ฉบับที่ 147 น้ำยาบ้วนปาก

  ที่ผ่านมาตลาดน้ำยาบ้วนปากมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีแบรนด์หรือผู้ผลิตอยู่ไม่กี่ราย แต่ถ้าดูจากโฆษณาที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ณ ปัจจุบันต้องบอกว่า ดุเดือดเอาเรื่อง และมีผลิตภัณฑ์ออกมาหลากหลายชนิดมากจนสร้างความสับสนให้ผู้บริโภค ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้อะไรดี หรือไม่ต้องใช้ได้ไหม ฉลาดซื้อจึงอาสาพาไปสำรวจตลาดน้ำยาบ้วนปากกันสักครั้ง  เพื่อไว้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ น้ำยาบ้วนปากจำเป็นหรือไม่จำเป็น ถ้านำคำถามเรื่อง จำเป็นไม่จำเป็น ไปถามทันตแพทย์ ก็จะได้คำตอบทั้งจำเป็นและไม่จำเป็น โดยมีปัจจัยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันมาเป็นตัวตัดสิน กล่าวคือ หากคุณแปรงฟันได้ถูกวิธี ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ น้ำยาบ้วนปากก็ไม่มีความจำเป็นอะไรเลย แต่ถ้าคุณจัดอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อภาวะฟันผุ โรคเหงือกอักเสบและแปรงฟันไม่ค่อยถูกวิธี น้ำยาบ้วนปากก็เป็นอะไรที่ช่วยเสริมในการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากได้บ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดปัญหาในช่องปาก ไม่ว่าจะฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมีกลิ่นปาก (ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนหันมาใช้น้ำยาบ้วนปากนั้น) คุณต้องพบทันตแพทย์เพื่อรักษาอาการเหล่านั้นที่ต้นเหตุเสียก่อน เพราะน้ำยาบ้วนปากไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย หากไม่รักษาให้ถูกวิธี   ประเภทของน้ำยาบ้วนปาก การสำรวจตลาดทั่วไปจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อ ฉลาดซื้อพบผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากหลากหลายมาก ซึ่งแบ่งประเภทออกมาได้ห้ากลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย  2) กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์  3) กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น ลดการเสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) 4) กลุ่มสำหรับเด็ก และ 5) ครอบจักรวาล คือรวมกลุ่ม 1 – 3 ไว้ในขวดเดียวกัน   กลุ่มที่ช่วยกลบกลิ่นและสร้างความสดชื่นในช่องปากด้วยน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมที่ได้จากน้ำยาบ้วนปากในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil)  ซึ่งไม่เพียงให้กลิ่นหอมและความรู้สึกเย็นสดชื่น ยังมีฤทธิ์ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ด้วย โดยน้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้ได้แก่ Methyl Salicylate, Thymol,  Menthol, Eucalyptol, Peppermint oil,  Clove oil(น้ำมันกานพลู) เป็นต้น น้ำยาบ้วนปากกลุ่มนี้ช่วยกลบกลิ่นปากได้ราว 2 - 3 ชั่วโมงหลังใช้(เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค) แต่กลิ่นหอมที่เกิดจากน้ำยาบ้วนปากจะอยู่ได้ไม่นานประมาณ 20 นาทีก็จะจางไป เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยจะออกฤทธิ์ได้ดีในแอลกอฮอล์ น้ำยาบ้วนปากกลุ่มนี้จึงผสมแอลกอฮอล์ในความเข้มข้นที่ 10 - 30 % ซึ่งทำให้เกิดภาวะแสบร้อนที่ไม่พึงประสงค์ หลายคนจึงใช้น้ำยาบ้วนปากได้ไม่นานเท่าที่คำแนะนำระบุ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพลดลงไป  ปัจจุบันจึงมีสูตรไร้แอลกอฮอล์ออกมาเป็นทางเลือก ยาสีฟันในกลุ่มนี้ไม่มีผลในการลดภาวะฟันผุ   ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) มีแอลกอฮอล์ผสม ลิสเตอรีน เฟรช ซิทรัส   250 65 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol     20/30 5.20 มี ลิสเตอรีน คูลมินต์   250 65 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol   20/30 5.20 มี มายบาซิน คลูมินต์   250 51 Thymol Menthol Methyl Salicylate Eucalyptol Mentha viridis (spearmint) 15-20/30 4.08 มี มายบาซิน สูตรเข้มข้น(ผสมน้ำก่อนใช้) ออริจินอล   1000 98 Thymol Menthol Eucalyptol Methyl Salicylate   ผสมน้ำก่อนใช้หรือ ครั้งละ 4 ช้อนชา(20 ซีซี)/30 1.96 ไม่ระบุบนฉลาก* มายบาซิน รสชาเขียวผสมฝรั่ง สูตรโฟร์ ทเวนตี้โฟร์อาวส์   500 99 Thymol Menthol Eucalyptol   Guava Leaf,Green Tea, Aloe Vera Extracts 15-20/30 3.96 มี มายบาซิน เฟรช ออเร็นจ์   750 116 Thymol Eucalyptol Methyl Salicylate Menthol   Natural orange extract 15-20/30 3.09 ไม่ระบุบนฉลาก* ซิสเท็มมา บลูคาริบเบียน   250 54 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract     10/30 2.16 มี ซิสเท็มมา กรีนฟอเรสต์   250 54 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract   10/20 2.16 ไม่มี ซิสเท็มมา สูตร Quick care   500 100 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract   10/20 2 มี เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก คูลมินท์   250 46 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol   20/30 3.68 มี เดนทิสเต้   190 139 Menthol Eucalyptol เสจ(Sage Extract) น้ำมันกานพลู(Clove oil)   1 ฝา 7.3 (10 มล.) ไม่มี ดอกบัวคู่ สูตรกานพลู   250 75 Menthol น้ำมันกานพลู(Clove oil) เสจ(Sage Extract) สารสกัดจากชะเอมเทศ(Glycyrrhizic Acid) 15-20/30 6 ไม่มี   หมายเหตุ น้ำยาบ้วนปากที่มี Thymol (ไธมอล) เป็นองค์ประกอบ มักพบว่าเป็นชนิดที่มีแอลกอฮอล์ผสมในปริมาณค่อนข้างสูง (เพื่อช่วยในการละลายของไธมอลที่ละลายได้ไม่ดีในน้ำ)  จึงไม่ควรใช้บ่อยหรือในปริมาณมากกว่าที่กำหนด   และอย่าเผลอกลืนเพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกต่าง ๆ ได้   กลุ่มที่ผสมสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับฟลูออไรด์ การเติมสารฆ่าเชื้อหรือระงับเชื้อจุลินทรีย์ลงในน้ำยาบ้วนปากก็เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ในปากลง เนื่องจากจุลินทรีย์ก่อให้เกิดกลิ่นปาก แต่ถ้าใช้ไม่ถูกต้องคือใช้ในระยะเวลาที่ไม่นานพอที่สารจะถูกดูดซับไว้ในช่องปาก ก็แทบไม่มีผลอะไรในการระงับเชื้อ ดังนั้นต้องใช้ให้ตรงตามคำแนะนำ ปัจจุบันสารฆ่าเชื้อหรือระงับเชื้อที่นิยมใช้  ได้แก่ กลุ่มน้ำมันหอมระเหย อย่าง ไธมอล หรือ เมนทอล  และกลุ่ม Quaternary ammonium salts  ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีและไม่เป็นพิษ ในความเข้มข้นที่ใช้(ไม่เกิน 0.5%) ตัวที่ควรรู้จัก คือ  Cetylpyridinum chloride (เซธิลไพริดิเนียม คลอไรด์) น้ำยาบ้วนปากสูตรไร้แอลกอฮอล์ หรือที่โฆษณาว่า สดชื่นไม่แสบปาก จะนิยมใส่สาร  Cetylpyridinum chloride เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อ แทนการใช้กลุ่มน้ำมันหอมระเหยที่จะออกฤทธิ์ได้ไม่ดีหากไม่ใช้แอลกอฮอล์ในการทำละลาย ส่วนข้อเสียของ Cetylpyridinum chloride คือจะให้รสขมติดปาก ดังนั้นในการผลิตจึงต้องมีการใส่วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลเพื่อช่วยปรับรสชาติ สำหรับฟลูออไรด์ที่ผสมในน้ำยาบ้วนปาก จะมีผลในการป้องกันฟันผุได้จริง แต่ต้องใช้ให้ถูกต้อง คือ อมหรือกลั้วปากให้นานอย่างน้อย 1 นาที และไม่บ้วนน้ำตาม (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไม่ควรดื่มน้ำหรือกินอาหารหลังการบ้วนปากเป็นเวลา 30 นาทีด้วย) น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ซึ่งเป็นคำเตือนที่ต้องระบุไว้บนฉลากสินค้า ปกติคนเราจะได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่มและยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์อยู่แล้ว(เพราะเราแปรงฟันทุกวัน) การรับเพิ่มจากน้ำยาบ้วนปากก็มีข้อต้องระวังคือ หากรับฟลูออไรด์มากไป อาจเกิดปัญหาฟันตกกระได้ แต่สำหรับในคนที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่าย เช่น มีฟันผุเกิดขึ้นใหม่ทุกปี ต้องไปอุดฟันบ่อยๆ หรือคนที่กินขนมหวาน น้ำอัดลมมากๆ  การแปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์อย่างเดียวอาจไม่พอ ก็สามารถเพิ่มน้ำยาบ้วนปากที่ผสมฟลูออไรด์ได้ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเหงือกร่น การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ร่วมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์จะป้องกันฟันผุที่รากฟันได้ด้วยเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ลิสเตอรีน (Listerine) ทีธ แอนด์ กัม โพรเทคชัน   250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Sodium fluoride 20/30 5.72 มี ลิสเตอรีน (Listerine) เนเชอรัล กรีนที   250 72 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Camellia Sinensis(Green Tea) Sodium fluoride 20/30 5.76 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เฟรชที   250 61 Cetylpyridinum chloride Menthol Camellia Sinensis(Green Tea) Sodium fluoride 20/30 4.88 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เกลือสมุนไพร   250 65 Sodium Chloride Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride 20/30 5.2 มี คอลเกต พลักซ์ ไอซ์   250 69 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride   20/30 5.52 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ ฟรุ้ตตี้   250 65 Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride       20/30 5.2 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เฟรชมินท์   250 65 Cetylpyridinum chloride Menthol Sodium fluoride       20/30 5.2 ไม่มี ฟลูโอคารีล 0% แอลกอฮอล์ พลัส ซีพีซี 500 95 Cetylpyridinum chloride   Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate   10-15/30-60 1.9(10 มล.) ไม่มี ฟลูโอคารีล เอ็กซ์ตร้า เซ็นซิทีฟ พีเอช เฟอร์เฟค   500 105 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol   Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate     10-15/60 2.1(10 มล.) มี ฟลูโอคารีล ออร์โธ 123   500 98.50 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate   10 -15/120     1.97(10 มล.) ไม่มี ออรัล บี โปรเฮลธ์ ทูธแอนด์กัมแคร์ เฟรชมิ้นต์ 350 99 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride   15/30 4.2 ไม่มี ออรัล บี โปรเฮลธ์ ทูธแอนด์กัมแคร์ สเปียร์มิ้นต์ 500 128 Cetylpyridinum chloride Sodium fluoride   15/30 3.84 ไม่มี ออรัลเมด ชัวร์มิ้นต์ คูล   480 98 Menthol Eucalyptol Methyl Salicylate Cetylpyridinum chloride Propolis Extract Sodium fluoride   1-2 ฝา 2.04(10 มล.) ไม่มี   3.กลุ่มที่ผสมสารเพื่อลดปัญหาในช่องปากบางประการ เช่น เสียวฟัน ลดคราบหินปูน(ฟันขาว) ในการสำรวจพบว่า น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มที่ลดอาการเสียวฟัน จะใช้สาร Potassium Nitrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ร่วมกับการใช้สารฆ่าเชื้อ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันได้ แต่ไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการเสียวฟันซึ่งส่อให้เห็นว่าสุขภาพฟันกำลังมีปัญหา ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุด้วย ส่วนกลุ่มที่ลดคราบหินปูน และช่วยลดคราบต่างๆ ที่มาติดฟันจนดูเหมือนว่าช่วยทำให้ฟันขาวขึ้น นิยมใช้ สาร Zinc Chloride,  Zinc Lactate หรือ Zinc Citrate เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ลิสเตอรีน (Listerine) ไบรท์ & คลีน   250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride   20/30 5.72 มี ลิสเตอรีน (Listerine) ทาร์ทาร์ โพรเทคชัน   250 71.50 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride   20/30 5.72 มี มายบาซิน สูตรทาร์ทาร์คอนโทรล 250 52 Thymol Methyl Salicylate Menthol Spearmint l Eucalyptol Zinc lactate   15-20/30 4.16 มี มายบาซิน สูตรไวท์ โพรเทคชั่น   500 86 Methyl Salicylate Eucalyptol Menthol spearmint peppermint Zinc lactate   15-20/30 3.44 ไม่มี คอลเกต พลักซ์ เนเชอรัล ไวท์   500 119 Tetrapotassium Pyrophosphate Zinc Citrate       20/30 4.76 มี ซิสเท็มมา มิดไนท์ แฟนตาซี   500 95 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract Zinc Lactate   10/20 1.9 มี ซิสเท็มมา มิดไนท์ พาราไดซ์   500 95 Dipotassium Glycyrrhiznate(สารสกัดจากชะเอมเทศ)   mansaku extract Zinc Lactate   10/20 1.9 มี เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก ทาร์ทาร์ โพรเทคชั่น   250 52 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride   20/30 4.16 มี อีโมฟอร์ม   240 98 Sodium chloride Potassium Nitrate   1 ฝาผสมน้ำครึ่งแก้ว บ้วนปากวันละ 1-3 ครั้ง 4.08(10 มล.) ไม่มี   4.น้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็ก กลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันฟันผุสำหรับเด็ก สารออกฤทธิ์ตัวสำคัญจึงเป็น สารฟลูออไรด์ ซึ่งจะไม่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และไม่มีแอลกอฮอล์ผสม และเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดปัจจุบันแทบไม่มีที่ผสมแต่เพียงฟลูออไรด์อย่างเดียวโดยไม่ผสมสารฆ่าเชื้อร่วมด้วย ดังนั้นหากไม่ต้องการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้องการแต่ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุอย่างเดียว ก็สามารถเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากในกลุ่มสำหรับเด็กได้ ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี และสำหรับเด็กที่ฟันผุมาก ผู้ปกครองอาจเสริมด้วยน้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็กหลังการแปรงฟันได้ แต่ถ้าเด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดีแล้ว น้ำยาบ้วนปากก็ไม่จำเป็น   ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ ฟลูโอคารีล คิดส์ 6+ กรีน (เบนเท็น)   250 59 Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10/60 2.36 ไม่มี ออรัลเมด คิด ทุตตี้ ฟรุตตี้   240 42.50 Sodium fluoride   Sodium monofluorophosphate 1 ฝา 0.04(10 มล.) ไม่มี   5.กลุ่มครอบจักรวาล(Total care) กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า โทเทิล แคร์ คือดูแลหมดทุกสิ่งอย่าง ทั้งฆ่าเชื้อ ทำให้ปากสดชื่น ป้องกันฟันผุ ลดคราบหินปูน และลดเสียวฟัน ซึ่งไม่จำเป็นเท่าไหร่ ควรเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการดีกว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ขนาด มล. ราคา(บาท) สารออกฤทธิ์สำคัญ ปริมาณการใช้ ครั้งละ มล./วินาที ราคาในการใช้/ครั้ง(บาท) แอลกอฮอล์ เทสโก้ น้ำยาบ้วนปาก โทเทิล แคร์   250 61 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Zinc Chloride Sodium fluoride ไม่มีคำเตือนว่ามีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 20/30 4.88 มี มายบาซิน โททอล 15   500 99 Thymol Methyl Salicylate Menthol Eucalyptol Zinc lactate Sodium fluoride 15-20/30 3.96 มี ฟลูโอคารีล 40+เนเจอร์แคร์   500 105 Potassium Nitrate Sodium fluoride Sodium monofluorophosphate 10-15/60 2.1 มี คอลเกต เซนซิทีฟ โปรรีลีฟ   400 119 ส่วนผสมของอาร์จินีนและแคลเซียมคาร์บอเนต Sodium fluoride 20/30 5.95 มี ลิสเตอรีน (Listerine) โทเทิลแคร์ เซนซิทีฟ   250 83 Eucalyptol Methyl Salicylate Thymol Menthol Potassium Nitrate Sodium fluoride     20/30 6.64 มี   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ที่มาของน้ำยาบ้วนปาก จากหนังสือพิมพ์ Periodontology 2000 กล่าวไว้ว่าน้ำยาบ้วนปากตัวแรกเกิดขึ้นที่ประเทศจีนประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นการรักษาปัญหากลิ่นปากเรื้อรังที่เกิดจากโรคเหงือกอักเสบ แพทย์ได้แนะนำให้กลั้วปากด้วยปัสสาวะเด็ก ที่กรีก ฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ แนะนำให้กลั้วปากด้วยส่วนผสมของเกลือ สารส้มและน้ำส้มสายชู ในคู่มือทันตกรรมที่มีชื่อเสียง ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1530 ได้เขียนถึงสิ่งที่ทำงานใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปากในปัจจุบัน โดยระบุว่า “หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้กลั้วปากด้วยไวน์หรือเบียร์เพื่อชะล้างสิ่งที่ติดฟันและทำให้ฟันผุ ผลิตกลิ่นเหม็นและทำลายฟัน” ย้อนไปปี ค.ศ. 1895 เมื่อ Joseph and Jordan Lambert นำของเหลวที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่นำมาจากการผ่าตัดและไปผลิตเป็นน้ำยาบ้วนปาก การผสมผสานของ thymol, menthol, eucalyptol และ methyl salicylate จึงเกิดขึ้น นักธุรกิจคู่นี้ใช้ชื่อน้ำยาบ้วนปากว่า Listerine  และขายให้แก่ทันตแพทย์ในปีนั้นเอง “Listerine ถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 19 เพื่อฆ่าเชื้อโรค มันถูกกลั่นออกมาในรูปแบบของน้ำยาทำความสะอาดพื้นและรักษาโรคหนองใน” ที่มา  http://therabreaththailand.com/article10.php   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------   แอลกอฮอล์ในน้ำยาบ้วนปาก เคยมีผู้สงสัยว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งในช่องปากหรือไม่ เพราะโรคมะเร็งในช่องปากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ รองลงมาคือ การดื่มแอลกอฮอล์มากๆ  ณ ปัจจุบันผลการวิจัยที่ออกมายังไม่สามารถฟันธงได้ เพราะผลการวิจัยก็มีทั้งที่ระบุว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง และระบุว่าไม่เป็นปัจจัยเสี่ยง ในประเทศไทยจึงยังไม่มีการสรุปในเรื่องนี้ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องประชุมกันได้มีข้อแนะนำว่าสำหรับคนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากอยู่แล้ว ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสม   ประสิทธิภาพในการลดกลิ่นปาก จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดกลิ่นปากได้ชั่วคราว โดยจะควบคุมกลิ่นปากได้ประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ใช่ใช้ตอนเช้าควบคุมได้ไปจนถึงเย็น เพราะฉะนั้นอาจใช้น้ำยาบ้วนปากได้เป็นครั้งคราวกรณีที่ต้องการความมั่นใจ แต่ถ้าจะใช้เพื่อระงับกลิ่นปาก ป้องกันไม่ให้มีกลิ่นปาก ควรที่จะป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การทำความสะอาดลิ้น เพราะฝ้าขาวบนลิ้นเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นปาก ขณะเดียวกันควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน ถ้ามีกลิ่นปากก็ต้องหาสาเหตุว่ามาจากตรงไหน เช่น ฟันผุ เป็นโรคเหงือก โรคระบบทางเดินอาหาร ทอนซิลอักเสบ หรือ ไซนัส ก็ควรแก้ที่ต้นเหตุจะดีกว่า เพราะน้ำยาบ้วนปากแค่ระงับกลิ่นปากชั่วคราวแต่ไม่ได้แก้ที่สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก   น้ำยาบ้วนปากกับเด็ก เด็กไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำยาบ้วนปาก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเลยทุกประเภท ไม่ว่าจะมีแอลกอฮอล์หรือไม่มีแอลกอฮอล์ เพราะการควบคุมการกลืนยังไม่ดี ขณะที่บ้วนปากเด็กอาจกลืนกินน้ำยาบ้วนปากลงไปด้วย น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสมจึงมีคำเตือนห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ความจริงน้ำยาบ้วนปากของเด็กมักจะใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ โดยผู้ปกครองจะซื้อให้เด็กใช้ในกรณีที่ลูกฟันผุมาก ๆ แต่อยากจะบอกว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้หากให้เด็กแปรงฟันให้สะอาด ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์   ข้อมูลจาก ทันตแพทย์หญิงนนทินี ตั้งเจริญดี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่มา http://202.183.204.137/km/?p=558

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 ช้อนตวงยา อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

  การกินยาสำหรับเด็กๆ อาจเป็นเรื่องยากและลำบากใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่ “ยาน้ำ” จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเด็กๆ หรือคนที่ไม่ชอบกินยาเม็ดหรือแคปซูล ซึ่งการกินยาน้ำแม้จะดูเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็ข้อพึ่งระวัง โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองข้ามอย่าง “ช้อนและถ้วยตวงยา” ด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และผู้ผลิตยาที่มีอยู่มากมายในท้องตลาด จึงทำให้ลักษณะของช้อนและถ้วยตวงยาก็มีความหลากหลายทั้ง ขนาด รูปทรง วัสดุ ซึ่งความแตกต่างทั้งหมดของช้อนและถ้วยตวงยาที่กล่าวมาอาจมีผลต่อปริมาณของยาที่รับประทาน และอาจกลายเป็นผลเสียกับร่างกาย ฉลาดซื้อ จึงอยากชวนทุกคนใส่ใจและให้ความสำคัญกับช้อนและถ้วยตวงยาน้ำมากขึ้น ด้วยผลทดสอบความจุของช้อนและถ้วยตวงยาพลาสติก โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม มาดูกันซิว่าช้อนและถ้วยตวงยาที่เราใช้กันอยู่ได้มาตรฐานหรือเปล่า      ตารางแสดงผลทดสอบความจุของช้อนตวงยาพลาสติก ที่ปริมาตร 5 มิลลิลิตร ในยาน้ำสำหรับเด็ก      เครื่องหมายถูก = มี     เครื่องหมาย x = ไม่มี ผลทดสอบโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงครามหมายเหตุ : * ทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่มีจำหน่ายในร้านยา จังหวัดสมุทรสงคราม **  ตามเกณฑ์มาตรฐานช้อนตวงยาพลาสติกของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ มอก. 1411-2540 ***ผลทดสอบปริมาตรถ้วยตวงยา Dimetapp ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน เนื่องจากตัวอย่างถ้วยยาพลาสติกของตัวอย่าง lot การผลิตเดียวกัน มีความจุแตกต่างกันมาก มีทั้งผ่านมาตรฐาน และไม่ผ่านมาตรฐาน   สรุปผลทดสอบ - ตัวอย่างช้อนตวงยาพลาสติกที่นำมาทดสอบ มี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ รูปแบบช้อน และรูปแบบถ้วย ซึ่ง ช้อนยาตวงพลาสติกในรูปแบบถ้วยยานั้น ไม่เข้ามาตรฐานถ้วยตวงยาพลาสติกของ มอก. เนื่องจากมีปริมาตรสุทธิ ไม่ถึง 30 มิลลิลิตร ในการทดสอบนี้จึงใช้เกณฑ์มาตรฐานความจุของช้อนตวงยาพลาสติกโดยไม่สนใจลักษณะทางกายภาพ (คำนิยามของช้อนตวงยาพลาสติกของ มอก. หมายถึง ช้อนพลาสติกมีด้ามจับ ใช้สำหรับตวงยาน้ำเพื่อรับประทาน) - ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของช้อนตวงยาพลาสติก  มอก. ที่ 1411-2540 ระบุ ให้ช้อนตวงยาพลาสติกขนาด 1 ช้อนชา มีความจุ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร (มิลลิลิตร หรือซี.ซี.) โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ ± 0.25 ลูกบาศก์เซนติเมตร นั่นเท่ากับว่า ช้อนตวงยา 1 ช้อนชา มีความจุอยู่ระหว่าง 4.75 – 5.25 มิลลิลิตร - ช้อนตวงยาพลาสติกส่วนใหญ่ มีปริมาตรความจุ เกินกว่า 5 มิลลิลิตร ยกเว้น ช้อนตวงยาของยาที่มีช่วงการรักษาแคบ ที่มีปริมาตรความจุสุดท้ายน้อยกว่า 5 มิลลิลิตร - ตัวอย่างช้อนตวงยาพลาสติกที่ทำการทดสอบมีทั้งหมด 17 ตัวอย่าง แบ่งเป็นรูปแบบช้อนยา 12 ตัวอย่าง และรูปแบบถ้วยยาจำนวน 5 ตัวอย่าง โดยการทดสอบ ผู้ทดสอบจะไม่ทราบว่า ช้อนมีเลขรหัสการผลิตหรือไม่อย่างไร ผู้แปรผลสุดท้ายจะทราบรายละเอียดทั้งหมดของช้อน ซึ่งพบว่า ตัวอย่างในรูปแบบช้อนยา ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 3 ตัวอย่าง และตัวอย่างในรูปแบบถ้วยยาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2 ตัวอย่าง โดยในจำนวนตัวอย่างที่ผ่านมาตรฐานทั้งหมด มีเพียงตัวอย่างเดียวที่ไม่ระบุหมายเลขการผลิตของช้อนตวงยาพลาสติก (ช้อนตวงยาพลาสติกในผลิตภัณฑ์ BEE-COL ซึ่งเป็นตำรับยาบรรเทาหวัดสูตรผสมของ ห้างหุ่นส่วนจำกัด โบร์วู๊ด ฟาร์มาซูติคอล ส่วนตัวอย่างอื่นๆ ที่ผ่านมาตรฐาน ได้แก่ ช้อนตวงยาพลาสติกของผลิตภัณฑ์ PARACAP ของบริษัท ยูเมด้า จำกัด มีความจุ 5.13 มิลลิลิตร, DENAMOL 120 ของบริษัท ที.โอ. ฟาร์ม่า จำกัด มีความจุ 5.08 มิลลิลิตร, Tempra Kids ของ PT Taisho Pharmaceutical Indonesia Tbk. ผลิตให้กับ Taisho Pharmaceuticsl Co., Ltd. นำเข้าโดย DKSH (Thailand) Limited และ Calpol TM ของ SmithKline Beecham, Rizel, Philippines. นำเข้าโดย GlaxoSmithKline (Thailand) Limited. ที่มี Paracetamol 120 มิลลิกรัม เป็นส่วนประกอบ) - อย่างไรก็ตามมีตัวอย่าง ที่ไม่สามารถประเมินได้ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจาก ช้อนตวงยาพลาสติกที่นำมาทดสอบ ที่เก็บตัวอย่างจากรุ่นการผลิตเดียวกัน มีความจุสุทธิที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ (ตัวอย่างช้อนตวงยาพลาสติกในผลิตภัณฑ์ Dimetapp  ของบริษัทอินเตอร์ไทย ฟาร์มาซูติเคิ้ล แมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นตำรับยาผสม ประกอบด้วย Brompheniramine Maleate 2mg และ Phenylephrine HCl 5 mg) - เป็นที่น่าสังเกต บริษัทผู้ผลิตยาส่วนใหญ่ ใช้ช้อนตวงยาพลาสติกเป็นของตนเอง โดยระบุชื่อผู้ผลิตหรือชื่อของผลิตภัณฑ์ไว้ที่ช้อนตวงยาพลาสติก อาทิเช่น บริเวณด้ามจับของช้อน พื้นที่ผิวด้านในของตัวช้อน ขอบบนของถ้วย และก้นถ้วย -BEE-COL มีส่วนผสมของยาแก้ปวด 2 ชนิด คือ N-Acetyl-p-aminophenol และ Salicylamide ซึ่งคือ Salicylic acid ที่มีคำสั่งกระทรวงที่ 193/2536 ให้ถอนออกจากตำรับ -ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) และ ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) เป็นตัวยาที่นิยมผลิตเป็นยาน้ำลดไข้สำหรับเด็ก โดยมักจะต้องรับประทานยาทุก 4 – 6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรรับประทานยาติดต่อกันเกิน 5 วัน นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำว่าไม่ควรรับประทานยา 2 ชนิดนี้พร้อมกัน เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ----------------------------------------------------------------------------------------   ลักษณะทั่วไปของช้อนและถ้วยตวงยา -ช้อนหรือถ้วยตวงยาต้องเป็นสีขาว มีลักษณะโปร่งใสหรือโปร่งแสง-พื้นผิวต้องเรียบ-ขอบของช้อนหรือถ้วยต้องมีลักษณะโค้งมน ไม่มีมุมหรือส่วนที่เป็นคม-ช้อนหรือถ้วยตวงยาต้องสามารถตั้งวางได้โดยไม่ทำให้ยาหก-ที่ช้อนหรือถ้วยตวงยาควรมีอักษรหรือเครื่องหมายแจ้งปริมาณ เช่น “1” หรือ “1 ช้อนชา”   การรับประทานยาโดยใช้ช้อนหรือถ้วยตวงยานั้น มีความจำเป็นอย่างมากับยาชนิดที่เป็นน้ำ ซึ่งยาน้ำมักจะเป็นยาสำหรับเด็กเพราะรับประทานง่ายกว่ายาชนิดเม็ด แถมเดี๋ยวยาน้ำรักษาโรคต่างๆ ก็นิยมผลิตออกมาให้มีรสหวานเพื่อให้เด็กรับประทานได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเวลาที่เด็กต้องรับประทานยา เด็กไม่ได้เป็นคนที่ตัดสินใจเลือกซื้อหรือเลือกว่าจะรับประทานยาชนิดไหน แต่เป็นหน้าที่ของพ่อ – แม่ ผู้ปกครองที่จะต้องเป็นคนเลือกว่าจะให้ลูกรับประทานยาอะไร จะพาไปหาหมอหรือซื้อยามารับประทานเอง การให้เด็กรับประทานยาเป็นเรื่องที่ต้องให้ความระมัดระวัง เพราะแม้แต่ผู้ใหญ่เองการรับประทานยาอย่างขาดความเข้าใจ ไม่ตรงกับโรค หรือรับประทานในปริมาณที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งหากเป็นเด็กผลเสียก็จะยิ่งมากกว่า   สิ่งที่ควรรู้เรื่องการใช้ยาสำหรับเด็ก 1.ร่างกายของเด็กกับผู้ใหญ่มีความแตกต่างกัน ระบบการทำงานต่างๆ ยังด้อยกว่าผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดูดซึมยาไปใช้หรือการการเผาผลาญหรือการขับยาส่วนเกินออกจากร่างกายยังทำได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ การกำหนดปริมาณสำหรับเด็กจึงมีความสำคัญมาก 2.ก่อนที่จะให้เด็กรับประทานยาใดๆ ต้องอ่านฉลากยา ศึกษาข้อควรระวังหรือคำเตือน ปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กในแต่ละวัย รวมถึงอาการผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นพร้อมวิธีรักษาหรือแก้ไข 3.การให้เด็กรับประทานยาควรใช้อุปกรณ์ตวงยาที่มาพร้อมกับยา หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับตวงยาโดยเฉพาะ ควรหลีกเลี่ยงช้อนทานข้าวหรือช้อนชงกาแฟที่ใช้อยู่ เพราะอาจทำให้ปริมาณยาคลาดเคลื่อนได้ 4.ไม่ควรใส่ยาลงในขวดนมหรือใส่ไปพร้อมกับอาหารที่เด็กรับประทานเป็นประจำ เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหารเหล่านั้นอีก ถ้าอยากให้ยามีรสหวานเพื่อให้เด็กรับประทานได้ง่ายขึ้น สามารถเติมน้ำเชื่อมเพิ่มลงไปได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 128 ถอนทะเบียนยา...ความปลอดภัยที่ยังมีช่องโหว่

  เพราะร่างกายของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการดูแลรักษา ยิ่งในเวลาที่เจ็บไข้ได้ป่วยตัวช่วยสำคัญที่จะมาทำหน้าที่รักษาบรรเทาโรคภัยต่างๆ คงหนีไม่พ้น "ยา" 1 ในปัจจัย 4 ที่แม้หลายๆ คนจะแอบภาวนาว่าถ้าเป็นไปได้ในชีวิตนี้ก็ไม่อยากพึ่งพาหรือฝากความหวังไว้กับการกินยา เพราะว่าไม่อยากป่วย แต่ในยามที่โรคภัยไข้เจ็บถามหา ยาก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีเพราะคงไม่มีใครอยากจะต้องทนอยู่กับอาการเจ็บป่วยเป็นเวลานานๆ   เมื่อยารักษาโรค อาจกลายเป็นยาพิษ  แม้หน้าที่ของยา คือการบรรเทารักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งนี่ก็คือหน้าที่ที่ถือเป็นคุณประโยชน์ของยา แต่ว่าบางครั้งการใช้ยาก็อาจกลายเป็นโทษได้เหมือนกัน ทั้งจากการใช้ยาไม่ถูกกับโรค การแพ้ยา การใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป การใช้ยาที่ไม่ได้คุณภาพหรือยาปลอม ซึ่งปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเรื่องของการใช้ยาเป็นเรื่องที่พูดได้เลยว่าเกี่ยวโยงกับความเป็นความตาย ยาดีก็ช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัยต่างๆ แต่ถ้ายาไม่ดีหรือใช้ยาผิดวิธี ก็อาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิต   การจัดการยาก่อนถึงมือผู้บริโภค การควบคุมดูแลเรื่องความปลอดภัยของยา เป็นหน้าที่ที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. จะคอยดูตรวจสอบและให้ข้อมูลกับประชาชน ในเรื่องของยาที่อาจเป็นอันตราย ซึ่ง อย.เองก็มีหน้าที่ทั้งการพิจารณาตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตในการผลิต จำหน่าย หรือนำเข้า ยาชนิดต่างๆ ก่อนที่จะนำมาวางขายหรือใช้ในโรงพยาบาล คลินิก สถานพยาบาลต่างๆ รวมถึงตามร้านขายยาทั่วไป เพื่อความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคหรือผู้ป่วยที่ต้องใช้ตัวยานั้นๆ ในการรักษาโรค ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อ อย.มีอำนาจในการออกใบอนุญาตให้กับยาชนิดต่างๆ การเพิกถอนทะเบียนยาที่เห็นว่าเมื่อนำมาใช้แล้วอาจเป็นอันตรายก็เป็นหน้าที่ของ อย. ซึ่ง อย. จะพิจารณาทบทวนเพื่อทำการเพิกถอนทะเบียนยานั้นๆ พร้อมไปกับการสร้างระบบมาตรฐานยาคุณภาพให้เกิดขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเมื่อ อย. ได้มีการสั่งเพิกยาถอนยาตัวใดก็ตาม อย.ก็จะประกาศรายชื่อยาเหล่านั้นเผยแพร่สู่สาธารณะ หน้าที่ของผู้บริโภคจึงต้องคอยติดตามข่าวสาร เป็นการสร้างข้อมูลเรื่องยาให้กับตัวเอง   การเพิกถอนทะเบียนยา การเพิกถอนทะเบียนยา ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นผู้ออกคำสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่เห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ หรือเป็นยาไม่มีคุณภาพไม่มีสรรพคุณตรงตามที่อ้าง หรือเมื่อใช้แล้วส่งผลร้ายกับร่างกายมากกว่าให้ผลในทางรักษาโรค หรือมีตัวยาใหม่ที่ให้ผลดีกว่า คณะกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ สำนักคณะกรรมการอาหารและยา ก็จะนำตัวยาที่เห็นว่ามีปัญหาเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม จากนั้นเมื่อที่ประชุมเห็นชอบให้มีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนยาตัวดังกล่าว ก็จะมีการออกเป็นคำสั่งกระทรวงให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเป็นคนลงนามรับรอง ก่อนจะนำไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เป็นอันครบถ้วนกระบวนความว่าตัวยานั้นๆ ได้กลายเป็นยาที่ถูกถอนทะเบียนออกจากระบบยาในประเทศ ห้ามขาย ห้ามผลิต ห้ามใช้ ใครฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย  แม้ขั้นตอนการถอนทะเบียนยาดูเหมือนจะมีไม่มาก แต่เมื่อมาดูถึงระยะเวลากว่าจะถึงในขั้นตอนสุดท้ายคือการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สามารถดำเนินเอาผิดทางกฎหมายได้นั้นต้องใช้เวลาพอสมควร ลองมาดูตัวอย่างระยะเวลาการดำเนินการในการถอนทะเบียนยาที่ผ่านมาว่าต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่  ตัวอย่างข้อมูลแสดงระยะเวลาการถอนทะเบียนยา   ชื่อยาที่ถอนทะเบียน สาเหตุ คำสั่งเลขที่ วันที่ประชุมคณะกรรมการยา วันที่ประกาศเป็นคำสั่งกระทรวง วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระยะเวลาตั้งแต่ประชุมถึงวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยาสูตรผสมของยามีแธนดีโนน (Methandienone) กับ ยาไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) สูตรยาไม่เหมาะสม เมื่อนำไปใช้ในเด็กอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 736/2552 14 พฤษภาคม 2551 5 มิถุนายน 2552 31 สิงหาคม 2552 475 วัน ยาคาริโซโพรดอล (Carisoprodol) ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง สงบประสาทเป็นยานอนหลับและเสพติดได้ 547/2552 20 พฤศจิกายน 2551 23 เมษายน 2552 19 มิถุนายน 2552 212 วัน ยาผสมสูตรเมโธคาร์บามอล (Methocarbamol) และอินโดเมธาซิน (Indomethacin) ชนิดรับประทาน ไม่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยา 848/2552 11 กุมภาพันธ์ 2552 2 กรกฎาคม 2552 24 สิงหาคม 2552 195 วัน ยาคาสคารา ซากราดา (Cascara sagrada) เสี่ยงอันตรายจากสารที่เป็นส่วนประกอบ 859/2552 11 กุมภาพันธ์ 2552 2 กรกฎาคม 2552 19 มิถุนายน 2552 129 วัน *ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนรัฐมนตรีลงนาม ยาคลอร์ซ็อกซาโซน (Chlorzoxazone) ไม่มีประสิทธิผลในการคลายกล้ามเนื้อตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ และได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความเป็นพิษต่อตับ 1115/2552 8 เมษายน 2552 20 สิงหาคม 2552 26 มีนาคม 2553 353 วัน ยาฟีโนเวอรีน (Fenoverine) ตัวยาทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง คือ เซลล์กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อเกร็ง (rhabdomyolysis) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 1421/2552 12 มิถุนายน 2552 30 กันยายน 2552 21 กรกฎาคม 2553 405 วัน ยาฟีนอล์ฟธาลีน (Phenolphthalein) และแซนโตนิน (Santonin) | อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ยา โดยฟีนอล์ฟธาลีน เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง จึงอาจทำให้เกิดมะเร็งในคนจากการใช้ยาในระยะยาว ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายจะถูกขจัดออกอย่างช้า ๆ จึงเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ปฏิกิริยาที่ผิวหนัง และระดับโปแตสเซียมต่ำ เป็นต้น แซนโตนิน มีฤทธิ์เพิ่มพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic) และมีรายงานการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงแม้ใช้ในขนาดต่ำ 985/2553 12 มิถุนายน 2552 20 พฤษภาคม 2553 23 มิถุนายน 2553 377 วัน ฟีนอล์ฟธาลีน (Phenolphthalein) เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง จึงอาจทำให้เกิดมะเร็งในคนจากการใช้ยาในระยะยาว และร่างกายของคนจะขจัดยาออกอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยา 1923/2553 12 มิถุนายน 2552 19 ตุลาคม 2553 30 พฤศจิกายน 2553 537 วัน ยาโรซิกลิทาโซน (Rosiglitazone) อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด 447/2554 22 ธันวาคม 2553 4 เมษายน 2554 18 พฤษภาคม 2554 148 วัน อีนาลาพริล มาลีเอท (Enalapril maleate) ยา Paril 5 เลขทะเบียน 1C 173/51 และยา Paril 20 เลขทะเบียน 1C 174/51 มีปริมาณตัวยาสำคัญ คือ อีนาลาพริล มาลีเอท (Enalapril maleate) ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เกินกว่าร้อยละยี่สิบ เข้าข่ายเป็นยาปลอม 462/2554 22 ธันวาคม 2553 4 เมษายน 2554 8 มิถุนายน 2554 169 วัน ยาน้ำตราบีเวลล์ ตรวจพบตัวยาวาร์เดนาฟิล (Vardenafil) ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาควบคุมพิเศษผสมอยู่ ยาดังกล่าวจึงไม่ใช่ยาแผนโบราณตามตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้และเป็นยาที่ไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ เข้าข่ายเป็นยาปลอม 506/2554 23 กันยายน 2553 12 เมษายน 2554 8 มิถุนายน 2554 259 วัน     ซึ่งหลังจากมีการลงนามโดยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบว่าควรเพิกถอนตัวยาดังกล่าว จะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ผลิตหรือนำเข้ายาที่เห็นว่าจะเป็นอันตรายตัวดังกล่าว ต้องหยุดการผลิตและเก็บสินค้าที่ได้ส่งไปวางขายตามร้านหรือสถานพยาบาลต่างๆ ให้เสร็จสิ้น ก่อนที่จะมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะเมื่อถึงในขั้นตอนนี้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายหากพบว่ายังมีการกระทำฝ่าฝืนคำสั่งอยู่ แต่หลังจากประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วผู้ผลิตยาที่ถูกคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนก็ยังสามารถยื่นคำโต้แย้งไปยังศาลปกครองได้อีกภายใน 90 วัน ซึ่งช่วงระยะเวลาหลังจากคณะกรรมการยาพิจารณาเห็นชอบให้มีการถอนทะเบียนยาที่เห็นว่าอาจจะเป็นอันตราย ไปจนถึงการรอให้รัฐมนตรีฯ ลงนามรับรอง เพื่อแจ้งให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ายานั้นๆ ดำเนินการตามคำสั่งของกระทรวงนั้น เป็นช่วงที่ผู้บริโภคมีความเสี่ยงอันตรายจากการใช้ยาตัวที่เป็นปัญหา เพราะยาดังกล่าวยังคงมีอยู่ในท้องตลาด หากผู้ใช้ยาไม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร ขาดความรู้เรื่องข้อมูลยา ก็อาจหลงใช้ยาดังกล่าวจนเกิดอันตราย แม้แต่แพทย์ เภสัชกร ที่ไม่ทราบข้อมูลหรือนิ่งนอนใจรอการประกาศอย่างเป็นทางการหรือรอการดำเนินการจากผู้ผลิตยา ก็อาจสั่งจ่ายยาดังกล่าวให้กับผู้ป่วย   การเพิกถอนทะเบียนตำรับยานั้น เป็นไปในลักษณะที่ตรวจสอบทบทวนตำรับยาทั้งยาใหม่ที่รอการขึ้นทะเบียน และยาเก่าที่เคยได้รับการขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ซึ่งการทบทวนทะเบียนยานั้นต้องทำในลักษณะต่อเนื่อง โดยต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ ประเมินดูสถานการณ์การใช้ยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งหมดก็เพื่อการใช้ยามีความปลอดภัยมากที่สุด   ------------------------------------------------------------------------------------------ การถอนทะเบียนยาโดยภาคประชาชน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 ชมรมเภสัชชนบท ร่วมกับกลุ่มศึกษาปัญหายา กลุ่มเภสัชกรภาคกลาง มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เพิกถอนทะเบียนตำรับยา 4 รายการ คือ 1.ยาแอสไพรินชนิดผง 75-375 มก. 2.ยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ยาขับปัสสาวะที่มี Methylene blue เป็นส่วนประกอบ 3.ยาแก้ท้องเสียที่มี Furazolidone และ/หรือมียาปฏิชีวานะเป็นส่วนประกอบ และ 4.ยา Amoxycillin powder 125 มก.ชนิดซอง เพราะเห็นว่าเป็นยาที่มีความไม่เหมาะสม อาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้ แต่ยังพบเห็นยาดังกล่าวมีจำหน่ายทั้งในร้านยาและร้านขายของชำเป็นจำนวนมาก ------------------------------------------------------------------------------------------   สามารถตรวจสอบรายชื่อตำรับยาที่ถูกเพิกทอนทะเบียนทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ของ อย. http://wwwapp1.fda.moph.go.th/drug/zone_law/law010.asp ------------------------------------------------------------------------------------------ ขณะนี้มียาที่รอการทบทวนอยู่ทั้งหมดถึง 50 รายการ จากการประชุมของคณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 ซึ่งทาง อย. ตั้งใจให้มีการทบทวนยาทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในปี 2556 (หนึ่งในนั้นมียาที่มีส่วนผสมของ Methylene blue ที่ภาคประชาชนเสนอให้มีการทบทวนรวมอยู่ด้วย) ------------------------------------------------------------------------------------------   การรู้และเข้าถึงข้อมูลยา...ปัญหาใหญ่ของผู้บริโภค  เป็นเรื่องที่น่าเสียดายและน่าตกใจ ที่คนไทยเรายังเข้าถึงข้อมูลของยาต่างๆ ในระดับที่น้อยถึงน้อยมาก นั่นเป็นเพราะคนไทยเราค่อนข้างให้ความเชื่อถือในตัวสถานพยาบาล ตัวบุคลากร ซึ่งก็คือแพทย์ และเภสัชกร ว่าสามารถรักษาและดูแลเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยได้เป็นอย่างดี ทำให้หลายคนมองข้ามที่จะศึกษาข้อมูลยาต่างๆ ที่ใช้อยู่หรือได้เวลาไปพบแพทย์ ซึ่งหากใช้แล้วอาการดีขึ้นหรือรักษาโรคให้หายได้ก็คงไม่มีปัญหา แต่หากเกิดผลในทางตรงกันข้าม คือกินยาแล้วกลับเจ็บป่วยมากกว่าเดิม ได้โรคเพิ่มขึ้น หรือรุนแรงไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งก็สายไปแล้วที่จะแก้ไข การรู้จักหรือเข้าถึงข้อมูลของยาที่ใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คำถามที่ตามมาคือแล้วผู้บริโภคธรรมดาๆ จะเข้าถึงข้อมูลยาได้ด้วยวิธีไหน ข้อมูลยาพื้นฐานที่เราทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุดก็คือ ข้อมูลบนฉลากยาและเอกสารกำกับยา ซึ่งต้องมีมาพร้อมกับยาที่เราซื้อมาใช้ หากไม่มีข้อมูลบนฉลากหรือเอกสารกำกับยาแนบมาให้ ก็ควรหลีกเลี่ยงอย่าซื้อมาใช้ ถ้าเป็นยาที่เราได้รับจากแพทย์ที่เราไปรับการรักษาตามสถานพยาบาลต่างๆ ที่มักจะจัดยามาเป็นชุด บรรจุอยู่ในซองยา ไม่ได้มีฉลากหรือเอกสารใดๆ แนบมา ผู้ที่รับยาก็ต้องสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผลของยา วิธีการใช้ยา ให้เข้าใจครบถ้วน เพื่อประโยชน์ของตัวเอง  แม้อาจจะมีอุปสรรคเรื่องภาษา ด้วยว่ายาที่เราใช้กันอยู่เป็นยาฝรั่ง นำเข้าหรือมีการผลิตคิดค้นในต่างประเทศ ชื่อสามัญทางยาชื่อจึงเป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ แถมยังเป็นคำศัพท์เฉพาะทาง อ่านยาก จดจำยาก แต่ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคอย่างเราที่อาจต้องใช้ความพยายามสักหน่อยในการทำความเข้าใจ ก็เพื่อความความปลอดภัยในการใช้ยาของตัวเราเอง  การเข้าถึงข้อมูลยาจึงมีประโยชน์ทั้งในเรื่องของความปลอดภัย เป็นข้อมูลสำคัญในการรักษาโรค โดยเฉพาะยิ่งเมื่อเรารู้ชื่อสามัญทางยา ไม่ยึดติดอยู่กับชื่อทางการค้าหรือชื่อยี่ห้อ ก็อาจช่วยให้เราได้ใช้ยาในราคาที่ถูกลง  นอกจากปัญหาที่คนขาดความสนใจ และขาดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลยาแล้ว อีกหนึ่งปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลยาที่น่ากังวลไม่แพ้กันก็คือ การรับข้อมูลยาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมที่ถูกเผยแพร่ผ่านทางสื่อต่างๆ ทั้ง ทีวี เคเบิ้ลท้องถิ่น วิทยุชุมชน และตามเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้ข้อมูลเพื่อมุงหวังทางธุรกิจ คือเป็นการอวดอ้างสรรพคุณในทางรักษาโรคเกินจริง ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้บริโภคอย่างมาก แม้ส่วนมากจะเป็นในลักษณะของอาหารเสริมแต่อ้างผลในการรักษาโรค สร้างความสับสันให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แถมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็จะอ้างเรื่องการรับรองจาก อย. ทำให้ผู้บริโภควางใจหาซื้อมารับประทาน จนเกิดผลร้ายกับร่างกายอย่างที่เคยปรากฏเป็นข่าวหรือที่เคยมีการบันทึกเอาไว้ เช่น กรณีของคุณยายวัยหกสิบกว่าคนหนึ่งที่ทานผลิตภัณฑ์กวาวเครือขาวและกวาวเครือแดงอัดแคปซูลที่สั่งซื้อมาหลังจากได้ยินประกาศโฆษณาทางวิทยุว่ากินแล้ว บำรุงสมอง บำรุงประสาท เสริมสมรรถภาพทางเพศ โดยกินนติดต่อกันมาเป็นเวลาเดือนกว่าๆ ก็ปรากฏว่ามีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดของคุณยายติดต่อกันถึง 14 วัน เมื่อมาหาหมอ พบว่าเกิดความผิดปกติที่ผนังมดลูก ต้องรักษาด้วยการขูดผนังมดลูก สาเหตุน่าจะมาจากการได้รับสาร Phytoestrogen ที่อยู่ในกวาวเครือมากเกินไป โดยตัวคุณยายแกก็บอกว่าเห็นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ผ่าน อย. แล้ว ไม่น่าจะมีอันตราย  ซึ่งนี้ก็เป็นเพราะผู้บริโภคขาดความรู้ในเรื่องข้อมูลยา ไม่รู้ถึงสารที่อยู่ในตัวยา ไม่รู้สรรพคุณที่แท้จริง ไม่รู้ว่าตัวยาดังกล่าวมีความจำเป็นต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน แถมยังถูกป้อนข้อมูลที่ผิดๆ ฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบพัฒนาระบบและวิธีการที่จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงและตระหนักในการรับรู้ข้อมูลยาให้มากขึ้น รวมถึงการเฝ้าระวังการโฆษณาที่มีผลต่อการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องหรือมุ่งหวังแต่ผลทางการค้าเพียงอย่างเดียว ด้านผู้บริโภคเองก็ต้องสร้างทัศนคติเรื่องการใหม่ในการใช้ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ใช้ยาอย่างระมัดระวัง ให้คิดเสมอว่าการใช้ยาก็อาจให้โทษได้เช่นกัน และโทษของการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องหรือผิดวิธีนั่นร้ายแรงมาก ซึ่งคนที่รับผลนั่นก็คือสุขภาพร่างกายของเราเอง  ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย  1.รู้จักยาที่จะใช้ ไม่ว่ายานั้นจะได้มาจากการจ่ายยาของแพทย์ หรือผู้ป่วยหาซื้อเองจากร้านขายยา สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ใช้ยาต้องศึกษายาที่จะใช้ให้ดีว่ามีความปลอดภัย เหมาะสม ถูกต้องตรงตามอาการป่วยที่เราต้องการรักษา  ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับยาที่ควรรู้ ก็คือ  -ชื่อสามัญทางยา การรู้จักชื่อสามัญทางยามีประโยชน์ เพราะเราจะสามารถทราบได้ว่ายาที่เราใช้ คือยาอะไร ตัวเรามีประวัติการแพ้ยาตัวนี้หรือไม่ หรือหากกำลังใช้ยาตัวนี้อยู่แล้วจะได้แจ้งกับแพทย์ที่จ่ายยาป้องกันการใช้ยาซ้ำซ้อน ซึ่งปกติยาที่ได้รับการรับรองอย่างถูกกฎหมายจะต้องมีการแจ้งชื่อสามัญทางยาไว้ในเอกสารกำกับยา หรือถ้าเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกรก็ต้องมีการเขียนแจ้งไว้ที่หน้าซองที่ใช้บรรจุยา  -เมื่อรู้จักชื่อสามัญทางยาแล้ว ก็ต้องรู้จักชื่อทางการค้าด้วย เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญหากพบว่าใช้ยาตัวดังกล่าวแล้วเกิดอันตราย -ลักษณะทางกายภาพของยา ทั้ง สี กลิ่น รูปร่าง เพราะหากวันหนึ่ง ยาตัวดังกล่าวเกิดมีลักษณะทางกายภาพผิดแปลก เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้หยุดใช้ยาตัวดังกล่าว เพราะการที่ยาเปลี่ยนแปลงลักษณะอาจเป็นสัญญาณบอกว่าชนิดนี้อาจเป็นอันตรายได้  -ข้อกำหนดในการใช้ยา ขนาดและวิธีใช้ ว่าต้องรับประทานในปริมาณเท่าไหร่ ทานเมื่อไหร่ อย่างไร และยาที่ทานอยู่สามารถทานได้นานแค่ไหน ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลาเท่าไหร่  -ต้องรู้ว่าในสถานการณ์ใดที่ควรหยุดใช้ยา เช่น ใช้ยาแล้วแสดงอาการไม่พึงประสงค์ หรือเกิดอาการแพ้ยา ซึ่งควรแจ้งลักษณะอาการด้วย เช่น ใจสั่น ปวดท้อง ฯลฯ  -คำเตือนและข้อห้ามในการใช้ยา  -ผลข้างเคียงของการใช้  -วิธีการเก็บรักษายา 2.อ่านฉลากและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  ทำความเข้าใจยาที่จะใช้อย่างถูกต้องครบถ้วน หากอ่านฉลากหรือเอกสารกำกับยาแล้วยงมีส่วนที่สงสัยให้ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือสอบถามไปที่ อย.  3.ต้องให้ข้อมูลกับแพทย์ เภสัชกร หรือคนที่มีหน้าที่จ่ายยาให้กับเราให้มากที่สุด  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประวัติการแพ้ยา ข้อกำจัดในการใช้ยา เช่น รับประทานยาแคปซูลไม่ได้ หรือปกติต้องทำงานที่ต้องใช้ความระมัดระวังสูงต้องหลีกเลี่ยงยาที่รับประทานแล้วทำให้เกิดอาการง่วงนอน รวมทั้งหากในตอนนั้นมีการใช้ยาตัวอื่นหรือรับประทานอาหารเสริมอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยก็ต้องแจ้งให้กับผู้ที่จ่ายยาทราบ ที่สำคัญคือคือตัวเราเองมีข้อสงสัยในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ยาต้องสอบถามให้เข้าใจก่อนใช้ยา  4.สอบถามถึงสาเหตุที่จะทำให้ปฏิกิริยาจากการใช้ยา  ต้องสอบถามกับแพทย์ เภสัชกร หรือคนที่มีหน้าที่จ่ายยาให้กับเรา ว่ายาที่เรารับประทานนั้นจะมีปฏิกิริยากับอาหาร อาหารเสริม หรือยาตัวอื่นๆ ที่เรารับประทานอยู่หรือไม่ อย่างไร แล้วหากทำปฏิกิริยากันจะแสดงอาการอย่างไร มีผลเสียหรือไม่ ต้องหยุดรับประทานยาหรืออาหารเสริมที่รับประทานอยู่หรือไม่  5.ต้องคอยสังเกตดูผลจากการใช้ยาและอาการข้างเคียง  หากเกิดอาการใดๆ ที่รู้สึกผิดปกติระหว่างใช้ยา ต้องปรึกษาแพทย์ทันที และควรมีข้อมูลการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา  ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ข้อมูลประกอบบทความ : ยาวิพากษ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 6 กันยายน 2553, แผนงานสร้างกลไกลเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยาวิพากษ์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 เมษายน 2554, แผนงานสร้างกลไกลเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสิทธิผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา, ผศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ การใช้ยาอย่างปลอดภัย, กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ.... (ฉบับประชาชน), มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา และคณะศูนย์ข้อมูลยาปลอมและยาลักลอบนำเข้า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาhttp://wwwapp1.fda.moph.go.th/counterfeit/public/index.aspxสำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาhttp://wwwapp1.fda.moph.go.th/drug/zone_law/law010.asp  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 64 การพัฒนาเพื่อคุณภาพร้านยาในประเทศไทย

ภ.ญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร1, ภ.ก.วราวุธ เสริมสินสิริ2 สำนักงานรับรองคุณภาพร้านยา สภาเภสัชกรรม, สำนักงานโครงการพัฒนาคุณภาพร้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา   ร้านยาเป็นสถานบริการทางสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ (Primary Care Unit) ซึ่งมีความสำคัญ เป็นที่พึ่ง และอยู่ใกล้ชิดประชาชนและชุมชนมาเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นแหล่งที่ประชาชนตัดสินใจเลือกไปใช้บริการในเบื้องต้นเมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้น เป็นทางเลือกเพื่อการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเริ่มมีการก่อตั้งโรงพยาบาลต่าง ๆ ตามการแพทย์ตะวันตก  และจากการศึกษามากมายบ่งชี้ให้เห็นว่า  ร้านยาเป็นจุดที่ประชาชนเลือกมารับบริการเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยในเบื้องต้นสูงถึงร้อยละ 60-80  และคิดเป็นมูลค่าสูงถึงร้อยละ 45 ของมูลค่าการบริโภคยาทั้งประเทศ (สุวิทย์และคณะ, 2537)  และพบว่าการใช้บริการด้านยาผ่านร้านยานี้คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 14.8 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพของครัวเรือน หรือประมาณร้อยละ 6.83 ของรายจ่ายสุขภาพเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งหมดของประเทศไทย (อดิศวร์ หลายชูไทยและคณะ, 2541) จากสภาพเศรษฐกิจและวิถีชีวิตในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพตนเองมากนัก ละเลยในการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ได้ใส่ใจที่จะออกกำลังกาย มุ่งแต่ทำงาน  และมีเวลาให้ตนเองน้อยลง เมื่อเกิดการเจ็บป่วยเล็กน้อย ประชาชนจึงยังต้องพึ่งบริการจากร้านยา แม้ว่าปัจจุบันสถานพยาบาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลเกิดขึ้นมากมายแล้วก็ตาม ร้านยายังเป็นทางเลือกที่สะดวก เข้าถึงง่าย จากการสำรวจรายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน (ระบบยา, 2545) พบว่าหลังจากเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ แนวโน้มที่ประชาชนซื้อยากินเองกลับเพิ่มขึ้นจาก 15.4 ในปี 2542 เป็น 18.6 ในปี 2543 ขณะที่สัดส่วนการใช้บริการที่สถานพยาบาลลดลง   และจากรายงานการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ ในปี 2544 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2545) พบว่าพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการเมื่อเจ็บป่วยกรณีไม่ต้องนอนโรงพยาบาลของประชาชนไทย ส่วนใหญ่ซื้อยากินเองร้อยละ 23  ใช้บริการที่สถานีอนามัยร้อยละ 20   ใช้บริการที่โรงพยาบาลจังหวัด/โรงพยาบาลอื่นๆ ของรัฐ ร้อยละ 20  ใช้บริการที่โรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 13   ใช้บริการที่คลินิกเอกชนร้อยละ 12  และอื่นๆ   จะเห็นได้ว่าร้านยาเป็นสถานบริการหนึ่งที่ประชาชนเลือกใช้บริการเป็นด่านแรก และยังคงเป็นที่พึ่งทางด้านสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่ในการดูแลตนเอง แต่การที่ประชาชนตัดสินใจซื้อยากินเอง ก็พบปัญหาที่ต่อเนื่องมากมาย  ทั้งการใช้ยาไม่เหมาะสม การใช้ยาฟุ่มเฟือยมากเกินความจำเป็น การใช้ยาที่ไม่ต่อเนื่อง รวมถึงอันตรายจากการใช้ยาในบางประเภท ทั้งยาชุดและยาควบคุมพิเศษต่าง ๆ   สาเหตุหลัก ๆ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากร้านยาในสังคมไทย ยังไม่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดและคาดหวังไว้ การควบคุมกำกับร้านยาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ยังไม่ต่อเนื่องจริงจัง มีการศึกษาหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นถึงการจ่ายยาที่ผิดกฎหมายและไม่เหมาะสมตามหลักการวิชาการ (บรรหาร และคณะ, 2540; เพียงฤทัย และดวงฤดี, 2544; โกมาตร และคณะ, 2542; Thamlikitkul 1998) สอดคล้องกับผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในปี 2544 ที่ชี้ให้เห็นว่า มีการจ่ายยาเตตร้าซัยคลินที่หมดอายุแล้วโดยร้านขายยาแผนปัจจุบันและร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จฯ ถึงร้อยละ 23.8 และ 21.7 ตามลำดับ (เพียงฤทัย และดวงฤดี, 2544) นอกจากนี้ จากการสำรวจของบริษัท IMS (ธีระ ฉกาจนโรดม, 2543) พบว่ายอดขายยาผ่านช่องทางร้านยาสูงสุด 10 อันดับแรก มีมูลค่ารวมกันประมาณ 1,289 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 12.4 ของมูลค่าการบริโภคยาผ่านช่องทางร้านยาในช่วงเดียวกัน  โดยยาคุมกำเนิด Diane-35 มียอดขายสูงสุด รองมาเป็นยาแก้หวัด Tiffy  ผลการสำรวจสอดคล้องกับการสำรวจรายการยา จากร้านยาเพื่อการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคหมวดค่ายาเมื่อปี 2541 (รุ่งเพ็ชร เจริญวิสุทธิวงศ์, 2541)  ที่พบว่า Tiffy มียอดขายสูงสุดในยากลุ่มทางเดินหายใจ และ Diane-35 มียอดขายสูงสุดในกลุ่มยาคุมกำเนิด   มีข้อสังเกตว่ายา Diane-35 ซึ่งติดอันดับยอดขายสูงสุดไม่ใช่ยาที่ควรซื้อใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร   จากการพิจารณายาใน 10 อันดับแรกที่มีการบริโภคสูงสุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของการโฆษณาที่บริษัทต่างๆ ใช้ ผลักดันให้อุปทานยาขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลให้เกิดการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เกินความจำเป็น หรือมีการบริโภคผิดซึ่งอาจเกิดอันตรายและสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาประเมินความสูญเปล่าจากการจ่ายยาแก้ปวดหลังของร้านยาในกรุงเทพมหานครโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่ามีมูลค่า 29 - 62 ล้านบาทต่อปี (ดวงทิพย์, 2540) ปัญหาเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่า นโยบายควบคุมร้านยาที่เป็นอยู่น่าจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ และไม่สามารถใช้เป็นมาตรการหลักในการกำกับให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพในร้านยาได้ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีโครงการพัฒนาร้านยาให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่สร้างขึ้น  เพื่อยกระดับการให้บริการของร้านยา แต่โครงการก็ไม่สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่องบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ เนื่องจากปัญหาความไม่ชัดเจนของมาตรฐาน กลไกการประเมิน วิธีเพิกถอนใบรับรอง และที่สำคัญในระบบที่ผ่านมายังขาดแรงจูงใจและความชัดเจนในการกระตุ้นให้ร้านยาต่าง ๆ พัฒนาตนเอง (มาตรฐานร้านยา อย., 2537, 2540) สภาเภสัชกรรมเห็นความสำคัญของร้านยา ที่มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ดูแลตนเองยามเจ็บป่วยเบื้องต้น เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม และเพื่อให้ร้านยาพัฒนาบทบาทให้เกิดความยอมรับในการเป็นหน่วยหนึ่งแห่งระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึงได้พัฒนาและจัดการยกระดับคุณภาพร้านยาให้สามารถเป็นที่พึ่งแก่ประชาชนและสังคมโดยรวมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยดำเนินการให้มีการรับรองคุณภาพร้านยาขึ้น และพัฒนา "มาตรฐานร้านยา" ตั้งแต่ปี 2544 เพื่อใช้เป็นคู่มือแนวทางในการบริการของเภสัชกรชุมชนที่ร้านยา และเป็นเกณฑ์ในการประเมิน ปัจจุบันได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานร้านยา รายละเอียดของคู่มือ แนวทางการประเมินตนเอง แนวทางการเยี่ยมสำรวจ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ ทำการเยี่ยมสำรวจ และประชุมรับรองคุณภาพร้านยารอบแรก ถึงรอบที่ 3 ไปแล้ว โครงการ "พัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา" ของสภาเภสัชกรรมนี้ เป็นงานในความรับผิดชอบของสำนักงานรับรองคุณภาพร้านยา กิจกรรมหลักในโครงการฯ จะเป็นการสร้างรูปแบบการปฏิบัติงานและการให้บริการของร้านยาที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีการสร้างกลไกประเมินที่ตรวจสอบได้และทันการณ์ และมีการสร้างแรงจูงใจให้ร้านยาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานที่กำหนด (สภาเภสัชกรรม: โครงการพัฒนารูปแบบการรับรองคุณภาพร้านยา, 23 ธค.45)บทบาทของร้านยาคุณภาพต่อสุขภาพของคนใช้ยา เภสัชกรที่ให้บริการในร้านยาเป็นส่วนหนึ่งและในหลายกรณีมีฐานะเป็น "ด่านแรก" ที่ผู้ป่วยจะเข้ามาใช้บริการสุขภาพจากผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งบางรายดูแลสุขภาพตนเองมาแล้วในเบื้องต้นโดยไม่ใช้ยา ผู้ป่วยที่พึ่งพาร้านยา ไว้วางใจให้ร้านยาเป้นบริการด่านแรกของตนมีหลายกลุ่ม แบ่งได้ดังนี้ 1.    กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการดูแลรักษาพยาบาลตนเองในเบื้องต้น (Self medication)ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวต้องการที่จะเลือกซื้อยาบำบัดอาการ ความเจ็บป่วยของตนในเบื้องต้น โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจของตนเอง การบอกเล่าจากเพื่อน เครือญาติ จากประสบการณ์ตรงของตนเอง หรือ มาจากการโฆษณายาทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านสื่อต่างๆ ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะมาเภสัชกรในร้านยาโดยจะเรียกหา "รายชื่อยา" ที่คิดว่าเหมาะสมสำหรับดูแลรักษาตนเองหรือคนในครอบครัว ต่อกรณีนี้บทบาทของเภสัชกรในร้านยาจะมีบทบาทหลัก คือการประเมินความเหมาะสม ของยาที่เรียกหานั้น และส่งเสริมการดูแลตัวเองด้วยการใช้ยาอย่างเหมาะสมมากขึ้น โดยเภสัชกรจะมีกระบวนการในการสอบถาม ตรวจสอบซ้ำถึงความเจ็บป่วยและอาการของผู้ป่วย เภสัชกรจะประเมินยาที่เรียกหาว่ามีความเหมาะสมกับอาการและความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่มากน้อยเพียงใด รวมทั้งประเมินความเหมาะสมด้านอื่น ไม่ว่าจะเป็นอายุ โรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำอยู่ หากผู้ป่วยเข้าใจผิดในสรรพคุณของยาที่ตนเองเรียกหาหรือเกิดความไม่เหมาะสมขึ้น เภสัชกรจะให้ความรู้และปรับเปลี่ยนให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโรคหรืออาการที่เป็นอยู่ รวมทั้งเสนอแนวทางการเลือกใช้ยา และการรักษาที่ถูกต้อง 2.    กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการปรึกษาต้องการคำแนะนำและให้เภสัชกรพิจารณาเลือกจ่ายยาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะเข้ามาด้วยการบอกเล่า อาการความเจ็บป่วยและให้เภสัชกรเลือกสรรยาที่เหมาะสมให้ ต่อกรณีนี้บทบาทของเภสัชกร คือการคัดกรองและรักษาโรคพื้นฐานอย่างเหมาะสม อยู่ภายใต้ขอบเขตความรู้ความสามารถของ เภสัชกรโดยเภสัชกรจะมีกระบวนการซักประวัติผู้ป่วย วินิจฉัย และเลือกยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย โดยใช้องค์ความรู้หลักๆ คือ Pharmaco therapy (เภสัชบำบัด) ความรู้พื้นฐานเรื่องโรค รวมทั้งทักษะในการสื่อสารกับผู้ป่วย แต่อย่างไรก็ตาม บทบาทดังกล่าวนั้นจะถูกวางกรอบไว้ เฉพาะผู้มารับบริการรายที่ป่วยด้วยโรคพื้นฐาน (ไข้หวัด ท้องเสีย กระเพาะปัสสาวะอักเสบ บาดแผล เป็นต้น) โดยเภสัชกรจะประเมินแล้วว่า อยู่ในขอบเขตที่สามารถให้การดูแล รักษาได้ การส่งต่อผู้ป่วยให้ไปรับการตรวจวินิจฉัย และ รักษาจากแพทย์ในสถานพยาบาลที่เหมาะสมหลังจากที่เภสัชกรคัดกรองผู้ป่วยแล้วจะส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ในรายที่มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและการรักษาจากแพทย์ เช่น เป็นอาการฉุกเฉินของโรคบางอย่าง เป็นโรคที่เกินกว่าศักยภาพของเภสัชกรในการดูแล มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรัง หรือ ควรพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น การสื่อสารกับแพทย์อาจจะจำเป็นในบางกรณีเพื่อทุ่นเวลาหรือชี้ประเด็น สำหรับอำนวยความสะดวกกับแพทย์ที่จะรับการส่งต่อ โดยอาจจะมีเอกสารประกอบการส่งตัว เช่น ใบส่งตัว (Referral form) 3.    กลุ่มผู้ป่วยที่มาเรียกหา "ยาที่ใช้ประจำ" หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์มาแล้วในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวนั้นจะเป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังซึ่งจำเป็นต้องรับประทานยาเป็นระยะเวลานาน ต้องการการติดตามการดำเนินโรคและการควบคุมโรคจากแพทย์ โดยหลักแล้วการมีโอกาสได้พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ในหลายกรณี การพบแพทย์อย่างต่อเนื่องนั้นมีอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การเสียเวลารอคอย ภาระค่าใช้จ่ายที่สูง หรือกรณีที่ยาหมดก่อนถึงวันนัด เป็นต้น ดังนั้นการมาเรียกหายาที่ใช้ประจำในร้านยาจะเป็นการสะดวกกับผู้ป่วย โดยบทบาทของเภสัชกรในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวคือประเมินสภาวะของโรคและความเหมาะสมในการจ่ายยาที่ใช้ประจำ [Refill]รวมทั้ง สืบค้น และติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ก่อนที่เภสัชกรจะ Refill ยาให้ผู้ป่วย การประเมินความเหมาะสมก่อนจ่ายยามีความจำเป็น โดยการพิจารณาถึง ประสิทธิภาพการการควบคุมโรคของยาเดิมด้วยการติดตามผลการรักษาว่าสามารถควบคุมอาการ โรคได้หรือไม่ โดยจะมีซักถามอาการ รวมทั้งอาจจะให้บริการอื่นๆ เช่น บริการเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลโดยใช้เครื่องตรวจแบบง่ายๆ หรือวัดความดันโลหิต นอกจากนั้นจะพิจารณาถึง ความถี่ห่างของการพบแพทย์ และที่สำคัญคือ การ สืบค้นปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ความร่วมมือในการใช้ยา การได้รับยามากเกินไป น้อยเกินไป การเกิดDrug Interaction ระหว่างยาเป็นต้น ให้คำแนะนำเฉพาะที่จำเป็นต่อผู้ป่วยที่มารับบริการ จ่ายยาเดิมที่ใช้ประจำ [Refill] ยาหลังจากนั้นจะให้บริการด้านคำแนะนำเพิ่มเติมในกรณีที่ผู้มาใช้บริการร้องขอหรือประเมินแล้วผู้ป่วยขาดข้อมูลที่จำเป็น ซึ่งคำแนะนำที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีมากมาย เช่น-    ข้อบ่งใช้ของยา-    การปฏิบัติตัวเฉพาะของผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ-    อาการแทรกซ้อนที่จะตามมา-    การใช้และรับประทานยาที่ถูกต้อง-    ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น -    ปฏิกิริยาของ ยาอื่นๆ ที่ผู้ใช้อยู่ประจำ กับ ยาที่มาหาซื้อ-    ส่วนอื่นๆที่สนใจ เช่น การแก้ไขเบื้องต้นในอาการแทรกซ้อนที่จะเกิด-    การปรับวิถีชีวิตและการปฏิบัติตัว (Life  style  modification) เฉพาะของผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ-    ความจำเป็นในการพบแพทย์ และช่วงเวลาที่ควรไปพบแพทย์ครั้งต่อไป โดยการประเมินจากประสบการณ์ส่วนตัวของเภสัชกรว่า โรคนั้นๆ ผู้ป่วยรายนั้นๆ ควรไปพบแพทย์เมื่อใด บ่อยแค่ไหน แพทย์นัดเมื่อไร ผู้ป่วยทั้ง 3  กลุ่ม นอกจากจะได้รับการบริการเฉพาะข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับบริการที่เป็นพื้นฐานในการให้บริการ คือ การส่งมอบยา พร้อมคำแนะนำด้านยา และตอบสนองสิทธิผู้ป่วยพื้นฐานด้านข้อมูลยาหลังจากเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแล้ว การส่งมอบยาพร้อมคำแนะนำด้านการใช้ยาเป็นบทบาทสำคัญที่ตามมา โดยเภสัชกรจะให้คำแนะนำด้านการใช้ยากับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพในการรักษา มีเข้าใจ และเกิดความร่วมมือในการใช้ยา (Compliance) โดยการให้คำแนะนำจะเน้นประเด็นต่างๆที่สำคัญ เช่น ชื่อยา (ระบุบนซองยา) ปริมาณและวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องมีประสิทธิภาพ (ระบุบนซองยา)   คำเตือน (ระบุบนซองยา)  สรรพคุณของยา ข้อบ่งใช้ กลไกของยาในการรักษาเบื้องต้น และการเฝ้าระวัง ป้องกัน และบำบัดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการบริโภคยา โดยใช้องค์ความรู้ในเชิง เภสัชวิทยา (Pharmacology) เสริมในการให้บริการ นอกเหนือจากความรู้ที่ใช้ในการรักษาโรคพื้นฐานด้วยยาการให้ความรู้เรื่องโรคและยา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ผู้ป่วยควรรู้บทบาทในการให้ความรู้ด้านอื่นๆ นอกจาก "ยา" เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่มีความจำเป็น เนื่องจาก ผู้ที่มาใช้บริการมักจะขาดความรู้ในเรื่องที่จำเป็นในการดูแล รักษาโรคที่ตนกำลังประสบอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สาเหตุของโรค การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การดูแลตนเองให้หายจากการเจ็บป่วยเร็วมากขึ้น การประเมินความรุนแรงของโรคด้วยตนเอง การระวังอาการอันไม่พึงประสงค์ และการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการอันไม่พึงประสงค์ หรือจะเป็นความรู้เบื้องต้นในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง เป็นต้นการให้ความรู้นอกจากจะให้เป็นรายบุคคลแล้ว เภสัชกรจะให้ความรู้กับผู้ที่สัญจรไปมา ด้วยการจัดบอร์ดให้ความรู้ เอกสารแผ่นพับ จดหมายข่าว ฯลฯ  หรือในบางกรณีเภสัชกรชุมชนอาจจะมีกิจกรรมที่ให้ความรู้ต่อชุมชน  เช่น  การมีจดหมายข่าวไปสู่สมาชิกในชุมชน  การเยี่ยมบ้าน หรือการจัดบอร์ดในชุมชนการคัดเลือกยาที่มีคุณภาพ และ รับประกันคุณภาพของยาก่อนถึงมือผู้ใช้กระบวนการในการคัดเลือกยาที่จะมาให้บริการในร้าน เป็นอีกบทบาทที่มีความสำคัญ โดยการใช้ทักษะองค์ความรู้เฉพาะทางเภสัชศาสตร์ พิจารณารูปแบบยาจากภายนอก ประสบการณ์ในการคัดเลือก ประสบการณ์ด้านคุณภาพโรงงานผลิต เป็นต้น เพื่อการมียาที่คุณภาพดีที่จะใช้บริการผู้ป่วย นอกจากนั้นยังต้องสร้างระบบการควบคุม เฝ้าระวังการหมดอายุของยา ใม่ว่าจะเป็นระบบแถบสี หรือ บัญชียาหมดอายุ รวมทั้งการเก็บรักษายาตามหลักเภสัชศาสตร์เพื่อป้องกันการเสื่อมอายุของยา การเป็นปรึกษาและเป็นที่พึ่งเรื่องสุขภาพของคนในชุมชน ที่เข้าถึงง่ายเมื่อเรื่องของสุขภาพมีในหลายแง่มุม กว้างขวาง ประชาชนยังมีความรู้ไม่พอเพียง และต้องการที่ปรึกษาที่เข้าถึงง่าย เภสัชกรในร้านยาที่มีคุณภาพมักจะสามารถสร้างความเชื่อถือ ไว้ใจ ใกล้ชิดกับประชาชนพอที่จะให้บริการตอบคำถามต่างๆ ในเรื่องของสุขภาพได้ โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ในกรณีที่ต้องการให้ช่วยประเมินความปลอดภัยของยาที่จะใช้กับภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์  การประเมินความจำเป็นในการไปพบแพทย์ เป็นต้น บริการดีๆของร้านยาที่มีคุณภาพ บทบาทของเภสัชกรในร้านยาที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นบริการขั้นพื้นฐานที่ร้านยาคุณภาพพึงจะมีให้ผู้ป่วยที่มาใช้บริการ นอกจากบทบาทพื้นฐานเหล่านี้  เช่น-    เก็บบันทึกประวัติผู้ป่วยเรื้อรังที่มีปัญหาจากการใช้ยาหรือป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ระบบการติดตามผล -    การรณรงค์ป้องกันโรคในชุมชน โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม-    บันทึกแจ้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในกาคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา-    ออกให้บริการ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา นอกสถานที่ แล้วแต่เทศกาล-    เยี่ยมบ้านสำหรับผู้ป่วยบางราย-    ทำจดหมายข่าวให้ความรู้ กรณีตัวอย่างที่ 1ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนน พหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี - ตำบลคูคต เป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย  6 หมู่บ้าน คือ บ้านขจรเนติยุตร, บ้านคลอง 3, บ้านสายไหม, บ้านลำสามแก้ว, บ้านสาดสนุ่น, บ้านสามัคคี เป็นตำบลที่มีการคมนาคมสะดวก เป็นที่ตั้งของตลาดสดสี่มุมเมือง ทำให้มีการสัญจรไปมาขับคั่ง ตำบลคูคต ทิศเหนือ ติด ต.ประชาธิปัตย์ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ทิศใต้ ติด กรุงเทพฯ ทิศตะวันออก ติด ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และทิศตะวันตก ติด ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี จำนวนประชากรทั้งสิ้น 15,694 คน ในตำบลคูคต มีร้านยาจำนวน 25 ร้าน คิดเป็น จำนวนร้อยละ 16.55 ของจำนวนร้านยาทั้งหมดในจังหวัดปทุมธานี ร้านส่งเสริมเภสัช โดย ภ.ก.วิรัตน์ เมลืองนนท์ ได้จัด บอร์ดให้ความรู้แก่ผู้สัญจรไปมา และผู้มาใช้บริการ เพื่อให้ได้มีความรู้มากขึ้นในแง่ของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยมีบอร์ดสำเร็จรูปทั้งหมดที่ร้านทำไว้ 40 - 50 แฟ้มที่เอาไว้เปลี่ยน เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นโรคพื้นฐาน เช่น เรื่องโรคกระเพาะ เรื่องการใช้ยา เรื่องเริม และจะมีเปลี่ยนเดือนละ 1 - 2 ครั้ง ส่วนการเลือกเรื่องนั้น แล้วแต่ฤดูกาล"...เรื่องของ โปสเตอร์หน้าร้าน นั้นจะเปลี่ยนตามช่วง ช่วงที่มีไข้เลือดออกระบาดก็จะทำเนื้อหาเกี่ยวกับไข้เลือดออกเป็นต้น ซึ่งดูจากสื่อมวลชน เราจะรู้ว่าช่วงนี้ควรติดเรื่องอะไร และดูตามฤดูกาล เช่น เข้าหน้าหนาวเราควรดูแลตนเองอย่างไร ข้อมูลที่มาจากคนไข้ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่เป็นหลัก..." (สัมภาษณ์ เภสัชกรผู้ให้บริการหลักในร้านส่งเสริมเภสัช)บทบาทในการให้ความเรื่องอื่นนอกจาก "ยา" เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่มีความจำเป็น เนื่องจาก ผู้ที่มาใช้บริการมักจะขาดความรู้ในเรื่องที่จำเป็นในการดูแล รักษาโรคที่ตนกำลังประสบอยู่"...ความรู้ที่ให้ไปนั้น บางครั้งเรามองว่าเป็นบทบาทของอีกวิชาชีพหนึ่ง แต่ถึงเวลาจริงๆ คนไข้กลับไม่ได้รับความรู้เรื่องนั้นๆ ในชุมชนที่เราอยู่ไม่มีคนให้ความรู้ หรือ คนไข้ไม่ได้รับความรู้มาทั้งหมด มีระบบที่มีการให้พยาบาลมาให้ความรู้ตามโรงพยาบาล แต่ละโรงพยาบาล ระบบนี้ก็ไม่ได้ให้เหมือนกันทั้งหมด ผู้มาใช้บริการกับผมมักจะไม่ค่อยรู้ การแบ่งบทบาทวิชาชีพเป็นเรื่องดี แต่ในฐานะที่เภสัชกรชุมชน ที่มีหน้าที่ต้องคัดกรองและรักษาโรคเบื้องต้น ผมว่าควรให้ความรู้อื่นๆประกอบนอกจากเรื่องยาของเรา...และต้องมีองค์ความรู้เพียงพอในเรื่องโรค เพราะในบางครั้งเราสามารถเสริมในสิ่งเหล่านั้นได้ ถ้าผู้ป่วยเรียกร้อง หรือคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะให้.. บางครั้งเราก็ต้องรู้เพื่อแบ่งเบาภาระ แต่ต้องรู้ว่าด้านนี้ไม่ใช่ภาระหลักของเภสัชกร แต่เราต้องรู้เพื่อครอบคลุมการดูแลชุมชนของเรา เพื่อคุ้มครองเขา..." (สัมภาษณ์ เภสัชกรผู้ให้บริการหลักในร้านส่งเสริมเภสัช) กรณีตัวอย่างที่ 2ร้านเรือนยา  ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกบ้านแขก วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนฯ เป็นร้านขายยา ขนาด 2คูหา มี ภ.ก.คฑา บัณฑิตานุกูล เป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเปิดตั้งแต่ 8.00 - 22.00 น. มีการรับสมัครสมาชิกกว่า 500 ราย และมี จดหมายข่าวด้านสุขภาพ ในชื่อ " เรือนยาสัมพันธ์ " เป็นสายใยความผูกพันระหว่างร้านยาและผู้ใช้ยา ส่งตรงถึงบ้านสมาชิกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทุกเดือน ๆ ละฉบับ กว่า 4 ปีแล้ว ที่วารสารเกือบ 50 ฉบับได้ส่งถึงมือผู้รับพร้อมมอบสาระ ความรู้ และสร้างความผูกพันระหว่างกัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากบริษัทยาใด ๆ เป็นความตั้งใจให้จดหมายข่าวทำหน้าที่ของมันได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง โดยมีความมุ่งหมายคือการส่งเสริมให้เกิดการดูแลสุขภาพทั้งก่อนเจ็บป่วยและหลังเจ็บป่วย รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม บางฉบับมีการสร้างกิจกรรมร่วมกันโดยมีแบบสอบถามความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน ของขวัญที่เป็นหนังสือความรู้เรื่องเล็กๆน้อยๆ ล่าสุดมีความพยายามในการเปิดเวทีความคิดให้กับสมาชิกมาร่วมกันในจดหมายข่าวมากขึ้นเพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกด้วยกันมากขึ้น ตอนนี้ถึงแม้มีผู้ใช้ยาหลายคนย้ายที่อยู่และไม่ได้มาใช้บริการกับร้านเรือนยาแล้ว แต่ด้วยสายใยที่ยังเหนียวแน่น จดหมายข่าวจะยังไปถึงมือสมาชิกต่อไปแม้จะได้มาใช้บริการที่ร้านก็ตาม สิ่งดีๆเหล่านี้มีความเผยแพร่แนวคิดเรื่องจดหมายข่าวให้กับร้านยาอื่นๆ มากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระ รูปแบบใหม่ๆ ที่สำคัญคือการสานให้เกิดเครือข่ายร้านยาที่มีจุดหมายและกิจกรรมที่ดีๆสู่ผู้บริโภคอย่างยั่งยืน ต่อเนื่องและขยายตัวออกไป กรณีตัวอย่างที่ 3 ร้าน เอ็น & บี ฟาร์มา แคร์ เป็นร้านยาที่เปิดตัวขึ้นใหม่ แถวรามคำแหง 2 เขตประเวศ บริหารโดย ภ.ก.นาวี ช่วยชาติ เภสัชกรหนุ่ม ไฟแรงมีความใฝ่ฝันในการพัฒนาคุณภาพงานบริการทางเภสัชกรรมในร้าน เป็นร้านยาใหม่ที่วางแนวทางเป็นร้านยาคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้น เป็นอีกร้านที่มีความพยายามที่จะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดูแลผู้ป่วยและบริหารจัดการภายในร้าน กิจกรรมที่น่าสนใจในร้านนี้เห็นจะได้แก่การเก็บประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  เช่น โรคความดันโลหิตสูง และ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านเชื้อจุลชีพ ที่เป็นผู้ป่วย 2 กลุ่มที่ต้องการการติดตามการใช้ยา ว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาหรือไม่ และใช้เป็นข้อมูลเฉพาะบุคคลที่เป็นพื้นฐานสำหรับในการให้บริการด้านยาในครั้งต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อมูล  "ไม่เอาผู้มาใช้บริการเป็นหนูทดลองยาและบางครั้งยังทำให้เกิดการประหยัดสำหรับผู้มาใช้บริการด้วย"  เป็นทัศนคติที่สำคัญของเภสัชกรประจำร้าน ผู้มาใช้บริการร้านนี้ หลังจากใช้ยาที่ต้องติดตามแล้วจะมีเสียงโทรศัพท์จากร้านยา เพื่อแสดงความห่วงใยและติดตามผลการใช้ยา รวมทั้งเฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น  แม้จะเป็นบริการรูปแบบใหม่ ทำให้ผู้มาใช้บริการหลายคนถึงกับแปลกใจในระยะแรก ปัจจุบันก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี 9 ข้อ ประเมินร้านยาที่ท่านใช้บริการ 1.    ท่านจะรู้ทันทีว่า ใครกำลังให้บริการท่านอยู่ เป็นเภสัชกร ผู้ช่วยเภสัชกร  แต่อย่างไรก็ตามเภสัชกรจะส่งมอบยาขั้นสุดท้ายก่อนถึงมือท่าน 2.    เมื่อท่านเรียกหายา ผู้ให้บริการจะถามถึงผู้ใช้ยาที่แท้จริง และถามย้ำเพื่อยืนยันให้แน่ใจว่า ยาที่ท่านเรียกหานั้น เหมาะสมกับโรคหรืออาการที่ท่านเป็น มีความปลอดภัยกับท่าน ไม่ตามใจท่านโดยขายอย่างเดียว3.    เมื่อท่านได้รับยาแล้ว ท่านจะรู้ว่า ยาที่ได้รับ มาจากร้านชื่ออะไร ชื่อยาอะไร รักษาอะไร วิธีใช้อย่างไร มีคำเตือนอะไร โดยระบุบนซองยาและฉลากให้ความรู้ด้านคำเตือนเสริมให้ในข้อมูลที่สำคัญ 4.    ไม่มีจ่ายยาเป็นชุดๆ  แต่จะ จ่ายยาพร้อมให้คำอธิบายที่จำเป็น เช่น วิธีใช้ การปฏิบัติตัวเพื่อให้หายป่วย การใช้ยาอย่างเหมาะสม เป็นต้น5.    ถ้าท่านเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องมารับบริการต่อเนื่อง จะมีแฟ้มเก็บ "ประวัติการใช้ยา" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยจากการใช้ยา 6.    ในกรณีมีปัญหาจากการใช้ยา จะมีบริการ "ให้คำปรึกษาด้านยา" เพื่อแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา และ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วยยาอยู่อย่างสม่ำเสมอ 7.    เมื่อโรคและอาการที่มาเกินความสามารถของเภสัชกรในการดูแล รักษา จะมีการส่งต่อให้แพทย์ดูแล 8.    มีสื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพ และมีประกาศสิทธิผู้ป่วย ให้เห็นชัดเจน9.    ปรึกษาเรื่องยา เรื่องสุขภาพ การป้องกันโรค สร้างเสริมสุขภาพ ได้ด้วย -    Mapping (ร้านยาที่ผ่าน / ร้านยาที่สมัคร)ร้านยาที่สมัครเข้าโครงการเพื่อพัฒนาเป็นร้านยาคุณภาพ ปัจจุบันยังมีจำนวนไม่มาก เพียง 200 กว่าร้าน แต่ก็กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ และ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ร่วมกับสภาเภสัชกรรมร้านยาที่ผ่านการรับรองเป็นร้านยาคุณภาพ โดยสภาเภสัชกรรม ในปี 2546 (รุ่นที่ 1 ) มี 26 ร้าน และในปี 2547 (รุ่นที่ 2 ) 21 ร้านนี้ คาดว่าจะมีเพิ่มอีกกว่า 50 ร้านก่อนสิ้นปี 2547  ทั้งใน กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ ผู้ประสานงานเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ภ.ญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร อนุกรรมการ และ ผู้เยี่ยมสำรวจ สำนักงานรับรองคุณภาพร้านยา สภาเภสัชกรรม T. 02 590 1877, M. 01 627 4848ภ.ก.วราวุธ เสริมสินสิริ ผู้ประสานงาน สำนักงานโครงการพัฒนาคุณภาพร้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาT. 02 589 7147, M. 09 796 1437

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 40 ทะเบียนยา

ตารางที่ 1 แสดงรายการทะเบียนยาผสมที่มี PPA เป็นส่วนประกอบในช่วงปริมาณมากกว่า 50 มก./แคปซูล/เม็ด/15 มล. เรียงตามชื่อทางการค้า ลำดับ เลขทะเบียน ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อการค้า 1 2A373/31 สุพงษ์เภสัช คอฟ ดี.เอส 2 2A17/38 ห้างยาไทย 1942 จำกัด คอฟต้า คัพ 3 2A81/31 จิวบราเดอร์ส คอลเดท ไซรัป 4 2A218/32 ไซอเมริกันฟาร์มาซูติเคิ้ลส์ จำกัด โคซายร์ 5 2A870/27 สยามเมดิแคร์ จำกัด โคลดี้ 6 2A195/27 เจริญเภสัชแล็บ จำกัด ซี.บี.คัพ ไซรัป 7 2A278/41 แสงไทยกำปะนี (สาขา) ซูเม็ก คัพ ไซรัป 8 2A333/32 เลิศสิงห์เภสัชกรรม ดีเฟอร์ลิน ชนิดหยด 9 2C31/35 ไวเอท - เอเยิร์สท์ (ประเทศไทย) จำกัด ไดมีแท็ป ชนิดหยดสำหรับทารก 10 2B11/41 อินเตอร์ไทย ฟาร์มาซูติเคิ้ล แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ไดมีแท็ป เอ็กซ์เทนแท็บส์ 11 2A374/32 ฟาร์สเป็ค จำกัด ทัสเปค ไซรัป 12 2C129/40 ฐิติรัตน์สานนท์ จำกัด โบรมาแท็ป 13 2A55/42 ยูเมด้า จำกัด พานากิน- เอ ไซรัป 14 2C26/40 ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ไรโนทัสซาล 15 2C27/40 ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ไรโนปรอนท์ ไซรัป 16 2A135/38 จิวบราเดอร์ส สโตคอน ไซรัป ตารางที่ 2 แสดงรายการทะเบียนยาที่มี PPA เป็นส่วนประกอบในช่วง 26-50 มก./เม็ด /แคปซูล/15 มล. เรียงตามชื่อทางการค้า ลำดับ เลขทะเบียน ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อการค้า 1 2A428/27 เยาวราช จำกัด คอนเจน ไซรัป 2 2C1/43(N) สมิท ไคล์น แอนด์ เฟรนช์ (ไทยแลนด์) จำกัด คอนแทค 3 2B5/29 โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด คอนแทค 500 4 2C17/28 สมิท ไคล์น แอนด์ เฟรนช์ (ไทยแลนด์) จำกัด คอนแทค 500 5 2A739/30 เคนยากุ (ประเทศไทย) จำกัด เคนยา-ไอ ไซรัป 6 2A1099/29 เคมีภัณฑ์เมดิคอล โคโซแทน เอ็กซ์เปคทอแรนท์ 7 2A943/28 เลิศสิงห์เภสัชกรรม โคลดี้ ไซรัป 8 2A1140/29 เยนเนอร์ราลดรั๊กส์เฮ้าส์ จำกัด เจนเดคอน 9 2A51/29 ชาญกิจเทรดดิ้ง ซอปโก 10 2A84/41 ไทยนครพัฒนา จำกัด ซีซัส 11 2A1117/28 สหแพทย์เภสัช จำกัด เดนาคอฟ ไซรัป 12 2A194/43 อินเตอร์ไทย ฟาร์มาซูติเคิ้ล แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ไดเมแท็ป เอเอฟ 13

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 รูปแบบของยาชุดลดน้ำหนัก

ความเดิมตอนที่แล้ว ฉลาดซื้อส่งอาสาสมัครสาวน้อย สาวใหญ่ที่รูปร่าง น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติไปรับบริการที่คลินิกลดน้ำหนักหลายจังหวัด พบว่า ส่วนใหญ่แพทย์จ่ายยามาให้กินกันเป็นกอบกำ มีอยู่ไม่กี่แห่งที่แพทย์ หรือพนักงานบอกว่า “ไม่อ้วนนะจ๊ะ ยาไม่ต้องกิน ไปออกกำลังกายดีกว่า”   หลังจากได้ยามาแล้ว ก็อยากรู้ต่อว่า ยาที่ได้รับมาเป็นยาอะไรบ้าง ยังเป็นรูปแบบเดิมๆ หรือไม่ อย่างไร เราจึงส่งตัวอย่างทั้งหมดไปตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดอุบลราชธานี ตอนนี้ผลทั้งหมดอยู่ในมือแล้ว   สรุปผลสำรวจจากฉลาดซื้อ ฉบับ 95 จากการสังเกตและบันทึกผลของอาสาสมัคร พบว่า 1.แพทย์จากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จ่ายยาให้เมื่ออาสาสมัครบอกว่า อยากลดน้ำหนัก ทั้งที่ค่าบีเอ็มไอของอาสาสมัครอยู่ในเกณฑ์ปกติทุกคน 2.มีการเสนอบริการอื่นๆ เพื่อจูงใจให้ใช้บริการ แต่จะกระทำโดยพนักงานหรือประชาสัมพันธ์ของร้านมากกว่าแพทย์ 3.คลินิกส่วนใหญ่แพทย์จะให้เวลากับอาสาสมัครประมาณ 5-10 นาที คำแนะนำต่างๆ วิธีการใช้ยาหรือการควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีอื่น มักกระทำโดยพนักงานของร้านเป็นส่วนใหญ่ ทั้งก่อนและหลังพบแพทย์ 4.พบว่ามีสถานบริการบางแห่งจ่ายยาให้โดยไม่มีการซักประวัติการแพ้ยา หรือแม้แต่วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และมีหนึ่งแห่งได้แก่ คลินิกแพทย์หญิงกัลยาภรณ์ สตูล ที่จ่ายยาโดยพนักงานไม่ใช่แพทย์ “เมื่ออาสาสมัครเข้าไปในคลินิก มีพนักงานถามว่า มาทำอะไร พอบอกว่า ลดน้ำหนัก ก็บอกให้ชั่งน้ำหนักตัวและวัดส่วนสูง แล้วจัดยาให้เม็ดละ 20 บาท จำนวน 10 เม็ด ระบุหน้าซองยาว่า ยาลดไขมัน (จากการวิเคราะห์พบว่า เป็นยาไซบูทรามีน) โดยไม่ได้พบแพทย์ 5.จากการสำรวจพบว่า ค่าใช้จ่ายในการไปคลินิกเพื่อรับการรักษาเรื่องลดน้ำหนักมีค่าบริการต่ำสุดคือ 190 บาทต่อครั้ง และสูงสุด 1,130 บาทต่อครั้ง 6.ไม่มีการแจ้งชื่อยา (ทั้งชื่อการค้าและชื่อสามัญ) แต่จะระบุเป็นประเภท ได้แก่ ยาลดไขมัน ยาลดไขมันพิเศษ ยาควบคุมความหิว ยาระบาย เป็นต้น 7.อาสาสมัครส่วนใหญ่ จะไม่ได้รับคำอธิบายที่ละเอียดมากพอสำหรับการใช้ยาแต่ละชนิด เช่น ไม่รู้ชื่อยา การทำงานหรือการออกฤทธิ์ของยา ผลข้างเคียงที่ต้องระวัง โดยเฉพาะสภาวะเสี่ยงเช่น ความดันโลหิตสูงหรืออาการทางจิตประสาท การใช้ยาลดน้ำหนักความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหัวใจ โรคข้อเสื่อม โรคมะเร็ง ฯลฯ การลดความอ้วนจึงเท่ากับการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคลง ซึ่งการลดน้ำหนักนั้นมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งแบบปลอดภัย ค่อยเป็นค่อยไป และแบบเสี่ยงตาย อันตรายสูง วิธีหนึ่งที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงสูง และน่าจะเป็นหนทางสุดท้ายสำหรับการลดน้ำหนักคือ การใช้ยาเข้าช่วยเพื่อให้ “ผู้ป่วยโรคอ้วน” มีน้ำหนักลดลง แต่ทั้งนี้ควรเป็นไปภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะการใช้ยาลดน้ำหนักมีข้อถกเถียงกันมากทั้งในแง่ประสิทธิภาพของยา ระยะเวลาที่ให้การรักษา และผลข้างเคียงจากการใช้ยา ความจริงเกี่ยวกับยาลดน้ำหนัก1.การใช้ยาลดน้ำหนักนั้น ยาเพียงช่วยควบคุมน้ำหนักให้ลดลงและคงที่ แต่ยาไม่ได้รักษาโรคอ้วนให้หายไป ดังนั้นการหยุดยาลดน้ำหนักอาจจะทำให้น้ำหนักเพิ่มใหม่ได้ 2.การใช้ยาลดน้ำหนักจะได้ผลดีต้องใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.การใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ แต่ถึงอย่างนั้นก็มักพบว่า แพทย์จำนวนไม่น้อยใช้ยาลดน้ำหนักโดยที่ผู้ป่วยไม่มีข้อบ่งชี้หรือความจำเป็นที่จะต้องใช้ยา ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน และในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ (ข้อมูล การใช้ยาลดน้ำหนักในการรักษาโรคอ้วน (Drug Therapy of Obesity) โดย นพ.ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล) ยาที่ใช้ลดน้ำหนัก ปัจจุบันยาที่นำมาใช้ลดน้ำหนักแบ่งตามการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่มีขายในประเทศไทย มี 2 ประเภท คือ  ประเภทที่ 1 ลดความอยากอาหารหรือควบคุมความหิว ยาจะไปออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งยังแบ่งย่อยได้เป็นสามกลุ่ม คือ (1) ยาที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายกลุ่มแอมเฟตามีน ได้แก่ Phentermine เป็นยากลุ่มที่ควบคุมโดย พรบ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518(2) ยาที่จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ตาม พรบ.ยา พ.ศ.2510 ได้แก่ Sibutramine (3) ยาที่ไม่มีข้อบ่งใช้เพื่อการลดน้ำหนัก แต่มีผลข้างเคียงที่ทำให้ไม่อยากอาหาร ได้แก่ Fluoxetine ซึ่งจัดเป็นยาอันตรายตาม พรบ.ยา พ.ศ. 2510 (เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้เพื่อรักษาอาการในกลุ่มโรคซึมเศร้า)   ประเภทที่ 2 ยาที่มีผลต่อทางเดินอาหาร ยามีผลทำให้ร่างกายไม่ย่อยอาหารประเภทไขมันและไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ Orlistat จัดเป็นยาอันตรายตาม พรบ.ยา พ.ศ.2510  รูปแบบการจ่ายยาลดน้ำหนักจากการศึกษาเรื่อง การวินิจฉัยและการจ่ายยาลดน้ำหนักในคลินิกลดความอ้วน ของกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 (ผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสารอาหารและยา เล่ม 2/2552) พบว่า มีการจ่ายยาเพื่อลดน้ำหนัก 7 กลุ่ม ได้แก่   1.กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง 2.กลุ่มยาระบาย 3.กลุ่มยาขับปัสสาวะ 4.กลุ่มยาลดการหลั่งของกรดในกระเพาะ5.กลุ่มยาไทรอยด์ ฮอร์โมน 6.กลุ่มยาลดอาการใจสั่น หรือลดการเต้นของหัวใจไม่เป็นจังหวะ7.กลุ่มยาที่มีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้ง่วงนอน (ยานอนหลับ)   นอกจากนี้ยังมีการจ่ายอาหารเสริมร่วมด้วย หรือจ่ายอาหารเสริมเพียงอย่างเดียว อาหารเสริมยังรวมถึง วิตามิน หรือสมุนไพร ที่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร แต่ระบุว่า ลดไขมันหรือสารละลายไขมัน เป็นต้น รูปแบบการจ่ายยาลดน้ำหนักสำรวจโดยวารสารฉลาดซื้อ การศึกษาของ อย.กับทางวารสารฉลาดซื้อจะใกล้เคียงกัน คือ ส่งอาสาสมัครไปรับบริการในคลินิก แต่ของฉลาดซื้อไม่ส่งคนอ้วนหรือคนที่มีค่า บีเอ็มไอมากกว่า 27 เข้าไป เราให้สาวน้อย สาวใหญ่เป็นตัวแทนเข้าไปขอรับบริการ ดังนั้นข้อมูลสำคัญที่เราค้นพบก็คือ คลินิกส่วนใหญ่จ่ายยาลดน้ำหนักให้อาสาสมัคร แม้ไม่มีข้อบ่งชี้ว่า จำเป็นต้องใช้ยาลดน้ำหนัก และบางรายอายุน้อยกว่า 18 ปี (ยาลดความอ้วนทุกชนิด ไม่มีข้อบ่งใช้ในเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานในการเติบโต)โดยยาที่ได้รับกลับมานั้นเมื่อนำไปตรวจวิเคราะห์พบว่า มีรูปแบบการจ่ายยาดังนี้ 1. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว ชนิดเดียว ได้แก่ คลินิกแพทย์หญิงกัลยาภรณ์ สตูล หัสชัยคลินิก เชียงใหม่ (อาสาสมัครวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่เป็นยาคนละชนิดกัน) และราชวิถี สลิมแคร์ เพชรบูรณ์ (อาสาสมัครวัยทำงาน) 2. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว สองชนิด ได้แก่ คลินิกผิวหนังแพทย์สันต์ เพชรบูรณ์ (อาสาสมัครวัยรุ่นและวัยทำงาน)3. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยาระบาย ได้แก่ วิยดาคลินิก สาขา 2 สตูล นิติพลคลินิก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นครินทร์คลินิกเวชกรรม สมุทรสงคราม (อาสาสมัครวัยรุ่นและวัยทำงาน)4. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยาระบาย+ยานอนหลับ ได้แก่ แพทย์ปริญญา เชียงใหม่ (อาสาสมัครวัยรุ่น) คอสเมส สลิมแคร์ พัทลุง5. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว สองชนิด+ยาระบาย+ยานอนหลับ ได้แก่ ราชวิถี คลินิกเวชกรรม กาญจนบุรี 6. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยาระบาย+ยาลดอาการใจสั่น ได้แก่ วุฒิศักดิ์คลินิก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 7. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยานอนหลับ ได้แก่ แพทย์ปริญญา เชียงใหม่ (อาสาสมัครวัยทำงาน)8. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+วิตามินบี1 ได้แก่ คลินิกหมอจริยา ลำปาง9. ไม่ทราบว่าเป็นยากลุ่มใด ได้แก่ เมเจอร์เมดิคอลคลินิก กาญจนบุรี และ ราชวิถี สลิมแคร์ เพชรบูรณ์ (อาสาสมัครวัยรุ่น) แทรกตาราง ทำไมต้องจ่ายยาเป็นกอบกำจากรูปแบบที่พบ จะเห็นว่ามีผลิตภัณฑ์อีกหลายตัวอย่างที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นยาหรือไม่ เพราะไม่สามารถตรวจหาตัวยาสำคัญทางห้องปฏิบัติการได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นพวกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยทำให้อิ่ม อย่างพวกเส้นใยต่างๆ หรือที่เชื่อกันว่ามีผลต่อการลดน้ำหนัก เช่น ส้มแขกหรือพวกไคโตซาน เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้จะมีราคาแพง แต่ไม่มีผลที่ชัดเจนอะไรว่าช่วยลดน้ำหนักได้จริง มีแต่ช่วยเพิ่มในเรื่องราคาค่าบริการที่อาสาสมัครต้องจ่ายมากขึ้น ยาบางชนิดไม่ได้มีข้อบ่งใช้ในการลดน้ำหนัก แต่ก็พบว่ามีการจ่ายให้แก่อาสาสมัคร ได้แก่ ยา Fluoxetine ซึ่งใช้ในผู้ป่วยกลุ่มอาการซึมเศร้า มีผลข้างเคียงทำให้ไม่อยากอาหารก็จริง แต่ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ประสาทหลอน กระวนกระวาย คลื่นไส้ และผลข้างเคียงที่อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมรุนแรง เช่น การฆ่าตัวตายได้ ส่วนยาระบายเป็นยาที่ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้เพื่อลดน้ำหนักอยู่แล้ว เพราะเป็นการระบายน้ำออกจากร่างกายแค่นั้น น้ำหนักที่ลดลงจึงไม่ใช่ของจริง แต่อีกสาเหตุที่นิยมจ่ายยาระบายก็คือเพื่อแก้ปัญหาเรื่องผลข้างเคียงของยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ควบคุมความหิว เช่น Sibutramine ที่ทำให้ท้องผูก การจ่ายยาระบายก็เพื่อแก้ท้องผูกนั่นเอง หรือการจ่ายยานอนหลับก็เพื่อลดผลข้างเคียงของยากลุ่มที่ควบคุมความหิว ที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้นอนไม่หลับ เรียกได้ว่า กินยาลดน้ำหนักแล้วจะเกิดผลข้างเคียงอะไร ก็จ่ายยาแก้ควบคู่กันไปเพื่อลดอาการของผลข้างเคียงนั้นๆ เป็นที่มาของการที่ต้องกินยาเป็นกอบเป็นกำนั่นเอง   วิธีการสำรวจของฉลาดซื้อ 1.ส่งอาสาสมัครลงพื้นที่สำรวจคลินิกที่ระบุป้ายหน้าร้านว่าบริการลดน้ำหนัก ใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี เชียงใหม่ ลำปาง เพชรบูรณ์ อ่างทอง สมุทรสงคราม พัทลุงและสตูล 2.อาสาสมัครสาวทุกคนจะมีชุดคำถามสำหรับการเข้าใช้บริการในคลินิกที่เป็นเป้าหมาย อาสาสมัครมีทั้งที่เป็นสาววัยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี และสาววัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป ทุกคนมีน้ำหนักปกติ (ค่าบีเอ็มไอหรือดัชนีมวลกายไม่เกิน 23) 3.ในการสำรวจ อาสาสมัครบางจังหวัดจะเข้ารับบริการในคลินิกเดียวกันทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน เพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาของผู้ให้บริการ   เมื่อไรที่ควรใช้ยาลดน้ำหนักการใช้ยาลดน้ำหนักในการรักษาโรคอ้วนนั้น ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการประเมินความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการรักษา ความคุ้มและประโยชน์ที่ได้รับ โดยมีข้อแนะนำดังนี้ 1.เมื่อดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 โดยที่ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่ไม่สำเร็จ 2.เมื่อดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 27 แต่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดผิดปกติ โดยที่ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่ไม่สำเร็จ   *บีเอ็มไอ (BMI) หรือดัชนีมวลกาย เป็นเครื่องมือหนึ่งในการประเมินว่าเรามีน้ำหนักตัวปกติ ผอมไปหรืออ้วนไป โดยสามารถคำนวณได้จากน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตรยกกำลังสอง)ตัวเลขที่ได้ออกมาจะสามารถบอกได้ระดับหนึ่งว่า คุณอยู่ในภาวะใด โดยทั่วไปค่าดัชนีมวลกายปกติมีค่าระหว่าง 18.5 - 22.9 ต่ำกว่านี้ก็ผอมไป มากกว่านี้ก็ถือว่าน้ำหนักเกิน แนะนำสำหรับคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต ลองแวะไปที่ http://konthairaipung.anamai.moph.go.th/bmi.html ที่นี่เขาจะมีโปรแกรมคำนวณค่าบีเอ็มไอให้คุณได้อย่างรวดเร็วแค่กรอก น้ำหนักตัวและส่วนสูง พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัว จำนวนตัวอย่างและชนิดของยาที่จ่ายในคลินิกที่ทำสำรวจดาวโหลด file Word ตารางได้ที่นี่ค่ะ  หมายเหตุ * ผลิตภัณฑ์มีลักษณะคล้ายยา เป็นแคปซูล เป็นผง หรือเม็ด แต่ไม่สามารถตรวจหาตัวยาสำคัญ ทางห้องปฏิบัติการได้ ** อยู่ระหว่างตรวจวิเคราะห์ วิเคราะห์ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานีผลการวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นสำรวจระหว่าง สิงหาคม 2551 – มกราคม 2552 โดยอาสาสมัครวารสารฉลาดซื้อ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 แร็คแขวนจักรยานท้ายรถ

ใกล้วันหยุดยาวกันแล้ว ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบอุปกรณ์เพื่อการพกพาจักรยานคันโปรดของคุณและสมาชิกครอบครัวไปด้วยในยามที่ไปพักผ่อนนอกสถานที่ แร็คจักรยานทั้งหมด 22 รุ่นยอดนิยมในยุโรป ถูกส่งไปที่ห้องแล็บของสถาบันทดสอบทางวิศวกรรมในสาธารณรัฐเช็ก โดยสมาชิกในยุโรปขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing การทดสอบดังกล่าวแบ่งการให้คะแนนออกเป็น 3 ด้านดังนี้ร้อยละ 50    ประสิทธิภาพการใช้งาน ดูจากเวลาที่ใช้ในการนำจักรยานขึ้นไปติดตั้ง การถอดจักรยานออก        จากอุปกรณ์ และการทดสอบบนถนน ด้วยการนำรถที่ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าววิ่งบนสภาพถนน         3 ประเภท แล้วตรวจสอบว่าเกิดการโยกแยก เลื่อนหลุด มากน้อยแค่ไหน -    ทางหลวง เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตร/ชั่วโมง-    ถนนสายรองประเภทที่ 2 และ 3 (ตามเกณฑ์ของยุโรป) ที่มีความชัน ทางโค้ง เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10-18 กิโลเมตร/ชั่วโมง-    ถนนดิน/กรวด เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10-18 กิโลเมตร/ชั่วโมงร้อยละ 35    ความแข็งแรงทนทาน ดูจากคุณภาพการประกอบชิ้นงาน ความปลอดภัยของชิ้นส่วนและ            กลไกต่างๆ  ความทนทานต่อการขึ้นสนิม (เมื่อทิ้งไว้ในห้องที่มีฝุ่นเกลือเป็นเวลา 48 ชั่วโมง)         รวมถึงความเป็นไปได้ในการล็อคกันขโมยร้อยละ 15     ความสะดวกในการประกอบอุปกรณ์ ติดตั้ง รวมถึงคู่มือและเวลาที่ใช้ในการติดตั้ง     คราวนี้เรานำเสนอเพียง 18 รุ่น (จากทั้งหมด 22 รุ่น) เพราะที่เหลือได้คะแนนน้อยกว่า 3 ดาว นอกจากนี้เรายังพบว่าของถูกนั้นมี แต่ของดีที่ได้คะแนนรวมสูงนั้นราคาไม่ถูก บอกเลยว่าถ้าอยากได้ของดี คุณต้องเตรียมควักเงินไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท  * หมายเหตุ ราคาที่นำเสนอส่วนใหญ่เป็นราคาที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ท และคำนวณเป็นเงินบาทจากอัตราแลกเงินในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 กรุณาตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจ                              

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 ผลทดสอบที่นอนยางพารา

ตามที่สัญญาไว้ในฉบับเดือนพฤษภาคม คราวนี้เรานำผลการทดสอบที่นอนยางพารา ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้มาฝากสมาชิกกัน ถึงแม้มันจะไม่ใช่ทางเลือกของผู้ที่ชอบที่นอนชนิดนุ่มมากๆ แต่หลายคนก็ชอบที่นอนยางพาราเพราะมันทนทาน ระบายอากาศได้ดี แถมไม่เป็นที่โปรดปรานของไรฝุ่น จึงเหมาะกับคนที่มีอาการภูมิแพ้ด้วย คะแนนรวมที่ได้เป็นการถัวเฉลี่ยระหว่างคะแนนด้านต่างๆ เช่น สมรรถนะ (การรองรับสรีระ การระบายความชื้น และการความคงตัว เป็นต้น) และความแข็งแรงทนทาน (วัดจากความเปลี่ยนแปลงหลังวางน้ำหนัก 140 กิโลกรัมลงบนที่นอน 30,000 ครั้ง รวมถึงการวางบุหรี่ที่ติดไฟไว้บนที่นอนด้วย) เช่นเดียวกับที่นอนสปริง เรายังไม่พบรุ่นที่ได้คะแนน 5 ดาว ที่นอนยางพาราที่นำมาทดสอบได้คะแนน 4 ดาวเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง 4 รุ่นที่ได้ 3 ดาว (Memory Air Latex ของ Chimera Benessere / Tutam Latex ของ Alessanderx / Lattice PF20 Climatizzato Medio ของ Pirelli และ Lattice Premium Climatizzato 7 Zone Medio ของSimmons) สำหรับคะแนนในแต่ละด้านของที่นอนเหล่านี้ ติดตามได้ในหน้าถัดไป        

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 145 TYRES CSR ความรับผิดชอบของผู้ผลิตยางรถยนต์

  คราวนี้องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing เขาได้ทำการสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรดาผู้ผลิตยางรถยนต์แบรนด์ต่างๆ ที่เรารู้จักกันดี ทั้งจากเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ฟินแลนด์ อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี   สมาชิกฉลาดซื้อคุ้นเคยกันดีแล้วกับการแสดง “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ในรูปแบบที่เป็นการรับผิดชอบตั้งแต่กระบวนการสรรหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจ้างงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงความโปร่งใสในทุกกระบวนการ  เรามาดูกันเลยว่ายางรถยนต์แบรนด์ไหน ให้ความสนใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน   เกณฑ์การให้คะแนน นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 40 นโยบายสิ่งแวดล้อม /  มาตรฐานการจัดซื้อ / โปรแกรมและเครื่องมือในการเฝ้าระวัง   นโยบายด้านสังคมร้อยละ 30 นโยบายแรงงาน / มาตรฐานการจัดซื้อ / โปรแกรมและเครื่องมือในการเฝ้าระวัง   การจัดซื้อยางดิบ ร้อยละ 20 เงื่อนไขในการจัดหายางดิบ / เงื่อนไขในการแปรรูปยางดิบ / แนวปฏิบัติต่อชุมชนและต่อการคอรัปชั่น   ความโปร่งใส ร้อยละ 10 การมีส่วนร่วมในการตอบแบบสอบถาม / การอนุญาตให้เข้าชมโรงงาน / การรายงานต่อสาธารณะ   วิธีการสำรวจ ค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสาร เช่น ข่าว รายงานประจำปี รายงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ถือหุ้น เป็นต้น ใช้แบบสำรวจ (ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม 2555) ด้วยคำถามใน 5 หัวข้อต่อไปนี้ -          นโยบาย CSR สะท้อนมาตรฐานหรือระเบียบปฏิบัติสากลหรือไม่ -          บริษัทมีการกำกับดูแลสภาพการใช้แรงงานและสิ่งแวดล้อมในสายการผลิตหรือไม่ -          บริษัทได้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตหรือไม่ -          บริษัทออกแบบยางโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือไม่ -          มีข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับแหล่งที่มาของน้ำยางดิบหรือไม่   การสำรวจนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้สำรวจได้เยี่ยมชมโรงงานและไร่ยางของบริษัท แต่เนื่องจากบริษัทไม่ยินดีเปิดเผยว่าซื้อยางจากที่ใด มีเพียง 3 บริษัทเท่านั้นจากทั้งหมด 7 บริษัทที่ยินดีเข้าร่วมการสำรวจ ที่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมได้ แต่มีเงื่อนไขว่าผู้สำรวจจะต้องลงนามยินยอมว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว  ลองมาดูกันว่าแต่ละแบรนด์ตอบว่าอย่างไรกันบ้าง   Michelin มิชลิน บอกว่า “โดยปกติแล้วเราไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าชมโรงงาน ด้วยเหตุผลด้านการรักษาความลับของบริษัท กระบวนการทางสิ่งแวดล้อมและสังคมของเรา ผ่านการตรวจสอบโดย PWC และมีการนำเสนอผลในรายงานประจำปีและรายงานด้านความยั่งยืนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ดูรายงานเล่มล่าสุดของบริษัท (ปีปฏิทิน 2011)”   “ส่วนเรื่องการขอเยี่ยมชมสวนยางพารา ซึ่งเป็นไปตามความเข้าใจว่าเราได้ยางดิบจากสวนนั้น ความจริงแล้วบริษัทซื้อจากคนกลางที่รับซื้อน้ำยางจากเกษตรกรรายย่อย”   Good Year “น้ำยางดิบ ถือเป็นความลับทางธุรกิจ บริษัทไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก”   Bridgestone “บริษัทได้ส่งข้อตกลงเรื่องการไม่เปิดเผยข้อมูลให้กับทางผู้สำรวจก่อนการเยี่ยมชม ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติตามปกติของบริษัท แต่ผู้สำรวจไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว”   Pirelli “บริษัทมีนโยบายให้ผู้เข้าเยี่ยมชมลงนามรับรองว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูล ก่อนการเข้าเยี่ยมชม”   Nokian บริษัทปฏิเสธการให้เข้าเยี่ยมชมโรงงานในฟินแลนด์โดยไม่แจ้งเหตุผล     ภาพรวม ไม่มีบริษัทใดเปิดเผยชื่อของซัฟฟลายเออร์หรือผู้จัดหายางดิบให้กับบริษัท ในการจัดซื้อยางดิบนั้นแต่ละบริษัทจะดูเรื่องคุณภาพและราคาเป็นเหลัก ยังไม่เน้นเรื่องความยั่งยืนในการผลิตยางดิบ แม้ประเด็นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมจะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการผลิตยางรถ แต่ยังไม่มีแบรนด์ใดมีนโยบายแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตยางดิบ นโยบายสิ่งแวดล้อมของแบรนด์ต่างๆอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีและครอบคลุมไปถึงผู้จัดหาวัตถุดิบ ในขณะที่นโยบายด้านแรงงานยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น แบรนด์ที่มีนโยบายด้านสังคมและการจัดซื้อที่ดีที่สุดในกลุ่มที่ทำการสำรวจได้แก่ BRIDGESTONE และ PIRELLI   PIRELLI 56 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ Pirelli นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 5 นโยบายด้านสังคม 5 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 4     MICHELIN 55 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ Michelin/ Kleber นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 5 นโยบายด้านสังคม 5 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 3     BRIDGESTONE 49 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Bridgestone/ Firestone นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 4 นโยบายด้านสังคม 5 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 3     Nokian 32 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Nokian นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 4 นโยบายด้านสังคม 2 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2     CONTINENTAL 31 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Continental/ Semperit/ Uniroyal/ Barum นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2     Hankook 29 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Hankook นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2     Apollo-Vredestein 27 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Apollo/ Vredestein นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2   GOODYEAR 27 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Goodyear/ Dunlop/ Fulda นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2   Yokohama 18 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Yokohama นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 2 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2         Kumho 5 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Kumho นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 2 นโยบายด้านสังคม 1 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 1     GT Radial 0 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  GT Radial นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 1 นโยบายด้านสังคม 1 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 1     Nexen 0 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Nexen นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 1 นโยบายด้านสังคม 1 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 1   เรื่องของยาง ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตยางและยางรถยนต์แห่งยุโรประบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วยางแต่ละเส้นมียางธรรมชาติเป็นส่วนประกอบร้อยละ18 และยางสังเคราะห์ร้อยละ 25  ของน้ำหนัก แต่ละแบรนด์ จะมีสูตรผสมที่แตกต่างกันไป เช่น ข้อมูลการจัดซื้อของมิชลินในปี 2011 ระบุว่า ในมูลค่าการจัดซื้อวัตถุดิบ ร้อยละ 42 เป็นมูลค่าของยางธรรมชาติ และร้อยละ 24 เป็นมูลค่าของยางสังเคราะห์ ยางที่ใช้ในเมืองหนาวจะมีสัดส่วนของยางธรรมชาติสูงกว่ายางที่ใช้ในเมืองร้อน และยางของรถบรรทุกก็จะมีสัดส่วนของยางธรรมชาติมากกว่ายางของรถยนต์นั่งทั่วไปเช่นกัน ยอดขายยางรถยนต์ในปี 2010 อยู่ที่ 111,000 ล้านยูโร (ประมาณ 4.3 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 จากปีก่อนหน้า ฟื้นตัวจากช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2008 แต่หลังจากเติบโตต่อเนื่องมา 2 ปี บริษัทยางในยุโรปรายงานว่ายอดขายลดลงถึง 2 หลักในปี 2012 ปัจจุบันประเทศไทยรั้งตำแหน่งแชมป์โลกด้านการผลิตและส่งออกยางพารา   10 อันดับบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งยึดครอง 2 ใน 3 ของตลาดยางทั่วโลก (ข้อมูลปี 2553) ได้แก่   บริษัท                           สำนักงานใหญ่              ยอดขาย (ล้านเหรียญสหรัฐ)   Bridgestone                   Japan                           24,400   Michelin                        France                          22,400   Goodyear                     USA                             17,000   Continental                    Germany                      8,100   Pirelli                            Italy                               6,300   Sumitomo                     Japan                            5,900   Yokohama                    Japan                            4,800   Hankook                       South Korea                 4,500   Cooper                          USA                             3,400   Maxxis /Cheng Shin       Taiwan                        3,400 ---

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 มาวัดความยาวกระดาษทิชชูกัน

ทดสอบภาส พัฒนกำจรผลทดสอบนี้ทำขึ้นโดยทีมผลิตรายการกระต่ายตื่นตัว และออกอากาศไปเมื่อวันจันทร์ที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา ถึงอย่างนั้นก็เถอะบางท่านก็อาจพลาดชมรายการ และหลายท่านคงอยากรู้ว่า กระดาษทิชชู ที่เราท่านใช้กันอยู่นี้ ซื่อตรงหรือคดโกงมากน้อยแค่ไหน ทีมงานกระต่ายฯ จึงนำมาเรียบเรียงใหม่ในฉลาดซื้อฉบับนี้ กระดาษทิชชูหรือกระดาษชำระ เป็นตัวช่วยสำคัญในการขจัดสิ่งไม่พึงประสงค์ เป็นอุปกรณ์ทำความสะอาดที่นิยมมากที่สุดชนิดหนึ่ง ซึ่งในเมืองไทยของเราไม่ค่อยมีใครบันทึกเรื่องราวการใช้กระดาษทิชชูเอาไว้มากนัก ไม่เหมือนประเทศญี่ปุ่นแดนอาทิตย์อุทัย ที่เรื่องของกระดาษทิชชูไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่มองข้ามไปได้เพราะมีการประมาณการว่า ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งใช้กระดาษชำระปีละ 55 ม้วน ต่อคนเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้นจำนวนสุขาสาธารณะที่เพิ่มขึ้นยังทำให้การใช้กระดาษชำระเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาด้วย ฟังดูแล้วน่าตกใจอยู่นะครับ ถึงแม้ว่าจะไม่มีนักสถิติสำนักไหนบันทึกถึงปริมาณการใช้กระดาษทิชชูในเมืองไทยว่ามีมากหรือน้อยกว่าที่ญี่ปุ่น แต่ทางออกในระยะยาวของเราๆ ชาวฉลาดซื้อก็คือ การใช้ผ้าที่สามารถซักแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช็ดแทนทิชชูให้มากขึ้นก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เอ้า !!! ช่วย ๆ กัน เพื่อลดปัญหาขยะล้นโลกกันนะครับ เราทดสอบยี่ห้ออะไรบ้างคราวนี้มาดูกันครับว่าผลการทดสอบความยาวของเจ้ากระดาษทิชชูเจ้าไหนจะให้ความคุ้มค่ากับคนซื้ออย่างเรามากที่สุด โดยทางทีมงานได้เลือกกระดาษทิชชูมาทดสอบทั้งหมด 7 ยี่ห้อ 8 แบบ ได้ผลทดสอบ ดังนี้ จากการวัดทั้งหมดยี่ห้อละ 3 ม้วน เพื่อหาค่าเฉลี่ย ยี่ห้อที่ยาวน้อยกว่าที่ฉลากบอก ได้แก่ Silk cotton วัดได้ยาว 16.33 เมตร ต่ำกว่า 0.67 เมตร Cellox Fancy วัดได้ยาว 22.46 เมตร ต่ำกว่า 0.54 เมตร Dion วัดได้ยาว 22.64 เมตร ต่ำกว่า 0.36 เมตร Scott select วัดได้ยาว 17.26 เมตร ต่ำกว่า 0.34 เมตร ส่วนยี่ห้อที่วัดแล้วเกินมาจากที่ระบุ ได้แก่ Home Fresh Mart Economy วัดได้ 18..30 เมตร เกินมา 1.3 เมตร Ha-ne วัดได้17.73 เมตร เกินมา 0.73 เมตร Home Fresh Mart พรีเมี่ยม วัดได้ 17.56 เมตร เกินมา 0.56 เมตร Pinn Plus วัดได้ 17.26 เมตร เกินมา 0.26 เมตร สรุป โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละยี่ห้อนั้นความยาวจะไม่เกินหรือต่ำกว่าบนฉลาก (+ - ) 0.59 เมตร ซึ่งจะเห็นได้ว่าทางผู้ผลิตเขาก็ซื่อสัตย์กับผู้บริโภคในเรื่องความยาวพอสมควร ยี่ห้อ จำนวนม้วน/แพ็ค ราคา(บาท) เฉลี่ยราคาต่อ 1 ม้วน (บาท) ความยาวที่ระบุบนฉลาก (เมตร) ความยาวที่วัดได้จริง (เมตร) น้อย/เกิน (เมตร) การกระจายตัวในน้ำ ความยาวเกินฉลากระบุ Home Fresh Mart Economy 6 ม้วน 29 4.83 17 18..30 เกินมา 1.3 สูง Pinn Plus 8 ม้วน 29.50 4.91 17 17.26 เกินมา 0.26 ต่ำ Ha-ne 6 ม้วน 32 5.33 17 17.73 เกินมา 0.73 สูง Scott select คุ้มค่า 6 ม้วน 35.25 5.875 17 17.56 เกินมา 0.56 ต่ำ ความยาวน้อยกว่าฉลากระบุ Home Fresh Mart premium 6 ม้วน 40 6.66 17.6 17.26 น้อยกว่า 0.34 ต่ำ Cellox Fancy 6 ม้วน 57 9.5 23 22.46 น้อยกว่า 0.54 ปานกลาง Silk cotton 6 ม้วน 35.25 5.89 17 16.33 น้อยกว่า 0.67 ปานกลาง Dion 6 ม้วน 52 8.66 23 22.64 น้อยกว่า 0.36 ต่ำ ข้อสังเกต ถึงดูว่าเขาซื่อสัตย์ แต่ความจริงถ้าว่ากันตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. ที่กำหนดเอาไว้ว่า สินค้าประเภทกระดาษชำระนั้นต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 31 เมตร ต่อม้วนนั้น พบว่า ไม่มีผู้ผลิตกระดาษทิชชูเจ้าไหนที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกระดาษชำระ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่เห็นสัญลักษณ์ มอก. แปะอยู่ที่สินค้ายี่ห้อใดเลย มาตรฐานกระดาษชำระ ได้รับเลขที่ มอก. 214-2530 เป็นผลิตภัณฑ์ใกล้ตัว ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) จัดอยู่ให้อยู่ในประเภท มาตรฐานทั่วไป โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้มีการกำหนดให้มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปไม่มีการบังคับคือจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้าได้รับเครื่องหมายก็แสดงถึงคุณภาพที่ได้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ การกระจายตัวในน้ำ นอกจากทดสอบเรื่องความยาวแล้ว เราได้ทดสอบเรื่องการกระจายตัวในน้ำของกระดาษทิชชูด้วยโดยเราจะแช่กระดาษไว้ในน้ำ แล้วทิ้งไว้ 30 วินาที แล้วลองดึงขึ้นมาด้วยความแรงพอประมาณนะครับ หลังจากนั้นเราก็จะจุ่มลงแช่อีก 30 วินาทีแล้วดึงขึ้นมาดูผลอีกรอบ (การทดสอบวิธีนี้นำมาจากวารสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 19 มิถุนายน-กรกฎาคม 2540) ผลทดสอบ พบได้ว่ามีอยู่เพียงสองยี่ห้อเท่านั้นที่มีการกระจายตัวในน้ำสูง ชนิดที่เพียง 30 วินาทีแรกก็เริ่มแตกรุ่ยเมื่อหยิบขึ้นมา คือ Home Fresh Mart Economy และ ฮาเนะ ส่วนสองยี่ห้อที่เราจัดว่าปานกลางเพราะจะเริ่มขาดรุ่ยเมื่อยกขึ้นมาใน 30 วินาทีที่สอง คือ Cellox Fancy และ Silk Cotton ส่วนกลุ่มสุดท้ายที่เราจะจัดว่าการกระจายตัวในน้ำต่ำ เพราะเอาขึ้นมาสองครั้งก็ยังคงรูปกระดาษเป็นแผ่นอยู่คือ Scott พินน์พลัส ดิออน และ Home Fresh Mart Premium ที่บอกได้ว่าเนื้อกระดาษนั้นแตกต่างกับแบบ Economy จริงๆ ทางเราพอตั้งข้อสังเกตได้ว่า เนื่องจากกระดาษชำระในตลาดนั้นจะใช้ชนิดสองชั้นแทบทุกยี่ห้อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการดูดซึมเวลาที่ต้องใช้เช็ดหรือทำความสะอาดอะไร แต่มีข้อเสียเพราะเมื่อโดนน้ำจะห่อรวมกันเป็นกลุ่มก้อนได้ง่ายๆ ดังนั้นเราจึงขอแนะนำว่า ไม่ควรที่จะทิ้งกระดาษชำระลงในชักโครกหรือลงท่อน้ำใดๆ ถ้าไม่อยากเจอปัญหาท่ออุดตันอย่าลืมนะครับ ใช้กระดาษทิชชูเฉพาะที่จำเป็น เลือกการใช้ผ้าที่สามารถซักแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกทดแทนบ้างเพื่อลดปัญหาเรื่องขยะล้นโลกครับ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 136 ปั่นปลอดภัย ไปกับหมวกนิรภัย

เป็นที่รู้กันดีว่าการขี่จักรยานเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง แถมยังเป็นการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ติดอยู่ตรงที่หลายคนยังไม่มั่นใจว่าการใช้จักรยานสัญจรไปมาจะปลอดภัย มูลนิธิโลกสีเขียวมีผลสำรวจความคิดเห็นที่ยืนยันว่าร้อยละ 85 ของคนกรุงเทพฯ ที่ร่วมตอบแบบสอบถาม (ประมาณ 4,500 คน) ยินดีจะใช้จักรยานในการเดินทางถ้าพวกเขารู้สึกว่าสามารถขับขี่ได้โดยไม่มีอันตราย ระหว่างที่เรากำลังรอให้เกิดทางจักรยานที่ปลอดภัยและใช้สะดวกมากขึ้น ฉลาดซื้อ ขอนำเสนอผลการทดสอบหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้จักรยาน ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการป้องกันการบาดเจ็บเป็นหลัก ตามด้วยความสะดวกสบายในการสวมใส่ การระบายอากาศ และการปลอดสารเคมีอันตราย   ด้วยเนื้อที่อันจำกัด เราจึงขอนำเสนอเฉพาะ 10 รุ่นที่ได้คะแนนรวมสูงสุด (จากหมวกที่เข้าทดสอบทั้งหมด 25 รุ่น) และได้คะแนนประสิทธิภาพในการป้องกันการบาดเจ็บในระดับ 4 ดาว ต้องบอกไว้ตรงนี้ว่ายังไม่มีรุ่นไหนที่ได้คะแนน 5 ดาวไปเลย     Casco Activ-TC ราคา  2,390 บาท น้ำหนัก 291 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       5 สวม/ถอด สะดวก         5 ระบายอากาศได้ดี         5 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศโรมาเนีย     Specialized Align  ราคา 1,500 บาท น้ำหนัก 336 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       5 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         5 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศจีน     Specialized Echelon ราคา 2,500 บาท น้ำหนัก 293 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       5 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         4 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศจีน     Giro Savant  ราคา 3,000 บาท น้ำหนัก 240 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       5 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         4 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศจีน     Profex FZ-006 ราคา 720 บาท น้ำหนัก 257 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       4 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         4 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศ  - ไม่ระบุ     Giro Transfer ราคา 1,500 บาท น้ำหนัก 261 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       4 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         4 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศจีน     Cratoni  Evolution ราคา 4,700 บาท น้ำหนัก 501 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       4 สวม/ถอด สะดวก         4 ระบายอากาศได้ดี         3 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศเยอรมนี     Uvex Discovery  ราคา 4,700 บาท น้ำหนัก 398 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       4 สวม/ถอด สะดวก         3 ระบายอากาศได้ดี         2 ปลอดสารเคมีอันตราย  3 ผลิตในประเทศเยอรมนี     Casco E.Motion ราคา 5,500 บาท น้ำหนัก 464 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       3 สวม/ถอด สะดวก         3 ระบายอากาศได้ดี         2 ปลอดสารเคมีอันตราย  5 ผลิตในประเทศโรมาเนีย     BELL Muni  ราคา 3,200 บาท น้ำหนัก 326 กรัม ป้องกันการบาดเจ็บ       4 สวมสบายไม่อึดอัด       2 สวม/ถอด สะดวก         3 ระบายอากาศได้ดี         4 ปลอดสารเคมีอันตราย  5     รุ่นอื่นๆ ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 3 ดาว Nutcase URS - 011S BELL Venture BELL Faction ABUS ASA Aven-U Etto B-1350 City Safe Uvex xp 17 city ALPINA City Giro Surface GUB GUBX5   ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 2 ดาว Rudy Project Snuggy ABUS HS-17 Urbanaut Limar 525 KED Sky Two   ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 1 ดาว MET Cameleonte Executive ---   ฉลาดซื้อแนะ หมวกนิรภัยมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อแบบ “มือสอง” มาใช้ อย่าลืมตรวจเช็คว่ามีรอยบุบหรือไม่ (เพื่อจะได้มั่นใจว่ามันยังไม่ผ่านการชนหรือกระแทกมาแล้ว) ที่สำคัญวัสดุต่างๆที่ใช้ทำตัวหมวกก็มีอายุจำกัด ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงหมวกที่ผลิตมาแล้วเกิน 5 ปี เมื่อมีหมวกแล้วก็ต้องรู้จักวิธีสวมใส่ที่ถูกต้องด้วย ใส่แบบไหนแล้วเท่เราตอบไม่ได้ แต่ถ้าจะใส่ให้ปลอดภัย หมวกของคุณจะต้องอยู่ในแนวระนาบเท่านั้น สำคัญอย่างยิ่ง คือการสวมใส่หมวกนิรภัยเสมอเมื่อคุณขับขี่จักรยาน เพราะอุบัติเหตุไม่เลือกเวลาหรือระยะทางอยู่แล้ว แต่หมวกนิรภัยเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยให้กับเราได้ เรายังต้องการทางจักรยานที่สะดวกและปลอดภัย เพื่อประสบการณ์การขับขี่ที่สุนทรีย์ด้วย ---- จากใจคนรักจักรยาน กรุงเทพฯ อาจจะยังห่างไกลจากการเป็น “เมืองจักรยาน” แต่มีคนอย่างน้อยกลุ่มหนึ่งที่นิยมชมชอบการขี่จักรยานทั้งเพื่อเดินทางมาทำงานและเพื่อเป็นกิจกรรมผ่อนคลายในวันหยุด เรามารู้จักกับนักปั่น 3 คน จากโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำงานรณรงค์เพื่อให้เกิดระบบกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในบ้านเรา มาดูกันว่าแต่ละคนมีประสบการณ์ ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการขับขี่จักรยานอย่างไรกันบ้าง สุรชัย ตรงงาม ผู้อำนวยการโครงการฯ สุรชัยให้ความเห็นว่า แม้กรุงเทพฯ จะมี “ทางจักรยาน” แต่จากการใช้เส้นทางจริงนั้นพบว่ายังไม่สามารถใช้ได้สะดวก ทางจักรยานซ้อนทับทางเท้า  ทางจักรยานไปจบตรงบันไดขึ้นสะพานลอยก็มี ทางไม่มีการปรับให้เรียบ มีแต่เพียงเส้นขีดไว้เท่านั้น เขามองว่า “ทางจักรยาน” ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถใช้ได้สะดวก บางครั้งทางไปจบตรงบันไดขึ้นสะพานลอยเสียดื้อๆ บางช่วงก็ซ้อนทับทางเท้า พื้นผิวทางโดยรวมก็ไม่มีการปรับให้เรียบ บ่อยครั้งไม่มีทางลาดช่วยในการเปลี่ยนระดับ (ทำให้ผู้ขับขี่ต้องจอดและยกรถจักรยาน) แถมบางพื้นที่ยังกลายเป็นแผงขายของไปอีกด้วย และที่เป็นเรื่องท้าทายสุดๆ สำหรับนักปั่น ตามความเห็นของเขาคือ ฝาท่อระบายน้ำที่บ้างก็วางในแนวขวาง บ้างก็วางในแนวขนานไปกับถนน เรียกว่าเผลอไม่ได้เลยทีเดียว สุรชัยซึ่งใช้จักรยานในการสัญจรมาตั้งแต่ปี  2548 เคยประสบอุบัติเหตุ 1 ครั้ง ในวันที่คิดว่าออกไปไม่ไกลบ้าน จึงไม่ได้สวมหมวกนิรภัย แต่จักรยานล้มในช่วงที่กำลังเข้าโค้งหน้าปากซอย ผลคือคิ้วแตกและโหนกแก้มยุบ ทำให้ต้องหยุดงานไปประมาณ 4 เดือน แถมเสียค่ารักษาพยาบาลไปไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท เขาจึงอยากจะย้ำว่าหมวกนิรภัยนั้นเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย   สุภาภรณ์ มาลัยลอย เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ สุภาภรณ์ค้นพบว่า การขี่จักรยานมาทำงานนั้นเป็นประสบการณ์ที่รื่นรมย์อย่างยิ่ง จะขัดใจอยู่บ้างก็ตรงป้ายโฆษณาที่วางระเกะระกะบนทางจักรยาน และบางช่วงของทางที่ไม่เอื้อต่อการผ่านไปของจักรยานนี่แหละ เธอปั่นจักรยานเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร จากบ้านในซอยลาดพร้าว 62 มายังสำนักงานในซอยรามคำแหง 39 เจ้าตัวยืนยันว่ามันสะดวกอย่างยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้าซึ่งรถติดมากๆ เธอก็ยังสามารถมาถึงสำนักงานได้ภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที ที่สำคัญประหยัดค่าเดินทางไปวันละ 66 บาท แม้จะต้องจ่ายค่าซ่อมเกียร์ เติมลม ปะยางบ้าง ก็ยังถือว่าคุ้ม สำหรับเธอ แม้ทางจักรยานจะยังไม่สมบูรณ์แบบตามมาตรฐานสากล แต่การได้ขี่จักรยานเองก็ทำให้เธอรู้สึกปลอดภัยกว่าการนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์อยู่ดี   สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ทนายความ รายนี้ขัดใจกับ “ทางจักรยาน” ในเส้นทางที่เขาใช้ประจำ จนต้องหลบลงไปปั่นบนพื้นถนนอยู่บ่อยครั้ง เขาอยากให้มีการนำแนวคิดการจัดพื้นที่ถนนให้สามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างรถยนต์และจักรยาน เจ้าตัวบอกว่าอยากให้เหมือนกับถนนที่เจนีวา ที่แบ่งพื้นที่ถนนครึ่งเลนให้กับจักรยานไปเลย สงกรานต์บอกว่าความจริงแล้วเลนจักรยานบนถนนสีลมบ้านเราก็มี เพียงแต่ยังถูกใช้เป็นที่จอดรถอยู่  หลักๆ แล้วเขาเชื่อว่าจะมีคนหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้น ถ้ามีการออกแบบทางจักรยาน (ย้ำว่าต้องเป็น “ทางจักรยาน” ไม่ใช่การขีดเส้นเฉยๆ) โดยยึดหลักความปลอดภัย ความสะดวก และการเชื่อมต่อกับบริการสาธารณะ เช่นที่สำหรับจอดรถจักรยานที่สะดวกและปลอดภัยจากการโจรกรรมนั้นยังมีอยู่น้อยมาก ทำให้หลายคนไม่กล้าเสี่ยง สงกรานต์ลงทุนซื้อจักรยานไป 4,500 บาท ใช้ปั่นมาทำงานทุกวัน เขายืนยันว่าไม่เกิน 5 เดือนก็คืนทุน แต่ทั้งนี้ใครอยากจะสร้างเสริมประสบการณ์การขับขี่ของตนเองด้วยการลงทุนเพิ่มก็ไม่ว่ากัน ทีมนี้เขายกตัวอย่างให้ฟังว่า ถ้าเราอยากให้จักรยานเบาลง 1 กิโลกรัม เราก็จะต้องใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท เพื่อเปลี่ยนชิ้นส่วนจากเหล็กเป็นไทเทเนียม เป็นต้น เอาเป็นว่าถูกก็ได้ แพงก็ดี ลองพิจารณาหาจักรยานมาปั่นกันดู จะไปตลาด ไปทำงาน หรือไปส่งลูกที่โรงเรียนก็ตามแต่ใจ แต่อย่าลืมใส่หมวกนิรภัยด้วยแล้วกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 134 ไม่เก็บได้ไหม 30 บาท

  เหตุผลที่รัฐบาลไม่ควรกลับมาใช้นโยบาย “30บาท รักษาทุกโรค” จากกระแสข่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับปัญหาของสถานพยาบาลที่อยู่ในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มักประสบกับภาวะขาดทุนเป็นประจำ เพราะมีคนมาใช้บริการมากขึ้น จึงเป็นข้ออ้างที่ทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ต้องนำนโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค” กลับมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อลดปัญหาการขาดทุนของสถานพยาบาล และต้องการให้ประชาชนใช้บริการสุขภาพเท่าที่จำเป็น แต่ในมุมของกลุ่มที่เห็นต่างมองว่า การให้ประชาชนต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับระบบสาธารณสุขไทย รัฐบาลจึงไม่ควรกลับมาใช้นโยบาย30 บาทรักษาทุกโรค ด้วยเหตุผลดังนี้… เป็นการผลักภาระให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องรับผิดชอบเพียงระบบเดียว รายได้หลักของสถานพยาบาลของรัฐ มาจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งทั้ง 2 กองทุนนี้เป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นทุกปี และกองทุนที่ได้จากประกันสังคมอีกเล็กน้อย เพื่อนำไปใช้จ่ายในส่วนของค่ายา วัสดุทางการแพทย์ เงินเดือนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ   หากวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่ายา ค่าวัสดุทางการแพทย์ และเงินเดือนที่จ่ายประจำเดือนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ จะเติบโตในระดับคงที่ ในขณะที่ค่าตอบแทน ซึ่งหมายถึงค่าล่วงเวลา ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าตอบแทนอื่นๆที่ไม่ใช่เงินเดือน เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปีงบประมาณ 2552 และ 2553 โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป มีต้นทุนที่เป็นค่าตอบแทน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 30 – 40 ส่วนต้นทุนที่เป็นเงินเดือน และค่ายา เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 – 2 เท่านั้น โดยต้นทุนค่าตอบแทนนั้นเกิดจากการให้บริการแก่ผู้ป่วยในทุกระบบประกันสุขภาพ หากกระทรวงสาธารณสุขต้องการเพิ่มรายได้ให้กับสถานพยาบาล ก็ต้องพิจารณาดูว่าสถานพยาบาลแต่ละแห่ง ไม่ได้รักษาเฉพาะผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น แต่รวมถึงสิทธิประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการด้วย “ดังนั้น การผลักภาระให้ผู้ป่วยเฉพาะระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องร่วมจ่ายค่าบริการ 30 บาท เพียงระบบเดียว ดูจะไม่เป็นธรรมกับผู้รับบริการในระบบดังกล่าวเลย”   จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่เพราะรักษาฟรี การเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องนำปัจจัยอื่นๆ มาประเมินร่วมด้วย ทั้งการขยายชุดสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น การจ่ายยาต้านไวรัสเอชไอวี ทั้งในสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง การรักษาผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การผ่าตัดต้อกระจก การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจ การรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น จึงทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนประชาชนแทบจะไม่มีโอกาสเข้ารับการรักษาในกลุ่มโรคดังกล่าวเลย รวมถึงจากการศึกษาตัวเลขในเชิงระบาดวิทยา ที่อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและโรคไม่ติดต่อ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ มะเร็ง ในระดับภาพรวมของประเทศ ตั้งแต่ปี 2544 – 2552 มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต และอาหารการกินที่เปลี่ยนไป จึงทำให้ประชาชนป่วยมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น แต่ผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการ และผู้ประกันตนก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน   จะไปสถานพยาบาลต้องคิดให้ดี ถึงรักษาฟรีแต่ก็มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องออกเอง ประชาชนที่ใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนใหญ่จะไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ รองรับเป็นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ เป็นแรงงานนอกระบบ รับจ้างรายวัน ไม่มีรายได้ที่แน่นอน ซึ่งแตกต่างจากการรับราชการหรือการเป็นพนักงานในสถานประกอบการต่างๆ หากประชาชนที่มีรายได้แบบรายวัน จะเข้ารับบริการในสถานพยาบาลแต่ละครั้ง ก็ต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีสวัสดิการในการลาป่วย ไม่มีหลักประกันชดเชยเมื่อขาดรายได้ หากต้องหยุดงาน นั่นหมายถึงการสูญเสียรายได้ไปในทันที ในขณะที่รายจ่ายยังมีเหมือนเดิม หรืออาจจะมากขึ้นกว่าเดิม เช่น ค่าเดินทางไปโรงพยาบาล ค่าอาหาร ค่าที่พัก ฯลฯ ดังนั้น ในยุคที่คนต้องทำมาหากินหาเงินมาเลี้ยงปากท้อง การหยุดงานบ่อยๆ เพื่อเข้ารับการรักษาที่เกินความจำเป็น ดูจะไม่มีความสมเหตุสมผล อีกทั้งการให้ประชาชนร่วมจ่ายครั้งละ 30 บาท ก็ยังสร้างความไม่เป็นธรรมและสร้างภาระให้กับประชาชนอยู่ไม่น้อย เพราะข้าราชการก็มีระบบสวัสดิการจากรัฐดูแลค่ารักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ ระบบประกันสังคม ก็มีนายจ้าง ผู้ประกัน และรัฐร่วมกันจ่าย แต่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประชาชนที่ต้องจ่ายเงินครั้งละ 30 บาท เป็นเงินส่วนตัวที่ต้องควักออกจากกระเป๋าร้อยละ 100 ดังนั้น ผลกระทบที่มาจากการร่วมจ่ายก็จะตกอยู่กับประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อย แม้รัฐบาลจะมองว่า การจ่ายเงิน 30 บาท เน้นในกลุ่มที่มีกำลังจ่าย ส่วนคนที่ไม่มีเงินก็ให้รักษาฟรี เพียงแต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจนจริงๆ ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ดูถูกดูแคลนในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างยิ่ง   รายได้จากการเก็บ 30 บาท เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่รัฐต้องจัดสรร เมื่อปี 2546 รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บค่ารักษาพยาบาลครั้งละ 30 บาท รวมทั้งหมด 1,073 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับอัตราค่าเหมาจ่ายรายหัวทั้งหมดที่รัฐต้องจัดสรรเข้าระบบ การยกเลิกเก็บ 30 บาท จึงไม่ส่งผลให้สถานพยาบาลได้รับผลกระทบมากนัก และยังลดภาระงานให้กับโรงพยาบาลในการจัดเก็บข้อมูลลงบัญชีอีกด้วย และหากใช้ข้อมูลปี 2552 ซึ่งมีผู้มารับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 163 ล้านครั้ง คิดเป็นจำนวนครั้งที่คาดว่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 30 บาททั้งสิ้นประมาณ 65 ล้านครั้ง คาดว่าจะเก็บค่าธรรมเนียมได้ประมาณ 1,900 ล้านบาท จะพบว่ารายได้จากการจ่ายร่วมเป็นมูลค่าที่น้อยนิดเพียงร้อยละ 1.75 ของงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวที่ต้องการทั้งหมดในปีงบประมาณ 2552 ดังนั้นการร่วมจ่ายจึงไม่ใช่แหล่งทุนหลักที่จะใช้ในการแก้ปัญหาการเงินของโรงพยาบาลเลย   ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ใช่จำเลยที่ทำให้ระบบสาธารณสุขต้องล้มละลาย ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีการตั้งงบเหมาจ่ายให้กับโรงพยาบาล เป็นระบบปลายปิด โดยค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยนอก จะเป็นงบเหมาจ่ายรายหัว โอนตรงให้กับโรงพยาบาลเต็มจำนวน ตามการดูแลประชากรในความรับผิดชอบ ส่วนงบผู้ป่วยใน จะจ่ายตามน้ำหนักสัมพัทธ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม หรือระบบดีอาร์จี (DRG) ซึ่งเป็นการจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลในราคาที่ตกลงล่วงหน้า โดยประเมินราคาบนต้นทุนของการรักษาที่มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งจะจ่ายให้โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในต่อครั้ง ทำให้โรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการในการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ขณะเดียวกันรัฐก็สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ และยังทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงมากขึ้น ส่วนระบบสวัสดิการข้าราชการ เป็นระบบปลายเปิด ที่รัฐต้องจ่ายค่าบริการตามรายการและอัตราที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ และรัฐเองยังไม่มีกลไกในการตรวจสอบการจ่ายเงินที่ให้แต่ละสถานพยาบาล ทำให้สถานพยาบาลไม่ประหยัดค่าใช้จ่าย และยังเป็นช่องว่างในการแสวงหาผลกำไรเกินจำเป็น เช่น การจ่ายยา หรือเลือกใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่แพงเกินจำเป็น แต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงเป็นสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการล้มละลายสูง เพราะรัฐไม่สามารถควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณในการรักษาพยาบาลได้ หากรัฐบาลจะหันมาใช้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคอีกครั้ง นับเป็นการสร้างอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งที่เป็นบทบาทของรัฐในการจัดระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน เพราะคนที่มีกำลังในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้มาก ย่อมเข้าถึงการรักษาได้มากกว่าคนที่มีรายได้น้อย นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค จึงเป็นนโยบายที่...   “สร้างความเหลื่อมล้ำ ลดความเป็นธรรม ให้กับระบบสาธารณสุขของไทยอย่างชัดเจน”   อ้างอิงข้อมูลจาก “การพิจารณาความเหมาะสมในการใช้นโยบายเรียกเก็บเงิน 30 บาทต่อครั้ง ในการใช้บริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย(สวปก.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ผลการสำรวจค่าใช้จ่ายในการไปโรงพยาบาลของประชาชนภายใต้ระบบ UC กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ: ผู้ป่วยที่เคยไปรับบริการโดยใช้สิทธิบัตรทอง ระยะเวลาที่ทำการสำรวจ: 10-15 กุมภาพันธ์ 2555 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 589 คน พบว่าเป็นเพศหญิง 390 คน (66.2%) เพศชาย 199 คน (33.8%) ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยที่มีอายุอยู่ระหว่าง 1 – 90 ปี มีอายุเฉลี่ย 51 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 40.4 และพบว่ามีถึงร้อยละ 8.3 เป็นผู้ว่างงาน อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ รับจ้างทั่วไป 238 40.4 ค้าขาย 160 27.2 ทำสวน 4 0.7 แม่บ้าน/พ่อบ้าน 53 9.0 ธุรกิจส่วนตัว 13 2.2 นักเรียน นักศึกษา 20 3.4 อสม. 3 0.5 พนักงานบริษัท 5 0.8 สูงอายุ 35 5.9 เด็ก 0-6 ปี 9 1.5 ว่างงาน 49 8.3   รายได้เฉลี่ยต่อวันอยู่ระหว่าง 0-2,000 บาท (ประกอบธุรกิจส่วนตัว) โดยมีรายได้เฉลี่ย 210 บาทต่อวัน ในการรับบริการสุขภาพครั้งล่าสุด ส่วนใหญ่ไปรับบริการที่โรงพยาบาล ร้อยละ 49.2   Frequency Percent ศูนย์บริการสาธารณสุข 170 28.9 คลินิก 129 21.9 โรงพยาบาล 290 49.2 Total 589 100.0 ในการรับบริการครั้งล่าสุดเป็นบริการแบบผู้ป่วยนอกถึง 538 ราย (ร้อยละ 91.3)   Frequency Percent ผู้ป่วยนอก 538 91.3 ผู้ป่วยใน 51 8.7 Total 589 100.0 การเจ็บป่วยในกรณีผู้ป่วยนอกนั้นกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 55) เป็นผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรังไปรับการรักษาต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 28.3  (81 ราย)ผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 18.9 (54 ราย) และเป็นทั้งเบาหวานและความดันร้อยละ 17.1 (49 ราย) นอกจากนี้ยังมีผู้ติดเชื้อ HIV อีก 3 รายที่เข้ารับยาต้านไวรัส ความเจ็บป่วย จำนวน ร้อยละ โรคเรื้อรัง 286 55.0 มีไข้ ไอ 62 11.9 ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ 43 8.3 ปวดศีรษะ 20 3.8 โรคแผลในกระเพาะอาหาร 18 3.5 อุบัติเหตุ 15 2.9 โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ 12 2.3 ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ 11 2.1 ตรวจสุขภาพ 11 2.1 ทันตกรรม 9 1.7 ทำแผล 5 1.0 อื่นๆ 28 5.4 รวม 520 100.0   สำหรับความเจ็บป่วยในกรณีที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน 7 ราย (ร้อยละ 13.7) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 5 ราย (ร้อยละ 9.8) ผู้ป่วยที่มาคลอดบุตร 4 ราย (ร้อยละ 7.8) ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ 3 ราย ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง 3 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจ 3 ราย โรคมะเร็ง 2 ราย ตามลำดับ ความเจ็บป่วย จำนวน ร้อยละ เบาหวาน 9 17.6 ความดันโลหิตสูง 6 11.8 คลอดบุตร 4 7.8 ท้องเสีย 3 5.9 อุบัติเหตุ 3 5.9 หัวใจ 3 5.9 แผลในกระเพาะอาหาร 3 5.9 มะเร็ง 2 3.9 เข้ารับการผ่าตัด 2 3.9 อื่นๆ 16 31.4 Total 51 100   การเจ็บป่วยในครั้งล่าสุดนั้นต้องมีญาติหรือบุคคลอื่นพาไป 224 คน คิดเป็นร้อยละ 38.0   ในการเดินทางไปใช้บริการครั้งล่าสุด ผู้ป่วยเดินทางด้วยรถ Taxi เป็นหลัก   Frequency Percent เดิน 27 4.6 รถเมล์ 80 13.6 รถมอเตอร์ไซค์ 128 21.7 เหมารถ 22 3.7 รถยนต์ส่วนตัว 36 6.1 Taxi 280 47.6 รถประจำทางในหมู่บ้าน 16 2.7 Total 589 100.0   ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการในแต่ละครั้ง แบ่งตามลักษณะการเข้ารับการรักษา พบว่า ตารางที่  ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่การรักษาพยาบาลและต้นทุนทางอ้อมในการเข้ารับบริการด้านสุขภาพของผู้ป่วย ค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ค่าเดินทาง 113 157 ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ 59 101 ค่าใช้จ่ายในการให้ผู้อื่นดูแลบ้านแทนตนเอง 2 5 ค่าขาดรายได้ในระยะเวลาที่เข้ารับบริการ 181 461   ในการรับบริการแบบผู้ป่วยนอกนั้น ผู้ป่วยร้อยละ 13.5 ต้องใช้เวลาในการเดินทางนับตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงกลับบ้าน เป็นเวลาทั้งวัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสูญเสียรายได้จากการขาดงานในวันนั้น   Frequency Percent ไม่เกิน 3 ชั่วโมง 270 50.2 ไม่เกิน 6  ชั่วโมง 196 36.3 1 วัน 73 13.5   ในการรับบริการแบบผู้ป่วยในนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 56.9 ต้องใช้เวลาในการเดินทางนับตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงกลับบ้าน มากกว่า 1 วัน โดยเฉลี่ยเวลาที่เสียไปจากการเข้าพักรักษาตัวแบบผู้ป่วยในอยู่ที่ 2.4 วัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสูญเสียรายได้จากการขาดงานดังกล่าว   Frequency Percent 1 วัน 22 43.1 มากกว่า 1 วัน 29 56.9 Total 51 100.0   ความคิดเห็นต่อการร่วมจ่าย 30 บาทนั้น ผู้ป่วยร้อยละ 67.8 ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเห็นว่าเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ป่วยและจะทำให้ผู้ที่ไม่มีเงินร่วมจ่ายเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล   Frequency Percent เห็นด้วยเพราะโรงพยาบาลจะบริการดีขึ้น 142 24.1 เห็นด้วยเพราะจะได้ใช้บริการอย่างมีศักดิ์ศรี 47 8.0 ไม่เห็นด้วยเพราะเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย 362 61.5 ไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้ผู้ที่ไม่มีเงินร่วมจ่ายไม่ได้รับการรักษา 37 6.3 แบบใดก็ได้ 1 0.2 Total 589 100   ในกลุ่มผู้ป่วยที่เห็นด้วยกับการร่วมจ่าย 30 บาทนั้นส่วนใหญ่คิดว่าควรยกเว้นบางกลุ่ม เช่น ผู้ด้อยโอกาส เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่ไม่ต้องร่วมจ่าย   Frequency Percent ทุกคน 54 28.6 ยกเว้นบางกลุ่ม เช่นผู้ด้อยโอกาส เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ 135 71.4   189 100 ในกลุ่มผู้ป่วยที่เห็นด้วยกับการร่วมจ่าย 30 บาทส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.9) คาดหวังว่าจะได้รับการรักษาที่มีคุณภาพ และมีการบริการที่ดีขึ้น   Frequency Percent คุณภาพ 134 70.9 ศักดิ์ศรี 51 27.0 มีส่วนร่วม 2 1.1 ไม่คาดหวังอะไร 2 1.1 Total 189 91.2    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 162 กระยาสารท

กระยา หมายถึง ของกิน สารท หมายถึง ฤดู ตามรากศัพท์เดิม หรือหมายถึง วันสารทของไทย ที่ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 จึงต้องเขียนว่า กระยาสารท ไม่ใช่ กระยาสาด กระยาสารทเป็นขนมโบราณ เดิมจะหากินได้เฉพาะช่วงงานวันสารท ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีของไทย ที่เลียนแบบมาจากเมืองแขกอีกที คำว่าสารทในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันว่าควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะและขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดีในฤดูกาลถัดไป ของไทยเราช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวง(ปลายฝนต้นหนาว) ชาวบ้านจะเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อนๆ และเมล็ดยังไม่แก่เอามาคั่ว ตำ ให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ ที่เรียกว่า ข้าวเม่า แล้วนำมากวนผสมถั่ว งา น้ำตาล ให้จับตัวกันเป็นขนมสำหรับนำไปทำบุญถวายพระ และแบ่งปันกันในช่วงเทศกาลวันสารทพอดี ขนมกระยาสารทถือเป็นสัญลักษณ์ของผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ สมัยก่อนว่ากันว่า ถ้าจะกินกระยาสารทให้อร่อยต้องกินกับกล้วยไข่ คงเพราะว่า กระยาสารทหวานมากกินพร้อมกล้วยไข่ ซึ่งจะสุกในหน้าสารทไทยพอดีนั้น จะช่วยให้ไม่ต้องกินขนมกระยาสารทมากเกินไป เรียกว่าเป็นอุบายอย่างหนึ่งของคนโบราณที่เข้าท่ามากๆ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 ยาดอง

ยาดองเป็นยาสมุนไพรชนิดหนึ่ง แล้วก็ไม่ได้ดองกับเหล้าเสมอไป การหมักหรือแช่สมุนไพรเพื่อให้ตัวยาซึมซาบออกมานั้น ในตำรับยาไทยแบ่งได้ถึง 6 แบบ ดองเกลือ ดองน้ำผึ้ง ดองเปรี้ยว ดองน้ำปัสสาวะ ดองแป้งข้าวหมากและดองเหล้า โดยสองตัวหลังอาศัยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์เพื่อควบคุมเชื้อแบคทีเรีย ส่วนของพืชสมุนไพรที่นิยมใช้ทำยาดองเหล้า คือ ราก ลำต้น เถา หรือ แก่น นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ตามปริมาณที่ระบุไว้ในแต่ละตำรับ ห่อด้วยผ้าขาวบางใส่ในขวดโหล หลังจากนั้นใส่เหล้าลงไปให้ท่วมยาหรือตามสูตรของแต่ละตำรับ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของหมอยาผู้ผลิต เครื่องยาที่นำมาดองเหล้ามีสรรพคุณรักษาโรคหลากหลายชนิด แต่ที่ติดกันมากจะเป็นตำรับแก้ปวดเมื่อย ตำรับบำรุงกำลังท่านชาย ซึ่งชื่อก็ส่อไปทางนั้น ทั้งม้ากระทืบโรง สาวน้อยตกเตียง โด่ไม่รู้ล้ม กำลังเสือโคร่ง ส่วนตำรับของสตรีหลังคลอดเพื่อขับน้ำคาวปลา ซึ่งนิยมกันในสมัยก่อน ปัจจุบันมีการรณรงค์ให้เลิกเพื่อสุขภาพของแม่และเด็ก เนื่องจากบรรดาคุณแม่อาจติดใจในฤทธิ์แอลกอฮอล์เหมือนคุณลำยองได้ ยาดอง เป็นยาพื้นบ้านไม่ได้ถูกขึ้นทะเบียนโดย อย. แต่ผู้ที่จะปรุงยาดองโดยเฉพาะเหล้าควรเป็นแพทย์แผนไทยที่มีใบประกอบโรคศิลปะ หรือเป็นหมอยาพื้นบ้านตัวจริง ส่วนที่เห็นขายตามซุ้มยาดองแบบขวดๆ นั้น มักเป็นสาวสวยหน้าใสและดัดแปลงสูตรใช้เหล้าขาวผสมสมุนไพรบดเหมือนชงกาแฟ อันนี้ไม่ได้รักษาโรคแต่มุ่งขายเหล้าเป็นหลัก ซึ่งผู้ประกอบการขายเหล้า ยาดองเหล้าต้องได้รับใบอนุญาตที่ถูกต้อง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือ

ยาสีฟันที่โฆษณาว่าทำให้ฟันขาวได้นั้นจะต้องใส่สารบางอย่างเพิ่มเติมขึ้นไปจากยาสีฟันปกติ การที่จะตอบได้ว่าทำให้ฟันขาวได้จริงหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าสารเคมีที่ใส่ในยาสีฟันนั้นคืออะไรและมีผลอย่างไรกับสีของฟัน สารสำคัญที่พบคือ   สารขัดฟัน ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งทุกยี่ห้อจะใส่สารขัดฟันที่มีความหยาบแตกต่างกัน สารขัดฟันนี้จะช่วยขจัดคราบสีต่างๆบนตัวฟันทำให้ฟันขาวขึ้นได้จริง แต่จะขาวเท่ากับสีฟันเดิมของเรา ถ้าฟันเดิมเหลืองก็จะเหลืองเหมือนเดิม ทั้งนี้เป็นเพราะวิธีการนี้เป็นการขัดเอาคราบที่ติดอยู่ภายนอกผิวฟันออกไป ไม่ได้เข้าไปเปลี่ยนสีภายในของเนื้อฟัน ถ้าฟันเดิมของเราสีออกเหลือง ถ้ามีคราบสีจากอาหาร น้ำชา กาแฟ บุหรี่ ฯลฯมาเกาะสีฟันก็จะเข้มขึ้น เมื่อใช้ยาสีฟันที่มีสารขัดฟันเหล่านี้คราบก็จะออกจนหมดกลับมาเป็นฟันเหลืองตามปกติที่ควรจะเป็น ขอย้ำนะครับว่าสารขัดฟันไม่ได้ทำให้ฟันขาวขึ้นจากสีธรรมชาติเดิมของฟัน สารขัดฟันที่มีใช้ในยาสีฟันไวท์เทนนิ่งที่นิยมใช้ได้แก่สารกลุ่มซิลิกา (Hydrate Silica, Silica dioxide, Perlite ที่มี 70-75% silica dioxide) สารกลุ่มอลูมิน่า (Alumina oxide) สารกลุ่ม แคลเซียม ( Calcium pyrophosphate,Calcium Carbonate, Dicalcium phosphate dihydrate)  และสารกลุ่มอื่นๆ เช่น เบกิ้งโซดา (Sodium Bicarbonate) และ Mica เป็นต้น ปัญหาที่พบของสารขัดฟัน ก็คือ ถ้าสารขัดฟันมีความสามารถในการขัดฟันมาก (หรือพูดง่ายๆว่า สารขัดฟันหยาบมาก) ก็จะกำจัดคราบสีต่างๆได้ดีและรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็จะทำให้เคลือบฟันถูกกำจัดออกไปด้วย ทำให้เคลือบฟันบางลง เมื่อใช้ต่อเนื่องไปนานๆ เคลือบฟันจะบางลงจนเห็นเนื้อฟันที่มีสีเหลืองกว่าอยู่ข้างใต้ การใช้ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งต่อเนื่องนานๆอาจทำให้ฟันเหลืองขึ้นกว่าเดิม และจะมีอาการเสียวฟันตามมาอีกด้วย ในทางกลับกัน ถ้าสารขัดฟันมีความสามารถในการขัดฟันน้อย การกำจัดคราบสีก็จะทำได้ช้าๆค่อยเป็นค่อยไป แต่จะไม่ทำอันตรายเคลือบฟันเท่าใดนัก ผู้บริโภคไม่มีทางรู้ได้เลยว่า สารขัดฟันที่ยาสีฟันแต่ละยี่ห้อนั้นมีความสามารถในการขัดฟันเท่าใด ในยาสีฟันปกติ จะใส่สารขัดฟันที่มีค่าความสามารถในการขัดฟัน (RDA, Realtive Dentine Abrasivitiy) อยู่ที่ 40-80 หน่วย ซึ่งเป็นค่าที่ปลอดภัยไม่ทำอันตราบเคลือบฟัน  ส่วนในยาสีฟันไวท์เทนนิ่งส่วนใหญ่จะมีค่า RDA มากกว่า 100 หน่วย เพื่อให้ขัดคราบฟันได้ดี ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดเพดานค่า RDA ไว้ไม่เกิน 200 หน่วย เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค สารเคมีช่วยขจัดคราบฟัน ในยาสีฟันไวท์เทนนิ่งบางยี่ห้ออาจมีการเพิ่มสารเคมีบางตัวเช่น  enzymes, Sodium Citrate, Sodium Pyrophosphate, Sodium tripolyphosphate หรือ hexametaphosphate ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการช่วยขจัดคราบบนตัวฟันออกและช่วยป้องกันให้คราบสีมาเกาะติดกับฟันยากขึ้น สารเคมีเหล่านี้มักจะคุณสมบัติในการย่อยโปรตีนได้ดี ซึ่งคราบที่ติดฟันนั้นก็มีองค์ประกอบของโปรตีนอยู่ เนื่องจากโดยทั่วไปเรามักจะแปรงฟันได้ไม่สะอาดบริเวณคอฟันและซอกฟัน ดังนั้นผู้ผลิตยาสีฟันไวท์เทนนิ่งบางยี่ห้อจึงคาดหวังให้สารเคมีเหล่านี้ไปช่วยกำจัดคราบบริเวณคอฟันและซอกฟัน ซึ่งเป็นบริเวณที่สารขัดฟันไม่ได้เข้าไปทำความสะอาด แต่จากรายงานการวิจัยพบว่า สารเคมีเหล่านี้มีส่วนช่วยได้เล็กน้อยมาก การกำจัดคราบสีต่างๆยังต้องพึ่งสารขัดฟันเป็นหลัก   สารสีฟ้า ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งอีกกลุ่มหนึ่ง นอกจากสารขัดฟันแล้วยังใช้ สีสะท้อน Optical agents เช่น การใช้สีฟ้า ( Blue Covarine หรือ CI74160 Pigment Blue) ผสมลงในยาสีฟัน เมื่อแปรงฟันสารสีฟ้าเหล่านี้จะไปเกาะที่ฟัน เวลามองสะท้อนแสงก็จะเห็นฟันขาวขึ้น ดังนั้นเมื่อใช้เพียงครั้งเดียวก็จะเห็นว่าฟันขาวขึ้นทันที เปรียบเทียบง่ายๆกับถ้าเราต้องการให้ผ้ามีสีขาว เราก็ไปย้อมให้เป็นสีคราม เมื่อเป็นการย้อมสี ดังนั้นข้างหลอดยาสีฟันจะมีคำเตือนว่า “ยาสีฟันอาจทำให้เสื้อผ้าเลอะได้” การใช้สารสีฟ้าเคลือบฟันไว้จะได้ชั่วคราวเท่านั้น สารสีฟ้าจะติดฟันได้ไม่นานนัก เมื่อมีการรับประทานอาหาร สีเหล่านี้ก็จะหลุดลอกออก ทำให้กลับไปเป็นสีฟันเดิมของเรา   ข้อแนะนำ ยาสีฟันไวท์เทนนิง สามารถใช้ได้เพื่อกำจัดคราบฟันที่ติดอยู่ที่ผิวฟันออกได้ จะเห็นว่าฟันขาวขึ้นกว่าเดิม แต่จะขาวได้เท่ากับสีของฟันเดิมของเราเท่านั้น จะขาวขึ้นกว่าเดิมไม่ได้ ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งที่มีสารสีฟ้า เป็นการใช้เทคนิคการสะท้อนสีฟ้าเพื่อทำให้ฟันดูขาวขึ้น แต่สีฟ้าจะหลุดออกเมื่อรับประทานอาหาร ฟันจะกลับมาเป็นสีเดิม ไม่ควรใช้ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งติดต่อกันต่อเนื่อง ทั้งนี้สารขัดฟันของยาสีฟันไวท์เทนนิ่งจะมีความหยาบมากกว่า ซึ่งจะทำให้เคลือบฟันบางลงเมื่อใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และเมื่อใช้กับแปรงสีฟันขนแปรงแข็ง แปรงฟันแรงเกิน ก็จะทำให้เคลือบฟันบางลงได้เร็ว แนะนำให้ซื้อใช้เพียงหลอดเดียวเท่านั้น เมื่อรู้สึกว่าฟันเริ่มมีคราบมาติดใหม่ ก็กลับมาใช้ใหม่ได้เป็นระยะๆ ควรใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มและแปรงฟันโดยใช้แรงพอประมาณ สังเกตุได้จากหากใช้แปรงสีฟันขนแปรงอ่อนนุ่มแล้วแปรงควรจะปานใน 3 เดือน หากแปรงบานเร็วก่อนกำหนดแสดงว่าเราแปรงฟันแรงเกินไป   หมายเหตุ ยาสีฟันไวเทนนิ่งเป็นกลุ่มยาสีฟันที่ขจัดคราบภายนอกฟันเท่านั้น มียาสีฟันอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ยาสีฟันฟอกสีฟัน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะไปฟอกสีฟันภายในเนื้อฟัน โดยใช้สารเคมีที่จะซึมผ่านเคลือบฟันและเนื้อฟันเข้าไปสลายโมเลกุลของสีในเนื้อฟันเพื่อทำให้ฟันขาวขึ้น โดยปกติแล้วสารเคมีที่ใช้จะเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 1% หรือ แคลเซียมเปอร์ออกไซด์ 0.5-0.7% ซึ่งความเข้มข้นที่ใช้ถือว่าน้อยมาก จากงานวิจัยพบว่า ในความเข้มข้นที่น้อยและเวลาที่สัมผัสฟันตอนแปรงฟันสั้นๆ ไม่กี่นาทีนั้น ไม่สามารถฟอกสีฟันให้ขาวขึ้นได้แต่อย่างใด การไปพบทันตแพทย์เพื่อฟอกสีฟันจะใช้สารเคมีตัวเดียวกันซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่ามาก และใช้เวลาสัมผัสฟันนานเป็นชั่วโมง สีของฟันจึงจะเปลี่ยนได้ ซึ่งมีข้อเสียตามมามากมายหลายอย่าง ผมอยากชวนให้คิดว่า ฟันสีเหลืองธรรมชาติของคนไทยเรามีเสน่ห์และเหมาะกับสีผิวและใบหน้าของคนไทย การที่มีฟันขาวจนเกินพอดีนั้น น่าจะดูแปลกๆ ไม่เป็นธรรมชาตินะครับ   ส่วนประกอบอื่น ของยาสีฟัน Titanium Dioxide หรือ CI 77891 เป็นสารที่ทำให้ยาสีฟันมีสีขาว หรือทำให้มีความขุ่น Cocamidopropyl Betaine เป็นสารลดแรงตึงผิว ทำให้สารต่างในยาสีฟันแทรกซึมสัมผัสกับฟันได้ง่ายขึ้น Sodium Lauryl Sulfate เป็นสารทำให้เกิดฟอง Sodium Saccharin ขัณฑสกร​ เป็นสารให้ความหวาน Sorbitol, Xylitol เป็นน้ำตาลโพลิออล ให้ความหวานและยังทำให้ชุ่มชื้นอีกด้วย Glycerin ทำให้ชุ่มชื้น Sodium Hydroxide โซดาไฟ ใช้ดูดความชื้น ทำให้คงตัวและปรับความเป็นกรดด่าง Carrageenan สารเพิ่มความหนืดที่เป็นเจลใส Xanthan Gum, Cellulose Gum, PEG-12 (Polyethylene Glycol) เป็นสารที่ให้ความหนึดแบบทึบ Methylparaben, Butylparaben  สารกันเสีย (สารกันบูด) Spearmint, peppermint, Eucalyptus, Mentol  เป็นสารแต่งกลิ่นและรส ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ยาสีฟัน ยาสีฟันในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ และราคาก็แตกต่างกันมากมาย  ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตเติมสารต่างๆ เพื่อหวังผลบางอย่างเข้าไปมากมาย จนบางทีก็ดูเกินกว่าหน้าที่ของยาสีฟันแต่เดิม ที่มีวัตถุประสงค์เพียงแค่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการแปรงฟัน ให้มีการกำจัดเอาแผ่นคราบจุลินทรีย์ออกได้ง่ายขึ้น กลุ่มของยาสีฟันแยกตามวัตถุประสงค์ 1.กลุ่มยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ เป็นยาสีฟันที่เหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีฟันผุหรือเกิดฟันผุได้ง่าย ในทางวิชาการเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า สามารถป้องกันฟันผุ ได้ และองค์การอนามัยโลกก็ให้คำแนะนำประชาชนใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์เป็นหลัก ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันสำหรับผู้ใหญ่ จะมีอยู่ 1,000 ส่วนในล้านส่วน หรือ 1,000 พีพีเอ็ม. และ 500   พีพีเอ็ม. สำหรับเด็ก เหตุผลที่ยาสีฟันเด็กมีปริมาณความเข้มข้นเพียงครึ่งเดียว เพื่อลดความเสี่ยงที่เด็กจะกลืนยาสีฟันทำให้ได้รับฟลูออไรด์เกิน 2.กลุ่มยาสีฟันที่ผสมสารฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสารเคมีหรือสารสมุนไพร เช่น ไตรโคลซาน ไทมอล น้ำมันกานพลู คาโมไมล์ พิมเสน การบูร ชะเอมเทศ  สารเหล่านี้จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ สมานแผล ในคนที่เป็นโรคเหงือกอักเสบใช้แล้วจะรู้สึกว่า เหงือกกระชับแน่นขึ้น ไม่อักเสบบวมแดงอย่างที่เคยเป็น 3.กลุ่มยาสีฟันที่ลดอาการเสียวฟัน จะมีการใส่สารเคมีบางตัว เช่น สตอนเทียมคลอไรด์ หรือ โพแทสเซียมไนเตรท เพื่อไปปิดรูเล็ก ๆ ที่เนื้อฟัน ทำให้ลดอาการเสียวฟันได้ชั่วคราว แต่ควรต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียวฟันร่วมด้วย จึงจะแก้ที่ต้นเหตุได้จริง 4.กลุ่มยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาว มีการใช้ผงขัดที่หยาบเพื่อให้ขจัดเอาคราบสีต่าง ๆ ที่ติดอยู่บนตัวฟันออก รวมทั้งอาจมีการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ฟอกสีฟันอ่อนๆ ซึ่งการใช้ผงขัดที่หยาบผสมลงในยาสีฟันอาจทำให้มีการขัดเอาผิวฟันออกมากเกินไป ทำให้เคลือบฟันสึกและบางลง รวมทั้งสารเคมีที่มีฤทธิ์ฟอกสีฟันอ่อนๆ อาจมีอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปากได้ จึงควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวัง 5.กลุ่มที่มีการโฆษณาว่า เป็นยาสีฟันที่ลดกลิ่นปาก หรือใช้กลางคืนเพื่อลดกลิ่นปากตอนเช้า จากรายงานทางวิชาการที่มีอยู่ในขณะนี้ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าลดกลิ่นปากได้จริงหรือไม่ การใส่สารเคมีหรือสารสมุนไพรต่างๆ ที่คาดหวังว่าจะฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดกลิ่นปากนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะว่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดกลิ่นปากนั้นทนต่อสารเคมีหรือสมุนไพรที่ฆ่าเชื้อได้ดี ในคนที่มีกลิ่นปากจำเป็นที่จะต้องตรวจวิเคราะห์ว่า มีกลิ่นปากจริงหรือไม่ สาเหตุมาจากอะไร  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 156 รู้ เลือก น้ำยาล้างห้องน้ำ

  แค่ราดทิ้งไว้ แป๊บเดียวก็สะอาด เป็นคำที่คุ้นๆ กันดีในโฆษณาผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อมาก และในแต่ละยี่ห้อยังมีหลายสูตรให้เลือกอีกด้วย เล่นเอา งง เวลาไปเลือกที่ชั้นวาง ฉลาดซื้อเลยหยิบผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันค่อนข้างกว้างขวางมาแกะรอย “สารเคมี” ที่ใช้ในแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อจะได้เลือกใช้งานกันได้อย่างเหมาะสม ไม่เอะอะๆ ก็ราดไปเรื่อย เพราะบางผลิตภัณฑ์ราดทิ้งไว้ก็ไม่ออกนะจะบอกให้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด สามารถแบ่งกลุ่มของสารเคมีที่ใช้ได้ใหญ่ 2 กลุ่ม คือ กรดและด่าง ตอนนี้ในตลาดส่วนใหญ่จะเป็น กรดเกลือ หรือชื่อทางเคมีว่ากรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid) กรดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง และสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความเข้มข้นที่นำมาผลิต ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำพบกรดเกลือความเข้มข้นตั้งแต่ 8% - 20% ข้อดี คือ พลังกำจัดคราบรอยเปื้อนสูง โดยเฉพาะคราบฝังแน่น ข้อเสีย คือ กลิ่นฉุนแสบจมูกจากไอของกรด ใช้บ่อยครั้งจะกัดยาแนวกระเบื้อง ทำให้ผิวหน้าของพื้นห้องน้ำผุกร่อน ขรุขระ (ยิ่งทำให้สะสมคราบสกปรกเพิ่มขึ้น) ไอของน้ำยายังทำให้อุปกรณ์บางชิ้นในห้องน้ำเป็นสนิมด้วย   กรดอีกตัวที่ใช้คือ กรดซิตริก(citric acid) มีฤทธิ์กัดกร่อนพอตัว แต่ไม่รุนแรงเท่ากรดเกลือ และกลิ่นไม่ฉุนมาก ส่วนสารออกฤทธิ์ที่เป็นด่าง มียี่ห้อไม่หลากหลายเท่ากรดเกลือ ตัวที่นิยมใช้เป็นกลุ่มเดียวกับพวกสารฟอกขาว (Chlorine Bleach) ที่เรารู้จักดีในผลิตภัณฑ์ซักผ้า ได้แก่ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (sodium hypochlorite) และกลุ่มคลอรีน บีช ที่กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำตัวล่าสุดคือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) คุ้นๆ ใช่ไหม ตัวเดียวกับที่เคยใช้เป็นยาล้างแผลนั่นเอง แต่ในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำจะมีความเข้มข้นสูงกว่า คือ 5% ข้อดีและเป็นจุดขายสำคัญของกลุ่มคลอรีน บีช คือ การกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและตัวที่สร้างปัญหาในห้องน้ำมากสุดคือ เชื้อรา ข้อเสีย มีฤทธิ์กัดกร่อนสูงไม่แพ้กรดเกลือ(ระดับฟอกผ้าขาวได้) และมีข้อต้องระวังในการใช้หลายอย่าง เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรท์ ห้ามเจอกรด(หรือใช้ร่วมกับน้ำยาที่เป็นกรด)และสารประกอบแอมโมเนียเด็ดขาด เพราะจะกลายเป็นก๊าซพิษ(ก๊าซคลอรีน) ก่อให้เกิดอันตรายจากการสูดดมไอพิษ ทั้งกรดและด่างที่นำมาใช้เป็นสารเคมีตั้งต้นในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ ส่วนใหญ่จะไม่มาเพียวๆ แต่จะผสมพวกสารลดแรงตึงผิว (Surfactant)   เพื่อช่วยในการแทรกซึมของน้ำยาเข้าสู่พื้นผิวได้อย่างทั่วถึง สารลดแรงตึงผิวที่นิยมได้แก่ Diethylene glycol butyl ether  , Linear Alkylbenzene Sulfonate,  Linear Alkylbenzene Sulfonate , Sodium Salt  ,  Ethoxylate Alcohol  ( 7 EO ) แต่ถ้าไม่ชอบพวกกรดและด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง แพ้หรือกลิ่นแสบจมูก ให้เลี่ยงมาใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่ใช้แต่เฉพาะ  ตัวทำละลายอินทรีย์(Organic Solvent)และสารลดแรงตึงผิวแทน ต่อไปความต้องการผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำของผู้บริโภคจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในรูปแบบใหม่ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้จะใช้สารเคมีตั้งต้นที่คล้ายๆ กัน ในกระบวนการผลิต แตกต่างกันในส่วนของสารเติมแต่งต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นสารเคมีสังเคราะห์ทั้งสิ้น สารเคมีบางอย่างก็มีอันตรายต่อร่างกายทั้งในลักษณะของการแพ้อย่างเฉียบ พลันหรืออาจสะสมความเป็นพิษในร่างกายได้ ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจึงต้องพิจารณาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนชนิดและปริมาณที่ใช้ เพื่อให้เหมาะกับสภาพการใช้งานและมีความปลอดภัย   ฉลาดซื้อแนะ 1.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำให้ตรงกับสภาพความสกปรกของพื้นผิวและลักษณะของพื้นผิว(วัสดุที่ใช้เป็นพื้นห้องน้ำหรือตัวสุขภัณฑ์ เช่น กระเบื้อง เซรามิก หินอ่อน หินขัด) 2. คราบสกปรกที่ล้างออกได้ง่าย เช่น คราบสบู่ คราบสกปรกทั่วไป ไม่ควรใช้ส่วนผสมของกรดหรือด่างที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ใช้แค่สูตรที่เป็นสารลดแรงตึงผิวก็เพียงพอในการกำจัดคราบ 3.พวกมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ควรใช้เฉพาะกับคราบฝังแน่นเท่านั้น 4.กรดที่ผสมในผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำมีให้เลือกหลายชนิดตามความเข้มข้น อาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดที่มีความเข้มข้นต่ำก็จะปลอดภัยกว่าชนิดเข้มข้นสูง 5.สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำยาซักผ้าขาว(ไฮเตอร์ ไฮยีน) ล้างห้องน้ำแทนสูตรโซเดียมไฮโปคอลไรท์ได้ โดยเฉพาะการกำจัดเชื้อรา เนื่องจากมีราคาถูกกว่ามาก 6..อ่านวิธีการใช้และคำเตือนให้ละเอียด เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้งานผิดพลาดหรือเผอเรอ   ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ                   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 137 ผักสดในตลาด กับการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง

เนื่องด้วยเกิดความผิดพลาดขึ้นใน นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 136 มิถุนายน 2555 ในคอลัมน์ทดสอบ “ผักขึ้นห้าง วางใจได้แค่ไหนเรื่องสารเคมี” ซึ่งเนื้อหาในส่วนของผลวิเคราะห์ ที่มีการรายงานปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในตัวอย่างผักที่ทดสอบเป็นหน่วย มล./กก. หรือ มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม นั้น ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือ ต้องใช้หน่วยเป็น มก./กก. หรือ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามที่แสดงไว้ในตารางรายงานการตรวจวิเคราะห์ กองบรรณาธิการต้องขออภัยกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และจะเพิ่มความรอบคอบในการตรวจทานแก้ไขให้มากยิ่งขึ้น จึงเรียนขออภัยมา ณ ที่นี้   หลังจากเราพาไปสำรวจการปนเปื้อนของสารเคมีในผักสดที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตกันเมื่อฉบับที่แล้ว คราวนี้ก็มาถึงภาคต่อที่ฉลาดซื้อขอเปลี่ยนบรรยากาศพาไปตะลุยตลาดสด ลองไปดูกันสิว่าผักสดจากตลาดจะปลอดภัยจากสารเคมีหรือไม่?   ฉลาดซื้อได้เก็บตัวอย่างผักที่ขายในตลาดสด 2 แห่ง คือ ตลาดห้วยขวาง และตลาดประชานิเวศน์ เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ยาฆ่าแมลง โดยผักที่เราเลือกมาทดสอบประกอบด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา (เช่นเดียวกับที่เราทดสอบผักจากห้างค้าปลีก) ลองไปดูกันสิว่าผักที่เรารับประทานกันอยู่เป็นประจำทั้ง 7 ชนิดนี้ จะปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงมากน้อยแค่ไหน “ผักบุ้ง” ปลอดภัยไร้สารตกค้าง อย่างน้อยก็มีเรื่องน่าดีใจ เมื่อผลการวิเคราะห์ที่ได้บอกกับเราว่า ตัวอย่าง ผักบุ้งจีน จากทั้ง 2 ตลาด ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งถ้าใครยังจำผลการวิเคราะห์ผักสดที่วางขายในห้างเมื่อฉบับที่แล้วได้ ตัวผักบุ้งจีนที่เก็บจากซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งตัวอย่างที่เป็นตราห้างและตัวอย่างที่ได้เครื่องหมาย Q ก็ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีผักสดอีกหนึ่งตัวอย่างที่ไม่พบยาฆ่าแมลง นั่นคือ กะหล่ำปลี จากตลาดประชานิเวศน์ ส่วนตัวอย่างกะหล่ำปลีจากตลาดห้วยขวาง พบการปนเปื้อนของสาร คาร์โบฟูราน (Carbofuran) แต่ไม่เกินระดับมาตรฐาน   สารตกค้างที่พบส่วนใหญ่ไม่มีเกณฑ์ในไทย ถ้าลองดูจากผลวิเคราะห์จะเห็นว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่พบในตัวอย่างผักสดที่เรานำมาวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่มีในเกณฑ์ “มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ” (มกอช.) ซึ่งเท่ากับว่าไม่ควรพบการตกค้าง แต่ที่ยังพบการปนเปื้อนอยู่ก็เป็นการบอกให้รู้ถึงปัญหาของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในบ้านเรา ที่ยังคงมีการใช้กันเป็นจำนวนมาก แถมชนิดของสารเคมีที่ใช้กันก็มีหลากหลาย พูดได้เลยสุขภาพของคนไทยกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง   “ผักชี” และ “พริกจินดา” ความเสี่ยงสูง ตัวอย่าง ผักชี และ พริกจินดา จากทั้ง 2 ตลาด ถือเป็นตัวอย่างผักสดที่พบการปนเปื้อนของสารเคมีมากจนน่าตกใจ โดยในหนึ่งตัวอย่างพบการปนเปื้อนสารเคมี 3 – 4 ชนิด แถมสารเคมีที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระดับเกินมาตรฐาน ซึ่งผักซีเป็นผักที่ มกอช. ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานกำกับไว้ ดังนั้นจึงไม่ควรพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง แม้หลายคนอาจจะมองว่าผักทั้งสองชนิดถ้าคิดเป็นต่อหนึ่งมื้อเราจะรับประทานในปริมาณที่น้อยมาก แต่ผลร้ายของการใช้ยาฆ่าแมลงมันมีมากกว่าที่เราคิด ทั้งผลของการสะสมในระยะยาวที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึงสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้สารโดยตรง คุณภาพของดินและระบบนิเวศวิทยาที่จะถูกทำลายจากการใช้สารเคมี นี่ยังไม่นับรวมถึงผลเสียของเศรษฐกิจที่เราต้องขาดดุลจากการนำเข้าสารเคมี และการที่ผักของประเทศไทยถูกห้ามนำเข้าไปขายยังต่างประเทศเพราะเขาตรวจพบว่าผักของเรามีการปนเปื้อนสารเคมีเกินมาตรฐาน เป็นสารเฝ้าระวังแท้ๆ แต่ว่าเจอเพียบ สารเคมีกำจัดศัตรูที่เราตรวจพบในตัวอย่างผักสดทั้ง 14 ตัวอย่าง จากตลาดสดทั้ง 2 ตลาด ไม่ว่าจะเป็น อัลดิคาร์บ (aldicarb), คาร์โบฟูราน (carbofuran), ไดโครโตฟอส (dicrotophos), อ๊อกซามิล (oxamyl), อีพีเอ็น (EPN), เมโทมิล (methomyl) และ เมทิดาไธออน (methidathion) จัดเป็นสารเคมีที่อยู่ใน “รายชื่อวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวัง” ซึ่งหมายถึงสารเคมีที่ต้องมีการแจ้งการนำเข้า การผลิต ส่งออก และต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง เพราะจัดเป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรง ออกฤทธิ์แบบเฉียบพลัน เป็นอันตรายกับผู้ที่ได้รับสารแม้เพียงปริมาณไม่มาก ซึ่งทั้งๆ ที่เป็นสารเคมีอันตราย แม้จะไม่ได้มีการห้ามใช้แบบเด็ดขาด แต่ก็น่าจะมีการควบคุมการใช้ที่ค่อนข้างเข้มงวด แต่จากผลวิเคราะห์เห็นได้ชัดเลยว่าบรรดาสารเคมีที่อยู่ในการเฝ้าระวังของกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรยังคงหาซื้อมาใช้กันเป็นจำนวนมาก เรียกว่ายังคงใช้กันเป็นเรื่องปกติ ถึงเวลาต้อง “แบน” เครือข่ายเฝ้าระวังสารเคมีเกษตร (Thai – PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ที่มาจากการรวมตัวกันของ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายผู้บริโภค และภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนักวิชาการด้านการเกษตร เกษตรกร กำลังช่วยกันผลักดันให้ภาครัฐยกเลิกการนำเข้าและผลิตสารเคมีในประเทศไทย 4 ชนิด ได้แก่ คาร์โบฟูราน (carbofuran), เมโทมิล (methomyl), ไดโครโตฟอส (dicrotophos) และ อีพีเอ็น (EPN) ซึ่งจากการวิเคราะห์เราพบสารทั้ง 4 ชนิดนี้ กระจายอยู่ในตัวอย่างผักสดที่เราสุ่มเก็บมาทดสอบเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่สารเหล่านี้เป็นกลุ่มเฝ้าระวังเพราะมีอันตรายมาก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกยกเลิกการใช้สารเหล่านี้ไปแล้ว แต่ประเทศไทยเรากลับยังมียอดการนำเข้าเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ หากยังไม่มีการยกเลิกการนำเข้าและการประกาศห้ามใช้ เรียกว่าสุขภาพของคนไทยก็ยังคงต้องเสี่ยงกับอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อไป ตัวอย่างประเทศที่ประกาศห้ามการใช้สารเคมีทั้ง 4 ชนิด รายชื่อสารเคมี ประเทศที่ประกาศห้าม คาร์โบฟูราน (carbofuran) สหภาพยุโรป อเมริกา เมโทมิล (methomyl) สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฟินแลนด์ ตุรกี สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย (ยกเลิกบางสูตร) ไดโครโตฟอส (dicrotophos) อินเดีย ปากีสถาน สิงคโปร์ สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย มาเลเซีย อีพีเอ็น (EPN) อเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย แคนาดา มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า นิวซีแลนด์ เวียดนาม อินเดีย   ทีมา: ข้อมูลพื้นฐานของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเฝ้าระวัง 4 ชนิด โดย มูลนิธิชีววิถี   ผักแพง เพราะอะไร ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวคราวที่ชวนให้หลายๆ คนปวดใจ โดยเฉพาะคนที่รักสุขภาพและชื่นชอบการรับประทานผัก เมื่อข้าวของต่างๆ เดินหน้าขึ้นราคา พืชผักต่างๆ ก็ไม่ยอมตกเทรนด์ขอเกาะขบวนกลายเป็นสินค้าราคาแพงกับเขาด้วย หลายๆ คนสงสัยว่าบ้านเราเป็นเมืองเกษตรกรรมแท้ๆ แต่ไหงผักถึงราคาแพง เหตุผลที่เราได้ยินได้ฟังมาเขาบอกว่าเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งภัยธรรมชาติ น้ำมันแพง ค่าแรงขึ้น ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเมื่อรวมกันก็กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ต้นทุน” แล้วรู้กันหรือว่าเปล่าอีกหนึ่งต้นทุนสำคัญที่ส่งผลต่อราคาผักที่หลายคนบ่นว่าแพงทุกวันนี้ก็คือ “สารเคมีกำจัดศัตรูพืช”   ผักแพง ยาฆ่าแมลงก็มีส่วน เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าสารเคมีทางการเกษตรเป็นสารพิษที่ส่งผลเสียกับร่างกาย แม้มันจะเป็นตัวช่วยให้กับเกษตรกรในการป้องกันรักษาพืชผักที่ปลูกไม่ให้ถูกรบกวนจากแมลงหรือวัชพืช แต่ก็เสี่ยงกับการที่สารเคมีจะตกค้างในผัก ข้อมูลสถิติการนำเข้าวัตถุอันตราย ของสำนักงานควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้รายงานเอาไว้เมื่อปี 2553 ประเทศไทยเรามีการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากถึงเกือบ 120 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นเงินที่เราต้องเสียไปกว่า 18,000 ล้านบาท (รู้แล้วใช่มั้ยว่าทำไมเราถึงกินผักราคาแพง) ซึ่งถ้าลองนำตัวเลขการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาเทียบกันในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มการนำเข้ามีแต่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังเพิ่มมากขึ้น 2 – 3 เท่าตัวเลยทีเดียว (ปี 2543 สถิติการนำเข้าจะอยู่ที่แค่ประมาณ 50 ล้านกิโลกรัมเท่านั้น)   ปัญหายาฆ่าแมลงในผัก ทุกคนต้องช่วยกันรับผิดชอบ แม้เราจะเริ่มรู้สึกตรงกันแล้วว่าการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในบ้านเรานั้นอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เพราะมันอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนไทยเราป่วยเป็นมะเร็งกันมากขึ้น แต่แนวทางการแก้ไขเพื่อลดปริมาณการใช้ก็ยังไม่เห็นความชัดเจน เกษตรกรเองก็ยังต้องพึ่งพาสารเคมีเพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมากพอที่จะทำให้เกษตรกรมีกำไร (ว่ากันว่าทุกวันนี้ค่าใช้จ่ายในส่วนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรต้องจ่ายคิดได้เท่ากับ 10 – 30% ของต้นทุนทั้งหมด) ภาครัฐเองก็อาจยังมีการส่งเสริมเรื่องความเข้าใจในการใช้สารเคมีและรวมถึงแนวคิดการทำเกษตรปลอดสารแก่เกษตรกรน้อยเกินไป แถมยังไม่มีมาตรการที่ใช้คุมเข้มการขาย การโฆษณา สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งสร้างความเข้าใจผิดให้กับเกษตรกร แม้แต่ผู้บริโภคอย่างเราเองก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับการใช้สารเคมีของเกษตรกร เพราะทุกวันนี้เราแทบไม่ได้สนใจกันแล้วว่าผักชนิดไหนออกช่วงฤดูกาลอะไร เราเลือกกินแต่ผักชนิดเดิมๆ ตลอดทั้งปี (เช่น คะน้า ผักกาด ถั่วฝักยาว ฯลฯ) เกษตรกรเองจึงเลือกปลูกแต่ผักตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งเป็นผักแค่ไม่กี่ชนิด ลองคิดดูแล้วกันว่าผักชนิดเดิมๆ ที่มีให้เรากินตลอดเวลา จะต้องพึ่งสารเคมีมากแค่ไหนถึงปลูกให้เรากินได้ทั้งปี   ตารางรายงานการตรวจวิเคราะห์ ผัก กลุ่มตลาดสด (ตลาดห้วยขวาง) ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ (มก./กก.) เกณฑ์มาตรฐาน (ไม่เกิน มก./กก.) สารกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส สารกลุ่มคาร์บาเมต ไทย (มกอช.) ยุโรป กะหล่ำปลี ไม่พบ Carbofuran น้อยกว่า 0.01 Carbofuran 0.2 Carbofuran 0.02   คะน้า   Dicrotophos 2.02 Oxamyl น้อยกว่า 0.01 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Oxamyl 0.01 Dicrotophos ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) ถั่วฝักยาว Acephate น้อยกว่า 0.05 EPN 0.34 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Acephate 0.02 EPN  ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) ผักกาดขาว ไม่พบ Carbofuran 0.01 Methomyl น้อยกว่า 0.01 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Carbofuran  0.02 Methomyl 0.02 ผักบุ้งจีน ไม่พบ ไม่พบ - - ผักชี Chlorpyrifos 0.10 EPN 1.02 Methidathion 0.06 Methomyl 0.04 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Chlorpyrifos 0.05 Methidathion 0.02 Methomyl 0.3 EPN  ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) พริกจินดา Chlorpyrifos 0.05 Methidathion 0.11 Carbaryl 0.01 Chlorpyrifos 0.5 Carbaryl 0.5 Methidathion ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Chlorpyrifos 0.5 Carbaryl 0.05 Methidathion 0.02 ตารางรายงานการตรวจวิเคราะห์ ผัก กลุ่มตลาดสด (ตลาดประชานิเวศน์) ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ (มก./กก.) เกณฑ์มาตรฐาน (ไม่เกิน มก./กก.) สารกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส สารกลุ่มคาร์บาเมต ไทย (มกอช.) ยุโรป กะหล่ำปลี ไม่พบ ไม่พบ - - คะน้า ไม่พบ Aldicarb น้อยกว่า 0.01 Methiocarb 0.01 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Aldicarb 0.02 Methiocarb 0.1 ถั่วฝักยาว Omethoate 0.07 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) แต่หากลองเทียบกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง มีการกำหนดเกณฑ์การตกค้างของ Omethoate ไว้ในผักหลายชนิด (แต่ไม่มีถั่วฝักยาว) ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุดที่กำหนดไว้คือ 0.05 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) ผักกาดขาว ไม่พบ Carbofuran 0.01 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Carbofuran  0.02 ผักบุ้งจีน ไม่พบ ไม่พบ - - ผักชี   Chlorpyrifos น้อยกว่า 0.05 Aldicarb 0.02 Carbofuran 1.13 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Chlorpyrifos 0.05 Aldicarb 0.02 Carbofuran 0.02 พริกจินดา   Chlorpyrifos 0.07 Methidathion 0.10 Triazophos 0.05 Carbaryl 0.02 Chlorpyrifos 0.5 Carbaryl 0.5 Methidathion และ Triazopho ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Chlorpyrifos 0.5 Carbaryl 0.05 Methidathion 0.02 Triazopho 0.01   : เก็บตัวอย่างเมื่อ เดือนมีนาคม 2555 : ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้น : วิเคราะห์ผลโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 SUNSCREEN UPDATE!

  เพื่อเป็นการลดความสับสนให้กับผู้บริโภคเวลาที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดด องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ประกาศกฎใหม่สำหรับฉลากผลิตภัณฑ์กันแดดที่จะบังคับใช้ภายใน 1 ปี ดังนี้  •  ผลิตภัณฑ์ที่จะติดฉลากว่าเป็น ซันสกรีน (Sunscreen) ได้นั้นจะต้องสามารถป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอ และยูวีบี (UVA/UVB)  • ถ้าจะมีคำว่า “Broad spectrum” บนฉลาก ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีทั้งสองประเภทได้พอๆ กัน (ไม่ใช่ป้องกันรังสียูวีเอได้มากแต่ป้องกันรังสียูวีบีได้เพียงเล็กน้อย เป็นต้น)  • ต่อไปนี้ห้ามใช้คำว่า “กันน้ำ” (Waterproof/ water resistance) หรือ “กันเหงื่อ” (Sweatproof) โดยอนุญาตให้ระบุเป็นเวลาที่ยังมีประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากโดนน้ำได้เท่านั้น อย่างที่เห็นในผลทดสอบ ว่าประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีของผลิตภัณฑ์กันแดดส่วนใหญ่มักลดลงเมื่อผิวหนังเราสัมผัสกับน้ำ บางยี่ห้อเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น  • ที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 จึงจะสามารถอ้างว่า “สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง หรือป้องกันผิวแก่ก่อนวัยได้”  • ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นมีค่า SPF ระหว่าง 2 ถึง 14 จะต้องมีคำเตือนให้ผู้ใช้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่สามารถช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังหรือการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ ---- ข้องใจ ... ทำไมไม่แบน?กฎเกณฑ์ใหม่ที่ออกมาได้รับการชื่นชมจากบรรดาผู้ที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค แต่มีอยู่หนึ่งเรื่องที่ยังเป็นที่คาใจของประธานมูลนิธิมะเร็งผิวหนังแห่งอเมริกา  เขาบอกว่ารู้สึกผิดหวังมากที่ อย.สหรัฐยังไม่ประกาศห้ามการอ้างว่ามี SPF สูงกว่า 50 ซึ่งยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าจะช่วยป้องกันรังสีอันตรายได้นานขึ้นจริงหรือไม่  เพราะการปล่อยให้มีการขายผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามีค่า SPF มากกว่า 50 ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารเคมีที่อาจก่อความระคายเคืองในปริมาณที่มากขึ้น โดยไม่มีผลทางการป้องกันแดดเพิ่มขึ้น --- เพื่อเป็นการตอบรับมาตรการใหม่ในการควบคุมฉลากผลิตภัณฑ์กันแดด ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำผลทดสอบจากองค์กรทดสอบสากลมาฝากกันอีกครั้ง คราวนี้เขาเลือกทดสอบเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 15 และ SPF 20 เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้ามาทดสอบจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากฝรั่งเศสและเยอรมนี ดังนั้นเราจึงเลือกมาเฉพาะแบรนด์ที่มีจำหน่ายในบ้านเราเท่านั้น   เราพบว่า• ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่า SPF สูงกว่าที่แจ้งไว้บนฉลาก ยกเว้น อัลตราซัน Ultrasun professional protection sports clear gel formula วิชี่ Vichy Laboratoires Capital Soleil Sonnschutz-Gel-Milch Körper  การ์นีเย่ Garnier Ambre Solaire ที่มีค่าการป้องกันรังสี UVB หรือค่า SPF ที่วัดได้จริงเพียง 15 แต่แจ้งบนฉลากว่ามีค่า SPF 20 • ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกันรังสี UVB ยกเว้น คลาแรงส์ Clarins Sun Care Cream และ อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics Sonnencreme • ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดที่อ้างว่าใช้สารสกัดจากธรรมชาติหรือออร์กานิกนั้นยังไม่สามารถป้องกันรังสี UVA ที่เป็นตัวการทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอย เช่น อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics Sonnencreme นีเวีย Nivea Sun Pflegende Sonnenmilch SPF 20 ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 23ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 69 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  อีฟ โรเช่ Yves Rocher Protectyl Végétal Feuchtigkeitsspendende Sonnenschutz-Milch SPF 15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 29ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 66ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2.5   การ์นิเย่ Garnier Ambre Solaire Ultra-feuchtigkeitsspendende Sonnenschutz-Milch SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 21ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 63 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   ลอรีอัล L`Oréal Paris Solar Expertise SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 27ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 58 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   ลาโรช โพเซ่ย์ La Roche-Posay Anthelios Spray für empfindliche Haut SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 35ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 56 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2    นีเวีย Nivea Sun Light Feeling Transparentes Spray SPF 20 ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 54 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5   นีเวีย Nivea Sun  Sun Spray 20 mediumค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   เอวอน Avon sun medium SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 34ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1    วิชี่ Vichy Capital Soleil SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 25ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 50 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5   ชิเซโด Shiseido Sun Protection Lotion SPF 15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 29ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 40 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  ลอรีอัล L`Oreal Solar Expertise, icy protection SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 20ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 40 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  ยูเซอริน Eucerin Sun Protection Sun Spray SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 35ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 32 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   อัลตราซัน Ultrasun professional protection sports clear gel formula SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 61 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 1.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1   วิชี่ Vichy Laboratoires Capital Soleil Sonnschutz-Gel-Milch Körper SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   การ์นีเย่ Garnier Ambre Solaire SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 37 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  คลาแรงส์ Clarins Sun Care Cream SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 52ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 42 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB ×ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics, Sonnencreme SPF15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 67 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB ×ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  3ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 3ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2.5

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 90 สำรวจ : นวดไทย โดนใจอย่างแรง

“แพทย์แผนไทย” ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาไทย ยาสมุนไพร อบ ประคบหรือนวด จัดเป็นบริการทางการแพทย์สาขาหนึ่งที่แทรกอยู่ในสถานพยาบาลของรัฐ ทั้งโรงพยาบาลระดับศูนย์ โรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย  แม้จะไม่ทุกแห่งแต่ก็ครอบคลุมทั่วประเทศ คุณที่มีบัตรทองหรือสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นสามารถขอใช้บริการได้ หรือไม่มีสิทธิหลักประกันก็ร่วมจ่ายค่ารักษาได้ในราคาไม่แพง เรียกว่า ถูกและดี ทั้งเป็นการส่งเสริม “คุณค่าแบบไทย” อีกด้วย ก่อนปี พ.ศ.2551 รู้ไหมว่า “นวดไทย” ครองใจชาวบ้านมากที่สุด จาก “รายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ประจำปี พ.ศ.2548-2550” โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในรายงานฉบับนี้ระบุว่า เมื่อสำรวจข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพการแพทย์แผนไทย 57 แห่ง จากทั้งหมด 70 แห่ง พบว่า ปี 2546 มีผู้ใช้บริการแพทย์แผนไทย ทั้งเพื่อการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวม 407,651 ครั้ง โดย นวดไทย ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 48 ประคบ ตามมาห่างๆ ที่ร้อยละ 19.3 การใช้ยาไทยและยาสมุนไพร ร้อยละ 17.8 อบไอน้ำสมุนไพร ร้อยละ 10.2 ที่เหลือก็เป็นนั่งสมาธิ การขอความรู้ หรือแม้แต่การทำฤาษีดัดตน ปวดหลัง ปวดไหล่นวดไทยช่วยคุณได้ ทำไมนวดไทยมาแรง เรามาดูสาเหตุของการเจ็บป่วยกันก่อน ในรายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทยฯ อาการเจ็บป่วยที่พึ่งแพทย์แผนไทย สูงสุดอันดับหนึ่งร้อยละ 59.3 คือ เจ็บป่วยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก ทายสิว่า ปวดอะไรมากที่สุด เฉลย…ปวดหลังมากที่สุด รองลงมาก็ปวดเมื่อย/เคล็ดขัดยอก ปวดขา/ข้อเท้าแพลง ปวดไหล่/สะบัก/บ่า   และปวดเข่า/เข่าอักเสบ อันนี้สอดรับกับข้อมูลของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2546 ซึ่งพบว่า คนไทยที่เจ็บป่วยและเลือกใช้การรักษาในแนวทางแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ทั้งเกษตรและประมง โดยกลุ่มโรคที่พบมากสุดคือ  โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ ซึ่งโรคกลุ่มนี้จัดเป็นอาการแบบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ เพราะรู้กันอยู่ว่า คนในภาคเกษตรกรรมนั้น ทำงานหนักใช้แรงกายมาก อาการปวดเมื่อยหลังไหล่เลยพบได้บ่อย นวดนี่แหละช่วยได้มาก ไม่ต้องกินยาให้เสี่ยงกับอาการไม่พึงประสงค์จากยา  แต่บริการนวดเขาก็ไม่ได้ปิดกั้นคนทำงานออฟฟิสนะ เดี๋ยวนี้โรคปวดหลัง ปวดไหล่ ไม่เข้าใครออกใคร ไม่เฉพาะคนสูงอายุ วัยทำงานแหละตัวดี ดังนั้นหากปวดหลังไหล่ เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว แล้วกินแต่ยากันจนเคย ลองเปลี่ยนมาใช้บริการนวดไทยในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเอกชนที่เปิดให้บริการนวด ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวเลย  นวดไทยเป็นสิทธิประโยชน์ในบัตรทองตอนปี 2549 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกาศนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทย โดยการเพิ่มการรักษาพยาบาลด้วยระบบนี้ไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ของผู้ถือ “บัตรทอง” และเพิ่มเงินสนับสนุนอย่างจริงจังในปี 2551 ให้กับการจัดบริการแพทย์แผนไทย เน้นการนวดเพื่อการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ   ปรากฏว่า ผ่านมา 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน 2551) ผู้ถือบัตรทองนิยมบริการนวดแผนไทยเพื่อรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพ ถึง 60,000 ครั้ง โดยเขตเชียงใหม่ใช้บริการมากสุด 17,000 ครั้ง จากหน่วยบริการ 122 แห่ง ส่วนเขตพื้นที่ที่มีการใช้บริการน้อยที่สุดคือ เขตพื้นที่สุราษฎร์ธานี ใช้บริการ 600 ครั้ง จากหน่วยบริการ 13 แห่ง โดยขณะนี้มีสถานพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย และศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ให้บริการแพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวกับการนวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพทั้งสิ้น 708 แห่ง นวดไทย เสน่ห์ไทย นวดไทยนับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วว่าสามารถผ่อนคลายบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้หลายกลุ่มอาการโรค ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการเรียนการสอนด้านการนวดไทยอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐานถูกต้องตามหลักวิชาการ ประโยชน์ของการนวด มีมากมาย ทั้งลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง กระตุ้นระบบประสาท เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจ ฟื้นฟูสภาพของระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบประสาท และทำให้รู้สึกสบายคลายเครียด แล้วคุณล่ะ จะลองไปนวดกันสักครั้งดีไหม 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 มารยาริษยา : มหากาพย์แห่งความแปลกแยก

และแล้ว มหากาพย์ความขัดแย้งระหว่างนางแบบรุ่นพี่อย่าง “เพียงดาว” กับนางแบบรุ่นน้องหน้าใหม่อย่าง “ดีนี่” ก็รีเทิร์นกลับมาสร้างความตื่นเต้นสะใจกันอีกครั้งในปี 2012 นี้ นอกจากการตบกันจนกระจายและวิวาทะกันจนกระเจิงแล้ว การหวนกลับมาอีกครั้งของปมขัดแย้งระหว่างเพียงดาวและดีนี่ โดยมีพระเอกช่างภาพหนุ่มอย่าง “โอม” เป็นตัวแปรศูนย์กลางของเรื่อง น่าจะนำไปสู่คำถามบางอย่างว่า ความขัดแย้งแก่งแย่งดังกล่าวกำลังบอกอะไรกับคนดูหรือสังคมไทยกันบ้าง ถ้าดูแบบผิวเผินแล้ว “มารยาริษยา” ก็อาจจะเป็นละครโทรทัศน์ที่กำลังเปิดโปงให้เราเห็นเบื้องหลังของแวดวงนางแบบ ซึ่งหน้าฉากแคทวอล์กอาจจะเป็นภาพของวงการที่ฉาบเคลือบไว้ด้วยอาภรณ์เสื้อผ้าที่สวยงาม แต่ฉากหลังนั้นกลับเต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขันและประหัตประหารกันด้วย “มารยา” และ “ริษยา” อันมากมาย แต่หากเพ่งมองให้ลึกลงไปกว่านั้นแล้ว “มารยาริษยา” ก็อาจจะมีอีกด้านหนึ่งที่จำลองภาพของสังคมไทยปัจจุบัน ที่แม้จะดูก้าวหน้าเชิงเศรษฐกิจสังคมมากกว่าในอดีต แต่ก็กำลังเป็นสังคมไทยที่ก้าวเข้าสู่ความเป็นสังคมแห่ง “ความแปลกแยก” ในเวลาเดียวกัน   นักทฤษฎีสังคมรุ่นคลาสสิกอย่างคุณปู่คาร์ล มาร์กซ์ เคยอธิบายไว้ว่า ภายใต้ระบบการผลิตแบบทุนนิยมที่เน้นการแข่งขันเป็นหลัก และผู้แพ้หรือผู้อ่อนแอต้องถูกคัดออกไปจากระบบนั้น มนุษย์จึงมักตกอยู่ในสภาวะที่ถูกตัดสายสัมพันธ์จากสรรพสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนนำไปสู่การเกิดอาการแปลกแยกในจิตใจ เรื่องราวของเพียงดาวและดีนี่เองก็เริ่มต้นขึ้นบนหลักการแข่งขันและแพ้คัดออกดังกล่าวเช่นกัน เมื่อตัวละครอย่างเพียงดาวที่เป็นนางแบบรุ่นใหญ่และกำลังหมดศรัทธาในเรื่องความรัก ต้องมาเผชิญหน้ากับนางแบบรุ่นน้องเพิ่งเข้าวงการอย่างดีนี่ ที่ร้ายลึกและพยายามทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะเพียงดาวให้ตกเวทีทั้งในเรื่องงานและเรื่องความรัก และด้วยเหตุฉะนี้ เพียงดาวจึงเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นตัวแทนของมนุษย์ยุคใหม่ในสังคมที่ไร้รัก เปลี่ยวเหงา และแปลกแยก เพราะไม่เพียงแต่ภูมิหลังชีวิตของเธอที่ดูเหมือนจะผิดหวังกับความรักมาครั้งแล้วครั้งเล่าเท่านั้น แม้แต่อาชีพนางแบบที่เธอดำรงชีวิตเยื้องย่างบนแคทวอล์ก ก็ช่างเป็นอาชีพที่สะท้อนบรรยากาศของ “ความแปลกแยก” ได้อย่างเข้มข้นที่สุด บนเวทีแคทวอล์ก เพียงดาวอาจจะเฉิดฉายอู้ฟู่เป็นนางแบบที่รู้จักนิยมยกย่องของผู้คนมากหน้าหลายตา แต่ทว่าอาชีพนางแบบของเธอนั้น กลับมีอีกด้านที่เป็นเพียงอาชีพที่มีคนรู้จักมากมาย แต่เธอเองกลับแปลกแยกและไม่เคยได้รู้จักหรือมีสายสัมพันธ์กับผู้คนที่วนเวียนอยู่รอบตัวอย่างแท้จริง เมื่อเพียงดาวโคจรมาเจอกับโอม ผู้หญิงที่กำลังรู้สึกเปลี่ยวเหงาแปลกแยกและท้อแท้กับชีวิตในระบบอย่างเธอ จึงคิดว่าโอมอาจเป็นความรักความหวังหรือฟาง “สายสัมพันธ์” เส้นสุดท้ายที่เข้ามาในชีวิต เพราะฉะนั้น อารมณ์เกรี้ยวกราดรุนแรงที่เพียงดาวแสดงออกมาตลอดทั้งเรื่อง ก็ไม่ต่างกลับการบ่งบอกนัยว่า เธอเองก็มุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะเกาะเกี่ยวยึดฟางเส้นดังกล่าวเส้นนี้เอาไว้ให้ได้ แต่อย่างไรก็ดี ในท้ายที่สุด เพียงดาวก็ได้เรียนรู้ว่า ความรักหรือความหวังช่างเป็นสิ่งที่หาได้ยากและแร้นแค้นยิ่งในสังคมที่แปลกแยกเยี่ยงนี้ แบบที่เธอเองก็พูดกับโอมว่า “…เป็นความรักแน่เหรอโอม ถ้าสิ่งที่โอมให้ฉันคือความรัก ทำไมมันทำลายชีวิตฉันขนาดนี้ ทำไมทำให้ฉันเจ็บปวดขนาดนี้...” ในส่วนของดีนี่นั้น ละครก็ได้แฟลชแบ็กกลับไปให้เราเห็นว่า เธอเองก็มีปมชีวิตที่เติบโตมาในครอบครัวที่ล้มเหลวแตกแยก และถูกบิดาทำทารุณกรรมมาตั้งแต่เด็ก จนมิอาจยึดโยงสายสัมพันธ์เข้ากับสถาบันดั้งเดิมอย่างครอบครัวเอาไว้ได้เลย ในสังคมที่มี “การล่มสลายของสถาบันครอบครัวที่ความรักมิอาจเยียวยา” เช่นนี้ ก็เลยไม่น่าแปลกที่สังคมดังกล่าวจะสร้างตัวละครแบบดีนี่ ที่ไม่เพียงจะตกอยู่ในสภาวะแปลกแยก แต่ก็ยังเป็นมนุษย์แปลกแยกผู้มากด้วยเล่ห์กลและพยายามเอาชนะเหยียบหัวคนอื่น เพื่อให้ตนขึ้นไปถึงฝั่งฝันสูงสุดของชีวิต ไม่ว่าการกระทำนั้นจะผิดหรือถูก มนุษย์ที่ว่ายวนในสังคมแปลกแยกสามารถทำทุกวิถีทางที่จะเป็นม้าตัวสุดท้ายที่วิ่งเข้าสู่เส้นชัย แบบเดียวกับที่ดีนี่ก็ใช้วิธีหลอกลวงสร้างเรื่องโกหกมากมาย ตั้งแต่การหลอกลวงพระเอกแสนดีอย่างโอมและครอบครัวของเขา หลอกลวงบุคคลรอบข้างและพร้อมจะถีบส่งหัวเรือของผู้จัดการดาราอย่างป้ากบที่พายส่งเธอถึงฝั่งแล้ว หรือแม้แต่ยอมปั้นเรื่องเอาเท้าเหยียบเศษแก้วเอง เพื่อสร้างเรื่องป้ายความผิดให้กับเพียงดาว การปรากฏตัวออกมาของตัวละครอย่างดีนี่ จึงดูไม่ต่างไปจากการชี้ให้พวกเราตระหนักด้วยว่า สังคมที่อุดมไปด้วยการแข่งขันและต่างแปลกแยกระหว่างกันนั้น เราอาจจะกำลังได้สร้างมนุษย์สายพันธุ์เดียวกับดีนี่ออกมาวนเวียนอยู่รอบตัวของเราไม่รู้สักกี่ร้อยกี่พันคน ภาพจำลองสังคมที่ “มารยาริษยา” ได้ฉายออกมาเช่นนี้ แม้จะดูสุดขั้วสุดโต่งไปบ้าง แต่ก็สะท้อนนัยว่า เบื้องหน้าฉากสังคมยุคนี้ที่เราเห็นว่ามีด้านที่สวยสดงดงามนั้น หลังฉากก็อาจจะไม่ต่างไปจากบรรยากาศการตบตีแย่งชิงเพื่อเอาชนะกันของเพียงดาวและดีนี่เท่าใดนัก และเมื่อมาถึงบทสรุปของมหากาพย์แห่งความขัดแย้งนั้น เราก็อาจจะพบว่า สังคมที่ไต่ทะยานขึ้นจุดสูงสุด แต่เบื้องหลังกลับเต็มไปด้วย “มารยา” และ “ริษยา” ก็ไม่เคยให้คุณหรือผลกำไรกับใครอย่างแท้จริง ตรงกันข้ามผู้คนในระบบแบบนี้กลับได้รับบทลงโทษกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เริ่มต้นตั้งแต่เพียงดาวที่ต้องสิ้นสุดทางเดินในวิชาชีพนางแบบและสูญเสียโอมคนรักไปตลอดชีวิต หรือดีนี่ที่ละครใช้กฎแห่งกรรมเป็นคำอธิบายและให้บทลงโทษแก่เธอในฉากจบ ไล่รวมไปถึงบรรดาตัวละครอื่น ๆ เกือบทั้งหมดที่ต่างก็ได้รับบทเรียนชีวิตอันเจ็บปวดกันไปอย่างถ้วนหน้า ก็คงไม่แตกต่างกับสังคมไทยที่ได้เดินเฉิดฉายอยู่บนแคทวอล์กมาอย่างต่อเนื่องนั้น คำถามที่ยังเป็นปริศนาธรรมค้างคาก็คือ หากเราเดินทางมาถึงชุดฟินาเล่ท้ายสุดแล้ว “มารยา” และ “ริษยา” ที่มากล้นอยู่ในสังคมทุกวันนี้ อาจจะไม่ใช่ช่อดอกไม้แห่งความสุขที่ส่งมอบให้กัน แต่กลับจะเป็นหยาดน้ำตาแห่งความสูญเสียที่ต่างหยิบยื่นให้กันมากกว่ากระมัง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point