ฉบับที่ 137 ผักสดในตลาด กับการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง

เนื่องด้วยเกิดความผิดพลาดขึ้นใน นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 136 มิถุนายน 2555 ในคอลัมน์ทดสอบ “ผักขึ้นห้าง วางใจได้แค่ไหนเรื่องสารเคมี” ซึ่งเนื้อหาในส่วนของผลวิเคราะห์ ที่มีการรายงานปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในตัวอย่างผักที่ทดสอบเป็นหน่วย มล./กก. หรือ มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม นั้น ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือ ต้องใช้หน่วยเป็น มก./กก. หรือ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามที่แสดงไว้ในตารางรายงานการตรวจวิเคราะห์

กองบรรณาธิการต้องขออภัยกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และจะเพิ่มความรอบคอบในการตรวจทานแก้ไขให้มากยิ่งขึ้น จึงเรียนขออภัยมา ณ ที่นี้

 

หลังจากเราพาไปสำรวจการปนเปื้อนของสารเคมีในผักสดที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตกันเมื่อฉบับที่แล้ว คราวนี้ก็มาถึงภาคต่อที่ฉลาดซื้อขอเปลี่ยนบรรยากาศพาไปตะลุยตลาดสด ลองไปดูกันสิว่าผักสดจากตลาดจะปลอดภัยจากสารเคมีหรือไม่?

 

ฉลาดซื้อได้เก็บตัวอย่างผักที่ขายในตลาดสด 2 แห่ง คือ ตลาดห้วยขวาง และตลาดประชานิเวศน์ เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ยาฆ่าแมลง โดยผักที่เราเลือกมาทดสอบประกอบด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา (เช่นเดียวกับที่เราทดสอบผักจากห้างค้าปลีก) ลองไปดูกันสิว่าผักที่เรารับประทานกันอยู่เป็นประจำทั้ง 7 ชนิดนี้ จะปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงมากน้อยแค่ไหน

“ผักบุ้ง” ปลอดภัยไร้สารตกค้าง

อย่างน้อยก็มีเรื่องน่าดีใจ เมื่อผลการวิเคราะห์ที่ได้บอกกับเราว่า ตัวอย่าง ผักบุ้งจีน จากทั้ง 2 ตลาด ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งถ้าใครยังจำผลการวิเคราะห์ผักสดที่วางขายในห้างเมื่อฉบับที่แล้วได้ ตัวผักบุ้งจีนที่เก็บจากซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งตัวอย่างที่เป็นตราห้างและตัวอย่างที่ได้เครื่องหมาย Q ก็ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีผักสดอีกหนึ่งตัวอย่างที่ไม่พบยาฆ่าแมลง นั่นคือ กะหล่ำปลี จากตลาดประชานิเวศน์ ส่วนตัวอย่างกะหล่ำปลีจากตลาดห้วยขวาง พบการปนเปื้อนของสาร คาร์โบฟูราน (Carbofuran) แต่ไม่เกินระดับมาตรฐาน

 

สารตกค้างที่พบส่วนใหญ่ไม่มีเกณฑ์ในไทย

ถ้าลองดูจากผลวิเคราะห์จะเห็นว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่พบในตัวอย่างผักสดที่เรานำมาวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่มีในเกณฑ์ “มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ” (มกอช.) ซึ่งเท่ากับว่าไม่ควรพบการตกค้าง แต่ที่ยังพบการปนเปื้อนอยู่ก็เป็นการบอกให้รู้ถึงปัญหาของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในบ้านเรา ที่ยังคงมีการใช้กันเป็นจำนวนมาก แถมชนิดของสารเคมีที่ใช้กันก็มีหลากหลาย พูดได้เลยสุขภาพของคนไทยกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง

 

“ผักชี” และ “พริกจินดา” ความเสี่ยงสูง

ตัวอย่าง ผักชี และ พริกจินดา จากทั้ง 2 ตลาด ถือเป็นตัวอย่างผักสดที่พบการปนเปื้อนของสารเคมีมากจนน่าตกใจ โดยในหนึ่งตัวอย่างพบการปนเปื้อนสารเคมี 3 – 4 ชนิด แถมสารเคมีที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระดับเกินมาตรฐาน ซึ่งผักซีเป็นผักที่ มกอช. ไม่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานกำกับไว้ ดังนั้นจึงไม่ควรพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง

แม้หลายคนอาจจะมองว่าผักทั้งสองชนิดถ้าคิดเป็นต่อหนึ่งมื้อเราจะรับประทานในปริมาณที่น้อยมาก แต่ผลร้ายของการใช้ยาฆ่าแมลงมันมีมากกว่าที่เราคิด ทั้งผลของการสะสมในระยะยาวที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึงสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้สารโดยตรง คุณภาพของดินและระบบนิเวศวิทยาที่จะถูกทำลายจากการใช้สารเคมี นี่ยังไม่นับรวมถึงผลเสียของเศรษฐกิจที่เราต้องขาดดุลจากการนำเข้าสารเคมี และการที่ผักของประเทศไทยถูกห้ามนำเข้าไปขายยังต่างประเทศเพราะเขาตรวจพบว่าผักของเรามีการปนเปื้อนสารเคมีเกินมาตรฐาน

เป็นสารเฝ้าระวังแท้ๆ แต่ว่าเจอเพียบ

สารเคมีกำจัดศัตรูที่เราตรวจพบในตัวอย่างผักสดทั้ง 14 ตัวอย่าง จากตลาดสดทั้ง 2 ตลาด ไม่ว่าจะเป็น อัลดิคาร์บ (aldicarb), คาร์โบฟูราน (carbofuran), ไดโครโตฟอส (dicrotophos), อ๊อกซามิล (oxamyl), อีพีเอ็น (EPN), เมโทมิล (methomyl) และ เมทิดาไธออน (methidathion) จัดเป็นสารเคมีที่อยู่ใน “รายชื่อวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวัง” ซึ่งหมายถึงสารเคมีที่ต้องมีการแจ้งการนำเข้า การผลิต ส่งออก และต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง เพราะจัดเป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรง ออกฤทธิ์แบบเฉียบพลัน เป็นอันตรายกับผู้ที่ได้รับสารแม้เพียงปริมาณไม่มาก

ซึ่งทั้งๆ ที่เป็นสารเคมีอันตราย แม้จะไม่ได้มีการห้ามใช้แบบเด็ดขาด แต่ก็น่าจะมีการควบคุมการใช้ที่ค่อนข้างเข้มงวด แต่จากผลวิเคราะห์เห็นได้ชัดเลยว่าบรรดาสารเคมีที่อยู่ในการเฝ้าระวังของกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรยังคงหาซื้อมาใช้กันเป็นจำนวนมาก เรียกว่ายังคงใช้กันเป็นเรื่องปกติ

ถึงเวลาต้อง “แบน”

เครือข่ายเฝ้าระวังสารเคมีเกษตร (Thai – PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ที่มาจากการรวมตัวกันของ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายผู้บริโภค และภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนักวิชาการด้านการเกษตร เกษตรกร กำลังช่วยกันผลักดันให้ภาครัฐยกเลิกการนำเข้าและผลิตสารเคมีในประเทศไทย 4 ชนิด ได้แก่ คาร์โบฟูราน (carbofuran), เมโทมิล (methomyl), ไดโครโตฟอส (dicrotophos) และ อีพีเอ็น (EPN) ซึ่งจากการวิเคราะห์เราพบสารทั้ง 4 ชนิดนี้ กระจายอยู่ในตัวอย่างผักสดที่เราสุ่มเก็บมาทดสอบเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่สารเหล่านี้เป็นกลุ่มเฝ้าระวังเพราะมีอันตรายมาก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกยกเลิกการใช้สารเหล่านี้ไปแล้ว แต่ประเทศไทยเรากลับยังมียอดการนำเข้าเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ หากยังไม่มีการยกเลิกการนำเข้าและการประกาศห้ามใช้ เรียกว่าสุขภาพของคนไทยก็ยังคงต้องเสี่ยงกับอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อไป

ตัวอย่างประเทศที่ประกาศห้ามการใช้สารเคมีทั้ง 4 ชนิด

รายชื่อสารเคมี

ประเทศที่ประกาศห้าม

คาร์โบฟูราน (carbofuran)

สหภาพยุโรป อเมริกา

เมโทมิล (methomyl)

สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฟินแลนด์ ตุรกี สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย (ยกเลิกบางสูตร)

ไดโครโตฟอส (dicrotophos)

อินเดีย ปากีสถาน สิงคโปร์ สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย มาเลเซีย

อีพีเอ็น (EPN)

อเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย แคนาดา มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า นิวซีแลนด์ เวียดนาม อินเดีย

 

ทีมา: ข้อมูลพื้นฐานของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเฝ้าระวัง 4 ชนิด โดย มูลนิธิชีววิถี

 

ผักแพง เพราะอะไร

ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวคราวที่ชวนให้หลายๆ คนปวดใจ โดยเฉพาะคนที่รักสุขภาพและชื่นชอบการรับประทานผัก เมื่อข้าวของต่างๆ เดินหน้าขึ้นราคา พืชผักต่างๆ ก็ไม่ยอมตกเทรนด์ขอเกาะขบวนกลายเป็นสินค้าราคาแพงกับเขาด้วย หลายๆ คนสงสัยว่าบ้านเราเป็นเมืองเกษตรกรรมแท้ๆ แต่ไหงผักถึงราคาแพง เหตุผลที่เราได้ยินได้ฟังมาเขาบอกว่าเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งภัยธรรมชาติ น้ำมันแพง ค่าแรงขึ้น ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเมื่อรวมกันก็กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ต้นทุน” แล้วรู้กันหรือว่าเปล่าอีกหนึ่งต้นทุนสำคัญที่ส่งผลต่อราคาผักที่หลายคนบ่นว่าแพงทุกวันนี้ก็คือ “สารเคมีกำจัดศัตรูพืช”

 

ผักแพง ยาฆ่าแมลงก็มีส่วน

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าสารเคมีทางการเกษตรเป็นสารพิษที่ส่งผลเสียกับร่างกาย แม้มันจะเป็นตัวช่วยให้กับเกษตรกรในการป้องกันรักษาพืชผักที่ปลูกไม่ให้ถูกรบกวนจากแมลงหรือวัชพืช แต่ก็เสี่ยงกับการที่สารเคมีจะตกค้างในผัก

ข้อมูลสถิติการนำเข้าวัตถุอันตราย ของสำนักงานควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้รายงานเอาไว้เมื่อปี 2553 ประเทศไทยเรามีการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากถึงเกือบ 120 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นเงินที่เราต้องเสียไปกว่า 18,000 ล้านบาท (รู้แล้วใช่มั้ยว่าทำไมเราถึงกินผักราคาแพง) ซึ่งถ้าลองนำตัวเลขการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาเทียบกันในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มการนำเข้ามีแต่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังเพิ่มมากขึ้น 2 – 3 เท่าตัวเลยทีเดียว (ปี 2543 สถิติการนำเข้าจะอยู่ที่แค่ประมาณ 50 ล้านกิโลกรัมเท่านั้น)

 

ปัญหายาฆ่าแมลงในผัก ทุกคนต้องช่วยกันรับผิดชอบ

แม้เราจะเริ่มรู้สึกตรงกันแล้วว่าการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในบ้านเรานั้นอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เพราะมันอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนไทยเราป่วยเป็นมะเร็งกันมากขึ้น แต่แนวทางการแก้ไขเพื่อลดปริมาณการใช้ก็ยังไม่เห็นความชัดเจน เกษตรกรเองก็ยังต้องพึ่งพาสารเคมีเพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมากพอที่จะทำให้เกษตรกรมีกำไร (ว่ากันว่าทุกวันนี้ค่าใช้จ่ายในส่วนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรต้องจ่ายคิดได้เท่ากับ 10 – 30% ของต้นทุนทั้งหมด) ภาครัฐเองก็อาจยังมีการส่งเสริมเรื่องความเข้าใจในการใช้สารเคมีและรวมถึงแนวคิดการทำเกษตรปลอดสารแก่เกษตรกรน้อยเกินไป แถมยังไม่มีมาตรการที่ใช้คุมเข้มการขาย การโฆษณา สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งสร้างความเข้าใจผิดให้กับเกษตรกร

แม้แต่ผู้บริโภคอย่างเราเองก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับการใช้สารเคมีของเกษตรกร เพราะทุกวันนี้เราแทบไม่ได้สนใจกันแล้วว่าผักชนิดไหนออกช่วงฤดูกาลอะไร เราเลือกกินแต่ผักชนิดเดิมๆ ตลอดทั้งปี (เช่น คะน้า ผักกาด ถั่วฝักยาว ฯลฯ) เกษตรกรเองจึงเลือกปลูกแต่ผักตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งเป็นผักแค่ไม่กี่ชนิด ลองคิดดูแล้วกันว่าผักชนิดเดิมๆ ที่มีให้เรากินตลอดเวลา จะต้องพึ่งสารเคมีมากแค่ไหนถึงปลูกให้เรากินได้ทั้งปี

 

ตารางรายงานการตรวจวิเคราะห์ ผัก กลุ่มตลาดสด (ตลาดห้วยขวาง)

ตัวอย่าง

ผลการวิเคราะห์ (มก./กก.)

เกณฑ์มาตรฐาน (ไม่เกิน มก./กก.)

สารกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส

สารกลุ่มคาร์บาเมต

ไทย (มกอช.)

ยุโรป

กะหล่ำปลี

ไม่พบ

Carbofuran น้อยกว่า 0.01

Carbofuran

0.2

Carbofuran 0.02

 

คะน้า

 

Dicrotophos 2.02

Oxamyl น้อยกว่า 0.01

ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

Oxamyl 0.01

Dicrotophos ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

ถั่วฝักยาว

Acephate น้อยกว่า 0.05

EPN 0.34

ไม่พบ

ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

Acephate 0.02

EPN  ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

ผักกาดขาว

ไม่พบ

Carbofuran 0.01

Methomyl น้อยกว่า 0.01

ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

Carbofuran  0.02

Methomyl 0.02

ผักบุ้งจีน

ไม่พบ

ไม่พบ

-

-

ผักชี

Chlorpyrifos 0.10

EPN 1.02 Methidathion 0.06

Methomyl 0.04

ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

Chlorpyrifos 0.05

Methidathion 0.02

Methomyl 0.3

EPN  ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

พริกจินดา

Chlorpyrifos 0.05

Methidathion 0.11

Carbaryl 0.01

Chlorpyrifos 0.5

Carbaryl 0.5

Methidathion ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

Chlorpyrifos 0.5

Carbaryl 0.05

Methidathion 0.02


ตารางรายงานการตรวจวิเคราะห์ ผัก กลุ่มตลาดสด (ตลาดประชานิเวศน์)

ตัวอย่าง

ผลการวิเคราะห์ (มก./กก.)

เกณฑ์มาตรฐาน (ไม่เกิน มก./กก.)

สารกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส

สารกลุ่มคาร์บาเมต

ไทย (มกอช.)

ยุโรป

กะหล่ำปลี

ไม่พบ

ไม่พบ

-

-

คะน้า

ไม่พบ

Aldicarb น้อยกว่า 0.01

Methiocarb 0.01

ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

Aldicarb 0.02

Methiocarb 0.1

ถั่วฝักยาว

Omethoate 0.07

ไม่พบ

ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

แต่หากลองเทียบกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง มีการกำหนดเกณฑ์การตกค้างของ Omethoate ไว้ในผักหลายชนิด (แต่ไม่มีถั่วฝักยาว) ซึ่งค่าเฉลี่ยสูงสุดที่กำหนดไว้คือ 0.05

ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

ผักกาดขาว

ไม่พบ

Carbofuran 0.01

ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

Carbofuran  0.02

ผักบุ้งจีน

ไม่พบ

ไม่พบ

-

-

ผักชี

 

Chlorpyrifos น้อยกว่า 0.05

Aldicarb 0.02 Carbofuran 1.13

ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

Chlorpyrifos 0.05

Aldicarb 0.02

Carbofuran 0.02

พริกจินดา

 

Chlorpyrifos 0.07

Methidathion 0.10

Triazophos 0.05

Carbaryl 0.02

Chlorpyrifos 0.5

Carbaryl 0.5

Methidathion และ Triazopho ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง)

Chlorpyrifos 0.5

Carbaryl 0.05

Methidathion 0.02

Triazopho 0.01

 

: เก็บตัวอย่างเมื่อ เดือนมีนาคม 2555

: ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้น

: วิเคราะห์ผลโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

150 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผักสด ตลาด ปนเปื้อน ยาฆ่าแมลง

ฉบับที่ 275 สำรวจฉลากดาร์กช็อกโกแลต

        ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพามาสำรวจฉลากกับภารกิจเตือนภัย ”ขมซ่อนหวาน” ในดาร์กช็อกโกแลตกัน         ดาร์กช็อกโกแลต (Dark Chocolate) จัดเป็นหนึ่งในซูเปอร์ฟูดที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะกินแล้วมีประโยชน์มาก ช่วยคลายเครียด อารมณ์ดีมีความสุข และยังอาจรวมถึงการป้องกันโรคต่างๆ เช่น อัลไซเมอร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น แต่ดาร์กช็อกโกแลตที่ดีต่อสุขภาพควรมีเปอร์เซ็นต์โกโก้ทั้งหมดสูงกว่า 70% ขึ้นไป ซึ่งจะมีรสขม หลายคนลองชิมแล้วอาจรู้สึกว่ากินยาก จึงไปเลือกที่ผสมน้ำตาลและนมเพิ่มรสชาติให้กินง่ายขึ้น ดังนั้นผู้บริโภคต้องระวังว่าดาร์กช็อกโกแลตที่มีน้ำตาลและนมในสัดส่วนมากๆ เพราะแม้จะอร่อยแต่กินบ่อยๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้         นิตยสารฉลาดซื้อ ได้สุ่มเลือกดาร์กช็อกโกแลต จำนวน 15 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมกราคม 2567 มาสำรวจฉลากเพื่อดูส่วนประกอบว่าผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดตามมาตรฐานหรือไม่ เปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการและราคา เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจซื้อในครั้งต่อๆ ไป   ผลการสำรวจฉลาก เมื่อพิจารณาในส่วนประกอบสำคัญ พบว่า         - ยี่ห้อลินด์ เอ็กเซอร์เล็นซ์ ดาร์ก 99% โกโก้ มีโกโก้รวมทั้งหมดมากที่สุด คือ 99% ส่วนยี่ห้อเมจิ แบล็ค ช็อกโกแลต คอนแฟคชั่นเนอรี่ มีน้อยที่สุดคือ 40.4%         - ยี่ห้อบอนโอบอน ดาร์ค ช็อกโกแลต บาร์ มีน้ำตาลมากที่สุด คือ 49% ส่วนยี่ห้อมีอา อินเทนส์ ดาร์ก ช็อกโกแลต 85% และยี่ห้อเวทโทรส เบลเยี่ยน ดาร์ค ช็อกโกแลต 72% มีน้อยสุด คือ 10%         - ยี่ห้อเดียโบล ดาร์ก ช็อคโกแลต วิท สวีทเทนเนอร์ ใส่วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล (มอลตินอล)ส่วนยี่ห้อลินด์ เอ็กเซอร์เล็นซ์ ดาร์ก 99% โกโก้ ไม่ระบุว่ามีน้ำตาลในส่วนประกอบ  เมื่อพิจารณาคุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 หน่วยบริโภคที่แนะนำ พบว่า         - ยี่ห้อลินด์ เอ็กเซอร์เล็นซ์ ดาร์ก 99% โกโก้ มีมากที่สุดทั้งพลังงาน (310 กิโลแคลอรี) ไขมัน (25 กรัม) และโซเดียม (140 กรัม) ส่วนน้ำตาลมีน้อยที่สุดคือ 3 กรัม          - ยี่ห้อเนสท์เล่ ลัทเตอริฮ์เย่ ดาร์คช็อกโกแลต 80% มีพลังงานน้อยที่สุดคือ 120 กิโลแคลอรี         - ยี่ห้อบอนโอบอน ดาร์ค ช็อกโกแลต บาร์ มีไขมันน้อยที่สุดคือ 7 กรัม         - ยี่ห้อลอตเต้ กาน่า แบล็ก ช็อกโกแลต มีน้ำตาลมากที่สุดคือ 23 กรัม และมีโซเดียมน้อยที่สุดคือ 5 กรัม        และเมื่อคำนวณเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่า ยี่ห้อลินด์ เอ็กเซอร์เล็นซ์ ดาร์ก 99% โกโก้ แพงสุดคือ 3.50 บาท ส่วนยี่ห้อบอนโอบอน ดาร์ค ช็อกโกแลต บาร์ ถูกสุดคือ 0.48 บาท  ข้อสังเกต         - ทุกตัวอย่างผลิตและนำเข้ามาจากต่างประเทศ ได้แก่  มาเลเซีย ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม อาร์เจนติน่า สเปน ไอร์แลนด์ สาธารณรัฐกานา และสาธารณรัฐเช็ก         - มี  2 ตัวอย่างที่พบว่ามีเปอร์เซนต์โกโก้ทั้งหมดในส่วนประกอบน้อยกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก คือ ยี่ห้อลอตเต้ กาน่า แบล็ก ช็อกโกแลต ฉลากระบุ 50% แต่ในส่วนประกอบรวมได้ 48% และดัลซีเนีย ดาร์ค ช็อกโกแลต 72% ในส่วนประกอบรวมได้ 67%         - มี 2 ตัวอย่างที่เติมไขมันอื่นนอกจากไขมันโกโก้ ได้แก่ ยี่ห้อโมรินากะ ดาร์ส ดาร์ก (ไขมันปาล์ม 4 %) และเมจิ แบล็ค ช็อกโกแลต คอนแฟคชั่นเนอรี่ (มีน้ำมันพืช 14%)         - เมื่อคำนวณคุณค่าทางโภชนาการต่อปริมาณ 40 กรัมเท่ากัน (ค่าเฉลี่ยของหน่วยบริโภคที่แนะนำ) พบว่า ยี่ห้อริตเทอร์สปอร์ต โกโก้ ซีเล็คชั่น 81% มีมากที่สุดทั้งพลังงาน (256 กิโลแคลอรี) และไขมัน (20.8 กรัม) ยี่ห้อบอนโอบอน ดาร์ค ช็อกโกแลต บาร์ มีน้ำตาลมากที่สุดคือ 20.8 กรัม ส่วนยี่ห้อบัตเลอรส์ ดาร์กช็อกโกแลต 70% ยี่ห้อเดียโบล ดาร์ก ช็อคโกแลต วิท สวีทเทนเนอร์ และยี่ห้อเวทโทรส เบลเยี่ยน ดาร์ค ช็อกโกแลต 72% มีพลังงานน้อยที่สุดคือ 210 กิโลแคลอรี         - มีตราประทับ Rainforest Alliance Certified บนฉลากยี่ห้อเนสท์เล่ ลัทเตอริฮ์เย่ ดาร์คช็อกโกแลต 80% ยี่ห้อริตเทอร์สปอร์ต โกโก้ ซีเล็คชั่น 81% และยี่ห้อคาสิโน ช็อกโกล่าต์ นัวร์ เดอ ดีกัสตาซีอง 85% ซึ่งสัญลักษณ์นี้หมายความว่า ผลิตภัณฑ์หรือส่วนผสมที่ผ่านการรับรองนั้นผลิตขึ้นโดยใช้วิธีการที่สนับสนุนหลักสามประการของความยั่งยืน ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ฉลาดซื้อแนะ         - ดาร์กช็อกโกแลตส่วนใหญ่ผลิตและนำเข้าจากต่างประเทศ ควรเลือกซื้อที่มีฉลากภาษาไทยกำกับไว้ชัดเจน มีเลขทะเบียน อย. ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและเปรียบเทียบปริมาณของส่วนประกอบได้         - ก่อนซื้อดาร์กช็อกโกแลตควรดูเปอร์เซ็นต์ของโกโก้ทั้งหมด น้ำตาลและนม และเลือกให้ตอบโจทย์กับความต้องการ โดยมีคำแนะนำว่าหากอยากลดน้ำหนัก ให้เลือกที่ 80 - 100 % ใครเพิ่งลองกินและยังไม่ชินกับรสขม ให้เลือกที่ 50 - 80 % ใครชอบหวานให้เลือกน้อยกว่า 50% ส่วนใหญ่จะใส่น้ำตาลเยอะ ควรกินแต่น้อย         - ดาร์กช็อกโกแลตมีแคลอรี่สูงและมีคาเฟอีนด้วย ควรกินในประมาณที่เหมาะสม หรือไม่เกิน 60 กรัมต่อวัน แหล่งข้อมูลอ้างอิง https://bestreview.asia/best-dark-chocolate/#google_vignettehttps://www.thaihealth.or.th (บทความ กินช็อกโกแลตถูกหลัก ช่วยสร้างสุข)https://www.bio100.co.th/knowledge/rainforest-alliance-certified/

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 274 สำรวจฉลากโภชนาการ “ขนมในกระเช้าปีใหม่”

        ช่วงเทศกาลส่งความสุขในปีใหม่นี้ ผู้บริโภคคนไหนกำลังคิดจะเลือกซื้อขนมอบกรอบหวานหอม และขนมขบเคี้ยวเค็มๆ มันๆ ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์สีสันสดใส มาจัดกระเช้าปีใหม่ ด้วยหวังว่าผู้รับจะชอบใจ อยากให้แตะเบรกไว้ก่อน เพราะแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ยอดฮิตที่มักมอบให้กันในโอกาสพิเศษต่างๆ แต่อย่าลืมว่าขนมเหล่านี้มีส่วนผสมหลักเป็นแป้ง น้ำตาล เนย นม เกลือ ผงฟู และสารกันเสีย ซึ่งหากกินเข้าไปเยอะๆ บ่อยๆ อาจเกิดการสะสมของน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดได้         นิตยสารฉลาดซื้อ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างขนมในกระเช้าปีใหม่ (คุกกี้ บิสกิต แครกเกอร์ และพาย) จำนวน 11 ตัวอย่าง ในช่วง 1 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2566 มาเปรียบเทียบข้อมูลบนฉลากโภชนาการ (ปริมาณพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม) และราคาต่อปริมาณ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภคว่าจะเลือกขนมเหล่านี้จัดใส่กระเช้าปีใหม่ดีไหมหนอ  ผลการสำรวจ        ·     ทุกตัวอย่างระบุเลขที่ใบอนุญาตจาก อย. ไว้ถูกต้อง ตรวจสอบข้อมูลได้         ·     เมื่อพิจารณาฉลากโภชนาการของขนม 11 ตัวอย่าง พบว่า ยี่ห้ออิมพีเรียล บัตเตอร์คุกกี้ สูตรเดนมาร์ค มีปริมาณต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำมากที่สุดคือ 34 กรัม ส่วนยี่ห้อไฮไท แครกเกอร์ รสดั้งเดิม และ ยี่ห้อเดนม่า คุกกี้สอดไส้รสผลไม้ มีน้อยที่สุดคือ 25 กรัม         ·     เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 หน่วยบริโภค พบว่า            -        ปริมาณพลังงานมากที่สุด = 180 กิโลแคลอรี คือยี่ห้ออิมพีเรียล บัตเตอร์คุกกี้ สูตรเดนมาร์ค ส่วนยี่ห้อล็อตเต้ ช็อกโกพาย บานาน่า มีน้อยที่สุด  = 120 กิโลแคลอรี            -        ปริมาณน้ำตาลมากที่สุด = 11 กรัม  คือยี่ห้อโอรีโอ ช็อกโกแลต ครีม ส่วนยี่ห้อไฮไท แครกเกอร์ รสดั้งเดิม มีน้อยที่สุด = 2 กรัม             -        ปริมาณไขมันมากที่สุด = 9 กรัม ได้แก่ ยี่ห้ออิมพีเรียล บัตเตอร์คุกกี้ สูตรเดนมาร์ค และยี่ห้อดานิสา ช็อกโกแลต บัตเตอร์คุกกี้ ผสมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ส่วนยี่ห้อล็อตเต้ ช็อกโกพาย บานาน่า และยี่ห้อแซง มิเชล กาเลต โอ เบอร์ ทิน บัตเตอร์ คุกกี้ มีน้อยที่สุด = 5 กรัม             -        ปริมาณโซเดียมมากที่สุด = 135 มิลลิกรัม คือ ยี่ห้อแมคไวตี้ส์ ไดเจสทีฟ ออริจินอล(บิสกิตข้าวสาลี) ส่วนยี่ห้อเดนม่า คุกกี้สอดไส้รสผลไม้  มีน้อยที่สุด = 40 มิลลิกรัม         ·     เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่า ยี่ห้อบาวเซ่น เดโลบา บลูเบอร์รี่ แพงสุดคือ 0.95 บาท ส่วนยี่ห้อโอรีโอ ช็อกโกแลต ครีม ถูกสุดคือ  0.22 บาท  ข้อสังเกต        - เมื่อคำนวณในปริมาณ 1 หน่วยบริโภคที่เท่ากัน คือ 30 กรัม (ปริมาณเฉลี่ย ได้จากผลรวมของปริมาณต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ÷ 11) พบว่า ยี่ห้อดานิสา ช็อกโกแลต บัตเตอร์คุกกี้ผสมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มีปริมาณพลังงานมากที่สุด = 160 กรัม ส่วนยี่ห้อโอรีโอ ช็อกโกแลต ครีม มีทั้งน้ำตาล (11.96 กรัม) และโซเดียม (141.30 มิลลิกรัม) ในปริมาณมากที่สุด         - หากเรากินโอรีโอ ช็อกโกแลต ครีม 1 ห่อ (3 ชิ้น) จะได้รับน้ำตาลเกือบครึ่งหนึ่งของที่แนะนำให้กินได้ต่อวัน(ไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 24 กรัมต่อวัน) ถ้าเผลอกินเพลินเกิน 2 ห่อต่อวัน ร่างกายจะได้น้ำตาลเกินจำเป็น         - วัยผู้ใหญ่ไม่ควรกินขนมขบเคี้ยวที่มีโซเดียมเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้น หากกินขนมแมคไวตี้ส์ ไดเจสทีฟ ออริจินอล (บิสกิตข้าวสาลี) 2 ชิ้น หรือโอรีโอ ช็อกโกแลตครีม 3 ชิ้น ก็จะได้รับโซเดียมเกินครึ่งหนึ่งของที่แนะนำไว้แล้ว        - เมื่อลองนำเกณฑ์สัญลักษณ์โภชนาการ”ทางเลือกสุขภาพ” มาพิจารณา ในปริมาณขนม 100 กรัม         ขนมบิสกิตและแครกเกอร์   กำหนดให้มีน้ำตาล ≤ 7 กรัม  และโซเดียม ≤ 500 มิลลิกรัม พบว่าทุกตัวอย่างมีน้ำตาลเกิน และมีโซเดียมอยู่ในเกณฑ์        ขนมคุกกี้  กำหนดให้มีน้ำตาล ≤ 20 กรัม และ โซเดียม ≤ 300 มิลลิกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างมีน้ำตาลเกิน และมีโซเดียมเกินเกณฑ์นี้ 3 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อโอรีโอ ช็อกโกแลต ครีม (471.01 มก.)  ยี่ห้อบาวเซ่น เดโลบา บลูเบอร์รี่ (348.48 มก.) และยี่ห้ออิมพีเรียล บัตเตอร์คุกกี้ สูตรเดนมาร์ค (323.53 มก.)         - ทุกตัวอย่างบอกวันผลิตและวันหมดอายุไว้ มีอายุตั้งแต่ 10 – 21 เดือน โดยมี 8 ตัวอย่างที่อายุ 1 ปี         - ยี่ห้อดานิสา ช็อกโกแลต บัตเตอร์คุกกี้ผสมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ระบุวันหมดอายุ 01.12.23 และมีอายุนับจากวันผลิตนานถึง 21 เดือน         - มี 3 ตัวอย่างที่ผลิตในประเทศไทย ส่วนใหญ่ผลิตจากต่างประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย เยอรมันฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร         - ทุกตัวอย่างแสดงข้อความเตือนว่า “บริโภคแต่น้อยและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ”     ฉลาดซื้อแนะสำหรับผู้ให้        - หากจะซื้อขนมมาจัดกระเช้าปีใหม่ ต้องดูวันหมดอายุให้ดีๆ เพราะอาจมีสินค้าใกล้หมดอายุมาวางขายปะปนบนชั้นได้ ยิ่งถ้าใครซื้อแบบกระเช้าสำเร็จรูปก็ต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนเสมอ         - เลือกซื้อขนมที่ผลิตในประเทศไทย สนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศ         - เปลี่ยนเป็นขนมที่ดีต่อสุขภาพแทน เช่น กระเจี๊ยบมอญอบกรอบ บร็อคโคลี่อบแห้ง งาดำอัดแท่งหวานน้อย ลูกเดือยกล้อง ถั่วเปลือกแข็ง (อัลมอนด์ วอลนัท) อบไม่ปรุงรส ดาร์คช็อคโกแล็ต (มี %cocoa มากกว่า 70%) เป็นต้น         - อย. แนะนำให้มอบกระเช้าของขวัญปีใหม่ในแบบ “สุขใจผู้ให้ ห่วงใยผู้รับ” โดยเลือกที่มีสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice) เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองแล้วว่ามีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) สำหรับผู้รับ        - เมื่อได้รับขนมเหล่านี้เป็นของขวัญ มักได้เป็นกล่องหรือกระป๋องใหญ่ แกะแบ่งห่อเล็กปันคนอื่นๆ ด้วยก็ดีไม่ต้องเก็บไว้เยอะ และอย่าเผลอกินเกินจำนวนหน่วยบริโภคที่แนะนำบนฉลากโภชนาการ เดี๋ยวจะอ้วน         - ถ้าวันไหนรู้ตัวว่ากินคุกกี้ แครกเกอร์ เยอะเกินแล้ว ก็ควรจะออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานส่วนเกินออกไป จะได้กินขนมให้อร่อยต่อไปได้โดยไม่ต้องกลัวอ้วนหรือรู้สึกผิดต่อตัวเอง         - กินขนมคู่กับน้ำเปล่าดีที่สุด หากไม่อยากได้รับน้ำตาล ไขมันและโซเดียมเพิ่มอีก         - อย่าชะล่าใจ กินขนมอบกรอบรสหวานๆ เสี่ยงเป็นเบาหวานแล้วยังเสี่ยงเป็นโรคไตด้วย เพราะโซเดียมไม่ได้มีแต่ในเกลือที่ให้รสเค็ม แต่ยังแฝงอยู่ในผงฝูและสารกันบูดที่เป็นส่วนผสมของขนมเหล่านี้ด้วย  ข้อมูลอ้างอิงwww.thaihealth.or.thwww.oryor.com

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 272 ส่องราคาเนื้อหมู เนื้อไก่ พรีเมียม

        ตั้งแต่ปลายปี 2564 เป็นต้นมา ประเทศไทยเผชิญปัญหาเนื้อหมูขึ้นราคาโดยทะยานไปสูงถึง กิโลกรัมละ 250 บาท เนื่องมาจากสาเหตุหลักคือ การระบาดของโรค อย่างไรก็ตามแม้มีการควบคุมราคาและดำเนินการเรื่องโรคระบาดแล้ว ราคาก็ค่อยๆ ปรับลดลงมาแต่ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ราคาเนื้อหมูยังคงสูง และเนื้อไก่ก็ขึ้นราคาตามมาด้วยเช่นกัน เนื่องจากผลกระทบหลากหลายจากสถานการณ์โลกโดยเฉพาะเรื่องค่าพลังงาน ค่าอาหารสัตว์         อย่างไรก็ตามจากการติดตามเรื่องปัญหาการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ที่อาจเหลือตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อหมู เนื้อไก่ ที่ผ่านมาของนิตยสารฉลาดซื้อ ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นฉลาดซื้อพบว่า ยังพบการตกค้างของยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์หลายตัวอย่างแม้จะไม่เกินค่ามาตรฐานก็ตาม แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่าความเสี่ยงยังคงอยู่ จนเกิดความหวั่นไหวไม่เชื่อมั่นในกระบวนการเลี้ยง         ความไม่มั่นใจในกระบวนการเลี้ยงหมู ไก่ ของผู้บริโภคนี้ย่อมทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ผู้ผลิตสามารถควบคุมการเลี้ยงให้ปลอดภัยได้ตลอดกระบวนการ ดังนั้นในตลาดปัจจุบันจึงพบเห็นสินค้าเนื้อหมู เนื้อไก่ อนามัย ไร้สาร หรือเนื้อสัตว์แบบพรีเมียมที่ระบุว่า ตลอดกระบวนการเลี้ยงของตนนั้นปลอดจากการใช้สารต่างๆ ที่สร้างความกังวลให้แก่ผู้บริโภค เช่น สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น         เมื่อกระบวนการผลิตบ่งบอกความพิเศษ สิ่งที่ผู้บริโภคต้องเข้าใจก็คือ ราคาจะสูงกว่าเนื้อสัตว์ที่มาจากกระบวนการเลี้ยงปกติที่จำหน่ายในตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ย่อมเกิดคำถามว่า แล้วเมื่อไหร่กันที่ผู้บริโภคจะมีความมั่นใจได้ว่า เนื้อสัตว์ที่ผลิตในกระบวนการปกตินั้นมีความปลอดภัย และมีราคาที่สามารถเข้าถึงได้         นิตยสารฉลาดซื้อร่วมกับโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อหมู เนื้อไก่ ที่ระบุว่าเป็นสินค้าพรีเมียม มีการกล่าวอ้างถึงกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยจากสารต่างๆ เพื่อดูว่า ราคาของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเพิ่มนั้น มีสัดส่วนที่แพงกว่าเนื้อสัตว์ในกระบวนการเลี้ยงปกติเท่าไร         วิธีการเก็บตัวอย่าง เก็บผลิตภัณฑ์เนื้อหมูส่วนสะโพก (สันนอก สันใน) และอกไก่ลอกหนังของผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างงว่าเลี้ยงด้วยกระบวนการพิเศษ ปลอดภัยจากสารต่างๆ จากซูเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นเนื้อหมูจำนวน 7 ตัวอย่าง อกไก่ 5 ตัวอย่าง และเก็บตัวอย่างเนื้อหมูส่วนสะโพกและอกไก่ แบบปกติที่บรรจุในภาชนะบรรจุอย่างละ 1 ตัวอย่างในซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาจำหน่ายในช่วงเวลาเดียวกัน รวมเป็นจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง ผลการสำรวจฉลาก         1.เนื้อหมูส่วนสะโพกชนิดพรีเมียม ราคาอยู่ระหว่าง 290 – 500 บาท ต่อกิโลกรัม ในขณะที่เนื้อหมูส่วนสะโพกชนิดธรรมดา สันนอกคัด จากฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาเก็ต ราคาอยู่ที่ 225 บาทต่อกิโลกรัม แต่ถ้าเทียบกับราคาในแหล่งจำหน่ายอื่นๆ ของเดือนกันยายน 2566 สันนอกจะมีราคาอยู่ที่ 130 บาทต่อกิโลกรัม (อ้างอิงจาก หมูสามชั้น 175 บาท/กิโลกรัม หมูสันนอก 130 บาท/กิโลกรัม (bangkokbiznews.com)  )         2.เนื้ออกไก่ลอกหนังชนิดพรีเมียม ราคาอยู่ระหว่าง 215 – 400 บาทต่อกิโลกรัม (ตัดตัวอย่างเบทาโกรเนื้อไก่อนามัยออกไป เพราะเป็นราคาโปรโมชั่น) ขณะที่เนื้ออกไก่ชนิดธรรมดา ท็อปส์ อกไก่ลอกหนัง ราคาอยู่ที่ 208 บาทต่อกิโลกรัม  แต่ถ้าเทียบกับราคาในแหล่งจำหน่ายอื่นๆ ของเดือนกันยายน 2566 อกไก่จะมีราคาอยู่ที่ 90 บาทต่อกิโลกรัม (อ้างอิงจาก อกไก่ 90 บาท/กิโลกรัม น่องติดสะโพก 85 บาท/กิโลกรัม (bangkokbiznews.com))

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 271 สำรวจฉลากโภชนาการ “เครื่องดื่มน้ำนมข้าวและธัญพืช”

         หลายปีมานี้เทรนด์การบริโภคอาหารจากพืช (Plant-Based) ที่ตอบโจทย์ทั้งมีประโยชน์ต่อสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น ได้ขยายความนิยมครอบคลุมในทุกเมนูอาหาร รวมทั้งนมจากพืชด้วย ดังจะเห็นได้จากมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์นมจากพืช ปี 2565 มี 17,960 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 โดยส่วนใหญ่เป็นนมถั่วเหลือง รองลงมาได้แก่ นมอัลมอนด์ น้ำนมข้าว นมข้าวโอ๊ต และกะทิพร้อมดื่มตามลำดับเฉพาะผลิตภัณฑ์ “น้ำนมข้าว” นี้ได้รับการผลักดันจากกรมการค้าภายในมาตั้งแต่ปี 2562 ให้ผลิตภายในประเทศเพื่อเป็นทางเลือกให้คนที่แพ้นมวัวและนมจากพืชตระกูลถั่ว รวมทั้งประชาสัมพันธ์ถึงคุณประโยชน์ของน้ำนมข้าวที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารต่างๆ ที่ดีต่อสุขภาพ ให้ได้รับรู้กันในวงกว้างมากขึ้น ปัจจุบันเครื่องดื่มน้ำนมข้าวส่วนใหญ่จึงผลิตในประเทศไทย มีราคาที่ผู้บริโภคซื้อดื่มอย่างต่อเนื่องได้ และได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันผู้ผลิตก็ได้คิดค้นเครื่องดื่มน้ำนมข้าวออกมาให้ผู้บริโภคเลือกหลากหลายสูตร โดยบางรายผสมธัญพืชต่างๆ เติมน้ำตาล สารปรุงแต่งอื่นๆ เพื่อให้รสชาติอร่อย ดื่มง่าย และอาจเพิ่มสารกันเสียเพื่อให้เก็บได้นานขึ้นด้วย นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกเครื่องดื่มน้ำนมข้าวและธัญพืช จำนวน 26 ตัวอย่าง แบ่งเป็น แบบผงชงดื่ม 8 ตัวอย่าง 6 ยี่ห้อ และแบบบรรจุขวด/กล่องพร้อมดื่ม 18 ตัวอย่าง 5 ยี่ห้อ เมื่อเดือนกันยายน 2566 มาสำรวจฉลากโภชนาการเพื่อดูปริมาณพลังงาน น้ำตาล โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และโซเดียม รวมถึงเปรียบเทียบราคา เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อต่อไปผลสำรวจ         เมื่อเปรียบเทียบปริมาณคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่ง 1 หน่วยบริโภค พบว่าพลังงาน         แบบผงชงดื่ม : มีมากสุด = 100 กิโลแคลอรี คือ ยี่ห้อฮักปัน ผงข้าวกล้องสกัดโฮลอินวัน ส่วนมีน้อยสุด =  25  กิโลแคลอรี คือ ยี่ห้อวีแกนโปร ครีมเทียมข้าว        แบบพร้อมดื่ม: มีมากสุด = 180 กิโลแคลอรี คือ ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวกล้องงอกผสมงาดำจากข้าวกล้องงอกและงาดำเกษตรอินทรีย์ ส่วนมีน้อยสุด =  50  กิโลแคลอรี คือ ยี่ห้อฟอร์แคร์บาลานซ์ เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องหอมมะลิออร์แกนิก ไม่เติมน้ำตาล น้ำตาล        แบบผงชงดื่ม : มีมากสุด = 3 กรัม ได้แก่ ยี่ห้อวีแกนโปร เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่งอก ชนิดผง และเครื่องดื่มน้ำนมข้าวหอมมะลิเมล็ดอ่อน ชนิดผง ส่วนยี่ห้อไรซ์มายด์เครื่องดื่มธัญพืชชนิดผงผสมจมูกข้าวหอมมะลิ ไม่ระบุปริมาณไว้ ส่วนอีก 5 ตัวอย่างนั้นไม่มีน้ำตาล        แบบพร้อมดื่ม: มีมากสุด = 14 กรัม คือ ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวกล้องงอก ส่วนมีน้อยสุด = 1 กรัม คือ ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวยาคู สูตรไม่เติมน้ำตาล ส่วนที่ไม่มีน้ำตาล คือยี่ห้อฟอร์แคร์บาลานซ์ เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องหอมมะลิออร์แกนิก ไม่เติมน้ำตาล โปรตีน         แบบผงชงดื่ม : มีมากสุด  =  6 กรัม คือ ยี่ห้อฮักปัน ผงข้าวกล้องสกัดโฮลอินวัน ส่วนมีน้อยที่สุด = < 1 กรัม ได้แก่ ยี่ห้อวีแกนโปร เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่งอก ชนิดผง และเครื่องดื่มน้ำนมข้าวหอมมะลิเมล็ดอ่อน ชนิดผง ส่วนยี่ห้อวีแกนโปร ครีมเทียมข้าว ไม่มีโปรตีนแบบพร้อมดื่ม: มีมากสุด = 6 กรัม คือ ยี่ห้อเนเจอร์ริช น้ำข้าวกล้องงอกผสมถั่ว 5 สี  ส่วนมีน้อยที่สุด = < 1 กรัม ได้แก่ ยี่ห้อฟอร์แคร์บาลานซ์ เครื่องดื่มน้ำนมข้าวไรซ์เบอร์รี่ออร์แกนิก เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องหอมมะลิออร์แกนิก รสวานิลลา และเครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องหอมมะลิออร์แกนิก ไม่เติมน้ำตาล คาร์โบไฮเดรต         แบบผงชงดื่ม : มีมากสุด  =  15 กรัม ได้แก่ ยี่ห้อฮักปัน ผงข้าวกล้องสกัดโฮลอินวัน ยี่ห้อวีแกนโปร เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่งอก ชนิดผง และเครื่องดื่มน้ำนมข้าวหอมมะลิเมล็ดอ่อน ชนิดผง และยี่ห้อแคร์คุณ ข้าว 5 ชนิด ผสมควินัว ส่วนมีน้อยสุด = 3 กรัม คือ ยี่ห้อวีแกนโปร ครีมเทียมข้าว แบบพร้อมดื่ม: มีมากสุด = 32 กรัม คือ ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวกล้องงอกผสมงาดำจากข้าวกล้องงอกและงาดำเกษตรอินทรีย์ ส่วนมีน้อยสุด = 4 กรัม คือ ยี่ห้อฟอร์แคร์บาลานซ์ เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องหอมมะลิออร์แกนิก ไม่เติมน้ำตาล โซเดียม         แบบผงชงดื่ม : มีมากสุด  =  90 มิลลิกรัม คือ ยี่ห้อแคร์คุณ ข้าว 5 ชนิด ผสมควินัว มีน้อยสุด = 10 มิลลิกรัม ได้แก่ ยี่ห้อวีแกนโปร เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่งอก ชนิดผง และเครื่องดื่มน้ำนมข้าวหอมมะลิเมล็ดอ่อน ชนิดผง ส่วนอีก 4 ตัวอย่างนั้นไม่มีโซเดียมแบบพร้อมดื่ม : มีมากสุด = 230 มิลลิกรัม คือ ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวกล้องงอก สูตรน้ำตาลน้อยกว่า ส่วนมีน้อยสุด = 5 มิลลิกรัม ได้แก่ ยี่ห้อฟอร์แคร์บาลานซ์ เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำจมูกข้าวกล้องหอมมะลิผสมน้ำจมูกข้าวสาลีและน้ำข้าวโอ๊ด รสงาดำ เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำจมูกข้าวกล้องหอมมะลิผสมน้ำจมูกข้าวสาลีและน้ำข้าวโอ๊ต รสจืด และเครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำจมูกข้าวกล้องหอมมะลิผสมน้ำจมูกข้าวสาลีและน้ำข้าวโอ๊ตการเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ        แบบผงชงดื่ม : ราคาแพงสุดประมาณ 1.83 บาท/ 1 กรัม คือ ยี่ห้อไรซ์มายด์ เครื่องดื่มธัญพืชชนิดผงผสมจมูกข้าวหอมมะลิ ส่วนราคาถูกสุดประมาณ 0.44 บาท/ 1 กรัม คือ ยี่ห้อวีแกนโปร ครีมเทียมข้าวแบบพร้อมดื่ม : ราคาแพงสุดประมาณ 0.15 บาท/ 1 มิลลิลิตร คือ ยี่ห้อฮูเร่ เครื่องดื่มน้ำนมอัลมอนด์ผสมน้ำนมข้าว ส่วนราคาถูกสุดประมาณ 0.06 บาท/ 1 มิลลิลิตร ได้แก่ ยี่ห้อดีน่า นมถั่วเหลือง สูตรผสมจมูกข้าวญี่ปุ่น และน้ำนมถั่วเหลือง สูตรผสมน้ำนมข้าวไรซ์เบอร์รี่ น้ำตาลน้อย ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องงอก 7 ชนิด เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวยาคู และเครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวกล้องงอก ข้อสังเกต         - ยี่ห้อไรซ์มายด์ เครื่องดื่มธัญพืชชนิดผงผสมจมูกข้าวหอมมะลิ ไม่แสดงข้อมูลโภชนาการบนฉลาก         - ปริมาณน้ำตาลที่พบสูงสุดคือ 14 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้ว่าไม่ควรบริโภคเกิน 24 กรัมต่อวัน         - ในส่วนประกอบของทั้งหมด 26 ตัวอย่าง พบว่า มี 16 ตัวอย่าง เติมน้ำตาล  มี 6 ตัวอย่าง เติมแคลเซียม             มี 17 ตัวอย่าง ไม่ใช้วัตถุกันเสีย และมี 10 ตัวอย่าง ที่ระบุว่าแต่งกลิ่น           - มีสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” ในแบบผงชงดื่ม 4 ตัวอย่าง และแบบพร้อมดื่ม 12 ตัวอย่าง         - สำหรับแบบพร้อมดื่ม หากนำเกณฑ์สัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” สำหรับเครื่องดื่มธัญพืชและนมถั่วเหลืองมาพิจารณา ที่ระบุว่าหากปริมาณไม่เกิน 300 มิลลิลิตร ต้องมีน้ำตาลทั้งหมดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 กรัม/ 100 มิลลิลิตร จะพบว่าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์นี้ ส่วนปริมาณโซเดียมต้องมีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 มิลลิกรัม/ 100 มิลลิลิตร พบว่ามี 7 ตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์นี้ โดยในจำนวนนี้มี 3 ตัวอย่างที่มีสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” บนฉลาก ได้แก่ ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวกล้องงอก สูตรน้ำตาลน้อยกว่า (92 มก./100 มิลลิลิตร) และเครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวกล้องงอก (84 มก./100 มิลลิลิตร) และยี่ห้อดีน่า น้ำนมถั่วเหลืองสูตรผสมน้ำนมข้าวไรซ์เบอร์รี่ น้ำตาลน้อย (41.67 มก./ 100 มิลลิลิตร)         - ทุกตัวอย่าง มีผู้ผลิตและจำหน่ายอยู่ในประเทศไทย คำแนะนำ          -หากดื่มต่อเนื่องเป็นประจำ ควรเลือกเครื่องดื่มน้ำนมข้าวที่มีส่วนผสมหลักจากธรรมชาติ มีการปรุงเสริมเติมแต่งน้อยที่สุด ไม่มีวัตถุกันเสีย และควรเลือกสูตรน้ำตาลน้อยหรือไม่มีน้ำตาล         -น้ำนมข้าวให้โปรตีนต่ำและมีคาร์โบไฮเดรตสูง จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานเพราะคาร์โบไฮเดรตจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้         - น้ำนมข้าวแบบผงชงดื่มมักจะเป็นส่วนจมูกข้าว ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด จึงเหมาะเลือกเป็นอาหารเสริมหรือนมสำหรับบำรุงร่างกาย ที่เพิ่มหรือลดความเข้มข้นได้ตามต้องการ ปรุงแต่งรสชาติได้ตามชอบ แต่ต้องชงแบบร้อนเท่านั้นเพื่อให้ผงน้ำนมข้าวละลายได้ดี และมักมีราคาค่อนข้างสูง         - แบบขวด/กล่องพร้อมดื่มมีให้เลือกหลายสูตรหลากรสกว่าแบบผง พกพาง่าย มีปริมาณและรสชาติแน่นอน ดื่มแบบเย็นจะเพิ่มความอร่อยขึ้น          - ก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง แนะนำให้ตรวจสอบส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ด้วย เพราะรสชาติของน้ำนมข้าวเพียวๆ ออกจะจืดๆ ผู้ผลิตบางรายจึงปรุงแต่งรสชาติหรือผสมรวมกับน้ำนมถั่วหรือธัญพืชอื่นๆ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นและทำให้รสชาติกลมกล่อมมากขึ้น         - น้ำนมข้าวที่ทำจากข้าวกล้องและข้าวกล้องงอกจะมีสารอาหารสูง แต่คนที่เป็นโรคเก๊าต์ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้ปวดไขข้อมากขึ้นได้         -หากดื่มน้ำนมข้าวหรือนมจากพืชอื่นๆ แล้วมีอาการไม่สบายท้อง ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก และรู้สึกแน่นบริเวณลำคอและหน้าอก อาจเป็นสัญญาณของอาการแพ้ หรือบางคนอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที         - หากต้องการหลีกเลี่ยงสารปรุงแต่งต่างๆ จากเครื่องดื่มน้ำนมข้าวแบบสำเร็จรูป ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้บริโภคสามารถลองทำน้ำนมข้าวดื่มเองได้ โดยค้นหาวิธีทำได้จากช่องยูทูป ทำไม่ยากเลย   ข้อมูลอ้างอิงhttps://www.pobpad.com/https://bestreview.asia/best-rice-milk/ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=377)https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190704200320434

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)