ฉบับที่ 157 เยลลี่

เยลลี่ (Jelly) ขนมเคี้ยวหนึบสีลูกกวาดนี้ เป็นขนมที่เด็กและวัยรุ่นนิยมกันมาก มีมานานเป็นร้อยปีแล้วในแถบยุโรป และฮิตจริงจังในบ้านเรามากว่า 30 ปี ขนมเยลลี่นั้นแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือแบบเนื้อสัมผัสนุ่มชุ่มน้ำเป็นเนื้อวุ้นใสๆ กับแบบเนื้อสัมผัสหนึบหนืดคล้ายหนังยาง ซึ่งขึ้นรูปได้หลายแบบ ที่นิยมก็เช่น รูปหมี รูปดาว รูปเม็ดถั่ว ชนิดเหนียวหนึบอย่างหลังนี้จะเรียกเจาะจงลงไปว่า กัมมี่เยลลี่ (Gummy jelly) ข้อดีคือไม่แข็งอย่างลูกกวาด เคี้ยวหนึบ เพลินดี ถึงขนาดมีผลวิจัยออกมาว่าช่วยลดความแข็งกร้าวของผู้ที่ชื่นชอบการเคี้ยวกัมมี่เยลลี่หนึบๆ นี้ด้วย ในเยลลี่ประกอบด้วยน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ สารให้ความหวาน สี(สมัยก่อนนิยมสีสังเคราะห์เพราะสดใสสุดๆปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นสีจากธรรมชาติมากขึ้น) และวัตถุที่ทำให้เกิดเนื้อสัมผัสแบบหยุ่นๆ (เนื้อเจล) เช่น เจลาติน คาราจีแนน และวุ้น (ฝรั่งเรียก Agar agar) สำหรับ เยลลี่เลิฟเวอร์ ทั้งหลาย หากเยลลี่ตัวไหนผสมเจลาติน ให้รู้ไว้ว่าไม่ได้เป็นอาหารเจ เพราะเจลาติน คือโปรตีนที่ได้มาจากการสกัดกระดูกหมูหรือกระดูกวัว เด็กและวัยรุ่น มุสลิม ก็ต้องเลือกเจลาตินที่มาจากกระดูกวัวเท่านั้นซึ่งควรระบุตรา "Halal gelatin" หรือ "Beef gelatin" ถ้าระบุ เจลาติน เฉยๆ อาจมีปัญหา และเนื่องจากเจลาตินมันสร้างปัญหา จึงมีคาราจีแนนมาเป็นตัวเลือก อันนี้ทำมาจากสาหร่ายทะเล เยลลี่ที่ผสมคาราจีแนน จึงจัดเป็นอาหารเจได้มุสลิมกินได้ เพียงแต่คาราจีแนนมันไม่เหนียวและยืดหยุ่นเท่าเจลาติน หลายบริษัทจึงยังภักดีเลือกใช้เจลาตินต่อไป   เดิมเยลลี่อาจดูเป็นขนมที่ไม่มีสาระอะไรแต่หลังๆ พัฒนาจนบางชนิดกินเพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักได้ เสริมสารอาหารได้ แต่ปัญหาที่พบคือ หลายยี่ห้อสารกันบูดเยอะเกิน ต้องระวังให้ดี ส่วนเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กต่ำกว่าสามขวบไม่ควรให้กินขนมเยลลี่เพราะติดคอตายกันมาหลายรายแล้ว โดยเฉพาะที่ใส่ถ้วยเล็กๆ พอคำ เวลากินจะเอามาอมแล้วดูดเข้าปาก นี่อันตรายที่สุด เนื่องจากมีแรงบีบอัดสูง พุ่งเข้าหลอดลมสำลักกันมานักต่อนัก ผู้ใหญ่ควรสอนให้เด็กกินอย่างถูกวิธี คือกัดแล้วเคี้ยวก่อนกลืน อ้อ เยลลี่แบบอัดใส่ถ้วยเล็กๆ นั้นในยุโรปเขาห้ามขายกันแล้ว เพราะกลัวเด็กจะตายเพราะเยลลี่อุดหลอดลมนี่แหละ //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 ง่ายๆ กับ “แอพสายด่วน”

2 ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนเคยเขียนแนะนำแอพพลิเคชั่น YellowPages Live ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่รวบรวมข้อมูลรายละเอียดเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ จากสมุดหน้าเหลืองเล่มหนาๆ มาย่อรวมไว้ที่สมาร์ทโฟนบนมือของเรา  ในฉบับนี้ผู้เขียนได้ไปเจอแอพพลิเคชั่นในลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่แค่ย่นย่อข้อมูลไว้เป็นหมวดๆ แอพพลิเคชั่นนี้มีชื่อว่า “แอพสายด่วน” เป็นแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาขึ้นจากกระปุกดอทคอม แอพพลิเคชั่นนี้จะรวบรวมเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อเมื่อถึงคราวจำเป็น โดยแบ่งออกเป็น 8 หมวด ได้แก่ หมวด Delivery  หมวดโรงภาพยนตร์  หมวดธนาคาร  หมวดแท็กซี่  หมวดสอบถามข้อมูล  หมวดการติดต่อสื่อสาร  หมวดแจ้งเหตุด่วน  และหมวดอุทกภัย หมวด Delivery เป็นหมวดที่รวบรวมเบอร์โทรศัพท์ร้านอาหารที่วิ่งส่งอาหารไปถึงบ้าน อย่างเช่น  แมคโดนัลด์ เคเอฟซี พิซซ่าฮัท เอ็มเค เอสแอนด์พี เป็นต้น ทั้งยังมีแจ้งรายละเอียดช่วงเวลาในการโทรสั่ง ราคาค่าจัดส่ง หมวดโรงภาพยนตร์  เป็นหมวดที่รวบรวมเบอร์โทรศัพท์ของเครือโรงภาพยนตร์ที่มีทั้งหมด อย่างเช่น เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ เอสเอฟซีนีม่า อีจีวี เป็นต้น โดยแบ่งย่อยเป็นเบอร์โทรศัพท์ของสาขาต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ หมวดธนาคาร  จะรวบรวมเบอร์ธนาคารทุกธนาคารไว้  หมวดแท็กซี่ จะรวบรวมเบอร์ธุรกิจบริษัทแท็กซี่ทั้งหมดที่มี  และหมวดการติดต่อสื่อสาร  จะรวบรวมศูนย์บริการของเครือข่ายโทรศัพท์ทั้งหมดทั่วประเทศไว้ ไม่เพียงแต่เครือข่ายของมือถือ อย่างเช่น เอไอเอส  ดีแทค  ทรูมูฟ เท่านั้น ยังมีของ ทีโอที กสท. ด้วย หมวดสอบถามข้อมูล จะแบ่งย่อยเป็นหมวดย่อยบริการภาครัฐและบริการทางสังคม จะมีสายด่วนผู้บริโภค อย. สายด่วนประกันสังคม ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริการทางสังคม ซึ่งในหมวดนี้มีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภครวมอยู่ด้วย  นอกจากนี้ยังมีหมวดย่อยการเดินทาง การจราจร หมวดย่อยภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ หมวดย่อยสุขภาพ และหมวดย่อยอื่นๆ ที่รวบรวมเบอร์ติดต่อของศูนย์ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ไว้ หมวดแจ้งเหตุด่วน  จะแยกย่อยเป็นเรื่องอุบัติเหตุ จราจร เพลิงไหม้ สาธารณูปโภค กู้ชีพ และรถพยาบาล ส่วนหมวดอุทกภัย จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้า การประปา เป็นต้น ในแอพพลิเคชั่น “แอพสายด่วน” นี้ ยังสามารถจัดเก็บเบอร์โทรที่ผู้ใช้ต้องใช้เป็นประจำไว้ได้ภายในเมนู Favarite เพื่อสะดวกกับการหาในครั้งต่อไป และผู้ใช้สามารถเพิ่มข้อมูลด้วยตัวเองภายในเมนูเพิ่มเบอร์โทรได้อีกด้วย สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ทั้งในระบบสำหรับมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ทาง App Store  และสำหรับมือถือระบบปฏิบัติการ iOS โดยพิมพ์คำว่า “แอพสายด่วน” หรือในเว็บไซต์ http://m.kapook.com/hotline    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 การเลือกซื้อ กล่อง set top box

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการกล่อง set top box สำหรับแปลงสัญญาณโทรทัศน์ จากระบบอนาลอกสู่ระบบดิจิตอล ยุคโทรทัศน์แบบดิจิตอลได้เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว และรอวันเคาต์ดาวน์เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ เหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลกระทบต่อวงการสื่อสารนั้น สมควรจะต้องมีการบันทึกและสื่อสารไปยังสังคมวงกว้างให้มากที่สุด การจัดตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภคในประเทศไทย ในเยอรมนีเองก็มีการจัดตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้น เพื่อรองรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการรับส่งสัญญาณ และช่วยเหลือให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา เพื่อการเตรียมตัวของผู้บริโภคในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งทางคณะกรรมการกิจการโทรทัศน์และกิจการกระจายเสียง (กสท.) ควรต้องจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นด้วย นอกเหนือจากจะมีนโยบายแจกคูปองให้ไปซื้อกล่อง set top box เพียงอย่างเดียว สำหรับบทความในวันนี้ ผมขอนำเรื่องการทดสอบและข้อแนะนำการเลือกซื้อกล่อง set top box ของ องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี ( Stiftung Warentest ) ที่ได้ทำการทดสอบกล่อง set top box ในปี  2007 มานำเสนอ ถึงแม้ว่าระบบสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตัลภาคพื้นดิน ของเยอรมนีนั้น เป็นระบบ (Digital Video Broadcasting- Terrestrial: DVB-T) ซึ่งเป็นสัญญาณระบบแรกเริ่มที่เยอรมนีและยุโรป เลือกใช้ ในขณะที่ระบบส่งสัญญาณในประเทศไทยนั้น จะเป็นระบบที่พัฒนาจากระบบนี้มาสู่ระบบ (DVB-T2) ซึ่งถือว่าเป็นยุคที่สองของระบบสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอล หรือเรียกง่าย ๆ ว่ายุคที่สองในประเทศของเรานั่นเอง  ประเด็นนี้ประเทศเราใช้เทคโนโลยีก้าวล้ำกว่าของเยอรมันที่จะเริ่มเปลี่ยนใช้ระบบ DVB-T2 ประมาณปี 2007 แต่ก็สามารถนำข้อแนะนำมาปรับใช้กับการเลือกซื้อกล่องในประเทศของเราได้เช่นกัน   ซื้อกล่อง set top box ต้องคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้ 1.มีเครื่องหมาย กสทช. รับรองไว้หรือไม่ การมีตรารับรองจาก กสทช. นั้น ทำให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่า กล่องแปลงสัญญาณนั้น มีมาตรฐานทางเทคนิค ที่ผ่านการทดสอบจากห้องแลปมาตรฐานมาแล้ว  2.จุดเชื่อมต่อของสายอากาศกับโทรทัศน์ในบ้านเป็นแบบไหน สิ่งแรกที่ผู้บริโภคควรนึกถึงคือ ดูที่จุดเชื่อมต่อว่า โทรทัศน์ที่ใช้อยู่นั้นมีจุดเชื่อมต่อประเภทไหนบ้าง อาทิ จุดเชื่อมต่อแบบสการ์ต (scart) แบบสายโคแอกเซียล (coaxial cable) ซึ่งผมเคยเขียนอธิบายไว้ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 133 มีนาคม 2555 เพื่อที่จะดูว่าเมื่อซื้อกล่องมาแล้ว สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กสายอากาศ ที่บ้านของเราได้หรือไม่ และมีจุดเชื่อมต่อกี่จุด   3.ขนาดและตำแหน่งในการวางของกล่องเป็นอย่างไร ถ้ากล่อง set top box มีขนาดใหญ่ก็ต้องการพื้นที่ในการจัดวางเพิ่ม ซึ่งต้องให้สอดคล้องกับขนาดและตำแหน่งของโทรทัศน์ในบ้านด้วย   ฟังค์ชันอื่นๆ ที่กล่อง set top box ที่ดีควรจะมี ฮาร์ดดิสค์ กล่อง set top box ปัจจุบันสามารถที่จะทำหน้าที่บันทึกรายการจากสถานีโทรทัศน์ได้โดยตรง โดยที่กล่องประเภทนี้จะมี hard disc รวมอยู่ด้วย โดยมีขนาดตั้งแต่ 80 GB- 160 GB  ซึ่ง hard disc ขนาด 80 GB สามารถบันทึกรายการได้นาน ถึง 50 ชั่วโมง Stand by mode ซึ่งเป็นฟังค์ชันที่จะใช้กับ รีโมตคอนโทรล เพื่อความสะดวกในการเปิดและปิดกล่อง set top box ฟังค์ชันการค้นหาช่องอัตโนมัติ (automatic channel searching) จัดเรียงช่อง และ บันทึกช่องสัญญาณ ฟังค์ชันแสดงเมนูบนจอโทรทัศน์ (On Screen Display: OSD) ในกรณีที่กล่อง set top box สามารถบันทึกรายการได้ ต้องพิจารณาว่าฟังค์ชันในการบันทึกรายการนั้น สามารถตั้งโปรแกรมบันทึกรายการได้กี่ช่อง เป็นรายวัน หรือรายอาทิตย์ และสามารถตั้งโปรแกรมตั้งเวลาปิดอัตโนมัติเมื่อ เราเผลอนอนหลับได้หรือไม่ (sleeping mode) สำหรับผู้บริโภคที่ชอบฟังค์ชันพิเศษเหล่านี้เพิ่มเติม ก็ต้องพิจารณาถึงราคาที่จะต้องจ่ายเพิ่มตามมาด้วยนะครับ   (ข้อมูลอ้างอิง: http://www.test.de/DVB-T-Empfaenger-15-Modelle-fuer-TV-und-PC-1504176-0/)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 คู่มือนักร้อง (เรียน) ตอนที่ 2

ฉบับที่แล้ว ผู้เขียนได้นำเสนอ คู่มือนักร้อง (เรียน) ไปแล้วในขั้นตอนแรก โดยเสนอให้จัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมพรรค ซึ่งมีเคล็ดลับเพิ่มเติมง่ายๆ ดังนี้   เคล็ดลับ : การตรวจสอบเลขที่อนุญาตโฆษณา ยาที่ได้รับอนุญาตโฆษณา จะมีเลขที่โฆษณาระบุ   ฆท .../..... อาหารที่ได้รับอนุญาตโฆษณา จะมีเลขที่โฆษณาระบุ   ฆอ .../..... เครื่องมือแพทย์ที่ได้รับอนุญาตโฆษณา จะมีเลขที่โฆษณาระบุ   ฆพ .../..... เครื่องสำอางจะไม่มีเลขที่โฆษณา เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าสามารถทำการโฆษณาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เคล็ดลับ : การตรวจสอบเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ ยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ จะมีเลขทะเบียน G .../..... ยาแผนปัจจุบันที่ผลิตในประเทศ จะมีเลขทะเบียน 1A .../..... หรือ 2A .../..... อาหาร จะมีเลขสารบบ 13 หลัก  เช่น xx-x-xxxxx-x-xxxx เครื่องสำอาง จะเลขที่จดแจ้ง 10 หลัก xx-x-xxxxxxx   2. หลักฐานครบถ้วน นอกจากข้อมูลที่ครบถ้วนแล้ว หากมีพยานหลักฐานชัดเจน จะทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้กระทำผิดไม่สามารถอ้างว่าไม่เกี่ยวข้องได้ พยานหลักฐานเบื้องต้นที่เราควรรวบรวมให้ได้ เช่น พยานเอกสาร     ผลิตภัณฑ์ที่โฆษณามีเอกสาร ใบปลิว แผ่นพับ ประกอบการโฆษณาด้วยหรือไม่ พยานบุคคล       นอกจากเราแล้ว มีบุคคลใดที่รับรู้หรือเห็นเหตุการณ์การโฆษณาที่ไม่ถูกต้องอีก พยานวัตถุ          ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทำการโฆษณา   3. เรื่องด่วนส่งทัน เราควรรีบส่งเรื่องร้องเรียนให้กับเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยเร็วที่สุด  แนะนำว่าไม่ควรเกิน  7  วัน ซึ่งเราสามารถส่งข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้องไปยังหน่วยงานสาธารณสุขได้ในทุกระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ รพ.ชุมชน รพ.ทั่วไป  รพ.ศูนย์  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา   4. ช่วยกันบอกต่อ นอกจากนี้ เราควรแจ้งให้คนในชุมชนทราบข้อมูลผลิตภัณฑ์อันตรายโดยด่วนที่สุด โดย ผ่านช่องทาง หรือวิธีการต่างๆ  แต่ถ้าเราไม่มั่นใจเราอาจสอบถามกับเจ้าหน้าที่ให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ปลอดภัยอย่างไรก่อนดำเนินงานแจ้งข่าว หรือหากเรากังวลว่าอาจถูกผู้กระทำผิดฟ้องกลับ หรือมีปัญหาในชุมชน ควรประสานงานให้เจ้าหน้าที่ เป็นผู้กระจายข่าวออกจากหน่วยงานราชการ ก็ได้   เคล็ดลับ ในการร้องเรียน หากเราไม่อยากเปิดเผยตัวเอง เราควรรวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐานให้ชัดเจนมากที่สุด เพื่อให้ข้อมูลที่เราร้องเรียนมีความน่าเชื่อถือ ไม่ใช่เป็นการกล่าวอ้างลอยๆ เพื่อกลั่นแกล้ง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 มติแพทยสภามีผลผูกพันคู่ความและศาลแค่ไหน ตอนจบ

ความเดิม เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 1  (สามี) และผู้ตาย(ภริยา)เป็นคนไข้ที่มารับบริการตรวจรักษา ใช้บริการ(คลอดบุตร) ที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 (โรงพยาบาลสมิติเวช) แต่แพทย์ผู้รักษาคือจำเลยที่ 3 เป็นวิสัญญีแพทย์ จำเลยที่ 4 เป็นสูติแพทย์ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ภริยาและบุตรโจทก์ที่ 1 ตาย โจทก์ที่ 1  ถึงที่  6  จึงฟ้องคดีเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้โรงพยาบาลเอกชน... การที่ประเทศต่างๆ ได้เปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับมาตรฐานในการรักษาของแพทย์โดยไม่ถือเอามาตรฐานการรักษาดีที่สุด  แต่ใช้มาตรฐานการรักษาตามสภาพและสภาวะในขณะทำการรักษาเป็นตัวกำหนด  รวมทั้งการที่แพทยสภาใหม่ตามแนวคิดดังกล่าวน่าจะมีอิทธิพลต่อการกำหนดมาตรฐานของศาลให้เปลี่ยนแปลงไปจากการอาศัยมาตรฐานการรักษาดีที่สุดไปสู่หลักเกณฑ์ใหม่  แต่การที่คดีนี้ศาลฎีกายังคงถือหลักมาตรฐานการรักษาในระดับดีที่สุดอยู่เนื่องจากมูลคดีเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2538 ในขณะที่ยังใช้ข้อบังคับเดิมของแพทยสภาที่ถือเอาการรักษาในระดับดีที่สุดเป็นมาตรฐาน  และไม่มีข้อเท็จจริงหรือได้ว่ากล่าวกันมาคือ  เงื่อนไขตามมาตรฐานที่ข้อบังคับใหม่ของแพทยสภากำหนดจึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ศาลฎีกายังคงใช้มาตรฐานดีที่สุด  ซึ่งเป็นข้อที่ปรากฏอยู่ในสำนวนเป็นมาตรฐานการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลย  สำหรับคดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งเป็นเวลาที่ข้อบังคับแพทยสภาฉบับปี  2549 ได้บังคับแล้ว  น่าเชื่อว่าการถือมาตรฐานในการรักษาคงจะเปลี่ยนไปตามมาตรฐานใหม่ที่กำหนดใช้ในข้อ 15 แห่งข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549   6. มีปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยว่า  คณะกรรมการแพทยสภาได้ลงมติแล้วว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่มีความผิด  เหตุใดศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยไปตามมติของแพทยสภา หลักในการวินิจฉัยความรับผิดของแพทย์  โดยเฉพาะการวินิจฉัยว่าการรักษาของแพทย์เป็นไปตามหลักวิชาหรือไม่  เป็นเรื่องยากที่ศาลหรือบุคคลทั่วไปจะเข้าใจและรับรู้ได้  ศาลในประเทศต่างๆ จึงถือแนวปฏิบัติว่าจะต้องอาศัยความเห็นของแพทย์ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ( expert witness ) เป็นสำคัญ ในคดี Bolam v. Friem Hospital Management Committee ( 1957 WER 882 )  ศาลได้วางหลักให้ถือเอาความเห็นขององค์กรแพทย์ที่ดูแลแขนงสาขาวิชาทางการแพทย์สาขานั้น  และโดยแพทย์ผู้กอปรทักษะความรู้ในสาขานั้นเป็นเกณฑ์สำคัญในการตัดสิน ( The accepted practice must be regarded as proper by  “  a responsible body of medical men “ skilled in that art ) ทำให้เกิดหลักเรียกว่า Bolam test ขึ้น กล่าวคือ หากผู้แทนองค์กรแพทย์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เบิกความมาเป็นผู้ให้ความเห็นก็จะผูกพันมีน้ำหนักสำคัญให้ศาลเชื่อถือรับฟัง  ส่วนความเห็นของแพทย์ที่มิอยู่ในสาขาวิชาดังกล่าว หรือโดยองค์กรของแขนงวิชาดังกล่าวมาเบิกความก็จะไม่ถือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น หลัก Bolam test ได้เป็นที่ยอมรับในศาลของหลายๆ ประเทศ  แต่ในรอบ 20  ปีที่ผ่านมา  ศาลและประชาชนผู้เกี่ยวข้องเริ่มมีความรู้สึกว่าองค์กรแพทย์มักให้ความเห็นในการปกป้องแพทย์ด้วยกันเองมากกว่าการให้ความเห็นตามหลักวิชาที่เป็นกลางและเที่ยงธรรม  ทำให้ศาลของประเทศต่างๆ ในระยะหลังเริ่มไม่รับฟังความเห็นขององค์กรแพทย์  โดยวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานเองแยกแตกต่างไปจากความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญ เช่น คดี Hucks v. Cole (( 1993 ) , 4 Med LR 393 ) คดี Gascoine v. Ian Shridan & Co. (( 1994 ) , 5 med LR 437 และคดี Joyce v.  Wandsworth Health Authority (( 1995 ) , 6 Med LR 60 เป็นต้น อย่างไรก็ดีศาลอีกบางส่วนก็ยังถือเอาความเห็นขององค์กรแพทย์เป็นสำคัญในการวินิจฉัยคดีอยู่เช่นเดิม  จนกระทั่ง House of Lords ของอังกฤษได้ตัดสินคดีสำคัญที่วางหลักการรับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์  และถือว่าเป็นการวางแนวทางที่ได้รับการยอมรับที่ศาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว้างขวางที่สุด นั่นคือ คดี Bolitho v. City & Hackney Authonrity  (( 1997 ),  All ER 771 ) คดีดังกล่าวศาลวางหลักว่า  หากองค์กรแพทย์ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่วินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีให้ความเห็นตามหลักวิชาที่เปี่ยมด้วยเหตุผล  ศาลพึงต้องรับฟังความเห็นขององค์กรแพทย์ดังกล่าวในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญที่มีน้ำหนักยิ่ง  แต่ถ้าความเห็นมิได้มาจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสาขาวิชาดังกล่าว  ศาลจะไม่รับฟังก็ได้ ผลของคดี Bolitho ทำให้นำไปสู่แนวความคิดในการรับฟังความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะความเห็นขององค์กรแพทย์ว่าศาลยังรับฟังความเห็นขององค์กรแพทย์  เว้นจะปรากฏว่ามีเหตุที่ไม่ควรรับฟัง เช่น  (ก) ขาดเหตุผล หรือมิได้มาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เบิกความ หรือความเห็นขององค์กรแพทย์ไม่อาจชี้ชัดไปได้ว่าจะเป็นเช่นใด เช่น คดี Penney , PaImer and Conon v. East Kent HeaIth Authority (( 2000 ) , Lloyd ‘s Law Rep ( MedicaL , 41 ))  ที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยต่างมีพยานองค์กรแพทย์มาให้ความเห็นสนับสนุน  เช่นนี้ศาลวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานเองได้     (ข) แพทย์รักษาผิดไปจากฎหมายที่บัญญัติไว้  หรือเงื่อนไขการรักษาหรือมิได้เป็นไปตามมาตรฐาน CGP (  Clinical Practice Guideline ) (ค)  เมื่อแพทย์รักษาผิดอย่างชัดเจน เช่น แพทย์ผ่าซี่โครงผิดข้าง  หรือเด็กประสงค์ให้แพทย์ผ่าตัดตุ่มเม็ดในปาก  แต่แพทย์ไปขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะแทน  หรือในคดี McGrew v. St. Joseph ‘ s Hospital ( 200 W.Va 114 , 488 SE 2d 389 (1997 ) ) พนักงานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลยกตัวคนไข้ไม่ดี  ทำหลุดมือปล่อยคนไข้ตกเตียง  ศาลสูงสุดแห่งเวสต์เวอร์จิเนียวินิจฉัยว่าโรงพยาบาลกระทำการโดยประมาทหรือไม่  ศาลวินิจฉัยได้เองโดยไม่ต้องอาศัยความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญหรือองค์กรแพทย์ 7.  ตามคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยด้วยความระมัดระวังไม่ว่าการวางหลักตามแนววินิจฉัยในคดี Bolitho ว่าหากมติของแพทย์สภาถูกต้องและเป็นธรรมก็นำมารับฟังได้  แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าการได้มาซึ่งมติความเห็นของแพทยสภามีข้อกังขาและสงสัยว่าจะชอบหรือเหมาะสมหรือไม่  การที่ศาลฎีกาไม่รับฟังมติความเห็นของแพทยสภา  แต่วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเสียเองจึงชอบแล้ว หมายเหตุผู้เขียน  ต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงในความเห็นของท่านอาจารย์นพพร  โพธิรังสิยากร ซึ่งเป็นความเห็นที่ทรงคุณค่าทางวิชาการอย่างยิ่งและเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคที่ต้องเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 กินยาบำรุงร่างกายถึงตายได้เลยนะ

ได้มีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์รับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน   ตามมาตรา50(5)  ตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   ซึ่งเป็นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน  เพื่อเป็นศูนย์รับ เรื่องร้องเรียน  และช่วยแก้ปัญหาของภาคประชาชน (ที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 100 ศูนย์)   ในภาคอีสานตอนบนการไปเยี่ยมเยียนพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาการใช้บริการด้านสุขภาพของประชาชนในหน่วยบริการ จากการพูดคุย     มีเรื่องที่น่าตกใจ   และไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นคือ   มีเด็กกินยาบำรุงร่างกายแล้วเสียชีวิต   เมื่อถามรายละเอียด  จึงทราบว่า  ยาที่เด็กกินคือยา  xxx ยาบำรุงเม็ดสีแดง   ชาวบ้านเล่าว่า   เด็ก 2 คน  อายุ 3-4 ขวบ เป็นพี่น้องกัน  พ่อ-แม่เด็กไปทำงานในเมือง  เด็กกับอยู่กับตา    ตากินยาบำรุงแล้ววางไว้ในมุ้ง    เด็กเห็นเม็ดยาสีสวยคงนึกว่าขนม  จึงแอบกินเกือบหมด    ตามาเห็นจึงรีบพาเด็กส่งโรงพยาบาล คำถามแรกคือ “เด็กกินยาไปกี่เม็ด   คนไหนกินมากกว่ากัน”  ตาบอกจำนวนเม็ดยาได้  แต่บอกไม่ได้ว่า  คนไหนกินมากกว่ากันแพทย์รับตัวไว้ดูอาการใน โรงพยาบาลผ่านไป 2 วัน อาการไม่มีอะไรน่ากังวล จึงเตรียมจะให้เด็กกลับบ้าน  แต่เด็กเริ่มมีอาการน่าเป็นห่วงสัญญาณชีพมีปัญหา  โรงพยาบาลอำเภอจึงเร่งส่งตัวไปโรงพยาบาลจังหวัด    ไปถึงปรากฏว่าว่าเด็กมีอาการไตวายเฉียบพลัน   แพทย์เร่งล้างท้องและช่วยชีวิตเด็กได้ 1 คน  อีกคนเสียชีวิต (คุยกับแพทย์ได้เหตุผลว่ายาบำรุงมีธาตุเหล็ก  กินมากๆ ธาตุเหล็กจะไปเกาะตับไต ทำให้ตับไตมีปัญหา)  เรื่องนี้มีการร้องเรียนโรงพยาบาลแรกว่าไม่ดำเนินการล้างท้องเด็กปล่อยให้อาการหนักจนเสียชีวิต สปสช. จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกัน  400.000  บาท  เรื่องก็จบไป  พร้อมชีวิตเด็ก 1 คน    แต่ไม่มีการร้องเรียนผู้ผลิตยาดังกล่าวแต่อย่างใด      ดิฉันเลยไปร้านยา ขอดูฉลากยาข้างกล่องเท่าที่ดู (ภายนอก)อย่างละเอียด  ไม่เห็นคำเตือนให้เก็บห่างมือเด็กแต่อย่างใด    จึงเขียนมาเพื่อ เตือนผู้ผลิตว่าควรมีคำเตือนเรื่องนี้ อย่างจริงจัง  เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค  และผู้ปกครองทั้งหลายจะได้ทราบไว้เป็นอุทาหรณ์    เพราะยามีคุณอนันต์  ก็มีโทษมหันต์ เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 157 เสียงผู้บริโภค

อยากซ่อม ไม่อยากขายซาก รถเกิดอุบัติเหตุก็ต้องซ่อม แม้จะเยินไปหน่อยแต่ก็เพิ่งซื้อมา ทำประกันชั้นหนึ่งด้วย อยู่ๆ จะให้ขายเป็นซากแบบไม่สมเหตุผลมันก็ทำใจลำบากอยู่ คุณผุสดี ซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดงมาหมาด พร้อมทำประกันภัยชั้น 1 ไว้กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในวงเงิน 650,000 บาท โชคร้ายรถประสบอุบัติเหตุ(โชคดีที่คนขับไม่บาดเจ็บมาก) ทางประกันภัยจึงมายกรถที่สภาพเสียหายค่อนข้างหนักไปเข้าศูนย์ซ่อม แต่ผ่านไป 4 เดือน รถไม่เคยถูกซ่อม ทางประกันภัยแจ้งว่าทางศูนย์ซ่อมที่ประกันฯ นำรถไปดำเนินการนั้นแจ้งราคาซ่อมเกินวงเงินประกันภัย จึงไม่สามารถซ่อมได้ ประกันฯ ขอรับซื้อซากรถแทน “แต่ดิฉันไม่ตกลงขายค่ะ เพราะสภาพมันซ่อมได้ ไม่ใช่ว่าซ่อมไม่ได้เลย ดิฉันจึงทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัทประกันฯ ว่าจะขอนำรถมาซ่อมที่อู่ ซึ่งดิฉันรู้จัก ซึ่งประกันก็ยินยอม แต่ว่ารถก็ยังไม่ได้รับการซ่อมอยู่ดี อู่บอกว่าประกันฯ ยังไม่ได้คุยว่าจะต้องซ่อมอะไร ยังไง พอดิฉันไปคุยกับประกันฯ ทางประกันบอกว่าจะติดต่อกับอู่เองโดยตรง ดิฉันไม่รู้จะทำยังไงดี รถคันนี้ต้องใช้ประกอบอาชีพด้วย ตอนนี้เดือดร้อนมาก”   แนวทางแก้ไขปัญหา เมื่อทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ติดต่อเจรจากับทางบริษัทประกันภัย ได้ความว่า รถของผู้บริโภคนั้น มีสภาพความเสียหาย(ที่ต้องซ่อมแซม) เกินกว่า 70% ซึ่งเข้าข่ายซ่อมไม่ได้ จึงได้เสนอคืนเงินประกันให้กับคุณผุสดี แต่ทางคุณผุสดีแจ้งว่า เงินที่ทางบริษัทประกันจะคืนให้นั้น ไม่พอปิดยอดไฟแนนซ์ ซึ่งจะต้องชำระค่าส่วนต่างอีกหลายหมื่นบาท และเมื่อดูรายการตามที่ทางช่างได้ประเมินเรื่องการซ่อมแล้ว คุณผุสดีเห็นว่า ช่างยืนยันว่าซ่อมได้ ทั้งยังไม่เกินวงเงินประกันด้วย ทางบริษัทประกันฯ น่าจะพิจารณาคุ้มครองการจ่ายค่าซ่อมแซมทั้งหมด   หลังการเจรจาเรื่องก็จบลงด้วยดีตามความประสงค์ของคุณผุสดีคือ ทางบริษัทประกันอนุมัติการซ่อม คุณผุสดีจึงขอบคุณทางศูนย์ฯ ที่ช่วยเรื่องการเจรจาในครั้งนี้     ปวดหัวกับพี่วิน ปัญหานี้มีทางออก ปัญหาที่มีร้องเรียนเข้ามามากมายอย่างต่อเนื่องของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ในหมวดบริการสาธารณะก็คือ ปัญหาจากการบริการของมอเตอร์ไซด์รับจ้าง หรือว่า พี่วิน ของเราท่านนั่นเอง ปัญหาที่ผู้บริโภคพบส่วนใหญ่คือ คิดราคาแพง เกินกว่าป้ายบอกราคา   หรือแพงกว่าที่ควรจะเป็น  ตั้งราคาเอง  วินเถื่อน  การปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารที่มีรูปร่างอวบอ้วน น้ำหนักตัวมาก กิริยา วาจา ไม่สุภาพ หรือบางรายเข้าข่ายลวนลามลูกค้าก็มี  เรื่องทำนองนี้มีมาเข้ามามิได้หยุดหย่อน แล้วเราจะทำอย่างไรกันดีเมื่อเจอกับปัญหาลักษณะนี้ คุณแสนดี เป็นผู้หนึ่งที่ใช้บริการมอเตอร์ไซด์รับจ้างอยู่เป็นประจำ เพราะบ้านพักอยู่ในซอยที่ค่อนข้างเปลี่ยวและลึก และวันหนึ่งเธอก็ใช้บริการตามปกติ กับวินเดิม แต่สิ่งที่ทำให้คุณแสนดีปรี๊ดแตกก็คือวันนั้นพี่วินไม่ยอมเข้าไปส่งเธอถึงบ้านพักเพราะอ้างว่า ซอยเปลี่ยวและดึกเกินไป ทั้งที่นาฬิกาข้อมือบอกเวลาที่ 19.00 น. เท่านั้น คุณแสนดีพยายามบอกให้คนขับเข้าไปส่งเพราะเธอไม่อยากเดินเข้าไปในซอยเพราะแม้ไม่ดึก แต่ก็มีคนงานตั้งวงดื่มสุรากันริมทาง เกรงจะไม่ปลอดภัย แต่คนขับก็ยืนยันไม่เข้าไปส่งท่าเดียว จนในที่สุดคุณแสนดีต้องจำใจเดินเข้าซอยท่ามกลางความหวาดระแวงตลอดทางจนถึงบ้าน แต่ด้วยความรอบคอบเธอสามารถจดจำหมายเลขทะเบียนรถ และหมายเลขเสื้อของคนขับได้ครบถ้วนจึงได้นำเรื่องมาปรึกษากับเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค   แนวทางแก้ไขปัญหา ถ้าท่านพบเจอเหตุการณ์เช่นเดียวกับคุณแสนดี หรือถูกเอาเปรียบในเรื่องอื่นๆ สามารถแก้ไขปัญหาได้ดังต่อไปนี้ -          จดจำรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่ตั้งวิน หมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขที่เสื้อคนขับ พื้นที่ให้บริการซึ่งจะระบุไว้ที่ตัวเสื้อ และช่วงเวลาที่เกิดเหตุ -          ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ควบคุม ดูแล ประกอบด้วย 1) ตำรวจ ท้องที่ที่เกิดเหตุ 2) สำนักงานเขต 3) กรมการขนส่งทางบก -          การร้องเรียน แจ้งเบาะแส พฤติกรรม ต้องดำเนินการทำเป็นลายลักษณ์อักษร จะเกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะสามารถติดตามการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆที่รับเรื่องร้องเรียนได้ด้วย หากไม่มีความคืบหน้าก็สามารถดำเนินการทางปกครองกับหน่วยงานเหล่านี้ตาม มาตรา 157 (ละเว้นปฏิบัติหน้าที่) ค่ะ   จุดสังเกตว่าเป็นมอเตอร์ไซด์รับจ้างที่ผิดกฎหมาย หรือ วินเถื่อน - ไม่มีการสวมเสื้อวิน - ไม่มีเบอร์ หรือหมายเลขปรากฎด้านหลัง - ไม่มีการระบุเขตพื้นที่การวิ่งรถ - ไม่มีการระบุชื่อ พนักงานขับรถที่หน้าอกเสื้อวิน หากพบว่า เป็นวินเถื่อน แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันที ว่าด้วยเรื่อง พ.ร.บ.รถ อีกสักที ปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางถนนสร้างความปวดหัว และปวดใจได้ไม่น้อยเลย ยิ่งในรายที่ประสบอุบัติเหตุแบบไม่ธรรมดา คือ ต้องไปข้องเกี่ยวกับรถที่ไม่ได้ทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือเรียกว่า พ.ร.บ.ภาคบังคับ หรือบางราย พ.ร.บ.หมดอายุ (พ.ร.บ. ขาด) แล้วใครล่ะที่จะมารับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล และค่าปลงศพ (กรณีเสียชีวิต)ให้กับผู้เสียหาย  เรื่องนี้มีคำตอบ กรณีที่ผู้เสียหาย 3 คน เดินกินลมชมวิวริมถนนอยู่ดีๆ ก็มีรถมาเฉี่ยวชน คนที่ 1 บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนคนที่ 2 บาดเจ็บเล็กน้อย คนที่ 3 เสียชีวิตคาที่  และบังเอิญ รถคันที่มาชนไม่ได้ทำ พ.ร.บ.ภาคบังคับเสียด้วย จะได้รับการชดเชยเยียวยาอะไรบ้าง การชดเชยในกรณีนี้ -          ทั้ง 3 คน สามารถใช้สิทธิจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ สามารถทำเรื่อง เบิกจ่ายได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) -          คนที่ 1 ทายาทจะได้รับเงิน จำนวน 35,000 บาท ซึ่งจะหัก ค่ารักษาพยาบาลตามจริงก่อนเสียชีวิต ด้วย ในรายที่รักษาเกินกว่า 35,000 บาท ก่อนเสียชีวิตก็เท่ากับว่าจะไม่ได้ค่าปลงศพนั่นเอง -          คนที่ 2 โรงพยาบาลจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท หากเกินจะสามารถใช้สิทธิที่ตนเองมีอยู่ เช่น ประกันสังคม ข้าราชการ หลักประกันสุขภาพ(บัตรทอง) -          คนที่ 3 ทายาทจะได้รับเงินค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท อีกกรณีคือเด็กชายอายุ 13 ปี ได้ขับรถมอเตอร์ไซด์ พาน้องสาวอายุ 9 ปี นั่งซ้อนท้ายมาด้วยกัน แล้วถูกรถยนต์เก๋งชน จนเป็นเหตุให้คนขับบาดเจ็บ ส่วนน้องสาวเสียชีวิตคาที่  ทั้ง พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซด์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย อ้างว่า เด็กชายคนดังกล่าวไม่มีใบขับขี่ การชดเชยในกรณีนี้ -          โปรดจำไว้ว่า แม้คนขับจะไม่มีใบขับขี่ก็ตาม จะได้รับจากชดเชยเยียวยาจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามปกติคือ ค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท แต่หากพิสูจน์ได้ว่า คู่กรณีเป็นฝ่ายผิดจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเป็นตามจริง ไม่เกิน 50,000 บาท  เพราะ เป็นกฎหมายคนละฉบับกัน หากคนขับไม่มีใบขับขี่จะถูกดำเนินการลงโทษจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยการเปรียบเทียบปรับในภายหลัง -          สำหรับคนซ้อน ถือเป็นบุคคลภายนอก ไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซด์ทันที ที่ 200,000 บาท -          หากไม่สามารถตกลงกันได้ สามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)   ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ค่ารักษาพยาบาล ตามจริง ไม่เกิน 50,000 บาท ค่าปลงศพ จำนวน 200,000 บาท ค่าชดเชยกรณีนอนโรงพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องมีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หากไม่ทำจะมีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถเก็บรักษาหลักฐานแสดงการมีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถไว้ให้พร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาที่ใช้รถ เว้นแต่กรณีรถคันดังกล่าวได้จดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปีแล้ว       //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 อยากซ่อม ไม่อยากขายซาก

รถเกิดอุบัติเหตุก็ต้องซ่อม แม้จะเยินไปหน่อยแต่ก็เพิ่งซื้อมา ทำประกันชั้นหนึ่งด้วย อยู่ๆ จะให้ขายเป็นซากแบบไม่สมเหตุผลมันก็ทำใจลำบากอยู่คุณผุสดี ซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดงมาหมาด พร้อมทำประกันภัยชั้น 1 ไว้กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ในวงเงิน 650,000 บาท โชคร้ายรถประสบอุบัติเหตุ(โชคดีที่คนขับไม่บาดเจ็บมาก) ทางประกันภัยจึงมายกรถที่สภาพเสียหายค่อนข้างหนักไปเข้าศูนย์ซ่อมแต่ผ่านไป 4 เดือน รถไม่เคยถูกซ่อม ทางประกันภัยแจ้งว่าทางศูนย์ซ่อมที่ประกันฯ นำรถไปดำเนินการนั้นแจ้งราคาซ่อมเกินวงเงินประกันภัย จึงไม่สามารถซ่อมได้ ประกันฯ ขอรับซื้อซากรถแทน “แต่ดิฉันไม่ตกลงขายค่ะ เพราะสภาพมันซ่อมได้ ไม่ใช่ว่าซ่อมไม่ได้เลย ดิฉันจึงทำหนังสือแจ้งไปยังบริษัทประกันฯ ว่าจะขอนำรถมาซ่อมที่อู่ ซึ่งดิฉันรู้จัก ซึ่งประกันก็ยินยอม แต่ว่ารถก็ยังไม่ได้รับการซ่อมอยู่ดี อู่บอกว่าประกันฯ ยังไม่ได้คุยว่าจะต้องซ่อมอะไร ยังไง พอดิฉันไปคุยกับประกันฯ ทางประกันบอกว่าจะติดต่อกับอู่เองโดยตรง ดิฉันไม่รู้จะทำยังไงดี รถคันนี้ต้องใช้ประกอบอาชีพด้วย ตอนนี้เดือดร้อนมาก” แนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ติดต่อเจรจากับทางบริษัทประกันภัย ได้ความว่า รถของผู้บริโภคนั้น มีสภาพความเสียหาย(ที่ต้องซ่อมแซม) เกินกว่า 70% ซึ่งเข้าข่ายซ่อมไม่ได้ จึงได้เสนอคืนเงินประกันให้กับคุณผุสดี แต่ทางคุณผุสดีแจ้งว่า เงินที่ทางบริษัทประกันจะคืนให้นั้น ไม่พอปิดยอดไฟแนนซ์ ซึ่งจะต้องชำระค่าส่วนต่างอีกหลายหมื่นบาท และเมื่อดูรายการตามที่ทางช่างได้ประเมินเรื่องการซ่อมแล้ว คุณผุสดีเห็นว่า ช่างยืนยันว่าซ่อมได้ ทั้งยังไม่เกินวงเงินประกันด้วย ทางบริษัทประกันฯ น่าจะพิจารณาคุ้มครองการจ่ายค่าซ่อมแซมทั้งหมดหลังการเจรจาเรื่องก็จบลงด้วยดีตามความประสงค์ของคุณผุสดีคือ ทางบริษัทประกันอนุมัติการซ่อม คุณผุสดีจึงขอบคุณทางศูนย์ฯ ที่ช่วยเรื่องการเจรจาในครั้งนี้ //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 ปวดหัวกับพี่วิน ปัญหานี้มีทางออก

ปัญหาที่มีร้องเรียนเข้ามามากมายอย่างต่อเนื่องของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ในหมวดบริการสาธารณะก็คือ ปัญหาจากการบริการของมอเตอร์ไซด์รับจ้าง หรือว่า พี่วิน ของเราท่านนั่นเองปัญหาที่ผู้บริโภคพบส่วนใหญ่คือ คิดราคาแพง เกินกว่าป้ายบอกราคา   หรือแพงกว่าที่ควรจะเป็น  ตั้งราคาเอง  วินเถื่อน  การปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารที่มีรูปร่างอวบอ้วน น้ำหนักตัวมาก กิริยา วาจา ไม่สุภาพ หรือบางรายเข้าข่ายลวนลามลูกค้าก็มี  เรื่องทำนองนี้มีมาเข้ามามิได้หยุดหย่อน แล้วเราจะทำอย่างไรกันดีเมื่อเจอกับปัญหาลักษณะนี้คุณแสนดี เป็นผู้หนึ่งที่ใช้บริการมอเตอร์ไซด์รับจ้างอยู่เป็นประจำ เพราะบ้านพักอยู่ในซอยที่ค่อนข้างเปลี่ยวและลึก และวันหนึ่งเธอก็ใช้บริการตามปกติ กับวินเดิม แต่สิ่งที่ทำให้คุณแสนดีปรี๊ดแตกก็คือวันนั้นพี่วินไม่ยอมเข้าไปส่งเธอถึงบ้านพักเพราะอ้างว่า ซอยเปลี่ยวและดึกเกินไป ทั้งที่นาฬิกาข้อมือบอกเวลาที่ 19.00 น. เท่านั้นคุณแสนดีพยายามบอกให้คนขับเข้าไปส่งเพราะเธอไม่อยากเดินเข้าไปในซอยเพราะแม้ไม่ดึก แต่ก็มีคนงานตั้งวงดื่มสุรากันริมทาง เกรงจะไม่ปลอดภัย แต่คนขับก็ยืนยันไม่เข้าไปส่งท่าเดียว จนในที่สุดคุณแสนดีต้องจำใจเดินเข้าซอยท่ามกลางความหวาดระแวงตลอดทางจนถึงบ้าน แต่ด้วยความรอบคอบเธอสามารถจดจำหมายเลขทะเบียนรถ และหมายเลขเสื้อของคนขับได้ครบถ้วนจึงได้นำเรื่องมาปรึกษากับเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหา ถ้าท่านพบเจอเหตุการณ์เช่นเดียวกับคุณแสนดี หรือถูกเอาเปรียบในเรื่องอื่นๆ สามารถแก้ไขปัญหาได้ดังต่อไปนี้ -  จดจำรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่ตั้งวิน หมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขที่เสื้อคนขับ พื้นที่ให้บริการซึ่งจะระบุไว้ที่ตัวเสื้อ และช่วงเวลาที่เกิดเหตุ -  ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ควบคุม ดูแล ประกอบด้วย1) ตำรวจ ท้องที่ที่เกิดเหตุ 2) สำนักงานเขต 3) กรมการขนส่งทางบก -  การร้องเรียน แจ้งเบาะแส พฤติกรรม ต้องดำเนินการทำเป็นลายลักษณ์อักษร จะเกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะสามารถติดตามการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆที่รับเรื่องร้องเรียนได้ด้วย หากไม่มีความคืบหน้าก็สามารถดำเนินการทางปกครองกับหน่วยงานเหล่านี้ตาม มาตรา 157 (ละเว้นปฏิบัติหน้าที่) ค่ะ   จุดสังเกตว่าเป็นมอเตอร์ไซด์รับจ้างที่ผิดกฎหมาย หรือ วินเถื่อน - ไม่มีการสวมเสื้อวิน - ไม่มีเบอร์ หรือหมายเลขปรากฎด้านหลัง - ไม่มีการระบุเขตพื้นที่การวิ่งรถ - ไม่มีการระบุชื่อ พนักงานขับรถที่หน้าอกเสื้อวิน หากพบว่า เป็นวินเถื่อน แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันที     //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 ว่าด้วยเรื่อง พ.ร.บ.รถ อีกสักที

ปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางถนนสร้างความปวดหัว และปวดใจได้ไม่น้อยเลย ยิ่งในรายที่ประสบอุบัติเหตุแบบไม่ธรรมดา คือ ต้องไปข้องเกี่ยวกับรถที่ไม่ได้ทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือเรียกว่า พ.ร.บ.ภาคบังคับ หรือบางราย พ.ร.บ.หมดอายุ (พ.ร.บ. ขาด) แล้วใครล่ะที่จะมารับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล และค่าปลงศพ (กรณีเสียชีวิต)ให้กับผู้เสียหาย  เรื่องนี้มีคำตอบกรณีที่ผู้เสียหาย 3 คน เดินกินลมชมวิวริมถนนอยู่ดีๆ ก็มีรถมาเฉี่ยวชน คนที่ 1 บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนคนที่ 2 บาดเจ็บเล็กน้อย คนที่ 3 เสียชีวิตคาที่  และบังเอิญ รถคันที่มาชนไม่ได้ทำ พ.ร.บ.ภาคบังคับเสียด้วย จะได้รับการชดเชยเยียวยาอะไรบ้างการชดเชยในกรณีนี้ -  ทั้ง 3 คน สามารถใช้สิทธิจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ สามารถทำเรื่อง เบิกจ่ายได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) -  คนที่ 1 ทายาทจะได้รับเงิน จำนวน 35,000 บาท ซึ่งจะหัก ค่ารักษาพยาบาลตามจริงก่อนเสียชีวิต ด้วย ในรายที่รักษาเกินกว่า 35,000 บาท ก่อนเสียชีวิตก็เท่ากับว่าจะไม่ได้ค่าปลงศพนั่นเอง -  คนที่ 2 โรงพยาบาลจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท หากเกินจะสามารถใช้สิทธิที่ตนเองมีอยู่ เช่น ประกันสังคม ข้าราชการ หลักประกันสุขภาพ(บัตรทอง) -  คนที่ 3 ทายาทจะได้รับเงินค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาทอีกกรณีคือเด็กชายอายุ 13 ปี ได้ขับรถมอเตอร์ไซด์ พาน้องสาวอายุ 9 ปี นั่งซ้อนท้ายมาด้วยกัน แล้วถูกรถยนต์เก๋งชน จนเป็นเหตุให้คนขับบาดเจ็บ ส่วนน้องสาวเสียชีวิตคาที่  ทั้ง พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซด์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย อ้างว่า เด็กชายคนดังกล่าวไม่มีใบขับขี่การชดเชยในกรณีนี้ -  โปรดจำไว้ว่า แม้คนขับจะไม่มีใบขับขี่ก็ตาม จะได้รับจากชดเชยเยียวยาจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามปกติคือ ค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท แต่หากพิสูจน์ได้ว่า คู่กรณีเป็นฝ่ายผิดจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเป็นตามจริง ไม่เกิน 50,000 บาท  เพราะ เป็นกฎหมายคนละฉบับกัน หากคนขับไม่มีใบขับขี่จะถูกดำเนินการลงโทษจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยการเปรียบเทียบปรับในภายหลัง - สำหรับคนซ้อน ถือเป็นบุคคลภายนอก ไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซด์ทันที ที่ 200,000 บาท - หากไม่สามารถตกลงกันได้ สามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)   ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ค่ารักษาพยาบาล ตามจริง ไม่เกิน 50,000 บาท ค่าปลงศพ จำนวน 200,000 บาท ค่าชดเชยกรณีนอนโรงพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องมีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หากไม่ทำจะมีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถเก็บรักษาหลักฐานแสดงการมีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถไว้ให้พร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาที่ใช้รถ เว้นแต่กรณีรถคันดังกล่าวได้จดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปีแล้ว   //

อ่านเพิ่มเติม >