ฉบับที่ 211 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกันยายน 2561แกร็บเตือนภัยอาชญากรแอบอ้างให้บริการ แนะเรียกใช้ผ่านแอปพลิเคชัน        จากเหตุการณ์บุคคลมีประวัติอาชญากรรม หลบหนีหมายจับคดีข่มขืน แอบอ้างเป็นคนขับแกร็บคาร์ ก่อเหตุล่อลวงผู้โดยสาร เมื่อ 19 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยใช้วิธีนัดแนะเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายผ่านมือถือ โดยไม่ติดต่อผ่านแอปพลิเคชันของแกร็บคาร์ ทำให้ไม่สามารถติดตามสถานะการเดินทางหรือขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจากแอปฯ ได้       บริษัท เเกร็บ ประเทศไทย ได้ออกมาย้ำถึงมาตรการความปลอดภัย ขอให้ผู้โดยสารทุกท่านเรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ขับขี่ หรือตกลงการเดินทางโดยไม่ผ่านแอปพลิเคชัน ก่อนขึ้นรถควรตรวจสอบใบหน้าคนขับและทะเบียนรถว่าตรงกับระบบหรือไม่ และเมื่อขึ้นโดยสารรถแล้วให้กดใช้ฟีเจอร์ Share My Ride เพื่อส่งแชร์ข้อมูลการเดินทางเป็นลิงก์ข้อความไปยังคนที่ห่วงใย ก็จะสามารถติดตามตำแหน่งรถโดยสารแบบเรียลไทม์เพื่อดูได้ว่าถึงไหนแล้ว หรือหากรู้สึกว่ามีสถานการณ์ไม่ปลอดภัยก็สามารถกดใช้ปุ่มฉุกเฉินบนแอปพลิเคชันได้ทันทีกรมสุขภาพจิต เผยคนไทยคิดสั้นชม.ละ 6 คน        นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวว่า แต่ละปีมีผู้พยายามทำร้ายตัวเองเพื่อฆ่าตัวตายประมาณ 53,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน ส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน โดยในปี 2559 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 4,131 คน เป็นชายมากกว่าผู้หญิง 4 เท่าตัว อายุต่ำสุด 10 ปี สูงสุด 100 ปี ส่วนใหญ่เป็นโสด ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจปีละกว่า 400 ล้านบาท        สาเหตุที่มักพบมาจาก 5 เรื่อง คือ ความสัมพันธ์บุคคล สุรา ยาเสพติด สังคม และเศรษฐกิจ ในผู้ชายมักมีปัจจัยความเสี่ยงจากปัญหาโรคทางจิต ดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด โดยเฉพาะการดื่มสุรามากขึ้นจะมีโอกาสลงมือทำร้ายตัวเองมากกว่าผู้หญิงที่มีปัญหาถึง 2 เท่า ส่วนในผู้หญิงมักมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ได้แก่ น้อยใจ ถูกตำหนิดุด่า ผิดหวังความรัก        ด้าน นพ. ณัฐกร จำปาทอง ผอ.โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิตกล่าวว่า การพยายามฆ่าตัวตาย เป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นไม่สามารถหาทางออกได้ในสถานการณ์ที่กดดันทางอารมณ์อย่างรุนแรง   จำเป็นต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือ   จึงขอให้ญาติหรือผู้ที่ดูแลผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายแล้วแต่ไม่สำเร็จ ซึ่งมีปีละกว่า 48,000 คน ไม่ว่าจะรู้สึกโกรธหรือผิดหวังในตัวผู้กระทำแค่ไหนก็ตาม ควรให้อภัย หลีกเลี่ยงการตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง  ขอให้เข้าไปพูดคุยซักถามถึงความคิดฆ่าตัวตาย ด้วยท่าทีที่อ่อนโยน จริงใจ จะช่วยผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายคลายความกังวล รู้สึกผ่อนคลายและเข้าใจตัวเองดีขึ้น จะเป็นการป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำได้ จากการศึกษาของกรมสุขภาพจิตพบว่าจะสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายได้มากถึงปีละ 400 คนร้องศาลปกครองเพิกถอนประกาศ อย. เรื่องถ่ายโอนภารกิจตรวจสินค้าเกษตรนำเข้าให้ ก.เกษตรฯ เกรงไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค        10 ก.ย. 61 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ร่วมกันฟ้องคดีต่อศาลปกครอง กรณีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกประกาศ เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจสอบการนำเข้าสินค้าอาหาร ซึ่งเห็นว่า ขั้นตอนการออกประกาศดังกล่าว เป็นการดำเนินการโดยปราศจากอำนาจและอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคโดยรวม โดยการฟ้องคดี ได้ร้องขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนประกาศฯ และสั่งให้ยุติการถ่ายโอนภารกิจดังกล่าว        นางสาวบุญยืน ศิริธรรม นายกสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า "หลังจากที่มีการออกประกาศฉบับดังกล่าว ไทยมีการนำเข้าปลาตาเดียว(ฮิราเมะ) จากจังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถานที่ ที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจากภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว โดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทำเพียงการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่มีการเก็บตัวอย่างปลาไว้ตรวจสอบในห้องปฏิบัติการแต่อย่างใด และปัดให้ อย.ไปตรวจสอบหากมีปัญหา เมื่อสินค้าออกสู่ตลาดแล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ขั้นตอนการตรวจสอบและการคุ้มครองผู้บริโภคถูกลดทอนอย่างชัดเจนเมื่อมีการถ่ายโอนภารกิจ"        นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล อนุกรรมการด้านอาหารฯ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน กล่าวว่า "หากสินค้านำเข้าที่ไม่ปลอดภัยแพร่กระจายไปทั่วประเทศ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ปัญหา การถ่ายโอนภารกิจรังแต่จะสร้างความสับสนในการทำงานระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง สุดท้ายผลกระทบก็จะมาตกอยู่กับประชาชน"บทบาทองค์กรผู้บริโภคกับรถโดยสารสาธารณะ        มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ วันที่ 6-7 ก.ย. 61 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จัดเวทีสมัชชา ในหัวข้อ "บทบาทองค์กรผู้บริโภคกับรถโดยสารสาธารณะ" เพื่อเสนอประเด็นการขับเคลื่อนงานและมาตรการความสำคัญในการจัดการระบบรถโดยสารสาธารณะและรถรับส่งนักเรียนให้มีความปลอดภัย         การบรรยายพิเศษ เรื่อง "อนาคตองค์กรผู้บริโภคกับงานด้านรถโดยสารปลอดภัย" และเวทีแลกเปลี่ยนในหัวข้อ "ความคาดหวังรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย ปี 2562นำเสนอสถิติอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะ และรถรับส่งนักเรียน โดยชี้ให้เห็นถึงสาเหตุ และวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและแนวทางการแก้ไข และยังมีการจัดสภาผู้บริโภค "เรื่องมาตรการสำคัญในการจัดการรถรับส่งนักเรียน" พร้อมบรรยายพิเศษ เรื่อง "อนาคตงานรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย" ซึ่งมีข้อเสนอว่า ควรมีการกำหนดมาตรฐานรถรับส่งนักเรียน โดยให้โรงเรียนและองค์กรปกครองส่วนท้อนถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการเดินทางของนักเรียน โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับตัวรถให้มีความปลอดภัยและสอดคล้องกับสภาพสังคม จากนั้นเน้นเรื่องการเข้าถึงสภาพปัญหาจริงของแต่ละพื้นที่สปสช.หนุนมติ สธ.ห้ามใช้ 3 สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ข้อมูลระบบบัตรทอง 3 ปี พบผู้เสียชีวิต 1,715 ราย        เว็บไซต์ศูนย์ข่าว สปสช. รายงานว่า เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติห้ามใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ทั้งผู้ที่สัมผัสกับสารพิษทางตรงและทางอ้อมจากภาวะสารตกค้างตามธรรมชาตินั้น        จากข้อมูลการเข้ารับบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง ได้มีรายงานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมีสาเหตุจากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในปี 2560 มีผู้ป่วยจำนวน 4,983 ราย เสียชีวิตจำนวน 582 ราย มีการเบิกจ่ายค่ารักษาจำนวน 22,651,053 บาท นอกจากนี้ เมื่อดูการเข้ารับบริการของผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยแยกข้อมูลตามเขตบริการสุขภาพ 13 เขต พบว่า ปี 2561 เขต 1 เชียงใหม่ มีรายงานผู้ป่วยที่เข้ารับบริการโดยมีสาเหตุจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด จำนวน 644 ราย รองลงมา คือ นครราชสีมา 454 ราย, ราชบุรี 433 ราย, พิษณุโลก 426 ราย และนครสวรรค์ 422 ราย        จากรายงานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยมีสาเหตุจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชนี้ เป็นเพียงข้อมูลเฉพาะในส่วนผู้ป่วยที่มีการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยตรง เฉลี่ยพบผู้ป่วยประมาณ 5,000 รายต่อปี ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการรักษาอยู่ที่ราว 22 ล้านบาทต่อปี โดยยังมีข้อมูลที่น่าตระหนก เนื่องจากมีผู้ป่วยจากสารกำจัดศัตรูพืชที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตขณะรักษาตัวในโรงพยาบาลช่วงปี 2559-2561 มีจำนวนสูงถึง 1,715 ราย หรือเฉลี่ยปีละเกือบ 600 ราย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 เข่ากระแทกเบาะเจ็บหนักเหตุรถเมล์เบรกกะทันหันทำอย่างไรดี

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ แม้อยู่บนรถโดยสารประจำทางในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์แห่งนี้ คุณจุ๊บแจงประสบอุบัติเหตุขณะนั่งรถเมล์สาย 60 จากเหตุที่รถเบรกกะทันหัน ทำให้เข่าด้านขวาของเธอกระแทกเข้าไปที่เบาะพิงด้านหน้าอย่างรุนแรง มีผลให้เส้นเอ็นฉีกขาดบางส่วน ตามความเห็นของแพทย์ ชีวิตช่วงนั้นของเธอค่อนข้างลำบากมาก เดินเหินไม่สะดวก ทำให้ต้องขาดงานไประยะหนึ่งเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บถึงสองสัปดาห์ พออาการเริ่มดีขึ้น คุณจุ๊บแจงได้รับคำแนะนำจากเพื่อนว่า ไม่ควรปล่อยให้รถเมล์ลอยนวล ควรเรียกร้องสิทธิจากบริษัท ขสมก. เพราะรถโดยสารสาธารณะนั้นจะมีการทำประกันภัยไว้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการรักษาควรได้รับการดูแลทั้งหมดจากประกันภัย และควรได้รับค่าชดเชยที่ต้องขาดงานด้วย คุณจุ๊บแจงจึงร้องเรียนมาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางแก้ไขปัญหา            การใช้สิทธิให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เอกสารหลักฐานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ศูนย์พิทักษ์สิทธิจึงแนะนำผู้ร้องเบื้องต้นดังนี้             1.แจ้งเหตุต่อผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย กรณีนี้ ได้แก่ ขสมก.(สายด่วน 1348) เขตการเดินรถสาย 60(สวนสยาม) และหน่วยงานรัฐคือ กรมการขนส่งทางบก(สายด่วน 1584) เพื่อขอให้สิทธิ            2.รวบรวมเอกสาร             2.1 เอกสารทางการแพทย์ ได้แก่ ใบรับแพทย์ ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล เวชระเบียน            2.2 เอกสารเกี่ยวกับการใช้บริการรถเมล์ เช่น ตั๋วโดยสาร ภาพถ่ายทะเบียนรถ(ถ้าทำได้) เพื่อจะได้ยืนยันเลขรถโดยสาร            2.3 ภาพถ่ายบาดแผลหรืออาการบาดเจ็บ            2.4 ใบบันทึกแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ที่เกิดเหตุ3. ประเมินค่าชดเชยที่ต้องการเรียกร้องเพิ่มเติมจากค่ารักษาพยาบาล เช่น ขาดงานไปกี่วัน ทำให้ขาดรายได้จำนวนเท่าไร เป็นต้นกรณีด้านบนสามารถนำไปปรับใช้ได้ สำหรับกรณีของคุณจุ๊บแจง เนื่องจากไม่ทราบขั้นตอนการปฏิบัติ ทำให้เอกสารบางส่วนสูญหายไป  และเกิดความไม่สะดวกในการใช้สิทธิ เช่น การไปแจ้งความผู้ร้องไม่สามารถให้รายละเอียดเรื่อง เลขทะเบียนรถหรือเลขข้างรถได้ จึงต้องเสียเวลาไปมากขึ้นอย่างไรก็ตามทางศูนย์พิทักษ์สิทธิได้ช่วยประสานงานกับทาง ขสมก. จนทนายความตัวแทนของ ขสมก.ได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกับผู้ร้องและสามารถยุติเรื่องได้ โดยผู้ร้องได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจำนวนหนึ่ง เพราะผู้ร้องทำเอกสารใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลหายไปทำให้ไม่ทราบยอดที่แท้จริง แต่ผู้ร้องไม่อยากเป็นคดีความอีกจึงขอยุติเรื่อง  ขั้นตอนการใช้สิทธิสำหรับกรณีนี้ค่อนข้างใช้เวลานานพอสมควร เพราะทั้งผู้ร้องเองมีข้อจำกัดหลายอย่างจึงไม่สะดวกในการรวบรวมเอกสาร ขณะที่ทางผู้ก่อความเสียหายก็ใช้เวลาในการดำเนินการนานเนื่องจากมีระเบียบปฏิบัติมากมาย รวมระยะเวลาที่สามารถยุติเรื่องได้ราว 10 เดือน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 มูลค่าเงินชดเชยเมื่อประสบอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ

ประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับที่ว่าด้วยเรื่อง การชดเชยเยียวยาให้กับผู้ประสบเหตุ หรือผู้ได้รับความเสียหายจากกใช้บริการ เช่น สิทธิตามมาตรา 41 ของกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีประสบเหตุทางถนนหรือรถยนต์ สามารถเบิกค่าเสียหายตามวงเงินที่กำหนดไว้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาให้กับผู้เสียหาย(จำเลย) ในคดีอาญาที่สามารถขอรับเงินช่วยเหลือได้ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา กระทรวงยุติธรรมสรุปว่ามีหลายกองทุนชดเชยเยียวยา ซึ่งแต่ละกองทุนมีกลุ่มเป้าหมายเป็นของตนเอง โดยมีหลักการที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดถึงวัตถุประสงค์ รูปแบบ วิธีการ ที่มาของกองทุน จำนวนเงินชดเชย และคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับการชดเชยเยียวยาตามข้อบัญญัติของกฎหมายในเรื่องนั้นๆ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าใครอยากจะขอใช้สิทธิในกองทุนไหนก็ได้ หรืออยากใช้หลายกองทุนในเหตุการณ์เดียวกันก็ไม่ได้เช่นกันยกตัวอย่าง กรณีที่ 1 สมชายเป็นผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะแล้วรถโดยสารคันที่นั่งมาประสบอุบัติเหตุ หลังเกิดเหตุสมชายได้รับบาดเจ็บกระดูกแขนขาหัก ม้ามแตก ปอดฉีก ต้องได้รับการรักษาอาการบาดเจ็บ กรณีแบบนี้หลายคนสงสัยว่า สมชายใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับการรักษาเลยได้ไหม เพราะฉุกเฉินบาดเจ็บสาหัส ในทางกฎหมายสมชายยังไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ แม้ว่าจะมีสิทธิและเป็นกรณีฉุกเฉิน กรณีนี้สมชายต้องใช้สิทธิของประกันภัยภาคบังคับ(พ.ร.บ.รถ) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้ครบวงเงินความคุ้มครอง 80,000 บาทก่อน เมื่อครบแล้วถึงจะสามารถไปใช้สิทธิอื่นๆ ที่มี เช่น สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม สิทธิราชการ หรือสิทธิประกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่มี นอกจากนี้สมชายยังสามารถใช้สิทธิรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมเพิ่มได้ตามเงื่อนไขและระเบียบของกองทุน แต่หากว่าหลังการใช้สิทธิการรักษาของ พ.ร.บ.รถ ครบแล้ว สมชายเข้ารับการรักษาอาการบาดเจ็บต่อด้วยสิทธิบัตรทอง แล้วพบภายหลังว่า สมชายได้รับความเสียหายจากการใช้บริการบัตรทอง เช่น แพทย์ผ่าตัดผิด ลืมอุปกรณ์ไว้ในร่างกาย โดยที่ไม่ใช่เป็นเหตุจากพยาธิสภาพของร่างกาย กรณีนี้สมชายถึงจะสามารถใช้สิทธิขอรับเงินช่วยเหลือตามมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กรณีที่ 2 ปรีดาเป็นผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะแล้วรถโดยสารคันที่นั่งมาประสบอุบัติเหตุ หลังเกิดเหตุปรีดาได้รับบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต กรณีแบบนี้ทายาทของปรีดาสามารถใช้สิทธิเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายจากประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ. รถ) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยได้ทันทีในวงเงิน 300,000 บาท และสิทธิความคุ้มครองของประกันภัยภาคสมัครใจรถโดยสารคันเกิดเหตุอีก 300,000 บาท รวมกับสิทธิตามประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ของรถโดยสารคันเกิดเหตุอีกอย่างน้อย 50,000 บาท โดยกรณีปรีดาที่เสียชีวิต เมื่อทายาทได้รับเงินชดเชยตามสิทธิทางกฎหมายครบแล้ว จะไม่สามารถได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมได้อีก เนื่องจากได้รับการชดเชยเยียวยาตามสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว            ทั้งนี้หากพิจารณาเพียงตัวหนังสืออาจจะคิดว่าการขอใช้สิทธิชดเชยเยียวยาความเสียหายนั้นไม่น่าจะมีความยุ่งยาก มีกฎหมายบัญญัติแนวทางวิธีปฏิบัติไว้หมดแล้ว ความคิดนี้ต้องขอบอกเลยว่าคิดผิด!!! เพราะในทางปฏิบัติการขอรับเงินชดเชยเยียวยาความเสียหายในแต่ละกองทุนล้วนมีข้อจำกัดต่างๆที่ผู้บริโภคยังไม่เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ครั้งนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการชดเชยความเสียหายของ พ.ร.บ.รถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่กำหนดไว้เป็น 2 ส่วน คือ ค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนสูงสุด ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิด (มาคันไหนเบิก พ.ร.บ. รถคันนั้นได้เลย จ่ายทันทีภายใน 7 วัน) และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน กรณีบาดเจ็บจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท กรณีทุพพลภาพ/สูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิต 35,000 บาท หรือรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่าย เมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย กรณีบาดเจ็บจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวรจ่าย  300,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะ (เป็นไปตามเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนด) จ่าย 200,000 -300,000 บาท กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จ่ายค่าชดเชย 200 บาท/วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน แต่หากกรณีเป็นผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้นดังนั้นว่าแค่เรื่องสิทธิตาม พ.ร.บ.รถ เพียงอย่างเดียวก็มีรายละเอียดที่สร้างความงุนงงให้กับผู้บริโภคแล้ว มีทั้งค่าเสียหายเบื้องต้น ที่มีเงื่อนไขไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด จ่ายทันทีภายใน 7 วัน และมีค่าสินไหมทดแทนสูงสุดอีก แม้กฎหมายจะกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิไว้แล้วว่าใครควรจะได้รับสิทธิแบบไหน แต่ในอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะกรณีมีผู้โดยสารได้รับความเสียหาย ไม่ว่ารถโดยสารคันเกิดเหตุจะประสบอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณีเฉี่ยวชนหรือพลิกคว่ำล้มเองไม่มีคู่กรณีก็ตาม ผู้โดยสารที่เสียหายมักถูกรวมให้ต้องอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ความรับผิดของผู้ขับขี่ทุกครั้งเสมอ ทั้งที่ผู้เสียหายเป็นเพียงผู้โดยสารที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ควรที่จะได้รับการชดเชยเยียวยาความเสียหายได้สูงสุดเต็มวงเงินของ พรบ.รถ ทันที ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลบางแห่ง ที่แนะนำผู้ประสบภัยให้ใช้สิทธิเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นเพื่อรอพิสูจน์ถูกผิดก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือจะถูกผลักภาระให้ไปใช้สิทธิอื่นๆ ที่มีแทน  ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทุกวันนี้ค่ารักษาพยาบาลในแต่ละครั้งแต่ละรายการมีมูลค่าสูงขึ้นกว่าในอดีต การกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไว้เพียง 30,000 บาท ย่อมไม่เพียงพอต่ออาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหายที่มีอาการรุนแรงหรือสาหัส อย่างไรก็ตามวงเงินความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถ กรณีบาดเจ็บมีจำนวนเงิน 80,000 บาท รวมถึงค่าเสียหายกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพถาวรที่กำหนดไว้สูงสุด 300,000 บาท ก็ยังถือว่ามีมูลค่าน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินในสถานการณ์ปัจจุบัน ขณะที่บ้านเรานั้น มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นทุกวันและมีแนวโน้มความรุนแรงที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ดังนั้นน่าจะถึงแล้วเวลาแล้วประเด็นเรื่องวงเงินค่าชดเชยเยียวยา ควรได้มีการพิจารณาปรับให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน เพื่อเป็นหลักประกันให้กับประชาชนคนใช้รถใช้ถนนอย่างจริงจังเสียที

อ่านเพิ่มเติม >

8 มาตรการความปลอดภัยรถสองชั้นและการคุ้มครองผู้บริโภค

รถสองชั้นสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวที่เป็นเส้นทางขึ้นเขาลงเขามีทางลาดชั้น และรถสองชั้นมักเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มี คู่กรณี ซึ่งก็คือ “ไม่ชนกับใคร” แต่จะเป็นการเสียหลักแล้วชนกับวัตถุข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นการเสียหลักชนคันทาง ชนต้นไม้ ชนเสาไฟฟ้า ชนแบริเออร์ หรือการ์ดเรล และจบลงด้วยการพลิกคว่ำในที่สุด8 มาตรการความปลอดภัยรถสองชั้นและการคุ้มครองผู้บริโภคจากเหตุการณ์ รถทัวร์สองชั้นไม่ประจำทาง ที่เสียหลักข้ามเกาะกลางถนนชนเพิงพักของชาวบ้านข้างทาง บริเวณทางหลวงหมายเลข 304 อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 19 ราย และบาดเจ็บ 31 ราย นั้น  ถือเป็นเรื่องสะเทือนขวัญที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะจำนวนมาก และหลังเกิดเหตุหลายหน่วยงานจากหลายภาคส่วน ต่างพูดกันถึงอนาคตรถสองชั้นว่าจะไปยังไงต่อ อย่างกระทรวงคมนาคมที่สั่งการให้กรมการขนส่งทางบก เร่งศึกษาแนวทางกำหนดการให้บริการของรถโดยสารหมวด 30 (สามศูนย์) หรือ รถโดยสารไม่ประจำทาง โดยเฉพาะรถสองชั้นที่ปัจจุบันมีอยู่มากกว่า 5,000 คัน โดยให้มีการกำหนดเส้นทาง รวมทั้งพื้นที่ให้บริการใหม่ทั้งหมด เช่น การจำกัดว่าเส้นทางที่ไม่คุ้นเคยจะไม่อนุญาตให้ทำการวิ่งโดยเด็ดขาด หรือ จำกัดให้วิ่งเฉพาะในจังหวัดนั้นๆ โดยจะต้องให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2561 รวมถึงยังมีประเด็นผ่านสื่อกระแสหลักและสื่อสาธารณะทั่วไปอีกว่า ในปี 2563 รถสองชั้นจะหมดไปจากท้องถนนในประเทศไทย แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีข่าวสารใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางแก้ไขปัญหารถสองชั้นของกระทรวงคมนาคมที่สั่งกรมการขนส่งทางบกให้คิดแผนจัดการออกมา รวมถึงไม่มีการแก้ไขข่าวสารที่สื่อมวลชนระดมว่าปี 2563 รถสองชั้นจะหมดไปจากประเทศไทยด้วยจากสถานการณ์ที่ค่อนข้างเงียบเหงานี้ ผู้บริโภคจะต้องรู้อะไรบ้าง เพราะผู้บริโภคยังต้องเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงกันเอง และคาราคาซังกันต่อไปว่า รถสองชั้นปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ได้จัดงานเวทีเสวนาปัญหารถโดยสารสองชั้นกับนโยบายรัฐที่ต้องทบทวนขึ้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายนักวิชาการและเครือข่ายผู้บริโภคเข้าร่วม เพื่อระดมความคิดและแลกเปลี่ยน ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการรถสองชั้น รศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทยนำเสนอข้อมูลว่า รถสองชั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่ารถชั้นเดียว ถึง 8 เท่า และรถสองชั้นมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่ารถชั้นเดียวถึง 10 เท่า โดยเป็นการเทียบจำนวนอุบัติเหตุกับจำนวนรถจดทะเบียน หรือที่เรียกว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุและอัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนรถจดทะเบียน 10,000 คันนอกจากนี้จากข้อมูลการศึกษาเชิงลึกจากสถิติอุบัติเหตุรถสองชั้นพบว่า รถสองชั้นสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวที่เป็นเส้นทางขึ้นเขาลงเขามีทางลาดชั้น และรถสองชั้นมักเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มี คู่กรณี ซึ่งก็คือ “ไม่ชนกับใคร” แต่จะเป็นการเสียหลักแล้วชนกับวัตถุข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นการเสียหลักชนคันทาง ชนต้นไม้ ชนเสาไฟฟ้า ชนแบริเออร์ หรือการ์ดเรล และจบลงด้วยการพลิกคว่ำในที่สุด และยังพบอีกว่าในรถสองชั้นเมื่อเกิดการพลิกคว่ำจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงกว่ารถชั้นเดียว ถึง 3 เท่า ขณะที่นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เสนอ 8 มาตรการความปลอดภัยรถสองชั้นและการคุ้มครองผู้บริโภค คือ 1.เสนอให้รัฐซื้อรถคืนหรือสนับสนุนให้เปลี่ยนรถจากรถสองชั้นเป็นรถชั้นเดียว  2.กำหนดเส้นทางเสี่ยงอันตรายสำหรับรถสองชั้น 3.รถที่ผ่านการทดสอบพื้นเอียง 30 องศาต้องมีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นชัดเจนบริเวณด้านหน้าตัวรถและบริเวณข้างรถ 4. เปิดเผยข้อมูลการจดทะเบียน สถิติอุบัติเหตุ การกระทำความผิดของผู้ประกอบการ ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลตัดสินใจเลือกใช้บริการ  5. การกำหนดความเร็วของ GPS ให้สอดคล้องกับสภาพถนนและเส้นทางเสี่ยง 6. การกำหนดหลักเกณฑ์ใบอนุญาตขับขี่เฉพาะรถขนาดใหญ่ที่มีความสูงเกิน 3.80 เมตร เนื่องจากเป็นรถขนาดใหญ่ที่มีการควบคุมบังคับยากกว่ารถขนาดเล็ก  7. ปรับเพิ่มวงประกันภาคบังคับในกรณีเสียชีวิตจาก 300,000 เป็น 1 ล้านบาท และกรณีบาดเจ็บจาก 80,000 เป็น 150,000 บาท  8.ปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครองอุบัติเหตุประกันภัยภาคสมัครในจาก 10 ล้านบาทต่อครั้ง เป็น 30 ล้านบาทต่อครั้ง แต่อย่างไรก็ดี การจะผลักดันและขับเคลื่อนให้ข้อเสนอต่อมาตรการความปลอดภัยและการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 8 ข้อในประเด็นรถสองชั้นให้มีผลในทางปฏิบัตินั้นยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม เพราะมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลและกลุ่มบุคคลหลายฝ่าย อีกทั้งผู้แทนกรมการขนส่งทางบกและกรมทางหลวงที่มาร่วมเวทีก็ยังไม่สามารถตอบคำถามให้ชัดเจนได้ว่า จากข้อเสนอ 8 ข้อ มาตรการอะไรบ้างที่กรมการขนส่งทางบกจะทำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการแก้ไขปัญหารถสองชั้น แต่กลับกันสิ่งที่คิดว่าได้รับคำตอบชัดเจนและคลายข้อสงสัยได้ คือ ในปี 2563 จะยังมีรถสองชั้นวิ่งอยู่ ไม่ได้หมดไปตามที่ข่าวลงไว้แน่นอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนกรกฎาคม 2561พาณิชย์ไม่อนุมัติผู้ผลิตลดขนาดสินค้าแต่ขายราคาเดิมอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ผู้ผลิตสินค้าประเภทแชมพู สบู่เหลว น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ยาสีฟัน และผงซักฟอก หลายยี่ห้อได้ทำหนังสือเข้ามายังกรมฯ เพื่อขอออกผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการลดขนาดบรรจุภัณฑ์และลดปริมาณสินค้า แต่ยังขอจำหน่ายสินค้าในราคาเดิม โดยให้เหตุผลว่ามีการปรับปรุงสูตรให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น แต่หลังจากที่กรมฯ ได้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ พบว่า สินค้าไม่ได้แตกต่างจากของเดิม จึงไม่ได้อนุมัติให้มีการดำเนินการตามคำขอทั้งนี้กรมการค้าภายใน ไม่ได้ปิดกั้นผู้ผลิตทำการปรับลดขนาดหรือปริมาณสินค้า แต่หากผู้ผลิตมีการนำเสนอรายละเอียดต้นทุนที่ชัดเจน และสมเหตุสมผล กรมฯ ก็พร้อมที่จะพิจารณาให้ ทั้งนี้หากผู้บริโภคพบเห็นสินค้ามีการปรับลดขนาดหรือปริมาณบรรจุ สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 กรมสุขภาพจิตสั่งเปิดคลินิกบำบัดนักพนันบอลโลกอธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ได้ให้โรงพยาบาลจิตเวชในสังกัด 19 แห่ง ใน 13 จังหวัด เปิดคลินิกบำบัดรักษาผู้ที่ติดพนันบอลในแผนกผู้ป่วยนอก และให้บริการปรึกษาทางสายด่วนสุขภาพจิตตลอด 24 ชม. และผ่านทางเฟซบุ๊กในช่วงเวลา 14.30 – 22.30 น. โดยใช้เทคนิคการบำบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ ใช้กระบวนการทางจิตวิทยาควบคู่กับการใช้ยา เน้นการกระตุ้นให้ผู้บำบัดค้นหาเป้าหมายหรือแรงจูงใจภายในตนเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สำหรับโรคติดพนันจะมีอาการ 9 อย่าง ดังนี้ 1. คิดหมกมุ่นอยู่กับการเล่นพนันตลอดเวลา 2. เล่นพนันโดยเพิ่มจำนวนเงินพนันขึ้นเรื่อยๆ 3. เล่นเสียเป็นหนี้ก็ยังเล่นต่อ หวังจะได้เงินคืน 4. ยอมทำสิ่งผิดกฎหมายเพื่อหาเงินมาใช้หนี้และเล่นพนัน 5. พูดปด ปกปิดปัญหาที่ลุกลามจากการเล่นพนัน 6. มีปัญหากู้หนี้ยืมสิน 7. สูญเสียสัมพันธภาพกับคนในครอบครัวจากการเล่นพนัน 8. ใช้การพนันเป็นทางออกในการหนีปัญหา 9. ล้มเหลวทุกครั้งที่คิดจะเลิกพนัน หากตรวจสอบตนเองแล้วมีพฤติกรรมดังกล่าว 2 ข้อขึ้นไป แสดงว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดพนัน สามารถขอคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชม.เผยคนไทยใช้สมุนไพรมากขึ้นจากฐานข้อมูลของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2560 พบว่า มีผู้ป่วยนอกเข้ารับบริการการแพทย์แผนไทยฯ ในโรงพยาบาลทุกระดับกว่า 32 ล้านครั้ง จากจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่มารับบริการกว่า 164 ล้านครั้ง คิดเป็นร้อยละ 19.75 และมีการใช้ยาสมุนไพรเพิ่ม 406 ล้านบาท จาก 1,700 ล้านบาทในปี 2559 เป็นกว่า 2,000 ล้านบาทในปี 2560 สำหรับมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพร ปี 2560 แบ่งเป็นเครื่องสำอาง 192,600 ล้านบาท อาหารเสริม 51,848 ล้านบาท และยาสมุนไพร 7,548 ล้านบาท รวมมูลค่าการใช้สมุนไพรทั่วประเทศทั้งสิ้น 254,830 ล้านบาทประกาศห้ามการผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน13 ก.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง ห้ามมีการผลิต นำเข้า หรือ จำหน่ายอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) น้ำมันเหล่านี้จะมีส่วนผสมของกรดไขมันทรานส์( trans fat) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  โดยประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ภายใน 180 วัน ซึ่งโรงงานอาหารประเภทเบเกอรี่ ขนมหวาน นมข้นหวาน หรือของทอดที่ใช้ชอร์ตเทนนิ่ง ต้องปรับปรุงสูตรและกระบวนการผลิตเพื่อให้ทันวันเวลาตามที่กฎหมายกำหนดกองปราบจับ 22 ผู้ต้องหา OD Capital ฉ้อโกงประชาชนเมื่อ 11 ก.ค.61 กองบังคับการปรามปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ จับกุม 22 ผู้ต้องหาฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ในนามของ OD Capital โดยจากการสืบสวนพบว่า โอดีแคปปิตอลดำเนินการในลักษณะนำเงินไปลงทุนในบริษัทหรือกิจการอื่นๆ โดยระดมเงินทุนจากประชาชนทั่วไป โดยการติดต่อ ชักชวน หรือโฆษณาทางสื่อออนไลน์ว่าเมื่อนำเงินมาลงทุนกับโอดีแคปปิตอลแล้ว จะได้รับผลตอบแทน 10% ของเงินลงทุน นอกจากนี้ หากสามารถชักชวนคนมาร่วมลงทุนได้จะได้ผลตอบแทนเป็นค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมอีก จากการตรวจสอบพบว่า โอดีแคปปิตอลไม่ได้มีการจดทะเบียนพาณิชย์ในไทย และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการจาก กลต. และ สคบ. โดยพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขอศาลอนุมัติหมายจับกลุ่มผู้ต้องหา ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนแล้วมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเสนอ 8 แนวทางแก้ปัญหารถโดยสารสองชั้นโรงแรมมิราเคิลแกรนด์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โครงการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายความปลอดภัยทางถนนเพื่อรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย ร่วมกับคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “ปัญหารถโดยสารสองชั้นกับนโยบายรัฐที่ต้องทบทวน” เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาคุณภาพรถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัย และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคกับหน่วยงานของรัฐที่ทำงานเกี่ยวกับรถโดยสารสาธารณะ โดยมีข้อเสนอดังต่อไปนี้ 1.เสนอให้รัฐซื้อรถคืนหรือสนับสนุนให้เปลี่ยนรถจากรถสองชั้นเป็นรถชั้นเดียว  2.กำหนดเส้นทางเสี่ยงอันตรายสำหรับรถสองชั้น 3.รถที่ผ่านการทดสอบพื้นเอียง 30 องศาต้องมีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นชัดเจนบริเวณด้านหน้าตัวรถและบริเวณข้างรถ 4. เปิดเผยข้อมูลการจดทะเบียน สถิติอุบัติเหตุ การกระทำความผิดของผู้ประกอบการ ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลตัดสินใจเลือกใช้บริการ  5. การกำหนดความเร็วของ GPS ให้สอดคล้องกับสภาพถนนและเส้นทางเสี่ยง 6. การกำหนดหลักเกณฑ์ใบอนุญาตขับขี่เฉพาะรถขนาดใหญ่ที่มีความสูงเกิน 3.80 เมตร เนื่องจากเป็นรถขนาดใหญ่ที่มีการควบคุมบังคับยากกว่ารถขนาดเล็ก  7. ปรับเพิ่มวงประกันภาคบังคับในกรณีเสียชีวิตจาก 300,000 เป็น 1 ล้านบาท และกรณีบาดเจ็บจาก 80,000 เป็น 150,000 บาท  8.ปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครองอุบัติเหตุประกันภัยภาคสมัครในจาก 10 ล้านบาทต่อครั้ง เป็น 30 ล้านบาทต่อครั้ง 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 กระแสต่างแดน

แบบนี่สิ “ซูเปอร์”ต่อไปนี้ธุรกิจค้าปลีกที่ต้องการเรียกตัวเองว่า ซูเปอร์มาเก็ต ในเวียดนามจะต้องผ่านเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า  “ซูเปอร์มาเก็ต” ต้องมีพื้นที่มากกว่า 250 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 9,999 ตารางเมตร (หากพื้นที่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไปจะเป็น “ศูนย์การค้า”) และต้องเปิดให้บริการระหว่างสิบโมงเช้าถึงสี่ทุ่มเป็นอย่างต่ำนอกจากข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวอาคาร อุปกรณ์ในร้าน วิธีการเก็บรักษาสินค้า รวมถึงบริการที่ต้องจัดให้สำหรับเด็กและผู้พิการแล้ว เขายังระบุเงื่อนไขการทำโปรโมชั่นด้วย...ซูเปอร์มาเก็ตจะจัดโปรฯ ลดราคาได้ไม่เกินสามครั้งต่อปี แต่ละโปรฯ จะต้องมีระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน และโปรโมชั่นใหม่ต้องทิ้งระยะห่างจากโปรฯ ก่อนหน้า ไม่ต่ำกว่า 30 วันที่สำคัญ “โปรฯ ลดราคา” หมายความว่าต้องมีสินค้าในร้านมากกว่าร้อยละ 70 ที่ปรับราคาลดลง เรื่องขยะ ต้องขยับหลายประเทศตื่นตัวและเริ่มลงมือจัดการกับขยะพลาสติกที่กำลังจะท่วมโลกมานานแล้ว สิงค์โปร์เพื่อนบ้านของเราก็จัดการเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่เขายังไม่หยุดแค่นั้น  ล่าสุดองค์กรสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสิงคโปร์เตรียมกำหนดให้ร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ตรายงาน ปริมาณถุงพลาสติกที่ใช้ ขยะจากหีบห่อสินค้า รวมถึงนำเสนอแผนลดการใช้พลาสติกต่อรัฐฯ ภายในปี 2021  เขาบอกว่าอาจมีมาตรการจูงใจด้วยการลดภาษีเพื่อตอบแทนผู้ประกอบการที่ให้ความร่วมมือด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์ รัฐบาลก็สนับสนุนให้เอกชนร่วมมือกันจัดเก็บและนำกลับมาใช้ใหม่ภายใต้โครงการ (RENEW: Recycling Nation’s Electronic Waste Programme) ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปฝากทิ้งได้ที่สาขาของร้าน Best Denki ร้าน Courts ร้าน Gain City และร้าน Harvey Normanของมันต้องมีธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งสวิตเซอร์แลนด์และบริษัทด้านการเงิน UBS สำรวจราคาของสินค้าที่มนุษย์มิลเลเนียลต้องมีใน 11 เมือง (นิวยอร์ก ลอนดอน ปารีส ซูริค ดูไบ ฮ่องกง โจฮันเนสเบิร์ก มอสโคว บัวโนสไอเรส โตรอนโต และกรุงเทพฯ“ของ” ดังกล่าวได้แก่ ไอโฟน คอมพิวเตอร์พกพา กางเกงยีน รองเท้าผ้าใบ ค่าสมาชิกเน็ตฟลิกซ์ กาแฟ บิ๊คแม็ค และอโวคาโด  เขาพบว่า มิลเลนเนียล(คนที่มีอายุระหว่าง 22 ถึง 34 ปี ซึ่งจะเป็นคนส่วนใหญ่ในการขับเคลื่อนธุรกิจ) ชาวบางกอก ต้องใช้เงินซื้อ “ของต้องมี” มากกว่ามิลเลนเนียลในฮ่องกงหรือดูไบ  คุณสามารถซื้อสินค้าทั้ง 8 อย่างได้ในราคา 1,825 เหรียญ (59,500 บาท) ที่ฮ่องกง และ 2,004 เหรียญ (65,500 บาท) ที่ดูไบ  แต่หากซื้อที่กรุงเทพฯ คุณต้องจ่ายถึง 2,131 เหรียญ (69,500 บาท)  เฉพาะทะเบียนปักกิ่งตั้งแต่ 1 พฤศจิกายนปีหน้า รถยนต์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในปักกิ่งจะไม่สามารถวิ่งหรือจอดในเมืองนี้โดยไม่มีใบอนุญาต ทั้งนี้ผู้ขับขี่สามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ปีละ 12 ครั้ง แต่ละครั้งเป็นระยะเวลาเจ็ดวันติดต่อกันปักกิ่งใช้ระบบจับฉลากทะเบียนรถมาตั้งแต่ปี 2010 ผู้ที่ต้องการซื้อรถต้องลุ้นโชคเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของทะเบียน คนที่ไม่รอโชคชะตาก็จะหันไปพึ่งพาตัวแทนขายรถให้ดำเนินการจดทะเบียนที่เมืองอื่นให้ ด้วยค่าบริการ 4,500 หยวน (ประมาณ 23,000 บาท)จากนั้นเจ้าของรถก็ขอใบอนุญาตออนไลน์เพื่อนำรถเข้ามาใช้ในเมืองได้ครั้งละเจ็ดวัน ปัจจุบันสถิติการขอใบอนุญาตสูงถึง 725,000 ใบต่อสัปดาห์ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาก็มีรถยนต์สัญจรไปมาในตัวเมืองปักกิ่งมากกว่าวันละ 700,000 คัน มาตรการดังกล่าวจึงออกมาเพื่อลดความแออัดบนท้องถนน ลดมลภาวะในเมือง และทำให้ผู้คนกลับไปเชื่อมั่นในนโยบายจับฉลากมากขึ้น อาหารก็เปลี่ยนปัญหาโลกร้อนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกรเท่านั้น งานวิจัยจากลอนดอนพบว่าภาวะแห้งแล้ง อุณหภูมิที่สูงขึ้น และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นสามารถส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการของผลผลิตทางการเกษตรด้วยนักวิทยาศาสตร์ทราบมานานแล้วว่าคุณค่าทางอาหารของพืชหลักที่เราบริโภคนั้นเริ่มลดน้อยลง แต่ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นเพราะการปลูกแบบเชิงเดี่ยวที่เน้นปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสิ่งที่พืชต้องใช้ในการเติบโต แต่การได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะเร่งกระบวนการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชผลิตคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวอย่างกลูโคสมากขึ้น ในขณะที่ผลิตโปรตีน สังกะสี และเหล็กน้อยลงปัจจุบันร้อยละ 76 ของประชากรโลกพึ่งพาโปรตีนจากพืชอย่างข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และมันฝรั่ง มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดระบุว่า ภายในปี 2050 จะมีคน 150 ล้านคนเป็นโรคขาดโปรตีนเพราะความเปลี่ยนแปลงทางอากาศ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 รถจักรยานยนต์รับจ้างกับการคิดค่าบริการ

ท่ามกลางวิกฤติจราจรของกรุงเทพมหานคร ที่ระบบขนส่งสาธารณะไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง  ยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ทุกคนต้องการเร่งรีบในการเดินทาง  การเลือกหารถโดยสารซักคันเพื่อเดินทาง จึงกลายเป็นเรื่องที่ยากลำบาก รถจักรยานยนต์รับจ้างจึงเป็นทางออกของคนเมืองที่ต้องใช้งานกันแทบทุกวัน แต่ทางเลือกนี้กลับพบปัญหามากมาย ไม่ว่าจะโก่งราคาค่าโดยสาร ขับรถเร็วหวาดเสียว เรียกแล้วไม่ไป หรือไปแต่ส่งไม่ถึงจุดหมาย บางครั้งปริมาณรถมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนใช้ ที่แย่ไปกว่านั้น แม้บางคนเลือกที่จะเดินไปต่อแถวขึ้นรถจักรยานยนต์รับจ้างที่วินรถแท้ๆ แต่กลับได้รถคันที่ขึ้นเป็นรถป้ายขาว หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการแทน แน่นอนว่าในใจคงไม่อยากขึ้น เพราะไม่รู้ว่ารถคันที่ขึ้นเป็นใครมาจากไหน แต่ด้วยความจำเป็น ทำให้ต้องขึ้นเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางสิ่งต่างๆ เหล่านี้กลายเป็นปัญหาที่สะสมมานาน แม้ที่ผ่านมากรมการขนส่งทางบกจะออกมาตรการควบคุมราคาค่าโดยสาร กำหนดให้ระยะทาง 2 กม.แรก จัดเก็บอัตราค่าโดยสารได้ไม่เกิน 25 บาท กม.ที่ 2 – 5 ไม่เกิน กม.ละ 5 บาท และหากระยะทางมากกว่า 15 กม.ขึ้นไป ให้สามารถเลือกการตกลงราคากันเอง หรือให้คิดค่าโดยสาร กม.ละไม่เกิน 10 บาท โดยย้ำทุกวินต้องทำป้ายแสดงอัตราค่าโดยสารแสดงให้เห็นชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติมักพบว่า มีการเรียกเก็บค่าโดยสารที่สูงกว่าความเป็นจริง และยังมีวินเถื่อนรถเถื่อนแอบให้บริการอยู่ทั่วไปจากข้อมูลการจดทะเบียนสะสมของกรมการขนส่งทางบก ในกลุ่มรถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 มีรถจักยานยนต์สาธารณะที่จดทะเบียนถูกต้องทั่วประเทศมากถึง 194,393 คัน แต่ในความเป็นจริงนอกจากกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนถูกต้องแล้ว ยังมีกลุ่มรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลที่นำมาวิ่งรับจ้างรับส่งคนโดยสารอยู่อีกเช่นกัน เพราะรถที่นำมาวิ่งให้บริการส่วนหนึ่งไม่ได้เป็นรถป้ายเหลืองหรือขึ้นทะเบียนเป็นรถสาธารณะ  ทั้งนี้ตามกฎหมายรถจักรยานยนต์ที่นำมารับส่งผู้โดยสารได้ ต้องจดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะต้องมีป้ายทะเบียนสีเหลืองเท่านั้น และผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ใช้เสื้อวินรูปแบบใหม่ ที่แสดงบัตรประจำตัวและหมายเลขประจำตัว ที่ถูกต้องตรงกันตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนกฎหมาย  อย่างไรก็ตาม เมื่อปัญหาสะสมมาถึงจุดหนึ่ง และมีผู้เข้าร่วมวงใหม่อย่าง GrabBike ที่ผู้บริโภคสามารถเรียกใช้บริการรถผ่านแอปพลิเคชัน ที่สะดวก รวดเร็วและมารับถึงที่ แถมราคาถูกกว่า รถจักรยานยนต์รับจ้างแบบเดิม ปรากฏขึ้น จึงเป็นที่ถูกใจและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ แม้จะเป็นบริการผิดกฎหมายไทยก็ตาม โดยกรมการขนส่งทางบกยืนยันอย่างชัดเจนแล้วว่า การให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันเป็นการให้บริการที่ผิดกฎหมาย ซ้ำยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 23/1 ฐานนำรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมาใช้รับ-ส่งผู้โดยสาร, มาตรา 5 (15) แต่งกายไม่ถูกต้องตามประกาศกรมการขนส่งทางบก และมาตรา 42 ไม่แสดงใบอนุญาตขับรถสาธารณะปรับไม่เกิน 1,000 บาท แต่เมื่อ GrabBike ตอบโจทย์ชีวิตได้ดีกว่า เราจึงเห็นภาพความขัดแย้งผ่านสื่อทั้งหลาย ระหว่างผู้ให้บริการเดิมกับ GrabBike  อยู่บ่อยๆ จึงกลายเป็นคำถามว่า การที่ผู้บริโภคเลือกใช้บริการที่บอกว่า ผิดกฎหมายนั้น ยังเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคมีสิทธิหรือไม่ แล้วจะมีทางออกต่อเรื่องนี้อย่างไร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องน่าจะได้มีการคิดทบทวนกันว่า เหตุใดการให้บริการที่ถูกกฎหมายอย่างรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ควบคุมโดยรัฐ จึงมีคุณภาพบริการที่แย่กว่าบริการเอกชนที่รัฐบอกว่าผิดกฎหมาย ทางออกจะนำไปสู่การพัฒนาระบบรถรับจ้างให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานที่ผู้บริโภคยอมรับได้ ขณะเดียวกันหากจะยอมรับผู้ประกอบธุรกิจในมิติใหม่ๆ เข้าสู่ระบบ ก็ต้องมีความชัดเจนทางกฎหมายว่าถูกหรือผิด หากผิดแล้วยังฝ่าฝืนก็ต้องมีบทลงโทษที่ควบคุมจัดการได้ มิเช่นนั้นปัญหาการทะเลาะวิวาทแบบนี้ก็จะยังคงมีอยู่ ด้วยต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิและประโยชน์ที่มี ท่ามกลางความขัดแย้งที่นำไปสู่การปะทะกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น และผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือผู้บริโภคที่ยังคงเป็นฝ่ายที่ต้องแบกรับความเสี่ยงกับระบบขนส่งสาธารณะแบบนี้ต่อไปเหมือนเดิม 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนเมษายน 2561จับตาพิจารณา “พาราควอต” หมอจุฬาฯ ย้ำอันตราย ทำผู้ป่วยตายทรมานเมื่อวันที่ 9 เม.ย.61 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ในฐานะกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุข กล่าวว่า ยังพบคนไทยมีความเสี่ยงจากการกินผักผลไม้ปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งอาจสะสมจนเสี่ยงต่อโรคไต โรคตับ ล่าสุดพบส่งผลต่อสมองด้วย ที่ผ่านมาเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคได้เรียกร้องให้ยกเลิกการใช้พาราควอต อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญได้สรุปข้อเสนอไปแล้วว่าควรถอนทะเบียนพาราควอต เพราะมีผลต่อสุขภาพ แต่ยังมีการตั้งอนุกรรมการเฉพาะกิจ ที่มีตัวแทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาตัดสินในเดือนเมษายนนี้อีกว่า จะถอนหรือต่อทะเบียนพาราควอตปัจจุบันพาราควอตถูกห้ามใช้แล้วใน 48 ประเทศทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยจากการสัมผัสสารเคมีที่ผิวหนัง หรือกินโดยไม่ตั้งใจ เสียชีวิตอย่างทรมานจากเนื้อปอดเป็นพังผืด ตับวาย ไตวาย และยังพบว่าชาวสวนนั้นสัมผัสสารเคมีจากการย่ำน้ำที่ขังอยู่ในไร่นา ทั้งนี้ คณะวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบว่า รพ.จังหวัด หนองบัวลำภู ในหนึ่งปีมีคนไข้ 100 กว่าราย และเสียชีวิตแล้ว 6 ราย จากภาวะขาเน่าและติดเชื้อซ้ำซ้อน ซึ่งผู้ป่วยหลายรายต้องตัดขาทิ้ง สบส.ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค สแกนปุ๊บ รู้ทันทีคลินิกไหนเถื่อนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) สร้างระบบให้ประชาชนตรวจสอบการขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลด้วย “คิวอาร์โค้ด” (QR Code) ผ่านสมาร์ทโฟน สแกนแล้วรู้ทันทีว่าเป็นคลินิกถูกต้องตามกฎหมาย หรือ คลินิกเถื่อนนพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในปี พ.ศ.2561 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีคลินิกที่ขึ้นทะเบียนกับ สบส. เกือบ 6,000 แห่ง ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลักลอบเปิดคลินิกเถื่อนให้บริการทางการแพทย์ที่ไม่ได้คุณภาพ สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพ และชีวิตประชาชน สบส.ได้พัฒนาระบบตรวจสอบคลินิกเอกชนที่มีกว่า 20,000 แห่งทั่วประเทศ โดยนำนวัตกรรม “คิวอาร์โค้ด” (QR Code) ติดที่ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล, ใบอนุญาตแพทย์ผู้ดำเนินการ และบริเวณด้านหน้าของคลินิกหากประชาชนสแกนคิวอาร์โค้ดแล้วพบว่าข้อมูลชื่อสถานพยาบาลและที่ตั้งไม่ตรง หรือแพทย์ผู้ดำเนินการเป็นคนละคนกับที่แสดงในฐานข้อมูล ขอให้หลีกเลี่ยงการรับบริการจากคลินิกดังกล่าว สำหรับในพื้นที่ กทม. ให้แจ้งมายังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โทรศัพท์ 02 193 7000 ต่อ 18618 ในส่วนภูมิภาค ให้แจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ เพื่อให้หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเข้าดำเนินการตรวจสอบโดยทันที พบเครื่องสำอางเกาหลี 8 ยี่ห้อ ปนเปื้อนโลหะหนักเมื่อวันที่ 23 มี.ค.61 เว็บไซต์ข่าวโพสต์ทูเดย์ ได้เผยแพร่ข่าวจากเซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ ซึ่งรายงานว่า รัฐบาลเกาหลีใต้โดยกระทรวงความปลอดภัยของอาหารและยา เปิดเผยเครื่องสำอาง 8 ยี่ห้อ ที่ผลิตในเกาหลีปนเปื้อนสารโลหะหนักจำนวนมาก โดยพบว่าเครื่องสำอาง 13 ชนิด มีทั้งเครื่องสำอางสำหรับชายและหญิง ที่จำหน่ายโดยแบรนด์ดัง 8 ยี่ห้อ มีตั้งแต่แบรนด์ อีทูดี้ เฮ้าส์, เอเทรียม, เมคฮัล, XTM Style, SKEDA, สกินฟู้ด, 3CE และ Makeheal Naked Slim Brow Pencil (สี BR0203 and YL0801) ซึ่งตามรายงานของหน่วยงานดังกล่าว ระบุว่า พบ antimony ในระดับตั้งแต่ 10.1 ส่วนต่อล้าน (ppm) ถึง 14.3 ppm จากทั้งใน 13 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้พบ antimony ได้สูงสุดไม่เกิน 10 ppmด้านบริษัท อมอร์แปซิฟิก ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าของแบรนด์ที่อยู่ในรายชื่อดังกล่าว ได้ออกแถลงการณ์ขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมระบุว่าจะหามาตรการอย่างดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นอีก และได้สั่งเรียกคืนเครื่องสำอางที่มีปัญหาดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมแล้วที่มา: เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์, scmp.com สคบ. ออก“สัญญาเช่าซื้อรถ” เพิ่มความคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ถูกเอาเปรียบเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 (ฉบับใหม่ล่าสุด) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมนี้โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับใหม่ ไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก ที่แก้ไขเป็นเรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระหนี้, การปรับลดดอกเบี้ยกรณีผู้บริโภคต้องการชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียวกัน, ค่าใช้จ่ายจากการบังคับยึดรถกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้เกิดกำหนด ซึ่งเดิมผู้ให้สินเชื่อเช่าซื้อหรือบริษัทลีซซิ่ง สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการยึดรถจากผู้บริโภคได้ แต่กฎหมายใหม่กำหนดข้อห้ามไว้ ซึ่งประกาศฉบับใหม่ มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้1. กำหนดดอกเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระ ไม่เกิน 15% (เดิม 17%)2. บริษัทเช่าซื้อต้องทำตารางแสดงค่างวด แยกเงินต้น-ดอกเบี้ย วันเดือนปีชำระค่างวด ให้ผู้บริโภคทราบชัดเจน3. กรณีผู้เช่าซื้อต้องการชำระเงินทั้งหมด (โปะ) บริษัทลีสซิ่งต้องให้ส่วนลดดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า 50%4. ให้สิทธิ์ผู้เช่าซื้อ ซื้อรถคืนได้ภายใน 7 วัน หลังยึดรถ และให้สิทธิ์ผู้ค้ำประกันอีก 15 วัน5. กรณีจะนำรถขายทอดตลาด ต้องแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า 7 วัน โดยจะซื้อได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ6. บริษัทเช่าซื้อสามารถเก็บค่าธรรมเนียมทวงถามได้ตามใช้จ่ายจริง แต่ห้ามเก็บค่าใช้จ่ายดำเนินการยึดรถ7. มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2561นอกจากนี้ ในประกาศยังระบุว่า ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อ ชำระเงินค่าเช่าซื้อและค่าใช้จ่ายต่างๆ ครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อเป็นของลูกค้าทันที โดยบริษัทลีสซิ่งต้องดำเนินการจดทะเบียนรถให้เป็นชื่อของลูกค้าภายใน 30 วัน หากเกินกำหนด บริษัทลีสซิ่งต้องเสียเบี้ยปรับในอัตราที่เท่ากับเบี้ยปรับที่ลูกค้าต้องชำระเมื่อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ คอบช. ทวงถาม กรมการค้าภายใน เรื่องควบคุมค่ารักษา รพ.เอกชนเมื่อวันที่ 28 มี.ค.61 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค(คอบช.) พร้อมเครือข่ายผู้บริโภค ได้เดินทางไปติดตามทวงถาม เรื่องการควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาล กับ กรมการค้าภายใน หลังจากเคยยื่นหนังสือขอให้ควบคุมราคาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน เมื่อ มี.ค.ที่ผ่านมาโดยได้มีการเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการสุขภาพของ รพ.เอกชน ว่าถือเป็นบริการที่มีความจำเป็นพื้นฐาน จึงควรมีการควบคุมราคา ซึ่งการเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่เป็นธรรมของ รพ.เอกชน ยังคงเป็นปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาน.ส.สุภัทรา นาคะผิว กรรมการ คอบช. ด้านบริการสุขภาพ กล่าวว่า การควบคุมค่ารักษาพยาบาลแพง ใน รพ.เอกชนนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะผู้ใช้บริการมีความเดือดร้อน จากการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลที่ไม่มีการกำกับดูแลขอบเขต จึงขอให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ได้จัดประชุมเพื่อทบทวนในเรื่องนี้ โดยขอให้กรมการค้าภายใน เก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สมาคมโรงพยาบาลเอกชน  เพื่อหามาตรการกำกับควบคุมต่อไป โดยหลังจากนี้ ทางเครือข่ายผู้บริโภคจะมีการติดตามทวงถามความคืบหน้าอีกครั้งหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 บทเรียนจากวังน้ำเขียว

ฉบับนี้เห็นทีต้องกลับมาคุยเรื่องรถสองชั้นกันอีกครั้งนะครับ จากเหตุระทึกขวัญสั่นประสาทที่วังน้ำเขียว กรณีอุบัติเหตุรถโดยสารไม่ประจำทางสองชั้นของบริษัท กันเองทัวร์ เสียหลักลงข้างทาง ชนเพิงพักของชาวบ้าน ก่อนชนต้นไม้พลิกคว่ำ บริเวณทางหลวงหมายเลข 304 สายกบินทร์บุรี-วังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ที่มีผู้เสียชีวิตมากถึง 19 คน และบาดเจ็บกว่า 30 คน โดยทั้งหมดเป็นชาวบ้านจากพื้นที่ตำบลหลุบ และตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ซึ่งได้เหมารถท่องเที่ยวไปทะเลที่จังหวัดจันทบุรี ขณะเกิดเหตุกำลังเดินทางกลับบ้านที่จังหวัดกาฬสินธุ์จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ประเด็นความไม่ปลอดภัยของรถโดยสารสองชั้นถูกหยิบยกขึ้นมาสู่สาธารณะกันอีกครั้ง ถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นว่า เพราะรถโดยสารสองชั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 19 คน และบาดเจ็บกว่า 30 คน รวมคนบนรถทั้งหมดที่อยู่ในรถคันเกิดเหตุมากกว่า 50 คนเลยทีเดียวแม้ข้อเท็จจริงในเหตุครั้งนี้จะชี้ชัดออกมาแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการเกิดเหตุมาจากคนขับรถคันเกิดเหตุที่ไม่ชินเส้นทาง อีกทั้งยังเสพยาบ้าก่อนออกเดินทางจำนวน 2 เม็ด เมื่อมาถึงจุดเกิดเหตุจึงไม่สามารถควบคุมรถได้ ประกอบกับสภาพรถที่ไม่พร้อมใช้งาน และสภาพถนนที่คดเคี้ยวลงเขาและโค้งที่เสี่ยงต่ออันตราย แต่ประเด็นที่กำลังปะทุอย่างรุนแรงในสื่อต่างๆ ตอนนี้ คือ ประเด็นความไม่ปลอดภัยของรถโดยสารสองชั้นว่า จริงๆ แล้วรถโดยสารสองชั้นไม่ปลอดภัยจริงหรือไม่ ถ้าบอกว่าไม่ปลอดภัยแล้วทำไมถึงยังมีรถโดยสารสองชั้นวิ่งให้บริการอยู่ แล้วประชาชนจะรู้ได้ยังไงว่าคันไหนปลอดภัยคันไหนไม่ปลอดภัย เพราะเหตุสะเทือนขวัญล่าสุดที่วังน้ำเขียวนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ในอดีตมีอุบัติเหตุที่เกิดกับรถโดยสารสองชั้นอีกหลายครั้ง เช่น 28 กุมภาพันธ์ 2557 อุบัติเหตุรถเช่าเหมาพานักเรียนโรงเรียนบ้านดงหลบ จังหวัดนครราชสีมา ไปทัศนศึกษาที่หาดจอมเทียน ชนกับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ที่บริเวณทางขึ้นเขาศาลโทน ถนน 304 อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีผู้เสียชีวิต 15 คน เจ็บมากกว่า 40 คน24 มีนาคม 2557 อุบัติเหตุรถเช่าเหมาของผู้นำชุมชนของเทศบาลท่าสายลวด จังหวัดตาก ไปดูงานที่จังหวัดอุบลราชธานีและสปป ลาว เสียหลักตกเหวลึกกว่า 30 เมตร บริเวณดอยรวก ถนนสาย ตาก-แม่สอด จังหวัดตาก มีผู้เสียชีวิต 30 คน บาดเจ็บ 22 คน 9 มีนาคม 2560 อุบัติเหตุรถเช่าเหมาพานักเรียนจากโรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา จังหวัดขอนแก่น ไปทัศนศึกษาที่จังหวัดจันทบุรี แต่เกิดอุบัติเหตุเสียหลักชนแผงกั้นคอนกรีต ตกไปในเหวฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่ถนนสาย 304 กบินทร์บุรี-วังน้ำเขียว อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 30 คน และยิ่งตอกย้ำถึงความเสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยของรถโดยสารสองชั้น จากข้อมูลของ รศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทยที่ระบุว่า ปัจจุบันอัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารสองชั้นต่อจำนวนรถจดทะเบียน 10,000 คัน สูงกว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารชั้นเดียวมากถึง 8 เท่าจากความสูญเสียในอดีตที่เกิดขึ้น หากย้อนไปเมื่อต้นปี 2559 พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยมีคำสั่งให้ยกเลิกรถโดยสารสาธารณะสองชั้นมาแล้ว แต่กรมการขนส่งทางบกได้ชี้แจงว่า ไม่สามารถยกเลิกรถโดยสารสองชั้นออกจากระบบได้ในทันที แต่สิ่งที่ทำได้คือการควบคุมไม่ให้มีรถโดยสารสองชั้นรุ่นใหม่เข้ามาจดทะเบียนเพิ่มเติมในระบบ มกราคม 2560 นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณากำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยของรถโดยสารให้ครอบคลุมทุกด้าน อย่างยิ่งรถโดยสารขนาดใหญ่(รถสองชั้น) ซึ่งต่อมาคมนาคมได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 62 (พ.ศ. 2559) กำหนดและควบคุมมาตรฐานอุปกรณ์ส่วนควบเพื่อความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก ปรับลดความสูงของรถโดยสารสองชั้นให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล คือ ต้องมีความสูงไม่เกิน 4.0 เมตร จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 4.30 เมตร รวมทั้งยังต้องผ่านการทดสอบการทรงตัว เช่นเดียวกับรถโดยสารทุกประเภททุกคันที่มีความสูงเกิน 3.60 เมตร มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2560 เป็นต้นไปจากมาตรการข้างต้นนี้ หลายคนคงถอนหายใจเฮือกใหญ่ เพราะเชื่อว่าต่อจากนี้จะไม่มีรถโดยสารสองชั้นรุ่นใหม่ที่สูงปรี๊ดออกมาวิ่งบนถนนกันแล้ว แต่นั่นหมายถึงเฉพาะรถใหม่!!!คำถามคือ แล้วรถโดยสารสองชั้นเก่าที่จดทะเบียนมาแล้วก่อนหน้าวันที่ 19 มีนาคม 2560 ที่มีอยู่ในระบบอีกมากกว่า 7,000 คัน รถเหล่านี้รัฐบาลจะมีการกำกับดูแลยังไง เพราะที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาของกรมการขนส่งทางบกเหมือนจะผิดที่ผิดเวลาอยู่ตลอด การมุ่งควบคุมมาตรฐานรถที่จดทะเบียนใหม่เป็นเรื่องที่ดี แต่กับรถเก่าที่จดทะเบียนมาก่อนจะทำอย่างไร แม้ล่าสุด มีนาคม 2561 หลังเหตุระทึกขวัญที่วังน้ำเขียวนายกฯ จะกลับมามีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปปรับแก้ความสูงของรถโดยสารสองชั้น พร้อมเตรียมหาแนวทางกำหนดอายุใช้งาน และจำกัดเส้นทางวิ่งของรถโดยสารสองชั้น ซึ่งการสั่งการครั้งนี้น่าจะเด็ดขาดและชัดเจนที่สุดแล้ว แต่ถึงตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าคำสั่งของนายกฯ จะได้ผลแค่ไหน เพราะขนาดสั่งการไปตั้งแต่ปี 2559 แล้ว จนปัจจุบันก็ยังยกเลิกไม่ได้  หากแนวทางยกเลิกนั้นทำไม่ได้ เนื่องด้วยติดสัญญาขัดข้อกฎหมายหรือยังไม่มีเหตุเพียงพอ การออกมาตรการควบคุมการใช้งานรถโดยสารสองชั้น เช่น การกำหนดอายุการใช้งานรถที่เหมาะสม การกำหนดเส้นทางที่ไม่ให้รถโดยสารสองชั้นวิ่งได้ เช่น เส้นทางลาดชันขึ้นเขาลงเขา หรือการรับซื้อรถคืนตามสภาพของรัฐบาล ก็ดูเป็นทางเลือกที่ดีและทำได้สำหรับปัญหารถโดยสารสองชั้นในเวลานี้  ซึ่งหากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่จริงจังกับการแก้ไขปัญหา ปล่อยเวลาไปเรื่อยๆ แบบที่ผ่านมา ก็อาจจะมีความสูญเสียครั้งใหม่เกิดขึ้นมาอีก เชื่อว่าทุกคนอยากให้เหตุที่วังน้ำเขียวนี้เป็นครั้งสุดท้ายจริงๆ เพราะคนที่ต้องเดินทางและต้องเสี่ยงกับความสูญเสียไม่ใช่คนในรัฐบาลหรือหน่วยงาน แต่เป็นประชาชนผู้บริโภคที่ใช้บริการรถโดยสารสองชั้นนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

สคบ. ออก“สัญญาเช่าซื้อรถ” เพิ่มความคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ถูกเอาเปรียบ

            เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 (ฉบับใหม่ล่าสุด) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมนี้            โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับใหม่ ไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก ที่แก้ไขเป็นเรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระหนี้, การปรับลดดอกเบี้ยกรณีผู้บริโภคต้องการชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียวกัน, ค่าใช้จ่ายจากการบังคับยึดรถกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้เกิดกำหนด ซึ่งเดิมผู้ให้สินเชื่อเช่าซื้อหรือบริษัทลีซซิ่ง สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการยึดรถจากผู้บริโภคได้ แต่กฎหมายใหม่กำหนดข้อห้ามไว้ ซึ่งประกาศฉบับใหม่ มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้1.      กำหนดดอกเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระ ไม่เกิน 15% (เดิม 17%)2.      บริษัทเช่าซื้อต้องทำตารางแสดงค่างวด แยกเงินต้น-ดอกเบี้ย วันเดือนปีชำระค่างวดให้ผู้บริโภคทราบชัดเจน3.      กรณีผู้เช่าซื้อต้องการชำระเงินทั้งหมด (โปะ) บริษัทลีสซิ่งต้องให้ส่วนลดดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า 50%4.      ให้สิทธิ์ผู้เช่าซื้อ ซื้อรถคืนได้ภายใน 7 วัน หลังยึดรถ และให้สิทธิ์ผู้ค้ำประกันอีก 15 วัน5.      กรณีจะนำรถขายทอดตลาด ต้องแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า 7 วัน โดยจะซื้อได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ6.      บริษัทเช่าซื้อสามารถเก็บค่าธรรมเนียมทวงถามได้ตามใช้จ่ายจริง แต่ห้ามเก็บค่าใช้จ่ายดำเนินการยึดรถ7.      มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2561            นอกจากนี้ ในประกาศยังระบุว่า ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อ ชำระเงินค่าเช่าซื้อและค่าใช้จ่ายต่างๆ ครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อเป็นของลูกค้าทันที โดยบริษัทลีสซิ่งต้องดำเนินการจดทะเบียนรถให้เป็นชื่อของลูกค้าภายใน 30 วัน หากเกินกำหนด บริษัทลีสซิ่งต้องเสียเบี้ยปรับในอัตราที่เท่ากับเบี้ยปรับที่ลูกค้าต้องชำระเมื่อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 สัญญามาตรฐานรถเช่า(2)

ฉบับที่แล้วผมค้างไว้ว่าจะมาบอกเล่าถึงการขับเคลื่อนของคณะทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา โดยมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ที่ทำยังไงถึงสามารถผลักดันการใช้สัญญาเช่ารถโดยสารรับจ้างไม่ประจำทางให้เป็นนโยบายของจังหวัดได้แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น คงต้องเริ่มกันที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. (ที่มีทั้ง อบจ. อบต. เทศบาล) ก่อนว่า เดิมทีหากจะต้องเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางเพื่อไปดูงานในแต่ละปีนั้น ปกติหน่วยงานเหล่านี้จะใช้ระเบียบสัญญาจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ที่มีเพียงข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจ และราคาที่ตกลงว่าจ้าง โดยไม่มีข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยและเงื่อนไขความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจหากไม่สามารถปฏิบัติตามการว่าจ้าง เพราะไม่เคยมีนโยบาย คำสั่ง หรือข้อมูลอื่นใดมากำหนดให้ปฏิบัติมาก่อน ทำให้ในแต่ละครั้งที่เช่ารถโดยสารไปดูงาน หากเจอรถที่ไม่มีคุณภาพ ขับไปรถดับสตาร์ทไม่ติด คนขับดูอ่อนเพลีย เหมือนรับงานมาหลายวัน หรือนัดหมายเอารถคันนี้ แต่วันเดินทางเอารถคันอื่นมารับ เชื่อเลยว่าถึงเวลาแล้วก็ต้องเดินหน้ากันต่อไป จะเปลี่ยนรถเปลี่ยนใจกันก็ไม่ได้ซะแล้ว นอกจากนี้ก็ยังไม่รู้จะไปเรียกร้องอะไรได้อีก เพราะไม่มีเงื่อนไขบังคับผู้ประกอบธุรกิจให้ต้องรับผิดนั่นเอง ประกอบกับที่ผ่านมามีสถิติการเกิดอุบัติจากรถโดยสารไม่ประจำทางบ่อยครั้ง เป็นเหตุเกิดความเสียหายด้านทรัพย์สิน และต้องสูญเสียบุคลากรที่เป็นกำลังหลักของหน่วยงานมาโดยตลอดยกตัวอย่าง เมื่อปี 2560 เทศบาลตำบลรวมใจพัฒนาจังหวัดพะเยา มีแผนจะพาสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 45 คนไปดูงานที่ประจวบคีรีขันธ์ และทำการเช่าตามระเบียบราชการ หลังจากตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของรถที่มารับจ้างเป็นที่ตกลงกันแล้ว ปรากฏว่าในวันเดินทางจริง ผู้รับจ้างไม่ได้นำรถคันที่ตรวจรับมาให้บริการ  แถมรถคันใหม่ที่มารับเมื่อลองตรวจสภาพแล้วพบว่าประตูฉุกเฉินเปิดออกไม่ได้ จะให้แก้ไขเปลี่ยนรถก็ทำไม่ได้แล้วตอนนั้น เพราะทุกคนพร้อมเดินทางตามนัดหมาย จึงต้องยอมรับเดินทางด้วยความระแวงไม่สบายใจไปตลอดทาง  และต้องถือว่าเป็นความโชคดีที่ไม่มีอะไรรุนแรงเกิดขึ้นกับการเดินทางครั้งนั้น ซึ่งหากมีเหตุไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ใครจะต้องรับผิดกัน คงเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ แล้วมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาทำอย่างไร การใช้สัญญาเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง ถึงถูกนำไปขับเคลื่อน เป็นนโยบายร่วมของจังหวัดที่กำหนดให้ต้องใช้สัญญาเช่าเมื่อต้องไปนอกสถานที่ได้ ต้องมองกันที่จุดเริ่ม มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนานั้น มีต้นทุนประสบการณ์ด้านการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดพะเยามาอย่างยาวนาน โดยมีภารกิจสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานด้านรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย   ในปี 2558 มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ได้เลือกเทศบาลตำบลในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่นำร่องในการเก็บข้อมูล การเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง เมื่อได้ผลออกมาแล้วจึงเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับฟังแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยง เพื่อสร้างความเข้าใจในการเลือกใช้บริการรถโดยสารที่ปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนการทำสัญญาเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางที่เป็นธรรมทุกครั้งจนนำไปสู่ความสำเร็จขั้นแรก ด้วยการลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อพัฒนารถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัยในระดับองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอแม่ใจจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559  ซึ่งกำหนดให้แต่ละท้องถิ่นมีการทดลองใช้ “สัญญาจ้างขนส่งผู้โดยสาร” ทุกครั้ง เมื่อต้องเช่ารถไปแลกเปลี่ยนดูงานนอกสถานที่ ซึ่ง “สัญญาจ้างขนส่งผู้โดยสาร” นั้น จะมีเนื้อหาสาระที่คุ้มครองสิทธิผู้ว่าจ้างและกำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างมากกว่าสัญญาจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ต่อมาใน 2560 คณะทำงานได้เริ่มเก็บข้อมูลการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางอีกครั้ง คราวนี้เลือกเทศบาลตำบล/องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ 9 อำเภอจังหวัดพะเยา รวมจำนวน 72 แห่ง หลังจากนั้นจึงนำผลการเก็บข้อมูลไปรายงานในเวทีประชุม “คณะทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพรถโดยสารสาธารณะและรถรับส่งนักเรียนปลอดภัยต่อผู้บริโภคจังหวัดพะเยา” เพื่อนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอต่อการยกระดับให้การใช้ “สัญญาจ้างขนส่งผู้โดยสาร” เป็นนโยบายระดับจังหวัด ความสำเร็จขั้นถัดมา คือ การลงนามบันทึกความร่วมมือการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อพัฒนารถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัยจังหวัดพะเยา ในวันที่ 28  ธันวาคม 2560  โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาและหน่วยงานอื่นๆ ทั้งจังหวัดได้พร้อมใจกัน ให้ความสำคัญกับการใช้ “สัญญาจ้างขนส่งผู้โดยสาร” และกำหนดเป็นมาตรการให้หน่วยงานในจังหวัดพะเยาใช้สัญญาเช่าทุกครั้งของการดำเนินการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง อย่างไรก็ดี แม้ทุกภาคส่วนจะเห็นชอบด้วยกับการใช้สัญญาเช่าโดยสารไม่ประจำทางและมีมาตรการจังหวัดกำหนดข้อตกลงให้ปฏิบัติ แต่หากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานยังไม่เข้าใจจนละเลยต่อความสำคัญในการใช้สัญญาเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง ที่มุ่งเน้นด้านการดูแลผลประโยชน์ของหน่วยงานและปกป้องความปลอดภัยของบุคลากรที่ต้องเดินทาง การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่ทำไปคงไม่เกิดผล ปัญหาเดิมๆ ก็จะมีมาให้เห็นอีกเรื่อยๆ แน่นอน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 เราไม่ได้โดดเดี่ยว ความในใจกลุ่มผู้เสียหายจากรถยนต์มาสด้า

นายภัทรกร ทีปบุญรัตน์ ผู้เสียหายจากการซื้อรถยนต์มาสด้า  และเพื่อนซึ่งเป็นผู้เสียหายจากกรณีคล้ายกัน คือซื้อรถยนต์มาสด้า 2 รุ่น ได้แก่ รุ่น XD High Plus และ Sky Active ปี 2014 – 2016 แล้วพบว่า มีอาการสั่นขณะเร่งความเร็วและเกิดอาการกระตุกขณะขับรถในช่วงความเร็ว 60 – 120 กม./ชม. เมื่อนำรถเข้าศูนย์ซ่อมบำรุงช่างแจ้งว่าปัญหาเกิดจากเขม่า จึงทำการเปลี่ยนสปริงวาล์วกับระบบหัวฉีด และเปลี่ยนกล่อง Converter DCDC ให้ อย่างไรก็ตามเมื่อนำรถกลับมาใช้กลับพบอาการเดิม ผู้เสียหายจึงได้เข้าร้องเรียนที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ขอให้บริษัทฯ ขยายเวลารับประกันและชี้แจงวิธีการแก้ไขปัญหาให้เป็นปกติ หากไม่สามารถแก้ไขได้ขอให้รับซื้อรถยนต์คืน และชดเชยค่าขาดประโยชน์จากการใช้งาน ทว่าหลังจากนั้น บริษัทฯ ได้ฟ้องกลับผู้บริโภคข้อหาใช้สิทธิเกินส่วน เรามาฟังความในใจของผู้เสียหายที่รับทุกข์ซ้ำซ้อนอย่าง คุณภัทรกร ทีปบุญรัตน์ และ   “การออกมาเรียกร้องสิทธินั้นตนได้ทำด้วยความสุจริตใจและอยากให้บริษัทแก้ปัญหาที่เกิดเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจทำลายชื่อเสียงของบริษัท" ภัทรกร ทีปบุญรัตน์ก่อนจะมาถึงขั้นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค เรื่องราวเป็นมาอย่างไร  ซื้อรถยนต์มาแล้วพบว่า มีอาการสั่นขณะเร่งความเร็วและเกิดอาการกระตุกขณะขับรถในช่วงความเร็ว 60 – 120 กม./ชม. ซึ่งเป็นปัญหาของรถที่มันเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงต่อชีวิต โดยเฉพาะผู้ใช้รถที่ไปเจอปัญหานี้ครั้งแรกบนถนนในจังหวะเร่งแซงซึ่งอันตรายมาก เมื่อผมได้ส่งรถเข้าซ่อมที่ศูนย์ฯ แล้วแต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จึงมีการตั้งกลุ่มทางเฟซบุ๊คชื่อว่า อำนาจผู้บริโภคช่วยเหลือผู้ใช้ Mazda Skyactiv เครื่องสั่น เร่งไม่ขึ้น ฯลฯ เพื่อรวมตัวกันเสนอแนวทางการแก้ปัญหาของรถ ผมมองว่าเรื่องนี้มันเป็นปัญหาของส่วนรวม ผมเรียนตามตรงว่าผมเป็นนักวิทยุสมัครเล่นและทำงานจิตอาสามาตลอดอยู่แล้ว เรื่องอะไรที่เรามองว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์สาธารณะผมก็ดำเนินการแทนเพราะส่วนใหญ่น้องๆ ก็ใช้รถรุ่นนี้ที่ถือว่าเป็นอีโคคาร์ ก็ไม่รู้ช่องทางการร้องเรียนว่าต้องดำเนินการอย่างไร แต่เราทำมาเรารู้กระบวนการว่าเรื่องนี้มันไม่ใช่ปัญหาของเราคนเดียวมีผู้เสียหายรายอื่นๆ ซึ่งเรามองว่าผู้ผลิตควรต้องรับรู้ว่าปัญหานี้เป็นปัญหาของส่วนรวม สิ่งที่เราเรียกร้องให้บริษัทผู้ผลิตมาชี้แจงก็เพื่อประโยชน์สาธารณะทั้งนั้นจำนวนผู้เสียหายที่รวบรวมได้ มีแนวทางทำงานกันอย่างไร เริ่มต้นจากกรณีของผมเอง ซึ่งร้องเรียนในประเด็นปัญหาอื่นก่อนหน้านี้ ก็ไม่ได้รับคำตอบจากทางผู้ผลิตจนร้องมาทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และทางมูลนิธิฯ เป็นคนดำเนินการให้เรื่องผ่าน สคบ. ก็ผ่านมาเกือบปีครึ่ง ซึ่ง สคบ.ไม่ได้ดำเนินการอะไรให้เลย ทางโน้น(บริษัทผู้ผลิต) ตอบมาว่ายังไม่รู้ว่าสาเหตุคืออะไรและก็ไม่ได้ตอบคำถามของเรา เราก็เรียกร้องไปจนมีการตั้งกลุ่มและเปิดเพจชื่อ “อำนาจผู้บริโภค” ขึ้นมา เพื่อจะบอกว่ามีปัญหาอาการรถแบบนี้ใครมีปัญหาบ้างก็รวบรวมรายชื่อมาจนได้ระดับหนึ่งเพื่อเพิ่มเติมรายชื่อในส่วนของ สคบ. จนร้องมาที่มูลนิธิฯ ว่าปัญหานี้มันรุนแรงนะมีเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่และมีการรวมกลุ่มกันและไปยื่นเรื่องที่ สคบ. ในกรณีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์สั่นเร่งไม่ขึ้นในการขับขี่ ตอนนี้จากหลักฐานทางทะเบียนที่เปิดทาง Google doc มีผู้เสียหายประมาณ 200 กว่าท่าน แต่ว่าคนที่มาแสดงตัว ประมาณ 20 – 30  กว่าท่านที่มีความประสงค์จะฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค  ข้อดีของการที่ผู้เสียหายได้รวมกลุ่มกันคือ ทำให้คนที่ไม่ทราบปัญหาว่าสิ่งผิดปกตินี้มันไม่ได้เกิดจากผู้บริโภคนะ เราต้องเรียกร้องสิทธิสิ อย่างที่บอกว่าไป คือแทนที่ผมจะสู้คนเดียว ณ วันนี้เขาฟ้องผมคนเดียว(การใช้สิทธิเกินส่วน) ถ้าผมยืนคนเดียวผมคงเหนื่อย แต่พอมีผู้เสียหายมารวมตัวกันอย่างน้อยมันก็เป็นกำลังใจให้ผมด้วย และเป็นแนวทางในการต่อสู้ ผมถือว่าผู้บริโภคที่มีปัญหาต้องออกมาเรียกร้องสิทธิของตนเองรู้สึกอย่างไรเมื่อโดนบริษัทฟ้องว่าใช้สิทธิเกินส่วน(ช่วงปลายปี 2560 กลุ่มผู้เสียหายจากการใช้รถยนต์ มาสด้า 2 รุ่น รวมตัวกันและเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ สคบ. เรียกร้องให้ผู้ประกอบการแสดงความรับผิดชอบ อีกทั้งยังได้ร่วมกันยื่นหนังสือต่อตัวแทนบริษัทมาสด้าเซลส์(ประเทศไทย) ในงาน Motor EXPO ทำให้บริษัทฯ ฟ้องคดีคุณภัทรกร ทีปบุญรัตน์ เรียกค่าเสียหายถึง 84 ล้านบาทโดยอ้างเหตุว่า เป็นการใช้สิทธิเกินส่วน ทำให้ภาพลักษณ์บริษัทฯ เสียหาย ขายรถไม่ได้)  ผมคงเดินหน้าสู่ศาลผู้บริโภค ในเมื่อผู้ผลิตเขาไม่ยอมรับว่าสินค้าของเขามีข้อบกพร่อง คงไปพิสูจน์ในชั้นศาลครับ ความกังวลมันไม่ได้กังวลว่าเราจะแพ้คดีหรืออะไรนะ ผมกังวลว่าเราจะต้องเสียเวลามากกว่า แต่เรื่องข้อเท็จจริงผมมั่นใจว่าผมพูดไปด้วยประโยชน์สาธารณะและเป็นไปด้วยข้อเท็จจริงทั้งหมดซึ่งผมไม่พูดอะไรเกินเลยจากข้อเท็จจริงเลย ผมสู้แค่ตายครับสิ่งที่อยู่ในใจและฝากให้คนอื่นคืออะไรถ้าเรายึดถือสิทธิผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญก็คงต้องรักษาสิทธิของเราเอง แต่ว่าแทนที่เราจะรักษาสิทธิของตนเองต้องหาว่ามีพวกร่วมชะตากรรมเรื่องนี้ไหมและเดินไปด้วยกัน พลังของผู้บริโภคพวกนี้มันสามารถจะเอาไปต่อรอง อย่างที่ผมบอกว่ามาร้องเรียนไปหากผู้ผลิตไม่เคยตอบอะไรกลับมาเลยจนเรื่องถึงที่สุดมีหนังสือออกมา1 ฉบับ ก็ยังดีที่สิ่งที่เราเรียกร้องไปมันรับรู้ถึงบริษัทว่ามีปัญหาอยู่จริงซึ่งเขาจะปฏิเสธก็อีกเรื่องหนึ่ง“เวลาขับจะมีการสะเทือน สั่น และเร่งไม่ขึ้นควบคู่กันไป”คุณกรกนก อรรถพรพิมล ผู้เสียหายอีกท่านที่เข้ามารวมกลุ่มฟ้องคดี เล่าถึงความยากลำบากเมื่อไม่ได้ใช้งานรถยนต์ตามวัตถุประสงค์ที่ซื้อมาลำบากตรงต้องไปยืมเช่าหรือขอยืมรถญาติ ทั้งๆ ที่เรายังต้องผ่อนทุกเดือนและไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าอะไรมันเสีย ได้แต่รอให้เขาแจ้งมาหลังจากเสร็จจากช่างนำไปซ่อม เราก็มาคิดว่าน่าจะจบแต่มันมีปัญหาจุกจิกสารพัด เช่น ฝาถังน้ำมันเปิดไม่ได้มากกว่า 3 ครั้ง ในแต่ละครั้งก็มีปัญหาคือน้ำมันจะหมดแต่ฝาเปิดไม่ได้ เขาบอกว่าถ้าเราแงะเองนั่นคือหมดประกัน ก็เลยต้องรอ บางทีติดวันเสาร์ – อาทิตย์ ซึ่งศูนย์ปิด ต้องเปิดโรงแรมนอนรอก็ทำมาแล้ว เพื่อให้ศูนย์เปิดฝาถังให้โดยไม่มีค่าชดเชยใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีคำตอบใดๆ ทั้งสิ้น และหลังจากนั้นก็เกิดอาการล่าสุดที่รับไม่ได้เลยก็คือ จอดซ่อมอีก 18 วัน สาเหตุเกิดจากเทอร์โบแตก ต้องยกเครื่องออกทั้งหมดเลยและก็หมดวารันตีพอดี เพิ่งเข้าไปเช็คระยะ 100,000 กม. แล้วหมดพอดี ไฟหน้าก็มีอาการหนักกว่าตอนที่ไปเช็คระยะ 60,000 กม. คือวิ่งได้ที่ความเร็ว 20 รถกระชาก เร่งไม่ขึ้น พอช่วงถอนคันเร่งก็กระชาก เหตุการณ์เกิดขึ้นตอนกลางคืน วันรุ่งขึ้นก็ต้องขับรถเข้าศูนย์เพราะว่าไม่มีบริการลากแล้วการดูแลของบริษัทต่อปัญหาที่เกิดขึ้นไม่มีการดูแลเลย เขาได้แต่ถามไถ่และให้เหตุผลประมาณว่า “เป็นอย่างนี้แหละรถเทคโนโลยีสูง รถต้นแบบเทคโนโลยีล้ำมันก็ต้องมีข้อผิดพลาดแบบนี้แหละ” เลยอยากถามกลับว่า ทำไมไม่ทดลองให้มันเสร็จก่อนค่อยออกมาขาย และลูกค้าตอบรับเยอะ ทำให้ผลิตอะไหล่ไม่ทัน ทำให้ต้องไปจ้างโรงงานอื่นผลิต ซึ่งมันไม่สามารถเช็คได้ทั่วถึงว่าโรงงานนั้นๆ ผลิตดีไหม แล้วบังเอิญเราไปเจอเทอร์โบที่ผลิตโรงงานนี้เลยพัง แต่มันไม่ใช่เรื่องที่เราต้องทราบ แล้วตั้งแต่บัดนั้นจนวันนี้ไม่มีความสบายใจในการที่จะขับรถเลย ต้องเลิกเปิดวิทยุเพื่อที่จะเงี่ยหูฟังว่า จะมีอะไรพังอีกไหม ไม่มีความสุขเลย  แล้วเราต้องเดินทางทุกวันด้วยทราบว่ามีการเก็บหลักฐานไว้ตลอดทุกเรื่องบันทึกไว้ตลอดทุกข้อมูล พยายามขอข้อมูลจากศูนย์ว่า ให้ช่วยออกเอกสารยืนยันมาหน่อยว่ามันได้เข้าซ่อมจริง เกิดอาการจริง เพราะว่ารถจะหมดวารันตีแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็หมดไปแล้ว และถ้าจะขายต่อก็ไม่มีใครซื้อหรอก ทั้งๆ ที่เป็นรถใหม่ และข้อมูลมันทำให้เราไม่มีความสบายใจในการขับรถเลย ค่าอะไหล่แพงมาก เทอร์โบตัวหนึ่ง 5 – 6 หมื่นบาท ยังไม่รวมค่าแรงอีก แถมยังต้องจอดทิ้งไว้ทีละครึ่งเดือน นี่มันใช่หรือกับรถใหม่มั้ย แล้วที่เราเลือกยี่ห้อนี้เพราะมันดูแลง่าย เป็นเครื่องดีเซล และทุกครั้งที่เขาบอกต้องรอเขาจะพูดลักษณะคือ มีแต่คำพูดเท่านั้น เลยบอกให้เขาออกเอกสารมาให้เราว่าพบปัญหานี้จริง ให้ลงวันที่ด้วยและคุณขอเวลา เอกสารพวกนี้ก็ต้องขอและบางที่ไม่ยอมให้ด้วย ทั้งๆ ที่เราเป็นเจ้าของรถแต่ขอประวัติการซ่อมรถที่ศูนย์ก็ไม่ให้ตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มเพราะอะไร เข้ามาร่วมกลุ่มกับพวกพี่ๆ เขา เพราะว่าตอนแรกทางศูนย์บอกว่าเราต้องจ่ายเอง หลังจากนั้นเราก็ได้มารวบรวมข้อมูลว่า มันเป็นการเสียต่อเนื่องถึงจะได้สิทธินั้น แต่ถ้าคนที่ไม่ทราบก็ต้องซ่อมทีละ 5 – 6 หมื่น บ้าหรือเปล่า เราคือผู้บริโภคยังต้องผ่อนรถอยู่เลยทั้งๆ ที่การใช้งานของเราไม่ได้สมบุกสมบัน ออกรถมาไม่ถึงปีต้องเปลี่ยนโช้คหลังทั้งซ้ายขวา แล้วทางศูนย์ยังมาถามว่าเจ้าของรถน้ำหนักเท่าไร เลยตอบไปว่ามันเกี่ยวอะไรกันนี่มันรถยนต์ 7 ที่นั่งนะไม่ใช่รถมอเตอร์ไซค์ถึงมาถามว่าเราหนักเท่าไร แล้วก็ถามกลับว่าถามทำไม เขาตอบว่าโช้คพบการรั่วซึมของน้ำมัน นี่เลยทำให้รู้สึกว่าจะมั่นใจได้ไหม รถใหม่ป้ายแดงส่องกระจกหลังทุกวันๆ เริ่มรู้สึกว่าทำไมมองเห็นน้อยลง สรุปกระจกเสื่อม มันลามเข้ามาเหมือนกระจกหมดอายุเลย ทุกวันนี้เริ่มทยอยเสีย กระจกข้างปกติมันพับเก็บได้ ตอนนี้เก็บได้ข้าง ไม่ได้ข้าง บางทีเก็บไปไม่อ้าออก ซึ่งน่าจะเป็นที่มอเตอร์ ทุกอย่างทยอยเสีย แบตเตอรี่ก็ 2 ลูกแล้ว ลูกแรกก่อน 1 ปีแต่เขาบอกว่าด้วยความที่มันเป็น...มันเปลืองแบตฯ ก็ไม่เป็นไรเปลี่ยนที่ศูนย์ พอมาอีกทีให้เปลี่ยนอีกแล้ว คือมีแต่เรื่อง เพราะฉะนั้นเป็นเหตุผลให้เราต้องมาวันนี้เพราะมันเป็นแบบนี้ไง ไม่ใช่การมโนแต่มันเกินที่เราจะอดทนแล้วจริงๆ ทำไมจึงร่วมฟ้องคดี  มีความรู้สึกว่าเราเป็นผู้บริโภค เราก็กลัวนะเพราะเราไม่รู้เรื่องอะไรเลยมีแค่ข้อมูลความเป็นจริงแค่นั้น แต่อยากรู้เพราะว่าไม่ใช่แค่เราคนเดียวแล้วมันเป็นสิทธิของเราด้วย ถ้ามีการยื่นข้อเสนอมาแล้วไปตกลงนั่นก็อีกเรื่อง แต่นี่ไม่ใช่ หนำซ้ำยังฟ้องกลับอีก เดิมเราก็ไม่ได้เรียกร้องจะเอาค่าเสียหายหรืออะไรมาเยอะๆ แต่เราเป็นลูกค้าของเขานะ ซื้อด้วยความที่ชอบและตัดสินใจอย่างดีแต่ผลที่เราได้รับกลับลอยๆ ขึ้นมา และเขาก็ส่งหนังสือกลับมาว่าเสียจากปัจจัยภายนอก ถ้าลูกค้ามีความไม่สบายใจให้นำรถเข้ามาเช็คที่ศูนย์ได้ เนื่องจากว่ามันอาจมีความบกพร่องจากปัจจัยภายนอก เลยถามว่าปัจจัยภายนอกคืออะไร ต้องมีหิมะหรือเปล่า  ตอนนี้อยากให้คนอื่นๆ ที่มีปัญหาอย่างเดียวกัน มาแสดงตัวไม่ใช่อะไรก็ไม่เป็นไร และมูลค่าก็ไม่ใช่ 20 บาท แต่นี่มัน 890,000 บาท เงินเกือบล้านทั้งๆ ที่เรายินดีจ่ายแม้กระทั่งดอกเบี้ยค่างวดรถเราบวกไปแล้วในส่วนที่เรายินดีไม่ใช่ว่ารถต้นแบบแล้วเซลส์ให้ 50 % ถ้าแบบนั้นถือว่าเราก็ยินดีซื้อของเซลส์ แต่นี่เก็บเราเต็มและเราก็ยินดี เลยมีความรู้สึกว่าเราต้องสู้ ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้อง ไม่ได้หวังว่าจะต้องชนะหรืออะไรแต่ว่าอยากให้รู้ว่าความถูกต้องมันต้องมี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 สัญญามาตรฐานการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง

เข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ หลายเทศกาลแห่งความสุขรอเราอยู่ ทั้งวาเลนไทน์ ตรุษจีน ต่อด้วยเด็กๆ ได้หยุดปิดเทอม แต่คนทำงานบางหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำลังดีใจที่ได้จะเดินทางไปศึกษาดูงานตามต่างจังหวัดไกลๆ เหตุผลหนึ่งที่อ้างกันบ่อย คือ เพื่อพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์คนทำงาน  ทั้งนี้ในแต่ละปีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศต้องมีกิจกรรมดูงานทางไกลแบบนี้ทั้งนั้น นี่ยังไม่นับรวมถึงโรงเรียนที่มีอีกมากกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ ที่ต้องจัดแผนพาเด็กนักเรียนไปเข้าค่ายหรือทัศนศึกษาตามที่ต่างๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนทั้งหมดที่ว่ามานี้ต้องเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางในการเดินทาง แล้วรถโดยสารไม่ประจำทางที่นิยมใช้กันมากที่สุดนั่น คือ รถโดยสารสองชั้น ที่ปัจจุบันมีให้บริการมากกว่า 5,000  คันทั่วประเทศ และเหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้รถโดยสารสองชั้น ก็เพราะสะดวก สบาย เบาะเอนนอนได้ มีอุปกรณ์บันเทิงครบครัน เครื่องเสียง คาราโอเกะ ขณะที่เสียงสะท้อนจากหน่วยงานที่เลือกรถเดินทางบอกว่า บางทีก็ไม่อยากเลือกรถโดยสารสองชั้น แต่มีความจำเป็นเพราะในพื้นที่หารถโดยสารชั้นเดียวไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องนโยบายหน่วยงานที่ต้องการบริการที่มีต้นทุนราคาถูก มุ่งเน้นการประหยัดด้านงบประมาณและความสะดวกสบายของการเดินทาง จนละเลยถึงความปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการเดินทางไป ทำให้รถโดยสารสองชั้นเป็นเป้าหมายที่ต้องการ เพราะตอบโจทย์เรื่องราคาและการบรรทุกคนได้ครั้งละมากๆ ไปคันเดียวได้เกือบ 50 คน มิเช่นนั้นหากเลือกรถโดยสารชั้นเดียวจะต้องว่าจ้างหลายคันส่วนการว่าจ้างรถโดยสารไม่ประจำทางนั้น หลายพื้นที่ใช้ความใกล้ชิดรู้จักกับผู้ประกอบการท้องถิ่นในการว่าจ้างหรือวิธีการเสนอราคาค่าบริการรถโดยสารไม่ประจำทาง รวมถึงวิธีการว่าจ้างที่เป็นไปตามรูปแบบการจัดจ้างตามแบบหนังสือราชการทั่วไป ที่ยังขาดสาระสำคัญและข้อปฏิบัติในเรื่องความรับผิดของผู้ประกอบการ และความคุ้มครองสิทธิผู้ของเช่าและผู้โดยสารจากการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายเกิดขึ้น ผู้รับจ้างหรือผู้ประกอบการอาจใช้เป็นช่องทางประวิงการชดใช้ค่าเสียหายหรือปฏิเสธความรับผิดชอบได้  ดังความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างน้อยสองแห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตากูก จังหวัดสุรินทร์ เมื่อ 3 มีนาคม 2558 และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ จังหวัดเชียงราย เมื่อ 8 มีนาคม 2559  ที่เราต้องสูญเสียบุคลากรระดับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและผู้บริหารระดับสูงไปทั้งสองครั้งเลยทีเดียว หากย้อนดูสถิติอุบัติเหตุที่เกิดกับรถโดยสารไม่ประทาง ทั้งประเภทชั้นเดียวและสองชั้นในปี 2560 แล้วพบว่า ในที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุกับรถโดยสารไม่ประจำทางมากถึง 65 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 20 คน  บาดเจ็บถึง 536 คน มากกว่าครึ่งเป็นการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี  และในแต่ละปีจะมีอุบัติเหตุความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับการว่าจ้างรถโดยไม่ประจำทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่เสมอ จากความเสียหายที่เกิดขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้สัญญามาตรฐานในการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการยกร่างและพัฒนาข้อความสำคัญในสัญญาโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และเครือข่ายนักวิชาการร่วมกันจัดทำขึ้น โดยมุ่งเน้นที่การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง ตั้งแต่การจัดทำสัญญาเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางที่มีมาตรฐานการป้องกันและความคุ้มครองความปลอดภัย พร้อมหลักการปฏิบัติของผู้โดยสารและความรับผิดของผู้รับจ้างหากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขที่ตกลงกันได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้ เครือข่ายนักวิชาการ โดยศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนจะขับเคลื่อนงานสัญญามาตรฐานการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางนี้ ส่งผ่านถึงกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดนโยบายสั่งการ แต่ในทางปฎิบัติก็ยังไม่เห็นผลของการใช้สัญญามาตรฐานที่เป็นแบบของสัญญาในการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางนัก เหตุผลหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาอ้าง เมื่อได้มีโอกาสไปคุยกับเทศบาลตำบลบางแห่ง คือ กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ใช้สัญญาอื่นนอกเหนือไปจากระเบียบจัดซื้อจัดจ้างที่ราชการกำหนดไว้ แต่เราไม่เชื่อในเหตุผลนั้น และได้ทดลองนำร่องการขับเคลื่อนการใช้สัญญามาตรฐานการเช่ารถโดยไม่ประจำทางกับเทศบาลตำบลของอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ซึ่งได้ผลตอบรับที่น่าพอใจ จนนำไปสู่การขยับเป็นนโยบายของจังหวัดที่เห็นชอบร่วมกันในการนำสัญญามาตรฐานการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางไปใช้ได้ และในฉบับหน้าเราจะมาวิเคราะห์ถึงความสำเร็จและวิธีการขับเคลื่อน ที่ทำยังไงถึงเป็นนโยบายของจังหวัดพะเยาได้ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นกันครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 การเลือกซื้อรถยนต์ให้สัมพันธ์กับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก

เมื่อทราบข่าวจากคุณแม่ว่าจะมีสมาชิกใหม่ในบ้าน หลายครอบครัวก็ต้องมาวางแผนในการที่จะต้องซื้อของเพื่อใช้ในการเลี้ยงเด็กทารก รถยนต์เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ บางครั้งก็ถูกมองว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเดินทางร่วมกันของครอบครัว ดังนั้นการเลือกซื้อรถยนต์ เพื่อตอบโจทย์ในเรื่อง ความเป็นมิตรกับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก (Family friendly car) จำเป็นต้องมีข้อมูลและแนวทางเบื้องต้นในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกซื้อรถเข็นเด็กทั่วไป คือ ยิ่งเป็นรถขนาดใหญ่ยิ่งดีใช่หรือไม่?คำตอบคือ ถูกเพียงครึ่งเดียว สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ความง่ายในการติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็ก(car seat) และเข็มขัดนิรภัยของรถ สามารถติดตั้งได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งในรถรุ่นเก่าก่อนปี 2004 จะไม่มีตะขอโลหะที่ซ่อนอยู่ใต้เบาะสำหรับติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็ก แบบ Isofix ซึ่งเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานสำหรับรถยนต์ในปัจจุบัน(โดยเฉพาะรถยนต์ ของประเทศยุโรป)  ที่มีไว้สำหรับการติดตั้ง car seat สำหรับเด็ก นอกจากนี้ ควรพิจารณาถึงความยาวของเข็มขัดนิรภัยในรถด้วย เพราะถ้าความยาวของเข็มขัดสั้นเกินไปอาจทำให้เกิดการรัดเข็มขัดที่ยากขึ้น หรือไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้สำหรับกรณีการติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับทารกแบบ carry seat ซึ่งการติดตั้งในกรณีที่ติดตั้งอยู่ข้างหน้าข้างคนขับจะต้องล็อคไม่ให้กลไกถุงลมนิรภัยทำงาน เนื่องจากจะเป็นอันตรายแก่เด็กในกรณีเกิดอุบัติเหตุ  และหากเป็นไปได้ ก็ควรเลือกรถที่มี ประตู ปิด เปิด แบบสไลด์ นอกจากจะต้องคำนึงถึงรถยนต์คันใหม่ที่จะซื้อแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังต้องคำนึงถึง ที่นั่งนิรภัยที่จะซื้อตามมาอีกด้วย เพราะ ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ไม่ได้ทำมาเพื่อติดตั้งได้กับรถทุกคันในตารางที่แสดงผลการทดสอบ ความเหมาะสมของที่นั่งตำแหน่งต่างๆ ของรถยนต์หลากหลายยี่ห้อ หลากหลายแบบ ตั้งแต่ รถยนต์ กลุ่ม Middle class SUV VAN และ Compact wagon จำนวน 18 รุ่น จะเห็นได้ว่า การติดตั้งที่นั่งนิรภัยด้านข้างคนขับนั้นทุกยี่ห้อ ได้ผลการประเมินเพียงแค่ พอใช้ หรือผ่านเท่านั้น เนื่องจากเด็กไม่ควรนั่งข้างหน้าข้างคนขับ ยกเว้นในกรณีจำเป็น เพราะในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เด็กจะได้รับการบาดเจ็บที่รุนแรงกว่า การที่นั่งข้างหลังสำหรับการให้คะแนนในการประเมินทางองค์กรที่ทดสอบการติดตั้งที่นั่งนิรภัยจะพิจารณาจากความยาวของเบาะที่นั่ง ที่ว่างด้านหน้าเบาะ ตำแหน่งของตะขอสำหรับการติดตั้งที่นั่งนิรภัยแบบ Isofix และความยาวของเข็มขัดนิรภัยที่มา วารสาร Test ฉบับที่ 7/2015

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 ย้อนรอยสถานการณ์อุบัติเหตุรถตู้โดยสารในปี 2560

ปี 2560 ที่เพิ่งพ้นไปนั้น ต้องถือว่าสถานการณ์การเฝ้าระวังรถโดยสารไม่ปลอดภัยของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายนักวิชาการ มีความร้อนแรงไม่น้อยไปกว่าปีที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะกลุ่มรถตู้โดยสาร ที่พบว่าเกิดอุบัติเหตุสูงสุดมากถึง 252 ครั้ง แบ่งออกเป็น รถตู้โดยสารประจำทาง 61  ครั้ง, รถตู้โดยสารไม่ประจำทาง  72  ครั้ง และรถตู้ส่วนบุคคล 119 ครั้ง  มีผู้บาดเจ็บรวมกว่า 952 คน และเสียชีวิตถึง 229 คน หลายคนคงสงสัยว่า จากโศกนาฏกรรมรถตู้โดยสารจันทบุรีชนรถกระบะไฟไหม้ เมื่อ 2 มกราคม 2560 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 25 คน หลังจากนั้นกรมการขนส่งทางบกได้ออกมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะการบังคับให้รถตู้โดยสารทุกคันต้องติดตั้ง GPS  ภายใน 31 มีนาคม 2560 นอกจากนั้นยังออกประกาศการลดเบาะที่นั่งด้านท้าย เพิ่มทางออกฉุกเฉิน ออกมาตรการควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับขี่และกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบการที่ละเลยความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ แต่ทำไมกลุ่มรถตู้โดยสารถึงยังคงมีความรุนแรงจากอุบัติเหตุเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง แถมยังมีปริมาณการเกิดอุบัติเหตุที่สูงมากกว่าปีที่ผ่านมาอีกด้วย  อันนี้เป็นคำถามที่ต้องมาหาคำตอบกันทุกวันนี้รถตู้โดยสารในประเทศไทยมีกี่คัน? จากข้อมูลการจดทะเบียนสะสมของกรมการขนส่งทางบก ตามพระราชบัญญัติกรมการขนส่งทางบก ในกลุ่มรถมาตรฐาน 2(จ) หรือ รถตู้โดยสาร  ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2560 มีรถตู้โดยสารประจำทางอยู่ทั่วประเทศมากถึง 15,522 คัน แบ่งเป็นส่วนกลาง 9,575 คัน ส่วนภูมิภาค 5,947 คัน  และกลุ่มรถตู้โดยสารไม่ประจำทางมีทั่วประเทศมากถึง 27,148 คัน แบ่งเป็นส่วนกลาง 5,858 คัน ส่วนภูมิภาค 21,290 คัน  รถตู้ส่วนบุคคล คือรถตู้กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุของรถตู้โดยสารข้างต้นที่ระบุว่า จากอุบัติเหตุทั้งหมด 252 ครั้งนั้น มาจากรถตู้โดยสารประจำทาง 61 ครั้ง รถตู้โดยสารไม่ประจำทาง 72 ครั้ง และรถตู้ส่วนบุคคล 119 ครั้ง อาจดูน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณจำนวนรถทั้งหมดที่จดทะเบียนสะสมกับกรมการขนส่งทางบก แต่หากมองลึกลงไปถึงตัวเลขความสูญเสียแล้ว ถ้าเราคิดคำนวณเฉลี่ยอุบัติเหตุเฉพาะกลุ่มรถตู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทางที่มีสถิติไม่ห่างกันมากนัก (61 ครั้ง และ 72 ครั้ง) ไว้ที่ 60 ครั้งต่อปี นั่นเท่ากับจะมีเหตุความรุนแรงกับรถตู้โดยสารทั้งสองประเภทเกิดขึ้น 10 ครั้งต่อเดือน (มาจากรถตู้โดยสารประจำทาง 5 ครั้ง และรถตู้โดยสารไม่ประจำทาง 5 ครั้ง) ขณะเดียวกันกลุ่มรถตู้ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติรถยนต์ กลับยิ่งมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุที่สูงขึ้นเกือบสองเท่าของกลุ่มรถตู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง นั่นเท่ากับว่า รถตู้ส่วนบุคคล คือรถตู้กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุด แล้วทำไมรถตู้ส่วนบุคคลถึงมีความเสี่ยงสูงกว่ารถตู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง ? ต้องบอกเลยว่า หลังเหตุการณ์ 2 มกราคม 2560 กรมการขนส่งทางบกได้ออกมาตรการต่างๆ ทั้งควบคุมและป้องกัน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะทุกประเภททั้งประจำทางและไม่ประจำทาง ไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์ รถบัส และรถตู้โดยสาร มีผลทำให้ภาพรวมของการให้บริการรถโดยสารสาธารณะมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น  เช่น ผลจากการติดตั้ง GPS ทำให้ผู้ประกอบการต้องวิ่งรถช้าลง วิ่งเลนซ้าย โดยทำความเร็วได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ฯลฯ  แต่มาตรการเพิ่มความปลอดภัยดังกล่าว ไม่ครอบคลุมรวมถึงกลุ่มรถตู้ส่วนบุคคลที่ถูกนำมาวิ่งรับจ้างเหมาแบบไม่ประจำทาง เนื่องจากรถตู้ส่วนบุคคลเป็นกลุ่มรถตู้ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ที่ไม่มีกรอบกติกาบังคับด้านความปลอดภัยในการให้บริการ ทำให้รถในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในปี 2560 ที่เกิดอุบัติเหตุมากถึง 119 ครั้งเลยทีเดียว การใช้บริการรถตู้ประเภทนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ที่รับผิดชอบก็คือ คนขับหรือเจ้าของรถเท่านั้น ซึ่งบางครั้งคนขับและเจ้าของรถอาจเป็นคนเดียวกัน สถานการณ์เช่นนี้ สุ่มเสี่ยงที่จะไม่ได้รับค่าชดเชยเยียวยาที่เหมาะสมหรืออาจไม่ได้เลย ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการได้รับบริการที่ไม่เหมาะสม เช่น การขับรถติดต่อกันในเส้นทางระยะไกลที่ต้องขับรถคนเดียว หรือรับเหมางานติดต่อหลายวัน อาจเกิดความอ่อนล้าเหน็ดเหนื่อย หลับในและเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุในเวลาต่อมา    ดังนั้นหากผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังนิยมที่จะใช้รถตู้ส่วนบุคคลในการเดินทางด้วยความสะดวกสบาย ให้เกิดบริการเช่นนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับเรายอมรับความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิในการเลือกใช้บริการรถตู้โดยสารที่มีความปลอดภัย  และเรายังถือว่าเป็นผู้ส่งเสริมให้เรื่องผิดกฎหมายกลายเป็นเรื่องถูกกฎหมายอีกด้วยนั่นเอง---------------------------------------------------------------------รถตู้ส่วนบุคคล คือรถแบบไหน ?รถตู้ส่วนบุคคล คือ รถยนต์ตู้ที่จดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจส่วนตัว ไม่สามารถนำมาวิ่งรับส่งผู้โดยสารได้ แต่ในทางปฏิบัติเราจะพบเห็นว่ามีรถตู้ประเภทนี้ออกมาวิ่งรับส่งผู้โดยสารอยู่อย่างสม่ำเสมอ  โดยรถตู้ส่วนบุคคลกลุ่มนี้หากนำมาวิ่งรับส่งผู้โดยสาร จะถือว่าเป็นการใช้รถผิดประเภทเป็นรถผีรถเถื่อน มีความผิดตามมาตรา 23 ประกอบมาตรา 126  แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 อุบัติเหตุจากรถตู้

อุบัติเหตุจากรถตู้โดยสารสาธารณะ ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยในบ้านเรา ซึ่งนอกจากจะสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ยังสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัยมากขึ้นไปอีก หากผู้ประกอบการปฏิเสธความรับผิดชอบ หรือประวิงเวลาในการแสดงความรับผิดชอบเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังกรณีของผู้ร้องรายนี้เมื่อกลางปีที่แล้ว คุณกุญชรขึ้นรถตู้โดยสารสาธารณะจากกรุงเทพฯ เพื่อไปงานแต่งงานของญาติที่ จ.ชลบุรี โดยระหว่างทางรถตู้ที่เขาโดยสารมาได้เกิดอุบัติเหตุชนกับรถบรรทุกพ่วง ส่งผลให้เขาและคนอื่นๆ ในรถได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งภายหลังนำส่งโรงพยาบาล แพทย์ได้แจ้งว่าเขากระดูกหัวเข่าแตกต้องผ่าตัดใส่น็อตดามไว้ และให้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนกว่าอาการจะทุเลา อย่างไรก็ตามหลังรับการรักษาแล้ว คุณกุญชรพบว่าไม่สามารถเดินได้ตามปกติ จึงต้องการให้ผู้ประกอบการรถตู้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนเงินกว่า 1 แสนบาท และส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ดังกล่าว ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำว่าสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ โดยสามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทรถโดยสารและบริษัทประกันภัย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังนี้- ค่ารักษาพยาบาล: ผู้ร้องสามารถขอรับค่ารักษาพยาบาลตามที่เกิดขึ้นจริงได้จากบริษัทประกันภัยของรถคันที่เกิดเหตุ รายละไม่เกิน 80,000 บาท เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้รถโดยสารและรถยนต์ทุกคันจะต้องทำประกันภัยไว้ ซึ่งภายหลังการตรวจสอบข้อมูลก็พบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งหมดของผู้ร้อง ทางโรงพยาบาลได้รับเรื่องการใช้สิทธิดังกล่าวไว้แล้ว โดยผู้ร้องไม่ต้องสำรองจ่ายใดๆ (ในกรณีที่เกิดการเสียชีวิต สามารถให้ทายาทโดยธรรม เช่น พ่อ-แม่ หรือคู่สมรส ติดต่อขอรับค่าปลงศพจากบริษัทประกันภัยของรถคันที่เกิดเหตุได้ จำนวนรายละ 300,000 บาท)- ค่าชดเชยรายวัน: กรณีรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)- เงินค่าสินไหมทดแทน: รับได้จากกรมธรรม์ประกันภัยประเภทสมัครใจ ที่ผู้ประกอบการของรถโดยสารหรือเจ้าของรถยนต์จัดทำไว้กับบริษัทประกันภัยต่างๆ ซึ่งหากบริษัทที่ให้บริการรถตู้ไม่มีการทำประกันประเภทนี้ไว้ก็ต้องชดใช้เอง- ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับเงินค่าเสียหายตามที่กล่าวมาข้างต้น น้อยกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นธรรม สามารถยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีผู้บริโภคต่อบริษัทฯ และเจ้าของบริษัทฯ ได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด เที่ยงธรรม และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกระบวนการนี้สำหรับความคืบหน้ากรณีของผู้ร้องท่านนี้พบว่า แม้จะได้รับค่ารับค่ารักษาพยาบาลตามที่เกิดขึ้นจริงไปแล้ว แต่หลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านไปเกือบปี ผู้ร้องก็ยังไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทน ทางศูนย์ฯ จึงแนะนำว่าสามารถไปยื่นเรื่องร้องเรียนในส่วนของค่าสินไหมทดแทนที่กระทรวงยุติธรรมได้ โดยในกรณีที่อยู่ต่างจังหวัดก็สามารถไปยื่นได้ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประจำจังหวัดได้และภายหลังการดำเนินการตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้น ทางบริษัทประกันภัยของรถตู้คันที่เป็นคู่กรณีของผู้ร้อง ก็ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้ร้องเป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท ซึ่งผู้ร้องยินดีและขอยุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 ใช้สิ่งของวางกันที่ไม่ให้ผู้อื่นจอดรถหน้าบ้านที่เป็นทางสาธารณะ ทำได้หรือไม่

ในฉบับนี้ ผมก็มีเรื่องน่าสนใจ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ทางสาธารณะ ซึ่งบางครั้งอาจไปกระทบกับบ้านใกล้เรือนเคียง ที่เราจะพบเห็นกันบ่อยๆ จนเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันนั้น ส่วนใหญ่ก็คือเรื่องของที่จอดรถ  หลายคนมักใช้ที่หรือทางสาธารณะในการจอดรถหรือเป็นทางเข้าออก ซึ่งบางครั้งเราก็ต้องระมัดระวัง เพราะพื้นที่ดังกล่าวคือ “ทางสาธารณะ” ไม่ใช่พื้นที่ส่วนบุคคล ใครๆ ก็มีสิทธิมาใช้ได้ทั้งนั้น อย่างเช่นในคดีที่จะยกตัวอย่างนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยเอากระถางต้นไม้มาวางหน้าบ้านตนเอง ในระยะแนวร่นอาคาร 1 เมตร แล้วจอดรถบนทางสาธารณะ ทำให้คนอื่นได้รับความเดือดร้อน เพราะไม่สามารถจอดรถในถนนส่วนที่เหลือได้ ศาลจึงมองว่าการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิเกินส่วน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2559คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2559การใช้ถนนสาธารณะเป็นที่จอดรถ หากไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายเป็นอย่างอื่น เจ้าของที่ดินที่มีอาคารติดกับถนนสาธารณะ ก็อาจใช้ทางสาธารณะเป็นที่จอดรถของตนได้ แต่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นหลักก่อน โดยต้องเว้นทางสำหรับรถยนต์ให้เข้าออกได้เป็นลำดับแรก แล้วเจ้าของอาคารทั้งสองฝั่งถนนรวมถึงบุคคลทั่วไปจึงจะมีสิทธิใช้ทางส่วนที่เหลือเป็นที่จอดรถบนหลักของความเสมอภาค โดยไม่จำต้องคำนึงว่าใครจะเป็นผู้มาใช้สิทธิจอดรถก่อนหลังกัน การที่จำเลยทั้งสี่ใช้พื้นที่ถนนสาธารณะ ซึ่งมีความกว้างเพียง 4 เมตร จอดรถของตนทั้งคันในลักษณะหวงกันการใช้ประโยชน์ของผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ควรจะใช้แนวร่นอาคาร 1 เมตร ที่อยู่ติดกับถนนสาธารณะดังกล่าวของตนประกอบการจอดรถด้วย แต่กลับใช้เป็นที่วางกระถางต้นไม้ ซึ่งมิใช่เหตุจำเป็นที่จะใช้แนวร่นอาคารเพื่อการนั้น ย่อมเป็นการกระทำที่เกินสิทธิของตนและคำนึงถึงประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงสิทธิในการใช้ทางสาธารณประโยชน์ของผู้อื่นที่มีอยู่ร่วมกัน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเกินควร ไม่สามารถใช้พื้นที่ถนนส่วนที่เหลือในการจอดรถของตนได้ จึงรับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ เป็นการใช้สิทธิ ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นอันมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 421 และถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอบังคับให้จำเลยทั้งสี่จอดรถในแนวร่นอาคารอันเป็นแดนกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสี่ได้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2544บริษัท ม. จัดสรรพื้นคอนกรีตบนที่ว่างด้านหน้าอาคารของโจทก์และจำเลย รวมตลอดถึงด้านหน้าที่ดินที่จัดสรรทุกแปลงเป็นทางสำหรับให้บุคคลที่ซื้อบ้านที่บริษัท ม. ได้จัดสรรขายใช้เข้าออกสู่ถนนพหลโยธินได้ การที่จำเลยให้พนักงานของจำเลยและลูกค้าที่มาติดต่อกับจำเลยใช้และนำกระถางต้นไม้วางบนพื้นที่ไปจนถึงทางเท้าริมถนนพหลโยธินเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจใช้พื้นที่เข้าออกได้ แม้เป็นการชั่วคราวแต่ก็เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่ให้เกิดเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 และยังเป็นการใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรตามมาตรา 1337 อีกด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ดังนั้นกล่าวโดยสรุปคือ “ทางสาธารณะ” เป็นพื้นที่ที่ให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และเป็นพื้นที่ซึ่งมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำประโยชน์สาธารณะ เมื่อเราจะใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวก็ต้องคิดให้รอบคอบว่าจะทำให้ผู้อื่นที่จะใช้พื้นที่นั้นเกิดความเดือดร้อนหรือไม่ อย่างในตัวอย่างข้างต้นนี้ เอากระถางต้นไม้มาวาง ทำให้คนอื่นจอดรถหน้าบ้านตนเองไม่ได้ เขาเดือดร้อนก็มาฟ้องศาลให้รื้อ หรือย้ายกระถางและให้จอดรถในพื้นที่แนวร่นอาคารซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลได้ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 ความร่วมมือกับความปลอดภัยรถรับส่งนักเรียน

วันที่ 6 – 7 ธันวาคมที่ผ่านมา มีงานใหญ่ที่รัฐบาลโดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจัดขึ้นทุกสองปี นั่นคือ งานสัมมนาระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 13 ที่ครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวความคิด “ลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน” ภายในงานมีหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่ที่อยากจะมาบอกกล่าวกันในวันนี้ คือ ห้องย่อยที่ 3 ยานพาหนะปลอดภัย ในหัวข้อหลัก “ทิศทางและบทเรียนการจัดการปัญหารถรับส่งนักเรียนในระดับพื้นที่” การเสวนาในวันนั้นเป็นการนำเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการปัญหารถรับส่งนักเรียนจากหลายภาคส่วน เพื่อหาข้อสรุปที่นำไปสู่การสนับสนุนให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ทั้งเรื่องการจัดการความปลอดภัยและมาตรฐานรถที่จะนำมารับส่งนักเรียน เพราะที่ผ่านมาทุกคนต่างรับรู้และเห็นถึงปัญหารถรับส่งนักเรียนกันอย่างดีแล้วว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยหน่วยงานใดเพียงหน่วยงานเดียว เหตุเพราะปัญหารถรับส่งนักเรียนนั้นมีความซับซ้อนมากกว่าแค่เรื่องสภาพรถ ที่ส่วนใหญ่เป็นรถที่ไม่ปลอดภัย และไม่เหมาะในการนำมาวิ่งให้บริการรถรับส่งนักเรียน ซึ่งพอจะสรุปได้เป็นสี่ประเด็นหลัก ดังนี้ ประการที่หนึ่ง ระบบขนส่งสาธารณะที่ล้มเหลว ซึ่งรองรับได้แค่กรุงเทพมหานครและตัวเมืองชั้นในของจังหวัดใหญ่เท่านั้น ทำให้การเดินทางไปโรงเรียนของเด็กมีความยากลำบากเพิ่มขึ้น ประการที่สอง นโยบายการศึกษาที่ยุบโรงเรียนเล็กไปรวมกันหรือการให้โรงเรียนระดับท้องถิ่นเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนดังส่งผลเกิดค่านิยมในการเรียนโรงเรียนใหญ่ที่จะทำให้เด็กมีการศึกษาที่ดีขึ้น ทำให้เด็กต้องเดินทางไกลขึ้นจากเดิมเพื่อไปเรียนให้ได้ ประการที่สาม ทัศนคติของครูอาจารย์ที่ยังไม่เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีระบบจัดการรถรับส่งนักเรียนและคิดว่าเป็นภาระที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากงานที่มีอยู่ และประการที่สี่ ความไม่ใส่ใจในความเสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยของเด็กนักเรียน การไม่มีทางเลือกที่เพียงพอในการนำพาเด็กไปสู่โรงเรียนด้วยความปลอดภัย และความไม่พร้อมทางฐานะการเงินที่จะจัดหารถที่ปลอดภัยสำหรับบุตรหลานเพื่อไปโรงเรียนได้ ขณะที่เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกำลังพยายามช่วยเหลือและจัดการรถรับส่งนักเรียนให้ปลอดภัย ด้วยการทำข้อมูลในระดับพื้นที่และสร้างระบบการจัดการ โดยการขับเคลื่อนให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นจุดจัดการ ด้วยการมีส่วนร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง คนขับรถรับส่งนักเรียน องค์กรผู้บริโภค และหน่วยงานท้องถิ่นในการร่วมกันสนับสนุนและจัดการระบบรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัยขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการในระยะแรกไปแล้วในพื้นที่ 32 จังหวัด จังหวัดละ 1 โรงเรียน แต่หน่วยงานหลักด้านนโยบายอย่างกรมการขนส่งทางบกและกระทรวงศึกษาธิการ กลับยังไม่มีบทบาทที่ชัดเจนในการแสดงออกว่าจะร่วมมือกันจัดการปัญหารถรับส่งนักเรียนที่มีอยู่อย่างไร ที่ผ่านมามีเพียงกรมการขนส่งทางบกที่ได้ออกมาตรการกำกับดูแลรถรับส่งนักเรียน โดยกำหนดให้ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง(รย.2) หรือรถที่มีป้ายทะเบียนพื้นสีขาวตัวหนังสือสีฟ้า นำมาจดทะเบียนเป็นรถรับส่งนักเรียนได้ แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่า ยังมีรถรับส่งนักเรียนที่วิ่งรับส่งทั่วประเทศอีกจำนวนมากที่ไม่ใช่รถตามที่กฎหมายอนุญาตให้นำมาจดทะเบียนเป็นรถรับส่งนักเรียน ยังไม่รวมถึงมาตรการบังคับข้ออื่นๆ ที่ผู้ประกอบการรถรับส่งนักเรียนไม่สนใจทำตาม ส่งผลให้กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้ ซ้ำยังเป็นการสร้างความยากลำบากให้กับเจ้าหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะหากเจ้าหน้าที่เข้มงวดกวดขันบังคับตามกฎหมาย รถรับส่งนักเรียนที่ผิดกฎหมายหลายคันจะต้องหยุดวิ่ง ผลคือเด็กจำนวนมากจะไม่สามารถเดินทางไปโรงเรียนได้ มันก็จะคล้ายๆ จับเด็กเป็นตัวประกัน เจ้าหน้าที่ก็ไม่กล้าทำอะไร… ส่วนกระทรวงศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีหน้าที่ดูแลโรงเรียนและเด็กนักเรียนทั่วประเทศ ยังคงนิ่งสงบและไม่มีบทบาทที่ชัดเจนในการออกมาตรการดูแลในส่วนนี้ ทั้งที่บางโรงเรียนในสังกัดต้องการคำสั่งในการจัดการรถรับส่งนักเรียน เพราะเห็นว่าการจะทำภารกิจใดๆ ที่นอกเหนือจากงานที่มีอยู่ต้องมีคำสั่ง หากไม่มีคำสั่งก็จะไม่ทำ เพราะไม่มีการบังคับจะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ แต่จากบทสรุปของ ห้องย่อยยานพาหนะประเด็นรถรับส่งนักเรียน ในเวทีงานสัมมนาระดับชาตินั้น แม้จะยังไม่ได้คำตอบที่ชัดว่า การจัดการที่ถูกต้องเหมาะสมจะต้องทำกันแบบไหน แต่อย่างน้อยประเด็นการให้โรงเรียนเป็นจุดจัดการที่ทุกฝ่ายร่วมสนับสนุนเพื่อให้เกิดระบบรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัยก็เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายที่เห็นชอบร่วมกัน รวมถึงประเด็นสำคัญที่ถือว่าเป็นก้าวแรกของการมีส่วนร่วมที่ดีและเป็นสัญญาประชาคมจาก คุณโรจนะ กฤตเจริญ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการรับข้อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมไปเสนอผู้บริหาร เพื่อเป็นเจ้าภาพตั้งคณะทำงานจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ นักวิชาการและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรฐานการจัดการรถรับส่งนักเรียนให้มีความปลอดภัย ถึงแม้ว่าจะเหมือนเห็นแสงสว่างเล็กๆ ที่ปลายอุโมงค์ แต่เราต้องมีความหวัง และพร้อมที่จะติดตามผลการจัดตั้งคณะทำงานนี้ และร่วมกันผลักดันมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อให้รถรับส่งนักเรียนมีมาตรฐานความปลอดภัย ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อลูกหลานของเราทุกคน… 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนพฤศจิกายน 2560กลุ่มผู้ซื้อรถมาสด้าแล้วเจอปัญหา ร้อง สคบ. จี้บริษัทแสดงความรับผิดชอบ กลุ่มผู้ใช้รถยนต์มาสด้า 2 ดีเซล Sky Active รุ่นปีผลิต 2015-2016 รวมรุ่นย่อย ของบริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 22 ราย ซึ่งซื้อรถยนต์ดังกล่าวในช่วงปี 2558-2559 พร้อมด้วย นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เดินทางมาร่วมยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเรียกร้องให้ผู้ประกอบการแสดงความรับผิดชอบกรณีพบว่ารถยนต์ที่ซื้อมาใช้งานอาการผิดปกติจนมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยจากปัญหาความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ ได้แก่ อาการผิดปกติของระบบไฟแจ้งเตือน อาการรั่วซึมของโช้คด้านหลัง และอาการเครื่องยนต์สั่น เร่งความเร็วไม่ขึ้น โดยอาการจะปรากฏครั้งแรกในช่วงเลขไมล์ 20,000 – 70,000 กม. และคงอาการลักษณะนี้จนปัจจุบันนายภัทรกร ทีปบุญรัตน์ ตัวแทนกลุ่มผู้เสียหายจากการใช้รถยนต์มาสด้า 2 รุ่นสกายแอคทีฟ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้นำรถของตนเข้าศูนย์หลายครั้ง คิดเป็น 2 เท่าของระยะตรวจเช็คตามรอบปกติ เริ่มจากปัญหาโช้ครั่วที่พบหลังใช้รถ 2-3 เดือนแรก จนถึงปัญหาความผิดปกติของระบบไฟแจ้งเตือนและตัวเลขแสดงระยะทางที่ผิดพลาด ล่าสุดพบปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลมีอาการสั่น และเร่งความเร็วไม่ขึ้นช่วง 80 – 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงต่อชีวิตทางกลุ่มผู้ร้องและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อยากให้ทางศูนย์มาสด้าออกมาชี้แจงถึงวิธีการแก้ไขปัญหาให้รถยนต์กลับมามีสภาพปกติที่ควรเป็น และขอให้ สคบ.มีคำสั่งให้ผู้ประกอบการทดสอบรถยนต์ที่เกิดปัญหาภายใน 7 วัน ตามอำนาจกฎหมาย และขอให้มีคำสั่งระงับการจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อมาสด้า 2 ในรุ่นที่มีการร้องเรียนเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะทราบผลการพิสูจน์ ซึ่งหากพบว่าสินค้าชำรุดบกพร่องจนอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตจริง ก็ขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีคำสั่งให้บริษัทรับผิดชอบรับซื้อรถยนต์คืนทั้งหมดย้อมสีเนื้อหมูหลอกขายเป็นเนื้อวัวพ่อค้าร้านอาหารตามสั่งแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เข้าแจ้งความกับตำรวจ หลังพบว่าเนื้อวัวที่ซื้อมาเมื่อนำไปล้างน้ำทำความสะอาด สีลอกและซีดลง แถมไม่มีกลิ่นของเนื้อวัว พ่อค้ารายดังกล่าวสงสัยว่าแม่ค้าจะเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยการนำเนื้อหมูมาย้อมสีโกหกว่าเป็นเนื้อวัวหลอกขายผู้บริโภค ซึ่งหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจสอบร้านค้าดังกล่าว พร้อมทั้งควบคุมตัวแม่ค้ามาสอบปากคำ ท้ายที่สุดแม่ค้าก็รับสารภาพว่าได้เอาสีผสมอาหารย้อมเนื้อหมูให้มีสีแดงคล้ายเนื้อวัวจริง แล้วติดป้ายหลอกขายว่าเป็นเนื้อวัวในราคากิโลกรัมละ 235 บาท เพื่อให้ขายได้กำไรมากขึ้นจากเนื้อหมูที่มีราคากิโลกรัมละ 120 บาท โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหากับแม่ค้าคนดังกล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงและขายสินค้าหลอกลวงประชาชน ถูกเปรียบเทียบปรับไป 1,000 บาท พร้อมต้องชดใช้ค่าเสียหายคืนให้กับพ่อค้าร้านอาหารตามสั่งที่ถูกหลอก นวดปลอดภัย เลือกร้านที่มีใบอนุญาติถูกต้องกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แนะนำให้ผู้ที่ต้องการรับบริการนวดต้องประเมินร่างกายตนเองเบื้องต้นก่อนรับบริการทุกครั้ง หากพบว่าร่างกายของตนมีอาการเจ็บปวด ต้องการนวดเพื่อรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ อย่างการนวดจับเส้น ขอให้เลือกรับบริการจากสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย ซึ่งผู้ให้บริการนวดจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้านเวชกรรมไทย ด้านนวดไทย หรือด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ จากสภาการแพทย์แผนไทยเท่านั้นโดยสามารถสังเกตสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายจากหลักฐาน 3 ประการ ได้แก่ 1. มีการแสดงเลขที่ใบอนุญาต 11 หลัก ให้เห็นได้ชัดเจนที่ด้านหน้าสถานพยาบาล 2. มีการแสดงใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เห็นชัดเจนที่จุดบริการ และ 3. มีการแสดงป้ายชื่อ-สกุล รูปถ่าย พร้อมกับเลขที่ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพของแพทย์ติดหน้าห้องตรวจ ซึ่งต้องตรงกับตัวจริงที่ให้บริการขณะนั้นแต่หากต้องการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ หรือ ผ่อนคลาย ให้เลือกรับบริการจากสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประเภท สปา นวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการจาก สบส. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งผู้ให้บริการนวดจะต้องได้รับประกาศนียบัตรตามหลักสูตรที่ สบส. ให้การรับรอง และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพถูกต้องตามกฎหมาย และสังเกตหลักฐาน 3 ประการ ได้แก่ 1. มีการแสดงสติกเกอร์มาตรฐาน สบส. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ตามประเภทกิจการ ให้เห็นชัดเจนที่จุดบริการ 2. มีการแสดงใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และ 3. มีการแสดงใบอนุญาตผู้ดำเนินการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพอาหารเสริมคังหลินอวดอ้างสรรพคุณหลอกเงินชาวบ้านคณะกรรมการอาหารและยา และ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลวาริชภูมิ จ.สกลนคร ร่วมกับสถานีตำรวจภูธรวาริชภูมิ ดำเนินการเอาผิดกลุ่มบุคคลที่ทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ คังหลิน (KungLin) ที่ใช้หยอดหู หยอดตา โดยอ้างว่าเป็นตัวแทนและทีมวิจัยสมุนไพรของศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำสินค้ามาแนะนำ โดยขอให้ผู้ใหญ่บ้านประกาศเสียงตามสายให้ชาวบ้านที่มีปัญหาเรื่อง หู ตา คอ จมูก เบาหวาน ภูมิแพ้ ความดัน และชาวบ้านที่ต้องการตรวจโรค ลงทะเบียนตรวจวินิจฉัยโรคฟรีแต่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในราคา 3,600 บาท หลังจากตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวพบว่า ฉลากระบุผู้จำหน่ายคือ บริษัท กรีนนิซ เทคโนโลยี จำกัด จ.นครราชสีมา แต่ไม่พบข้อมูลชื่อ ที่อยู่ ผู้ผลิต ไม่ระบุวันเดือนปีที่ผลิต และหมดอายุ เมื่อเจ้าหน้าที่ขอดูเอกสารเกี่ยวกับโครงการ ก็ไม่สามารถนำมาแสดงได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา และเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานีต่อไป ทั้งนี้ อย.ฝากเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่อวดอ้างเรื่องการรักษาโรค เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อย่างในกรณีนี้หากนำไปใช้หยอดหู หยอดตา สุ่มสี่สุ่มห้าโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน อาจเป็นอันตรายต่อหูและดวงตาของผู้ที่ใช้ถอนทะเบียนยา “ฟีนิลบิวตาโซน” 70 รายการ เหตุอันตรายถึงชีวิตในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ คําสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1435/2560 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา ที่มีตัวยาฟีนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone) เป็นส่วนประกอบ หลังพบข้อมูลทางวิชาการว่า ยาฟีนิลบิวตาโซน เป็นสาเหตุของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางจากภาวะไขกระดูกฝ่อ (aplastic anaemia) และเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (agranulocytosis) ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคําแนะนําของคณะกรรมการยาในการประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560 จึงมีคําสั่งเพิกถอนทะเบียนตํารับยาสําหรับมนุษย์ที่มีตัวยาฟีนิลบิวตาโซนเป็นส่วนประกอบ จํานวน 70 ตํารับ ตามบัญชีแนบท้ายประกาศ โดยสามารถดูรายละเอียดประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/277/62.PDF

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 รถตู้โดยสารไม่ประจำทางกับความปลอดภัยของผู้โดยสาร

เป็นเวลาเกือบครบปี  หลังจากที่เราผ่านความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ กับอุบัติเหตุรถตู้โดยสารประจำทาง สายจันทบุรี – กรุงเทพ  พุ่งข้ามเลนประสานงากับรถกระบะที่สวนทางมา จนเกิดเพลิงลุกไหม้รถทั้งสองคัน มีผู้เสียชีวิตเป็นคนไทยด้วยกันเองมากถึง 25 คน  จากเหตุการณ์ครั้งนั้น นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายที่เข้มข้นหลายอย่าง ที่ออกมาเพื่อควบคุมความเร็วและพฤติกรรมคนขับรถโดยสาร ทั้งการติด GPS ห้ามวิ่งเกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง การบังคับทำประกันภาคสมัครใจ การปรับลดเบาะที่นั่ง การมีช่องทางออกฉุกเฉิน และการรณรงค์ให้ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อเดินทาง โดยมุ่งหวังเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซากแบบนั้นอีกแต่จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ก็ยังมีเหตุสะเทือนขวัญที่เกิดกับรถตู้โดยสารอยู่เป็นระยะๆ เป็นเหมือนฝันร้ายที่คอยวนเวียนหลอกหลอนผู้โดยสารที่ต้องใช้บริการอยู่ทุกวันว่า วันไหนจะเกิดขึ้นกับใคร ไม่ว่าจะเป็นตัวเราเอง คนรู้จัก เพื่อน ญาติสนิทหรือไม่ หลายฝ่ายต่างพุ่งเป้าไปที่กลุ่มรถตู้โดยสารประจำทางที่มีอยู่มากกว่า 15,000 คันทั่วประเทศ โดยเฉพาะรถที่วิ่งระหว่างจังหวัดว่าเป็นกลุ่มรถความเสี่ยงสูง ที่หลายคนจำเป็นต้องใช้เพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวัน แม้จะกลัวการเกิดอุบัติเหตุเวลานั่งรถตู้โดยสาร แต่กลับพบว่าผู้โดยสารส่วนใหญ่ยังไม่เห็นถึงความสำคัญที่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย นั่นเท่ากับว่า ผู้ใช้บริการส่วนหนึ่งยังไม่ตระหนักในเรื่องความปลอดภัยให้กับตัวเองมากนักขณะที่คนจำนวนมากกำลังจับตามองไปที่กลุ่มรถตู้โดยสารประจำทางว่าเป็นกลุ่มรถเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย แต่เราอาจลืมไปว่า ยังมีรถตู้โดยสารอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงไม่น้อยกว่ากัน นั่นก็คือ กลุ่มรถตู้โดยสารรับจ้างไม่ประจำทางที่มีปริมาณรถอยู่ในระบบมากกว่า 27,000 คันทั่วประเทศ โดยรถในกลุ่มนี้มีทั้งในรูปแบบผู้ประกอบการใหญ่ที่เป็นนิติบุคคล หรือกลุ่มรายย่อย ที่เจ้าของรถขับเอง และมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการติดต่อรับจ้างทางธุรกิจ แน่นอนว่า ความแตกต่างที่สำคัญ นอกจากเรื่องระบบการออกใบอนุญาตและการกำกับดูแลตามมาตรการของรัฐแล้ว โดยปกติรถตู้โดยสารประจำทางจะวิ่งได้ในเฉพาะในเส้นทางที่ขออนุญาตเส้นทางไว้เท่านั้น ห้ามวิ่งออกนอกเส้นทาง ในเส้นทางระยะไกลห้ามวิ่งเกินวันละ 2 รอบ หรือวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมงตามกฎหมายแรงงาน แต่รถตู้โดยสารรับจ้างไม่ประจำทางนั้น  วิ่งได้ในทุกเส้นทางทั่วไทยตามที่ว่าจ้าง ไม่มีใครคอยตรวจสอบว่าคนขับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ก่อนมาให้บริการ   ถือได้ว่าเป็นกลุ่มรถมีความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยมากกว่า สอดคล้องกับผลการเก็บข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของรถตู้โดยสารของเครือข่ายเฝ้าระวังรถโดยสารปลอดภัย พบว่า กลุ่มรถตู้โดยสารรับจ้างไม่ประจำทาง มีอัตราการเกิดเหตุและอัตราการบาดเจ็บของผู้โดยสารมากกว่ากลุ่มรถตู้โดยสารประจำทาง โดยมีแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุ ที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเช่น โศกนาฏกรรมครั้งล่าสุดของวันที่  8  พฤศจิกายน  ที่ผ่านมา กรณีรถตู้โดยสารรับจ้างไม่ประจำทางของบริษัท อาร์แอลเซอร์วิส ประสบอุบัติเหตุชนท้ายรถบรรทุกสิบล้อ ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  จากการสอบปากคำคนขับรถตู้โดยสารที่รอดชีวิต ได้ยอมรับกับทางเจ้าหน้าที่ว่า ในวันที่เกิดเหตุตนเองเข้านอนเวลา 24.00 น.และตื่นในเวลา 04.00 น.ของวันที่เกิดเหตุ และในเวลา 05.00 น.ได้เดินทางไปรับคณะนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นพร้อมไกด์คนไทย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อนำทั้งหมดเดินทางมาท่องเที่ยวตามโปรแกรมที่วางไว้ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะประสบอุบัติเหตุหลับในชนท้ายรถบรรทุก ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 5 ราย  แม้หลังเกิดเหตุกรมการขนส่งทางบกจะมีมาตรการเด็ดขาดสั่งถอนทะเบียนรถตู้คันเกิดเหตุออกจากบัญชีประกอบการขนส่ง และให้บริษัทฯ นำรถในบัญชีทั้งหมด จำนวน 84 คัน เข้ารับการตรวจสภาพโดยละเอียดอีกครั้ง และให้พนักงานขับรถทุกคนของบริษัทฯ เข้ารับการอบรมด้านความปลอดภัย พร้อมเปรียบเทียบปรับฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัยในอัตราโทษสูงสุดเป็นจำนวนเงิน 50,000  บาท รวมถึงเพิกถอนใบอนุญาตขับรถของคนขับรถคันเกิดเหตุทันที แต่มาตรการดังกล่าวก็เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของทุกฝ่ายกลับคืนมา  โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่ยังมีประเด็นปัญหาสำคัญที่รอให้จัดการ คือ การกำหนดแนวทางการประกอบธุรกิจรถรับจ้างไม่ประจำทาง ที่ทุกวันนี้ยังไม่มีมาตรการกำกับหรือควบคุมที่ชัดเจนแต่อย่างใด ทำให้มีผู้ประกอบการรายย่อยหลายรายที่นำรถทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายออกมาวิ่งรับจ้างไม่ประจำทางอีกเป็นจำนวนมาก โดยที่ผู้บริโภคต้องกลายเป็นคนแบกรับชะตากรรมนั้นเสียเอง

อ่านเพิ่มเติม >