ฉบับที่ 137 แฟชั่นคอนแทคเลนส์ บิ๊กอายส์ : อันตรายและข้อควรระวังในการใช้

การสวมใส่คอนแทคเลนส์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะใส่เพื่อแก้ไขความผิดปกติของสายตา ใส่เพื่อรักษาโรคกระจกตาบางชนิด หรือเพื่อความสวยงาม หากใช้ไม่ถูกวิธี และไม่ดูแลรักษาความสะอาด อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ใช้คอนแทคเลนส์จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดเลนส์อย่างเคร่งครัด ปัจจุบันนี้มีน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดเลนส์ และแช่เลนส์เพื่อฆ่าเชื้อโรคหลายชนิด วิธีการใช้อาจแตกต่างกันไปบ้าง สิ่งสำคัญคือ ควรดูวันหมดอายุของน้ำยาและควรใช้ให้หมดขวดภายในระยะเวลา 2 เดือน แม้ว่าน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดเลนส์เหล่านี้จะมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่ได้แต่ก็ยังมีเชื้อโรคบางชนิดที่ไม่สามารถกำจัดได้ จึงควรศึกษารายละเอียดก่อนใช้ มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนจากการใส่คอนแทคเลนส์ได้ เช่น 1. การเกิดตุ่มอักเสบบนหนังตาด้านใน พบมากในผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม สาเหตุเกิดจากการระคายเคืองเนื่องมาจากเลนส์ถูกดึงขึ้นข้างบน ส่วนอาการอื่นที่เกิดต่อเนื่องมา คือ ภาวะหนังตาตก ตาแดง ระคายเคือง มองภาพไม่ชัด มีน้ำตาไหล และสายตาไม่สู้แสง   2. เกิดการอักเสบของกระจกตาและเยื่อตาขาวในส่วนที่สัมผัสกับคอนแทคเลนส์ อาการนี้ หากเกิดจากการแพ้หรือจากพิษข้างเคียงของวัตถุกันเสียหรือสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อ เยื่อตาขาวส่วนล่างจะแสดงอาการอักเสบ เนื่องจากน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดเลนส์จะไหลลงมาด้านล่าง เป็นอาการแพ้ที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ปี นอกจากนี้ การเกิดสิ่งสะสมบนเลนส์หรืออาการตาแห้งจะทำให้อาการอักเสบเกิดมากขึ้น 3. อาการตาแห้ง พบในผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์มานาน 2-3 ปี การใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น การใช้ยาขับปัสสาวะหรือยารักษาโรคหัวใจบางประเภท เส้นประสาทตาอักเสบ ตาโปนผิดปกติ ผิวของลูกตาผิดปกติ เนื่องจากมีจุดเหลืองๆ บนกระจกตา หรือต้อลม หรือต้อเนื้อ และผิวคอนแทคเลนส์ไม่เรียบ 4. การอักเสบที่เยื่อบุผิวของกระจกตา ลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ที่เยื่อบุผิวของกระจกตา เนื่องจากเกิดบาดแผลหรือการช้ำที่เยื่อตา ตาแห้ง มีอาการแพ้ หรือขาดออกซิเจน ซึ่งแผลจุดเล็กๆ อาจมารวมกันเข้าเป็นบริเวณใหญ่และเกิดการติดเชื้อซึ่งเป็นอันตรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยหยุดการใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าแผลจะหายเสียก่อน 5. การติดเชื้อที่กระจกตา เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์ที่เป็นอันตรายที่สุด อาจส่งผลให้ตาบอดถาวรได้ พบในผู้ที่ใช้เลนส์ชนิดที่ใส่ติดต่อกันได้นานๆ หรือจากการเกิดรอยถลอกเนื่องจากการเคลื่อนไหวของเลนส์ที่ใส่อยู่เป็นประจำจนทำให้เกิดแผลขึ้น โดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานก็จะเกิดแผลที่กระจกตาได้ง่ายกว่าปกติ จากการวิจัยทางการแพทย์พบว่า 67% ของผู้ใช้คอนแทคเลนส์ที่มีอาการติดเชื้อที่กระจกตา มีประวัติการใส่เลนส์ขณะนอนหลับในตอนกลางคืน และ 33% เกิดจากขั้นตอนในการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ไม่ได้มาตรฐาน ชนิดของคอนแทคเลนส์ที่พบว่ามีการใช้มากที่สุดเป็นคอนแทคเลนส์แบบนิ่ม   คำเตือน ข้อควรระวัง และข้อห้ามใช้สำหรับคอนแทคเลนส์ คำเตือน การใช้คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธี มีความเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียสายตาอย่างถาวรได้ ข้อควรระวังในการใช้ l. การเริ่มต้นใช้คอนแทคเลนส์ ควรได้รับจากใบสั่งแพทย์เท่านั้น ไม่ควรไปซื้อเอง เพราะการใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่พอดีกับดวงตา อาจทำให้กระจกตาเป็นแผล ติดเชื้อหรือตาบอดได้ ผู้สวมใส่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และคู่มือ หรือฉลากอย่างเคร่งครัด 2. ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ 3.  ควรใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่ใหม่ และเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งที่แช่คอนแทคเลนส์ และแม้ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์ ควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่ในตลับทุกวัน 4.   ควรเปลี่ยนตลับใส่คอนแทคเลนส์ทุกสามเดือน 5. ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้และไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม 6. ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสเลนส์ 7. หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมาก ร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัวลง น้ำตาไหลมาก ตาแดง ให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ทันที และรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว 8. ผู้สวมใส่คอนแทคเลนส์ต้องมีเวลาให้ดวงตาได้พักหรือปลอดจากการใส่เลนส์ ถ้าเป็นผู้มีความผิดปกติของสายตา ควรมีแว่นสายตาไว้ใช้ในระยะเวลาพักของดวงตา ข้อห้ามใช้ 1. ห้ามใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับบุคคลอื่น 2. ห้ามสวมใส่คอนแทคเลนส์เกินระยะเวลาใช้งานที่กำหนด 3. ห้ามใช้คอนแทคเลนส์ถ้าภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพชำรุดหรือถูกเปิดก่อนใช้งาน   อย่างไรก็ตาม คอนแทคเลนส์ถึงแม้ว่าเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาแต่ไม่อยากสวมแว่น ปัจจุบันมีการดัดแปลงเพื่อใช้เพิ่มความสวยงามของดวงตาโดยการเปลี่ยนสีหรือรูปแบบของดวงตา แต่ไม่ว่าจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม เนื่องจากเลนส์ที่ใช้ต้องสัมผัสผิวของดวงตาที่บอบบาง การติดเชื้อหรือฉีกขาดอาจเกิดได้ง่าย ดังนั้น ถ้าผู้ใช้คอนแทคเลนส์ปฏิบัติตามคำเตือน ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้ดังกล่าวข้างต้นก็จะมีความปลอดภัยและสามารถลดความเสี่ยงจากการใช้คอนแทคเลนส์ได้   เอกสารอ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับคอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัส. กรกฎาคม 2552. Preechawat P, Ratananikorn U, Lerdvitayasakul R, Kunavisarut S. Contact Lenses -Related Microbial Keratitis. Journal of the Medical Association of Thailand. 2007; 90(4): 737-43.

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 ยาหลอก ขายลวง

นายมี(นามสมมุติ) ป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงินมานานหลายปี ชะรอยไม่รู้ว่า ฟ้าโกรธหรือสวรรค์แกล้งกันแน่ วันหนึ่งจึงมีญาติมาแนะนำให้รู้จักพ่อค้ายาเร่คนหนึ่ง ซึ่งอวดอ้างตนเองว่าเป็นหมอ มียารักษาโรคได้ทุกชนิด (ฟังดูแล้วประหนึ่งดั่งหมอเทวดา) พอพ่อหมอเทวดารายนี้ทราบว่านายมีเป็นโรคสะเก็ดเงินก็บอกว่า “สบายมาก เอาอยู่ หายแน่นอน” นายมีได้ฟังก็ถึงกับเคลิบเคลิ้มเพราะตนก็ป่วยมาหลายปี แม้จะรับประทานยาแผนปัจจุบันมาแล้ว แต่มันก็แค่ควบคุมอาการได้เท่านั้น เมื่อมีคนมาบอกว่ารับรองหายขาดมีหรือจะไม่เคลิ้มอยากเอาอยู่ให้ได้ พ่อค้ายาเร่รายนี้ จึงขอให้นายมีจ่ายเงินสดมาก่อน 5,000 บาท เพื่อเป็นค่ายกครู แล้วได้มอบยาให้กับนายมีจำนวนหนึ่งชุดซึ่งในหนึ่งชุดประกอบไปด้วย ยา 4 ถุง (ถุงที่ 1 เป็นส่วนต่างๆ ของต้นไม้ ให้นายมีนำไปต้มกินเอง ถุงที่ 2 เป็นยาผงสีส้ม ถุงที่ 3 เป็นยาลูกกลอนสีดำ และยาเม็ดสีเหลือง ส่วนถุงที่ 4 เป็นยาลูกกลอนสีดำ ยาเม็ดสีแดง และยาเม็ดสีเขียว ฉลากมีข้อความระบุว่า “สถานที่ผลิตยาและจำหน่ายยาแผนไทย (ร้านทองอินทร์เภสัช) ระบุสถานที่อยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม พร้อมทั้งมีเบอร์ให้ติดต่อกลับ) ก่อนจากไป พ่อค้ายาเร่คนนี้บอกว่าจะกลับมาอีกครั้ง หากนายมีอาการดีขึ้น และจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม 5,000บาท เพื่อเป็นค่ายาชุดต่อไป   คล้อยหลังไปเพียง 2-3 วัน พ่อค้ายาเร่(ที่ทำท่าจะกลายเป็นพ่อค้ายาเล่ห์) ก็ได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมขอให้นายมีจ่ายเงินให้อีก 5,000บาท นายมี(ที่เริ่มจะเป็นนายไม่มี เพราะไม่มีเงินหลงเหลือแล้ว) จึงบอกว่ายาที่กินเข้าไปยังไม่ทันรู้ผล จะมาเร่งเอาเงินอะไรอีก และไม่ยอมให้เงินไป แต่กลับเอายามาให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจสอบ ซึ่งผลจากการตรวจสอบยาเหล่านี้ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น พบว่ายาเม็ดสีดำในซองที่ 3 (ซองขวามือในรูป) และยาเม็ดสีแดง และเม็ดสีเขียวในซองที่ 4 (ซองซ้ายมือในรูป) ล้วนพบสารสเตียรอยด์ทั้งหมด ขณะนี้ไม่ทราบว่าพ่อค้ายาเล่ห์รายนี้ ได้เร่ไปขายยาแถวไหนบ้าง แต่ที่แน่ๆ เขาได้หายไปจากหน้านายมีเรียบร้อยแล้ว จึงขอฝากเตือนไปยังผู้บริโภคทั้งหลาย ให้ตั้งสติ แผ่เมตตาให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจาก ยาหลอกที่ขายลวงกันด้วยนะครับ และถ้าอยากได้บุญมากยิ่งขึ้น หากเจอก็ขอให้แจ้งตำรวจไปตรวจสอบได้เลย..สาธุ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 อายุความสัญญาฝากทรัพย์ (2)

ฎีกา(ที่  8772/2550)ในคดีที่ฝากเงินไว้แล้วไม่ได้ติดต่อกับธนาคารไปเกือบสิบปี เมื่อไปถอนเงินโดนปฏิเสธ จึงฟ้องศาลซึ่งสู้กันถึงฎีกานั้น เรามาตามต่อกันเลยครับ ...ส่วนจำเลยมีนายสมเกียรติซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชี มีหน้าที่ดูแลบัญชีธนาคารและบัญชีลูกค้าทั่วไปของจำเลยมาเบิกความเป็นพยานว่าบัญชีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นบัญชีแบบสะสมทรัพย์ซึ่งเป็นบัญชีรุ่นแรกที่จำเลยออกให้แก่ลูกค้าโดยยอมให้ใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีได้ด้วยแต่จำกัดจำนวนการใช้เช็คไม่เกินเดือนละ 4 ฉบับ หากใช้เช็คแล้วก็ไม่จำต้องใช้สมุดฝากเงินเพื่อนำมาถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใด แต่ยอดเงินในสมุดฝากเงินจะถือเป็นยอดที่ถูกต้องแท้จริงไม่ได้จนกว่าจะได้มีการปรับยอดบัญชีตามระยะเวลาที่จำเลยกำหนดไว้   ต่อมาประมาณเดือนกรกฎาคม 2509 บัญชีแบบที่โจทก์ใช้ตามสมุดฝากเงินได้มีการเปลี่ยนชื่อบัญชีจากสะสมทรัพย์เป็นบัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์และให้สาขาของจำเลยทุกสาขามีหนังสือแจ้งไปยังลูกค้าที่ใช้บัญชีประเภทนี้อยู่ว่าจะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าต่อไปแล้ว หากบัญชีของลูกค้าคนใดขาดการติดต่อกับจำเลยแต่ยังคงมีเงินเหลืออยู่ในบัญชี จำเลยก็จะโอนไปไว้ในบัญชีไม่เดินหรือเรียกว่าบัญชีพักเพื่อรอให้ลูกค้ามาติดต่อแล้วจำเลยจะจ่ายเงินคืนไป ต่อมาในปี 2516 บัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์ถูกยกเลิกเนื่องจากมีความยุ่งยากในการปฏิบัติและโอนเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในทุกบัญชีไปเข้าบัญชีไม่เดินหรือบัญชีพักเพื่อให้ลูกค้ามาติดต่อขอรับเงินที่ยังคงเหลืออยู่ต่อไป ตามระเบียบของจำเลยนั้นเอกสารที่เกี่ยวกับการเบิกถอนหรือจ่ายเงินจะเก็บไว้เพียง 10 ปี หลังจากนั้นจำเลยจะทำลายเกี่ยวกับสมุดฝากเงินจะต้องนำไปปรับบัญชีปีละ 2 ครั้ง ทุกสิ้นเดือนมิถุนายนและสิ้นเดือนธันวาคมของทุกปีตามข้อบังคับของธนาคารที่ระบุไว้ในสมุดฝากเงินดังกล่าวเพื่อจะดูว่าลูกค้าได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารหรือไม่เพียงใดด้วย แม้หากลูกค้าไม่นำสมุดฝากเงินไปปรับดอกเบี้ยก็ตาม ธนาคารก็จะคิดและลงไว้ในการ์ดบัญชีให้และลูกค้าสามารถนำสมุดฝากเงินไปปรับบัญชีให้ตรงกันแล้วถอนดอกเบี้ยออกจากบัญชีได้ ลักษณะการคิดดอกเบี้ยตามสมุดฝากเงินนั้น หากมีเงินฝากและมีดอกเบี้ยเกิดขึ้น จำเลยก็จะนำเงินฝากและดอกเบี้ยมาเป็นต้นเงินและคิดดอกเบี้ยจากเงินที่นำมารวมนั้นในลักษณะคล้ายๆ กับการคิดดอกเบี้ยทบต้นนั่นเอง เกี่ยวกับสมุดฝากเงินนั้น หากโจทก์ไม่ได้นำไปตรวจสอบยอดเงินตามที่จำเลยระบุไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิในการเบิกถอนแต่อย่างใด แต่ธนาคารก็จะต้องตรวจดูว่ามีเงินคงเหลือในบัญชีอยู่หรือไม่เพียงใดด้วย เห็นว่า จำเลยเป็นธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์โดยรับฝากเงินและให้ประชาชนทั่วไปกู้ยืมเงินซึ่งในการรับฝากเงินจำเลยจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ยที่จำเลยเรียกจากผู้มากู้ยืมเงินซึ่งส่วนต่างดังกล่าวจะเป็นผลกำไรของจำเลย จากข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของนายสมเกียรติพยานจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าการรับฝากเงินจากโจทก์เป็นบัญชีแบบสะสมทรัพย์ ซึ่งจำเลยออกสมุดฝากเงินให้แก่โจทก์ไว้เป็นหลักฐานนั้นได้กำหนดระยะเวลาที่รับฝากไว้แต่ประการใด อีกทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดระยะเวลาที่รับฝากไว้แต่ประการใด อีกทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดระยะเวลาการรับฝากเงินเช่นนี้ไว้แต่อย่างใดด้วย ดังนั้น เมื่อการรับฝากเงินหรือฝากทรัพย์เป็นสัญญาอย่างหนึ่ง หากจำเลยไม่มีเจตนาที่จะรับฝากเงินจากโจทก์ต่อไปแล้ว จำเลยย่อมกระทำได้โดยการบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยก็ไม่เคยบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ สัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามที่จำเลยออกสมุดฝากเงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ ที่จำเลยนำสืบและอ้างในฎีกาว่าเมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2509 บัญชีแบบที่โจทก์ใช้ตามสมุดฝากเงินนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อจากสะสมทรัพย์เป็นบัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์และให้ทุกสาขาของจำเลยมีหนังสือโดยส่งจดหมายแจ้งไปยังลูกค้าที่ใช้บัญชีประเภทนี้อยู่ว่าจะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าต่อไปแล้ว หากลูกค้าคนใดขาดการติดต่อและยังคงมีเงินเหลืออยู่ในบัญชี จำเลยก็จะนำไปโอนไว้ในบัญชีไม่เดินหรือที่เรียกว่าบัญชีพักเพื่อรอให้ลูกค้ามาติดต่อรับเงินคืนไป จนกระทั่งบัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์ได้ถูกยกเลิกไปในปี 2516 และจำเลยโอนเงินทั้งหมดที่มีอยู่ทุกบัญชีไปเข้าบัญชีไม่เดินหรือบัญชีพักเพื่อให้ลูกค้ามาติดต่อขอรับเงินที่ยังคงเหลืออยู่ และจำเลยจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการเบิกถอนหรือจ่ายเงินไว้เพียง 10 ปี ตามระเบียบของจำเลย หลังจากนั้นจำเลยก็จะนำไปทำลายนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือที่แจ้งไปยังโจทก์ว่าได้เปลี่ยนชื่อบัญชีจากสะสมทรัพย์เป็นบัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์และงดจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ต่อไปแล้ว... แหม เข้มข้นจริงๆ ไปติดตามตอนจบในฉบับหน้าครับ

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 137 ทำไม?? ค่าโอนหน่วยกิตถึงแพงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนปกติ

และแล้วเราก็ผ่านพ้นช่วงเวลาเปิดภาคเรียนที่แสนจะสับสน    วุ่นวายที่สุดคือเรื่องการหาที่เรียน ของลูกหลาน   และเรื่องที่วุ่นวายไม่แพ้กันคือเรื่องการหาเงินมาจ่ายค่าเทอม และอุปกรณ์การเรียนของลูกหลาน   แต่ไม่ว่าปัญหาจะใหญ่แค่ไหนสุดท้ายเราก็สามารถก้าวผ่านมันไปได้    เหมือนที่เคยผ่านมาทุกปี ถึงแม้ผู้บริหารการศึกษาหลายแห่งอาจจะยังถูกตรวจสอบอยู่ก็ตาม(หวังว่าปัญหาการเรียกเก็บค่าค่าแปะเจี๊ยะที่กำลังโด่งดังคงไม่จบแบบมวยล้มต้มคนดูนะ) พูดถึงการศึกษาผู้เขียนก็มีข้อสงสัยอยู่พอประมาณ   เรื่องมีอยู่ว่าผู้เขียนเนี่ย...เป็นคนทำงานเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค   จึงมีทั้งผู้มาร้องเรียนหรือมาหารือเกี่ยวกับกฎหมายอยู่บ่อยๆ(บ่อยมาก)    พอพูดถึงกฎหมายก็ต้องยอมรับว่าผู้เขียนมีความรู้เรื่องนี้อยู่ไม่มากเท่าที่ควร   พอมีคนมาหารือเราก็ต้องยกหูหานักกฎหมายอยู่เป็นเนืองนิจ.....ปรึกษาบ่อยๆ ก็เริ่มเกรงอกเกรงใจ  ก็เลยตัดสินใจไปลงเรียนกฎหมายเองเสียเลย..  อายุปาเข้าไปปูนนี้(และกำลังเงินมีจำกัด) ที่เรียนคงที่มหาวิทยาลัยเปิด ที่ราคาพอเรียนไหว  ก็คงหนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยรามคำแหง(คณะนิติศาสตร์) เพื่อจะได้มีพื้นฐานความรู้เรื่องกฎหมาย    เพื่อจะได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้กับคนที่มาพึ่งพาได้บ้าง     การลงทะเบียนเรียนที่ม.รามฯ ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก  ค่าหน่วยกิตก็ถือว่าถูกมากแค่หน่วยกิตละ 15  บาท รวมค่าเทอมและอื่นก็ไม่น่าจะเกิน 2 ,000 บาท (พอเรียนไหว)   ผู้เขียนมีพื้นฐานการเรียนที่จบทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทแล้ว   นั่นก็หมายความว่าวิชาพื้นฐาน  ได้เรียนมาหมดแล้ว   ซึ่งสามารถเทียบโอนวิชาเหล่านี้ได้   ทางมหาวิยาลัยคิดค่าโอนหน่วยกิตละ 100 บาท(แพงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนเกิน 5 เท่า) โดนค่าโอนไปประมาณ 3,000 กว่าบาท     ผู้เขียนติดใจเรื่องนี้มาก(ถึงแม้จะเป็นเงินไม่มาก)   ที่ติดใจเป็นเพราะ การเทียบโอนทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เสียอะไรเลย  ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ  ค่าห้องเรียน และอาจารย์ผู้สอน  แต่กลับเรียกเก็บค่าเทียบโอนสูงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนปกติ   เขาเก็บแพงกว่าเพราะอะไร?    เมื่อสงสัยก็ต้องถาม จริงไหม?.....ผู้เขียนจึงได้ถามอาจารย์หลายคนที่อยู่ในบริเวณนั้น  ซึ่งแต่ละท่านน่าจะระดับ ด็อกเตอร์แล้ว น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน  หากท่านคิดอย่างนั้นเหมือนผู้เขียน....ขอบอกว่า....ท่านน.... “คิดผิด”  เพราะคำตอบที่ได้คือ “ไม่รู้”  ทางมหาวิทยาลัยเขาเขียนระเบียบมาอย่างนี้  ก็ต้องเก็บตามนั้น  อยากรู้ต้องไปถามอธิการบดีเอาเอง  คนอื่นเขาก็จ่ายกัน ไม่เห็นใครเขาจะถามเลย..อื้อหือ....คำตอบมีประโยชน์ต่อผู้ถามจังเล้ยยย... นอกจากไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนแล้วยังแถมด้วย สีหน้ารำคาญนิดหน่อย  ประมาณว่าจะเรียนไหม?..อะไรทำนองนี้       และที่ติดใจมากที่สุดคือคำที่บอกว่า  “มหาวิทยาลัยอื่นเขาก็เก็บอย่างนี้ทั้งนั้น”  อาจเป็นด้วยผู้เขียนเป็นคนทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค และกำลังจะเรียนกฎหมายด้วย   เมื่อเห็นอะไรแปลกๆ อดสงสัยไม่ได้เป็นธรรมดา   เรื่องนี้คงต้องติดตามตอนต่อไปว่ามหาวิทยาลัย  ออกระเบียบเช่นนี้ผิดกฎหมายหรือไม่(ยังไม่ทันจะเรียนวิญญาณนักกฎหมายเข้าสิงเสียแล้ว)      แล้วท่านผู้อ่านล่ะ..สงสัยเรื่องนี้บ้างหรือไม่หากสงสัย  ...มาช่วยกันหาคำตอบนะจะได้เรียนรู้ร่วมกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 ทำไม?? ค่าโอนหน่วยกิตถึงแพงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนปกติ

และแล้วเราก็ผ่านพ้นช่วงเวลาเปิดภาคเรียนที่แสนจะสับสน    วุ่นวายที่สุดคือเรื่องการหาที่เรียน ของลูกหลาน   และเรื่องที่วุ่นวายไม่แพ้กันคือเรื่องการหาเงินมาจ่ายค่าเทอม และอุปกรณ์การเรียนของลูกหลาน   แต่ไม่ว่าปัญหาจะใหญ่แค่ไหนสุดท้ายเราก็สามารถก้าวผ่านมันไปได้    เหมือนที่เคยผ่านมาทุกปี ถึงแม้ผู้บริหารการศึกษาหลายแห่งอาจจะยังถูกตรวจสอบอยู่ก็ตาม(หวังว่าปัญหาการเรียกเก็บค่าค่าแปะเจี๊ยะที่กำลังโด่งดังคงไม่จบแบบมวยล้มต้มคนดูนะ)พูดถึงการศึกษาผู้เขียนก็มีข้อสงสัยอยู่พอประมาณ   เรื่องมีอยู่ว่าผู้เขียนเนี่ย...เป็นคนทำงานเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค   จึงมีทั้งผู้มาร้องเรียนหรือมาหารือเกี่ยวกับกฎหมายอยู่บ่อยๆ(บ่อยมาก)    พอพูดถึงกฎหมายก็ต้องยอมรับว่าผู้เขียนมีความรู้เรื่องนี้อยู่ไม่มากเท่าที่ควร   พอมีคนมาหารือเราก็ต้องยกหูหานักกฎหมายอยู่เป็นเนืองนิจ.....ปรึกษาบ่อยๆ ก็เริ่มเกรงอกเกรงใจ  ก็เลยตัดสินใจไปลงเรียนกฎหมายเองเสียเลย..  อายุปาเข้าไปปูนนี้(และกำลังเงินมีจำกัด) ที่เรียนคงที่มหาวิทยาลัยเปิด ที่ราคาพอเรียนไหว  ก็คงหนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยรามคำแหง(คณะนิติศาสตร์) เพื่อจะได้มีพื้นฐานความรู้เรื่องกฎหมาย    เพื่อจะได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้กับคนที่มาพึ่งพาได้บ้าง     การลงทะเบียนเรียนที่ม.รามฯ ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก  ค่าหน่วยกิตก็ถือว่าถูกมากแค่หน่วยกิตละ 15  บาท รวมค่าเทอมและอื่นก็ไม่น่าจะเกิน 2 ,000 บาท (พอเรียนไหว) ผู้เขียนมีพื้นฐานการเรียนที่จบทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทแล้ว   นั่นก็หมายความว่าวิชาพื้นฐาน  ได้เรียนมาหมดแล้ว   ซึ่งสามารถเทียบโอนวิชาเหล่านี้ได้   ทางมหาวิยาลัยคิดค่าโอนหน่วยกิตละ 100 บาท(แพงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนเกิน 5 เท่า) โดนค่าโอนไปประมาณ 3,000 กว่าบาท     ผู้เขียนติดใจเรื่องนี้มาก(ถึงแม้จะเป็นเงินไม่มาก)   ที่ติดใจเป็นเพราะ การเทียบโอนทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เสียอะไรเลย  ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ  ค่าห้องเรียน และอาจารย์ผู้สอน  แต่กลับเรียกเก็บค่าเทียบโอนสูงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนปกติ   เขาเก็บแพงกว่าเพราะอะไร?    เมื่อสงสัยก็ต้องถาม จริงไหม?.....ผู้เขียนจึงได้ถามอาจารย์หลายคนที่อยู่ในบริเวณนั้น  ซึ่งแต่ละท่านน่าจะระดับ ด็อกเตอร์แล้ว น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน  หากท่านคิดอย่างนั้นเหมือนผู้เขียน....ขอบอกว่า....ท่านน.... “คิดผิด”  เพราะคำตอบที่ได้คือ “ไม่รู้”  ทางมหาวิทยาลัยเขาเขียนระเบียบมาอย่างนี้  ก็ต้องเก็บตามนั้น  อยากรู้ต้องไปถามอธิการบดีเอาเอง  คนอื่นเขาก็จ่ายกัน ไม่เห็นใครเขาจะถามเลย..อื้อหือ....คำตอบมีประโยชน์ต่อผู้ถามจังเล้ยยย...นอกจากไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนแล้วยังแถมด้วย สีหน้ารำคาญนิดหน่อย  ประมาณว่าจะเรียนไหม?..อะไรทำนองนี้       และที่ติดใจมากที่สุดคือคำที่บอกว่า  “มหาวิทยาลัยอื่นเขาก็เก็บอย่างนี้ทั้งนั้น”  อาจเป็นด้วยผู้เขียนเป็นคนทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค และกำลังจะเรียนกฎหมายด้วย   เมื่อเห็นอะไรแปลกๆ อดสงสัยไม่ได้เป็นธรรมดา   เรื่องนี้คงต้องติดตามตอนต่อไปว่ามหาวิทยาลัย  ออกระเบียบเช่นนี้ผิดกฎหมายหรือไม่(ยังไม่ทันจะเรียนวิญญาณนักกฎหมายเข้าสิงเสียแล้ว)      แล้วท่านผู้อ่านล่ะ..สงสัยเรื่องนี้บ้างหรือไม่หากสงสัย  ...มาช่วยกันหาคำตอบนะจะได้เรียนรู้ร่วมกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 137 เสียงผู้บริโภค

นิสสัน อัลเมลา (บางคัน) กว้างแถมเปียก เชื่อว่าเวลาเราซื้อรถยนต์ สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ ขอให้ได้รถดีเหมือนที่โฆษณา และเราก็เชื่อว่ารถดีมีเป็นร้อยที่ถอยออกจากโรงงานในแต่ละวัน แต่รถคุณภาพต่ำต้อยก็มีสิทธิหลุดออกมาได้เหมือนกัน ถ้าคุณภาพบริการหลังการขายไม่ดี ความชอกช้ำชีวีมีถึงผู้บริโภคแน่นอน นี้คือคำโฆษณา... “นิสสัน อัลเมลา อีโคคาร์ 4 ประตูคันแรกของเมืองไทย” “ความสุขที่กว้างขึ้น ความภาคภูมิที่สัมผัสได้ตั้งแต่แรกเห็น” “ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่ออกแบบอย่างภูมิฐานเหนือระดับ พร้อมสปอย์เลอร์หลังเพิ่มประสิทธิภาพทางการขับขี่ ตัวถังเน้นความโอ่อ่า เพื่อให้ห้องโดยสารภายในกว้างขวางผ่อนคลาย พร้อมขยายพื้นที่ช่วงขาให้ยาวขึ้น นอกเหนือความงามคือความใส่ใจเพื่อผู้โดยสารนั่งสบายทุกอิริยาบถ”     และนี้คือความจริง....... “ซื้อนิสสัน อัลเมลา ป้ายแดง ใช้งานมาได้ 4 เดือนค่ะ ตอนนี้พบปัญหา น้ำเข้าขณะล้างรถและตอนจอดตากฝน” คุณรฐาผู้บริโภคของเราบอก “น้ำเข้ารถ 2 จุด คือที่ประตูหลังด้านขวาและเข้าทางกระโปรงหลัง ได้เข้าปรึกษากับทางศูนย์ที่ออกรถมาว่าจะรับผิดชอบให้เราอย่างไร เราไม่ได้คำตอบ โทรไปเซลล์ไม่รับสาย” คุณรฐาพยายามช่วยเหลือตัวเองด้วยการไปสอบถามกับศูนย์บริการอีกแห่ง ได้รับการยืนยันว่าเกิดจากกระบวนการผลิตต้องส่งเคลมโรงงาน แต่ก็ไม่มีการดำเนินการต่อไปหลังจากนั้น “ไม่มีคำตอบว่าจะมีความรับผิดชอบเมื่อไรและอย่างไร เราได้รับบริการที่แย่มากมาตั้งแต่ต้น เราควรปฏิบัติอย่างไรในกรณีนี้คะ” คุณรฐาถาม   แนวทางแก้ไขปัญหา จะเห็นว่าคำโฆษณานั้นดูดีเสมอ โดยเฉพาะกับการขายรถยนต์ราคาเป็นแสนๆ แต่การเกิดปัญหาเล็กๆ น้อยๆ อย่างที่เด็กบางคนเรียกว่า “เรื่องกะโหลกกะลาแค่เนี้ย” เมื่อไม่ได้รับการแก้ไขปัญหากะโหลกกะลามันก็จะบานปลายจนส่งผลต่อชื่อเสียงของสินค้าได้ไม่ยาก และหวังว่าคุณรฐาจะไม่ใช้รถคันนี้ตอนช่วงน้ำท่วม นึกเห็นภาพแล้ว...ความเสียหายคงบาน...   วิธีแก้ปัญหานี้ คือ การเจรจาให้ผู้ขายรถยนต์ต้องรับรถไปตรวจและส่งซ่อมโดยเร็ว และผู้ขายสินค้าก็ไม่ควรอิดเอื้อนบ่ายเบี่ยงทำตัวเหมือนคนท้องผูก ปิดประตูห้องน้ำนั่งขยี้กระดาษชำระเล่น หรือไม่ยอมรับสาย ไม่ยอมพบปะพูดจากับลูกค้า เพราะคิดว่าเป็นเรื่องหมูในอวย ขายรถได้แล้วเป็นอันจบ ศูนย์รถแห่งไหนเลี้ยงพนักงานขายแบบนี้ ยิ่งมีมากก็ยิ่งเจ๊งไว สาธุ... ทำไมถึงแช่งกันอย่างนั้น เพราะยิ่งพนักงานขายแชเชือนแช่บ๊วยปล่อยปัญหาให้ช้าเนิ่นนานไป ก็ยิ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดอารมณ์ขุ่นมัวสะสมพอกพูนแปรสภาพเป็นการเรียกค่าเสียหายผ่านการฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้ สำหรับผู้บริโภคก็อย่าเพิ่งลัดขั้นตอนใจร้อนเอาเรื่องไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอเปลี่ยนรถใหม่หรือให้ซื้อรถคืนเลย เพราะฟ้องไปหากศาลท่านเห็นว่าน่าจะซ่อมได้ท่านก็คงสั่งให้ไปซ่อมก่อน ซ่อมได้ก็จบกันไป หากซ่อมไม่ได้หรือซ่อมไปแล้วเอากลับมาใช้อีก มองแล้วอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้บริโภคท่านถึงจะพิจารณาให้เรียกคืนรถและชดใช้เงินค่าซื้อรถกันได้ สรุปว่าทุกอย่างมีขั้นตอน ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคควรทำเมื่อเกิดปัญหาแนวๆ นี้ คือ นำสินค้าที่เสียหายหรือชำรุดบกพร่องโดยที่ไม่ได้เกิดจากการความบกพร่องจากการใช้งานของผู้บริโภคส่งให้ผู้ขายสินค้าตรวจเช็คและร้องขอเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของตนเองเพื่อขอให้ผู้ขายสินค้าซ่อมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องโดยทันที และเริ่มนับเวลาค่าเสียหายที่ขาดโอกาสในการใช้รถนับแต่วันที่ส่งซ่อมทันที ไม่ได้หวังว่าจะเอามาคิดเป็นเงินจริงจังก็ได้ แต่คิดเป็นตัวเลขเพื่อใช้กดดันเป็นปฏิกิริยาเร่งให้มีการซ่อมสินค้าโดยเร็ว ซ่อมได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมไม่เยิ่นเย้อยาวนานเกินไปก็สมควรจบปัญหากัน แต่หากซ่อมไม่ได้หรือซ่อมไม่หายจึงค่อยเรียกร้องให้เปลี่ยนสินค้าใหม่หรือคืนเงินกัน หากผู้ขายสินค้าไม่ยินยอมจึงค่อยไปฟ้องร้องต่อศาลในคดีผู้บริโภคได้ ว่ากันเป็นกระบวนยุทธ์อย่างนี้ ปัญหายุติเร็วแน่นอน ที่สำคัญยุติ แบบยุติธรรมด้วย แต่อย่าลืมเรื่องอายุความของคดีที่มีระยะเวลาแค่ 1 ปี นับแต่วันที่รับรู้ถึงความเสียหาย ต้องฟ้องร้องภายในกรอบระยะเวลานี้ หากพ้นระยะเวลานี้ไปก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องความรับผิดกันได้ หลังจากได้รับคำแนะนำไปคุณรฐาเธอจึงเริ่มดำเนินการเจรจาตามกระบวนยุทธพิทักษ์ผู้บริโภค ไม่นานศูนย์นิสสันลาดพร้าวก็ได้ทำการตรวจสอบสภาพความชำรุดบกพร่องของรถ จนทราบสาเหตุที่น้ำรั่วไหลเข้ารถว่าเป็นเพราะขอบยางจากกระโปรงท้ายรถติดตั้งไม่เรียบร้อย และไม่มีการปิดฝาท่อระหว่างท้ายรถกับห้องโดยสารทำให้น้ำรั่วไหลเข้าไปได้ทั้งในเวลาล้างรถหรือตอนฝนตก จึงได้ทำการซ่อมแซมแก้ไขให้ “เมื่อรับรถออกมาเราได้ทดสอบเบื้องต้นโดยการเอาน้ำฉีด น้ำไม่เข้าแล้ว...ขอขอบคุณทางมูลนิธิฯมากๆ ค่ะ ที่ให้คำปรึกษาดีมากๆ ขอบคุณค่ะ...” ส่งโนเกียซ่อม 6 เดือนยังไม่ได้ ร้องมาที่มูลนิธิฯ สัปดาห์เดียวได้คืน “วันที่ 12 ธันวาคม 2554 ผมได้ส่งโทรศัพท์โนเกีย รุ่นเอ็น 8 ไปซ่อมที่ศูนย์โนเกียแคร์ สาขาเอสพานาด ด้วยอาการที่มือถือเมื่อใช้ USB แล้วมองไม่เห็นคอมพิวเตอร์” คุณไกรภพเริ่มเรื่อง ศูนย์ได้รับเครื่องมือถือของคุณไกรภพเพื่อตรวจซ่อม และแจ้งกลับมาว่าเครื่องมีปัญหาที่เมนบอร์ด ต้องทำการเปลี่ยนด้วยราคา 12,000 บาท “ผมตัดสินใจไม่ซ่อมและขอรับเครื่องกลับ” นอกจากนั้นคุณไกรภพ ยังให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า ปรากฏว่าวันที่ไปรับเครื่อง เมื่อตรวจเช็คพบว่า เครื่องไม่สามารถเปิดได้ ซึ่งในใบรับซ่อมแจ้งว่าเครื่องเปิด-ปิดได้ โทรเข้า-โทรออกได้ปกติ จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าสาเหตุที่เครื่องเสียเปิดใช้งานไม่ได้ มีสาเหตุมาจากการซ่อมของทางศูนย์ “ผมจึงได้โวยวายให้ศูนย์รับผิดชอบ ทางศูนย์จึงได้ส่งเครื่องกลับไปซ่อมใหม่” ต่อมาศูนย์แจ้งว่า จะทำการเปลี่ยนเมนบอร์ดให้และ ให้รอการแจ้งกลับ ช่วงแรกๆ ผมก็รอ แต่ปรากฏว่ามีความจำเป็นต้องติดต่องานตลลอดเวลา ทำให้ต้องซื้อเครื่องใหม่ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องเสียเงินเลย แต่เป็นเพราะทางศูนย์ทำเครื่องพังหนักกว่าเดิม ไม่ทราบว่าผมจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างครับ ตอนนี้ตามทั้งทางโทรศัพท์ ตามทั้งทางศูนย์เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่ก็ไม่ได้ความคืบหน้าอะไรเกี่ยวกับการซ่อมเลยครับ “ผ่านจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ระยะเวลาในการซ่อม 6 เดือน หรือครึ่งปีแล้วผมควรทำอย่างไรดีครับ”   แนวทางแก้ไขปัญหา คุณไกรภพครวญมาด้วยความทุกขเวทนาน่าสงสารจับจิต... ตอนที่น่าสงสารสุดๆ น่าจะตอนที่ศูนย์ซ่อมบอกว่าค่าเมนบอร์ดใหม่คิดราคา 12,000 บาท พอไปเปิดเว็บไซต์ขายมือถือรุ่นนี้ พบราคาเปิดตัวเมื่อกรกฎาคม 2553 อยู่ที่ 16,500 บาท ราคาล่าสุดอยู่แถวๆ 10,890 เท่านั้น นี่ศูนย์จะเล่นผู้บริโภคถึง 12,000 บาทเชียวหรือ ก็น่าจะบอกให้เขาไปซื้อใหม่ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย คุณไกรภพซื้อมือถือมาไม่ได้ใช้แถมศูนย์ซ่อมยังทำให้เจ๊งอีก ต้องซื้อมือถือใหม่มาใช้งาน อย่างนี้ต้องเรียกว่า เป็นความเสียหายซ้ำซ้อน คล้ายกั บผู้พิการซ้ำซ้อน หูหนวกไม่พอต้องตาบอดอีก อะไรทำนองนี้ หลังได้รับเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ จึงโทรไปหาคุณไกรภพและแนะนำให้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังบริษัทโนเกีย ประเทศไทย เรื่องการบริการหลังการขายที่มีปัญหาของศูนย์บริการโนเกีย โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ เป็นผู้ช่วยร่างและเรียงลำดับปัญหาให้กับคุณไกรภพ คุณไกรภพได้ส่งคำร้องเรียนไปที่เฟสบุ๊กของโนเกีย หนึ่งสัปดาห์ต่อมา ศูนย์โนเกียได้ติดต่อกลับมาที่คุณไกรภพแจ้งให้เข้าไปรับเครื่องที่ซ่อมเสร็จแล้วคืน ซึ่งศูนย์โนเกียได้เปลี่ยนเมนบอร์ดให้ใหม่และแก้ไขระบบเปิด-ปิดเครื่องให้จนสามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ “แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว” คุณไกรภพบอก “ผมพยายามติดตามเครื่องมาเกือบ 7 เดือน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ ถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขอบพระคุณมากครับ”   บ้านถูกน้ำท่วม ไม่ใช้เน็ตแต่ถูกเรียกเก็บค่าบริการ เป็นที่ทราบ กันดีว่าที่อยู่อาศัยแถบอำเภอบางบัวทองต้องถูกน้ำท่วมอย่างหนัก แทบไม่มีใครอยู่อาศัยได้ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ล่ม จึงมีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการไม่ให้ซ้ำเติมความทุกข์ของชาวบ้าน แต่ความดีแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตของทรูไลฟ์พลัส เพราะมีการร้องเรียนว่ายังเรียกเก็บค่าบริการต่อเนื่องเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น คุณชูชัยเป็นผู้บริโภครายหนึ่งที่ร้องเรียนมาว่า ตนและครอบครัวอยู่อาศัยในหมู่บ้านชื่อดังแห่งหนึ่งย่านถนนบางกรวยไทรน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เมื่อน้ำท่วมใหญ่เข้าอำเภอบางบัวทองเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554  ทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ จึงได้โทรแจ้งไปยังบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัส จำกัดว่า บ้านถูกน้ำท่วมอยู่อาศัยไม่ได้จึงไม่สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัทได้ ขอให้บริษัทระงับการเรียกเก็บค่าบริการไว้ก่อน เสียงร้องขอของผู้บริโภคคงไร้คว ามหมาย เจตนารมณ์ของทรูไลฟ์พลัส คงไม่เปลี่ยนแปลงและมุ่งมั่นรักษาสโลแกนของตนไว้เหมือนเดิม “ชีวิตมีแต่บวก” ก็เลยมีการส่งใบแจ้งหนี้บวกเพิ่มให้คุณชูชัยเข้ามาทุกเดือน กลายเป็นหนี้สะสมทบติดต่อกันมาถึง  5 เดือนนับจากวันที่น้ำท่วมเข้าบางบัวทอง จนถึงวันที่ร้องเรียน คุณชูชัยก็ยังไม่สามารถเข้าอาศัยในบ้าน ของตัวเองได้เนื่องจากอยู่ระหว่างการซ่อมแซมต้องไปหาพักอาศัยในคอนโดแห่งหนึ่งแทน จึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ   แนวทางแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ได้มีการร้องเรียนไปที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.)ของ กสทช.อีกทางหนึ่งด้วย เราจึงได้สอบถามความคืบหน้าไปที่ สบท. ทราบว่าหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนแห่งนี้ได้มีหนังสือถึงบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัสฯ เพื่อขอให้พิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผู้บริโภคไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ ทรู ได้ปรับลดค่าบริการตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2554 ถึงรอบเรียกเก็บในเดือนมีนาคม 2555 เป็นเงิน 3,700 กว่าบาทให้ และได้มีการเริ่มต้นคิดค่าใช้จ่ายกับผู้บริโภคอีกครั้ง สอบถามคุณชูชัยได้ความว่าตอนนี้ยังอาศัยอยู่ที่คอนโดยังไม่ได้กลับเข้าบ้านเพราะบ้านยังซ่อมไม่เสร็จ จึงอยากจะทำเรื่องยกเลิกการใช้บริการอินเทอร์เน็ตและขอเงินประกันกล่อง Router คืนไปเลย แต่กล่อง Router หายไปตอนน้ำท่วม หลังทราบความต้องการของผู้บริโภค ทรูจึงทำการยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต และแจ้งว่าค่าประกันกล่อง Router อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เรื่องนี้มีความสับสนอยู่สักพัก เพราะจริงๆแล้ว กล่อง Router นั้นไม่มีการทำประกัน แต่เป็นลักษณะของการซื้อขายอุปกรณ์เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตครบ 1 ปี กล่อง Router จะตกเป็นของผู้บริโภค ส่วนเงินที่ติดตามทวงถามคืนนั้นเป็นค่าประกันหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งห้ามมิให้มีการเรียกเก็บเงินในลักษณะนี้ จึงได้มีการติดตามทวงถามคืนจากทีโอทีรวมจำนวน 2 เลขหมาย และท้ายที่สุดได้คืนเป็นจำนวนเงินเลขหมายละ 3,000 บาท รวมเป็น 6,000 บาท เรื่องจึงเป็นอันยุติ สวัสดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 นิสสัน อัลเมลา (บางคัน) กว้างแถมเปียก

เชื่อว่าเวลาเราซื้อรถยนต์ สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ ขอให้ได้รถดีเหมือนที่โฆษณา และเราก็เชื่อว่ารถดีมีเป็นร้อยที่ถอยออกจากโรงงานในแต่ละวัน แต่รถคุณภาพต่ำต้อยก็มีสิทธิหลุดออกมาได้เหมือนกัน ถ้าคุณภาพบริการหลังการขายไม่ดี ความชอกช้ำชีวีมีถึงผู้บริโภคแน่นอนนี้คือคำโฆษณา...“นิสสัน อัลเมลา อีโคคาร์ 4 ประตูคันแรกของเมืองไทย”“ความสุขที่กว้างขึ้น ความภาคภูมิที่สัมผัสได้ตั้งแต่แรกเห็น”“ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่ออกแบบอย่างภูมิฐานเหนือระดับพร้อมสปอย์เลอร์หลังเพิ่มประสิทธิภาพทางการขับขี่ตัวถังเน้นความโอ่อ่า เพื่อให้ห้องโดยสารภายในกว้างขวางผ่อนคลายพร้อมขยายพื้นที่ช่วงขาให้ยาวขึ้นนอกเหนือความงามคือความใส่ใจเพื่อผู้โดยสารนั่งสบายทุกอิริยาบถ” และนี้คือความจริง.......“ซื้อนิสสัน อัลเมลา ป้ายแดง ใช้งานมาได้ 4 เดือนค่ะ ตอนนี้พบปัญหา น้ำเข้าขณะล้างรถและตอนจอดตากฝน” คุณรฐาผู้บริโภคของเราบอก“น้ำเข้ารถ 2 จุด คือที่ประตูหลังด้านขวาและเข้าทางกระโปรงหลัง ได้เข้าปรึกษากับทางศูนย์ที่ออกรถมาว่าจะรับผิดชอบให้เราอย่างไร เราไม่ได้คำตอบ โทรไปเซลล์ไม่รับสาย”คุณรฐาพยายามช่วยเหลือตัวเองด้วยการไปสอบถามกับศูนย์บริการอีกแห่ง ได้รับการยืนยันว่าเกิดจากกระบวนการผลิตต้องส่งเคลมโรงงาน แต่ก็ไม่มีการดำเนินการต่อไปหลังจากนั้น“ไม่มีคำตอบว่าจะมีความรับผิดชอบเมื่อไรและอย่างไร เราได้รับบริการที่แย่มากมาตั้งแต่ต้น เราควรปฏิบัติอย่างไรในกรณีนี้คะ” คุณรฐาถาม แนวทางแก้ไขปัญหาจะเห็นว่าคำโฆษณานั้นดูดีเสมอ โดยเฉพาะกับการขายรถยนต์ราคาเป็นแสนๆ แต่การเกิดปัญหาเล็กๆ น้อยๆ อย่างที่เด็กบางคนเรียกว่า “เรื่องกะโหลกกะลาแค่เนี้ย” เมื่อไม่ได้รับการแก้ไขปัญหากะโหลกกะลามันก็จะบานปลายจนส่งผลต่อชื่อเสียงของสินค้าได้ไม่ยาก และหวังว่าคุณรฐาจะไม่ใช้รถคันนี้ตอนช่วงน้ำท่วม นึกเห็นภาพแล้ว...ความเสียหายคงบาน...วิธีแก้ปัญหานี้ คือ การเจรจาให้ผู้ขายรถยนต์ต้องรับรถไปตรวจและส่งซ่อมโดยเร็ว และผู้ขายสินค้าก็ไม่ควรอิดเอื้อนบ่ายเบี่ยงทำตัวเหมือนคนท้องผูก ปิดประตูห้องน้ำนั่งขยี้กระดาษชำระเล่น หรือไม่ยอมรับสาย ไม่ยอมพบปะพูดจากับลูกค้า เพราะคิดว่าเป็นเรื่องหมูในอวย ขายรถได้แล้วเป็นอันจบศูนย์รถแห่งไหนเลี้ยงพนักงานขายแบบนี้ ยิ่งมีมากก็ยิ่งเจ๊งไว สาธุ...ทำไมถึงแช่งกันอย่างนั้น เพราะยิ่งพนักงานขายแชเชือนแช่บ๊วยปล่อยปัญหาให้ช้าเนิ่นนานไป ก็ยิ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดอารมณ์ขุ่นมัวสะสมพอกพูนแปรสภาพเป็นการเรียกค่าเสียหายผ่านการฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้สำหรับผู้บริโภคก็อย่าเพิ่งลัดขั้นตอนใจร้อนเอาเรื่องไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอเปลี่ยนรถใหม่หรือให้ซื้อรถคืนเลย เพราะฟ้องไปหากศาลท่านเห็นว่าน่าจะซ่อมได้ท่านก็คงสั่งให้ไปซ่อมก่อน ซ่อมได้ก็จบกันไป หากซ่อมไม่ได้หรือซ่อมไปแล้วเอากลับมาใช้อีก มองแล้วอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้บริโภคท่านถึงจะพิจารณาให้เรียกคืนรถและชดใช้เงินค่าซื้อรถกันได้ สรุปว่าทุกอย่างมีขั้นตอนดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคควรทำเมื่อเกิดปัญหาแนวๆ นี้ คือ นำสินค้าที่เสียหายหรือชำรุดบกพร่องโดยที่ไม่ได้เกิดจากการความบกพร่องจากการใช้งานของผู้บริโภคส่งให้ผู้ขายสินค้าตรวจเช็คและร้องขอเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของตนเองเพื่อขอให้ผู้ขายสินค้าซ่อมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องโดยทันที และเริ่มนับเวลาค่าเสียหายที่ขาดโอกาสในการใช้รถนับแต่วันที่ส่งซ่อมทันที ไม่ได้หวังว่าจะเอามาคิดเป็นเงินจริงจังก็ได้ แต่คิดเป็นตัวเลขเพื่อใช้กดดันเป็นปฏิกิริยาเร่งให้มีการซ่อมสินค้าโดยเร็ว ซ่อมได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมไม่เยิ่นเย้อยาวนานเกินไปก็สมควรจบปัญหากัน แต่หากซ่อมไม่ได้หรือซ่อมไม่หายจึงค่อยเรียกร้องให้เปลี่ยนสินค้าใหม่หรือคืนเงินกัน หากผู้ขายสินค้าไม่ยินยอมจึงค่อยไปฟ้องร้องต่อศาลในคดีผู้บริโภคได้ ว่ากันเป็นกระบวนยุทธ์อย่างนี้ ปัญหายุติเร็วแน่นอน ที่สำคัญยุติ แบบยุติธรรมด้วย แต่อย่าลืมเรื่องอายุความของคดีที่มีระยะเวลาแค่ 1 ปี นับแต่วันที่รับรู้ถึงความเสียหาย ต้องฟ้องร้องภายในกรอบระยะเวลานี้ หากพ้นระยะเวลานี้ไปก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องความรับผิดกันได้หลังจากได้รับคำแนะนำไปคุณรฐาเธอจึงเริ่มดำเนินการเจรจาตามกระบวนยุทธพิทักษ์ผู้บริโภค ไม่นานศูนย์นิสสันลาดพร้าวก็ได้ทำการตรวจสอบสภาพความชำรุดบกพร่องของรถ จนทราบสาเหตุที่น้ำรั่วไหลเข้ารถว่าเป็นเพราะขอบยางจากกระโปรงท้ายรถติดตั้งไม่เรียบร้อย และไม่มีการปิดฝาท่อระหว่างท้ายรถกับห้องโดยสารทำให้น้ำรั่วไหลเข้าไปได้ทั้งในเวลาล้างรถหรือตอนฝนตก จึงได้ทำการซ่อมแซมแก้ไขให้“เมื่อรับรถออกมาเราได้ทดสอบเบื้องต้นโดยการเอาน้ำฉีด น้ำไม่เข้าแล้ว...ขอขอบคุณทางมูลนิธิฯมากๆ ค่ะ ที่ให้คำปรึกษาดีมากๆ ขอบคุณค่ะ...”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 ส่งโนเกียซ่อม 6 เดือนยังไม่ได้ ร้องมาที่มูลนิธิฯ สัปดาห์เดียวได้คืน

“วันที่ 12 ธันวาคม 2554 ผมได้ส่งโทรศัพท์โนเกีย รุ่นเอ็น 8 ไปซ่อมที่ศูนย์โนเกียแคร์ สาขาเอสพานาด ด้วยอาการที่มือถือเมื่อใช้ USB แล้วมองไม่เห็นคอมพิวเตอร์” คุณไกรภพเริ่มเรื่องศูนย์ได้รับเครื่องมือถือของคุณไกรภพเพื่อตรวจซ่อม และแจ้งกลับมาว่าเครื่องมีปัญหาที่เมนบอร์ด ต้องทำการเปลี่ยนด้วยราคา 12,000 บาท“ผมตัดสินใจไม่ซ่อมและขอรับเครื่องกลับ”นอกจากนั้นคุณไกรภพ ยังให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า ปรากฏว่าวันที่ไปรับเครื่อง เมื่อตรวจเช็คพบว่า เครื่องไม่สามารถเปิดได้ ซึ่งในใบรับซ่อมแจ้งว่าเครื่องเปิด-ปิดได้ โทรเข้า-โทรออกได้ปกติ จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าสาเหตุที่เครื่องเสียเปิดใช้งานไม่ได้ มีสาเหตุมาจากการซ่อมของทางศูนย์“ผมจึงได้โวยวายให้ศูนย์รับผิดชอบ ทางศูนย์จึงได้ส่งเครื่องกลับไปซ่อมใหม่”ต่อมาศูนย์แจ้งว่า จะทำการเปลี่ยนเมนบอร์ดให้และให้รอการแจ้งกลับช่วงแรกๆ ผมก็รอ แต่ปรากฏว่ามีความจำเป็นต้องติดต่องานตลลอดเวลา ทำให้ต้องซื้อเครื่องใหม่ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องเสียเงินเลย แต่เป็นเพราะทางศูนย์ทำเครื่องพังหนักกว่าเดิม ไม่ทราบว่าผมจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างครับ ตอนนี้ตามทั้งทางโทรศัพท์ ตามทั้งทางศูนย์เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่ก็ไม่ได้ความคืบหน้าอะไรเกี่ยวกับการซ่อมเลยครับ “ผ่านจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ระยะเวลาในการซ่อม 6 เดือน หรือครึ่งปีแล้วผมควรทำอย่างไรดีครับ” แนวทางแก้ไขปัญหาคุณไกรภพครวญมาด้วยความทุกขเวทนาน่าสงสารจับจิต...ตอนที่น่าสงสารสุดๆ น่าจะตอนที่ศูนย์ซ่อมบอกว่าค่าเมนบอร์ดใหม่คิดราคา 12,000 บาท พอไปเปิดเว็บไซต์ขายมือถือรุ่นนี้ พบราคาเปิดตัวเมื่อกรกฎาคม 2553 อยู่ที่ 16,500 บาท ราคาล่าสุดอยู่แถวๆ 10,890 เท่านั้น นี่ศูนย์จะเล่นผู้บริโภคถึง 12,000 บาทเชียวหรือ ก็น่าจะบอกให้เขาไปซื้อใหม่ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลยคุณไกรภพซื้อมือถือมาไม่ได้ใช้แถมศูนย์ซ่อมยังทำให้เจ๊งอีก ต้องซื้อมือถือใหม่มาใช้งาน อย่างนี้ต้องเรียกว่า เป็นความเสียหายซ้ำซ้อน คล้ายกับผู้พิการซ้ำซ้อน หูหนวกไม่พอต้องตาบอดอีก อะไรทำนองนี้ หลังได้รับเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ จึงโทรไปหาคุณไกรภพและแนะนำให้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังบริษัทโนเกีย ประเทศไทย เรื่องการบริการหลังการขายที่มีปัญหาของศูนย์บริการโนเกีย โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ เป็นผู้ช่วยร่างและเรียงลำดับปัญหาให้กับคุณไกรภพคุณไกรภพได้ส่งคำร้องเรียนไปที่เฟสบุ๊กของโนเกียหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ศูนย์โนเกียได้ติดต่อกลับมาที่คุณไกรภพแจ้งให้เข้าไปรับเครื่องที่ซ่อมเสร็จแล้วคืน ซึ่งศูนย์โนเกียได้เปลี่ยนเมนบอร์ดให้ใหม่และแก้ไขระบบเปิด-ปิดเครื่องให้จนสามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ“แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว” คุณไกรภพบอก“ผมพยายามติดตามเครื่องมาเกือบ 7 เดือน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ ถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขอบพระคุณมากครับ”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 บ้านถูกน้ำท่วม ไม่ใช้เน็ตแต่ถูกเรียกเก็บค่าบริการ

เป็นที่ทราบกันดีว่าที่อยู่อาศัยแถบอำเภอบางบัวทองต้องถูกน้ำท่วมอย่างหนัก แทบไม่มีใครอยู่อาศัยได้ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆล่ม จึงมีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการไม่ให้ซ้ำเติมความทุกข์ของชาวบ้าน แต่ความดีแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตของทรูไลฟ์พลัส เพราะมีการร้องเรียนว่ายังเรียกเก็บค่าบริการต่อเนื่องเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นคุณชูชัยเป็นผู้บริโภครายหนึ่งที่ร้องเรียนมาว่า ตนและครอบครัวอยู่อาศัยในหมู่บ้านชื่อดังแห่งหนึ่งย่านถนนบางกรวยไทรน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เมื่อน้ำท่วมใหญ่เข้าอำเภอบางบัวทองเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554  ทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ จึงได้โทรแจ้งไปยังบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัส จำกัดว่า บ้านถูกน้ำท่วมอยู่อาศัยไม่ได้จึงไม่สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัทได้ ขอให้บริษัทระงับการเรียกเก็บค่าบริการไว้ก่อนเสียงร้องขอของผู้บริโภคคงไร้ความหมาย เจตนารมณ์ของทรูไลฟ์พลัส คงไม่เปลี่ยนแปลงและมุ่งมั่นรักษาสโลแกนของตนไว้เหมือนเดิม “ชีวิตมีแต่บวก” ก็เลยมีการส่งใบแจ้งหนี้บวกเพิ่มให้คุณชูชัยเข้ามาทุกเดือน กลายเป็นหนี้สะสมทบติดต่อกันมาถึง  5 เดือนนับจากวันที่น้ำท่วมเข้าบางบัวทอง จนถึงวันที่ร้องเรียน คุณชูชัยก็ยังไม่สามารถเข้าอาศัยในบ้าน ของตัวเองได้เนื่องจากอยู่ระหว่างการซ่อมแซมต้องไปหาพักอาศัยในคอนโดแห่งหนึ่งแทน จึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ได้มีการร้องเรียนไปที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.)ของ กสทช.อีกทางหนึ่งด้วย เราจึงได้สอบถามความคืบหน้าไปที่ สบท. ทราบว่าหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนแห่งนี้ได้มีหนังสือถึงบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัสฯ เพื่อขอให้พิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผู้บริโภคไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ทรู ได้ปรับลดค่าบริการตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2554 ถึงรอบเรียกเก็บในเดือนมีนาคม 2555 เป็นเงิน 3,700 กว่าบาทให้ และได้มีการเริ่มต้นคิดค่าใช้จ่ายกับผู้บริโภคอีกครั้ง สอบถามคุณชูชัยได้ความว่าตอนนี้ยังอาศัยอยู่ที่คอนโดยังไม่ได้กลับเข้าบ้านเพราะบ้านยังซ่อมไม่เสร็จ จึงอยากจะทำเรื่องยกเลิกการใช้บริการอินเทอร์เน็ตและขอเงินประกันกล่อง Router คืนไปเลย แต่กล่อง Router หายไปตอนน้ำท่วมหลังทราบความต้องการของผู้บริโภค ทรูจึงทำการยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต และแจ้งว่าค่าประกันกล่อง Router อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เรื่องนี้มีความสับสนอยู่สักพัก เพราะจริงๆแล้ว กล่อง Router นั้นไม่มีการทำประกัน แต่เป็นลักษณะของการซื้อขายอุปกรณ์เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตครบ 1 ปี กล่อง Router จะตกเป็นของผู้บริโภค ส่วนเงินที่ติดตามทวงถามคืนนั้นเป็นค่าประกันหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งห้ามมิให้มีการเรียกเก็บเงินในลักษณะนี้ จึงได้มีการติดตามทวงถามคืนจากทีโอทีรวมจำนวน 2 เลขหมาย และท้ายที่สุดได้คืนเป็นจำนวนเงินเลขหมายละ 3,000 บาท รวมเป็น 6,000 บาทเรื่องจึงเป็นอันยุติ สวัสดี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 กรุงเทพเมืองจักรยาน ความฝัน...ที่ไม่ไกลเกินฝัน

“ถ้าเรามองจากมุมมองของจักรยาน  คุณจะได้ทุกอย่างที่เป็นมิตรกับมนุษย์  เพราะจักรยานเป็นเทคโนโลยีของมนุษย์ และราคาถูก ทุกอย่างเราคุมได้ ความเร็ว สิ่งแวดล้อม และทำให้คุณเข้าถึงได้ทุกซอกมุม  อย่างการได้พูดคุยกับคนขายซาลาเปา ได้รู้เรื่องราว เกิดรายละเอียดขึ้นมาในชีวิต ต่างกับรถยนต์ที่ต้องวนหาที่จอด พอหาที่จอดไม่ได้ก็ไม่ซื้อ”   ฉลาดซื้อฉบับนี้ “พาคุณ” ไปขี่จักรยานกับ ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์  เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว กับโครงการดีๆ จักรยานกลางเมือง ซึ่งมูลนิธิโลกสีเขียวทำงานสองส่วนนั่นก็คือการเปลี่ยนทัศนคติของคน และการทำแผนที่ทางจักรยาน  มาค่ะ มาปั่นไปพร้อมกับเธอ   ขี่จักรยานแก้ปัญหาเมืองได้อย่างไร 2 – 3 ปีที่ผ่านมาจักรยานถูกพูดถึงในทิศทางการพัฒนาเมือง อาจจะยังไม่เป็นกระแสหลัก เริ่มจากบทความ แมกกาซีน   เพราะจักรยานสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในสังคมได้ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  ความเหลื่อมล้ำ  พื้นที่สาธารณะ ปัจจุบันก็มีหลากหลายกลุ่มเกิดขึ้นมาใหม่  ติดต่อกันเป็นโครงข่าย เพื่อจะร่วมกันผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมือง   ถ้าเรามองจากมุมมองของจักรยาน  คุณจะได้ทุกอย่างที่เป็นมิตรกับมนุษย์  เพราะจักรยานเป็นเทคโนโลยีของมนุษย์ และราคาถูก ทุกอย่างเราคุมได้ ความเร็ว สิ่งแวดล้อม และทำให้คุณเข้าถึงได้ทุกซอกมุม  อย่างการได้พูดคุยกับคนขายซาลาเปา ได้รู้เรื่องราว เกิดรายละเอียดขึ้นมาในชีวิต ต่างกับรถยนต์ที่ต้องวนหาที่จอด พอหาที่จอดไม่ได้ก็ไม่ซื้อ   คนที่เริ่มขี่จักรยานใหม่ๆ หลายคนเริ่มที่เหตุผลทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม  พอเริ่มขี่จักรยานชีวิตคุณก็จะเริ่มเปลี่ยน  มีการทักทายกัน พูดคุยกัน เกิดเป็นชุมชน ไปแตะรากของปัญหาต่างๆ ทั้งความไม่มีชุมชน สิ่งแวดล้อมไม่ดี  ไม่มีพื้นที่สาธารณะ ไม่มีเวลา แต่พอได้เปลี่ยนมาใช้จักรยาน ทุกปัญหาก็จะถูกแก้ไปเอง   เมืองจักรยานตอนนี้ที่อื่นมีไหม จากการเริ่มต้นของหลายๆ เมืองอย่างโบโกต้า ที่มี “เมืองไบซิเคิลซันเดย์” ซึ่งเป็นวันที่มีการปิดถนนเพื่อให้เป็นเมืองจักรยาน คำว่าเมืองจักรยานไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องขี่จักรยาน แต่เป็นเมืองที่ทุกคนสัญจรได้อย่างไม่เบียดเบียนกันและกัน ขับรถยนต์ก็ได้แต่ต้องไม่ปล่อยให้รถยนต์เข้ามายึดชีวิต  และรัฐต้องสร้างระบบขนส่งมวลชนที่ดี พอเราดูบทเรียนจากที่อื่นๆ เราก็จะเห็นว่าการที่จะส่งเสริมเมืองจักรยานก็ต้องอาศัย “เจตจำนงทางการเมือง” ต้องอาศัยแนวความคิด  ต้องเกิดการเปลี่ยนกระบวนทรรศน์  เพราะว่าพวกเราเกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเมืองที่ถูกเปลี่ยนเป็นรถยนต์ ถนนก็สร้างให้รถยนต์  ทั้งที่ถนนเป็นของทุกคน  ใช้ภาษีของเราในการสร้าง  เราก็ต้องสิทธิในการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่ปล่อยให้รถยนต์เข้าใช้หมด กรุงเทพฯ เรากลายเป็นเมืองที่ถูกรถยนต์บุกรุกไปแล้ว ต้องมีการขยายถนน ไล่รื้อบ้านของชาวบ้านเพื่อสร้างถนน ซึ่งมันตรงกันข้ามกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคน โบโกต้าสร้างความเปลี่ยนแปลงของเมืองโดยให้ “คนเป็นศูนย์กลาง” ไม่ใช่ให้ “รถยนต์เป็นศูนย์กลาง” ถ้าพัฒนาเมืองให้รถยนต์ก็จะไม่ได้เมืองให้กับมนุษย์  แต่ถ้าจะพัฒนาเมืองให้มนุษย์ก็จะไม่สามารถให้รถยนต์สบายที่สุด เป็นสิ่งที่ต้องเลือกว่าจะพัฒนาอะไร หลายๆ เมืองทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จเรื่องการใช้จักรยานจะเห็นเลยว่ามีปัจจัยเดียวกันคือ มีโครงข่ายเส้นทางจักรยานที่ขี่ถึงกันทะลุปรุโปร่ง เราไม่ได้ต้องการทางจักรยานที่สวยหรือแพงๆ แต่เป็นทางที่รู้จักผสมผสาน อาจจะแบ่งเลนหรือเป็นส่วนหนึ่งของถนนก็ได้  และควรจะมีข้อบังคับต่างๆ เช่น ประกาศจำกัดความเร็ว เพื่อความปลอดภัยของคนใช้ถนน และการเก็บภาษีค่ารถติด เช่นที่สิงคโปร์ ลอนดอน และหลายๆ เมืองทำอยู่   การจะเป็นเมืองจักรยานได้ต้องทำอย่างไร สิ่งแรกที่ต้องเริ่มคือเริ่มเปลี่ยนความคิดคน ปลุกเร้าจินตนาการขึ้นมาให้ได้ เพราะต้องสร้างความเข้าใจ  แต่ใช่ว่าจะเปลี่ยนได้ในชั่วข้ามคืน ต้องมีการสื่อสารเพื่อเปลี่ยนทัศนคติของคน  นั่นคือต้องให้คนได้ลิ้มรสเมืองจักรยานก่อน  มานับหนึ่งปิดถนนกันที่เมืองเศรษฐกิจก่อน เพราะเราต้องการให้คนเห็น แรกๆแม่ค้าอาจจะต่อต้านเหมือนที่อื่นๆ ที่ห้ามรถยนต์เข้า แม่ค้าก็กลัวจะขายของไม่ได้ แต่ที่ไหนได้กลับขายดีกว่าเดิม  เพราะจักรยานสามารถไปได้ทุกที่ เราจึงต้องพยายามทำ “คาร์ฟรีซันเดย์” ช่วงแรกมีการประสานงานกับ กทม.ปิดที่ถนนสีลม  แต่ปิดถนนแค่เลนเดียว คนก็ยังไม่ตื่นตัว แล้วก็เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ซึ่งการเปลี่ยนที่แบบนี้ ตัวเราเองมองเป็นการขี่จักรยานพาไปเที่ยว  ซึ่งไม่ใช่กิจกรรมของเรา ไม่ใช่ความหมายของเรา เป็นการเหนื่อยเปล่าๆ เราอยากทำอยู่ที่เดิม ให้คนได้รู้ คล้ายกับตลาดนัดมากกว่า อย่างเมืองจาการ์ตา(ประเทศอินโดนีเซีย) จากนัดทุกเดือนตอนนี้กลายเป็นทุกอาทิตย์ไปแล้ว บนถนนมีคนเดิน มีคนปั่นจักรยาน เด็กๆ วิ่งเล่นได้ เต้นรำได้บนถนน กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ  และจะเกิดการยอมรับและสร้างระบบ อย่างในจาการ์ตามีระบบคาร์พูล สามารถโบกรถแล้วขึ้นมาด้วยกันได้ แต่ถึงที่สุดแล้วการจะพัฒนาสู่ความเป็นเมืองจักรยาน ก็ต้องอาศัยเจตจำนงทางการเมือง อย่างโบโกต้า ก็มีปัญหารถยนต์ขึ้นมาจอดบนฟุตบาท รถติด  แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาก็สร้างระบบขนส่งมวลชนที่เป็นมาตรฐาน เกิดโครงข่ายขนส่งมวลชน แต่รถยนต์ก็จะเข้าถึงได้ในบางพื้นที่ โครงข่ายที่ขนส่งที่จะเข้าถึงทุกพื้นที่ก็คือจักรยานนั่นเอง ต้องเปลี่ยนทัศนคติให้คนไม่รำคาญจักรยาน  และทำให้คนที่มีรถยนต์ใช้รถยนต์ให้น้อยลง  ไม่ได้ห้ามไม่ให้ใช้  เพราะส่วนหนึ่งก็จำเป็นแต่ใช้ให้เป็นเครื่องมือไม่ใช้เพราะเป็นทาสมัน  คนที่นั่งอยู่ข้างในรถต้องเปลี่ยนความคิดเพราะคุณกำลังเบียดเบียนคนอื่นอยู่   เริ่มต้นการเป็นนักปั่นในเมืองอย่างไรดี ในขณะที่เมืองบ้านเรายังไม่อำนวยทั้งถนนหนทาง เราก็ต้องปรับ ต้องทำอย่างผสมผสาน ทั้งขี่จักรยาน ขึ้นรถไฟ อย่างส่วนตัวใช้จักรยานพับ บ้านอยู่สุขุมวิท ก็ปั่นจากถนนที่บ้าน  มาขึ้นรถไฟใต้ดินที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ลงที่หัวลำโพง แล้วก็ปั่นจักรยานมาที่ทำงาน  ถ้าเราจะทำยังไงมันก็ต้องมีหนทางให้มาจนได้  ลองแล้วจะรู้ว่ากรุงเทพฯ มันไม่ได้ไกล แต่ที่รู้สึกว่ามันไกลก็คือรถมันติด  คนส่วนใหญ่ก็จะขี่เฉพาะใกล้ๆ แต่ก็ต้องขี่ให้ได้ทั้งใกล้และไกล อย่างที่ทำงานก็มีคนขี่จักรยานมาทำงานครึ่งหนึ่งของพนักงานที่เรามีเลยทีเดียว   ทางจักรยานบ้านเรามีไหม การพัฒนาเมืองต้องมีแผนการพัฒนา  ต้องมีเรื่องจักรยานเข้าไปด้วยในแผน  ไม่ใช่คิดแต่เรื่องการพัฒนาเมืองเพื่อรถยนต์ วันหนึ่งเกิดอยากจะมีการทำทางจักรยาน ก็ทำให้แล้วคนทำ คนวางแผนไม่ได้ใช้ พอทำเสร็จแล้วก็ตั้งคำถามว่าทำไมคนไม่ใช้ก็มันใช้ได้ไหม ขี่จักรยานไปแล้วก็ต้องยก  ต้องแบกจักรยาน หรือขี่ๆ ไป อ้าวมีสะพานลอยโผล่มา   ซึ่งการจะพัฒนาตรงนี้ก็ต้องให้คนใช้มาบอก มาช่วยคิด ซึ่งมันง่ายมาก ตอนนี้มูลนิธิโลกสีเขียวเราก็ทำเส้นทางจักรยานในกรุงเทพฯ โดยใช้ข้อมูลของคนที่ขี่จักรยานใช้กันอยู่ ใครอยู่ส่วนไหนก็แบ่งโซนกัน แล้วก็นำข้อมูลแต่ละโซนมารวมกัน  จะมีอาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งที่จะช่วยต่อเติมในเส้นทางในส่วนที่เส้นทางยังเชื่อมกันไม่ได้ แล้วก็จะได้เป็นโครงข่ายเส้นทางจักรยานเกิดขึ้น หลังจากนั้นก็จะนำเสนอเส้นทางตัวอย่าง 2 เส้นทางต่อรัฐเพื่อให้ปรับปรุง เส้นทางแรกก็เส้นคลองไผ่สิงโต ชื่อว่ากรีนเวย์ เป็นเส้นทางจักรยานลอยฟ้าเชื่อมสวน 2 แห่ง เป็นเส้นที่ดีในเชิงยุทธศาสตร์ แต่ในระยะทางกิโลกว่าๆ ที่ต้องแบกจักรยานขึ้น – ลง บันไดถึง 6 ครั้ง แล้วบางจุดชันมาก  อีกเส้นก็คือถนนทรงวาด ซึ่งมีการทำเป็นถนนวันเวย์เยอะมาก จักรยานไม่ควรที่จะวันเวย์ เพราะมันจะอ้อม แต่ควรจะขี่ไปมาได้เลย   ส่วนหนึ่งก็เพื่อตอบว่าการที่รัฐทำเส้นทางจักรยานแล้วคนไม่ใช้ ซึ่งมันไม่ใช่  เพราะว่ามันใช้ไม่ได้ต่างหาก พอเราเสนอเส้นทางที่มีคนใช้อยู่แล้วก็น่าจะเป็นรูปธรรม  ให้รัฐพัฒนาเส้นทางจักรยานต่อไปได้   ถ้าจะเมืองจะเปลี่ยนไปใช้จักรยาน แล้วรถยนต์จะเป็นอย่างไร พอกลุ่มจักรยานเริ่มชัด ก็จะมีการออกมาเคลื่อนของกลุ่มรถยนต์ว่า “อยู่ในรถยนต์ปลอดภัยกว่า” แต่ก็จะมีบริษัทรถบางเจ้าที่ฉลาด พวกที่ไม่ฉลาดก็จะมองเราเป็นศัตรูที่จะทำอุตสาหกรรมของเราพัง แต่ถ้าฉลาดอย่างบริษัทรถในแคนาดาก็จะทำรถยนต์แนวกรีน  และมุ่งการขายรถยนต์ไปที่กลุ่มคนขี่จักรยาน อาจจะทำที่ใส่จักรยาน ย้อนมองมาในบ้านเราถึงแม้จะมีนโยบายรถคันแรกที่ทำให้ซื้อรถคันแรกได้ถูก  แต่ก็ไม่ได้มีแนวทางในการใช้  เพราะมุ่งเน้นที่จะขายรถอย่างเดียว ในขณะที่เราลดภาษีรถยนต์แต่ขอโทษทีจักรยานคุณภาพดีราคา ไม่แพง ต้องเสียภาษีนำเข้าเข้า  30 – 40 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน บ้านเรายังไม่มีนโยบายอุดหนุนนโยบายสีเขียวเลยที่จะอุดหนุนกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นี่เรากำลังพูดถึงพื้นที่ของถนน ที่เป็นประชาธิปไตยที่จับต้องได้นะ ก็อือ...นะอะไรกันนี่...

อ่านเพิ่มเติม >