ฉบับที่ 195 การเลือกซื้อและใช้กระทะ

กระแสการใช้โฆษณาโน้มน้าวชักจูง โดยการใช้วิธี Fake Original Price ของกระทะยี่ห้อหนึ่งที่กำลังตกเป็นข่าวอยู่ขณะนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อประเด็นทางการกฎหมายว่า การตั้งราคาให้สูงเกินจริงมากๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดคิดว่า ได้ซื้อของถูกนั้นผิดกฎหมายหรือไม่ ในหลายประเทศมีกฎหมายมาควบคุมชัดเจนเรื่องนี้ชัดเจน ซึ่งในอนาคตการทำธุรกิจที่เอาเปรียบผู้บริโภคแบบนี้  คงมีมาตรการทางกฎหมายมาคุ้มครองผู้บริโภคอย่างชัดเจนขึ้น ในส่วนของคุณภาพของตัวสินค้า ตัวกระทะนั้น ทางวารสารฉลาดซื้อ ได้เคยร่วมมือทดสอบร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค และเปิดเผยผลทดสอบให้ทราบกันแล้วตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งในครั้งนั้น กระทะดังกล่าวยังไม่ได้มีการขายในประเทศไทย โดยที่ในครั้งนั้น ได้สุ่มกระทะจำนวน 13 ยี่ห้อ จากห้างสรรพสินค้า และไฮเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานคร ราคาตั้งแต่ 500 บาท ถึง 2,000 กว่าบาท โดยทดสอบเปรียบเทียบในเรื่องความเร็วในการถ่ายเทความร้อน การใช้พลังงาน การกระจายตัวของอุณหภูมิที่บริเวณก้นกระทะ และความสะดวกในการทำความสะอาด ตลอดจนความหนาของวัสดุที่เคลือบ ซึ่งเราได้ผลทดสอบสรุปว่า คุณภาพและประสิทธิภาพของกระทะนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคา บทความฉบับนี้ ต้องการให้ข้อมูลพื้นฐานแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อกระทะ ว่าควรพิจารณาจากอะไรบ้าง เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ(หรือไม่ซื้อ) ครั้งต่อไปวัสดุที่ใช้ในการผลิตกระทะปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของกระทะนอกจาก การออกแบบที่ต้องคำนึงถึงความสวยงามน่าใช้ และการถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะไปสู่อาหารที่กำลังผัดหรือทอด แล้วก็คือวัสดุที่ใช้ในการผลิตกระทะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วัสดุดังต่อไปนี้ในการผลิตอลูมิเนียม จัดเป็นโลหะเบา ที่มีความหนาแน่น 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เบากว่าเหล็กมาก (เหล็กมีความหนาแน่น 7.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) ซึ่งกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมไม่ควรนำไปใช้งานที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ เพราะจะทำให้สีผิวและรูปทรงของกระทะเปลี่ยนไป อาหารที่เหมาะกับการปรุงโดยใช้กระทะอลูมิเนียมคือ อาหารประเภทไข่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไข่เจียว ไข่ดาว หรือไข่คน หรือใช้ในการปรุงอาหารที่ทำจากปลาก็ได้ เพราะใช้ความร้อนไม่สูงมากนักเหล็กสเตนเลส (Stainless steel) กระทะที่ทำจากวัสดุประเภทนี้ มีข้อดีคือ ดูแลรักษาง่าย ทนทาน แข็งแรง รักษารูปทรงไว้ได้ดีเมื่อใช้งานไปนานๆ แต่ข้อเสียคือ มีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งกระทะได้อีก คือ ชนิดเคลือบเทฟลอน กับชนิดไม่เคลือบเทฟลอน ชนิดที่ไม่เคลือบเทฟลอน เหมาะสำหรับการทอดกรอบ ซึ่งถ่ายเทความร้อนได้ดี ให้ความร้อนสูง ข้อควรระวังสำหรับคนที่มีอาการแพ้โลหะนิกเกิล เพราะนิกเกิลเป็นธาตุผสมที่มีอยู่ในเหล็กสเตนเลส ควรจะหันไปใช้กระทะที่ทำจากวัสดุอื่นแทนเหล็กหล่อ (Cast Iron) ให้ความร้อนสูง ทนทาน แข็งแรง แต่มีน้ำหนักมาก การถ่ายเทความร้อนดี เหมาะสำหรับการทอดชิ้นเนื้อหนา เช่น สเต็กเหล็กหล่อเคลือบอีนาเมล ผิวเคลือบปราศจากรูพรุน (Micro Pore) ทำความสะอาดง่าย ทนความร้อนได้ดี แต่ต้องระวังการกระแทกที่ผิวเคลือบ เพราะจะทำให้ผิวเคลือบแตกล่อนออกมาได้ทองแดง(Copper) เป็นกระทะระดับพรีเมียม ราคาแพง ถ่ายเทความร้อนได้ดี ความร้อนกระจายตัวสม่ำเสมอ และเย็นตัวได้เร็ว สามารถนำวัสดุอื่นมาเคลือบที่ผิวได้ เช่น เหล็กสเตนเลส สังกะสี และ เทฟลอน เพื่อป้องกันไม่ให้ ทองแดงปนเปื้อนลงไปในอาหาร การดูแลรักษาค่อนข้างยุ่งยาก และต้องทำการขัดผิวละเอียด (Polishing) บ่อยๆ จึงจะดูสวยงามน่าใช้อยู่เสมอ การใช้กระทะเคลือบเทฟลอนกระทะเคลือบเทฟลอน ซึ่งเป็นชื่อเรียกทางการค้าของวัสดุเคลือบ อยู่ในกลุ่มพอลิเมอร์ (Polytetrafluoroethylene: PTFE)         ไม่ควรให้ความร้อนสูงมากเกินไป เพราะจะทำให้วัสดุเคลือบที่ทำมาจากเทฟลอน เสื่อมสลาย ได้ง่าย และอายุการใช้งานสั้นลง ไม่ควรใช้ตะหลิวที่ทำจากโลหะเพราะจะทำให้ผิวเทฟลอนเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย นอกจากนี้ไม่ควรใช้แผ่นโลหะ หรือ สารเคมีที่มีส่วนผสมของผงโลหะทำความสะอาด เพราะจะทำให้กระทะเป็นรอยเช่นกันการทำความสะอาด ใช้น้ำอุ่น หรือ น้ำยาล้างจานล้างกระทะ โดยใช้ฟองน้ำขัดถู คราบสกปรกที่ติดบนผิวกระทะ กระทะบางรุ่นสามารถนำไปล้างในเครื่องล้างจานได้ แต่ถ้าเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียม ไม่ควรจะใช้เครื่องล้างจานเพราะจะทำให้ผิวของกระทะหมองลงได้ และถ้าหากบ้านใครมีเครื่องล้างจาน และอยากจะใช้ล้างกระทะ ก็ให้ใช้น้ำมันพืช ทาที่ผิวเคลือบบ้างเพราะจะทำให้เทฟลอนรักษาความมันลื่นได้นานขึ้น กระทะเคลือบเทฟลอน จะมีอายุการใช้งานของมัน หากเราสังเกตเห็นว่าผิวเคลือบมีรอยขีดข่วน หรือหลุดล่อนออกมาควรเปลี่ยนกระทะใหม่หวังว่าสมาชิกวารสารฉลาดซื้อจะสามารถ ใช้ชีวิตในยุคบริโภคนิยมได้อย่างชาญฉลาด และไม่ตกเป็นเหยื่อการโฆษณาที่เข้าข่ายหลอกลวง ที่ทำให้ผู้บริโภคในยุค 4.0 สูญเสียความเชื่อมั่นและความรู้สึกครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 ตกแต่งตาสองชั้นอย่างปลอดภัย

สาวเอเชียจำนวนมาก มักมีความกังวลเกี่ยวกับลักษณะดวงตาของตัวเอง เพราะส่วนใหญ่จะมีตาชั้นเดียวหรือตาสองชั้นหลบใน ทำให้เวลาแต่งตาจะเห็นไม่ชัดเจนเท่าไร ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและความสวยงามอย่างมาก หลายคนจึงแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการศัลยกรรมตาสองชั้น แต่สำหรับใครที่กลัวการศัลยกรรมก็หันไปพึ่งวิธีง่ายๆ อย่าง การใช้เครื่องสำอางหรือกาวติดตาสองชั้นแทน ซึ่งเป็นวิธีที่แพร่หลายและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราลองไปดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ควรให้ความสำคัญรู้จักกาวติดตาสองชั้นกันก่อนกาวติดตาสองชั้น (Double eyelid glue) เป็นเครื่องสำอางประเภทหนึ่ง ซึ่งมีไว้ใช้กับเปลือกตาเพื่อตกแต่งให้เป็นตาสองชั้น มีลักษณะเป็นกาวสีใสและขาวขุ่น โดยส่วนใหญ่จะใช้ทาลงบนสติ๊กเกอร์ตาสองชั้น แล้วจึงนำไปติดลงบริเวณรอยพับของเปลือกตาก่อนหรือหลังตกแต่งดวงตาก็ได้ อย่างไรก็ตามสาวๆ หลายคนอาจเลือกใช้กาวติดขนตาปลอมแทนกาวติดตาสองชั้น เพราะหาซื้อได้ง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพในการยึดเกาะใกล้เคียงกันกาวติดตาสองชั้นผลิตจากอะไรกาวติดตาสองชั้นมีส่วนประกอบสำคัญคล้ายกับกาวติดขนตาปลอม คือ Rubber, Latex, AMP-acrylates/ diacetoneacrylamide copolymer, Ethyl cyanoacrylate และ Acrylate copolymer กาวติดตาสองชั้นปลอดภัยจริงหรือแม้กาวติดตาสองชั้นจะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นวิธีแก้ไขรูปตาที่สะดวกรวดเร็ว แต่ผู้ใช้งานหลายคนอาจพบกับอาการแพ้บริเวณเปลือกตาได้ เช่น มีอาการระคายเคือง คัน บวมแดงหรืออักเสบบริเวณผิวหนังรอบดวงตา ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการแพ้น้ำหอม สารกันบูดหรือสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่าง Latex (ยางธรรมชาติ) นั่นเอง เพราะสารดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังหรืออาการแพ้ได้มาก เลือกใช้กาวติดตาสองชั้นให้ปลอดภัยเพื่อป้องกันอาการแพ้ที่ไม่พึงประสงค์ เราสามารถตรวจสอบกาวติดตาสองชั้นก่อนใช้งานด้วยวิธีเบื้องต้น ดังนี้1. ตรวจสอบฉลาก เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐาน ไม่มีส่วนประกอบต้องห้าม รวมทั้งมีสถานที่ผลิตหรือจัดจำหน่ายชัดเจน เราจึงควรตอบสอบฉลากก่อนซื้อ ซึ่งการแสดงฉลากที่ถูกต้อง ต้องเป็นภาษาไทยที่มีข้อมูลครบถ้วน ทั้งชื่อที่ตั้ง สถานที่ผลิต วันเดือนปี การผลิต ฯลฯ 2. ตรวจสอบเลขที่จดแจ้งหากเป็นเครื่องสำอางที่ได้รับมาตรฐาน จะต้องมีเลขที่จดแจ้งจำนวน 10 หลัก เพื่อเป็นการป้องกันสินค้าปลอมหรือลอกเลียนแบบ ซึ่งเราสามารถนำเลขที่จดแจ้งดังกล่าวตรวจสอบผ่านอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ของ อย. ในส่วนของระบบงานบริการตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ (http://164.115.28.102/FDA_SEARCH_CENTER/PRODUCT/FRM_SEARCH_CMT.aspx)  3. ใช้งานอย่างถูกวิธีบางครั้งอาการแพ้สามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้งานผิดวิธี เช่น ใช้กาวมากเกินไป หรือล้างเครื่องสำอางไม่สะอาด ทำให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรก ซึ่งเราควรล้างกาวติดตาสองชั้นด้วยผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางโดยเฉพาะ (Makeup remover) และไม่ควรดึงสติ๊กเกอร์ออกแรงเกินไป เพราะอาจทำให้เปลือกตาเป็นแผลและเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อขึ้นได้ อย่างไรก็ตามหากพบว่าเราใช้งานถูกวิธี หรือใช้สินค้าที่มีคุณภาพแล้ว แต่ยังเกิดอาการแพ้อยู่ อาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากอาการแพ้เฉพาะบุคคล ซึ่งควรทดลองเปลี่ยนยี่ห้อ โดยอาจเลือกจากส่วนผสมที่ไม่มี Latex เพราะทำให้เกิดการแพ้ง่ายนั่นเอง 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 ระวังผู้สูงวัยอายุจะสั้นจากผลิตภัณฑ์กตัญญู

ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ผมมีโอกาสไปร่วมงานรดน้ำขอพรผู้สูงวัยหลายแห่ง  ทำให้มีโอกาสพูดคุยกับผู้สูงวัยหลายท่าน  สิ่งหนึ่งที่ผู้สูงวัยมักจะถามบ่อยๆ ก็คือเรื่องปัญหาสุขภาพ และการใช้ยาต่างๆ  ทำให้ทราบว่า นอกเหนือจากยาที่ต้องทานประจำแล้ว หลายท่านยังรับประทานผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย บางชนิดเป็นผลิตภัณฑ์ราคาแพงจากต่างประเทศด้วยซ้ำ เมื่อคุยไปคุยมาจึงทราบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนส่งมาจากลูกหลานของท่านที่ไปทำงานในที่ห่างไกล ท่านบอกว่าลูกหลานมักจะซื้อผลิตภัณฑ์แปลกๆ ส่งมาให้ ทีแรกท่านเองก็ไม่อยากจะกิน  แต่ขัดลูกหลานไม่ได้ ยอมรับว่าเวลาทานมันก็มีความสุขที่ลูกๆ หลานๆ ยังไม่ลืม ยังกตัญญู คอยดูแลอยู่เสมอๆ ผมมีโอกาสตามไปดูที่บ้าน  เลยได้เห็นผลิตภัณฑ์มากมายหลายชนิดจริงดังที่ท่านเล่า  ท่านบอกว่าระยะหลังๆนี้ความดันโลหิตของท่านคุมไม่ค่อยอยู่ ไม่ยอมลดลง  พอสอบถามว่าทานอะไรเพิ่มหรือเปล่า ท่านก็บอกว่ามีแค่โสมชนิดแคปซูลอย่างเดียว  ผมพลิกดูฉลากพบว่าขึ้นทะเบียนเป็นยา มีคำเตือนในผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคความดันโลหิต  ซึ่งในแง่ข้อมูลทางวิชาการเขาก็แนะนำในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงต้องระมัดระวังอยู่แล้ว เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตของบางคนสูงขึ้นได้ ผู้สูงอายุอีกราย นำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาให้ ดู  จากฉลากแสดงส่วนประกอบเป็นพวกแร่ธาติและวิตามินชนิดต่างๆ  ฉลากมีรายละเอียดการได้รับอนุญาตถูกต้องครบถ้วน  ท่านเล่าว่าลูกชายไปทำงานที่กรุงเทพ ซื้อมาให้ ราคาขวดละหลายร้อยบาท ลูกชายสั่งให้ทานร่างกายจะได้แข็งแรง ท่านก็เลยทานเป็นประจำ วันละ 2-3 ครั้ง ผมถามท่านว่าทานแล้วมีอาการอะไรมั๊ย ท่านบอกว่าก็ปกติดีนี่  เสียแต่ว่าช่วงนี้คุมน้ำตาลไม่ค่อยอยู่  ผมถึงนึกขึ้นได้ รีบอ่านฉลาก  พบว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ระดับน้ำตาลในเลือดของท่านจึงสูงขึ้น ส่วนอีกรายท่านมีอาการปวดข้อเข่า ท่านเล่าว่าในอดีตท่านเคยซื้อยาผงสมุนไพรไทยที่ฉลากเป็นรูปรากไม้สีเขียวมารับประทาน ต่อมามีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาตรวจสอบยาให้  พบว่ามีสารสเตียรอยด์ ก็เลยหยุดรับประทาน หันไปรับประทานยาที่หมอโรงพยาบาลจ่ายแทน  แต่หลังๆ ก็มีคนรู้จักมาขายให้อีก เป็นยาสมุนไพรไทยเหมือนเดิม ฉลากก็คล้ายเดิม เพียงแต่ฉลากรูปรากไม้เป็นสีน้ำเงิน  คนขายบอกว่าสีนี้ไม่มีสารสเตียรอยด์ ท่านลองกินก็ได้ผล หายปวดเข่า ก็เลยทานมาเรื่อยๆพอยาหมดก็ฝากเขาซื้อ  บางครั้งก็ได้อีกชนิดที่ราคาแพงกว่า เป็นยาสมุนไพรไทยเหมือนเดิม แต่ฉลากเป็นรูปรากไม้สีส้ม  ท่านเลยเอายามาให้ผมลองตรวจสอบ  ผลปรากฏว่าทั้งชนิดที่ฉลากเป็นรูปรากไม้สีน้ำเงิน และรากไม้สีส้ม ต่างก็พบสารสเตียรอยด์ทั้งหมด ฟังเรื่องของผู้สูวัยแต่ละท่านก็อดเป็นห่วงไม่ได้ สังคมไทยกำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงวัย แต่ผู้สูงวัยหลายท่านยังต้องเสี่ยงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อันตราย ที่สำคัญมันเป็นความเสี่ยงที่ท่านไม่ได้หามาเอง แต่เป็นความเสี่ยงที่มาพร้อมๆกับความกตัญญูจากลูกหลาน  ทราบอย่างนี้แล้ว ลูกหลานท่านใดจะดูแลบิดามารดา ก็ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้รอบคอบก่อนนะครับ ถ้าไม่จำเป็นหรือไม่แน่ใจ อย่าให้ท่านรับประทานเลย เพราะอาจทำร้ายท่านโดย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 ค่าปลงศพ กรณีทำให้เขาตาย เรียกได้แค่ไหน

ในการเรียกร้องให้ชดเชยความเสียหาย กรณีทำละเมิดจนถึงแก่ชีวิต หากเกิดเหตุมีคนในครอบครัว หรือญาติของเรามีอันเป็นไปถึงแก่ชีวิต คนที่ทำละเมิดต้องรับผิดอะไร และเราหรือญาติของเราในฐานะผู้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายจะเรียกร้องอะไรได้บ้าง หลังจากเกิดเหตุเสียชีวิต แน่นอนว่าก็ต้องมีการนำศพไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือประเพณีท้องถิ่น เกิดค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย ซึ่งตามกฎหมาย เราเรียกค่าใช้จ่ายดังกล่าวว่า “ค่าปลงศพ”  อันได้แก่ ค่าปลงศพ พอตายแล้วจะต้องมีหีบศพ ห่อศพ ฉีดยาป้องกันศพเน่า แต่งตัวให้ศพ แต่งชุดพิเศษหรือชุดที่ชอบ จ้างช่างตัดผมหรือหวีผมให้ หรือว่ากรณีร่างกายถูกรถชนแหลกเหลวจะต้องเย็บให้เข้าที่ ค่าจ้างหมอเย็บศพก็ถือว่าเป็นค่าปลงศพอย่างหนึ่ง ค่าพิธีการรดน้ำศพ สวดศพ ทำบุญอันจำเป็นตามประเพณี ค่าเช่าเมรุเผาศพ เป็นต้น ผู้ที่มีสิทธิเรียกค่าปลงศพได้ ตามกฎหมายกำหนดไว้เฉพาะ คือทายาทผู้มีอำนาจจัดการศพ ตามมาตรา 1649 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์    ดังนั้น ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ในการจัดการศพ แม้จะเป็นผู้จัดการศพ ก็เรียกค่าปลงศพไม่ได้ (  (ฎ.212-213/2525) บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกก็เรียกค่าปลงศพได้ (ฏ. 14/2517 และที่ 1202/2549) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้นมิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไปเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้ ค่าปลงศพใช่ว่าจะต้องจ่ายไปแล้วเท่านั้นถึงจะมาเรียกร้องได้ แม้ว่าจะเป็นค่าปลงศพที่ยังไม่เกิดขึ้น เช่น ทายาทยังไม่ปลงศพทันทีแต่อาจจะจัดการเบื้องต้นโดยเก็บศพไว้ก่อน แล้วค่อยทำ ซึ่งเช่นนี้สามารถเรียกค่าปลงศพในอานาคตได้ แต่กรณีนี้ต้องบรรยายฟ้องมาให้ชัดว่าจะจัดการศพในอนาคตอย่างไร ตามลัทธิประเพณีหรือไม่ ตามสมควรหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่  143/2521ผู้เสียหายย่อมฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้ทำละเมิดกระทำไปในทางการที่จ้างได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวทวงถามก่อน เพราะถือว่าได้ผิดนัดมาตั้งแต่วันทำละเมิดแล้วเมื่อเหตุที่รถชนกันเกิดเพราะความประมาทของคนขับรถทั้งสองฝ่าย และพฤติการณ์แห่งละเมิดมีความร้ายแรงพอๆ กันความเสียหายย่อมเป็นพับกันไปผู้ตายเนื่องจากการทำละเมิดเป็นบุตรโจทก์ แม้โจทก์ไม่ได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ โดยภรรยาผู้ตายเป็นผู้ออกก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยจะยกเอาข้อที่ภรรยาผู้ตายเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายมายกเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่และแม้โจทก์จะยังไม่ได้จ่ายเงินค่าฌาปนกิจศพผู้ตายก็ตามโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องได้ถ้าผู้ทำละเมิดช่วยค่าทำศพโดยไม่ยอมรับผิดจะมีลักษณะเป็นการช่วยทำบุญอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการจ่ายค่าปลงศพที่เรียกว่าเป็นค่าสินไหมทดแทน กรณีนี้จะมีบ่อยเวลาเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ฝ่ายเจ้าของรถยนต์ผู้ทำละเมิดจะไปเจรจากับฝ่ายผู้ตายเจรจาในช่วงแรกก็ยังไม่ยอมรับผิด ฝ่ายผู้ตายก็จะเรียกมาก ฝ่ายนี้ก็ไม่ยอมให้อ้างว่าไม่ได้ประมาท ไม่ผิด แต่เพื่อบรรเทาความรู้สึกของฝ่ายผู้ตาย ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาก็จะมอบเงินให้บางส่วน เช่นช่วยไป 10,000 บาท แต่ไม่ได้รับผิดเป็นการบรรเทาความรู้สึก กรณีอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เรียกว่าเป็นค่าปลงศพเพราะว่าจ่ายโดยไม่ได้รับผิด สมมุติต่อมาเขาฟ้องเรียกค่าปลงศพ 100,000 บาท จะไปบอกขอหักที่ช่วยไปแล้ว 10,000 บาท อย่างนี้หักไม่ได้เพราะเป็นการช่วยทำบุญไม่ใช่ช่วยจ่ายค่าปลงศพอันเป็นค่าสินไหมทดแทนคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2528เงินจำนวน 3,000 บาทที่จำเลยที่ 3 ช่วยค่าทำศพในขณะที่จำเลยที่ 3 มิได้ยอมรับผิดว่าการตายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างของตน และมิได้มอบให้ในฐานะเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่ง แต่เป็นการให้ในลักษณะร่วมทำบุญอันเป็นสำนึกในด้านศีลธรรมและเรื่องการบุญการกุศลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยจะนำมาหักกับจำนวนเงินค่าทำศพที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องไม่ได้สุดท้ายนี้ ขอย้ำว่าแม้ผู้บริโภคจะมีสิทธิเรียกร้องค่าปลงศพดังกล่าว ก็ต้องเรียกตามฐานะและตามสมควรนะครับ ไม่ใช่ว่าจะเรียกร้องได้ตามอำเภอใจ หรือถือโอกาสจัดงานเสียใหญ่โตเกินฐานะ เพราะศาลจะพิจารณากำหนดให้ตามฐานะสมควรเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2506ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ทำละเมิดรับผิดใช้ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ อีกด้วย นั้น จะต้องพิเคราะห์ตามฐานานุรูปของผู้ตาย มิใช่ว่าถ้ามีการใช้จ่ายเงินทำศพตามประเพณีเป็นจำนวนเท่าใดแล้วผู้ทำละเมิดจะต้องรับผิดทั้งหมด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษกับคดีรถโดยสารสาธารณะ

ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ คืออะไร พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติให้อำนาจศาลพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายเชิงลงโทษไว้ใน  มาตรา 42 ว่า“ ถ้าการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคหรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภค ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ต่างๆ เช่น ความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับ ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ สถานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ การที่ผู้ประกอบธุรกิจได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดจนการที่ผู้บริโภคมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจกำหนดได้ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด แต่ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดมีจำนวนเงินไม่เกินห้าหมื่นบาท ให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกินห้าเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด ”โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังต่อไปนี้1) กระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม2) จงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย3) ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค4) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ขอยกตัวอย่างจากกรณีศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภค พิพากษาคดีรถโดยสารเปรมประชา เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560  จำนวน  2  คดี  ในคดีที่นายลำพูน – นางทอง เจริญเกียรติ และคดีนายวรัญญู อยู่สุภาพ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายอิ่นแก้ว มูลสุข และบริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด เป็นจำเลยคดีผู้บริโภค ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ว่า บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด ประกอบกิจการขนส่งคนโดยสารอันเป็นกิจการที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิต ทรัพย์สินและความปลอดภัยของสาธารณชน แต่เหตุครั้งนี้เกิดจากนายอิ่นแก้ว มูลสุข ลูกจ้างของบริษัท ที่ขับรถโดยสารรับผู้โดยสารเกินอัตราบรรทุกที่กฎหมายกำหนด ประมาทขับรถด้วยความเร็วสูง ลงทางโค้งเนินเขาโดยปราศจากความระมัดระวัง แม้จะมีผู้โดยสารร้องเตือนแล้ว แต่นายอิ่นแก้ว มูลสุข ยังคงไม่สนใจและยังคงขับรถด้วยความเร็วต่อไป ทำให้เกิดอุบัติเหตุมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551  มาตรา 42   ซึ่งบริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจและเป็นนายจ้างของนายอิ่นแก้ว มูลสุข จะต้องรับผิดชอบด้วย พิพากษาแก้เป็นว่าให้ บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด กับพวกร่วมกันชำระเงิน ให้กับ นายลำพูน – นางทอง เจริญเกียรติ รวมเป็นเงิน 1,030,000  บาท  และนายวรัญญู อยู่สุภาพ  เป็นเงิน  186,740  บาท  กับให้บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายที่แท้จริงอีกคดีละ 50,000  บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5  ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ            จำนวนเงิน 50,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ ก็คือ ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ ตามมาตรา 42 นี้ ที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นค่าเสียหายที่เพิ่มเติมขึ้นนอกเหนือจากค่าเสียหายที่โจทก์พิสูจน์ได้ (ศาลพิพากษา) หรือค่าเสียหายที่แท้จริง ทั้งนี้เพื่อเป็นการลงโทษผู้ประกอบธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะเอาเปรียบผู้บริโภคมากเกินไป และยังมุ่งหมายเพื่อเป็นการป้องปรามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นมีพฤติกรรมเช่นเดียวกัน โดยฝ่ายผู้บริโภคที่เป็นโจทก์ไม่จำเป็นต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ค่าเสียหายส่วนนี้ เพราะศาลจะเป็นผู้พิจารณากำหนดเองตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงลักษณะความร้ายแรง สภาพและปริมาณความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ตลอดจนฐานะทางเศรษฐกิจของจำเลยที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ  ขอบคุณข้อมูลจาก 1. คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ดร.ไพโรจน์ วายุภาพ2. คำอธิบาย : วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค วินัย หนูโท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 บอกเลิกสัญญาจองรถได้หรือไม่

เชื่อว่ามีหลายคนที่เคยตัดสินใจวางเงินมัดจำจองรถ แต่มาเปลี่ยนใจภายหลัง เพราะไม่อยากได้รถคันดังกล่าวแล้วด้วยเหตุผลต่างๆ ซึ่งมักเกิดคำถามตามมาว่า เงินจองที่เสียไป จะสามารถขอคืนได้หรือไม่ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณสมใจตัดสินจองรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด ภายในงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา โดยชำระเงินจองเป็นเงินจำนวน 5,000 บาท อย่างไรก็ตามภายหลังเธอพบว่า ตนเองประสบปัญหาด้านการเงิน และเกรงว่าจะไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดรถในอนาคตได้ จึงต้องการยกเลิกการซื้อรถดังกล่าว เธอแจ้งความจำนงกลับไปที่บริษัทพร้อมขอเงินจองคืน ซึ่งพนักงานตอบกลับมาว่า สามารถคืนเงินให้ได้เมื่อจบงานมอเตอร์โชว์ อย่างไรก็ตามเมื่อจบงานดังกล่าวแล้ว ทางบริษัทก็บ่ายเบี่ยงการคืนเงินมาตลอด คุณสมใจจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า การบอกเลิกสัญญาสามารถทำได้ หากมีเหตุแห่งการบอกเลิก ซึ่งตามมาตรา 378 (2) ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551 กำหนดไว้ดังนี้ข้อ 3 ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้3.1 ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น3.2 ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด3.3 ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มี ยี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา3.4 ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดในสัญญาข้อ 4 ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสิทธิบอกเลิกสัญญา หากมีข้อเท็จจริงที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับทราบว่า ผู้บริโภคต้องขอสินเชื่อเพื่อการซื้อรถยนต์และผู้บริโภคไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อตามที่ขอภายในกำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์ดังนั้นหากไม่มีเหตุให้บอกเลิกสัญญาตามข้อกำหนดเบื้องต้น ผู้ร้องจะไม่สามารถเรียกร้องเงินจองหรือเงินมัดจำคืนได้ อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีนี้ศูนย์ฯ เสนอว่าสามารถช่วยให้เกิดการเจรจาระหว่างผู้ร้องกับบริษัทรถยนต์ เพื่อขอให้มีการคืนเงินบางส่วนได้ ซึ่งจะมีการหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงไป แต่ผู้ร้องได้ขอกลับไปตัดสินใจก่อน และจะแจ้งความจำนงมายังมูลนิธิฯ ในภายหลัง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 ถูกเรียกเก็บภาษีที่สนามบิน

สำหรับใครที่มักซื้อของฝากติดไม้ติดมือกลับมาหลังจากไปเที่ยวต่างประเทศ ลองมาดูเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้กัน เพื่อป้องกันการถูกเรียกเก็บเสียภาษีจากของที่นำมาด้วยคุณปาริชาติซื้อขนมและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปติดตัวมาจากประเทศเกาหลีใต้ รวมมูลค่าประมาณ 2,000 บาท ซึ่งเธอคิดไว้ว่าจะเก็บไว้รับประทานเองและแจกจ่ายให้ญาติพี่น้องบางส่วน อย่างไรก็ตามเมื่อมาถึงสนามบินขาเข้า กลับถูกเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินจำนวน 1,000 บาท ทั้งๆ ที่เธอทราบข้อมูลมาก่อนหน้านี้ว่า หากของที่นำมาด้วยมีมูลค่ารวมไม่เกิน 10,000 บาท จะได้รับการยกเว้นอากร ทำให้คุณปาริชาติส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพื่อสอบถามว่าการเรียกเก็บภาษีดังกล่าว เป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้วหรือไม่แนวทางการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องส่งใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรมาให้ทางอีเมล์ และช่วยโทรศัพท์สอบถามไปยังสายด่วนกรมศุลกากรที่เบอร์ 1164 ซึ่งได้รับการชี้แจงกลับมาว่า ขนมหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในกรณีของคุณปาริชาติ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า มีลักษณะเป็นสิ่งของที่นำมาเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์หรือทางการค้า ไม่ใช่ของติดตัวที่ทำให้ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี ทำให้ต้องชำระภาษีอากรปากระวางดังกล่าว ด้านผู้ร้องเมื่อได้รับการชี้แจงก็เข้าใจและยินดียุติข้อร้องเรียนทั้งนี้สำหรับของที่ได้รับการยกเว้นอากร มีข้อกำหนดดังนี้ 1. ของใช้ส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องสำอาง เครื่องประดับ รองเท้า นาฬิกา ปากกา แว่นตา น้ำหอม เป็นต้น หรือของใช้ในวิชาชีพและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ (เห็นได้ชัดว่ามิใช่เพื่อการค้า) มีมูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท จะได้รับการยกเว้นอากร ทั้งนี้ต้องมีเอกสารใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐาน แต่หากไม่มี เจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามหลักฐานอื่นประกอบ อย่างไรก็ตามสำหรับของใช้ส่วนตัวดังต่อไปนี้จะต้องมีปริมาณไม่เกินที่กำหนด คือ 1. บุหรี่ ไม่เกิน 200 มวน หรือ ซิการ์และยาเส้น ไม่เกิน 250 กรัม 2. สุรา 1 ลิตร 2. ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว เช่น โทรทัศน์ วิทยุ วีดีทัศน์ เครื่องโทรสาร ที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเนื่อง จากการย้ายภูมิลำเนาและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ ได้รับยกเว้นอากร แต่ก็จะต้องมาผ่านพิธีการศุลกากรที่ช่องตรวจสีแดง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบของ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 ของหลุดจำนำ

หากเรามีเหตุจำเป็นที่ต้องนำทรัพย์สินไปจำนำที่โรงรับจำนำ และไม่ต้องการให้ทรัพย์สินดังกล่าวหลุดจำนำ เราจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร ลองไปดูเหตุการณ์นี้กันคุณสมพรนำสร้อยคอทองคำไปจำนำ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายภายในครอบครัว โดยมีการตกลงวันชำระดอกเบี้ยที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามหลังจากชำระดอกเบี้ยไปได้ไม่กี่เดือน เธอก็ขาดส่งติดต่อกันหลายเดือน เนื่องจากมีปัญหาทางการเงิน ซึ่งภายหลังทางโรงรับจำนำก็ได้แจ้งมาว่าให้นำเงินมาไถ่ เพราะสร้อยคอดังกล่าวกำลังจะหลุดจำนำแล้ว ทำให้คุณสมพรไปกู้เงินมาจำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปไถ่สร้อยคอของเธอ แต่เมื่อไปถึงที่โรงรับจำนำ กลับพบว่าไม่สามารถไถ่สร้อยคืนได้แล้ว จึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์สอบถามข้อมูลผู้ร้องเพิ่มเติม ถึงวันและเวลาการขาดส่ง รวมถึงระยะเวลาการกลับไปไถ่สร้อยคอดังกล่าวคืน อย่างไรก็ตามผู้ร้องไม่สามารถจำวันและเวลาที่แน่นอนได้ ศูนย์ฯ จึงให้คำปรึกษาด้านกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ซึ่งกำหนดขั้นตอนของทรัพย์สินที่จะหลุดเป็นของผู้รับจำนำไว้ ดังนี้  มาตรา 25 ให้ผู้รับจำนำทำบัญชีทรัพย์จำนำที่ผู้จำนำขาดส่งดอกเบี้ยเป็นเวลากว่า 4 เดือนยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และปิดประกาศบัญชีนั้นไว้ ณ ที่เปิดเผย ที่โรงรับจำนำนั้นตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งถ้าผู้รับจำนำได้ปฏิบัติการถูกต้องครบถ้วนตามข้างต้นแล้ว ทรัพย์จำนำจะหลุดเป็นสิทธิของผู้รับจำนำก็ต่อเมื่อ 1. ทรัพย์นั้นอยู่ในประกาศของโรงรับจำนำ 2. ทรัพย์นั้นเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมิได้สั่งอายัดไว้ และ 3. ผู้จำนำมิได้ขอไถ่ภายในกำหนดเวลา 30 วันนับแต่วันประกาศ ดังนั้นหากผู้ร้องไม่ได้ไปไถ่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ทรัพย์นั้นย่อมหลุดเป็นของผู้รับจำนำ ซึ่งมีสิทธินำไปขายต่อได้ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 หนี้ไม่หาย แม้ตายไปแล้ว

บางครั้งบางทีชีวิตก็เล่นตลกร้ายให้เราอาจกลายเป็นผู้รับผิดชอบชำระหนี้ที่ตัวเองไม่ได้ก่อ เพราะคนในครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้วมีภาระหนี้สินทิ้งเป็นมรดกไว้ให้ ซึ่งเราจะสามารถจัดการปัญหานี้ได้อย่างไร ลองไปดูกันคุณสมชายโทรศัพท์มาขอคำปรึกษาว่า ลูกสาวของเขาที่เพิ่งเสียชีวิตไป เป็นหนี้บัตรเครดิตรวมมูลค่ากว่า 400,000 บาท ทำให้เขาไม่แน่ใจว่าต้องชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกสาวหรือไม่ นอกจากนี้ทางครอบครัวได้รับเงินชดเชยมาจากบริษัทที่เธอเคยทำงานอยู่จำนวน 200,000 บาท จะถือว่าเงินดังกล่าวเป็นมรดกของลูกสาวหรือไม่ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า หนี้ไม่สูญเมื่อเสียชีวิต ซึ่งทายาทต้องเป็นผู้ชำระหนี้ดังกล่าวแทน โดยหากพบว่า ผู้ตายมีมรดกและมรดกนั้นตกทอดไปถึงทายาทหรือผู้จัดการมรดก เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกนั้นเพื่อให้ชำระหนี้แทนผู้ตายได้ อย่างไรก็ตามเจ้าหนี้ต้องฟ้องร้องภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ได้รู้ถึงความตาย และทายาทจะต้องชำระหนี้ไม่เกินจำนวนที่ได้รับมรดกนั้น เช่น ได้มรดกมา 200,000 บาท แต่ผู้ตายมีหนี้ถึง 400,000 บาท ทายาทที่ได้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกก็จะต้องชำระหนี้เพียง 200,000 บาทเท่านั้น ซึ่งจากกรณีนี้เงินชดเชยที่บริษัทให้มาถือว่าเป็นมรดกของลูกสาวที่เสียชีวิตไปแล้วทั้งนี้สำหรับกรณีอื่นที่ผู้ตายไม่มีมรดก ทายาทหรือผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินดังกล่าวที่ผู้ตายได้ทำไว้ แต่ถ้าเจ้าหนี้ฟ้องมาทายาทหรือผู้จัดการมรดกก็จะต้องไปแถลงต่อศาลว่า ผู้ตายไม่มีมรดกตกทอดแต่อย่างใด ซึ่งหากศาลไต่สวนดูแล้วว่าเป็นตามที่ได้แถลงมาศาลก็จะยกฟ้อง ผู้ที่ไม่ได้รับมรดกก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 ค่าพลังงานใน “ไก่ทอดเกาหลี”

“ไก่ทอดเกาหลี” อีกหนึ่งเมนูอร่อยที่อิมพอร์ตมาจากแดนกิมจิ ตามรอยวัฒนธรรมเกาหลีฟีเวอร์ ที่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีอาหารสัญชาติเกาหลีหลากหลายเมนูมาให้คนไทยลิ้มลอง พร้อมๆ กับการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของร้านอาหารเกาหลีเมนูไก่ทอดถือเป็นเมนูโปรดของคนไทยเราอยู่แล้ว จะทำกินเองก็ง่าย หรือจะหาซื้อก็มีขายทั่วไป ทั้งจากร้านแผงลอยรถเข็นริมทาง ไปจนถึงร้านแฟรนไชส์ชื่อดัง เรียกว่ามีให้เลือกกินเลือกชิมสารพัดสูตรสารพัดรสชาติ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่กระแสความนิยมในไก่ทอดเกาหลีถึงได้มาแรงราวกับติดจรวด เพราะคนไทยเราชอบลองอะไรใหม่ๆ อยู่แล้ว ซึ่งภายในระยะเวลาไม่นานก็มีร้านไก่ทอดเกาหลีหลายแบรนด์หลายยี่ห้อถือกำเนิดขึ้นในบ้านเราฉลาดซื้อ ไม่ยอมตกเทรนด์ เราได้ลองสุ่มเก็บตัวอย่าง ไก่ทอดเกาหลี หลากหลายยี่ห้อที่จำหน่ายอยู่ ณ ปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบดูเรื่อง “ค่าพลังงาน”  ลองดูกันสิว่าไก่ทอดเกาหลีแสนอร่อย สูตรของเจ้าไหนให้พลังงานเท่าไหร่กันบ้างไก่ทอดเกาหลี แตกต่างจากไก่ทอดทั่วไปยังไง?สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้ไก่ทอดสไตล์เกาหลีแตกต่างจากไก่ทอดทั่วไปก็คือ ไก่ทอดเกาหลีจะมีการคลุกเคล้าได้ซอสสูตรเฉพาะเพื่อเพิ่มรสชาติหลังจากทอดเสร็จ ซึ่งซอสที่ว่ามีส่วนผสมหลักๆ คือ กระเทียม และ น้ำผึ้ง ทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นเป็นเอกลักษณ์ โดยในเกาหลีจะเรียกไก่ทอดที่เคลือบด้วยซอสรสกระเทียมและน้ำผึ้งว่า “ยังยอม” (Yangnyeom Chicken) ซอสสำหรับคลุกไก่ทอดสไตล์เกาหลี แต่ละร้านก็มีสูตรเฉพาะของตัวเองแตกต่างกันออกไป นอกจากซอสที่กระเทียมและน้ำผึ้งเป็นส่วนประกอบแล้ว ก็ยังมีสูตรที่ใช้ “โคชูจัง” หรือที่บ้านเราเรียกว่าน้ำพริกเกาหลี ช่วยทำให้ไก่ทอดมีรสเผ็ด บางสูตรก็ใช้แค่ซอสถั่วเหลืองใส่น้ำผึ้งหรือน้ำตาลเพิ่มความหวานมูลค่าการตลาดของ “ไก่ทอด” -ตลาดฟาสต์ฟูดในประเทศไทยมีมูลค่ารวมมากกว่า 3.4 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยเติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ทุกปี-“ไก่ทอด” ถือเป็นประเภทของอารหารฟาสต์ฟูดที่มีมูลค่าการตลาดมากที่สุดในไทย ประมาณ 1.4-1.7 หมื่นล้านบาท หรือมากกว่า 40% จากตลาดรวมของฟาสต์ฟูดทั้งหมด -ยอดขายของ ไก่ทอดเกาหลีจากร้าน “บอนชอน” ร้านขายไก่ทอดเกาหลีเจ้าแรกๆ ของประเทศ ทำรายได้เพิ่มจาก 289 ล้านบาท ในปี 2557 เป็น 543 ล้านบาท ในปี 2558 และ 11 เดือนแรกของปี 2560 ขยับขึ้นไปแล้วกว่า 900 ล้านบาท โดย 2 ปีนี้ (2558-2559) ได้ขยายสาขาเพิ่มถึง 15 แห่ง โดยคาดว่าจะมีสาขารวมถึงสิ้นปี 2560 ที่ 25 สาขาที่มา : “ไก่ทอด “1.7 หมื่นล้าน” เดือด แบรนด์ใหม่ดาหน้าถล่ม “เคเอฟซี”” ผู้จัดการออนไลน์, 13 ก.ค. 2558 และ “เปิดสูตรแจ้งเกิด‘บอนชอน’ 6 ปี ยอดขายทะลุพันล้านบาท” ฐานเศรษฐกิจ,  16 ธ.ค. 2560ผลทดสอบ-จากผลทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยของพลังงานในไก่ทอดเกาหลีที่ขายอยู่ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 100 – 150 กิโลแคลอรีต่อไก่ 1 ชิ้น ขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักของไก่ โดยชิ้นส่วนที่เป็นน่องจะมีน้ำหนักมากกว่าชิ้นส่วนที่เป็นปีก-เฉพาะตัวอย่างไก่ทอดเกาหลีจากร้าน Bon Chon และ Kyo Chon ชิ้นที่นำมาวิเคราะห์คือ ส่วนน่องใหญ่ หรือน่องติดสะโพก ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าตัวอย่างจากร้านอื่น ซึ่งเป็นชิ้นส่วน น่องและปีก บริเวณปีกบน เป็นเหตุผลให้ปริมาณค่าพลังงานต่อไก่ทอด 1 ชิ้น สูงกว่าตัวอย่างอื่นๆ-ปกติเรากินไก่ทอดกันเป็นอาหารจานหลัก กินพร้อมกับข้าว ซึ่งถ้าดูจากปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการกินไก่ 1 ชิ้น ถือว่าค่อนข้างสูง แน่นอนว่าถ้ากินเป็นอาหารจานหลักเราก็จะกินไก่ทอดมากกว่า 1 ชิ้นแน่นอน ซึ่งบรรดาร้านขายไก่ทอดที่ฉลาดซื้อทำการสำรวจ ส่วนใหญ่มีการเสิร์ฟแบบเป็นเซ็ต คือ เสิร์ฟไก่ทอดพร้อมข้าวสวย สลัด หัวไชเท้าดอง หรือ กิมจิ  โดยใน 1 เสิร์ฟก็อาจจะมีไก่ทอดอยู่ตั้งแต่ 3-5 ชิ้น คิดแล้วก็เท่ากับว่าเราจะได้ปริมาณพลังงานจากการกินเซ็ตไก่ทอดเกาหลีในร้าน 1 เสิร์ฟ เฉลี่ยอยู่ที่ 300 -500 กิโลแคลอรี ซึ่งก็ถือเป็นเกณฑ์ที่รับได้สำหรับอาหารจานหลัก 1 มื้อ โดยปริมาณพลังงานจากอาหารที่เหมาะสมใน 1 วัน คือ ไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนพฤษภาคม 2560เตรียมบังคับแท็กซี่ติดตั้งปุ่มฉุกเฉินและกล้องวงจรปิดเราได้เห็นข่าวคราวในแง่ลบของบริการแท็กซี่อย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในคราบคนขับแท็กซี่ หรือพนักงานขับรถที่พูดจาไม่ดี หรือแสดงกริยาที่ไม่เหมาะสมกับผู้โดยสาร แม้จะมีหน่วยงานให้ร้องเรียนอย่างกรมขนส่งทางบก แต่ก็ดูเหมือนปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกล่าสุดปัญหานี้น่าจะคลี่คลายลงได้บ้าง(หรือไม่) เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ได้มีการหารือเรื่องความคืบหน้าการจัดระเบียบแท็กซี่ โดยเตรียมประกาศใช้กฎกระทรวงที่จะบังคับให้รถแท็กซี่ทุกคันต้องติดตั้งระบบจีพีเอส ติดตั้งกล้องซีซีทีวีภายในรถ และมีปุ่มกดฉุกเฉินสำหรับผู้โดยสาร เพื่อส่งข้อมูลเข้ามายังศูนย์ควบคุมที่จะมีการตั้งขึ้นเพื่อบริการผู้โดยสารแท็กซี่ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือน ส.ค.2560 นี้เป็นต้นไป โดยรถแท็กซี่ใหม่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ตามที่กำหนดไว้ทันทีก่อนนำมาให้บริการ ส่วนแท็กซี่ที่ใช้มาแล้ว 3-6 ปี จะขยายเวลาติดตั้ง 6 เดือนถึง 1 ปี ส่วนแท็กซี่เก่าที่กำลังจะถูกปลดระวางภายใน 1-2 ปี จะได้รับการยกเว้น“อาหารเสริม” – “กาแฟลดน้ำหนัก” แอบใส่ยาอันตรายเพียบใครที่ชอบกินกาแฟลดน้ำหนัก ระวังให้ดี เพราะมีผลทดสอบยืนยันแล้วว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีส่วนผสมของยาแผนปัจจุบันที่อาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานต่างๆ เฝ้าระวังการใช้ยาแผนปัจจุบันในอาหาร โดยเฉพาะในตัวอย่างกาแฟสำเร็จรูปชนิดผง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องดื่ม ซึ่งพบเห็นมีการจำหน่ายอยู่มากมายตามสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งสิ้น 1,603 ตัวอย่าง โดยผลการตรวจสอบพบว่า ในกลุ่มตัวอย่าง กาแฟสำเร็จรูปชนิดผง จำนวน 462 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของยากลุ่มที่รักษารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ร้อยละ 26.2 นอกจากนี้ยังพบทั้งยาลดความอ้วน (ร้อยละ 13.7) และกลุ่มยานอนหลับ (ร้อยละ 0.5)ส่วนตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จำนวน 1,034 ตัวอย่าง ก็พบกลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศทั้งแบบยาชนิดเดียวและสองชนิดรวมกัน มากถึงร้อยละ 42.9 รวมทั้งกลุ่มยาลดความอ้วน ยาระบาย และยาลดความยากอาหาร นอกจากนี้ยังพบกลุ่มยาอันตรายอย่าง สเตียรอยด์ และ ไซบูทรามีน ผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ใช่ยารักษาโรค ไม่มีผลทางการบำบัด บรรเทา หรือรักษาอาการเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บใดๆ ทั้งสิ้น อาหารที่มีการผสมยาแผนปัจจุบันจึงถือเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ผิดกฎหมาย รวมทั้งยังอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่รับประทาน รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น กลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หัวใจวาย เส้นโลหิตในสมองแตก ความดันโลหิตสูง ส่วน ไซบูทรามีน ที่เป็นสารอันตราย แต่ผู้ผลิตที่ไม่หวังดีชอบเอามาใส่ในผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ทำมีผลต่อการเกิดโรคหัวใจวายและเส้นโลหิตในสมองแตก ใช้ “รีเทนเนอร์” เถื่อนเสี่ยงติดเชื้ออันตรายถึงชีวิตอย.ฝากเตือนถึงคนที่กำลังคิดจะใส่เครื่องมือที่ช่วยรักษาสภาพฟันหลังการจัดฟัน หรือ“รีเทนเนอร์” (Retainer) ต้องได้รับบริการจากทันตแพทย์เท่านั้น โดยทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ฟันของผู้ป่วยและส่งข้อมูลของผู้ป่วยให้ผู้ผลิต ผลิตรีเทนเนอร์ออกมาเพื่อให้ตรงกับสภาพฟันของผู้ป่วย เพราะเรื่องในช่องปากเป็นเรื่องเฉพาะคน จึงต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้ตรวจและหล่อบล็อกออกมาเฉพาะคนหลังจากเกิดดราม่าบนโลกออนไลน์กรณีที่ “จ๊ะ อาร์สยาม” หรือ น.ส.นงผณี มหาดไทย นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง รับบริการทำรีเทนเนอร์โดยตรงกับแฟนคลับ ที่อ้างว่ามีใบอนุญาตผลิตรีเทนเนอร์ จึงหลงเชื่อให้แฟนคลับคนดังกล่าวพิมพ์ฟันให้และช่วยโปรโมตร้านผลิตรีเทนเนอร์ ซึ่งจากการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่า ร้านดังกล่าวมีใบอนุญาตผลิตเครื่องมือแพทย์จริง แต่เป็นเพียงการผลิตฟันปลอม ไม่ครอบคลุมถึงรีเทนเนอร์นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการ อย. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การจะผลิตรีเทนเนอร์ให้คนไข้หรือคนจัดฟันใส่นั้น ผู้ผลิตจะต้องผลิตตามใบสั่งของทันตแพทย์เท่านั้น ส่วนที่มีการโฆษณารับทำรีเทนเนอร์ทางโซเชียลมีเดีย เข้าข่ายผิด พ.ร.บ. วิชาชีพทันตกรรม ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้เฉพาะผู้มีใบประกอบวิชาชีพทันตกรรมเท่านั้นที่สามารถจะพิมพ์ฟันได้ และต้องทำภายในสถานพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมเท่านั้นสคบ.สั่ง “กระทะโคเรียคิง” หยุดโฆษณาเอาเปรียบผู้บริโภคสคบ.สั่ง “กระทะโคเรียคิง” หยุดโฆษณาที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค โดยการใช้ข้อมูลที่พิสูจน์ไม่ได้ ด้าน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดให้ผู้ที่ซื้อกระทะโคเรียคิงที่ต้องการขอคืนสินค้าและขอคืนเงินสามารถแสดงความจำนงเข้ามาเพื่อร่วมดำเนินการตามกฎหมายในการฟ้องคดีแบบกลุ่มกระแสดราม่ากระทะโคเรียคิง จุดเริ่มต้นมาจากที่มีคนไทยไปพบกระทะยี่ห้อดังกล่าววางจำหน่ายในประเทศสิงคโปร์ในราคาที่ตีเป็นเงินบาทแล้วแค่ 600 บาท แต่ในเมืองไทยกลับจำหน่ายอยู่ที่ราคาสูงถึง 2,000 กว่าบาท แถมในโฆษณายังมีการอ้างว่าเป็นราคาที่ลดลงมาจากราคา 30,000 กว่าบาท ซึ่งนอกจากความสงสัยของผู้บริโภคในเรื่องของราคาแล้ว ก็ยังมีการตั้งข้อสังเกตเพิ่มขึ้นในเรื่องของคุณสมบัติของกระทะ ทั้งเรื่องการเคลือบผิวกระทะ 8 ชั้น การใช้หินอ่อนเคลือบกระทะ ตามที่ระบุในโฆษณาสคบ.จึงได้มอบหมายให้นักวิชาการและสถาบันด้านการทดสอบ ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของกระทะโคเรียคิง ซึ่งจากการทดสอบพบว่า 1.เนื้อกระทะทำมาจากอะลูมิเนียมเสริมเหล็ก 2.เนื้อกระทะเคลือบด้วยพอลิเมอร์ และ 3.ตรวจสอบดูชั้นเคลือบของกระทะ พบว่าไม่ได้มี 8 ชั้น และไม่พบหินอ่อนในชั้นเคลือบกระทะเป็นที่มาให้ สคบ.มีคำสั่งให้กระทะโคเรียคิงชะลอการโฆษณา เนื่องจากมีการใช้ข้อความไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 22 และ พรบ.ขายตรง 2545 ซึ่งขณะนี้ พบว่า โฆษณามีลักษณะจูงใจ เช่นการใช้คำว่า กระทะโคเรียคิงมีความลื่นไหลกว่า 300% หรือ 3 เท่า เคลือบ 8 ชั้น หรือ กำหนดเงื่อนไขราคาที่สูงแต่ขายจริงในราคาต่ำ ไม่มีข้อมูลอ้างอิงที่มาของราคา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่ามีผลต่อการจูงใจผู้บริโภค แต่ทว่าเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมทำหน้าที่เป็นตัวกลางช่วยผู้ที่ซื้อกระทะโคเรียคิงแล้วต้องการขอคืนสินค้าและขอคืนเงิน โดยการยื่นฟ้องต่อศาลเป็นคดีแบบกลุ่ม สามารถส่งหลักฐานการซื้อกระทะโคเรียคิง เช่น ใบเสร็จการซื้อ หลักฐานการโอนเงินสั่งซื้อ และสำเนาบัตรประชาชน ได้ที่สำนักงานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หรือทางอีเมล์ complaint@comsumerthai.org       

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 สารเคมีอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิล ในลูกบิดรูบิก (Rubik’s cube)

แม้ปัจจุบันจะมีการควบคุมการใช้พลาสติกรีไซเคิลที่มีส่วนประกอบของ “สารหน่วงการติดไฟที่มีองค์ประกอบของโบรมีน” (Brominated Flame Retardants: BFR) มาผลิตเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภค โดยเฉพาะในของเล่นสำหรับเด็ก แต่ผลจากการสำรวจตลาดของเล่นเด็กครั้งล่าสุดทั้งในประเทศไทยและในอีกหลายประเทศพบว่า ของเล่นเด็กยอดฮิตคือ “ลูกบิดรูบิก” หรือลูกบาศก์เรียงสี ที่นิยมให้เด็กเล่นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเชาว์ปัญญา มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและพัฒนาการทางสมองของเด็กปนเปื้อนอยู่ในระดับสูงโครงการสำรวจและตรวจวิเคราะห์นี้ดำเนินการโดย “เครือข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม” หรือไอเพน (IPEN) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยนักวิชาการสาขาต่างๆ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจาก  100 กว่าประเทศ หรือ 700 กว่าองค์กร โดยมีคณะผู้ร่วมการสำรวจจากทั้งหมด 26 ประเทศ รวมถึงมูลนิธิบูรณะนิเวศในประเทศไทยโครงการฯ ได้ดำเนินการสำรวจผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลที่มีสาร BFRs ปนเปื้อนหรือใช้เป็นสารเติมแต่งระหว่างกระบวนการผลิต ใน 26 ประเทศ  ซึ่งประกอบด้วยลูกบิดรูบิกรวม 95 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกจำนวน 16 ตัวอย่าง ได้แก่ แก้วใส่น้ำร้อน กิ๊บหนีบผม หวี ที่คาดผม และของเล่นเด็กอื่นๆ  เพื่อวิเคราะห์หาการเจือปนของสารพิษกลุ่มสาร BFRs ได้แก่ 1) สาร Octabromodiphenyl ether  (OctaBDE), 2) สาร Decabromodiphenyl either (DecaBDE) และ 3) สาร Hexabromocyclododecane (HBCD)  ผลการสำรวจในประเทศไทยมูลนิธิบูรณะนิเวศได้สำรวจและซื้อลูกบิดรูบิกที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลในตลาดของเล่นเด็กของไทยในจังหวัดกรุงเทพฯ ปทุมธานี นครปฐม และระยอง ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2558  รวม 9 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากประเทศจีนทั้งหมด  เพื่อวิเคราะห์หาความเข้มข้นของกลุ่มสาร PBDEs (OctaBDE และ DecaBDE) และ HBCD ผลการวิเคราะห์พบว่า ลูกบิดรูบิกจำนวน 9 ตัวอย่างจากประเทศไทย มี 2 ตัวอย่างที่พบปริมาณสารโบรมีนทั้งหมด (Total Br) สูงเกิน 1,000 ppm  ด้วยเครื่องวิเคราะห์ Handheld X-ray Fluorescence (HHXRF)  และจากการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเคมี สาธารณรัฐเช็ก เฉพาะ 2 ตัวอย่างที่มีโบรมีนรวมเกิน 1,000 ppm พบว่าทั้งสองตัวอย่างปนเปื้อนสาร OctaBDE ที่มีปริมาณเข้มข้นสูง 25 – 48 ppm และสาร DecaBDE มีปริมาณเข้มข้นสูง 21 – 23 ppm  ทั้งนี้มี 1 ตัวอย่างที่มีสาร HBCD ในปริมาณเข้มข้น 5 ppm ผลการสำรวจใน 26 ประเทศการวิเคราะห์ตัวอย่างจากประเทศต่างๆ รวม 26 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยลูกบิดรูบิก95 ตัวอย่าง  และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จำนวน 16 ตัวอย่าง ได้แก่ แก้วใส่น้ำร้อน กิ๊บหนีบผม หวี ที่คาดผม และของเล่นเด็กอื่นๆ  พบว่ามี 100 ตัวอย่าง (ร้อยละ 90) มีสาร OctaBDE ปนเปื้อนในปริมาณเข้มข้นระหว่าง 1- 1,174 ppm;  พบสาร HBCD ในจำนวน 45 ตัวอย่าง (ร้อยละ 41)  ระดับความเข้มข้นอยู่ที่ 1 - 1,586 ppm  และสาร DecaBDE ในจำนวน 101 ตัวอย่าง (ร้อยละ 91)  มีช่วงความเข้มข้นที่พบคือ 1 -  672 ppmอัครพล ตีบไธสง นักวิชาการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ผู้ร่วมการศึกษาในโครงการนี้กล่าวให้ความเห็นว่า  “สารเคมีอันตรายกลุ่มนี้มักเจือปนอยู่ในขยะพลาสติก เป็นสิ่งอันตรายมากโดยเฉพาะต่อพัฒนาการทางสมอง ระบบประสาทของเด็ก และมีผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนส์ของร่างกายด้วย จึงไม่ควรนำมาผลิตของเล่นเด็กโดยเด็ดขาด และควรมีมาตรการกำจัดผลิตภัณฑ์ที่อันตรายต่อเด็กออกจากท้องตลาดด้วย”ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ดร. โจ ดิกันจิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสารอันตรายของ IPEN จากสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า “การรีไซเคิลวัสดุที่มีสารพิษเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นวัฏจักรที่จะทำให้ปนเปื้อนสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาไม่จบสิ้น และยังจะทำลายความน่าเชื่อถือของการรีไซเคิลวัสดุ รัฐบาลของแต่ละประเทศจึงควรหาทางยุติปัญหานี้และควรมีมาตรการเชิงป้องกันระยะยาวด้วย”ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า สารหน่วงการติดไฟที่อยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นยังคงปนเปื้อนในของเล่นเด็กและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ผลิตจากการรีไซเคิลขยะเหล่านี้อย่างน่าวิตก  ยิ่งไปกว่านั้นของเล่นหลายชนิดปนเปื้อนสารอันตรายมากกว่า 50  ppm ในที่นี้คือ OctaBDE และ HBCD  รวมถึง DecaBDE  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 194 ฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชันแบบ Music streaming

การฟังเพลง เป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิงในชีวิตประจำวันสำหรับใครหลายคน ซึ่งสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดหรือทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามช่องทางการฟังเพลงได้มีการเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัย โดยปัจจุบันเราจะพบว่าคนมักฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น ซึ่งหากใครที่ชื่นชอบการฟังเพลงด้วยวิธีดังกล่าว อาจคุ้นหูหรือเคยได้ลองใช้แอปพลิเคชันฟังเพลงแบบ Music streaming กันมาบ้างแล้ว แต่หากใครที่ยังไม่แน่ใจว่า Music streaming คืออะไร เราลองไปดูกันเลยMusic streaming เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการฟังเพลงที่ถูกกฎหมาย โดยอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อเพลงได้ไม่จำกัดจำนวนเพลง ซึ่งสามารถดาวน์โหลดเพลงเหล่านั้นไว้ในแอป เพื่อเก็บไว้ฟังเมื่อไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หรือกำลังออฟไลน์ได้อีกด้วย ในราคาเหมาจ่ายเดือนต่อเดือน นั่นหมายความว่าหากเดือนไหนที่ผู้ใช้งานไม่เสียค่าบริการก็จะไม่สามารถฟังเพลงที่เคยซื้อหรือดาวน์โหลดไว้ได้ (ต่างจากการซื้อเพลงแบบเดิมที่ฟังได้ตลอดไป เพราะเป็นการซื้อเพลงต่อเพลง) ส่วนคุณภาพของเสียงเพลงก็มีความคมชัดคล้ายกับการฟังผ่านซีดีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามการฟังเพลงด้วยวิธีการดังกล่าวในบ้านเรา ยังถือว่าอยู่ในช่วงระยะทดลอง ทำให้แอปพลิเคชันฟังเพลงหลายเจ้ามีบริการทดลองใช้งานฟรี เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจว่า การฟังเพลงด้วยวิธีดังกล่าวตอบโจทย์ความต้องการหรือไม่ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเอาใจคนชอบฟังเพลง ด้วยการรวบรวมแอปพลิเคชันฟังเพลงแบบ Music streaming ที่ได้เปิดบริการในประเทศไทยและสามารถใช้งานได้จริง รวมทั้งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ จำนวน 6 แอปพลิเคชันมาทดสอบ เพื่อดูว่าเจ้าไหนราคาคุ้มค่าและใช้งานได้เสถียรดีไม่มีปัญหามากที่สุด ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร ลองไปดูกัน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 194 สารกันบูดในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป

แฟนๆ ฉลาดซื้อคงยังจำกันได้ว่าเมื่อไม่นานนี้ เราเพิ่งนำเสนอผลทดสอบ “สารกันบูดในขนมเปี๊ยะ” ที่พบว่ามีตัวอย่างขนมเปี๊ยะเพียง 1 จาก 13 ตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารกันบูดชนิด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก โดยพบปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 20.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ซึ่งก็ถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้คือสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่การพบสารกันบูดในขนมเปี๊ยะ ทั้งที่บางยี่ห้อระบุว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” นั้น ทำให้ฉลาดซื้อมีข้อสงสัยว่า สารกันบูดที่พบมาจากส่วนประกอบใดในขนมเปี๊ยะกันแน่ ฉบับนี้เราเลยเลือกทดสอบไส้ขนมสำเร็จรูป ชนิด “ถั่วกวน” ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบหลักในผลิตภัณฑ์ขนมหลายชนิด ไม่ใช่แค่ขนมเปี๊ยะ แต่ยังมีทั้ง ขนมโมจิ ซาลาเปา ขนมเทียน ขนมถั่วกวน ขนมลูกชุบ ขนมเม็ดขนุน ฯลฯ ซึ่งไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปพร้อมนำไปทำขนมได้ทันทีนี้ มีวางจำหน่ายอยู่ในร้านขายอุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับทำขนมและเบเกอรี่เจ้าใหญ่หลายแห่ง เราลองไปดูกันสิว่าในไส้ถั่วกวนสําเร็จรูปมีการปนเปื้อนของสารกันบูด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก มากน้อยแค่ไหนถั่วกวนสำเร็จรูป ใส่สารกันบูดได้หรือไม่? ใส่ได้มากน้อยแค่ไหน?ถ้าเทียบตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มอาหารประเภท พืชผัก สาหร่าย ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชต่างๆ ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น อบแห้ง แคนนิ่ง แช่แข็ง ฯลฯ ตามการแบ่งกลุ่มย่อยของประเภทอาหารที่อนุญาตให้ใช้ กรดเบนโซอิก ซึ่งตามประกาศไม่มีกำหนดปริมาณที่ใช้เป็นตัวเลขชัดเจน ระบุเพียงว่า ให้ใช้ใน “ปริมาณที่เหมาะสม” ซึ่งเมื่อลองนำไปเทียบกับกลุ่มอาหารชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่กฎหมายจะอนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก ไม่มีการกำหนดปริมาณการใช้ในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปดังนั้นเกณฑ์สำหรับเทียบเคียงในการทดสอบ กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปครั้งนี้ ขอยึดที่เกณฑ์พบได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 กันแดดด้วยเครื่องสำอาง

ความร้อนแรงของแสงแดดในบ้านเรามากขึ้นทุกวัน สาวๆ หลายคนจึงต้องสรรหาสารพัดวิธีมาปกป้องผิวสวย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเลือกซื้อเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดด เพราะเชื่อว่าเครื่องสำอางเหล่านั้นมีความสามารถในการป้องกันอันตรายจากรังสียูวีได้เทียบเท่ากับครีมกันแดดทั่วไป และสามารถช่วยประหยัดเวลาการแต่งหน้าได้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องทาครีมกันแดดเพิ่มอีก อย่างไรก็ตามการป้องกันแดดด้วยวิธีดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผิวจริงหรือ เราลองไปดูกันรู้จักเครื่องสำอางผสมสารกันแดดกันก่อนเครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด ตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด เพื่อปกป้องผิวหนังหรือส่วนของร่างกายจากรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสียูวี) แต่ไม่รวมถึงสารป้องกันแสงแดดที่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางเพื่อทำหน้าที่อื่น เช่น ปกป้องผลิตภัณฑ์ไม่ให้เสื่อมคุณภาพหรือแต่งสีของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ต้องมีการแสดงค่าความสามารถในการป้องกันแสงแดดตามจริง ซึ่งแบ่งเป็น 1.ค่า SPF (Sun Protection Factor) คือ ค่าที่แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการไหม้แดงของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวีบี 2.ค่า PFA (Protection factor of UV-A) คือ ค่าที่แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการดำคล้ำของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวีเอ และ 3.ค่า PA (Protection factor of UVA)คือ ค่าที่สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดขึ้นแทนการใช้ค่า PFA เครื่องสำอางกันแดดได้แค่ไหนแม้ร่างกายเราจะต้องการแสงแดด เพื่อช่วยในการสร้างวิตามินดี แต่มีข้อจำกัดอยู่ว่าควรได้รับในปริมาณที่ไม่มากเกินไปหรือประมาณ 10 – 15 นาที/วัน และต้องไม่อยู่ในช่วงเวลาที่แดดจัดหรือตั้งแต่ 10.00 น. - 16.00 น. เพราะอาจทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย ผิวไหม้ หรือเป็นมะเร็งผิวหนังได้ อย่างไรก็ตามหากเราหลีกเลี่ยงได้ยาก จึงควรปกป้องผิวด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกันแดด ซึ่งการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดป้องกันผิวจากรังสียูวีถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ประสิทธิภาพในการกันแดดก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้1. ปริมาณการใช้แน่นอนว่าปริมาณการใช้ที่เหมาะสม ส่งผลต่อการความสามารถในการป้องกันแดด ซึ่งหากลองเปรียบเทียบปริมาณการใช้ครีมกันแดดกับปริมาณเครื่องสำอางผสมสารกันแดดก็จะพบว่า บางครั้งเราใช้เครื่องสำอางเพียงเล็กน้อย เช่น ใช้รองพื้นทาบางๆ หรือแป้งพัฟแตะเบาๆ ที่ผิวหน้า ซึ่งระหว่างวันเครื่องสำอางเหล่านั้นก็จะหลุดลอกไปพร้อมเหงื่ออีกด้วย ในขณะที่การใช้ครีมกันแดดทั่วไป เราจำเป็นต้องใช้ประมาณ 2 ข้อนิ้วชี้จึงจะทาได้ทั่วผิวหน้า ดังนั้นหากใครที่ใช้เครื่องสำอางในปริมาณเพียงเล็กน้อย อาจทำให้การกันแดดไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการทาครีมกันแดดก่อน แล้วตามด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆ นั่นเอง2. ค่า SPF และ PA ในผลิตภัณฑ์บางครั้งราคาของแต่ละผลิตภัณฑ์ก็แปรผันตามความสามารถในการกันแดด ซึ่งหากผลิตภัณฑ์มี SPF หรือ PA สูง ราคาก็อาจสูงขึ้นตามไปด้วย สาวๆ หลายคนเลยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการเลือกเครื่องสำอางที่มี SPF หรือ PA ไม่สูงมากนัก แต่ใช้หลายๆ ผลิตภัณฑ์ในครั้งเดียว เพราะเชื่อว่าสามารถนำค่าดังกล่าวมาบวกกันให้สูงขึ้นได้ความจริงก็คือ แม้เราจะใช้เครื่องสำอางที่ผสมสารกันแดดหลายผลิตภัณฑ์ต่อหนึ่งครั้ง ก็ไม่ได้ทำให้การป้องกันรังสียูวีเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากค่า SPF หรือ PA ไม่สามารถนำมาบวกกันได้ และความสามารถในการป้องกันแดดจะนับจากค่า SPF และ PA สูงสุดของผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราทาเท่านั้นทั้งนี้ในการเลือกค่า SPF และ PA เราสามารถเลือกตามความเหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่าทั้งสองอย่าง เพื่อการป้องกันทั้งรังสียูวีเอและยูวีบี เช่น หากทำงานในร่มเป็นประจำ การเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 และไม่เกิน 50 ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะการเลือกค่า SPF ที่สูงเกินไป อาจทำให้เราได้รับสารเคมีมากเกินความจำเป็น ส่วนค่า PA สามารถเลือกตามเครื่องหมาย + ได้ ดังนี้ PA+, PA++, PA+++ และ PA++++ หมายถึง ประสิทธิภาพการป้องกันในระดับต่ำ กลาง สูง และสูงมากตามลำดับ ซึ่งหากเราไม่ได้เจอกับแสงมากนักก็ไม่จำเป็นต้องเลือกค่า PA สูงหรือแค่ PA++ ก็เพี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 เพทุบายสลายขน

ขนก็ไม่ต่างจากเส้นผม แต่ขนมันมีกรรม เพราะเมื่อมันดันไปปรากฏตามบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ศีรษะ หลายคนจึงรังเกียจ โดยเฉพาะผู้หญิงที่รักสวยรักงาม  ด้วยเหตุฉะนี้โอกาสของธุรกิจกำจัดขนที่ไม่พึงปรารถนาจึงกำเนิดขึ้นหญิงสาวที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผยตัวตนท่านหนึ่ง เล่าประสบการณ์เจ็บใจให้ผมฟังว่า เธอประสบปัญหาในการถอดขนรักแร้และโกนขนหน้าแข้งเสมอๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง เธอไปเจอโฆษณาในเว็บขายสินค้าออนไลน์ในอินเตอร์เน็ต เป็นสถานบริการเสริมความงามที่ให้บริการกำจัดขน ที่น่าสนใจคือ มีบริการพิเศษแบบ บุฟเฟต์เลเซอร์กำจัดขน เธอบอกว่า “จะรอช้าอยู่ใย ดั่งฟ้าประทานทางออกให้แก่ชีวิต”  แต่ก่อนที่จะตัดสินใจ เธอบอกว่าเธอก็เป็นดังผู้บริโภคยุคใหม่ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จึงเข้าไปค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ทั้ง google และอีกหลายๆ เว็บ นอกจากนี้เธอก็ยังไปตั้งกระทู้ในเว็บชื่อดังเพื่อสอบถามข้อมูลจากคนที่เคยไปใช้บริการแบบนี้มาก่อน  เธอบอกว่า “ได้ผลเร็วมาก เพราะทันทีที่ตั้งกระทู้ ก็มีคนเข้ามาตอบคำถามหลายคน ส่วนใหญ่จะสนับสนุนและชื่นชมบริการแบบนี้ บางรายยังให้ข้อมูลสาขาต่างๆ ของสถานบริการเสริมความงามแห่งนี้อีกด้วย” ทำให้เธอยิ่งเชื่อถือ จึงตัดสินใจโอนเงินผ่านเว็ปเพื่อสมัครขอใช้บริการบุฟเฟต์เลเซอร์กำจัดขนโดยเลือกประเภท 1 ปีไม่จำกัดจำนวนครั้ง และแล้ววันที่รอคอยก็มาถึง เธอไปที่สถานบริการแห่งนี้ ทันทีที่แจ้งความประสงค์และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เธอกลับพบว่า บริการบุฟเฟต์เลเซอร์กลับต่างจากบริการบุฟเฟต์หมูกระทะที่เธอเคยกิน เธอเล่าด้วยเสียงแค้นเคืองว่า ”บุฟเฟต์หมูกระทะเรากินได้ไม่อั้น แต่ไอ้บุฟเฟต์เลเซอร์นี้ กลับบอกเงื่อนไขผิดไปจากที่โฆษณา เช่น กำหนดเงื่อนไขว่าใน 1 ปีที่ไม่จำกัดจำนวนครั้งนั้น หากจะมาใช้บริการต้องเว้นระยะห่างก่อน  ไม่ใช่จะมาใช้บริการตามใจชอบแบบเดินไปตักบุฟเฟต์หมูกระทะ แต่เมื่อเดินมาถึงขั้นนี้แล้วเราก็ต้องยอมรับ” แล้วเธอก็ต้องประหลาดใจเป็นครั้งที่สอง เพราะผู้ที่กำลังจะให้บริการที่ยืนตรงหน้าเธอกลับดูเหมือนสาวสก๊อยต่างจากบุคลากรทางการแพทย์ในโฆษณาที่เธอเคยเห็น  ไม่มีเสื้อกาวน์สวมแต่กลับแต่งตัวเหมือนกำลังจะไปเที่ยวผับ แถมตอนให้บริการก็ไม่มีอุปกรณ์ใดๆป้องกันทั้งตัวเธอและตัวผู้ให้บริการ และเธอก็ต้องประหลาดใจยกกำลังสาม เธอบอกว่าในระหว่างการให้บริการ พนักงานคนนี้จะใช้เจลกันร้อนทาบริเวณขาเธอ แต่เมื่อบริการเสร็จแล้ว พนักงานกลับปาดเอาเจลที่ขาเธอป้ายใส่กลับคืนไปในกระปุก แต่ไหนๆ ก็เผลอขึ้นหลังเสือเพื่อมากำจัดขนแล้ว เธอจึงยอมกัดฟันให้ทำจนเสร็จ ผ่านไปไม่กี่วัน บริเวณขาเธอกลับมีรอยไหม้เป็นจ้ำๆ ไปทั่ว เธอจึงกลับไปที่สถานที่แห่งนี้อีก พนักงานคนเดิมก็หยิบยาทามาให้เธอ แล้วบอกว่าครั้งก่อนลืมให้ สุดท้ายเธอจึงขอเงินค่าบริการคืน บอกว่าจะไม่ขอมาใช้บริการแล้ว แต่พนักงานกลับบอกว่าเงินเข้าบัญชีบริษัทไปแล้ว คืนเงินไม่ได้ และที่สำคัญเธอบอกว่า “เจ็บใจที่ไม่ได้เก็บหลักฐานอะไรไว้เลย แม้กระทั่งเอกสารโอนเงิน”เธอบอกผมว่า อยากให้เอาเรื่องของเธอไปเตือนคนอื่นอย่าให้พลาดแบบเธอ “เพราะสถานบริการแบบนี้มีมากมาย มักจะนี้ใช้เล่ห์เพทุบายมาหลอกเหยื่อ ตั้งแต่โฆษณาบริการที่บอกเงื่อนไขคลุมเครือไม่ชัดเจน  กระทั่งคนที่มาตอบกระทู้ในอินเตอร์เน็ตต่างๆ ก็น่าจะเป็นหน้าม้าของสถานบริการแห่งนี้ เพราะเมื่อเธอกลับไปเช็คย้อนหลัง พบว่าคนที่ตอบกระทู้แม้จะชื่อต่างกัน แต่กลับมีเลข IP ที่ระบุว่ามาจากแหล่งเดียวกัน หรือวันที่เธอไปใช้บริการ พนักงานก็อ้างว่าบุคลากรทางการแพทย์ตามรูปในโฆษณาติดธุระ สุดท้ายเธอเจ็บใจตัวเองที่ดันทิ้งหลักฐานต่างๆ ไปหมด”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 เกิดเป็นนายจ้าง เมื่อลูกจ้างทำให้ผู้อื่นเสียหาย ต้องรับผิดแค่ไหน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน วันนี้ เรามาคุยเรื่องเกี่ยวกับนายจ้าง ลูกจ้างกันนะครับ  เชื่อว่าหลายท่านคงเคยมีสถานะเป็นทั้งนายจ้าง และลูกจ้าง แต่ก็มีบางครั้งที่ นายจ้างให้ลูกจ้างไปทำการงานบางอย่าง แล้วต่อมาลูกจ้างไปทำให้คนอื่นเกิดความเสียหาย เช่นนี้ นายจ้างก็ต้องร่วมรับผิด เพราะลูกจ้างได้ทำไประหว่างอยู่ในการงานที่จ้างนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ลูกจ้างที่นำรถของบริษัทไปทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ขับรถประมาทไปชนกับรถคันอื่น เช่นนี้ นายจ้างเขาต้องมาร่วมรับผิดด้วย   แต่ก็มีประเด็นสงสัยต่อมาว่า คำว่า “ลูกจ้าง” ที่นายจ้างต้องร่วมรับผิด ต้องเป็นคนที่ทำงานมานานๆ แล้ว หรือได้รับคำสั่งโดยตรงหรือไม่ ลูกจ้างทดลองงาน ยังไม่ได้รับทำงานประจำ แบบนี้ ถือว่าเป็น “ลูกจ้าง” ตามกฎหมายที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าว ศาลฏีกาได้เคยมีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐานไว้ว่า ลูกจ้างก็คือผู้ทำการงานให้นายจ้าง ตามที่นายจ้างสั่ง แล้วก็รับสินจ้างจากนายจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราว หรือแม้แต่อยู่ระหว่างทดลองงาน ก็เป็นลูกจ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2524)คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2524การที่นายจ้างรับบุคคลใดเข้าทำงานจะเป็นการรับไว้ประจำหรืออยู่ในขั้นทดลองงานก็ตาม ย่อมถือได้ว่าได้มีการรับบุคคลนั้นเพื่อการทำงานของตนแล้ว จึงอยู่ในฐานะลูกจ้างของนายจ้างคำให้การพยานในชั้นสอบสวนเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยในการรับฟังเกี่ยวกับข้อเท็จจริงแห่งพฤติการณ์และการกระทำทั้งหลายได้ ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไว้โดยเด็ดขาด ประเด็นน่าสนใจอีกเรื่องคือ ใครคือ “นายจ้าง” การจะพิจารณาว่าบุคคลใดเป็นนายจ้างหรือไม่ ต้องดู 2 เรื่อง คือ มีอำนาจควบคุมการทำงานหรือไม่ และลูกจ้างต้องทำตามที่เขาสั่งหรือไม่ มีการรับค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้โดยไม่ต้องคำนึงความสำเร็จของงาน มีหน้าที่ทำตามคำสั่งเท่านั้นใช่หรือไม่ หากไม่มีอำนาจควบคุมการทำงาน และงานที่ทำมุ่งผลสำเร็จ การจ้างดังกล่าว ก็เป็นการจ้างทำของ ไม่ใช่จ้างแรงงาน ส่งผลให้บุคคลที่ว่าจ้างไม่นับว่าเป็นนายจ้าง จึงไม่ต้องร่วมรับผิด  ดังเช่น คดีที่จะยกตัวอย่าง เป็นเรื่องของ การรับจ้างล้างและเฝ้ารถซึ่งจอดอยู่ริมถนน คนที่รับเฝ้ารถและล้างรถ  คนว่าจ้าง เขาต้องการผลสำเร็จของงานคือความสะอาดและความคงอยู่ของรถ เป็นการจ้างทำของ คนที่เขารับจ้างดังกล่าวจึงไม่ใช่ลูกจ้างของเจ้าของรถ เมื่อต่อมามีการนำรถไปขับโดยพลการจนถูกรถยนต์คันอื่นชนด้วยความประมาทของคนรับจ้าง แล้วไปชนโจทก์บาดเจ็บ เจ้าของรถจึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2523)คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2523จำเลยที่ 1 รับจ้างจำเลยที่ 2 และบุคคลอื่นล้างและฝ้ารถ ซึ่งจอดอยู่ริมถนนที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานเฝ้ายามอยู่แล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องทำตามคำสั่งหรืออยู่ในความควบคุมของจำเลยที่ 2 การจ้างเช่นนี้เป็นการจ้างทำของเพราะผู้ว่าจ้างต้องการแต่ผลสำเร็จของงานคืนความสะอาดและความคงอยู่ของรถ ไม่ใช่จ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ลูกจ้างจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ ตัวอย่างอีกคดีหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อย คือ จำเลยที่ 2 ลูกจ้างขับรถรับจ้างแล้วคนขับประมาทไปชนเขา ตำรวจเรียกไปสถานีตำรวจ มีการเจรจาให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของรถก็ไปช่วยเจรจาเหมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของตน ไม่เคยบอกว่าจำเลยที่ 2 เช่ารถจำเลยที่ 1 ไปขับรับจ้าง พอเจรจาไม่สำเร็จ ผู้เสียหายก็มาฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดในฐานะนายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงต่อสู้ว่าไม่ใช่นายจ้าง ศาลก็ดูพฤติการณ์ดังกล่าว จึงวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2534จำเลยที่ 2 ขับรถสองแถวของจำเลยที่ 1 ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วโจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีซึ่งมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้ค่าซ่อมรถตามที่โจทก์เรียกร้อง คู่กรณีตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาอีกต่อไปข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ติดใจจะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 เพื่อพนักงานสอบสวนจะได้เปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 2 เท่านั้น ส่วนข้อความที่จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้ค่าซ่อมรถตามที่โจทก์เรียกร้องนั้น ไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องชำระ วิธีการชำระอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างหลุดพ้นความรับผิดในมูลละเมิด.

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 เปลี่ยนคืนสินค้าชำรุด

หากเราซื้อสินค้าใดๆ มาใช้ แล้วพบว่าเกิดความชำรุดบกพร่อง และต้องการเปลี่ยนคืนสินค้าดังกล่าวจะสามารถทำได้อย่างไรบ้าง ลองไปดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้กันคุณสมหมายซื้อกาต้มน้ำไฟฟ้า จากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งมาใช้งาน ซึ่งโฆษณาว่ารับประกันการใช้งาน 1 ปี อย่างไรก็ตามหลังจากใช้ไปได้ประมาณ 3 เดือนก็พบความชำรุดบกพร่องกับสายปลั๊กไฟของกาต้มน้ำ โดยเขาพบว่าปลั๊กของกาน้ำละลาย และทำให้ปลั๊กสามตาที่ต่อพ่วงเอาไว้เสียหายด้วยเช่นกัน คุณสมหมายจึงโทรศัพท์ไปยังเบอร์พิเศษ(เลข 4 หลัก) ของบริษัทดังกล่าว ซึ่งโฆษณาว่าโทรฟรี 24 ชั่วโมงเพื่อแจ้งปัญหา แต่กลับพบว่าต้องเสียเงินค่าโทรศัพท์ฟรีๆ และไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างที่คิดไว้ เพราะพนักงานระบุเพียงว่าให้ส่งกาต้มน้ำดังกล่าวไปยังศูนย์บริการที่จังหวัดสมุทรสาคร และไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะมีการเปลี่ยนหรือซ่อมให้ใหม่อย่างไรบ้าง เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้คุณสมหมายจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักสิทธิเพื่อขอคำแนะนำ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิได้ขอเอกสารผู้ร้องเพิ่มเติมได้แก่ รูปถ่ายสินค้า ใบรับประกันสินค้าและใบเสร็จรับเงิน แต่ผู้ร้องแจ้งกลับมาว่าใบรับประกันและใบเสร็จรับเงินฉบับจริงได้สูญหายไปแล้ว เหลือเพียงรูปถ่ายใบเสร็จสินค้า ซึ่งทางห้างสรรพสินค้าไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ใหม่ได้ เนื่องจากระยะเวลาการซื้อเกิน 3 เดือนแล้วอย่างไรก็ตามศูนย์ฯ ได้ช่วยเหลือผู้ร้องด้วยการแนบหลักฐานทั้งหมดที่ผู้ร้องมีส่งเป็นหนังสือร้องเรียนไปยังบริษัทผู้ผลิต เพื่อขอให้มีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งภายหลังทางบริษัทก็ได้เข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ยและเสนอเปลี่ยนกาต้มน้ำ รวมทั้งปลั๊กสามตาที่เสียหายไปให้ใหม่ พร้อมแจ้งว่าหากเกิดความเสียหายขึ้นอีก ทางบริษัทยินยอมชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับราคาสินค้าให้กับผู้ร้อง ด้านผู้ร้องก็ยินดีรับข้อเสนอดังกล่าวและขอยุติเรื่องร้องเรียน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 ไม่ได้ถูกกว่าเสมอไป

ร้านอาหารส่วนใหญ่มักมีการจัดเซ็ตหรือชุดอาหารพร้อมโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อแสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่าถ้าซื้อเป็นเซ็ต จะได้ความคุ้มค่ากว่าการสั่งอาหารทีละรายการ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ เราลองไปดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้กัน คุณปราณีไปรับประทานพิซซ่ากับครอบครัวที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งหลังจากดูเมนูอาหารแล้วพบว่า มีการจัดโปรโมชั่นเซ็ตอาหารในราคา 399 บาท เธอจึงเลือกสั่งเมนูนี้มารับประทาน อย่างไรก็ตามภายหลังเธอได้ตรวจสอบราคาอาหารแต่ละรายการในเซ็ตดังกล่าว จึงพบว่าราคาเซ็ตกลับมีราคาแพงกว่าการซื้อแยกแต่ละรายการ ทำให้คุณปราณีแสดงความคิดเห็นไปยังหน้าเว็บไซต์ของร้านอาหารดังกล่าว โดยขอให้มีการปรับปรุงราคา เนื่องจากเธอเห็นว่าเป็นการหลอกลวงลูกค้า เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น แต่ก็ไม่มีการตอบกลับจากร้านค้าดังกล่าวแต่อย่างใด คุณปราณีจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำปรึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้ ผู้ร้องได้แนบหลักฐานราคาอาหารจากหน้าเว็บไซต์ของร้านดังกล่าวมาด้วย ซึ่งเมื่อศูนย์พิทักษ์สิทธิเข้าไปตรวจสอบก็พบว่า การจัดชุดโปรโมชั่นดังกล่าวมีราคาสูงกว่าการซื้อแยกรายการจริง จึงช่วยผู้ร้องทำหนังสือถึงบริษัทให้มีการปรับปรุงโฆษณา ซึ่งภายหลังพบว่าทางบริษัทได้นำรายการเช็ตอาหารดังกล่าวออกจากเมนูไปแล้ว ศูนย์ฯ จึงขอฝากเตือนผู้บริโภคให้เปรียบเทียบราคาเซ็ตอาหารกับการสั่งแยกแต่ละรายการก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันการถูกลวงจากโฆษณาส่งเสริมการขายที่เอาเปรียบผู้บริโภคนั่นเอง 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 บทเรียน ‘เพย์ทีวี’ กสทช. ต้องปรับ ผู้บริโภคต้องรู้

ในอดีตกาล ทางเลือกในการชมรายการโทรทัศน์ของผู้บริโภคไทยจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ช่อง การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีไม่ได้เกิดการพลิกโฉมเช่นในปัจจุบัน คนรุ่นอายุ 30 ขึ้นไปคงนึกออกเมื่อเปิดทีวีตอนกลางวันของวันธรรมดาจะเจอแต่จอเปล่ากับแท่งสีหลากสี ดีขึ้นหน่อยก็มีเพลงประกอบ สำหรับคนยุค 2017 ไม่อาจจินตนาการถึงทางเลือกที่น้อยนิดเป็นโอกาสให้ธุรกิจเพย์ทีวีหรือช่องโทรทัศน์ที่ต้องจ่ายเงินถึงจะมีสิทธิ์ชมเกิดขึ้นในสังคมไทย แต่ในยุคเริ่มต้น ราคาของทางเลือกชนิดนี้ค่อนข้างสูงสำหรับประชาชนทั่วไปกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น คอนเท้นต์ที่มีหลากหลาย ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้การซื้อหาเพย์ทีวีของผู้บริโภคง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งก็มาพร้อมกับโจทย์ใหม่ๆ ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยเช่นกันยกตัวอย่างในปี 2559 เมื่อบริษัท จีเอ็มเอ็มบี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของซีทีเอช แจ้งผู้ใช้บริการว่า 17 มกราคม ไม่สามารถเติมเงินเพื่อซื้อแพ็คเกจช่องรายการต่างๆ ของ Z Pay TV ในกล่อง GMMz ได้ ทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถรับชมช่องรายการของ CTH ทางกล่อง GMMz  ได้ตั้งแต่ วันที่ 6 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ทางบริษัทเสนอมาตรการเยียวยาในลักษณะของการให้กล่องรับสัญญาณดาวเทียม CTH  พร้อมรับชมแพ็กเกจ Beyond CTH Package ฟรี นาน 4 เดือน 8  เดือน และ 12 เดือน และหากลูกค้าไม่ยอมรับการชดเชยต้องคืนเงินให้กับลูกค้าโดยหลักการคืนในจำนวนเงินตามวันที่ไม่ได้รับ ทว่า ในทางปฏิบัติกลับไม่ง่ายดายเช่นที่ว่า โสภณ หนูรัตน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนนโยบายและพัฒนาองค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า“เนื่องจากกล่องแกรมมี่เดิมดูช่องพิเศษของซีทีเอชไม่ได้ เขาก็เสนอว่าให้มีการยืนยันตนเพื่อรับกล่องซีทีเอชไปดู แล้วก็มีแพ็กเกจบียอนด์ ซีทีเอช ให้ดูฟรี 4 เดือน 8 เดือน 12 เดือน ตามระยะเวลาที่ลูกค้าเหลืออยู่ คือถ้าผมสมัครไป 6 เดือน เหลืออีก 3 เดือน แสดงว่าผมต้องดูฟรีอีก 3 เดือน แต่ผมต้องเปลี่ยนกล่องเป็นกล่องซีทีเอช มันก็จะมีปัญหาว่าไม่ใช่ทุกคนจะดูได้ คือบางบ้านใช้ระบบเคยูแบนด์ เป็นจานเล็ก สีดำๆ จานพวกนี้เวลาฝนตกจะดูไม่ค่อยได้ อีกระบบคือซีแบนด์ เป็นจานใหญ่ๆ แต่กล่องนี้รองรับแค่ระบบเคยูแบนด์ เนื่องจากกล่องจีเอ็มเอ็มแซดแต่เดิมใช้ได้ทั้งสองระบบ ลูกค้าที่ใช้เคยูแบนด์เขาก็เกิดคำถามว่าเขาต้องเสียเงินติดตั้งจานใหม่หรือเปล่า ได้กล่องมาจริง แต่ต้องเสียค่าติดตั้งจานอีกเป็นพัน ทำไมเขาต้องมีภาระตรงนี้ ทำไมบริษัทไม่กำหนดเรื่องนี้ในมาตรการเยียวยาด้วยว่าต้องชดเชยค่าใช้จ่ายตรงนี้ให้ผู้บริโภค”ต่อมาซีทีเอชยกเลิกกิจการทั้งหมดในวันที่ 1 กันยายน จนทุกวันนี้ก็ยังมีผู้บริโภคที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาหลงเหลืออยู่อีกไม่น้อยคราวนี้ลองมาดูกรณีตัวอย่างคลาสสิกและร้อนแรงอย่างทรูวิชั่นส์กันช่วงคาบเกี่ยวปีเก่าปีใหม่ที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ เกิดกรณีใหญ่โตเมื่อทรูวิชั่นส์ยกเลิกช่อง HBO ทั้งหมดออกจากผังรายการ ได้แก่ HBO, Cinemax, HBO Signature, HBO Family, HBO Hits และ RED by HBO ทรูวิชั่นส์ไม่ใช่กรณีแรกที่ผู้ให้บริการเพย์ทีวียกเลิกช่องรายการจนส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่จ่ายเงินซื้อบริการ บางกรณีก็เยียวยาผู้บริโภคตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดไว้ แต่บางกรณีก็ไม่เสียงจากผู้บริโภคกรณีทรูวิชั่นส์ศิวาณัติ ไชยภัฎ หนึ่งในผู้ใช้บริการรายหนึ่งของทรูวิชั่นส์ที่ต้องเสียค่าสมาชิกประมาณ 2,000 บาทต่อเดือน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการยกเลิกรายการโดยไม่แจ้งล่วงหน้า กล่าวกับฉลาดซื้อว่า“นอกจากยกเลิกรายการโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้ว ยังลดระดับเนื้อหาลงมาเป็นระดับที่หาดูได้ทั่วไป เดิมผมเป็นแบบเอ็กคลูซีฟ ต่อมาผมสามารถหาดูได้ในราคาที่ต่ำลง หรือบางคอนเทนต์ที่เป็นของบีบีซีก็ถูกตัดทิ้งไปเลย ทั้งที่ตอนแรกก็มีโฆษณาให้ใช้ พอเราตื่นมาตอนเช้า รายการนี้ก็หายไป โดยไม่ได้บอกอะไรเลย ทั้งที่เขามีช่องทางแม็กกาซีนที่ใช้สื่อสารกับสมาชิกอย่างเป็นทางการทุกเดือน ก็ไม่มีการแจ้งข่าว อ้างแต่ว่ามีตัววิ่งผ่านหน้าจอให้ดูแล้ว“ผมเป็นสมาชิกแบบเอ็กคลูซีฟ เป็นแพลตตินัม ได้ดูช่องพิเศษ ถ้าเป็นบีบีซีจะเป็นช่องพิเศษที่ต้องซื้อเพิ่ม แต่ก็ถอดออกแล้วลดค่าบริการผมลง แต่ผมยินดีจ่ายๆ มาลดผมได้ยังไง ผมมีสิทธิดูช่องเอชบีโอ เขาก็ถอด แล้วเอาช่องทั่วไปที่มีในเคเบิ้ลท้องถิ่นมาให้ดู ถ้าเป็นช่องพวกนี้ ผมไม่ต้องจ่ายเงินแพงขนาดนี้ให้ทรูวิชั่นก็ได้“พอเกิดเหตุขึ้น ผมโทรไปที่คอลล์เซ็นเตอร์ แจ้งว่ามันเป็นมายังไง ผมไม่พอใจอะไร เขาก็จะตอบเป็นสูตรว่าให้ลองชมรายการนี้ จัดหารายการใหม่ที่คุณภาพดีกว่ามาให้ดู ผมบอกว่ารายการพวกนี้ผมหาดูได้ทั่วไปอยู่แล้ว”ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก พ.ศ.2556 หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ข้อ 15 ระบุไว้ชัดเจนว่า กรณีที่ผู้ให้บริการประสงค์จะเปลี่ยนแปลงลักษณะ ประเภท เงื่อนไข มาตรฐาน และคุณภาพในการให้บริการที่ตกลงในสัญญา หรือที่ได้โฆษณาหรือแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ หรือการปรับปรุงรูปแบบการให้บริการอื่นๆ อันมีลักษณะเป็นสาระสำคัญของการให้บริการ ผู้ให้บริการมีหน้าที่แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนมีการเปลี่ยนแปลงในกรณีของทรูวิชั่นส์ถือว่าแจ้งน้อยกว่า 30 วัน อีกทั้งการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรที่ว่าของทรูวิชั่นส์คือการทำตัววิ่งขึ้นบนหน้าจอดังที่ศิวาณัติเล่า ซึ่งผู้บริโภคไม่ได้รับข่าวสารนี้อย่างชัดเจนการเยียวยาที่ไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมาตรการเยียวยาที่ทางทรูวิชั่นส์เสนอ มี 6 ข้อ คือมีช่องใหม่  7 ช่อง, อัพเกรดแพคเกจ 1 ระดับ ระยะเวลา 30 วัน, สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าแพลตตินั่ม เพิ่มแต้ม, สิทธิขอลดแพคเกจ, สิทธิลูกค้ารายปีหรือราย 6เดือนที่จะยกเลิกบริการ และสิทธิลูกค้าสมาชิกไม่ครบ 6 เดือนกับลูกค้าที่ควบบริการเป็นสมาชิกไม่ถึง 12 เดือน ได้รับยกเว้นค่าติดตั้งและค่าสมาชิกประเด็นก็คือมาตรการเยียวยาของทรูวิชั่นส์ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เช่น ช่องรายการที่นำมาชดเชยไม่สามารถทดแทนช่องรายการเดิมได้ ผู้บริโภคควรมีสิทธิยกเลิกได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ได้รับเงินคืน และบริษัทไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะเป็นกรณีที่บริษัทผิดสัญญาและไม่ควรมีการกำหนดระยะเวลาเพื่อทำให้ผู้บริโภคเสียสิทธิ เป็นต้น“ทรูวิชั่นส์เสนอแต้มให้ผม 1,000 แต้ม เขาบอกว่ามันสิทธิประโยชน์ต่างๆ เยอะมาก แต้มนี้ไปแลกเป็นเงินได้ 100 บาท พอ กสทช. รุกหนักขึ้น เขาก็ให้แต้มอีก 1,000 แต้ม ผมบอกว่าแพ็กเกจที่ต่ำกว่าผม ได้อัพเกรดฟรีขึ้นมาร่วม 400 บาท ผมเป็นระดับเอ็กคลูซีฟ ได้เท่ากัน แต่ทำไมจ่ายแพงกว่า” ศิวาณัติ เล่าถึงมาตรการเยียวยาที่ไม่ตอบโจทย์และทำให้เขารู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งท้ายสุดแล้วเขาก็ตัดสินใจบอกเลิกสัญญากับทรูวิชั่นส์ พร้อมกับติติงการทำงานของ กสทช. ว่าไม่สามารถดูแลผู้บริโภคและกำกับดูแลผู้ประกอบการให้อยู่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้เปิดข้อสงวนความเห็นสุภิญญา จากการประชุม กสท. ครั้งที่ 6/2560 วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ในการพิจารณาวาระ 4.26 แผนการชดเชยเยียวยาผู้ใช้บริการ กรณี บริษัท ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด ขอยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ สำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ จำนวน 6 ช่องรายการ สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งใน กสทช. (ซึ่งปัจจุบันได้ขอยุติการปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวเพื่อรอการตีความทางกฎหมาย เพราะถูกพิพากษาว่ามีความผิดจากกรณีปีนสภา) ได้ขอสงวนความเห็น สรุปความได้ว่า1.ไม่เห็นชอบแผนการชดเชยเยียวยาผู้ใช้บริการเพิ่มเติม เพราะเห็นว่ามาตรการข้างต้นยังไม่ครอบคลุมหลักการชดเชยเยียวยาผู้บริโภคที่ครอบคลุมและเป็นธรรมเพียงพอกับสมาชิกทุกกลุ่ม2.การออกคำสั่งเตือนทางปกครองแก่บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด ในกรณีที่มีพฤติกรรมการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงฯ นั้น เป็นบทลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำของผู้รับใบอนุญาต3.หากพิจารณาการกำกับดูแลของ กสท. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์) ต่อกรณีการยกเลิกกลุ่มช่องรายการ HBO 6 ช่องรายการ นับตั้งแต่การพิจารณากรณีดังกล่าวครั้งแรกในที่ประชุม กสท.ครั้งที่ 43/2559 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2559 ซึ่งถือเป็นครั้งแรก จนกระทั่งถึงการประชุม กสท.ครั้งที่ 6/2560 วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ตลอดระยะเวลาดังกล่าวมีหลายขั้นตอนที่สุภิญญาเห็นว่า กสท. มิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ประกาศ กสทช. กำหนด และมีความล่าช้าในการพิจารณาดำเนินการออกคำสั่งทางปกครองซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคสับสนและไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างทันท่วงที รวมทั้งอาจมีแนวทางการพิจารณาที่ข่ายเลือกปฏิบัติต่อผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายแตกต่างกัน การดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ของ กสท.ข้างต้น แสดงถึงการกำกับดูแลที่ล่าช้า ขาดประสิทธิภาพ และอาจเข้าข่ายเอื้อประโยชน์แก่ผู้รับใบอนุญาตบางรายรวมทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม(สามารถอ่านข้อสงวนความเห็นของสุภิญญา กลางณรงค์ โดยละเอียดได้ที่ http://www.supinya.com/2017/01/5656/)กสทช. ต้องปรับนโยบาย-ผู้บริโภคต้องถี่ถ้วนจากปัญหาที่เกิดขึ้น โสภณสรุปบทเรียนจากฝั่ง กสทช. และฝั่งผู้บริโภคได้ว่า“ในระดับนโยบาย กสทช. มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการยกเลิกรายการ ดังนั้น ผมเห็นว่า กสทช. ควรพิจารณาอนุมัติแผนเยียวยาที่คุ้มครองผู้บริโภคจริงหรืออาจจะสนับสนุนในการทำมาตรการเยียวยาผู้บริโภค เพราะที่ผ่านมาเห็นแล้วว่าถ้าปล่อยให้ผู้ประกอบการออกมาตรการเองไม่เป็นธรรม อย่างการบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วันเพียงพอหรือไม่ การแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรควรกำหนดให้ชัดเลยว่าต้องทำเป็นหนังสือแจ้งผู้บริโภคหรือทางเอสเอ็มเอส ไม่ใช่แค่ตัววิ่งบนจอ เรื่องพวกนี้ต้องชัดเจน“เรื่องแผนมาตรการเยียวยา เมื่อ กสทช. มีอำนาจ ก็ควรกำหนดเกณฑ์ว่าการทำแผนเยียวยาต้องมีเรื่องอะไรบ้าง เช่น การคืนเงิน ผู้บริโภคมีช่องทางอะไรบ้าง ระยะเวลาการใช้สิทธิ กำหนดแค่ 30 วัน ซึ่งผู้บริโภครู้สึกว่ามันสั้นไป แล้วคุณก็ไม่ได้แจ้งเป็นทางการด้วย หรือการให้ดูฟรี 30 วันจะให้ทำไม ถ้าผู้บริโภคเป็นสมาชิก 6 เดือนก็ต้องให้เขาดู 6 เดือน ถึงจะเรียกว่าตั้งใจเยียวยาจริงๆ เมื่อ กสทช. ไม่มีเกณฑ์ ผู้ประกอบการกำหนดเองก็กำหนดแบบไม่สนใจผู้บริโภค แล้วผู้บริโภคก็ต่อรองกับผู้ประกอบการไม่ได้ คนที่ต้องออกหน้าแทนคือ กสทช. จึงควรต้องมีหลักประกันให้แผนเยียวยาที่ผู้ประกอบการทำมาไม่ผ่านความเห็นชอบเพราะไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ”ในส่วนของผู้บริโภค โสภณมีคำแนะนำว่า ก่อนจะบอกรับเป็นสมาชิกเพย์ทีวีช่องต้องศึกษาและอ่านข้อสัญญาอย่างถี่ถ้วนก่อนจะลงนาม หากพบว่าข้อสัญญาใดเป็นการเอาเปรียบ สามารถร้องเรียนกับ กสทช. เพื่อให้ตรวจสอบว่าใช้สัญญาตามที่ขออนุญาตจาก กสทช. หรือไม่ เพราะสัญญาเหล่านี้ต้องผ่าน กสทช. ก่อนจึงจะใช้ทำสัญญากับผู้บริโภคได้“กรณีเปลี่ยนแพ็กเกจ ผู้บริโภคคุณต้องดูตัวเองว่านิยมดูช่องไหน เหมาะสมกับความต้องการของตนเองหรือไม่เมื่อเทียบกับราคา บางคนซื้อกล่องไม่ได้คิดอะไร ดูแต่ราคา ดูแต่ว่ามีช่องเยอะ โดยไม่สนว่าตัวเองจะดูอะไรบ้าง แล้วเวลาทำสัญญา เอกสาร ใบเสร็จ ใบประกัน ถ้ามีก็ต้องเก็บไว้ทั้งหมด โบรชัวร์ก็สำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่คุณอ่านแล้วตัดสินใจซื้อ ควรเก็บไว้ เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา เขาโฆษณาแบบนี้ ถ้าไม่เป็นตามโฆษณาก็ร้องเรียนได้”ที่สำคัญ โสภณบอกว่า เวลาเกิดปัญหา อย่านิ่งนอนใจ ต้องร้องเรียนเพื่อรักษาสิทธิ..........แม้ธุรกิจเพย์ทีวีจะขยายตัวกว่าอดีตขึ้นมาก บริษัทใหญ่ๆ จำนวนหนึ่งเข้ามาเป็นผู้เล่นเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด แต่ก็ยังถือว่ามีผู้เล่นน้อยรายในตลาด ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม  เพย์ทีวีก็กำลังเผชิญความท้าทายขั้นชี้เป็นชี้ตายจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าในอดีต ที่กำลังเข้ามา Disrupt ธุรกิจดั้งเดิมหลายประเภท (แอร์บีเอ็นบีกำลังเขย่าธุรกิจโรงแรมหรืออูเบอร์และแกร็บกำลังสั่นสะเทือนวงการรถแท็กซี่)เพย์ทีวีถูก Disrupt จากอินเตอร์เน็ต จากเฟสบุ๊คไลฟ์ จากยูทูบ ยังไม่นับเว็บไซต์ภาพยนตร์และซีรีส์ละเมิดลิขสิทธิ์อีกมาก ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงคอนเท้นต์ที่ตนเองต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเงิน มองในแง่นี้ก็น่าสนใจว่าธุรกิจเพย์ทีวีในอนาคตจะเป็นอย่างไร จะมีที่อยู่ที่ยืนในตลาดอย่างไร และรูปแบบปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคจะเป็นอย่างไร------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ขั้นตอนยกเลิกการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกของผู้ให้บริการหลักการ 1.ห้ามมิให้ผู้ให้บริการยกเลิกการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกตามสัญญาเว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้   (4) ผู้ให้บริการ ไม่สามารถให้บริการได้ด้วยเหตุสุดวิสัย  ( ตาม ข้อ 34 (4) แห่งประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง มาตรฐานของสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก พ.ศ. 2556 )2.ผู้รับใบอนุญาตจะพักหรือหยุดการให้บริการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ กสท. ( ตามข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 )3.ผู้รับใบอนุญาตสามารถให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ได้ตามระยะเวลาที่คณะกรรมการอนุญาต หากประสงค์จะเลิกการให้บริการดังกล่าวก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ จะต้องแจ้งเหตุแห่งการยกเลิกประกอบกิจการพร้อมทั้งมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการให้คณะกรรมการเห็นชอบล่วงหน้าก่อนเลิกกิจการ โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดก่อนเลิกกิจการนอกจากนี้ผู้รับใบอนุญาตจะพักหรือหยุดการให้บริการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ กสทช. ( ตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เพื่อให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ สำหรับกิจการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ )4.กรณีที่ผู้ให้บริการประสงค์จะเปลี่ยนแปลงลักษณะ ประเภท เงื่อนไข มาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการที่ตกลงในสัญญา หรือที่ได้โฆษณาหรือแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ หรือการปรับปรุงรูปแบบการให้บริการอื่น ๆ อันมีลักษณะเป็นสาระสำคัญของการให้บริการ ผู้ให้บริการมีหน้าที่แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนมีการเปลี่ยนแปลงกรณีการเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งมีลักษณะ ประเภท เงื่อนไข มาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ผู้ให้บริการต้องดำเนินการเยียวยา หรือลดค่าบริการหรือยกเว้นค่าบริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างเป็นธรรม หรือให้โอกาสผู้ใช้บริการบอกเลิกสัญญานั้นก็ได้ ( ตามข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง มาตรฐานของสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก พ.ศ. 2556 )สรุป หากผู้ให้บริการประสงค์จะเลิกกิจการ ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ต้องปฏิบัติ ดังนี้ 1. แจ้งเหตุแห่งการยกเลิก ไปยัง สำนักงาน กสทช. ล่วงหน้าก่อนเลิกกิจการ 2. แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนมีการเปลี่ยนแปลง 3. ในการแจ้งยกเลิก ต้องส่งแผนมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการมาประกอบด้วย เพื่อให้ คณะกรรมการ กสท.พิจารณาและเห็นชอบแผน 4. เมื่อคณะกรรมการ กสท.มีมติเห็นชอบแผนมาตรการเยียวยา และเห็นชอบการยกเลิกกิจการว่าเป็นไปตามกฎหมาย ผู้ให้บริการจึงสามารถเลิกกิจการได้

อ่านเพิ่มเติม >