ฉบับที่ 154 เงิบแห่งปี

ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ก่อนจะก้าวเข้าสู่ปี 2557 เราลองมาทบทวนประสบการณ์เงิบจากข่าวเกี่ยวกับผู้บริโภค ที่ทางทีมฉลาดซื้อได้รวบรวมมาและจัดให้เป็น “เงิบแห่งปี” กันนะคะ   1 ประสบการณ์เงือก เมื่อสตาร์บัคส์ประกาศฟ้องร้านกาแฟรถพ่วงสตาร์บัง โทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้ารูปนางเงือกสองหาง ที่เขาบอกว่าเขาใช้เวลากว่า 40 ปีเพื่อทำให้มันเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วโลก หลายคนฟังแล้วขำที่บังสองพี่น้องเจ้าของร้านกาแฟเคลื่อนที่เจ้านี้ เข้าใจโหนกระแสร้านกาแฟระดับโลก นอกจากตั้งชื่อคล้ายแล้วทำโลโก้แนวเดียวกันอีกด้วย โลโก้ของบังเป็นรูปบังโพกผ้า มือหนึ่งถือกระบวยน้ำร้อน อีกมือชูสองนิ้ว แต่เราก็คงไม่แวะซื้อกาแฟบังเพราะเข้าใจสับสนว่าเป็นสตาร์บัคส์อยู่แล้ว (เอ๊ะหรือว่ารอบๆมอเตอร์ไซค์บังจะมีไวไฟให้ใช้เหมือนกันด้วย) นักการตลาดให้ความเห็นว่านี่เป็นการ “ล้อเลียน” มากกว่า “ลอกเลียน” แต่เพื่อเป็นการ “รักษาประสบการณ์สตาร์บัคส์” ตามความคาดหวังของลูกค้า บริษัทบอกว่า “จำเป็นต้องฟ้อง” ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเรียกค่าเสียหาย 300,000 บาท และดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 ต่อปี จากบังสองพี่น้อง รวมถึงให้ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี สตาร์บัคส์บอกว่าเจอแบบนี้มาหลายครั้ง แต่ที่ผ่านมาใช้วิธีเจรจากับผู้ที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ และให้ความช่วยเหลือจนฝ่ายนั้นยินยอมปรับเปลี่ยนเครื่องหมายการค้าของตัวเองให้แตกต่างไปจากสตาร์บัคส์ บังเอิญว่าคราวนี้ผู้ประกอบการสตาร์บังเขาขัดขืน ผู้บริโภคอย่างเราเลยได้เห็นอะไรแปลกๆ คำตัดสินในคดีอาญาข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้านี้จะเป็นอย่างไร เราจะรู้ผลวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 นี้   2 ขาวดีมีทุนให้ !!? ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สังคมทั้งออนไลน์และออฟไลน์หงุดหงิดกันไม่น้อยเมื่อบริษัทยูนิลิเวอร์ปล่อยแคมเปญโฆษณาครีมผิวขาวตัวใหม่ ที่มุ่งตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาสาว ท่ามกลางกระแสความอยากขาว บริษัทเลยจัดกิจกรรม “ซิตร้าค้นหาสาวใสเด้งวิ๊ง 3D” เพื่อตามล่าหานักศึกษาสาวผิวขาวใส ที่ผู้เข้าแข่งขันไม่ต้องทำอะไรนอกจาก “แต่งชุดนักศึกษา โพสต์ท่าโชว์ผิวเด้ง 3 มิติ พร้อมถือซิตร้า เพิร์ลลี่ไวท์ ซีรั่ม หรือโลชั่น แล้วแชะรูปเต็มตัว ส่งมาที่ www….” ข้อความที่ปรากฏในโฆษณาโทรทัศน์ระบุว่า ผู้ชนะจะได้รางวัลเป็นทุนการศึกษากว่า 100,000 บาท (พร้อมโอกาสในการได้ร่วมถ่ายแฟชั่นลงนิตยสาร Cheeze) เท่านั้นแหละท่านผู้ชม เกิดการถกเถียงกันมากมายทั้งกลุ่มออกมาวิพากษ์วิจารณ์การให้ทุนการศึกษากับคนที่ผิวขาว คนผิวคล้ำไม่มีโอกาสเลยหรือ บ้างก็ตั้งคำถามเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท แต่หลายคนก็เข้าอกเข้าใจ บอกว่าเขาขายครีมผิวขาว จะให้ไปแจกรางวัลคนผิวคล้ำมันก็ไม่ตรงคอนเซปต์สิ และที่เรียกรางวัลว่า “ทุนการศึกษา” ก็เพราะจะได้ไม่ต้องเสียภาษีไง ว่ากันไป … เรื่องนี้เป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ของอังกฤษและออสเตรเลียหลายฉบับ คนที่นั่นคงจะอ่านไปขำไป ... ไอ้เราก็อยากจะกำจัดความขาวเหลือเกิน ให้เอาตัวเองไปปิ้งย่างกลางแดดก็ยอม สุดท้ายบริษัทออกมาขอโทษว่าไม่ได้มีเจตนาจะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องของการเหยียดสีผิว ว่าแล้วก็ถอนแคมเปญ “ขาวในฟอร์ม” นี้ออกไป แต่มันก็ทำให้นักศึกษา หรือวัยรุ่นทั่วไปได้เห็นความจริงข้อหนึ่ง นั่นคือคนที่มาถ่ายรูปชิงรางวัลนั้น ขาวมาเองจากบ้านอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับผลิตภัณฑ์ที่ถืออยู่ในมือสักหน่อย เพราะเขาเพิ่งจะเปิดตัวปีนี้เองนะ   3 ขาขึ้น ข่าวนี้รับประกันความเงิบสามชั้น  เมื่อราคาแก๊สหุงต้ม ค่าไฟฟ้า และค่าทางด่วน พร้อมใจกันขึ้นราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา จะให้ลดการใช้ไฟฟ้า หรืองดใช้ทางด่วนนั้นเป็นเรื่องพอจะทำได้ แต่จะให้ประหยัดแก๊สด้วยการหันมากินอาหารดิบๆสุกๆ คงจะทำยาก เขาบอกว่าราคาแก๊สหุงต้ม (แอลพีจี) นั้นจะปรับขึ้นเพียงกิโลกรัมละ 50 สตางค์ ต่อเดือนเท่านั้น ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนมากนัก แต่ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานเขาประกาศให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อน (.. ตกลงเรามีผู้เดือดร้อนนะ) เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย (บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 90 หน่วยต่อเดือน) กลุ่มร้านค้าหาบเร่ แผงลอยร้านอาหาร ที่ยังสามารถซื้อแก๊สหุงต้มได้ในราคาต่ำกว่าคนอื่น ณ วันที่เขียนเรื่องนี้ราคาแก๊สขึ้นมาอยู่ที่ 20.13 บาทต่อกิโลกรัม (ถังละ 15 กิโลกรัม จึงราคา 301.95 บาทเป็นอย่างต่ำ) แต่สุดท้ายแล้วราคาแก๊สจะขึ้นไปจนราคาต่อกิโลกรัมอยู่ที่ 24.82 บาท (ถังละ 372.30 บาท ซึ่งหมายความว่า เราคงเสียเงินค่าแก๊สไม่ต่ำกว่า 400 บาท (พ่อค้าไม่นิยมเศษสตางค์จ้า) ... แย่แล้วซาร่า จะหนีไปใช้เตาไฟฟ้าค่าเอฟทีก็ขึ้น เราคงต้องพึ่งพาอาหารนอกบ้านกันแล้ว แต่เดี๋ยวก่อน ... เราต้องจ่ายแพงขึ้นด้วยหรือเปล่า? กรมการค้าภายในยืนยันว่ามันส่งผลกระทบน้อยมาก อธิบดีเขาบอกว่าก๊าซหุงต้ม 1 ถังใช้ประกอบอาหารได้ประมาณ 300 จาน การปรับขึ้นก๊าซเดือนละ 50 สตางค์/กก. ทำให้ต้นทุนราคาอาหารปรุงสำเร็จเพิ่มขึ้นจานละ 2-3 สตางค์เท่านั้น จิ๊บๆ กรมฯ ยังบอกด้วยว่า เขาขอความร่วมมือจากทางร้านไว้ ให้ช่วยตรึงราคาอาหารปรุงสำเร็จเอาไว้จนถึงสิ้นปี ... ปีหน้าฟ้าใหม่ ก็ตัวใครตัวมันแล้วกันพี่น้อง   4 รับรองซิมไม่ดับ วันที่ 15 กันยายน 2556   บริษัทดิจิตอลโฟน  จำกัด(มหาชน) หรือทรู ย้ำหนักแน่นว่า ซิมไม่ดับแน่นอน ก็คงไม่ดับแน่ล่ะ เพราะ กสทช. เอื้ออาทรด้วยการอนุญาตให้ต่ออายุสัมปทานไปอีก 1 ปี (สัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz หรือระบบ 1800) การต่ออายุโดยงดประมูลเพื่อหารายใหม่นี้จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศและประชาชนเป็นมูลค่าสูงถึง 1.6 แสนล้านบาท ข้อมูลโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กสทช. อ้างไม่ต่ออายุไม่ได้หรอกจะมีคนถึงเกือบ 20 ล้านคนต้องถูกทอดทิ้ง จึงประกาศมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ขึ้น พร้อมอนุญาตให้ทรูครอบครองสัมปทานไปอีก 1 ปี และแถมท้ายด้วยการฟ้องหมิ่นประมาท อาจารย์เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และนางสาวณัฎฐา โกมลวาทิน ที่ร่วมกันเผยแพร่ข่าวนี้ทางช่องไทยพีบีเอส เงิบไหมล่ะ นักวิชาการ นักข่าว ทำหน้าที่ก็ถูกฟ้อง @#$%$#@ และหลังจากติดตามผลมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ของ กสทช. จากงานเสวนาเรื่อง “60 วัน ประกาศเยียวยา 1800 MHz ประชาชนได้อะไร” ยังพบว่า 3-4 ข้อห้ามทั้งห้ามซิมดับ ห้ามขายเบอร์คลื่น 1800 อีก ห้ามโอนย้ายเลขหมายโดยไม่บอกผู้บริโภค ทรูก็จัดให้มีทุกข้อหลัง 15 กันยายน โดยเฉพาะห้ามโอนย้ายเลขหมายตามอำเภอใจ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ยังโดนกับตัวเอง ว่าไปเรื่องนี้คงไม่เกิดขึ้น หาก กสทช.เตรียมการประมูลเอาไว้ล่วงหน้าก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในทุกคลื่นความถี่ นี่ก็แว่วเสียงจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิด กสทช. บอกมาว่า ต่ออายุ 1800 ให้ทรูไป 1 ปี คงต้องต่อให้ เอไอเอส กับ ดีแทค ด้วย ไม่งั้นจะถูกกล่าวหาว่าเลือกปฏิบัติ (สองค่ายนี้เหลือเวลาสัมปทานอีกสองปี) อืม...คิดได้   5 ตกลงหมูหรือไก่ ตอนเดือนมีนาคม ฉลาดซื้อโดยคอลัมน์ซูมลงเรื่อง ฉลากเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมูย่าง ที่มันไม่ใช่หมูย่างล้วนๆ อย่างที่เข้าใจตามชื่อสินค้า แต่มันมีเนื้อไก่ผสมอยู่ด้วย ทำเอาหลายคนอึ้ง ประมาณไม่รู้มาก่อนเลยนะเนี้ย พอมีคนเอาข้อมูลไปแชร์กันต่อ(รวมทั้งหาข้อมูลเพิ่ม) ในเว็บไซต์ต่างๆ โดยเฉพาะพันทิป เลยกลายเป็นกระแส ผู้คนหันมาพลิกอ่านฉลากอาหารในร้านเซเว่นฯ กันคึกคัก และได้ค้นพบโลกใหม่ ที่ต้องทำให้อึ้ง อย่างเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมูทอดน้ำพริกหนุ่ม อันนี้ปริมาณหมูกับไก่ พอฟัดพอเหวี่ยง หมู 10% ไก่ 9.9% มีหลายคนมาตอบว่า เขาทำกันแบบนี้มานานแล้ว บ้างก็ว่าเพื่อให้มันอร่อยขึ้น แต่อีกหลายเสียงตอบว่า ผสมอะไรให้อร่อยขึ้นก็ไม่ว่าหรอก แต่ทำไมต้องตั้งชื่อให้เข้าใจผิดด้วย ประโยคหลังนี้ตัดพ้อโดยผู้บริโภคที่พลาดมาหลายครั้ง ทางผู้ผลิตเขาก็อธิบายว่า เพื่อความอร่อยนั่นแหละจึงต้องมีการผสมให้เนื้อสัมผัสมันดีขึ้น (แต่มันไม่ใช่หมูอยู่ดี) และอ้างว่า ใครเขาก็ทำกัน ฉลาดซื้อเลยไปดูฉลากอาหารประเภทเดียวกันเพิ่มเติมอีกหลายยี่ห้อ พบว่า ก็จริงอย่างซีพีว่าแฮะ ฉลาดซื้อสำรวจไป 76 ตัวอย่าง 46 ตัวอย่างฉลากไม่ไปกับชื่ออาหารเลย กุ้งทอดก็มีปลาผสม ไส้กรอกชีส ไม่มีชีสระบุในส่วนประกอบ เกี๊ยวปู ไม่บอกว่ามีปูเท่าไหร่ บอกแต่ว่า เนื้อสัตว์และแผ่นแป้ง ฯลฯ ความลำบากจะไม่เกิดกับคนที่กินอะไรก็ได้ แต่คนที่จำเป็นหรือมีข้อห้ามประจำตัว กินนี่ไม่ได้ นั่นไม่ได้ คงลำบากหน่อยนะ อ่านฉลากดีๆ ล่ะกัน   6 โฟมในกำแพง “The Base คอนโด” สะท้อนความเป็นตัวคุณ แล้ว “โฟมที่อยู่ในกำแพง” สะท้อนอะไร ใครจะไปคิดว่าคอนโดหรูเลิศอลังการ ราคาหลายล้าน จะใช้วัสดุที่ดูแล้วไม่น่าจะมีความแข็งแรงทนทานอย่าง “โฟม” มาทำผนังห้อง!? เงิบกันเลยท่าน เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของห้องชาวต่างชาติที่ชื่อว่า Mr.Kristopher George Houston ผู้อาศัยในคอนโด The Base park east สุขุมวิท 77 ของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้เรียกช่างมาทุบผนังห้องเพื่อจะดูว่าทำไมถึงมีน้ำรั่วซึมออกมา แต่ผลจากการลงมือทุบผนังห้อง ไม่ได้ช่วยให้ Mr.Houston พบที่มาของการซึมของน้ำเพียงอย่างเดียว แต่เจ้าตัวยังพบเรื่องที่ทำให้ทั้งตกใจ ประหลาดใจ และไม่เข้าใจ เมื่อผนังที่ควรก่อด้วยอิฐและซีเมนต์ กลับกลายเป็นโฟมและแผ่นกระดาษที่ถูกสอดไว้อยู่ข้างใน Mr.Houston จึงถ่ายภาพโฟมที่พบหลังจากการทุบผนัง ไปโพสยังหน้าเฟสบุ๊คของแสนสิริ ทีนี้ก็เป็นเรื่อง เพราะหลังจากนั้นก็มีคนนำเอาภาพและข้อความที่ Mr.Houston ที่โฟสในเฟสบุ๊ค ไปขยายต่อในเว็บไซต์พันทิป เรื่องเลยกลายเป็นที่สนใจในสังคม นักข่าวก็สนใจ สุดท้ายทางแสนสิริเจ้าของโครงการจึงต้องออกมายอมรับผิด โดยยอบรับว่าเป็นความบกพร่องของช่างผู้ทำงาน ที่อาจจะรีบร้อนให้งานเสร็จไวจึงใช้โฟมมาอุดผนังตรงบริเวณเต้ารับไฟฟ้าที่ติดอยู่ตรงผนัง ขนาดประมาณ 30 x 20 ซม. แต่ยืนยันว่าไม่ผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ตรงกับทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ที่ออกมาให้ความเห็นว่า โฟมที่พบเป็นการพบในบางจุด ไม่ใช่ทั้งส่วนของผนัง ถ้าไม่ใช่ความจงใจของทางโครงการ ก็คงเป็นเพราะความสะเพร่าของช่าง(ก็ไม่รู้สินะว่าคนในคอนโดนั้นจะกล้าลองทุบผนังห้องตัวเองพิสูจน์บ้างไหม) ก่อนหน้านี้ในเว็บไซต์พันทิปเคยมีคนออกมาแฉเรื่องความไม่จริงใจกับผู้บริโภคของคอนโด The Base 77 มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว เรื่องของวัสดุที่ใช้และการออกแบบโครงสร้างอาคาร ที่ของจริงแตกต่างคนละอย่างกับที่เห็นในโฆษณา แม้ Mr.Houston จะบอกว่าที่เขาโพสภาพของโฟมที่พบในผนังห้องไปยังหน้าเฟสบุ๊คของแสนสิริ เพราะว่าแค่อยากให้ทางโครงการดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและให้ช่วยตรวจสอบห้องอื่นๆ ในโครงการว่าเจอปัญหาเดียวกันหรือเปล่า ไม่ได้ต้องการเรียกร้องค่าชดเชยหรือฟ้องร้องเป็นคดีความ แต่เมื่อเรื่องนี้กลายเป็นกระแส ก็ช่วยทำให้คนที่กำลังอยากเป็นเจ้าของคอนโดเริ่มต้องฉุกคิดถึงเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ความถูกต้องและความปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร มากกว่าที่จะดูกันแค่ ความสวยงาม หรือสิ่งอำนวยความสะดวก   7 ตามหาช้างกับเมเจอร์ แม้จะเป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจโรงภาพยนตร์ของประเทศไทย แต่ “เมเจอร์ ซีเนเพล็กซ์” ก็ยังคงสร้างเรื่องให้ผู้บริโภคปวดใจได้เสมอ ไม่ใช่แค่เรื่องโฆษณาในโรงหนังที่ฉายกันยืดยาวคนดูต้องนั่งรอแล้วรออีกกว่าจะได้ดูหนัง เมื่อกลางปีก็มีคลิปที่ถูกกระหน่ำแชร์ในโลกออนไลน์ ถึงเหตุการณ์ที่ผู้จัดการโรงหนังโต้เถียงกับลูกค้าอย่างดุเดือดเรื่องการบริการ สิ่งที่ตามมาคือกระแสวิจารณ์ในทางลบต่อโรงหนัง จนเมเจอร์อยู่เฉยไม่ไหวต้องทำหนังสือชี้แจงบวกกับการลงโทษพนักงานของตัวเอง ล่าสุดเมเจอร์ทำให้คนดูหนังต้องปวดใจอีกครั้ง เมื่ออยู่ดีๆ หนังไทยฟอร์มใหญ่อย่าง “ต้มยำกุ้ง 2” ถูกปรับขึ้นราคาค่าตั๋วอีก 20 บาทต่อที่นั่ง ด้วยเหตุผลที่ว่า “หนังลงทุนสูงกว่า 500 ล้านบาท ด้วยเทคโนโลยีระดับฮอลลีวูด” งานนี้เลยมีคนตั้งข้อหาว่าเอาเปรียบผู้บริโภคเกินไปหรือเปล่า ขนาดทางสหมงคลฟิล์มเจ้าหนังแท้ๆ ยังออกตัวว่าไม่มีเอี่ยวเรื่องการขึ้นราคาตั๋วนะครับ โบ้ยว่าทางเมเจอร์เป็นคนทำเรื่องนี้แต่เพียงผู้เดียว คราวนี้ก็เลยมีคนมาสืบสวนหาสาเหตุที่มาของราคาเพิ่ม 20 บาท แล้วจึงถึงบางอ้อ เพราะมันมีโปรโมชั่นพิเศษ หากนำชิ้นส่วนฉลากมาม่ามาแสดงตอนซื้อตั๋วจะได้ลดราคาค่าตั๋วทันที 20 บาท โอ้ เป๊ะ รับกับราคาที่ปรับขึ้นพอดี(ใครไม่ได้กินมาม่า ก็จ่ายไปสิ) คงไม่อาจปฏิเสธได้หรอกนะ ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่วิธีส่งเสริมการตลาดที่ทั้งเมเจอร์และมาม่าตั้งใจทำร่วมกัน ความจริงแล้วเรื่องการปรับขึ้นราคาค่าตั๋วหนังฟอร์มใหญ่ๆ โดยเฉพาะหนังจากต่างประเทศของโรงหนังเมเจอร์เกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่ใช่เกิดกับหนังต้มยำกุ้งภาค 2 เป็นเรื่องแรก ซึ่งทางโรงจะอ้างเหตุผลว่าหนังเรื่องนั้นเป็นหนังฟอร์มยักษ์ทุนสร้างสูง จำเป็นต้องขึ้นราคาตั๋ว แต่เหตุผลจริงๆ คงไม่พ้นเรื่องการ “ฉวยโอกาส” หวังฟันกำไรเพิ่มจากหนังดังๆ ที่ดูแล้วยังไงคนก็ต้องแห่กันมาดู เชื่อว่าหลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตั๋วหนังปรับขึ้นราคา พนักงานออกตั๋วมาก็จ่ายเงินไป อาจตะขิดตะขวงใจว่าทำไมแพงจัง แต่ไม่รู้จะทำยังไง เราจึงขอเสนอวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับคนที่ไม่อยากถูกเอาเปรียบจากโรงหนังเจ้าปัญหาอย่างเมเจอร์ ก็คือการไม่สนับสนุน เลิกไปดูหนังที่โรงเมเจอร์เสีย ซึ่งจากหลายหลากปัญหาที่เมเจอร์ได้สร้างไว้ ทำให้เกิดการทำแฟนเพจในเฟสบุ๊คที่ชื่อว่า “เครือข่ายคนรักหนังต่อต้านการโฆษณามหาโหดของโรงหนังเครือเมเจอร์” ที่ตอนนี้มีคนมากดถูกใจกว่า 2 หมื่น 5 พันคน แสดงให้เห็นว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบใจกับการเอาเปรียบผู้บริโภคของโรงหนังในเครือนี้   8 จุดเทียนถาม หาความเป็นธรรม เพราะ กฟภ. ตัดไฟที่ค้างชำระไว้ 441 บาท 14 สตางค์!!! ทำให้เด็กสองคนตาย หรือเป็นความประมาทไม่รู้ความของเด็กเอง เรื่องเศร้าที่ไม่ควรจะเกิดจริงๆ เมื่อ 2 พี่-น้องชาวพิษณุโลก คนพี่อายุ 13 ปี ส่วนคนน้องอายุ 9 ขวบ เสียชีวิตคากองเพลิง จากเทียนไขที่จุดทิ้งไว้ เนื่องจากที่บ้านถูกการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พิษณุโลก ตัดไฟ เพราะไม่ได้จ่ายค่าไฟ เลยจำเป็นต้องจุดเทียนเพื่อส่องสว่างตอนทำการบ้าน แต่(อาจเผลอหลับ)ไฟเกิดลุกไหม้บ้านจนเกิดโศกนาฏกรรมดังกล่าว แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่สังคมจะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ กฟภ. ว่าใจดำไปหรือเปล่าที่ตัดไฟฟ้าคนยากคนจนแบบนี้ ทั้งๆ ที่ยอดค่าไฟที่ค้างอยู่ของครอบครัวนี้คือ 441 บาท 14 สตางค์เท่านั้น ขณะที่มีคนเปรียบเทียบว่าที่หน่วยงานราชการหลายแห่ง ค้างค่าไฟเป็นหลักล้านแต่ กฟภ. ไม่เห็นดำเนินการใดๆ ทาง กฟภ. เองก็ทำได้แค่ออกมาแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และชี้แจงว่าการตัดไฟบ้านที่ค้างชำระค่าบริการ เจ้าหน้าที่ต้องทำไปตามหน้าที่ แต่เรื่องนี้ก็ปลุกให้ กฟภ. ตื่นตัว ลุกขึ้นมาปรับปรุงระบบการแจ้งเตือนค้างจ่ายค่าไฟฟ้า โดยจะขยายเวลาก่อนที่จะดำเนินการตัดไฟ จากเดิม 7 วัน เพิ่มเป็น 2 เดือน เริ่มตั้งแต่การส่ง sms ให้ชำระค่าบริการไปยังโทรศัพท์มือถือ จากนั้นจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปเจรจาถึงบ้าน แต่หากครบกำหนด 2 เดือนแล้วยังไม่มีการชำระค่าบริการจึงจะมีการดำเนินการตัดไฟ แถมยังมีแนวคิดยกเลิกเรื่องการตัดไฟแต่จะให้ผู้ใช้เลือกจ่ายเป็นดอกเบี้ยแทน แต่ก็ต้องศึกษาความเป็นไปได้ เพราะในความเป็นจริงหากผู้ใช้ไฟไม่สามารถชำระค่าไฟได้แล้วจะมีกำลังพอที่จะชำระดอกเบี้ยได้หรือเปล่าคงต้องมีการพิจารณาหาความเหมาะสมกันต่อไป ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 8 แสนรายที่มีปัญหาค้างค่าไฟ และในจำนวนนี้ 2 แสนรายมีโอกาสเสี่ยงที่จะต้องถูกตัดไฟ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครอบครัวยากจนตามชนบท กฟภ. ต้องหามาตรการดูแลจัดการในเรื่องนี้ที่ไม่เป็นการทำร้ายและเอาเปรียบผู้บริโภคจนเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมซ้ำอีก   9 เปิบข้าว สุดยอดไฮไลท์ เงิบ คือวิวาทะเรื่องข้าว ผลอันเนื่องมาจากโครงการรับจำนำข้าวอันลือลั่นบวกข่าวข้าวเน่า ข้าวปนเปื้อนสารพิษ ทั้งแชร์ ทั้งดราม่าจึงกระหน่ำกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง มิไยที่รัฐจะแถลงข่าวร่วมกับหน่วยงานดูแลเรื่องข้าวทั้งหลายออกมาบอกว่า ไม่จริง ไม่มี แต่คนก็ไม่เชื่อมั่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับมูลนิธิชีววิถี เลยจับมือกัน(ลงขัน) ซื้อข้าวถุงบรรจุ 5 กิโลกรัมไปทดสอบหาสารรมควันข้าว ชื่อเมทิลโบร์ไมด์ ว่ามี/ไม่มี เกิน/ไม่เกิน เพื่อหวังช่วยหาคำตอบให้กับสังคม หลังมูลนิธิฯ ทั้งสองแถลงว่า ข้าวถุงที่นำไปทดสอบ พบว่ามีเมทิลโบร์ไมด์ ตั้งแต่ “ไม่มีเลย และมีน้อยมากไปจนถึงมากเกินมาตรฐาน” (1 ยี่ห้อเกินมาตรฐานสากลไปโขอยู่สามารถตามอ่านย้อนหลังได้ที่ ฉบับ 149) โอ้แม่เจ้า...สายโทรศัพท์ที่มูลนิธิฯ ทั้งสองอื้ออึงมาก รวมทั้งการแชร์ข้อมูลกันกระหน่ำ สำนักข่าวทั้งหลายไม่มีที่ไหนพลาดข่าวนี้ ฝ่ายเชียร์ก็ว่ามูลนิธิฯ ทำดีแล้ว ฝ่ายค้านก็พยายามเหลือเกินในการดิสเครดิต มูลนิธิฯ ทั้งกล่าวหาว่า ทำการทดสอบหลังบ้าน รับเงินฝ่ายค้าน ข้อมูลมั่ว ฯลฯ แต่เผอิญเหลือเกินที่ อย. ก็มีผลทดสอบตรงกับของมูลนิธิฯ (แถลงหลังมูลนิธิฯ 1 วัน) ยืนยันว่า เป็นยี่ห้อเดียวกันเสียด้วยที่เกินมาตรฐาน งานนี้ต้องบอก เงิบ นะขอรับ เมื่อปฏิเสธไม่ได้ว่ามันมี เลยกลายเป็นแก้เกี้ยวว่า “เอาข้าวล้างน้ำเยอะหน่อย” ก่อนหุงเท่านี้ก็ปลอดภัย   เงิบ คืออะไร รู้จักอาการหงายหลังใช่ไหมคะ จะเกิดเมื่อตัวเราไปปะทะกับวัตถุอะไรก็ตามที่แรงพอจะผลักให้เราหงายลงไปได้ แต่ถ้าไม่ใช่วัตถุ แต่เป็นอะไรที่มีความแรงพอก็น่าจะทำให้เราหงายได้เช่นกัน อย่างคำด่าแรงๆ หรือเกิดภาวะตกใจอย่างแรง อาการ“หงายหลัง” ก็เกิดขึ้นได้ แต่ พ.ศ. นี้ หงายหลังดูจะยาวไป ต้องนี้เลย “เงิบ” ที่พจนานุเกรียนระบุว่า - ใช้เป็นคำแสดง "อาการตกใจจนแทบหงายหลัง ในคำพูดของคนอื่นที่กล่าวขึ้นในขณะนั้น " คล้ายกับคำว่า "เหวอ" - ใช้แทนคำอุทานว่า "ตาย... ตายห่า" - ใช้ในลักษณะโดนเบรคในการสนทนาจนหน้าหงาย - "ฮาจนหงายท้อง" - "แปลกใจมาก ไม่เคยคิดฝันมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น" http://pojnanukrian.com/เงิบ     //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 ผู้ป่วย คือผู้บริโภคใช่หรือไม่ ?

  เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ผู้ป่วย เป็นผู้บริโภคหรือไม่  เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการ ผมจึงได้แปลคำพิพากษาฎีกาของอินเดียมาให้พิจารณากัน  และอยากจะให้ผู้อ่านพิจารณากันว่า  ทุกวันนี้ เรามีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้บริการฟรีแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวยหรือไม่  ทุกวันนี้มีผู้ป่วยที่อยู่ในสวัสดิการของรัฐก็ดี ผู้ป่วยประกันสังคมก็ดี ผู้ป่วยประกันสุขภาพก็ดี  แม้ผู้ป่วยจะไม่ต้องจ่ายค่าบริการเอง แต่ก็มีผู้รับประกันจ่ายแทนให้ทั้งสิ้น  ดังนั้น ถ้าพิจารณาคำวินิจฉัยของศาลฎีกาอินเดียแล้ว  ผู้ป่วยในประเทศไทยย่อมเป็นผู้บริโภคทั้งสิ้น  ผมไม่แน่ใจว่า โรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือคลินิกในประเทศอินเดีย ยังมีประเภทที่ให้บริการฟรีโดยสมบูรณ์ทั้งหมดแก่ประชากรทุกคนอยู่อีกหรือไม่  ผู้ที่เคยไปดูระบบบริการรักษาพยาบาลของอินเดีย (Health Care Service System) น่าจะได้อธิบายในเชิงวิชาการออกมาสู่ผู้อ่านบ้าง   ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายอินเดียและคำพิพากษาฎีกาได้จากหนังสือ The Law of Medical Negligence ซึ่งแต่งโดย Dr. H.L. Chulani M.S., LL.B.  ผมได้รับอภินันทนาการจากโรงพยาบาลทรวงอกในเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย  ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้   คำนิยาม ผู้บริโภค ในมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้นิยมคำว่า ผู้บริโภค ไว้ดังนี้   “ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม   “ซื้อ” หมายความรวมถึง เช่า เช่าซื้อ หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยให้ค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น   “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ผลิตหรือมีไว้เพื่อขาย   “บริการ” หมายความว่า การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใด ๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น แต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงาน   “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย   กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียชื่อ The Consumer Protection Act 1986 (No.68 of 1986) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาของอินเดีย ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ก็ได้ให้นิยามคำว่า “ผู้บริโภค” ไว้ในมาตรา 2 ดังนี้   “ผู้บริโภค” หมายถึง บุคคลผู้ซึ่ง   (1) ซื้อสินค้าโดยจ่ายเงินแล้ว หรือสัญญาว่าจะจ่าย หรือจ่ายเงินบางส่วน หรือสัญญาว่าจะจ่ายเงินบางส่วน หรือการจ่ายภายใต้ระบบการผ่อนจ่าย และรวมถึงผู้ใช้สินค้าโดยมิได้เป็นผู้ซื้อดังกล่าว แต่การใช้สินค้าที่ได้รับความยินยอมจากผู้ซื้อดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงบุคคลที่ได้สินค้ามาเพื่อขายต่อ หรือเพื่อประสงค์จะทำธุรกิจค้าขายหรือ   (2) จ้างหรือรับประโยชน์จากบริการใด ๆ ที่ได้จ่ายค่าจ้างไปแล้ว หรือสัญญาว่าจะจ่าย หรือจ่ายบางส่วน หรือสัญญว่าจะจ่ายบางส่วน หรือจ่ายภายใต้ระบบการผ่อนจ่าย และรวมถึงผู้รับประโยชน์จากบริการที่มิใช่ผู้จ่าย แต่ได้รับความยินยอมจากผู้จ่ายข้างต้นด้วย   “บริการ” หมายความว่า บริการใด ๆ ที่จะอำนวยความต้องการต่อผู้จะใช้บริการนั้น ๆ โดยรวมถึงวิธีการทำธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการธนาคาร การเงิน การประกัน การคมนาคมขนส่ง การจัดการต่าง ๆ การสร้างบ้าน การจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าหรือพลังงาน การจัดการที่พักอาศัย หรือการเช่าบ้านหรือทั้งสองอย่าง บริการการบันเทิง การจัดการรื่นเริง หรือการส่งข่าวสาร หรือข้อมูลอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการให้บริการที่ไม่เรียกเก็บค่าบริการ การบริการภายใต้สัญญาจ้างบุคคล (Contract of personal service) (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเรา บรรพ 3 เรียกว่า สัญญาจ้างแรงงาน ฉบับภาษาอังกฤษของโรงพิมพ์อักษรสาสน์ พ.ศ. 2505 แปลว่า Hire of service)   จะเห็นได้ว่า บทบัญญัติในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียนั้น ใกล้เคียงหรือคล้ายกับบทบัญญัติในกฎหมายไทย  แต่ที่ต่างกันอยู่ที่วิธีเขียนกฎหมายเท่านั้น ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้บริโภคคือบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ซื้อ (รวมผู้เช่าและเช่าซื้อ) สินค้าหรือผู้ได้รับการเสนอหรือชักชวนให้ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจ 2. ผู้รับบริการ หรือผู้ซึ่งได้รับการชักชวนให้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ   เมื่อมีคดีระหว่างโรงพยาบาลกลาง (Cosmopolitan Hospital) กับ Vasantha Nair  ผู้พิพากษา Eradi วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยที่ไปใช้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ซึ่งเป็น “บริการ” ในความหมายตามนิยามในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และสั่งให้โรงพยาบาลต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ภรรยาผู้ตาย  เมื่อวันที่ 21 เมษายน 1992  ผลจากคำตัดสินดังกล่าว ทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นทั่วไปในวงการแพทย์  มีแพทย์กลุ่มเล็ก ๆ พยายามต่อต้านการนำกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค 1986 มาใช้กับการประกอบวิชาชีพแพทย์  และต่อมามีประเด็นโต้แย้งดังกล่าวไปยังศาลสูงของรัฐต่าง ๆ ทั่วประเทศอินเดีย  ต่อมาเมื่อศาลสูงของรัฐมัทราส (Madras High Court) วินิจฉัยให้เป็นประโยชน์กับวิชาชีพแพทย์  ในปี 1994 พฤติการณ์เริ่มคลี่คลายลง คำพิพากษาฎีกาข้างต้นนับว่าเป็นความเห็นที่เป็นที่ยุติ และนับว่าเป็นที่ยอมรับกัน   ต่อมา ก็มีคำพิพากษาศาลฎีกาของอินเดีย ปี 1995 ออกมา  ศาลฎีกาวินิจฉัยดังต่อไปนี้   คำพิพากษาศาลฎีกา (Supreme Court)  (คดีระหว่าง แพทยสมาคมอินเดีย ผู้อุทธรณ์ กับ ชันธา กับพวก) (V.P. Shanta and Others) ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection Act 1986) มาตรา 2 (1) (o) คำว่า “บริการ” วิชาชีพแพทย์ (Medical Profession) ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (Medical Practitioners) และโรงพยาบาล (Hospital)  สถานดูแลผู้ป่วย (Nursing Home) ต้องถือว่าเป็นการให้บริการ ตามความหมายของนิยามในมาตรา 2 (1) (o) แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 1980 ทั้งสิ้น  ดังจะได้อธิบายดังต่อไปนี้   A. ในประเด็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพ (Professional liability) ที่อ้างว่า ผู้ประกอบวิชาชีพแตกต่างจากผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ เพราะผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติงานที่ไม่อาจคาดหมายถึงผลสำเร็จได้ในทุกกรณี และส่วนมาก ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  นอกเหนือความคาดหมายของผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะมนุษย์จะควบคุมได้  การอ้างเหตุผลดังกล่าว ให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัด ขณะที่ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นยังคงมีอยู่นั้น  ศาลเห็นว่า ผู้ประกอบวิชาชีพก็ยังต้องมีความสามารถอย่างน้อยที่จะใช้ความระมัดระวังอย่างเหมาะสม (resonable care) ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน   B. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่อาจจะยินดีต่อภูมิคุ้มกันใด ๆ ที่ตนจะถูกฟ้องกรณีผิดสัญญาหรือละเมิด เนื่องจากความบกพร่องในการใช้ความชำนาญจากการบริการอย่างเหมาะสม  ข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยแพทยสภา (Medical Council Act) อยู่แล้ว และต้องถูกควบคุมทางจริยธรรม (disciplinary control) ของแพทยสภาแห่งอินเดีย หรือแพทยสภาของรัฐ (State Medical Council) แล้วแต่กรณีนั้น ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องชดใช้สินไหมทดแทนต่อผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแต่อย่างใด  สิทธิของบุคคลผู้ได้รับความเสียหายที่จะฟ้องคดีผู้บริโภคจึงไม่เสียไป   C. ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า บางครั้งปัญหาที่สลับซับซ้อนอาจเกิดขึ้น จำต้องนำพยานหลักฐานที่เป็นบันทึกของผู้ชำนาญประกอบการพิจารณาคำฟ้องเกี่ยวกับความบกพร่องในการให้บริการนั้น เป็นผลมาจากความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ให้บริการนั้นหรือไม่  แต่ประเด็นนี้ จะไม่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในทุกคดีที่มีการฟ้องร้อง  ประเด็นในคำฟ้องในคดีดังกล่าว ก็ควรจะใช้กระบวนวิธีพิจารณาที่รวดเร็ว ตามวิธีดำเนินการโดยองค์การพิจารณาคดีตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Dispute Redressal Agencies)  และไม่มีเหตุผลใดที่คำฟ้องที่เกี่ยวกับความบกพร่องของการให้บริการในกรณีดังกล่าว ไม่ควรได้รับการพิจารณาวินิจฉัยโดยองค์กรตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค  และแม้คำฟ้องที่มีปัญหาสลับซับซ้อน ที่ต้องการความเห็นของพยานผู้ชำนาญ ผู้ฟ้องคดีก็อาจขอร้องให้คดีไปสู่ศาลที่พิจารณาคดีแพ่งได้ตามความเหมาะสม (ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดียนั้น องค์กรที่เป็นผู้พิจารณาคดีผู้บริโภค ไม่ใช่ศาล แต่เป็นองค์กรที่มีชื่อว่า National Consumer Redressal Commission แต่งตั้งโดยรัฐบาลกลาง กับ District Forum แต่งตั้งโดยรัฐบาลแห่งรัฐ  รายละเอียดผู้เขียนเคยนำเสนอในวารสารนี้มาแล้ว [คลินิก 12; (5), 2539: 301-305)]   D. บริการที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ให้คำปรึกษา การวินิจฉัยโรค การรักษาโรค ไม่ว่าจะโดยทางอายุรกรรมหรือศัลยกรรมต่อผู้ป่วย  ย่อมอยู่ในความหมายของ “การบริการ” ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งสิ้น (เว้นแต่ แพทย์ที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการต่อผู้ป่วยทุกคน หรือให้บริการภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน – contract of personal service)   E. สัญญาจ้างแรงงาน (Contract of personal service) ต่างจากสัญญาจ้างทำของ (Contract for personal service) เพราะผู้ป่วยกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานนายจ้างกับลูกจ้าง  บริการที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้กับผู้ป่วยได้คือ บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่บริการนั้นเป็นบริการที่ให้ภายใต้สัญญาจ้างทำของ (Contract for personal service)  จึงไม่เข้าข่ายข้อยกเว้นของคำว่า “บริการ” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (ทำนองเดียวกัน ศาลฎีกาของไทยได้วินิจฉัยไว้ในฎีกาที่ 287/2507 ว่า กิจการสถานพยาบาลและผดุงครรภ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อรับพยาบาลผู้เจ็บป่วย และทำคลอดบุตรให้แก่หญิงมีครรภ์ ลักษณะเป็นการจ้างทำของ)   F. คำว่า “สัญญาจ้างแรงงาน” (Contract of personal service) อาจรวมถึงสัญญาจ้างเจ้าหน้าที่แพทย์ (Medical officer) โดยมุ่งหมายที่จะให้แพทย์ผู้นั้นมาให้บริการแก่นายจ้าง  บริการที่เจ้าหน้าที่แพทย์ให้บริการแก่นายจ้างภายใต้สัญญาจ้างดังกล่าว ไม่อยู่ในขอบเขตของคำว่า “บริการ” ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค   G. บริการที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล/สถานพยาบาล (Nursing home) ซึ่งบริการเหล่านั้นไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ต่อผู้ป่วยทุกคน ไม่ถือว่าเป็น “บริการ” แม้ว่าจะมีค่าลงทะเบียนกับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลบ้าง ก็ยังไม่ถือว่าเป็น “บริการ”   H. บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ (Non-Government)  ถ้าไม่ได้คิดค่าบริการจากผู้ใดเลย  ผู้ป่วยทุกคนไม่ว่าจะรวยหรือจน ไม่ต้องต้องจ่ายค่าบริการเลย  บริการเหล่านั้นถือว่า มิใช่ “บริการ” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค   I. บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ โดยคิดค่าบริการ  การบริการนั้นถือเป็น “บริการ” ตามที่บัญญัติในกฎหมาย   บริการโดยโรงพยาบาล/สถานพยาบาลที่มิใช่เป็นของรัฐ โดยคิดค่าบริการจากบุคคลที่อยู่ในฐานะจะจ่ายค่าบริการได้ และผู้ที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายค่าบริการได้ ก็ไม่คิดค่าบริการ ก็ถือว่าอยู่ในข่ายของความหมายของ “บริการ” ตามกฎหมายทั้งสองกรณี   J. บริการของโรงพยาบาล/ศูนย์รับบริการ/ร้านยาของรัฐ ที่ไม่ได้คิดค่าบริการจากผู้ป่วย ไม่ว่ารวยหรือจน ไม่ถือว่าเป็น “บริการ” ตามกฎหมาย   บริการของโรงพยาบาล/ศูนย์รับบริการ/ร้านยาของรัฐ ซึ่งคิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ  ขณะเดียวกันก็ไม่คิดค่าบริการต่อผู้มาใช้บริการบางกลุ่ม ก็ยังถือว่าเข้าข่าย “บริการ” ตามกฎหมาย โดยมิได้คำนึงถึงการที่มีผู้ใช้บริการฟรี   K. บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ไม่ถือว่าให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ  เมื่อผู้ใช้บริการเป็นผู้มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ  และบริษัทประกันเป็นผู้จ่ายค่าปรึกษา ค่าวินิจฉัย และค่ารักษา  บริการเหล่านั้นย่อมอยู่ในขอบเขตของคำว่า “บริการ” ตามกฎหมาย   L. ทำนองเดียวกัน ถ้าเงื่อนไขของการให้บริการ โดยนายจ้างเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลแทนลูกจ้างและครอบครัวของลูกจ้าง  ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ที่ให้บริการแก่ลูกจ้างและครอบครัวของเขา ก็เข้าข่ายว่าเป็น “บริการ” ที่กฎหมายบัญญัติ   ผู้พิพากษา ได้แก่ Kuldip Singh, S.C. Aqarwal และ B.L. Hansaria (13 Nov. 1995)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 145 หนังสั้น เรื่องเล่า และเรา ผู้บริโภค

    มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ร่วมกับแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างอีกหนึ่งพลังในการจุดประกายให้เกิดการตื่นตัวเรื่องปัญหาผู้บริโภคในบ้านเรา ด้วยโครงการ “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” ที่ถ่ายทอดปัญหาหลากหลายที่ผู้บริโภคไทยต้องพบเจอ ทุกข์ของผู้บริโภคที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เรื่องราวจากชีวิตจริงที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ แม้แต่หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ดูแลแก้ไขเองก็อาจจะมองข้าม ถึงเวลาที่เราต้องร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคมผู้บริโภคไทยให้เข้มแข็ง     เล่าเรื่อง (จริง) ผู้บริโภค ปัญหาของผู้บริโภคในบ้านเรานั้น มีมากมายหลายเรื่อง มีตั้งแต่เรื่องเจอของหมดอายุในร้านสะดวกซื้อราคาไม่กี่สิบบาท ไปจนถึงถูกโกงสัญญามูลค่าหลายสิบล้านจากการซื้อบ้านจัดสรร พูดง่ายๆ ว่าเรื่องปัญหาผู้บริโภคนั่นเป็นปัญหาครอบจักรวาล หลายปัญหาไม่เพียงแค่ต้องเสียเงิน เสียเวลา หรือเสียความรู้สึก แต่หลายครั้งความสูญเสียก็ยิ่งใหญ่เกินจะหาสิ่งใดมาทดแทน   ภาพยนตร์สั้นที่เข้าร่วมในโครงการ “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” ประกอบด้วยหนังสั้น 5 เรื่อง และสารคดีอีก 1 หนึ่ง ซึ่งทั้งหมดเป็นผลงานที่ถูกเขียนบท กำกับ และถ่ายทำขึ้นใหม่ เพื่อนำเสนอในโครงการนี้โดยเฉพาะ โดยได้ความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านภาพยนตร์ ได้แก่  สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย  สมาพันธ์ศิลปินเพื่อสังคม  กลุ่มปลาเป็นว่ายทวนน้ำ บริษัท กู๊ด จ๊อบ โปรดักชั่น  จำกัด   ผลงานภาพยนตร์สั้นที่ร่วมโครงการประกอบด้วย “กรรมของจุ๊บแจง” ผลงานกำกับของ อาจารย์ไพจิตร  ศุภวารี ที่นำเสนอประเด็นปัญหายอดฮิตของผู้บริโภคไทย อย่างปัญหาหนี้บัตรเครดิต, “Heart Station” กำกับโดย คุณพิมพกา  โตวิระ เล่าเรื่องความเหมาะสมของการสร้างปั๊มแก๊ส LPG ในชุมชนเมือง เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล, “Priceless” กำกับโดย คุณมานุสส วรสิงห์ เล่าเรื่องปัญหาการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสาร, “กลับบ้าน” กำกับโดย คุณชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา นำเสนอเรื่องราวสะท้อนปัญหาบริการรถตู้โดยสารสาธารณะ, “Disconnected” กำกับโดย คุณบุญส่ง นาคภู่ ที่พูดเรื่องปัญหาจากบริการโทรศัพท์มือถือที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค และผลงานสารคดีเล่าเรื่องผู้บริโภค ผลงานกำกับของ คุณพัฒนะ จิรวงศ์   เรื่องราวที่ผู้กำกับแต่ละคนเลือกนำมาบอกเล่าในผลงานภาพยนตร์สั้นแต่ละเรื่องนั้น ล้วนแล้วแต่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปัญหาที่ผู้บริโภคไทยหลายคนต้องประสบพบเจอในชีวิตจริง เป็นความทุกข์ที่ยังคงไม่มีทางออกที่ชัดเจน ซึ่งผู้กำกับทุกท่านต่างๆ ใช้ “ใจ” ที่อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในสังคมไทย สร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานภาพยนตร์สั้นที่บอกเล่าเรื่องจริงของผู้บริโภค   “หนังสั้น” สื่อที่เรียบง่ายแต่แฝงพลังที่ยิ่งใหญ่ ความตั้งใจหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นภารกิจสำคัญของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็คือการที่จะสื่อสารข้อมูลดีๆ ที่ผู้บริโภคควรรู้ เพื่อให้ผู้บริโภคเท่าทันไม่ตกเป็นเหยื่อของสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่หลงเชื่อผู้ประกอบการที่ไม่หวังดีกับผู้บริโภค โดยการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ นั้น ก็จะทำควบคู่กันไปกับการผลักดันและสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคทั่วไปในสังคมในเรื่องของกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค   แต่ในขณะที่เรายังต้องเผชิญกับการหลอกลวงจากบรรดาผู้ประกอบการผู้ไม่หวังดีที่ผลิตสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ผู้บริโภคอย่างเรากับมีข้อมูลความรู้ไว้สำหรับใช้ต่อกรหรือรู้เท่าทันการหลอกลวงต่างๆ น้อยมาก   นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตั้งใจจะให้มีสื่ออย่าง “หนังสั้น” ในการบอกเล่าเรื่องราวปัญหาของผู้บริโภค เพื่อให้เป็นจุดเริ่มของแรงบันดาลใจ ขยายผลต่อไปสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่ง คุณดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่รับหน้าที่ดูแลโครงการและร่วมคัดสรรภาพยนตร์สั้นและผู้กำกับที่เข้าร่วมในโครงการครั้งนี้ ได้พูดถึงพลังของสื่ออย่างภาพยนตร์สั้นเอาไว้ว่า ภาพยนตร์สั้นนั้นก็คือสื่อศิลปะที่จะช่วยนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้คนที่ได้รับชม บ่อยครั้งข้อมูลที่ดีๆ ที่ผู้คนควรรับรู้กลับถูกมองข้ามไม่ได้รับเผยแพร่หรือพูดถึง เพราะมันขาดความน่าสนใจขาดพลังดึงดูดให้ผู้คนหันมาดูหันมาสนใจ แต่เมื่อมันถูกบอกเล่าอย่างมีชั้นเชิงมีเรื่องราวอย่างในรูปแบบของภาพยนตร์สั้น บางครั้งเรื่องยากๆ ก็อาจเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครก็เข้าใจได้ คุณดนัยและผู้กำกับที่ร่วมผลิตภาพยนตร์สั้นในครั้งนี้ยอมรับว่า การนำเสนอเรื่องราวของปัญหาผู้บริโภคและการผลักดันองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคออกมาเป็นภาพยนตร์สั้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อได้ลองทำความเข้าใจ ศึกษาข้อมูลที่มี ไปจนถึงการพูดคุยกับผู้ที่ประสบปัญหาจริงๆ ก็ทำให้เริ่มเห็นภาพที่จะนำมาสร้างสรรค์ผลงาน ที่สำคัญคือรู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนร่วมในการบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นประโยชน์แก่สังคม   ให้หนังสั้นจุดประกาย ขยายต่อสู่การเปลี่ยนแปลง แม้ด้วยความที่เป็นโครงการเล็กๆ และหนังที่ฉายเป็นหนังสั้น แต่ คุณดนัย ก็เชื่อว่าสิ่งเล็กๆ ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ หากคนที่ได้ชมภาพยนตร์แล้วได้ฉุกคิด ได้เห็นความสำคัญในประเด็นที่หนังนำเสนอ พร้อมทั้งนำไปบอกต่อ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภคให้กับคนรอบๆ ข้าง หากในสังคมมีคน 100 คน ขอแค่มีสัก 20 คน ลุกขึ้นมาผลักดันเปลี่ยนแปลงสังคม เชื่อว่าแค่นี้สังคมเราก็จะดีขึ้นแน่นอน   เรื่องปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคและการผลักดันกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ยังคงต้องการความเข้าใจและพลังของผู้คนในสังคมอีกมากที่จะมาช่วยกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง   แนะนำภาพยนตร์สั้นที่ร่วมฉายในโครง “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” กรรมของจุ๊บแจง “จุ๊บแจง” สาวออฟฟิศที่ฝันอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจร้านขายของ เธอจึงต้องมองหาเงินลงทุน ซึ่งวิธีที่เธอเลือกคือการทำบัตรเครดิต ขณะที่ธุรกิจของเธอกำลังไปได้สวยและมองเห็นโอกาสรวยอยู่ไม่ไกล แต่เมื่อเกิดการชุมนุมทางการเมือง ทุกอย่างก็พลันหยุดชะงัก ทุกความฝันแทบพังทลาย เมื่อของขายไม่ได้ จากกำไรก็กลายเป็นขาดทุน เงินที่มีเริ่มไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย บัตรเครดิตที่เคยใช้ให้ทุนแต่ตอนนี้พลิกผันกลายเป็นสร้างหนี้ แถมที่แย่ยิ่งกว่าคือบรรดาเจ้าหนี้ที่คอยตามราวีไม่หยุดหย่อน ทั้งข่มขู่สารพัด ถูกหักเงินจากในบัญชีไปใช้หนี้โดยที่เธอไม่รู้ตัว สิ่งที่เธอจำเป็นต้องทำต่อจากนี้คือหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น   เรื่องทั้งหมดนี้คือ “กรรม” ของเธอ หรือมาจาก “ความไม่ชอบธรรม” บางอย่างในสังคม   ผลงานการกำกับของ อาจารย์ไพจิตร  ศุภวารี อาจารย์ไพจิตร  ศุภวารี คร่ำหวอดอยู่ในวงการบันเทิงไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งในด้านการอำนวยการสร้างและการกำกับภาพยนตร์ รวมถึงการสร้างนักแสดงฝีมือคุณภาพประดับวงการมากมาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ สมัชชาศิลปินแห่งประเทศไทย และเป็นอาจารย์สอนด้านภาพยนตร์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ พร้อมไปกับการทำงานบันเทิงเพื่อสังคม   Heart Station จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อชุมชนที่สงบสุขกำลังต้องรับการมาเยือนของแขกที่ไม่ได้รับเชิญอย่าง “ปั๊มแก๊ส LPG” นุ้ย เด็กสาวมัธยมปลาย ที่อาศัยอยู่กับแม่และน้า ภายในบ้านที่ถูกเปิดเป็นร้านขายของชำ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของชุมชน เมื่อสิ่งที่หลายคนเรียกว่า “ความเจริญ” กำลังรุกคืบเข้ามา อย่างร้านสะดวกซื้อ ซึ่งแม้ตัวนุ้ยจะรู้สึกอยากให้ร้านของชำที่บ้านปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยเป็นร้านสะดวกซื้อติดแอร์แบบเขาบ้าง แต่แม่กับน้าก็ยังพอใจและภูมิใจกับร้านชำเล็กๆ ที่มีข้าวของให้เลือกเต็มร้าน ยึดถือความซื่อตรงและใส่ใจลูกค้า   อีกหนึ่งความเจริญที่กำลังรุกคืบเข้าสู่ชุมชน คือการมาถึงของปั๊มแก๊ส LPG ที่เตรียมก่อสร้างติดกับบ้านของนุ้ย ซึ่งการมาอย่างลึกลับไร้ที่มาที่ไปของปั๊ม สร้างความวิตกกังวลให้กับคนในชุมชนถึงเรื่องความปลอดภัย เมื่อเริ่มรู้สึกว่าการสร้างปั๊มแห่งนี้มาพร้อมความไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัย การรวบรวมรายชื่อคนในชุมชนเพื่อคัดค้านการก่อสร้างโดยมีแม่และน้าของนุ้ยเป็นเกณฑ์นำจึงเริ่มขึ้น แต่ความจริงคือแม้จะได้เอกสารรายชื่อคัดค้านกว่า 500 รายชื่อไปยื่นให้กับสำนักงานเขตแต่ว่าการก่อสร้างก็ไม่ได้ถูกระงับ   แม้จะรู้สึกเศร้าใจกับการทำงานของหน่วยงานราชการ แต่แทนที่จะแค่ก่นด่าไปวันๆ ครอบครัวของนุ้ยได้เตรียมแผนการยับยั้งการสร้างปั้มแก๊สในแบบของตัวเองเอาไว้แล้ว เรียกว่างานนี้ “ถ้าไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็คงต้องเอาด้วยกล”   ผลงานการกำกับของ คุณพิมพกา  โตวิระ เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่ช่วยบุกเบิกการสร้างภาพยนตร์อิสระในประเทศไทย เคยมีผลงานภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่อง “คืนไร้เงา” เมื่อปี 2546 ซึ่งได้รับเชิญให้ไปฉายและเข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์หลายประเทศทั่วโลก ทำให้ชื่อของ พิมพกา  โตวิระ กลายเป็นผู้กำกับหญิงไทยคนแรกที่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ   นอกจากนี้ยังมีผลงานกำกับภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “ความจริงพูดได้” (the truth be told) ที่ถ่ายทอดชีวิตของ สุภิญญา กลางณรงค์ เมื่อครั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ที่ต้องต่อสู้เพื่อความถูกต้องหลังต้องตกเป็นจำเลยถูกบริษัทชินคอร์เปอเรชั่นฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทจากการตีพิมพ์บทความของเธอที่ชื่อว่า“เอ็นจีโอประจาน 5 ปีรัฐบาลไทย ชินคอร์ปรวย” สมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร   Priceless การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของลูกชายวัย 40 ปี จากอุบัติเหตุรถตู้โดยสารสาธารณะ ไม่ได้นำมาแค่ความเสียใจอย่างที่สุดแก่ผู้เป็นแม่เท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งปัญหาในเรื่องของการเรียกร้องเงินชดเชยค่าสินไหมทดแทนการเสียชีวิตของลูกชายจากบริษัทประกัน ด้วยความที่ก่อนตายลูกชายทำอาชีพอิสระ ไม่ได้มีที่ทำงานเป็นหลักแหล่ง รายได้ก็ไม่แน่นอน ซึ่งทั้งหมดกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้คุณแม่ในวัยเกษียณต้องปวดหัวในการทำเรื่องขอเงินชดเชย แม้สุดท้ายจะได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน แต่ก็ใช่ว่าปัญหาต่างๆ จะคลี่คลาย เพราะแม้ว่าเธอจะรู้ว่าลูกชายทำงานอะไรและมีรายได้เท่าไร บริษัทประกันยินยอมจ่ายค่าชดเชย แต่เมื่อมองดูตัวเลขของเงินชดเชยที่ได้รับนั้น เทียบกันไม่ได้เลยกับชีวิตของลูกชายที่ต้องสูญเสียไปเพราะอุบัติเหตุ   ผลงานการกำกับของ คุณมานุสส วรสิงห์ ทำงานเบื้องหลังในส่วนของการตัดต่อภาพยนตร์ให้กับภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง โดยก็ยังทำงานกำกับภาพยนตร์สั้นควบคู่กันไปด้วย ซึ่งผลงานหลายเรื่องได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งยังได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการทำภาพยนตร์ให้กับหลากหลายหน่วยงาน เช่น สสส., กรมการศาสนา ฯลฯ   กลับบ้าน ในยุคที่หนุ่ม – สาวจากต่างจังหวัดต้องจากบ้านมาทำงานในกรุงเทพฯ การได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านในช่วงวันหยุดจึงถือเป็นช่วงเวลาสุดพิเศษของเหล่าหนุ่ม – สาวที่ต้องจากบ้านมาตามหาความมั่นคงในสังคมเมือง ยิ่งเดี๋ยวนี้มีการเดินทางให้เลือกหลากหลาย โดยเฉพาะ “รถตู้” ที่กลายเป็นทางเลือกที่หลายคนนิยม แม้ข่าวคราวเรื่องการเกิดอุบัติเหตุจะมีให้เห็นบ่อยครั้ง แต่รถตู้ก็ยังเป็นที่พึ่งของคนที่ต้องเดินทาง   เช่นเดียวกับสองหนุ่ม – สาวเพื่อนเก่าที่พบกันโดยบังเอิญ ตอนที่กลับมาเยี่ยมบ้าน ทั้งสองคนต่างแลกประสบการณ์ที่ไม่น่าจดจำจากการใช้บริการรถตู้โดยสาร ทั้งเรื่องความแออัดของที่นั่งโดยสาร และยังเรื่องพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของพนักงานขับรถ   ไม่มีใครรู้ว่าวันหนึ่งรถตู้โดยสารอาจพาเรา “กลับไม่ถึงบ้าน” ก็ได้   ผลงานการกำกับของ คุณชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา คนทำโฆษณาแถวหน้าของประเทศ นักเขียนเจ้างานเขียนหนังสือหลายเล่ม เช่น “ถนนวิทยุ”, “คัมภีร์วิทยายุทธ์”, “อเมริกากี่นั้ง” ฯลฯ แม้งานหลักจะเป็นการทำงานเชิงพาณิชย์ แต่ก็หลงใหลการทำงานสื่อเพื่อรับใช้สังคม ที่ผ่านมาก็ช่วยทำสื่อทั้งโฆษณาและหนังสั้นให้กับองค์กรทางสังคม พร้อมทั้งเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่คนทำสื่อรุ่นใหม่ๆ   Disconnected โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้คนในสังคมได้ติดต่อใกล้ชิดกันได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น แต่เพราะความสะเพร่าหรือจงใจที่จะเอาเปรียบผู้บริโภคของบริษัทผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ก็อาจทำให้โทรศัพท์มือถือกลายเป็นเครื่องมือทำลายความสัมพันธ์ได้ในพริบตา   อย่างเช่นเรื่องราวของคุณพ่อวัยเฉียด 70 ปี ที่ต้องหมางใจกับลูกชาย หลังจากโทรศัพท์มือถือที่ลูกชายเป็นคนซื้อให้เกิดใช้งานไม่ได้ ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ลูกชายเปลี่ยนจากระบบเติมเงินเป็นแบบจ่ายค่าบริการรายเดือน แล้วเกิดปัญหาโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่โทรออกไม่ได้ ด้วยความไม่รู้ของผู้เป็นพ่อจึงทำให้หลงเข้าใจผิดคิดว่าลูกชายไม่รักเลยไม่อยากให้โทรหา พอพ่อ - ลูกเจอหน้ากันบรรยากาศก็เลยตึงเครียด ฝ่ายพ่อก็ต่อว่าลูกด้วยอาการน้อยใจ ฝ่ายลูกที่ไม่รู้เหตุผลที่มาที่ไปก็เริ่มไม่สบอารมณ์กับคำด่าว่าของพ่อ สุดท้าย 2 พ่อ – ลูกก็ไม่คุยกันเพราะความเข้าใจผิดเรื่องโทรศัพท์มือถือ   แม้ในที่สุดฝ่ายลูกชายจะรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้พ่อโกรธ แต่กับต้องเจอปัญหาซ้ำซ้อนเรื่องค่าโทรเกินจริง ต้องกลายเป็นคนมีหนี้โดยที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนก่อ เรียกว่าอยู่ดีๆ ชีวิตที่สงบสุขก็ต้องมาเจอเรื่องปวดหัวจากบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน     ผลงานการกำกับของ คุณบุญส่ง นาคภู่ ผู้กำกับที่คลุกคลีอยู่ในวงการภาพยนตร์ทั้งขนาดสั้นและขนาดยาวมาอย่างยาวนาน  มีผลงานกำกับและเขียนบทภาพยนตร์สั้นมากว่า 25 เรื่อง ผลงานหลายเรื่องมีรางวัลการรันตี เช่นเรื่อง “ตากับหลาน”, “ชาวนากลับบ้าน” ฯลฯ ส่วนผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องยาวก็มีเช่น “191 ครึ่ง มือปราบทราบแล้วป่วน” และ ภาพยนตร์เรื่อง “หลอน” ในตอนที่ชื่อว่า “ปอบ”   ปัจจุบันได้ก่อตั้งกลุ่ม “ปลาว่ายทวนน้ำ” เพื่อสร้างภาพยนตร์อิสระอย่างจริงจัง ผลงานภาพยนตร์ที่ผ่านมา คือ “คนจนผู้ยิ่งใหญ่” (poor people the great) และ “สถานี 4 ภาค” (four stations) ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งตัวหนังได้รับเชิญให้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ตามประเทศต่างๆ นอกจากนี้คุณบุญส่ง นาคภู่ ยังเป็นอาจารย์พิเศษด้านภาพยนตร์ตามมหาลัยต่างๆ   ติดตามรายละเอียดการร่วมชมภาพยนตร์สั้นและกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ “หนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค” ได้ที่ www.consumerthai.org, www.ฉลาดซื้อ.com และที่ facebook นิตยสารฉลาดซื้อ     //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 144 Consumer Justice Now!

  แน่นอนอยู่แล้ว ... คนสำคัญอย่างพวกเราก็ต้องมีวันสำคัญระดับสากลเป็นของตัวเองกับเขาเหมือนกัน วันที่ 15 มีนาคมของทุกปีคือวันสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights Day) ที่องค์กรผู้บริโภคจากทั่วโลกและสหพันธ์ผู้บริโภคสากล หรือ Consumers International ใช้เป็นโอกาสร่วมกันรณรงค์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีขึ้น   ปีนี้เขาจัดใหญ่ สหพันธ์ผู้บริโภคสากลซึ่งมีสมาชิก 220 องค์กร จาก 115 ประเทศเขาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภค เรียกว่าถือโอกาสนี้เปิดโปงความเสียหายที่เกิดจากการขาดระบบการคุ้มครองผู้บริโภค หรือการคุ้มครองผู้บริโภคที่ยังไม่ดีพอ   เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นประเด็นระดับโลก (ที่มักถูกละเลยโดยรัฐบาลท้องถิ่น?) เสมอมา    สหประชาชาติเองก็กำลังปรับปรุงแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคที่เคยทำไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526  (ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2542) โดยมีเป้าหมายจะจัดทำให้เสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557  สหพันธ์ฯ จึงถือโอกาสนี้ทำข้อเสนอต่อสหประชาชาติ เพื่อเป็นการยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อสังคมในศตวรรษที่ 21 ที่ปลอดภัยและยุติธรรมขึ้น   ย้อนอดีต เป็นเวลา 10 ปีมาแล้วที่มีการจัดงานรณรงค์ในวันสิทธิผู้บริโภคสากล ประเด็นที่เคยรณรงค์ร่วมกันได้แก่ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) การทำการตลาดอย่างไร้จริยธรรม เช่นการโฆษณายา หรือโฆษณาอาหารขยะกับเด็ก ประเด็นร้อนแรงที่สุดในช่วง 3 ปีหลังเห็นจะเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้นอกจาก เรื่องบริการการเงินการธนาคาร มีตั้งแต่การเรียกร้องให้มีบริการที่เป็นธรรมขึ้น ค่าธรรมเนียมที่ถูกลง ไปจนถึงการเรียกร้องให้ธุรกิจธนาคารสร้างทางเลือกที่แท้จริงให้กับผู้บริโภค --------------------------------------------------------------------------------------   "Consumers by definition, include us all." - John F. Kennedy วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2505 นายจอห์น เอฟ เคเนดี้  ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในสมัยนั้น ได้เรียกร้องต่อสภาคองเกรสให้มีการยอมรับสิทธิพื้นฐาน 4 ประการของผู้บริโภค ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ สิทธิที่จะได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้อง สิทธิที่จะได้เลือก และสิทธิที่จะเรียกร้องความเป็นธรรม   “ผู้บริโภคก็คือเราทุกคน เราคือกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ที่ส่งผลต่อและได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจทางเศรษฐกิจโดยภาคธุรกิจและภาครัฐ แต่แทบจะไม่มีใครถามความเห็นของเราเลย”   เฮเลน แมคคอลัม ผู้อำนวยการสหพันธ์ผู้บริโภคสากล “การคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องของกฎหมาย มันยังสามารถสร้างความเป็นธรรม สร้างสังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น และช่วยรักษาชีวิตของประชาชนได้ด้วย”   >>> 2015 ประเด็นที่สหพันธ์ฯ จะเคลื่อนไหวต่อไป ความมั่นคง ความปลอดภัยทางอาหาร และโภชนาการที่ดี บริการทางการเงินและการธนาคาร หนี้ ผู้บริโภคในยุคดิจิตัล เครือข่ายการสื่อสารที่ปลอดภัยไว้ใจได้ ในราคาที่เหมาะสม การใช้งานอันมีลิขสิทธิ์และการเข้าถึงความรู้   บ้านนี้เมืองนี้อยู่ยากขึ้นทุกวัน แล้วผู้บริโภคอย่างเราต้องทำตัวยังไง นายอันวาร์ ฟาซาล ประธานสหพันธ์ผู้บริโภคสากลในช่วงปี 1980 – 1989 ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริโภค 5 ประการไว้ดังนี้ Critical Awareness เราต้องตื่นตัวและตั้งข้อสงสัยเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการให้มากขึ้น >> จริงดิ? มีเครื่องดื่มที่ดื่มประจำแล้วทำให้เรียนเก่ง สอบติดคณะในฝัน? ทำไมรถเมล์ฟรีที่เขาเอาเงินภาษีเราไปจ่าย ถึงขับเร็ว ไม่จอดป้าย หรือจอดไม่ตรงป้าย ให้เราต้องวิ่งหน้ าตั้งด้วย (อย่าว่าแต่รถฟรีเลยนะ รถไม่ฟรีก็เหมือนกัน)   Involvement/Action เราต้องใช้สิทธิเพื่อให้ได้มา ซึ่งสินค้าหรือบริการที่เป็นธรรมในราคาที่เหมาะสม >> จ่ายค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน แต่สัญญาณล่มไป 2 วัน เราขอไม่จ่าย 2 วันนั้นได้มั้ย? เขาคิดเราเป็นรายวันนี่นา เราเสียเงินซื้อตั๋วขึ้นรถไฟฟ้าแล้วยังไปเจอโฆษณาบนรถอีก อย่างนี้เขาน่าจะลดค่าโดยสารให้เราด้วยหรือเปล่า (โทรทัศน์ที่มีโฆษณา เขายังให้ดูฟรีเลย) Social responsibility เราต้องบริโภคอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการตระหนักถึงผลกระทบจากการกระทำของเราต่อสภาพเศรษฐกิจสังคมรอบตัวและต่อพลเมืองคนอื่นๆ >> เราต้องจับตาดู เดี๋ยวมีใครไปใช้แรงงานเด็กในประเทศด้อยพัฒนา แล้วมาแอ๊บขายสินค้าแบรนด์หรู ถ้ารู้แล้วจะได้ชวนกันบอยคอต   Ecological responsibility เราต้องตระหนักถึงผลกระทบจากทางเลือกของเราต่อสภาพแวดล้อม >> เราอาจจะไม่เลือกซื้อเฉพาะผักผลไม้ที่งดงามหมดจดอีกต่อไป เพราะรู้แล้วว่าการทำอย่างนั้นทำให้เกิด “ขยะสด” โดยไม่จำเป็น Solidarity เราต้องรวมตัวกันเพื่อให้เกิดพลังที่ยิ่งใหญ่พอที่จะทำให้รัฐบาลหรือผู้ประกอบการไม่อาจละเลยผลประโยชน์ของผู้บริโภคได้อีกต่อไป ... สามัคคีคือพลัง! >> เรามาร่วมกันติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ประกอบการ อย่างที่คุณกำลั งทำอยู่ ด้วยการเป็นสมาชิก “ฉลาดซื้อ” นี่ไง   โปรตุเกส:  เมื่อผู้บริโภคไม่ยอมถูกหลอกขายน้ำมันแพงอีกต่อไป Portugal Petrol Test … เล่าเรื่องทดสอบน้ำมัน ราคาถูก/แพง   ปลายปีที่แล้วมีชาวโปรตุเกส 42,200 คน ร่วมกันลงชื่อเรียกร้องให้กระทรวงเศรษฐกิจ เข้มงวดกับการกำกับดูแลธุรกิจพลังงานให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคุณภาพและความโปร่งใสในการตั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังขอให้ประกาศห้ามการกล่าวอ้างสรรพคุณของสินค้าถ้ายังไม่ได้พิสูจน์ด้วย เรื่องนี้สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ DECO นิตยสารผู้บริโภคขององค์กรผู้บริโภค EDI แห่งโปรตุเกสได้ทำการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่า น้ำมันดีเซลแบบพรีเมี่ยมที่อ้างว่าเผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่า ประหยัดพลังงานกว่า ทำให้รถวิ่งได้แรงขึ้น (และขายในราคาแพงกว่า) แตกต่างจากน้ำมันดีเซลธรรมดาๆ หรือไม่   เพื่อทดสอบน้ำมันพรีเมี่ยม 2 ยี่ห้อ ได้แก่ G-Force  และ Hi Energy  และน้ำมันธรรมดา 2 ยี่ห้อคือ  Jumbo และ Intermarche  นิตยสาร DECO ซื้อรถ Renault Clio ใหม่เอี่ยมมา 4 คัน จ้างนักขับรถมืออาชีพ 4 คน และเช่าสนามแข่งรถแห่งหนึ่งเป็นเวลา 1 เดือน   ทีมงานจะเติมน้ำมันยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งให้กับรถแต่ละคันเท่านั้น แต่จะมีนักขับมากกว่าหนึ่งคนมาทดลองขับรถแต่ละคันเป็นระยะทางรวม 12,000 กิโลเมตร โดยเส้นทางที่วิ่งก็มีทั้งช่วงที่ใช้ความเร็วได้ต่อเนื่องและช่วงที่ต้องขับๆ หยุดๆ เหมือนอยู่ในช่วงการจราจรติดขัด    ผลการทดสอบ (ซึ่งรวมถึงการถอดเครื่องยนต์ออกไปให้ห้องปฏิบัติการตรวจ) ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องการสึกหรอของเครื่องยนต์ สมรรถนะของรถ ประสิทธิภาพการใช้น้ำมัน หรือการปล่อยมลพิษของรถทั้ง 4 คันที่เติมน้ำมันคนละยี่ห้อ   แล้วผู้บริโภคจะจ่ายแพงกว่าไปทำไม?   หมายเหตุ: นิตยสาร DECO เป็นนิตยสารเพื่อผู้บริโภคของโปรตุเกส ที่มีสมาชิก 400,000 คน   Consumer Justice Now! In Thailand ปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกมองข้าม ทั้งที่สังคมบ้านเราก็ดูเหมือนจะมุ่งมั่นเดินหน้าเข้าสู่สังคมบริโภคนิยมกันอย่างเต็มที่ ยิ่งบริโภคกันมากปัญหาจากการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ก็ย่อมมีมากตามไปด้วย แถมยิ่งพอเกิดปัญหาขึ้นแล้วจะเรียกร้องหาทางออกทางแก้ ก็เป็นเรื่องที่ยากแท้หยั่งถึง   แต่ก็ใช่ว่าผู้บริโภคไทยจะยอมทนอยู่กับปัญหา เพราะยังมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ออกมาปกป้องสิทธิของตัวเอง ลองมาดูกันว่าพลังของผู้บริโภคไทยสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรให้เกิดขึ้นบ้าง   พลังจากการรวมตัว ใครจะคาดคิดว่าสถานออกกำลังกายชื่อดังอย่าง “แคลิฟอร์เนียว้าว” ที่มีสาขาเปิดให้บริการเป็นจำนวนมากทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด มีสมาชิกสมัครใช้บริการรวมทุกสาขามากกว่า 150,000 คน วันหนึ่งจะประสบปัญหาด้านการเงินจนต้องปิดให้บริการ ซึ่งกลายเป็นปัญหาส่งตรงถึงผู้บริโภคที่สมัครเป็นสมาชิก ทั้งไม่ได้ใช้บริการตามที่สัญญา ราคาค่าสมัครสมาชิกนั้นก็สูงลิ่วตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสน แถมที่น่าเจ็บใจยิ่งกว่าคือทั้งๆ ที่ไม่สามารถให้บริการได้ตามที่สัญญา แต่การหักเงินค่าสมาชิกที่จ่ายค่าผ่านบัตรเครดิตกลับยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เรียกว่าบริการก็ไม่ได้ใช้ การช่วยเหลือชดเชยก็ไม่มี แต่ยังต้องมาเสียเงินซ้ำอีก มี่แหละคือความช้ำสุดๆ ที่ผู้ประกอบการใจร้ายทำกับผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเพื่อทำให้เกิดการรวมตัวของสมาชิกฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าวที่ได้รับความเสียหาย เพื่อร่วมกันเป็นหนึ่งพลังที่ยิ่งใหญ่ในการปกป้องสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งมียอดผู้ร้องเรียนเข้ามายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถึง 587 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท การรวมตัวกันของผู้เสียหายจากการใช้บริการฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าว ครั้งนี้ได้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจร่วมกันถึงการรักษาสิทธิในฐานะผู้บริโภค แนวทางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิ ซึ่งมีทั้งการจัดเวทีเพื่อพูดคุยทำความเข้าใจทั้งกับผู้เสียหายและผู้บริโภคทั่วไปในเรื่องการขอยกเลิกสัญญาบริการฟิตเนส ซึ่ง สคบ. มีการกำหนดขอบังคับไว้ชัดเจน ก ารรวมกลุ่มผู้เสียหายเพื่อร่วมกันดำเนินการเอาผิดกับฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าวตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการยื่นหนังสือกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐนมตรี เพื่อขอให้ทำหน้าที่ฟ้องคดีแพ่งและอาญาแทนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย การเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เพื่อดำเนินคดีอาญา และการเข้าพบอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อเสนอให้ดำเนินการเป็นคดีพิเศษ   แม้ว่าปัญหาจะยังไม่ถูกแก้ไขจนแล้วเสร็จ แต่การจับมือกันลุกขึ้นมาสู้ของเหล่าผู้เสียหายจากการใช้บริการฟิตเนส แคลิฟอร์เนียว้าวครั้งนี้ สร้างแรงสั่นสะเทือนอย่างมากในเรื่องการรวมตัวกันรักษาสิทธิของผู้บริโภคในประเทศไทย ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปเห็นความสำคัญในการรักษาสิทธิ และเป็นการส่งสัญญาณเตือนกับบรรดาผู้ประกอบการว่าต้องให้ความเคารพไม่คิดละเมิดสิทธิของผู้บริโภค   จอดำ ทำกันได้ จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเรานั่งดูทีวีอยู่ดีๆ แต่กลับถูกละเมิดสิทธิแบบที่ไม่มีโอกาสเรียกร้อง   คำว่า “จอดำ” กลายเป็นคำที่ได้ยินบ่อยครั้งในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโรเมื่อปี 2012 เมื่ออยู่ดีๆ โทรทัศน์ช่องฟรีทีวีอย่าง 3, 5, 7, 9 ของหลายๆ บ้านไม่สามารถรับชมการแข่งขันได้ทั้งๆ ที่กำลังมีการถ่ายทอดสด เนื่องจากปัญหาลิขสิทธิ์ เกิดเงื่อนไขที่ว่าต้องติดจานดาวเทียมหรือกล่องรับสัญญาณของเจ้านี้เท่านั้นถึงจะได้ดู ถ้าติดของอีกเจ้าก็หมดสิทธิ์ ทั้งๆ ที่ช่องที่กำลังถ่ายทอดคือช่องฟรีทีวี ซึ่งๆ ไม่ว่าใครก็ควรจะมีสิทธิที่ได้ชมขอแค่มีทีวีและอุปกรณ์รับสัญญาณ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องตลกร้ายที่กลุ่มธุรกิจแข่งขันกันเรื่องผลประโยชน์โดยไม่สนใจในสิทธิของผู้บริโภค   เครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ออกมาเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ ผู้บริหารช่องฟรีทีวี และหน่วยงานที่มีหน้ากำกับดูแลอย่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหาทางแก้ปัญหาทวงสิทธิของผู้บริโภคกลับคืนมา ซึ่งท้ายที่สุดได้มีการยืนฟ้องต่อศาลให้เข้ามาควบคลุมดูแล แต่แม้ว่าศาลจะยกคำร้องทำให้ฟรีทีวียังคงจอดำจนจบการแข่งขันฟุตบอลยูโร แต่การลุกขึ้นมารักษาสิทธิของผู้บริโภคโดยเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในครั้งนี้ สร้างการตื่นตัวครั้งสำคัญในเรื่องของสิทธิในรับชมรายการถ่ายทอดสดโดยเฉพาะการแข่งขันกีฬาผ่านช่องฟรีทีวี ในยุคที่จานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณต่างๆ กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ   การออกมาแสดงพลังผู้บริโภคโดยเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเรื่องปัญหาจอดำ ทำให้ กสทช. ตื่นตัวทำงาน ด้วยการออกหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ MUST CARRY RULE ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่จะช่วยปกป้องสิทธิของผู้บริโภคที่รับชมโทรทัศน์ช่องฟรีทีวีให้สามารถรับชมได้อย่างทั่วถึง ในเนื้อหาเดียวกัน  ไม่มีการเปลี่ยนแปลงผังรายการหรือเนื้อหารายการ ไม่ว่าจะเป็นการรับชมผ่านช่องทางใด ผ่านจานหรือกล่องรับสัญญาณยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ ช่องฟรีทีวีต้องไม่จอดำ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเอาไว้ด้วยว่าการแข่งขันกีฬาระดับโลก 7 รายการ เช่น ซีเกมส์, เอเซียนเกมส์, โอลิมปิก ฯลฯ ต้องสามารถรับชมได้ผ่านช่องฟรีทีวี ห้ามจอดำ   ร้องเรียนสู่การเปลี่ยนแปลง บางครั้งหนึ่งเสียงเล็กๆ ของผู้บริโภค ที่มองเห็นปัญหาแล้วบอกต่อสู่สังคม ก็อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้เหมือนกัน   คนไทยเราให้ค่ากับ “รังนก” ว่าเป็นของดีมีประโยชน์ เป็นของมากคุณค่าราคาแพง เราถูกบอกให้เชื่อตามที่ผู้ผลิตโฆษณา แต่ในทางวิชาการไม่ได้เป็นแบบนั้น ถ้าใครจำได้ เมื่อไม่นานมานี้เคยมีผลิตภัณฑ์รังนกสำเร็จรูปพร้อมดื่มยี่ห้อหนึ่งใช้คำโฆษณาว่า “รังนกแท้ 100%” ซึ่ง คุณเธียร ลิ้มธนากุล ผู้ที่ทำงานด้านโฆษณา มีความสงสัยในคำโฆษณาดังกล่าวจึงได้ส่งเรื่องร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงการโฆษณารังนกแท้ 100% ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วก็พบว่าข้อความโฆษณาดังกล่าวสร้างความเข้าผิดให้กับผู้บริโภคอย่างชัดเจน เพราะในความเป็นจริงแล้ว รังนกสำเร็จรูปพร้อมดื่มที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปมีรังนกเป็นส่วนประกอบอยู่เพียงแค่ 1% เท่านั้น   เครือข่ายผู้บริโภคและนักวิชาการด้านสื่อจึงเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งตามปกติ อย.ไม่อนุญาตให้โฆษณาโดยใช้คำว่า 100% อยู่แล้ว ผลก็คือจากนี้ไปห้ามไม่ให้ผลิตภัณฑ์รังนกสำเร็จรูปใช้คำว่า “รังนกแท้ 100%” อีก ต้องตัดคำว่า 100% ออกไป ถ้าหากพบการทำผิดไม่ใช่แค่รังนกแต่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ในลักษณะนี้จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย   เห็นมั้ยว่า เราทุกคนสามารถเป็นผู้บริโภคที่ช่วยกันเปลี่ยนแปลงสังคมของเราได้   ใช้กฎหมายเป็นผู้ช่วย ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ผู้บริโภคไทยก็สามารถต่อสู้คดีจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการที่ไม่ประสงค์ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการใช้ “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค” ที่จะช่วยเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจจากศาล แต่เดิมที่ผู้บริโภคแทบจะไม่มีศักยภาพมากพอที่จะต่อสู้กันในชั้นศาลกับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้ในทางคดี หรือทุนทรัพย์ในการดำเนินการ สุดท้ายผู้บริโภคก็มักจะเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือไม่ก็ถูกผู้ประกอบการกล่อมให้ยอมความแล้วรับค่าชดเชยที่ไม่สมเหตุสมผล การมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้นมีข้อดีที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้บริโภคสามารถยื่นคำฟ้องได้ด้วยวาจา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการฟ้องคดี สามารถให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคฟ้องคดีแทนได้ มีกระบวนการไกล่เกลี่ย และให้ภาระการพิสูจน์ถูกผิดเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ ซึ่งก็มีผู้บริโภคจำนวนมากได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค เช่น อ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ที่ฟ้องสายการบินนกแอร์เรื่องการละเลยการดูแลมาตรการรักษาความปลอดภัย หรือกรณีของ คุณสุภาภรณ์ ว่องวีรวัฒนกุล ที่พบปัญหาอากาศเป็นพิษภายในรถรถยนต์โตโยต้า อินโนว่า ซึ่งสุดท้ายศาลคดีผู้บริโภคก็ให้คุณสุภาภรณ์ชนะคดีและให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยชดเชยค่าเสียหาย   แม้ว่ากฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง แต่กฎหมายฉบับนี้ก็ถือเป็นหนึ่งในอาวุธชิ้นสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ปกป้องพิทักษ์รักษาสิทธิของตัวเองได้อย่างเข้มแข็ง   Timeline การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย 2522 – ประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)   2526 – เกิด คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน (คปอส.) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนสาธารณประโยชน์ ทำงานด้านสาธารณสุข จุดเริ่มต้นก่อนที่จะเป็นมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในปัจจุบัน 2540 – มีการกำหนดให้มีองค์การอิสระผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญไทยเป็นครั้งแรก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศเริ่มต้นผลักดันให้เกิดองค์การอิสระผู้บริโภค   2548 – ปรากฏการณ์ “ทุบรถทวงสิทธิ” เมื่อ น.ส.เดือนเพ็ญ ศิลาเกษ ใช้ค้อนทุบรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซีอาร์วี ต่อหน้าสื่อมวลชน หลังสุดทนเจอปัญหาสารพัดแต่กลับไม่ได้รับการดูแลการบริษัทผู้ขาย   2548 – ขบวนการผู้บริโภคและภาคประชาชนยุติการแปรรูป การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)   2550 – ผ่านมา 10 มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่องค์การอิสระผู้บริโภคก็ยังไม่เกิด มีการปรับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จากมาตรา 57 ในรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นมาตรา 61 ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศยังคงผลักดันกฎหมายนี้อย่างตัวเนื่อง   2551 – เริ่มใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค   2556 – รัฐบาลยังไม่ยอมให้มี องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศก็ยังคงเดินหน้าผลักดันให้เกิดกฎหมายนี้ต่อไป //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 139 One bans. All ban.เมื่อความเสี่ยงของผู้บริโภคไม่ใช่ชะตากรรม

การที่อาเซียนมุ่งสู่แนวทางเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalization) โดยจะเปิดกว้างต่อการค้าระหว่างประเทศ การลงทุน การเงิน และการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งจะปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรมในปี พ.ศ. 2558 หรือที่เรียกว่า “ประชาคมอาเซียน” นั้น จะทำให้เกิดมีการหมุนเวียนหลั่งไหลของสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งก็เป็นไปได้มากว่า สินค้าและบริการส่วนหนึ่งจะเป็นสินค้าและบริการที่ด้อยคุณภาพ หน่วยงานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคจึงเตรียมตัวกันเต็มที่เพื่อสกัดกั้นปัญหาดังกล่าว กลไกสำคัญหนึ่งคือ การตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน (ASEAN Committee on Consumer Protection) ขึ้น ซึ่งมีสมาชิกจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจากทุกประเทศ ปัจจุบันประเทศฟิลิปปินส์ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ โดยมีหน่วยแข่งขันทางการค้า กรมคุ้มครองผู้บริโภคและกรมทรัพย์สินทางปัญญาของเลขาธิการอาเซียนเป็นสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการฯ นี้จะทำหน้าที่สร้างระบบเตือน การเรียกคืนสินค้าและสินค้าอันตราย สร้างกลไกการแก้ไขปัญหาเยียวยาผู้บริโภค สร้างความเข้มแข็งของกลไก สร้างความตื่นตัวและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ขณะเดียวกันยังมีกลไก องค์กรสภาผู้บริโภคอาเซียน Southeast Asian Consumer Council (SEACC) อีกหนึ่งแห่งที่เกิดขึ้นคู่ขนานกับทางภาครัฐ โดยก่อตั้งขึ้นที่เมืองบาหลี อินโดนีเซีย เมื่อปี 2549 สมาชิกก่อตั้งเป็นองค์กรผู้บริโภคชั้นนำจากประเทศ บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม โดยการสนับสนุนของสหพันธ์ผู้บริโภคสากล ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน   และเมื่อวันที่ 4-5 กันยายน ที่ผ่านมา “สภาผู้บริโภคอาเซียน” ได้จัดงานประชุมขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในการรับมือกับสินค้า(ผลิตภัณฑ์) อันตราย ในหัวข้อ “เมื่อความเสี่ยงของผู้บริโภคไม่ใช่ชะตากรรม : ความจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งผู้บริโภคในประชาคมอาเซียน” ซึ่งฉลาดซื้อ ขอนำประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นในงานนี้มาเสนอเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับผู้บริโภคในการเตรียมความพร้อมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป   องค์การอิสระผู้บริโภคต้องเกิดเสียที ในเวทีประชุมสภาผู้บริโภคอาเซียน ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ตัวแทนสมาชิกของประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ได้นำเสนอข้อมูลในเรื่องอันตรายของผลิตภัณฑ์ที่หลายประเทศในอาเซียนได้สั่งห้ามยกเลิกการใช้และห้ามนำเข้าไปนานแล้ว แต่ยังพบในอีกหลายประเทศร่วมภูมิภาคอาเซียน นายเซีย เซ็งชุน (Mr. Seah Seng Choon) ผู้อำนวยการสมาคมผู้บริโภคแห่งสิงคโปร์  กล่าวว่า “ในสิงคโปร์การคุ้มครองผู้บริโภครุดหน้าไปมาก เมื่อสิบปีที่แล้วได้แบน แร่ใยหินหรือแอสเบสตอสไปแล้ว พอได้ฟังข้อมูลที่ประเทศไทยวันนี้ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเลื่อนการแบนไปอย่างน้อยห้าปี รู้สึกตกใจมากเพราะแม้ผลของโรคที่เกิดจากแร่ใยหินไม่ได้เห็นในเวลานี้ แต่ผลกระทบจากการสะสมเริ่มแล้วตั้งแต่วันนี้ ดังนั้นจึงเห็นด้วยว่าจะต้องแบนแร่ใยหินทันที เพราะจะได้ไม่มีผลร้ายมากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามในมุมมองเรื่องการแบนสินค้าที่เกิดขึ้นในประเทศของสิงคโปร์และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันนั้น หากขาดประเทศไทยที่เดียวที่ไม่มีการแบน ประเทศไทยก็ต้องเป็นแหล่งเดียวที่รับสินค้าอันตรายเช่นแร่ใยหินเข้าประเทศไทยแทนประเทศอื่นที่ได้สั่งแบนสินค้าไปแล้ว” นางสาวโมฮานา ปรียา (Ms. Mohana Priya) จากสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมาเลเซีย กล่าวว่า “ในมาเลเซียนั้น สารบีพีเอ ถูกแบนโดยไม่ยากนักเพราะมีข้อมูลวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า สารบีพีเอในขวดนม มีผลกระทบต่อสุขภาพทารกและเด็ก ซึ่งทำให้รัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจอย่างไม่ยากเย็นในการห้ามใช้สารบีพีเอในขวดนม เพราะว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อสุขภาพของอนาคตของชาติที่จะละเลยมิได้” ในขณะที่ ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์   ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) กล่าวว่า “จากประสบการณ์การจัดการปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัย หน่วยงานราชการเกี่ยงกันไปมา ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเช่น กรณีของบีพีเอ หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับแร่ใยหิน ทั้งที่มีหลักฐานทางวิชาการอย่างชัดเจนว่ามีอันตราย ดังนั้นจึงเห็นด้วยหากประเทศใดในอาเซียนแบนสินค้าใดสินค้าหนึ่ง ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนควรแบนด้วย ไม่เช่นนั้น สินค้าอันตรายที่ถูกประเทศอื่นยกเลิกแล้วจะเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศที่ยังไม่มีมาตรการเกี่ยวกับสินค้านั้น” และนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ความเห็นปิดท้ายว่า“นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ควรเร่งผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้ ต้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบอีกครั้งก่อนที่จะเป็นกฎหมาย ซึ่งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจะเป็นกลไกใหม่ในการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคและเป็นตัวแทนในประเด็นต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในวงกว้างเช่น สินค้าอันตราย ไม่ว่าจะเป็นกรณีแร่ใยหิน หรือ สารบีพีเอในขวดนม ที่มีการยกเลิกการใช้ในหลายประเทศในอาเซียน ขณะที่ประเทศไทยไม่สามารถยกเลิกได้ เพราะไม่มีหน่วยงานที่อยากจะรับผิดชอบผู้บริโภคอย่างชัดเจนเบ็ดเสร็จได้” เมื่อจบการประชุมในวันแรก ตัวแทนจากองค์กรสภาผู้บริโภคอาเซียน ได้ร่วมในงานเลี้ยงต้อนรับที่ทางรัฐบาลจัดขึ้น ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล จึงเป็นโอกาสอันดีที่ทางองค์กรผู้บริโภคอาเซียนเข้ายื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี  นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เร่งออก พรบ.  องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเป็นกลไกใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค  ห้ามผลิต  และนำเข้าผลิตภัณฑ์อันตรายทั้งภูมิภาคอาเซียน   ถ้ามีการประกาศห้ามผลิต/นำเข้า ผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องถูกห้ามผลิต/นำเข้าในประเทศอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกอาเซียนด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวทั้งภูมิภาค   1 ประเทศแบน 10 ประเทศแบน One bans. All ban. ในส่วนการประชุมวันที่ 5 กันยายน 2555 องค์กรสภาผู้บริโภคอาเซียน ได้ประกาศ ปฏิญญากรุงเทพ โดยมีใจความสำคัญดังนี้ สภาผู้บริโภคอาเซียน ร่วมประกาศปฏิญญา SEACC กรุงเทพฯ 2555 “1 ประเทศแบน 10 ประเทศแบน” ปฏิญญา SEACC กรุงเทพฯ 2555 เพื่อเรียกร้องให้เกิดความร่วมมือในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันของรัฐบาลในอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้บริโภค ตัวแทนองค์กรผู้บริโภคต่างยืนยันที่จะร่วมมือกันคุ้มครองผลประโยชน์ ของผู้บริโภคในทุกภาคส่วน และเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในกระบวนการตัดสินใจในเรื่องมาตรการและนโยบายที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในอาเซียนให้มีมาตรฐานเดียวกัน   รองศาสตราจารย์ ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานกรรมการอำนวยการสภาผู้บริโภคอาเซียน และประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “ปฏิญญาสภาผู้บริโภคอาเซียน กรุงเทพฯ 2555 ตกลงกันในการร่วมกันแบนสินค้า แอสเบสตอสและ บีพีเอ เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์และมาเลเซียได้แบนสำเร็จแล้ว โดยยืนยันให้มีมาตรการอัตโนมัติที่ประเทศหนึ่งแบนสินค้าใด ประเทศอื่นในอาเซียนต้องแบนสินค้านั้นทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีในการร่วมมือกันในครั้งนี้  การประชุมสภาอาเซียนผู้บริโภคนี้ ยังเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือระหว่างกัน ดังเช่นที่ปฏิญญาได้ให้การสนับสนุนการเกิดขึ้นขององค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในไทย นอกจากนี้ตัวแทนจากประเทศอินโดนีเซีย ก็ให้ความสนใจในประเด็นเรื่องข้อมูลผลกระทบ FTA ของไทย  และต้องการศึกษาผลกระทบในอินโดนีเซียเช่นกัน ก็สามารถร่วมมือกันได้ เพื่อหาวิธีร่วมกันในการจัดการปัญหาในระดับอาเซียน ซึ่งเป็นกลไกที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน”   นางสาวอินดา  สุขมานิวซิงค์ ประธานกรรมการบริหารสภาผู้บริโภคอาเซียน กล่าวต่อว่า “เมื่อค่ำวานนี้มีความยินดีที่ได้มีโอกาสพบตัวแทนรัฐบาลไทยซึ่งดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งตัวแทนรัฐบาลไทยได้ให้สัญญาณที่ดีในเรื่องที่จะทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ผู้บริโภคร่วมกัน  ไม่ว่าจะเกิดปัญหากับผู้บริโภคในประเทศไหนในภูมิภาคอาเซียน เราทุกคนควรมองว่าเป็นปัญหาร่วมกันไม่ใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง”   นายเซีย เซ็งชุน ผู้อำนวยการสมาคมผู้บริโภคแห่งสิงค์โปร์ กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างองค์กร สำคัญมาก เช่น งานประชุมนี้เราก็ได้มีโอกาสแชร์ประสบการณ์ทำให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทยไหนบ้างอยากให้มีผู้บริโภคมาร่วมกันมากกว่านี้เวลาที่ออกไปให้ความรู้ผู้บริโภคจะได้รู้ว่าพวกเขาพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภคกันอย่างไร หรือได้รู้ว่ากฎหมายที่ออกมาเช่น LEMON LAW ของสิงคโปร์ เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน”   นางสาวโมฮานา ปรียา สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมาเลเซีย กล่าวว่า “เราจะมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐและแลกเปลี่ยนเรื่องการตัดสินใจของหน่วยงานรัฐซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจต่างๆ เพื่อให้เกิดความเท่าทันในการเท่าทันปัญหาได้อย่างทันสถานการณ์” --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ขอแนะนำ 1 ในสมาชิกผู้ก่อตั้ง สภาองค์กรผู้บริโภค หน่วยงานนี้มีชื่อว่า Badan Perlindungan Konsumen Nasional หรือ(National Consumer Protection Agency เขาเป็นองค์กรของรัฐ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ประเทศอินโดนีเซีย วิสัยทัศน์ของ BPKN ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ 11 ปีที่แล้วคือการเป็นองค์กรชั้นนำที่จะผลักดันให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบมากขึ้นพร้อมๆ กับการส่งเสริมให้ผู้บริโภคตระหนักในสิทธิของตัวเองมากขึ้นด้วย เขาเน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้บริโภคผ่านหน่วยงาน ตั้งแต่กระทรวงต่างๆ ผู้ว่าการรัฐ สถาบัน/หน่วยงาน/คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง/ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ภาคธุรกิจ หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของภาครัฐ หน่วยงานจัดการข้อพิพาท องค์กรระหว่างประเทส องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ และภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หน้าที่สำคัญของ BPKN ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงาน 4 ฝ่าย (ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายการศึกษาและสื่อสารสังคม ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียน และฝ่ายสร้างความร่วมมือ) คือ ให้คำแนะนำแก่รัฐบาล ในการร่างนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคง ของผู้บริโภค ศึกษาและประเมินกฎระเบียบต่างๆที่มีอยู่ในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ทำวิจัยเรื่องความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ส่งเสริมการจัดตั้งองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เผยแพร่ข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านสื่อ และส่งเสริมสิทธิของผู้บริโภค รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และ ภาคธุรกิจ ทำการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าและบริการต่างๆ ตัวอย่าง งานด้านการศึกษาวิจัยของ BPKN ได้แก่ การศึกษามาตรฐานขั้นต่ำของบริการสายการบินสัญญามาตรฐาน  การทบทวนกฎหมายเรื่องมาตรวิทยา และการทบทวนกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค BPKN ไม่เด่นในเรื่องการรับร้องเรียนเท่าไรนัก แต่ที่น่าสนใจคือการทำข้อเสนอต่อรัฐบาลอินโดนีเซียในเรื่องต่างๆ เช่น -          เสนอให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาการห้ามส่งสแปมหรือ SMS ที่สร้างความรำคาญแก่ผู้บริโภค -          เสนอให้กระทรวงการคลังและการธนาคารควบคุมพฤติกรรมของบริษัททวงหนี้ -          เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการดูแลให้สถาบันการศึกษาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน -          และที่เป็นข่าวฮือฮาเมื่อต้นปีคือข้อเสนอต่อกระทรวงคมนาคมให้มีการออกกฎให้มีการตรวจหายาเสพติดในกัปตันและลูกเรือทุกคน และให้มีการดำเนินการทางกฎหมายกับสายการบินที่จ้างกัปตันที่ติดยาเสพติดไว้ในสังกัดด้วย ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ผู้อ่านฉลาดซื้ออาจสงสัยว่าสังคมเป๊ะเวอร์อย่างสิงคโปร์เขามีมาตรการจัดการกับสินค้าไม่ปลอดภัยอย่างไร  จากคำบอกเล่าของคุณเซีย เซ็ง ชุน ผู้อำนวยการสมาคมผู้บริโภคแห่งสิงคโปร์  ที่นั่นเขามีองค์กรชื่อว่า SPRING Singapore ทำหน้าที่ดูแลจัดการกับสินค้าไม่ปลอดภัย โดยเป้าหมายคือการยกระดับคุณภาพการผลิตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศไปพร้อมๆกับการคุ้มครองผู้บริโภคนั่นเอง แรกเริ่มเดิมที่มีผลิตภัณฑ์อันตรายทั้งหมด 45 ประเภท (ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) ที่รัฐกำหนดให้มาขึ้นทะเบียนกับ SPRING เพื่อทดสอบความปลอดภัยก่อนจะได้รับอนุญาตให้วางขายได้ ปัจจุบัน กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับปรับปรุงใหม่กำหนดมีผลิตภัณฑ์ที่ต้องขึ้นทะเบียนกับ SPRING ถึง 15,000 รายการ (สินค้าที่เข้าข่าย ผลิตภัณฑ์อันตรายนี้ครอบคลุมตั้งแต่อาหารที่มีส่วนประกอบที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม สารเคมีต่างๆ และสินค้าอุปโภคบริโภค) ค่าปรับของการขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยนั้นอยู่ที่ 10,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 250,000 บาท ใครยังจะกล้าขายก็ให้รู้กันไป ไหนๆ ก็แวะมาสิงคโปร์กันแล้ว จะไม่แถมเรื่อง Lemon Law ซึ่งสิงคโปร์ประกาศใช้ในเดือนกันยายนนี้ ก็ดูจะกระไรอยู่ กฎหมายนี้เราเคยเรียกร้องขอให้มีในกรณีของรถยนต์ เมื่อหลายปีก่อน (สมาชิกฉลาดซื้อคงยังจำกันได้ถึงเหตุการณ์ที่มีคุณผู้หญิงคนหนึ่งออกมาทุบรถออกสื่อ เพราะคับแค้นใจที่รถที่ทุ่มทุนซื้อมาหมาดๆ ดันเสียซ้ำเสียซ้อน แถมโชว์รูมก็ไม่ยอมเปลี่ยนคันใหม่ให้อีกต่างหาก) อิจฉากันได้เลย เพราะสิงคโปร์เขาล้ำหน้าไปถึงขั้นมีกฎหมายที่ระบุให้มีการเยียวยาให้กับผู้บริโภค เมื่อสินค้าที่ซื้อไปนั้นไม่เป็นไปตามสัญญา / โฆษณาที่ระบุไว้ขณะที่ซื้อ (ถ้าพบข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ภายในเวลา 6 เดือนก็ให้ถือว่าเป็นความบกพร่องที่เกิดขึ้นในขณะที่ซื้อ) โดยผู้ขายจะต้องซ่อม เปลี่ยน คืนเงินทั้งหมด หรือบางส่วนให้กับผู้บริโภค ตามขั้นตอนคือให้ซ่อมหรือเปลี่ยนสินค้าบกพร่องนั้นก่อน ถ้าไม่สามารถทำได้ ผู้บริโภคมีสิทธิขอลดราคาสินค้านั้น หรือคืนสินค้าแล้วขอรับเงินคืน โดยผู้บริโภคต้องทำเรื่องร้องเรียนภายใน 6 เดือนหลังจากซื้อสินค้า ความจริงแล้วหลัง 6 เดือนก็ยังร้องเรียนได้ เพียงแต่ผู้บริโภคจะต้องรับภาระการพิสูจน์เอง และที่สำคัญ การติดป้ายว่า “สินค้านี้ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนหรือคืน” ก็ไม่สามารถปกป้องผู้ขายจากความรับผิดชอบนี้ได้ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   พฤติกรรมผู้บริโภคของประเทศอาเซียน (ASEAN-5) สิงคโปร์ • การตัดสินใจซื้อ: ด้วยกำลังซื้อที่ค่อนข้างสูง ทำให้ชาวสิงคโปร์มักนิยมเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนม เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพค่อนข้างสูง • รสนิยม: วัฒนธรรมไลฟ์สไตล์ทางตะวันตกมีอิทธิพลมากในสังคมสิงคโปร์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น นอกจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคยัง อ่อนไหวต่อกระแสนิยมและแฟชั่นในตลาดโลกสูง จนได้ชื่อว่าเป็นตลาดแฟชั่นที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • การบริโภค: ชาวสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมาก และนิยมทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ ผู้มีรายได้และ มีระดับการศึกษาสูงจะนิยมบริโภคอาหารออร์แกนิกมากขึ้น บรูไน • การตัดสินใจซื้อสินค้า: ชาวบรูไนมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง และนิยมสินค้าแบรนด์เนม สินค้าหรูหรามูลค่าสูง และสินค้าฟุ่มเฟือย รวมทั้งให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้ามาก • รสนิยม: ชาวบรูไนมีข้อจำกัดจากทางด้านวัฒนธรรมและมีกฎระเบียบรวมถึงข้อห้ามที่เคร่งครัด ขณะเดียวกันมีรสนิยมที่ค่อนข้างทัน สมัยและอิงสไตล์ตะวันตก • การบริโภค: - พฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารค่อนข้างใกล้เคียงกับมาเลเซีย โดยนิยมอาหารฮาลาลตามการยึดถือศาสนาอิสลาม - ชาวบรูไนค่อนข้างเชื่อถือคุณภาพสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอาหาร จากสิงคโปร์และมาเลเซีย มาเลเซีย • การตัดสินใจซื้อ: ชาวมาเลเซียมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าที่อำนวยความสะดวกสบายใน ชีวิตประจำวัน สินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าหรูหรามากขึ้น ขณะที่ กลุ่มวัยรุ่นค่อนข้างให้ความ สำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ สะท้อนจากการใช้จ่ายสินค้าไอทีที่มากเป็นอันดับแรกเมื่อเทียบกับการใช้จ่าย ด้านอาหารและการพักผ่อนอื่นๆ • รสนิยม: ผู้บริโภคมาเลเซียมีรสนิยมค่อนข้างหลากหลายตามกลุ่มเชื้อชาติ แต่กลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาสูงและรายได้สูงมักมี รสนิยมอิงสไตล์ตะวันตก • การบริโภค: - ผู้บริโภคมาเลเซียนิยมบริโภคอาหารสด ขณะที่อาหารแปรรูปและอาหารบรรจุถุงมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นจากความ เร่งรีบในชีวิตประจำวัน - ชาวมาเลเซียรับประทานอาหารวันละ 3 ครั้ง และระหว่างวันจะมีช่วงพักดื่มน้ำชา และนิยมทานขนมขบเคี้ยว/บิสกิตเป็นอาหารว่างควบคู่ไปด้วย - ชาวมาเลเซียในวัยแรงงานนิยมบริโภคสินค้า Functional Food เช่น เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ/ให้พลังงาน อินโดนีเซีย • การตัดสินใจซื้อ: ชาวอินโดนีเซียยังมีช่องว่างทางรายได้ค่อนข้างสูง และผู้บริโภคส่วน ใหญ่ยังค่อนข้างอ่อนไหวกับราคาสินค้า ทำให้ไม่ค่อยนิยมสินค้านำเข้าที่ราคาแพงหรือสินค้าที่มี บรรจุภัณฑ์ราคาสูง • รสนิยม: ผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไปนิยมบริโภคสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งสินค้านำเข้าจากเอเชียและประเทศตะวัน ตก • การบริโภค: - ชาวอินโดนีเซียมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหารค่อนข้างสูง (สัดส่วนประมาณร้อยละ 51 ของรายได้ทั้งหมด) - ชาวอินโดนีเซียนิยมใช้เวลาพักผ่อนร่วมกับเพื่อนและครอบครัวโดยการออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน - พฤติกรรมการซื้อสินค้าอาหารเปลี่ยนจากซื้อวันต่อวันมานิยมซื้ออาหารสำเร็จ รูป อาหารพร้อมปรุง และอาหารพร้อมรับประทาน ที่เก็บไว้ได้นานขึ้น ขณะที่สินค้า กลุ่ม Cereal ยังเป็น อาหารหลักสำหรับทุกกลุ่มรายได้ นอกจากนี้ยังนิยมอาหารรสจัด - มีแนวโน้มใส่ใจกับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ฟิลิปปินส์ • การตัดสินใจซื้อ: แม้ปัจจุบันกระแสไอทีได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมโลกมากขึ้น แต่ชาว ฟิลิปปินส์ไม่นิยมการซื้อสินค้าออนไลน์ แต่นิยมเดินเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเอง (ยกเว้นสินค้า กลุ่มสื่อบันเทิง) นอกจากนี้ ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยยึดติดกับสินค้าแบรนด์เนม แต่นิยมสินค้า Private Label มากกว่า • รสนิยม: มีรสนิยมค่อนข้างหลากหลาย โดยทั่วไปเน้นความเรียบง่าย สะดวกและเหมาะสมกับระดับรายได้ • การบริโภค: - ชาวฟิลิปปินส์ใส่ใจกับการดูแลสุขภาพ และการดูแลความสวยงามและผิวพรรณ - ชาวฟิลิปปินส์ค่อนข้างผูกพันกับตราสินค้าเดิมที่เคยใช้และไม่เปลี่ยนตราสินค้าบ่อย - ชาวฟิลิปปินส์นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นหลัก - เช่นเดียวกับผู้บริโภคในประเทศอาเซียนอื่นที่มีรายได้สูงขึ้น ชาวฟิลิปปินส์นิยมซื้อสินค้าที่อำนวยความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์และอุปกรณ์มือถือ   พฤติกรรมผู้บริโภคของประเทศอาเซียน (CLMV)   เวียดนาม พม่า / สปป.ลาว / กัมพูชา • การตัดสินใจซื้อ: พฤติกรรมชาวเวียดนามแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของประเทศ กลยุทธ์การเข้าถึงตลาดจำเป็นต้องชัดเจนและ เหมาะสม อาทิ ทางตอนใต้พิจารณามูลค่าสินค้า เป็นสำคัญ ขณะที่ทางตอนกลางให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้า ส่วนทางเหนือจะค่อนข้างมัธยัสถ์และพิจารณาประโยชน์และความคงทนเป็นสำคัญ • รสนิยม: ผู้บริโภคชาวเวียดนามมีรสนิยมการบริโภคเปลี่ยนไปในทิศทางที่ต้องการสินค้าระดับกลางถึงบนมากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มวัย แรงงานของเวียดนามค่อนข้างอ่อนไหวต่อ กระแสความนิยมในตลาดโลก • การบริโภค: - ชาวเวียดนามในเมืองใหญ่มักนิยมสินค้าแฟชั่น สินค้าไอทีและการสื่อสารที่ทันสมัย - อาหารสไตล์ตะวันตกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอาหารฟาสฟู้ดที่เข้ามาในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ - ชาวเวียดนามนิยมอาหารสด ผักสดเป็นหลัก ขณะที่ความนิยมอาหารสำเร็จรูป อาหารพร้อมปรุงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้าประมาณ อาทิตย์ละครั้ง - พฤติกรรมทางสังคมที่มีการพบปะทางธุรกิจและสังสรรค์มากขึ้น ประกอบกับความสะดวกสบายและไม่เสียเวลาทำอาหารเอง ทำให้นิยมรับประทานอาหารนอก บ้านมากขึ้น - ระดับรายได้ที่สูงขึ้นทำให้ชาวเวียดนามนิยมซื้อสินค้าตกแต่งบ้าน/เครื่องใช้ ในบ้านมากขึ้น โดยยังนิยมสินค้าที่มีราคาไม่สูงนัก • การตัดสินใจซื้อ: ผู้บริโภคในพม่า/ สปป.ลาว / กัมพูชา ส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อไม่สูงนัก ทำให้ การตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เน้นพิจารณาจากประโยชน์ของสินค้าเป็นสำคัญ และมักซื้อ สินค้าเท่าที่จำเป็น อย่างไรก็ดี สำหรับกลุ่มวัยรุ่นชาวลาว พบว่า กระแสแฟชั่นสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างมาก โดยเฉพาสินค้าด้าน เครื่องแต่งกายและการ ดูแลสุขภาพ • รสนิยม: ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 3 มีรสนิยมค่อนข้างคล้ายคลึงกับไทย จากประเพณีและวัฒนธรรม และพรมแดนที่อยู่ติดกัน ทั้งยังนิยม เลียนแบบการบริโภคสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ ของไทย • การบริโภค: - สินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านมีอิทธิพลค่อนข้างมากในตลาดพม่า สปป.ลาว และกัมพูชา - สินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดกลุ่มนี้ยังไม่หลากหลายนัก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากไทย จีน และเวียดนาม - ผู้บริโภคทั้ง 3 ประเทศ ส่วนใหญ่ยังเน้นบริโภคสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน ขณะที่สินค้าฟุ่มเฟือยหรือสิ่งอำนวยความสะดวกยังได้รับความนิยมในวงจำกัด เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้สูง / นักการเมือง - ชาวลาวได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทางอาหารจากฝรั่งเศสมาพอสมควร อย่างไรก็ดี อาหารท้องถิ่นของชาวลาวยังคงเป็นที่นิยมโดยทั่วไป   ที่มา ”พฤติกรรมผู้บริโภคในอาเซียน”...ตัวแปรสำคัญที่ SMEs ไทยควรรู้ก่อนก้าวสู่ AEC ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กรกฎาคม 2554

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 136 A to Z

ว้าว !! ฉลาดซื้อ ขึ้นปีที่ 19 แล้ว สาวสะพรั่งกันทีเดียว โอกาสดีแบบนี้ เราเลยขอทบทวนเรื่องราวข่าวสารในแวดวงงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ฉลาดซื้อและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคหยิบจับ มาร้อยเรียงผ่านตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้ง 26 ตัว เพื่อเป็นอภินันท์แก่ทุกท่านนะคะ         Asbestos-แร่ใยหิน แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ ในกลุ่มแร่ใยหินสีขาว คือตัวที่ 50 ประเทศทั่วโลกได้เลิกใช้ไปแล้ว แต่ประเทศไทยยังมีใช้กันอยู่ แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ เป็นองค์ประกอบสำคัญในสินค้าชนิดต่างๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องปูพื้น ท่อซีเมนต์ และยังผสมในผ้าเบรกรถยนต์ ตลอดจนอุปกรณ์ทนไฟต่างๆ ด้วย ปัญหาที่ทำให้แร่ใยหินถูกห้ามในหลายประเทศคือ อนุภาคของแร่ใยหินสามารถฟุ้งกระจายสู่ปอด ทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ที่เกี่ยวกับปอด เช่น โรคปอดอักเสบจากแอสเบสตอส โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เมโสเทลีโอมา (Mesothelioma) ซึ่งเป็นโรคที่มีสาเหตุจากแร่ใยหินอย่างเจาะจง ถือเป็นภัยเงียบที่แฝงตัวมิดชิดอยู่ในบ้านเรือนของเรา   กรณีประเทศไทยยังต่อสู้กันอยู่ระหว่างฝ่ายผู้ผลิตที่พยายามให้ข้อมูลว่า การใช้แอสเบสตอสปลอดภัยกับกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายผู้บริโภคที่พยายามผลักดันให้เกิดนโยบายยุติการใช้และห้ามนำเข้าแร่ใยหิน จนเป็นเหตุให้ฝ่ายผู้ได้รับความเสียหายในเชิงธุรกิจจ้องจะฟ้องร้องนักวิชาการที่ทำงานเพื่อสังคม นับเป็นภัยอีกรูปแบบหนึ่งจากแร่ใยหินเช่นกัน   BMTA Bangkok Mass Transit Authority- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เว็บไซต์ของ ขสมก. ระบุว่าเขาเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทกิจการสาธารณูปโภค ภายใต้กระทรวงคมนาคม ที่เน้นให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยด้วยการจัดเก็บค่าโดยสารในราคาต่ำกว่าทุน เช่น รถเมล์ขาวแดง ต้นทุนต่อเที่ยวของเขาอยู่ที่ 933 บาท ก็เก็บเราแค่คนละ 6.50 บาท (หรืออาจไม่ต้องเสียเลย ถ้าเรี่ยวแรงและข้อเข่าดีพอที่จะไล่ตาม “รถเมล์ฟรี วิ่งหนีประชาชน” ได้ทัน) แต่ทั้งนี้ผู้มีรายได้น้อยจะต้องมีบ้านเรือนอยู่ในเส้นทางที่เขาจัดรถเมล์ให้ มิเช่นนั้นจะต้องนั่งรถตู้ที่ราคาไม่ต่ำกว่า 20 บาทต่อเที่ยว กรุงเทพฯ มี “มวลชน” ที่ต้องได้รับการขนส่งเกือบ 6 ล้านคน แต่การสำรวจ Asia Green City Index ซึ่งเป็นการประเมินเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเมืองใหญ่ในเอเชีย เมื่อปีที่แล้ว โดย the Economist Intelligence Unit พบว่ากรุงเทพฯ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเมืองหลวงที่มีถนนหนทางและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการขนส่งมวลชนอยู่ในระดับ “ต่ำกว่ามาตรฐาน” ในขณะที่กัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์เพื่อนบ้านของเราถูกจัดไว้ในกลุ่ม “สูงกว่ามาตรฐาน” เดียวกับกรุงโซล และฮ่องกงซึ่งถือได้ว่ามีระบบขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดในโลกไปแล้ว   Copyright ดีแน่ แต่ต้องสมดุล สหพันธ์ผู้บริโภคสากล หรือ Consumers International ได้ทำการสำรวจกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาใน 30 ประเทศ เมื่อต้นปี 2012 เพื่อตามหาประเทศที่ส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงความรู้ในงานอันมีลิขสิทธิ์มากที่สุด ผลการสำรวจพบว่า แชมป์ใหม่ปีนี้ได้แก่ อิสราเอล ซึ่งขยับขึ้นจากเดิม 3 อันดับ ตามด้วยเพื่อนบ้านของเราอินโดนีเซีย ที่ขยับขึ้นมา 5 อันดับจากปีก่อนหน้า และอินเดียซึ่งรั้งตำแหน่งที่ 3 เหมือนเดิม ตามด้วยนิวซีแลนด์และอาร์เจนตินา ประเทศเหล่านี้มีการตีความคำว่า “การใช้อย่างเป็นธรรม” ได้กว้างขวาง และเอื้อให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลความรู้มากที่สุด ส่วนประเทศไทยของเราที่แข็งขันเรื่องการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ปีนี้ได้ที่ 4 จากท้าย (ตกจากเดิมลงมา 1 อันดับ) แต่ยังดีกว่าอังกฤษ อาร์เจนตินา และจอร์แดน   Disaster-ภัยพิบัติ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายๆ คนคงมีมุมมองต่อภัยธรรมชาติที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะกับคน กทม. ที่อาจจะเคยคิดว่าภัยธรรมชาติเป็นเรื่องไกลตัว แต่ตอนนี้ทุกคนรับรู้แล้วว่ามันอยู่ใกล้ซะยิ่งกว่าใกล้ (ก็เล่นท่วมถึงห้องนอนไม่เรียกใกล้มากๆ แล้วจะเรียกว่าอะไร) ปีนี้ก็ยังคงต้องลุ้นกันอยู่ว่าน้ำจะมาอีกมั้ย ขณะที่การจ่ายเงินชดเชยเยียวยาผู้ประสบภัยก็ยังมีปัญหาอย่างที่เห็นเป็นข่าว   แต่ไม่ว่าจะยังไงเราทุกคนก็ควรเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมรับกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็มีเว็บไซต์ไว้ให้เราสามารถติดตามเฝ้าระวังหรือหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (www.ndwc.go.th), ศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (www.thaiflood.com), มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (www.paipibut.org) และ ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอุทกภัย (www.flood.rmutt.ac.th)   Eco Design-ดีไซน์เพื่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ Eco Design  (Economic & Ecological Design) หรือผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของมวลมนุษยชาติ Eco Design เป็นสินค้าที่พึ่งพาหรือรบกวนสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งลดการใช้พลังงาน ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติหรือได้จากขบวนการรีไซเคิล เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานด้านอย่างคุ้มค่า ง่ายต่อการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง ซึ่งหลายประเทศก็เริ่มให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ Eco Design  กันมากขึ้น เพราะนอกจากจะดีต่อโลกของเราแล้ว ความเป็น Eco Design  ยังเป็นการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบรรดาผู้ผลิตด้วยเช่นกัน สำหรับบ้านเราสินค้า Eco Design อาจยังไม่มีให้เห็นหรือเป็นที่รู้จักมากนัก แต่ก็มีความพยายามในการส่งเสริม อย่างเช่นการจัดการประกวด Thailand Eco Design Award   โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่พร้อมให้ความรู้และคำแนะนำเรื่อง Eco Design แก่บรรดาผู้ผลิตที่อยากช่วยโลก   Ft-ค่าไฟฟ้าผันแปร เดือน มิ.ย -ส.ค 55 จะเก็บเพิ่ม 30 ส.ต./หน่วย ค่าเอฟทีในบิลค่าไฟเคยสังเกตกันไหม ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนก็หมายความว่า เราต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มกันนะพี่น้อง บ้านใครใช้กี่หน่วยก็เอา 0.3 คูณเข้าไป นั่นคือราคาที่ต้องจ่ายเพิ่ม เช่นใช้ไฟอยู่ 300 หน่วย ก็จ่ายเพิ่มจากเดิมอีก 90 บาท ค่าเอฟทีคืออะไร ขอเรียกมันง่ายๆ ว่าการคิดกำไรสองชั้นของ(พ่อค้า)ไฟฟ้า ปกติเวลาใครจะขายสินค้าอะไรส่วนใหญ่เขาก็เอาต้นทุนคือพวกวัตถุดิบต่างๆ มาบวกกับค่าประกอบการ เช่น ราคาทุน 10 บาท ค่าประกอบการ 3 บาท แล้วขายในราคา 15 บาท คือเป็นกำไรสุทธิ 2 บาท แต่เอฟทีคือ เอาค่าประกอบการมาคิดใหม่ ให้ผันแปรไปได้ตามสถานการณ์ เช่น ราคาทุน 10 บาท กำไรสุทธิ 2 บาท แต่ค่าประกอบการ 3 บาทอาจไม่ใช่แล้ว เพราะจะผกผันไปได้ตลอด ดังนั้นราคาขายจริง อาจเป็น 15 บาท 16 บาท หรือ 18 บาทก็ได้ ถือเป็นกำไรชั้นที่สอง เรียกว่าพ่อค้าไม่ต้องรับผิดชอบอะไรกับค่าประกอบการเลย สินค้าอื่นทำแบบนี้ไม่ได้หรอก แต่กิจการไฟฟ้ามันถูกผูกขาดทำได้สบายอยู่แล้ว ค่าเอฟทีในบิลค่าไฟจะผันแปรไปตามต้นทุนของเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้า ซึ่งตอนนี้ ร้อยละ 70 เป็นก๊าซธรรมชาติ ที่ต้องซื้อจาก ปตท. เท่านั้นผูกขาดกันไปอีกชั้น ซื้อถูกก็ไม่ได้ เห็นแต่ซื้อแพงตลอด แต่การไฟฟ้าเขาไม่สนใจหรอกเพราะภาระตรงนี้มันส่งต่อมาที่ผู้บริโภคในรูปแบบของค่าเอฟทีแล้วไง แว่วว่าเดือน ก.ย. 55 ก็จะปรับเพิ่มอีก 8 สตางค์ ซ้ำเติมกันให้เต็มที่ท่าน อย่าได้เกรงใจ   GMO-พืชดัดแปรพันธุกรรม พืชดัดแปรพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ (Genetically Modified Organisms- GMO) ประเทศไทยเราไม่อนุญาตตามกฎหมายให้มีการปลูกทดสอบในพื้นที่เปิดและผลิตจีเอ็มโอเชิงพาณิชย์ แต่การสำรวจ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 ทั้งหมด 319 ตัวอย่าง ก็ยังพบการปะปนพืชจีเอ็มโอในฝ้าย 9 ตัวอย่าง ในมะละกอ 29 ตัวอย่าง ซึ่งเมล็ดพันธุ์พืชจีเอ็มโอยังถูกผูกขาดโดยบรรษัทข้ามชาติ ถ้าเมล็ดพันธุ์เหล่านี้หลุดออกไปอยู่ในมือเกษตรกรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เจ้าของสิทธิบัตรย่อมมีสิทธิฟ้องร้องเกษตรกรได้ เรื่องฉลากจีเอ็มโอของกระทรวงสาธารณสุข  ได้กำหนดให้อาหารสำเร็จรูปที่มีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดอยู่ใน 3 ส่วนประกอบแรกและถั่วเหลืองหรือข้าวโพดนั้นมีน้ำหนักตั้งแต่ 5% ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์ขึ้นไป ถ้าตรวจพบจีเอ็มโอตั้งแต่ 5% ขึ้นไปถึงจะต้องแสดงฉลาก แต่บ้านเราต้องตาดีมากๆ ถึงจะเห็นฉลาก วันหนึ่งจีเอ็มโออาจจะเป็นม้าโทรจันเข้ามายึดครองทรัพยากรชีวภาพการเกษตร และความมั่นคงทางทางอาหารของไทย เราจึงต้องสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่าย   HPV-วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ไวรัสก่อโรคมะเร็งปากมดลูกมีหลายร้อยสายพันธุ์ แต่ที่พบบ่อยนั้น มีสองสายพันธุ์ที่เขาทำวัคซีนออกมาใช้และได้ผลค่อนข้างดี ปัญหาคือ ถ้าจะฉีดควรฉีดตั้งแต่เด็กๆ ก่อนจะมีประสบการณ์ทางเพศสัมพันธ์ ถ้าโตแล้วและผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ผลในการป้องกันจะน้อยลงไป ปัญหาคือ เวลาเขาโฆษณาให้ฉีดเพื่อป้องกัน เจ้าของวัคซีนหรือโรงพยาบาลบางแห่ง มักสร้างข้อมูลผิดๆ คือ ทำให้เชื่อว่าป้องกันได้ผล 100% และตลอดชีวิต ซึ่งไม่จริง วัคซีนสองตัวที่ว่าดีข้างบนนั้นก็เพิ่งเก็บข้อมูลกันไปสิบกว่าปีเท่านั้น ตอนนี้ข่าวว่า ท่านรัฐมนตรีสาธารณสุขจะซื้อวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมาฉีดให้เด็กไทย ซึ่งดูเหมือนจะใจเร็วด่วนได้ไปนิด เทียบกันแล้วอาจได้ไม่คุ้มราคาเพราะบริษัทเสนอราคาแพงเกินไป และใช่ว่าผู้หญิงทุกคนจะต้องเป็นมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งท่านรัฐมนตรีก็ให้ข่าวชวนสร้างความเข้าใจผิดว่า ฉีดแล้วจะป้องกันได้ตลอดชีวิต คงต้องระวังหน่อยนะท่าน เกิดฉีดไปแล้วเป็นขึ้นมาภายหลังล่ะก็ ได้ฟ้องกันวุ่นวายแน่ เพราะโอกาสติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ตัวที่เป็นวัคซีนก็เยอะเช่นกัน   ดังนั้นใครเคยฉีดวัคซีนไปแล้วอย่าเพิ่งวางใจ ควรไปตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแป็ปสเมียร์ (pap smear) เช่นเดิมเพราะยังมีโอกาสอีกในการเกิดมะเร็งปากมดลูก   Instagram-อินสตาแกรม ภาพหนึ่งภาพมีค่าเท่ากับกี่ล้านคำพูดนั้นยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่ที่แน่ๆ หนึ่งโปรแกรมแชร์ภาพถ่ายนั้น มีมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปีตั้งแต่อินสตาแกรมเปิดตัวมา โปรแกรมนี้มีผู้ใช้งานแล้วกว่า 31 ล้านคน แรกก็ใช้กันเฉพาะในหมู่ผู้มีไอโฟน แต่ต่อมาก็ขยายไปยังโทรศัพท์อื่นๆ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ว่ากันว่าโปรแกรมนี้ใช้ง่าย  แถมได้ภาพถ่ายสวยงามประหนึ่งผลงานมืออาชีพ ปลอดโฆษณาและการอัพเดทสถานะ ที่สำคัญเขาเคยได้ตำแหน่ง แอพออฟเดอะเยียร์ มาแล้ว เรียกว่าเติบโตเร็วจนยักษ์ใหญ่อย่างเฟสบุ๊ครู้สึกร้อนๆหนาวๆ จนต้องรีบควักกระเป๋าซื้อหามาครอบครองให้ได้ก่อนใคร ด้วยราคาสูงถึง 30,000 ล้านบาท สาวกดั้งเดิมของอินสตาแกรม เริ่มวิตกว่าพื้นที่จัดแสดงภาพถ่ายฝีมือประณีตของตัวเอง อาจถูกโฆษณาเข้ามาบุกรุก หรืออาจจะเป็นแขกรับเชิญรายการ “ล้วงลับตับแตก” โดยไม่รู้ตัว หรือแย่ไปกว่านั้นคือกลัวว่าเฟสบุ๊คจะปิดการใช้โปรแกรมดังกล่าวไปดื้อๆ นั่นเอง   Jeans-ยีนส์ ฉลาดซื้อเคยลงบทความเรื่อง CSR กางเกงยีนส์ยี่ห้อดัง ที่นำเสนอเรื่องราวกว่าจะเป็นกางเกงยีนส์สักตัวต้องผ่านหลากหลายขั้นตอน ใช้ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ใช้ทั้งพลังงาน  ใครจะคิดว่าการผลิตกางเกงยีนส์ก็ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อนด้วยเหมือนกัน งานนี้กางเกงยีนส์เลยต้องขอทำหน้าที่กู้โลกกะเขาบ้าง ด้วยการแปลงโฉมเป็น “Eco Jean” หรือ “กางเกงยีนส์รักษ์โลก” เมื่อ ลีวายส์ (Levi’s) แบรนด์กางเกงยีนส์ชื่อดัง ผลิตกางเกงยีนส์รุ่นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยควบคุมทุกขั้นตอนการผลิตให้รบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด เริ่มตั้งแต่การใช้ฝ้ายที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์มาผลิตกางเกง ใช้เปลือกมะพร้าวมาทำกระดุม สีที่ใช้ตกแต่งก็เป็นสีธรรมชาติ ส่วนป้ายที่บอกข้อมูลและราคาสินค้าแน่นอนว่าทำมาจากกระดาษรีไซเคิล ถึงเวลาเหล่าแฟชั่นตัวแม่แสดงพลังแก้ปัญหาโลกร้อนแล้ว...   Korea Fever-เคป็อป “เบื่อมั้ย?...เกาหลี” คำถามนี่อาจจะทั้งโดนใจและขัดใจหลายๆ คน แต่ก็ต้องยอบรับว่า “เกาหลีฟีเวอร์” มีอิทธิพลกับผู้บริโภคไทยในระดับที่มากถึงมากที่สุด ไม่ใช่แค่เพลงกับละครเท่านั้น ความเป็นเกาหลียังแพร่กระจายอยู่ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องอาหารการกิน เรื่องความสวยความงาม หรือแม้แต่การท่องเที่ยว แถมไม่ใช่แค่สินค้าจากเกาหลี (หรือแอบอ้างว่าเป็นเกาหลี) เท่านั้นที่ได้รับความนิยม เพราะเดี๋ยวนี้สินค้าไทยแท้ๆ ยังต้องจ้างดารา – นักร้องเกาหลีมาเป็นพรีเซนเตอร์ หวังเกาะกระแสเกาหลีฟีเวอร์ ทั้งๆ ที่สินค้าเหล่านั้นทำออกมาขายคนไทย แต่ทำไมต้องให้ดาราหรือนักร้องเกาหลีมาการันตีความดีของสินค้าเหล่านั้นก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ไม่ใช่จะมาบอกว่าดาราหรือสินค้าเกาหลีไม่ดี แต่อยู่ที่เราเลือกมองเลือกใช้อย่างไรมากกว่า ฝากถึงผู้ผลิตหรือคนที่นำเข้าสินค้า อย่าใช่แค่คำว่าเกาหลีมาเป็นจุดขาย เพราะของจะดีหรือไม่ดีเขาดูกันที่คุณภาพ Labeling – ฉลาก เป็นด่านหน้า ที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่จำเป็นของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ แบ่งประเภทของฉลากตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มฉลากสินค้าทั่วไป และ กลุ่มฉลากยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ฉลากอาหารกลุ่มแรกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ขณะที่กลุ่มที่สองอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยมีจุดร่วมทางกฎหมายคือได้กำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจที่จะต้องให้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ โดยผู้บริโภคสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาเลือกซื้อหรือใช้สินค้าได้อย่างปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด ดังนั้นข้อความที่ปรากฏในฉลาก จึงต้องตรงต่อความจริง ไม่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า และจะต้องเป็นภาษาไทย   Made in China-เมดอินไชน่า กว่าร้อยละ 50 ของรองเท้า เสื้อผ้า เครื่องใช้ในบ้าน ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้แต่ของประดับต้นคริสต์มาส ล้วนแล้วแต่เดินทางออกจากประเทศจีนทั้งสิ้น แต่ร้อยละ 89 ของสินค้าไฮเทคที่จีนส่งออกไปขายต่างประเทศนั้น ผลิตจากโรงงานที่เจ้าของเป็นนายทุนต่างชาติ (มีไม่น้อยที่เป็นคนเกาหลีและไต้หวัน) แม้แรงงานจีนจะมีงานทำ มีรายได้ แต่ผลกำไรส่วนใหญ่นั้นตกอยู่ที่คนอื่น เช่น ไอโฟน 4S เครื่องหนึ่งที่มีต้นทุนชิ้นส่วนและการประกอบไม่เกิน 6,000 บาท (ค่าแรงในการประกอบต่อหนึ่งเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 50 บาท) แต่เมื่อมาถึงมือผู้บริโภค รวมค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ ค่าโฆษณา ฯลฯ แล้ว ก็อยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท ทั้งนี้หลังจากตกเป็นข่าวบ่อยๆ เพราะมีคนงานฆ่าตัวตายอยู่เนืองๆ โรงงานฟอกซ์คอน (ซึ่งเจ้าของคือมหาเศรษฐีชาวไต้หวัน) ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ให้กับแบรนด์ชั้นนำต่างๆ รวมถึง Apple ประกาศว่ากำลังพิจารณาขึ้นค่าแรงจากปัจจุบัน 2,200 หยวน เป็น 4,400 หยวน (ประมาณ 22,000 บาท) ต่อเดือน ในปีหน้าด้วย อันนี้ไม่รู้ว่าพูดเป็นนัยๆ ให้ทราบโดยทั่วกันว่าต่อไปผลิตภัณฑ์พวกนี้จะราคาแพงขึ้นด้วยหรือเปล่า   19 -ฉลาดซื้อขึ้นปีที่ 19 ตั้งแต่พิมพ์ฉบับแรกเมื่อมิถุนายน 2537 ฉลาดซื้อเราลงเรื่องซ้ำไม่มาก เพราะปัญหาผู้บริโภคบ้านเรามันเกิดได้กับทุกสินค้า ส่วนเรื่องที่ลงซ้ำก็มักมีพัฒนาการปัญหาใหม่ๆ ให้วุ่นวายชี้แจงแถลงไขกันไม่หยุด อย่างขนมเด็กที่มีปัญหาเรื่องฉลากมาตั้งแต่เริ่มฉลาดซื้อ ผ่านไปสิบแปดปี ก็ยังมีปัญหาฉลากเหมือนเดิม พร้อมๆ กับการเติบโตของเทคโนโลยี สินค้าหลายชนิดถูกยกระดับการผลิตให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือหลอกหากินกับผู้บริโภคได้อย่างน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย ดังนั้นแล้วจะซื้ออะไรก็ขอให้ใส่ใจหาความรู้ให้มาก รู้ให้ทัน อย่าใจเร็วด่วนได้ ฉลาดซื้อกันนะคะ Olympic-โอลิมปิก มีใครก็ไม่รู้บอกว่า “โอลิมปิกเป็นกีฬาของมวลมนุษยชาติ” ในเมื่อโอลิมปิกเป็นกีฬาของทุกคนบนโลก มหานครลอนดอนจึงมีมาตรการสีเขียว แบบว่าจัดเต็มไม่น้อยหน้าครั้งที่ผ่านๆ มา ประมาณการว่ามหกรรมโอลิมปิก 2012 ในช่วง 17 วันของการแข่งขัน จะมีผู้เข้าชมการแข่งขันราว 6.5 ล้านคน ซึ่งจะก่อให้เกิดขยะจากบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารถึง 3,300 ตันจะก่อให้เกิดขยะ 8,250 ตัน และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ 1.1 ล้านตัน คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค 2012 ได้ตั้งเป้าว่าในช่วง 6 สัปดาห์ของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคจะต้องไม่มีขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ และขยะที่ถูกทิ้งอย่างน้อย 70% จะต้องสามารถนำไป reuse หรือ recycle หรือต้องย่อยสลายได้ ส่วนบริษัทน้ำดำ สปอนเซอร์รายใหญ่ถึงกับให้คำมั่นสัญญาว่า ขวดพลาสติกแบบ PET ทุกใบที่ขายในการแข่งขัน ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนราว 80 ล้านใบ จะถูกนำมา recycle เป็นขวดใบใหม่    นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกระดาษใส่เครื่องดื่ม กระดาษห่ออาหารประเภท Fast Food และกล่องใส่แซนวิช จะต้องสามารถย่อยสลายได้   ก็ลองดูกันต่อไปว่าหลังจบการแข่งขันจะเป็นอย่างไร  …..ให้กำลังใจเจ้าภาพมา ณ โอกาส นี้   Photoshop-โฟโต้ชอป เดี๋ยวนี้มีเครื่องสำอางที่โฆษณาว่าช่วยดูแลผิวหน้า ลบเลือนริ้วรอย คืนความอ่อนเยาว์ เพิ่มความขาวกระจ่างใส ฯลฯ ถึงจะอยากสวยอยากใสแค่ไหน สาวๆ ฉลาดซื้อก็อย่าได้ปักใจเชื่อเด็ดขาด เพราะสิ่งที่เห็นในโฆษณาอาจเป็นเพียงภาพมายา เดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็ถูกทำให้ดูดีได้ด้วยเทคนิคของโปรแกรมตกแต่งภาพยอดนิยมอย่าง “โฟโต้ชอป” (Photoshop) รอยย่น รอยตีนกา สิว ฝ้า จุดด่างดำ ของนางแบบในโฆษณา ถูกทำให้หายไปในพริบตา ไม่ใช่เพราะสรรพคุณของตัวผลิตภัณฑ์ แต่เป็นเพราะความมหัศจรรย์ของโฟโต้ชอปล้วนๆ ที่ประเทศอังกฤษ หน่วยงานมาตรฐานการโฆษณาของสหราชอาณาจักร เคยสั่งแบนโฆษณาแป้งรองพื้น ลังโคม (Lancome) ของเครื่องสำอางยี่ห้อดังอย่าง ลอริอัล (L’oreal) เพราะนักแสดงสาว จูเลีย โรเบิร์ต ซึ่งเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีใบหน้าที่เรียบเนียนเกินจริงดูแล้วไม่สมวัยซึ่งเกิดจากการรีทัชลบริ้วรอยออกไป แล้วแบบนี้ยังจะเชื่ออยู่มั้ยว่าใช้แล้วสวยสาวขาวใส ก็ขนาด จูเลีย โรเบิร์ต ยังต้องพึ่งโฟโต้ชอป!!!   Queue-คิว การเข้าคิวก็เหมือนการสื่อสารอย่างหนึ่ง ผู้คนพร้อมจะเข้าไปยืนในคิวก่อนที่จะรู้ด้วยซ้ำว่ากำลังจะมาซื้อสินค้าอะไร  ถ้าเป็นของกินแล้วคิวยาว แปลว่าของร้านนี้เขาคงอร่อยมากแน่ๆ คุณรู้หรือไม่ คนที่ไหนชอบเข้าคิวมากที่สุด  เฉลยว่าเป็นคนรัสเซีย ซึ่งว่ากันว่าสนุกกับการเข้าคิวมากกว่าการซื้อของเสียอีก เมื่อร้านฟาส์ตฟู้ดแห่งหนึ่งเปิดตัวที่มอสโควในปี 1990 นั้นมีคนมาเข้าคิวรอล่วงหน้านานกว่าคอนเสิร์ตเลดี้ กาก้า ที่บ้านเราอีก มีผลการสำรวจที่ระบุว่า รัสเซียเป็นที่ ที่คิวยาวที่สุดและขยับช้าที่สุดในยุโรป โดยเฉลี่ยแล้วคิวที่นี่ใช้เวลารอประมาณ 27 นาที ตามด้วยอันดับ 2 คืออิตาลี ที่ต้องเข้าคิวกัน 14 นาที ส่วนที่แทบจะไม่ต้องรอกันเลยคือ สวีเดน ที่เวลาเฉลี่ยในการเข้าคิวอยู่ที่ 2 นาทีเท่านั้น คนรัสเซียเขาเลยนิยมเทครัวกันไปซื้อของ ไม่ใช่เพราะต้องการความอบอุ่น แต่เพื่อจะได้กระจายกำลังกันไปเข้าคิวอื่นๆ เป็นการประหยัดเวลานั่นเอง เหตุที่คิวต่างๆ ยาวขึ้นนั้นเพราะภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลง ทำให้สถานประกอบการต่างๆ ลดพนักงาน เพื่อลดต้นทุนนั่นเอง โดยเฉพาะสถานประกอบการของรัฐ ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคาร ที่ขายตั๋วรถไฟ และร้านรวงทั่วไป   Rich-ความร่ำรวย คนไทยส่วนใหญ่เป็นคนจน เชื่อมั้ย?? ถ้าดูจากจำนวนผู้ที่มีรายได้ที่ต้องแสดงแบบเพื่อเสียภาษี เมื่อปี 2554 มีเพียง 11.7 ล้านคน แต่จ่ายภาษีจริงหลังหักลดหย่อนเหลือแค่ 2.3 ล้านคน  (รายงานผลสำรวจของสำนักงานสถิตแห่งชาติในปี 2553 บอกว่าแรงงานของไทยทั้งหมดมีประมาณ 38 ล้านคน เป็นมนุษย์เงินเดือน 17 ล้านคน และกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น หมอ วิศวกร ก่อสร้าง เกษตรกร แท็กซี่ หาบเร่แผงลอยอีก 21 ล้านคน) มองง่ายๆ มนุษย์ที่มีเงินเดือนเกิน 20,000 บาทขึ้นไปถึงเข้าข่ายเสียภาษี คือ 2.3 ล้านคนเท่านั้น เลยมีหลายคนให้ข้อสังเกตว่า อุตสาหกรรมหลายอย่างที่จับกลุ่มคนชั้นกลางจะไม่เติบโตมากในประเทศนี้ แต่กลุ่มอุตสาหกรรมที่สร้างเงินมหาศาลให้กับเจ้าของกิจการจะเป็นสินค้าสำหรับคนรากหญ้าหรือผู้ใช้แรงงาน ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มชูกำลัง ลองนึกถึงเศรษฐีอันดับต้นๆ ในประเทศนี้สิ ไม่ว่าจะเป็นคุณเฉลียว อยู่วิทยา(ที่เพิ่งเสียชีวิตไป) หรือคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ทั้งสองล้วนได้รับแรงสนับสนุนอย่างดีจากคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ จนติดอันดับเศรษฐีไม่เฉพาะของไทยแต่ของโลกเลยทีเดียว ดังนั้นถ้าอยากรวยรู้แล้วใช่ไหมว่าต้องขายอะไรกับใคร Sport-กีฬา 1 ในหลายรสชาติของการเชียร์กีฬาอย่างมีสีสัน  และสนุกไปกับเกม เสมือนเข้าไปนั่งเชียร์อัพให้กำลังใจทีมโปรดในสนาม ก็คือ การมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการฝึกร้องเพลงประจำทีม หรือการซื้อหาชุดกีฬาทีมมาสวมใส่ ในศึกยูโร 2012  ก็เช่นกันหลายๆ คนที่ซื้อหาเสื้อทีมชาติที่โปรดปรานมาครอบครองไว้แล้ว อาจจะร้อนๆ หนาวๆ ถ้ารู้ข่าวที่องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคของยุโรป(บีอียูซี)  ออกมาแฉผลศึกษาเสื้อทีมฟุตบอล ในศึกยูโร 2012 ว่าเต็มไปด้วยสารเคมีอันตรายต่อมนุษย์  โดยมีเสื้อทีมฟุตบอล 9 ชาติ มีส่วนผสมของสารเคมีที่ใช้ในการผลิตอยู่ในระดับน่าเป็นห่วง และมี 6 ชาติ   จากจำนวนนั้น มีสารตะกั่วและโลหะหนักผสมอยู่ โดยในเสื้อทีมสเปน และ เยอรมนี มีสารตะกั่วสูงมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ในเสื้อทีมชาติสเปนและอิตาลี  พบสาร โนลิเฟโนล ซึ่งส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ และถูกแบนจากการใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียเพราะมีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเสื้อทีมโปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์ มีสารนิคเกิล อยู่ด้วย ขณะที่เสื้อทีมโปแลนด์ เจ้าภาพร่วมอาการหนักกว่าเพื่อน เนื่องจาก มีส่วนผสมของ ออร์แกโนติน สารเคมีที่มีผลต่อระบบประสาท ในระดับสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จนองค์กรเพื่อผู้บริโภคของยุโรป เห็นว่า ควรจะถูกแบนจากร้านค้าโดยเด็ดขาด แฟนฟุตบอลจำนวนมาก ต้องจ่ายเงินมากกว่า 90 ยูโร หรือประมาณ 3,600 บาท ในการซื้อหาเสื้อทีมโปรดมาสวมใส่  เลยไม่รู้จะจะดีใจแทนคนไทยหรือไม่ที่ไม่ต้องเสี่ยงสารพิษ   แถมจ่ายเงินน้อยกว่าเพราะซื้อเสื้อบอลก็อปเกรดเอ จากร้านข้าง ๆ สนามศุภฯ ดี   Traffic Light Labeling – ฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจร เป็นฉลากโภชนาการแบบที่มีต้นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ พิสูจน์แล้วว่า ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกอาหารที่ตนต้องการได้อย่างรวดเร็วเพียงการมองแค่ครั้งเดียวสำหรับผู้บริโภคทุกกลุ่มโดยเฉพาะเด็กและผู้ปกครองเด็ก ฉลากโภชนาการชนิดนี้ได้กำหนดให้แสดงคุณค่าสารอาหารจากกลุ่มสารอาหารที่มักก่อให้เกิดปัญหาต่อร่างกายเมื่อได้รับในปริมาณมากเป็นประจำ 5 รายการ ได้แก่ ค่าพลังงาน (Energy/ Calories) ไขมัน (Fat) ไขมันอิ่มตัว (Saturates Fat) น้ำตาล (Sugar) และ เกลือ (Salt) บนส่วนหน้าของฉลากอาหาร และกำหนดให้แสดงค่าสารอาหารโดยระบุปริมาณพร้อมใช้สีของสัญญาณไฟจราจร ได้แก่ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง เป็นสัญลักษณ์ หมายถึงคุณค่าทางโภชนาการ ต่ำ ปานกลาง สูง  เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจ เครือข่ายผู้บริโภคเราก็เคยเคลื่อนไหวให้ อย. เอาฉลากเขียวเหลืองแดงมาใช้กับขนม แต่ไปๆ มาๆ กลายเป็นฉลากจีดีเอ ทรงกระบอกข้าวหลามที่เข้าใจยากกว่าไปได้   Used-มือสอง ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ปี 2553 ระบุ ประเทศไทยของเรามีขยะเกิดขึ้นมากถึงวันละ 41,532 ตัน ต้องใช้ทั้งกำลังคนและงบประมาณในการจัดเก็บเป็นจำนวนมาก ซึ่งมองย้อนกลับไปดูสถิติที่ผ่านมา 5 ปี ปริมาณขยะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แถมขยะหลายชนิดก็ยากแก่การย่อยสลาย ทั้ง กระป๋องอะลูมิเนียม ถุงพลาสติก โฟม ขยะเหล่านี้จะอยู่คู่โลกของเราไปอีกหลายร้อยปี ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องช่วยกันลดปริมาณขยะ เริ่มง่ายๆ ด้วยการใช้ของทุกอย่างที่เราซื้อมาอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซื้อเท่าที่จำเป็น รู้จักนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ อันไหนถ้าไม่ใช้แล้วจริงๆ ก็แบ่งปันให้คนอื่น แปรเป็นของมือ 2 หรือเอาไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ทำให้ของทุกอย่างมีค่ามากกว่าการเป็นแค่ขยะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 130 อาหารต้องมาก่อนเสมอ

  “หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา เซเว่น อีเลฟเว่น” สโลแกนนี้ฝังอยู่ในหัวคนไทยจำนวนมาก และเขาก็ทำได้จริงเสียด้วย ผู้คนจำนวนไม่น้อยชื่นชมกับข้าวกล่อง ไส้กรอก ขนมจีบซาลาเปา ในร้านสะดวกซื้อแห่งนี้ แต่ทว่า ในช่วงวิกฤตอุทกภัยกว่าสองเดือนที่ผ่านมา ให้ตายเถอะ เข้าไปเซเว่นไหน ก็หาอะไรกินแทบไม่ได้ แม้แต่น้ำเปล่าสักขวด มันเกิดอะไรขึ้น แต่พลันที่หันหลังจากร้านที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมงออกมาด้านนอก ร้านค้าของชาวบ้านธรรมดาๆ กลับมีน้ำดื่มวางขายให้ดื่มกินชื่นใจ พร้อมกับข้าวสารอาหารแห้งและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่หายากยิ่งกว่าทองคำในช่วงเวลานั้น มันเกิดอะไรขึ้นสภาพขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ภาพชั้นวางสินค้าที่ว่างเปล่า โดยเฉพาะในห้างร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ซูเปอร์มาร์เก็ตระดับยักษ์ ตลอดจนร้านสะดวกซื้อที่ว่ามีการจัดการกับระบบการกระจายสินค้าที่ยอดเยี่ยม  ทำไมจึงเน่าสนิทเมื่อเกิดภาวะวิกฤตขึ้นในบ้านเมืองแห่งนี้ ระบบอาหารของประเทศอยู่ในมือคนจำนวนน้อยที่ตัวอ้วนกลม ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา วัฒนธรรมการกินของเราเปลี่ยนไปมากโดยเฉพาะคนเมืองที่วิถีชีวิตเร่งรีบ คนจำนวนมากพึ่งพิงการซื้อสินค้าโดยเฉพาะอาหารจาก Modern Trade ไม่ว่าจะเป็นไฮเปอร์มาเก็ตขนาดยักษ์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ดิสเคาน์สโตร์และร้านสะดวกซื้อที่เปิดอยู่ทุกมุมเมือง แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า สินค้าที่ขายในห้างร้านเหล่านี้มากกว่า 50% (บางห้างก็ 100 %) เป็นอาหาร ถ้ามองในระดับโลก เราก็จะพบว่าห้างขนาดใหญ่อย่าง ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต ดิสเคาสโตร์ ร้านสะดวกซื้อ เป็นแหล่งกระจายอาหารหลัก ไฮเปอร์มาร์เก็ต  35 % เป็นอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้ากว่า 70  % เป็นอาหาร  ดิสเคาน์สโตร์ 69 % เป็นอาหาร ร้านสะดวกซื้อ 58 %เป็นอาหาร ซึ่งการค้าอาหารในปัจจุบันถูกครอบครองในมือบริษัท  15  บริษัทของโลกนี้เท่านั้น   Leading retailers in global food market sales, by type of retail outlet, 2008 Global sales rank Supermarkets Hypermarkets Discounters   1 Kroger Co (United States) Wal-Mart Stores Inc (United States) Aldi Group (Germany)   2 Safeway Inc (United States) Carrefour SA (France) Schwarz Beteiligungs GmbH (Germany)   3 Tesco Plc (Uniked Kingdom) Tesco Plc (United Kingdom) Rewe Group (Germany)   4 Royal Ahold NV (Netherlands) Auchan Group SA (France) Supervalu Inc (United States)   5 Edeka Zentrale AG & Co KG (Germany) E Leclerc (France) Carrefour SA (France)   6 Rewe Group (Germany) J Sainsbury Plc (United Kingdom) Wal-Mart Stores Inc (United States)   7 Delhaize Group SA (Belgium) Casino Guichard-Perrachon SA (France) Tengelmann Group, The (Germany)   8 ITM Entreprises SA (France) Schwarz Beteiligungs GmbH (Germany) George Weston Ltd (Canada)   9 Carrefour SA (France) Royal Ahold NV (Netherlands) Dansk Supermarked A/S (Denmark)   10 Woolworths Ltd (United States) Metro AG (Germany) X5 Retail Group NV (Russia)   11 Supervalu Inc (United States) Target Corp (United States) Edeka Zentrale AG & Co KG (Germany)   12 Publix Super Markets Inc (United States) Meijer Inc (Japan) Reitan-Gruppen AS (Norway)   13 Internationale Spar Centrale BV (Netherlands) Shinsegae Department Store Co Ltd (South Korea) Norma Lebensmittel Filialbetrieb GmbH & Co KG (Germany)   14 Mercadona SA (Spain) Systeme U Central Nationale SA (France) Tander ZAO (Russia)   15 Casino Guichard-Perrachon SA (France) Louis Delhaize SA (Belgium) Jerónimo Martins SGPS SA (Portugal)   Sales share of top 15 30.6 percent 73.5 percent 68.8 percent     Source: Euromonitor, 2008.   การรุกคืบเข้ามาเป็นผู้ป้อนอาหารให้กับผู้คนจำนวนมาก แน่นอนว่าร้านค้ารายย่อย ร้านโชว์ห่วย และบรรดาพ่อค้าแม่ค้าตลาดสด คือกลุ่มคนแรกๆ ที่ต้องล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถแข่งขันกับความทันสมัยด้วยเทคโนโลยีและทุนมหาศาลของค้าปลีกขนาดยักษ์ได้ และผู้บริโภคคือกลุ่มถัดมา ที่ค่อยๆ ถูกครอบงำวิถีการกินอยู่ อย่างช้าๆ ปรากฏการณ์ที่ผู้คนจำนวนมากแห่แหนกันไปไฮเปอร์มาเก็ตต่างๆ เพื่อระดมซื้อสินค้ามากักตุนยามวิกฤติหรือเดินเข้าร้านสะดวกซื้อเพื่อจะหาน้ำกินสักขวด สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคเราคิดอะไรไม่ออก และเคยชินกับการพึ่งพิงค้าปลีกขนาดยักษ์ร้านสะดวกซื้อทันสมัยมากกว่าจะอุดหนุนร้านค้าหรือโชว์ห่วยใกล้บ้าน ยิ่งเจาะไปที่รายการสินค้าที่ซื้อมาเพื่อสะสมเป็นเสบียง ยิ่งบอกชัดถึงจินตนาการที่ตีบตันของผู้บริโภค คิดอะไรไม่ออก นอกจาก มาม่ากับปลากระป๋อง ผลก็คือ ทั้งสองสิ่งหายากยิ่งกว่าทองคำ ในห้วงเวลาวิกฤต   ระบบกระจายอาหารย้ายไปอยู่ในมือค้าปลีกขนาดยักษ์ได้อย่างไร ในอดีตเมื่อใครสักคนผลิตอาหารอะไรได้ ก็จะมีพ่อค้าขายส่งหรือที่เรียกว่า ยี่ปั๊ว มารับซื้อสินค้าแล้วไปกระจายยังร้านค้าปลีกเล็กๆ ที่ฝังรากอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ ยี่ปั๊วจะรู้ว่าสินค้าอะไรเป็นที่ต้องการของร้านไหน การค้าขายอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจกันค่อนข้างสูง  ยี่ปั๊วที่มีสมาชิก(ร้านค้า) อยู่ในมือจำนวนมาก ก็จะมีอำนาจในการต่อรองกับผู้ผลิตสูง สามารถขอส่วนลดของแถมหรือเครดิตกับผู้ผลิตได้ ต่อมาโครงสร้างสังคมเปลี่ยน ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ รุดหน้าไปเรื่อยๆ เริ่มมีห้างร้านขนาดใหญ่ อย่างที่เราเรียกว่า ห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้น ห้างฯ ที่ยิ่งกระจายตัวออกไปมากเท่าไหร่ คนก็นิยมเข้าไปซื้อหาสินค้าในห้างมากขึ้น เพราะเหตุปัจจัยหลายอย่าง เช่น ราคาที่มีโปรโมชั่นพิเศษ สินค้าที่ดูคัดเกรดมาอย่างดี มีแอร์เย็นฉ่ำหรือพนักงานต้อนรับที่อัธยาศัยดี ทำให้ห้างสรรพสินค้าเริ่มเข้ามามีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตมากกว่ายี่ปั๊วในระบบการค้าแบบเก่า เพราะเป็นแหล่งที่คนเข้าไปจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ถึงกับแข่งขันกันมาก เพราะตัวสินค้าจะมีความแตกต่างกันสูง จนเมื่อห้างฯ เริ่มขยับตัวมาเป็นห้างค้าปลีกขนาดยักษ์และถูกทุนต่างชาติเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ห้างค้าปลีกขนาดยักษ์ที่เรียกกันว่า Modern Trade นั้น กลายเป็นยักษ์ที่ทำลายระบบการค้าเดิมจนแทบจะอยู่ไม่ได้ พวกเขามีทุนมหาศาล มีหน้าร้านหรือสาขาที่กระจายออกไปทั่วประเทศ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ จนเหลียวมองไปทางไหนก็เห็น ดังนั้น  Modern Trade จึงสามารถสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านยี่ปั๊วอีกต่อไป เท่ากับลดต้นทุนในการสั่งซื้อได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่ ราคาสินค้าในห้างค้าปลีกขนาดยักษ์จะสามารถ ขายในราคาที่ถูกกว่าได้ เพราะส่วนต่างของราคาไม่ต้องผ่านคนกลางอีก ปรากฏการณ์นี้เกิดกับสินค้าทุกชนิดและแน่นอนว่า อาหาร ก็เป็นสิ่งที่  Modern Trade นำมาวางขายมากกว่า 50 % ของสัดส่วนสินค้าทั้งหมด เพราะอาหารเป็นปัจจัยสี่ที่คนไม่อาจขาดได้   จุดแข็งของ Modern Trade ใช้ไม่ได้ในยามวิกฤต ด้วยจำนวนหน้าร้านหรือสาขาที่มีเป็นจำนวนมาก การกระจายสินค้าเพื่อให้สินค้าไปถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว และไม่มีการสะสมไว้ในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากๆ ถือเป็นหัวใจหลักที่การค้ายุคใหม่ให้ความสำคัญมาก ในการค้าแบบเดิม เมื่อผู้ผลิต ผลิตสินค้าได้ก็เตรียมสินค้าไว้ในคลังสินค้าก่อนเพื่อรอการจำหน่ายให้กับพ่อค้าส่ง พ่อค้าส่งเองก็อาจมีคลังสินค้าหรือที่เรียกว่า โกดัง ไว้เก็บสินค้าเพื่อรอกระจายไปให้กับร้านค้าปลีกในกลุ่มของตน ปัญหาคือ การบริหารให้สินค้าไม่ค้างในคลังสินค้ามากเกินไปจนเป็นภาระและไม่น้อยเกินไปจนอาจขาดแคลนเมื่อจำเป็นต้องส่งให้ร้านค้า จึงเป็นสิ่งสำคัญ  แต่ Modern Trade คือผู้ที่สามารถพัฒนาระบบคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพถึงขีดสุดได้ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า ศูนย์กระจายสินค้า(Distribution Center) ศูนย์กระจายสินค้าก็คือ คลังสินค้าของ Modern Trade ที่ดำเนินการในการรวบรวมคำสั่งซื้อจากหลายๆ ที่แล้วรวบรวมเป็นคำสั่งซื้อเดียว และจัดส่งคำสั่งซื้อไปยังผู้ผลิต(Suppliers) เพื่อให้จัดส่งสินค้ามาในคราวเดียว จึงลดต้นทุน ลดระยะเวลาในการจัดส่ง และทำหน้าที่ในการแยกย่อยสินค้าไปบรรจุลงกล่องจัดส่งไปยังสาขาต่าง ๆ ของModern Trade ด้วยวิธีการที่ทันสมัยนี้ จะช่วยลดต้นทุน ลดการมีสินค้าคงคลังเกินความจำเป็น ลดระยะเวลาในการเก็บรักษาสินค้า เพราะไม่ต้องสั่งสินค้ามาเกินความจำเป็น ขณะเดียวกันก็สามารถส่งผ่านสินค้าออกไปยังหน้าร้านได้อย่างทันท่วงที ทำให้หน้าร้านเองก็ไม่จำเป็นต้องสต็อกสินค้าเอาไว้จำนวนมาก ผู้ผลิตเองก็ได้ประโยชน์เพราะรับรู้ได้ว่า สินค้าของตนขายไปได้เท่าไหร่ ต้องผลิตเพิ่มเติมในจำนวนเท่าไหร่ ลองมาดูกรณีตัวอย่างของค้าปลีกยักษ์ เทสโก้ โลตัส  เมื่อโลตัสได้ผุดสาขาแห่งแรกขึ้นที่ซีคอนสแควร์ เมื่อปี 2538  ก็ได้มีการสร้างศูนย์กระจายสินค้าครบวงจรที่วังน้อย อยุธยา เพื่อแก้ปัญหาการคอนโทรลสินค้าเข้าห้าง โดยเฟสแรกมีพื้นที่ 1.5 หมื่นตารางเมตร และต่อมาได้ขยายเฟส 2 อีก 2.5 หมื่นตารางเมตร ศูนย์กระจายสินค้า หรือ Distribution Center (DC.) แห่งนี้สามารถรองรับการขยายร้านได้ถึง 60 สาขา และยังมีแผนขยายพื้นที่ออกไปอีก กว่า2 หมื่นตารางเมตร  ศูนย์กระจายสินค้าของโลตัสที่วังน้อย ทำงาน 24 ชั่วโมงเพื่อจัดส่งสินค้าให้แก่สาขาต่างๆ ถือได้ว่าเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ 1. คลังสินค้าประเภทไม่ต้องแช่เย็น ได้แก่ สินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า และเสื้อผ้า ส่วนที่ 2. ได้แก่ ศูนย์กระจายสินค้าอาหารสด มีพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร    ศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้จัดได้ว่าเป็นศูนย์แรกของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานแบบครบวงจร ระบบลำเลียงสินค้าใช้ระบบบาร์โค้ดและระบบสายพานไฟฟ้าที่ทันสมัย ช่วยในการจัดเรียงและกระจายสินค้าด้วยความรวดเร็ว   ด้วยระบบดังกล่าวสินค้าที่คู่ค้าจัดส่งมายังศูนย์กระจายสินค้าจะถูกจัดส่งไปยัง เทสโก้ โลตัส สาขาต่าง ๆ ภายใน 12 ชั่วโมง โดยมีระบบคอมพิวเตอร์แจ้งจำนวนและตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งระยะเวลาที่สินค้านั้นอยู่ในคลังจัดเก็บสินค้า   ทุกวันจะมีรถบรรทุกจำนวนตั้งแต่ 500-700 คันนำสินค้าอุปโภคบริโภคมาส่งที่นี่ โดยจะมีกล่องสินค้าทั้งหมดส่งผ่านศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้ประมาณ 300,000-800,000 กล่องเป็นประจำทุกวัน (ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1806 วันที่ 5-7 มิถุนายน 2546 หน้า 22 “เปิดหลังบ้านโลตัส สำรวจอาณาจักร 2,000 ล้านที่วังน้อย) ไม่เพียงเฉพาะโลตัส ระบบศูนย์กระจายสินค้ากลายเป็นหัวใจหลักของระบบค้าปลีกใน Modern Trade ทั้งหมด โดยพื้นที่ที่นิยมในการตั้งศูนย์กระจายสินค้า เพื่อจัดส่งสินค้าให้กับค้าปลีกในเขตกรุงเทพฯ และภาคกลาง คือ เขตอำเภอวังน้อย อยุธยา บางบัวทอง นนทบุรี เมื่อศูนย์กระจายสินค้าหลักๆ ของค้าปลีกยักษ์และร้านสะดวกซื้อไปอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมหนัก ก็เป็นอันว่า สิ้นหวัง สินค้าในคลังถูกน้ำล้อมไว้หมด เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด สินค้าจึงขาดแคลน ชั้นวางของจึงว่างเปล่าอย่างที่เห็น โชว์ห่วยพระเอกตัวจริง ถ้าจะประมวลหาสาเหตุของสินค้าขาดแคลนในยามวิกฤตที่ผ่านมา อาจพอสรุปได้ 4 ประการ คือ 1. การผลิตสินค้าหลายชนิดทำไม่ได้ เนื่องจากโรงงานถูกน้ำท่วม ขณะที่ผลผลิตในภาคการเกษตรเสียหายทำให้ไม่มีวัตถุดิบในการผลิต 2. การขนส่ง และกระจายสินค้าทำไม่ได้ เพราะถนนถูกตัดขาด 3. การกักตุน ฉวยโอกาสขึ้นราคาของพ่อค้า แม่ค้า และกฎเกณฑ์การนำสินค้าวางขายที่ไม่ผ่อนปรนของ Modern Trade 4. การแห่กันกักตุนสินค้าของประชาชน ข้อ 1 และ 2 ต้องยอมรับว่าเกิดความเสียหายจริง แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้สินค้าขาดแคลนทั้งหมด เพราะยังมีตัวเลือกรองๆ ให้ผู้บริโภคเลือกได้ อย่างกรณีน้ำดื่มบรรจุขวด แน่นอนว่าผู้ผลิตรายใหญ่ต่างถูกน้ำท่วมทั้งหมด (สองรายใหญ่ สิงห์ ช้าง โรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี ที่น้ำท่วมเกือบ 100 %) แต่ก็ยังมีผู้ผลิตน้ำดื่มอีกจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่ไม่ถูกน้ำท่วม ส่วนการคมนาคมยังมีเส้นทางรองให้สามารถจัดหาสินค้าเข้ามาขายได้ แม้ต้องเพิ่มต้นทุนในการขนส่ง ข้อ 4 อันนี้ไม่ควรกล่าวโทษกัน เพราะอาการตื่นตระหนักที่เกิดขึ้น เนื่องจากประชาชนไม่มีข้อมูลเพียงพอในการที่จะตัดสินใจได้ว่า จะต้องดูแลชีวิตตัวเองอย่างไร ดังนั้น การกักตุนสินค้าถือเป็นการประกันความเสี่ยงของผู้บริโภค ถ้ารัฐสามารถรับประกันหรือให้ความมั่นใจ ให้ข้อมูลกับประชาชนได้อย่างเพียงพอ ปัญหาการกักตุนก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ข้อที่เราควรให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ ความแข็งตัวของ Modern Trade ดังที่ได้กล่าวไป สาขาของ Modern Tread ไม่มีการกักเก็บสินค้าไว้มาก เพราะเชื่อมั่นในระบบการกระจายสินค้าของตน และผู้ค้าที่จะเข้าไปวางสินค้าขายของใน Modern Tradeได้ ก็มีจำนวนจำกัด เพราะต้องเสียค่าจัดการสูง ด้วยความที่เป็นระบบใหญ่ การนำจัดหาสินค้ามาวางขายให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคในภาวะวิกฤตเลยทำได้ลำบาก ปัญหาสินค้าหมดเกลี้ยงจึงเกิดขึ้น แต่ในเวลาเดียวกันร้านค้าแบบดั้งเดิมที่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จากการถูกรุกพื้นที่ทำมาหากินของ Modern Trade กลับเป็นที่พึ่งของผู้ประสบภัยเพราะสามารถหาสินค้าอุปโภคบริโภคมาให้แก่ชุมชนได้ตลอด แม้ในเขตที่มีน้ำท่วมหนัก ปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่าระบบการค้าแบบดั้งเดิมที่กำลังจะตายจากนั้นเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าและการเข้าถึงอาหารของประชาชนในภาวะฉุกเฉิน   เหตุใดระบบร้านค้าดั้งเดิมจึงสามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงอาหารได้มากกว่าระบบค้าปลีกขนาดใหญ่ เมื่อการขนส่งหยุดชะงักเพราะน้ำท่วมเส้นทางและศูนย์กระจายสินค้า ระบบที่แข็งตัวของ Modern Trade ทำให้ไม่ค่อยกล้าเสี่ยงเข้าไปนำสินค้าออกมาจากศูนย์กระจายสินค้า เพราะต้นทุนจะสูงขึ้นแต่ราคาขายกลับต้องเป็นไปตามกติกาของรัฐ แม้ในภาวะวิกฤติห้างปลีกขนาดใหญ่ก็ยังใช้หลักการทำงานโดยการคำนวณจากกำไรและขาดทุนมากกว่าการช่วยเหลือชุมชน ที่เข้าไปตั้งสาขาทำมาหากิน ถ้าการนำสินค้าออกมาจากคลังสินค้าสร้างต้นทุนสูงขึ้น Modern Trade ไม่ยินดีทำ แต่หันมาสนับสนุนให้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศแทนทั้งๆ ที่ในคลังสินค้ายังมีสินค้าอีกมาก และผู้ผลิตสินค้าที่เป็นตัวเลือกรองก็มีอีกมาก เพียงพอที่จะบรรเทาภาวะขาดแคลนน้ำและอาหารModern Trade ไม่เลือกทางนั้น สิ่งนี้ ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจค้าปลีกขนาดยักษ์ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเสียสละเพื่อชุมชนหรือการนำสินค้าที่ผลิตในประเทศจากจุดอื่นมาขายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ระบบค้าปลีกดั้งเดิมนั้นมีการสต๊อกสินค้าไว้หลังร้านในจำนวนที่มากกว่า แม้ความหลากหลายของสินค้าอาจจะน้อยกว่าค้าปลีกขนาดใหญ่ แต่การสต็อกสินค้าที่ส่วนมากเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นทำให้มีสินค้ารองรับกับความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่า อันที่จริงก็อาจจะมีบ้างที่ร้านค้าดั้งเดิมกักตุนสินค้า แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นทุกร้าน และราคาก็ไม่ได้ขูดรีดเกินไป เพราะอย่างไรก็เป็นคนในชุมชนเดียวกัน ผู้ค้าส่ง(ยี่ปั๊ว) ที่ส่งของให้ร้านค้าแบบดั้งเดิมมีหลายเจ้ากว่าและผู้ค้าจะช่วยกัน แบ่งสต็อกให้จุดที่ขาดแคลนช่วยกันกระจายกันหลายๆ ทอดจนทำให้สินค้าเข้าไปใน ร้านโชว์ห่วยชุมชนได้ และทำให้ลดความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนอาหารและเครื่องอุปโภค ในขณะที่พนักงานร้านสะดวกซื้อเป็นลูกจ้างที่รับเงินเดือนประจำ พวกเขาจึงขาดความผูกพันกับชุมชนจึงไม่กระตือรือร้นที่จะหาอาหารหรือสินค้าที่ขาดแคลนมาให้ชุมชน แต่เจ้าของร้านค้าแบบดั้งเดิมมักจะมีหลักแหล่งในชุมชนมานานและมีความผูกพันต่อสมาชิกในชุมชนจึงขวนขวายออกไปนำเอาอาหารและน้ำดื่มจากที่อื่นเข้ามาขาย ให้ประชาชนแม้จะต้องรับภาระต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นก็ตาม ร้านสะดวกซื้อและค้าปลีกขนาดใหญ่มักจะมีการสั่งซื้อในปริมาณที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว จึงขาดความยืดหยุ่นในการจัดหาสินค้าประเภทที่ขาดแคลนให้มีจำนวนมากพอกับความ ต้องการ ในขณะที่ร้านค้าแบบดั้งเดิมสามารถมีความยืดหยุ่นในการสั่งและสต็อกสินค้าจึงสามารถนำสินค้าที่ขาดแคลนมากที่สุดมาสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ   อาหารต้องมาก่อนเสมอ เมื่อเหตุการณ์น้ำท่วมผ่านไป Modern Trade คงต้องมีการปรับตัวขนานใหญ่เพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่มีแนวโน้มคุกคามประเทศทุกปี และก็เชื่อว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องพึ่งพากับระบบอาหารที่อยู่ในมือของModern Trade ต่อไปเพราะวิถีการกินใช่จะเปลี่ยนกันได้ง่ายๆ แต่ก็อีกนั่นแหละไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนไม่ได้เสียทั้งหมด ยังโชคดีที่เรายังพอมีทางเลือกอยู่บ้าง และเพื่อไม่ให้ผู้ค้ารายเล็กรายน้อยต้องหายไป ทั้งๆ ที่พวกเขาคือพระเอกในยามวิกฤต ฉลาดซื้อมีข้อเสนอดังนี้ 1.เราควรหันกลับมาใส่ใจกันสักนิด ว่าอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ มีที่มาจากไหนและการบริโภคของเราจะไปสร้างผลกำไรให้กับใคร พ่อค้าตัวอ้วนใหญ่หรือคนเล็กคนน้อยเช่นเดียวกับเรา 2.เลือกซื้ออาหารจากตลาดสด ร้านค้ารายย่อย ร้านค้าใกล้บ้านในชุมชน โชว์ห่วยปากซอย เพื่อต่อลมหายใจให้กับธุรกิจเล็กๆ ให้มีที่ยืนในสังคม 3.ทำอาหารกินเองบ้างเพื่อให้ได้เกิดการสร้างสรรค์และก่อเกิดจินตนาการที่กว้างไกล มากกว่าจะนึกถึงแต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและปลากระป๋อง เมื่อชีวิตเข้าสู่ภาวะวิกฤตจะได้มีตัวเลือกในการกินมากขึ้น 4.อะไรที่พอผลิตเองได้ ก็น่าลองเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกผูกขาดอยู่ในวังวนของผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่เอาเปรียบ   และข้อเสนอต่อรัฐเมื่อยามเกิดวิกฤตชาติ ระยะสั้นในภาวะฉุกเฉินรัฐต้อง : 1.ดึงศักยภาพของภาคประชาชนเข้ามาร่วมทำงานในการบริหารจัดการเรื่องการเข้าถึง อาหารในภาวะวิกฤติให้เกิดประสิทธิภาพ เพราะภาคประชาชนสามารถเข้าถึงปัญหาอย่างแท้จริงและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดกว่าหน่วยงานราชการ 2.ดึงศักยภาพของหน่วยงานรัฐที่มีกลไกและระบบในการขนย้ายลำเลียงในภาวะฉุกเฉินเช่น ทหารมาแทนที่ระบบเอกชนเพื่อลำเลียงอาหารจากแหล่งกระจายให้ถึงมือประชาชน อย่างทั่วถึง 3.จัดทำจุดยุทธศาสตร์คลังสินค้าอาหารที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้หรือเป็นจุด ที่ขนย้ายได้ใกล้กับเขตพื้นที่ภัยพิบัติโดยใช้พื้นที่สถานที่ราชการที่ใกล้ เคียงเพื่อมาทดแทนพื้นที่ของเอกชนในยามวิกฤติ 4.จัดระบบกระจายสินค้าจากมือเกษตรกรและผู้ผลิตอาหารไปสู่มือผู้บริโภคให้เหลือน้อยที่สุดสั้นที่สุดและเร็วที่สุด มาตรการระยะยาว 1. รัฐต้องสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการค้าแบบดั้งเดิม ให้มีความสามารถในการแข่งขันกับระบบค้าปลีกขนาดใหญ่ เพื่อเป็นทางเลือกของประชาชนในยามวิกฤติ เพราะร้านค้าดั้งเดิมสามารถเข้าถึงและกระจายอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อระบบค้าปลีกสมัยใหม่ล่ม ควรมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อไม่ให้การค้าในลักษณะค้าปลีกขนาดใหญ่ขยายตัวและครอบงำระบบการบริโภคมากไปกว่านี้ 2.จัดระเบียบการสำรองอาหารโดยการขอให้เอกชนกระจายจุดคลังสินค้าหลายๆ แห่งเพื่อลดความเสี่ยงต่อความขาดแคลนอาหาร 3.ปฏิรูปกฎหมายแข่งขันทางการค้าการผูกขาดทางการค้า และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อการเข้าถึงอาหาร เนื่องจากการเข้าถึงอาหารเกี่ยวข้องโดยตรงตั้งแต่ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ค้าส่ง ค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อและร้านโชว์ห่วย ก่อนจะมาถึงมือประชาชน 4.สร้างกลไกการค้าที่คล่องตัวให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอาหารได้ ด้วยการตัดขั้นตอนค้าส่งค้าปลีกลงให้มากที่สุดเพื่อลดต้นทุนค่าอาหารลง ในบางประเทศสนับสนุนให้ผู้ผลิตพบกับผู้บริโภคโดยตรง ด้วยการสร้างอาคารสถานที่ให้ แทนที่จะต้องพึ่งพาแต่สาขาของร้านค้าปลีกขนาดยักษ์ 5.สร้างระบบพึ่งพาตนเองของชุมชน ให้สามารถสร้างอาหารเองได้เมื่อเจอภาวะวิกฤต เช่น การสร้างจุดกรองน้ำสะอาดเพื่อการบริโภค หรือการทำแปลงผักชุมชนลอยฟ้า 6.สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เช่น กิจกรรมการร่วมมือทำงานเพื่อส่วนรวมเพื่อให้ชุมชนมีจิตสำนึกสาธารณะและช่วยเหลือกันเองยามวิกฤติ 7.ให้แต่ละชุมชนมีการฝึกซ้อมภัยพิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อการอยู่รอดในภาวะวิกฤติ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ก้าวสำคัญของงานผู้บริโภคไทย

  แม้จะพยายามใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังอย่างเต็มที่ แต่เราทุกคนคงยากที่จะหลีกเลี่ยงจากการถูกเอารัดเอาเปรียบได้ เนื่องด้วยอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับวิถีการบริโภคนั้นไม่ได้อยู่ในมือของผู้บริโภค แต่ไปผูกพันกับระบบเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติ นักการเมืองและพ่อค้า คงมีก็แต่ผู้บริโภคที่แข็งแรงมากพอเท่านั้นที่จะมีโอกาสรอดได้ ซึ่งก็เป็นแค่คนส่วนน้อย ทุกวันนี้ประชาชนผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังต้องเผชิญกับปัญหาการละเมิดสิทธิอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดลง   ความฝันของผู้บริโภค   ความฝัน ความจริง ของดี ราคาไม่แพง ของห่วย ราคาแพง อาหารสะอาด ปลอดภัย อาหารปนเปื้อนสารพิษ สารเคมี ไปไหนมาไหนสะดวก บริการขนส่งสาธารณะได้มาตรฐาน ไปไหนไม่ค่อยมีทางเลือก ราคาไม่คุ้มบริการ ตลอดปีมีแต่อุบัติเหตุ ค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์ สมเหตุสมผล มีการบริหารจัดการที่ดี ราคาขึ้นไม่มีเหตุผล คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้เรื่องโครงสร้างราคา   ความฝันกับความจริงมักจะสวนทางกัน ไม่ว่าผ่านมากี่ยุคสมัย ผู้บริโภคยังต้องดิ้นรนเพื่อให้รอดจากการถูกเอาเปรียบ   ทำไมงานคุ้มครองผู้บริโภคบ้านเราไม่มีประสิทธิภาพ ถ้าหากมองว่า ทางออกของการดูแลผู้บริโภคคือ กฎหมาย ประเทศไทยก็มีกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก แล้วทำไมผู้บริโภคจึงยังถูกเอาเปรียบ??? ก็เพราะกฎหมายมีข้อจำกัดที่ว่า ทำได้แค่ดูแลเฉพาะเรื่องที่กรอบกฎหมายของตนเองกำหนดไว้เท่านั้น โดยทุกกฎหมายเน้นการป้องกันที่ต้นทาง ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายอาหาร ยา ที่ดิน ประกันชีวิต ฯลฯ ซึ่งเน้นควบคุมที่ผู้ประกอบการหรือต้นน้ำ ด้วยแนวคิดที่ว่าถ้าผู้ประกอบการดีเสียอย่าง ผู้บริโภคก็ปลอดภัย ซึ่งในความเป็นจริง ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะขีดความสามารถของหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลกฎหมาย ไม่อาจทำได้ถึงขนาดที่จะควบคุมผู้ประกอบการทุกรายและทุกสินค้าหรือบริการ เพราะโลกทุกวันนี้อยู่ในสภาพการผลิตที่ล้นเกิน และการบริโภคที่มากเกินไป ถามว่า แล้วมีกฎหมายที่เน้นที่ตัวผู้บริโภคไหม ก็มีอยู่ 1 ฉบับที่ระบุถึงสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภค คือ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ที่มีสำนักงานหนึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมกับ พ.ร.บ. นี้ คือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือ สคบ.   ทว่า สคบ.ก็ขับเคลื่อนงานผู้บริโภคได้ไม่มาก เพราะถูกจำกัดบทบาทด้วยกฎหมายเช่นกัน กล่าวคือ สคบ.ดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภคได้เฉพาะเรื่องที่ไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดของรัฐรับผิดชอบอยู่แล้ว เช่น เรื่องอาหาร ไม่ใช่บทบาทของ สคบ. แต่เป็นบทบาทของ อย. หรือเรื่องการเงินการธนาคารก็ไม่ใช่ สคบ. แต่เป็นบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น ดังนั้นที่หลายคนเข้าใจว่า สคบ.เป็นหน่วยงานกลางของงานคุ้มครองผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง อีกทั้ง สคบ. ก็มิได้มีบทบาทหน้าที่ที่จะไปกำหนดนโยบายหรือมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ นี่จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ว่า ทำไมงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีข้อจำกัดอย่างมาก เมื่อหันกลับมามองที่ภาคประชาชน ก็ยิ่งพบสภาพการณ์ที่ย่ำแย่ ประชนชนทั่วไปยังเข้าใจในสิทธิผู้บริโภคน้อยเกินไป ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้อเลือกใช้ อาจเรียกได้ว่า “มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก” ทีเดียว ส่วนใหญ่ถูกชวนเชื่อให้ลุ่มหลงไปกับคำโฆษณา การประชาสัมพันธ์และการตลาดที่รุกรานเข้าไปในพื้นที่ทุกช่วงเวลาของชีวิต ทั้งในรายการข่าว ในละคร บนรถเมล์ ในโรงภาพยนตร์  ฯลฯ ยิ่งผนวกรวมกับความรู้สึกไม่อยากจะใช้สิทธิหรือร้องเรียน เพราะกลัวปัญหายืดเยื้อเรื้อรัง จนปล่อยเลยตามเลย ก็เลยกลายเป็นจุดอ่อนให้ผู้ประกอบการยิ่งได้ใจเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคมาตลอด  เพราะคนจ้องจะเอาเปรียบมีมากเกินไปและแข็งแรงเกินไป หรืออาจเป็นเพราะผู้บริโภคเราอ่อนแอเกินไป รู้น้อยเกินไป เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคก็มีมากมายหลากหลายเสียเหลือเกินตั้งแต่เรื่องเล็กอย่างกระดาษทิชชู จนถึงเรื่องระดับประเทศอย่างน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะฉะนั้นถ้าหวังให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค คอยไล่ตามแก้ปัญหา ย่อมไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสม ในระยะยาวถ้าหวังให้งานคุ้มครองผู้บริโภคเข้มแข็ง ก็ต้องส่งเสริมให้ผู้บริโภคเข้มแข็ง จนถึงขนาดมีอำนาจต่อรองกับภาคการผลิตได้ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นในกฎ ระเบียบต่างๆ ที่กระทบกับการบริโภคได้ ไม่เป็นเพียงหน่วยย่อยเล็กๆ ที่ถูกกระทำดังเช่นทุกวันนี้   หน่วยพิทักษ์ผู้บริโภคกับการเดินทาง 14 ปี อันที่จริงเรื่องราวที่กล่าวมาข้างต้น ยังคงวนเวียนเขียนได้ไม่เคยเก่า ราวกับเป็นเรื่องธรรมดาของประเทศนี้ แม้เหตุการณ์จะผ่านไปหลายสิบปี รัฐบาลเปลี่ยนไปหลายชุด ผู้บริโภคก็ยังเป็นเหยื่อไม่เคยเปลี่ยน ถึงอย่างไร โลกนี้ก็ไม่สิ้นไร้ซึ่งความหวัง เมื่อปี พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ร่างโดยภาคประชาชนได้กล่าวถึงการคุ้มครองผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 โดยกำหนดไว้ว่า “ต้องมีองค์การอิสระ” ที่มีผู้แทนผู้บริโภคมาทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรากฎหมาย กฎและข้อบังคับต่างๆ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ด้วยความที่เป็นกลไกใหม่ “องค์การอิสระ” ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันมากมาย โดยเฉพาะคำว่า “อิสระ” ว่าแค่ไหน อย่างไร รวมทั้งจุดอ่อนสำคัญที่ไม่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญให้แน่ชัดว่าต้องเกิดองค์การนี้ภายในระยะเวลากี่ปี สุดท้ายก็ตายจากไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญปี 2540   แต่เพราะปัญหาผู้บริโภคเป็นเรื่องของคนทุกคน คำว่า “คุ้มครองผู้บริโภค” และ “องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค” จึงกลับมาในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 อีกครั้ง โดยคราวนี้ขยับไปที่ มาตรา 61 โดยแก้ไขจุดอ่อนที่มีในคราวรัฐธรรมนูญ 2540 โดยองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคในมาตรา 61 แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า ต้องการให้เป็นองค์กรที่เป็น “อิสระ” จากหน่วยงานของรัฐจริงๆ ไม่ใช่อยู่ในกำกับของรัฐ และนำบทเรียนเรื่องกรอบเวลามาปรับให้เป็นรูปธรรม โดยเขียนบทเร่งรัดกำหนดกรอบเวลาไว้ในมาตรา 303 ว่า รัฐบาลชุดแรกหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ประกาศใช้ ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ต้องจัดทำกฎหมายองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคให้เสร็จและบังคับใช้ได้ภายใน 1 ปี ถ้าเหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง ปี 2554 นี้เราคงมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เกิดขึ้นแล้ว แต่หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ มีการเปลี่ยนรัฐบาลถึง 3 คณะใน 1 ปี เราถึงยังไม่มีองค์การอิสระฯ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเสียที   การขยับตัวของภาคประชาชน ในสมัยรัฐธรรมนูญ ปี 2540 องค์กรผู้บริโภคคึกคักกันพักใหญ่ เพราะเห็นทางรอดของผู้บริโภคไทย ที่รัฐธรรมนูญให้แนวทาง การกำเนิดขององค์กรใหม่ ที่จะมาทำหน้าที่ หน่วยพิทักษ์ผู้บริโภค ที่เป็นหน่วยงานกลางในเรื่องผู้บริโภคจริงๆ ไม่ใช่ตัวแทนเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หน่วยงานที่จะทำหน้าที่หลักในการคุ้มครองผู้บริโภค เฝ้าระวังและให้ความเห็นในกฎหมายหรือมาตรการใดๆ ที่จะส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภค   สามปีแรก(2541 – 2543) เป็นงานเดินสายสร้างความเข้าใจกับผู้บริโภคและหน่วยงานต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดเรื่อง ความเป็นอิสระ อำนาจ หน้าที่ ต่อมาก็มีการยกร่าง กฎหมายองค์การอิสระขึ้น และทำความเข้าใจกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ จนถึงช่วงท้ายๆ ของอายุรัฐธรรมนูญปี 2540 สามารถรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอกฎหมายได้ถึง 50,000 รายชื่อ แต่น่าเสียดาย ความหวังครั้งนั้นหายวับไปพร้อมกับเหตุรัฐประหาร 19 กันยายน 2549   แม้สิบปีจะยังไม่มีองค์การอิสระฯ เกิดขึ้น แต่ก็เหมือนกับได้เป็นการสร้างความพร้อม และปูพื้นฐานส่วนหนึ่งให้กับภาคประชาชน รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ เมื่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ถือกำเนิดขึ้นและบทบัญญัติที่เกี่ยวกับองค์การอิสระไม่ได้หายไป ภาคประชาชนก็เริ่มขยับตัวอีกครั้ง การผลักดันกฎหมายโดยภาคประชาชนการเข้าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 10,000 คน เสนอ (ร่าง) พ.ร.บ. องค์การอิสระผู้บริโภค ฉบับประชาชน   15 มีนาคม 2551 เริ่มรณรงค์ครั้งใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 50องค์กรภาคประชาชน ประกาศเจตนารมณ์ และรวบรวมรายชื่อประชาชน 10,000 รายชื่อ ในการเสนอกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภค และรณรงค์ในจังหวัดต่างๆ  19 กุมภาพันธ์ 2552 ยื่นรายชื่อ  12,208 ชื่อ ต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา   23 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2552 รัฐสภาตรวจสอบรายชื่อ กระบวนการตรวจสอบรายชื่อ ความถูกต้องสมบูรณ์ รวมจำนวนที่ตรวจสอบได้  11,700  รายชื่อ   4 มีนาคม 2552 รัฐสภาส่งข้อมูลให้ กกต. ตรวจสอบสิทธิ 1 เมษายน 2552กกต. ส่งรายชื่อไปให้กรมการปกครองเป็นผู้ตรวจสอบ กรมการปกครองทำการส่งรายชื่อไปปิดประกาศในพื้นที่เพื่อร้องคัดค้าน เป็นเวลา 20 วัน   พฤษภาคม 2552กกต. ส่งกลับรายชื่อที่รับรองมาที่รัฐสภา     26  พฤษภาคม  2552รัฐสภาแจ้งผลการตรวจสอบ สรุปว่ามีผู้เข้าชื่อครบ 10,000 ชื่อ   1 มิถุนายน 2522 ประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ส่งให้นายกรัฐมนตรีลงนามให้คำรับรอง   หลังนายกรัฐมนตรีรับรอง ภาคประชาชนได้รับหนังสือจากเลขาธิการประธานรัฐสภา จะพิจารณาบรรจุเข้าวาระการประชุมของรัฐสภา   5 ตุลาคม 2553สภาผู้แทนราษฎร รับหลักการของร่างกฎหมาย 7 ฉบับรวมทั้ง พ.ร.บ.องค์การอิสระฯ ฉบับประชาชน โดยตั้งกรรมาธิการ 54  คน เป็นกรรมาธิการภาคประชาชน 18 คน   27 มกราคม 2554 พิจารณาร่างกฎหมายแล้วเสร็จ พร้อมเสนอให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ต่อไป   9 กุมภาพันธ์ 2554 บรรจุวาระร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค วาระที่ 2   20 เมษายน 2554(ร่าง)พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61 ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 3 วาระ 10 พฤษภาคม 2554  รัฐบาลประกาศยุบสภา การพิจารณากฎหมายของวุฒิสภาต้องหยุดชะงักไป เพื่อรอการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ร่างกฎหมายฉบับนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่งภายใน 60 วันหลังการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้ง วุฒิสภาจึงจะสามารถพิจารณาร่างกฎหมายนี้ต่อไปได้   องค์การอิสระฯ ตามมาตรา 61 ทางออกระยะยาวที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม หลังผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร์ทั้ง 3 วาระ และรอลุ้นระทึกว่า รัฐบาลใหม่จะสานฝันให้ผู้บริโภคได้ทันหรือไม่ เรามาดูบทบาทหน้าที่ขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนี้กันสักหน่อย องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามร่างกฎหมายฉบับนี้ มีบทบาทสำคัญ  8 ประการ ได้แก่ 1. ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 2. ตรวจสอบการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและรายงานไปยังหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ และอาจรายงานเรื่องดังกล่าวไปยังคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา รวมทั้งเผยแพร่เรื่องดังกล่าวต่อสาธารณชน  ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดังกล่าวรายงานผลการพิจารณาและการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการภายในระยะเวลาอันสมควร 3. ดำเนินการและสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นจริง หรือแจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้บริโภค ในการนี้จะระบุชื่อสินค้าหรือบริการ หรือชื่อของผู้ประกอบการด้วยก็ได้ 4. สนับสนุนการใช้สิทธิร้องเรียนของผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบการ และดำเนินการให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบการ 5. ดำเนินคดีต่อศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม โดยคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งเลขาธิการหรือพนักงานขององค์การเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดี รวมทั้งมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ร้องขอได้ด้วย  ทั้งนี้ การฟ้องและดำเนินคดีดังกล่าว ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด  6. สนับสนุนและให้การช่วยเหลือแก่องค์กรผู้บริโภคในด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้บริโภคดังกล่าว ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค  7. ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย  รวมทั้งจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรผู้บริโภคหรือประชาชนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ  8. จัดให้มีการประชุมสมัชชาองค์กรผู้บริโภคอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อประเมินการดำเนินงานขององค์การ และติดตามตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภค   ถ้านับเวลาจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ก็เป็นเวลากว่าสี่ปีมาแล้ว แต่หากนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่มีการระบุให้จัดตั้งองค์การอิสระไว้ในมาตรา 57 ก็เป็นระยะเวลายาวนานถึง 14 ปี และหากรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพียงแค่ปล่อยให้เวลาผ่านเลยวันที่ 30 กันยายน 2554 การดำเนินการในการออกกฎหมายก็จะต้องเริ่มใหม่หมด นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของผู้บริโภค อีกทั้งความตั้งใจและการดำเนินการที่ผ่านมาของภาคประชาชนจะกลายเป็นศูนย์ ต่อจากนี้ไป เราคงต้องมาร่วมลุ้นระทึกกันอีกครั้ง ว่าองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จะกลับไปเริ่มต้นกันใหม่หรือดำเนินการต่อไปอย่างสง่าผ่าเผย ได้โปรดติดตาม

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 126 เมื่อ(คนทำงาน)ผู้บริโภคทั้งโลกมาเจอกัน

  ฉลาดซื้อฉบับนี้พาสมาชิกเปลี่ยนบรรยากาศไปย่ำฮ่องกงกันบ้าง เราไม่ได้พาคุณไปซอกแซกตามแหล่งช้อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนม แต่เราจะพาคุณผู้อ่านไปเข้าร่วมขบวนการผู้บริโภคในระดับโลกในงานสมัชชาผู้บริโภคของสหพันธ์ผู้บริโภคสากล   * Consumers International World Congress 2011 ครั้งที่ 19 ที่จัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าฮ่องกง เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา งานนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ กว่า 700 คน มาแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ตั้งแต่การณรงค์เรื่องอาหารการกินให้ปลอดภัยไร้สิ่งปนเปื้อน รวมถึงไม่มีแป้ง น้ำตาล หรือเกลือมากเกินไป เรื่องลดผลกระทบของการบริโภคต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการรณรงค์ให้บรรดาธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ เลิกเอาเปรียบผู้บริโภค และการร่วมกันหาทางออกเมื่อ “ลิขสิทธิ์” กลายเป็นสิ่งที่จำกัดการเข้าถึงข้อมูลความรู้ต่างๆ----------------------------------------------------------------------------------- สหพันธ์ผู้บริโภคสากล Consumers International คือใคร CI เป็นกระบอกเสียงของผู้บริโภคในระดับโลกมากว่า 50 ปี มีสมาชิกเป็นองค์กรผู้บริโภค 220 องค์กร ใน 115 ประเทศ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็เป็นสมาชิก ในการประชุม G 20 ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ สหพันธ์จะเรียกร้องให้ประเทศกลุ่ม G 20 กำหนดกฎเกณฑ์ที่จะสามารถคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการการเงิน การธนาคาร หรือการลงทุน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  คุณรู้หรือไม่ผู้นำระดับโลกคนแรกที่หยิบยกเรื่องของสิทธิผู้บริโภคขึ้นมาพูดถึงอย่างเป็นทางการคือ ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2506 ในที่ประชุมสภาคองเกรสของอเมริกา โดยเขาได้กล่าวถึงสิทธิผู้บริโภค 4 ประการ ได้แก่  และจากนั้นเป็นต้นมาวันที่ 15 มีนาคมของทุกปีจึงถือเป็นวันผู้บริโภคสากลด้วย -----------------------------------------------------------------------------------   HOT ISSUESการตลาดอาหารสำหรับเด็กที่แทรกซึมไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก เป็นหนึ่งในเรื่องเร่งด่วนที่ต้องการความร่วมมือจากประเทศต่างๆ เพื่อรับมือกับบริษัทข้ามชาติที่ใช้กลยุทธ์ในการล่อลวงเด็กให้บริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยเกลือ น้ำมัน และน้ำตาล กันจนอ้วนลงพุงก่อนวัยอันควร เมื่อบริษัทอาหารและบริษัทโฆษณาเป็นบริษัทข้ามชาติซึ่งทำการตลาดอาหารในลักษณะเดียวกันทั่วโลก  การผลักดันให้มีกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการโฆษณาของบริษัทข้ามชาติเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง   องค์กรผู้บริโภคของเกาหลีใต้ Consumers Korea ก็มีการรณรงค์เรื่องนี้เข้มข้นคล้ายกับที่บ้านเรา เขาได้เสนอเรื่องฉลากสีสัญญาณไฟจราจร* (Traffic Light Label) ให้รัฐบาลพิจารณาแต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้ยินสัญญาณตอบรับใดๆ (คล้ายกับที่บ้านเราเหมือนกัน) ขณะนี้มีเพียงประเทศอังกฤษประเทศเดียวที่มีฉลากไฟจราจรบนหีบห่ออาหาร จึงเป็นอีกเรื่องที่ท้าทายองค์กรผู้บริโภคในอีกหลายๆ ประเทศ   *(สีเขียว หมายถึงการมีเกลือ ไขมัน หรือน้ำตาลในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สีเหลือง เมื่อมีสารอาหารดังกล่าวในปริมาณที่ค่อนข้างมาก และสีแดง เมื่อมีเกลือ ไขมัน หรือน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป) 1. การทบทวนพฤติกรรมในการบริโภคของเราทั้ง 2,000 ล้านคนที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ เมื่อการบริโภคของเราส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เราจึงต้องหันมาเลือกซื้อสินค้าหรือบริการโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการมากกว่าราคาหรือแบรนด์กันมากขึ้น ผู้บริโภคต้องร่วมมือกันกดดันให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างตรงไปตรงมา   เรื่องนี้องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumers Research & Testing จะทำหน้าที่เป็นผู้เสาะหาข้อมูลดังกล่าว จากการสำรวจนโยบายเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการต่างๆ โดยจะเผยแพร่ผ่านนิตยสารขององค์กรสมาชิกที่เป็นองค์กรเพื่อผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เช่น นิตยสาร Which? ของอังกฤษ นิตยสาร Stiftung Warentest ของเยอรมนี นิตยสาร Consumers Report ของอเมริกา นิตยสาร CHOICE ของออสเตรเลีย และนิตยสารฉลาดซื้อ ของประเทศไทย เป็นต้น  2. เรื่องของบริการทางการเงิน การธนาคาร ซึ่งนาทีนี้ถือเป็นเรื่องที่ฮ็อตที่สุด เมื่อเศรษฐกิจของหลายประเทศมีอาการเข้าขั้นโคม่ากันไปตามๆ กัน เราเห็นธนาคารใหญ่ล้มละลายกันเป็นว่าเล่น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้บริโภคทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาต่างก็ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ เพราะเรายังไม่การคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องการเงินการธนาคารที่ดีนั่นเอง  ผู้บริโภคทั่วโลกถูกเอาเปรียบโดยสถาบันการเงินในรูปแบบคล้ายๆ กัน ธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ มีกำไรมากมายจากการคิดดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมจากเรา และเมื่อเกิดวิกฤตการเงินขึ้น รัฐบาลก็นำเงินภาษีของเราไปช่วยอุ้มธนาคารเหล่านั้นอีก  เราได้ยินเรื่องน่าสนใจจากองค์กรผู้บริโภค Consumentenbond จากเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีประชากรประมาณ 15 ล้านคน ประเทศนี้มีบริษัททางการเงินไม่ต่ำกว่า 5,000 แห่ง (มากกว่าจำนวนร้านหมอฟันทั้งประเทศ) และเนื่องจากคนดัทช์ส่วนใหญ่มีฐานะทางการเงินค่อนข้างดี จึงทำให้มี “ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน” ออกมาในตลาดค่อนข้างมาก และผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ถูกออกแบบมาให้มีความซับซ้อนจนผู้บริโภคไม่สามารถเข้าด้วยตนเองได้ จึงต้องขอคำแนะนำจาก “ที่ปรึกษา” ซึ่งก็มักเป็นผู้ที่ได้ “ค่าคอมมิชชั่น” จากการผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคเลือกลงทุน ผู้บริโภคชาวดัทช์ก็ไม่ต่างกับผู้บริโภคบ้านเรา เมื่อไม่ชอบคิดมากจึงต้องจ่ายแพงเกินไปโดยไม่จำเป็น Consumentenbond จึงวางแผนว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า จะรณรงค์ให้ยกเลิกค่าคอมมิชชั่นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์มากขึ้น เพราะเชื่อว่าที่ปรึกษาเหล่านั้นอาจไม่ได้แนะนำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเรา เพราะมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังจะรณรงค์ให้ผู้ประกอบการ นำเสนอผลิตภัณฑ์การเงิน ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ในราคาที่เหมาะสมและมีคุณภาพดีขึ้น   3. อีกประเด็นที่เขานำมาถกเถียงกันในงานสมัชชาครั้งนี้คือ เรื่องของสิ่งที่เรียกว่า “ทรัพย์สินทางปัญญา” ที่ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคทั้งต่อการเข้าถึงยา และการเข้าถึงความรู้   เราทราบกันดีแล้วว่าระบบสิทธิบัตรยา ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงยาที่มีราคาแพงได้ โดยเฉพาะยาสำหรับโรคมะเร็ง เบาหวาน หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งส่งผลต่อระบบสาธารณะสุขทั่วโลก เรื่องนี้ฟังแล้วชวนปวดตับอย่างยิ่ง คุณรู้หรือไม่ว่าการลงทุนวิจัยยาใหม่นั้นมีมูลค่าเพียงร้อยละ 10 -15 ของราคายาที่ขายเท่านั้น ที่เหลือเป็นมูลค่าการทำการตลาดทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้นร้อยละ 80 ของ”ยาใหม่” ไม่มีประโยชน์ในการรักษาเพิ่มเติมแต่อย่างใดด้วย   ในการประชุมครั้งนี้เมื่อผู้ประสานงานโครงการการเข้าถึงความรู้ สหพันธ์ผู้บริโภคสากล เปิดเผยผลสำรวจให้ผู้เข้าร่วมสมัชชาฟังว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ยอมให้ระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความรู้ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียกว่า “การใช้อย่างเป็นธรรม” หรือ Fair Use ในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเช่นกัน สรุปว่านี่เป็นอีกประเด็นที่องค์กรผู้บริโภคจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนอย่างจริงจัง   โลกในยุคสังคมเครือข่าย ที่เราเป็นได้มากกว่าผู้บริโภค สุนทรพจน์ โดย เกิร์ด ลีออนฮาร์ด ผู้ได้รับการยกย่องจากหนังสือพิมพ์วอลสตรีต เจอร์นัล ว่าเป็นหนึ่งในนักอนาคตศาสตร์ชั้นนำของโลกในสาขาเทคโนโลยีการสื่อสาร ปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสถาบัน The Future Agency และเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่หลายแห่ง  “กว่าร้อยละ 90 ของสิ่งที่ผมจะนำมาเล่าให้ท่านฟังในวันนี้เป็นสิ่งที่ผมได้มาจากคนอื่น และผมต้องขอบคุณบุคคลเหล่านั้น ปัจจุบันเราควรจะอยู่ในโลกที่มีแต่การแบ่งปัน (Sharing) เรากลับต้องเผชิญกับการปิดกั้นมากขึ้น เราเคยอยากได้ Global Village ที่ประกอบไปด้วยความเป็นเอกภาพ ความสงบ และสันติ และทุกวันนี้สิ่งที่จะทำให้เกิดหมู่บ้านของคนทั้งโลกได้ควรจะเป็น “การเข้าไปมีส่วนร่วม” เพราะฉะนั้นการปิดกั้นจึงเท่ากับเป็นความล้มเหลวของระบบ ที่สำคัญเราต้องไม่ลืมว่าอีกไม่นานทุกสิ่งที่เรารู้ก็จะต้องถูก “ทำสำเนา” ต่อๆ กันไป   ทุกวันนี้เราไม่ได้เป็นแค่ผู้บริโภค  กว่าร้อยละ 70 ของเด็กอเมริกัน นำเรื่องราวของตัวเองขึ้นไป “แชร์” ในอินเตอร์เน็ต  ทุกวันนี้ “ผู้ใช้” หรือ User ก็ถือเป็น “เนื้อหา” บนอินเตอร์เน็ต เช่นกัน ปัจจุบันบริษัทต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการทำการตลาดลงด้วยการปล่อยให้ “ผู้ใช้” เหล่านี้เป็นผู้ทำการตลาดแทน  อย่าลืมว่าสถานีกระจายข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบันคือ Facebook ซึ่งเป็นกลไกในการเผยแพร่ข้อมูลที่ดีมาก ผู้บริโภคต้องใช้ประโยชน์จากอำนาจนี้ให้เต็มที่ เราสามารถแสดงความชื่นชมได้ แสดงความไม่พอใจก็ได้ ผู้ประกอบการพร้อมที่จะฟังการประเมินที่สร้างสรรค์จากผู้บริโภคเสมอ สังเกตได้จากผลรางวัลตอบแทนที่ให้เวลาที่เราให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามหรือแบบรับความคิดเห็น   เป้าหมายของธุรกิจวันนี้จึงต้องเปลี่ยนไป ไม่ใช่การสร้างเงิน สร้างผลกำไร หรือแม้แต่การสร้างอำนาจต่อรอง สิ่งที่ธุรกิจในยุคนี้จะต้องสร้างคือ “ความไว้วางใจ” จริงหรือไม่ที่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาคือกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จของสื่อบันเทิงดิจิตัลอย่างที่ค่ายธุรกิจบันเทิงเสนอไว้ ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะในปี ค.ศ. 2000 ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพื่อธุรกิจบันเทิงคนละ 71 เหรียญ แต่เมื่อถึงปี ค.ศ. 2009 การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงเหลือแค่คนละ 26 เหรียญ จึงถึงเวลาแล้วที่เราจะเปลี่ยนเป้าหมายจาก “การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา” มาเป็น “การเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้าไปมีส่วนร่วม”  ปัจจุบันเราแทบจะใช้เวลากับหน้าจอคอมพิวเตอร์มากกว่าหนังสือกันแล้ว ข้อดีของการอยู่หน้าจอคือการที่เราสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมหรือแบ่งปันในชุมชนเสมือนนั้นๆ ได้  วันนี้เราควรสร้างระบบความสัมพันธ์แบบชนเผ่าขึ้นมา ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมที่เราต้องการ “ความเป็นอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาใคร” มาเป็นการรับเอาแนวคิด “การพึ่งพาซึ่งกันและกัน” เข้ามาแทน จากแนวคิด “เครือข่าย” เฉยๆ เป็น “การเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย” หรือจากสิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นเจ้าของ” เปลี่ยนเป็น “การเข้าถึง” เป็นต้น  แม้แต่เรื่องของการจัดการกับการละเมิดลิขสิทธ์ก็มีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาด้วยการทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อนั้นได้โดยไม่ลำบาก ผมอยากนำเสนอรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาแบบไม่คิดเงิน เพียงแค่ผู้ที่นำไปใช้เคารพสิทธิของผู้นำเสนอเนื้อหาด้วยการปฏิบัติตาม “เงื่อนไขการนำไปใช้” เท่านั้น”   สิทธิผู้บริโภค อดีต ปัจจุบัน และอนาคตโดย นายอันวา ฟาซาล  หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ผู้บริโภคสากลถ้าถามว่ากระดาษทิชชูที่คุณใช้อยู่มีความยาวเท่าไร คนส่วนใหญ่มักจะตอบไม่ได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเราเป็นเพียง “ผู้บริโภค” ธรรมดาๆ ซึ่งไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ และนี่เองคือเหตุผลที่เราจะต้องมี “องค์กรผู้บริโภค” ขึ้นมา  ลองสมมติว่ามีคนจากกาแลกซีมาประเมินสภาวะของผู้บริโภคบนโลกใบนี้ เขาคงจะงงเหมือนกันว่านี่คือโลกชนิดไหนกันที่มีคนฆ่าตัวตายทุกๆ 40 วินาที มีคนถูกฆ่าตายทุกๆ 60 นาที และมีจำนวนคนเป็นโรคอ้วนมากกว่าคนอดอยาก  25 ปีก่อน เหตุการณ์โรงไฟฟ้าระเบิดที่เชอโนบิลทำให้เราต้องใช้เงินในการ “เก็บกวาด” ผลกระทบเป็นเงินถึงสองแสนกว่าล้านเหรียญ เราเคยตกลงกันแล้วว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก แต่เราก็ลืมมันไปแล้ว จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุที่ฟุกุชิมะที่เราต้องใช้งบประมาณในการเก็บกวาดถึงสามแสนล้านเหรียญ น่าแปลกใจที่เรามีงบประมาณพอที่จะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ แต่เรากลับไม่มีเงิน 2,500 ล้านเหรียญ ในการดูแลสุขภาพหรือจัดการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส ซึ่งจะว่าไปแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่คนอเมริกันใช้จ่ายไปกับการซื้อบุหรี่ เท่ากับจำนวนที่คนในสหภาพยุโรปซื้อเหล้าในเวลาหนึ่งเดือน การแก้ปัญหาของผู้บริโภค จะทำเหมือนการช่วยเด็กที่ถูกทิ้งลอยน้ำมาทีละคนไม่ได้ เราต้องหาเวลาไปจัดการกับคนที่โยนเด็กลงมาให้ได้ องค์กรผู้บริโภคต้องการคนที่มีวิสัยทัศน์มาร่วมกันทำงาน ในการทำงานนั้นมีระดับของวิสัยทัศน์อยู่ 3 ระดับด้วยกัน เช่น ในกลุ่มคนที่กำลังทำงานอย่างเดียวกัน ถ้าถามว่ากำลังทำอะไรอยู่ บางคนตอบว่า “กำลังก่ออิฐ” บางคนตอบว่า “กำลังสร้างโรงเรียน” ในขณะที่บางคนมองว่าตนเอง “กำลังสร้างอนาคตให้กับเด็ก” คนกลุ่มนี้คือคนที่เราต้องการ  องค์กรภาคประชาชน หรือพลังมวลชนคือความหวัง ผมขอเสนอสูตรใหม่ในการทำงานเรียกว่าสูตร  A B C นั่นคือเริ่มจาก A หมายถึง Agony คือความรู้สึกว่าเราทนต่อไปไม่ได้แล้ว และต้องทำอะไรซักอย่าง จากนั้นเราต้อง Brave คือกล้าพอที่จะท้าทายระบบ และจะต้อง Creative คือเสนอทางออกอย่างสร้างสรรค์ ในการเคลื่อนไหวในงานคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเราจะต้องมีคนทั้งสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่ม Ph D. ซึ่งผมหมายถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการ และกลุ่ม BSD (Blood, Sweat, Tears) ที่พร้อมจะทุ่มเททำงานด้วยเลือด หยาดเหงื่อและน้ำตา แต่ทั้งหมดนี้จะยังไม่ทำให้เราประสบความสำเร็จ จนกว่าเราจะมีปัจจัยที่เรียกว่า GTD > Getting things done! ซึ่งหมายถึงการลงมือทำจริง  ผมขอพูดถึงบาป 11 ประการ ที่นำไปสู่ปัญหาสังคมทุกวันนี้ ที่ผมขอเพิ่มจากบาป 7 ประการของมหาตมะ คานธี คือ 1. การเมืองที่ไม่มีหลักการ2. การมีความมั่งคั่งโดยไม่ต้องทำงาน3. การมีความสนุกสนานอย่างไร้สติ4. การมีความรู้แต่ไม่มีคุณสมบัติ5. การทำธุรกิจโดยไม่มีศีลธรรม6. วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากมนุษยธรรม7. การมีศาสนาแต่ไม่มีความเห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์8. การมีสิทธิแต่ไม่มีความรับผิดชอบ9. การมีอำนาจโดยไม่สามารถตรวจสอบได้ 10. การพัฒนาโดยปราศจากความยั่งยืน11. กฎหมายที่ไม่มีความยุติธรรม   เมื่อมองกลับไปในอดีตเราจะเห็นว่า ชาวฮิตไตท์มีกฎหมายผู้บริโภคใช้ตั้งแต่เมื่อ 3,500 ปีที่แล้ว โดยหลักๆ แล้วเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความปลอดภัยของอาหาร การห้ามการเอาเปรียบหรือหลอกลวงกัน  เอกสารฉบับแรกที่พูดถึงเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคได้แก่ เอกสารขององค์กรแรงงานโลกที่ชื่อว่า“คำแนะนำเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค” ซึ่งเป็นการให้ความรู้กับผู้ใช้แรงงานว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผลได้อย่างไร  แต่ทั้งนี้เนื้อหาของคู่มือการคุ้มครองผู้บริโภคของสหประชาชาติซึ่งกำลังจะมีอายุครบ 25 ปีในเร็วๆ นี้แทบจะไม่ได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นเลย เรื่องนี้เราต้องรณรงค์ให้เกิดขึ้นและผมขอชักชวนให้เรามาร่วมกันเรียกร้องให้สหประชาชาติประกาศ “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” ในปี พ.ศ. 2555 ด้วย  และถ้ามองต่อไปในอนาคต ผมของเสนอทางออก 11 ประการ ให้กับผู้ที่สนใจงานคุ้มครองผู้บริโภคดังนี้1. เราต้องรีบจัดการกับคดีที่ก่อกับผู้บริโภค2. เราต้องทำรายงานสภาวะผู้บริโภคทุกปี เพื่อให้เห็นพัฒนาการ ความสำเร็จ และเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึง3. การสร้างศักยภาพให้กับคนรุ่นใหม่ที่จะขึ้นมาสืบสานงานต่อจากคนรุ่นเก่า4. เราใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประตูไปสู่ฐานข้อมูลสำหรับผู้บริโภค รวบรวมเอกสาร และพร้อมที่จะเผยแพร่ออกไป 5. สร้างสายด่วนสำหรับผู้บริโภค ที่พร้อมจะตอบคำถามให้กับทุกคน6. การมอบรางวัล Consumers Champion Awards 7. การเปิดเผยข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ8. การสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติ Gross National Happiness9. การสร้างระบบเตือนภัย และระบบแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลและการจัดการหรือ Consumer Interpol 10. การเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการประชุมว่าด้วยสิ่งแวดล้อม Rio 2012 ที่จะมีการประกาศ Rights of Mother Earth11. การกระจายพลัง เราจะต้องอาศัยพลัง 5 ประการ ได้แก่ พลังของคนแต่ละคน พลังของหลายๆ คนรวมกัน พลังของข่าวสารข้อมูล พลังแห่งความดีงาม และพลังจากการเผยแพร่ความสำเร็จ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 124 ผู้แทนยา ปิดยอดให้ได้ อะไรก็ทำ

  7.30 นาฬิกา “กวาง” หญิงสาวบุคลิกดี แต่งตัวสวย ท่าทางมั่นใจถือถุงบรรจุแก้วกาแฟเดินเข้าไปในห้องตรวจโรคแผนกอายุรกรรม วางแก้วกาแฟลงบนโต๊ะพร้อมห่อกระดาษทิชชูที่มีชื่อยาของบริษัทเธอไว้ข้างๆ เพื่อให้แพทย์รู้ว่าใครเป็นผู้มี “น้ำใจ” หลังจากนั้นก็มายืนที่บริเวณทางเดินไปห้องตรวจโรคของแพทย์ในโรงพยาบาลเพื่อคอย “รีมายด์” หรือบอกชื่อยาของบริษัทพร้อมทั้งสรรพคุณสั้นๆ ว่ายาของเธอดีกว่ายาของบริษัทคู่แข่งอย่างไรแก่แพทย์ที่เดินผ่านไปมา ถุงกระดาษประทับชื่อยาที่วางอยู่บนพื้นเต็มไปด้วยของกระจุกกระจิกที่ประทับชื่อยาหรือชื่อบริษัท เช่น ปากกา เครื่องคิดเลข กระดาษทิชชู สมุด ไดอารี เพื่อใช้เป็นกุญแจนำเข้าบทสนทนาและให้แพทย์คุ้นชินกับชื่อยา ไม่นับรวมช่วงเทศกาลต่างๆ ที่เธอต้องหอบถุงกระดาษบรรจุของขวัญเพื่อมากำนัลแก่แพทย์ หวังให้เกิดความประทับใจและส่งผลให้ช่วยใช้ยาที่เธอขาย  “ผู้แทนยา” คืออาชีพของเธอ อาชีพที่หนุ่มสาวหลายคนอยากจะเข้ามาทำ เนื่องจากอิสระ ไม่มีเวลาการทำงานที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ถ้า “ปิดยอด” หรือทำได้ถึงเป้าของบริษัทเร็ว เดือนนั้นก็ไม่ต้องไปทำงานเลยก็ได้ และที่สำคัญเงินเดือนดี ผู้แทนยาน้องใหม่บางคนหากขยันก็ทำเงินค่าคอมมิชชันได้ถึงหลักแสนในเดือนแรก แต่ไม่ใช่ว่าใครๆ ก็มาทำอาชีพนี้ได้ เพราะต้องมีบุคลิกและหน้าตาดี ถ้าให้ง่ายก็บวกเส้นสายอีกนิดหน่อย ส่วนกวางเข้ามาทำงานนี้ได้เพราะรุ่นพี่แนะนำให้ ส่วนจะเรียนจบเภสัชศาสตร์หรือสายวิทยาศาสตร์มาหรือไม่นั้น ไม่สำคัญเท่าไหร่ เพราะสิ่งที่สำคัญสำหรับอาชีพผู้แทนยาคือ ต้อง“คุย” กับแพทย์รู้เรื่อง ไม่นานนักแพทย์ก็เริ่มทยอยกันเดินผ่านทางเดิน ด้วยความที่แพทย์มีเวลาแค่เล็กน้อย ประกอบกับเพื่อนร่วมอาชีพที่รออยู่บริเวณนั้นมีจำนวนมากเช่นกัน ทำให้แพทย์ไม่สามารถจะหยุดคุยกับผู้แทนยาทุกคนได้ เธอจึงต้องใช้วิธีวิ่งเข้าไปหาแพทย์ ยื่นปากกาให้ รีบรีมายด์สั้นๆ พร้อมทั้งประโยคสำคัญ  “อาจารย์ขา ฝากยาของหนูด้วยนะคะ”แพทย์พยักหน้า แล้วรีบเดินจากไป เป็นโอกาสของผู้แทนยาหนุ่มสาวที่ยืนรออยู่ข้างหน้า  แม้จะเป็นการกระทำที่ซ้ำๆ ต้องพูดประโยคเดิมๆ ทุกวัน เหมือนเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและไม่สำคัญ แต่ผู้แทนยาทุกคนก็รู้ว่าการรีมายด์ยาสำคัญมาก เธอรู้ว่าแพทย์บางคนต้องการเห็นผู้แทนยามาทำงานจึงจะสั่งใช้ยา โดยผู้แทนยาต้องมายืนเรียงแถวให้แพทย์เห็นหน้า เรียกว่า “เช็คชื่อ” โดยเฉพาะยาของสองบริษัทที่เหมือนกัน  หากแพทย์มีเวลาให้เธอสัก 5-10 นาที เธอก็จะเข้าไปคุยให้ข้อมูลรายละเอียดเรื่องยาในห้องตรวจหรือ “ฟูลเปเปอร์” แม้จะน่าอึดอัดเล็กน้อยเพราะคนไข้ที่รอตรวจจะมองเธอด้วยสายตาสงสัย หรือบางคนอาจจะชักสีหน้าด้วยความไม่พอใจที่เธอทำให้ต้องเสียเวลารอ...ทำไงได้ นี่คืองานของเธอ แต่วันนี้ทุกอย่างช่างวุ่นวาย เพราะเธอต้องไปเตรียมจัดเลี้ยงอาหารกลางวันให้แก่แพทย์และแพทย์ประจำบ้านที่ห้องประชุมอีก  เกือบ 11 นาฬิกาหลังจากที่แพทย์ทุกคนเข้าห้องตรวจ ก็ถือเป็นเวลาพักของพวกผู้แทนยา กวางและเพื่อนร่วมอาชีพเดินไปทานข้าวที่โรงอาหารของโรงพยาบาล นั่งคุยถึงเรื่องสัพเพเหระ หรือทำกิจกรรมต่างๆ นานา เธอไม่ลืมที่จะโทรไปสั่งอาหารกล่องของภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นกลางห้างดัง ติดต่ออาจารย์แพทย์ที่จะมาบรรยายเรื่องยาอีกครั้ง และภารกิจอื่นๆ อีกมากมายที่เธอต้องบริการแพทย์ซึ่งเป็น “ลูกค้า” เมื่ออยู่ในอาชีพผู้แทนยา   เรื่องธรรมดาในโรงพยาบาล ? กิจวัตรประจำวันของผู้แทนยาเช่น “กวาง” เป็นสิ่งที่คุ้นตาและเกิดขึ้นจริงในโรงพยาบาล นอกจากนี้ผู้แทนยายังมีความเห็นว่า การอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่แพทย์ เช่น ลงชื่อเข้าประชุมวิชาการ จองห้องพักโรงแรมให้เมื่อมีประชุม ขับรถรับส่งไปประชุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จัดเลี้ยงอาหารหรือกาแฟยามเช้า หรือแม้แต่ไปจัดการธุระที่ธนาคารให้แก่แพทย์ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงาน และเป็นการแสดงน้ำใจ ซึ่งจะทำให้แพทย์ช่วยใช้ยา   “มันเหมือนกับเป็นการเซอร์วิส มายด์ค่ะ เหมือนกับน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า อย่างแพทย์ในช่วงเวลาที่เขาเร่งรีบ เขาก็ “อ่ะ ไปแบงค์ให้ผมหน่อยซิ” หรือ “ไปส่งผมตรงนี้หน่อย” “ไปส่งสนามบินหน่อย” อันนี้ก็เป็นการเซอร์วิส เพราะว่าเขาอาจจะไม่มีเวลาหรือกำลังรีบ เพราะว่าหมอเนี่ย เขาจะมีเวลาไม่ค่อยเพียงพออยู่แล้ว เขาก็จะไหว้วานเรา เขาอยู่โรงพยาบาล ที่จอดรถก็ไม่ค่อยมี หรือไม่งั้นตอนเย็นเขาจะไปประชุม แล้วบริษัทนี้สนับสนุนวิชาการโดยการลงทะเบียนให้เขา ผู้แทนบริษัทนี้ต้องเซอร์วิสโดยการที่ไปส่งหมอ” ซี ผู้แทนยาสาวจากบริษัทยาต่างชาติกล่าว  เช่นเดียวกับน้ำ ผู้แทนยาจากบริษัทยาต่างชาติอีกคนที่มีความเห็นในทำนองเดียวกัน “หมอบางคนทำงานจนดึก ต้องเข้ามาตรวจคนไข้แต่เช้า ตรวจแต่ละครั้งก็ต้องอธิบายให้คนไข้ฟัง หมอก็เหนื่อย เพลีย คอแห้ง แล้วก็ไม่มีคนเอาน้ำไปให้ แล้วใครจะทำ เราก็ทำให้เพราะเป็นการแสดงน้ำใจแก่หมอ เรื่องการประชุมบางครั้งต้องให้บริษัทยาลงชื่อเข้าให้ ถึงหมอมีเงินแค่ไหน แต่ถ้าลงเองก็ลงไม่ได้ แล้วหมอก็ต้องทำงานทั้งวัน จะเอาเวลาที่ไหนไปจองห้องพัก สายการบิน เวลาไปเมืองนอก หมอจะรู้ได้ยังไง บริษัทยาก็ต้องทำให้ ส่วนเรื่องการขับรถรับส่ง หมอไม่มีเวลา บางทีเลิกดึก ก็ต้องขับรถไปรับไปส่ง เวลาหมอเดินทาง ขึ้นเครื่องบินแล้วจะเอารถไปไว้ที่ไหน ก็ต้องไปส่งหมอ เป็นน้ำใจ” เธอกล่าวโดยเน้นย้ำว่าเป็นการแสดง “น้ำใจ” เท่านั้น   สายสัมพันธ์สีเทาในความสัมพันธ์ระหว่างผู้แทนยาและแพทย์ การแสดงถึง “น้ำใจ” เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะยิ่งผู้แทนยาคนไหนแสดง “น้ำใจ” มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่แพทย์จะใช้ยาของผู้แทนยาคนนั้น ซึ่งถือเป็นการ“แสดงน้ำใจกลับคืน”มากเท่านั้น เช่นที่อาจารย์แพทย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งกล่าวไว้ว่า   “เราไม่ได้เป็นเบี้ยล่างคนขายยา เราไม่จำเป็นต้องซื้อยาเขา เขาไม่ใช่พ่อแม่ แต่ถ้าเรามีบริษัทยาเข้ามาก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น มีคนมาให้ไม้บรรทัดเรา ไม่ต้องไปซื้อเอง ปากกาไม่ต้องซื้อเอง มีข้าวกินตอนเที่ยง น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เป็นความสัมพันธ์แบบวินวิน เขาขายยาได้ แล้วก็ช่วยเราบ้างตามความสมควร”   “ถ้ายาตัวนั้นเข้าโรงพยาบาลแล้วผู้แทนยาจะพามาเลี้ยงอาหาร เลี้ยงขนม พอยาเข้าโรงพยาบาลมันจะมีส่วนลด ส่วนเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเขาจะเอาส่วนลดเปอร์เซ็นต์นี้มาเลี้ยงข้าวพวกหมอผู้ใช้ยา คล้ายๆ กับเป็นการตอบแทนที่ใช้ยาเขา อะไรทำนองนี้” นายแพทย์คลินิกโรคกระดูกและข้ออีกคนในโรงพยาบาลเดียวกันกล่าว   แต่แพทย์คนหนึ่งของโรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของผู้แทนยากล่าวว่า   “ผู้แทนยาจะยืนเกะกะตามทางเดินก่อนถึงห้องตรวจคนไข้ คอยยื่นเอกสารและของแจกพร้อมโฆษณากับแพทย์ว่าอย่าลืมช่วยใช้ยาเขาเป็นที่เอิกเกริก คนไข้ที่นั่งรอก็เห็นกันทั้งนั้น คอยวิ่งตามลงบันไดเพื่อโฆษณาและรีบยัดของฝากใส่มือแพทย์ ชาวบ้านที่เห็น เขาใช้คำว่า นอกจากเกะกะกีดขวางแล้ว ยังทำตัวน่าเกลียดมาก เหมือนเปรตมารอขอส่วนบุญเป็นโขยง”   ที่มากกว่านั้น แพทย์หญิงคนหนึ่งยังกล่าวว่า “เท่าที่ได้ยินเรื่องหมอหนุ่มกับผู้แทนสาวมีเรื่อยๆ เช่น ผู้แทนต้องการให้ยาตัวเองทำยอดให้ได้ภายในเดือนนี้ ไม่เช่นนั้นอาจต้องถูกออกหรือตัดเงินเดือน ทำให้ต้องยอมทำอย่างไรก็ได้ให้แพทย์ยอมใช้ยาของตัวเอง เพื่อให้ยอดขึ้น บางรายก็ยอมมีความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเพศสัมพันธ์เพื่อแลกกับยอดการใช้ยา อันนี้ยังมีอยู่ให้ได้ยินและเป็นที่รู้กันในบางรายที่ทำเป็นประจำ”  จะเห็นได้ว่าผู้แทนยาพยายามทำสิ่งต่างๆ ให้แก่แพทย์ เพื่อให้เกิด “ความคุ้นเคย” ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้แทนยาหวังให้เกิดขึ้น เพราะจะส่งผลให้แพทย์ “ช่วย” ใช้ยา  “หมอใช้ยาโดยเสน่หาอยู่แล้ว ถ้ายาเหมือนกัน สรรพคุณเหมือนกัน แต่ถ้าให้เลือกสั่งยากับผู้แทนยาที่มามีน้ำใจ ช่วยเหลือ กับคนที่ไม่ทำอะไรให้เลย จะเลือกใครล่ะ” พลอย ผู้แทนยาสาวที่ทำงานกับบริษัทยาต่างชาติมากว่าสิบปีกล่าว เช่นเดียวกับความเห็นของปลา ผู้แทนยาจากบริษัทต่างชาติอีกคน “บางทียามันเข้าในโรงพยาบาลทีนึงหลายตัว แต่หมอสามารถใช้ตัวไหนก็ได้ ถ้าเขาเห็นเรา ตอนเย็นเราไปนั่งรอ เขาเห็นความขยันของเราปุ๊บเนี่ยนะ มีผล คือหมอเขาจะช่วยใช้ยาของเรามากขึ้น นึกถึงยาเราก่อน เขาเรียกว่าความขยัน ความเห็นอกเห็นใจ เหมือนกับความสัมพันธ์ อะไรอย่างนี้”  แพทย์ผู้สั่งยาก็มีความเห็นไปในทำนองเดียวกัน โดยนายแพทย์คลินิกโรคกระดูกและข้อของโรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งให้ความเห็นสั้นๆ ว่า “ใครมาบ่อยก็ใช้ของเขา ใครไม่มาก็ไม่ใช้ของเขา” หรือความเห็นจากนายแพทย์อีกคนในแผนกเดียวกัน “ผู้แทนยาคนไหนที่เข้ามาประจำ เราคุ้นเคยไง เราก็อาจจะโน้มเอียงมาทางคนคุ้นเคย คนหนึ่งนานๆ โผล่หน้ามาที ทั้งที่ยาดีกว่าแต่ว่าเราไม่คุ้นเคย เราก็อาจจะโน้มเอียงมาทางคนคุ้นเคย เพราะฉะนั้นความสม่ำเสมอมีผลต่อยอดของยา”  “ก็มีผลสิ จะเลือกยาของคนที่คุ้นเคยมากกว่า มีผลนะ ชัดเจน แต่ไม่ถึงขั้นว่าเห็นคนนี้แล้วเป็นคะแนนสงสารหรืออะไร ไม่เกี่ยวกัน เพราะเวลาที่เราเห็นคนนี้ ก็เหมือนกับเป็นสัญลักษณ์ ถูกไหม สัญลักษณ์ของยี่ห้อนี้ พอเวลาเราเจอคนไข้ปุ๊บ เราก็จะนึกถึงอันนี้ก่อน เช่น คนไข้คนนี้เหมาะกับยากลุ่มนี้ แต่กลุ่มนี้มีสามตัว เรานึกอะไรได้ก่อนล่ะ ความเคยชินเราชินอะไรก่อน ก็คืออันนั้นแหละ” แพทย์หญิงแผนกอายุรกรรมของโรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งกล่าว  ส่วนแพทย์หญิงภาควิชาอายุศาสตร์ของโรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งก็ให้ความเห็นว่า “มีบางครั้งที่ผู้แทนยาทำตัวไม่เหมาะสม เช่น ก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวเกินไปนิดนึง หรือวางตัวแบบ...ถ้าใช้คำว่าเสมอมันก็น่าเกลียดไปเนอะ แต่มันเป็นอย่างนั้น ทำตัวสนิทสนมจนเกินไป มันก็มีบ้าง” หัวหน้าพยาบาลของโรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์ที่ทำงานมากว่า 20 ปีให้ความเห็นว่า “ผู้แทนยานำเสนอในลักษณะที่ตื้อเหลือเกิน มันไม่ได้เป็นการขายของทั่วไป มันไม่ได้ขายของที่ใช้สำหรับส่วนตัวที่คุณจะต้องมาตื้อหรือว่าอะไร เพราะจริงๆ มันน่าจะแข่งขันกันด้วยคุณภาพที่ไม่ต้องใช้กลยุทธพวกนี้มากนัก และส่วนตัวมองว่าผู้แทนยาก็ทำหน้าที่ในการนำเสนอยาที่เกินบทบาทของผู้แทนมาก ซึ่งก็เป็นความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ด้วย อย่างเช่น การแต่งกาย รูปร่างหน้าตา ที่นำเสนอยามันไม่จำเป็นต้องขนาดนี้ มันยิ่งกว่าแอร์โฮสเตส ยิ่งกว่าอะไรซะอีก นี่มันสวยเหมือนไม่ใช่มาขายยาน่ะ มันไม่ได้พูดกันลักษณะมืออาชีพที่จะมาขายของที่มีคุณประโยชน์ มันใช้กลยุทธอื่นมากเกินไปจนทำให้เราคิดได้ว่ามันไม่น่าจะตรงไปตรงมา เช่นการแต่งกาย หน้าตาที่จะต้องคัด จะต้องสวย และสิ่งของที่เอามานำเสนอที่มากกว่าตัวยา”   บริการยกระดับ “มันไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัว”นอกจากการกระทำในระดับส่วนตัวแล้ว ผู้แทนยายังเข้าไปให้ผลประโยชน์ในระดับแผนกหรือภาควิชาต่างๆ ของโรงพยาบาลอีกด้วย เช่น จัดเลี้ยงให้แพทย์ในภาควิชาต่างๆ ของโรงพยาบาลช่วงเที่ยง มีประชุมวิชาการย่อยที่เกี่ยวข้องกับยาโดยผู้แทนยาเอง หรือที่นิยมคือการเชิญอาจารย์แพทย์ที่มีชื่อเสียงในเรื่องที่ต้องการขายยามาบรรยายให้ฟังว่ายาใหม่ดีอย่างไร มีข้อแนะนำใหม่ๆ ว่าให้เริ่มใช้ยานี้อย่างไร ซึ่งการกระทำเช่นนี้ไม่มีข้อจำกัดแน่นอน ขึ้นอยู่กับภาควิชา บางภาควิชาก็จะกำหนดว่าให้มาได้วันใดบ้าง เช่น ทุกวันศุกร์ บางภาควิชาให้มาวันใดก็ได้ เช่น ภาควิชาอายุรกรรมในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งกลางกรุงเทพฯ มีสมุดให้ผู้แทนยาลงชื่อขอเลี้ยงอาหารเที่ยง ซึ่งทุกวันจะมีผู้แทนยาลงชื่อเลี้ยงเต็มไปจนถึงปีหน้า  “แต่ละภาควิชา มีการใช้ยาที่แตกต่างกัน ผู้แทนยาจะขอเข้ามานำเสนอยาโดยแลกเปลี่ยนกับการแจกข้าวประชุม ไม่ว่าจะเป็นเช้า กลางวันหรืออาหารว่างตามแต่มื้อ หมอจะได้กินข้าวฟรี โดยเฉพาะภาควิชาหรือหน่วยงานใหญ่ๆ ที่ใช้ยาราคาแพงเป็นประจำ จะมีข้าวกลางวันเจ้าอร่อยกินฟรีตลอด” แพทย์หญิงภาควิชาอายุรศาสตร์ของโรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งกล่าว  ดาว ผู้แทนยาจากบริษัทยาต่างชาติเล่าว่า “จะมีการประชุม ซึ่งทางเราจะมีการสนับสนุนให้กับแพทย์ เหมือนอย่างแพทย์จะมีการประชุมตอนเช้า ส่วนใหญ่เกือบทุกที่จะมีการเรียนการสอนโดยแพทย์ที่เป็นระดับอาจารย์ซึ่งจบเฉพาะทางแล้ว เขาจะมาสอนเด็กกันตอนเช้า ซึ่งเด็กนี่จะเป็นพวกเรสิเดนท์ที่มาจากนักศึกษาแพทย์เทิร์นขึ้นมาเรียนเฉพาะทาง ก็จะมีการสอนกันตอนเช้า ทางเราก็จะมีการสนับสนุนวิชาการ โดยอาจจะมีการจัดประชุมให้โดยการสนับสนุนพวกเอกสาร ห้องประชุม อาหารเช้า อะไรอย่างนี้”  “นอกจากงบของโรงพยาบาลและงบประมาณแผ่นดินแล้ว ก็จะมีส่วนของบริษัทยาสนับสนุน เช่น น้ำหรืออาหาร เพราะว่าโดยปกติ งบของทางราชการได้มาแค่ส่วนหนึ่ง แล้วถ้าเกิดจะให้ประชาชนหรือคนอื่นเข้ามาเนี่ย ในส่วนค่าอาหารเขาอาจจะจำเป็นต้องจ่ายเอง ก็ไม่ค่อยมีใครอยากจะเข้ามาเท่าไหร่ แต่ถ้าเรามีเงินสนับสนุนตรงนี้ก็โอเค เป็นเหมือนกับการที่ทำให้คนเข้ามาเยอะขึ้น” นายแพทย์คลินิกโรคกระดูกและข้อโรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งกล่าว ส่วนนายแพทย์อีกคนในโรงพยาบาลและแผนกเดียวกันให้ความเห็นว่า “ถ้ายาตัวไหนที่เข้าโรงพยาบาลแล้วยอดใช้เยอะ ทางบริษัทยาก็จะให้งบสนับสนุนกลุ่มงานหรือสนับสนุนแผนก ไม่ได้ให้เป็นรายส่วนตัว เช่น สมมติว่าแผนกศัลยกรรม ก็ให้งบช่วยเหลืองานปีใหม่ เท่านี้ครับ นอกจากนั้นก็จะมีทางแผนกไปรบกวนบริษัทเขา คือขอเขา เช่นมีงานประชุมวิชาการเกี่ยวกับยา เช่นยารักษาโรคกระดูกพรุน มีประชุมวิชาการเกี่ยวกับกระดูกพรุน แล้วก็มีสปอนเซอร์เกี่ยวกับบริษัทนี้อยู่ คือบริษัทยาตัวนี้เกี่ยวข้องอยู่ เราก็ขอไปประชุมได้ไหม ก็มีทั้งในและต่างประเทศ”   ไม่เว้นแม้แต่การเข้าไปช่วยจัดงานเลี้ยงให้กับแผนกเภสัชกรรม “แผนกเภสัชมีคนทำงานหลายคน ใครก็อยากมีโบนัส อยากจัดงานเลี้ยงปีใหม่ แต่โรงพยาบาลรัฐจะเอาเงินมาจากไหน บริษัทยาก็เข้าไปช่วยทำให้” ทราย ผู้แทนยาสาวจากบริษัทยาต่างชาติกล่าว   ผลประโยชน์ทับซ้อน แล้วคนไทยจะไปทางไหนข้อมูลจากเอกสารหลัก ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมฯ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 กล่าวว่า ประเทศไทยประสบกับปัญหาค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการประมาณ 5 ล้านคน พบว่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นสองเท่า หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 55,000 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2551 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในระบบประกันสังคมและระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งสองระบบรวม 57 ล้านคน มีมูลค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในปีเดียวกันคิดเป็นเงินรวมเพียง 97,700 ล้านบาทเท่านั้น  ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบการสั่งใช้ยาในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการเป็นแบบปลายเปิด จ่ายตามเบิก จึงเป็นเหตุให้ไม่เป็นไปตามหลักการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ด้วยการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม  มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่น่าสนใจหลายทาง เช่น จัดตั้งองค์การอิสระให้ทำหน้าที่รับผิดชอบ จัดระบบ ตรวจสอบ รวบรวมและรายงานสถานการณ์การใช้ยาและการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมในระดับประเทศ โดยมีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนและภาคประชาสังคมร่วมตรวจสอบ และเสนอยุทธศาสตร์ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม โดยต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากเครือข่ายสถาบันการศึกษาและสถานพยาบาลที่ต้องพัฒนาหลักเกณฑ์จริยธรรมด้านการส่งเสริมการขายยาที่เป็นของแต่ละสถาบัน บังคับใช้ และปรับปรุงหลักเกณฑ์อย่างต่อเนื่องให้ทันต่อสถานการณ์  และสถานพยาบาลก็ต้องร่วมผลักดันให้เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายเป็นหนึ่งในการพิจารณามาตรฐานโรงพยาบาลควบคู่กับเกณฑ์มาตรฐานในเรื่องการใช้ยาที่เหมาะสม เสนอให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลต่างๆ แจ้งรายงานผลการสั่งจ่ายยาที่ผิดปกติเพื่อให้แพทย์ผู้สั่งใช้ยารับทราบและแก้ไขปรับปรุงเป็นรายปี โดยอาจพิจารณาเชื่อมโยงกับความถี่ของการเข้าพบผู้แทนยา องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพ เช่น แพทยสภา สภาเภสัชกรรม ต้องพัฒนาหลักเกณฑ์จริยธรรมด้านการส่งเสริมการขายยาให้เป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมหรือจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพแต่ละสาขา ร่วมดำเนินการเผ้าระวังการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม จัดให้มีบทลงโทษหนัก กรณีพบว่ามีส่วนร่วมในขบวนการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม เช่น การรับ-ให้ของขวัญ ของชำร่วย การเลี้ยงรับรองโดยมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับการสั่งใช้ยา เป็นต้น และนำมาตรการเชิงบวกมาใช้เพื่อสนับสนุนการประกอบวิชาชีพตามหลักการใช้ยาที่เหมาะสม ด้านสื่อมวลชนและภาคีทุกภาคส่วนก็ต้องร่วมกันสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลและสนับสนุนให้เกิดกลไกตั้งแต่การคัดเลือกยา การติดตามและประเมินการใช้ยา สนับสนุนระบบติดตามการใช้ยาภายในโรงพยาบาลเพื่อเป็นเครื่องมือให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะสม และพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการรักษา ส่วนภาคประชาชนสามารถร่วมแก้ปัญหานี้ได้โดย ร่วมกันสนับสนุนการรวมตัวของภาคประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม และนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะ ทั้งนี้ให้จัดงบประมาณสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมเฝ้าระวังด้วย จัดทำแผนการเฝ้าระวังปัญหาและติดตามการดำเนินงานเพื่อแสดงความก้าวหน้าของการดำเนินงาน และประเมินผล โดยนำเสนอผลสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง  ทุกภาคส่วนร่วมกันจัดทำแผนการเฝ้าระวังปัญหาและติดตามการดำเนินงานเพื่อแสดงความก้าวหน้าของการดำเนินงาน และประเมินผล โดยนำเสนอผลสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ต้องจัดให้มีงบประมาณเพื่อให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมเฝ้าระวัง  และสุดท้าย สื่อมวลชนมีบทบาทร่วมกับภาคประชาสังคมในการให้ความรู้ประชาชนเพื่อส่งเสริมการใช้ยาที่เหมาะสมและสร้างความเท่าทันต่อขบวนการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม การขายยาจะเทียบกับอาชีพขายของทั่วไปที่ต้องมีการทำโปรโมชั่นไม่ได้ เพราะยานั้นเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคน กินมากไม่ได้แค่ทำให้อ้วนเหมือนกินขนม ใช้มากไม่ได้ทำให้แค่เปลืองเหมือนกระดาษชำระ เลือกยี่ห้อที่ชอบ ไม่ได้ต่างแค่ความพอใจที่ได้...แต่ผลอาจถึงขั้นเสียชีวิต

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 122 ใครๆ ก็อยากมีรถโดยสารที่มีคุณภาพ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภค 24 จังหวัด โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะประจำทางในท้องถิ่นเส้นทางภายในจังหวัดและเส้นทางระหว่างจังหวัด ในช่วงระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 8 เมษายน 2554 พบว่า ผู้บริโภคมีปัญหาเรื่องพนักงานขับรถ ขับเร็ว หรือขับรถหวาดเสียว และพนักงานขับรถโดยสารใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สนทนาระหว่างปฏิบัติหน้าที่สูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่า เวลาที่ผู้บริโภคจะคืนตั๋วเมื่อไม่สามารถเดินทางได้ เกือบ 50 % ไม่ได้เงินคืน แต่...ผู้บริโภคเกือบ 90 % ไม่เคยใช้สิทธิร้องเรียนเมื่อเกิดปัญหาจากคุณภาพและงานบริการของรถโดยสารเลย   ผลสำรวจความคิดเห็น • รถประจำทางวิ่งในจังหวัด1.บริการยอดนิยม อันดับหนึ่ง รถสองแถว 44.8 % ตามมาด้วย รถทัวร์โดยสารปรับอากาศ 35.4 % รถเมล์(ไม่ปรับอากาศ) 33.9 % และรถตู้ 24.4 %   2.คุณภาพงานบริการ 2.1 ความถี่ในการรับตั๋วหลังจ่ายค่าโดยสาร ใน 100 คน ไม่เคยได้ตั๋วเลย 9 คน ผลสำรวจ ไม่เคยได้รับตั๋วโดยสารหรือไม่มีบัตรอื่นใดให้เลย 35 % ได้รับตั๋วโดยสารทุกครั้ง 34.4 % ได้รับเป็นบางครั้ง 22.1 % และไม่ได้รับตั๋ว แต่ได้รับเป็นบัตรหมายเลขแทน 8.5 %2.2 การระบุราคาและหมายเลขที่นั่งไว้อย่างชัดแจน ใน 100 คน มี 21 คนที่ไม่เคยเห็นราคาและเลขที่นั่งบนตั๋ว ผลสำรวจ มีการระบุราคาและหมายเลขที่นั่ง 37 % มีการระบุราคาแต่ไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 32.3 % ไม่มีการระบุราคาและไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 20.5 % ไม่มีการระบุราคาแต่ระบุหมายเลขที่นั่ง 10.2 %2.3 การเก็บค่าโดยสาร ครึ่งหนึ่ง โอเคและคิดว่าเหมาะสม มี 19 % ที่บอกแพงเกินไปผลสำรวจ เห็นว่า ถูกต้อง เหมาะสม 50.6 % ไม่แน่ใจเพราะ ไม่ทราบว่าอัตราค่าโดยสารเป็นเท่าไหร่ 30.9 % ถูกต้อง แต่ไม่เหมาะสมเพราะแพงเกินไป 18.5 % 2.4 การขอเงินค่าโดยสารคืนเมื่อจ่ายเงินค่าโดยสารแล้ว แต่ไม่สามารถเดินทางได้ มีถึง 46 % บอกว่า ไม่เคยขอคืนได้เลย ผลสำรวจ ขอไม่ได้เลย 46.1 % ขอได้และได้เงินคืนครบถ้วน 30.6 % ขอได้เหมือนกัน แต่ได้เงินคืนไม่ครบ 23.3 %2.5 การติดประกาศแจ้งถึงข้อมูล เงื่อนไขในการให้บริการของรถโดยสาร ณ จุดพักรถ เกือบครึ่งหนึ่ง ไม่เคยเห็นประกาศใดๆ เลยผลสำรวจ ไม่มีการติดประกาศ 43.3 % มีติดประกาศ ในบริเวณที่เห็นได้ในชัดเจน 32.8 % มีติดประกาศ แต่ไม่อยู่ในบริเวณที่จะเห็นได้อย่างชัดชัดเจน 23.9 % 2.6 บริการของพนักงานประจำรถโดยสาร มากกว่าครึ่งหนึ่ง พอรับได้ (สงสัยชิน)ผลสำรวจ พึงพอใจปานกลาง 64.9 % พึงพอใจน้อย 21.3 % พึงพอใจมาก 10.6 % และไม่พึงพอใจเลย3.2 % 2.7 เคยโดยพนักงานประจำรถ แสดงกริยาไม่สุภาพ เช่น ลวนลาม เสียดสี ข่มขู่ กรรโชก ใน 100 คน มี 35 คนที่เคยโดนมาแล้ว ผลสำรวจ เคย 34.8 % ไม่เคย 65.2 %   3. ความปลอดภัยและการเยียวยาความเสียหาย เรื่องของพนักงานขับรถ 3.1 พนักงานขับรถโดยสาร มีการแสดงป้ายใบอนุญาตการขับขี่ไว้ในรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ ใน 100 คน มี 35 คน ตอบว่า ไม่แน่ใจ ผลสำรวจ มี 38.1 % ไม่แน่ใจ 35.2 % ไม่มี 26.7 % 3.2 เคยเห็นพนักงานขับรถเม้าท์มือถือระหว่างขับรถไหม 80 % เห็นมากับตา ผลสำรวจ เคยพบ 80.8 % ไม่เคยพบ 19.2 % เคยพบใช้โทรศัพท์สนทนาโดยใช้มือจับ  53.4 % เคยพบใช้ในขณะที่รถจอด  13.2 % เคยพบใช้โดยเสียบผ่านหูฟัง (Small talk)  11.6 % และ ไม่แน่ใจ 2.7 % 3.3 เคยเจอพนักงานขับรถ ขับเร็ว น่ากลัว หวาดเสียวไหม ผู้บริโภค 75 % มีประสบการณ์ระทึกมาแล้ว ทั้งนั้น โดยมี 28 % เจอประจำ ผลสำรวจ เคย 75.2 % ไม่เคย 20.8 % เคยเป็นบางครั้ง 36.3 % เคยบ่อยมาก 28 % เคยนานๆครั้ง 14.4 % และไม่แน่ใจ  4 % (สงสัยว่าหลับ) 3.4 เคยเจอพนักงานขับรถเมาขณะขับรถไหม 63 % ไม่เคยเห็นคนขับเมาเลย ผลสำรวจ เคยพบ 15.7 % ไม่เคยพบ 62.7 % และไม่แน่ใจ 21.6 % (คงเนียนมาก) 3.5 เคยเจอคนขับรถสูบบุหรี่ขณะขับไหม เกือบ 40 % เคยเจอเหมือนกัน ผลสำรวจ เคยพบ 39 % ไม่เคยพบ 47.4 % ไม่แน่ใจ 13.6 % 3.6 เคยพบพนักงานขับรถมีอาการง่วงหรือหลับในขณะขับรถหรือไม่ มากกว่าครึ่งหนึ่งยังไม่เคยเจอ (โชคดีจัง) ผลสำรวจ เคยพบ 18 % ไม่เคยพบ 54.2 % ไม่แน่ใจ 27.8 % 3.7 เคยพบรถโดยสารที่จอดรับผู้โดยสารนอกจุดรับส่งที่กำหนดหรือไม่ ผลสำรวจ เคยพบ 53.3 % ไม่เคยพบ 25.5 % ไม่แน่ใจ เพราะไม่รู้ตำแหน่งจุดจอดที่กำหนด 21.2 % 3.8 เคยพบรถโดยสารที่ขับช้าเกินควรหรือขับกีดขวางทางรถคันอื่นไหม ขับเร็วก็เจอมาแล้ว ขับช้าก็ต้องมีบ้าง เกือบครึ่งหนึ่งก็เจออยู่บ้าง ผลสำรวจ เคยพบ 48.2 % ไม่เคยพบ 51.8 % เรื่องสภาพรถโดยสาร3.9 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการมีเข็มขัดนิรภัย หรือไม่ ผลสำรวจ พบว่า มี 57.6 % ไม่มี 42.4 % 3.10 เข็มขัดนิรภัยอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ ผลสำรวจ เหมาะสม 55.2 % ไม่เหมาะสม (พันไว้หลังที่นั่ง , สายสั้น ,สายขาด , ไม่มีหัวคาด ฯลฯ) 44.8 % 3.11  เคยพบรถโดยสารที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารเพราะไม่มีที่นั่งพอหรือไม่ผลสำรวจ เคย 74.4 % ไม่เคยพบ 25.6 % 3.12 เห็นด้วยหรือไม่ที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารบนรถโดยสารผลสำรวจ ไม่เห็นด้วย 79 % เห็นด้วย 16.5 % และ ไม่แน่ใจ 0.5 % 3.13 รู้ไหมว่า ป้ายทะเบียนของรถโดยสารสาธารณะจะต้องใช้ป้ายทะเบียนสีเหลืองตัวอักษรสีดำตามกฎหมายกำหนดเท่านั้นผลสำรวจ รู้ 60 % ไม่รู้ 40 % 3.14 แล้วรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่เป็นป้ายทะเบียนสีเหลือง สำหรับขนส่งผู้โดยสารใช่หรือไม่ ผลสำรวจ ใช่ 57.8 % ไม่ใช่ 34.5 % ไม่แน่ใจ 7.7 % 3.15 สภาพรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ผลสำรวจ สภาพมั่นคงแข็งแรง เหมาะสมกับการใช้งาน 70.0 % สภาพเก่า ทรุดโทรม ไม่เหมาะกับการใช้งาน 30.0 % 3.16 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพภายใน สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะสมกับการใช้บริการหรือไม่ ส่วนใหญ่สะอาดใช้ได้เลย ผลสำรวจ สะอาด ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 70.3 % ไม่สะอาด สกปรก ทรุดโทรม มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 29.7 %   เรื่องการชดเชยเยียวยาความเสียหาย 3.17 เคยประสบอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสารวิ่งในจังหวัดหรือไม่ ผลสำรวจ ไม่เคย 89 % เคย 11 % 3.18 เคยเจอรถเสียระหว่างเดินทางไหม ผลสำรวจ ไม่เคย 59.9 % เคยสิ 40.1 % 3.19 ถ้าเกิดปัญหาจากการใช้บริการ เคยร้องเรียนไหม เกือบ 88 % ไม่เคยใช้สิทธิเลย(เศร้าจัง) ผลสำรวจ ไม่เคย 87.5 % เคย 12.5 % 3.20 ช่องทางที่ผู้บริโภครู้ว่า ถ้าเกิดปัญหาเรื่องรถโดยสารจะร้องเรียนได้ที่ไหน ผลสำรวจ ผู้ประกอบการ  68.6 % บริษัทประกันภัย 45.5 % กรมการขนส่งทางบก 43 %โรงพยาบาล 11.6 % มูลนิธิ องค์กรทางสังคม 10.9 % และสื่อมวลชน 6.8 % 3.21 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือไม่ผลสำรวจ ไม่แจ้ง 60.8 % แจ้ง 39.2 % 3.22 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตามประกันภัยรถเพิ่มเติม หรือไม่ผลสำรวจ ไม่มีแจ้ง 65.9 % มีแจ้ง 34.1 %   4.การกำกับดูแล การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 4.1 คิดว่าการกำกับดูแลคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดผลสำรวจ ปานกลาง 52.7 % น้อย 31.5 % มาก 15.8 % 4.2 คิดว่า ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ผลสำรวจ สมควร 94.4 % ไม่สมควร 5.6 % 4.3 คิดว่า ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลด้านคุณภาพและความปลอดภัยของบริการรถโดยสารด้วยช่องทางใดบ้าง ผลสำรวจ จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน 75.9 % จัดตั้งหน่วยเฝ้าระวัง และรายงาน พฤติกรรมของผู้ประกอบการเจ้าของรถ พนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน 60.7 % มาร่วมกำหนดนโยบาย มาตรการ เช่น บทลงโทษผู้กระทำความผิดซ้ำ และไม่แก้ไข 53.2 % เป็นอาสาสมัคร ให้ข้อมูลเรื่องสิทธิของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 40.4 % --   • รถประจำทางวิ่งระหว่างจังหวัด1.บริการยอดนิยม อันดับหนึ่ง รถทัวร์โดยสารปรับอากาศ 54.3 % รถตู้ 36.2 % รถเมล์ (ไม่ปรับอากาศ) 33.7 %รถสองแถว 17.1 %   2.คุณภาพงานบริการ 2.1 ความถี่ในการรับตั๋วหลังจ่ายค่าโดยสาร ใน 100 คน ไม่เคยได้ตั๋วเลย 13 คน ผลสำรวจ ได้รับตั๋วโดยสารทุกครั้ง  58.6 % ได้รับเป็นบางครั้ง 24.7 % ไม่เคยได้รับตั๋วโดยสารหรือไม่มีบัตรอื่นใดให้เลย 12.3 % ไม่ได้รับตั๋ว แต่ได้รับเป็นบัตรหมายเลขแทน 4.4 %2.2 การระบุราคาและหมายเลขที่นั่งไว้อย่างชัดแจน ผลสำรวจ มีการระบุราคา และหมายเลขที่นั่ง 47.9 % มีการระบุราคา แต่ไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 34.2 % ไม่มีการระบุราคา และไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 11 % ไม่มีการระบุราคา แต่ระบุหมายเลขที่นั่ง 6.9 %2.3 การเก็บค่าโดยสาร ครึ่งหนึ่ง โอเคและคิดว่าเหมาะสม ผลสำรวจ ถูกต้อง เหมาะสม 55.1 % ถูกต้อง แต่ไม่เหมาะสมเพราะแพงเกินไป 15.6 % ไม่แน่ใจเพราะ ไม่ทราบว่าอัตราค่าโดยสารเป็นเท่าไหร่ 29.3 % 2.4 การขอเงินค่าโดยสารคืนเมื่อจ่ายเงินค่าโดยสารแล้ว แต่ไม่สามารถเดินทางได้ มีถึง 40 % บอกว่า ไม่เคยขอคืนได้เลย ผลสำรวจ ขอไม่ได้เลย 39.2 % ขอได้และได้เงินคืนครบถ้วน 31.9 % ขอได้ แต่ได้เงินคืนไม่ครบถ้วน 28.9 % 2.5 การติดประกาศแจ้งถึงข้อมูล เงื่อนไขในการให้บริการของรถโดยสาร ณ จุดพักรถ เกือบครึ่งหนึ่ง เคยเห็นประกาศใดๆ เลยผลสำรวจ มีติดประกาศ ในบริเวณที่เห็นได้ในชัดเจน 42.7 % ไม่มีการติดประกาศ 31.3 % มีติดประกาศ แต่ไม่อยู่ในบริเวณที่จะเห็นได้อย่างชัดชัดเจน 26 % 2.6 บริการของพนักงานประจำรถโดยสาร 72.5 พอรับได้ (สงสัยชิน)ผลสำรวจ พึงพอใจปานกลาง 72.5 % พึงพอใจน้อย 13.8 % พึงพอใจมาก 10.9 % ไม่พึงพอใจเลย 2.8 % 2.7 เคยโดยพนักงานประจำรถ แสดงกริยาไม่สุภาพ เช่น ลวนลาม เสียดสี ข่มขู่ กรรโชก ใน 100 คน มี 35 คนที่เคยโดนมาแล้ว ผลสำรวจ เคย 35 % ไม่เคย 65 % 3. ความปลอดภัยและการเยียวยาความเสียหาย เรื่องของพนักงานขับรถ 3.1 พนักงานขับรถโดยสาร มีการแสดงป้ายใบอนุญาตการขับขี่ไว้ในรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ ใน 100 คน มี 40 คน ตอบว่า ไม่แน่ใจ ผลสำรวจ มี 42.7 % ไม่แน่ใจ 39.9 % ไม่มี 17.4 % 3.2 เคยเห็นพนักงานขับรถเม้าท์มือถือระหว่างขับรถไหม เกือบ 80 % เห็นมากับตา ผลสำรวจ เคยพบ 78.9 % ไม่เคยพบ 21.1 % เคยพบใช้โดยเสียบผ่านหูฟัง (Small talk) 11.9 % เคยพบใช้ในขณะที่รถจอด 10.5 % เคยพบใช้โทรศัพท์สนทนาโดยใช้มือจับ 53 % ไม่แน่ใจ 3.5 % 3.3 เคยเจอพนักงานขับรถ ขับเร็ว น่ากลัว หวาดเสียวไหม ผู้บริโภค 73 % มีประสบการณ์ระทึกมาแล้ว ทั้งนั้น ผลสำรวจ เคย 72.9 % ไม่เคย 27.1 % เคยเป็นบางครั้ง 34.5 % เคยบ่อยมาก 19.5 % เคยนานๆ ครั้ง 14.4 % ไม่แน่ใจ 4.6 % 3.4 เคยเจอพนักงานขับรถเมาขณะขับรถไหม 67 % ไม่เคยเห็นคนขับเมาเลย ผลสำรวจ เคยพบ 14.5 % ไม่เคยพบ 66.8 % ไม่แน่ใจ 18.7 3.5 เคยเจอคนขับรถสูบบุหรี่ขณะขับไหม 33.5 % เคยเจอเหมือนกัน ผลสำรวจ เคยพบ 33.5 % ไม่เคยพบ 56.6 % ไม่แน่ใจ 9.9 % 3.6 เคยพบพนักงานขับรถมีอาการง่วงหรือหลับในขณะขับรถหรือไม่ ผลสำรวจ เคยพบ 15.9 % ไม่เคยพบ 61.8 % ไม่แน่ใจ 22.3 % 3.7 เคยพบรถโดยสารที่จอดรับผู้โดยสารนอกจุดรับส่งที่กำหนดหรือไม่ ผลสำรวจ เคยพบ 49.7 % ไม่เคยพบ 30.2 % ไม่แน่ใจ เพราะไม่รู้ตำแหน่งจุดจอดที่กำหนด 20.1 % 3.8 เคยพบรถโดยสารที่ขับช้าเกินควรหรือขับกีดขวางทางรถคันอื่นไหม ขับเร็วก็เจอมาแล้ว ขับช้าก็ต้องมีบ้าง ผลสำรวจ เคยพบ 36.6 % ไม่เคยพบ 63.4 % เรื่องสภาพรถโดยสาร3.9 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการมีเข็มขัดนิรภัย หรือไม่ ผลสำรวจ พบว่า มี 66.4 % ไม่มี 33.4 %3.10 เข็มขัดนิรภัยอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ ผลสำรวจ เหมาะสม 52.8 % ไม่เหมาะสม (พันไว้หลังที่นั่ง , สายสั้น ,สายขาด , ไม่มีหัวคาด ฯลฯ) 47.2 %3.11  เคยพบรถโดยสารที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารเพราะไม่มีที่นั่งพอหรือไม่ผลสำรวจ เคยพบ 71.1 % ไม่เคยพบ 28.9 %3.12 เห็นด้วยหรือไม่ที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารบนรถโดยสารผลสำรวจ ไม่เห็นด้วย 83.5 % เห็นด้วย 11.3 % ไม่แน่ใจ 5.1 %3.13 รู้ไหมว่า ป้ายทะเบียนของรถโดยสารสาธารณะจะต้องใช้ป้ายทะเบียนสีเหลืองตัวอักษรสีดำตามกฎหมายกำหนดเท่านั้นผลสำรวจ ทราบ 62.7 % ไม่ทราบ 37.3 %3.14 แล้วรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่เป็นป้ายทะเบียนสีเหลือง สำหรับขนส่งผู้โดยสารใช่หรือไม่ ผลสำรวจ ใช่ 59.9 % ไม่ใช่ 8.0 % ไม่แน่ใจ 32.1 %3.15 สภาพรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ผลสำรวจ มั่นคงแข็งแรง เหมาะสมกับการใช้งาน 72.1 % สภาพเก่า ทรุดโทรม ไม่เหมาะกับการใช้งาน 24.2 % 3.16 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพภายใน สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะสมกับการใช้บริการหรือไม่ ส่วนใหญ่สะอาดใช้ได้เลย ผลสำรวจ สะอาด ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 71.8 % ไม่สะอาด สกปรก ทรุดโทรม มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 27.1 %   เรื่องการชดเชยเยียวยาความเสียหาย 3.17 เคยประสบอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสารวิ่งในจังหวัดหรือไม่ ผลสำรวจ ไม่เคย  89.4 % เคย 10.6 % 3.18 เคยเจอรถเสียระหว่างเดินทางไหม ผลสำรวจ ไม่เคย  59.9 % เคย 40.1 % 3.19 ถ้าเกิดปัญหาจากการใช้บริการ เคยร้องเรียนไหม เกือบ 89 % ไม่เคยใช้สิทธิเลย(เศร้าจัง) ผลสำรวจ ไม่เคย 88.8 % เคย 11.2 % 3.20 ช่องทางที่ผู้บริโภครู้ว่า ถ้าเกิดปัญหาเรื่องรถโดยสารจะร้องเรียนได้ที่ไหน ผลสำรวจ ผู้ประกอบการ 69.1 % กรมการขนส่งทางบก 46.8 % มูลนิธิ องค์กรทางสังคม 7.2 %โรงพยาบาล 6.6 % บริษัทประกันภัย 42 % สื่อมวลชน 4 %3.21 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือไม่ผลสำรวจ ไม่แจ้ง 59.4 % แจ้ง 40.6 %3.22 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตามประกันภัยรถเพิ่มเติม หรือไม่ผลสำรวจ ไม่มีแจ้ง 67.8 % มีแจ้ง 32.2 % 4.การกำกับดูแล การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 4.1 คิดว่าการกำกับดูแลคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดผลสำรวจ ปานกลาง 59.1 % น้อย 28.1 % มาก 12.7 % 4.2 คิดว่า ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ ผลสำรวจ สมควร 92.8 % ไม่สมควร 7.2 % 4.3 คิดว่า ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลด้านคุณภาพและความปลอดภัยของบริการรถโดยสารด้วยช่องทางใดบ้าง ผลสำรวจ จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน 72.6% จัดตั้งหน่วยเฝ้าระวัง และรายงาน พฤติกรรมของผู้ประกอบการ เจ้าของรถ พนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน 68.4 % ร่วมกำหนดนโยบาย มาตรการ เช่น บทลงโทษผู้กระทำวามผิดซ้ำ และไม่แก้ไข 51.6 % เป็นอาสาสมัคร ให้ข้อมูลเรื่องสิทธิของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 35.8 %   วิธีการสำรวจ เนื้อหาของแบบสำรวจส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 คุณภาพบริการและมาตรฐานรถโดยสารสาธารณะส่วนที่ 3 สิทธิเรื่องความปลอดภัยและการเยียวยาความเสียหาย ส่วนที่ 4 การกำกับดูแล และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  โดยผู้ตอบจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเป้าหมายที่ทำการสำรวจ และเป็นผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ  จังหวัดที่ทำการสำรวจจำนวน 24 จังหวัด ใน 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง เชียงราย แพร่ เพชรบูรณ์ พิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร ภาคใต้ 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล สงขลา พัทลุง ภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตก รวม 7 จังหวัด คือสระบุรี ตราด สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และกาญจนบุรี  ทำการสำรวจทั้งสิ้นจำนวน 1,310 ชุด โดยเป็นการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทางที่วิ่งในจังหวัดจำนวน 562 คน และเป็นเส้นทางระหว่างจังหวัด 748 คน -------------------------------------------------------------------- สิทธิของผู้บริโภคบริการรถสาธารณะ1. ผู้โดยสารมีสิทธิร้องเรียนหรือฟ้องร้องเพื่อให้ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา เยียวยา หรือชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น 2. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายจากการประกันภัยโดยไม่มีการประวิงเวลา หรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ 3. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายทั้งทางร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน และสิทธิอื่น ๆ ที่ถูกละเมิด 4. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายด้วยหลักแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด 5. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของตนและของผู้อื่น 6. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการรถโดยสาร 7. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการบริการจากรถโดยสารและผู้ให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน 8. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพเกี่ยวกับบริการรถโดยสาร รวมทั้งความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่ถูกต้องเป็นจริง ครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจใช้บริการ 9. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในด้านสัญญา และราคาค่าบริการ 10. ผู้โดยสารมีอิสระในการเลือกใช้บริการรถโดยสารด้วยความสมัครใจ และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม --------------------------------------------------------------------

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 109 ตามไปดูเขากำจัดสารตะกั่ว…ต้องช่วยผู้บริโภค

วันหนึ่งหลังจากตื่นนอนทำวัตรเช้าเสร็จ โทรศัพท์ก็ดังกริ๊งกร๊างปรากฏว่า มีคำสั่งให้ทีมกระต่ายฯ (รายการทีวีของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค) ออกไปทำสกู๊ปทดสอบสีในโรงเรียนที่มีศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก สังกัดภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นเจ้าของโครงการ เนื่องจากได้ข่าวว่า มีการตรวจพบสารตะกั่วในของเล่นและสีที่ใช้ทาในโรงเรียน!! งานเข้าครับ… ท่านผู้อ่านที่เคยผ่านการใช้รถในยุคน้ำมันเบนซินลิตรละ 10 บาท คงพอจำโฆษณาทางทีวีตัวหนึ่งที่มีมนุษย์ประหลาดหัวโล้นๆ ตัวสีเงิน ไม่ใส่เสื้อผ้าโผล่มา ที่เขาเรียกกันว่า “มนุษย์ตะกั่ว” ได้ใช่ไหมล่ะครับ ก็ช่วงนั้นเขารณรงค์ให้ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วกันทั่วบ้านทั่วเมือง เหตุเพราะพิษภัยของมันค่อนข้างอันตราย หากเก็บสะสมไว้ในร่างกายนานเข้า อาจทำให้เกิดภาวะผิดปกติทางสมอง สมองพิการ หรือปัญญาอ่อนได้ทีนี้พอไอ้เจ้า “มนุษย์ตะกั่ว” ที่มากับน้ำมันซูเปอร์ในสมัยนั้นถูกลอยแพบ๊ายบายไปตามสายน้ำ (โฆษณาชิ้นสุดท้ายของซีรี่ส์ตะกั่ว) คุณพ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆ ท่านก็เลยเบาใจหายห่วงไปได้เปาะหนึ่ง ว่าต่อแต่นี้คงส่งลูกส่งหลานเดินทางขึ้นรถไปโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย จนกระทั่ง...เกิดข่าวสารตะกั่วตามเข้าไปอยู่ในโรงเรียน!! นี่ผมไม่ได้ละเมอมานั่งเทียนเขียนนะครับ แล้วสารตะกั่วมันจะตามเข้าไปอยู่ในโรงเรียนได้อย่างไร หรือคุณครูจะแอบกักตุนน้ำมันลิตรละ 10 บาทไว้เติมรถตัวเอง เอาล่ะสิครับ สังขารปรุงให้ความสงสัยเกิด ทุกข์ก็เกิดอีกแล้ว ไอ้คนเขียนอย่างผมก็ทุกข์ไปด้วยเพราะต้องไปหาข้อมูลมาอธิบายให้คนอ่านหายทุกข์ ทุกข์กันทั้งบ้านทั้งเมืองไม่รู้จะทุกข์กันไปทำไม...เนอะ (เริ่มเข้าสู่แนวธรรมของถนัดอีกแล้ว มีหวังกองบก.เล่นผมตายแน่) ตามตะกั่วไปถึงโรงเรียนอย่างที่บอกไปครับ งานเข้าทีมกระต่ายฯ แล้ว คือแรกเริ่มเดิมทีนั้น ทางศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กฯ เขาสนใจเรื่องของการบาดเจ็บในเด็กจากของเล่นก่อน แล้วจึงพบว่าสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับสีของของเล่นเหล่านั้น มันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งเจ้าสารเคมีตัวเอ้ที่ว่ามานั้น ก็ไม่ใช่อื่นไกลเลย...พี่สารตะกั่วยังไงล่ะครับ!! รอบแรกที่ลงไปทำการสำรวจของเล่นที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด พบว่ามีสูงถึงร้อยละ 18 ที่สารตะกั่วเจือปนมากับสีของของเล่นในอัตราส่วนที่เกินมาตรฐาน สำหรับมาตรฐานสากลนั้น กำหนดให้อยู่ที่ 90 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสี 1 กิโลกรัม หมายความว่า เมื่อนำเอาวัตถุที่มีสีแช่ลงในสารละลายที่สามารถละลายสารตะกั่วได้ แล้วพบว่ามีสารตะกั่วละลายออกมาสูงเกิน 90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมนั้น ให้เชื่อว่าเกินมาตรฐาน หรืออีกวิธีหนึ่งจะดูปริมาณสารตะกั่วที่ปนเปื้อนทั้งหมดไม่คิดเฉพาะส่วนที่ละลายออกมาก็ได้ ค่านี้มาตรฐานให้อยู่ที่ 600 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสี 1 กิโลกรัม คือ ตัวเลข 600 เนี่ย หมายถึงค่าที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายเฉียบพลัน แต่หากสะสมไปนานๆ มากๆ เข้าก็อาจส่งผลกระทบถึงระบบประสาทได้ครับ ทางที่ดีควรจะเป็น 0 เรียกว่า ไม่ควรจะมีเลยด้วยซ้ำ จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการทดสอบของเล่นในศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งก็ตรวจพบบ้างประปรายในบางศูนย์ แล้วก็ได้มีการแนะนำให้ความรู้กับครูอาจารย์ผู้ประกอบการถึงพิษภัยตลอดจนวิธีที่สารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่คือทางเดินอาหาร (เด็กจับของเล่นแล้วมาจับของกินหรือบางทีก็หยิบเอาสีที่ล่อนออกมาเข้าปาก) และต้องมีการกำจัดของเล่นที่มีความเสี่ยงทิ้งไป ต่อมา ก็ได้มีหน่วยงานหลายหน่วยงานให้ความสนใจในเรื่องนี้ และได้เข้ามาร่วมศึกษาตรวจสอบ อย่างการพบสารตะกั่วในแทงค์น้ำบ้าง ในหม้อก๋วยเตี๋ยวที่มีการบัดกรีบ้าง ฯลฯ แล้วก็ในสีที่ใช้ทาหรือเคลือบวัสดุต่างๆ ด้วย อย่างที่ฉลาดซื้อฉบับป้ายสีเคยลงข้อมูลไว้ “สี” ก็เลยกลายเป็นผู้ต้องหาคนสำคัญไปโดยปริยาย!! (ต้องหามาทดสอบซ้ำนะครับพี่ๆ) จากการศึกษาในต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกาพบว่า สีทาบ้านโดยเฉพาะที่พบในอาคารเก่าเป็นแหล่งที่มาสำคัญของภาวะพิษจากสารตะกั่วในเด็ก หรือศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนและโรงเรียนประถมในจีนก็เช่นเดียวกัน พบว่าร้อยละ 57 ของสีทาบ้านมีระดับสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน ดังนั้นทางศูนย์วิจัยฯ แห่งโรงพยาบาลรามาธิบดี จึงได้สุ่มคัดเลือกโรงเรียนศูนย์เด็กเล็กจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับศึกษาและเผยแพร่งานวิจัยชิ้นนี้ ทีนี้บางท่านอาจมีข้อสงสัยขึ้นมาว่า ทำไมจึงโฟกัสเฉพาะเด็กเล็กเท่านั้นล่ะ เด็กโตไม่สำคัญหรือ... วิสัชนาว่า ก็เด็กเล็กอายุตั้งแต่ 6 ปีลงไป ร่างกายสามารถซึมซับสารตะกั่วได้ดีกว่าวัยอื่นๆ ถึง 5 เท่าน่ะสิครับ สมองจะพิการหรือไม่ก็ช่วงนี้แหละ อีกอย่างหากเราจัดการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้พวกเขาตั้งแต่เล็ก โตมาจะมีอะไรน่าห่วงอีกล่ะครับ หมดเรื่องของสารตะกั่วแล้วจะนิโคตินหรือแอลกอฮอล์ค่อยว่ากันอีกที โรงเรียนแรกที่ทีมกระต่ายฯ เราได้ลงพื้นที่ไปสำรวจดูนั้นก็คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน พัวชิวติ่ง-ลิ้มเซาะคิ้ม ย่านชุมชนเคหะนคร 2 เขตลาดกระบัง ซึ่งเป็น 1 ใน 11 ศูนย์ที่ทางทีมวิจัยของรามาตรวจพบสารตะกั่วปนเปื้อน จากทั้งสิ้น 17 ศูนย์ที่ได้สุ่มเก็บตัวอย่างมาทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 64.71 โดยแบ่งเป็นพบในสีถึง 9 ศูนย์ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ 1 ศูนย์ และดินอีก 1 ศูนย์ โดยปริมาณที่พบสูงสุดเลยคือ 32,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากค่ามาตรฐาน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม คิดเป็น 53.33 เท่า!! โอ้แม่เจ้า!! นี่เด็กชักตายได้เลยนะเนี่ย ไม่ต้องรอสะสมให้เหนื่อยเลย!! และนี่คือตารางแสดงจำนวนตัวอย่างทั้งหมดที่ส่งไปทดสอบปริมาณตะกั่วจากทั้ง 17 ศูนย์   ตัวอย่างทดสอบ จำนวน (ที่พบ) สารตะกั่วสูงกว่ามาตรฐาน สีทาบ้าน 9 โต๊ะเรียน 1 ดินในสนามเด็กเล่น 1 สารตะกั่วต่ำกว่ามาตรฐาน น้ำดื่ม 17 น้ำประปา 17 สีในของเล่น 16 ดินน้ำมัน 8 ภาชนะบรรจุอาหาร 30 (จานชาม) 21 (หม้อหุงต้ม) 9 แก้วน้ำ 18 ช้อน 17 ฝุ่นที่ติดพื้น 11 ดินสอสี / สีเทียน 18   โดยวันนั้นเกิดการติดต่อประสานงานผิดพลาดขึ้นเล็กน้อยครับ ทีมกระต่ายฯ ที่ได้รับคำสั่งเร่งด่วน ยังไม่รู้เรื่องอะไรเลยขณะนั้น ต้องไปแกร่วอยู่กับคุณครูประจำศูนย์ 2 ท่าน ปราศจากผู้เชี่ยวชาญจากรามาฯและทีมบำรุงซ่อมแซม(การตรวจสอบเพื่อให้ได้ผลสรุปที่แน่นอนจะต้องทำการเก็บตัวอย่างหลายรอบครับ นี่คือเหตุผลที่ทางรามาฯ ต้องไปแล้วไปอีก) ผมเลยต้องเริ่มต่อจิ๊กซอว์ตัวแรกด้วยการคุยกับคุณครูประจำศูนย์ทั้ง 2 ท่านก็พบว่าศูนย์พัวชิวติ่งนี้ ถูกตรวจพบสารตะกั่วจากตัวอย่างสีน้ำมันที่นำมาทาทับเพื่อลบร่องรอยขีดเขียนตามผนังโดยฝีมือนักศิลปะรุ่นเยาว์ทั้งหลาย ซึ่งตัวคุณครูเองก็คาดไม่ถึงว่าจะเจอในลักษณะนี้ แต่เมื่อเจอแล้วก็ต้องแก้ไขกันต่อไป นอกจากนี้ ท่านยังเล่าให้ฟังอีกว่า ศูนย์เด็กเล็กส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของชุมชน โดยเฉพาะชุมชนขนาดกลาง ชุมชนที่มีรายได้ค่อนข้างต่ำ หรือชุมชนสลัม ฯลฯ พ่อแม่ทำงานหาเช้ากินค่ำ ไม่มีเวลาเลี้ยงลูก ต้องนำลูกมาฝากไว้กับศูนย์ พอปัญหาเกิดขึ้นก็ไม่รู้จะหางบประมาณจากไหนมาเยียวยา บางทีพ่อแม่ผู้ปกครองไม่เข้าใจอีก หาว่าเป็นความผิดทางโรงเรียน ที่ทำได้คือถอดเอาชุดอุปกรณ์ที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงทิ้งไป เด็กก็มีของให้เล่นน้อยลง ความซวยจึงบังเกิดกับเด็กผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ไหนจะต้องเสี่ยงกับพัฒนาการทางสมองจากสารตะกั่ว ไหนจะขาดแคลนเครื่องเล่นที่จะช่วยพัฒนาไอ-คิว ทุกข์อีกแล้ว !! สำหรับอีกโรงเรียนที่กระต่ายฯ ได้ลงพื้นที่ก็คือ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนหมู่บ้านเคหะนคร เขตสะพานสูง ซึ่งศูนย์แห่งนี้ก็ถูกตรวจพบสารตะกั่วจากตัวอย่างสีเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังพบรูรั่วตามหลังคา ทำให้เวลาฝนตกลงมาเกิดความชื้นเกิดเชื้อราได้ง่าย ศูนย์ฯ นี้มีบริเวณและจำนวนเด็กมาก สถานที่ค่อนข้างใหญ่จะบูรณะซ่อมแซมอะไรรายจ่ายก็สูงเป็นเงาตามตัว ข้อมูลนี้อาจารย์เขาเล่าให้ฟังเอง ยังดีที่ทางรามาฯ ยื่นมือเข้าช่วยโดยประสานกับทางบริษัทสีให้เข้ามาซ่อมแซมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะหากรอความช่วยเหลือจากทางเขตก็ไม่รู้จะมาเมื่อไหร่ เด็กก็ต้องรับเคราะห์ทนสภาพเสี่ยงกันต่อไป การกำจัดสารตะกั่วเมื่อตรวจพบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนในบริเวณรอบโรงเรียน ทางทีมงานของรามาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ดำเนินการ “แก้ไข” ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ครับ เป็นปฏิบัติการระดับ Mission Impossible ทีเดียวเชียว ขั้นตอนของการกำจัดเจ้าสารตะกั่วซึ่งถือเป็นขยะพิษขยะอันตรายนี้ ต้องเริ่มจากการขูดลอกสีที่ปนเปื้อนมาเก็บพักรวมกันไว้ที่โรงกำจัดสารพิษของ กทม. ก่อนจะส่งไปยังโรงกำจัดขยะพิษที่จังหวัดสระแก้ว เพื่อมิให้ขยะสีเหล่านี้ไปก่อให้เกิดมลพิษกับบุคคลอื่น คนงานทุกคนที่ขูดลอกสี ต้องใส่ชุดประมาณ “ชุดอวกาศ” คือมีหน้ากากป้องกันฝุ่นจากสีเข้าสู่ร่างกาย การล้างน้ำจากพื้น ผนังต้องให้แน่ใจว่า ไม่มีสีปนเปื้อนตะกั่วไหลไปลงท่อน้ำทิ้ง คนงานต้องหาทางดักชิ้นส่วนของสีที่ขูดออกมารวบรวมไว้อย่างดีไม่ให้ออกไปปนกับสิ่งแวดล้อมรอบบริเวณโรงเรียน โรงเรียนที่ทางรามาฯ และทีมกำจัดได้เข้าไปดำเนินการนั้น นัยหนึ่งก็นับว่าโชคดี แต่ทีนี้ปัญหาที่ผมสงสัยต่อมาก็คือ แล้วอีกกว่า 276 ศูนย์เด็กเล็กที่ทางรพ.รามาฯไม่ได้ลงไปตรวจสอบ ผู้ปกครองจะมั่นใจได้อย่างไรว่าศูนย์เหล่านั้นปลอดภัย เป็นศูนย์ไร้สารตะกั่วจริง บางที่อาจจะเกิน 32,000 มิลลิกรัมขึ้นไปอีกก็ได้ตามหลักความน่าจะเป็นทางคณิตศาสตร์และสถิติหรือบางที่อาจจะพบเจอตามที่แปลกๆ อย่างศูนย์หนึ่งพบตรงผิวหน้าดิน เป็นต้น ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงได้สอบถามไปยังศูนย์วิจัยฯ ของรามาธิบดีว่า มีแผนจะลงไปตรวจสอบศูนย์เด็กเล็กที่เหลือเมื่อไร ก็ได้คำตอบกลับมาว่าศูนย์วิจัยฯ หยุดสำรวจเรื่องสารตะกั่วในศูนย์เด็กเล็กแล้ว เพราะต้องทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นกับเด็กในเรื่องอื่นๆ ด้วย งานวิจัยเป็นแค่แนวทางปฏิบัติเท่านั้น   ใครรู้ตัวว่าเกี่ยวข้องรีบเข้ามาจัดการด่วนหลังจากไปดำเนินการแก้ไขปัญหาจนแล้วเสร็จ ทางศูนย์วิจัยฯ ได้จัดแถลงข่าวเผยแพร่งานวิจัยชิ้นนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ห้องประชุม 4703 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรืออาคาร 6 ชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข โดยได้แสดงผลการศึกษาที่น่าสนใจประมาณการได้ว่า “มีเด็กกว่า 15,000 คน กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงจากสารตะกั่ว” ดังนั้นจึงสมควรเร่งให้สำนักพัฒนาสังคมดำเนินการให้ความรู้ครูผู้ดูแลเด็กในการจัดการสิ่งแวดล้อม หากมีสีหลุดลอกตามพื้นให้ทำความสะอาดโดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดพื้นหลายๆ ครั้งต่อวัน และมิให้เด็กเล่นใกล้บริเวณที่มีสีหลุดลอกได้ ทางสำนักงานเขตกทม.ต้องมีการจัดผู้เชี่ยวชาญไว้ให้บริการตรวจสอบทั้งในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน และตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมทั้งจัดตั้งทีมกำจัดสารตะกั่วในการดำเนินงานแก้ไขตามมาตรฐานสากล ป้องกันการเจือปนของสารตะกั่วจากการขูดลอกสีภายในชุมชนและมีการกำจัดขยะสีอย่างถูกวิธี กรุงเทพมหานครต้องขยายผลการดำเนินงานนี้ให้ครอบคลุมทุกศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ส่วนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขเช่นเดียวกันในศูนย์เด็กเล็กภูมิภาค นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมต้องเพิ่มมาตรการในการควบคุมสารตะกั่วในสีให้มากขึ้น อย่าลืมนะครับว่าจริงๆ มันไม่ใช่หน้าที่เขามาตั้งแต่ต้น ชื่อหน่วยงานก็บอกอยู่ทนโท่ว่าศูนย์ “วิจัย”เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ไม่ใช่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามสารตะกั่ว หลักๆ นี่มันเป็นหน้าที่ของบรรดาผู้ได้รับเงินภาษีจากราษฎรเพื่อเข้ามาบริหารจัดการดูแลสุขทุกข์ประชาชนต่างหากที่ต้องรีบเข้ามาจัดการโดยด่วนครับ พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ สำนักงานเขต เจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อน รวมถึงคนในชุมชน ถึงตรงนี้ผมมองว่าทุกๆ ท่านคงต้องช่วยกันรับผิดชอบด้วยแล้วล่ะครับ จะมัวรอให้คนนู้นคนนี้คอยเป็นธุระจัดการ หรือพอเกิดปัญหาขึ้นมาทีก็เอาแต่โทษกันไปโทษกันมา บุตรหลานของท่านไม่ตายก็พิการกันหมดล่ะทีนี้ งานวิจัยเขาก็นำร่องไว้ให้แล้ว วิธีปฏิบัติเขาก็แสดงให้เห็นแล้ว อยากได้คำแนะนำก็ขอคำปรึกษาได้ มันจะยากอะไรแค่ช่วยกันช่วยกันขูดตัวอย่างสีหรือหาวัสดุที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงส่งไปให้ห้องแล็ปทดสอบ เหลือแค่พวกเราลงมือกระทำเท่านั้นแหละครับ อยู่ที่ว่าจะลุกขึ้นมาหรือเปล่า... ถ้าลุกขึ้นมาลูกหลานก็ปลอดภัย ถ้าปล่อยไปก็อาจตายหยังเขียด หรือดีหน่อยก็เป็นไอ้มนุษย์ตะกั่ว ร่วมไม้ร่วมมือกันอย่าเอาแต่นิ่งดูดาย ล้อมคอกเมื่อวัวหายมันไม่คุ้มหรอกนะครับ ป.ล.โฆษณาซีรี่ส์ตะกั่วงวดหน้าอาจโผล่มาในโรงเรียนก็ได้ ฮ่าฮ่า ;D

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 104 ผัก ผัก ผัก ไม่กินผักทำไม(เรา)ต้องบอก

ที่จั่วหัวอย่างนี้ไม่ได้จะมารีวิวหนังแต่อย่างใดหรอกนะครับ เพียงแต่ได้รับคำสั่งจากทาง บก. ของนิตยสารฉลาดซื้อให้ไปเขียนสรุปเนื้อหาที่เคยออนแอร์ทางรายการ “กระต่ายตื่นตัว” ที่ทำกันอยู่ให้ออกมาเป็นบทความเกี่ยวกับ “ผักปลอดสารพิษ” ให้คุณผู้อ่านได้ย่อยง่ายๆ กันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อต้อนรับเทศกาลกินเจ ให้ได้บุญกันทั้งคนกินและคนปลูก ไอ้กระผมก็คันไม้คันมืออยากจะเขียนใจแทบขาดแล้วสิครับ เพราะปกติทำแต่รายการโทรทัศน์ไม่เคยเขียนบทความกับเขาเสียที เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะเคยมีประสบการณ์เดินเลือกซื้อผักในซูเปอร์มาเก็ตกันมาบ้างแล้วใช่ไหมล่ะครับ ทีนี้เคยผ่านตากับคำว่า “ผักปลอดสาร” หรือ “ผักอนามัย” ที่ติดอยู่ตามฉลากหรือแพ็คเกจจิ้งกันบ้างหรือเปล่าเอ่ย ขอเดาต่อเลยแล้วกันนะครับว่าเมื่อวิญญาณทางตาของคุณผู้อ่านได้เห็นรูปดังนั้น สัญญาก็พลันจดจำคำว่า “ปลอด” หรือ “อนามัย” ได้ สังขารก็เลยปรุงแต่งต่อไปว่า “ผักนี้ต้องปลอดภัยไร้สารพิษใดๆ แน่ๆ เลย” เอาล่ะสิครับ ชงมาซะขนาดนี้ ท่านผู้มีญาณทั้งหลายพึงเกิดคำถามขึ้นมาแล้วใช่ไหมล่ะครับว่า “อ้าว แล้วอย่างนี้มันปลอดภัยจริงหรือ?”    ขออนุญาตปรับความเข้าใจให้ตรงกันก่อนนะครับ คือคำว่า “ปลอด” เนี่ย ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานคือ พ้นจาก, ปราศจาก ฉะนั้น ผักปลอดสาร (พิษ) ก็ควรที่จะหมายความว่า “ผักที่ปราศจากสารพิษทั้งหลายทั้งปวง” หรือมีค่าสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเท่ากับ “ศูนย์” ในทางคณิตศาสตร์ แต่เอาเข้าจริงแล้วคุณผู้อ่านเชื่อไหมครับว่าเจ้าผักเหล่านี้ยังมีสารเหล่านั้นเจือปนอยู่ “อ้าว ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นไปได้ล่ะ นี่ผู้ผลิตโกหกเราอย่างนั้นรึ?”... ผมขออธิบายให้ฟังดังนี้ครับ   ผักสวยๆ งามๆ ที่เรามักจะพบเห็นได้ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าซูเปอร์มาเก็ตตลาดนัดแผงลอยต่างๆ ไม่ว่าจะมีฉลากติดตรงแพ็คเกจพร้อมเขียนตัวเบ้อเร่อว่าปลอดสาร, ไร้สาร, ผักอนามัย หรืออะไรก็ตามแต่หรือจะเป็นแค่ผักเปลือยๆเปล่าๆที่แม่ค้าจัดเป็นกองมัดเป็นกำใส่ตะกร้าโชว์ไว้ ถ้าไม่ใช่ผักอินทรีย์หรือผักสวนครัวที่ปลูกเอง ก็ล้วนแล้วแต่ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตทั้งสิ้นครับ อาทิ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง เอนไซม์เร่งการเจริญเติบโตต่างๆ ฯลฯ ถึงตรงนี้หลายท่านคงเกิดเครื่องหมายคำถามขึ้นมาอีกเป็นแน่แท้ ว่าอย่างนั้นทำไมถึงเรียกว่าผักปลอดสารทั้งๆ ที่มันยังมีการใช้สาร (พิษ) อยู่ล่ะ วิสัชนาว่า...ก็ปริมาณสารที่ใช้อยู่นั้นเมื่อนำมาสุ่มทดสอบแล้ว พบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายน่ะขอรับครับผม ซึ่งวิธีที่เขาใช้ทดสอบกันนั้นก็หาใช่วิธีอื่นไกลครับ หนูทดลอง (อีกแล้ว) นี่เอง โดยจะนำสารเคมีแต่ละชนิดมาทดสอบกับหนู เพื่อนร่วมโลกผู้น่าสงสารดูว่าปริมาณแค่ไหนจึงจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย (ของหนู) จากนั้นจึงคำนวณสัดส่วนปริมาณสารเคมีที่ร่างกายได้รับแล้วไม่เป็นอันตรายระหว่างหนูกับคน บันทึกเอาไว้เป็นค่ามาตรฐานสำหรับการสุ่มตรวจผักตามแหล่งที่มาต่างๆ ย้ำว่า “สุ่ม” ตรวจนะครับ เพราะไม่มีทางที่จะนำเอาผักทุกต้นทุกแปลงจากทุกไร่ทั่วประเทศมาทดสอบได้ทันในแต่ละวัน อีกทั้งงบประมาณยังสูงลิบลิ่วอีกด้วย นอกจากนี้ อย่าลืมนะครับว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัยสำหรับคนนั้นก็ได้มาจากการคำนวณ ตัวเลขที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับหนู(ทดลอง) มิได้หมายความว่าพอนำมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์แปลงค่าหาผลลัพธ์ออกมาแล้ว จะสามารถยืนยันการันตีได้ว่าไม่มีอันตรายต่อคน อีกทั้ง สารเคมีที่นำมาใช้ทดลองก็ไม่ได้ทดลองพร้อมกันทีเดียวหลายๆ สาร เพียงแต่แยกสารเพื่อทดสอบทีละครั้ง อย่างนี้ เราจะมั่นใจได้หรือว่าสารเคมีเมื่ออยู่รวมกันในผักจะไม่ทำปฏิกิริยาในเชิงเสริมประสิทธิภาพในการทำลายตับ ไต ไส้ พุง ของเรา แหม..สาธยายมาซะขนาดนี้ คุณผู้อ่านหลายท่านคงจะมีแวบคิดขึ้นมาบ้างใช่ไหมครับว่า “แล้วอย่างนี้จะเหลืออะไรให้กูกินล่ะ? ต้องไปปลูกผักสวนครัวเองเลยมั้ย?” ใจเย็นๆ ครับ ลองย้อนกลับไปดูย่อหน้าที่ 4 ก่อน คุณจะพบกับคำว่า... ใช่แล้วครับ “ผักอินทรีย์” นั่นเอง บางท่านที่เคยผ่านการเรียนวิชาเกษตรตอนประถมอาจจะพอจำได้คลับคล้ายคลับคลา ส่วนบางท่านที่ลืมไปแล้วก็ไม่เป็นไรครับ เดี๋ยวจะอธิบายให้โดยละเอียดเลย ผักอินทรีย์ ก็คือผักที่อาศัยกระบวนการผลิตโดยวิธีทางธรรมชาตินั่นเอง ปราศจากการใช้วัตถุสังเคราะห์ใดๆ ทั้งปวง เอาล่ะครับ...โผล่มาแล้วพระเอกตัวจริงของเรา ซึ่งการจะจัดว่าเป็นผักอินทรีย์หรือไม่นั้น เขาไม่ได้วัดกันที่ผลผลิตแบบสุ่มๆ ผักมาตรวจนะครับ แต่เขาจะวัดกันที่ขั้นตอนกระบวนการ คือ 1) จะต้องปราศจากสารเคมีในปัจจัยการผลิตแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ และ 2) บริเวณแปลงหรือไร่ที่ทำการเพาะปลูกนั้น เมื่อตรวจสอบแล้วจะต้องพบว่าไม่มีร่องรอยการใช้สารอย่างน้อย 3-4 ปีเลยทีเดียว ทีนี้มาว่าด้วยเรื่องหลักการกันบ้าง แน่นอนครับว่ากระบวนการผลิตผักอินทรีย์นั้นไม่มีคำตอบสำเร็จรูปตายตัว เนื่องจากแต่ละพื้นที่แต่ละดินแดนก็จะมีระบบนิเวศที่แตกต่างกัน เกษตรกรจะต้องใส่ใจศึกษาเรียนรู้ภายในระบบนิเวศของตนเอง (Knowledge Intensive) เช่น ลักษณะดินฟ้าอากาศเป็นอย่างไร แมลงที่พบได้บ่อยคือตัวอะไร ให้คุณหรือให้โทษมากกว่ากัน หรือต้องใช้สมุนไพรชนิดใดจัดการ ฯลฯ เกษตรกรอาจต้องใช้เวลาอยู่ในแปลงปลูกมากขึ้น ไม่ใช่ขาดอะไรก็หามาใส่ๆๆ (Input Intensive) ปุจฉาต่อมาคือ...ถ้ามันทำกันได้ง่ายๆ ขนาดนั้น แล้วใยจะต้องใช้สารเคมีอีกล่ะครับ... นี่แหละที่นักวิชาการรวมถึงพวกหัวการค้าเสรีเขาไม่เชื่อว่ามันจะทำได้ คุณผู้อ่านก็เช่นกันนะครับอย่าเพิ่งปักใจเชื่อข้อมูลที่ผมเขียนทีเดียวเชียวล่ะ ใช้หลักกาลามสูตรของพระสมณโคดมบรมครูเจ้าของเราพิจารณาเหตุและผลกันก่อน เอาเป็นว่า...ถ้าอยากพิสูจน์ให้เห็นจะๆ กับตา ผมก็จะขออาสาทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์นำทางคุณผู้อ่านทุกๆ ท่านไปดูไร่ผักเกษตรอินทรีย์ของจริงกันเลยดีกว่านะครับ ตะลุยแปลงผักอินทรีย์กระผมและเพื่อนทีมงานรายการ “กระต่ายตื่นตัว” ก็ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจไร่เกษตรอินทรีย์กันที่บ้านป่าคู้ล่าง จังหวัดสุพรรณบุรีครับ โดยมีพี่ปัญญา งามยิ่ง เกษตรกรยุคบุกเบิกของที่นี่เป็นคนพาเดินทัวร์และให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมแบบปลอดสาร 100 เปอร์เซ็นต์ว่าเขาทำกันอย่างไร ก่อนอื่นเลยต้องขอเกริ่นก่อนนะครับว่าชาวบ้านที่นี่เขามีวิถีชีวิตพอเพียงทำกันแบบพอมีพออยู่ ใครใคร่ปลูกอะไรก็ปลูกอันนั้น ไม่มีการบังคับกันแต่ประการใด ดังนั้น ไร่ของแต่ละท่านจึงมีความปัจเจกแตกต่างกันออกไป อย่างไร่ของพี่ปัญญาเองก็จะใช้วิธีการแบ่งโซนตามความต้องการน้ำครับ พืชชนิดไหนต้องการน้ำเยอะน้ำน้อยจัดสรรปันส่วนกันออกไป อย่างเช่น คะน้าต้องการน้ำเยอะหน่อยก็ไว้โซนนึง ไชเท้าได้รับน้ำเยอะไปไม่ดีก็ไว้อีกโซนหนึ่ง ส่วนปริมาณของผักแต่ละชนิดที่จะปลูกก็จะดูจากความยากง่ายในการดูแลรักษา เช่น คะน้านี่ดูแลยากเพราะกินปุ๋ยมากกินน้ำมากก็ให้ลงเยอะหน่อย สมมติว่าลง 2 แปลงเทียบกับผักกวางตุ้งที่ดูแลรักษาไม่ยากเท่าไหร่ใช้พื้นที่แปลงเดียว พอเก็บเกี่ยวก็จะได้ปริมาณน้ำหนักเท่ากัน ดังนี้เป็นต้น และที่สำคัญก็จะเวียนพืชผักตามแต่ละแปลงเพื่อไม่ให้ดินเสื่อมสภาพด้วยครับ อ๊ะ...จะกลายเป็นสอนปลูกผักซะแล้วสิเนี่ย ตัดกลับมาที่เรื่องเกษตรอินทรีย์ต่อนะครับ ซึ่งด้วยเหตุที่ว่าอาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยในการผลิตเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ (ที่เหลือคือการเอาใจใส่ดูแลของเกษตรกร) ผลก็เลยทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณผลผลิตตามต้องการได้ อย่างเช่น หน้าหนาวก็จะได้ผลผลิตในปริมาณมากหน่อย หน้าฝนหรือหน้าแล้งก็จะได้ผลผลิตลดหลั่นกันลงมา หรือพืชบางชนิดอาจไม่ออกผลเลยในบางช่วงฤดูกาล อีกทั้งปัญหาแมลงศัตรูพืชก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกษตรกรต้องให้ความสำคัญ โดยการเรียนรู้วิธีที่จะทำให้พืชและสัตว์อยู่ในอัตราส่วนที่สมดุลกัน ซึ่งอาจจะเลือกใช้สมุนไพร อาทิ สะเดา, หางไหล เป็นตัวขับไล่แมลง แต่กระนั้นผักที่ได้ออกมาก็อาจจะมีร่องรอยถูกกัดกินรวมไปถึงรูปทรงก็คงไม่สวยงามเท่าใดนักเมื่อเทียบกับผักที่อุดมไปด้วยสารเคมียาฆ่าแมลง เริ่มเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมครับ ก็ไอ้ผักแคระๆ แกร็นๆ ที่ดูเหมือนไม่สมประกอบบ้างมีรูแหว่งรูโหว่เล็กบ้างใหญ่บ้างที่เรามักจะร้อง “ยี้” เวลาที่พบเห็นตามแผงขายผักทั่วไปนั่นล่ะครับ ปลอดภัยยิ่งนักแล แต่เมื่อจิตมันเคยชินกับความพอใจในรูปสวยงามจนติดเป็นนิสัย แล้วแม่ค้าที่ไหนเขาอยากจะเอาผักซีดๆเหี่ยวๆ มานั่งขายให้เมื่อยกันล่ะครับ ทีนี้พอบริโภคผักสวยๆ งามๆ ที่เปี่ยมด้วยสารพิษเข้าไปนานเข้าๆสะสมไปเรื่อยๆ จนโรคนู้นโรคนี้ถามหาเป็นว่าเล่นแล้วก็กลับมาไม่พอใจกันอีก แบบนี้มันก็ไม่ยุติธรรมเหมือนกันนี่จริงไหมครับ? ทีนี้เริ่มเห็นพิษภัยของรูปสวยๆ งามๆ กันบ้างหรือยัง? ซื้อผักห้างหรือซื้อผักของเกษตรกรโดยตรง ต่างกันตรงไหนเอาล่ะครับ ในเมื่อเริ่มมีคนเห็นโทษภัยจากการใช้สารเคมี ก็เลยเริ่มเกิดการหันมาบริโภค “ผักปลอดสารอย่างแท้จริง” ในวงเล็กๆ ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคกลุ่มนี้ก็ยังมีสัดส่วนเพียงกะจิริดเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ แล้วห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ซูเปอร์มาเก็ตทั้งหลายจำเป็นด้วยหรือที่จะต้องหันมาสนใจนีชมาร์เก็ต (Niche Market) กลุ่มนี้... โอเค อาจจะมีผู้ประกอบการบางรายใส่ใจและคำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดกับตัวผู้บริโภคอันจะตามมาภายหลัง แต่จะให้ทำอย่างไรล่ะ ในเมื่อฉันต้องการผักจำนวน 100 กิโลกรัมเพื่อวางบนชั้นให้ลูกค้าเลือกหยิบเลือกซื้อ แต่คุณกลับมีให้ฉันแค่ 50 หรือบางวันก็ 30, 20... มันคาดการณ์ไม่ได้... แบบนี้จะให้เกษตรกรแบกรับภาระความรับผิดชอบส่วนที่เหลือแต่ฝ่ายเดียวมันก็ไม่ไหว ดังนั้น เพื่อความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต เขาจึงรวมตัวกันและสร้างสรรค์ระบบ CSA (Community Supported Agriculture) ขึ้นมา หมายความว่าผู้บริโภคจะต้องเป็นฝ่ายที่เข้ามาสนับสนุนเกษตรกร และจะต้องร่วมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนไปพร้อมๆกัน ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิก (หมายถึงผู้สนใจซื้อผักอินทรีย์จากไร่โดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลาง) จะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือนหรือ 1 ปีเพื่อเป็นค่าพักค่าแรงค่าดำเนินการ โดยให้สมาชิกระบุเลยว่าต้องการผักอินทรีย์อาทิตย์ละกี่กิโล แต่ต้องเข้าใจก่อนนะว่าความไม่แน่นอนคือ คุณมิอาจ “เลือก” ผักได้ตามใจชอบ (ต้องแล้วแต่ว่าช่วงนี้ผักชนิดใดเจริญเติบโตได้ดี) และอาจจะไม่ได้รับปริมาณผักตรงตามที่ระบุ (ซึ่งเป็นไปได้ทั้งมากกว่าและน้อยกว่า) หลังจากนั้นก็จะมีรถขนผักส่งตรงให้คุณถึงบ้านอาทิตย์ละ 2 วัน อ่านถึงบรรทัดนี้แล้ว คุณผู้อ่านอาจจะมีความรู้สึกว่าเกษตรกรเอารัดเอาเปรียบเกินไปรึเปล่า? ตรงนี้อยากให้ลองถามใจตัวเองกันดูสักหน่อย ว่าที่ผ่านมา “เขา” หรือ “เรา” ที่เป็นฝ่ายเอาเปรียบ ยกตัวอย่างง่ายๆ เลย คนไทย 60 กว่าล้านคนบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักทุกวัน แต่ทำไมชาวนาส่วนใหญ่กลับเป็นหนี้ มันตลกไหมล่ะครับ?... นี่ก็เช่นกัน มีสมาชิกที่เลิกรับผักเพราะไม่พอใจและไม่เข้าใจระบบ โดยเห็นว่าผักอินทรีย์นี้มีราคา แพงกว่าผักที่ขายอยู่ในท้องตลาด ผมขอยกราคาจริงมาเลยแล้วกันนะครับนั่นคือ กิโลกรัมละ 70 บาทถามว่าแพงไหมครับ?... ถ้าแพงแล้วมันแพงจากอะไรล่ะ? เทียบกับราคาที่แพ็คขายในห้าง 1 ขีด 2 ขีด 20 บาท ดีไม่ดีจะถูกกว่าเอาด้วย จริงอยู่ที่พอไปห้างแล้วเราได้ผักตามต้องการ แต่คุณรู้ไหมว่าหอมกระเทียมที่คุณหยิบใส่ตะกร้านั้นมาจากไหน? ผักคะน้าที่เตรียมจะนำไปทำกับข้าวเย็นนี้มีกระบวนการผลิตอย่างไร? แน่นอนว่าคุณไม่รู้ แต่ถ้าเป็น CSA คุณจะรู้จักกระบวนการผลิตทั้งหมดรวมไปถึงสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ถึงแปลงปลูกให้เห็นกับตาตัวเองเหมือนอย่างที่ผมและทีมงานได้แวะไปเยี่ยมชมที่บ้านป่าคู้ล่างมายังไงล่ะครับโดยส่วนตัวผมมีความรู้สึกว่าปัญหาของบ้านเราคือราคาพืชผลทางการเกษตรค่อนข้างต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่มาก ผมขอยกตัวอย่างที่ประเทศญี่ปุ่น กล้วยหอม 1 ลูกของเขาเทียบเป็นเงินไทยแล้วตกลูกละประมาณ 50 บาทเชียวนะครับ (บ้านเราได้เป็นหวีเลย) ถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ?... วิสัชนาว่า...ก็เพราะเราดันไปลอกเลียนวัฒนธรรมการผลิตตลอดจนการค้าแบบตะวันตกมาน่ะสิครับ อย่าลืมว่าตั้งแต่อดีตกาลนานมาใครๆ เขาก็รู้ว่าประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรม มีทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรดินอุดมสมบูรณ์ รวมไปถึงสภาพอากาศก็เหมาะสมเป็นใจให้แก่การทำไร่ ทำนา ปลูกผัก ปลูกข้าว ฯลฯ ด้วยประการทั้งปวง แต่ละบ้านแต่ละพื้นที่ก็จะมีแปลงเกษตรไว้ปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ หมุนเวียนสับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามแต่ละฤดูกาล อย่างไรก็มีผลผลิตตลอดทั้งปีแน่ๆ ไม่อดตาย แล้วอยู่ดีๆ วันหนึ่งก็ไม่รู้ว่าไอ้ทฤษฎีเกษตรเชิงเดี่ยวปลูกพืชผลชนิดเดียวเป็นไร่ใหญ่ๆ มันเข้ามาได้อย่างไร? จากสังคมเกษตรแบบพออยู่พอกินกลับกลายมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตไม่ว่าจะเป็นสารเคมียาฆ่าแมลงหรือรถแทร็คเตอร์ จากการผลิตเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนกลายเป็นการผลิตเพื่อแข่งขันเพื่อค้าขาย ใครปลูกมากก็รวยมากก็อยู่ได้ ทีนี้พอมีผู้ผลิตปริมาณมากเข้าๆราคาสินค้าก็ตกลงฮวบฮาบ อย่างหน้าฝนนี่ผักกาดหอมหายากเพราะเจริญเติบโตได้ไม่ค่อยดี ทุกคนก็จะเร่งผลิตแต่ผักกาดหอม ที่มีอยู่เท่าไหร่ก็ใส่แต่เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม เก็บเกี่ยวได้เท่าไหร่ไปวางขายที่ตลาดทั้งตลาดก็มีแต่ผักกาดหอมแล้วราคาผักกาดหอมจะไม่ตกได้อย่างไร? เช่นกันครับเมื่อพวกคนกลางห้างร้านต่างๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ตลาดการค้าเสรีเปิดกว้าง ผลคือต่างฝ่ายต่างแย่งกันลดราคาเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้เข้าไปจับจ่ายใช้สอยยังพื้นที่ของตน ห้างร้านไหนขายของถูกกว่าผู้บริโภคก็จะไปแออัดกันอยู่ ณ ที่นั้น แต่มันก็ไม่ลำบากอะไรนี่ครับในเมื่อกำไรยังเท่าเดิม เนื่องจากไปลดทางฝั่ง “ต้นทุน” เอา ยิ่งคนกลางห้างร้านตัวใหญ่เท่าไหร่ก็ยิ่งมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตมากขึ้นเท่านั้น ถ้ายังไม่เข้าใจผมจะสมมติเล่นๆดูนะครับ สมมติว่าราคาผักที่คุณต้องจ่ายคือ 10 บาท ห้างได้กำไร 7 บาท ผู้ผลิตหรือเกษตรกรได้ส่วนแบ่ง 3 บาท วันต่อมาราคาผักตกลงมาอยู่ที่ 9 บาท แต่ห้างก็ยังคงกำไร 7 บาทเช่นเดิมในขณะที่เกษตรกรผู้ผลิตรายได้หดลงเหลือ 2 บาท... ฉะนั้นแล้ว ไม่ใช่ว่าผักที่มาจากระบบเกษตรอินทรีย์จะ “แพง” กว่าผักที่วางอยู่ตามห้างร้านแผงขายในซูเปอร์ฯ ทั่วไปหรอกนะครับ แต่มันสะท้อนให้เราเห็นถึงต้นทุนในการผลิตจริงๆ ที่เกษตรอยู่ได้โดยไม่ลำบากต่างหากล่ะ คุณผู้อ่านผู้มีญาณทั้งหลายพึงเห็นด้วยกับผมไหมล่ะครับว่าเราควรที่จะร่วมมือกันเลิกผลิตสินค้าเกษตรที่เน้นแต่ปริมาณจนราคามัน “ต่ำ” กว่าความเป็นจริง เพราะหากจะเน้น “ถูก” เอาใจผู้บริโภคอย่างไรก็ตามเราก็มิอาจสู้จีนหรือเวียดนามได้อยู่แล้ว สิ่งที่ต้องทำคือหันมายกระดับการผลิตภาคเกษตรกรรมให้เน้นไปที่คุณภาพดีกว่า อย่างผักอินทรีย์ปลอดสารที่กระผมได้กล่าวมาแล้วเป็นตัวอย่าง เกษตรกรบ้านเราก็จะได้มีรายได้ที่ดีขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็จะได้บริโภคแต่สินค้าที่มีคุณภาพด้วย ไม่ดีหรือครับ? สำหรับผู้บริโภคที่สนใจซื้อผักจากเกษตรกรโดยตรง สามารถติดต่อที่โครงการผักประสานใจตู้ ปณ.15 อำเภอด่านช้าง สุพรรณบุรี 72180 คุณระวีวรรณ ศรีทอง โทรศัพท์ 081-981-8581  แหล่งซื้อผักปลอดสารนอกซูเปอร์มาร์เก็ตคลังเกษตรอินทรีย์ (Organic’s Warehouse)โดยสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน สนับสนุนโดย Oxfam GBที่อยู่ : เจเจ มาเก็ต ถ.อัษฎาธร ต.ป่าตัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000โทรศัพท์/โทรสาร : 053-233694  สหกรณ์เกษตรอินทรีย์กองทุนข้าว จำกัดเลขที่88 หมู่ 7 บ้านทนง ต.แกใหญ่ อ.เมือง จ.สุรินทร์ ติดต่อคุณธัญญา แสงอุบล โทรศัพท์ 044 - 514206 ชมรมรักษ์ธรรมชาติเลขที่ 52 ต.น่าโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธรติดต่อคุณชุธิมา ม่วงมั่น โทรศัพท์ 089-0370094 , 045-738429หรือดูรายชื่อผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์อื่นๆ เช่น ข้าว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ที่ผ่าน มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ได้ที่ http://www.actorganic-cert.or.th

อ่านเพิ่มเติม >