ฉบับที่ 56 รายชื่อผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพที่ละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

การโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดส่วนใหญ่ที่บริษัทผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถูกดำเนินคดีซึ่งมีระวางโทษเพียงแค่ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ส่วนใหญ่มักถูกปรับเพียง 2,000 - 4,000 บาทเท่านั้น แม้บางครั้งจะมีการกระทำผิดไว้หลายที่หลายสถานก็ตาม) การมีบทลงโทษที่เบาบางยิ่งกว่าปุยนุ่นเมื่อเทียบกับเม็ดเงินค่าโฆษณา เทียบกับรายรับที่ได้จากการจำหน่าย ซ้ำยังไม่มีการพิสูจน์ต่อเนื่องไปอีกว่า เนื้อหาการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้นเข้าข่ายการโฆษณาเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ (ซึ่งหากพบว่ามีความผิดจะมีระวางโทษสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัวคือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) ด้วยช่องโหว่ของกฎหมายในลักษณะนี้ เด็กอมมือก็ยังตอบได้ว่า ถ้าบังเอิญจะต้องฝ่าฝืนกฎหมายแล้วจะเลือกรับโทษแบบไหนดีกว่ากัน ..................................................................... ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพที่ถูกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)สั่งปรับฐานละเมิดกฎหมาย ช่วงปี 2545-2546ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 51 นมเปรี้ยวมาแรงแซงสุขภาพเด็กไทย

จากการเก็บข้อมูลของ MDR PACIFIC เกี่ยวกับการใช้เงินเพื่อการโฆษณาของบริษัทผู้ผลิตนมเจ้าต่าง ๆ พบว่า นมผงและนมเปรี้ยวกำลังเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ภาคธุรกิจส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกมากที่สุด โดยมีเด็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ การรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันกลับมาดื่มนมจืดหรือนมสด 100% เพื่อให้ปลอดภัยจากน้ำตาลที่ถูกเติมลงไปในนมจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักหากไม่สามารถฝ่าด่านแรงโฆษณาการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการที่เล็งเห็นเฉพาะผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าผลกระทบต่อสุขภาพบางด้านที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคได้ ........................................................................ MDR PACIFIC ซึ่งเป็นบริษัทจัดเก็บข้อมูลด้านการโฆษณา มีรายงานออกมาว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2545 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมเจ้าต่างใช้เงินเพื่อการโฆษณาสินค้าของตนรวมทั้งสิ้น 853,135,000 บาท มากที่สุดประมาณ 287 ล้านบาทถูกใช้ไปกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์นมผง และอีกประมาณ 170 ล้านบาทได้ถูกใช้ไปกับการโฆษณานมเปรี้ยว(ไม่รวมโยเกิต) สื่อที่ใช้ส่วนใหญ่คือโทรทัศน์มากถึง 84% ของช่องทางสื่อที่ใช้ทั้งหมด การส่งเสริมให้ผู้บริโภคดื่มนมผงและนมเปรี้ยวของผู้ประกอบการนั้นได้ทำกำไรให้ธุรกิจนี้อย่างมหาศาล นายเนวิน  ชิดชอบ สมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เคยให้ข้อมูลว่า สาเหตุที่ผู้บริโภคต้องซื้อนมผงสำหรับเลี้ยงเด็กในราคาแพงซึ่งทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นเพราะผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติสำแดงต้นทุนการนำเข้าเพียงกิโลกรัมละ 60-70 บาทเท่านั้นเพื่อจะได้จ่ายภาษีอากรการนำเข้าในอัตราที่ไม่สูงมาก ในขณะที่ราคาจำหน่ายในท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-200 บาท นมผงจึงเป็นเรื่องที่คนไทยและประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติมาโดยตลอด ในขณะที่นมเปรี้ยวเองก็กำลังเป็นสินค้ามาแรง ด้วยการโชว์ตัวเองว่าเป็นนมที่ดื่มแล้วไม่อ้วน ดีทั้งต่อสุขภาพและการรักษาทรวดทรง แต่แท้ที่จริงนมเปรี้ยวกลับไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดความอ้วนได้จริง เนื่องจากร่างกายได้รับน้ำตาลที่เติมเข้าไปในนมเปรี้ยวในสัดส่วนที่สูงนั่นเอง ผลดีสำหรับผู้ผลิตนมเปรี้ยวคือแทนที่จะใช้นมสดในการผลิต ผู้ผลิตกลับใช้นมผงขาดมันเนยผสมน้ำแทนแล้วใช้โยเกิตเป็นเชื้อหมักทำให้ลดต้นทุนไปได้เยอะ ล่าสุดพบนมเปรี้ยวสำหรับเด็กออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมากซึ่งล้วนแต่มีการเติมน้ำตาลในปริมาณที่สูงในขณะที่สัดส่วนของนมก็มีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น การดื่มนมเปรี้ยวแบบนี้ของเด็กจึงเหมือนการดื่มน้ำเชื่อมผสมนมมากกว่า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายไปด้วย การใช้เม็ดเงินมากกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทส่งเสริมให้เด็กดื่มนมเปรี้ยวที่มีรสชาติในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์นม 3 อันดับแรกที่ใช้เงินโฆษณาสูงสุด ใช้เงินโฆษณารวมทั้งสิ้น (บาท) คิดเป็นร้อยละ อันดับที่ 1 ผลิตภัณฑ์นมผง 286,905,000 33.63 อันดับที่ 2 ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว 169,541,000 19.87 อันดับที่ 3 ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง 115,915,000 13.59   โทรทัศน์เป็นช่องทางหลักของโฆษณานม ช่องทางในการโฆษณา เงินที่ใช้(บาท) คิดเป็นร้อยละ 1.โทรทัศน์ 717,453,000 84.10 2.วิทยุ 45,671,000 5.35 3.ป้ายโฆษณา 40,597,000 4.76 4.หนังสือพิมพ์ 29,932,000 3.51 5.นิตยสาร 17,841,000 2.09 6.อินเตอร์เน็ต 888,000 0.10 7.โรงภาพยนตร์ 753,000 0.09 รวม 853,135,000 100   รายละเอียดของการใช้เงินโฆษณาในผลิตภัณฑ์นมแต่ละประเภท กลุ่มผลิตภัณฑ์ งบโฆษณาของแต่ละสื่อ  (บาท) ยอดรวม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา โรงภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต นมผง (14 ยี่ห้อ) 275,184,000 0 4,580,000 7,141,000 0 0 0 286,905,000(33.63%) นมเปรี้ยว (8 ยี่ห้อ) 117,895,000 16,735,000 11,092,000 2,631,000 21,084,000 0 104,000 169,541,000 (19.87%) นมถั่วเหลือง (5 ยี่ห้อ) 89,762,000 16,662,000 3,783,000 3,917,000 1,038,000 753,000 0 115,915,000 (13.59%) โฆษณาแบบรวม (13 ยี่ห้อ) 92,272,000 2,237,000 8,313,000 2,639,000 5,218,000 0 784,000 111,463,000 (13.07%) นมยูเอชที (9 ยี่ห้อ) 91,217,000 1,390,000 0 635,000 1,920,000 0 0 95,162,000 (11.15%) นมสเตอริไลซ์ (1 ยี่ห้อ) 34,232,000 0 1,331,000 0 0 0 0 35,563,000 (4.17%) นมสดพาสเจอไรส์ (3 ยี่ห้อ) 7,678,000 5,948,000 118,000 139,000 5,076,000 0 0 18,959,000 (2.22%) โยเกิต (5 ยี่ห้อ) 2,561,000 2,699,000 715,000 739,000 5,401,000 0 0 12,115,000 (1.42%) นมข้นหวาน (1 ยี่ห้อ) 6,652,000 0 0 0 860,000 0 0 7,512,000 (0.88%) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 717,453,000 45,671,000 29,932,000 17,841,000 40,597,000 753,000 888,000 853,135,000   รายละเอียดงบโฆษณาของผลิตภัณฑ์นมแต่ละชนิด 1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ นมผง งบโฆษณาของแต่ละสื่อ  (บาท) ยอดรวม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา โรงภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต 1.ตราหมี 90,432,000 2,350,000 1,464,000 94,246,000(32.85%) 2.ดูเม็กซ์ 62,144,000 902,000 2,411,000 65,487,000(22.83%) 3.อะแลคต้าเอ็นเอฟ 36,236,000 234,000 36,470,000(12.71%) 4.คาร์เนชั่น 30,169,000 30,169,000(10.51%) 5.เอ็นฟาโกรว์ 26,424,000 717,000 27,141,000(9.46%) 6.เอ็นฟาคิด 13,289,000 13,289,000(4.62%) 7.มิชชั่น 8,061,000

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 104 วิ่งอย่างรับผิดชอบ

เรื่องทดสอบ 2ฝนเริ่มซาฟ้าเริ่มใส ได้เวลาออกไปหาวิ่งออกกำลังกินลมชมวิวกันแล้วพี่น้อง คราวนี้นอกจากจะปัดฝุ่นและสำรวจว่ารองเท้าวิ่งที่คุณมีอยู่นั้นยังใช้ได้ดีอยู่หรือควรซื้อคู่ใหม่แล้ว ฉลาดซื้ออยากชวนทุกท่านมามองให้ลึกลงไปว่ากว่าจะมาเป็นรองเท้าวิ่งที่ให้เราได้โลดลิ่วไปข้างหน้าสู่ฝันอันยิ่งใหญ่ เช่นผอมลง หรือเฟิร์มขึ้นนั้น เราได้ทิ้งปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมไว้เบื้องหลังหรือเปล่า ฉบับนี้มีผลการสำรวจ โดยองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT หรือ International Consumer Research and Testing) ซึ่งทำในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบรรดาแบรนด์รองเท้าสำหรับวิ่งออกกำลังกาย (ไม่รวมรองเท้ากีฬาประเภทอื่นหรือรองเท้าแฟชั่น/ลำลอง) ย้ำว่าเป็นการสำรวจเฉพาะกิจการของบริษัทในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต จัดหาวัตถุดิบ การตลาด การจัดจำหน่าย และลูกค้าสัมพันธ์ สำหรับผลิตภัณฑ์รองเท้าสำหรับวิ่งออกกำลังกาย ในระหว่างปีพ.ศ. 2548 -2550 เท่านั้น ทีมสำรวจได้ส่งแบบสอบถามและขออนุญาตเยี่ยมชมโรงงานของบริษัททั้งหมด 9 บริษัท แต่มีเพียง 5 บริษัทเท่านั้นที่ให้ความร่วมมือ ได้แก่ รีบอค อาดิดาส พูม่า นิวบาลานส์ และมิซูโน* ส่วนที่เหลืออีก 4 บริษัท ได้แก่ไนกี้ แอสซิค บรู๊คส์ และซอโคนี่ ขอไม่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ มาดูกันเลยดีกว่าว่าบริษัทผู้ผลิตรองเท้ายี่ห้อดังๆที่ทำตลาดไปทั่วโลกนั้นได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด แบรนด์ที่คุณรักนั้นน่ารักจริงหรือไม่ การผลิตรองเท้าสำหรับวิ่งนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้แรงงานอย่างเข้มข้น โดยเฉลี่ยแล้วรองเท้าหนึ่งคู่อาจมีชิ้นส่วนถึง 50 ชิ้นที่ต้องใช้การประกอบด้วยมือ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในราคารองเท้าหนึ่งคู่นั้น มีส่วนแบ่งที่เป็นค่าแรงของพนักงานไม่ถึงร้อยละ 1 สำรวจอะไรบ้าง? นโยบายของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ? นโยบายด้านสังคม การดูแลพนักงาน สภาพการทำงาน ในกระบวนการผลิตรองเท้าวิ่ง? นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต ? ความโปร่งใสในการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ประเด็นน่าสนใจ บริษัทรองเท้าวิ่ง ยี่ห้อดังๆ ต่างก็ตื่นตัวในเรื่องความรับผิดชอบต่อกระบวนการต่างๆในการจัดหาวัตถุดิบมาใช้ในการผลิต อาดิดาส รีบอค และพูม่า มีการปรับปรุงเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่นิวบาลานส์และมิซูโน ยังคงตามหลังเพื่อนอยู่บ้างในบางเรื่อง แม้หลายๆแบรนด์จะพยายามเพิ่มสินค้าประเภทเสื้อผ้า หรือเครื่องกีฬาอื่นๆ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรให้มากที่สุดยังคงเป็น รองเท้ากีฬานั่นเอง ตัวอย่างแนวคิดและกิจกรรมดีๆจาก รีบอค พูม่า อาดิดาส และนิวบาลานส์ - การเข้าร่วมโครงการต่างๆของสมาคมยุติธรรมแรงงาน (Fair Labour Association) - การจัดให้มีระบบรับเรื่องร้องเรียนของพนักงาน - การฝึกอบรมให้กับพนักงานทั้งฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายบริหาร - การจัดตั้งทีมงานในโรงงานเพื่อการตรวจสอบภายใน ลักษณะโดยทั่วไปของพนักงานในโรงงานรองเท้าที่นักวิจัยได้ทำการสำรวจ คือ เป็นหญิง อายุระหว่าง 20 -30 ปี ทำงานมาแล้วคนละประมาณ 2 – 3 ปี และร้อยละ 99 เป็นคนต่างด้าว พนักงานได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่พวกเขายังไม่มีรายได้เพียงพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข แม้จะพบว่าไม่มีโรงงานไหนจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าอัตราขั้นต่ำ แต่พนักงานกลับถูกหักเงินเดือนเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร และค่าทำความสะอาดพื้น (รวมๆแล้วประมาณ ร้อยละ 75 ของอัตราค่าแรงขั้นต่ำ) พนักงานส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องของสหภาพแรงงาน และมีจำนวนมากที่ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ทั้งๆที่มีหลักฐานในใบรับเงินเดือนว่าพวกเขาถูกหักเงินเพื่อเป็นค่าบำรุงสหภาพทุกเดือน แม้ว่าจากการสำรวจครั้งนี้จะไม่พบสภาพที่เรียกว่า “โรงงานนรก” แต่ก็ยังต้องมีการปรับปรุงอีกหลายๆด้าน เช่น พนักงานยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องสิทธิของตนเอง นอกจากนี้ยังไม่มีการปรับสภาพการทำงาน มีอยู่โรงงานหนึ่งที่นักวิจัยพบว่า พนักงานมีความบกพร่องทางการได้ยิน และมีภาวะโลหิตจางในระดับสูง นอกจากนี้ยังพบว่าพนักงานจำนวนไม่น้อยยังมีความเสี่ยงต่อเครื่องจักรและสารแคมีที่เป็นอันตรายอยู่ การประกอบรองเท้านั้นเป็นเพียงขั้นตอนสุดท้าย แต่มันเป็นการนำเอาชิ้นส่วนที่ทำเสร็จแล้วจากกระบวนการก่อนหน้านั้นที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ของเสียที่เกิดจากการผลิต เศษผ้า เศษชิ้นส่วน ก็อาจเป็นผลต่อสิ่งแวดล้อมได้ถ้าไม่มีระบบการจัดการที่ดีพอ ข้อมูลจากกรีนพีซระบุว่าอุตสาหกรรมรองเท้านั้นต้องใช้หนังสัตว์ จำนวนมากจึงทำให้เกิดการทำลายพื้นที่ป่าอเมซอนอย่างกว้างขวางเพื่อเคลียร์พื้นที่ให้กับไร่ปศุสัตว์ เพื่อสนองความต้องการรองเท้าของคนทั้งโลก คุณจ่ายค่าอะไรบ้าง เมื่อซื้อรองเท้าวิ่งหนึ่งคู่สมมุติว่ารองเท้าคู่นี้ราคา 100 บาท 32.60 บาท >> ร้านค้าปลีก 17.4 บาท >> ภาษีมูลค่าเพิ่ม 13.50 บาท >> เจ้าของแบรนด์ 11 บาท >> การวิจัยและพัฒนา 8.50 บาท >> โฆษณา ประชาสัมพันธ์ 8 บาท >> วัตถุดิบ 5 บาท >> ค่าขนส่งและภาษี 2 บาท >> โรงงานที่ผลิต 1.60 บาท >> ค่าการผลิตอื่นๆ 0.40 บาท >> ค่าแรงของพนักงาน (ข้อมูลจากบทความเรื่อง The Real Deal: Exposing Unethical Behaviour เผยแพร่โดย สหพันธ์ผู้บริโภคสากล Consumers International) ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนคือศูนย์กลางอุตสาหกรรมรองเท้าวิ่งของโลก แม้จะมีหลายๆบริษัทย้ายกิจการไปตั้งที่ประเทศอื่นๆ อย่าง เวียดนาม อินโดนีเซีย และยุโรปตะวันออก เพราะค่าแรงที่ถูกกว่า และกฎระเบียบไม่ค่อยเข้มงวด แต่โรงงานในจีนก็ยังได้เปรียบในเรื่องของการขนส่ง ทั้งถนนที่กว้างกว่า และท่าเรือที่สะดวกกว่าอยู่ดี แค่บริษัท Yue Yuen Industrial (บริษัทลูกของ Pou Chen Group ในไต้หวัน) บริษัทเดียวก็ผลิตรองเท้าออกมาถึงร้อยละ 17 ของรองเท้าจำนวน 190 ล้านคู่ทั่วโลกแล้ว Yue Yuen Industrial คือผู้ผลิตรองเท้ากีฬารายใหญ่ที่สุดในจีน ผลิตให้กับ 40 แบรนด์ ที่เรารู้จักกันดีได้แก่ ไนกี้ อาดิดาส รีบอค พูม่า แอสสิก นิวบาลานส์ คอนเวิร์ส บริษัทดังกล่าวในประเทศจีนมีพนักงานจำนวน 300,000 คน มีงานวิจัยในปีพ.ศ. 2551 ที่พบว่าพนักงานที่นี่มักถูกละเมิดสิทธิ์ ถูกบังคับให้ทำงานล่วงเวลา ถูกผู้บังคับบัญชาดุด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ มีมาตรฐานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยต่ำ และพนักงานที่นั่น มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนเพียง 450 หยวน (2,200 บาท) กำไรจากการผลิตรองเท้ากีฬาของ Yue Yuen Industrial ในปีพ.ศ. 2551 เท่ากับ 390 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 13,000 ล้านบาท Yue Yuen Industrial บอกว่า ร้อยละ 60 ของราคารองเท้า เป็นต้นทุนค่าหนังสัตว์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ กาว และสารประกอบอินทรีย์ระเหยต่างๆ (Volatile Organic Compound หรือ VOCs) อาจทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ปวดหัว หน้ามือ และส่งผลต่อการมองเห็น รวมทั้งอาจทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ดิน และทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย ฝ่ายบริหารของโรงงานในประเทศจีนไม่ให้การรับรองหรือยอมที่จะต่อรองกับสหภาพแรงงาน และผู้ที่พยายามจัดตั้งสหภาพแรงงานมักพบกับปัญหาการคุกคามด้วย กฎหมายของประเทศจีนในเรื่องนี้ยังอ่อน แม้จะมีการใช้กฎหมายใหม่ในปีที่แล้ว แต่สหภาพแรงงานก็ยังถูกควบคุมโดยรัฐบาลค่อนข้างมาก และคนงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านี้มักจะถูกจำคุก วิ่งอย่างรู้เท่าทันหลายคนสงสัยว่าทำไมรองเท้าเดี๋ยวนี้ราคาแพง จะซื้อถูกๆก็กลัวมันจะไม่ดีต่อเท้าเรา เมื่อปีที่แล้วสื่อในบ้านเราเคยเผยแพร่งานวิจัยของสถาบันวิจัยวิเคราะห์การเคลื่อนไหว แห่งโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลไนน์เวลส์ เมืองดันดี ประเทศอังกฤษ งานวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบรองเท้ายี่ห้อเดียวกันที่สามระดับราคา ตั้งแต่สนนราคาถูก (ประมาณ 2,400 บาท) ปานกลาง (ประมาณ 3,500 บาท) และแพง (ประมาณ 4,000 บาท) ผลการวิจัยปรากฏว่ารองเท้าเหล่านั้นไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในเรื่องของประสิทธิภาพในการรับแรงกระแทกแต่อย่างใด * ส่วนรองเท้าที่บอกว่ามีเทคโนโลยีขั้นสูงนั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลที่ออสเตรเลียได้ทำการประมวลงานวิจัยในเรื่องรองเท้ากีฬาและได้ข้อสรุปว่ายังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่รองรับความเชื่อที่ว่ารองเท้าไฮโซแอนด์ไฮเทคเหล่านั้นจะสามารถช่วยเสริมสมรรถนะนักกีฬา หรือลดอัตราการบาดเจ็บได้แต่อย่างใด ** ก่อนหน้านั้นก็มีงานวิจัยที่พบว่าการที่คนเราหลงเชื่อโฆษณาที่บอกว่ารองเท้าบางรุ่นมีคุณสมบัติในการปกป้องดูแลเท้าเราเป็นพิเศษนั้น ทำให้คนเราอยากจะโชว์พาวมากขึ้น จึงทำให้อัตราการเกิดการบาดเจ็บจากรองเท้าแพงๆเหล่านี้สูงกว่าการบาดเจ็บจากการสวมรองเท้าราคาถูกถึงร้อยละ 123 เลยทีเดียว *** *จากบทความเรื่อง Do you get value for money when you buy an expensive pair of running shoes? ตีพิมพ์ในวารสาร British Journal of Sports Medicine เมื่อปี พ.ศ. 2550 ** อ้างอิงจากข่าวใน หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552 *** จากบทความเรื่อง Hazard of deceptive advertising of athletic footwear ในวารสาร British Journal of Sports Medicine เมื่อปี พ.ศ. 2540 วิ่งอย่างมีหลักการ เวลาที่เราเดิน จะเกิดแรงกระแทกลงบนเท้า เป็น 2 เท่าของน้ำหนักตัวเรา และเมื่อเราวิ่ง แรงกระแทกที่ว่านั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของน้ำหนักตัว ถ้าเราลงน้ำหนักที่ส้นเท้าก่อนแล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังฝ่าเท้า เราจะสามารถลดแรงกระแทกลงไปได้ครึ่งหนึ่ง เวลาที่เลือกซื้อรองเท้าสำหรับวิ่ง อย่าลืมใส่ใจกับส่วนที่รองรับส้นเท้าเป็นพิเศษ รองเท้าที่ไม่มีพื้นเพื่อรองรับแรงกระแทกจะทำให้ข้อเข่าและข้อเท้าของเราต้องรับน้ำหนักมากขึ้นวัสดุที่ใช้ทำส้นรองเท้าวิ่งนั้นมีปลายประเภท ที่เราพบเห็นส่วนใหญ่เป็นฟองน้ำหรือโฟม ซึ่งจะแตกต่างกันไปในเรื่องความแน่นและความหนา เราอาจเคยเห็นที่เป็นสปริงบ้าง นอกจากนี้ยังมีแบบที่ใช้การอัดลมเข้าไป (ซึ่งนานไปก็รั่วได้) และแบบที่ควบคุมปริมาณลมได้เองด้วยการเติมลมหรือปล่อยลมออกให้เหมาะกับความแข็งของพื้นผิวที่เราวิ่ง (เช่น ถ้าวิ่งบนพื้นแข็งอย่างคอนกรีต ก็อัดลมเข้าไปเพียงเล็กน้อย ถ้าวิ่งบนพื้นยางมะตอยก็อัดลมเข้าไปปานกลาง ถ้าวิ่งบนสนามหญ้าก็อัดลมเข้าไปมากๆ เป็นต้น) แต่ไม่ว่าส้นรองเท้าจะทำด้วยอะไร หลักสำคัญคือเมื่อสวมใส่แล้วลองวิ่งดูแล้วจะต้องไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป ถ้าแข็งไปอาจทำให้เราเจ็บเข่าหรือเจ็บเท้าได้ ในขณะที่ถ้ามันนุ่มเกินไป ก็จะทำให้เราทรงตัวได้ไม่ดี นอกจากส้นรองเท้าแล้ว เราควรใส่ใจเรื่องการระบายอากาศของตัวรองเท้าด้วย เลือกรองเท้าที่มีรูระบายอากาศเยอะๆ เพื่อการระบายความร้อนที่ดี เพื่อความปลอดภัย ในกรณีที่คุณชอบวิ่งไนยามโพล้เพล้แดดร่มลมตก รองเท้าของคุณควรมีแถบสะท้อนแสงเพื่อความปลอดภัยจากการถูกรถเฉี่ยวชนด้วย ที่สำคัญควรใส่รองเท้าที่ขนาดกระชับกับเท้าและอย่าลืมใส่ถุงเท้าทุกครั้งด้วย ข้อสำคัญ ถ้าคุณต้องการวิ่งออกกำลังก็ให้ใช้รองเท้าสำหรับวิ่ง ไม่ใช่รองเท้าเล่นบาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล หรือ ชกมวย เป็นต้น เพราะเขาออกแบบมาตามชนิดของการเคลื่อนไหวและพื้นผิวที่พื้นรองเท้าต้องสัมผัส รองเท้าวิ่งก็เป็นอนิจจังเหมือนสิ่งอื่นๆในสากลโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาวที่ประกอบพื้นรองเท้านั้นมีอายุประมาณ 1 ปีเท่านั้น ดังนั้นถ้าซื้อมาแล้วอย่าลืมวิ่งเสียให้คุ้มก่อนที่มันจะหมดอายุขัย ถ้าเราน้ำหนักตัวมาก รองเท้าเราก็มีแนวโน้มจะจากเราไปเร็วขึ้น แต่ไม่ว่าคุณจะน้ำหนักตัวมากหรือน้อยถ้าสังเกตเห็นว่ารองเท้าที่ใส่วิ่งเริ่มตีตัวออกห่างจากเท้าของเราแล้วละก็ เตรียมมองหาคู่ใหม่ไว้ได้เลย และทุกครั้งที่เข้าไปมุงกระบะรองเท้าวิ่งลดราคา อย่าลืมดูวันผลิตด้วยว่ามันยังเหลือเวลาที่จะอยู่กับคุณอีกนานแค่ไหน ขอขอบคุณ ผศ. ดร.เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ อดีตคณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับคำแนะนำอันเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกฉลาดซื้อ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 185 เรื่องที่คนรักสุขภาพต้องรู้ ก่อนสมัครเป็นสมาชิก “ฟิตเนส เซ็นเตอร์”

ยุคนี้เป็นยุคของคนรักสุขภาพ ใครๆ ก็หันมาให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพ เล่นกีฬา ออกกำลังกายกันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เพราะการออกกำลังกายช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ การที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยหันมาใส่ใจสุขภาพและออกกำลังกายกันมากขึ้น เป็นผลให้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีสถานออกกำลังกาย หรือ ฟิตเนส เซ็นเตอร์ เปิดให้บริการรองรับกระแสคนอยากออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องจากเหตุการณ์ของ “แคลิฟอร์เนีย ว๊าว” ฟิตเนส เซ็นเตอร์ชื่อดัง ที่มีสาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ปิดตัวลงในปี 2555 จากการหลอกลวงเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งมีความผิดร้ายแรงถึงขั้นเป็นคดีฉ้อโกง มีผู้เสียมากกว่าหนึ่งพันคน ผลจากกรณีของ แคลิฟอร์เนีย ว๊าว ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่กับทั้งหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องหันกลับมามองหามาตรการควบคุมดูแล และรวมถึงตัวผู้บริโภค ผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกาย ที่ต้องให้ความสนใจในเรื่องของมาตรฐานการบริการและเรื่องสัญญาการให้บริการมากขึ้น ปกป้องตัวเองไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยแบบ แคลิฟอร์เนีย ว๊าว การเลือกใช้บริการสถานออกกำลังกาย หรือ ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ต้องคำนึงถึงหลายๆ องค์ประกอบ มากกว่าจะมองเพียงแค่สุขภาพหรือรูปร่างที่เราจะได้ แต่ยังต้องมองถึงเรื่องสวัสดิภาพความปลอดภัยของสุขภาพร่างกายจากการใช้บริการ ระบบดูแลที่มีมาตรฐานของสถานที่ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีกรณีที่ชวนให้ตกใจ เมื่อมีผู้ใช้บริการฟิตเนสเสียชีวิตเนื่องจากเหตุไฟไหม้อาคารที่ฟิตเนสดังกล่าวเปิดให้บริการอยู่แม้ต้นเพลิงจะเกิดขึ้นในส่วนอื่นที่ไม่ใช่ตรงส่วนของฟิตเนสก็ตามแต่นั่นก็แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากระบบรักษาความปลอดภัยที่ไม่ได้มาตรฐานปัจจุบัน สถานบริการด้านการออกกำลัง หรือ ฟิตเนส เซ็นเตอร์ มีกฎหมายที่ควบดูแลหลักๆ อยู่ 4 ฉบับ คือ   สถานออกกำลังกาย แบบไหนน่าใช้บริการ จากจำนวนของสถานออกกำลังกายที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ย่อมแสดงให้เห็นถึงความต้องการสถานที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งหน่วยงานอย่างกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออก  “ข้อแนะนำมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ” เพื่อเป็นแนวทางให้กับสถานออกกำลังกายต่างๆ นำไปเป็นปฏิบัติ ซึ่งในมุมของผู้ใช้บริการเองก็จำเป็นต้องทราบถึงมาตรฐานต่างๆ ที่มีการกำหนดควบคุม เพื่อที่เราจะได้นำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกใช้บริการสถานออกกำลังกาย 1.มาตรฐานด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม- อาคาร สถานที่ตั้ง ทั้งภายใน ภายนอก ต้องดูแล้วมีความมั่นคง แข็งแรง และเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร - ต้องมีการแสดงแผนผังสถานที่ ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของผู้ที่มาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ป้ายบอกทางหนีไฟ ป้ายห้ามสูบบุหรี่ และระเบียบการใช้บริการที่ชัดเจน- ต้องมีการติดตั้งเครื่องมือดับเพลิงแบบมือถือ 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารทุกๆ 1,000 ตารางเมตรสำหรับอาคารขนาดใหญ่ และติดตั้ง 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารทุกๆ 100 ตารางเมตร สำหรับอาคารขนาดเล็ก ซึ่งแต่ละเครื่อง ต้องติดตั้งห่างกันไม่เกิน 45 เมตร และอยู่สูงจากระดับพื้นอาคารไม่เกิน 1.5 เมตร สามารถมองเห็นได้ง่าย และนำไปใช้ได้โดยสะดวก- จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ (ไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์ (มาตรความสว่าง (lux meter))- ห้องออกกำลังกายที่มีเครื่องปรับอากาศ ควรมีคุณภาพการปรับอากาศที่ดี มีอุณหภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส และห้องออกกำลังกายที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ควรมีการถ่ายเทอากาศที่เพียงพอไม่มีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์- ความดังของเสียงในห้องออกกำลังกายเฉลี่ยสูงสุดต้องไม่เกิน 90 เดซิเบล (เอ)- มีการแบ่งพื้นที่ให้บริการออกกำลังกาย เป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เช่น พื้นที่ต้อนรับ พื้นที่สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ออกกำลังกาย และพื้นที่กิจกรรมการออกกลุ่ม- พื้นที่จัดวางอุปกรณ์ ควรมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และช่องทางเดินร่วมไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร- พื้นที่กิจกรรมการออกกำลังกายกลุ่ม มีพื้นที่ให้บริการไม่น้อยกว่า 2x2 ตารางเมตร- มีห้องน้ำ แยกชาย-หญิง อย่างละ 1 ห้องต่อผู้ใช้บริการไม่เกิน 15 คน, 2 ห้อง ต่อผู้ใช้บริการ 40 คน, 3 ห้อง ผู้ใช้บริการไม่เกิน 80 คน และเพิ่มขึ้นต่อจากนี้ 1 ห้อง ต่อจำนวนผู้ใช้บริการไม่เกิน 50 คน มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องอาบน้ำ ล็อคเกอร์เก็บของ และอ่างล้างมือแยกชาย-หญิง ที่สะอาดและเพียงพอ2.มาตรฐานด้านอุปกรณ์ออกกำลังกาย- ต้องมีอุปกรณ์ หรือรูปแบบวิธีการในการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การสร้างเสริมระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต การสร้างเสริมระบบกล้ามเนื้อ และการสร้างเสริมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ- มีระบบและรายงานการตรวจเช็คอุปกรณ์ออกกำลังกายให้มีความแข็งแรง ทนทาน สะอาดและพร้อมใช้งานทุกวัน- ต้องมีป้ายคำแนะนำ คำเตือนในการใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ติดไว้เห็นได้ชัดเจน- จัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการให้บริการด้านสุขภาพ ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง เครื่องวัดความดันโลหิต และ สายวัดรอบเอว3.มาตรฐานด้านการให้บริการ- มีการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพแก่สมาชิก ก่อนการให้บริการครั้งแรก เพื่อคัดกรองความเสี่ยง ได้แก่ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต การจัดทำประวัติสุขภาพ และการตอบแบบสอบถามการประเนิมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย- จัดให้มีคำแนะนำ หลักการ และขั้นตอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โปรแกรมการออกกำลังกาย การประเมินผลสมรรถภาพทางกายและสัดส่วนของร่างกาย- จัดทำป้ายคำแนะนำและคำเตือน ในการออกกำลังกาย โดยติดไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน ได้แก่ ป้ายคำแนะนำหลักการและขั้นตอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ วิธีการออกกำลังการที่เหมาะสมกับเพศและวัย ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย และข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ- มีบริการน้ำดื่มที่สะอาดและมีปริมาณเพียงพออยู่ใกล้บริเวณที่ออกกำลังกาย โดยไม่คิดค่าบริการ4.มาตรฐานบุคลากรผู้ให้บริการ- บุคลากรผู้ให้บริการออกกำลังกาย ควรมีคุณสมบัติจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, วิทยาศาสตร์การกีฬา, พลศึกษา และผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย (instructor exercise) ที่จัดโดยกรมอนามัย หรือหลักสูตรที่ได้รับการเห็นชอบร่วมกันระหว่างกรมอนามัยและสถาบันการศึกษา- บุคลากรผู้ให้บริการออกกำลังกาย ได้รับการฟื้นฟูวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ อย่างน้อยปีละครั้ง- บุคลากรผู้ให้บริการด้านการออกกำลังกาย สามารถทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาหลักการและขั้นตอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กำหนดโปรแกรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศ วัย และสภาพร่างกาย คัดกรองสุขภาพก่อนกำหนดโปรแกรมการออกกำลังกาย และประเมินสมรรถภาพของสมาชิกทั้งก่อนและหลังการรับบริการ- มีบุคลากรรับผิดชอบให้คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ 1 คนต่ออุปกรณ์ออกกำลังกายทุกชนิดไม่เกิน 15 เครือง และกรณีการออกกำลังกายกลุ่ม มีบุคลากรรับผิดชอบให้คำแนะนำ 1 คน ต่อผู้ใช้บริการไม่เกิน 30 คน5.มาตรฐานด้านความปลอดภัยและมาตรการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน- ต้องมีแผนเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และการซ้อมแผน ได้แก่ แผนการช่วยชีวิต และแผนการระงับอัคคีภัย อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์สถานพยาบาลใกล้เคียงติดไว้ในที่มองเห็นชัดเจน- ต้องมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาล พร้อมใช้ตลอดเวลา โดยชุดปฐมพยาบาลควรเก็บไว้ในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดได้สนิท หรืออุปกรณ์ที่กันน้ำ และติดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของสถานพยาบาลต่างๆ ไว้ด้วย ที่มา : คู่มือ ข้อแนะนำมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ฉบับที่ 1โดย กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรม อนามัย กระทรวงสาธารณสุข คนไทยกับการออกกำลังกาย   สุขภาพดีได้ไม่ต้องง้อฟิตเนสประโยคที่บอกว่า “สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องสร้างเอง” คงไม่ได้เป็นคำพูดที่เกินความจริงแต่อย่างใด เพราะต่อให้มีเงินไปสมัครตามฟิตเนสชื่อดัง ค่าสมาชิกหลักพันหลักหมื่น อุปกรณ์แน่น เทรนเนอร์เก่ง แต่ถ้าได้แค่สมัครสมาชิกทิ้งไว้โดยไม่เคยไปใช้บริการเลย หรือเดือนหนึ่งจะได้เข้าไปออกกำลังสักครั้งสองครั้ง แบบนั้นสุขภาพดีๆ ก็คงไม่ทางเกิดขึ้นกับเราแน่นอน ฉลาดซื้อ ขอเสนอทางเลือกให้กับคนที่มีใจรักอยากจะออกกำลังกาย อยากจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่ไม่อยากต้องเสียทรัพย์ไปกับฟิตเนส เซ็นเตอร์ ด้วย 3 ทางเลือกในการออกกำลังกายที่ทำได้ง่ายด้วยตัวของคุณเอง 1.ออกไปสูดอากาศอันสดชื่นที่ “สวนสาธารณะ”ประเทศไทยเรามีสวนสาธารณะอยู่ทั้งหมด 593 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ (ข้อมูลจากการสำรวจของกองออกกำลังกายฯร่วมกับศูนย์อนามัย) ซึ่งเดี๋ยวนี้เราก็จะเห็นผู้คนจำนวนมากทุกเพศทุกวัย ไปใช้เวลาว่างหลังเลิกงานเลิกเรียน เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายตามสวนสาธารณะต่างๆ ซึ่งหลักๆ ก็มักจะเลือกวิธีเดินหรือวิ่ง แต่สวนสาธารณะหลายๆ ที่ก็ยังมีกิจกรรมออกกำลังกายวิธีอื่นๆ เตรียมไว้รอคนรักสุขภาพ ทั้งเต้นแอโรบิก รำมวยจีน รวมทั้งมีเครื่องออกกําลังกายกลางแจ้ง สำหรับคนที่อยากอยากลองออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์แต่ไม่อยากลงทุนซื้อเครื่องมาไว้ที่บ้าน และก็ไม่อยากต้องเสียเงินไปสมัครเป็นสามาชิกตามฟิตเนส เซ็นเตอร์ เรียกว่าเราสามารถมีสุขภาพดีได้ไม่ยาก ขอแค่แบ่งเวลาวันละนิด อย่างน้อย 30 นาที หารองเท้าสำหรับออกกำลังกายดีๆ สักคู่ แค่นี้ก็ออกไปออกกำลังกายกันที่สวนสาธารณะใกล้บ้านได้แล้ว2.ฟิตผ่านหน้าจอ กับช่องออกกำลังกายใน “Youtube”เดี๋ยวนี้เราสามารถหาดูคลิปวิดีโอต่างๆ ได้เกือบจะทุกอย่างผ่านทางเว็บไซต์ยูทูป (Youtube) แน่นอนว่าวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายก็มีให้ชมมากมายเช่นกัน ในต่างประเทศจะมีช่องรายการในยูทูป (Youtube Channel) ที่เสนอวิดีโอเฉพาะเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะเป็นจำนวนมาก สำหรับช่องรายการที่ทำโดยคนไทยที่ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ฉลาดซื้ออยากแนะนำ 3 ช่องรายการเกี่ยวกับการออกกำลังกายในยูทูป ที่สอนทั้งท่าออกกำลังกายแบบง่ายๆ แค่ดูก็ทำตามได้ทันที พร้อมด้วยความรู้เกี่ยวการดูแลสุขภาพ เรื่องของโภชนาการ เอาไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เอาเป็นว่าไปเปลี่ยนชุดสำหรับออกกำลังกาย แล้วเปิดคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ คลิ้กรอไว้ที่เว็บไซต์ยูทูปได้เลยFitjunctionsหนุ่มๆ สาวๆ ที่อยากฟิตหุ่นให้เฟิร์ม อยากมีกล้ามอย่างสร้างซิกแพ็ค น่าจะชื่นชอบช่องรายการนี้เป็นพิเศษ  เพราะ Fitjunctions มีคลิปวิดีโอที่สอนท่าออกกำลังกายตั้งแต่เริ่มต้นสำหรับคนทั่วไป ไปจนถึงความรู้สำหรับที่อยากเพิ่มกล้ามเนื้อ ปรับรูปร่างให้ดูใหญ่ขึ้น ที่สำคัญคือมีคลิปที่นำเสนอความรู้เกี่ยวกับร่างกายของเรา การออกกำลังกายแบบไหนมีผลต่อรูปร่างอย่างไร รวมทั้งเรื่องการกินอาหาร ว่ากินอย่างไรถึงจะดีต่อร่างกาย ตามสโลแกนของช่องที่ว่า “แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับการ ฟิตหุ่นและรักษาสุขภาพ  เน้นหลักๆ 3 ข้อ คือ ไม่อดของอร่อย ไม่หักโหม และเน้นที่การสอนความรู้ที่เข้าใจง่าย แต่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์”KalamareTVช่องรายการของพิธีสาวเก่งชื่อดังอย่าง “กะลาแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ” ที่ทำยูทูป แชนแนล เป็นของตัวเอง โดยในช่องรายการของเธอก็จะรวบรวมหลากหลายผลงานในฐานะพีธีกรของเธอเอาไว้ให้แฟนคลับและคนที่ชอบผลงานของเธอได้เข้ามาชมกัน ซึ่ง 1 ในรายการที่มีให้ชมทาง KalamareTV ก็คือรายการ “ทุกที่ทุกท่ากับกาละแมร์” ซึ่งเป็นคลิปวิดีโอที่พิธีกรคนเก่งจะมาสอนท่าออกกำลังกายง่ายๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน เรียกว่าเป็นท่าออกกำลังกายที่ประยุกต์มาจากอิริยาบถธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน  ทั้งการนั่ง การยืน การนอน ทำให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องง่ายสุดๆ ไม่ต้องออกไปไหนไกล แค่อยู่บ้านก็ออกกำลังกายได้Fit Minutes [by Mahidol]ช่องรายการนี้เป็น ช่องรายการย่อยของ มหิดล แชนแนล (Mahidol Channel) เป็นช่องรายการที่จะมาสอนการออกกำลังกายแบบถูกต้องถูกวิธี ที่เราสามารถเข้าใจและทำตามได้ง่ายๆ เพราะมีการอธิบายขั้นตอนต่างๆ แบบละเอียดในการออกกำลังกายแต่ละท่า คำแนะนำที่ถูกต้อง ได้ความรู้ว่าท่าออกกำลังกายแต่ละท่าที่เราทำอยู่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไร ส่งผลต่อกล้ามเนื้อส่วนไหน  สามารถทำได้เองสบายๆ ที่บ้าน ซึ่งเราสามารถทำได้ไปพร้อมกับๆ เทรนเนอร์ผู้ฝึกสอนในคลิปได้ทันที3.สุขภาพดีผ่านตำรา ด้วยสารพัดคู่มือออกกำลังกายปัจจุบันมีหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เทคนิคต่างๆ ในการดูแลสุขภาพและรูปร่างออกมาว่างจำหน่ายเป็นจำนวนมาก สามารถซื้อมามาลองอ่านลองฝึกด้วยตัวเองดูได้ นอกจากนี้ยัง E-book เกี่ยวกับการออกกำลังกายให้โหลดไปอ่านกันฟรีๆ  ซึ่งมี 2 เว็บไซต์ที่ฉลาดซื้ออยากจะแนะนำสำหรับคนรักสุขภาพอยากออกกำลังกายลองคลิ๊กเข้าไปดูกัน 1.เว็บไซต์ของกองออกกำลังกาย กรมอนามัย (dopah.anamai.moph.go.th) ที่นี่มี E-book ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย ทั้งความรู้ในการการเล่นกีฬา และดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคนทุกเพศทุกวัย เช่น การเดินเพื่อสุขภาพ การออกกำลังสำหรับผู้สูงวัย การออกกำลังกายสำหรับเด็ก การยืดเหยียดพื้นฐาน ฯลฯ2.ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร สสส. (resource.thaihealth.or.th) ในเว็บไซต์นี้จะมีบริการ E-book ให้โหลดไปอ่านกันแบบฟรีๆ จำนวนมาก โดย 1 หมวดหมู่ยอดนิยมก็คือ หมวดการออกกำลังกาย ซึ่งมี E-book ที่แนะนำเรื่องการออกกำลังกายมากกว่า 100 เล่มให้ได้ลองโหลดไปอ่านและฝึกออกกำลังกายไปพร้อมๆ กัน    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 157 ตรวจสุขภาพอย่างไรไม่เปลืองเงินไม่เปลืองตัว

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 200 บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ   เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความ “คุ้มเงิน” สินค้าบริการต่างๆ นานาจึงต้องมาเป็นแพ็คเกจ บริการตรวจสุขภาพก็ไม่น้อยหน้า มีโปรแกรมให้เลือกกันตั้งแต่ราคาไม่ถึงหนึ่งพันไปจนเลยหนึ่งหมื่น อย่างที่ ฉลาดซื้อ เคยลงเปรียบเทียบราคาและรายการตรวจของสถานบริการตรวจสุขภาพไปแล้ว แต่หลายคนยังมีปัญหาคาใจอยู่ถึงความจำเป็นและความถูกต้องแม่นยำของการตรวจคัดกรองสุขภาพที่เป็นที่นิยมแพร่หลายกันอยู่ในขณะนี้ เหตุฉะนี้เราจึงต้องมีภาคสองเพื่อค้นหาคำตอบในเรื่องดังกล่าว เราตกลงกันตรงนี้ก่อนว่า “การตรวจสุขภาพ” หรือ “การตรวจคัดกรองสุขภาพ” ในที่นี้หมายถึงการเข้ารับการตรวจเบื้องต้นในขณะที่เรายังไม่ได้รู้สึกเจ็บป่วย และเป็นการตรวจเพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยงหรือลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเท่านั้น ย้ำอีกที ... การตรวจสุขภาพไม่ใช่การตรวจหาโรค แต่เป็นการตรวจหาความเสี่ยงของการเกิดโรค    เราควรรับการตรวจคัดกรองอะไรบ้าง เราคงไม่บอกคุณว่าควรหรือไม่ควรตรวจอะไร เพราะสุดท้ายแล้วคุณคือคนที่ทราบถึงปัจจัยแวดล้อมตัวเองดีที่สุด แต่เนื่องจากปัจจุบันบ้านเรายังไม่มีมาตรฐานการตรวจสุขภาพสำหรับประชาชน และเรายังอยู่ในระหว่างการรอคู่มือการตรวจสุขภาพสำหรับผู้บริโภค ฉลาดซื้อ จึงขออ้างอิงผลการวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ที่ศึกษารายการตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบสุขภาพ (ซึ่งในอนาคตอาจมีการรวมกันของทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และระบบประกันสังคม ที่ยังไม่เท่าเทียมกันอยู่ในปัจจุบัน*)     การตรวจทั้งหมดนี้มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยไม่เกิน 400 บาทต่อคนต่อปี  (เทียบกับระบบการตรวจคัดกรองตามสวัสดิการข้าราชการที่มีค่าใช้จ่ายระหว่าง  530 – 1,200 บาท เพราะมีการตรวจบางรายการที่ค่าใช้จ่ายสูงแต่ประโยชน์ยังไม่ชัดเจน) อาจต้องเลิกใช้คำว่า “การตรวจสุขภาพประจำปี” เพราะบางอย่างไม่ต้องตรวจทุกปี ในขณะที่บางอย่างตรวจได้ปีละมากกว่า 1 ครั้ง   ในกรณีที่คุณรู้สึกว่ารายการตรวจข้างต้นน่าจะยังไม่เพียงพอ และกำลังชั่งใจกับแพ็คเกจตรวจสุขภาพสุดคุ้มที่ฝ่ายการตลาดของสถานบริการสุขภาพปล่อยออกมาเอาใจ “คนรักสุขภาพ” ที่มีรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้นอีกหลายรายการ ด้วยสนนราคา “พิเศษ” เราขอฝากประเด็นเหล่านี้ไว้ให้คุณพิจารณา   ฉลาดซื้อขอแชร์ ทุกครั้งที่เราส่งผลิตภัณฑ์เข้าทดสอบในห้องปฏิบัติการ เราจะต้องเลือกว่าต้องการตรวจเพื่อหาอะไร และอ้างอิงตามมาตรฐานไหน เพราะมันสัมพันธ์กับการเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือ และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการนำผลไปใช้ด้วย เช่นกรณีของขนมปัง เราต้องระบุไปว่าต้องการตรวจหาสารกันบูด (เพราะมีประเด็นที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามา) เป็นต้น นอกจากนี้เรายังต้องยอมรับข้อจำกัดของเครื่องมือที่ใช้ เช่นบางครั้ง สารเคมีที่เราต้องการตรวจหานั้นมีปริมาณน้อยกว่าที่เครื่องจะตรวจจับได้ (แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มี เป็นต้น) สำคัญที่สุดคือห้องปฏิบัติการที่เราใช้จะต้องผ่านการตรวจรับรองเพื่อความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบที่ได้ (ไม่ได้ส่งไปตรวจที่หลังบ้านใครอย่างที่เคยถูกกล่าวหา) เรื่องนี้น่าจะพอนำมาประยุกต์ได้กับการเลือกแพ็คเกจตรวจร่างกาย คุณสามารถเลือกตรวจเฉพาะรายการที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยง แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าผลที่ออกมานั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการตั้งค่าของเครื่อง และที่สำคัญปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานควบคุมบริการตรวจคัดกรองสุขภาพเอาไว้อ้างอิงด้วย     ตามที่เป็นข่าวเมื่อปีกลาย คนไทยใช้เงินกับการตรวจคัดกรองสุขภาพไปถึงปีละ 2,200 ล้านบาท (ส่วนหนึ่งของคนเหล่านี้คือผู้ที่มีสิทธิได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการถึง 16 รายการภายใต้ระบบสวัสดิการข้าราชการอยู่แล้ว) ข่าวไม่ได้บอกว่ามีกี่กรณีที่ตรงกับความเป็นไปได้ในรูปแบบที่ 1   เจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการฉลาดซื้อพบเจอมาด้วยตนเอง เนื่องจากไอต่อเนื่องอยู่หลายสัปดาห์จึงไปโรงพยาบาล แพทย์สั่งตรวจเอ็กซเรย์ปอดด้วยเครื่องตรวจแบบอัตโนมัติ แพทย์อ่านผลแล้วบอกว่าพบจุดที่อาจหมายถึงเป็นวัณโรค จึงให้ตรวจซ้ำตอนบ่าย (เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพักเที่ยง) คราวนี้ตรวจด้วยเครื่องอีกชนิดหนึ่ง ปรากฏว่าไม่พบจุดดังกล่าวแล้ว  ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ. สายพิณ หัตถีรัตน์ อาจารย์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี ดร.ภญ. ศิตาพร ยังคง นักวิจัย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) บทความ “การตรวจคัดกรองที่เหมาะกับสังคมไทย” โดย ภญ.ธนัญญา คู่พิทักษ์ขจร นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)   ฉลาดซื้อสำรวจ จากการโทรศัพท์ไปสอบถามสถานบริการการตรวจสุขภาพ 9 แห่ง (โรงพยาบาลรัฐ 3 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 5 แห่ง และ ศูนย์ตรวจสุขภาพ 1 แห่ง) โดยอาสาสมัครของฉลาดซื้อ เราพบว่าแม้ประเทศเราจะยังไม่มีมาตรฐานการตรวจสุขภาพและยังไม่มีการตรวจสอบบริการเหล่านี้ แต่สถานประกอบการเหล่านี้มีความพร้อมและให้ความสำคัญกับการจัดบริการตรวจคัดกรองสุขภาพ หรือบางแห่งอาจเรียกว่า “การตรวจสุขภาพประจำปี” ออกมาให้บรรดา “ผู้รักสุขภาพ” ได้เลือกช้อปกัน อาสาสมัคร (สาวทำงานวัย 38 ปี) ที่โทรไปสอบถามข้อมูลจากสถานพยาบาลเหล่านี้ โดยอ้างอิงข้อมูลที่ประชาสัมพันธ์ผ่านอินเตอร์เน็ทหรือโบรชัวร์ พบว่า   ธุรกิจสถานพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีมูลค่าการตลาดสูงที่สุด 5 อันดับได้แก่ อันดับ 1         บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) มูลค่าการตลาด 194,400 ล้านบาท  กิจการ: โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ โรงพยาบาลวัฒโนสถ   โรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งกรุงเทพ ถือหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช อันดับ 2         บริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าการตลาด 63,931 ล้านบาท   กิจการ: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  อันดับ 3         บริษัทโรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) มูลค่าการตลาด 21,600 ล้านบาท    กิจการ: โรงพยาบาลรามคำแหง อันดับ 4         บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) มูลค่าการตลาด 19,400 ล้านบาท   กิจการ: กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช อันดับ 5         บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) มูลค่าการตลาด 14,900 ล้านบาท กิจการ: โรงพยาบาลเกษมราษฎร์  โรงพยาบาลเวิรลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์  นวนครการแพทย์ -------------------------------------------------->>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 200 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค--------------------------------   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 121 ถึงเวลาคนไทยใช้ระบบประกันสุขภาพมาตรฐานเดียวกัน

  “จะดีไหม!?...ถ้า 0.88% ของเงินเดือนที่เราและนายจ้างต้องจ่ายให้ระบบประกันสังคมในกรณีเจ็บป่วย ถูกนำไปเพิ่มเป็นเงินบำนาญหลังเกษียณ ส่วนเรื่องการรักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วยก็เปลี่ยนให้ไปใช้บัตรทองซึ่งให้สิทธิรักษาฟรีกับคนไทยทั่วประเทศอยู่แล้ว...”   ผู้ประกันตนระบบประกันสังคมฟังทางนี้!!! เรารู้จักสิทธิของตัวเองดีพอหรือยัง? คงยังมีหลายคนที่สงสัยว่า “ผู้ประกันตน” ที่ว่านี้หมายถึงใคร ?  ผู้ประกันตน ก็คือ พวกเราเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ต้องจ่ายเงินให้กับประกันสังคม โดยการหักจากเงินเดือน (แบบอัตโนมัติ) ทุกเดือนเดือนละ 5% สำหรับเป็นเงินไว้สำหรับสมทบเพื่อสิทธิประโยชน์ เวลาที่เราเจ็บป่วยแล้วใช้บริการที่สถานพยาบาล หรือเป็นเงินช่วยเหลือตอนตกงาน รวมทั้งจะได้มีเงินบำนาญไว้ใช้ตอนอายุมาก ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ค่อยช่วยเหลือเวลาที่เราลำบาก โดยไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้กับประกันสังคม แต่นายจ้างและรัฐก็ร่วมจ่ายสมทบเพื่อสิทธิของเราด้วย โดยนายจ้างจ่าย 5% ของเงินเดือนของเรา ส่วนรัฐช่วยน้อยลงมาหน่อยที่ 2.75% ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจ เหล่ามนุษย์เงินเดือนก็ต้องจ่าย 5% ของเงินเดือน เข้าสู่กองทุนประกันสังคม หลายคนอาจจะตั้งข้อสงสัยว่า  “นานทีปีหนถึงจะได้เข้าโรงพยาบาล แล้วแบบนี้ทำไมต้องมาจ่ายเงินให้ประกันสังคมด้วย”  ไขข้อข้องใจ ที่เราต้องจ่ายก็เพราะว่าหลักการของประกันสังคมคือเรื่องของการ “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” เงินของเราที่ถูกหักให้ประกันสังคมทุกๆ เดือนนั้นจะกลายไปเป็นเงินกองกลางสำหรับบริหารจัดการดูแลทุกๆ คนที่อยู่ในระบบประกันสังคมร่วมกับเรา ใครป่วยต้องรักษาพยาบาลก็ได้รับการดูแล วันหนึ่งถ้าเราไปหาหมอก็จะได้รับการดูแลเช่นกัน หรือถ้าวันหนึ่งเราตกงานหรือเกษียณก็จะมีเงินชดเชยให้ ซึ่งก็คือเงินของเราที่ถูกหักไปทุกๆ เดือนนั้นแหละ   5% ของเงินเดือนที่เราจ่ายให้ประกันสังคมถูกใช้ไปทำอะไรบ้าง   %ของเงินเดือนที่จ่าย สิทธิประโยชน์ สิทธิที่ได้รับ เงื่อนไขการใช้สิทธิ 0.88% กรณีเจ็บป่วย *รักษาฟรีที่ รพ.ตามสิทธิที่เลือกไว้ *เงินทดแทนการขาดรายได้ ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนใช้สิทธิครั้งแรก 0.12% กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนหญิง *ได้เงินทดแทน 13,000 บาทต่อครรภ์ ได้ไม่เกิน 2 คน *เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ไม่เกิน 90 วัน ผู้ประกันตนชาย *ได้เงินทดแทน 13,000 บาท ต่อครรภ์ ได้ไม่เกิน 2 คน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร 0.44% กรณีทุพพลภาพ *ใช้บริการ รพ.ของรัฐฟรี *หากเป็น รพ.เอกชน -ผู้ป่วยในเดือนละ 4,000 บาท -ผู้ป่วยนอกเดือนละ 2,000 บาท *เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค้าจ้างรายเดือนไปตลอดชีวิต *อวัยวะเทียมที่จำเป็นฟรี ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนทุพพลภาพ 0.06% กรณีตาย เงินสงเคราะห์ และค่าปลงศพ 40,000 บาท *หากส่งสมทบมาแล้วมากกว่า 3 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้เงินสงเคราะห์ เท่ากับค่าจ้าง 1 เดือนครึ่ง *หากสมทบมากกว่า 10 ปี เงินสงเคาระห์เท่ากับค่าจ้างของผู้ประกันตน 5 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายใน 6 เดือนก่อนตาย 3% กรณีชราภาพ *จะได้รับบำนาญ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากส่งสมทบมามากกว่า 180 เดือน *หากส่งสมทบมาไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินสมทบทั้งหมดบวกกับดอกเบี้ยตามอัตราที่สำนักงานประกันสังคมประกาศในแต่ละปี อายุ 55 ปี บริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 0% (เพราะรัฐออกให้) กรณีสงเคราะห์บุตร *เดือนละ 400 บาท ไปจนบุตรอายุ 6 ปี และได้ครั้งละ 2 คน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับสิทธิ 0.5% กรณีว่างงาน *หากถูกให้ออกโดยไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างจะได้ 50% ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 6 เดือน *หากลูกจ้างลาออกหรือหมดโครงการจะได้ 30% ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 3 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน   ความจริงเรื่องประกันสุขภาพ ประเทศไทยเรา ไม่ได้มีระบบประกันสุขภาพสำหรับดูแลเรื่องความป่วยไข้ของคนไทยแค่ระบบประกันสังคมเท่านั้น แต่ยังมีอีก 2 ระบบสำคัญที่ค่อยเป็นที่พึ่งเรื่องสุขภาพของคนไทย นั้นคือ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อที่ว่า “ระบบบัตรทอง” ซึ่งเป็นระบบที่รัฐดูแลจัดการ ถือเป็นสวัสดิการให้กับคนไทยทุกคน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม หรือระบบประกันสุขภาพอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยที่ได้รับการดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล ค่ายา ประมาณ 47 ล้านคน งบประมาณที่ใช้ก็มาจากเงินภาษีของเรานี่แหละ  คิดเป็นตัวเลขก็ประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายต่อคนที่รัฐออกให้อยู่ที่ประมาณ 2,401.33 บาท อีกระบบ คือ ระบบสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ สำหรับดูแลข้าราชการและครอบครัว ซึ่งมีประมาณ 5 ล้านคนทั่วประเทศ งบประมาณที่ใช้ก็มาจากเงินภาษีของเราอีกนั้นแหละ ซึ่งให้งบประมาณดูแลสูงถึง 7 หมื่นล้านบาท ค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายรายต่อคนประมาณ 10,000 บาท  ส่วนระบบประกันสังคม ซึ่งดูแลเหล่าลูกจ้างและมนุษย์เงินเดือนซึ่งมีอยู่ประมาณ 9 ล้านคน โดยงบประมาณที่นำมาใช้ดูแลสุขทุกข์ก็มาจากเงินที่เราถูกหักจากเงินเดือนทุกๆ เดือน บวกกับนายจ้างและรัฐช่วยสมทบให้ ซึ่งเงินที่เราจ่ายไปถูกนำไปเฉลี่ยสำหรับการดูแลคุ้มครองหลายๆ ส่วน (อย่างที่เราแจกแจงให้ดูในตารางก่อนหน้านี้) ซึ่งถ้าดูเฉพาะส่วนของค่ารักษาพยาบาลเราจะมีงบประมาณดูแลอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่น 2 พันล้านบาท คิดเป็นค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายที่คนละ 2,105.26 บาท  “น่าคิดมั้ย?...ทำไมระบบประกันสังคมถึงเป็นระบบประกันสุขภาพระบบเดียว ที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเอง”   ทั้ง ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ ระบบสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ใช้เงินจากรัฐซึ่งก็มาจากเงินภาษีของเราเองในการดูแลเรื่องสุขภาพของคนที่อยู่ในระบบ แต่ระบบประกันสุขภาพในระบบประกันสังคน ผู้ประกันตนต้องเป็นคนจ่ายสมทบเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลก ว่าทำไมรัฐจึงไม่ดูแลเรื่องสุขภาพของคนไทยให้เหมือนกันเป็นระบบเดียว เพราะเมื่องบประมาณที่ใช้ดูแลก็มาจากเงินภาษีของคนไทยทุกคนอยู่แล้ว ทำไมเรายังต้องจ่ายเพิ่มอีก?!  จริงอยู่ที่ว่าระบบประกันสังคม เป็นระบบการดูแลคุ้มครองความมั่นคงของชีวิตที่ดีและมีประโยชน์ คือมีทั้งเรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและในแบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข และยังเป็นการออมเพื่ออนาคต แต่หากสามารถนำหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขในเรื่องของการดูแลสุขภาพให้เท่าเทียมเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกระบบก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่ามั้ย?   มาเปลี่ยนเป็นระบบสุขภาพที่เท่าเทียมกันเถอะ“ถ้าเปลี่ยนให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ว่ายังจ่ายสมทบเท่าเดิม แล้วนำเงินที่ต้องจ่ายกรณีเจ็บป่วยไปเพิ่มให้กรณีชราภาพ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนมากกว่า”ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ ระบบบัตรทอง ทำหน้าที่ดูแลเรื่องสุขภาพคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศอยู่แล้ว หากจะเพิ่มการดูแลให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ก็คงไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกหรือยุ่งยากอะไร ถือเป็นการช่วยเหลือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ยังเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินในการดูแลรักษาสุขภาพยามเจ็บป่วย ถึงแม้จะเปลี่ยนไปรับความคุ้มครองในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ก็เชื่อว่าผู้ประกันตนส่วนใหญ่ก็ยังยินดีที่จะจ่ายสมทบในระบบประกันสังคม เพราะยังมีข้อดีในส่วนของการออมเพื่ออนาคต ทั้งการช่วยเหลือตอนว่างงาน และเงินบำเหน็จบำนาญตอนเกษียณ  ซึ่งถ้าหากได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพจากระบบบัตรทองแล้ว เงินที่เคยจ่ายให้ประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย 0.88% ของเงินเดือน ก็น่าจะถูกไปเพิ่มในส่วนของเงินชราภาพ ตอนเกษียณอายุเราจะได้มีเงินใช้เพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันเราได้เงินบำนาญจากการจ่ายเงินสมทบให้ประกันสังคมอยู่ที่ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ถ้าหากได้อีก 0.88% ของเงินเดือนไปเพิ่ม %เฉลี่ยของเงินที่จะได้เป็นบำนาญก็จะสูงขึ้น หรือถ้าเป็นเงินบำเหน็จ ซึ่งปัจจุบันใช้เกณฑ์คิดจากเงินสมทบทั้งหมดที่เราจ่าย + กับอัตราดอกเบี้ยอีกนิดหน่อย ถ้าได้ 0.88% ของเงินเดือนไปเพิ่มก็จะทำให้ได้บำเหน็จเยอะขึ้นจากเดิมทันที (อย่าคิดว่า 0.88% ของเงินเดือนเป็นเงินไม่กี่บาท ถ้าหากเราเงินเดือนเดือนละ 10,000 บาท แต่ละเดือนเราก็จ่ายสมทบไป 88 บาท 1 ปี เราจะจ่ายไป 1,056 บาท และถ้าเป็น 10 ปี ก็เท่ากับเงิน 10,560 บาทเลยนะ)  และยิ่งถ้าเรานำเงินสมทบให้ระบบประกันสังคมจาก กรณีคลอดบุตร 0.12% ของเงินเดือน และ กรณีทุพพลภาพ 0.44% ของเงินเดือน ซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ให้ความดูแลคุ้มครองตรงนี้ด้วยเช่นกัน ไปเพิ่มให้เงินสมทบสำหรับกรณีชราภาพอีก ตัวเงินหรือสิทธิที่เราจะได้รับการดูแลหลังเกษียณในฐานะผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมก็น่าจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก  ***แต่ที่เล่ามาทั้งหมดยังเป็นแค่ความฝันและความหวัง ของเหล่าผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่อยากเห็นเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง เพราะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้ประกันตนและสังคมโดยรวม งานนี้ก็คงต้องวิงวอนภาครัฐและบรรดาผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ช่วยทำให้ฝันเล็กๆ ของลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน และมนุษย์เงินเดือนในระบบประกันสังคมเป็นจริงด้วยเถิด*** ************************************************** “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” มาร่วมกันสร้างระบบหลักประกันสุขภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน อยากเชิญชวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทุกคนมาร่วมกันสร้างระบบหลักประกันสุขภาพที่เท่าเทียม สิทธิประโยชน์ที่ดีและเหมาะสมสำหรับพวกเราผู้จ่ายเงินสมทบในระบบประกันสังคม เพราะเงินทุกบาทที่เราจ่ายไปมีความหมาย ประกันสังคมต้องสามารถเป็น “หลักประกันให้สังคมได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิ”  ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม สามารถเข้าร่วม หรือติดตามข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ ของการประกันสังคม ได้ที่หน้า facebook ของ “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” **************************************************  ตัวอย่างสิทธิประโยชน์การบริการทางการแพทย์ที่แตกต่างกันของระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ***(O) = คุ้มครอง   (X) = ไม่คุ้มครอง   ลักษณะการบริการ ระบบประกันสังคม ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ โรคเดียวกันที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลเกิน 180 วัน X   O กรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เจ็บป่วยฉุกเฉิน แล้วไม่สามารถใช้บริการ รพ. ที่ลงทะเบียนไว้ได้ O ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี O ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โรคหรือประสบอันตรายจากการใช้สารเสพติด X O เฉพาะหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ได้รับอันตรายหรือทุพพลภาพจากการที่ตัวเองตั้งใจให้เกิด (กรณีพยายามฆ่าตัวตาย) X O การบริการรักษาตัวเองหรือฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่บ้านหลังออกจาก รพ. X O การส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่าทางอากาศยาน (เฮลิคอปเตอร์) X O ไม่เกิน 60,000 บาทต่อครั้ง การช่วยเหลือเบื้องต้นให้แกผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ X O 1.เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงิยช่วยเหลือไม่เกิน 200,000 บาท 2.สูญเสียอวัยวะหรือพิการ จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 120,000 บาท 3.บาดเจ็บหรือเจ็บต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 50,000 บาท การให้ยาไวรัสโรคเอดส์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังสัมผัส เช่น ถูกข่มขืน หรือติดเชื้อระหว่างปฏิบัติงาน เช่น แพทย์ พยาบาล X O การบริการแพทย์แผนไทยหรือแพทย์ทางเลือก X O ข้อมูลประกอบบทความ : “สู่ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว สู่หลักประกันทั้งสังคม”.เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, “รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปี 2552”, “รายงานประจำปีสำนักงานประกันสังคม 2552”, “คู่มือบัตรทองสำหรับอาสาสมัครสาธารณะสุข”, “สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2537 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542”, บทความ “ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย” สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, http://www.posttoday.com/ข่าว/อาชญากรรม-สังคม/72522/เทียบผลประโยชน์-บัตรทองดีกว่าประกันสังคมทุกด้าน/page-1/   เปรียบเทียบบริการทางการแพทย์ของระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   ระบบประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีประสบอันตราย/อุบัติเหตุ ขอรับค่าบริการได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้ 1.สถานพยาบาลของรัฐ -ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น -ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้อง และค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท 2.สถานพยาบาลของเอกชน *ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท และสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด **ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด กรณีที่ใช้บริการที่หน่วยบริการซึ่งขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้รับบริการไม่ต้องเสียค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย และสามารถใช้สิทธิใช้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ตามความจำเป็นโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง กรณีใช้บริการที่สถานบริการอื่น ผู้รับบริการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนที่เกินจากที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายให้สถานบริการ โดยสถานบริการดังกล่าวจะต้องแจ้งให้ผู้ป่วยและญาติทราบก่อนการให้บริการทุกครั้ง   การคลอดบุตร ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีคลอดบุตรสำหรับตนเองหรือคู่สมรส มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ในการคลอดบุตรคนละ 2 ครั้ง รวมถึงประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ได้แก่ ค่าตรวจรับฝากครรภ์ ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่าบริการและค่ารักษาพยาบาลทารกแรกเกิด ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย ค่าบริการอื่นที่จำเป็น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยจะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท สำหรับการคลอดบุตร (อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป) ของผู้ประกันตนหรือภริยาของผู้ประกันตน หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ประกันโดยเปิดเผยกรณีผู้ประกันไม่มีภริยา *กรณีผู้ประกันหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท และยังจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีก ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน และสามารถหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรครั้งหนึ่ง ไม่เกิน 60 วัน *กรณีผู้ประกันตนชายที่มีภรรยาจดทะเบียนสมรส หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรส สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร *กรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้คนละ 2 ครั้ง รวมกันได้ไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตร ไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก และแนะนำให้ใช้สิทธิของภรรยาก่อนเนื่องจากจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรด้วยนอกเหนือจากค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท สนับสนุนค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม จำนวนไม่เกิน 2 ครั้ง (กรณีบุตรมีชีวิตอยู่) ครอบคลุมถึงค่าตรวจและรับฝากครรภ์ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง จนสิ้นสุดการตั้งครรภ์ และการตรวจเยี่ยมดูแลหลังคลอด และจะได้รับวัคซีนทุกชนิดวัคซีนตามตารางแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน (EPI) ของกรมควบคุมโรค *คุ้มครองถึงหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 7 เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บริการทันตกรรม 1. กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก และรากฟันเทียม 2.การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กรณีผู้ประกันตนไม่มีปัญหาด้านการกลืน แต่ช่องเพดานโหว่มีเพดานกว้างพอประมาณ ครอบคลุมอยู่ในเงินเหมาจ่ายรายหัว หมายเหตุ: 1) ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการบริการสถานพยาบาลใดก็ได้ในกรณี ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานมาขอเบิกเงินคืนได้ในอัตราไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง ปีละไม่เกิน 600 บาท และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก (พลาสติก) 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,200 บาท ตั้งแต่ 6 ซี่ขึ้นไปจะเบิกได้ไม่เกิน 1,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก 2) ผู้ประกันยังต้องร่วมจ่ายในกรณีที่วงเงินเกินกำหนด โดยสามารถไปใช้บริการที่ใดก็ได้ 1.กรณีถอนฟัน การผ่าตัดช่องปาก (oral surgery) อุดฟัน ขูดหินปูน การเกลารากฟัน (root planing) ฟันเทียมฐานพลาสติก และทันตกรรมประดิษฐ์ 2.การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนมสำหรับเด็กเคลือบหลุมร่องฟัน (ในกลุ่มอายุไม่เกิน 15 ปี) นอกจากนั้นยังมีงานทันตกรรมเพิ่มทวีที่ดูแลเด็กชั้นประถมปีที่ 1 ทุกคนอย่างครบวงจร 3.ทันตกรรมรักษาในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ 4.การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำด้านทันตสุขภาพ 5.การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ 6.การผ่าตัดแก้ไขความพิการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงการจัดฟัน และแก้ไขปัญหาด้านการพูด (สำหรับเด็ก) โดยค่าผ่าตัดสามารถรับค่าใช้จ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนด ค่าเพดานเทียมในอัตรา 500 บาทต่อชิ้น ค่าอรรถบำบัด/แก้ไขการพูด จ่าย 3,850 บาทต่อรายต่อปี ค่าทันตกรรมบำบัด (ฟื้นฟู) จ่าย 12,000 บาทต่อรายต่อปี หมายเหตุ: ผู้มีสิทธิไม่ต้องร่วมจ่ายในกรณีที่วงเงินเกินกำหนด การส่งต่อผู้ป่วยไปหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่า กรณีมีความจำเป็น ต้องรับหรือส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัยหรือรักษาต่อยังสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง สามารถเบิกค่าพาหนะตามอัตรา ดังนี้ 1.ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน สำหรับค่ารถพยาบาลหรือเรือพยาบาลจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง และ 300 บาทต่อครั้งสำหรับพาหนะรับจ้างหรือส่วนบุคคล 2.กรณีข้ามเขตจังหวัดจ่ายเพิ่มจากกรณีภายในเขตจังหวัดเดียวกันอีกตามระยะทางกิโลเมตรละ 6 บาท (ตามระยะทางกรมทางหลวง) ให้จ่ายตามราคาเรียกเก็บแต่ไม่เกินราคากลางที่กำหนดในแต่ละประเภทพาหนะและระยะทาง ดังนี้ 1.ค่าบริการรับส่งต่อทางรถยนต์ เป็นไปตามระยะทาง ถ้าไม่เกิน 50 กิโลเมตร ให้เบิกตามค่าใช้จ่ายจริงในอัตราไม่เกิน 500 บาท แต่ถ้ามากกว่า 50 กิโลเมตรขึ้นไป ให้เบิกจ่ายค่าชดเชยครั้งละ 500 บาท และให้ได้รับค่าชดเชยเพิ่มอีกกิโลเมตรละ 4 บาทต่อระยะทางจากหน่วยบริการต้นทางถึงหน่วยบริการปลายทาง (ตามระยะทางกรมทางหลวง) 2.ค่าบริการรับส่งต่อทางเรือ เป็นไปตามประเภทเรือ และระยะทางอัตราจ่ายไม่เกิน 35,000 บาทต่อครั้ง โรคไต 1) การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร เหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในความตกลง และจ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท และเบิกค่าวางท่อพร้อมอุปกรณ์ได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 2) การฟอกเลือด เหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในความตกลง และเบิกได้ครั้งละไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 3,000 บาทต่อสัปดาห์ ค่าเตรียมเส้นเลือด (Shunt) อัตรา 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 3) การปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายก่อนการปลูกถ่ายไต เหมาจ่ายให้สถานพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาทต่อราย ค่าใช้จ่ายระหว่างปลูกถ่ายไต เหมาจ่ายให้สถานพยาบาลไม่เกิน 230,000 บาทต่อราย โดยครอบคลุมผู้ประกันตนและผู้บริจาคไตเป็นเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตรวมทั้งการรักษาภาวะสลัดไตอย่างเฉียบพลันของผู้ประกันเป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ทำการปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายหลังการปลูกถ่ายไต สำหรับสถานพยาบาลที่ปลูกถ่ายไตผู้ประกันตนที่มีสิทธิโดยครอบคลุมการตรวจรักษา ยากดภูมิคุ้มกัน ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับยากดภูมิภูมิคุ้มกัน เหมาจ่ายในอัตรา ดังนี้ ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 30,000 บาท เดือนที่ 7-12 เดือนละ 20,000 บาท ปีที่ 2 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 15,000 บาท ปีที่ 3 เป็นต้นไป เดือนละ 10,000 บาท หมายเหตุ: การปลูกถ่ายไต จะไม่ได้รับคุ้มครองเมื่อผู้ป่วยเป็นไตวายเรื้อรังก่อนเป็นผู้ประกันตน 1) การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร เหมาจ่ายค่าบริการให้โรงพยาบาล 220,000 บาทต่อรายต่อปี หรือ 18,320 บาทต่อรายต่อเดือน (ค่าน้ำยา 14,100 บาท ร่วมกับ ค่าดูแลครบวงจร) 2) การฟอกเลือด ผู้ป่วยลงทะเบียนก่อน 1 ต.ค. 51 1,000 บาทต่อครั้ง+ผู้ป่วยร่วมจ่าย 500 บาท 1,200 บาทต่อครั้ง (อายุเกิน 60 ปี+มีโรคเรื้อรัง) +ผู้ป่วยร่วมจ่าย 500 บาท ผู้ป่วยลงทะเบียนหลัง 1 ต.ค. 51 1,500 บาทต่อครั้ง 1,700 บาทต่อครั้ง (อายุเกิน 60 ปี+มีโรคเรื้อรัง) ค่าเตรียมเส้นเลือด (Shunt) จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 3) การปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายก่อนการปลูกถ่ายไต ให้สิทธิผู้ป่วยที่สามารถหาไตบริจาคได้ โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายคือ (1) ค่าเตรียมผู้รับบริจาคก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่สมองตาย 40,000 บาท (2) ค่าเตรียมผู้รับบริจาคก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่มีชีวิต ก่อนเข้ารับการผ่าตัด 40,000 บาท (จ่ายไม่เกิน 2 ครั้ง) ระหว่างเข้ารับการผ่าตัด 32,800 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับเตรียมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด 31,300 บาทและค่าเตรียมผู้รับบริจาคระหว่างรอผู้บริจาคที่สมองตาย ทุก 3 เดือน ครั้งละ 1,800 บาท ค่าใช้จ่ายระหว่างปลูกถ่ายไต จ่ายตามความเสี่ยง ตั้งแต่ Protocol I-IV โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำสุดคือ 143,000 บาท และสูงสุดคือ 292,000 บาท กรณีมีภาวะแทรกซ้อนจ่ายตาม Protocol ทั้งสิ้น 7 Protocol โดยมีค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายตั้งแต่ 23,000 บาทและสูงสุดคือ 493,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลังปลูกถ่ายไต สนับสนุนค่าใช้จ่าย ยากดภูมิ ตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับยากดภูมิคุ้มกัน เหมาจ่าย ดังนี้ ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 30,000 บาท เดือนที่ 7-12 เดือนละ 25,000 บาท ปีที่ 2 เดือนละ 20,000 บาท ปีที่ 3 เป็นต้นไป เดือนละ 15,000 บาท

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 107 แค่ดื่มก็สวย…จริงหรือ??

กระแสของคนใส่ใจสุขภาพมีแนวโน้มมากขึ้นตลอดเวลา จึงเป็นโอกาสของตลาดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่พยายามพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มีผลดีต่อสุขภาพ ปัจจุบันเราจึงเห็นว่ามีการโฆษณากล่าวอ้างถึงคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในเครื่องดื่มที่มีการโฆษณาว่ามีผลดีต่อสุขภาพ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Functional Drinks แค่ดื่มก็สวย…จริงหรือ?? กี่ครั้งกันนะที่คุณๆ อาจนึกสงสัยว่าเจ้าน้ำดื่มสารพัดยี่ห้อที่ใช้เรื่องความงามเป็นจุดขายนั้น ดื่มเข้าไปแล้วมันจะสวยได้จริงหรือ?? หนุ่มจะหันมามองตาค้างอย่างในโฆษณาจริงหรือเปล่า รวมทั้งชื่อสารเคมีแปลกๆ ที่พูดปาวๆ ในสื่อต่างๆ อะมิโนเปปไทด์ คอลลาเจน คิว 10 มันจะมีสรรพคุณวิเศษมหัศจรรย์จนสามารถบันดาลความสวยงามให้ได้จริงล่ะหรือ เรามาหาคำตอบกัน   อย.ให้ขายและโฆษณาได้ แสดงว่าของเขาดีจริงสิ??เชื่อว่ายังมีผู้บริโภคอีกหลายท่าน ที่เข้าใจผิดว่ามี อย. หมายถึงรับรองว่า ดื่มแล้วสวยจริง อันนี้ขอแก้ไขเรื่องจริงคือ อย.รับรองเพียงแค่ว่าดื่มแล้วปลอดภัย(ไม่ตาย) แต่ไม่ได้รับรองแต่อย่างใดเลยว่า ดื่มแล้วสวย ฉลาด สมาร์ท เลิศ อย่างที่เข้าใจกันไปตามที่โฆษณาบอก ลองอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ดูสิ อย.เขาไม่อนุญาตให้กล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ทางอาหารบนฉลากเด็ดขาด เพราะมันไม่มีหลักฐานอะไรที่มันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ไงล่ะ แต่จะไปห้ามคนไม่ให้เอาสารอาหารมาผสมน้ำขายก็ไม่ได้ เขาจึงรับรองแค่ว่า มันปลอดภัย แต่ไม่ได้ดื่มแล้วสวยขึ้นหรือฉลาดขึ้นนะ แถมยังบังคับให้น้ำดื่มพวกนี้ต้องติดคำเตือนเอาไว้ด้วย“ควรกินอาหารหลากหลายชนิดให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ” ฉลากบอกอะไรเราบ้าง• เกือบทุกผลิตภัณฑ์เป็นน้ำรสผลไม้(ไม่เกิน 20%) ส่วนใหญ่เป็นน้ำองุ่นขาวจากน้ำองุ่นขาวเข้มข้น เติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานเพื่อให้มีรสชาติดี จากนั้นก็แล้วแต่ว่าต้องการให้มีคุณสมบัติเพื่อขายอะไรก็เติมสารอาหารนั้นเข้าไป • ฉลากส่วนใหญ่ไม่มีการโฆษณาสรรพคุณว่าดื่มเพื่ออะไร แต่จะแสดงให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งว่า มีสารอะไรเป็นตัวเด่น(จุดขาย) แล้วให้ข้อมูลวิชาการเสริม หรือเพื่อโน้มน้าวใจผู้ซื้อ ซึ่งบางผลิตภัณฑ์เป็นข้อมูลที่คลุมเครือและน่าจะได้มีการตรวจสอบว่า ผิดกฎหมายหรือไม่ “คลอโรฟิลล์สารสกัดสีเขียว จากอัลฟาฟ่า ช่วยขับสารพิษในร่างกาย บำรุงเลือด ช่วยให้ ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น” เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ คลอโรฟิลล์ • หลายผลิตภัณฑ์เนื้อที่แค่บนฉลากมันไม่พอต้องมีป้ายพิเศษเพิ่มคล้องไว้ที่ขวดด้วย ซึ่งป้ายให้ข้อมูลเพิ่มเติมนี้ บางข้อความหมิ่นเหม่เข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง “ หุ่นดีไม่มีหน้าท้อง หุ่นสวยเพรียวอย่างใจเพราะไฟเบอร์สูงช่วยระบบขับถ่าย อยากหุ่นดีไม่มีหน้าท้องใช่ไหม” บีอิ้ง คอมฟอร์ท สารอาหารหรือยาวิเศษจากการพลิกดูฉลากผลิตภัณฑ์ ที่อ้างว่าเพื่อความสวยงามหรือฉลาดสดใสนี้ น่าจะพอแบ่งกลุ่มหลักๆ ของสารอาหารที่ถูกนำมาผสมขึ้นเป็นเครื่องดื่มแต่ละขวดได้ดังนี้ เครื่องดื่มที่เน้นว่าดื่มแล้วสวย การโฆษณาว่าดื่มแล้วสวย คงเป็นที่ถูกใจวัยรุ่นสาว ๆ และผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะทุกคนก็อยากเป็นคนสวยทั้งนั้น เครื่องดื่มประเภทนี้มักมีคำว่า “บิวติ” อยู่ในชื่อผลิตภัณฑ์ ซึ่งคำนี้เป็นเสียงพ้องของคำภาษาอังกฤษ “beauty” ที่แปลว่าสวยนั่นเอง หรืออาจมีคำว่า “สกินฟิต” ซึ่งสื่อให้เข้าใจว่ามีผิวหนังที่แข็งแรง เมื่อพิจาณาส่วนประกอบในเครื่องดื่มเหล่านี้มักพบว่ามีการเติม ”คอลลาเจน” เพิ่มลงไปในปริมาณที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 125 – 3000 มิลลิกรัม โดยที่หลายชนิดมีการใช้คำว่าคอลลาเจนในชื่อของผลิตภัฑ์ด้วย เช่น “เซนต์ แอนนา คอลลาเจน” “สก๊อต คอลลาเจน-อี” เป็นต้น ความจริงกินคอลลาเจนแล้วช่วยให้ผิวสวย หรือแก่ช้าจริงหรือไม่ ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า คอลลาเจนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากที่สุดในร่างกายคือประมาณ 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย มีลักษณะโครงสร้างที่เกาะเป็นเกลียว ทำหน้าที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ในส่วนของผิวหนังมีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบหลัก (ประมาณร้อยละ 75) และทำหน้าที่ช่วยให้ผิวหนังเรียบ ตึง และเนียนเรียบ โดยทำหน้าที่คู่กับโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าอีลาสติน (Elastin) คอลลาเจนที่ผิวหนังเกิดจากการสร้างภายในร่างกายเราเอง โดยสร้างจากกรดอะมิโนที่ได้จากการกินอาหารประเภทโปรตีนต่างๆ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง และต้องอาศัยวิตามินซีเป็นผู้ช่วยให้เกิดคอลลาเจนที่สมบูรณ์ จากหน้าที่ของคอลลาเจนที่ผิวหนังดังกล่าว ทำให้คอลลาเจนได้รับความสนใจนำมาใช้ในการชะลอริ้วรอย เสริมความงาม ช่วยให้ไม่แก่ ผิวหนังจะสวยได้ต้องมีคอลลาเจนที่แข็งแรงอยู่มากพอเป็นเรื่องจริง แต่อย่าลืมว่าการกินคอลลาเจนเข้าไปไม่ได้หมายความว่าคอลลาเจนที่กินนั้นจะไปอยู่ที่ผิวหนังได้ เพราะคอลลาเจนเป็นโปรตีน เมื่อกินเข้าไป จะถูกย่อยเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนเช่นเดียวกับโปรตีนชนิดอื่นๆ จากนั้นกรดอะมิโนจึงถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เอาไว้เป็นตัวตั้งต้นสำหรับการสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกายต่อไป ที่จริงแล้วในทางโภชนาการคอลลาเจนจัดเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพต่ำ เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างไม่ได้ไม่ครบถ้วนและไม่เพียงพอ ดังนั้นการกินแต่คอลลาเจนโดยที่ไม่ได้รับโปรตีนที่มีคุณภาพดีอย่างอื่นมากพอในระยะยาว จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ และการกินคอลลาเจนเพื่อให้ผิวสวยนั้นคงได้ผลน้อย ถ้าร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วนจากการกินอาหารที่ครบหมวดหมู่อย่างหลากหลายและสมดุล การที่ผิวหนังจะสวยได้จำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดอย่างมากพอ และต้องรู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เร่งการเสื่อมสลายของคอลลาเจนด้วย เช่น การอยู่ในที่แสงแดดจัดเป็นเวลานานหรือการสูบบุหรี่ เป็นต้น เครื่องดื่มที่เน้นว่ามีผลบำรุงสมองตัวนี้กำลังมาแรง เครื่องดื่มที่โฆษณาว่าทำให้เก่ง มีผลต่อสมอง เครื่องดื่มในกลุ่มนี้บางชนิดใช้คำว่า “เบรนฟิต” หรือ “สมาร์ท” เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์ ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้คือ มีส่วนประกอบของเปปไทด์หรือกรดอะมิโน หรือในบางผลิตภัณฑ์จะมีการเสริมกรดไขมันโมเลกุลยาวที่สกัดจากปลา ที่เรียกว่าโอเมก้าสามหรือดีเอชเอ ร่วมด้วย ความจริงเปปไทด์และกรดอะมิโนคือหน่วยย่อยของโปรตีนที่ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้เลย โดยปกติเมื่อเรากินอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากพืช (ถั่วต่างๆ) หรือโปรตีนจากสัตว์ ร่างกายจะมีน้ำย่อยหรือเอนไซม์ มาย่อยสลายโปรตีนนั้นให้มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นกรดอะมิโนเพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป สำหรับเปปไทด์นั้นคือกรดอะมิโน 2 หรือ 3 ตัวเรียงต่อกัน ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าร่างกายสามารถดูดซึมเปปไทด์สายสั้นนี้ได้ดีกว่ากรดอะมิโนเดี่ยว ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของเปปไทด์หรือกรดอะมิโนเข้าไป ก็จะทำให้ร่างกายสามารถนำเปปไทด์หรือกรดอะมิโนนั้นไปใช้ได้ทันที อย่างไรก็ตามแต่ละท่านคงต้องพิจารณาว่าร่างกายท่านมีความจำเป็นที่ต้องการเปปไทด์หรือกรดอะมิโนต่างๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นทันทีหรือไม่ ถ้าเรามีการรับประทานอาหารที่เหมาะสมครบถ้วนทั้งสามมื้อแล้ว การได้รับโปรตีนที่มากเกินไปไม่ว่าในรูปแบบใดจะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นในการกำจัดออกจากร่างกาย ซึ่งมีโอกาสทำให้ไตของเราเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของเปปไทด์หรือกรดอะมิโนจะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารเหล่านั้นไปใช้ได้ทันที อาจมีผลทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ฉลาดขึ้นไปด้วย ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ก่อนเข้าห้องสอบของนักเรียน/นักศึกษานั้นคงไม่ได้ทำให้นักศึกษาผู้นั้นทำคะแนนสอบได้ดีขึ้น ถ้าไม่ได้มีการศึกษาทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอมาก่อน ดีเอชเอ (DHA) เป็นคำย่อมาจาก docosahexaenoic acid ซึ่งก็คือคือกรดไขมันโมเลกุลยาวชนิดหนึ่งทีมีอยู่มาก ในสมอง ประสาทตา และหัวใจ เนื่องจากในสมองจะมีเซลล์ไขมันอยู่มากที่สุด ดังนั้นการได้รับกรดไขมันชนิดนี้มากพอจึงเชื่อว่าช่วยพัฒนาการของสมองและระบบประสาทของร่างกายทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ แหล่งอาหาที่สำคัญของไขมันชนิดนี้คือการบริโภคปลาเป็นประจำ อย่างไรก็ตามหลายท่านอาจบอกว่าไม่ค่อยได้กินปลา จึงหันมากินผลิตภัณฑ์ที่มีการเสริม DHA แทน เพื่อหวังผลทางสุขภาพเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานผลทางสุขถาพที่ชัดเจนของเครื่องดื่มเหล่านี้ว่ามีผลต่อพัฒนาการของสมอง นอกจากนี้อย่าลืมว่าการที่สมองของคนเราจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วย เช่น การได้รับออกซิเจนและกลูโคสที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดของสมองอย่างเพียงพอด้วย การพักผ่อน ที่เพียงพอและไม่เครียดเกินไปก็มีส่วนช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้นด้วย เครื่องดื่มที่เน้นว่ามีผลดีต่อการระบายเครื่องดื่มเชิงสุขภาพส่วนใหญ่ที่จำหน่ายทั่วไปมักมีการเสริมใยอาหารในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่ระบุชนิด (เช่น อินนูบิน) และไม่ระบุชนิดในปริมาณที่แตกต่างกัน (0.25 – 2.1 %) และมักจะกล่าวอ้างคุณประโยชน์ที่ช่วยเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหารและกระตุ้นการขับถ่าย ความจริงอย่างไรก็ตามปริมาณใยอาหารที่เพิ่มขึ้นในบางผลิตภัณฑ์อาจไม่มากพอที่จะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้ เช่น “บริ๊งค์ คอลลาเจน ดริ๊งค์” ที่มีส่วนประกอบของใยอาหารเพียง 0.25 % ในขวดผลิตภัณฑ์บรรจุ 50 มิลลิลิตรจะได้รับใยอาหารเพียง 0.125 กรัม เท่านั้น หรือบางผลิตภัณฑ์ที่ระบุคำว่าใยอาหารในชื่อผลิตภัณฑ์ เช่น “เซ็ปเป้บิวติ ดริงค์ ใยอาหาร” มีส่วนประกอบของใยอาหาร 2 % ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วพบว่ามีใยอาหารประมาณ 3.6 กรัม ต่อขวด (180 มิลลิลิตร) ปริมาณที่เพิ่มขึ้นนี้ยังไม่มากพอต่อความต้องการของร่างกายใน 1 วัน (20-25 กรัมต่อวัน) ดังนั้นผู้บริโภคที่ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ต้องไม่ลืมที่จะมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม ถูกสัดส่วนเช่นเดิมด้วย เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีตามต้องการ เครื่องดื่มที่เน้นว่ามีผลดีต่อสุขภาพโคเอนไซม์คิวเทน (Co Q 10) เป็นสารเสริมอีกชนิดหนึ่งที่มีการเติมกันมากในเครื่องดื่มที่มีการกล่าวอ้างทางสุขภาพ ปริมาณที่เติมประมาณ 15-29 มิลลิกรัมต่อขวด ความจริงโคเอนไซม์คิวเทนหรือบางคนเรียกว่าคิวเทน เป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์ มีอยู่มากในอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ตับ ไต มีหน้าที่ช่วยให้เกิดพลังงานสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหลัก โดยทำหน้าที่ดักจับอิเลคตรอนเพื่อส่งให้ไมโตคอนเดรียผลิตพลังงานแก่เซลล์ ในความเป็นจริง การทำงานของโคเอนไซม์คิวเทนไม่ได้เพียงแค่จับอิเลคตรอนไว้กับตัวแต่ยังส่งผ่านหน้าที่ไปยังส่วนอื่นเพื่อให้เกิดการทำงานครบกระบวน ดังนั้นในทางทฤษฎีแทนที่จะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพียงอย่างเดียว โคเอนไซม์คิวเทนอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระเสียเองได้ ดังนั้นการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคิวเทน จึงไม่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ แต่จะไปเพิ่มปริมาณโคเอนไซม์คิวเทน ให้ร่างกายนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องสร้างเอง โดยปกติการสังเคราะห์โคเอนไซม์คิวเทนอาจลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น รวมทั้งการได้รับยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA reductase ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดก็ทำให้การสังเคราะห็โคเอนไซม์คิวเทนลดลงได้ จึงควรมีการบริโภคโคเอนไซม์คิวเทนจากอาหารเพิ่มให้มากเพียงพอ โดยการกินอาหารเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับเครื่องดื่มที่มีการเสริมโคเอนไซม์คิวเทนต้องระวังว่าปริมาณที่เติมนั้นอาจลดลงจากเดิมได้ง่าย เนื่องจากสารโคเอนไซม์คิวเทนมีความไวต่อแสงมาก เครื่องดื่มที่มีการกล่าวอ้างว่าช่วยในการเผาผลาญพลังงาน มักจะมีการเติมสาร แอล-คาร์นีทีน (L-Carnitine) ประมาณ 0.04-0.7 % ความจริงแอล-คาร์นีทีนเป็นสารที่ร่างกายสร้างได้เองภายในตับและไต ทำหน้าที่เปลี่ยนกรดไขมันให้เป็นพลังงาน เพื่อให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายนำไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา กล้ามเนื้อหัวใจ สมอง และช่วยระบบเผาผลาญ ดังนั้นข้อดีของแอล-คาร์นีทีนที่ถูกยกมาเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์ คือ ให้พลังงานมากขึ้นจึงเหมาะสำหรับผู้รักการออกกำลังกาย ต้องการควบคุมน้ำหนัก พร้อมทั้งช่วยเผาผลาญไขมัน โดยปกติร่างกายเราจะมีสารแอล-คาร์นีทีนอยู่มากพอ ยกเว้นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยและดูดซึมอาหาร และผู้ที่รับประทานมังสวิรัติที่อาจพบว่ามีการขาดสารแอล-คาร์นีทีนได้ โดยที่จริงแล้วคนรักสุขภาพทั่วไปไม่มีความจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีการเติมสารคาร์นีทีนเพิ่ม ถ้ามีการกินอาหารที่เป็นแหล่งของแอลคาร์นีทีนเป็นประจำ ที่พบมากในเนื้อแดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืช ผักใบเขียว อะโวคาโด ถั่วรับประทานทั้งฝัก และผลิตภัณฑ์จากถั่วหมัก เด็กและสตรีมีครรภ์ก็ไม่ควรได้รับแอลคาร์เนทีนในรูปของผลิตภัณฑ์หรือเครื่องดื่มที่เสริมสารอาหาร เครื่องดื่มที่อ้างว่าดื่มเพื่อความขาวของผิวพรรณ แอลกลูตาไธโอน (L-glutathione) เป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่พบว่ามีการเติมเพิ่มในเครื่องดื่มที่กล่าวอ้างทางสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องความขาว รวมทั้งอ้างว่าแก้อาการเมาค้างด้วย ความจริงมีการศึกษาพบว่ากลูตาไธโอนช่วยเสริมการทำงานของวิตามินซี และอี ในการทำลายอนุมูลอิสระ และยังมีหน้าที่สำคัญ ในการช่วยขจัดสารพิษหรือขับของเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตับ โดยทำหน้าที่เปลี่ยนสารพิษกลุ่มที่ไม่ละลายน้ำ เช่น สารพิษในอาหารปิ้ง ย่าง รมควัน สารพิษจากเชื้อราต่างๆ หรือยาบางชนิดให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ เพื่อให้ร่างกายกำจัดออกได้ง่ายขึ้น และยังช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายโดยแอลกอฮอล์และบุหรี่ ในประเด็นหลังนี้ผู้ผลิตเครื่องดื่มนำมาเป็นจุดขายกับผู้ที่นิยมการดื่มแอลกอฮอล์ที่ยังห่วงใยสุขภาพ โดยปกติร่างกายคนเราผลิตสารกลูตาไธโอนได้เอง ยกเว้นคนที่เป็นโรคบางชนิด เช่น โรคตับ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้สูบบุหรี่จัด กลูตาไธโอนพบได้ทั่วไปในเนื้อสัตว์ ผลไม้และผัก โดยเฉพาะหน่อไม้ฝรั่ง อย่างไรก็ดีจากรายงานวิจัยของสถาบันโภชนาการพบว่า กลูตาไธโอนที่อยู่ในอาหารเสริมหรือเครื่องดื่มนั้นจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารได้ไม่ดีนัก และไม่ควรรับประทานเกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน การโฆษณาว่าเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกลูตาไธโอนแก้เมาค้างและบำรุงตับได้นั้น จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตลาดเครื่องดื่มสุขภาพในประเทศไทยที่พบเห็นทั่วไปมักจะกล่าวอ้างว่า “ดื่มแล้วสวย เก่ง ฉลาด มีผลดีต่อสมอง” เป็นหลัก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนหนุ่มสาวหรือวัยทำงานในเมืองที่มีวิถีชีวิตค่อนข้างรีบเร่ง อาจไม่มีเวลาในการดูแลตนเองมากนัก แต่รักสวยรักงาม อยากมีร่างกายที่ฟิต เก่ง และมักมีความสนใจในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ จากการสำรวจตลาดพบว่ามีผลิตภัณฑ์เคื่องดื่มประเภทนี้มากกว่า 30 ชนิดที่วางจำหน่ายอยู่ทั่วไป โดยมีราคาแตกต่างกันตั้งแต่ประมาณ 20-40 บาท เครื่องดื่มเหล่านี้มีผลดีต่อสุขภาพมากน้อยเพียงใดคงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย จากการพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องดื่มเหล่านี้ที่แสดงอยู่ที่ภาชนะบรรจุจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะประกอบด้วยส่วนผสมของน้ำผลไม้ และมักมีการเติมวิตามินแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี วิตามินซี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มหลายชนิดที่มีการเติมสารเฉพาะบางอย่างที่มีการกล่าวอ้างว่ามีผลดีต่อสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น คอลลาเจน โคเอนไซม์คิวเทน คาร์นีทีน กรดอะมิโนหรือเปปไทด์ เป็นต้น เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วเครื่องดื่มเหล่านี้ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อดื่มแล้วจะได้รับ”น้ำ”เข้าสู่ร่างกายเป็นหลัก ช่วยลดความกระหายและเพิ่มความชุ่มชื้นกับร่างกาย สำหรับสารเสริมต่างๆ นั้นอาจมีประโยชน์กับร่างกายบ้างแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งที่จริงแล้วคนเราทั่วไปไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องดื่มสารเสริมต่าง ๆ เหล่านั้น เพิ่มขึ้น เพราะสารต่างๆ เหล่านั้นมีอยู่มากพอในอาหารตามธรรมชาติ (ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้) ที่รับประทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้นจึงถือว่า การดื่มเครื่องดื่มเสริมสุขภาพเหล่านี้เป็นการดื่มน้ำที่มีราคาแพงที่ให้ผลต่อสุขภาพค่อนข้างน้อย แต่จากการโฆษณาอาจทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเหล่านี้มีผลดีต่อสุขภาพ ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ จนละเลยการปฏิบัติตนในเรื่องการบริโภคที่ดี ก็อาจจะไม่มีสุขภาพแข็งแรง ผิวสวย เก่ง หรือฉลาดอย่างที่ต้องการได้ โดยทั่วไปราคาของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเหล่านี้มีค่อนข้างแพง จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องซื้อหามาบริโภค โดยเฉพาะถ้ามีรายได้ไม่มากพอ แต่ถ้าคุณรวยล้นฟ้าจะซื้อหามาดื่มบ้างก็คงไม่ว่ากันถ้ายังยึดการปฏิบัติตนในเรื่องการบริโภคให้ดีอยู่ ท้ายที่สุดคงไม่มีอะไรที่จะดีกับสุขภาพของตนเองเท่ากับการให้เวลาใส่ใจในสุขภาพของตนเองอย่างแท้จริง รู้จักการกินอาหารตามธรรมชาติให้เหมาะกับความต้องการ มีการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เหมาะสม อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และทำใจให้เป็นสุข ไม่เครียดจนเกินไป ถ้าทำได้เช่นนี้แล้วอาหารเสริมสุขภาพชนิดใดก็สู้ไม่ได้แน่นอนค่ะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point