ฉบับที่ 231 ช่วยกันหยุดการทำมาหากินกับการป่วยออนไลน์

        ประชาชนจำนวนมาก หากเทียบเคียงในอดีต คงไม่แตกต่างจากขบวนการขอทานที่ตัดแขนตัดขาเด็กเพื่อขอทานตามสถานที่สาธารณะ จะแตกต่างกันเพียงการใช้ระบบดิจิทัลเท่านั้น รับรู้ประเด็นข่าวได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็วมากกว่าระบบแบบเดิม             ภาพเด็กป่วยสร้างอารมณ์ร่วมให้กับสังคมไทยได้เป็นอย่างมากในการขอรับบริจาค ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนถึงความไม่เข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและความไม่เชื่อมั่นบางอย่างในระบบการบริการสาธารณสุขของประเทศ การใช้เงินในการรักษาพยาบาลช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งที่ทุกคนที่ป่วยควรเข้าถึงการรักษาได้ผ่านระบบหลักประกันสุขภาพของแต่ละคน ไม่ว่าระบบราชการ ประกันสังคม หรือบัตรทอง         ความไม่เข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นระบบรักษาพยาบาลที่รองรับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลในระบบอื่นๆ โดยทุกคนจะได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิการรักษาตามทะเบียนบ้านกับหน่วยบริการที่ใกล้บ้านที่สุด ซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นมีระบบที่ชัดเจน ตั้งแต่การขึ้นทะเบียน การขอย้ายสิทธิ โดยที่สิทธิประโยชน์รองรับการรักษาโรคทุกโรคตามมาตรฐาน ทั้งนี้ในแต่ละปีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีการรับฟังความเห็นเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาระบบหลักประกันฯ ให้ครอบคลุมมากที่สุด ดังนั้นขอให้ประชาชนทุกคนตรวจสอบสิทธิการรักษาของตัวเองด้วยการโทรสอบถามที่สายด่วน สปสช. โทร 1330         ถึงเวลาที่ภาครัฐควรทบทวนการสร้างระบบการบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานเดียวให้เกิดขึ้นได้จริงๆ เพราะเชื่อว่าเวลาที่เราป่วย เราต่างต้องการบริการ การตรวจหรือยาที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นตัวเราหรือแม้แต่นายกรัฐมนตรี หากได้รับบริการสุขภาพมาตรฐานเดียวกันจะช่วยสร้างความมั่นใจในการไปรับบริการ         การระบาดของโควิด19 ในปัจจุบัน บริการสาธารณสุขที่ทุกคนได้รับเป็นมาตรฐานเดียวกันหมดทั้งประเทศเหมือนการใช้บริการในกรณีฉุกเฉิน แต่การรักษาโรคเรื้อรังและการเจ็บป่วยอื่นๆ ยังมีหลายมาตรฐานนี่คือสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาในฐานะที่เป็นมนุษย์         กรณีข้างต้นนี้ทำให้เราเรียนรู้ร่วมกันว่า สังคมปัจจุบันทำให้เรารู้จักเพื่อนออนไลน์มากกว่าเพื่อนข้างบ้าน คนเก็บขยะ คนกวาดถนนที่เราเห็นทุกวัน การช่วยเหลือปันน้ำใจทำได้ทุกที่ทุกแห่ง และโดยเฉพาะเพื่อนบ้าน ชุมชนหรือสังคมใกล้ตัว ไม่จำเพาะออนไลน์ที่เราตรวจสอบได้ยากยิ่ง หรืออย่างน้อยก็ต้องมั่นใจว่าการบริจาคนั้นผ่านองค์กรสาธารณประโยชน์ที่เราเชื่อถือซึ่งมีอยู่มากมาย ที่สำคัญการบริจาคควรจะเป็นเรื่องการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของคนที่ป่วยหรือคนดูแลมากกว่า ที่เขาอาจจะไม่ได้ทำงานหรือรักษาตัวจนตกงาน หรือเราต้องช่วยผลักดันให้รัฐมีระบบสวัสดิการถ้วนหน้าเรื่องบำนาญแห่งชาติ ถึงแม้หลายคนจะบอกว่า การบริจาคเหมือนการให้ทานให้ไปแล้วถือว่าจบ แต่ต้องไม่ส่งเสริมให้เกิดการฆ่าชีวิตเพื่อรับบริจาค หรืออย่างน้อยเราไม่เป็นฟันเฟืองสนับสนุนให้ทำแบบนี้ได้อีกต่อไปกรณีเหตุการณ์หญิงสาวรายหนึ่งขอรับบริจาค โดยอ้างว่าลูกป่วยด้วยโรคที่หายาก จนได้รับเงินบริจาคจาก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 234 สิวและผื่นแพ้ที่มาจากการสวมหน้ากากอนามัย

        เมื่อหน้ากากอนามัยกลายเป็นของจำเป็นที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่กลายมาเป็นเรื่องกวนใจอาจไม่ใช่แค่รู้สึกอึดอัด  แต่มันคือ อาการผื่นแพ้หน้ากากและบางคนเกิดปัญหาสิวขึ้นมาอย่างมิอาจเลี่ยง เรามาหาวิธีรับมือกันเถอะ         การสวมหน้ากากตลอดวันและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดผื่นหรือตุ่มแดง มีอาการคันบริเวณที่สวมหน้ากาก​ หรือบริเวณใบหูได้ แบบนี้คืออาการผื่นแพ้ ถ้ารุนแรงถึงขั้นมีตุ่มน้ำ น้ำเหลืองซึมรีบพบแพทย์ทันที ในรายที่อาการเบาๆ แค่ผื่นแดง คันยิบๆ  อาจต้องเปลี่ยนหน้ากากอนามัย เลือกประเภทและขนาดที่เหมาะสม และสำคัญต้องรักษาความสะอาด อย่าประหยัดเกินไป หน้ากากอนามัยราคาลดลงแล้ว ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ก็ควรเป็นครั้งเดียวทิ้ง ชนิดผ้าซักได้ ต้องหมั่นทำความสะอาด        การระคายเคืองหรือแพ้ สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากการเสียดสี​ การสวมใส่ที่แน่นเกินไป เพราะขนาดหน้ากากไม่เหมาะกับใบหน้า หรือสายคล้องตึงเกินไปทำให้บริเวณใบหูถูกเสียดสี ตลอดจนความอับชื้นจากเหงื่อ ครีมและเครื่องสำอางที่ทาบนใบหน้า การแพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของหน้ากาก​ เช่น กาวผ้า สีย้อมผ้า พลาสติก​ ยาง ดังนั้นต้องทดลองหาให้พบหน้ากากที่เหมาะกับตนเอง          สิวจากการสวมหน้ากาก        สาเหตุของการเกิดสิวเมื่อใช้หน้ากากอนามัยพบได้บ่อยสองลักษณะ คือ การเสียดสีของหน้ากากกับผิวหน้า ซึ่งอาจรบกวนการผลัดเซลล์ผิว บริเวณที่ถูกเสียดสีจึงปรากฎสิว และอีกสาเหตุที่พบบ่อย คือ ความอบอ้าวที่เกิดจากการใส่หน้ากากทำให้น้ำมันถูกขับจากผิวมากขึ้น เมื่อรวมกับเครื่องสำอางหรือครีมที่เคลือบผิวหน้าอาจก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนจนกลายเป็นสิว          วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาสิวจากการใส่หน้ากากอนามัย         1.ควรงดแต่งหน้าในช่วงที่สิวเห่อ เพื่อลดปัญหาการอุดตัน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เจลแต้มสิวที่ช่วยให้สิวยุบไว อาจเลือกมาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า อ่านฉลากและคู่มือการใช้ให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนจากการแพ้สารในเจล         2.หากสิวหายแล้วควรเลือกเครื่องสำอางที่เนื้อเบาๆ (ถ้าเป็นได้ก็งดแต่งหน้าสักพักสำหรับคนที่เป็นสิวง่าย)         3.รักษาความสะอาดของผิว เมื่อกลับถึงบ้านควรรีบล้างหน้า         4.ลดเวลาการสวมใส่หน้ากากลง สวมเฉพาะเมื่อจำเป็นหรืออยู่ในสถานที่สาธารณะ         5.เปลี่ยนหน้ากากให้บ่อย อย่าใช้ซ้ำ กรณีหน้ากากผ้าซักใช้ใหม่ทุกวัน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ความเคลื่อนไหวเดือนกรกฏาคม 2563

5 แบงก์เปิดบัญชีเงินฝากด้วยใบหน้าสำเร็จ        ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไฟเขียว 5 แบงก์เปิดบัญชีเงินฝากด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้าสำเร็จ จากทดสอบทั้งหมด 14 ราย พร้อมออกหลักเกณฑ์ ออกแนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ (Biometric Technology) ให้บริการทางการเงิน         นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตอนนี้มี 5 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย กรุงเทพ กรุงศรีอยุธยา ทหารไทย และซีไอเอ็มบี ไทย ได้ออกจากศูนย์ทดสอบนวัตกรรมทางการเงิน (Sandbox) ภายหลังจากธปท.ได้เปิดทดสอบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลข้ามธนาคาร บนแพลตฟอร์ม NDID (National Digital ID) เพื่อเปิดบัญชีเงินฝากผ่านหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้าด้วยเทคโนโลยีชีวมิติ ในการให้บริการทางการเงิน โดยใช้เทคโนโลยีชีวมิติในการเปรียบเทียบใบหน้า (Facial recognition) เพื่อให้บริการเป็นวงกว้าง         “จากการทดสอบเราจะดูความแม่นยำของการยืนยันตัวตน ซึ่งในการทดสอบประมาณ 99.50% สามารถยืนยันได้แม่นยำ และอีก 0.50% อาจจะมีเรื่องของแสงของภาพอาจมืดไป หรือใบหน้าที่อาจมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น ธปท.จึงอยากให้ประชาชนไปอัพเดตข้อมูลกับธนาคารให้เป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อจะได้รับบริการที่สะดวกยิ่งขึ้น”         ทั้งนี้ ธปท. ได้ออกแนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ ในการให้บริการทางการเงินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ให้บริการทางการเงินที่นำ Biometrics มาใช้ในการให้บริการทางการเงิน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีการเปรียบเทียบใบหน้า แนวปฏิบัติดังกล่าวครอบคลุมหลักการที่ผู้ให้บริการทางการเงินพึงปฏิบัติ 6 ด้าน ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายและการกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ 2) การรวบรวมข้อมูลชีวมิติของผู้ใช้บริการอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย 3) การประมวลผลข้อมูลชีวมิติของผู้ใช้บริการอย่างแม่นยำ 4) การรักษาความปลอดภัยข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างเข้มงวดและรัดกุม ตามมาตรฐานสากล 5) การคุ้มครองผู้ใช้บริการและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีชีวมิติอย่างเหมาะสมเพียงพอ และ 6) การควบคุมความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและรองรับการให้บริการอย่างต่อเนื่อง  คาดธุรกิจฟาร์มปลูกผักในเมืองเติบโตขึ้นรับยุคนิวนอร์มัล        ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ประเทศไทยช่วง 1-2 ปีถัดจากนี้ อาจมีธุรกิจฟาร์มปลูกผักในเมืองเพิ่มขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการปลูกที่ให้ผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่และหนึ่งหน่วยเวลาที่สูงกว่าปกติ สอดคล้องกับเทรนด์การบริโภคเพื่อสุขภาพ รวมถึง COVID-19 ที่ส่งผลให้ภาคธุรกิจนี้จำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้เข้าถึงความปลอดภัยด้านอาหารมากขึ้น นับเป็นโอกาสดีของคนเมือง         โดยทำเลที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญในการลงทุน ได้แก่ พื้นที่ใจกลางเมืองที่มีผู้คนอาศัยหรือสัญจรเป็นจำนวนมาก อาทิ ห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารสูง เป็นต้น เพื่อป้อนให้กับลูกค้าเป้าหมายที่สนใจและพร้อมเต็มใจจ่ายกับสินค้ากลุ่มนี้ อาทิ คนรักสุขภาพ ผู้ออกกำลังกายหรือผู้รักการทำอาหาร ส่วนในระยะต่อไปกลุ่มลูกค้าใหม่ที่น่าจับตาคาดว่า น่าจะอยู่ในกลุ่มของโรงแรม โรงพยาบาล เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูงเพื่อนำเสนอให้กับลูกค้า ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น โรงเรียนสังกัดกทม.ห้ามจำหน่ายน้ำอัดลม ขนมกรุบ ลดภาวะฟันผุในเด็ก         นายณัฐพงศ์ ดิษยบุตร ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กทม. เปิดเผยว่า จากการสำรวจนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาทั่วประเทศ เกี่ยวกับสุขภาพทางช่องปาก พบเด็กนักเรียนมีฟันผุในระยะเป็นรูถึงร้อยละ 50 เฉลี่ย 1-2 ซี่/คน ดังนั้นสำนักการศึกษา กทม. จึงวางแนวทางปฏิบัติสำหรับโรงเรียนสังกัด กทม. ในเรื่องการจำหน่ายอาหารว่าง เครื่องดื่มในโรงเรียน โดยห้ามจำหน่ายน้ำอัดลม อาหารกรุบกรอบ ลูกอมทุกชนิด อาหารประเภทปิ้งย่างที่ไม่สะอาดมีโภชนาการต่ำและไม่ปลอดภัยให้เป็นไปตามระเบียบ ซึ่งอาหารจะต้องมีคุณค่าตามหลักโภชนาการ สะอาดและปลอยภัยแก่นักเรียน พร้อมประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องการจำหน่ายอาหารแก่บุคลากรและร้านค้าทั้งในโรงเรียนและบริเวณรอบโรงเรียน ตลอดจนให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในการเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ พร้อมให้คำแนะนำนักเรียนหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์โดยเฉพาะบริเวณรอบโรงเรียน เครือข่ายผู้ป่วยยื่นคัดค้าน ประกาศแพทยสภา 10 หน้าที่อันพึงปฏิบัติ        ตามที่แพทยสภาได้ออกประกาศแพทยสภา ที่ 50/2563 เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย โดยได้กำหนดหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยไว้ 10 ข้อ และมีผลในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2563 นั้น         8 กรกฎาคม 2563 ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เครือข่ายผู้ป่วยทุกประเภททั่วประเทศ (Healthy Forum) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเดินทางไปยื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอให้ยกเลิกประกาศแพทยสภา เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย เนื่องจากพบว่า การออกประกาศดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้ ขัดต่อกฎหมาย ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของแพทยสภาตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ซึ่งประกาศฯ นั้นไม่ได้ให้อำนาจแพทยสภาในการออกคำสั่งให้ผู้ป่วยหรือประชาชนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย          ประกาศหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยในหลายข้อ มีประเด็นปัญหาที่จะส่งผลต่อการพิจารณาคดีทางการแพทย์ในปัจจุบัน สะท้อนทัศนคติทางการแพทย์ที่คับแคบ มองว่าประชาชนไม่สนใจปัญหาสุขภาพของตนเอง ทั้งที่ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การทำข้อตกลงระหว่างประเทศ สังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของอาหาร และปัญหาสารเคมีทางการเกษตร เป็นต้น           นอกจากนี้กระบวนการในการจัดทำประกาศหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยนี้นั้น ไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยเอง  ภาครัฐและประชาชนร่วมใจพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล        กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2563 ในการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ได้มีมติเห็นชอบต่อแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล พ.ศ. 2563-2565 ซึ่งครอบคลุมการพัฒนา ตั้งแต่ระบบการกำกับดูแลด้านยา (ต้นน้ำ) ผู้ประกอบวิชาชีพและสถานบริการสุขภาพ (กลางน้ำ) และ ประชาชน ครอบครัวและชุมชน (ปลายน้ำ) ทั้งการใช้ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ วัคซีน ยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ใช้เพื่อการรักษา ยาสมุนไพร/ยาแผนโบราณ และยาสำหรับสัตว์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มุ่งหมายใช้เป็นยา         คนไทยทุกคนสามารถมาร่วมสร้างบรรทัดฐานใหม่ (new normal) เพื่อ ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล หรือเรียกว่า “Rational Drug Use country” ได้โดยยึดหลักว่าความเจ็บป่วยเป็นทุกข์ ซึ่งมีสมุทัยคือสาเหตุของการเกิดโรค การแก้ไขต้องเริ่มจากเหตุเพื่อนำไปสู่ความสุขทั้งกายและใจ เริ่มจากการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเพื่อไม่นำโรคเอ็นซีดี เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันเกาะตับ โรคเกาต์ โรคไต ตลอดจนโรคจากการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด มาสู่ตน รวมไปถึงการนำบุตรหลานและบุคคลในครอบครัวไปรับวัคซีนต่าง ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด การกระทำเช่นนี้จะลดโอกาสป่วย ลดความจำเป็นในการใช้ยาลงได้อย่างมหาศาล แต่เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องทำความรู้จักกับยาที่ได้รับและตั้งใจที่จะใช้ยานั้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตามคำสั่งของแพทย์ ไม่หยุดยาเอง ไม่เลือกกินหรือไม่กินยาบางชนิด เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่ใช้หรือไม่ประสงค์จะใช้ยาต่อต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ป้องกันโควิดแบบไหน ถึงเสี่ยงโควิด

แม้ผู้บริโภคจะปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ เพื่อป้องกันตนเองจากโควิด 19 อย่างเคร่งครัดแล้ว แต่ก็พบความเข้าใจผิดหลายๆอย่างที่เราก็คาดไม่ถึง ทำให้ผู้บริโภคหลายรายยังคงเสี่ยงต่อโควิด 19 จึงขอทำความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้ความเสี่ยงดังกล่าวลดลง         กินร้อน : คำว่ากินร้อนในที่นี้ไม่ได้หมายถึงห้ามใครกินอาหารที่เย็น หรือต้องกินอาหารที่ร้อนควันฉุยเท่านั้น แต่หมายถึงให้กินอาหารที่ปรุงจนสุกใหม่ๆ เพราะการปรุงอาหารให้สุกโดยผ่านความร้อนนั้น ความร้อนจะฆ่าเชื้อโรคตาย ส่วนใครจะกินตอนร้อนๆ ทันที หรือทิ้งไว้ให้คลายร้อนก็ได้ ส่วนอาหารที่เย็น เช่น เครื่องดื่ม หวานเย็น ไอศครีม ฯลฯ ก็กินได้ เพียงแต่ขอให้ตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่า ได้ผ่านกรรมวิธีที่สะอาดมาก่อนถึงปากเราหรือเปล่า         ช้อนกลาง : เนื่องจากเราไม่อาจจะรู้ได้ว่า มือของใครไปสัมผัสเชื้อโรคมาแล้วบ้าง ดังนั้นการกินอาหารโดยมีช้อนกลางเพียงอันเดียวแต่ทุกคนมาใช้ร่วมกัน ก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงได้ เพราะช้อนที่สะอาดก็อาจจะเจอมือของบางคนที่อาจมีเชื้อโรคมาสัมผัส และเมื่อมือของเราที่แม้จะทำความสะอาดแล้วไปสัมผัส ก็จะทำให้มือเราติดเชื้อโรคได้ ดังนั้นการใช้ช้อนกลางจึงหมายถึงการใช้ช้อนกลางในวงกินข้าว (ที่ไม่ใช่ช้อนที่เราใช้ตักอาหารเข้าปาก) ที่แต่ละคนมีเป็นของตนเอง เพื่อใช้ตักอาหารในวงสำรับให้ตนเองเท่านั้น เพราะช้อนของเราจะมีเพียงตัวเราเท่านั้นที่สัมผัสมัน แต่ถ้ามันยุ่งยาก วิธีง่ายๆ คือ ตักกับข้าวหรืออาหารใส่จานเราตั้งแต่แรกให้เป็นอาหารจานเดียวไปเลย จะได้ไม่ต้องปวดหัวหาช้อนหลายอันให้วุ่นวาย         ล้างมือ : ผู้บริโภคหลายคนคิดว่าการล้างมือบ่อยๆ จะป้องกันเชื้อโควิดได้ เพราะจำมาเพียงว่า เชื้อโควิด 19 เจอสบู่ก็ตายแล้ว ซึ่งมีส่วนถูกแต่ยังไม่หมด เพราะการล้างมืออย่างรวดเร็ว ไม่ถูสบู่ให้ทั่วทุกซอกทุกมุมทั้งซอกนิ้วและข้อมือ และยังใช้เวลาล้างมือแบบรวดเร็ว ก็อาจจะทำให้เชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อโควิด 19 หลงเหลืออยู่ตามบริเวณที่ไม่โดนสบู่ หรืออาจโดนสบู่แต่ยังไม่ทันจะตาย ก็เจอน้ำชะล้างเอาคราบสบู่ไปแล้ว ดังนั้นการล้างมือจึงต้องล้างให้ทั่วทุกซอกทุกมุมและใช้เวลาให้มือสัมผัสสบู่สักครู่หนึ่ง มีคนแนะนำง่ายๆ ว่า เวลานานประมาณร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ธเดย์ หรือเพลงช้างช้างช้างจบสองรอบประมาณนั้นก็น่าจะใช้ได้         บางคนใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ หรือใช้แอลกอฮอล์สเปรย์พ่นมือ แม้จะเลือกยี่ห้อที่มีปริมาณของแอลกอฮอล์ได้ตามมาตรฐาน และมีฉลากดูต้องแล้ว แต่หากใช้ไม่ถูกวิธี เช่น พอมือสัมผัสเจลหรือแอลกอฮอล์ ก็ไม่ถูให้ทั่ว บางคนยังเอามือไปเช็ดเสื้อผ้าให้แห้งอีก แบบนี้แอลกอฮอล์ก็ไม่สามารถไปฆ่าเชื้อโควิดได้ วิธีที่ถูกต้องคือไม่ต้องเช็ดมือ ปล่อยให้มันแห้งไปเอง แอลกอฮอล์จะได้ไปฆ่าเชื้อโรคให้ตายหมด         ใส่หน้ากาก : เราใส่หน้ากากไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ละอองฝอยจากน้ำมูกหรือน้ำลายจากการไอหรือจามของคนอื่นหรือเชื้อโควิดที่อาจฟุ้งอยู่ในบริเวณนั้น เข้ามาสู่ปากหรือจมูกเรา ขณะเดียวกันหากเรามีเชื้อโรค หน้ากากก็จะกันไม่ให้กระเด็นไปสู่คนอื่นๆ ดังนั้นเมื่อเราสวมหน้ากากแล้ว เราไม่ควรเอามือของเราไปสัมผัสด้านนอกของหน้ากาก เพราะเราจะไม่รู้เลยว่าบริเวณนั้นมีเชื้อโรคมาติดอยู่หรือไม่ หรือถ้าเผลอไปสัมผัสแล้ว ควรรีบล้างมือให้สะอาดทันที และเมื่อจะถอดก็ควรระวังไม่ให้มือสัมผัสบริเวณด้านนอก จับสายคล้องหูแล้วถอดออกจะปลอดภัยกว่า และควรเปลี่ยนหน้ากากทุกวัน ถ้าใช้หน้ากากผ้าก็ให้ซักทำความสะอาดทุกวัน อย่าทิ้งไว้รวมๆ กันแล้วค่อยมาซัก เพราะจะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ถอดบทเรียนการรักษาโควิด-19 ในไทย

        นับตั้งแต่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เมื่อปลายปี 2019 ลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากข้อมูลของกรมควบคุมโรค รายงานพบผู้ติดเชื้อแล้วใน 211 ประเทศ โดยยอดป่วยสะสมอยู่ที่ 6,031,023 ราย เสียชีวิต 366,812 ราย (ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 พ.ค.2563) แต่ก็ยังไม่มีที่ว่าการระบาดจะยุติในเร็ววัน นักวิชาการทางการแพทย์คาดการณ์ว่าทั่วโลกยังต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ไปจนกว่าจะมีวัคซีนป้องกันโรค         ขณะนี้มีนักวิจัยในหลายประเทศกำลังเร่งมือพัฒนาทั้งวัคซีนป้องกันโรคและยารักษาออกมาใช้ หลายประเทศมีความคืบหน้าไปมาก แต่ก็ยังไม่มียาจำเพาะต่อการรักษาโควิด-19 โดยตรง ตอนนี้การรักษาโควิดจึงเป็นเรื่องของการศึกษาและปรับใช้สูตรยาสำหรับการรักษาโรคอื่นๆ มาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19         สำหรับประเทศไทย (สัมภาษณ์เมื่อเดือน พฤษภาคม 2563) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้สรุปแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยว่า ที่ผ่านมามีรายงานข่าวเป็นระยะว่าประเทศต่างๆ มีการใช้ยาบางประเภทแล้วได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ซึ่งประเทศไทย โดยกรมการแพทย์ร่วมกับเครือข่ายโดยเฉพาะโรงเรียนแพทย์ อยู่ระหว่างการสรุปผลการรักษา ซึ่งจะมีการวิเคราะห์ ถอดบทเรียน และปรับแนวทางคำแนะนำที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเทศไทยเป็นระยะ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณากันอีกครั้ง โดยจะบวกกับข้อมูลในต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้         อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ ถ้าดูจากข้อมูลส่วนใหญ่ที่มาจากการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนหนึ่ง เบื้องต้นเฉพาะข้อมูลที่มีการสรุปตรงกันคือการรักษาจะไม่ใช่การใช้ยาตัวเดียว แต่ต้องเป็นสูตรผสมหรือยาสูตรคอคเทล ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าสูตรคอคเทลจะต้องเป็น สูตร 1. ยาต้านเอชไอวี 2 ตัวคือ “โลพินาเวียร์ (lopinavir)” กับ “ริโทนาเวียร์ (ritronavir)  บวกกับยาตัวที่ 3 คือยาต้านไวรัส “ฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir)” หรือสูตร 2.ยาต้านเอชไอวี 2 ตัวคือ “โลพินาเวียร์” กับ “ริโทนาเวียร์ บวกกับยาตัวที่ 3 คือยาต้านไวรัส “โอเซลทรามิเวียร์ (Oseltamivir)”        หากจำได้จะมีเคสผู้ป่วยชาวจีนที่เข้ารับการรักษาที่รพ.ราชวิถี ซึ่งเคยมีคนบอกว่าใช้ยานี้แล้วไม่ได้ผล แต่ปรากฏว่าถ้าให้ยาต้านไวรัสเอชไอวี 2 ตัว บวกกับยาฟาวิพิราเวียร์ หรือบวกกับยาโอเซลทรามิเวียร์ ตัวใดตัวหนึ่งได้ผล ทำให้ผู้ป่วยนอนรพ.สั้นลง เฉลี่ยผู้ป่วยจะนอนรพ.ประมาณ 8-9 วัน ถ้าเทียบกับการให้ยาต้านเอชไอวี บวกกับยา “คลอโรควินฟอสเฟต (chloroquine phosphate)  หรือ ยารักษาโรคมาลาเรีย ไฮดร็อกซี่คลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ผู้ป่วยจะนอนรพ.เฉลี่ย 13 วัน ซึ่งขณะนี้มีรายงานว่าองค์การอนามัยโลกได้ให้ยกเลิกการใช้ไปแล้ว        อย่างไรก็ตาม การให้ยาคอกเทลสูตรยาต้านไวรัสเอชวี 2 ตัวบวกตัวที่ 3 เป็นโอเซลทรามิเวียร์ นั้นได้ให้เฉพาะผู้ป่วยชาวจีนที่รพ.ราชวิถีเท่านั้น ยังไม่ได้เป็นมาตรฐาน ตอนนี้จึงมีเพียงสูตรที่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นตัวที่ 3 เท่านั้น ที่ผ่านมาเราจะให้ฟาวิพิราเวียร์เฉพาะในผู้ป่วยอาการหนัก แต่ก็มีการปรับมาเป็นการให้ในผู้ป่วยที่เริ่มมีภาวะปอดอักเสบทุกราย และกำลังพิจารณาอยู่ว่าจำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยโควิดที่เริ่มมีอาการเลยหรือไม่          นพ.สมศักดิ์ บอกด้วยว่าที่ผ่านมามีการใช้ยาอีกหลายตัว เช่น อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะช่วยอะไร ส่วน ยาต้าน “ไซโตไคน์ สตอร์ม (cytokine storm)” ก็ยังมีการใช้เพียงบางรายเท่านั้น อีกวิธีหนึ่งคือการใช้พลาสมาของผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว แต่เพิ่งมาเริ่มเก็บพลาสมาในระยะหลังที่ผู้ป่วยโควิด-19 ในไทยน้อยลงแล้ว ทำให้มีการนำไปใช้จริงในผู้ป่วยไม่กี่รายเท่านั้น จึงยังบอกอะไรไม่ได้         อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับองค์การอนามัยโลกในโครงการทดลอง โซลิดาริที ไทรอัล (Solidarity Trial) ร่วมกับอีกประมาณ 30 ประเทศ ในการทดลองยาแต่ละสูตร ประมาณ 4-5 สูตร อาทิ  ยาเรมเดซิเวียร์" (Remdesivir) ซึ่งได้มีการทดลองใช้ในประเทศอื่นบ้าง หรือยาไซโตไคน์สตอม หน่วยงานหลักๆ ที่เข้าร่วมน่าจะมีทั้งโรงเรียนแพทย์ รพ.ราชวิถี รพ.ทรวงอก และน่าจะมีรพ.บำราศนราดูรด้วย อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วยและต้องอยู่ที่ความสมัครใจของผู้ป่วยด้วย         อีกด้านหนึ่ง คือสถาบันบำราศนราดูร ซึ่งเป็น รพ.เฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อฯ ที่รับส่งต่อผู้ป่วยโควิดอาการหนักจากทุกจังหวัด โดย นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ รองผอ.สถาบันบำราศราดูร ฝ่ายควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้ถอดบทเรียนการรักษาผู้ป่วยโควิด -19 ก่อนการระบาดระลอกแรกจะคลี่คลายว่า ที่สถาบันมีผู้ป่วยทุกประเภทกว่า 200 ราย อายุต่ำสุดคือทารกวัย 47 วัน และสูงสุดอายุ 83 ปี ช่วงอายุที่พบมากสุดคือ 21-30 ปี เป็นชาย 60% หญิง 40% ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 90% อีก 10% เป็นชาวต่างชาติ มากที่สุดคือชาวจีนประมาณ 8% อีก 2% คือชาติอื่นๆ โดยเฉลี่ยผู้ป่วยนอนรพ. 2 สัปดาห์         สำหรับกลุ่มอาการของโรคมี 4 ลักษณะตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก คือ         อาการน้อยสุดหรือไข้หวัดพบ 60% รองลงมาคือปอดอักเสบเล็กน้อย 21%  ปอดอักเสบรุนแรง 13% และปอดอักเสบและระบบหายใจล้มเหลว ADRS 6%         เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขผู้ป่วยหนักทั่วประเทศไทยและทั่วโลก จะอยู่ที่ 3% แต่สถาบันบำราศฯ รับส่งต่อผู้ป่วยมาจากรพ.ทั่วประเทศจึงทำให้มีจำนวนผู้ป่วยหนักสูงถึง 6% หรือคิดเป็น 2 เท่าของค่าเฉลี่ยผู้ป่วยหนักทั่วโลก         ทั้งนี้ถ้าผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง เมื่อเข้ารับการรักษาจากบวกจะกลายเป็นลบใช้เวลาเฉลี่ย10 วัน ส่วนกลุ่มอื่นๆ ประมาณ 12 วัน ดังนั้นเฉลี่ย 10-12 วัน สำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ออกซิเจนช่วยหายใจมีอยู่ 10% โดยบางคนต้องให้ออกซิเจนความเร็วสูง และบางส่วนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเพราะหายใจเองไม่ได้          ส่วนยารักษานั้น ไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องได้รับยาเหมือนกัน คนที่มีแค่อาการไข้หวัดก็ไม่จำเป็นต้องได้รับยา แค่สังเกตอาการก็เพียงพอ โดยกลุ่มนี้คิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด         เนื่องจากสถาบันบำราศฯ เป็นสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยรายแรกๆ ของประเทศ ในขณะที่ข้อมูลการรักษามีน้อยมาก แนวทางการรักษาก็ยังไม่มี จึงต้องมีการศึกษางานวิจัยของต่างประเทศและ ใช้ความรู้ที่มีอยู่ทบทวนและประชุมทีมแพทย์ สร้างสูตรยาให้กับผู้ป่วย โดยมี 3 กลุ่ม คือ 1. ยาต้านไวรัสเอชไอวี 2. ยารักษาโรคมาลาเรีย ข้ออักเสบรูมาตอยด์ และ 3. ยาต้านไวรัส ฟาวิพิราเวียร์          ต่อมาหลังจากที่เริ่มมีผู้ป่วยหนักเมื่อเดือน ก.พ. ก็ประสานนำเข้า “ยาเรมดิสซีเวีย” ชนิดฉีดตัวแรกเข้ามาใช้กับผู้ป่วยวิกฤตที่ไม่สามารถรับยาด้วยการกินได้         ที่สำคัญยังได้สร้างกรอบการรักษาใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย เช่น นำยาลดการอักเสบกลุ่มที่ลดสารเคมี “ไซโตไคม์” ในร่างกาย ซึ่งเกิดในผู้ป่วยวิกฤต ระบบการหายใจล้มเหลว รวมถึงความพยายามในการนำพลาสมาของผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วมารักษาผู้ป่วยใหม่ การใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (Extracorporeal membrane oxygenation : ECMO) ทำให้ภาพรวมการรักษาหายสูง อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1.8 % ในขณะที่ภาพรวมของโลกอยู่ที่ 7%         มาต่อที่ความพยายามในการพัฒนายาและวัคซีนของไทย จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าในส่วนของการพัฒนาวัคซีนมีหลายหน่วยงานที่เริ่มเดินหน้า และที่มีความคืบหน้าไปมากคือการวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม” ผอ.พัฒนาวัคซีนโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า จุฬาฯ ได้เลือกเทคโนโลยี mRNA ที่ใช้เอสโปรตีน (s protein) ทั้งตัว จากการทดลองในหนูพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ผลดี และเริ่มฉีดให้กับสัตว์ใหญ่ไปแล้วเมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะรอประมาณ 4-6 สัปดาห์ถึงจะเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 อีกครั้ง          หากได้ผลดีก็จะเริ่มทดลองในมนุษย์ โดยแบ่งออกเป็น 3 เฟส         เฟสแรกเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฯ ต่ำ ประมาณ 100 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 10-15 คน โดยให้วัคซีนในโดสที่แตกต่างกัน แบ่งเป็นขนาดสูง กลาง ต่ำ         เฟสที่ 2 เป็นกลุ่มอาสาสมัครที่มีทั้งความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนา 2019 สูง และต่ำ ประมาณ 500 กว่าคน         และเฟสที่ 3 ใช้อาสาสมัครที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง และบางส่วนต้องใช้อาสาสมัครที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อด้วย โดยใช้อาสาสมัครประมาณหลักพันคน          อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ได้ประสานโรงงานผลิตวัคซีน mRNA 2 แห่ง คือ บริษัทไบโอเนท สหรัฐอเมริกา และไบโอเนทเยอรมัน เพื่อผลิตวัคซีนจำนวน 10,000 โดส สำหรับใช้ในการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ต่อไป  หากได้ผลดีจริงคาดว่าจะสามารถทดลองในคนได้ราวเดือนพฤศจิกายน 2563 และถ้าได้ผลดีตามแผนที่วางไว้ประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนได้เองราวปลายปี 2564           ขณะที่ นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผอ.องค์การเภสัชกรรม ได้เปิดเผยถึงความร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบ โดยให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต้นแบบ 2 ชนิด คือชนิดวัคซีนอนุภาคเหมือนไวรัส (Virus-like particle) โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และชนิดวัคซีนโปรตีนซับยูนิต (Subunit vaccine) โดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งวัคซีนทั้ง 2 ชนิดใช้เทคโนโลยีการใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งหากวัคซีนต้นแบบสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ อภ.จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาเพื่อพัฒนาต่อในการขยายขนาดการผลิตเป็นวัคซีนตามมาตรฐาน GMP สำหรับใช้ในการทดสอบทางคลินิกต่อไป         นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนชนิดเชื้อตายจากการตัดต่อยีนของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ SARS-CoV2 เข้าไปในยีนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Inactivated influenza virus-based COVID-19 vaccine) เพื่อเป็นเชื้อไวรัสตั้งต้น หากสำเร็จจะนำเชื้อไวรัสตั้งต้นนี้ผลิตเป็นวัคซีนโดยใช้เทคโนโลยีการใช้ไข่ไก่ฟักของอภ. ที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่เดิม เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาทางคลินิกต่อไป โดยคาดว่าจะทราบผลเบื้องต้นของการวิจัยพัฒนาวัคซีนทั้ง 3 ชนิดในปลายปี 2563          ส่วนเรื่องการสำรองยาไว้รักษาโรคนั้น “ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล” ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม ระบุว่าได้สำรองยาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคโควิด-19 รวม 7 รายการ  คือ        1.ยาคลอโรควิน        2.ยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรผสมโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์        3.ยาต้านไวรัสเอชไอวีดารุนาเวียร์        4.ยาต้านไวรัสเอชไอวีริโทนาเวียร์        5.ยาอะซิโทรมัยซิน          6.ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน และ        7. ยาฟาร์วิพิราเวียร์         ภญ.นันทกาญจน์ บอกอีกว่ายังอยู่ระหว่างการศึกษาพัฒนายาฟาร์วิพิราเวียร์ โดยนำเข้าวัตถุดิบมาพัฒนาเป็นยาเม็ดผลิตขึ้นเอง คาดว่าจะผลิตกึ่งอุตสาหกรรมได้ในต้นปี 2564 ก่อนศึกษาการคงตัวและการละลายของยาเปรียบเทียบกับยาต้นแบบ นำไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมประสิทธิผลด้านชีวสมมูลต่อในกลุ่มอาสาสมัคร และคาดว่าปลายปี 2564 น่าจะพร้อมยื่นขอขึ้นทะเบียนยา และผลิตได้ต้นปี 2565             สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 นั้น ขณะนี้มีหลายประเทศพัฒนา ทั้งจีน ยุโรป อเมริกา ส่วนไทยเองมีหลายหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการพัฒนา อาทิ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ทางสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ยังเตรียมความพร้อมและเตรียมเข้ามาประเมินความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ ว่ามีความสามารถในการผลิตวัคซีนหรือไม่ อย่างไร โดยการผลิตอาจจะเป็นการซื้อวัตถุดิบมาแบ่งบรรจุ หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศผู้พัฒนาก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ปัญหาการขอยกเลิกเที่ยวบิน ในสถานการณ์โรคระบาดร้ายแรง (Covid-19)

        ปัญหาการแพร่ของโรคระบาดร้ายแรง ของเชื้อไวรัส โควิด 19 ส่งผลให้ ผู้บริโภคที่ได้จองตั๋ว แพ็คเกจการท่องเที่ยว ซึ่งหมายถึง การเดินทางโดยเครื่องบิน และการจองที่พักในโรงแรม ผ่าน บริษัทตัวแทน พักไม่สามารถบินไปได้ เนื่องมาจากมาตรการของรัฐในการปิดสนามบิน เพื่อลดปัญหาการนำเชื้อไวรัสดังกล่าวเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศ ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีให้ความสำคัญ         ข้อเสนอของรัฐบาลเยอรมนี ในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และป้องกัน การล้มละลายของภาคธุรกิจ คือการให้ภาคธุรกิจสามารถออกคูปอง มูลค่าเท่ากับราคาของแพ็คเกจ เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น และถ้าสถานการณ์ในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงดีขึ้น ก็สามารถนำคูปองชดเชยนั้นมาใช้ได้ มาตรการนี้ ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมีความเห็นพ้องกับรัฐบาลสำหรับมาตรการดังกล่าว ในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ซึ่งเห็นว่า ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะเลือกการได้รับการชดเชย ที่ผู้บริโภคพอใจ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกขอรับคูปอง หรือการขอคืนเป็นเงินสด         ถึงแม้ว่า ประเด็นทางกฎหมายจะชัดเจนแล้วสำหรับ กรณีการชดเชยความเสียหาย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมียอดเงินที่ยังคงค้างอยู่จาก การซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบิน เป็นมูลค่าถึง 4,000 ล้านยูโร ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว ก็ยังคงใช้เล่ห์เหลี่ยมในการเอาเปรียบ และคดโกงผู้บริโภค โดยหลอกผู้บริโภคว่า ไม่สามารถคืนเงินได้ หรือ การคืนเป็นเงินจะต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สูงมาก และมักจะขอเวลาในการคืนเงินที่ยาวนานผิดปกติ          จากการติดตามสถานการณ์ของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี จึงได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และอาสาเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้บริโภคและประชาชนที่เดือดร้อน          เมื่อกลับมาดูสถานการณ์ของไทย ก็พบว่า ไม่แตกต่างกัน และในส่วนของคณะอนุกรรมการด้านสินค้าและบริการ ก็มีมติเห็นชอบในการติดตามประเด็นเรื่องนี้ และกำลังรวบรวมข้อมูลการร้องเรียน ตลอดจนกำลังประสานกับคณะกรรมาธิการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎรในการจัดการปัญหา การละเมิดสิทธิผู้บริโภค ต่อประเด็นการชดเชยความเสียหายที่ล่าช้า หรือ การไม่สามารถชดเชยความเสียหายในการยกเลิกสัญญาภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับ การล้มละลายของผู้ประกอบธุรกิจ ที่มีข้อเสนอว่า รัฐจะต้องให้ความช่วยเหลือผู้บริโภค ในกรณีที่ สายการบินขอให้ภาครัฐช่วยจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือมาตรการความช่วยเหลือทางการเงินอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสถาการณ์ โควิด 19 โดยเฉพาะสายการบินที่มีสัญชาติไทยเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัทสายการบินนกแอร์จำกัด (มหาชน) และสายการบินนกสกู้ต จำกัด ที่ขอจดทะเบียนเลิกบริษัท ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า        สำหรับข้อมูลการร้องเรียนกรณีปัญหาการยกเลิกตั๋วเครื่องบินทั้งจากการซื้อด้วยตนเอง มีผู้ร้องเรียน 172 ราย และซื้อผ่านเอเจนซี่ จำนวน 71 ราย จากศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ข้อมูล ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2563)กรณีการซื้อตั๋วเครื่องบินด้วยตนเอง สามารถยุติข้อพิพาทได้ 40 ราย คิดเป็น 23 % กรณีการซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านเอเจนซี่ สามารถยุติข้อพิพาทได้ 13 ราย คิดเป็น 18 %สำหรับการยุติเรื่องร้องเรียนมีหลายกรณีที่น่าสนใจ เช่น        ·  ได้รับเงินคืนเต็มจำนวน        ·  สามารถเก็บเครดิตไว้ใช้ครั้งต่อไป        ·  เก็บวงเงินไว้ใช้ภายใน 2 ปี        ·  สามารถเลื่อนตั๋วโดยสารได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย        ·  ได้รับเครดิตการบิน ชดเชย เป็น 120 %สำหรับการยุติเรื่องที่ซื้อตั๋วโดยสารผ่านเอเจนซี่ ก็มีลักษณะคล้ายๆกันไม่ว่าจะเป็น        · ได้รับเงินคืน        ·  ได้รับเงินคืนผ่านบัตรเครดิต        · ได้รับเงินคืน แต่ถูกหักค่าดำเนินการ/ค่าธรรมเนียม        ·  ได้รับเครดิตเงินคืน ที่สามารถใช้ได้ภายใน 1 ปี        ·  ได้รับการเลื่อนเที่ยวบิน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย          สำหรับรูปแบบการชดเชย เยียวยาผู้โดยสารนั้น จะสังเกตได้ว่า มีช่องทางการคืนเงิน ผ่านบัตรเครดิต ถ้าพิจารณาเพียงผิวเผิน ก็อาจเป็นที่น่าพอใจ แต่ผู้บริโภคต้องคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิต ที่ปัจจุบันคิดอัตราดอกเบี้ยไว้สูงมาก ตั้งแต่ 20- 28% และกรณีผู้โดยสาร ต้องการเงินสด การถอนเงินสดจากบัตรเครดิต ก็จะถูกคิดค่าธรรมเนียมการถอนแต่ละครั้ง ประมาณ 3 % จะเห็นได้ว่า ผู้บริโภค/ผู้โดยสาร มีต้นทุนสูงกว่ามากถ้าต้องการเงินสดที่มีวงเงินอยู่ในบัตรเครดิต         ดังนั้น ผมจึงคิดว่า การได้รับเงินชดเชยคืน ควรจะอยู่ในรูปแบบเงินสด เช็คเงินสด หรือ โอนเข้าบัญชี ธนาคารครับสำหรับผู้โดยสารที่ประสบปัญหาเรื่อง การคืนตั๋วโดยสารเครื่องบินก็สามารถ ร้องเรียนผ่านศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้นะครับ เบอร์โทร 02-2483737 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 17.00 น. หรือ สามารถร้องเรียนออนไลน์ ได้ที่www.consumerthai.org ตามหลักการที่ว่า ร้องทุกข์ 1 ครั้งดีกว่า บ่น 1,000 ครั้ง(แหล่งข้อมูล https://www.vzbv.de/pressemitteilung/pauschalreisen-gutscheine-bleiben-freiwillig-erstattungen-lassen-auf-sich-warten )

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 233 กระแสต่างแดน

ขอความคุ้มครอง        เวียดนามคือตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่าร้อยละ 50 ของประชากรจะหันมาใช้บริการ “ซื้อของออนไลน์” ภายในปี 2025 และคาดการณ์ว่าการซื้อขายแบบดังกล่าวจะมีมูลค่าถึง 35,000 ล้านเหรียญ         สถิติในปี 2018 ระบุว่าเวียดนามมีนักช้อปออนไลน์ถึง 40 ล้านคน (จากประชากรทั้งหมด 90 ล้านคน) มีการใช้จ่ายเฉลี่ยคนละประมาณ 6,300 บาท         แต่สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญกำลังเรียกร้องคือการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น กฎหมายเดิมที่ใช้มา 10 ปีนั้นไม่เพียงพอที่จะรับมือกับอีคอมเมิร์ซในยุคนี้ ขณะเดียวกันตัวผู้บริโภคเองก็ยังรู้สิทธิน้อยมาก         สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคแห่งเวียดนามบอกว่า จากการสำรวจมีคนเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค จึงไม่แปลกที่มีเรื่องร้องเรียนน้อยมากแม้จะเกิดปัญหาบ่อย ที่พบเป็นประจำคือหลังจากชำระเงินแล้ว ผู้ซื้อไม่ได้ของขวัญ ของแถม หรือโบนัสตามที่ผู้ขายบอก        คุมเข้มอีคอมเมิร์ซ        เวียดนามอาจยังไม่พร้อมแต่อินเดียพร้อมแล้ว ด้วยการประกาศข้อกำหนดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้ที่ละเมิดจะได้รับโทษตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค 2019         ตามข้อกำหนดที่มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม ผู้ขายต้องรับผิดชอบต่อสินค้าที่ชำรุดบกพร่องและสินค้าปลอม โดยจะปฏิเสธการขอคืนสินค้าไม่ได้ ทั้งผู้ขายและแพลตฟอร์ม (เช่น Amazon Flipcart และ Paytm)จะต้องจัดให้มีคนรับเรื่องร้องเรียนและตอบกลับในเวลาที่เหมาะสม         นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการแสดงราคา ค่าใช้จ่ายอื่นๆ วันหมดอายุ ประเทศต้นทางของสินค้า รวมถึงรายละเอียดในการคืน/เปลี่ยนสินค้า คืนเงิน การรับประกัน วิธีชำระเงิน และกลไกการร้องเรียนและการชดเชยเยียวยาด้วย         ทั้งนี้สินค้าต้องเป็นไปตามที่โฆษณา โดยแพลตฟอร์มต้องเก็บข้อมูลเพื่อให้รู้ว่าผู้ขายรายไหนหลอกลวงผู้บริโภคซ้ำซาก และที่ห้ามเด็ดขาดคือ “รีวิวปลอม”        ขอตรวจซ้ำ เรื่องนี้ย้อนไปเมื่อปี 2016 ที่มีผู้เสียชีวิต (ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก) ไม่ต่ำกว่า 700 คน จากการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในเครื่องเพิ่มความชื้น ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประจำบ้านของคนเกาหลีส่วนใหญ่ โดยตัวเลขผู้ได้รับผลกระทบในขณะนั้นคือ 3,642 คน         ถึงปี 2017 จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 1,553 คน (ตัวเลขอย่างเป็นทางการ) จึงนำไปสู่การตั้ง “คณะกรรมการวิสามัญ” ขึ้นมาตรวจสอบกรณีดังกล่าวในเดือนธันวาคม 2018 และการทำงานของกรรมการชุดนี้กำลังจะสิ้นสุดในเดือนธันวาคมปีนี้ แต่ดูเหมือนยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก         กลุ่มผู้เสียหายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงออกมาเรียกร้องให้มีคณะกรรมการชุดใหม่ทำหน้าที่ตรวจสอบกระทรวงสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่ดูแลด้านการค้าที่เป็นธรรม รวมถึงบรรดาบริษัทผู้ผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนประกอบของโพลีเฮกซาเมธิลีนกัวนิดีน ซึ่งส่งผลร้ายแรงต่อปอดของมนุษย์ด้วย        อย่าจัดหนัก        ในช่วงล็อกดาวน์ยอดขายสระน้ำเป่าลมในสเปนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 350 เพราะใครๆ ก็ต้องอยู่บ้าน และฤดูร้อนที่นั่นก็อุณหภูมิสูงใช่เล่น ผู้เชี่ยวชาญจึงออกมาเตือนให้ใช้ความระมัดระวังกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ 2 ใน 3 ของประชากรอาศัยอยู่ในแฟลตหรืออพาร์ตเมนท์         OCU องค์กรผู้บริโภคของสเปนแนะนำว่าเพื่อความปลอดภัยไม่ควรเติมน้ำในสระจนระดับน้ำสูงเกิน 20 เซนติเมตร เพราะนั่นเท่ากับแรงกด 200 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งอาจทำให้พื้นด้านล่างถล่มลงมา และไม่ควรใช้บนอาคารเก่า         ในกรณีของบ้านเดี่ยวที่มีสนาม เขาแนะนำให้วางสระน้ำห่างจากตัวบ้านหลายเมตรเพื่อป้องกันผนังบ้านด้านที่อยู่ใกล้สระพังลงมา         ก่อนหน้านี้เกิดเหตุเพดานบ้านถล่มเนื่องจากสระน้ำเป่าลมที่ระเบียงชั้นบน...ก็เล่นเติมน้ำไปตั้ง 8,000 ลิตร อะไรจะทนไหวอยากให้เหมือนเดิม        ธุรกิจรับจัดงานศพเป็นหนึ่งในกิจการที่ต้องขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลนอร์เวย์ เพราะผลพลอยได้จากมาตรการป้องกันไวรัสโควิด-19 คือการเจ็บป่วยที่ลดลง เดือนมิถุนายนมีผู้เสียชีวิตน้อยลงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว         บริษัทรับจัดงานศพแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของนอร์เวย์ซึ่งเปิดกิจการมาแล้วสามรุ่นบอกว่า ปกติเคยได้จัดเดือนละ 30 งาน แต่หลังล็อกดาวน์กลับมีไม่ถึง 10 งาน บริษัทได้เงินช่วยเหลือ 32,000 โครน (ประมาณ 100,000 บาท)         อีกบริษัทในเมืองออสโล ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือ 37,000 โครน (ประมาณ 127,000 บาท)ไป บอกว่ากรณีของเขา ลูกค้าไม่ได้ลดลง เพียงแต่การจัดงานในรูปแบบใหม่นั้นมีแขกเข้าร่วมน้อยลงและเจ้าภาพมักปรับลดพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นร้อยละ 60-70 ของรายได้         แต่เขาก็หวังว่า “ธุรกิจจะกลับมาเป็นปกติในฤดูใบไม้ร่วง ที่โรคหวัดหรือโรคอื่นๆ เริ่มระบาดอีกครั้ง”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ภูมิคุ้มกันกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

        ในช่วงชีวิตที่อยู่บนดาวดวงนี้ของผู้เขียน ไม่เคยพบปรากฏการณ์ใดที่ทำให้คนทั้งโลกเครียดได้เท่ากับการระบาดของเชื้อไวรัสชื่อ SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ราวปลายปี 2019 ซึ่งเรียกว่าโรค COVID-19 ตลอดมาจนถึงขณะที่เขียนบทความนี้คือ ปลายเดือนพฤษภาคม 2020 เหตุการณ์อาจดูดีขึ้นบ้างในบางส่วนของโลก แต่จำนวนของคนที่ตายด้วยโรคนี้คงต้องถูกจารึกในประวัติศาสตร์โลกว่า สูง แม้ว่าจะไม่สูงเท่าในอดีตสมัยที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ยังพัฒนาไม่ดีเท่าปัจจุบันที่มีคนตายเป็นหลายล้านคนเนื่องจากไข้หวัดใหญ่สเปนใน ค.ศ. 1918         สิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าการติดเชื้อและการตายเนื่องจาก COVID-19 จะลดลงหรือไม่นั้นคือ ระบบภูมิคุ้มกันของประชาชนในแต่ละส่วนของโลก ไม่ว่าจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นมาตามธรรมชาติหรือภูมิคุ้มกันซึ่งถูกกระตุ้นด้วยวัคซีน ในประการหลังนี้ยังเป็นเรื่องที่อยู่ในความหวัง ซึ่งจะสมหวังหรือผิดหวังนั้นยังไม่สามารถกล่าวได้ในตอนนี้         แม้ว่าความก้าวหน้าในการผลิตวัคซีนนั้นดูให้ความหวังค่อนข้างมากเพียงแต่ต้องรอเวลาเท่านั้น สำหรับประการแรกคือ การที่ประชาชนจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้เองนั้นก็เป็นความหวังที่น่าสนใจ แต่ความหวังนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ที่แน่ๆ คือ ความแข็งแรงของประชาชนแต่ละคนจะแปรตามพฤติกรรมความเป็นอยู่ในสังคมนั้นว่า เป็นสังคมที่ให้ความสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของพันธุกรรมของเผ่าพันธุ์ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังมีการศึกษาอย่างจริงจังในบางประเทศ         มีประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจอีกประการคือ ความเจริญของประเทศก็เป็นปัจจัยที่น่าจะกำหนดความเสี่ยงเกี่ยวกับ COVID-19 ได้ เพราะมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาและยังมีการฉีดวัคซีน BCG เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันวัณโรค ซึ่งเมื่อเกิดภูมิคุ้มกันแล้วน่าจะมีผลพลอยได้ในการป้องกันเชื้อโรคอื่นๆ ได้ด้วย เพราะระบบภูมิคุ้มกันแบบฆ่าสิ่งแปลกปลอมไม่เลือกด้วยเม็ดเลือดขาวบางประเภทนั้น ดูว่าจะกระตุ้นได้ดีและยืนยาวด้วย ดังนั้น BCG จึงน่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้คนในประเทศเหล่านี้ติดเชื้อหรือตายน้อยกว่าประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วและเลิกการฉีดวัคซีน BCG ให้เด็ก (ดูได้จากลำดับจำนวนการติดเชื้อและเสียชีวิตเนื่องจาก COVID-19 ที่ประกาศแต่ละวัน)         ส่วนภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) นั้นเป็นประเด็นความรู้ใหม่ของผู้เขียน อาจเนื่องจากไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญนักในความรู้เบื้องต้นของวิชาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน (เมื่อนานมาแล้ว) ที่ได้เรียนมา ผู้เขียนเข้าใจว่าประเด็นนี้คงอยู่ในเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคซึ่งใช้ความรู้ทางระบาดวิทยาซึ่งผู้เขียนไม่ได้สนใจนัก แต่ในช่วงของการระบาดของ COVID-19 นั้น เรื่องของภูมิคุ้มกันหมู่นี้ได้เป็นประเด็นที่บางประเทศทางยุโรปยกขึ้นมาเป็นแนวทางหนึ่งในการพยายามควบคุมโรคนี้        แนวคิดเกี่ยวกับ ภูมิคุ้มกันหมู่ นั้นได้จากการสังเกตว่า การที่คนซึ่งหายป่วยแล้วไม่ป่วยซ้ำหรือคนที่ได้รับวัคซีนแล้วไม่ป่วยนั้นเกิดประโยชน์ต่อคนรอบข้างด้วย เพราะเมื่อไม่มีใครป่วยเชื้อโรคก็ไม่มีการเพิ่มจำนวนและไม่แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น หรืออีกนัยหนึ่งคือ เสมือนได้เกิดภูมิคุ้มกันโรคในกลุ่มประชากรในสังคมนั้น ดังนั้นภูมิคุ้มกันหมู่จึงดูว่าเป็นกระบวนการหนึ่งของการป้องกันประชากรที่อ่อนแอ เช่น เด็กและผู้สูงอายุ ในทางอ้อมจากโรคระบาด         มีข้อสงสัยว่าภูมิคุ้มกันหมู่เกิดได้ไหมกับคนไทยปัจจุบันนี้        เนื่องจากในหลักการแล้วภูมิคุ้มกันหมู่จะเกิดได้ต้องมีการติดเชื้อในประชากรอย่างน้อย 60-70 % ก่อน ประเด็นนี้สำหรับผู้เขียนแล้วเมื่อพิจารณาการบริหารการติดเชื้อของประเทศไทย ซึ่งพยายามควบคุมและแนะนำให้คนไทยห่างไกลโรค (ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ถูกต้อง) โอกาสเกิดภูมิคุ้มกันหมู่คงยาก         ในอดีตภูมิคุ้มกันหมู่ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนให้ประชากรโลกป้องกันนั้น ประสบความสำเร็จในเรื่องของไข้ทรพิษ โปลิโอ หัด และคางทูม โดยภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นอยู่ได้นานหลายสิบปี อย่างไรก็ดีเรายังขาดหลักฐานที่จะระบุว่า ภูมิคุ้มกันในคนไข้ที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 นั้นอยู่ในร่างกายคนนานเพียงใด         ประเด็นที่น่ากังวลเกี่ยวกับการหวังพึ่งภูมิคุ้มกันหมู่         คือ ต้องมีประชากรติดเชื้อบ้างและประชากรนั้นต้องเป็นประชากรที่แข็งแรงจนไม่ตายหลังติดเชื้อ จนมีภูมิคุ้มกันต่อ SARS-CoV-2 ได้เป็นอย่างดี ความน่ากังวลนี้เกิดขึ้นเพราะไม่มีหน่วยงานใดกล้าพูดว่า ประเทศไทยมีประชากรที่แข็งแรงพร้อมสู้ไวรัสด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันนั้นเป็นเท่าใดและอยู่ส่วนไหนของประเทศบ้าง        การมีร่างกายแข็งแรงพร้อมถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันเมื่อติดเชื้อนั้น มีปัจจัยหลายประการที่จำเป็น เช่น การกินอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ (ปัจจุบันเรายึดแนวทางการกินอาหารครบห้าหมู่ในแต่ละวัน) การนอนหลับพักผ่อนที่พอเพียง การขับถ่ายที่เป็นปรกติและสม่ำเสมอ การออกกำลังกายหรือได้ออกแรงทุกวันอย่างพอเพียงจนร่างกายแข็งแรงไม่ติดเชื้อเช่น หวัด ในฤดูที่มีการระบาด         ตัวอย่างดัชนีชี้วัดที่อาจแสดงว่า ไทยพร้อมหรือไม่ที่จะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่         คือ ความไม่มีระเบียบในการแย่งกันซื้อเหล้าทันทีที่มีการคลาย lockdown (ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเหล้าทำลายตับ อวัยวะที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน) ความแออัดของการไปโรงพยาบาลในแต่ละวันก่อนและหลัง COVID-19 มาเยือน การเบิกค่ารักษาพยาบาลจากสวัสดิการที่รัฐจ่ายเช่น กรณีประกันสังคม บำนาญ หรือแม้แต่การใช้บัตรสวัสดิการของรัฐ ซึ่งมากเหลือล้นและแสดงว่าคนไทยป่วยมากเหลือเกิน                    ในด้านการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนนั้น จำนวนสถานที่ออกกำลังกายทั้งของรัฐและเอกชน รวมถึงอัตราค่าบริการในประเทศไทยนั้นยังดูไม่น่าพอใจ อีกทั้งอัตราการใช้สถานออกกำลังกายซึ่งอาจรวมถึงการซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ออกกำลังกายยังดูต่ำอยู่ สิ่งที่น่ากังวลอย่างมากคือ ความหลงผิดของสังคมที่คิดว่า e-sport เป็นของดีเพื่อใช้แก้ปัญหาวัยรุ่นมั่วสุม (ทั้งที่จริงแล้วควรต่อต้านเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้คนลดการออกแรงกายเพื่อสุขภาพและทำลายสุขภาพตา จนถึงภาพรวมของสุขภาพที่ทำให้เข้าข่ายนั่งนานตายเร็ว)         เรื่องของการมีภูมิคุ้มกันทั้งเนื่องจากการติดเชื้อแล้วไม่ตายหรือได้รับวัคซีน (ถ้ามีในอนาคต) เป็นเรื่องสำคัญในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกาซึ่ง ดร. แอนโทนี เฟาชี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติกล่าวไว้ในเดือนเมษายน 2020 ว่า เป็นไปได้ที่ในอนาคตสหรัฐจะพิจารณานโยบายการมีบัตรผ่านทางสำหรับผู้ที่มีแอนติบอดีต่อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเรียกว่า Immunity Passport และจากนั้นราวปลายเดือนเมษายนประเทศชิลีและประเทศเยอรมันก็มีแนวคิดที่จะออก "บัตรภูมิคุ้มกัน" (Immunity Cards) เพื่อให้คนที่ติดเชื้อและหายแล้วสามารถกลับไปทำงานนอกบ้านได้         ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แถลงเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2020 ว่า อย่าได้เชื่อเกี่ยวกับกระแสข่าวลือที่บางประเทศจะออก“immunity passport” แก่ประชากรที่ได้รับการระบุว่า มีภูมิคุ้มกันต้านไวรัส SARS-CoV-2 เพียงเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับไปทำงานหรือเดินทางได้อย่างเสรี เนื่องจากยังไม่พบหลักฐานที่ระบุว่า ผู้ป่วย COVID-19 ที่หายดีแล้วจะไม่กลับมาติดเชื้อใหม่ อีกทั้งองค์การอนามัยโลกยังให้ข้อมูลเพิ่มในวันที่ 26 เมษายนว่า ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อนั้นมีแอนติบอดีต่อสู้กับเชื้อไวรัสสูงแค่ในบางคน ในขณะที่บางคนกลับมีระดับแอนติบอดีต่ำในกระแสเลือด         สิ่งที่องค์การอนามัยโลกกังวล         การที่คนซึ่งทราบว่าตนเองมีระดับของแอนติบอดีสูงในขณะตรวจด้วย rapid tests อาจละเลยในการควบคุมตนเองให้มีระยะห่างในการติดต่อกับผู้อื่น และอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อต่อไปแม้ไม่มีอาการ ทั้งนี้เพราะ COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ การตอบสนองของร่างกายในการสร้างแอนติบอดีนั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจนัก ประการหนึ่งที่สำคัญและยังไม่มีความแน่ใจคือ โปรตีนที่เป็นแอนติบอดีต่อ SARS-CoV-2 นั้นมีอายุได้นานเพียงใด และเมื่อใดจะถูกทำลายลง ซึ่งตอนนั้นร่างกายคงเหลือเพียง memory cell เพื่อปกป้องการติดเชื้อซ้ำ         การสร้างแอนติบอดีต่อสู้กับ SARS-CoV-2 นั้นได้รับการยืนยันจาก Kara Lynch นักวิจัยจาก University of California, San Francisco ที่ศึกษาน้ำเลือดของผู้ติดเชื้อแล้วราว 100 คน ซึ่งได้รับการบำบัดโรคที่ที่ Zuckerberg San Francisco General Hospital โดยใช้วิธีเดียวกับที่ใช้ที่ประเทศจีนซึ่งสามารถเลือกตรวจเฉพาะโปรตีนที่จับกับ spike protein ของ SARS-CoV-2 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า คนไข้สามารถสร้างแอนติบอดีได้ในช่วง 2-15 วันหลังมีอาการป่วย (ข้อมูลการศึกษาในจีนกล่าวว่า 10-15 วัน) โดยแอนติบอดีที่เกิดก่อนคือ IgM จากนั้นจึงเป็น IgG (ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎี) นอกจากนี้มีข้อมูลจากการศึกษาอื่นๆ ว่า แอนติบอดีนี้คงสภาพในระบบเลือดนานอย่างน้อย 2 อาทิตย์         เนื่องจาก COVID-19 นั้นเพิ่งมีการระบาดได้เพียงไม่กี่เดือน ดังนั้นประเด็นที่ยังไม่มีการกล่าวถึงคือ เรื่องของ memory cell ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวบางส่วนที่ถูกกระตุ้นให้รู้จักเชื้อโรคที่เคยเข้าสู่ร่างกายแล้วพร้อมสร้างแอนติบอดี (memory B-cell) หรือปรับตัวให้เป็นเม็ดเลือดขาวพร้อมสู้เชื้อ (memory T-cell) ได้เร็วเพียงใดเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งว่าไปแล้วข้อมูลลักษณะนี้จะแสดงได้เมื่อมีการผลิตวัคซีนแล้วฉีดแก้ประชากรทั่วไป         มียกประเด็นเกี่ยวกับ memory cells ที่เกิดจากโรค SARS ซึ่งเกิดจาก SARS-CoV ซึ่งเป็น  coronavirus กลุ่มใกล้เคียงกับ SARS-CoV-2 ในงานวิจัยเรื่อง Lack of Peripheral Memory B Cell Responses in Recovered Patients with Severe Acute Respiratory Syndrome: A Six-Year Follow-Up Study ในวารสาร Journal of Immunology ปี 2011 ว่า คนไข้ 23 คน ที่เคยเป็นโรค SARS ในฮ่องกงเมื่อปี 2003 นั้นมีทั้ง memory B-cell และ memory T-cell แต่เฉพาะ memory T-cell ของคนไข้ร้อยละ 60 เท่านั้นที่ตอบสนองต่อโปรตีนซึ่งแสดงความเป็นแอนติเจนของ SARS-CoV        ดังนั้น ณ ขณะนี้ยังไม่มีใครแน่ใจว่าคุณสมบัติของวัคซีนต้าน COVID-19 จะเป็นอย่างไร โดยทุกคนต่างหวังว่ามันคงไม่ต่างจากกรณีของฝีดาษหรือไข้ทรพิษที่ก่อให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันได้นานถึงราว 88 ปี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ปัญหารถรับส่งนักเรียนไม่น่าไว้ใจพอกับโควิด

        ปิดเทอมหน้าร้อนนี้ปีนี้เป็นการปิดเทอมที่ยาวนานที่สุดเนื่องจากพิษโควิดส่งผลกระทบโดยตรงต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอน แต่การให้มีวันหยุดเพิ่มก็เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาแค่ชั่วคราว เพราะสุดท้ายแล้วรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการก็ต้องเปิดเทอมให้มาเรียนกันอยู่ดี แต่ครั้นจะปล่อยให้นักเรียนมารวมตัวกันโดยไม่มีมาตรการป้องกันทั้งที่ไวรัสโควิด 19 ยังไม่ไปไหนก็คงไม่ดีนัก แนวคิดการเรียนออนไลน์จึงกลายเป็นทางออกแบบเร่งด่วนในยุคนี้         แม้การเรียนออนไลน์จะมีข้อดีที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในโรงเรียน แต่ข้อเสียที่สำคัญกว่าคือยังมีเด็กจำนวนมากที่ขาดโอกาสและเข้าไม่ถึงอุปกรณ์ออนไลน์ เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่ขาดคุณภาพชีวิตที่ดีในการเข้าถึงอาหารโรงเรียน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กด้อยโอกาสหรือยากจน รวมถึงภาระความเดือดร้อนของผู้ปกครองที่ต้องออกไปทำงาน ทำให้ไม่มีเวลามาเฝ้าลูกเรียนออนไลน์ได้          จากข้อมูลกระทรวงศึกษาธิการ ภาพรวมสถิติในปี 2562 ระบุว่า มีนักเรียนในระบบ 10,938,698 คน แบ่งเป็น ก่อนประถมศึกษา 1,705,205 คน คิดเป็น 16%  ประถมศึกษา 4,730,416 คน คิดเป็น 43% มัธยมศึกษาตอนต้น 2,270,657 คน คิดเป็น 21% มัธยมศึกษาตอนปลาย 1,204,249 คน คิดเป็น 11% และอื่นๆ 1,028,101 คน คิดเป็น 9%         ขณะที่มีสถานศึกษาหรือโรงเรียนทั่วประเทศอยู่ 41,246 แห่ง  นั่นหมายความว่าจะมีนักเรียนเกือบ 11 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อยจากมาตรการเรียนออนไลน์ในครั้งนี้ แม้แนวทางนี้เป็นเรื่องที่ดีเหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะให้นักเรียนทั่วทั้งประเทศเรียนในรูปแบบออนไลน์สักเท่าไรนัก         นอกจากมาตรการความปลอดภัยที่จะต้องเตรียมป้องกันขั้นสูงสุดสำหรับการเรียนในโรงเรียนแล้ว รูปแบบการเดินทางไปโรงเรียนของนักเรียนเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญสูงสุดเช่นกัน กรณีที่ผู้ปกครองมาส่งเองคงไม่มีอะไรมาก แต่หากเป็นนักเรียนที่ต้องเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะหรือรถรับส่งนักเรียนที่ในแต่ละครั้งต้องแออัดเบียดเสียดกันแน่นรถ อาจเข้าข่ายเสี่ยงต่อการติดเชื้อระหว่างการเดินทางได้หากมีการระบาดของไวรัสโควิด19         ทำให้กรมการขนส่งทางบกในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลเรื่องรถรับส่งนักเรียนต้องกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 นอกเหนือจากการกำหนดมาตรการเว้นระยะห่างในรถโดยสารสาธารณะอยู่แล้ว โดยกำหนดให้คนขับรถรับส่งนักเรียนต้องมีการคัดกรองวัดอุณหภูมิ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดการเดินทาง จัดให้มีแอลกอฮอล์ชนิดเจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคประจำรถ การทำความสะอาดก่อนและหลังการให้บริการแต่ละรอบ ลงทะเบียนบันทึกข้อมูลนักเรียนที่ใช้บริการ และปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19          ขณะที่โรงเรียนหลายแห่งเลือกที่จะเพิ่มมาตรการความปลอดภัยด้วยการทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง และคนขับรถรับส่งนักเรียน โดยขอความร่วมมือให้แบ่งการเดินทางด้วยรถรับส่งนักเรียนเป็นสองรอบ เพื่อลดปริมาณความหนาแน่นของนักเรียนบนรถ กำหนดจุดจอดรถรับส่งนักเรียนเพื่อให้เป็นระเบียบและสะดวกสอดคล้องกับมาตรการป้องกันของโรงเรียนเพิ่มเติม            จากความร่วมมือของทุกคนที่ช่วยกันตั้งการ์ดอย่างเต็มที่ ส่งผลให้สถานการณ์หลังเปิดเทอมสองอาทิตย์ สถิติด้านสุขภาพของนักเรียนดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก นอกจากจะหยุดโควิดไม่ให้มาแล้ว โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้ต่างๆ ก็ลดน้อยลงด้วย เรียกได้ว่างานนี้ต้องชื่นชมปรบมือให้กับทุกคนจริงๆ         ส่วนสิ่งที่น่ากังวลต่อจากนี้คือ ผลกระทบจากโควิด 19 อาจทำให้ผู้ปกครองบางส่วนกังวล ไม่อยากให้บุตรหลานใช้รถโดยสารสาธารณะหรือรถรับส่งนักเรียน แต่เลือกให้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะเดินทางไปโรงเรียนแทน แม้จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อระหว่างเดินทางได้บ้าง กลับกันก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางถนนให้กับนักเรียนเช่นกัน เพราะอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตของเยาวชนไปจากครอบครัว และมีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรงขึ้นทุกปี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 ถึงโควิดบุกแหลก ก็อย่าสติแตกกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

        ยุคโควิด 19 ระบาด สิ่งที่บุกแหลกไม่แพ้เชื้อโควิด 19 ก็คือ ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ จริงบ้าง มั่วบ้าง คลาดเคลื่อนบ้าง กระหน่ำมาตามๆ กัน นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคก็ไม่ยอมตกขบวนมีจำหน่ายในท้องตลาดมากมาย แต่ละผลิตภัณฑ์ก็อ้างว่าจัดการเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้อยู่หมัด แต่ที่แน่ๆ มันจะจัดการดูดเงินในกระเป๋าสตางค์เราไปก่อนเป็นอันดับแรก ฉลาดซื้อเล่มนี้ขอแนะนำผลิตภัณฑ์และวิธีการการทำความสะอาดอย่างฉลาดซื้อฉลาดใช้เพื่อความปลอดภัยและไม่สิ้นเปลือง        สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจคือ โควิด 19 มันคือไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งหากมันเข้าไปอยู่ในร่างกายของเรา มันก็จะมีชีวิตอยู่ได้เรื่อยๆ ยิ่งคนที่อ่อนแอ หรือมีภูมิต้านทานต่ำๆ มันก็จะยิ่งออกลูกออกหลานกันสนุกสนานอยู่ในร่างกายเราเพิ่มมากขึ้นไปอีก แต่ถ้าเราเป็นคนแข็งแรงมีภูมิต้านทานสูงภูมิต้านทานในร่างกายเราก็จะช่วยกันจัดการเจ้าไวรัสตัวแสบนี้ได้         และเมื่อมันหลงเข้ามาอยู่ในร่างกายเราแล้ว บางทีเราก็จะเผลอแพร่เชื้อไปสู่คนรอบข้างได้ เพราะมันจะหลุดออกมากับละอองฝอยของน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ และน้ำตาของเรา กระเด็นไปสู่คนรอบข้างที่อยู่ใกล้ๆ หรือกระเด็นไปติดตามที่ต่างๆ แล้วดันมีคนโชคร้ายไปสัมผัสตรงพื้นที่นั้นก็รับเชื้อจากเราไปโดยไม่รู้ตัว นี่คือเหตุผลที่เขาจึงรณรงค์ให้ กินร้อน ใช้ช้อนตัวเอง เร่งล้างมือ คาดหน้ากากปิดจมูกและปาก และอย่าอยู่ใกล้ชิดกันเกินไป         โดยทั่วไปแล้ว เชื้อไวรัสเมื่อมันอยู่นอกร่างกายเรา มันจะใจเสาะอายุสั้น แค่ไม่กี่ชั่วโมงก็ตายแล้ว แต่เจ้าโควิด 19 มันเป็นไวรัสพันธุ์หัวแข็งตายยากกว่าไวรัสอื่นๆ เช่น ถ้าอยู่บนโต๊ะ พื้นผิวต่างๆ หรือลูกบิดประตู ก็อยู่ได้ถึง 4 – 5 วัน แต่ถ้ามันเจออากาศที่ร้อนกว่า 30 องศาเซลเซียส อายุก็จะสั้นลง ปัจจุบันจะมีผลิตภัณฑ์ ที่อ้างว่าสามารถใช้ทำลายเชื้อโควิด 19 ได้ ซึ่งขึ้นกับชนิดของสารเคมี บางชนิดก็ราคาแพงมาก แต่ที่จริงแล้วเจ้าโควิด 19 นี้ มันตายได้ง่ายถ้าเจอสบู่ น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ ตลอดจนเจอความร้อนสูงๆ  รู้อย่างนี้จะจ่ายแพงกว่าทำไม ขอแนะนำในการทำความสะอาดสิ่งต่างๆ ที่ง่ายและประหยัดดังนี้        การทำความสะอาดมือ ถ้าอยู่บ้านหรือสำนักงาน ให้ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือก็พอแล้ว ทางสาธารณสุขเขาแนะนำให้ล้างมือ 7 ขั้นตอน แต่ถ้าจำไม่ได้ ก็จำง่ายๆ แค่ล้างให้ละเอียดทั่วทุกซอกทุกมุม ให้มือสัมผัสกับสบู่หรือน้ำยานานพอสมควร นานประมาณร้องเพลงช้างช้างช้าง 2 รอบก็ได้ และหากออกไปนอกบ้าน หาที่ล้างมือไม่ได้ ก็สามารถใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อแทนได้ จะเป็นน้ำยาแอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอล์เจลก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องมี % ของแอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่า 70% และเมื่อใช้แล้วก็ไม่ต้องเช็ดออก ต้องปล่อยทิ้งไว้ให้มือแห้งเองด้วย         ถ้วยชามภาชนะต่างๆ ใช้น้ำยาล้างจานทั่วไปก็พอแล้ว ถ้าไม่มั่นใจก็นำมาตากแดด หรือลวกด้วยน้ำร้อนหรือน้ำเดือดสัก 30 วินาที         สำหรับเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ก็ใช้ผงซักฟอกเหมือนที่เคยใช้ แล้วเอามาตากแดดร้อนๆ ของเมืองไทย ก็ใช้ได้แล้ว         ส่วนพื้นผิวต่างๆ เช่น โต๊ะ ลูกบิด ราวบันได ใช้แอลกอฮอล์ 70 %  หรือน้ำยาทำความสะอาดชนิดที่ระบุว่าฆ่าเชื้อไวรัสได้ เช็ดถูทำความสะอาดให้ทั่ว และเช็ดบ่อยๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามีคนมาสัมผัสมากน้อยขนาดไหน         สำหรับพื้นที่เราเหยียบย่ำนั้น สามารถใช้ ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาดพื้นชนิดที่ระบุว่าฆ่าเชื้อไวรัสได้ เช็ดถูทำความสะอาด วันละ 1 – 2 ครั้ง ขึ้นกับสถานการณ์ต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำคัญไฉน ? (ตอนที่ 1 )

        สถานการณ์ปัจจุบันกับการเฝ้าระวังและดูแลตนเองไม่ให้ติดเชื้อโควิค – 19 แต่ในขณะเดียวกัน ในเร็วๆ นี้ก็จะมีการบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562 ในวันที่ 28 พ.ค.2563 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รูปแบบการดำเนินธุรกิจและการกระทำของหน่วยงานรัฐ โดยผู้เขียนจะยกเอาประเด็นทั่วไปมากล่าวเบื้องต้น        ข้อมูลส่วนบุคคล หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ ซึ่งตามกฎหมายไม่ได้ยกตัวอย่างว่าอย่างไรบ้างที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นเพื่อให้มีหลักในการพิจารณาโดยจะกำหนดแนวปฎิบัติการกำหนดและแยกแยะข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้        แนวปฎิบัติการกำหนดและแยกแยะข้อมูลส่วนบุคคล        ขั้นตอนพื้นฐานเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ        1. ขอบเขตของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่อยู่ในขอบเขตความหมายของข้อมูลส่วนบุคคล        2. การกำหนดและแยกแยะข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะช่วยให้สามารถระบุข้อมูลส่วนบุคคลตามกระบวนการทำงานต่างๆขององค์กรและจัดการตามความเสี่ยงของแนวปฎิบัติ        ความสามารถในการระบุไปถึงเจ้าของข้อมูลมี 3 ลักษณะ        1.การแยกแยะ หมายถึง การที่ข้อมูลสามารถระบุแยกแยะตัวบุคคลออกจากกันได้ เช่น ชื่อสกุล หรือเลขบัตรประชาชน        2. การติดตาม หมายถึง การที่ข้อมูลสามารถถูกใช้ในการติดตามพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่บุคคลนั้นทำได้ เช่น Log file        3. การเชื่อมโยง หมายถึง การที่ข้อมูลสามารถถูกใช้เชื่อมโยงกันเพื่อระบุไปถึงตัวบุคคล         ดังนั้นข้อมูลส่วนบุคคลจึงเป็นข้อมูลทั้งหลายที่สามารถใช้ระบุถึงบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้ แม้ว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นจะไม่สามารถใช้ระบุถึงบุคคลได้แต่หากใช้ร่วมกับข้อมูลหรือสารสนเทศอื่นๆประกอบกันแล้วก็สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ โดยไม่จำเป็นว่าข้อมูลหรือสารสนเทศอื่นนั้นได้มีอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะเป็นจริงหรือเป็นเท็จ และเมื่อเป็นข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล หน่วยงานหรือองค์กรทั้งหลายจะต้องขอความยินยอมในการที่จะเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลสำหรับการติดต่อทางธุรกิจ และต้องปฎิบัติตามแนวปฎิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสำหรับการติดต่อทางธุรกิจ         ตัวอย่างที่เป็นข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อสกุลหรือชื่อเล่น เลขหนังสือเดินทาง เลขบัตรประกันสังคม เลขใบอนุญาตขับขี่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น IP address , Cookie ID หรือข้อมูลทางชีวมิติ เช่น รูปใบหน้า,ลายนิ้วมือ,ฟิล์มเอกซเรย์ ข้อมูลสแกนม่านตา ,ข้อมูลอัตลักษณ์เสียง,ข้อมูลพันธุกรรม หรือข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์,โฉนดที่ดิน หรือข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลข้างต้นได้ เช่น วันเกิดหรือสถานที่เกิด,เชื้อชาติ,สัญชาติ,น้ำหนัก ส่วนสูง ข้อมูลการแพทย์ ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลบันทึกต่างๆที่ใช้ติดตามหรือตรวจสอบกิจกรรมต่างๆของบุคคล เช่น Log file เป็นต้น         ตัวอย่างข้อมูลที่ไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลสำหรับการติดต่อทางธุรกิจที่ไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคล เช่น หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ที่ทำงาน ,อีเมล์ที่ใช้ในการทำงาน,อีเมล์ของบริษัท หรือข้อมูลผู้ตาย         ข้อมูลอ่อนไหว ( Sensitive Personal Data ) เป็นข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ของบุคคล แต่มีความละเอียดอ่อนและสุ่มเสี่ยงต่อการถูกใช้ในการเลือกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จึงจำเป็นต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ตัวอย่างข้อมูลอ่อนไหว เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ หรือข้อมูลสุขภาพจิต ข้อมูลชีวภาพ เป็นต้น         ข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล จึงเป็นสาระสำคัญเบื้องต้นที่คนไทยจะต้องเข้าใจว่าคืออะไร และได้แก่อะไรบ้าง รายละเอียดเนื้อหาต่อไป โปรดติดตามตอนที่ 2 ครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 New Normal กับไทยชนะ & แอปพลิเคชั่นจองคิว

        หลังจากที่รัฐบาลประกาศผ่อนปรนช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ทำให้ร้านค้าและผู้ประกอบการสามารถทยอยเปิดกิจการได้เป็นปกติ เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามกฎและมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐประกาศออกมาอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้นอีก จึงทำให้เห็นว่ารัฐบาลและผู้ประกอบการต้องเพิ่มแนวทางที่สามารถตอบโจทย์มาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social distancing ภายในพื้นที่ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในรูปแบบ New Normal        สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดเจนจากมาตรการของรัฐ ที่ให้ร้านค้าและผู้ประกอบการต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ไทยชนะ.com เพื่อรับคิวอาร์โค้ดมาติดที่ร้าน ซึ่งจะช่วยเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการและกำหนดจำนวนผู้เข้ารับบริการเพื่อลดความแออัดของผู้ใช้บริการในลักษณะการเช็คอินและเช็คเอาท์         โดยร้านค้าและผู้ประกอบการจะมีมาตรการเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อคัดกรองคนและลดความแออัดของผู้ใช้บริการ อยู่ 2 รูปแบบ คือ การลงทะเบียนโดยการกรอกชื่อนามสกุลและเบอร์โทรลงในแผ่นกระดาษ และการลงทะเบียนผ่าน QR Code ไทยชนะ ดังนั้น New Normal สำหรับผู้ใช้บริการอย่างเรา ก็ต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัดเช่นกัน          การลงทะเบียนผ่าน QR Code ไทยชนะ ให้สแกน QR Code ไทยชนะที่ร้านค้าและผู้ประกอบการได้จัดเตรียมไว้ผ่านกล้องโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน จะปรากฎให้เลือกเมนู “เช็คอินร้าน” และเมนู “เช็คเอาท์/ประเมินร้าน” ผู้ใช้บริการเพียงทำหน้าที่กดเช็คอินเมื่อเข้าร้าน และกดเช็คเอาท์พร้อมประเมินร้านเมื่อออกจากร้าน แต่สำหรับผู้ใช้บริการที่เพิ่งใช้สแกน QR Code ไทยชนะครั้งแรก จะต้องกดรับข้อตกลงและความยินยอม และกรอกหมายเลขโทรศัพท์ก่อนทำการเช็คอิน         ไม่เพียงแต่การลงทะเบียนผ่าน QR Code ไทยชนะเท่านั้นที่มีใช้อยู่ในขณะนี้ แต่ร้านค้าและผู้ประกอบการหลายแห่งได้มีแอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์เพื่อใช้ลงทะเบียนในการเข้าใช้บริการโดยตรง วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถกดจองคิวในระบบก่อนที่จะมีการเข้าใช้บริการจริง เปรียบเสมือนเป็นการนัดหมายล่วงหน้า ซึ่งเป็นการช่วยลดความแออัดและจำกัดผู้ใช้บริการตามกฎและมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐประกาศออกมา        การใช้แอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ในการจองคิวเข้าใช้บริการต่างๆ เช่น การจองคิวทำบัตรประชาชน การจองคิวทำใบขับขี่ออนไลน์ การจองคิวทำพาสปอร์ต การจองคิวชมภาพยนตร์ การจองคิวเข้าบริการฟิตเนส การจองคิวทำฟัน การจองคิวขึ้นเขาคำชะโนด ฯลฯ รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต New Normal ในรูปแบบใหม่ อย่างการเข้าคอร์สฟิตเนสออนไลน์ การเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ เป็นต้น         การปรับหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้ประชาชนในประเทศไทยปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ควบคู่ไปกับความพยายามฟื้นฟูธุรกิจและผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเดินต่อไปข้างหน้าให้ได้ ทุกคนต้องช่วยกันนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ป้องกัน COVID-19 ได้จริงหรือไม่

        มีการถามและแชร์กันว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะช่วยป้องกัน COVID-19 ได้ รวมทั้งผู้ที่เคยฉีดวัคซีน BCG (วัคซีนป้องกันวัณโรค) ก็จะเป็นโควิด-19 น้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยรับการฉีด จริงหรือไม่ เรามารู้เท่าทันกันเถอะ โควิด-19 เหมือนและต่างกับไข้หวัดใหญ่อย่างไร        อย่างแรก ทั้งโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ก่อโรคทางเดินหายใจเหมือนกัน มีอาการตั้งแต่ ไม่มีอาการอะไรเลย อาการเล็กน้อย จนกระทั่งรุนแรงและเสียชีวิต อย่างที่สอง ไวรัสทั้งสองชนิดติดต่อทางการสัมผัส ละอองของเหลวจากการไอ จาม         ไข้หวัดใหญ่จะมีระยะฟักตัวของเชื้อและเกิดอาการสั้นกว่าโควิด-19 (ระยะติดเชื้อและเกิดอาการของไข้หวัดใหญ่ ประมาณ 3 วัน ในขณะที่โควิด-19 ประมาณ 5-6 วัน) ซึ่งหมายความว่า ไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่า          นอกจากนี้ โควิด-19 มีอัตราการตายร้อยละ 1-5 ซึ่งมากกว่าไข้หวัดใหญ่ที่อัตราการตายน้อยกว่าร้อยละ 0.5 แต่ในช่วงฤดูหนาว ไข้หวัดใหญ่สามารถติดเชื้อในประชากรได้เป็นจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของประชากร วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่        องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ เนื่องจากเป็นไวรัสที่กลายพันธุ์ จึงต้องมีวัคซีนเฉพาะ         แต่ถึงแม้ว่า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะไม่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ แต่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ ลดการตายและการอยู่ในโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ เด็ก ผู้สูงอายุ มีโรคเรื้อรัง บุคลากรทางการแพทย์ การลดผู้ป่วยลงทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีเวลาเหลือพอในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 วัคซีนบีซีจีลดการติดเชื้อโควิด-19 ได้จริงหรือไม่        องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าวัคซีนบีซีจีป้องกันผู้คนจากการติดเชื้อโควิด-19โดยเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2563 องค์การอนามัยโลกได้ทบทวนฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สำคัญๆ และงานวิจัยทางคลินิก ที่นักวิจัยอ้างว่า ในประเทศที่มีการให้วัคซีนบีซีจีในเด็กแรกเกิด จะพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ต่ำกว่าประเทศที่ไม่ได้ให้วัคซีนบีซีจี ซึ่งพบว่า มีปัจจัยรบกวนที่มีอคติ ทำให้ผลการวิจัยไม่น่าเชื่อถือ การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ ช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่         ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า การล้างจมูกเป็นประจำด้วยน้ำเกลือจะสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ แต่มีหลักฐานบ้างว่า การล้างจมูกดังกล่าวสามารถช่วยให้ผู้ที่เป็นไข้หวัดธรรมดาฟื้นตัวเร็วขึ้น แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ การกินกระเทียมช่วยป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่        แม้ว่ากระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์และมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานว่า การกินกระเทียมจะช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้         สรุป  วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และบีซีจี ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ แต่การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแน่นอน ป้องกันไม่ให้เราป่วยจากไข้หวัดใหญ่ และลดภาระงานของแพทย์ พยาบาล ในการดูแลผู้ป่วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 แนวใหม่ของวัคซีน: กรณี Covid-19

        สิ่งที่บุคคลากรด้านการแพทย์ต้องการไว้ในมือเพื่อต่อสู้กับ Covid-19 คือ ยาบำบัดเชื้อและวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ในกรณีของยาบำบัดเชื้อนั้นปัจจุบันยังไม่มียาที่ชะงัดจริงๆ ชนิดชุดเดียวจบ แต่ก็มียาที่สามารถนำมาใช้โดยเทียบเคียงในการแก้ปัญหาที่เกิดจากไวรัสอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่ไปยับยั้งการเพิ่มปริมาณกรดนิวคลิอิกที่เป็นหน่วยพันธุกรรมของไวรัส เพื่อขัดขวางการเพิ่มปริมาณของไวรัสแล้วทำให้การติดเชื้อจบลง ส่วนวัคซีนนั้นมักเกี่ยวกับการลดการระบาดของเชื้อสู่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อหรือเพิ่งเริ่มติดเชื้อ เพราะวัคซีนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาจัดการกับไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย ในฉลาดซื้อฉบับนี้ผู้เขียนขอนำเรื่องของวัคซีนที่กำลังถูกพัฒนาในแนวใหม่  ซึ่งดูว่าน่าจะดีกว่าวัคซีนในลักษณะเดิมๆ ในบางมิติ         วัคซีนนั้นโดยทั่วไปแล้วเป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ถูกทำให้ตายหรืออ่อนฤทธิ์ลง บ้างก็ใช้เพียงบางส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ (เช่นผนังเซลล์) หรืออยู่ในลักษณะของท็อกซอยด์ (toxoid คือสารพิษจากจุลินทรีย์ที่ถูกทำให้หมดฤทธิ์) เป็นต้น คุณสมบัติของวัคซีนที่สำคัญคือ เป็นโปรตีนที่มีศักยภาพเป็น แอนติเจน (antigen) ซึ่งเมื่อถูกฉีดเข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์แล้วจะชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งที่เป็นเม็ดเลือดขาว (white blood cells) ที่จัดการกับจุลินทรีย์โดยตรงและเม็ดเลือดขาวที่สร้างโปรตีนที่เรียกว่า แอนติบอดี (antibody) ที่สามารถจับตัวกับบางส่วนของจุลินทรีย์แล้วส่งผลให้เกิดกระบวนการทำลายจุลินทรีย์นั้น ๆ นอกจากนี้หน้าที่ที่สำคัญของวัคซีนอีกประการคือ การกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ชนิด memory cell ที่สามารถจำจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกัน โดยเซลล์ลักษณะนี้มักอยู่ได้นานในระบบเลือดเพื่อเตรียมพร้อมในการต่อสู้กับจุลินทรีย์ที่อาจเข้าสู่ร่างกาย แต่นานเพียงใดนั้นมีหลายปัจจัยเป็นตัวกำหนด         ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นมักมีความจำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ แต่ก็มีบ้างเช่นกันที่ภูมิคุ้มกันนั้นสามารถป้องกันสิ่งแปลกปลอมอื่น เช่น เชื้อโรคที่มีความคล้ายกับเชื้อที่เป็นเป้าของวัคซีนที่เข้าสู่หรือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในร่างกายเช่น เซลล์มะเร็ง ในลักษณะดังกล่าวนี้วัคซีนทำหน้าที่กระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดที่ทำหน้าที่เก็บกวาดทุกอย่างที่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ ตัวอย่างที่มีการพูดถึงในประเด็นนี้คือ วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG ซึ่งเด็กในชาติกำลังพัฒนาได้รับเพื่อป้องกันวัณโรคทุกคน) ได้ถูกกล่าวถึงว่า วัคซีนนี้มีส่วนทำให้ประเทศยากจนติด covid-19 น้อยและไม่รุนแรงเท่าคนในประเทศพัฒนาแล้ว         การผลิตวัคซีนเพื่อต่อต้านการติดเชื้อ covid-19 นั้น มีบริษัทยาและมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่งได้แข่งกันทำ เพราะผู้ที่ทำได้สำเร็จก่อนย่อมได้ชื่อว่า ช่วยให้ประชากรโลกรอดตายได้เร็วขึ้นพร้อมทั้งรายได้มหาศาลที่ตามมา ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2563 กล่าวว่า มีวัคซีนราว 78 ชนิดที่อยู่ในขั้นตอนการศึกษา ซึ่งอย่างน้อย 5 ชนิดเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการทดลองในคน โดยวัคซีนที่อาศัยเทคนิคการใช้หน่วยพันธุกรรมหรือกรดนิวคลิอิกของไวรัสเป็นแนวทางในการผลิตนั้นดูน่าสนใจที่สุด         ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตกล่าวว่า บริษัทหนึ่งชื่อ Novavax ได้ใช้วิธีการทางด้าน genetic recombination โดยเริ่มจากการหาตำแหน่งของหน่วยพันธุกรรมของไวรัสที่เป็นตัวสร้าง ตุ่มโปรตีน (spike protein) บนผิวของไวรัสซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า นอกจากมีบทบาทในการเข้าสู่เซลล์ของร่างกายแล้วยังน่าจะมีบทบาทในการกระตุ้นภูมิต้านทานของผู้ที่ติดเชื้อไวรัส ชิ้นส่วนพันธุกรรมดังกล่าวนั้นได้ถูกสร้างในรูป DNA (deoxyribonucleic acid) plasmid แล้วนำใส่เข้าไปในเซลล์ของแบคทีเรียหรือยีสต์ที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการผลิตโปรตีนที่เป็นตุ่มบนผิวของไวรัสออกมาในปริมาณมาก เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิต้านในผู้ที่ยังไม่ป่วย         ในลักษณะที่คล้ายกันคือ การใช้หน่วยพันธุกรรมชนิด RNA (ribonucleic acid) เป็นแนวทางในการผลิตวัคซีนและได้รับอนุญาตให้เริ่มมีการทดสอบในคนเป็นทีมแรกแล้วคือ วัคซีนของบริษัท Moderna ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทที่เคยพยายามผลิตวัคซีนเกี่ยวกับโรค severe acute respiratory syndrome (SARS) และ Middle East respiratory syndrome (MERS) มาแล้ว        ในเว็บของ Moderna กล่าวว่านักวิจัยของบริษัทร่วมกับสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติ (The National Institute of Allergy and Infectious Diseases หรือ NIAID) ได้ทำการศึกษาจนรู้ลำดับของกรดอะมิโนที่ประกอบขึ้นเป็นตุ่มโปรตีนบนผิวไวรัส จากนั้นได้ใช้ความรู้พื้นฐานทางชีวเคมีประเมินว่า รหัสพันธุกรรมที่ควรปรากฏอยู่บน RNA (หรือถ้าจะพูดให้ชัดคือ mRNA) นั้นควรมีการเรียงตัวเช่นไร แล้วจึงทำการสังเคราะห์สาย mRNA ที่ต้องการขึ้นมาในห้องปฏิบัติการ ซึ่งคงต้องเติมยีนกระตุ้นการทำงาน (promoter gene) ของ mRNA (ในลักษณะเดียวกันกับการใช้ CaMV P-35S ช่วยในการผลิตสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือ GMO) ที่สามารถบังคับให้เกิดการถอดระหัสของ mRNA หลังจากเข้าสู่เซลล์ของร่างกายเพื่อให้ได้โปรตีนที่มีเอกลักษณ์ตรงกับตุ่มโปรตีนบนผิวไวรัส โดยที่ mRNA นี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของวัคซีน จึงเรียกกันว่า mRNA vaccine ซึ่งมีระหัสว่า mRNA-1273 (ในความเป็นจริงมีบริษัทอื่น เช่น CureVac ในเมืองบอสตันที่อ้างว่ากำลังผลิต mRNA vaccine เช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้ให้รายละเอียดดังเช่นที่ Moderna ให้ไว้ในเว็บของบริษัท) โดยข้อดีของ mRNA วัคซีนคือ ตัว mRNA จะถูกทำลายทิ้งในที่สุดหลังจากปิดงานในลักษณะเดียวกับที่เกิดต่อ mRNA ของคน (และสัตว์) ทั่วไป         ในการทดสอบประสิทธิผลของวัคซีนนั้น NIAID เป็นผู้รับผิดชอบในการอนุญาตให้ Moderna ได้สิทธิข้ามขั้นตอนเพื่อเริ่มทำการทดลองวัคซีนในคนได้อย่างเร่งด่วน เพื่อดูว่าวัคซีนก่อปัญหาสุขภาพแก่อาสาสมัครและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสหรือไม่ วัคซีนของ Moderna ได้เริ่มทดสอบแล้วที่สถาบันวิจัยด้านสาธารณสุุข Kaiser Permanente Washington ในนครซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน เมื่อวันจันทร์ 16 มีนาคม 2020 โดยอาจมีวัคซีนของบริษัทอื่นดำเนินการตามในไม่ช้า         การทดลองวัคซีน mRNA-1273 ขั้นตอนที่ 1 นั้นนำทีมโดยแพทย์หญิงลิซา แจ็คสัน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ชายและผู้หญิง (ที่ไม่ตั้งครรภ์) อายุระหว่าง 18-55 ปี จำนวน 45 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับวัคซีนในปริมาณที่แตกต่างกัน คือ 25, 100 หรือ 250 ไมโครกรัม สองเข็มในระยะเวลาห่างกัน 28 วัน จากนั้นจึงดูผลด้านความปลอดภัยและการตอบสนองต่อวัคซีน (การสร้างภูมิคุ้มกัน) นาน 1 ปี ผู้ที่สนใจในรายละเอียดของปฏิบัติการนี้สามารถอ่านดูได้ที่ https://www.niaid.nih.gov/news-events/nih-clinical-trial-investigational-vaccine-covid-19-begins         มีข้อมูลว่าสำนักข่าว CNN ได้สัมภาษณ์อาสาสมัครทั้งชายและหญิงที่เข้าร่วมการทดลองครั้งนี้พบว่า อาสาสมัครต่างสบายใจที่ทราบว่าในวัคซีนนั้นไม่ได้มีเชื้อไวรัสจริง แต่มีเพียงสิ่งที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสิ่งนั้นจะมีส่วนในการสร้างโปรตีนที่เหมือนกับโปรตีนซึ่งอยู่บนผิวของไวรัสออกมา เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำลายโปรตีนนั้น ซึ่งจะส่งผลให้ไวรัสที่มีอยู่ในร่างกายถูกทำลายในที่สุด         ตามหลักการทั่วไปแล้วก่อนมีการทดลองยาหรือวัคซีนในคนนั้น จำต้องเริ่มต้นทดสอบในสัตว์ทดลองก่อน เพื่อดูขนาดที่เหมาะสมของยาหรือวัคซีนพร้อมดูความเสี่ยงในการก่ออันตรายต่อสิ่งมีชีวิต รวมถึงการตรวจวัดด้านเภสัชจลศาสตร์เพื่อดูว่า การดูดซึม การกระจายตัว และการขับออกจากร่างกายเป็นอย่างไรในสัตว์ทดลอง จากนั้นจึงเริ่มทดสอบในคนซึ่งขั้นตอนแรกมักใช้อาสาสมัครที่มีสุขภาพดีราว 20-80 คน เพื่อทดสอบความปลอดภัยและตรวจสอบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น จากนั้นจึงเข้าขั้นตอนที่สองซึ่งใช้อาสาสมัคร 30-300 คน ซึ่งบางครั้งอาจใช้อาสาสมัครที่อยู่ในส่วนของโลกที่ได้รับผลกระทบจากโรคนั้นเลยเพื่อวัดประสิทธิภาพของวัคซีนในสภาวะจริงไปด้วย จากนั้นในขั้นตอนที่สามซึ่งเป็นการทำเหมือนขั้นตอนที่สองแต่ใช้อาสาสมัครประมาณ 1000-3000 คน เมื่อการทดสอบสำเร็จสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะเป็นผู้ประเมินผลว่าวัคซีนนั้นได้ผลหรือไม่ นอกจากนี้อาจมีขั้นตอนที่สี่ซึ่งไม่บังคับแต่เป็นการทำหลังวัคซีนออกสู่ตลาดแล้วโดยเป็นการเก็บข้อมูงในกลุ่มคนเฉพาะเช่น คนท้อง เด็ก ผู้สูงวัย ฯ เพื่อให้ได้ข้อมูลทางเทคนิคที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค เช่น ผลข้างเคียงในคนบางกลุ่ม อายุของยาหรือวัคซีนหลังการผลิต เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 กระแสต่างแดน

ดาวหลอกคุณ        การทดลองโดย which? นิตยสารคุ้มครองผู้บริโภคของอังกฤษพบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเลือกสินค้ารุ่นที่ "ไม่ควรซื้อ" มากขึ้นเมื่อได้เห็นรีวิวสวยหรู ประกอบจำนวน "ดาว" ที่มากเกินจริง และการเป็น "สินค้าโปรโมท" ของเว็บ        ผู้บริโภค 10,000 คนได้รับโจทย์ให้เลือกซื้อ หูฟัง กล้องติดหน้ารถ หรือเครื่องดูดฝุ่นไร้สายอย่างใดอย่างหนึ่ง (สถิติระบุว่าสามอย่างนี้เป็นสินค้าที่มี “เฟครีวิว” มากที่สุด) จากเว็บ “อเมซอน” ที่นิตยสารทำขึ้นมาเอง เว็บดังกล่าวนำเสนอสินค้าประเภทละ 5 รุ่น ซึ่ง which? เลือกมาแล้วให้มีทั้ง น่าซื้อ (1) พอทน (3)  และไม่ควรซื้อ (1)         จากผู้บริโภคที่ถูกแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม แยกตามข้อมูลที่ได้รับ เขาพบว่ากลุ่มที่เห็นดาวและรีวิวเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะกดซื้อสินค้ารุ่นที่ “ไม่ควรซื้อ" มากเป็นอันดับสอง รองจากกลุ่มที่ได้ข้อมูลสินค้าพร้อมเห็นดาวระยิบระยับ รีวิวอวยสุดๆ และการโปรโมทโดยแพลตฟอร์มสวิสวิถีใหม่        นอกจากการเว้นระยะห่าง การสวมหน้ากากอนามัย และค่าธรรมเนียมโควิด-19 ที่ร้านอาหารจะเรียกเก็บจากลูกค้าหัวละ 2 ฟรังก์ (ประมาณ 65 บาท) แล้ว คนสวิตเซอร์แลนด์จะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเรื่องการลงทุนทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในประเทศด้วย         ความลำบากในการจัดหาสินค้า/ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากประเทศอื่นในช่วงของการระบาดทำให้ทั้งรัฐบาลและประชาชนชาวสวิสตระหนักและเห็นตรงกันว่าต่อไปนี้จะต้องมีนโยบายพึ่งตนเอง         นอกจากราคาสินค้าในสวิตเซอร์แลนด์จะแพงสุดๆ เพราะต้องนำเข้า (คนที่อยู่ตามชายแดนนิยมขับรถข้ามไปซื้อในออสเตรีย อิตาลี เยอรมนี และฝรั่งเศส) คนสวิสยังต้องปวดใจที่มีเงินแต่ไม่สามารถซื้อหาสินค้าจำเป็นมาใช้ได้ เพราะประเทศอื่นๆ ต่างก็ปิดชายแดนหรือเก็บสต็อกใว้ใช้เอง         การสำรวจความเห็นพบว่าร้อยละ 94 ของประชากรอยากให้อุตสาหกรรมยากลับมามีฐานการผลิตในประเทศ ร้อยละ 90 บอกว่าบริษัทเหล่านั้นควรมีสต็อกยา เวชภัณฑ์ ถุงมือ หน้ากากอนามัย หรือแม้แต่เครื่องช่วยหายใจไว้สำหรับคนสวิสด้วยขั้นตอนฝ่าวิกฤติ        โอ้คแลนด์กำลังจะเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง ปริมาณน้ำในเขื่อน 9 แห่งที่หล่อเลี้ยงเมืองนี้ลดน้อยลงทุกทีเนื่องจากปริมาณฝนลดลงไปกว่าร้อยละ 50 ตั้งแต่พฤศจิกายนปีที่แล้ว หากฝนยังไม่ตกในฤดูใบไม้ผลิโอ้คแลนด์จะมีน้ำใช้เพียงวันละ 200 ล้านลิตร         พวกเขาจึงเตรียมใช้มาตรการเดียวกับที่นิวซีแลนด์ใช้รับมือกับวิกฤติโควิด-19 นั่นคือการกำหนดแนวปฏิบัติที่แบ่งออกเป็นระยะ แผนประหยัดน้ำแบบ 4 เฟส ได้แก่          เฟสแรก (เริ่มเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม) ให้ทุกครัวเรือนงดการใช้สายยางหรือเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง และสมาชิกในครัวเรือนอาบน้ำฝักบัวได้คนละไม่เกิน 4 นาที โดยรวมจำกัดการใช้น้ำไม่เกินวันละ 410 ลิตร         เฟสที่สอง เพิ่มการประหยัดน้ำให้ได้วันละ 20 ลิตร และธุรกิจ/โรงงานต่างๆ ต้องลดการใช้น้ำลงร้อยละ 10         เฟสสาม ประหยัดน้ำให้ได้วันละ 30 ลิตร/คน ธุรกิจ/โรงงานลดการใช้น้ำลงร้อยละ 15           เฟสสี่ ประหยัดน้ำให้ได้วันละ 40 ลิตร/คน ธุรกิจ/โรงงานลดการใช้น้ำลงร้อยละ 30เบรกเบบี้บูม         หน่วยงานด้านประชากรและการวางแผนครอบครัวของอินโดนีเซีย ซึ่งมีหน้าที่แจกจ่ายยาคุมกำเนิดให้กับคู่สมรส ระบุว่ามีผู้มารับบริการน้อยลงร้อยละ 10 หรือประมาณ 2 – 3 ล้านคนในช่วงการระบาดของไวรัสและเขาคาดการณ์ว่าร้อยละ 15 ของคนกลุ่มนี้จะตั้งครรภ์         นั่นหมายความว่าจะมีจำนวนสตรีตั้งครรภ์เพิ่มจากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้อีก 300,000 ถึง 450,000 คนและทารกเหล่านี้จะออกมาดูโลกในช่วงที่ยังไม่มีวัคซีนมารับมือกับการระบาด        รัฐบาลอินโดนีเซียจึงได้แต่ขอร้องให้ครอบครัวงดการตั้งครรภ์ในช่วงล็อกดาวน์ แต่คำขอนี้อาจมาช้าเกินไป เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาสื่อท้องถิ่นรายงานว่าเมืองทาสิกมาลายา บนเกาะชวา มีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 105        แต่อีกรายงานหนึ่งบอกว่าปัญหาอาจไม่รุนแรงอย่างที่คิด เพราะผู้หญิงส่วนหนึ่งเลือกไปรับยาคุมจากหน่วยงานเอกชนเนื่องจากไม่มีทะเบียนสมรสเป็นหลักฐานในการรับยาฟรีจากรัฐบาลเธอเปลี่ยนไป         เรื่องปวดหัวของธุรกิจหลังการมาเยือนของโควิด-19 คือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ... ในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมสักเท่าไร         สมาคมผู้ค้าปลีกของอังกฤษยืนยันว่าผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลงหลังช่วงล็อกดาวน์ เลือกของถูกเป็นหลัก ใช้จ่ายเฉพาะของจำเป็นและออมเงินมากกว่าเดิม         ที่ประเทศจีน แม้คนจะเดินห้างมากขึ้น ช้อปออนไลน์มากขึ้น (ด้วยคูปองที่ได้รับแจกจากรัฐบาล) แต่ยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยที่เป็นความหวังช่วยดึงการเติบโตของการใช้จ่ายในครัวเรือนกลับลดลง         ในอเมริกาบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเฮอร์ชีย์และคอลเกต ก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าผู้บริโภคสนใจแต่ตัวเลือกราคาถูก ร้านสินค้าราคาประหยัดมีลูกค้าเพิ่มขึ้นและคนอเมริกันยังเลือกออมถึงร้อยละ 33 ของรายได้ เช่นเดียวกับคนยุโรปที่เพิ่มอัตราการออมจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 19         รัฐบาลแต่ละประเทศจึงต้องหาทางผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ลดดอกเบี้ยเงินฝากและอัดยาแรงช่วยกู้เศรษฐกิจนั่นเอง 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 มาตรการเพื่อรองรับบริการรถสาธารณะในยุคโควิด 19

        นับแต่มีนาคมถึงมิถุนายนเป็นเวลากว่าสามเดือนเต็ม ที่คนไทยทุกคนต้องร่วมแรงร่วมใจหยุดการแพร่เชื้อของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โควิด 19” ที่เริ่มระบาดมาตั้งแต่ปลายปี 2562  และกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลกจนทำให้มีผู้ติดเชื้อสะสมตอนนี้มากกว่า 9,000,000 คน และเสียชีวิตแล้วกว่า 460,000 คน นับเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เป็นความสูญเสียยุคใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติเลยก็ว่าได้         สำหรับประเทศไทยอาจจะดูเบาใจลงได้บ้าง เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อลดน้อยลงหลายวันแล้ว และน่าจะใจชื้นขึ้นได้อีกเมื่อประเทศไทยยังถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ดีที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชียอีกด้วย          แต่แม้จะได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นประเทศที่ติดอันดับโลกในการฟื้นตัวจากโรคระบาดนี้ ก็อย่าลืมว่าตอนนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ ปัญหาคือ แล้วถ้าต้องเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจะเป็นอย่างไร ทุกวันนี้แค่รับคนไทยจากต่างประเทศกลับเข้ามาก็พบคนมีไข้เสี่ยงติดเชื้อหลายคนอยู่แล้ว ตรงนี้คือจุดเปลี่ยนที่จะเป็นสถานการณ์ใหม่สำหรับพวกเราทุกคนแน่นอน         หันมองเพื่อนบ้านใกล้เคียงและอีกหลายประเทศทั่วโลกแล้ว คงต้องบอกว่าสถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจนัก เพราะหลายประเทศที่ดูสงบนิ่ง ตอนนี้เริ่มพบผู้ติดเชื้อรายใหม่กันบ้างแล้ว นั่นหมายความว่าการแพร่ระบาดรอบสองกำลังเริ่มขึ้น และการปิดประเทศหนีหรือล็อคดาวน์อีกรอบคงไม่ใช่คำตอบ อย่างเก่งคงทนได้ไม่เกินสามเดือน ยิ่งการอัดฉีดเม็ดเงินก็ไม่ได้ทำได้ตลอดไป เพราะถ้าพลาดการ์ดตกเมื่อไหร่ กลับไปใช้ชีวิตแบบประมาทไม่สนใจอะไรเหมือนเดิม นั่นหมายความว่า รอบสองของเราอาจมาเร็วกว่าที่คิดก็เป็นได้         แต่การมาของวิกฤตโรคอุบัติใหม่ครั้งนี้ ทำให้คนพูดถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันแบบใหม่ ๆ เพราะถ้าเราต้องป้องกันตนเองจากโรคร้ายที่เชื่อว่าจะต้องอยู่กับพวกเราไปอีกนาน เช่น การเริ่มทำงานที่บ้านมากขึ้น ลดการสังสรรค์นอกบ้านถ้าไม่จำเป็น ไม่นำพาตนเองเข้าไปอยู่ในที่แออัด สั่งอาหารเดลิเวอรี่ เลือกช็อปปิ้งสินค้าออนไลน์ หรือ ปรับพฤติกรรมการเดินทาง ลดการใช้รถสาธารณะที่เบียดเสียด แล้วหันมาใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์แทน รวมถึงการรักษาระยะห่างระหว่างกัน และใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเวลาออกนอกบ้าน        สิ่งเหล่านี้ คือ ความปกติใหม่ ที่เราต้องซึมซับจากสิ่งรอบตัว ภาษา ท่าทาง พฤติกรรม ตลอดจนข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะทำให้เราต้องคุ้นชินอยู่กับสิ่งเหล่านี้กันไปอีกสักพักใหญ่ อย่างน้อยก็อีกหลายเดือนนับจากนี้        แน่นอนว่าเมื่อตอนนี้สถานการณ์ของประเทศไทยเริ่มดีขึ้น รัฐบาลเริ่มทยอยปลดล็อคข้อบังคับหลายอย่างสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันและการเดินทางบ้างแล้ว เพื่อให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติเร็วที่สุด แต่การเดินทางด้วยรถสาธารณะกลับยังถูกจับตาเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ด้วยมีปัจจัยบ่งชี้ว่า รถสาธารณะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยมีการยกตัวอย่างของประเทศจีนที่พบผู้ติดเชื้อในรถสาธารณะปรับอากาศที่มีคนค่อนข้างแน่น ขณะที่มีผู้โดยสารที่มีเชื้อเพียง 1 คน นั่งอยู่แถวหลัง การแพร่เชื้อไปยังผู้โดยสารคนอื่นบนรถก็สามารถเกิดขึ้นได้ แม้จะนั่งห่างกันถึง 4 เมตรก็ตาม         จากกรณีดังกล่าวจึงทำให้ผู้กำกับนโยบายหลายฝ่ายในประเทศไทยยังไม่กล้าที่จะปลดล็อคการเว้นระยะห่างในรถสาธารณะ ทั้งในรถเมล์และรถไฟฟ้ารวมถึงกลุ่มรถโดยสารระหว่างจังหวัด เพราะยังไม่มั่นใจและไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อบนรถสาธารณะ ทั้งที่การเดินทางด้วยขนส่งมวลชนเป็นบริการสาธารณะที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากในแต่ละวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงทำให้เกิดปัญหากับผู้ใช้บริการตามภาพที่ทุกคนพบเห็น คือ คนยืนเบียดเสียดเต็มคันรถ แต่เบาะที่นั่งบนรถยังต้องเว้นระยะอยู่ แล้วแบบนี้จะเรียกว่ามาตรการป้องกันได้อย่างไร         ขณะที่คาดว่าในเดือนกรกฎาคมนี้ เมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายถึงที่สุดแล้ว การเดินทางของประชาชนจะกลับมาเพิ่มขึ้น ประชาชนใช้รถเมล์และรถไฟฟ้ากันเหมือนเดิม ทั้งการเดินทางระยะทางสั้นในเขตเมือง และเดินทางระยะยาวข้ามจังหวัด และคาดหมายว่าจะมีคนใช้บริการรถเมล์มากถึง 650,000 คนต่อวัน ขณะที่ระบบขนส่งทางรางเดิมก่อนประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผู้ใช้บริการมากถึง 900,000 คน/วัน แบ่งเป็น รถไฟฟ้า BTS เดิมมีผู้โดยสารเฉลี่ย 517,560 คน/วัน MRT เดิมมีผู้โดยสารเฉลี่ย 284,841 คน/วัน และ แอร์พอตลิงค์เดิมมีผู้โดยสารเฉลี่ย 45,703 คน/วัน และรถไฟฟ้าเดิมอยู่ที่ 59,767 คน/วัน         หากรัฐยังไม่มีมาตรการใหม่และยืนยันต้องเว้นระยะห่างบนรถสาธารณะเหมือนเดิม ปัญหาการไม่เพียงพอของรถสาธารณะและความยากลำบากของผู้ใช้บริการก็จะกลับมา เพราะต้องยอมรับว่าระบบขนส่งมวลชนไทยในปัจจุบัน ไม่ได้ออกแบบไว้รองรับมาตรการระยะห่างทางสังคม Social Distancing ทางออกเร่งด่วนที่ดีที่สุดตอนนี้คือ รัฐควรต้องเร่งปลดล็อคและปรับมาตรการอื่นเข้ามาเสริมแทน  เช่น จริงจังกับนโยบาย work from home สำหรับองค์กรหรือหน่วยงานที่พร้อมเพื่อลดปริมาณการเดินทาง ทดลองลดระยะห่างบนรถสาธารณะเพื่อเพิ่มความจุในปริมาณที่เหมาะสมตามหลักวิศวกรรมที่เน้นความปลอดภัยและกำหนดมาตรการการป้องกันส่วนบุคคล ได้แก่ การบังคับใช้หน้ากากอนามัยอย่างต่อเนื่องจริงจัง         เช่นเดียวกับกลุ่มรถโดยสารระหว่างจังหวัดที่ต้องวิ่งรับส่งคนโดยสารในระยะทางไกล รัฐควรต้องกำหนดมาตรการอื่นเพิ่มเติมมากกว่าการเว้นเบาะที่นั่ง เพราะการจำกัดจำนวนที่นั่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และการประกอบอาชีพของผู้ประกอบการจนนำไปสู่ปัญหาการบรรทุกเกิน แอบขึ้นราคาค่าโดยสารและสุดท้ายคนที่ต้องแบกรับภาระทั้งหมดคือผู้บริโภคนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 231โควิด-19 เราต้องรอด

      ไวรัสโควิด-19 ทำเอาเศรษฐกิจไทยติดเชื้อและเจ็บป่วยค่อนข้างหนัก ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่าจีดีพีของไทยในปี 2563 จะติดลบถึงร้อยละ 4.9 จากเดิมที่คาดว่าจะโตร้อยละ 1.1         ไม่ต้องดูภาพใหญ่ให้ปวดใจ คนหาเช้ากินค่ำ พ่อค้าแม่ค้าตามตลาด ธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า มีให้เห็นตามหน้าสื่อทุกวัน ขณะที่การช่วยเหลือเยียวยาของรัฐบาล...พูดตรงๆ คือไร้ประสิทธิภาพ ยุ่งยาก วุ่นวาย และผิดพลาด ก็ไม่รู้ทำไมไม่ใช่ฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น บ้านสวัสดิการแห่งรัฐ ลูกหนี้ของธนาคารของรัฐ เป็นต้น แล้วส่งความช่วยเหลือให้ตรงกลุ่มไปเลย        รู้เต็มอกว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับคนจำนวนมาก ประชาชนไม่น้อยต้องรอรับอาหารจากวัดหรือที่มีคนใจบุญมาแจก เพราะไม่มีรายได้เลย เผลอๆ จะอดตายก่อนติดเชื้อโควิด-19 เสียอีก การบอกให้ประหยัดในช่วงความเป็นความตายออกจะดูน่ารังเกียจ แต่ก็คิดว่าในรายที่ยังพอมีรายได้ ยังพอทำมาหากินได้ น่าจะเป็นประโยชน์         1.หยุดการออมเงินชั่วคราว ฟังดูเป็นเรื่องแสลงหู แสลงใจเหลือเกินที่การจัดการการเงินส่วนบุคคลต้องพูดแบบนี้ หรือลดจำนวนการออมเงินให้น้อยลงเพื่อรักษาสภาพคล่องในการใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้ก่อน อย่าลืมว่าสภาพคล่องมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่มีเงินก็ไม่มีข้าวกิน        2.พักหนี้ หลายคนทำงานเพื่อเลี้ยงชีพและใช้หนี้ ไม่ว่าจะหนี้การค้า หนี้บ้าน หนี้รถ หรือหนี้บัตรเครดิต (ซึ่งไม่ควรมีตั้งแต่ต้น) ช่วงเวลานี้คงน่าจะเหลือเจ้าหนี้ใจไม้ไส้ระกำไม่มากและเข้าใจดีว่าเศรษฐกิจย่ำแย่ขนาดไหน ซึ่งสถาบันการเงินหลายแห่งก็มีมาตรการช่วยเหลือส่วนนี้ออกมาแล้ว ในกรณีหนี้นอกระบบจากการยืมเพื่อน คนรู้จัก ที่ไม่เจ้าหน้าเงินกู้หน้าเลือด ต้องเจรจาขอผ่อนผันออกไปก่อนหรือถ้ายังพอมีกำลังอาจจะลดเงินส่งหนี้ลง         3.ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ตรงนี้สำคัญ คุณต้องเริ่มพิจารณาอย่างรอบคอบและเคร่งครัดว่าอะไรสำคัญกับชีวิตของตนจริงๆ ในห้วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ ตัดสิ่งฟุ่มเฟือยออกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การจ่ายค่ามือถือและอินเทอร์เน็ตที่ใช้ไปเพื่อความบันเทิงลดลงได้หรือไม่ ถ้าการกักตัวอยู่บ้านทำให้ช้อปปิ้งออนไลน์เยอะขึ้น คุณต้องถามตัวเองว่าใช่เวลาหรือเปล่า          4.วางแผนและจัดลำดับความสำคัญการใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายรายวัน รายเดือนที่เป็นค่าใช้จ่ายประจำอย่างค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าห้อง หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่บางอย่างสามารถประหยัดลงได้ ประเมินสถานการณ์ว่าในอีก 1 สัปดาห์ข้างหน้า 1 เดือนข้างหน้า คุณมีรายจ่ายก้อนใหญ่อะไรที่จำเป็นต้องจ่าย เช่น ค่าเทอมลูก ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยประกันออมทรัพย์ จัดเรียงความสำคัญ วางแผนหลัก และแผนสำรอง        จะให้ดีก็ลดการเสพสื่อโซเชียลมีเดียลง การส่องเฟสหรือไอจีพวกคนมีฐานะกักตัวแบบหรูๆ กับบ้านไม่ใช่สิ่งประเทืองอารมณ์ แต่เป็นการตอกย้ำความไม่เท่าเทียมและความเหลื่อมล้ำของประเทศนี้       พวกไลฟ์โค้ชที่บอกว่าคุณกระจอกที่ไม่ยอมใช้วิกฤตเป็นโอกาสและให้ตำหนิตัวเอง อย่าเอาแต่โทษรัฐบาล ให้เลิกดู เลิกติดตามซะ ไม่จรรโลงอารมณ์และสติปัญญา        และจงออกมาตำหนิ เรียกร้อง กดดันรัฐบาลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เยียวยาอย่างทั่วถึง ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพราะรัฐสมัยใหม่มีหน้าที่ปกป้องดูแลประชาชน เมื่อทำหน้าที่นี้ไม่ได้ เราจะมีรัฐและรัฐบาลไปเพื่ออะไรเอาใจช่วยทุกคนให้ผ่านมันไปได้ครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 230 ชีวิตหลัง โควิด 19

        วิกฤติ โคโรน่าไวรัส โรคระบาดที่ล็อคดาวน์ ชีวิตผู้คน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของทุกคนถ้วนหน้า คนกลุ่มหนึ่งตกงานทันทีในวันรุ่งขึ้น เพราะเป็นลูกจ้างรายวัน หรือบริษัทปิดตัวลงเพราะไม่สามารถให้บริการได้ หรือบางกิจการไม่อนุญาตให้เปิดบริการเพราะมีปัญหาการควบคุมโรค หรือบางกิจการได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น การท่องเที่ยว มีการคาดการณ์ว่า มีคนตกงานไม่น้อยกว่า 10 ล้านคนในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา        การใช้ชีวิตผู้คนผูกติดกับเทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งการสั่งของ สั่งอาหาร หรือการทำงานจากบ้าน WFH ที่ต้องพึ่งพิงระบบดิจิทัลมากขึ้น ทั้งที่ในอดีตมักปฏิเสธและอาจจะทำไม่ได้ง่ายนัก        หลายชุมชนหรือกลุ่ม ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนกันและกัน มีบทเรียนของการเตรียมพร้อมรับมือเพื่อลดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเครือข่ายชุมชนแออัด มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ที่ร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก สวนผักคนเมือง มูลนิธิสุขภาพไทย สนับสนุนให้เกิดการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร เกิดความมั่นคงด้านอาหารหากเกิดวิกฤติในครั้งต่อไป        หรือกลุ่มชาวเล หาดราไวย์ ภูเก็ต ส่งปลาแลกข้าวกับชาวนา จังหวัดยโสธรร “ชาวเลมีปลา ชาวนามีข้าว สนับสนุนโดยมูลนิธิชุมชนไทยและสมาคมชาวยโสธร        หลายคนที่อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ คงเห็นตรงกันว่า ชีวิตที่เรียบง่ายเมื่อ WFH  เราใช้เสื้อผ้าอยู่ 2 ชุด ชุดนอน กับชุดอยู่บ้านสบายๆ  ตามสไตล์ของแต่ละคน หรือใส่เสื้อผ้าอยู่ไม่กี่ตัว ตัวที่ชอบก็ไม่ได้มีมากมาย        แล้วเราจะอยู่อย่างไร หลังโควิด 19 ที่ดูจะอยู่กับเรานาน และไม่ได้ไปง่าย ๆ เป็นคำถามสำคัญที่เราเหล่าผู้บริโภคต้องช่วยกันหาคำตอบ        ถึงแม้การคาดการณ์โรคยังคงต้องอาศัยวิชาการ แต่การควบคุมโรคต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนเป็นสำคัญ การอยู่ร่วมกันต้องไม่รังเกียจกลัวซึ่งกันและกัน จนเกิดความรุนแรง เราต่างต้องคิดว่า เราอาจจะติดเชื้อ ถ้ายังไม่เคยตรวจ หรือแม้แต่ตรวจแล้วผลเป็นลบ อาจจะไม่ได้ลบจริง อยู่ในช่วงฟักตัว  ต้องป้องกัน ไม่ให้ระบาดมากขึ้น เราจะอยู่อย่างไรที่เป็นมิตรกับคนติดเชื้อ ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้ยินข่าว ลูกไม่ยอมส่งพ่อแม่ไปโรงพยาบาล พี่น้อง คนในชุมชน คนในคอนโดมิเนียมเดียวกัน ฟ้องคดีกัน เพราะกลัวคนที่ติดเชื้อ        สิ่งดีที่เกิดขึ้นในทุกจังหวัดที่ผ่านมา คือการกระจายอำนาจในการจัดการป้องกันโรค ทำให้เกิดความตื่นตัวของประชาชนในทุกจังหวัด ร่วมมือกันในการควบคุมโรค สนับสนุนกันและกันในทุกจังหวัด ซึ่งน่าเป็นโอกาสให้จังหวัดได้ตัดสินใจเพิ่มกิจกรรมเศรษฐกิจหรือกิจกรรมพึ่งตนเองของชุมชน จังหวัด รวมทั้งกิจกรรมเศรษฐกิจของกลุ่มต่างๆ เพราะการค้าขายต่างๆ ไม่น่าจะเป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป        ความสำคัญในชีวิต คงไม่พ้นความจำเป็นพื้นฐาน อาหาร แต่ละชุมชน จังหวัดจะให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านอาหารอย่างไรในจังหวัดของตนเอง ชุมชนของตนเอง        ปัญหาความยากจน ระบบสวัสดิการทางสังคม จะถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างไร เพื่อแก้จุดอ่อนของระบบตรวจสอบความยากจน ตรวจสอบการทำงาน ตรวจสอบอาชีพ แต่เป็นระบบสวัสดิการถ้วนหน้า เพื่อให้ทันการเยียวยาในช่วงที่ทุกข์ยากได้อย่างแท้จริง สิ่งเหล่านี้ไม่น่าจะเกินกำลังความสามารถของผู้บริโภคเช่นเรา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 230 ผลทดสอบเจลแอลกอฮอล์

        สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ในขณะนี้ นอกจากหน้ากากอนามัยแล้ว เจลแอลกอฮอล์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือแบบอื่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ทำความสะอาดมือเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ซึ่งเป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมากจนทำให้เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าและมีสินค้าไม่ได้มาตรฐานออกมาวางจำหน่าย         ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังสินค้าและคุ้มครองผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงดำเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือจำนวน 39 ตัวอย่าง แบ่งเป็นสองกลุ่มตัวอย่าง คือผลิตภัณฑ์จากร้านค้าทั่วไป ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก จำนวน 25 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์จากร้านค้าออนไลน์ จำนวน 14 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10 มีนาคม – 17 เมษายน ที่ผ่านมา เพื่อตรวจหาปริมาณร้อยละของแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์ และตรวจหาการปนเปื้อนของเมธิลแอลกฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค สรุปผลทดสอบผลทดสอบ พบว่า-   จำนวน 26 ตัวอย่าง มีปริมาณแอลกอฮอลต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ไม่ผ่านเกณฑ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ. 2563  แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ(1) จำนวน 14  ตัวอย่าง คือมีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ทั้งนี้ทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ระบุวันผลิตตั้งแต่ประกาศฯ มีผลบังคับ คือ 10 มีนาคม 2563(2) จำนวน 8 ตัวอย่าง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตก่อนวันที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ฯ มีผลบังคับ(3) จำนวน 4 ตัวอย่าง ไม่ระบุวันผลิต ได้แก่ยี่ห้อ เมดเดอร์ลีน, Sweet Summer, BFF บีเอฟเอฟ และ TOUCH        -  จำนวน 13 ตัวอย่าง มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ทั้งนี้แบ่งเป็น(1) ผลิตภัณฑ์ที่มีวันผลิตก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2563 จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ Skin Heaven Hand Safe, Anti-A gel (2 ตัวอย่าง) ,ไลฟ์บอย แฮนด์ ซานิไทเซอร       (2) ผลิตหลังวันที่ 10 มีนาคม 2563 จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ Ver.88, WE Cleanser, ก๊กเลี้ยง, โพรเทค และ CAVIER       (3) ไม่ระบุวันผลิต 4 ตัวอย่าง ได้แก่ยี่ห้อ  CCP LAB BLUE, D GEL , ETC อาย-ตา-นิค และพันตรา     -   พบผลิตภัณฑ์ 4 ตัวอย่าง ไม่มีเลขจดแจ้ง แบ่งเป็น 3 ตัวอย่าง (2 ยี่ห้อ) ไม่แสดงเลขจดแจ้ง ได้แก่ Anti-A gel, Top Clean Hand Sanitizer และมี 1 ตัวอย่างแสดงเลข อย.ซ้ำกับผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ได้แก่ ยี่ห้อ L Care     -  พบ 1 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ ANANTA Spray(อนันตา สเปรย์) ใช้เมธานอลเป็นส่วนผสมในการผลิต   ฉลาดซื้อแนะการใช้ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือที่ถูกต้อง1.ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ขึ้นไป (ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน) ทำไมต้อง 70% ถ้าใช้สัดส่วนที่ต่ำกว่านั้น ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรค COVID-19 ได้2.ลูบให้ทั่วฝ่ามือและนิ้วมือ ทิ้งไว้ 20-30 วินาที จนแอลกอฮอล์แห้ง หากใช้แล้วไม่รอให้แห้งไปหยิบจับสิ่งต่างๆ ก็จะทำให้ประสิทธิภาพลดน้อยลง3.ควรใช้เจลแอลกอฮอล์เฉพาะมือเท่านั้น ห้ามสัมผัสหรือเช็ดล้างบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ใบหน้าและดวงตาโดยเด็ดขาด4.ผลิตภัณฑ์ชนิดที่มีส่วนผสมอื่นนอกจากตัวแอลกอฮอล์จะช่วยทำให้ตัวแอลกอฮอล์ระเหยได้ช้าลง สัมผัสกับผิวได้นานขึ้น ช่วยลดการระคายเคืองของแอลกอฮอล์และคงความชุ่มชื้นต่อผิว5.ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ ทำให้ต้องระมัดระวังการเก็บหรือการใช้ อย่าวางเจลใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ เพราะแอลกอฮอล์ติดไฟได้ง่าย อาจเกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บได้

อ่านเพิ่มเติม >