ฉบับที่ 185 บริการถึงที่ คุกตารางถึงตัว

ผมได้รับแจ้งเรื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในอำเภอหนึ่ง  ว่าพบผู้ป่วยหลายรายที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล  ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้การรักษาสอบถามข้อมูล  ก็พบว่าผู้ป่วยเหล่านี้ต่างซื้อยามารับประทานจากร้านค้าของชำแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน  ทีมเจ้าหน้าที่ ทั้งสาธารณสุข  ท้องถิ่น  และมหาดไทย ได้ร่วมลงพื้นที่ตามรอยและตรวจสอบร้านค้าชำแห่งนี้ผลการตรวจสอบเจ้าหน้าที่พบยาหลายรายการในร้านค้าชำ  มีทั้งยาแก้ไข้หวัดที่คุ้นๆ ชื่อจากโฆษณาในโทรทัศน์ พบยาอันตรายหลายชนิด  นอกจากนี้ยังพบยาชุดมากมายหลายขนาน  เช่น ยาชุดแก้ยอก  ยาชุดแก้ปวดฟัน  ยาชุดแก้ไข้หวัดสำหรับผู้ใหญ่  ทีมเจ้าหน้าที่จึงได้ยึดยาและส่งตรวจวิเคราะห์เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป    จากการสอบถามเจ้าของร้าน ได้ให้ข้อมูลว่า  ตนเองเปิดร้านชำมานานแล้ว  จนกระทั่งวันหนึ่งมีคนขับรถกระบะมาจอดที่ร้าน  และนำรายการยามาให้ตนดูพร้อมทั้งชักชวนให้ตนเลือกยาตามรายการเหล่านี้ไว้จำหน่ายในร้าน  ตนไม่รู้ข้อมูลทางกฎหมาย  จึงเลือกยาตามรายการดังกล่าวไว้จำนวนหนึ่ง เมื่อจำหน่ายไปได้สักระยะหนึ่ง  ก็เริ่มมีคนมาเรียกหายารายการอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น(ขาดดีซะงั้น)  ตนเลยให้คนที่มาขายยาให้ตนหายามาให้จนเลยเถิดเพิ่มจากเดิมไปหลายรายการ  นอกจากนี้เจ้าของร้านยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า  พ่อค้าที่ขับรถกระบะมาขายนั้น ไม่ได้มีแค่รายเดียว  เพราะหลังจากนั้น มีคนขับรถแวะมาจอดที่ร้านหลายราย  คนเหล่านี้ต่างนำรายการยามาเชิญชวนให้ตนเลือกซื้อเพื่อจำหน่ายหลายรายการ  ยาต่างๆ พร้อมทั้งยาชุดที่ตนจำหน่ายก็ล้วนมาจากพ่อค้าเหล่านี้ ผมนำข้อมูลมาเตือนผู้อ่านทุกท่าน หรือใครที่มีธุรกิจเปิดร้านค้าร้านชำ  อย่าเสี่ยงรับยามาจำหน่ายเลยครับ เพราะมันผิดกฎหมาย  ยามันมีทั้งคุณและโทษ หากจำหน่ายโดยไม่มีการระมัดระวัง ผู้ขายไม่มีความรู้ จะเกิดอันตราย ดังที่ปรากฎเป็นข่าวอยู่เสมอก็ได้  ดังนั้นกฎหมาย จึงอนุญาตให้ร้านค้าทั่วไปจำหน่ายได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้านเท่านั้น(สังเกตที่ฉลาก จะต้องระบุคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ถ้าไม่มีแสดงว่าไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน) หากใครขายยานอกเหนือจากนี้ โดยไม่มีใบอนุญาต  จะมีความผิดตามกฎหมายยา มาตรา 12 (ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนปัจจุบัน  เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต)  ใครฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามมาตรา 101 อาจถึงจำคุก (ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 12 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท)ยังไงก็ช่วยกันสอดส่องและแนะนำคนรอบข้างด้วยครับ จงอย่างได้เสี่ยงคุกเสี่ยงตารางกันเลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 สัญญาแบบใด ไม่เป็นธรรม ?

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านครั้งนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องสัญญากันครับ  สังเกตไหมครับว่า เวลาเราไปซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือไปเช่าบ้าน เช่าหอพัก ฝ่ายผู้ขายหรือผู้ให้เช่า มักจะนำฟอร์มสัญญาที่ตนได้เขียนข้อสัญญาต่างๆ ไว้ มาให้เราเซ็นชื่อ เพื่อทำสัญญา ซึ่งสัญญาประเภทนี้  ภาษากฎหมายเรียกว่า “สัญญาสำเร็จรูป” ซึ่งด้วยในการทำสัญญาดังกล่าว บ่อยครั้ง จะพบว่าผู้บริโภคมักจะเสียเปรียบ เนื่องจากคนกำหนดข้อสัญญาเป็นฝั่งผู้ประกอบธุรกิจที่มักเขียนเงื่อนไขในสัญญาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตน หรืออีกความหมายคือเป็น สัญญาจำยอม(adhesive contract) สัญญาจำยอม คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายที่มีอำนาจในทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่ากำหนดในข้อสัญญา ในลักษณะที่เอาเปรียบหรือไม่เป็นธรรมตู่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก็มีเพียงเสรีภาพที่จะเลือกว่า จะทำสัญญาหรือไม่ทำสัญญา ถ้าทำสัญญาก็ต้องทำตามเนื้อหาที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า มีลักษณะมัดมือชก ทั้งนี้ ให้ศาลใช้ดุลพินิจปรับลดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมให้มีผลเพียงเท่าที่เป็นธรรม ด้วยเหตุนี้ เมื่อเกิดสัญญาสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคฉบับหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540”คำถามที่เกิดขึ้นต่อมาคือ แล้วข้อสัญญาแบบใดบ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งก็มีคดีฟ้องขับไล่คดีหนึ่งที่ขึ้นสู่ศาล โดยในสัญญาเช่า ข้อหนึ่งระบุว่า “ตกลงให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าที่จะบอกเลิกสัญญาได้แม้สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดแต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนไม่ต่ำกว่า 30 วัน” ปรากฎว่า ผู้ให้เช่าก็ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า ทำให้ผู้เช่าต้องย้ายออกไป ซึ่งผู้เช่าเห็นว่าข้อสัญญาดังกล่าวไม่เป็นธรรม จึงฟ้องให้ศาลชี้ขาด ซึ่งสุดท้ายศาลฏีกาก็ตัดสินว่าข้อสัญญาเช่นนี้ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ตามคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2298/2553“ข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปใดๆ อาจเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้ หากปรากฏว่าข้อตกลงนั้นมีผลทำให้ผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร ทั้งนี้โดยคู่สัญญาในสัญญาสำเร็จรูปไม่จำต้องเป็นสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพแบบพิมพ์สัญญาเช่าที่โจทก์เป็นผู้กำหนดขึ้นล่วงหน้าและโจทก์นำมาใช้กับผู้เช่าทุกคนจึงเป็นสัญญาสำเร็จรูป เมื่อไม่ปรากฏจากข้อนำสืบของจำเลยว่าข้อตกลงตามสัญญาเช่า ข้อ 8 เป็นการเอาเปรียบฝ่ายผู้เช่าเกินสมควรอย่างไร เพราะเหตุใด ลำพังเพียงการตกลงให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าที่จะบอกเลิกสัญญาได้แม้สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดแต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนไม่ต่ำกว่า 30 วันนั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ทำให้ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้เปรียบฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเกินสมควร ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540  ตามสัญญาเช่าข้อ 8 ไม่มีลักษณะเป็นข้อความอันบังคับไว้ให้สัญญาเช่าเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคตตาม ป.พ.พ. มาตรา 182 แต่เป็นเรื่องของการตกลงให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนที่อายุสัญญาตามที่ตกลงกันไว้จะสิ้นสุด โดยคู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าชั่วระยะเวลาหนึ่ง จึงไม่ใช่เงื่อนไขของสัญญาเช่า  โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างเหตุว่า จำเลยกับ พ. หลอกลวงโจทก์จนหลงเชื่อเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ประการหนึ่ง กับโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า ข้อ 8 ทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลง อีกประการหนึ่ง สิทธิของโจทก์ทั้งสองประการแยกจากกันได้ไม่เป็นการขัดกัน แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ในการทำสัญญาเช่าก็หาเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิตามสัญญาเช่าข้อ 8 เพื่อเลิกสัญญาแก่จำเลยไม่”อีกเรื่องที่น่าสนใจ เป็นกรณีสัญญาจ้างงาน โดยมีการกำหนดข้อตกลงในทำนองว่า ระหว่างจ้างงานจะไม่ดำเนินการหรือมีส่วนได้เสียในธุรกิจอื่น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้าง และภายหลังการจ้างสิ้นสุดลง ภายใน 6เดือน ต้องไม่ดำเนินการหรือมีส่วนได้เสียในกิจการหรือเป็นคู่แข่งผู้ว่าจ้าง ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่า ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นไปเพื่อปกป้องข้อมูลความลับทางการค้าของผู้ว่าจ้างให้อยู่รอดต่อไปได้ เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เกินสมควรหรือเอาเปรียบกัน  ( คำพิพากษาที่ 4123/2549 )อีกเรื่องเป็นกรณี สัญญาใช้หนี้แทน ที่เจ้าหนี้ให้พี่น้องของผู้ตายทำขึ้น มีข้อตกลงให้ผู้ทำสัญญาชำระหนี้ส่วนต่างจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง และหากขายทอดตลาดไม่ได้ภายใน 1 ปี ผู้ทำสัญญาจะชำระหนี้ให้เป็นงวดจนกว่าจะครบ ศาลตัดสินว่าข้อสัญญาดังกล่าว เป็นข้อตกลงที่ทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายเกินสมควร จึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ให้มีผลบังคับได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11731/2555จำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย และจำเลยกับผู้ตายเป็นลูกหนี้สินเชื่อของโจทก์เช่นเดียวกัน การที่จำเลยทำสัญญารับใช้หนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่ง โดยจำเลยยอมรับผิดร่วมกับกองมรดกของผู้ตาย โดยมีข้อตกลงและเงื่อนไขสำคัญว่า เมื่อโจทก์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เพียงใด จำเลยจะชำระหนี้ในส่วนต่างระหว่างหนี้ตามคำพิพากษาและดอกเบี้ยจนถึงวันชำระเสร็จและค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองคดีกับเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาด และหากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์เป็นงวดจนกว่าจะครบนั้นก็เนื่องจากในขณะนั้นสินเชื่อในส่วนของจำเลยเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ หากจำเลยไม่เข้ารับใช้หนี้ของผู้ตายแล้วโจทก์ก็จะไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมให้แก่จำเลยอีก ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มเติมความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายที่ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 ดังนั้น สัญญารับใช้หนี้จึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง  

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 185 ทำไมประกันภัยจ่ายไม่ครบ

ปัจจุบันกฎหมายได้กำหนดให้รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องทำประกันภัย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามประกันภัยดังกล่าวก็สามารถสร้างความสับสนให้กับผู้ทำประกันในส่วนของการชดเชยค่ารักษาพยาบาลได้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณสุชาติประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ล้ม จึงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายไปทั้งสิ้น 2,800 บาท อย่างไรก็ตามเขารู้ว่าได้ทำประกันภัยกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยภัยจากรถ (คปภ.) ไว้ จึงนำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวไปเบิกกับบริษัทฯ แต่เจ้าหน้าที่กลับแจ้งว่าไม่สามารถเบิกได้เต็มจำนวน โดยจะชดเชยให้เพียง 520 บาทเท่านั้น ทำให้เขาเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรม จึงไม่ยินยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวและมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดไว้ว่า สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อหนึ่งคน ศูนย์ฯ จึงส่งเรื่องร้องเรียนของคุณสุชาติไปไปสอบถามยัง คปภ. โดยแนบสำเนาใบเสร็จรับเงินของผู้ร้องไปด้วย ซึ่งภายหลังทางบริษัทฯ ได้ชี้แจงกลับมาว่า “คปภ. ได้พิจารณาจ่ายรักษาพยาบาลคืนให้ผู้ร้องเป็นจำนวน 2,280.18 บาท โดยไม่สามารถจ่ายเงินเต็มจำนวนคืนให้ได้ เพราะผู้ร้องเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุและทำประมาทเอง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้กำหนดให้บริษัทประกันภัย บริษัทกลางประกันภัย จำกัด กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถดำเนินการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ตามจำนวนจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินสูงสุด โดยให้จ่ายแต่ละรายการในอัตราไม่เกินราคาสูงสุดที่กำหนดตามมาตรฐานกลางของรายการ ซึ่งจากกรณีของผู้ร้องมีค่าใช้จ่ายที่เกินราคากลางไปจำนวน 520 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ผู้ร้องจำเป็นต้องจ่ายเอง” สรุปว่า คปภ. จ่ายได้ในแต่ละรายการไม่เกินอัตราสูงสุดที่ประกาศกำหนดไว้ ซึ่งกรณีของผู้ร้องนั้นสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 2,280.18 บาท ขาดไปจากที่จ่ายจริง 520 บาท ซึ่งผิดกับที่ผู้ร้องเข้าใจในตอนแรกว่าบริษัทฯ จะชดเชยให้เพียง 520 บาทเท่านั้น ภายหลังได้รับการชี้แจง ผู้ร้องก็ยินดีรับเงินจำนวนดังกล่าวและยุติการร้องเรียนทั้งนี้สำหรับใครที่ต้องการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ต้องติดต่อกับบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยเตรียมหลักฐานต่างๆ ดังนี้1. กรณีบาดเจ็บ1.1 ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 1.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย2. กรณีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บต่อมาทุพพลภาพ นอกจากต้องยื่นหลักฐานตาม ข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ให้ยื่นใบรับรองแพทย์ หรือความเห็นแพทย์ หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ พร้อมทั้งสำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถเพิ่มเติมด้วย3. กรณีเสียชีวิต 3.1 สำเนามรณะบัตร 3.2 สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน 3.3 สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยอย่างไรก็ตามสำหรับข้อมูลอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ  http://www.rvp.co.th หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) http://www.oic.or.th/ และสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่สายด่วน 1791

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 185 ห้องพักไม่เหมือนในโฆษณา

แม้ว่าการหาห้องพักผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะเป็นทางเลือกที่สะดวกสบาย แต่เราสามารถมั่นใจได้จริงหรือว่า รูปภาพและคำโฆษณาต่างๆ จะตรงกับความจริงเสมอไปเหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้เกิดขึ้นกับคุณสมใจ เธอต้องการเช่าหอพักรายเดือน จึงหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ชื่อดัง ในที่สุดเมื่อเจอหอพักที่ถูกใจก็ติดต่อไปยังเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้ ซึ่งภายหลังการพูดคุยผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) ผู้ดูแลหอก็ส่งรูปภาพของห้องพักมาให้ดู เพื่อย้ำว่าเป็นรูปจริงที่เพิ่งถ่ายไม่นานมานี้ ซึ่งรูปภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นสภาพภายในห้องที่ดูน่าอยู่สวยงาม คุณสมใจจึงตัดสินใจตกลงเช่าห้องดังกล่าว โดยโอนเงินมัดจำไปให้ก่อนจำนวน 2,000 บาท โดยตกลงว่าจะย้ายของเข้ามาอยู่ในวันถัดไปเมื่อคุณสมใจมาถึงหอพัก เธอกลับต้องตกใจกับสภาพห้องที่ไม่เหมือนในโฆษณาเลย เช่น มีรูปเตียงนอนอย่างดีโฆษณา แต่ความจริงมีเพียงแค่ฟูกให้นอนเท่านั้น อย่างไรก็ตามเธอก็ไม่มีทางเลือก เพราะขนข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มาแล้วเรียบร้อย ทำให้จำต้องพักอยู่ที่ห้องดังกล่าวเป็นเวลาหนึ่งคืน และรอติดต่อเจ้าของหอพักในวันรุ่งขึ้น อย่างไรก็ตามหลังเธอแจ้งว่าไม่ต้องการอยู่ห้องนี้แล้ว เพราะเห็นว่าสภาพแย่มากไม่เหมือนกับในโฆษณาทางเว็บไซต์ และต้องการเงินมัดจำคืนก็ได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถคืนเงินให้ได้ คนอื่นก็ต้องจ่ายแบบนี้ทั้งนั้น ทำให้เธอเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรม จึงส่งเรื่องเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอคำแนะนำ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องส่งภาพห้องพักมาให้เพิ่มเติม พร้อมเข้าไปตรวจสอบโฆษณาของหอพักดังกล่าว ผ่านทางเว็บไซต์ก็พบข้อความโฆษณาว่า หอพักพร้อมเฟอร์นิเจอร์สภาพใหม่ ราคาเริ่มต้นที่ 2,000 – 2,800 บาท มีคีย์การ์ดและกล้องวงจรปิด โดยมีรูปประกอบเป็นสภาพห้องพักที่ดูน่าอยู่สวยงาม ซึ่งตรงกันข้ามกับรูปภาพจริงที่ผู้ร้องส่งมาให้ดู  สำหรับกรณีนี้อาจถือได้ว่าเป็นการโฆษณาเกินจริง โดยมีการโฆษณาด้วยข้อความและรูปภาพที่ทำให้ผู้ร้องเข้าใจผิด จนตกลงไปเช่าห้องพักดังกล่าว ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน โดยผู้ร้องสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ อย่างไรก็ตามในเบื้องต้น ศูนย์ฯ แนะนำให้มีการเจรจากับเจ้าของหอพักดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งเธอแจ้งกลับว่าให้ทางครอบครัวช่วยเจรจาให้ โดยทางเจ้าของหอยินยอมให้เปลี่ยนห้องใหม่ได้ แต่จะไม่คืนเงินมัดจำ ซึ่งภายหลังเธอได้ดูห้องอื่นๆ ของทางหอพักก็ตกลงเช่าอยู่ต่อ และยินดียุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 185 น้ำซึมเข้าห้องพักทำของเสียหาย ใครรับผิดชอบ

ปัญหาน้ำรั่วซึมภายในห้องพัก นับเป็นเรื่องกวนใจผู้เช่าอย่างมาก เพราะสามารถทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งเราสามารถเรียกร้องให้ทางหอพักชดเชยค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ดังเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้คุณปาริชาตเช่าห้องพักอยู่แถวปิ่นเกล้า วันดีคืนดีมีน้ำสกปรกออกมาจากท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ และภายหลังได้ล้นเข้ามาจนถึงห้องนอน ทำให้ทรัพย์สินภายในห้องเสียหาย ซึ่งรวมๆ แล้วเป็นมูลค่ากว่า 8,000 บาท เธอจึงไปแจ้งเจ้าของห้องเช่าเพื่อให้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่เจ้าของก็บ่ายเบี่ยงไม่ยอมมาพบหน้า ทำให้เธอร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาภายหลังเจ้าของหอพักได้รับการติดต่อก็ยินดีที่จะรับผิดชอบ โดยรับปากว่าจะดำเนินการซ่อมแซมท่อน้ำและจะชดใช้ค่าเสียหายให้ 1,000 บาท ด้านผู้ร้องเห็นว่าเป็นจำนวนที่น้อยเกินไป ศูนย์ฯ จึงแนะนำให้ผู้ร้องเสนอจำนวนเงินที่ต้องการให้เจ้าของหอรับผิดชอบอย่างไรก็ตามเมื่อมีการเจรจาอีกครั้ง เจ้าของหอเสนอค่าชดเชยความเสียหายที่ราคา 2,000 บาท และแจ้งว่าหากผู้ร้องไม่พอใจสามารถย้ายออกได้และจะคืนเงินค่าประกันให้ ทำให้ผู้ร้องต้องยินยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวไป เพราะเธอไม่ต้องการย้ายออก เนื่องจากหอพักดังกล่าวอยู่ใกล้ที่ทำงาน ทั้งนี้หากเจ้าของหอพักไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือซ่อมแซมท่อน้ำดังกล่าว ผู้ร้องสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เพราะอาจเข้าข่ายความผิดตามหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้เช่า ตามมาตรา 550 ที่กำหนดให้ผู้ให้เช่าต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องและจัดการซ่อมแซม ซึ่งไม่สามารถปัดภาระการซ่อมมาให้ผู้เช่าห้องได้ เพราะตามมาตรา 547 กำหนดให้ผู้เช่าเสียค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาตามปกติ และเพื่อซ่อมแซมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 185 ทันเล่ห์ประกันภัย

ต้องยอมรับว่าธุรกิจประกันภัย มีการแข่งขัน และแย่งชิงลูกค้ากันสูงมาก   หากการแข่งขันนั้น เป็นการแข่งขันกันด้านคุณภาพ  สื่อตรง มีธรรมาภิบาล คงเป็นความโชคดีของผู้บริโภค   และคงสร้างความตื่นตัวให้ผู้บริโภค มีความต้องการที่จะทำประกันมากขึ้น  แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น จากข้อมูลเรื่องร้องเรียนปรากฏชัดว่า มีปัญหาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  เช่น ประกันภัยผู้สูงอายุ ที่ระบุว่า ไม่ต้องถามโรค  แต่พอพบว่า เมื่อป่วยเข้าจริง หลายรายกลับถูกบอกเลิกสัญญา โดยใช้ข้อกฎหมายว่าหากบริษัทเห็นว่ามีความเสี่ยง  บริษัทมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ รวมถึงเทคนิคต่างๆ ในการจ่ายคืนสินไหมล่าช้า ฯลฯ จนทำให้ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่เข็ดขยาดกับบริษัทประกันภัย           ล่าสุดได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคว่า  ถูกเชิญชวนให้จ่ายเงินซื้อประกันชีวิตเพิ่ม โดยไม่รู้ว่าถูกหลอกจ่ายเงินไปแล้ว ต่อมาภายหลังจึงเพิ่งนึกได้ว่าน่าจะถูกหลอก  เรื่องมีอยู่ว่า “คุณมา”(นามสมมุติ)ได้ซื้อประกันชีวิตกรณีอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต เบี้ยประกันปีละ 2,100 บาท(วงเงินประกัน 4 แสนบาท) จะได้เบี้ยประกันต่อเมื่อเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเท่านั้น   ต่อมาได้รับโทรศัพท์จากตัวแทนบริษัทประกันภัย  แจ้งว่ามีทางเลือกที่ดีกว่ามาให้  เพราะการซื้อประกันอุบัติเหตุนั้นหากไม่เกิดอุบัติเหตุ เงินก็จะสูญเปล่า พร้อมเชิญชวนให้ซื้อประกันแบบสะสมเป็นรายปี  เสียชีวิตจากเหตุใดก็จะได้สินไหมทันที โดยเพิ่มวงเงินประกันเป็น 6 แสนบาท แต่ต้องจ่ายเบี้ยประกันปีละ 14,000  บาท  ตอนถูกชวนไม่ทันคิดเลยตอบตกลงและจ่ายเงินไป   เมื่อได้กรมธรรม์จึงได้อ่านรายละเอียด ทำให้ทราบว่า กรณีจะได้เงินประกันจากเหตุใดก็ได้ตามที่เจ้าหน้าที่กล่าวอ้างแต่จะต้องเลย 2 ปีขึ้นไป หรือ  หากตายก่อนเวลา 2 ปี ก็ต้องตายจากอุบัติเหตุถึงจะได้สินไหมจากบริษัท  แต่ถ้าตายจากโรคทั่วไปบริษัทจะไม่จ่ายสินไหม  แต่จะคืนวงเงินที่ซื้อประกันไว้พร้อมดอกเบี้ย 10%  เมื่อคิดดูแล้ว จึงรู้ว่าเสียท่าบริษัทประกันภัย เพราะต้องจ่ายเงินซื้อประกันมากกว่าเก่าถึง 5 เท่า แต่การคุ้มครองเพิ่มเพียงเล็กน้อย        กระบวนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนก็ดำเนินต่อไป  ที่เขียนมาเพื่อให้ข้อมูลกับผู้บริโภคว่า ก่อนตัดสินใจซื้อประกันฯ โปรดอ่านรายละเอียดในสัญญาให้รอบคอบ          

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 กระแสต่างแดน

    ของ่ายๆ ได้ใจความคุณคิดว่าเราต้องใช้เวลาเท่าไรเพื่ออ่านข้อตกลงและเงื่อนไขของแอปพลิเคชั่นต่างๆ ในสมาร์ทโฟนให้ครบถ้วน หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของนอร์เวย์ทดลองให้ผู้ใช้อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของแอปยอดนิยม (เช่น Facebook Gmail Instagram Twitter YouTube และ Skype) ทั้งหมด 33 แอป แล้วจับเวลา …Forbrukerradet พบว่าเวลาที่ใช้ในการอ่านข้อความ 260,000 คำ หรือ 900 หน้า(ซึ่งยาวกว่าเนื้อหาใน The New Testament หรือ พระคริสตธรรมใหม่) คือ 31 ชั่วโมง 49 นาทีการทดลองนี้นำไปสู่คำถามว่าทำไมเนื้อหาที่มีความสำคัญกับผู้บริโภคจึงถูกนำเสนอในรูปแบบที่ยืดยาวและเข้าใจยาก จะมีกี่คนที่ใช้เวลาถึง 4 วันทำงานอ่านเงื่อนไขการใช้งานของแอปพวกนี้จนจบ แต่คนส่วนใหญ่มักกด “ตกลง” โดยไม่รู้ตัวว่าได้อนุญาตให้บริษัททำอะไรกับข้อมูลของตัวเองบ้าง รวมถึงการยอมให้บริษัทมีสิทธิ์ในการใช้เนื้อหาการสนทนา หรือรูปภาพต่างๆ ในโทรศัพท์ได้โดยไม่มีกำหนดForbrukerradet ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รณรงค์เรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มาโดยตลอดบอกว่าเรื่องนี้ยอมรับไม่ได้และยังเป็นการละเมิดกฎหมายทั้งของนอร์เวย์และยุโรปด้วย โลกต้องรู้?ใกล้ๆ กันที่สวีเดน ที่ผู้คนจริงจังกับการออกกำลังกายไม่แพ้ชาติใดในโลก ก็มีเรื่องแอปในสมาร์ทโฟนให้กังวลเช่นกันสมาคมผู้บริโภค Sveriges Konsumenter อดเป็นห่วงเรื่องการแชร์ข้อมูลส่วนตัวผ่านแอปของคนกลุ่มนี้ไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอปช่วยออกกำลังกายอย่าง Endomondo Lifesim MyFitnessPal Runkeeper Strava แจน เบอร์ทอฟ เลขาธิการสมาคมฯ บอกว่า ปัจจุบันผู้บริโภคยังไม่สามารถควบคุมการใช้หรือแชร์ข้อมูลด้านสุขภาพของตนเองได้เท่าที่ควร หลายคนไม่สามารถอ่านทะลุข้อความที่ซับซ้อนไปถึงเรื่องสำคัญๆ ได้ มีเพียงแอป Strava เท่านั้นที่แจ้งผู้ใช้อย่างตรงไปตรงมาว่าจะนำข้อมูลไปใช้ร่วมกับบุคคลที่ 3 ในขณะที่ MyFitnessPal สามารถนำชื่อและรูปโปรไฟล์ของผู้ใช้ไปหาประโยชน์ได้ ส่วน Runkeeper และ Endomondo นั้นสามารถแชร์ตำแหน่งของผู้ใช้ แม้ในขณะที่พวกเขาไม่ได้ออกกำลังกาย      นี่ก็ไม่ว๊าว!หลังจากเป็นหนี้อยู่หลายล้านเหรียญ ผู้ประกอบการแคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส ในฮ่องกง ซึ่งดำเนินการมา 20 ปีก็ปิดตัวลง ทิ้งลูกค้าประมาณ 64,000 ราย และลูกจ้างอีก 700 คนไปดื้อๆแคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส ฮ่องกงดำเนินการโดย เจวี ฟิตเนส ซึ่งเป็นผู้ประกอบการสถานออกกำลังกายรายใหญ่อันดับสองของฮ่องกง ข่าวระบุว่าเจวีขาดทุน 117 ล้านเหรียญ (528 ล้านบาท) ในช่วง 30 เดือนที่ผ่านมาและเหลือเงินในบัญชีเพียง 16 ล้านเหรียญ (72 ล้านบาท) แต่มีหนี้ (ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าแรงพนักงาน) ประมาณ 130 ล้านเหรียญฮ่องกงหรือประมาณ 586 ล้านบาทบริษัทเริ่มปิดสาขาแรกจากทั้งหมด 12 สาขา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมาโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า บางคนเพิ่งจ่ายค่าสมาชิกไปประมาณ 50,000 บาท ก่อนสถานประกอบการจะปิดไม่กี่วันอีกด้วย ขณะนี้สคบ. ของฮ่องกงมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาแล้วไม่ต่ำกว่า 100 กรณี  ก่อนหน้านี้ก็เป็นที่รู้กันว่าบริษัทใช้เทคนิคการขายแบบเข้มข้นดุดันมาตลอด และเทรนเนอร์ที่นี่ก็มีรายได้งามจากค่าคอมมิสชั่นที่เกินจริงถึงเดือนละ 100,000 เหรียญ (450,000 บาท)ล่าสุดแคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส ในสิงคโปร์ก็ปิดกิจการลงแล้วเช่นกัน เรื่องทั้งหมดนี้ฟังดูคุ้นๆ เหมือนเคยเกิดที่บ้านเราใช่ไหมหนอ  จริงหรือมั่วนิตยสารคอนซูมาตริซิ ของอิตาลีรายงานว่าจากการสำรวจน้ำมันมะกอกแบบบริสุทธิ์พิเศษ (Extra Virgin) ที่ขายดี 20 อันดับต้นของประเทศ มีน้ำมันมะกอกที่คุณสมบัติไม่ถึงแต่แอบอ้างติดฉลากดังกล่าวด้วยถึง 9 รายการ   ถ้าถามว่าดูอย่างไรว่าเป็นชนิดบริสุทธิ์พิเศษ ผู้รู้จะตอบว่าให้ดูที่ราคา เพราะกรรมวิธีที่ใช้นั้นสิ้นเปลืองทั้งเวลาและแรงงาน เช่น ต้องเป็นผลมะกอกที่เก็บจากต้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม(ไม่เก็บจากโคน) และนำมาคั้นทันที โดยไม่มีการใช้สารเคมีหรือความร้อน ฯลฯ น้ำมันมะกอกที่แจ้งว่าตัวเองเป็นชนิดบริสุทธิ์พิเศษจึงสามารถขายได้ในราคามากกว่าแบบธรรมดาถึงร้อยละ 40 จึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดการแอบอ้างตามที่เป็นข่าวล่าสุดคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าลงดาบปรับ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ขายหรือผลิตน้ำมันมะกอกที่ติดฉลากไม่ถูกต้อง ลิเดิลผู้ประกอบการซูเปอร์มาร์เก็ตในยุโรปถูกสั่งปรับ 550,000 ยูโร (ประมาณ 21 ล้านบาท) ลิโอดิโอ ผู้ผลิตน้ำมันมะกอกยี่ห้อแบโตลี่ ก็ถูกปรับไป 300,000 ยูโร(ประมาณ 11.6 ล้านบาท) เช่นกันเขาให้เหตุผลว่าที่ค่าปรับแพงขนาดนี้ เพราะนอกจากการกระทำดังกล่าวจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคที่ต้องจ่ายราคาเกินจริงแล้ว ยังทำให้น้ำมันมะกอกของอิตาลีต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงไปด้วย  อารมณ์เสียสิ่งหนึ่งที่ผู้ให้บริการรถไฟในญี่ปุ่นทุกเจ้าเห็นตรงกันว่ายังไม่สามารถจัดการได้ คือพฤติกรรมของผู้โดยสารที่ “อารมณ์เสีย”สมาคมผู้ประกอบการรถไฟเอกชน รายงานว่าปีที่ผ่านมามีเหตุผู้โดยสารใช้อารมณ์(และกำลัง) กับพนักงานถึง 225 ครั้ง ในขณะที่สถิติลูกจ้างของบริษัทผู้ประกอบการของรัฐและบริษัทในเครือ JR ถูกทำร้ายโดยผู้โดยสารก็สูงถึง 574 ครั้งในปีก่อนหน้าความไม่ปลอดภัยดังกล่าวมักเกิดกับพนักงานในเวลาระหว่าง 4 ทุ่ม ถึงเวลาออกของรถไฟเที่ยวสุดท้าย และมักเกิดขึ้นบริเวณชานชาลา บางครั้งถูกทำร้ายเพราะผู้โดยสารมีอาการมึนเมา บางครั้งโดนลูกหลง เมื่อเข้าไปห้ามการทะเลาะวิวาท หรือเข้าไปให้ความช่วยเหลือแต่ผู้โดยสารรู้สึกไม่ได้อย่างใจผู้ประกอบการทุกเจ้าลงความเห็นตรงกันว่ามันเป็นเรื่องที่คาดการณ์และรับมือได้ยากจริงๆ เพราะคนปัจจุบันนี้หงุดหงิดง่ายและต้องการระบายทันทีตอนนี้ทำได้เพียงติดโปสเตอร์เตือนสติผู้คนว่าการใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ส่งพนักงานไปอบรมศิลปะป้องกันตัวปีละครั้ง และออกแบบเครื่องแต่งกายพนักงานให้ยากต่อการถูกทำร้าย เช่น เนคไทแบบที่หลุดออกทันทีเมื่อถูกดึง เป็นต้น นักวิชาการด้านจิตวิทยาให้ความเห็นว่าปัญหานี้เรื้อรังเพราะว่า บริษัทไม่เคยดำเนินคดีขั้นเด็ดขาดกับผู้โดยสารอันธพาล ... เพราะเขาถือว่าลูกค้าคือพระเจ้า โอ้ ญี่ปุ่นแท้ๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนกรกฎาคม 2559“บินถูกแต่ไม่มีที่นั่ง” โฆษณาเอาเปรียบผู้บริโภคโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาถูกของบรรดาสายบิน “โลว์คอสต์” ต่างๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากของผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำและกลุ่มผู้ที่รักการท่องเที่ยว แต่ล่าสุดได้เกิดปัญหาจากโฆษณาโปรโมชั่นของสายบินโลว์คอสต์ที่สร้างความเข้าใจผิดกับผู้บริโภค จนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ต้องออกมาเตือนพร้อมกำหนดแนวทางให้กับบรรดาสายการบินต่างๆ ในการทำโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาถูกโดย สคบ.ออกมาเตือนสายการบินโลว์คอสต์แห่งหนึ่ง ที่มีการโฆษณาว่าบินเที่ยวออสเตรเลียจ่ายเพียง 1,200 บาท ซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบแล้วพบว่า ราคาที่โฆษณามีที่นั่งจำกัดแค่ 1-2 ที่นั่งเท่านั้น ซึ่งการโฆษณาดังกล่าวถือเป็นโฆษณาในลักษณะที่เอาเปรียบผู้บริโภค เพราะเป็นการโฆษณาโดยให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ทาง สคบ.จึงทำเอกสารชี้แจงไปยังผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน ว่าการโฆษณาโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาพิเศษต่างๆ สามารถทำได้ แต่ต้องระบุข้อความให้ชัดเจน ครบถ้วน เกี่ยวกับเงื่อนไขและรายละเอียด วันเริ่มต้น วันสิ้นสุดของโปรโมชั่นที่โฆษณา จำนวนที่นั่งที่มีให้ หากผู้ประกอบการธุรกิจรายใด กระทำการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจะมีความผิดตามกฎหมาย ถอนทะเบียน 40 ตำรับยาต้านแบคทีเรีย ทำคนป่วยเพราะดื้อยามีข้อมูลว่าในแต่ละปีมีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน และเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000 - 38,000 คน ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกันแถลงข่าว “เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย” โดยเป็นการแถลงข้อมูลที่ได้จากการศึกษารายการยาต้านแบคทีเรียในประเทศ พบว่ามีมากกว่า 40 สูตรยาตำรับ ที่ควรถอนทะเบียนตำรับยาออกจากประเทศไทยเนื่องจากเป็นยาที่ไม่ได้มีประสิทธิผลในการรักษาโรค เช่น “ยาอมแก้เจ็บคอ” ที่ไม่ควรมียาต้านแบคทีเรียเป็นส่วนประกอบ เพราะโรคเจ็บคอมากกว่า 80% ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากเกิดจากแบคทีเรียปริมาณยาก็ไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อในลำคอให้หาย แถมการกลืนยาลงสู่กระเพาะอาหารยังทำให้เกิดเชื้อดื้อยาของแบคทีเรียในลำไส้ หรือ ยาต้านแบคทีเรียที่เป็นสูตรผสมชนิดฉีด ที่ไม่ควรเป็นสูตรผสมเพราะอาจเกิดปัญหาประสิทธิภาพการรักษา และเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับทั้งนี้จะมีการยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถอนบัญชียาเหล่านี้ออกจากประเทศ โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบบัญชียาดังกล่าวได้ที่ www.thaidrugwatch.org หรือ www.thaihealth.or.th10 อาการป่วยใช้สิทธิ์ฉุกเฉินได้ทันทีฟรี 24 ชม. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้กำหนดกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต 10 อาการ เพื่อเป็นหลักให้ประชาชนสามารถเข้าใจได้ง่าย ในการใช้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สายด่วน 1669 ซึ่งหากพบผู้ป่วยด้วยอาการ 10 ลักษณะต่อไปนี้ สามารถเข้ารับการรักษากรณีฉุกเฉินได้ทันที ไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอด 24 ชั่วโมง1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ, 2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง, 3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือ มีอาการชักร่วม, 4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง, 5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือ ชักต่อเนื่องไม่หยุด, 6.ได้รับบาดเจ็บ ต่อสมอง ต่อกระดูกสันหลัง มีแขนขาอ่อนแรง มีบาดแผลที่เสียเลือดมาก ถูกไฟฟ้าแรงสูง แผลไฟไหม้บริเวณกว้าง, 7.ถูกยิง ถูกแทง ที่ศีรษะ ลำตัว อวัยวะสาคัญ, 8.งูพิษกัด ซึม หายใจลำบาก หนังตาตก, 9.ตั้งครรภ์และชัก ตกเลือดมาก มีน้ำเดิน เด็กโผล่ และ 10.บาดเจ็บต่อดวงตาจากสารพิษ มองไม่ชัดคนไทยถูกค่ายมือถือเอาเปรียบ?รู้หรือไม่ว่า? คนไทยต้องจ่ายค่าบริการโทรศัพท์มือถือสูงกว่าความเป็นจริง  หลังจากมีข่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษากลไกปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนเพื่อการปฎิรูปประเทศ (สปท.) ได้เรียกให้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาให้ข้อมูลที่ทั้ง 3 บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ คือ เอไอเอส ดีแทค และ ทรู คิดค่าบริการเกินกว่าที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้บริการ ซึ่งทาง กสทช. ก็รับว่าปัจจุบันทั้ง 3 ค่ายมือถือยังมีการคิดค่าบริการที่สูงกว่าอัตราที่ กสทช. กำหนดโดยตามประกาศ เรื่องอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.1 จิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ กสทช. กำหนดนั้น การคิดค่าบริการจะต้องคิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริง แยกเป็น การบริการเสียง ห้ามเกินนาทีละ 69 สตางค์ บริการข้อความสั้น (SMS) ไม่เกิน 1.15 บาท/ ข้อความ บริการข้อความมัลติมีเดีย (MMS) ไม่เกิน 3.11 บาท/ข้อความ และบริการอินเตอร์เน็ต (Mobile Internet) ไม่เกิน 0.26 บาท/เมกกะไบค์ (MB)ซึ่งจากนี้ กสทช. ต้องทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล เร่งดำเนินการเอาผิดกับผู้ประกอบการค่ายมือถือที่เอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบโปรโมชั่นต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนด สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหากพบว่าค่าบริการที่ใช้อยู่สูงกว่าอัตราที่ทาง กสทช. กำหนด สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน กสทช.1200 ฉลากอาหารแบบใหม่เป็นมิตรกับผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภควอนรัฐเดินหน้าอย่ายกเลิกคณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) นำเสนอผลการสำรวจการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร พบว่าส่วนใหญ่มีการปรับปรุงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ โดยข้อมูลผลสำรวจที่ได้นำมาใช้เป็นข้อมูลโต้แย้งกับแนวคิดของประชารัฐกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว ให้กลับมาใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคน้อยกว่าฉบับที่ 367 โดยประชารัฐกลุ่มนี้อ้างว่า ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 เพราะมีข้อจำกัดมากมาย ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงและสับสน และไม่สามารถทำฉลากใช้ร่วมกับประเทศอื่นได้ ต้องมีสต็อกฉลากเฉพาะขายในประเทศไทยทำให้ต้นทุนสูง    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 367 พ.ศ.2557 จะมีการให้แสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมากกว่าประกาศฉบับที่ 194 เช่น สำหรับผู้แพ้อาหาร กรณีใช้ส่วนประกอบหรือปนเปื้อนในกระบวนการผลิตของสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไข่ ถั่ว นม นอกจากนี้ต้องแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะหรือตัวเลขตามระบบเลขรหัสสากล (International Numbering System : INS for Food Additives)รศ. ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ คณะอนุกรรมการฯ คอบช. กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจฉลากแสดงชัดเจนว่า ข้ออ้างของประชารัฐที่ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 นั้น ไม่เป็นความจริง จึงขอเรียกร้องให้ อย. บังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าว และให้มีกระบวนการตรวจสอบการแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแบรนด์ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง จาก foodwatch

จากกรณีข่าว องค์กรเอกชนในเยอรมัน (foodwatch.org) ชี้ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแบรนด์ดังปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง  ที่สำนักข่าวต่างๆได้ลงไปนั้นทางนิตยสารฉลาดซื้อขอนำผลทดสอบทั้งหมด มาลงไว้ให้เป็นข้อมูล ทั้งนี้ท่านสามารถกดโหลดข้อมูล ฉบับเต็มของแหล่งข้อมูลได้ที่นี่ครับ >>>> 2016-07-04_Mineraloele_in_Schokolade_und_Chips.pdf

อ่านเพิ่มเติม >