับฉลากหน้าซองบรรจุภัณฑ์ ไม่ตรงกันคือ เห็ดหอมแห้ง ตรา บิ๊กซี ทำความรู้จักสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม (Carbendazim) หรือ สารป้องกันกำจัดเชื้อรา นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นในพืชผัก พืชไร่ ข้าวและธัญพืช ผลไม้ และไม้ดอก เพราะช่วยป้องกันไม่ให้อาหารบูดเสียง่าย ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด ซึ่งหากร่างกายของเราได้รับสารดังกล่าวเป็นประจำ ก็จะส่งผลให้กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง น้ำหนักลด ท้องเสีย อาเจียน เกิดผื่นแดงบนผิวหนัง หรือเป็นโรคโลหิตจาง นอกจากนี้ยังเป็นสารอันตรายเมื่อถูกผิวหนัง สามารถสร้างความระคายเคืองต่อดวงตา และระบบทางเดินหายใจได้ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา รายงานว่าจากการศึกษาในอเมริกาพบว่า สารคาร์เบนดาซิมมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอัตราการเกิดโรคมะเร็ง และทำให้เป็นหมัน ที่มา: http://ww.foodinsight.org, 2015-------------------------------------------------------------------------------------------------------สาร Carbendazim ไม่มีการกำหนดค่า MRL ของเห็ดหอมแห้งในไทยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช)กำหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (MRL) ของคาร์เบนดาซิม(2556) ในสินค้าเกษตร 26 รายการกุยช่าย เงาะ ต้นหอม ถั่วเหลืองฝักสด หอมแดง องุ่น = 3 mg/kgถั่วเขียว มะเขือเทศ ถั่วเหลืองเมล็ดแห้ง = 0.5 mg/kgเมล็ดถั่วลิสง ใบหม่อน เมล็ดฝ้าย อ้อย เครื่องในสัตว์ปีก = 0.1 mg/kgข้าวสาร พริก มะม่วง หอมใหญ่ = 2 mg/kgเนื้อโค กระบือ เครื่องในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื้อสัตว์ปีก มันสัตว์ปีก ไข่ นม = 0.05 mg/kgเทคนิคการเลือกซื้ออาหารแห้งเราควรมีความระมัดระวังในการเลือกซื้ออาหารแห้ง ไม่ใช่แค่การเลือกซื้อเห็ดหอม เพราะอาหารแห้งทุกประเภทอาจมีสารตกค้างอยู่ได้เช่นกัน โดยใช้เทคนิคง่ายๆ คือ 1. ไม่ซื้ออาหารแห้งในปริมาณมาก เพราะหากใช้ไม่หมดอาจเกิดเชื้อราได้2. เลือกซื้ออาหารแห้งที่มีสีใกล้เคียงกับสีธรรมชาติของอาหารชนิดนั้น3. ไม่ซื้ออาหารแห้งที่มีกลิ่นหืน โดยควรเลือกอาหารแห้งที่มีลักษณะ สี ที่สดใหม่ ไม่แตกหัก4. ตรวจดูฉลากโภชนาการและวันหมดอายุ5. วิธีการเก็บรักษา ควรเก็บไว้ที่โปร่ง มีอากาศถ่ายเท หรือในตู้เย็น หากเป็นอาหารแห้งที่สามารถแช่เย็นได้6. สำหรับการรับประทานเห็ดหอมแห้งอย่างปลอดภัย คือไม่ควรนำน้ำที่แช่เห็ดหอมไว้มาปรุงอาหารต่อ เพราะ สารพิษที่มีอยู่ในเห็ดหอมแห้งนั้นจะยังปนเปื้อนในน้ำเหมือนเดิม และควรเว้นระยะการรับประทานอาหารแห้ง เพื่อให้ร่างกายกำจัดสารปนเปื้อนเหล่านั้นออกไปบ้าง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 Passionfruit

ทั่วไปเรียก เสาวรส หรือกระทกรกฝรั่ง เป็นไม้ผลต่างถิ่นที่กำลังได้รับความนิยมมาก ด้วยรสชาติและกลิ่นที่โดนใจ(กลิ่นเหมือนฝรั่งสุกอันนี้บางคนก็ไม่ชอบ) ทั้งยังมีสรรพคุณด้านโภชนาการสูงอีกด้วย  ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ดินแดนอเมริกาใต้ เป็นไม้ผลที่นิยมรับประทานทั้งแบบผลสุกและนำไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ไวน์ และส่วนผสมในขนมหวานหลายชนิด ทั้งเค้ก ไอศกรีม เยลลี แยม เดิมต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เดี๋ยวนี้หากินได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะที่เชียงใหม่หาซื้อได้ง่าย เพราะชาวเขาบนดอยก็ปลูกและนำลงมาขาย โครงการหลวงก็มีปลูกจำหน่าย หากินได้ทั้งปี เสาวรสที่ขายในบ้านเรามีทั้งแบบผลสีเหลืองและผลสีม่วง ผลเสาวรสสุกมีเบตาแคโรทีน โพแทสเซียมและใยอาหารสูง วิตามินซีมาก โดยผลสีเหลืองใช้ในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ ส่วนผลสีม่วงนิยมบริโภคสด เวลากินเสาวรสนั้น เรากินทั้งเมล็ดเข้าไปด้วย ซึ่งในเมล็ดมีงานวิจัยว่า พบสาร albumin homologous protein ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ และยังมีสรรพคุณ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ลดไขมันในเลือด และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผลเสาวรสที่ลักษณะดีนั้นต้องไม่เหี่ยว ผิวต้องเต่งตึง กินสดๆ จิ้มเกลือ หรือทำเป็นน้ำเสาวรสดื่มบ่อยๆ มีประโยชน์มาก แต่เพราะรสชาติเปรี้ยวบางคนก็เลยใส่น้ำตาลจำนวนมากเพื่อตัดรส อันนี้ไม่ดีไม่ควรทำ และห้ามรับประทานในส่วนของต้นสดเด็ดขาด เพราะมีสารพิษอันตราย อาจทำให้เสียชีวิตได้

อ่านเพิ่มเติม >