ฉบับที่ 185 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนกรกฎาคม 2559“บินถูกแต่ไม่มีที่นั่ง” โฆษณาเอาเปรียบผู้บริโภคโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาถูกของบรรดาสายบิน “โลว์คอสต์” ต่างๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากของผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำและกลุ่มผู้ที่รักการท่องเที่ยว แต่ล่าสุดได้เกิดปัญหาจากโฆษณาโปรโมชั่นของสายบินโลว์คอสต์ที่สร้างความเข้าใจผิดกับผู้บริโภค จนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ต้องออกมาเตือนพร้อมกำหนดแนวทางให้กับบรรดาสายการบินต่างๆ ในการทำโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาถูกโดย สคบ.ออกมาเตือนสายการบินโลว์คอสต์แห่งหนึ่ง ที่มีการโฆษณาว่าบินเที่ยวออสเตรเลียจ่ายเพียง 1,200 บาท ซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบแล้วพบว่า ราคาที่โฆษณามีที่นั่งจำกัดแค่ 1-2 ที่นั่งเท่านั้น ซึ่งการโฆษณาดังกล่าวถือเป็นโฆษณาในลักษณะที่เอาเปรียบผู้บริโภค เพราะเป็นการโฆษณาโดยให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ทาง สคบ.จึงทำเอกสารชี้แจงไปยังผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน ว่าการโฆษณาโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาพิเศษต่างๆ สามารถทำได้ แต่ต้องระบุข้อความให้ชัดเจน ครบถ้วน เกี่ยวกับเงื่อนไขและรายละเอียด วันเริ่มต้น วันสิ้นสุดของโปรโมชั่นที่โฆษณา จำนวนที่นั่งที่มีให้ หากผู้ประกอบการธุรกิจรายใด กระทำการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจะมีความผิดตามกฎหมาย ถอนทะเบียน 40 ตำรับยาต้านแบคทีเรีย ทำคนป่วยเพราะดื้อยามีข้อมูลว่าในแต่ละปีมีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน และเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000 - 38,000 คน ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกันแถลงข่าว “เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย” โดยเป็นการแถลงข้อมูลที่ได้จากการศึกษารายการยาต้านแบคทีเรียในประเทศ พบว่ามีมากกว่า 40 สูตรยาตำรับ ที่ควรถอนทะเบียนตำรับยาออกจากประเทศไทยเนื่องจากเป็นยาที่ไม่ได้มีประสิทธิผลในการรักษาโรค เช่น “ยาอมแก้เจ็บคอ” ที่ไม่ควรมียาต้านแบคทีเรียเป็นส่วนประกอบ เพราะโรคเจ็บคอมากกว่า 80% ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากเกิดจากแบคทีเรียปริมาณยาก็ไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อในลำคอให้หาย แถมการกลืนยาลงสู่กระเพาะอาหารยังทำให้เกิดเชื้อดื้อยาของแบคทีเรียในลำไส้ หรือ ยาต้านแบคทีเรียที่เป็นสูตรผสมชนิดฉีด ที่ไม่ควรเป็นสูตรผสมเพราะอาจเกิดปัญหาประสิทธิภาพการรักษา และเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับทั้งนี้จะมีการยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถอนบัญชียาเหล่านี้ออกจากประเทศ โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบบัญชียาดังกล่าวได้ที่ www.thaidrugwatch.org หรือ www.thaihealth.or.th10 อาการป่วยใช้สิทธิ์ฉุกเฉินได้ทันทีฟรี 24 ชม. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้กำหนดกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต 10 อาการ เพื่อเป็นหลักให้ประชาชนสามารถเข้าใจได้ง่าย ในการใช้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สายด่วน 1669 ซึ่งหากพบผู้ป่วยด้วยอาการ 10 ลักษณะต่อไปนี้ สามารถเข้ารับการรักษากรณีฉุกเฉินได้ทันที ไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอด 24 ชั่วโมง1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ, 2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง, 3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือ มีอาการชักร่วม, 4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง, 5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือ ชักต่อเนื่องไม่หยุด, 6.ได้รับบาดเจ็บ ต่อสมอง ต่อกระดูกสันหลัง มีแขนขาอ่อนแรง มีบาดแผลที่เสียเลือดมาก ถูกไฟฟ้าแรงสูง แผลไฟไหม้บริเวณกว้าง, 7.ถูกยิง ถูกแทง ที่ศีรษะ ลำตัว อวัยวะสาคัญ, 8.งูพิษกัด ซึม หายใจลำบาก หนังตาตก, 9.ตั้งครรภ์และชัก ตกเลือดมาก มีน้ำเดิน เด็กโผล่ และ 10.บาดเจ็บต่อดวงตาจากสารพิษ มองไม่ชัดคนไทยถูกค่ายมือถือเอาเปรียบ?รู้หรือไม่ว่า? คนไทยต้องจ่ายค่าบริการโทรศัพท์มือถือสูงกว่าความเป็นจริง  หลังจากมีข่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษากลไกปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนเพื่อการปฎิรูปประเทศ (สปท.) ได้เรียกให้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาให้ข้อมูลที่ทั้ง 3 บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ คือ เอไอเอส ดีแทค และ ทรู คิดค่าบริการเกินกว่าที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้บริการ ซึ่งทาง กสทช. ก็รับว่าปัจจุบันทั้ง 3 ค่ายมือถือยังมีการคิดค่าบริการที่สูงกว่าอัตราที่ กสทช. กำหนดโดยตามประกาศ เรื่องอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.1 จิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ กสทช. กำหนดนั้น การคิดค่าบริการจะต้องคิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริง แยกเป็น การบริการเสียง ห้ามเกินนาทีละ 69 สตางค์ บริการข้อความสั้น (SMS) ไม่เกิน 1.15 บาท/ ข้อความ บริการข้อความมัลติมีเดีย (MMS) ไม่เกิน 3.11 บาท/ข้อความ และบริการอินเตอร์เน็ต (Mobile Internet) ไม่เกิน 0.26 บาท/เมกกะไบค์ (MB)ซึ่งจากนี้ กสทช. ต้องทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล เร่งดำเนินการเอาผิดกับผู้ประกอบการค่ายมือถือที่เอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบโปรโมชั่นต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนด สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหากพบว่าค่าบริการที่ใช้อยู่สูงกว่าอัตราที่ทาง กสทช. กำหนด สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน กสทช.1200 ฉลากอาหารแบบใหม่เป็นมิตรกับผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภควอนรัฐเดินหน้าอย่ายกเลิกคณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) นำเสนอผลการสำรวจการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร พบว่าส่วนใหญ่มีการปรับปรุงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ โดยข้อมูลผลสำรวจที่ได้นำมาใช้เป็นข้อมูลโต้แย้งกับแนวคิดของประชารัฐกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว ให้กลับมาใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคน้อยกว่าฉบับที่ 367 โดยประชารัฐกลุ่มนี้อ้างว่า ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 เพราะมีข้อจำกัดมากมาย ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงและสับสน และไม่สามารถทำฉลากใช้ร่วมกับประเทศอื่นได้ ต้องมีสต็อกฉลากเฉพาะขายในประเทศไทยทำให้ต้นทุนสูง    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 367 พ.ศ.2557 จะมีการให้แสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมากกว่าประกาศฉบับที่ 194 เช่น สำหรับผู้แพ้อาหาร กรณีใช้ส่วนประกอบหรือปนเปื้อนในกระบวนการผลิตของสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไข่ ถั่ว นม นอกจากนี้ต้องแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะหรือตัวเลขตามระบบเลขรหัสสากล (International Numbering System : INS for Food Additives)รศ. ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ คณะอนุกรรมการฯ คอบช. กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจฉลากแสดงชัดเจนว่า ข้ออ้างของประชารัฐที่ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 นั้น ไม่เป็นความจริง จึงขอเรียกร้องให้ อย. บังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าว และให้มีกระบวนการตรวจสอบการแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแบรนด์ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง จาก foodwatch

จากกรณีข่าว องค์กรเอกชนในเยอรมัน (foodwatch.org) ชี้ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตแบรนด์ดังปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง  ที่สำนักข่าวต่างๆได้ลงไปนั้นทางนิตยสารฉลาดซื้อขอนำผลทดสอบทั้งหมด มาลงไว้ให้เป็นข้อมูล ทั้งนี้ท่านสามารถกดโหลดข้อมูล ฉบับเต็มของแหล่งข้อมูลได้ที่นี่ครับ >>>> 2016-07-04_Mineraloele_in_Schokolade_und_Chips.pdf

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 184 กล่องโฟม

ผู้บริโภคอย่างเราควรยึดหลักป้องกันไว้ก่อน (Precautionary Principle)  หลีกเลี่ยงการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ถึงแม้จะมีความสับสนวุ่นวาย ความไม่กล้าหาญของหน่วยงาน นักวิทยาศาสตร์ที่รู้ทุกเรื่อง ออกมาให้ข้อมูลว่า ไม่ได้มีอันตราย ทำให้ปัญหาเรื่องโฟมน่าจะบานปลาย ไม่ถูกตัดสินใจ กลับไปอยู่สภาพเดิมงานวิจัยเรื่องอันตรายของโฟม โดยรศ.ดร.กรรนิการ์ ฉัตรสันติประภา อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการศึกษาวิจัยเรื่องความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารจากกล่องโฟมเอาไว้ และได้ให้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์อีกครั้งในเดือนนี้ ว่า กล่องโฟมบรรจุอาหารมีผลต่อการก่อโรคมะเร็งจริง“กล่องโฟม เป็นสไตรีนโมโนเมอร์ ซึ่งตัวสไตรีนโมโนเมอร์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีโดยเปลี่ยนจากสไตรีนโมโนเมอร์ เป็นสไตรีนออกไซด์ ซึ่งสไตรีนออกไซด์ตรงนี้สามารถ ก่อมะเร็งได้”รศ.ดร.กรรนิการ์ บอกว่า การประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งจะไม่ระบุว่าความเข้มข้นเท่าไหร่ หรือปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเป็นมะเร็ง แต่อยู่ในรูปของโอกาสในการเป็นมะเร็ง หากต่ำกว่า 1 ในล้าน จะถือว่าน้อยมากจนไม่มีนัยสำคัญ ก็จะยอมรับได้ ถ้าเมื่อไหร่ที่เกินกว่า 1 ในล้าน จะถือเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้“สำหรับกล่องโฟม เท่าที่ได้มีการวิจัยมีการคำนวณโดยอิงค่าหน่วยบริโภคอาหารของคนไทย พบว่า แม้บริโภค 1 กล่องต่อวันก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเกินกว่า 1 ในล้าน เป็นค่าที่ยอมรับไม่ได้” และอาหารที่มีความเป็นกรด เค็ม หวาน เผ็ด มัน จะทำให้ปริมาณการเคลื่อนย้ายของสารโพลิสไตรีนจากกล่องโฟมเข้าสู่อาหาร มากกว่าอาหารที่ไม่มีความเป็นกรด เค็ม หวาน เผ็ด มัน และอาหารที่มีอุณหภูมิร้อนมีแนวโน้มที่จะทำให้โพลิสไตรีนเคลื่อนย้ายจากกล่องโฟมเข้าสู่อาหารมากกว่าที่อุณหภูมิห้องผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อ นอกจากต้องยึดหลักป้องกันไว้ก่อนแล้ว คงต้องออกมาช่วยกันทำให้กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ ว่า กล่องโฟมบรรจุอาหาร เป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพ ไม่ใช่มีปัญหาเฉพาะสิ่งแวดล้อมเท่านั้น  ต้องประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรู้ทั่วกันว่า กินอาหารจากกล่องโฟมแค่วันละกล่อง คุณมีสิทธิ์รับความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 6.4 เท่า ซึ่งจากงานวิจัยกรณีที่รุนแรงสุดมีโอกาสการเป็นมะเร็งเมื่อกินอาหารจากกล่องโฟมคือ 6.4 ในล้าน ขณะที่ค่ามาตรฐานคือต้องไม่เกิน 1 ในล้าน การพิจารณาโอกาสเกิดมะเร็งของโฟม เพียงแค่ดูจากสไตรีนโมโนเมอร์ เป็นสไตรีนออกไซด์ ยังไม่ได้รวมถึงสไตรีนโมโนเมอร์ ซึ่งปัจจุบันยอมรับกันแล้วว่าเป็นสารก่อมะเร็งเช่นเดียวกันเรื่องโฟม ไม่ต่างจากเรื่องจีเอ็มโอและอีกหลายๆเรื่อง ที่นักวิชาการต่างถกเถียงกัน ข้อมูลทุกวันนี้มีมากมาย จนสร้างความสับสน ข้อมูลใหม่ ข้อมูลเก่า ข้อมูลเท็จ ข้อมูลบริษัท  นักวิทยาศาสตร์อิสระ รับจ้าง ข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แต่ถ้าเรายึดหลักป้องกันไว้ก่อน สร้างทางเลือกให้กับตัวเองน่าจะปลอดภัยในสังคมบริโภคปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 ชีวิตหลังรัฐธรรมนูญ

แน่นอนว่าจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญเป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละบุคคล และยังไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังวันลงประชามติ รัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน ไม่ผ่านจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับไหน จะมีส่วนร่วมกันอย่างไรกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่เกือบ 19 ปี ที่รัฐธรรมนูญอย่างน้อยสองฉบับติดต่อกัน ทั้ง พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และได้เพิ่มบทบาทในการตรวจสอบการคุ้มครองผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญปี 2550  ร่างที่กำลังรอลงประชามติกลับไม่เขียนให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจน เขียนไว้เพียงให้องค์กรของผู้บริโภค มีสิทธิรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้ง อำนาจในการเป็นตัวแทนของผู้บริโภค ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ กลับเขียนเพิ่มให้เป็นหน้าที่ของรัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการรู้ข้อมูลที่เป็นจริง ด้านความปลอดภัย ด้านความเป็นธรรมในการทำสัญญา หรือด้านอื่นใดอันเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ซึ่งมีกลไกและมาตรการอยู่แล้ว นับตั้งแต่ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2522 หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ แน่นอนปัญหาการตีความ ความไม่ชัดเจนที่เขียนไว้ย่อมทำให้คนที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญในอนาคต จะต้องถกเถียงและบิดพลิ้วในการทำให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคการคุ้มครองผู้บริโภคให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ กระทำเพียงหน่วยงานรัฐอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะปัญหาปัจจุบันสะท้อนความอ่อนแอของระบบการคุ้มครองผู้บริโภคภาครัฐได้เป็นอย่างดีการมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จะเป็นตัวช่วยผู้บริโภค เพราะซื้อรถ ซื้อบ้าน ซื้อข้าวของต่างๆ เวลามีปัญหา เหนื่อยสายใจแทบขาดใจเพราะต้องต่อสู้ตัวคนเดียว ถ้ามีองค์การอิสระที่สามารถเป็นเพื่อน ช่วยสนับสนุนในการใช้สิทธิ คงจะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะประเทศไทยต้องการตัวแทนผู้บริโภคในการคุ้มครองสิทธิประชาชน เกิดอะไรขึ้นกับประเทศ เราไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อยเข้าใจและหลายเรื่องยากเกินไป แต่ถ้าเรามีตัวแทนของผู้บริโภคที่ชัดเจน ช่วยให้ความเห็นแทนประชาชน  ก็จะพอสบายใจได้ว่าการเอาเปรียบน่าจะลดลง สุดท้ายแน่นอนต้องเป็นหูเป็นตาให้ภาครัฐ เป็นตาสับปะรด ให้กับหน่วยงานรัฐ ในการปกป้องสิทธิ และคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้ง ธุรกิจที่ดี ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นจากผู้บริโภค เกิดสมดุลมากขึ้นในการพัฒนาประเทศ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและเดบิตเป็น “บัตรชิปการ์ด” แต่ละธนาคารมีเงื่อนไขอะไรบ้าง?

ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะมีการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต จากบัตรแบบเดิมที่เป็นแบบแถบแม่เหล็ก มาเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” (chip card) โดยการใช้งานยังคงสามารถใช้ได้ตามปกติเช่นเดียวกับบัตรแบบเดิม ทั้งการกดเงินหรือทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งการใช้บัตรเดบิตใช้จ่ายแทนเงินสดผ่านเครื่องรับบัตรโดยผู้ที่ขอทำบัตรใหม่กับทางธนาคารตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นต้นมา ก็จะได้รับบัตรแบบชิปการ์ดทันที ส่วนผู้ที่มีบัตรเดิมแบบแถบแม่เหล็กต้องไปดำเนินการขอเปลี่ยนบัตรเป็นแบบชิปการ์ดได้ที่ธนาคารผู้ให้บริการบัตรนั้นๆ ทั้งนี้บัตรชนิดแถบแม่เหล็กยังสามารถใช้งานได้ปกติ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 การขอเปลี่ยนบัตรจากแบบแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดนั้น ธนาคารแต่ละแห่งก็มีเงื่อนไขในการเปลี่ยนแตกต่างกัน บางแห่งก็บริการเปลี่ยนฟรีไม่มีค่าบริการ บางแห่งเปลี่ยนฟรีแต่มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา บางแห่งก็มีการคิดค่าธรรมเนียมปกติไม่ต่างจากการขอทำบัตรใหม่ “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้จึงได้สำรวจเงื่อนไขในการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดของแต่ละธนาคารว่ามีความแตกต่างอย่างไรบ้าง            ทำไมต้องเปลี่ยนเป็น “ชิปการ์ด”นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พูดถึงเหตุผลในการให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศดำเนินการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด ไว้ 2 เหตุผลสำคัญ คือ ข้อที่ 1.เรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวปัญหาการโจรกรรมปลอมแปลงข้อมูลบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต หรือการ skimming ปรากฏเป็นข่าวบ่อยครั้ง ซึ่งสร้างความเสียหายและมีผลต่อความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยกับผู้ใช้บัตร ซึ่งนางทองอุไรให้ความมั่นใจว่า บัตรแบบชิปการ์ดจะเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้บัตรมากขึ้นกว่าบัตรแบบแถบแม่เหล็ก โดยถือเป็นมาตฐานที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกใช้กัน ทั้งในยุโรป และในประเทศแถบภูมิภาคเอเซียอย่าง มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ข้อที่ 2.เป็นการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ประกาศไว้ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2558 ซึ่งนโยบายนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร โดยการปรับเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตจากชนิดแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดอยู่ในแผนการดำเนินการโครงการที่ 2 จากทั้งหมด 4 โครงการ เรื่อง “การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์” ที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการใช้บัตรและใช้จ่ายทำธุกรรมการเงินต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยภาครัฐจะรับหน้าที่กระจายอุปกรณ์ชำระเงินเพื่อรองรับการใช้จ่ายผ่านบัตร โดยจะเริ่มที่หน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งนี้การเปลี่ยนเป็นบัตรแบบชิปการ์ดก็เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตรูดชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เป็นนโยบายที่ภาครัฐใช้เพื่อส่งเสริมการให้ประชาชนในประเทศหันมาทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ประกอบด้วย 4 โครงการหลัก คือโครงการที่ 1 การรับชำระเงินแบบ Any ID ซึ่งเป็นนโยบายที่จะให้ประชาชนนำเลขที่บัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มาใช้เป็นรหัสสำหรับทำธุรกรรมทางการเงิน แทนการใช้เลขที่บัญชี ซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ง่ายมากขึ้น สอดรับไปกับระบบการโอนเงินแบบใหม่ที่มีชื่อว่า “พร้อมเพย์-PromptPay” ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียน พร้อมเพย์-PromptPay ด้วย Any ID ตั้งแต่วันที่ 15. ก.ค.59 เป็นต้นไปโครงการที่ 2 การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือการสนับสนุนให้มีการเข้าถึงและใช้จ่ายผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เริ่มด้วยการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” เพื่อเพิ่มความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บัตรโครงการที่ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการพัฒนาการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เพื่อช่วยให้ภาคเอกชนสะดวกสบายในการนำส่งภาษีผ่านระบบออนไลน์ คาดว่าจะพร้อมใช้ในปี 2560โครงการที่ 4 e-Payment ภาครัฐ เป็นแผนที่หน่วยงานภาครัฐจะเลือกใช้วิธีจ่ายค่าสวัสดิการเงินช่วยเหลือต่างๆ ที่จ่ายให้กับภาคประชาชนโดยตรงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2559 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ด-บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กแบบเดิม ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ จนถึง 31 ธันวาคม 2562-จากการสำรวจค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด จะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์เจ้าใหญ่ๆ ที่มีสาขาบริการเยอะๆ ต่างก็ถือโอกาสช่วงปรับเปลี่ยนบัตร ยกเลิกการให้บริการบัตรเอทีเอ็ม(ธรรมดา) ไปในเวลาเดียวกัน เท่ากับว่าตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นปีที่บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตทุกใบจะต้องเป็นบัตรแบบชิปการ์ดทั้งหมด บัตรเอทีเอ็มก็จะไม่สามารถใช้งานได้อีก บัตรพื้นฐานที่สุดก็จะเป็นบัตรเดบิตแบบชิปการ์ดฉลาดซื้อ ฉบับที่ 169 เคยได้สำรวจราคาค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีเปรียบเทียบระหว่างบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบพื้นฐานเมื่อเดือน มกราคม 2558 พบว่าราคาค่าธรรมเนียมของบัตรทั้ง 2 ชนิด ธนาคารส่วนใหญ่คิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกัน คือแรกเข้า 100 บาท รายปี 200 บาท ซึ่งก็ยังเป็นราคาเดียวกับบัตรเดบิตชิปการ์ดแบบพื้นฐานที่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีที่ 100 บาท และ 200 บาท ตามลำดับ-บัตรแบบชิปการ์ด จะเพิ่มรหัสบัตรในการใช้งานกับตู้เอทีเอ็มเป็น 6 ตัว จากเดิมที่มีแค่ 4 ตัว ทั้งนี้อาจจะยังมีบางธนาคารที่ยังใช้ 4 ตัวตามเดิม-ควรนำบัตรเก่าไปยืนยันการขอบัตรใหม่ด้วย เพื่อแสดงให้ธนาคารรู้ว่ามา ขอเปลี่ยนบัตร ไม่ใช่ทำบัตรใหม่-จากการสำรวจพบว่าแม้ธนาคารหลายแห่งจะโฆษณาว่าสามารถเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ดได้ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ส่วนใหญ่ก็มีเงื่อนไขของเวลามากำหนด โดยจะให้เวลาถึงแค่ 31 ธ.ค. 59 นี้เท่านั้น ที่แตกต่างก็คือ ธนาคารกรุงไทย ที่ให้เปลี่ยนได้จนถึง 31 ธ.ค. 62 หรือกำหนดวันสุดท้ายที่ยังสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบเดิม-ธนาคารกสิกรไทย แจ้งว่าไม่คิดค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน แต่เมื่อไปขอเปลี่ยนบัตร ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งผู้ใช้บัตรสามารถขอคืนค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเก่าตามระยะเวลาที่ไม่ได้ใช้ได้แต่ยังไม่ทันไรก็มีปัญหาเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ดของธนาคารกสิกรไทย เมื่อธนาคารมีการตัดค่าธรรมเนียมของผู้เปลี่ยนบัตรโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ ในช่วงเวลา 02.00-05.00 น.ของวันที่ 12 มิถุนายน 59 ซึ่งมีผู้ร้องเรียนผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก สุดท้ายธนาคารกสิกรไทยก็ออกมายอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของธนาคารเอง โดยทางธนาคารก็ออกมาชี้แจงว่าได้ทำการโอนเงินที่ถูกตัดไปคืนให้กับผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดที่มา: facebook.com/KBankLive-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กรณีขอเปลี่ยนบัตรต่างสาขากับที่ออกบัตรเดิม จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 30 บาท-บัตรแบบชิปการ์ดสามารถใช้งานได้กับตู้เอทีเอ็มได้ตามปกติ แต่ในระยะแรกอาจมีตู้เอทีเอ็มบางตู้ในบางพื้นที่ของบางธนาคารที่ยังไม่พร้อมใช้งาน โดยเครื่องเอทีเอ็มที่ยังไม่พร้อมรองรับการใช้งานจะมีการแสดงข้อความให้ทราบที่หน้าตู้   คนไทยใช้บัตรเอทีเอ็มน้อยลง?ข้อมูลจากรายงานระบบการชำระเงิน 2557 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุเอาไว้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินของคนไทยผ่านตู้เอทีเอ็มพบว่า คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มในสัดส่วนที่ลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2548 คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มอยู่ 418.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 6.3% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินต่างๆ ของคนไทย แต่ในปี 2557 มูลค่าการชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มลดลงมาอยู่ที่ 373.8 พันล้านบาท หรือแค่ 1.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมดโดยวิธีการทำธุรกรรมการชำระเงินที่คนไทยเลือกใช้มากที่สุดก็คือ การใช้จ่ายด้วยเงินสด โดยในปี 2557 คนไทยถอนเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มทั้งหมด 7,508. พันล้านบาท หรือ 30.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมด รองลงมาคือ โอนเงินและตัดเงินล่วงหน้าอัตโนมัติ 6,312.4 พันล้านบาท หรือ 25.7% และการชำระเงินและโอนเงินด้วยบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ 4,952.8 พันล้านบาท หรือ 20.2% โดยสถิติปัญหาแต่ละเรื่องจะประกอบไปด้วย การขอคำปรึกษา การร้องเรียน และการแจ้งเบาะแส/ให้คำแนะนำ ที่มา: รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ในการให้ข้อมูล/คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ปี 2558, ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ไนเตรท และ ไนไตรท์ ใน “หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน เนื้อเค็ม”

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 200 บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็มหรือเนื้อเค็ม นอกจากจะเป็นอาหารถูกปากของใครหลายคนแล้ว ยังเป็นของฝากยอดนิยมอีกด้วย เพราะมีรสชาติอร่อยและสะดวกพร้อมรับประทาน โดยสามารถนำมาเป็นของกินเล่น หรือกินคู่กับข้าวสวยหรือเหนียวร้อนๆ ก็ยังได้อย่างไรก็ตามอาหารเหล่านี้ต้องผ่านการแปรรูป เพื่อเพิ่มรสชาติ ช่วยถนอมอาหารและทำให้สามารถจำหน่ายได้สะดวกขึ้น ซึ่งบางเจ้าอาจใส่สารเคมีอย่าง เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์เข้าไป เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะโดยรวมตามที่ควรเป็น โดยหากผู้บริโภคได้รับสารเคมีดังกล่าวในปริมาณที่มากเกินไป สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปดูผลทดสอบ เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์ใน หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็มและเนื้อเค็มจำนวน 14 ยี่ห้อ หลังจากที่เราเคยเสนอผลทดสอบสารดังกล่าวในไส้กรอกกันแล้ว ซึ่งรับรองว่าผลทดสอบคราวนี้ยังน่าสนใจเหมือนเดิม   มาตรฐานสำหรับการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ... ข้อ 6  การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชนิดวัตถุเจือปนอาหาร ชนิดของอาหารและปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ ตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ดังนี้  6.1 ตามมาตรฐานทั่วไปสำหรับการใช้วัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ (Codex General Standard for Food Additives) ฉบับล่าสุด 6.2 ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร ซึ่งในกรณีของ หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็ม เนื้อเค็ม ไม่มีการกำหนดเฉพาะไว้ตามประกาศข้อ 6.2 (ประกาศ อย.) จึงยึดตามเงื่อนไขของประกาศ ข้อ 6.1 (โคเด็กซ์) คือ สามารถใช้ "โซเดียมไนไตรท์" (INS 250) ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง แปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อน และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง ทำให้สุกโดยใช้ความร้อน ซึ่งกำหนดให้ใช้โซเดียมไนไตรท์ ปริมาณสูงสุดได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม (ตามประกาศ อย. มีกำหนดการใช้ไนไตรท์ไว้เฉพาะเนื้อหมัก เช่น ไส้กรอก แฮม ให้ใช้ได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ซึ่ง หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็ม เนื้อเค็ม ไม่น่าจะใช่เนื้อหมักตามประกาศ อย.) สำหรับกรณีการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่เป็น "โซเดียมไนเตรท" (INS 251) ในผลิตภัณฑ์เนื้อประเภท หมูแผ่น หมูสวรรค์ เนื้อเค็ม ไม่มีกำหนดไว้ในโคเด็กซ์ และไม่มีการกำหนดเฉพาะไว้ใน ประกาศ อย. แต่คงเทียบเคียงได้กับปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ในเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อหมัก(ไส้กรอก แฮม) ที่มีการกำหนดเฉพาะไว้ คือ “โซเดียมไนเตรท” ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ในประกาศ อย. เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี 2548) ยังได้ระบุเพิ่มเติมไว้ว่า “การใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ต้องมีปริมาณรวมกันแล้ว ไม่เกินปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด” ซึ่งถ้ายึดตามเกณฑ์นี้ การใช้ทั้งไนเตรทและไนไตรท์ร่วมกัน  ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่งให้สุกโดยใช้ความร้อน และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง แปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อน ก็คือ ต้องไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ผลการทดสอบ             ตัวอย่างที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 80 มิลลิกรัม/อาหารน้ำหนัก 1 กิโลกรัม   ตัวอย่างที่พบการใช้ไนเตรท เกิน 500 มิลลิกรัม/อาหารน้ำหนัก 1 กิโลกรัม      สรุปผลการทดสอบ- จากทั้งหมด 14 ตัวอย่าง พบว่ามี 10 ตัวอย่าง(ร้อยละ 71) ใส่สารไนเตรท ไนไตรท์ ไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดให้ใช้ ตามประกาศ อย เรื่องข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร- มี 1 ตัวอย่างที่มีไนเตรทเกินกว่าค่าปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ ยี่ห้อ หมูสวรรค์ ร้านหมู หมู โดยตรวจพบไนเตรทสูงถึง 2033.16 มก./กก.- พบ 1 ตัวอย่างที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ   ตราบ้านไผ่ เนื้อสวรรค์ พบไนเตรท 94.66 มก./กก. และพบไนไตรท์น้อยกว่า 10 มก./กก. รวมแล้วอยู่ระหว่าง 94.66  - 104.66 มก./กก- พบ 2 ตัวอย่าง. ที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ(1)  เนื้อเค็ม ตราลัดดา พบไนเตรท 169.93 มก./กก. และไนไตรท์ 55.68 มก./กก. รวม 225.61 มก./กก.(2) เนื้อเค็ม ร้านหมู หมู พบไนเตรท 216.05 มก./กก. และไนไตรท์ 17.17 มก./กก. รวม 233.22 มก./กก.ฉลาดซื้อแนะ    ไม่รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูปบ่อยครั้งเกินไป เพราะมีความเสี่ยงต่อการรับเอาสารเคมีที่ใช้เจือปนเพื่อการถนอมอาหารในปริมาณมาก เนื่องจากหลายครั้งพบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีการใช้ในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว  ข้อมูลอ้างอิง :•    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร•    ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี 2548)•    ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามมาตรฐานทั่วไปสำหรับวัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ http://food.fda.moph.go.th/data/FoodAdditives/GSFA_2014.pdf •    แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556•    การใช้วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ http://food.fda.moph.go.th/data/news/2558/sum_newser/TrainingFA2011/3.2Meat54.pdf-------------------------------------------------->>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 200 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค--------------------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 คาเวียร์

เป็นชื่อของไข่ปลาปรุงรส ทำมาจากปลาได้หลายชนิด แต่ที่นิยมกันมากคือไข่ปลาสเตอร์เจียน ที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว คาเวียร์จากปลาสเตอร์เจียนยังนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลกอีกด้วยสเตอร์เจียน เป็นปลาสองน้ำที่กำเนิดมาตั้งแต่ยุคโบราณ ตามธรรมชาติจะพบแต่เฉพาะซีกโลกทางเหนือซึ่งเป็นเขตหนาวเท่านั้น สถานะของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์เต็มที แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด จากความนิยมบริโภคไข่ของมันนั่นเองทำให้ต้องมีการออกกฎควบคุมการจับปลาในแหล่งธรรมชาติ เพราะขืนปล่อยไว้มีหวังปลาที่อายุเฉลี่ยมากกว่า 150 ปีและอยู่บนโลกมาร่วมร้อยล้านปีได้สูญพันธุ์แน่ ไข่จากปลาสเตอร์เจียนบางทีก็เรียกว่า คาเวียร์ดำ แบ่งเป็นหลายชนิด เช่น เบลูกา  เซฟรูกา ซึ่งเรียกจากปลาต่างอายุ ต่างสายพันธุ์ และแหล่งที่อยู่อาศัย ด้วยเหตุนี้ชนิด สี และรสชาติของคาเวียร์ดำจึงมีความหลากหลาย อะไรอร่อยสุด ดีสุด ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้บริโภค   อย่างไรก็ตามคนที่จะบริโภคคาเวียร์ได้ต้องมีเงินทองเหลือใช้เท่านั้น จึงนิยมบริโภคกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง จัดเป็นอาหารหรูหราแสดงถึงฐานะและรสนิยมมาตั้งแต่ยุคศักดินา ยิ่งเป็นคาเวียร์ที่ได้จากปลาสเตอร์เจียนพันธุ์ที่หายากราคายิ่งแพงมากๆ คาเวียร์ที่ได้จากสเตอร์เจียนในทะเลสาบแคสเปียนคนส่วนใหญ่เชื่อว่า มีคุณภาพดีที่สุด ราคาจึงแพงที่สุด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120,000 -  150,000 บาท แม้ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงได้ ราคาของคาเวียร์จากปลาเลี้ยงก็ยังอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 40,000 - 50,000 บาท ปัจจุบันประเทศไทยก็สามารถเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนและนำไข่มาวางขายได้แล้วเช่นกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ติดตามแจ้งเบาะแสเด็กหายผ่าน ThaiMissing

    ปัจจุบันมีบุคคลที่สูญหายเป็นจำนวนมาก โดยจะเห็นได้จากข่าวสารบนหน้าหนังสือพิมพ์หรือข่าวสารในโทรทัศน์ช่องต่างๆ ที่ประกาศตามหาบุคคลที่หายไป โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ทั้งนี้ได้มีองค์กรหนึ่งที่ให้ความช่วยเหลือและพยายามติดตามหาบุคคลที่สูญหายเหล่านั้น ซึ่งมักจะมุ่งติดตามเด็กเป็นส่วนใหญ่ มูลนิธิกระจกเงาเป็นองค์อันดับต้นๆ ที่จะมีคนนึกถึงและแจ้งเบาะแสเรื่องเด็กที่สูญหาย ด้วยสังคมปัจจุบันหันนิยมใช้โซเชียลมีเดียกันเป็นจำนวนมาก การขอความช่วยเหลือและแจ้งเบาะแสจึงนิยมใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการติดตามเด็กที่สูญหาย แอพพลิเคชั่น ThaiMissing เป็นแอพพลิเคชั่นของมูลนิธิกระจกเงา ที่คำนึงถึงการใช้สื่อทางโซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางและเป็นการเพิ่มช่องทางให้ประชาชนทั่วไปได้แจ้งเบาะแสต่างๆ และติดตามคนที่สูญหายโดยผ่านแอพพลิเคชั่นนี้การเริ่มต้นการใช้แอพพลิเคชั่น ThaiMissing จะสามารถเข้าใช้งานได้ 2 แบบ คือ แบบทั่วไปโดยไม่ทำการ log in และการเข้าใช้ระบบด้วยการ log in ผ่าน facebook การเข้าระบบผ่าน facebook จะช่วยให้สามารถใช้แอพพลิเคชั่นแจ้งเบาะแสได้ดีขึ้นและเป็นการยืนยันตัวตนของผู้แจ้งอีกด้วยภายในแอพพลิเคชั่นจะแบ่งออกเป็นหมวด ได้แก่ หมวดติดตามรายบุคคล จะเป็นข้อมูลต่างๆ ของบุคคลที่สูญหายว่ามีใคร และมีรายละเอียดอย่างไร นอกจากนี้ในหมวดนี้ยังมีปุ่มให้แจ้งเบาะแส สำหรับผู้ที่ทราบข้อมูลหรือพบเห็นบุคคลที่สูญหาย โดยการส่งเป็นข้อความหรือรูปภาพ และการแชร์สถานที่บริเวณที่พบเห็นบุคคลที่สูญหายได้ทันที หมวดข้อมูลเผยแพร่จะเป็นหมวดที่ให้ข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ ข้อควรรู้เกี่ยวกับบุคคลที่สูญหาย ส่วนอีกสองหมวด คือ หมวดติดตาม ซึ่งเป็นหมวดที่ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นจะสามารถตั้งค่าแจ้งเตือนตนเองเมื่อมีบุคคลสูญหายภายในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถช่วยสังเกตเมื่อได้พบเห็นบุคคลที่สูญหายไปและแจ้งเบาะแสได้ทันถ่วงที และหมวดสมาชิกในครอบครัว ซึ่งจะเป็นหมวดที่มีไว้สำหรับแจ้งบุคคลภายในครอบครัวตนเองหรือคนรู้จักสูญหายไป การมีแอพพลิเคชั่นนี้ในสมาร์ทโฟน จะเป็นการช่วยเหลือสังคมและครอบครัวผู้อื่นโดยไม่ยุ่งยาก  เมื่อพบเห็นบุคคลที่คาดว่าเป็นบุคคลที่ติดตามค้นหาอยู่ก็สามารถแจ้งเบาะแสและแชร์สถานที่ที่พบเห็นได้ทันทีผ่านแอพพลิเคชั่น เพียงแค่ใช้การสังเกต ติดตามข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นนี้ก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมได้อีกทางหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ปัญหาของการชำรุดเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรของสินค้ากลุ่มอิเลคทรอนิกส์(1)

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ต่างมีความรู้สึกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ มือถือ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน มีอายุการใช้งานที่สั้นมากจนผิดปกติ บางครั้งการชำรุดบกพร่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กล่าวมานั้น ยังพอใช้งานได้ เพียงแต่ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์บางชิ้น ชำรุดเสียหาย ต้องการแค่เปลี่ยนอะไหล่ แต่พอติดต่อศูนย์บริการหลังการขาย ก็ประสบปัญหาอะไหล่ไม่มี หรือค่าแรงในการซ่อมแพงกว่าการซื้ออุปกรณ์เครื่องใหม่ หรือบางครั้งอุปกรณ์การสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊ค จำเป็นต้อง upgrade โปรแกรม หรือ แอพพลิเคชันใหม่ ซึ่งอุปกรณ์เครื่องเก่าอาจไม่รองรับกับ ซอฟท์แวร์หรือแอพพลิเคชันใหม่ ทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มความสามารถของเครื่อง หรือกรณีเลวร้ายที่สุดคือ ไม่สามารถใช้งานได้เลยปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น องค์กรผู้บริโภคและหน่วยงานภาครัฐของเยอรมนีที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่างมีความกังวลกับการที่อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามีเแนวโน้มสั้นลง เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในอดีต ซึ่งนำไปสู่การศึกษาและเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบข้อสงสัย และคลายความกังวลในประเด็น การ(จงใจ ?) ทำให้ชำรุดเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรของผู้ผลิตสินค้า ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสียและสิ้นเปลืองงบค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคแล้ว ยังก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากขยะอิเลคทรอนิกส์ตามมาอีกด้วยสำหรับบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลจากการศึกษาของ กรมควบคุมมลพิษและสิ่งแวดล้อมแห่งเยอรมนี ที่เผยแพร่ข้อมูลการศึกษามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2016 ซึ่งได้แบ่งประเภทของการชำรุดเสื่อมสภาพ(obsolescence) ของผลิตภัณฑ์เป็น 4 ประเภท คือ•    การเสื่อมสภาพของวัสดุ (Materials Obsolescence) •    การเสื่อมสภาพของการใช้งาน (Functional Obsolescence) เช่น การ upgrade software•    การเสื่อมสภาพจากสาเหตุทางจิตวิทยา (Psychological Obsolescence) เช่น ผู้บริโภครู้สึกว่ามือถือที่ใช้อยู่ตกรุ่น และไม่ทันสมัย ความเร็วจากการใช้งานต่ำลง•    การเสื่อมสภาพจากสาเหตุทางเศรษฐศาสตร์ (Economical Obsolescence) เช่นเปลี่ยนเครื่องใหม่คุ้มค่ากว่าซ่อม      ในตารางที่ 1 แสดงให้ทราบว่า ค่าเฉลี่ยอายุการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศเนเธอร์แลนด์ เปรียบเทียบกันระหว่าง ปี 2000 กับปี  2005 พบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกประเภทมีอายุการใช้งานที่สั้นลง โดยเฉพาะเตาไมโครเวฟ มีอายุการใช้งานเฉลี่ยลดลงมากถึง 15 % และอุปกรณ์ในกลุ่ม smart phone smart device มีอายุการใช้งานเฉลี่ยลดลงมากที่สุดถึง 20 %    ตารางที่ 2 ในส่วนของสมาร์ทโฟน หากพิจารณาถึงความยากง่าย ในการถอดและใส่แบตเตอรี ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี เมื่อแบตเตอรีเสื่อมสภาพแล้ว ยี่ห้อ IPHONE 6 และ HTC one เป็นกลุ่มสมาร์ตโฟนที่แบตเตอรีติดแน่นกับตัวเครื่อง ใช้เวลานานในการถอดแบตเตอรี และต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ปัญหาแบตเตอรีประกอบติดแน่นในโทรศัพท์มือถือ คือ ผู้บริโภคไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้เอง ต้องเข้าศูนย์บริการและให้ช่างของศูนย์ทำการเปลี่ยนให้ ซึ่งมีราคาค่าบริการสูงมาก แนวโน้มของโทรศัพท์มือถือแบบนี้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทุกปีสำหรับผลการสำรวจโน้ตบุ๊คโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาได้สอบถามผู้บริโภคทางอินเตอร์เน็ต จำนวน 655 คน ต่อเหตุผลที่ซื้อโน้ตบุ๊คเครื่องใหม่ พบว่าสาเหตุของการซื้อโน้ตบุ๊คใหม่ เนื่องจาก•    โน้ตบุ๊คเดิมชำรุด 46% (Materials Obsolescence)•    ฟังค์ชันการทำงานของเครื่องเดิมไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 25% (Functional Obsolescence)•    เหตุผลอื่นในการเปลี่ยน 17%•    ไม่ชอบเครื่องเก่า 6% (Psychological Obsolescence)•    ได้ของขวัญเป็นเครื่องใหม่ 6% (Psychological Obsolescence)สำหรับผลการสำรวจช่วงเวลาที่โน้ตบุ๊คเกิดความชำรุดบกพร่อง ซึ่งมักจะเกิดหลังจากหมดอายุประกันสินค้า ตลอดจนชิ้นส่วนของโน้ตบุ๊ค ที่เสื่อมสภาพสูงสุดมากสามอันดับแรกติดตามได้ในเล่มหน้า       (แหล่งข้อมูล: http://www.umweltbundesamt.de/publikationen/einfluss-der-nutzungsdauer-von-produkten-auf-ihre-1)    

อ่านเพิ่มเติม >