ฉบับที่ 176 หวานเว่อร์ อัลไซเมอร์ถามหา

ผู้เขียนเป็นสมาชิกของสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ทันสมัยสุดๆ เพราะเป็นกลุ่มชนที่นำพาชาติเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบประเทศร่ำรวยอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา เยอรมนี แต่ก็มีความกังวลอยู่ เพราะเคยได้ยินคำกล่าวต่อๆ กันมาว่า เมื่อแก่ตัวก็จะหลงๆ ลืมๆ ไปตามวัย ดังนั้นผู้เขียนจึงพยายามถามตัวเองว่า ลืมอะไรบ้างไหมในชีวิตนี้ ซึ่งได้คำตอบว่า ลืมไปเยอะ แต่โชคดีที่ยังไม่เคยลืมว่า เมื่อเช้ากินข้าวกับอะไร อาบน้ำหรือยัง บ้านอยู่ที่ไหน ซึ่งเป็นคำถามเพื่อตรวจสอบการเป็น อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ด้วยความสนใจเกี่ยวกับอัลไซเมอร์ วันหนึ่งผู้เขียนก็ได้พบข้อมูลในเว็บ www.mercola.com กล่าวถึงสมมุติฐานว่า สาเหตุหนึ่งของการเกิดอาการอัลไซเมอร์ คือ พฤติกรรมการกินที่ไม่ดี โดยเฉพาะการกินหวาน ดังนั้นจึงคิดว่าสมาชิกวารสารฉลาดซื้อน่าจะทราบเรื่องนี้ไว้บ้าง สาเหตุของอัลไซเมอร์นั้นค่อนข้างสับสน เนื่องจากไม่มีสัญญาณเตือนจากร่างกาย ดูต่างจากเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งเมื่อรู้หลังตรวจเลือดแล้วมักย้อนคิดกลับไปได้ว่า เกิดเนื่องจากการกินหวานมากไป อย่างไรก็ดีนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพก็ได้พบสัญญาณที่น่าสนใจว่า พฤติกรรมการกินหวานน่าจะเกี่ยวพันกับอาการอัลไซเมอร์ เพราะอาการของโรคนี้ใช้กระบวนการเดียวกับการเกิดอาการเบาหวานประเภทที่ 2 จนเริ่มมีนักวิชาการบางคนเรียกอาการอัลไซเมอร์ว่าเป็น เบาหวานประเภทที่ 3 ในแวดวงวิชาการเกี่ยวกับสมองกล่าวว่า มีนักวิจัยชื่อ S.M. De La Monte จากมหาวิทยาลัย Brown Universtiy ในเมือง Providence รัฐ Rhode Island ได้ตีพิมพ์ผลงานเรื่อง Metabolic derangements mediate cognitive impairment and Alzheimer's disease: role of peripheral insulin-resistance diseases ในวารสาร Panminerva Medica เมื่อปี 2012 ว่าสามารถทำให้หนูทดลองสายพันธุ์ Long Evans มีอาการทางสมองเหมือนเป็นอัลไซเมอร์ (ได้แก่ การกำหนดทิศทางไม่ถูก สับสน ไม่สามารถเรียนรู้และจำได้) โดยใช้ N-nitrosodiethylamine (ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มไนโตรซามีนที่มีอยู่ในอาหารเนื้อหมัก) ฉีดเข้าไปรบกวนระบบการทำงานของอินซูลินในสมองหนู จนเกิดการต้านอินซูลินของเซลล์ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันของการเกิดเบาหวานประเภทที่ 2 สิ่งที่เป็นความรู้ใหม่ต่อผู้เขียนคือ นอกจากอินซูลินถูกสร้างได้ในตับอ่อนแล้ว สมองก็ยังสร้างอินซูลินได้เอง(ความรู้นี้พบในปี 2005) ซึ่งถ้าคิดตามหลักการทางชีวเคมีแล้ว มันก็เป็นสิ่งจำเป็นมากที่สมองต้องสร้างอินซูลินไว้ใช้เอง(น่าจะเพื่อใช้ร่วมกับอินซูลินในเลือดที่สร้างจากตับอ่อนและสำรองเผื่อตับอ่อนสร้างได้น้อยลง) ทั้งนี้เพราะสมองเป็นอวัยวะที่กล่าวได้ว่า ขาดน้ำตาลกลูโคสไม่ได้เลย เมื่อใดก็ตามที่สมองขาดน้ำตาลนี้ สมองจะไร้พลังงาน ซึ่งจำเป็นต่อการสื่อประสาทในการคิด การสั่งการของระบบประสาทส่วนกลาง และการขาดน้ำตาลนั้น ก็คงนำไปสู่การตายของเซลล์สมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการความจำเสื่อมนั่นเอง แม้ว่าน้ำตาลจะสำคัญต่อการทำงานของสมอง แต่การกินน้ำตาลมากเกินไปนั้น กลับก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำอาการต้านอินซูลินของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งไม่ได้มีผลแค่ทำให้เป็นเบาหวานประเภท 2 อย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับกลายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการอัลไซเมอร์ของท่านด้วย สิ่งที่น่าสนใจคือ มีงานวิจัยของ Z. Arvanitakis แห่งศูนย์วิจัยการแพทย์ของมหาวิทยาลัย Rush University ในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เรื่อง Diabetes mellitus and risk of Alzheimer disease and decline in cognitive function ตีพิมพ์ใน Archives in Neurology ชุดที่ 61 ปี 2004 งานวิจัยนี้ทำการศึกษานานถึง 9 ปี ในอาสาสมัคร(อายุมากกว่า 55 ปี) ซึ่งเป็นนักบวชนิกายคาทอลิก(ทั้งบาเตอร์และแม่ชี) แล้วพบว่า อาการเบาหวานนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงต่อโอกาสเป็นอัลไซเมอร์ถึงร้อยละ 65 จึงสันนิษฐานว่า การกินหวานทำให้มีอาการต้านอินซูลินที่เพิ่มการเกิด brain plaque(กลุ่มชิ้นส่วนของโปรตีนที่เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อเซลล์ประสาทในสมอง) ซึ่งบ่งชี้การเกิดอัลไซเมอร์ ผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อการดูแลสุขภาพบางคน อาจเป็นคนชอบกินหวาน แต่พยายามเลี่ยงน้ำตาลทรายหรือซูโครส ซึ่งถูกย่อยให้เป็น กลูโคส ชนิดที่ต้องใช้อินซูลินในการนำเข้าสู่เซลล์ จึงเลี่ยงไปกินอาหารที่ใช้น้ำตาลฟรัคโตส(รวมทั้งผู้บริโภคที่ไม่ได้ตั้งใจจะกินน้ำตาลฟรัคโตส แต่ไปซื้อสินค้าอาหารที่ผลิตทางอุตสาหกรรม ซึ่งนิยมใช้น้ำตาลฟรัคโตสในการผลิต) ซึ่งน้ำตาลชนิดนี้ไม่ต้องใช้อินซูลินในการนำเข้าสู่เซลล์ โดยหวังว่าจะลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความเข้าใจนี้ถือว่า ค่อนข้างผิด ท่านผู้อ่านคงพอจำได้ว่า ในฉลาดซื้อฉบับที่ผ่านมา ผู้เขียนได้กระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคระวังอาหารที่มีองค์ประกอบเป็น น้ำเชื่อมฟรัคโตส ซึ่งปัจจุบันนี้มีข้อกังวลกันว่า ใครก็ตามที่กินเกินวันละ 25 กรัม จะเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น เพราะฟรัคโตสเองสามารถทำให้การควบคุมระดับของอินซูลินเพี้ยนไปเช่นเดียวกับน้ำตาลกลูโคส เรื่องนี้จริงๆ มันก็น่าประหลาดใจอยู่เพราะว่า น้ำตาลฟรัคโตสนั้นมีค่า glycemic index ต่ำ แต่ก็ได้มีการทดลองพบว่า น้ำตาลนี้ลดความสามารถในการเข้าจับกับบริเวณรับของอินซูลินบนผนังเซลล์ ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดคือ กลูโคส สูงขึ้นช้า ๆ โดยผู้บริโภคมิได้สังเกต นอกเหนือไปกว่านั้น การกินอาหารที่มีสารอาหารชนิดหนึ่งสูงเป็นพิเศษ แต่ชนิดอื่นต่ำมากหรือไม่มีเลยนั้น ก่อให้เกิดอันตรายต่อสมองได้ โดยมีผู้ตั้งสมมุติฐานว่า น้ำตาลฟรัคโตสมีบทบาทในการรวนระบบความอยากกินอาหารที่ควบคุมโดยสมอง(brain's craving mechanism) จนสุดท้ายท่านจะหิวมากขึ้นและกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากขึ้นเรื่อย ๆ สมมุติฐานข้างต้นนี้ได้ถูกพิสูจน์ในการทดลองที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียเมืองลอสแอนเจลีส โดยนักวิจัยของภาควิชา Integrative Biology and Physiology ชื่อ R. Agrawal และ F. Gomez-Pinilla  ได้ทำการเลี้ยงหนูด้วยอาหารที่มีน้ำตาลฟรัคโตสสูงแต่ขาดไขมันโอเมกา 3 (ซึ่งสูตรอาหารเลี้ยงหนูนี้เทียบเคียงได้กับอาหารสุดโปรดของชาวอเมริกัน และชาวโลกอื่น ๆ ด้วย) แล้วพบว่า หนูเกิดการต้านอินซูลินและมีการทำงานของสมองเสื่อมลง งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Physiology ชุดที่ 590 ปี 2012 นอกจากปรากฏการณ์ดังกล่าวแล้ว ขณะที่ตับของท่านกำลังสาละวนต่อการใช้น้ำตาลฟรัคโตสเป็นแหล่งพลังงานนั้น สิ่งที่ตับจะลืมทำก็คือ การผลิตโคเลสเตอรอล ซึ่งแม้ว่าเราจะค่อนข้างกลัวไขมันชนิดนี้มานานแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วโคเลสเตอรอลนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญมากของสมอง(เราจึงเรียกว่า มันสมอง เพราะสมองมีไขมันสูง) จนในข้อแนะนำการกินอาหารปี 2015 หรือ Dietary guideline 2015 ของอเมริกันที่กำลังจะคลอดเร็วๆ นี้ได้ปรับเปลี่ยนคำแนะนำหนึ่งว่า เราไม่จำเป็นต้องกังวลในการกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอล เช่น ไข่แดงแล้ว จากข้อมูลที่เล่าให้ฟังนี้ ท่านผู้อ่านคงเลิกสงสัยว่า ทำไมเด็กนักเรียนของเราที่ตื่นแล้วไปโรงเรียนสาย โดยไม่กินข้าวเช้า จึงมีอาการอัลไซเมอร์อ่อนๆ ส่งผลให้ความรู้ที่คุณครูพยายามเคี้ยวและป้อนใส่สมองเด็กนั้น ไร้ประโยชน์ จนเมื่อเด็กเหล่านี้หลุดเข้าไปถึงขั้นมหาวิทยาลัย แล้วจบออกมาเป็นบัณฑิตไร้สาระ จากนั้นเมื่อถึงวันที่พลเมืองอาวุโสต่างๆ ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้เกษียณอายุเพื่อให้บัณฑิตไร้สาระเหล่านี้เข้าทำงานแทน แล้วอนาคตของประเทศจะเป็นเช่นไร ผู้เขียนจะพยายามไม่เป็นอัลไซเมอร์เพื่อรอดูความเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 รู้เท่าทันวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการสอบถามกันจากเพื่อนๆ ทางไลน์และเฟสจำนวนมากว่า มีการชักชวนทางเว็บไซต์ให้ผู้สูงอายุไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เข็มละ 2,000 บาท ฉีดครั้งเดียวสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดชีวิต และมีการกล่าวอ้างให้ไปฉีดที่สภากาชาดไทย (ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวมีบริการฉีดวัคซีนประเภทต่างๆ จำนวนมาก)”  สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดชีวิตจริงหรือไม่  ถ้าจริงก็ยินดีที่จะเสียเงินเพราะคุ้มเนื่องจากไม่ต้องฉีดทุกปีเหมือนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดให้ฟรีตามโรงพยาบาลต่างๆ       การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้จริงหรือไม่  ฉีดครั้งเดียวป้องกันได้ตลอดชีวิตจริงหรือไม่  เรามารู้เท่าทันวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่กันดีกว่า     จาการสืบค้นการทบทวนงานวิจัยใน PubMed และ Cochrane Library พบว่ามีการทบทวนประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างเป็นระบบ ดังนี้     ใน PubMed มีการตีพิมพ์บทความการทบทวนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาณ(meta-analysis) โดยคัดกรองบทความ 5,707 บทความ พบบทความที่เกี่ยวข้อง 31 บทความ  พบว่า  ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย (trivalent inactivated vaccine) แสดงผลใน 8 (67%) จาก 12 ฤดู (ผลรวมของประสิทธิผล 59% ในผู้ใหญ่อายุ 18-65 ปี และผลการป้องกันดังกล่าวจะลดลงอย่างมากหรือไม่มีผลเลยในบางฤดู  และยังไม่มีหลักฐานที่ดีพอในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป  ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อเป็น (live attenuated influenza vaccine) แสดงผลใน 9 (75%) จาก 12 ฤดู  (ผลรวมของประสิทธิผล 83% ในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 7 ขวบ  ในเด็กที่อายุมากกว่านี้จะได้ผลน้อยลง  จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาวัคซีนแบบใหม่ที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่รับรองแล้วในการลดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากไช้หวัดใหญ่     ใน Cochrane Library ได้มีการทบทวนเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในงานวิจัยต่างๆ จำนวนมาก ทั้งในห้องสมุดคอเครน, MEDLINE (1966-2009) EMBASE (1974-2009)  และ Web of Science (1974-2009)  พบว่า  จากหลักฐานงานวิจัยต่างๆ ที่คัดกรองเข้ามาศึกษา 75 บทความ  บทความเหล่านี้มีคุณภาพการศึกษาที่ไม่ดีพอและไม่ยืนยันเกี่ยวกับความปลอดภัย ประสิทธิผล หรือประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นวัคซีนแบบเชื้อตายที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่  ในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป   จึงควรที่จะมีการศึกษาแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม โดยทำการศึกษาในระยะเวลาหลายฤดู เพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเชื่อถือได้     สรุปว่า ในขณะนี้ยังไม่หลักฐานทางการแพทย์หรือการวิจัยที่ดีพอ ที่จะยืนยัน นั่งยันได้ว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตายสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุได้อย่างจริงจัง ได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  และในบางฤดูกาลกลับได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเลย  ยกเว้นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นจะได้ผลในเด็กเล็กก่อน 7 ขวบเท่านั้น  จึงควรที่ผู้สูงอายุจะกลับมาที่การดูแลสุขภาพตนเอง  ออกกำลังกายให้แข็งแรง  ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จากผู้อื่น จะเป็นสิ่งที่ได้ผลมากกว่าการฉีดวัคซีน    คงต้องเพิ่มอีกข้อในกาลามสูตรว่า อย่าเชื่อเพราะไลน์หรือเฟสส่งต่อกันมา (มา อนุสฺสเวน)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 อยากผิวขาวใสทำอย่างไรดีนะ

กระแสผิวขาวยังคงแรงดีไม่มีตก สาวๆ ส่วนใหญ่ต่างพากันหาสารพัดวิธีเนรมิตผิวสวย แหล่งข้อมูลหลักก็หนีไม่พ้นรีวิวจากในอินเทอร์เน็ต บ้างทำตามแล้วก็สมหวังแต่บางคนอาจเสียสวย ต้องรีบหาวิธีทำให้ผิวกลับมาเป็นอย่างเดิม อย่างวิธีฮิตล่าสุดการ “ลอกผิว” เพื่อให้ผิวขาวใส จะได้ผลลัพธ์สมใจหรือเสียใจอย่างไรเรามีข้อมูลมาฝากค่ะ ทำความรู้จักกับผิวหนังกันก่อนแม้ผิวหนังของเรามีความแตกต่างกัน แต่มีหน้าที่หลักในการทำงานเหมือนกันคือ ช่วยปกป้องอวัยวะภายในร่างกาย ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการกระแทก แสงแดด หรือเชื้อโรคต่างๆ ช่วยรับรู้การสัมผัสและควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ แล้วเราจะลอกผิวหนังออกไปเพื่ออะไรผิวหนังชั้นนอกสุดของเราจะมีกระบวนการผลัดเซลล์ผิวเก่า และสร้างเซลล์ใหม่ออกมาอย่างสม่ำเสมอเรียกว่า ขี้ไคล ซึ่งการขัดผิวหรือลอกผิวก็จะช่วยกำจัดเซลล์ที่ตายแล้วเหล่านี้ออกไป ทำให้ดูเหมือนว่าสีผิวของเราขาวขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามเนื่องจากผิวของเรามีสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว หากมีการขัดถูหรือลอกผิวบ่อยครั้ง ก็ทำให้ผิวของเราเกิดภาวะขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้ผิวหนังแห้งแตก ลอกเป็นขุยได้ หรือสารเคมีเหล่านั้นก็อาจเร่งให้ผิวเสื่อมสภาพเร็วขึ้น มีผลระยะยาวให้ผิวหยาบกร้าน มีรอยด่างดำและเหี่ยวย่นได้ ผศ.พญ.สุวิรากร โอภาสวงศ์ ประธานประชาสัมพันธ์ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ว่า ในทางการแพทย์มีวิธีการลอกผิวด้วยสารเคมีที่มีความปลอดภัยมานานแล้ว โดยใช้ลอกเพื่อรักษาผู้ที่มีปัญหาผิวหน้า เช่น หลุมสิว ฝ้า ภาวะสีผิวไม่สม่ำเสมอ แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะการนำกรดต่างๆ มาใช้เพื่อลอกผิวเอง เพื่อทำให้ผิวชั้นนอกลอกออกมาเป็นแผ่น เป็นกรดที่ไม่มีความปลอดภัยสามารถทำให้ผิวไหม้ได้ เช่น การใช้น้ำกรดผสมสารปรอทลอกผิว ซึ่งผู้ใช้จะไม่รู้สึกเจ็บปวดเพราะมีการใส่ยาชาลงไปด้วย หรือการใส่สีต่างๆ เพื่ออวดอ้างสรรพคุณว่าเหมาะกับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย โดยหากใช้น้ำยาพวกนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ผิวหนังชั้นนอกก็จะตายไปด้วย ทำให้เมื่อเจอกับแสงแดดผิวก็จะกลับมาดำคล้ำยิ่งกว่าเดิม และมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังมากกว่าคนปกติ หรือกรณีที่รุนแรงกว่านี้ผิวหนังก็อาจส่งผลให้ผิวเกิดแผลไหม้และติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตามคำโฆษณาส่วนใหญ่ มักบอกว่าการลอกผิวปลอดภัย เพราะใช้กรด  AHA หรือกรดผลไม้มาลอกผิวนั้น พบว่าแม้กรดดังกล่าวจะมีฤทธิ์กระตุ้นการผลัดผิวชั้นนอกออกไป ช่วยผิวกระจ่างใส ริ้วรอยและจุดด่างดำจางลงได้ แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรส่วนผสมอื่นๆ ในครีมลอกผิวเหล่านั้นจะได้มาตรฐาน หรืออยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่เข้มข้นสูงเกินไป เพราะการใช้กรด  AHA ลอกผิวเป็นเวลานานสามารถทำให้ผิวบางลง ทำให้ได้รับอันตรายจากแสงแดดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้สำหรับการลอกผิวจุดเล็กๆ เช่น การนำหอมแดงมาแต้มสิว เพื่อทำให้รอยจุดด่างดำจากสิวหายไป  ก็พบว่ายังไม่มีความปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อของกระเทียม หอมแดง หรือหอมหัวใหญ่ แม้ช่วยลดจุดด่างดำ เนื่องจากกรดจะลอกเนื้อเยื่อที่ตายออก แต่ก็สามารถส่งผลให้ผิวหนังระคายเคืองได้ จึงต้องระมัดระวังปริมาณการใช้ และตรวจสอบสภาพผิวของตนเองก่อน หากใช้ไปนานๆ อาจทำให้ผิวหน้าบาง เมื่อถูกแดดจะทำให้หน้าแดงและอักเสบ หรือเกิดฝ้าได้ง่ายควรดูแลผิวอย่างไร ให้ขาวปลอดภัยสบายใจไปนานๆการดูแลให้ผิวสวยใสควรปฏิบัติควบคู่กันไปทั้งภายในและภายนอก โดยเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อผิว ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือการรับประทานผักผลไม้ที่มีวิตามินต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อผิวและสุขภาพ ควรดูแลตัวเองจากปัจจัยภายนอกด้วย เช่น หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เร่งให้ผิวเสียด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือไม่ยอมทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน นอกจากนี้ควรมีการขัดผิวอาทิตย์ละครั้งเพื่อกำจัดเซลล์ที่ตายแล้ว ด้วยวิธีที่ปลอดภัยอย่างสมุนไพรประจำบ้านเรา เช่น มะขามเปียก เนื่องจากมีกรด AHA ที่จะช่วยลอกผิวหนังชั้นบนที่ตายออก ทำให้รอยแผลเป็นจางลงได้ แต่ไม่ควรใช้บ่อยๆ เพราะอาจทำให้ผิวบางและไวต่อแสงแดด หรือใช้ขมิ้นชันขัดตัว เพราะมีคุณสมบัติยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน จึงสามารถทำให้สีผิวกระจ่างใสขึ้นได้ แม้วิธีต่างๆ เหล่านี้อาจจะไม่เห็นผลทันใจเหมือนวิธีลัดอย่างการลอกผิวด้วยสารเคมี แต่ก็ปลอดภัยและสวยในชาตินี้ไปได้นานๆ เพราะคงไม่มีใครอยากได้ผลแทรกซ้อนจากการลอกผิวด้วยสารเคมี อย่างผิวสวยเปลี่ยนสี เกิดรอยดำรอยไหม้ หรือติดเชื้อแบคทีเรียหรอก จริงไหมคะ*อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล / สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 ออกซิเจนไม่ได้มีไว้แค่หายใจ (แต่มีไว้ให้เสียสตางค์ด้วย)

ผมได้รับโทรศัพท์สอบถามจากผู้บริโภครายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า เขาได้รับการชักชวนจากเพื่อนสนิทซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่ายขายตรงแห่งหนึ่ง แนะนำผลิตภัณฑ์เสริมออกซิเจน(เป็นของเหลวใส่ขวดประมาณ 30 มิลลิลิตร) ให้เขาลองนำไปรับประทาน  แต่ไม่ได้ให้ลองฟรีนะครับ ค่าลองครั้งนี้ราคา 2,500 บาท  โดยเพื่อนที่ขายให้เขาอ้างว่าผลิตภัณฑ์เสริมออกซิเจนนี้ จะสามารถเติมออกซิเจนให้กับร่างกายได้  หากรับประทานประจำแล้วจะไม่เป็นโรคมะเร็ง(เจ้าของแบรนด์เป็นบุคลากรทางการแพทย์นำเข้ามาจากอเมริกา) ผู้บริโภคท่านนี้เห็นท่าไม่น่าเป็นไปได้ (แต่ดันเสียเงินไปแล้ว) จึงโทรศัพท์มาสอบถาม ผมเข้าไปสืบค้นข้อมูลของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ในอินเตอร์เน็ต โดยเริ่มจากเว็ปไซต์ของบริษัทที่จำหน่าย พบว่าเป็นบริษัทขายตรงแห่งหนึ่ง มีผลิตภัณฑ์หลายชนิดจำหน่าย รวมทั้งผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ด้วย เมื่ออ่านรายละเอียดก็บรรยายสรรพคุณไม่มาก บอกว่าช่วยในการเติมออกซิเจนให้ร่างกาย พร้อมเติมเต็มสารอาหาร 129 ชนิดที่ร่างกายต้องการ  เพราะการรับประทานอาหารในแต่ละวัน อาจได้สารอาหารไม่ครบ วิธีรับประทาน  ให้หยดผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ จำนวน 8 หยดลงในน้ำหรือน้ำผลไม้หนึ่งแก้ว ดื่มวันละ 2 – 3 ครั้ง ดูไปแล้วก็ไม่ได้โฆษณาสรรพคุณมหัศจรรย์ อย่างที่ผู้บริโภคสอบถามแต่เมื่อผมลองไปค้นข้อมูลในแหล่งต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต กลับพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมออกซิเจนชนิดนี้ มีการโฆษณาในที่อื่นๆ อีกมาก และโฆษณาอย่างเกินจริงมากกว่าในเว็บของบริษัทด้วยซ้ำ  เช่น บอกว่าเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ทำให้เลือดมีสภาวะปกติ เหมาะมากสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด โดยอ้างว่าเมื่อร่างกายมีออกซิเจนมากขึ้นก็จะแข็งแรงมากขึ้น  ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้คือ  สารละลายแร่ธาตุ 27% กรดอะมิโน 8%  น้ำส้มสายชู หมักจากข้าว 6%  สารสกัดจากจมูกข้าวสาลี 4% มีการระบุเลข อย.ชัดเจน ซึ่งแสดงว่ามันเป็นอาหาร แต่ก็โอ้อวด บรรยายสรรพคุณซะเข้าข่ายยา แถมเป็นยาผีบอกที่ไม่มีหลักฐานอะไรพิสูจน์ด้วยซ้ำ อย่างนี้ก็ผิดกฎหมายแน่นอน ในยุคที่โลกเชื่อมโยงกันด้วยอินเตอร์เน็ต โอกาสที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายจะถึงตัวผู้บริโภคได้เร็วขึ้น ผู้บริโภค อย่าเพิ่งผลีผลามเชื่อข้อมูลที่เห็น  ให้ยึดหลวงพ่อเอ๊ะไว้ก่อน “เอ๊ะ!จริงหรือ?” , “เอ๊ะ!เป็นไปได้หรือ?”, “เอ๊ะ!หลอกฉันหรือ?”  หลังจากนั้นสติมันจะมา  แล้วรีบใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ต่อไปเลย และถ้าเจอพิรุธก็รีบใช้อินเตอร์เน็ตร้องทุกข์ไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยด่วน อย.เขาให้ร้องทุกข์ได้ฟรีครับ ไม่ต้องเสียสตางค์ 2,500 บาทแบบผลิตภัณฑ์เสริมออกซิเจนด้วยครับ  ส่วนใครอยากได้ออกซิเจนเยอะๆ ขอแนะนำให้สูดหายใจเข้าให้ลึกๆ แค่นี้ก็ได้ออกซิเจนเต็มปอดครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 สูงวัย ไม่โอเค...สักนิด

ผลจากที่องค์กรผู้บริโภคและผู้บริโภค  ร่วมกันส่งเสียงถึงความไม่เป็นธรรมในหลายเรื่อง  ทำให้ช่วงนี้มีข่าวที่น่าพอใจของผู้บริโภคปรากฏในสื่อต่างๆ หลายเรื่อง  เช่น  คำตัดสินของศาลปกครองกลาง    “กรณีมูลนิธิผู้บริโภคและเครือข่ายชนะคดีที่ฟ้องการขึ้นค่าทางด่วนโทลล์เวย์  ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค”  และ  “การระงับโฆษณาประกันสุขภาพผู้สูงอายุที่โฆษณา ไม่ตรงกับสัญญากรมธรรม์”   ต้องยอมรับว่านี่คือความก้าวหน้าของประเด็นผู้บริโภค  แต่ประเด็นที่เกิดขึ้นนี้  จะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าผู้บริโภคไม่ร่วมมือลุกขึ้นมาปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง  เพราะยังมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับประกันภัยด้านสุขภาพเกิดขึ้นอยู่เนือง ๆ   ต้นเดือน กันยายน 2558  คุณอี๊ด(นามสมมุติ)มาหารือว่า  ได้ทำประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ คุ้มครองสุขภาพด้วย  ส่งเงินปีละประมาณ 2 หมื่นบาท ต่อเนื่องมา 2 ปี  พอเข้าปีที่ 3 มีปัญหาปวดไหล่มาก  หมอตรวจแล้วบอกว่า ต้องผ่าเพื่อรักษา  เขาจึงไปปรึกษากับตัวแทน ที่ขายประกันภัยให้เขา  ตัวแทนแนะนำให้ไปผ่าที่กรุงเทพฯ เลย”เรามีประกัน” เมื่อตัวแทนแนะนำเขาก็เข้าไปผ่าที่ รพ.ใน กทม. นอนพักฟื้นอยู่ 5 วันมีค่าใช้จ่าย  1 แสนบาทเศษ  พอประสานงานกับตัวแทนประกันฯ เพื่อใช้สิทธิ ตัวแทนไม่พูดอะไรเมื่อฟังว่าค่ารักษาเท่าไหร่  เงียบไปเลย  โทรไปก็ไม่คุยด้วย  สรุปจ่ายเงินเองไปก่อน   พอกลับมาสมุทรสงครามได้ไปประสานกับบริษัทประกันเพื่อเคลียร์ค่าใช้จ่าย   ปรากฏว่า บริษัทปฏิเสธการจ่ายสินไหมทดแทน  ด้วยเหตุผล ผู้เอาประกันมีประวัติเกี่ยวกับแขนข้างที่ผ่าตัดที่ “เคยตกต้นไม้ มาก่อน” แต่ไม่แจ้งต่อผู้ขายประกัน  คุณอี๊ดบอกต่ออีกว่า  จริงๆ บอกตัวแทน(ขนาดโฆษณาบอกว่าไม่ถามเรื่องสุขภาพนะ อันนี้บอกเองเลย) แล้วตัวแทนบอกไม่เป็นไร ทำได้ เขาก็จ่ายเงินซื้อประกันมาอย่างต่อเนื่อง   สุดท้ายยังตกลงกันไม่ได้  ต้องดำเนินการขั้นตอนต่อไปบทเรียนเรื่องนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าผู้บริโภค  ให้ความสำคัญกับคำบอกเล่าของตัวแทนขายประกันมากกว่า  “การอ่านกรมธรรม์” เพราะถ้าอ่านเขาจะทราบ “วงเงินในการรักษา”แต่ละครั้งในกรมธรรม์กำหนดไว้เท่าไร  เพราะถ้ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าที่กำหนดในกรมธรรม์  ส่วนต่างนั้นผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเอง   รวมถึงข้อยกเว้นต่างๆ ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์  เพื่อให้ทราบว่าเขาคุ้มครองอะไรเราบ้าง  และการคุ้มครองนั้นคุ้มค่าเงินที่เราต้องจ่ายไปหรือไม่    การอ่านกรมธรรม์ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง  อ่านแล้วพบว่า ไม่โอเค ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิขอยกเลิกกรมธรรม์ได้    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 “ทำประกัน จ่ายครบ แต่คืนไม่ครบ (อีกแล้ว)”

“การทำประกันชีวิต นอกจากจากช่วยคุ้มครองผู้ทำประกันภัยจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันแล้ว ยังสามารถเป็นการสะสมทรัพย์รูปแบบหนึ่ง เพราะเมื่อเราส่งครบตามกำหนดสัญญา สุดท้ายเบี้ยประกันพร้อมเงินปันผลต่างๆ ก็จะกลับคืนมาให้ผู้ทำประกันอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย…”หลายคนคงคุ้นเคยกับประโยคยาวๆ ข้างต้น เพราะเรามักจะได้ยินเสมอเมื่อกำลังถูกโน้มน้าวใจให้ทำประกันชีวิต ซึ่งหากความจริงเป็นไปตามที่ตัวแทนกล่าวไว้ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่เหตุการณ์ก็มักจะเกิดขึ้นตรงกันข้ามมากกว่า ดังที่เราจะเห็นข่าวการฟ้องร้องกรณีประกันภัยจ่ายไม่ครบ หรืออาจบอกเลิกสัญญากรมธรรม์กับเรากะทันหันกันมากมาย เช่นเดียวกันกับผู้ร้องรายนี้ ที่ได้ทำประกันชีวิตระยะยาว ซึ่งสุดท้ายก็ได้เงินคืนไม่ครบ โดยที่ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรด้วยซ้ำเมื่อปี พ.ศ. 2536 ผู้ร้องทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 21 ปี กับบริษัทประกันภัย เอไอเอ จำกัด ซึ่งต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 16,138 บาท โดยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์จะมีการจ่ายคืนทุกๆ 3 ปี จำนวน 6 งวด งวดละ 20,000 บาท และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญา 21 ปีก็จะจ่ายเงินงวดสุดท้ายคืนให้อีกจำนวน 280,000 บาท ซึ่งแน่นอนว่าอายุสัญญาครบกำหนดเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา แต่ผลประโยชน์ตอบแทนกลับไม่เป็นไปตามที่ได้แจ้งไว้เมื่อ 21 ปีก่อน ผู้ร้องได้รับเงินคืนงวดแรกทุกๆ 3 ปีจำนวน 6 งวดรวมทั้งสิ้น 120,000 บาทและงวดสุดท้ายอีก 239,000 บาท ซึ่งขาดไปอีก 41,000 บาท เมื่อสอบถามไปยังตัวแทนประกันก็ไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดได้ โดยบอกเพียงว่าให้ติดต่อกับบริษัทฯ ที่กรุงเทพเอง ดังนั้นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตนเองและรักษาผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ผู้ร้องจึงขอความช่วยเหลือมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคผ่านการส่งรายละเอียดทั้งหมดมาให้ทางจดหมายแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิแนะนำให้ผู้ร้องส่งหนังสือทวงถามจำนวนเงินที่ขาดไป และนัดเจราจากับบริษัทฯ ซึ่งภายหลังได้ยินยอมจ่ายเงินส่วนที่ขาดไปเพียง 31,000 บาท โดยไม่สามารถชี้แจงเหตุผลถึงเงินส่วนที่เหลืออีก 10,000 บาท ได้ว่าทำไมถึงไม่จ่ายคืนให้ครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา ด้านผู้ร้องก็เห็นว่าหากต้องฟ้องร้องคดีในศาล แม้จะรู้ว่าต้องชนะแน่นอน แต่ก็ต้องเสียเวลาอีกนาน จึงยินยอมรับเงินจำนวนนั้นไปสำหรับการฟ้องร้องเงินคืนไม่ครบตามสัญญานั้น ผู้บริโภคมักจะเป็นฝ่ายชนะคดีเสมอ โดยบริษัทก็ต้องเสียเงินมากกว่าค่าเบี้ยประกันที่คืนให้ไม่ครบ แต่กว่าจะชนะคดีก็ต้องเสียเวลานาน ทางออกจึงมักยุติได้ที่การเจรจาไกล่เกลี่ย ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องทำใจยอมรับการเสียประโยชน์ “เล็กน้อย” จากความไม่ซื่อสัตย์ของบริษัทประกันภัยนั้นไปโดยปริยาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 “หนี้จากบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้”

อิทธิพลของยุคซื้อก่อนแล้วค่อยจ่าย ทำให้คนส่วนใหญ่นิยมใช้บัตรเครดิต เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระเงินในกระเป๋า จนบางครั้งเปิดกระเป๋ามาเจอบัตรเครดิตเยอะกว่าเงินก็มี อย่างไรก็ตามบัตรเครดิตเหล่านี้ก็อาจสร้างภาระให้เราแทนได้ หากเราใช้จ่ายมากเกินไปจนกลายเป็นหนี้ หรืออย่างในกรณีนี้ที่ไม่ได้ใช้จ่ายแต่ดันเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัวเมื่อ 3 ปีก่อน ผู้ร้องเคยสมัครบัตรเครดิตกับธนาคาร UOB แต่ไม่เคยใช้ซื้อสินค้าใดๆ เพราะมีบัตรเครดิตอื่นที่ใช้บริการเป็นประจำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามแม้ไม่มีการเปิดใช้บริการ แต่ค่าธรรมเนียมรายปีก็ไม่ได้ยกเว้น เธอจึงตัดปัญหาภาระที่ไม่จำเป็น ด้วยการโทรศัพท์ไปที่ Call center ของธนาคารเพื่อยกเลิกบัตรใบนี้ ซึ่งพนักงานก็ได้ดำเนินการยกเลิกให้เธอเรียบร้อย แต่หลังจากนั้นเหตุการณ์กลับไม่ได้ดำเนินไปได้ด้วยดีอย่างที่คิดต้นปี 2557 เธอได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเร่งรัดหนี้สินของธนาคารดังกล่าวว่า ขอให้ชำระหนี้จากการนำบัตรเครดิตไปกดเงินสดจากตู้ ATM รวมแล้วจำนวนกว่า 2 แสนบาท ซึ่งเธอก็ได้ชี้แจงกลับไปว่า ไม่เคยเปิดใช้บริการหรือทำธุรกรรมทางการเงินใดๆ กับบัตรเครดิตใบนี้ เจ้าหน้าที่จึงให้เธอหาทางดำเนินการแก้ต่างให้ตัวเอง ด้วยการแนะนำให้โทรศัพท์ไปที่ Call center หรือฝ่ายตรวจสอบการทุจริตของธนาคาร ซึ่งใช้เวลาไม่น้อยเลยกว่าจะได้รับการติดต่อประสานงานกลับมา พร้อมกับคำตอบว่าให้ไปแจ้งความเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริง เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นเจ้าของบัตรต้องรับผิดชอบเอง เมื่อได้รับคำตอบเช่นนั้นเธอจึงต้องทำตามคำแนะนำ โดยการไปแจ้งความขอภาพจากกล้องวงจรปิดตามตู้ ATM ต่างๆ ที่มีการกดเงินจำนวนนั้นไป และโทรศัพท์ไปยังธนาคารต่างๆ ให้เก็บภาพวงจรปิดไว้ ซึ่งในที่สุดก็เห็นว่าคนที่มากดเงิน เป็นชายใส่หมวกนิรภัยปิดหน้าที่เธอไม่รู้จัก ต่อมาจึงประสานกลับไปยังเจ้าหน้าที่ของธนาคารดังกล่าว เพื่อขอร้องให้ตรวจสอบข้อมูลของบัตรและพบว่า มีไฟล์เสียงของเธอที่ยืนยันการเปิดและยกเลิกบัตรเครดิตทางโทรศัพท์ โดยภายหลังได้ตกลงกับเจ้าหน้าที่ว่าจะถือบัตรเครดิตใบนี้ต่อ แต่ให้มีการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ได้ดำเนินการให้เรียบร้อยจากข้อมูลที่เจ้าหน้าที่แจ้งมา เธอยืนยันกลับไปว่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะไม่เคยตกลงเจรจากับธนาคารเช่นนั้น จึงขอไฟล์บันทึกเสียงที่อ้างข้อมูลดังกล่าวมาพิสูจน์ข้อเท็จจริง แต่ธนาคารกลับไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องของเธอง่ายๆ คลิปเสียงที่จะเป็นพยานสำคัญในการเอาผิดผู้ร้องกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะธนาคารไม่ยอมส่งคลิปเสียงทั้งหมดมาให้ โดยอ้างว่าบางส่วนได้ทำลายทิ้งไปแล้ว และที่มีอยู่ก็เป็นไฟล์เสียงที่ไม่สมบูรณ์อีก มากไปกว่านั้น เมื่อผู้ร้องตรวจสอบวันเวลาของไฟล์ดังกล่าว ก็พบว่าไม่ตรงกับที่เจ้าหน้าที่อ้างไว้ตอนแรก นอกจากนี้การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องก็ยากขึ้นเรื่อยๆในที่สุดธนาคารจึงปล่อยไม้เด็ดคือ ไม่ตอบข้อร้องเรียนหรือหลักฐานไฟล์เสียงที่ผู้ร้องขอ เพียงส่งหนังสือระบุว่า ตามเงื่อนไขสัญญาการทำบัตรเครดิต เจ้าของบัตรต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้สถานะของผู้ร้องคือ เป็นหนี้แล้วไม่ยอมจ่าย และการที่ผู้ร้องทำหนังสือไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้มีการตรวจสอบข้อมูลนั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะแม้จะเป็นธนาคารแห่งชาติก็ไม่มีสิทธิที่จะมาตรวจสอบระบบเชิงลึกรายบุคคล เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ผู้ร้องจึงมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิแนะนำให้ผู้ร้อง ทำหนังสือปฏิเสธการชำระหนี้ตามที่ธนาคารได้กล่าวอ้าง เพราะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าผู้ร้องเป็นผู้กดเงินสดจำนวนนั้นไป นอกจากนี้ข้อสังเกตต่างๆ ที่ผู้ร้องได้ทำหนังสือร้องเรียนก็ไม่ได้รับการอธิบาย โดยในระหว่างนี้เรื่องอยู่ระหว่างการเจราจาที่อัยการ ซึ่งผู้ร้องได้เรียกร้องให้ยุติการเรียกเก็บหนี้ทั้งหมดที่ธนาคารกล่าวอ้าง เพราะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารอื่นๆ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯ ก็จะติดตามความคืบหน้าของกรณีนี้ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 “ไข่ดาวเป็นเหตุ”

สั่งสินค้าตามโปรโมชั่น แต่กลับได้รับของจริงไม่ครบ เพราะผู้ผลิตอ้างว่าลืมแปะรายละเอียดเล็กๆ เอาไว้ ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราต้องเดือดร้อนกรณีนี้เกิดขึ้นที่ร้าน แมคโดนัลด์ สาขาเทสโก้โลตัส พระราม 3 จากการติดป้ายโฆษณาภาพโปรโมชั่นชุดอาหาร “มอบความสุข 2 ต่อที่แมคโดนัลด์” ที่ประกอบด้วยแมคข้าวกะเพราไข่ดาว 2 จาน ปีกไก่สไปซี่ 2 ชิ้นและโค้ก 2 แก้ว ราคา 149 บาท ดึงดูดใจให้ผู้ร้องเข้าไปรับประทานอาหาร แต่เมื่อสั่งอาหารชุดนี้ไปแล้วกลับพบว่าได้อาหารไม่ครบ เพราะขาดไข่ดาวตามรูปบนป้ายโฆษณา เมื่อทักท้วงไปกับพนักงานจึงได้คำตอบว่า ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 10 บาท ถึงจะได้รับไข่ดาวเหตุการณ์เช่นนี้ได้ทำให้ผู้ร้องมีความรู้สึกว่าตนเองถูกหลอก เพราะไม่มีรายละเอียดดังกล่าวระบุไว้ในป้ายโฆษณาเลย จึงถ่ายรูปหลักฐานต่างๆ เก็บไว้ และมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะอยากให้ผู้ผลิตแสดงความรับผิดชอบที่หลอกลวงผู้บริโภคด้วยป้ายโฆษณาแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีนี้นับว่าเป็นตัวอย่างในการเอาผิดป้ายโฆษณาที่เอาเปรียบ หรือสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค เพราะหากมีข้อยกเว้นหรือรายละเอียดใดๆ ที่ทำให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มจากราคาที่ตั้งไว้ ก็ควรแสดงให้ผู้บริโภคสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน  หลังจากแนะนำให้ผู้ร้องส่งหนังสือร้องเรียนไปที่ บริษัท แมคโดนัลด์ สำนักงานใหญ่ ศูนย์พิทักษ์สิทธิจึงนัดเจรจากับตัวแทนของบริษัทฯ ซึ่งได้ขอโทษและมอบของขวัญเป็นชุดอาหารให้ผู้ร้องได้รับประทาน พร้อมชี้แจงว่า ไม่ได้ตรวจสอบป้ายดังกล่าวก่อนนำไปวางโฆษณา และเกิดความผิดพลาดในการสื่อสารการตลาด แต่ได้ดำเนินการแก้ไขโดยเก็บป้ายชุดอาหารดังกล่าวออกจากโฆษณาเรียบร้อยแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 176 เสียงผู้บริโภค

“ทำประกัน จ่ายครบ แต่คืนไม่ครบ (อีกแล้ว)”“การทำประกันชีวิต นอกจากจากช่วยคุ้มครองผู้ทำประกันภัยจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันแล้ว ยังสามารถเป็นการสะสมทรัพย์รูปแบบหนึ่ง เพราะเมื่อเราส่งครบตามกำหนดสัญญา สุดท้ายเบี้ยประกันพร้อมเงินปันผลต่างๆ ก็จะกลับคืนมาให้ผู้ทำประกันอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย…” หลายคนคงคุ้นเคยกับประโยคยาวๆ ข้างต้น เพราะเรามักจะได้ยินเสมอเมื่อกำลังถูกโน้มน้าวใจให้ทำประกันชีวิต ซึ่งหากความจริงเป็นไปตามที่ตัวแทนกล่าวไว้ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่เหตุการณ์ก็มักจะเกิดขึ้นตรงกันข้ามมากกว่า ดังที่เราจะเห็นข่าวการฟ้องร้องกรณีประกันภัยจ่ายไม่ครบ หรืออาจบอกเลิกสัญญากรมธรรม์กับเรากะทันหันกันมากมาย เช่นเดียวกันกับผู้ร้องรายนี้ ที่ได้ทำประกันชีวิตระยะยาว ซึ่งสุดท้ายก็ได้เงินคืนไม่ครบ โดยที่ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรด้วยซ้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2536 ผู้ร้องทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 21 ปี กับบริษัทประกันภัย เอไอเอ จำกัด ซึ่งต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 16,138 บาท โดยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์จะมีการจ่ายคืนทุกๆ 3 ปี จำนวน 6 งวด งวดละ 20,000 บาท และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญา 21 ปีก็จะจ่ายเงินงวดสุดท้ายคืนให้อีกจำนวน 280,000 บาท ซึ่งแน่นอนว่าอายุสัญญาครบกำหนดเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา แต่ผลประโยชน์ตอบแทนกลับไม่เป็นไปตามที่ได้แจ้งไว้เมื่อ 21 ปีก่อน ผู้ร้องได้รับเงินคืนงวดแรกทุกๆ 3 ปีจำนวน 6 งวดรวมทั้งสิ้น 120,000 บาทและงวดสุดท้ายอีก 239,000 บาท ซึ่งขาดไปอีก 41,000 บาท เมื่อสอบถามไปยังตัวแทนประกันก็ไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดได้ โดยบอกเพียงว่าให้ติดต่อกับบริษัทฯ ที่กรุงเทพเอง ดังนั้นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตนเองและรักษาผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ผู้ร้องจึงขอความช่วยเหลือมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคผ่านการส่งรายละเอียดทั้งหมดมาให้ทางจดหมาย แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิแนะนำให้ผู้ร้องส่งหนังสือทวงถามจำนวนเงินที่ขาดไป และนัดเจราจากับบริษัทฯ ซึ่งภายหลังได้ยินยอมจ่ายเงินส่วนที่ขาดไปเพียง 31,000 บาท โดยไม่สามารถชี้แจงเหตุผลถึงเงินส่วนที่เหลืออีก 10,000 บาท ได้ว่าทำไมถึงไม่จ่ายคืนให้ครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา ด้านผู้ร้องก็เห็นว่าหากต้องฟ้องร้องคดีในศาล แม้จะรู้ว่าต้องชนะแน่นอน แต่ก็ต้องเสียเวลาอีกนาน จึงยินยอมรับเงินจำนวนนั้นไป สำหรับการฟ้องร้องเงินคืนไม่ครบตามสัญญานั้น ผู้บริโภคมักจะเป็นฝ่ายชนะคดีเสมอ โดยบริษัทก็ต้องเสียเงินมากกว่าค่าเบี้ยประกันที่คืนให้ไม่ครบ แต่กว่าจะชนะคดีก็ต้องเสียเวลานาน ทางออกจึงมักยุติได้ที่การเจรจาไกล่เกลี่ย ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องทำใจยอมรับการเสียประโยชน์ “เล็กน้อย” จากความไม่ซื่อสัตย์ของบริษัทประกันภัยนั้นไปโดยปริยาย  “หนี้จากบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้”อิทธิพลของยุคซื้อก่อนแล้วค่อยจ่าย ทำให้คนส่วนใหญ่นิยมใช้บัตรเครดิต เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระเงินในกระเป๋า จนบางครั้งเปิดกระเป๋ามาเจอบัตรเครดิตเยอะกว่าเงินก็มี อย่างไรก็ตามบัตรเครดิตเหล่านี้ก็อาจสร้างภาระให้เราแทนได้ หากเราใช้จ่ายมากเกินไปจนกลายเป็นหนี้ หรืออย่างในกรณีนี้ที่ไม่ได้ใช้จ่ายแต่ดันเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว เมื่อ 3 ปีก่อน ผู้ร้องเคยสมัครบัตรเครดิตกับธนาคาร UOB แต่ไม่เคยใช้ซื้อสินค้าใดๆ เพราะมีบัตรเครดิตอื่นที่ใช้บริการเป็นประจำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามแม้ไม่มีการเปิดใช้บริการ แต่ค่าธรรมเนียมรายปีก็ไม่ได้ยกเว้น เธอจึงตัดปัญหาภาระที่ไม่จำเป็น ด้วยการโทรศัพท์ไปที่ Call center ของธนาคารเพื่อยกเลิกบัตรใบนี้ ซึ่งพนักงานก็ได้ดำเนินการยกเลิกให้เธอเรียบร้อย แต่หลังจากนั้นเหตุการณ์กลับไม่ได้ดำเนินไปได้ด้วยดีอย่างที่คิด ต้นปี 2557 เธอได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเร่งรัดหนี้สินของธนาคารดังกล่าวว่า ขอให้ชำระหนี้จากการนำบัตรเครดิตไปกดเงินสดจากตู้ ATM รวมแล้วจำนวนกว่า 2 แสนบาท ซึ่งเธอก็ได้ชี้แจงกลับไปว่า ไม่เคยเปิดใช้บริการหรือทำธุรกรรมทางการเงินใดๆ กับบัตรเครดิตใบนี้ เจ้าหน้าที่จึงให้เธอหาทางดำเนินการแก้ต่างให้ตัวเอง ด้วยการแนะนำให้โทรศัพท์ไปที่ Call center หรือฝ่ายตรวจสอบการทุจริตของธนาคาร ซึ่งใช้เวลาไม่น้อยเลยกว่าจะได้รับการติดต่อประสานงานกลับมา พร้อมกับคำตอบว่าให้ไปแจ้งความเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริง เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นเจ้าของบัตรต้องรับผิดชอบเอง เมื่อได้รับคำตอบเช่นนั้นเธอจึงต้องทำตามคำแนะนำ โดยการไปแจ้งความขอภาพจากกล้องวงจรปิดตามตู้ ATM ต่างๆ ที่มีการกดเงินจำนวนนั้นไป และโทรศัพท์ไปยังธนาคารต่างๆ ให้เก็บภาพวงจรปิดไว้ ซึ่งในที่สุดก็เห็นว่าคนที่มากดเงิน เป็นชายใส่หมวกนิรภัยปิดหน้าที่เธอไม่รู้จัก ต่อมาจึงประสานกลับไปยังเจ้าหน้าที่ของธนาคารดังกล่าว เพื่อขอร้องให้ตรวจสอบข้อมูลของบัตรและพบว่า มีไฟล์เสียงของเธอที่ยืนยันการเปิดและยกเลิกบัตรเครดิตทางโทรศัพท์ โดยภายหลังได้ตกลงกับเจ้าหน้าที่ว่าจะถือบัตรเครดิตใบนี้ต่อ แต่ให้มีการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ได้ดำเนินการให้เรียบร้อย จากข้อมูลที่เจ้าหน้าที่แจ้งมา เธอยืนยันกลับไปว่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะไม่เคยตกลงเจรจากับธนาคารเช่นนั้น จึงขอไฟล์บันทึกเสียงที่อ้างข้อมูลดังกล่าวมาพิสูจน์ข้อเท็จจริง แต่ธนาคารกลับไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องของเธอง่ายๆ คลิปเสียงที่จะเป็นพยานสำคัญในการเอาผิดผู้ร้องกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะธนาคารไม่ยอมส่งคลิปเสียงทั้งหมดมาให้ โดยอ้างว่าบางส่วนได้ทำลายทิ้งไปแล้ว และที่มีอยู่ก็เป็นไฟล์เสียงที่ไม่สมบูรณ์อีก มากไปกว่านั้น เมื่อผู้ร้องตรวจสอบวันเวลาของไฟล์ดังกล่าว ก็พบว่าไม่ตรงกับที่เจ้าหน้าที่อ้างไว้ตอนแรก นอกจากนี้การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องก็ยากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดธนาคารจึงปล่อยไม้เด็ดคือ ไม่ตอบข้อร้องเรียนหรือหลักฐานไฟล์เสียงที่ผู้ร้องขอ เพียงส่งหนังสือระบุว่า ตามเงื่อนไขสัญญาการทำบัตรเครดิต เจ้าของบัตรต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้สถานะของผู้ร้องคือ เป็นหนี้แล้วไม่ยอมจ่าย และการที่ผู้ร้องทำหนังสือไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้มีการตรวจสอบข้อมูลนั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะแม้จะเป็นธนาคารแห่งชาติก็ไม่มีสิทธิที่จะมาตรวจสอบระบบเชิงลึกรายบุคคล เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ผู้ร้องจึงมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิแนะนำให้ผู้ร้อง ทำหนังสือปฏิเสธการชำระหนี้ตามที่ธนาคารได้กล่าวอ้าง เพราะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าผู้ร้องเป็นผู้กดเงินสดจำนวนนั้นไป นอกจากนี้ข้อสังเกตต่างๆ ที่ผู้ร้องได้ทำหนังสือร้องเรียนก็ไม่ได้รับการอธิบาย โดยในระหว่างนี้เรื่องอยู่ระหว่างการเจราจาที่อัยการ ซึ่งผู้ร้องได้เรียกร้องให้ยุติการเรียกเก็บหนี้ทั้งหมดที่ธนาคารกล่าวอ้าง เพราะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารอื่นๆ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯ ก็จะติดตามความคืบหน้าของกรณีนี้ต่อไป  “ไข่ดาวเป็นเหตุ”สั่งสินค้าตามโปรโมชั่น แต่กลับได้รับของจริงไม่ครบ เพราะผู้ผลิตอ้างว่าลืมแปะรายละเอียดเล็กๆ เอาไว้ ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราต้องเดือดร้อน กรณีนี้เกิดขึ้นที่ร้าน แมคโดนัลด์ สาขาเทสโก้โลตัส พระราม 3 จากการติดป้ายโฆษณาภาพโปรโมชั่นชุดอาหาร “มอบความสุข 2 ต่อที่แมคโดนัลด์” ที่ประกอบด้วยแมคข้าวกะเพราไข่ดาว 2 จาน ปีกไก่สไปซี่ 2 ชิ้นและโค้ก 2 แก้ว ราคา 149 บาท ดึงดูดใจให้ผู้ร้องเข้าไปรับประทานอาหาร แต่เมื่อสั่งอาหารชุดนี้ไปแล้วกลับพบว่าได้อาหารไม่ครบ เพราะขาดไข่ดาวตามรูปบนป้ายโฆษณา เมื่อทักท้วงไปกับพนักงานจึงได้คำตอบว่า ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 10 บาท ถึงจะได้รับไข่ดาว เหตุการณ์เช่นนี้ได้ทำให้ผู้ร้องมีความรู้สึกว่าตนเองถูกหลอก เพราะไม่มีรายละเอียดดังกล่าวระบุไว้ในป้ายโฆษณาเลย จึงถ่ายรูปหลักฐานต่างๆ เก็บไว้ และมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะอยากให้ผู้ผลิตแสดงความรับผิดชอบที่หลอกลวงผู้บริโภคด้วยป้ายโฆษณาแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีนี้นับว่าเป็นตัวอย่างในการเอาผิดป้ายโฆษณาที่เอาเปรียบ หรือสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค เพราะหากมีข้อยกเว้นหรือรายละเอียดใดๆ ที่ทำให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มจากราคาที่ตั้งไว้ ก็ควรแสดงให้ผู้บริโภคสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน   หลังจากแนะนำให้ผู้ร้องส่งหนังสือร้องเรียนไปที่ บริษัท แมคโดนัลด์ สำนักงานใหญ่ ศูนย์พิทักษ์สิทธิจึงนัดเจรจากับตัวแทนของบริษัทฯ ซึ่งได้ขอโทษและมอบของขวัญเป็นชุดอาหารให้ผู้ร้องได้รับประทาน พร้อมชี้แจงว่า ไม่ได้ตรวจสอบป้ายดังกล่าวก่อนนำไปวางโฆษณา และเกิดความผิดพลาดในการสื่อสารการตลาด แต่ได้ดำเนินการแก้ไขโดยเก็บป้ายชุดอาหารดังกล่าวออกจากโฆษณาเรียบร้อยแล้ว    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่ตกเป็นโมฆียะ

คดีนี้นายใจประกันชีวิตไว้กับจำเลย โดยมีโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมา นายใจถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุ โจทก์ขอรับเงินจากจำเลย จำเลยปฏิเสธการจ่าย โดยอ้างว่านายใจไม่เปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพ จึงใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิต  ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง ระบุว่า “ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญานั้นก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป“ ซึ่งหน้าที่นำสืบในเรื่องนี้เป็นภาระการพิสูจน์ของผู้รับประกันภัย ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2557  ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกา หรือไม่ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคสอง เห็นว่าโจทก์ฟ้องว่านายใจเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุในขณะที่กรมธรรมประกันชีวิตมีผลคุ้มครอง  จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ซึ่งเป็นผู้รับผลประโยชน์  จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่ตกเป็นโมฆียะแล้ว  จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่า จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตั้งแต่เมื่อใด และได้บอกล้างสัญญาดังกล่าวภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง ทางนำสืบของจำเลยคงมีแต่นายวันชัย ผู้รับมอบอำนาจช่วงของจำเลย และนายวิศิษฐ์ พนักงานของจำเลย ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบริการผู้ถือกรมธรรม์มีหน้าที่ตรวจสอบและให้บริการแก่ผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นพยานเบิกความว่า นายใจเสียชีวิตภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่เริ่มต่ออายุสัญญา อยู่ในช่วงเวลาที่จำเลยสามารถใช้สิทธิโต้แย้งได้ จำเลยจึงตรวจสอบสุขภาพของนายใจ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายใจมีสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังก่อนที่จะขอต่อสัญญาประกันชีวิต ตามบัตรตรวจโรคของโรงพยาบาลบางมูลนากและเวชระเบียนผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพิจิตร นายใจได้เคยตอบคำถามและแถลงข้อเท็จจริงในหนังสือรับรองสุขภาพเพื่อต่ออายุกรมธรรม์ว่า ในช่วงระยะเวลาที่ขาดการชำระเบี้ย มีสุขภาพแข็งแรงและร่างกายสมบูรณ์ดีทุกประการไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคใดๆ ไม่เคยได้รับการตรวจหรือแนะนำจากแพทย์ที่เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพหรือการเจ็บป่วยแต่ประการใด หากนายใจเปิดเผยข้อเท็จจริงให้จำเลยทราบว่าเคยเข้ารักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง จำเลยจะไม่รับต่ออายุกรมธรรม์ จำเลยจึงใช้สิทธิบอกล้างสัญญา ซึ่งเป็นโมฆียกรรมและคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์แล้ว ตามหนังสือบอกล้างโมฆียกรรมและคืนเบี้ยประกันภัย อันเป็นการบอกล้างสัญญาภายในระยะเวลา 2 ปีนับแต่ขอต่ออายุสัญญาประกันชีวิตจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์   โดยพยานจำเลยทั้งสองปากมิได้เบิกความว่า โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเมื่อใด และจำเลยทราบว่านายใจเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งถือว่าเป็นมูลอันจำบอกล้างได้ตั้งแต่เมื่อใด คงได้ความเพียงว่าจำเลยได้มีหนังสือบอกล้างสัญญาประกันชีวิต ซึ่งอยู่ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันต่ออายุสัญญาเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้นำสืบว่า จำเลยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตรายนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนหมายเหตุ ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยให้จำเลยผู้รับประกันภัย ที่ปฏิเสธการจ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิตมีภาระการพิสูจน์ ( ฎีกาที่ 6711/2553)  แต่คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ได้วางหลักเพิ่มเติมต่อไปว่า นอกจากผู้รับประกันภัยต้องมีภาระการพิสูจน์แล้ว ยังมีหน้าที่พิสูจน์ต่อไปตามข้อยกเว้นความรับผิดในมาตรา 865  วรรคสอง ให้ครบถ้วนสิ้นกระแสความด้วย กล่าวคือ ต้องนำสืบหรือพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า ผู้รับประกันภัยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลเหตุอันจะบอกล้าง เมื่อใด ภายในกำหนดเวลา 1 เดือนแล้วหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม >