ฉบับที่ 193 เนื้อหมูกับการตกค้างของยาปฏิชีวนะ

เมื่อปีที่แล้ว เรารายงานไว้ในนิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 188 ตุลาคม 2559 ว่าพบ การตกค้างของยาปฏิชีวนะ 1 ตัวอย่าง คือ เมนูแซนวิชไก่อบ จากร้าน ซับเวย์ สาขาพารากอน โดยพบ Doxycycline ในกลุ่มยา Tetracycline ปริมาณ 13.73 ไมโครกรัม / กิโลกรัม(ug/kg)  จากการสุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 18 ตัวอย่าง ภายหลังการแถลงข่าวของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและฉลาดซื้อ ทางตัวแทนของซับเวย์ได้ติดต่อขอรายละเอียดและเมื่อได้พิจารณาผลการทดสอบของทางฉลาดซื้อแล้ว ได้ชี้แจงกลับมาว่า จะปรับปรุงเรื่องซับพลายเออ ซึ่งทางซับเวย์ในประเทศไทยใช้ซับพลายเออในประเทศ อีกทั้งยังให้คำมั่นว่า ประเทศไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ทางซับเวย์จะวางนโยบายเลิกใช้เนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ  ต่อมาในเดือนมกราคม 2560 มีการทำข่าวเชิงลึกโดย หนังสือพิมพ์คมชัดลึก เรื่อง อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มหมู โดยเฉพาะยา โคลิสติน ซึ่งเป็นยาต้านแบคทีเรียในลำดับสุดท้ายที่โลกมีอยู่ในฟาร์มหมูอย่างไม่เหมาะสมและในปริมาณที่มากจนน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีรายงานจากประเทศจีนว่า การเลี้ยงหมูด้วยยาโคลิตินเป็นสาเหตุให้เกิดยีนดื้อยาที่เรียกว่า mcr-1   ซึ่งจะทำให้ยาโคลิสตินหมดประสิทธิภาพในการต้านหรือฆ่าเชื้อ หมายถึงเราจะไม่มียาสำหรับการฆ่าเชื้อแบคทีเรียอีกต่อไป ดังนั้นฉลาดซื้อจึงไม่ได้นิ่งนอนใจ เราขออาสาไปตรวจสอบเนื้อหมูสดในตลาดอีกรอบ โดยเก็บตัวอย่างเนื้อหมูสันในจากตลาดสด 6 แห่งใน กรุงเทพฯ ห้างค้าปลีก 8 แห่ง และสั่งซื้อออนไลน์ 1 แห่ง รวม 15 ตัวอย่าง เพื่อตรวจหายาปฏิชีวนะตกค้าง 5 ชนิด โดยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ผลการทดสอบพบ 2 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 13.3 มีการตกค้างของยา คลอร์เททระไซคลีน (Chlortetracycline) ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย โดยปริมาณที่พบ คือ 20.28 ไมโครกรัม/กิโลกรัม(ug/kg)   ในตัวอย่างเนื้อหมูจากตลาดใหม่บางแค และ 42.57 ไมโครกรัม/กิโลกรัม(ug/kg)   และในตัวอย่างเนื้อหมูจากตลาดยิ่งเจริญ  ถึงแม้จะไม่เกินมาตรฐานที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนด แต่ในทางวิชาการแล้ว ปริมาณไม่ใช่สิ่งสำคัญเพียงพบว่ามีการตกค้าง ก็อาจหมายถึงสาเหตุหนึ่งของการเกิดเชื้อดื้อยาได้เช่นกัน ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง เพื่อใช้ควบคุมปริมาณการตกค้างของสารใดๆ ที่ถูกใช้กับสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ข้อมูลตามบัญชีแนบท้ายของประกาศฉบับนี้ กำหนดให้พบการตกค้างของยาในกลุ่ม Tetracycline (เททระไซคลีน) ในเนื้อหมู(กล้ามเนื้อ) สูงสุดได้ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อ 1 กิโลกรัม---------------------------------------------------------รู้หรือไม่ว่า ในอาหารที่เรากิน เราอาจเจอได้ทั้ง ยาปฏิชีวนะ เชื้อโรคที่ดื้อยา และยีนของเชื้อที่ดื้อยา ตัวหลังนี้สำคัญเพราะมันข้ามสายพันธุ์กันได้ในหมู่เชื้อ ทำให้เชื้อโรคต่างก็พากันดื้อยา สถานการณ์ปัจจุบันพบว่า มียีนที่เรียกว่า mcr-1   เกิดขึ้นแล้วพบในจีน อเมริกา อินเดีย หรือในประเทศไทยอย่างน้อยก็มีรายงานว่าพบแล้วสามคน ที่มียีนดื้อยาอยู่ในร่างกาย ยีนตัวนี้สำคัญอย่างไร ยีนดื้อยาตัวนี้ มันไม่กลัวยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะตัวที่แรงสุดในปัจจุบันคือ ยาโคลิสติน เรียกว่า ถ้ายานี้เอาเชื้อโรคไม่อยู่แล้วก็หมดยาที่จะใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 193 สารอาหารในนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม

เชื่อว่าหนึ่งในเหตุผลที่หลายคนชื่นชอบการบริโภคนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ มาจากคุณค่าหรือสารอาหารที่มีประโยชน์ในเครื่องดื่มดังกล่าว เพราะถั่วเหลืองมีไขมันอิ่มตัวน้อยและมีโปรตีนสูงใกล้เคียงกับนมวัว ทำให้ผู้ที่ควบคุมน้ำหนักหรือรับประทานมังสวิรัติสามารถดื่มนมถั่วเหลืองแทนนมวัวได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและมดลูกได้อีกด้วย โดยปัจจุบันเราสามารถเลือกซื้อนมถั่วเหลืองมาบริโภคกันได้ง่ายขึ้น ผ่านร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป เพราะมีการจำหน่ายนมถั่วเหลืองในรูปแบบสำเร็จรูปพร้อมดื่มได้ทันทีนั่นเองอย่างไรก็ตามนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการปรับรสชาติให้ถูกปากผู้บริโภคส่วนใหญ่ จึงอาจทำให้มีปริมาณน้ำตาลสูงเกินกว่าที่เราควรได้รับต่อวัน หรือไม่ควรเกินวันละ 24 กรัม/วัน (6 ช้อนชา) ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงสุ่มทดสอบปริมาณสารอาหารในนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มจำนวน 34 ตัวอย่าง จาก 9 ยี่ห้อ ซึ่งตรวจสอบด้วยการดูฉลากว่ายี่ห้อไหนจะใส่น้ำตาลมากหรือน้อยกว่ากัน รวมทั้งตรวจสอบปริมาณโปรตีนและแคลเซียมในแต่ละยี่ห้ออีกด้วย โดยผลทดสอบจะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับนมถั่วเหลือง- นมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ คือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่นำมาแปรรูป- ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสารจากพืชที่ออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) แต่มีฤทธิ์ในปริมาณค่อนข้างต่ำ จึงไม่ใช่ตัวการหลักที่กระตุ้นให้เด็กผู้หญิงมีรอบเดือนเร็วกว่าปกติ-  ผู้หญิงที่มักปวดท้องเมื่อมีรอบเดือน อาจมีสาเหตุจากร่างกายสร้างเอสโตรเจนออกมาในปริมาณมาก ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการบริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นประจำ เพราะในถั่วเหลืองมีสารเจ็นนิสตีน (genistine) ที่ช่วยทำให้เอสโตรเจนออกฤทธิ์น้อยลง ด้วยการแย่งพื้นที่จับบริเวณผนังเซลล์ของต่อมน้ำนมและมดลูก แต่หากบริโภคสารดังกล่าวในรูปแบบอาหารเสริมเป็นประจำ อาจส่งผลให้มีบุตรยากได้สรุปผลทดสอบจากนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม 34 ตัวอย่าง 9 ยี่ห้อ พบว่า1. น้ำตาล- ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic มีปริมาณน้ำตาล 28 กรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า น้ำตาลน้อย (เจ) มีปริมาณน้ำตาล 4 กรัม/หน่วยบริโภค- ส่วนนมถั่วเหลืองชนิดแห้งที่มีปริมาณน้ำตาลสูงที่สุดคือ โอวันติน เนเจอร์ซีเล็คท์ ซอยย์ นมถั่วเหลืองปรุงสำเร็จชนิดผง สูตรผสมงาดำ (เจ) มีปริมาณน้ำตาล 18 กรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ ดอยคำ นมถั่วเหลือง100% ไม่มีปริมาณน้ำตาลผสมอยู่เลย2. โปรตีน- ยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดมี 5 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมถั่วเหลืองสีดำ (แบล็ค ซิงค์) 2.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรข้าวบาร์เลย์และมอลต์ ทูโก (ขวดแก้ว) 3.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรทูโก ออริจินัล (ขวดแก้ว) 4.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรดับเบิ้ลช็อกโก ทูโก (ขวดแก้ว) 5.แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic มีปริมาณโปรตีน 9 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน- ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนน้อยที่สุดคือ โทฟุซัง นมถั่วเหลืองออร์แกนิค รสออริจินัล (เจ) และดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า (เจ) มีปริมาณโปรตีน 4 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน3. แคลเซียม- ยี่ห้อที่มีปริมาณแคลเซียมสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที ไฮแคลเซียม สูตรเจ มีปริมาณแคลเซียม 60%/หน่วยบริโภค ในขณะที่ยี่ห้อที่มีปริมาณแคลเซียมน้อยที่สุดคือ ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมจมูกข้าวญี่ปุ่น น้ำตาลน้อย (เจ) และดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมน้ำนมข้าวโพด (เจ) มีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่า 2%/หน่วยบริโภค4. พลังงาน- ยี่ห้อที่ให้พลังงานสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic ให้พลังงานทั้งหมด 260 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภค - ยี่ห้อที่ให้พลังงานน้อยที่สุดมี 3 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.ดอยคำ นมถั่วเหลือง100% ให้พลังงานทั้งหมด 70 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภค และ 2.ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า (เจ) 3. โทฟุซัง นมถั่วเหลืองออร์แกนิค รสออริจินัล (เจ) ให้พลังงานทั้งหมด 90 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภคเท่ากัน 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 193 การขอสินเชื่อของผู้บริโภค กับข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน  ในฉบับนี้ เราจะมาคุยกันถึงเรื่องสิทธิผู้บริโภคด้านสัญญากันครับ ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่าใครไม่เคยยืมเงินบ้าง เชื่อว่าส่วนใหญ่ก็คงมีประสบการณ์ในการไปกู้หนี้ยืมสินกันบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ แต่สำหรับวันนี้ผมขอกล่าวถึงการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน  ซึ่งเวลาที่เราจะไปซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ เรามักจะไปทำเรื่องขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินกันใช่ไหม แต่ก่อนลงชื่อในสัญญา มีท่านใดอ่านเอกสารตอนทำสัญญาทุกข้อบ้าง ผมเชื่อว่าน้อยคนนักจะอ่านโดยละเอียด ซึ่งก็แน่นอนว่า สถาบันการเงินมักจะซ่อนข้อสัญญาที่ทำให้เราเสียเปรียบอยู่ด้วย เช่นกันกับคดีที่จะยกตัวอย่างมาให้ทุกท่านศึกษา เป็นเรื่องของลูกค้าธนาคารแห่งหนึ่งที่ไปขอสินเชื่อกับธนาคาร และได้ทำสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และสัญญากู้เงินประเภทวงเงินกู้หมุนเวียนในการใช้วงเงินสินเชื่อ โดยได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้แก่ธนาคาร และก็ได้ชำระเงินกู้และใช้วงเงินสินเชื่อโดยเบิกถอนจากบัญชีและชำระหนี้ตลอดมา จนอยู่มาวันหนึ่ง เขาไม่ประสงค์จะกู้เงินและใช้วงเงินสินเชื่ออีกต่อไป จึงแจ้งธนาคารขอชำระหนี้ปิดบัญชีและไถ่ถอนหลักประกัน ธนาคารจึงได้แจ้งยอดหนี้และคิดค่าธรรมเนียมการยกเลิกวงเงินสินเชื่อกู้เบิกเงินเกินบัญชี เงินกู้หมุนเวียนและหนังสือค้ำประกัน ในอัตราร้อยละ 2 ของวงเงินสินเชื่อที่ขอยกเลิก  ลูกค้าท่านนี้เขาเห็นว่าการคิดค่าธรรมเนียมการยกเลิกวงเงินดังกล่าวไม่เป็นธรรม จึงทำหนังสือโต้แย้งธนาคารและขอสงวนสิทธิที่จะเรียกคืน แต่เมื่อได้มีการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวไป จึงได้มีหนังสือทวงถามให้ธนาคารคืนเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว แต่ปรากฎว่าธนาคารก็เพิกเฉยไม่คืน ทำให้เขาไปฟ้องคดีต่อศาล และศาลฏีกาได้ตัดสินให้ธนาคารคืนเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว เนื่องจากข้อตกลงให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยกเลิกวงเงินไม่เป็นธรรม ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 4904/2557คำพิพากษาฎีกาที่ 4904/2557“ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวได้แยกข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ กับข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูป เป็นคนละส่วนกัน ทั้งนี้โดยคู่สัญญาในสัญญาสำเร็จรูปไม่จำต้องเป็นสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ เมื่อพิจารณาเอกสารสัญญาสินเชื่อแต่ละประเภทและบันทึกแล้ว เห็นได้ว่าเป็นการจัดทำโดยใช้แบบพิมพ์สัญญา และบันทึกข้อตกลงที่จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นล่วงหน้าและนำไปใช้ได้กับลูกค้าทั่วไปที่ขอสินเชื่อประเภทเดียวกันจึงเป็นสัญญาสำเร็จรูป ซึ่งการจะพิจารณาว่าข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าข้อตกลงนั้นเป็นผลให้ผู้กำหนดสัญญาแต่ละประเภทและบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้จำเลยเรียกค่าธรรมเนียมการยกเลิกวงเงินสินเชื่อ เป็นข้อตกลงที่ให้สิทธิจำเลยผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปเรียกค่าธรรมเนียมจากโจทก์คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ทุกกรณี ไม่ว่าโจทก์จะใช้วงเงินสินเชื่อหรือไม่ อย่างไร  จึงเป็นข้อตกลงที่ให้สิทธิจำเลยเรียกร้องหรือกำหนดให้โจทก์ต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญามีผลให้โจทก์รับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้จำเลยได้เปรียบโจทก์ ตาม พ.รบ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 วรรคสาม (5) จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรม และพอสมควรแก่กรณีนั้น แม้โจทก์จะทำสัญญาสินเชื่อแต่ละประเภทและบันทึกข้อตกลงด้วยความสมัครใจ โดยจำเลยคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยประกาศเรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไป และโจทก์ได้รับประโยชน์ในรูปของดอกเบี้ยที่ลดลงตลอดมา แต่เมื่อพิจารณาบันทึกข้อตกลงในส่วนของวงเงินตามสัญญากู้เงินที่ตกลงให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนเงินกู้ หากโจทก์ชำระคืนต้นเงินก่อนครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี ซึ่งดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินดังกล่าว จำเลยคิดในอัตราต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยประกาศเรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไปเช่นเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าโจทก์ใช้วงเงินสินเชื่อแต่ละประเภทมาเกินกว่า 3 ปี โดยเสียดอกเบี้ยให้จำเลยมาตลอด ถือได้ว่าจำเลยได้รับผลตอบแทนจากการใช้วงเงินสินเชื่อของโจทก์มาพอสมควรแก่กรณีแล้ว หากกำหนดให้โจทก์ต้องชำระค่าธรรมเนียมการยกเลิกวงเงินสินเชื่อให้จำเลยอีกย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าธรรมเนียม การยกเลิกวงเงินสินเชื่อให้แก่โจทก์” จากตัวอย่างคดีข้างต้น  ชี้ให้เห็นความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิด้านสัญญา  โดยเฉพาะสัญญาสำเร็จรูปที่ผู้ประกอบธุรกิจทำขึ้นฝ่ายเดียว โดยเราไม่มีโอกาสแก้ไขข้อสัญญา เราต้องตรวจสอบสัญญาก่อนลงลายมือชื่อทุกครั้ง และหากพบว่ามีข้อสัญญาไม่เป็นธรรม ทำให้เราเสียเปรียบ ก็ควรเรียกร้องโต้แย้งไว้โดยทำเป็นหนังสือให้ปรากฎหลักฐาน อย่างเช่นในคดีนี้ที่โจทก์พบว่าหลังจากทำสัญญาสินเชื่อกับธนาคาร  ตนถูกธนาคารเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยกเลิกวงเงินสินเชื่อที่ไม่เป็นธรรม ก็ต่อสู้จนได้เงินคืนในที่สุด 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 รู้เท่าทันการกินม้าน้ำ

ม้าน้ำ เป็นปลากระดูกแข็งที่อาศัยอยู่ในทะเล การแพทย์จีนนิยมนำมาทำเป็นตำรับยาจีนดั้งเดิม เพราะเชื่อว่าช่วยบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ ชะลอความแก่ ต้านมะเร็งเต้านม รักษาหอบหืด อ่อนแรง เป็นต้น จากความนิยมทำให้มีการจับม้าน้ำในมหาสมุทรเพื่อมาจำหน่ายเพราะมีราคาสูง ระหว่าง 18,000-90,000 บาทต่อกิโลกรัม ในแต่ละปี มีการล่าม้าน้ำมาทำยาถึง 150 ล้านตัว คาดว่า ม้าน้ำจะสูญพันธุ์ภายใน 20-30 ปีข้างหน้านี้ จึงต้องมารู้เท่าทันกันเถอะรู้จักม้าน้ำม้าน้ำเป็นปลาชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hippocampus ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่ซื่อสัตย์ต่อความรัก เพราะมันจะมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิต ตัวผู้จะมีกระเปาะหน้าท้อง ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 50 ฟองใส่กระเปาะหน้าท้องตัวผู้ ตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อผสมกับไข่ และคอยดูแลไข่จนฟักออกมาเป็นตัว ใช้เวลาระหว่าง 14 วัน – 4 สัปดาห์ อายุของม้าน้ำในธรรมชาติเฉลี่ย 1-5 ปีม้าน้ำกับการแพทย์จีน ม้าน้ำและสัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิดถูกนำมาใช้เป็นยาในการรักษาโรคต่างๆ ในการแพทย์จีนใช้ม้าน้ำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกายหรือยาดอง ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มความเป็นยินมากขึ้นตามหลักการเรื่องยินหยาง ม้าน้ำยังเกี่ยวกับพลังของตับและไต จึงใช้รักษาหอบหืด หลอดเลือด หย่อนสมรรถภาพทางเพศ โคเลสเตอรอลสูง นอนไม่หลับ และโรคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่หนักแน่นพอที่จะยืนยันประสิทธิผลดังกล่าวในสมัยก่อน การใช้ม้าน้ำในหมู่คนจีนเป็นการซื้อจากตลาดชุมชนท้องถิ่นและนำกลับไปปรุงยาที่บ้านเพื่อรักษาตนเอง คนในครอบครัว คนในชุมชน เป็นหลัก แต่ปัจจุบัน ธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงการใช้และการผลิตยาจากม้าน้ำ โดยมีการบดและบรรจุเป็นยาเม็ดขายกันทั่วไป ยาเม็ดดังกล่าวจะมาจากม้าน้ำที่ยังเล็ก ยังไม่โตเต็มวัย ทำให้ม้าน้ำสูญพันธุ์ได้ง่าย ถ้าเป็นม้าน้ำตัวผู้ซึ่งเป็นตัวที่ฟักไข่ที่หน้าท้อง โดยเก็บไข่ของตัวเมียไว้ที่กระเปาะหน้าท้องและฉีดน้ำเชื้อผสม และดูแลไข่จนฟักออกมาเป็นตัว ทำให้ลูกม้าน้ำจำนวนหลายร้อยตัวตายพร้อมกับพ่อม้าน้ำไปด้วยมีงานวิจัยทางการแพทย์รับรองประสิทธิผลหรือไม่ได้พยายามทบทวนงานวิจัยในวารสารวิชาการในต่างประเทศ มีการศึกษาเรื่องม้าน้ำในด้านต่างๆ มากพอควร แต่ไม่มีการศึกษาที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับประสิทธิผลในการรักษาโรคมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ พบว่า มีคุณสมบัติในการรักษาข้ออักเสบและการอักเสบ เอนไซม์คาเทปซินมีผลต่อเซลล์กระดูกอ่อน อย่างไรก็ตาม ยังต้องการงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพื่อยืนยันขีดความสามารถทางชีวการแพทย์ดังกล่าวเมื่อค้นคว้าใน Cochrane Library ไม่พบว่ามีการทบทวนศึกษาประสิทธิผลของม้าน้ำสรุป แม้ว่าการแพทย์จีนดั้งเดิมเชื่อว่า ม้าน้ำมีสรรพคุณมากมาย รักษาตั้งแต่ การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ชะลอความแก่ มะเร็งเต้านม หอบหืด จนถึงตับไต แต่ก็ไม่มีหลักฐานการศึกษาวิจัยที่จะยืนยันประสิทธิผลดังกล่าว จึงไม่ควรส่งเสริมยาจีนที่ทำจากม้าน้ำ เพราะไม่ยืนยันผล และยังเป็นการทำลายม้ำน้ำที่ใกล้จะสูญพันธุ์อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 อวสานรถตู้ 2562 ทำจริงหรือแค่ขู่ ???

สลดรับปีใหม่ 2 มกราคม 2560 อุบัติเหตุรถตู้โดยสารประจำทาง สายจันทบุรี-กรุงเทพ คันหมายเลขทะเบียน 15-1352 กรุงเทพมหานคร เสียหลักพุ่งข้ามถนนชนรถยนต์กระบะ คันหมายเลขทะเบียน 1ฒณ 2483 กรุงเทพมหานคร ที่บริเวณทางหลวงสาย 344 กม.26 ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตที่เกิดเหตุรวม 25 คน และบาดเจ็บ 2 คนเหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่ใช่ครั้งแรก หากย้อนกลับไปในปี 2559 จะพบว่า มีอุบัติเหตุรถตู้โดยสารไฟไหม้ถึง 4 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวมมากถึง 20 ราย บาดเจ็บรวม 17 รายจากความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงครั้งนี้ นำไปสู่การออกมาตรการเปลี่ยนแปลงระบบขนส่งสาธารณะของกระทรวงคมนาคมชนิดไม่มีใครตั้งตัว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรถตู้โดยสารประจำทาง กับการปรับเปลี่ยนรถตู้โดยสารสาธารณะหมวด 2 ที่วิ่งให้บริการในเส้นทาง กรุงเทพ - ต่างจังหวัด และหมวด 3 ที่วิ่งให้บริการระหว่างจังหวัดกับจังหวัด จำนวน 6,341 คัน เป็นรถไมโครบัส เริ่มต้นตั้งแต่ 1 กรกฎาคมนี้ โดยให้ครบทุกคันภายในปี 2560รวมถึงการออกประกาศเพิ่มเติมของกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ที่บังคับให้รถตู้โดยสารร่วมให้บริการกับ บริษัท ขนส่ง จำกัด ต้องติดตั้ง GPS Tracking ให้ครบถ้วนทุกคันภายใน 31 มีนาคม 2560 ยังไม่รวมถึงมาตรการอื่นๆ ที่รัฐประกาศผ่านสื่อว่าจะจัดการกับปัญหาที่เกิดกับรถโดยสารสาธารณะอย่างเด็ดขาดจริงจังแต่หากยังจำกันได้ ปัญหารถตู้โดยสารไม่ได้เพิ่งจะมาแก้ไขเอาในรัฐบาลชุดนี้ ในอดีตอย่างน้อย 2 รัฐบาล ล้วนเคยพยายามที่จะจัดระเบียบรถตู้โดยสารประจำทางมาแล้ว ปี 2553 ยุคนายโสภณ ซารัมย์ เป็น รมว.คมนาคม ได้ออกนโยบายมุ่งแก้ปัญหารถตู้ผิดกฎหมายด้วยการนำรถตู้ผิดกฎหมายเข้าสู่ระบบปี 2556 ยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ เป็น รมว.คมนาคม มุ่งเน้นการปราบรถตู้เถื่อน การติดตั้งเข็มขัดนิรภัยและเริ่มแนวคิดการติดตั้ง GPS ในรถโดยสารสาธารณะ ปี 2557 รัฐบาล คสช หันมาจัดระเบียบรถตู้โดยสารประจำทางด้วยการดึงรถตู้ผิดกฎหมายที่มีอยู่จำนวนมากให้เข้าสู่ระบบอีกครั้งจากความพยายามในอดีตจะเห็นได้ว่า การจัดการกับปัญหารถตู้โดยสารทั้งที่ถูกกฎหมายและรถผิดกฎหมายหรือรถผีรถเถื่อนนั้นไม่ง่ายเลย โดยเฉพาะที่รัฐบาลชุดนี้ประกาศชัดเจนว่าจะทยอยยกเลิกรถตู้โดยสารประจำทางให้หมดภายในปี 2562 นั้น ยังคงเป็นคำถามที่รอคำตอบว่าจะทำได้แค่ไหนหากดูจากจำนวนปริมาณรถตู้โดยสารทั่วประเทศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2559 มีรถตู้โดยสารประจำทางที่จดทะเบียนสะสมกับกรมการขนส่งทางบกมากถึง 16,002 คัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่มีรถเพียงคันเดียว และไม่มีเงินทุนมากพอที่จะเปลี่ยนรถไมโครบัสที่มีราคาสูงกว่ารถตู้ถึง 2 เท่า โดยไม่มีมาตรการช่วยเหลือของรัฐ นอกจากนี้หากเจาะลึกลงในธุรกิจรถตู้โดยสารประจำทางก็จะพบว่า มีความเกี่ยวพันกับผู้มีอิทธิพล หรือคนในเครื่องแบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการประกาศยกเลิกรถตู้โดยสารประจำทางให้หมดไปภายในปี 2562 จึงไม่มีใครเชื่อว่าจะทำได้จริงแม้ตอนนี้ที่ทุกฝ่ายเหมือนจะยอมรับกันได้แล้วว่า สภาพโครงสร้างของรถตู้โดยสารที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยและไม่เหมาะสมในการนำมารับขนคนโดยสาร ไม่ว่าประตูทางเข้าออกมีทางเดียว ประตูฉุกเฉินด้านหลังใช้ไม่ได้ กระจกมีขนาดเล็ก ติดตั้งถังก๊าซ เพิ่มจำนวนที่นั่ง ฯลฯ ซึ่งการการกำจัดจุดอ่อนอย่างรถตู้โดยสารประจำทางเป็นรถไมโครบัสอย่างเดียวคงไม่ใช่คำตอบด้านความปลอดภัยที่ทุกคนถามหา หากกฎกติกายังมีช่องโหว่ การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ ความสูญเสียที่เกิดกับรถโดยสารสาธารณะทุกประเภทก็คงจะเกิดขึ้นต่อไปต่อจากนี้คงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องติดตามว่าปัญหารถตู้โดยสารจะหมดไปภายในปี 2562 จริงหรือไม่ หรือจะเป็นเพียงการขู่ดังๆให้ทุกฝ่ายรู้สึกตัวว่าต่อจากนี้จะเอาจริงแล้วนะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 ผลงานดีๆ เพื่อผู้บริโภคไทยของ คอบช.

คอบช. คือใครคอบช. เป็นชื่อย่อของ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จำลองรูปแบบของ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จากกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 โดยเครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานด้านผู้บริโภค 302 องค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองทำหน้าที่ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือการให้ความเห็น ข้อเสนอแนะด้านนโยบายและมาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งในปี 2558-2559 มีผลงานที่โดดเด่นจำนวนมาก ท่านสามารถติดตามผลงานและดาวน์โหลดรายงานประจำปีของ คอบช. ได้ที่ www.indyconsumer.org--------------------------------------------------------------------------3 ผลงานดีๆ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในปี 2559• ข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยของการบริโภคน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ• ข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหา การฟ้องขับไล่กรณีบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ จากสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ผลักดันด้านนโยบาย ให้ อย.ออกประกาศฉบับใหม่เพื่อควบคุมการแสดงฉลากอาหารที่ได้จากพืชดัดแปรพันธุกรรม1 ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญไม่ได้มาตรฐาน แม้ดูเหมือนมีหลายหน่วยงานเข้ามาดูแลและเฝ้าระวังปัญหาน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ แต่สถานการณ์กลับไม่ดีขึ้น คนไทยยังเสี่ยงต่อการบริโภคน้ำดื่มไม่ปลอดภัยจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบันดังนั้นในปี 2559 คณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายใต้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) ร่วมกับนักวิจัยอิสระทำการศึกษา เรื่อง “สถานการณ์ความปลอดภัยของการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในกรุงเทพมหานคร” โดยสำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ จำนวน 855 ตู้ พื้นที่ 17 เขตของกรุงเทพฯ ซึ่งผลการศึกษามีดังนี้ด้านการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พบว่า มีผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพียงร้อยละ 8.24 เท่านั้นเรื่องสถานที่ตั้งตู้น้ำดื่มฯ พบว่า ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญถูกวางไว้ใกล้บริเวณที่มีฝุ่นมาก (ริมถนน ริมฟุตบาท) ร้อยละ 76.3 วางอยู่ใกล้แหล่งระบายน้ำเสีย/น้ำขัง ร้อยละ 28.3 และวางอยู่ใกล้ที่ทิ้งขยะ ซึ่งมีสัตว์พาหะนำโรคอย่าง หนู แมลงสาบ แมลงวัน ร้อยละ 22 วิธีการติดตั้งพบว่า มีตู้ที่ยกระดับให้สูงจากพื้นอย่างน้อย 10 เซนติเมตร ร้อยละ 52.3 และมีจุดวางพักภาชนะบรรจุน้ำร้อยละ 88.9เรื่องการติดฉลากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ (ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 31 พ.ศ. 2553 โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) พบว่า มีการแสดงรายงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำเพียง ร้อยละ 6 แสดงรายงานการเปลี่ยนไส้กรอง ร้อยละ 7 มีการแสดงข้อแนะนำในการใช้ตู้ ร้อยละ 20 มีการแสดงคำเตือน “ระวังอันตรายหากไม่ตรวจวัน เดือน ปี ที่เปลี่ยนไส้กรองและตรวจสอบคุณภาพน้ำ” ร้อยละ 26.1 และแสดงเบอร์ติดต่อกรณีเครื่องมีปัญหาร้อยละ 50.5เมื่อดูลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พบว่า ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตัวตู้ไม่สะอาด ร้อยละ 55.2 หัวจ่ายน้ำไม่สะอาดร้อยละ 42.9 ตู้เป็นสนิม ร้อยละ 29.4 มีการผุกร่อนร้อยละ 21.1 ตู้มีรูรั่วซึม ร้อยละ 11.2 สำหรับในส่วนของเรื่องการบำรุงรักษาและการทำความสะอาดตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญนั้น พบว่า มีการล้างถังเก็บน้ำภายในตู้ทุกเดือน เพียงร้อยละ 43.3สำหรับแหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มหยอดเหรียญ จากการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาในการผลิตร้อยละ 93.8 ส่วนที่เหลือไม่ทราบแหล่งน้ำที่ใช้สู่ความร่วมมือคอบช. ได้นำผลการศึกษาพร้อมข้อเสนอจากงานวิจัยเรื่อง “สถานการณ์ความปลอดภัยของการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในกรุงเทพมหานคร” ส่งต่อให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ หลายหน่วยงานต่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้กำหนดให้มีการตรวจติดตามตู้น้าดื่มหยอดเหรียญไว้ในแผนการตรวจสอบฉลากสินค้าแล้ว กรณีที่พบการกระทำความผิดจะส่งเปรียบเทียบความผิดตามกฎหมายทันที และในส่วนของแผนการตรวจสอบฉลากสินค้าในส่วนภูมิภาคประจำปีงบประมาณ 2559 ทาง สคบ.จะกำหนดให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการตรวจสอบด้วยสำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รับผลการศึกษาของ คอบช.เพื่อนำไปประกอบการทำร่างเทศบัญญัติการควบคุมกิจการผลิตน้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายตู้น้ำดื่มอัตโนมัติขณะที่รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ยินดีที่จะนำผลการศึกษาไปพัฒนา และจัดทำความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เรื่องการควบคุมมาตรฐานน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญ โดยจะตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อหาแนวทางการบูรณาการแก้ไขปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมคุณภาพตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต่อไปนอกจากนี้ ข้อเสนอจากผลการศึกษายังได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงาน สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน ในปี 2559 ด้วยสรุปข้อเสนอจากงานวิจัย • ข้อเสนอต่อผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการต้องขอใบอนุญาตฯ และจัดสถานที่ให้เหมาะสมก่อนการติดตั้งตู้ และปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง• ข้อเสนอต่อหน่วยงานสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ต้องติดตามและตรวจสอบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้งหมด ถ้าพบว่าไม่ได้รับใบอนุญาตฯ ต้องเรียกเจ้าของตู้ให้มาดำเนินการตามกฎหมาย หากไม่สามารถติดต่อได้รื้อถอนตู้ และเสนอให้ติดสติกเกอร์ทุกตู้ที่ได้ใบอนุญาตฯ ถูกต้องสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ควรมีแผนการเก็บตัวอย่างน้ำจากตู้น้ำดื่มไปตรวจวิเคราะห์ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ หากน้ำที่ผลิตจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญไม่เป็นไปตามมาตรฐานให้ดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ต้องติดตามกำกับดูแลเครื่องผลิตน้ำดื่มแบบหยอดเหรียญ ให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ต้องบังคับให้ผู้ประกอบที่ได้รับใบอนุญาตฯ ต้องขออนุญาตการติดฉลาก ตามประกาศฯ ฉบับที่ 31 พ.ศ. 2553 รวมถึงติดตามการติดฉลากของผู้ประกอบการว่ากระทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากพบว่าดำเนินการไม่ถูกต้อง ควรลงโทษให้เด็ดขาด2 บ้านเอื้ออาทรกับการบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่อยู่อาศัยคือปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่เพียงแค่ใช้พักผ่อนหลับนอน แต่ยังเป็นศูนย์รวมของครอบครัวซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับประเทศไทยการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะกับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งในอดีตรัฐเองก็ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า การเคหะแห่งชาติ ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่จัดให้มีเคหะขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้มีรายได้น้อย ได้มีที่อยู่อาศัย ทั้งในแบบเช่าซื้อและซื้อ โดยโครงการบ้านเอื้ออาทร ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่การเคหะฯ เป็นผู้ดำเนินการ ตามนโยบายของรัฐบาลในยุค พ.ศ. 2546บ้านเอื้ออาทร ในนิยามของการเคหะฯ คือ เป็นที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานและอยู่ในชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีระดับราคาที่กลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มที่มีรายได้ครัวเรือนไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท (รายได้ปี 2546) และปรับเป็นรายได้ครัวเรือนไม่เกินเดือนละ 40,000 บาท สามารถรับภาระการผ่อนชำระได้ต่อมาโครงการนี้ ถูกเรียกขานว่า เป็นนโยบายประชานิยมมีนัยเพื่อซื้อใจคนที่มีรายได้น้อย ให้มีความหวังกับการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง แต่จากระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่า แม้จะมีการวางแผนไว้อย่างดีสำหรับโครงการนี้ แต่ในทางปฏิบัติกลับมีช่องว่างมากมายจนทำให้เกิดการทุจริต (ซึ่งปัจจุบันกำลังมีการตรวจสอบกันอย่างเข้มข้น) และท้ายที่สุดก็เกิดปัญหาดีมานด์เทียมขึ้น จนก่อให้ซัพพลายหรือตัวอาคารที่สร้างเสร็จค้างไว้ ไม่มีผู้มารับโอนตามจริง เป็นภาระหนักให้การเคหะฯ ต้องขวนขวายหากลยุทธ์ในการระบายสต็อกในโครงการบ้านเอื้ออาทรที่มีค้างอยู่ให้หมด และยังมีปัญหาที่ผู้ซื้อมือแรกไปต่อไม่ไหว กลายเป็นหนี้สูญ หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสินเชื่อ เพราะผู้มีรายได้น้อย ส่วนใหญ่จะมีรายได้ไม่แน่นอนทำให้เกิดปัญหาในการชำระค่างวดให้ตรงเวลา หรือขาดส่งค่างวดตามที่สัญญาระบุไว้ติดๆ กัน จนนำไปสู่การบอกเลิกสัญญาการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรมปัญหาการถูกการเคหะแห่งชาติบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค จนนำไปสู่การฟ้องร้องขับไล่ เป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากดำเนินงานช่วยเหลือผู้บริโภคของ คอบช. พบว่า ปัญหาเกิดจากข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมเมื่อผู้บริโภคตัดสินใจเข้าร่วมโครงการบ้านเอื้ออาทร จะมีสัญญาเกิดขึ้น 3 ฉบับ คือ สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญากู้ยืมเงิน และสัญญาค้ำประกัน โดยผู้บริโภคทำสัญญาจะซื้อจะขายกับการเคหะแห่งชาติ ผู้บริโภคทำสัญญากู้เงินกับสถาบันการเงิน และการเคหะฯ ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้บริโภคและยอมรับผิดร่วมกับสถาบันการเงินสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อผู้บริโภคผิดพลาดในการส่งเงินค่างวดตามสัญญากู้เงิน สถาบันการเงินจะส่งเรื่องให้ผู้ค้ำประกัน คือการเคหะฯ ทราบเรื่องเพราะถือเป็นลูกหนี้ร่วม การเคหะฯ จะดำเนินการจ่ายหนี้แทนผู้บริโภคและส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายให้กับผู้บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคไม่ยินยอมออกจากบ้าน(ที่บางคนก็อยู่มาหลายปีแล้ว) ก็ตามมาด้วยการฟ้องขับไล่ ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากได้พิจารณาในตัวสัญญาที่เกิดขึ้นทั้งสามฉบับ กลับพบว่า มีจุดที่เอาเปรียบผู้บริโภคอย่างมาก จนทำให้หลายคนเสียบ้านไปแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวทาง คอบช. จึงได้จัดทำข้อเสนอต่อกรณีการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรมของการเคหะฯ ดังนี้1.ขอให้การเคหะแห่งชาติแก้ไขสัญญาเรื่องผู้ขายบอกเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน 2.ขอให้การเคหะแห่งชาติ บังคับใช้ข้อสัญญา เรื่องห้ามให้เช่าช่วงอย่างเคร่งครัด 3.ขอให้การเคหะแห่งชาติกับสถาบันการเงิน ปฏิบัติตามสัญญากู้เงินในเรื่องการให้แก้ไขข้อผิดสัญญาก่อนบอกเลิกสัญญา“ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจกู้ยืมเงินเพื่อให้ผู้บริโภคของสถาบันการเงิน เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2544 ข้อ 3 (2) ระบุว่า การผิดสัญญาเรื่องใดของผู้กู้ที่ผู้ให้กู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะต้องให้ผู้ให้กู้ระบุไว้เป็นการเฉพาะ ด้วยตัวอักษรสีแดง หรือตัวดำ หรือตัวเอนที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป และก่อนการบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งหนังสือไปยังผู้กู้ และควรกำหนดระยะเวลาอันสมควรให้ผู้กู้แก้ไขการผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขดังกล่าว แต่สัญญากู้ยืมเงินในโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ผู้กู้หรือผู้บริโภคทำกับสถาบันการเงินไม่มีข้อสัญญาที่ให้ผู้ให้กู้ต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้กู้และไม่มีการกำหนดระยะเวลาอันสมควรให้ผู้กู้แก้ไขการผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขก่อนการบอกเลิกสัญญา จึงเป็นการขัดต่อประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ข้อ 3 (2) และพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 35 ตรี”หลังการนำข้อเสนอข้างต้นเข้าหารือ การเคหะแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อการคุ้มครองผู้ซื้อหรือผู้บริโภคโครงการบ้านเอื้ออาทร ดังนี้1.หากผู้ซื้อผิดนัดและไม่มีเงินชำระก็ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อ ที่จะนำเงินที่เหลือมาผ่อนชำระกับการเคหะแห่งชาติในรูปแบบสัญญาเช่าซื้อได้2.การเคหะแห่งชาติได้ประชาสัมพันธ์ข้อห้ามต่างๆ ให้ผู้ซื้อทราบก่อนทำสัญญา และปัจจุบันมีการโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้ผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก3.การเคหะแห่งชาติได้ประสานกับสถาบันการเงิน และตกลงให้สถาบันการเงินมีหนังสือแจ้งผู้ซื้อที่ผิดนัดชำระหนี้ ได้ทราบเรื่องการผิดสัญญาและให้ผู้ซื้อได้แก้ไขข้อผิดสัญญาในระยะเวลาอันสมควร ก่อนถูกบอกเลิกสัญญา และก่อนที่สถาบันการเงินจะมีหนังสือแจ้งการเคหะแห่งชาติให้ชำระหนี้แทน3 การแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคพันธุวิศวกรรม(จีเอ็มโอ) ผู้บริโภคย่อมมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงที่มาของอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ซึ่งอาหารดัดแปรพันธุกรรมหรือที่ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม(จีเอ็มโอ) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ยังมีข้อกังขาในเรื่องความปลอดภัยแต่ผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ ไม่อาจสังเกตได้ในระดับปกติ ต้องใช้การทดสอบเป็นการเฉพาะ เนื่องจากไม่มีความแตกต่างในทางกายภาพ การแจ้งบนฉลากอาหารจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยแจ้งข้อมูลแก่ผู้บริโภคได้ ในประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะในเรื่องฉลากอาหารจีเอ็มโอ แต่มีอยู่ใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 251 พ.ศ. 2545 แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีเนื้อหาครอบคลุมเฉพาะในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีถั่วเหลืองและข้าวโพด เท่านั้นฉลากจีเอ็มโอต้อง ‘ชัดเจน’ ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ ไม่เฉพาะถั่วเหลือง-ข้าวโพดสิ่งนี้คือข้อเสนอที่ คอบช. ได้พยายามผลักดันเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ได้ เพราะการปล่อยให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจีเอ็มโอ ที่นอกเหนือจากถั่วเหลืองและข้าวโพด วางจำหน่ายตามท้องตลาด ย่อมไม่ทันสถานการณ์จีเอ็มโอซึ่งปัจจุบันอาหารจีเอ็มโอในนั้นก้าวหน้าไปอย่างมาก มีมากกว่าถั่วเหลืองกับข้าวโพดแล้ว เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ แป้งมันสำปะหลัง มะละกอ และปลาแซลมอล (Salmon) ซึ่งยังไม่มีข้อกำหนดต้องติดฉลากจีเอ็มโอแต่อย่างใดในประเทศไทย กรณีเช่นนี้จึงไม่เป็นธรรมกับอาหารจีเอ็มโอ ทั้งถั่วเหลืองและข้าวโพด ตลอดจนผู้บริโภคที่ปฏิเสธอาหารประเภทดังกล่าว เพราะไม่มีโอกาสเลือก หรือรับรู้ข้อมูลจากฉลากที่ชัดเจนในปี 2559 คอบช.ได้ทำข้อเสนอแนะต่อการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยชีวภาพ พ.ศ. ....(พืช GMOs) โดยคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษากฎหมายเพื่อกำกับดูแลสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมเพื่อพิจารณา ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ทั้งยังได้เสนอให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการออกประกาศควบคุมฉลากแสดงสินค้าพืชดัดแปรพันธุกรรม (GMOs ) ที่ก้าวหน้ากว่าบทบัญญัติ ปี พ.ศ.2545-----------------------------------------------------ปัจจุบันมี ถั่วเหลือง และข้าวโพด เท่านั้นที่แสดงฉลาก จากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรมที่ต้องมีการแสดงฉลากอาหาร 22 รายการ ได้แก่1. ถั่วเหลือง 2. ถั่วเหลืองสุก (cooked soybean) 3. ถั่วเหลืองคั่ว 4. ถั่วเหลืองบรรจุขวดหรือบรรจุกระป๋อง (canned soybean) หรือบรรจุในบรรจุภัณฑ์ อ่อนตัว (retort pouch) 5. ถั่วหมัก (natto) 6. เต้าเจี้ยว (miso) 7. เต้าหู้ เต้าหู้ทอดน้ำมัน 8. เต้าหู้แช่แข็ง กากเต้าหู้ (ฟองเต้าหู้และผลิตภัณฑ์) 9. นมถั่วเหลือง 10. แป้งถั่วเหลือง (soybean flour) 11. อาหารที่มีอาหารตามข้อ 1-10 เป็นส่วนประกอบหลัก 12. อาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง (soybean protein) เป็นส่วนประกอบหลัก13. อาหารที่มีถั่วเหลืองฝักอ่อนและยอดอ่อน (green soybean) เป็นส่วนประกอบหลัก 14. อาหารที่มีถั่วงอกที่ได้จากถั่วเหลืองเป็นองค์ประกอบหลัก 15. ข้าวโพด 16. ป๊อปคอร์น (pop corn) 17. ข้าวโพดแช่เยือกแข็ง (freeze) หรือแช่เย็น (chill) 18. ข้าวโพดบรรจุขวดหรือบรรจุกระป๋อง (canned corn) หรือบรรจุในบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (retort pouch) 19. แป้งข้าวโพด (corn flour/corn starch) 20. ขนมขบเคี้ยวที่ผลิตโดยใช้ข้าวโพดเป็นส่วนประกอบหลัก 21. อาหารที่มีอาหารตามข้อ 15-20 เป็นส่วนประกอบหลัก 22. อาหารที่มีข้าวโพดบดหยาบ (corn grits) เป็นส่วนประกอบหลัก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 ไม่ปัดเศษเป็นนาทีมีแต่ได้

ตัวแทนผู้บริโภคของบริษัทมีความพยายามทำให้เกิดความเข้าใจผิดมากว่า หากทำวินาทีจะทำให้คนใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตจ่ายแพงขึ้น บริษัทมือถือจะมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอย่างน้อย 26 จะทำให้ตัดทางเลือกของผู้บริโภค เพราะจะเหลือเพียงโปรโมชั่นเดียว หรือแม้แต่บอกว่า การออกโปรโมชั่นเดิมแบบวินาทีของบริษัททำให้ผู้บริโภค จ่ายแพงกว่า เช่น เดิม 99 สตางค์ต่อนาที หากเป็นวินาทีจะตกอยู่ที่ 1.6 สตางค์ แต่โปรแบบนาทีก็ยังถูกกว่า หรือยกตัวอย่างเบอร์เติมเงิน นาทีแรก 99 สตางค์ นาทีต่อไปนาทีละ 25 สตางค์ ถ้าถามประชาชนว่าจะเลือกแบบไหน ประชาชนก็ต้องเลือกแบบนาทีเพราะถูกกว่าเรื่องผู้บริโภคจ่ายแพงขึ้น ไม่เป็นจริงแน่นอน เพราะเรื่องนี้เป็นการนับเวลาการใช้โทรศัพท์ หากเราได้ใช้เต็มจำนวนไม่ปัดเศษวินาทีเป็นนาที เราสามารถลดแพ็คเกจให้ราคาถูกลง ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งระบบรายเดือนและระบบเติมเงินในการใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตส่วนเรื่องโปรวินาทีทำให้ราคาที่เราจ่ายแพงขึ้น เป็นเพราะผู้ประกอบการได้นำ “โปรวินาที” มาเสนอเป็น “ทางเลือก” แก่ผู้บริโภคเพียงแค่ 1 โปร เท่านั้น ในที่สุดโปรวินาทีที่ออกมาก็กลายเป็น “โปรสับขาหลอก” ที่ออกแบบมาให้ไม่มีใครเลือกใช้อีก ขณะที่โปรทั่วไปก็ยังมีลูกค้าหนาแน่นเหมือนเดิม บริษัทมือถือจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็ไม่เป็นจริง เพราะเรื่องนี้บริษัทคัดค้านเต็มที่ ถึงขนาดลงขันกันมากกว่าร้อยล้าน หากบริษัทได้ประโยชน์ย่อมเห็นด้วยหรือสนับสนุนอย่างแน่นอน ที่สำคัญบริษัทคงไม่ยินดีลดกำไรของตนเองหาก กสทช.ไม่มีการกำกับดูแลใดๆเรื่องตัดทางเลือก ก็ขออธิบายว่า ไม่เกี่ยวกันเลย เพราะสิ่งที่เสนอเป็นเพียงการนับจำนวนที่ใช้โดยไม่ปัดเศษ ไม่ได้จำกัดการทำโปรโมชั่นของบริษัท เหมือนเราได้รับส้มเต็มกิโล แต่เป็นนาทีโทรศัพท์เต็มตามจำนวนของโปรโมชั่น และบริษัทยังสามารถมีโปรโมชั่นได้ตามเดิม เพียงแต่การคิดค่าโทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ตให้คิดตามจริงไม่ปัดเศษ เพื่อให้ได้สิทธิเต็มจำนวนตามแพ็คเกจ จึงเป็นที่มาของมติ กสทช. 17 พฤษภาคม 2559 ว่า “ให้คิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริงเป็นวินาทีทุกรายการส่งเสริมการขาย” แต่ไม่มีการบังคับให้บริษัททำจริงใน 8 เดือนที่ผ่านมา แถมยังได้แก้ไขให้บริษัททำเพียง 50% ของการส่งเสริมการขายเมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมา ส่วนข้ออ้างของนักวิชาการ ว่า กสทช. ไม่ควรกำกับเรื่องนี้ แต่ควรทำให้การใช้โทรศัพท์(เสียง)ฟรี เพราะปัจจุบันเราสามารถโทรศัพท์โดยผ่านระบบไลน์โดยไม่ต้องเสียเงิน ก็ต้องบอกว่า “ไม่คัดค้าน” ผู้บริโภคก็ยินดีหาก กสทช.จะสามารถกำกับให้โทรศัพท์โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่ขณะที่บริษัทยังคิดเงินอยู่ทุกเดือนเช่นปัจจุบัน ก็ต้องกำกับให้คิดเงินอย่างเป็นธรรม และต้องเป็นธรรมกับทุกคน ไม่ใช่ให้เลือกความเป็นธรรมเพียง 50%เรื่องนี้ คงไม่ง่าย เพราะถ้าง่าย คงสำเร็จไปเมื่อสองปีที่แล้ว แต่เพราะความยากนี่แหละ ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราได้มีโอกาสร่วมมือกัน ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 รวมพลังผู้บริโภค ยกเลิกปัดเศษค่าโทรมือถือ คิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที (2)

หลักการสำคัญของข้อเสนอให้คิดค่าบริการโทรศัพท์เป็นวินาทีตามที่มีการใช้งานจริง ก็คือ “หลักความเป็นธรรม ใช้เท่าไร ก็ควรจ่ายเท่านั้น”  ในอดีต การปัดเศษการใช้งานโทรศัพท์จากวินาทีเป็นนาทีนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดด้านเทคนิคของระบบนับเวลาและคิดคำนวณค่าบริการที่ยังไม่ทันสมัย เป็นระบบอนาล็อก ที่ไม่สามารถคำนวณนับแบบละเอียดได้ จึงต้องมีการปัดเศษการโทรเป็นนาที แต่ทุกวันนี้ ระบบโทรคมนาคมพัฒนาไปมาก เป็นระบบดิจิตอลหมดแล้ว การบันทึกข้อมูลการใช้งานทำได้ละเอียดมาก ๆ  แม้กระทั่งหน่วยที่เล็กกว่าวินาทีก็สามารถคำนวณนับได้ และถ้าดูข้อมูลในใบแจ้งค่าใช้บริการดี ๆ จะเห็นว่า ข้อมูลระยะเวลาการใช้งานโทรศัพท์ที่บริษัทบันทึกไว้นั้น มีหน่วยเป็นวินาทีด้วยซ้ำไป แล้วจึงค่อยมาปัดเศษการใช้งานเป็นนาทีอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ถ้าจะว่าไปแล้ว การคำนวณนับค่าบริการเป็นวินาทีนั้น ตรงไปตรงมาและยุ่งยากน้อยกว่าการต้องไปปัดเศษเสียอีก  คิดค่าบริการโทรศัพท์เป็นวินาทีตามที่มีการใช้งานจริง จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับยุคดิจิตอล การคิดแบบปัดเศษวินาทีเป็นนาทีต่างหากที่เป็นเรื่องล้าสมัย และไม่เป็นธรรม  ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส จึงเลิกใช้ระบบปัดเศษกันแล้ว และมีกฎหมายห้ามปัดเศษ เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค  แพ็คเกจค่าบริการโทรศัพท์ในบ้านเราทุกวันนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเหมาจ่าย เช่น “จ่าย 190 บาท รับสิทธิโทรออกทุกเครือข่าย 250 นาที ค่าบริการส่วนเกินคิดค่าบริการนาทีละ 0.99 บาท” แต่พอใช้งานจริง เมื่อถูกปัดเศษการใช้งานทุกครั้งที่โทร ผู้ใช้บริการก็จะไม่สามารถใช้งานได้เต็มตามสิทธิ แถมบางรายอาจจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพราะ ด้วยวิธีการคำนวณนับระยะเวลาการใช้งานแบบปัดเศษ ทั้งที่ถ้านับระยะเวลากันจริง ๆ ใช้งานไม่เกินสิทธิตามแพ็คเกจด้วยซ้ำ เรียกว่า โดนเอาเปรียบถึง 2 ต่อเลยทีเดียว  ที่สำคัญ เงื่อนไขการปัดเศษการโทรจากวินาทีเป็นนาทีนี้ หลายกรณีก็มิได้มีการเขียนเอาไว้ในสัญญาการใช้บริการ หรือแจ้งไว้ในรายการส่งเสริมการขายด้วยซ้ำ จึงเท่ากับว่า ค่ายมือถือกำลังทำผิดสัญญา ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ใช้บริการก็มีสิทธิฟ้องร้อง ให้ศาลสั่งให้บริษัทปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญา คือ คิดค่าบริการตามที่มีการใช้งานจริง และให้คืนเงินส่วนที่บริษัทได้เรียกเก็บไปโดยมิได้มีการใช้งานจริง  แต่เมื่อพูดถึงเรื่องการฟ้องร้อง หลายคนก็จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก วุ่นวาย เสียเงิน เสียเวลา แถมไม่รู้ว่าฟ้องไปแล้วจะชนะหรือไม่ คิดแล้วยังไง ก็ไม่คุ้มกับเงินที่เสียไปไม่กี่บาท ยอมทนก้มหน้า ถูกเอาเปรียบต่อไปดีกว่า  ระบบศาลยุติธรรมเองก็เห็นถึงข้อจำกัดนี้ จึงมีการพัฒนาปรับปรุง กระบวนฟ้องคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ขึ้น โดยเป็นวิธีการที่สามารถคุ้มครองผู้เสียหายจำนวนมากได้ ด้วยการดำเนินคดีเพียงคดีเดียว ซึ่งเหมาะสำหรับคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนเยอะ ๆ แต่ความเสียหายของแต่ละคนไม่มาก และความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำที่มีข้อเท็จจริงเดียวกัน และข้อกฎหมายเหมือนกัน เช่น คดีผู้บริโภค คดีผิดสัญญา คดีสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยจะมีโจทก์ผู้ริเริ่มคดี ดำเนินการแทนผู้เสียหายคนอื่น ๆ และไม่จำเป็นต้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีหรือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน เพียงแต่เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่ม ซึ่งเมื่อศาลมีคำพิพากษาก็จะมีผลผูกพันกับสมาชิกในกลุ่มไปด้วย  การดำเนินคดีแบบกลุ่มนี้ในต่างประเทศมีมานานแล้ว แต่ในประเทศไทยเพิ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2558 ให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการฟ้องและดำเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว  ล่าสุด(12 มกราคม 2560) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่าย เตรียมรวบรวมผู้เสียหายจากการถูกคิดค่าบริการเกินกว่าที่ใช้งานจริงเนื่องจากถูกปัดเศษการใช้งานโทรศัพท์ ฟ้องคดีแบบกลุ่ม เพื่อเรียกเงินคืนจากบริษัทมือถือต่าง ๆ และขอให้บริษัทปฏิบัติตามสัญญาคิดค่าบริการตามที่มีการใช้งานจริงเป็นวินาที โดยไม่ปัดเศษ  สำหรับผู้บริโภคท่านใดที่สนใจ สามารถมีส่วนร่วมพิสูจน์ปัญหาค่าโทรปัดเศษด้วยตัวท่านเอง โดยขอบันทึกการโทรย้อนหลังเพื่อนับวินาทีและเงินที่หายไป (Call Detail Record ) ผ่านคอลเซ็นเตอร์ในเครือข่ายที่ท่านใช้งาน  ครับ ช่วยกันไปขอบันทึกการใช้โทรศัพท์ ที่ให้บริการมือถือที่เราใช้อยู่ ย้อนหลังได้กี่เดือนเอามาให้หมด มาดูกับประวัติการโทรของว่า เราถูกเอารัดเอาเปรียบไปเท่าไร หากเห็นว่าตัวท่านเสียหายจากการปัดเศษค่าโทร และอยากร่วมฟ้องคดี สามารถติดต่อมาได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทั้งทางเฟสบุ๊ค และเว็บไซต์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หรือร่วมลงชื่อกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟ้องคดี แบบกลุ่ม class action >>> https://goo.gl/PgmPDM 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนมกราคม 2560ย้ายค่ายใช้เบอร์เดิมภายใน 3 วันไม่เป็นจริงนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ร้องเรียนปัญหาทางด้านการให้บริการในประเทศไทยปี 2559 ระบุปัญหา เรื่องการย้ายค่ายเบอร์เดิม ถูกร้องเรียนเพิ่มขึ้นมากที่สุด จำนวนเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคมปี 2559 ทำลายสถิติเดิม ด้วยจำนวนกว่า 4,200 เรื่อง เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีเพียง 2,913 เรื่อง เกือบ 50% โดยประเด็นเรื่องร้องเรียนที่เพิ่มกว่าพันเรื่องนั้นส่วนใหญ่เป็นปัญหาบริการคงสิทธิเลขหมาย (ย้ายค่ายใช้เบอร์เดิม) ซึ่งแม้ว่า กสทช. จะกำหนดให้การย้ายค่ายต้องแล้วเสร็จใน 3 วันทำการก็ตาม แต่ผู้บริโภคเกินกว่าครึ่งก็ไม่สามารถย้ายค่ายได้ใน 3 วัน หรือถูกปฏิเสธการย้ายค่าย ในประเด็นเรื่องการย้ายค่าย สาเหตุมาจากปัญหาการช่วงชิงผู้บริโภคที่ซิมจะดับเมื่อต้นปี 2559 ด้วยช่องทางบริการคงสิทธิเลขหมายนั้น ถือเป็นกลไกการแข่งขันที่สร้างตัวเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่ซิมจะดับว่า จะเลือกใช้บริการค่ายไหนดี แต่ปัญหาก็เกิดเพราะมีการเปิดช่องทางย้ายค่ายผ่านร้านสะดวกซื้อ เพียงรูด หรือเสียบบัตรประชาชนกับเครื่องอ่านบัตร ซึ่งโดยปกติธุรกรรมต่างๆ มักจะต้องมีการเซ็นชื่อพิสูจน์ตัวบุคคลร่วมกับการแสดงบัตรประชาชน จึงเกิดปัญหาความชอบด้วยกฎหมายของช่องทางดังกล่าวตามมา ทำให้เกิดการปฏิเสธการโอนย้ายจำนวนมหาศาล และเกิดกรณีการใช้บัตรประชาชนโอนย้ายโดยเจ้าของไม่ได้ยินยอม ซึ่งขณะนี้ กสทช.ได้ดำเนินการออกแนวปฏิบัติในการย้ายค่ายใหม่ให้สะดวกและรัดกุมยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มมีผลในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้กรมแพทย์เตรียมเปิด “สถานดูแลคนแก่” เช้าไปเย็นกลับ พร้อมจัดทำแนวทางมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุกรมการแพทย์เตรียมเปิด “สถานดูแลผู้สูงอายุ” แบบเช้าไปเย็นกลับ ภายในปี 2560 รับดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ชนชั้นกลาง ก่อนถอดบทเรียนจัดทำเป็นแนวทางมาตรฐานสถานดูแลผู้สูงอายุระดับประเทศ ให้เอกชนนำไปเป็นแบบ หากทำได้ออกใบรับรองการันตีทันที              นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านราว 2% ของจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั้งประเทศ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านจะมีอาการป่วยบ้าง แต่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และในช่วงกลางวันมักต้องอยู่คนเดียว ไม่มีคนดูแล เนื่องจากลูกหลานออกไปทำงาน แต่ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่ต้องการที่จะไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ ทั้งนี้ กรมฯ เตรียมที่จะจัดตั้งสถานดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางวัน (Day Care) โดยใช้พื้นที่บริเวณอาคารของกรมภายในกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อเป็นสถานที่ต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านดังกล่าว โดยจะเป็นลักษณะการดูแลแบบเช้าไปเย็นกลับ ลูกหลานสามารถมาส่งในตอนเช้าและมารับกลับในตอนเย็นเหมือนกับสถานดูแลเด็กเล็ก บริการนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อถอดบทเรียนและจัดทำเป็นมาตรฐานประเทศในเรื่องสถานดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งภาคเอกชนสามารถนำไปดำเนินการต่อได้ “นอกจากนี้ กรมฯ ยังเตรียมที่จะจัดหลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้ารับการอบรม เพื่อที่จะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีการรับรองการผ่านการอบรมที่จะมีใบการันตีจากกรมการแพทย์ด้วย” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวกรมอนามัยเตรียมปฏิบัติการเพื่อให้เด็กไทยสูง ด้วยนมวันละ 2 แก้วกรมอนามัย ตั้งเป้าเพิ่มความสูง รูปร่างสมส่วน “เด็กวัยเรียน” ชี้ ปี 2579 เพศชายสูงเฉลี่ย 163 ซม. เพศหญิง 164 ซม. เผยดื่มนมคู่อาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายแบบมีแรงกระแทก นอนหลับสนิท 8 - 10 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มความสูงได้ เล็งเพิ่มการดื่มนมเด็กเป็นวันละ 2 แก้ว “การศึกษาวิจัยในต่างประเทศหลายแหล่ง พบว่า การดื่มนมมีความสัมพันธ์กับความสูงของเด็ก และล่าสุด ในปี 2555 สถาบันประวัติศาสตร์สังคมนานาชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการดื่มนมที่มีผลต่อความสูงของเด็กวัยเรียนใน 7 ประเทศ พบว่า การดื่มนมวันละ 245 มิลลิลิตร ร่วมกับการกินอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย ทำให้ส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 0.4 เซนติเมตรต่อปี อย่างมีนัยสำคัญ”คอบช.  เสนอรัฐบาลเร่งมีองค์กรคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ตามรัฐธรรมนูญองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน(คอบช.) เสนอรัฐบาลเร่งมีองค์กรคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคที่มีพลัง ตามมาตรา 46 แห่งรัฐธรรมนูญ เผยหนึ่งปีที่ผ่านมามีผู้บริโภคร้องเรียนจำนวน 3,622 เรื่อง เป็นปัญหาด้านบริการสาธารณสุข การเงินการธนาคาร และบริการสาธารณะมากที่สุดจากองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 11 มกราคม ผศ.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองประธาน คอบช. ระบุปีที่ผ่านมา สามารถช่วยเหลือผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก จากผลงานเรื่อง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ การเปลี่ยนบัตรโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน การควบคุมราคาจำหน่ายก๊าซหุงต้มทั่วประเทศ การเสนอให้มีกฎหมายคุ้มครองสินค้าใหม่ที่ชำรุดบกพร่อง (Lemon Law) และความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย และอื่นๆ ในส่วนของสถิติการร้องเรียนในปี 2559 ที่ผ่านเข้ามาทาง คอบช. นั้น มีกรณีร้องเรียนรวมทั้งสิ้น 3,622 เรื่อง แยกเป็นปัญหาด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุขจำนวน 680 เรื่อง ปัญหาด้านการเงินการธนาคาร 626 เรื่อง ปัญหาด้านบริการสาธารณะ 553 เรื่อง ปัญหาด้านสื่อและโทรคมนาคม 54 เรื่อง ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 450 เรื่อง สินค้าและบริการทั่วไป 372 เรื่อง และปัญหาที่อยู่ที่อาศัยจำนวน 38 เรื่อง ซึ่งทุกเรื่องจะมีทั้งการแก้ไขปัญหาทั้งแบบปัจเจกและถูกยกระดับขึ้นเป็นงานรณรงค์ด้านนโยบายทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศ  ยกตัวอย่างเรื่อง สภาผู้บริโภคจังหวัด เช่น จังหวัดพะเยา สามารถจัดตั้งสภาผู้บริโภคโดยมีรูปแบบคณะทำงานที่เป็นทางการ สามารถขับเคลื่อนงานผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา ได้อย่างเป็นระบบ หรือที่จังหวัดเพชรบุรีมีการร่วมกันกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จัดสภาผู้บริโภคจังหวัดในประเด็นการรู้เท่าทันการโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเกินจริง จนเกิดเป็นคณะทำงานจัดทำข้อเสนอเพื่อสร้างมาตรการในการจัดการปัญหาดังกล่าวในระดับจังหวัดขึ้นมา  เช่นเดียวกับที่ จังหวัดสมุทรสงคราม ภาคประชาชนสามารถทำงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จัดสภาผู้บริโภค ในประเด็นอาหารปลอดภัย และมีนโยบายผลักดันการใช้ฉลากโภชนาการอาหารแบบสัญญาณไฟจราจรการมีสภาหรือองค์กรผู้บริโภคที่เป็นอิสระ จึงมีความสำคัญเพราะจะช่วยสนับสนุนให้เกิดองค์กรผู้บริโภคในระดับจังหวัดที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันด้วยการทำงานของ คอบช. สามารถสร้างองค์กรผุ้บริโภคที่เข้มแข็งได้ถึง 44 จังหวัดแล้ว  คอบช. จึงขอเสนอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจัดตั้ง องค์กรผู้บริโภคที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสถานะทางกฎหมายให้ได้ในเร็ววัน เพื่อเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในการประสานนโยบายและดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนได้อย่างเต็มที่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 เครื่องดื่มเกลือแร่ “หวาน” แค่ไหนกัน

อย่างที่เรารู้กันดีว่าเครื่องดื่มเกลือแร่ มีไว้สำหรับผู้ที่สูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย เพราะสามารถช่วยชดเชยน้ำ และเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปในระหว่างการออกกำลังกายได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเครื่องดื่มเกลือแร่หลายยี่ห้อได้ปรับภาพลักษณ์สินค้าใหม่ กลายเป็นเครื่องดื่มที่สามารถดื่มได้แม้ไม่เสียเหงื่อ (Functional drink) โดยมีการเติมวิตามินหรือสารอาหารต่างๆ รวมทั้งน้ำตาลลงไป เพื่อปรับรสชาติให้ถูกปากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคที่ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นประจำ เสี่ยงต่อการได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินความต้องการในแต่ละวันฉลาดซื้อฉบับนี้จึงได้สำรวจปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มเกลือแร่ จากยี่ห้อยอดนิยมตามท้องตลาด จำนวน 14 ยี่ห้อ ซึ่งเจ้าไหนจะใส่น้ำตาลมากน้อยกว่ากัน เรามาดูผลทดสอบกันเลย  สรุปผลการทดสอบจากตัวอย่างเครื่องดื่มเกลือแร่ที่นำมาทดสอบทั้งหมด 14 ยี่ห้อ พบว่า- ร้อยละ 50 หรือ 7 ยี่ห้อ พบมีปริมาณน้ำตาลตั้งแต่ 25 - 38.5 กรัม/หนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำตาลที่เราควรได้รับต่อวันคือ 24 กรัม/วัน หรือ 6 ช้อนชา ได้แก่ 1.สปอเรต (กลิ่นมิกซ์ฟรุท) มีปริมาณน้ำตาล 38.5 กรัม 2.เกเตอเรด กลิ่นมะนาว มีปริมาณน้ำตาล 30 กรัม 3.เอ็มสปอร์ต มีปริมาณน้ำตาล 30 กรัม 4.สปอนเซอร์ ออริจินัล มีปริมาณน้ำตาล 26 กรัม 5.สตาร์ท พลัส มีปริมาณน้ำตาล 26 กรัม 6.ซันโว มีปริมาณน้ำตาล 26 กรัม และ 7.สปอนเซอร์ บีเฟรช มีปริมาณน้ำตาล 25 กรัมยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุดคือ สปอเรต (กลิ่นมิกซ์ฟรุท) ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ พอคคา สปอร์ต วอเตอร์- เครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดแห้ง ได้แก่ ยี่ห้อ ออราส, สตรอง-เค และ รอแยล-ดี มีการระบุปริมาณปริมาณกลูโคสและซูโครส ตรงตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่195) พ.ศ.2543 คือ น้ำตาลกลูโคสหรือฟรุคโตส ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของน้ำหนัก หรือซูโครสไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ของน้ำหนักข้อสังเกตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 195) พ.ศ.2543 นิยามความหมายของเครื่องดื่มเกลือแร่ว่า เครื่องดื่มที่มีเกลือแร่เป็นส่วนประกอบหลัก และหมายความรวมถึงเครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดแห้งด้วย รวมทั้งไม่ให้ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลในเครื่องดื่มดังกล่าว นอกจากนี้ในการแสดงฉลากเครื่องดื่มเกลือแร่ ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลาก โดยต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ ด้วยตัวอักษรขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร เห็นได้ชัดเจนในกรอบสี่เหลี่ยม สีแดง พื้นขาว 1.เด็กและทารกไม่ควรรับประทาน 2.เฉพาะผู้สูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย 3.ไม่ควรรับประทานเกินวันละ … หน่วย (ความที่เว้นไว้ให้ระบุจำนวนหน่วยที่ควรบริโภค ทั้งนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินวันละ 1 ลิตร)อย่างไรก็ตามจากตัวอย่างเครื่องดื่มเกลือแร่ที่เรานำมาทดสอบทั้งหมด 14 ยี่ห้อ พบว่า -มีเพียง 9 ยี่ห้อที่เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ตรงตามประกาศข้างต้น ได้แก่ ยี่ห้อ 1.เกเตอเรด (กลิ่นมะนาว) 2.เอ็มสปอร์ต 3.สปอนเซอร์ (ออริจินัล) 4. สตาร์ท พลัส (เครื่องดื่มเกลือแร่ผสมซิงค์) 5.ซันโว (กลิ่นบลู พั้นซ์) 6.พอคคา สปอร์ต วอเตอร์ 7.ออราส 8.สตรอง-เค (ถาวร) และ 9.รอแยล-ดีตัวอย่างที่เหลืออีก 5 ยี่ห้อ แม้จะมีส่วนผสมของเกลือแร่ (โซเดียม/โพแทสเซียมคลอไรด์) แต่อาจไปเข้าข่ายเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ (Functional drink) หรือ เครื่องดื่มที่มีการเติมวิตามินหรือสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพลงไป ซึ่งแบ่งเป็น 2 ยี่ห้อที่มีการโฆษณาว่า ใช้วัตถุอื่นให้ความหวานแทนน้ำตาล ได้แก่ 1. ยี่ห้อ100 พลัส โฆษณาว่าใช้สตีวิออลไกลโคไซตด์ เป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล 2.สปอนเซอร์ บีเฟรช โฆษณาว่าใช้ซูคราโลสเป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล และอีก 3 ยี่ห้อที่เหลือ ได้แก่ 1.เจเล่บิวตี้ ระบุว่าเป็นเครื่องดื่มน้ำผลไม้รสองุ่นขาว ผสมคาราจีแนน คอลลาเจนและเกลือแร่ 2.สปอเรต ระบุว่าเป็นน้ำรสองุ่น และ 3.อควาเรียส ระบุว่าเป็นน้ำผลไม้รวม----------------------------------------------------------------------------------เกลือแร่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. เกลือแร่สำหรับผู้ที่ท้องเสีย (Oral Rehydration Salt หรือ ORS) เหมาะสำหรับผู้ที่เสียน้ำจากอาการท้องเสีย ซึ่งร่างกายจะขาดน้ำและเกลือแร่ทันที ทำให้เกลือแร่ชนิดนี้มีส่วนประกอบของเกลือแร่หรือโซเดียมสูง และ2.เกลือแร่สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย (Oral Rehydration Therapy หรือ ORT) เหมาะสำหรับผู้ที่เสียน้ำหรือเหงื่อจากการออกกำลังกาย ซึ่งร่างกายจะเสียน้ำและน้ำตาลเป็นหลัก โดยจะเสียเกลือแร่ในปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นเกลือแร่ชนิดนี้จะมีปริมาณน้ำตาลสูง อย่างไรก็ตามสำหรับเครื่องดื่มเกลือแร่บางยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน เราสามารถผสมน้ำเปล่าเพื่อเจือจางความเข้มข้นของความหวานลงได้----------------------------------------------------------------------------------เรา (ไม่) จำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ เมื่อเราออกกำลังกาย ร่างกายจะมีการขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อน ซึ่งส่วนประกอบของเหงื่อ คือ น้ำกว่าร้อยละ 99 ที่เหลือร้อยละ 1 คือ โซเดียมคลอไรด์ โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็กหรือกรดอะมิโนบางชนิด ดังนั้นเมื่อเราเสียเหงื่อ จึงควรชดเชยน้ำให้กับร่างกายเป็นอันดับแรก ซึ่งการดื่มน้ำเปล่าธรรมดาถือว่าเพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่สูญเสียน้ำในปริมาณมากและต่อเนื่อง หรือนักกีฬาที่ออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น วิ่งมาราธอน ขี่จักรยานไกล หรือว่ายน้ำระยะไกล อาจจำเป็นที่ต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ เนื่องจากในเครื่องดื่มดังกล่าวมีส่วนประกอบของ น้ำตาลกลูโคสและโซเดียม/โพแทสเซียมคลอไรด์ ซึ่งช่วยให้น้ำเข้าสู่เซลล์ได้เร็วขึ้น----------------------------------------------------------------------------------ผู้นำตลาดเครื่องดื่มเกลือแร่ คือ ยี่ห้อสปอนเซอร์ ครองส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 80% ส่วนที่เหลือแบ่งเป็นยี่ห้อ เอ็มสปอร์ต 12% และยี่ห้อ ซันโว 8% โดยสำหรับผู้ที่ดื่มเครื่องเกลือแร่มากที่สุด 70% คือกลุ่มผู้แรงงาน ตามด้วยผู้ออกกำลังกาย 30% ทั้งนี้ตลาดเครื่องดื่มเกลือแร่ของประเทศไทยในปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวม 4,500 ล้านบาทข้อมูลอ้างอิง: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่195) พ.ศ.2543 เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่ http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P195.pdf , ตลาดเครื่องดื่มเกลือแร่ http://marketeer.co.th/archives/43534

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 188 เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะ ผู้บริโภคจะทำอย่างไร ?

ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพ ใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีคุณประโยชน์อย่างมากต่อมวลมนุษยชาติ แม้ว่าการค้นหาและสังเคราะห์ยาต้านจุลชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย แต่ทว่าจากปัญหาการใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ทำให้เชื้อแบคทีเรียปรับตัวดื้อยามากขึ้น ยาหลายชนิดไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อที่เคยรักษาได้อีกต่อไป จนปัจจุบันยอมรับกันแล้วว่า ปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก จุลชีพที่เป็นปัญหาการดื้อยาอย่างมากคือ แบคทีเรีย เพราะแบคทีเรียดื้อยาเกิดขึ้นแล้วจะเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายได้อย่างกว้างขวาง ยืนยันได้จากการตรวจพบยีนดื้อยาปฎิชีวนะต่างๆ ที่แพร่กระจายไปในทุกภูมิภาคทั่วโลกองค์การอนามัยโลกรายงานว่า ทั่วโลกมีคนเสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 700,000 ราย และหากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ. 2050 คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเสียชีวิตประมาณ 10 ล้านคน เพราะมีแนวโน้มว่าพบเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้นจนน่าหวั่นเกรงว่าจะนำไปสู่โลกยุคหลังยาปฏิชีวนะ (post antibiotic era) ซึ่งไม่มียาที่มีประสิทธิภาพใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียดื้ออีกต่อไป สำหรับประเทศไทย มีรายงานการศึกษาวิจัยเบื้องต้นจากการศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยารวม 17 แห่ง แล้วได้ประมาณการว่า มีการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา 87,751 ครั้ง เสียชีวิต 38,481 ราย ทั้งๆ ที่มีมูลค่ายาต้านจุลชีพที่ใช้รักษาโรคสูงถึงประมาณปีละ 6,084 ล้านบาท มีมูลค่าสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 40,000 ล้านบาทองค์การอนามัยโลก จึงได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ความร่วมมือดำเนินการอย่างจริงจัง มีมาตรการและแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาอย่างเร่งด่วน ก่อนที่จะไม่มียาใช้รักษาโรคติดเชื้อที่สำคัญต่างๆ อีกต่อไป ในความเป็นจริงการแก้ปัญหานี้จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง รวมทั้งประชาชนผู้บริโภค เพราะมิสามารถปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนเท่านั้น ในฐานะผู้บริโภค เรามาทำความรู้จักกับแบคทีเรีย กลไกการดื้อยา การแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา ตลอดจนปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบจากการดื้อยาของแบคทีเรียแบคทีเรียคืออะไรแบคทีเรีย เป็นจุลินทรีย์ที่ชีวิตขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีรูปร่างไม่ซับซ้อน แต่แตกต่างกันตามชนิดของเชื้อ เพิ่มประชากรได้อย่างรวดเร็ว บางชนิดเพิ่มจำนวนเป็นทวีคูณได้ทุก 15 นาที เช่น เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) หรือเรียกย่อๆ ว่า อี โคไล แต่เชื้อบางชนิดก็ต้องใช้เวลานานในการเพิ่มประชากร เช่น เชื้อวัณโรค มีการเพิ่มจำนวนทวีคูณทุก 15 ชั่วโมง เป็นต้น แบคทีเรียมีสารพันธุกรรม ที่สำคัญ คือโครโมโซม เพียง 1 ชุด ที่ควบคุมคุณสมบัติต่างๆ การเพิ่มจำนวนการปรับตัวในสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่รอด แบคทีเรียอาจมีสารพันธุกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น พลาสมิด ทรานส์โปซอน อินทิกรอน ซึ่งจะทำให้มีความสามารถต่างๆ รวมทั้งการดื้อยาเพิ่มขึ้น เป็นต้นแบคทีเรีย พบได้ทั่วไป ทั้งในดิน น้ำ อากาศ ในคน สัตว์ พืช มีทั้งชนิดที่มีประโยชน์ และชนิดที่ก่อโรค จึงมีการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรียชนิดดีมาอย่างยาวนาน ส่วนแบคทีเรียก่อโรค มนุษย์ก็พยายามแสวงหาวิธีการรักษา จนการค้นพบยาปฏิชีวนะ ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่า หรือยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคนั้นๆการดื้อยาปฏิชีวนะแบคทีเรียแต่ละชนิดถูกทำลายด้วยยาปฏิชีวนะ/ยาต้านแบคทีเรียแตกต่างกันไป และกลไกออกฤทธิ์เพื่อทำลายแบคทีเรียของยาก็แตกต่างกัน เช่น การทำลายผนังเซลล์ การยับยั้งการสร้างโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเชื้อ การขัดขวางการทำงานของเอ็นไซม์ การขัดขวางการทำงานของสารพันธุกรรม การขัดขวางการแบ่งตัว เป็นต้น ดังนั้น เพื่อความอยู่รอด เชื้อจึงมีการพัฒนาความสามารถในการต้านทาน หรือทำลายฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ โดยกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งเรียกว่า การดื้อยาการดื้อยาของแบคทีเรียจำแนกเป็น การดื้อยาตามธรรมชาติ เช่น เชื้อแบคทีเรียบางชนิดไม่ถูกทำลายด้วยยาบางชนิดตั้งแต่ต้น เพราะมีคุณสมบัติทางสรีรวิทยาของเยื่อหุ้มเซลล์ที่ทำให้ยาเข้าสู่เซลล์ได้น้อย ไม่เพียงพอจะทำลายแบคทีเรียได้ การดื้อยาแบบนี้ไม่เป็นปัญหาต่อการใช้ยารักษาโรคติดเชื้อ เพราะเป็นความรู้พื้นฐานของการเลือกใช้ยาที่ทราบกันทั่วไป เช่น ยาเพนิซิลลิน ไม่มีผลต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ต้องใช้ยาแอมพิซิลลินในการรักษา เป็นต้นการดื้อยาของแบคทีเรียที่เป็นปัญหาต่อการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรค คือ การกลายพันธุ์ และการดื้อยาโดยการได้รับยีนดื้อยาจากแบคทีเรียอื่นๆ จากสิ่งแวดล้อม อันเป็นกลไกการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของแบคทีเรียในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมนั่นเองการดื้อยาโดยการกลายพันธุ์ กระบวนการนี้ เกิดขี้นได้โดยการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเออย่างน้อย 1 ตำแหน่งบนโครโมโซม เกิดขึ้นได้ในอัตราต่ำประมาณ 1 เซลล์ในล้านเซลล์ ทว่า การที่แบคทีเรียเพิ่มจำนวนประชากรได้อย่างรวดเร็วดังกล่าวแล้ว จึงใช้เวลาไม่นานในการกลายพันธุ์ดื้อยาและเพิ่มประชากรเชื้อดื้อยา ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อมียาต้านแบคทีเรียชนิดใหม่ๆ การรักษาจะได้ผลดีในระยะแรก หากมีการใช้ยาอย่างพร่ำพรื่อ ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ต่อมามักจะพบว่าเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ไม่ได้ผลในการรักษา ทำให้ต้องคิดค้นยาใหม่ต่อไป การกลายพันธุ์เพื่อดื้อยานี้ เป็นการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยที่แบคทีเรียจำนวนมากจะถูกทำลายไปด้วยยาปฏิชีวนะ แต่หากความเข้มข้นของยาไม่เพียงพอ การใช้ยาไม่ต่อเนื่อง ก็จะมีเชื้อเพียงจำนวนน้อยที่รอดชีวิต และปรับตัวโดยการกลายพันธุ์ ในระดับยีน เพื่อไม่ให้ยาที่ใช้เข้าไปทำลายเชื้อได้ นั่นคือ เป็นการกลายพันธุ์เพื่อต่อต้านยาการดื้อยาโดยการได้รับยีนดื้อยา แบคทีเรียสามารถรับการถ่ายทอดยีนดื้อยาจากแบคทีเรียต่างสายพันธุ์ได้หลายวิธี ได้แก่ โดยกระบวนการคอนจูเกชั่น ทรานส์ฟอร์เมชั่น และทรานส์ดักชั่น ทำให้ดื้อยาตั้งแต่ 1 ชนิด ถึงหลายชนิดได้การคอนจูเกชั่น เป็นการถ่ายทอดยีนดื้อยาโดยตรงระหว่างแบคทีเรีย 2 เซลล์ที่มีคุณสมบัติต่างกัน โดยเป็นเชื้อชนิดเดียวกัน หรือเชื้อต่างชนิดกันก็ได้ ตัวอย่างเช่นการคอนจูเกชั่นระหว่างเชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella spp.) ที่ดื้อยา กับเชื้อซัลโมเนลลาที่ไวต่อยา ก็จะทำให้เชื้อซัลโมเนลลาที่ ไวต่อยา รับยีนดื้อยา เปลี่ยนเป็นเชื้อดื้อยา หรือการคอนจูเกชั่นระหว่างเชื้อซัลโมเนลลา ที่ดื้อยากับเชื้ออีโคไลที่ไวต่อยา ทำให้เชื้ออีโคไลเปลี่ยนเป็นเชื้อดื้อยา เพราะรับยีนดื้อยาจากเชื้อซัลโมเนลลาการแลกเปลียนยีนกันไปมา ก็ทำให้ยีนดื้อยาส่งต่อให้เชื้ออื่นๆ ที่เหมาะสมในสิ่งแวดล้อม หรือในร่างกายของผุ้ป่วย เช่น ทางเดินอาหาร ซึ่งมีแบคทีเรียประจำถิ่นอาศัยอยู่มากมายทรานส์ฟอร์เมชั่น เป็นกระบวนการถ่ายทอดยีน โดยแบคทีเรียรับยีนที่อยู่เป็นอิสระในสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ ซึ่งยีนนั้นๆ จะชักนำให้แบคทีเรียแสดงคุณสมบัติของยีนต่อไป ในกรณีนี้ แม้แบคทีเรียที่มีแบคทีเรียที่มียีนดื้อยาจะตายไป เหลือแต่ยีน ยีนนั้นๆ ก็สามารถเข้าไปในเซลล์อื่นๆ แล้วชักนำให้ดื้อยาได้ทรานส์ดักชั่น เป็นกระบวนการถ่ายทอดยีนระหว่างแบคทีเรียโดยอาศัยแบคเทอริโอฟาจ หรือไวรัสของแบคทีเรียเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดยีนระหว่างเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นวิธีการนี้มีข้อจำกัดในการถ่ายทอดยีนดื้อยากลไกการดื้อยาของแบคทีเรียการดื้อยาของแบคทีเรีย เกิดขึ้นจากหลายกลไก ได้แก่แบคทีเรียสร้างเอนไซม์ทำลายยา ทำให้ยาสูญเสียประสิทธิภาพแบคทีเรียมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณที่เป็นเป้าหมายของยา ทำให้ยาไม่สามารถจดจำบริเวณ นั้นได้รบกวนการซึมผ่านของยาเข้าสู่เซลล์แบคทีเรีย ทำให้ยาเข้าสู่เซลล์น้อย ไม่สามารถทำลาย แบคทีเรียได้สร้างสารชีวโมเลกุลที่แย่งจับกับเอ็นไซม์หรือเป้าหมายของยา ทำให้ยาไม่สามารถทำลายเชื้อได้กลไกดังกล่าวข้างต้นควบคุมด้วยยีนต่างๆ ที่เรียกว่ายีนดื้อยา ดังนั้น การที่แบคทีเรียสามารถถ่ายทอดยีน หรือแลกเปลี่ยนยีนระหว่างเชื้อแบคทีเรีย หรือรับยีนจากสิ่งแวดล้อมได้ ทำให้แบคทีเรีย 1 เซลล์ได้รับยีนมากกว่า 1 ยีนได้ อาจรับได้มากถึง 4 ยีน จึงมีคุณสมบัติดื้อยาหลายชนิดพร้อมกัน นำไปสู่ปัญหาการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคอย่างมากปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุของการปรับตัวดื้อยาของแบคทีเรีย ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม การปนเปื้อนของยาใน น้ำ อาหาร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงต้องควบคุมปัจจัยเหล่านั้นอย่างเข้มงวดการดื้อยาข้ามกลุ่มการดื้อยาข้ามกลุ่มคืออะไร ? คือการที่แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะโดยผลจากการได้รับสารที่เคมีมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อกลุ่มไบโอไซด์ (biocides) เช่น กรณีไตรโคลซาน (triclosan) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรีย นิยมนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ประเภทสบู่ ยาสีฟัน ครีมอาบน้ำ ล้างมือ เป็นต้น ทว่ามีรายงานวิจัยพบว่าเมื่อใช้เป็นเวลานาน ทำให้แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ โดยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการปั๊มยาออกนอกเซลล์ ทำให้มีปริมาณยาปฏิชีวนะในเซลล์น้อยไม่สามารถฆ่าเชื้อ และเชื้อปรับตัวดื้อยาในที่สุด ปัจจุบัน องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้ว รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ขนิด ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีในการลดการทำให้แบคทีเรียดื้อยา เพราะผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารเคมีเหล่านี้ ถูกใช้อย่างกว้างขวางในชีวิตประจำวันแบคทีเรียดื้อยาที่พบในประเทศไทยศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งขาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า พบแบคทีเรียดื้อยากลุ่มต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้เชื้ออะซินีโตแบคเตอร์ (Acinetobacter spp.) และเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) เป็นเชื้อที่มักพบในผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล(Methicillin resistant Staphylococcus aureus, MRSA และ Methicillin resistant coagulase negative S. aureus, MRCoNS)เชื้อเอนเทอโรคอคไคดื้อยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin resistant enterococci , VRE)เชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอริเอซีที่สร้างเอนไซม์เบต้าแลคเทมเมสชนิดมีฤทธิ์กว้าง (Extended spectrum beta-lactamase , ESBL producing Enterobacteriaceae)Enterobacteriaceae , CRE)เชื้อสเตรฟโตคอคคัสดื้อยาเพนิซิลลิน (Penicillin resistant Streptococcus pneumoniae , PRSP)วัณโรคดื้อยาหลายชนิด (Multidrug resistant tuberculosis , MDR-TB และ Extensively drug resistant tuberculosis, XDR-TB)เชื้ออีโคไลที่ดื้อต่อยาโคลิสติน ซึ่งต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไปว่า มียีนดื้อยาบนโครโมโซม หรือชนิดที่มียีน mcr-1 บนพลาสมิดแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชึพในปศุสัตว์สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ได้สำรวจติดตาม ระหว่าง พ.ศ. 2545-2558 พบเชื้อดื้อยาในหมู ไก่ เป็ด และห่าน ได้แก่ เชื้ออีโคไล และ ซัลโมเนลลา พบเชื้อแคมพิโลแบคเตอร์ (Campylobacter spp.) ดื้อยาในเนื้อหมู และไก่ และบางตัวอย่างสามารถพบเชื้อซัลโมเนลลาที่ดื้อยาถึง 3 ชนิดพร้อมกัน เชื้อที่ตรวจพบนั้นดื้อยาปฏิชีวนะต่างๆ ดังต่อไปนี้อะมอกซีซิลลินอะมอกซีซิลลิน/คลาวูลานิคแอซิด แอมพิซิลลินเตตราซัยคลิน อ๊อกซีเตตราซัยคลินสเตร็ปโตมัยซิน ไทรเมทโทพริมซัลฟาเมโธซาโซล กานามัยซินเจนตามัยซินเอนโรฟ็อกซาซินด็อกซีซัยคลินโคลิสตืน เซฟติโอเฟอ สเป็คติโนมัยซิน คลอแรมเฟนิคอล นาลิดิซิคแอซิด ซัยโพรฟล็อกซาซินแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะในสัตว์น้ำกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า ในช่วงปี พ.ศ, 2549-2557 แบคทีเรียก่อโรคที่พบเป็นปัญหาสำคัญของสัตว์น้ำทั้งปลา และกุ้ง ได้แก่ เชื้อวิบริโอ ( Vibrio spp. ) ดื้อยาต่อไปนี้ ได้แก่เตตราซัยคลิน อ๊อกซีเตตราซัยคลินคลอแรมเฟนิคอลซัลฟาเมโธซาโซล ออกโซลินิตแอซิดเอนโรฟล็อกซาซินการใช้ยาปฏิชีวนะในพืชโรคกรีนนิ่งในพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผลผลิตลดลง โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบ ชื่อแคนดิดาตัส ลิเบอริแบคเตอร์ (Candidatus liberibacter) ซึ่งก่อโรคในท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ปัจจุบันเกษตรกรใช้ยาแอมพิซิลลินฉีดเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและอาหารของต้นพืชโดยตรงเพื่อการทำลายเชื้อ ยังไม่มีรายงานการดื้อยา แต่ควรต้องติดตามต่อไปว่ายาแอมพิซิลลินที่ใช้จะทำให้เชื้อก่อโรคพืชดื้อยาหรือไม่ และมีผลกระทบทำให้แบคทีเรียอื่นๆ บริเวณต้นพืชดื้อยาหรือไม่การตกค้างของยาปฏิชีวนะในอาหารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานผลการสำรวจยาปฏิชีวนะกลุ่มคลอแรมเฟนิคอล ไนโตรฟูแรน เพนิซิลลิน ซัลโฟนาไมด์ เตตราซัยคลิน ที่อาจตกค้างในเนื้อหมู กุ้ง ไก่ และเครื่องใน ระหว่าง พ.ศ. 2553-2557 พบว่ายาตกค้างในเนื้อสัตว์ที่ตรวจบางตัวอย่าง ได้แก่ซัลฟาไดมิดีนซัลฟาไดอะซีนซัลฟาไทอะโซลเซมิคาร์บาไซด์อ๊อกซาโซลิดิโนนซัลฟิซ็อกซาโซลผู้บริโภคจะทำอย่างไร ?ปัญหาแบคทีเรียดื้อยาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมและทันสถานการณ์ นับว่าเป็นภัยคุกคามชีวิตคนไทยและคนทั่วโลก และเห็นได้ว่า การปรับตัวดื้อยา ปฏิชีวนะของแบคทีเรียเกิดขึ้นได้ไม่ยาก แล้วเชื้อสามารถแพร่กระจายได้หลายวิธีการ ผู้บริโภคจำป็นต้องรู้เท่าทันปัญหา และไม่ร่วมสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น โดย  ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น  หากจำเป็นต้องใช้ ต้องใช้อย่างถูกต้อง เพื่อทำลายเชื้อก่อโรคให้หมดจริงๆ ไม่เหลือให้ปรับตัวดื้อยาในร่างกาย  จำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมเกษตร และปศุสัตว์ ใช้เมื่อจำเป็น อย่างเหมาะสม  ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยา ช่วยเฝ้าระวังการปนเบื้อนของยา เชื้อดื้อยา ในอาหาร ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสิ่งแวดล้อม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 บอกเลิก (บริการโทรคมนาคม) อย่างไรให้ได้ผล (ตอนที่ 1)

“บอกเลิก” อย่างไรให้ได้ผล เห็นจั่วหัวอย่างนี้ อย่าเพิ่งคิดว่านี่เป็นคอลัมน์ปรึกษาปัญหาความรักนะครับ เพราะ “วิธีการบอกเลิก” ที่ผมจะแนะนำนี้ เอาไว้ใช้ยกเลิกบริการโทรคมนาคม โทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์บ้าน หรือบริการอินเทอร์เน็ต อย่าเอาไปใช้กับคนข้าง ๆ นะครับ ไม่รับประกันความปลอดภัยเวลาที่เราต้องการยกเลิกบริการโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตที่สมัครไว้ บรรดาบริษัทผู้ให้บริการทั้งหลายก็จะพยายามทุกวิถีทางเพื่อเหนี่ยวรั้งลูกค้าเอาไว้ อาจจะด้วยการเสนอโปรโมชั่นพิเศษ ลดราคาค่าบริการให้ หรือบางทีก็จะยกเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญามาอ้าง ไม่ให้เรายกเลิกบริการ เช่น รับเครื่องฟรีไปแล้วต้องใช้บริการให้ครบตามสัญญา , ยกเลิกบริการที่นี่ไม่ได้ ต้องไปทำเรื่องที่สำนักงานใหญ่ , ถ้าจะยกเลิกบริการต้องเสียค่าปรับ ค่าติดตั้ง ค่าธรรมเนียม ฯลฯ ผู้บริโภคหลายคนเจอบริษัทใช้ลูกไม้นี้ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ต้องทนใช้บริการต่อไปก็มี หนักกว่านั้นคือ บางคนยอมจ่ายค่าบริการไปเรื่อยๆ ให้ครบตามสัญญา เพราะกลัวถูกปรับ ทั้งที่ไม่ได้ใช้บริการแล้วประกาศ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549ข้อ 72  ผู้ใช้บริการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ด้วยการบอกกล่าวเป็นหนังสือให้แก่ผู้ให้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวันทำการ ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระค่าบริการครบถ้วนแล้วจนถึงวันที่การยกเลิกสัญญามีผลบังคับในกรณีที่มีเหตุดังต่อไปนี้ ผู้ใช้บริการอาจใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ทันที            (1)  ผู้ใช้บริการไม่สามารถรับบริการจากผู้ให้บริการ ได้ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ใช้บริการ            (2) ผู้ให้บริการได้ละเมิดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของสัญญา            (3) ผู้ให้บริการตกเป็นบุคคลล้มละลาย            (4) ผู้ให้บริการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาหรือเงื่อนไขในการให้บริการ ซึ่งมีผลเป็นการลดสิทธิหรือประโยชน์อันพึงได้รับของผู้ใช้บริการลง เว้นแต่เกิดจากเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติถ้าคุณต้องการจะยกเลิกสัญญาบริการโทรคมนาคม ลองทำตามนี้ครับสิทธิในการยกเลิกบริการเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค ไม่มีใครสามารถบังคับให้คุณต้องใช้บริการที่คุณไม่ต้องการ ซึ่งกฎหมายก็รับรองสิทธิข้อนี้ของผู้บริโภคไว้กรณีศูนย์บริการจังหวัด ซึ่งทำได้ทุกอย่าง เปิดเบอร์ เปลี่ยนโปรโมชั่น รับชำระค่าบริการ แต่พอจะเลิกใช้บริการกลับบอกให้ไปทำเรื่องที่สำนักงานใหญ่ ในกรุงเทพฯ โอ้ว...แม่เจ้า ฟังแล้วของขึ้นถ้าเจอแบบนี้ไม่ต้องลำบากเดินทางไปสำนักงานใหญ่นะครับ แค่เขียนจดหมายน้อยฉบับเดียวเขียนถึง กรรมการผู้จัดการบริษัท แจ้งชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ตที่ต้องการจะเลิกใช้บริการ อาจจะให้เหตุผลประกอบไปด้วยก็ได้ว่าทำไมเราถึงต้องการยกเลิกบริการ เช่น คุณภาพบริการไม่ดี มีความจำเป็นต้องย้ายที่อยู่ ฯลฯ และแนบสำเนาใบเสร็จการชำระค่าบริการเดือนสุดท้ายไปเป็นหลักฐาน แล้วก็ส่งไปถึงบริษัทจะทางไปรษณีย์ โทรสารหรืออีเมล์ ก็ได้ แค่นี้การบอกเลิกสัญญาใช้บริการของคุณก็มีผลตามกฎหมายแล้วส่วนเรื่องนโยบายการปฏิเสธไม่รับยกเลิกบริการที่ศูนย์บริการนั้น ข่าวแว่ว ๆ มาว่า กสทช. เตรียมจะพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายน่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เพราะ ถ้าศูนย์บริการไหน เปิดบริการให้ลูกค้าได้ ลูกค้าก็ควรจะไปยกเลิกบริการที่ศูนย์นั้นได้เช่นกัน มิใช่สร้างภาระ กีดกันมิให้ผู้บริโภคยกเลิกบริการแหม จะยกเลิกบริการแต่ละที ทำไมยากเย็นแท้ เดี๋ยวฉบับหน้ามาดูกันว่า จะมีวิธีรับมืออย่างไร ถ้าผู้ให้บริการอ้างว่าใช้บริการยังไม่ครบตามสัญญา ถ้ายกเลิกก่อนครบกำหนดจะต้องถูกคิดค่าปรับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 ตรวจขี้ตา ตรวจขี้หู แล้วดูโรค

ข่าวการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพหลอกลวงชาวบ้านมีออกมาเรื่อยๆ  ส่วนใหญ่ผู้ขายเกือบทั้งหมดมักจะสร้างความน่าเชื่อถือ โดยอ้างอิงผลการศึกษาวิจัยจากสถาบันต่างๆ อ้างผิดอ้างถูก จริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆเหยื่อมักจะระทวยหลงเชื่อไปแล้ว เพราะไม่ค่อยมีใครตรวจสอบล่าสุดผมได้รับข่าวจากน้องเภสัชกร โรงพยาบาลวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เล่าให้ฟังว่า  ได้ทราบข่าวผ่านทางไลน์ของ อสม.ในพื้นที่ว่า มีคนกลุ่มหนึ่งอ้างว่ามาจากศูนย์วิจัยเทคโนโลยีแห่งหนึ่ง นำสมุนไพรมาหยอดตาชาวบ้าน และจะวินิจฉัยโรคจากขี้ตาที่ไหลออกมาหลังจากหยอดตา(สงสัยเป็นทฤษฎีขี้ตาศาสตร์) เมื่อน้องเภสัชกรท่านนี้พร้อมทีมงาน ลงไปติดตามตรวจสอบก็พบว่า คนกลุ่มนี้กำลังหยอดหูชาวบ้าน(สงสัยจะใช้วิชาขี้หูศาสตร์ ทำนายโรคจากขี้หูอีก) จึงได้สั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าว และพาตัวไปดำเนินการตามกฎหมายที่สถานีตำรวจจากข้อมูลที่ได้ฟังมา คนกลุ่มนี้อ้างว่าตนเองมาจากทีมวิจัยสมุนไพรของศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพยั่งยืน  ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งทางภาคอีสาน  ได้เดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาเยี่ยมญาติที่ป่วยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้  จึงอยากนำสินค้ามาแนะนำให้เพื่อเป็นการทำบุญตามโครงการวิจัย(มีการอ้างบุญซะด้วย) พวกตนจึงขอให้ผู้ใหญ่บ้านประกาศเสียงตามสาย ให้ชาวบ้านที่มีปัญหาเรื่อง หู ตา คอ จมูก เบาหวาน ภูมิแพ้ ความดัน นำบัตรประชาชนมาลงทะเบียนเพื่อตรวจสุขภาพฟรี (กวาดต้อนมาซะหลายโรคยังกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่)จากการตรวจสอบพบว่า มีของกลางเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีน 4 ชนิด มีราคาตั้งแต่ 500 – 3,600 บาท  โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแสดงเลข อย. หมายถึงมีการขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร แต่เมื่อพิจารณาข้อความบนฉลาก พบว่าใช้ข้อความเชิงโอ้อวด เช่น “เหมาะสำหรับสุภาพบุรุษหรือสุภาพสตรีที่ต้องการสมรรถนะของร่างกายที่ดีเยี่ยม” นอกจากนี้บางผลิตภัณฑ์ยังแสดงฉลากไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย หรือบางผลิตภัณฑ์ก็มีการแสดงชื่อเว็บไซต์บนฉลากด้วย แต่เมื่อตรวจสอบกลับไปก็ไม่พบหน้าเว็บดังกล่าว  แต่พบว่าเคยชื่อของเว็บเคยใช้เป็นชื่อของกิจการผลิตและจำหน่ายน้ำยากำเนิดโฟมผลิตคอนกรีตมวลเบาซะเนี๊ย (ไปกันใหญ่แล้วพี่น้อง) จนมีชาวบ้านหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวหลายราย(อ้าว!ไหนบอกว่ามาเยี่ยมญาติและทำบุญ ไหงกลายเป็นทำการค้าไปได้)เหตุการณ์ที่เล่ามานี้ แสดงให้เห็นถึงกลวิธีต่างๆ ในการหลอกลวงผู้บริโภค เช่น  การขายที่มักจะอ้างผลการศึกษาวิจัย ของสถาบันต่างๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ   หรือ การสร้างความน่าเชื่อถือประกอบการขาย โดยมีการกระทำบางอย่าง เช่น การตรวจสุขภาพ (ดูขี้ตาดูขี้หูก็เอา) แต่ที่น่าสนใจที่สุด คือการลุกขึ้นมาจัดการโดยเครือข่าย อสม. โดยใช้ไลน์เป็นเครื่องมือแจ้งข่าวจากการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สินค้าที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน  นับเป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อให้ผู้บริโภคในที่ต่างๆใช้เป็นแบบอย่างในการร่วมเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกันยายน 2559 แอบอ้างโลโก้ สธ. หลอกขายเครื่องสำอางสื่อโซเชียลมีเดียกลายเป็นช่องทางหลักของบรรดาพ่อค้า-แม่ค้าในการลงโฆษณาขายสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารเสริม เครื่องสำอาง ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ผ่านการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้บ่อยครั้งที่เราได้เห็นข่าวที่ผู้บริโภคหลงซื้อไปกินไปใช้เพราะเชื่อในสรรพคุณที่โฆษณา แต่สุดท้ายกับต้องเจอกับผลลัพธ์ที่น่าเศร้า เสียงทั้งเงิน เสียทั้งสุขภาพล่าสุดเจอกรณีที่น่าตกใจ เมื่อมีผู้ผลิตเครื่องสำอางเจ้าหนึ่ง เหิมเกริมถึงขั้นสร้างเพจเฟซบุ๊คแอบอ้างว่าเป็นเพจของ กระทรวงสาธารณสุข ใช้ภาพโลโก้ของกระทรวง พร้อมมีการใช้ข้อความที่ชวนให้เข้าใจผิดว่า กระทรวงสาธารณสุขเตรียมผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมความงาม พร้อมแนบลิงค์เชิญชวนให้คลิ๊กต่อเพื่อไปยังหน้าเว็บไซต์ขายผลิตภัณฑ์นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และโฆษก สธ. ออกมายืนยันแล้วว่าหน้าเพจเฟซบุ๊คดังกล่าวไม่ใช่ของกระทรวง เป็นการแอบอ้างของผู้ไม่หวังดีที่จงใจให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด พร้อมยืนยันว่ากระทรวงสาธารณสุข ไม่มีนโยบายขายสินค้าทางสื่อออนไลน์ ซึ่งทางกระทรวงเตรียมเดินหน้าเอาผิดผู้ที่กระทำการดังกล่าวตามกฎหมาย และมอบให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่าผ่านการรับรองหรือไม่ ทั้งนี้ได้ฝากเตือนมายังผู้บริโภคอย่าลืมตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่เผยแพร่ในโซเชียลมีเดียและสื่อต่างๆ ให้ชัดเจนถูกต้อง มีแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ ยิ่งถ้าเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าปลอดภัย ได้รับการรับรองถูกต้องจาก อย. ชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต-ผู้ขายถูกต้องตรวจสอบได้สมอ.ฟัน!!!เครื่องสำอางของเล่นเด็ก “BARBIE” ไม่ได้รับอนุญาตให้ขายหลังจากที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ได้ซื้อของเล่นเด็กที่มีลักษณะคล้ายเครื่องสำอางจากห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต โดยพบว่าของเล่นชิ้นดังกล่าวหมดอายุมากว่า 2 ปี ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้ทำหนังสือแจ้งไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง บริษัทนำเข้าสินค้า ห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายสินค้า และหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาล่าสุด ทาง สมอ. ได้มีหนังสือตอบกลับมาว่า จากการตรวจสอบบริษัท โซลิด เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด บริษัทฯ ที่นำเข้าสินค้าดังกล่าว พบว่าบริษัทฯ ยังไม่ได้รับอนุญาตจาก สมอ.ให้นำเข้าผลิตภัณฑ์นั้น จึงได้อายัดผลิตภัณฑ์ไว้ และอยู่ระหว่างการดำเนินงานตามกฎหมาย ทางด้าน อย. ได้แจ้งกลับมาว่าได้ตรวจสอบสถานที่นำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเล่นดังกล่าวแล้ว ชี้ชัดว่าของเล่นดังกล่าวเข้าข่ายเป็นสินค้าในกลุ่มเครื่องสำอาง ซึ่งการไม่จดแจ้งถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ.2558ทางด้านบริษัทโซลิดฯ ส่งหนังสือใบอนุญาตมายังมูลนิธิฯ โดยแจ้งว่าไม่ได้มีเจตนาที่จะนำเข้าสินค้าใดๆ ที่ไม่ตรงตามใบอนุญาต โดยบริษัทฯ ดำเนินการขอใบอนุญาตกับ สมอ.มาตลอด และมีใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์หลายฉบับ พร้อมกับส่งตัวอย่างใบอนุญาตนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักร แต่อย่างไรก็ดี เอกสารที่บริษัทฯ ส่งมาไม่มีใบอนุญาตของผลิตภัณฑ์ตัวที่เป็นข่าวแต่อย่างใดทั้งนี้ทางมูลนิธิฯ มีข้อเรียกร้องไปยังหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลในเรื่องนี้ ต้องเข้มงวดในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือนำเข้า ให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐาน และผ่านการรับรองยืนยืนว่าปลอดภัยก่อนอนุญาตให้วางจำหน่าย และเอาผิดกับผู้ลักลอบไม่ปฏิบัติตามกฏหมายอย่างจริงจังผู้ประกันตนเฮ!!! สิทธิทำฟัน 900 บาท เต็มวงเงินไม่มีเงื่อนไขคณะกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เห็นชอบยกเลิกประกาศแนบท้าย สิทธิค่าบริการทันตกรรรมที่ปรับเพิ่มจาก 600 บาท เป็น 900 บาท โดยไม่มีเงื่อนไข จากเดิมที่มีการกำหนดเพดานเงินในการรักษาแต่ละประเภทเอาไว้ดังนี้ 1.ขูดหินปูนทั้งปาก อัตราค่าบริการ(เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน) 400 บาท 2. อุดฟันด้วยวัสดุอะมอลทัม (Amalgam) 1 ด้าน 300 บาทอุด 2 ด้าน 450 บาท 3.อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 1 ด้าน กรณีฟันหน้า 350 บาท กรณีฟันหลัง 400บาท อุด 2 ด้าน กรณีฟันหน้า 400 บาท กรณีฟันหลัง 500 บาท 4.ถอนฟันแท้ 250 บาท ถอนฟันที่ยาก 450 บาท และ 5.ผ่าฟันคุด 900 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากข้อเรียกร้องของกลุ่มภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็น  คณะทำงานการปฏิรูประบบประกันสังคม  เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) เครือข่าย ฟ.ฟันสร้างสุข และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ที่ได้ทำหนังสือเรียกร้องไปยัง สปส. เพราะเห็นประกาศแนบท้ายฉบับดังกล่าวเป็นการกำจัดสิทธิในการรักษาทางทันตกรรมของผู้ประกันตน และอาจทำให้เกิดความสับสนในการใช้สิทธิทั้งนี้สิทธิด้านทันตกรรม ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิการรักษาได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ในวงเงินค่ารักษาไม่เกิน 900 บาท หากกรณีที่มีค่ารักษาสูงกว่า 900 บาท สถานพยาบาทต้องแจ้งให้ผู้ประกันตนทราบก่อนดำเนินการรักษาตรวจจับ ปรับจริง เต็นท์รถยนต์มือสองสคบ. เปิดตัวโครงการ "ตรวจจับ ปรับจริง เต็นท์รถยนต์มือสอง" เอาผิดกับผู้ประกอบการขายรถยนต์มือสองที่เอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งที่ผ่านมา สคบ.ได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหาจากการซื้อรถยนต์มือสองผ่านเต็นท์รถต่างๆ เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ความยุ่งยากในการนำรถไปจดทะเบียนต่อ รถที่นำไปใช้เกิดการชำรุดง่าย โดยผู้ประกอบการไม่รับแก้ไข และปัญหาตกแต่งตัวเลขระยะทางการใช้รถ ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ปัญหาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก สคบ.ยอมรับว่ามาจากการบังคับใช้กฎหมายที่ขาดความเข้มงวด ทำให้ผู้ประกอบการไม่ยำเกรงโดยโครงการนี้เจ้าหน้าที่ของ สคบ.จะทำการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบเต็นท์รถยนต์มือสอง โดยจะดูเรื่องการติดฉลากแจ้งข้อมูลของรถยนต์มือสองที่จำหน่าย และความถูกต้องเรื่องการทำสัญญาซื้อขาย เพราะปัจจุบันมีกฎหมายจำนวน 2 ฉบับ ที่ใช้ควบคุมการประกอบธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้ว ได้แก่ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 35(2556) เรื่อง ให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าควบคุมฉลาก กำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจัดทำฉลากสินค้า ระบุรายละเอียดสำคัญ คือ ชื่อ ประเภทหรือชนิดของสินค้า ชื่อและสถานที่ประกอบการของผู้ขาย ขนาดหรือน้ำหนัก สมุดคู่มือการบำรุงรักษารถ และข้อมูลการประสบภัย  อีกฉบับคือ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้วเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ.2550 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีหลักฐานการรับเงินให้กับผู้บริโภค โดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนชัดเจนผู้บริโภคค้านโอนย้ายตรวจอาหารนำเข้าให้กระทรวงเกษตรฯ ห่วงอาหารไม่ปลอดภัยกลับสู่ตลาดอนุกรรมการด้านอาหารและยา องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คบอช.) ออกแถลงถึงความกังวลต่อการที่ อย. ออกประกาศถ่ายโอนย้ายหน้าที่ในเรื่องการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าอาหารกลุ่มที่ยังไม่แปรรูป ไปให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแล หวั่นผู้บริโภคเสี่ยงต่อการได้รับอาหารที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะในส่วนของอาหารที่ถูกตีกลับ ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ ก็ดูแลในส่วนของการส่งออกอาหารอยู่แล้ว อนุกรรม คบอช. กังวลว่าจะใช้เรื่องการนำเข้าอาหารซึ่งต้องยึดเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลักสำคัญไปเป็นการเจรจาต่อรองทางการค้ากับประเทศคู่ค้าน.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล อนุกรรมการด้านอาหารและยา คบอช. ตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปรกติของประกาศฉบับนี้ว่า เป็นประกาศ อย. ที่ไม่ได้อ้างอิงถึงอำนาจตามกฎหมาย แต่อ้างอิงนโยบายรัฐมนตรีและข้อเสนอคณะทำงานจัดทำแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ภายใต้คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีเพียงแค่ภาครัฐและนักธุรกิจ แต่ไม่มีตัวแทนผู้บริโภค นอกจากนี้การตรวจสอบสินค้าอาหาร อย.ไม่สามารถถ่ายโอนภารกิจให้กระทรวงเกษตรฯได้เพราะ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ไม่ได้ให้อำนาจ อย.กระทำเช่นนั้น การถ่ายโอนภารกิจของ อย.ไปให้กระทรวงเกษตรฯ จึงถือเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายน.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ อนุกรรมการด้านอาหารและยา คบอช. กล่าวว่าจากประกาศฉบับนี้ ส่งผลโดยตรงให้กระทรวงเกษตรฯ มีภาระหน้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ที่จะต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่ถ้าดูจากที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ เองก็เคยเจอปัญหาเรื่องที่มีการพบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานในผัก-ผลไม้ที่ได้รับมาตรฐาน Q และ Organic Thailand จากกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการกำกับดูแลมาตรฐานสินค้าของกระทรวงเกษตรฯ ยังมีปัญหาอนุกรรมการด้านอาหารและยา คบอช. เสนอให้มีการทบทวนประกาศฉบับดังกล่าว พร้อมทั้งขอให้กระทรวงเกษตรฯ ชี้แจงอย่างละเอียดว่า มีกระบวนการตรวจสอบสินค้าตีกลับอย่างไร มีการควบคุมเรื่องความปลอดภัยและการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 8 ปี บทเรียนการใช้กฎหมายคดีผู้บริโภค

ความเป็นมา            ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องคุณภาพสินค้าหรือบริการ  และขาดอำนาจในการต่อรอง เช่นในการเข้าทำสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่เท่าเทียม ตลอดจนไม่อาจเท่าทันความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจ นั่นทำให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น กระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานานและสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้บริโภค ที่จะต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งไม่อยู่ในความรู้เห็นของตน ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง จึงทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการบัญญัติกฎหมายพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ขึ้น เพื่อตามให้ทันเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค โดยการวางแนวทางการพิจารณาไปในทางระบบไต่สวนมากขึ้น สังเกตได้จากการที่กฎหมายได้บัญญัติไว้โดยชัดเจนให้ศาลมีอำนาจในการเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร โดยมีหลักการที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการดำเนินคดี คือ ความสะดวก ประหยัด รวดเร็ว และเป็นธรรมขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามหลังจากการบังคับใช้กฎหมาย พบว่ายังมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการทั้งปัญหาด้านข้อกฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติส่งผลให้ผู้บริโภคยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง อันไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้  ที่มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรมประเทศไทยได้บังคับใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว มีเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่น่ากังวล คือ คนที่นำคดีมาฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค ส่วนใหญ่กลับเป็นผู้ประกอบธุรกิจ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งสะท้อนว่า กฎหมายมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ที่ให้มีระบบวิธีพิจาณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภคธรรมดาสถานการณ์การฟ้องคดีผู้บริโภค            หลังจากที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นั้น จากข้อมูลสถิติคดีของสำนักงานศาลยุติธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551  - 2558  พบว่า มีคดีผู้บริโภคขึ้นสู่ศาลจำนวน  2,794,208 คดี  ซึ่งมากกว่าร้อยละ 90 ของคดีผู้บริโภค ที่เข้าสู่สารบบคดีของศาลเป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภค  โดยเฉพาะในปี 2558 มีคดีผู้บริโภคที่ขึ้นสู่ศาลทั่วราชอาณาจักร จำนวน 592,561 คดี จากคดีแพ่งทั้งหมด 847,551 คดี หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของคดีแพ่งทั้งหมด   นอกจากนี้ในคดี ผู้บริโภคที่ขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลในปี พ.ศ.2558 นั้น  ประเภทข้อหาแห่งคดี 5 อันดับแรกของข้อมูลการฟ้องคดี  เป็นคดีที่ผู้ประกอบการฟ้องผู้บริโภคเป็นคดีผู้บริโภค มีดังนี้สินเชื่อบุคคล / กู้ยืม / ค้าประกัน จำนวน 250,527 ข้อหาบัตรเครดิต จำนวน 99,822 ข้อหากองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวน 92,775 ข้อหาเช่าซื้อ (รถยนต์) จำนวน 73,071 ข้อหาเช่าซื้อ (รถจักรยานยนต์) จำนวน 5,194 ข้อหาจากสถิติข้อหาแห่งคดี หรือการฟ้องคดีผู้บริโภคของศาล จะเห็นได้ชัดเจนว่า การฟ้องคดีผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภคเป็นจำเลย เพื่อบังคับให้ผู้บริโภคชำระหนี้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ  จึงทำให้มีหลายคนวิตกว่าพระราชบัญญัติวิธีพิจาณาคดีผู้บริโภคฯ จะตกเป็นเครื่องมือให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจในการทวงหนี้ และทำให้คดีแพ่งที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ มีมากเกินไป อย่างที่เรียกว่า “คดีล้นศาล” ซึ่งส่งผลกระทบดังนี้  1 ผลกระทบต่อความรวดเร็วในการดำเนินคดี            การมีคดีที่ไม่ควรจัดว่าเป็นคดีผู้บริโภค เข้ามาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก และการที่กฎหมายคดีผู้บริโภคกำหนดให้ศาลต้องนัดพิจารณาภายใน 30 วันนับแต่ยื่นฟ้อง เพื่อจะเป็นวิธีพิจารณาพิเศษที่ทำให้คดีเสร็จไปโดยเร็วนั้น ปรากฏว่าในทางปฏิบัติ ไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีคดีอื่นที่ไม่ใช่ผู้บริโภคเข้าสู่ระบบคดีผู้บริโภคของศาลจำนวนมาก ทำให้วันนัดของศาลเต็ม จึงไม่อาจทำตามเงื่อนไขของกฎหมายที่กำหนดไว้ได้ ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดี เจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนี้ไม่อาจบรรลุผลได้เต็มที่2  ผลกระทบต่อผู้บริโภคในการต่อสู้คดี            เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ได้นำระบบไต่สวนมาใช้ กล่าวคือศาลสามารถไต่สวนหาความจริง โดยเรียกบุคคลหรือพยานหลักฐานได้เอง   แต่ที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่ศาลจะใช้อำนาจในส่วนนี้น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภค เช่น ฟ้องให้ชำระหนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อ กู้ยืมเงิน ซึ่งคดีลักษณะดังกล่าว จะมีการไปฟ้องยังภูมิลำเนาของผู้บริโภคที่โดยมากมักไม่ได้อยู่อาศัยเนื่องจากเข้ามาทำงานในกรุงเทพ หรือจังหวัดอื่น ทำให้เสียโอกาสต่อสู้คดี อีกทั้งศาลก็จะถือข้อเท็จจริงตามที่ผู้ประกอบธุรกิจเสนอ โดยไม่ได้ใช้อำนาจไต่สวนคดีเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบเข้ากับการที่มีคดีอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้มากเกินไป ทำให้บทบาทของศาลในการไต่สวนคดีทำได้ไม่เต็มที่  มีส่วนทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดีผู้บริโภคอื่นไปด้วยสาเหตุที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ            สำหรับสาเหตุในเรื่องการไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาคดีได้อย่างจริงจังหลายประการนั้น  จากการเสวนาแลกเปลี่ยนในหลายเวทีและจากการสังเคราะห์ข้อมูล ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบว่าปัญหาโดยสรุปมีดังนี้ยังต้องใช้ทนายความในการดำเนินคดี แม้ว่ากฎหมายจะบทบัญญัติให้ผู้บริโภคที่จะฟ้องคดีสามารถฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ยื่นฟ้องคดีด้วยวาจา โดยมีเจ้าพนักงานคดีเป็นผู้บันทึกและจัดทำคำฟ้องให้ รวมถึงการฟ้องคดีด้วยเอกสาร ไม่ต้องมีทนายความเป็นผู้จัดทำคำฟ้องให้ โดยมีเจ้าพนักงานคดีเป็นผู้ตรวจเอกสารและจัดทำคำฟ้องให้เช่นกัน แต่กระบวนการดังกล่าวก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกเบื้องต้นเท่านั้น เพราะเมื่อฟ้องคดีและศาลรับคำฟ้องไว้แล้ว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องจัดหาทนายความเพื่อมาดำเนินคดีแทน ในคดีเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะคดีที่มีข้อเท็จจริงที่สลับซับซ้อน เช่น คดีทางการแพทย์  รวมถึงการจัดทำคำร้อง คำแถลง ต่างๆ เนื่องด้วยผู้บริโภคไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาคดีด้วยตนเองได้การนิยามของคำว่า “คดีผู้บริโภค” และ “ผู้บริโภค” ไม่ชัดเจน ทำให้นอกจากผู้บริโภคจะมีสิทธิฟ้องคดีผู้บริโภคแล้ว กฎหมายยังให้สิทธิผู้ประกอบการฟ้องคดีผู้บริโภคได้ด้วย ก่อให้เกิดปัญหาคดีล้นศาล เนื่องจากคดีส่วนมากที่เข้ามาอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้เป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจประเภทสถาบันการเงิน ไฟแนนซ์ เป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภคเพื่อขอให้ชำระหนี้ ทำให้มีปริมาณคดีผู้บริโภคกลุ่มนี้ขึ้นสู่ศาลเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดี และทำให้ศาลและเจ้าพนักงานคดีทำหน้าที่ตามบทบาทได้อย่างไม่เต็มที่ ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้เป็นปัญหาและอุปสรรคให้การ บังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ ทำให้ไม่สามารถบรรลุถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ได้วางไว้เจ้าพนักงานคดีไม่เพียงพอ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่มีความมุ่งหมายที่จะให้ ศาลเข้ามามีบทบาทในการแสวงหาข้อเท็จจริงต่างๆ ในคดีแพ่งมากขึ้นเพื่อลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันในการ ต่อสู้คดีระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ โดยการวางแนวทางการพิจารณาไปในทางระบบไต่สวนมากขึ้น จึงได้กำหนดให้มี "เจ้าพนักงานคดี” ขึ้น เพื่อช่วยเหลือศาลให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามที่กฎหมาย กำหนดไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการสืบหาพยานหลักฐานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี   อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานคดีก็ยังไม่เพียงพอ คือ ในปัจจุบันมีเจ้าพนักงานคดีประจำอยู่ที่ศาลแห่งละหนึ่งหรือสองคนเท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เพียงพอ เป็นเหตุให้ไม่มีเจ้าพนักงานคดีมากพอที่จะตอบสนองความต้องการในการบริหารจัดการคดี ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานคดีที่ถูกส่งไปประจำศาลในจังหวัดต่างๆกลับถูกใช้ให้ไปทำงานในด้านธุรการด้านอื่นๆ โดยไม่ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือศาลในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดีอย่างแท้จริง ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่กฎหมายไม่ได้ยกเว้น แม้พระราชบัญญัติฉบับนี้จะกำหนดให้ผู้บริโภคฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพบว่า การเสียค่าธรรมเนียมฟ้องคดี หากเป็นผู้บริโภคที่ฟ้องคดีนั้นค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะได้รับการยกเว้นเกือบทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีอย่างมากสำหรับการเอื้อประโยชน์ให้ผู้บริโภคเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้สะดวกมากขึ้น แต่นอกจากค่าธรรมเนียมฟ้องคดีแล้ว ในกระบวนพิจารณาคดียังมีค่านำหมาย ค่าส่งคำคู่ความ ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ พบว่ายังมีการลักลั่นของศาลแต่ละแห่ง ที่ยังคงเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวกับผู้บริโภคที่ฟ้องคดีอยู่ศาลยังมีทัศนคติและความเคยชินอยู่กับจารีตปฏิบัติในระบบกล่าวหาและขาดความชำนาญในการไต่สวน พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ศาลใช้ระบบไต่สวนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี ศาลจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นหาความจริง มีอำนาจที่จะให้มีการรวบรวมพยาน เอกสาร สืบพยาน หรืองดสืบพยาน ไม่ใช่รอพยานหลักฐานจากคู่ความ การกำหนดกรอบระเบียบ กฎเกณฑ์ เกี่ยวกับการสืบพยานค่อนข้างยืดหยุ่น เพื่อให้ศาลใช้ดุลยพินิจได้อย่างกว้างขวาง ระบบไต่สวนจึงเหมาะสมกับคดีที่ คู่ความมีความไม่เท่าเทียมกันอย่างมาก เช่น คดีผู้บริโภค นี้ แต่ในทางปฏิบัติ พบว่าศาลยังใช้อำนาจหรือมีบทบาทในการไต่สวนในคดีผู้บริโภคยังไม่เต็มที่ เนื่องด้วยศาลยังมีทัศนคติและความเคยชินอยู่กับจารีตปฏิบัติในระบบกล่าวหาและยังขาดความชำนาญในการไต่สวน พบได้ในหลายกรณีที่ศาลเลือกจะไม่ใช้อำนาจในส่วนนี้ แต่จะถามหาทนายความจากผู้บริโภคเพื่อให้มาดำเนินคดีแทน หากเป็นเช่นนี้ผู้บริโภคก็ยังคงต้องว่าจ้างทนายความ และทำให้เจตนารมณ์ของกฎหมายยังไม่อาจเป็นจริงได้ บทเรียนการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกว่า 8 ปี ที่มีคดีผู้บริโภคเข้าสู่สารบบของศาลทั่วราชอาณาจักรมากถึงกว่า  2.8 ล้านคดี แต่ส่วนใหญ่กลับเป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคเสียมากกว่านั้น ย่อมน่าสนใจว่าทำไมผู้บริโภคจึงไม่ใช้สิทธิฟ้องคดีเท่าที่ควร เมื่อได้นำข้อมูลจากการช่วยเหลือผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาวิเคราะห์ ก็พบว่าเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น  ความเสียหายที่ได้รับเมื่อคิดเป็นมูลค่านั้นเล็กน้อยเกินไป ไม่คุ้มค่าทนาย ค่าใช้จ่าย  หรือความกังวลว่า จะมีขั้นตอนยุ่งยากและใช้เวลานานในการดำเนินคดี สิ่งเหล่านี้ย่อมสะท้อนว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม แม้จะมีกฎหมายเพื่อช่วยให้การฟ้องคดีไม่ยุ่งยากเช่นในอดีตจากสถิติการให้ความช่วยเหลือของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในการช่วยดำเนินคดีให้ผู้บริโภคที่ถูกผู้ประกอบธุรกิจละเมิดสิทธิ ตั้งแต่ปี 2551 –  2558  พบว่า มีคดีผู้บริโภคที่ให้ความช่วยเหลือ จำนวน 289 คดี แบ่งเป็นคดีชุดรถโดยสารสาธารณะ    จำนวน    183     คดีคดีประกันภัย                    จำนวน     52     คดี       คดีผิดสัญญา                    จำนวน     31     คดีคดีละเมิด                        จำนวน     23     คดีและแม้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพียงองค์กรเดียวที่มีนโยบายและความสามารถเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิในการฟ้องคดีผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวนมากถึง 289 คดี  โดยเป็นคดีที่หลากหลาย เช่น รถยนต์ชำรุดบกพร่องผู้ประกอบธุรกิจผิดสัญญา กรณีอาคารชุด และบ้านจัดสรร เรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ เป็นต้น แต่เมื่อเทียบกับปริมาณคดีผู้บริโภคทั้งหมดของศาลนับตั้งแต่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว ต้องถือว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังไม่สามารถตอบโจทย์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ข้อเสนอ            แนวทางต่อไปนี้อาจช่วยในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายนี้ได้แก้ไขคำนิยาม “คดีผู้บริโภค” , “ผู้บริโภค” และ “ผู้ประกอบธุรกิจ” ให้ชัดเจน  ปัญหาหลายประการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าในการดำเนินคดี การทำหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดี หรือการทำหน้าที่ของศาลในการไต่สวนคดี มีสาเหตุประการหนึ่งคือ มีคดีที่ไม่ควรจัดว่าเป็นคดีผู้บริโภคเข้ามาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงสมควรจัดคดีเหล่านี้ให้ไปอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามเดิม ซึ่งได้แก่ คดีที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องทวงหนี้จากผู้บริโภคโดยไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคแต่อย่างใด และคดีเกี่ยวกับสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้วยกันเพื่อประโยชน์ทางการค้าของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย การแก้ปัญหานี้อาจกระทำได้โดยการแก้ไขคำนิยาม “คดีผู้บริโภค” , “ผู้บริโภค”   และ “ ผู้ประกอบธุรกิจ” ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค หรือโดยการออกกฎหมายแก้ไขคำนิยามเหล่านี้เพิ่มและพัฒนาศักยภาพของเจ้าพนักงานคดี การมีเจ้าพนักงานคดีไม่เพียงพอและไม่มีประสบการณ์นั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดทำคู่มือการปฏิบัติหน้าที่ ให้แก่เจ้าพนักงานคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างเจ้าพนักงานคดี การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอควรจัดให้มีการเผยแพร่แนวคำวินิจฉัยของศาล เพื่อจะได้พิจารณาได้ว่าคดีใดควรเป็นคดีผู้บริโภค เพราะการได้ทราบแนวคำวินิจฉัยจะทำให้เกิดความชัดเจน และทำให้คดีที่จะนำขึ้นสู่การวินิจฉัยลดน้อยลง ซึ่งก็จะสามารถแก้ไขปัญหาความล่าช้าของคดีได้บ้างให้ศาลฎีกาออกข้อกำหนดประธานศาลฎีกา กำหนดเวลาพิจารณาคำสั่งการขออนุญาตฎีกาที่ชัดเจน ในหลายคดีที่ผู้บริโภคชนะในชั้นอุทธรณ์แต่คดีก็ยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจมักจะขออนุญาตฎีกา ทำให้คดีล่าช้าไม่เสร็จไปโดยเร็ว ดังนั้นจึงเสนอให้ศาลฎีกา ออกข้อกำหนดประธานศาลฎีกา กำหนดเวลาพิจารณาคำสั่งการขออนุญาตฎีกาที่ชัดเจน เช่น ภายใน 60 หรือ 90 วัน เพื่อให้คดีผู้บริโภคเสร็จไปโดยเร็วพัฒนาการบริหารงานของศาลยุติธรรมและการจัดทำคู่มือตุลาการในการปฏิบัติหน้าที่ในคดีผู้บริโภค แม้กระบวนพิจารณาของคดีผู้บริโภคจะอยู่บนพื้นฐานของระบบไต่สวน แต่ในทางปฏิบัติผู้พิพากษาส่วนใหญ่มีภาระต้องพิจารณาทั้งคดีผู้บริโภค คดีแพ่งทั่วไปและคดีอาญาด้วย และยังเคยชินอยู่กับการพิจารณาคดีที่อยู่บนพื้นฐานของระบบกล่าวหาและยังขาดความชำนาญในการไต่สวน โดยศาลไม่ได้ใช้บทบาทในเชิงไต่สวนแต่กลับถามหาทนายความของฝ่ายผู้บริโภค             ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ในเชิงการบริหาร ด้วยการพัฒนาการบริหารงานของศาลยุติธรรมโดยแยกออกตามสายงานตามระบบการพิจารณาคดีแบบกล่าวหาและแบบไต่สวน เพื่อให้ผู้พิพากษามีความชำนาญและไม่เกิดความสับสนในบทบาทหน้าที่ และการจัดทำคู่มือตุลาการในการปฏิบัติหน้าที่ในคดีผู้บริโภค หรือการจัดตั้งศาลแผนกคดีผู้บริโภคเพื่อการพิจารณาคดีผู้บริโภคไปในทิศทางเดียวกันข้อมูลรศ. ดร. อนันต์ จันทรโอภากร. “ปัญหาข้อขัดข้องการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 42,ฉบับที่ 3 (2556)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 โดนเชิดเงินหนีหลังจองรถ

แม้คนส่วนใหญ่ต่างมั่นใจว่าการเช่าซื้อรถยนต์ที่ศูนย์บริการจะมีความปลอดภัย แต่หากเราประมาทเพียงเล็กน้อยก็สามารถโดนเชิดเงินจองรถ ที่จ่ายให้กับตัวแทนของบริษัทไปแล้วก็ได้ คุณสุชาติเช่าซื้อรถยนต์มือหนึ่ง รุ่น พรีเมล่า (Premera) จากศูนย์นิสสัน ราคาประมาณ 530,000 บาท โดยจ่ายค่าจองรถไว้ก่อนจำนวน 5,000 บาท ถัดมาอีก 2 วัน พนักงานของบริษัทได้ติดต่อมาว่า ตอนนี้มีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าที่จองรถ ซึ่งหากต้องการรับสิทธิดังกล่าวต้องโอนเงินมาเพิ่มอีก 5,000 บาท เมื่อผู้ร้องได้รับข้อมูลดังนั้นและเชื่อว่าเป็นโปรโมชั่นของบริษัทจริง จึงโอนเงินไปเพิ่ม แต่เหตุการณ์ไม่ได้จบเพียงเท่านี้ เพราะอีก 1 อาทิตย์ถัดมา พนักงานคนเดิมก็โทรศัพท์เข้ามาอีกครั้งเพื่อแจ้งว่า ทางบริษัทต้องการคำยืนยันที่ชัดเจนว่าผู้ร้องยังต้องการรถ ซึ่งทางบริษัทจะนำเข้าหรือสั่งมาให้ตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ โดยสามารถยืนยันสิทธิได้ด้วยการโอนเงินมาเพิ่มอีก 22,000 บาท หลังจากตัดสินใจสักพัก ผู้ร้องก็หลงเชื่อและโอนเงินไปอีกครั้ง ซึ่งหากรวมๆ แล้ว จำนวนเงินที่ผู้ร้องโอนให้พนักงานคนดังกล่าวเป็นจำนวนทั้งสิ้น 32,000 บาทเวลาต่อมาคุณสุชาติก็ได้นัดหมายกับไฟแนนซ์ และพนักงานของบริษัทรถที่เขาโอนเงินไปให้ เพื่อให้มาตกลงเรื่องการส่งค่างวดรถ อย่างไรก็ตามพนักงานคนดังกล่าวกลับบ่ายเบี่ยง และอ้างว่าไม่สะดวกทุกครั้งที่เขานัด ทำให้คุณสุชาติเริ่มไม่พอใจและติดต่อกลับไปยังบริษัทฯ เพื่อสอบถามปัญหา ภายหลังการพูดคุยและสอบถามถึงจำนวนเงินที่โอนไปก่อนหน้านี้ ทางบริษัทฯ กลับแจ้งว่า ไม่เคยได้รับเงินที่คุณสุชาติโอนเข้ามาก่อนหน้านี้เลย และเมื่อติดต่อไปยังพนักงานคนดังกล่าวก็พบว่า เขาได้ลาหยุดมาหลายวันแล้ว และไม่สามารถติดต่อได้ อย่างไรก็ตามเมื่อคุณสุชาติถามถึงการรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางบริษัทฯ ก็ตอบกลับว่า ไม่สามารถรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ คุณสุชาติต้องเป็นคนจัดการเอง ซึ่งเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ เขาจึงไปแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน และมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ผู้ร้องเข้ามาปรึกษาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ เพื่อต้องการทราบว่าการที่บริษัทฯ ปฏิเสธการรับผิดชอบเช่นนี้ สามารถทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้ชี้แจงกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับเหตุการณ์เช่นนี้ คือ ตามหลักกฎหมายตัวการตัวแทน กำหนดไว้ว่า ตัวการย่อมมีความผูกพันกับบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลาย อันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้กระทำไปในขอบเขตแห่งฐานตัวแทนนั้น หมายถึง การที่ตัวแทนได้ไปกระทำการในนามของบริษัท โดยได้กระทำในขอบเขตที่บริษัทให้ทำ ก็ต้องถือว่าทางบริษัทต้องรับผิดชอบกับตัวแทนนั้นด้วย ปกติบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จะต้องมีตัวแทนคนหนึ่งหรือหลายคนกระทำการแทนบริษัท ตามกฎหมายข้อบังคับหรือตราสารที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น1. พนักงานของบริษัท เมื่อได้มีการกระทำแทนบริษัทในกิจการภายในวัตถุประสงค์ของบริษัท พนักงานบริษัทจึงถือเสมือนเป็นตัวแทนของบริษัท2. หากทางพนักงานได้ทำการแทนบริษัท โดยได้รับเงินภายในกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัท ทางบริษัทย่อมมีความผูกพัน ในจำนวนเงินที่พนักงานนั้นได้รับ แต่ถ้าหากพนักงานได้ทำการแทนนอกวัตถุประสงค์แล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นผลผูกพันต่อบริษัท3. ตามที่ผู้ร้องได้ทำการโอนเงินให้กับพนักงาน โดยผู้ร้องเข้าใจว่าพนักงานนั้นเป็นตัวแทนและเป็นผู้มีอำนาจเรียกเก็บเงินของบริษัท จึงถือว่าผู้ร้องได้โอนเงินนั้นไปโดยสุจริต โดยถือว่าบริษัทได้ทำการยอมรับให้พนักงานนั้น เป็นตัวแทนของตนในการรับหรือเก็บเงินของผู้ร้อง เพราะฉะนั้นทางบริษัทจึงต้องรับผิดชอบต่อผู้ร้อง ซึ่งถือเป็นบุคคลภายนอกโดยสุจริต จึงไม่ถือว่าเป็นความผิดของผู้ร้อง4. หากพนักงานบริษัทได้กระทำการใดที่อยู่ในขอบเขตอำนาจตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ถือว่าเป็นการกระทำแทนบริษัท บริษัทจึงต้องรับผิดชอบในการที่พนักงานนั้นได้กระทำแทนบริษัทไป เสมือนกับทางบริษัทได้กระทำการนั้นด้วยตนเอง จากหลักกฎหมายดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นว่า บริษัทฯ ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบจากการกระทำของพนักงานคนดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ เอกสารการจองรถที่ผู้ร้องนำมาเป็นหลักฐานนั้น ไม่ใช่เอกสารการจองฉบับจริงของบริษัท แต่เป็นสำเนาการถ่ายเอกสาร ซึ่งผู้ร้องให้ข้อมูลว่า พนักงานนำใบจองรถที่ถ่ายสำเนามาให้เซ็นชื่อ ซึ่งเขาเชื่อโดยสนิทใจว่าเป็นเอกสารการจองรถของบริษัทจริงๆ โดยมารู้ภายหลังว่าพนักงานคนดังกล่าว ได้แอบนำใบจองฉบับจริงไปถ่ายเอกสาร ซึ่งหากเราไม่สังเกตก็อาจทำให้โดนหลอกได้ง่ายๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2557 ใช้ “พ.ร.บ.ทวงหนี้” จัดการเจ้าหนี้โหด คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน นักกฎหมาย ตัวแทนลูกหนี้  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล  ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณา “ร่างพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ...” เพื่อเสนอความเห็นและข้อเสนอต่อ คณะกรรมาธิการฯ ให้พิจารณาแก้ไขบทบัญญัติในกฎหมายเพื่อให้เกิดการคุ้มครองลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบให้ได้รับความเป็นธรรมจากการทวงถามหนี้  พร้อมเสนอให้เพิ่มเติมมาตรการเยียวยาความเสียหายแก่ลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากการทวงหนี้  และขอให้เร่งการออกกฎหมายฉบับนี้โดยเร็วเพื่อเป็นมาตรการคุ้มครองลูกหนี้และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ปัจจุบันปัญหาเรื่องการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม กลายเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งในสังคม โดยวิธีการที่เจ้าหนี้ใช้มีทั้ง การข่มขู่ การใช้วาจาหยาบคาย ยึดทรัพย์โดยพลการ หรือการทำร้ายร่างกาย ซึ่งผลจากการคุกคามของเจ้าหนี้ทำให้ลูกหนี้ต้องกู้เงินนอกระบบมาชำระหนี้ในระบบเพิ่มอีก บ้างก็ตัดสินใจออกจากงานเพราะทนแรงกดดันไม่ไหว, ครอบครัวมีปัญหา รวมไปถึงการฆ่าตัวตายดังที่เป็นข่าว ซึ่งการมายื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณา พ.ร.บ.ฯ ครั้งนี้ เพื่อต้องการให้มีการเร่งรัดการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้โดยเร็วที่สุด พร้อมกับมีข้อเสนอเพิ่มเติม ทั้งการควบคุมให้สถาบันการเงินที่ปล่อยบัตรสินเชื่อเงินสดหรือสินเชื่อให้กับลูกหนี้ ห้ามยึดเงินเดือนจากบัญชีธนาคารของลูกหนี้เนื่องจากขัดต่อกฎหมาย การยึดเงินเดือนของลูกหนี้ตามกฎหมายต้องฟ้องศาลก่อน เมื่อศาลมีคำสั่งจึงเข้าสู่กระบวนการอายัดเงินเดือนได้สูงสุด 30% ของเงินเดือนเท่านั้น หรือการคิดดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายระบุ ซึ่งนายมนตรีรับปากว่า จะผลักดันกฎหมายฉบับนี้ให้ประกาศใช้ได้ก่อนสิ้นปี 2557 นี้   เครือข่ายผู้บริโภคขอ “พ.ร.บ. ยา” ที่เป็นธรรมกับประชาชน แนะตัดภาคธุรกิจออกจากคณะกรรมการฯ ผศ.ภญ.สำลี ใจดี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา  และตัวแทนคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนร่วมกับภาคประชาสังคม 15 องค์กร เข้าพบเลขาธิการอย. เพื่อยื่นหนังสือโดยขอให้นำความเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อร่าง “พระราชบัญญัติยา พ.ศ.....” ฉบับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)  เพื่อให้แก้ไขและบรรจุในพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดตามมติดังนี้ 1. สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ...... ฉบับประชาชน  เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและพัฒนาระบบยาของประเทศ 2. เสนอให้ตัดผู้แทนจากภาคธุรกิจออกจากคณะกรรมการยาทั้ง 4 ชุด เพราะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่สมควรเข้ามากำกับดูแลนโยบาย 3. เสนอให้คงไว้และห้ามตัดออกสาระที่ดีมากใน พ.ร.บ. ยาฉบับกฤษฎีกา คือ ข้อมูลการขึ้นทะเบียนยา โดยเฉพาะ โครงสร้างราคายาและข้อมูลสิทธิบัตร เพราะมีส่วนในการกำหนดราคายาที่เหมาะสมและเป็นการเข้าถึงยาของประชาชนเมื่อยานั้นหมดสิทธิบัตรลง 4. เสนอให้เพิ่มหมวดการควบคุมราคายา เพื่อป้องกันการกำหนดราคายาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค โดยให้นำสาระจากร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับประชาชน 5. การจัดการกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายยาจะต้องเข้มงวดมากขึ้น โดยยกระเบียบต่างๆ ขึ้นมาอยู่ในระดับกฎหมาย 6. ต้องไม่ขยายคำจำกัดความของ “ยาปลอม” ไปครอบคลุมเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นกลวิธีของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติที่ต้องการขัดขวางการเข้าถึงยาของประชาชนและทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ   สปสช., สคบ., มพบ. จับมือทำงาน “ผู้บริโภค มาด้วยใจ ก้าวไกลด้วยกัน” เมื่อวันที่ 24-25 กันยายน 2557 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกันจัดงานประชุมวิชาการด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค “Consumer Convergence: ผู้บริโภค มาด้วยใจ ก้าวไกลด้วยกัน” ซึ่งการเสวนาและระดมความคิดเพื่อยกระดับการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย สร้างความร่วมมือกันในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจทั้งการเสวนาวิชาการเกี่ยวกับผู้บริโภค การแลกเปลี่ยนเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศจากประสบการณ์ของคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคจากเวียดนามและอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการร้องเรียนปัญหา แนวทางการพัฒนาให้ผู้บริโภคเข้มแข็ง การนำเสนองานวิจัยที่เกียวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย มีการจัดการประชุมกลุ่มย่อยในหัวข้อ “What’s next? ความร่วมมือในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดและระดับประเทศในอนาคต” เพื่อช่วยกันระดมความคิดในการพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องของการมีหน่วยรับเรื่องร้องเรียนภาคประชาชน เรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมในการคุมครองผู้บริโภค และเรื่องของนวัตกรรมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ภายในงานยังมีการมอบรางวัลศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการดีเด่นระดับประเทศปี 2556 โดยผู้ได้รับรางวัลประเภทโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปอันดับที่ 1 ได้แก่ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด อันดับที่ 2  โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม และอันดับที่ 3  โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา ส่วนรางวัลชมเชยได้แก่ โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ในส่วนของประเภทโรงพยาบาลชุมชน อันดับที่ 1 ได้แก่ โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง อันดับที่ 2 โรงพยาบาลสนม จังหวัดสุรินทร์ และอันดับที่ 3 โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนรางวัลชมเชยได้แก่โรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และโรงพยาบาลบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการดีเด่นระดับเขต ประจำปี 2556 ประเภทโรงพยาบาลชุมชนได้แก่ โรงพยาบาลบ้านค่าย จังหวัดระยอง และโรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม   ยกเลิกสัญญาอินเตอร์เน็ตไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ปัญหาเรื่องการถูกเรียกเก็บเงินจากการขอยกเลิกบริการอินเตอร์เน็ตภายในบ้าน เป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนมายัง กสทช. เป็นจำนวนมาก จากข้อมูลตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคว่าถูกผู้ประกอบการโทรคมนาคมคิดค่าปรับ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด เมื่อผู้ใช้บริการต้องการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด โดยมีจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด  757 กรณี ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตมักอ้างเหตุผลว่า ฟรีค่าติดตั้งและค่าธรรมเนียมแรกเข้า แต่หากผู้ใช้บริการบอกเลิกการใช้บริการก่อนกำหนดจะต้องจ่ายค่าบริการที่เป็นโปรโมชั่นดังกล่าว เหมือนเป็นการผู้มัดผู้ใช้บริการว่าต้องใช้สินค้าของตนแม้จะใช้แล้วรู้สึกไม่พอใจในสินค้าแต่ก็ห้ามยกเลิก หากยกเลิกต้องเสียเงิน ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อข้อ 15 ของประกาศ กทช. เรื่อง “มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549” ซึ่งห้ามบริษัทผู้ให้บริการคิดค่าปรับ หรือค่าเสียหายจากการที่ผู้ใช้บริการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด ผู้บริโภคจึงมีสิทธิยกเลิกสัญญาใช้บริการอินเตอร์เน็ตกับผู้ให้บริการได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ หากผู้บริโภคพบเจอปัญหาดังกล่าวสามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน กสทช. 1200   นักวิชาการชี้ “ยาอมแก้เจ็บคอ” ไม่ช่วยรักษาอาการ นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ยาอมแก้เจ็บคอที่วางขายในท้องตลาดเป็นจำนวนมากนั้น พบว่า มีการผสมยาปฏิชีวนะ 2 ประเภท คือ นีโอมัยซิน (Neomycin) และเบซิทราซิน (Bacitracin) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำคอให้ตาย แต่กลับเข้าไปรบกวนแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการต่อต้านและกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ซึ่งเป็นปัญหาทั่วโลก ส่วนที่กินแล้วรู้สึกอาการเจ็บคอดีขึ้น เป็นเพราะมียาชา จึงอยากให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เร่งทบทวน และยกเลิกตำรับยาประเภทนี้ เพราะถือเป็นการใช้ยาที่ไม่จำเป็น การเจ็บคอเนื่องจากหวัดนั้นกว่า 70-90% ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะสูตรเดี่ยว หรือยาที่มียาปฏิชีวนะเป็นส่วนผสมมาใช้ในการรักษา เพราะสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเอง เช่น 1. ดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง 2. ยาอมสมุนไพรฟ้าทลายโจร 3. อมน้ำเกลือกลั้วคอ 4. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสร้างเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคม 2556 ใช้น้ำมันทอดซ้ำ = ทำผิดกฎมาย หลังจากนิตยสารฉลาดซื้อของเราได้ลงผลทดสอบ “น้ำมันทอดซ้ำในไก่ทอด” ซึ่งตรวจพบสารโพลาร์ – สารก่อมะเร็งในน้ำมันทอดซ้ำในหลายตัวอย่าง ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องอาหารปลอดภัย ก็ได้ออกมารับไม้ต่อในการทำหน้าที่ปกป้องผู้บริโภค โดยทั้งสุ่มตรวจอาหารทอด และออกกฎหมายควบคุมการใช้น้ำมันทอดซ้ำ อย.ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง วิธีการผลิตอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งในประกาศได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำห้ามมีการปนเปื้อนของสารโพลาร์เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนักอาหาร หากมีการสุ่มตรวจแล้วพบการปนเปื้อนเกินกว่าค่าที่กำหนด ผู้ผลิตหรือผู้ขายอาหารที่ทำผิดจะมีโทษปรับสูงสุดหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งประกาศนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2556 เป็นต้นไป มีข้อมูลที่ทาง อย. ได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำมันทอดซ้ำจากทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อดูผลย้อนหลัง 5 ปี พบว่ามีความเสี่ยงจากอันตรายในน้ำมันทอดซ้ำเพิ่มขึ้นทุกปี โดยจากการเก็บตัวอย่าง อาหารทอดที่พบสารโพลาร์เกินร้อยละ 25 มีอย่างเช่น แคบหมู มันฝรั่ง ไส้กรอก ลูกชิ้น และไก่ทอด ----------------------------------------------------------   พ.ร.บ.ยา...ที่ยังมาไม่ถึง (สักที) คนไทยยังคงต้องร้องเพลงต่อไป สำหรับโอกาสที่จะได้ใช้ พ.ร.บ. ยา พ.ศ. ... (ฉบับประชาชน) หลังจากถูกดองโดยรัฐบาลเป็นเวลาร่วม 1 ปี ทั้งๆ ที่กฎหมายฉบับนี้ซึ่งมาจากการเข้าชื่อของประชาชนหนึ่งหมื่นชื่อผ่านการรับรองโดยรัฐสภาแล้วเรียบร้อย แต่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่ลงนามรับรองร่างกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน รัฐบาลจะต้องออกร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับของรัฐบาลมาควบคู่กัน เพื่อพิจารณาเปรียบเทียบ กฎหมายจากภาคประชาชนฉบับนี้จึงอดแจ้งเกิด ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา กล่าวว่า พ.ร.บ. ยา ฉบับประชาชน จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในเรื่องการใช้ยาของคนไทย ทั้งการตั้งกองทุนชดเชยความเสียหายจากปัญหาการใช้ยา ซึ่งหลายประเทศที่พัฒนาแล้วใช้หลักการนี้ การควบคุมการส่งเสริมการขาย สร้างโครงสร้างราคายาที่เหมาะสม ลดปัญหาการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันเรานำเข้ายาจากต่างประเทศถึง 70% โดยหลังจากนี้ กพย. วางแผนที่จะผลักดันให้เกิดการใช้ร่างเกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยา ด้วยการพิมพ์เผยแพร่ร่างดังกล่าว ส่งต่อให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ที่สนใจและเห็นประโยชน์เพื่อให้ลองนำไปปรับใช้ต่อไป ----------------------------------------------- สวยต้องห้าม "สเต็มเซลล์ โรลเลอร์” ความสวยไม่ควรมาพร้อมความเสี่ยง การแพทย์เพื่อความงามต้องตั้งอยู่บนความปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ออกโรงยืนยันว่า "สเต็มเซลล์ โรลเลอร์ (Stem Cell Roller)" และ "เดอร์มา โรลเลอร์" (Derma Roller) ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณว่า ช่วยรักษารอยเหี่ยวย่น รอยสิว ผิวหน้าไม่เรียบ ทำให้หน้าใส โดยจะใช้ลูกกลิ้งที่มีเข็มเล็กๆ เป็นจำนวนมาก กลิ้งไปบนใบหน้า เพื่อให้ใบหน้ามีการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ขึ้นมาทดแทนนั้น ไม่ได้รับการรับรองให้ใช้รักษาในประเทศไทย เพราะไม่มีข้อมูลการันตีเรื่องผลการรักษา และยังเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อผิวหน้า โดย อย. ได้เอาผิดกับ 2 คลินิกเสริมความงามชื่อดัง ทั้ง นิติพลคลินิก และ วุฒิ-ศักดิ์คลินิก หลังจากได้รับการร้องเรียนและตรวจสอบพบว่ามีการให้บริการ สเต็มเซลล์ โรลเลอร์ และเดอร์มา โรลเลอร์ อันตรายของ สเต็มเซลล์ โรลเลอร์ และเดอร์มา โรลเลอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ ที่ทำให้เกิดบาดแผลกับผิวหน้า มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่ออันตราย หากเครื่องมือที่ใช้ไม่มีความสะอาดและไม่ได้มาตรฐาน ------------   ร้องเนสท์เล่ เรียกคืน “คิทแคท” เจ้าปัญหาแบบในต่างประเทศ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน รวมกันแถลงข่าว ร้องขอความรับผิดชอบจาก บริษัท เนสท์เล่ ประเทศไทย ให้มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ ช็อคโกแล็ตนมสอดไส้เวเฟอร์ ตราเนสท์เล่คิทแคท ออกจากร้านค้าทั่วประเทศ หลังจากพบปัญหาว่าพลาสติกที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์หลุดออกมาปนเปื้อนในเนื้อช็อกโกแลตที่เคลือบขนม ปัญหาแบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศ โดยบริษัท เนสท์เล่ ได้แสดงความรับผิดชอบโดยการเรียกคืนสินค้าที่มีปัญหาโดยสมัครใจทั้งใน อังกฤษ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ หรือแม้แต่มาเลเซีย ซึ่งผลิตภัณฑ์คิทแคทที่จำหน่ายในบ้านเรานำเข้ามาจากมาเลเซีย ลักษณะของปัญหาเกิดจากตัวบรรจุภัณฑ์ที่มีการนำเส้นพลาสติกสีแดงติดอยู่ด้านใน ซึ่งสามารถหลุดลอกออกมาได้ทำให้ไปปนเปื้อนกับตัวอาหาร ยิ่งเนื้อช็อกโกแลตมีโอกาสหลอมเหลวได้ง่ายเมื่ออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน การปนเปื้อนของเส้นพลาสติกกับเนื้ออาหารจึงเกิดขึ้นได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงน่าจะมาจากตัวบรรจุภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาไม่เหมาะสม ------------------------------------------------------------------------------   กสทช. กับความล้มเหลวเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค "2556 ปีทองการคุ้มครองผู้บริโภค " คือคำประกาศที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. นำมาใช้แสดงวิสัยทัศน์ในการทำงาน แต่หากลองพิจารณาถึงการทำงานตลอดปี 2555 ที่ผ่านมา และช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 จะเห็นว่าผลงานที่ประจักษ์ของ กสทช. นั้น ช่างแตกต่างจากคำประกาศอย่างสิ้นเชิง เพราะการทำงานที่ผ่านมา ปัญหาของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของ กสทช. ถูกละเลยอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การกำหนดวันหมดอายุบัตรเติมเงิน การคิดค่าโทรนาทีละ 99 สตางค์ หรือปัญหา sms หลอกเงิน ซึ่งหลายเรื่องมีข้อกฎหมายกำหนดชัดเจนมาพร้อมบทลงโทษกับผู้ประกอบการที่กระทำผิด แต่ทุกปัญหาก็ยังคงรบกวนผู้บริโภคอย่างไม่มีทีท่าว่าจะได้รับการแก้ไข นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวเสริมถึงเรื่องปัญหาของผู้บริโภคว่า ปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเต็มที่ ปีที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนมาที่ กสทช. ประมาณ 4 - 5 พันเรื่อง การแก้ไขเป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งที่กฎหมายกำหนดว่าต้องดำเนินการภายใน 30 วัน โดยยังคงมีเรื่องร้องเรียนค้างอยู่นับพันเรื่อง ซึ่งสาเหตุของปัญหามาจากการจัดการทั้งเรื่องของบุคลากรและงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ขั้นตอนการดำเนินงานที่มากเกินไป ทั้งหมดล้วนเกิดจากการบริหารจัดการที่ยังไม่มีความชัดเจนและไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องปัญหาผู้บริโภคมากเพียงพอ จากนี้ไป ผู้บริโภคอย่างเราก็คงต้องจับตาดูการทำงานของ กสทช. อย่างใกล้ชิด  กสทช. ต้องแสดงความจริงใจในการเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคในยุคที่บริการด้านการสื่อสารมีบทบาทอย่างมากกับการดำเนินชีวิต ไม่ใช้องค์กรที่ค่อยสร้างประโยชน์แก่ผู้ประกอบการอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ---------------------   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 134 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคม 2555 เจ็บป่วย ฉุกเฉิน รักษาได้ทุกที่ไม่มีแบ่งสิทธิ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้เป็นต้นไป ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารักษาได้ทันทีทุกโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือของเอกชน ใกล้ที่ไหนไปที่นั้น ไม่มีการแบ่งสิทธิ ทุกกองทุนสุขภาพให้บริการภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งทั้ง 3 กองทุนสุขภาพของไทย ประกอบด้วย กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ จับมือร่วมกันเพื่อพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลของบ้านเราให้เป็นไปอย่าง เท่าเทียม รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แถมยังเป็นก้าวสำคัญที่อาจเป็นความหวังเล็กๆ ที่นำไปสู่การสร้างระบบประกันสุขภาพมาตรฐานเดียวกันให้กับคนไทยทั้งประเทศ สำหรับนิยามของผู้ป่วยฉุกเฉินที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินได้กำหนดเอาไว้หมายถึง ผู้ป่วยด้วยโรค ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ทางเดินหายใจ ต้องดูแลติดตามใกล้ชิด เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน   หากต้องการความช่วยกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถติดต่อได้ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โทร. 1669 แต่หากมีข้อสงสัยเรื่องสิทธิหรือสอบถามรายชื่อ รพ. ติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ โทร. 1330 -------------------------------------------     คนไทยป่วยมากขึ้น เพราะกินผักน้อยลง ถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจเมื่อมีผลการวิจัยออกมาว่า คนไทยกินผัก – ผลไม้น้อยลง ซึ่งส่งผลทำให้คนไทยเราป่วยด้วยโรคร้ายแรงอย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง กันมากขึ้น โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่าปัจจุบันมีคนไทยป่วยด้วยโรคที่กล่าวมาเฉลี่ยปีละ 97,900 คน มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งกว่า 6 หมื่นคนเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี ชี้ให้เห็นว่าคนไทยเราอายุสั้นลง แถมคนไทยเรายังกินยากันมากถึงปีละ 4.7 หมื่นล้านเม็ด หรือเฉลี่ยวันละ 128 ล้านเม็ด สาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยป่วยเพิ่มขึ้น มาจากการขาดการดูแลสุขภาพที่ดี ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ที่สำคัญคือการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม กินแต่ของหวาน ของเค็ม ของมัน แต่กลับกินผัก – ผลไม้น้อยเกินไป ซึ่งจากข้อมูลของกรมอนามัยพบว่าในปี 2554 ที่ผ่านมา คนไทยกินผักกันค่อนข้างน้อยเฉลี่ยแค่คนละ 1.8 กรัมหรือไม่ถึง 2 ขีดเท่านั้น ทั้งที่ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ให้กินผักให้ได้อย่างน้อยวันละ 4 ขีด จึงจะผลในทางบวกต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้นในฐานะที่บ้านเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ควรหันมาให้ความสำคัญกับการกินผัก – ผลไม้กันให้มากขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง -----------------------------------------------     ตรวจจับความเร็วรถตู้โดยสาร...มาตรการเพื่อความปลอดภัย ช่วงที่ผ่านมามีข่าวรถตู้โดยสารสาธารณะประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้งจนน่าตกใจ แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือจำนวนทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการที่มีแต่มากขึ้น ในสภาพการจราจรที่แสนจะแออัดวุ่นวายของกทม. แม้จะหวั่นใจเรื่องอุบัติเหตุแต่รถตู้โดยสารก็เป็นทางเลือกที่หลายคนต้องการ เพราะสะดวกกว่าและประหยัดเวลา แต่เรื่องความปลอดภัยยังไงก็เรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง กรมขนส่งทางบกจึงออกมาตรการให้รถตู้โดยสารสาธารณะทุกคันต้องติดตั้งระบบตรวจจับความเร็วที่มีชื่อว่า RFID (Radio Frequency Identification) ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่ตรวจจับความเร็วของรถตู้โดยสารสาธารณะขณะวิ่งบนทางด่วน โดยความเร็วที่กำหนดไว้คือไม่เกิน 90 กม./ชั่วโมง รถตู้ที่ฝ่าฝืนขับเร็วเกินกว่าที่กำหนดจะต้องเสียค่าปรับ 5,000 บาท ถ้าทำผิดซ้ำจะถูกปรับเพิ่มเป็น 10,000 บาท โดยขณะนี้ยังมีการใช้ระบบตรวจจับความเร็วรถตู้โดยสารเฉพาะในกทม.เท่านั้น แต่ในอนาคตข้างหน้ากรมขนส่งทางบกตั้งใจจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ สำหรับการเลือกใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องสังเกตแผ่นป้ายทะเบียนที่ต้องเป็นพื้นสีเหลือง ตัวเลขและตัวอักษรเป็นสีดำ แสดงชื่อเส้นทางทีวิ่ง ด้านข้างรถมีเครื่องหมายแสดงการเข้าร่วมกับ ขสมก. และ บขส. -------------     “สเตียรอยด์” ตัวร้าย...อันตรายที่แฝงมากับยาแผนโบราณ เพราะบ้านเรายังมีความเชื่อผิดๆ เรื่องการใช้ยากันอยู่อีกมาก อย่างความเชื่อที่ว่าการใช้ยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณปลอดภัยกว่ายาแผนปัจจุบัน ซึ่งความจริงอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากยังพบว่ามีการใส่สารสเตียรอยด์ลงในยาแผนโบราณที่วางจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จึงได้งานเสวนาเรื่อง “สภาพปัญหาและผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากการใช้สเตียรอยด์” เพื่อเป็นสร้างความเข้าใจและกระตุ้นเตือนอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนอยู่ในยาแผนโบราณ จากการเก็บตัวอย่างยาแผนโบราณที่วางขายทั่วไป โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ยังพบการปลอมปนสารสเตียรอยด์ ทั้งในยาที่ได้และไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน พบทั้งในแบบที่เป็นยาลูกกลอน ยาชุด ยาน้ำสมุนไพร รวมถึงเดี๋ยวนี้ถูกนำมาไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมด้วย ซึ่งอันตรายของสารสเตียรอยด์มีตั้งแต่ไปกัดกระเพาะอาหาร ทำให้กระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจรุนแรงถึงขั้นไตวาย ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลา ยิ่งกินต่อเนื่องเป็นเวลานานยิ่งอันตรายมาก คนที่เสี่ยงกับสารสเตียรอยด์ส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ตามต่างจังหวัด เพราะเวลาที่เจ็บป่วยไม่นิยมไปสถานพยาบาล อาจจะด้วยเพราะเดินทางลำบากหรือคิดว่าไปหาหมอต้องเสียเงินมาก จึงเลือกวิธีซื้อยามากินเอง ซึ่งยาที่ซื้อก็มักเป็นยาสมุนไพรยาแผนโบราณที่ขายตามร้านขายของชำทั่วไปบ้าง รถเร่ที่ประกาศขายยาต่างๆ บ้าง เป็นเพราะหลงเชื่อในคำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ แม้เดี๋ยวนี้จะการควบคุมเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้มงวดขึ้น แต่รูปแบบของการหลอกขายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็มีเพิ่มขึ้นหลายช่องทาง ทั้ง อินเตอร์เน็ต ทีวีเคเบิ้ล วิทยุชุมชน การขายตรง ภาครัฐต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการกินยาที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค และควบคุมดูแลการผลิตยาที่ปลอดภัย อย่าให้มีการลักลอบใช้สารสเตียรอยด์ พร้อมทั้งป้องกันการผลิตและจำหน่ายยาที่ผิดกฎหมาย ที่สำคัญคือผู้ป่วยต้องรู้เท่าทันเลือกกินยาที่ปลอดภัยได้รับการรับรองจากเภสัชกร อย่ากินเพราะคำโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง --------------------------------------------     วันสิทธิผู้บริโภคสากล ถึงเวลาตื่นตัวปัญหาผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภค ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ต้อนรับ “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา โดยได้มีการแปลอักษรคำว่า “World Consumer Rights Day” รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคและชักชวนให้ผู้บริโภคหันมาตระหนัก และสนใจในสิทธิรอบตัว เช่น การโดยสารรถสาธารณะอย่างไรให้ปลอดภัย ราคาดอกเบี้ยที่เป็นธรรม เป็นต้น โดยมีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก โดยในปีนี้ประเด็นที่องค์กรผู้บริโภคทั่วโลกรณรงค์ร่วมกันคือ ปัญหาเรื่องการเงินการธนาคาร ซึ่งองค์กรผู้บริโภคประเทศไทยของเรามีประเด็นปัญหาการเงินการธนาคารที่อยากให้ภาครัฐจัดการแก้ไข ได้แก่ 1.ปัญหาการคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป 2.ปัญหาการทวงหนี้ไม่เป็นธรรม และ 3.ตั้งคณะทำงานทบทวนมาตรการการกำหนดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนโยบายหรือมาตรการที่ออกมาเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการแทบทั้งสิ้น เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต ดอกเบี้ยเงินกู้เงินฝาก การเก็บค่าธรรมเนียมการการโอนเงิน การฝากเงิน การเก็บเงินจากการใช้บริการตู้เอทีเอ็ม ผู้บริโภคต้องรับภาระส่วนนี้โดยไม่เป็นธรรม พร้อมกันนี้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคยังส่งเสียงถึงรัฐบาล เรียกร้องให้เร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (มาตรา 61) ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ซึ่งกฎหมายนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากให้กับผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนธันวาคม 2554 สวยด้วยแพทย์...ก็ยังมีเสี่ยง ใครที่อยาก “สวยด้วยแพทย์” ต้องอ่านข่าวนี้ให้ดีๆ เมื่อคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก. คปภ.) ได้ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สำหรับเสริมความงามที่นำเข้าอย่างผิดกฎหมายและไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. ภายในพงศักด์คลินิก สำนักงานใหญ่ใน จ.ระยอง ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ตรวจยึดได้ล้วนเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความสวยความงาม ไม่ว่าจะเป็น  ยาฉีดโบท็อกซ์ , ยาฉีดฟิลเลอร์ เสริมจมูก เสริมคาง, ยาฉีดกลูตาไธโอน, ยาฉีดพลาเซนต้า หรือรกแกะ, ยาฉีดแอลคานีทีน และยาฉีดวิตามินซีผสมคอลลาเจล นอกจากนี้ยังมียาลดความอ้วน รวมทั้งเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการเสริมความงาม เช่น เครื่องนวดเย็น เครื่องสลายไขมัน เครื่องยิงเลเซอร์ รวมมูลค่าสินค่าทั้งหมดกว่า 20 ล้านบาท อย.ฝากเตือนและขอความร่วมมือไปยังคลินิกเสริมความงามทั้งหลาย อย่าใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนจาก อย. เพราะจะทำให้เกิดอันตรายกับผู้ที่มาใช้บริการอย่างที่เคยเห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ อย่างกรณีการฉีดฟิลเลอร์ที่ว่าสามารถช่วยเรื่องริ้วรอยบนใบหน้านั้น เคยมีข้อมูลจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยว่า เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมาว่า มีผู้ที่ได้รับผลร้ายข้างเคียงจากการฉีดฟิลเลอร์จนทำให้ตาบอดจำนวนถึง 3 คน นอกจากนี้ฟิลเลอร์ยังอาจมีผลต่อสมองในระยะยาว หากฉีดในปริมาณมากหรือฉีดไม่ถูกวิธี คนที่อยากจะสวยทางลัดต้องศึกษาข้อมูลให้ดี ว่าการเสริมความงามแต่ละประเภทมีผลเสียหรือผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง ความน่าเชื่อถือของสถานบริการมากน้อยแค่ไหน และเรื่องผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ต้องให้แน่ใจว่าได้รับรองจากทาง อย.--------------------   ชอบใส่กางเกงฟิตมีสิทธิปวดหลัง ตอนนี้แฟชั่นกางเกงรัดรูป ไม่ว่าจะเป็นกางเกงขาเดฟ สกินนี่ หรือเลกกิ้ง กำลังได้รับความนิยม ฮิตใส่ทั้งหนุ่มๆ และสาวๆ แต่ความสวยความเท่ก็อาจกลายเป็นผลเสียต่อสุขภาพ เมื่อคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเสนอผลการวิจัยที่น่าสนใจในหัวข้อที่ว่า “การสวมกางเกงขายาวแบบรัดรูปมีผลต่อองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนเอวและการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัว” ซึ่งข้อมูลจากการวิจัยพบว่า ขณะนี้มีวัยรุ่นในภาคอีสานกว่า 80% เป็นโรคปวดหลัง โดยส่วนใหญ่นิยมนุ่งกางเกงรัดรูปเอวต่ำ สำหรับวิธีการศึกษาในครั้งนี้ทำโดย ให้อาสาสมัครทำกิจกรรม 3 ประเภท คือ การนั่งยองๆ แล้วทำกิจกรรมต่างๆ การลองให้ยกของขึ้นจากพื้น และการนั่งเอื้อมมือไปหยิบวัตถุที่อยู่ด้านหน้า โดยใส่กางเกงขายาวแบบรัดรูป เทียบกับกางเกงขายาวแบบสวมใส่สบาย โดยอาสาสมัครจะได้รับการวัดองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวและวัดศักย์ไฟฟ้าของกล้ามเนื้อลำตัวไปพร้อมกัน เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างกางเกงขายาวทั้งสองแบบ ซึ่งกางเกงขายาวแบบรัดรูป จะจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก ส่งผลให้องศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ การทำงานของกล้ามเนื้อหลังลดลง และทำให้ผู้สวมใส่เกิดความไม่สบายที่บริเวณหลังส่วนล่าง เมื่อเปรียบเทียบกับกางเกงขายาวแบบสวมใส่สบาย ------------------------------------------------   ลูกชิ้น (ต้อง) ไร้สารกันบูด คนที่ชอบลูกชิ้นรู้กันหรือยังว่า ลูกชิ้นที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นเนื้อ ลูกชิ้นไก่ ฯลฯ ถูก อย. ประกาศให้เป็นอาหารที่ห้ามใช้สารกันบูด(เว้นแต่ขออนุญาตก่อน) แต่ก็ยังมีผู้ผลิตบางรายที่ยังคงใส่สารกันบูดในลูกชิ้น จากการสำรวจตลาดของ อย. พบลูกชิ้นยี่ห้อ “หมูสยาม” มีวัตถุกันเสียชนิดกรดเบนโซอิกใน 3 ตัวอย่าง คือ ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นเอ็นหมู และลูกชิ้นเนื้อวัว พบกรดเบนโซอิกปริมาณ 3,745, 4,731 และ 4,770 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามลำดับ “หมูสยาม” ทั้งลูกชิ้นเอ็นหมู และลูกชิ้นเนื้อวัว จึงเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งทาง อย. ได้ทำการลงโทษผู้ผลิต ระงับการผลิต และเรียกคืนผลิตภัณฑ์ทั้งหมดออกจากตลาดแล้ว------------------- “ตัดสัญญาณ คิดเงินผิด โทรไม่ติด” ปัญหา (ที่ยัง) ยอดฮิตของคนใช้โทรศัพท์นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวง กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยผลการร้องเรียนของผู้บริโภค ในปี 2554 ซึ่งมีจำนวนเรื่องร้องเรียนรวมทั้งสิ้น 4,615 เรื่อง เข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาแล้ว 2,077 เรื่อง คิดเป็น 45% ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จจำนวน 1,627 เรื่อง แบ่งเป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 75% อินเตอร์เน็ต 19% โทรศัพท์พื้นฐาน 3.9% โทรศัพท์สาธารณะ 2.1% บริษัทผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ทั้ง เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ และ ฮัทช์ ต่างก็ได้รับการร้องเรียนในหลายๆ เรื่อง ที่มากที่สุดคือ การกำหนดระยะเวลาของบัตรเติมเงินที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีเรื่อง คิดค่าบริการผิดพลาด และมาตรฐานการให้บริการ เช่น สัญญาณไม่ดี ไม่ชัด หลุดบ่อย ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย ถูกระงับบริการโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ถูกยึดเลขหมายแล้วนำไปจำหน่ายให้ผู้บริโภครายใหม่ก่อนครบ 180 วัน ไม่สามารถใช้บริการที่สมัครได้ เปลี่ยนเงื่อนไขบริการโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าใครที่มีปัญหาเรื่องบริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต สามารถติดต่อสอบถามไปยั งบริการ Call Center ของแต่ละค่ายผู้ให้บริการ หรือที่ กสทช. โทร.1200-----------------------------------------------------------------------   สรุปปัญหาผู้บริโภค ปี 54ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ได้สรุปสถานการณ์เรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคในปี 2554 ที่ผ่านมา โดยมีเรื่องร้องเรียนเข้ามายังศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ทั้งสิ้น 895 กรณี และยังมีการร้องเรียนผ่านเครือข่ายผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคอีกจำนวนหนึ่ง โดยปัญหาหลักๆ ที่มีผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ยังคงหนีไม่พ้นปัญหาหนี้บัตรเครดิต ปัญหาด้านสินค้าและบริการ ปัญหาเรื่องผลิตภัณฑ์อาหาร และปัญหาด้านการบริการสุขภาพและสาธารณสุข ปัญหาด้านการเงินการธนาคาร หลักๆ จะเป็นเรื่องหนี้บัตรเครดิต มีตั้งแต่ปัญหาเรื่องใบแจ้งหนี้ ที่บางบริษัทมีแต่ภาษาอังกฤษ ไม่แสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่สามารถตรวจสอบได้ เหมือนจงใจให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน นอกจากนี้ผู้บริโภคมักจะถูกเชิญชวนกึ่งบังคับให้ทำประกันแบบคุ้มครองหนี้สินแต่ไม่มีค่าสินไหมตอบแทน และการหลอกล่อให้ผ่อนชำระเงินหนี้บัตรเครดิตในอัตราขั้นต่ำ ทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ปัญหาด้านสินค้าและบริการ ปัญหาด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร ยังคงเป็นเรื่องของประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้าและบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความไม่ชัดเจนของข้อมูลบนฉลากที่อ่านยากหรือไม่มีข้อมูลภาษาไทย ด้านการบริการก็มักขาดความจริงใจหรือเอาเปรียบผู้บริโภค ส่วนปัญหาด้านบริการสุขภาพ หนีไม่พ้นเรื่องการขาดมาตรฐานในการรักษาพยาบาล ซึ่งเกิดจากการที่มีการแบ่งสิทธิการรักษาพยาบาลออกเป็นหลายประเภท ทั้งระบบประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง และระบบเฉพาะสำหรับข้าราชการ กลายเป็นปัญหาโดยเฉพาะกับโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งไม่ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยที่ใช้บัตรประกันสุขภาพ นอกจากนี้โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งยังมีการโยกย้ายสิทธิของผู้ใช้บริการโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ ด้านการฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคนั้น ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ได้ให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคในเรื่องการฟ้องคดี ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีผู้บริโภค โดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุรถโดยสาร ซึ่งปี 54 ที่ผ่านมามีการฟ้องร้องทั้งสิ้น 124 คดี ผลคดีสิ้นสุดแล้ว 108 คดี สามารถเรียกร้องค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายได้ทั้งสิ้น 27,244,803.39 บาท จากปัญหาต่างๆ ที่พบทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมีข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการฟ้องคดีของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคให้มีข้อมูลและรู้เท่าทันการถูกเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งเชื่อว่าถ้าหากมีองค์การอิสระผู้บริโภค จะสามารถทำหน้าที่ทั้งเผยแพร่ข้อมูล ให้ความเห็น และเสนอแนะแนวทางในการหาทางออกให้กับผู้บริโภคได้ นอกจากนี้ควรมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ปรับปรุงพัฒนากฎหมายที่มีอยู่ในสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่สำคัญต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภคให้มากที่สุด--------------------

อ่านเพิ่มเติม >