ฉบับที่ 161 Consumer Report 2013

การออกกฎ ระเบียบ การทำสัญญา ตลอดจนมาตรการต่างๆ โดยรัฐ มีผลกระทบต่อผู้บริโภคหรือประชาชนโดยตรง เช่น การเสนอปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน  การปรับขึ้นราคาค่าทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ต่างส่งผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชน เพราะต้องแบกรับค่าครองชีพที่สูงขึ้น สำคัญคือ จะประท้วงคัดค้านอย่างไรก็ไม่ประสบผล เพราะจำนนด้วยเงื่อนไขที่รัฐไปผูกพันไว้ อย่างกรณีการปรับขึ้นราคาค่าทางด่วน ประชาชนจะคัดค้านก็ไม่ทันแล้ว เมื่อเอกชนอ้างว่า เป็นไปตามเงื่อนไขในการทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนที่เกิดขึ้นในอดีต ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งต่างก็ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนนั้น จึงได้ตราบทบัญญัติเรื่องของการมีส่วนร่วมไว้ในมาตราที่ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค (มาตรา 57 ในรัฐธรรมนูญ ปี 40 และมาตรา 61 ในรัฐธรรมนูญปี 50) โดยกำหนดให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น เพื่อทำหน้าที่สำคัญคือ “ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ...” ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจากการกระทำที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่...ในระหว่างรอให้เกิด องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามรัฐธรรมนูญ (ติดตามกระบวนการจัดทำกฎหมายได้จาก http://www.indyconsumers.org/index.php/know/introduce )  ภาคประชาสังคมด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ก็ได้ร่วมมือกันทดลองสร้างรูปแบบ “คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน” ขึ้นมา และได้ทดลองทำหน้าที่   ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ใน 7 ประเด็นสำคัญ ดังนี้   1.ด้านการเงินและการธนาคาร 2.ด้านการบริการสาธารณะ 3.ด้านที่อยู่อาศัย 4.ด้านบริการสุขภาพ 5.ด้านสินค้าและบริการทั่วไป 6.ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม 7.ด้านอาหาร ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางฉลาดซื้อ จึงขอนำสรุปผลการดำเนินการของคณะกรรมการฯ ในปี 2556 มาเผยแพร่ เพื่อที่เราผู้บริโภค จะได้ร่วมกันติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง -------------------------------------------------------------------------------- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 61 บัญญัติไว้ว่า… สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูล ที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการ บังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้ บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย -------------------------------------------------------------------------------- ด้านการเงินและการธนาคาร ร้องกันเพียบ ขายบัตรเดบิตพวงประกัน! เคยไหม? แค่จะเปิดบัญชีใหม่ ทำบัตรเอทีเอ็มธรรมดา ทำไมธนาคารหลายแห่งต้องเสนอบัตรเดบิตพ่วงประกันอุบัติเหตุ โดยอ้างว่าบัตรเอทีเอ็มธรรมดาหมด หรือได้ยกเลิกบริการบัตรแบบธรรมดาไปแล้ว ทำให้ลูกค้าต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น อีกทั้งพนักงานธนาคารยังพูดจาหว่านล้อมกึ่งบังคับให้ทำบัตรเดบิตพ่วงประกันชีวิต ที่มา http://www.talkystory.com/?p=56419 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ทำอะไร ? คณะกรรมการฯ จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดเวทีสาธารณะ พร้อมจัดทำข้อเสนอ 3 เรื่อง ต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ 1.ยกเลิกการขายพ่วงบัตรเดบิต บัตร เอทีเอ็ม พ่วงการขายประกันภัย ข้อเสนอนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหนังสือตอบว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทย จะขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการ และออกประกาศ หรือกำหนดมาตรการบังคับ การขายพ่วงบัตรเครดิต บัตร ATM และประกันภัย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย จะให้แยกแบบฟอร์มการสมัคร (ออกประกาศในวันที่ 1 มกราคม 2557) 2.ยกเลิกการบังคับทำบัตรเครดิตแทนบัตร เอทีเอ็ม ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จัดการปัญหาการบังคับทำบัตรเดบิต แทนบัตร ATM แล้ว (ความจริงคือ เป็นทางเลือกอยู่แล้ว แต่พนักงานธนาคารมักโน้มน้าวให้ลูกค้าเชื่อหรือบังคับว่าต้องทำเป็นบัตรเดบิตเท่านั้น) 3.ลดราคาค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขต ข้อเสนอนี้ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการ   ความก้าวหน้า : หากมีเรื่องของการร้องเรียนด้านการเงินการธนาคารผ่านคณะกรรมการฯ สามารถส่งต่อเรื่องร้องเรียนไปที่ “ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน(ศคง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ทันที ขณะเดียวกันหากมีประกาศเรื่องมาตรการใดๆ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการเงินการธนาคารจากธนาคารแห่งประเทศไทย จะแจ้งมาที่คณะกรรมการฯ ทันที เพื่อประกาศให้ผู้บริโภครับทราบ   ด้านการบริการสาธารณะ v ขึ้นค่าทางด่วน ขึ้นค่าทางด่วน(อีกแล้ว) ข่าวร้ายที่สุดของผู้ใช้รถใช้ถนนในกรุงเทพฯ ในรอบปี 2556 เห็นจะไม่พ้นข่าวการขึ้นค่าทางด่วน ทางด่วน 1 และทางด่วนขั้นที่ 2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน(56) นี้!!!! “ทำไมถึงต้องขึ้นค่าทางด่วน?????” คงเป็นคำถามของผู้ใช้รถใช้ถนนหลายคนสงสัย” ที่มา http://www.thairath.co.th/content/331581 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ทำอะไร ? คณะกรรมการฯ จัดเวทีสาธารณะ  “บทบาทองค์การอิสระฯ” เรื่องการขึ้นค่าทางด่วน ในวันที่ 21 สิงหาคม 56 และ “ทำหนังสือถึงการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)” เรื่องขอให้ยุติการขึ้นราคาอัตราค่าผ่านทางขั้นที่ 1-2 พร้อมยื่นข้อเสนอ 3 เรื่อง ได้แก่ ให้ยุติการขึ้นค่าผ่านทาง ให้ทบทวนการปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษ ให้พิจารณาแก้ไขสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 โดยคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ผลการดำเนินการ : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ตอบเป็นหนังสือชี้แจงว่า การปรับอัตราค่าผ่านทางเป็นไปตามสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ระหว่าง กทพ. กับบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด ( BECL ) โดยในสัญญากำหนดให้มีการจัดเก็บค่าผ่านทางและกำหนดให้ปรับค่าผ่านทางทุกระยะเวลา 5 ปี เพื่อคงมูลค่าที่แท้จริงของอัตราค่าผ่านทางไว้ โดยการปรับตามอัตราเพิ่มของดัชนีผู้บริโภคสำหรับกรุงเทพมหานครที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์และตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด การพิจารณาต่อสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่   กทพ. ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย   v ขึ้นราคาก๊าซ ดีเดย์ ขึ้นราคาก๊าซ 1 กันยา มติ ครม. ตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค. 2556 ให้ขึ้นราคาก๊าซภาคครัวเรือนในวันที่ 1 ก.ย. 2556 จากราคาเดิม 18.13 บาทต่อกิโลกรัม สามารถขึ้นราคาได้เดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ไปจนถึงราคา 24.82 บาทต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 1 ปี   คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ทำอะไร ? คณะกรรมการฯ ได้ทำความเห็นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและกระทรวงพลังงานในการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG เป็นหนังสือคัดค้านเรื่อง “การปรับขึ้นราคาราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาคครัวเรือน” พร้อมข้อเสนอสำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ 1.ควรการเก็บเงินจากธุรกิจปิโตรเคมีในอัตรา 12.55 /ก.ก. เข้ากองทุนน้ำมัน เช่นเดียวกับ ภาคอุตสาหกรรมอื่น 2.ปรับลดอัตราค่าผ่านท่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ 3.กำหนดราคาเนื้อก๊าซที่จำหน่ายให้กับผู้ซื้อทุกรายเป็นอัตราเดียวกัน   ผลการดำเนินการ : กระทรวงพลังงานหนังสือ ตอบเป็นหนังสือชี้แจงว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีก๊าซ LPG เป็นราคาตามกลไกตลาดและไม่ได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ ตั้งแต่ต้นทางเหมือนกับภาคอื่นๆ จึงทำให้ราคาขายก๊าซ LPG ภาคปิโตรเคมีสะท้อนกับต้นทุนที่แท้จริง โดยไม่ได้รับการอุดหนุนมาตั้งแต่แรก (ภายหลังมีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนในอัตรากิโลกรัมละ 1 บาท เพื่อช่วยเหลือภาคส่วนอื่นในการลดภาระของกองทุนน้ำมันอีกด้วย)  ส่วนของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งใช้ ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงนั้น กองทุนน้ำมันได้ชดเชยต้นทุนมาตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ราคาขายถูกลง ดังนั้นจึงมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ คืนในภายหลังทำให้ราคาราคาขายปลีกสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ในการปรับอัตราค่าผ่านท่อนั้น เป็นไปตามมติของ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ( กพช.)  โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีการทบทวนทุกระยะเวลา 5 ปี หรือกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเป็นผู้ดำเนินการพิจารณาการปรับอัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อให้มีความเหมาะสมตามที่ กพช. กำหนดต่อไป รัฐไม่ได้ให้อภิสิทธิ์แก่กลุ่มธุรกิจหนึ่งธุรกิจใด ซึ่งความจริงก๊าซที่มาจากอ่าวไทยนั้นก็ได้จำหน่ายให้กับผู้ใช้ทุกรายในอัตราเดียวกัน เพียงแต่ก๊าซธรรมชาติที่จำหน่ายให้กับภาคไฟฟ้า ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมนั้น เป็นราคาที่มีการเฉลี่ยรวมกับก๊าซจากพม่าแล้วก๊าซ LNG ซึ่งโรงแยกก๊าซก็ไม่ได้มีการนำก๊าซจากทั้งสองแหล่งนี้ไปใช้แต่อย่างใด   ด้านบริการสุขภาพ ชี้ป่วยฉุกเฉินทำบัตรทองเสียสิทธิ ...เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า ภายหลังตั้งกองทุนเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาฟรีโดยไม่ถามสิทธินั้น ส่งผลกระทบให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง ได้รับผลกระทบไม่สามารถใช้สิทธิตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ระบุว่าประชาชนมีสิทธิ์เข้ารับการรักษาฟรีเมื่อมีการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ มีเหตุอันควร ซึ่งตอนนี้ไม่สามารถใช้ได้แล้ว ต้องเสียเงินหมด เพราะคำว่าฉุกเฉินจะถูกตีความตามนิยามของสำนักงานการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ซึ่งการตีความค่อนข้างแคบ ที่มา http://www.thaipost.net/news/231213/83745 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ทำอะไร ? คณะกรรมการฯ ได้ทำหนังสือให้ความเห็นต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ขอให้ ทบทวนข้อบังคับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข กรณีที่มีเหตุอันควร กรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 2555  ที่อาจขัดต่อกฎหมาย ข้อเสนอนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สปสช.   ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ฟิตเนสดังเอาเปรียบผู้บริโภค ประเด็นร้อนปี 55-56 เกี่ยวกับธุรกิจออกกำลังกาย คือ กรณีแคลิฟอร์เนียฟิตเนส โดนผู้บริโภคร้อง ทั้งปิดบริการโดยไม่แจ้งให้ทราบ มีการรับสมัครสมาชิกตลอดชีพทั้งที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้แล้ว ผิดสัญญาแต่ไม่คืนเงินค่าสมาชิกให้กับลูกค้า ปัญหาใหญ่คือ ปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรม เช่น ทำสัญญาแล้วต้องใช้บริการให้ครบ 1 ปีจึงจะสามารถบอกเลิกสัญญาได้ ทั้งนี้ศูนย์บริการส่วนใหญ่จะหักเงินบัตรเครดิตผู้บริโภคทันทีในคราวแรก  หรือบางรายต้องจ่ายค่าใช้บริการอื่นเพิ่มจากการชักชวนของพนักงานขาย เช่น ครูฝึกส่วนตัว โปรแกรมเสริมที่หลากหลาย   ซึ่งมีผู้บริโภคมาร้องเรียนถึง 680 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท ที่มา ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ทำอะไร ? คณะกรรมการได้จัดทำความเห็นต่อ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ขอให้ปรับปรุง ประกาศ สคบ. ว่าด้วยธุรกิจออกกำลังกาย ยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากอนุกรรมการด้านสัญญาหมดวาระ   ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม คลื่นความถี่ คือหัวใจของการสื่อสาร ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการใช้งาน 3G และ 4G และผู้ให้บริการมือถือเจ้าใหญ่ในประเทศไทยทั้ง 3 ราย ต่างต้องการการเติมเต็มช่วงคลื่นความถี่ต่ำ-สูงของตนเพื่อการแข่งขัน การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี ส่งผลดีต่อธุรกิจโทรคมนาคมและส่งผลบวกทางอ้อมต่อเศรษฐกิจประเทศ ที่นอกเหนือจากเม็ดเงินที่ได้จากการประมูล โดยเฉพาะที่เกิดจากการลงทุนโครงข่ายของผู้ให้บริการมือถือและการเติบโตของ ธุรกิจแอพพลิเคชั่นหรือคอนเทนต์ ซึ่งล้วนทำให้เกิดการจ้างงานและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย ทำให้ผู้ให้บริการมือถือต้องถือครองคลื่นหลายช่วงความถี่เพื่อการแข่งขัน คุณสมบัติของคลื่นแต่ละช่วงความถี่แตกต่างกัน คลื่นความถี่ต่ำเช่น 700, 850 และ 900 MHz จะสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง แต่ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในบริเวณที่มีความต้องการข้อมูลในปริมาณสูงหรือ หนาแน่น ในทางกลับกัน คลื่นความถี่สูงเช่น 1800, 2100 และ 2600 MHz จะครอบคลุมพื้นที่ได้แคบกว่าคลื่นความถี่ต่ำ แต่จะสามารถรับส่งข้อมูลได้ปริมาณมากและรวดเร็วมากกว่า โดยปกติแล้วผู้ให้บริการมือถือจึงต้องการถือครองอย่างน้อยสองช่วงความถี่ คือ ช่วงคลื่นความถี่ต่ำเพี่อให้บริการในต่างจังหวัดที่มีความต้องการใช้ข้อมูล ไม่ค่อยหนาแน่นแต่ต้องครอบคลุมพื้นที่กว้าง และช่วงคลื่นความถี่สูงเพื่อให้บริการในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้บริการ ข้อมูลที่สูงและมีการใช้งานหนาแน่นเช่น กรุงเทพฯ ที่มา http://www.scbeic.com/document/note_20140402_1800   v การประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ทำอะไร ? คณะกรรมการฯ จัดทำความเห็นเสนอต่อ กสทช. เรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 2100  MHz โดย ขอให้ กสทช. ดำเนินการโดยคำนึงถึง “ประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมและต้องดำเนินการในลักษณะที่มีการกระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงในกิจการด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่การเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ” ผลการดำเนินการ : กสทช. จัดประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz โดยไม่ได้พิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการฯ แต่อย่างใด   v กรณีหมดอายุสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ทำอะไร ? คณะกรรมการฯ ได้จัดเวที “ ทางออกผู้บริโภค กรณีซิมดับฯ ” เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 และจัดทำ ทำความเห็นเสนอต่อ กสทช. เรื่องกรณีหมดอายุสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz ข้อเสนอ ดังนี้ ขอให้มีการเร่งรัดการดำเนินการโอนย้ายเครือข่ายให้เต็มตามศักยภาพ คือ 300,000 เลขหมายต่อวัน กสทช. ต้องให้มีการเพิ่มประเด็นในการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญากาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... กสทช. ต้องเร่งตั้งคณะทำงานประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และกำหนดวันในการจัดการประมูลคลื่นโดยเร่งด่วน บริษัทผู้ให้บริการทั้งสองรายคือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (มหาชน) จะต้องคืนเงินคงเหลือในระบบให้กับผู้ให้บริการ และในกรณีที่บริษัทจะตัดสัญญาณผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พรีเพดบริษัทจะต้องแจ้งผ่านข้อความสั้นให้ทราบล่วงหน้าก่อน  3 วัน พร้อมทั้งระบุจำนวนเงินคงค้างในระบบให้ผู้บริโภครับทราบและเพื่อให้ขอคืนเงินได้ด้วยอย่างชัดเจน ขอให้ซูเปอร์บอร์ดดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ในกรณีที่ กสทช. ไม่สามารถดำเนินการให้เกิดการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ทั้งที่เป็นภาระหน้าที่ที่ทราบล่วงหน้ามาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเป็น กสทช.   ผลการดำเนินการ : ไม่มีการตอบรับจาก กสทช.แต่ประการ   v กรณีโฆษณาผิดกฎหมายในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ทำอะไร ? คณะกรรมการฯ ได้จัดทำข้อเสนอต่อ กสทช.  ให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกรณีโฆษณาผิด กฎหมายในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์  โดยขอให้ กสทช. ยึดหลักการการกระจายการถือครองและใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ให้ครอบคลุมองค์กรสาธารณประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในทีวีดิจิตอลประเภทบริการสาธารณะ นอกเหนือจากหน่วยงานรัฐกำหนดสัดส่วนคลื่นความถี่ไว้ไม่น้อยกว่า 20% ในทุกพื้นที่เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการบริการชุมชนรวมทั้งเร่งเผยแพร่ความรู้ที่ชัดเจนกับผู้บริโภค ก่อนการเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบทีวีดิจิตอล   ผลการดำเนินการ : ไม่มีการตอบรับจาก กสทช.แต่ประการ   รายชื่อคณะกรรมการ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค รศ.ดร.จิราพร  ลิ้มปานานนท์        ประธาน / ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ นายจุมพล  ชื่นจิตต์ศิริ                 รองประธาน / ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ ดร.เดือนเด่น  นิคมบริรักษ์            กรรมการ / ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการธนาคาร ผศ.ประสาท  มีแต้ม                    กรรมการ / ผู้เชี่ยวชาญด้านบริการสาธารณะ ผศ.รุจน์  โกมลบุตร                     กรรมการ / ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและโทรคมนาคม ผศ. ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง              กรรมการ / ผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการทั่วไป นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา             กรรมการ / ผู้เชี่ยวชาญด้านบริการสุขภาพ นางสาวชลดา บุญเกษม              กรรมการ / ผู้แทนเขต 1 ภาคกลาง นายน้ำค้าง มั่นศรีจันทร์               กรรมการ / ผู้แทนเขต 2 ภาคตะวันออก 10.  นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ                   กรรมการ / ผู้แทนเขต 3 ภาคอีสานตอนบน 11.  นางอาภรณ์ อะทาโส                   กรรมการ / ผู้แทนเขต 4 ภาคอีสานตอนล่าง 12.  นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล              กรรมการ / ผู้แทนเขต 5 ภาคเหนือ 13.  นางสาวบุญยืน ศิริธรรม               กรรมการ / ผู้แทนเขต 6 ภาคตะวันตก 14.  ภญ.ชโลม  เกตุจินดา                  กรรมการ / ผู้แทนเขต 7 ภาคใต้ 15.  นายศิริศักดิ์ หาญชนะ                 กรรมการ / ผู้แทนเขต 8 กรุงเทพมหานคร   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 160 เรื่องต้องรู้ก่อนซื้อคอนโด

จากเดิมที่คอนโดมิเนียมหรืออาคารชุดเคยเป็นที่อยู่อาศัยที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่เฉพาะอย่างย่านธุรกิจสำคัญๆ ในกรุงเทพฯ เช่น สาธร สีลม สุขุมวิท เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเดินทางเข้ามาทำงาน ของคนที่อยู่อาศัยห่างออกไปในพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากการจราจรที่แสนแออัด คอนโดมิเนียมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับคนที่ทำงานในพื้นที่ดังกล่าว แม้มีข้อจำกัดในแนวราบ แต่คอนโดสามารถทำแนวดิ่งได้หลายชั้น และแม้จะมีพื้นที่น้อยแต่สามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอยได้จำนวนมากกว่าบ้านจัดสรร ที่สำคัญคือผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคอนโดนิเนียมในย่านธุรกิจมีกำลังทรัพย์มากพอที่จะจับจองเป็นเจ้าของได้ แต่ปัจจุบันการขยายตัวของแนวรถไฟฟ้า ที่เริ่มออกสู่พื้นที่ชั้นนอกแถบชานเมืองของกรุงเทพฯ ยกตัวอย่างสถานีกรุงธนบุรี – บางหว้าที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อช่วงปลายปี 56 ซึ่งการเกิดของเส้นทางรถไฟฟ้ามาพร้อมกับการเกิดขึ้นของคอนโดมิเนียมจำนวนมาก เชื่อหรือไม่ว่า โครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขายตั้งแต่ปี 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ที่อยู่รอบรัศมี 500 เมตรจากแนวรถไฟฟ้าสถานีกรุงธนบุรีถึงสถานีบางหว้ามีทั้งสิ้นประมาณ 31 โครงการ รวมประมาณ 14,900 หน่วย ซึ่งใน 31 โครงการนี้มีที่สร้างเสร็จแล้ว 14 โครงการ และขายหมดแล้วเรียบร้อยถึง 12 โครงการ ข้อมูลจาก สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  พบว่ามีสถิติการจดทะเบียนอาคารชุดทั่วประเทศ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2540 จนถึง พฤษภาคม ปี 2557 พบว่ามีการจดทะเบียนอาคารชุดทั่วประเทศจำนวน 6,606 โครงการ เป็นจำนวนห้องหรือยูนิตรวม 624,434 หน่วย ซึ่งหากแบ่งเฉพาะพื้นที่ในกรุงเทพฯ จะมีอาคารชุดที่จดทะเบียนเท่ากับ 2,460 โครงการ เป็นจำนวนยูนิต 362,553 หน่วย ต่างจังหวัด 4,146 โครงการ เป็นจำนวนยูนิต 261,878 หน่วย โดยในปี 2556 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่มีการเกิดขึ้นของอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมมากที่สุด คือ เฉพาะในกรุงเทพฯ มีการจดทะเบียนถึง 371 โครงการ เป็นจำนวนยูนิตถึง 50,602 หน่วย   ปัญหาจากการซื้อคอนโด เรื่องร้องเรียนอันดับ 1 สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาพร้อมปริมาณที่เพิ่มขึ้นของคอนโดก็คือ เรื่องร้องเรียนจากผู้ซื้อ ผู้ที่อยู่อาศัย มีตัวเลขยืนยันจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่สรุปจำนวนเรื่องร้องเรียนตลอดปี 2556 ที่ผ่านมา เรื่องร้องเรียนในกลุ่มที่อยู่อาศัย ถือเป็นเรื่องร้องเรียนมากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 1,324 ราย จากจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 3,150 ราย โดยเรื่องร้องเรียนในกลุ่มที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.ปัญหาจากบ้านจัดสรร 2.ปัญหาการเช่าพื้นที่ และ 3.ปัญหาจากอาคารชุดและคอนโดมิเนียม ซึ่งเป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนเข้ามามากที่สุด คือมีจำนวนผู้ร้องเรียนถึง 629 ราย เป็นเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 1,390 เรื่อง ปัญหาที่ร้องเรียนส่วนใหญ่ ได้แก่ ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา คอนโดนิเนียมที่สร้างเสร็จแล้วไม่ตรงตามสัญญา สร้างไม่ได้มาตรฐาน คอนโดที่สร้างไม่เป็นไปตามที่โฆษณา บ้านไม่เรียบร้อยตอนโอนกรรมสิทธิ์ บ้านชำรุดบกพร่องภายหลังโอนกรรมสิทธิ์ ฯลฯ ปัญหาที่ผู้บริโภคต้องเตรียมพร้อมรับมือเมื่อซื้อคอนโด 1.สร้างเสร็จช้ากว่ากำหนด คอนโดส่วนใหญ่จะมีการเปิดให้จองก่อนที่สร้างแล้วเสร็จ บางโครงการเปิดให้จองตั้งแต่ยังไม่ลงเสาเข็ม ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นตามมาก็คือ คอนโดสร้างเสร็จล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดที่ได้แจ้งไว้กับผู้ซื้อเมื่อตอนที่มีการตกลงทำสัญญา ผู้ซื้อย้ายเข้าอยู่ไม่ได้ ซึ่งผู้ซื้อบางรายมีความจำเป็นจริงๆ ที่ต้องย้ายเข้าไปอยู่ตามช่วงเวลาที่ตกลงไว้แต่แรก เมื่อย้ายเข้าไปอยู่ไม่ได้ก็จึงกลายเป็นการสร้างภาระให้กับผู้ซื้อ บางรายก็ต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว เพราะคอนโดก็จ่ายเงินซื้อไปแล้ว ผ่อนมาก็หลายเดือนยังไงก็คงต้องรอ ปัญหานี้ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยได้ เพราะเป็นการผิดสัญญา ซึ่งผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้ชัดเจนตั้งแต่ตอนทำสัญญา เพราะในหนังสือสัญญาต้องมีการระบุด้วยว่า หากเป็นการสร้างคอนโดเสร็จล่าช้าไม่ตรงตามที่ตกลงไว้ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยโดยคิดดอกเบี้ย เป็น % จากเงินต้นทั้งหมดที่ได้จ่ายไป ซึ่งในสัญญาเจ้าของโครงการต้องมีการระบุไว้ การก่อสร้างอาจมีการล่าช้ากว่าที่กำหนดได้ไม่เกินกี่เดือนหรือหากเกิดปัญหาสุดวิสัย อย่าง เกิดภัยธรรมชาติ ฯลฯ ซึ่งทางโครงการต้องมีการแจ้งให้ผู้ซื้อทราบล่วงหน้า Tip วิธีแก้ปัญหาคือ ผู้ซื้อต้องส่งจดหมายแบบตอบรับถึงกรรมการผู้จัดการบริษัทเจ้าของโครงการ (โดยเก็บสำเนาไว้กับตัวเอง 1 ชุด) พร้อมแนบสำเนาหลักฐานต่างๆ เช่น เอกสารการทำสัญญา หลักฐานการซื้อขาย แผ่นโฆษณาหรือหนังสือสัญญาที่มีการแจ้งรายละเอียดการรับผิดชอบกรณีสร้างคอนโดนแล้วเสร็จล่าช้ากว่ากำหนด หากไม่ได้รับการตอบรับความรับผิดชอบจากโครงการ ให้นำเรื่องฟ้องต่อ สคบ. ซึ่งหากท้ายที่สุดต้องมีการฟ้องร้องเป็นคดีความ ก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีผู้บริโภคได้ 2.โครงการไม่ได้รับอนุญาตให้สร้าง สิ่งที่ผู้ซื้อคอนโดหลายคนอาจยังไม่รู้และอาจจะมองข้ามไป คือเรื่องของการขอใบอนุญาตก่อสร้างและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment (EIA) Report) ซึ่งตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีข้อกำหนดให้อาคารชุดที่มีที่อยู่อาศัยรวมกันตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป รวมถึงอาคารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบหรือชายหาด หรือที่อยู่ใกล้ หรือในอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่รวมกันทุกชั้น หรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  คือ รายงานที่โครงการก่อสร้างต่างๆ ต้องทำการศึกษาถึงผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการก่อสร้างโครงการ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพิจารณาถึงความเหมาะสมของการพัฒนาโครงการดังกล่าว หากพบว่าโครงการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะไม่ได้รับใบอนุญาติก่อสร้างจากสำนักโยธาธิการในพื้นที่ Tip เพราะฉะนั้นหากคอนโดใดที่มีห้องมากกว่า 80 ห้อง ผู้ซื้อต้องไม่ลืมสอบถามเรื่องใบขออนุญาตก่อสร้าง เพราะโครงการนั้นเข้าข่ายต้องมีการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ยิ่งเดี๋ยวนี้คอนโดส่วนใหญ่เปิดจองตั้งแต่ยังไม่เริ่มมีการก่อสร้าง ซึ่งการทำรายงานอาจทำในภายหลัง หากโครงการนั้นไม่ผ่านเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม  โครงการต้องหยุดการก่อสร้าง ผู้ซื้อคอนโดก็จะได้รับความเสียหาย ต้องมาเสียเวลาเรียกร้องขอเงินคืน และก็ไม่อาจจะแน่ใจได้ว่าจะได้รับเงินคืนทั้งหมดภายในระยะเวลานานแค่ไหน สามารถตรวจสอบเรื่องใบอนุญาตก่อสร้างโครงการได้ที่ จากกรมโยธาธิการ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร สำนักโยธาธิการจังหวัด   3.เชิดเงินจองหนี สาเหตุของการถูกเชิดเงินจองหรือเงินมัดจำจองซื้อห้องคอนโด มักจะเกิดจากการที่หลงเชื่อนายหน้าหรือตัวแทนขายที่มาเสนอขายคอนโด จนตกลงทำสัญญาซื้อขายกันโดยที่สัญญาดังกล่าวไม่ไปถึงบริษัทที่รับผิดชอบโครงการ พอผู้ซื้อจะไปติดต่อแสดงตัวเป็นเจ้าของห้อง ก็พบว่าไม่มีการทำสัญญาใดๆ ไว้ นายหน้าหรือตัวแทนขายที่ได้ตกลงจ่ายเงินกันไว้ก็หนีหายไปพร้อมเงิน กลายเป็นว่าทุกข์ก็ตกมาอยู่กับผู้ซื้อ สุดท้ายก็ต้องแจ้งความดำเนินคดีกันไป ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เป็นคดีความบนหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยครั้ง Tip การป้องกัน เวลาตกลงทำสัญญาใดๆ มีการจ่ายเงินล่วงหน้า ต้องทำกับบุคคลหรือบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ มีเอกสารยืนยันรับรองชัดเจน แสดงที่มาที่ไป หรือหากไม่มั่นใจสามารถตรวจสอบข้อมูลบริษัทกับทาง สคบ.หรือที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์   4.สร้างเสร็จแต่ไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้ อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่เกิดจากการที่คอนโดเปิดให้จองตั้งแต่ยังไม่ดำเนินงานสร้าง ผู้ซื้อส่วนใหญ่จึงได้แต่มองดูห้องตัวอย่างหรือภาพโฆษณานำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ เมื่อคอนโดสร้างเสร็จเรียบร้อยพร้อมย้ายเข้าไปอยู่ก็มักเจอเข้ากับปัญหา เมื่อสภาพห้องจริงๆ ไม่ตรงกับที่โฆษณาไว้ Tip ใน พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2551 มีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาคารชุด ที่ช่วยให้ผู้ซื้อไม่ต้องถูกเอาเปรียบจากการโฆษณาของผู้ประกอบการเจ้าโครงการ โดยใน พ.ร.บ.ระบุไว้ว่า ใหข้อความหรือภาพที่โฆษณาหรือหนังสือชักชวนเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อ-ขาย หากข้อความหรือภาพใดในโฆษณามีความหมายขัดแย้งกับข้อความในสัญญาให้ตีความเป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อ ป้องกันการเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ โดยเจ้าของโครงการต้องมีการเก็บสำเนาเอกสารที่เป็นสื่อโฆษณาทุกประเภท ทุกชิ้นไว้ จนกว่าจะขายห้องชุดหมด และต้องมีการส่งสำเนาให้นิติบุคคลอาคารชุดเก็บไว้อย่างน้อยหนึ่งชุด นอกจากนี้ข้อความและภาพโฆษณาจะต้องตรงกับหลักฐานและรายละเอียดที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ ซึ่งต้องมีการระบุรายละเอียดเรื่องของทรัพย์สินส่วนกลางเอาไว้ด้วย   กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ที่เป็นข้อกำหนดเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อบ้านและห้องชุดในอาคารชุด ผ่านการควบคุมการโฆษณา ได้มีการกำหนดรายละเอียดข้อความโฆษณาขายคอนโดที่ลงในหนังสือพิมพ์ แผ่นพับ โบร์ชัวร์ ซึ่งคอนโคที่ดีควรมีข้อความดังต่อไปนี้อยู่ในโฆษณา -ข้อความที่แสดงว่าโครงการได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารถูกต้องเรียบร้อยแล้วหรือยัง -เดือน ปีที่เริ่มต้นก่อสร้างและที่กำหนดว่าจะก่อสร้างอาคารชุดแล้ว -ข้อความที่แสดงว่าจะไปจดทะเบียนเป็นอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ -ตำแหน่งที่ดิน เลขที่ของโฉนดที่ดิน จำนวนที่ของที่ดินของโครงการ และแผนผัง -ข้อความที่แสดงว่าที่ดินและอาคารชุดมีภาระผูกพันกับสถาบันการเงิน บุคคล หรือนิติบุคคลใด หรือไม่ -จำนวนชั้นและจำนวนห้องชุดของอาคารชุดนั้น -ข้อความที่แสดงที่ว่าในอาคารชุดหลังเดียวกันนี้ มีห้องชุดเพื่อใช้เป็นเฉพาะที่อยู่อาศัย หรือใช้เป็นเฉพาะสำนักงาน หรือเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและสำนักงาน -ข้อความที่แสดงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและค่าภาษีอากรที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุด มีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด -รายการและขนาดของทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลาง ในกรณีที่มีการโฆษณาว่าจะจัดให้มีทรัพย์ส่วนบุคคลภายนอกห้องชุดหรือทรัพย์ส่วนกลาง นอกจากที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด รวมทั้ง เดือน ปี ที่เริ่มต้นก่อสร้างหรือจัดหาและที่กำหนดว่าจะก่อสร้างหรือติดตั้งทรัพย์สินนั้นแล้วเสร็จ -ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องระบุทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว ชื่อกรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการผู้มีอำนาจ ลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคล -ข้อความที่แสดงว่าภาพโฆษณาเป็นภาพของจริงหรือภาพจำลองจากของจริง   5.ถูกบังคับให้โอนกรรมสิทธิทั้งที่ยังสร้างไม่เสร็จ คอนโดบางแห่งอาจมีการยื่นข้อเสนอให้ผู้ซื้อรีบรับโอนกรรมสิทธิห้อง ทั้งๆ ที่ตัวห้องยังสร้างไม่แล้วเสร็จดี โดยทางเจ้าของโครงการมักจะมีข้อเสนอต่างๆ มาเย้ายวนยั่วใจแก่ผู้ซื้อห้อง ทั้งส่วนลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการโอน ลดค่าส่วนกลาง ทำให้ผู้ซื้อหลายคนตัดใจยอมโอนกรรมสิทธิทั้งที่ห้องยังไม่เสร็จ ทำให้ไม่มีโอกาสได้ตรวจดูห้อง ซึ่งพอถึงเวลาย้ายเข้าไปอยู่จริงเมื่อเจอปัญหาความบกพร่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากอุปกรณ์เครื่องใช้ทั้งหลาย ระบบประปา ไฟฟ้า ฯลฯ ถึงเวลานั้นการเรียกร้องการแก้ปัญหาก็จะยิ่งเป็นปัญหา เพราะการเรียกร้องความรับผิดชอบจากเจ้าของโครงการก็เป็นเรื่องยาก เพราะเขาก็จะอ้างว่าห้องได้ถูกโอนให้เป็นกรรมสิทธิของผู้ซื้อแล้ว เมื่อเป็นแบบนี้การแก้ปัญหาก็จะต้องกลายเป็นภาระของผู้ซื้อ คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ อย่ารับโอนกรรมสิทธิห้องหากผู้ซื้อยังไม่เห็นห้องที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว  เพื่อผู้ซื้อจะได้มีโอกาสตรวจสอบคุณภาพของห้อง หากพบจุดชำรุดบกพร่องจะได้มีการแจ้งให้ทางโครงการทำการแก้ไขให้แล้วเสร็จเรียบร้อยเสียก่อน จะได้ไม่ต้องมาเป็นภาระของผู้ซื้อในภายหลัง Tip หากผู้ซื้อเจอกับกรณีที่เจ้าของโครงการพยายามบังคับหรือใช้ข้อกำหนดใดๆ มาบังคับให้ผู้ซื้อต้องรีบทำการรับโอนกรรมสิทธิห้อง ทั้งๆ ที่ผู้ซื้อเห็นว่าสภาพห้องยังไม่แล้วเสร็จเรียบร้อย หรือยังมีข้อบกพร่องที่ต้องมีการแก้ไข ซึ่งข้อชำรุดบกพร่องในบางจุดอาจเสี่ยงตาอความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย ผู้ซื้อสามารถแจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สคบ. หรือ กรมที่ดิน เพื่อให้ดำเนินการกับเจ้าของโครงการเพื่อดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อย   6.พบความเสียหายในคอนโดหลังโอนกรรมสิทธิ ปัญหาบางอย่างถ้าไม่ได้เข้าไปอยู่เสียก่อน ก็คงไม่มีโอกาสได้รู้ ผู้ซื้อหลายๆ คนต้องเจอปัญหาหนักใจหลังจากย้ายข้าวย้ายของเข้าไปอยู่ บางคนอยู่มาเป็นปีถึงเจอ บางคนไม่กี่เดือน บางคนซ้ำร้ายย้ายไปอยู่ไม่ทันข้ามคืนก็เจอเข้ากับปัญหาซะแล้ว ซึ่งปัญหาต่างๆ มี่เกิดขึ้นแน่นอนว่าต้องดำเนินการแก้ไข แต่ใครละเป็นผู้รับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายห้องชุด ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 ในส่วนของสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด (อ.ช. 22) ในข้อที่ 8 ได้มีการกำหนดเรื่องความรับผิดชอบของผู้ขายหรือเจ้าของโครงการในส่วนของความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไว้ดังนี้ 1.ผู้ขายต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากความชำรุดบกพร่องของอาคารชุดหรือห้องชุด ในกรณีดังต่อไปนี้ 1.1 กรณีที่เป็นโครงสร้างและอุปกรณ์อันเป็นส่วนประกอบอาคารที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันจดทะเบียนอาคารชุด 1.2 กรณีส่วนควบอื่นนอกจากโครงสร้างและอุปกรณ์อันเป็นส่วนประกอบอาคารตามข้อ 1.1 ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี 2.ผู้ขายต้องแก้ไขความชำรุดบกพร่องของอาคารชุดที่เกิดขึ้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผู้ซื้ออาคารชุดได้แจ้งเป็นหนังสือให้ทราบถึงความชำรุดบกพร่องนั้น เว้นแต่ในกรณีที่ความชำรุดบกพร่องนั้น เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน ผู้ขายต้องดำเนินการแก้ไขในทันทีที่ได้รับแจ้ง หากผู้ขายไม่ดำเนินการแก้ไขความชำรุดบกพร่องดังกล่าวข้างต้น ผู้ซื้อมีสิทธิดำเนินการแก้ไขเองหรือจะให้บุคคลภายนอกแก้ไขให้ก็ได้ โดยผู้ขายยินยอมชดใช้ค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแก้ไขความชำรุดบกพร่องดังกล่าว   Tip หากพบเจอปัญหาความชำรุดบกพร่องภายในคอนโดนหลังโอนกรรมสิทธิ ซึ่งเป็นความบกพร่องในส่วนที่ทางเจ้าของโครงการต้องเป็นผู้รับผิดชอบแก้ไข ให้ลองสอบถามเจ้าของห้องรายอื่นๆ ในโครงการ ว่าพบปัญหาในลักษณะเดียวกันหรือไม่ เพราะหากมีผู้เสียหายหลายๆ รายที่พบปัญหาในลักษณะเดียวกันแล้วรวมตัวกันเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ประกอบการ พลังในการต่อร้องจะยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น หากยังไม่ได้รับการรับผิดชอบจากเจ้าของโครงการ ก็ให้รวมตัวไปแจ้งต่อ สคบ. ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีกรณีที่กลุ่มผู้อาศัยในคอนโดรวมตัวกันไปฟ้องร้องเรียกร้องเงินชดเชยจากเจ้าของโครงการผ่าน สคบ. สำเร็จมาแล้ว   หัวใจของการซื้อคอนโด -เข้มเรื่องสัญญา สัญญาคือเอกสารหลักฐานที่สำคัญที่ผู้ซื้อสามารถนำมาใช้เป็นข้อยืนยันกรณีที่เกิดปัญหาจากการซื้อขาย เพื่อใช้เรียกร้องต่อรองกับผู้ขายหรือเจ้าของโครงการ เพราะฉะนั้นต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ในสัญญา โดยต้องให้สัญญานั้นเป็นธรรมกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมากที่สุด ซึ่งทาง สคบ. ได้มีออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจขายห้องชุดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 โดยหลักเกณฑ์ของสัญญาซื้อขายคอนโดที่ดีควรมีรายละเอียดดังนี้ 1.สัญญาที่ผู้ขายทำกับผู้ซื้อต้องมีข้อความภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัด มีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร 2.ข้อสัญญาที่รองรับว่าผู้ขายมีกรรมสิทธิในที่ดิน และมีคำมั่นว่าจะดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จและจะนำไปจดทะเบียนอาคารชุด หรือดำเนินการก่อสร้างอาคารชุด หรือก่อสร้างอาคารชุดเสร็จแล้วจะนำไปจดทะเบียนอาคารชุด หรือมีกรรมสิทธิห้องชุดในอาคารชุดและผู้ลงนามในสัญญาเป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันตามสัญญาไว้ท้ายสัญญาแล้ว 3.ข้อสัญญาต้องแสดงว่าที่ดิน อาคารและห้องชุดในอาคารชุดมีภาระผูกพันกับสถาบันการเงิน หรือบุคคลใด 4.บอกตำแหน่งที่ดิน เลขที่ของโฉนดที่ดิน จำนวนเนื้อที่ของที่ดินโครงการ แผนผังแสดงเขตที่ดินหรือที่ตั้งของอาคารชุด 5.ต้องแจ้งราคาขายต่อตารางเมตร และพื้นที่ห้องชุดที่จะซื้อขาย 6.ราคาซื้อขายที่ทำการตกลงกัน การชำระเงิน วิธีการ ระยะเวลา ขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ 7.วัตถุประสงค์การใช้พื้นที่ทุกส่วนของอาคารชุด รายละเอียดที่เกี่ยวข้องของห้องชุดในอาคารชุด รายการและขนาดของทรัพย์ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวก 8.ข้อมูลการก่อสร้าง ลักษณะ ยี่ห้อ ชนิด รุ่น คุณภาพ ขนาด สี ของวัสดุ ผิวพื้น ผิวหนัง ผิวเพดาน หลังคา สุขภัณฑ์ต่างๆ ประตูหน้าต่าง และอุปกรณ์ประกอบประตูหน้าต่าง ตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ถ้าหากไม่สามารถหาวัสดุตามที่กำหนดไว้จากท้องตลาดได้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดหาวัสดุที่มีคุณภาพดีกว่าหรือเทียบเท่ามาใช้ก่อสร้างแทน โดยผู้ขายจะต้องดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย นอกจากนี้ผู้ขายจะต้องเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดปริมาตร และปริมาณการใช้สาธารณูปโภคทั้งในส่วนกลางและส่วนที่แยกต่อภายในห้องชุด กรณีมาตรวัดในส่วนที่แยกต่อภายในห้องชุดผู้ขายเป็นผู้ดำเนินการขอติดตั้งโดยชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไปก่อน และเมื่อได้โอนกรรมสิทธิห้องชุดให้แก่ผู้ซื้อโดยโอนมาตรวัดให้เป็นชื่อของผู้ซื้อแล้ว ผู้ขายจึงจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากผู้ซื้อได้แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่จ่ายไปก่อนนั้น 9.รายละเอียดเบี้ยปรับ กรณีผิดนัดชำระของผู้ซื้อ การบอกเลิกสัญญา 10.การชดเชยกรณีผู้ขายสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา หรือมีการเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งใดไปจากที่เคยตกลงกันไว้ในสัญญา   ใบโบชัวร์ แผ่นพับ หรือแม้แต่สปอร์ตโฆษณาทางทีวี อินเตอร์เน็ต ก็ถือเป็นเอกสารหลักฐานชิ้นสำคัญ เพราะการโฆษณาต่างๆ ถูกนับร่วมเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสัญญาที่ผู้ขายได้ทำกับผู้ซื้อ หากผู้ซื้อพบว่าคอนโดที่ซื้อจากผู้ขายสภาพจริงไม่ต้องตามที่ได้โฆษณาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ดำเนินงานสร้าง หรือแม้แต่สาธารณูปโภคต่างๆ หากไม่เป็นตามที่โฆษณาไว้ สามารถนำหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏในสื่อโฆษณามาใช้ฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยได้   -จริงจังเรื่องการเงิน การวางแผนการชำระเงินถือเป็นขั้นตอนสำคัญ หากต้องการเป็นเจ้าของห้องพักในคอนโดสักห้อง สิ่งสำคัญก็คือการสำรวจสถานภาพการเงินของตัวเองให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อคอนโด ดูความสามารถในการรับภาระหนี้สินที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว ความมีวินัยในการผ่อนชำระเงินในแต่ละงวด ซึ่งอย่างน้อยควรมีเงินออมที่สามารถนำมาใช้ผ่อนชำระได้นาน 3 – 6 เดือน ในกรณีที่หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย หรือขาดรายรับ เพื่อให้การชำระเงินค่างวดยังสามารถดำเนินต่อไปได้ หากผู้ซื้อผิดนัดชำระค่างวด จ่ายไม่ตรงตามกำหนดที่ได้ทำสัญญาไว้กับผู้ขาย ผู้ซื้อก็มีสิทธิ์           ถูกบอกเลิกสัญญา ซ้ำร้ายอาจถูกริบเงินมัดจำที่จ่ายไว้เมื่อตอนตกลงทำสัญญา   -ให้ความสำคัญเรื่องส่วนกลาง-สาธารณูปโภค พื้นที่และสาธารณูปโภคส่วนกลาง ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ผู้ซื้อคอนโดต้องให้ความสำคัญและพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะค่าส่วนกลางที่จะต้องมีการเรียกเก็บกับผู้อยู่อาศัยในคอนโด จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ผูกมัดตลอดการอยู่อาศัย เพราะฉะนั้นหากเห็นว่าบริการส่วนกลางใดที่มีอยู่ในคอนโดแล้วต้องเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย อย่างเช่น สระว่ายน้ำ ฟิตเนส โซนพักผ่อน ห้องประชุม ฯลฯ หากเราคิดว่าไม่ค่อยได้ใช้ หรือคงใช้ได้ไม่คุ้มกับค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายทุกเดือน ก็ควรเลือกคอนโดที่ไม่มีสาธารณูปโภคส่วนกลางที่เราไม่ต้องการ ลองเปรียบเทียบราคาค่าส่วนกลางเทียบกันหลายๆ โครงการ เลือกสิ่งที่เราต้องการและราคาที่เหมาะสมกับกำลังเงินของเรา แต่ต้องไม่ลืมให้ความสำคัญการบริการสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นอย่าง ที่จอดรถ ที่ต้องมีเพียงพอให้กับเจ้าของห้องทุกห้อง อย่างน้อย 1 ห้องต่อ 1 คัน ระบบรักษาความปลอดภัย ที่โครงการต้องระบุให้ชัดเจนว่ามีระบบและอุปกรณ์ที่ช่วยเรื่องความปลอดภัยอะไรบ้างในโครงการ ไม่ว่าเป็น การทำงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ระบบป้องกันอัคคีภัย รวมถึงสภาพแวดล้อมรอบคอนโด ที่เหมาะแก่การเป็นพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัย ไม่ใกล้แหล่งอันตราย หรือเสี่ยงอาชญากรรม   -ตรวจรับต้องรอบคอบ การตรวจรับคอนโดถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะหากตรวจรับไม่ดีมีปัญหาในภายหลังก็จะกลายมาเป็นปัญหาปวดใจ ได้บ้านหลังใหม่แต่ก็ต้องอยู่ไปแบบไม่มีความสุข เพราะฉะนั้นเมื่อถึงวันที่ต้องมีการตรวจรับคอนโด ผู้ซื้อควรสละเวลาในการตรวจรับให้มากที่สุด ตรวจดูความเรียบร้อยต่างๆ ภายในห้องให้ครบถ้วนทุกซอกทุกมุม ควรมีผู้รู้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในการตรวจรับคอนโดมาช่วยตรวจ โดยต้องเตรียมอุปกรณ์อย่าง กล้องถ่ายรูป สมุด ปากกาไว้สำหรับจดความชำรุดบกพร่องต่างๆ ที่พบจากการตรวจ เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลแจ้งให้กับผู้ที่รับผิดชอบในการดูแลแก้ไข สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในตรวจรับคอนโดประกอบด้วย วัสดุปูพื้น ผนัง เพดาน ประตู หน้าต่าง บันได การติดตั้งสุขภัณฑ์ ระบบสุขาภิบาล ระบน้ำ การปั้มน้ำ การระบายน้ำ การรั่วซึม ระบบไฟฟ้า การเดินสายไฟทั้งตามผนัง และบนฝ้า รวมทั้งเรื่องแสงสว่างของหลอดไฟ ระบบรับสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ ตรวจดูโครงสร้างอาคาร ต้องไม่มีรอยร้าว การแอ่น – เอียงของโครงสร้าง ดูงานสี สีที่ทามีความสม่ำเสมอของเนื้อสี ความกลมกลืน ไม่มีรอยด่าง เนื้อสีไม่หลุดลอกหรือปูดโป่ง วัสดุที่ทำด้วยเหล็กไม่ร่องรอยสนิม ส่วนวัสดุที่ทำด้วยไม้ก็ต้องไม่มีสภาพผุกร่อน -มีปัญหาต้องร้องเรียน ข้อมูลจาก คณะอนุกรรมการด้านที่อยู่อาศัย โดยคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 159 รถโดยสารสองชั้น : ความปลอดภัย “สร้างได้”

ในปัจจุบันแม้ว่ารถโดยสารสาธารณะ ได้แก่ รถโดยสารขนาดใหญ่ (หมวด ม.4) หรือ รถตู้โดยสารสาธารณะ (หมวด ม.2จ) จะมีมาตรฐานขั้นพื้นฐานที่กำหนดขึ้นโดยกรมขนส่งทางบกไว้บางประการแล้วนั้น อย่างไรก็ตาม จากสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารขนาดใหญ่อย่างรถโดยสารสองชั้นที่ผ่านมาล่าสุด ไม่ว่าจะเป็น กรณีที่รถโดยสารนำเที่ยวเสียหลักตกเหวข้างทางที่ อ.ดอยสะเก็ด จ.ลำปาง ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 หรือกรณีรถโดยสารนำเที่ยวสองชั้นพลิกคว่ำตกเหวข้างทางที่อ.แม่สอด จ.ตาก ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 รวมถึงล่าสุดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 ที่รถโดยสารนำเที่ยวสองชั้น เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำบนถนนเลี่ยงเมือง ที่จ.ตรัง ล้วนทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การเดินทางด้วยรถโดยสารสองชั้น ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่สูงอยู่ อีกทั้งยังมีความเสียหายและรุนแรงต่อชีวิตของผู้โดยสารสูงมากเช่นกัน โดยสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้น นอกเหนือจากพฤติกรรมและความชำนาญในเส้นทางของผู้ขับขี่ สภาพของถนนหรือเส้นทางในการเดินรถแล้วนั้น อีกสาเหตุหลักของความสูญเสียชีวิตของผู้โดยสารคือ รถโดยสารสาธารณะเหล่านี้ ยังไม่มีโครงสร้างที่มีความแข็งแรง หรืออุปกรณ์พื้นฐานด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพเพียงพอตามมาตรฐานสากล หรือไม่มีการถูกบังคับใช้อย่างจริงจัง บทความนี้ จะอธิบายถึงสาเหตุหลักและลักษณะรูปแบบส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุที่เกิดกับรถโดยสารสองชั้นโดยสังเขป และชี้เน้นเชิงเสนอแนะถึงวิธีการและอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยของรถโดยสารสองชั้นตามหลักการเชิงวิศวกรรมที่สำคัญ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของรถโดยสารสองชั้น ที่ควรจะมีการนำมาใช้กับรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทยโดยเร่งด่วน ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้โดยสารเท่านั้นที่ควรรู้และเข้าใจ แต่รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอีกด้วย   สาเหตุหลักสามประการของการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารสองชั้น สามปัจจัยหลัก ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อความปลอดภัยในการโดยสารรถโดยสารสองชั้น มีดังต่อไปนี้ 1) คนชับและผู้โดยสาร - พฤติกรรม วินัย มารยาทในการใช้รถและถนนของคน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถ ผู้ร่วมใช้ถนน และผู้โดยสารรถ เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุด ที่มีผลต่อความปลอดภัยบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการขับขี่ การเคารพกฎจราจร ความชำนาญเส้นทางของผู้ขับขี่เอง นอกจากนี้การตระหนักถึงความปลอดภัยด้วยตนเองของผู้โดยสารก็มีความสำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การคาดเข็มขัดนิรภัย หรือไม่โดยสารรถที่มีจำนวนผู้โดยสารมากกว่าที่นั่งที่มีอยู่ เป็นต้น 2) ยานพาหนะและอุปกรณ์ภายใน – นอกเหนือจากโครงสร้างตัวถังรถ แชสซี รวมไปถึงชิ้นส่วนพื้นฐานอย่างระบบบังคับเลี้ยว สภาพช่วงล่าง สภาพยางรถ และอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยต่างๆ ของรถ เช่น ระบบเบรก แล้วนั้น การออกแบบรถที่ครอบคลุมถึง ขนาดความสูงของรถ การจัดวางเก้าอี้โดยสาร ซึ่งส่งผลต่อน้ำหนักรวม การกระจายน้ำหนัก และตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วง ยังมีผลโดยตรงต่อสมรรถนะการขับขี่และการทรงตัวของรถอีกด้วย 3) สิ่งแวดล้อม - อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการจราจร ก็คือ รูปแบบเส้นทางที่คดเคี้ยว ลาดชัน สภาพของถนนที่ชำรุดผุผัง เป็นหลุมเป็นบ่อ มีการจัดวางตำแหน่งของอุปกรณ์กั้นข้างทางที่ไม่เหมาะสม มีสิ่งกีดขวางการจราจร ทำให้ที่รถต้องชะลอความเร็วหรือเปลี่ยนเส้นทางโดยกะทันหัน รวมถึง สัญญาณจราจรที่ไม่ชัดเจน อาทิ ป้ายจราจร เส้นแบ่งทางเดินรถ สิ่งเหล่านี้เป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้ง ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะมองข้ามไม่ได้เป็นอันขาด ลักษณะและรูปแบบของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารสองชั้น จากข้อมูลสถิติจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพบว่า เหตุการณ์เสียหลักพลิกคว่ำ หลุดโค้ง เบรกไม่อยู่ เป็นลักษณะและรูปแบบของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารสองชั้นที่พบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิศวกรรม และอธิบายถึงผลความของความรุนแรงอันตรายต่อชีวิตผู้โดยสารได้ดังนี้ 1) การพลิกคว่ำ (Rollover) จากผลงานวิจัยจากประเทศฮังการี หนึ่งในประเทศในยุโรปที่มีจำนวนรถโดยสารสองชั้นสูงพบว่า รูปแบบของการเสียหลักพลิกคว่ำของรถโดยสารสองชั้น สามารถแบ่งตามมุมองศาของการพลิกคว่ำ ได้เป็นสามรูปแบบ ดังที่ได้อธิบายไว้ในรูปที่ 1 ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ลักษณะของมุมของการพลิกคว่ำที่ 90 องศา จะเกิดความเสียหายน้อยที่สุด โดยที่มุมของการพลิกคว่ำระหว่าง 45 ถึง 60 องศา จะสามารถส่งผลให้เกิดความเสียหายในระดับเล็กน้อยถึงขั้นรุนแรง ในขณะที่กรณีของการพลิกคว่ำที่ 90 องศาขึ้นไป ที่พบส่วนใหญ่ จะส่งผลให้เกิดความเสียหายขั้นรุนแรง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งรูปแบบลักษณะของการพลิกคว่ำของเหตุการณ์แต่ละแบบนั้น จะสัมพันธ์กับความเร็วของรถ สภาพถนนหรือความสูงของอุปกรณ์กั้นข้างทาง รวมถึงขนาดของตัวรถ โดยปัจจัยด้านขนาดของตัวรถที่มีผลโดยตรงต่อเสถียรภาพในการขับขี่ ได้แก่ ตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของรถ ซึ่งในการพลิกคว่ำของรถโดยทั่วไปนั้น จะสามารถอธิบายได้ดังที่แสดงในรูปที่ 2 ในกรณีที่จุดศูนย์ถ่วงของรถยนต์ (จุดสีแดง) อยู่ในตำแหน่งภายในแนวแกนตั้งของฐานล้อรถยนต์ รถคันนั้นจะยังคงมีเสถียรภาพอยู่จนกว่าจุดศูนย์ถ่วงจะเลยพ้นแกนตั้ง ซึ่งจะส่งผลให้รถทั้งคันเกิดการพลิกคว่ำ โดยทั่วไปแล้ว สถานการณ์การขับขี่ที่สามารถทำให้รถเกิดอัตราเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำ ได้แก่ การขับชี่ในพื้นที่ต่างระดับ ลาดชัน รัศมีวงเลี้ยวแคบ รวมไปถึงการหักเลี้ยวรถเพื่อเปลี่ยนเลนอย่างกะทันหันที่ความเร็วสูง เกณฑ์ที่หน่วยงานด้านความปลอดภัยของรถสาธารณะสากลอย่าง สถาบัน National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) ใช้ในการวิเคราะห์การ “ป้องกันการพลิกคว่ำ” (Rollover resistance) และเปรียบเทียบวิเคราะห์อัตราเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำของรถสาธารณะแต่ละประเภท คือ ค่า Static Stability Factor (SSF)  ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตร SSF = T ÷ (2 ×H) โดยจากรูปที่ 3 ตัวแปร T (Track Width) คือ ความกว้างของฐานล้อของรถโดยกำหนดจากระยะห่างระหว่างตำแหน่งจุดศูนย์กลางของรถ และตัวแปร H (Center Gravity of Height) หมายถึง ค่าความสูงของจุดศูนย์ถ่วงรถถึงพื้น ซึ่งตามทฤษฏีแล้วโครงสร้างของรถที่มีค่า SSF ที่ต่ำ รถจะมีแนวโน้มที่จะพลิกคว่ำได้ง่ายกว่า รถที่มีค่า SSF สูงกว่า ตัวอย่างของค่า SSF ที่ได้จากการวิเคราะห์รถโดยสารประเภทต่างๆ ที่มีจำนวนที่นั่งผู้โดยสารต่างๆ กัน โดยสถาบัน Transport Canada และ NHTSA แสดงไว้ในตารางที่ 1 ซึ่งจะพบว่ารถที่มีจำนวนที่นั่งมากกว่า ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีแนวโน้มที่จะพลิกคว่ำได้ง่ายกว่าเสมอ ยกตัวอย่างเช่น รถ 30ที่นั่งที่มีค่า SSF มากกว่า รถ 19 ที่นั่งบางคัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของตัวรถเป็นหลัก ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัย อาทิ เช่น การจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีผลต่อน้ำหนักรวมหรือตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงรถ ฐานความกว้างของรถแต่ละคัน หรือระบบกันสะเทือนช่วงล่าง ที่จะมีผลต่อตำแหน่งความสูงของจุดศูนย์ถ่วงรถ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญในการออกแบบและปรับปรุงพัฒนาสมรรถนะของรถให้มีค่า SSF ที่สูง เพื่อหลีกเลี่ยงการพลิกคว่ำให้ได้มากที่สุด   ประเภทรถ ค่า Static Stability Factor (SSF) รถโดยสาร 7 ที่นั่ง 1.27 รถตู้โดยสาร 12 ที่นั่ง 1.06 รถตู้โดยสารฐานล้อกว้าง 15 ที่นั่ง 1.06 - 1.08 รถโดยสารชั้นเดียว 15  ที่นั่ง 1.06 รถโดยสารชั้นเดียว 30 ที่นั่ง 0.99 รถโดยสารชั้นเดียว 19  ที่นั่ง 0.94 รถโดยสารสองชั้น 0.60 – 0.80   1) การเสียหลักหลุดโค้ง/ท้ายปัด (Spinout/Oversteering)  การเลี้ยวโค้งของรถเป็นหนึ่งในสถานการณ์ระหว่างการขับขี่และจราจรที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด และหนึ่งในประเภทของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดก็คือ การที่รถเสียหลักรถหลุดโค้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายๆ ปัจจัย ได้แก่ ความเร็วในการขับขี่สูงเกินกำหนดในรัศมีความโค้ง สภาพถนนลื่น และการบรรทุกผู้โดยสารเกิน รวมไปถึงการกระจายน้ำหนักของตัวรถที่เพลาหน้าและเพลาท้ายไม่เหมาะสม ซึ่งตามทฤษฏีพลศาสตร์ยานยนต์แล้วนั้น ในกรณีที่รถที่มีการกระจายน้ำหนักที่ล้อหลัง มากกว่าล้อหน้า แล้วถูกขับเลี้ยวเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง (หรือที่เรียกว่า “การเลี้ยวเร็ว“) รถจะมีแนวโน้มของการเคลื่อนที่ที่เรียกว่า  ”โอเวอร์สเตียริง” (Oversteering) หรือ “การหลุดโค้งท้ายปัด“ ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้ง่ายกับรถยนต์ที่มีสัดส่วนน้ำหนักส่วนท้ายมากกว่าด้านหน้า โดยสามารถอธิบายได้จากสถานการณ์ที่ส่วนท้ายของรถนั้น ถูกหมุนปัดในทิศทางที่ทำให้รถเสียการทรงตัวเป็นมุมมากกว่าความรัศมีความโค้งของถนน ในขณะที่ส่วนหน้าของรถถูกบังคับเลี้ยวปกติดังที่แสดงในรูปที่ 4 2) การเบรกไม่อยู่ (Insufficient Brake Force) อีกหนึ่งในเหตุการณ์ที่พบบ่อยในการเกิดอุบัติเหตุคือ สถานการณ์ “เบรกไม่อยู่” โดยปกติแล้ว แรงเบรกที่ถูกสร้างในระบบเบรก จะเกิดจากแรงเบรกจากเท้าของคนขับที่ได้รับการเสริมแรงจากหม้อลมเบรก ซึ่งมีหลักการทำงานโดยอาศัยแรงสูญญากาศจากสร้างจากเครื่องยนต์ ดังที่แสดงในรูปที่ 5 ในกรณีที่แรงเบรกในระบบเบรกของรถไม่เพียงพอ อาจจะมีสาเหตุจากสองกรณี ได้แก่ การที่ระบบเบรกมีการรั่วซึมของระบบท่อลม ทำให้ระบบเบรกทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ และการที่หม้อลมเบรกไม่ได้รับแรงสูญญากาศที่พอเพียงกับความต้องการ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับรถโดยสารสองชั้นที่มีน้ำหนักมาก ที่เคลื่อนที่ลงจากทางที่สูงหรือลงจากภูเขาเป็นระยะทางยาวๆ จนคนขับต้องเหยียบเบรกบ่อยและต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้แรงสูญญากาศที่ได้จากเครื่องยนต์ส่งไปยังหม้อลมเบรกไม่เพียงพอ ทำให้คนขับ ต้องออกแรงในการเหยียบเบรกมากขึ้นกว่าปกติหลายเท่า เกิดความรู้ว่า “แป้นเบรกหนัก” ไม่สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัย ซึ่งมักจะมีความเข้าใจผิดว่า “เบรกแตก” (หมายถึงการที่หม้อลมเบรกได้รับความเสียหาย) ซึ่งแท้จริงแล้วมีความหมายที่แตกต่างกัน ความปลอดภัยที่ “สร้างได้” ของรถโดยสารสองชั้น” - วิธีการและระบบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย วิธีการและระบบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในรถยนต์นั้นสามารถแบ่งตามลำดับเหตุการณ์ก่อนและหลังการการอุบัติเหตุได้เป็น แนวทางความปลอดภัยที่ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรือที่เรียกว่า “Active safety” และแนวทางความปลอดภัยที่ช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ หรือที่เรียกว่า “Passive safety” ดังที่แสดงในรูปที่ 6 ซึ่งอธิบายถึงทุกอย่างที่ช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งในกรณีนี้ นอกเหนือจากระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบเตือนคนขับ ระบบช่วยเหลือคนขับคนแล้ว ยังครอบคลุมวิธีการออกแบบ รูปร่างและการกระจายน้ำหนัก ซึ่งส่งผลลัพธ์ออกมาในรูปของตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของรถ ซึ่งมีผลการเสถียรภาพการทรงตัวดังที่อธิบายไว้แล้วเบื้องต้น จากข้อเท็จจริงพบว่า ทั้งรถโดยสารชั้นเดียวและสองชั้นที่มีให้บริการอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่แล้วนั้น ได้รับการประกอบจากอู่ประกอบรถภายในประเทศ โดยมีการนำเข้าแชสซีจากต่างประเทศ ซึ่งจะประกอบด้วยโครงสร้างส่วนช่วงล่างทั้งหมด เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง และระบบเบรก ซึ่งมีทั้งแบบใหม่และแบบใช้แล้ว โดยอู่จะเป็นผู้ประกอบโครงสร้างและตัวถังขึ้น โดยใช้ประสบการณ์ของช่าง ที่จะเน้นด้านความสวยงาน แต่ไม่มีการคำนึงความแข็งแรงที่ถูกต้องตามแบบวิศวกรรม และไม่มีการควบคุมความถูกต้องอย่างจริงจัง ซึ่งผลกระทบเชิงลบที่เห็นได้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนคือ ความเสียหายที่รุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน กรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุครั้งต่างๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสาเหตุต่างๆ จากตัวรถ ได้แก่ ความสูงของรถที่มีอัตราเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำสูง (ค่า SFF ต่ำ) โครงสร้างของตัวรถที่ไม่มีความแข็งแรงรองรับสถานการณ์การพลิกคว่ำ ความแข็งแรงของอุปกรณ์ยึดเก้าอี้โดยสารที่ไม่แข็งแรง ทำให้เก้าอี้หลุดออกจากพื้นรถกรณีเกิดอุบัติเหตุ ความแข็งแรงของเข็มขัดนิรภัยที่ไม่เพียงพอ เป็นต้น คำว่า “รถโดยสารสองชั้นที่ปลอดถัย”สำหรับหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล หรือผู้ประกอบการ อาจมองว่าเป็นเรื่องที่ทำสำเร็จได้ยาก แต่หากพิจารณาด้วยหลักการวิศวกรรมแล้วจะพบว่า “การสร้างความปลอดภัย” ให้แก่ตัวรถนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีไกลเกินจริง เนื่องด้วย หนึ่งในเหตุผลสำคัญคือ ผู้ประกอบการในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบโครงสร้างตัวถังขึ้นเอง สามารถเลือกประเภทของเก้าอี้โดยสาร การจัดวางตำแหน่งที่นั่งได้เอง กำหนดความสูงของรถได้เอง รวมทั้งเลือกรูปแบบของแชสซี และอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยพื้นฐานอย่างระบบเบรกได้เอง  ดังที่ผู้เขียนเสนอแนะ แนวทางการ”สร้าง” รถโดยสารสองชั้นที่ปลอดภัย ดังต่อไปนี้ (รูปที่ 7) 1) จุดศูนย์ถ่วงต่ำ มาตรการการลดตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วง เป็นหนี่งในวิธีการด้าน Active safety ที่สามารถทำได้ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วนั้น รถประเภทที่มีตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงต่ำ (ค่า H ต่ำ) จะมีเสถียรภาพการทรงตัวที่ดีและอัตราเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำต่ำกว่า รถประเภทที่มีจุดศูนย์ถ่วงสูงกว่า (ค่า  H สูง) จากหลักการนี้เอง สามารถอธิบายถึงเหตุผลที่มีการผลักดันให้ยกเลิกการเดินรถรถโดยสารสองชั้นในหลายพื้นที่ที่มีความคดเคี้ยว ลาดชัน และทดแทนด้วยรถโดยสารชั้นเดียว ซึ่งมีตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกรณีที่มีผู้โดยสารเท่ากัน ในเส้นทางเดียวกัน นอกจากนี้ การควบคุมความสูงของรถให้ได้ค่า SSF ที่สูงขึ้น ก็เป็นสิ่งผู้ประกอบการควรนำไปใช้เป็นอย่างยิ่ง 2) เพิ่มประสิทธิภาพระบบเบรกในสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยระบบ ABS และ Brake-Assist อุปกรณ์ชนิด Active safety ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเบรกในรถโดยสารสองชั้น ได้แก่ ระบบป้องกันการล็อคล้อหรือระบบ ABS (Anti-lock Braking System) ซึ่งจะช่วยคนขับให้สามารถควบคุมรถได้อย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่สามารถเกิดการหลุดโค้งท้ายปัดได้ โดยทั่วไปแล้วระบบ ABS จะถูกติดตั้งและจำหน่ายมาพร้อมกับแชสซีรถอยู่แล้ว  ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกชนิดและประเภทได้ ซึ่งในปัจจุบัน หลายประเทศในยุโรปได้มีการออกกฏหมายบังคับให้รถโดยสารสาธารณะทุกคันติดตั้งระบบเบรกประเภทนี้แล้ว นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่สำคัญที่สามารถช่วยสร้างแรงเบรกให้แก่รถที่มีน้ำหนักมาก อาทิ เช่น อุปกรณ์หน่วงความเร็ว (Retarder) ที่มีใช้แพร่หลายในรถบรรทุก หรือปั๊มสูญญากาศ (Vacuum-assisted Pump) โดยในกรณีที่ผู้ขับขี่เหยียบแป้นแบรกบ่อยและต่อเนื่อง จนแรงสูญญากาศจากเครื่องยนต์ไม่เพียงพอ อุปกรณ์นี้จะช่วยเติมแรงสูญญากาศให้แก่หม้อลมเบรก (รูปที่ 8) ทำให้ผู้ขับขี่ยังคงสามารถออกแรงเหยียบแป้นเบรกอย่างปกติ และสามารถชะลอรถได้อย่างปลอดภัย 1) โครงสร้างของห้องโดยสารที่รองรับการพลิกคว่ำ มาตรการประเภท Passive safety ที่ควรกำหนดให้อู่ประกอบรถโดยสารนำมาใช้อย่างเร่งด่วนคือ การพัฒนาโครงสร้างของห้องโดยสารที่มีความแข็งแรงรองรับการพลิกคว่ำ (Rollover) หรือที่เรียกว่า “โครงสร้างแบบ Superstructure” ซึ่งตามมาตรฐานสากล UN ECE R 66 ได้มีบังคับใช้ในรถโดยสารที่มีผู้โดยสารจำนวน 16 ที่นั่งขึ้นไป โดยมาตรฐานนี้จะกำหนดให้โครงสร้างของรถโดยสารต้องผ่านการทดสอบ ด้วยการปล่อยโครงสร้างลงมาจากแท่นเอียง (Tilt table) ที่ระดับความสูงจากพื้น 80 เซนติเมตร ดังแสดงใน รูปที่ 9 โดยโครงสร้างที่จะนำมาทดสอบนี้ จะเป็นโครงสร้างทั้งหมดของรถโดยสารทั้งคัน หรือเป็นโครงสร้างเฉพาะส่วนที่เรียกว่า “Bay-Section”ก็ได้ โดยโครงสร้างเฉพาะส่วนนี้ จะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมือนรถโดยสารที่ประกอบเสร็จ เกณฑ์การทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้างที่ตามมาตรฐานนี้ คือหลังจากการทดสอบนั้น จะต้องไม่ส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างล้ำเข้าไปในขอบเขตความปลอดภัย (หรือที่เรียกว่า “Residual space”) ที่กำหนดไว้ดังแสดงในรูปที่ 10 นอกจากนี้การทดสอบนี้ยังสามารถทำได้ทั้งการทดสอบภาคสนามบนโต๊ะเอียงจริงหรือทำการทดสอบในสภาวะเสมือนในคอมพิวเตอร์โดยอาศัยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยในการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้าง 2) เก้าอี้โดยสาร การจับยึดกับพื้นรถและเข็มขัดนิรภัย มาตรการประเภท Passive safety อีกประการที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตของผู้โดยสาร คือความแข็งแรงของเก้าอี้โดยสาร การจับยึดและเข็มขัดนิรภัย ซึ่งมาตรฐานความแข็งแรงของที่นั่ง จุดยึดที่นั่ง และจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถโดยสารที่เป็นที่ยอมรับกับอย่างกว้างขวางคือ UN ECE R 16 (Uniform provisions concerning the approval of Vehicles equipped with safety-belts, safety-belt reminder, restraint systems, child restraint systems and ISOFIX child restraint systems) โดยระบุถึงข้อกำหนดความแข็งแรงของระบบการยึดรั้งทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วย เข็มขัดนิรภัย อุปกรณ์ยึดเข็มขัดนิรภัยกับตัวรถ เก้าอี้โดยสาร และอุปกรณ์จับยึดเก้าอี้โดยสารกับพื้นรถ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยึดผู้โดยสารไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่หลุดออกจากพื้นรถในกรณีที่เกิดการเบรกกะทันหัน การพุ่งชนสิ่งกีดขวาง รวมไปถึงการพลิกคว่ำ ซึ่งโดยทั่วไป จะทดสอบด้วยแรงฉุดเก้าอี้โดยสารเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสิบเท่าของน้ำหนักผู้โดยสาร ซึ่งตามมาตรฐานนี้ จะทำการทดสอบอุปกรณ์ทั้งหมดพร้อมกัน นอกเจากนี้ ยังมีมาตรฐานการทดสอบอุปกรณ์นิรภัยอื่นๆ อาทิ เช่น การรองรับการกระแทกของศีรษะ หรืออวัยวะอื่นๆ ของผู้โดยสารให้ไม่เกิดอันตราย อีกทั้งการทดสอบภาคสนามอื่นๆ ที่เพื่อบ่งชี้พฤติกรรมการเคลื่อนที่และเสถียรภาพของรถ ได้แก่ การทดสอบการเลี้ยวโค้งที่รัศมีการเลี้ยวโค้งคงที่ (Steady state circular test) หรือการทดสอบการเปลี่ยนเลนกะทันหัน (Double lane change หรือ Elch test) เพื่อศึกษาที่จะส่งผลการดื้อโค้ง (understeering) หรือท้ายปัด (oversteering) ของรถเป็นต้น ซึ่งมาตรการเชิงวิศวกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการผลักดันอย่างเร่งด่วน ควบคู่กับแนวทางการจัดการทั้งในด้านพนักงานขับรถ เส้นทางเดินรถ รวมไปถึงสภาพถนนและป้ายสัญลักษณ์จราจร ด้วยความหวังที่ว่า การเดินทางด้วยรถโดยสารสองชั้นอย่างปลอดภัย จะไม่ต้องพึ่งค่ำว่า “โชค” อีกต่อไป   ข้อมูลและภาพประกอบอ้างอิง Matyas, M. (2010), Behaviour of the Lower Level (Deck) of Double-Deck Vehicles in Rollover UN ECE R 66 Uniform technical prescriptions concerning the approval of large passenger vehicles with regard to the strength of their superstructure EOBUS project http://www.eobus.com/news/105.htm National Highway Traffice Safety Administration (NHTSA) Transport Canada UN ECE R 66 Uniform technical prescriptions concerning the approval of large passenger vehicles with regard to the strength of their superstructure   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 158 การแจกยาเบญจอำมฤตย์ เป็นความหวังดีต่อผู้ป่วยมะเร็งจริงหรือ

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีข่าวดังเกิดขึ้นในแวดวงการสาธารณสุขไทย เมื่ออธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ออกข่าวเรื่องแจกสูตรยาสมุนไพรต้านมะเร็งตับ เบญจอำมฤตย์ที่โรงพยาบาลการแพทย์ผสมผสานที่ยศเสเพื่อให้บริการรักษาและติดตามผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้าย ข่าวนี้สร้างความหวังให้กับผู้ป่วยมะเร็งตับอย่างมาก ขนาดแห่กันไปขอรับการรักษาจนแน่นโรงพยาบาล และทำให้วัตถุดิบในการผลิตยา ราคาพุ่งกระฉูด และก่อให้เกิดคำถามสำคัญขึ้นมาว่า วิธีการแจกยาให้แก่ผู้ป่วยนี้ อาจเข้าข่ายผิดจริยธรรม เพราะสูตรยาเบญจอำมฤตย์ที่ทางกรมฯ นำมาแจกจ่ายให้กับประชาชน เป็นสูตรยาในโครงการติดตามผลการใช้ยาเบญจอำมฤตย์ ที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคนด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก(The Ethic Committee for Research in Human Subjects In the Fields of Thai Traditional and Alternative Medicine)   3 ก.พ. 57 นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าว “ศาสตร์การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง” ว่าจากฐานข้อมูลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยพบว่าตำรับยาแผนไทยที่มีสรรพคุณในการ รักษาโรคเรื้อรังมี จำนวน 12,428 ตำรับ ในจำนวนนี้เป็นตำรับยารักษาโรคมะเร็ง จำนวน 3,115 ตำรับ อย่างไรก็ตาม ตำรับยาที่น่าสนใจและเป็นอีกทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งร่วมกับการรักษา แพทย์แผนปัจจุบัน คือ สูตรยาสมุนไพรโบราณที่เรียกว่า เบญจอำมฤตย์   ซึ่งประกอบด้วยสูตรยาในคัมภีร์แพทยศาสตร์สงเคราะห์  9 ตัว ได้แก่ มหาหิงค์ ยาดำบริสุทธิ์ รงทอง มะกรูด ขิงแห้ง ดีปลี พริกไทย รากทนดี และดีเกลือ โดย สูตรยาดังกล่าวได้ทำการศึกษาร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตั้งแต่ปี 2554 โดยได้ทดสอบในระดับหลอดทดลอง และหนูทดลอง โดยให้ยาสูตรดังกล่าวพบว่า หนูมีภูมิต้านทานขึ้นมีประสิทธิภาพต้านเซลล์มะเร็ง เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับยาดังกล่าว “ยาสูตรนี้จะได้ผลดีต่อการต้านทานเซลล์มะเร็งตับดีกว่ามะเร็งชนิดอื่น โดยได้ผ่านการรักษาผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งในรพ.เคียนซา และรพ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ อยู่ระหว่างทดลองในระดับคลินิกในผู้ป่วยอาสาสมัครในโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ผสมผสาน (ยศเส) ได้จัดทำเป็นยาชนิดแคปซูล เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการรักษา โดยไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้กับผู้ป่วยที่มารักษา ด้วยสิทธิบัตรทอง หรือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น แต่สิทธิประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการก็สามารถมาติดต่อเพื่อขอรับยาตัวนี้ ได้ฟรี แต่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนไทยที่รพ.ก่อน และต้องรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันร่วมด้วย” นพ.ธวัชชัย กล่าว ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20140203/178149.html     เบญจอำมฤตย์ ชื่อนี้มาจากไหน ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ซึ่งรวบรวมคัมภีร์แพทย์แผนโบราณไว้จำนวนมากนั้น ยาที่ชื่อว่า เบญจอำมฤตย์(หรือออกเสียงเหมือนกัน) ปรากฏอยู่ในคัมภีร์สามเล่ม คือ คัมภีร์ปฐมจินดา คัมภีร์โรคนิทาน และคัมภีร์ธาตุบรรจบ มีรายละเอียดดังนี้ คัมภีร์ปฐมจินดา ยาชื่อเบ็ญจอำฤต ขนานนี้ท่านให้เอา มหาหิงคุ์ ๑ ยาดำ ๑ สิ่งละส่วน รงทอง ๒ ส่วน มะกรูดใหญ่ ๓ ผล แล้วจึงเอามหาหิงคุ์ รงทอง ยาดำ ทั้ง ๓ สิ่งนี้ยัดเข้าในผลมะกรูดสิ่งละผล แล้วจึงเอามูลโคสดพอกสุมไฟแกลบให้สุกระอุดี แล้วจึงเอารากตองแตก ๔ ส่วน ดีเกลือ ๑๖ ส่วน ทำเปนจุณแล้วประสมกันเข้าจึงบดทั้งเนื้อมะกรูดปั้นแท่งไว้เอาหนัก ๑ สลึง ละลายน้ำส้มมะขามเปียก กินลงสดวกดี นัก ยาขนานนี้ถ้ากุมารได้ ๓, ๔ ขวบกินก็ได้ ดีเหมือนกัน คัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงชื่อยา เบญจอำมฤตย์ (ชื่อนี้ปรากฏในสมุดไทยซึ่งเป็นฉบับหลวงชำระในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่เมื่อนำมาตีพิมพ์เป็นตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ใช้ชื่อว่า บุญจอำมฤตย์) โดยไม่ได้ระบุส่วนประกอบของตำรับ   คัมภีร์ธาตุบรรจบ ยาชื่อเบ็ญจะอำมฤตย์ เอามหาหิงคุ์ ๑ ยาดำบริสุทธิ์ ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง รงทอง ๒ สลึง มะกรูด ๓ ผล (เอามหาหิงคุ์, ยาดำ, รงทอง ใส่ในมะกรูดสิ่งละผล แล้วเอามูลโคพอกสุมไฟแกลบให้สุก) ขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ พริกไทย ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง รากทนดี ๑ บาท ดีเกลือ ๔ บาท ยา ๕ สิ่งนี้ประสมกับมะกรูดที่สุมไว้ทำเปนจุณละลายน้ำ ส้มมะขามเปียกให้รับประทานหนัก ๑ สลึง ฟอกอุจจาระอันลามกให้สิ้นโทษ ชำระลำไส้ซึ่งเปนเมือกมันแลปะระเมหะทั้งปวง   ไม่ควรใช้ชื่อ เบญจอำมฤตย์ เพราะไม่เป็นไปตามตำรายาการแพทย์แผนไทย ยาเบญจอำมฤตย์ที่นำมาแจกจ่ายในขณะนี้ เป็นสูตรยาจาก โครงการติดตามผลการใช้ยาเบญจอำมฤตย์ ในผู้ป่วยมะเร็งทางเดินท่อน้ำดี และอ้างอิงว่า นำมาจากคัมภีร์ธาตุบรรจบ ซึ่งประกอบด้วยตัวยาจากวัตถุดิบ 9 ชนิด แต่สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาคือ ยาเบญจอำมฤตย์ที่คณะผู้วิจัย(โครงการติดตามความปลอดภัยของตำรับยาเบญจอำมฤตย์ ในผู้ป่วยมะเร็งตับ, ลำไส้, ปากมดลูก และต่อมลูกหมาก) ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการจริยธรรม มีความต่างจากต้นตำรับเดิม   ตำรับยาเบญจอำมฤตย์   (ตาม protocol ที่เสนอคณะกรรมการจริยธรรม) ลำดับที่ รายการ ปริมาณ มาตราไทย มาตราเมตริก (กรัม) 1 มหาหิงคุ์ 1 สลึง 3.75 กรัม 2 ยาดำบริสุทธิ์ 1 สลึง 3.75 กรัม 3 รงทอง 2 สลึง 7.5 กรัม 4 มะกรูด 3 ผล 50 กรัม 5 ขิงแห้ง 1 สลึง 3.75 กรัม 6 ดีปลี 1 สลึง 3.75 กรัม 7 พริกไทย 1 สลึง 3.75 กรัม 8 รากทนดี 1 บาท 15 กรัม 9 ดีเกลือ 4 บาท 60 กรัม   ขั้นตอนการผลิต 1.ชั่งยาตามสูตร 2. เอามหาหิงคุ์ ยาดำ รงทอง ทำการสะตุหรือประสะตามวิธีของแต่ละตัว 3. นำมหาหิงคุ์ ยาดำ รงทอง แยกบดให้ละเอียดทีละชนิดแยกจากกันแล้วนำไปละลายน้ำ พักเอาไว้ 3. นำสมุนไพรที่เหลือมาอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส แล้วบดสมุนไพรทั้งหมดรวมกันพอหยาบ 4. นำสมุนไพรที่ได้คลุกเคล้ารวมกับน้ำที่ละลาย มหาหิงคุ์ รงทองและยาดำ 5. นำสมุนไพรไปอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส อีกครั้งจนสมุนไพรแห้ง จากนั้นนำไปอบจนสามารถบดเป็นลงละเอียดได้ 6. นำผงละเอียดที่ได้บรรจุลงแคปซูล   รูปแบบ/ความแรง แคปซูล 300 มิลลิกรัม วิธีใช้ รับประทาน ครั้งละ 3 แคปซูล ก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น วิธีปรุงยาตำรับนี้ ในคัมภีร์ธาตุบรรจบระบุว่า “เอามหาหิงคุ์ ๑ ยาดำบริสุทธิ์ ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง รงทอง ๒ สลึง มะกรูด ๓ ผล (เอามหาหิงคุ์ ยาดำ รงทอง ใส่ในมะกรูดสิ่งละผล แล้วเอามูลโคพอกสุมไฟแกลบให้สุก) ขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ พริกไทย ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง รากทนดี ๑ บาท ดีเกลือ ๔ บาท ยา ๕ สิ่งนี้ประสมกับมะกรูดที่สุมไว้ทำเปนจุณละลายน้ำ ส้มมะขามเปียกให้รับประทานหนัก ๑ สลึง”   จะเห็นว่าคณะผู้วิจัยฯ มีวิธีการเตรียมยา ที่ผิดไปจากในคัมภีร์ธาตุบรรจบ ดังนั้นผลในการรักษาอาจแตกต่างจากยาที่ปรุงตามตำรับยาดั้งเดิม จึงต้องถือว่า สูตรยาเบญจอำมฤตย์ตาม  protocol เป็นยาใหม่ ซึ่งหากจะนำมาทดลองวิจัยทางคลินิก จำเป็นต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกก่อน การดำเนินการแจกยาให้แก่ผู้ป่วยที่กระทำอยู่ในขณะนี้จึงสุ่มเสี่ยงว่า เป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค(ผู้ป่วย) ซึ่งอาจไม่รู้ตัวว่า ตนเองได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการทดลองยาสูตรนี้อยู่ และเมื่อฉลาดซื้อได้สอบถามกับผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย ซึ่งทำงานอยู่ในสังกัดกรมพัฒนาการแพทย์ฯ ท่านหนึ่ง ได้ทราบข้อมูลเพิ่มว่า “ทางกรมฯ นำสูตรยานี้มาเปลี่ยนชื่อโครงการทีหลัง เน้นเฉพาะเจาะจงที่มะเร็งตับ ส่วนเหตุผลที่ทางกรมฯ อ้างว่า ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต EC (คณะกรรมการจริยธรรม) เพราะเป็น Actual Use Research (AUR) แบบที่ทางประเทศญี่ปุ่นใช้ แต่ประเด็นคือ AUR ในญี่ปุ่น เขาใช้วิธีนี้ในการศึกษายาแผนโบราณ ที่มีการใช้กันในท้องตลาดอยู่แล้ว ไม่ใช่กับยาใหม่ ซึ่งยังไม่มีการใช้มาก่อน”   ทัศนะจากประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รศ.ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ ฉลาดซื้อ : ตามที่ มีการแจก ยาเบญจอำมฤตย์ให้กับประชาชนทั่วไป โดยกรมพัฒนาแพทย์แผนไทยฯ เป็นผู้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้นั้น เมื่อมีข้อสังเกตพบว่า ยาสูตรที่แจกนี้ มิใช่สูตรดั้งเดิมตามตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กล่าวคือ เป็นสูตรดัดแปลงไปจากตำรับเดิม หากจะทำตามขั้นตอนการปฏิบัติในทางกฎหมายให้ถูกต้อง(เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค)  ต้องมีขั้นตอนอย่างไร   รศ.ดร. จิราพร  : ยานี้จะใช้ชื่อว่า ยาเบญจอำมฤตย์ ไม่ได้ เพราะสูตรได้มีการดัดแปลง จึงถือว่าเป็นยาใหม่ ซึ่งต้องมีการวิจัยเริ่มจากห้องปฏิบัติการในสัตว์ทดลอง และในมนุษย์ตามลำดับ   ฉลาดซื้อ : สูตรยาเบญจอำมฤตย์ สูตรนี้ ยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรม การที่กรมฯ นำมาแจกจ่ายให้กับประชาชน ถือว่าผิดขั้นตอนหรือไม่ และอาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไร   รศ.ดร. จิราพร :  ยาสูตรดัดแปลงจากยา เบญจอำมฤตย์ เมื่อจะทำการวิจัยทางคลินิก ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ก่อน การแจกจ่ายและโฆษณารักษาโรคเป็นการทำผิดกฎหมาย ที่สำคัญอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ใช้ได้ เน้นว่าผิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม   การวิจัยทางคลินิกด้านการแพทย์แผนไทย การวิจัยทางคลินิก หมายถึง การทำวิจัยที่เกี่ยวกับการรักษาโรคในคน การทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย ระบาดวิทยา ธรรมชาติของโรค ซึ่งประกอบด้วยอาการและอาการแสดงทางคลินิก การพัฒนาของโรค เครื่องบ่งชี้ในการพยากรณ์โรค การใช้ยา การผ่าตัด และอุปกรณ์ที่ใช้ทางการแพทย์ การป้องกันโรค เช่น วัคซีน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การสืบค้นรายงานผู้ป่วย การกรวดน้ำคัดหลั่ง เลือด หรือส่วนของเลือด เนื้อเยื่อของผู้ป่วย เป็นต้น ความสำคัญในการวิจัยทางคลินิกด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร คือ การทำให้การแพทย์แผนไทยมีความปลอดภัย ประสิทธิผล และมีคุณภาพที่คนไทยจะนำมาใช้อย่างแพร่หลาย โครงร่างวิจัยทางคลินิกนี้จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ ผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแล้วเท่านั้น     เจาะประเด็นวันนี้ เราจะไปเจาะลึกทำความรู้จักกับสูตรยาสมุนไพรที่อยู่ในคัมภีร์แพทย์แผนไทย ที่ชื่อ"เบญจอำมฤตย์"ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร ประกอบไปด้วยสมุนไพรชนิดใดบ้าง สามารถต้านมะเร็งตับได้เด็ดขาดจริงหรือไม่ วันนี้จะไปเจาะลึกกันค่ะ     "เบญจอำมฤตย์" เป็นสูตรยาสมุนไพรโบราณที่กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้คิดค้นวิจัยร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ปี 2554 ผ่านการทดสอบการออกฤทธิ์ทั้งในหลอดทดลอง หนูทดลองและผู้ป่วยมะเร็งหลายชนิด ที่ รพ.เคียนซา และรพ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี ทั้งมะเร็งต่อมลูกหมากมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งตับ พบว่า มีประสิทธิภาพต้านเซลล์มะเร็งตับดีที่สุด หลังกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ บรรจุและเผยแพร่ตำรับยาสมุนไพร"เบญจอำมฤตย์" ปรากฏมีผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ แห่มารับยาสมุนไพรฟรี ที่โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานยศเส จำนวนมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาด้วยอาการมะเร็งระยะสุดท้าย อย่างคุณลุงท่านนี้อยู่ไกลถึงเพชรบูรณ์ ทันทีที่ทราบข่าว ก็รีบเดินทางมาด้วยความหวังว่า อาการป่วยมะเร็งตับจะดีขึ้น จะได้อยู่กับลูกหลานนานๆ ขณะที่ทางโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยฯ ยสเส เปิดเผยว่าเพียงแค่วันเดียว มีผู้ป่วยมะเร็ง มาขอรับยามากถึงวันละ 3,000 แคปซูล และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น  ตามขั้นตอนผู้ป่วยต้องผ่านการตรวจคัดกรองสุขภาพ ก่อน เพื่อระวังผลข้างเคียง ย้ำว่าสมุนไพร"เบญจอำมฤตย์" ไม่ใช่ยารักษามะเร็งให้หายขาด  แต่ช่วยต้านการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง ลดภาวะแทรกซ้อน เสริมให้ระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้นแต่จะให้ได้ผลดีที่สุดต้องรักษาควบคู่ กับการแพทย์แผนปัจจุบัน เมื่อเจาะลึกสูตรยา"เบญจอำมฤตย์" พบว่าประกอบด้วยสมุนไพรไทย 9 ชนิด ซึ่งสมุนไพรแต่ละตัวมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆ อยู่แล้ว  แต่เพิ่งวิจัยค้นพบว่าเมื่อนำมาผสมรวมกัน จะออกฤทธิ์ต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมงานเจาะประเด็นลงพื้นที่ โรงพยาบาลอู่ทอง ซึ่งเป็นศูนย์ผลิตยาสมุนไพรไทยที่ได้มาตรฐาน ส่งทั่วประเทศ เจาะลึกสูตรยาสมุนไพรแคปซูล"เบญจอำมฤตย์"พบว่า ประกอบด้วยสมุนไพร  9  ชนิด  คือ มหาหิงค์ ยาดำบริสุทธิ์ รงทอง มะกรูด ขิงแห้ง ดีปลี พริกไทย รากทนดี และดีเกลือ เป็นสูตรยาในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ตำรายาโบราณของไทย แต่ละชนิดมีสรรพคุณบำรุงธาตุ และรักษาโรคอยู่แล้ว เช่น  ดีปลี พริกไทย ขิง ช่วยลดแก๊ส ขับลม แก้ท้องอืด ,ดีเกลือช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น โดยเมื่อเอามาผสมรวมกัน จะมีฤทธิ์ เสริมสร้างระบบในร่างกายให้สมดุล โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง ที่มีปัญหาใหญ่ คือเรื่องระบบขับถ่าย ล่าสุด ยอดผู้ป่วยต้องการยาเพิ่มขึ้น วัตถุดิบสมุนไพรบางชนิดเริ่มไม่เพียงพอ จำเป็นต้องสั่งซื้อจากนอกพื้นที่ สำหรับประเทศไทย มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ปีละกว่า 60,000 ราย พบผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งตับมากที่สุด ส่วนผู้หญิง ส่วนใหญ่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และลำไส้ใหญ่ แพทย์แนะผู้ป่วยมะเร็ง นอกจากรักษาด้วยยาควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกาย และเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์เสริมภูมิต้านทานโรค ทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับในทุกสิทธิการรักษา สามารถมาขอรับยาฟรีได้ที่โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยฯ ยสเส โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มารับยา จะถือเป็นกลุ่มอาสาสมัครเพื่องานวิจัยด้วย เป็นการพัฒนาอีกขั้นของการแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือกความหวังของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่มา CH7 NEWS   มะเร็งกับการแพทย์แผนไทย ความปลอดภัยคือหัวใจสำคัญ มะเร็งเป็นโรคร้ายที่คุกคามต่อชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุมะเร็งเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยทั้งจากอาการของโรคและผลข้างเคียงจากการรักษา การรักษาผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งตามทฤษฎีการแพทย์แผนตะวันตก มี 2 วิธีหลักที่ปฏิบัติกันแพร่หลายคือการใช้รังสี และการใช้เคมีบำบัด ซึ่งทั้งสองวิธี ต่างก็ใช้หลักการเดียวกันคือทำลายเนื้อร้าย แต่ทั้งนี้ไม่สามารถเลือกทำลายเฉพาะเนื้อร้ายได้ เซลล์ดีจำนวนมากต้องถูกทำลายไปด้วย จึงเกิดผลข้างเคียงตามมาเช่น ผมร่วง แผลในปาก ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย อีกทั้งผู้ป่วยยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นอีก จากการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง จึงมีผู้แสวงหาแนวทางอื่นในการรักษามากขึ้น และการแพทย์แผนไทย คือทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งภาครัฐโดยกระทรวงสาธารณสุขเองก็ให้ความสำคัญ จากการติดตามการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุข ตำรับยาแผนไทยที่เริ่มนำมาศึกษาถึงผลการต้านมะเร็งของกระทรวงสาธารณสุขมีที่เด่นๆ อยู่สองตำรับคือ ตำรับยา "เบญจามฤต"(เบญจอำมฤตย์) และ "ตรีผลา" การวิจัยทั้งสองตำรับยานี้เป็นกระบวนการวิจัยที่จะมีขั้นตอนการศึกษาทดลองในมนุษย์ด้วย (หลังผ่านการทดลองความปลอดภัยในสัตว์ทดลองมาแล้ว) ซึ่งจะสามารถยืนยันผลหรือสรรพคุณยาในคนได้เป็นอย่างดี ต่างกับการวิจัยอื่นที่อาจทดลองเฉพาะในสมุนไพรเดี่ยว ค้นหาส่วนประกอบสารสำคัญ/สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร และทดสอบความเป็นพิษในสัตว์หรืออื่นๆ เท่านั้น แต่จากการสืบค้นข้อมูล พบว่า โครงร่างการวิจัย “โครงการติดตามความปลอดภัยของตำรับยาเบญจอำมฤตย์ ในผู้ป่วยมะเร็งตับ, ลำไส้, ปากมดลูก และต่อมลูกหมาก” ไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคนด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงเป็นที่มาของข้อกังขาสำคัญว่า เหตุใดอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ จึงนำยาเบญจอำมฤตย์สูตรนี้มาแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งเสี่ยงที่จะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิผู้ป่วย “ตำรับยาดังกล่าวจากการวิจัยเริ่มต้นที่หลอดทดลอง ปรุงยาขึ้นมาโดยนำมาทดสอบกับเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง ผลที่ได้คือ ยามีผลต่อเซลล์มะเร็งตับอันดับแรกโดยฆ่าเซลล์มะเร็งตับได้ดี จากนั้นก็นำมาทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองซึ่งผลการทดสอบความเป็นพิษพบว่า ยาตำรับนี้ปลอดภัยในสัตว์ทดลอง  ความเป็นพิษค่อนข้างต่ำจึงมีความมั่นใจว่ายาตัวนี้น่าจะมีความปลอดภัยในคน แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยยังคงศึกษาทดลองต่อเนื่อง ติดตามประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาในผู้ป่วยมะเร็งตับ ในกลุ่มอาสาสมัครที่เข้าร่วมในงานวิจัยการศึกษาวิจัยจะมีการเจาะเลือด ตรวจร่างกายเป็นระยะ ๆ...การวิจัยซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการเก็บตัวอย่างข้อมูล เก็บตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้ยาเป็นการติดตามผลการรักษา ประเมินเป็นระยะโดยเริ่มในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น ทีมวิจัยกล่าวทิ้งท้ายอีกว่า ด้วยตำรับยาไม่เป็นที่ปิดบังตำรับยาอยู่ในคัมภีร์โบราณซึ่งเมื่อเปิดแพทยศาสตร์สงเคราะห์ก็จะเห็นถึงรายละเอียด...” (ส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ ผู้ร่วมวิจัยของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานใน โครงการติดตามประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาเบญจอำมฤตย์ ที่มา : เดลินิวส์ 5 มีนาคม 2557) ปัญหาคือ ยานี้ไม่ได้ปรุงตามคัมภีร์ธาตุบรรจบ แล้วอะไรคือหลักประกันความปลอดภัยของผู้รับยาที่กรมฯ นำมาแจก ----------------------------   วัตถุดิบทยอยขึ้นราคาทันทีที่เป็นข่าวดัง การให้ข่าวพร้อมกับการแจกจ่ายยาได้ก่อให้เกิดกระแสและสร้างความคาดหวังให้กับผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้าย จนไม่เพียงแต่แห่กันไปรับยาจนแน่นโรงพยาบาล(สำรวจ ณ วันที่ 25 เมษายน ฉลาดซื้อพบว่า ยังมีการแจกยาอยู่) แต่ยังกลายเป็นช่องทางให้ผู้ค้าวัตถุดิบสมุนไพรตามตำรับยาดังกล่าว โก่งราคาวัตถุดิบจนแพงลิ่ว ภญ.ดลิชา ชั่งสิริพร หัวหน้างานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี(แหล่งผลิตวัตถุดิบยาตำรับเบญจอำมฤตย์) กล่าวว่าในช่วงหลังการออกข่าวมีประชาชนบางคนนำตัวสมุนไพรไปต้มสกัดยามารับ ประทานเองซึ่งขอเตือนว่าไม่สมควรทำอย่างยิ่งนอกจากจะไม่สามารถช่วยรักษา อาการได้แล้วยังมีผลตามมาถึงขั้นเสียชีวิตได้เนื่องจากตัวยาบางตัวถ้าใช้ใน ปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะให้โทษอย่างมหันต์ เช่น ดีเกลือที่มีฤทธิ์ในการขับถ่าย อาจส่งผลให้เกิดอาการท้องเสียรุนแรงได้และสำหรับผู้ป่วยมะเร็งอาจส่งผลให้ เซลล์มะเร็งลุกลามมากขึ้นได้จึงขอเตือนว่าห้ามนำมาต้มรับประทานเองเด็ดขาด ซึ่งปริมาณที่ใช้ในการใช้วัตถุดิบเพียง 0.22 ไมโครกรัมต่อซีซี เท่านั้น ประชาชนห้ามผลิตเอง "สำหรับราคาวัตถุดิบที่ไปตรวจสอบมานั้นบางชนิดมีราคาสูงขึ้นเป็นเท่าตัวคือ มหาหิงค์ จาก 350 - 450 บาท เป็น 400 - 450 บาท ยาดำบริสุทธิ์ 400 - 500 บาท เป็น 600 -800 บาท รงทอง 300 - 400 บาท เป็น 800- 1,000 บาท มะกรูด 100 บาท เป็น 100 -150 บาท ขิง 500 - 600 บาท เป็น 600 -800 บาท ดีปลี 200 - 300 บาท เป็น 300- 350 บาท พริกไทย 500 บาท เป็น 500 -600 บาท รากทนดี 150 บาท เป็น 150 -200 บาท และดีเกลือ ราคาประมาณ 50 - 80 บาทซึ่งเป็นราคาต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ขอฝากให้ผู้ค้าวัตถุดิบเห็นใจและไม่ปรับราคาให้สูงขึ้นอีก"   รู้จักตัวยาสำคัญใน เบญจอำมฤตย์ >> มหาหิงคุ์ ยาดำ รงทอง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 156 ปั่นสู่กรุงเทพฯ เมืองจักรยาน

พาหนะเรียบง่ายแสนวิเศษ ปี พ.ศ. 2557  ท่ามกลางการจราจรหนาแน่นตามสี่แยกใหญ่ทั่วเมืองกรุง อารมณ์ผู้คนบนถนนต่างขุ่นหมองไม่ต่างจากหมอกควันปลายท่อไอเสียรถยนต์ มีพาหนะชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่ไปได้เรื่อยๆ ซอกแซก ลัดเลาะ ไหลลื่นไปไม่ยี่หระกับสภาพการจราจรที่อยู่ตรงหน้า พาหนะที่ว่านี้ไม่ใช่นวัตกรรมล้ำยุคสุดไฮเทค แต่เป็นเพียงพาหนะเรียบง่ายแสนธรรมดาที่เรียกว่าจักรยานนั่นเอง ด้วยความที่มีขนาดเล็ก ทุ่นแรงได้ดี เคลื่อนที่คล่องตัวแต่ไม่เร็วมาก ไม่ต้องเติมน้ำมัน ไม่ปล่อยมลพิษและไม่ส่งเสียงดัง เลยไม่ก่อความรำคาญสร้างความรบกวนใครสักเท่าไหร่นัก  จักรยานจึงช่วยให้ผู้ที่ขับขี่สามารถเดินทางฝ่าทุกสภาพถนน(หรือแม้แต่ฝ่าม็อบปิดถนน) ไปได้ทุกที่ และหลุดพ้นจากวังวนปัญหารถติดในเมืองกรุงฯ ได้ ทุกวันนี้เราแทบจะสังเกตเห็นผู้คนปั่นจักรยานบนท้องถนนเป็นเรื่องธรรมดา อาจจะยังมีจำนวนไม่มากเท่าไหร่ถ้าเทียบกับจำนวนยานพาหนะอื่นๆ แต่หากเทียบกับสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยบนท้องถนนที่มีให้แก่จักรยานเพียงน้อยนิด ไม่ว่าจะเป็นเลนจักรยาน ที่จอดจักรยาน หรือแม้กระทั่งการรับรู้ว่าจักรยานมีสิทธิในการสัญจรบนถนนเท่าเทียมกับรถยนต์ ผมคิดว่าการที่ยังมีคนขี่จักรยานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสังเกตได้ชัดเช่นนี้เป็นเรื่องที่รัฐไม่ควรเพิกเฉยต่อความต้องการของประชาชน   ผลสำรวจความต้องการใช้จักรยานของคนกรุงเทพฯ[i] ที่มูลนิธิโลกสีเขียวทำการสำรวจขึ้นเนื่องในโอกาสวันคาร์ฟรีเดย์เมื่อปี 2554 เป็นการสะท้อนความต้องการใช้พาหนะเรียบง่ายแสนวิเศษนี้ได้อย่างชัดเจน จากการสอบถามชาวกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 4,333 คน ทั้งผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (2,858 คน) และผ่านทางการสำรวจแบบตัวต่อตัวตามย่านชุมชน (1,475 คน) ได้แก่ สยามสแควร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จตุจักรและท่าเตียน โดยมีคำถามสำคัญอยู่ 2 ข้อ คือ ถ้าสามารถขี่จักรยานในกรุงเทพฯ ได้อย่างปลอดภัย คุณจะขี่ไหม ? ถ้าต้องแบ่งพื้นที่บนถนนมากั้นเป็นเลนจักรยาน คุณจะยอมไหม ? ผลสำรวจออกมาว่า ร้อยละ 86 บอกว่าจะออกมาขี่จักรยานบนท้องถนน หากรู้สึกว่าสามารถขี่ได้อย่างปลอดภัย และร้อยละ 93 ที่ยินยอมให้จัดสรรแบ่งปันพื้นที่จราจรบนถนนมากั้นเป็นเลนให้จักรยาน ผลสำรวจสะท้อนความต้องการใช้จักรยาน ทั้งๆ ที่ผู้ตอบแบบสอบถามมากถึงร้อยละ 48  ไม่เคยใช้จักรยานในกรุงเทพฯ มาก่อนเลย เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาเหล่านั้นรู้สึกว่าถนนหนทางในกรุงเทพฯ ยังไม่ใช่ที่ทางที่จักรยานจะสามารถปั่นได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง นี่เป็นที่มาที่ชาวจักรยานและกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องกับจักรยานรณรงค์ร้องขอทางจักรยานที่ปลอดภัย   วิวัฒน์ทางจักรยานในกรุงฯ กับฝันค้างของนักปั่น เท่าที่มีบันทึกในเอกสารของสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานครเริ่มมีทางจักรยานสายแรกตั้งแต่ปี  2535 เป็นทางยกระดับเลียบคลองประปาฝั่งตะวันตก แต่ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ให้ข้อมูลจากความทรงจำว่า ก่อนหน้านั้นเคยมีทางจักรยานตั้งอยู่บริเวณถนนรามคำแหง  เริ่มตั้งแต่สี่แยกคลองตันถึงสนามกีฬาหัวหมาก  แต่เมื่อเวลาผ่านไป ขาดการบำรุงรักษา เส้นทางจักรยานทั้ง 2 เส้นนั้นก็รางเลือนไปตามกาลเวลาจนหายไปในที่สุด ในสมัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 12 ดร.พิจิตต รัตตกุล (2539-2543) ความฝันเรื่องทางจักรยานดูจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาใหม่ มีการสร้างทางจักรยานเฉพาะขนานถนนตัดใหม่แยกออกจากพื้นผิวถนนอย่างชัดเจน เส้นทางที่เด่นชัดที่สุดคือ ทางจักรยานถนนประดิษฐ์มนูธรรม(จากถนนพระราม 9  - ถนนรามอินทรา) ระยะทาง ไป - กลับ รวม 24 กิโลเมตรโดยมีต้นปาล์มขั้นกลางยาวตลอดแนว ตลอดสมัยนี้มีการสร้างทางจักรยานยาวรวมกัน 34 กิโลเมตรรวม 5 เส้นทาง แต่เมื่อใช้งานจริงกลับประสบปัญหา เส้นทางไม่มีความต่อเนื่อง อยู่คนละทิศละทาง ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้จริง ความฝันเรื่องทางจักรยานจึงเป็นจริงได้เพียงตัวเลขกิโลฯ บนเอกสารและเส้นสีที่เปรอะเปื้อนบนก้อนอิฐที่ค่อยๆ จางลงเรื่อยๆ จนมาถึงสมัยของคุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน นโยบายเรื่องทางจักรยานก่อตัวขึ้นเป็นรูปเป็นร่างอีกครั้ง โดยเหตุการณ์ที่ทำให้ชาวจักรยานตื่นเต้นเป็นที่สุดคือเมื่อ มีการริเริ่มโครงการ "จักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์" หรือ Green Bangkok Bike (ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น Bangkok Smiles Bike) ถนนหลายสายในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน เช่น ถนนพระอาทิตย์ ถนนตะนาว ถนนมหาไชย  มีการสร้าง ‘ทางจักรยานบนผิวจราจร’ ด้วยการจัดแบ่งเลนสัญจรใหม่ให้แคบลงนิดหน่อยเพื่อเพิ่มเลนจักรยานทางด้านซ้ายของทางเดินรถ มีการติดป้ายสัญญาณจราจร ป้ายเตือน มีจุดให้บริการยืมคืนจักรยานอยู่ทั่วบริเวณ นับเป็นครั้งแรกที่จักรยานมีเลนของตัวเองบนผิวถนนเฉกเช่นเดียวกับพาหนะติดเครื่องยนต์อื่นๆ แต่ฝันของชาวจักรยานยังต้องกลายเป็นฝันค้างอีกครั้งเมื่อโครงการเริ่มดำเนินการไปโดยไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายผู้บังคับใช้กฎหมายและขาดการสื่อสารกับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนเท่าที่ควร ดังนั้นเมื่อขีดสีตีเส้นจนสีแห้งสนิทเพียงไม่กี่วัน เลนจักรยานที่เป็นสิ่งแปลกใหม่บนท้องถนนก็ถูกรถราต่างๆ ที่เคยชินกับการจอดชิดขอบถนน เข้ามาจอดทับทางเฉกเช่นเคย ราวกับว่าไม่เคยมีเลนจักรยานมาก่อน ในสมัยของผู้ว่าฯ อภิรักษ์ เลนจักรยานได้ถูกสร้างขึ้นอีกในถนนหลักหลายสาย ทั้งแบบ ‘ทางจักรยานบนผิวจราจร’ เช่น ถนนโดยรอบวงเวียนใหญ่ ถนนสาธร และแบบ ‘ทางจักรยานร่วมบนทางเท้า’ ให้ขี่จักรยานบนฟุตปาธร่วมกับคนเดิน เช่น ถนนราชดำเนิน ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนสุขุมวิท แต่ทางจักรยานส่วนใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นล้วนประสบปัญหาการตั้งวางสิ่งของ จอดรถกีดขวาง มีผู้คนพลุกพล่าน ผิวทางไม่ราบเรียบ เนื่องจากทางจักรยานบนผิวจราจรจะอยู่เลนด้านซ้ายสุดของถนนซึ่งมักอยู่ในแนวท่อระบายน้ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการใช้จักรยานอย่างปลอดภัยทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ดีในสมัยของคุณอภิรักษ์ ได้มีการตั้งคณะกรรมการทำงานด้านจักรยานที่ชื่อ “คณะกรรมการโครงการเรารักกรุงเทพฯ เรารักจักรยาน” โดยมีผู้แทนทั้งจากภาครัฐและนักจักรยานจากสมาคม องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้จักรยานเข้าร่วมด้วย ผู้ว่าฯ คนต่อมา มรว.สุขุมพันธ์ บริพัทธ (สมัยที่ 1) ช่วงครึ่งวาระแรกแทบไม่มีการขับเคลื่อนนโยบายจักรยานใดๆ แม้จะเป็นผู้ว่าที่มาจากพรรคการเมืองเดียวกับผู้ว่าฯ อภิรักษ์ก็ตาม จนกระทั่งมูลนิธิโลกสีเขียว ชมรมหรี่เสียงกรุงเทพฯ และกลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ “Big Trees” ขอเข้าพบรองผู้ว่าฯ ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ (ตำแหน่งในสมัยนั้น) เพื่อหารือเรื่องการพัฒนาวิถีจักรยาน จนทำให้เกิดการรื้อฟื้น “คณะกรรมการโครงการเรารักกรุงเทพฯ เรารักจักรยาน” ขึ้นมาอีกครั้ง งานในสมัยนั้นเป็นไปในทิศทางด้านการรณรงค์ค่อนข้างมาก มีการจัดกิจกรรม Bangkok Car Free Sunday เป็นประจำทุกเดือนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จักรยานเพิ่มขึ้น มีโครงการให้เช่าจักรยานสาธารณะ “ปันปั่น” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของเมืองไทย เพื่อเอื้อให้ผู้คนที่ใช้ระบบขนส่งมวลชนหรือชาวบ้านในพื้นที่เดินทางไปถึงจุดหมายด้วยจักรยานได้สะดวกขึ้น แต่นอกจากมีสถานีให้เช่าจักรยานหน้าตาเป็นเอกลักษณ์ที่มาพร้อมระบบสมาร์ทการ์ดและป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ก็ไม่มีปรับปรุงทางกายภาพใดๆ เพื่อการปั่นจักรยานเลย แม้จะฝันค้างมานานแต่ก็ไม่ใช่ไม่มีอะไรคืบหน้า เหตุการณ์การรวมตัวกันของชาวจักรยานที่น่าจดจำที่สุดในยุคนั้นคือการร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ผู้ว่ากรุงเทพมหานครปรับปรุงฝาท่อระบายน้ำที่ไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้จักรยานผ่านทางเว็บไซต์ Change.org[ii] จนทำให้กรุงเทพมหานครเร่งเปลี่ยน/ซ่อมฝาท่อระบายน้ำบนผิวถนนที่ชำรุดหรือมีโอกาสทำให้ล้อเล็กๆ ของจักรยานตกไปได้ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้จักรยานมากเพราะ หากล้อติดตะแกรงจะทำให้คนขี่ล้มทันที หากเลี้ยวหลบก็มีโอกาสถูกเฉี่ยวชนจากพาหนะอื่นๆ  โดยหลังจากผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ รับเป็นนโยบายแก้ไขให้ ชาวจักรยานได้รวมตัวกันหลายครั้งเพื่อสำรวจฝาท่อที่มีปัญหาในเขตพื้นที่ต่างๆ ส่งเป็นรายงานระบุพิกัดพร้อมรูปถ่ายที่ชัดเจนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขต่อไป  นับเป็นแก้ไขปัญหาที่บูรณาการและปลุกให้นักปั่นที่ฝันค้างมานานตื่นและพบว่า เราสามารถทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริงได้ด้วยมือของเราเอง ในส่วนของภาคประชาชน มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างคึกคักมากในรอบหลายปีที่ผ่านมา แวดวงนิตยสารดังต่างทยอยสับเปลี่ยนหมุนเวียนทำเรื่องจักรยาน  มีกิจกรรมใหญ่สำหรับจักรยานเพิ่มขึ้น  แทบทุกวันในสัปดาห์ล้วนมีทริปปั่นจักรยานที่จัดโดยกลุ่ม องค์กรต่างๆ มากมาย  จนทุกวันนี้หากสังเกตดีๆ เราจะเห็นจักรยานอยู่ตามรายการทีวี บิลบอร์ด โฆษณาต่างๆ อยู่เสมอ  จักรยานกำลังสอดแทรกตัวเองเข้าไปในสื่อกระแสหลักเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปในฐานะเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ รักษ์โลก รักสุขภาพ อินดี้ นอกกรอบ พึ่งตนเอง หลังครบวาระ ‘สุขุมพันธ์ 1’ เป็นยุคที่กระแสจักรยานเป็นที่นิยมมากจนผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ทุกคนต่างต้องนำเสนอนโยบายจักรยานควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองทั้งสิ้น เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงการวิวัฒน์ทางความคิดต่อแง่มุมเรื่องจักรยาน  แม้ว่าทางจักรยานส่วนใหญ่ยังมิเปลี่ยนแปลงใดๆ   ************************************************************** ทำไมต้อง ‘จักรยาน’ A cycle-lized city is a civilized city เมืองน่าอยู่คือเมืองน่าปั่น จักรยานเป็นมากกว่ากระแสแฟชั่น ด้วยความเล็ก เคลื่อนที่คล่องตัวแต่ไม่เร็ว ใช้แรงคน จึงไม่ปล่อยมลพิษและส่งเสียงดัง และใครๆ ก็สามารถหามาครอบครองได้ จักรยานจึงเป็นทางออกง่ายๆ ของปัญหาซับซ้อนหลายประการในเมืองใหญ่ เช่น คุณภาพอากาศ การจราจรติดขัด ปัญหาสุขภาพ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นต้น หลายเมืองใหญ่ทั่วโลกจึงเร่งปรับเปลี่ยนวิถีการสัญจรในเมืองให้สามารถใช้จักรยานได้อย่างสะดวกและปลอดภัยและออกมาตรการสนับสนุนจูงใจให้ผู้คนใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้น  จักรยานกลายเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เป็นตัวบ่งชี้ของเมืองน่าอยู่ที่ยอมรับกันในสหประชาชาติ[iii] **************************************************************   ทางจักรยานในปัจจุบัน กับเส้นทางสู่กรุงเทพฯ เมืองรถถีบ ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครมีทางจักรยานรวมทั้งสิ้น 35 เส้นทาง เป็นระยะทาง 232.66 กิโลเมตร โดยแบ่งเป็นทางจักรยานเฉพาะ 5 เส้นทาง ทางจักรยานบนผิวจราจร 10 เส้นทาง และทางจักรยานร่วมบนทางเท้าอีก 20 เส้นทาง แต่มีทางเพียง 2 กิโลเมตรเศษเท่านั้น (5 เส้นทาง) ที่มีการประกาศรองรับให้เป็น ‘ทางที่จัดไว้ให้สำหรับจักรยาน’ ตามกฎหมาย พ.ร.บ จราจรทางบก พ.ศ. 2522[iv] และที่แย่ไปกว่านั้นมีเส้นทางเพียง 600 เมตรบนถนนพระอาทิตย์เท่านั้นที่ได้รับการดูแล มีหลักล้มลุกกั้นไม่ให้รถยนต์จอดกีดขวาง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด อันเกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำรวจ สน.ชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร กิจการร้านค้าและหน่วยงานต่างๆ ในบริเวณถนนพระอาทิตย์ และชาวจักรยานจากทุกสารทิศ สำหรับทางจักรยานอีกหลายสิบสายที่เหลือ มีการพิจารณาทบทวนความต้องการใช้ ศักยภาพ และความเหมาะสมต่างๆ ใหม่ เพื่อให้การพัฒนาปรับปรุงมีความคุ้มค้าและสามารถใช้งานได้จริง โดยคณะกรรมการเรารักกรุงเทพ ฯ เรารักจักรยานได้คัดเลือกเส้นทางเพื่อพิจารณาปรับปรุงก่อน 10 เส้นทางและมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยที่สนใจเรื่องจักรยานและมูลนิธิโลกสีเขียวช่วยกันทำการประเมินและนำเสนอแนวทางปรังปรุงให้ใช้ได้จริง ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว กำลังรอหารือกับผู้บังคับการจราจรซึ่งเป็นผู้มีอำนาจประกาศรับรองทางจักรยานตามกฎหมายต่อไป ในส่วนการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานใหม่ กรุงเทพมหานครได้ขอความร่วมมือทั้ง 50 สำนักงานเขตร่วมกับกลุ่มมหาวิทยาลัยช่วยกันคัดเลือกเส้นทางที่มีศักยภาพเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการใช้จักรยานของคนในพื้นที่เพื่อพัฒนาให้เป็นเส้นทางจักรยานใหม่ที่เน้นว่าต้องใช้ได้จริงและเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงถึงกันต่อไป แม้เส้นทางสู่กรุงเทพฯ เมืองจักรยานจะยังอีกไกลโข แต่ผมเชื่อว่าเรากำลังเข้าใกล้ไปเรื่อยๆ และมันจะเร็วขึ้นมากหากเราทุกคนช่วยกัน  กรุงเทพฯ เมืองหายใจสะอาด เมืองสัญจรสะดวก เมืองแห่งความเท่าเทียม เมืองแห่งสุขภาพ เมืองสีเขียวร่มรื่น เมือง.. ฯลฯ กรุงเทพฯ จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการกระทำของพวกเราทุกคน   [i] อ่านผลสำรวจฉบับเต็มได้ที่ http://www.greenworld.or.th/bikemap/1476 [ii] อ่านเรื่องราวการเรียกร้องเปลี่ยนฝาท่อเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.greenworld.or.th/bikemap/2136 ‘Change ฝาท่อ We must believe in’ [iii] อ้างอิงจาก ‘ทำไมจึงเป็นแผนที่ปั่นเมือง’ สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ และ ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์. Bangkok Bike Map แผนที่ปั่นเมือง : คู่มือหาเส้นทางจักรยานกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ : มูลนิธิโลกสีเขียว, 2555. [iv] อ่านบทความเกี่ยวกับกฎหมายจักรยานเพิ่มเติมได้ที่ http://www.greenworld.or.th/bikemap/2004 ‘กฎหมายจักรยาน... ใครว่าไม่มี ?’   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 เจาะเส้นทางโกง ฟิตเนสแคลิฟอร์เนีย

ผู้บริโภคจำนวนมากบอก ไม่อยากจะเชื่อว่า บริษัท แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส ว้าว บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มีหลายสาขา เป็นแบรนด์ดังระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย  "แอริค มาร์ค เลอวีน" นักธุรกิจที่ใช้กลยุทธการตลาด ด้วยการสมัครสมาชิกตลอดชีพ และการออกกำลังกายด้วยผู้เชี่ยวชาญเป็นแรงจูงใจ จะล้มละลาย และถูกผู้บริโภคฟ้องร้องในข้อหาเข้าข่ายหลอกลวงและฉ้อโกงผู้บริโภค ผู้บริโภคที่เสียหายยอมรับไม่ได้ที่ถูกโกงแล้วกรรมการของบริษัททั้งอดีตและปัจจุบัน อยู่ดีกินดี ไม่รู้สึกรู้สากับสิ่งที่เกิดขึ้น?? ทั้งข่าวซื้อแหวนเพชรแต่งงานราคาแพง สัมภาษณ์ว่าใช้ช้อนเงินป้อนข้าวลูก แถมสามารถโอนเงินไปออกนอกประเทศเป็นเงินรวมกว่า 1,699 ล้านบาท เป็นเรื่องให้เจ็บใจของคนที่ถูกหลอกถูกโกง พ.ต.อ. สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง.หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ถึงกับออกมาให้ข่าวว่า “ผู้บริหารแห่งนี้ วางแผนโกงมาตั้งแต่ต้น” บริษัท แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ส จำกัด จดทะเบียนบริษัทครั้งแรก เมื่อ 25 กรกฎาคม 2543 และร่วมทุนกับกลุ่มเมเจอร์ซีนีเพล็ก จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อกันยายน 2547 เพื่อประกอบกิจการศูนย์สุขภาพ  ศูนย์ออกกำลังกาย  ศูนย์ฝึกสอนออกกำลังกาย จนเป็นผู้ให้บริการเจ้าใหญ่ที่สุดที่มีสมาชิกมากถึง 1.6 แสนราย  โดยมีผู้ใช้บริการประมาณ  2 หมื่นรายต่อวัน ในปี 2553  จากเริ่มต้นในปี 2544 ที่มีสมาชิกเพียง 8,500 คน     โกงอย่างมีแบบแผน “เซียนเท่านั้นที่ทำได้”   เริ่มต้นด้วยลักษณะของมืออาชีพ 1. เริ่มต้นจากการขยายแนวคิดการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย และย้ำว่า การออกกำลังกายที่ถูกต้อง ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล 2. กลยุทธการตลาด ทั้งแจกทั้งแถม แจกคูปองให้ไปทดลอง พาเพื่อนไปออกกำลังกาย พาครอบครัวไปออกกำลังกาย ทั้งลดทั้งแถมในการหาสมาชิก เทคนิคนำบัตรเครดิตไปตรวจสอบว่ามีลดราคาร่วมกับธนาคารนี้หรือไม่ พอจ่ายได้ จัดโปรโมชั่นสารพัดรูปแบบ เช่น ค่าสมาชิก ถ้าจ่ายเป็นรายปี หรือมากกว่าปี จนถึงตลอดชีพ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่ามากๆ จนทำให้ได้สมาชิกตลอดชีพจำนวนมากมาย รวมถึงค่าจ้างผู้ฝึกสอนส่วนบุคคล (Trainer) ในการออกกำลังกายประเภทต่างๆ ที่ขายจำนวนชั่วโมงล่วงหน้าทีละมาก ๆ  เพื่อได้บริการส่วนบุคคล ทำให้มีรายได้จำนวนมาก 3. ร่วมทุนกับกลุ่มเมเจอร์ซีนีเพล็ก จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อกันยายน 2547 เพื่อประกอบกิจการศูนย์สุขภาพ  ศูนย์ออกกำลังกาย  ศูนย์ฝึกสอนออกกำลังกาย มีสมาชิกมากถึง 1.6 แสนราย   น้ำลดตอผุด 1. เมื่อมีสมาชิกจำนวนมากจนให้บริการไม่ทัน สมาชิกจะพบกับปัญหาสารพัน ทั้งสถานที่ไม่เพียงพอ คนล้น เทรนเนอร์ที่สมัครเฉพาะบุคคล ไม่มีจริง เทรนเนอร์ลาออก และอาจจะเรียกได้ว่า ทำให้เกิดข้อเรียกร้องในการบอกเลิกสัญญา ซึ่งพบว่าข้อสัญญาเป็นอุปสรรคต่อการบอกเลิกสัญญามาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพ ตั้งครรภ์ ลาบวชก็ไม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ จนทำให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภคอาศัยอำนาจตามโกงพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา  เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 2. เมื่อถูกจำกัดให้รับสมาชิกได้ไม่เกิน 1 ปีจาก สคบ. และประกอบกับข้อร้องเรียนเรื่องการให้บริการ ที่ไม่เพียงพอ บริษัทเลือกใช้วิธีเดินหน้าเปิดรับสมาชิกตลอดชีพราคาถูกกว่าเดิม และใครที่มีความรู้เรื่องรับสมัครตลอดชีพไม่ได้ ก็จะใช้การรับรองว่าใช้ได้ตลอดชีพ แต่เขียนในสัญญาไม่ได้  “หนู(ผม) รับรอง” และหากผู้บริโภคไม่ยอม มีบางรายที่ยอมเขียนในสัญญาว่า ตลอดชีพ หรือมากกว่า 1 ปี ตั้งแต่ 2-3 ปี รวมทั้งเปลี่ยนวิธีการเป็นต่ออายุทุกปี ราคาถูกเพียงตั้งแต่ 100-1,500 บาท ในทุกๆ ปี ในทางพฤตินัยผู้บริโภคทุกคนที่สมัครต่างรับรู้เป็นการทั่วไปว่า สมัครสมาชิกตลอดชีพและใช้เทรนเนอร์ ออดอ้อนลูกค้าว่า กำลังจะถูกไล่ออกเพราะหาสมาชิกไม่ได้ เดือนนี้ไม่รู้จะได้เงินเดือนหรือไม่ ทำให้สามารถเก็บเงินค่าสมาชิกไปได้อีกก้อนโต ถึงแม้กำลังจะถูกฟ้องล้มละลาย 3. หลังยุติการให้บริการบางสาขา เรื่องร้องเรียนเริ่มมีมากขึ้น บริษัทยังเปิดรับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อมีขบวนการเรียกร้องจากกลุ่มผู้เสียหาย ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2555 ทำให้ข้อมูลต่างๆ หลั่งไหลออกมามากขึ้น เช่น หนี้สินมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สินถึง 619. 5 ล้านบาท ไม่สามารถชำระเงินยืมได้ 50 ล้านบาท ปิดสาขาลง 1 สาขา ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่า งบการเงินมีข้อบ่งชี้ที่มีสาระสำคัญ ในปี 2552 4. ปี 2553 ผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาตไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท หนี้สินมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สินถึง 1,069.87 ล้านบาท ธนาคารทหารไทยและกรุงศรีอยุธยาฟ้องศาลให้ชำระ รวม 183.82 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ 225.29 ล้านบาท ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมายห้ามซื้อขาย(Trading Suspension, SP) และเป็นบริษัทที่เข้าข่ายการถูกเพิกถอนออกจากตลาด(Non Compliance, NC) 5. ปี 2554 ผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาตไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท เครือเมเจอร์ขายหุ้นทั้งหมด สาขาต่าง ๆ เริ่มทยอยปิดตัวลง นอกจากสองธนาคารเดิมฟ้องธนาคารกรุงเทพ ฯ บอกเลิกสัญญาเงินกู้ 72.94 ล้านบาท และยังคงติด SP และ NC 6. กลุ่มผู้เสียหายได้ไปร้องเรียนกับหลายหน่วยงาน คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา (ขอชื่นชมทุกหน่วยงาน) ช่วยกันตรวจสอบจน ปปง. พบ เส้นทางการโอนเงินไปต่างประเทศ CAWOW เริ่มทยอยปิดสาขาต่างๆ ก่อนยุติการให้บริการ และโดนข้อหาล้มละลายในที่สุด 7. กลยุทธให้พนักงานหรือลูกน้องเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจในบริษัทหลังจากโกยเงินไปเรียบร้อย แล้วทำบริษัทให้ล้มละลาย ? หวังไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค? ถึงแม้อาจจะเข้าข่ายคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงหลอกลวงผู้บริโภค ผิดสัญญาอย่างร้ายแรงซ้ำซาก แถมผู้บริโภคยังต้องผ่อนหนี้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินแทนทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้บริการ   ลักษณะความผิดเบื้องต้น กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ได้แจ้งข้อหากับบริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าวฯ กับกรรมการบริษัทอีก 4 คน ประกอบด้วย แอริค  เลอวีน, ไซ่ม่อน ดักลาส โฮวาร์ด , จอร์จ ซาบ และ สุรศักดิ์ กองปัญญา แต่ถึงขณะนี้มีเพียงนายสุรศักดิ์ กองปัญญา ที่เข้ามาพบเจ้าพนักงานสอบสวน และนายไซ่ม่อน ดักลาส โฮวาร์ด ถูกจับที่สนามบินสุวรรณภูมิ ฝากขังที่ศาลอาญา ส่วนรายอื่น ๆ ยังไม่มีความคืบหน้า ในข้อหาความผิดฝ่าฝืนประกาศพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กรณีที่กำหนดอายุสมาชิกตลอดชีพ ซึ่งมีโทษ จำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือสัญญาละไม่เกิน 1 แสนบาท ส่วนคดีฉ้อโกงมีความผิดมูลฐานพระราชบัญญัติ ปปง.   ปฏิบัติการทวงสิทธิของผู้บริโภค สมาชิก CAWOW ได้ปฏิบัติการทวงสิทธิจำนวนหลายครั้งจนนับไม่ถ้วน ยื่นหนังสือทุกหน่วยงานในประเทศนี้ ที่ระบุในนี้เป็นเพียงการทำจดหมายเป็นทางการเท่านั้น ยังไม่นับรวมการใช้โทรศัพท์ติดตาม การไปพบที่ไม่มีการยื่นหนังสือ แต่ก็ยังไม่สามารถผลักดันให้ได้รับการเยียวยาความเสียหายจนกระทั่งถึงปัจจุบัน .... ทุกคนต่างมีความหวังว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 แก้ไข พ.ศ. 2556 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 12 ให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำด้วยความสุจริต โดยคำนึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสม ภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมจะช่วยเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภคได้ในท้ายที่สุด   พ.ศ. 2555 21 ส.ค.  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขอให้ผู้เสียหายมาร้องเรียนพร้อมกันภายในวันที่ 31 ส.ค. 31 ส.ค.  ผู้เสียหายเข้าชื่อร่วมกันทั้งหมด 639 ราย ความเสียหายมากกว่า 30 ล้านบาท 8  ก.ย.  ประชุมเพื่อวางแนวทางการทำงานกับแกนนำผู้เสียหาย 12 ก.ย. แกนนำฯ ยื่นหนังสือให้บริษัทแคลิฯ แจ้งกับธนาคารและหน่วยงานผู้ให้บริการบัตรเครดิตยุติการเรียกเก็บเงินผ่านบัตรเครดิต และให้บริษัทฯ คืนเงินค่าสมาชิกและบริการเสริมอื่นๆ ให้กับสมาชิกผู้ประสงค์ยกเลิกสัญญา พร้อมดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด 23 ก.ย. เวทีสาธารณะ “ถูกโกง ไม่ใช่ เรื่องเวรกรรม ตอน สัญญา ไม่เป็นสัญญา กรณีฟิตเนสไม่ว้าววว”  เพื่อหาทางออก 26 ก.ย. แกนนำฯ ยื่นหนังสือพร้อมเอกสาร และรายชื่อผู้เสียหาย 639 รายกับ ร.ม.ต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล   เพื่อให้ช่วยผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย 30  ก.ย.  ผู้เสียหาย 50 ราย เข้าแจ้งความ ที่กองบังปราบปรามคุ้มครองผู้บริโภค  เพื่อให้ดำเนินคดีอาญากับบริษัทแคลิฯ ข้อหา “เข้าข่าย ฉ้อโกงและหลอกลวงประชาชน” 2  ต.ค.   ผู้เสียหายยื่นหนังสือต่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อรับคดีนี้เป็นคดีพิเศษ (ดู**) 7  ต.ค. ประชุมหาแนวทางการดำเนินคดีกับบริษัทฯ ร่วมกับนักวิชาการ 8  ต.ค. ผู้เสียหายพบเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานเลขาธิการ กลต. 19 พ.ย. เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในฐานะตัวแทนผู้เสียหาย 26 ธ.ค.  ผู้เสียหายยื่นหนังสือนายกสภาทนายความเพื่อสนับสนุนการฟ้องคดี 27 ธ.ค. ผู้เสียหายยื่นหนังสือต่อนายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการ สคบ. เพื่อขอให้ดำเนินคดี   พ.ศ. 2556 14 ก.พ. มูลนิธิฯ ออกจดหมายติดตามความคืบหน้ากับ สคบ. ฉบับที่ 1 9 มี.ค. มูลนิธิฯ ออกจดหมายติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการกับ สคบ. ฉบับที่ 2 15 มี.ค. สคบ. แจ้งว่า ได้ส่งรายชื่อผู้ร้องจำนวน 639 รายให้ DSI พิจารณาดำเนินคดีอาญาแก่บริษัทฯ ในความผิดฐานฉ้อโกงแทนผู้บริโภค  และให้ มูลนิธิฯ แจ้งให้ผู้ร้องทั้งหมดนำหลักฐานยื่นกับ สคบ. เพื่อฟ้องคดีแพ่งฐานผิดสัญญา 10 เม.ย.  มูลนิธิฯ นำผู้เสียหายยื่นหนังสือต่อกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ กรรมาธิการฯ พร้อมเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล  พบเข้าข่ายเป็นการฟอกเงิน 2 พ.ค. ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บริษัทแคลิฯ 8 พ.ค. ตำรวจ ปคบ. แจ้งข้อกล่าวหา "ร่วมกันไม่ส่งมอบสัญญาที่มีข้อสัญญาหรือมีข้อสัญญาและแบบถูกต้องตามมาตรา 35 ทวิ, 59 ตาม พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ต่อ ผู้ต้องหา 3 ราย คือ 1) บริษัทแคลิฯ  2) นายไซม่อน ดักลาสโฮวาร์ด และ 3) นายสุรศักดิ์ กองปัญญา 7 มิ.ย. ปปง.ได้พิจารณาเห็นว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำของบริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าว เข้าข่ายการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน (ดู***) 1 ก.ค.  มูลนิธิฯ ขอให้ทบทวนให้ กรณีคดี CAWOW เป็นคดีพิเศษ หลังจากที่ดีเอสไอแจ้งไม่เข้าข่ายคดีพิเศษ 23 ก.ค. ไซม่อน ดักลาส โฮวาร์ด ถูกจับที่สนามบินสุวรรณภูมิ ฝากขังที่ศาลอาญา 2 ก.ย.  มูลนิธิฯ ได้รับจดหมายจากนายชาตรี ตันเจริญ อ้างได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นของบริษัท CAWOW ตามที่บริษัทได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่บรรดาผู้ถือหุ้นขอเข้าชี้แจงข้อเท็จจริง และขอปรึกษาเสนอแนะแนวทางในการเยียวยาความเสียหายให้แก่ลูกค้าของบริษัท 28 ต.ค. ตำรวจ ปคบ. ขอความร่วมมือประสานให้ผู้เสียหายไปแจ้งความเพิ่มเติม 21-28 พ.ย. ผู้เสียหายเข้าแจ้งความเพิ่มเติม     ** โดยมี 3 มูลเหตุ 1) บริษัทฯ กระทำการผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยให้สมัครสมาชิกแบบตลอดชีพ เป็นที่รับรู้ทั่วไปของผู้บริโภคที่ใช้บริการ  หรือ เก็บเงินค่าสมาชิกล่วงหน้ามากกว่า 1 ปี  ซึ่งขัดต่อประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554 2) การกระทำความผิดฐานโฆษณาเป็นเท็จหรือเกินความจริง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 3) พฤติการณ์ของบริษัทฯ ที่อาจจะเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้าทำสัญญา ปกปิดความจริงทำให้บริษัทฯ ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้บริโภค  ทั้งที่บริษัทฯ ทราบหรือทราบเป็นอย่างดีว่าสถานะทางการเงินของบริษัทฯ มีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญหลายเหตุการณ์ในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ  ที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อฐานะการเงินผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดของบริษัท  ดังรายงานที่ผู้สอบบัญชีอนุญาตไม่อาจแสดงความเห็นและไม่รับรองบัญชีต่องบการเงินสำหรับปี 2553 และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ของบริษัท     *** เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หลังการสอบสวนพบว่าบริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว ไม่ได้มีเจตนาทำธุรกิจให้บริหารฟิตเนสตั้งแต่ต้น แต่ได้ประกอบกิจการโดยการวางแผนอย่างชาญฉลาด เพื่อระดมเงินจากตลาดหลักทรัพย์และจากสมาชิกที่ใช้บริการของฟิตเนสแคลิฟอร์เนีย ว้าว จากการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของบริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าว พบว่าปริมาณธุรกรรมที่มีการทำมาแต่ละปี มีรายได้เข้ามาจำนวนมากมาย แต่รายได้ที่เข้ามาในบริษัทไม่ได้มีการนำรายได้มาใช้ในการประกอบการ แต่กลับนำเงินรายได้ที่ได้มาส่งโอนออกไปต่างประเทศ   พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวอีกว่า จากการสอบสวนพบว่า บริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าว มีการโอนเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการทำธุรกรรมรายปีตั้งแต่ปี 2545 – 2556 บางช่วงเวลามีการทำธุรกรรมจำนวนสูงกว่า 400 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามีธุรกรรมหมุนเวียนในช่วง 10 ปีมานี้ กว่า 1,600 ล้านบาท นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินในแต่ละช่วงเวลา พบว่ามูลค่าสูงสุดของการทำธุรกรรมเกิดขึ้นในช่วง 3 ปี คือ 2552 – 2554 โดยร้อยละ 99 เป็นการทำธุรกรรมผ่านระบบ SWIFT คือ การโอนเงินออกไปต่างประเทศ     ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554 บังคับใช้ 1 สิงหาคม 2554 สาระสำคัญ สัญญาการให้บริการที่ผู้ประกอบการทำกับผู้บริโภคถูกกำหนดให้ต้องมีข้อความ ภาษาไทย ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน และข้อความในสัญญาจะต้องมีสาระสำคัญและเงื่อนไขดังนี้ 1.รายละเอียดเกี่ยวกับขนาดพื้นที่สถานให้บริการ จำนวนประเภท และจำนวนอุปกรณ์ออกกำลังกาย สิ่งอำนวยความสะดวก และการให้บริการอื่น ๆ 2.รายละเอียดอัตราค่าสมาชิก ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเรียกเก็บ เงื่อนไขและวิธีการชำระเงิน วันเริ่มต้นและสิ้นสุดการเป็นสมาชิก 3.ผู้ประกอบการต้องระบุชัดเจนว่าการผิดสัญญาเรื่องใดของผู้บริโภคที่มีสิทธิบอก เลิกสัญญาหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่งได้ แต่ก่อนบอกเลิกสัญญาจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วัน เว้นผู้บริโภคผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญดังนี้ ก.กระทำการอันเป็นความผิดกฎหมายอาญาโดยเจตนา ข.มีพฤติกรรมรบกวนการใช้บริการของสมาชิกอื่น ค.เป็นโรคติดต่อร้ายแรง...   การบอกเลิกสัญญาการใช้บริการออกกำลังกายโดยได้เงินคืน 3 กรณี คือ 1.ผู้ประกอบการไม่มีอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการอื่น มีอุปกรณ์แต่ชำรุดบกพร่อง หรือให้บริการได้ ไม่เหมาะสมและเพียงพอ และไม่จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการนั้น ๆ มาทดแทนได้ภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันรับแจ้ง 2.มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ว่าการใช้บริการออกกำลังกายต่อไปอาจ จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ 3.รับได้บาดเจ็บเนื่องจาก ผู้ฝึกสอนไม่มีความรู้ความชำนาญ หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายไม่มีคำเตือนว่าชำรุดบกพร่อง โดยผู้ประกอบการ จะต้องคืนเงินสด เช็ค หรือนำเงินเข้าบัญชีตามจำนวนเงิน ที่เหลือจากค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และตามระยะเวลาที่ยังไม่ได้ใช้บริการภายใน 30 วันนับแต่เลิกสัญญา นอกจากนี้ กฎหมายยังให้ผู้บริโภคยังมีสิทธิอื่น ๆ เพิ่ม ได้แก่ สิทธิในการโอนสิทธิตามสัญญาไปให้บุคคลที่ 3 ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสมาชิกได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ประกอบการ สิทธิในการต่อระยะเวลาการใช้บริการเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา โดยผู้ประกอบการต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าสมาชิก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ฯลฯ ขณะเดียวกันข้อสัญญาที่ผู้ประกอบการทำกับผู้บริโภค กฎหมายใหม่ก็กำหนดข้อห้ามไม่ให้เป็นลักษณะสัญญาฝ่ายเดียว เช่น ให้ผู้บริโภคต้องผูกพันตามประกาศหรือหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบการกำหนด เว้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยส่วนรวม ข้อสัญญาที่ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากผู้ประกอบการผิดสัญญาหรือ ละเมิด เช่น ผู้บริโภคบาดเจ็บ เจ็บป่วยจากการใช้บริการออกกำลังกาย รวมทั้งทรัพย์สินสูญหายในสถานประกอบการ การให้สิทธิผู้ประกอบการบอกเลิกสัญญากับผู้บริโภคโดยไม่ต้องบอกกล่าวเป็นลาย ลักษณ์อักษร หรือผู้บริโภคไม่ได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ ข้อสัญญาที่กำหนดระยะเวลาตามสัญญาเกิน 1 ปี และข้อสัญญาที่กำหนดให้การต่อระยะเวลาการให้บริการมีผลบังคับทันทีเมื่อครบ กำหนด เป็นต้น   ฉลาดซื้อแนะ ก่อนตัดสินใจเลือกฟิตเนสครั้งต่อไป 1. ผู้ให้บริการ 1.1  ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะเป็นนิติบุคคล (เช่น บริษัทจำกัด) จึงควรตรวจสอบรายที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการซึ่งมุ่งเน้นการออกกำลังกายเป็นหลัก โดยไม่มีการขายสินค้าอื่นแอบแฝง 1.2  สถานภาพของผู้ให้บริการ รวมถึงกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้น ไม่ควรมีหนี้สินมากเกินสมควร และไม่ควรมีผลประกอบการที่ขาดทุนต่อเนื่อง 1.3  ไม่สามารถเชื่อถือชื่อเสียงของผู้ให้บริการที่มีสาขาจากต่างประเทศได้เสมอไป 1.4  ควรดูระยะเวลาที่ผู้ให้บริการรายนั้นได้ดำเนินกิจการมาเพื่อประกอบการตัดสินใจของท่าน 2. สถานที่ 2.1  ควรตั้งอยู่ในจุดที่สะดวกต่อการเดินทาง และต้องคำนึงถึงที่จอดรถและค่าจอดรถที่ต้องจ่ายเพิ่ม 2.2  จำนวนสาขาที่เปิดให้บริการ ควรมีทางเลือกให้สามารถเข้ารับบริการได้มากกว่าจุดเดียว 2.3  ช่วงเวลาการเปิดให้บริการ ควรมีทางเลือกที่หลากหลาย ทำให้สามารถเลือกใช้ได้ตลอดทั้งวัน 2.4  ขนาดของสถานที่กับปริมาณสมาชิกที่ผู้ให้บริการอนุญาตให้เข้าใช้บริการควรมีสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่หนาแน่นมากจนเกินไป 2.5  สิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย และความสะอาดควรมีการให้บริการห้องล็อกเกอร์, ห้องน้ำ, ห้องอาบน้ำ, อุปกรณ์ สบู่ แชมพู ผ้าเช็ดตัว โดยจัดให้มีพนักงานรับผิดชอบคอยตรวจสอบดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ และมีพนักงานดูแลความปลอดภัยจากผูที่ปะปนเข้ามาเพื่อขโมยสิ่งของ 2.6  ระบบปรับอากาศ และระบายอากาศควรสมดุลกับปริมาณสมาชิกที่กำลังออกกำลังกาย เพื่อไม่ให้อากาศร้อนหรือเย็นจนเกินไป  อีกทั้งไม่ควรมีกลิ่นอับหรือกลิ่นเหงื่อเกาะติดกับอุปกรณ์ออกกำลังกาย 2.7  ควรแยกสัดส่วนการออกกำลังกายประเภทต่าง ๆ ให้ชัดเจน โดยบรรยากาศแสงและเสียงควรส่งเสริมและเหมาะสมกับการออกกำลังกายประเภทนั้น ๆ 3. อุปกรณ์ออกกำลังกาย 3.1  อุปกรณ์ออกกำลังกายที่ผู้ให้บริการจัดไว้ให้ควรอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ พร้อมใช้งานตลอดเวลา มิใช่มีเป็นจำนวนมาก แต่ใช้งานจริงได้เพียงไม่ถึงครี่ง 3.2  อุปกรณ์ฯ ควรมีความหลากหลายเพื่อให้สามารถเลือกออกกำลังกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ  ได้ครบทุกส่วนของร่างกาย 3.3  ควรมีพนักงานแนะนำการใช้งานอุปกรณ์ฯ โดยที่ไม่หวังผลจากการขายชั่วโมงฝึก หรือควรมีภาพอธิบายประกอบการใช้ติดตั้งในบริเวณที่ตั้งอุปกรณ์ฯ นั้น ๆ 3.4  ควรมีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการใช้อุปกรณ์ฯ 4. ผู้ฝึกสอนส่วนบุคคล และโปรแกรมการฝึก 4.1  เนื่องจากสถานให้บริการออกกำลังกายส่วนใหญ่มักไม่เคร่งครัดและไม่มีข้อกำหนดในการรับผู้ฝึกสอนเข้าปฏิบัติงาน จึงควรเลือกสถานให้บริการออกกำลังกายที่มีมาตรฐาน โดยผู้ฝึกสอนควรได้ผ่านการเรียนในการออกกำลังกายประเภทที่สอนมาอย่างถูกวิธี (เช่น ได้รับประกาศนียบัตรรับรอง) 4.2  ผู้ฝึกสอนควรมีจุดมุ่งหมายในการให้บริการเฉพาะการฝึกเพียงอย่างเดียวเป็นหลัก แต่ไม่ควรมีหน้าที่ในการขายชั่วโมงฝึกด้วย 4.3  ผู้ฝึกสอนควรจัดโปรแกรมการฝึกแบบมีจุดมุ่งหมาย พร้อมกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน 4.4  ผู้ฝึกสอนไม่ควรสอนการออกกำลังกายหลายประเภทมากเกินไป โดยควรเน้นที่ตนเองถนัดเป็นหลัก 4.5  ผู้ฝึกสอนจะต้องสามารถให้บริการตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ร่วมกันกับผู้ออกกำลังอย่างครบถ้วน และจะต้องไม่รับฝึกผู้อื่นทับซ้อนในช่วงเวลาดังกล่าว 4.6  ควรมีการประเมินผลการฝึกสอนของผู้ฝึกสอนอย่างเป็นระบบ 4.7  การฝึกออกกำลังกายแบบกลุ่ม (Group Exercise) ควรมีชั้นเรียนที่หลากหลายไว้บริการ ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้ผู้ฝึกส่วนตัว 5. อัตราค่าให้บริการที่เหมาะสม 5.1  ค่าผู้ฝึกสอนส่วนบุคคลนั้นยังไม่ปรากฏข้อจำกัดที่ชัดเจน โดยแตกต่างกันไป อาทิ ค่าฝึกการออกกำลังกายประเภทยกน้ำหนัก และประเภท TRX  ควรอยู่ระหว่าง 300 -700 บาท ต่อชั่วโมง ค่าฝึกออกกำลังกายประเภทโยคะ และพิลาทิส (Pelates) ควรอยู่ระหว่าง 500 –2500 บาท ต่อชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของผู้ฝึกสอน) 5.2  ไม่ควรซื้อชั่วโมงฝึกสะสมไว้มาก ๆ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ฝึกสอนเป็นผู้ขายด้วย เพราะชั่วโมงฝึกจะมีวันหมดอายุ 5.3  ค่าฝึกการออกกำลังกายกลุ่ม บางสถานประกอบการมักรวมอยู่ในค่าสมาชิก หรืออาจแยกจ่ายขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทฯ รายละเอียดที่ควรพิจารณาประกอบได้แก่ 5.3.1   ประเภทของการออกกำลังกาย 5.3.2   จำนวนคนในกลุ่มแต่ละครั้ง ทั้งนี้ราคาต่อครั้ง ต่อชั่วโมงไม่ควรมากไปกว่า 300 บาทในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์การฝึกประกอบ และถ้ากลุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ค่าฝึกควรต้องลดลง //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 154 เงิบแห่งปี

ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ก่อนจะก้าวเข้าสู่ปี 2557 เราลองมาทบทวนประสบการณ์เงิบจากข่าวเกี่ยวกับผู้บริโภค ที่ทางทีมฉลาดซื้อได้รวบรวมมาและจัดให้เป็น “เงิบแห่งปี” กันนะคะ   1 ประสบการณ์เงือก เมื่อสตาร์บัคส์ประกาศฟ้องร้านกาแฟรถพ่วงสตาร์บัง โทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้ารูปนางเงือกสองหาง ที่เขาบอกว่าเขาใช้เวลากว่า 40 ปีเพื่อทำให้มันเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วโลก หลายคนฟังแล้วขำที่บังสองพี่น้องเจ้าของร้านกาแฟเคลื่อนที่เจ้านี้ เข้าใจโหนกระแสร้านกาแฟระดับโลก นอกจากตั้งชื่อคล้ายแล้วทำโลโก้แนวเดียวกันอีกด้วย โลโก้ของบังเป็นรูปบังโพกผ้า มือหนึ่งถือกระบวยน้ำร้อน อีกมือชูสองนิ้ว แต่เราก็คงไม่แวะซื้อกาแฟบังเพราะเข้าใจสับสนว่าเป็นสตาร์บัคส์อยู่แล้ว (เอ๊ะหรือว่ารอบๆมอเตอร์ไซค์บังจะมีไวไฟให้ใช้เหมือนกันด้วย) นักการตลาดให้ความเห็นว่านี่เป็นการ “ล้อเลียน” มากกว่า “ลอกเลียน” แต่เพื่อเป็นการ “รักษาประสบการณ์สตาร์บัคส์” ตามความคาดหวังของลูกค้า บริษัทบอกว่า “จำเป็นต้องฟ้อง” ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเรียกค่าเสียหาย 300,000 บาท และดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 ต่อปี จากบังสองพี่น้อง รวมถึงให้ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี สตาร์บัคส์บอกว่าเจอแบบนี้มาหลายครั้ง แต่ที่ผ่านมาใช้วิธีเจรจากับผู้ที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ และให้ความช่วยเหลือจนฝ่ายนั้นยินยอมปรับเปลี่ยนเครื่องหมายการค้าของตัวเองให้แตกต่างไปจากสตาร์บัคส์ บังเอิญว่าคราวนี้ผู้ประกอบการสตาร์บังเขาขัดขืน ผู้บริโภคอย่างเราเลยได้เห็นอะไรแปลกๆ คำตัดสินในคดีอาญาข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้านี้จะเป็นอย่างไร เราจะรู้ผลวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 นี้   2 ขาวดีมีทุนให้ !!? ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สังคมทั้งออนไลน์และออฟไลน์หงุดหงิดกันไม่น้อยเมื่อบริษัทยูนิลิเวอร์ปล่อยแคมเปญโฆษณาครีมผิวขาวตัวใหม่ ที่มุ่งตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาสาว ท่ามกลางกระแสความอยากขาว บริษัทเลยจัดกิจกรรม “ซิตร้าค้นหาสาวใสเด้งวิ๊ง 3D” เพื่อตามล่าหานักศึกษาสาวผิวขาวใส ที่ผู้เข้าแข่งขันไม่ต้องทำอะไรนอกจาก “แต่งชุดนักศึกษา โพสต์ท่าโชว์ผิวเด้ง 3 มิติ พร้อมถือซิตร้า เพิร์ลลี่ไวท์ ซีรั่ม หรือโลชั่น แล้วแชะรูปเต็มตัว ส่งมาที่ www….” ข้อความที่ปรากฏในโฆษณาโทรทัศน์ระบุว่า ผู้ชนะจะได้รางวัลเป็นทุนการศึกษากว่า 100,000 บาท (พร้อมโอกาสในการได้ร่วมถ่ายแฟชั่นลงนิตยสาร Cheeze) เท่านั้นแหละท่านผู้ชม เกิดการถกเถียงกันมากมายทั้งกลุ่มออกมาวิพากษ์วิจารณ์การให้ทุนการศึกษากับคนที่ผิวขาว คนผิวคล้ำไม่มีโอกาสเลยหรือ บ้างก็ตั้งคำถามเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท แต่หลายคนก็เข้าอกเข้าใจ บอกว่าเขาขายครีมผิวขาว จะให้ไปแจกรางวัลคนผิวคล้ำมันก็ไม่ตรงคอนเซปต์สิ และที่เรียกรางวัลว่า “ทุนการศึกษา” ก็เพราะจะได้ไม่ต้องเสียภาษีไง ว่ากันไป … เรื่องนี้เป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ของอังกฤษและออสเตรเลียหลายฉบับ คนที่นั่นคงจะอ่านไปขำไป ... ไอ้เราก็อยากจะกำจัดความขาวเหลือเกิน ให้เอาตัวเองไปปิ้งย่างกลางแดดก็ยอม สุดท้ายบริษัทออกมาขอโทษว่าไม่ได้มีเจตนาจะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องของการเหยียดสีผิว ว่าแล้วก็ถอนแคมเปญ “ขาวในฟอร์ม” นี้ออกไป แต่มันก็ทำให้นักศึกษา หรือวัยรุ่นทั่วไปได้เห็นความจริงข้อหนึ่ง นั่นคือคนที่มาถ่ายรูปชิงรางวัลนั้น ขาวมาเองจากบ้านอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับผลิตภัณฑ์ที่ถืออยู่ในมือสักหน่อย เพราะเขาเพิ่งจะเปิดตัวปีนี้เองนะ   3 ขาขึ้น ข่าวนี้รับประกันความเงิบสามชั้น  เมื่อราคาแก๊สหุงต้ม ค่าไฟฟ้า และค่าทางด่วน พร้อมใจกันขึ้นราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา จะให้ลดการใช้ไฟฟ้า หรืองดใช้ทางด่วนนั้นเป็นเรื่องพอจะทำได้ แต่จะให้ประหยัดแก๊สด้วยการหันมากินอาหารดิบๆสุกๆ คงจะทำยาก เขาบอกว่าราคาแก๊สหุงต้ม (แอลพีจี) นั้นจะปรับขึ้นเพียงกิโลกรัมละ 50 สตางค์ ต่อเดือนเท่านั้น ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนมากนัก แต่ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานเขาประกาศให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อน (.. ตกลงเรามีผู้เดือดร้อนนะ) เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย (บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 90 หน่วยต่อเดือน) กลุ่มร้านค้าหาบเร่ แผงลอยร้านอาหาร ที่ยังสามารถซื้อแก๊สหุงต้มได้ในราคาต่ำกว่าคนอื่น ณ วันที่เขียนเรื่องนี้ราคาแก๊สขึ้นมาอยู่ที่ 20.13 บาทต่อกิโลกรัม (ถังละ 15 กิโลกรัม จึงราคา 301.95 บาทเป็นอย่างต่ำ) แต่สุดท้ายแล้วราคาแก๊สจะขึ้นไปจนราคาต่อกิโลกรัมอยู่ที่ 24.82 บาท (ถังละ 372.30 บาท ซึ่งหมายความว่า เราคงเสียเงินค่าแก๊สไม่ต่ำกว่า 400 บาท (พ่อค้าไม่นิยมเศษสตางค์จ้า) ... แย่แล้วซาร่า จะหนีไปใช้เตาไฟฟ้าค่าเอฟทีก็ขึ้น เราคงต้องพึ่งพาอาหารนอกบ้านกันแล้ว แต่เดี๋ยวก่อน ... เราต้องจ่ายแพงขึ้นด้วยหรือเปล่า? กรมการค้าภายในยืนยันว่ามันส่งผลกระทบน้อยมาก อธิบดีเขาบอกว่าก๊าซหุงต้ม 1 ถังใช้ประกอบอาหารได้ประมาณ 300 จาน การปรับขึ้นก๊าซเดือนละ 50 สตางค์/กก. ทำให้ต้นทุนราคาอาหารปรุงสำเร็จเพิ่มขึ้นจานละ 2-3 สตางค์เท่านั้น จิ๊บๆ กรมฯ ยังบอกด้วยว่า เขาขอความร่วมมือจากทางร้านไว้ ให้ช่วยตรึงราคาอาหารปรุงสำเร็จเอาไว้จนถึงสิ้นปี ... ปีหน้าฟ้าใหม่ ก็ตัวใครตัวมันแล้วกันพี่น้อง   4 รับรองซิมไม่ดับ วันที่ 15 กันยายน 2556   บริษัทดิจิตอลโฟน  จำกัด(มหาชน) หรือทรู ย้ำหนักแน่นว่า ซิมไม่ดับแน่นอน ก็คงไม่ดับแน่ล่ะ เพราะ กสทช. เอื้ออาทรด้วยการอนุญาตให้ต่ออายุสัมปทานไปอีก 1 ปี (สัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz หรือระบบ 1800) การต่ออายุโดยงดประมูลเพื่อหารายใหม่นี้จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศและประชาชนเป็นมูลค่าสูงถึง 1.6 แสนล้านบาท ข้อมูลโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กสทช. อ้างไม่ต่ออายุไม่ได้หรอกจะมีคนถึงเกือบ 20 ล้านคนต้องถูกทอดทิ้ง จึงประกาศมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ขึ้น พร้อมอนุญาตให้ทรูครอบครองสัมปทานไปอีก 1 ปี และแถมท้ายด้วยการฟ้องหมิ่นประมาท อาจารย์เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และนางสาวณัฎฐา โกมลวาทิน ที่ร่วมกันเผยแพร่ข่าวนี้ทางช่องไทยพีบีเอส เงิบไหมล่ะ นักวิชาการ นักข่าว ทำหน้าที่ก็ถูกฟ้อง @#$%$#@ และหลังจากติดตามผลมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ของ กสทช. จากงานเสวนาเรื่อง “60 วัน ประกาศเยียวยา 1800 MHz ประชาชนได้อะไร” ยังพบว่า 3-4 ข้อห้ามทั้งห้ามซิมดับ ห้ามขายเบอร์คลื่น 1800 อีก ห้ามโอนย้ายเลขหมายโดยไม่บอกผู้บริโภค ทรูก็จัดให้มีทุกข้อหลัง 15 กันยายน โดยเฉพาะห้ามโอนย้ายเลขหมายตามอำเภอใจ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ยังโดนกับตัวเอง ว่าไปเรื่องนี้คงไม่เกิดขึ้น หาก กสทช.เตรียมการประมูลเอาไว้ล่วงหน้าก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในทุกคลื่นความถี่ นี่ก็แว่วเสียงจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิด กสทช. บอกมาว่า ต่ออายุ 1800 ให้ทรูไป 1 ปี คงต้องต่อให้ เอไอเอส กับ ดีแทค ด้วย ไม่งั้นจะถูกกล่าวหาว่าเลือกปฏิบัติ (สองค่ายนี้เหลือเวลาสัมปทานอีกสองปี) อืม...คิดได้   5 ตกลงหมูหรือไก่ ตอนเดือนมีนาคม ฉลาดซื้อโดยคอลัมน์ซูมลงเรื่อง ฉลากเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมูย่าง ที่มันไม่ใช่หมูย่างล้วนๆ อย่างที่เข้าใจตามชื่อสินค้า แต่มันมีเนื้อไก่ผสมอยู่ด้วย ทำเอาหลายคนอึ้ง ประมาณไม่รู้มาก่อนเลยนะเนี้ย พอมีคนเอาข้อมูลไปแชร์กันต่อ(รวมทั้งหาข้อมูลเพิ่ม) ในเว็บไซต์ต่างๆ โดยเฉพาะพันทิป เลยกลายเป็นกระแส ผู้คนหันมาพลิกอ่านฉลากอาหารในร้านเซเว่นฯ กันคึกคัก และได้ค้นพบโลกใหม่ ที่ต้องทำให้อึ้ง อย่างเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมูทอดน้ำพริกหนุ่ม อันนี้ปริมาณหมูกับไก่ พอฟัดพอเหวี่ยง หมู 10% ไก่ 9.9% มีหลายคนมาตอบว่า เขาทำกันแบบนี้มานานแล้ว บ้างก็ว่าเพื่อให้มันอร่อยขึ้น แต่อีกหลายเสียงตอบว่า ผสมอะไรให้อร่อยขึ้นก็ไม่ว่าหรอก แต่ทำไมต้องตั้งชื่อให้เข้าใจผิดด้วย ประโยคหลังนี้ตัดพ้อโดยผู้บริโภคที่พลาดมาหลายครั้ง ทางผู้ผลิตเขาก็อธิบายว่า เพื่อความอร่อยนั่นแหละจึงต้องมีการผสมให้เนื้อสัมผัสมันดีขึ้น (แต่มันไม่ใช่หมูอยู่ดี) และอ้างว่า ใครเขาก็ทำกัน ฉลาดซื้อเลยไปดูฉลากอาหารประเภทเดียวกันเพิ่มเติมอีกหลายยี่ห้อ พบว่า ก็จริงอย่างซีพีว่าแฮะ ฉลาดซื้อสำรวจไป 76 ตัวอย่าง 46 ตัวอย่างฉลากไม่ไปกับชื่ออาหารเลย กุ้งทอดก็มีปลาผสม ไส้กรอกชีส ไม่มีชีสระบุในส่วนประกอบ เกี๊ยวปู ไม่บอกว่ามีปูเท่าไหร่ บอกแต่ว่า เนื้อสัตว์และแผ่นแป้ง ฯลฯ ความลำบากจะไม่เกิดกับคนที่กินอะไรก็ได้ แต่คนที่จำเป็นหรือมีข้อห้ามประจำตัว กินนี่ไม่ได้ นั่นไม่ได้ คงลำบากหน่อยนะ อ่านฉลากดีๆ ล่ะกัน   6 โฟมในกำแพง “The Base คอนโด” สะท้อนความเป็นตัวคุณ แล้ว “โฟมที่อยู่ในกำแพง” สะท้อนอะไร ใครจะไปคิดว่าคอนโดหรูเลิศอลังการ ราคาหลายล้าน จะใช้วัสดุที่ดูแล้วไม่น่าจะมีความแข็งแรงทนทานอย่าง “โฟม” มาทำผนังห้อง!? เงิบกันเลยท่าน เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของห้องชาวต่างชาติที่ชื่อว่า Mr.Kristopher George Houston ผู้อาศัยในคอนโด The Base park east สุขุมวิท 77 ของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้เรียกช่างมาทุบผนังห้องเพื่อจะดูว่าทำไมถึงมีน้ำรั่วซึมออกมา แต่ผลจากการลงมือทุบผนังห้อง ไม่ได้ช่วยให้ Mr.Houston พบที่มาของการซึมของน้ำเพียงอย่างเดียว แต่เจ้าตัวยังพบเรื่องที่ทำให้ทั้งตกใจ ประหลาดใจ และไม่เข้าใจ เมื่อผนังที่ควรก่อด้วยอิฐและซีเมนต์ กลับกลายเป็นโฟมและแผ่นกระดาษที่ถูกสอดไว้อยู่ข้างใน Mr.Houston จึงถ่ายภาพโฟมที่พบหลังจากการทุบผนัง ไปโพสยังหน้าเฟสบุ๊คของแสนสิริ ทีนี้ก็เป็นเรื่อง เพราะหลังจากนั้นก็มีคนนำเอาภาพและข้อความที่ Mr.Houston ที่โฟสในเฟสบุ๊ค ไปขยายต่อในเว็บไซต์พันทิป เรื่องเลยกลายเป็นที่สนใจในสังคม นักข่าวก็สนใจ สุดท้ายทางแสนสิริเจ้าของโครงการจึงต้องออกมายอมรับผิด โดยยอบรับว่าเป็นความบกพร่องของช่างผู้ทำงาน ที่อาจจะรีบร้อนให้งานเสร็จไวจึงใช้โฟมมาอุดผนังตรงบริเวณเต้ารับไฟฟ้าที่ติดอยู่ตรงผนัง ขนาดประมาณ 30 x 20 ซม. แต่ยืนยันว่าไม่ผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ตรงกับทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ที่ออกมาให้ความเห็นว่า โฟมที่พบเป็นการพบในบางจุด ไม่ใช่ทั้งส่วนของผนัง ถ้าไม่ใช่ความจงใจของทางโครงการ ก็คงเป็นเพราะความสะเพร่าของช่าง(ก็ไม่รู้สินะว่าคนในคอนโดนั้นจะกล้าลองทุบผนังห้องตัวเองพิสูจน์บ้างไหม) ก่อนหน้านี้ในเว็บไซต์พันทิปเคยมีคนออกมาแฉเรื่องความไม่จริงใจกับผู้บริโภคของคอนโด The Base 77 มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว เรื่องของวัสดุที่ใช้และการออกแบบโครงสร้างอาคาร ที่ของจริงแตกต่างคนละอย่างกับที่เห็นในโฆษณา แม้ Mr.Houston จะบอกว่าที่เขาโพสภาพของโฟมที่พบในผนังห้องไปยังหน้าเฟสบุ๊คของแสนสิริ เพราะว่าแค่อยากให้ทางโครงการดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและให้ช่วยตรวจสอบห้องอื่นๆ ในโครงการว่าเจอปัญหาเดียวกันหรือเปล่า ไม่ได้ต้องการเรียกร้องค่าชดเชยหรือฟ้องร้องเป็นคดีความ แต่เมื่อเรื่องนี้กลายเป็นกระแส ก็ช่วยทำให้คนที่กำลังอยากเป็นเจ้าของคอนโดเริ่มต้องฉุกคิดถึงเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ความถูกต้องและความปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร มากกว่าที่จะดูกันแค่ ความสวยงาม หรือสิ่งอำนวยความสะดวก   7 ตามหาช้างกับเมเจอร์ แม้จะเป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจโรงภาพยนตร์ของประเทศไทย แต่ “เมเจอร์ ซีเนเพล็กซ์” ก็ยังคงสร้างเรื่องให้ผู้บริโภคปวดใจได้เสมอ ไม่ใช่แค่เรื่องโฆษณาในโรงหนังที่ฉายกันยืดยาวคนดูต้องนั่งรอแล้วรออีกกว่าจะได้ดูหนัง เมื่อกลางปีก็มีคลิปที่ถูกกระหน่ำแชร์ในโลกออนไลน์ ถึงเหตุการณ์ที่ผู้จัดการโรงหนังโต้เถียงกับลูกค้าอย่างดุเดือดเรื่องการบริการ สิ่งที่ตามมาคือกระแสวิจารณ์ในทางลบต่อโรงหนัง จนเมเจอร์อยู่เฉยไม่ไหวต้องทำหนังสือชี้แจงบวกกับการลงโทษพนักงานของตัวเอง ล่าสุดเมเจอร์ทำให้คนดูหนังต้องปวดใจอีกครั้ง เมื่ออยู่ดีๆ หนังไทยฟอร์มใหญ่อย่าง “ต้มยำกุ้ง 2” ถูกปรับขึ้นราคาค่าตั๋วอีก 20 บาทต่อที่นั่ง ด้วยเหตุผลที่ว่า “หนังลงทุนสูงกว่า 500 ล้านบาท ด้วยเทคโนโลยีระดับฮอลลีวูด” งานนี้เลยมีคนตั้งข้อหาว่าเอาเปรียบผู้บริโภคเกินไปหรือเปล่า ขนาดทางสหมงคลฟิล์มเจ้าหนังแท้ๆ ยังออกตัวว่าไม่มีเอี่ยวเรื่องการขึ้นราคาตั๋วนะครับ โบ้ยว่าทางเมเจอร์เป็นคนทำเรื่องนี้แต่เพียงผู้เดียว คราวนี้ก็เลยมีคนมาสืบสวนหาสาเหตุที่มาของราคาเพิ่ม 20 บาท แล้วจึงถึงบางอ้อ เพราะมันมีโปรโมชั่นพิเศษ หากนำชิ้นส่วนฉลากมาม่ามาแสดงตอนซื้อตั๋วจะได้ลดราคาค่าตั๋วทันที 20 บาท โอ้ เป๊ะ รับกับราคาที่ปรับขึ้นพอดี(ใครไม่ได้กินมาม่า ก็จ่ายไปสิ) คงไม่อาจปฏิเสธได้หรอกนะ ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่วิธีส่งเสริมการตลาดที่ทั้งเมเจอร์และมาม่าตั้งใจทำร่วมกัน ความจริงแล้วเรื่องการปรับขึ้นราคาค่าตั๋วหนังฟอร์มใหญ่ๆ โดยเฉพาะหนังจากต่างประเทศของโรงหนังเมเจอร์เกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่ใช่เกิดกับหนังต้มยำกุ้งภาค 2 เป็นเรื่องแรก ซึ่งทางโรงจะอ้างเหตุผลว่าหนังเรื่องนั้นเป็นหนังฟอร์มยักษ์ทุนสร้างสูง จำเป็นต้องขึ้นราคาตั๋ว แต่เหตุผลจริงๆ คงไม่พ้นเรื่องการ “ฉวยโอกาส” หวังฟันกำไรเพิ่มจากหนังดังๆ ที่ดูแล้วยังไงคนก็ต้องแห่กันมาดู เชื่อว่าหลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตั๋วหนังปรับขึ้นราคา พนักงานออกตั๋วมาก็จ่ายเงินไป อาจตะขิดตะขวงใจว่าทำไมแพงจัง แต่ไม่รู้จะทำยังไง เราจึงขอเสนอวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับคนที่ไม่อยากถูกเอาเปรียบจากโรงหนังเจ้าปัญหาอย่างเมเจอร์ ก็คือการไม่สนับสนุน เลิกไปดูหนังที่โรงเมเจอร์เสีย ซึ่งจากหลายหลากปัญหาที่เมเจอร์ได้สร้างไว้ ทำให้เกิดการทำแฟนเพจในเฟสบุ๊คที่ชื่อว่า “เครือข่ายคนรักหนังต่อต้านการโฆษณามหาโหดของโรงหนังเครือเมเจอร์” ที่ตอนนี้มีคนมากดถูกใจกว่า 2 หมื่น 5 พันคน แสดงให้เห็นว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบใจกับการเอาเปรียบผู้บริโภคของโรงหนังในเครือนี้   8 จุดเทียนถาม หาความเป็นธรรม เพราะ กฟภ. ตัดไฟที่ค้างชำระไว้ 441 บาท 14 สตางค์!!! ทำให้เด็กสองคนตาย หรือเป็นความประมาทไม่รู้ความของเด็กเอง เรื่องเศร้าที่ไม่ควรจะเกิดจริงๆ เมื่อ 2 พี่-น้องชาวพิษณุโลก คนพี่อายุ 13 ปี ส่วนคนน้องอายุ 9 ขวบ เสียชีวิตคากองเพลิง จากเทียนไขที่จุดทิ้งไว้ เนื่องจากที่บ้านถูกการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พิษณุโลก ตัดไฟ เพราะไม่ได้จ่ายค่าไฟ เลยจำเป็นต้องจุดเทียนเพื่อส่องสว่างตอนทำการบ้าน แต่(อาจเผลอหลับ)ไฟเกิดลุกไหม้บ้านจนเกิดโศกนาฏกรรมดังกล่าว แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่สังคมจะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ กฟภ. ว่าใจดำไปหรือเปล่าที่ตัดไฟฟ้าคนยากคนจนแบบนี้ ทั้งๆ ที่ยอดค่าไฟที่ค้างอยู่ของครอบครัวนี้คือ 441 บาท 14 สตางค์เท่านั้น ขณะที่มีคนเปรียบเทียบว่าที่หน่วยงานราชการหลายแห่ง ค้างค่าไฟเป็นหลักล้านแต่ กฟภ. ไม่เห็นดำเนินการใดๆ ทาง กฟภ. เองก็ทำได้แค่ออกมาแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และชี้แจงว่าการตัดไฟบ้านที่ค้างชำระค่าบริการ เจ้าหน้าที่ต้องทำไปตามหน้าที่ แต่เรื่องนี้ก็ปลุกให้ กฟภ. ตื่นตัว ลุกขึ้นมาปรับปรุงระบบการแจ้งเตือนค้างจ่ายค่าไฟฟ้า โดยจะขยายเวลาก่อนที่จะดำเนินการตัดไฟ จากเดิม 7 วัน เพิ่มเป็น 2 เดือน เริ่มตั้งแต่การส่ง sms ให้ชำระค่าบริการไปยังโทรศัพท์มือถือ จากนั้นจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปเจรจาถึงบ้าน แต่หากครบกำหนด 2 เดือนแล้วยังไม่มีการชำระค่าบริการจึงจะมีการดำเนินการตัดไฟ แถมยังมีแนวคิดยกเลิกเรื่องการตัดไฟแต่จะให้ผู้ใช้เลือกจ่ายเป็นดอกเบี้ยแทน แต่ก็ต้องศึกษาความเป็นไปได้ เพราะในความเป็นจริงหากผู้ใช้ไฟไม่สามารถชำระค่าไฟได้แล้วจะมีกำลังพอที่จะชำระดอกเบี้ยได้หรือเปล่าคงต้องมีการพิจารณาหาความเหมาะสมกันต่อไป ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 8 แสนรายที่มีปัญหาค้างค่าไฟ และในจำนวนนี้ 2 แสนรายมีโอกาสเสี่ยงที่จะต้องถูกตัดไฟ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครอบครัวยากจนตามชนบท กฟภ. ต้องหามาตรการดูแลจัดการในเรื่องนี้ที่ไม่เป็นการทำร้ายและเอาเปรียบผู้บริโภคจนเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมซ้ำอีก   9 เปิบข้าว สุดยอดไฮไลท์ เงิบ คือวิวาทะเรื่องข้าว ผลอันเนื่องมาจากโครงการรับจำนำข้าวอันลือลั่นบวกข่าวข้าวเน่า ข้าวปนเปื้อนสารพิษ ทั้งแชร์ ทั้งดราม่าจึงกระหน่ำกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง มิไยที่รัฐจะแถลงข่าวร่วมกับหน่วยงานดูแลเรื่องข้าวทั้งหลายออกมาบอกว่า ไม่จริง ไม่มี แต่คนก็ไม่เชื่อมั่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับมูลนิธิชีววิถี เลยจับมือกัน(ลงขัน) ซื้อข้าวถุงบรรจุ 5 กิโลกรัมไปทดสอบหาสารรมควันข้าว ชื่อเมทิลโบร์ไมด์ ว่ามี/ไม่มี เกิน/ไม่เกิน เพื่อหวังช่วยหาคำตอบให้กับสังคม หลังมูลนิธิฯ ทั้งสองแถลงว่า ข้าวถุงที่นำไปทดสอบ พบว่ามีเมทิลโบร์ไมด์ ตั้งแต่ “ไม่มีเลย และมีน้อยมากไปจนถึงมากเกินมาตรฐาน” (1 ยี่ห้อเกินมาตรฐานสากลไปโขอยู่สามารถตามอ่านย้อนหลังได้ที่ ฉบับ 149) โอ้แม่เจ้า...สายโทรศัพท์ที่มูลนิธิฯ ทั้งสองอื้ออึงมาก รวมทั้งการแชร์ข้อมูลกันกระหน่ำ สำนักข่าวทั้งหลายไม่มีที่ไหนพลาดข่าวนี้ ฝ่ายเชียร์ก็ว่ามูลนิธิฯ ทำดีแล้ว ฝ่ายค้านก็พยายามเหลือเกินในการดิสเครดิต มูลนิธิฯ ทั้งกล่าวหาว่า ทำการทดสอบหลังบ้าน รับเงินฝ่ายค้าน ข้อมูลมั่ว ฯลฯ แต่เผอิญเหลือเกินที่ อย. ก็มีผลทดสอบตรงกับของมูลนิธิฯ (แถลงหลังมูลนิธิฯ 1 วัน) ยืนยันว่า เป็นยี่ห้อเดียวกันเสียด้วยที่เกินมาตรฐาน งานนี้ต้องบอก เงิบ นะขอรับ เมื่อปฏิเสธไม่ได้ว่ามันมี เลยกลายเป็นแก้เกี้ยวว่า “เอาข้าวล้างน้ำเยอะหน่อย” ก่อนหุงเท่านี้ก็ปลอดภัย   เงิบ คืออะไร รู้จักอาการหงายหลังใช่ไหมคะ จะเกิดเมื่อตัวเราไปปะทะกับวัตถุอะไรก็ตามที่แรงพอจะผลักให้เราหงายลงไปได้ แต่ถ้าไม่ใช่วัตถุ แต่เป็นอะไรที่มีความแรงพอก็น่าจะทำให้เราหงายได้เช่นกัน อย่างคำด่าแรงๆ หรือเกิดภาวะตกใจอย่างแรง อาการ“หงายหลัง” ก็เกิดขึ้นได้ แต่ พ.ศ. นี้ หงายหลังดูจะยาวไป ต้องนี้เลย “เงิบ” ที่พจนานุเกรียนระบุว่า - ใช้เป็นคำแสดง "อาการตกใจจนแทบหงายหลัง ในคำพูดของคนอื่นที่กล่าวขึ้นในขณะนั้น " คล้ายกับคำว่า "เหวอ" - ใช้แทนคำอุทานว่า "ตาย... ตายห่า" - ใช้ในลักษณะโดนเบรคในการสนทนาจนหน้าหงาย - "ฮาจนหงายท้อง" - "แปลกใจมาก ไม่เคยคิดฝันมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น" http://pojnanukrian.com/เงิบ     //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 โซล่าร์เซลล์.......เหมาะกับสังคมคนไทยจริงหรือ

เราอาจจะไม่ต้องเกริ่นนำให้ยืดยาวว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องประหยัดพลังงานและหาพลังงานทดแทนมาเพื่อสอดรับกับเรื่องวิกฤติพลังงาน  เพราะจากข้อมูลทางสถิติบอกว่า  นับแต่ประมาณปี 2543 เป็นต้นมา อัตราความสำเร็จในการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ดิ่งลงอย่างสม่ำเสมอ และคาดว่าเมื่อถึงปี 2050 จะไม่มีการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่อีกต่อไปแล้ว   มาใช้พลังงานทางเลือกกันเถอะ ปัญหาไฟฟ้าดับในภาคใต้หรือปัญหาน้ำมันแพง เป็นเหตุผลเพียงพอสำหรับการหันมาเลือกใช้พลังงานทางเลือก ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยทั้งเราและโลกให้ดำรงอยู่แบบไม่ลำบากในภายภาคหน้านัก พลังงานทางเลือก หรือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งหมายถึงพลังงานที่เกิดขึ้นจากทรัพยากรรอบตัวที่ไม่มีวันหมด เช่น สายลม แสงแดด สาบน้ำ เศษอาหาร มูลสัตว์ ชานอ้อย แกลบ ฯลฯ จึงถูกนำเสนอขึ้นมาเป็นทางเลือกเพื่อทดแทนพลังงานกระแสหลักทุกวันนี้ ถ้าถามว่า ทำไมเราต้องหันมาพึ่งพาพลังงานหมุนเวียน คำตอบก็คือ เพราะต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนมีลักษณะยิ่งทำยิ่งถูก   เพราะมีค่าใช้จ่ายหลักคือการลงทุนตอนต้น หลังจากนั้นวัตถุดิบล้วนแต่หาได้รอบตัวในราคาถูก หรือไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่นเมื่อติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าแล้ว นอกเหนือจากค่าตรวจสภาพ ซ่อมบำรุง ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสายลมจัดการต่อ   ส่วนพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติที่มีเหลือเฟือและเหมาะกับบ้านเมืองเรามากที่สุดก็คือ พลังงานแสงอาทิตย์   พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาเป็นการใช้พื้นที่หลังคาบ้าน อาคารธุรกิจ หรือโรงงาน ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งส่วนที่อยู่บนหลังคา ได้แก่ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์และเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไฟฟ้าที่ได้จะเป็นกระแสตรง (Direct Current) ซึ่งจะถูกส่งมายังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าหรือ Inverter ที่ติดตั้งอยู่ภายในบ้าน เพื่อเปลี่ยนกระแสไฟตรงให้เป็นกระแสสลับ (Alternate Current) ที่สามารถนำมาใช้งาน ได้เหมือนกับกระแสไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ตามปกติ ไฟฟ้าที่ผลิตได้และผ่าน Inverter แล้วจะสามารถขายให้แก่การไฟฟ้าได้ทั้งหมด โดยได้รับราคาตามมาตรการ FiT ที่ภาครัฐกำหนด คือ •          ขนาดเล็กสำหรับที่พักอาศัย ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.96บาทต่อหน่วย •          ขนาดกลาง มากกว่า 10 กิโลวัตต์ และไม่เกิน 250 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.55 บาทต่อหน่วย •          ขนาดมากกว่า 250 กิโลวัตต์ และไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.16 บาทต่อหน่วย ข้อดีของการผลิตไฟฟ้า ณ ที่มีการใช้แบบนี้คือ จะช่วยลดการสูญเสียไฟฟ้าในระบบจำหน่ายได้ และเป็นการทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่มีความสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษ   ตัวอย่างการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทย ในปัจจุบันการใช้พลังงานทดแทนของไทยเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เฉพาะที่ภาคอีสาน พบว่า มีศักยภาพสูง  ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม น้ำ รวมทั้งการที่ชาวบ้านสามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาพลังงาน ตัวอย่าง ที่ยโสธร มีการนำพลังงานลม ที่ได้จากกังหันลมมาช่วยลดต้นทุนการผลิต และสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร จนการทำไร่ทำนาสามารถทำได้ทุกฤดูกาลไม่ต้องรอฟ้ารอฝน รวมทั้งที่สุรินทร์  นำน้ำเสียจากโรงงานขนมจีน หรือมูลสัตว์ มาผลิตแก๊สชีวภาพในชุมชน เป็นต้น     โซล่าร์เซลล์ช่วยเราประหยัดอย่างไร ข้อมูลการเปรียบเทียบให้เห็นการลงทุน+การคุ้มทุน+การประหยัดพลังงาน ฯลฯ ตาราง  GZTH-PV Price Guide for FIT Program 13-09-13 เครดิต คุณสุทัศนา กำเนิดทอง บ.เกร็นโซน(ประเทศไทย) จำกัด   SOLAR PV PRICE GUIDE FOR THAI FIT PROGRAM 13th September, 2013 ขนาดของระบบ พื้นที่ติดตั้ง(ตรม.) PERFORMANCE MULTIPLIER FIT Rate ( บาท ) กำลังการผลิตเฉลี่ยต่อปี(kwh) รายได้เฉลี่ยต่อปีจาก FIT (บาท) ค่าติดตั้ง(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จุดคุ้มทุน(ปี) 2 20 3.9 6.96 2,847 19,815 168,000 8.48 3 30 3.9 4,271 29,723 246,000 8.28 5 50 3.9 7,118 49,538 405,000 8.18 10 100 3.9 14,235 99,076 800,000 8.07 20 200 3.9 6.55 28,470 186,479 1,560,000 8.37 50 500 3.9 71,175 466,196 3,850,000 8.26 75 750 3.9 106,763 699,294 5,550,000 7.94 100 1000 3.9 142,350 932,393 7,000,000 7.51 150 1500 3.9 213,525 1,398,589 10,200,000 7.29 200 2000 3.9 284,700 1,864,785 13,200,000 7.08 250 2500 3.9 6.16 355,875 2,192,190 16,000,000 7.30 500 5000 3.9 711,750 4,384,380 30,000,000 6.84 1000 10000 3.9 1,423,500 8,768,760 55,000,000 6.27 สรุปจากตาราง .....จะพบว่า บ้านที่ติดตั้งระบบโซล่าร์ รู๊ฟ ในพื้นที่ขนาด  30 ตร.ม. ขนาด 3 กิโลวัตต์ เงินลงทุน 246,000 บาท ได้ไฟ 4,271 หน่วย/ปี ขายไฟฟ้าได้ประมาณ 29,723 บาท/ปี เพราะฉะนั้นคืนทุนใน 8.28 ปี   โปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ คือ โปรแกรมที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน  พัฒนาขึ้นสำหรับผู้สนใจเรื่องการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ บ้านพักอาศัย, อาคารธุรกิจขนาดเล็ก และ อาคารธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ หรือโรงงาน ขนาดตามที่ระบุไว้ข้างต้น ที่ขายไฟฟ้าได้ตามมาตรการ FiT ของภาครัฐ โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกตั้งต้นการคำนวณได้ทั้งจากพื้นที่ในการติดตั้งที่มีอยู่ หรือกำลังการติดตั้งที่ต้องการ และเลือกชนิดของแผงเซลล์และราคาระบบที่สามารถจัดซื้อได้ต่อ 1 กิโลวัตต์ และกดคำว่าคำนวณ ผลจากการคำนวณจะได้ทราบข้อมูลดังนี้ •          เงินลงทุนระบบเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดที่ต้องจ่าย •          พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อปี •          จำนวนเงินที่ขายไฟฟ้าได้ต่อปี •          จำนวนปีที่คืนทุน เพื่อให้รู้ว่าท่านจะคุ้มทุนในกี่ปี สามารถดาวน์โหลดได้ที่http://www.ces.kmutt.ac.th/pvroof/index.php สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ โทร 02 223-0021 ต่อ 1246 คุณกุลวรีย์ บูรณสัจจะวราพร.   การรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา กระทรวงพลังงาน ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซลาร์รูฟท็อป ในการประชุมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 คณะรัฐมนตรี (ครม.)  ได้มีมติรับทราบมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2556 เห็นชอบให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System) โดยมีปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของแผงโฟโตโวลเทอิก (Photovoltaic Panel) รวม 200  MWp จำแนกเป็น 100 MWp สำหรับอาคารประเภทบ้านอยู่อาศัย และอีก 100 MWp สำหรับอาคารประเภทธุรกิจและโรงงาน ทั้งนี้ ให้มีการเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าภายในปี 2556 ด้วยอัตราการรับซื้อแบบ Feed-in Tariff ระยะเวลาการสนับสนุน 25 ปี โดยมีช่วงระยะเวลาการยื่นคำขอขายไฟฟ้าตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2556 ยกเว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดทำการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (รวม 15 วันทำการ) ระหว่างเวลา 9.00 น. – 15.00 น. อนึ่ง ผู้ที่ประสงค์จะจำหน่ายไฟฟ้าประเภทอาคารบ้านอยู่อาศัยสามารถยื่นคำขอในแต่ละครั้งได้ไม่เกิน 10 คำขอ และประเภทอาคารธุรกิจ/โรงงานสามารถยื่นคำขอในแต่ละครั้งได้เพียง 1 คำขอ โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะพิจารณาแบบคำขอและประกาศผลการตอบรับซื้อไฟฟ้าบน Website ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป ข้อสังเกต ระเบียบการยื่นคำร้องมีรายละเอียดปรากฏที่เว็ปไซต์ของกระทรวงพลังงาน มีข้อสังเกตว่า ใบสมัครมีความซับซ้อน เข้าถึงยาก แม้คนที่จบทางด้านวิศวกรรมมายังใช้เวลานานในการกรอกข้อมูล นอกจากนี้หากผู้บริโภคทำเรื่องขออนุญาตด้วยตนเองจะยากและใช้เวลามากกว่าการขอผ่าน บริษัทตัวแทนจำหน่ายโซล่าร์เซลล์  เช่น การขอใบรับรอง รง.4 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น     ความจริง เรื่องขายไฟฟ้าของประชาชนกับการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักเศรษฐศาสตร์ด้านพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ตัวอย่างในต่างประเทศที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างเยอรมัน เดนมาร์กก็ทำปกติ คือใช้แผงของตัวเองเลยถ้าเหลือก็ขายได้แต่เน้นเอามาใช้ในครัวเรือนก่อน หรือบางทีเขาเรียกเป็นมิเตอร์ 2 ทาง คือขายไปกับเข้ามาแต่ว่าหักลบกันก่อนแล้วค่อยไปคิดเงินกัน ของบ้านเรานั้นมิเตอร์ 2 ตัวไม่ใช่มิเตอร์ 2 ทางที่เรียกมิเตอร์ 2 ตัวคือตัวหนึ่งขาย ตัวหนึ่งซื้อ ประเทศเพื่อนบ้านเราที่ทำที่ใกล้ที่สุดก็ญี่ปุ่น ส่วนประเทศอื่นไม่ค่อยเยอะนักประเทศเราก็ทำได้ดีแล้วแต่ว่าเสียดายที่มันมาติดเรื่องเวลา คือถ้าเราคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรยังพอว่าแต่นี่คิดออกแล้วดันมาล็อคเรื่องเวลาซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าล็อคทำไม ล็อคแล้วมันกลายเป็นผลประโยชน์ของฝ่ายธุรกิจมากกว่า แต่เป็นผลประโยชน์ระยะสั้นนะ ผลระยะยาวจะขายใครได้อีก ลึกๆ แล้วอยากให้มันแน่นอนนะ เหมือนรถปีที่แล้ววุ่นกันพอสต๊อกไว้แล้วก็ค้างบาน ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้กันว่าสิ่งที่มันดูเหมือนช่วยเอาเข้าจริงมันอาจไม่ได้ช่วย   ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ เยอรมัน เดนมาร์ก เขาเอาไปทำต่อเนื่องมันก็เลยประสบความสำเร็จไปในระยะยาว แผง Solar cell ของเขาก็กลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กรณีของไทยเหมือนทำอย่างเขา แต่เราไม่รู้รัฐบาลจะเปิดรอบไหน อย่างเราขายแผง Solar cell เองนั้นก็ไม่รู้เราจะไปลงทุนผลิตเองดีไหมในเมื่อมันยังไม่ชัวร์ เพราะฉะนั้นเมื่อมันไม่ชัวร์เราก็รับมาจากต่างประเทศละกันอันไหนถูกกว่าหน่วยงานเราก็หากันเฉพาะหน้าไป เพราะฉะนั้นต่างประเทศที่เขาทำระยะยาวมันจึงประสบความสำเร็จในการสนับสนุน เริ่มตั้งแต่คนติดตั้งเยอะขึ้น คนลงทุนเยอะขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจ Solar cell อย่างครบวงจรได้ มันต้องการความชัดเจนในระยะยาว ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี อีกโมเดลหนึ่งคือ ผมคิดว่าประเทศไทยเราไม่มีเลย คือการลงทุนสนับสนุนสำหรับชุมชนหรือบ้านเรือนที่ใช้ในแนวของพลังงานอย่างยั่งยืน เรื่องการสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อมเราไม่มีเลย วิธีการคิดของรัฐบาลคือติดตรงไหนก็เอาไปขายเข้าระบบอย่างเดียวแต่ของต่างประเทศเขามีคนมาร่วมกันเป็นสหกรณ์ เป็นบริษัทก็ได้ ถ้าทำมาเป็นโครงการลักษณะแบบที่จะมีการประหยัดการใช้พลังงาน ซึ่งมันไม่ได้มีแต่ Solar cell อย่างเดียว ยังมีอื่นๆ อีกที่ทำได้ เช่นสิ่งปฏิกูลจากห้องน้ำ สมมติว่าเราสร้างบ้าน 20 หลังแล้วเราทำท่อที่สิ่งปฏิกูลมาทำไบโอแก็สได้ ไบโอแก็สก็จ่ายคืนกลับไปสู่การใช้ LPG อันนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพราะฉะนั้นในต่างประเทศการสนับสนุนเขาจะให้แต่ละที่คิดเองว่าจะทำอะไรได้บ้าง บางที่ก็ Solar cell อย่างเดียว บางที่ก็ Solar cell บวกกังหันลม บางที่ก็ Solar cell บวกไบโอแก็ส บางที่ก็ Solar cell บวกไบโอแมส อย่างเช่นกิ่งไม้ หมู่บ้านจัดสรรกิ่งไม้เยอะมาก เสร็จแล้วก็ไม่รู้ทำอย่างไรจริงแล้วเอามาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เพราะฉะนั้นการให้สนับสนุนในโครงการลักษณะแบบนี้มันจำเป็นที่จะต้องมี เพราะในที่สุดแล้วมันคือการลดการใช้ไฟฟ้าแต่ปัจจุบันการให้ความสนับสนุนของรัฐฯ นั้นให้ก็ต่อเมื่อมีการขายไฟฟ้า ซึ่งบางคนเขาไม่ได้ขายแต่ว่าเราทำเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าลงอันนี้มันก็เป็นการสนับสนุนของรัฐบาลไทย มันเหมือนกับขาเดียวไม่ได้ทำ 2 ขา คือใครขายก็ขาย ใครที่ใช้อยู่ก็ต้องใช้ให้มันน้อยลง   นโยบายของรัฐบาลที่เป็นรูปธรรมนอกจากเรื่องรับซื้อแล้วยังมีอะไรอีกเรื่องการส่งเสริมพลังงานโซล่าร์เซลล์ ไม่มีเลย ที่เหลือก็จะเป็นโครงการ มันไม่ได้เป็นกลไกนะโครงการมันเป็นกลไกที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ การรับซื้อที่มันเป็นกลไกมันก็ไม่ค่อยสมบูรณ์เพราะมันดันมาล็อคเรื่องเวลา เพราะฉะนั้นบ้านเรามันขาดกลไกจริงๆ เหมือนเราอุดหนุน LPG รัฐบาลออก LPG แต่คนทำไบโอแก็สเยอะเลย ชาวบ้านทำไบโอแก็สไม่ช่วยเขาเลย เขาทำไบโอแก็สแก้ปัญหาให้คุณไม่มีการอุดหนุนเลย คนทำไบโอแก็สก็ทำกันไปเรื่อยๆทั้งที่จริงการอุดหนุนไบโอแก็สนั้นง่ายมาก อุดหนุนผ่านวัสดุเลยถ้าคุณซื้ออันนี้เพื่อเอาไปทำไบโอแก็สคุณได้ส่วนลด ก็เหมือนกับรถคันแรกไปซื้อเสร็จคุณก็ไปขอส่วนลดใช่ไหม แต่นี่ไม่ได้ลดเป็นแสน ลดเป็นหลักพันหลักร้อยเองแล้วคุณก็ขึ้นบัญชีคนซื้อ LPGคุณได้ ใครซื้อไฟต่ำกว่าเท่านี้ก็ไปขออัตราลดLPGคุณทำได้เลย ชาวบ้านที่ทำไบโอแก็สจำนวนก็น้อยกว่า ความตั้งใจก็เยอะกว่า ประโยชน์ก็เยอะกว่า คุณก็ไม่ช่วย ผมคิดว่ารัฐบาลมองอะไรที่มันแบบผิวเผิน   สาเหตุที่รัฐบาลไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง เขาเน้นเป้า คือหมายถึงว่าอยากให้ได้ Solar cell กี่เมกะวัต คิดหาวิธีที่มันง่ายที่สุด เขียนนโยบายมาว่าจะต้องได้เท่านี้ สมมติว่าเขาได้ในระยะเวลาที่เขากำหนด เขาก็คิดว่ามันจบเลยต่อจากนี้ไม่ต้องยุ่งอีกต่อไป วิธีคิดเขาเป็นแบบนี้ แต่เขาไม่ได้มองว่าในความเป็นจริงคนค่อยเรียนรู้มันจะเกิดการพัฒนาต่อเนื่อง เขาไม่ได้มองเรื่องอนุรักษ์พลังงาน จริงๆผมว่าเขาไม่เคยมองเรื่องคนเลยมากกว่า คือทุกเรื่องสุดท้ายเราต้องการคนที่เปลี่ยนไป เขามองแค่การลงทุน ผมนี่ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลยถ้าผมคิดว่าเงิน2แสนมันคุ้มค่า ผมก็โทรสั่งมาติด จบ ผมไม่ได้เปลี่ยนอะไร เขาสนใจแค่ได้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ อันนี้ทำให้เขาได้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ง่ายที่สุดก็จบแล้วสำหรับเขา   ทางออกสำหรับคนที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงาน ทางออกสำหรับคนที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงาน แต่ยังไม่ต้องการขายไฟฟ้าให้แก่ภาครัฐ ทำได้ โดยการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์บางจุดของบ้าน  เช่น ทดแทนไฟฟ้าแสงสว่างในครัวเรือน หรือติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์บริเวณเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น   เยอรมัน อังกฤษ เดนมาร์ก และจีน เป็นประเทศที่มีนโยบายพลังงานหมุนเวียนที่มีความน่าสนใจ โดยประเทศเยอรมันมีความก้าวหน้าการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก ส่วนประเทศอังกฤษที่เดิมมีพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักมีการใช้พลังงานกระแสหลัก เช่น ถ่านหิน น้ำมันเป็นหลักเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ประกาศใช้นโยบาย RPS  ประเทศเดนมาร์ก ที่มีเป้าหมายการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าเป็นเจ้าของการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบสหกรณ์    และประเทศจีนที่กำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมากที่สุด ปัจจุบันเดนมาร์กมีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าและระบบทำความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 30,000 แห่ง โดยมีเครื่องมือประมาณ 35,000 เครื่องสำหรับใช้ในระบบทำความร้อน และที่เกาะ Aeroe   ในเดนมาร์กเป็นที่ตั้งของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ 19,000 ตรม. โดยพลังงานที่ได้ใช้สำหรับผลิตระบบความร้อนภายในเกาะพลังงานของระบบความร้อน 1 ใน 3 ของที่ใช้ในเดนมาร์กได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยสามารถกักเก็บพลังงานที่ผลิตได้สำรองไว้ใช้ในฤดูใบไม้ร่วง และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้   7,500 MWh โดยมีการลงทุนเพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ไปแล้วจำนวน 49 ล้านโครนเดนมาร์ก ซึ่งเงินจำนวน19 ล้านโครนเดนมาร์กจากจำนวนนี้มาจากการสนับสนุนของสหภาพยุโรปลำดับ   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 152 พลุและดอกไม้ไฟ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

พอใกล้ช่วงลอยกระทงทีไรเราก็มักจะได้ยินข่าวเรื่องการขอความร่วมมืองดเว้นการเล่นพลุเล่นดอกไม้ไฟ สาเหตุก็เพราะบ่อยครั้งที่ได้ยินข่าวบรรดาพลุหรือดอกไม้ไฟนำมาซึ่งอุบัติเหตุแบบคาดไม่ถึง รุนแรงมากบ้างน้อยบ้าง หลายครั้งที่มันนำไปสู่การสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นเสียทรัพย์หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ที่สำคัญคือคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นพลุเล่นดอกไม้ไฟส่วนใหญ่ ก็คือ เด็กๆ ที่มักเล่นสนุกจนมองข้ามอันตราย คำถามที่ตามมา คือ ในเมื่อพลุและดอกไม้ไฟเป็นสินค้าอันตราย แล้วการควบคุมการขาย การนำมาใช้นั้นได้มีการทำอย่างถูกต้องเข้มงวดแล้วหรือยัง ลองมาหาด้วยกันว่าบ้านเรามีวิธีจัดการกับปัญหาเรื่องอันตรายจากพลุและดอกไม้ไฟมากน้อยขนาดไหน เจ็บ – ตาย เพราะพลุและดอกไม้ไฟ ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เรื่องสถานการณ์การบาดเจ็บรุนแรงจากการถูกเปลวหรือสะเก็ดดอกไม้ไฟหรือพลุ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2554 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 2,587 ราย เฉลี่ยปีละ 517.4 ราย โดยเป็นผู้ที่เสียชีวิตจำนวน 6 ราย ซึ่งเมื่อจำนวนผู้ป่วยแยกเป็นแต่ละปีพบว่ามีผู้ป่วยจากอุบัติเหตุพลุ ดอกไม้ไฟ มีแนวโน้มสูงขึ้น จากในปี จากจำนวน 364 ราย ในปี พ.ศ. 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 642 ราย ในปี พ.ศ. 2554 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1.76 เท่า อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุพลุและดอกไม้ไฟ อยู่ในกลุ่มเด็กและเยาวชน มากที่สุดคือช่วงอายุ  10-14 ปี ร้อยละ 23.83 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 14.48 และกลุ่มอายุ 5-9 ปี ร้อยละ 14.33   ชนิดของพลุและดอกไม้ไฟ พลุและดอกไม้ไฟที่จำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งประเภทที่จุดแล้วทำให้เกิดแสงสว่าง และชนิดที่จุดแล้วทำให้เกิดเสียงดัง แต่โดยทั่วไปแล้วเราสามารถแบ่งประเภทของพลุและดอกไม้ไฟได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.พลุและดอกไม้ไฟขนาดเล็ก หรือ แบบทั่วไป (Consumer Fireworks) ใช้เล่นเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก แสงหรือเสียงที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการเผาไหม้ พลุและดอกไม้ไฟขนาดเล็กจะมีปริมาณของส่วนผสมที่เป็นวัตถุระเบิดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อชิ้นสำหรับพลุและดอกไม้ไฟที่เล่นบนพื้นดิน และไม่เกิน 130 มิลลิกรัม สำหรับพลุและดอกไม้ไฟที่เล่นในอากาศ ตัวอย่างพลุและดอกไม้ไฟขนาดเล็กมีอย่างเช่น ประทัด ไฟเย็น พลุขนาดเล็ก กระจับ กระเทียม เป็นต้น 2.พลุและดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ หรือ แบบพิเศษ (Display Fireworks) พลุและดอกไม้ไฟขนาดใหญ่นิยมใช้กับงานแสดงในที่กว้าง โล่งแจ้ง ผู้ใช้จะต้องมีความชำนาญ ได้รับการฝึกอบรมในการใช้งานมาเป็นอย่างดี เพราะมีการระเบิดเผาไหม้ที่รุนแรงกว่า ที่สำคัญคือใช้ส่วนผสมของวัตถุระเบิดมากกว่า ตัวอย่างของพลุและดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ ได้แก่ พลุและดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ที่นิยมยิงขึ้นฟ้าสร้างภาพและสีสันต่างๆ   อันตรายที่มักเกิดจากพลุและดอกไม้ไฟ อันตรายจากการเกิดไฟไหม้และการระเบิด อุบัติเหตุที่เกิดจากพลุและดอกไม้ไฟที่นำมาซึ่งความสูญเสียมากที่สุด ก็คืออุบัติเหตุที่เกิดจากการระเบิดของพลุและดอกไม้ไฟ โดยเฉพาะกับการระเบิดที่เกิดขึ้นภายในโรงงานที่ผลิต ซึ่งเต็มไปด้วยวัตถุดิบที่เอื้อต่อการเกิดการระเบิดที่รุนแรง บ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าวโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟเกิดการระเบิด ซึ่งมักเป็นเหตุการณ์รุนแรง แถมยังมีสิ่งที่ตามมาหลังการระเบิด ทั้งการเกิดเพลิงไหม้ และการรั่วซึมของสารเคมีที่เป็นอันตราย นอกจากนี้สาเหตุของการระเบิดและไฟไหม้อาจไม่ได้เกิดจากความไม่ได้มาตรฐานของโรงงานที่ผลิตแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีหลายเหตุการณ์ที่เกิดจากความประมาทของผู้ที่ซื้อพลุไปจุดเล่นแล้วไม่ระมัดระวัง พลุหรือดอกไม้ไฟที่จุดไปตกยังบริเวณที่เสียงต่อการติดไฟทำให้ไฟเกิดลุกไหม้ อีกหนึ่งอุบัติเหตุจากพลุและดอกไม้ไฟที่เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง ก็คือการที่ผู้เล่นซึ่งมักเป็นเด็กและเยาวชนได้รับบาดเจ็บจากการจุดพลุและดอกไม้ไฟ ซึ่งมีไม่น้อยที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็นมือ นิ้วมือ แขน หรือ แม้แต่ดวงตา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาท ความคึกคะนอง ซึ่งการป้องกัน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องคอยสอดส่องดูแล ไม่ควรให้เด็กเล่นวัตถุอันตรายอย่างพลุเด็ดขาด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดูแลเรื่องการขายก็ต้องควบคุมดูแลให้การขายพลุและดอกไม้ไฟเป็นไปตามกฎ   อันตรายจากการได้รับสารเคมี เพราะส่วนประกอบหลักของพลุและดอกไม้ไฟเกิดจากการผสมกันของสารเคมีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สารโปแตสเซียมเปอร์คลอเรต ที่มีผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและระบบทางเดินหายใจส่วนบน, สารซัลเฟอร์หรือกำมะถัน จะทำให้เกิดอาการตาแดง ผิวหนังอักเสบ หายใจขัด เกิดการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจ, สารโปตัสเซียมไนเตรต หากสัมผัสถูกสารจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และเยื่อบุผิวหนัง ถ้ากลืนกินเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้ ท้องเสีย และกล้ามเนื้ออ่อนแรง, สารแบเรียมไนเตรต เป็นสารที่ มีพิษมากจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหู ตา จมูก และผิวหนัง สารนี้มีผลทำลายตับ ม้าม และยังทำให้เกิดอัมพาตที่แขน ขา และบางรายอาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งอย่างที่เราได้รับทราบในข่าว เวลาที่เกิดการระเบิดของโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟ จะมีการอพยพชาวบ้านที่อยู่ในละแวกที่เกิดเหตุออกจากพื้นที่ เพื่อหลีกหนีอันตรายจากสารเคมีต่างๆ ที่อาจรั่วซึมออกมาพร้อมการระเบิด   อันตรายการได้รับเสียงดัง มีข้อมูลจากกรมอนามัย เรื่องความดังของเสียงระเบิดจากพลุและดอกไม้ไฟมีระดับเสียงกระแทกสูงถึง 130 เดซิเบล เอ (เดซิเบล เอ dB(A) คือ สเกลของเครื่องวัดเสียงที่สร้างเลียนแบบลักษณะการทำงานของหูมนุษย์ โดยจะกรองเอาความถี่ต่ำ และความถี่สูงของเสียงที่เกินกว่ามนุษย์จะได้ยินออกไป) ที่ระยะห่างจากจุดกำเนิด 5 เมตร ซึ่งสูงเกินกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 85 เดชิเบล เอ การที่หูของเราได้รับเสียงที่มีความดังเกินกว่า 130 เดซิเบล เอ มีผลทำให้เราเกิดอาการหูตึงชั่วคราว แต่หากต้องได้ยินติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลทำให้เกิดอาการหูตึงถาวร นอกจากนี้เสียงที่ดังมากๆ ก็มีผลต่อเรื่องของสุขภาพจิต ทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญ ส่งผลให้นอนไม่หลับ ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ รวมทั้งมีผลต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและความดันโลหิต   อันตรายจากความร้อน พลุและดอกไม้ไฟใช้การจุดระเบิดเป็นตัวทำปฏิกิริยา ซึ่งการจุดไฟสิ่งที่ตามด้วยเสมอก็คือความร้อน หลายคนหลงเพลิดเพลินกับประกายสะเก็ดไฟที่สวยงาม จนลืมนึกถึงความร้อนของสะเก็ดไฟเหล่านั้น ซึ่งเป็นความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมาก ตัวอย่างพลุที่ชื่อเรียกว่า ไฟเย็น ซึ่งเป็นที่นิยมมาก หลายๆ คนน่ารู้จักกันดี แม้จะชื่อไฟเย็นแต่เวลาที่จุดจะมีอุณหภูมิความร้อนสูงสุดถึง 900 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นความร้อนในระดับที่สามารถทำให้ผิวหนังไหม้ได้หากไปสัมผัสถูก   11 ข้อห้าม!!! ป้องกันอันตรายจากพลุและดอกไม้ไฟ 1.ห้ามให้เด็กๆ เล่นพลุและดอกไม้ไฟ หรือควรต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ 2.ห้ามเล่นพลุและดอกไม้ไฟ ที่ซื้อจากร้านค้าที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ  สินค้าอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ เก่า และไม่มีฉลากภาษาไทยที่ถูกต้องชัดเจน 3.ห้ามเล่นพลุและดอกไม้ไฟ ถ้ายังไม่ได้อ่านฉลาก คำแนะนำ วิธีการใช้ คำเตือน 4. ห้ามจุดดอกไม้ไฟที่เสื่อมสภาพหรือดอกไม้ไฟที่ถูกจุดแล้วแต่ยังไม่ระเบิด(ไม่ทำงาน) เพราะพลุและดอกไม้ไฟนั้นอาจระเบิดโดยไม่คาดคิด 5.ห้ามจุดพลุและดอกไม้ไฟ ถ้ายังไม่ได้เตรียมกระป๋องหรือถังใส่น้ำไว้ใกล้บริเวณที่จะจุดพลุหรือดอกไม้ไฟ เผื่อไว้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน 6.ห้ามเข้าใกล้ดอกไม้ไฟที่ถูกจุดแล้วหรือดอกไม้เพลิงที่ยังดับไม่สนิท 7.ห้ามจุดพลุหรือดอกไม้ไฟ หากไม่อยู่ในระยะที่ปลอดภัย คือ 1 เมตร หรือ 1 ช่วงแขน 8.ห้ามประกอบหรือดัดแปลงพลุหรือดอกไม้ไฟไว้เล่นเองโดยเด็ดขาด 9.ห้ามเก็บพลุและดอกไม้ไฟไว้ในบ้าน หากต้องเก็บควรเก็บในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดฝามิดชิด สถานที่เก็บควรเป็นที่แห้งและมีอากาศเย็น 10.ห้ามจุดพลุหรือดอกไม้ไฟ ในพื้นที่โล่งแจ้ง บริเวณที่มีหญ้าแห้งหรือบริเวณที่เป็นสนามหญ้า เพราะหญ้าเหล่านั้นสามารถลุกติดไฟได้ หลีกเลี่ยงบริเวณอาคารบ้านเรือน หรือแหล่งที่มีวัสดุที่ติดไฟง่าย พวก ก๊าซ น้ำมัน หรือเชื้อเพลิง 11.ห้ามเล่นพลุและดอกไม้ไฟโดยเด็ดขาด หากไม่จำเป็น   กฎหมายที่ทำหน้าที่ควบคุมการซื้อ-ขายและการใช้พลุและดอกไม้ไฟ พ.ร.บ. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ที่ให้อำนาจนายทะเบียนท้องที่แต่ละท้องที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตในการขาย ผลิต นำเข้า ดอกไม้เพลิง ซึ่งใบอนุญาตจะมีอายุ 1 ปี นอกจากนี้เจ้าหน้าที่นายทะเบียนท้องที่ยังมีสิทธิในการออกข้อกำหนดหรือข้อบังคับเพื่อควบคุมป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดจากพลุและดอกไม้ไฟ เช่น การกำหนดปริมาณน้ำหนักรวมของดินปืนหรือสารระเบิดในสินค้าพลุและดอกไม้ไฟรวมทั้งหมดที่มีอยู่ในร้าน อย่างเช่น กำหนดให้มีน้ำหนักรวมของดินปืนหรือสารระเบิดรวมไม่เกิน 50 กิโลกรัม กำหนดเวลาปิดเปิดของร้านค้าพลุและดอกไม้ไฟ กำหนดให้ภายในร้านต้องมีลักษณะที่เหมาะสม  มีอากาศถ่ายเทดี มีอุปกรณ์ดับเพลิง ไม่จำหน่าย พลุและดอกไม้ไฟ รวมกับสินค้าอื่นที่ติดไฟง่าย อย่าง เชื้อเพลิง ก๊าซ น้ำมัน ไม้ขีดไฟ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่ทำผิดมีสิทธิถูกบทลงโทษ ทั้งจำทั้งปรับ   พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พลุ ดอกไม้ไฟ หรือ ดอกไม้เพลิง ถือเป็นวัตถุอันตราย ตามคำจำกัดความที่บอกว่าวัตถุอันตรายหมายถึง วัตถุไวไฟ และ วัตถุระเบิดได้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลสินค้าที่ถูกผลิต นำเข้า และจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด โดยจะมีคณะกรรมการวัตถุอันตรายซึ่งมาจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงอุตสาหกรรม กรมการค้าภายใน กรมตำรวจ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงกลาโหม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาเคมี ฯลฯ หน้าที่หลักๆ ของคณะกรรมการชุดนี้คือ ให้คำแนะนำแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการรับขึ้นทะเบียน หรือเพิกถอนทะเบียนวัตถุอันตราย แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับวัตถุอันตรายให้ประชาชนได้ทราบ รวมถึงพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากวัตถุอันตราย   พลุ ดอกไม้ไฟ เป็นสินค้าควบคุมฉลาก หนึ่งในความพยายามที่จะลดและป้องกันอันตรายจากพลุและดอกไม้ไฟ ก็คือการกำหนดให้ ดอกไม้ไฟ หรือ ดอกไม้เพลิง ซึ่งนิยามตามประกาศหมายรวมถึง พลุ ประทัดไฟ ประทัดลม และวัตถุอื่นใดอันมี สภาพคล้ายคลึงกัน เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ซึ่งสิ่งที่ดอกไม้ไฟต้องแสดงไว้บนฉลากเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภค นอกจากรายละเอียดสำคัญพื้นฐานอย่าง -ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้า -สถานที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้ขาย -ปริมาณ ขนาด หรือน้ำหนักของสินค้า -วิธีใช้ -ข้อแนะนำในการใช้ หรือห้ามใช้ -คำเตือน -วันเดือนปีที่ผลิต -ราคา ตามข้อกำหนดในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 แล้ว ยังต้องมีการแสดงข้อมูลเฉพาะที่ได้มีการกำหนดเพิ่มเติมในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 36 พ.ศ. 2556 เรื่อง ให้ดอกไม้เพลิงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยรายละเอียดข้อมูลที่ต้องมีบนฉลากสินค้าดอกไม้ไฟ มีดังนี้ 1. ผู้เล่นดอกไม้เพลิงที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี ต้องอยู่ในการกำกับดูแลของผู้ใหญ่ 2. ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก 3. ไม่ควรเก็บรักษาไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง 4. ไม่ควรจุดไฟใหม่ หากจุดชนวนแล้วไม่ติด 5. ควรเล่นในที่โล่งกว้าง ห่างไกลจากวัตถุไวไฟ นอกจากนี้ยังต้องมีคำเตือน ที่ระบุว่า “อันตรายอาจถึงตายหรือพิการหากเล่นไม่ถูกวิธี หรือคึกคะนอง” โดยข้อความที่เป็นคำเตือนต้องใช้ตัวอักษรเส้นทึบขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่น ในกรอบสี่เหลี่ยม สีของกรอบและข้อความต้องตัดกับสีพื้นของฉลาก ซึ่งประกาศฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 นี้เป็นต้นไป   โดยใน พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ได้มีการระบุโทษของผู้ที่จำหน่ายพลุ ดอกไม้ไฟ ดอกไม้เพลิง ที่ไม่มีฉลาก หรือมีฉลากไม่ถูกต้อง มีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   เล่นพลุไม่ระวัง ทำคนอื่นเดือดร้อน มีสิทธินอนคุก อันตรายจากการเล่นพลุและดอกไม้ด้วยความประมาทจนนำไปสู่อุบัติเหตุนั้น นอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับตัวเองแล้ว ใครที่เล่นพลุและดอกไม้ไฟแล้วไปสร้างความเสียหายเดือนร้อนให้กับคนอื่นๆ ถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เรื่องความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน มาตรา 220 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของ ตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท และยิ่งถ้าหากรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 224 มิสิทธิโดนลงโทษสูงสุดถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต   ข่าวพลุระเบิด เมื่อไรจะเงียบเสียง 14 ส.ค.49 รถเทรลเลอร์บรรทุกดอกไม้ไฟนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย มายังจังหวัดสงขลา ได้เกิดระเบิดขึ้นขณะขนถ่ายเข้าเก็บภายในโกดัง ทำให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 2 ราย ซึ่งการระเบิดขึ้นมีความรุนแรงมาก เนื่องจากพลุที่เริ่มระเบิดภายในรถเทรลเลอร์ได้ลุกลามไปยังพลุและดอกไม้ไฟที่อยู่ในโกดัง ทำให้การระเบิดขยายวงกว้างขึ้น 31 ธ.ค.53 ดารานายแบบชื่อดัง ''สมเจตน์ สะอาด'' เสียชีวิตจากการถูกพลุระเบิดใส่เข้าที่ใบหน้า สาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุจากการที่ตัวนายแบบตั้งใจจะเข้าไปดับพลุที่เตรียมไว้เพื่อจุดในงานส่งท้ายปีเก่า ซึ่งเกิดติดขึ้นมาก่อนเวลาที่ตั้งใจไว้ ระหว่างที่เห็นพลุเกิดมีควันลอยออกมานายแบบหนุ่มตั้งใจก้มลงไปที่พลุเพื่อดับชนวน พลุก็เกิดระเบิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิด  ลูกไฟจากแรงระเบิดกระแทกเข้าใบหน้าของนายแบบหนุ่ม ทำให้เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ 17 ม.ค.54 ที่จังหวัดอยุธยา เกิดเหตุระเบิดจากพลุและดอกไม้ไฟ มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บสาหัสอีก 1 ราย สาเหตุเกิดจากบ้านหลังดังกล่าวลักลอบผลิตพลุและดอกไม้ไฟอย่างผิดกฎหมาย แรงระเบิดยังทำให้บ้านอีก 4 หลังรอบๆ ที่เกิดเหตุ ได้รับความเสียหายพังราบเป็นหน้ากลอง 24 ม.ค. 55 งานตรุษจีนสุพรรณบุรี ปีทองมังกรสวรรค์ ณ อุทยานมังกรสวรรค์ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้เกิดเหตุดอกไม้ไฟระเบิด ซึ่งถือเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากพลุและดอกไม้ไฟที่สร้างความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประเทศไทย สาเหตุจากพลุและดอกไม้ไฟจำนวนมากที่ถูกเตรียมไว้แสดงในงานเกิดระเบิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิด เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 4 ราย บาดเจ็บมากกว่า 70 ราย มีบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้รุนแรงถึงขั้นไร้ที่อยู่อาศัยมากกว่า 50 ครอบครัว 27 ส.ค.56 ถังเก็บดินระเบิดที่ผสมแล้วของโรงงานทำพลุซึ่งมีเจ้าของเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ต.ชัยฤทธิ์ อ.ไชโย จ.อ่างทอง เกิดระเบิด จนเป็นเหตุให้ทั้งโรงงานผลิตพลุ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และบ้านเรือนใกล้เคียงอีก 3 หลัง ได้รับความเสียหาย โรงงานพลุแห่งนี้ ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง มีการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ แต่ก็ยังเกิดอุบัติเหตุขึ้นโดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน 9 มิ.ย.56 โรงงานผลิตพลุ ในตำบลสวนแตง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้เกิดเหตุระเบิดรุนแรง จนทำให้โกดังเก็บพลุจำนวน 6 หลัง บ้านพัก และรถยนต์ 4 คันที่อยู่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ถูกแรงระเบิดได้รับความเสียหายทั้งหมด โดยจำนวนพลุทั้งหมดที่ถูกเก็บไว้ในโกดังมีมากกว่า 700 ลูก ที่น่าคิดคือโกดังแห่งนี้เคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับยึดพลุที่อยู่ในโกดังมาแล้วเมื่อปี 54 เพราะสุ่มเสี่ยงต่ออันตราย แต่ก็ยังมาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นในที่สุด 22 ต.ค. 56 เกิดเหตุโกดังเก็บพลุ ดอกไม้ไฟ และโคมลอย ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สาเหตุคาดว่าเกิดจากประกายไฟจากการก่อสร้างในบริเวณใกล้เคียง กระเด็นมาติดกับพลุและดอกไม้ไฟ ที่ถูกเก็บไว้ในโกดัง เพื่อเตรียมจำหน่ายช่วงวันลอยกระทง เป็นผลให้เกิดการระเบิดขึ้น ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บอีก 5 คน //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 151 ภัยจากพิษตะกั่วในสีทาอาคารกับความเสื่อมถอยของสติปัญญาชาติ

องค์ความรู้ทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ไม่มีระดับของสารตะกั่วในร่างกายที่ถือว่าปลอดภัยต่อสุขภาพ ในระดับโลก มีงานศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารตะกั่วในเลือดกับพัฒนาการทางสมองเด็กเมื่อปี พ.ศ. 2550 ระบุว่า เด็กชั้นประถมปีที่ 4 จำนวน 8,600 คน ที่ตรวจพบสารตะกั่วในเลือดเพียง 2 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร (ug/dL) มีผลการสอบคณิตศาสตร์และทักษะการอ่านที่ด้อยกว่าปกติ[1] นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆ ที่พบว่าสารตะกั่วส่งผลระยะยาวต่อพฤติกรรมของเด็ก ทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่ก้าวร้าวและเป็นโรคสมาธิสั้น[2] และเมื่อปี พ.ศ. 2553 องค์การอนามัยโลกยอมรับอย่างเป็นทางการแล้วว่า ไม่มีระดับสารตะกั่วในร่างกายที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม[3] สารตะกั่วเป็นโลหะหนักที่ไม่มีประโยชน์ใดๆ ต่อมนุษย์[4] แตกต่างจากโลหะหนักบางชนิดซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายหากได้รับในปริมาณเล็กน้อย ในทางตรงกันข้าม สารตะกั่วเป็นอันตรายต่อสุขภาพแม้ในปริมาณเพียงน้อยนิด เนื่องจากมีพิษต่อสมองและระบบประสาท ตะกั่วสามารถสะสมอยู่ในกระแสเลือดและกระดูก ผู้ใหญ่ที่ได้รับสารตะกั่วต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะมีอาการอ่อนเพลียตามนิ้วหรือข้อมือข้อเท้า รวมถึงมีระดับความดันโลหิตสูงขึ้นและอาจเป็นโรคโลหิตจางได้ ผู้ใหญ่ที่ได้รับสารตะกั่วในปริมาณมากอาจเกิดอาการเนื้อเยื่อสมองเสื่อมได้ด้วย เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงจากพิษตะกั่วสูงกว่าผู้ใหญ่ เพราะร่างกายเด็กดูดซับสารตะกั่วได้มากกว่าผู้ใหญ่ราว 4-5 เท่า นอกจากนี้ สารตะกั่วยังไปขัดขวางพัฒนาการทางสมองของเด็กเล็ก ส่งผลให้สติปัญญาบกพร่องไปตลอดชีวิตได้ ในประเทศไทย “ค่าที่ยอมรับได้” ของสารตะกั่วในเลือดเด็ก คือ 10 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร (ug/dL) ขณะที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า การมีสารตะกั่วในเลือดเพียง 5 ug/dL ก็จะทำให้ระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ของเด็กลดลง[5] และยังระบุว่า “โรคปัญญาอ่อนจากพิษตะกั่ว” (lead-caused mental retardation) เป็นหนึ่งในสิบอันดับแรกของโรคร้ายแรงที่สุดอันเกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารตะกั่วเป็นต้นเหตุให้เด็กมีความบกพร่องทางสติปัญญาปีละกว่า 600,000 คน[6]   ตะกั่วจากสีเข้าสู่ร่างกายเราได้อย่างไร งานวิจัยเมื่อปี พ.ศ. 2551  แสดงให้เห็นว่า เด็กที่อาศัยในบ้านที่มีฝุ่นจากสารตะกั่วในสี จะมีระดับสารตะกั่วในเลือดสูงกว่าปกติ และหากบ้านมีฝุ่นตะกั่วมาก เด็กก็จะมีระดับตะกั่วในเลือดสูงมากเช่นกัน[7] เนื่องจากสารตะกั่วจากสีสามารถเข้าสู่ร่างกายง่าย ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องกำหนดมาตรฐานของอาคารที่พักอาศัยให้มีสารตะกั่วในฝุ่นได้ไม่เกิน 40 ไมโครกรัมต่อตารางฟุต (ug/ft2) สารตะกั่วในสีเข้าสู่ร่างกายได้สองทาง คือ การหายใจและการกิน ผู้ใหญ่ส่วนมากได้รับสารตะกั่วจากการหายใจและสูดฝุ่นสีที่อาจฟุ้งกระจายออกมาระหว่างการขูดลอกสีเก่าเพื่อทาสีใหม่ หรือจากสีที่หลุดลอกเองตามธรรมชาติ  สำหรับเด็กเล็ก ส่วนใหญ่จะได้รับสารตะกั่วจากสีโดยการกิน ทั้งด้วยความตั้งใจและไม่ตั้งใจ เนื่องจากเด็กวัย 1 - 6 ขวบ มีพฤติกรรมอยากรู้อยากเห็นและมักหยิบของเข้าปาก ทั้งนี้ เด็กอาจกลืนฝุ่นและดินรอบตัวได้ถึงประมาณวันละ 100 มิลลิกรัม โดยที่ระบบทางเดินอาหารของเด็กจะดูดซึมสารตะกั่วได้มากถึงร้อยละ 50 ของทั้งหมดที่รับประทานเข้าไป แตกต่างจากระบบทางเดินอาหารของผู้ใหญ่ ซึ่งดูดซึมสารตะกั่วได้เพียงร้อยละ 10 ฉะนั้น พ่อบ้านแม่บ้านทั้งหลายจึงควรระวังอย่าให้ลูกหลานหยิบแผ่นสีเข้าปาก และหมั่นทำความสะอาดพื้นผิวในบริเวณที่เด็กเล่นอยู่เสมอด้วยการถูพื้น เนื่องจากฝุ่นตะกั่วยากต่อกำจัดโดยการกวาดและไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า   ไทยยังเป็นประเทศที่ไม่มีมาตรฐานบังคับเรื่องปริมาณตะกั่วในสี ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมเคมีทำให้มีสารทดแทนที่จะใช้ผสมในสีทาอาคารได้ดีและปลอดภัยกว่าสารตะกั่วทุกชนิดมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 (ช่วง พ.ศ. 2523) เป็นต้นมา ขณะเดียวกันก็มีหลายประเทศทั่วโลกที่ทยอยประกาศห้ามใช้สารตะกั่วในสีทาอาคารมาอย่างต่อเนื่อง เช่น สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2521) สหภาพยุโรป (พ.ศ. 2532) ออสเตรเลีย (พ.ศ. 2540) จีน (พ.ศ. 2550) เป็นต้น แต่บางประเทศก็ไม่ถึงกับให้เลิกใช้สารตะกั่วในสีทาอาคารทันที แต่มีการออกข้อกำหนดให้ผู้ผลิตใช้สารตะกั่วได้เพียงเล็กน้อย คือ ไม่เกิน 600 ppm เช่น สิงคโปร์ (พ.ศ. 2547) บราซิล (พ.ศ. 2551) แอฟริกาใต้ (พ.ศ. 2551) ฯลฯ ขณะที่บางประเทศแนะนำให้ผู้ผลิตสีเลิกใช้สารตะกั่วโดยสมัครใจ และบังคับใช้มาตรการทางการค้าเพื่อกีดกันผลิตภัณฑ์สีที่มีสารตะกั่วปนเปื้อน ยกตัวอย่างเช่น สมาคมผู้ผลิตสีของญี่ปุ่นจะรับรองเฉพาะผลิตภัณฑ์สีทาอาคารที่ปลอดสารตะกั่วเท่านั้น สำหรับประเทศไทย สีทาอาคารปลอดสารตะกั่วหรือใช้สารตะกั่วในปริมาณน้อยเริ่มมีวางจำหน่ายในท้องตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520[8] และมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับผลิตภัณฑ์สีประเภทต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 อย่างไรก็ตาม มาตรฐานดังกล่าวยังเป็นมาตรฐานแบบสมัครใจ ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย รวมทั้งยังไม่มีมาตรการเสริมอื่นๆ การผสมสารตะกั่วในสีจึงถูกฝากไว้กับความตระหนักต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตสีแต่ละราย ในสถานการณ์จริงพบว่า ปัจจุบันผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังมีการผลิตและจำหน่ายสีที่ใช้สารตะกั่วในปริมาณสูง รวมถึงผู้ผลิตบางรายหรือบางบริษัทยังมีการผลิตสีต่างยี่ห้อต่างมาตรฐานกัน โดยที่มีข้อโต้แย้งจากผู้ผลิตสีบางรายว่า การเลิกใช้สารตะกั่วในสีน้ำมันจะทำให้ต้นทุนการผลิตสีสูงขึ้นและจะทำให้ราคาขายแพงขึ้น   ผลิตภัณฑ์สีทาอาคารของไทยอุดมด้วยตะกั่ว เมื่อปี พ.ศ. 2552 มูลนิธิบูรณะนิเวศ ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการทดสอบสีทาอาคารทั้งหมด 27 ตัวอย่าง (สีน้ำมัน 17 ตัวอย่างและสีพลาสติก 10 ตัวอย่าง) พบว่า สีน้ำมันที่มีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 600 ppm หรือ 600 ส่วนในล้านส่วน (เกินเกณฑ์มาตรฐาน มอก. 327-2538) มีถึง 8 ตัวอย่าง ส่วนสีพลาสติกไม่พบตัวอย่างที่มีความเข้มข้นของตะกั่วเกิน 90 ppm (มาตรฐานบังคับ สหรัฐอเมริกา) ค่าของตะกั่วที่พบจากการศึกษาในปีนั้น พบว่า บางตัวอย่างมีปริมาณตะกั่วในสีน้ำมันสูงระดับหลายหมื่นถึงเกือบแสน ppm    ผลที่น่าตกใจจากการสำรวจในครั้งนั้นนำมาสู่การสำรวจซ้ำอีกสองครั้ง ซึ่งยังพบปัญหาเช่นเดิม แต่เนื่องจากจำนวนตัวอย่างอาจยังไม่มากพอ ดังนั้นจึงนำมาสู่การทดสอบอีกครั้งในปี พ.ศ. 2556 นี้ โดยเจาะจงตรวจเฉพาะสีน้ำมันทาอาคาร และเพิ่มจำนวนเป็น 120 ตัวอย่าง ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์สีถึง68 ยี่ห้อ การศึกษาสถานการณ์การปนเปื้อนสารตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคารครั้งนี้ ดำเนินการโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ ในฐานะที่เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาชน 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เนปาล อินเดีย และไทย โดยการสนับสนุนจากโครงการ EU SWITCH-Asia และเครือข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม (International POPs Elimination Network - IPEN)   ราคาไม่ใช่ตัวตัดสิน ของถูกก็ปลอดภัยได้ จากงานศึกษาตัวอย่างสีทั้ง 120 ตัวอย่าง รวม 68 ยี่ห้อครั้งนี้ได้พบข้อมูลสำคัญว่า ราคาไม่ได้มีนัยสำคัญกับการปนเปื้อนตะกั่ว โดยตัวอย่างสีที่มีปริมาณตะกั่วต่ำไม่ได้มีราคาแพงกว่าตัวอย่างสีที่มีปริมาณตะกั่วสูง ยกตัวอย่างเช่น จากตัวอย่างสีที่มีขนาดบรรจุ 1/4 แกลลอนหรือประมาณ 1 ลิตร จำนวน 107 ตัวอย่าง มีราคาขายอยู่ระหว่าง 80 – 353 บาท โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70) มีราคาขายอยู่ระหว่าง 100-150 บาท แต่ตัวอย่างสีที่ขายในแต่ละช่วงราคาก็มีตะกั่วเจือปนในช่วงปริมาณที่ค่อนข้างกว้างมาก เช่น ที่ราคาขาย 120 บาท ซึ่งมีตัวอย่างสี 22 ตัวอย่าง พบว่า มีปริมาณตะกั่วตั้งแต่ 26 ถึง 63,000 ppm นอกจากนี้หากพิจารณาราคาขายของตัวอย่างสีที่มีตะกั่วน้อยกว่า 90 ppm ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ราคาขายมีลักษณะกระจายตั้งแต่ 90 บาทถึงเกือบ 300 บาท แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์สีที่ไม่ใช้สารตะกั่วนั้นมีขายทั้งในราคาต่ำและราคาสูง ดังนั้นข้อโต้แย้งจากผู้ผลิตสีบางรายที่ระบุว่าการเลิกใช้สารตะกั่วในสีน้ำมันจะทำให้ต้นทุนการผลิตสีสูงขึ้นและจะทำให้ราคาขายแพงขึ้น จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง   ก้าวสำคัญทางนโยบาย เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรื่อง “ตะกั่วในสีทาอาคาร ภัยที่ป้องกันได้” ที่เสนอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งเร่งด่วนและรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาว โดยเฉพาะการกำหนดให้มาตรฐานปริมาณตะกั่วในสีเป็นมาตรฐานบังคับภายในปี พ.ศ. 2556 เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประกาศให้มีการแสดงปริมาณสารตะกั่วในสีตกแต่งหรือสีทาอาคาร และมีฉลากคำเตือนบนภาชนะบรรจุสีตกแต่งหรือสีทาอาคารที่มีสารตะกั่วเจือปน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อภายในปี พ.ศ. 2556 เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังให้กระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ ออกข้อกำหนดให้ผู้รับเหมาใช้สีที่ควบคุมปริมาณสารตะกั่วในสีทาอาคาร และสีทาเคลือบผิววัสดุที่ใช้ในอาคารและใช้ในโรงเรียน โดยมีปริมาณสารตะกั่วน้อยกว่า 90 ppm รวมถึงข้อเสนอแนะถึงสถาปนิกและสมาคมสถาปนิกสยามให้กำหนดให้สีทาอาคารและสีทาเคลือบผิว วัสดุที่ใช้ในอาคารอยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย เป็นต้น ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 รัฐบาลได้ออกคำสั่งถึงหน่วยงานภายใต้กระทรวงต่างๆ ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร รวมถึง ให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดมาตรฐานสารพิษ เช่น สารตะกั่ว สารหนู และอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์สีทุกชนิดให้เป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มบทบาทการติดตามและสอดส่องพฤติกรรมของผู้ประกอบการที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สีและของเล่นที่มีสารตะกั่วเกินมาตรฐาน ให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารตะกั่วและสารพิษอื่นๆ แก่ผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็ให้โรงเรียนภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สีและอื่นๆ ที่ได้รับมาตรฐาน มอก. เพื่อป้องกันเด็กจากการได้รับสารตะกั่วและสารพิษอื่นๆ สำหรับหน่วยงานราชการก็ให้เลือกใช้สีที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. ในงานจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ     ตะกั่วในกระแสโลก  ในระดับนานาชาติ องค์การอนามัยโลก (WHO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ร่วมมือกันก่อตั้งพันธมิตรระดับโลกเพื่อเพิกถอนสารตะกั่วจากสี (Global Alliance to Eliminate Lead Paint – GAELP) เป้าหมายสำคัญคือการป้องกันเด็กไม่ให้ต้องรับอันตรายจากสารตะกั่วในสีและลดความเสี่ยงของคนงานจากสารตะกั่ว ทั้งยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เลิกการผลิตและการขายสีผสมสารตะกั่ว และทำให้สังคมปลอดภัยจากสีผสมตะกั่ว องค์การอนามัยโลกและ UNEP เริ่มเปิดศักราชงานรณรงค์ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นี้โดยสนับสนุนให้ทุกประเทศร่วมกันจัด “สัปดาห์ป้องกันภัยจากพิษตะกั่ว” พร้อมกันในระหว่างวันที่ 20-26 ตุลาคมนี้   ขอเชิญชวนทุกท่านสนับสนุนให้ “เด็กไทยปลอดภัยจากสารตะกั่ว”   โดยร่วมส่งภาพถ่ายลูกหลานตัวน้อยของท่าน เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปสเตอร์เผยแพร่ เพื่อรณรงค์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กและผู้บริโภคจากพิษตะกั่วในสีทาอาคาร   กรุณาส่งภาพถ่ายใบหน้าของเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ซึ่งอยู่ในความปกครองของท่าน มายัง LeadFreeThailand@gmail.com พร้อมชื่อและที่อยู่ เพื่อทีมงานจะจัดส่งโปสเตอร์กลับไปให้ท่านทางไปรษณีย์   หรืออาจส่งภาพถ่ายมาทางไปรษณีย์ ถึง มูลนิธิบูรณะนิเวศ 211/2 ซ.งามวงศ์วาน 32 ต.บางเขน อ.เมือง นนทบุรี 11000 หมดเขต 10 ตุลาคมศกนี้   ตัวอย่างฉลากเตือนภัยเรื่องสารตะกั่วในสี   ระวัง! คุณอาจทำให้ฝุ่นตะกั่วฟุ้งกระจายจากการขูด ขัด หรือลอกสีเก่า สารตะกั่วเป็นพิษ การได้รับฝุ่นตะกั่วอาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น สมองเสื่อม โดยเฉพาะในเด็ก สตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการได้รับฝุ่นตะกั่วเช่นกัน ควรใช้หน้ากากหายใจเพื่อจำกัดการได้รับสารตะกั่ว และควรทำความสะอาดด้วยเครื่องดูดฝุ่นและการเช็ดถูด้วยน้ำ ก่อนจะขูดลอกสีเก่า ควรสอบถามข้อมูลเรื่องการปกป้องตนเองและครอบครัวโดยติดต่อสายด่วนข้อมูลสารตะกั่ว หรือเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สหรัฐฯ www.epa.gov/lead   [1]Miranda ML, Kim D, Galeano AO, et al. The relationship between early childhood blood lead levels and performance on end-of-grade tests. Environ Health Perspect 2007; 115: 1242-1247. [2]Braun JM, Kahn RS, Froehlich T, et al. Exposures to Environmental Toxicants and  Attention Deficit  Hyperactivity Disorder in US Children. Environ Health Perspect  2006; 114: 1904-1909. [3] WHO, 2011. Evaluation of certain food additives and contaminants: 73rd report of the Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives. apps.who.int/ipsc/database/evaluations/chemical.aspx?chemID=3511 สืบค้นเมื่อ 21 ก.ค. 56 [4] Staudinger, K.C. and V.S. Roth. Occupational Lead Poisoning. Am Fam Physician. 1998 Feb 15; 57(4):719-726. สืบค้นจาก http://www.aafp.org/afp/1998/0215/p719.html เมื่อ 1 กันยายน 2556 [5] WHO, 2010. Childhood Lead Poisoning. http://www.who.int/ceh/publications/leadguidance.pdf  สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2556 [6] WHO, 2010. Exposure to lead: a major public health concern. http://www.who.int/ipcs/assessment/public_health/lead/en/index.html สืบค้นเมื่อ 14 ส.ค. 56. [7] Jacobs, DE et al. The relationship of housing and population health: a 30-year retrospective analysis. Environ Health Perspect. 2009 April; 117(4): 597-604. [8] www.toagroup.com/th/about/8/25-ก้าวสำคัญ.html

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 150 ทำไมต้องสนใจการเจรจาเอฟทีเอ ไทยกับสหภาพยุโรป

แล้วกระแสเรื่องการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ก็วนกลับมาสู่ความสนใจของสาธารณะอีกครั้ง หลังการเจรจารอบแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่จัดขึ้น ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม จบลงด้วยการที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำความเข้าใจในข้อเสนอต่างๆ และย้ำเจตนารมณ์ที่จะพยายามสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในปี 2557 โดยจะมีการหารือในรายละเอียดมากขึ้นในการเจรจารอบสอง ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นที่เชียงใหม่ ประเทศไทย ในระหว่างวันที่  16 – 20 กันยายน 2556 นี้ ในโลกที่ทุกประเทศต้องแข่งขันกันในด้านการค้าขาย แน่นอนว่าประเทศไทยไม่อาจเลี่ยงการค้าระหว่างประเทศได้ การส่งออกถือเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และเพราะเหตุที่ต้องแข่งขันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเจาะตลาด การส่งเสริมการส่งออก และการทำให้อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดประเทศคู่ค้าลดน้อยลงนั้นต้องทำผ่านการเจรจาในเวทีระดับต่างๆ เอฟทีเอหรือความตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement : FTA) ก็คือหนึ่งในเวทีการเจรจาที่สำคัญ เป็นระดับความสำคัญขนาดที่ว่ามีผลกระทบต่อความเป็นความตายของคนในประเทศเลยทีเดียว ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยได้ทำเอฟทีเอกับหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกับประเทศจีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย ฯลฯ ซึ่งจากบทเรียนที่ผ่านมานั้น น่าจะทำให้เราได้ประจักษ์ในการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจการค้าหลายประการ และขณะนี้เราก็มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์เดิมอีกครั้ง(อาจร้ายแรงกว่า) เมื่อจำต้องเร่งเปิดเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เพื่อไม่ให้ภาคธุรกิจบางส่วนเสียหายเนื่องจากการเสียสิทธิ จีเอสพี(การให้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร) ที่เคยทำให้ภาคธุรกิจนั้นได้เปรียบคู่แข่งขันจากชาติอื่นในการค้าขายกับสหภาพยุโรป   การให้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(Generalized System of Preferences) หรือ GSP เกิดขึ้นครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเกิดปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในคราวประชุมของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development- UNCTAD) เมื่อปี 2507 ได้มีการเสนอให้มีสิทธิพิเศษ GSP ขึ้น เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งต่อมาในคราวประชุม UNCTAD ปี 2511 ที่ประชุมจึงได้ยอมรับในระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือ GSP โดยกำหนดให้ระบบ GSP ที่ก่อตั้งขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการส่งออก การพัฒนาอุตสาหกรรมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย และอยู่บนหลักการพื้นฐาน 3 ประการ คือ เป็นการให้สิทธิโดยทั่วไป(Generalized) ไม่หวังผลตอบแทน(Non - recipocal) และไม่เลือกปฎิบัติ (Non-discrimination) สำหรับประเทศไทยนั้นใช้สิทธิพิเศษฯ GSP จากประเทศต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2514   ถูกตัดสิทธิ จีเอสพี เหตุที่ไทยต้องเร่งเจรจาเอฟทีเอ “17 ธันวาคม 2555 คณะกรรมาธิการยุโรปออกระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2012 เพื่อประกาศรายการสินค้าตาม Section ที่จะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้โครงการ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559” สหภาพยุโรป หรือ อียู เป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าส่งออกจากไทย ขณะนี้กำลังจะตัดสิทธิพิเศษทางการค้า จีเอสพี (Generalised System of Preferences) ที่เคยให้กับไทยมาเป็นระยะเวลานานหลายปี การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยุโรป เมื่อไทยถูกตัดสิทธิ จีเอสพี จึงเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วสาขาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจะเดินหน้าอย่างไร ซึ่งอันที่จริงแล้วมันมีหลายคำตอบเพื่อการปรับตัวสำหรับโจทย์นี้ แต่สิ่งที่ถูกหยิบมาก่อนมาตรการอื่นใด(ประสานเสียงกันทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาล) คือ ไทยต้องเร่งเจรจา Free Trade Agreement (FTA) กับอียู เพื่อให้ได้สิทธิพิเศษทางภาษีครอบคลุมสาขาส่งออกสำคัญเช่นที่เคยได้รับตามระบบ จีเอสพี โดยทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาลต่างเห็นพ้องกันว่า เป็นมาตรการที่จะช่วยลดผลกระทบจากการถูกตัด จีเอสพี ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งในความเป็นจริงการเร่งรีบเจรจา เอฟทีเอ ระหว่าง ไทย-อียู นี้ไม่แน่ว่าอาจทำให้เสียมากกว่าได้...ก็เป็นได้ สินค้าส่งออกของไทยที่ถูกตัดสิทธิ GSP เรียงตามมูลค่าส่งออก 10 อันดับแรก ในปี 2555 (ม.ค.-พ.ย.) สินค้า มูลค่าส่งออกไปอียู (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วนการพึ่งพาอียู (ร้อยละ) อัญมณีและเครื่องประดับ 1,501.7 11.8 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 347.0 24.4 ปลาทูน่ากระป๋อง 262.6 10.9 กุ้งแปรรูป 225.7 16.7 อาหารสัตว์เลี้ยง 132.9 13.1 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและ อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 98.9 10.3 เนื้อสัตว์และของปรุงแต่ง ที่ทำจากเนื้อสัตว์ 63.3 23.2 ปลาแปรรูป 53.9 10.8 ผักกระป๋ องและแปรรูป 45.1 14.3 โกโก้และของปรุงแต่งที่ ทำจากโกโก้   15.0 20.4   ที่มา กระทรวงพาณิชย์ 10 มกราคม 2556 คนไทยรวยขึ้น ต้นเหตุสำคัญการถูกตัดจีเอสพีจากอียู ในวันที่ 1 ม.ค. 2557 อียูจะทำการทบทวนประจำปีเพื่อตัดชื่อประเทศที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ จากระบบ GSP โดยเน้นหลักการที่จะให้ประโยชน์เฉพาะประเทศที่มีความต้องการจริง หากประเทศไทยยังคงได้รับการจัดอันดับโดย World Bank ตาม GNI per capita ให้เป็น upper-middle income country อีกในปี 2556 นี้  เท่ากับว่าไทยจะครองตำแหน่งนี้ติดกันมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ไม่มีสิทธิได้รับสิทธิ GSP จากอียูอีก ไม่ว่าในสินค้าใดๆ โดยที่อียูให้เวลาปรับตัว 1 ปีหมายความว่าสิทธิ GSP จากอียูอาจจะหมดไปสำหรับทุกตัวสินค้าจากไทยในต้นปี 2558 วันที่ 4 ธันวาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกรอบการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย – สหภาพยุโรป และได้มอบหมายผู้แทนการค้าไทย (ดร.โอฬาร ไชยประวัติ) เป็นหัวหน้าคณะเจรจา และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ที่ประชุมรัฐสภาร่วมฯ ได้มีมติเห็นชอบร่างกรอบการเจรจา กรอบการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปจะครอบคลุมความ   ตกลงด้านการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งการเจรจาอาจแยกเป็นรายฉบับ รวมทั้งภาคผนวกและเอกสารแนบท้ายที่จะมีการเจรจาเพิ่มเติมในภายหน้า สาระสำคัญครอบคลุม 17 ประเด็น 1)            การค้าสินค้า 2)            พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 3)            กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 4)            มาตรการเยียวยาทางการค้า 5)            มาตรการปกป้องด้านดุลการชำระเงิน 6)            มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 7)            อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า 8)            การค้าบริการ 9)            การลงทุน 10)          การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ 11)          ทรัพย์สินทางปัญญา 12)          การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 13)          ความโปร่งใส 14)          การแข่งขัน 15)          การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 16)          ความร่วมมือ 17)          เรื่องอื่นๆ เมื่อพิจารณาจากกรอบการเจรจาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ จะพบว่า การเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียูนี้ มีหลายประเด็นที่ไม่เคยเจรจาเปิดเสรีมาก่อนในเอฟทีเออื่นๆ ทั้งเป็นประเด็นที่มีผลกระทบสูง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองการลงทุนที่เปิดโอกาสให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน และสินค้าทำลายสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เป็นต้น        จึงทำให้เกิดประเด็นร้อนในสังคมขึ้นมาทันใดว่า รัฐบาลจะเร่งเจรจาไปเพื่อผลทางการค้าของสินค้าส่งออกไม่กี่กลุ่ม แล้วยอมละทิ้งผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่หรือ?   สิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าไทยขาดความระมัดระวังในการเจรจา - ยารักษาโรคถูกผูกขาดยาวนานยิ่งขึ้น ยาราคาแพงจะคงอยู่ในตลาดยาโดยไม่มียาที่ถูกกว่าเข้ามาแข่งขัน ส่งผลให้คนจำนวนมากเข้าไม่ถึงยา เข้าไม่ถึงการรักษา เพิ่มภาระกับงบประมาณของประเทศ และระบบหลักประกันสุขภาพจะถูกสั่นคลอน  หากมีการยอมรับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาด้านยา - เปิดทางให้บรรษัทการเกษตรยักษ์ใหญ่เข้ามาผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการผลิตเกษตรกรรมและอาหารจะสูงขึ้นอย่างมาก หากยอมรับประเด็น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพ - เปิดทางให้บริษัทธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลงทุน ทางการเกษตร ด้วยเงินทุนเทคโนโลยี และการเอื้อประโยชน์ทางนโยบายจากรัฐบาล เกษตรกรรายย่อยจะกลายเป็นแรงงานรับจ้างในที่ดินของตัวเอง อาหารถูกผูกขาดและถูกกำหนดราคาโดยบริษัทจากการเปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและการเกษตร - ขณะที่ยารักษาโรคมีราคาแพง สินค้าที่มีอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนจะได้รับการลดภาษีอย่างมโหฬาร เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ จะมีราคาถูก กระตุ้นให้เกิดนักดื่ม-นักสูบหน้าใหม่ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาระโรคใน ระยะยาว และยังจำกัดอำนาจของรัฐในการออกนโยบายและมาตรการเพื่อควบคุมการบริโภค แอลกอฮอล์และยาสูบ - เอฟทีเอนี้ จะเป็นอุปสรรคสำหรับการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข, การคุ้มครองผู้บริโภค, ปกป้องสิ่งแวดล้อม, ช่วยเหลือเกษตรกร, อุดหนุนเอสเอ็มอี ด้วยกลไกที่เรียกว่า “กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน” ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องผ่านอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เรียก ค่าเสียหายจากงบประมาณแผ่นดิน หากรัฐบาลกำหนดนโยบายที่กระทบต่อการหากำไรของ บริษัทข้ามชาติ - ปิดกั้นการเข้าถึงความรู้ทั้งหนังสือและโลกออนไลน์ ผ่านเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและการบังคับใช้กฎหมายที่เกินไปกว่าที่ตกลงไว้ ในองค์การการค้าโลก (WTO) ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- เราไม่ได้ ค้าน FTA แต่เราต้องการ FTA ที่เป็นธรรมกับประชาชน และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงมากกว่า กรรณิการ์ กิจติเวชกุล FTA Watch “เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้มีแค่เรื่องยา แต่ยังมีเรื่องทรัพยากรชีวภาพอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ดังนั้นสิ่งที่เรากำลังทำคือ ทำอย่างไรก็ตามเพื่อให้การเจรจา ผลของการเจรจาเป็นประโยชน์กับประชาชน กับสังคมมากที่สุด โดยที่พยายามลดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุดไม่ใช่เป็นเหมือนกับการเจรจา FTA ครั้งที่ผ่านๆ มา โดยต้องใช้ข้อมูล ใช้การศึกษา ใช้งานวิจัยให้มากที่สุด ถ้าอะไรเป็นผลกระทบไม่ควรจะยอมรับ อะไรที่ยังพอได้ก็ยังสามารถกำหนดระยะเวลาออกไปได้ เพื่อให้มีผลบังคับช้าหน่อย แต่อะไรที่ยอมได้และเป็นประโยชน์กับประเทศไทยก็ยอม แต่ไม่ใช่ว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกดดันของภาคธุรกิจเท่านั้น ปัญหาสำคัญของเรื่องนี้มาจากการที่ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาระดับล่างๆ ทำให้ได้สิทธิพิเศษทางการค้า หรือ GSP หมายความว่าประเทศด้อยพัฒนาที่ส่งสินค้าไปขายจะเสียภาษีน้อยกว่า แต่เมื่อไหร่ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วจะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวอีก ต้องมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งช่วงทศวรรษหลังนี้ประเทศไทย ธุรกิจของไทยมีศักยภาพสูงขึ้นมา ถือเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ระดับสูง 3 ปีติดต่อกัน และเรายังมีสินค้าจำนวนมากที่เคยได้สิทธิ GSP และไปครองตลาดเกิน 17.5% สินค้าบางประเภทที่เขากำหนดก็เกิน 14.5% สินค้าหลายตัวของไทยทยอยหมดสิทธิได้รับ GSP ไปแล้ว และที่ล็อตใหญ่ๆ จะหมดสิ้นปี 2557 เพราะฉะนั้นภาคธุรกิจควรจะปรับตัวเองก่อนหน้านี้ 3-4 ปีแล้ว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่กลับพบว่าภาคธุรกิจไทยไม่ยอมทำอะไรเลย แต่มาเรียกร้องและกดดันรัฐบาลไทยว่าต้องไปเจรจา FTA ให้แล้วเสร็จในปีครึ่ง ให้มันใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2558 เพื่อให้ได้ต่อสิทธินี้อย่างถาวร ซึ่งตรงนี้เราถือว่าเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งเพราะว่ามันจะทำให้การเจรจาด้อยประสิทธิภาพอย่างมาก อินเดียเป็นประเทศใหญ่กว่าประเทศไทย เจรจามาแล้วกว่า 5 ปี กับสหภาพยุโรปยังไม่ยุติ สิงคโปร์ขนาดเป็นประเทศเล็กเขายังเจรจาไป 3 ปีใกล้จะเสร็จแล้ว” โฟกัสมาที่เรื่องยาเพราะไม่ใช่แค่ผลทางธุรกิจแต่มีต่อสุขภาพของคนไทยด้วย ? “เรื่องยา เราต้องบอกว่ามีความพยายามของภาคธุรกิจเอกชนที่จะได้ผลประโยชน์จากการคง สิทธิ GSP พยายามร่วมมือกับสมาคมบริษัทยาข้ามชาติ ใช้คำเรียกยาชื่อสามัญว่าเป็นการทำปลอม ซึ่งน่าแปลกใจมากที่เขาใช้คำเดียวกับทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยใช้บอกกับ ผู้สื่อข่าวว่ายาชื่อสามัญของไทย หรือยาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยเป็นยาปลอมจำนวนมาก แต่คำว่าปลอมของเขาจงใช้ในเรื่องของการปลอมทรัพย์สินทางปัญญา แต่คำว่ายาปลอมในบ้านเราเป็นยาปลอมเรื่องคุณภาพ ยาปลอมตาม พ.ร.บ.ยา ซึ่งพวกนี้ไม่สนใจ พยายามที่จะขยายนิยามออกมาเพื่อที่จะกีดกันยาชื่อสามัญไม่ให้เข้าสู่ตลาด ยาชื่อสามัญมีความสำคัญอย่างไร ก็ย้อนหลังกับไปเมื่อ 10 ปีก่อน ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีการผู้ขาดเพียงเจ้าเดียว ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ต่อคนประมาณ 3-4 หมื่นบาท ตอนนั้นมีเพียงผู้ติดเชื้อที่อยู่ในโครงการทดลองเท่านั้นถึงจะได้ใช้ แต่เมื่อมีการผลิตได้มากขึ้น ประเทศบราซิลผลิตได้ อินเดียผลิตได้ ประเทศไทยผลิตได้ ราคาลดลงเกินกว่าครึ่ง และเมื่อเวลาผ่านมา เมื่อมีจำนวนผู้เข้าแข่งขันในตลาดมากขึ้นราคาก็ลดลง ปัจจุบันยา จีพีโอเวียร์ของเราอยู่ที่ประมาณ 700-800 บาทต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่ยาต้นแบบเองก็ลดลงเหลือเพียงไม่กี่พันบาท แบบนี้มันทำให้คนเข้าถึงยาเพิ่มขึ้น ซึ่งชัดเจนว่าสามารถช่วยชีวิตคนได้ เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวเขาได้ต่อไป เรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่ายาชื่อสามัญมีความสำคัญ เราไม่ได้คัดค้านระบบทรัพย์สินทางปัญญา ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้สิทธิผูกขาดกับผู้คิดค้นนวัตกรรมที่มีความใหม่ และมีนวัตกรรมที่สูงขึ้น แต่สมควรได้รับในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการตกลงขององค์กรการค้าโลกระบุไว้ที่ 20 ปี แต่อยู่ๆ คุณบอกว่าจะมาขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี เนื่องจากความล่าช้าในการออกสิทธิบัตร และบวกความล่าช้าในการอนุมัติทะเบียนยา ซึ่งคุณไม่เคยไปดูเลยว่าความล่าช้านั้นเกิดจากเจ้าหน้าที่หรือเกิดจากผู้ที่ มาขอสิทธิบัตรหรือมาขอขึ้นทะเบียนยา ทั้งๆ ที่กรณีการขอสิทธิบัตรถ้าของดีจริง ได้สิทธิบัตรตั้งแต่วันที่ขอยื่นแล้ว ถ้าใครจะไปผลิต ถึงแม้จะยังไม่ได้สิทธิแต่สามารถยื่นโนติสไปให้ผู้ผลิตเหล่านั้นได้ ซึ่งบริษัทยาข้ามชาติในประเทศไทยก็ทำอยู่บ่อย เพียงแต่ถ้ายาของคุณไม่ได้คุณภาพจริง ไม่สมควรได้สิทธิบัตรจริง คนอื่นก็กล้าผลิตเพราะรู้ว่าไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิบัตร หรือแม้แต่กรณีที่มีบางคนอ้างว่าการขึ้นทะเบียนยาใช้เวลาถึง 13 ปีจึงอนุมัตินั้น คิดว่าตัวเลขนี้เป็นการโกหก ถ้าจริงออกมาบอกเลยว่าเป็นยาตัวไหน เพราะว่าจากงานวิจัยเราพบว่าบริษัทยาข้ามชาติที่มาขอสิทธิบัตรในประเทศไทย พยายามขอถ่วงเวลาในการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจ พยายามยืดเวลาออกไป 3-5 ปี เพราะรู้อยู่แล้วว่าในช่วงเวลานั้นถึงอย่างไรก็ได้รับความคุ้มครอง เพราะฉะนั้นก็ไม่รีบร้อนยื่นให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจ ถ้ามีความล่าช้าในส่วนของผู้อนุมัติคุณก็ต้องไปเร่งกระบวนการอนุมัติ ไม่ใช่มาบอกว่าคุณควรต้องได้รับการขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี” จริงๆ แล้วของไทยใช้เวลาขอขึ้นทะเบียนนานแค่ไหน ? “มันไม่ได้นานขนาดนั้นหรอก อย่างขอขึ้นทะเบียนยาใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1 ปี จะมีบางเคสที่ใช้เวลา 2 ปี แต่มีไม่เยอะ ซึ่งเรื่องนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงได้ เขามีตัวเลขเหล่านี้ทั้งหมด ส่วนเรื่องการขอสิทธิบัตรจะอยู่ที่ 4-5 ปี ที่เป็นปัญหาแบบนี้ ก็อย่างที่บอกว่างานวิจัยพบว่าบริษัทที่มาขอสิทธิบัตรไม่ยอมยื่นจรวจสอบ คือยื่นขอแล้ว จะมีระยะเวลาที่จะมาขอยื่นตรวจสอบ หากไม่มาขอยื่นตรวจสอบ กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ แล้วเขาก็ยืดเวลาออกไป 3-5 ปีอย่างนี้ ยืดจนสุดขีดของเขาเพราะรู้ว่าช่วงเวลานั้นจะได้รับการคุ้มครองถ้าสิทธิบัตร ของเขาดีจริง ฉะนั้นไม่ได้เป็นปัญหาจากหน่วยงานราชการของไทยเลย ซึ่งประเด็นนี้คนที่ไม่ได้อยู่ในภาคส่วนที่เกี่ยวกับยามักจะไม่รู้ และยังมีสมาคมบริษัทยาข้ามชาติพยายามไปกรอกหูคนเหล่านี้ให้มาพูดจาโกหก ประชาชน เป็นเรื่องที่เรารับไม่ได้ ยังไม่นับเรื่องที่คุณพยายามใช้ Data Exclusivity เพื่อที่จะได้ผูกขาดข้อมูลทางยา เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มีบริษัทยาข้ามชาติมาขึ้นทะเบียนแล้ว ห้ามคนอื่นมาขึ้นทะเบียนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี จะอ้างว่าเป็นโมเลกุลใหม่ แต่กลับไม่มีระบุไว้ตรงไหนเลยว่าเป็นโมเลกุลใหม่ เนื้อหาคำขอที่ยุโรปยื่นให้อินเดีย ยื่นให้อาเซียนไม่มีคำขอใดบอกเลยว่าเป็นโมเลกุลใหม่ พวกนี้ต้องการใช้วิธีการนี้สำหรับตัวยาที่หมดสิทธิบัตรแล้วแต่ยังไม่ได้ขึ้น ทะเบียน ยาตัวใหม่ที่คิดค้นขึ้นกว่าจะมาถึงบ้านเราก็ช้ามาก การขึ้นสิทธิบัตรถ้าขึ้นช้าจะถือว่าเก่า เพราะฉะนั้นก็ต้องมาขึ้น กว่าที่ยาจะมา กว่าจะมาขึ้นทะเบียนยาก็เก่าแล้ว ถ้าไม่ใช้วิธี Ever greening หรือสิทธิบัตรต่อเนื่อง ไม่ใหม่มากแต่ก็มาต่ออายุไปเรื่อยๆ คือเป็นอีกระบบหนึ่งที่สามารถตั้งราคาได้โดยไม่มีผู้แข่ง เพราะเมื่อไหร่ที่มีคนมาแข่งราคาจะลดลงไปกว่าครึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งที่พยายามทำคือการขัดขวางบริษัทยาชื่อสามัญ และตอนนี้มีความพยายามที่จะบอกว่ายาชื่อสามัญในไทยไม่มีศักยภาพ ซึ่งคิดว่าคนที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจนี้คงจะเข้าใจผิด ในวงธุรกิจเดียวกันเขาเป็นที่ยอมรับว่าบริษัทยาชื่อสามัญในไทยมีศักยภาพ อย่างมาก และตอนนี้หลายเจ้าทำส่งขายในยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมถึงทำให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่ส่งขายในประเทศไทยด้วย” มีข้อเสนอจากภาคธุรกิจว่า เมื่อเป็นกังวลเรื่องยาแพงก็ให้เจรจากันในเรื่องของยาแพง ถ้าหากประเทศไทยยอมตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรป แล้วเจรจาในประเด็นเรื่องยาแพงอย่างเดียวจะเกิดผลอย่างไรกับประเทศไทย ? “เกิดผลกระทบแน่นอน ต้องบอกก่อนว่าคนที่พูดแบบนี้คือไม่เข้าใจระบบการควบคุมราคายาของประเทศไทย เลย ว่าบ้านเราไม่เคยมีระบบนี้อยู่ในประเทศ ดังนั้นเราจะไปคุมราคาเขาไม่ได้ มีแต่กรมการค้าภายในที่บอกว่าราคายาต้องไม่ขายเกินกว่าที่ระบุไว้ที่กล่อง แต่สามารถขายถูกกว่านี้ได้ บ้านเราไม่มีระบบควบคุมราคายา เพราะฉะนั้นการที่อ้างว่าไปเจรจา แล้วบอกเขาว่าหากได้ตรงนี้ไป จะต้องขายไม่เกินเท่านี้ๆ แต่คุณไม่มีกลไกอะไรเลยที่จะไปควบคุมเขา แล้วบอกไว้ก่อนเลยว่า หลัง FTA มีผลบังคับใช้กฎแบบนี้ออกไม่ได้ เพราะถ้าออกมาแล้วบริษัทยาสามารถเอาไปฟ้องร้องดำเนินคดีได้เลย เอาไปฟ้องร้องกับอนุญาโตตุลาการ เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาการควบคุมราคายาของไทยคือ การที่เมื่อไหร่ก็ตามมีคู่แข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น ราคายาในตลาดจะลดลง หรือเขาใช้วิธีการซื้อจำนวนมากแล้วต่อรองราคายา แต่ว่าถ้าซื้อจำนวนมากแล้วมีขายแค่เจ้าเดียวก็ไม่ได้ลดราคาเหมือนกัน ประเทศไทยมีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ทำหน้าที่ผลิตยา จะมียาตัวใหม่ๆ ออกมาเพื่อยันราคายาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่สหภาพยุโรปเรียกร้องอีกข้อหนึ่งคือการตัดแขนตัดขา อภ. คือให้ให้ยกเลิกกฎระเบียบให้ซื้อยากับ อภ.ก่อน ถ้าไม่เกิน 5% ซึ่งปกติโรงพยาบาลแทบไม่ได้ใช้กฎนี้แล้ว เพราะว่าเงินที่ได้รับจากสปสช.จะเข้าไปในลักษณะของเงินบำรุง ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้กฎนี้  ดังนั้นข้อดีของการมี อภ.คือเอาไว้ยันราคา แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ทำให้ อภ.ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ เลยไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ก็ตาม เมื่อนั้นเท่ากับว่าตัดแขน ตัดขา อภ. เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียที่เมื่อก่อนเคยมีองค์การเภสัชกรรมคล้ายกับบ้าน เรา แต่แปรรูปไป หลังจากนั้นยาในมาเลเซียแพงมาก ทุกวันนี้มีผู้ติดเชื้อและใช้ยาเรื้อรังในมาเลเซียมาซื้อยาในประเทศไทยเยอะ มาก เวลาที่คุณเป็นคนรวยมากๆ คุณไม่เข้าใจหรอกว่าคนเข้าไม่ถึงยาเป็นอย่างไร คนที่ผ่านช่วงเวลาเห็นเพื่อนล้มตายเป็นจำนวนมากทั้งๆ ที่มียาแต่มันแพงเกินไปมันผ่านมาแล้วทั้งนั้น ถึงต้องลุกมาบอกว่าไม่เฉพาะยาของผู้ติดเชื้อ แต่รวมถึงยารักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ ด้วย และจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพตาย เพราะว่าถ้าระบบหลักประกันสุขภาพไม่สามารถซื้อได้เพราะยาราคาแพง ระบบหลักประกันสุขภาพก็จะกลายเป็นประกันชั้น 2 ในที่สุดก็จะล้มเหลวถ้าไม่สามารถทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ สิ่งที่ระบบหลักประกันสุขภาพต้องทำคือการต่อรองราคายาให้ถูก การที่มีภาคธุรกิจมาบอกว่าให้ต่อรองราคายาจากเขาลงนั้นเป็นไปไม่ได้ ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนั้นสหรัฐอเมริกากดดันประเทศไทยให้แก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ปี 2528-2535 โดยอ้างว่าจะตัดสิทธิ GSP ไทย พวกธุรกิจที่ส่งออกก็บอกว่าให้ยอมรับไปเถอะเดี๋ยวก็มีการควบคุมราคายาโดยคณะ กรรมการสิทธิบัตรด้านยา จนในที่สุดคณะกรรมการสิทธิบัตรด้านยาก็ถูกยกเลิกไป เพราะว่ามีความตกลงลับๆ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาขณะนั้นว่า ความจริงจะให้ยกเลิกคณะกรรมการชุดนี้หลังจากที่ออกกฎหมายแล้ว ในที่สุดก็ไม่มีตัวควบคุมราคายา แต่คุณได้ประโยชน์จากการได้สิทธิ GSP และขณะนี้ 20 ปี ต่อมาคุณยังจะทำแบบนี้ใช่ไหม คือไม่เคยเลยที่จะคิดถึงประชาชนคนอื่น ไม่เคยเลยที่จะคิดว่าจริงอยู่ที่ธุรกิจของคนทำให้ประเทศชาติก้าวหน้า แต่ว่าผลประโยชน์มันต้องถูกแบ่งปันบ้าง คนที่ยากจนควรมีตาข่ายทางสังคมมารองรับ เราไม่ได้บอกว่าคุณเจรจา FTA ไม่ได้ คุณเจรจาได้ แต่อะไรที่มันเป็นผลกระทบระยะยาว งานวิจัยที่ชี้ออกมาว่าการผูกขาดข้อมูลทางยาทำให้เกิดผลกระทบ 8 หมื่นล้าน จากการขยายอายุสิทธิบัตรอีก 2 หมื่นล้าน ยังไม่นับเรื่องสิทธิบัตรพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ของประเทศอีกประมาณแสนล้าน ถามว่าตรงนี้ใครจะรับภาระ จะเป็นเรื่องผลได้กระจุก ผลเสียกระจายอีกใช่ไหม” จากสถานการณ์ที่คณะเจรจาถูกกดดันจากภาคธุรกิจทำให้ขณะนี้แนวโน้มของการเจรจาคาดว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ? “ตอนนี้ต้องบอกว่าต้องแยกก่อนว่า เราจะเห็นความพยายามของหัวหน้าคณะเจรจาคุณโอฬาร ไชยประวัติ และกรมทรัพย์สินทางปัญหาให้ อย. ดูเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยาเป็นหลัก แต่พี่คิดว่าว่าเขายังให้ดูน้อยเกินไป เพราะว่าดูแค่การขยายอายุสิทธิบัตรและการผูกขาดข้อมูลทางยา แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการคือการแก้ไขการบังคับใช้ กฎหมายของไทยให้เข้มข้นขึ้น ให้ยึดจับยาได้โดยอ้างว่าเป็นเป็นยาปลอม หรือยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าเวลาที่บอกว่ายานี้เป็นยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ฉะนั้นทริปส์ไม่เคยกำหนดว่าให้สามารถยึดจับได้ เพราะว่าสิทธิบัตรต้องไปฟ้องร้องกันในชั้นศาล และดูถึงระดับโมเลกุล ใช้ตาดูไม่ได้ แต่สิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการคือให้ยึดจับเลย ไม่ว่าจะละเมิดหรือยัง หรือเกือบจะละเมิดให้ยึดจับได้ ตามกระบวนการของศาลไทยหากจะมาร้องขอให้ยึดจับโดยอ้างว่าเป็นการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า หรือว่าทรัพย์สินทางปัญญาต้องวางเงินประกัน เพราะศาลเกรงว่าอาจจะมีการกล่าวหาอย่างไม่สมเหตุผล เป็นการกลั่นแกล้งกัน แต่สหภาพยุโรปเขียนเลยว่า “ห้ามวางเงินประกัน” ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ใช้วิธีรังแกเขาเลยสิ แถมยังบอกว่าสามารถหยุดได้ทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นคนส่งวัตถุดิบ คนส่งของ ร้านขายยา แล้วใครยังจะอยากขายยาชื่อสามัญอีก ทั้งที่จริงๆ ไม่ใช่ยาปลอม เพราะยาชื่อสามัญจะผลิตได้ก็เมื่อสิทธิบัตรยานั้นหมดอายุไปแล้ว พี่เลยเข้าใจเลยว่าตอนนี้ทำไมทั้งสหภาพยุโรป ทูตสหภาพยุโรป และสภาหอการค้าไทยและพรีม่าพยายามโจมตีเรื่องยาปลอม ทั้งที่จริงๆ เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลอยากมาก เพราะว่าเขาเอาไปรวมกับยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ยาที่ลักลอบเอาเข้ามา ซึ่งตอนนี้อย.ไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ตรวจจับอยู่แล้ว ตอนนี้เป็นปัญหามาก คิดว่าฝ่ายคณะเจรจาเขาเริ่มดูเรื่องพวกนี้มากขึ้น ทางอย.เขาพยายามที่จะทำเตรียมพร้อมรับการเจรจา และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่ อย.ร่วมกับสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกันทำ ตรงนี้ก็จะเสร็จประมาณเดือนก.ย. นี้ ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเจรจา FTA ไทย ที่มีงานศึกษาที่พร้อมมูลมากกว่าครั้งไหนๆ ที่ผ่านมา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้ใช้งานวิจัยพวกนี้ไหม ถ้าภาคธุรกิจยังมากดดันอยู่ทุกวันว่าต้องเจรจาให้เสร็จภายในสิ้นปีหน้า พวกนี้มันต้องเจรจากันอย่างรอบคอบ ถ้ารู้ว่ามีปัญหาอย่างนี้แล้วจะเขียนอย่างไรให้รอบคอบ เขียนหลบอย่างไรให้ผลกระทบเกิดน้อยที่สุด ซึ่งถามว่าทำได้ไหม ทำได้ เพราะอินเดียเจรจากับสหภาพยุโรปจนสหภาพยุโรปยอมที่จะไม่เรียกร้องการขยาย อายุสิทธิบัตร ไม่เรียกร้องการผูกขาดข้อมูลทางยาแล้ว ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้าอนุสัญญา UPOV 1991[1] ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้า สนธิสัญญาบูดาเปส ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้ากลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน เหลือที่ยังยันกันอย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 บันทึกมดงาน : เรื่องของข้าวสารถุง

“ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้ ค่อนข้างพิเศษ เนื่องจากสิ่งที่เรานำมาทดสอบคราวนี้เป็นสินค้าที่อยู่ท่ามกลางกระแสที่ต้องถือว่าเป็น “เรื่องเล่าสนั่นเมือง” (talk of the town) ประเด็นนี้ร้อนขนาดที่ว่าเกือบ 2 เดือนแล้วยังมีเรื่องให้เป็นข่าวได้ตลอด ใบ้ให้อีกนิดว่าเป็นของที่คนไทยส่วนใหญ่ทานกันทุกวัน ติ๊ก.ต๊อก.ติ๊ก.ต๊อก รู้หรือยังครับว่าผมกำลังพูดถึงอะไร……ถูกต้องนะคร้าบ…ข้าวสารถุง นั่นเอง ซึ่งในเมื่อเป็นเรื่องร้อน มีหรือท่านผู้อ่านฉลาดซื้อจะไม่ได้รับข้อมูล งานนี้หัวหน้ากองบรรณาธิการบัญชาการด้วยตนเอง มีคำสั่งฟ้าผ่าเมื่อปลายเดือนมิถุนายนให้กระผมไปเก็บตัวอย่างข้าวสารถุงมาทดสอบหาความไม่ปลอดภัยมานำเสนอให้กับผู้บริโภคทุกท่านให้จงได้ งานนี้งานใหญ่ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและฉลาดซื้อ จึงเชื้อเชิญมูลนิธิชีววิถีและเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(ไทยแพน) มาร่วมด้วยช่วยกัน(จ่ายเงินค่าทดสอบ) เพื่อตอบโจทย์สำคัญที่กำลังร้อนเรื่องข้าวมีสารเคมีปนเปื้อนหรือไม่   เมื่อบัญชามามีหรือกระผมจะนิ่งเฉย รีบจรลีไปเก็บตัวอย่างข้าวสารถุงจากซูเปอร์มาเก็ต และห้างโมเดิร์นเทรด ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง 6 แห่ง ได้แก่ ห้างเทสโก้ โลตัส, ห้างบิ๊กซี, ห้างแมคโคร, ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, และโฮมเฟรชมาร์ท, กับร้านสะดวกซื้อ 1 แห่ง คือ เซเว่นอีเลฟเว่น รวม 7 แห่ง ในบัดดล แต่ด้วยสินค้ามีเยอะจึงใช้เวลาพอสมควร งานนี้ดำเนินการระหว่างวันที่ 19 – 27 มิถุนายน 2556 ได้ข้าวถุงจำนวน 46 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ข้าวหอมมะลิ 100% จำนวน 15 ตัวอย่าง และข้าวขาวกับข้าวหอมอื่น ๆ อีก 31 ตัวอย่าง โดยส่งตรวจหาคุณภาพข้าวสารถุงใน 5 ด้านที่สำคัญ คือ 1)การตรวจคุณภาพข้าวสารถุง ตามมาตรฐานข้าวสาร กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ 2)สารเคมีทางการเกษตร ยาฆ่าแมลง 2 กลุ่ม ได้แก่ ออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต 3) ยากันรา (fungicide) 4) สารรมควันข้าวเมธิลโบรไมด์ และ 5)  ข้าวสารถุงที่จำหน่ายในท้องตลาดสารพิษจากเชื้อรา – อะฟลาท็อกซิน กับห้องทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ผลการทดสอบ สองอาทิตย์ผ่านไป ตอนเช้าของวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 รายงานผลทดสอบก็ออกจนได้ เราพบว่า…ทั้ง 46 ตัวอย่างไม่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต รวมทั้งไม่พบการตกค้างของยากันรา (fungicide)  อย่างไรก็ตาม พบการตกค้างของสารรมควันข้าวเมธิลโบรไมด์ในตัวอย่างจำนวนมาก ซึ่งมีข้อมูลโดยสรุปคือ ข้าวสารถุงร้อยละ 26.1 หรือจำนวน 12 ตัวอย่างไม่พบสารตกค้างทุกกลุ่ม ได้แก่ 1.ลายกนก ข้าวหอมมะลิแท้ 100%, 2.ข้าวพันดี ข้าวขาว 100% ชั้นดีพิเศษ, 3.ธรรมคัลเจอร์ ข้าวหอมคุณภาพคัดพิเศษ, 4.รุ้งทิพย์ ข้าวขาวเสาไห้, 5.บัวทิพย์ ข้าวหอม, 6.ตราฉัตร ข้าวขาว 15%, 7.ข้าวมหานคร ข้าวขาวคัดพิเศษ, 8.สุพรรณหงส์ ข้าวหอมสุรินทร์, 9.เอโร่ ข้าวขาว 100%, 10.ข้าวแสนดี ข้าวหอมทิพย์, 11.โฮมเฟรชมาร์ท จัสมิน ข้าวหอมมะลิ 100% และ 12.ชามทอง ข้าวขาวหอมมะลิ 100% มีข้าวสารถุง 34 ตัวอย่างหรือร้อยละ 73.9 ที่พบสารรมควันข้าวเมทธิลโบรไมด์ ตั้งแต่ 0.9-67 มิลลิกรัม/กิโลกรัมโดยตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่พบการปนเปื้อนสูงที่สุด คือยี่ห้อ โค – โค่ ข้าวขาวพิมพา พบการปนเปื้อนสูงถึง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ(codex) ที่กำหนดไว้ให้มีการตกค้างได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ข้อสังเกต ใน 34 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของเมธิลโบรไมด์ พบว่ามี 5 ตัวอย่าง ที่มีการตกค้างไม่เกินมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ แต่พบการตกค้างสูงกว่า 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ประกอบด้วย ข้าวแสนดี ข้าวหอม พบการปนเปื้อน 41 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ข้าวตราดอกบัว ข้าวเสาไห้ พบการปนเปื้อน 29.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ข้าวตราดอกบัว ข้าวตาแห้ง พบการปนเปื้อน 28.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, สุรินทิพย์ ข้าวหอมมะลิ พบการปนเปื้อน 27.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และข้าวถูกใจ ข้าวขาว พบการปนเปื้อน 27.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แม้ว่าการตกค้างส่วนใหญ่ที่พบจะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของ codex แต่ว่าในหลายประเทศมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่สูงกว่า codex เช่น อินเดียกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, จีน กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, และไต้หวัน กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเมื่อนำผลทดสอบครั้งนี้มาประกอบการพิจารณา หากเรานำตัวอย่างที่ทดสอบนี้ส่งไปขายต่างประเทศ จะมี 13 ตัวอย่าง (ร้อยละ 28) ที่ไม่สามารถส่งออกไปประเทศจีนได้ และจะมีสูงถึง 25 ตัวอย่าง (ร้อยละ 54) ที่ไม่สามารถส่งไปขายประเทศไต้หวันได้ สถานการณ์ปัจจุบันหลังการเผยแพร่ผลการทดสอบ ผลการทดสอบที่ผู้อ่านเห็นนี้ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 และหลังจากนั้นก็มีการตอบสนองจากหน่วยงานรัฐโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกับคณะกรรมการอาหารออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่ คุมสารเคมีรมควันข้าวโดยร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่...) พ.ศ.2556 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) ซึ่งเป็นการปรับปรุงประกาศเดิมที่อาศัยอำนาจตาม พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 โดยมีการเพิ่มชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรในอาหารในบัญชีหมายเลข 1 เข้าไป 3 รายการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล คือ ไฮโดรเจน ฟอสไฟด์ ให้มีปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมของอาหาร (มก./กก.) สารเมทิลโบรไมด์ ไม่เกิน 0.01 มก./กก. และสารซัลเฟอริล ฟลูออไรด์ ไม่เกิน 0.1 มก./กก. และจะเร่งจัดทำร่างให้แล้วเสร็จเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามส่งต่อเพื่อประกาศลงในราชกิจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ทันที นอกจากนั้นยังได้ทำให้มาตรฐานการผลิตที่ดีขั้นพื้นฐาน (Primary GMP) กลายเป็นมาตรฐานบังคับ (จากเดิมเป็นแบบสมัครใจ) สำหรับข้าวบรรจุถุงและข้าวกระสอบแบ่งขาย และเร่งอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศเพื่อให้พร้อมปฏิบัติการในพื้นที่ ด้านผู้ประกอบการ ได้มีการเก็บสินค้าล็อตที่มีปัญหาประมาณ 3,000 ถุง ออกจากท้องตลาดพร้อมประกาศให้ผู้บริโภคนำสินค้าคืนให้บริษัท ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ เป็นวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 ท่านผู้อ่านที่มีคำถามว่า เรื่องนี้จะจบอย่างไร และความปลอดภัยของข้าวสารถุงของพวกเราเหล่าผู้บริโภคทุกคนจะเป็นอย่างไรต่อไป คงต้องให้สมาชิก “ฉลาดซื้อ” ทุกท่าน คอยช่วยกันติดตามอย่างใกล้ชิดล่ะครับ   ภาคผนวก รู้จักเมธิลโบรไมด์ เมทิลโบรไมด์ มีชื่อเรียกอื่นว่าโบรโมมีเทน หรือดาวฟูม หรือเฮลอน 1001 เป็นสารควบคุมที่อยู่ใน Annex E (ยกเลิกการใช้ทั่วโลก) ของพิธีสารมอนทรีออล เป็นสารเคมีสังเคราะห์ ใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม อย่างกว้างขวาง  สำหรับประเทศไทยถูกกำหนดให้ยกเลิกการใช้ในปี 2558 นี้ สารนี้ มีสูตรทางเคมีว่า CH3Br เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีอะตอมโบรมีนที่มีผลทำลายโอโซนได้มากกว่าคลอรีนถึง 30-60 เท่า และพบว่ามีปริมาณการปล่อยมากกว่า 40,000 ตัน หรือสองเท่าในทศวรรษที่ 80 และยังพบว่าปลดปล่อยจากแหล่งธรรมชาติ เช่น การเผาไหม้มวลชีวภาพถึง 30,000 – 50,000 ตัน/ปี และมากกว่าครึ่งของเมทิลโบรไมด์ที่ผลิตขึ้นจะถูกปล่อยสู่บรรยากาศ ในภาคเกษตร ใช้สำหรับป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ โดยใช้รมควันในดิน ธัญพืช โกดัง และเรือ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสารกำจัดไรและกำจัดวัชพืชด้วย ในภาคอุตสาหกรรม ใช้เป็นสารในการสังเคราะห์สารเคมีอื่นๆ สารตัวนี้ระเหยเข้าสู่บรรยากาศได้รวดเร็ว และแพร่กระจายสู่ชั้นบรรยากาศ แต่ในที่สุดก็จะกลับสู่พื้นโลกโดยมากับฝนหรือน้ำค้าง ส่วนใหญ่อันตรายต่อคนจะเกิดจากการหายใจเข้าไป ทำความระคายเคืองต่อปอด และเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้เกิดการเสพติดได้ด้วย ค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ คือ 9 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ความเป็นพิษในระยะสั้นจะมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศรีษะ มองเห็นไม่ชัด พูดแบบลิ้นพันกัน ถ้าได้รับปริมาณเข้มข้นสูงภายใน 2-3 ชั่วโมงหรืออาจนานถึง 2-3 วัน จะมีอาการเจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด ผิวหนังเป็นผื่นพุพอง ถ้าได้รับระยะยาวระบบประสาทส่วนกลางจะถูกทำลาย มองเห็นไม่ชัด แขนขาชา อาจถึงกับหมดสติ เมื่อถูกผิวหนังจะเป็นแผลคัน หากกลืนกินจะกัดกระเพาะ ปัจจุบันอยู่ในสถานะ   ที่มา: ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี ผู้เขียน รศ.สุชาตา ชินะจิตร 19 ก.ค. 2549  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 148 20 เรื่องที่ไม่อยากให้คุณเป็นไทยเฉย

ไข่ไก่ 2013 คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าราคาไข่ไก่ มันสามารถสะท้อนความสามารถในการดูแลเศรษฐกิจของรัฐบาลได้จริงหรือ งานวิจัย*ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาไข่ไก่ (เบอร์ 3 เพราะเป็นขนาดที่คนนิยมบริโภคมากที่สุด) กับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2542 ถึง เมษายน พ.ศ. 2554 และนำมาหาค่าความสัมพันธ์ระยะยาวด้วยวิธี Johansen Co-integration Test นั้น พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสามเลย ส่วนสาเหตุที่ไข่ไก่นาทีนี้ราคาขึ้นไปถึงฟองละ 5 บาทนั้น ท่านว่ามีอยู่หลายอย่าง ตั้งแต่เรื่องที่คาดเดาได้ เช่น แพงเพราะต้นทุนเพิ่ม ไม่ว่าจะค่าแรง หรือราคาอาหารสัตว์ (ข่าวบอกว่าอาหารเลี้ยงไก่นั้นราคาสูงกว่าไข่ไก่ถึงร้อยละ 76) บ้างก็ว่าไข่ไก่แพงเพราะแม่ไก่อ่อนแอเป็นโรค จึงออกไข่ได้น้อยลง จากที่เคยทำได้ 300 ฟองต่อปี ก็ลดลงมาเหลือ 280 ฟองเท่านั้น  ไหนจะปัจจัยเรื่องลมฟ้าอากาศที่ทำให้แม่ไก่ร้อนอกร้อนใจ ไข่ไม่ค่อยออกอีก นอกจากนี้การที่เนื้อไก่อินเทรนด์เพราะราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ก็ทำให้แม่ไก่จำเป็นต้องเออลี่รีไทร์มาถูกขายเป็นไก่เนื้อเร็วขึ้น และการชะลอการนำเข้าพันธุ์ไก่ไข่เนื่องจากไข่ไก่ล้นตลาดเมื่อปีก่อนก็มีส่วนทำให้มีแม่ไก่ในกระบวนการผลิตน้อยลงเช่นกัน นี่ยังไม่นับไปถึงเรื่องของการมีอำนาจเหนือตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่รายและการเลี้ยงไก่ที่ทำในรูปแบบของเกษตรพันธะสัญญาที่อาจจะน่าวิตกกว่าเรื่องของราคาไข่ด้วยซ้ำ   เราลองข้ามโลกไปดูราคาไข่ไก่ที่ต่างประเทศกันบ้าง ที่อังกฤษนั้นไข่ไก่ก็ราคาสูงขึ้นถึงร้อยละ 40 เพราะผู้คนนิยมบริโภคไข่จากไก่ที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยอาหารดัดแปรพันธุกรรม ประกอบกับข้อกำหนดการเลี้ยงไก่ของสหภาพยุโรปที่ให้มีการปรับปรุงสภาพกรงไก่ สำหรับไก่ไข่ยืนกรง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย ลืมบอกไปว่า ... เดือนกันยายนนี้เตรียมพบกับรายการไข่ไก่ซูเปอร์เซลกันได้ เพราะมีแนวโน้มว่าไข่ไก่จะล้นตลาดกันอีกแล้วพี่น้อง!! งานวิจัยปี 2554 โดย กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ ธนพร ศรียากูล และ ชยงการ ภมรมาศ   ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่ เด็กไทยทุก 10 คน จะมีอย่างน้อย 1 คนที่เป็นโรคอ้วน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความพยายามจากหลายฝ่ายในการช่วยกันหาวิธีจัดการกับปัญหาโฆษณาอาหารเด็ก วายร้ายที่มีส่วนทำลายสุขภาพเด็กไทย ความแรงของโฆษณาขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม ฟาสต์ฟู้ด สามารถสะกดจิตเด็กๆ ให้รบเร้าพ่อ – แม่จนต้องยอมควักตังค์ซื้อหามาเอาใจลูก และอาหารที่โฆษณาทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะหน้าจอทีวีนั้น ต่างอุดมไปด้วย น้ำตาล โซเดียม ไขมัน และพลังงาน ที่มากเกินพอดี ส่งผลเสียต่อสุขภาพเด็กทั้งฟันผุ เบาหวาน ความดันโลหิต แม้ประเด็นปัญหาโฆษณาอาหารสำหรับเด็กจะถูกยกให้เป็นเรื่องต้องจัดการเร่งด่วน แต่ในโลกของความจริง เด็กๆ ยังคงถูกกระตุ้นให้ตกเป็นทาสของอาหารทำร้ายสุขภาพอยู่ตลอดเวลา อย่างกรณีน้ำอัดลมที่มีผลสำรวจว่าร้อยละ 30ของเด็กอายุ 6 – 15 ปี ดื่มน้ำอัดลม 5 – 6 ขวดต่อสัปดาห์ และมีถึง ร้อยละ10 ที่ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน สภาพปัญหาสะท้อนว่ามาตรการที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดปริมาณการโฆษณา การควบคุมช่วงเวลาการออกอากาศ ห้ามแจกของเล่นหรือชิงโชคในขนม ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในทางที่ดีขึ้น สุดท้ายภาระก็คงตกอยู่ที่ผู้ปกครองที่ต้องดูแลลูกๆ หลานๆ อย่างใกล้ชิดแต่เพียงลำพังโดยขาดมาตรการสนับสนุนใดๆ จากรัฐ   BPA กับการเบี่ยงเบนทางเพศ การศึกษาวิจัยถึงอันตรายของ BPA ได้รับความสนใจและโต้เถียงกันยาวนานมาก กว่าจะเป็นที่ยอมรับในปี ค.ศ. 2009 ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค เพราะ Bisphenol A (BPA) เป็นส่วนประกอบสำคัญของพลาสติกและเรซิน ชนิด polycarbonate ที่ใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำวัน ตั้งแต่เคลือบภายในกระป๋องอาหารจนถึงขวดนมทารก BPA เป็นสารรบกวนฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย การได้รับสาร BPA จึงอาจส่งผลทำให้ฮอร์โมนทางเพศในร่างกายเกิดความผิดปกติก่อให้เกิดการเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ และส่งผลให้เกิดการเบี่ยงเบนทางเพศ โดยกลุ่มเสี่ยงสำคัญคือเด็กทารกและเด็กเล็ก ที่มีความสามารถในการกำจัด BPA ออกจากร่างกายได้ต่ำ หลายประเทศจึงสั่งห้ามผลิต นำเข้าและใช้ขวดนมที่ผลิตจากพลาสติกชนิด polycarbonate (PC) ไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป แคนาดา สหรัฐอเมริกา จีน มาเลเซีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ยูเออี บางประเทศแม้ไม่ได้สั่งแบนแต่ผู้ผลิตพร้อมใจกันรับผิดชอบต่อสังคมโดยยกเลิกการผลิตและจำหน่ายขวดนมที่มีสาร BPA ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ประเทศไทยหน่วยงานรับผิดชอบหลักอย่าง อย. สคบ. และสมอ. ยังศึกษาข้อมูลอยู่ โดยคุณแม่ไทยที่ต้องเลี้ยงลูกด้วยขวดนม ต้องใส่ใจใฝ่รู้กันเอาเอง เลี่ยงขวดนมพลาสติกได้ก็เลี่ยง เลี่ยงไม่ได้ให้ใช้ที่เขียนว่า BPA Free และรอมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคจากภาครัฐอย่างมีความหวังต่อไป   จับได้...แต่ไล่ไม่ทัน  ใครที่บ้านติดเคเบิลทีวีหรือดูโทรทัศน์ผ่านจานดาวเทียม คงจะสงสัยเหมือนกันว่า ไอ้ช่องทีวีที่มีให้ดูเป็นร้อยๆ ช่อง ทำไมโฆษณาส่วนใหญ่ถึงได้มีแต่พวกอาหารเสริม ไม่แก้โรคสารพัด ก็เสริมความงาม หรือไม่ก็เสริมสมรรถภาพทางเพศ  เรียกว่าเปิดไปช่องไหนก็เจอ จากที่ไม่สนใจพอดูไปนานๆ อาจจะเคลิ้มเผลอตัวสั่งซื้อมาใช้ไม่รู้ตัว บ้านเรามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาโฆษณาอาหารเสริมที่เป็นปัญหาหลายฝ่าย ตั้งแต่ กสทช. สคบ. อย. สมาคมผู้ประกอบการเคเบิลทีวี และสมาคมโฆษณาไทย แต่การทำงานเหมือนจะยังประสานกันไม่ลงตัว เคเบิลทีวีจึงคงเป็นแหล่งทำเงินของพ่อค้าอาหารเสริม หนึ่งจุดสำคัญที่ทำให้บรรดาพ่อค้าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพโม้สรรพคุณยังคงโฆษณาขายของกันอย่างคึกคัก ก็เพราะบทลงโทษผู้ทำผิดที่แสนจะน้อยนิด คือปรับแค่ 30,000 บาท สำหรับผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาเกินจริง เมื่อปีที่แล้ว อย. ได้ตรวจจับสินค้าที่เข้าข่ายโฆษณาเกินจริงได้กว่า 1,000 รายการ มูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นอาหารเสริมซึ่งขึ้นทะเบียนกับ อย. ถูกต้อง แต่ว่าพอไปทำโฆษณากับโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โม้กันไปใหญ่โต จริงๆ อย.เขาแค่ออกทะเบียนเพื่อรับรองว่ากินได้ไม่ตายเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นใครที่ยังปักใจเชื่อว่าอาหารเสริมที่มี อย. รับรองแล้วต้องเป็นของดี คงต้องคิดใหม่ทำใหม่   ทิ้งกันลง อีก 6 เดือนข้างหน้า  หากไทยเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการออกอากาศโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลได้ คาดว่าจะมีทีวี 20 ล้านเครื่อง ถูกทิ้งและกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่อันตรายแก่ดาวโลก WEEE(Waste from Electrical and Electronic Equipments) เป็นศัพท์ที่หมายถึง ซากเครื่องใช้หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กในการทำงานที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน (off-spec) หรือหมดอายุการใช้งาน หรือล้าสมัย ซึ่งแบ่งเป็น 10 ประเภท ใหญ่ ๆ 1 ประเภทในนั้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ขยะจากทีวีเก่าเป็นสิ่งอันตรายมาก เพราะมีโลหะหนักทั้ง ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท ฯลฯ ซึ่งหากได้รับการจัดการที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมและกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากขยะจากทีวีเก่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ แกดเจทยอดฮิต อย่าง โทรศัพท์ แทบเล็ต ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของขยะที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย  เพราะผู้บริโภคมักเบื่อง่าย อะไรใหม่ก็รีบคว้าไว้ ทิ้งของเก่าให้เป็นขยะ ในยุโรปขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มจำนวนขึ้นร้อยละ 3-5 ต่อปี  ซึ่งเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าขยะประเภทอื่นถึง 3 เท่า เอเชียเองก็ไม่น้อยหน้าชาวโลก เพราะมีการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 12 ล้านตันต่อปี ข้อมูล  : กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , ส่วนของเสียอันตราย, สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ   ไม่มีสาย แต่มีเสี่ยง ข้อมูลล่าสุด ณ ปี ค.ศ. 2011 ระบุว่าร้อยละ 85 ของประชากรโลกมีโทรศัพท์มือถือใช้ (หกพันล้านเลขหมาย) และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นตลอดเวลา อันตรายจากการใช้โทรศัพท์มือถือนั้นเป็นที่ตระหนักกันมาได้ระยะหนึ่งแล้ว และที่มีหลักฐานชัดเจนที่สุดคือการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวและเนื้องอกในสมองในเด็กเล็ก แต่ก็มีงานวิจัยที่ได้ข้อสรุปออกมาในทางตรงข้ามเช่น งานวิจัยของสมาคมโรคมะเร็งเดนมาร์คที่พบว่าอัตราการเกิดมะเร็งของกลุ่มตัวอย่างไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงก่อนมีการใช้โทรศัพท์มือถือ แม้ปัจจุบันมีมาตรการป้องกันอันตรายจากความร้อนที่ปล่อยออกมาจากเครื่องโทรศัพท์ เช่น มาตรฐาน ICNIRP (The International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection) ที่ควบคุมระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กฯ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อของมนุษย์มีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมารองรับ อันตรายอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นในระดับดีเอ็นเอ และสิ่งที่น่ากลัวกว่าสัญญาณจากเครื่องโทรศัพท์ คือสัญญาณจากเสาส่งที่ถูกปล่อยออกมาตลอดเวลา แถมเสาสัญญาณเหล่านี้ อยู่ดีๆ ก็ผุดขึ้นมาแบบไม่ถามชาวบ้านชาวช่องเสียด้วย ถ้าจำกันได้ เมื่อต้นปีชาวบ้านที่พะเยาได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้ประกอบการย้ายเสาสัญญาณออกไปตั้งห่างจากตัวหมู่บ้านอย่างน้อย 400 เมตร เรื่องจบลงที่ผู้ประกอบการถูกปรับ 9,000 บาท แต่ไม่มีการสั่งย้ายเสาแต่อย่างใด การดูแลจัดการเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน แต่ความต้องการสัญญาณคุณภาพ ความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูล (ซึ่งเราเชื่อว่าจะมาพร้อมกับระบบ 3G) ก็ทำให้ผู้ประกอบการตอบสนองด้วยการเพิ่มจำนวนเสาสัญญาณขึ้นอีก ข้อมูลจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระบุว่าขณะนี้มีจำนวนสถานีฐานของผู้ประกอบการเพื่อรองรับบริการ 3G ทั้งหมด 3,650 สถานีทั่วประเทศ แยกเป็น AIS 3,512 สถานี  DTAC 130 สถานี และTRUE Move H อีก 8 สถานี ว่าแต่เราสามารถลดการเพิ่มจำนวนเสาสัญญาณ ด้วยการให้ผู้ประกอบการใช้เสาสัญญาณร่วมกันเหมือนในบางประเทศได้หรือไม่? ที่ผ่านมาผู้ประกอบการให้เหตุผลเรื่องความคล่องตัว จึงต้องต่างคนต่างตั้ง แล้วใครจะช่วยไขข้อข้องใจผู้บริโภคได้บ้าง?   ค้าปลีก หลังจากยินข่าวว่าบริษัทเจ้าของกิจการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ของไทยเข้าซื้อกิจการห้างค้าส่งขนาดใหญ่แล้ว หลายคนอาจวิตกว่านี่อาจหมายถึงการใช้อำนาจผูกขาดที่ทำให้ทางเลือกของผู้บริโภคลดลง เพราะสองเจ้านี้รวมกันก็มียอดขายเกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายจากกิจการค้าปลีกค้าส่งในประเทศแล้ว ข่าวดีคือคุณไม่จำเป็นต้องตกใจมากนัก เพราะเขาเป็นห้างคนละประเภทที่มีลูกค้าคนละกลุ่ม ข่าวร้ายคือทางเลือกของเราถูกจำกัดมานานแล้ว ปัจจุบันเรามีกิจการค้าปลีก 3 รายใหญ่ที่มีอำนาจต่อรองสูง และทั้งหมดถือว่าเข้าข่าย “มีอำนาจเหนือตลาด” ตาม พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 แต่ตามกฎหมายแล้วห้างเหล่านี้ยังไม่ได้กระทำความผิดใดๆ จนกว่าจะใช้อำนาจดังกล่าวกีดกันคู่แข่งไม่ให้เข้าสู่ตลาดได้ กระทรวงพาณิชย์จึงทำได้แค่จับตาดูอย่างใกล้ชิด สิ่งที่น่าห่วงไม่แพ้เรื่องของการผูกขาดคือ เรายังไม่ได้พูดถึงประเด็นเรื่องการค้าที่เป็นธรรมในขณะที่ห้างค้าปลีกเหล่านี้กำลังขยายสาขาออกไปอย่างต่อเนื่อง  ด้วยอำนาจการต่อรองสูง ผู้ประกอบการจึงสามารถกำหนดราคารับซื้อที่ต่ำมากๆ จากเกษตรกรหรือผู้ผลิตสินค้า ซึ่งอาจเป็นผลต่อความยั่งยืน เพราะบรรดาซัพพลายเออร์เหล่านี้อาจถูกบีบจนไม่สามารถทำธุรกิจต่อไปได้ หันไปดูรอบบ้านในอาเซียนกันบ้าง ข้อมูลจากธนาคารไทยพาณิชย์ระบุว่าประเทศไทยเราครองแชมป์ด้วยสถิติอัตราส่วนระหว่างจำนวนร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 370 ร้านต่อประชากรในเขตเมือง 1 ล้านคน ในขณะที่สิงคโปร์และมาเลเซียตามมาติดๆ ที่ 293 และ 208 ร้าน  ส่วนเวียดนาม (ซึ่งมีประชากรมากกว่าไทย 1.2 เท่า) นั้นมีจำนวนร้านค้าปลีกสมัยใหม่น้อยกว่าไทยถึง 50 เท่า   แข่งกันขึ้นราคา ผ่านปี 2556 มาได้ครึ่งทาง สินค้าต่างๆ พาเหรดเดินหน้าขึ้นราคากันอย่างไม่บันยะบันยัง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ ที่ทยอยขึ้นมาแบบต่อเนื่อง ราคาตั๋วรถไฟฟ้า BTS ที่ปรับราคาขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา อ้อ ค่าทางด่วนด้วย ไม่นับรวมพวกสินค้าอุปโภคบริโภคอย่าง หมู เห็ด เป็ด ไก่ พืชผักผลไม้ ที่ขึ้นเอาๆ จนผู้บริโภคอย่างเราได้แต่นั่งมองตาปริบๆ ดูเงินหายไปจากกระเป๋าแบบทำอะไรไม่ได้ แถมแว่วๆ ว่าพอถึงเดือนกรกฎาคม ราคาก๊าซหุงต้มจะปรับเพิ่มขึ้นอีก กระทรวงพาณิชย์ออกมายอมรับตรงๆ ว่ามีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าราคาแพงเข้ามาที่หน่วยงานเป็นจำนวนมาก ขณะที่กรมการค้าภายในที่รับหน้าที่ดูแลราคาสินค้า ก็ถึงกับสะอึกเมื่อเห็นผลการสำรวจราคาสินค้า ที่ปรับขึ้นแทบจะทุกอย่าง โดยเฉพาะผักผลไม้ที่ราคาเขยิบขึ้นมากสุดที่ประมาณ 13.14% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มองแง่ดี คราวนี้ล่ะเป็นโอกาสได้ผอมสมใจ ไม่ต้องเปลืองงบประมาณรณรงค์ลดอ้วนกันแล้ว   ปรับราคาก๊าซหุงต้ม รัฐบาลเอาแน่ หลังงึกๆ งักๆ กันมาได้ครึ่งปี 2556 นี้แล้ว กระทรวงพลังงานก็ประกาศเอาแน่ กรกฎาคมนี้ ราคาก๊าซหุงต้มต้องขึ้นแน่ๆ  จากที่ประกาศเสียงดังไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยจะทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มเดือนละ 50 สตางค์/กก. จากระดับปัจจุบันที่ 18.13 บาท/กก. ให้ขึ้นไปเท่ากับราคาก๊าซ LPG ในภาคขนส่งซึ่งอยู่ที่ระดับ 21.38 บาท/กก. แล้วค่อยพิจารณาการปรับขึ้นราคาทั้งภาคครัวเรือน และภาคขนส่งไปพร้อม ๆ กัน ให้ถึง 24.82 บาทต่อกิโลกรัม ถามว่ากระทบกับประชาชนไหม โถ จะถามทำไม? ไม่กระทบสิแปลก แม้รัฐจะพยายามหาวิธีช่วยบรรเทาปัญหาไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินให้กับผู้ใช้ก๊าซ สูงสุดไม่เกินเดือนละ 36 บาท หรือใช้วิธีแจกบัตรส่วนลดเพื่อซื้อก๊าซหุงต้มในราคาเดิมให้กับพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่-แผงลอย ก็คงช่วยอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่ เพราะเป็นแค่มาตรการระยะสั้น หลอกให้สบายใจมากกว่า รัฐจะเอาเงินที่ไหนมาชดเชยให้ได้มากมาย ข่าวว่าทำโครงการอื่นขาดทุนไปหลายแสนล้านแล้ว ความจริงถ้าขึ้นราคาแล้วผลตอบแทนมันกลับมาช่วยคนส่วนใหญ่ในประเทศ คงไม่อึดอัดเท่ากับรู้ข้อมูลว่า ราคาก๊าซที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งหมดจะเป็นรายได้ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตก๊าซรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ผ่านทางธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงกลั่นน้ำมันที่ ปตท. เข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เหมาะแล้วที่เขาออกมาตั้งคำถามกันมากมายว่า กระทรวงพลังงานไทยเพื่อใคร   นิยมเป็นหนี้ ? นอกจากเราจะได้มีโอกาสเป็นเจ้าของ “บ้านหลังแรก” และ “รถคันแรก” ของขวัญจากรัฐบาลชุดนี้แล้ว คนไทยยังได้ของแถมสุดพิเศษอีกหนึ่งชิ้น นั้นคือ “หนี้ก้อนแรก” ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยที่รวบรวมจากธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ รายงานตัวเลข “หนี้ครัวเรือน” ของประเทศไทยในปี 2555 ภาระหนี้สินต่อครัวเรือนอยู่ที่ 439,490 บาท จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดราวๆ 20 ล้านครัวเรือน โดยหนี้สินครัวเรือนทั้งระบบคิดเป็นเงินถึง 8,818,217 ล้านบาท ตัวเลขหนี้ครัวเรือนนี้ขึ้นทุกปีและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีกเรื่อยๆ แม้จะให้ภาพของการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายมากขึ้น เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น แต่ก็เป็นไปในลักษณะการกู้ยืมกับสถาบันการเงิน เป็นการสร้างหนี้ และอาจส่งผลเสียหากไม่มีการบริหารจัดการหนี้ที่ดี ไม่สามารถชำระหนี้ที่เกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นแบบนั้นระบบเศรษฐกิจทั้งระบบก็จะเจอปัญหา ผู้บริโภคขาดกำลังซื้อ หนี้ที่เกิดขึ้นก็จะกลายเป็นหนี้เสีย สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้แสดงตัวเลขสัดส่วนรายได้ทั้งประเทศและสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลในปี 2555 ที่ผ่านมา โดยรายได้ทั้งประเทศขยายตัวที่ 7.3% ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัว 21.6% ชี้ให้เห็นว่าคนไทยเราก่อหนี้สูงกว่ารายได้ถึง 3 เท่า   TPP กับผู้บริโภค เดือนกรกฎาคมนี้ผู้แทนจาก 12 ประเทศในทวีปอเมริกาและเอเชียแปซิฟิก จะมีการเจรจาข้อตกลง  Trans-Pacific Partnership (TPP) หรือข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแปซิฟิก รอบที่ 18 กันที่ประเทศมาเลเซีย สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International) ได้แสดงความห่วงใยจากมุมมองของผู้บริโภคดังนี้ ทรัพย์สินทางปัญญา ข้อตกลงดังกล่าวจะยกระดับการคุมครองลิขสิทธิ์ให้เข้มกว่าที่องค์กรการค้าโลกยอมรับ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการแข่งขันน้อยลง ในขณะที่ราคาสินค้าลิขสิทธิ์จะเพิ่มสูงขึ้น และงานสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติอาจไม่ได้รับการเผยแพร่ในเวลาอันควร ความเป็นส่วนตัว การลดระดับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ท หมายถึงผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เพราะข้อมูลเหล่านี้อาจถูกนำไปเก็บไว้ในประเทศที่ไม่เข้มงวดเรื่องนี้ เช่นสหรัฐอเมริกา (ที่เพิ่งจะเป็นข่าวไปว่า แอบเก็บข้อมูลโทรศัพท์และการใช้อินเทอร์เน็ตของชาวบ้าน) เป็นต้น อาหารปลอดภัย ความตกลงนี้อาจมีผลต่อการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาหารดัดแปรพันธุกรรม ในประเทศต่างๆ เพราะมีตัวอย่างแล้วว่าข้อตกลงระหว่างประเทศเป็นอุปสรรคในการห้ามนำเข้าสินค้าที่ตนเองรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย เช่นกรณีสหภาพยุโรปถูกองค์กรการค้าโลกลงโทษ เพราะห้ามนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อนฮอร์โมน เพราะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ชัดถึงอันตรายจากการใช้ฮอร์โมนดังกล่าว นอกจากนี้บริษัทยังสามารถฟ้องร้องรัฐบาลได้ในศาลระหว่างประเทศ เช่นที่บริษัทฟิลลิป มอริส กำลังฟ้องรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้ข้อตกลงการค้าระหว่างออสเตรเลียกับฮ่องกง กรณีที่ออสเตรเลียออกกฎหมายให้ซองบุหรี่ต้องเป็นซองที่ไม่มีสีสันดึงดูดใจ   หลัก(ไม่)ประกันสุขภาพ สุขภาพของคนไทยกว่า 50 ล้านคน ฝากไว้กับระบบหลักประสุขภาพถ้วนหน้า จากเดิมที่เป็นความหวังให้คนไทยที่ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีรายได้น้อยให้มีโอกาสได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีมาตรฐานและเท่าเทียม แต่วันนี้ระบบหลักประสุขภาพถ้วนหน้ากำลังส่งสัญญาณที่ชวนให้ต้องเป็นห่วง กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องดำเนินงานโดยถูกปัญหาหลายอย่างรุมเร้า ที่ชัดที่สุดคือเรื่องเงิน ที่โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ในระบบหลักประกันถ้วนหน้าต่างต้องเจอกับภาวะขาดทุน เนื่องจากเงินกองทุนที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นคนจ่าย ไม่เพียงพอกับภาระที่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบ แม้จะมีการให้ผู้เข้ารับการรักษากลับมาร่วมจ่าย 30 บาทอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็คงไม่ช่วยแก้ปัญหาได้มากนักเพราะเป็นการเรียกเก็บแบบสมัครใจ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านคนทำงานที่ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้ารับบริการ รวมทั้งระบบข้อมูลสุขภาพที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง อีกปัญหาที่สำคัญคือความไม่โปร่งใสของผู้บริหารหลักประกันสุขภาพที่ส่งผลต่อการบริหารงานทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทยยังคงเต็มไปด้วยคำถามถึงความจริงใจจริงจังในการดูแลสุขภาพของคนไทย งานหนัก คนไข้มาก ยังเป็นอีกปัจจัยที่เร่งให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในภาครัฐ หนีไปซบอกเอกชนที่จ่ายค่าตอบแทนสูง และงานหนักน้อยกว่า   การแพทย์เชิงท่องเที่ยว ช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการแพทย์เชิงท่องเที่ยวของไทยเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดสุดๆ ถึงร้อยละ 13 ต่อปี จนอาจกล่าวได้ว่าไทยคือหนึ่งในผู้นำของธุรกิจนี้ จากข้อมูลประมาณการของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระบุ จำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ารับบริการการรักษาพยาบาลในประเทศไทย คือ 1.98 ล้านคน ปี 2553 และ 2.24 ล้านคน ปี 2554 ซึ่งเมื่อเทียบกับปี  2547 ที่มีประมาณ 1.1 ล้านคน นับว่าเพิ่มเป็นเท่าตัวในเวลาเพียงไม่นาน โดยร้อยละ 60 เป็นคนต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศ และร้อยละ 30 เป็นกลุ่มที่ตั้งใจเดินทางมารับบริการทางการแพทย์โดยเฉพาะ การเติบโตนี้ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลอำนวยความสะดวกเต็มที่  ล่าสุดคือการยกเว้นวีซ่าให้กับคนไข้และญาติที่จะเข้ามารักษาตัวในเมืองไทย สำหรับ 6 ประเทศในตะวันออกกลาง ได้แก่ คูเวต บาห์เรน โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยเป็นลูกค้ากระเป๋าหนักและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าทำแล้วสำเร็จ รัฐยังเล็งเป้าเรื่องการยกเว้นวีซ่าให้กับประเทศที่มองว่าน่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าชั้นดีอื่นๆ ด้วย จากการแพทย์เชิงท่องเที่ยวที่นำรายได้เข้าประเทศอย่างมากมายนี้ รัฐบาลจึงเร่งดำเนินโครงการเมดิคัลฮับอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มดึงเอาโรงเรียนแพทย์เข้ามาเปิดแข่งขันกับโรงพยาบาลเอกชนด้วย หลายฝ่ายเลยเกิดความกังวลขึ้นว่า ต่อไปประเทศไทยจะเกิดการรักษาสองมาตรฐานขึ้นหรือไม่ ระหว่างคนไทยที่ใช้ระบบประกันสุขภาพที่ยังมีปัญหา กับคนต่างชาติที่ได้รับการดูแลอย่างดีจากทรัพยากรทางการแพทย์ที่รัฐไทยและคนไทยเป็นผู้ลงทุน   “แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส” บทเรียนราคาแพง ผ่านมา 1 ปีกว่า การจัดการแก้ปัญหาเรื่องแคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส มาถึงตรงที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบแล้วว่าแคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส มีการกระทำที่เข้าข่ายกระทำความผิด ฐานฉ้อโกงประชาชน เพราะในช่วงเวลาที่กิจการมีปัญหาถูกประกาศล้มละลายจนต้องปิดให้บริการในหลายสาขา แต่ก็ยังพบว่าบริษัทได้โอนเงินออกไปต่างประเทศ โดยระหว่างที่ปิดให้บริการ แคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส ก็ไม่เคยออกมาแสดงความรับผิดชอบใดๆ ซ้ำยังมีการหักเงินค่าบริการผ่านบัตรเครดิตของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จากนี้ ป.ป.ง. ก็จะร่วมมือกับ สคบ. และกรมบังคับคดีเพื่อติดตามยึดทรัพย์นำมาเฉลี่ยชดเชยให้กับผู้เสียหายที่มีมากกว่า 1,700 ราย รวมความเสียหายแล้วสูงถึง 50 ล้านบาท กรณีแคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟิตเนส ถือเป็นอุทาหรณ์ที่ดี สำหรับคนที่กำลังคิดจะทำสัญญาใช้บริการต่างๆ ที่ต้องมีการจ่ายเงินด้วยวงเงินสูงๆ และผูกพันสัญญากันระยะยาว เพราะเงินที่จ่ายไป ไม่ว่าจะด้วยความเชื่อมั่นในชื่อเสียงของเจ้าของบริการ หรือถูกชักจูงหว่านล้อมจนยอมจ่าย เงินของเราอาจหายไปในพริบตาหากเจอผู้ประกอบการที่ไร้จริยธรรม   แบนสารเคมีการเกษตร ความพยายามอยู่ที่ไหน ไทยเรานำเข้าสารเคมีการเกษตรสูงเท่ากับตึกใบหยก 2 หรือประมาณ 520,000 ตัน คิดเป็นเงินมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยสารเคมี 4 ชนิด คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และ อีพีเอ็น ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่อันตรายร้ายแรงรวมอยู่ในนั้นด้วย จากความพยายามของกลุ่มนักวิชาการและเกษตรกรที่รวมตัวกันเพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีเกษตรอันตราย 4 ชนิดข้างต้น ที่ผ่านมาเกือบใกล้จะเป็นความจริงแล้ว หากไม่ถูกคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานบอก “ไม่รับรองการขอยกเลิกการขึ้นทะเบียน” ไปเสียก่อน ท่านคณะกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายท่านไม่เชื่อข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรจัดทำมาประกอบการเสนอให้ยกเลิก แถมยังให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นใหม่เพื่อให้ภาคเอกชนบริษัทนำเข้าสารเคมีนำข้อมูลมาแย้งกับข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร แล้วมีหรือที่บริษัทนำเข้าสารเคมีจะทำข้อมูลเพื่อให้สินค้าของตัวเองถูกแบน เป็นเสมือนการเปิดช่องให้บริษัทสารเคมียังขายสินค้าได้ต่อไปในระหว่างที่ยังรอการนำเสนอข้อมูล เอาน่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น กลุ่มรณรงค์ยังคงต้องทำงานกันต่อไปเพื่อผลักดันให้เกิดการยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีอันตราย ซึ่งถ้าการยกเลิกการขึ้นทะเบียนเป็นผลเมื่อไหร่ ก็หมายถึงผู้บริโภคจะได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมีมากขึ้นไปด้วย   แร่ใยหิน แม้ปัจจุบันไทยได้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินชนิดต่างๆ ไปหมดแล้ว แต่ตัวที่ร้ายที่สุด คือแร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ หรือ ไวท์ แอสเบสตอส ยังมีวางจำหน่ายอยู่ ซึ่งอาจจะมีคนไทยป่วยเป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอดอย่างน้อย 1,295 คนต่อปี จากแร่ใยหิน หากยังฝืนใช้กันต่อไป มีหลักฐานทางการแพทย์ชิ้นใหม่ๆ ออกมาสนับสนุนอยู่ตลอดเวลาว่า แร่ใยหิน ชนิดไครโซไทล์ (Chrysotile)  เป็นส

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 147 ชวนกันเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอล

คาดว่าในระยะปีหรือสองปีต่อไปนี้ การรับชมโทรทัศน์ของคนไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง จากที่เคยดูฟรีทีวี(ช่อง 3,5,7,9,11 และไทยพีบีเอส) ได้เพียง 6 ช่อง คนไทยจะสามารถดูฟรีทีวีได้ถึง 48 ช่อง ด้วยภาพและเสียงที่คมชัดในระบบดิจิตอล นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อาจเทียบได้กับเมื่อครั้งที่เราเปลี่ยนจากการรับชมทีวีภาพขาวดำเป็นทีวีภาพสี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือการก้าวเข้าสู่โลกของ “ทีวีดิจิตอล” นั่นเอง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ต้องนับว่าเร็วมาก จนหลายคนอาจจะตามไม่ทัน และเริ่มมีความกังวลกับ  "ทีวีที่บ้านของตัวเอง" ว่าจะยังรับชมรายการได้ตามปกติหรือเปล่า? แล้วจะซื้อทีวีใหม่ตอนไหน? แล้วทีวีดาวเทียมกล่อง Set top Box ที่มีอยู่เต็มบ้าน ถ้าเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล จะดูได้หรือไม่ จะต้องเปลี่ยนอีกหรือเปล่า? หลากหลายคำถามที่เกิดขึ้น หลายคนก็ยังไม่รู้คำตอบ เอาเป็นว่า เรามาเตรียมความพร้อมไปกับฉลาดซื้อด้วยกันเลย   Time line การออกอากาศรายการโทรทัศน์ไทย เริ่มออกอากาศรายการโทรทัศน์ในระบบขาวดำเป็นครั้งแรกในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม พ.ศ. 2498 โดยใช้ชื่อว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม" พัฒนาจากโทรทัศน์ระบบขาวดำมาสู่โทรทัศน์ระบบสี พ.ศ. 2510 คนไทยสามารถรับชมโทรทัศน์(ฟรี)ได้ 6 ช่อง ภายใต้ระบบสัมปทานผูกขาดยาวนาน โดยบริษัทและหน่วยงานรัฐไม่กี่หน่วยงาน เกิด กสทช. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ปี พ.ศ. 2550 ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นโทรทัศน์เพื่อความเหมาะสมของประเทศ(ยกเลิกการผูกขาด) ปลายปี 2556 การออกอากาศรายการโทรทัศน์จะเริ่มเปลี่ยนจากสัญญาณระบบอนาล็อก(ภาพ-เสียงไม่คมชัด)เป็นสัญญาณระบบดิจิตอล(ภาพ-เสียงคมชัด) ปี 2558 จะสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลได้ถึง 48 ช่อง   อะไรคือ “ทีวีดิจิตอล” ที่ผ่านมาการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านช่องฟรีทีวี ไม่ว่าจะเป็น ช่อง 3,5,7,9,11 และไทยพีบีเอส โดยอาศัยเพียงการใช้เสาอากาศแบบก้างปลาหรือหนวดกุ้ง เราจะพบปัญหาเรื่องภาพและเสียงที่ไม่คมชัด บางทีภาพก็เป็นเงาซ้อนๆ กัน หรือเป็นเม็ดแตกพร่าบนหน้าจอโทรทัศน์ รวมทั้งเสียงที่ไม่ชัดเจน นั่นก็เป็นเพราะว่า การส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่องนั้น ยังเป็นการส่งสัญญาณภาพและเสียงด้วยระบบเก่า(เทคโนโลยีเดิม) ที่เรียกว่า การส่งสัญญาณระบบอนาล็อก ซึ่งหากต้องการแก้ปัญหาเรื่องความไม่คมชัดของภาพและเสียง จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ในการส่งสัญญาณที่เรียกว่า ระบบดิจิตอล หรือ โทรทัศน์ดิจิตอล การส่งสัญญาณด้วยระบบดิจิตอลไม่เพียงช่วยให้ภาพเสียงคมชัดเท่านั้น ยังทำให้สามารถเพิ่มช่องสำหรับการรับชมรายการโทรทัศน์ได้มากขึ้นด้วย ขนาดที่ว่าจากเคยทำได้แค่ 6 ช่อง สามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 48 ช่อง การส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้น ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเขาทำกันไปนานแล้ว ส่วนประเทศไทยเพิ่งเข้าที่เข้าทางและ กสทช. ได้ประกาศถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2555 และคาดว่าไทยพร้อมจะเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลเต็มรูปแบบในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า (ตอนนี้สถานีไทยพีบีเอส สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ก็เริ่มทดลองส่งสัญญาณการออกอากาศในระบบดิจิตอลไปแล้ว)   ปัจจุบันภาคการส่งและรับสัญญาณรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย มี 3 รูปแบบ คือ 1.ระบบแพร่ภาพภาคพื้นดิน (DVB-T the Digital Video Broadcasting - Terrestrial System) หรือการรับชมฟรีทีวี (ช่อง 3 5 7 9 11และไทยพีบีเอส) ในปัจจุบัน ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนจากสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล 2.ระบบแพร่ภาพผ่านสายเคเบิลทีวี (DVB-C the Digital Video Broadcasting - Cable System) รับชมรายการผ่านกล่องรับสัญญาณที่มาทางสายเคเบิล เป็นการให้บริการแบบบอกรับสมาชิก ผู้ชมต้องจ่ายค่าแรกเข้าและบริการรายเดือน 3.ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (DVB-S The Digital Video Broadcasting - Satellite System) รับชมผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม โดยครั้งแรกจะต้องมีการติดตั้งจานดาวเทียมพร้อมกล่องรับสัญญาณ หรือปัจจุบันมีขายเฉพาะกล่องสัญญาณ(โดยผ่านจานดาวเทียมอะไรก็ได้ที่ติดตั้งไว้ก่อนแล้ว) ส่วนใหญ่เมื่อติดตั้งครั้งแรกแล้ว จะไม่มีค่ารายเดือนอีก เว้นแต่มี คอนเทนต์พิเศษ ที่ต้องเข้ารหัสเก็บเงินค่าดู     สิ่งที่ผู้บริโภคต้องเตรียมสำหรับการรับชมทีวีดิจิตอล เนื่องจากโทรทัศน์ในประเทศไทยใช้ระบบอนาล็อกมาโดยตลอด อุปกรณ์เครื่องรับโทรทัศน์ที่เราใช้จึงเป็นระบบอนาล็อกทั้งหมด เมื่อจะมีการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล ไม่เพียงทางผู้ประกอบการหรือสถานีจะต้องเปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณเท่านั้น เราในฐานะผู้บริโภคหรือผู้รับชมรายการก็จะต้องลงทุนเพิ่มด้วย ซื้อกล่องแปลงสัญญาณ กรณีที่ไม่อยากเปลี่ยนเครื่องรับโทรทัศน์ใหม่ เราต้องซื้อกล่องแปลงสัญญาณ หรือ Set top Box (หน้าตาคล้ายๆ กล่องเวลาดูโทรทัศน์ดาวเทียมหรือเคเบิล) เพื่อต่อกับเครื่องรับโทรทัศน์เก่าของเรา 1 กล่องต่อ 1 จุดรับชม(เครื่องรับ) ถ้าบ้านท่านมีทีวี 3 เครื่องก็ต้องซื้อ 3 กล่อง คาดว่า ราคาน่าจะไม่เกิน 800 บาท (ต้องจุดนี้ทาง กสทช. กำลังออกมาตรการมาช่วยเหลือผู้บริโภคโดยการออกคูปองส่วนลดเพื่อซื้อกล่อง Set top Box แต่ยังไม่ฟันธงแน่ชัด ต้องตามข่าวกันต่อไป) ซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่ที่รองรับการดูทีวีระบบดิจิตอลได้ กรณีนี้ก็ไม่ต้องหาซื้อกล่องแปลงสัญญาณ หรือ Set top Box มาเสริมให้ยุ่งยาก ซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ใหม่เลย แต่ต้องเลือกที่มีระบบรองรับการดูทีวีดิจิตอลเท่านั้น   --------------------------------------------------------------------------------------------------------   การเลือกซื้อโทรทัศน์ใหม่เพื่อดูทีวีดิจิตอล ณ ปัจจุบันเครื่องรับโทรทัศน์ในบ้านเรายังไม่มีระบบรองรับสำหรับการดูทีวีดิจิตอล แต่เชื่อแน่ว่าเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลเต็มรูปแบบ ผู้ผลิตก็พร้อมนำเทคโนโลยีใหม่ติดไว้ในเครื่องรับโทรทัศน์อย่างแน่นอน สำหรับระบบทีวีดิจิตอลบ้านเรา กสทช. ได้เลือกให้นำระบบของยุโรป หรือ “DVB-T2” มาเป็นมาตรฐานระบบโทรทัศน์ดิจิตอลภาคพื้นดินของประเทศ ดังนั้นหากจะเลือกซื้อโทรทัศน์ใหม่(ที่กำลังจะมาขายในอนาคต) ถ้าต้องการให้รับชมทีวีดิจิตอลได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกล่อง Set top Box ต้องตรวจดูว่า โทรทัศน์เครื่องนั้นมีระบบ “DVB-T2” หรือเปล่า เครื่องรับโทรทัศน์ บ้านเราปัจจุบันมี 3 แบบ แบ่งออกเป็นของจำเป็นพื้นฐานกับของพิเศษ(คล้ายๆ กับ มือถือธรรมดากับสมาร์ทโฟน) ได้แก่ - ทีวี-จอแก้ว , จอพลาสม่า LCD , LED ทั่วไป ล้วนแต่มีภาครับเป็นระบบอนาล็อก ถ้าจะดูระบบดิจิตอลต้องมีกล่อง set-top-box มาต่อพ่วง - ทีวี.ดิจิตอล, จอพลาสม่า LCD  LED  ที่เปลี่ยนภาครับเป็นระบบดิจิตอลแล้ว (อีกไม่นานจะมาครองตลาด ราคาก็พอ ๆ กับ กลุ่มข้างบน) สองอันนี้จัดเป็นของจำเป็นพื้นฐาน - สมาร์ท-ทีวี อันนี้เป็นทีวีที่รวมความสามารถของสมาร์ทโฟน-แท็ปเล็ต-และทีวี เข้าด้วยกัน ถ้าจะดูทีวีดิจิตอลด้วย ก็ต้องมีระบบรองรับ  “DVB-T2”   ถ้าที่บ้านดูโทรทัศน์ผ่านเคเบิลหรือดาวเทียมอยู่แล้วต้องซื้อกล่องเพิ่มอีกไหม 12 ล้านครัวเรือนไทย ดูทีวีผ่านดาวเทียมกับเคเบิล ซึ่งเยอะกว่าคนที่รับชมฟรีทีวี ผ่านเสาหนวดกุ้ง ก้างปลาเพียงอย่างเดียวที่มีอยู่ประมาณ 10 ล้านครัวเรือน กลุ่มที่ดูผ่านเคเบิลหรือดาวเทียม ไม่จำเป็นต้องซื้อกล่องแปลงสัญญาณเพิ่มแต่อย่างใด ท่านสามารถรับชมรายการในกลุ่มฟรีทีวี 48 ช่องได้เลย อย่างไรก็ตามคุณภาพอาจไม่ดีเท่า เพราะทีวีดิจิตอลนั้นมีหลายช่องที่ออกอากาศด้วยระบบ HD แต่เมื่อชมผ่านดาวเทียมหรือเคเบิล คุณภาพอาจไม่ได้มาตรฐาน HD   ช่องหรือสถานีเดิม ช่อง 3,5,7,9,11 และไทยพีบีเอส จะยังดูได้อีกไหม ในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิตอลเราจะยังคงมีสถานีโทรทัศน์ช่องเดิมๆ  ที่เราดูอยู่ให้ติดตามต่อไปอีกหลายปี(ประมาณ 10 ปี) แต่สิ่งที่เราได้เพิ่มขึ้น คือ มีช่องใหม่ๆ รายการใหม่ๆ ให้เลือกรับชมมากกว่าเดิม โดยเมื่อก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลแล้ว รายการโทรทัศน์ต่างๆ จะมีความหลากหลายขึ้น การออกอากาศรายการโทรทัศน์จะดำเนินควบคู่กันไปทั้งระบบอนาล็อก(6 ช่อง) และดิจิตอล(48 ช่อง) บ้านไหนไม่ต้องการซื้อกล่อง  Set top Box หรือซื้อทีวีใหม่ ก็สามารถรับชมรายการทั้ง 6 ช่องได้เหมือนเดิม แต่ถ้าได้รับชมทั้งสองแบบแน่นอนว่า ทีวีดิจิตอลที่คมชัดกว่า มีรายการให้เลือกมากกว่า ก็จะทำให้เกิดการเปรียบเทียบได้เอง   -------------------------------------------------------------------------------------------------------- เมื่อช่อง 3,5,7,9,11 และไทยพีบีเอส จะไม่ใช่ช่องเดิมอีกต่อไป กสทช. มีคลื่นโทรทัศน์สำหรับการออกอากาศด้วยระบบดิจิตอลอยู่จำนวน 48 ช่อง โดย กสทช. ต้องทำหน้าที่จัดสรรคลื่นให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ ตามแผนของ กสทช. ได้แบ่งสัดส่วนทั้ง 48 ช่องเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทบริการสาธารณะ 12 ช่อง ประเภทบริการชุมชน 12 ช่อง และประเภทบริการธุรกิจ 24 ช่อง ช่อง 3,7,9 เดิมนั้น จะเข้าข่ายประเภทบริการธุรกิจ(เพราะขายโฆษณาหากำไรเป็นหลัก) ผู้ประกอบการทั้ง 3 ช่องนี้ต้องไปประมูลใบอนุญาตแข่งกับผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งถ้าประมูลได้(คงได้แหละ) ก็จะไม่ได้เลขช่องในเลข 3,7,9 เหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะ กสทช. กำหนดช่องประเภทบริการธุรกิจให้เริ่มต้นที่ช่อง 13-36 (ใครประมูลสูงสุดได้เลือกก่อน) ส่วน ช่อง 5 ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส ตามกฎหมายจะได้เข้าไปอยู่ในประเภทบริการสาธารณะโดยไม่ต้องไปแข่งกับใคร แต่ช่อง 5 กับ ช่อง 11 ต้องปรับผังรายการให้เข้ากับนิยามหรือเงื่อนไขของประเภทบริการสาธารณะ หลักๆ คือ ไม่มีโฆษณา ซึ่งช่องที่ได้รับการจัดสรรสำหรับโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะคือ ช่อง 1-12 (ตอนนี้เดากันว่า ช่องไทยพีบีเอส คงได้เลข 1 ไปครอง) ทำไมต้องเปลี่ยนจากทีวีอนาล็อกเป็นทีวีดิจิตอล ถ้าประเทศไทยไม่รีบเป็นทีวีดิจิตอลภายในปีสองปีนี้ จะส่งผลกระทบอย่างน้อย 2 ประการคือ 1. ผู้ให้บริการ-ผู้รับบริการมีความเสี่ยงที่จะไม่มีอุปกรณ์คุณภาพดีใช้งานภาย หลังปี 2558 เนื่องจากทั่วโลกจะเริ่มยกเลิกการผลิตในระบบอนาล็อก ส่งผลให้อุปกรณ์มือสองจากทั่วโลกจะหลั่งไหลเข้ามาขายในไทยแต่อุปกรณ์มือหนึ่งจะหาได้ยากขึ้น 2. ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการเข้าถึงผู้บริโภค ได้ถึง 90% ของครัวเรือนไทยภายในปี 2558 จากปัจจุบันที่มีอัตราการเข้าถึงผู้บริโภคอยู่ที่ 50-60% ทำให้ดิจิตอลทีวีที่เกิดขึ้นในภายหลังอาจไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และลดความน่าสนใจในการลงทุน   ทีวีดิจิตอลมีข้อเสียหรืออะไรที่ต้องระวัง ข้อเสียสำคัญคือ ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพราะเราต้องซื้อกล่องแปลงสัญญาณต่อกับทีวีเครื่องเก่าหรือซื้อทีวีเครื่องใหม่ ซึ่งเป็นต้นทุนเพิ่มเติมของผู้บริโภค ข้อที่ต้องระวังมากๆ คือ การมีทีวีระบบดิจิตอล ทำให้มีสถานี รายการ และเนื้อหาเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว ยิ่งทำให้ยากในการกำกับดูแลไม่ให้เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภค เช่น การโฆษณาผลิตภัณฑ์อันตราย ผลิตภัณฑ์หลอกลวง ต้องจุดนี้ต้องมีระบบการป้องกันและลงโทษที่เข้มแข็ง และผู้บริโภคต้องช่วยกันเฝ้าระวัง //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 146 ผู้ป่วย คือผู้บริโภคใช่หรือไม่ ?

  เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ผู้ป่วย เป็นผู้บริโภคหรือไม่  เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการ ผมจึงได้แปลคำพิพากษาฎีกาของอินเดียมาให้พิจารณากัน  และอยากจะให้ผู้อ่านพิจารณากันว่า  ทุกวันนี้ เรามีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้บริการฟรีแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวยหรือไม่  ทุกวันนี้มีผู้ป่วยที่อยู่ในสวัสดิการของรัฐก็ดี ผู้ป่วยประกันสังคมก็ดี ผู้ป่วยประกันสุขภาพก็ดี  แม้ผู้ป่วยจะไม่ต้องจ่ายค่าบริการเอง แต่ก็มีผู้รับประกันจ่ายแทนให้ทั้งสิ้น  ดังนั้น ถ้าพิจารณาคำวินิจฉัยของศาลฎีกาอินเดียแล้ว  ผู้ป่วยในประเทศไทยย่อมเป็นผู้บริโภคทั้งสิ้น  ผมไม่แน่ใจว่า โรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือคลินิกในประเทศอินเดีย ยังมีประเภทที่ให้บริการฟรีโดยสมบูรณ์ทั้งหมดแก่ประชากรทุกคนอยู่อีกหรือไม่  ผู้ที่เคยไปดูระบบบริการรักษาพยาบาลของอินเดีย (Health Care Service System) น่าจะได้อธิบายในเชิงวิชาการออกมาสู่ผู้อ่านบ้าง   ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายอินเดียและคำพิพากษาฎีกาได้จากหนังสือ The Law of Medical Negligence ซึ่งแต่งโดย Dr. H.L. Chulani M.S., LL.B.  ผมได้รับอภินันทนาการจากโรงพยาบาลทรวงอกในเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย  ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้   คำนิยาม ผู้บริโภค ในมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้นิยมคำว่า ผู้บริโภค ไว้ดังนี้   “ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม   “ซื้อ” หมายความรวมถึง เช่า เช่าซื้อ หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยให้ค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น   “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ผลิตหรือมีไว้เพื่อขาย   “บริการ” หมายความว่า การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใด ๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น แต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงาน   “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย   กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียชื่อ The Consumer Protection Act 1986 (No.68 of 1986) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาของอินเดีย ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ก็ได้ให้นิยามคำว่า “ผู้บริโภค” ไว้ในมาตรา 2 ดังนี้   “ผู้บริโภค” หมายถึง บุคคลผู้ซึ่ง   (1) ซื้อสินค้าโดยจ่ายเงินแล้ว หรือสัญญาว่าจะจ่าย หรือจ่ายเงินบางส่วน หรือสัญญาว่าจะจ่ายเงินบางส่วน หรือการจ่ายภายใต้ระบบการผ่อนจ่าย และรวมถึงผู้ใช้สินค้าโดยมิได้เป็นผู้ซื้อดังกล่าว แต่การใช้สินค้าที่ได้รับความยินยอมจากผู้ซื้อดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงบุคคลที่ได้สินค้ามาเพื่อขายต่อ หรือเพื่อประสงค์จะทำธุรกิจค้าขายหรือ   (2) จ้างหรือรับประโยชน์จากบริการใด ๆ ที่ได้จ่ายค่าจ้างไปแล้ว หรือสัญญาว่าจะจ่าย หรือจ่ายบางส่วน หรือสัญญว่าจะจ่ายบางส่วน หรือจ่ายภายใต้ระบบการผ่อนจ่าย และรวมถึงผู้รับประโยชน์จากบริการที่มิใช่ผู้จ่าย แต่ได้รับความยินยอมจากผู้จ่ายข้างต้นด้วย   “บริการ” หมายความว่า บริการใด ๆ ที่จะอำนวยความต้องการต่อผู้จะใช้บริการนั้น ๆ โดยรวมถึงวิธีการทำธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการธนาคาร การเงิน การประกัน การคมนาคมขนส่ง การจัดการต่าง ๆ การสร้างบ้าน การจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าหรือพลังงาน การจัดการที่พักอาศัย หรือการเช่าบ้านหรือทั้งสองอย่าง บริการการบันเทิง การจัดการรื่นเริง หรือการส่งข่าวสาร หรือข้อมูลอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการให้บริการที่ไม่เรียกเก็บค่าบริการ การบริการภายใต้สัญญาจ้างบุคคล (Contract of personal service) (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเรา บรรพ 3 เรียกว่า สัญญาจ้างแรงงาน ฉบับภาษาอังกฤษของโรงพิมพ์อักษรสาสน์ พ.ศ. 2505 แปลว่า Hire of service)   จะเห็นได้ว่า บทบัญญัติในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียนั้น ใกล้เคียงหรือคล้ายกับบทบัญญัติในกฎหมายไทย  แต่ที่ต่างกันอยู่ที่วิธีเขียนกฎหมายเท่านั้น ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้บริโภคคือบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ซื้อ (รวมผู้เช่าและเช่าซื้อ) สินค้าหรือผู้ได้รับการเสนอหรือชักชวนให้ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจ 2. ผู้รับบริการ หรือผู้ซึ่งได้รับการชักชวนให้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ   เมื่อมีคดีระหว่างโรงพยาบาลกลาง (Cosmopolitan Hospital) กับ Vasantha Nair  ผู้พิพากษา Eradi วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยที่ไปใช้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ซึ่งเป็น “บริการ” ในความหมายตามนิยามในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และสั่งให้โรงพยาบาลต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ภรรยาผู้ตาย  เมื่อวันที่ 21 เมษายน 1992  ผลจากคำตัดสินดังกล่าว ทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นทั่วไปในวงการแพทย์  มีแพทย์กลุ่มเล็ก ๆ พยายามต่อต้านการนำกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค 1986 มาใช้กับการประกอบวิชาชีพแพทย์  และต่อมามีประเด็นโต้แย้งดังกล่าวไปยังศาลสูงของรัฐต่าง ๆ ทั่วประเทศอินเดีย  ต่อมาเมื่อศาลสูงของรัฐมัทราส (Madras High Court) วินิจฉัยให้เป็นประโยชน์กับวิชาชีพแพทย์  ในปี 1994 พฤติการณ์เริ่มคลี่คลายลง คำพิพากษาฎีกาข้างต้นนับว่าเป็นความเห็นที่เป็นที่ยุติ และนับว่าเป็นที่ยอมรับกัน   ต่อมา ก็มีคำพิพากษาศาลฎีกาของอินเดีย ปี 1995 ออกมา  ศาลฎีกาวินิจฉัยดังต่อไปนี้   คำพิพากษาศาลฎีกา (Supreme Court)  (คดีระหว่าง แพทยสมาคมอินเดีย ผู้อุทธรณ์ กับ ชันธา กับพวก) (V.P. Shanta and Others) ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection Act 1986) มาตรา 2 (1) (o) คำว่า “บริการ” วิชาชีพแพทย์ (Medical Profession) ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (Medical Practitioners) และโรงพยาบาล (Hospital)  สถานดูแลผู้ป่วย (Nursing Home) ต้องถือว่าเป็นการให้บริการ ตามความหมายของนิยามในมาตรา 2 (1) (o) แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 1980 ทั้งสิ้น  ดังจะได้อธิบายดังต่อไปนี้   A. ในประเด็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพ (Professional liability) ที่อ้างว่า ผู้ประกอบวิชาชีพแตกต่างจากผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ เพราะผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติงานที่ไม่อาจคาดหมายถึงผลสำเร็จได้ในทุกกรณี และส่วนมาก ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  นอกเหนือความคาดหมายของผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะมนุษย์จะควบคุมได้  การอ้างเหตุผลดังกล่าว ให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัด ขณะที่ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นยังคงมีอยู่นั้น  ศาลเห็นว่า ผู้ประกอบวิชาชีพก็ยังต้องมีความสามารถอย่างน้อยที่จะใช้ความระมัดระวังอย่างเหมาะสม (resonable care) ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน   B. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่อาจจะยินดีต่อภูมิคุ้มกันใด ๆ ที่ตนจะถูกฟ้องกรณีผิดสัญญาหรือละเมิด เนื่องจากความบกพร่องในการใช้ความชำนาญจากการบริการอย่างเหมาะสม  ข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยแพทยสภา (Medical Council Act) อยู่แล้ว และต้องถูกควบคุมทางจริยธรรม (disciplinary control) ของแพทยสภาแห่งอินเดีย หรือแพทยสภาของรัฐ (State Medical Council) แล้วแต่กรณีนั้น ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องชดใช้สินไหมทดแทนต่อผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแต่อย่างใด  สิทธิของบุคคลผู้ได้รับความเสียหายที่จะฟ้องคดีผู้บริโภคจึงไม่เสียไป   C. ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า บางครั้งปัญหาที่สลับซับซ้อนอาจเกิดขึ้น จำต้องนำพยานหลักฐานที่เป็นบันทึกของผู้ชำนาญประกอบการพิจารณาคำฟ้องเกี่ยวกับความบกพร่องในการให้บริการนั้น เป็นผลมาจากความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ให้บริการนั้นหรือไม่  แต่ประเด็นนี้ จะไม่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในทุกคดีที่มีการฟ้องร้อง  ประเด็นในคำฟ้องในคดีดังกล่าว ก็ควรจะใช้กระบวนวิธีพิจารณาที่รวดเร็ว ตามวิธีดำเนินการโดยองค์การพิจารณาคดีตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Dispute Redressal Agencies)  และไม่มีเหตุผลใดที่คำฟ้องที่เกี่ยวกับความบกพร่องของการให้บริการในกรณีดังกล่าว ไม่ควรได้รับการพิจารณาวินิจฉัยโดยองค์กรตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค  และแม้คำฟ้องที่มีปัญหาสลับซับซ้อน ที่ต้องการความเห็นของพยานผู้ชำนาญ ผู้ฟ้องคดีก็อาจขอร้องให้คดีไปสู่ศาลที่พิจารณาคดีแพ่งได้ตามความเหมาะสม (ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียนั้น องค์กรที่เป็นผู้พิจารณาคดีผู้บริโภค ไม่ใช่ศาล แต่เป็นองค์กรที่มีชื่อว่า National Consumer Redressal Commission แต่งตั้งโดยรัฐบาลกลาง กับ District Forum แต่งตั้งโดยรัฐบาลแห่งรัฐ  รายละเอียดผู้เขียนเคยนำเสนอในวารสารนี้มาแล้ว [คลินิก 12; (5), 2539: 301-305)]   D. บริการที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ให้คำปรึกษา การวินิจฉัยโรค การรักษาโรค ไม่ว่าจะโดยทางอายุรกรรมหรือศัลยกรรมต่อผู้ป่วย  ย่อมอยู่ในความหมายของ “การบริการ” ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งสิ้น (เว้นแต่ แพทย์ที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการต่อผู้ป่วยทุกคน หรือให้บริการภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน – contract of personal service)   E. สัญญาจ้างแรงงาน (Contract of personal service) ต่างจากสัญญาจ้างทำของ (Contract for personal service) เพราะผู้ป่วยกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานนายจ้างกับลูกจ้าง  บริการที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้กับผู้ป่วยได้คือ บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่บริการนั้นเป็นบริการที่ให้ภายใต้สัญญาจ้างทำของ (Contract for personal service)  จึงไม่เข้าข่ายข้อยกเว้นของคำว่า “บริการ” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (ทำนองเดียวกัน ศาลฎีกาของไทยได้วินิจฉัยไว้ในฎีกาที่ 287/2507 ว่า กิจการสถานพยาบาลและผดุงครรภ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อรับพยาบาลผู้เจ็บป่วย และทำคลอดบุตรให้แก่หญิงมีครรภ์ ลักษณะเป็นการจ้างทำของ)   F. คำว่า “สัญญาจ้างแรงงาน” (Contract of personal service) อาจรวมถึงสัญญาจ้างเจ้าหน้าที่แพทย์ (Medical officer) โดยมุ่งหมายที่จะให้แพทย์ผู้นั้นมาให้บริการแก่นายจ้าง  บริการที่เจ้าหน้าที่แพทย์ให้บริการแก่นายจ้างภายใต้สัญญาจ้างดังกล่าว ไม่อยู่ในขอบเขตของคำว่า “บริการ” ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค   G. บริการที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล/สถานพยาบาล (Nursing home) ซึ่งบริการเหล่านั้นไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ต่อผู้ป่วยทุกคน ไม่ถือว่าเป็น “บริการ” แม้ว่าจะมีค่าลงทะเบียนกับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลบ้าง ก็ยังไม่ถือว่าเป็น “บริการ”   H. บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ (Non-Government)  ถ้าไม่ได้คิดค่าบริการจากผู้ใดเลย  ผู้ป่วยทุกคนไม่ว่าจะรวยหรือจน ไม่ต้องต้องจ่ายค่าบริการเลย  บริการเหล่านั้นถือว่า มิใช่ “บริการ” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค   I. บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ โดยคิดค่าบริการ  การบริการนั้นถือเป็น “บริการ” ตามที่บัญญัติในกฎหมาย   บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ โดยคิดค่าบริการจากบุคคลที่อยู่ในฐานะจะจ่ายค่าบริการได้ และผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายค่าบริการได้ ก็ไม่คิดค่าบริการ ก็ถือว่าอยู่ในข่ายของความหมายของ “บริการ” ตามกฎหมายทั้งสองกรณี   J. บริการของโรงพยาบาล/ศูนย์รับบริการ/ร้านยาของรัฐ ที่ไม่ได้คิดค่าบริการจากผู้ป่วย ไม่ว่ารวยหรือจน ไม่ถือว่าเป็น “บริการ” ตามกฎหมาย   บริการของโรงพยาบาล/ศูนย์รับบริการ/ร้านยาของรัฐ ซึ่งคิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ  ขณะเดียวกันก็ไม่คิดค่าบริการต่อผู้มาใช้บริการบางกลุ่ม ก็ยังถือว่าเข้าข่าย “บริการ” ตามกฎหมาย โดยมิได้คำนึงถึงการที่มีผู้ใช้บริการฟรี   K. บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ไม่ถือว่าให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ  เมื่อผู้ใช้บริการเป็นผู้มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ  และบริษัทประกันเป็นผู้จ่ายค่าปรึกษา ค่าวินิจฉัย และค่ารักษา  บริการเหล่านั้นย่อมอยู่ในขอบเขตของคำว่า “บริการ” ตามกฎหมาย   L. ทำนองเดียวกัน ถ้าเงื่อนไขของการให้บริการ โดยนายจ้างเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลแทนลูกจ้างและครอบครัวของลูกจ้าง  ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ที่ให้บริการแก่ลูกจ้างและครอบครัวของเขา ก็เข้าข่ายว่าเป็น “บริการ” ที่กฎหมายบัญญัติ   ผู้พิพากษา ได้แก่ Kuldip Singh, S.C. Aqarwal และ B.L. Hansaria (13 Nov. 1995)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 145 หนังสั้น เรื่องเล่า และเรา ผู้บริโภค

    มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ร่วมกับแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างอีกหนึ่งพลังในการจุดประกายให้เกิดการตื่นตัวเรื่องปัญหาผู้บริโภคในบ้านเรา ด้วยโครงการ “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” ที่ถ่ายทอดปัญหาหลากหลายที่ผู้บริโภคไทยต้องพบเจอ ทุกข์ของผู้บริโภคที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เรื่องราวจากชีวิตจริงที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ แม้แต่หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ดูแลแก้ไขเองก็อาจจะมองข้าม ถึงเวลาที่เราต้องร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคมผู้บริโภคไทยให้เข้มแข็ง     เล่าเรื่อง (จริง) ผู้บริโภค ปัญหาของผู้บริโภคในบ้านเรานั้น มีมากมายหลายเรื่อง มีตั้งแต่เรื่องเจอของหมดอายุในร้านสะดวกซื้อราคาไม่กี่สิบบาท ไปจนถึงถูกโกงสัญญามูลค่าหลายสิบล้านจากการซื้อบ้านจัดสรร พูดง่ายๆ ว่าเรื่องปัญหาผู้บริโภคนั่นเป็นปัญหาครอบจักรวาล หลายปัญหาไม่เพียงแค่ต้องเสียเงิน เสียเวลา หรือเสียความรู้สึก แต่หลายครั้งความสูญเสียก็ยิ่งใหญ่เกินจะหาสิ่งใดมาทดแทน   ภาพยนตร์สั้นที่เข้าร่วมในโครงการ “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” ประกอบด้วยหนังสั้น 5 เรื่อง และสารคดีอีก 1 หนึ่ง ซึ่งทั้งหมดเป็นผลงานที่ถูกเขียนบท กำกับ และถ่ายทำขึ้นใหม่ เพื่อนำเสนอในโครงการนี้โดยเฉพาะ โดยได้ความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านภาพยนตร์ ได้แก่  สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย  สมาพันธ์ศิลปินเพื่อสังคม  กลุ่มปลาเป็นว่ายทวนน้ำ บริษัท กู๊ด จ๊อบ โปรดักชั่น  จำกัด   ผลงานภาพยนตร์สั้นที่ร่วมโครงการประกอบด้วย “กรรมของจุ๊บแจง” ผลงานกำกับของ อาจารย์ไพจิตร  ศุภวารี ที่นำเสนอประเด็นปัญหายอดฮิตของผู้บริโภคไทย อย่างปัญหาหนี้บัตรเครดิต, “Heart Station” กำกับโดย คุณพิมพกา  โตวิระ เล่าเรื่องความเหมาะสมของการสร้างปั๊มแก๊ส LPG ในชุมชนเมือง เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล, “Priceless” กำกับโดย คุณมานุสส วรสิงห์ เล่าเรื่องปัญหาการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสาร, “กลับบ้าน” กำกับโดย คุณชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา นำเสนอเรื่องราวสะท้อนปัญหาบริการรถตู้โดยสารสาธารณะ, “Disconnected” กำกับโดย คุณบุญส่ง นาคภู่ ที่พูดเรื่องปัญหาจากบริการโทรศัพท์มือถือที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค และผลงานสารคดีเล่าเรื่องผู้บริโภค ผลงานกำกับของ คุณพัฒนะ จิรวงศ์   เรื่องราวที่ผู้กำกับแต่ละคนเลือกนำมาบอกเล่าในผลงานภาพยนตร์สั้นแต่ละเรื่องนั้น ล้วนแล้วแต่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปัญหาที่ผู้บริโภคไทยหลายคนต้องประสบพบเจอในชีวิตจริง เป็นความทุกข์ที่ยังคงไม่มีทางออกที่ชัดเจน ซึ่งผู้กำกับทุกท่านต่างๆ ใช้ “ใจ” ที่อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในสังคมไทย สร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานภาพยนตร์สั้นที่บอกเล่าเรื่องจริงของผู้บริโภค   “หนังสั้น” สื่อที่เรียบง่ายแต่แฝงพลังที่ยิ่งใหญ่ ความตั้งใจหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นภารกิจสำคัญของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็คือการที่จะสื่อสารข้อมูลดีๆ ที่ผู้บริโภคควรรู้ เพื่อให้ผู้บริโภคเท่าทันไม่ตกเป็นเหยื่อของสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่หลงเชื่อผู้ประกอบการที่ไม่หวังดีกับผู้บริโภค โดยการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ นั้น ก็จะทำควบคู่กันไปกับการผลักดันและสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคทั่วไปในสังคมในเรื่องของกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค   แต่ในขณะที่เรายังต้องเผชิญกับการหลอกลวงจากบรรดาผู้ประกอบการผู้ไม่หวังดีที่ผลิตสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ผู้บริโภคอย่างเรากับมีข้อมูลความรู้ไว้สำหรับใช้ต่อกรหรือรู้เท่าทันการหลอกลวงต่างๆ น้อยมาก   นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตั้งใจจะให้มีสื่ออย่าง “หนังสั้น” ในการบอกเล่าเรื่องราวปัญหาของผู้บริโภค เพื่อให้เป็นจุดเริ่มของแรงบันดาลใจ ขยายผลต่อไปสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่ง คุณดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่รับหน้าที่ดูแลโครงการและร่วมคัดสรรภาพยนตร์สั้นและผู้กำกับที่เข้าร่วมในโครงการครั้งนี้ ได้พูดถึงพลังของสื่ออย่างภาพยนตร์สั้นเอาไว้ว่า ภาพยนตร์สั้นนั้นก็คือสื่อศิลปะที่จะช่วยนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้คนที่ได้รับชม บ่อยครั้งข้อมูลที่ดีๆ ที่ผู้คนควรรับรู้กลับถูกมองข้ามไม่ได้รับเผยแพร่หรือพูดถึง เพราะมันขาดความน่าสนใจขาดพลังดึงดูดให้ผู้คนหันมาดูหันมาสนใจ แต่เมื่อมันถูกบอกเล่าอย่างมีชั้นเชิงมีเรื่องราวอย่างในรูปแบบของภาพยนตร์สั้น บางครั้งเรื่องยากๆ ก็อาจเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครก็เข้าใจได้ คุณดนัยและผู้กำกับที่ร่วมผลิตภาพยนตร์สั้นในครั้งนี้ยอมรับว่า การนำเสนอเรื่องราวของปัญหาผู้บริโภคและการผลักดันองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคออกมาเป็นภาพยนตร์สั้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อได้ลองทำความเข้าใจ ศึกษาข้อมูลที่มี ไปจนถึงการพูดคุยกับผู้ที่ประสบปัญหาจริงๆ ก็ทำให้เริ่มเห็นภาพที่จะนำมาสร้างสรรค์ผลงาน ที่สำคัญคือรู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนร่วมในการบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นประโยชน์แก่สังคม   ให้หนังสั้นจุดประกาย ขยายต่อสู่การเปลี่ยนแปลง แม้ด้วยความที่เป็นโครงการเล็กๆ และหนังที่ฉายเป็นหนังสั้น แต่ คุณดนัย ก็เชื่อว่าสิ่งเล็กๆ ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ หากคนที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วได้ฉุกคิด ได้เห็นความสำคัญในประเด็นที่หนังนำเสนอ พร้อมทั้งนำไปบอกต่อ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภคให้กับคนรอบๆ ข้าง หากในสังคมมีคน 100 คน ขอแค่มีสัก 20 คน ลุกขึ้นมาผลักดันเปลี่ยนแปลงสังคม เชื่อว่าแค่นี้สังคมเราก็จะดีขึ้นแน่นอน   เรื่องปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคและการผลักดันกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ยังคงต้องการความเข้าใจและพลังของผู้คนในสังคมอีกมากที่จะมาช่วยกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง   แนะนำภาพยนตร์สั้นที่ร่วมฉายในโครง “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” กรรมของจุ๊บแจง “จุ๊บแจง” สาวออฟฟิศที่ฝันอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจร้านขายของ เธอจึงต้องมองหาเงินลงทุน ซึ่งวิธีที่เธอเลือกคือการทำบัตรเครดิต ขณะที่ธุรกิจของเธอกำลังไปได้สวยและมองเห็นโอกาสรวยอยู่ไม่ไกล แต่เมื่อเกิดการชุมนุมทางการเมือง ทุกอย่างก็พลันหยุดชะงัก ทุกความฝันแทบพังทลาย เมื่อของขายไม่ได้ จากกำไรก็กลายเป็นขาดทุน เงินที่มีเริ่มไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย บัตรเครดิตที่เคยใช้ให้ทุนแต่ตอนนี้พลิกผันกลายเป็นสร้างหนี้ แถมที่แย่ยิ่งกว่าคือบรรดาเจ้าหนี้ที่คอยตามราวีไม่หยุดหย่อน ทั้งข่มขู่สารพัด ถูกหักเงินจากในบัญชีไปใช้หนี้โดยที่เธอไม่รู้ตัว สิ่งที่เธอจำเป็นต้องทำต่อจากนี้คือหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น   เรื่องทั้งหมดนี้คือ “กรรม” ของเธอ หรือมาจาก “ความไม่ชอบธรรม” บางอย่างในสังคม   ผลงานการกำกับของ อาจารย์ไพจิตร  ศุภวารี อาจารย์ไพจิตร  ศุภวารี คร่ำหวอดอยู่ในวงการบันเทิงไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งในด้านการอำนวยการสร้างและการกำกับภาพยนตร์ รวมถึงการสร้างนักแสดงฝีมือคุณภาพประดับวงการมากมาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ สมัชชาศิลปินแห่งประเทศไทย และเป็นอาจารย์สอนด้านภาพยนตร์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ พร้อมไปกับการทำงานบันเทิงเพื่อสังคม   Heart Station จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อชุมชนที่สงบสุขกำลังต้องรับการมาเยือนของแขกที่ไม่ได้รับเชิญอย่าง “ปั๊มแก๊ส LPG” นุ้ย เด็กสาวมัธยมปลาย ที่อาศัยอยู่กับแม่และน้า ภายในบ้านที่ถูกเปิดเป็นร้านขายของชำ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของชุมชน เมื่อสิ่งที่หลายคนเรียกว่า “ความเจริญ” กำลังรุกคืบเข้ามา อย่างร้านสะดวกซื้อ ซึ่งแม้ตัวนุ้ยจะรู้สึกอยากให้ร้านของชำที่บ้านปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยเป็นร้านสะดวกซื้อติดแอร์แบบเขาบ้าง แต่แม่กับน้าก็ยังพอใจและภูมิใจกับร้านชำเล็กๆ ที่มีข้าวของให้เลือกเต็มร้าน ยึดถือความซื่อตรงและใส่ใจลูกค้า   อีกหนึ่งความเจริญที่กำลังรุกคืบเข้าสู่ชุมชน คือการมาถึงของปั๊มแก๊ส LPG ที่เตรียมก่อสร้างติดกับบ้านของนุ้ย ซึ่งการมาอย่างลึกลับไร้ที่มาที่ไปของปั๊ม สร้างความวิตกกังวลให้กับคนในชุมชนถึงเรื่องความปลอดภัย เมื่อเริ่มรู้สึกว่าการสร้างปั๊มแห่งนี้มาพร้อมความไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัย การรวบรวมรายชื่อคนในชุมชนเพื่อคัดค้านการก่อสร้างโดยมีแม่และน้าของนุ้ยเป็นเกณฑ์นำจึงเริ่มขึ้น แต่ความจริงคือแม้จะได้เอกสารรายชื่อคัดค้านกว่า 500 รายชื่อไปยื่นให้กับสำนักงานเขตแต่ว่าการก่อสร้างก็ไม่ได้ถูกระงับ   แม้จะรู้สึกเศร้าใจกับการทำงานของหน่วยงานราชการ แต่แทนที่จะแค่ก่นด่าไปวันๆ ครอบครัวของนุ้ยได้เตรียมแผนการยับยั้งการสร้างปั้มแก๊สในแบบของตัวเองเอาไว้แล้ว เรียกว่างานนี้ “ถ้าไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็คงต้องเอาด้วยกล”   ผลงานการกำกับของ คุณพิมพกา  โตวิระ เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่ช่วยบุกเบิกการสร้างภาพยนตร์อิสระในประเทศไทย เคยมีผลงานภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่อง “คืนไร้เงา” เมื่อปี 2546 ซึ่งได้รับเชิญให้ไปฉายและเข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์หลายประเทศทั่วโลก ทำให้ชื่อของ พิมพกา  โตวิระ กลายเป็นผู้กำกับหญิงไทยคนแรกที่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ   นอกจากนี้ยังมีผลงานกำกับภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “ความจริงพูดได้” (the truth be told) ที่ถ่ายทอดชีวิตของ สุภิญญา กลางณรงค์ เมื่อครั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ที่ต้องต่อสู้เพื่อความถูกต้องหลังต้องตกเป็นจำเลยถูกบริษัทชินคอร์เปอเรชั่นฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทจากการตีพิมพ์บทความของเธอที่ชื่อว่า“เอ็นจีโอประจาน 5 ปีรัฐบาลไทย ชินคอร์ปรวย” สมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร   Priceless การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของลูกชายวัย 40 ปี จากอุบัติเหตุรถตู้โดยสารสาธารณะ ไม่ได้นำมาแค่ความเสียใจอย่างที่สุดแก่ผู้เป็นแม่เท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งปัญหาในเรื่องของการเรียกร้องเงินชดเชยค่าสินไหมทดแทนการเสียชีวิตของลูกชายจากบริษัทประกัน ด้วยความที่ก่อนตายลูกชายทำอาชีพอิสระ ไม่ได้มีที่ทำงานเป็นหลักแหล่ง รายได้ก็ไม่แน่นอน ซึ่งทั้งหมดกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้คุณแม่ในวัยเกษียณต้องปวดหัวในการทำเรื่องขอเงินชดเชย แม้สุดท้ายจะได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน แต่ก็ใช่ว่าปัญหาต่างๆ จะคลี่คลาย เพราะแม้ว่าเธอจะรู้ว่าลูกชายทำงานอะไรและมีรายได้เท่าไร บริษัทประกันยินยอมจ่ายค่าชดเชย แต่เมื่อมองดูตัวเลขของเงินชดเชยที่ได้รับนั้น เทียบกันไม่ได้เลยกับชีวิตของลูกชายที่ต้องสูญเสียไปเพราะอุบัติเหตุ   ผลงานการกำกับของ คุณมานุสส วรสิงห์ ทำงานเบื้องหลังในส่วนของการตัดต่อภาพยนตร์ให้กับภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง โดยก็ยังทำงานกำกับภาพยนตร์สั้นควบคู่กันไปด้วย ซึ่งผลงานหลายเรื่องได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งยังได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการทำภาพยนตร์ให้กับหลากหลายหน่วยงาน เช่น สสส., กรมการศาสนา ฯลฯ   กลับบ้าน ในยุคที่หนุ่ม – สาวจากต่างจังหวัดต้องจากบ้านมาทำงานในกรุงเทพฯ การได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านในช่วงวันหยุดจึงถือเป็นช่วงเวลาสุดพิเศษของเหล่าหนุ่ม – สาวที่ต้องจากบ้านมาตามหาความมั่นคงในสังคมเมือง ยิ่งเดี๋ยวนี้มีการเดินทางให้เลือกหลากหลาย โดยเฉพาะ “รถตู้” ที่กลายเป็นทางเลือกที่หลายคนนิยม แม้ข่าวคราวเรื่องการเกิดอุบัติเหตุจะมีให้เห็นบ่อยครั้ง แต่รถตู้ก็ยังเป็นที่พึ่งของคนที่ต้องเดินทาง   เช่นเดียวกับสองหนุ่ม – สาวเพื่อนเก่าที่พบกันโดยบังเอิญ ตอนที่กลับมาเยี่ยมบ้าน ทั้งสองคนต่างแลกประสบการณ์ที่ไม่น่าจดจำจากการใช้บริการรถตู้โดยสาร ทั้งเรื่องความแออัดของที่นั่งโดยสาร และยังเรื่องพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของพนักงานขับรถ   ไม่มีใครรู้ว่าวันหนึ่งรถตู้โดยสารอาจพาเรา “กลับไม่ถึงบ้าน” ก็ได้   ผลงานการกำกับของ คุณชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา คนทำโฆษณาแถวหน้าของประเทศ นักเขียนเจ้างานเขียนหนังสือหลายเล่ม เช่น “ถนนวิทยุ”, “คัมภีร์วิทยายุทธ์”, “อเมริกากี่นั้ง” ฯลฯ แม้งานหลักจะเป็นการทำงานเชิงพาณิชย์ แต่ก็หลงใหลการทำงานสื่อเพื่อรับใช้สังคม ที่ผ่านมาก็ช่วยทำสื่อทั้งโฆษณาและหนังสั้นให้กับองค์กรทางสังคม พร้อมทั้งเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่คนทำสื่อรุ่นใหม่ๆ   Disconnected โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้คนในสังคมได้ติดต่อใกล้ชิดกันได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น แต่เพราะความสะเพร่าหรือจงใจที่จะเอาเปรียบผู้บริโภคของบริษัทผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ก็อาจทำให้โทรศัพท์มือถือกลายเป็นเครื่องมือทำลายความสัมพันธ์ได้ในพริบตา   อย่างเช่นเรื่องราวของคุณพ่อวัยเฉียด 70 ปี ที่ต้องหมางใจกับลูกชาย หลังจากโทรศัพท์มือถือที่ลูกชายเป็นคนซื้อให้เกิดใช้งานไม่ได้ ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ลูกชายเปลี่ยนจากระบบเติมเงินเป็นแบบจ่ายค่าบริการรายเดือน แล้วเกิดปัญหาโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่โทรออกไม่ได้ ด้วยความไม่รู้ของผู้เป็นพ่อจึงทำให้หลงเข้าใจผิดคิดว่าลูกชายไม่รักเลยไม่อยากให้โทรหา พอพ่อ - ลูกเจอหน้ากันบรรยากาศก็เลยตึงเครียด ฝ่ายพ่อก็ต่อว่าลูกด้วยอาการน้อยใจ ฝ่ายลูกที่ไม่รู้เหตุผลที่มาที่ไปก็เริ่มไม่สบอารมณ์กับคำด่าว่าของพ่อ สุดท้าย 2 พ่อ – ลูกก็ไม่คุยกันเพราะความเข้าใจผิดเรื่องโทรศัพท์มือถือ   แม้ในที่สุดฝ่ายลูกชายจะรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้พ่อโกรธ แต่กับต้องเจอปัญหาซ้ำซ้อนเรื่องค่าโทรเกินจริง ต้องกลายเป็นคนมีหนี้โดยที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนก่อ เรียกว่าอยู่ดีๆ ชีวิตที่สงบสุขก็ต้องมาเจอเรื่องปวดหัวจากบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน     ผลงานการกำกับของ คุณบุญส่ง นาคภู่ ผู้กำกับที่คลุกคลีอยู่ในวงการภาพยนตร์ทั้งขนาดสั้นและขนาดยาวมาอย่างยาวนาน  มีผลงานกำกับและเขียนบทภาพยนตร์สั้นมากว่า 25 เรื่อง ผลงานหลายเรื่องมีรางวัลการรันตี เช่นเรื่อง “ตากับหลาน”, “ชาวนากลับบ้าน” ฯลฯ ส่วนผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องยาวก็มีเช่น “191 ครึ่ง มือปราบทราบแล้วป่วน” และ ภาพยนตร์เรื่อง “หลอน” ในตอนที่ชื่อว่า “ปอบ”   ปัจจุบันได้ก่อตั้งกลุ่ม “ปลาว่ายทวนน้ำ” เพื่อสร้างภาพยนตร์อิสระอย่างจริงจัง ผลงานภาพยนตร์ที่ผ่านมา คือ “คนจนผู้ยิ่งใหญ่” (poor people the great) และ “สถานี 4 ภาค” (four stations) ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งตัวหนังได้รับเชิญให้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ตามประเทศต่างๆ นอกจากนี้คุณบุญส่ง นาคภู่ ยังเป็นอาจารย์พิเศษด้านภาพยนตร์ตามมหาลัยต่างๆ   ติดตามรายละเอียดการร่วมชมภาพยนตร์สั้นและกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” ได้ที่ www.consumerthai.org, www.ฉลาดซื้อ.com และที่ facebook นิตยสารฉลาดซื้อ     //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 144 Consumer Justice Now!

  แน่นอนอยู่แล้ว ... คนสำคัญอย่างพวกเราก็ต้องมีวันสำคัญระดับสากลเป็นของตัวเองกับเขาเหมือนกัน วันที่ 15 มีนาคมของทุกปีคือวันสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights Day) ที่องค์กรผู้บริโภคจากทั่วโลกและสหพันธ์ผู้บริโภคสากล หรือ Consumers International ใช้เป็นโอกาสร่วมกันรณรงค์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีขึ้น   ปีนี้เขาจัดใหญ่ สหพันธ์ผู้บริโภคสากลซึ่งมีสมาชิก 220 องค์กร จาก 115 ประเทศเขาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภค เรียกว่าถือโอกาสนี้เปิดโปงความเสียหายที่เกิดจากการขาดระบบการคุ้มครองผู้บริโภค หรือการคุ้มครองผู้บริโภคที่ยังไม่ดีพอ   เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นประเด็นระดับโลก (ที่มักถูกละเลยโดยรัฐบาลท้องถิ่น?) เสมอมา    สหประชาชาติเองก็กำลังปรับปรุงแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคที่เคยทำไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526  (ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2542) โดยมีเป้าหมายจะจัดทำให้เสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557  สหพันธ์ฯ จึงถือโอกาสนี้ทำข้อเสนอต่อสหประชาชาติ เพื่อเป็นการยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อสังคมในศตวรรษที่ 21 ที่ปลอดภัยและยุติธรรมขึ้น   ย้อนอดีต เป็นเวลา 10 ปีมาแล้วที่มีการจัดงานรณรงค์ในวันสิทธิผู้บริโภคสากล ประเด็นที่เคยรณรงค์ร่วมกันได้แก่ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) การทำการตลาดอย่างไร้จริยธรรม เช่นการโฆษณายา หรือโฆษณาอาหารขยะกับเด็ก ประเด็นร้อนแรงที่สุดในช่วง 3 ปีหลังเห็นจะเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้นอกจาก เรื่องบริการการเงินการธนาคาร มีตั้งแต่การเรียกร้องให้มีบริการที่เป็นธรรมขึ้น ค่าธรรมเนียมที่ถูกลง ไปจนถึงการเรียกร้องให้ธุรกิจธนาคารสร้างทางเลือกที่แท้จริงให้กับผู้บริโภค --------------------------------------------------------------------------------------   "Consumers by definition, include us all." - John F. Kennedy วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2505 นายจอห์น เอฟ เคเนดี้  ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในสมัยนั้น ได้เรียกร้องต่อสภาคองเกรสให้มีการยอมรับสิทธิพื้นฐาน 4 ประการของผู้บริโภค ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ สิทธิที่จะได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้อง สิทธิที่จะได้เลือก และสิทธิที่จะเรียกร้องความเป็นธรรม   “ผู้บริโภคก็คือเราทุกคน เราคือกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ที่ส่งผลต่อและได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจทางเศรษฐกิจโดยภาคธุรกิจและภาครัฐ แต่แทบจะไม่มีใครถามความเห็นของเราเลย”   เฮเลน แมคคอลัม ผู้อำนวยการสหพันธ์ผู้บริโภคสากล “การคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องของกฎหมาย มันยังสามารถสร้างความเป็นธรรม สร้างสังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น และช่วยรักษาชีวิตของประชาชนได้ด้วย”   >>> 2015 ประเด็นที่สหพันธ์ฯ จะเคลื่อนไหวต่อไป ความมั่นคง ความปลอดภัยทางอาหาร และโภชนาการที่ดี บริการทางการเงินและการธนาคาร หนี้ ผู้บริโภคในยุคดิจิตัล เครือข่ายการสื่อสารที่ปลอดภัยไว้ใจได้ ในราคาที่เหมาะสม การใช้งานอันมีลิขสิทธิ์และการเข้าถึงความรู้   บ้านนี้เมืองนี้อยู่ยากขึ้นทุกวัน แล้วผู้บริโภคอย่างเราต้องทำตัวยังไง นายอันวาร์ ฟาซาล ประธานสหพันธ์ผู้บริโภคสากลในช่วงปี 1980 – 1989 ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริโภค 5 ประการไว้ดังนี้ Critical Awareness เราต้องตื่นตัวและตั้งข้อสงสัยเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการให้มากขึ้น >> จริงดิ? มีเครื่องดื่มที่ดื่มประจำแล้วทำให้เรียนเก่ง สอบติดคณะในฝัน? ทำไมรถเมล์ฟรีที่เขาเอาเงินภาษีเราไปจ่าย ถึงขับเร็ว ไม่จอดป้าย หรือจอดไม่ตรงป้าย ให้เราต้องวิ่งหน้ าตั้งด้วย (อย่าว่าแต่รถฟรีเลยนะ รถไม่ฟรีก็เหมือนกัน)   Involvement/Action เราต้องใช้สิทธิเพื่อให้ได้มา ซึ่งสินค้าหรือบริการที่เป็นธรรมในราคาที่เหมาะสม >> จ่ายค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน แต่สัญญาณล่มไป 2 วัน เราขอไม่จ่าย 2 วันนั้นได้มั้ย? เขาคิดเราเป็นรายวันนี่นา เราเสียเงินซื้อตั๋วขึ้นรถไฟฟ้าแล้วยังไปเจอโฆษณาบนรถอีก อย่างนี้เขาน่าจะลดค่าโดยสารให้เราด้วยหรือเปล่า (โทรทัศน์ที่มีโฆษณา เขายังให้ดูฟรีเลย) Social responsibility เราต้องบริโภคอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการตระหนักถึงผลกระทบจากการกระทำของเราต่อสภาพเศรษฐกิจสังคมรอบตัวและต่อพลเมืองคนอื่นๆ >> เราต้องจับตาดู เดี๋ยวมีใครไปใช้แรงงานเด็กในประเทศด้อยพัฒนา แล้วมาแอ๊บขายสินค้าแบรนด์หรู ถ้ารู้แล้วจะได้ชวนกันบอยคอต   Ecological responsibility เราต้องตระหนักถึงผลกระทบจากทางเลือกของเราต่อสภาพแวดล้อม >> เราอาจจะไม่เลือกซื้อเฉพาะผักผลไม้ที่งดงามหมดจดอีกต่อไป เพราะรู้แล้วว่าการทำอย่างนั้นทำให้เกิด “ขยะสด” โดยไม่จำเป็น Solidarity เราต้องรวมตัวกันเพื่อให้เกิดพลังที่ยิ่งใหญ่พอที่จะทำให้รัฐบาลหรือผู้ประกอบการไม่อาจละเลยผลประโยชน์ของผู้บริโภคได้อีกต่อไป ... สามัคคีคือพลัง! >> เรามาร่วมกันติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ประกอบการ อย่างที่คุณกำลั งทำอยู่ ด้วยการเป็นสมาชิก “ฉลาดซื้อ” นี่ไง   โปรตุเกส:  เมื่อผู้บริโภคไม่ยอมถูกหลอกขายน้ำมันแพงอีกต่อไป Portugal Petrol Test … เล่าเรื่องทดสอบน้ำมัน ราคาถูก/แพง   ปลายปีที่แล้วมีชาวโปรตุเกส 42,200 คน ร่วมกันลงชื่อเรียกร้องให้กระทรวงเศรษฐกิจ เข้มงวดกับการกำกับดูแลธุรกิจพลังงานให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคุณภาพและความโปร่งใสในการตั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังขอให้ประกาศห้ามการกล่าวอ้างสรรพคุณของสินค้าถ้ายังไม่ได้พิสูจน์ด้วย เรื่องนี้สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ DECO นิตยสารผู้บริโภคขององค์กรผู้บริโภค EDI แห่งโปรตุเกสได้ทำการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่า น้ำมันดีเซลแบบพรีเมี่ยมที่อ้างว่าเผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่า ประหยัดพลังงานกว่า ทำให้รถวิ่งได้แรงขึ้น (และขายในราคาแพงกว่า) แตกต่างจากน้ำมันดีเซลธรรมดาๆ หรือไม่   เพื่อทดสอบน้ำมันพรีเมี่ยม 2 ยี่ห้อ ได้แก่ G-Force  และ Hi Energy  และน้ำมันธรรมดา 2 ยี่ห้อคือ  Jumbo และ Intermarche  นิตยสาร DECO ซื้อรถ Renault Clio ใหม่เอี่ยมมา 4 คัน จ้างนักขับรถมืออาชีพ 4 คน และเช่าสนามแข่งรถแห่งหนึ่งเป็นเวลา 1 เดือน   ทีมงานจะเติมน้ำมันยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งให้กับรถแต่ละคันเท่านั้น แต่จะมีนักขับมากกว่าหนึ่งคนมาทดลองขับรถแต่ละคันเป็นระยะทางรวม 12,000 กิโลเมตร โดยเส้นทางที่วิ่งก็มีทั้งช่วงที่ใช้ความเร็วได้ต่อเนื่องและช่วงที่ต้องขับๆ หยุดๆ เหมือนอยู่ในช่วงการจราจรติดขัด    ผลการทดสอบ (ซึ่งรวมถึงการถอดเครื่องยนต์ออกไปให้ห้องปฏิบัติการตรวจ) ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องการสึกหรอของเครื่องยนต์ สมรรถนะของรถ ประสิทธิภาพการใช้น้ำมัน หรือการปล่อยมลพิษของรถทั้ง 4 คันที่เติมน้ำมันคนละยี่ห้อ   แล้วผู้บริโภคจะจ่ายแพงกว่าไปทำไม?   หมายเหตุ: นิตยสาร DECO เป็นนิตยสารเพื่อผู้บริโภคของโปรตุเกส ที่มีสมาชิก 400,000 คน   Consumer Justice Now! In Thailand ปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกมองข้าม ทั้งที่สังคมบ้านเราก็ดูเหมือนจะมุ่งมั่นเดินหน้าเข้าสู่สังคมบริโภคนิยมกันอย่างเต็มที่ ยิ่งบริโภคกันมากปัญหาจากการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ก็ย่อมมีมากตามไปด้วย แถมยิ่งพอเกิดปัญหาขึ้นแล้วจะเรียกร้องหาทางออกทางแก้ ก็เป็นเรื่องที่ยากแท้หยั่งถึง   แต่ก็ใช่ว่าผู้บริโภคไทยจะยอมทนอยู่กับปัญหา เพราะยังมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ออกมาปกป้องสิทธิของตัวเอง ลองมาดูกันว่าพลังของผู้บริโภคไทยสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรให้เกิดขึ้นบ้าง   พลังจากการรวมตัว ใครจะคาดคิดว่าสถานออกกำลังกายชื่อดังอย่าง “แคลิฟอร์เนียว้าว” ที่มีสาขาเปิดให้บริการเป็นจำนวนมากทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด มีสมาชิกสมัครใช้บริการรวมทุกสาขามากกว่า 150,000 คน วันหนึ่งจะประสบปัญหาด้านการเงินจนต้องปิดให้บริการ ซึ่งกลายเป็นปัญหาส่งตรงถึงผู้บริโภคที่สมัครเป็นสมาชิก ทั้งไม่ได้ใช้บริการตามที่สัญญา ราคาค่าสมัครสมาชิกนั้นก็สูงลิ่วตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสน แถมที่น่าเจ็บใจยิ่งกว่าคือทั้งๆ ที่ไม่สามารถให้บริการได้ตามที่สัญญา แต่การหักเงินค่าสมาชิกที่จ่ายค่าผ่านบัตรเครดิตกลับยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เรียกว่าบริการก็ไม่ได้ใช้ การช่วยเหลือชดเชยก็ไม่มี แต่ยังต้องมาเสียเงินซ้ำอีก มี่แหละคือความช้ำสุดๆ ที่ผู้ประกอบการใจร้ายทำกับผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเพื่อทำให้เกิดการรวมตัวของสมาชิกฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าวที่ได้รับความเสียหาย เพื่อร่วมกันเป็นหนึ่งพลังที่ยิ่งใหญ่ในการปกป้องสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งมียอดผู้ร้องเรียนเข้ามายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถึง 587 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท การรวมตัวกันของผู้เสียหายจากการใช้บริการฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าว ครั้งนี้ได้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจร่วมกันถึงการรักษาสิทธิในฐานะผู้บริโภค แนวทางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิ ซึ่งมีทั้งการจัดเวทีเพื่อพูดคุยทำความเข้าใจทั้งกับผู้เสียหายและผู้บริโภคทั่วไปในเรื่องการขอยกเลิกสัญญาบริการฟิตเนส ซึ่ง สคบ. มีการกำหนดขอบังคับไว้ชัดเจน ก ารรวมกลุ่มผู้เสียหายเพื่อร่วมกันดำเนินการเอาผิดกับฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าวตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการยื่นหนังสือกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐนมตรี เพื่อขอให้ทำหน้าที่ฟ้องคดีแพ่งและอาญาแทนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย การเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เพื่อดำเนินคดีอาญา และการเข้าพบอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อเสนอให้ดำเนินการเป็นคดีพิเศษ   แม้ว่าปัญหาจะยังไม่ถูกแก้ไขจนแล้วเสร็จ แต่การจับมือกันลุกขึ้นมาสู้ของเหล่าผู้เสียหายจากการใช้บริการฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าวครั้งนี้ สร้างแรงสั่นสะเทือนอย่างมากในเรื่องการรวมตัวกันรักษาสิทธิของผู้บริโภคในประเทศไทย ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปเห็นความสำคัญในการรักษาสิทธิ และเป็นการส่งสัญญาณเตือนกับบรรดาผู้ประกอบการว่าต้องให้ความเคารพไม่คิดละเมิดสิทธิของผู้บริโภค   จอดำ ทำกันได้ จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเรานั่งดูทีวีอยู่ดีๆ แต่กลับถูกละเมิดสิทธิแบบที่ไม่มีโอกาสเรียกร้อง   คำว่า “จอดำ” กลายเป็นคำที่ได้ยินบ่อยครั้งในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโรเมื่อปี 2012 เมื่ออยู่ดีๆ โทรทัศน์ช่องฟรีทีวีอย่าง 3, 5, 7, 9 ของหลายๆ บ้านไม่สามารถรับชมการแข่งขันได้ทั้งๆ ที่กำลังมีการถ่ายทอดสด เนื่องจากปัญหาลิขสิทธิ์ เกิดเงื่อนไขที่ว่าต้องติดจานดาวเทียมหรือกล่องรับสัญญาณของเจ้านี้เท่านั้นถึงจะได้ดู ถ้าติดของอีกเจ้าก็หมดสิทธิ์ ทั้งๆ ที่ช่องที่กำลังถ่ายทอดคือช่องฟรีทีวี ซึ่งๆ ไม่ว่าใครก็ควรจะมีสิทธิที่ได้ชมขอแค่มีทีวีและอุปกรณ์รับสัญญาณ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องตลกร้ายที่กลุ่มธุรกิจแข่งขันกันเรื่องผลประโยชน์โดยไม่สนใจในสิทธิของผู้บริโภค   เครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ออกมาเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ ผู้บริหารช่องฟรีทีวี และหน่วยงานที่มีหน้ากำกับดูแลอย่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหาทางแก้ปัญหาทวงสิทธิของผู้บริโภคกลับคืนมา ซึ่งท้ายที่สุดได้มีการยืนฟ้องต่อศาลให้เข้ามาควบคลุมดูแล แต่แม้ว่าศาลจะยกคำร้องทำให้ฟรีทีวียังคงจอดำจนจบการแข่งขันฟุตบอลยูโร แต่การลุกขึ้นมารักษาสิทธิของผู้บริโภคโดยเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในครั้งนี้ สร้างการตื่นตัวครั้งสำคัญในเรื่องของสิทธิในรับชมรายการถ่ายทอดสดโดยเฉพาะการแข่งขันกีฬาผ่านช่องฟรีทีวี ในยุคที่จานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณต่างๆ กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   การออกมาแสดงพลังผู้บริโภคโดยเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเรื่องปัญหาจอดำ ทำให้ กสทช. ตื่นตัวทำงาน ด้วยการออกหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ MUST CARRY RULE ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่จะช่วยปกป้องสิทธิของผู้บริโภคที่รับชมโทรทัศน์ช่องฟรีทีวีให้สามารถรับชมได้อย่างทั่วถึง ในเนื้อหาเดียวกัน  ไม่มีการเปลี่ยนแปลงผังรายการหรือเนื้อหารายการ ไม่ว่าจะเป็นการรับชมผ่านช่องทางใด ผ่านจานหรือกล่องรับสัญญาณยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ ช่องฟรีทีวีต้องไม่จอดำ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเอาไว้ด้วยว่าการแข่งขันกีฬาระดับโลก 7 รายการ เช่น ซีเกมส์, เอเซียนเกมส์, โอลิมปิก ฯลฯ ต้องสามารถรับชมได้ผ่านช่องฟรีทีวี ห้ามจอดำ   ร้องเรียนสู่การเปลี่ยนแปลง บางครั้งหนึ่งเสียงเล็กๆ ของผู้บริโภค ที่มองเห็นปัญหาแล้วบอกต่อสู่สังคม ก็อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้เหมือนกัน   คนไทยเราให้ค่ากับ “รังนก” ว่าเป็นของดีมีประโยชน์ เป็นของมากคุณค่าราคาแพง เราถูกบอกให้เชื่อตามที่ผู้ผลิตโฆษณา แต่ในทางวิชาการไม่ได้เป็นแบบนั้น ถ้าใครจำได้ เมื่อไม่นานมานี้เคยมีผลิตภัณฑ์รังนกสำเร็จรูปพร้อมดื่มยี่ห้อหนึ่งใช้คำโฆษณาว่า “รังนกแท้ 100%” ซึ่ง คุณเธียร ลิ้มธนากุล ผู้ที่ทำงานด้านโฆษณา มีความสงสัยในคำโฆษณาดังกล่าวจึงได้ส่งเรื่องร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงการโฆษณารังนกแท้ 100% ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วก็พบว่าข้อความโฆษณาดังกล่าวสร้างความเข้าผิดให้กับผู้บริโภคอย่างชัดเจน เพราะในความเป็นจริงแล้ว รังนกสำเร็จรูปพร้อมดื่มที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปมีรังนกเป็นส่วนประกอบอยู่เพียงแค่ 1% เท่านั้น   เครือข่ายผู้บริโภคและนักวิชาการด้านสื่อจึงเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งตามปกติ อย.ไม่อนุญาตให้โฆษณาโดยใช้คำว่า 100% อยู่แล้ว ผลก็คือจากนี้ไปห้ามไม่ให้ผลิตภัณฑ์รังนกสำเร็จรูปใช้คำว่า “รังนกแท้ 100%” อีก ต้องตัดคำว่า 100% ออกไป ถ้าหากพบการทำผิดไม่ใช่แค่รังนกแต่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ในลักษณะนี้จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย   เห็นมั้ยว่า เราทุกคนสามารถเป็นผู้บริโภคที่ช่วยกันเปลี่ยนแปลงสังคมของเราได้   ใช้กฎหมายเป็นผู้ช่วย ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ผู้บริโภคไทยก็สามารถต่อสู้คดีจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการที่ไม่ประสงค์ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการใช้ “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค” ที่จะช่วยเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจจากศาล แต่เดิมที่ผู้บริโภคแทบจะไม่มีศักยภาพมากพอที่จะต่อสู้กันในชั้นศาลกับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้ในทางคดี หรือทุนทรัพย์ในการดำเนินการ สุดท้ายผู้บริโภคก็มักจะเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือไม่ก็ถูกผู้ประกอบการกล่อมให้ยอมความแล้วรับค่าชดเชยที่ไม่สมเหตุสมผล การมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้นมีข้อดีที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้บริโภคสามารถยื่นคำฟ้องได้ด้วยวาจา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการฟ้องคดี สามารถให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคฟ้องคดีแทนได้ มีกระบวนการไกล่เกลี่ย และให้ภาระการพิสูจน์ถูกผิดเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ ซึ่งก็มีผู้บริโภคจำนวนมากได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค เช่น อ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ที่ฟ้องสายการบินนกแอร์เรื่องการละเลยการดูแลมาตรการรักษาความปลอดภัย หรือกรณีของ คุณสุภาภรณ์ ว่องวีรวัฒนกุล ที่พบปัญหาอากาศเป็นพิษภายในรถรถยนต์โตโยต้า อินโนว่า ซึ่งสุดท้ายศาลคดีผู้บริโภคก็ให้คุณสุภาภรณ์ชนะคดีและให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยชดเชยค่าเสียหาย   แม้ว่ากฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง แต่กฎหมายฉบับนี้ก็ถือเป็นหนึ่งในอาวุธชิ้นสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ปกป้องพิทักษ์รักษาสิทธิของตัวเองได้อย่างเข้มแข็ง   Timeline การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย 2522 – ประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)   2526 – เกิด คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน (คปอส.) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนสาธารณประโยชน์ ทำงานด้านสาธารณสุข จุดเริ่มต้นก่อนที่จะเป็นมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในปัจจุบัน 2540 – มีการกำหนดให้มีองค์การอิสระผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญไทยเป็นครั้งแรก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศเริ่มต้นผลักดันให้เกิดองค์การอิสระผู้บริโภค   2548 – ปรากฏการณ์ “ทุบรถทวงสิทธิ” เมื่อ น.ส.เดือนเพ็ญ ศิลาเกษ ใช้ค้อนทุบรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซีอาร์วี ต่อหน้าสื่อมวลชน หลังสุดทนเจอปัญหาสารพัดแต่กลับไม่ได้รับการดูแลการบริษัทผู้ขาย   2548 – ขบวนการผู้บริโภคและภาคประชาชนยุติการแปรรูป การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)   2550 – ผ่านมา 10 มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่องค์การอิสระผู้บริโภคก็ยังไม่เกิด มีการปรับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จากมาตรา 57 ในรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นมาตรา 61 ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศยังคงผลักดันกฎหมายนี้อย่างตัวเนื่อง   2551 – เริ่มใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค   2556 – รัฐบาลยังไม่ยอมให้มี องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศก็ยังคงเดินหน้าผลักดันให้เกิดกฎหมายนี้ต่อไป //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 143 รถบัสลายการ์ตูน สวยงามหรืออันตราย!?

  เชื่อว่าใครที่สัญจรบนท้องถนนเป็นประจำ น่าจะเคยสะดุดตากับบรรดา “รถบัสลายการ์ตูน” ทั้งตัวการ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนฝรั่ง การ์ตูนไทยก็มี สีสันแสบตา เรียกว่านับสีกันไม่ถูก แถมบางคันยังติดไฟพรึ่บพรั่บเป็นสิบๆ ดวง ดูแล้วออกจะรกหูรกตามากกว่าจะเรียกว่าเป็นความสวยงาม เชื่อว่าหลายคนที่พบเห็นคงมีคำถามอยู่ในใจว่า รถทัวร์ลายการ์ตูนและรถทัวร์ที่ติดไฟส่องสว่างเกินความจำเป็นพวกนี้ เป็นรถที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ แล้วจะมีผลอย่างไรหรือไม่กับเรื่องของการขับขี่และที่สำคัญคือเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุ เรามาร่วมกันไขปริศนาของเหล่าบรรดารถบัสลายการ์ตูนสีลูกกวาดที่กำลังออกอาละวาดบนท้องถนนว่าเหมาะสม? ถูกต้อง? ปลอดภัย? อันตราย? หรือขัดกับกฎหมายอะไรยังไงกันบ้าง?   ต้องทำเพื่อเอาใจลูกค้า? พวกรถบัสลายการ์ตูนมักจะมาในรูปของ “รถโดยสารไม่ประจำทาง” ซึ่งมักจะเป็นรถรับส่งพนักงาน หรือรถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งการเป็นรถเพื่อการท่องเที่ยวนี่แหละที่กลายเป็นคำกล่าวอ้างของผู้ประกอบการให้เช่ารถโดยสารไม่ประจำทางถึงเหตุผลที่ทำให้รถต้องถูกตกแต่งด้วยสีสันและลวดลายต่างๆ   ฉลาดซื้อได้สอบถามพนักงานขับรถและผู้ประกอบการให้เช่ารถโดยสารไม่ประจำทางแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีบริษัทผู้ประกอบการรถบัสโดยสารทั้งประจำทางและไม่ประจำทางหลายแห่ง เนื่องจากเป็นจังหวัดที่เป็นนิคมอุตสาหกรรม จึงทำให้มีรถบัสสำหรับรับ - ส่งพนักงานวิ่งให้บริการเป็นจำนวนมาก รวมทั้งรถที่เพนท์ลายการ์ตูน – แต่งไฟก็มีให้พบเห็นได้ไม่ยาก พนักงานขับรถและผู้ประกอบการได้อ้างถึงเหตุผลที่รถต้องมีการแต่งสีสันหรือวาดลายการ์ตูน รวมทั้งการที่ต้องมีการติดโคมไฟจำนวนมากไว้บริเวณหน้ารถหรือตามตัวรถว่า เป็นความต้องการของลูกค้าที่มาขอใช้บริการ เพราะลูกค้าที่ต้องการรถประเภทนี้ส่วนใหญ่ให้เหตุผลเรื่องความสนุก โดยคิดว่ายิ่งรถมีสีสันแต่งสวยก็จะยิ่งให้ความรู้สึกสนุกมากขึ้น ถึงขนาดที่ลูกค้าที่มาติดต่อเช่ารถเป็นฝ่ายขอมาเองเลยว่ารถต้องมีลวดลายเยอะๆ แต่งไฟเยอะๆ เครื่องเสียงก็ต้องดัง บางก็ว่าด้วยความที่รถมีลวดลายเฉพาะทำให้ง่ายต่อการจดจำเวลาที่รถไปจอดรอบตามที่ต่างๆ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวหรือตามปั้มน้ำมัน ซึ่งมักจะมีรถบัสโดยสารลักษณะนี้จอดเป็นจำนวนมาก ทำให้คนที่โดยสารมาจดจำรถของตัวเองได้   สรุปคือ ผู้ประกอบการอ้างว่าการตกแต่งรถบัสด้วยสีสัน ลายการ์ตูน และดวงไฟที่มากมายเกินพอดีนั้น เป็นหนึ่งในเรื่องของการบริการ แต่บริการในลักษณะนี้อาจกำลังขัดกับเรื่องของกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับรถโดยสาร รวมทั้งอาจส่งผลต่อเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งตัวผู้ใช้บริการหรือผู้โดยสารเองอาจยังไม่ทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ตัวผู้ประกอบการเองก็ละเลยที่จะเลือกปฏิบัติตามกฎระเบียบ และอาจจะรวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลที่หละหลวมในการควบคุม   สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากความประมาทของพนักงานขับรถ เช่น ขับรถเร็ว ขับตัดหน้ากระชั้นชิด ขับผิดกฎหมาย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับรถโดยสารสาธารณะ ทั้งสภาพของถนนที่ยากต่อการขับและต้องอาศัยของชำนาญของผู้ขับ สภาพแวดล้อม เช่น ฝนตกหนัก ถนนลื่น   สภาพของรถก็มีผลต่อสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเช่นกัน ทั้งในเรื่องการตรวจเช็คที่ไม่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์ชำรุด ส่งผลต่อการควบคุมรถ และรวมถึงการตกแต่งต่อเติมสภาพรถเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้มีการกำหนดไว้ชัดเจนในกฎกระทรวงเรื่อง “กำหนดความปลอดภัยในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร พ.ศ. 2555” ว่าไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถ หรือเพิ่มสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้าไป ซึ่งน่าจะเป็นอันตรายกับการขับรถและการโดยสาร   เพราะฉะนั้นบรรดารถโดยสารที่เพนท์สีสันหรือลายตัวการ์ตูนต่างๆ รอบตัวรถ และที่มีการติดไฟส่องสว่างไว้ที่หน้ารถนับสิบๆ ดวง ที่ดูแล้วน่าจะเป็นการตกแต่งดัดแปลงรถที่เกินความจำเป็นนั้น ถึงแม้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่ารถทัวร์ลายการ์ตูนและรถทัวร์ที่ติดไฟส่องสว่างเกินความจำเป็นนั้นมีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุมากน้อยแค่ไหน แต่กรมการขนส่งทางบกก็ได้มีการออกกฎหมายควบคุมในเรื่องนี้ เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบนท้องถนน   สถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2555 พบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นถึง 176 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตถึง 181 คน บาดเจ็บ 1,857 คน ที่มา กรมการขนส่งทางบก   รถบัสแต่งสี – แต่งไฟ ระวังเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย ข้อบังคับเรื่องการตกแต่งสีและลวดลายบนตัวถังรถ กรมการขนส่งทางบกได้ออกข้อบังคับเรื่องการตกแต่งสีสัน ลวดลาย และภาพวาด บนตัวถังรถยนต์ ไว้ในประกาศเรื่อง “ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2555” ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้ รถโดยสารทั้งแบบประจำทางและไม่ประจำทาง สามารถตกแต่งภาพไว้บนตัวถังรถได้ แต่ต้องเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และได้รับการขออนุญาตเสียก่อน โดยรูปภาพประจำรถหรือข้อความที่นำมาตกแต่งต้องไม่มีลักษณะดังนี้ 1.กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น รูปภาพล้อเลียนหรือข้อความที่ส่อไปทางดูหมิ่น ดูถูกผู้นำหรือประชาชนของประเทศอื่น เป็นต้น 2.กระทบต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศไทยหรือขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ เช่น รูปภาพหรือข้อความที่สนับสนุนให้ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น 3.ขัดต่อกฎหมายอื่น เช่น รูปภาพหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น 4.ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม หรือวัฒนธรรมอันดีของประชาชน เช่น รูปภาพหรือข้อความที่ส่อไปในทางลามกอนาจาร 5.ขัดต่อลัทธิหรือความเชื่อทางศาสนา หรืออาจเป็นประเด็นขัดแย้งทางศาสนา เช่น  รูปภาพหรือข้อความล้อเลียนศาสดาหรือผู้นำทางศาสนา 6.ก่อให้เกิดอันตรายหรือก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น รูปภาพหรือข้อความที่เป็นสีสะท้อนแสง เป็นต้น 7.ละเมิดหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เช่น รูปภาพหรือข้อความที่หมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น 8.มีข้อความหรือถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม เช่น คำหยาบคาย คำผวน หรือคำแสลงที่สื่อความหมายในทางลามก อนาจาร เป็นต้น   ที่สำคัญคือ รูปภาพประจำรถต้องไม่ปิดทับเครื่องหมายของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เครื่องหมายที่ต้องให้ปรากฏประจำรถ หมายเลขเส้นทาง ชื่อเส้นทาง หรือข้อความอื่นที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อความเกี่ยวกับการใช้ประตูฉุกเฉิน ทางออกฉุกเฉิน และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของรถ เช่น ประตูฉุกเฉิน ประตูอัตโนมัติ จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยอนุญาตให้มีรูปภาพประจำรถได้แต่เฉพาะในตำแหน่งด้านข้างภายนอกตัวถังรถเท่านั้น และต้องไม่บดบังส่วนที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่าง หากกระทำผิดฝ่าฝืนกฎข้อบังคับจะถูกลงโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท   แต่จากสภาพที่เห็นๆ กันอยู่ ว่าการตกแต่งตัวถังรถ ทั้งด้านข้าง ด้านหน้า และด้านท้ายตัวรถ ด้วยรูปภาพการ์ตูนหรือลวดลายต่างๆ โดยใช่สีสันหลากหลายสี จนยากที่จะจำแนกเจาะจงว่ารถคันดังกว่าเป็นสีอะไร ทำเป็นปัญหาอย่างมากต่อการจดจำหรือใช้เป็นข้อมูลเฉพาะของรถคันดังกล่าว แม้บางคนอาจอ้างว่ายิ่งรถตกแต่งลายการ์ตูนน่าจะช่วยให้จำง่ายด้วยซ้ำเพราะไม่ซ้ำกับรถคันอื่น แต่หากเป็นกรณีที่ผู้เสียหายหรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถบัสลายการ์ตูนดันดังกล่าว ไม่รู้จักตัวการ์ตูนตัวนั้นที่เป็นภาพวาดอยู่บนรถ ก็แทบจะระบุไม่ได้เลยว่าลักษณะสีของรสบัสคันดังกล่าวเป็นสีอะไร นอกจากนี้การใช้สีสันเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสีสะท้อนแสง ก็จะยิ่งเป็นอันตรายกับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น เพราะสีสะท้อนแสงจะไปรบกวนการทัศนวิสัยการขับขี่ของรถคันอื่นได้   เรื่องของรูปภาพโฆษณาที่ติดข้างรถโดยสาร คนกทม.น่าจะคุ้นเคยกับบรรดารถเมล์ที่ด้านข้างตัวรถถูกปิดทับด้วยภาพโฆษณา ซึ่งประกาศเรื่อง “ตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่ตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร และรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2555” ก็มีผลบังคับกับรถประจำทางเหล่านี้ด้วยเช่นกัน แต่ก็มีข้อกำหนดเฉพาะเพิ่มเติม เช่น รูปภาพเพื่อการโฆษณาบริเวณส่วนตัวถังที่เป็นกระจกหรือบานหน้าต่าง ต้องทำด้วยวัสดุโปร่งแสงซึ่งสามารถทำให้ผู้โดยสารภายในรถมองเห็นสภาพภายนอกรถได้ดี และบุคคลภายนอกรถสามารถมองเห็นสภาพภายในรถได้ด้วย การติดรูปภาพเพื่อการโฆษณาที่ตัวถังรถ ต้องติดให้แนบแน่นกับตัวถังรถอย่างเรียบร้อย โดยต้องไม่มีส่วนใดยื่นออกนอกตัวถังรถ ข้อบังคับเรื่องโคมไฟส่องสว่าง ส่วนในเรื่องของโคมไฟนั้น ตามพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ว่าให้มีได้เฉพาะในส่วนที่มีความจำเป็นเท่านั้น เช่น โคมไฟส่องสว่างด้านหน้า ไฟเลี้ยว ไฟจอด ไฟท้ายและไฟจอดแสงสีแดง ไฟส่องป้ายทะเบียน และไฟแสดงส่วนสูง ส่วนกว้างของรถ สำหรับไฟส่องสว่างที่อนุญาต คือ ไฟแสงสีขาวและสีเหลืองเท่านั้น โคมไฟอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ถ้าจะนำมาใช้ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบกเสียก่อน สำหรับรถบัสที่ติดตั้งโคมไฟสปอร์ตไลท์ ที่มีลักษณะโคมไฟเรียงกันเป็นแถวยาวที่ด้านหน้าและด้านท้ายรถ ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอนเป็นจำนวนมากหลายสิบดวง ซึ่งปิดบังทัศนะวิสัยในการมองบริเวณกระจกรถ รวมถึงการดัดแปลงแก้ไขโคมไฟต่างๆ เช่น โคมไฟส่องสว่าง โคมไฟเบรก โคมไฟเลี้ยวให้มีสีที่ผิดไปจากที่กฎหมายกำหนด หรือติดสติ๊กเกอร์ปิดบังทัศนวิสัยในการมองบริเวณกระจกหน้ารถ รวมถึงเปิดเสียงดังก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ถือว่าเข้าข่ายกระทำผิดพระราชบัญญัติ ผู้ที่ทำผิดจะมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท จากการที่ฉลาดซื้อได้สอบถามกับพนักงานขับรถบัสไม่ประจำทางคนหนึ่งถึงเรื่องของโคมจำนวนกว่าร้อยดวงที่ติดอยู่ด้านหน้ารถนั้น พนักงานขับรถยืนยันว่า “ทุกดวงสามารถเปิดใช้งานได้” ซึ่งแน่นอนหากมีการเปิดใช้โคมไฟเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด รวมถึงการนำไปใช้ผิดประเภทย่อมส่งผลต่อการขับขี่ของรถยนต์คันอื่นๆ (ใครที่พบเห็นรถโดยสารทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง ที่มีการตกแต่งสี – ลวดลาย โคมไฟ หรือตกแต่งส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวรถที่ดูแล้วไม่เหมาะสม ขัดกับกฎหมาย หรืออาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ สามารถแจ้งไปได้ที่ “ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ โทร. 1584”) ------------------------------------------------------- คำแนะนำในการเดินทางโดยรถโดยสารไม่ประจำทาง -เลือกผู้ประกอบการที่มีความน่าเชื่อถือ มีที่ตั้งสถานที่ประกอบการชัดเจน มีใบอนุญาตประกอบการจากกรมการขนส่งทางบก ตรวจสอบได้ -ได้ดูสภาพรถจริงๆ ก่อนที่จะตัดสินใจใช้บริการ เรามีสิทธิเลือกรถที่จะใช้ -เลือกเช่ารถที่มีอุปกรณ์ความปลอดภัยครบถ้วน ได้แก่ เข็มขัดนิรภัย มีค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง และควรมั่นใจว่าอุปกรณ์ต่างๆ ยังอยู่ในสภาพที่ใช้ได้จริง -เลือกรถโดยสารแบบชั้นเดียว เพราะปลอดภัยกว่ารถโดยสารที่เป็นแบบ 2 ชั้น -เลือกรถที่มีการทำประกันอุบัติเหตุ แบบประกันชั้น 1 -ถ้าเดินทางในระยะทางที่มากกว่า 400 กิโลเมตร ต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน -พนักงานขับรถต้องมีใบอนุญาตสำหรับรถโดยสาร (ใบอนุญาตประเภท 2 ขึ้นไป) และต้องมีการแสดงข้อมูลพนักงานขับรถที่ถูกต้อง (ชื่อ – นามสกุล และ รูปถ่าย) ติดบริเวณด้านในของรถ ถ้ามีพนักงานขับ 2 คน ก็ต้องแสดงข้อมูลที่ถูกต้องทั้ง 2 คน -ควรมีการวางแผนเส้นทางการเดินทางและระยะเวลาร่วมกับพนักงานขับรถ เลือกเส้นทางที่ปลอดภัย และไม่ควรเดินทางด้วยความเร่งรีบเกินไป เพราะเสี่ยงต่ออันตราย -ระหว่างเดินทางอย่าลืมค่อยสังเกตพนักงานขับรถ ว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมจะขับขี่หรือไม่ รวมทั้งต้องขับรถด้วยความสุภาพเรียบร้อย ไม่ขับรถประมาท หรือขับหวาดเสียว หากเห็นว่าไม่ปอลดภัยต้องรีบบอกกับพนักงานขับรถ หรือขอให้หยุดรถแล้วแจ้งบริษัทผู้ให้บริการ เจ้าหน้าตำรวจจราจร หรือกรมการขนส่งทางบก -เลือกรถที่มีสภาพถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีการตกแต่งลายหรือใช้สีสันฉูดฉาดหลายสี ไม่มีการติดโคมไฟหรือใช้แสงสีผิดจากที่กฎหมายกำหนด ---------------------------------------------------------------------     ปัจจุบันมีรถโดยสารจดทะเบียน จนถึง 31 ตุลาคม 2555 ทั้งสิ้นจำนวน 137, 153 คัน เป็นรถโดยสารประจำทาง จำนวน 88,962 คัน รถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 36,962 คัน ที่มา : กรมการขนส่งทางบก

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 142 ราคา vs รายได้ ใครจ่ายมากกว่า

อยู่ดี กินดี ฉลาดซื้อฉบับส่งท้ายปีเก่าขอพาคุณไปตระเวนรอบโลกผ่านรายงานการสำรวจ “ราคาและรายได้” ประจำปี 2012 โดยบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน UBS ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ รายงานซึ่งสำรวจกำลังซื้อของผู้คนใน 72 เมือง ได้สะท้อนให้เห็นความแตกต่างด้านคุณภาพชีวิตของประชากรในแต่ละเมืองอย่างเห็นได้ชัด  ผู้คนในเอเชียยังคงมีชั่วโมงทำงานนานกว่าคนยุโรป และราคาของสินค้าจำเป็นพื้นฐานอย่างข้าวหรือขนมปังในแต่ละเมืองยังต่างกันค่อนข้างมาก เนื่องจากเนื้อที่ของเรามีจำกัด ฉลาดซื้อ จึงขอเลือกมาเฉพาะบางประเด็น เน้นความจำเป็นพื้นฐานอย่างอาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (น่าเสียดายที่การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ทำเรื่องยารักษาโรค) การเดินทาง และปัจจัยใหม่ล่าสุดอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังเน้นเมืองในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้เป็นหลัก (กรุงเทพมหานคร กัวลาลัมเปอร์ จาการ์ตา และมะนิลา)   ใคร ที่ไหน อยู่ดีกินดีกว่ากัน กว่าจะมีเงินพอซื้อข้าวสาร 1 กิโลกรัม หรือเบอร์เกอร์ บิ๊กแม็ค 1 ชิ้น ผู้คนในแต่ละเมืองต้องทำงานกี่ชั่วโมง   ข้าวสาร   จำนวนนาที ซูริค / ซิดนีย์ /นิวยอร์ค/ ไมอามี่ / มาดริด/ บาเซโลนา/ ลอสแองเจลิส /โคเปนเฮเกน 6 กรุงเทพฯ 20 กัวลาลัมเปอร์ 21 มะนิลา 28 จาการ์ตา 28 ไนโรบี 41 Big Mac   จำนวนนาที   โตเกียว 9 กัวลาลัมเปอร์ 26 กรุงเทพฯ 36 จาการ์ตา 62 มะนิลา 73 ไนโรบี 84 -          ถ้าเปรียบเทียบกันระหว่าง 4 เมืองในกลุ่มอาเซียน จะเห็นว่า มะนิลามีความแตกต่างระหว่างราคาบิ๊กแม็คกับราคาข้าวสาร มากที่สุด ในขณะที่กัวลาลัมเปอร์มีความแตกต่างของราคาสินค้า 2 ประเภทมากที่สุด จะซื้อ iPhone 4S (16GB) ได้ ผู้คนในแต่ละเมืองต้องทำงานกี่ชั่วโมง iPhone 4S (16GB)   จำนวนชั่วโมง ซูริค 22 กัวลาลัมเปอร์ 129 จาการ์ตา 348.5 กรุงเทพฯ 165 มะนิลา 435 *ปักกิ่ง (ไหนๆ ก็ทำในจีนอ่ะนะ) 184 หมายเหตุ ราคาทั้งหมดเป็นราคาโดยประมาณ (ปัดเศษขึ้น-ลง ให้ได้ตัวเลขกลมๆ) ราคาอาหารในแต่ละเมือง โดยรวมแล้วราคาอาหารโลกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11 เรามาดูกันว่า ค่าใช้จ่ายด้านอาหารของผู้คนแตกต่างกันอย่างไร   ราคา “ตะกร้าอาหาร”   ราคา ราคาเฉลี่ยของทั้ง 72 เมือง 13,000 โตเกียว (แพงที่สุด) 28,500 กรุงเทพฯ 13,000 จาการ์ตา 11,300 กัวลาลัมเปอร์ 10,600 มะนิลา 9,000 มุมไบ (ถูกที่สุด) 5,700   ในที่นี้คิดจาก “ตะกร้าอาหาร” ที่มีผลิตภัณฑ์อาหารจำเป็นสำหรับผู้คนในเมืองนั้นๆ จำนวน 39 รายการ ใน 4 ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ทำการสำรวจ กรุงเทพฯ ของเรามีราคาอาหารแพงที่สุด ในขณะที่ฟิลิปปินส์มีราคาอาหารต่ำสุด   ที่อยู่อาศัย ราคา “ค่าเช่าบ้าน” ต่อเดือน   ราคา นิวยอร์ค (แพงที่สุด) 102,900 กัวลาลัมเปอร์ 23,950 จาการ์ตา 20,600 กรุงเทพฯ 12,600 มะนิลา 5,800 ไคโร (ถูกที่สุด) 5,200   ราคา “บ้าน” ต่อตารางเมตร   ราคา เจนีวา (แพงที่สุด) 364,300 กรุงเทพฯ 87,800 มะนิลา 50,400 จาการ์ตา 49,450 กัวลาลัมเปอร์ 42,100 มุมไบ (ถูกที่สุด) 21,800   เสื้อผ้า ชาย ชุดสูท 1 ชุด + เสื้อแจ็คเก็ต + เสื้อเชิ้ต + กางเกงยีนส์ + ถุงเท้า 1 คู่ + รองเท้า 1 คู่ หญิง ชุดสูท 1 ชุด (เสื้อ-กระโปรง) + เสื้อแจ็คเก็ต + ชุดกระโปรงติดกัน + ถุงน่อง 1 คู่ + รองเท้า 1 คู่ เสื้อผ้าคุณภาพดี ซื้อในห้างสรรพสินค้า     ราคาเสื้อผ้าผู้หญิง ดูไบ (แพงที่สุด) 39,000 กรุงเทพฯ 12,300 กัวลาลัมเปอร์ 7,050 จาการ์ตา 5,800 มะนิลา (ถูกที่สุด) 4,300 *ปักกิ่ง 20,200     ราคาเสื้อผ้าผู้ชาย โตเกียว (แพงที่สุด) 57,700 กรุงเทพฯ 18,400 กัวลาลัมเปอร์ 16,600 จาการ์ตา 12,000 มะนิลา 8,300 *ปักกิ่ง 21,500   ทุกเมืองที่ทำการสำรวจ เสื้อผ้าผู้ชายมีราคาแพงกว่าเสื้อผ้าผู้หญิง ยกเว้นโรม ที่ราคาเสื้อผ้าผู้ชายถูกกว่า   อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ตู้เย็น + โทรทัศน์ (LED) 40 นิ้ว + iPhone 4S (16GB) + กล้องดิจิตัล + เครื่องดูดฝุ่น + กระทะไฟฟ้า + ไดร์เป้าผม + คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค     ราคา คาราคัส  (แพงที่สุด) 859,500 มะนิลา 172,700 จาการ์ตา 136,800 กรุงเทพฯ 134,000 กัวลาลัมเปอร์ 131,900 ไมอามี่ 109,800 *ปักกิ่ง 134,000 การขนส่งมวลชน ค่าโดยสารรถเมล์/รถราง/รถไฟใต้ดิน เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร หรือ 10 ป้าย   ราคา ออสโล  (แพงที่สุด) 157 กรุงเทพฯ 23 กัวลาลัมเปอร์ 21 จาการ์ตา 12 มะนิลา 10 มุมไบ 4   ค่าโดยสารรถแท็กซี่ เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร ในเวลากลางวัน     ราคา ซูริค (แพงที่สุด) 900 จาการ์ตา 90 มะนิลา 88 กรุงเทพฯ 76 กัวลาลัมเปอร์ 75 ไคโร 46 ค่าโดยสารรถไฟ ชั้น 2 สำหรับการเดินทาง 200 กิโลเมตร     ราคา แฟรงค์เฟิร์ต (แพงที่สุด) 2,700 กัวลาลัมเปอร์ 220 มะนิลา 170 กรุงเทพฯ 106 จาการ์ตา 81 ชั่วโมงทำงาน และรายได้ วิศวกร วุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือปวส.ด้านวิศกรรมไฟฟ้า ประสบการณ์ทำงาน 5 ปี     ชั่วโมงทำงาน/สัปดาห์ รายได้สุทธิ/ปี ซูริค 41 2,813,000 กรุงเทพฯ 43 659,700 กัวลาลัมเปอร์ 40 552,300 จาการ์ตา 36 300,700 มะนิลา 43 224,000 เคียฟ 40 165,700   เลขานุการ/ ผู้ช่วย ผู้อำนวยการฝ่าย ประสบการณ์ทำงาน 5 ปี มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และพูดภาษาต่างประเทศได้ 1 ภาษา)     ชั่วโมงทำงาน/สัปดาห์ รายได้สุทธิ/ปี ซูริค 42 1,666,000 กัวลาลัมเปอร์ 40 328,300 กรุงเทพฯ 47 230,000 จาการ์ตา 43 135,000 มะนิลา 48 98,200 มุมไบ 49 98,200 ไนโรบี 42 98,200   ภาษีเงินได้และเงินประกันสังคม   ร้อยละ จากรายได้ บรัซเซลส์ 43 โคเปนเฮเกน 41 ซูริค 21 มะนิลา 19 กัวลาลัมเปอร์ 18 จาการ์ตา 7 กรุงเทพฯ 6 มานามา 2 ดูไบ และ โดฮา 0

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 141 เที่ยวด้วยหัวใจสีเขียว

ถ้าให้นึกถึงความรู้สึกของการได้ออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ได้พบกับประสบการณ์แปลกใหม่ เชื่อว่าทุกคนต้องคิดถึงภาพช่วงเวลาแห่งความสุข การได้พักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศของธรรมชาติซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน แค่คิดภาพตามก็ชักอยากจัดแจงแพ็คกระเป๋าเดินทางแล้วออกไปหาที่เที่ยวแบบธรรมชาติๆ บรรยากาศสบายๆ สักที่ แต่อย่างที่เคยมีใครบางคนบอกไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มักมีสองด้านเสมอ เพราะแม้การได้ออกเดินทางท่องเที่ยวจะสร้างความสนุกสุขใจให้กับเรา แต่ในทางตรงกันข้ามเราในฐานะนักท่องเที่ยวกลับกำลังทำลายธรรมชาติและโลกใบนี้ผ่านการทำกิจกรรมที่ทั้งทำร้ายและรบกวนทรัพยากรธรรมชาติไปอย่างน่าเสียดาย ยิ่งทุกวันนี้การท่องเที่ยวถูกผูกรวมเข้ากันกับเรื่องของธุรกิจ เศรษฐกิจ เลยไปถึงระบบอุตสาหกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศกลายเป็นดาบสองคม เพราะถึงแม้ประเทศเราจะร่ำรวยขึ้นแต่ทรัพยากรธรรมชาติก็เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ “แล้วแบบนี้สถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงามจะอยู่กับเราไปได้นานอีกสักแค่ไหน” ถึงเวลาต้องคิดใหม่ทำใหม่ ท่องเที่ยวอย่างใส่ใจ ไม่ทำร้ายธรรมชาติ เพื่อความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเรา   ท่องเที่ยวเทรนด์ใหม่ – รักษา สร้างสรรค์ และยั่งยืน “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” (sustainable tourism) ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คงต้องให้นึกถึงการท่องเที่ยวในเชิงของการอนุรักษ์ ซึ่งคงไม่มีใครปฏิเสธว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของประเทศไทยเราล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ทะเล ภูเขา ป่าไม้ และยังรวมไปถึงชุมชนต่างๆ ที่ยังคงมีวิถีชีวิตเชื่อมโยงเข้ากับธรรมชาติ เหล่านี้คือเสน่ห์ที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาสัมผัสของงดงาม แต่ธรรมชาติก็มีวันเสื่อมสลายไปตามเวลายิ่งเมื่อต้องรองรับการมาถึงของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม การจัดการดูแลเพื่อให้ทั้งการสร้างรายได้และความสมบูรณ์ของธรรมชาติสามารถจับมือเดินคู่กันไปได้อย่างสมดุล ประเทศไทยเราเริ่มจริงจังกับการส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการประกาศให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยว แม้ภาคการท่องเที่ยวในประเทศจะประสบความสำเร็จสามารถทำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าธุรกิจการท่องเที่ยวนั้นมีต้นทุนหลักก็คือ ทรัพยากรทางธรรมชาติ ซึ่งหากนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และประชาชนเจ้าของพื้นที่ ขาดจิตสำนึกที่จะดูแลรักษาธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติทั้งหลายจะอยู่กับเราไปได้นานสักแค่ไหน? องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เป็นหน่วยที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 เพื่อดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะ มีหน้าที่ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ทั้งรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับชาวบ้านในชุมชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ทั้งการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้ อพท. ก็ได้ให้การสนับสนุนดูแล 5 แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในประเทศ ให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย -หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง -เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี -เมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง -อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร -จังหวัดเลย โดย อพท. จะเข้าไปทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ ชาวบ้านในพื้นที่ และขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยว เพื่อช่วยกันทำให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อย่างในหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง ซึ่งมีปัญหาเรื่องของปริมาณขยะที่มีเป็นจำนวนมากยากต่อการจัดการ ซึ่งเกิดจากทั้งปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทุกปีและชาวบ้านในพื้นที่ที่ขาดความรู้ที่ถูกต้องในการจัดการ ที่สำคัญคือจิตสำนึกร่วมกันในดูแลรักษาสภาพแวดล้อม อพท. จึงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างโรงงานคัดแยกขยะขึ้นบนเกาะช้างเมื่อปี 2549 ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการจัดเก็บขยะอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ขยะมูลฝอยอินทรีย์ที่ได้ยังถูกแปรรูปไปเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย แม้จะเป็นปริมาณไม่มากแต่ก็ถือเป็นการบริหารการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี อพท. ได้นำพันธุ์สัตว์ป่าจากเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีนำไปเพราะพันธุ์ที่ห้วยทรายขาว จ.ลำพูน เพื่อเป็นการคืนธรรมชาติที่เหมาะสมให้กับพื้นป่าชุมชนห้วยทรายขาวซึ่งมีโอกาสพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ได้ในอนาคต ขณะที่เมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงก็จะถูกปรับภาพลักษณ์ให้เป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวมากขึ้น พัฒนาการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ส่วนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร ถือเป็นสถานที่ต้นแบบในการจัดทำพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้านประวัติศาสตร์ ขณะที่ จ.เลย ถือเป็นพื้นที่สำคัญมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติจำนวนมากและเริ่มมีนักท่องมาเที่ยวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อพท. จึงเห็นเหมาะสมที่จะเริ่มวางแนวทางการท่องเที่ยวยั่งยืนตั้งแต่เนินๆ นอกจากทั้ง 5 แห่งที่กล่าวมาแล้วในอนาคตข้างหน้าก็จะมีอีกหลายพื้นที่หลายชุมชนที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนการรูปแบบท่องเที่ยวสู่แนวทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ศึกษาข้อมูลของพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั้ง 5 แห่งเพิ่มเติมได้ที่ www.dasta.or.th/th/Sustain/sub_sustain_area.php)   “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” (Creative Tourism) การท่องเที่ยวสร้างสรรค์จะเน้นให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ในเรื่องศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของแต่ละสถานที่ ผ่านประสบการณ์ตรง ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าบ้านอย่างผู้คนในท้องถิ่นเองก็ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดสิ่งต่างๆ แก่นักท่องเที่ยว อย่างการทดลองทำอาหารขึ้นชื่อประจำท้องถิ่น การทดลองทำหัตถกรรม OTOP ทดลองทำเกษตรอินทรีย์ พักแบบ Home Stay ตลอดจนการทดลองใช้ชีวิตตามแบบอย่างผู้คนในชุมชน เพื่อให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์ของผู้คนและสถานที่นั้นๆ ผ่านประสบการณ์ตรง เรียกว่าเป็นเวทีการเรียนรู้แบบมีชีวิต การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ นอกจากจะดีกับนักท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการท่องเที่ยวที่ช่วยสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง เพราะเป็นการช่วยให้ชุมชนสำนึกรักในบ้านเกิดของตัวเอง รู้จักและเข้าใจในเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของตัวเองอย่างถ่องแท้ เพื่อจะได้นำมาใช้ถ่ายทอดต่อให้กับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างธุรกิจการท่องเที่ยวที่ทั้งสร้างสรรค์และยั่งยืน   “นักท่องเที่ยวสีเขียว” ใครๆ ก็เป็นได้ เตรียมตัวก่อนออกเที่ยว -ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ทั้งทรัพยากรในพื้นที่ ประเพณีวัฒนธรรม กิจกรรม รวมถึงปัญหาในพื้นที่ เพื่อเราในฐานะนักท่องเที่ยวจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมและไม่ทำอะไรที่เป็นรบกวนสถานที่ที่เราไปเที่ยว -เวลาจัดกระเป๋าสัมภาระต้องจัดอย่างสร้างสรรค์ รับรองว่าช่วยลดโลกร้อนได้เหมือนกัน ง่ายๆ ด้วยการขนของที่จะใช้ไปเท่าที่จำเป็น ยิ่งกระเป๋าใบใหญ่ใส่ของแยะน้ำหนักเยอะก็ยิ่งสิ้นเปลืองพลังงานในการขนย้าย ยิ่งขนของไปเที่ยวมากๆ ก็มีสิทธิไปสร้างขยะทิ้งไว้ในสถานที่ที่เราไปเที่ยว -แต่ของใช้จำเป็นหลายๆ อย่างถ้านำไปเองได้ก็น่าจะช่วยลดการสร้างขยะ เช่นพวก สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม เพราะถ้าไปใช้ของที่โรงแรมที่พักเขาเตรียมไว้มักจะต้องเปลี่ยนให้ใหม่ทุกวัน แต่ของจะที่เอาไปขอให้เป็นแบบที่ชนิดเติมจะได้ไม่ต้องเพิ่มขยะขวดพลาสติก แถมการที่เรานำผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปเองก็ช่วยให้มั่นใจว่าเราจะเกิดอาการแพ้   เลือกการเดินทาง -ศึกษาเส้นทางให้ดีก่อนการเดินทาง ใช้เส้นทางที่มีระยะสั้น ประหยัดเวลา ใช้พลังงานน้อย -เลือกวิธีการเดินทางให้เหมาะสม หากเป็นการท่องเที่ยวในประเทศและพอมีเวลา แนะนำให้ลองใช้บริการสาธารณะอย่างรถไฟเพราะประหยัดพลังงาน มากกว่ารถทัวร์ เครื่องบิน หรือแม้แต่รถยนต์ส่วนตัว -เครื่องบิน เป็นวิธีการเดินทางที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด -ถ้ารถส่วนตัวก็ควรเดินไปด้วยกันหลายๆ คน ไปกันเยอะๆ สนุกกว่า ประหยัดพลังงานกว่า -ถ้าไปกับบริษัทนำเที่ยวก็ควรเลือกโปรแกรมนำเที่ยวที่รบกวนต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด -การตรวจให้สภาพรถยนต์ให้สมบูรณ์พร้อมสำหรับการเดินทาง จะสามารถช่วยให้เรื่องของการประหยัดการใช้พลังงาน และที่สำคัญยังสามารถช่วยในเรื่องของความปลอดภัย -ไม่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป เพราะพาหนะที่ใช้เดินจะยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้น   เลือกที่พักสไตล์คนรักษ์โลก -ลองพักแบบ โฮมสเตย์ (Home Stay) หรือรีสอร์ทชุมชน ทั้งใกล้ชิดธรรมชาติ ได้เรียนรู้วัฒนธรรม และเป็นการสร้างร้ายได้ให้กับชุมชนอย่างแท้จริง แถมที่พักแบบนี้มักเป็นที่พักขนาดเล็กๆ ไม่ใช้พลังงานเกินความจำเป็น -ทิ้งความคิดเดิมๆ ที่ว่า เวลาไปพักตามห้องพักหรือโรงแรม เมื่อเสียความเช่าไปแล้วต้องใช้ให้คุ้มค่า ด้วยการเปิดน้ำเปิดไฟเปิดเครื่องปรับอากาศแบบเต็มที่ 24 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น หากเวลาที่ไม่ได้อยู่ในห้องก็ขอให้ปิดดีกว่า ใครที่รู้ตัวว่ามีพฤติกรรมแบบนี้รีบปรับเปลี่ยนโดยด่วน Green Leaf โรงแรมใบไม้เขียว เราสามารถเลือกพักในโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ง่ายๆ ด้วยการเลือกที่พักที่มีตราสัญลักษณ์ “โรงแรมใบไม้เขียว” ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากมูลนิธิใบไม้เขียว โดยเราสามารถหาข้อมูลโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อติดต่อจองห้องพักก่อนการไปเที่ยวได้ที่ www.greenleafthai.org/th/green_hotel/ กิจกรรมไม่ทำร้ายธรรมชาติ -เลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ธรรมชาติ สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ สินค้าประหยัดพลังงาน รวมทั้งเลือกสินค้าของฝากต่างๆ ที่ผลิตในท้องถิ่น สินค้าตามฤดูกาล ซึ่งช่วยลดพลังงานในการขนส่งและจัดเก็บ -อยากมักง่ายทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง -ซื้อและบริโภคอาหารที่ผลิตในท้องถิ่น และพยายามทานแต่พอดี เพราะถ้าทานเหลือไม่ใช่แค่น่าเสียดายเท่านั้น สุดท้ายก็ต้องกลายเป็นขยะ -การท่องเที่ยวโดยการเดินหรือขี่จักรยาน สามารถช่วยรถการใช้พลังงานและการสร้างก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก -ถ้าต้องการไกด์ควรเลือกไกด์ที่อยู่ในท้องถิ่น เพราะทั้งมีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องราวในพื้นที่อย่างแท้จริง สนับสนุนการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และประหยัดพลังงานเพราะเป็นไกด์ในท้องถิ่นไม่ต้องเดินทางไกล -หากไปเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ ต้องไม่ทำอะไรที่เป็นการรบกวนสภาพแวดล้อม เช่น ไม่เก็บพวกต้นไม้ ซากพืชซากสัตว์ หรือแม้แต่เปลือกหอย กลับมาเป็นที่ระลึก เพราะสิ่งเหล่ามี่ผลต่อธรรมชาติทั้งสิ้น ต้นไม้เล็กๆ วันข้างหน้าก็อาจเติบโตเป็นไม้ใหญ่เป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศ ส่วนซากเปลือกหอยก็สามารถเป็นบ้านใหม่ของสัตว์เล็กสัตว์น้อย เช่น ปูเสฉวน -ถ้าไปเจอปลาในสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เราไม่ควรให้อาหารปลาเหล่านั้น เพราะปลาในธรรมชาติหาอาหารเองได้ แถมอาหารที่เราให้จะไปทำให้น้ำเน่าเสียเปล่าๆ   องค์การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้ประมาณการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมประเภทต่างๆ ของภาคการท่องเที่ยว ดังนี้ การคมนาคมทางอากาศ 40% การคมนาคมทางบก 32% การคมนาคมขนส่งอื่นๆ 3% ที่พัก 21% กิจกรรมท่องเที่ยว 4% ที่มา : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) อยากเที่ยวหัวใจสีเขียว แต่ไม่รู้จะไปไหน ฉลาดซื้อมีมาแนะนำ รวบรวมจากแหล่งท่องเที่ยวรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ดอยฟ้าห่มปกเป็นยอดดอยที่มีความสูงเป็นอันดับสองของประเทศ มีพันธุ์ไม้หลากหลายสายพันธุ์ ทำให้มีนกนานาชนิดอาศัยเป็นจำนวนมาก แถมยังมีการแสดงทางวัฒนธรรมจากชุมชนชาวเขามาเอาใจนักท่องเที่ยว น้ำตกคลองลาน อุทยานแห่งชาติคลองลาน ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชรอุทยานแห่งชาติคลองลาน เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของลำน้ำหลายสาย มีการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างการสำรวจแมลงและผีเสื้อ รวมถึงพันธุ์ไม้แห้งต่างๆ เพื่อนำมาศึกษาเป็นความรู้   แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ปราสาทสัจธรรม ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ปราสาทไม้ที่รวบรวม ความรู้ ปรัชญา และงานสถาปัตยกรรมงานไม้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี พิพิธภัณฑสถานแสดงตัวหนังใหญ่ที่มีอายุกว่า 100  ปี เป็นทั้งสถานที่แสดง ศูนย์ฝึกหัดเยาวชนในท้องถิ่น แหล่งผลิตแกะสลักหนังใหญ่   แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วิสาหกิจชุมชนเพลินไพรศรีนาคา ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง ที่นี่มี “ดอกพลับพลึงธาร” ไม้น้ำหายาก ซึ่งพบได้แห่งเดียวในประเทศไทยที่คลองนาคา ซึ่งชาวชุมชนในพื้นที่ตั้งใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ แหล่งเรียนรู้ด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน ที่จากเดิมเมื่อ 10 ปีก่อนเคยเป็นนากุ้งร้าง จากนั้นจึงถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นแหล่งนิเวศที่สมบูรณ์เหมาะกับการศึกษาและท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ ต.บ้านปรก อ.เมืองฯ จ.สมุทรสงคราม กลุ่มชาวบ้านที่เห็นคุณค่าของธรรมชาติวิถีชีวิตริมน้ำ รวบรวมและรื้อฟื้นเอกลักษณ์ท้องถิ่น นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมชุมชน ในรูปแบบฐานการเรียนรู้จากภูมิปัญญาชุมชน ได้แก่ กลุ่มอนุรักษ์น้ำตาลมะพร้าว กลุ่มอนุรักษ์เรือพาย กลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดสารแบบพอเพียง กลุ่มอนุรักษ์ดนตรีไทย ชุมชนพอเพียง บ้านบางพลับ หมู่ 4 ต.บางพรม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ด้วยกิจกรรมที่คงความเป็นเอกลักษณ์และวิถีชีวิตชุมชนที่พร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว อาทิ ตักบาตรขนมครก การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งทุกกิจกรรมล้วนสอดคล้องไปกับธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านนาหมอม้า ต.นาหมอม้า อ.เมืองฯ จ.อำนาจเจริญ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสานและพอเพียง ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้หลักการทำการเกษตรรูปแบบต่างๆ และชมการผลิตงานฝีมือจากกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งมีสินค้าขึ้นชื่ออย่างเสื่อกกลายมัดหมี่ ไร่องุ่นไวน์ งามล้ำยุค กราน-มอนเต้ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา สวนเกษตรที่ผสมผสานระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการปฏิบัติงานด้านองุ่นและไวน์ ไปชมกรรมวิธีการผลิตไวน์ที่มากพร้อมเทคโนโลยีอันทันสมัย   ------------------------------------------------------------------------------------- ท่องเที่ยวโดยไม่ดูแลธรรมชาติ...สักวันอาจไม่มีธรรมชาติให้ไปท่องเที่ยว เมื่อเราเดินทางท่องเที่ยว หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดกระบวนการการบริโภคทั้งที่จำเป็นและฟุ่มเฟือย (ส่วนใหญ่มักจะเป็นอย่างหลัง) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการสร้างขยะซึ่งมีผลต่อสภาพสิ่งแวดล้อม และยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ ต้นเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน สุดท้ายแล้วปัญหาทั้งหมดก็จะย้อนกลับมาทำลายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพอากาศที่แปรปรวนจนเป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญๆ ของแหล่งท่องเที่ยวถูกทำลาย ทำให้ขาดเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาณเตือนที่โลกบอกให้รู้ว่า ถึงเวลาที่ผู้ที่รักการท่องเที่ยว รักธรรมชาติ และรักโลกใบนี้ทุกคน ต้องใส่ใจดูแลโลกของเราใบนี้อย่างจริงจังสักที จากการประเมินของคณะกรรมการของรัฐบาลนานาชาติว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change – IPCC) ประเมินว่าภาคการท่องเที่ยวมีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น 5% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด แม้เป็นตัวเลขที่ไม่มาก แต่แนวโน้มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีแต่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แถมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังมีเอี่ยวกับกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นตัวสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะภาคการขนส่ง ที่มา : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)   เที่ยวไหนก็ได้ถ้าหัวใจสีเขียว 7 Greens “ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้นำเสนอมุมมองใหม่ในการท่องเที่ยวที่ทั้งเป็นมิตรกับธรรมชาติ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งซึมซับประสบการณ์ความสุขจากการท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่ ด้วยแนวคิด 7 Greens  ซึ่งประกอบด้วย 7 แนวคิดท่องเที่ยวสีเขียว Green Heart หัวใจสีเขียว : เที่ยวด้วยหัวใจ คือใส่ใจลงไปในการท่องเที่ยว ใส่ใจดูแลรักษาธรรมชาติที่ไปเที่ยวชม คิดเสมอว่าจะไม่ทำอะไรที่จะเป็นการทำร้ายธรรมชาติ Green Logistics การขนส่งสีเขียว : เลือกรูปแบบการเดินทางที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เลือกเดินทางโดยรถสาธารณะก่อนรถส่วนตัว Green Attraction เยือนแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว : ท่องเที่ยวธรรมชาติ ด้วยใจที่รู้คุณค่า ดูแลรักษาเพื่อความยั่งยืน Green Activity กิจกรรมสีเขียว : เลือกทำกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รบกวนธรรมชาติ ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก Green Community ท่องเที่ยวชุมชนสีเขียว : เข้าใจในวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น ในฐานะผู้เยือนที่ดีต้องเคารพรักษาเพื่อให้ความงดงามอันเอกลักษณ์ของแต่ละท้องที่ยังคงดำรงอยู่ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน Green Service บริการสีเขียว : เลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนผู้ประกอบการสีเขียว Green Plus เพิ่มสีเขียว : คืนชีวิตให้ธรรมชาติ เริ่มง่ายๆ แค่ลงมือทำ ร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่าง เก็บขยะตามริมชายหาด ปลูกป่า พร้อมบอกต่อสิ่งดีๆ เพื่อการท่องเที่ยวสีเขียวให้กับคนอื่นๆ ใครที่สนใจหลากหลายกิจกรรม หลากหลายแหล่งท่องเที่ยว “7 Greens ท่องเที่ยวสดใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ของ ททท.สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://7greens.tourismthailand.org

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point