ฉบับที่ 177 “ON WIFI” บนรถเมล์ ขสมก.

วันนี้ขอเอาใจผู้ใช้สมาร์ทโฟนขึ้นรถโดยสารสาธารณะขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)กันสักหน่อยนะคะ เนื่องจากทางรถโดยสารสาธารณะได้มีบริการอินเตอร์เน็ตในรูปแบบไวไฟ (WIFI) ให้กับผู้ใช้บริการมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้มากนัก วันนี้ผู้เขียนจึงขอนำข้อมูลในเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ ทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. กำลังทยอยติดตั้งอินเตอร์เน็ตในรูปแบบไวไฟ (WIFI) ในรถเมล์สายต่างๆ เพื่อให้บริการฟรีกับผู้ที่ใช้บริการ โดยตั้งเป้าการติดตั้งไวไฟ (WIFI) ไว้ที่ 1,500 คัน ภายใน ปี 2559 ผู้อ่านที่ใช้บริการรถเมล์เป็นประจำ ลองสังเกตภายในรถจะมีประกาศประชาสัมพันธ์และวิธีปฏิบัติในการเข้าถึงไวไฟ (WIFI) แปะไว้ด้านหลังเก้าอี้นั่งของผู้โดยสาร หรือบริเวณที่ให้ติดป้ายประชาสัมพันธ์ อย่างเช่น ป้ายที่ห้อยอยู่ตรงราวจับ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับผู้ที่ใช้บริการรถเมล์ แต่ไม่เคยเข้าถึงไวไฟ (WIFI) ก็สามารถทำตามขั้นตอนที่แนะนำไว้ได้เลย ในการใช้บริการไวไฟ (WIFI) ครั้งแรก เมื่อเลือกใช้ไวไฟ (WIFI) ที่ชื่อว่า “ON WIFI” เรียบร้อยแล้ว ผู้อ่านจะต้องลงทะเบียนโดยกรอกข้อมูล ดังนี้ เบอร์โทรศัพท์มือถือ วันเกิด เพศ หลังจากนั้นระบบจะส่งรหัสผ่านในการเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต มาทางข้อความ SMS ตามเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ได้กรอกไว้ในตอนแรก เพื่อเป็นการยืนยันการลงทะเบียนและนำรหัสผ่านนั้นมาใช้ในการ log in ได้ทันที การลงทะเบียนใช้งานจะทำแค่ครั้งเดียวเท่านั้น หลังจากนั้นเมื่อขึ้นรถเมล์ครั้งต่อไป ก็สามารถใช้รหัสผ่านเดิมนี้ได้เลย ข้อจำกัดของการใช้ไวไฟ (WIFI) บนรถโดยสารสาธารณะของ ขสมก. คือ ในการเข้าเล่นอินเตอร์เน็ตในแต่ละครั้งจะมีเวลาให้ 15 นาที เมื่อหมดเวลาแล้ว ระบบจะตัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แต่ถ้าผู้ใช้บริการต้องการเล่นอินเตอร์เน็ตต่อ ก็สามารถ log in เข้าระบบได้ใหม่เรื่อยๆ แต่ขอย้ำนะคะว่า ไวไฟ (WIFI) นี้จะมีให้บริการในรถโดยสารสาธารณะขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. เท่านั้น      

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 รู้เท่าทันการกินไส้กรอก-แฮม-เบคอน เสี่ยงเป็นมะเร็ง

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2558  องค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานว่า การกินเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอนนั้น เป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็ง  ทำให้เป็นข่าวใหญ่ระดับโลกและก่อให้เกิดความตื่นกลัวในหมู่ประชาชนจนไม่กล้ากินหรือไม่ให้เด็กๆ กินเนื้อแปรรูปเหล่านี้  ประเทศต่างๆ และอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ได้ออกมาคัดค้านว่าไม่เป็นความจริง  เรามารู้เท่าทันเรื่องนี้กันดีกว่า     รายงานขององค์การอนามัยโลก จัดให้ไส้กรอก เบคอน และแฮม เป็นสารก่อมะเร็งมากที่สุดในระดับเดียวกับบุหรี่ แอลกอฮอล์ แร่ใยหิน และสารหนู     รายงานดังกล่าวมาจาก The International Agency for Research on Cancer (IARC) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาขา ขององค์การอนามัยโลก  โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ 22 คนจาก 10 ประเทศมาประชุมกันเพื่อระบุสิ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็ง  เวทีครั้งนี้ได้มีการนำผลงานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 800 ผลงานมาใช้ในการจัดทำรายงานดังกล่าว     IARC ระบุว่า  เนื้อสัตว์แปรรูปเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1  และเนื้อแดงอยู่ในกลุ่ม 2A เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับมะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งตับอ่อนและมะเร็งต่อมลูกหมาก        เนื้อสัตว์แปรรูป หมายถึง เนื้อสัตว์ที่มีความเค็ม ใส่สารกันบูด หมัก รมควัน ปรุงกลิ่นแต่งรส     เนื้อแดง หมายถึง เนื้อวัว เนื้อลูกวัว หมู แกะ ม้า หรือห่าน  และประมาณครึ่งหนึ่งของเนื้อแดงที่บริโภคกันทั่วโลกนั้นเป็นเนื้อแปรรูป     การกินเนื้อแปรรูปทุกวัน วันละ 50 กรัม หรือเท่ากับไส้กรอกหนึ่งชิ้น  จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่กับไส้ตรงร้อยละ 18  การกินเนื้อแดงทุกวัน วันละ 120 กรัม (1.2 ขีด) เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่กับไส้ตรงร้อยละ 17  ซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนที่ค่อนข้างน้อย  เนื่องจากความเสี่ยงของผู้ชายที่จะเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่กับไส้ตรงตลอดอายุขัยมีเพียงร้อยละ 4.8  ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงเป็นร้อยละ 5.6     “เมื่อพิจารณาเฉพาะแต่ละคน ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่กับไส้ตรงจากการบริโภคเนื้อแปรรูปมีเพียงเล็กน้อย  แต่ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์” ดร.เคิร์ท สเตรฟ หัวหน้าของ IARC Monographs Programme กล่าว “เมื่อพิจารณาประชากรจำนวนมากที่บริโภคเนื้อแปรรูป  อัตราการเกิดมะเร็งในวงกว้างจึงมีความสำคัญต่อสาธารณสุข”     ความจริง เนื้อสัตว์แปรรูปมีความเชื่อมโยงกับมะเร็งทางเดินอาหาร โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่กับไส้ตรง และมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเรื่องที่รู้กันมานาน  การจัดหมวดหมู่ของ IARC จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่  เพียงแต่ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น การกินเนื้อสัตว์แปรรูปมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเท่ากับการบุหรี่ แร่ใยหิน สารหนู หรือไม่?    การจัดหมวดหมู่ให้เนื้อสัตว์แปรรูปอยู่ในกลุ่ม 1 เท่ากับยาสูบ บุหรี่ และแร่ใยหิน  ไม่ได้หมายความว่า การกินไส้กรอกมีความเสี่ยงเท่ากับการสูบบุหรี่   การสัมผัสแร่ใยหิน และสารหนู  แต่นักวิทยาศาสตร์มั่นใจว่ามีบางอย่างที่ก่อมะเร็ง ไม่ใช่ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งนั้นเท่ากัน    เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาในปีค.ศ. 2005 การสูบบุหรี่ทุกวัน วันละ 1 มวนจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดร้อยละ 200-400        โดยสรุป  ไส้กรอก แฮม เบคอน เนื้อแห้งที่แปรรูปต่างๆ รวมทั้งเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงนั้น เป็นตัวก่อมะเร็ง และความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณที่บริโภค  ดังนั้น  จึงไม่ควรบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้เป็นอาหารหลัก หรืออาหารประจำวันของลูกหลานเรา  เราควรสอนเด็กๆ ของเรา  โรงเรียนควรสอนการกินอาหารที่ปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 ริมฝีปากดำคล้ำ เพราะลิปสติก

ต่อให้ไม่ได้เป็นสาวที่รักการแต่งหน้าเท่าไหร่ แต่หนึ่งในเครื่องสำอางที่สาวๆ ทุกคนต้องมีติดกระเป๋าไว้คงหนีไม่พ้น “ลิปสติก” เพราะไม่ว่าจะเป็นลิปสติกแบบมีสีสัน หรือลิปมัน ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ริมฝีปากของเราชุ่มชื้นและมีสีสันที่สวยงาม แต่หากเราทาแล้วริมฝีปากดันแห้ง แตก ลอกเป็นขุย คันยิบๆ หรือมีตุ่มใสขึ้นบริเวณริมฝีปาก จนทำให้ริมฝีปากสีชมพูสดใสกลายเป็นดำคล้ำ เพราะแพ้ลิปสติกแทน เราจะทำอย่างไรดี   มารู้จักตัวการสำคัญที่ทำให้เราแพ้กันก่อน อย่างที่เรารู้กันดีกว่าการแพ้เครื่องสำอางเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ยี่ห้อและราคาไม่ได้การันตีว่าจะดีสำหรับเราเสมอไป เพราะคนอื่นใช้แล้วไม่แพ้ แต่เราใช้แล้วอาจจะแพ้ก็ได้ ซึ่งสาเหตุหลักอันดับแรกที่ทำให้เราแพ้ลิปสติก มาจากส่วนผสมของลิปสติกนั่นเอง โดยส่วนใหญ่ในลิปสติกจะประกอบไปด้วย สี น้ำหอม สารแต่งกลิ่น/รส และสารกันเสีย ซึ่งเราอาจจะแพ้สีที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือแพ้สารกันเสียจำพวก paraben นอกจากนี้เราอาจจะแพ้เพราะใช้ลิปสติกแท่งเดิมมาเป็นเวลานาน โดยไม่รู้ว่ามันหมดอายุไปแล้ว ดังนั้นหากเราซื้อมาและเปิดใช้งานมากกว่า 2 ปี หรือพบว่ามีกลิ่น สี หรือลักษณะที่เปลี่ยนไปก็ควรตัดใจทิ้งและเปลี่ยนแท่งใหม่ได้เลย เพราะลิปสติกต้องสัมผัสกับริมฝีปากเราเป็นเวลานานและหลายครั้งต่อวัน หากเราไม่ดูแลรักษาดีๆ ก็อาจใช้เวลานานกว่าจะกลับมามีริมฝีปากสุขภาพดีเหมือนเดิม หากแพ้ลิปสติกแล้วควรแก้ปัญหาอย่างไรดี การแพ้ลิปสติกสามารถเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ แบบฉับพลันและเรื้อรัง โดยหากเป็นแบบฉับพลัน จะเกิดอาการคันที่ปากทันที หรืออาจลุกลามมากขึ้นกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ ได้ แต่หากแพ้เรื้อรังก็จะทำให้ปากแห้ง แตก ลอกเป็นขุย ซึ่งนำไปสู่ริมฝีปากที่ดำคล้ำนั่นเอง ดังนั้นการแก้ไขเบื้องต้นหลังจากหยุดใช้ลิปสติกแท่งนั้นคือ การใช้ขี้ผึ้ง / ลิปมันที่ไร้การการแต่งกลิ่นหรือสีอย่างวาสลีน เพิ่มความชุ่มชื้นให้ริมฝีปาก และไม่ลืมดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ปากไม่แห้ง รวมทั้งเลือกใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีรสไม่ซ่าหรือเผ็ดน้อย เพราะฟลูออไรด์หรือแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง สามารถส่งผลให้ริมฝีปากคล้ำกว่าเดิมได้เช่นกัน นอกจากนี้อาจรักษาด้วยการไปพบแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง   เทคนิคเล็กน้อยก่อนเลือกลิปสติกแท่งใหม่ การเลือกใช้ลิปสติกมักเปลี่ยนไปตามโอกาสต่างๆ เช่น หากเราต้องออกงานสำคัญแล้วอยากให้ลิปสติกติดทนนาน ก็ควรเลือกใช้ลิปสติกประเภทเนื้อ Cream หรือเนื้อ Matte เพราะมีความเข้มข้นของเนื้อสีมากที่สุด มีส่วนผสมที่ช่วยให้เนื้อลิปสติกแห้งไม่ลบเลือนง่าย หรือหากเราไม่ต้องการแต่งหน้าจัด ก็อาจเลือกใช้ลิปสติกประเภทเนื้อ Sheer ไม่ก็ Lip gloss หรือ Tint เพราะสีจะอ่อนๆ ให้ริมฝีปากเนียนสวยเป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะเลือกลิปสติกประเภทไหน ก็ควรพิจารณาจากคุณภาพเป็นอันดับแรกคือ ไม่ควรมีรสชาติ ไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ไม่หลอมเหลวระหว่างเก็บ ไม่พองตัวหรือมีหยดน้ำเกาะที่ตัวผลิตภัณฑ์ และควรเป็นลิปสติกที่มีฉลากภาษาไทยกำกับ โดยให้มีรายละเอียดตามประกาศของ อย. ดังนี้ 1. ชื่อสินค้า 2. ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง 3. สารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง เรียงลำดับตามปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย 4. วิธีใช้เครื่องสำอาง 5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต 6. ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า และชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต กรณีเป็นเครื่องสำอางนำเข้า 7. ปริมาณสุทธิ 8. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต 9. เดือน ปีที่ผลิต และ 10. เดือน ปีที่หมดอายุ ทั้งนี้หากฉลากมีพื้นที่น้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะชื่อสินค้าและเลขที่แสดงครั้งที่ผลิตก็ได้ เพราะหากเราซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีฉลากภาษาไทยกำกับ ก็อาจมีส่วนผสมของสารห้ามใช้ในลิปสติก เช่น ปรอท ตะกั่ว ซึ่งส่งผลอันตรายต่อผู้ใช้ นอกจากนี้ก็อาจทดสอบการแพ้ในเบื้องต้น ด้วยวิธีพื้นฐานอย่างการทาลงในบริเวณที่บอบบางอย่าง ใต้ท้องแขนหรือข้อพับแขน เพื่อดูว่ามีผดผื่นหรืออาการแพ้อื่นๆ เกิดขึ้นหรือไม่  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 อยากขาวแบบสยอง ขอเชิญลองสบู่คลอรีน

 “ขาหนีบ ตัวโคตรดำ ต้องลอง ก้อนเดียวเอาอยู่ ขาวสะอาดอย่างปลอดภัย เด็กห้าขวบก็ยังใช้ได้” ข้อความโฆษณาสบู่ที่แชร์กันว่อนในอินเตอร์เน็ต กระตุ้นความสนใจของคนที่กระหายอยากผิวขาวได้มาก แต่ที่น่าสนใจคือ สบู่ชนิดนี้มันมีอะไรดีหรือ ผู้ขายถึงบอกว่าใช้แล้วขาวจริง และยังอ้างว่าปลอดภัยเมื่อนำมาใช้ในเด็กอีกด้วย ผมพยายามติดตามหาข้อมูลสบู่ชนิดนี้ในจังหวัด ก็ยังไม่พบว่ามีการขาย แต่เมื่อลองเข้าไปค้นในอินเตอร์เน็ตกลับพบว่า มีการโฆษณาสบู่ชนิดนี้มากมาย สบู่ชนิดนี้ใช้ชื่อว่า “สบู่คลอรีน”  ยิ่งสงสัยหนักขึ้นไปอีก เพราะเท่าที่ทราบคลอรีนเป็นสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค และมีผลในการฟอกสี  ซึ่งปกติจะใช้กับสิ่งของ เช่น น้ำยาฟอกขาว แต่กับผิวหนังอันบอบบางของมนุษย์  ยังไม่เคยมีการนำมาให้ใช้ เพราะน่าจะเกิดอันตรายต่อผิวหนัง   หลังจากนั้นไม่กี่วัน  ก็เกิดกระแสที่ผู้คนพูดถึงกันมาในโลกอินเตอร์เน็ต มีการแชร์ขายทางออนไลน์กันมาก  จนในที่สุดทีมข่าวโทรทัศน์ช่อง 3 ได้นำสารคลอรีนไปให้อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ทดสอบ จึงพบค่าความเป็นกรด-ด่าง ของสารคลอรีนที่นำมาทดสอบนั้น ใกล้เคียงกับค่าความเป็นกรด-ด่าง ในสบู่คลอรีน ที่แชร์ขายในโลกออนไลน์  โดยมีค่าความเป็นกรดมากถึง 4.2  ซึ่งเป็นค่าที่สามารถกัดผิวคนให้ขาวได้ แต่ที่น่ากลัวคือ มันจะทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและยังระคายเคืองกัดเยื่อบุตาอีกด้วย และในแง่วิชาการยังเป็นห่วงว่า หากใช้ต่อเนื่องไปนานๆ นี้คลอรีนอาจจะเร่งอนุมูลอิสระในร่างกายสะสมเป็นเวลานาน เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งได้ ไม่ใช่แค่การทดลองทางวิทยาศาสตร์ในห้องแลบเท่านั้น  ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนังยังได้ออกมาเตือนว่า “โดยทั่วไปแล้วคลอรีนจะมีฤทธิ์กัดกร่อนมาก หากนำมาใช้กับผิวหนังก็จะเกิดระคายเคือง และหากมีความเข้มข้นสูงก็อาจเกิดแผลไหม้ได้ สารคลอรีนที่ผสมในสบู่คาดว่าจะเป็นสารแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ ซึ่งมีฤทธิ์รุนแรงกว่าและมีการยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ จึงแนะนำว่าไม่ควรใช้สบู่ดังกล่าว”   ข้อมูลมันเสี่ยงขนาดนี้ คงแทบไม่ต้องถามต่อเลยว่า ควรจะใช้ต่อหรือเลิกใช้กันดีกว่ากัน และก็คงไม่ต้องมาถามอีกว่า ในเด็กห้าขวบที่ผิวบอบบางกว่าผู้ใหญ่ ยังจะใช้ได้อย่างปลอดภัยอย่างที่โฆษณาหรือไม่ (หรือเด็กห้าขวบมันจำเป็นจะต้องให้ขาวไปขนาดไหนกันนี่) หากผู้คนยังกระหายความขาวไม่หยุดหย่อน เชื่อว่าอีกไม่นานก็คงจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาให้คนกระหายความขาวได้เสี่ยงกันอีก ท่องให้ขึ้นใจเลยนะครับ สบู่จัดเป็นเครื่องสำอางตามกฎหมาย จะต้องผลิตโดยไม่มีส่วนประกอบของสารอันตราย โดยผู้ผลิตจะต้องมายื่นเพื่อขอเลขรับแจ้งจากหน่วยงานสาธารณสุข และเมื่อได้รับตัวเลขดังกล่าวแล้วจะ ต้องนำไปแสดงบนฉลากด้วย หรือหากสบู่ชนิดใดมีส่วนประกอบที่เข้าข่ายเป็นยา ก็ต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นยาด้วย ซึ่งก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายยาด้วยเช่นกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 ไม่จ่ายค่าผ่อนบ้านเพราะยังไม่สร้าง ต่อมาบอกเลิกสัญญา ผู้ขายมีสิทธิริบมัดจำหรือไม่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน วันนี้ เรามารู้จักสิทธิของผู้บริโภคที่ทำสัญญาซื้อบ้านหรืออาคารพาณิชย์กันครับ สมัยนี้ มีการสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ซึ่งหากท่านลองสังเกตดีๆ จะพบว่าผู้ขายมักมีป้ายโฆษณาเปิดให้จองกันตั้งแต่ยังไม่เริ่มสร้าง ผู้บริโภคเมื่อเห็นว่าเป็นทำเลดี ก็รีบจองกันมากมาย กลัวจะเสียโอกาสได้ที่พักอาศัยอย่างที่ตนต้องการ  แต่เมื่อหลงจ่ายเงินจองบ้านไปแล้ว ตกลงทำสัญญากันเป็นหนังสือเรียบร้อย โดยไม่ได้สังเกตให้ดีว่าในสัญญาไม่ได้ระบุวันที่จะเริ่มก่อสร้าง และวันที่ต้องสร้างเสร็จเอาไว้ เมื่อถึงกำหนดจ่ายเงินงวดแรก จึงทราบว่า บ้านหรืออาคารพาณิชย์ที่วาดฝันไว้ ยังไม่เริ่มสร้าง เช่นนี้ จึงตัดสินใจไม่ชำระเงิน และบอกเลิกสัญญาเพื่อขอเงินจองคืน  แต่ผู้ขายก็มักชอบอ้างว่า ผู้บริโภคผิดสัญญาไม่ยอมจ่ายเงินตามที่ตกลงกัน จึงขอริบมัดจำ เช่นนี้ มีสิทธิทำได้หรือไม่   เรื่องนี้ เกิดขึ้นกับผู้บริโภคท่านหนึ่ง ซึ่งได้ทำสัญญาจะซื้อขายอาคาร โดยชำระเงินจองในวันทำสัญญา และตกลงชำระเงินดาวน์ 12 งวด ถึงกำหนดชำระเงินดาวน์งวดแรก ผู้ซื้อไม่ชำระเพราะผู้ขายยังไม่เริ่มก่อสร้าง จึงร้องเรียน สคบ.และบอกเลิกสัญญา ผู้ขายริบมัดจำ ผู้บริโภคจึงนำเรื่องขึ้นสู่ศาล และศาลได้ตัดสินให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะคดี การไม่จ่ายเงินค่างวดยังไม่ถือว่าเป็นการทำผิดสัญญา ดังนั้น ผู้ขายไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำ คำพิพากษาฎีกา 797/2556 แม้สัญญาจะซื้อจะขายมิได้กำหนดเวลาการเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ให้แล้วเสร็จไว้ แต่เป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องรีบลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาก่อสร้างที่แล้วเสร็จไว้ เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชนในฐานะผู้บริโภค เมื่อสัญญาไม่ได้กำหนดเวลาไว้แต่เป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยก็มีหน้าที่ต้องรีบลงมือก่อสร้าง และก่อสร้างให้แล้วเสร็จในเวลาอันสมควรอันเป็นไปตามหลักความสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 หาใช่การจะเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาแล้วเสร็จนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว เพราะจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์จากเงินที่โจทก์ชำระไปแล้ว จึงมีหน้าที่ต้องรีบก่อสร้างโดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203  เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ดังนั้น การที่โจทก์ชำระเงิน 800,000 บาท แก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วย่อมมีความคาดหวังจะได้เห็นจำเลยปฏิบัติชำระหนี้ตอบแทน คือ การเริ่มลงมือก่อสร้าง แต่เมื่อจะครบกำหนดเวลาชำระเงินดาวน์งวดแรกได้ความว่า จำเลยยังไม่ได้เริ่มลงมือก่อสร้างอาคารพาณิชย์ทำให้โจทก์เกิดความไม่มั่นใจในโครงการของจำเลย เพราะเงินค่างวดที่จะจ่ายแต่ละงวดเป็นจำนวนมากถึงงวดละ 334,000 บาท โจทก์จึงไม่ยอมจ่ายเงินค่างวดและไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จำเลยเองก็ไม่ได้แสดงความสุจริตโดยการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโครงการให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือหรือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดอีก จึงถือได้ว่าการชำระหนี้ของโจทก์มิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่างวดแก่จำเลยจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยในการริบมัดจำไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจึงมีผลให้สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อพูดถึงเรื่องการวางเงินจองเพื่อซื้อที่ดินหรืออาคารพาณิชย์  โดยทั่วไป จะมีเขียนข้อตกลงในใบจองว่า จะไปทำสัญญาเป็นหนังสือกันอีกครั้งในภายหลัง จึงทำให้เข้าใจกันว่า ใบจองเป็นเพียงข้อตกลงเบื้องต้น เพื่อจะไปทำสัญญากันอีกครั้ง แต่เคยมีคดีขึ้นสู่ศาลเรื่องหนึ่ง ถือว่าใบจองที่ทำกันเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา และในใบจองไม่ได้เขียนเรื่องการสิทธิบอกเลิกสัญญาไว้ จึงต้องใช้การเลิกสัญญาตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดว่าหากจะเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ก่อนโดยให้เวลาพอสมควร หากไม่ดำเนินการก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ซึ่งในคดีตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีการซื้อขายที่ดินสองแปลง แปลงแรก ผู้ขายมีหนังสือแจ้งให้ผู้ซื้อมารับโอนแล้ว และให้มาชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด แต่ปรากฎว่าผู้ซื้อไม่ชำระเงิน ศาลจึงเห็นว่าการบอกเลิกสัญญาของผู้ขาย ได้ทำตามกฎหมายแล้ว จึงถือว่าผู้ซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ขายมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ แต่ที่ดินอีกแปลงหนึ่ง ผู้ขายไม่ได้แจ้งให้ผู้ซื้อชำระเงิน และใช้สิทธิบอกเลิกทันที จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ซื้อผิดสัญญา และกรณีนี้ทั้งสองฝ่ายต่างตกลงเลิกสัญญาต่อกัน จึงถือได้ว่าไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา ผู้ขายจึงไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำของผู้ซื้อ ต้องคืนเงินมัดจำแก่ผู้ซื้อ คำพิพากษาฎีกาที่ 2569/2556โจทก์จองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์จากจำเลยสองแปลงโดยวางเงินจองไว้แปลงละ 100,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานได้ทำสัญญากันขึ้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 แม้ตามใบจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มีข้อความว่าให้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน และโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำก็ตาม แต่ใบจองระบุราคาขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไว้และระบุว่าวางเงินจองจำนวน 100,000 บาท กับระบุค่าโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยเป็นผู้ชำระซึ่งตามแผนผังที่ดินและภาพถ่ายอาคารพาณิชย์จำนวน 4 ภาพ ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ที่โจทก์จองซื้อเป็นแปลงหมายเลข 1314 และ 1315 แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์กันต่อไป จึงมีสาระสำคัญครบถ้วนเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์กับจำเลย ใบจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ ตามใบจองซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีข้อความระบุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ หากโจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์เพียงแปลงเดียว ทั้งโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงกับจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาโดยเหตุใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อหนี้ที่ต่างต้องชำระต่อกันมิได้กำหนดเวลาลงไว้แน่นอนต่างฝ่ายย่อมเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ได้โดยพลันโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดได้ หากจำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวไปยังโจทก์ให้ชำระราคาที่ค้างชำระโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อน และจำเลยจะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ด้วยว่าจำเลยพร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ประกอบมาตรา 369 การที่จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์เฉพาะแปลงหมายเลข 1314 เพียงแปลงเดียวโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก่อน แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลากำหนด จำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ การบอกเลิกสัญญาของจำเลยเฉพาะที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1314 ชอบแล้ว และถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378(2) ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 387 แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างบอกเลิกสัญญาต่อกันแม้ไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาแสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายว่าสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 จึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไป กรณีไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา จำเลยย่อมไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 ประกันฯ ที่ไม่มั่นคง

คปภ.และบริษัทประกันภัย โหมรณรงค์ให้คนไทยทำประกันภัยกันอย่างครึกโครม  โดยที่จริงๆ แล้วเรื่องประกันภัย ประกันสุขภาพ  ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่รอให้ “คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) แก้ไขอย่างจริงจัง   วันก่อนพี่จิ๋ม(นามสมมุติ) มาร้องเรียนว่า  ถูกบริษัทประกันภัยชื่อดัง  ส่งหนังสือมาบอกเลิกสัญญา  ทั้งๆ ที่ได้ซื้อประกัน ในราคา 2 หมื่นกว่าบาทต่อปี มาตั้งแต่ ปี 2552 และซื้อต่อเนื่องมาจนถึง  ตุลาคม 2558   ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญา(พร้อมแนบเงินที่เหลือปีสุดท้ายส่งมาด้วย)   เมื่อถามต่อก็ได้ทราบว่าเหตุผลที่ถูกบอกเลิกสัญญาคือ  กล่าวหาว่าผู้ซื้อประกันปกปิดข้อมูลการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆมากมาย   ทั้งเบาหวาน ความดัน ฯลฯ ทั้งที่ตอนทำประกันผู้ซื้อยังไม่ได้เป็นโรคเรื้อรังอะไร   ผู้ร้องทุกข์เล่าให้ฟังอีกว่า ในหนังสือที่ส่งมาแจ้งอีกว่า รู้ข้อมูลการเป็นโรคของผู้ซื้อแล้วตั้งแต่เดือน มีนาคม 2558  แต่ไม่มีการแจ้งให้ผู้ซื้อประกันทราบ   นอกจากไม่แจ้งให้ผู้ซื้อทราบแล้ว  ยังเรียกเก็บเงิน   ไปอีกเมื่อ 30 กันยายน 2558   แล้วก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญาในเดือนตุลาคม  ในปีเดียวกัน  ที่เจ็บใจมากคือ  ลงเงินซื้อประกันฯไปตั้งแต่ปี  2552  จนถึงปัจจุบัน รวมๆ แล้วประมาณ 150,000  บาท แต่บริษัทคืนให้เฉพาะเงินที่ลงไปปีล่าสุดเท่านั้น  อย่างนี้เท่ากับหรอกให้เราซื้อประกัน  พอเราเป็นโรคก็ไม่ ก็ปฏิเสธการดูแล  ด้วยการบอกเลิกสัญญาดื้อๆ แบบนี้ เรื่องลักษณะนี้ไม่ได้เกิดกับคุณจิ๋มคนเดียว แต่เกิดขึ้นกับอีกหลายๆ คน  คำถามคือเรื่องแบบนี้เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือฉ้อโกงกันแน่(เรื่องนี้คงต้องรอคำตอบจากคำสั่งศาล) หากอ้างกฎหมายผู้ซื้อประกันหากสู้ยาก เพราะกฎหมายประกันวินาศภัย ข้อหนึ่ง เขียนไว้กว้างๆ ว่า “หากบริษัทเห็นว่ามีความเสี่ยงสามารถบอกเลิกสัญญาได้”  ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องร่วมกันผลักดันคือ  ต้องให้ คปภ. กำหนดระเบียบกติกาที่ชัดเจน  ในการบอกเลิกสัญญาประกันภัยฯ  ว่าลักษณะไหนบ้างที่บริษัทจะบอกเลิกสัญญาได้  และลักษณะไหนที่ห้ามบอกเลิกสัญญา   ถ้าบริษัทฯ ใดละเมิดต้องจัดการให้เป็นตัวอย่าง  ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อ  และเบื่อการซื้อประกันฯ เพราะไม่เป็นผลดีทั้งผู้ซื้อประกันฯ และบริษัทประกันภัย  ก็ขอเรียกร้องให้ คปภ.ขยับเรื่องนี้ให้จริงจังเสียที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 “อยากปิดบัญชีหนี้ ต้องมีเอกสารยืนยัน”

เมื่อมีการเจรจาปิดบัญชีหนี้ หากไม่อยากถูกเจ้าหนี้หลอกให้ชำระหนี้บางส่วน ลูกหนี้ต้องเรียกร้องขอเอกสารยืนยันที่ชัดเจน เพราะสามารถใช้ยืนยันทางกฎหมายได้นี่เป็นกรณีตัวอย่างของการรักษาสิทธิของตัวเอง ด้วยการเรียกร้องขอเอกสารยืนยันการเจรจาปิดบัญชีหนี้ก่อนชำระเงิน ซึ่งกว่าจะได้เอกสารก็ล่วงเลยกำหนดการชำระไปแล้ว ทำให้ผู้ร้องต้องกลายเป็นคนผิดนัดการชำระหนี้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำผิดอะไรผู้ร้องเป็นหนี้บัตรเครดิต ของธนาคาร กรุงศรีอยุธยาจำกัด จำนวนกว่า 90,000 บาท บริษัทฯ จึงนัดเจรจา เพื่อให้เข้าโปรแกรมส่วนลดหนี้เหลือเป็น 50,000 บาท โดยมีเงื่อนไขให้ชำระภายใน 5 วันถัดมานับจากวันที่มีการเจรจา ซึ่งหากไม่ชำระจะถือว่าการเจรจาส่วนลดนี้เป็นอันยกเลิก เมื่อมีเงื่อนไขแบบนี้ ผู้ร้องจึงยินดีตอบตกลง และเร่งหาเงินมาให้ครบตามจำนวนที่ได้ส่วนลดไว้ เพียงต้องการเอกสารการยืนยันที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทฯ ก่อนการชำระหนี้นั้น อย่างไรก็ตามบริษัทฯ กลับแจ้งว่าสามารถชำระได้เลย โดยจะส่งเอกสารตามไปทีหลังแน่นอนว่าผู้ร้องไม่ยอมทำตามด้วยการไปชำระหนี้ก่อน ยังคงยืนยันที่จะรอเอกสารยืนยัน เพราะต้องการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ จนในที่สุดเอกสารก็ส่งมา แต่กลับส่งเลยกำหนดการชำระหนี้ที่เคยตกลงกันไว้ จนทำให้ผู้ร้องตกอยู่ในสถานะผิดนัดชำระหนี้ และทำให้การเจรจาดังกล่าวถูกยกเลิกเมื่อเหตุการณ์กลายเป็นอย่างนี้ ผู้ร้องจึงต้องการให้บริษัทฯ แก้ไขความผิดพลาดดังกล่าว ที่ทำให้การเจรจาปิดบัญชีหนี้นั้นต้องสูญเปล่า จึงมาร้องเรียนเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหา ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องทำหนังสือทักท้วงไปที่บริษัทฯ โดยระบุสาเหตุที่ผู้ร้องไม่ชำระหนี้ว่า เป็นเพราะบริษัทฯ ทำเอกสารส่งมาให้ผู้ร้องล่าช้า และเลยวันที่กำหนดชำระหนี้ไปแล้ว ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่ถือว่าเป็นคนผิดสัญญาการชำระหนี้ดังกล่าว ทั้งนี้ระหว่างที่รอบริษัทฯ ส่งเอกสารที่แก้ไขแล้วมาให้ใหม่ ผู้ร้องยังไม่ต้องชำระหนี้นั้นหลังจากบริษัทฯ ได้รับเรื่องก็ยินยอมที่จะแก้ไขวันที่ในเอกสารให้ใหม่ เป็นวันที่ปัจจุบันและขยายกรอบเวลาออกไป ด้านผู้ร้องเมื่อได้รับเอกสารยืนยันที่ชัดเจนแล้ว ก็ดำเนินการชำระหนี้เสร็จสิ้นเรียบร้อยทั้งนี้สำหรับเอกสารยืนยันการปิดบัญชีหนี้ สามารถถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งหากมีการเจรจาปิดบัญชีหนี้ต้องมีเอกสารยืนยันเสมอ เพราะหากเราไม่มีเอกสารยืนยัน ก็อาจกลายเป็นว่าเราถูกเจ้าหนี้หลอกให้เราชำระหนี้เพียงบางส่วนได้ และเราก็ยังคงต้องชำระเงินเต็มจำนวนเช่นเดิม หรือกรณีที่แย่ไปกว่านั้นคือ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อความบางอย่างในเอกสาร จนทำให้การเจรจาปิดบัญชีหนี้ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้อย่างไรก็ตามเอกสารยืนยันการชำระหนี้ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน แต่ควรมีคำสำคัญดังต่อไปนี้ จึงจะถือว่าเป็นเอกสารที่สามารถมีผลใช้ยืนยันทางกฎหมายได้1. เลขที่สัญญา หรือ เลขที่บัญชีหนี้2. จำนวนเงินที่เป็นหนี้3. จำนวนเงินที่ตกลงกันเพื่อปิดบัญชีหนี้4. ข้อความที่ระบุว่า “หากลูกหนี้ชำระแล้ว จะถือว่าท่านชำระหนี้เสร็จสิ้น ไม่มีหนี้ค้างอยู่กับบริษัท”5. ลายเซ็นผู้มีอำนาจของบริษัทในการอนุมัติปิดบัญชีหนี้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 โดนหลอกให้ซื้อของมือสอง

"กระทู้เตือนภัย ระวังร้านมือถือขายส่งในห้างดัง / ระวังโดนหลอกซื้อเครื่องย้อมแมว…”เชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับข้อความเหล่านี้ เมื่อกำลังหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเพื่อเลือกซื้อมือถือใหม่สักเครื่อง แต่ก็อย่างที่เรารู้กันดีกว่าหากไม่ได้เป็นเซียนมือถือจริงๆ การแยกแยะความต่างระหว่างเครื่องจริงกับเครื่องปลอม หรือการตรวจสอบว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งจริงหรือไม่ นับวันยิ่งเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้ที่ผู้ร้องต้องการซื้อมือถือมือหนึ่ง แต่โดนต้มจนเปื่อยได้เครื่องมือสองมาใช้ ซึ่งหมดประกันไปแล้วเมื่อ 1 ปีก่อนคุณดวงพรต้องการโทรศัพท์ยี่ห้อ iPhone 4s สีดำมือหนึ่งเครื่องใหม่มาใช้งาน เมื่อเดินเลือกตามร้านตู้ (ร้านตู้กระจกค้าปลีกมือถือ) ในห้างดังแถวอนุสาวรีย์ชัยไปเรื่อยๆ ก็พบร้านที่ถูกใจ หลังตรวจสอบเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ก็พบว่าอยู่ในสภาพดี อีกทั้งทางร้านยังบอกว่าเครื่องรับประกันศูนย์อีก 1 ปี เธอจึงตกลงใจซื้อมาในราคา 10,900 บาท โดยใช้การผ่อนชำระด้วยบัตรเครดิต เหตุการณ์ก็ดำเนินไปได้ด้วยดีจนกระทั่งผ่อนเครื่องหมด ปัญหาจึงเริ่มมาเยือน ผู้ร้องพบว่าเวลาเปิดลำโพงแล้วไม่ได้ยินเสียง หรือเวลารับสายและโทรออกก็ไม่ได้ยินเสียงของฝั่งตรงข้าม จึงนำกลับไปซ่อมที่ร้านเพราะรู้ว่ายังอยู่ในช่วงเวลาการรับประกันตามที่ร้านบอกไว้ อย่างไรก็ตามทางร้านกลับแนะนำว่า ให้เธอนำไปซ่อมที่ศูนย์บริการของโทรศัพท์ iPhone เองจะรวดเร็วกว่า ดังนั้นเธอจึงไปที่ iCare ซึ่งเป็นศูนย์ดูแลหลังการขายของโทรศัพท์ยี่ห้อดังกล่าว แต่แล้วก็ต้องตกใจเมื่อพนักงานนำเครื่องไปตรวจสอบระยะเวลาการรับประกันแล้วพบว่า โทรศัพท์เครื่องนี้ได้มีการเปิดใช้งานตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน และหมดอายุการรับประกันไปกว่า 1 ปีแล้ว! คุณดวงพรจึงกลับมาที่ร้านเดิมและแจ้งเรื่องดังกล่าว ซึ่งก็ได้รับคำตอบที่บ่ายเบี่ยงจากทางร้านว่า ถ้าผู้ร้องไปดำเนินการซ่อมที่ศูนย์เองไม่ได้ ก็จะส่งเครื่องซ่อมที่ศูนย์ให้เอง เพียงแต่อาจจะต้องรอนานกว่าเดิมเท่านั้น เมื่อเหตุการณ์กลายเป็นแบบนี้ ผู้ร้องจึงมั่นใจว่าถูกร้านหลอกให้ซื้อเครื่องมือสองแล้วแน่นอน และที่สำคัญคือทางร้านไม่มีท่าทีจะรับผิดชอบต่อเรื่องนี้เลย เธอจึงมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาโชคดีที่ผู้ร้องมีใบเสร็จการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตเก็บไว้ จึงสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานยืนยันได้ ซึ่งสำหรับกรณีนี้ ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ์โทรศัพท์เจรจาไกล่เกลี่ยให้ โดยขอให้รับเครื่องคืนพร้อมคืนเงินให้ผู้บริโภคในราคาที่เป็นธรรม เพราะการที่ผู้ขายไม่บอกความจริงกับผู้ซื้อตั้งแต่ทีแรก อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา ฐานฉ้อโกงหรือหลอกลวงผู้บริโภคแม้ตอนแรกร้านดังกล่าวจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมทำตามข้อเสนอ แต่เพื่อเป็นการยุติไม่ให้ปัญหาบานปลาย และเสื่อมเสียชื่อเสียงของร้านไปมากกว่านี้ จึงยินยอมคืนเงินให้ผู้ร้องจำนวน 7,000 บาท ด้านผู้ร้องก็ยินดีรับเงินจำนวนนั้นไป เพราะไม่อยากเสียเวลาฟ้องร้อง พร้อมสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ซื้อโทรศัพท์มือถือที่ร้านตู้อีก แหม…ใครจะไปซื้อลง มาหลอกกันซะอย่างนี้ข้อแนะนำ ทั้งนี้แม้ไม่ใช่ร้านตู้ทุกร้านที่จะหลอกลวงผู้บริโภค แต่เราก็ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ โดยเบื้องต้นหากต้องการซื้อเครื่องมือหนึ่งก็ต้องตรวจสอบอายุการรับประกัน ซึ่งมีวิธีง่ายๆ ด้วยการตรวจสอบรหัส Serial number (SN) หรือหมายเลข IMEI (อีมี่) หลังเปิดเครื่องที่เบอร์ *#06# โดยบนหน้าจอจะแสดงเลขจำนวน 15 หลัก เราก็นำเลขเหล่านี้ไปกรอกในเว็บไซต์ต่างๆ ที่สามารถตรวจสอบอายุการรับประกันมือถือได้ ซึ่งจะรู้ทันทีว่าเราได้ของมือหนึ่งหรือมือสองมาครอบครอง เพราะหากทางร้านหลอกลวงเราก็แค่คืนเครื่องนั้นไป โดยไม่ต้องเสียทั้งเงินทั้งเวลานั่นเองอย่างไรก็ตามสำหรับการตรวจสอบอื่นๆ เช่น วิธีตรวจสอบของแท้หรือของปลอม หรือเครื่องหิ้วเป็นอย่างไร เราก็ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดจากเว็บไซต์ต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ หรือสำหรับกรณีที่เราตรวจสอบดีแล้วแต่เครื่องก็ยังมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดเราสามารถนำกลับไปเปลี่ยนเครื่องใหม่ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ภายใน 7 วัน พร้อมกับไม่ลืมหลักฐานสำคัญต่างๆ เช่น ใบเสร็จรับเงิน เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันทางกฎหมายได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 ระบบจ่ายยาของไทยมีประสิทธิภาพแค่ไหน

แม้แพทย์จะวินิจฉัยอาการของโรคถูกต้อง แต่จ่ายยาให้ผู้ป่วยผิดซอง ก็เท่ากับว่าการรักษานั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลยปัญหาการได้ยาผิดซองเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยทุกคนไม่ต้องการ เพราะนอกจากจะไม่สามารถทุเลาอาการเดิมให้หายได้ ซ้ำยังเพิ่มความเสียหายให้กับร่างกายมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตามเราก็ยังคงพบปัญหานี้อยู่เสมอ แม้ส่วนหนึ่งจะเป็นเพราะผู้ป่วยลืมตรวจสอบยาให้ดีก่อนนำไปรับประทาน เพราะเชื่อว่าน่าจะได้รับยาที่ถูกต้องแล้ว แต่ระบบการจ่ายยาของทุกโรงพยาบาลก็ควรมีประสิทธิภาพมากพอ ที่จะไม่ก่อให้เกิดความผิดพลาดนี้ขึ้น ดังกรณีของผู้ร้องรายนี้คุณวาสนาใช้สิทธิบัตรทอง เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าด้วยอาการหอบ ไข้สูง ปวดหัว แพทย์ให้พักรักษาตัวเพื่อดูอาการและให้กลับบ้าน โดยสั่งยาให้กลับไปรับประทาน ซึ่งหลังรับประทานยาแล้วพบว่ามีอาการมึนงง ปวดหัวและอาเจียน จึงนำซองยาดังกล่าวมาตรวจสอบ และพบว่าไม่ใช่ชื่อของตนเอง ดังนั้นจึงให้บุตรสาวกลับไปที่โรงพยาบาลเพื่อเปลี่ยนยารักษาให้ถูกต้องเมื่อกลุ่มงานเภสัชกรรมของทางโรงพยาบาลดังกล่าว ได้ทำการตรวจสอบแล้วแจ้งกลับว่า รายการยาที่ผู้ป่วยได้รับนั้น แม้ชื่อผู้รับบนซองยาผิด แต่เป็นยาที่สั่งจ่ายให้กับผู้ป่วยจริง อย่างไรก็ตามเหตุที่ชื่อบนซองผิดพลาด เนื่องจากการบันทึกรายการยาจะเป็นการบันทึกตาม VN ของผู้ป่วย (VN หรือ Visit Number คือ หมายเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อตรวจสอบจำนวนผู้รับบริการในแต่ละวัน หรือหมายเลขสำหรับผู้ป่วยนอกเท่านั้น) ซึ่งหากไม่ได้เปลี่ยนวันที่จะเกิดปัญหาการทำรายการผิดคน ดังกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้ ทั้งนี้สำหรับอาการที่เกิดขึ้นหลังรับประทานยา ได้ชี้แจงว่าเป็นเพียงผลข้างเคียงจากการใช้ยาเท่านั้น สำหรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โชคยังดีที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตราย แต่ทางด้านผู้ร้องก็ยังไม่มีความมั่นใจที่จะกลับไปใช้ยาดังกล่าวอีก เพราะผลข้างเคียงจากยาผิดแปลกไปจากที่เคยได้รับการรักษาที่ผ่านมาแนวทางการแก้ไขปัญหา หากผู้ร้องไม่กลับไปเปลี่ยนยาหรือปล่อยปละละเลยไป ก็อาจมีเหตุการณ์คล้ายกันนี้เกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นแม้ผู้ร้องได้รับยาที่ถูกต้องตามชื่อของตัวเองแล้ว แต่ก็ต้องการให้โรงพยาบาลดังกล่าวปรับปรุงระบบการจ่ายยาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเช่นนี้กับผู้ป่วยรายอื่นๆ อีก ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงส่งหนังสือประสานงานไปกับทางโรงพยาบาลดังกล่าว โดยเบื้องต้นขอให้มีการเยียวยาผู้บริโภคและตรวจสอบระบบการจ่ายยา ซึ่งทางโรงพยาบาลก็ได้ตอบกลับมาและชี้แจงว่า จะปรับปรุงและพัฒนาระบบการจ่ายยาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในอนาคตจะมีการยิงบาร์โค้ดที่ใบสั่งยา ควบคู่กับการคีย์ HN ของคนไข้ (HN หรือ Hospital Number คือหมายเลขของผู้ป่วยนอก ซึ่งโรงพยาบาลจะออกหมายเลขให้สำหรับการลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยที่จะตรวจในโรงพยาบาล) เพื่อความถูกต้องของข้อมูลคนไข้ต่อไป นอกจากนี้ก็พร้อมยินดีที่จะเยียวยาผู้ร้อง ด้วยการชดใช้ค่าเดินทางในการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบยาดังกล่าวจำนวน 500 บาท โดยให้ผู้ร้องส่งเลขที่บัญชีให้กับทางโรงพยาบาลเพื่อโอนเงินให้ผู้ร้องต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 177 เสียงผู้บริโภค

“อยากปิดบัญชีหนี้ ต้องมีเอกสารยืนยัน”เมื่อมีการเจรจาปิดบัญชีหนี้ หากไม่อยากถูกเจ้าหนี้หลอกให้ชำระหนี้บางส่วน ลูกหนี้ต้องเรียกร้องขอเอกสารยืนยันที่ชัดเจน เพราะสามารถใช้ยืนยันทางกฎหมายได้ นี่เป็นกรณีตัวอย่างของการรักษาสิทธิของตัวเอง ด้วยการเรียกร้องขอเอกสารยืนยันการเจรจาปิดบัญชีหนี้ก่อนชำระเงิน ซึ่งกว่าจะได้เอกสารก็ล่วงเลยกำหนดการชำระไปแล้ว ทำให้ผู้ร้องต้องกลายเป็นคนผิดนัดการชำระหนี้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำผิดอะไร ผู้ร้องเป็นหนี้บัตรเครดิต ของธนาคาร กรุงศรีอยุธยาจำกัด จำนวนกว่า 90,000 บาท บริษัทฯ จึงนัดเจรจา เพื่อให้เข้าโปรแกรมส่วนลดหนี้เหลือเป็น 50,000 บาท โดยมีเงื่อนไขให้ชำระภายใน 5 วันถัดมานับจากวันที่มีการเจรจา ซึ่งหากไม่ชำระจะถือว่าการเจรจาส่วนลดนี้เป็นอันยกเลิก เมื่อมีเงื่อนไขแบบนี้ ผู้ร้องจึงยินดีตอบตกลง และเร่งหาเงินมาให้ครบตามจำนวนที่ได้ส่วนลดไว้ เพียงต้องการเอกสารการยืนยันที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทฯ ก่อนการชำระหนี้นั้น อย่างไรก็ตามบริษัทฯ กลับแจ้งว่าสามารถชำระได้เลย โดยจะส่งเอกสารตามไปทีหลัง แน่นอนว่าผู้ร้องไม่ยอมทำตามด้วยการไปชำระหนี้ก่อน ยังคงยืนยันที่จะรอเอกสารยืนยัน เพราะต้องการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ จนในที่สุดเอกสารก็ส่งมา แต่กลับส่งเลยกำหนดการชำระหนี้ที่เคยตกลงกันไว้ จนทำให้ผู้ร้องตกอยู่ในสถานะผิดนัดชำระหนี้ และทำให้การเจรจาดังกล่าวถูกยกเลิก เมื่อเหตุการณ์กลายเป็นอย่างนี้ ผู้ร้องจึงต้องการให้บริษัทฯ แก้ไขความผิดพลาดดังกล่าว ที่ทำให้การเจรจาปิดบัญชีหนี้นั้นต้องสูญเปล่า จึงมาร้องเรียนเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหา ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องทำหนังสือทักท้วงไปที่บริษัทฯ โดยระบุสาเหตุที่ผู้ร้องไม่ชำระหนี้ว่า เป็นเพราะบริษัทฯ ทำเอกสารส่งมาให้ผู้ร้องล่าช้า และเลยวันที่กำหนดชำระหนี้ไปแล้ว ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่ถือว่าเป็นคนผิดสัญญาการชำระหนี้ดังกล่าว ทั้งนี้ระหว่างที่รอบริษัทฯ ส่งเอกสารที่แก้ไขแล้วมาให้ใหม่ ผู้ร้องยังไม่ต้องชำระหนี้นั้น หลังจากบริษัทฯ ได้รับเรื่องก็ยินยอมที่จะแก้ไขวันที่ในเอกสารให้ใหม่ เป็นวันที่ปัจจุบันและขยายกรอบเวลาออกไป ด้านผู้ร้องเมื่อได้รับเอกสารยืนยันที่ชัดเจนแล้ว ก็ดำเนินการชำระหนี้เสร็จสิ้นเรียบร้อย ทั้งนี้สำหรับเอกสารยืนยันการปิดบัญชีหนี้ สามารถถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งหากมีการเจรจาปิดบัญชีหนี้ต้องมีเอกสารยืนยันเสมอ เพราะหากเราไม่มีเอกสารยืนยัน ก็อาจกลายเป็นว่าเราถูกเจ้าหนี้หลอกให้เราชำระหนี้เพียงบางส่วนได้ และเราก็ยังคงต้องชำระเงินเต็มจำนวนเช่นเดิม หรือกรณีที่แย่ไปกว่านั้นคือ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อความบางอย่างในเอกสาร จนทำให้การเจรจาปิดบัญชีหนี้ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ อย่างไรก็ตามเอกสารยืนยันการชำระหนี้ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน แต่ควรมีคำสำคัญดังต่อไปนี้ จึงจะถือว่าเป็นเอกสารที่สามารถมีผลใช้ยืนยันทางกฎหมายได้1. เลขที่สัญญา หรือ เลขที่บัญชีหนี้2. จำนวนเงินที่เป็นหนี้3. จำนวนเงินที่ตกลงกันเพื่อปิดบัญชีหนี้4. ข้อความที่ระบุว่า “หากลูกหนี้ชำระแล้ว จะถือว่าท่านชำระหนี้เสร็จสิ้น ไม่มีหนี้ค้างอยู่กับบริษัท”5. ลายเซ็นผู้มีอำนาจของบริษัทในการอนุมัติปิดบัญชีหนี้ โดนหลอกให้ซื้อของมือสอง“กระทู้เตือนภัย ระวังร้านมือถือขายส่งในห้างดัง / ระวังโดนหลอกซื้อเครื่องย้อมแมว…” เชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับข้อความเหล่านี้ เมื่อกำลังหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเพื่อเลือกซื้อมือถือใหม่สักเครื่อง แต่ก็อย่างที่เรารู้กันดีกว่าหากไม่ได้เป็นเซียนมือถือจริงๆ การแยกแยะความต่างระหว่างเครื่องจริงกับเครื่องปลอม หรือการตรวจสอบว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งจริงหรือไม่ นับวันยิ่งเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้ที่ผู้ร้องต้องการซื้อมือถือมือหนึ่ง แต่โดนต้มจนเปื่อยได้เครื่องมือสองมาใช้ ซึ่งหมดประกันไปแล้วเมื่อ 1 ปีก่อน คุณดวงพรต้องการโทรศัพท์ยี่ห้อ iPhone 4s สีดำมือหนึ่งเครื่องใหม่มาใช้งาน เมื่อเดินเลือกตามร้านตู้ (ร้านตู้กระจกค้าปลีกมือถือ) ในห้างดังแถวอนุสาวรีย์ชัยไปเรื่อยๆ ก็พบร้านที่ถูกใจ หลังตรวจสอบเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ก็พบว่าอยู่ในสภาพดี อีกทั้งทางร้านยังบอกว่าเครื่องรับประกันศูนย์อีก 1 ปี เธอจึงตกลงใจซื้อมาในราคา 10,900 บาท โดยใช้การผ่อนชำระด้วยบัตรเครดิต เหตุการณ์ก็ดำเนินไปได้ด้วยดีจนกระทั่งผ่อนเครื่องหมด ปัญหาจึงเริ่มมาเยือน ผู้ร้องพบว่าเวลาเปิดลำโพงแล้วไม่ได้ยินเสียง หรือเวลารับสายและโทรออกก็ไม่ได้ยินเสียงของฝั่งตรงข้าม จึงนำกลับไปซ่อมที่ร้านเพราะรู้ว่ายังอยู่ในช่วงเวลาการรับประกันตามที่ร้านบอกไว้ อย่างไรก็ตามทางร้านกลับแนะนำว่า ให้เธอนำไปซ่อมที่ศูนย์บริการของโทรศัพท์ iPhone เองจะรวดเร็วกว่า ดังนั้นเธอจึงไปที่ iCare ซึ่งเป็นศูนย์ดูแลหลังการขายของโทรศัพท์ยี่ห้อดังกล่าว แต่แล้วก็ต้องตกใจเมื่อพนักงานนำเครื่องไปตรวจสอบระยะเวลาการรับประกันแล้วพบว่า โทรศัพท์เครื่องนี้ได้มีการเปิดใช้งานตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน และหมดอายุการรับประกันไปกว่า 1 ปีแล้ว! คุณดวงพรจึงกลับมาที่ร้านเดิมและแจ้งเรื่องดังกล่าว ซึ่งก็ได้รับคำตอบที่บ่ายเบี่ยงจากทางร้านว่า ถ้าผู้ร้องไปดำเนินการซ่อมที่ศูนย์เองไม่ได้ ก็จะส่งเครื่องซ่อมที่ศูนย์ให้เอง เพียงแต่อาจจะต้องรอนานกว่าเดิมเท่านั้น เมื่อเหตุการณ์กลายเป็นแบบนี้ ผู้ร้องจึงมั่นใจว่าถูกร้านหลอกให้ซื้อเครื่องมือสองแล้วแน่นอน และที่สำคัญคือทางร้านไม่มีท่าทีจะรับผิดชอบต่อเรื่องนี้เลย เธอจึงมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธ์เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาโชคดีที่ผู้ร้องมีใบเสร็จการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตเก็บไว้ จึงสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานยืนยันได้ ซึ่งสำหรับกรณีนี้ ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ์โทรศัพท์เจรจาไกล่เกลี่ยให้ โดยขอให้รับเครื่องคืนพร้อมคืนเงินให้ผู้บริโภคในราคาที่เป็นธรรม เพราะการที่ผู้ขายไม่บอกความจริงกับผู้ซื้อตั้งแต่ทีแรก อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา ฐานฉ้อโกงหรือหลอกลวงผู้บริโภค แม้ตอนแรกร้านดังกล่าวจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมทำตามข้อเสนอ แต่เพื่อเป็นการยุติไม่ให้ปัญหาบานปลาย และเสื่อมเสียชื่อเสียงของร้านไปมากกว่านี้ จึงยินยอมคืนเงินให้ผู้ร้องจำนวน 7,000 บาท ด้านผู้ร้องก็ยินดีรับเงินจำนวนนั้นไป เพราะไม่อยากเสียเวลาฟ้องร้อง พร้อมสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ซื้อโทรศัพท์มือถือที่ร้านตู้อีก แหม…ใครจะไปซื้อลง มาหลอกกันซะอย่างนี้ ข้อแนะนำ ทั้งนี้แม้ไม่ใช่ร้านตู้ทุกร้านที่จะหลอกลวงผู้บริโภค แต่เราก็ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ โดยเบื้องต้นหากต้องการซื้อเครื่องมือหนึ่งก็ต้องตรวจสอบอายุการรับประกัน ซึ่งมีวิธีง่ายๆ ด้วยการตรวจสอบรหัส Serial number (SN) หรือหมายเลข IMEI (อีมี่) หลังเปิดเครื่องที่เบอร์ *#06# โดยบนหน้าจอจะแสดงเลขจำนวน 15 หลัก เราก็นำเลขเหล่านี้ไปกรอกในเว็บไซต์ต่างๆ ที่สามารถตรวจสอบอายุการรับประกันมือถือได้ ซึ่งจะรู้ทันทีว่าเราได้ของมือหนึ่งหรือมือสองมาครอบครอง เพราะหากทางร้านหลอกลวงเราก็แค่คืนเครื่องนั้นไป โดยไม่ต้องเสียทั้งเงินทั้งเวลานั่นเอง อย่างไรก็ตามสำหรับการตรวจสอบอื่นๆ เช่น วิธีตรวจสอบของแท้หรือของปลอม หรือเครื่องหิ้วเป็นอย่างไร เราก็ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดจากเว็บไซต์ต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ หรือสำหรับกรณีที่เราตรวจสอบดีแล้วแต่เครื่องก็ยังมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดเราสามารถนำกลับไปเปลี่ยนเครื่องใหม่ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ภายใน 7 วัน พร้อมกับไม่ลืมหลักฐานสำคัญต่างๆ เช่น ใบเสร็จรับเงิน เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันทางกฎหมายได้   ระบบจ่ายยาของไทยมีประสิทธิภาพแค่ไหน แม้แพทย์จะวินิจฉัยอาการของโรคถูกต้อง แต่จ่ายยาให้ผู้ป่วยผิดซอง ก็เท่ากับว่าการรักษานั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลย ปัญหาการได้ยาผิดซองเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยทุกคนไม่ต้องการ เพราะนอกจากจะไม่สามารถทุเลาอาการเดิมให้หายได้ ซ้ำยังเพิ่มความเสียหายให้กับร่างกายมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตามเราก็ยังคงพบปัญหานี้อยู่เสมอ แม้ส่วนหนึ่งจะเป็นเพราะผู้ป่วยลืมตรวจสอบยาให้ดีก่อนนำไปรับประทาน เพราะเชื่อว่าน่าจะได้รับยาที่ถูกต้องแล้ว แต่ระบบการจ่ายยาของทุกโรงพยาบาลก็ควรมีประสิทธิภาพมากพอ ที่จะไม่ก่อให้เกิดความผิดพลาดนี้ขึ้น ดังกรณีของผู้ร้องรายนี้ คุณวาสนาใช้สิทธิบัตรทอง เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าด้วยอาการหอบ ไข้สูง ปวดหัว แพทย์ให้พักรักษาตัวเพื่อดูอาการและให้กลับบ้าน โดยสั่งยาให้กลับไปรับประทาน ซึ่งหลังรับประทานยาแล้วพบว่ามีอาการมึนงง ปวดหัวและอาเจียน จึงนำซองยาดังกล่าวมาตรวจสอบ และพบว่าไม่ใช่ชื่อของตนเอง ดังนั้นจึงให้บุตรสาวกลับไปที่โรงพยาบาลเพื่อเปลี่ยนยารักษาให้ถูกต้อง เมื่อกลุ่มงานเภสัชกรรมของทางโรงพยาบาลดังกล่าว ได้ทำการตรวจสอบแล้วแจ้งกลับว่า รายการยาที่ผู้ป่วยได้รับนั้น แม้ชื่อผู้รับบนซองยาผิด แต่เป็นยาที่สั่งจ่ายให้กับผู้ป่วยจริง อย่างไรก็ตามเหตุที่ชื่อบนซองผิดพลาด เนื่องจากการบันทึกรายการยาจะเป็นการบันทึกตาม VN ของผู้ป่วย (VN หรือ Visit Number คือ หมายเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อตรวจสอบจำนวนผู้รับบริการในแต่ละวัน หรือหมายเลขสำหรับผู้ป่วยนอกเท่านั้น) ซึ่งหากไม่ได้เปลี่ยนวันที่จะเกิดปัญหาการทำรายการผิดคน ดังกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้ ทั้งนี้สำหรับอาการที่เกิดขึ้นหลังรับประทานยา ได้ชี้แจงว่าเป็นเพียงผลข้างเคียงจากการใช้ยาเท่านั้น สำหรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โชคยังดีที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตราย แต่ทางด้านผู้ร้องก็ยังไม่มีความมั่นใจที่จะกลับไปใช้ยาดังกล่าวอีก เพราะผลข้างเคียงจากยาผิดแปลกไปจากที่เคยได้รับการรักษาที่ผ่านมา แนวทางการแก้ไขปัญหา หากผู้ร้องไม่กลับไปเปลี่ยนยาหรือปล่อยปละละเลยไป ก็อาจมีเหตุการณ์คล้ายกันนี้เกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นแม้ผู้ร้องได้รับยาที่ถูกต้องตามชื่อของตัวเองแล้ว แต่ก็ต้องการให้โรงพยาบาลดังกล่าวปรับปรุงระบบการจ่ายยาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเช่นนี้กับผู้ป่วยรายอื่นๆ อีก ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงส่งหนังสือประสานงานไปกับทางโรงพยาบาลดังกล่าว โดยเบื้องต้นขอให้มีการเยียวยาผู้บริโภคและตรวจสอบระบบการจ่ายยา ซึ่งทางโรงพยาบาลก็ได้ตอบกลับมาและชี้แจงว่า จะปรับปรุงและพัฒนาระบบการจ่ายยาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในอนาคตจะมีการยิงบาร์โค้ดที่ใบสั่งยา ควบคู่กับการคีย์ HN ของคนไข้ (HN หรือ Hospital Number คือหมายเลขของผู้ป่วยนอก ซึ่งโรงพยาบาลจะออกหมายเลขให้สำหรับการลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยที่จะตรวจในโรงพยาบาล) เพื่อความถูกต้องของข้อมูลคนไข้ต่อไป นอกจากนี้ก็พร้อมยินดีที่จะเยียวยาผู้ร้อง ด้วยการชดใช้ค่าเดินทางในการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบยาดังกล่าวจำนวน 500 บาท โดยให้ผู้ร้องส่งเลขที่บัญชีให้กับทางโรงพยาบาลเพื่อโอนเงินให้ผู้ร้องต่อไป    

อ่านเพิ่มเติม >