ฉบับที่ 184 เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและเดบิตเป็น “บัตรชิปการ์ด” แต่ละธนาคารมีเงื่อนไขอะไรบ้าง?

ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะมีการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต จากบัตรแบบเดิมที่เป็นแบบแถบแม่เหล็ก มาเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” (chip card) โดยการใช้งานยังคงสามารถใช้ได้ตามปกติเช่นเดียวกับบัตรแบบเดิม ทั้งการกดเงินหรือทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งการใช้บัตรเดบิตใช้จ่ายแทนเงินสดผ่านเครื่องรับบัตรโดยผู้ที่ขอทำบัตรใหม่กับทางธนาคารตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นต้นมา ก็จะได้รับบัตรแบบชิปการ์ดทันที ส่วนผู้ที่มีบัตรเดิมแบบแถบแม่เหล็กต้องไปดำเนินการขอเปลี่ยนบัตรเป็นแบบชิปการ์ดได้ที่ธนาคารผู้ให้บริการบัตรนั้นๆ ทั้งนี้บัตรชนิดแถบแม่เหล็กยังสามารถใช้งานได้ปกติ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 การขอเปลี่ยนบัตรจากแบบแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดนั้น ธนาคารแต่ละแห่งก็มีเงื่อนไขในการเปลี่ยนแตกต่างกัน บางแห่งก็บริการเปลี่ยนฟรีไม่มีค่าบริการ บางแห่งเปลี่ยนฟรีแต่มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา บางแห่งก็มีการคิดค่าธรรมเนียมปกติไม่ต่างจากการขอทำบัตรใหม่ “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้จึงได้สำรวจเงื่อนไขในการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดของแต่ละธนาคารว่ามีความแตกต่างอย่างไรบ้าง            ทำไมต้องเปลี่ยนเป็น “ชิปการ์ด”นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พูดถึงเหตุผลในการให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศดำเนินการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด ไว้ 2 เหตุผลสำคัญ คือ ข้อที่ 1.เรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวปัญหาการโจรกรรมปลอมแปลงข้อมูลบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต หรือการ skimming ปรากฏเป็นข่าวบ่อยครั้ง ซึ่งสร้างความเสียหายและมีผลต่อความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยกับผู้ใช้บัตร ซึ่งนางทองอุไรให้ความมั่นใจว่า บัตรแบบชิปการ์ดจะเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้บัตรมากขึ้นกว่าบัตรแบบแถบแม่เหล็ก โดยถือเป็นมาตฐานที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกใช้กัน ทั้งในยุโรป และในประเทศแถบภูมิภาคเอเซียอย่าง มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ข้อที่ 2.เป็นการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ประกาศไว้ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2558 ซึ่งนโยบายนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร โดยการปรับเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตจากชนิดแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดอยู่ในแผนการดำเนินการโครงการที่ 2 จากทั้งหมด 4 โครงการ เรื่อง “การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์” ที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการใช้บัตรและใช้จ่ายทำธุกรรมการเงินต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยภาครัฐจะรับหน้าที่กระจายอุปกรณ์ชำระเงินเพื่อรองรับการใช้จ่ายผ่านบัตร โดยจะเริ่มที่หน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งนี้การเปลี่ยนเป็นบัตรแบบชิปการ์ดก็เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตรูดชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เป็นนโยบายที่ภาครัฐใช้เพื่อส่งเสริมการให้ประชาชนในประเทศหันมาทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ประกอบด้วย 4 โครงการหลัก คือโครงการที่ 1 การรับชำระเงินแบบ Any ID ซึ่งเป็นนโยบายที่จะให้ประชาชนนำเลขที่บัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มาใช้เป็นรหัสสำหรับทำธุรกรรมทางการเงิน แทนการใช้เลขที่บัญชี ซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ง่ายมากขึ้น สอดรับไปกับระบบการโอนเงินแบบใหม่ที่มีชื่อว่า “พร้อมเพย์-PromptPay” ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียน พร้อมเพย์-PromptPay ด้วย Any ID ตั้งแต่วันที่ 15. ก.ค.59 เป็นต้นไปโครงการที่ 2 การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือการสนับสนุนให้มีการเข้าถึงและใช้จ่ายผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เริ่มด้วยการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” เพื่อเพิ่มความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บัตรโครงการที่ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการพัฒนาการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เพื่อช่วยให้ภาคเอกชนสะดวกสบายในการนำส่งภาษีผ่านระบบออนไลน์ คาดว่าจะพร้อมใช้ในปี 2560โครงการที่ 4 e-Payment ภาครัฐ เป็นแผนที่หน่วยงานภาครัฐจะเลือกใช้วิธีจ่ายค่าสวัสดิการเงินช่วยเหลือต่างๆ ที่จ่ายให้กับภาคประชาชนโดยตรงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2559 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ด-บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กแบบเดิม ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ จนถึง 31 ธันวาคม 2562-จากการสำรวจค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด จะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์เจ้าใหญ่ๆ ที่มีสาขาบริการเยอะๆ ต่างก็ถือโอกาสช่วงปรับเปลี่ยนบัตร ยกเลิกการให้บริการบัตรเอทีเอ็ม(ธรรมดา) ไปในเวลาเดียวกัน เท่ากับว่าตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นปีที่บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตทุกใบจะต้องเป็นบัตรแบบชิปการ์ดทั้งหมด บัตรเอทีเอ็มก็จะไม่สามารถใช้งานได้อีก บัตรพื้นฐานที่สุดก็จะเป็นบัตรเดบิตแบบชิปการ์ดฉลาดซื้อ ฉบับที่ 169 เคยได้สำรวจราคาค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีเปรียบเทียบระหว่างบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบพื้นฐานเมื่อเดือน มกราคม 2558 พบว่าราคาค่าธรรมเนียมของบัตรทั้ง 2 ชนิด ธนาคารส่วนใหญ่คิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกัน คือแรกเข้า 100 บาท รายปี 200 บาท ซึ่งก็ยังเป็นราคาเดียวกับบัตรเดบิตชิปการ์ดแบบพื้นฐานที่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีที่ 100 บาท และ 200 บาท ตามลำดับ-บัตรแบบชิปการ์ด จะเพิ่มรหัสบัตรในการใช้งานกับตู้เอทีเอ็มเป็น 6 ตัว จากเดิมที่มีแค่ 4 ตัว ทั้งนี้อาจจะยังมีบางธนาคารที่ยังใช้ 4 ตัวตามเดิม-ควรนำบัตรเก่าไปยืนยันการขอบัตรใหม่ด้วย เพื่อแสดงให้ธนาคารรู้ว่ามา ขอเปลี่ยนบัตร ไม่ใช่ทำบัตรใหม่-จากการสำรวจพบว่าแม้ธนาคารหลายแห่งจะโฆษณาว่าสามารถเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ดได้ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ส่วนใหญ่ก็มีเงื่อนไขของเวลามากำหนด โดยจะให้เวลาถึงแค่ 31 ธ.ค. 59 นี้เท่านั้น ที่แตกต่างก็คือ ธนาคารกรุงไทย ที่ให้เปลี่ยนได้จนถึง 31 ธ.ค. 62 หรือกำหนดวันสุดท้ายที่ยังสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบเดิม-ธนาคารกสิกรไทย แจ้งว่าไม่คิดค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน แต่เมื่อไปขอเปลี่ยนบัตร ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งผู้ใช้บัตรสามารถขอคืนค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเก่าตามระยะเวลาที่ไม่ได้ใช้ได้แต่ยังไม่ทันไรก็มีปัญหาเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ดของธนาคารกสิกรไทย เมื่อธนาคารมีการตัดค่าธรรมเนียมของผู้เปลี่ยนบัตรโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ ในช่วงเวลา 02.00-05.00 น.ของวันที่ 12 มิถุนายน 59 ซึ่งมีผู้ร้องเรียนผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก สุดท้ายธนาคารกสิกรไทยก็ออกมายอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของธนาคารเอง โดยทางธนาคารก็ออกมาชี้แจงว่าได้ทำการโอนเงินที่ถูกตัดไปคืนให้กับผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดที่มา: facebook.com/KBankLive-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กรณีขอเปลี่ยนบัตรต่างสาขากับที่ออกบัตรเดิม จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 30 บาท-บัตรแบบชิปการ์ดสามารถใช้งานได้กับตู้เอทีเอ็มได้ตามปกติ แต่ในระยะแรกอาจมีตู้เอทีเอ็มบางตู้ในบางพื้นที่ของบางธนาคารที่ยังไม่พร้อมใช้งาน โดยเครื่องเอทีเอ็มที่ยังไม่พร้อมรองรับการใช้งานจะมีการแสดงข้อความให้ทราบที่หน้าตู้   คนไทยใช้บัตรเอทีเอ็มน้อยลง?ข้อมูลจากรายงานระบบการชำระเงิน 2557 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุเอาไว้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินของคนไทยผ่านตู้เอทีเอ็มพบว่า คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มในสัดส่วนที่ลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2548 คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มอยู่ 418.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 6.3% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินต่างๆ ของคนไทย แต่ในปี 2557 มูลค่าการชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มลดลงมาอยู่ที่ 373.8 พันล้านบาท หรือแค่ 1.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมดโดยวิธีการทำธุรกรรมการชำระเงินที่คนไทยเลือกใช้มากที่สุดก็คือ การใช้จ่ายด้วยเงินสด โดยในปี 2557 คนไทยถอนเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มทั้งหมด 7,508. พันล้านบาท หรือ 30.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมด รองลงมาคือ โอนเงินและตัดเงินล่วงหน้าอัตโนมัติ 6,312.4 พันล้านบาท หรือ 25.7% และการชำระเงินและโอนเงินด้วยบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ 4,952.8 พันล้านบาท หรือ 20.2% โดยสถิติปัญหาแต่ละเรื่องจะประกอบไปด้วย การขอคำปรึกษา การร้องเรียน และการแจ้งเบาะแส/ให้คำแนะนำ ที่มา: รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ในการให้ข้อมูล/คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ปี 2558, ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 ผลทดสอบการป้องกัน “แสงยูวี” แผ่นกันรอยติดหน้าจอโทรศัพท์มือถือ

เดี๋ยวนี้ “แผ่นกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือ” ที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปไม่ได้มีคุณสมบัติแค่การป้องกันรอยขีดข่วนที่จะเกิดกับหน้าจอมือถือของเราเท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กับคนใช้งานโทรศัพท์มือถือ 1 ในนั้นก็คือ คุณสมบัติในการป้องกัน “แสงยูวี” และ “แสงสีฟ้า” ซึ่งเป็นแสงที่ถูกส่งผ่านมาจากหน้าจอมือถือ เป็นแสงที่อาจเป็นอันตรายต่อดวงตา ยิ่งทุกวันนี้หลายคนใช้ชีวิตแบบติดหน้าจอ ใช้เวลาอยู่กับการจิ้มและสไลด์ไปบนหน้าจอมือถือสมาร์ทโฟนเกือบตลอดทั้งวัน นั้นเท่ากับว่าดวงตาของเรากำลังถูกแสงจากหน้าจอมือถือทำร้ายไปเรื่อยๆแต่อย่างที่บอกว่าปัจจุบันเรามีแผ่นกันรอยหน้าจอมือถือที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันอันตรายจากแสงยูวีวางจำหน่ายให้คนใช้สมาร์ทโฟนได้เลือกซื้อหามาใช้งาน หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผ่นกันรอยหน้าจอมือถือที่เราซื่อมาป้องกันแสงยูวีได้จริง ฉลาดซื้อจึงขอรับอาสานำตัวอย่างแผ่นกันรอยหน้าจอมือถือไปทดสอบดูสิว่า มีคุณสมบัติป้องกันแสงยูวีและแสงสีฟ้าได้จริงตามที่โฆษณาหรือไม่ และแต่ละยี่ห้อมีประสิทธิภาพในการป้องกันแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหนการทดสอบเราได้เลือกตัวอย่าง แผ่นกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือจำนวน 5 ตัวอย่าง โดยทั้ง 5 ตัวอย่างเป็นแผ่นกันรอยชนิดที่เป็นกระจกนิรภัย รุ่นที่ใช้สำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน iPhone6 ประกอบด้วย1.    Hishield รุ่น Blue Light Cut Tempered Glass2.    CESSORY รุ่น Glass Protector 9H3.    Focus BC รุ่น Premium Tempered Glass 9H Hardness4.    Dapad รุ่น Glass screen protector Blue light cut5.    Dr. eyes Film by VOX. รุ่น Tempered Glassใช้วิธีการทดสอบโดยนำแสงจากแหล่งกำเนิดที่ทราบค่า (ความยาวคลื่น 380-780 นาโนเมตร) ส่องผ่านฟิล์มตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ผลของสเปคตรัมของแสงที่ผ่านออกมาว่ามีองค์ประกอบของแสงอย่างไร เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ1.Spectrometer2.Integrating Sphere3.Light sourceวิธีการทดสอบ1.เตรียมกระจกเพื่อใช้ติดฟิล์มกันรอยใช้กระจกใสขนาด 2 มิลลิเมตร ตัดให้ได้ขนาดเท่ากับฟิล์มกันรอย โดยเตรียมกระจกเปล่าที่ไม่ได้ติดฟิล์มเป็นตัวควบคุมด้วย2.วัดสเปคตรัมของแสงของแผ่นกระจกเปล่าที่ไม่ได้ติดฟิล์มกันรอย เปรียบเทียบกับกระจกที่ติดฟิล์มกันรอยทั้ง 5 ตัวอย่าง แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์สเปคตรัมของแสงที่ผ่านกระจกที่ติดฟิล์มกันรอยออกมาหา ค่าเฉลี่ยของ % การส่องผ่านของแสงยูวีในช่วง 380 – 400 นาโนเมตร ผลการทดสอบ   เส้นกราฟแสดงผลการทดสอบการกรองแสงยูวีช่วงความยาวคลื่น 380-400 นาโนเมตร           ตัวอย่างแผ่นกันรอยหน้าจอมือถือที่นำมาทดสอบมีความสามารถในการกรองแสงยูวี A, B, C (ความยาวคลื่นของแสง UV-C  100-280 nm, UV-B 280-315 nm และ UV-A 315-400 nm)ได้สูงสุดเกือบ 90 % คือ  CESSORY รุ่น Glass Protector 9H เพียงตัวเดียวที่กรองได้เพียง ประมาณ 85 %   ส่วนแสงที่อยู่ในช่วงมากกว่า 400 nm ขึ้นไป ซึ่งแสงสีฟ้าก็อยู่ในช่วงคลื่นนี้ ตัวอย่างที่นำมาทดสอบยังป้องกันการผ่านของแสงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นอย่างไรก็ตามการติดแผ่นกันรอยป้องการแสงยูวี ก็ยังเป็นสิ่งที่ช่วยลดอันตรายจากการใช้งานสมาร์ทโฟนที่อาจส่งผลกับสายตาของเราได้ หากจำเป็นต้องใช้งานสมาร์ทโฟนเป็นประจำและต่อเนื่องครั้งละนานๆ ก็ควรหาซื้อแผ่นกันรอยที่ช่วยป้องกันแสงยูวีมาติดไว้เพื่อช่วยถนอมดวงตาของเรา กลุ่มคลื่นแสงที่สายตามองเห็นได้กลุ่มคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Visible light) ซึ่งมีความยาวคลื่น 400 – 800 นาโนเมตร เป็นกลุ่มคลื่นแสงสีต่างๆ จำนวน 7 สีตั้งแต่คลื่นแสง สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด และสีแดง เรียงตามความยาวของคลื่นจากน้อยไปหามาก คลื่นแสงกลุ่มนี้เป็นคลื่นแสงที่ประสาทตาของมนุษย์สามารถรับรู้ได้ทำให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้  กลุ่มแสงที่สายมองเห็นไม่ว่าจะอยู่ที่คลื่นใด ก็มีผลกระทบต่อดวงตาของเราทั้งสิ้น หากดวงตาเขาเราสัมผัสกับแสงเหล่านั้นนานเกินไปส่วนแสงยูวี A B C เป็นกลุ่มแสงที่อยู่ในช่วงคลื่นที่ต่ำกว่า 400 – 280 nm เป็นกลุ่มแสงที่เรามองไม่เห็น แต่ก็มีอันตรายต่อดวงตาเช่นกัน เพราะดวงตาของเราจะดูดซับเอารังสียูวีเอาไว้แบบเดียวกับผิวหนังของเรา ส่งผลทำให้จ่อประสาทตาเสื่อมอันตรายของแสงจากหน้าจอสมาร์ทโฟนแสงจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ เป็นแสงที่มีผลต่อดวงตาของเรา เมื่อดวงตาของเราต้องจ้องอยู่กับหน้าจอมือถือ แท็บเล็ต หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ อาการที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ ดวงตามีอาการล้า ตาแห้ง อาจมองเห็นไม่ชัดชั่วคราว นอกจากนี้ในระยะยาวอาจส่งผลทำให้จอประสาทตาเสื่อมวิธีดูแลดวงตาของเราให้อยู่กับเราไปนานๆการติดแผ่นกันรอยป้องกันแสงยูวีจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือเป็นเพียงแค่วิธีหนึ่ง ในการลดอันตรายของแสงต่อดวงตาของเรา แต่วิธีการดูแลรักษาดวงตาของเราที่ดีที่สุดต้องเริ่มจากพฤติกรรมการใช้งาน1.ใช้แต่พอดี ไม่ว่าจะเป็นมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ไม่ใช้งานต่อเนื่องกันเกิน 2 ชั่วโมง ควรให้สายตาของเราได้พักบ้าง อย่าจ้องอยู่แต่ถ้าจอ ควรพักสายตาด้วยมองไปยังออกไปไกลๆ ที่จุดอื่น กะพริบตาบ่อย อย่าจ้องหน้าจอจนตาแห้ง2.ใช้งานในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ แสงสว่างที่เพียงพอ ไม่มากและน้อยเกินไป มองแล้วสบายตา และควรอยู่ในระยะห่างที่พอดี ประมาณ 30 ซม.จะช่วยให้สายตาของเราไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป2.ให้ดวงตาได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ การพักผ่อนที่ดีที่สุดก็คือการนอนหลับ ให้ดวงตาที่เมื่อยล้าของเราได้พักอย่างเต็มที่3.ดื่มน้ำเยอะๆ การดื่มน้ำช่วยให้ดวงตาของเราชุ่มชื้นขึ้น เพราะการที่ต้องจ้องอยู่กับหน้าจอนานๆ จะทำให้ตาแห้ง4.กินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผัก-ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินเอสูง เช่น ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ มะละกอสุก กล้วย ฯลฯ รวมทั้งอาหารในกลุ่มโปรตีนที่ช่วยซ่อมแซมและบำรุงสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ไข่ นม ปลา เป็นต้นขอขอบคุณ ห้องปฏิบัติการแสงและอุณหภูมิ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา                 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 183 ผลทดสอบ กระจกนิรภัยกันรอยหน้าจอสมาร์ทโฟน

“แผ่นกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือ” เป็น 1 อุปกรณ์เสริมที่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยสำหรับคนใช้โทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะรุ่นที่เป็นสมาร์ทโฟนที่สั่งการโดยใช้การสัมผัสที่หน้าจอ ส่วนใหญ่เกือบทุกคนต้องหาซื้อมาติดไว้ที่หน้าจอมือถือของตัวเอง เพื่อช่วยให้หน้าจอยังดูเหมือนใหม่ ใช้งานได้นาน ที่สำคัญคือป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน ซึ่งฟิล์มกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่ขายอยู่ทั่วไป มีราคาตั้งแต่ไม่ถึงร้อยบาทไปจนถึงหลักพันบาท แตกต่างกันไปตามวัตถุดิบที่นำมาผลิตและคุณสมบัติ โดยชนิดของแผ่นกันรอยที่ถือว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือได้ดีที่สุดก็คือ กระจกนิรภัยกันรอย (Tempered Glass)ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่าง แผ่นกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ชนิดที่เป็นกระจกนิรภัยกันรอย จำนวน 8 ตัวอย่าง ซึ่งเราเลือกรุ่นที่ใช้สำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน iPhone6 ทั้งหมด  โดยมี “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการทดสอบ    ประเด็นในการทดสอบมี 3 ประเด็น คือ1.ทดสอบความสามารถการต้านทานรอยขีดข่วน โดยประยุกต์วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 3359 (cross cut guide test)2.ทดสอบความสามารถการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูง3.การวัดความแข็งซึ่งเแต่ละประเด็นการทดสอบ เป็นการทดสอบคุณสมบัติวัสดุที่นำมาผลิตเป็นแผ่นกระจกป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอสมาร์ทโฟน ขั้นตอนการทดสอบ1.ทดสอบความสามารถการต้านทานรอยขีดข่วน โดยประยุกต์วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 3359 (cross cut guide test) (มาตรฐาน ASTM หรือย่อมาจาก American Society for Testing and Materials ซึ่งเป็นชื่อของสมาคมวิชาชีพ ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ก่อตั้งในอเมริกา ทำหน้าที่พัฒนาระบบมาตรฐานต่างๆ ทั้งด้านการผลิต การใช้งาน เพื่อส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมาตรฐานที่นำมาใช้ได้โดยสมัครใจ)1.1 ติดกระจกนิรภัยแต่ละยี่ห้อ ลงบนหน้าจอสมาร์ตโฟน หลังจากนั้นนำ cross cut guide หลังจากนั้นเปลี่ยนทิศทางของ cross cut guide ให้ตั้งฉากกับรอยตัดเดิม แล้วทำการกรีดตามร่องให้ครบทั้ง 10 ร่อง 1.2 นำเทปกาวมาตรฐาน ที่มาพร้อมกับเครื่องมือทดสอบปิดลงบนรอยกรีดรีดให้ครอบคลุมรอยกรีดทุกร่องรีดเทปกาวให้สนิทบนผิวกระจกนิรภัย1.3 ทำการดึงเทปกาวออกจากผิวกระจกนิรภัยโดยดึงด้วยความเร็วสม่ำเสมอ1.4 สังเกตรอยกรีดว่ามีหรือไม่2 ทดสอบความสามารถการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูง    2.1 ติดกระจกนิรภัยแต่ละยี่ห้อลงบนหน้าจอสมาร์ทโฟนให้สนิทแน่น โดยใช้ฟิล์มพลาสติกใสที่แต่ละยี่ห้อให้มาทำหน้าที่เป็นแผ่นติดประสานระหว่างแผ่นกระจกกันรอยและหน้าจอสมาร์ทโฟน หลังจากนั้นนำเครื่องขัดกระดาษทรายความเร็วสูง (ความเร็วรอบของการขัด 2500 รอบต่อนาที) ขัดลงบนแผ่นกระจกกันรอยนาน 1 นาที2.2 สังเกตรอยแตกที่เกิดขึ้น พร้อมทำการถ่ายรูป เพื่อบันทึกข้อมูล3 ทดสอบความแข็งวัดความแข็งโดยใช้เครื่อง micro hardness tester, model HV-1000B หัวกดที่ใช้ คือ เพชร ซึ่งมีรูปร่างเป็นปิระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีมุมระหว่างผิวหน้าด้านตรงข้ามกันเท่ากับ 136 องศา และใช้แรงกด 1000 กิโลกรัมฟอร์ซ (kilogram-force:kgf) ระยะเวลากด 20 วินาที รอยที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กในระดับไมครอน ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการช่วยคำนวณความแข็งสำหรับทดสอบฟิล์มกระจก ผลการทดสอบ1.ผลการทดสอบความสามารถการต้านทานรอยขีดข่วน โดยประยุกต์วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 3359 (cross cut guide test) ไม่พบรอยขีดข่วนทุกตัวอย่างที่ทดสอบ2.ผลการทดสอบความสามารถการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูง พบรอยแตกทุกตัวอย่างที่ทดสอบ3.ผลทดสอบความแข็ง 3 อันดับที่มีความแข็งสูงที่สุด1.Remax มีความแข็งสูงสุด คือ 968.57 วิกเกอร์2.Hishield มีความแข็ง 931.93 วิกเกอร์3.Gorilla มีความแข็ง 848.70 วิกเกอร์ความแข็งของกระจกนิรภัยสามารถเชื่อมโยงไปถึงค่าความสามารถต้านทานการสึกหรอ คือ ค่าความแข็งสูง ก็จะส่งให้ผลค่าความต้านทานการสึกหรอสูงตามไปด้วยฉลาดซื้อแนะนำจากผลการทดสอบจะเห็นว่าทุกยี่ห้อมีผลการทดสอบทั้ง 3 หัวข้อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก คือ ไม่พบรอยขีดข่วนทุกยี่ตัวอย่าง แต่ในการทดสอบการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูงพบรอยแตกทุกตัวอย่าง ส่วนการทดสอบความแข็ง ผลที่ออกมาก็อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นคำแนะนำในการเลือกซื้อกระจกนิรภัยกันรอยสำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ก็ควรเปรียบเทียบที่ราคาเป็นอันดับแรก พร้อมดูคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบไปพร้อมกัน เช่น ความหนาของกระจก ความคมชัด การลดการสะท้อนของรังสียูวี การป้องกันแสงสีฟ้า (แสงที่เป็นอันตรายต่อจอประสาทตา) จากจอมือถือ การลดหรือป้องกันการเกิดรอยนิ้วมือจากการใช้งาน ฯลฯผลทดสอบแต่ละยี่ห้อ                            

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 ที่นั่งสำหรับเด็กในรถยนต์

ฉบับนี้เรามีผลทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารตัวน้อยมาฝากสมาชิกที่กำลังมองหาที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (หรือที่เรียกกันติดปากว่าคาร์ซีท) มาติดรถไว้ยามที่มีเด็กเล็กร่วมเดินทางไปด้วย  เราใช้ผลทดสอบที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ได้ทำไว้กับคาร์ซีทรุ่นที่วางตลาดในยุโรปในปีที่ผ่านมา สนนราคาค่าทดสอบก็ไม่มากเลย แค่ตัวอย่างละประมาณ 8,000 ยูโร (240,000 บาท) เท่านั้น การทดสอบครั้งนี้มีคะแนนให้ ด้านความปลอดภัย (การป้องกันอันตรายจากการชนด้านหน้า ด้านข้าง รวมถึงความแข็งแรงในการยึดกับเบาะรถ) ตามด้วยความสะดวกในการติดตั้ง/การใช้/การปรับให้พอดี/การทำความสะอาด การออกแบบที่ถูกหลักทางการยศาสตร์ (ergonomics) ที่เกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอย ลักษณะการนั่ง และความนุ่มสบาย นอกจากนี้ยังดูเรื่องของการใช้สารเคมีอันตรายที่ถูกห้ามใช้ในยุโรปด้วย ที่นั่งนิรภัยเหล่านี้ดีจริงสมราคาหรือคำร่ำลือในสังคมออนไลน์หรือไม่ ติดตามได้ในหน้าถัดไป•    หมายเหตุ ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่ค้นจากอินเตอร์เน็ทในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 กรุณาตรวจสอบราคา นอกจากนี้อย่าลืมสอบถามผู้ขายเพื่อความแน่ใจว่าที่นั่งนิรภัยรุ่นดังกล่าวสามารถใช้ได้กับรถยนต์ที่ท่านต้องการติดตั้งหรือไม่   ECE R44/04ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา พาหนะทุกคันในยุโรปต้องมีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย และมีการใช้ที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็ก นอกจากนี้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการใช้ที่นั่งเสริมในรถสำหรับเด็กจนกว่าเด็กจะมีความสูงถึง 135 หรือ 150 ซม.ด้วยทั้งนี้ที่นั่งสำหรับเด็กจะต้องมีฉลากแสดงตรารับรอง ECE R44/04 เมื่อผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นใน พ.ศ. 2525 ที่นั่งสำหรับเด็ก สามารถแบ่งกลุ่มตามน้ำหนักตัวของเด็ก ดังนี้Group O    ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม (หรืออายุต่ำกว่า 9 เดือน)Group O+    ต่ำกว่า 13 กิโลกรัม (หรืออายุต่ำกว่า 15 เดือน)Group I        9 - 18 กิโลกรัม (ประมาณ 8 เดือน – 3 ปีครึ่ง)Group II    15 - 25 กิโลกรัม (ประมาณ 3 – 7 ปี)Group III      22 - 36 กิโลกรัม (ประมาณ 6 – 12 ปี)i-Size คืออะไร?i-Size คือมาตรฐานใหม่ของยุโรปสำหรับที่นั่งในรถสำหรับเด็ก ปัจจุบันรถยนต์ที่ได้รับการประเมิน 5 ดาวจาก Euro NCAP ทุกคันจะต้องสามารถใช้กับที่นั่งเด็กตามมาตรฐาน i-Size ได้   มาตรฐานนี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็ก เพื่อใช้ควบคู่ไปกับ R44/04 ตัวเดิม สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือการรองรับศีรษะและคอของเด็ก การป้องกันที่ดีขึ้นทั้งจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง ที่จะทำให้เด็กยังคงอยู่ในที่นั่งแม้รถจะพลิกคว่ำการจัดกลุ่มจะแบ่งตามความสูงของเด็ก (ไม่ใช่น้ำหนัก) ที่นั่งมาตรฐาน i-Size จะใช้ได้กับรถยนต์ที่มีหัว IsoFix เพื่อรองรับการติดตั้ง (รถส่วนใหญ่ที่ผลิตหลัง พ.ศ. 2550 จะมีอุปกรณ์ดังกล่าว)                                    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 สำรวจราคา “ก๊าซหุงต้ม” ที่ไหนขายแพงบ้าง?!!

“ก๊าซหุงต้ม” ถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะบ้านไหนๆ ก็ใช้ “ก๊าซถัง” เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารกันทั้งนั้น เดี๋ยวนี้คงแทบไม่มีใครที่ยังใช้วิธีก่อฟืนจุดไฟเพื่อทำกับข้าวกันอีกแล้ว เพราะ “ก๊าซหุงต้มบรรจุถัง” สะดวกและง่ายกว่ากันเยอะ ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กับตามบ้านเรือนและร้านค้าทั่วไปในปัจจุบัน ชื่อเรียกเต็มๆ ก็คือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก็คือ ก๊าซ LPG (Liquefied Petroleum Gas) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน และจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซก๊าซถังมีการควบคุมราคา “ห้ามขายแพงเกิน” (แต่ควบคุมเฉพาะ กทม.และ ปริมณฑล เท่านั้น) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาของก๊าซหุงต้มมีการปรับตัวขึ้นเช่นเดียวกับสินค้าด้านพลังงานชนิดอื่นๆ เดิมทีเราเคยซื้อก๊าซหุงต้ม 1 ถังน้ำหนัก 15 กิโลกรัม ที่ราคาถังละ 300 บาท เมื่อปี 2555 แต่ในปี 2556 กระทรวงพลังงานได้มีการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มทุกเดือนเฉลี่ยเดือนละประมาณ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ติดต่อกัน 12 เดือน จากเดิมที่ราคากิโลกรัมละ 18.13 บาท ขยับขึ้นไปสูงถึง 24.82 บาท ซึ่งทำให้ในเวลานั้นราคาก๊าซ 1 ถังพุ่งขึ้นไปสูงสุดถึง 400 บาทเลยทีเดียว!!! แต่ว่าเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติปรับลดราคาจำหน่ายส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) หลังต้นทุนก๊าซ LPG ลดลงตามราคาตลาดโลก โดยปรับลดลงกิโลกรัมละ 0.67 บาท ทำให้ราคาจำหน่ายปลีกลดลงจากเดิมกิโลกรัมละ 22.96 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22.29 บาท ประกาศสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ*** เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ปี 2558 (ฉบับที่ 3) ซึ่งมีผลตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2558 กำหนดให้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง ขนาด 15 กิโลกรัม ในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำหน่ายปลีกในราคาไม่เกินถังละ 370 บาท โดยราคาดังกล่าวรวมค่าบริการขนส่งถึงสถานที่ของผู้ซื้อ ซึ่งมีระยะทางขนส่งในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร แต่ไม่รวมค่าบริการขนส่งขึ้นบนอาคารสูง ***ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2559 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติปรับลดราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม (LPG) ลงอีก 2 บาทต่อกิโลกรัม เท่ากับว่าราคาจะลดลงมาอยู่ 20.29 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ในประกาศสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ฉบับล่าสุดปี 2559 กำหนดราคาของก๊าซหุงต้มบรรจุถังขนาด 15 กิโลกรัมไว้ใหม่ว่าจะต้องมีราคาจำหน่ายไม่เกิน 340 บาทต่อถัง ซึ่งเป็นราคาที่ร่วมค่าขนส่งในระยะรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร แต่ก็ยังเป็นราคาที่กำหนดเฉพาะพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น ส่วนจังหวัดอื่นๆ กบง. แจ้งว่าก็จะมีปรับลดเช่นกัน แต่อัตราที่ลดจะไม่เท่ากันแตกต่างกันไปตามระยะทาง การสำรวจครั้งนี้ยังคงใช้เกณฑ์ราคาแนะนำเดิมคือที่ 370 บาทเป็นเกณฑ์ในการสำรวจ เพราะการสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจในเดือนธันวาคม 2558 ซึ่งยังยึดตามประกาศฉบับเดิม แต่หลังจากนี้ไปผู้บริโภคในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล ควรเลือกซื้อก๊าซหุงต้มที่ราคา 340 บาทต่อถังเท่านั้นนอกจากนี้ในประกาศฉบับดังกล่าวยังกำหนดให้ร้านค้าต้องแสดงราคาจำหน่ายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง และค่าบริการขนส่งถึงสถานที่ของผู้ซื้อ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ หากทางร้านมีการคิดเพิ่มนอกเหนือจากราคาจำหน่าย ซึ่งถ้าหากร้านค้าก๊าซบรรจุถังร้านใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในประกาศถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยหากร้านค้าใดจำหน่ายในราคาที่สูงกว่าที่กำหนด หรือแจ้งราคาไม่ตรงกับราคาขาย มีสิทธิ์ถูกลงโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั่วประเทศไทยมีที่ไหนขายเกินราคาบ้าง?    จากประกาศของสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ปี 2558 (ฉบับที่ 3) จะเห็นว่ามีจุดอ่อนอยู่ที่การกำหนดราคาขายก๊าซหุงต้มบรรจุถังมีผลบังคับกับร้านค้าเฉพาะที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ทำให้อีกหลายจังหวัดจำหน่ายก๊าซหุงต้มบรรจุถังขนาด 15 กิโลกรัม สูงกว่าราคาแนะนำที่ 370 บาท     คณะอนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ ภายใต้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ จึงได้ทำการสำรวจราคาซื้อขายก๊าซหุงต้มตามร้านจำหน่ายก๊าซทั้งในเขตกรุงเทพฯ และในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อดูว่ามีการตั้งราคาจำหน่ายแตกต่างจากที่ภาครัฐกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ผลการสำรวจราคาก๊าซหุงต้มทั่วประเทศกรุงเทพมหานคร (16 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     3 ร้าน (19%)เท่ากับราคาแนะนำ    10 ร้าน (62%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    3 ร้าน (19%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ     380 บาท (2 ร้าน) 375 บาท (1 ร้าน)พื้นที่ที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ เขตพระนคร เขตทุ่งครุ และ เขตสะพานสูงการติดป้ายแสดงราคา ทุกร้านติดป้ายแสดงราคาปริมณฑล (20 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     13 ร้าน (65%)เท่ากับราคาแนะนำ    2 ร้าน (10%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    5 ร้าน (25%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    400 บาท (1 ร้าน) 395 บาท (1 ร้าน) 390 บาท (5 ร้าน) 385 บาท (1 ร้าน)  380 บาท (5 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ปทุมธานี (10 ร้าน) สมุทรปราการ (3 ร้าน) การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 4 ร้าน ไม่แจ้ง 16 ร้านภาคกลาง (24 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     8 ร้าน (33%)เท่ากับราคาแนะนำ    4 ร้าน (17%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    12 ร้าน (50%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    400 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (6 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ชัยนาท (4 ร้าน) พระนครศรีอยุธยา (4 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 12 ร้าน ไม่แจ้ง 12 ร้านภาคตะวันตก (94 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     50 ร้าน (53%)เท่ากับราคาแนะนำ    16 ร้าน (17%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    28 ร้าน (30%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 415 บาท (2 ร้าน) 410 บาท (9 ร้าน) 400 บาท (1 ร้าน) 395 บาท (1 ร้าน) 390 บาท (4 ร้าน) 385 บาท (1 ร้าน) 380 บาท (22 ร้าน) 375 บาท (9 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ประจวบคีรีขันธ์ (12 ร้าน) ราชบุรี (12 ร้าน) นครปฐม (7 ร้าน) เพชรบุรี (7 ร้าน) กาญจนบุรี (6 ร้าน) สมุทรสาคร (6 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 31 ร้าน ไม่แจ้ง 63 ร้านภาคตะวันออก (48 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     41 ร้าน (86%)เท่ากับราคาแนะนำ    3 ร้าน (6%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    4 ร้าน (8%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 410 บาท (1 ร้าน) 400 บาท (4 ร้าน) 395 บาท (2 ร้าน) 390 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (23 ร้าน) 375 บาท (8 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ สระแก้ว (12 ร้าน) จันทบุรี (11 ร้าน) ปราจีนบุรี (9 ร้าน) ฉะเชิงเทรา (9 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 6 ร้าน ไม่แจ้ง 42 ร้านภาคเหนือ (81 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     56 ร้าน (69%)เท่ากับราคาแนะนำ    11 ร้าน (14%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    14 ร้าน (17%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 410 บาท (1 ร้าน) 405 บาท (4 ร้าน) 400 บาท (11 ร้าน) 390 บาท (10 ร้าน) 385 บาท (4 ร้าน) 380 บาท (16 ร้าน) 379 (1 ร้าน) 375 บาท (8 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ พิษณุโลก (12 ร้าน) น่าน (12 ร้าน) เชียงใหม่ (9 ร้าน) ลำพูน (9 ร้าน) พะเยา (8 ร้าน) ลำปาง (5 ร้าน) แพร่ (1 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 35 ร้าน ไม่แจ้ง 46 ร้านภาคอีสาน (119 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     91 ร้าน (76%)เท่ากับราคาแนะนำ    9 ร้าน (8%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    19 ร้าน (16%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    440 บาท (4 ร้าน) 430 บาท (12 ร้าน) 420 บาท (13 ร้าน) 415 บาท (2 ร้าน) 410 บาท (4 ร้าน) 400 บาท (14 ร้าน) 395 บาท (3 ร้าน) 390 บาท (17 ร้าน) 385 บาท (5 ร้าน) 380 บาท (13 ร้าน) 379 บาท (1 ร้าน) 375 บาท (3 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ บึงกาฬ (24 ร้าน) หนองบัวลำภู (12 ร้าน) ร้อยเอ็ด (10 ร้าน) ขอนแก่น (9 ร้าน) เลย (8 ร้าน) บุรีรัมย์ (8 ร้าน) อุดรธานี (8 ร้าน) กาฬสินธุ์ (6 ร้าน) สุรินทร์ (6 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 13 ร้าน ไม่แจ้ง 106 ร้านภาคใต้ (78 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     68 ร้าน (87%)เท่ากับราคาแนะนำ    6 ร้าน (8%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    4 ร้าน (5%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    520-550 บาท (2 ร้าน*เป็นร้านที่ตั้งอยู่บนเกาะพีพี จ.กระบี่ เนื่องจากมีพื้นที่เป็นเกาะ ทำให้การตั้งราคาสูงกว่าพื้นที่อื่นค่อนข้างมาก) 470 บาท (1 ร้าน) 460 บาท (1 ร้าน) 450 บาท (1ร้าน) 430 บาท (4 ร้าน) 420 บาท (9 ร้าน) 410 บาท (6 ร้าน) 405 บาท (1 ร้าน) 400 บาท (10 ร้าน) 395 บาท (2 ร้าน) 390 บาท (9 ร้าน) 385 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (17 ร้าน) 375 บาท (2 ร้าน) 373 บาท (1 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ กระบี่ (16 ร้าน) ปัตตานี (12 ร้าน) สตูล (12 ร้าน) สุราษฎร์ธานี (11 ร้าน) ชุมพร (10 ร้าน) สงขลา (7 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 20 ร้าน ไม่แจ้ง 53 ร้านสรุปผลการสำรวจราคา-จากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า มีเพียงแค่ กทม. และ ภาคกลาง เท่านั้น ที่สัดส่วนจำนวนของร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้มบรรจุถังเท่ากับหรือต่ำกว่าราคาแนะนำที่ 370 บาท มากกว่าจำนวนของร้านค้าที่สูงกว่าราคาแนะนำ -หลายร้านค้ามีการคิดค่าขนส่งเพิ่มจากราคาขาย ตั้งแต่ 5 – 20 บาท- มีร้านอีกจำนวนไม่น้อยที่ขายก๊าซหุงต้มบรรจุถังถูกกว่าราคาแนะนำ -การติดป้ายแสดงราคา ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่กฎหมายกำหนด พบว่ามีเพียงตัวอย่างร้านค้าในกทม.เท่านั้น ที่ติดป้ายครบทุกร้านที่ทำการสำรวจ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ยังพบร้านที่ไม่ติดป้ายแสดงราคาอีกเป็นจำนวนมาก-ราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้มบรรจุถังในพื้นที่ในต่างจังหวัด ยังไม่มีข้อบังคับที่เป็นการกำหนดราคาที่ชัดเจน โดยกรมการค้าภายในได้มอบอำนาจในการจัดการควบคุมดูแลเรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการส่วนจังหวัดว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กจร.) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน สามารถกำหนดราคาได้เองตามความเหมาะสมของแต่ละจังหวัด แต่ ณ ปัจจุบันก็ยังไม่มีจังหวัดไหนที่ออกประกาศเรื่องนี้ ทำให้ราคามีความแตกต่างกันหลากหลายราคาตามข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพื้นที่และจำนวนจังหวัดในการสำรวจพื้นที่    จังหวัดที่สำรวจ    จำนวนร้านค้ากรุงเทพฯ    14 เขต (1.พระนคร 2.ทุ่งครุ 3.สะพานสูง 4.ป้อมปราบศัตรูพ่าย 5.ราษฎร์บูรณะ 6.บางกะปิ 7.ห้วยขวาง 8.คลองเตย 9.พระโขนง 10.ดินแดง 11. ลาดพร้าว 12.ธนบุรี 13.บางแค และ 14.บางนา)    16 ร้านปริมณฑล    2 จังหวัด (1.สมุทรปราการ และ 2.ปทุมธานี)    20 ร้านภาคกลาง    2 จังหวัด (1.ชัยนาท และ 2.พระนครศรีอยุธยา)    24 ร้านภาคตะวันตก    8 จังหวัด (1.ประจวบคีรีขันธ์ 2.กาณจนบุรี 3.สมุทรสาคร 4.ราชบุรี 5.เพชรบุรี 6.นครปฐม 7.สมุทรสงคราม และ 8.สุพรรณบุรี)    94 ร้านภาคตะวันออก    4 จังหวัด (1.สระแก้ว 2.ปราจีนบุรี 3.จันทบุรี และ 4.ฉะเชิงเทรา)    48 ร้านภาคเหนือ    7 จังหวัด (1.ลำปาง 2.พิษณุโลก 3.น่าน 4.เชียงใหม่ 5.ลำพูน 6.แพร่ และ 7.พะเยา)    81 ร้านภาคอีสาน    9 จังหวัด (1.กาฬสินธุ์ 2.บึงกาฬ 3.เลย 4.สุรินทร์ 5.ขอนแก่น 6.หนองบัวลำภู 7.ร้อยเอ็ด 8.บุรีรัมย์ และ 9.อุดรธานี)    119 ร้านภาคใต้    6 จังหวัด (1.สุราษฎร์ธานี 2.ปัตตานี 3.กระบี่ 4.ชุมพร 5.สตูล และ 6.สงขลา)    73 ร้านรวม    39 จังหวัด    480 ร้านระยะเวลาการสำรวจ : ระหว่างวันที่ 1 – 15 ธันวาคม 2558    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 คนไทยยังต้องเสี่ยงภัยกับการโดยสารรถประจำทาง 2

โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย พยายามทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการรถทัวร์โดยสารสาธารณะ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 1,784 ตัวอย่าง (ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง เดือนกลางเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558 ) เพื่อสะท้อนสถานการณ์จริงที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน ------------------------------------------------------------------------------------------------ในแต่ละปีจะมีอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เฉลี่ย 2,000 ครั้งต่อปี ซึ่งจากสถิติเฉลี่ยแล้ว พบว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถโดยสารสาธารณะ 1 ครั้งจะมีผู้เสียชีวิต 0.42 รายหรือครึ่งคน บาดเจ็บสาหัส 4 คน และบาดเจ็บเล็กน้อย 2.69 ราย มูลค่าความเสียหายมหาศาล รวมถึงปีละ 8,000 – 9,000 พันล้านบาทต่อปี   ข้อมูลเฉพาะจำนวนตัวอย่างแบบสำรวจ 4 ภูมิภาคภาคเหนือ 609 ภาคใต้ 432 ภาคตะวันออก 263 ภาคอีสาน 480 อาชีพนักเรียน 23.9% รับจ้าง 16.6% พนักงานบริษัทเอกชน 13.9% ธุรกิจส่วนตัว 13.7% ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10.3%เกษตรกร 8.5% แม่บ้านพ่อบ้าน 5.8% ว่างงาน 4.5%   ผลสำรวจโดยสรุป 1.ประชาชนยังนิยมใช้รถทัวร์โดยสารสาธารณะ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การเดินทางทั้งไปทำธุระ กลับบ้านและไปเรียนหนังสือ โดยรถ ป.2 ชั้นเดียวได้รับความนิยมที่สุด และบริษัทรถร่วม บขส. ได้รับความนิยมพอๆ กับ บริษัท ขนส่ง จำกัด2. เหตุผลที่ใช้รถทัวร์โดยสารสาธารณะ คือ ความสะดวก ปลอดภัยและราคาถูก เรียงตามลำดับ มากไปน้อย 3.ความพึงพอใจทั้งเรื่องพนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ และความสะดวก ความสะอาดของสถานีรถ อยู่ในค่าเฉลี่ยปานกลาง แต่ยังพบปัญหาการบรรทุกผู้โดยสารเกินประมาณ 9.4%4.ภายในรถโดยสารส่วนใหญ่มีเข็มขัดนิรภัย(80% ตอบว่ามี) และประมาณ 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ทางรถโดยสารได้แจ้งข้อมูลให้กับผู้โดยสารทราบผ่านโทรทัศน์บนรถ แต่มีถึง 45 % ที่ไม่คาดเข็มขัดในขณะโดยสาร ด้วยเหตุผลว่า อึดอัดเป็นอันดับหนึ่ง ไม่มีเข็มขัดหรือเข็มขัดไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน คิดว่าเดินทางแค่ระยะสั้นๆ รวมทั้งอายจึงไม่กล้าคาดเข็มขัด5.มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 23% ที่ทราบว่าถ้าไม่คาดเข็มขัดจะถูกปรับ 5000 บาท6.เกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัยในรถ ทั้งค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง ส่วนใหญ่จะระบุว่ามี (68.6% ,71.6%) เรื่องประตูฉุกเฉิน 82.2 % สังเกตว่ามี ส่วนที่น่าสนใจคือ การแจ้งเรื่องการใช้อุปกรณ์มีครึ่งหนึ่ง คือ 53.4% ไม่พบว่ามีการให้คำแนะนำแก่ผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็นโดยพนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ หรือ วิดีโอ 7.ความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยในการโดยสาร อยู่ที่ระดับปานกลาง คือ 46.7%   รายละเอียดการสำรวจ         เลือกรถโดยสาร อย่างไรให้ปลอดภัย 1. เลือกรถโดยสารสาธารณะที่ถูกกฎหมาย เช่น ถ้าเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะต้องเป็นรถร่วมบริการที่ได้รับอนุญาต (มีตราหรือสัญลักษณ์ของ บ.ข.ส. หรือ ขสมก. ติดข้างรถ) หรือ รถโดยสารป้ายทะเบียนสีเหลืองที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น 2. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจ ‘รถเสริม’ ไม่ควรใช้บริการ รถทัวร์ผี รถตู้เถื่อน ที่มาวิ่งเสริมรับคนในช่วงเทศกาลต่างๆ โดยเด็ดขาด ซึ่งรถดังกล่าวอาจไม่ได้รับการตรวจสภาพมาก่อน และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับรถผีรถเถื่อนแล้ว ผู้โดยสารจะไม่มีหลักประกันใดมารับรองความปลอดภัย อาจจะเจ็บตัวฟรีได้ 3. ผู้โดยสารควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ใช้บริการ เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหากเกิดอุบัติเหตุ4. เมื่อต้องเดินทางเกิน 300 กม. ไม่ควรเลือกเดินทางโดยรถตู้โดยสาร เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้รถตู้โดยสารให้บริการได้ในระยะทางไม่เกิน 300 กม. เท่านั้น เพราะหากไกลกว่านั้นอาจจะทำให้พนักงานขับรถอ่อนเพลียจนเกิดอุบัติเหตุและยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำผิดกฎหมายด้วย 5. ถ้ามีผู้โดยสารอื่นขึ้นเต็มรถอยู่ก่อนแล้ว ไม่ควรฝืนขึ้นไปยืนหรือนั่งเบาะเสริม เพียงเพราะต้องการอยากให้ไปถึงที่ด้วยความรวดเร็วอย่างเดียว เพราะการบรรทุกผู้โดยสารเกินของรถโดยสารอาจจะเพิ่มโอกาสเกิดอุบัติเหตุ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 6. ไม่ทนนั่งรถโดยสารอันตราย ผู้โดยสารควรสังเกตพฤติกรรมและอากัปกริยาของพนักงานขับรถ เช่น มีอาการง่วงซึม หรือมึนเมาจากสุรา สารเสพติดหรือไม่ หรือขับรถเร็วผิดปกติ ส่ายไปส่ายมา แซงซ้ายปาดขวา ไม่เคารพกฎจราจร หากพบเห็น ต้องไม่อายที่จะแจ้งเตือนพนักงานขับรถทันที หรือรีบแจ้งสายด่วน 1584 หรือ 191 หรือกองบังคับการตำรวจทางหลวง 1193 เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารกับตัวเอง ต้องทำยังไง1. ผู้โดยสารต้องตั้งสติให้ได้ก่อน2. เมื่อมีสติแล้ว ให้สำรวจดูสภาพร่างกายของตนเองว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ และทรัพย์สินเครื่องใช้ที่ติดตัวมายังอยู่ครบหรือเปล่า 3. ถ้ามีสติ รู้สึกตัวดี และสำรวจสภาพร่างกายตนเองเรียบร้อยแล้ว ให้หยิบสิ่งของที่จำเป็น เช่น กระเป๋าสตางค์ , โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ แล้วพาร่างกายออกจากตัวรถโดยทันที 4. เมื่อออกมาพ้นตัวรถแล้ว ให้รีบโทรศัพท์ (ถ้ามี) แจ้ง 191 หรือ 1584 หรือ 1193 5. เมื่อดำเนินการตามข้อ 1 – 4 เรียบร้อยแล้ว หากท่านยังพอมีแรงอยู่ ให้ท่านเข้าช่วยเหลือผู้โดยสารคนอื่นที่บาดเจ็บเท่าที่พอจะช่วยได้ หากไม่สามารถทำได้ ให้บุคคลอื่นมาช่วยเหลือ 6. (ถ้ามีสติและทำได้) ควรถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุและบริเวณโดยรอบ ถ่ายภาพตอนบาดเจ็บของตนเองและคนอื่นที่บาดเจ็บ ไว้เป็นหลักฐานด้วยโทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นข้อมูลและพยานหลักฐานสำหรับการเรียกร้องค่าเสียหาย 7. เมื่อผู้โดยสารที่บาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หากบาดเจ็บไม่มากและรู้สึกตัวดี ผู้บาดเจ็บต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือพนักงานสอบสวนที่มาขอข้อมูลของผู้บาดเจ็บเพื่อเป็นหลักฐาน8. ผู้โดยสารที่บาดเจ็บสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลเบื้องต้น ได้ตามสิทธิ พ.ร.บ. รถ ของรถโดยสารคันที่โดยสารมา (ผู้โดยสารไม่ต้องสำรองจ่าย โรงพยาบาลที่รับการรักษาเป็นผู้เบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จากบริษัทประกันภัยเอง)9. ผู้โดยสารที่บาดเจ็บต้องตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยของรถโดยสารคันเกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือพนักงานสอบสวน หรือตัวแทนของคู่กรณี (เจ้าของรถ หรือบริษัทประกันภัย) ว่ารถโดยสารคันเกิดเหตุทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้หรือไม่ ถ้าทำ ทำไว้กับบริษัทใด เพราะหากรถโดยสารทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้ ผู้โดยสารจะมีสิทธิได้รับความคุ้มครองความเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลและเยียวยาความเสียหายเพิ่มเติมได้    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 177 แร็คแขวนจักรยานท้ายรถ

ใกล้วันหยุดยาวกันแล้ว ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบอุปกรณ์เพื่อการพกพาจักรยานคันโปรดของคุณและสมาชิกครอบครัวไปด้วยในยามที่ไปพักผ่อนนอกสถานที่ แร็คจักรยานทั้งหมด 22 รุ่นยอดนิยมในยุโรป ถูกส่งไปที่ห้องแล็บของสถาบันทดสอบทางวิศวกรรมในสาธารณรัฐเช็ก โดยสมาชิกในยุโรปขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing การทดสอบดังกล่าวแบ่งการให้คะแนนออกเป็น 3 ด้านดังนี้ร้อยละ 50    ประสิทธิภาพการใช้งาน ดูจากเวลาที่ใช้ในการนำจักรยานขึ้นไปติดตั้ง การถอดจักรยานออก        จากอุปกรณ์ และการทดสอบบนถนน ด้วยการนำรถที่ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าววิ่งบนสภาพถนน         3 ประเภท แล้วตรวจสอบว่าเกิดการโยกแยก เลื่อนหลุด มากน้อยแค่ไหน -    ทางหลวง เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตร/ชั่วโมง-    ถนนสายรองประเภทที่ 2 และ 3 (ตามเกณฑ์ของยุโรป) ที่มีความชัน ทางโค้ง เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10-18 กิโลเมตร/ชั่วโมง-    ถนนดิน/กรวด เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10-18 กิโลเมตร/ชั่วโมงร้อยละ 35    ความแข็งแรงทนทาน ดูจากคุณภาพการประกอบชิ้นงาน ความปลอดภัยของชิ้นส่วนและ            กลไกต่างๆ  ความทนทานต่อการขึ้นสนิม (เมื่อทิ้งไว้ในห้องที่มีฝุ่นเกลือเป็นเวลา 48 ชั่วโมง)         รวมถึงความเป็นไปได้ในการล็อคกันขโมยร้อยละ 15     ความสะดวกในการประกอบอุปกรณ์ ติดตั้ง รวมถึงคู่มือและเวลาที่ใช้ในการติดตั้ง     คราวนี้เรานำเสนอเพียง 18 รุ่น (จากทั้งหมด 22 รุ่น) เพราะที่เหลือได้คะแนนน้อยกว่า 3 ดาว นอกจากนี้เรายังพบว่าของถูกนั้นมี แต่ของดีที่ได้คะแนนรวมสูงนั้นราคาไม่ถูก บอกเลยว่าถ้าอยากได้ของดี คุณต้องเตรียมควักเงินไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท  * หมายเหตุ ราคาที่นำเสนอส่วนใหญ่เป็นราคาที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ท และคำนวณเป็นเงินบาทจากอัตราแลกเงินในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 กรุณาตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจ                              

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 คนไทยยังต้องเสี่ยงภัยกับการโดยสารรถประจำทาง

ทุกวันนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า รถตู้โดยสาร ได้กลายมาเป็น รถโดยสารประจำทางในเกือบจะทุกเส้นทางรอบปริมณฑลกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงไปแล้ว ซึ่งไม่ใช่ว่ารถตู้นั้นเป็นทางเลือกยอดนิยม แต่ดูเหมือนไม่มีทางเลือกมากกว่า และแม้ว่าโดยสภาพของรถตู้เองที่ไม่เหมาะกับการเป็นรถขนส่งสาธารณะ แต่เมื่อเติบโตกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หลายฝ่ายจึงพยายามหามาตรการต่างๆ ออกมาบังคับเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการโดยสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การจำกัดความเร็วในการขับ การกำหนดปริมาณคนนั่ง ฯลฯ แต่เมื่อมองจากสถิติจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว ดูเหมือนมาตรการต่างๆ นั้น ไม่ได้ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับผู้โดยสารสักเท่าไรนัก โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย   ซึ่งพยายามทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ  ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 3,885 ตัวอย่าง (ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง เดือนกลางเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558   ) เพื่อสะท้อนสถานการณ์จริงที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน  ข้อมูลเฉพาะจำนวนตัวอย่างแบบสำรวจ  6 ภูมิภาคภาคเหนือ 177 ภาคใต้ 399 ภาคตะวันออก 479 ภาคตะวันตก 1867 ภาคกลาง 783 ภาคอีสาน 180 เพศชาย 57% หญิง 43%อาชีพนักเรียน     25.4%  รับจ้าง 17% พนักงานบริษัทเอกชน 15.7% ธุรกิจส่วนตัว 15.2% ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10%เกษตรกร    6%  แม่บ้านพ่อบ้าน 5.1% ว่างงาน 3% อื่นๆ 1.2% ไม่ตอบ 1.4% ผลสำรวจโดยสรุป1.รถตู้โดยสารสามารถตอบสนองการเดินทางของผู้บริโภค ทั้งในเรื่อง การทำธุระส่วนตัว การเดินทางกลับบ้าน การทำงานและการเรียน โดยมีเหตุผลเรื่อง ความสะดวก รวดเร็ว เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ส่วนเรื่องความปลอดภัยจัดอยู่ในลำดับท้ายสุด2. ความพึงพอใจต่อพนักงานขับรถอยู่ในระดับปานกลาง และ 66.5% ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่รู้สึกว่าพนักงานขับรถ ขับรถเร็วหรือหวาดเสียว 3. มีผู้บริโภคเพียง 9.6% ที่พบปัญหาการบรรทุกผู้โดยสารเกิน  4. ผู้บริโภคยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการคาดเข็มขัดนิรภัยโดย 57% ตอบว่าไม่คาดเข็มขัด จากสาเหตุ อึดอัด(21%) รู้สึกว่าระยะเดินทางเป็นช่วงสั้นๆ /ไม่มีเข็มขัดนิรภัย/เข็มขัดไม่พร้อมใช้งาน(8.6/8.4/8.3 %) และมีประมาณ  4% ที่ระบุว่า น่าอาย(หากต้องคาดเข็มขัดขณะที่คนอื่นไม่คาด)   5.มีผู้บริโภคถึง 31.4% ที่ไม่ทราบว่า ถ้าไม่คาดเข็มขัดจะมีโทษปรับสูงถึง 5000 บาท มีเพียง 23.9% ที่ทราบ  ทั้งนี้มีผู้ไม่ตอบแบบสำรวจถึง 44.7% ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจไม่แน่ใจในข้อบังคับกฎหมายเกี่ยวกับโทษปรับดังกล่าว           สถิติอุบัติเหตุรถตู้โดยสาร มกราคม – กันยายน 2558จำนวน 85 ครั้งบาดเจ็บ 675 รายเสียชีวิต 75 ราย ที่มา โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 สำรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ

    ตู้กดน้ำดื่มอัตโนมัติเป็นสิ่งที่เราพบเห็นทั่วไปในย่านชุมชน หลายคนต้องพึ่งพาตู้เหล่านี้เพราะมันเป็นทางเดียวที่จะเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดในราคาย่อมเยา ธุรกิจตู้น้ำดื่มก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะใครๆ ก็ทำได้ แค่มีพื้นที่หน้าบ้านบวกกับเงินลงทุนเริ่มต้นอีกไม่เกิน 3 หมื่นบาทเราก็เป็นเจ้าของตู้พวกนี้ได้แล้ว มีทั้งแบบขายขาดให้เจ้าของพื้นที่ดูแลเองและแบบที่มีบริษัทส่งพนักงานมาซ่อมบำรุงให้ แต่น้ำที่ได้จากตู้พวกนี้สะอาดจริงหรือ?   การเก็บตัวอย่างน้ำ 2,025 ตัวอย่างจากตู้น้ำหยอดเหรียญทั่วประเทศ เพื่อตรวจวิเคราะห์โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึง กันยายน 2555 พบว่าเกือบร้อยละ 40 ไม่ผ่านมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด น้ำดื่มเหล่านี้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าความกระด้างเกินเกณฑ์ และยังพบเชื้อโคลิฟอร์ม และ E.coli  ในน้ำดื่มถึง 319 ตัวอย่างด้วยปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดการดูแลรักษา แล้วการกำกับดูแลธุรกิจหรือการควบคุมมาตรฐานของอุปกรณ์เหล่านี้ดีพอที่จะรับประกันคุณภาพหรือความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคแล้วหรือยัง?เครือข่ายผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ภายใต้การสนับสนุนของอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค  ได้ทำการสำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติในกรุงเทพมหานคร ว่าเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจเกี่ยวกับ สถานที่ตั้ง การติดฉลาก คุณลักษณะ แหล่งน้ำที่ใช้ และการบำรุงรักษาตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้งหมด 855 ตู้จาก 18 เขตของกรุงเทพมหานคร ทีมสำรวจพบว่า ...•    มีเพียงร้อยละ 8.24 ของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในการสำรวจ (855 ตู้)  ที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ  … นั่นหมายความว่ายังมีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอีกมากที่ดำเนินการขายน้ำดื่มโดยยังไม่ได้รับใบอนุญาต (ใบอนุญาตดังกล่าวมีค่าธรรมเนียม 2,000 บาทต่อปี ซึ่งผู้ประกอบการมองว่าแพงเกินไป!!)•    ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ร้อยละ 76.3      ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีฝุ่นมาก เช่น ริมถนน บนทางเท้า ร้อยละ 47.7    ไม่มีการยกระดับตู้ให้สูงจากพื้นอย่างน้อย  10 เซนติเมตรร้อยละ 28.3     ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำขัง/แหล่งระบายน้ำเสีย (บางครั้งพบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญในบริเวณใกล้กัน)ร้อยละ 22    ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น แมลงสาบ หนู แมลงวัน•    ตู้กดน้ำส่วนใหญ่ไม่มีการติดฉลากบอกข้อแนะนำในการใช้ คำเตือน หรือ วัน เดือน ปีที่เปลี่ยนไส้กรอง หรือมีแต่ก็ไม่ครบถ้วน•    ทีมสำรวจพบทั้งตู้เก่าและตู้ใหม่ บางตู้ติดตั้งมานานและไม่ได้รับการดูแลจากผู้ประกอบกิจการ มีสนิม มีรูรั่วซึม มีการผุกร่อน บางตู้ไม่มีฝาปิดช่องจ่ายน้ำ บางตู้มีตะไคร่เกาะที่หัวจ่ายน้ำด้วย•    ร้อยละ 93.8 ของน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มในตู้เหล่านี้เป็นน้ำประปา ซึ่งถือเป็นเรื่องดีเพราะน้ำประปาเป็นน้ำที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้ว•    มีเพียงร้อยละ 58.7 ของตู้เหล่านี้ที่ได้รับการบำรุงรักษาและทำความสะอาดถังเก็บน้ำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง•    มีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญจำนวนไม่น้อยที่ผู้สำรวจไม่สามารถติดตามพบเจ้าของผู้รับผิดชอบได้   -------------------------------------------------------------------------------------------------วิธีการเลือกใช้บริการน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ: ข้อเสนอแนะจากทีมสำรวจสภาพภายนอก >> เลือกตู้ที่สะอาด มีการทำความสะอาด ปัดกวาดเช็ดถูบริเวณรอบๆ จุดที่ใช้สำหรับวางภาชนะบรรจุเพื่อรองน้ำจากหัวบรรจุต้องสะอาด ไม่มีฝุ่นผง มีฝาปิดป้องกันฝุ่นละออง หัวจ่ายน้ำไม่มีคราบสนิมหรือตะไคร่น้ำ ควรเลือกใช้ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ตั้งอยู่ในที่ร่มไม่มีแสงแดดส่องถึง เพราะแสงแดดมักทำให้เกิดตะไคร่ภายในหัวบรรจุการควบคุมคุณภาพน้ำ >>  ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบางยี่ห้อมีการดูแลและควบคุมคุณภาพของน้ำดื่มเป็นประจำ เมื่อผู้ดูแลตู้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องและไส้กรองแล้วจะติดสติ๊กเกอร์แจ้งวัน/เวลาที่เข้ามาตรวจสอบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้บริโภครู้ว่าเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญตู้นี้มีการดูแล และควบคุมคุณภาพของน้ำหรือไม่การสังเกตกลิ่น สี รส  >>  ผู้บริโภคสามารถตรวจดูสภาพของน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเบื้องต้นได้ด้วยการสังเกตสี ความขุ่น-ใส กลิ่นและรสชาติของน้ำ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ควรเปลี่ยนตู้ใหม่เมื่อน้ำที่ได้มามีกลิ่นหรือรสชาติของน้ำเปลี่ยนไปจากเดิม หรือรอให้ตู้ที่ใช้อยู่เดิมนั้นได้รับการดูแลทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรองเสียก่อนภาชนะที่นำไปบรรจุน้ำดื่มจากตู้ >> ควรเป็นภาชนะที่สะอาดและมีขนาดพอดีกับปริมาณน้ำที่ซื้อไม่สัมผัสหัวจ่ายน้ำด้วยมือหรือวัสดุอื่นใด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคในน้ำดื่ม------------------------------------------------------------------------------------------------กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญถือเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 362 พ.ศ. 2556 เรื่อง น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หากฝ่าฝืนจะเข้าข่ายเป็นอาหารผิดมาตรฐาน ตามมาตรา 28 ฝ่าฝืนมาตรา 25 (3) มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ประกาศดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ------------------------------------------------------------------------------------------------ความนิยมของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2555 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ร้อยละ 40.9 ของน้ำดื่มที่คนไทยบริโภค มาจากน้ำบรรจุขวดและตู้น้ำดื่มยอดเหรียญผลสำรวจของกรมอนามัยในปี 2556 ระบุว่า ร้อยละ 14 ของประชาชนจัดหาน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ ร้อยละ 17 ดื่มน้ำฝนที่กักเก็บไว้ ร้อยละ 24 ดื่มน้ำประปา และร้อยละ 32 นิยมดื่มน้ำบรรจุขวด ที่เหลือเป็นน้ำดื่มที่ได้จากบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้น------------------------------------------------------------------------------------------------น้ำดื่มคุณภาพ: หน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง•    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา >> กำกับดูแลคุณภาพของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522•    สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค >> กำกับดูแลการโฆษณาคุณภาพและควบคุมการติดฉลากของเครื่องผลิตน้ำแบบหยอดเหรียญภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522•    สำนักอนามัย สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร >> ติดตามการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และบังคับใช้บทลงโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 •    สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม >> กำกับดูแลเครื่องผลิตน้ำแบบหยอดเหรียญให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องกรองน้ำประเภทต่างๆที่กำหนดภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ------------------------------------------------------------------------------------------------น้ำดื่มที่ดีไม่ได้หมายถึงน้ำดื่มบริสุทธิ์ปราศจากแร่ธาตุใดๆ เพียงแต่ปริมาณแร่ธาตุเหล่านั้นจะต้องไม่เกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับน้ำบริโภคกำหนดไว้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://plan.dgr.go.th/school/5.pdf------------------------------------------------------------------------------------------------การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดของประชากรอาเซียน    มหาวิทยาลัยเยล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและ World Economic Forum จัดทำ Environmental Performance Index (EPI) ขึ้นในปี 2014 จากการสำรวจและประเมินความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใน 178 ประเทศทั่วโลก หนึ่งในหัวข้อสำรวจคือการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด ซึ่งหมายถึง ประปา แหล่งน้ำบาดาล น้ำฝน เท่านั้น (ไม่นับน้ำดื่มบรรจุขวดหรือสั่งซื้อ) เรามาดูกันว่ากลุ่มประเทศอาเซียนทำได้ดีแค่ไหนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน  เรียงจากมากไปน้อยตามนี้100        สิงคโปร์ 100         บรูไน 91.94        มาเลเซีย60.55        ไทย59.47        เวียดนาม48.38        ฟิลิปปินส์32.45        อินโดนีเซีย 32.27        เมียนมา 17.34        ลาว 15.52        กัมพูชา ข้อมูลจาก http://epi.yale.edu/epi/issue-ranking/water-and-sanitation  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 ตะกั่วในสีทาบ้าน “ผู้ผลิตไทยลดการใช้ตะกั่วลง” ตอน 2

ปี 2553 และ ปี 2556 ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ* ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคาร และส่งตัวอย่างสีเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่ว พบว่า ผู้ผลิตสีน้ำมัน ยังมีการใช้ตะกั่วในการผลิตสี โดยเฉพาะสีโทนสดใส ค่อนข้างสูง จากจำนวนตัวอย่าง 120 ตัวอย่าง ในปี 2556 พบว่า ร้อยละ 93 ของกลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน (100 ppm เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจไม่ใช่มาตรฐานบังคับ) ในขณะที่ปริมาณตะกั่วในกลุ่มตัวอย่างโทนสีขาว พบว่า ร้อยละ 61 มีตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm โดยทางนิตยสารฉลาดซื้อได้นำรายชื่อตัวอย่างสี ทั้ง 120 ตัวอย่างไว้ในฉบับที่ 151 กันยายน 2556    และในปี 2558 นี้ ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคารเป็นครั้งที่สาม เพื่อติดตามสถานการณ์ ซึ่งภาพรวมพบว่า เป็นข่าวดี มีผู้ผลิตสีจำนวน 1 ใน 3 ลดใช้สารตะกั่วในการผลิตสีแล้ว แต่ก็ยังมีบริษัทใหญ่บางแห่งผลิตสีแบบสองมาตรฐาน โดยเลิกใช้ในบางยี่ห้อ แต่ยังคงใช้ในบางยี่ห้อ     โดยฉลาดซื้อได้ลงรายชื่อผลิตภัณฑ์สีน้ำมันที่ตรวจพบ ปริมาณตะกั่วเกิน 100 ppm ในฉบับที่ 172 สำหรับฉบับนี้ จะนำเสนอรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่พบปริมาณตะกั่วไม่เกิน 100 ppm โปรดตรวจดูรายชื่อได้ในหน้าถัดไป     ในส่วนเรื่องฉลากยังพบว่า บางผลิตภัณฑ์มีการหลอกลวงผู้บริโภคโดยระบุฉลากว่า ปราศจากตะกั่ว แต่ผลทดสอบกลับพบมีปริมาณตะกั่วสูงเกินค่ามาตรฐาน แนวโน้มที่ดีขึ้นของฉลากและปริมาณสารตะกั่วเมื่อฉบับที่ 151 กันยายน 2556 ฉลาดซื้อเคยลงข้อมูลเกี่ยวกับฉลากแสดงปริมาณสารตะกั่วไม่ตรงตามจริงว่า มีสีน้ำมัน 29 ตัวอย่างจาก 120 ตัวอย่างที่ติดฉลากปลอดสารตะกั่ว แต่เมื่อพิจารณาปริมาณตะกั่วที่ตรวจพบในตัวอย่างสีที่มีข้อความบนฉลากดังกล่าว พบว่า มีสีน้ำมัน 17 ตัวอย่างจาก 29 ตัวอย่าง ที่มีสารตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm จึงเห็นได้ว่า ข้อมูลบนฉลากและปริมาณตะกั่วที่ตรวจพบไม่ตรงกัน ดังนั้นสำหรับฉบับนี้ฉลาดซื้อจะมาอัพเดตข้อมูลล่าสุดที่มูลนิธิบูรณะนิเวศได้ดำเนินการสำรวจอีกครั้งใน 2558 ผลการทดสอบฉลากแสดงปริมาณสารตะกั่วจากทั้งหมด 100 ตัวอย่าง พบว่ามี 26 ตัวอย่างที่แสดงฉลากโฆษณาว่า สีปลอดสารตะกั่ว ซึ่งเมื่อนำไปทดสอบแล้วปรากฏว่าพบปริมาณสารตะกั่วอยู่ระหว่าง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 173 ผลทดสอบที่นอนยางพารา

ตามที่สัญญาไว้ในฉบับเดือนพฤษภาคม คราวนี้เรานำผลการทดสอบที่นอนยางพารา ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้มาฝากสมาชิกกัน ถึงแม้มันจะไม่ใช่ทางเลือกของผู้ที่ชอบที่นอนชนิดนุ่มมากๆ แต่หลายคนก็ชอบที่นอนยางพาราเพราะมันทนทาน ระบายอากาศได้ดี แถมไม่เป็นที่โปรดปรานของไรฝุ่น จึงเหมาะกับคนที่มีอาการภูมิแพ้ด้วย คะแนนรวมที่ได้เป็นการถัวเฉลี่ยระหว่างคะแนนด้านต่างๆ เช่น สมรรถนะ (การรองรับสรีระ การระบายความชื้น และการความคงตัว เป็นต้น) และความแข็งแรงทนทาน (วัดจากความเปลี่ยนแปลงหลังวางน้ำหนัก 140 กิโลกรัมลงบนที่นอน 30,000 ครั้ง รวมถึงการวางบุหรี่ที่ติดไฟไว้บนที่นอนด้วย) เช่นเดียวกับที่นอนสปริง เรายังไม่พบรุ่นที่ได้คะแนน 5 ดาว ที่นอนยางพาราที่นำมาทดสอบได้คะแนน 4 ดาวเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง 4 รุ่นที่ได้ 3 ดาว (Memory Air Latex ของ Chimera Benessere / Tutam Latex ของ Alessanderx / Lattice PF20 Climatizzato Medio ของ Pirelli และ Lattice Premium Climatizzato 7 Zone Medio ของSimmons) สำหรับคะแนนในแต่ละด้านของที่นอนเหล่านี้ ติดตามได้ในหน้าถัดไป        

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 172 ผลสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการและความปลอดภัยรถโดยสารระหว่างจังหวัด

เมื่อเร็วๆ นี้ ฉลาดซื้อได้นำเสนอผลสำรวจความพึงพอใจในเรื่องของคุณภาพการบริการและความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารประจำทางหรือรถเมล์ใน กทม.และปริมณฑล ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสอบถามประชาชนคนที่ใช้จริง ทำให้เห็นหลายเรื่องหลายประเด็นที่ยังเป็นปัญหาในการใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการรอรถ ที่มีถึง 41% ของตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม ที่ต้องทนรอรถนานถึง 16 – 30 นาที หรือเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ที่พบว่ามีถึง 31% ที่ต้องต่อรถโดยสารมากกว่า 1 ต่อ จึงจะไปถึงจุดหมาย นอกจากนี้ยังพบว่ามีถึง 45% ที่เคยเจอปัญหารถโดยสารประจำทางรับ – ส่งผู้โดยสารนอกป้ายโดยผลสำรวจครั้งนี้จัดทำขึ้นโดย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งไม่ได้มีแค่รถโดยสารประจำทางในกทม.และปริมณฑลเท่านั้น แต่ยังมีผลสำรวจในส่วนของรถโดยสารสาธารณะที่วิ่งให้บริการระหว่างจังหวัด หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า รถบัส หรือ รถทัวร์ ลองมาดูกันสิว่าประชาชนที่ต้องเดินทางจากกทม.ไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศด้วยรถโดยสารสาธารณะ เขามีความรู้สึกอย่างไรในเรื่องของคุณภาพการบริการและความปลอดภัยข้อมูลเฉพาะของการสำรวจวิธีสำรวจ : สัมภาษณ์ผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด สถานที่สำรวจ : 1.สถานีขนส่งหมอชิต 2.สถานีขนส่งสายใต้ใหม่จำนวนกลุ่มตัวอย่าง : 413 ตัวอย่างช่วงเวลาที่ทำสำรวจ : 4 – 13 กุมภาพันธ์ 2558ข้อสรุปจากผลสำรวจ-เหตุผลในการเลือกเดินทางโดยรถประจำทางระหว่างจังหวัด พบว่า 70% เลือกเพราะความสะดวก และมีถึง 32% เลือกเพราะค่าใช้จ่ายถูก-จากผลสำรวจพบว่า มีผู้ใช้รถประจำทางระหว่างจังหวัดที่เป็นรถ 2 ชั้น ถึง 60% จากรถทั้งหมด-ผู้ใช้บริการรถประจำทางระหว่างจังหวัด ส่วนใหญ่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงจุดจอดรถรับ-ส่ง สูงกว่าความจำเป็น คือการเดินทางเพื่อเข้าสู่งสถานีขนส่งทั้ง หมอชิต และ สายใต้ใหม่ ยังมีบริการรถโดยสารสาธารณะอย่างรถเมล์ค่อนข้างน้อย ทำให้ผู้โดยสารต้องเลือกใช้บริการที่สะดวกกว่า อย่าง แท็กซี่ หรือ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งค่าใช้จ่ายสูงกว่า -ยิ่งเมื่อดูในจุดจอดหรือสถานีรับ - ส่งรถประจำทางระหว่างจังหวัดในพื้นที่ต่างจังหวัด ยิ่งถือว่าค่อนข้างเป็นปัญหา เพราะยังขาดระบบการเชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีไปยังสถานที่ต่างๆ ทำให้ผู้โดยสารส่วนใหญ่ต้องใช้ รถยนต์ส่วนตัว เป็นหลัก-การเดินทางระหว่างจังหวัด มีจุดจอดรับ-ส่งหรือสถานีขนส่ง ที่มีความปลอดภัย สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการได้พอสมควร แต่จะต้องพัฒนาต่อไปในอนาคต-ผู้ใช้บริการรถประจำทางระหว่างจังหวัดที่เดินทางที่สถานีขนส่งหมอชิต รอรถน้อยกว่าการไปขึ้นรถที่สถานีขนส่งใต้ใหม่-รถประจำทางระหว่างจังหวัด ไม่มีการบรรทุกผู้โดยสารเกิน -ผู้โดยสารตระหนักถึงความปลอดภัยเมื่อเริ่มเดินทางระหว่างจังหวัด จากอัตราการคาดเข็มขัดที่สูงกว่าการเดินทางภายในจังหวัด-มีผู้โดยสารรถประจำทางระหว่างจังหวัดถึง 34% ที่ตอบว่าไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย โดยเหตุผลหลักคือ รู้สึกอึดอัด 76% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง -การแจ้งให้คาดเข็มขัดนิรภัยจากพนักงานขับรถหรือพนักงานบนรถ มีผลต่ออัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสาร                                          

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 172 ตะกั่วในสีทาบ้าน “ผู้ผลิตไทยลดการใช้ตะกั่วลง”

ปี 2553 และ ปี 2556 ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ* ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคาร  และส่งตัวอย่างสีเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่ว พบว่า ผู้ผลิตสีน้ำมัน ยังมีการใช้ตะกั่วในการผลิตสี โดยเฉพาะสีโทนสดใส ค่อนข้างสูง จากจำนวนตัวอย่าง 120 ตัวอย่าง ในปี 2556 พบว่า ร้อยละ 93 ของกลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน (100 ppm เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจไม่ใช่มาตรฐานบังคับ) ในขณะที่ปริมาณตะกั่วในกลุ่มตัวอย่างโทนสีขาว พบว่า ร้อยละ 61 มีตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm โดยทางนิตยสารฉลาดซื้อได้นำรายชื่อตัวอย่างสี ทั้ง 120 ตัวอย่างไว้ในฉบับที่ 151 กันยายน 2556    และในปี 2558 นี้ ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคารเป็นครั้งที่สาม เพื่อติดตามสถานการณ์ ซึ่งภาพรวมพบว่า เป็นข่าวดี มีผู้ผลิตสีจำนวน 1 ใน 3 ลดใช้สารตะกั่วในการผลิตสีแล้ว แต่ก็ยังมีบริษัทใหญ่บางแห่งผลิตสีแบบสองมาตรฐาน โดยเลิกใช้ในบางยี่ห้อ แต่ยังคงใช้ในบางยี่ห้อ ส่วนเรื่องฉลากยังพบว่า บางผลิตภัณฑ์มีการหลอกลวงผู้บริโภคโดยระบุฉลากว่า ปราศจากตะกั่ว แต่ผลทดสอบกลับพบมีปริมาณตะกั่วสูงเกินค่ามาตรฐาน     การทดสอบในปี 2558 นี้ ทางผู้วิจัยได้เลือกสียี่ห้อเดียวกันกับตัวอย่างของ ปี 2553 และ 2556 โดย•    เลือกเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบสารตะกั่วสูงกว่า 100 ppm •    เลือกเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นหลังกลุ่มตัวอย่างของปี 2553 และ 2556•    สียี่ห้ออื่นที่ผลิตโดยผู้ผลิตสีในกลุ่มตัวอย่างของ ปี 2553 และ 2556 รวมทั้งสิ้น 100 ตัวอย่าง(56 ยี่ห้อ จากผู้ผลิต 35 บริษัท) ซึ่งทางฉลาดซื้อจะขอนำเสนอเป็นสองส่วน โดยฉบับนี้จะลงรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่พบปริมาณสารตะกั่วเกินค่า 100 ppm จำนวน 61 ตัวอย่าง และอีก 39 ตัวอย่างซึ่งพบปริมาณตะกั่วไม่เกิน 100 ppm จะนำเสนอในฉบับถัดไป         ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ รับรองมาตรฐานโดยโครงการทดสอบความสามารถการวิเคราะห์สารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม (Environmental Lead Proficiency Analytical Testing – ELPAT)  2 แห่ง •    ห้องปฏิบัติการ Certottica Scarl ประเทศอิตาลี •    ห้องปฏิบัติการ AIJU Research Center ประเทศสเปน วิธีวิเคราะห์ CPSC – CH – E1003.09.1 •    ขูดสีจากชิ้นไม้ และใช้กรดย่อยสารตะกั่วในสี•    วิเคราะห์สารตะกั่วในสารละลายด้วยเครื่อง ICP - AES *มูลนิธิบูรณะนิเวศ เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ทำงานเพื่อความเป็นธรรมและความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาและติดตามนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม สถานการณ์มลพิษอุตสาหกรรม และรูปแบบการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน เน้นส่งเสริมความเป็นธรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ธรรมาภิบาล และความพร้อมรับผิดของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นที่ผลกระทบของสารเคมีอันตรายที่เกิดต่อระบบนิเวศน์ ชุมชน และสุขภาพของคนงานงานศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิกถอนสารตะกั่วจากสีในเอเชีย (Asian Lead Paint Elimination Project) เป็นความร่วมมือระหว่างเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อเพิกถอนสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม (IPEN) และองค์กรภาคประชาสังคมใน 7 ประเทศทั่วเอเชีย ได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ และไทย และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน (Switch Asia)องค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติได้กำหนดให้การเพิกถอนสารตะกั่วจากสีเป็นวาระเร่งด่วน โดยจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเพิกถอนสารตะกั่วจากสี (Global Alliance to Eliminate Lead Paint - GAELP) และกำหนดเป้าหมายให้รัฐสมาชิกทุกประเทศออกกฎหมายห้ามใช้สารตะกั่วในการผลิตสีภายในปี 2563  ล่าสุด ประเทศเพื่อนบ้านเริ่มออกกฎหมายห้ามใช้สารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สีแล้ว เช่น ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเนปาล โดยกรมการค้าต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์เตือนผู้ประกอบการไทยให้ปฏิบัติตาม กฎหมายต่างประเทศอย่างเคร่งครัดและพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าของตนอย่างต่อ เนื่องเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคในการส่งออก เนื่องจากไทยมีมูลค่าการส่งออกสีทาและวานิชไปฟิลิปปินส์เฉลี่ยปีละ 616 ล้านบาท

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 171 ผลทดสอบที่นอนสปริง

ผลทดสอบที่นอนสปริง             การนอนหลับที่มีคุณภาพนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความมืด ความเงียบ อุณหภูมิที่เหมาะสม และสำหรับบางคนก็รวมถึงคุณภาพของที่นอนด้วย  ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบที่นอนที่ประเทศสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้อย่างต่อเนื่องในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ด้วยความจำกัดด้านเนื้อที่เราจึงของนำเสนอเฉพาะที่นอนประเภทสปริงก่อน ส่วนผลทดสอบที่นอนยางพารานั้นเราจะนำเสนอโอกาสต่อไป ที่นอนสปริงมีข้อดีเรื่องการกระจายน้ำหนัก และโครงสร้างที่เป็นสปริงยังทำให้อากาศหมุนเวียนได้ จึงทำให้เราไม่รู้สึกร้อนเกินไป นอกจากนี้ยังมีให้เลือกหลายระดับตั้งแต่แบบนุ่ม ปานกลาง ไปจนถึงแข็ง แต่อาจมีข้อเสียตรงที่มันยากต่อการพลิกกลับด้าน เพราะน้ำหนักของมันค่อนข้างมาก การทดสอบครั้งนี้เป็นการให้คะแนนกับสมรรถนะ (การรองรับสรีระ การระบายความชื้น และการความคงตัว เป็นต้น) และความแข็งแรงทนทานของที่นอน ที่วัดได้จากความเปลี่ยนแปลงหลังการวางน้ำหนัก 140 กิโลกรัมลงบนที่นอน 30,000 ครั้ง (รวมถึงการวางบุหรี่ที่ติดไฟไว้บนที่นอนด้วย) ในกรณีของที่นอนเหล่านี้ ซึ่งคละขนาด (ทั้งเตียงเดี่ยว และเตียงคู่) เรายังไม่พบว่ามีรุ่นไหนได้คะแนนถึง 5 ดาว ส่วนใหญ่ก็ได้ไป 4 ดาว มีเพียง 5 รุ่นเท่านั้นที่ได้ไปเพียง 3 ดาว (Cumbrian Meadow ของ Sealy / Sensaform Airflow Memory 2000 ของ Sleepmasters / Holmsta ของ Ikea / Natural Pillowtop 1500 ของ Marks Spencer / Bronze Seal 2012 ของ Slumberland) ติดตามคะแนนในแต่ละด้านของที่นอนเหล่านี้ได้ในหน้าถัดไป  ---------------------------------------------------------------------------------------- -          อย่าตื่นเต้นกับจำนวนของสปริงที่ผู้ขายบอกคุณ ทีมงานทดสอบพบว่าจำนวนไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพของสปริงเหล่านั้น    -          บางคนเชื่อว่าการซื้อแผ่นรองราคาแพง (ซึ่งอาจราคาพอๆกับที่นอนใหม่!) มาปูทับบนที่นอนเก่าที่เริ่มเสื่อมสภาพจะช่วยแก้ไขการ “จม” ของที่นอนได้ แต่ความจริงคือแผ่นรองไหนๆ ก็เหมือนกัน จะถูกหรือแพงก็ไม่สามารถช่วยทำให้ที่นอนคืนสภาพได้ ----------------------------------------------------------------------------------------                        โดยทั่วไปที่นอนมีอายุการใช้งานได้ถึง 10 ปี (ไม่ว่าจะเป็นที่นอนสปริงหรือที่นอนยางพารา) ถ้าคุณดูแลรักษามันให้ดี  ถ้าเป็นไปได้ให้คุณถอดผ้าปูที่นอนออกให้ที่นอนได้ระบายความชื้นจากเหงื่อของเราประมาณ 20 นาที ในช่วง 3 เดือนหลังจากซื้อมาใหม่ ให้หมั่นกลับที่นอนทุกๆสัปดาห์ (หน้า/หลัง หัว/ท้าย) หลังจากนั้นทำทุกๆ 3 หรือ 4 เดือน อย่าลืมแกะพลาสติกที่หุ้มมาให้หมด (ไม่ต้องเก็บไว้กันฝุ่น) เพราะถ้าทิ้งไว้อาจทำให้ที่นอนชื้นและสกปรกได้ ----------------------------------------------------------------------------------------  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 ผลสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ และความปลอดภัยรถโดยสารประจำทางใน กทม.

แม้ว่าปัจจุบันจะมีรถโดยสารสาธารณะเป็นตัวเลือกให้ใช้บริการหลากหลายประเภท ทั้ง รถเมล์ รถตู้ รถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ เรือด่วน แต่ปริมาณกลับไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ เพราะเมื่อเรามองดูสภาพการจราจรบนท้องถนน โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ทั้งความแออัด ความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย มลภาวะเป็นพิษ ปัญหาเหล่านี้ล้วนยังอยู่คู่ถนนเมืองไทย เป็นปัญหาใหญ่ที่มองยังไงก็ยังไม่เห็นทางออก ระบบขนส่งมวลชนหลักในกรุงเทพฯ คงต้องยกให้กับ รถเมล์ เพราะไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา แม่ค้า หรือว่าพนักงานบริษัท ต่างก็เป็นลูกค้าของ ขสมก. ทั้งสิ้น แน่นอนว่าปัญหาจากบริการรถโดยสารสาธารณะส่วนหนึ่งย่อมมาจากรถเมล์ แต่ปัญหาเหล่านั้นมีอะไรบ้าง การสอบถามจากปากคนที่ใช้บริการรถเมล์เป็นประจำน่าจะช่วยให้เราได้รู้ถึงสิ่งที่ยังเป็นปัญหาและสิ่งที่ผู้บริโภคที่ใช้บริการต้องการให้เกิดการปรับปรุง สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ทำการสำรวจ “พฤติกรรมการใช้ ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ และความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารประจำทาง” โดยประเด็นที่ทำการสำรวจมีอย่างเช่น พฤติกรรมก่อนและหลังใช้บริการ, ทัศนคติต่อความปลอดภัยของจุดจอดรับ-ส่ง, เหตุผลในการเลือกใช้บริการ, ระยะเวลาในการรอรถโดยสาร, สภาพรถภายในและภายนอก ฯลฯ โดยการสำรวจความคิดเห็นได้แบ่งประเภทการสำรวจรถโดยสารเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ รถโดยสารประจำทางในกทม.และปริมณฑล กับรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด ซึ่งฉลาดซื้อขอเลือกนำเสนอในประเด็นรถโดยสารประจำทางใน กทม.และปริมณฑลก่อน เพื่อประกอบกับบทความเรื่องเด่นซึ่งเกี่ยวกับรถโดยสารประจำทางพอดี ข้อมูลเฉพาะของการสำรวจ *ปริมาณตัวอย่างในการเก็บข้อมูล 307 ตัวอย่าง *สถานที่ในการสำรวจ : บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณสวนจตุจักรและเซ็นทรัลลาดพร้าว บริเวณเดอะมอลล์งามวงศ์วานและพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน บริเวณเซ็นทรัลบางนาและสี่แยกบางนา บริเวณเซ็นทรัลปิ่นเกล้าและเมเจอร์ปิ่นเกล้า   ข้อสรุปจากผลสำรวจ -รถเมล์หรือรถโดยสารประจำทาง ยังคงเป็นตัวเลือกแรกในการเดินทางของคนกทม.และปริมณฑล ด้วยเหตุผลของราคาที่ถูกกว่าวิธีการเดินทางประเภทอื่นๆ มากถึง 59% โดยมีผู้ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยเพียงแค่ 3% เท่านั้น -ในการเดินทางโดยรถประจำทางในกทม. ผู้ใช้ยังต้องต่อรถโดยสารมากกว่า 1 ต่อเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางถึง 31% -ระยะเวลาในการรอรถ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คือ 41% บอกว่าต้องใช้เวลารอ 16-30 นาที ขณะที่มี 3% ที่ต้องรอรถนานมากกว่า 1 ชั่วโมง -เรื่องความถี่ของการมาของรถโดยสารประจำทางในกทม. พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามคือ 56% รู้สึกพอใจในระดับปานกลาง -สภาพรถทั้งภายนอกและภายใน ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่งรู้สึกพอใจในระดับปานกลาง คือ 52% สำหรับสภาพรถภายนอก และ 57% สำหรับสภาพรถภายใน -มารยาทการให้บริการของพนักงานขับรถ ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่งรู้สึกพอใจปานกลาง คือ 57% -การรับส่งผู้โดยสารนอกป้าย แม้ว่า 55% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะบอกว่าไม่เคยพบปัญหาดังกล่าว แต่อีก 45% ที่เหลือเคยเจอปัญหารถโดยสารประจำทางการรับส่งผู้โดยสารนอกป้าย ซึ่งต้องถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง -ความรู้สึกปลอดภัยโดยรวม 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกพอใจมาก ส่วนอีก 37% รู้สึกพอใจปานกลาง ขณะที่มี 6% รู้สึกไม่พอใจมากที่สุด                  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 168 การสำรวจราคากระเบื้องลอนคู่

“อย่างที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกบอกอย่างชัดเจนว่า “แร่ใยหิน” หรือ “แอสเบสตอส” (Asbestos) ซึ่งมักใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องซีเมนต์ ท่อน้ำซีเมนต์ ผ้าเบรค และคลัทช์ นั้นเป็นวัตถุอันตราย เนื่องจากก่อให้เกิดโรคร้ายต่อมนุษย์หากหายใจเข้าไป เช่น โรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด จนหลายๆ ประเทศได้สั่งห้ามผลิตและใช้วัสดุที่มีแร่ใยหินแล้ว และแม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2554 ที่เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการอันตรายของแร่ใยหิน ตามยุทธศาสตร์ ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’ ที่เสนอโดยสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยการนำเข้าและส่งออก กฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบโดยตรงยังไม่มีการปฏิบัติตามมติ ครม.ดังกล่าว ทำให้ไม่เป็นไปตามกรอบระยะเวลา อีกทั้งผู้ประกอบการที่ยังมีความต้องการใช้แร่ใยหินชนิดนี้อยู่  ได้พยายามให้ข้อมูลในเรื่องของ ราคาสินค้าที่อาจทำให้ผู้บริโภครับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นหากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีแร่ใยหิน ส่วนในประเทศไทยของเรา มากกว่าร้อยละ 90 ของแร่ใยหินที่นำเข้า จะใช้เพื่อการผลิตสินค้าประเภทซีเมนต์ใยหินเช่น กระเบื้องทนไฟ กระเบื้องมุงหลังคา ท่อซีเมนต์ และประมาณร้อยละ 7 ใช้เพื่อการผลิตสินค้าประเภทเบรค คลัทช์ ที่เหลืออีกร้อยละ 3 ใช้ในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่นฉนวนกันความร้อน กระเบื้องยางปูพื้น ภาชนะพลาสติก เสื้อผ้าทนไฟ กระดาษลูกฟูก สายฉนวนเตารีด เป็นต้น แต่ก็ยังมีอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องซีเมนต์ในบ้านเรา  ที่ยังคงผลิตสินค้าประเภทกระเบื้องมุงหลังคาแบบมีแร่ใยหินอยู่เนื่องจากมีความแข็งแรง ทนทาน ราคาถูกกว่ากระเบื้องแบบไร้แร่ใยหิน ทั้ง ๆ ที่ราคากระเบื้องทั้งสองแบบอาจจะมีราคาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ทางแผนงานฯ จึงร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ และเครือข่ายผู้บริโภค จัดให้มีการสำรวจราคากระเบื้องมุงหลังคาที่มีและไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นข้อมูลในการผลักดัน กระตุ้นให้ผู้บริโภคเลือกใช้สินค้าที่ไม่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ เป็นทางเลือกในผู้บริโภคที่ตระหนักในเรื่องของสุขภาพ ของตัวเองเเละคนงานก็ย่อมเลือกเเบบไม่มีเเร่ใยหิน  รณรงค์ให้ผู้ประกอบการผลิตกระเบื้องที่ไม่มีส่วนผสมแร่ใยหิน และสุดท้ายก็เพื่อให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน รศ.ดร.ภก.วิทยา  กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ---------------------------------------------------- 1.ระยะเวลาการสำรวจ เริ่มตั้งแต่วันที่     10 - 28 ก.พ. 2558 2.การเลือกพื้นที่สำรวจ เลือกจากเขตสาธารณสุขจำนวน 12 เขต เขตละ 2 จังหวัด โดยวิธีการจับสลาก รวม 24 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง แพร่ พิษณุโลก สุโขทัย นครสวรรค์ ชัยนาท ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี มุกดาหาร* นครศรีธรรมราช สุราษฎรธานี สงขลา ตรัง บวกกรุงเทพฯ  เขตชั้นใน และชั้นนอก 3.การสำรวจราคากระเบื้องมุงหลังคา 3.1สำรวจราคาจากร้านค้าไทวัสดุก่อสร้าง และ ร้านค้าในเขตอำเภอเมือง ของจังหวัดเป้าหมาย 3.2สำรวจราคากระเบื้องลอนคู่ขนาด 4 มม. สีซีเมนต์และสีมาตรฐาน และกระเบื้องลอนคู่ขนาด 5 มม. สีซีเมนต์และสีมาตรฐาน 4.สัมภาษณ์ช่างมุงกระเบื้องหลังคา เรื่องความรู้เกี่ยวกับแร่ใยหิน ในทุกจังหวัดเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 48   ราย               เรื่องเล่าจากช่างมุงหลังคา ความเห็นจากช่าง/ผู้รับเหมา การสำรวจความเห็นจากช่าง/ผู้รับเหมารวม 48 คน ในพื้นที่จังหวัดที่เข้าร่วมการสำรวจ พบว่า กระเบื้องที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในกลุ่มนี้ 5 อันดับแรกคือ กระเบื้องตราช้าง กระเบื้องตราเพชร กระเบื้องตราห้าห่วง กระเบื้องตราลูกโลก และกระเบื้องทีพีไอ ตามลำดับ กระเบื้องที่ช่างเหล่านี้เลือกใช้บ่อยที่สุด 3 แบรนด์ได้แก่ ตราช้าง ตราเพชร และตราห้าห่วง ตามลำดับ  เหตุผลอันดับต้นๆที่ช่างเลือกใช้กระเบื้องตราช้างคือความแข็งแรงทนทานและความเป็นที่นิยม สำหรับกระเบื้องตราเพชรอันดับหนึ่งคือราคา ตามด้วยความแข็งแรงทนทาน และเหตุผลที่เลือกกระเบื้องตราห้าห่วงอันดับแรกคือความแข็งแรงทนทาน ตามด้วยราคา ในกรณีที่ลูกค้าขอคำแนะนำ ...(จะใช้ยี่ห้ออะไรดีนะช่าง) ยี่ห้อที่ถูกแนะนำโดยช่างกลุ่มนี้มากที่สุด 4 อันดับแรกได้แก่ ตราช้าง (ร้อยละ 66.7)  ตามด้วยตราเพชร (ร้อยละ 14.6) ตราลูกโลก (ร้อยละ 10.4) และตราห้าห่วง (ร้อยละ 8.3)  ด้วยเหตุผลเรื่องความแข็งแรงทนทานและราคาเป็นหลัก ในกรณีที่ลูกค้าเจาะจงเลือก … จากประสบการณ์ของช่าง แบรนด์ที่ลูกค้าเจาะจงเลือกใช้มากที่สุดได้แก่ ตราช้าง (ร้อยละ 88.9) ตราเพชร (ร้อยละ 24.4) ตามด้วยตราลูกโลกและตราห้าห่วง (ร้อยละ 17.8 เท่ากัน) ความเข้าใจเรื่องแร่ใยหิน ช่าง/ผู้รับเหมาประมาณร้อยละ 70 ทราบว่ากระเบื้องมุงหลังคาทำจากวัสดุอะไรบ้าง ร้อยละ 50 ตอบว่ารู้จักแร่ใยหิน และกระเบื้องที่ช่าง/ผู้รับเหมาเชื่อว่ามีแร่ใยหินได้แก่ (เรียงตามลำดับความถี่ของการเลือกตอบ) ตราเพชร ตราลูกโลก ตราห้าห่วง ตราช้าง และตราทีพีไอ มากกว่าร้อยละ 60 เชื่อว่าแร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพของช่างที่ทำงานกับกระเบื้อง   *หมายเหตุ ช่าง/ผู้รับเหมาที่ให้ข้อมูลในการสำรวจครั้งนี้ มีอายุระหว่าง 27 ถึง 67 ปี และทำงานในวงการก่อสร้างเป็นเวลา 3 ถึง 48 ปี   ความเห็นของช่าง/ผู้รับเหมาต่อเรื่องอันตรายของแร่ใยหิน กลุ่มที่เห็นว่าแร่ใยหินมีอันตรายต่อคนทำงานและผู้อยู่อาศัย “เชื่อว่าแร่ใยหินมีอันตรายจึงเลือกซื้อ/ใช้กระเบื้องประเภทที่ไม่มีแร่ใยหิน” “แนะนำผู้ว่าจ้างให้ใช้กระเบื้องหลังคาแบบที่ไม่มีใยหิน” “เวลาตัดจะสวมหน้ากากกันฝุ่น แต่ถ้ามีรุ่นใหม่ที่ไม่มีแร่ใยหินมีออกมาขายมากขึ้น คิดว่าคงเลือกใช้           แบบไม่มีแร่ใยหิน” “ลูกน้องบางคนเป็นโรคทางเดินหายใจ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะแร่ใยหินหรือไม่” “เวลาเจาะ ตัด จะมีฝุ่นเข้าจมูก อาจทำให้เกิดโรคตามมา” “เวลาตัดฝุ่นฟุ้งกระจายมากกว่ากระเบื้องชนิดอื่นๆ” “ถ้ามีอันตราย คนที่ได้รับอันตรายมากสุดคือช่าง ผู้อยู่อาศัยอาจได้รับอันตรายบ้างแต่ไม่เสี่ยงเท่า    ช่าง” “อันตรายกับช่างที่สัมผัส อันตรายกับผู้อยู่อาศัยจากฝุ่นใยหินที่ฟุ้งกระจายในบ้าน” “อันตรายต่อช่าง หายใจไม่ออก ป้องกันโดยการใช้ผ้าปิดจมูก แต่ไม่น่ามีผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย” “อาจเป็นอันตรายต่อตัวช่างเพราะต้องสัมผัสอย่างใกล้ชิด แต่ไม่แน่ใจว่าอันตรายกับผู้อยู่อาศัยหรือไม่”        “เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย” “มีอันตรายถ้าใช้ระยะยาว เพราะมีส่วนประกอบเป็นวัสดุที่ก่อมะเร็ง” “ฝุ่นและสิ่งสกปรกจากแผ่นกระเบื้องทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้” “มีผลต่อสิ่งแวดล้อม น้ำฝนไม่สะอาด ส่งผลต่อสุขภาพ” “อันตรายแต่ต้องรู้จักวิธีใช้” “อาจทำให้เกิดมะเร็งได้” “โรคปอด โรคผิวหนัง” “น่าจะอันตรายแต่ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ให้ลูกจ้างให้ใส่หน้ากากและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ อยากให้ตรวจสอบวัสดุก่อสร้างว่ามีแร่นี้หรือไม่ ถ้ามีควรแจ้งผู้รับเหมา ลูกค้า หน่วยงานรัฐต้องเข้ามา   จัดการ”   กลุ่มที่เห็นว่าแร่ใยหินไม่มีอันตรายต่อคนทำงานและผู้อยู่อาศัย “ไม่น่าจะมีอันตรายเพราะเป็นสิ่งที่คนใช้กันเยอะ” “ใช้กันทั่วไปในการสร้างที่อยู่อาศัย” “ยังไม่เคยเห็นผลกระทบต่อร่างกาย” “ไม่แน่ใจเพราะยังไม่เห็นผลโดยตรง” “ไม่น่าจะอันตรายเพราะไม่ได้สัมผัสเป็นเวลานาน” “คิดว่าแร่ใยหินไม่อันตราย แต่ฝุ่นละอองจากกระเบื้องทุกชนิดมีอันตราย” “ไม่น่าจะอันตราย เพราะนำมาสร้างที่อยู่คน การผลิตต้องมีมาตรฐาน”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 Fitness Band อุปกรณ์วัดความฟิต

เป็นเรื่องน่ายินดีเสมอถ้าใครสักคนจะลุกขึ้นมาออกกำลังกายสร้างความฟิตให้กับตัวเอง และวันนี้เรามีผู้ช่วยที่ทำให้เราสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยอุปกรณ์ที่บอกได้ว่าวันนี้เราเดินหรือวิ่งเป็นระยะทางเท่าไร ใช้พลังงานไปแค่ไหน พักผ่อนเพียงพอหรือไม่ เพียงแค่เราป้อนข้อมูลพื้นฐานบางอย่างเช่น อายุ เพศ ส่วนสูง หรือน้ำหนัก ลงไป ฉลาดซื้อ ฉบับนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบฟิตเนสแบนด์ ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้ทั้งหมด 15 รุ่น สนนราคาประมาณ 2,800 ถึง 6,600 บาท  อุปกรณ์นี้ทำงานด้วยโปรแกรมที่ทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการ iOS 6 หรือสูงกว่า / แอนดรอยด์ 4.3 หรือสูงกว่า (ยกเว้น Withings Pulse O2 ที่ใช้กับแอนดรอยด์ 2.3.3) และสามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ได้ ข้อสำคัญคือผู้ใช้ต้องไม่ลืมถ่ายข้อมูลเข้าโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์บ่อยๆ เพราะอุปกรณ์นี้มีข้อจำกัดเรื่องหน่วยความจำ รุ่นที่เก็บข้อมูลได้นานที่สุดในการทดสอบนี้ก็เก็บได้ไม่เกิน 30 วัน ส่วนด้านพลังงานนั้นอุปกรณ์ส่วนใหญ่ใช้แบตเตอรี่ชนิดที่สามารถชาร์จใหม่ได้ ขณะที่บางรุ่นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี ในภาพรวมแล้วอุปกรณ์นี้ ทั้งแบบที่มีและไม่มีหน้าจอแสดงผล สามารถตอบโจทย์ของคนรักสุขภาพได้ดีพอใช้ ทุกรุ่นกันน้ำได้เพราะต้องสัมผัสกับเหงื่อ และบางรุ่นก็สามารถใส่เล่นกีฬาทางน้ำได้ด้วย เราพบว่าฟิตเนสแบนด์ที่เราทดสอบมีความแม่นยำในการนับก้าว การคำนวณระยะทางและแคลอรีที่ใช้ไปได้ในระดับพอใช้ถึงดีมาก นอกจากนี้โดยเฉลี่ยแล้วคะแนนด้านความรู้สึกสบายเวลาสวมใส่ ความสวยงามของรูปลักษณ์ภายนอกและความทนทาน ก็อยู่ในระดับดีเช่นกัน ... ติดตามผลคะแนนของแต่ละรุ่นได้ในหน้าถัดไป   ก่อนซื้ออย่าลืมตรวจสอบราคาอีกครั้ง และเพื่อความแน่ใจกรุณาสอบถามผู้ขายว่าระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์นี้กับระบบในโทรศัพท์มือถือของคุณสามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่                

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 165 เสื้อกัน UV (ต่อ) ทางเลือกใหม่ สำหรับคนชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง

ต่อเนื่องจากเล่มก่อนหน้า เราขอนำเสนอผลการทดสอบเสื้อและชุดว่ายน้ำป้องกันรังสีสำหรับเด็กที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศได้ทำไว้   สัดส่วนการให้คะแนนเป็นดังนี้ -   การป้องกันรังสียูวี  ร้อยละ 60 (ปัจจุบันยังมีหลายมาตรฐานในการวัดค่าการป้องกันรังสียูวี ผู้ผลิตต่างรายจึงใช้มาตรฐานต่างกัน แต่ในที่นี้จะวัดตามมาตรฐาน UV Standard 801) -  ฉลาก  ร้อยละ 30 (หมายถึง การให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้บริโภค มีการอ้างอิงว่าใช้มาตรฐานใด) -  การใช้สารเคมีร้อยละ 10                

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 164 เสื้อกัน UV ทางเลือกใหม่ สำหรับคนชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง

แม้จะอยู่ใต้ฟ้าแต่เราก็ไม่กลัวแสงแดด เพราะมีผลิตภัณฑ์มากมายที่ช่วยสกัดกั้นไม่ให้รังสีจากดวงอาทิตย์เข้ามาทำร้ายผิวเราได้ นอกจากครีมกันแดด หมวก และร่มแล้ว เรายังมีเสื้อป้องกันรังสียูวีที่ทำออกมาเอาใจผู้ชื่นชอบกีฬากลางแจ้งอีกด้วยนะ ฉลาดซื้อฉบับนี้นำผลทดสอบเสื้อกันรังสียูวี ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ทำไว้ มาฝากสมาชิกกัน หลักๆ แล้วเขาต้องการดูค่าการป้องกันรังสีของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว (ค่า UPF) และดูว่าสอดคล้องกับฉลากหรือไม่ และในกรณีของเสื้อหรือชุดเด็ก จะมีการตรวจหาสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมาในเนื้อผ้า เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ โนนิลฟีนอล และพทาเลท ด้วย การทดสอบนี้เป็นไปตามมาตรฐานของเสื้อผ้าที่ป้องกันรังสียูวี UV Standard 801   ครั้งนี้เขาเน้นเสื้อผ้าเด็กเป็นพิเศษ เพราะคนยุโรปเน้นให้เด็กๆ ได้อยู่กลางแจ้งเพื่อรับแสงแดดที่มีไม่บ่อยนักในรอบปี และเสื้อผ้าเหล่านี้ก็เป็นทางออกสำหรับเด็กๆ ที่ไม่ชอบให้ทาครีมกันแดดซึ่งจะว่าไปแล้วก็อาจมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเด็กด้วย สัดส่วนการให้คะแนนเป็นดังนี้ -          การป้องกันรังสียูวี           ร้อยละ 60 (ปัจจุบันยังมีหลายมาตรฐานในการวัดค่าการป้องกันรังสียูวี                                   ผู้ผลิตต่างรายจึงใช้มาตรฐานต่างกัน แต่ในที่นี้จะวัดตามมาตรฐาน UV                                  Standard 801) -          ฉลาก                            ร้อยละ 30 (หมายถึง การให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้บริโภค มีการอ้างอิง                                       ว่าใช้มาตรฐานใด) -          การใช้สารเคมี                ร้อยละ 10   ฉบับนี้เราขอลงผลทดสอบของเสื้อผู้ใหญ่ 7 รุ่น และเต็นท์สำหรับเด็กอีก 5 รุ่น มาให้ชมกันเป็นน้ำจิ้มก่อน ส่วนผลของชุดและเสื้อยืดเด็กนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมติดตามกันในฉบับต่อไป --------------------------------------------------------------------------------------------------- ทำอย่างไรให้เนื้อผ้าป้องกันรังสียูวีได้? วิธีที่ผู้ผลิตนิยมใช้เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการป้องกันแสงแดด ได้แก่ การใช้ผ้าที่ทอหนาและแน่นในการตัดเย็บ เพราะช่องว่างระหว่างเส้นใยที่น้อยลงจะช่วยลดแสงที่ผ่านเข้ามาด้วย การใช้สีย้อม เพราะสีย้อมบางชนิดที่ความเข้มข้นระดับหนึ่ง สามารถลดการส่งผ่านรังสียูวีได้ บางชนิดสะท้อนรังสีออกไปได้บางส่วน บางชนิดจะไม่รับรังสีเข้ามาเลย เช่น สีย้อมสีดำ ณ ปัจจุบัน เราไม่สามารถทราบได้ว่าเสื้อตัวดังกล่าวสามารถกันรังสีได้หรือไม่จากการดูด้วยตาเปล่า ต้องดูจากฉลากที่ระบุค่า UPF เท่านั้น เสื้อผ้าที่ออกแบบมาเพื่อการป้องกันรังสีอาจใช้สีย้อมระดับพรีเมียมซึ่งมีโมเลกุลที่สามารถสกัดรังสีได้ เมื่อใช้สีย้อมมากขึ้น ระดับความเข้มข้นของสีและการป้องกันยูวีก็จะเพิ่มขึ้นด้วย แต่ต้องย้ำว่าสีที่ใช้ (เหลือง แดง ฟ้า เขียว ฯลฯ) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าการป้องกันยูวี การเติมสารเคมีบางชนิดลงไป เช่น สารเพิ่มความสว่าง และสารต้านยูวี เช่น ไททาเนียมไดออกไซด์ ซิงค์โคไซด์ เบนโซไทรอาโซล ทินูวิน 312 เป็นต้น การเลือกชนิดของเส้นใย เช่นโพลีเอสเตอร์ สามารถต้านรังสีได้ดีมาก ไนลอนก็ทำได้ดี ไหมและขนแกะก็พอใช้ แต่เส้นใยธรรมชาติอย่างฝ้าย เรยอน แฟลกซ์ และปอ ป้องกันรังสีได้ไม่ดีนักถ้าไม่มีการเติมสารเคมีเพิ่มลงไป ที่สำคัญ ผ้าฝ้ายที่ไม่ผ่านการฟอกหรือผ้าสีธรรมชาติจะต้านรังสีได้ดีกว่าฝ้ายที่กัดสีแล้ว   หมายเหตุเพิ่มเติม: Ø เมื่อผ้าถูกยืดออกร้อยละ 10 ความสามารถในการต้านรังสีจะลดลงถึงร้อยละ 40 Ø เมื่อผ้าเปียกน้ำ ความสามารถในการต้านรังสีจะลดลงประมาณร้อยละ 30 - 50 Ø ผ้าเก่าหรือผ้าที่ซีดแล้วจะสามารถป้องกันยูวีได้น้อยลง ---------------------------------------------------------------------------------------------------   ก่อนลงทุนซื้อเสื้อ/ชุดป้องกันยูวี -          เลือกเสื้อผ้าที่มีการติดฉลากตามมาตรฐาน UV 801 -          ถ้าเป็นไปได้ เลือกชนิดที่ป้องกันยูวีโดยวิธีการทางกายภาพ ไม่ใช่ทางเคมี -          ควรเลือกเสื้อผ้าที่ปกปิดแขนทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ของแขน และส่วนบนของขา -          ถ้าเป็นชุดเด็ก ค่าการป้องกันยูวี (UPF) ควรอยู่ระหว่าง 40-60 เพื่อให้เด็กได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ --------------------------------------------------------------------------------------------------- เสื้อผู้ใหญ่                                                                                                                                                                       ---- บ้านเรากับเสื้อป้องกันยูวี?   ในบรรดาสิ่งทอคุณสมบัติพิเศษนั้น ที่มาแรงที่สุดในบ้านเราคงไม่มีใครเกินสิ่งทอป้องกันแบคทีเรีย (ก็อากาศร้อน ช่วยขับเหงื่อผู้คนกันขนาดนี้) ส่วนเรื่องสิ่งทอป้องกันยูวีนั้นยังไม่เท่าไร เพราะเรามีจริตที่จะหลบแดดกันอยู่แล้ว ยกเว้นใครที่ต้องทำงานหรือชอบงานอดิเรกที่ต้องอยู่กลางแจ้งจริงๆ เช่นนักกีฬา หรือขาปั่นจักรยาน ที่อาจต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์นี้อยู่   แต่คุณรู้หรือไม่? บ้านเรามีสภาพอากาศและพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งเส้นใยของมันสามารถป้องกันรังสียูวีได้โดยธรรมชาติ แถมยังระบายกลิ่นอับได้ดี ประเทศในยุโรปรู้จักใช้ประโยชน์จากใยชนิดนี้มาระยะหนึ่งแล้ว เยอรมนีก็ใช้เพื่อผลิตหมวกป้องกันยูวีให้กับนักกีฬาด้วย พืชที่ว่านี้คือกัญชง (ถูกแล้ว มันเป็นญาติกับกัญชา) ซึ่งเคยมีสถานะเป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 แต่กำลังจะถูกพิจารณาให้เกษตรกรสามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจได้ ในเบื้องต้นสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กำลังศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์กัญชงที่มีระดับเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ต่ำ เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูก แต่แม้จะมีการปลูกในภาคเหนือบ้างแล้ว ปริมาณวัตถุดิบก็ยังไม่เพียงพอต่อการผลิต เราจึงยังต้องนำเข้าจากประเทศลาวอีกเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าตอนนี้ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท และนอกจากจะนำมาทอผ้าแล้ว เปลือกและเมล็ดของมัน ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่างด้วย   ขอบคุณข้อมูลจาก อ.ดร.ประเทืองทิพย์ ปานบำรุง สาขาวิศวกรรมเคมีสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 159 ทดสอบลูกฟุตบอล ในเทศกาลบอลโลก 2014

ด้วยความอยากอินเทรนด์ท่ามกลางบรรยากาศการแข่งขันฟุตบอลโลกที่กำลังจะมาถึงในเดือนมิถุนายนนี้ ฉลาดซื้อจึงขอนำเสนอผลการทดสอบลูกฟุตบอลรุ่นต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ทำโดย Proteste Brazil องค์กรผู้บริโภคของประเทศบราซิล ซึ่งนอกจากจะจริงจังกับการเล่นฟุตบอลไม่แพ้ใครแล้วยังเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกในปีนี้ด้วย เราจะได้ติดตามเรื่องราวของฟุตบอลจากมุมมองของผู้บริโภค ตั้งแต่เรื่องของคุณภาพสินค้า ไปจนถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ผลิตไปด้วยกัน เป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าลูกฟุตบอลรุ่นที่ใช้ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ (Official) นั้น “เหนือ” กว่าลูกฟุตบอลในรุ่นเดียวกันที่ใช้ซ้อม (Replica) ในด้านประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่ใช้ ลูกฟุตบอลชนิด Official จริงจึงมักมีราคาแพงกว่าพวก Replica บางครั้งแพงกว่าถึง 10 เท่า Proteste Brazil จึงร่วมมือกับสถาบันเพื่อการวิจัยเทคโนโลยี Institute for Technological Research ซึ่งเป็นห้องปฎิบัติการที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของบราซิล ทำการทดสอบลูกฟุตบอล 17 รุ่น (ทั้งชนิดที่ใช้แข่งและใช้ซ้อม) จากผู้ผลิต 7 ราย โดยอิงกับเกณฑ์ของฟีฟ่า (FIFA) กำหนด ตั้งแต่ น้ำหนัก เส้นรอบวง ความกลม การสะท้อนกลับ การดูดซับน้ำ การรั่วซึม และการคงสภาพของลูกบอลหลังการใช้งาน สโมสรฟุตบอลฟลูมิเนนเซ่ของบราซิลก็ส่งนักเตะ 4 คนและผู้รักษาประตูอีก 3 คน มาร่วมทดสอบประสิทธิภาพของลูกฟุตบอลเหล่านี้จากการใช้งานจริงในสนามด้วย   พิเศษสุดสำหรับผู้อ่านฉลาดซื้อ เรามีผลทดสอบประสิทธิภาพด้านแอโรไดนามิกของลูกฟุตบอล ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญในเกมการแข่งขัน (แต่ยังไม่อยู่ในเกณฑ์การรับรองของฟีฟ่า) เมื่อ 4 ปีที่แล้วก็มีหลายคนหงุดหงิดกับลูกฟุตบอลรุ่น “จาบูลานี” ที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่อัฟริกาใต้ แม้ว่ามันจะได้รับการชื่นชมว่ากลมกลิ้งไม่มีใครเกิน แต่มันก็เป็นลูกฟุตบอลที่ควบคุม และคาดเดาการเคลื่อนไหวได้ยากที่สุดด้วย ข่าวบอกว่าอาดิดาสได้ปรับปรุง “บราซูกา” ซึ่งเป็นลูกฟุตบอลสำหรับการแข่งขันบอลโลกปีนี้ให้ดีกว่าเดิม ... แล้วเราจะได้รู้กันจากผลการทดสอบในหน้าถัดไป                                         Show me the money! กีฬา .. เงินตรา .. เป็นยาวิเศษ   ประมาณการรายได้ของ FIFA จากการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2014 อยู่ที่ 4,000 ล้านเหรียญ (เกือบ 130,000 ล้านบาท) ร้อยละ 60 มาจากค่าลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสด ที่เหลือมาจากสปอนเซอร์ 24 แบรนด์ ตลาดสินค้าเกี่ยวกับฟุตบอล (เสื้อกีฬา ลูกฟุตบอล รองเท้า) ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 5,000 ยูโรนี้มีผู้เล่นหลักๆอยู่เพียงสองราย การแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2014 นี้จะเป็นสังเวียนการต่อสู้ระหว่างทีมอาดิดาส จากเยอรมนี กับทีมไนกี้ จากอเมริกานั่นเอง   ใน World Cup 2014 นี้ อาดิดาสซึ่งเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการจะเป็นผู้จัดหาลูกฟุตบอล ชุดและอุปกรณ์ของกรรมการ รวมถึงเสื้อผ้าของอาสาสมัครที่ช่วยงานในสนาม และเป็นสปอนเซอร์ให้ทีมที่เคยเป็นแชมป์อย่างเยอรมนี และอาร์เจนตินา ยาวไปถึงเสปน ซึ่งเป็นแชมป์ปัจจุบันด้วย   อาดิดาส ทำสัญญากับฟีฟ่าเป็นสปอนเซอร์การแข่งขันฟุตบอลโลกมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2513 และจะเป็นไปจนถึงปีพ.ศ. 2573 ในปี 2557 นี้อาดิดาสจะเป็นผู้จัดหาลูกฟุตบอลให้กับการแข่งขันดังกล่าวเป็นครั้งที่ 12 จากเทลสตาร์ในปี 2514 มาถึงจาบูลานีในปี 2553 และบราซูก้าในปีนี้   ค่ายไนกี้ กลุ่มธุรกิจเสื้อผ้ากีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ไนกี้เป็นสปอนเซอร์ของทีมเจ้าภาพบราซิลซึ่งเคยเป็นแชมป์มาแล้ว 5 สมัย และทีมยอดนิยมของผู้ชมทั่วโลกอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส อีกต่างหาก   อาดิดาส คุยไว้ว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับฟุตบอลทั้งหมดของบริษัทจะทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ (2,000 ล้านยูโร) ในปีนี้ และจะสามาระชนะคู่แข่งอย่างไนกี้ได้ขาดลอย ----------------------------------------------------------------   Fair Game vs Fair Trade แต่ละปีมีลูกบอลเพื่อการกีฬากว่า 60 ล้านลูกถูกจำหน่ายออกไป สองในสามของจำนวนดังกล่าวคือลูกฟุตบอล ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีการให้เครื่องหมายรับรอง “Fair Trade” ด้วย เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการจ้างงานหรือใช้ทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อลดต้นทุนการผลิต อย่างช็อคโกแลต กาแฟ สับปะรด เสื้อผ้า เป็นต้น   สถิติในปี 2552 ระบุว่าในบรรดาลูกฟุตบอลที่ขายไปนั้น มีลูกฟุตบอลที่ได้รับการรับรองด้วยเครื่องหมาย Fairtrade ประมาณ 118,000 ลูก ลดลงไปจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 16 นั่นหมายความว่า ณ จุดนี้มีไม่ถึงร้อยละ 0.2 ของลูกบอลที่ใช้ในการเล่นกีฬาที่มีตรารับรอง Fair Trade   ส่วนแบ่งการบริโภคลูกบอลในยุโรป (สถิติปี 2552) อังกฤษ              ร้อยละ 15 ฝรั่งเศส                         ร้อยละ 15 เยอรมนี             ร้อยละ 15 อิตาลี                ร้อยละ 13 สเปน                ร้อยละ 11 สวีเดน               ร้อยละ 3* (สวีเดนเป็นประเทศที่มีการบริโภคลูกบอล Fair Trade มากที่สุด)   ---------------------------------------------------------------- เจาะลึกเบื้องหลัง Brazuca ในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อนหน้านี้ที่อัฟริกาใต้ อาดิดาสผลิตลูกฟุตบอล “จาบูลานี” ที่ว่ากันว่ากลมที่สุด ตั้งแต่มีการผลิตลูกฟุตบอล เพราะมีชิ้นส่วนน้อยที่สุด (8 ชิ้น) และใช้แรงอัดและความร้อน ทำให้ลูกฟุตบอลกลมกลึงไร้รอยเย็บ แตกต่างจากเจ้า “ทีมไกสต์” ที่ใช้อย่างเป็นทางการในเวิลด์คัพ ปี 2549 ที่เยอรมนี ซึ่งมีชิ้นส่วนถึง 14 ชิ้น เมื่อเหนือฟ้ายังมีฟ้า เทพกว่า “จาบูลานี” ก็ต้องมี “บราซูกา” ลูกฟุตบอลรุ่นที่ 12 ที่อาดิดาสผลิตเพื่อการแข่งขันฟุตบอลโลกในปีนี้ บราซูการุ่นที่ใช้ในการแข่งขันเปิดตัวเมื่อปลายปีที่แล้ว ในสนนราคาลูกละ160 เหรียญ (ประมาณ 5,200 บาท) เราขอพาคุณเยี่ยมชมโรงงานแห่งหนึ่งในเมืองเซินเจิ้น ประเทศจีนที่ผลิต อาดิดาส บราซูกา (ซึ่งยังคงคอนเซปต์กลมเนี๊ยบด้วยชิ้นส่วนที่ลดลงเหลือแค่ 6 ชิ้น) ดูทั้งแระบวนการผลิตและการใส่ใจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆกันเลย บราซูกา มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ ลูกบอลชั้นใน ทำจากยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ และชั้นนอกที่ทำจากหนังเทียม การเชื่อมต่อเข้าด้วยกันจะอาศัยกาวและความร้อน ลูกบอลชั้นในที่ทำจากยางจะถูกสูบลมเข้า ทากาว แล้วปิดทับด้วยผ้าที่ตัดออกเป็นชิ้นๆ หลังจากลูกบอลผ่านการตรวจเช็คขนาด จะถูกทากาวทับอีกรอบ และนำไปอบ ลูกบอลจะถูกปล่อยทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงเพื่อดูว่ามีการรั่วไหลของลมหรือไม่ ลูกที่รั่วจะถูกทำลาย ชั้นนอกของลูกบอลจะประกอบด้วยพื้นผิว 2 ชั้น ชั้นในซึ่งทำด้วยโฟมจะนุ่มและหนากว่า ขั้นตอนการทำลูกบอลชั้นนอกเป็นขั้นตอนที่เกิดเสียงดังมาก จากการสังเกตพบว่าพนักงานไม่ได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงใดๆ อาดิดาสให้ข้อมูลว่าระดับเสียงดังกล่าวไม่เกินมาตรฐาน ทั้งของจีนและของนานาชาติ แต่โรงงานก็กำลังพยายามลดความดังของเสียงลงด้วยการปรับแต่งเครื่องจักรและการติดตั้งอุปกรณ์ลดเสียง พื้นผิวลูกบอลชั้นนอกจะมีการพิมพ์ลวดลายเฉพาะของบราซูกา โดยใช้เครื่องพิมพ์ทั้งหมด 10 เครื่อง (1 เครื่องต่อ 1 สี) จากนั้นเคลือบด้วยฟิล์มเพื่อป้องกันการขูดขีด ขั้นตอนนี้มีกลิ่นของสารเคมีค่อนข้างมาก พนักงานทุกคนต้องใส่หน้ากาก ผู้จัดการโรงงาน          บอกว่ามีกฎให้พนักงานแต่ละคนอยู่ในพื้นที่พิมพ์งานต่อครั้งได้ไม่เกิน 20 นาที อาดิดาสแจ้งว่า            โรงงานจะเลือกใช้เฉพาะสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนทำงาน และมีการจัดตรวจสุขภาพ ให้พนักงานเป็นประจำ ลูกบอลด้านนอกทั้งสองชั้นจะถูกประกบเข้าหากันด้วยกาวและแรงอัดจากเครื่องจักร จากนั้นโลโก้ของอาดิดาสและฟีฟ่าจะถูกพิมพ์ลงไป และเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มอีกครั้ง งานประกอบชั้นนอกของลูกบอลเข้ากับชั้นใน ชิ้นส่วนทั้ง 4 ชิ้นจะถูกนำมาทากาวให้ติดกันก่อนนำมาครอบทับลูกบอลชั้นใน จากนั้นอีก 2 ชิ้นที่เหลือจะถูกติดลงไป ขั้นตอนนี้จะทำโดยผู้หญิงเท่านั้น ทางโรงงานบอกว่านิ้วของผู้หญิงมีความยืดหยุ่นมากกว่า ขั้นตอนสุดท้ายคือขั้นตอนการอบด้วยความร้อน หรือ thermal bonding เพื่อทำให้ทุกชิ้นส่วนติดกันเป็นเนื้อเดียวโดยไม่ต้องเย็บนั่นเอง ก่อนจะถูกนำไปจัดลงกล่องเพื่อส่งขาย ลูกฟุตบอลที่ทำเสร็จแล้วจะต้องถูกสังเกตอาการเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อดูว่ามีการรั่วไหลของลมหรือไม่ ถ้ารั่วก็ไม่ได้ไปต่อ   ---------------------------------------------------------------- ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเตะ โดย FIFA ร่วมกับมหาวิทยาลัยลัฟเบรอ (Loughborough University) ประเทศอังกฤษ การสัมภาษณ์ผู้เล่น 48 คน และแบบสอบถามที่ทำกับผู้เล่น 231 คน ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2556 ผลสำรวจ -          ร้อยละ 85 ของนักเตะที่ตอบแบบสอบถามพึงพอใจกับลูกฟุตบอลที่ใช้อยู่ -          สิ่งที่นักเตะให้ความสนใจมากที่สุดเกี่ยวกับลูกฟุตบอลคือน้ำหนักและการกระเด้ง (rebound) -          นักเตะคิดว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญและควรได้รับการปรับปรุงได้แก่ ความเสถียรของลูกฟุตบอลเมื่อลอยผ่านอากาศ การเคลื่อนไหวเป็นแนวโค้ง และความเร็วของลูกฟุตบอล -          นักเตะมีความเห็นหลายหลายเรื่องคุณสมบัติที่ดีของลูกฟุตบอล และแน่นอนความแตกต่างนี้มีมากที่สุดระหว่างกลุ่มนักเตะกับผู้รักษาประตูนั่นเอง   //

อ่านเพิ่มเติม >