ฉบับที่ 112-113 “อภิสิทธิ์” โดนเก็บค่าตัดไฟ 107 บาท

หากมีคนถามว่า เวลาจ่ายค่าไฟคุณจ่ายค่าไฟวันไหน  หลายคนมักจะตอบโดยไม่ต้องคิด ป้าดโธ่ เงินเดือนมาก็ไปจ่ายเมื่อนั้นล่ะ ไม่เห็นจะต้องคิดให้มากเลย พอคิดแบบนี้ ทำให้ผู้ใช้ไฟส่วนใหญ่ มักจะโผล่ไปจ่ายค่าไฟตอนต้นเดือนกันเป็นแถวแต่กับคุณอภิสิทธิ์ คนเชียงใหม่ ที่ไม่ใช่ “อภิสิทธิ์” คนที่อยู่กรุงเทพฯ ต้องบอกว่าก็เพราะไปจ่ายค่าไฟตอนต้นเดือนนี่แหละ ที่ทำให้ต้องถูกการไฟฟ้าตัดไฟและเรียกเก็บค่าตัดไฟ 107 บาทมาแล้ว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการแจ้งเตือน “ผมเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ อ.แม่แตงครับ”คุณอภิสิทธิ์บอกว่าครอบครัวเป็นบ้านใหญ่ ทำให้ใช้มิเตอร์รวม 3 หม้อ ตอนเย็นอากาศดี ๆ ของวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2552 ระหว่างที่กำลังนำขยะไปทิ้งที่ถังขยะหน้าบ้าน สายตาพลันเหลือบไปเห็นใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า 2 ใบนอนแอ้งแม้งอยู่บนพื้นหน้าบ้าน หยิบขึ้นมาดูจึงรู้ว่าเป็นของบ้านตัวเอง เลยมองหาอีกใบเผื่อว่าจะตกหล่นเหมือนกันแต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่พบวันรุ่งขึ้นแม้จะเป็นวันอาทิตย์ แต่เพราะเห็นจากบิลค่าไฟ 2 ใบว่าจะครบกำหนดชำระในวันนี้แล้ว คุณอภิสิทธิ์จึงต้องเดินทางไปชำระค่าไฟฟ้าที่มีบิลก่อน 2 หม้อที่ห้างสรรพสินค้าในตัวเมือง ส่วนค่าไฟฟ้าของหม้อที่ 3 คุณอภิสิทธิ์เคยทราบว่าก่อนจะตัดไฟการไฟฟ้าจะมีใบแจ้งเตือนมาก่อนเพื่อให้รีบไปจ่ายค่าไฟที่ค้างอยู่ภายใน 3 วันทำการ เมื่อหาบิลไม่เจอ ก็คิดว่ายังพอมีเวลาจะหาโอกาสไปจ่ายในวันธรรมดาที่สำนักงานของการไฟฟ้าต่อไป“วันจันทร์ผมติดธุระที่ต้องไปรับ-ส่งญาติที่มาจากต่างจังหวัด กะว่าจะไปชำระเงินหม้อที่ไม่ได้รับใบแจ้งหนี้ในวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์” คุณอภิสิทธิ์เล่าถึงแผนที่ได้เตรียมไว้ แผนการของคุณอภิสิทธิ์เกือบสมบูรณ์แบบ ถ้าหากว่าเช้าวันที่ 3 กุมภาพันธ์ตอนเก้าโมงครึ่งจะไม่มีเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าโผล่มาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยและทำการปลดสายมิเตอร์ออก พร้อมกับยื่นใบเหลืองเหมือนกรรมการฟุตบอลยื่นให้ตอนนักฟุตบอลทำฟาวล์แล้วบอกกับคุณอภิสิทธิ์ด้วยหน้าตาขึงขังว่า ไปจ่ายค่าไฟซะพร้อมเสียค่าต่อมิเตอร์ด้วย 107 บาท ไม่งั้นจะไม่จ่ายกระแสไฟให้   คุณอภิสิทธิ์ที่เป็นคนไม่มีอภิสิทธิ์จึงต้องจ่ายค่าต่อไฟ 100 บาท พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม  7 บาทไปด้วยความชอกช้ำใจ แนวทางแก้ไขปัญหา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ) เชียงใหม่ มีคำชี้แจงในกรณีนี้ว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีระเบียบว่าด้วยการเงินกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชำระค่ากระแสไฟฟ้าและการงดจ่ายกระแสไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย โดยจะมีระยะเวลาเวลาชำระเงินค่าไฟฟ้า ภายใน 7 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้า และอ้างว่าจะมีช่วงเวลาการแจ้งเตือนตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอได้กำหนดอีก  3 วันก่อนการงดจ่ายไฟฟ้า รวมเป็น 10 วัน โดยระเบียบที่ว่านี้มุ่งหมายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถนำใบแจ้งค่าไฟฟ้าไปชำระเงินที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ หรือตัวแทนจุดรับบริการรับชำระเงินได้ภายใน 10 วันนี้ แต่เมื่อครบกำหนดชำระเงิน 10 วันข้างต้นแล้วผุ้ใช้ไฟฟ้ายังไม่ชำระเงิน พนักงานจะเสนอผู้จัดการไฟฟ้าฯ เพื่อขออนุมัติงดจ่ายไฟฟ้า อย่างช้าไม่เกินวันทำการถัดไปเหตุผลที่มีการตัดไฟและเรียกเก็บเงินกับคุณอภิสิทธิ์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเชียงใหม่ แจ้งว่า คุณอภิสิทธิ์ได้รับใบแจ้งหนี้เมื่อ 21 มกราคม 2552 ซึ่งครบกำหนดชำระค่าไฟฟ้าวันที่ 31 มกราคม 2552 ซึ่งการไฟฟ้าฯ ตีความว่าครบ 10 วันแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ใช้ไฟไม่ไปชำระค่าไฟภายในกำหนด จึงได้มีการอนุมัติให้งดจ่ายไฟฟ้าในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 และผู้รับจ้างงดจ่ายไฟฟ้าได้ไปปลดสายมิเตอร์ในวันเดียวกันเวลาประมาณ 09.30 น. หลังจากนั้นคุณอภิสิทธิ์จึงได้ไปชำระค่าไฟพร้อมค่าธรรมเนียมต่อกลับในวันเดียวกัน ในเวลาประมาณ 10.25 น.จึงได้แจ้งให้ผู้รับจ้างไปทำการต่อไฟตามปกติในวันนั้นประเด็นนี้ เราเห็นว่าแนวปฏิบัติการตัดไฟและเรียกเก็บค่าต่อไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถือเป็นแนวปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค การไฟฟ้าฯ อ้างว่าในระเบียบได้มีช่วงเวลาการแจ้งเตือนเพิ่มขึ้นอีก 3 วันก่อนที่จะดำเนินการตัดไฟหากไม่มีการชำระค่าไฟหลังการแจ้งเตือน แล้วการไฟฟ้าฯ ได้ถือวิสาสะนำระยะเวลาของการแจ้งเตือน 3 วันนี้ไปรวมกับระยะเวลากำหนดการจ่ายค่าไฟ 7 วัน แล้วนับต่อเนื่องไปในคราวเดียวกันเป็น 10 วันรวด โดยที่ไม่เคยมีการส่งเอกสารการแจ้งเตือนจริงๆ ไปให้กับผู้บริโภคเลยซึ่งต่างจากแนวปฏิบัติของการไฟฟ้านครหลวงที่ปฏิบัติอยู่ และจากการสอบถามผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้ร้องเรียนเข้ามาพบว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในหลายๆ แห่ง ไม่เคยมีการส่งใบแจ้งเตือนมาแต่อย่างใด มีแต่เพียงใบแจ้งหนี้ใบเดียวเท่านั้นดังนั้น เมื่อไม่มีการแจ้งเตือนมาเป็นหนังสือ การไฟฟ้าฯ จึงยังไม่มีสิทธิ์ที่จะมาตัดไฟกับผู้บริโภคและเรียกเก็บเงินค่าต่อไฟกับผู้บริโภคได้ ซึ่งหากมีการเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปแล้วถือเป็นการเรียกเก็บเงินที่ผิดระเบียบของการไฟฟ้าเอง ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ ทั้งโดยการเรียกร้องโดยตรงกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือฟ้องร้องเป็นคดีผู้บริโภคก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 111 ภัยไม่คาดฝัน จากห้างค้าปลีกยักษ์

ในยามที่บ้านเมืองที่แสน...จะปั่นป่วนวุ่นวาย วังเวง ไร้ซึ่งจุดจบอย่างนี้ ก็ขอให้แฟนๆ ฉลาดซื้อ มีความสุขกับการอ่านหนังสือดีๆ เล่มนี้กันนะจ๊ะ วันนี้มีเรื่องเล่าแปลกๆ ที่เกี่ยวกับ การใช้สิทธิในห้างสรรพสินค้ากันหน่อย เรื่องนี้เกิดขึ้นที่ห้างเทสโก้โลตัส คือศูนย์พิทักษ์ผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภครายหนึ่ง กรณีซื้อสินค้าเครื่องเล่น ซีดี แล้วสินค้าชำรุดเสียหาย(ภายในระยะเวลาประกัน) จึงได้นำสินค้าไปที่ห้าง ห้างก็ๆ รับไว้และบอกว่าจะส่งซ่อมกับบริษัทผู้ผลิต ผู้บริโภคก็รอเกือบ 3 เดือนก็ยังไม่ได้รับการติดต่อจากห้างฯ จึงไปสอบถามพนักงานห้างฯ ท่านก็ตอบว่าอยู่ระหว่างส่งซ่อมเช่นเดิม ไปอีกหลายครั้งก็ได้คำตอบเหมือนเดิม จึงมาร้องเรียนให้ศูนย์ช่วยตรวจสอบ ศูนย์จึงได้ดำเนินการตรวจสอบไปทีห้าง และบริษัทผู้ผลิต เลยพบความจริงว่าบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ บอกไม่มีสินค้าชิ้นนี้ส่งซ่อม แต่ห้างยืนยันว่าส่งแล้วศูนย์ฯ จึงเดินหน้าพาผู้เสียหายไปเจรจากับผู้จัดการห้าง จนสุดท้ายผู้เสียหายได้เงินคืน(เรื่องก็จบไปไม่มีอะไรในกอไผ่) ถัดมาอีกไม่กี่วัน มีผู้บริโภคมาปรึกษาอีกว่าได้ไปซื้อโทรศัพท์ในห้างโลตัส(ที่เดิมอีก) มา ยังไม่ได้แกะใช้แต่รู้สึกอยากเปลี่ยนเป็นรุ่นอื่น จะขอเปลี่ยนได้ไหม เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ก็บอกว่า ลองไปคุยดูซิ แต่คิดว่าน่าจะเปลี่ยนได้เพราะยังไม่ได้ใช้สินค้า ผู้มาร้องเรียนจึงขอให้น้องในศูนย์ฯ ไปเป็นเพื่อน(ศูนย์ฯ กับห้างฯ อยู่ใกล้กัน) น้องที่เคยไปเจรจาครั้งที่แล้วเลยอาสาไปเป็นเพื่อน เพราะรู้ช่องทางและรู้จักผู้จัดการอยู่แล้ว เช่นเดิมคือไปเจรจากับร้านที่ซื้อโทรศัพท์ แล้วตกลงกันไม่ได้ น้องเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ จึงพาไปเจรจากับผู้จัดการจนสามารถเปลี่ยนเป็นโทรศัพท์รุ่นที่ต้องการได้สำเร็จขณะกำลังเตรียมตัวจะกลับ ก็มีพนักงานห้างฯ เข้ามาคุยและแนะนำตนเองว่าเป็นผู้จัดการด้านรักษาผลประโยชน์ของห้างฯ เมื่อเห็นน้องเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ จึงไม่ยอมให้น้องและผู้ซื้อสินค้าที่ไปด้วยกันออกจากห้างฯ และขอให้น้องแสดงบัตรเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ให้ดู น้องบอกว่าศูนย์ฯ เป็นศูนย์ภาคประชาชนไม่มีบัตร และวันนี้ไม่ได้มาในนามเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ แต่มาเป็นเพื่อนของลูกค้าห้าง และจะเดินออกจากห้างฯ เจ้าหน้าที่ห้างฯ มาขวางไม่ให้ออกจากห้างฯ และขอยึดบัตรประชาชนไว้ น้องเจ้าหน้าที่ศูนย์ไม่ยอม เกือบจะวางมวยกัน (ดีนะที่น้องยังยั้งใจไว้ได้) เจ้าหน้าที่ห้างฯ ขอเบอร์ศูนย์และโทรไปให้ผู้ประสานงานศูนย์มายืนยันความเป็นเจ้าหน้าที่ของน้องที่อยู่ที่ห้าง คุณเรณู ภู่อาวรณ์ ผู้ประสานงานศูนย์ฯ ตอบกลับไปว่า “ทำไมต้องไปยืนยัน ทุกคนมีสิทธิเข้าห้างฯ เพราะห้างฯ เปิดให้คนเข้าไปไม่ใช่หรือ และห้างฯ ก็ไม่มีสิทธิกักตัวประชาชนที่เข้าไปในห้างฯ ไม่ว่าจะเป็นใครทั้งนั้น ให้ปล่อยตัวทั้งเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ และผู้ซื้อสินค้าออกมา ไม่อย่างนั้นจะแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยว” พนักงานห้างฯ จึงยอมปล่อยตัวทั้ง 2 คนออกมา ซึ่งทั้งหมดของการเจรจากินเวลาเกือบชั่วโมง ตกลงว่า..นี่ห้างสรรพสินค้าหรือสถานีตำรวจ กันแน่เนี่ย...ห้างสรรพสินค้าเปิดไว้เพื่อให้ลูกค้าเข้าไปซื้อสินค้า เราเข้าไปแล้ว จะซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าก็ได้ขึ้นอยู่กับความพอใจของเรา พอใจก็ซื้อไม่พอใจก็ไม่ซื้อไม่มีใครมาบังคับเราได้ และหากเราไม่ได้ขโมยสินค้าหรือทำข้าวของๆ แตกหักเสียหาย ห้างสรรพสินค้าจะมาใช้สิทธิกักขังหน่วงเหนี่ยวเราไม่ได้ และการซื้อสินค้าเราซื้อมาโดยมีใบเสร็จยืนยันการซื้อสินค้า ในเวลาไม่เกิน 3-7 วัน เรามีสิทธิเปลี่ยนสินค้าได้ ห้างสรรพสินค้าจะมาแสดงความยิ่งใหญ่ข่มขู่กักขังเราไม่ได้ ฝากผู้บริโภคแล้วกันว่าหากเจอเรื่องอย่างนี้ขอให้แจ้งตำรวจทันทีโดยไม่ต้องเจรจาให้เสียเวลานะจ๊ะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 101 ฮะจิบังเสนอเงินลูกค้า 5 หมื่น จบเรื่องอาหารทำพิษ

รายงานความคืบหน้า กรณีลูกค้าฮะจิบังร้องเรียนว่ามีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงหลังรับประทานอาหารที่ร้านฮะจิบัง ราเมน สาขาเทสโก้ โลตัส พระราม 3จากความเดิมต่อจากฉบับที่แล้ว กรณีคุณแพรวพรรณ(นามสมมติ) และครอบครัวไปนั่งรับประทานอาหารที่ร้านฮะจิบังสาขาดังกล่าวแล้วเกิดท้องเสียอย่างรุนแรง เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 หลังจากที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ทำหนังฟสือแจ้งไปยังบริษัท ไทยฮะจิบัง จำกัด เพื่อขอให้บริษัทพิจารณาเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภคด้วยความเป็นธรรมตามสมควร ต่อมาในวันที่ 2 มิถุนายน 2552 บริษัทไทยฮะจิบัง จึงได้มีหนังสือตอบกลับมาที่มูลนิธิฯ ใจความสรุปได้ว่า ในวันเกิดแหตุที่ผู้บริโภคได้ร้องเรียนนั้น ร้านฮะจิบังสาขาดังกล่าว ได้จำหน่ายอาหารชนิดเดียวกันกับที่ผู้ร้องเรียนและครอบครัวรับประทานให้แก่ลูกค้าอื่นอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ปรากฏว่ามีลูกค้ารายใดมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับรายของผู้ร้องเรียนและครอบครัวแต่อย่างใด หากการเจ็บป่วยของผู้ร้องเรียนและครอบครัวเกิดจากอาหารที่รับประทานจากร้านของบริษัทจริง ลูกค้ารายอื่น ๆ จะต้องมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงด้วย ดังนั้น อาการท้องร่วงของนางสาวพรรณราย และครอบครัวอาจเกิดจากการได้รับเชื้อโรคบิดชนิดเฉียบพลันจากที่อื่นก่อนมารับประทานอาหารที่ร้านฮะจิบัง ราเมน เมื่อยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเชื้อโรคบิดชนิดเฉียบพลันเกิดจากการรับประทานอาหารของร้านฮะจิบังราเมน บริษัทฯจึงยังไม่อาจพิจารณาเยียวยาค่าเสียหายได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยินดีที่จะพิสูจน์หาความจริงจนเป็นที่แน่ชัดเสียก่อนล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ตัวแทนของบริษัท ไทยฮะจิบัง ได้เข้าเจรจากับผู้ร้องเรียนที่สำนักงานเขตยานนาวา โดยผู้ร้องเรียนได้เสนอเรียกค่าเสียหายไปทั้งสิ้น 168,000 กว่าบาท แต่ทางบริษัทฯ ยินดีที่จะจ่ายเพื่อเป็นการแสดงความมีน้ำใจให้กับลูกค้าที่อาจเกิดความเข้าใจผิดในบริการของร้านฮะจิบัง ราเมนเป็นเงิน 50,000 บาทถ้วน และขอให้ยุติเรื่องพิพาททั้งหมด ผู้ร้องเรียนปฏิเสธและขอเดินหน้าที่จะฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคต่อไป ความคืบหน้าในการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของอาหารในร้านฮะจิบัง ราเมน สำนักงานเขตยานนาวา ได้ดำเนินการตรวจสอบสุขลักษณะของร้านฮะจิบัง ราเมน สาขาเทสโก้ โลตัส พระราม 3 และทำการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร น้ำแข็ง และน้ำดื่ม ไปเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2552 หลังเกิดเหตุประมาณ 3 สัปดาห์ ผลการตรวจวิเคราะห์พบอาหารจำนวน 8 จาก 11 รายการที่ไม่อยู่ในมาตรฐาน โดยส่วนใหญ่พบเชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์ม เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ทั้งในน้ำแข็งและอาหารที่สุ่มตรวจ โดย 1 ตัวอย่างพบเชื้อแบคทีเรียอีโคไลเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดสำหรับอาหารปรุงสุก สำนักงานเขตจึงมีคำสั่งให้ร้านอาหารแห่งนี้มีการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค อาทิเช่น การมีคำสั่งให้ไม่แช่สิ่งของอื่นใดในภาชนะที่บรรจุน้ำแข็งที่ใช้ดื่ม ให้ทำความสะอาดวัตถุดิบด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนนำมาปรุงประกอบอาหาร ให้ผู้ที่สัมผัสอาหารทุกคนล้างมือก่อนและหลังสัมผัสอาหาร เป็นต้นต่อมาในวันที่ 28 เมษายน 2552 สำนักงานเขตยานนาวาได้เข้าตรวจสอบสุขลักษณะของร้านฮะจิบัง ราเมนแห่งนี้อีกครั้ง เพื่อติดตามผลการปฏิบัติตามคำสั่งและสุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร รวม จำนวน 11 รายการเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจครั้งนี้พบว่ายังมีการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในผักโรยหน้าและน้ำแข็ง ส่วนอาหารชนิดอื่นไม่พบปัญหาใด ๆ สำหรับผลการตรวจสุขภาพของพนักงานในร้าน พบว่า เป็นใบรับรองแพทย์ที่ส่งให้เจ้าหน้าที่มาจากคลินิกเอกชน เจ้าหน้าที่จึงให้ตรวจสุขภาพใหม่ โดยให้เข้ารับการตรวจสุขภาพที่สถานพยาบาลของรัฐ และแนบผลการตรวจ Lab ส่งต่อเจ้าหน้าที่ด้วยทุกคน ซึ่งสำนักงานเขตยานนาวาได้รายงานผลการดำเนินการเฝ้าระวังทั้งหมดนี้ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ไปด้วยแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 100 ลูกค้าฮะจิบังท้องร่วงอย่างแรงเหตุอาหารทำพิษ

เวลาประมาณ 6 โมงเย็นของวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2552 คุณแพรวพรรณ พร้อมสามีและลูกสาว ได้ไปรับประทานอาหารที่ร้านฮะจิบัง ราเมน สาขาเทสโก้ โลตัส พระราม 3ครอบครัวของคุณแพรวพรรณได้สั่งอาหารมารับประทานทั้งหมด 6 รายการ คือ ซารุเซ็ท ที่ประกอบด้วยซารุราเมนและเกี๊ยวซ่า 2 ชุด , ฮะจังเมน , เนงิเรเมน และทาโกะยากิ อย่างละ 1 ชุด นอกจากนี้ยังมีน้ำดื่มยี่ห้อน้ำทิพย์ 2 ขวดและน้ำแข็งเปล่า 3 แก้ว โดยคุณแพรวพรรณรับประทานเกี๊ยวซ่าและทาโกะยากิ สามีรับประทานซารุเซ็ท ฮะจังเมนและเนงิเรเมน ส่วนลูกสาวรับประทานซารุ ราเมนปรากฏว่า เวลาประมาณตี 1 เศษย่างเข้าวันที่ 10 มีนาคม 2552 คุณแพรวพรรณและสามีเริ่มมีอาการท้องร่วง ถ่ายเป็นน้ำอย่างต่อเนื่องหลายครั้งจนถึงเวลาตีห้า พร้อมอาเจียนมีเลือดปน ในขณะที่ลูกสาวอาเจียนถึง 3 ครั้ง (และมาถ่ายท้องที่โรงพยาบาลอีก 3 ครั้ง) ทั้งหมดถูกส่งเข้าโรงพยาบาลในเช้าตรู่ของวันนั้นนั่นเอง ผลการวินิจฉัยของแพทย์พบว่ามีเชื้อบิดชนิดเฉียบพลันและรุนแรงที่ลำไส้ใหญ่ โดยตัวคุณแพรวพรรณมีอาการรุนแรงที่สุดกว่าทุกคน คือมีอาการท้องร่วงถึงเวลา 6 โมงเช้าของวันที่ 12 มีนาคม 2552 รวม 3 วันนับตั้งแต่วันที่รับประทานอาหารชุดพิเศษจากฮะจิบัง สาขาดังกล่าวต่อมาคุณแพรวพรรณได้ทำเรื่องร้องเรียนไปที่สำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ตั้งของห้างฯ ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตยานนาวา ได้ทำการตรวจสอบสุขลักษณะของร้านและทำการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร น้ำแข็งและน้ำดื่มจากร้านอาหารดังกล่าว เพื่อไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจำนวน 10 รายการ ผลปรากฏว่ามีอาหารถึง 7 ตัวอย่างที่ไม่อยู่ในค่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งแสดงว่าอาจมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในลำไส้หรือจุลินทรีย์อื่นๆ ที่เป็นพิษจนทำให้เกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยในผู้บริโภคได้ อาหารที่ตกมาตรฐาน 7 รายการคือ บะหมี่(ซารุเซ็ท) , บะหมี่และน้ำซุป (ฮะจังเมน), เนงิเรเมน , ทาโกะยากิ , ซาฮั่ง(ข้าวผัดหมูอบซีอิ๊วญี่ปุ่นไข่) ,ทาราเมน(บะหมี่แห้งราดซอสหมูทันตัม) และ ดาโมะนิราเมน (บะหมี่น้ำหน้าเป็ดพะโล้และเห็ดหอม) นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำแข็งหลอดที่จำหน่ายในร้านไม่อยู่ในมาตรฐานอีกด้วย คุณแพรวพรรณได้พยายามเรียกร้องให้ทางร้านฮะจิบังแสดงความรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหายซึ่งส่วนใหญ่คือค่ารักษาพยาบาลของสามคนพ่อแม่ลูกจำนวนห้าหมื่นกว่าบาท แต่ไม่มีคำตอบใด ๆ จากทางร้านฮะจิบัง จึงได้ส่งเรื่องร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางแก้ไขปัญหาข้อเท็จจริงในทางกฎหมาย การผลิตและจำหน่ายอาหารของร้านฮะจิบังราเมน สาขาดังกล่าว อาจเข้าข่ายเป็นการผลิตและจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นโทษทางอาญาที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการต่อไป ส่วนความรับผิดในทางแพ่งนั้นมูลนิธิฯ ได้ติดต่อประสานงานไปยังบริษัท ไทยฮะจิบัง จำกัด เพื่อเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ร้องตามสมควรล่าสุดไทยฮะจิบังได้ติดต่อผ่านเทสโก โลตัสสำนักงานใหญ่ ขอนัดเจรจากับผู้ร้องรายนี้แล้ว ผลความคืบหน้าเป็นอย่างไรจะนำมารายงานในฉลาดซื้อฉบับต่อไป แต่ที่ต้องนำเรื่องนี้มาลงโดยเร่งด่วนเพราะเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้บริโภครายอื่น ๆ ต่อไป เพราะเป็นปัญหาที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 100 ตกร่องน้ำในห้างดัง เรียกค่าเสียหายได้หรือไม่

พื้นที่ในห้างสรรพสินค้าถือเป็นพื้นที่ของเอกชนที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการได้ตามเวลาที่กำหนด ซึ่งเจ้าของพื้นที่มีหน้าที่ต้องดูแลรับผิดชอบความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม หากวันใดคุณเกิดอุบัติเหตุหกล้มหัวร้างข้างแตกเพราะทางห้างมิได้จัดอุปกรณ์ป้องกันภัยให้เหมาะสม ในฐานะผู้ใช้บริการสามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ในเวลาเย็นย่ำของวันที่ 12 มกราคม 2550 ระหว่างที่คุณสุดา กำลังเดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อไปยังจังหวัดลำปาง เธอได้ขับรถยนต์แวะเข้าไปใช้บริการที่ห้างบิ๊กซีซูปเปอร์ สาขาลำปาง เพื่อซื้อเครื่องใช้ส่วนตัว ครั้นซื้อสินค้าเสร็จสิ้นและกำลังเดินทางกลับมาขึ้นรถที่บริเวณลานจอดรถ ตรงทางสามแยกปรากฏว่ามีรถยนต์คันหนึ่งวิ่งตรงมาตามทางเดินรถที่ไม่มีลูกระนาดด้วยความเร็วในระยะประชิด คุณสุดาตกใจเกรงว่าตนจะถูกรถชน จึงก้าวขึ้นไปบนเกาะกลางถนนที่ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อหลบรถยนต์ที่วิ่งเข้าใส่“เฮ้อ....” คุณสุดา ถอนหายใจด้วยความโล่งอกที่ไม่ต้องถูกรถมาเชี่ยวชน เพื่อความปลอดภัยเธอจึงตัดสินใจหลบไปอีกด้านหนึ่งและก้าวลงจากเกาะกลางถนนด้านที่มืดสลัว โดยไม่ทันได้สังเกตว่าจุดที่ก้าวเท้าเหยียบลงไปนั้นเป็นร่องรางน้ำรูปตัววีที่ไม่มีฝาปิด ทำให้เท้าทั้งสองข้างลื่นไถลตกลงร่องรางน้ำรูปตัววีต่างระดับนั้นและเสียหลักลื่นล้มลงอย่างแรง กระดูกข้อเท้าขวาหลุดและแตกหัก อาการหนักพอดู....หลังเกิดเหตุคุณสุดาถูกนำตัวส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเขลางค์นครราม-ลำปาง แต่ถึงอาการจะหนัก เธอยังพอมีสติที่จะถามเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวแทนของห้างฯที่มาเยี่ยม “เอ่อ..ทางห้างฯ ต้องขอยอมรับกับสภาพที่เกิดเหตุที่มีปัญหาและจะเร่งแก้ไขนะครับ และสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นทางห้างฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดเองครับ โดยเราขอให้คุณพักรักษาตัวที่ลำปางนี้นะครับ” ตัวแทนของห้างแจ้งให้ทราบ ในขณะที่คุณสุดายังไม่ได้คิดอะไร เพราะมึนกับอาการบาดเจ็บวันต่อมาคุณสุดา ครุ่นคิดในใจหลังได้ปรึกษากับญาติและทีมแพทย์ของโรงพยาบาลพระมงกุฎฯที่กรุงเทพ ที่แนะนำให้มาฟื้นฟูร่างกายที่กรุงเทพฯ จะดีกว่า เนื่องจากเธอเป็นคนสูงอายุและไม่ใช่คนในพื้นที่ การที่ญาติจะมาดูแลย่อมเป็นเรื่องที่ลำบาก เธอจึงตัดสินใจแจ้งกับตัวแทนของห้างฯ เพื่อขอย้ายตัวมารักษาฟื้นฟูร่างกายที่กรุงเทพฯ แทน “ทางเรายังคงขอให้คุณรักษาตัวที่นี่ต่อไปนะครับ ห้างฯ สาขาลำปางไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนอกพื้นที่จังหวัดลำปางได้ครับ แต่ยังไงต้องขอนำข้อเสนอนี้กลับไปเรียนผู้บริหารอีกครั้งก่อน และจะแจ้งกลับมาให้ทราบอีกครั้งครับ “ ตัวแทนระดับหัวหน้าผู้ดูแลลูกค้าแจ้งให้ทราบคุณสุดา เฝ้ารอคำตอบจากห้างอยู่สองวันก็ยังไม่มีคำตอบใดๆ จึงตัดสินใจเดินทางเพื่อมารักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ กรุงเทพฯ ตามคำแนะนำของญาติและแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดในเวลาเดียวกัน คุณโสภณเพื่อนของคุณสุดาที่อยู่ลำปางนั้นได้เข้าพบตัวแทนของห้างระดับผู้บริหารเพื่อรับฟังคำอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งคำอธิบายที่ได้รับฟังนั้นสอดคล้องกับหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของห้างที่มีถึงคุณสุดาว่า บริษัทมีความมั่นใจโดยสุจริตว่า บริษัทมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบต่อความบาดเจ็บทั้งหมด.....”สรุปง่ายๆ คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นคุณสุดาทำเองไม่เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของห้างฯ เลย และจากคำชี้แจงฉบับลายลักษณ์อักษรของห้างฯ นับเป็นการแสดงความรับชอบแต่ไม่รับผิด ในฐานะผู้ประกอบการที่ปราศจากความระมัดระวังในการให้บริการประชาชนผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการแต่อย่างใดคุณสุดา จึงแจ้งเรื่องเข้ามาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เพื่อขอเรียกร้องสิทธิทางกฎหมายและความรับผิดชอบจากทางห้าง และอยากให้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการสู้เพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคแนวทางแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ร่วมกับศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค ได้ดำเนินการสรุปเรื่องและส่งฟ้องบริษัทบิ๊กซีซูปเปอร์เซ็นเตอร์เป็นจำเลยในคดีต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เรียกค่าเสียหายจำนวน 1,231,205 บาท ในประเด็นความผิดพลาดและความประมาทในฐานะผู้ประกอบการที่มีพื้นที่ให้ประชาชนจำนวนมากเข้าใช้บริการ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายของผู้ใช้บริการศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีเหตุผลอันควรที่ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบ จากความประมาทและผิดพลาดในการจัดการพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้า ศาลจึงมีคำพิพากษาให้บริษัทบิ๊กซีซูปเปอร์เซ็นเตอร์ในฐานะจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับคุณสุดาเป็นเงินจำนวน 405,808.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5% นับแต่วันที่ละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น และดอกเบี้ยถึงวันฟ้องไม่เกิน 81,275 บาทภายหลังสิ้นสุดคดีในศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล ทั้งนี้จำเลยได้ขอใช้สิทธิทุเลาการบังคับคดีเพื่อไม่ให้ต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งศาลได้ให้โอกาสจำเลยในการนำหลักทรัพย์มาวางประกันต่อศาล แต่จำเลยกลับประวิงเวลาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลในการนำหลักทรัพย์มาวางประกันในชั้นทุเลาบังคับคดี ดังนั้นศาลอุทธรณ์ จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาบังคับคดีของจำเลยเสีย.... ซึ่งแสดงว่า โจทก์ในคดีนี้สามารถตั้งเรื่องยึดทรัพย์บังคับคดีจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ในระหว่างอุทธรณ์นั่นเอง.... เป็นเวลาเกือบสองปีสำหรับการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของคุณสุดา “ประเด็นสำคัญของการใช้สิทธิทางกฎหมายคือ เราอยากให้เรื่องนี้เป็นประเด็นสาธารณะ ให้สังคมได้รับรู้ในสิ่งที่ห้างสรรพสินค้าในฐานะผู้ประกอบการจะต้องมีความรับผิดชอบที่ดีต่อประชาชนผู้บริโภค ซึ่งถือว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง“ คุณสุดากล่าวทิ้งท้าย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 ทีโอที ยังเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์

เป็นเรื่องที่มีการร้องเรียนมานานแล้วว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์ค่ายต่างๆ จะสามารถเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่ได้หรือไม่หลังจากที่ผู้ใช้บริการค้างชำระค่าบริการตั้งแต่ 2 งวดขึ้นไป ทั้งๆ ที่เวลาเปิดบริการใช้ครั้งแรกไม่ยักมีการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายแต่อย่างใด คุณจิรอร พนักงานขายประกันจากจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเหยื่ออีกรายหนึ่งของผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่มีการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายใหม่หลังผิดนัดชำระค่าบริการเกิน 2 งวด คุณจิรอรขอเปิดใช้บริการโทรศัพท์บ้านมาตั้งแต่เป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจนปัจจุบันกลายเป็นกับบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) แต่ด้วยความที่มีภารกิจการงานมากมายในแต่ละวันทำให้เกิดอาการผัดวันประกันพรุ่งไม่มีโอกาสไปจ่ายค่าโทรศัพท์เสียที จนล่าช้าไปถึง 2 เดือน พอไม่จ่ายค่าโทรศัพท์เป็นเดือนที่สองก็เป็นเรื่องล่ะทีนี้ เพราะถูกทีโอทีตัดสัญญาณให้บริการโทรศัพท์ทันทีโดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า คนขายประกันอย่างคุณจิรอรเลยต้องเดือดร้อนเป็นธรรมดาเพราะไม่มีโทรศัพท์ไว้ใช้งานติดต่อกับลูกค้า“ตายแล้วนี่ฉันลืมจ่ายค่าโทรศัพท์หรือเนี่ย” คุณจิรอรอุทานออกมาหลังจากใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โทรไปสอบถามถึงสาเหตุสัญญาณโทรศัพท์บ้านขาดหายไปหลายวัน“ก็ไม่ได้ตั้งใจจะไม่จ่ายเขาหรอกค่ะ แต่มันลืมจริง ๆ ก็ขอโทษขอโพยเขาไปและคิดว่าแค่จ่ายเงินค่าโทรศัพท์ที่ค้างอยู่เรื่องน่าจะจบและได้กลับมาใช้โทรศัพท์ใหม่ แต่ทางพนักงานเขาบอกว่าเราต้องจ่ายค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่ด้วยอีก 107 บาทรวมแวต เราก็เลยถามไปว่าการต่อสัญญาณโทรศัพท์ใหม่สมัยนี้เนี่ยมันยุ่งยากอะไรแค่ไหนถึงต้องเรียกค่าใช้จ่ายกันเป็นร้อย ตามจริงแล้วเงินค่ารักษาเลขหมายที่จ่ายให้ทุกๆ เดือนก็เกินพอแล้วมั้ง ก็ถามเขาไปอย่างนี้” “เขาบอกไงรู้ไหมคะ ยังไงก็ต้องจ่ายถ้าไม่จ่ายก็ไม่ต่อโทรศัพท์ให้ เจอมุขนี้เข้าเราก็เลยต้องจ่ายให้เขาไปด้วยความจำยอม แต่พอกลับมาถึงบ้านเปิดดูหนังสือพิมพ์เจอข่าวว่า กทช. ว่าเขาห้ามเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์แบบนี้ไปแล้ว เราก็เลยเป็นงงค่ะ อ้าว...แล้วทำไมทีโอทียังมาเรียกเก็บเงินกับเราอยู่ มันยังไงกัน” คุณจิรอรจึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือเรียกเงิน 107 บาทคืนจากทีโอทีแนวทางแก้ไขปัญหาข่าวที่คุณจิรอรได้อ่านคงเป็นข่าวนี้ครับ ...เมื่อวันที่ 12 มีนาคมทีผ่านมา (12 มี.ค. 2552) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ได้มีมติชี้ชัดในเรื่องการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ หลังจากที่เรื่องนี้ยืดเยื้อมาระยะหนึ่ง โดย กทช. มีมติให้ทุกบริษัทงดเว้นการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ในกรณีที่ผู้ใช้บริการผิดนัดหรือค้างชำระค่าบริการเป็นเวลา 2 เดือนมตินี้จะมีผลให้ผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคซึ่งถูกตัดบริการโทรออกเพราะชำระค่าบริการล่าช้า และเมื่อนำเงินไปชำระต้องถูกเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่เป็นจำนวน 107 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือในบางรายเรียกเก็บ 214 บาท ต่อไปนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์จะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้อีก ไม่ว่าจะเป็นกรณีของโทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ตาม มตินี้จะใช้บังคับทั้งกับ บมจ.ทีโอที บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส บจก.ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมิเดีย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น บมจ.ทีทีแอนด์ที บจก.เอเซีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่นอย่างไรก็ดี แม้จะมีมติ กทช. ชี้ชัดออกมาอย่างนี้ ทางมูลนิธิฯ ก็ยังคงได้รับเรื่องร้องเรียนอยู่เป็นระยะๆ จากผู้บริโภคว่ายังคงถูกเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่ แม้ผู้บริโภคบางรายได้พยายามทักท้วงด้วยการอ้างถึงมตินี้แต่ก็ไม่เป็นผล พนักงานของผู้ให้บริการโทรศัพท์ตามสาขาต่าง ๆ ได้อ้างว่ายังไม่มีคำสั่งโดยตรงมาจากสำนักงานใหญ่ จึงต้องมีการเรียกเก็บไปก่อนข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคที่ประสบปัญหาแบบนี้ คือให้จ่ายเงินค่าโทรศัพท์ที่ค้างชำระให้เรียบร้อย หากยังไม่มีการต่อสัญญาณโทรศัพท์ให้และมีการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่ ผู้ใช้บริการควรเขียนเป็นหนังสือแจ้งถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ของผู้ให้บริการโทรศัพท์นั้นๆ ว่า ขอทักท้วงและปฏิเสธการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ดังกล่าวเพราะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนในมติของ กทช. และขอให้ผู้ให้บริการดำเนินการต่อสัญญาณโทรศัพท์โดยทันที ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผู้ให้บริการผิดสัญญาการให้บริการ เราในฐานะผู้ใช้บริการมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้เป็นรายวันเลยล่ะครับ จะเรียกร้องค่าเสียหายผ่านทางสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนของ กทช. ก็ได้ หรือจะเล่นลูกหนักฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคต่อศาลก็ได้ทั้งนั้นครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 ประกันภัยสินค้าใหม่ผ่านสายโทรศัพท์

เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ผู้เขียนกำลังจะตักข้าวใส่ปาก(มื้อเช้า) เสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น(เล่นเอาสะดุ้ง) จึงวางช้อนลงหยิบโทรศัพท์ขึ้นมารับสายเพราะคิดว่าอาจมีเรื่องสำคัญ เมื่อรับสายจึงรู้ว่าเป็นการโทรมาเพื่อขายประกัน (โอ้ย..รำคาญจริงๆ) แต่ก็ทนฟังเพราะอยากรู้ว่าเขาจะให้ข้อมูลอะไรบ้าง โอ้ย..จะบอกให้นะ หากใครตัดสินใจฟังคำบรรยายสรรพคุณความดีงามของการประกันภัย ถ้าจิตไม่แข็งพอ ต้องตกหลุมทำประกันกับเขาแน่ๆ เสียงก็เพราะแล้วยังพูดหวานหว่านล้อมสารพัด แต่ผู้เขียนฟังแล้วรู้สึกว่ามันเป็นการให้ข้อมูลฝ่ายเดียวแล้วยังเป็นการละเมิดสิทธิ สิทธิส่วนบุคคลของเราชัดๆ เพราะเราไม่เคยแสดงความจำนงว่าต้องการซื้อประกัน แล้วมาเสนอขายเราทำไม นอกจากนั้นระหว่างสนทนายังบันทึกเสียงเราอีก นึกๆ แล้วก็ควันออกหู คนจะกินข้าว ดันดั้นๆๆๆๆ โทรมาขายของน่าเกลียดจริงไอ้ธุรกิจพรรค์นี้ ก็เลยตอบกลับไปว่า “ไม่สนใจแล้วอย่าโทรมาอีกเป็นอันขาดเดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน” (โทรมาจะด่าให้) หันกลับมาที่จานข้าวใหม่เสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้นอีก (ไงเนี่ย..ตกลงจะได้กินข้าวไหม) แต่เห็นเบอร์โทรแล้วแสนจะดีใจ เพราะเป็นเบอร์ของเพื่อน และเพื่อนคนนี้เราไม่ค่อยมีเวลาเจอกันซักเท่าไร เพราะต่างคนต่างมีงาน เมื่อเพื่อนโทรหาเราก็พร้อมจะคุย เพื่อนบอกว่าพอดีได้อ่านหนังสือฉลาดซื้อเมื่อเดือนที่แล้ว ในกรณีเสาไฟฟ้าบ้านลุงชุบ พอดีมีเรื่องจะขอปรึกษาเรื่อง การขายประกันทางโทรศัพท์หน่อยได้ไหม(ทำไมจะไม่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นร้อยพันยังช่วยได้นี่เพื่อนเรานะทำไมจะช่วยไม่ได้) จากการพูดคุยก็ได้รายละเอียดว่า เมื่อต้นเดือนมกราคม ตัวเพื่อนและภรรยา(โทรคนละครั้งเพราะใช้โทรศัพท์คนละเบอร์) ได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่บริษัทประกันกรุงเทพประกันภัย จำกัด มาชักชวนให้ลงประกัน เพื่อนและภรรยาปฏิเสธไป แล้วก็คิดว่าคงไม่มีอะไรอีกแล้ว แต่เรื่องไม่เป็นเช่นนั้น ปรากฏว่าไปรษณีย์ได้นำจดหมายมาส่งวันที่ 26 มาราคม 2552 หัวจดหมายเป็นชื่อของบริษัทที่เคยโทรมาชวนให้เขาและภรรยาลงประกัน จึงรีบเปิดซองออกดูปรากฎว่า เป็นกรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อผู้เอาประกัน คือลูกสาวของเขาเอง และระบุวันคุ้มครอง วันที่ 23 มกราคม 2552 ด้วยความตกใจ จึงเรียกลูกสาวมาสอบถาม จึงได้ทราบว่าบริษัทประกันนอกจากจะโทรหาเขาและภรรยาแล้ว ยังโทรหาลูกสาวเขาอีก (อุแม่เจ้า นี่มันอะไรกันนี่มันเล่นโทรขายทั้งบ้านเลยหรือเนี่ย....) จึงถามลูกสาวว่าทำอย่างไรเขาถึงส่งกรมธรรม์มาให้ถึงบ้านได้ ลูกสาวก็บอกว่าก็ “เขาบอกว่าทำแล้วดีตั้งหลายอย่างก็เลยตอบตกลงเขาไป ก็ไม่รู้ว่าตกลงปากเปล่าทางโทรศัพท์นี่ จะเป็นจริงเป็นจังขนาดนี้” เพื่อนยังบอกต่ออีกว่าเมื่อเห็นว่าลูกสาวไม่ได้ลงนามในสัญญา สัญญากรมธรรม์ก็ไม่น่าจะมีผลอะไร เพราะการทำสัญญาต้องมีการลงนามทั้งสองฝ่ายหากขาดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสัญญานั้นก็ไม่น่าจะสมบูรณ์ เมื่อคิดอย่างนั้นก็เลยปล่อยเรื่องไว้เฉยๆโดยไม่คิดว่าจะมีปัญหาอะไรตามมา แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันเจ้าหน้าที่บริษัทประกันได้โทรติดต่อกลับมาหาลูกสาวเขาอีกพร้อมบอกให้ลูกสาวโอนเงินงวดแรกจำนวน 1,000 บาท (3 งวด)ไปยังบริษัท ลูกสาวได้ตอบไปว่า พ่อไม่ยอมให้ทำจึงขอยกเลิกการทำประกัน บริษัทตอบกลับมาว่ายกเลิกไม่ได้เพราะบริษัทได้ส่งกรมธรรม์มาให้แล้ว ตามคำยืนยันของลูกค้าที่ทางบริษัทได้บันทึกเสียงไว้ที่ตกลงไว้แล้วทางโทรศัพท์ และจากนั้นก็ได้รับโทรศัพท์ข่มขู่ว่าหากไม่จ่ายเงินบริษัทจะฟ้องเพราะถือว่าลูกค้าทำผิดสัญญา จึงได้โทรมาเพื่อขอคำปรึกษาว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถยกเลิกการทำประกันได้ เมื่อได้รับรู้เรื่องราวทั้งหมดแล้ว จึงได้ส่งเรื่องไปยังศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อให้ค้นหาข้อมูลเพื่อช่วยเหลือและตอบข้อหารือ ในเบื้องต้นศูนย์ฯ ได้แนะนำผู้ร้องไปว่า ถ้าผู้ซื้อไม่พอใจ ผู้บริโภคมีสิทธิปฏิเสธได้หรือบอกเลิกสัญญาได้ ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้ง ดังนั้นเรามีสิทธิยกเลิกการเอาประกันได้ และไม่ต้องกลัวคำขู่ของบริษัทที่ขู่จะฟ้องร้อง แน่จริงก็ให้เขาฟ้องมาเลยศูนย์ฯ จะดำเนินการให้ไม่ต้องกลัวจากนั้นศูนย์ฯได้ดำเนินการสืบค้น พบว่าการที่บริษัทประกันโทรมาขายประกันผ่านโทรศัพท์ได้ เป็นเพราะคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ) กรมการประกันภัยเดิม ได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ พ.ศ. 2551 จึงได้ข้อสรุปว่า คปภ. คือต้นเหตุของความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น เรื่องนี้ คปภ ต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นผู้ออกประกาศมาสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ซึ่งประชาชนสามารถใช้สิทธิตาม พรบ.วิธีพิจารณาความผู้บริโภคฟ้องบริษัทและ คปภ. ต่อศาลประจำจังหวัด ฐานที่ส่งเสริมให้บริษัทสร้างความเสียหายต่อจิตใจ และสร้างความเดือดร้อนรำคาญใจ รบกวนสิทธิส่วนบุคคล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 ขอปิดใช้บริการมือถือ แต่ทำไมยังมีหนี้อยู่

“ซิมฟรีครับพี่ ซิมฟรี 1 ชั่วโมง จ่ายแค่ 5 นาที แถมนาทีละหกสลึง ถูกอย่างนี้มีที่ไหนครับพี่...” เสียงประกาศเชิญชวนของหนุ่มนักขายซิมมือถือ ร้องเรียกผู้คนที่เดินผ่านไปมาบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง คุณนิสาอยากรับขวัญลูกชายที่ไปเรียนอยู่ต่างประเทศและหยุดปิดเทอมกลับมาพักผ่อนที่เมืองไทยเป็นเวลา 1 เดือน จึงเดินเข้าไปยื่นบัตรประชาชนเพื่อขอรับซิมฟรี กะเอาไปให้ลูกชายใช้ระหว่างที่อยู่เมืองไทย ซึ่งเป็นซิมมือถือของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส ตอนแรกคุณนิสาเข้าใจว่า เป็นซิมฟรี แต่เมื่อมาดูรายละเอียดแล้วถึงได้รู้ว่าตัวเองเสียค่าโง่ เพราะซิมตามโปรโมชั่นดังกล่าวจะต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนๆ ละ 99 บาท ส่วนค่าโทรนั้นคนขายซิมก็ดันพูดไม่หมด ก็เข้าใจว่าใช้ชั่วโมงหนึ่งจ่ายแค่ 5 นาทีเท่านั้น ทีนี้ล่ะฉันจะใช้โทรเท่าไหร่ก็ได้เพราะจ่ายแค่ 5 นาที นาทีละ 1.50 บาทเอง แต่ความจริงก็คือ โปรโมชั่นนี้เขาให้ส่วนลดเพียงแค่ 1 ชั่วโมงแรกที่เปิดใช้บริการเท่านั้นที่จะคิดค่าบริการเพียงแค่ 5 นาที แต่หลังจากชั่วโมงนั้นแล้วก็คิดค่าบริการนาทีละ 1.50 บาททุกๆ นาทีที่ใช้ ซึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นอัตราค่าโทรที่ถูกนักเมื่อเปรียบเทียบกับโปรโมชั่นบางตัวที่คิดค่าโทรเพียงแค่นาทีละ 1 บาท หรือ 50 สตางค์ “อ๊ะ.. ไหน ๆ ก็ได้มาแล้วและก็ให้ลูกใช้แค่เดือนเดียว คงไม่เป็นไร” คุณนิสาคิดกับตัวเอง ก่อนที่จะนำซิมที่ได้มาให้ลูกชายเปิดใช้บริการ ซิมนี้ถูกเปิดใช้บริการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และคุณนิสาได้ไปแจ้งขอปิดใช้บริการที่ศูนย์บริการในอีกเดือนถัดมาหลังจากที่ลูกชายเดินทางกลับไปต่างประเทศ โดยชำระค่าบริการที่ค้างจ่ายทั้งหมดให้กับพนักงาน เรื่องน่าจะจบไม่มีปัญหาอะไร แต่ปรากฏว่าต่อมาในเดือนเมษายน มีใบเรียกเก็บค่าบริการโทรมือถือหมายเลขที่ได้แจ้งปิดไปแล้วมาถึงคุณนิสาจำนวน 1,070.54 บาท คุณนิสาก็เป็นงง เพราะตั้งแต่วันที่แจ้งยกเลิกก็ไม่ได้ใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์นั้นอีก แล้วจะมียอดหนี้มาได้อย่างไร จึงได้ติดต่อไปที่ศูนย์บริการ AIS Shop สาขาเดิมเพื่อขอตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งพนักงานได้แจ้งว่าให้รอเอกสารการตรวจสอบภายใน 15 วัน แต่รอจนแล้วจนเล่าก็ไม่เห็นมีคำชี้แจงใดๆ กลับมา ซ้ำในเดือนพฤษภาคมยังมีบิลเรียกเก็บเงินอีก 95.34 บาท เมื่อไม่มีความชัดเจนคุณนิสาจึงไม่ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้กับเอไอเอส  ทีนี้ล่ะครับงานเข้าครับงานเข้า...ปรากฏว่าในเดือนธันวาคม มีจดหมายทวงหนี้จากสำนักงานกฎหมาย เซนิท ลอว์ จำกัด แจ้งว่าคุณนิสายังมีหนี้ค้างกับ เอไอเอส อยู่ 1,165.88 บาท แถมยังมีข้อความในลักษณะข่มขู่คุกคามที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอีก เช่น ขู่ว่าถ้าไม่ชำระหนี้ภายใน 48 ชั่วโมง จะถูกฟ้องดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด , จะส่งรายชื่อเข้าข้อมูลเครดิตกลาง จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ ดอกเบี้ยค้างชำระ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการออกหมายอายัดรายได้ และหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาด คุณนิสารู้สึกโกรธมากอะไรจะปานนั้น หนี้แค่พันกว่าบาท จะยึดทรัพย์กันเลยหรือ จึงได้ร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอคำปรึกษา แนวทางแก้ไขปัญหาบริการโทรศัพท์มือถือนั้น ถือเป็นบริการโทรคมนาคมประเภทหนึ่งที่อยู่ภายใต้กฎหมายประกอบกิจการโทรคมนาคมที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) เป็นผู้กำกับดูแล กรณีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาว่า ค่าบริการที่บริษัทมือถือเรียกเก็บมานั้นถูกต้องหรือไม่ ผู้ใช้บริการสามารถที่จะร้องเรียนโดยตรงได้กับบริษัทมือถือ และถือเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องเป็นผู้พิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมค่าบริการต่าง ๆ และจะต้องแจ้งข้อมูลให้กับผู้ใช้บริการทราบโดยเร็วแต่ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ใช้บริการมีคำขอ หากผู้ให้บริการไม่ดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ให้บริการสิ้นสิทธิในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในจำนวนที่มีการโต้แย้งโดยทันที ข้อกฎหมายเขาเขียนไว้อย่างนั้นครับแต่ในทางปฏิบัติคนละเรื่องเลย ผู้ใช้บริการเขาอุตส่าห์ไปขอให้ตรวจสอบค่าบริการที่เรียกเก็บตั้งแต่เดือนเมษายน แต่บริษัทกลับแจ้งยอดหนี้เพิ่มและส่งจดหมายทวงหนี้ที่ไร้มารยาทมาให้อีก มูลนิธิฯ จึงได้ทำจดหมายร้องเรียนไปถึงเอไอเอสโดยทันที หลังจดหมายออกไปประมาณ 1 เดือน เอไอเอสถึงได้มีจดหมายตอบกลับแจ้งว่า ไม่พบเอกสารการขอยกเลิกการใช้บริการแต่อย่างใดในวันที่คุณนิสาไปแจ้งขอยกเลิก (แสดงว่าแจ้งไปแล้วแต่พนักงานไม่ยอมยกเลิกให้ ?) และหนี้ที่เรียกเก็บในเดือนเมษายนนั้นเป็นค่าบริการที่มีการใช้โทรจริง และเนื่องจากระบบข้อมูลยังคงเห็นว่าคุณนิสายังอยู่ในสถานะใช้บริการอยู่จึงมีค่ารายเดือนต่อมาอีก 1 เดือน เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้เอไอเอสจึงดำเนินการมอบส่วนลดค่าใช้บริการให้จำนวน 783.72 บาท (รวมภาษี) จากยอดที่เรียกมาทั้งหมด 1,165.88 บาท ยังมียอดคงเหลืออีก 382.16 บาท ซึ่งคุณนิสาตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นค่าโทรที่ลูกชายใช้จริงจึงยินดีที่จะจ่ายเงินส่วนนี้ให้ ปัญหาหนี้ค่าโทรจึงเป็นอันยุติ ข้อเตือนใจสำหรับคนใช้มือถือ ต้องจำไว้ว่ามือถือแบบจดทะเบียนเป็นบริการที่เข้าง่ายออกยากประเภทหนึ่ง หากคิดจะบอกเลิกสัญญาอย่าแจ้งทางวาจาเพียงอย่างเดียว ต้องมีเอกสารการบอกเลิกสัญญาลงลายมือชื่อเราให้ชัดเจนส่งถึงบริษัท ทำอย่างนี้จะไม่มีปัญหาในภายหลังครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 เขาหาว่าผมค้างค่างวดรถ

คุณเดชาเดินทางมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ด้วยสีหน้าบอกบุญไม่รับ พร้อมกับยื่นกระดาษแผ่นหนึ่งให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์พิทักษ์สิทธิมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “พี่ช่วยผมด้วยครับ” เจ้าหน้าที่รับกระดาษมาอ่านในรายละเอียด เห็นหัวกระดาษเป็นชื่อและที่อยู่ของบริษัทกรุงไทย ออโต้ลีส จำกัด เนื้อหาแจ้งว่า คุณเดชาได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่น M’TX ตอนเดียว จำนวน 1 คัน จากบริษัท กรุงไทย ออโต้ลีส จำกัด ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2547 หรือเมื่อ 5 ปีที่แล้ว หนังสือแจ้งว่าคุณเดชาไม่เคยชำระค่าเช่าซื้อเลยสักงวด จึงมีหนังสือฉบับนี้มาถึงคุณเดชาเพื่อให้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา หนี้ที่คุณเดชาจะต้องจ่ายคือค่างวดเช่าซื้อ 48 งวดเป็นเงิน 254,976 บาท ค่าเบี้ยปรับโดยคิดจากยอด ณ วันที่ออกหนังสือ เป็นเงิน 401,954 บาท และค่าผิดสัญญาค่าติดตามอีก 10,000 บาทรวมเป็นเงิน 666,930 บาท เมื่อเจ้าหน้าที่อ่านรายละเอียดในกระดาษเสร็จจึงเงยหน้าขึ้น “จะให้เราช่วยยังไงครับ ไม่ใช่จะให้เราช่วยชำระหนี้แทนนะครับ” เจ้าหน้าที่เอ่ยถามด้วยอาการเสียวๆ เพราะมีคนเป็นหนี้หลายรายคิดว่ามูลนิธิฯเป็นแหล่งปล่อยเงินกู้ “ไม่ใช่อย่างงั้นครับพี่ คือไอ้สัญญาฉบับที่ไฟแนนซ์เขาอ้างมาในจดหมายทวงหนี้น่ะ ผมไม่เคยเห็นมันมาก่อนเลยครับ ไม่รู้เคยไปเซ็นอะไรไว้ตรงไหน คนค้ำประกันผมก็ไม่รู้จักตอนนี้ผมอายุ 27 ปี ถ้าผมไปทำสัญญาจริงๆ ตอนนั้นผมก็อายุแค่ 22 ปียังเดินเตะฝุ่นหางานทำอยู่เลยครับ ไฟแนนซ์หน้าไหนจะปล่อยเงินให้ผมไปซื้อรถ อยู่ดีๆ ก็มีจดหมายทวงหนี้โผล่มาที่บ้าน...แม่ผมแทบช็อกตาย หนี้ตั้ง 5 แสน 6 แสน บ้านผมทำนาคงไม่มีปัญญาจะหาเงินไปใช้หนี้เขาได้หรอกครับ ช่วยผมที” “เอ้า...ช่วยก็ช่วย” เจ้าหน้าที่รับปาก  แนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องของการเช่าซื้อรถยนต์นั้น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ประกาศให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ.2543 โดยมีสัญญาข้อหนึ่งที่ให้สิทธิผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้หากมีการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรายงวด 3 งวดติดๆ กัน...แต่กรณีนี้บริษัทปล่อยให้หนี้ค้างอยู่ได้ตั้ง 48 งวด แถมไม่เคยมีการติดตามทวงถามกันมาก่อนเลย เมื่อสอบถามกับคุณเดชาว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมาเคยได้รับใบแจ้งหนี้ ใบทวงหนี้มาก่อนหรือเปล่า ได้รับคำตอบว่ามีโทรศัพท์มาทวงหนี้อยู่ครั้งเดียว ก่อนที่จะได้รับจดหมายทวงหนี้ฉบับดังกล่าวเท่านั้น แปลกไหมล่ะครับ ถ้าผู้บริโภคท่านใดเจอหนี้แปลกพิสดารแบบนี้ สิ่งที่ควรทำโดยทันทีคือการทำจดหมายทักท้วงปฏิเสธหนี้ดังกล่าวโดยทันทีส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและเก็บใบตอบรับไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งหากบริษัทไฟแนนซ์ยืนยันที่จะเรียกเก็บหนี้ต่อไปก็ต้องมั่นใจในเอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญาว่า เป็นเอกสารที่ได้มาโดยชอบ และดำเนินการฟ้องต่อศาลต่อไป แต่หากเป็นการ “ลักไก่” เรียกเก็บหนี้กับคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เมื่อเรารู้ทัน เขาก็ต้องยุติการติดตามทวงหนี้ไปโดยปริยาย กรณีของคุณเดชา มูลนิธิฯ ได้ทำหนังสือทักท้วงแจ้งปฏิเสธการชำระหนี้ดังกล่าวส่งไปถึงบริษัทฯ ซึ่งขณะนี้สัญญาณตอบรับจากบริษัทยังคงเงียบฉี่ ติดต่อไม่ได้ในขณะนี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 96 ถูกเรียกเก็บค่าน้ำผิดประเภท 8 ปี

ป้าจินตนา เป็นผู้เช่าบ้านหลังหนึ่งที่ถนนปางล้อนิคม ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยเปิดบ้านทำเป็นร้านขายอาหารตามสั่งมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2543 หรือร่วม 8 ปีเศษเข้ามาแล้ว ตั้งแต่เปิดร้านอาหารมาก็แปลกใจตลอดว่าทำไมค่าน้ำถึงแพงจัง ใช้แค่ล้างจานชามอาจจะมากกว่าการใช้น้ำตามบ้านเรือนทั่วไปแต่ก็ไม่ได้มากมายอะไร แต่เมื่อเอาค่าน้ำของตัวเองไปเทียบกับเพื่อนบ้านแล้วก็ได้แต่สงสัยมาตลอดว่าทำไมค่าน้ำของตัวเองถึงสูงมาก แต่ก็ทนจ่ายมาตลอด จนมาถึงเดือนมิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาก็ถึงจุดแตกหัก เมื่อได้รับใบแจ้งหนี้ค่าน้ำที่คาดว่าน่าจะถูกลงเพราะเป็นช่วงฤดูฝนไม่ต้องดูแลต้นไม้หน้าบ้านแต่ค่าน้ำกลับแพงกว่าเดิม ก้มดูรายละเอียดในใบแจ้งหนี้มันก็ไม่ได้บอกอะไรนอกจากจำนวนเงินค่าน้ำและ 373 ที่ระบุว่าเป็นประเภทการใช้น้ำ ดูแล้วก็ไม่เข้าใจ เพราะคำแนะนำที่อยู่ด้านหลังใบแจ้งหนี้ให้ความหมายสำหรับตัวเลขของประเภทผู้ใช้น้ำไว้ว่า 1= ที่อยู่อาศัย 2 = ราชการและธุรกิจขนาดเล็ก 3 = รัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ 4 = ประเภทพิเศษ ป้าจินตนาจึงถือใบแจ้งหนี้ไปถามกับเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์รับเงินว่าเลข 373 นี่มันคืออะไร ได้รับคำตอบว่า เป็นการเรียกเก็บค่าน้ำประเภทธุรกิจขนาดใหญ่ ป้าจินตนาก็ตกใจเพราะที่ทำอยู่มันก็แค่ร้านอาหารตามสั่งอย่างเก่งก็แค่ธุรกิจขนาดย่อมเท่านั้นแหละ “ฉันก็ถามเขาไปว่า ใครเป็นคนตัดสินใจแทนเจ้าของบ้านว่าจะให้บ้านนั้นบ้านนี้ไปใช้น้ำประเภทไหน เพราะฉันไม่เคยมาแจ้งเปลี่ยนมาก่อน เข้าใจมาตลอดว่าตัวเองใช้น้ำประเภทบ้านอยู่ แต่เชื่อมั้ยคะ คำตอบที่ได้รับยิ่งทำฉันฉุนเฉียวมากขึ้น เพราะเขาบอกว่า คนจดมาตรน้ำเป็นคนจัดการ”  ป้าจินตนาเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง จึงขอเปลี่ยนประเภทน้ำใช้ไปเป็นธุรกิจขนาดเล็กตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ และขอเรียกร้องเงินค่าน้ำที่ได้จ่ายเกินไปกว่า 8 ปีคืน “ฉันเคยเข้าพบผู้จัดการแล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นผลเพราะบ่ายเบี่ยงไปมาบอกว่าไม่รู้จะทำยังไงได้ ไม่เคยเจอกรณีแบบนี้” ผลการช่วยเหลือของมูลนิธิฯหลังรับเรื่องร้องเรียน ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 มูลนิธิฯ ได้ทำจดหมายส่งถึงผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาคและผู้จัดการสำนักงานประปาแม่ฮ่องสอน โดยมีข้อร้องเรียนอยู่ 2 เรื่องคือ 1.ให้ชดใช้ค่าเสียหายหากตรวจสอบพบแล้วว่าเป็นความผิดพลาดของการประปาแม่ฮ่องสอน 2. ห้แก้ไขหรือชี้แจงรายละเอียดของตัวเลขผู้ใช้น้ำแต่ละประเภทที่ทำให้ผู้ใช้น้ำเกิดความสับสน ปรากฏว่า สำนักงานประปาแม่ฮ่องสอนได้เรียกป้าจินตนาไปเจรจาโดยบอกว่าจะให้เจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการเปลี่ยนประเภทผู้ใช้น้ำให้โดยพลการนั้นรับผิดชอบด้วยการจ่ายเงินคืนให้ 3,000 บาทและขอให้ยุติเรื่อง ป้าจินตนาไม่ยินยอมเพราะเข้าใจว่าความเสียหายเกิดขึ้นมาตั้ง 8 ปีแล้วค่าเสียหายน่าจะมากกว่านี้ เมื่อไม่เห็นถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหามูลนิธิฯ จึงต้องทำจดหมายถามย้ำไปอีกรอบ ทีนี้ได้เรื่องครับ การประปาส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่ได้มีหนังสือชี้แจงถึงผลการดำเนินการตรวจสอบว่า สำนักงานประปาแม่ฮ่องสอน จัดประเภทผู้ใช้น้ำให้แก่ป้าจินตนาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2551 (เดือนที่ป้าจินตนาทราบเรื่องและขอเปลี่ยนประเภทผู้ใช้น้ำเป็นประเภทธุรกิจขนาดเล็ก) ซึ่งตามข้อเท็จจริงจะต้องเรียกเก็บในประเภทที่ 2 ธุรกิจขนาดเล็ก รหัส 243 ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สำนักงานประปาแม่ฮ่องสอนได้เรียกเก็บเป็นประเภท 3 ธุรกิจขนาดใหญ่ รหัส 373 เนื่องจากเข้าใจว่า เป็นสถานบริการเพราะมีเครื่องเสียงไว้บริการให้ลูกค้าได้ร้องเพลง สรุปว่าป้าจินตนาถูกเรียกเก็บค่าน้ำผิดประเภทไป 5 ปี ซึ่งในขณะนี้การประปาส่วนภูมิภาคกำลังพิจารณาคำนวณค่าน้ำประปาที่เก็บเกินเพื่อคืนให้กับป้าจินตนาอยู่ ส่วนเรื่องตัวเลขรหัสแสดงประเภทผู้ใช้น้ำที่ทำให้ผู้บริโภคอาจเกิดความสับสนนั้น การประปาส่วนภูมิภาคได้ชี้แจงว่า ในด้านหน้าใบเสร็จจะเป็นเลขรหัสประเภทผู้ใช้น้ำแสดงไว้ 3 หลัก คือ หลักร้อย มีเลขรหัส 1 ถึง 4 หมายถึง ประเภทผู้ใช้น้ำว่าเป็นประเภทที่อยู่อาศัย ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดใหญ่ รหัสนี้ใช้สำหรับการคิดค่าน้ำประปาในอัตราที่ต่างกัน หลักสิบ มีเลขรหัส 1 ถึง 9 หมายถึง ประเภทผู้ใช้น้ำหลักเป็นการแสดงลักษณะการประกอบการของสถานที่ใช้น้ำ หลักหน่วย มีเลขรหัส 1 ถึง 9 หมายถึง ลำดับที่ในประเภทผู้ใช้น้ำย่อย ซึ่งแสดงรายละเอียดของลักษณะการใช้น้ำของสถานที่ประกอบการ ส่วนในด้านหลังใบเสร็จรับเงินนั้นจะบอกเฉพาะความหมายของเลขรหัสหลักร้อยว่าหมายถึงผู้ใช้น้ำประเภทใดเท่านั้น อ่านมาถึงตรงนี้แล้วจึงมาถึงบางอ้อ นี่ถ้าการประปาภูมิภาคไม่ชี้แจง ไม่ยอมบอกความหมายของเลขรหัสให้ได้ทราบกันนี่ ผู้บริโภคก็คงงมจ่ายค่าน้ำไปแบบไม่รู้ทิศรู้ทางแบบป้าจินตนากันเป็นแถวล่ะครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 บรรจุภัณฑ์ใหญ่ไปไหม??

สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง ยาสระผม สบู่เหลว แป้งฝุ่น โลชั่น ทุกวันนี้เริ่มมีแต่เสียงสะท้อนว่า “กระป๋องใหญ่ไปไหม ข้างในมีอยู่นิดเดียว” หรือ “เพิ่งซื้อมาใช้ ทำไมหมดเร็วจัง” ซึ่งจริงๆ แล้วสินค้าประเภทนี้ น้ำหนัก ประมาณ 200 – 250 กรัม(มิลลิลิตรในกรณีของเหลว) คนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้หรอกว่าจริงๆ แล้วมันคือแค่ไหน ทุกคนก็อาศัยมองดูลักษณะเอาจากตัวแพ็กเก็จหรือบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นธรรมดาที่เราจะมองว่าแพ็กเก็จใหญ่ของข้างในก็น่าจะเยอะสิ ยิ่งถ้าดูยี่ห้อหนึ่งที่กระป๋องใหญ่แล้วราคาถูกกว่าอีกยี่ห้อ บางทีก็ไม่ได้ดูฉลากว่าน้ำหนักบรรจุเท่าไหร่รีบคว้าไปจ่ายเงินทันที ทั้งที่อีกยี่ห้อที่มองข้ามอาจบรรจุน้ำหนักสินค้ามากกว่าก็ได้ เพียงแต่กระป๋องดูเล็กกว่า ด้วยจิตวิทยาแบบนี้ ผู้ผลิตจึงมักเลือกออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใหญ่สักหน่อย หรือทำให้ดูเหมือนใหญ่เพื่อดึงความสนใจของคนซื้อ แต่ของข้างในอาจใส่ลงไปแค่ 60 % หรือ 70 % เหลือที่ว่างอีกเยอะ ทางหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ได้กำหนดขนาดมาตรฐาน เช่น ยาสระผมขนาดกลางทุกยี่ห้อ ต้องบรรจุน้ำหนักที่ 200 มล. เท่ากันหมด เพราะถือว่าเป็นการค้าเสรีผู้ผลิตมีสิทธิบรรจุน้ำหนักเท่าไรก็ได้ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อต้องพิจารณาฉลากกันเอาเอง แต่รัฐจะไปเน้นควบคุมที่เรื่องราคาขายปลีกแทนและดูแลไม่ให้โกงน้ำหนักที่ผิดไปจากฉลาก กรณีทำแพ็กเก็จให้ใหญ่ยังอาจใช้เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดว่ามีการเพิ่มน้ำหนักสินค้าเพื่อการปรับขึ้นราคา ทั้งที่บรรจุน้ำหนักเท่าเดิม และในทางกลับกันแพ็กเก็จก็อาจเท่าเดิม(คือใหญ่มาแต่แรก) เพื่อเผื่อไว้สำหรับลดน้ำหนักที่บรรจุให้น้อยลงแต่ขายในราคาเดิม โดยผู้ซื้อไม่ทันรู้ตัวว่าน้ำหนักได้ลดลงไปแล้ว แต่เรื่องแบบนี้ถ้าพูดอย่างเดียวอาจถูกมองว่ารู้สึกไปเองหรือเปล่า ฉลาดซื้อเลยนำตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง แป้งฝุ่น โลชั่น ยาสระผม สบู่เหลว มาทดลองหาน้ำหนักที่กระป๋องหรือขวดที่ผู้ผลิตใช้ในการบรรจุสินค้าแต่ละชนิดนั้น ว่าสามารถบรรจุน้ำหนักเต็มที่ได้เท่าไหร่ เพื่อเทียบกับปริมาณที่บรรจุจริงตามฉลาก แล้วหาสัดส่วนของพื้นที่ว่างในบรรจุภัณฑ์ว่าเหลืออยู่กี่เปอร์เซ็นต์ สำหรับฉบับนี้ขอลงแค่ “แป้ง” กับ ”โลชั่น” ก่อน ฉบับหน้าจึงเป็นคิวของยาสระผมและสบู่เหลว   แป้งฝุ่น เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก เพราะพบว่าส่วนใหญ่บรรจุน้ำหนักลงไปแค่ครึ่งหนึ่งของกระป๋องเท่านั้น เหลือพื้นที่ว่างอยู่ ราวๆ  50% คาดว่าน่าจะช่วยให้สามารถเขย่าแป้งได้สะดวกขึ้น **สำรวจเดือนตุลาคม 2557                                                                                                                                                   สคบ.วอนเอกชนลดขนาดบรรจุภัณฑ์ โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ 24 ก.ค. 2557 นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ สคบ.จะเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านสินค้าอุปโภค และบริโภค รายใหญ่ เข้ามาหารือเพื่อขอให้ช่วยลดขนาดบรรจุภัณฑ์สินค้า ทั้ง แชมพู สบู่เหลว ครีมบำรุงผิว ผงซักฟอก อาหาร และขนมขบเคี้ยว ลงจากเดิม หลังจากได้ส่งทีมออกสุ่มตรวจสินค้าแล้วเห็นว่า ขนาดบรรจุภัณฑ์สินค้าหลายชนิดมีขนาดใหญ่เกินจริง แต่ปริมาณสินค้าที่บรรจุมีขนาดเท่าเดิม จึงอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เลือกซื้อสินค้าโดยที่ไม่ได้ทันสังเกต ขณะเดียวกันการปรับลดปริมาณของบรรจุภัณฑ์ลง ยังส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตลดลงด้วย “จากการสุ่มตรวจสินค้าหลากชนิด เช่น ครีมบำรุงผิวหลายยี่ห้อ ขนาดขวดที่ใช้บรรจุครีมมีพื้นที่ว่างอยู่ถึง 17-31% ส่วนแชมพูก็มีพื้นที่ว่าง 23-41% แม้จะเข้าใจว่า การทำขนาดขวดที่บรรจุให้ใหญ่ จะเป็นการแข่งขันทางการตลาดของผู้ประกอบการ เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคมาเลือกซื้อสินค้า ซึ่งบางรายอาจจะเข้าใจผิดได้ว่า สินค้านี้ขวดใหญ่ขึ้น อาจมีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่พอมาใช้แล้ว กลับมีอยู่นิดเดียวไม่แตกต่างจากขวดธรรมดา ขณะเดียวกันการเพิ่มขนาดยังทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มโดยไม่จำเป็น อีกอย่างยังเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุอีกด้วย” ทั้งนี้ในระยะแรก สคบ.จะขอความร่วมมือตามความสมัครใจก่อน หรือถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้ลดลงเท่าที่จำเป็น เบื้องต้นอาจกำหนดให้พื้นที่ว่างภายในบรรจุภัณฑ์ต้องไม่เกิน 15% หรือมีสินค้าที่บรรจุภายในอยู่เกิน 3 ใน 4 ของบรรจุภัณฑ์ ส่วนในระยะยาว ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม และกรมควบคุมมลพิษ เพื่อออกมาตรการควบคุมให้ชัดเจน เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน. ที่มา http://www.thairath.co.th/content/438498

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 เช็คปริมาณกระดาษเช็ดหน้า

กระดาษทิชชู่ หรือ กระดาษชำระ ถือเป็นกระดาษอเนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีกระดาษทิชชู่ให้เลือกใช้สารพัดอย่างแบ่งตามประเภทการใช้งาน ทั้งกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดมือ ฯลฯ คิดว่าคนส่วนใหญ่คงตัดสินใจเลือกซื้อกระดาษทิชชู่จาก ยี่ห้อ ราคา หรือแม้แต่สีสันของบรรจุภัณฑ์ และอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อกระดาษทิชชู่ นั้นคือ “จำนวนแผ่นกระดาษทิชชู่” เปรียบเทียบดูว่ายี่ห้อไหนมีจำนวนที่คุ้มค่าคุ้มราคากว่ากัน แต่จะมีใครมั้ย? ที่เคยลองตรวจสอบดูว่าจำนวนกระดาษทิชชู่ที่อยู่ในกล่องกับตัวเลขที่ระบุบนฉลากข้างกล่องถูกต้องตรงกันหรือเปล่า ฉลาดซื้อเราจึงขอรับอาสาเช็คความถูกต้องของกระดาษทิชชู่ โดยเราเลือกกระดาษเช็ดหน้าชนิดบรรจุกล่องมาลองนับกันแบบแผ่นต่อแผ่นว่าแต่ละยี่ห้อที่เรานำมาสำรวจมีปริมาณแผ่นกระดาษเช็ดหน้าตรงกับที่แจ้งไว้หรือเปล่า   วิธีการทดสอบ เราใช้อาสาสมัคร 3 คน เพื่อตรวจนับจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้า อาสาสมัครทั้ง 3 คนจะนับกันคนละ 1 ครั้งต่อ 1 ตัวอย่าง เท่ากับว่าแต่ละตัวอย่างเราจะทำการตรวจนับจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้าถึง 3 ครั้ง เพื่อตรวจสอบจำนวนและทวนความถูกต้อง ผลการทดสอบ เป็นเรื่องที่น่าดีใจที่กระดาษเช็ดหน้าทุกยี่ห้อที่เรานำมาสำรวจจำนวนแผ่นกระดาษ พบว่าทั้งหมดตรงตามจำนวนที่ระบุไว้ในรายละเอียดข้างกล่อง แถมฉลาดซื้อยังพบว่ามีหลายยี่ห้อให้จำนวนกระดาษมาเกินกว่าที่ระบุเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น ยี่ห้อ เชลล็อกกระดาษเช็ดหน้าโรชี่ ที่ระบุจำนวนไว้ว่า 150 แผ่น แต่จากการสำรวจเรานับจำนวนได้ 154 แผ่นทั้ง 3 ครั้ง นอกจากนี้ยังมียี่ห้อ ซิลค์ ที่เรานับจำนวนได้ 124 แผ่น แต่ข้างกล่องระบุไว้ 120 แผ่น, ยี่ห้อ เลดี้สก๊อตต์ ที่นับจำนวนได้ 152 แผ่น ขณะที่ข้างกล่องระบุไว้ 150 แผ่น และยี่ห้อ เทสโก้ (กล่องเล็ก) ที่นับได้ 52 แผ่น แต่ระบุจำนวนที่ข้างกล่องไว้ 50 แผ่น ถือว่าเป็นกำไรของผู้บริโภค ตารางแสดงผลการสำรวจจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้า เปรียบเทียบกับจำนวนที่แจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ ชื่อสินค้า จำนวนที่นับได้ จำนวนที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ ขนาดแผ่น วัน/เดือน/ปีที่ผลิต ราคา (บาท) เชลล็อกกระดาษเช็ดหน้าโรชี่ 154 150 - 27 03 13 42 เลดี้สก๊อตต์ 152 150 - 16 04 13 - คุ้มค่า 150 150 20x20 ซม. 04 04 56 18.50 บิ๊กซี 150 150 20x20 ซม. 14 02 56 - แฮปปี้บาท 150 150 20x20 ซม. 30 03 56 - คลีเน็กซ์ 150 150 - 07 04 13 54 ซิลค์ 124 120 - 13 04 13 27 สก็อต 120 120 - 14 04 13 94 เทสโก้ กล่องเล็ก 52 50 13x20 ซม. 02 01 13 42   ฉลาดซื้อแนะนำ การเลือกซื้อกระดาษชำระ -กระดาษชำระที่ดี เนื้อของกระดาษแต่ละแผ่นต้องมีสีที่สม่ำเสมอกัน -ไม่มีรอยตัด ฉีกขาด (ยกเว้นรอยปะสำหรับฉีก) -ไม่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในกระดาษ -กระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ และกระดาษชำระ ถือเป็นสินค้าควบคุมฉลาก -บนฉลากต้องแสดงขนาดความกว้าง – ยาว ของแผ่นกระดาษ เป็นเซนติเมตร -ถ้าในฉลากมีการระบุประเภทของกระดาษ เช่น “กระดาษเช็ดหน้า” “กระดาษเช็ดปาก” “กระดาษเช็ดมือ” หรือ “กระดาษชำระ” กระดาษนั้นก็ต้องมีคุณลักษณะที่ตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำหนดไว้ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของกระดาษ -เพราะฉะนั้นเราควรใช้กระดาษชำระให้ถูกต้องตามประเภทการใช้งาน เพราะกระดาษแต่ละชนิดถูกผลิตออกมาเพื่องานที่แตกต่างกัน ความหนานุ่ม ความยืดหยุ่น และการดูดซับน้ำ รวมถึงเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จึงมีความแตกต่างกัน ที่มา: ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2526) เรื่อง กำหนดกระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ และกระดาษชำระ เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก   ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- การแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม การแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริโภคอย่างเราควรรู้ ลองมาดูกันดีกว่าว่าแบบไหนคือการแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากหรือบนผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องเหมาะสมได้ใจผู้บริโภค 1.ต้องแสดงปริมาณสุทธิหรือจำนวนที่แท้จริงของสินค้า โดยต้องไม่รวมน้ำหนักของสิ่งที่ใช้บรรจุหรือสิ่งที่ห่อหุ้มอยู่ 2.ต้องแสดงปริมาณตามมาตราชั่ง มาตราตวง หรือมาตราวัด ในระบบเมตริกหรือแสดงเป็นหน่วย (กรัม, มิลลิกรัม, ชิ้น, แผ่น ฯลฯ) แล้วแต่ชนิดของสินค้าหีบห่อ โดยใช้ตัวเลขไทยหรือตัวเลขอารบิคและอักษรไทย 3.มีข้อความภาษาไทยว่า “ปริมาณสุทธิ” หรือที่มีความหมายเช่นเดียวกัน อยู่หน้าปริมาณของสินค้า 4.แสดงปริมาณของสินค้าไว้บนฉลาก บรรจุภัณฑ์ ให้สามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจน ตัวเลขและตัวอักษรมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร และต้องติดอยู่ถาวรไม่ลบเลือน 5.แสดงปริมาณของสินค้าทุกแห่งให้ตรงกันในกรณีที่มีการแสดงปริมาณไว้หลายแห่ง 6.ในกรณีที่เป็นสินค้าที่เป็นห่อใหญ่แล้วบรรจุมีสินค้าชนิดเดียวกันที่มีปริมาณเท่ากัน ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป และแต่ละห่อสามารถขายแยกต่างหากจากห่อใหญ่ได้ การบรรจุสินค้าห่อใหญ่ดังกล่าวจะต้องแสดงจำนวนห่อเล็กและปริมาณของสินค้าในห่อเล็กด้วย ที่มา : ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง กำหนดชนิดและวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าหีบห่อ พ.ศ. 2543 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- รู้มั้ยว่า? ปริมาณสินค้าที่แจ้งบนฉลากกับปริมาณสินค้าจริงๆ อาจไม่ตรงกันเสมอไป!!! แม้เรื่องของปริมาณสินค้าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องแจ้งกับผู้บริโภค แต่บางครั้งปริมาณของสินค้าจริงๆ กับปริมาณที่แจ้งไว้อาจไม่ตรงกันก็ได้ แต่อย่าเพิ่งตกใจ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้นั้นเป็นเพราะกฎหมายเขาอนุโลมให้การแสดงปริมาณสุทธิของสินค้าต่างๆ สามารถแสดงปริมาณแบบเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------   อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด สำหรับสินค้าที่แสดงปริมาณโดยนับเป็นหน่วย ปริมาณที่แสดงบนหีบห่อ อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดร้อยละของปริมาณที่แสดง ไม่เกิน 35 หน่วย - มากกว่า 35 หน่วย แต่ไม่เกิน 50 หน่วย 3 มากกว่า 50 หน่วย ขึ้นไป 2   อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด สำหรับสินค้าที่แสดงปริมาณเป็นมาตราชั่ง ปริมาณที่แสดงบนหีบห่อ อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดร้อยละของปริมาณที่แสดง ไม่เกิน 200 กรัม 6 มากกว่า 200 กรัม แต่ไม่เกิน 1 กก. 3 มากกว่า 1 กก. แต่ไม่เกิน 5 กก. 2 มากกว่า 5 กก. แต่ไม่เกิน 15 กก. 1.5 มากกว่า 15 กก. แต่ไม่เกิน 50 กก. 1 ที่มา : ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง กำหนดชนิดและวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าหีบห่อ พ.ศ. 2543

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 ตามไปดู ยุทธการ Down size “การลดขนาดบรรจุภัณฑ์”

  ฉลาดซื้อฉบับนี้เราไปเดินช้อปปิ้งในห้างค้าปลีกยักษ์และร้านค้าปลีกย่อยกันอย่างขะมักเขม้นตามแรงผลักแรงเชียร์จากคุณผู้อ่านที่น่ารักของเรา แล้วก็พบว่า ผู้บริโภคเรากำลังถูกเล่นกลด้วยยุทธการที่เรียกว่า  Down size หรือ “การลดขนาดบรรจุภัณฑ์” ในสินค้าหลายประเภทตามที่ผู้อ่านของเราประสานเสียงกันมา ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าส่วนหนึ่งผู้ผลิตเองก็กำลังประสบปัญหาต้นทุนราคาสินค้าพุ่ง แต่ตัวเองกลับขายแบบขึ้นราคาตรงๆ ไม่ได้ เลยต้องหันมาเล่นวิธีนี้กันเกลื่อนเมือง   ตัวอย่างที่ 1 ณ ซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้า เห็นป้ายที่ชั้นวางเขียนว่า ลักส์ครีมอาบน้ำโกล์ว...220 ml. ราคา 66.50 บาท พิจารณาดูจากสูตรอื่นๆ ในยี่ห้อเดียวกันที่วางเรียงเป็นตับก็พบว่า ราคาเดียวกัน แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันคือ ลักส์ครีมอาบน้ำโกล์วอิ้ง ทัช นั้นที่ขวดเขียนว่า 200 ml. ไม่ใช่ 220 ตามที่ป้ายบอก พอเหลือบมองที่วันผลิตจึงเห็นว่า เป็นเดือน 11 ปี 2011 แต่ที่ป้ายตรงชั้นวางเป็นวันเวลาที่ระบุไว้ตั้งแต่ วันที่ 24 เดือน 8 ปี 2010   คราวนี้มือก็อยู่ไม่สุขจับขวดอื่นๆ มาส่องวันผลิตและน้ำหนัก สิ่งที่พบคือ ส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นขนาด 200 ml. หมดแล้ว มีเหลืออยู่สูตรเดียวที่มีน้ำหนัก 220 ml. คือ ลักส์ เวลเวท ทัช ซึ่งระบุวันผลิต เดือน 9 ปี 2011 ลักส์ เวลเวท ทัชจึงเป็นสูตรเดียวที่ราคาและน้ำหนักตรงกับป้ายแสดงราคาผลิตภัณฑ์ของห้างสรรพสินค้า   ตัวอย่างที่ 2 ณ ร้านสะดวกซื้อ ป้ายแสดงราคาสินค้าระบุ น้ำยาล้างจานไลปอนเอฟ ขนาด 170 ml. ราคา 11 บาท แต่เมื่อหยิบขวดน้ำยาล้างจานมาพิจารณาจริงๆ น้ำหนักที่ขวดระบุไว้ 160 ml. (เมื่อจ่ายเงิน ราคา 11 บาทซะงั้น) แล้วอีก 10 ml. ของฉันหายไปไหน   จริงๆ ปรากฏการณ์สินค้าน้ำหนักหายไปจากเดิมราว 5-10 % ในผลิตภัณฑ์ประเภทใช้แล้วหมดไปอย่างสบู่เหลว น้ำยาล้างจาน แชมพูสระผม เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่ปี 2554 แล้ว   “สมชาย พรรัตนเจริญ” นายกสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย ได้เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ว่า ขณะนี้ผู้ผลิตแชมพูสระผม ได้แจ้งลดขนาดบรรจุภัณฑ์สินค้าลง จากขวดขนาด 80-85 มิลลิลิตร ลดเหลือ 70 มิลลิลิตร กาแฟซองเดิมห่อละ 30 ซอง ลดลงเหลือ 27-28 ซอง ส่วนปลากระป๋องแจ้งราคาขายส่งเพิ่มขึ้นลังละ 50 บาท เป็นต้น ทำให้ตลาดขายปลีกเวลานี้ปลากระป๋องปรับขึ้นกระป๋องละ 3 บาท นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตบางรายใช้วิธีปรับลดขนาดบรรจุและเปลี่ยนหีบห่อสินค้าให้เล็กลงแต่คงราคาขายเดิมเช่น กาแฟซอง เดิม 1 แพ็กจะมี 30 ซอง ก็จะเหลือ 27-28 ซอง เป็นต้น หรืออย่างสินค้าชำระล้าง สินค้าใช้แล้วหมดไป เช่น แชมพูสระผม ครีมนวดผม ยาสีฟัน ที่ลดปริมาณบรรจุ 5-10% แต่ขนาดกล่องเท่าเดิม ที่มา  http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID=9540000048921เวลา 14 ธันวาคม 2554 16:42 น.   นวัตกรรม หรือ ปรับราคา การลดขนาดของผลิตภัณฑ์ลงสามารถช่วยได้มากในแง่จิตวิทยาคือ ผู้ซื้อจะไม่รู้สึกว่าสินค้าราคาแพงขึ้น เพราะยังสามารถซื้อหาได้ในราคาเท่าเดิม รูปทรงผลิตภัณฑ์ก็เหมือนเดิม แต่หากวิธีนี้เกิดไม่เวิร์ก ผู้บริโภคเริ่มจับได้ อีกวิธีที่ผู้ผลิตนิยมนำมาใช้คือ การปรับสูตร  เปลี่ยนชื่อรุ่น เพื่อตั้งราคาขายใหม่ที่ดีกว่าเดิม หรือราคาเดิมแต่ปริมาณลดลง ไปจนถึงการถอดโปรโมชั่น เพื่อลดรายจ่ายด้านการตลาดลง อันที่จริงภาครัฐก็ควบคุมกำกับในเรื่องราคาสินค้าขายปลีก โดยบอกว่า ห้ามปรับราคา แต่ไม่ได้ห้ามลดขนาดสินค้าผลก็คือ ผู้ผลิตต้องหาทางออกด้วยการปรับลดขนาดกันยกใหญ่ ต่อไปเราก็คงได้เห็นรูปทรงและสินค้าสูตรใหม่ๆ ทยอยกันออกมาเรื่อยๆ ทั้งที่จริงๆ แล้วอาจไม่ได้มีอะไรใหม่เลย   ตัวอย่างขนาดที่หลากหลายของแชมพูสระผม จากเดิมที่ขนาด 200-220 ml. ผลิตภัณฑ์แชมพู วันผลิต น้ำหนัก(ml.) ราคาต่อหน่วยบรรจุ(บาท) ราคาต่อ 1 ml.(บาท) ซันซิล ดรีม ซอฟท์แอนด์สมูท 13/12/2011 180 60.75 0.33 ซันซิล เพอร์เฟค สเตรท 02/11/2011 160     โดฟ แดเมจ เธอราพี อินเทนซ์ รีแพร์ 01/12/2011 175 69 0.39 แพนทีน โปรวี ลอง แบลค 20/01/2012 170 63.75 0.37 เอเชียนช์ ชายน์ เธอราพี 17/08/2011 220 118 0.53 เฮดแอนด์โชว์เดอร์ คลูเมนทอล 29/10/2011 180 75 0.41 รีจอยส์ ริช 11/09/2011 180 53.75 0.29 ราคาสำรวจ ณ วันที่ 8 ก.พ.2555 จับตาสินค้าสองมาตรฐาน นอกจากยุทธการ ดาวน์ไซส์ แบบหนีตายแล้ว ยังมีรายการ ดาวน์ไซส์ แบบน่าเกลียดด้วย กล่าวคือ ผู้ผลิตสินค้าได้ผลิตสินค้า 2 มาตรฐาน โดยการผลิตสินค้าในบรรจุภัณฑ์ขนาดเท่าเดิม เรียกว่ามองเผินๆ จะไม่เห็นความแตกต่าง แต่สิ่งที่ต่างคือ ปริมาณในบรรจุภัณฑ์กลับน้อยลง  สำหรับขายในร้านค้าปลีกขนาดยักษ์หรือโมเดิร์นเทรด ส่วนน้ำหนักขนาดเดิมจะส่งไปขายในร้านค้าแบบดั้งเดิม(โชห่วย) ทำให้เกิดความแตกต่างในด้านกำไรและความคุ้มค่าในการซื้อ เพราะผู้บริโภคจะเข้าใจว่า สินค้าหน้าตาเดียวกัน แต่ราคาในห้างค้าปลีกถูกกว่ามาก ดูที่ภาพประกอบ ภาพแพนทีนโปรวี(สีม่วง) ขนาด 180 ml.   วันผลิต 28/07/2011 ภาพแพนทีโปรวี(สีม่วง) ขนาด 160 ml.   วันผลิต 20/07/2011 ภาพข้าวตัง เจ้าสัว ขนาด 125 กรัม   วันผลิต 16/09/2011 ภาพข้าวตัง เจ้าสัว ขนาด 105 กรัม เชื่อถือได้นานกว่า 50 ปี   วันผลิต 07/09/2011 ภาพครีมเทียม สีม่วง ขนาด 200 กรัม ภาพครีมเทียม ขนาด 150 กรัม ภาพข้าวมาบุญครอง ถุงแดง   วันผลิต 16/09/54 ราคาข้างถุง 240 บาท ภาพข้าวมาบุญครอง ถุงเขียว   วันผลิต 11/09/54 ราคาข้างถุง 185 บาท     ด้านซ้ายเป็นตัวอย่างสินค้าในร้านค้าแบบดั้งเดิม   ส่วนด้านขวาเป็นสินค้าที่วางในห้างค้าปลีกยักษ์   การผลิตสินค้าสองมาตรฐานลักษณะนี้ แน่นอนว่าผู้ที่เสียเปรียบเห็นๆ ก็คือ ผู้บริโภค รวมทั้งร้านค้ารายย่อยที่อาจถูกมองว่าขายของในราคาแพง ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วไม่ได้ขายแพง สินค้าที่วางในห้างค้าปลีกยักษ์ต่างหาก ที่น้ำหนักสินค้าหดหายไป อย่างไรก็ตาม มีการมองว่า ดำเนินการดังกล่าวของผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตสินค้าต่างๆ อาจเป็นเพราะได้รับการกดดันจากทางโมเดิร์นเทรด ซึ่งต้องมีการต่อรองค่าใช้จ่ายต่างๆ กรณีที่จะนำสินค้าเข้าไปวางจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด ก็จะเป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นหรือต้นทุนแอบแฝงของผู้ประกอบการ โดยอาจจะส่งผลให้มีการผลิตสินค้าสองแบบ ต่างจากร้านโชห่วยที่ไม่มีรายจ่ายหรือต้นทุนที่แอบแฝงในลักษณะเช่นนี้ ดังนั้นการผลิตสินค้าป้อนให้กับร้านโชห่วยก็จะเป็นไปตามปกติ     ฉลาดซื้อแนะ 1.แน่นอนว่าเราต้องสนับสนุนร้านค้ารายย่อย เพื่อเป็นการถ่วงดุลการเอาเปรียบจากห้างค้าปลีกขนาดยักษ์ 2.ถ้าพบสินค้าไม่ตรงราคาป้าย โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักที่หดหายไป รีบแจ้งผู้ประกอบการให้ปรับเปลี่ยนรายการสินค้าให้ถูกตรง และถ้าคุณรู้สึกอยากทดลองใช้สิทธิดูบ้าง ก็ขอให้ห้างค้าปลีกชดเชยค่าเสียหายจากน้ำหนักของสินค้าที่หายไปด้วย 3.ในสินค้าประเภทแชมพูสระผม น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ส่วนผสมหลักๆ นั้นไม่ต่างกัน สิ่งที่ต่างคือ การโฆษณา ยิ่งโฆษณาเยอะต้นทุนยิ่งสูง ราคาก็ยิ่งแพง ดังนั้นเลือกที่คุณใช้แล้วรู้สึกว่าดี และราคาไม่แพง ย่อมจะดีกว่าในภาวะที่ทุกคนต้องประหยัดรายจ่ายมากขึ้น 4.ผลิตภัณฑ์หลายชนิด การซื้อในขนาดบรรจุที่ใหญ่จะช่วยให้ประหยัดได้เพิ่มขึ้น แต่ไม่แนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เพราะยิ่งซื้อมาสะสมมากยิ่งมีปัญหา เช่น น้ำมันพืช เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 สารรบกวนฮอร์โมนในเครื่องสำอาง

สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินเรื่องของการเกิดมะเร็งเต้านมที่คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายซึ่งมีสารพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบกันมาบ้าง แม้จะยังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ชัดลงไปได้ว่าพาราเบนส์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอางมากที่สุดนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่ หลายๆ ประเทศก็เริ่มให้ความสนใจและเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น สหรัฐกำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ในขณะที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเน้นที่ยาสีฟัน แชมพู สบู่ และครีมบำรุงผิว  อังกฤษนั้นให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง ในขณะที่เกาหลีเน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเครื่องสำอางสำหรับดวงตาเป็นพิเศษ Consumers Korea หรือ สคบ. ของประเทศเกาหลีจึงถือโอกาสนี้เป็นเจ้าภาพในการสำรวจว่ามีการใช้สารพาราเบนส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสารรบกวนฮอร์โมน (Endocrine Disruptors หรือ EDCs) เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่เราใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายเพียงใด ว่าแล้วก็ชักชวนองค์กรผู้บริโภคในอีก 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย รวมเป็น 13 ประเทศร่วมการสำรวจครั้งนี้ แต่ละประเทศจะทำการเก็บตัวอย่างและบันทึกข้อมูลจากฉลากผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2552 พร้อมไปกับการทำสำรวจพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง รวมถึงความเห็นของของสาวๆ ในแต่ละประเทศด้วย ในการสำรวจครั้งนี้แต่ละประเทศจะเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางยี่ห้อหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ยี่ห้อ รวมๆ แล้วจึงมีเครื่องสำอางในการสำรวจครั้งนี้ทั้งหมด 314 ชิ้น  แต่ทั้งนี้มีเพียง 259 ชิ้นเท่านั้นที่มีการระบุส่วนผสมบนฉลาก การสำรวจส่วนผสมที่เป็นพาราเบนส์ จึงเป็นการทำกับ 259 ชิ้นนี้เท่านั้น   ผลสำรวจจาก 13 ประเทศ • ร้อยละ 73 ของตัวอย่างเครื่องสำอางจาก 13 ประเทศนั้นมีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม • จากฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 259 ชนิด นั้นเราพบว่ามีส่วนผสมทั้งหมด 626 ชนิด โดยส่วนผสมยอดฮิตที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. Talc2. Mica3. Propylparaben4. Ethylparaben5. Dimethicone • บลัชออนคือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์มากที่สุด  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์น้อยที่สุดได้แก่ลิปกลอส • เกาหลีเป็นประเทศที่มีเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนส์มากที่สุด (ร้อยละ 95 ของตัวอย่าง) รองลงมาได้แก่ ฟิจิ (ร้อยละ 84.5 ของตัวอย่าง) และไทย (ร้อยละ 70.5 ของตัวอย่าง) • ทั้งเครื่องสำอางราคาถูกและราคาแพง ต่างก็มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสมเช่นเดียวกัน • เครื่องสำอางส่วนใหญ่ไม่มีการระบุอายุที่เหมาะสมแก่การเริ่มใช้ ยกเว้นศรีลังกา ที่ร้อยละ 40 ของเครื่องสำอางมีการระบุอายุของผู้ใช้ไว้ด้วย • การแจ้งผลข้างเคียงบนฉลาก พบมากที่สุดในเครื่องสำอางจากเกาหลี (ร้อยละ 75) รองลงมาได้แก่ศรีลังกา (ร้อยละ 70) ตามด้วยออสเตรเลียและจีน (ร้อยละ 40) • คำเตือนเรื่องอาการแพ้ พบมากที่สุดในเครื่องสำอางของศรีลังกา (ร้อยละ 80) รองลงมาคือออสเตรเลีย (ร้อยละ 60)   พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง จากการสำรวจความเห็นของผู้บริโภค จำนวนทั้งหมด 1,645 คน ใน 13 ประเทศ เราพบว่า • คนส่วนใหญ่เริ่มใช้เครื่องสำอางเมื่ออายุ 20 ขึ้นไป ยกเว้น บังคลาเทศ อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย และมองโกเลีย ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงอายุ 17 – 19 โดยเฉพาะกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆมองโกเลียเริ่มใช้ในช่วงอายุดังกล่าว • ลิปสติกคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการใช้สูงสุด รองลงมาคือแป้ง • สำหรับประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กันมากที่สุดคือ แป้งทาหน้า ตามด้วยลิปกลอส และลิปสติก • ร้อยละ 40 ของผู้บริโภคใช้แป้งฝุ่น/แป้งแข็งเกือบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทยก็ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแทบทุกวัน รองจากไทยได้แก่อินโดนีเซียและมาเลเซีย • ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ลิปสติกแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆ ฟิจิ • ผู้บริโภคที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอางมากที่สุดได้แก่ ผู้บริโภคในมองโกเลีย (ร้อยละ 93.5) สาวไทยก็ใช่ย่อย มีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ตอบว่าเคยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอาง • สิ่งที่ผู้บริโภคเกินครึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพ้ คือสารเคมีในเครื่องสำอาง เหตุผลรองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับสภาพผิว • สาวอินเดียทุกคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า สาเหตุของอาการแพ้มาจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สาวไทย ร้อยละ 71 เชื่อเช่นนั้น ส่วนที่เหลือเชื่อว่าเป็นเพราะไม่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง • ร้อยละ 45 ของคนไทยที่ตอบ บอกว่าหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงด้วยการล้างหน้าให้สะอาด และสาวไทยเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติสูงที่สุดเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 30.3) รองจากอินเดีย (ร้อยละ 31.2)   ความรู้เรื่องพาราเบนส์• ร้อยละ 28 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามทราบว่าในเครื่องสำอางมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ • ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่รู้จักพาราเบนส์น้อยที่สุด ได้แก่ผู้บริโภคจากมองโกเลีย ไทย และอินเดีย (มีผู้รู้ว่ามีพาราเบนส์ในเครื่องสำอางเพียงร้อยละ 4.3  ร้อยละ 16 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ) • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ไม่ทราบว่าพาราเบนส์เป็นหนึ่งในสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน • สามประเทศที่มีการรับรู้ว่าพาราเบนส์เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนน้อยที่สุดได้แก่  เกาหลี มองโกเลีย และไทย (ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 7.5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ) • โดยรวมแล้ว ร้อยละ 57.3 ตอบว่าจะหยุดใช้ถ้าเครื่องสำอางดังกล่าวมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้บริโภคในมองโกเลีย อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย ตอบว่าจะหยุดใช้ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น • โดยรวมแล้วร้อยละ 40 ของผู้บริโภคที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้มองว่า ทางออกของเรื่องนี้คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทย  ส่วนสาวอินเดียนั้น กว่าร้อยละ 80 เชื่อว่าทางออกคือการปรับปรุงฉลาก • บทบาทของภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้บริโภคไทยมองคือ การผลิตเครื่องสำอางให้มีมาตรฐานสูงขึ้น   ฉลาก• ร้อยละ 58 อ่านฉลากเครื่องสำอาง และจากการสำรวจครั้งนี้พบว่าประเทศไทยมีคนที่อ่านฉลากมากที่สุด (ร้อยละ 94) ตามด้วยบังคลาเทศ และจีน ส่วนผู้บริโภคที่อ่านฉลากน้อยที่สุดคือ เกาหลี และมองโกเลีย (ร้อยละ 31 และร้อยละ 44 ตามลำดับ) • ข้อมูลที่ผู้บริโภคอ่านมากที่สุดได้แก่ วิธีใช้ ตามด้วยวันผลิต และส่วนผสม • เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่อ่านฉลากได้แก่ “ตัวอักษรเล็กเกินไป”  “ได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจากผู้ขาย” และ “รู้จักสินค้านั้นดีอยู่แล้ว”  กรณีของสาวไทยนั้น เหตุผลหลักๆ ที่ไม่อ่านคือ เรื่องของขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไป • สิ่งที่สาวไทยต้องการให้ปรับปรุงมากที่สุด คือการให้ข้อมูลส่วนผสมที่ถูกต้องชัดเจนมากขึ้น  ผลสำรวจการใช้พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างฉลากจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ 55 บาท (ดินสอเขียนคิ้ว มิสทีน บิวตี้พลัส) จนถึง 1,225 บาท (แป้งผสมรองพื้น อาทิสตรี้ ไอเดียล ดูอัล พาวเวอร์ ฟาวน์เดชั่น  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากห้าง ซูเปอร์มาร์เก็ต และจากตัวแทนขายตรง 1. มิสทีน2. ชีเน่3. สกินฟู้ด4. เคมา (KMA)5. บีเอสซี6. อาทิสตรี้7. เทลมี8. โอเรียนทอล พริ้นเซส9. คัฟเวอร์มาร์ค10. อินทูอิท11. กิฟฟารีน12. อิทูดี้13. คิวท์เพรส     รู้จักกับพาราเบนส์  (Parabens)พาราเบนส์ เป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี มีการใช้มาตั้งแต่อดีต ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางทุกชนิด ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทั่วโลก ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการเป็นสารกันเสียและมีความปลอดภัยข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัย 1. เนื่องจากมีการใช้พาราเบนส์อย่างมากมายในเกือบทุกสินค้า ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางส่วนเป็นห่วงถึงความปลอดภัยในผู้บริโภคที่ใช้เป็นประจำ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่ระบุว่ามีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้ถูกดูดซึมได้และจะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกายได้ 2. ปริมาณที่ผสมในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา จะเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จึงไม่มีนัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษได้ 3. นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ทำการวิจัยและพบว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีการผสมพาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน ขณะนี้มีการขยายวงการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มอื่นๆยังมีข้อโต้แย้งว่าโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งนั้นน้อยมาก 4. เช่นเดียวกับข้อ 3 มีการวิจัยถึงผลของสารพาราเบนส์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโฮโมนเอสโตรเจนของ ผู้หญิง แต่ทดลองแล้วมีความแรงน้อยกว่าโฮโมนธรรมชาติถึง 100,000 เท่า จึงไม่น่ากังวล ข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทฯยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ methylparabens อย่างไรก็ตามสำนักงาน อย.ทั่วโลกก็ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้อยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่อย.อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 110 เลือกรองพื้นมิเนอรัล ยี่ห้อไหนดี

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่อ้างว่า “จากธรรมชาติ” หรือ “ปลอดสารเคมี” ที่ทำออกมาให้เราได้เลือกใช้กันนั้น จะปลอดสารหรือปลอดภัยจริงหรือไม่นั้น ฉลาดซื้อฉบับนี้มีคำตอบมาฝาก ขอขอบคุณข้อมูลจาก CHOICE  นิตยสารเพื่อผู้บริโภคของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรของเรา การทดสอบนี้มีอาสาสมัครเข้าร่วมทดลองใช้ทั้งหมด 29 คน แต่ละคนทดลองใช้รองพื้น 8 ยี่ห้อ โดยใช้แต่ละยี่ห้อเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันและตอบแบบสอบถามระดับความพึงพอใจของพวกเธอในประเด็นต่างๆ และนำมาจัดเป็นคะแนนเป็นกลุ่มๆ ซึ่งแยกออกได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้  การทำให้ผิวหน้าดูเรียบเนียน (ร้อยละ 40)  ความสะดวกในการใช้ (ร้อยละ 30) การปกปิดจุดด่างดำ (ร้อยละ 10) ลักษณะเนื้อรองพื้นบนผิวหน้า (ร้อยละ 10) และแปรง (ร้อยละ 10) หมายเหตุไว้ตอนท้าย* CHOICE ให้ความสำคัญกับเรื่องความสะดวกในการใช้ค่อนข้างมากเพราะรองพื้นแบบผงนี้ต้องใช้แปรงเป็นตัวช่วยในการนำมาทาลงบนใบหน้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใช้สะดวกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะคงไม่มีใครอยากทาครึ่งทิ้งครึ่ง หรือต้องทำความสะอาดผงรองพื้นที่ตกกระกระจายบนโต๊ะเครื่องแป้ง ** CHOICE พบว่าไม่มีผลิตภัณฑ์ใดติดทนเกิน 8 ชั่วโมง แม้จะมีบางยี่ห้อโฆษณาเอาไว้ว่าอยู่ได้นานกว่านั้นก็ตาม*** เครื่องสำอางแบบมิเนอรัลนั้นมักนำเสนอเป็นจุดขายว่าช่วยรักษาปัญหาผิวและเหมาะกับคนที่ผิวแพ้ง่าย แต่การทดสอบครั้งนี้พบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ได้คุณสมบัติในการ “รักษา” แต่อย่างใด   ผลทดสอบ (เรียงอันดับ 1 – 14 ตัวที่ได้ 80 คะแนน ทำให้เด่นกว่าตัวอื่นๆ นอกนั้นทำเล็กลงมาหน่อย เพราะหน้าจำกัด) Elizabeth Arden Pure Finish Mineral Powder Foundation 80 คะแนนราคา  1,200 บาทปริมาณ   8.33 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   4ใช้สะดวก    5 MAC Mineralize Foundation Loose 80 คะแนนราคา  1,530 บาทปริมาณ   8.5 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   4ใช้สะดวก   4 bareMinerals Mineral Foundation 70 คะแนนราคา  บาทปริมาณ   กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   4ใช้สะดวก   4 Laura Mercier Mineral Powder 70 คะแนนราคา  1,200 บาทปริมาณ   9.6 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   4ใช้สะดวก   4 Prestige  Skin Loving Minerals Gentle Finish Mineral Powder Foundation 70 คะแนนราคา 830  บาทปริมาณ   6.5 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง                 4ใช้สะดวก   4 L’Oreal  Paris True Match Minerals 70 คะแนนราคา   550 บาทปริมาณ  10 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   4ใช้สะดวก   3 Nude by Nature Natural Mineral Cover 70 คะแนนราคา 1,000 บาทปริมาณ  15 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   4 The Body Shop Nature’s Mineral Foundation 60 คะแนนราคา   1,200 บาทปริมาณ 5 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   4 Revlon ColorStay Mineral Foundation 60 คะแนนราคา   550 บาทปริมาณ  9.9 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   3 Bloom Pure Mineral Powder Foundation 60 คะแนนราคา  1,050 บาทปริมาณ  13 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       3จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   4 Maybelline NY Mineral Power Powder Foundation 60 คะแนนราคา   บาทปริมาณ  กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       3จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   3                      Natio Natural Loose Foundation 60 คะแนนราคา   600 บาทปริมาณ  10 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       3จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   3 Max Factor Natural Mineral Foundation 50 คะแนนราคา   1,000 บาทปริมาณ  10 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   3 Rimmel London Lasting Finish Minerals Loose Powder Foundation50 คะแนนราคา   600 บาทปริมาณ  6.5 กรัม ผิวดูเรียบเนียน                       4จุดด่างดำดูจางลง   3ใช้สะดวก   3   ฉลาดซื้อแนะQ     เครื่องสำอางประเภทมิเนอรัลเหมาะกับผิวแพ้ง่ายหรือผิวที่มีสิว เพราะเป็นเครื่องสำอางจากธรรมชาติไม่มีการใช้สารเคมี  จริงหรือหลอก? A   ศัพท์คำว่า Mineral หรือแร่ธาตุ คือ สารหรือสสารที่เกิดโดยธรรมชาติ แร่ธาตุเหล่านี้อาจจะอยู่ในรูปของของแข็งหรือสารอนินทรีย์ แต่มีโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีที่แน่นอน ทั้งนี้แร่ธาตุบางชนิดก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังได้เช่นกันไม่ได้แปลว่าการได้มาจากธรรมชาติจะปลอดภัยเสมอไป เครื่องสำอางในกลุ่มของ Mineral Cosmetics  เช่น แป้งฝุ่น ครีมรองพื้น อายเชโด้ รวมทั้งแป้งแข็งและแป้งฝุ่นโรยตัวเด็กมักจะมีองค์ประกอบของแร่ธาตุเป็นพื้นฐาน เช่น ซิงค์ออกไซด์ ไทเทเนี่ยมไดออกไซด์ บิสมัทช์ออกซี่คลอไรด์ และทาวคัม เครื่องสำอางที่กล่าวมามักจะมีแร่ธาตุเหล่านี้เป็นองค์ประกอบ บางชนิดมีเพียง 1 % เท่านั้น ก็มีการเคลมว่าเป็น Mineral Cosmetics แล้ว ความจริงเรื่องหนึ่งที่ต้องทราบคือ เรามักจะคิดว่าถ้ามาจากธรรมชาติต้องดีกว่าและปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี ข้อมูลนี้ไม่ถูกต้องเสมอไป แร่ธาตุและสารจากธรรมชาติมีมากมายที่ไม่เหมาะที่จะใช้ในเครื่องสำอาง ในทางตรงกันข้ามนักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนาและสังเคราะห์สารเคมีขึ้นใหม่ โดยเลียนแบบจากธรรมชาติ แต่พัฒนาให้ข้อบกพร่องและพิษจากสารธรรมชาติหายไปหรือลดน้อยลงมากที่สุด ขอขอบคุณ รศ.ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกูล จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 158 ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ทำให้โลกน่าอยู่

ฉลาดซื้อฉบับนี้พาคุณหลบร้อนไปเดินเล่นแถวซูเปอร์มาร์เก็ตในยุโรปกันบ้าง บอกก่อนว่าเราไม่ได้พาคุณไปหาโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม แต่เราจะพาคุณไปพบกับอีกมิติของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้ นั่นคือนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ไกลออกไปจากสังคมรอบบ้านตัวเอง ไปถึงสังคมในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นต้นทางการผลิตอาหารมาเลี้ยงคนยุโรปด้วย  การสำรวจครั้งนี้ เน้นที่นโยบายด้านมาตรฐานแรงงานและขั้นตอนการจัดซื้อสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา ของผู้ประกอบการซูเปอร์มาร์เก็ตในยุโรป ทีมวิจัยขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) และสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International) เจาะจงเลือกห้างที่นำเข้าผัก ผลไม้จากประเทศกำลังพัฒนา (อ้างอิงจากรายชื่อขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา OECD) เพื่อนำมาขายให้กับผู้บริโภคภายใต้แบรนด์สินค้าของห้าง (House brand/private brand) และมีผู้ประกอบการซูเปอร์มาร์เก็ต 25 แห่งใน 8 ประเทศ (บางเจ้ามีสาขามากกว่าหนึ่งประเทศด้วย)   และสิ่งที่มองหาเพื่อให้คะแนนและจัดอันดับความรับผิดชอบต่อสังคมในการสำรวจครั้งนี้ได้แก่ นโยบายและจรรยาบรรณทางธุรกิจที่อิงแนวปฏิบัติของนานาชาติที่มีต่อประเทศกำลังพัฒนา การนำนโยบายดังกล่าวมาใช้ปฏิบัติจริง มีฝ่ายที่รับผิดชอบโดยตรงและมีการรายงานต่อสังคม มาตรฐานแรงงานที่ห้างเรียกร้องจากผู้จัดหาสินค้าในประเทศกำลังพัฒนา เงื่อนไขทางธุรกิจและมาตรฐานแรงงานที่ห้างใช้กับผู้จัดส่งผัก ผลไม้สดในประเทศกำลังพัฒนา   โดยการเก็บข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นข้อมูลที่บริษัทประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ และส่วนที่เป็นการตอบแบบสอบถามที่ออกแบบโดย Centre for Research on Multinational Corporations (SOMO) --------------------------------------------------------------- ตัวอย่างของข้อตกลงระหว่างประเทศที่ห้างเหล่านี้ใช้อ้างอิงได้แก่ - ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  (Universal Declaration of Human Rights) - ปฏิญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน (International Labour Organization’s Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) - แนวทางการรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (Guidance Standard of Social Responsibility: ISO 26000) - มาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน Social Accountability 8000 certification - มาตรฐานสมัครใจ ว่าด้วยการประกอบธุรกิจและการคำนึงถึง สิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) - แนวปฎิบัติขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สำหรับบรรษัทข้ามชาติ (OECD’s Guidelines for Multinational Enterprises) - ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) เป็นหลักสากลที่ผู้ประกอบการจะนำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้เป็น บรรษัทพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Corporate Citizen) - มาตรฐานสากลว่าด้วยการบริหารจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร (Global Food Safety Initiative: GFSI)   ---------------------------------------------------------- ผลการสำรวจปรากฏว่าซูเปอร์มาร์เก็ตในยุโรปที่มีการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเน้นเรื่องมาตรฐานแรงงานและขั้นตอนการจัดซื้อสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา ที่ได้คะแนนผ่านครึ่งมีเพียง 3 แห่งได้แก่ ห้าง Co-op Italia ของอิตาลี  ห้าง Ahold (ย่อมาจาก Albert Heijn holding) ของเนเธอร์แลนด์ และ ห้าง ICA ของสวีเดน ส่วนอีก 22 ห้างนั้นได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 50   ทั้งนี้ คะแนนที่ได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ทางบริษัทเปิดเผยต่อทีมวิจัย หลายห้างได้คะแนนต่ำเพราะไม่ให้ข้อมูลว่าได้มีการนำนโยบายไปลงมือปฏิบัติจริงอย่างไร เป็นต้น     มารู้จักกับซูเปอร์มาร์เก็ตที่ได้คะแนนอยู่ใน 3 อันดับต้นกันสักเล็กน้อย สมาชิกฉลาดซื้อที่เตรียมเดินทางไปย่ำยุโรปจะได้เลือกอุดหนุนกันได้ถูกเจ้า             //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 149 ชั้นในชายสีดำ

ฉลาดซื้อเคยเก็บตัวอย่างเสื้อชั้นในสตรีสีดำมาตรวจหาสารตกค้างจากสีย้อมไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวกางเกงชั้นในของผู้ชายกันบ้าง เราทดสอบกางเกงชั้นในชายสีดำที่ทำจากเส้นใยฝ้าย จำนวน 11 ตัวอย่าง สนนราคาตั้งแต่ 25 ถึง 890 บาท มีทั้งที่ผลิตในประเทศไทย และนำเข้าจากต่างประเทศ (จีน ฮ่องกง และบังคลาเทศ) เราส่งตัวอย่างไปทดสอบในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ  เพื่อตรวจหา สารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง ฟอร์มาลดีไฮด์ (สารป้องกันผ้ายับ/ย่น) ค่าความเป็นกรด-ด่าง ในการทดสอบคราวนี้เราไม่พบสารเคมีก่อมะเร็งที่มากับสีย้อมในกางเกงชั้นในชาย 11 ตัวอย่าง  แต่มีอยู่ 2 ตัวอย่างได้แก่ Body Basic และ ZEG ที่ตรวจพบฟอร์มัลดีไฮด์แต่ไม่เกินปริมาณที่มาตรฐานกำหนดไว้ที่ 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นอกจากนี้ใน 4 ตัวอย่าง (Body Basic / ZEG / H&M และ F&F) ยังพบค่า pH สูงเกินเกณฑ์ด้วย ----------------------------------------------------------------------------------------------- ตลาดชุดชั้นในชายบ้านเรามีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านบาท เป็นตลาดบนร้อยละ 25 และตลาดล่างร้อยละ 75 ผู้ชายซื้อชั้นในปีละไม่เกิน 2 ครั้ง แต่ซื้อครั้งละ 3 – 4 ตัวหรือซื้อยกโหล (กัลยา กมลรัตน์ 2553 ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อชุดชั้นในชายในกรุงเทพมหานคร ) -----------------------------------------------------------------------------------------------   กางเกงใน Rosso รุ่น TC-701 ราคา 129 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่เกินมาตรฐาน ค่าความเป็นกรดด่าง 7.02     กางเกงใน Body Basic รุ่น Half brief ราคา 159 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ < 15 มก/กก. ค่าความเป็นกรดด่าง 7.76     กางเกงใน ZEG รุ่น บิกินี ราคา 270 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ < 15 มก/กก. ค่าความเป็นกรดด่าง 8.12     กางเกงใน GUNMAN ราคา 25 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.23     กางเกงใน APPLE รุ่น 704 ราคา 49 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.26     กางเกงใน ADDER ราคา 129 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.29     กางเกงใน H&M รุ่น Trunks Cotton Stretch ราคา 699 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 8.07   กางเกงใน J. PRESS รุ่น 9127A ราคา 179 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.41     กางเกงใน UNIQLO รุ่น Knit Boxer Trunks ราคา บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.70     กางเกงใน Calvin Klein รุ่น Hip Brief ราคา 890 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.45     กางเกงใน F&F รุ่น FF-ES09MD ราคา บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้ายผสม สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.56 ----------------------------------------------------------------------------------------------- โดยทั่วไปผิวหนังคนเรามีความเป็นกรดเล็กน้อย (ค่า ph 5.5) ค่าความเป็นกรด-ด่างที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภคสำหรับเสื้อผ้าที่สวมใส่ติดผิวหนัง ควรอยู่ระหว่าง 4 ถึง 7.5  ถ้าสูงกว่านั้นอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือเป็นผื่นได้ ตามมาตรฐานกางเกงชั้นในชาย ปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็งจะต้องไม่เกิน 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม --------------------------------------------------------------------------------------------------- พฤติกรรมการซื้อกางเกงชั้นในของผู้ชายสามารถชี้วัดความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ หลายปีก่อน อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ เคยกล่าวไว้ว่าถ้ายอดขายกางเกงในชายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 -3 นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจกำลังอยู่ในขาขึ้น นอกจากนี้บรรดาผู้สังเกตการณ์ด้านแฟชั่นของเว็บขายชั้นในชายแห่งหนึ่งในอังกฤษ ที่ทำสถิติยอดขายระหว่างในช่วงปี 2007 – 2011 ยังพบว่าในเวลาที่เศรษฐกิจดีผู้ชายจะซื้อกางเกงชั้นในที่มีสีสันมากขึ้น และในเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำพวกเขาจะกลับไปซื้อชั้นในสีขาว สีเทา และสีดำเหมือนเดิม ----------------------------------------------------------------------------------------------- ชั้นในมือสอง? ปี 2012 รัฐบาลประเทศซิมบับเว สั่งห้ามการขายหรือนำเข้าชั้นในในมือสอง เพื่อเป็นการปกป้องตลาดชุดชั้นในภายในประเทศและลดปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชากร ก่อนหน้านั้น ในปี 1994 ประเทศกานาก็ประกาศแบนชั้นในมือสองไปแล้วเช่นเดียวกัน ----------------------------------------------------------------------------------------------- จากผ้าเตี่ยวสู่กางเกงชั้นใน แฟชั่นไอเท็มชิ้นแรกของบรรพบุรุษมนุษย์ถ้ำคือผ้าเตี่ยว ซึ่งได้รับความนิยมต่อมาในอารยธรรมอิยิปต์และโรมันด้วย รายละเอียดเรื่องนี้ไม่ชัดเจน แต่จากการขุดค้นสุสานของกษัตริย์ตุตันคาเมน นักโบราณคดีเขาพบผ้าเตี่ยวหรือกางเกงชั้นในของตุตันคาเมนถึง 145 ตัวเลยทีเดียว กางเกงชั้นในแบบสวมเริ่มมีในศตวรรษที่ 13 และ “ชั้นใน” เริ่มมีพัฒนาการในหลายรูปแบบมากขึ้นในหมู่ชายไฮโซ (เช่น คอร์เซท ถุงน่อง) จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 เมื่อมีคนเรารู้จักนำลินินมาใช้ ชั้นในก็เริ่มมีบทบาททำให้ชาวบ้านทั่วไปที่ฐานะยากจนได้มีอายุขัยยืนยาวขึ้นด้วย เพราะการสวมชั้นในช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายต้องสัมผัสกับแบคทีเรียและเกิดการติดเชื้อง่ายเหมือนเมื่อก่อน พอถึงศตวรรษที่ 19 กางเกงชั้นในก็กลายเป็นไอเท็มจำเป็นของผู้คนทุกฐานะอาชีพไปในที่สุด ----------------------------------------------------------------------------------------------- ทำไมต้องสวมกางเกงในออกไปกู้โลก? การตูนเรื่องซูเปอร์แมนเล่มแรกออกวางขายในปี 1938 (หลังจากจ็อคกี้เปิดตัวกางเกงชั้นในรุ่นแรกได้ 3 ปี) คาแรคเตอร์นี้จะต้องสวมเสื้อผ้าเต็มตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องโชว์กล้ามเนื้อของซูเปอร์ฮีโร่ตามแบบรูปปั้นคลาสสิก จะให้ฮีโร่ของเด็กๆ ดูโป้เปลือยมันก็กระไรอยู่ ผู้วาดจึงต้องสวมกางเกงให้เขาหนึ่งตัว แฟชั่นกูรูให้ความเห็นว่าสิ่งที่เขาสวมอยู่นั่นไม่ใช่กางเกงชั้นในอย่างที่เราคิดกัน ... ชั้นในที่ไหนจะมีเข็มขัดกันล่ะ ... มันเป็นกางเกงกีฬาว่ายน้ำต่างหาก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 ไม่พอใจสินค้า ยินดีคืนเงิน

นักช้อปหลายๆ คนคงเคยประสบปัญหาซื้อของแล้วได้ของที่ไม่โดนใจ แม้ตอนจ่ายตังค์ซื้อจะดูโอเค แต่พอกลับมาบ้านเกิดรู้สึกว่ามันไม่ใช่ อาจเพราะซื้อโดยไม่ทันคิด ว่าของนั้นเราอยากได้จริงๆ หรือเปล่า ซื้อแล้วจะเอาไปใช้อะไร หรือซื้อมาซ้ำทั้งๆ ของที่บ้านก็มีอยู่แล้ว เมื่อสติเรากลับคืนมาแล้วเกิดฉุกคิดได้ ว่าจริงๆ เราไม่อยากได้หรือจำเป็นต้องใช้ของที่เพิ่งซื้อมา ทีนี้คำถามที่ตามมาคือ ของที่เราซื้อมาแล้วเกิดรู้สึกไม่พอใจ เน้นว่าแค่รู้สึกไม่พอใจ คือของที่ซื้อมาไม่ได้ชำรุดหรือมีปัญหา แค่เราเกิดเปลี่ยนใจไม่อยากได้ของที่ซื้อมา เรามีสิทธิ์ที่จะนำของไปขอคืนเงินกับร้านค้าที่เราซื้อของมาได้หรือเปล่า? “รับประกันความพึงพอใจในสินค้า ไม่พอใจเรายินดีคืนเงิน” ถ้าประโยคนี้ไม่ใช่แค่คำโฆษณา ผู้บริโภคอย่างเราก็น่าจะมีสิทธิขอคืนเงินได้...ใช่มั้ย?   ซื้อของแล้วเกิดเปลี่ยนใจ ขอคืนเงินได้ แม้จะดูเป็นเรื่องแปลกๆ อยู่สักหน่อย ที่ของที่เราตัดสินใจซื้อด้วยความเต็มใจตอนอยู่ที่ร้าน กลับกลายเป็นของที่เราไม่อยากได้เมื่อกลับมาอยู่บ้าน แต่เรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร เราในฐานะผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลในเรื่องการซื้อสินค้าและบริการ ไม่ใช่แค่เรื่องราคา คุณภาพ หรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ แต่ยังครอบคลุมถึงเรื่องสำคัญอย่าง “การรับประกันสินค้า” ซึ่งถือเป็นบริการลูกค้าที่เหล่าห้างร้านต่างๆ ต้องมีไว้คอยบริการให้กับคนซื้อของ   ไม่ว่าเราจะซื้อของจาก ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกชื่อดังทั้งหลาย หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะขอคืนสินค้าเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินได้ แต่ว่าก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่แต่ละที่กำหนดไว้ เพราะฉะนั้นเราในฐานะผู้บริโภคนักช้อป จำเป็นมากที่ต้องรู้ถึงรายละเอียดเงื่อนไขการขอคืนสินค้าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ   ก่อนจ่ายเงินซื้อของ ต้องเช็คเงื่อนไขการเปลี่ยน - คืน ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่า ของที่เราซื้อมาแล้วเกิดปัญหา ชำรุด สินค้าไม่ตรงกับที่โฆษณา หรือรู้สึกไม่พึงพอใจในตัวสินค้า เราสามารถนำไปขอคืนเงินได้ แต่ว่าต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ร้านค้าผู้ขายกำหนดไว้ แล้วเราจะรู้ถึงเงื่อนไขเหล่านั้นได้อย่างไร? ง่ายที่สุดก็คือการสอบถามโดยตรงจากพนักงานขาย ซึ่งถือเป็นช่องทางที่เราเข้าถึงขอมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าได้ง่ายที่สุด (แม้ว่าจากการทดสอบของฉลาดซื้อเรื่องการขอคืนสินค้า เราจะพบว่ามีหลายที่ที่พนักงานขายสินค้าคนเดิมอาจเปลี่ยนเป็นคนละคน จากพนักงานที่น่ารักดูเป็นมิตรตอนที่พูดเชิญชวนให้เราซื้อของ อาจกลายเป็นพนักงานขายที่ดูไม่อยากปฏิสัมพันธ์กับใครและไม่ค่อยสุภาพ ในเวลาที่เราไปติดต่อขอคืนสินค้า) การสอบถามข้อมูลเงื่อนไขการคืนสินค้าจากพนักงานขายจึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักช้อปทุกคนควรปฏิบัติ เพราะปัจจุบันข้อมูลเรื่องการขอคืนสินค้าดูยังเป็นเรื่องลึกลับเข้าถึงยาก อาจจะมีบ้างในห้างสรรพสินค้าแบบแห่งที่แจ้งขอมูลเรื่องการขอเปลี่ยน – คืนสินค้าไว้ที่จุดบริการลูกค้า หรือในเว็บไซต์ของห้าง และที่ใกล้ตัวคนซื้อขึ้นมาหน่อยคือในใบเสร็จ แต่ก็ยังมีให้เห็นแค่ไม่กี่แห่ง (จากการทดสอบเราพบแค่ที่ Big C เท่านั้น) แถมข้อมูลก็ไม่ละเอียด เพราะแจ้งเพียงแค่ให้เก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานในการขอเปลี่ยน – สินค้าเท่านั้น   เงื่อนไขในการขอคืนสินค้าที่เราควรรู้ -ระยะเวลา – เพราะความที่ไม่ได้มีกฎหมายบังคับชัดเจนเรื่องการคืนสินค้า ทำให้การกำหนดระยะเวลาในการคืนสินค้าของห้างร้านแต่ละแห่งแตกต่างกันไป 7 วันบ้าง 15 วันบ้าง 30 วันบ้าง เพราะฉะนั้นระยะเวลาในการขอคืนสินค้านับจากวันที่ซื้อจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญอันดับแรกๆ ที่เราควรรู้ นอกจากนี้สินค้าแต่ละประเภทก็มีการกำหนดระยะเวลาการขอคืนสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น อาหารสด อนุญาตให้คืนสินค้าภายในวันที่ซื้อเท่านั้น หรือถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าก็อาจให้คืนสินค้าภายใน 10 – 15 วัน -สถานที่คืนสินค้า – ส่วนใหญ่จะต้องติดต่อขอคืนสินค้าที่จุดบริการลูกค้าในแผนกของห้างร้านสาขาที่เราได้ซื้อสินค้ามา และทางผู้ขายเขาจะรับประกันเฉพาะค่าสินค้าที่เรามาขอคืนเท่านั้น ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างค่าเสียเวลา ค่าเดินทาง ผู้ขายไม่รับผิดชอบ -สภาพของสินค้า – แน่นอนว่าสินค้าที่นำมาขอคืนสินค้าในกรณีที่สินค้าไม่ได้ชำรุดหรือเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน สินค้านั้นต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด คืออยู่ในบรรจุภัณฑ์ใกล้เคียงตอนที่ซื้อมา (กรณีที่แกะกล่องเอาของออกไปใช้แล้ว) ต้องพยายามอย่าให้ไม่มีร่องรอยการใช้งานหรือชำรุดเสียหาย ถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องอยู่ครบถ้วน รวมถึงเอกสารต่างๆ ที่มพร้อมกับสินค้า ผู้ขายมักจะใช้คำจำกัดความง่ายๆ ว่าสินค้าที่นำมาคืนนั้น ต้องอยู่ในสภาพที่ “สามารถนำมาขายได้ต่อ” -หลักฐานในการขอคืนสินค้า – หลักๆ ก็คือใบเสร็จการซื้อสินค้า ไม่มีไม่ได้ นอกจากนี้อาจจะมีหลักฐานการจ่ายผ่านบัตรเครดิต กรณีซื้อสินค้าผ่านบัตร บางที่อาจให้ผู้ขอคืนสินค้าต้องกรอกเอกสารเพิ่มเติม -วิธีการคืนเงิน – ส่วนใหญ่ผู้ขายก็จะคืนให้ตามวิธีที่เราจ่ายเมื่อตอนซื้อ ถ้าจ่ายด้วยเงินสดก็จะคืนเป็นเงินสด ถ้าจ่ายผ่านบัตรก็จะคืนกลับไปในบัตร แต่ก็บางที่แม้จะจ่ายผ่านบัตรแต่ก็คืนให้เป็นเงินสด โดยจะมีการกำหนดวงเงินเอาไว้ เช่น ไม่เกิน 5,000 บาท (การคืนเงินผ่านทางบัตรเครดิตต้องคอยตรวจเช็คยอดเงินให้ดี เพราะผู้ขายมักจะคืนเงินหลังจากตกลงคืนสินค้าเรียบร้อยแล้ว 1 – 2 เดือน) ในการสำรวจของฉลาดซื้อเรายังพบว่ามีห้างสรรพสินค้าอยู่ 2 แห่ง ที่ไม่ได้คืนเป็นเงินสดแต่คืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า คือที่ เดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน และ เอ็มโพเรียม (ทั้ง 2 ห้างอยู่ในเครือเดียวกัน คือ บริษัท เดอะ มอลล์ กรุ๊ป) ซึ่งนั้นเท่ากับว่าเป็นการบังคับผู้บริโภคกลายๆ ว่าต้องกลับมาซื้อของกับทางห้างอีกหากไม่อยากให้เงินนั้นสูญไปเฉยๆ แม้คูปองเงินสดนั้นจะไม่ได้กำหนดวันหมดอายุ แต่ก็ดูแล้วไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้บริโภคสักเท่าไหร่ -สินค้าบางอย่างไม่สามารถขอคืนเงินได้ – ถือเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขสำคัญที่ควรรู้ก่อนซื้อสินค้า ยิ่งในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนสินค้าจากเหตุผลด้านความพึงพอใจ ไม่ใช่เพราะสินค้าชำรุดหรือมีปัญหา สินค้าที่ร้านค้าส่วนใหญ่ไม่ยอมให้คืนอย่างเด็ดขาด ก็มีอย่างเช่น ชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ ถุงเท้า หนังสือ แบตเตอรี่ ซีดี ฯลฯ และที่ต้องดูให้ดีคือ ในกลุ่มสินค้าลดราคา สินค้าราคาพิเศษ สินค้าลดล้างสต๊อก สินค้าเหล่านี้ก่อนจะซื้อต้องสอบถามให้ดีเรื่องการขอเปลี่ยนคืนสินค้า อย่าหลงซื้อโดยเห็นแก่ราคาที่ถูกกว่า ถ้าใช้ไปไม่นานแล้วเสียขึ้นมา จะเอากลับไปเปลี่ยนหรือขอคืนเงินไม่ได้ เดี๋ยวจะต้องมาปวดใจได้ของไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป   การขอเปลี่ยน – คืนสินค้า ในมุมของกฎหมาย หลังจากฉลาดซื้อเราได้ทดสอบดูเรื่องเงื่อนไขและมาตรการการขอเปลี่ยน – คืนสินค้ากับบรรดาห้างร้านต่างๆ แล้ว เราก็พบข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า แต่ละที่แต่ละแห่งต่างก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ตัวเองจะกำหนด ทั้งๆ ที่สินค้าอาจจะเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ราคาเท่ากัน แต่เงื่อนไขการขอคืนสินค้าไม่เหมือนกัน นั้นเป็นเพราะว่าเราไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดใดๆ ที่ดูแลในเรื่องนี้ แม้จะมี พ.ร.บ. ที่พูดถึงเรื่องสินค้าอย่าง พ.ร.บ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย แต่ก็ดูแลเฉพาะสินค้าที่เข้าข่ายสินค้าไม่ปลอดภัยเท่านั้น หรือ พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง ก็คุ้มครองเฉพาะคนซื้อของแบบขายตรง ที่ดูจะเป็นเรื่องเป็นราวมากที่สุด ก็คงเป็น “โครงการส่งเสริมการรับประกันคุณภาพสินค้าและบริการประเภทธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง” ที่ทางกรมการค้าภายในทำไว้กับบรรดา ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกขนาดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ ที่ให้มีการกำหนดเงื่อนไขการเปลี่ยน – คืนสินค้า แต่ว่าก็เป็นเพียงแค่การขอความร่วมมือเท่านั้น   ถ้าขอคืนไม่ได้...ให้กฎหมายช่วย สำหรับคนที่พบปัญหา ไปขอคืนสินค้าแล้วไม่ได้รับการบริการ ไม่ได้เงินคืน เปลี่ยนสินค้าไม่ได้ หรือผู้ขายปฏิเสธความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะเรายังสามารถใช้กฎหมายเป็นตัวช่วยจัดการปัญหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เรื่อง ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ได้กำหนดให้ผู้ขายสินค้าต้องรับผิดชอบต่อสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ซึ่งทำให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถฟ้องร้องเพื่อพิจารณาเรียกร้องการชดเชยได้ โดยใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาวิธีคดีผู้บริโภค ช่วยในการฟ้องร้อง   สิ่งที่ต้องทำเมื่อจะไปขอคืนสินค้า 1.ตรวจสอบเงื่อนไขการคืนสินค้าของร้านที่เราจะไปขอคืนสินค้าให้ดีและละเอียดที่สุดเท่าที่จะได้ สอบถามข้อมูลจากหลายๆ ทาง ในเว็บไซต์ของร้าน โทรถามกับร้านโดยตรง หรือจากคนที่เคยมีประสบการณ์ขอคืนสินค้า 2.เตรียมหลักฐานการซื้อสินค้าไว้ให้ครบถ้วนที่สุด เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ซื้อสินค้าต้องรักษาหลักฐานการซื้อไว้ให้ดีที่สุด โดยเฉพาะใบเสร็จ 3.พยามยามรักษาสภาพของสินค้าที่เราจะนำไปขอคืนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด รวมถึงเอกสารต่างๆ ของสินค้า หรือแม้แต่หีบห่อบรรจุก็ต้องพยายามรักษาให้คงสภาพเหมือนเมื่อตอนที่ซื้อมาให้มากที่สุด 4.ยิ่งติดต่อขอคืนเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะเราจะสามารถจัดการสภาพของสินค้าและเอกสารต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้ทางร้านค้าเองสามารถตรวจสอบข้อมูลการซื้อสินค้าของเราได้ง่ายด้วยเช่นกัน 5.ข้อนี้สำคัญ ต้องพยายามรักษาอารมณ์ของตัวเองให้ดี เพราะแน่นอนการไปติดต่อเพื่อขอคืนสินค้า (โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดจากความไม่พึงพอใจในสินค้า) พนักงานที่รับเรื่องจากเราอาจมีบ้างที่ไม่ค่อยยินดีที่จะให้บริการ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด หากเราต้องการให้การติดต่อขอคืนสินค้าของเราประสบความสำเร็จ เราเองต้องเป็นฝ่ายที่พยายามสื่อสารด้วยท่าทีสุภาพ แต่ก็ต้องรักษาสิทธิอย่างเต็มที่ ซึ่งการที่เราเตรียมตัวตามที่บอกไว้ในข้อ 1 - 3 มาอย่างดี ย่อมทำให้เรามีน้ำหนักเพียงพอที่จะได้รับบริการที่เหมาะสม   เงื่อนไขการขอคืนสินค้าของห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก และร้านสะดวกซื้อ ชื่อ ระยะเวลาในการขอคืนสินค้า สินค้าที่ยกเว้นในการขอคืนสินค้า หมายเหตุ โลตัส 30 วัน - เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายใน 7 วัน สินค้าอาหารสด และสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ รับเปลี่ยน-คืนได้ก่อนวันหมดอายุ บิ๊กซี 30 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน ซีดี สินค้าลดราคา เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายใน 10 วัน สินค้าอาหารสด เบเกอรี่ คืนก่อนวันหมดอายุ ท็อป และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ 7 วัน - - เซเว่น อีเลฟเว่น 7 วัน - สินค้าที่เสียก่อนวันหมดอายุ แฟมมิรี มาร์ช 7 วัน - สินค้าที่เสียก่อนวันหมดอายุ ฟูดแลนด์ - - สินค้าคุณภาพไม่ดี แม็คโคร 7 วัน - อาหารสดและแช่แข็ง ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายในวันที่ซื้อสินค้าเท่านั้น เซ็นทรัล 14 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หนังสือ ไส้ปากกา ผ้า สินค้าลดราคา - โรบินสัน 14 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หนังสือ ไส้ปากกา ผ้า สินค้าลดราคา - เดอะ มอลล์ 7 วัน สินค้าลดราคาพิเศษ - เพาเวอร์บาย 7 วัน กล้องถ่ายรูป, กล้องวีดีโอ, โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค, แท็บเล็ต, สินค้าตัวโชว์, สินค้าลดล้างสต๊อก, ทีวีจอใหญ่กว่า 30 นิ้ว สินค้าที่ใช้แล้ว หรือ แกะกล่องแล้วไม่รับคืน มีดังนี้ ตู้เย็น, แผ่นซีดี, วีดีโอเทป, คอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์, ฟิล์ม, ถ่านไฟฉาย, ถ่านชาร์จ, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องซักผ้า, เครื่องดูดฝุ่น, ไมโครเวฟ, เครื่องครัวขนาดเล็ก, ผ้าหมึก, อุปกรณ์ทำความสะอาด   ผลการสำรวจบริการคืนสินค้าของห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีก   ห้างสรรพสินค้า /สาขา สินค้า ราคา ได้ ไม่ได้ วันที่ซื้อ วันที่คืน ง่าย ยาก เพราะ โรบินสัน /รังสิต เสื้อยืดหมีพูห์ 495- /   - 8 เมย.56 11 เมย.56 สยามพารากอน เสื้อยืด ยี่ห้อ Lantona 445-   / ไม่ให้คืนสินค้า ไม่มีเหตุผล 8 เมย.56 11 เมย.56 เทสโก้ โลตัส/สุขุมวิท 50 เสื้อยืดคอกลม 169- /   - 9 เมย.56 10 เมย.56 แม็คโคร/รังสิต เสื้อกีฬา ยี่ห้อ FBT 149- /   - 8 เมย.56 11 เมย.56 เดอะมอลล์/งามวงศ์วาน เสื้อยืดเด็ก ยี่ห้อ Tom&jerry 390-   / ต้องรอเป็นเวลาประมาณ 1 ชม. เนื่องจากทางแคชเชียร์ต้องยื่นเอกสารการทำคืนสินค้าให้ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ รวม 3 ท่าน และไม่สามารถคืนเป็นเงินสด จึงคืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า ไม่กำหนดวันหมดอายุ แต่ต้องมาใช้ซื้อสินค้าในเครือเท่านั้น 6เมย.56 10 เมย.56 บิ๊กซี /สี่แยกบ้านแขก เสื้อเชิ้ต 359- /   - 10 เมย.56 11 เมย.56 เอ็มโพเรียม เสื้อกล้ามผู้หญิง Giordano 200-   / ต้องรอเป็นเวลาประมาณ 15 นาที เนื่องจากทางแคชเชียร์ต้องยื่นเอกสารการทำคืนสินค้าให้ผู้จัดการเซ็นอนุมัติ แต่ไม่สามารถคืนเป็นเงินสด จึงคืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า ไม่กำหนดวันหมดอายุ แต่ต้องมาใช้ซื้อสินค้าในเครือเท่านั้น 10 เมย.56 11 เมย.56 โตคิว       / ไม่ให้คืนเพราะพนักงานอ้างว่าหากให้คืนสินค้า พนักงานต้องจ่ายค่าสินค้าชิ้นนั้นแทน 10 เมย.56 11 เมย.56   เงื่อนไขในการสำรวจ 1.อาสาสมัครจะต้องซื้อเสื้อจากร้านที่ส่วนของทางห้างโดยตรง (ไม่ใช่ร้านที่มาเช่าพื้นที่) 2.ต้องนำเสื้อที่ซื้อมาไปติดต่อขอคืนสินค้า โดยต้องให้เหตุผลในการเปลี่ยนว่าไม่พอใจในสินค้าเท่านั้น เช่น ไม่ชอบสี หรือใส่แล้วไม่ชอบ 3.ติดต่อขอคืนสินค้าโดยที่ สินค้ายังอยู่ในสภาพเดิม และมีใบเสร็จเป็นหลักฐาน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 จอดที่ไหน? จ่ายเยอะสุด

  หลังจากการมาของนโยบายรถคันแรก รถราบนท้องถนนก็ดูเหมือนจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อรถเยอะขึ้นปัญหาที่ตามมาไม่ได้มีแค่รถติด แต่ยังมีอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่เป็นความทุกข์ของคนมีรถนั้นก็คือ การหาที่จอด เพราะเดี๋ยวนี้ที่จอดรถไม่ได้หาง่ายๆ แถมที่สำคัญที่จอดรถส่วนใหญ่ไม่ได้มีไว้ให้จอดฟรีๆ ต้องมีการจ่ายค่าบริการ แต่ละที่ก็คิดราคาถูกแพงไม่เท่ากัน ฉลาดซื้อ จึงอยากช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของคนมีรถที่ต้องเดินทางไปทำธุระตามที่ต่างๆ อยู่เป็นประจำ ด้วยการสำรวจข้อมูลค่าบริการที่จอดรถของอาคารพาณิชย์ชื่อดังที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจสำคัญๆ  ในกทม. ว่าแต่ละที่เขาคิดค่าบริการกันยังไง ราคาเท่าไหร่ จะได้เตรียมตังค์ เตรียมใจ ก่อนจะเอารถไปจอด   จอดฟรี แต่แค่ 15 นาทีนะ แม้ว่าในการสำรวจครั้งนี้ฉลาดซื้อได้พบว่า “ของฟรียังมีในโลก” แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าดีใจแต่อย่างใด เพราะแม้ที่จอดรถหลายๆ ที่จะมีเวลาให้จอดฟรี แต่ส่วนใหญ่ก็อนุโลมให้เฉพาะแค่ 10 – 15 นาทีแรกเท่านั้น เต็มที่ก็คือให้จอดฟรีได้ครึ่งชั่วโมง อาคารที่ให้จอดฟรีได้ครึ่งชั่วโมงก็มีอย่างเช่น อาคารบีบี Bangkok Business Building ถ.อโศก, อาคารสาทรสแควร์ ถ.สาทร, อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ถ.เพชรบุรี, อาคารเพลิตจิต ทาวเวอร์ และ อาคารเมืองไทย-ภัทร ถ.รัชดาภิเษก   ซึ่งการมีช่วงเวลาที่รถเข้าไปจอดในอาคารโดยไม่เสียค่าบริการ แม้จะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็ยังถือเป็นประโยชน์กับคนที่ใช้รถ โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ได้จอดที่อาคารนั้นๆ เป็นประจำ คนที่ไม่เคยทราบราคาค่าที่จอดมาก่อน อย่างน้อยๆ ก็จะได้มีโอกาสตัดสินใจเมื่อเห็นราคา ว่าจะเลือกจอดที่นี่หรือย้ายไปจอดที่อื่น เพราะเป็นข้อกำหนดโดยกรมการค้าภายในอยู่แล้วว่า อาคารสถานที่ที่ให้บริการที่จอดรถต้องมีการแจ้งราคากับผู้ใช้บริการ โดยต้องแจงรายละเอียดการคิดราคาค่าบริการทั้งจัดทำเป็นป้ายให้อ่านชัดเจนและทำเป็นข้อมูลลงในบัตรจอดรถที่ต้องได้รับทุกครั้งเมื่อมาใช้บริการ จ่าย 100 ได้จอด 1 ชั่วโมง ใครที่ดีใจที่ได้มีรถไว้ใช้จากนโยบายรถคันแรก ก็อย่าลืมเตรียมใจว่าจากนี้ไปค่าใช้จ่ายต่างๆ กำลังเดินทางมาดูดเงินจากกระเป๋าคุณ ทั้งค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน และที่หลายคนอาจลืมคิดไปแต่ถือเป็นรายจ่ายก้อนใหญ่ไม่น้อยก็คือ รายจ่ายค่าที่จอดรถ อาจจะดูน่าตกใจแต่ว่าเป็นเรื่องจริง ที่เดี๋ยวนี้ค่าบริการที่จอดรถมีราคาสูงถึงชั่วโมงละ 100 บาท ซึ่งจากการสำรวจเราพบหลายอาคารที่คิดค่าบริการจอดรถชั่วโมงละ 100 บาท ไม่ว่าจะเป็น อาคาร Interchange ถ.อโศก-สุขุมวิท, อาคาร Exchange Tower ถ.สุขุมวิท-รัชดาภิเษก, อาคาร Q House ถ.พระราม 4 และ อาคารสาทรสแควร์ ถ.สาทร ที่สำคัญคือเศษของชั่วโมงที่เกินมาก็ถือว่าเป็นหนึ่งชั่วโมง บัตรจอดรถเป็นของมีค่า...ต้องรักษาเท่าชีวิต ค่าจอดรถที่ว่าสูงแล้ว ยังไม่เท่าราคาบัตรจอดรถ ทั้งๆ ที่เป็นแค่กระดาษแผ่นเล็กๆ ใบหนึ่งแต่อาจมีค่าสูงถึง 500 บาท ในกรณีถ้าเราทำบัตรจอดรถที่ได้รับมาหายไป ซึ่งการที่บัตรจอดรถมีค่าสูงขนาดนี้เป็นเพราะนี่คือหลักฐานชิ้นสำคัญที่ไว้แสดงว่าได้มีการทำสัญญาร่วมกันระหว่างเจ้าของรถและอาคารที่ให้บริการที่จอดรถ เผื่อหากเกิดกรณีที่รถหายหรือทรัพย์สินที่อยู่ในรถถูกขโมย บัตรจอดรถจะช่วยยืนยันว่าเราในฐานะเจ้าของรถได้มาใช้บริการจริง นำไปใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องความรับผิดชอบกับเจ้าของอาคารที่เราไปจอดรถ   ไม่ได้ประทับตรา ไม่ได้สิทธิ อาคารต่างๆ ที่ให้บริการที่จอดรถส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ ที่เป็นที่ตั้งของร้านค้าและสำนักงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งใครที่มาจอดรถแล้วใช้บริการหรือติดต่อธุระต่างๆ ต้องอย่าลืมใช้สิทธิประทับตราลงบนบัตรจอดรถ เพราะมันจะช่วยให้เราสามารถจ่ายค่าที่จอดรถได้ถูกลง บางที่ก็ให้สิทธิจอดฟรีได้นานขึ้นเป็น 1 ชั่วโมง – 2 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นเวลาไปจอดรถไม่ว่าที่ไหนอย่าลืมมองหาจุดประทับตราเพื่อจะได้ช่วยประหยัดค่าจอดรถ สคบ. ขอความร่วมมือ ให้จอดฟรี 1 ชั่วโมง 15 นาที เรื่องของการคิดราคาค่าบริการที่จอดรถนั้น ในบ้านเราไม่ได้มีกฎหมายใดๆ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานเอาไว้ จึงทำให้แต่ละที่มีการคิดราคาแตกต่างกันไป แต่เมื่อปลายปีที่แล้วมีข่าวว่าทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ร่วมกับ กรมการค้าภายใน และ กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการขอความร่วมมือไปยังห้างสรรพสินค้าและผู้ให้บริการที่จอดรถของเอกชนทั่วประเทศ ว่าต้องอนุญาตให้ผู้ใช้รถสามารถจอดรถได้ฟรีเป็นเวลา 1 ชั่วโมงกับอีก 15 นาที หลังจากนั้นจึงค่อยมีการคิดค่าบริการ แต่จากผลสำรวจจะเห็นว่าที่จอดรถทุกแห่งที่เราทำการสำรวจ ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ สคบ.เรียกร้องเลยแม้แต่แห่งเดียว (นอกเสียจากจะเป็นการคิดค่าบริการจอดรถที่มีการประทับตรา) เนื่องจากหลักเกณฑ์ที่ออกมานั้นไม่ได้เป็นข้อกฎหมายหรือข้อบังคับ แต่เป็นเพียงแต่ขอกำหนดแบบสมัครใจเท่านั้น   มาตรฐานสถานที่จอดรถ -อาคารจอดรถยนต์ต้องสร้างด้วยวัตถุทนไฟทั้งหมด -อาคารจอดรถยนต์ให้สร้างได้สูงไม่เกินสิบชั้นจากระดับพื้นดิน -อาคารจอดรถยนต์ที่สูงเกินหนึ่งชั้น ต้องมีการเปิดโล่งอย่างน้อยสองด้าน ส่วนเปิดโล่งต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ผนังด้านนั้น -อาคารจอดรถยนต์ที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน ต้องจัดให้มีเครื่องระบายอากาศภายในชั้นนั้นๆ -ทุกส่วนของอาคารจอดรถยนต์ต้องให้มีแสงสว่างแลเห็นได้ชัดทั้งกลางวันและกลางคืน -ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่เพียงพอ หนึ่งเครื่องต่อจำนวนที่จอดรถยนต์ทุกๆ ห้าสิบคัน -พื้นที่สำหรับจอดรถ 1 คัน ถ้าเป็นแบบที่จอดขนานกับแนวเดินรถ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร ส่วนถ้าเป็นแบบพื้นที่จอดที่ขนานกับแนวเดินรถ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่น้อยกว่า 5 เมตร -ที่จอดรถแต่ละคัน ต้องมีเครื่องหมายแสดงลักษณะและขอบเขตของที่จอดรถไว้ให้ปรากฏบนพื้น ที่มา : ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง อาคารจอดรถยนต์ พ.ศ. 2521 และ กฎกระทรวง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เมื่อ “รถหาย” สถานที่ที่รับจอดรถต้องรับผิดชอบหรือไม่? ถ้าลองสังเกตในบัตรจอดรถ จะเห็นข้อความประมาณว่า “บัตรนี้ไม่ถือเป็นการรับฝากรถ อาคารไม่รับผิดชอบใดๆ กรณีเกิดการสูญหายหรือเสียของรถและทรัพย์สินใดๆ” ทำให้หลายคนมีข้อกังวลว่าถ้าหากนำรถไปจอดแล้วรถหายหรือทรัพย์สินในรถถูกขโมยจะสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากเจ้าของอาคารได้หรือไม่ ซึ่งแม้เจ้าของอาคารจะมีการระบุข้อความที่ไม่ขอแสดงความรับผิดชอบใดๆ เอาไว้ แต่ในทางกฎหมายเราสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ เพียงแต่ต้องมีหลักฐานที่ใช้ยืนยันว่าเราได้นำรถไปจอดที่สถานที่ดังกล่าวจริง เช่น บัตรจอดรถ หรือใบเสร็จจากการซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายในอาคารนั้นๆ ซึ่งเราสามารถแจ้งเรื่องไปยัง สคบ. ให้ช่วยดำเนินการเรียกร้องตามกฎหมายได้   ข้อมูลสำรวจอัตราค่าบริการที่จอดรถยนต์ของอาคารพาณิชย์ชื่อดังใน กทม. 1. อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน ชั่วโมงละ 20 บาท ฟรี 2 ชั่วโมงแรก   2. อาคารเมืองไทย-ภัทร ถ.รัชดาภิเษก 1 ชั่วโมง 10 บาท 2 ชั่วโมง 30 บาท 3 ชั่วโมง 70 บาท ชั่วโมงที่ 4 เป็นต้นไป คิดเพิ่มชั่วโมงละ 50 บาท ฟรี 30 นาทีแรก 3. อาคารเพลินจิต ทาวเวอร์ ชั่วโมงละ 20 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ไม่มีการแจ้งรายละเอียด) 4. อาคารบางกอกทาวเวอร์ ถ.เพชรบุรี เวลา 07.01 – 19.00 น. ชั่วโมงละ 20 บาท เวลา 19.01 – 24.00 น. ชั่วโมงละ 60 บาท เวลา 24.01 – 07.00 น. ชั่วโมงละ 120 บาท   5. อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ถ.เพชรบุรี ชั่วโมงละ 30 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีตราประทับ  ชั่วโมงละ 20 บาท ฟรี 2 ชั่วโมงแรก   6. อาคารยูไนเต็ด เซ็นเตอร์ ถ.สีลม ชั่วโมงละ 30 บาท ฟรี 15 นาทีแรก ถ้ามีตราประทับ ชั่วโมงละ 30 บาท ฟรี 1 ชั่วโมงแรก   7. อาคารสีบุญเรือง ถ.สีลม ชั่วโมงละ 35 บาท ฟรี 10 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ไม่มีการแจ้งรายละเอียด)   8. อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ ถ.อโศก ชั่วโมงละ 40 บาท ฟรี 10 นาทีแรก จอดเกิน 8 ชั่วโมง คิดชั่วโมงละ 50 บาท ถ้ามีประทับตรา จอดฟรี   9. อาคารบีบี (Bangkok Business Building) ถ.อโศก ชั่วโมงละ 40 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ลดราคา 50%   10. อาคารลุมพินี ถ.พระราม 4 ชั่วโมงละ 40 บาท ฟรี 15 นาทีแรก ถ้ามีตราประทับ 1 ครั้ง ชั่วโมงแรกฟรี ชั่วโมงต่อไป 20 บาท ถ้ามีตราประทับ 2 ครั้ง จอดฟรี (บริษัทเจ้าของตราประทับนั้นเป็นผู้จ่าย) *หมายเหตุ ตราประทับ 2 ครั้ง ต้องมาจากบริษัทเดียวกัน 11. ที่จอดรถเท็กซัส เยาวราช ชั่วโมงแรก 40 บาท ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ถัดไป 20 บาท   12. อาคารกาญจนทัต ทาวเวอร์ เยาวราช ชั่วโมงละ 50 บาท ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ไม่มีการแจ้งรายละเอียด)   13. อาคาร Park Ventures ถ.วิทยุ ชั่วโมงละ 50 บาท ฟรี 15 นาทีแรก   14. อาคารสาทรสแควร์ ถ.สาทร ชั่วโมงละ 100 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ฟรี 1 ชั่วโมงแรก ชั่วโมงต่อไปขึ้นอยู่กับประเภทของตราประทับ   15. อาคาร Exchange Tower ถ.สุขุวิท-รัชดาภิเษก ชั่วโมงแรก 100 บาท ทุกๆ ครึ่งชั่วโมงถัดไป 50 บาท ฟรี 15 นาทีแรก   16. อาคาร Interchange ถ.อโศก-สุขุมวิท ชั่วโมงละ 100 บาท ฟรี 10 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ชั่วโมงละ 50 บาท ฟรี 1 – 2 ชั่วโมงแรก (ขึ้นอยู่กับประเภทของตราประทับ)   17. อาคารQ House ถ.พระราม 4 ชั่วโมงละ 100 บาท ฟรี 15 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ขึ้นอยู่กับประเภทของตราประทับ)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 โทรโปรฯไหน? ไม่เกิน 99 สต.

  ข่าวเรื่องการประมูล 3G อาจจะเป็นข่าวใหญ่ในแวดวงการสื่อสารในรอบปี 2555 ที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทุกคนต้องให้ความสนใจ เพราะเกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของคนใช้โทรศัพท์มือถือโดยตรง นั่นก็คือการประกาศของคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เรื่อง “อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. 2555” ที่มีเนื้อหาว่าด้วยการกำหนดค่าโทรสูงสุด โดยตามประกาศฉบับนี้ได้บังคับไว้ว่า ห้ามบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือกำหนดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์ ประกาศฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2555 แต่ว่าทาง กสทช. ก็ผ่อนผันให้กับบรรดาค่ายโทรศัพท์มือถือจนถึงสิ้นปี 2555 ซึ่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 ที่ผ่าน ถือเป็นวันดีเดย์ที่ทาง กสทช.จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้อย่างจริงจังและจะมีบทลงโทษกับค่ายมือถือที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ   แม้ค่ายโทรศัพท์มือถือดูเหมือนจะตื่นตัวรับประกาศฉบับนี้ ด้วยการออกโปรโมชั่นใหม่ๆ รับค่าโทรนาทีละไม่เกิน 99 สตางค์ แต่ว่าก็ยังมีโปรโมชั่นค่าบริการทั้งแบบเติมเงินและแบบรายเดือนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคิดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์   ฉลาดซื้อจึงขออาสาสำรวจโปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือว่าตอนนี้มีโปรโมชั่นไหนที่ทำตามประกาศและยังมีโปรโมชั่นไหนยังคิดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์ เพื่อเป็นข้อมูลให้สำหรับคนที่กำลังมองหาโปรโมชั่นค่าโทรมือถือที่น่าจะคุ้มค่าและเหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคนมากที่สุด   โปรโมชั่นค่าโทรแบบเติมเงินที่คิดค่าโทรไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์ เครือข่าย  ชื่อโปรโมชั่น ค่าโทรหาเบอร์เครือข่ายเดียวกัน ค่าโทรหาเบอร์ต่างเครือข่าย โปรโมชั่นพิเศษที่เกี่ยวข้องกับค่าโทร         ดีแทค ซิมปาท่องโก๋ นาทีละ 66 สต. นาทีละ 99 สต. โทรหาอีก 1 เบอร์พิเศษ นาทีละ 2 สตางค์ ซิม 2499 แฮปปี้ทั่วเมือง นาทีแรก 99 สต. นาทีต่อไป 24 สต. นาทีละ 99 สต. - ซิม 15 หยกๆ 16 หย่อนๆ นาทีละ 15 สต. ช่วง 4 ทุ่ม - 10 โมงเช้า นอกช่วงเวลา นาทีละ 99 สต. นาทีละ 99 สต. - ซิมสามก๊ก นาทีละ 49 สตางค์ ช่วงตี 5 – 5 โมงเย็น นอกช่วงเวลา นาทีละ 99 สตางค์ - ซิมคงกระพัน นาทีละ 99 สต. - เอไอเอส โปร 30 กำลังดี นาทีละ 99 สต. -         ทรูมูฟ ซิมฮักกัน นาทีละ 75 สต. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม ซิมถูกใจ นาทีละ 99 สต. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม ซิมอะเมซิ่ง นาทีละ 24 สต. นาทีละ 99 สต. - โปรเบิ้ลเบิ้ล นาทีละ 99 สต. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม     โปรโมชั่นค่าโทรแบบเติมเงินที่คิดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์ เครือข่าย   ชื่อโปรโมชั่น ค่าโทรหาเบอร์เครือข่ายเดียวกัน ค่าโทรหาเบอร์ต่างเครือข่าย โปรโมชั่นพิเศษที่เกี่ยวข้องกับค่าโทร           ดีแทค ซิมม่วนซื่นทั้งปี ตี 5 – 5 โมงเย็น นาทีละ 50 สต. เมื่อโทรเบอร์ในเครือข่ายที่เปิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 1 บ. โทรฟรีช่วงเทศกาล 500 นาที ซิมแฮปปี้นาทีละ 40 สต. นาทีแรก 1.80 บ. นาทีต่อ 40 สต. - ซิมเปิ้ล นาทีละ 2 บ. โทร 1 เบอร์พิเศษในเครือข่าย นาทีละ 50 สตางค์                 เอไอเอส   โปร รักทุกค่าย อัตรานาทีแรก 2 บ.ต่อไปนาทีละ 50 สต. - โปร One-2-Call! Grammy Music SIM ชั่วโมงละ 1 บ. ในเครือข่าย AIS ช่วงเวลา 23.00 น.-17.00 น. (นอกเวลานาทีละ 1 บ.) นาทีละ 1 บ. มีค่าบริการสัปดาห์ละ 29 บ. โปร หวานเย็น ตั้งแต่ 22.00-18.00 น. นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 25 สต. นอกช่วงเวลา นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 1 บ. - โปร โทรยกแก๊งค์ โทรระหว่างหมายเลขในโปรโมชั่น นาทีแรก 1 บ. นาทีต่อไป 25 สต. โทรหมายเลขอื่น ทุกเครือข่าย นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 1 บ. มีค่าบริการเดือนละ 19 บ. โปร รักทุกค่าย นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 50 สต. -             ทรูมูฟ ซิมสุดคุ้ม นาทีละ 1 บ. นาทีแรก 3 บ. นาทีต่อไป  1 บ. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนการใช้ ซิมว้าวว์ นาทีแรก 1.80 บ. นาทีต่อไป 39 สต.   - โปรโทรฟรียกก๊วน 24 ชั่วโมง นาทีแรก 1 บ. นาทีต่อไป 50 สต. นาทีละ 1.25 สต. โทร 3 เบอร์คนสนิท นาทีแรก 1 บ. นาทีต่อไป 25 สต. ได้สิทธิ์โทรฟรีเมื่อใช้ตามจำนวนที่กำหนด โปรห่วงใย 39 สต. นาทีแรก 1.80 บ. นาทีต่อไป 39 สต.   - โปรเบิ้ลเบิ้ล นาทีละ 99 สตางค์ เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม   -โปรโมชั่นค่าโทรที่นำมาเปรียบเทียบเป็นรูปแบบเติมเงินและเป็นโปรโมชั่นที่เน้นการโทรเป็นหลัก   -สำรวจล่าสุดเดือนมีนาคม 2556   การห้ามกำหนดค่าบริการโทรศัพท์มือด้วยระบบเสียงเกินนาทีละ 99 สตางค์ มีผลบังคับใช้กับ เอไอเอส และ ดีแทค เท่านั้น ไม่มีผลกับ ทรูมูฟ ตามเงื่อนไขในประกาศที่จะควบคุมเฉพาะผู้ให้บริการที่มีลักษณะเป็น “ผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ” ซึ่งวัดจากส่วนแบ่งทางการตลาด ถ้าเจ้าไหนมีส่วนแบ่งมากกว่า 25% จึงจะถือว่ามีแนวโน้มเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ตามประกาศเรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2552” ซึ่ง ทรูมูฟ มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 23% ส่วน เอไอเอส อยู่ที่ประมาณ 43% และ ดีแทค อยู่ที่ 30%   แพ็คเก็จรายเดือนค่าโทรส่วนเกินยังเกิน 99 สตางค์ จากการสำรวจค่าโทรศัพท์มือถือแบบเหมาจ่ายรายเดือนจะมีค่าโทรเฉลี่ยอยู่ที่ 74 สตางค์ – 1 บาทต่อนาที แต่ยังมีการคิดค่าโทรส่วนเกินอยู่ที่ 1บาท – 1.50 บาทต่อนาที ซึ่งเกิน 99 สตางค์ตามประกาศของ กสทช. ซึ่งเมื่อยังมีการละเมิดคำสั่งอยู่แบบนี้ ทาง กสทช. จะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าปรับทางปกครอง โดยมีการกำหนดอัตราค่าปรับวันละ 100,000 บาท   สำหรับใครที่พบว่าตัวเองยังใช้โปรโมชั่นมือถือที่คิดค่าบริการเกิน 99 สตางค์ สามารถแจ้งเปลี่ยนแพ็คเก็จหรือย้ายค่ายผู้ให้บริการ ซึ่งหากผู้ให้บริการรายใดปฏิเสธการให้บริการ หรือแม้แต่เห็นว่า กสทช. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศ สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน กสทช. โทร. 1200, ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคประชาชนในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ   สำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของตัวเองก่อนเลือกโปรโมชั่น 1.ปริมาณการโทร – จำนวนเวลาที่ใช้โทรในแต่ละครั้งมากน้อยแค่ไหน เพราะถึงแม้จะเลือกใช้โปรฯ ที่มีค่าโทรนาทีละ 99 สตางค์ แต่ถ้าหากต้องโทรคุยครั้งละ 10 – 20 นาที ค่าโทรที่ต้องเสียก็จะแพงกว่าโปรฯ ค่าโทรที่เริ่มต้นนาทีแรก 2 บาท แต่นาทีต่อไปคิดนาทีละ 50 สตางค์ เพราะฉะนั้นต้องดูให้แน่ใจว่าเรามีพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์แบบไหน ถ้าเป็นประเภทคุยสั้นคุยไม่นาน ก็ควรเลือกที่คิดค่าโทรถูกตั้งแต่นาทีแรก คือไม่เกิน 99 สตางค์ แต่หากเป็นคนที่คุยนานก็ต้องดูเรื่องค่าโทรเฉลี่ย   นอกจากนี้ยังมีโปรฯ ที่ออกแบบเพื่อการโทรหาเบอร์ที่เราเลือกให้เป็นเบอร์พิเศษ เช่น “ซิมปาท่องโก๋” และ “ซิมเปิ้ล” ของดีแทค หรือ “โปรโทรฟรียกก๊วน 24 ชั่วโมง” ของทรูมูฟ ที่ให้สิทธิโทรหาราคาถูกกับเบอร์พิเศษที่เรากำหนดได้เอง 1 เบอร์สำหรับ“ซิมปาท่องโก๋” และ “ซิมเปิ้ล” หรือถึง 3 เบอร์สำหรับ “โปรโทรฟรียกก๊วน 24 ชั่วโมง” แต่แน่นอนว่าเฉพาะเบอร์โทรที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ซึ่งโปรฯ แบบนี้ก็ยิ่งทำให้คนที่มีเบอร์ที่ต้องโทรหาประจำใช้งานได้ถูกลงไปอีก   2.ช่วงเวลาที่ใช้งาน – มีหลายโปรฯ ที่มีการใช้เงื่อนของเวลามาเป็นตัวกำหนดการใช้งาน ซึ่งถ้าโทรตามช่วงเวลาที่โปรฯ กำหนดค่าโทรก็จะถูกมาก เช่น “ซิม 15 หยกๆ 16 หย่อนๆ” ของดีแทค คิดค่าโทรนาทีละ 15 สต. ช่วง 4 ทุ่ม - 10 โมงเช้า, “ซิมสามก๊ก” ของดีแทค คิดค่าโทรนาทีละ 49 สตางค์ ช่วงตี 5 – 5 โมงเย็น หรือ โปรฯ  One-2-Call! Grammy Music SIM ของเอไอเอส คิดค่าโทรชั่วโมงละ 1 บ. ช่วงเวลา 23.00 น.-17.00 น. เป็นต้น แต่การใช้โปรฯ เหล่านี้ต้องไม่ลืมดูเรื่องของค่าโทรนอกเวลาโปรฯ และเบอร์ที่โทรหาจำกัดเฉพาะเบอร์ในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้นหรือไม่   3.ลักษณะการใช้งาน - เพราะเดี๋ยวนี้โทรศัพท์มือถือถูกยกระดับกลายเป็น “สมาร์ทโฟน” ไม่ใช่แค่ไว้โทรอย่างเดียว แต่ยังใช้ต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อติดต่อหากันได้ เพราะฉะนั้นถ้าใครใช้มือถือเพื่อเล่นอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ก็ต้องเลือกแพ็คเก็จที่เน้นบริการอินเทอร์เน็ต ส่วนค่าโทรก็ต้องดูตามความเหมาะสม ถ้าให้ดีก็อย่าให้เกินนาทีละ 99 สตางค์

อ่านเพิ่มเติม >