ฉบับที่ 242 ปัญหาเนอร์สซิ่งโฮมดูแลผู้ป่วยไม่ดี

        เนอร์สซิ่งโฮม คือบริการในด้านสถานที่สำหรับการดูแลพักฟื้นและให้การช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันแก่ผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่ต้องการพักฟื้นระยะสั้น และผู้ป่วยที่ต้องการพักฟื้นระยะยาว ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่ไม่สะดวกในการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงวัยด้วยตนเอง หรืออาจไม่มั่นใจว่าตนเองจะทำได้ดีพอ จึงเลือกใช้บริการด้านนี้ เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงวัย ด้วยว่ามีความเป็นมืออาชีพ และมีความเชี่ยวชาญมากกว่า         คุณสาละวิน ตัดสินใจพาคุณแม่ไปอยู่ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแห่งหนึ่ง  สมมติว่าชื่อ สว. เนอร์สซิ่งโฮม เนื่องจากคุณแม่มีภาวะกระดูกหักที่สะโพกและต้องทำกายภาพบำบัด ซึ่งทางคุณสาละวินพิจารณาแล้วว่า การอยู่เนอร์สซิ่งโฮมที่มีพนักงานและอุปกรณ์พร้อมน่าจะดีกว่าอยู่ที่บ้าน ซึ่งคุณแม่ก็เข้ารับบริการอยู่ที่นี่ได้สักพักหนึ่ง         วันหนึ่งได้รับแจ้งว่าคุณแม่ของเธอถูกส่งไปรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาล เพราะว่ามีอาการหายใจไม่ออกเจ็บหน้าอกและมีไข้ ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าคุณแม่ของเธอต้องนอนพักดูอาการที่โรงพยาบาลก่อนยังไม่สามารถกลับบ้านได้ทันที ขณะนั้นเธอก็ไม่ได้ติดใจอะไร แต่ในช่วงเย็นวันเดียวกันขณะที่เธอเปลี่ยนผ้าอ้อมให้คุณแม่ คุณแม่ร้องบอกว่า “เจ็บ เจ็บ” เธอพลิกก้นคุณแม่ดูจึงพบว่า มีแผลกดทับที่ก้นคุณแม่ขนาดใหญ่ จึงโทรศัพท์ไปสอบถามเจ้าของเนอร์สซิ่งโฮมว่า คุณแม่มีแผลกดทับได้อย่างไร เพราะตอนเข้าไปในเนอร์สซิ่งโฮมไม่มีบาดแผลดังกล่าวแน่นอน        ทางเจ้าของสถานบริการรีบปฏิเสธว่าคุณแม่ไม่มีแผลกดทับจากการดูแลของทางเรา ส่วนแผลที่คุณสาละวินเห็นเพิ่งเกิดที่โรงพยาบาล เพราะไม่เปลี่ยนผ้าอ้อมนานๆ และไม่พลิกตัวจึงทำให้กลายเป็นแผลกดทับ เธอจึงคาดคั้นว่าเกิดจากที่โรงพยาบาลจริงหรือ อาการแผลกดทับที่เพิ่งเป็นกับที่เป็นมานานแล้วแตกต่างกัน ทางโรงพยาบาลจะพลาดจนแม่เกิดแผลกดทับจริงหรือ เธอไม่เชื่อตามที่ทางสถานบริการแจ้งมา และเมื่อมีการตรวจสอบข้อมูลหลายรอบ ในท้ายที่สุดเจ้าของเนอร์สซิ่งโฮมก็ยอมรับว่า “เกิดจากการที่ดูแลคุณแม่ของเธอไม่ดีและขอรับผิดชอบด้วยการที่จะดูแลคุณแม่ของเธอให้ดีในช่วงที่ยังรักษาตัวที่โรงพยาบาล”         คุณสาละวินจึงมาปรึกษาศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า กรณีเช่นนี้เธอสามารถเรียกค่าชดเชยจากเนอร์สซิ่งโฮมที่ทำให้คุณแม่เจ็บป่วยได้หรือไม่ แนวทางการแก้ไขปัญหา             กรณีนี้เป็นการละเมิดทำให้ได้รับความเสียหาย ผู้ดูแลหรือทางสถานบริการจะต้องดูแลผู้สูงอายุตามหน้าที่ ตามสัญญา หากไม่ดำเนินการตามสัญญา อีกทั้งละเลยจนทำให้ได้รับความสียหายเกิดแผลกดทับ ผู้บริโภคสามารถเรียกเป็นค่าเสียหาย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่ารักษาให้กลับมาเป็นปกติ และอื่นได้ตามสมควร         หลังจากเกิดเรื่องร้องเรียนทางเนอร์สซิ่งโฮมได้ขอยกเลิกการมาดูแลคุณแม่ของคุณสาละวินขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีการรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คุณสาละวินได้ขอให้เนอร์สซิ่งโฮมคืนเงินที่เหลือ เพราะคุณแม่ของเธออยู่ใช้บริการในสถานบริการไม่ครบเดือนตามสัญญากับทางสถานบริการ         เรื่องนี้ได้มีการจัดการเจรจาเพื่อหาข้อยุติ โดยศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ได้เชิญผู้แทนทางเนอร์สซิ่งโฮมเข้าร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ก็ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ทางศูนย์ฯ จึงแนะนำคุณสาละวินให้ใช้สิทธิทางศาล เนื่องจากอายุความละเมิดมีกำหนดแค่ 1 ปี ต้องเร่งดำเนินการ ทั้งนี้ให้ทางคุณสาละวินได้เตรียมพร้อมในส่วนข้อมูล เช่น การประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลคุณแม่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดและในอนาคต เพื่อนำไปใช้ประกอบการเรียกค่าเสียหายในการดำเนินคดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉลาดซื้อ พบสารกันเสียในยาแต้มสิว 1 ตัวอย่าง

        ฉลาดซื้อ เผยผลสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์รักษาสิวเฉพาะที่(ยาแต้มสิว) พบสารกันเสีย 1 ตัวอย่าง แนะผู้บริโภคควรเลือกใช้ยาแต้มสิวให้เหมาะกับลักษณะและความรุนแรงของสิว เพื่อให้ได้ผลและลดความเสี่ยงการเกิดผลข้า         นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์รักษาสิวเฉพาะที่(ยาแต้มสิว) จำนวน 10 ตัวอย่าง ในช่วงเดือนกันยายน 2563 - มกราคม 2564 เพื่อสำรวจฉลากยาแต้มสิวเหล่านี้ว่ามีสารเคมีหรือส่วนผสมที่ควรระวังได้แก่ สารกันเสีย คือ พาราเบน (Paraben) และเมทิลไอโซไทอะโซลิโนน (Methylisothiazolinon : MIT) และแอลกอฮอล์และน้ำหอม เพื่อให้ผู้บริโภคใช้เป็นข้อมูลในการเลือกยาแต้มสิวให้เหมาะกับลักษณะและความรุนแรงของสิว         ผลสำรวจพบว่า ไม่พบสารเคมีหรือส่วนผสมที่ควรระวังในการแสดงฉลากจำนวน 2 ตัวอย่าง ได้แก่ มิซึมิ เปปไทด์ แอคเน่ เจล และสมูทอี แอคเน่ ไฮโดรเจน พลัส พบพาราเบน (Paraben) 5 ตัวอย่าง ได่แก่ ดร.สมชายแอคเน่ สปอตทัช เจล, ยันฮี ครีมแต้มสิว, โปรวาเมด แอคเน่ สปอต เจล, เมนโทลาทั่ม แอคเน่ส์ ซีลลิ่ง เจล, เดอร์มาแองเจิ้ล แอคเน่ แคร์ อินเท็นซีฟ เจล พบเมทิลไอโซไทอะโซลิโนน (Methylisothiazolinon : MIT) 1 ตัวอย่าง ได้แก่ จุฬาเฮิร์บ แมริโกลด์ แอคเน่ เจล พบแอลกอฮอล์ 6 ตัวอย่าง ได้แก่ โอลด์ร๊อค แอนตี้ แอคเน่ สปอต เจล พลัส, ดร.สมชายแอคเน่ สปอตทัช เจล, จุฬาเฮิร์บ แมริโกลด์ แอคเน่ เจล, ยันฮี ครีมแต้มสิว, เมนโทลาทั่ม แอคเน่ส์ ซีลลิ่ง เจล, เทริสเดย์ แพลนเทชั่น ที ทรี แอคเน่ เจล พบน้ำหอม 4 ตัวอย่าง ได้แก่ โอลด์ร๊อค แอนตี้ แอคเน่ สปอต เจล พลัส, จุฬาเฮิร์บ แมริโกลด์ แอคเน่ เจล, เมนโทลาทั่ม แอคเน่ส์ ซีลลิ่ง เจล, เดอร์มาแองเจิ้ล แอคเน่ แคร์ อินเท็นซีฟ เจลอ่านผลสำรวจฉลากยาแต้มสิว ได้ที่ https://www.chaladsue.com/article/3691 ข้อแนะนำจากฉลาดซื้อ         การเลือกยาแต้มสิวมาใช้ผลัดสิวหลุด หยุดสิวโผล่ให้เห็นผลผู้บริโภคต้องรู้ก่อนว่าตัวเองเป็นสิวแบบไหน โดยปัญหาสิวส่วนใหญ่เกิดจากความมันส่วนเกินบนใบหน้าไปอุดตันรูขุมขน จนเกิดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบตามมา ควรเลือกใช้ยาแต้มสิวให้เหมาะกับลักษณะและความรุนแรงของสิว เพื่อให้ได้ผลและลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ด้วย เพราะสารสำคัญในยาแต้มสิวมีหลายชนิดและออกฤทธิ์แตกต่างกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 242 สรุปความเคลื่อนไหวเดือนเมษายน

คนไทยป่วยไบโพลาร์กว่าล้านคน        สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุ คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตประมาณ 10 ล้านคน เป็นผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ถึง 1 ล้านคน แต่ทุกวันนี้สังคมไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่เข้ารับการรักษา         โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ และอาจเกิดในผู้ที่มีความเครียดสะสม ทำให้อาการเปลี่ยนแปลงไปจากนิสัยหรือบุคลิกเดิมของคนๆ นั้น ลักษณะอาการเด่นของโรคนี้คืออารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างช่วงที่อารมณ์ดีมากกว่าปกติ (mania หรือ hypomania) สลับกับอาการอารมณ์ซึมเศร้า (major depressive episode) หรืออาจมีอาการแมเนียเพียงอย่างเดียวก็ได้ โดยอาการในแต่ละช่วงอาจเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือหลายๆ เดือนก็ได้ ทั้งนี้ โรคไบโพลาร์จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่คนไม่รู้ และคิดว่าเป็นเพียงอารมณ์แปรปรวนตามประสาวัยรุ่น หรือบางรายที่มีอารมณ์ซึมเศร้าเด่นกว่าแมเนีย จึงมักจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้เสียโอกาสในการวินิจฉัย         สำหรับแนวทางการรักษาโรคจิตเวช และโรคไบโพลาร์ อันเป็นที่ยอมรับแล้ว คือ วิธีรักษาด้วยการใช้ยา ร่วมกับการบําบัดทางจิตสังคม (Psychosocial therapy) และการบําบัดที่เน้นครอบครัว และการให้สุขภาพจิตศึกษาร่วมกับการรักษาด้วยยามีประสิทธิภาพในการช่วยลดความรุนแรงของอาการและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ดี รัฐบาลเตรียมกฎหมายควบคุมร้านจำหน่ายแก๊ส         รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจำหน่าย พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ เพื่อเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยให้เหมาะสมกับสภาพการประกอบกิจการในปัจจุบัน ทั้งนี้ ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้ง แผนผัง รูปแบบ และลักษณะของสถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจำหน่าย การเก็บรักษาและการจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ประกอบไปด้วย           - ห้ามตั้งร้านจำหน่ายถังก๊าซหุงต้มในอาคารชุด อาคารสรรพสินค้า อาคารแสดงสินค้า หรือสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว           - ร้านจำหน่ายที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นไม่เกิน 6 เมตร ให้เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้ไม่เกิน 2,400 ลิตร ถ้าอยู่ห่างจากอาคารอื่นเกิน 6 เมตรขึ้นไป ให้เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวได้ไม่เกิน 12,000 ลิตร           - ร้านจำหน่ายลักษณะที่ 2 (ร้านจำหน่ายที่มีการเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวเกิน 500 ลิตรขึ้นไป) ต้องมีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยแบบกระจายน้ำดับเพลิงที่สามารถฉีดน้ำครอบคลุมบริเวณที่เก็บถังก๊าซหุงต้มหรือกระป๋องก๊าซ        สำหรับร้านจำหน่ายที่ประกอบกิจการอยู่ก่อนที่กฎกระทรวงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับใช้ ขณะที่ร้านจำหน่ายที่ตั้งอยู่ในตึกแถวที่ประกอบกิจการอยู่ก่อนจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีกรรมสิทธิ์ในตึกแถวข้างเคียงที่มีผนังร่วมกัน  ผลตรวจน้ำมะพร้าวไม่พบยาฆ่าแมลงแต่โพแทสเซียมสูงผู้ป่วยโรคไตต้องระวัง         นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวเผยแพร่สรรพคุณของน้ำมะพร้าว ในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย และทำให้เกิดกระแสการบริโภคน้ำมะพร้าวนั้น กรมวิทยาศาสตร์ฯ โดย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ศึกษาคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำมะพร้าวสดและน้ำมะพร้าวในภาชนะบรรจุปิดสนิท ชนิดละ 7 ตัวอย่าง โดยนำมะพร้าวสดเก็บจากร้านค้าในพื้นที่ จ.ราชบุรี จ.นนทบุรี จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสงคราม และ น้ำมะพร้าวในภาชนะบรรจุปิดสนิท 7 ยี่ห้อ เก็บจากร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้า เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ แร่ธาตุ วิตามิน น้ำตาล ฮอร์โมน ความเป็นกรดด่าง และการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช         “ผลการตรวจวิเคราะห์ พบแคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส เหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม และคลอไรด์ในน้ำมะพร้าวสดมากกว่าน้ำมะพร้าวในภาชนะบรรจุปิดสนิท โดยเฉพาะโพแทสเซียมและคลอไรด์ในปริมาณเฉลี่ย 133.81 – 215.20 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม พบวิตามิน บี 2 ในน้ำมะพร้าวสดน้อยกว่า 0.01 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร แต่ตรวจไม่พบในน้ำมะพร้าวที่ผ่านการแปรรูป เนื่องจากวิตามิน บี 2 ละลายน้ำได้ดีและถูกแสงสว่างทำลายได้ง่าย และวิตามิน บี 3 ในปริมาณเฉลี่ย 0.04 – 0.1 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม เนื่องจากวิตามิน บี 3 ทนความร้อนและแสงสว่างได้ดีกว่า พบน้ำตาล 3 ชนิด ประกบด้วย กลูโคส ฟรุกโตส และซูโครส ในปริมาณเฉลี่ย 1.28 – 2.61 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร และพบฮอร์โมนเอสตราไดออล (estradiol) ซึ่งอยู่ในกลุ่มของเอสโตรเจน (estrogen) ทุกตัวอย่าง โดยมีปริมาณน้อยกว่า 1.0 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร และเทสโทสเตอโรน (testosterone) น้อยกว่า 0.2 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร สำหรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) พบอยู่ในช่วง 4.9 – 5.4 และตรวจไม่พบการตกค้างของสารเคมี กำจัดศัตรูพืชทุกตัวอย่าง” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ฯ กล่าว         จากการศึกษาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าน้ำมะพร้าวมีแร่ธาตุและเกลือแร่ในปริมาณสูง ส่วนน้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตส และซูโครส ที่พบในน้ำมะพร้าวสด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยพบว่า น้ำมะพร้าวสดจะมีกลูโคสสูงกว่าน้ำตาลชนิดอื่น (ประมาณร้อยละ 50 ของน้ำตาลทั้งหมด) และปริมาณน้ำตาลจะขึ้นอยู่กับอายุของลูกมะพร้าว โดยมะพร้าวอ่อน จะมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่ามะพร้าวแก่ ส่วนน้ำมะพร้าวในภาชนะบรรจุปิดสนิทจะมีซูโครสสูง อาจเพราะมีการเติมน้ำตาลทรายในกระบวนการผลิตเพื่อปรุงแต่งรสชาติหรือเพิ่มความหวาน การบริโภคน้ำมะพร้าว 1 ผลหรือ 1 ขวด (ประมาณ 200 – 300 มิลลิลิตร) จะได้รับน้ำตาล 7-25 กรัม ซึ่งกรมอนามัยได้แนะนำว่า ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 32 กรัมต่อวัน ดังนั้น การบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 1 ผลต่อวัน จะช่วยในการรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดี         “น้ำมะพร้าวจัดเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ไม่เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคไตเสื่อม เพราะน้ำมะพร้าวจะไปกระตุ้นการขับปัสสาวะ ถ้าร่างกายขาดน้ำ คนที่เป็นโรคไตอาจจะหัวใจวายได้ และคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าร่างกายได้รับโพแทสเซียมมากเกินไป อาจสร้างปัญหาให้หัวใจ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม” นพ.ศุภกิจ กล่าว ศาลปกครองรับคำฟ้องมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กรณี กขค.         ศาลปกครองมีคำสั่งลงวันที่ 22 มีนาคม 2564 รับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอีก 36 องค์กรผู้บริโภค รวมถึงผู้บริโภคจากทั่วประเทศ กรณีคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) มีมติอนุมัติให้บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวล ลอปเม้นท์จำกัด ควบรวมกิจการกับ บริษัท เทสโก้ สโตร์ส จำกัด ที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย        โดยที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้พิจารณาโดยเร่งด่วน และสั่งให้ทำคำชี้แจง รวมถึงส่งเอกสารประกอบว่า​ หากไม่มีคำสั่งให้ชะลอหรือระงับตามคำสั่งทางปกครองในเหตุพิพาทไว้เป็นการชั่วคราวก่อน​นั้นจะเกิดความเสียหายและยากแก่การเยียวยาแก้ไขอย่างไร​         ทั้งนี้ ศาลได้เรียกบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และ บริษัท โลตัส สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัดเข้ามาเป็นคู่กรณีฝ่ายที่สาม โดยกำหนดให้บริษัท ซี.พี. ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัดเป็นผู้ร้องสอดที่ 1 และบริษัท โลตัส สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ร้องสอดที่ 2 (ซึ่ง บริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โลตัส สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564         ส่วนในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษานั้น ศาลขอให้ผู้ฟ้องจัดทำคำชี้แจง พร้อมเอกสารหลักฐานเพื่อยื่นต่อศาลภายใน 7 วัน หลังจากที่ได้รับหมาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 242 วิธีบรรเทาอาการร้อนใน

        อาการร้อนใน (Aphthous Ulcers) เป็นกันได้ทุกเพศวัย โดยอาการที่พบบ่อยคือ แผลในปาก (จุดขาวขอบแดงนูน) บริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม อาการร้อนใต้ลิ้นหรือในคอ ซึ่งเป็นอาการที่สร้างความรำคาญและรบกวนใจ ซึ่งสาเหตุแน่ชัดยังไม่สามารถระบุได้ อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยภายใน ได้แก่ พักผ่อนน้อย เครียด แพ้อาหารหรือสารเคมี พันธุกรรม ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง หรือปัจจัยจากภายนอก เช่น อากาศร้อน กินอาหารแสลง ดื่มน้ำไม่เพียงพอ         ร้อนในไม่ใช่อาการร้ายแรงมักหายเองได้ในระยะเวลาประมาณสองสัปดาห์ เว้นแต่อาการลุกลามควรรีบพบแพทย์ แม้อาการร้อนในหายเองได้ แต่ก็มีวิธีบรรเทาอาการเพื่อให้ไม่รบกวนกายใจ ดังนี้         การดูแลทั่วไป        -        เลี่ยงอาหารรสจัด        -        การทำความสะอาดฟันควรระวังไมให้กระทบแผล        -        เลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากที่รสเผ็ดร้อน ควรใช้แบบอ่อน        -        การดื่มน้ำ อาจใช้หลอดดูดแทนการดื่มเพื่อไม่ให้น้ำโดนแผล        -        การบ้วนน้ำเกลือวันละ 2-3 ครั้ง        -        ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ          การใช้ยา        -        ยาที่ใช้บรรเทาอาการร้อนในมีทั้งชนิดป้ายและรับประทาน ทั้งในรูปแบบยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพร ซึ่งสามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านยาได้ หรือการใช้น้ำยาบ้วนปากชนิดต้านแบคทีเรีย          อาหารและเครื่องดื่มที่แนะนำเพื่อบรรเทาอาการร้อนใน         1.มะระขี้นก มีสรรพคุณแก้ร้อนใน อาจรับประทานในรูปแบบปั่นผลสด หรือใช้แบบผลิตภัณฑ์สกัดเย็นซึ่งรับประทานได้ง่าย        2.ใบบัวบก เครื่องดื่มน้ำใบบัวบก อย่างไรก็ตามใบบัวบกเป็นพืชที่พบว่ามีการใช้สารเคมีเกษตรสูง ควรเลือกแบบที่มั่นใจว่าปลอดภัยหรือล้างให้สะอาด        3.รางจืด ดื่มน้ำต้มรางจืดหรือชารางจืด ช่วยแก้ร้อนในและช่วยถอนพิษเมาต่างๆ        4.เก๊กฮวย ช่วยแก้ร้อนในได้ แต่ไม่ควรชงหวาน และดื่มบ่อยเพราะมีฤทธิ์ขับลมและระบายอ่อนๆ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 241 กระแสต่างแดน

มือสะอาดหรือเปล่า        บริษัทท้อปโกลฟ (Top Glove Corp) ผู้ผลิตถุงมือยางทางการแพทย์รายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังถูกฟ้องร้องดำเนินคดีถึงสิบข้อหา โทษฐานไม่จัดหาที่อยู่อาศัยที่มีมาตรฐานให้กับแรงงานต่างชาติ ตามข้อกำหนดของกรมแรงงานมาเลเซียแต่ท้อปโกลฟซึ่งมีโรงงาน 41 แห่งในมาเลเซีย และมีคนงานกว่า 21,000 คน ปฏิเสธทุกข้อหา เรื่องนี้จึงต้องติดตามคำตัดสินกันอีกครั้งในปลายเดือนเมษายนหากพบว่ามีความผิดจริง บริษัทจะถูกปรับเป็นเงิน 50,000 ริงกิต ( 375,400 บาท) ต่อหนึ่งข้อหาในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทางการมาเลเซียได้เข้าตรวจสอบหอพักสำหรับคนงานต่างชาติในพื้นที่หลายแห่งของบริษัท หลังมีการระบาดของโควิด-19 ในโรงงานแห่งหนึ่งของบริษัทที่ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ กลุ่มก้อนดังกล่าวได้กลายเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ที่มีแรงงานต่างด้าวติดเชื้อมากกว่า 5,000 คน ลอนนี้ดีต่อใจ        เป็นเวลาหลายทศวรรษที่สาวๆ อิยิปต์ต้องดิ้นรนไปซาลอนหรือซื้อหาครีมยืดผมมาเปลี่ยนผมให้ตรงสวย “ดูดีมีคลาส” ตามมาตรฐานความงามแบบตะวันตก ในขณะที่หนุ่มๆ ก็ใช้วิธีไว้ผมทรงสั้นติดหนังศีรษะหลายคนเคยถูกครูทำโทษฐานไม่ดูแลตัวเองถ้าไปโรงเรียนด้วยทรงผมหยิกตามธรรมชาติ บ้างก็ไม่ได้รับคัดเลือกเข้าทำงาน หากไปสอบสัมภาษณ์ด้วยลอนผมที่แม่ให้มา เพราะสังคมมองว่าทรงแบบนั้น “ไม่เป็นมืออาชีพ”แต่เรื่องนี้กำลังจะเปลี่ยนไป หนุ่มสาวอิยิปต์วันนี้กล้าโชว์รอยสัก ตัดผมทรงขัดใจบุพการี และกล้าเดินอวดลอนผมตามท้องถนนในเมืองโดยไม่แคร์เสียงโห่ฮาด้วยพวกเขาตระหนักแล้วว่าการยืดผมส่งผลกระทบต่อทั้งเส้นผมและจิตใจ ในขณะที่ความร้อนหรือสารเคมีทำให้ผมแตกแห้งหลุดร่วง การไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองก็ทำให้พวกเขารู้สึกขาดอิสรภาพเช่นกัน   บรรดาคนดังของอิยิปต์เริ่มปรากฏตัวในเทศกาลหนังด้วยลอนผมธรรมชาติ แบบเดียวกับที่โมฮาเหม็ด ซาลาห์นักฟุตระดับโลกทำมาตลอดนั่นเอง ขอฉลากมีสี        นักวิทยาศาสตร์ 269 คน และสมาคมสุขภาพ 21 แห่ง ร่วมกันลงชื่อเรียกร้องให้สหภาพยุโรปนำระบบฉลากแบบ Nutri-Score ซึ่งเป็นการระบุข้อมูลโภชนาการด้วยตัวอักษร A B C D E พร้อมสีประจำตัว มาใช้เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ดีขึ้นศาสตราจารย์ Serge Hercberg ผู้ให้กำเนิดนูทรีสกอร์ ย้ำว่านี่คือระบบเดียวที่มีงานวิจัยรับรอง แต่กลับถูกลดความน่าเชื่อถือโดยการแทรกแซงทางการเมืองและการให้ข้อมูลเชิงลบผ่านสื่อโซเชียลโดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันอิตาลี กรีก และสเปน ไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ สิ่งที่พวกเขาต้องการคือฉลาก Nutinform ที่แสดงร้อยละของพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และเกลือ คล้ายการแสดงกำลังไฟในรูปแบตเตอรี ซึ่งยังไม่มีงานวิจัยรับรองปัจจุบันฉลาก Nutri-Score ใช้อยู่ในฝรั่งเศส เบลเยียม เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ และสเปน (ซึ่งรัฐบาลรับมาใช้ แต่ผู้ประกอบการไม่เห็นด้วย) ภายในปี 2022 สหภาพยุโรปต้องเลือกรูปแบบของฉลากโภชนาการสำหรับใช้กับทุกประเทศในกลุ่ม  ปวดเมือไรก็แวะมา        ฝรั่งเศสมีร้านยา 21,000 แห่ง ข้อมูลปี 2017 ระบุว่ามีร้านยา 33 แห่งต่อประชากร 100,000 คน (ค่าเฉลี่ยของทั้งยุโรปคือ 29)   ร้านยาที่มีสัญลักษณ์กากบาทสีเขียวเรืองรอง พร้อมป้ายบอกวัน เวลา และอุณหภูมิ มีให้เห็นอยู่ทั่วไป ที่มีมากขนาดนี้เพราะตามกฎหมายฝรั่งเศส คุณจะซื้อยาแก้ไอ แก้ไข้ แก้ปวด ลดน้ำมูก ได้จากร้านขายยาเท่านั้น แต่หลักๆ แล้วรายได้ของร้านยังมาจากการจัดยาตามใบสั่งแพทย์การสำรวจในปี 2019 พบว่าร้อยละ 90 ของการพบแพทย์จบลงด้วยการได้ใบสั่งยา ซึ่งมียาไม่ต่ำกว่า 3 รายการในนั้น รายงานบอกว่าคุณหมอเองก็ถูกกดดันทั้งจากตัวแทนบริษัทยาและคนไข้ (1 ใน 5 ของคนไข้เรียกร้องให้หมอจ่ายยา) ซึ่งไม่วิตกเรื่องค่าใช้จ่ายเพราะเบิกจากรัฐได้พวกเขาคุ้นเคยและใช้ประโยชน์จากร้านขายยาเต็มที่ เภสัชกรประจำร้านนอกจากจะจ่ายยาแล้ว ยังให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ รวมถึงฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี หรือแม้แต่วัคซีนโควิดให้ลูกค้าด้วยใครเข้าป่าไปเก็บเห็ดมาแล้วไม่แน่ใจว่ากินได้หรือไม่ ก็เก็บใส่ถุงไปให้เภสัชกรเขาช่วยดูได้   เสียงจากเบื้องบน        Korea Environment Corporation เปิดเผยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่าในปี 2020 มีเหตุร้องเรียนเพื่อนบ้านชั้นบนถึง 42,250 ครั้ง เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 60 เพราะโรคระบาดทำให้คนต้องอยู่บ้านมากขึ้น  ปัญหาส่วนใหญ่มาจากเสียงกระทืบพื้น (ร้อยละ 61) ตามด้วยเสียงลากเฟอร์นิเจอร์ เสียงค้อนทุบผนัง เสียงปิดประตู และเสียงเพลงที่ดังเกินไปการตอบโต้กันระหว่างเพื่อนบ้าน “ต่างชั้น” นอกจากการใช้เสียง เช่น บางคนลงทุนซื้อลำโพงใหญ่ๆ มาเปิดเสียงพุ่งใส่ชั้นบนแล้ว บางรายถึงขั้นทำร้ายร่างกายหรือฆาตกรรมเพื่อนบ้านด้วย  ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าการได้ยินเสียงรบกวนอย่างต่อเนื่องยาวนานอาจทำให้เป็นโรคนอนไม่หลับหรือภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 60 ของประชากรเกาหลี 50 ล้านคนอาศัยในอพาร์ตเมนต์ แต่กฎหมายที่กำหนดให้พื้นห้องมีความหนาอย่างต่ำ 21 เซนติเมตรนั้นเพิ่งจะประกาศใช้เมื่อปี 2005 ตึกที่สร้างก่อนหน้านั้นจึงมีพื้นหนาเพียง 13.5 เซนติเมตร และไม่สามารถลดเสียงรบกวนได้         

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 241 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์รักษาสิวเฉพาะที่ (ยาแต้มสิว)

                        ‘สิว’ เป็นปัญหาผิวที่กวนใจใครหลายคน ยิ่งในช่วงนี้ที่มีทั้งมลพิษจากฝุ่น PM 2.5 และโรคโควิด-19 ระบาด ผู้คนจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยกันแทบจะตลอดเวลา ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้ผิวหน้าเกิดสิวขึ้นได้จึงไม่แปลกใจเลยที่จะเห็น ‘ยาแต้มสิว’หลายยี่ห้อหลากสรรพคุณละลานตาอยู่บนชั้นขายเวชสำอางทั้งหลาย ชูจุดขายตามกลยุทธ์การตลาดแตกต่างกันไป ผู้บริโภคจึงควรใส่ใจในการเลือกใช้ยาแต้มสิวมารักษาให้ได้ผล โดยไม่ให้เกิดปัญหาบานปลายเข้าข่ายหนีเสือปะจระเข้         เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์รักษาสิวเฉพาะที่(ยาแต้มสิว)  จำนวน 10 ตัวอย่าง ในช่วงเดือนกันยายน 2563 - มกราคม 2564 เพื่อสำรวจฉลากยาแต้มสิวเหล่านี้ว่ามีสารเคมีหรือส่วนผสมที่ควรระวังหรือไม่ ได้แก่         พาราเบน (Paraben) และ เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน (Methylisothiazolinon : MIT) เป็นสารกันเสียที่อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองและส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ปัจจุบัน อย.ระบุให้ใช้ได้ตามปริมาณและเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น        แอลกอฮอล์และน้ำหอม อาจมีผลทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้           ผลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์รักษาสิวเฉพาะที่(ยาแต้มสิว)        พบว่า ยี่ห้อ มิซึมิ เปปไทด์ แอคเน่ เจล และสมูทอี แอคเน่ ไฮโดรเจน พลัส ไม่มีสารเคมีหรือส่วนผสมที่ควรระวังในการแสดงฉลาก มี 5 ตัวอย่างระบุว่ามี พาราเบน , มี 1 ตัวอย่างระบุว่ามี เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน , มี 6 ตัวอย่างระบุว่ามี แอลกอฮอล์ , มี 4 ตัวอย่างระบุว่ามี น้ำหอม         ข้อสังเกต        - โอลด์ร๊อค แอนตี้ แอคเน่ สปอต เจล พลัส แม้บนฉลากบอกว่าไม่มีแอลกอฮอล์ แต่ในส่วนประกอบมี Benzyl alcohol        - จากทั้งหมด 10 ตัวอย่าง มี จุฬาเฮิร์บ แมริโกลด์ แอคเน่ เจล ตัวอย่างเดียวที่ทาแล้วต้องล้างออก เพราะมีส่วนผสมของ MIT ซึ่งเป็นสารกันเสียที่กำหนดให้ใช้ได้ในเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ต้องล้างออกเท่านั้น        - มี 9 ตัวอย่างอยู่ในรูปของเจล ทั้งนี้เพราะเจลมีเนื้อสัมผัสบางเบา ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดี และไม่มีน้ำมัน         - มี 4 ตัวอย่าง ที่ระบุถึงระยะเห็นผลสิวยุบไว้ คือ มิซึมิ เปปไทด์ แอคเน่ เจล (3 วัน) สมูทอี แอคเน่ ไฮโดรเจน พลัส (3 วัน) โปรวาเมด แอคเน่ สปอต เจล (12 ชั่วโมง) และ เมนโทลาทั่ม แอคเน่ส์ ซีลลิ่ง เจล (3วัน)         - ยี่ห้อ ดร.สมชายแอคเน่ สปอตทัช เจล ระบุว่าเป็นสูตรเร่งด่วน และเดอร์มาแองเจิ้ล แอคเน่ แคร์ อินเท็นซีฟ เจล ระบุว่าทำให้สิวยุบไว แต่ทั้งคู่ไม่ได้บอกระยะเวลาเห็นผลไว้           ข้อแนะนำจากฉลาดซื้อ        การเลือกยาแต้มสิวมาใช้ผลัดสิวหลุด หยุดสิวโผล่ให้เห็นผลผู้บริโภคต้องรู้ก่อนว่าตัวเองเป็นสิวแบบไหน โดยปัญหาสิวส่วนใหญ่เกิดจากความมันส่วนเกินบนใบหน้าไปอุดตันรูขุมขน จนเกิดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบตามมา ลักษณะของสิวมี 2 แบบหลักๆ คือ        1. สิวอุดตัน กดแล้วไม่เจ็บ ได้แก่ สิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวเสี้ยน รักษาโดยกำจัดความมันและผลัดเซลล์ผิว        2. สิวอักเสบ มักจะบวมแดง กดแล้วเจ็บ เกิดจากการติดเชื้อ P.acnes หรือเชื้อโรคอื่นๆ รักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาภายนอก          ผู้บริโภคควรเลือกใช้ยาแต้มสิวให้เหมาะกับลักษณะและความรุนแรงของสิว เพื่อให้ได้ผลและลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ด้วย เพราะสารสำคัญในยาแต้มสิวมีหลายชนิดและออกฤทธิ์แตกต่างกัน         1.  สารออกฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิว เช่น กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid หรือ BHA) กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid หรือ AHA) และกรดเรทิโนอิก        2. สารออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย P.acnes เช่น ยาปฏิชีวนะคลินดามัยซิน (clindamycin) มักใช้คู่กับเบนโซอิน เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา, Oligopeptide-10 , Tea Tree Oil  กำมะถัน(sulfur) สารสกัดเปลือกมังคุด และสารสกัดดอกดาวเรือง        3. สารออกฤทธิ์ลดการระคายเคือง จะช่วยทำให้อาการปวดระบม บวม แดง ของสิวอักเสบดีขึ้น เช่น อัลลานโทอิน (Allantoin) สารสกัดจากดอกคาโมมายล์ (Chamomile และBisabolol) และว่านหางจระเข้         การใช้ยาแต้มสิว เป็นวิธีรักษาที่เหมาะกับสิวไม่อักเสบไปจนถึงอักเสบเล็กน้อย ผู้บริโภคควรอ่านวิธีใช้และคำเตือนบนฉลากของแต่ละผลิตภัณฑ์ให้เข้าใจก่อนใช้เสมอ แต่หากเป็นสิวอักเสบรุนแรงควรไปรักษากับหมอผิวหนังโดยตรงดีกว่า เช่นเดียวกันถ้าใช้ยาแต้มสิวต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์แล้วยังไม่เห็นผลว่าสิวยุบลง หรือสิวกลับเห่ออักเสบมากกว่าเดิม ควรหยุดใช้ แล้วไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรักษาทันการณ์          ระวัง! สำหรับคนท้องหรือแม่ที่ให้นมลูกอยู่ หากมีปัญหาสิว ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผิวหนังก่อน อย่าซื้อยาแต้มสิวมาใช้เองเด็ดขาด เพราะอาจมีสารออกฤทธิ์ที่เป็นอันตรายได้           อย่างไรก็ตาม หากไม่อยากกลับมาเป็นสิวซ้ำอีก ผู้บริโภคควรลดพฤติกรรมทำร้ายผิวต่างๆ และหันมาดูแลสุขภาพโดยรวม เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวและเสริมสร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคให้ร่ายกาย เช่น ไม่นอนดึก พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ ลดอาหารมันๆ กินผักและผลไม้เป็นประจำ รวมทั้งการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นต้น  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 241 ใบยาสูบสู้โควิด-19

        การวิเคราะห์เพื่อหาว่ามีสารเคมีใดอยู่ในตัวอย่างที่อาจเป็นอาหาร เลือด น้ำทิ้งจากสิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆ นั้นมีหลายวิธี โดยวิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือ การประยุกต์ใช้แอนติบอดี (antibody) มาช่วยในการวิเคราะห์ เพราะวิธีการซึ่งเรียกแบบกว้าง ๆ ว่า immunoassay นี้มีความแม่นยำ ความจำเพาะสูง เร็วและเมื่อนำมาใช้กันแพร่หลายพอจะทำให้ต้นทุนต่ำกว่าการวิเคราะห์ด้วยวิธีอื่น         สำหรับคนไทยในยุคที่โควิด-19 เคาะอยู่ที่หน้าประตูบ้านนี้ บางคนคงพอรู้บ้างว่า แอนติบอดี คือโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้เชื้อโรคต่างๆ ยับยั้งการรุกรานไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เหนือไปกว่านั้นบางคนอาจเคยรู้มาว่า  แอนติบอดีในร่างกายอาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองสารเคมีหลายประเภท เช่น สารเจือปนในอาหาร สารเคมีทางการเกษตร และอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งที่สารเคมีเหล่านี้หลายชนิดไม่ได้มีความเป็นโปรตีน จึงไม่น่ามีคุณสมบัติของการเป็นแอนติเจน (antigenicity) ที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีได้         แต่ปรากฏว่าหลายคนที่ได้รับสารเคมีเหล่านี้กลับมีโอกาสเกิดอาการแพ้ (ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับแอนติบอดีอย่างแน่นอน) ตัวอย่างเช่น บางคนแพ้สารประกอบซัลไฟต์ ซึ่งตกค้างจากกระบวนการผลิตอาหารทางอุตสาหกรรม (จะเห็นว่าอาหารสำเร็จรูปที่เป็นผลิตภัณฑ์จากยุโรปมักมีคำเตือนบนฉลากประมาณว่า อาหารอาจมีสารกลุ่มซัลไฟต์ เพื่อเตือนคนที่แพ้สารนี้)  บางคนแพ้สารกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนบนผักและผลไม้ บางคนแพ้ฝุ่นละอองในอากาศ บางคนแพ้สีย้อมผม เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้มีคำอธิบายทางวิชาการว่า สารเคมีหลายชนิดนั้นมีคุณสมบัติที่เรียกว่า แฮพเทน (hapten)         แฮพเทน เป็นคุณสมบัติของสารเคมีที่สามารถเชื่อมตัวกับโปรตีนใดๆ ในน้ำเลือด แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสามมิติ (conformation) ของโปรตีนนั้นๆ ไปจากเดิม จนเซลล์ในระบบภูมิต้านทานของร่างกายจำไม่ได้คิดว่าเป็นโปรตีนแปลกปลอมจึงเริ่มกระบวนการต่อต้านเพื่อทำลายโปรตีนนั้น ซึ่งมักเริ่มต้นด้วยการที่เม็ดเลือดขาวชนิดมาโครฟลาจ (macrophage) เข้าทำลายในลักษณะเสมือนการฉีกโปรตีนโมเลกุลนั้นเป็นชิ้นๆ โดยบางชิ้นมีสารที่เป็นแฮพเทนติดอยู่ด้วย จากนั้นเม็ดเลือดขาวที่เป็นตัวช่วยในการกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีจะเข้าสำรวจว่า โปรตีนชิ้นใดมีศักยภาพเป็นแอนติเจน เพื่อเริ่มกระบวนการกระตุ้นให้เซลล์ที่มีหน้าที่สร้างแอนติบอดีเข้าหาโปรตีนชิ้นเล็กชิ้นน้อยแต่ละชิ้น ซึ่งรวมถึงชิ้นโปรตีนที่มีแฮพเทนติดอยู่ ดังนั้นแอนติบอดีที่ถูกสร้างขึ้นมาบางส่วน จึงสามารถจับตัวกับสารที่มีคุณสบบัติเป็นแฮพเทนได้         ความรู้เกี่ยวกับความสามารถเป็นแฮพเทนของสารเคมีบางชนิดช่วยให้นักวิทยาศาสตร์นำมาใช้ในการผลิตแอนติบอดีต่อสารเคมีที่ไม่ใช่โปรตีน เช่น สารพิษจากเชื้อรา สารเคมีทางการเกษตร สารเจือปนในอาหาร และอื่น เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ที่ง่ายและรวดเร็วขึ้นได้         ส่วนกระบวนการผลิตให้ได้สารแอนติบอดีต่อสารเคมีใดๆ ในปริมาณมากนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาคือ cell fusion (โดยใช้สารเคมีเช่น polyethylene glycol) เพื่อควบรวมเซลล์ของสัตว์ที่สร้างแอนติบอดี เช่น เซลล์จากม้ามของสัตว์ที่ถูกกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีที่จำเพาะกับสารเคมีที่สนใจ เข้ากับเซลล์มะเร็งบางชนิด (ที่นิยมกันคือ มะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดพลาสมาเซลล์ที่เปลี่ยนสภาพเป็นเซลล์มะเร็ง) ได้เซลล์ใหม่ที่สร้างแอนติบอดีที่ต้องการและมีการแบ่งตัวไม่หยุด (กระบวนการนี้ถูกเรียกว่า การผลิตโมโนคลอนอลแอนติบอดี)  จึงทำให้ได้แอนติบอดีในปริมาณมากจนคุ้มทุนเกิดกำไรในทางธุรกิจตรวจวัดหาปริมาณสารเคมีที่สนใจ การสร้างแอนติบอดีจากใบยาสูบ         มาถึงศตวรรษที่ 21 ความก้าวหน้าทางชีวโมเลกุลในปัจจุบันได้ก่อให้เกิดการผลิตแอนติบอดีแนวใหม่ที่อาศัยเทคนิคการตัดแต่งพันธุกรรมของพืช ทำให้ได้พืชหลายชนิดที่ผลิตสารแอนติบอดีจำเพาะต่อสารเคมีต่างๆ ตลอดไปจนถึงเชื้อโรคต่างๆ ในลักษณะของโมโนคลอนอลแอนติบอดี ซึ่งในช่วง พ.ศ. 2563-2564 ได้มีการพูดถึงการได้มาซึ่งแอนติบอดีจากใบยาสูบที่สามารถต้านเชื้อ SARS-CoV-2         ข่าวจากหลายสื่อได้กล่าวถึงนวตกรรมหนึ่งในการผลิด rapid test เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อไวรัส SARS-CoV-2 นั้นระบุว่า มีการใช้แอนติบอดีมาตรฐานที่ผลิตได้จากใบยาสูบออสเตรเลีย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nicotiana benthamiana (มีญาติสนิทเป็นต้นยาสูบคือ  Nicotiana tabacum และ Nicotiana rustica ที่ใช้ในการผลิตบุหรี่ในปัจจุบัน) ซึ่งตั้งแต่อดีตกาลนั้นชนพื้นเมืองออสเตรเลีย (Aborigines) ใช้เป็นสารกระตุ้นให้มีชีวิตชีวา         ความที่พืชในตระกูลของยาสูบนั้นมีศัตรูเป็นไวรัสหลายชนิด จึงเหมาะในการศึกษาที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะเพื่อพาหน่วยพันธุกรรมที่ต้องการเข้าสู่เซลล์ใบยาสูบ ที่สำคัญคือ ยาสูบสายพันธุ์พื้นเมืองของออสเตรเลีย (ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการผลิตแอนติบอดี) นั้นเป็นสายพันธุ์ที่ยังคงมียีน Rdr1 (RNA-dependent RNA polymerase 1) อยู่ จึงทำให้ง่ายต่อการที่ไวรัสชนิด RNA virus เข้ารุกราน         มีบทความวิจัยหนึ่งของคนไทยเรื่อง Monoclonal Antibodies B38 and H4 Produced in Nicotiana benthamiana Neutralize SARS-CoV-2 in vitro ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Plant Science เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020 ได้อธิบายถึงความสำเร็จในการใช้ใบยาสูบสายพันธุ์ของออสเตรเลียผลิตโมโนคลอนอลแอนติบอดีของมนุษย์ 2 ชนิดคือ B38 และ H4 (เป็นรหัสเรียกชื่อของแอนติบอดีสองชนิดต่อโปรตีนที่เป็นหนามของไวรัส SARS-CoV-2) โดยในบทความนั้นได้กล่าวถึงการนำข้อมูลการเรียงตัวของกรดอะมิโนในโปรตีน B38 และ H4 ซึ่งถูกวิเคราะห์และเผยแพร่เป็นบทความวิจัยเรื่อง A noncompeting pair of human neutralizing antibodies block COVID-19 virus binding to its receptor ACE2 ใน www.sciencemag.org เมื่อ 13 พฤษภาคม 2020 โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนซึ่งนำทีมโดย Yan Wu (สังกัด Capital Medical University, Beijing, China) มาใช้ประโยชน์         คณะวิจัยชาวไทยที่ตีพิมพ์บทความดังกล่าวในวารสาร Frontiers in Plant Science ได้ใช้เทคนิคการตัดแต่งพันธุกรรมซึ่งอาศัย geminiviral vector (เป็นไวรัสสาเหตุของโรคพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจซึ่งมีกรดนิวคลีอิคเป็นแบบดีเอ็นเอสายเดี่ยว) พายีนที่สนใจในรูป DNA plasmid (สังเคราะห์โดย บริษัท Genewiz ในเมือง Suzhou ประเทศจีน ให้มีลำดับนิวคลีโอไทด์ที่อ่านผลภายในเซลล์ที่มีชีวิตแล้วได้โปรตีนที่มีลำดับกรดอะมิโนตรงกับแอนติบอดีสองชนิดคือ B38 และ H4 ตามที่ Yan Wu และคณะศึกษาไว้) เข้าสู่เซลล์ใบยาสูบ         จากนั้นนักวิจัยได้นำเซลล์ใบยาสูบที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมแล้วไปเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นด้วยวิธีการทางอณูชีววิทยา ก่อนนำไปปลูกเป็นต้นยาสูบในโรงเรือนแบบปิด จนได้ใบยามากพอสำหรับการนำไปบดให้ละเอียด แล้วแยกเอาโปรตีนออกมาโดยอาศัยวิธีการ affinity column chromatography ได้สารแอนติบอดี B38 และ H4 ที่บริสุทธิ์ ซึ่งถูกนำไปทำการศึกษาถึงความสามารถในการจับตัวกับไวรัส SARS-CoV-2 ที่แยกได้จากคนไข้ covid-19 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการรายงานถึงการผลิตแอนติบอดีจากพืชที่สามารถจับกับ receptor binding domain (หมายถึงหนามของไวรัส หรือ spike protein) ของ SARS-CoV-2 ในลักษณะที่เป็นการหยุดฤทธิ์ของไวรัสดังกล่าวสำเร็จ และรายงานต่ออีกว่า ได้กำลังศึกษาต่อในสัตว์ทดลองแล้ว         ในการใช้พืชผลิตแอนติบอดีเพื่อใช้ในการบำบัดโรคติดเชื้อใดๆ นั้น ปัจจุบันวงการวิทยาศาสตร์มีคำศัพท์ใหม่คำหนึ่งคือ pharming ซึ่งออกเสียงคล้าย farming มีความหมายว่า เป็นการทำการเกษตรที่ได้ผลผลิตเป็นยา โดยการอาศัยการตัดแต่งพันธุกรรมพืชใดพืชหนึ่งให้มีหน่วยพันธุกรรมเพิ่ม ที่เมื่อเซลล์ของพืชนั้นมีการอ่านรหัสพันธุกรรมที่ตัดแต่งใส่เพิ่มเข้าไปจะได้โปรตีนที่มีฤทธิ์เป็นแอนติบอดีต่อจุลชีพใดจุลชีพหนึ่ง         ในรัฐเคนตักกี สหรัฐอเมริกา มีโรงงานผลิตแอนติบอดี (มีชื่อการค้าคือ ZMabb) จากใบยาสูบเพื่อสู้โรคที่เกิดจาก Ebola virus และได้รับอนุมัติแบบฉุกเฉินจาก US.FDA แล้ว นอกจากนี้ในรัฐนอร์ทแคโรไลนาก็มีโรงงานหนึ่งที่กำลังผลิตแอนติบอดีสำหรับไข้หวัดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันได้ยื่นขออนุมัติฉุกเฉินในการใช้จาก US.FDA และตั้งเป้าจะผลิตแอนติบอดีสำหรับ ไวรัส AIDS, ไวรัส Herpes และอื่น ๆ ส่วนในเอเชียนั้นได้มีบริษัทผลิตยาแห่งหนึ่งในเกาหลีใต้ที่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาให้ใบยาสูบออสเตรเลียสามารถผลิตแอนติบอดีต่อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคปากเท้าเปื่อยในหมู         ประเด็นหนึ่งที่ควรได้รับความสนใจคือ แอนติบอดีนั้นไม่ว่ามาจากแหล่งใดก็ตามย่อมเป็นโปรตีน ซึ่งถ้าฉีดเข้าสู่คนหรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ เพียงครั้งเดียวแล้วบำบัดโรคได้เลย คงไม่ก่อปัญหาทางสุขภาพแต่อย่างใด แต่ถ้าต้องใช้การฉีดมากกว่าหนึ่งครั้งขึ้นไป ร่างกายย่อมสังเกตได้ว่ามันเป็นโปรตีนแปลกปลอม ซึ่งมีความเป็น แอนติเจน จึงต้องสร้างแอนติบอดีออกมาสู้ ดังนั้นการใช้แอนติบอดีบำบัดโรค จึงย่อมจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ ถ้ามีการฉีดมากกว่าหนึ่งครั้งขึ้นไป  มากกว่าการใช้วัคซีนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีของร่างกายเอง         ด้วยเหตุที่ข่าวเกี่ยวกับงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ใบยาสูบพันธุ์ออสเตรเลียผลิตเวชภัณฑ์ที่ไปต่อสู้กับ SARS-CoV-2 นั้น มีมากมายทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ ทางโทรทัศน์ และคลิปซึ่งหาดูได้ใน YouTube ประเด็นหนึ่งที่ก่อให้นักวิชาการหลายคนสับสนคือ ในการทำวิจัยต่างๆ นั้นมีความมุ่งหมายที่ต้องการผลิตวัคซีนหรือแอนติบอดีกันแน่         การใช้คำที่ต่างกันสับสนไปมาเกี่ยวกับการจัดการกับเชื้อ SARS-CoV-2 นั้นเกิดเช่นกันกับนักข่าวต่างชาติ เช่น คลิปเรื่อง “Korean researchers mass produce swine flu vaccine using tobacco leaves” ซึ่งปรากฏใน YouTube ที่เล่าถึงการใช้ใบยาสูบออสเตรเลียผลิตแอนติบอดีสำหรับสู้กับไวรัสก่อโรคปากเท้าเปื่อยในหมูที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้น นักข่าวในคลิปนี้มีความสับสนในการใช้คำว่าวัคซีนในงานวิจัย ซึ่งความจริงแล้วดูเหมือนเป็นการผลิตแอนติบอดี (neutralizing antibody) ซึ่งใช้เป็นยาเพื่อจัดการกับไวรัสในลักษณะที่เรียกว่า passive immunization ไม่ใช่ผลิตเป็นวัคซีน นอกจากนี้ถ้าท่านผู้อ่านได้ดูคลิปชื่อ Future jobs: Pharmer ใน YouTube ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2010 แล้ว จะพบว่าอาจารย์จากมหาวิทยาลัย St. George's Medical School ใน London ชื่อ Professor Julian Ma ได้แสดงวิธีการผลิตแอนติบอดีต่อโรคเอดส์จากใบยาสูบอย่างคร่าวๆ ในห้องปฏิบัติการ และใช้คำว่า แอนติบอดี อย่างชัดเจนตลอดคลิป         สิ่งที่เหนือกว่าในการใช้วัคซีนต่อการใช้แอนติบอดีเพื่อสู้โรคติดต่อนั้นคือ วัคซีนก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันครบทั้งระบบคือ T-cells ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ฆ่าสิ่งแปลกปลอม และ B-cells ชนิดที่ถูกพัฒนาให้สร้างแอนติบอดี เหนือจากนั้นที่สำคัญคือ จะเกิดเซลล์ความจำที่เรียกว่า memory cells ทั้ง T-cells และ B-cells เพื่อสู้กับเชื้อโรคที่ต้องการป้องกันอย่างรวดเร็วเมื่อร่างกายถูกโจมตีนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 239 กระแสต่างแดน

โรงเรียนปิด “โรงไฟฟ้า” เปิด               รัฐบาลญี่ปุ่นต้องปิดโรงเรียนประถมจำนวนมากเนื่องจากอัตราการเกิดที่ต่ำเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง จึงเกิดโจทย์ให้คิดกันว่าจะใช้ประโยชน์จากโรงเรียนปลดระวางเหล่านี้อย่างไร         จนกระทั่งบริษัท ELM Inc. ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เขาเสนอขอใช้พื้นที่ในสระว่ายน้ำของโรงเรียน (เพราะทักษะการว่ายน้ำถือเป็นสิ่งจำเป็น โรงเรียนประถมของญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงมีสระว่ายน้ำ) เป็นพื้นที่สำหรับแผงโซลาลอยน้ำ ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องกลัวปัญหาโอเวอร์ฮีทในวันที่ร้อนเกินไป ส่วนห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าที่อยู่ใกล้ๆ ก็ดัดแปลงเป็นห้องเก็บคอนเวอร์เตอร์         โรงเรียนแรก (จากทั้งหมด 15 โรง ในโครงการ) ที่เริ่มติดตั้งระบบดังกล่าว อยู่ในเขตมินามิซัตสึมะ ในจังหวัดคาโกชิมะ สระว่ายน้ำทั้งสองแห่งของโรงเรียน (สระ 25 เมตร และสระ 6 เมตร) ที่รองรับแผงโซลาเซลล์ได้รวมกัน 160 แผง จึงเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าปีละ 61,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่บริษัทจะขายให้กับ คิวชูอิเล็กทริคพาวเวอร์ ผู้ประกอบการด้านพลังงานในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นปั่นไม่ทันจีน         ว่ากันว่าในปี ค.ศ. 2030 ยอดขายจักรยานจะแซงยอดขายรถยนต์ ... อย่างน้อยๆ ก็ในยุโรป เนเธอร์แลนด์มีประชากร 17 ล้านคน แต่มีจักรยาน 22.1 ล้านคัน ในขณะที่ร้อยละ 52 ของผู้อยู่อาศัยในเมืองโคเปนเฮเกน ใช้จักรยานในการเดินทาง         ร้อยละ 90 ของจักรยานที่คนยุโรปใช้ ผลิตในประเทศจีน เมื่อจีนลดกำลังการผลิต/ปิดโรงงาน และการขนส่งทำได้ล่าช้า (เพราะคอนเทนเนอร์จะจัดส่งได้ก็ต่อเมื่อมันบรรจุสินค้าจนเต็มเท่านั้น) บวกกับความต้องการใช้จักรยานที่เพิ่มขึ้นในยุคที่โควิด-19 ระบาด ยุโรปจึงขาดแคลนจักรยาน         ความจริงยุโรปก็ผลิตจักรยานเองได้ เขาผลิตได้ถึง 2.7 ล้านคันในปี 2019 ผู้ผลิตรายใหญ่สามอันดับแรกได้แก่ โปรตุเกส อิตาลี และเยอรมนี แต่จักรยานเหล่านี้ราคาแพงกว่าจักรยานจีนซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า         คณะกรรมาธิการยุโรปกำลังทำการสอบสวนกรณีที่จีนส่งจักรยานไฟฟ้าเข้าไปตีตลาดในราคาต่ำ (เพราะได้รับการสนับสนุนต้นทุนจากรัฐบาล) จนอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุโรปไม่ต่ำกว่า 800 ราย  บ่อขยะของยุโรป        โปแลนด์รับขยะหลายพันตันในยุโรปเพื่อ “นำมารีไซเคิล” โดยร้อยละ 70 ของขยะเหล่านั้นมาจากเยอรมนี ที่เหลือเป็นขยะจากสหราชอาณาจักร อิตาลี และออสเตรีย         เกิดเหตุการณ์โป๊ะแตกเมื่อธุรกิจรับกำจัดขยะในโปแลนด์ถูกเปิดโปงว่า ไม่ได้รีไซเคิลขยะที่ได้มา หลักๆแล้วนำไปทิ้งรวมในบ่อขยะ ซ้ำร้ายบางทีก็เผาทิ้งเพื่อประหยัดต้นทุน ให้ชาวบ้านและสิ่งแวดล้อมแบกรับผลกระทบ           บริษัทเหล่านี้หาประโยชน์จากข้อตกลงของสหภาพยุโรปที่อนุญาตให้ “ขยะรีไซเคิล” เช่นกระดาษ หรือพลาสติก สามารถถูกส่งไปยังประเทศในกลุ่มโดยไม่ต้องรายงานตัวเลข เขาก็เลยให้ต้นทางจั่วหัวขยะสารพัดชนิดว่าเป็น “ขยะรีไซเคิล” ก่อนส่งมาที่โปแลนด์        รัฐบาลโปแลนด์ยังโดนวิจารณ์หนัก ที่อนุญาตให้เอกชนไปรับขยะจากประเทศอื่น ทั้งๆ ที่ขยะในบ้านตัวเองก็ยังจัดการไม่ได้ ไม่มีโรงงานรีไซเคิลมากพอ ไม่มีเทคโนโลยีการกำจัดที่ถูกต้อง ที่สำคัญคือไม่มีการกำกับดูแลหลังออกใบอนุญาตด้วย ปัญหาไม่มุ้งมิ้ง         เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เดนมาร์กสั่งปิดฟาร์มมิงค์ทั้งประเทศ (1,500 กว่าฟาร์ม) และสั่งประหารชีวิตมิงค์ทั้ง 17 ล้านตัว ตามด้วยการออกกฎห้ามการเลี้ยงมิงค์ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2021 หลังพบว่ามีตัวมิงค์ติดเชื้อโควิดชนิดที่กลายพันธุ์ ซึ่งอาจมีผลต่อการแพร่ระบาดและเป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการหาวิธีรักษาโรคโควิด-19         แต่คำสั่งนี้ผิดกฎหมายและกำลังมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนความผิดของรัฐบาล         อย่างไรก็ตามล่าสุดสภาเดนมาร์กมีมติอนุมัติเงินเยียวยา 1,600 ล้านยูโร (ประมาณ 58,000 ล้านบาท) ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงมิงค์และพนักงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ธุรกิจนี้ไม่ล้มละลายและสามารถเปิดดำเนินการได้ใหม่หลังสิ้นสุดการแบน         แน่นอนว่ามีคนไม่เห็นด้วยมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เชื่อว่าอุตสาหกรรมนี้ไม่ควรจะมีอยู่ในโลก จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องช่วย “ฟื้น” มันขึ้นมาอีก         เดนมาร์กเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกขนมิงค์รายใหญ่ที่สุดในโลกมันยังไม่สุก         คนอเมริกันคุ้นเคยกับอาหารแช่แข็งมานาน สถิติระบุว่าผู้คนไม่ต่ำกว่า 130 ล้านคนพึ่งพา “อาหารเย็นแช่แข็ง” แต่งานวิจัยล่าสุดโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) กลับพบว่าพวกเขาเตรียมอาหารกันอย่างไม่ถูกสุขลักษณะและมัก “การ์ดตก” ไม่ระมัดระวังเหมือนเตรียมอาหารดิบ           จากการสังเกตกลุ่มตัวอย่างที่มาประกอบอาหารแช่แข็งในครัวทดลอง จำนวน 403 คน เขาพบว่าร้อยละ 97 ไม่ล้างมือระหว่างประกอบอาหาร (อีกร้อยละ 3 ที่ล้าง ก็ทำได้ไม่ถูกต้อง) และคนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้อุณหภูมิอย่างน้อย 165 องศา ในการประกอบอาหารแช่แข็ง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้เพราะเชื้อโรคยังไม่ตาย         ยิ่งกว่านั้น ร้อยละ 61 ของคนที่เคยป่วยหรือมีคนในครอบครัวล้มป่วยเพราะอาหาร ก็ยังไม่ “เปลี่ยน” วิธีการเตรียมอาหารอีกด้วย         USDA แนะนำให้จัดการกับอาหารแช่แข็งเสมือนเราจัดการกับอาหารดิบไว้ก่อนเป็นดีที่สุด แม้ว่ามันจะดูเป็นสีน้ำตาล หรือมีรอยไหม้เหมือนผ่านการทำสุกแล้วก็ตาม   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 239 ทุกข์จากยา หรือยาทำให้ทุกข์

        วันที่ 4 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Side Event)ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในประเด็น"ประชาชนตื่นรู้ ร่วมมุ่งสู่ประเทศใช้ยาสมเหตผล (RDU country) วันนั้นมีการจัดนิทรรศการนำเสนอปัญหาการใช้ยาที่พบในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งหากมองภาพโดยรวมเราจะเห็นภาพของผู้ป่วยหรือประชาชนที่มีความทุกข์จากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง แต่เมื่อมองลึกลงไปอีกที ก็พบว่าบางทียาที่มีรูปแบบไม่เหมาะสมต่างหากที่อาจจะทำให้เกิดความทุกข์         ยาเหลือใช้มากมายมหาศาล เป็นปัญหาที่สะท้อนการใช้ยาอย่างฟุ่มเฟือยหรือไม่เหมาะสมอย่างมาก อาจจะเกิดจากคนไข้ไม่ยอมรับประทานยา หรือผู้สั่งจ่ายยาจ่ายยาให้เกินจำเป็น หรืออาจจะเกิดจากคนไข้บางคนร้องขอให้สั่งจ่ายให้ตนเอง         การตระเวณขายยาเร่ไปตามหมู่บ้าน เป็นอีกปัญหาที่ยังคงมีอยู่ในสังคม ในวันนั้นมีน้องเภสัชกร โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งทางภาคอิสาน นำยามาให้ดู ราคากระปุกละ 500 บาท มีคนนำมาเร่ขายให้กับผู้ป่วยในชุมชน ให้ซื้อเป็นชุดมีสามกระปุก ผู้ป่วยเสียเงินไป 1500 บาท สุดท้ายไม่กล้ารับประทาน จึงนำมาให้เภสัชกรดูอีกที         ยาชื่อพ้องมองคล้าย เช่น ยาสองชนิดที่มีชื่อและรูปแบบของภาชนะบรรจุที่คล้ายคลึงกันมาก ตัวหนึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อโรคกลุ่มเพนนิซิลิน อีกตัวหนึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อโรคกลุ่มซัลฟา ยาทั้งสองตัวก่อให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรงได้(กรณีแพ้ยา) การที่อนุญาตให้ยาสองชนิดนี้มีชื่อและรูปแบบของภาชนะบรรจุที่คล้ายกัน ย่อมเกิดความเสี่ยงอย่างสูงได้ หากคนที่แพ้ยาตัวหนึ่ง พลาดไปกินยาอีกตัวหนึ่งเพราะคิดว่าเป็นคนละตัวกัน         ขนาดบรรจุที่เอื้อต่อการกินกระปริบกระปรอย เช่น ยาฆ่าเชื้อโรค ที่จะต้องรับประทานติดต่อกันหลายวัน แต่กลับมียาบางชนิดผลิตโดยบรรจุในแผงละ 4 เม็ด ทำให้ผู้ป่วยบางคนไม่ได้รับประทานยาจนครบจำนวนวัน เพราะหยุดยาเองเมื่อรับประทานหมด 4 เม็ด         แอบแฝงโฆษณาบนฉลาก มียาหลายชนิดที่แอบใช้ข้อความ หรือรูปภาพบนฉลาก แฝงโฆษณา เช่น ตั้งชื่อกึ่งๆ ระบุสรรพคุณ หรือมีภาพที่สื่อไปในการโฆษณาสรรพคุณของยาแทรกบนฉลาก         จึงขอเชิญชวนให้ทุกคนตั้งคำถามก่อนจะรับยามาใช้ว่า ยานี้คือยาอะไร เราจำเป็นต้องใช้หรือไม่ หรือถ้าจำเป็นจะต้องใช้อย่างไร แล้วถามแพทย์ เภสัชกร หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกครั้งให้มั่นใจ และหากเจอยาแปลกๆ ขอให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อตรวจสอบโดยด่วน ขณะนี้ชมรมเภสัชชนบทร่วมกับเภสัชกรในส่วนภูมิภาค กำลังจะผนึกกำลังให้แก้ไขทะเบียนยาที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ให้หมดไปจากประเทศไทยเสียที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 238 รณรงค์ หยุดวงจร “ส้มอมพิษ” ตั้งแต่ต้นทาง

        เมื่อ 2 ธันวาคม 2563  ภาคี เครือข่ายกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอ็อกแฟมประเทศไทย (OXFAM) ชี้คนไทยบริโภคส้มอมพิษตลอดปี สารเคมีอันตรายตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  รณรงค์ภาคประชาชนร่วมเรียกร้องหยุดส้มอมพิษตั้งแต่ต้นทาง จัดกิจกรรม “หยุดส้มอมพิษ (Orange Spike)” กระตุ้นผู้บริโภคแสดงสิทธิให้ซูเปอร์มาร์เก็ตใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ติด QR Code  ส้มทุกประเภท         มร.จูเซปเป บูซินี (Mr.Giuseppe BUSINI) อัครราชทูตที่ปรึกษา-รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า การส่งเสริมความยั่งยืนด้านการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นหัวข้อสำคัญในนโยบายด้านอาหารของสหภาพยุโรป ทั้งนี้ กลยุทธ์จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Fork Strategy) ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของนโยบายจัดการภาวะโลกร้อนของสหภาพยุโรป หรือ European Green Deal ที่ได้นำมาใช้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีเป้าหมายในการส่งเสริมระบบการจัดการอาหารที่เป็นธรรม ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเราเชื่อว่า การลดความเสี่ยงและการลดปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันพืชเคมี ตลอดจนถึงปุ๋ยและยาปฏิชีวนะ และการเพิ่มพื้นที่การทำเกษตรออแกนิคนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง        นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ตัวแทนจากเครือข่ายกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) กล่าวว่า ส้มเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงและมีห่วงโซ่อุปทานขนาดใหญ่ อยู่คู่กับชีวิตคนไทยในทุกรูปแบบ แต่จากการตรวจสอบของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ไทยแพน (Thai-PAN) พบว่า ส้ม 1 ผล มีสารเคมีตกค้างมากถึง 55 ชนิด โดยเฉลี่ยถึง *0.364 มิลลิกรัม ซึ่งเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย (MRL) โดยสารเคมีตกค้างเป็นชนิดดูดซึมที่ไม่สามารถล้างออกได้ถึง 28 ชนิด อาทิ คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ส่งผลให้พิการแต่กำเนิดและภาวะเจริญพันธุ์เสื่อม, สารคาร์โบฟูราน (Carbofuran) เป็นพิษต่อเซลล์สมองและฮอร์โมนเพศ, สารอะเซตามิพริด (Acetamiprid) มีผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท เป็นต้น แม้ที่ผ่านมาจะมีการพูดถึงเรื่องสารพิษตกค้างมากมาย แต่จากการสุ่มตรวจส้มจากซูเปอร์มาร์เก็ต พบว่า 100% ของส้มที่นำมาตรวจมีการตกค้างของสารเคมีที่เกินกว่าปริมาณสูงสุดที่กฎหมายกำหนด แม้แต่ในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำที่อ้างว่ามีระบบตรวจสอบแล้วก็ตาม ทั้งที่เป็นสถานที่ค้าปลีกที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไว้วางใจในเรื่องของความสะอาดและปลอดภัย         นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ธรรมชาติของส้มจะให้ผลผลิตเพียงปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม ซึ่งถือเป็นช่วงที่ปลอดภัยที่สุดเพราะเป็นส้มในฤดูกาล แต่ด้วยอุปสงค์ของตลาดที่มีความต้องการส้มตลอดทั้งปี ทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีมากกว่าปกติเพื่อให้สามารถผลิตส้มได้ตามความต้องการของตลาด ตั้งแต่ระยะติดดอก ระยะติดผลตุ่มเท่าหัวไม้ขีด ช่วงลูกปิงปอง ช่วงเลี้ยงผิวสวยไปถึงช่วงเก็บผลผลิต โดยสารเคมีที่ใช้ตลอดช่วงอายุมักเป็นชนิดดูดซึม (Systemic) ซึ่งจะกระจายในลำต้นไปจนถึงเนื้อในของผลส้ม         อีกหนึ่งกลไกของตลาดที่ทำให้ส้มกลายเป็นผลไม้อันตรายคือค่านิยมในการเลือกซื้อส้มที่มีผลใหญ่ ผิวสวย เรียบเนียน สีทองแวววาว ทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตจึงต้องคัดเกรดส้มสวยเข้ามาจำหน่าย เพื่อให้ส้มมีผิวสวยตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช ถึง 52 ครั้งต่อปี หรือทุกสัปดาห์ ดังนั้นหนึ่งในวิธีที่จะหยุดวงจรส้มอมพิษได้ คือฝั่งผู้บริโภคเองก็ควรปรับเปลี่ยนทัศนคติในการเลือกบริโภค และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเพาะปลูกมากขึ้น อาทิ เลือกรับประทานส้มที่มีผิวลายเพราะเป็นส้มที่ได้รับสารเคมีในปริมาณที่น้อย รวมถึงการทานผลไม้ให้หลากหลายตามฤดูกาล เพื่อลดการใช้สารเคมี         นอกจากนี้ ผู้บริโภคเองก็ควรมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับส้มที่ซื้อผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างถูกต้อง เพียงพอ มีกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ ที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของส้ม กระบวนการผลิตส้มตลอดปีทั้งในและนอกฤดู รวมถึงกระบวนการตรวจสารเคมีตกค้างของซูเปอร์มาร์เก็ต  เพื่อแสดงถึงความจริงใจและห่วงใยในสวัสดิภาพของผู้บริโภค ซึ่งจากการสำรวจในปัจจุบันพบว่าระบบการตรวจสอบของซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ        ด้านนางสาวฐานิตา วงศ์ประเสริฐ เจ้าหน้าที่รณรงค์ องค์การอ็อกแฟมประเทศไทย (OXFAM) กล่าวว่า กิจกรรม “หยุดส้มอมพิษ” หรือ Orange Spike เป็นกิจกรรมภายใต้แคมเปญ “ผู้บริโภคที่รัก (Dear Consumers)” โดยมีเป้าหมายเพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักว่าส้มมีกระบวนการผลิตที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการตกค้างของสารเคมีซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว และร่วมเรียกร้องให้หยุดส้มพิษตั้งแต่ต้นทาง โดยเน้นการใช้กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพของซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเปรียบเสมือนตัวกลางในการเชื่อมโยงผู้บริโภคและผู้ผลิต และใช้กลไกข้างต้นกระตุ้นให้ผู้ผลิตที่ปลูกส้มและผลิตอาหารอื่น ๆ มีกระบวนการในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยขึ้น         กิจกรรม “หยุดส้มอมพิษ” ดำเนินการโดยภาคี ซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และองค์การอ็อกแฟมประเทศไทย (OXFAM) โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสหภาพยุโรป ภายใต้ SWITCH Asia II Programme และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสวีเดน (Sida) ร่วมแสดงสิทธิของผู้บริโภคเรียกร้องให้ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ อาทิ แม็คโคร, บิ๊กซี, เทสโก้ โลตัส และ ท็อปส์ ให้หยุดขายส้มอมพิษ ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมลงนามผ่านทาง  www.dearconsumers.com/th/petition เพื่อเรียกร้องให้ซูเปอร์มาร์เก็ตมีการตรวจสอบแหล่งที่มาของส้มที่นำมาจำหน่ายผ่าน QR Code และเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสวนส้ม วิธีปลูกส้ม รายการสารเคมีที่ใช้ และกระบวนการคัดกรองของซูเปอร์มาร์เก็ตต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังคาดหวังให้ภาครัฐมีมาตรการควบคุมปริมาณสารเคมีในผลิตภัณฑ์ส้มทุกประเภท         ร่วมกันลงนามหยุดส้มอมพิษในแคมเปญ “ผู้บริโภคที่รัก (Dear Consumers)” ได้ที่  www.dearconsumers.com/th/petition ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ทาง facebook.com/DearConsumers (เพจ ผู้บริโภคที่รัก)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 237 จับพิรุธ ตระเวนซื้อยาแก้แพ้ แก้ไอ

        วัยรุ่นยุคนี้มักมีพฤติกรรมแปลกๆ เพื่อโชว์ให้คนสนใจ บางครั้งกลับทำให้เกิดอันตรายกับตัวเองดังกรณีล่าสุดที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต้องออกมาเตือนวัยรุ่นว่า อย่าลอกเลียนแบบการทำ Benadryl challenge เด็ดขาด หลังพบรายงานผู้เสียชีวิตจากการเข้าร่วมทำไวรัลดังกล่าวผ่านแอพพลิเคชั่น TIKTOK เพราะยาเบนาดริล (Benadryl) แม้จะเป็นยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษา แต่หากรับประทานเกินขนาด อาจเกิดอาการข้างเคียงจนถึงแก่ชีวิตได้         ยาเบนาดริล (Benadryl) มีชื่อสามัญทางยาคือ ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เป็นยาแก้แพ้ที่ใช้ในการบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนบนและอาการหวัด เช่น น้ำมูกไหลและจาม ในแง่กฎหมายจัดเป็นยาอันตรายที่ต้องสั่งจ่ายยาโดยแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น หากรับประทานเกินขนาด อาจเกิดความผิดปกติกับหัวใจทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง หัวใจหยุดเต้นและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้         ในประเทศไทยมีการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่มีไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) หลายตำรับ ทั้งยาน้ำ ยาเม็ด และยาแคปซูล มีชื่อการค้าต่างๆ มากมาย  ร้านขายยาที่จ่ายยานี้ให้กับผู้ป่วยจะต้องจัดทำบัญชีการขายยาเพื่อป้องกันการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด         จากการลงพื้นที่ตรวจสอบตามร้านขายยาและข้อมูลในชุมชนพบว่า วัยรุ่นมักจะตระเวณมาขอซื้อยานี้ตามร้านต่างๆ ทั้งจากร้านยาหรือร้านขายของชำบางแห่งที่แอบลักลอบนำมาขาย ในอดีตวัยรุ่นที่มาซื้อยาเหล่านี้ เราจะสังเกตได้ง่าย โดยดูจากท่าทีและพฤติกรรมของพวกเขาที่แสดงออกอย่างชัดเจน แต่เมื่อทางการเข้มงวดมากขึ้นก็เลี่ยงหาวิธีต่างๆ มาซื้อ เช่น จ้างผู้ใหญ่มาซื้อโดยอ้างว่าจะนำไปใช้กับบุตรหลาน เคยมีข้อมูลว่าบางครั้งมีการจ้างคนแต่งกายเป็นพระสงฆ์หรือผู้สูงอายุมาขอซื้อ อ้างว่ารับประทานประจำ ล่าสุดมีการจ้างเด็กวัยรุ่นที่ท่าทางสุภาพเรียบร้อยมาขอซื้อยาเหล่านี้         วิธีง่ายๆ ที่จะจับพิรุธคือ เมื่อคนกลุ่มนี้เข้ามาในร้านยามักจะคอยสอดส่ายสายตา กวาดตามองยาตามชั้นวางยาพยายามเพ่งไปบริเวณที่มียาน้ำ และเมื่อจะขอซื้อก็มักจะเอ่ยปากขอซื้อยาโดยระบุชื่อการค้าของยาพวกนี้ที่วัยรุ่นนิยมแทนที่จะบอกอาการเจ็บป่วยไม่สบาย  หรือบางคนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่กลับจะซื้อแต่ยาน้ำเชื่อมและมักจะวนมาขอซื้อบ่อยๆ จนมีพิรุธว่าทำไมอาการป่วยไม่หายสักที และทำไมรับประทานยาหมดก่อนกำหนดตามปริมาณที่ได้รับไป         หากใครเจอพฤติกรรมเหล่านี้ หรือเจอร้านขายยาที่ไม่เข้มงวดปล่อยปละละเลยในการขายยาอย่างไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ช่วยไปกระซิบเจ้าหน้าที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้ลงไปตรวจสอบด้วยนะครับ เพื่อคุ้มครองให้บุตรหลานเราปลอดภัยต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 236 ผลทดสอบยาปฏิชีวนะในปลาทับทิมและเนื้อไก่ชำแหละ

        “ในเรื่องอาหารและการตกค้างของยาปฏิชีวนะ เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภคอย่างน้อยสามประเด็น คือ เรื่องข้อมูลในการเลือก เรื่องความปลอดภัย และเรื่องบริโภคศึกษา”          ทุกปีเพื่อเป็นการเฝ้าระวังอาหารที่คนไทยบริโภค ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตกค้างของยาปฏิชีวนะ ซึ่งถูกนำมาใช้ในภาคการผลิต นิตยสารฉลาดซื้อได้นำเสนอผลทดสอบย้อนหลังไปอย่างน้อยในสามครั้ง ได้แก่ การทดสอบการตกค้างของยาปฏิชีวนะในอาหารฟาสต์ฟู้ด (ฉบับ 188  เดือนตุลาคม 2559 ) การตกค้างของยาปฏิชีวนะในเนื้อหมู (ฉบับ 193 เดือนมีนาคม 2560) การตกค้างของยาปฏิชีวนะในอกไก่และตับไก่สด (ฉบับ 209  เดือนกรกฎาคม 2561)         ในเดือนตุลาคม 2563 นี้ ฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงสุ่มเก็บตัวอย่าง ปลาทับทิม ซึ่งเป็นปลายอดนิยมของไทยและมีการเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลาย ซึ่งพบว่าส่วนหนึ่งของการดูแลปลาทับทิมจะมีการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย เราจึงสุ่มเก็บปลาทับทิมจากตลาดในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 11 แห่ง ตลาดและกระชังปลาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง จำนวน 4 แห่ง รวมเป็นจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 15 ตัวอย่าง ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อหาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ ตามตารางที่ 1         และเนื่องจากข้อเสนอของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค โซนภาคกลาง ที่มีข้อสงสัยต่อเนื้อไก่ซอยหรือไก่ที่ชำแหละขายเป็นส่วนๆ (ปีก น่อง สะโพก ฯลฯ) ว่าอาจมีการตกค้างของยาปฏิชีวนะในเนื้อไก่เหล่านี้ นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังฯ จึงสนับสนุนให้เกิดข้อพิสูจน์ดังกล่าว โดยร่วมมือกับอาสาสมัครของเครือข่ายผู้บริโภค โซนภาคกลางเก็บตัวอย่างไก่ซอย จำนวน  10 ตัวอย่างในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อตรวจหาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ ตามตารางที่ 2ผลทดสอบ        การตกค้างของยาปฏิชีวนะในปลาทับทิม         จากจำนวนตัวอย่าง 15 ตัวอย่าง 14 ตัวอย่าง ไม่พบการตกค้างของยาปฏิชีวนะที่ส่งตรวจ มีเพียง 1 ตัวอย่าง จากปลาทับทิมที่ซื้อจากตลาดคลองเตย พบ ยา Oxytetracycline ในปริมาณน้อยกว่า 5.00 ไมโครกรัม/กิโลกรัม        ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้างเพื่อใช้ควบคุมปริมาณการตกค้างของสารใดๆ ที่ถูกใช้กับสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ตามบัญชีแนบท้ายของประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดให้พบปริมาณการตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit, MRL) ของยาในกลุ่มต่างๆ Tetracycline (เตตราไซคลีน) ในปลาส่วนของกล้ามเนื้อ ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม         หมายเหตุ เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เดือนตุลาคม 2563 / ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น        การตกค้างของยาปฏิชีวนะในเนื้อไก่ชำแหละ        จากจำนวนตัวอย่าง 10 ตัวอย่าง 9 ตัวอย่าง ไม่พบการตกค้างของยาปฏิชีวนะที่ส่งตรวจ  มี 1 ตัวอย่าง จากเนื้อไก่ที่ซื้อจากตลาดเจ้าพรหม (รับจากโรงงานตลาดเจ้าพรหม) พบยา Enrofloxacin (Endrofloxacin) ในปริมาณ 0.66 ไมโครกรัม/กิโลกรัม        ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้างเพื่อใช้ควบคุมปริมาณการตกค้างของสารใดๆ ที่ถูกใช้กับสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ตามบัญชีแนบท้ายของประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดให้พบปริมาณการตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit, MRL) ของยาในกลุ่มต่างๆ เช่น Tetracycline (เตตราไซคลีน) ในสัตว์ปีก เช่น นก ไก่ ไก่งวง เป็ด ห่าน ไก่ต๊อก ในส่วนของกล้ามเนื้อ ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม เป็นต้น         อย่างไรก็ตามจากผลการตรวจวิเคราะห์พบยาเอนโรฟลอคซาซิน จำนวน 1 ตัวอย่าง ซึ่งไม่ได้เป็นรายการยาในบัญชีแนบท้ายประกาศ แม้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้ใช้ยานี้ได้แต่ต้องไม่พบการตกค้างเลย อาจถือเป็นความผิดตามมาตรา 60 โทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ของ พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522         หมายเหตุ เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เดือนตุลาคม 2563 / ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 236 รับมือกับปัญหาสิว

        สิวเกิดขึ้นเพราะผิวหนังมีการอุดตันอยู่ใต้รูขุมขน เมื่อต่อมไขมันผลิตไขมันมากและระบายออกไม่ดีจะเกิดการอุดกลั้นทางเดินของไขมันทำให้เป็นสิว ซึ่งแบ่งได้สองลักษณะใหญ่ คือ ยังไม่อักเสบจะแค่เป็นสิวหัวขาวหรือสิวหัวดำ แต่ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้เกิดการอักเสบของสิวกลายเป็นสิวอักเสบและสิวที่เป็นหนอง         สิวมักเป็นปัญหาใหญ่ของวัยรุ่น แต่ผู้ใหญ่ก็เป็นได้เนื่องจากสิวเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย สิวจะว่าเป็นปัญหาเล็กหรือใหญ่ก็ได้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา โดยเฉพาะปัญหารอยแดงหรือรอยแผล(หลุมยุบ)จากสิว ส่วนใหญ่เป็นแล้วหายอยาก บางคนดูแลไม่ดีกลายเป็นเรื่องให้เคืองใจกันตลอดชีวิต ถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหาต้องรักษาสิวให้ถูกวิธีตั้งแต่แรก  การรักษาสิว         วิธีที่ได้ผลดีและถูกต้องคือการใช้ยา ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องใช้ยาหลายตัวประกอบกันมีทั้งแบบรับประทานและยาทา ดังนั้นควรได้รับการดูแลโดยแพทย์ผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยสาเหตุหรือต้นเหตุที่ทำให้เกิดสิว และเพื่อป้องกันอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์         อย่างไรก็ตามบางคนมีสิวแค่เม็ดสองเม็ดจะไปหาหมอก็ดูยุ่งยากเกินไป ปัจจุบันจึงมียาแต้มสิวออกมาเป็นผู้ช่วยสำหรับการรักษาเพื่อให้สิวยุบตัวอย่างรวดเร็ว การเลือกใช้ยาหรือเจลแต้มสิว ต้องเลือกให้ถูกกับชนิดของสิวที่เป็น ธรรมดาสิวแบบไม่อักเสบ (กดไม่เจ็บ) จะรักษาง่ายกว่าสิวอักเสบ เพราะเพียงกำจัดความมัน(ส่วนเกิน) และเลือกยาที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวให้ไวขึ้น เช่น Benzoyl Peroxide (เบนโซอิล เปอร์ออกไซด์) หรือยาในกลุ่มวิตามินเอ สิวก็ไม่กลับมากวนใจอีกเพียงแต่ต้องดูแลในภายหลังให้ถูกวิธี        ส่วนสิวที่รักษายากคือสิวอักเสบ ที่เกิดเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สิวมักจะมีลักษณะบวม แดง มือกดแล้วเจ็บ การรักษาทำได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาภายนอกจะช่วยรักษาสิวอักเสบโดยเฉพาะ ที่นิยมคือ ตัวยา Clindamycin (คลินดามัยซิน)         เวลาจะทายาสิวควรทาเฉพาะจุดที่มีปัญหาสิวเท่านั้น ป้องกันการแพ้ยา และอ่านคู่มือการใช้ยาให้ละเอียดก่อนการใช้ ยาแต้มสิวประเภทยาปฏิชีวนะควรทาขณะผิวชื้น(หลังอาบน้ำหรือล้างหน้าทันที) เพราะจะช่วยให้ยาสามารถซึมถึงจุดที่อักเสบได้ดีที่สุด         กรณีรักษาสิวอักเสบ เมื่อใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาผู้ใช้ต้องคงระยะเวลาการใช้ยาให้ต่อเนื่องแม้สิวยุบแล้วเพื่อป้องกันการดื้อยาในอนาคต และอีกเรื่องหนึ่งคืออย่าใจร้อน บางครั้งการรักษาด้วยยาตัวแรกได้ผลไม่ทันใจ ก็รีบร้อนเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น แบบนี้จะสร้างปัญหามากกว่าการแก้ไขปัญหาเพราะเสี่ยงทำให้เกิดการดื้อยาและเกิดอาการแพ้ยาได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 234 ร้านยาไม่ติดป้ายราคา

        ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ภายใต้มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่เข้าไปซื้อยาในร้านขายยาแห่งหนึ่ง ว่า..         “มีอาการไอและเจ็บคอขณะเดินทางกลับบ้าน จึงจอดรถแวะซื้อยาในร้านยาแห่งหนึ่งในจังหวัดพะเยา” คุณกชกร ผู้บริโภคที่ร้องทุกข์ผ่านศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ แจ้งชื่อยาแก้ไอตัวเดิมที่เคยซื้อก่อนหน้านี้ คนขายหยิบยามาให้พร้อมแจ้งราคา ปรากฏว่ายานั้นมีราคาแพงกว่าที่เคยซื้อเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (กับคนขายอีกคนหนึ่ง) คุณกชกรจึงถามกลับไปว่า “ยาปรับขึ้นราคาเป็น 65 บาทหรือคะ” ซึ่งคนขายตอบว่า “ยาตัวนี้ก็ราคานี้แหละ” คุณกชกรคิดในใจจะเป็นไปได้อย่างไรในเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่งซื้อไปราคา 55 บาท แต่ด้วยความรีบร้อนคุณกชกรจึงไม่ได้กล่าวคัดค้านเหมือนอย่างที่คิด อย่างไรก็ตามคุณกชกรสังเกตว่าสินค้าอื่นๆ ภายในร้าน เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ ไม่มีการติดป้ายบอกราคาเช่นกัน         อีกข้อสังเกตหนึ่งคือ ร้านขายยาแห่งนี้ไม่มีเภสัชกรอยู่ประจำร้าน ซึ่งตนเองพอจะทราบมาว่า ตามกฎหมายร้านขายยาทุกร้านต้องมีเภสัชกรอยู่ประจำเพื่อคอยให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยา คุณกชกรรู้ว่า ยาที่ตนเองซื้อมาเป็นยาแก้ไอเคยรับประทานและพอทราบวิธีใช้อยู่บ้าง แต่หากเป็นผู้บริโภคคนอื่นที่เข้ามาซื้อยาแล้วไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง อาจเกิดผลข้างเคียงที่อันตรายขึ้นได้        ดังนั้นถึงแม้คุณกชกรจะไม่กลับไปใช้บริการร้านนี้อีก แต่ก็คิดว่าน่าจะมีหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบร้านยาแห่งนี้ จึงได้ร้องเรียนมายังศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาเพื่อให้ช่วยตรวจสอบข้อมูล แนวทางการแก้ไขปัญหา        ศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เรื่องของการไม่ติดป้ายราคาสินค้านั้นอยู่ในการกำกับดูแลของทางพาณิชย์จังหวัด หลังจากแจ้งข้อมูลไปหน่วยงานได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและดำเนินการลงโทษปรับร้านยาดังกล่าวแล้ว ซึ่งการไม่แสดงราคาสินค้ามีบทกำหนดโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 40 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542          ส่วนกรณีที่ร้านขายยาไม่มีเภสัชกรอยู่ประจำร้านนั้น หน่วยงานที่กำกับดูแลคือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยหากร้านยาขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษขณะที่เภสัชกรไม่อยู่ มีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510         ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบร้านขายยาใดไม่มีเภสัชกรประจำร้าน หรือ ไม่แสดงป้ายราคาสินค้า ก็สามารถร้องเรียนไปยังหน่วยงานข้างต้นให้ช่วยดำเนินการตามกฎหมายได้ ซึ่งหากผู้บริโภคอยู่ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ท่านสามารถขอคำแนะนำได้ที่ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ภายใต้มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา โทร. 054-458-757

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 235 อย่าปล่อยให้ความเชื่อเหนือ ความจริง

        1. ผลิตภัณฑ์ที่แสดงเลขอนุญาต (เช่น อย ทะเบียนยา เครื่องสำอาง) อาจไม่ใช่ความจริงเสมอไป         ผู้บริโภคที่มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ มักจะตรวจสอบฉลากของผลิตภัณฑ์ว่ามีรายละเอียดครบถ้วนหรือไม่ และเมื่อพบว่าครบถ้วนแล้ว ก็มักจะคิดว่ามีความปลอดภัย เนื่องจากได้รับการอนุญาตหรือตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ที่อนุญาตเรียบร้อยแล้ว แต่จากประสบการณ์ทำงาน มักพบว่าผลิตภัณฑ์อันตรายหลายอย่าง มักจะแอบลักลอบเติมสารอันตรายหลังจากที่ได้รับอนุญาตแล้ว หรือผู้ผลิตบางรายอาจแสดงข้อมูลปลอม หรือเอาข้อมูลของผลิตภัณฑ์อื่นมาแสดงในของตนแทน (เช่น ทะเบียน อย. ทะเบียนตำรับยา หรือเลขจดแจ้งเครื่องสำอาง)         ดังนั้นนอกจากการตรวจสอบฉลากแล้ว ผู้บริโภคควรต้องสังเกตสิ่งพิรุธอื่นๆ ด้วย เช่น โฆษณาอวดสรรพคุณเกินจริงหรือไม่ หรือหลังจากใช้แล้วเกิดอาการผิดปกติ หรือใช้วิธีการขายแบบหลบๆ ซ่อนๆ หรือแปลกๆ          2. อาหารที่มี อย. รักษาโรคได้เหมือนยา         ผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด มักแจ้งว่าผลิตภัณฑ์ของตนผ่านการรับรองแล้ว จึงมีเลข อย. และอ้างสรรพคุณในการรักษาโรคได้ แต่ในแง่ความจริง ผลิตภัณฑ์อาหารจะไม่สามารถใช้ในการรักษาโรคได้ หากผลิตภัณฑ์อาหารโฆษณาว่ารักษาโรคได้ แสดงว่าให้ข้อมูลเท็จและโฆษณานั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย          3. ผลิตภัณฑ์ที่มีบุคลากรทางการแพทย์มาโฆษณารับรองสรรพคุณ ย่อมมีความปลอดภัย         ผลิตภัณฑ์หลายชนิด มักใช้บุคลากรทางการแพทย์มาโฆษณารับรองคุณภาพเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้บริโภคหลายรายหลงเชื่อ แต่ข้อเท็จจริงคือ สภาวิชาชีพต่างๆ ที่ควบคุมดูแลมาตรฐานการประกอบวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ จะห้ามมิให้บุคลากรทางการแพทย์ไปการันตีหรือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ หากพบแสดงว่า บุคลากรเหล่านั้นกระทำผิดจรรยาบรรณหรือข้อบังคับทางวิชาชีพ นอกจากนี้บางครั้งยังเคยพบว่า ภาพบุคลากรทางการแพทย์ที่ใช้โฆษณานั้น ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ตัวจริง เป็นตัวปลอมที่ใช้หลอกลวงผู้บริโภค          4. การแจ้งเรื่องร้องเรียน ทำให้ผู้ร้องเดือดร้อน         หลายครั้งที่ผู้บริโภคมาร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ และเมื่อเจ้าหน้าที่สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ร้องเรียนมักจะไม่กล้าให้ข้อมูล เพราะเกรงว่าตนเองจะเดือดร้อน ทำให้เรื่องร้องเรียนที่สำคัญๆ หลายเรื่อง ดำเนินการตรวจสอบได้ยาก เพราะขาดข้อมูลที่เพียงพอ จึงอยากชี้แจงให้ทราบว่า ปกติแล้วเจ้าหน้าที่จะถือว่าเรื่องร้องเรียนต่างๆ เป็นความลับ แต่หากผู้บริโภคยังกังวลเมื่อมาร้องเรียนก็สามารถย้ำกับเจ้าหน้าที่ได้ว่า ขอให้เก็บข้อมูลของตนเป็นความลับ นอกจากนี้หากผู้บริโภคให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ก็จะเป็นการร่วมมือกันสกัดผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัญหาที่ต้นตอ แลเป็นการช่วยเหลือผู้บริโภครายอื่นๆ ด้วย          5. เมื่อแจ้งข้อมูลแล้ว เจ้าหน้าที่ย่อมจัดการปัญหาได้ทันที         เมื่อได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนแล้ว บางเรื่องเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ทันที แต่ถ้าหากข้อมูลไม่ชัดเจน เช่น เป็นคำพูดลอยๆ หรือแหล่งจำหน่ายไม่ชัดเจน เจ้าหน้าที่จำเป็นจะต้องเสาะหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือบางครั้งอาจต้องส่งตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ทำให้ต้องใช้เวลากว่าจะทราบผล ดังนั้นในช่วงนี้ผู้บริโภคควรระงับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สงสัยไว้ก่อน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 235 พยากรณ์ซ่อนรัก : มีความลับที่อยู่ในใจ เป็นความลับที่อยู่ข้างใน...

        “ความลับ” ก็คือ เรื่องบางเรื่องที่ไม่เล่าไม่บอกออกไปสู่สาธารณะ หรือเป็นความจริงที่มิอาจเปิดเผยได้ แต่จริงๆ แล้ว บ่อยครั้งที่ความลับเองมักพ่วงพามาซึ่งอำนาจและผลประโยชน์ของบุคคลผู้เป็นเจ้าของแห่งความลับนั้นๆ ด้วยเหตุฉะนี้ หากใครก็ตามสามารถเข้าไปสัมผัสล่วงรู้ความลับของบุคคลอื่น ก็อาจหมายถึงการเข้าไปละเมิดล่วงยังพรมแดนแห่งอำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลนั้นเช่นกัน         ละครโทรทัศน์เรื่อง “พยากรณ์ซ่อนรัก” เป็นตัวอย่างรูปธรรมของการตั้งข้อถกเถียงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความลับ อำนาจ และผลประโยชน์แห่งปัจเจกบุคคล         โครงเรื่องหลักของละครดำเนินไปบนตรรกะพื้นฐานที่ว่า “มนุษย์ทุกคนต่างก็มีความลับ” อันสะท้อนนัยทางสังคมว่า ในความสัมพันธ์ระหว่างคนเรานั้น มีลักษณะเหมือนเป็น “เหรียญสองด้าน” ที่พลิกไปมาระหว่างด้านแห่งความเป็น “หน้าฉาก” กับอีกด้านที่เป็น “หลังฉาก”          ในขณะที่ “หน้าฉาก” หรือเสี้ยวส่วนที่คนเรายินยอมเผยให้คนอื่นสัมผัสได้ เพราะเราเองก็มีอำนาจกำหนดเอาไว้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ “หลังฉาก” ก็คือ ส่วนเสี้ยวที่ความลับถูกซุกซ่อนเก็บไว้ โดยที่เรามิปรารถนาจะให้ใครอื่นมากล้ำกรายสัมผัสถึง         และเพราะความลับเป็นสิ่งที่ปกปิดอำพรางไว้หลังฉากของชีวิตสามัญชนคนทั่วไป เมื่อ “โรสิตา” หรือ “โรส” นางเอกสาวผู้สืบทอดศาสตร์แห่งการพยากรณ์ มีความสามารถเข้าไปล่วงรู้ความลับของบุคคลที่สามอื่นๆ ทำให้เธอต้องเผชิญกับด้านมืดแห่งการเก็บงำความลับที่ใครต่อใครพากันซ่อนเร้นเอาไว้         เนื่องจากศาสตร์แห่งการพยากรณ์ถือเป็นองค์ความรู้ที่ให้คำตอบในสิ่งที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไม่อาจพิสูจน์ได้ และยังเป็นศาสตร์ที่แตกสายพันธุ์ออกไปได้มากมายหลายประเภท ละครก็เลยเลือกสร้างให้โรสเป็นเทพธิดาพยากรณ์แห่ง “กุพชกศาสตร์” หรือผู้มีความสามารถสื่อสารกับดอกกุหลาบ และใช้ดอกกุหลาบทำนายความลับแห่งโชคชะตาของมนุษย์ได้ ด้วยตรรกะที่โรสได้กล่าวเอาไว้ว่า “ไม่มีอะไรในโลกที่กุหลาบไม่รู้ อยู่ที่ว่ากุหลาบจะบอกเราหรือเปล่า”         ละครเริ่มต้นเรื่องด้วยฉากงานวันเปิดตัวคอมมูนิตี้มอลล์แห่งใหม่ของ “พัสสิตา” ที่เชิญโรสให้มาร่วมทำนายดวงชะตาให้กับผู้มีเกียรติในแวดวงชนชั้นนำหลายคนที่ร่วมอยู่ในงาน         ในขณะที่ปุถุชนคนทั่วไปต่างก็มี “ความลับที่ฉันซ่อนไว้ ไม่เคยบอกใคร จนอดใจไม่ไหว” อยู่นั้น ยิ่งหากเป็นกลุ่มคนชั้นนำของสังคมด้วยแล้ว คนกลุ่มนี้ยิ่งจะ “มีความลับที่อยู่ในใจ เป็นความลับที่อยู่ข้างใน” และ “เป็นความลับที่เปิดเผยไม่ได้” ทับทวีคูณขึ้นไปอีก         ดังนั้น หลังจากที่โรสเข้าไปพยากรณ์การเลือกดอกกุหลาบ และเข้าไปล่วงรู้บางส่วนแห่งโชคชะตาทั้งในอดีตและในอนาคตของบรรดาเซเลบริตี้หลายคน ชีวิตของโรสก็เลยตกอยู่ในอันตราย เพราะความลับในชะตากรรมของคนชั้นนำเหล่านี้ต่างสัมพันธ์กับผลประโยชน์อันมากมายมหาศาลของพวกเธอและเขา         เริ่มต้นจาก “ไลลา” สาวนักเรียนนอกผู้กลายมาเป็นดีไซเนอร์ระดับโลก ที่ต้องปกปิดความลับแห่งตัวตนและอัตลักษณ์ว่า อดีตของเธอก็คือ “อีกลอย” สาวอีสานบ้านนอกที่เคยมีสามีเป็นชาวต่างชาติ และชุบตัวเองได้ดิบได้ดีจนมาเป็นเจ้าของห้องเสื้อแบรนด์ดัง         คนที่สองคือ “นันทวดี” ภรรยาของ “นายพลวัฒนา” ที่อดีตเคยผลักพี่สาวตกน้ำจนเสียชีวิต เพื่อจะได้ครอบครองหัวใจของท่านนายพลไว้เพียงผู้เดียว ความลับที่อาจถูกเผยออกมาของเธอจึงเกี่ยวพันกับสถานะครอบครัวและชีวิตคู่ที่ช่างไม่มั่นคงแต่อย่างใด         คนถัดมาคือ “รินรดี” ดาราสาวที่หน้าฉากสวมบทบาทเป็นนางเอกที่แสนดี เก่งกล้า มีความสามารถรอบตัว แต่อีกฝั่งฟากหนึ่ง เธอก็มีหลังฉากเป็นอนุภรรยาเก็บของ “ธนพล” สามีนักธุรกิจของพัสสิตาซึ่งเป็นผู้จัดงานเปิดโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ครั้งนี้ หน้าฉากและหลังฉากที่เสมือน “คนละโลก” ดังกล่าว แน่นอนย่อมมีผลต่อชื่อเสียงและความมั่นคงทางอาชีพในแวดวงบันเทิงของเธอ         อีกคนหนึ่งก็คือ “วุฒิกร” นักการเมืองระดับรัฐมนตรี ที่แม้ฉากหน้าจะดูเป็นคนที่ทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน แต่เบื้องหลังกลับกลายเป็นชายโฉดที่ใช้มูลนิธิบ้านสงเคราะห์เยาวชนเป็นแหล่งหาเด็กผู้หญิงมาปรนเปรอทางเพศ ความลับเรื่องการทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กหญิงที่อาจถูกเผยออกมา ก็ย่อมทำให้อำนาจและตำแหน่งทางการเมืองของเขาสั่นคลอนได้         และคนสุดท้ายก็คือธนพล นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่เพื่อผลประโยชน์แล้ว เขาสามารถทำทุกอย่างได้ ตั้งแต่หลอกลวงภรรยา ไปจนถึงลอบฆ่า “ครูสมปอง” ผู้ที่ล่วงรู้ความลับว่า นายทุนใหญ่รายนี้คอยเป็นนายหน้าจัดส่งเด็กผู้หญิงป้อนบำเรอกามารมณ์ของรัฐมนตรีวุฒิกร เพื่อแลกเปลี่ยนกับผลตอบแทนทางธุรกิจของตน         ตัวละครในกลุ่มคนชั้นนำมากมาย ต่างก็มีความลับที่สัมพันธ์กับอำนาจและผลประโยชน์ เพราะกว่าที่พวกเธอและเขาจะขึ้นมามีฐานะทางเศรษฐกิจและทุนสัญลักษณ์ชื่อเสียงหน้าตา หน้าตักของคนกลุ่มนี้ก็สูงยิ่งๆ ขึ้นไป ดังนั้น เมื่อโรสมีนิมิตหยั่งรู้ความลับที่ปกปิดไว้ ก็เท่ากับไปสร้างแรงกระเทือนต่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มนี้ที่วางแผนไล่ล่าเพื่อปิดปากนางเอกของเราในทุกวิถีทาง        และที่น่าสนใจก็คือ ในขณะที่โรสเข้าไปสัมผัสรู้ชะตาชีวิตของผู้อื่น แต่อีกด้านหนึ่ง แม้แต่ตัวเธอเองก็มีความลับบางอย่างที่ซ่อนเร้นเอาไว้ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อ “ธีรุตม์” พระเอกของเรื่องเลือกหยิบดอกกุหลาบมาให้โรสเสี่ยงทาย โรสก็ไม่เพียงแต่ได้เห็นชะตาชีวิตของเขา หากยังสัมผัสถึงความลับแห่งอนาคตที่ชายหนุ่มผู้นี้ได้ถูกลิขิตให้กลายมาเป็นคู่ชีวิตของเธอในฉากจบ         ในขณะที่แก่นแกนของละคร “พยากรณ์ซ่อนรัก” ดูจะยืนยันในประโยคที่ตัวละครทั้งหลายต่างพูดย้ำอยู่บ่อยๆ ว่า “ไม่มีใครหนีโชคชะตาพ้น แม้แต่กับคนทำนายโชคชะตา” และบทบาทของผู้พยากรณ์ดวงชะตาก็ต้องยืนอยู่บนหลักการที่ว่า “คนเราเปลี่ยนแปลงโชคชะตาไม่ได้ แต่ผ่อนหนักเป็นเบาได้” แต่คู่ขนานกันไปกับความคิดดังกล่าว ละครก็ทำให้เราเรียนรู้ว่า ความลับที่ไม่ลับช่างมีความหมายบางอย่างแฝงฝังอยู่มากมาย         อันที่จริง คนไทยสมัยก่อนเคยให้คำตอบเรื่องความลับเอาไว้ว่า “ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิดไม่มิด” หรือ “หากน้ำลดเดี๋ยวตอก็จะผุดขึ้นมาเอง” เพราะ “ความลับย่อมไม่มีในโลก” แต่ถึงที่สุดแล้ว ตราบใดที่ความลับของบุคคลมีผลประโยชน์กำกับเอาไว้เป็นเบื้องหลัง ตราบนั้นเจ้าของความลับที่ยิ่งเป็นคนชั้นนำที่อยู่ “ยิ่งสูงยิ่งหนาว” ก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อรักษาความลับ อำนาจ และผลประโยชน์แห่งตนเอาไว้นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 234 ยาจากวัด ขจัดความปลอดภัย ?

        ผมมักจะได้รับแจ้งข้อมูลเรื่องผู้ป่วยได้รับอันตรายจากการซื้อยามากินเองอยู่เสมอๆ ส่วนใหญ่มักจะซื้อมาใช้รักษาอาการปวดเมื่อยตามแขนขา เมื่อใช้ครั้งแรกๆ จะได้ผลเร็ว อาการปวดเมื่อยต่างๆ มักจะหายทันที แต่เมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะได้อาการอื่นๆ แถมมาด้วย เช่น ตัวเริ่มบวม ปวดท้อง กระเพาะเป็นแผล บางคนเป็นมากถึงขนาดถ่ายออกมาเป็นเลือดจนต้องเข้าโรงพยาบาล          เมื่อนำยาที่ผู้ป่วยมาตรวจหาสารสเตียรอยด์จะพบว่ามีสารสเตียรอยด์ผสมในยาเกือบทุกตัวอย่าง และเมื่อสอบถามถึงแหล่งที่ซื้อยา พบว่าผู้ป่วยหลายคนซื้อยามาจากวัดเนื่องจากคิดว่า ยาที่ขายในวัดคงเป็นยาที่ปลอดภัย คนขายก็คือคนในวัด บางวัดก็มีพระสงฆ์เป็นผู้ขายเองด้วยซ้ำ          จากประสบการณ์ที่เคยไล่ติดตามตรวจสอบยาที่ไม่ปลอดภัยเหล่านี้ พอสรุปลักษณะของยาที่ไม่ปลอดภัย ที่มักจะแอบจำหน่ายในวัดบางแห่ง ดังนี้        1. ส่วนใหญ่มักจะเป็นยาสมุนไพร หรือยาแผนโบราณ รูปแบบอาจเป็นยาผง ยาลูกกลอน หรือตอกอัดเป็นเม็ดแบบง่ายๆ บางครั้งอาจมีการบรรจุในแคปซูล แต่ดูด้วยสายตาจะแตกต่างจากยาแผนปัจจุบัน         2.ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อในลักษณะยาสมุนไพร หรือยาแผนโบราณ มีการระบุสรรพคุณต่างๆ มากมาย ชนิดที่ยาแผนปัจจุบันยังไม่กล้าระบุขนาดนี้         3. ในฉลาก ไม่มีหมายเลขการขึ้นทะเบียนตำรับยาแต่อย่างใด แสดงว่ายาเหล่านี้ไม่ได้มาขอขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิต (ในแง่กฎหมาย ยารักษาโรคจะต้องแสดงหมายการขึ้นทะเบียนตำรับยาทุกตัว)         4. แม้ฉลากของยาที่ขายจะแสดงข้อมูลมากมาย แต่สิ่งที่หาไม่เจอคือสถานที่ผลิต ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกติดตามดำเนินการตามกฎหมาย         5. มักบรรจุในภาชนะที่ไม่ค่อยได้มาตรฐาน อาจใส่ซองใส หรือขวดใส ฉลากก็พิมพ์แบบง่ายๆ         บ่อยครั้งเมื่อเจ้าหน้าที่ไปสอบถามข้อมูลแหล่งที่ซื้อจากผู้ป่วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยให้ข้อมูลเนื่องจากกลัวข้อมูลจะไปถึงวัดผู้ป่วยบางคนถึงกับบอกว่า กลัวพระ เพราะพระที่นี่เป็นผู้มีอิทธิพล (ว่าเข้าไปนั่น)         เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของตัวเราและคนในชุมชน มีคำแนะนำเบื้องต้นดังนี้        1. ไม่แนะนำให้ซื้อยาจากวัด หากไม่มั่นใจ ขอให้ไปสอบถามหรือขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ก่อน        2. ตรวจสอบฉลาก หากไม่มีทะเบียนยาแสดงว่ายานี้ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตตามกฎหมาย แต่ถ้ามีทะเบียนยาแล้ว ก็อย่าเพิ่งมั่นใจเพราะโดยทั่วไปแล้วสถานที่ขายยาจะต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน ยกเว้นสถานที่ขายยาสามัญประจำบ้านที่ไม่ต้องมาขออนุญาต         3. แจ้งข้อมูลกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือกลุ่มงานค้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อให้มาติดตามตรวจสอบก่อน หากกังวลอาจแจ้งข้อมูลในทางลับหรือส่งเป็นเอกสารระบุข้อมูลให้ครบถ้วนก็ได้         4. หากไม่สะดวกที่จะแจ้งข้อมูลกับสาธารณสุขอาจแจ้งข้อมูลไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดประจำจังหวัด เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลควบคุมวัดต่างๆ ในจังหวัดนั้นๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 234 ทุก 15 นาที คนไทย 1 คนจะเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา

ปัญหาเชื้อดื้อยาถูกพูดถึงถี่ขึ้นตามสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง น่าแปลกที่สถานการณ์กลับไม่ทุเลาลงสักเท่าไหร่ ตรงกันข้าม มันดูจะหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งมีการใช้ยาปฏิชีวนะลามไปถึงในพืชแล้ว        ‘ฉลาดซื้อ’ พูดคุยกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาสมเหตุผล กันแบบตั้งต้นนับ 1 ใหม่ เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาเหตุของปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล ทำให้การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งจนน่ากังวล       ผศ.นพ.พิสนธิ์ ให้ข้อมูลว่า ในอีก 30 ปีข้างหน้า ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาจะสูงเป็นอันดับ 1 มากกว่ามะเร็งและเบาหวานรวมกัน ส่วนในไทยปัจจุบัน ทุกๆ 15 นาที จะมีคนไทย 1 คนเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา นับเป็นวิกฤตที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งภาครัฐกำลังดำเนินการ        อย่างไรก็ตาม ถึงที่สุดแล้วความตระหนักรู้ของเราทุกคนมีส่วนสำคัญอย่างมากมายที่จะยับยั้งเรื่องนี้ อยากเริ่มต้นด้วยคำถามพื้นฐานว่า เวลาพูดว่าดื้อยา เชื้อดื้อยา หมายถึงอะไร        เวลาเราพูดเรื่องเชื้อดื้อยา เราต้องสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจก่อนว่าเชื้อในที่นี้ก็คือเชื้อโรคซึ่งมีหลายชนิด ที่สำคัญคือเชื้อแบคทีเรียกับเชื้อไวรัส ยาที่ใช้กับเชื้อแบคทีเรียเรียกว่ายาปฏิชีวนะ ยาที่ใช้กับเชื้อไวรัสเรียกว่ายาต้านไวรัส ซึ่งยา 2 กลุ่มนี้เมื่อใช้ไป แม้จะใช้อย่างถูกวิธีหรือผิดวิธีก็ตาม เชื้อที่ว่านี้ก็จะพยายามต่อต้าน ซึ่งเวลาเราพูดเรื่องเชื้อดื้อยาจะเน้นที่เชื้อแบคทีเรียเป็นสำคัญ ในทางการแพทย์เมื่อเราใช้ยาด้วยความเข้มข้นที่ค่าค่าหนึ่งถ้าเชื้อไม่ดื้อยา เราจะฆ่าแบคทีเรียฆ่าไวรัสได้เสมอเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ต่อมาเชื้อจะกลายพันธุ์จนมีความสามารถเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นทำให้ความเข้มข้นของยาเท่าเดิมแต่รักษาโรคไม่ได้อีกแล้ว พอถึงจุดหนึ่งจะไม่มีความเข้มข้นใดเลยที่ออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียหรือไวรัสนั้น อันนี้เรียกว่าดื้อยาอย่างสมบูรณ์ ในทางการแพทย์ถ้าเชื้อดื้อยาในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ หมอจะเริ่มไม่สบายใจ เพราะโอกาสหายแค่ 7 คนอีก 3 คนไม่หาย แต่ปัจจุบันอัตราการดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อทั่วไป โอกาสที่จะรักษาหายต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์แทบทั้งสิ้น ยาปฏิชีวนะบางชนิดถูกดื้อยาในอัตราสูงถึง 80-90% นี่คือวิกฤตที่เกิดขึ้น ภาวะเชื้อดื้อยาเกิดขึ้นได้อย่างไร         การดื้อยา กรณีที่หนึ่ง เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตเมื่อมีสิ่งใดมาคุกคาม มันก็ต้องพัฒนาการโดยการกลายพันธุ์ไปเป็นเชื้อที่มีความสามารถต่อต้านยาที่จะมาฆ่ามัน ยกตัวอย่างวิธีการหนึ่งที่ยาปฏิชีวนะฆ่าแบคทีเรียได้คือเมื่อยาสัมผัสโดนแบคทีเรียแล้ว มันจะไปยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย แล้วแบคทีเรียก็จะตาย จากนั้นสิ่งที่แบคทีเรียทำคือมันจะสร้างเอนไซม์ออกมาห้อมล้อมตัวมัน เพื่อทำลายยาที่กำลังจะสัมผัสตัวมัน พอยามาโดนสารนี้มันจะสลายไป ไม่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของแบคทีเรียได้อีก แบคทีเรียมีวิธีในการดื้อยามากมายหลายวิธี แม้ว่าเราจะใช้ยาอย่างถูกต้องก็ตามการดื้อยาจะเกิดขึ้นได้เสมอ แต่การดื้อยาตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป         กรณีที่สองเกิดขึ้นจากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล อัตราและความรุนแรงในการดื้อยาของแบคทีเรียจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับสิ่งที่เรียกว่าการคุกคาม หมายความว่าถ้าเราไม่ใส่ยาปฏิชีวนะเข้าไปเยอะๆ ในคนจำนวนมาก แบคทีเรียก็ไม่โดนคุกคามเกินจำเป็น มันก็ไม่ดื้อมาก แต่ถ้าเราใช้ยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็น เท่าที่เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรียจริง การดื้อยาจะค่อยเป็นค่อยไปและเราจะไม่เดือดร้อนเลย แต่ปัจจุบันเราใช้ยามากกว่าที่ควรจะเป็นหลายเท่าตัว ทำให้แบคทีเรียสัมผัสยาปฏิชีวนะในอัตราที่ผิดธรรมชาติ จึงเกิดอัตราเร่งในการดื้อยาขึ้น         การใช้ยาปฏิชีวนะไม่สมเหตุสมผลมี 4 แบบ หนึ่งคือการใช้ยาปฏิชีวนะเกินจำเป็นคือใช้ไม่ตรงกับโรค เช่นการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคหวัด ไอ เจ็บคอ ซึ่งโรคเหล่านี้เกือบทั้งหมดเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส สองคือใช้ยาปฏิชีวนะแล้วหยุดยาก่อนกำหนด เพราะขณะที่หยุดยาเชื้อแบคทีเรียยังไม่หมดไปจากร่างกาย แต่มันสัมผัสโดนยาแล้ว ทำให้มันรู้จักยาและหาวิธีดื้อยาจนสำเร็จ ข้อที่ 3 ใช้ยาในขนาดต่ำเกินไป คือเรารู้ว่ายาปฏิชีวนะจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ต้องมีความเข้มข้นที่ค่าค่าหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าเรากินยาไม่ตรงตามโดส เช่น เราควรจะกินยา 2 เม็ด แต่กินแค่เม็ดเดียว ปริมาณยาที่เข้าสู่ร่างกายและสัมผัสโดนแบคทีเรียจะต่ำลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้แต่เปิดโอกาสให้เชื้อดื้อยา และข้อที่ 4 ใช้ยาที่ออกฤทธิ์กว้างเกินจำเป็น ยาแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์กว้างขวางไม่เท่ากัน ประชาชนควรทราบว่าในร่างกายเรามีแบคทีเรียอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ เต็มไปหมด เช่นปกคลุมตามผิวหนัง อาศัยในช่องปาก ในอุจจาระที่ลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าเป็นโรคที่ใช้ยาออกฤทธิ์แคบได้ เราไม่ใช้ ดันไปใช้ยาที่ออกฤทธิ์กว้าง แบคทีเรียที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่เมื่อโดนยาก็จะพยายามดื้อยา เท่ากับสร้างกลุ่มของแบคทีเรียที่ดื้อยาให้กว้างขวาง และสะสมไว้ในร่างกายของเรารอวันของการประทุเป็นโรคติดเชื้อที่ร้ายแรง เช่น การติดเชื้อที่ไต และการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น  สถานการณ์เชื้อดื้อยาทั้งในระดับโลกและในประเทศรุนแรงแค่ไหน         รุนแรงมากครับ ในระดับโลกมีการคำนวณไว้ว่าในปี 2050 จะมีคนเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาเป็นอันดับ 1 ซึ่งมากกว่าผู้เสียชีวิตจากเบาหวานและมะเร็งรวมกัน เขาคำนวณไว้ประมาณ 10 ล้านคนต่อปี เมื่อคำนวณกลับมาเท่ากับจะมีคนเสียชีวิต 1 คน ทุกๆ 3 วินาที และครึ่งหนึ่งของ 10 ล้านคนจะอยู่ในทวีปเอเชียซึ่งหมายถึงประเทศไทยด้วย          ส่วนในประเทศไทยเองมีคนเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยามากมาย ในปีหนึ่งจะมีคนที่ติดเชื้อดื้อยาปีละประมาณ 1.2 แสนกว่าคนและในจำนวนนี้จะมีคนเสียชีวิตประมาณ 28,000 คน ซึ่งเป็นอัตราการเสียชีวิตที่สูงมาก เท่ากับมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 15 นาทีต่อ 1 คน ที่สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมาก         อีกปัญหาหนึ่งคือคนไข้ที่ติดเชื้อดื้อยาจะออกจากโรงพยาบาลได้ช้า หมายความว่าถ้าเชื้อไม่ดื้อยา รักษาแค่ 5 วัน 7 วันก็กลับบ้านแล้ว แต่พอเป็นเชื้อดื้อยาก็ต้องใช้เวลานาน เช่น ใช้ยาตัวแรกไม่หาย เปลี่ยนเป็นตัวที่ 2 ถ้าเปลี่ยนทันก็ดี เปลี่ยนไม่ทันหรือเชื้อดื้อต่อยาทุกชนิดในโรงพยาบาลก็เสียชีวิต กรณีแบบนี้ทำให้ผู้ป่วยแสนกว่าคนยึดครองเตียงเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ล้านวัน หมายความว่าผู้เจ็บป่วยรายใหม่จะเข้าก็เข้าไม่ได้เพราะผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยายึดครองเตียงไว้         ปัจจุบันเราพบเชื้อดื้อยาได้มากมายมหาศาลในทุกโรงพยาบาล ในกรณีที่คนไข้ติดเชื้อดื้อยาแล้วเสียชีวิตลงก็ไม่ได้หมายความว่าเชื้อดื้อยาหมดไปพร้อมกับผู้เสียชีวิต แต่เชื้อยังคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิม เช่น คนไข้คนหนึ่งเสียชีวิตในห้องไอซียูของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เชื้อดื้อยาสุด ๆ ตัวนั้นจะยังคงอยู่ต่อไปในห้องไอซียูนั้น ใครเข้ามาติดเชื้อตัวนั้นก็อาจตายอีก อันนี้คือปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้น แสดงว่าสถานการณ์ในไทยตอนนี้เลวร้ายและก็จะเลวร้ายลงไปอีก         เลวร้ายอย่างยิ่ง ซึ่งเราอยากจะสื่อสารให้ประชาชนรับรู้ คนที่รู้คือหมอ พยาบาลและเภสัชกรในโรงพยาบาลที่เห็นคนไข้เสียชีวิตเป็นประจำจากเชื้อดื้อยา แต่ประชาชนอยู่ข้างนอกไม่รู้ เราจึงต้องสื่อสารให้คนเกิดความตระหนักว่าเราต้องแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะที่พูดถึงสาเหตุของเชื้อดื้อยา ประชาชนช่วยได้เยอะเลย เช่น การใช้ยาเกินจำเป็น ประชาชนช่วยได้ ใช้ยาแล้วหยุดก่อนกำหนด ประชาชนก็ช่วยได้ เป็นต้น แต่เวลาประชาชนไปซื้อยาตามร้านขาย เภสัชกรก็จะรู้ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะไม่ใช่หรือ         ใช่ นี่เป็นประเด็นสำคัญมาก ผมจะพูดรวมไปถึงหมอด้วย ที่คนไข้เจ็บคอมาแล้วสั่งยาปฏิชีวนะให้เลย เป็นการกระทำที่เรียกว่า การใช้ยาไม่สมเหตุผล การใช้ยามี 2 แบบคือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล เช่น เราติดเชื้อไวรัสไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะเพราะรักษาด้วยอีกวิธีหนึ่ง ยาปฏิชีวนะรักษาเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าคุณหมอหรือร้านขายยาจ่ายยาปฏิชีวนะให้กับเรา แปลว่าเขากำลังใช้ยาไม่สมเหตุสมผล และกำลังใช้ยาโดยขาดความรับผิดชอบต่อปัญหาเชื้อดื้อยา         เชื่อหรือไม่องค์การอนามัยโลกบอกว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้ยาเป็นไปอย่างไม่สมเหตุผล ทั้งโดยแพทย์และเภสัชกร         ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม อย่างอาการหวัด ไอ เจ็บคอ ขณะนี้โรงพยาบาลภาครัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่เรียกว่า service plan  ได้กำหนดตัวชี้วัดว่าในโรค หวัด ไอ เจ็บคอ และท้องร่วง ท้องเสีย โรงพยาบาลสั่งยาปฏิชีวนะได้ไม่เกิน 2 คนใน 10 คน ซึ่งในอดีตใช้อยู่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ นโยบายนี้ชื่อว่าโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU Hospital) แปลว่าเดิมมีการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผลอยู่จึงต้องมีนโยบายเช่นนี้ ถ้าโรงพยาบาลใดมีการสั่งยาปฏิชีวนะเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ก็จะมีกระบวนการต่างๆ ทำให้ลงมาต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่ผ่านตัวชี้วัด บอกให้รู้ว่าโรงพยาบาลรัฐเริ่มต้นแล้ว เพราะเห็นความสำคัญ ขณะนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) เกือบ 10,000 แห่งใช้ยาปฏิชีวนะน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ในคนไข้เป็นหวัด ไอ เจ็บคอ และท้องร่วง ท้องเสีย แล้ว แล้วในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนและคลินิก?         ภาครัฐเรารู้อยู่แล้วว่าประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ภาคเอกชนก็คาดได้ว่าน่าจะเกินกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ อันนี้แหละคือปัญหาที่เราอยากจะแก้ไข การแก้ไขเราทำทั้งฝั่งโรงพยาบาลเอกชน คลินิก และร้านขายยาด้วย แต่มีความยากตรงที่หน่วยงานรัฐมีข้อจำกัดในการที่จะออกกฎระเบียบให้ภาคเอกชนทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เราก็พยายามอยู่ในการหาช่องทางต่างๆ เท่าที่เป็นไปได้ในการอุดช่องโหว่นี้เพื่อให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะลดลง         แต่อีกช่องทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้คือการทำให้ประชาชนตระหนักว่าโรคส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเลย เมื่อเข้าใจแล้วประชาชนก็จะแสดงท่าทีตั้งแต่แรกว่าต้องการคำอธิบายมากกว่าต้องการยาปฏิชีวนะและจะสอบถามถึงความจำเป็นในการจ่ายยาปฏิชีวนะ ขอคำอธิบายว่าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ยังไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะได้ไหม และรอก่อนได้ไหม         ประโยคหลังนี้สำคัญมาก เนื่องจากคุณหมอหรือเภสัชกรในจิตสำนึกของเขาต้องการให้คนไข้หายไวๆ แต่ถ้าเราบอกว่าเรารอได้ ถ้าเป็นไวรัส เดี๋ยวมันก็หาย ถ้าเป็นแบคทีเรียแล้วอาการกำเริบ เขากลับมาอีกครั้งก็ได้ คุณหมอและเภสัชกรก็ไม่ต้องรีบสั่งยาปฏิชีวนะให้         การหายเร็วหรือช้ายังเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตัวของประชาชนด้วย กล่าวคือ โรคที่เกิดจากไวรัสเป็นโรคที่หายได้เองจากภูมิต้านทานของเรา ถ้ายังนอนดึกอยู่ ยังสูบบุหรี่อยู่ ยังดื่มเหล้า ยังโดนฝน ยังตากแดด โรคที่เกิดจากไวรัสก็หายช้า คุณหมอที่กลัวจะโดนต่อว่าก็จะสั่งยาปฏิชีวนะไปก่อน นี่คือปัญหาที่เกิดจากประชาชน ถ้าอย่างนั้นเราจะสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องเชื้อดื้อยาอย่างไร เพราะเอาเข้าจริงก็มีการรณรงค์เรื่องนี้มานานแล้ว         สิ่งที่น่ากังวลข้อหนึ่งคือการรณรงค์และการให้ความรู้ต่างๆ มักไม่เปลี่ยนพฤติกรรม ยกตัวอย่างเช่นเรารณรงค์ว่าเมาห้ามขับรถ แต่ถ้าเราไม่มีกฎระเบียบใดๆ เลยก็ยังมีคนเมาแล้วขับรถอยู่ คนจะเลิกดื่มเหล้าแล้วขับก็ต่อเมื่อมีการตั้งด่านตรวจอย่างสม่ำเสมอและรู้ว่าถ้าดื่มแล้วขับ ตรวจเจอ คุณติดคุก ที่ต่างประเทศจึงค่อนข้างจะประสบความสำเร็จหมายความว่าเราต้องมีกฎระเบียบในการทำให้คนไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างพร่ำเพรื่อ เช่นในต่างประเทศประชาชนจะซื้อก็ซื้อไม่ได้ เภสัชกรจะจ่ายยาปฏิชีวนะที่ร้านขายยาก็จ่ายเองไม่ได้แต่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ คุณหมอจะสั่งก็ต้องมีกระบวนการตรวจสอบ เป็นต้น ปัจจุบันมีการดำเนินการอะไรไปแล้วบ้างเพื่อแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยา         ขณะนี้เรามีนโยบายข้อหนึ่งที่ อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) กำลังดำเนินการ คือการทำบัญชีสถานะของยาปฏิชีวนะ ในต่างประเทศ ถ้าคุณเดินไปร้านขายยา คุณจะขอซื้อยาปฏิชีวนะไม่ได้ จะซื้อได้ต่อเมื่อคุณต้องพบแพทย์ก่อน แล้วหมอเป็นคนเขียนใบสั่งยา ขณะนี้เรายังไปไม่ถึงตรงนั้น ที่เราทำอยู่คือแบ่งระดับยาปฏิชีวนะออกเป็นกลุ่มๆ อย่างยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างส่งผลกระทบมากต่อปัญหาเชื้อดื้อยา ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ร้านขายยา ร้านขายยาควรจะเหลือเฉพาะยาพื้นฐานที่ช่วยคนไข้ที่จำเป็นที่ยังไม่มีเวลาไปหาหมอ เป็นการออกกฎระเบียบเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินจำเป็น ลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างเกินไปจนส่งผลกระทบต่อปัญหาเชื้อดื้อยา อันนี้เป็นสิ่งที่เราพยายามทำอยู่         และยังมีข้อกำหนดต่อไปด้วยว่าเมื่อมีการจัดกลุ่มยาปฏิชีวนะใหม่แล้ว เภสัชกรร้านยายังต้องผ่านการประเมินหรือการฝึกอบรมเพิ่มเติมให้มีความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐานของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (RDU Pharmacy) เช่นเดียวกันกับแพทย์ในโรงพยาบาลภาครัฐต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วผ่านนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU Hospital)         อีกสิ่งหนึ่งที่เราพยายามทำคือให้ร้านขายยาและคลินิกมีฉลากยามาตรฐาน ที่บอกผู้ใช้ยาว่ายาตัวนั้นชื่ออะไร และถ้าเป็นยาปฏิชีวนะก็ต้องระบุไว้ให้เห็นชัดเจน ส่วนโรงพยาบาลต่าง ๆ จะระบุชื่อยาไว้ที่ฉลากยาอยู่แล้ว และมักมีข้อความระบุว่าเป็นยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกำกับไว้ แต่ประชาชนมักจะทราบทางอ้อมว่าเป็นยากลุ่มนี้เมื่อเห็นข้อความว่า “รับประทานยานี้จนหมด”         อย่างไรก็ตามการเขียนข้อความสั้น ๆ ว่า รับประทานยานี้จนหมด นั้นเป็นการสร้างปัญหาที่ทำให้เกิดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลอยู่ กล่าวคือ หากยาปฏิชีวนะนั้นถูกสั่งใช้มาอย่างไม่สมเหตุผล ประชาชนต้องหยุดยานั้นในทันทีที่ทราบ ไม่ใช่กินต่อจนหมดตามที่ฉลากยาระบุไว้ ทั้งนี้เพราะเมื่อเป็นการจ่ายยาปฏิชีวนะเกินจำเป็นย่อมหมายความว่าประชาชนไม่ต้องใช้ยานั้นตั้งแต่แรก การกินต่อไปจะยิ่งรบกวนแบคทีเรียตามจุดต่าง ๆ ในร่างกาย และยิ่งก่อปัญหามากขึ้นตามปริมาณยาและระยะเวลาที่ยังคงใช้ยาอยู่ ใจความที่ถูกต้องคือ “ควรกินยาปฏิชีวนะจนครบตามแพทย์สั่งในกรณีที่เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย แต่หากพบว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสควรหยุดยาทันที ไม่ควรกินต่อ” 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ขาดต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองจริงหรือ

        คนไทยนิยมใช้รถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์เป็นจำนวนมาก และสถิติอุบัติเหตุอันดับหนึ่งของไทยก็มาจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 บังคับให้รถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำพ.ร.บ. เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ         พี่ชายของคุณวิเชียร เกิดอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์เสียหลักล้ม ตัวพี่ชายกระแทกแท่งแบริเออร์อย่างแรง อาการหนัก กู้ภัยมาช่วยและดำเนินการส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษา โรงพยาบาลแรกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัดเพื่อทำการรักษา แพทย์ผู้ทำการรักษาตรวจพบว่า อวัยวะภายในเสียหายอย่างมาก ตับแตก ต้องทำการผ่าตัด และทางโรงพยาบาลบอกเขาว่าต้องออกค่ารักษาเอง เป็นค่าผ่าตัด 30,000 บาท เพราะพ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ขาด (หมดอายุ) เขางงว่าในเมื่อพี่ชายของเขามีสิทธิประกันสังคมทำไมใช้สิทธิประกันสังคมรักษาไม่ได้ และสงสัยว่าโรงพยาบาลสามารถเรียกค่ารักษา 30,000 บาท โดยอ้างว่า พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ขาด ได้หรือ จึงปรึกษามายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางการแก้ไขปัญหา         รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เป็นผู้รับทำประกัน กรณีมอเตอร์ไซค์เกิดอุบัติเหตุล้มเอง เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บ ถ้ามอเตอร์ไซค์คันที่เกิดเหตุมีประกันภาคบังคับไว้ หรือที่เรียกกันติดปากว่า พ.ร.บ. รถมอเตอร์ไซค์ อย่างถูกต้องตามกฎหมายและยังไม่หมดอายุ ผู้ประสบเหตุจะได้รับความคุ้มครองเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น เช่น ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ เบิกได้สูงสุดไม่เกินคนละ 30,000 บาท ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ เบิกได้คนละไม่เกิน 35,000 บาท         แต่กรณีของผู้ร้องเสียหลักล้มเอง เป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี และพ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ขาด ผู้ร้องจึงต้องออกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น 30,000 บาทเอง หรือผู้ร้องสามารถเบิกจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ แต่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจะเรียกเงินตามจำนวนที่จ่ายไปคืนจากเจ้าของรถ (เพราะขาดการต่ออายุ พ.ร.บ.) รวมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเสียหายที่เกิดแก่ผู้ประสบภัย         ส่วนเรื่องการใช้สิทธิประกันสังคม เนื่องจากอุบัติเหตุทางมอเตอร์ไซค์ มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงต้องใช้สิทธิในส่วนนี้ก่อน ถ้าการรักษาพยาบาลเกินวงเงิน 30,000 บาทแล้ว ส่วนที่เกินมาจึงจะสามารถใช้สิทธิประกันสังคมหรือสิทธิบัตรทองได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ความเคลื่อนไหวเดือนกรกฏาคม 2563

5 แบงก์เปิดบัญชีเงินฝากด้วยใบหน้าสำเร็จ        ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไฟเขียว 5 แบงก์เปิดบัญชีเงินฝากด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้าสำเร็จ จากทดสอบทั้งหมด 14 ราย พร้อมออกหลักเกณฑ์ ออกแนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ (Biometric Technology) ให้บริการทางการเงิน         นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตอนนี้มี 5 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย กรุงเทพ กรุงศรีอยุธยา ทหารไทย และซีไอเอ็มบี ไทย ได้ออกจากศูนย์ทดสอบนวัตกรรมทางการเงิน (Sandbox) ภายหลังจากธปท.ได้เปิดทดสอบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลข้ามธนาคาร บนแพลตฟอร์ม NDID (National Digital ID) เพื่อเปิดบัญชีเงินฝากผ่านหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้าด้วยเทคโนโลยีชีวมิติ ในการให้บริการทางการเงิน โดยใช้เทคโนโลยีชีวมิติในการเปรียบเทียบใบหน้า (Facial recognition) เพื่อให้บริการเป็นวงกว้าง         “จากการทดสอบเราจะดูความแม่นยำของการยืนยันตัวตน ซึ่งในการทดสอบประมาณ 99.50% สามารถยืนยันได้แม่นยำ และอีก 0.50% อาจจะมีเรื่องของแสงของภาพอาจมืดไป หรือใบหน้าที่อาจมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น ธปท.จึงอยากให้ประชาชนไปอัพเดตข้อมูลกับธนาคารให้เป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อจะได้รับบริการที่สะดวกยิ่งขึ้น”         ทั้งนี้ ธปท. ได้ออกแนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ ในการให้บริการทางการเงินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ให้บริการทางการเงินที่นำ Biometrics มาใช้ในการให้บริการทางการเงิน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีการเปรียบเทียบใบหน้า แนวปฏิบัติดังกล่าวครอบคลุมหลักการที่ผู้ให้บริการทางการเงินพึงปฏิบัติ 6 ด้าน ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายและการกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ 2) การรวบรวมข้อมูลชีวมิติของผู้ใช้บริการอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย 3) การประมวลผลข้อมูลชีวมิติของผู้ใช้บริการอย่างแม่นยำ 4) การรักษาความปลอดภัยข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างเข้มงวดและรัดกุม ตามมาตรฐานสากล 5) การคุ้มครองผู้ใช้บริการและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีชีวมิติอย่างเหมาะสมเพียงพอ และ 6) การควบคุมความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและรองรับการให้บริการอย่างต่อเนื่อง  คาดธุรกิจฟาร์มปลูกผักในเมืองเติบโตขึ้นรับยุคนิวนอร์มัล        ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ประเทศไทยช่วง 1-2 ปีถัดจากนี้ อาจมีธุรกิจฟาร์มปลูกผักในเมืองเพิ่มขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการปลูกที่ให้ผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่และหนึ่งหน่วยเวลาที่สูงกว่าปกติ สอดคล้องกับเทรนด์การบริโภคเพื่อสุขภาพ รวมถึง COVID-19 ที่ส่งผลให้ภาคธุรกิจนี้จำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้เข้าถึงความปลอดภัยด้านอาหารมากขึ้น นับเป็นโอกาสดีของคนเมือง         โดยทำเลที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญในการลงทุน ได้แก่ พื้นที่ใจกลางเมืองที่มีผู้คนอาศัยหรือสัญจรเป็นจำนวนมาก อาทิ ห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารสูง เป็นต้น เพื่อป้อนให้กับลูกค้าเป้าหมายที่สนใจและพร้อมเต็มใจจ่ายกับสินค้ากลุ่มนี้ อาทิ คนรักสุขภาพ ผู้ออกกำลังกายหรือผู้รักการทำอาหาร ส่วนในระยะต่อไปกลุ่มลูกค้าใหม่ที่น่าจับตาคาดว่า น่าจะอยู่ในกลุ่มของโรงแรม โรงพยาบาล เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูงเพื่อนำเสนอให้กับลูกค้า ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น โรงเรียนสังกัดกทม.ห้ามจำหน่ายน้ำอัดลม ขนมกรุบ ลดภาวะฟันผุในเด็ก         นายณัฐพงศ์ ดิษยบุตร ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กทม. เปิดเผยว่า จากการสำรวจนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาทั่วประเทศ เกี่ยวกับสุขภาพทางช่องปาก พบเด็กนักเรียนมีฟันผุในระยะเป็นรูถึงร้อยละ 50 เฉลี่ย 1-2 ซี่/คน ดังนั้นสำนักการศึกษา กทม. จึงวางแนวทางปฏิบัติสำหรับโรงเรียนสังกัด กทม. ในเรื่องการจำหน่ายอาหารว่าง เครื่องดื่มในโรงเรียน โดยห้ามจำหน่ายน้ำอัดลม อาหารกรุบกรอบ ลูกอมทุกชนิด อาหารประเภทปิ้งย่างที่ไม่สะอาดมีโภชนาการต่ำและไม่ปลอดภัยให้เป็นไปตามระเบียบ ซึ่งอาหารจะต้องมีคุณค่าตามหลักโภชนาการ สะอาดและปลอยภัยแก่นักเรียน พร้อมประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องการจำหน่ายอาหารแก่บุคลากรและร้านค้าทั้งในโรงเรียนและบริเวณรอบโรงเรียน ตลอดจนให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในการเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ พร้อมให้คำแนะนำนักเรียนหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์โดยเฉพาะบริเวณรอบโรงเรียน เครือข่ายผู้ป่วยยื่นคัดค้าน ประกาศแพทยสภา 10 หน้าที่อันพึงปฏิบัติ        ตามที่แพทยสภาได้ออกประกาศแพทยสภา ที่ 50/2563 เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย โดยได้กำหนดหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยไว้ 10 ข้อ และมีผลในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2563 นั้น         8 กรกฎาคม 2563 ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เครือข่ายผู้ป่วยทุกประเภททั่วประเทศ (Healthy Forum) และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเดินทางไปยื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอให้ยกเลิกประกาศแพทยสภา เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย เนื่องจากพบว่า การออกประกาศดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้ ขัดต่อกฎหมาย ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของแพทยสภาตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ซึ่งประกาศฯ นั้นไม่ได้ให้อำนาจแพทยสภาในการออกคำสั่งให้ผู้ป่วยหรือประชาชนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย          ประกาศหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยในหลายข้อ มีประเด็นปัญหาที่จะส่งผลต่อการพิจารณาคดีทางการแพทย์ในปัจจุบัน สะท้อนทัศนคติทางการแพทย์ที่คับแคบ มองว่าประชาชนไม่สนใจปัญหาสุขภาพของตนเอง ทั้งที่ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การทำข้อตกลงระหว่างประเทศ สังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของอาหาร และปัญหาสารเคมีทางการเกษตร เป็นต้น           นอกจากนี้กระบวนการในการจัดทำประกาศหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วยนี้นั้น ไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยเอง  ภาครัฐและประชาชนร่วมใจพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล        กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2563 ในการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ได้มีมติเห็นชอบต่อแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล พ.ศ. 2563-2565 ซึ่งครอบคลุมการพัฒนา ตั้งแต่ระบบการกำกับดูแลด้านยา (ต้นน้ำ) ผู้ประกอบวิชาชีพและสถานบริการสุขภาพ (กลางน้ำ) และ ประชาชน ครอบครัวและชุมชน (ปลายน้ำ) ทั้งการใช้ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ วัคซีน ยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ใช้เพื่อการรักษา ยาสมุนไพร/ยาแผนโบราณ และยาสำหรับสัตว์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มุ่งหมายใช้เป็นยา         คนไทยทุกคนสามารถมาร่วมสร้างบรรทัดฐานใหม่ (new normal) เพื่อ ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล หรือเรียกว่า “Rational Drug Use country” ได้โดยยึดหลักว่าความเจ็บป่วยเป็นทุกข์ ซึ่งมีสมุทัยคือสาเหตุของการเกิดโรค การแก้ไขต้องเริ่มจากเหตุเพื่อนำไปสู่ความสุขทั้งกายและใจ เริ่มจากการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเพื่อไม่นำโรคเอ็นซีดี เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันเกาะตับ โรคเกาต์ โรคไต ตลอดจนโรคจากการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด มาสู่ตน รวมไปถึงการนำบุตรหลานและบุคคลในครอบครัวไปรับวัคซีนต่าง ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด การกระทำเช่นนี้จะลดโอกาสป่วย ลดความจำเป็นในการใช้ยาลงได้อย่างมหาศาล แต่เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องทำความรู้จักกับยาที่ได้รับและตั้งใจที่จะใช้ยานั้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตามคำสั่งของแพทย์ ไม่หยุดยาเอง ไม่เลือกกินหรือไม่กินยาบางชนิด เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่ใช้หรือไม่ประสงค์จะใช้ยาต่อต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

อ่านเพิ่มเติม >