ฉบับที่ 197 ส่องฉลากสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรีย

สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียหรือสบู่ฆ่าเชื้อเพื่อสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคหลายคนนิยมใช้ เพราะเชื่อว่ามีประสิทธิภาพหรือสรรพคุณดีกว่าสบู่ธรรมดา แต่สบู่เหล่านั้นสามารถทำความสะอาดได้ดีกว่าจริงหรือสารต้านแบคทีเรียในสบู่ฆ่าเชื้อที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ คือ ไตรโคลซาน )Triclosan) ซึ่งสามารถเป็นทั้งวัตถุกันเสียและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ ราหรือแบคทีเรียได้ จึงถูกนิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก น้ำยาล้างจาน โดยหากนำมาผสมในสบู่ก็มักมีการโฆษณาว่าสามารถช่วยทำความสะอาดผิวได้ดีขึ้น เพราะช่วยทำลายเชื้อโรคที่อยู่บนผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามงานวิจัยหลายชิ้นกลับระบุว่า ไตรโคลซานสามารถทำให้แบคทีเรียเกิดการดื้อยาข้ามกลุ่ม หรือทำให้แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งสารจะไปส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการขับยาออกนอกเซลล์ ทำให้มีปริมาณยาปฏิชีวนะในเซลล์น้อยและไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ ทำให้เชื้อปรับตัวดื้อยาในที่สุดนอกจากนี้เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไตรโคลซานสามารถสะสมในร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากเคยมีการตรวจพบสารดังกล่าวในปัสสาวะของคนอเมริกันถึงร้อยละ 75 และมากไปกว่านั้นเมื่อสารไตรโคลซานถูกปล่อยออกไปสู่สิ่งแวดล้อมหลังการชะล้าง ยังส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในระบบนิเวศน์วิทยาอีกด้วย รวมไปถึงผลกระทบอื่นๆ ที่เคยพบในสัตว์ทดลอง โดยสารดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ผลต่อพัฒนาการและภาวะการเจริญพันธุ์ ผลต่อต่อมไร้ท่อ ไทรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนเอสโตรเจนและมีความเป็นพิษเรื้อรัง รวมทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งได้ ในหลายประเทศ เช่น องค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกา จึงประกาศยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์สบู่ รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ชนิด ซึ่งให้มีผลบังคับใช้ทั่วสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560  เนื่องจากส่งผลกระทบด้านลบดังที่กล่าวไว้ข้างต้น รวมถึงยังไม่มีหลักฐานใดๆ บ่งชี้ได้ว่าสบู่ที่ผสมสารไตรโครซาน สามารถชำระล้างได้ดีกว่าการใช้สบู่ธรรมดา ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงอาสาส่องฉลากสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด จำนวน 18 ตัวอย่าง จาก 12 ยี่ห้อยอดนิยม ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไรเราลองไปดูกันเลย สรุปผลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สบู่ฆ่าเชื้อโรคจากตัวอย่างสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียจำนวน 18 ตัวอย่าง 12 ยี่ห้อที่นำมาตรวจสอบฉลาก พบว่า1. มี 11 ตัวอย่างที่ระบุว่ามีส่วนผสมสารต้านแบคทีเรีย แบ่งเป็น - 4 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของไตรโคลซาน ได้แก่ กลุ่มสบู่เหลว 1. Asepso (อาเซปโซ) สูตรออริจินัล 2. Deterderm (ดีเทอร์เดอร์ม) สูตร Deo beauty fresh 3. Tea Tree (ที ทรี) สูตรสกินไวท์เทนนิ่ง บาธ ครีม และ 4. Oxe cure (อ๊อกซีเคียว) สูตรระงับกลิ่นกายสำหรับผู้มีปัญหาสิว/ผิวแพ้ง่าย  - 5 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของไตรโคลคาร์บาน ได้แก่ กลุ่มสบู่ก้อน 1. Dial (ไดอัล) สูตรสปริงวอเตอร์ 2. Dettol (เดทตอล) สูตรออริจินัล 3. Protex (โพรเทคส์) สูตรสดชื่น 4. Protex For Men (โพรเทคส์ ฟอร์เมน) สูตรสปอร์ต และ 5. สบู่เหลว Protex (โพรเทคส์) สูตรไอซ์ซี่ คูล- 2 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของทั้งไตรโคลซานและไตรโคลคาร์บาน ได้แก่ ยี่ห้อ Benice (บีไนซ์) สูตรคลีน&เธอราพี และสูตรแอคทีฟ พลัส2. มี 6 ตัวอย่าง ที่ไม่ได้ระบุว่ามีการผสมสารต้านแบคทีเรียในกลุ่มไตรโคลซาน ได้แก่ 1. สบู่ก้อน Safeguard (เซฟการ์ด) 2. สบู่ก้อน Asepso (อาเซปโซ) สูตรออริจินัล 3. สบู่เหลว ยี่ห้อ Dettol (เดทตอล) สูตรเฟรช 4. สบู่เหลว Dettol (เดทตอล) สูตรแอคทีฟ 5. สบู่เหลว Kirei Kirei (คิเรอิคิเรอิ) สูตรแอนตี้แบคทีเรียกลิ่นองุ่น และ 6. สบู่เหลว Shokubutsu (โชกุบุสซึ) สูตร anti-bacteria body foam rejuvenating & purifyingข้อสังเกตยี่ห้อ Acticex (แอคตี้เว็กซ์) สูตร Bacteria blocking system (ลิควิด โซฟ แอคทีฟ โพรเท็คชั่น) ฉลากภาษาไทยไม่มีรายละเอียดของส่วนผสม สารเคมีในกลุ่มต้านแบคทีเรียที่ถูกประกาศห้ามใช้มีอะไรบ้างตามที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ประกาศยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์สบู่ รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ชนิด เราลองมาดูกันว่าชื่อสารเคมีในกลุ่มดังกล่าวมีอะไรบ้าง1. Cloflucarban 2. flurosalan 3. hexachlorophene 4. hexylresorcinol 5. iodine complex (ammonium ether sulfate and polyoxyethylene sorbitan monolaureate) 6. iodine complex (phosphate ester of alkylaryloxy polyethylene glycol) 7. Nonylphenoxypoly (ethyleneoxy) ethanoliodine 8. poloxamer-iodine complex 9. Povidone- iodine 5-10 % 10. Undecoylium chloride iodine complex 11. Methylbenethonium chloride 12. Phenol (มากกว่า 1.5%) 13. Phenol 16 (น้อยกว่า 1.5%) 14. Secondary amyltricresols 15. Sodium oxychlorosene 16. Tribromsalan 17. Triclocarban, Triclosan และ 18. Tripledyeแนะวิธีปองกันตัวเองจากแบคทีเรียง่ายๆ การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการการล้างมือด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลวชนิดธรรมดา โดยไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะทำให้ผิวหนังมีเชื้อแบคทีเรียตกค้าง เพราะตามธรรมชาติผิวหนังของเราสามารถปกป้องไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ด้วยการหลั่งกรดอ่อนจากต่อมเหงื่อ ทำให้ผิวหนังมีสภาพความเป็นกรด ซึ่งไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดได้อยู่แล้ว ขอบคุณ ข้อมูล รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ  วิวัฒน์ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 196 มาส่องดูสารเคมีในโฟมล้างหน้ากัน

แม้หลายคนจะชื่นชอบการทำสะอาดผิวหน้าด้วยโฟมล้างหน้า เพราะรู้สึกว่าช่วยทำความสะอาดได้ดี ใช้งานง่ายและพกพาสะดวก แต่รู้ไหมว่า โฟมล้างหน้าก็สามารถสร้างความระคายเคืองให้ผิวหน้าได้เช่นกัน โดยอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นแดงหรือเป็นสิว ซึ่งส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากส่วนประกอบบางชนิดที่อยู่ในโฟมนั่นเอง ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงอาสารวบรวม 31 ยี่ห้อโฟมล้างหน้ายอดนิยม จำนวน 34 ตัวอย่าง เพื่อมาตรวจสอบส่วนประกอบสำคัญบนฉลากที่สามารถส่งผลต่อการระคายเคืองผิวหน้าได้ว่าจะมีอะไรบ้าง ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันเลยผลการทดสอบจากโฟมล้างหน้า 34 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบพบว่า ทุกยี่ห้อมีส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวได้ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้1.กลุ่มสารลดแรงตึงผิว ได้แก่ สารลดแรงตึงผิวประจุลบ คือ Sodium Lauryl Sulfate (SLS) และ Sodium Laureth Sulfate (SLES) และสารลดแรงตึงผิวสองประจุ ได้แก่ Cocamidopropyl Betaine สำหรับสารในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการทำให้เกิดฟองและสามารถทำความสะอาดได้ดี ซึ่งสาร SLS จะมีความสามารถชำระล้างได้มากกว่าชนิดอื่น ทำให้อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ผู้ที่มีผิวบอบบางแพ้ง่ายควรหลีกเลี่ยง2. กลุ่มสารที่เป็นส่วนประกอบของสบู่ ได้แก่ Potassium Hydroxide และ Sodium Hydroxideสาร 2 ชนิดนี้มีความเป็นด่างสูง ซึ่งอาจทำให้ผิวแห้งหรือระคายเคืองได้   3. กรดไขมันและเกลือของกรดไขมัน ได้แก่ Potassium Myristate, Potassium Palmitate, Potassium Laurate, Potassium Oleate, Potassium Stearate, Stearate, Stearic acid, Palmitic acid, Lauric acid, Myristic acid สารในกลุ่มนี้เกิดจากการตกตะกอนกับสารในกลุ่มสบู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดคราบไคลสบู่ตกค้างในรูขุมขน ส่งผลให้เกิดสิวอุดตันได้ง่าย 4. สารกลุ่มน้ำหอม คือ Perfume, Fragrance, Parfum อาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรือคะคายเคืองในผู้ที่แพ้น้ำหอม 5. สารกลุ่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ Alcohol, Alcohol Denat, Benzyl Alcoholแอลกอฮอล์ประเภทนี้เป็นกลุ่มที่สร้างความระคายเคืองหรือกลุ่มที่ใช้ฆ่าเชื้อ โดยใช้เป็นส่วนผสมของยาทาผิว มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและเป็นสารกันบูดสารเคมีที่ผสมในโฟมล้างหน้าแน่นอนว่าโฟมล้างหน้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อการชำระล้าง จึงจำเป็นต้องใส่สารเคมีที่สามารถขจัดสิ่งสกปรกบนผิวหน้าได้ อย่างไรก็ตามสารเคมีเหล่านั้นสามารถส่งผลต่อความระคายเคืองผิวได้เช่นกัน ซึ่งบางคนใช้แล้วอาจเกิดอาการระคายเคืองหรือแพ้มาก ในขณะที่หลายคนอาจไม่เกิดอาการใดๆ เราจึงจำเป็นต้องตรวจสอบส่วนผสมหลักในโฟมล้างหน้าของแต่ละยี่ห้อก่อนใช้งาน เพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นกับผิวหน้าของเรา ซึ่งมีดังนี้1. กลุ่มสารลดแรงตึงผิวสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเกือบทุกชนิด เพราะมีคุณสมบัติในการพาสิ่งสกปรกและไขมันให้หลุดออกได้ดีขึ้น ซึ่ง สารลดแรงตึงผิวที่สามารถสร้างความระคายเคืองให้กับผิวหน้าได้มากก็คือ สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ อย่าง Sodium lauryl sulfate (SLS) เพราะนอกจากจะให้ปริมาณฟองจำนวนมากแล้ว ยังมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดได้รุนแรงกว่าชนิดอื่น ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน ดังนั้นหากมีผิวบอบบางแพ้ง่ายควรหลีกเลี่ยงอย่างไรก็ตามสำหรับสารลดแรงตึงผิวประจุลบอีกชนิดที่ชื่อคล้ายกัน คือ Sodium Laureth Sulfate (SLES) ถือว่ามีความอ่อนโยนและรุนแรงน้อยกว่าสาร SLS แต่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นเดียวกันหากผสมอยู่ในปริมาณที่มากเกินไป สำหรับสารลดแรงตึงผิวอีกประเภทหนึ่งที่มักผสมในโฟมล้างหน้าคือ Cocamidopropyl Betaine ซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวสองประจุนั้น พบว่าทำให้เกิดการระคายเคืองน้อยที่สุดและทำให้เกิดฟองน้อย แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ เพราะความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารในผลิตภัณฑ์และระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์สัมผัสร่างกายส่วนในกรณีที่เคยมีกระแสข่าวว่า สบู่เหลวที่มีส่วนผสมของสาร SLS ไปผสมกับสารประกอบตระกูลเอมิน (amine) แล้วสามารถกลายเป็นสารก่อมะเร็งนั้น นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ยากที่จะเกิดสารก่อมะเร็งจากสารเคมีดังกล่าว เพราะการที่สาร SLS จะสามารถทำปฏิกิริยากับสารตระกูลเอมินแล้วเกิดเป็นสารไนโตรซามิน จะต้องมีองค์ประกอบหรือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ต้องมีอุณหภูมิที่สูงกว่า 100C นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็ได้มีการติดตามตรวจสอบส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ โดยกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีการใช้สารลดแรงตึงผิวในปริมาณที่เหมาะสม ---2. กลุ่มสารที่เป็นส่วนประกอบของสบู่เนื่องจากการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ควรเลือกให้มีความเป็นกรด – ด่างใกล้เคียงกับผิวหน้า แต่หลายคนอาจบังเอิญไปใช้โฟมล้างหน้าที่มีความเป็นด่างมากเกินไป ซึ่งก็คือ การใช้สบู่ที่มาในรูปแบบของโฟมล้างหน้านั่นเอง ซึ่งกลุ่มสารที่เป็นส่วนประกอบของสบู่ ได้แก่ Potassium Hydroxide และ Sodium Hydroxide รวมถึงเบสอื่นๆ ของมัน ได้แก่ Myristate, Palmitate, Laurate, Oleate, Stearate นอกจากนี้การใช้โฟมล้างหน้าที่มีส่วนผสมของกรดไขมัน ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนกับสารในกลุ่มสบู่ ได้แก่ Stearic acid, Palmitic acid, Lauric acid, Myristic acid อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้เล็กน้อยในคนที่ไวต่อสารเคมี รวมทั้งสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดสิวอุดตันได้ด้วย เพราะมีการตกค้างของคราบไคลสบู่ในรูขุมขนได้ 3. สารในกลุ่มแอลกอฮอล์และน้ำหอมแอลกอฮอล์ในเครื่องสำอางสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มที่ดีต่อผิวและกลุ่มที่สร้างความระคายเคือง เราจึงควรหลีกเลี่ยงกลุ่มสารที่สร้างความระคายเคืองหรือกลุ่มที่ใช้ฆ่าเชื้อ ได้แก่ Alcohol Denat, Benzyl Alcohol เพราะสามารถทำให้เกิดการผิวระคายเคืองผิว รวมทั้งทำให้ผิวสูญเสียน้ำและแห้งขึ้น ซึ่งนำไปสู่อาการแพ้หรือระคายเคืองได้ ส่วนคนที่มีแนวโน้มแพ้น้ำหอมในเครื่องสำอางง่ายก็ควรหลีกเลี่ยง โฟมล้างหน้าที่มีส่วนผสมของ Perfume, Fragrance หรือ Parfum เพราะอาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองได้ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 เลิกใช้โฟมล้างหน้าที่ผสมเม็ดบีดส์กันเถอะ

เม็ดบีดส์ในโฟมล้างหน้าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าหรือโฟมล้างหน้าหลายยี่ห้อ มักนำเม็ดบีดส์มาเป็นส่วนประกอบ เพราะมีคุณสมบัติในการขัดหรือทำความสะอาดสิ่งสกปรกบนผิวได้เป็นอย่างดี ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนชื่นชอบและเลือกใช้เป็นประจำ แต่รู้หรือไม่ว่าเม็ดบีดส์เหล่านั้นสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้เม็ดบีดส์หรือไมโครบีดส์ (Micro beads) หรือไมโครพลาสติก เป็นเม็ดสครับที่เกิดจากกระบวนการทางเคมี โดยส่วนใหญ่ผลิตจากพลาสติก ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ และด้วยขนาดที่เล็กมาก (ตั้งแต่ 10 ไมครอน หรือ 0.00039 นิ้ว – 1 มิลลิเมตร หรือ 0.039 นิ้ว) ทำให้หลังการชะล้างเม็ดบีดส์จิ๋วเหล่านี้ก็จะหลุดรอดจากการบำบัดสิ่งปฏิกูล เข้าสู่ทะเลหรือมหาสมุทรนำไปสู่มลภาวะทางน้ำ ทั้งยังมีคุณสมบัติในการดูดซับและปล่อยสารพิษอันตรายร้ายแรง เช่น PCBs (Polychlorinated biphenyls) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีหลักในการผลิตวัสดุ เช่น กาว สี สารกันรั่วซึม พลาสติกหรือน้ำมันหล่อลื่น นอกจากนี้ยังสามารถปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารได้อีกเช่นกัน เนื่องจากสัตว์น้ำต่างๆ จะพากันกินเม็ดบีดส์เหล่านี้เข้าไปและกระจายต่อกันเป็นทอดๆ ซึ่งในที่สุดก็จะย้อนกลับมาเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้ายนั่นเอง โดยหากเราได้รับเม็ดบีดส์เหล่านี้เข้าไปในร่างกายสม่ำเสมอ สามารถส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้า คลื่นไส้อาเจียน แขนขาเปลือกตาบวมหรือเกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน ทำลายระบบประสาทและมีแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็งได้ ทำให้หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ประกาศห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่มีไมโครบีดส์เป็นส่วนประกอบแล้วอย่างไรก็ตามสำหรับในบ้านเรา แม้จะยังไม่มีกฎหมายห้ามผลิตหรือจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีเม็ดบีดส์เป็นส่วนประกอบ แต่หลายองค์กรในประเทศก็ได้มีการตื่นตัวและเสนอให้หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลโดยตรงอย่าง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เร่งออกมาตรการหรือข้อบังคับให้เลิกใช้เม็ดบีดส์ในการผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ชำระล้างทุกชนิดฉลาดซื้อฉบับนี้จึงอาสาช่วยเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมดังกล่าว ด้วยการสุ่มทดสอบผลิตภัณฑ์ล้างหน้าจำนวน 21 ยี่ห้อ 33 ตัวอย่างว่าเจ้าไหนจะมีเม็ดบีดส์เหล่านี้เป็นส่วนประกอบบ้าง เราลองไปดูกันเลย ข้อควรรู้เกี่ยวกับพลาสติกที่นิยมใช้ผลิตไมโครบีดส์ ชื่อเรียกของไมโครบีดส์ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาจแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. Polyethylene (โพลีเอทิลีน)2. Polypropylene (โพลีโพรพิลีน)3. Polyethylene terephthalate (โพลีเอทิลีนเทเรพทาเลต)4. Polymethyl methacrylate (โพลีเมทิลเมทาไครเลต)5. *Acrylates (อะคริเลต)*จากการสำรวจและวิจัยของ CAP (Consumers Association of Penang) ประเทศมาเลเซีย ระบุว่าถ้าในผลิตภัณฑ์ เช่น ครีมอาบน้ำ โฟมล้างหน้า มีส่วนผสมของ Acrylates ก็หมายความว่ามีไมโครพลาสติกเป็นส่วนประกอบและส่วนผสมที่ยังเป็นคำถามว่าเข้าข่ายเป็นไมโครบีดส์หรือไม่ ได้แก่ • Alkyl methacrylates crosspolymer• Ammonium Acryloyldimethyltaurate / Carboxyethyl Acrylate Crosspolymer• Ammonium Acryloyldimethyltaurate/VP Copolymer• Cera Microcristallina• Dimethicone Crosspolymer• Dimethicone/vinyl dimethicone crosspolymer• Hydroxyethyl Acrylate/Sodium Acryloyldimethyl Taurate Copolymer• Lauryl Methacrylate/Glycol Dimethacrylate Cross polymer• Polyacrylamide• Polyquaternium-7, Styrene/Acrylates Copolymer• PPG-51/Smdi Copolymer• Sodium Acrylate/Acryloyldimethyl Taurate Copolymer• Sodium acrylates copolymer• Sodium polyacrylate• Styrene/Acrylates Copolymer• Taurate/Vp Copolymerที่มา Microplastics in personal care products . by Dr Sue Kinsey. Marine Conservation Societywww.masts.ac.uk/media/3443/sue_kinsey_mast2014mcs.pdf ฉลาดซื้อแนะการเลือกใช้สครับขัดผิวหน้าผู้บริโภคอย่างเราสามารถสวยแบบได้รักษ์โลกได้ ด้วยการร่วมมือกันเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ส่วนประกอบของไมโครบีดส์ และหันมาเลือกใช้สครับที่ทำจากธรรมชาติอย่างเมล็ดของพืช เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดแอปริคอท หรือแบบไทยๆ อย่างเกลือและมะขามเปียกแทน ผลการสำรวจจากตัวอย่างโฟมล้างหน้าที่นำมาตรวจสอบฉลากทั้งหมด 21 ยี่ห้อ 33 ตัวอย่าง พบว่ามี 9 ยี่ห้อ 12 ตัวอย่าง ที่ไม่มีส่วนผสมของไมโครบีดส์ ได้แก่ 1. ST.Ives Blemish control apricot scrub) 2. ETUDE HOUSE) Baking powder B.B. deep cleansing foam 3. SKINFOOD) Honey Flour Cleansing foam #Brightening 4. SMOOTH E Baby face scrub และ SMOOTH E สูตร White baby face scrub 5. NIVEA MEN Anti oil + white acne scrub 6. BIORE Pure smooth bright7. BIORE Facial foam deep detoxify8. BIORE Pore detox botanical beads 9. EUCERIN Dermo PURIFYER scrub10. BOOTS Tea tree & witch hazel with active charcoal deep cleaning facial scrub11. CLEAN & CLEAR Clear fairness cleanser ข้อสังเกต1. ยี่ห้อ Boots (บู๊ทส์) สูตร Tea tree & witch hazel with active charcoal deep cleaning facial scrub (ที ทรี แอนด์ วิช ฮาเซล วิธ แอคทีฟ ชาร์โคล ดีพ คลีนซิ่ง เฟเชียล สครับ) ระบุว่าผลิตในประเทศไทยโดย บริษัท เอส แอนด์ เจ เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) แต่เลขที่จดแจ้งบนฉลาก คือ 10-2-5709283 ซึ่งจัดอยู่ในหมวดสินค้านำเข้า ขณะเดียวกันทาง บ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจ้งมาว่า สินค้าตัวนี้ ผลิตเพื่อการส่งออก มีองค์ประกอบทุกตัว ทำตามข้อกำหนดของสำนักงานอาหารและยาของประเทศที่ส่งออก  และจดแจ้งเป็นสินค้าส่งออก ส่วนการนำเข้า มาจากลูกค้า จึงปรากฏเป็นตัวเลขตามที่อ้างถึงในนิตยสาร ถ้าตรวจสอบอย่างละเอียด ฉลากติดแนบกับขวดจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และระบุว่า Made in Thailand เท่านั้น โดยไม่มีชื่อบริษัทผู้ผลิต ขณะที่นำเข้า จะต้องมีฉลากภาษาไทยติดทับ พร้อมเลขที่จดแจ้งการนำเข้า2. ยี่ห้อ Dr.Montri (ดร.มนตรี) สูตร Scrub&Oil control facial foam (สครับ แอนด์ ออยล์ คอนโทรล เฟเชียล โฟม) ระบุเลขที่จดแจ้งเกิน 10 หลัก คือ 10-1-5910003203ดาวน์โหลดตารางทดสอบแบบละเอียดได้ที่นี่

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 181 สารในโรลออนเสี่ยงมะเร็งเต้านมจริงหรือ?

เพราะเหงื่อมักออกมากในบริเวณใต้วงแขนหรือรักแร้ ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหากลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์ คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยระงับเหงื่อหรือกลิ่นกายอย่าง “โรลออน” เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ในทุกครั้งที่เราปาดหรือทาลงใต้วงแขน เรามั่นใจหรือเปล่าว่าจะไม่มีสารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมะเร็งเต้านมได้ แม้ว่าการถกเถียงหรือความสงสัยในประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาเคยมีข่าวว่าสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท (Aluminum chlorohydrate) ที่เป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม โดย รศ.ดร.ภญ.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยระบุไว้ในคอลัมน์สวยอย่างฉลาด นิตยสารฉลาดซื้อว่า กลไกการระงับเหงื่อของสารดังกล่าวคือ ตัวสารจะเข้าไปอุดรูขุมขนเพื่อไม่ให้เหงื่อไหล ซึ่งหากมีการใช้ผลิตภัณฑ์เป็นประจำ จะมีผลทำให้เกิดการสะสมและตกค้างของสารในบริเวณใต้วงแขนเป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นเป็นรอยด่างดำ และจากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ พบว่า สารตกค้างเหล่านี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาเหตุที่เกิดมะเร็งเต้านมในหญิงหรือชายบางรายได้ เนื่องจากท่อและต่อมต่างๆ ของบริเวณเต้านมมีส่วนเชื่อมต่อกับต่อมเหงื่อและรูขุมขนใต้วงแขน โดยเฉพาะเกลือโลหะหนักอลูมิเนียมจะไปจับกับดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์ทำให้เกิดความผิดปกติ และมีการตรวจพบสารตกค้างของอลูมิเนียมในเนื้อเยื่อมะเร็งจากเต้านมของคนไข้ ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีหลายสถาบันที่วิจัยเกี่ยวกับด้านมะเร็ง ออกโรงคัดค้านงานวิจัยนี้ โดยย้ำว่าการใช้เครื่องสำอางระงับกลิ่นกายไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ได้มีกรณีที่น่าสนใจของสุภาพสตรี จากเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ที่ใช้แป้งเด็กยี่ห้อจอห์นสันทาบริเวณจุดซ่อนเร้นมาตลอดกว่า 30 ปีแล้วตรวจพบภายหลังว่าเธอเป็นมะเร็งรังไข่ โดยแพทย์ระบุสาเหตุว่ามาจากแป้งดังกล่าวที่มีส่วนประกอบของแร่หินชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ทัลค์ (Talc) หรือเรียกว่า "แป้งทัลคัม" (Talcum Powder) ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ภายหลังการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ทางบริษัทแป้งดังกล่าวก็ยินดีจ่ายเงินชดเชยให้ พร้อมยังคงโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ต่อไป และยืนยันว่าส่วนผสมที่ใช้มีความปลอดภัย ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านร่วมเฝ้าระวัง สารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทในโรลออนกันอีกครั้ง ซึ่งถึงตรงนี้เราอาจยังมีข้อสงสัยในสารดังกล่าวว่า มีหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะมะเร็งเต้านม ฉลาดซื้อจึงขออาสาพาไปดูฉลาก “ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นใต้วงแขน” ทั้งหมด 20 ยี่ห้อ ว่ายี่ห้อไหนมีส่วนประกอบของสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท บ้าง *หมายเหตุ ราคาอาจแตกต่างกันตามแหล่งซื้อต่างๆ**เก็บตัวอย่าง กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2559   ผลทดสอบฉลาก   "ไม่มีบนฉลาก"  คือ ไม่แสดงว่ามีส่วนผสมหรือไม่"ไม่แจ้งส่วนประกอบ" คือ ไม่มีรายละเอียดบนขวดว่าผสมอะไร"มีแสดงบนฉลาก" คือ แสดงส่วนประกอบว่ามีสารดังกล่าว ทั้งนี้  "ไม่มีบนฉลาก" และ  "ไม่แจ้งส่วนประกอบ"  ทางเราไม่สามารถบอกได้ว่ามีหรือไม่มี เพราะการเสนอครั้งนี้เราสำรวจจากฉลาก ที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผู้บริโภคตัดสินใจในซื้อมาใช้ และการมีฉลากที่แจ้งข้อมูลก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผลจากการเปรียบเทียบฉลาก- โรลออนทุกยี่ห้อเกือบทุกยี่ห้อที่สำรวจมีสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทเป็นส่วนประกอบ แต่มี 3 ยี่ห้อ คือ Nivea Rexona และ Dove ที่ไม่ระบุส่วนประกอบบนฉลาก- สารส้มแบบแท่งและแบบโรลออน ไม่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าว- ทุกยี่ห้อจะมีคำโฆษณาคล้ายกัน โดยเน้นเรื่องการระงับเหงื่อ ให้กลิ่นกายหอมสดชื่นยาวนาน และบางยี่ห้ออาจเพิ่มเติมว่าปราศจากแอลกอฮอล์ รู้จักสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทกันอีกสักหน่อยสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท มีชื่อพ้องหรือชื่อเรียกอื่นที่อาจพบได้อีกคือ Aluminum hydroxychloride, Aluminium chlorhydroxide, Aluminium chloride basic, Aluminium chlorohydrol, Polyaluminium chloride เมื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายอย่างโรลออน จะสามารถช่วยลดเหงื่อหรือทำให้เหงื่อออกน้อยลงได้ เพราะทำให้ผิวหนังและรูขุมขนในบริเวณที่ทาหดตัว ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและกลิ่นกาย มักจะมีส่วนประกอบของสารอะลูมิเนียมคลอไฮเดรท ที่เข้มข้นสูงถึง 30-50% เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ จึงเป็นผลให้เกิดเป็นรอยด่างดำที่ใต้วงแขนเนื่องมาจากการสะสมของสารชนิดนี้ แม้ในส่วนโรลออนที่เป็นแบบไวท์เทนนิ่ง (whitening) หรือช่วยให้ผิวใต้วงแขนดูกระจ่างใสขึ้น ก็พบว่ามีสารตัวนี้เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเช่นกัน แต่จะมีสารตัวอื่นๆ ผสมเข้ามาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยด่างดำที่เป็นผลมาจากสารอะลูมิเนียมคลอไฮเดรท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 BB Cream หน้าสวยเนียนใสในหลอดเดียว...แล้วเราจะซื้อหลอดไหน?

ก่อนที่สมาชิกทั้งสาวเล็กสาวใหญ่จะน้อยใจเพราะฉลาดซื้อว่างเว้นจากการนำเสนอผลทดสอบผลิตภัณฑ์ความงามมาพักใหญ่ เรารีบเอาใจคุณด้วยผลทดสอบ Beauty Balm หรือ Blemish Balm หรือ บีบีครีม แถมด้วย Color Correcting Cream หรือ ซีซีครีมด้วย แรกเริ่มเดิมที บีบีครีมถูกพัฒนาขึ้นโดยแพทย์ผิวหนังในเยอรมนีสำหรับคนไข้ที่เข้ารับการรักษาด้วยเลเซอร์ ต่อมาครีมนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงด้วยกระแสในประเทศเกาหลี ที่ทำให้มันเป็นที่รู้จักกันไปทั่วเอเชีย แล้วย้อนกลับไปฮิตในยุโรปและอเมริกาในที่สุด  ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่นิยมเพราะมัน (เคลมว่า) ทำได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ตั้งแต่บำรุงผิว ปรับสภาพผิวก่อนแต่งหน้า รองพื้น ปกปิดจุดด่างดำ และป้องกันแดด ฉบับนี้เรานำเสนอบีบีครีมและซีซีครีมจำนวน 24 ผลิตภัณฑ์ ที่มีขายในประเทศไทยทั้งตามเคานท์เตอร์และที่นิยมสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ท จากทั้งหมด 34 ผลิตภัณฑ์ที่สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ส่งไปทดสอบยังห้องปฏิบัติการ Institutes Dr. Schrader ในเยอรมนี คะแนนที่ให้นั้นเน้นคุณสมบัติในการบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นเป็นหลัก (เพราะสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ) รวมถึงคุณสมบัติในการป้องกันแสงแดด และป้องกันรังสี UVA ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของความพึงพอใจของอาสาสมัครที่ทดลองใช้โดยไม่ทราบชื่อผลิตภัณฑ์ มาดูกันเลยดีกว่า ว่าคุณควรเลือกตัวไหนไว้เติมคอลเลคชั่นเมคอัพ นี่เป็นอีกครั้งที่เราพบว่าราคาแพงอาจไม่รับรองคุณภาพหรือความพึงพอใจเสมอไป และเนื่องจากทีมทดสอบเขาหักคะแนนครีมที่มีส่วนประกอบที่อาจก่ออาการแพ้หรือมีสารรบกวนฮอร์โมนด้วย จึงทำให้ครีมบางตัวได้คะแนนรวมน้อย แม้จะได้คะแนนด้านคุณสมบัติและความพึงพอใจของผู้ใช้มากก็ตาม     เครื่องสำอางก็ “เจ” ได้นะ     ในขณะที่เครื่องสำอางจากต่างประเทศที่จะมาวางตลาดในประเทศจีนจะต้องส่งตัวอย่างให้ทางการจีนทดสอบกับสัตว์เช่น หนู หรือกระต่าย เพื่อรับรองว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ในหลายๆประเทศได้ประกาศห้ามการกระทำดังกล่าว (เช่นกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป อินเดีย และอิสราเอล) อีกหลายประเทศยังที่ไม่มีการบังคับแต่ก็ไม่ได้ห้ามการทดสอบดังกล่าว แต่เรามักเห็นป้าย “ไม่ทดลองกับสัตว์” ที่ดูเหมือนเป็นจุดขายของเครื่องสำอางหลายแบรนด์ ทั้งนี้เพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทำให้สามารถทดสอบได้โดยไม่ต้องเบียดเบียนสัตว์อีกต่อไป (เช่น การคำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้ตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่มีผู้บริจาคให้ หรือแม้แต่การใช้อาสาสมัคร เป็นต้น)   ถ้าอยากมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือก “เจ” จริงๆ ให้สังเกตตราสัญลักษณ์จากองค์กรเหล่านี้:  Choose Cruelty Free   The Leaping Bunny และ PETA เป็นต้น หรือไม่ก็มองหาฉลากที่ระบุว่าไม่ทดลองกับสัตว์ "not tested on animals" หรือ "against animal testing" บนกล่องก็ได้เช่นกัน                                  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 แชมพู ครีมอาบน้ำ บรรจุภัณฑ์ใหญ่ไปไหม??

ต่อจากคราวที่แล้วนะคะ  ที่ว่าด้วยเรื่องการทำแพ็กเก็จให้ใหญ่ไว้ก่อน แต่ของข้างในอาจใส่ลงไปแค่ 60 % หรือ 70 % ของผู้ผลิตสินค้า ซึ่งหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ได้กำหนดขนาดมาตรฐานอะไรไว้ในพวกสินค้าทั่วไป  เพราะถือว่าเป็นการค้าเสรีผู้ผลิตมีสิทธิบรรจุน้ำหนักเท่าไรก็ได้ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่ต้องพิจารณาฉลากให้ดี และเปรียบเทียบน้ำหนักราคากันเอง  และในหลายครั้งการทำแพ็กเก็จใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ก็เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดไปว่ามีการเพิ่มน้ำหนักสินค้าเพื่อถือโอกาสปรับราคาเพิ่ม ทั้งที่จริงๆ แล้วน้ำหนักเท่าเดิม หรือทำเผื่อไว้เพื่อลดน้ำหนักที่บรรจุให้น้อยลงสักหน่อย แต่ยังคงขายในราคาเดิม กรณีต้นทุนสินค้ามันเพิ่ม โดยผู้ซื้อไม่ทันรู้ตัวว่าถูกหลอก ฉลาดซื้อเลยนำตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง แป้งฝุ่น โลชั่น ยาสระผม สบู่เหลว มาทดลองหาน้ำหนักที่กระป๋องหรือขวดที่ผู้ผลิตใช้ในการบรรจุสินค้าแต่ละชนิดนั้น ว่าสามารถบรรจุน้ำหนักเต็มที่ได้เท่าไหร่ เพื่อเทียบกับปริมาณที่บรรจุจริงตามฉลาก แล้วหาสัดส่วนของพื้นที่ว่างในบรรจุภัณฑ์ว่าเหลืออยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ฉบับที่แล้วลงเรื่อง “แป้ง” กับ ”โลชั่น” ฉบับนี้จึงเป็นคิวของ “ยาสระผม” และ “สบู่เหลว”                  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 164 บรรจุภัณฑ์ใหญ่ไปไหม??

สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง ยาสระผม สบู่เหลว แป้งฝุ่น โลชั่น ทุกวันนี้เริ่มมีแต่เสียงสะท้อนว่า “กระป๋องใหญ่ไปไหม ข้างในมีอยู่นิดเดียว” หรือ “เพิ่งซื้อมาใช้ ทำไมหมดเร็วจัง” ซึ่งจริงๆ แล้วสินค้าประเภทนี้ น้ำหนัก ประมาณ 200 – 250 กรัม(มิลลิลิตรในกรณีของเหลว) คนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้หรอกว่าจริงๆ แล้วมันคือแค่ไหน ทุกคนก็อาศัยมองดูลักษณะเอาจากตัวแพ็กเก็จหรือบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นธรรมดาที่เราจะมองว่าแพ็กเก็จใหญ่ของข้างในก็น่าจะเยอะสิ ยิ่งถ้าดูยี่ห้อหนึ่งที่กระป๋องใหญ่แล้วราคาถูกกว่าอีกยี่ห้อ บางทีก็ไม่ได้ดูฉลากว่าน้ำหนักบรรจุเท่าไหร่รีบคว้าไปจ่ายเงินทันที ทั้งที่อีกยี่ห้อที่มองข้ามอาจบรรจุน้ำหนักสินค้ามากกว่าก็ได้ เพียงแต่กระป๋องดูเล็กกว่า ด้วยจิตวิทยาแบบนี้ ผู้ผลิตจึงมักเลือกออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใหญ่สักหน่อย หรือทำให้ดูเหมือนใหญ่เพื่อดึงความสนใจของคนซื้อ แต่ของข้างในอาจใส่ลงไปแค่ 60 % หรือ 70 % เหลือที่ว่างอีกเยอะ ทางหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ได้กำหนดขนาดมาตรฐาน เช่น ยาสระผมขนาดกลางทุกยี่ห้อ ต้องบรรจุน้ำหนักที่ 200 มล. เท่ากันหมด เพราะถือว่าเป็นการค้าเสรีผู้ผลิตมีสิทธิบรรจุน้ำหนักเท่าไรก็ได้ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อต้องพิจารณาฉลากกันเอาเอง แต่รัฐจะไปเน้นควบคุมที่เรื่องราคาขายปลีกแทนและดูแลไม่ให้โกงน้ำหนักที่ผิดไปจากฉลาก กรณีทำแพ็กเก็จให้ใหญ่ยังอาจใช้เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดว่ามีการเพิ่มน้ำหนักสินค้าเพื่อการปรับขึ้นราคา ทั้งที่บรรจุน้ำหนักเท่าเดิม และในทางกลับกันแพ็กเก็จก็อาจเท่าเดิม(คือใหญ่มาแต่แรก) เพื่อเผื่อไว้สำหรับลดน้ำหนักที่บรรจุให้น้อยลงแต่ขายในราคาเดิม โดยผู้ซื้อไม่ทันรู้ตัวว่าน้ำหนักได้ลดลงไปแล้ว แต่เรื่องแบบนี้ถ้าพูดอย่างเดียวอาจถูกมองว่ารู้สึกไปเองหรือเปล่า ฉลาดซื้อเลยนำตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง แป้งฝุ่น โลชั่น ยาสระผม สบู่เหลว มาทดลองหาน้ำหนักที่กระป๋องหรือขวดที่ผู้ผลิตใช้ในการบรรจุสินค้าแต่ละชนิดนั้น ว่าสามารถบรรจุน้ำหนักเต็มที่ได้เท่าไหร่ เพื่อเทียบกับปริมาณที่บรรจุจริงตามฉลาก แล้วหาสัดส่วนของพื้นที่ว่างในบรรจุภัณฑ์ว่าเหลืออยู่กี่เปอร์เซ็นต์ สำหรับฉบับนี้ขอลงแค่ “แป้ง” กับ ”โลชั่น” ก่อน ฉบับหน้าจึงเป็นคิวของยาสระผมและสบู่เหลว   แป้งฝุ่น เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก เพราะพบว่าส่วนใหญ่บรรจุน้ำหนักลงไปแค่ครึ่งหนึ่งของกระป๋องเท่านั้น เหลือพื้นที่ว่างอยู่ ราวๆ  50% คาดว่าน่าจะช่วยให้สามารถเขย่าแป้งได้สะดวกขึ้น **สำรวจเดือนตุลาคม 2557                                                                                                                                                   สคบ.วอนเอกชนลดขนาดบรรจุภัณฑ์ โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ 24 ก.ค. 2557 นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ สคบ.จะเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านสินค้าอุปโภค และบริโภค รายใหญ่ เข้ามาหารือเพื่อขอให้ช่วยลดขนาดบรรจุภัณฑ์สินค้า ทั้ง แชมพู สบู่เหลว ครีมบำรุงผิว ผงซักฟอก อาหาร และขนมขบเคี้ยว ลงจากเดิม หลังจากได้ส่งทีมออกสุ่มตรวจสินค้าแล้วเห็นว่า ขนาดบรรจุภัณฑ์สินค้าหลายชนิดมีขนาดใหญ่เกินจริง แต่ปริมาณสินค้าที่บรรจุมีขนาดเท่าเดิม จึงอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เลือกซื้อสินค้าโดยที่ไม่ได้ทันสังเกต ขณะเดียวกันการปรับลดปริมาณของบรรจุภัณฑ์ลง ยังส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตลดลงด้วย “จากการสุ่มตรวจสินค้าหลากชนิด เช่น ครีมบำรุงผิวหลายยี่ห้อ ขนาดขวดที่ใช้บรรจุครีมมีพื้นที่ว่างอยู่ถึง 17-31% ส่วนแชมพูก็มีพื้นที่ว่าง 23-41% แม้จะเข้าใจว่า การทำขนาดขวดที่บรรจุให้ใหญ่ จะเป็นการแข่งขันทางการตลาดของผู้ประกอบการ เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคมาเลือกซื้อสินค้า ซึ่งบางรายอาจจะเข้าใจผิดได้ว่า สินค้านี้ขวดใหญ่ขึ้น อาจมีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่พอมาใช้แล้ว กลับมีอยู่นิดเดียวไม่แตกต่างจากขวดธรรมดา ขณะเดียวกันการเพิ่มขนาดยังทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มโดยไม่จำเป็น อีกอย่างยังเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุอีกด้วย” ทั้งนี้ในระยะแรก สคบ.จะขอความร่วมมือตามความสมัครใจก่อน หรือถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้ลดลงเท่าที่จำเป็น เบื้องต้นอาจกำหนดให้พื้นที่ว่างภายในบรรจุภัณฑ์ต้องไม่เกิน 15% หรือมีสินค้าที่บรรจุภายในอยู่เกิน 3 ใน 4 ของบรรจุภัณฑ์ ส่วนในระยะยาว ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม และกรมควบคุมมลพิษ เพื่อออกมาตรการควบคุมให้ชัดเจน เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน. ที่มา http://www.thairath.co.th/content/438498

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 160 ครีมลดริ้วรอย ของใครนะเวิร์กสุด

อะไรเอ่ย ... มาช้าไม่ว่า ไม่มาเลยยิ่งดี? แต่ถ้ามันมาแล้วก็ถึงเวลาที่ ฉลาดซื้อ จะพาสมาชิกไปพิสูจน์ประสิทธิภาพครีมบำรุงผิวที่อ้างว่าสามารถลบเลือนลายเส้นที่แวะมาฝังตัวบนใบหน้าของเราได้ ว่ามันสามารถทำได้อย่างที่อ้างหรือไม่ และถ้าจะลงมือควักกระเป๋า เราควรเลือกยี่ห้อไหน … ครีมลดริ้วรอยในการทดสอบครั้งนี้เป็นครีมที่ติดอันดับขายดีในยุโรปและเอเชีย (ซึ่งมีฮ่องกง และเกาหลีใต้ส่งตัวอย่างเข้าร่วมทดสอบด้วย) ทั้งยี่ห้อที่ซื้อผ่านเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายยาทั่วไป วิธีการทดสอบ ทดสอบโดยองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research& Testing) ครั้งนี้มีอาสาสมัครเข้าร่วมทดสอบทั้งหมด 995 คน ทั้งหมดเป็นผู้หญิงเชื้อสายคอเคเซียนที่อายุระหว่าง 31 – 70 ปี (อายุเฉลี่ยของอาสาสมัคร คือ 53 ปี) แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีผู้ทดลองใช้ 30 – 31 คน หลังจากอาสาสมัครใช้ผลิตภัณฑ์วันละ 2 ครั้ง (เช้า-ค่ำ) เป็นเวลา 1 เดือน (ที่ไม่โดนแสงแดดเลย) ทีมวิจัยได้วัดความยาวและความลึกของริ้วรอย เพื่อเปรียบเทียบกับค่าก่อนการใช้ นอกจากนี้ยังตรวจวัดความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยวิธี corneometry สอบถามความพึงพอใจของอาสาสมัครที่ใช้ผลิตภัณฑ์ และการพิจารณาความถูกต้องของฉลากด้วย สัดส่วนการให้คะแนน (คะแนนเต็ม 100) ริ้วรอยลดลง       ร้อยละ 50 ผิวนุ่มชุ่มชื้น       ร้อยละ 25 ผู้ใช้พึงพอใจ*      ร้อยละ 15 ฉลากถูกต้อง**   ร้อยละ 10 *ลักษณะเนื้อครีม ความเหนียว ความมัน การซึมลงสู่ผิว กลิ่น **มีชื่อ/ที่อยู่ผู้ผลิต วันผลิต/วันหมดอายุ ปริมาตร ส่วนประกอบ ข้อควรระวัง ฯ จากการทดสอบครั้งนี้ เราพบว่ายังไม่มีครีมยี่ห้อไหนได้คะแนนในระดับ 5 ดาว ครีมที่ดีที่สุดในการทดสอบครั้งนี้คือ EUCERIN Hyaluron-filler ที่ได้คะแนนในระดับ 4 ดาว ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ได้คะแนนในระดับ 3 ดาวเท่านั้น และที่น่าสนใจคือ มีผลิตภัณฑ์ที่ให้อาสาสมัครทดสอบ 2 ตัวที่เป็นครีมบำรุงผิวธรรมดาที่ไม่ได้อ้างสรรพคุณลดริ้วรอย แต่ได้คะแนนจากการทดสอบค่อนข้างดีคือ NIVEA Pure natural soin de jour hydratant* และ VICHY Aqualia thermal* ดีกว่าครีมราคาแพงอีกหลายยี่ห้อด้วย     //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 ยาปลุกนกเขา(แผนปัจจุบัน) ในยาแผนโบราณบำรุงร่างกาย

อันว่าภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศนั้น เป็นหนึ่งในสัญญาณบ่งบอกสภาวะเสื่อมถอยทางกาย(แก่นั่นแหละ) และหลายคนก็อาจมีสาเหตุทางด้านจิตใจ หรือเกิดจากการใช้ยาประจำบางอย่าง โดยไม่รู้ถึงผลข้างเคียง ดังนั้นควรได้รับการวินิจฉัยปัญหาอย่างรอบคอบและแก้ไขที่ต้นเหตุ มิใช่ว่า ต้องฝืนปลุกนกเขาให้ขันตลอด ด้วยการโด๊ปยาอย่างที่หลายท่านชอบทำ เรื่องของเรื่องคือ เมื่อเฝ้าดูรายการโทรทัศน์ในช่องเคเบิลและดาวเทียมทั้งหลายแล้ว ทำให้แจ้งในใจว่า คุณผู้ชายส่วนใหญ่วุ่นวายใจกับเรื่อง หย่อนสมรรถภาพทางเพศจริงจังมาก ไม่ว่ายาอะไรโฆษณาว่าดี ว่ายอดเป็นต้องหามาลองโดยไม่ได้มองถึงอันตรายใดๆ ยาพวกนี้เวลาโฆษณาจนติดแล้วในช่องทางเคเบิล ก็มาโผล่ในฟรีทีวี หรือคัตเอ้าต์ระดับสนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยสรรพคุณบำรุงร่างกาย(แต่คนได้ยินชื่อก็รู้ล่ะว่า เป็นยาเพื่อเรื่องอย่างว่า) ยาประเภทนี้มักมาในรูปของยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณ ผสมสารพัดสมุนไพร แน่นอนราคาแพงมาก(ไม่รู้แพงเพราะตัวยาหรือโฆษณา) ซึ่งสรรพคุณเด่นดังในทางบำรุงร่างกาย(เพศชาย) นี่เอง ที่ทำให้เกิดปัญหาว่า ยาเหล่านี้อาจมีการผสมยาแผนปัจจุบันลงไป เข้าอีหรอบเดียวกับกาแฟลดน้ำหนัก ที่ใส่ตัวยาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นข่าวมาโดยตลอด ล่าสุดได้รับรายงานผลการทดสอบจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ (เชียงใหม่และอุบลราชธานี) ว่า เจอยาแผนปัจจุบัน(Tadalafil และ Sildenafil ตัวหลังนี้มีชื่อการค้าว่า ไวอากร้า) ในยาบำรุงร่างกาย เกร็กคู จิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง และแคปปร้า หรือ cappra อันนี้โชว์ป้ายโฆษณาท้าทายสายตาอยู่ ณ สนามบินสุวรรณภูมิด้วย   สรุปผล นกเขาขันเพราะยาแผนปัจจุบัน ก็เป็นอันตอบคำถามได้ว่า ทำไมยาแผนโบราณชื่อดังเหล่านี้จึงตอบโจทย์ท่านชายได้ ไอ้ที่ว่าได้ผลดีเยี่ยม ก็เพราะแอบใส่ยาแผนปัจจุบันเข้าไปนี่เอง การรับประทานยาด้วยความเข้าใจผิดแบบนี้ อันตรายต่อสุขภาพมาก เพราะหนึ่งการรับประทานยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณ หลายท่านยังเข้าใจผิดว่า ปลอดภัย (อย่างน้อยก็ปลอดภัยกว่าสารเคมีสังเคราะห์) ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เลย มันก็อันตรายด้วยกันทั้งสองแบบ แต่ยาแผนโบราณดีกว่านิดหน่อยเพราะไม่ได้ออกฤทธิ์รวดเร็วเท่ายาแผนปัจจุบัน อีกทั้งผลข้างเคียงอาจน้อยกว่า แต่เมื่อมาในรูปของการแอบแฝง ทำให้คุณผู้ชายอาจรับประทานยาเกินขนาดและขาดความระมัดระวัง ซึ่งตัวยา Sildenafil และ Tadalafil มีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์หลายอย่าง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด คนที่เป็นโรคหัวใจและกินยาโรคหัวใจอยู่ โดยเฉพาะยาในกลุ่มไนเตรท เช่น ยาไนซอดิล ยาอมใต้ลิ้นที่ชื่อไนโตรกลีเซอรีล หรือยาไนโตรเดิร์ม ยารักษาโรคหัวใจเหล่านี้จะไปเสริมฤทธิ์กับยา Sildenafil ซึ่งอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้   ดังนั้นโปรดใช้สติในการซื้อหามารับประทานกันด้วยนะครับ   ------------------------------------------------------------------------------------------------------ Sildenafil หรือ VIAGRA ที่เป็นชื่อทางการค้า ของบริษัท PFIZER ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เกิดขึ้นมาด้วยความบังเอิญ Sildenafil Citrate (ชื่อสามัญทางยา) เกิดจากการวิจัยเพื่อผลิดยาขยายหลอดเลือดเพื่อช่วยรักษาเรื่องหัวใจขาดเลือด แต่กลับพบว่าผลข้างเคียงที่ได้ คือทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว คณะนักวิจัยจึงได้วิจัยต่อมาเพื่อเป็นยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และในปี 1998 ได้ผ่าน FDA ของอเมริกาโดยบริษัท PFIZER เป็นเจ้าของสิทธิบัตร หลังจากได้วางขายยา VIAGRA มันก็เป็นที่นิยมมาก นัยว่าเป็นยาชุบชีวิตของท่านชายหลายคนที่ประสบกับปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และนับจากนั้นไม่นานก็ได้แพร่หลายเป็นที่นิยมในหลายๆ ประเทศ อย่างไรก็ตามการใช้ยานี้ต้องจ่ายโดยแพทย์เป็นผู้สั่งเท่านั้น เพราะมีผลข้างเคียงไม่พึ่งประสงค์มากมาย   ------------------------------------------------------------------------------------------------------ พระราชบัญญัติ ยา พ.ศ. 2510 “ยาสมุนไพร” หมายถึง ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือ แร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุงหรือแปรสภาพ “ยาแผนโบราณ” หมายถึง ยาที่มุ่งหมายสาหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศหรือยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือ ยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตารับยาเป็นยาแผนโบราณ ------------------------------------------------------------------------------------------------------ มะเขือเผา นกเขาหลับ ทำไงดี เป็นคำสแลงไว้เรียก อาการที่องคชาติไม่แข็งตัว จัดว่าเป็นภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า อิมโพเทน (impotence) หรือ เมล อิเรคไท ดิสออเดอร์ (male erectile disorder) หรือ อิเรคไท ดิสฟังชั่น (erectile dysfunction) เรียกย่อๆ ว่า อีดี (ED) ซึ่งมีคำแปลว่า “ภาวะบกพร่องของการแข็งตัวขององคชาต”  ภาวะนี้สร้างความทุกข์ใจอย่างมาก และแน่นอนเมื่อเกินจะเยียวยาก็ต้องหาหนทางบำบัดอาการ ดังนี้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 เช็คปริมาณกระดาษเช็ดหน้า

กระดาษทิชชู่ หรือ กระดาษชำระ ถือเป็นกระดาษอเนกประสงค์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีกระดาษทิชชู่ให้เลือกใช้สารพัดอย่างแบ่งตามประเภทการใช้งาน ทั้งกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดมือ ฯลฯ คิดว่าคนส่วนใหญ่คงตัดสินใจเลือกซื้อกระดาษทิชชู่จาก ยี่ห้อ ราคา หรือแม้แต่สีสันของบรรจุภัณฑ์ และอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อกระดาษทิชชู่ นั้นคือ “จำนวนแผ่นกระดาษทิชชู่” เปรียบเทียบดูว่ายี่ห้อไหนมีจำนวนที่คุ้มค่าคุ้มราคากว่ากัน แต่จะมีใครมั้ย? ที่เคยลองตรวจสอบดูว่าจำนวนกระดาษทิชชู่ที่อยู่ในกล่องกับตัวเลขที่ระบุบนฉลากข้างกล่องถูกต้องตรงกันหรือเปล่า ฉลาดซื้อเราจึงขอรับอาสาเช็คความถูกต้องของกระดาษทิชชู่ โดยเราเลือกกระดาษเช็ดหน้าชนิดบรรจุกล่องมาลองนับกันแบบแผ่นต่อแผ่นว่าแต่ละยี่ห้อที่เรานำมาสำรวจมีปริมาณแผ่นกระดาษเช็ดหน้าตรงกับที่แจ้งไว้หรือเปล่า   วิธีการทดสอบ เราใช้อาสาสมัคร 3 คน เพื่อตรวจนับจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้า อาสาสมัครทั้ง 3 คนจะนับกันคนละ 1 ครั้งต่อ 1 ตัวอย่าง เท่ากับว่าแต่ละตัวอย่างเราจะทำการตรวจนับจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้าถึง 3 ครั้ง เพื่อตรวจสอบจำนวนและทวนความถูกต้อง ผลการทดสอบ เป็นเรื่องที่น่าดีใจที่กระดาษเช็ดหน้าทุกยี่ห้อที่เรานำมาสำรวจจำนวนแผ่นกระดาษ พบว่าทั้งหมดตรงตามจำนวนที่ระบุไว้ในรายละเอียดข้างกล่อง แถมฉลาดซื้อยังพบว่ามีหลายยี่ห้อให้จำนวนกระดาษมาเกินกว่าที่ระบุเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น ยี่ห้อ เชลล็อกกระดาษเช็ดหน้าโรชี่ ที่ระบุจำนวนไว้ว่า 150 แผ่น แต่จากการสำรวจเรานับจำนวนได้ 154 แผ่นทั้ง 3 ครั้ง นอกจากนี้ยังมียี่ห้อ ซิลค์ ที่เรานับจำนวนได้ 124 แผ่น แต่ข้างกล่องระบุไว้ 120 แผ่น, ยี่ห้อ เลดี้สก๊อตต์ ที่นับจำนวนได้ 152 แผ่น ขณะที่ข้างกล่องระบุไว้ 150 แผ่น และยี่ห้อ เทสโก้ (กล่องเล็ก) ที่นับได้ 52 แผ่น แต่ระบุจำนวนที่ข้างกล่องไว้ 50 แผ่น ถือว่าเป็นกำไรของผู้บริโภค ตารางแสดงผลการสำรวจจำนวนแผ่นกระดาษเช็ดหน้า เปรียบเทียบกับจำนวนที่แจ้งไว้บนบรรจุภัณฑ์ ชื่อสินค้า จำนวนที่นับได้ จำนวนที่ระบุบนผลิตภัณฑ์ ขนาดแผ่น วัน/เดือน/ปีที่ผลิต ราคา (บาท) เชลล็อกกระดาษเช็ดหน้าโรชี่ 154 150 - 27 03 13 42 เลดี้สก๊อตต์ 152 150 - 16 04 13 - คุ้มค่า 150 150 20x20 ซม. 04 04 56 18.50 บิ๊กซี 150 150 20x20 ซม. 14 02 56 - แฮปปี้บาท 150 150 20x20 ซม. 30 03 56 - คลีเน็กซ์ 150 150 - 07 04 13 54 ซิลค์ 124 120 - 13 04 13 27 สก็อต 120 120 - 14 04 13 94 เทสโก้ กล่องเล็ก 52 50 13x20 ซม. 02 01 13 42   ฉลาดซื้อแนะนำ การเลือกซื้อกระดาษชำระ -กระดาษชำระที่ดี เนื้อของกระดาษแต่ละแผ่นต้องมีสีที่สม่ำเสมอกัน -ไม่มีรอยตัด ฉีกขาด (ยกเว้นรอยปะสำหรับฉีก) -ไม่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในกระดาษ -กระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ และกระดาษชำระ ถือเป็นสินค้าควบคุมฉลาก -บนฉลากต้องแสดงขนาดความกว้าง – ยาว ของแผ่นกระดาษ เป็นเซนติเมตร -ถ้าในฉลากมีการระบุประเภทของกระดาษ เช่น “กระดาษเช็ดหน้า” “กระดาษเช็ดปาก” “กระดาษเช็ดมือ” หรือ “กระดาษชำระ” กระดาษนั้นก็ต้องมีคุณลักษณะที่ตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำหนดไว้ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของกระดาษ -เพราะฉะนั้นเราควรใช้กระดาษชำระให้ถูกต้องตามประเภทการใช้งาน เพราะกระดาษแต่ละชนิดถูกผลิตออกมาเพื่องานที่แตกต่างกัน ความหนานุ่ม ความยืดหยุ่น และการดูดซับน้ำ รวมถึงเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จึงมีความแตกต่างกัน ที่มา: ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2526) เรื่อง กำหนดกระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดปาก กระดาษเช็ดมือ และกระดาษชำระ เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก   ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- การแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม การแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริโภคอย่างเราควรรู้ ลองมาดูกันดีกว่าว่าแบบไหนคือการแสดงปริมาณสินค้าบนฉลากหรือบนผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องเหมาะสมได้ใจผู้บริโภค 1.ต้องแสดงปริมาณสุทธิหรือจำนวนที่แท้จริงของสินค้า โดยต้องไม่รวมน้ำหนักของสิ่งที่ใช้บรรจุหรือสิ่งที่ห่อหุ้มอยู่ 2.ต้องแสดงปริมาณตามมาตราชั่ง มาตราตวง หรือมาตราวัด ในระบบเมตริกหรือแสดงเป็นหน่วย (กรัม, มิลลิกรัม, ชิ้น, แผ่น ฯลฯ) แล้วแต่ชนิดของสินค้าหีบห่อ โดยใช้ตัวเลขไทยหรือตัวเลขอารบิคและอักษรไทย 3.มีข้อความภาษาไทยว่า “ปริมาณสุทธิ” หรือที่มีความหมายเช่นเดียวกัน อยู่หน้าปริมาณของสินค้า 4.แสดงปริมาณของสินค้าไว้บนฉลาก บรรจุภัณฑ์ ให้สามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจน ตัวเลขและตัวอักษรมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร และต้องติดอยู่ถาวรไม่ลบเลือน 5.แสดงปริมาณของสินค้าทุกแห่งให้ตรงกันในกรณีที่มีการแสดงปริมาณไว้หลายแห่ง 6.ในกรณีที่เป็นสินค้าที่เป็นห่อใหญ่แล้วบรรจุมีสินค้าชนิดเดียวกันที่มีปริมาณเท่ากัน ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป และแต่ละห่อสามารถขายแยกต่างหากจากห่อใหญ่ได้ การบรรจุสินค้าห่อใหญ่ดังกล่าวจะต้องแสดงจำนวนห่อเล็กและปริมาณของสินค้าในห่อเล็กด้วย ที่มา : ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง กำหนดชนิดและวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าหีบห่อ พ.ศ. 2543 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- รู้มั้ยว่า? ปริมาณสินค้าที่แจ้งบนฉลากกับปริมาณสินค้าจริงๆ อาจไม่ตรงกันเสมอไป!!! แม้เรื่องของปริมาณสินค้าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องแจ้งกับผู้บริโภค แต่บางครั้งปริมาณของสินค้าจริงๆ กับปริมาณที่แจ้งไว้อาจไม่ตรงกันก็ได้ แต่อย่าเพิ่งตกใจ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้นั้นเป็นเพราะกฎหมายเขาอนุโลมให้การแสดงปริมาณสุทธิของสินค้าต่างๆ สามารถแสดงปริมาณแบบเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------   อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด สำหรับสินค้าที่แสดงปริมาณโดยนับเป็นหน่วย ปริมาณที่แสดงบนหีบห่อ อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดร้อยละของปริมาณที่แสดง ไม่เกิน 35 หน่วย - มากกว่า 35 หน่วย แต่ไม่เกิน 50 หน่วย 3 มากกว่า 50 หน่วย ขึ้นไป 2   อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด สำหรับสินค้าที่แสดงปริมาณเป็นมาตราชั่ง ปริมาณที่แสดงบนหีบห่อ อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดร้อยละของปริมาณที่แสดง ไม่เกิน 200 กรัม 6 มากกว่า 200 กรัม แต่ไม่เกิน 1 กก. 3 มากกว่า 1 กก. แต่ไม่เกิน 5 กก. 2 มากกว่า 5 กก. แต่ไม่เกิน 15 กก. 1.5 มากกว่า 15 กก. แต่ไม่เกิน 50 กก. 1 ที่มา : ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง กำหนดชนิดและวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าหีบห่อ พ.ศ. 2543

อ่านเพิ่มเติม >