ฉบับที่ 154 เครื่องปั๊มวันที่ ต้องการสองแถว แต่ได้มาแถวเดียว

ผู้ร้องรายนี้ปรึกษามาทางออนไลน์เช่นกัน ปัญหาของผู้ร้องคือ อยากได้เครื่องปั๊มวันที่บนซองบรรจุอาหาร ตอนแรกเห็นผ่านเฟซบุ้คหนึ่งแต่เขาไม่มีของให้ แต่แนะนำเว็บไซด์หนึ่งให้ จึงตามไปที่เว็บดังกล่าวเมื่อคุยไปตามเบอร์โทรบนหน้าเว็บ พร้อมทั้งส่งภาพวิดีโอลักษณะของเครื่องปั๊มที่อยากได้ไปให้ทางผู้ขายดู ทางนั้นก็บอกให้มารับของได้เลยจึงให้หลานไปรับสินค้าและจ่ายเงินไป 2,900 บาท แต่เมื่อหลานนำกลับมาปรากฏว่าเป็นเครื่องปั๊มคนละแบบกับที่อยากได้ เพราะเป็นแถวเดียว แถมเป็นภาษาจีน ไม่ใช่แบบสองแถวที่ส่งภาพวิดีโอไปให้ดู “รีบโทรกลับไปเพื่อขอเปลี่ยนเพราะไม่ใช่ของที่เราต้องการ นอกจากไม่ยอมเปลี่ยนให้แล้ว อ้างว่าหลานเห็นของแล้ว คนขายยังด่าว่าอย่างหยาบคายกลับมาและท้าให้ไปแจ้งความอีกด้วย” การแก้ไขปัญหาเมื่อได้ติดต่อกลับไป พบว่าผู้ร้องไม่อยากเอาความต่อแล้ว เพราะรับไม่ได้ที่โดนว่าอย่างหยาบคายและยังมามาราวีต่อให้หน้าเฟซบุ้คของบริษัทด้วย “จริงๆ ก็ตั้งใจจะเปลี่ยนเป็นสินค้าอื่น แต่พอเจอคนขายแบบนี้ก็ไม่อยากค้าขายด้วยแล้ว ของมูลค่าไม่มาก ช่างมันเถอะ” เจอคนขายแบบนี้เข้าไป เล่นเอาขยาดกันไปทีเดียว ดังนั้นหากว่าสั่งซื้อสินค้าใดไปแล้ว เกิดได้สินค้าที่ไม่ตรงกับรายการที่ทางผู้ขายแสดง หรือผู้ขายทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสินค้า เราสามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ แต่ว่าการใช้สิทธิในบ้านเรายังติดๆ ขัดๆ เพราะผู้ประกอบการไม่ค่อยรับผิดชอบ ผู้บริโภคเองก็ถูกคุกคาม บางทีก็เสียเวลา เสียเงินทองจนเลยมูลค่าของสินค้าไปมาก ผู้ร้องที่จะฝ่าด่านเหล่านี้ไปได้จึงมีอยู่ไม่มาก ดังนั้นผู้ประกอบการที่แย่ๆ จึงยังคงแย่อยู่ได้ตลอดโดยไม่มีการปรับปรุง //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 ซื้อคอนโดมาใหม่ 1 ปี ร้าวทุกเดือนทำยังไงดี

เรื่องมาทางกระทู้ร้องเรียนในเว็บ consumerthai.org ผู้บริโภคคงเหลืออดจริง จึงโพสต์ร้องทุกข์และระบายความคับข้องใจมาได้แสบๆ คันๆ แท้คุณบุญโพสต์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 55 ว่า ซื้อคอนโดของ AP มา 1 ปี ร้าวทุกเดือนทำยังไงดี เป็นคอนโดใหม่เพิ่งสร้างเสร็จชื่อ Life 18 หลังจากโอนเข้าอยู่มีร้าวแทบทุกเดือนไม่หยุด รอยล่าสุดเพิ่งเกิดเดือนนี้ตรงขอบประตูทางเข้าห้อง โครงการฯ แจ้งหมดประกันเมื่อไหร่ลูกบ้านก็ไปซ่อมเอง น่ากลัวจังตอนที่ซื้อ sale บอกเป็นแบรนด์เดียวกับแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ดูโครงการก็น่าเชื่อถือ แต่พอเข้าอยู่ ปัญหาร้าวไม่เว้นแต่ละเดือน ซ่อมก็ช้าชอบรอให้ร้าวหลายรอบแล้วซ่อม แต่ก็มีรอยใหม่ตามมาอีก กังวลว่าปีแรกเป็นขนาดนี้ ถ้าตึกเก่าไปจะขนาดไหน17 กรกฎาคม 55 เดือนนี้ฝนตก ท่อน้ำดันขยะไปถึงเพดาน กระเบื้องในห้องน้ำร้าวอีกแล้ว ผนังฝั่งครัวก็ไม่รอด เมื่อเช้าไปตากผ้า ร้าวเพิ่มตรงระเบียง...จะบ้าตาย...27 กรกฎาคม 55 พื้น laminate ปูขอบเกยกันทั้งห้องและมีขอบบวม แจ้งซ่อมไปตั้งแต่เช้า โครงการฯ ผัดวันประกันพรุ่งมาปีกว่าแล้ว ก็สรุปว่า ไม่แก้ ผนังห้องน้ำคนละสีและปูไม่ได้ระดับ ส่วนนอกห้องก็ไม่รอด โครงการเนียนเอาหินโรยถนนมาโรยแทนหินแม่น้ำได้ใจจริงๆผนังเตียงนอนมีหรือจะรอด โครงการฯ อะไรทำไมมันร้าวได้ทุกส่วน...ดูแล้วมันต้องเป็นผู้รับเหมาเดียวกันกับสนามบินสุวรรณภูมิแน่นอน การแก้ไขปัญหาครั้งแรกที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ติดต่อกลับไปยังไม่สามารถคุยรายละเอียดกับทางผู้ร้องคุณบุญได้ แต่เมื่อติดต่อได้ภายหลังและเริ่มประสานกับทางโครงการ AP ก็ทราบว่าทางคุณบุญได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทางโครงการฯ จัดการซ่อมแซมรายการร้าวๆ และปัญหาต่างๆ ที่พบ รวม 7 รายการ ซึ่งทางโครงการฯ ได้เข้ามาจัดการและขอให้ทางคุณบุญลงลายมือรับรอง ซึ่งบางรายการคุณบุญไม่ได้ลงลายมือรับรอง ทราบต่อมาภายหลังว่า “รับไม่ไหว รายการซ่อมบางรายการไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงว่ามีการปรับปรุงแก้ไขแต่อย่างใด”   คุณบุญอธิบายกับทางศูนย์พิทักษ์สิทธิฯต่อมามีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งมีท่าทีรับผิดชอบกับปัญหาน่าอึดอัดใจของคุณบุญ สุดท้ายก็สามารถจัดการปัญหาในจุดต่างๆ จนเป็นที่พอใจของผู้บริโภคได้ แต่ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดการปัญหานี้เกือบ 1 ปีทีเดียวหวังว่ารอยร้าวจะไม่มาสร้างปัญหาให้กับคุณบุญอีกต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 มันมาในรูปของ sms

มีเรื่องร้องเรียนเรื่องถูกส่ง sms มารบกวน และต้องจ่ายค่าบริการเยอะมาก  และที่มากไปกว่านั้นยังมีการโฆษณาสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคสมัครเข้ามารับบริการ เช่น หากสนใจกดหมายเลข .... แต่ไม่มีการให้ข้อมูลว่าหากต้องการยกเลิกจะกดอะไร ? ได้บ้าง  สิ่งที่เห็นคือเมื่อสมัครไปแล้วต้องการยกเลิกแทบไม่มีช่องให้ทำได้  หรือทำได้ก็มีการกำหนดขั้นตอนให้ยุ่งยากซับซ้อน ยากลำบากในการใช้สิทธิขอเลิกใช้บริการ ซึ่งอาจคาดเดาว่านี่คงเป็นยุทธศาสตร์เพื่อให้ผู้บริโภคเบื่อหน่าย และยอมจ่ายเงินไปเรื่อยๆองค์กรที่กำกับดูแล ก็เหมือนไม่ใยดีกับปัญหาที่ผู้บริโภคกำลังเผชิญกับการเอารัดเอาเปรียบของผู้ประกอบการ แถมองค์กรกำกับของเรายังมีพฤติกรรมคล้ายๆ กรรมการห้ามมวยปล้ำที่มักเอนเอียงไปทางด้านผู้ประกอบการซะอีก  ทั้งที่ผู้ประกอบการหลายมีพฤติกรรมแบบว่า ออกแนว ขี้โกงสารพัด  มากกว่าจะยึดกติกาที่เป็นธรรม(ที่กสทช.กำหนดขึ้นมาเองแต่ไม่บังคับใช้)   หากประเทศไทยก้าวเข้าสู่การบริการ 3G เต็มรูปแบบ และองค์กรกำกับยังเป็นอย่างนี้   เราคงต้องร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรกันต่อไปที่กล่าวมาข้างต้นคงสื่อให้เห็นปัญหากันบ้างแล้ว    สาเหตุของปัญหาจริงๆ มันอยู่ตรงไหน   หากนำปัญหาเรื่องร้องเรียนต่างๆ มาสังเคราะห์ อาจจะทำให้เห็นภาพของต้นเหตุได้ชัดเจนพอสมควร   เช่น กรณีมีผู้บริโภคร้องเรียนมาว่า  ต้องการยกเลิกข้อมูลที่ส่งมาแล้วถูกเก็บเงินโดยไม่เคยเปิดใช้บริการ  คำตอบที่ได้มาชวนให้คิดต่อได้มาก  คือ บริการเสริมเหล่านั้น ไม่เกี่ยวกับบริษัทผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตแต่เป็นบริการเสริมจากผู้ประกอบการรายอื่น(contantprovider) คำตอบนั้น เป็นเรื่องจริงหรือโกหกคำโตกันแน่?     เพราะข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนคือ   ผู้ให้บริการเสริมไม่ได้มาเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคโดยตรง  แต่เป็นการจ่ายผ่านระบบบริการ ทั้งระบบเติมเงินและรายเดือนของทั้ง  เอไอเอส,ดีแทค,และทรู “ทั้ง 3 ผู้ประกอบการได้นำเลขหมายที่ขายให้ผู้บริโภคแล้ว ไปขายให้กับผู้ให้บริการเสริมเพื่อให้ได้กำไรหลายต่อหรือไม่?”เพราะหากเป็นเรื่องจริง ปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไข  กสทช.ต้องไม่ปล่อยให้บริษัทผู้ประกอบการนำเลขหมายที่เป็นสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค  ไปค้าขายทำกำไร 2 ต่อ คำถามตามมาคือ หากองค์กรกำกับฯ (กสทช.)  ละเลยไม่กำกับดูแลตามหน้าที่  ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิกันอย่างไร? 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 สวัสดีปีใหม่ แก๊สหุงต้มจะปรับขึ้นราคา ?

เรื่องนี้ยังไม่มีใครร้องเรียน เพราะหลายคนยังไม่รู้ว่า แก๊สหุงต้มกำลังนับถอยหลังดีเดย์ปรับขึ้นราคา ในเดือนมกราคม ปี 2556 หน้าค่อนข้างแน่นอนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้สรุปแนวทางการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) เสนอนายพงษ์ศักดิ์  รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน โดยอาศัยการคาดการณ์ราคา LPG ในตลาดโลกปี 2556-2557 เฉลี่ยอยู่ที่ 900 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาใช้อ้างอิง ซึ่งจะช่วยสร้างความชอบธรรมให้ราคา LPG ขึ้นไปอยู่ที่ 36 บาท/กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 18 บาท/กก. สำหรับก๊าซที่ใช้ในครัวเรือนสนพ. ได้มีข้อเสนอเพิ่มเติมว่า เมื่อราคาตลาดโลกสูงขึ้นอย่างนี้ราคาก๊าซที่ขายในประเทศก็ต้องสูงตามไปด้วย แต่เพื่อมิให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกตกใจ จึงเสนอให้ใช้วิธีขึ้นราคาแบบนวดคลึง คือค่อยๆปรับ ค่อยๆเจ็บ สู่ราคาเป้าหมายที่ 36 บ./กก. ภายใน 2 ปี จากเดือนมกราคม 2556-ธันวาคม 2557โดยภาคครัวเรือนจะทยอยปรับขึ้นเดือนละ 50 สต./กก. จากราคาปัจจุบันอยู่ที่ 18.13 บ./กก. ภาครถยนต์จะปรับขึ้นเดือนละ 1.20 บ./กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 21.38 บ./กก. และภาคอุตสาหกรรมทั่วไปจะปรับขึ้นเดือนละ 50 สต./กก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 30.13 บ./กก.คาดว่ารัฐบาลจะลดแรงต้านด้วยการเสนอมาตรการบรรเทาความด้วยร้อนด้วยการแบ่งแยกกลุ่มประชาชน ผ่านกลไกบัตรเครดิตพลังงานที่จะให้ส่วนลดแก่ผู้มีรายได้น้อยประมาณ 6 ล้านครัวเรือน และร้านค้า หาบเร่ แผงลอย อีกราว 2 แสนกว่าราย ซึ่งจะมีลักษณะให้ไปลงทะเบียนคล้ายกับบัตรเครดิตพลังงานที่ใช้กับกลุ่มรถแท๊กซี่และวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในช่วงที่ผ่านมา   ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค ผลกระทบโดยตรง สำหรับบ้านที่ใช้แก๊สถังขนาด 15 กิโลกรัม ในเดือนที่ 1 หลังปรับขึ้นราคา 50 สต./กก.ราคาแก๊สจะขยับจากถังละ 290 บาท ขึ้นเป็น (0.50 x 15) + 290 = 297.50 บาท/ถังหลังปรับขึ้นราคาครบปีที่ 1ราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (0.50 x 15 x 12) + 290 = 380 บาท/ถัง (สูงขึ้น 31%)หลังปรับราคาครบสองปีราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (0.50 x 15 x24) + 290 = 470 บาท/ถัง (สูงขึ้น 62%)หมายเหตุ : ราคายังไม่รวมค่าบริการส่งก๊าซถึงที่อยู่อาศัย   สำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงราคาแก๊สปัจจุบันอยู่ที่21.38 บ./กก. หรือ 11.56 บ./ลิตร (LPG 1 กก. = 1.85 ลิตร)ในเดือนที่ 1 หลังปรับขึ้นราคา 1.20 บ./กก.ราคาแก๊สจะขยับจาก21.38 บ./กก. ขึ้นเป็น (21.38 + 1.20 ) = 22.58บ./กก. (12.20 บ./ลิตร)หลังปรับขึ้นราคาครบ 1 ปีราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (1.20 x 12) + 21.38 = 35.78 บ./กก. (19.34 บ./ลิตร) หรือ สูงขึ้น 67.35%หลังปรับขึ้นครบสองปีราคาแก๊สจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ (1.20 x 24) + 21.38 = 50.18 บ./กก. (27.12 บ./ลิตร) หรือสูงขึ้น 134.7% ผลกระทบโดยอ้อม ประชาชนอาจจะใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือนและในรถยนต์น้อยลง แต่ในทางเดียวกันประชาชนก็ไม่มีทางเลือกการใช้พลังงานมากขึ้น ป่าไม้อาจถูกทำลายมากขึ้น จากการที่ประชาชนหันกลับมาใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ไม่มีหลักประกันใดว่า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์จะสามารถดูแลราคาสินค้าเครื่องใช้อุปโภค บริโภค ต่างๆ ให้มีความเป็นธรรมกับผู้บริโภคได้ เพราะจากอดีตที่ผ่านมาในการปรับขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ NGV แม้รัฐบาลจะมีมาตรการบัตรเครดิตพลังงานให้ส่วนลดค่าเชื้อเพลิง มาตรการเปิดร้านค้าธงฟ้าที่ต้องใช้งบประมาณมากมาย หรือมาตรการประกาศราคาแนะนำข้าวแกงขึ้นมา แต่ปรากฏว่าไม่สามารถทำให้ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นไปแล้วทยอยลดราคากลับคืนมาแต่อย่างใด แนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาก๊าซ LPG ขาดแคลน โดยอ้างว่ามีการใช้ผิดประเภทในภาครถยนต์และในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป จนทำให้มีการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปจ่ายชดเชยราคาส่วนต่างของราคานำเข้า LPG ตลาดโลก นับแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบันรวมเกือบ 1 แสนล้านบาทนั้น เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนแก่ประชาชน เนื่องจากในขณะที่ภาคครัวเรือนใช้ก๊าซ LPG ในราคาประมาณ 18 บ./กก. ส่วนผู้ใช้รายอื่นใช้ในราคาที่สูงกว่านี้อีก แต่ปรากฏว่าภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมของตนกลับใช้ LPG ในราคาเพียง 16 บ./กก. เท่านั้น และมีสัดส่วนการใช้มากถึง 33-34% ของกลุ่มผู้ใช้ทั้งหมด (รถยนต์ใช้เพียง 14% )และยังเป็นการใช้ก๊าซโดยตรงจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาผลิต จึงมีราคาถูกที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับก๊าซที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน หรือก๊าซนำเข้าด้วยเรื่องนี้เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับประชาชนทั้ง 70 ล้านคน  จึงน่าจะมีกระบวนการประชาพิจารณ์ ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเปิดรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนทั่วไปเสียก่อน หากตรวจสอบแล้วว่า มีข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือมีการจัดการทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม จะได้มีมาตรการจัดการปัญหาที่เหมาะสมต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 ถูกยกเลิกเที่ยวบิน แถมคืนเงินไม่ครบ

คุณอาทรร้องเรียนสั้นๆ มาว่า....ผมได้จองตั๋วเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-โคลอมโบ ศรีลังกา เพื่อไปท่องเที่ยวระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคม 2555 ปรากฎว่าทางสายการบินแจ้งยกเลิกครับ และแจ้งว่าจะคืนเงินให้เฉพาะส่วนที่เป็นค่าตั๋วและค่าธรรมเนียมต่างๆ แต่จะไม่คืนเงินในส่วนที่ซื้อเพิ่มเติมคือ ค่าโหลดกระเป๋าและค่าอาหารบนเครื่อง และยังไม่สามารถแจ้งให้โอนเงินเข้าบัญชีได้อีกครับ จะโอนเงินผ่านช่องทางที่ซื้อเข้ามาเท่านั้น คือผ่านทางบัตรเครดิตให้ซึ่งเงินก็จะไปอยู่ในบัตรไม่สามารถเบิกมาได้เป็นเงินสด แถมยังคืนไม่ครบอีกจึงอยากจะขอปรึกษาว่าผมจะดำเนินการอย่างไรได้บ้างครับ รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมและเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคทั้งๆ ที่เป็นความผิดของตนเองแท้ๆ ที่ยกเลิกไฟท์การบิน ทำให้เกิดความเสียหายแถมยังรับผิดชอบแบบครึ่งๆ กลางๆ อีกครับ แนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาที่เกิดจากการใช้บริการโดยสาร ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ หรือเครื่องบิน ล้วนอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายในเรื่อง “รับขนคนโดยสาร” ที่มีข้อกำหนดหลักๆ สรุปเป็นภาษาให้พอเข้าใจได้ว่า ผู้ประกอบการรับส่งผู้โดยสารจะต้องรับผิดต่อผู้โดยสารในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวผู้โดยสาร หรือในความเสื่อมเสียอย่างใดๆ ที่เป็นผลโดยตรงจากการที่ต้องชักช้าในการขนส่งผู้โดยสาร เว้นแต่การเสียหายหรือชักช้านั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากความผิดของผู้โดยสารเอง ในขณะที่กระทรวงคมนาคม ได้ออกประกาศเรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทย ในเส้นทางบินประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553 แม้จะบังคับใช้เฉพาะสายการบินของไทย และบินในเส้นทางภายในประเทศ แต่ก็พอนำมาเทียบเคียงเรียกร้องสิทธิให้กับผู้โดยสารท่านนี้ได้ประกาศฉบับนี้ได้กล่าวถึงการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารในกรณีการยกเลิกเที่ยวบิน หรือการปฏิเสธการขนส่ง ว่าสายการบินต้องปฏิบัติต่อผู้โดยสาร โดยมีทางเลือกให้ผู้โดยสาร 2 ทาง ทางเลือกแรกคือ รับเงินค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ถูกเรียกเก็บคืนเต็มตามจำนวนที่จ่ายไป หากสายการบินจะชำระเป็น Travel Vouchers หรือสิ่งอื่นแทนเงินค่าโดยสาร และค่าธรรมเนียม จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้โดยสารก่อนแล้วเท่านั้น ทางเลือกที่สอง คือ การเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินเพื่อเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ระบุไว้ในบัตรโดยสาร หรือจุดหมายปลายทางอื่นที่ใกล้เคียงกับจุดหมายปลายทางเดิมโดยเร็วที่สุดภายในวันเดียวกัน วันถัดไป หรือวันอื่นตามความสมัครใจของผู้โดยสาร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้โดยสาร และที่นั่งว่างที่สายการบินสามารถจัดให้ได้ โดยสายการบินต้องไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมไม่ว่าในกรณีใด ๆ แต่หากการเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินนั้นมีค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมอื่นที่ต่ำกว่าจำนวนเงินค่าโดยสาร และค่าธรรมเนียมที่ผู้โดยสารได้ชำระไว้แล้ว สายการบินต้องชำระเงินส่วนต่างคืนให้กับผู้โดยสารด้วยสำหรับวิธีปฏิบัติในการคืนเงินค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมอื่น หรือเงินส่วนต่างให้แก่ผู้โดยสารนั้น สายการบินจะต้องคืนเงินให้ผู้โดยด้วยวิธีการที่ผู้โดยสารเลือก เช่น เงินสด โอนผ่านบัญชีธนาคาร เช็คธนาคาร เป็นต้น ซึ่งประกาศฉบับนี้ยังได้กำหนดระยะเวลาการคืนเงินด้วย คือ(ก) กรณีผู้โดยสารซื้อบัตรโดยสารด้วยเงินสดต้องดำเนินการคืนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน (ข) กรณีผู้โดยสารซื้อบัตรโดยสารด้วยบัตรเครดิตต้องดำเนินการคืนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 45 วันระเบียบนี้แม้จะไม่ใช่ระเบียบที่ใช้กับการบินระหว่างประเทศ แต่ก็ใช้เป็นหลักในการเรียกร้องสิทธิของเราได้ เบื้องต้นเมื่อเกิดปัญหาการถูกแจ้งยกเลิกเที่ยวบินและต้องการเรียกร้องเงินคืนให้ผู้โดยสารทำหนังสือจะเป็นจดหมายหรืออีเมล์ก็ได้ไปถึงสายการบินเพื่อแสดงเจตจำนงความต้องการของตนเองให้ชัดเจน และกำหนดวิธีการคืนเงินให้ชัดเจนด้วย เท่านี้ก็ถือเป็นการประกาศสิทธิของผู้บริโภคที่สายการบินจะต้องรับผิดชอบแล้วครับ ผลที่ได้รับก็ไม่นานเกินรอ และดีกว่าโทรคุยอย่างเดียวแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 ทำไม?? ค่าโอนหน่วยกิตถึงแพงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนปกติ

และแล้วเราก็ผ่านพ้นช่วงเวลาเปิดภาคเรียนที่แสนจะสับสน    วุ่นวายที่สุดคือเรื่องการหาที่เรียน ของลูกหลาน   และเรื่องที่วุ่นวายไม่แพ้กันคือเรื่องการหาเงินมาจ่ายค่าเทอม และอุปกรณ์การเรียนของลูกหลาน   แต่ไม่ว่าปัญหาจะใหญ่แค่ไหนสุดท้ายเราก็สามารถก้าวผ่านมันไปได้    เหมือนที่เคยผ่านมาทุกปี ถึงแม้ผู้บริหารการศึกษาหลายแห่งอาจจะยังถูกตรวจสอบอยู่ก็ตาม(หวังว่าปัญหาการเรียกเก็บค่าค่าแปะเจี๊ยะที่กำลังโด่งดังคงไม่จบแบบมวยล้มต้มคนดูนะ)พูดถึงการศึกษาผู้เขียนก็มีข้อสงสัยอยู่พอประมาณ   เรื่องมีอยู่ว่าผู้เขียนเนี่ย...เป็นคนทำงานเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค   จึงมีทั้งผู้มาร้องเรียนหรือมาหารือเกี่ยวกับกฎหมายอยู่บ่อยๆ(บ่อยมาก)    พอพูดถึงกฎหมายก็ต้องยอมรับว่าผู้เขียนมีความรู้เรื่องนี้อยู่ไม่มากเท่าที่ควร   พอมีคนมาหารือเราก็ต้องยกหูหานักกฎหมายอยู่เป็นเนืองนิจ.....ปรึกษาบ่อยๆ ก็เริ่มเกรงอกเกรงใจ  ก็เลยตัดสินใจไปลงเรียนกฎหมายเองเสียเลย..  อายุปาเข้าไปปูนนี้(และกำลังเงินมีจำกัด) ที่เรียนคงที่มหาวิทยาลัยเปิด ที่ราคาพอเรียนไหว  ก็คงหนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยรามคำแหง(คณะนิติศาสตร์) เพื่อจะได้มีพื้นฐานความรู้เรื่องกฎหมาย    เพื่อจะได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้กับคนที่มาพึ่งพาได้บ้าง     การลงทะเบียนเรียนที่ม.รามฯ ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก  ค่าหน่วยกิตก็ถือว่าถูกมากแค่หน่วยกิตละ 15  บาท รวมค่าเทอมและอื่นก็ไม่น่าจะเกิน 2 ,000 บาท (พอเรียนไหว) ผู้เขียนมีพื้นฐานการเรียนที่จบทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทแล้ว   นั่นก็หมายความว่าวิชาพื้นฐาน  ได้เรียนมาหมดแล้ว   ซึ่งสามารถเทียบโอนวิชาเหล่านี้ได้   ทางมหาวิยาลัยคิดค่าโอนหน่วยกิตละ 100 บาท(แพงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนเกิน 5 เท่า) โดนค่าโอนไปประมาณ 3,000 กว่าบาท     ผู้เขียนติดใจเรื่องนี้มาก(ถึงแม้จะเป็นเงินไม่มาก)   ที่ติดใจเป็นเพราะ การเทียบโอนทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เสียอะไรเลย  ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ  ค่าห้องเรียน และอาจารย์ผู้สอน  แต่กลับเรียกเก็บค่าเทียบโอนสูงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนปกติ   เขาเก็บแพงกว่าเพราะอะไร?    เมื่อสงสัยก็ต้องถาม จริงไหม?.....ผู้เขียนจึงได้ถามอาจารย์หลายคนที่อยู่ในบริเวณนั้น  ซึ่งแต่ละท่านน่าจะระดับ ด็อกเตอร์แล้ว น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน  หากท่านคิดอย่างนั้นเหมือนผู้เขียน....ขอบอกว่า....ท่านน.... “คิดผิด”  เพราะคำตอบที่ได้คือ “ไม่รู้”  ทางมหาวิทยาลัยเขาเขียนระเบียบมาอย่างนี้  ก็ต้องเก็บตามนั้น  อยากรู้ต้องไปถามอธิการบดีเอาเอง  คนอื่นเขาก็จ่ายกัน ไม่เห็นใครเขาจะถามเลย..อื้อหือ....คำตอบมีประโยชน์ต่อผู้ถามจังเล้ยยย...นอกจากไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนแล้วยังแถมด้วย สีหน้ารำคาญนิดหน่อย  ประมาณว่าจะเรียนไหม?..อะไรทำนองนี้       และที่ติดใจมากที่สุดคือคำที่บอกว่า  “มหาวิทยาลัยอื่นเขาก็เก็บอย่างนี้ทั้งนั้น”  อาจเป็นด้วยผู้เขียนเป็นคนทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค และกำลังจะเรียนกฎหมายด้วย   เมื่อเห็นอะไรแปลกๆ อดสงสัยไม่ได้เป็นธรรมดา   เรื่องนี้คงต้องติดตามตอนต่อไปว่ามหาวิทยาลัย  ออกระเบียบเช่นนี้ผิดกฎหมายหรือไม่(ยังไม่ทันจะเรียนวิญญาณนักกฎหมายเข้าสิงเสียแล้ว)      แล้วท่านผู้อ่านล่ะ..สงสัยเรื่องนี้บ้างหรือไม่หากสงสัย  ...มาช่วยกันหาคำตอบนะจะได้เรียนรู้ร่วมกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 ส่งโนเกียซ่อม 6 เดือนยังไม่ได้ ร้องมาที่มูลนิธิฯ สัปดาห์เดียวได้คืน

“วันที่ 12 ธันวาคม 2554 ผมได้ส่งโทรศัพท์โนเกีย รุ่นเอ็น 8 ไปซ่อมที่ศูนย์โนเกียแคร์ สาขาเอสพานาด ด้วยอาการที่มือถือเมื่อใช้ USB แล้วมองไม่เห็นคอมพิวเตอร์” คุณไกรภพเริ่มเรื่องศูนย์ได้รับเครื่องมือถือของคุณไกรภพเพื่อตรวจซ่อม และแจ้งกลับมาว่าเครื่องมีปัญหาที่เมนบอร์ด ต้องทำการเปลี่ยนด้วยราคา 12,000 บาท“ผมตัดสินใจไม่ซ่อมและขอรับเครื่องกลับ”นอกจากนั้นคุณไกรภพ ยังให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า ปรากฏว่าวันที่ไปรับเครื่อง เมื่อตรวจเช็คพบว่า เครื่องไม่สามารถเปิดได้ ซึ่งในใบรับซ่อมแจ้งว่าเครื่องเปิด-ปิดได้ โทรเข้า-โทรออกได้ปกติ จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าสาเหตุที่เครื่องเสียเปิดใช้งานไม่ได้ มีสาเหตุมาจากการซ่อมของทางศูนย์“ผมจึงได้โวยวายให้ศูนย์รับผิดชอบ ทางศูนย์จึงได้ส่งเครื่องกลับไปซ่อมใหม่”ต่อมาศูนย์แจ้งว่า จะทำการเปลี่ยนเมนบอร์ดให้และให้รอการแจ้งกลับช่วงแรกๆ ผมก็รอ แต่ปรากฏว่ามีความจำเป็นต้องติดต่องานตลลอดเวลา ทำให้ต้องซื้อเครื่องใหม่ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องเสียเงินเลย แต่เป็นเพราะทางศูนย์ทำเครื่องพังหนักกว่าเดิม ไม่ทราบว่าผมจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างครับ ตอนนี้ตามทั้งทางโทรศัพท์ ตามทั้งทางศูนย์เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่ก็ไม่ได้ความคืบหน้าอะไรเกี่ยวกับการซ่อมเลยครับ “ผ่านจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ระยะเวลาในการซ่อม 6 เดือน หรือครึ่งปีแล้วผมควรทำอย่างไรดีครับ” แนวทางแก้ไขปัญหาคุณไกรภพครวญมาด้วยความทุกขเวทนาน่าสงสารจับจิต...ตอนที่น่าสงสารสุดๆ น่าจะตอนที่ศูนย์ซ่อมบอกว่าค่าเมนบอร์ดใหม่คิดราคา 12,000 บาท พอไปเปิดเว็บไซต์ขายมือถือรุ่นนี้ พบราคาเปิดตัวเมื่อกรกฎาคม 2553 อยู่ที่ 16,500 บาท ราคาล่าสุดอยู่แถวๆ 10,890 เท่านั้น นี่ศูนย์จะเล่นผู้บริโภคถึง 12,000 บาทเชียวหรือ ก็น่าจะบอกให้เขาไปซื้อใหม่ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลยคุณไกรภพซื้อมือถือมาไม่ได้ใช้แถมศูนย์ซ่อมยังทำให้เจ๊งอีก ต้องซื้อมือถือใหม่มาใช้งาน อย่างนี้ต้องเรียกว่า เป็นความเสียหายซ้ำซ้อน คล้ายกับผู้พิการซ้ำซ้อน หูหนวกไม่พอต้องตาบอดอีก อะไรทำนองนี้ หลังได้รับเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ จึงโทรไปหาคุณไกรภพและแนะนำให้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังบริษัทโนเกีย ประเทศไทย เรื่องการบริการหลังการขายที่มีปัญหาของศูนย์บริการโนเกีย โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ เป็นผู้ช่วยร่างและเรียงลำดับปัญหาให้กับคุณไกรภพคุณไกรภพได้ส่งคำร้องเรียนไปที่เฟสบุ๊กของโนเกียหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ศูนย์โนเกียได้ติดต่อกลับมาที่คุณไกรภพแจ้งให้เข้าไปรับเครื่องที่ซ่อมเสร็จแล้วคืน ซึ่งศูนย์โนเกียได้เปลี่ยนเมนบอร์ดให้ใหม่และแก้ไขระบบเปิด-ปิดเครื่องให้จนสามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ“แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว” คุณไกรภพบอก“ผมพยายามติดตามเครื่องมาเกือบ 7 เดือน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ ถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขอบพระคุณมากครับ”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 128 รถตู้โฟตอนเอ็นจีวี ถูกร้องคุณภาพห่วย

สมาชิกสมาคมรถตู้โดยสารต่างจังหวัดแห่งประเทศไทย แห่ร้องกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รถตู้โฟตอนเอ็นจีวีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ซื้อมาแล้วใช้งานไม่ได้ ที่มาของปัญหาเรื่องนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551เมื่อบริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด ตัวแทนนำเข้ารถตู้ ยี่ห้อโฟตอนจากประเทศจีน ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์ขายรถตู้โฟตอนเอ็นจีวีผ่านสมาคมรถตู้โดยสารต่างจังหวัดแห่งประเทศไทย  ในราคาคันละ 1,365,000 บาทโดยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่า จะมีบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  เป็นผู้ปล่อยสินเชื่อให้เช่าซื้อ และบริษัท กมลประกันภัย จำกัด เป็นผู้รับประกันภัย ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อรถตู้คันดังกล่าวได้ เช่น รถหาย รถชำรุดบกพร่อง เป็นต้นรับประกันความมั่นใจขนาดนี้ สมาชิกของสมาคมฯ จึงไม่รีรอรีบเข้าทำสัญญาเรียบร้อยโรงเรียนจีน(ของแท้) ในคราวเดียวทั้งสิ้นกว่า 70 ราย หลังการเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถตู้โฟตอนแล้วนำมาใช้งานเป็นรถโดยสารสาธารณะเหล่าสมาชิกสมาคมฯ ต้องพบปัญหามากมายหลายหลากกับรถตู้นำเข้าจากจีนรุ่นนี้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับระบบเครื่องยนต์ บางคันขณะขับรับส่งผู้โดยสารอยู่ดีๆ เครื่องยนต์ก็ดับกะทันหัน บางทีก็เร่งไม่ขึ้นเครื่องไม่มีกำลัง ระบบความร้อน ระบบแอร์ มีปัญหาไม่ทำงานบ่อยครั้ง ยังมีปัญหาเรื่องของตัวถังที่มาจากการประกอบที่ไม่มั่นคงแข็งแรง ขับรถรับส่งผู้โดยสารช่วงหน้าฝน มักมีน้ำหยดผ่านหลังคาเข้ามาในรถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้โดยสารเป็นประจำ   นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการบริการ ซึ่งก่อนเช่าซื้อทางบริษัทฯ ได้โฆษณาว่า  จะมีศูนย์บริการหรืออู่ให้การบริการซ่อมอยู่ทั่วประเทศ  แต่ในความเป็นจริงกลับมีเพียง  1 แห่ง และไม่มีอะไหล่ของบริษัทโฟตอนโดยตรงรถตู้ที่เช่าซื้อมา ต้องขับไปซ่อมไป บางคันก็ซ่อมไม่ไหวเพราะไม่มีอะไหล่ ทำให้ผู้ร้องเรียนแต่ละรายต้องแบกรับภาระค่าซ่อมรถ ค่างวดเช่าซื้อรถ โดยที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากตัวรถเต็มที่ บางรายต้องจอดทิ้งไว้ที่อู่เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อม ภายหลังจากพบปัญหาผู้ร้องเรียนได้พยายามติดต่อ สอบถามไปยังผู้ให้เช่าซื้อคือ บริษัทเงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด(มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อขอคืนรถตู้โดยสารคันดังกล่าวแต่ได้รับการปฏิเสธ ผู้เช่าซื้อกว่า 30 รายเมื่อไม่มีรายได้เลยตัดสินใจหยุดผ่อนค่างวด ทำให้ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย มีเพียงบางส่วนได้ทำการคืนรถให้กับทางผู้ให้เช่าซื้อก่อนที่จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดี แนวทางแก้ไขปัญหา ใครที่เช่าซื้อรถมาแล้วรถเกิดปัญหาแบบนี้ ให้รู้ไว้ว่า สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ทุกฉบับในเมืองไทยเป็นสัญญาที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) รายละเอียดมีอยู่ในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 โดยรายละเอียดที่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องนี้สัญญาควบคุมระบุว่า ผู้เช่าซื้อสามารถใช้สิทธิในการเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับประกันของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อจากผู้ขายหรือผู้ผลิตได้โดยตรง และผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ในจำนวนหนี้ที่ยังคงค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ส่วนที่เกินจากมูลหนี้ค้างชำระให้บริษัทประกันภัยจ่ายให้แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อสัญญาที่ควบคุมเป็นดังนี้ ดังนั้น เมื่อผู้เช่าซื้อรถประสบปัญหาคุณภาพรถไม่มีมาตรฐาน สินค้าที่เช่าซื้อจึงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเช่าซื้อ ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ขายรถยนต์ ซึ่งอยู่ในเมืองไทยต้องรับผิดชอบแก้ไข หรือแก้ไขไม่ได้ก็ให้เปลี่ยนรถใหม่ให้ หรือรับซื้อคืนไป แต่ถ้าผู้ขายเพิกเฉยไม่รับผิดชอบ ผู้เช่าซื้อรถต้องรีบตัดวงจรปัญหาทันทีด้วยการบอกเลิกสัญญาและคืนรถให้ผู้เช่าซื้อไป ซึ่งกรณีนี้ได้มีการทำประกันกันไว้ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อได้รถคืนไปแล้วจึงจะนำไปรถไปประมูลขายในตลาด ถ้าหากขายได้แต่มีส่วนต่างอยู่บริษัทประกันก็รับผิดชอบไป สำหรับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งจากเงินค่าเช่าซื้อที่ได้จ่ายไป ค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ได้ใช้รถตู้วิ่งรับส่งผู้โดยสาร ก็ต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันต่อไป ซึ่งมูลนิธิฯ ได้นำผู้ร้องเรียนทั้งหมดเข้ายื่นข้อเรียกร้องต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้พิจารณาฟ้องแทนผู้บริโภคแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 True Fitness ไม่อนุญาตให้โอนสมาชิกภาพ

ช่วงที่ผ่านมา เว็บไซต์ www.consumerthai.org ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคเกี่ยวกับบริการของ True Fitness อยู่หลายราย ลองมาดูตัวอย่างกัน“ดิฉันสมัครสมาชิก True Fitness ที่สาขาแครายไว้ค่ะ” คุณยุพานามสมมติของผู้บริโภครายหนึ่ง เริ่มเรื่องตอนที่สมัครเซลล์แจ้งว่า ถ้าอนาคตไม่ต้องการใช้บริการต่อก็สามารถโอนหรือขายต่อสมาชิกภาพให้ผู้อื่นได้ ดิฉันจึงเซ็นสัญญาไปและชำระเงินค่าสมาชิกราย 2 ปีไปครบเรียบร้อยแล้วแต่เมื่อวานติดต่อไปที่ฟิตเนสเพื่อสอบถามเรื่องการโอนสมาชิกให้เพื่อน พนักงานปฏิเสธเสียงแข็งว่า "เดี๋ยวนี้" โอนไม่ได้แล้วค่ะ ดิฉันเถียงกลับไปว่าตอนสมัครทำไมเซลล์พูดว่าโอนได้ ขายได้ พนักงานก็ไม่ตอบคำถามนี้ พูดแต่เพียงว่า ปกติเราไม่อนุญาตให้โอนสมาชิกนอกจากจะมีเหตุผลด้านสุขภาพเท่านั้น ส่วนเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ เช่น การย้ายที่อยู่ ติดภารกิจเรื่องงาน ฯลฯ ไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้างในการโอนได้ดิฉันลองดูในสัญญา ก็เขียนไว้แค่ว่า สมาชิกภาพนี้มีลักษณะพิเศษ ไม่สามารถโอนได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากทางบริษัท ดิฉันสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างคะ สิ่งที่เซลล์พูดก็เป็นเพียงคำพูดค่ะ ไม่ได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีสมาชิกหลายคนที่ได้รับข้อมูลจากเซลล์มาแบบเดียวกันว่าโอนให้คนอื่นได้ คำพูดของเซลล์ถือเป็นการเจตนาบิดพลิ้วสาระสำคัญของสัญญาได้ไหมคะ”ส่วนอีกรายก็เขียนร้องเรียนมาว่า “เจอปัญหาเดียวกันเลยค่ะ” “ตอนสมัครปีที่แล้วน้องเซลล์ก็พูดเป็นมั่นเป็นเหมาะ ว่าสามารถโอนสิทธิได้ แต่ว่าได้แค่ครั้งเดียว โดยมีค่าธรรมเนียม ซึ่งที่ผ่านมาเราก็รู้กันอยู่ว่าเขาโอนกันเยอะแยะ พอมาถึงตอนนี้ดิฉันกับเพื่อนต้องการโอนสิทธิให้คนอื่น กลับมาบอกเราว่าเมื่อก่อนโอนได้ เดี๋ยวนี้ไม่ให้โอนแล้ว ดิฉันไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายนะคะ แต่เห็นว่าถ้าตอนหลังจะยกเลิกเรื่องการโอน ก็ควรมีผลเฉพาะกับคนที่สมัครหลังจากออกกฎนี้หรือเปล่า และสัญญารุ่นใหม่ก็ควรระบุไปเลยว่าไม่ให้โอนสิทธิไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น”ปัญหาเป็นแบบนี้แนวทางการแก้ไขปัญหา จะต้องทำอย่างไร มาดูกัน แนวทางแก้ไขปัญหาขอตอบแบบในมุมของกฎหมายคดีผู้บริโภคเลยนะครับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 ได้บัญญัติไว้ว่า ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของบริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่าข้อความ การกระทำหรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตามดังนั้น หากพบว่ามีลูกค้าหลายรายตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน ก็สามารถชวนกันมาเป็นพยานพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ว่า เซลล์ได้มีการสัญญาในเรื่องต่างๆ ตรงกันหรือไม่ ถ้าใช้แต่ตัวเองก็จะเป็นหลักฐานที่อ่อนไป ศาลอาจไม่เชื่อได้แต่ก่อนที่เรื่องจะไปศาลนั้น ควรทำหนังสือขึ้นมาฉบับหนึ่ง เรียนถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท เรื่องขอโอนสมาชิกภาพ รายละเอียดก็ว่าไป...ว่าไม่ยอมให้มีการโอนโดยอ้างเรื่องสัญญา แต่สมาชิกคนอื่นๆ ต่างได้รับข้อเสนอจากพนักงานขายเป็นเสียงเดียวกันว่าสามารถโอนสมาชิกได้ จึงขอให้บริษัทพิจารณาดำเนินการโดยเร็วภายในกี่วันก็ว่าไป แล้วให้สำเนาท้ายจดหมายว่า เรียนถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจดหมายที่ส่งไปให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้น ให้ส่งเป็นไปรษณีย์ตอบรับ เก็บสำเนาตัวจดหมายและใบตอบรับไว้เป็นหลักฐานเผื่อต้องฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคล่าสุดมีข่าวดีเพิ่มเติม...คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ประกาศให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ซึ่งให้สิทธิการเลิกสัญญาของผู้โภคได้ในกรณีต่อไปนี้1. ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการอื่นๆ ให้ตามที่สัญญา หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายมีการชำรุดบกพร่อง หรือให้บริการได้ไม่เหมาะสมและเพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิกและพื้นที่ออกกำลังกาย โดยผู้ประกอบธุรกิจไม่จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการที่ใกล้เคียงกันมาทดแทนได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้บริโภค2. ผู้บริโภคมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ยืนยันว่า การใช้บริการออกกำลังกายต่อไป อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรือสภาพร่างกาย หรือทำให้จิตใจผิดปกติได้3. ผู้บริโภคได้รับบาดเจ็บเนื่องจากผู้ฝึกสอนของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่มีความรู้ความชำนาญ หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายที่ไม่มีคำเตือนว่า ชำรุดบกพร่องเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจได้มีเวลาปรับปรุงคุณภาพการบริการให้เป็นไปตามสัญญาควบคุมฉบับนี้ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงกำหนดให้ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ได้นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 ปฏิรูประบบการศึกษาไทยวันนี้ “เด็กยังถูกจับเป็นตัวประกัน”

 เมื่อวันก่อนประมาณกลางเดือน พฤษภาคม 2553 ช่วงเกือบ 1 ทุ่ม ผู้เขียนได้เห็นแม่กับลูกคู่หนึ่งมาหาคนข้างบ้าน(สมุทรสงคราม) หน้าตาเขาทุกข์โศกมาก โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่เป็นลูก ผู้เขียนไม่รู้จักว่าเขาเป็นใคร แต่ด้วยหน้าตาที่อมทุกข์ของทั้ง 2  คนทำให้ผู้เขียนแวะเข้าไปทัก เพื่อถามว่าไปไหนกัน มืดค่ำแล้ว แม่เด็กก็บอกทั้งน้ำตาว่า มาหากู้เงิน มีเงินให้กู้บ้างไหม? ดอกเบี้ยเท่าไรก็ยอม(นั่น..งงไปเลยเรา) ก็เลยได้สอบถามถึงต้นสายปลายเหตุที่ต้องกู้เงินในครั้งนี้  ได้ความว่าที่ต้องมาหากู้เงินให้ได้ในวันนี้ เพราะหากกู้ไม่ได้ในวันนี้ลูกสาวที่มาด้วยจะต้องถูกตัดสิทธิในการเรียนต่อ   ซึ่งเด็กอยากเรียนต่อ แม่เด็กก็อยากให้ลูกเรียนเพราะไม่มีสมบัติอะไรจะให้ลูกนอกจากการศึกษาที่พอกัดฟันเพื่อลูกได้ผู้เขียนจึงถามต่อว่าทำไมเด็กถึงจะไม่ได้เรียน  ก็ได้คำตอบว่า เพราะลูกเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัด ตอนที่เอาลูกเข้าโรงเรียนนี้ทั้งที่รู้ว่ามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะตอนนั้นที่บ้านมีเรือประมงเป็นของตนเองจึงพอมีรายได้ในการส่งลูกเรียน แต่มาระยะหลังๆ เมื่อตอนน้ำมันแพง อาชีพนี้ก็เริ่มจะไปไม่ไหวมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมาก จนสุดท้ายเรือก็ถูกยึดไปในที่สุด เมื่อเรือถูกยึดแม่ก็ออกไปรับจ้างในโรงงาน พ่อเด็กก็ไปสมัครเป็นยาม รายได้จึงไม่มากนัก  ทำให้หมุนค่าเทอมลูกไม่ทัน จึงติดหนี้ค่าเทอมอยู่กับโรงเรียนบางส่วน  ซึ่งปีนี้ลูกจบ ม. 3 แล้ว ลูกไปสมัครเรียนต่อที่ โรงเรียนเทคนิคสมุทรสงคราม และได้เข้าเรียนตามที่ต้องการแต่เมื่อ 2 วันก่อน โรงเรียนเทคนิคได้บอกให้เด็กมาเอาใบยืนยันจบ ม. 3 ที่โรงเรียนเดิม หากไม่ได้เด็กก็จะหมดสิทธิเรียนทันที  แม่เด็กจึงได้ไปประสานงานที่โรงเรียนเดิมเพื่อขอถ่ายเอกสารใบจบไปให้โรงเรียนใหม่  ปรากฏว่าโรงเรียนเดิมยื่นคำขาดมาว่า หากแม่เด็กหาเงินมาจ่ายค่าเทอมไม่ได้ โรงเรียนจะไม่ยอมถ่ายใบจบให้  ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงต้องออกหากู้เงินอย่างที่เห็น หากกู้ไม่ได้วันนี้ลูกคงหมดโอกาสเรียนต่อ ผู้เขียนได้ฟังแล้วรู้สึกสะท้อนใจนี่นะหรือการปฏิรูประบบการศึกษาไทย  ขนาดปฏิรูปแล้วเด็กก็ยังถูกจับเป็นตัวประกันอยู่เช่นเดิม ผู้เขียนไม่รู้ว่าใครถูกใครผิด  ไม่มีเงินแล้วให้ลูกเรียนโรงเรียนเอกชนทำไม?  จนแล้วไม่เจียมตัว  เว่อร์   ก็ว่ากันไป แต่ไม่ควรจับเด็กเป็นตัวประกันอย่างนี้ เห็นเงินสำคัญกว่าอนาคตเด็กปัญหาเหล่านั้นเป็นปัญหาของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ต้องแก้กันเอง  แต่เด็กต้องมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา เขาอยากเรียนเขาต้องได้เรียน เรื่องอื่นๆ ก็ไปตกลงกันเอง   ผู้เขียนจึงแนะนำให้แม่เด็กไปที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม  เพื่อขอให้เขาหาวิธีช่วยเหลือเบื้องต้นก่อน ส่วนเรื่องหากู้เงินไปใช้หนี้โรงเรียนค่อยมาว่ากันทีหลัง เมื่อแม่เด็กไปที่ศูนย์ฯ เจ้าหน้าที่ได้ประสานงานไปทั้ง 2 โรงเรียน ทั้งโรงเรียนเดิมและโรงเรียนใหม่ จากนั้นศูนย์ฯ ได้ประสานไปยังผอ.เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้ช่วยประสานในการแก้ปัญหาให้เด็กได้เรียนอีกทางหนึ่ง  ผลการเจรจาโรงเรียนเดิมยอมให้ถ่ายเอกสารใบยืนยันการจบไปให้โรงเรียนใหม่  จนทำให้เด็กคนนี้ได้เรียนต่อ ส่วนเรื่องหนี้สินค่อยว่ากันไป วันก่อนได้เห็นข่าวว่าสภาผู้แทนราษฎรได้ผ่าน พรบ.การปฏิรูปการศึกษาไปแล้ว จึงขอให้คำนึงถึงปัญหาเหล่านี้ด้วยนะท่านผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ไม่อย่างนั้นนโยบายการศึกษาอาจเป็นได้แค่เรื่องที่ได้แต่ ลูบๆ คลำๆ ไม่ไปถึงการปฏิรูปจริงๆ ซะที พับผ่าซิ.... 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 106 บทเรียนของพวกหากินกับหนี้เสีย

“ผมสงสัยว่าคดีหนี้ของผมจะขาดอายุความไปแล้ว อยากให้มูลนิธิฯ ช่วยดูให้หน่อยครับ”บ่ายแก่ ๆ ของวันที่ 6 ตุลาคม 2552 คุณเสน่ห์ เดินเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพร้อมสำเนาคำฟ้องคดีผู้บริโภค ที่คุณเสน่ห์ตกเป็นจำเลยฐานผิดสัญญากู้ยืมเงินที่เอามาจากบริษัท อีซี่บาย จำกัด(มหาชน)และถูกเรียกให้ชำระหนี้เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 82,000 กว่าบาท แต่ชื่อโจทก์ที่ยื่นฟ้องกลับเป็นชื่อบริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด ที่ซื้อหนี้เสียมาจากบริษัทอีซี่บาย“ศาลนัดผมเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2552 ตอนแรกผมตั้งใจว่าจะแถลงด้วยวาจาว่าคดีของผมนั้นโจทก์ฟ้องขาดอายุความแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ของศาลแนะนำให้ผมเขียนคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรจะดีกว่า ผมจึงได้ขอให้ศาลเลื่อนพิจารณาไปอีกสักนัดเพื่อติดต่อหาทนายช่วยเขียนคำให้การเพราะผมไม่รู้ว่าจะเขียนอย่างไร ศาลจึงได้นัดพิจารณาคดีอีกครั้งเป็นวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ซึ่งครั้งนี้ผมจะต้องมีคำให้การของจำเลยไปยื่นต่อศาลครับ ไม่อย่างนั้นผมถูกพิพากษาให้ต้องชำระหนี้ก้อนนี้แน่”“ถามหน่อยเถอะครับ...ว่าทำไมคุณถึงไม่ชำระหนี้เขาต่อและทำไมคิดว่าคดีนั้นขาดอายุความไปแล้ว?” เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนถาม “ผมกู้เงิน 1 แสนบาทจากอีซี่บายมาเมื่อปี 2544 ผมก็ชำระหนี้เรื่อยมาตลอดร่วม 2 ปี เป็นเงินร่วมแสนกว่าบาทแต่หนี้ในบัญชีมันไม่หมดสักที ดอกเบี้ยมันแพงมาก ตอนนั้นก็ลำบากมากเลยต้องหยุดจ่ายหนี้ไป จำได้ว่าผมจ่ายหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2546 แต่ในคำฟ้องแจ้งว่าผมไม่ชำระหนี้เงินกู้มาตั้งแต่งวดวันที่ 2 มิถุนายน 2546 เขามาฟ้องผมวันที่ 8 มิถุนายน 2552 นี่เอง ก่อนหน้านี้ผมได้เคยโทรมาปรึกษากับทางมูลนิธิฯ แล้วทราบว่า สัญญาสินเชื่อส่วนบุคคลอายุความที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ต้องทำกันภายใน 5 ปีใช่ไหมครับ”“ใช่ครับต้องฟ้องร้องกันภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา แต่ต้องขอดูรายละเอียดในคำฟ้องก่อนนะครับว่าจะช่วยเหลือได้อย่างไร”แนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อพิจารณาในรายละเอียดคำฟ้องพบข้อมูลที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ที่เป็นลูกค้าหรือลูกหนี้อีซี่บายดังนี้ครับ1. เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 บริษัท อีซี่บาย จำกัด(มหาชน) ได้ดำเนินการขายบัญชีหนี้เสียในกลุ่มสินเชื่อเงินสดให้กับบริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด โดยมีจำนวนบัญชีลูกหนี้รวมกันทั้งสิ้น 17,170 ราย มูลหนี้รวมกันทั้งสิ้น 471 ล้านบาทเศษ โดยคิดค่าตอบแทนที่บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็สฯ จ่ายเพื่อซื้อหนี้เสียจากอีซี่บายก้อนนี้เป็นเงินเพียง 20 ล้านบาทเศษเท่านั้น หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 4.25 ของมูลหนี้ทั้งหมด2. ผลจากการซื้อขายหนี้เสียดังกล่าวทำให้บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็สฯ ได้มาซึ่งทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับหนี้ทั้งหมดตลอดจนการรับชำระหนี้แทนอีซี่บาย พูดง่ายๆ คือจ่ายเพียงแค่ร้อยละ 4.25 แต่ได้สิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ แถมดอกเบี้ยอีกต่างหาก3. อัตราดอกเบี้ยที่อีซี่บายทำกับผู้บริโภครายนี้ซึ่งทำในช่วงปี 2544 นั้น จะคิดเป็นค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินในอัตราร้อยละ 2.0 บาทต่อเดือนหรือร้อยละ 24 บาทต่อปี และยังคิดดอกเบี้ยอีกในอัตราร้อยละ 0.50 บาทต่อเดือนหรือร้อยละ 6 ต่อปีอีก จึงเท่ากับว่าผู้บริโภคต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 30 บาทต่อปี ซึ่งในขณะนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ได้เข้าไปกำกับการเรียกเก็บดอกเบี้ยของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารทั้งหลาย การเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจึงเป็นการเรียกเก็บดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมาย4. สัญญากู้ยืมเงินที่เรียกว่าประเภทสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น มีข้อตกลงว่าผู้บริโภคจะใช้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนให้กับเจ้าหนี้โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือนเป็นงวดๆ ดังนั้น การฟ้องเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินเพื่อผ่อนต้นทุนคืนเป็นงวด ๆ ซึ่งมีกำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32(2) ในคำฟ้องระบุว่าฝ่ายผู้บริโภคไม่ชำระหนี้เงินกู้มาตั้งแต่งวดวันที่ 2 มิถุนายน 2546 สิทธิเรียกร้องของฝ่ายเจ้าหนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546 แต่โจทก์มาฟ้องวันที่ 8 มิถุนายน 2552 เกินกว่า 5 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความครับ คือต้องฟ้องก่อนวันที่ 3 มิถุนายน 2551 เท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดตามที่กล่าวมาเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยคำแนะนำของหัวหน้าศูนย์ทนายความอาสาจึงได้ช่วยเหลือผู้บริโภคโดยการร่างคำให้การจำเลยเพื่อให้ผู้บริโภคเป็นผู้ไปยื่นต่อศาลในวันนัด โดยได้ให้การใน 2 ประเด็นหลักคือ เรื่องการเรียกเก็บดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมายและเรื่องคดีขาดอายุความ ซึ่งท้ายสุดศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นที่เรียบร้อย ทำให้ผู้บริโภครายนี้พอที่จะลืมตาอ้าปากได้บ้างเนื่องจากอีซี่บายมีการขายหนี้เสียออกไปร่วมสองหมื่นราย และอาจมีหลายรายที่เจ้าหนี้เสียสิทธิในการเรียกร้องแล้วเนื่องจากขาดอายุความ แต่หากลูกหนี้ไม่ได้ยื่นคำให้การสู้คดีอย่างถูกต้อง ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อไป ดังนั้นหากใครมีข้อสงสัยในประเด็นนี้รีบติดต่อมาที่มูลนิธิฯ โดยทันที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 98 วาระสุดท้ายของสัมพันธ์ประกันภัย

ในช่วงปี สองปีที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนกรณีบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด ไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยและประชาชนเข้ามาที่มูลนิธิฯ เป็นจำนวนมากหลายร้อยราย และที่ร้องเรียนไปที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) อีกร่วม 9 พันกว่าราย คุณจินตนา เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความทุกข์ของผู้เอาประกันภัยกับบริษัทนี้ได้เป็นอย่างดี คุณจินตนาเล่าว่า ตนทำประกันภัยไว้กับบริษัทสัมพันธ์ประกันภัย และได้เกิดกรณีรถหายตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2549 ซึ่งจะต้องได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ทำไว้กับบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้ ตอนที่รถหายคุณจินตนายังต้องมีภาระส่งค่างวดกับบริษัทไฟแนนซ์ทิสโก้อยู่ ในขณะที่สัมพันธ์ประกันภัยได้ทำการเลื่อนจ่ายค่าสินไหมทดแทนมาเรื่อยๆ คุณจินตนาส่งค่างวดรถไปได้ประมาณ 6 เดือนจึงหยุดส่ง เพราะเห็นว่าสัมพันธ์ประกันภัยถูกกรมการประกันภัยสั่งให้ระงับการขายประกันชั่วคราวเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2550 ทำให้คุณจินตนากลายเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อกับไฟแนนซ์ทันทีหลังจากที่ไม่ได้ส่งค่างวดติดกัน 3 งวดและถูกบอกกล่าวเลิกสัญญาในเวลาต่อมา คุณจินตนาได้พยายามติดต่อไปทางทิสโก้ให้ตามเรื่องของทางสัมพันธ์ให้ “เพระคิดว่าให้ทางบริษัทใหญ่ตามเรื่องน่าจะดีกว่าเราตัวเล็กๆ ตามเรื่องเอง แต่ก็ไม่ได้ผลอะไรเกิดขึ้น” คุณจินตนาได้ไปแจ้งกับทางกรมการประกันภัยไว้อีกทางหนึ่งแต่ก็ไม่เกิดผลอะไร จนระยะหลังโทรไปที่กรมการประกันภัย กรมฯ ก็เลี่ยงมาตลอดอีกเช่นกัน ให้โทรมาตอนนั้นตอนนี้ แต่ก็ไม่ได้เรื่องอะไรเลย “ในที่สุดก็มีหมายศาลจากทางทิสโก้ ส่งมาให้เรา ซึ่งเราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่รู้เรื่องกฎหมายเลยค่ะ ได้แต่รอว่าเมื่อไหร่จะได้เงินจากสัมพันธ์ ทางเราไม่คิดที่จะได้ค่าสินไหมทั้งหมดอยู่แล้วค่ะ ขอแค่บางส่วนมาส่งให้ทิสโก้ก็พอแล้ว หมายศาลนัดให้ไปที่ศาลในเดือนมีนาคมนี้แล้วค่ะ ยังไม่รู้จะทำอย่างไรเลยค่ะ”  แนวทางการแก้ไขปัญหากรณีนี้แยกได้ 2 ประเด็น 1.คดีที่คุณจินตนาถูกไฟแนนซ์ฟ้อง เนื่องจากผิดสัญญาไม่ส่งค่างวดรถให้ครบตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ เฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค ได้เคยเขียนไว้ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 93 สรุปสั้น ๆ ว่า ไฟแนนซ์น่าจะฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค โดยอ้างข้อสัญญาว่า ถ้ารถที่เช่าซื้อสูญหายไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ หรือสุดวิสัย ผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดและยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ ขอให้ศาลบังคับให้ผู้เช่าซื้อรับผิดชอบชดใช้ค่าเช่าซื้อที่เหลืออยู่ ข้อตกลงเช่นนี้ศาลฎีกาตัดสินว่าใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย แต่ถือเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยดูจากมูลค่าทรัพย์สิน เงินค่าเช่าซื้อที่ได้จ่ายไป และระยะเวลาที่ได้ใช้ประโยชน์จากรถที่หายไป ดังนั้นคุณจินตนาควรไปให้การต่อศาลถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและขอให้ศาลพิจารณาลดหย่อนค่าเสียหายที่ไฟแนนซ์เรียกร้อง แต่หากสัญญาเช่าซื้อที่ทำไม่มีข้อสัญญาที่ว่ามาข้างต้น ทางกฎหมายก็ถือว่าเมื่อรถที่เป็นทรัพย์สินที่เช่าซื้อ สูญหายไป สัญญาเช่าซื้อถือเป็นอันระงับไปด้วย ผู้เช่าซื้อไม่ต้องชำระเงินค่าเช่าซื้อหรือค่าเสียหายตั้งแต่งวดรถที่หายเป็นต้นไป ถ้าเป็นอย่างนี้คุณจินตนาก็คงจะเบาใจไปเปลาะหนึ่ง2. กรณีสัมพันธ์ประกันภัยไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2552 บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย ได้ถูกกระทรวงการคลังสั่งปิดกิจการโดยเด็ดขาดแล้ว โดยมีมาตรการคุ้มครองประชาชนในฐานะเจ้าหน้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยให้ไปยื่นเรื่องขอรับชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี ของบริษัทสัมพันธ์ประกันภัย และกองทุนประกันวินาศภัย ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2552 โดยให้นำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนาเอกสาร จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่นด้วย คือ กรมธรรม์ประกันภัย บัตรประจำตัวประชาชน ใบเคลม ใบนัดชำหระหนี้ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงถึงมูลหนี้ สำหรับส่วนกลางยื่นได้ 3 แห่ง คือ 1.ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) หรือกรมการประกันภัยเดิม กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี 2. สำนักงาน คปภ. เขต 1 ซอยวิภาวดี 44 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร 3.สำนักงาน คปภ. เขต 2 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก ท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี ส่วนต่างจังหวัดนั้นให้ยื่นได้ที่ สำนักงาน คปภ. ภาค และสำนักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ (ยกเว้นจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดลำพูน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดนนทบุรี) หากคุณจินตนาได้ไปฟ้องศาลเป็นคดีผู้บริโภคและมีคำพิพากษาออกมาแล้ว คำพิพากษาถือเป็นเอกสารที่รับรองถึงมูลหนี้ที่ชัดเจนที่สุดแล้ว นำไปยื่นขอรับชำระหนี้กับ คปภ. ได้เลย ไม่ต้องพิสูจน์อีก  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 123 เลือก “รองเท้านักเรียน” คู่ใหม่ ต้อนรับเปิดเทอม

  ถึงเวลาเปิดเทอม ก็ถึงเวลาที่เด็กๆ และพ่อแม่จะต้องมองหาอะไรใหม่ๆ ไว้ต้อนรับการศึกษาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเขียนใหม่ ชุดนักเรียนใหม่ เสื้อใหม่ กางเกงใหม่ และที่ลืมไม่ได้คือ “รองเท้าคู่ใหม่” ความสำคัญอันดับแรกของรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนในบ้านเรา คงหนีไม่พ้นเรื่องของความถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน และรวมไปถึงไว้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ในชั่วโมงพละ ซึ่งแน่นอนว่ารองเท้านักเรียนแม้จะเป็นที่นิยมของเด็กๆ ในการเตะฟุตบอล เล่นตะกร้อ (เพราะราคาไม่แพงแถมถูกระเบียบ) แต่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งานคงสู้ไม่ได้กับรองเท้าที่ผลิตขึ้นมาสำหรับใส่เล่นกีฬาโดยเฉพาะ  ฉลาดซื้อ ได้ส่งตัวอย่าง “รองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนชาย” ไปทดสอบยังกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อทดสอบโดยยึดตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรองเท้าผ้าใบมีการกำหนดคุณลักษณะที่รองเท้าผ้าใบควรมีเอาไว้หลายข้อ แต่ด้วยข้อจำกัดในการจัดเตรียมชิ้นทดสอบทำให้บางรายการทดสอบไม่สามารถทำได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ให้ข้อมูลกับทางฉลาดซื้อ ว่าบางรายการทดสอบ เช่นการทดสอบความทนทานต่อการพับงอของส่วนพื้น ที่ต้องมีการเตรียมชิ้นทดสอบเป็นส่วนพื้นยางที่มีความหนาและความกว้าง เกินกว่าความหนาของพื้นรองเท้าผ้าใบที่ทางฉลาดซื้อส่งไปทดสอบ แถมยังต้องใช้ชิ้นทดสอบมากกว่า 1 ชิ้นต่อ 1 ตัวอย่าง  แต่ฉลาดซื้อก็ยังได้ผลทดสอบรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนชายมาฝากแฟนๆ ด้วยผลทดสอบ 3 เรื่องที่น่าสนใจ ประกอบด้วย  1.ความหนาของบัวส้น – ส่วนส้นเท้ามีความสำคัญ บริเวณบัวส้นของรองเท้าที่แข็งแรงจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อเท้า ความหนาของบัวส้นยังมีผลต่อการคงตัวของทรงรองเท้า บัวส้นที่มีความหนาก็จะช่วยทำให้รูปทรงของรองเท้าคงตัว ไม่บิดเบี้ยวหรือเสียรูปทรงขณะวิ่งหรือเดิน ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บ 2.ความหนาของวัสดุเสริมพื้น –  วัสดุเสริมพื้นที่ดีจะช่วยรับและกระจายแรงกระแทกจาก หลัง ขา และเท้า ก่อนลงสู่พื้น แถมยังช่วยเพิ่มความมั่นคงในการเดินและวิ่ง ซึ่งในการทดสอบครั้งนี้จะดูแค่เรื่องความหนาตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก. เท่านั้น ไม่ได้ทดสอบไปถึงเรื่องวัสดุที่ใช้ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องความหนาของวัสดุเสริมพื้น  3.การติดแน่นของยางขอบกับผ้า – การติดแน่นของขอบพื้นยางกับส่วนผ้าของรองเท้าผ้าใบ มีผลต่อความแข็งแรงคงทนของตัวรองเท้า รวมถึงการทนทานต่อการพับงอ   ดังนั้นผลทดสอบรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนทั้ง 3 เรื่องนี้ จะบอกได้เฉพาะในเรื่องของ ความคงทน และลักษณะความคงรูปทรงของรองเท้าเท่านั้น ไม่ได้บอกถึงประสิทธิภาพในการใช้  ฉลาดซื้อหวังว่าผลทดสอบครั้งนี้ น่าจะพอมีประโยชน์สำหรับคุณพ่อ-คุณแม่และผู้ปกครองได้บ้าง อย่างน้อยก็เรื่องความแข็งแรงคงทน   ตารางผลทดสอบรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนตามมาตรฐาน มอก. ชื่อยี่ห้อ ชื่อรุ่น ราคา ตามที่แจ้งไว้ในฉลาก (บาท) ความหนาของบัวส้น (มม.) ความหนาของวัสดุเสริมพื้น (มม.) การติดแน่นของยางขอบกับผ้า (กรัมต่อ ซม.)   มาตรฐาน มอก.   ไม่น้อยกว่า 1.3 มม. ไม่น้อยกว่า 1.5 มม. ไม่น้อยกว่า 1,000 กรัมต่อ ซม.   1.Gold City 205S 249 1.3 7.0 3,219.1   2.นันยาง 205-S 274 1.3 8.0 283.4   3.Pan PF4136-AA 345 ไม่มี 3.5 -   4.Breaker BK-55 389 1.5 8.0 -   5.บาจา b-first - 299 1.0 4.0 1,720.1   6.Breaker futsal BK-30 385 1.5 8.0 -   7.Feebus F-111 249 1.4 8.0 3,411.1   8.Feebus F-599 179 ไม่มี 5.0 1,054.4   9.kito SSAM610 258 1.3 6.0 1,154.4   10.บาจา b-first - 269 2.2 7.0 2,823.1   11.Clicks CL-555 229 ไม่มี 4.0 1,943.6   12. Breaker futsal BK4/M+ 309 1.3 7.0 3,632.2   13.Breaker 4X4 4X4/M 289 1.4 5.5 2,650.6   14.Gerry Gang F-499 249 ไม่มี 5.0 702.1   15.Dynamic DU-111 295 1.0 4.0 1,795.4   16.Nike Zoom Alpha TR ครอส เทรนนิ่ง 2900 2.0 4.0 2,329.9   17.Adidas G21413 running men liquid 3390 1.4 6.0 1,560.4   18.Reebok Hosscat aluminum   3250 2.7 5.0 3,333.3     ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------รองเท้าผ้าใบที่ดีต้องมีอะไรบ้าง-ต้องมีความแข็งแรง ส่วนบนที่เป็นผ้าใบและส่วนพื้นที่เป็นยางของรองเท้าต้องยึดแน่นเข้าด้วยกัน-ทุกส่วนของรองเท้าต้องติดกันแน่นสนิท-ขอบยางต้องติดแน่นรอบพื้นและส้นรองเท้า และไม่ยื่นออกมานอกระดับของพื้นรองเท้า-ส่วนหัวรองเท้าต้องอยู่ตัวไม่บิดเบี้ยว-ส่วนบนของรองเท้าต้องมีความแข็งแรงและทนทานเพื่อป้องกันรอยย่นและโค้งงอ-พื้นรองเท้าด้านในต้องรองด้วยเศษยาง หรือแผ่นวัสดุที่ทำจากเศษผ้าและเศษยางบดรีดผสมกัน และบุด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่ง-พื้นรองเท้าต้องนุ่ม ไม่ลื่น -มีรูระบายอากาศช่วยระบายความร้อน---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เรื่องของ “เท้า” ที่เราควรรู้ 1.เมื่อรูปร่างของเรามีการเปลี่ยนแปลง เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น อายุเพิ่มขึ้น ขนาดเท้าของเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน2.เท้าของเราอาจเปลี่ยนขนาดตามสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อนทำให้เท้าขยายใหญ่ขึ้น3.ว่ากันว่าช่วงเวลาในแต่ละวันก็มีผลต่อขนาดของเท้าเช่นกัน 4.โรคภัยไข้เจ็บและอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับเท้า เช่น โรคข้ออักเสบ หรือมีบาดแผลที่เท้า ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้รูปเท้ามีการเปลี่ยนแปลง5.เวลาที่เท้าเรามีบาดแผล รองเท้าที่ใส่ประจำอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อลดอาการบาดเจ็บและป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น6.เท้าเป็นอวัยวะเล็กๆ ที่ถูกใช้งานหนัก แต่เรากลับให้ความสำคัญกับมันน้อยมาก เรียกว่าแทบไม่ได้ค่อยได้รับการดูแล ดังนั้นเราควรหันมาใส่ใจดูแลกับเท้าคู่น้อยๆ ของเรากันให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเรื่องความสะอาด การออกกำลังในส่วนของข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า--------------------------------------------- เลือกซื้อรองเท้า-ต้องลองสวมร้องเท้าทุกครั้งก่อนซื้อ เพราะขนาดของรองเท้าแม้จะมีมาตรฐานระบุไว้ แต่รองเท้าแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น ถึงจะเป็นเบอร์เดียวกัน ขนาดของรองเท้าก็อาจไม่เท่ากัน -เวลาลองรองเท้าต้องลองทั้ง 2 ข้าง เพราะเท้าของเราข้างซ้ายกับขวาอาจมีขนาดไม่เท่ากัน ต้องเลือกรองเท้าคู่ที่ลองใส่แล้วใส่ได้สบายทั้ง 2 ข้าง-เวลาลองรองเท้าอย่าลืมสวมถุงเท้า-พยายามลองรองเท้าหลายๆ แบบ หลายๆ รูปทรง เพื่อเลือกดูว่ารองเท้าแบบไหนเหมาะกับเท้าของเรามากที่สุด-เมื่อเลือกรองเท้าคู่ที่โดนใจได้แล้ว ให้ลองสวมแล้วลองเดินไปเดินมา เพราะรองเท้าที่ดีต้องใส่สบายทั้งตอนที่นั่ง ยืน และตอนเดิน ซึ่งถือเป็นตอนที่เราใช้งานเท้าของเรามากที่สุด-รองเท้าที่ดีที่สุด คือ รองเท้าที่สวมแล้วเข้ากับรูปเท้าของเรา ไม่คับหรือหลวมเกินไป ใส่สบาย -การเลือกรองเท้าควรเหลือพื้นที่ระหว่างปลายนิ้วเท้าและขอบในรองเท้าไว้บ้าง เพื่อไม่ให้เท้ารู้สึกอึดอัดเกินไป ป้องกันการเสียดสีของเท้ากับตัวรองเท้า และเผื่อไว้สำหรับการขยายของเท้า-เลือกรองเท้าที่สวมแล้ว ส้นเท้าพอดี ไม่หลวมและไม่หลุดในขณะเดินหรือวิ่ง-ควรเลือกซื้อรองเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จะทำ เช่น รองเท้าสำหรับใส่ประจำวัน หรือรองเท้าสำหรับออกกำลังกาย ซึ่งกีฬาแต่ละประเภทก็มีการผลิตรองเท้าเฉพาะของแต่ละประเภทกีฬา  เพราะการเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำนอกจากจะช่วยในเรื่องความปลอดภัย ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ-ควรเลือกรองเท้าที่สามารถปรับความกระชับได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 112-113 เมื่อเด็กไทยไม่สามารถเข้าถึงตำราลิขสิทธิ์

  วันนี้ ฉลาดซื้อ ชวนคุณเข้ารั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งใครๆ ก็รู้ว่ามีการใช้ “ตำราเรียนฉบับขาวดำ” (ซีรอกส์) ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกันอย่างแพร่หลาย เพื่อไปสอบถามความเห็นของนักศึกษาว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับเรื่องของตำราต้นฉบับ และเหตุใดพวกเขาจึงนิยมใช้ฉบับขาวดำกันมากกว่า เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมามูลนิธิเพื่อผู้บริโภคโดยฉลาดซื้อ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี จำนวน 480 คน* เรื่องปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์_____* หมายเหตุ การสำรวจครั้งนี้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับสหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International) และประเทศสมาชิกอีกกว่าสิบประเทศ ได้ทำสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคในประเทศของตนเอง การสำรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งการเก็บข้อมูลเพื่อการรณรงค์ในระดับนานาชาติเพื่อเพิ่มระดับการเข้าถึงความรู้ (A2K: Access to Knowledge)   เหตุผลที่นักศึกษาจะตัดสินใจซื้องานที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง  -- ใกล้เคียงกันมากระหว่าง คุณภาพ ราคา และการหาซื้อได้สะดวก   89%  ของผู้ตอบจะซื้อตำราเรียน (รวมถึงภาพยนตร์ เพลง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์) ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องถ้างานนั้นมีคุณภาพที่ดีกว่างานที่ทำซ้ำโดยผิดกฎหมาย 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจตอบว่าตนเองจะซื้องานที่มีลิขสิทธิ์  ถูกต้อง (แทนที่จะซื้อฉบับที่ทำซ้ำโดยผิดกฎหมาย) ถ้าราคาของฉบับลิขสิทธิ์เป็นราคาที่ตนเองสามารถจ่ายได้ 85% เห็นด้วยว่าจะซื้องานที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องถ้าตนเองสามารถหาซื้อได้สะดวก   ทำไม “ตำราเรียนฉบับขาวดำ” ถึงมีอยู่ทั่วไปในรั้วมหาวิทยาลัย จากการสัมภาษณ์นักศึกษาปีสี่ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอกล่าวว่า “ของจริงมันแพง .. สมมุติว่า หนังสือเล่มละพัน เรียนแปดวิชาก็ปาไปแล้วแปดพัน ตายพอดีถ้าซื้อของลิขสิทธิ์”   จากคำพูดนี้ เราคงพอจะอนุมานได้ว่าสินค้าลิขสิทธิ์ราคาฉบับลิขสิทธิ์นั้นเป็นอย่างไร ตัวอย่าง หนังสือ Biology (Seventh Edition) ของ Neil A. Campbell และ Jane B. Reece ซึ่งเป็น International Edition ราคา 1,000 บาท มีประมาณ 1,200 หน้า หากถ่ายเอกสาร หน้าละ 50 สตางค์ ราคาก็จะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียว หรือถ้าถ่ายทั้งเล่มอาจจะได้ราคาถูกกว่านี้ ซึ่งอาจรวมถึงคุณภาพที่ด้อยลงด้วย แต่หลายคนก็ยอมรับเรื่องนี้ได้ อาจเป็นเพราะเด็กไทยอาจจะต้องอดข้าวหลายสิบมื้อเวลาที่ต้องการจะซื้อหนังสือสักเล่ม อีกคำสัมภาษณ์จากนักศึกษาชั้นปีที่สี่ คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า เคยถ่ายเอกสารตำราเรียนภาษาต่างประเทศทั้งเล่ม เพราะราคาแพงและไม่ทราบว่าจะหาซื้อตำราเล่มดังกล่าวได้จากที่ไหน “ราคามีส่วนสำคัญมากเวลาจะซื้อหนังสือ แล้วอีกอย่าง ไม่รู้ด้วยว่าหนังสือพวกนี้หาซื้อได้จากไหน” แต่ยังมีนักศึกษาอีกหลายคนลงที่ทุนซื้อตำราเรียนต่างประเทศฉบับลิขสิทธิ์ เพราะต้องการคุณภาพ และคิดว่ามัน “คุ้มค่า”  นักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คนหนึ่งตอบว่า “ซื้อสิ เอาไว้ดูรูป มันจำเป็นและได้ใช้ไปตลอด”   แล้วทำไมไม่ใช้วิธียืม????นักศึกษากลุ่มที่เราไปทำการสำรวจจำนวนไม่น้อยเคยประสบปัญหาในการยืมตำราเรียนต่างประเทศ สาเหตุหลักคือห้องสมุดยังมีให้เพียงพอ   76.6% บอกว่าหนังสือที่มีในห้องสมุดไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้ 72% ตอบว่าห้องสมุดไม่มีตำราเล่มที่ตนต้องการ   นักศึกษาคณะสหเวชคนเดิมพูดเกี่ยวกับการยืมว่าส่วนใหญ่จะยืมจากห้องสมุด  ตอนอยู่ปี 2 ที่เรียนวิชารวมกับคณะอื่นๆ เคยมีปัญหาเรื่องยืมตำราเรียนไม่ทันเพราะห้องสมุดมีหนังสือไม่พอ จนสอบตก “ตอนที่เรียนใหม่ ๆ ใช้วิธียืมเอาแล้วยอมเสียค่าปรับ เสียเงินร้อยสองร้อยบาทดีกว่าสอบตก” แต่ทั้งนี้พอเรียนปีสูงขึ้น ก็ไม่มีปัญหาเรื่องหนังสือในห้องสมุดไม่เพียงพอ  จากการสอบถามนักศึกษาที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ พบว่า นักศึกษาเหล่านี้ใช้วิธีการถ่ายเอกสารและยืมจากห้องสมุด ซึ่งก็ยืมได้บ้างไม่ได้บ้าง ส่วนเหตุที่ไม่ซื้อฉบับลิขสิทธิ์นั้นก็คงเดากันได้ว่าเป็นเพราะ “ราคา” นั่นเอง  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 88 โรงเรียนกวดวิชา

กลับมาอีกครั้งกับผลสำรวจของฉลาดซื้อร่วมกับเครือข่ายที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดต่างๆ (ลำปาง เพชร์บูรณ์ ลพบุรี สระบุรี กาญจณบุรี ตราด สมุทรสงคราม สตูล ยะลา มหาสารคาม และอำนาจเจริญ) คราวนี้เราเลิกไปป้วนเปี้ยนแถวโรงเรียน แต่ไปสอบถามจากผู้ปกครอง จำนวน 498 คน ในฐานะที่เป็นแหล่งทุนสำหรับการเรียนพิเศษของเด็กๆ ทั้งในช่วงเปิดและปิดเทอม กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ปกครอง อายุระหว่าง 41-50 ปี และร้อยละ 60 เป็นผู้หญิงร้อยละ 32 จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 26 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ตามด้วยอีกร้อยละ 24 ที่มีการศึกษาระดับมัธยม ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 28) รับราชการ ตามด้วย ร้อยละ 24 ที่ทำธุรกิจส่วนตัว รายได้ของครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 35) อยู่ที่ 10,000 ถึง 15,000 บาท อีกร้อยละ 26 มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท อีกร้อยละ 28 มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทลูกหลานของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 43) กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 64 ของนักเรียน เลือกเรียนสายวิทย์ เกือบร้อยละ 40 มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.5 ถึง 3 อีกร้อยละ 32 มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 3 ถึง 3.5 จากกลุ่มตัวอย่างที่เครือข่ายของเราไปสัมภาษณ์ พบว่ามีถึงร้อยละ 34 ที่เรียนกวดวิชาและในกลุ่มนี้  มีถึงร้อยละ 79 ที่ใช้บริการโรงเรียนกวดวิชา ที่เหลือเรียนตัวต่อตัวกับครูสอนพิเศษ จำนวนวิชาที่เรียนต่อเทอมหนึ่งวิชา 40.5สองวิชา 36.1สามวิชา 19มากกว่าสามวิชา 4.4วิชาที่เด็กๆนิยมเรียนเรียงตามลำดับความนิยมในกรณีที่เรียนเพียงหนึ่งวิชานั้น วิชาที่เด็กๆ เลือกเรียนคือ คณิตศาสตร์ (ร้อยละ 62.6) รองลงมาได้แก่ อังกฤษ (ร้อยละ 38) ฟิสิกส์ (ร้อยละ 28) และเคมี (26)  ว่าแต่ทำไมเด็กกลุ่มนี้ถึงต้องเรียนกวดวิชา สิ่งที่ผู้ปกครองกลุ่มนี้เห็นว่าเป็นเหตุผลหลักที่เด็กๆไปเรียนพิเศษ คือ เรียนเพื่อต้องการทำคะแนนให้ดีขึ้น (ร้อยละ 77.5) รองลงมาได้แก่เพื่อการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ร้อยละ 49.2) ตามด้วยการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ (ร้อยละ 45.2) มี ร้อยละ 26.3 ที่ให้เหตุผลว่าลูกหลานไปเรียนพิเศษ เพราะเรียนตามเพื่อนในห้องไม่ทัน (ร้อยละ 26.3) มีเพียงร้อยละ 8.6 เท่านั้นที่ตอบว่าเด็กไปเรียนเพราะต้องการมีกิจกรรมนอกบ้าน และไปสังสรรค์กับเพื่อนหลังเรียน เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกโรงเรียน / ผู้สอนพิเศษให้กับบุตรหลาน คุณวุฒิของผู้สอน                 64.6ชื่อเสียงของผู้สอน            41.5เลือกตามคำแนะนำจากผู้ปกครองอื่นๆ     30.5แผ่นพับ/โฆษณา                14.8มาดูเรื่องเงินกันบ้างค่าใช้จ่ายในการเรียนพิเศษ โดยประมาณส่วนใหญ่ (ร้อยละ 31.2) มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1,000 – 2,000 บาท ต่อภาคเรียน แต่ที่น่าสนใจคือมีอีกร้อยละ 25 ที่เสียค่าใช้จ่ายเทอมละมากกว่า 4,000 บาท กลุ่มที่ใช้จ่ายเรื่องเรียนพิเศษเทอมละ 2,001 – 3,000 บาท และ 3,001 – 4,000 บาท มีประมาณร้อยละ 18 และมีไม่ถึงร้อยละ 8 ที่จ่ายน้อยกว่า 1,000 บาท    ในกลุ่มที่เรียนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้น มีมากกว่าร้อยละ 30 ที่ใช้จ่ายมากกว่า 4,000 บาทค่าใช้จ่ายในเดินทางค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเรียนพิเศษแต่ละครั้งของเด็กส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 50 ถึง 100 บาท หนึ่งในสี่ใช้น้อยกว่า 50 บาท และมีถึงร้อยละ 16 ที่มีค่าเดินทางมากกว่า 200 บาทบทสรุปความคุ้มค่าของการลงทุนหนึ่งในสี่ของผู้ปกครองเหล่านี้เชื่อว่าบุตรของตนมีผลการเรียนดีอยู่แล้วก่อนเรียนพิเศษ     ประมาณร้อยละ57 เชื่อว่าบุตรมีผลการเรียนดีขึ้นหลังเรียนพิเศษ แลประมาณร้อยละ 42 ใส่ใจการเรียนมากขึ้นหลังจากไปเรียนพิเศษแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีอยู่บ้าง (ร้อยละ 9) ที่ตอบว่าไม่มีความแตกต่างของผลการเรียนก่อนและหลังการเรียนพิเศษแล้วที่ไม่เรียนเพราะอะไรสาเหตุหลักคือเรื่องของความไม่พร้อมทางการเงิน (ร้อยละ 23.3) มีประมาณร้อยละ 20 ที่เห็นว่าบุตรหลานของตนเองมีผลการเรียนที่ดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการกวดวิชาก็ได้ ร้อยละ 10 เห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะต้องเรียน และที่ไม่เห็นด้วยกับการเรียนกวดวิชาจริงๆ มีเพียงร้อยละ 3     เท่านั้น ______________________________________________________

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 86 แอบดูร้านเน็ต รอบรั้วโรงเรียน

ปัจจุบันธุรกิจอีกหนึ่งชนิดที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็นในบริเวณรอบๆสถาบันการศึกษา ได้แก่ร้านอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นเพิ่มขึ้นแน่นอน ข้อมูลจากสถาบันรามจิตติก็ระบุว่าร้อยละ 25 ของเด็กไทย เข้าอินเทอร์เน็ตทุกวันหลายคนเห็นว่าการมีร้านดังกล่าวเป็นสิ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้เด็กสามารถค้นคว้าหาข้อมูล ทั้งมาทำการบ้านตามที่อาจารย์สั่ง ทั้งได้เปิดโลกทัศน์จากเว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ต่างๆ แต่บางคนก็วิตกว่าจะเป็นแหล่งชุมนุมของเด็กๆที่นิยมเกมออนไลน์ เข้าไปดูภาพลามกอนาจาร หรือสนทนากับคนแปลกหน้าผ่านโปรแกรมแชทต่างๆ อย่างที่เคยได้ยินข่าวกันเสียมากกว่า จะนั่งสงสัยอยู่ก็ใช่ที่ ฉลาดซื้อร่วมกับเครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ภาคประชาชน ในจังหวัด ลำปาง เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ลพบุรี ตราด สมุทรสงคราม สตูล และยะลา จึงส่งสายสืบไปคุยกับเด็กๆที่เข้าใช้บริการในร้านอินเทอร์เน็ตบริเวณรอบๆ โรงเรียน ว่าพวกเขาใช้เงิน ใช้เวลาในนั้นอย่างไรสายสืบของเรา หลอก เอ้ย สอบถามข้อมูลจากเด็กนักเรียน 346 คน จากจังหวัดต่างๆ เป็นเด็กชายและเด็กหญิงอย่างละครึ่ง และในกลุ่มที่เราสำรวจนั้น มีถึงร้อยละ 20 เป็นเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า รองลงมาได้แก่เด็กใน มัธยมสี่และสามเข้าร้านเน็ตกันบ่อยไหม ?เกือบร้อยละ 30 ของเด็กกลุ่มนี้ เข้าร้านเน็ตสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ประมาณร้อยละ 20 เข้าเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ที่เข้าทุกวันมีร้อยละ 13 ช่วงเวลาที่เด็กๆ เข้าใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดได้แก่ 4 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม (ร้อยละ 47) รองลงมาคือช่วงบ่ายโมง ถึง 4 โมงเย็น (ร้อยละ 19) ตามด้วยช่วง 8 โมงเช้า ถึงเที่ยง (ร้อยละ 15)ใช้อินเทอร์เน็ตทำอะไรกันบ้าง ?กิจกรรมที่ทำมากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียน เช่นหาข้อมูลทำรายงาน  รองลงมาคือการเล่นเกมส์ออนไลน์และการสนทนาออนไลน์ หาข้อมูลทำรายงาน          ร้อยละ 68เล่นเกมส์ออนไลน์             ร้อยละ 54สนทนาออนไลน์*              ร้อยละ 48หาข้อมูลเพื่อความบันเทิง (เช่น หาข้อมูลดารา/นักร้องที่ชอบ)    ร้อยละ 30ดาวน์โหลดเพลง            ร้อยละ 26*ในกลุ่มที่เราสำรวจ โปรแกรม/เว็บสนทนาที่นิยมใช้มากที่สุดได้แก่ MSN (ร้อยละ 59) ตามด้วย Hi5 เว็บที่เป็นข่าวฮือฮากันอยู่ขณะนี้ (ร้อยละ 20)>> และเมื่อถามเด็กๆว่า สิ่งพวกเขาใช้ประโยชน์มากที่สุดจากอินเทอร์เน็ตได้แก่อะไร คำตอบคือ เพื่อการศึกษาและเพื่อเล่นเกมส์ในระดับที่พอๆกัน (ร้อยละ 41 และ 40 ตามลำดับ) กลุ่มที่ใช้เพื่อการศึกษานั้น 1 ใน 4 เป็นเด็กชั้นมัธยมปีที่ 5 กลุ่มที่ใช้เพื่อเล่นเกม ร้อยละ 18 เป็นเด็กชั้นมัธยมปีที่ 1 อยู่ในร้านกันนานแค่ไหนเด็กๆส่วนใหญ่ (ร้อยละ 47) ตอบว่าใช้เวลาในการเข้าอินเทอร์เน็ตแต่ละครั้ง ประมาณ 2 ชั่วโมงมีประมาณ ร้อยละ 18 ที่ใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมงต่อครั้งกลุ่มที่ใช้เวลา 2 ชั่วโมง นั้น ร้อยละ 47 ใช้เพื่อการศึกษา ที่เหลือใช้เพื่อเล่นเกม แชท หรือ ดูข่าวบันเทิงกลุ่มที่ใช้เวลา 3 ชั่วโมง นั้น ร้อยละ 51 ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเล่นเกมกลุ่มที่อยู่นานกว่า 5 ชั่วโมงนั้น เกือบร้อยละ 70 ใช้เพื่อเล่นเกมเช่นกัน แล้วเล่นเกมอะไรกันบ้างเกมยอดนิยมในหมู่เด็กๆที่เราไปสำรวจ ได้แก่เกมแนวต่อสู้ (ร้อยละ 41) รองลงมาได้แก่เกมกีฬา (ร้อยละ 20) ตามด้วยเกมทำครัวและแฟชั่น (ร้อยละ 12)เอาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายที่ร้านเน็ตร้านอินเทอร์เน็ตเหล่านี้คิดค่าบริการ 10/15/20 บาท ต่อชั่วโมง เกือบร้อยละ 60 ของเด็กๆเหล่านี้ บอกว่าขอเงินจากพ่อแม่มาใช้บริการ อีกประมาณร้อยละ 39 บอกว่าใช้เงินที่เก็บสะสมไว้ ส่วนที่เหลืออีกไม่กี่คนนั้นได้เงินจากญาติหรือเพื่อนส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น เกือบครึ่งหนึ่งของเด็กๆ บอกว่าใช้ไม่เกิน  50 บาทต่อสัปดาห์ ร้อยละ 32 ใช้ไม่เกิน 100 บาทต่อสัปดาห์ ร้อยละ 17 ใช้ระหว่าง 100 – 300 บาท เด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชาย มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกัน หรือไม่กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษานั้นเป็นเด็กหญิงร้อยละ 62 เด็กชายร้อยละ 38กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเล่นเกมส์นั้นเป็นเด็กชายร้อยละ 67 เด็กหญิงร้อยละ 33กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตไม่เกิน 2 ชั่วโมงนั้น จะเป็นเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย แต่ในกลุ่มที่อยู่ในร้าน 3 ชั่วโมงขึ้นไป จะเป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ======>>> ตามกฎหมายแล้ว ร้านจะต้องไม่ให้เด็กเข้าใช้บริการหลังเวลาสี่ทุ่ม แต่สายสืบของเราพบว่าร้อยละ 19 ของร้านอินเทอร์เน็ตในบริเวณรอบๆโรงเรียนในเขตที่เราไปสำรวจนั้นยังมีเด็กๆเข้าใช้บริการอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดตราด มีร้านที่ยังให้บริการกับเด็กหลังสี่ทุ่มถึง 9 ร้าน จากทั้งหมด 20 ร้าน ที่เราไปสังเกตการณ์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 87 เด็กไทยกินอะไรกันหน้าโรงเรียน

เพื่อเป็นการต้อนรับเปิดเทอม ฉลาดซื้อฉบับนี้ชวนผู้อ่านไปป้วนเปี้ยนแถวหน้าโรงเรียนกันอีกแล้ว เราได้ยินข่าวกันบ่อยครั้งเรื่องภาวะโภชนาการเกินของเด็กไทยสมัยนี้  จึงทำการสำรวจว่าเด็กๆของเราเลือกรับประทานอาหารว่าง (หรือบางครั้งก็อาจเป็นอาหารหลัก) อะไรกันบ้างจากร้านหรือรถเข็นบริเวณรอบๆโรงเรียนและเช่นเคยเราได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี  สมทรสงคราม ตราด อำนาจเจริญ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ลำปาง มหาสารคาม สตูล และยะลา กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 465 คน เป็นเด็กหญิงร้อยละ 65 เด็กชายร้อยละ 35ร้อยละ 63 มีอายุระหว่าง 13 –16 ปี และประมาณร้อยละ 63 เช่นกัน ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 4เด็กๆได้เงินมาโรงเรียนวันละกี่บาทค่าขนม    ร้อยละไม่เกิน 10 บาท    4.511 - 20 บาท    15.121 -30 บาท    12.931 - 40 บาท    16.641 - 50 บาทt    22.251 - 60 บาท    18.7มากกว่า 60 บาท    10.1เกือบร้อยละ 40 ใช้จ่ายไม่เกิน 10 บาท ต่อครั้ง มีประมาณร้อยละ 22 ที่ใช้จ่ายมากกว่า 20 บาทต่อครั้ง เด็กๆ กินอะไรกันเราพบว่าเมนูยอดฮิตหน้าโรงเรียน 5 อันดับต้น ได้แก่ (ตามลำดับ)1.    น้ำอัดลม/น้ำหวาน2.    ไอศกรีม3.    ลูกชิ้นทอด/ปิ้ง4.    ผลไม้5.    ขนมขบเคี้ยว    ซื้อทุกวันเลยหรือเปล่าร้อยละ 43.4 บอกว่าซื้อทุกวันอีกร้อยละ 35.5 ซื้อสัปดาห์ละหลายครั้งมีเพียงร้อยละ 14 เท่านั้นที่ตอบว่า นานๆจะซื้อสักครั้งสาเหตุที่ซื้อทาน1.    หาซื้อได้ง่าย2.    หิว3.    อร่อยเรื่องนี้สอดคล้องกับผลการสำรวจโดยองค์กรต่างๆก่อนหน้านี้ เรื่องสภาวะโภชนาการเกินในเด็กไทย อย่างน้อยๆ เมื่อโรงเรียนเลิกปุ๊ป เด็กออกมาหน้าโรงเรียนก็หาอาหารรับประทานปั๊ป และที่รับประทานกันเป็นส่วนใหญ่ก็ดูจะเป็นอาหารพวกที่มีแป้ง น้ำตาล และน้ำมัน ในปริมาณสูง (น่าจะดีเหมือนกันถ้าผลไม้ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง) แต่คงจะต้องมีการปรับปรุงเรื่องของความสะอาด และการปนเปื้อนในอาหาร เพราะในกลุ่มนักเรียนที่ซื้อทุกวันหรือซื้ออาทิตย์ละหลายครั้งนั้น มีมากกว่าร้อยละ 40 ที่เคยมีอาการเจ็บป่วยจากการรับประทานอาหารดังกล่าวเด็กๆอยากให้ ร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย บริเวณรอบโรงเรียน ปรับปรุงอะไรบ้างเรื่องความสะอาดเป็นเรื่องที่เด็กๆ อยากให้มีการปรับปรุงมากที่สุดรองลงมาได้แก่ปริมาณ  ราคา และรสชาติตามลำดับคิดยังไงกับจำนวน ร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย รอบๆโรงเรียนร้อยละ 57 คิดว่าเท่าทีมีอยู่ก็เหมาะสมแล้วร้อยละ 31 บอกว่า ยังมีน้อยไป น่าจะมีร้านมาเปิดเพิ่มอีกมีร้อยละ 12 ที่บอกว่ามีร้านมาตั้งหน้าโรงเรียนมากเกินไปพ่อแม่/ ผู้ปกครองหรือครูเคยเตือนหรือเปล่ามากกว่าร้อยละ 50 ของเด็กที่ตอบคำถามบอกว่า พ่อแม่/ ผู้ปกครอง / ครู เคยห้ามหรือเตือนเรื่องอาหารจากร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย บริเวณรอบโรงเรียนแต่การห้ามหรือตักเตือนยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กๆได้ เพราะ ในกลุ่มที่ตอบว่าได้รับการห้ามหรือเตือนเรื่องอาหารหน้าโรงเรียนนี้ มีมากกว่าร้อยละ 40 ที่ยังซื้ออาหารดังกล่าวรับประทานทุกวัน อีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ซื้อทานสัปดาห์ละหลายครั้ง มีเพียงไม่เกินร้อยละ17 เท่านั้นที่ลดการบริโภคลงเป็นนานๆครั้ง ปัญหาที่เด็กๆ เคยพบจากการรับประทานอาหาร จากร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย บริเวณรอบโรงเรียน ตามลำดับ1.    ภาชนะไม่สะอาด2.    อาหารไม่สดใหม่    3.    ผู้ขายมารยาทไม่ดี    4.    ผู้ขายมีการเลือกปฏิบัติ (เช่น ถ้าเป็นคนรู้จักกันไม่ต้องต่อคิว) 5.    เคยเจอสิ่งแปลกปลอม ในอาหาร เช่น หนอน แมลงสาบเคยมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหารดังกล่าวหรือไม่ร้อยละ 43.4 ตอบว่าเคยเกิดขึ้น นานๆครั้ง ร้อยละ 3.4 ตอบว่าเคยเกิดขึ้นบ่อยๆร้อยละ 53.1 ตอบว่าไม่เคยเกิดขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 96 ทดสอบเป้โรงเรียนของใครโอเคกว่ากัน

กระเป๋าสะพายหลังหรือที่เราเรียกกันติดปากว่าเป้นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับเด็กนักเรียนที่แต่ละวันมีสัมภาระต้องนำติดตัวไปด้วยจำนวนไม่น้อย ตั้งแต่สมุด หนังสือ กระติกน้ำ กล่องข้าว และอื่นๆอีกมากมาย   สมาชิกของฉลาดซื้อคงจำกันได้ว่าในฉบับที่ 76 เมื่อปี 2550 เราเคยทำสำรวจน้ำหนักที่เด็กๆวัยประถมต้องแบกไปโรงเรียนกันในแต่ละวันและ พบว่ากว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนจำนวน 368 คนที่เราไปสำรวจนั้น แบกน้ำหนักกระเป๋าเกินกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเอง เนื่องจากเป้สะพายหลังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กในการบรรจุสิ่งของต่างๆไปโรงเรียน เพราะมันสามารถช่วยกระจายน้ำหนักของสิ่งของได้ดีกว่ากระเป๋าชนิดอื่นๆ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงกลับมาอีกครั้งด้วยการสุ่มนำกระเป๋าสะพายหลังที่โรงเรียนต่างๆเป็นผู้จ้างผลิตและจัดจำหน่ายให้กับนักเรียน มาลองทดสอบดูว่าจะมีความแข็งแรงทนทานเพียงใด โดยตัวอย่างที่นำมาทดสอบนั้นเป็นเป้จากโรงเรียนในกรุงเทพมหานครและอีก 7 จังหวัดคือ ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ตราด สมุทรสงคราม ยะลา และลำปาง จำนวนทั้งหมด 23 โรงเรียน ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 180 -250 บาท ผู้ปกครองโปรดทราบ ไม่ควรให้เด็กๆถือหรือสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักเกิน ร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวของพวกเขา เช่นเด็กที่มีน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ก็ไม่ควรแบกกระเป๋าหนักที่หนักเกินกว่า 3 กิโลกรัม เป็นต้น สายสะพายเป้นั้นควรปรับให้ได้ระดับที่เหมาะสม คือให้เป้แนบกับหลัง และตัวเป้ไม่ห้อยอยู่ในระดับต่ำกว่าบั้นเอวของเด็ก ที่สำคัญหัดให้เด็กๆเคยชินกับการสะพายเป้ด้วยสายทั้งสองข้าง เพราะการสะพายเพียงข้างใดข้างหนึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดที่ต้นคอ ไหล่และหลังได้ ที่มา: ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บใน เด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นักเรียนไทยได้เริ่มใช้เป้สะพายหลังแทนการหิ้วกระเป๋าเมื่อปีพ.ศ. 2527 โดยรมว.ศึกษาธิการซึ่งขณะนั้นคือนาย ชวน หลีกภัย ได้สนองพระดำริสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการให้องค์การค้าของคุรุสภาผลิตกระเป๋าสะพายหลังตามแบบจากต่างประเทศ เพื่อขายให้กับนักเรียนในราคาถูกมติชน วันที่ 5 มกราคม 2551 เป้ของใครจะทนทานกว่ากัน ฉลาดซื้อร่วมกับห้องปฏิบัติการของบริษัท เอส จีเอส ได้ทำการทดสอบกระเป๋าเป้นักเรียนทั้ง 23 ใบใน 5 ประเด็นต่อไปนี้ 1. ความต้านทานแรงดึง 2. ความต้านทานแรงฉีกขาด3. ความแข็งแรงของสายสะพายบ่า4. ความคงทนต่อการขัดถู5. ความสามารถในการบรรจุ ผลทดสอบความแข็งแรงของกระเป๋าเป้นักเรียนในด้านต่างๆ มีดังนี้ เป้ทุกใบที่ทดสอบมีความคงทนต่อการขัดถูก มากกว่า 20,000 ครั้ง (โดยเครื่องทดสอบ Martindale wear & abrasion ที่ขัดถูชิ้นผ้าทดสอบจนขาดด้วยค่าความดัน 12 กิโลปาสคาล) และเมื่อเราทดลองบรรจุน้ำหนัก 5 กิโลกรัม เป็นเวลานาน 30 นาที พบว่าไม่มีเป้จากโรงเรียนไหนปริแตก ทั้งในบริเวณของตะเข็บก้นกระเป๋าและตะเข็บสายสะพายบ่า น่าเสียดาย เรายังไม่พบเป้ที่ดีพร้อมในทุกๆด้าน เป้ที่ใช้วัสดุที่มีความทนทานต่อแรงดึงและแรงฉีกขาดสูงกลับมีสายสะพายที่ไม่แข็งแรงเท่าไรนัก (บ้างก็ด้ายที่เย็บฉีกขาด บ้างก็วัสดุที่ใช้ทำตัวเป้ขาดบริเวณตะเข็บ) ที่สำคัญเป้เหล่านี้มีสายสะพายที่ความกว้างน้อยกว่า 6 เซนติเมตร เช่นเป้ของโรงเรียนพินิจวิทยา โรงเรียนวัดลาดเป้ง และโรงเรียนเทพมงคลรังสี เป็นต้น และในทางกลับกัน เป้ที่มีสายสะพายขนาดที่เหมาะแก่การสะพายของเด็กๆ (ประมาณ 6 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการกดทับบริเวณไหล่ และไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาท) กลับมีวัสดุที่มีความทนทานต่อแรงดึงหรือการฉีกขาดต่ำ เช่น เป้ของโรงเรียนสตรียะลา และโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง เป็นต้น ผลทดสอบความแข็งแรงของกระเป๋าเป้นักเรียน   หมายเหตุ: 1. ความต้านทานแรงดึง (Tensile Strength) โดยวิธีทดสอบหาค่าแรงดึงขาดแบบแกรบ (BS EN ISO 13934-2 : 1999; Instron CRE-Grab method) ประเภทของเครื่องทดสอบ Instron CRE แบบอัตราการยืดตัวคงที่ (CRE: Constant-rate-of-extension) ระยะห่างของปากจับ 100 มิลลิเมตร ความเร็วในการทดสอบ 50+/- มิลลิเมตร/นาที ในทิศทางการดึงออกตรงๆ โดยจะวัดแรงต้านทานแรงดึงทั้งทางด้านเส้นยืน (ด้านแนวตั้ง) และด้านเส้นพุ่ง (ด้านแนวนอน) ของชิ้นผ้าทดสอบมีหน่วยการวัดเป็นกิโลแรง (Kgf: Kilogram-force)2. ความต้านทานแรงฉีกขาด (Tearing Strength) โดยวิธีทดสอบการฉีกขาดแบบ single tear (BS EN ISO 13937-2 : 2000; Single tear method) ประเภทของเครื่องทดสอบ Instron CRE แบบอัตราการยืดตัวคงที่ (CRE: Constant-rate-of-extension) ระยะห่างของปากจับ 100 มิลลิเมตร ความเร็วในการทดสอบ 100 มิลลิเมตร/นาที ในทิศทางการดึงเพื่อทำให้ผ้าฉีกขาด ในทิศทางการดึงออกตรงๆ โดยจะวัดแรงต้านทานแรงดึงทั้งทางด้านเส้นยืน (ด้านแนวตั้ง) และด้านเส้นพุ่ง (ด้านแนวนอน) ของชิ้นผ้าทดสอบมีหน่วยการวัดเป็นกิโลแรง (Kgf: Kilogram-force)3. ความแข็งแรงของสายสะพายบ่า (Attachment Strength of Handle/Shoulder Strap) เป็นวิธีทดสอบของบริษัท SGS เป็นเครื่องทดสอบแบบ Instron CRE (SGS In-House Method ; Instron CRE Tester) ระยะห่างของปากจับ 75 มิลลิเมตร ความเร็วในการทดสอบ 300 มิลลิเมตร/นาที ปากจับขนาด 3x2 นิ้ว (Jaw face) ความแข็งแรงของสายสะพายบ่าจะวัดจากแรง ที่ทำให้เกิดการปริขาดเกิดจาก 2 สาเหตุ ซ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 กระแสต่างแดน

ฮ่องกงกับปัญหา “ห้องกรง” แม้จะได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่และมีความยอดเยี่ยมในหลายๆ ด้าน แต่ปัญหาที่แก้ไม่ตกของเมืองพื้นที่จำกัดอย่างฮ่องกงเห็นจะหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย การสำรวจครั้งล่าสุดพบว่าประชากรกว่า 80,000 คน (ส่วนใหญ่เป็นคนว่างงาน  คนรายได้น้อย ผู้อพยพ คนพ้นโทษออกจากคุก หรือคนที่สติไม่ดี) อาศัยอยู่ในที่ๆ แทบไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น “ที่อยู่อาศัย” ได้เลย “ห้องกรง” หรือ “บ้านกรง” นั้นจะมีพื้นที่ประมาณ 1 เตียงเดี่ยว หรือประมาณ 3 ตารางเมตร ที่ใช้ลูกกรงตาข่ายกั้นห้องแทนผนังทึบ แต่ขอบอกว่าค่าเช่าไม่ถูกเลย เขาจ่ายกันประมาณ 1,400 เหรียญ (5,600 บาท) ต่อเดือน อัตรานี้เพิ่มจาก 1,000 เหรียญเมื่อต้นปี ส่วน “บ้านกล่อง” นั้นก็พอจะอยู่กันได้หลายคนหน่อย ครอบครัวหนึ่งซึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูกชาย และลูกสาว อาศัยอยู่ในพื้นที่ 4.6 ตารางเมตร พวกเด็กๆบอกว่าไม่มีปัญหา เพราะสามารถขึ้นไปกินข้าว ทำการบ้าน หรือเล่นเกมต่างๆ บนหลังคาตึกได้ ครอบครัวนี้ไม่คิดจะขยับขยายไปไหน เพราะค่าเช่า 1,500 เหรียญ (6,000 บาท) ต่อเดือนนั้นเหมาะสมแล้วกับรายได้ 4,000 เหรียญ (16,000 บาท) ของครอบครัว   บ้านกรงและบ้านกล่องเหล่านี้ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในย่าน ชัม ชุย โป (ที่คนไทยรู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งขายสินค้าแฟชั่นราคาส่งแบบประตูน้ำบ้านเรา) ที่แคบไม่เท่าไร แต่ปัญหาคือ พื้นที่แออัดในตึกสูงเหล่านี้ทำให้การระบายอากาศไม่ดีเท่าที่ควร เขาสำรวจพบว่าร้อยละ 80 ของผู้อยู่อาศัยใน “กล่อง” และร้อยละ 70 ของผู้อยู่อาศัยใน “กรง” นั้น มีอาการของโรคเรื้อรังอย่างใดอย่างหนึ่ง ร้านนี้สตรีเท่านั้น กระทรวงแรงงานของซาอุดิอาระเบียกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการบังคับให้บรรดาร้านเพชร ร้านทอง เปลี่ยนมาจ้างพนักงานที่เป็นสตรีทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เคยออกมาก่อนหน้านั้น ที่ระบุว่าห้างร้านใดๆ ที่ขายสินค้าสำหรับผู้หญิงจะต้องใช้พนักงานที่เป็นผู้หญิงเท่านั้น แต่ฝ่ายร้านทองพากันออกมาคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่างานลักษณะนี้ผู้หญิงไม่น่าจะเอาอยู่ เพราะร้านเหล่านี้จะมีผู้คนมากมายเบียดเสียดกันตลอดวัน ปะปนกันไปทั้งลูกค้า ทั้งโจรนอกเครื่องแบบ บ้างก็ว่านโยบายนี้จะส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจ้างงาน เนื่องจากทุกวันนี้พนักงานขายในร้านค้าต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นชายหนุ่ม ซึ่งขายกันมาจนมีความเชี่ยวชาญ ถ้าเปลี่ยนเป็นจ้างผู้หญิงแล้ว หนุ่มๆ เหล่านี้จะไปทำอาชีพอะไร  กินได้โล่ งานวิจัยในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ระบุว่า ปริมาณการบริโภคช็อกโกแลตของประชากรนั้นมีส่วนสัมพันธ์กับจำนวนคนที่ได้รับรางวัลโนเบลในประเทศนั้นๆ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีอัตราส่วนของผู้ได้รับรางวัลโนเบลต่อจำนวนประชากรสูงที่สุด นั้นเขากินช็อกโกแลตกันเฉลี่ยคนละ 120 แท่ง (แท่งละ 85 กรัม) หรือ 10.2 กิโลกรัม/ปี  ตามด้วยประเทศสวีเดน และเดนมาร์ก ที่ประชากรมีการบริโภคช็อกโกแลตรองลงมา ส่วนสหรัฐฯ นั้นอยู่ในระดับกลางๆ งานวิจัยระบุว่าถ้าสหรัฐต้องการมีผู้ได้รับรางวัลโนเบลเพิ่มขึ้น 1 คน ประชากรอเมริกันก็ต้องช่วยกันบริโภคโกโก้เพิ่มขึ้นอีก 125 ล้านกิโลกรัมต่อปี เอริค คอร์เนล แพทย์ชาวอเมริกันที่เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปีค.ศ. 2001 ให้ความเห็นว่า ที่เป็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะการบริโภคช็อกโกแลตนั้นสัมพันธ์กับความมั่งคั่งของประเทศ และความมั่งคั่งของประเทศนี้เองที่นำไปสู่การสร้างสรรค์งานวิจัยคุณภาพสูงควรค่าแก่รางวัลโนเบล แต่หมอคอร์เนลย้ำว่า ต้องบริโภคช็อกโกแลตชนิดที่น้ำตาลน้อย (dark chocolate) มันถึงจะมีประโยชน์ต่อสมอง หัวใจ และการควบคุมน้ำหนักตัว พูดง่ายๆ คืออย่าพลาดไปทานขนมรสช็อกโกแลตหวานๆ เข้าทีเดียว เดี๋ยวจะได้ผลในทางตรงกันข้าม นี่คงเป็นนิมิตหมายอันดีของคนทั้งโลก เพราะเดี๋ยวนี้คนเราหันมาบริโภคช็อกโกแลตกันมากขึ้น ทุกๆ วินาที เราชาวโลกจะบริโภคช็อกโกแลตกันประมาณ 95 ตัน ที่ญี่ปุ่น ยอดขายช็อกโกแลตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ในจีนยอดขายก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 แม้แต่ในอินเดียที่คนร้อยละ 50 ไม่เคยลิ้มรสช็อกโกแลต ยอดขายก็ยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 แต่คุณทราบหรือไม่ว่าร้อยละ 85 ของตลาดช็อกโกแลตโลก เป็นของบริษัทข้ามชาติเพียง 6 เจ้า ได้แก่ เฮอร์ชีย์  มารส์  ฟิลลิปมอริส เนสเล่  แคดบิวรี่ และเฟอเรโร่   ไม่ร้องก็ต้องลด ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียนบริการโทรคมนาคมของออสเตรเลีย ตัดสินใจปลดพนักงานออก เพราะจำนวนเรื่องร้องเรียนลดลงไปจากช่วงต้นปีถึงร้อยละ 20 เนื่องจากองค์กรนี้ได้รับเงินสนับสนุนตามจำนวนเรื่องร้องเรียน รายได้ของหน่วยงานจึงลดลงไปโดยปริยาย พนักงานจำนวนหนึ่งจากทั้งหมด 266 คนจึงต้องออกไปหางานใหม่ เรื่องร้องเรียนอันดับต้นๆ ของที่ออสเตรเลียก็คล้ายๆกับที่บ้านเรา ได้แก่ สัญญาณไม่ดี ค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม และการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค ณ จุดขาย รัฐที่มีเรื่องร้องเรียนต่อหัวประชากรมากที่สุด ได้แก่ รัฐวิคตอเรีย ซึ่งมีเรื่องร้องเรียนเฉลี่ย 10.6 เรื่อง ต่อประชากร 1,000 คน  แต่ถ้าดูในระดับเมืองแล้ว เมืองบริสเบนของรัฐควีนส์แลนด์ มีเรื่องร้องเรียนมากที่สุดถึง 15.6 เรื่อง ต่อประชากร 1,000 คน   ที่น่าสังเกตคือ แม้ว่าปีนี้จะมีเรื่องร้องเรียนโดยรวมลดลงจากปีก่อน แต่เรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือกลับเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 10 สืบเนื่องจากจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง   แม้ว่าจะมีคนหลายหมื่นที่ยังมีเรื่องอยากร้องเรียน แต่องค์กรนี้เขายังยืนยันจะลดจำนวนพนักงาน โดยให้เหตุผลว่าข้อบังคับใหม่ที่ออกมาควบคุมการให้บริการโทรคมนาคมให้เป็นมิตรต่อผู้บริโภคมากขึ้นนั้น คงจะทำให้เรื่องร้องเรียนลดลงไปกว่าเดิม   ของถูก เหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เมืองการาจี เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาเป็นอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงที่สุดในปากีสถานที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 250 ราย   ข่าวนี้ทำให้เกิดคำถามมากมาย ตั้งแต่มาตรฐานความปลอดภัยของสถานประกอบการ การคอรัปชั่นในรัฐบาล และความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ โรงงานดังกล่าว มีคนทำงานอยู่ 500 คน (รวมผู้หญิง 50 คน) ในขณะเกิดเหตุ (หลังหกโมงเย็น) สาเหตุของไฟไหม้ยังไม่ชัดเจน แต่ที่ชัดคือ โรงงานซึ่งเป็นตึกสองชั้นที่เก็บสต๊อกสีย้อมและผ้าฝ้ายไว้ในตัวอาคารนั้น มีทางออกเพียงทางเดียว และไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ทางหนีไฟ” ไฟไหม้ในเอเชียแต่ร้อนกันไปถึงยุโรป เมื่อสื่อมวลชนออกมาเปิดเผยว่าโรงงานดังกล่าวคือโรงงานที่ผลิตเสื้อผ้าให้กับห้างค้าปลีกสัญชาติเยอรมันที่เน้นสินค้าประเภทเสื้อผ้าราคาประหยัดยี่ห้อ KiK นั่นเอง จึงเกิดเสียงวิพากษ์กันหนาหูว่านักธุรกิจเยอรมันไม่ได้ใส่ใจกับสภาพการทำงานของคนที่ทำงานในโรงงาน เท่าที่ควร KiK แสดงความรับผิดชอบด้วยการมอบเงิน 500,000 เหรียญ ให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต แต่องค์กรพัฒนาเอกชน Sudwind เขาออกมาเรียกร้องให้บริษัทมีมาตรการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนกว่านั้น อย่างน้อยๆ ก็ต้องดูแลผู้ที่รอดชีวิตจากเหตุไฟไหม้แต่ไม่มีงานทำหรือไม่สามารถทำงานได้ด้วยเช่นกัน ข่าวบอกว่าการณรงค์เรื่องความรับผิดชอบต่อสภาพการทำงานในโรงงานผลิตนี้ ยังไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไร เพราะกฎหมายเยอรมันยังไม่ได้บังคับให้ผู้ประกอบการตรวจสอบสภาพการทำงานในบริษัทที่รับจ้างผลิต ที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่น ที่ผ่านมานั้นเป็นการทำตามความสมัครใจมากกว่า แต่เรื่องนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว เพราะขณะนี้คณะกรรมาธิการยุโรปกำลังพิจารณาออกข้อบังคับให้บริษัทต่างๆ เปิดเผยข้อมูลว่าสินค้าของตัวเองนั้นผ่านกระบวนการผลิตอย่างไร โดยใคร ที่ไหน ในสภาพการทำงานเช่นใด เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 114 กระแสต่างแดน

      คนบ้านเดียวกันประเทศมั่งคั่งอย่างแคนาดาก็มีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารกับเขาเหมือนกันหรือนี่   สมาพันธ์การเกษตรแห่งแคว้นโนวา สโกเชีย บอกว่าในทุกๆ 1 เหรียญที่คนแคนาดาใช้จ่ายกับการซื้ออาหารนั้น มีเพียง 13 เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นรายได้ให้กับเกษตรกรในท้องถิ่น งานวิจัยที่ติดตามเรื่องนี้มาเป็นเวลากว่า 3 ปี พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว อาหารที่ประชากรของแคว้นนี้รับประทานกันอยู่นั้น ต้องเดินทางรอนแรมมาไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลเมตร โดยปกติแล้วครัวเรือนในแคนาดานั้นใช้จ่ายกับเรื่องอาหารค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว  เมื่อเทียบกับประชากรในอเมริกา หรือออสเตรเลีย   แต่งานวิจัยเรื่องนี้ระบุว่าปรากฏการณ์ห้างค้าปลีกเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกษตรกรในแคว้นนี้ต้องปิดกิจการกันไปเป็นจำนวนมาก เช่นปัจจุบันแคว้นนี้มีฟาร์มหมูเหลืออยู่เพียง 4 ฟาร์มเท่านั้น จากที่เคยมีถึง 90 ฟาร์มเมื่อ 10 ปีก่อน อย่างที่รู้ๆ กัน ซูเปอร์มาเก็ตเจ้าใหญ่ๆ สามารถนำเข้าสินค้าเกษตรในปริมาณมากและในราคาที่ค่อนข้างต่ำทำให้สามารถขายให้กับผู้บริโภคในราคาที่ถูกกว่าผลผลิตในท้องถิ่นได้ เกษตรกรในพื้นที่จึงต้องหันไปทำอย่างอื่นแทน  พูดง่ายๆ แคว้นนี้กำลังสูญเสียความสามารถในการพึ่งพาตนเองในเรื่องอาหารนั่นเอง เพราะคนรุ่นใหม่ก็ไม่สนใจที่จะสานต่อกิจการของเกษตรกรรุ่นปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้มีอายุเฉลี่ย 55 ปีแล้วด้วย แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ถึงกับหมดหวัง รายงานดังกล่าวประเมินว่าถ้าผู้คนในแคว้นโนวา สโกเชียหันมาอุดหนุนเนื้อวัวที่ผลิตในท้องถิ่น จะทำให้มีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจถึง 65.5 ล้านเหรียญ และสร้างงานได้ถึง 1,300 ตำแหน่งทีเดียว นั่นไง ฮีโร่ตัวจริงก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็นผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ นี่เอง   นักศึกษาก็ผู้บริโภค ปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนจากนักศึกษาในอังกฤษและเวลส์เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยตัวเอง มากขึ้นร้อยละ 50 รายงานของสำนักงานตุลาการอิสระระบุว่า สาขาวิชาที่มีนักศึกษาร้องเรียนมากที่สุดได้แก่ บริหารธุรกิจ กฎหมาย และแพทย์ศาสตร์ และส่วนใหญ่มักเป็นนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาหรือนักศึกษาต่างชาติ รายงานดังกล่าวตั้งข้อสังเกตว่า การร้องเรียนที่เพิ่มขึ้นนี้แสดงให้เห็นว่านักศึกษาเริ่มมองเห็นตนเองในฐานะ “ผู้บริโภค”มากขึ้น และเริ่มรับ “การศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐาน” ไม่ได้ เพราะนักศึกษาทุกวันนี้เริ่มมีหนี้สินมากขึ้น จึงทำให้มีความเครียด และความคาดหวังมากขึ้น   (แม้จะเป็นพียงแค่ร้อยละ 0.05 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด ซึ่งอาจเป็นเพราะการร้องเรียนนั้นมีขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก)   ปีที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนเข้ามาทั้งหมด 1,007 เรื่อง และ 1 ใน 5 ของเรื่องร้องเรียนเหล่านี้   "เป็นเรื่องที่ฟังขึ้น" ข้อร้องเรียนส่วนใหญ่เกี่ยวกับการที่มหาวิทยาลัยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการของตัวเองตามที่ได้แจ้งนักศึกษาไว้  ทั้งนี้สำนักงานตุลาการอิสระสามารถตรวจสอบว่ามหาวิทยาลัยได้ให้สิ่งที่สัญญาไว้กับผู้เรียนหรือไม่ แต่ไม่สามารถตรวจสอบเรื่องของการให้คะแนน การตัดเกรด หรือคุณภาพการสอนได้ในปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยเหล่านี้ต้องจ่ายค่าชดเชยไปเป็นจำนวนทั้งสิ้น 163,000 ปอนด์  (ประมาณ 8 ล้านกว่าบาท) ซึ่งเป็นการจ่ายให้กับ การสูญเสียโอกาสในการได้งานทำ โอกาสในการก้าวหน้าทางการงานหรือความเครียด เป็นต้น   นักศึกษาคนหนึ่งได้รับเงินชดเชย 750 ปอนด์ (37,800 บาท) กับการที่ไม่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนเพราะมีคุณสมบัติไม่ครบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด เขาร้องเรียนว่ามหาวิทยาลัยไม่ได้แจ้งคุณสมบัตินั้นไว้ให้ชัดเจน อีกรายหนึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่ได้ค่าชดเชยไป 45,000 ปอนด์ (2 ล้าน 2 แสนบาท) จากการที่เขาต้องเสียเวลาไปกับกระบวนการตรวจสอบทางวินัยของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งไปถึง 3 ปีเต็ม -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   รถ ICE ที่ไม่เย็น คลื่นความร้อนที่เล่นงานประเทศต่างๆในยุโรป นั้นลุกลามเข้าไปถึงห้องโดยสารติดแอร์ของรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งระหว่างเมืองของเยอรมนี Inter City Express (ที่เรียกย่อๆ ว่า ICE) กับเขาด้วยดอยท์ชบาห์น หรือการรถไฟเยอรมนี จึงต้องรับผิดชอบด้วยการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้โดยสารที่ต้องพบแพทย์เพราะอาการเจ็บป่วยอันสืบเนื่องมาจากความร้อนที่ว่า คนละ 500 ยูโร (20,000 บาท) พร้อมกับคืนเงินค่าตั๋วให้ด้วย ขณะนี้มีคนมารับเงินชดเชยไปแล้วถึง 2,200 คน   สื่อเยอรมันรายงานว่าอุณหภูมิในห้องโดยสารนั้นสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส ในขณะที่ระบบเครื่องปรับอากาศของตู้โดยสารนั้นสามารถรับมือกับอุณหภูมิได้สูงสุดแค่ 32 องศาเท่านั้น รูดิเกอร์ กรูบ ซีอีโอ ของการรถไฟเยอรมันตั้งคำถามกับประสิทธิภาพของรถไฟที่บริษัทใช้วิ่งอยู่ แต่นายกสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟเยอรมนี ปฏิเสธข้อสงสัยดังกล่าว โดยยืนยันว่าบริษัทผู้ผลิตไม่มีทางทำรถไฟไก่กาที่ระบบแย่ๆ ออกมาแน่นอน ปัญหาน่าจะเป็นเพราะการดูแลรักษาที่ไม่ดีพอมากกว่า   อย่างไรก็ตามข่าวเขาบอกมาว่า ด้วยอากาศที่เปลี่ยนไป รถไฟรุ่นหน้าที่จะเข้าประจำการปีหน้านั้นจะทำมาให้สามารถรับมืออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียสกันไปเลย@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@   เบียดเบียนคนแก่ สถานีโทรทัศน์ Nos ของเนเธอร์แลนด์ ออกมาแฉว่าเดี๋ยวนี้บรรดาบ้านพักฟื้นหรือบ้านพักคนชราจะเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการมากขึ้น ด้วยการเรียกเก็บค่าบริการเล็กๆ น้อยๆ ประปราย เช่น ค่าผลไม้ ค่ากระดาษทิชชู ค่าพาไปเดินออกกำลัง เป็นต้น ที่ต้องแฉก็เพราะว่าบรรดาบริการเหล่านี้ถือเป็นบริการที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของระบบประกันสุขภาพอยู่แล้วนั่นเอง   Nos TV บอกว่า ผู้ป่วยหรือคนชราที่พักอยู่ในสถานบริการเหล่านั้น ต้องจ่ายเงินเพิ่มค่ากาแฟ น้ำอัดลมหรือขนมขบเคี้ยว บางคนถูกเรียกเก็บค่าต่อสัญญาณโทรทัศน์หรือการอาบน้ำเพิ่มอีกหนึ่งครั้ง มีรายหนึ่งที่ต้องจ่ายค่าถุงมือและน้ำยาฆ่าเชื้อที่พยาบาลใช้ด้วย  สำนักงานประกันสุขภาพของเนเธอร์แลนด์บอกว่าได้รับเรื่องร้องเรียนมากขึ้นเกี่ยวกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับใบเรียกเก็บเงินของสถานบริการเหล่านี้ และได้ประกาศให้บรรดาศูนย์บริการเหล่านั้นรีบแก้ไข ไม่เช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าปรับ แต่ยืนยันว่ายังไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคถูกเก็บเงินเพิ่มเข้ามาเลย  ปัจจุบันในเนเธอร์แลนด์ มีคนที่ใช้บริการบ้านพักเหล่านี้อยู่ประมาณ 260,000 คน ประชาชนชาวดัทช์ทุกคนจะต้องทำประกันสุขภาพที่เรียกว่า AWBZ ที่ตนเองต้องจ่ายเบี้ยประกันในอัตราร้อยละ 12 ของเงินเดือน ซึ่งครอบคลุมการใช้บริการสถานพักฟื้นและบ้านพักคนชราด้วย ขณะนี้มีคน 600,000 คนภายใต้การดูแลของระบบประกันที่ว่านี้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 22,000 ล้านยูโร (ประมาณ 920,000 ล้านบาท) ต่อปี@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@   สวยต้องเสี่ยงลิปสติกสีแดงนั้นท่านว่ามักมีการปนเปื้อนของสารตะกั่ว สาวปากแดงโปรดระวัง องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้ทดสอบหาปริมาณสารตะกั่วในลิปสติกสีแดงทั้งหมด 22 ยี่ห้อ และ พบว่า ลิปสติกยี่ห้อคัฟเวอร์เกิร์ลและลอรีอัล นั้นมีตะกั่วปนเปื้อนในปริมาณสูงที่สุด องค์กรผู้บริโภคของนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่ลิปสติกสองยี่ห้อที่ว่ามานั้น ได้รับความนิยมในระดับต้นๆ บอกว่า องค์กรนี้กำลังเรียกร้องให้มีกฎหมายที่บังคับให้มีการแสดงส่วนประกอบรอง (เช่นตะกั่ว) ในเครื่องสำอางไว้บนฉลากด้วย(กฎหมายปัจจุบันกำหนดให้มีการแสดงเฉพาะส่วนผสมหลักเท่านั้น) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารตะกั่วด้วย ผู้อำนวยการสมาคมน้ำหอมและเครื่องสำอาง การ์ธ วิลลี่ บอกว่าการทำลิปสติกสีแดงให้ปราศจากตะกั่วนั้นแทบจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และปริมาณสารตะกั่วที่เกิดขึ้นในแต่ละล็อตแตกต่างกันไป บางล็อตอาจไม่มีเลย ในขณะที่บางล็อตก็แทบจะสูงเกินมาตรฐานที่กำหนด   ด้านโฆษกพร็อกเตอร์แอนด์แกมเบิล ผู้ผลิตลิปสติกยี่ห้อคัฟเวอร์เกิร์ลบอกว่าไม่ได้ใช้สารตะกั่วในการผลิต แต่ที่ตรวจพบนั้นเป็นตะกั่วที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ใช่ปริมาณที่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทางลอรีอัล ก็ยืนยันว่ามีตะกั่วในลิปสติกในปริมาณต่ำมากเช่นกัน นักพิษวิทยา ดร.ไมเคิล บีสลีย์ บอกว่าการจะระบุว่าปริมาณเท่าใดจึงจะเป็นอันตรายนั้นค่อนข้างยาก เพราะการเป็นพิษนั้นมีปัจจัยในเรื่องของการสะสมด้วย แต่ทั้งนี้ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ได้ประกาศห้ามใช้สารตะกั่วในลิปสติกทุกชนิดแล้ว อ้าว ... เรื่องสวยก็มีสองมาตรฐานกับเขาเหมือนกันหรือนี่

อ่านเพิ่มเติม >