ฉบับที่ 64 การพัฒนาเพื่อคุณภาพร้านยาในประเทศไทย

ภ.ญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร1, ภ.ก.วราวุธ เสริมสินสิริ2 สำนักงานรับรองคุณภาพร้านยา สภาเภสัชกรรม, สำนักงานโครงการพัฒนาคุณภาพร้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา   ร้านยาเป็นสถานบริการทางสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ (Primary Care Unit) ซึ่งมีความสำคัญ เป็นที่พึ่ง และอยู่ใกล้ชิดประชาชนและชุมชนมาเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นแหล่งที่ประชาชนตัดสินใจเลือกไปใช้บริการในเบื้องต้นเมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้น เป็นทางเลือกเพื่อการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเริ่มมีการก่อตั้งโรงพยาบาลต่าง ๆ ตามการแพทย์ตะวันตก  และจากการศึกษามากมายบ่งชี้ให้เห็นว่า  ร้านยาเป็นจุดที่ประชาชนเลือกมารับบริการเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยในเบื้องต้นสูงถึงร้อยละ 60-80  และคิดเป็นมูลค่าสูงถึงร้อยละ 45 ของมูลค่าการบริโภคยาทั้งประเทศ (สุวิทย์และคณะ, 2537)  และพบว่าการใช้บริการด้านยาผ่านร้านยานี้คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 14.8 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพของครัวเรือน หรือประมาณร้อยละ 6.83 ของรายจ่ายสุขภาพเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งหมดของประเทศไทย (อดิศวร์ หลายชูไทยและคณะ, 2541) จากสภาพเศรษฐกิจและวิถีชีวิตในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพตนเองมากนัก ละเลยในการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ได้ใส่ใจที่จะออกกำลังกาย มุ่งแต่ทำงาน  และมีเวลาให้ตนเองน้อยลง เมื่อเกิดการเจ็บป่วยเล็กน้อย ประชาชนจึงยังต้องพึ่งบริการจากร้านยา แม้ว่าปัจจุบันสถานพยาบาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลเกิดขึ้นมากมายแล้วก็ตาม ร้านยายังเป็นทางเลือกที่สะดวก เข้าถึงง่าย จากการสำรวจรายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน (ระบบยา, 2545) พบว่าหลังจากเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ แนวโน้มที่ประชาชนซื้อยากินเองกลับเพิ่มขึ้นจาก 15.4 ในปี 2542 เป็น 18.6 ในปี 2543 ขณะที่สัดส่วนการใช้บริการที่สถานพยาบาลลดลง   และจากรายงานการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ ในปี 2544 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2545) พบว่าพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการเมื่อเจ็บป่วยกรณีไม่ต้องนอนโรงพยาบาลของประชาชนไทย ส่วนใหญ่ซื้อยากินเองร้อยละ 23  ใช้บริการที่สถานีอนามัยร้อยละ 20   ใช้บริการที่โรงพยาบาลจังหวัด/โรงพยาบาลอื่นๆ ของรัฐ ร้อยละ 20  ใช้บริการที่โรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 13   ใช้บริการที่คลินิกเอกชนร้อยละ 12  และอื่นๆ   จะเห็นได้ว่าร้านยาเป็นสถานบริการหนึ่งที่ประชาชนเลือกใช้บริการเป็นด่านแรก และยังคงเป็นที่พึ่งทางด้านสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่ในการดูแลตนเอง แต่การที่ประชาชนตัดสินใจซื้อยากินเอง ก็พบปัญหาที่ต่อเนื่องมากมาย  ทั้งการใช้ยาไม่เหมาะสม การใช้ยาฟุ่มเฟือยมากเกินความจำเป็น การใช้ยาที่ไม่ต่อเนื่อง รวมถึงอันตรายจากการใช้ยาในบางประเภท ทั้งยาชุดและยาควบคุมพิเศษต่าง ๆ   สาเหตุหลัก ๆ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากร้านยาในสังคมไทย ยังไม่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดและคาดหวังไว้ การควบคุมกำกับร้านยาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ยังไม่ต่อเนื่องจริงจัง มีการศึกษาหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นถึงการจ่ายยาที่ผิดกฎหมายและไม่เหมาะสมตามหลักการวิชาการ (บรรหาร และคณะ, 2540; เพียงฤทัย และดวงฤดี, 2544; โกมาตร และคณะ, 2542; Thamlikitkul 1998) สอดคล้องกับผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในปี 2544 ที่ชี้ให้เห็นว่า มีการจ่ายยาเตตร้าซัยคลินที่หมดอายุแล้วโดยร้านขายยาแผนปัจจุบันและร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จฯ ถึงร้อยละ 23.8 และ 21.7 ตามลำดับ (เพียงฤทัย และดวงฤดี, 2544) นอกจากนี้ จากการสำรวจของบริษัท IMS (ธีระ ฉกาจนโรดม, 2543) พบว่ายอดขายยาผ่านช่องทางร้านยาสูงสุด 10 อันดับแรก มีมูลค่ารวมกันประมาณ 1,289 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 12.4 ของมูลค่าการบริโภคยาผ่านช่องทางร้านยาในช่วงเดียวกัน  โดยยาคุมกำเนิด Diane-35 มียอดขายสูงสุด รองมาเป็นยาแก้หวัด Tiffy  ผลการสำรวจสอดคล้องกับการสำรวจรายการยา จากร้านยาเพื่อการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคหมวดค่ายาเมื่อปี 2541 (รุ่งเพ็ชร เจริญวิสุทธิวงศ์, 2541)  ที่พบว่า Tiffy มียอดขายสูงสุดในยากลุ่มทางเดินหายใจ และ Diane-35 มียอดขายสูงสุดในกลุ่มยาคุมกำเนิด   มีข้อสังเกตว่ายา Diane-35 ซึ่งติดอันดับยอดขายสูงสุดไม่ใช่ยาที่ควรซื้อใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร   จากการพิจารณายาใน 10 อันดับแรกที่มีการบริโภคสูงสุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของการโฆษณาที่บริษัทต่างๆ ใช้ ผลักดันให้อุปทานยาขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลให้เกิดการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เกินความจำเป็น หรือมีการบริโภคผิดซึ่งอาจเกิดอันตรายและสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาประเมินความสูญเปล่าจากการจ่ายยาแก้ปวดหลังของร้านยาในกรุงเทพมหานครโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่ามีมูลค่า 29 - 62 ล้านบาทต่อปี (ดวงทิพย์, 2540) ปัญหาเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่า นโยบายควบคุมร้านยาที่เป็นอยู่น่าจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ และไม่สามารถใช้เป็นมาตรการหลักในการกำกับให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพในร้านยาได้ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีโครงการพัฒนาร้านยาให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่สร้างขึ้น  เพื่อยกระดับการให้บริการของร้านยา แต่โครงการก็ไม่สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่องบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ เนื่องจากปัญหาความไม่ชัดเจนของมาตรฐาน กลไกการประเมิน วิธีเพิกถอนใบรับรอง และที่สำคัญในระบบที่ผ่านมายังขาดแรงจูงใจและความชัดเจนในการกระตุ้นให้ร้านยาต่าง ๆ พัฒนาตนเอง (มาตรฐานร้านยา อย., 2537, 2540) สภาเภสัชกรรมเห็นความสำคัญของร้านยา ที่มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ดูแลตนเองยามเจ็บป่วยเบื้องต้น เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม และเพื่อให้ร้านยาพัฒนาบทบาทให้เกิดความยอมรับในการเป็นหน่วยหนึ่งแห่งระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึงได้พัฒนาและจัดการยกระดับคุณภาพร้านยาให้สามารถเป็นที่พึ่งแก่ประชาชนและสังคมโดยรวมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยดำเนินการให้มีการรับรองคุณภาพร้านยาขึ้น และพัฒนา "มาตรฐานร้านยา" ตั้งแต่ปี 2544 เพื่อใช้เป็นคู่มือแนวทางในการบริการของเภสัชกรชุมชนที่ร้านยา และเป็นเกณฑ์ในการประเมิน ปัจจุบันได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานร้านยา รายละเอียดของคู่มือ แนวทางการประเมินตนเอง แนวทางการเยี่ยมสำรวจ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ ทำการเยี่ยมสำรวจ และประชุมรับรองคุณภาพร้านยารอบแรก ถึงรอบที่ 3 ไปแล้ว โครงการ "พัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา" ของสภาเภสัชกรรมนี้ เป็นงานในความรับผิดชอบของสำนักงานรับรองคุณภาพร้านยา กิจกรรมหลักในโครงการฯ จะเป็นการสร้างรูปแบบการปฏิบัติงานและการให้บริการของร้านยาที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีการสร้างกลไกประเมินที่ตรวจสอบได้และทันการณ์ และมีการสร้างแรงจูงใจให้ร้านยาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานที่กำหนด (สภาเภสัชกรรม: โครงการพัฒนารูปแบบการรับรองคุณภาพร้านยา, 23 ธค.45)บทบาทของร้านยาคุณภาพต่อสุขภาพของคนใช้ยา เภสัชกรที่ให้บริการในร้านยาเป็นส่วนหนึ่งและในหลายกรณีมีฐานะเป็น "ด่านแรก" ที่ผู้ป่วยจะเข้ามาใช้บริการสุขภาพจากผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งบางรายดูแลสุขภาพตนเองมาแล้วในเบื้องต้นโดยไม่ใช้ยา ผู้ป่วยที่พึ่งพาร้านยา ไว้วางใจให้ร้านยาเป้นบริการด่านแรกของตนมีหลายกลุ่ม แบ่งได้ดังนี้ 1.    กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการดูแลรักษาพยาบาลตนเองในเบื้องต้น (Self medication)ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวต้องการที่จะเลือกซื้อยาบำบัดอาการ ความเจ็บป่วยของตนในเบื้องต้น โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจของตนเอง การบอกเล่าจากเพื่อน เครือญาติ จากประสบการณ์ตรงของตนเอง หรือ มาจากการโฆษณายาทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านสื่อต่างๆ ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะมาเภสัชกรในร้านยาโดยจะเรียกหา "รายชื่อยา" ที่คิดว่าเหมาะสมสำหรับดูแลรักษาตนเองหรือคนในครอบครัว ต่อกรณีนี้บทบาทของเภสัชกรในร้านยาจะมีบทบาทหลัก คือการประเมินความเหมาะสม ของยาที่เรียกหานั้น และส่งเสริมการดูแลตัวเองด้วยการใช้ยาอย่างเหมาะสมมากขึ้น โดยเภสัชกรจะมีกระบวนการในการสอบถาม ตรวจสอบซ้ำถึงความเจ็บป่วยและอาการของผู้ป่วย เภสัชกรจะประเมินยาที่เรียกหาว่ามีความเหมาะสมกับอาการและความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่มากน้อยเพียงใด รวมทั้งประเมินความเหมาะสมด้านอื่น ไม่ว่าจะเป็นอายุ โรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำอยู่ หากผู้ป่วยเข้าใจผิดในสรรพคุณของยาที่ตนเองเรียกหาหรือเกิดความไม่เหมาะสมขึ้น เภสัชกรจะให้ความรู้และปรับเปลี่ยนให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโรคหรืออาการที่เป็นอยู่ รวมทั้งเสนอแนวทางการเลือกใช้ยา และการรักษาที่ถูกต้อง 2.    กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการปรึกษาต้องการคำแนะนำและให้เภสัชกรพิจารณาเลือกจ่ายยาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะเข้ามาด้วยการบอกเล่า อาการความเจ็บป่วยและให้เภสัชกรเลือกสรรยาที่เหมาะสมให้ ต่อกรณีนี้บทบาทของเภสัชกร คือการคัดกรองและรักษาโรคพื้นฐานอย่างเหมาะสม อยู่ภายใต้ขอบเขตความรู้ความสามารถของ เภสัชกรโดยเภสัชกรจะมีกระบวนการซักประวัติผู้ป่วย วินิจฉัย และเลือกยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย โดยใช้องค์ความรู้หลักๆ คือ Pharmaco therapy (เภสัชบำบัด) ความรู้พื้นฐานเรื่องโรค รวมทั้งทักษะในการสื่อสารกับผู้ป่วย แต่อย่างไรก็ตาม บทบาทดังกล่าวนั้นจะถูกวางกรอบไว้ เฉพาะผู้มารับบริการรายที่ป่วยด้วยโรคพื้นฐาน (ไข้หวัด ท้องเสีย กระเพาะปัสสาวะอักเสบ บาดแผล เป็นต้น) โดยเภสัชกรจะประเมินแล้วว่า อยู่ในขอบเขตที่สามารถให้การดูแล รักษาได้ การส่งต่อผู้ป่วยให้ไปรับการตรวจวินิจฉัย และ รักษาจากแพทย์ในสถานพยาบาลที่เหมาะสมหลังจากที่เภสัชกรคัดกรองผู้ป่วยแล้วจะส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ในรายที่มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและการรักษาจากแพทย์ เช่น เป็นอาการฉุกเฉินของโรคบางอย่าง เป็นโรคที่เกินกว่าศักยภาพของเภสัชกรในการดูแล มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรัง หรือ ควรพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น การสื่อสารกับแพทย์อาจจะจำเป็นในบางกรณีเพื่อทุ่นเวลาหรือชี้ประเด็น สำหรับอำนวยความสะดวกกับแพทย์ที่จะรับการส่งต่อ โดยอาจจะมีเอกสารประกอบการส่งตัว เช่น ใบส่งตัว (Referral form) 3.    กลุ่มผู้ป่วยที่มาเรียกหา "ยาที่ใช้ประจำ" หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์มาแล้วในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวนั้นจะเป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังซึ่งจำเป็นต้องรับประทานยาเป็นระยะเวลานาน ต้องการการติดตามการดำเนินโรคและการควบคุมโรคจากแพทย์ โดยหลักแล้วการมีโอกาสได้พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ในหลายกรณี การพบแพทย์อย่างต่อเนื่องนั้นมีอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การเสียเวลารอคอย ภาระค่าใช้จ่ายที่สูง หรือกรณีที่ยาหมดก่อนถึงวันนัด เป็นต้น ดังนั้นการมาเรียกหายาที่ใช้ประจำในร้านยาจะเป็นการสะดวกกับผู้ป่วย โดยบทบาทของเภสัชกรในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวคือประเมินสภาวะของโรคและความเหมาะสมในการจ่ายยาที่ใช้ประจำ [Refill]รวมทั้ง สืบค้น และติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ก่อนที่เภสัชกรจะ Refill ยาให้ผู้ป่วย การประเมินความเหมาะสมก่อนจ่ายยามีความจำเป็น โดยการพิจารณาถึง ประสิทธิภาพการการควบคุมโรคของยาเดิมด้วยการติดตามผลการรักษาว่าสามารถควบคุมอาการ โรคได้หรือไม่ โดยจะมีซักถามอาการ รวมทั้งอาจจะให้บริการอื่นๆ เช่น บริการเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลโดยใช้เครื่องตรวจแบบง่ายๆ หรือวัดความดันโลหิต นอกจากนั้นจะพิจารณาถึง ความถี่ห่างของการพบแพทย์ และที่สำคัญคือ การ สืบค้นปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ความร่วมมือในการใช้ยา การได้รับยามากเกินไป น้อยเกินไป การเกิดDrug Interaction ระหว่างยาเป็นต้น ให้คำแนะนำเฉพาะที่จำเป็นต่อผู้ป่วยที่มารับบริการ จ่ายยาเดิมที่ใช้ประจำ [Refill] ยาหลังจากนั้นจะให้บริการด้านคำแนะนำเพิ่มเติมในกรณีที่ผู้มาใช้บริการร้องขอหรือประเมินแล้วผู้ป่วยขาดข้อมูลที่จำเป็น ซึ่งคำแนะนำที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีมากมาย เช่น-    ข้อบ่งใช้ของยา-    การปฏิบัติตัวเฉพาะของผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ-    อาการแทรกซ้อนที่จะตามมา-    การใช้และรับประทานยาที่ถูกต้อง-    ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น -    ปฏิกิริยาของ ยาอื่นๆ ที่ผู้ใช้อยู่ประจำ กับ ยาที่มาหาซื้อ-    ส่วนอื่นๆที่สนใจ เช่น การแก้ไขเบื้องต้นในอาการแทรกซ้อนที่จะเกิด-    การปรับวิถีชีวิตและการปฏิบัติตัว (Life  style  modification) เฉพาะของผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ-    ความจำเป็นในการพบแพทย์ และช่วงเวลาที่ควรไปพบแพทย์ครั้งต่อไป โดยการประเมินจากประสบการณ์ส่วนตัวของเภสัชกรว่า โรคนั้นๆ ผู้ป่วยรายนั้นๆ ควรไปพบแพทย์เมื่อใด บ่อยแค่ไหน แพทย์นัดเมื่อไร ผู้ป่วยทั้ง 3  กลุ่ม นอกจากจะได้รับการบริการเฉพาะข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับบริการที่เป็นพื้นฐานในการให้บริการ คือ การส่งมอบยา พร้อมคำแนะนำด้านยา และตอบสนองสิทธิผู้ป่วยพื้นฐานด้านข้อมูลยาหลังจากเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแล้ว การส่งมอบยาพร้อมคำแนะนำด้านการใช้ยาเป็นบทบาทสำคัญที่ตามมา โดยเภสัชกรจะให้คำแนะนำด้านการใช้ยากับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพในการรักษา มีเข้าใจ และเกิดความร่วมมือในการใช้ยา (Compliance) โดยการให้คำแนะนำจะเน้นประเด็นต่างๆที่สำคัญ เช่น ชื่อยา (ระบุบนซองยา) ปริมาณและวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องมีประสิทธิภาพ (ระบุบนซองยา)   คำเตือน (ระบุบนซองยา)  สรรพคุณของยา ข้อบ่งใช้ กลไกของยาในการรักษาเบื้องต้น และการเฝ้าระวัง ป้องกัน และบำบัดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการบริโภคยา โดยใช้องค์ความรู้ในเชิง เภสัชวิทยา (Pharmacology) เสริมในการให้บริการ นอกเหนือจากความรู้ที่ใช้ในการรักษาโรคพื้นฐานด้วยยาการให้ความรู้เรื่องโรคและยา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ผู้ป่วยควรรู้บทบาทในการให้ความรู้ด้านอื่นๆ นอกจาก "ยา" เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่มีความจำเป็น เนื่องจาก ผู้ที่มาใช้บริการมักจะขาดความรู้ในเรื่องที่จำเป็นในการดูแล รักษาโรคที่ตนกำลังประสบอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สาเหตุของโรค การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การดูแลตนเองให้หายจากการเจ็บป่วยเร็วมากขึ้น การประเมินความรุนแรงของโรคด้วยตนเอง การระวังอาการอันไม่พึงประสงค์ และการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการอันไม่พึงประสงค์ หรือจะเป็นความรู้เบื้องต้นในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง เป็นต้นการให้ความรู้นอกจากจะให้เป็นรายบุคคลแล้ว เภสัชกรจะให้ความรู้กับผู้ที่สัญจรไปมา ด้วยการจัดบอร์ดให้ความรู้ เอกสารแผ่นพับ จดหมายข่าว ฯลฯ  หรือในบางกรณีเภสัชกรชุมชนอาจจะมีกิจกรรมที่ให้ความรู้ต่อชุมชน  เช่น  การมีจดหมายข่าวไปสู่สมาชิกในชุมชน  การเยี่ยมบ้าน หรือการจัดบอร์ดในชุมชนการคัดเลือกยาที่มีคุณภาพ และ รับประกันคุณภาพของยาก่อนถึงมือผู้ใช้กระบวนการในการคัดเลือกยาที่จะมาให้บริการในร้าน เป็นอีกบทบาทที่มีความสำคัญ โดยการใช้ทักษะองค์ความรู้เฉพาะทางเภสัชศาสตร์ พิจารณารูปแบบยาจากภายนอก ประสบการณ์ในการคัดเลือก ประสบการณ์ด้านคุณภาพโรงงานผลิต เป็นต้น เพื่อการมียาที่คุณภาพดีที่จะใช้บริการผู้ป่วย นอกจากนั้นยังต้องสร้างระบบการควบคุม เฝ้าระวังการหมดอายุของยา ใม่ว่าจะเป็นระบบแถบสี หรือ บัญชียาหมดอายุ รวมทั้งการเก็บรักษายาตามหลักเภสัชศาสตร์เพื่อป้องกันการเสื่อมอายุของยา การเป็นปรึกษาและเป็นที่พึ่งเรื่องสุขภาพของคนในชุมชน ที่เข้าถึงง่ายเมื่อเรื่องของสุขภาพมีในหลายแง่มุม กว้างขวาง ประชาชนยังมีความรู้ไม่พอเพียง และต้องการที่ปรึกษาที่เข้าถึงง่าย เภสัชกรในร้านยาที่มีคุณภาพมักจะสามารถสร้างความเชื่อถือ ไว้ใจ ใกล้ชิดกับประชาชนพอที่จะให้บริการตอบคำถามต่างๆ ในเรื่องของสุขภาพได้ โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ในกรณีที่ต้องการให้ช่วยประเมินความปลอดภัยของยาที่จะใช้กับภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์  การประเมินความจำเป็นในการไปพบแพทย์ เป็นต้น บริการดีๆของร้านยาที่มีคุณภาพ บทบาทของเภสัชกรในร้านยาที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นบริการขั้นพื้นฐานที่ร้านยาคุณภาพพึงจะมีให้ผู้ป่วยที่มาใช้บริการ นอกจากบทบาทพื้นฐานเหล่านี้  เช่น-    เก็บบันทึกประวัติผู้ป่วยเรื้อรังที่มีปัญหาจากการใช้ยาหรือป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ระบบการติดตามผล -    การรณรงค์ป้องกันโรคในชุมชน โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม-    บันทึกแจ้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในกาคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา-    ออกให้บริการ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา นอกสถานที่ แล้วแต่เทศกาล-    เยี่ยมบ้านสำหรับผู้ป่วยบางราย-    ทำจดหมายข่าวให้ความรู้ กรณีตัวอย่างที่ 1ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนน พหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี - ตำบลคูคต เป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย  6 หมู่บ้าน คือ บ้านขจรเนติยุตร, บ้านคลอง 3, บ้านสายไหม, บ้านลำสามแก้ว, บ้านสาดสนุ่น, บ้านสามัคคี เป็นตำบลที่มีการคมนาคมสะดวก เป็นที่ตั้งของตลาดสดสี่มุมเมือง ทำให้มีการสัญจรไปมาขับคั่ง ตำบลคูคต ทิศเหนือ ติด ต.ประชาธิปัตย์ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ทิศใต้ ติด กรุงเทพฯ ทิศตะวันออก ติด ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และทิศตะวันตก ติด ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี จำนวนประชากรทั้งสิ้น 15,694 คน ในตำบลคูคต มีร้านยาจำนวน 25 ร้าน คิดเป็น จำนวนร้อยละ 16.55 ของจำนวนร้านยาทั้งหมดในจังหวัดปทุมธานี ร้านส่งเสริมเภสัช โดย ภ.ก.วิรัตน์ เมลืองนนท์ ได้จัด บอร์ดให้ความรู้แก่ผู้สัญจรไปมา และผู้มาใช้บริการ เพื่อให้ได้มีความรู้มากขึ้นในแง่ของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยมีบอร์ดสำเร็จรูปทั้งหมดที่ร้านทำไว้ 40 - 50 แฟ้มที่เอาไว้เปลี่ยน เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นโรคพื้นฐาน เช่น เรื่องโรคกระเพาะ เรื่องการใช้ยา เรื่องเริม และจะมีเปลี่ยนเดือนละ 1 - 2 ครั้ง ส่วนการเลือกเรื่องนั้น แล้วแต่ฤดูกาล"...เรื่องของ โปสเตอร์หน้าร้าน นั้นจะเปลี่ยนตามช่วง ช่วงที่มีไข้เลือดออกระบาดก็จะทำเนื้อหาเกี่ยวกับไข้เลือดออกเป็นต้น ซึ่งดูจากสื่อมวลชน เราจะรู้ว่าช่วงนี้ควรติดเรื่องอะไร และดูตามฤดูกาล เช่น เข้าหน้าหนาวเราควรดูแลตนเองอย่างไร ข้อมูลที่มาจากคนไข้ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่เป็นหลัก..." (สัมภาษณ์ เภสัชกรผู้ให้บริการหลักในร้านส่งเสริมเภสัช)บทบาทในการให้ความเรื่องอื่นนอกจาก "ยา" เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่มีความจำเป็น เนื่องจาก ผู้ที่มาใช้บริการมักจะขาดความรู้ในเรื่องที่จำเป็นในการดูแล รักษาโรคที่ตนกำลังประสบอยู่"...ความรู้ที่ให้ไปนั้น บางครั้งเรามองว่าเป็นบทบาทของอีกวิชาชีพหนึ่ง แต่ถึงเวลาจริงๆ คนไข้กลับไม่ได้รับความรู้เรื่องนั้นๆ ในชุมชนที่เราอยู่ไม่มีคนให้ความรู้ หรือ คนไข้ไม่ได้รับความรู้มาทั้งหมด มีระบบที่มีการให้พยาบาลมาให้ความรู้ตามโรงพยาบาล แต่ละโรงพยาบาล ระบบนี้ก็ไม่ได้ให้เหมือนกันทั้งหมด ผู้มาใช้บริการกับผมมักจะไม่ค่อยรู้ การแบ่งบทบาทวิชาชีพเป็นเรื่องดี แต่ในฐานะที่เภสัชกรชุมชน ที่มีหน้าที่ต้องคัดกรองและรักษาโรคเบื้องต้น ผมว่าควรให้ความรู้อื่นๆประกอบนอกจากเรื่องยาของเรา...และต้องมีองค์ความรู้เพียงพอในเรื่องโรค เพราะในบางครั้งเราสามารถเสริมในสิ่งเหล่านั้นได้ ถ้าผู้ป่วยเรียกร้อง หรือคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะให้.. บางครั้งเราก็ต้องรู้เพื่อแบ่งเบาภาระ แต่ต้องรู้ว่าด้านนี้ไม่ใช่ภาระหลักของเภสัชกร แต่เราต้องรู้เพื่อครอบคลุมการดูแลชุมชนของเรา เพื่อคุ้มครองเขา..." (สัมภาษณ์ เภสัชกรผู้ให้บริการหลักในร้านส่งเสริมเภสัช) กรณีตัวอย่างที่ 2ร้านเรือนยา  ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกบ้านแขก วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนฯ เป็นร้านขายยา ขนาด 2คูหา มี ภ.ก.คฑา บัณฑิตานุกูล เป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเปิดตั้งแต่ 8.00 - 22.00 น. มีการรับสมัครสมาชิกกว่า 500 ราย และมี จดหมายข่าวด้านสุขภาพ ในชื่อ " เรือนยาสัมพันธ์ " เป็นสายใยความผูกพันระหว่างร้านยาและผู้ใช้ยา ส่งตรงถึงบ้านสมาชิกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทุกเดือน ๆ ละฉบับ กว่า 4 ปีแล้ว ที่วารสารเกือบ 50 ฉบับได้ส่งถึงมือผู้รับพร้อมมอบสาระ ความรู้ และสร้างความผูกพันระหว่างกัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากบริษัทยาใด ๆ เป็นความตั้งใจให้จดหมายข่าวทำหน้าที่ของมันได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง โดยมีความมุ่งหมายคือการส่งเสริมให้เกิดการดูแลสุขภาพทั้งก่อนเจ็บป่วยและหลังเจ็บป่วย รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม บางฉบับมีการสร้างกิจกรรมร่วมกันโดยมีแบบสอบถามความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน ของขวัญที่เป็นหนังสือความรู้เรื่องเล็กๆน้อยๆ ล่าสุดมีความพยายามในการเปิดเวทีความคิดให้กับสมาชิกมาร่วมกันในจดหมายข่าวมากขึ้นเพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกด้วยกันมากขึ้น ตอนนี้ถึงแม้มีผู้ใช้ยาหลายคนย้ายที่อยู่และไม่ได้มาใช้บริการกับร้านเรือนยาแล้ว แต่ด้วยสายใยที่ยังเหนียวแน่น จดหมายข่าวจะยังไปถึงมือสมาชิกต่อไปแม้จะได้มาใช้บริการที่ร้านก็ตาม สิ่งดีๆเหล่านี้มีความเผยแพร่แนวคิดเรื่องจดหมายข่าวให้กับร้านยาอื่นๆ มากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระ รูปแบบใหม่ๆ ที่สำคัญคือการสานให้เกิดเครือข่ายร้านยาที่มีจุดหมายและกิจกรรมที่ดีๆสู่ผู้บริโภคอย่างยั่งยืน ต่อเนื่องและขยายตัวออกไป กรณีตัวอย่างที่ 3 ร้าน เอ็น & บี ฟาร์มา แคร์ เป็นร้านยาที่เปิดตัวขึ้นใหม่ แถวรามคำแหง 2 เขตประเวศ บริหารโดย ภ.ก.นาวี ช่วยชาติ เภสัชกรหนุ่ม ไฟแรงมีความใฝ่ฝันในการพัฒนาคุณภาพงานบริการทางเภสัชกรรมในร้าน เป็นร้านยาใหม่ที่วางแนวทางเป็นร้านยาคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้น เป็นอีกร้านที่มีความพยายามที่จะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดูแลผู้ป่วยและบริหารจัดการภายในร้าน กิจกรรมที่น่าสนใจในร้านนี้เห็นจะได้แก่การเก็บประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  เช่น โรคความดันโลหิตสูง และ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านเชื้อจุลชีพ ที่เป็นผู้ป่วย 2 กลุ่มที่ต้องการการติดตามการใช้ยา ว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาหรือไม่ และใช้เป็นข้อมูลเฉพาะบุคคลที่เป็นพื้นฐานสำหรับในการให้บริการด้านยาในครั้งต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อมูล  "ไม่เอาผู้มาใช้บริการเป็นหนูทดลองยาและบางครั้งยังทำให้เกิดการประหยัดสำหรับผู้มาใช้บริการด้วย"  เป็นทัศนคติที่สำคัญของเภสัชกรประจำร้าน ผู้มาใช้บริการร้านนี้ หลังจากใช้ยาที่ต้องติดตามแล้วจะมีเสียงโทรศัพท์จากร้านยา เพื่อแสดงความห่วงใยและติดตามผลการใช้ยา รวมทั้งเฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น  แม้จะเป็นบริการรูปแบบใหม่ ทำให้ผู้มาใช้บริการหลายคนถึงกับแปลกใจในระยะแรก ปัจจุบันก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี 9 ข้อ ประเมินร้านยาที่ท่านใช้บริการ 1.    ท่านจะรู้ทันทีว่า ใครกำลังให้บริการท่านอยู่ เป็นเภสัชกร ผู้ช่วยเภสัชกร  แต่อย่างไรก็ตามเภสัชกรจะส่งมอบยาขั้นสุดท้ายก่อนถึงมือท่าน 2.    เมื่อท่านเรียกหายา ผู้ให้บริการจะถามถึงผู้ใช้ยาที่แท้จริง และถามย้ำเพื่อยืนยันให้แน่ใจว่า ยาที่ท่านเรียกหานั้น เหมาะสมกับโรคหรืออาการที่ท่านเป็น มีความปลอดภัยกับท่าน ไม่ตามใจท่านโดยขายอย่างเดียว3.    เมื่อท่านได้รับยาแล้ว ท่านจะรู้ว่า ยาที่ได้รับ มาจากร้านชื่ออะไร ชื่อยาอะไร รักษาอะไร วิธีใช้อย่างไร มีคำเตือนอะไร โดยระบุบนซองยาและฉลากให้ความรู้ด้านคำเตือนเสริมให้ในข้อมูลที่สำคัญ 4.    ไม่มีจ่ายยาเป็นชุดๆ  แต่จะ จ่ายยาพร้อมให้คำอธิบายที่จำเป็น เช่น วิธีใช้ การปฏิบัติตัวเพื่อให้หายป่วย การใช้ยาอย่างเหมาะสม เป็นต้น5.    ถ้าท่านเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องมารับบริการต่อเนื่อง จะมีแฟ้มเก็บ "ประวัติการใช้ยา" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยจากการใช้ยา 6.    ในกรณีมีปัญหาจากการใช้ยา จะมีบริการ "ให้คำปรึกษาด้านยา" เพื่อแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา และ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วยยาอยู่อย่างสม่ำเสมอ 7.    เมื่อโรคและอาการที่มาเกินความสามารถของเภสัชกรในการดูแล รักษา จะมีการส่งต่อให้แพทย์ดูแล 8.    มีสื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพ และมีประกาศสิทธิผู้ป่วย ให้เห็นชัดเจน9.    ปรึกษาเรื่องยา เรื่องสุขภาพ การป้องกันโรค สร้างเสริมสุขภาพ ได้ด้วย -    Mapping (ร้านยาที่ผ่าน / ร้านยาที่สมัคร)ร้านยาที่สมัครเข้าโครงการเพื่อพัฒนาเป็นร้านยาคุณภาพ ปัจจุบันยังมีจำนวนไม่มาก เพียง 200 กว่าร้าน แต่ก็กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ และ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ร่วมกับสภาเภสัชกรรมร้านยาที่ผ่านการรับรองเป็นร้านยาคุณภาพ โดยสภาเภสัชกรรม ในปี 2546 (รุ่นที่ 1 ) มี 26 ร้าน และในปี 2547 (รุ่นที่ 2 ) 21 ร้านนี้ คาดว่าจะมีเพิ่มอีกกว่า 50 ร้านก่อนสิ้นปี 2547  ทั้งใน กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ ผู้ประสานงานเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ภ.ญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร อนุกรรมการ และ ผู้เยี่ยมสำรวจ สำนักงานรับรองคุณภาพร้านยา สภาเภสัชกรรม T. 02 590 1877, M. 01 627 4848ภ.ก.วราวุธ เสริมสินสิริ ผู้ประสานงาน สำนักงานโครงการพัฒนาคุณภาพร้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาT. 02 589 7147, M. 09 796 1437

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 58 ร้านยาไซเบอร์ มหันตภัยยุคออนไลน์

  ในขณะที่หลายคนยังงงสับสนอยู่ว่าทิศทางการขายยาตามรูปแบบกฎหมายยาฉบับใหม่จะไปทางไหน แพทย์จะขายยาได้อีกหรือเปล่า จะให้นั่งเขียนใบสั่งยาอย่างเดียวแล้วคลินิกที่เปิดจะอยู่ได้อย่างไร เภสัชกรจะวินิจฉัยโรคและสั่งยาได้เก่งกว่าแพทย์แค่ไหน ก็ปรากฏว่าโลกของการขายยาในยุคปัจจุบันไปไกลกว่าที่เราคาดถึงเสียแล้ว เมื่อร้านขายยาถูกยกระดับเป็นร้านขายยาไซเบอร์ขายกันทางออนไลน์ ซื้อขายกันได้ข้ามโลก คำถามคือว่ากฎหมายที่เรามีอยู่หรือแม้แต่กำลังจะออกมาใหม่จะคุ้มครองผู้บริโภคได้แค่ไหนกัน ...................................................ฉลาดซื้อฉบับนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลของปัญหาที่เกิดขึ้นจากร้านขายยาทางอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นใน 2 ประเทศ หนึ่งคือสหรัฐอเมริกาเจ้าแห่งโลกออนไลน์และเจ้าแห่งบริโภคนิยม สองคือประเทศไทย ประเทศที่มีประชากรใช้ยาในปริมาณที่ประเทศใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐอเมริกายังอายและกำลังเดินเข้าหาโลกออนไลน์อย่างไม่ครั่นคร้าม พฤติกรรมการซื้อการขายยาของทั้งสองประเทศอาจจะมีจุดแตกต่าง แต่เมื่อพิจารณาให้ดีก็จะเห็นแนวทางอันตรายที่มีแนวโน้มไปในทางเดียวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผู้มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องขบคิดว่าจะจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็ต้องตระหนักให้ทันว่าร้านยาไซเบอร์คือความก้าวหน้าหรือมหันตภัยของชีวิตและสุขภาพของตัวเองกันแน่   เหตุเกิดที่ประเทศไทย ในปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงที่จะได้รับยาด้อยคุณภาพอยู่แล้วในหลายลักษณะ เช่น ยาผิดมาตรฐาน ยาปลอม หรือยาเสื่อมคุณภาพ ทั้งจากทางบุคลากรทางการแพทย์ จากร้านขายยา หรือร้านขายของชำต่าง ๆ และเมื่อโลกออนไลน์สำหรับคนไทยขยายตัวกว้างขึ้น ใหญ่ขึ้น สภาพปัญหาที่เกิดจากการซื้อยาผ่านทางร้านยาอินเทอร์เน็ตก็มีมากขึ้นตามลำดับปัญหาที่เกิดจากการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มีการขายยาแผนปัจจุบัน ระบุชื่อการค้า และสรรพคุณ บางเว็บไซต์มีการโฆษณารูปภาพแสดงความทุกข์ทรมานและมีการลด แถม ให้ของสัมมนาคุณ มีการขายยาที่อ้างว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณและมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง มีการขายยาโดยอ้างว่าเป็นการขายแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ แต่ผู้บริโภคทั่วไปก็สามารถเข้าถึงได้โดยมีการขายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ มีการโฆษณายาโดยบุคลากรวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพใช้ชื่อของตนและอธิบายคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ โดยระบุชื่อการค้า โดยเฉพาะการโฆษณายาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เหตุเกิดที่สหรัฐอเมริกา ในสหรัฐอเมริกาผู้บริโภคจำนวนหนึ่งได้เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อยาจากร้านยามาเป็นซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์จำนวนนับร้อยมีบริการจำหน่ายยาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ทั้งที่โดยกฎหมายของสหรัฐอเมริกาแล้ว ยาเหล่านี้จะขายให้แก่ผู้ป่วยได้จะต้องมีการตรวจวินิจฉัยโรคก่อนโดยแพทย์และจะต้องมีใบสั่งยา ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะ ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยมองไม่เห็นข้อเสียของการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตเปรียบเทียบกับวิธีเดิมที่ต้องไปพบแพทย์และไปรับยากับเภสัชกรที่ร้านยา เหตุผลที่สำคัญไม่แพ้กันที่ทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้บริการร้านยาทางอินเทอร์เน็ตคือรู้สึกว่าได้รับความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลา และให้ความเป็นส่วนตัว ทั้งยังคิดว่าน่าจะเชื่อถือได้เนื่องจากเว็บไซต์หลายแห่งมีการระบุ สถานที่ และที่ติดต่อให้ไว้ อย่างไรก็ดีปัญหาจากการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็มีแนวโน้มสูงขึ้นจนนำไปสู่การเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารของรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ปัญหาที่เกิดจากการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต การขายยาให้ผู้ป่วยโดยไม่ผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือการให้ผู้ป่วยกรอกแบบสอบถามแล้วจ่ายยาให้ การขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งเครื่องมือตรวจวินิจฉัย และให้การบำบัดรักษาทางการแพทย์ที่โอ้อวดเกินจริง มีการขายยาบางชนิดที่เข้าข่ายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือสารเสพติด ลักษณะของร้านขายยาไซเบอร์Cybermedicine หรือ Cyberpharmacy เป็นชื่อที่ถูกใช้เรียกเว็บไซต์ขายยาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม 1.    PHARMACY BASED SITES เว็บไซต์ขายยากลุ่มนี้มีแบบแผนเช่นเดียวกับร้านยาปกติโดยทั่วไปเพียงแต่ย้ายมาตั้งบนเว็บไซต์ เว็บไซต์เหล่านี้จะขายยาให้แก่ผู้ป่วยที่มีใบสั่งแพทย์เท่านั้น ร้านขายยากลุ่มนี้จึงไม่ได้สร้างปัญหาในเรื่องความพยายามที่จะขายยา ปัญหาที่พบในทางกฎหมายจะเป็นในลักษณะที่บางเว็บไซต์ไม่มีใบอนุญาตจำหน่ายยาจากรัฐที่เว็บไซต์ดำเนินธุรกิจขายยาอยู่2.    PRESCRIBING BASED SITES ในสหรัฐอเมริกามีเว็บไซต์จำนวนนับพันแห่งที่มีแพทย์และเภสัชกรบริการให้คำแนะนำทางการแพทย์หรือให้ข้อมูลทางสุขภาพโดยไม่ได้จ่ายยาให้กับผู้ป่วยซึ่งนับเป็นเรื่องดี แต่กับ PRESCRIBING BASED SITES เว็บไซต์กลุ่มนี้จะให้ผู้ป่วยปรึกษากับแพทย์ทางอินเทอร์เน็ต (online doctor visit) โดยผู้ป่วยอาจจะตอบแบบสอบถามที่จัดไว้ให้ในเว็บไซต์ หรืออาจใช้รูปแบบของ Video Conference ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย คิดค่าบริการให้คำปรึกษาอยู่ระหว่าง 30 - 150 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1,200 - 6,000 บาท) เมื่อให้คำปรึกษาแล้วแพทย์ก็จะสั่งจ่ายยาผ่านทางเว็บไซต์ขายยา หรือ online pharmacy ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่เดียวกันกับที่ตั้งของแพทย์ผู้ให้คำปรึกษา แพทย์ ร้านยา และผู้ป่วยอาจจะอยู่กันคนละรัฐก็ได้ ข้อเสียสำคัญคือ เนื่องจากเว็บไซต์ขายยาระบบนี้จะให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามผ่านเว็บไซต์เท่านั้น แพทย์จึงไม่ได้พบผู้ป่วยเพื่อตรวจร่างกาย และอาจจะไม่พบโรคของผู้ป่วยเพราะโรคบางโรคจะพบได้ก็จะต้องมีการตรวจร่างกาย การรับบริการผ่านทาง PRESCRIBING BASED SITES ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการที่แพทย์จะตรวจโรคได้ไม่ครอบคลุมทั่วถึง พฤติกรรมของเว็บไซต์ขายยากลุ่มนี้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมละเมิดจริยธรรมและวิธีปฏิบัติของการประกอบวิชาชีพของแพทย์3. Online drug shop  เป็นร้านขายยาบนอินเทอร์เน็ตที่ผิดกฎหมายอย่างชัดเจน กลุ่มร้านยาออนไลน์เหล่านี้เน้นการขายยาอย่างเดียวไม่มีการตรวจร่างกาย ไม่มีการให้คำปรึกษาหรือแม้แต่การกรอกแบบสอบถามผู้ป่วย ยาที่ขายมีทั้งยาควบคุมพิเศษ , ยาอันตรายที่ต้องการใบสั่งแพทย์ และขายยาที่ไม่ผ่านการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ผู้ซื้อสามารถเลือกยาอะไรก็ได้ที่ต้องการโดยจ่ายเงินผ่านทางเครดิตการ์ด เว็บไซต์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาและสร้างปัญหาอย่างมากในการควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมาย ผู้บริโภคที่ซื้อยาจากร้านยาไซเบอร์กลุ่มนี้มักไม่รู้ว่าร้านยาเหล่านี้กระทำการละเมิดกฎหมายโดยตรง รัฐบาลสหรัฐฯถือว่าเว็บไซต์ในกลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีปัญหามากที่สุด เนื่องจากเว็บไซต์เหล่านี้ไม่เปิดเผยที่อยู่และมักจะตั้งอยู่นอกประเทศ ดังนั้นการจัดการทางกฎหมายเพื่อให้เว็บไซต์เหล่านี้หยุดขายยานับเป็นเรื่องยากมาก แม้จะมีการปิดเว็บไซต์เหล่านี้ได้แต่เพียงไม่กี่วันก็จะเปิดขึ้นใหม่อีกโดยใช้ชื่อหรือที่อยู่ที่แตกต่างไปจากเดิม ผลเสียจากการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นการทำลายระบบคุ้มครองสุขภาพที่ผู้ป่วยควรจะได้รับจากการให้บริการของแพทย์หรือเภสัชกร ผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายจากยาที่ได้รับ เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบของเภสัชกรในระหว่างการจ่ายยา ยาจากเว็บไซต์ที่ไม่ระบุสถานที่แน่นอน อาจเป็นยาปลอม อาจมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เป็นยาที่หมดอายุ หรือไม่ได้มาตรฐาน การซื้อยาผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และไม่น่าจะได้รับยาที่ถูกต้องตรงตามโรค   เว็บไซต์ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ควรหลีกเลี่ยง โลกออนไลน์เป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การหวังว่าจะได้รับการคุ้มครองเป็นอย่างดีจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐคงจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากและอาจจะช้าเกินการณ์ การหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้บริโภคในยุคออนไลน์ ในที่นี้ฉลาดซื้อขออนุญาตแนะนำหลักในการพิจารณาเว็บไซต์ขายยารวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของท่าน เว็บไซต์ที่ไม่ให้ความสำคัญกับการพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค เว็บไซต์ขายยาที่ไม่ได้รับการอนุมัติจาก อย. หรือพยายามเชื่อมโยงให้ซื้อยาขากเว็บไซต์อื่น เว็บไซต์ที่มีแต่เพียงเบอร์โทรศัพท์ ชื่อบุคคลสมมติ ไม่มีที่อยู่ที่เป็นหลักแหล่งแสดงไว้อย่างชัดเจน เว็บไซต์ที่ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ใช่ยา แต่อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมายข้อมูลจาก"สถานการณ์ แนวโน้ม และการแก้ไขปัญหาการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา" โดย ภก.ดร.วิทยา  กุลสมบูรณ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 40 ทะเบียนยา

ตารางที่ 1 แสดงรายการทะเบียนยาผสมที่มี PPA เป็นส่วนประกอบในช่วงปริมาณมากกว่า 50 มก./แคปซูล/เม็ด/15 มล. เรียงตามชื่อทางการค้า ลำดับ เลขทะเบียน ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อการค้า 1 2A373/31 สุพงษ์เภสัช คอฟ ดี.เอส 2 2A17/38 ห้างยาไทย 1942 จำกัด คอฟต้า คัพ 3 2A81/31 จิวบราเดอร์ส คอลเดท ไซรัป 4 2A218/32 ไซอเมริกันฟาร์มาซูติเคิ้ลส์ จำกัด โคซายร์ 5 2A870/27 สยามเมดิแคร์ จำกัด โคลดี้ 6 2A195/27 เจริญเภสัชแล็บ จำกัด ซี.บี.คัพ ไซรัป 7 2A278/41 แสงไทยกำปะนี (สาขา) ซูเม็ก คัพ ไซรัป 8 2A333/32 เลิศสิงห์เภสัชกรรม ดีเฟอร์ลิน ชนิดหยด 9 2C31/35 ไวเอท - เอเยิร์สท์ (ประเทศไทย) จำกัด ไดมีแท็ป ชนิดหยดสำหรับทารก 10 2B11/41 อินเตอร์ไทย ฟาร์มาซูติเคิ้ล แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ไดมีแท็ป เอ็กซ์เทนแท็บส์ 11 2A374/32 ฟาร์สเป็ค จำกัด ทัสเปค ไซรัป 12 2C129/40 ฐิติรัตน์สานนท์ จำกัด โบรมาแท็ป 13 2A55/42 ยูเมด้า จำกัด พานากิน- เอ ไซรัป 14 2C26/40 ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ไรโนทัสซาล 15 2C27/40 ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ไรโนปรอนท์ ไซรัป 16 2A135/38 จิวบราเดอร์ส สโตคอน ไซรัป ตารางที่ 2 แสดงรายการทะเบียนยาที่มี PPA เป็นส่วนประกอบในช่วง 26-50 มก./เม็ด /แคปซูล/15 มล. เรียงตามชื่อทางการค้า ลำดับ เลขทะเบียน ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อการค้า 1 2A428/27 เยาวราช จำกัด คอนเจน ไซรัป 2 2C1/43(N) สมิท ไคล์น แอนด์ เฟรนช์ (ไทยแลนด์) จำกัด คอนแทค 3 2B5/29 โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด คอนแทค 500 4 2C17/28 สมิท ไคล์น แอนด์ เฟรนช์ (ไทยแลนด์) จำกัด คอนแทค 500 5 2A739/30 เคนยากุ (ประเทศไทย) จำกัด เคนยา-ไอ ไซรัป 6 2A1099/29 เคมีภัณฑ์เมดิคอล โคโซแทน เอ็กซ์เปคทอแรนท์ 7 2A943/28 เลิศสิงห์เภสัชกรรม โคลดี้ ไซรัป 8 2A1140/29 เยนเนอร์ราลดรั๊กส์เฮ้าส์ จำกัด เจนเดคอน 9 2A51/29 ชาญกิจเทรดดิ้ง ซอปโก 10 2A84/41 ไทยนครพัฒนา จำกัด ซีซัส 11 2A1117/28 สหแพทย์เภสัช จำกัด เดนาคอฟ ไซรัป 12 2A194/43 อินเตอร์ไทย ฟาร์มาซูติเคิ้ล แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ไดเมแท็ป เอเอฟ 13

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 รูปแบบของยาชุดลดน้ำหนัก

ความเดิมตอนที่แล้ว ฉลาดซื้อส่งอาสาสมัครสาวน้อย สาวใหญ่ที่รูปร่าง น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติไปรับบริการที่คลินิกลดน้ำหนักหลายจังหวัด พบว่า ส่วนใหญ่แพทย์จ่ายยามาให้กินกันเป็นกอบกำ มีอยู่ไม่กี่แห่งที่แพทย์ หรือพนักงานบอกว่า “ไม่อ้วนนะจ๊ะ ยาไม่ต้องกิน ไปออกกำลังกายดีกว่า”   หลังจากได้ยามาแล้ว ก็อยากรู้ต่อว่า ยาที่ได้รับมาเป็นยาอะไรบ้าง ยังเป็นรูปแบบเดิมๆ หรือไม่ อย่างไร เราจึงส่งตัวอย่างทั้งหมดไปตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดอุบลราชธานี ตอนนี้ผลทั้งหมดอยู่ในมือแล้ว   สรุปผลสำรวจจากฉลาดซื้อ ฉบับ 95 จากการสังเกตและบันทึกผลของอาสาสมัคร พบว่า 1.แพทย์จากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จ่ายยาให้เมื่ออาสาสมัครบอกว่า อยากลดน้ำหนัก ทั้งที่ค่าบีเอ็มไอของอาสาสมัครอยู่ในเกณฑ์ปกติทุกคน 2.มีการเสนอบริการอื่นๆ เพื่อจูงใจให้ใช้บริการ แต่จะกระทำโดยพนักงานหรือประชาสัมพันธ์ของร้านมากกว่าแพทย์ 3.คลินิกส่วนใหญ่แพทย์จะให้เวลากับอาสาสมัครประมาณ 5-10 นาที คำแนะนำต่างๆ วิธีการใช้ยาหรือการควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีอื่น มักกระทำโดยพนักงานของร้านเป็นส่วนใหญ่ ทั้งก่อนและหลังพบแพทย์ 4.พบว่ามีสถานบริการบางแห่งจ่ายยาให้โดยไม่มีการซักประวัติการแพ้ยา หรือแม้แต่วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และมีหนึ่งแห่งได้แก่ คลินิกแพทย์หญิงกัลยาภรณ์ สตูล ที่จ่ายยาโดยพนักงานไม่ใช่แพทย์ “เมื่ออาสาสมัครเข้าไปในคลินิก มีพนักงานถามว่า มาทำอะไร พอบอกว่า ลดน้ำหนัก ก็บอกให้ชั่งน้ำหนักตัวและวัดส่วนสูง แล้วจัดยาให้เม็ดละ 20 บาท จำนวน 10 เม็ด ระบุหน้าซองยาว่า ยาลดไขมัน (จากการวิเคราะห์พบว่า เป็นยาไซบูทรามีน) โดยไม่ได้พบแพทย์ 5.จากการสำรวจพบว่า ค่าใช้จ่ายในการไปคลินิกเพื่อรับการรักษาเรื่องลดน้ำหนักมีค่าบริการต่ำสุดคือ 190 บาทต่อครั้ง และสูงสุด 1,130 บาทต่อครั้ง 6.ไม่มีการแจ้งชื่อยา (ทั้งชื่อการค้าและชื่อสามัญ) แต่จะระบุเป็นประเภท ได้แก่ ยาลดไขมัน ยาลดไขมันพิเศษ ยาควบคุมความหิว ยาระบาย เป็นต้น 7.อาสาสมัครส่วนใหญ่ จะไม่ได้รับคำอธิบายที่ละเอียดมากพอสำหรับการใช้ยาแต่ละชนิด เช่น ไม่รู้ชื่อยา การทำงานหรือการออกฤทธิ์ของยา ผลข้างเคียงที่ต้องระวัง โดยเฉพาะสภาวะเสี่ยงเช่น ความดันโลหิตสูงหรืออาการทางจิตประสาท การใช้ยาลดน้ำหนักความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหัวใจ โรคข้อเสื่อม โรคมะเร็ง ฯลฯ การลดความอ้วนจึงเท่ากับการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคลง ซึ่งการลดน้ำหนักนั้นมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งแบบปลอดภัย ค่อยเป็นค่อยไป และแบบเสี่ยงตาย อันตรายสูง วิธีหนึ่งที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงสูง และน่าจะเป็นหนทางสุดท้ายสำหรับการลดน้ำหนักคือ การใช้ยาเข้าช่วยเพื่อให้ “ผู้ป่วยโรคอ้วน” มีน้ำหนักลดลง แต่ทั้งนี้ควรเป็นไปภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะการใช้ยาลดน้ำหนักมีข้อถกเถียงกันมากทั้งในแง่ประสิทธิภาพของยา ระยะเวลาที่ให้การรักษา และผลข้างเคียงจากการใช้ยา ความจริงเกี่ยวกับยาลดน้ำหนัก1.การใช้ยาลดน้ำหนักนั้น ยาเพียงช่วยควบคุมน้ำหนักให้ลดลงและคงที่ แต่ยาไม่ได้รักษาโรคอ้วนให้หายไป ดังนั้นการหยุดยาลดน้ำหนักอาจจะทำให้น้ำหนักเพิ่มใหม่ได้ 2.การใช้ยาลดน้ำหนักจะได้ผลดีต้องใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.การใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ แต่ถึงอย่างนั้นก็มักพบว่า แพทย์จำนวนไม่น้อยใช้ยาลดน้ำหนักโดยที่ผู้ป่วยไม่มีข้อบ่งชี้หรือความจำเป็นที่จะต้องใช้ยา ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน และในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ (ข้อมูล การใช้ยาลดน้ำหนักในการรักษาโรคอ้วน (Drug Therapy of Obesity) โดย นพ.ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล) ยาที่ใช้ลดน้ำหนัก ปัจจุบันยาที่นำมาใช้ลดน้ำหนักแบ่งตามการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่มีขายในประเทศไทย มี 2 ประเภท คือ  ประเภทที่ 1 ลดความอยากอาหารหรือควบคุมความหิว ยาจะไปออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งยังแบ่งย่อยได้เป็นสามกลุ่ม คือ (1) ยาที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายกลุ่มแอมเฟตามีน ได้แก่ Phentermine เป็นยากลุ่มที่ควบคุมโดย พรบ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518(2) ยาที่จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ตาม พรบ.ยา พ.ศ.2510 ได้แก่ Sibutramine (3) ยาที่ไม่มีข้อบ่งใช้เพื่อการลดน้ำหนัก แต่มีผลข้างเคียงที่ทำให้ไม่อยากอาหาร ได้แก่ Fluoxetine ซึ่งจัดเป็นยาอันตรายตาม พรบ.ยา พ.ศ. 2510 (เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้เพื่อรักษาอาการในกลุ่มโรคซึมเศร้า)   ประเภทที่ 2 ยาที่มีผลต่อทางเดินอาหาร ยามีผลทำให้ร่างกายไม่ย่อยอาหารประเภทไขมันและไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ Orlistat จัดเป็นยาอันตรายตาม พรบ.ยา พ.ศ.2510  รูปแบบการจ่ายยาลดน้ำหนักจากการศึกษาเรื่อง การวินิจฉัยและการจ่ายยาลดน้ำหนักในคลินิกลดความอ้วน ของกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 (ผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสารอาหารและยา เล่ม 2/2552) พบว่า มีการจ่ายยาเพื่อลดน้ำหนัก 7 กลุ่ม ได้แก่   1.กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง 2.กลุ่มยาระบาย 3.กลุ่มยาขับปัสสาวะ 4.กลุ่มยาลดการหลั่งของกรดในกระเพาะ5.กลุ่มยาไทรอยด์ ฮอร์โมน 6.กลุ่มยาลดอาการใจสั่น หรือลดการเต้นของหัวใจไม่เป็นจังหวะ7.กลุ่มยาที่มีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้ง่วงนอน (ยานอนหลับ)   นอกจากนี้ยังมีการจ่ายอาหารเสริมร่วมด้วย หรือจ่ายอาหารเสริมเพียงอย่างเดียว อาหารเสริมยังรวมถึง วิตามิน หรือสมุนไพร ที่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร แต่ระบุว่า ลดไขมันหรือสารละลายไขมัน เป็นต้น รูปแบบการจ่ายยาลดน้ำหนักสำรวจโดยวารสารฉลาดซื้อ การศึกษาของ อย.กับทางวารสารฉลาดซื้อจะใกล้เคียงกัน คือ ส่งอาสาสมัครไปรับบริการในคลินิก แต่ของฉลาดซื้อไม่ส่งคนอ้วนหรือคนที่มีค่า บีเอ็มไอมากกว่า 27 เข้าไป เราให้สาวน้อย สาวใหญ่เป็นตัวแทนเข้าไปขอรับบริการ ดังนั้นข้อมูลสำคัญที่เราค้นพบก็คือ คลินิกส่วนใหญ่จ่ายยาลดน้ำหนักให้อาสาสมัคร แม้ไม่มีข้อบ่งชี้ว่า จำเป็นต้องใช้ยาลดน้ำหนัก และบางรายอายุน้อยกว่า 18 ปี (ยาลดความอ้วนทุกชนิด ไม่มีข้อบ่งใช้ในเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานในการเติบโต)โดยยาที่ได้รับกลับมานั้นเมื่อนำไปตรวจวิเคราะห์พบว่า มีรูปแบบการจ่ายยาดังนี้ 1. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว ชนิดเดียว ได้แก่ คลินิกแพทย์หญิงกัลยาภรณ์ สตูล หัสชัยคลินิก เชียงใหม่ (อาสาสมัครวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่เป็นยาคนละชนิดกัน) และราชวิถี สลิมแคร์ เพชรบูรณ์ (อาสาสมัครวัยทำงาน) 2. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว สองชนิด ได้แก่ คลินิกผิวหนังแพทย์สันต์ เพชรบูรณ์ (อาสาสมัครวัยรุ่นและวัยทำงาน)3. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยาระบาย ได้แก่ วิยดาคลินิก สาขา 2 สตูล นิติพลคลินิก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นครินทร์คลินิกเวชกรรม สมุทรสงคราม (อาสาสมัครวัยรุ่นและวัยทำงาน)4. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยาระบาย+ยานอนหลับ ได้แก่ แพทย์ปริญญา เชียงใหม่ (อาสาสมัครวัยรุ่น) คอสเมส สลิมแคร์ พัทลุง5. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว สองชนิด+ยาระบาย+ยานอนหลับ ได้แก่ ราชวิถี คลินิกเวชกรรม กาญจนบุรี 6. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยาระบาย+ยาลดอาการใจสั่น ได้แก่ วุฒิศักดิ์คลินิก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 7. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+ยานอนหลับ ได้แก่ แพทย์ปริญญา เชียงใหม่ (อาสาสมัครวัยทำงาน)8. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว+วิตามินบี1 ได้แก่ คลินิกหมอจริยา ลำปาง9. ไม่ทราบว่าเป็นยากลุ่มใด ได้แก่ เมเจอร์เมดิคอลคลินิก กาญจนบุรี และ ราชวิถี สลิมแคร์ เพชรบูรณ์ (อาสาสมัครวัยรุ่น) แทรกตาราง ทำไมต้องจ่ายยาเป็นกอบกำจากรูปแบบที่พบ จะเห็นว่ามีผลิตภัณฑ์อีกหลายตัวอย่างที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นยาหรือไม่ เพราะไม่สามารถตรวจหาตัวยาสำคัญทางห้องปฏิบัติการได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นพวกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยทำให้อิ่ม อย่างพวกเส้นใยต่างๆ หรือที่เชื่อกันว่ามีผลต่อการลดน้ำหนัก เช่น ส้มแขกหรือพวกไคโตซาน เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้จะมีราคาแพง แต่ไม่มีผลที่ชัดเจนอะไรว่าช่วยลดน้ำหนักได้จริง มีแต่ช่วยเพิ่มในเรื่องราคาค่าบริการที่อาสาสมัครต้องจ่ายมากขึ้น ยาบางชนิดไม่ได้มีข้อบ่งใช้ในการลดน้ำหนัก แต่ก็พบว่ามีการจ่ายให้แก่อาสาสมัคร ได้แก่ ยา Fluoxetine ซึ่งใช้ในผู้ป่วยกลุ่มอาการซึมเศร้า มีผลข้างเคียงทำให้ไม่อยากอาหารก็จริง แต่ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ประสาทหลอน กระวนกระวาย คลื่นไส้ และผลข้างเคียงที่อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมรุนแรง เช่น การฆ่าตัวตายได้ ส่วนยาระบายเป็นยาที่ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้เพื่อลดน้ำหนักอยู่แล้ว เพราะเป็นการระบายน้ำออกจากร่างกายแค่นั้น น้ำหนักที่ลดลงจึงไม่ใช่ของจริง แต่อีกสาเหตุที่นิยมจ่ายยาระบายก็คือเพื่อแก้ปัญหาเรื่องผลข้างเคียงของยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ควบคุมความหิว เช่น Sibutramine ที่ทำให้ท้องผูก การจ่ายยาระบายก็เพื่อแก้ท้องผูกนั่นเอง หรือการจ่ายยานอนหลับก็เพื่อลดผลข้างเคียงของยากลุ่มที่ควบคุมความหิว ที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้นอนไม่หลับ เรียกได้ว่า กินยาลดน้ำหนักแล้วจะเกิดผลข้างเคียงอะไร ก็จ่ายยาแก้ควบคู่กันไปเพื่อลดอาการของผลข้างเคียงนั้นๆ เป็นที่มาของการที่ต้องกินยาเป็นกอบเป็นกำนั่นเอง   วิธีการสำรวจของฉลาดซื้อ 1.ส่งอาสาสมัครลงพื้นที่สำรวจคลินิกที่ระบุป้ายหน้าร้านว่าบริการลดน้ำหนัก ใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี เชียงใหม่ ลำปาง เพชรบูรณ์ อ่างทอง สมุทรสงคราม พัทลุงและสตูล 2.อาสาสมัครสาวทุกคนจะมีชุดคำถามสำหรับการเข้าใช้บริการในคลินิกที่เป็นเป้าหมาย อาสาสมัครมีทั้งที่เป็นสาววัยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี และสาววัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป ทุกคนมีน้ำหนักปกติ (ค่าบีเอ็มไอหรือดัชนีมวลกายไม่เกิน 23) 3.ในการสำรวจ อาสาสมัครบางจังหวัดจะเข้ารับบริการในคลินิกเดียวกันทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน เพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาของผู้ให้บริการ   เมื่อไรที่ควรใช้ยาลดน้ำหนักการใช้ยาลดน้ำหนักในการรักษาโรคอ้วนนั้น ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการประเมินความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการรักษา ความคุ้มและประโยชน์ที่ได้รับ โดยมีข้อแนะนำดังนี้ 1.เมื่อดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 โดยที่ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่ไม่สำเร็จ 2.เมื่อดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 27 แต่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดผิดปกติ โดยที่ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่ไม่สำเร็จ   *บีเอ็มไอ (BMI) หรือดัชนีมวลกาย เป็นเครื่องมือหนึ่งในการประเมินว่าเรามีน้ำหนักตัวปกติ ผอมไปหรืออ้วนไป โดยสามารถคำนวณได้จากน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตรยกกำลังสอง)ตัวเลขที่ได้ออกมาจะสามารถบอกได้ระดับหนึ่งว่า คุณอยู่ในภาวะใด โดยทั่วไปค่าดัชนีมวลกายปกติมีค่าระหว่าง 18.5 - 22.9 ต่ำกว่านี้ก็ผอมไป มากกว่านี้ก็ถือว่าน้ำหนักเกิน แนะนำสำหรับคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต ลองแวะไปที่ http://konthairaipung.anamai.moph.go.th/bmi.html ที่นี่เขาจะมีโปรแกรมคำนวณค่าบีเอ็มไอให้คุณได้อย่างรวดเร็วแค่กรอก น้ำหนักตัวและส่วนสูง พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัว จำนวนตัวอย่างและชนิดของยาที่จ่ายในคลินิกที่ทำสำรวจดาวโหลด file Word ตารางได้ที่นี่ค่ะ  หมายเหตุ * ผลิตภัณฑ์มีลักษณะคล้ายยา เป็นแคปซูล เป็นผง หรือเม็ด แต่ไม่สามารถตรวจหาตัวยาสำคัญ ทางห้องปฏิบัติการได้ ** อยู่ระหว่างตรวจวิเคราะห์ วิเคราะห์ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานีผลการวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นสำรวจระหว่าง สิงหาคม 2551 – มกราคม 2552 โดยอาสาสมัครวารสารฉลาดซื้อ

อ่านเพิ่มเติม >