ฉบับที่ 137 แฟชั่นคอนแทคเลนส์ บิ๊กอายส์ : อันตรายและข้อควรระวังในการใช้

การสวมใส่คอนแทคเลนส์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะใส่เพื่อแก้ไขความผิดปกติของสายตา ใส่เพื่อรักษาโรคกระจกตาบางชนิด หรือเพื่อความสวยงาม หากใช้ไม่ถูกวิธี และไม่ดูแลรักษาความสะอาด อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ใช้คอนแทคเลนส์จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดเลนส์อย่างเคร่งครัด ปัจจุบันนี้มีน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดเลนส์ และแช่เลนส์เพื่อฆ่าเชื้อโรคหลายชนิด วิธีการใช้อาจแตกต่างกันไปบ้าง สิ่งสำคัญคือ ควรดูวันหมดอายุของน้ำยาและควรใช้ให้หมดขวดภายในระยะเวลา 2 เดือน แม้ว่าน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดเลนส์เหล่านี้จะมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่ได้แต่ก็ยังมีเชื้อโรคบางชนิดที่ไม่สามารถกำจัดได้ จึงควรศึกษารายละเอียดก่อนใช้ มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนจากการใส่คอนแทคเลนส์ได้ เช่น

1. การเกิดตุ่มอักเสบบนหนังตาด้านใน

พบมากในผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม สาเหตุเกิดจากการระคายเคืองเนื่องมาจากเลนส์ถูกดึงขึ้นข้างบน ส่วนอาการอื่นที่เกิดต่อเนื่องมา คือ ภาวะหนังตาตก ตาแดง ระคายเคือง มองภาพไม่ชัด มีน้ำตาไหล และสายตาไม่สู้แสง

 

2. เกิดการอักเสบของกระจกตาและเยื่อตาขาวในส่วนที่สัมผัสกับคอนแทคเลนส์

อาการนี้ หากเกิดจากการแพ้หรือจากพิษข้างเคียงของวัตถุกันเสียหรือสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อ เยื่อตาขาวส่วนล่างจะแสดงอาการอักเสบ เนื่องจากน้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดเลนส์จะไหลลงมาด้านล่าง เป็นอาการแพ้ที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ปี นอกจากนี้ การเกิดสิ่งสะสมบนเลนส์หรืออาการตาแห้งจะทำให้อาการอักเสบเกิดมากขึ้น

3. อาการตาแห้ง

พบในผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์มานาน 2-3 ปี การใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น การใช้ยาขับปัสสาวะหรือยารักษาโรคหัวใจบางประเภท เส้นประสาทตาอักเสบ ตาโปนผิดปกติ ผิวของลูกตาผิดปกติ เนื่องจากมีจุดเหลืองๆ บนกระจกตา หรือต้อลม หรือต้อเนื้อ และผิวคอนแทคเลนส์ไม่เรียบ

4. การอักเสบที่เยื่อบุผิวของกระจกตา

ลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ที่เยื่อบุผิวของกระจกตา เนื่องจากเกิดบาดแผลหรือการช้ำที่เยื่อตา ตาแห้ง มีอาการแพ้ หรือขาดออกซิเจน ซึ่งแผลจุดเล็กๆ อาจมารวมกันเข้าเป็นบริเวณใหญ่และเกิดการติดเชื้อซึ่งเป็นอันตรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยหยุดการใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าแผลจะหายเสียก่อน

5. การติดเชื้อที่กระจกตา

เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์ที่เป็นอันตรายที่สุด อาจส่งผลให้ตาบอดถาวรได้ พบในผู้ที่ใช้เลนส์ชนิดที่ใส่ติดต่อกันได้นานๆ หรือจากการเกิดรอยถลอกเนื่องจากการเคลื่อนไหวของเลนส์ที่ใส่อยู่เป็นประจำจนทำให้เกิดแผลขึ้น โดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานก็จะเกิดแผลที่กระจกตาได้ง่ายกว่าปกติ

จากการวิจัยทางการแพทย์พบว่า 67% ของผู้ใช้คอนแทคเลนส์ที่มีอาการติดเชื้อที่กระจกตา มีประวัติการใส่เลนส์ขณะนอนหลับในตอนกลางคืน และ 33% เกิดจากขั้นตอนในการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ไม่ได้มาตรฐาน ชนิดของคอนแทคเลนส์ที่พบว่ามีการใช้มากที่สุดเป็นคอนแทคเลนส์แบบนิ่ม

 

คำเตือน ข้อควรระวัง และข้อห้ามใช้สำหรับคอนแทคเลนส์

คำเตือน

การใช้คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธี มีความเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียสายตาอย่างถาวรได้

ข้อควรระวังในการใช้

l. การเริ่มต้นใช้คอนแทคเลนส์ ควรได้รับจากใบสั่งแพทย์เท่านั้น ไม่ควรไปซื้อเอง เพราะการใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่พอดีกับดวงตา อาจทำให้กระจกตาเป็นแผล ติดเชื้อหรือตาบอดได้ ผู้สวมใส่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และคู่มือ หรือฉลากอย่างเคร่งครัด

2. ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์

3.  ควรใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่ใหม่ และเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งที่แช่คอนแทคเลนส์ และแม้ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์ ควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่ในตลับทุกวัน

4.   ควรเปลี่ยนตลับใส่คอนแทคเลนส์ทุกสามเดือน

5. ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้และไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม

6. ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสเลนส์

7. หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมาก ร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัวลง น้ำตาไหลมาก ตาแดง ให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ทันที และรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว

8. ผู้สวมใส่คอนแทคเลนส์ต้องมีเวลาให้ดวงตาได้พักหรือปลอดจากการใส่เลนส์ ถ้าเป็นผู้มีความผิดปกติของสายตา ควรมีแว่นสายตาไว้ใช้ในระยะเวลาพักของดวงตา

ข้อห้ามใช้

1. ห้ามใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับบุคคลอื่น

2. ห้ามสวมใส่คอนแทคเลนส์เกินระยะเวลาใช้งานที่กำหนด

3. ห้ามใช้คอนแทคเลนส์ถ้าภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพชำรุดหรือถูกเปิดก่อนใช้งาน

 

อย่างไรก็ตาม คอนแทคเลนส์ถึงแม้ว่าเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาแต่ไม่อยากสวมแว่น ปัจจุบันมีการดัดแปลงเพื่อใช้เพิ่มความสวยงามของดวงตาโดยการเปลี่ยนสีหรือรูปแบบของดวงตา แต่ไม่ว่าจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม เนื่องจากเลนส์ที่ใช้ต้องสัมผัสผิวของดวงตาที่บอบบาง การติดเชื้อหรือฉีกขาดอาจเกิดได้ง่าย ดังนั้น ถ้าผู้ใช้คอนแทคเลนส์ปฏิบัติตามคำเตือน ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้ดังกล่าวข้างต้นก็จะมีความปลอดภัยและสามารถลดความเสี่ยงจากการใช้คอนแทคเลนส์ได้

 

เอกสารอ้างอิง

  1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับคอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัส. กรกฎาคม 2552.
  2. Preechawat P, Ratananikorn U, Lerdvitayasakul R, Kunavisarut S. Contact Lenses -Related Microbial Keratitis. Journal of the Medical Association of Thailand. 2007; 90(4): 737-43.

150 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ คอนแทคเลนส์ บิ๊กอายส์

ฉบับที่ 277 ป้องกันผดผื่นหน้าร้อนได้ด้วยตนเอง

        หน้าร้อนประเทศไทย พ.ศ. 2567 อุณหภูมิพุ่งสูงไปถึง 40 กว่าองศา ถือว่าร้อนมากๆ จะออกไปไหนทีแทบละลายเพราะอุณหภูมิ อากาศร้อนแล้วแดดยังแรงไปอีกก็อย่าลืมป้องกันผิวด้วยครีมกันแดดเพื่อให้ผิวมีสุขภาพดี แต่ว่านอกจากผิวไหม้เกรียมจากแดด ปัญหาที่พบบ่อยของหลายคนในช่วงหน้าร้อนนี้อีกอย่างจากสภาพอากาศร้อนก็คงจะเป็นอาการผดผื่นที่ขึ้นมาตามร่างกาย ซึ่งจะป้องกันได้อย่างไรฉลาดซื้อมีคำแนะนำมาฝาก         ผดผื่นหน้าร้อนเกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ ขึ้นได้ทุกบริเวณร่างกายทั้ง ใบหน้า หลัง แขน ขา ข้อพับต่างๆ ตามจุดที่เกิดเหงื่อได้ง่าย ปกติผดผื่นลักษณะนี้มักจะสามารถหายไปได้เองได้ตามธรรมชาติอาจจะไม่ต้องกังวลมาก แต่ยังไงก็ต้องป้องกันไว้ก่อนดีกว่าซึ่งทำได้ง่ายๆ  ดังนี้         1. ผดผื่นเกิดจากความร้อนเป็นสาเหตุ เราก็พยายามอยู่ในที่อากาศเย็น โล่งโปร่งสบายๆ พื้นที่อากาศถ่ายเทได้ตลอด หลีกเลี่ยงไม่ให้เหงื่อออกเยอะได้ยิ่งดี        2. ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ไม่เป็นเสื้อที่คับแน่นจนเกินไป ที่สำคัญควรเป็นเสื้อซักสะอาดแล้ว ไม่ใส่เสื้อซ้ำเพราะอาจก่อให้เกิดความหมักหมม เหงื่อไคล สิ่งสกปรกต่างๆ ได้ เรื่องสุขอนามัยสำคัญเสมอ        3. อาบน้ำเย็นและไม่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ก่อให้ระคายเคืองง่าย หรือใช้แล้วผิวแห้งตึง และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำหอม        4. สายออกกำลังกาย แนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งที่แดดแรงๆ และควรทาครีมกันแดดซ้ำสม่ำเสมอ  หลังออกกำลังกายควรอาบน้ำเพื่อชำระคราบเหงื่อบนร่างกายออก        5. หลีกเลี่ยงแสงแดดแรงๆ หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งในวันที่อุณหภูมิสูง        6. สำหรับใครที่สายบำรุงผิว ต้องทาครีมสม่ำเสมอแนะนำให้ไม่เลือกเนื้อครีมที่หนักจนเกินไป เพราะจะทำให้อุดตันได้ง่าย          ผดผื่นไม่ค่อยอันตรายแต่มักจะสร้างความรำคาญ เช่น อาการคัน และเป็นตุ่มใสๆ ขึ้นมาแนะนำว่าพยายามอย่าแกะหรือเกา เพราะอาจทำให้แผลถลอกแสบจนก่อให้เกิดแผลเป็น         วิธีรักษาผดผื่นได้ด้วยตัวเองเบื้องต้น หากมีอาการคันมากๆ แนะนำให้อาบน้ำเย็นหลังจากนั้น ให้ทายาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการคัน เช่น Calamine Lotion ถ้าไม่ดีขึ้น หรือหลายวันแล้วผื่นผด ยังไม่ยุบและมีตุ่มหนอง ตุ่มแดง หรืออาการอื่นๆ ร่วมด้วย แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี อย่าซื้อยามากินหรือทาเองเด็ดขาด         ในกรณีเข้าร้านยาเพื่อซื้อยาควรปรึกษาเภสัชกรโดยบอกอาการให้ชัดเจน บอกตัวยาที่เราแพ้ให้ละเอียดเพื่อป้องกันอันตรายในการบริโภคยาผิดชนิด อ่านและศึกษาวิธีการใช้ให้ชัดเจน เพราะยาทาบางตัวที่ใช้ทาผิวหนังอาจเป็นยาสเตียรอยด์ใช้บ่อยๆ จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้ ทั้งนี้ นอกจากผดผื่นทางผิวหนังช่วงหน้าร้อนแล้ว ยังคงมีโรคทางผิวหนังช่วงหน้าร้อนอีกหลายประเภท ดังนั้น อยากให้หลายๆ คนดูแลตนเองโดยหมั่นรักษาความสะอาด สุขอนามัยให้ดี ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ  ข้อมูลจาก https://www.vimut.com/article/Prickly-heathttps://www.siphhospital.com/th/news/article/share/379https://www.pobpad.com/ผดร้อนhttps://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/รับมือ-ผดผื่นคัน-วายร้า/

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 276 “รอยสิว” แก้ยังไงดี

        “รอยสิว” ไม่ใช่เรื่องสิวๆ เอาเสียเลย ยิ่งถ้ามันเยอะจนเกินไป ยิ่งเป็นเรื่องกวนใจอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะมันทำให้ผู้ประสบปัญหาขาดความมั่นใจได้ไม่ว่าจะเป็นรอยดำ รอยแดงหรือหลุมสิวที่ทิ้งร่องรอยไว้บนหน้า แต่มันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับคนเป็นสิว อย่างไรก็ตามก็พอมีวิธีการรักษา ดูสิว่าทำอย่างไรได้บ้าง           ก่อนที่จะไปรักษารอยสิว สิ่งที่ไม่ควรทำและหลีกเลี่ยง มีดังนี้         ·  เวลาเป็นสิวไม่ว่าจะสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ ห้ามแกะ/บีบสิว หรือกดสิวเอง ควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้กดเท่านั้น        ·  ไม่ขัดถู สครับใบหน้าแรงๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง         · ไม่ควรนำส่วนผสมต่างๆ ที่เป็นกรดแรงๆ มาแต้มสิวเพราะอาจเกิดอาการไหม้ได้จนทำให้เป็นรอยดำมากกว่าเดิมวิธีการรักษารอยดำ แดง จากสิว                   รอยสิวต่างที่เกิดขึ้นหลังจากที่สิวหายแล้วนั้น หากเป็น “รอยแดง” และ “รอยดำ” บริเวณบนใบหน้าจะรักษาได้ง่าย นั่นคือต้องขยันทาครีมหรือเจลลดรอยสิวอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถใช้พวกผลิตภัณฑ์ช่วยลดรอยดำจากสิวที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปได้ แต่จะให้ดีเลือกตัวที่มีกลุ่มสารประกอบ เช่น ไนอะซินาไมด์ วิตามินซี  กรดซาลิไซลิก(กลุ่มผลัดเซลล์ผิว) หรืออาร์บูติน โดยเลือกที่มีส่วนผสมที่มาจากสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น ว่านหางจระเข้ มะเขือเทศ หอมแดง เป็นต้น อ่านฉลากให้ละเอียดเพื่อดูส่วนผสมต่างๆ ให้ดีเพื่อป้องกันที่จะแพ้ส่วนผสมบางตัว และอย่าลืมดูวันเดือนปีที่หมดอายุ รายละเอียดวิธีการใช้ ชื่อบริษัทที่ผลิต/จัดจำหน่าย                          ในส่วนของสารกลุ่มผลัดเซลล์ผิวแน่นอนว่าสามารถช่วยลดรอยได้แต่ควรระมัดระวังการใช้ให้ถูกวิธี อ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้งว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับอะไร เนื่องจากผลิตภัณฑ์กลุ่มผลัดเซลล์ผิวบางตัวใช้เป็นกลุ่มรักษาสิว ซึ่งหากนำมาใช้ลดรอยโดยเฉพาะนั้น คงจะไม่เหมาะเพราะใช้ผิดวัตถุประสงค์และอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้มากกกว่าเดิม จากหน้าที่ดีขึ้นอาจจะกลายเป็นแย่ลงได้นั่นเอง                 นอกจากนี้ อย่าลืมทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ทุกตัว และที่สำคัญควรทามอยเจอร์ไรเซอร์รวมถึงครีมกันแดดในช่วงระหว่างรักษารอยดำ แดง เพื่อป้องกันแสงแดดทำร้ายผิวให้หมองคล้ำกว่าเดิม ควรเป็นกันแดดที่มีประสิทธิภาพดี เช่น มี SPF 50+ ขึ้นไป         หากผู้บริโภคมีรอยสิวเยอะมากและรู้สึกว่าใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยแล้วแต่ก็ไม่ช่วยอะไร อีกวิธีที่ช่วยลดรอยให้เร็วขึ้น คือ การทำเลเซอร์ลดรอย ซึ่งส่วนมากจะนิยมใช้เป็นตัวเลเซอร์ IPL (ปัจจุบันอาจมีเลเซอร์ตัวอื่นที่สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน) การเข้าใช้บริการรักษาด้วยเลเซอร์จากคลินิกเสริมความงาม ควรตรวจสอบให้ดีเกี่ยวกับรายละเอียดใบอนุญาตคลินิก สอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายหรือวิธีการรักษาให้ชัดเจน และรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น         กรณี รอยหลุมสิว หรือรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว เป็นรอยที่รักษายากพอสมควร ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีครีมตัวไหนรักษาให้กลับมาเนียนเหมือนเดิมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ วิธีเดียวคือการเลเซอร์เท่านั้น ดังนั้นหากใครที่ดูรีวิวจากบรรดาอินฟลูเอนเซอร์แล้วมีการเคลมว่ามี ครีมสามารถรักษาหลุมสิวให้หายได้อย่างรวดเร็ว 3-7 วัน อย่าหลงเชื่อนะคะ  ข้อมูลจาก วิธีรักษาและลบรอยสิว - พบแพทย์ (pobpad.com)https://ch9airport.com/th รอยดำหลังการเกิดสิว รักษาอย่างไรดีhttps://www.si.mahidol.ac.th/metc/met/th/images/exhibition/METex2022/Acne/scar.html

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 275 ใส่คอนแทคเลนส์อย่างไร ให้ปลอดภัย

        การใส่คอนแทคเลนส์ยังคงเป็นที่นิยม บางคนใส่เพื่อแก้ปัญหาทางด้านสายตา แต่บางรายก็เพื่อแฟชั่นความสวยงามเฉยๆ แต่รู้หรือไม่ แม้การใส่คอนแทคเลนส์จะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรแต่ก็ควรจะต้องระมัดระวังกันไว้ เพราะเกี่ยวพันกับอวัยวะสำคัญอย่างดวงตา ซึ่งเป็นอวัยวะที่บอบบาง หากดูแลไม่ดีอาจทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้ ยิ่งเฉพาะสำหรับมือใหม่ที่หัดใส่คอนแทคเลนส์เป็นครั้งแรกด้วยนั้น ยิ่งต้องดูแลให้ปลอดภัย ฉลาดซื้อจึงมีวิธีที่ถูกต้องมาแนะนำ การเลือกซื้อคอนแทคเลนส์         คอนแทคเลนส์ที่จำหน่ายโดยทั่วไปส่วนมากจะมีระยะเวลาในการใส่ เช่น หลักๆ ก็จะมีเป็นแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี เป็นต้น ซึ่งสำหรับผู้ใส่คอนแทคเลนส์ควรจะใส่ตามระยะเวลาที่เลือกซื้อ เช่น หากเลือกซื้อแบบรายวัน ก็ควรใช้แบบวันต่อวันและเปลี่ยนใหม่ในวันถัดไปทันที ไม่ควรเอาแบบรายวันมาใส่เป็นรายเดือนเด็ดขาด รวมถึงแบบอื่นๆ ด้วย ห้ามใช้เกินระยะเวลาที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย         ในหมู่วัยรุ่นมักจะนิยมใส่คอนแทคเลนส์โดยซื้อจากตามท้องตลาดทั่วไป โดยไม่ตรวจเช็กรายละเอียดอื่นๆ แนะนำว่า ควรต้องดูฉลากกันสักหน่อย เช่น ชื่อคอนแทคเลนส์ วัสดุที่ใช้ วันเดือนปีที่หมดอายุ ที่สำคัญเลขที่ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสามารถนำเลขมาตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ ระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ - กระทรวงสาธารณสุข อย่าลืมติ๊กเครื่องมือแพทย์ก่อนตรวจสอบ  ข้อควรรู้ก่อนใส่คอนแทคเลนส์        1. สำหรับผู้ที่ต้องการใส่คอนแทคเลนส์เนื่องจากปัญหาสายตาสั้นแนะนำให้สอบถามผู้เชี่ยวชาญและเข้าตรวจวัดค่าสายตาก่อนใส่         2. ล้างมือให้สะอาดเสมอก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์ทุกครั้งก่อนใส่         3. ก่อนใส่คอนแทคเลนส์ควรนำออกมาแช่น้ำยาคอนแทคเลนส์ก่อนทุกครั้ง ไม่แนะนำให้แช่เป็นน้ำเกลือหรือน้ำเปล่า         4. ตรวจเช็กก่อนใส่ว่าเลนส์ไม่พลิกหรือกลับด้าน เพื่อป้องกันการใส่ผิดด้านแล้วเกิดการระคายเคือง        5. เมื่อใส่คอนแทคเลนส์แล้วไม่รู้สึกระคายเคืองตา แสดงว่าเข้าที่เรียบร้อยแล้ว หากมีอาการแสบตาระคายเคืองไม่หาย แนะนำควรถอดออกทันที         6. ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นอนข้ามคืน (ต้องถอดออกก่อนเสมอ) เพราะเสี่ยงทำให้เกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อ หรืออื่นๆ ที่อันตรายต่อดวงตาได้        7. สำหรับคนที่ปัญหาตาแห้งบ่อยควรพกน้ำตาเทียมเพื่อหยอดระหว่างวัน แนะนำใช้แบบธรรมดาไม่เป็นแบบหยอดตาแล้วเย็นหรือใดๆ ทั้งสิ้น        8. ที่สำคัญคือไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับคนอื่นโดยเด็ดขาด  ดูแลรักษาอย่างไรหลังใช้งาน         สำหรับคนที่ใช้แบบรายสัปดาห์ รายเดือนหรือปี ควรเปลี่ยนน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ในตลับทุกครั้งหลังใช้งาน และควรทำความสะอาดอีกด้วย โดยมีวิธีดังนี้         ล้างมือให้สะอาดและนำคอนแทคเลนส์ ไว้บนฝ่ามือเทน้ำยาลงที่เลนส์แล้วใช้นิ้วถูทำความสะอาดบริเวณเลนส์สักพัก และล้างด้วยน้ำยาอีกรอบ เมื่อเสร็จให้นำใส่ตลับแล้วแช่น้ำยาเหมือนเดิม รวมถึงทำความสะอาดตลับที่ใส่ทุกวัน ในส่วนของตลับใส่ก็ควรเปลี่ยนอย่างน้อยทุก 3 เดือน  ข้อควรระวัง        ·     พิจารณาบรรจุภัณฑ์หรือขวดบรรจุคอนแทคเลนส์ ต้องไม่มีรอยชำรุดหรือเสียหาย หากเจอในลักษณะนั้น ไม่ควรนำมาใช้งาน        ·     น้ำยาคอนแทคเลนส์ ควรดูฉลากให้ชัดเจน โดยเฉพาะวันเดือนปีที่หมดอายุ ถ้าหมดอายุแล้วไม่ควรนำมาใช้ต่อ ไม่ต้องเสียดายให้ทิ้งไปเลย นอกจากนี้อ่านฉลากหรือวิธีการใช้งานให้ละเอียดและควรทำตามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากตัวน้ำยาคอนแทคเลนส์ก็มีหลากหลายรูปแบบ บางอันสามารถหยอดตาได้หรือบางอันไม่ได้  และวิธีการใช้งานอาจแตกต่างกัน และอย่าลืม ไม่ควรใช้น้ำเปล่าหรือน้ำเกลือแทนน้ำยาเด็ดขาด         ·     หากมีอาการปวดเจ็บตาผิดปกติจากเดิม เช่น ตาแดง ตามัว ตามแห้ง รวมถึงอาการต่างๆ มากกว่านี้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา  ข้อมูลจาก : วิธีการดูแล คอนแทคเลนส์ ที่ถูกต้อง วิธีใส่คอนแทคเลนส์ที่ปลอดภัย ทำได้ง่ายใน 7 ขั้นตอนคอนแทคเลนส์ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยคอนแทคเลนส์ : เภสัชกรหญิง กิตติมา วัฒนากมลกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลใส่คอนแทคเลนส์อย่างไร ให้ปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 274 การดูแล “ส้นเท้าแตก”

        ปัญหาผิวหนังที่หลายคนอาจมองข้ามไป คือ อาการส้นเท้าแตก ซึ่งแม้มันจะไม่ได้สร้างความเจ็บปวดอะไรมากมาย หรืออันตรายต่อสุขภาพ แต่มักสร้างความรำคาญแถมอาจทำให้เสียความมั่นใจในการโชว์เท้าสวยๆ ของตัวเอง        สาเหตุในการเกิด “ส้นเท้าแตก” อาจจะเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ส่วนใหญ่คือความเสี่ยงด้านพฤติกรรมต่างๆ  เช่น  การไม่สวมรองเท้าและเดินเท้าเปล่าบ่อยจนเกิดการเสียดสีมากๆ  อากาศที่แห้งหรือหนาวเย็นหากบริเวณส้นเท้าไม่ทาครีมก็ทำให้ขาดความชุ่มชื่นจนเท้าแตกได้ การใช้ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสม บางคนอาจเกิดจากการอาบน้ำอุ่นเป็นประจำ หรือแพ้สารเคมี ส่วนสาเหตุที่อาจพบไม่บ่อย คือ เกิดจากอาการป่วยหรือโรคที่เป็นนั้นเอง         ทั้งนี้ เรื่องอายุที่มากขึ้นก็เช่นกัน เมื่อเรามีอายุมากขึ้นจะมีผิวแห้งกร้านกว่าวัยหนุ่มสาว บริเวณที่เสียดสีกับปัจจัยต่างๆ ข้างต้น จะยิ่งเร่งให้ส้นเท้าแตกง่ายขึ้น  แล้วเราควรจะดูแลส้นเท้าแตกของเราอย่างไร การดูแลส้นเท้าแตก        ·     เลือกทาครีมบำรุงบริเวณส้นเท้าที่ให้ความชุ่มชื้นเยอะๆ หรืออาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นกลุ่มให้ความชุ่มชื้น เช่น  ยูเรีย กลีเซอลีน สามารถทาและสวมถุงเท้าก่อนนอนได้เลย        ·     เรื่องการรักษาสุขอนามัยก็สำคัญ สามารถทำความสะอาดด้วยการแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นแต่ไม่ควรเป็นน้ำที่ร้อนจนเกินไปเพราะจะทำให้เสียความชุ่มชื้นได้ ไม่ควรแช่นานจนเกินไป หลังจากนั้น สามารถนำหินมาขัดส้นเท้าเบาๆ ได้ เพื่อนำเซลล์ผิวที่ตายแล้วออก ทั้งนี้ ไม่ควรขัดแรงๆ อีกด้วย ควรขัดเบาๆ ก็พอ        ·     เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ไม่ทำร้ายผิว ไม่แห้งตึง  หรือเป็นกรดด่างเกินไป เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนหรือมีมอยเจอร์ไรเซอร์เป็นส่วนผสมยิ่งดี แนะนำให้อ่านฉลากส่วนผสมก่อนซื้อทุกครั้ง        ·     ในส่วนของคนที่ชอบถอดรองเท้า เดินเท้าเปล่า แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใส่รองเท้าทุกครั้ง ก่อนเดินไปที่พื้นเพื่อป้องกันการเสียดสี เปลี่ยนจากรองเท้าแตะเป็นรองเท้าหุ้มส้นได้ยิ่งดี แต่ก็ไม่ควรเป็นรองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป        ·     การดื่มน้ำเป็นประจำวันละ 8 แก้ว ก็เป็นตัวช่วยจากภายในสู่ภายนอกได้         นอกจากนี้ อย่าลืมสังเกตตัวเองด้วยว่าปัญหาส้นเท้าแตกของตัวเองที่เกิดนั้น มาจากสาเหตุใด  แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤกรรม         อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่บางคนอาจจะเป็นมากถึงขนาดส้นเท้าแตกลาย หรือมีอาการเจ็บเป็นแผลลึก แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และหากเป็นผลข้างเคียงมาจากโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ด้วยยิ่งต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาที่ถูกต้อง เพราะแพทย์จะเลือกทำการรักษาให้เหมาะสมกับอาการ อาจจะจ่ายยารับประทาน ยาทาผิวหรือต้องผ่าตัดเอาเนื้อตายออก เป็นต้น ข้อมูลจาก Hello คุณหมอ : วิธีแก้ส้นเท้าแตก และวิธีดูแลส้นเท้าไม่ให้แห้งแตกPobPad :  ส้นเท้าแตก สาเหตุและวิธีการรับมืออย่างเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)