ฉบับที่ 123 รถมือสองถูกปรับแก้ไมล์หลอกขายผู้บริโภค

คุณณัฐสุดา ได้ติดต่อซื้อรถยนต์มือสองยี่ห้อโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ รุ่นปี 2006 ผ่านทางเว็บไซต์ตลาดรถดอทคอม ผู้ประกาศขายรถคือนายณรงค์ศักดิ์ ลงโฆษณาว่าเป็นรถบ้านเจ้าของขายเอง และแจ้งว่ารถใช้งานวิ่งได้ระยะทางเพียงแค่ 75,000 กิโลเมตร “เมื่อดิฉันได้ไปดูสภาพรถ ปรากฏเลขไมล์ที่ระยะทางประมาณ 76,000 กิโลเมตร ก็ได้ต่อรองราคาจากราคาโฆษณา 820,000 บาท เหลือราคา 815,000 บาท” หลังจากนั้นคุณณัฐสุดาได้ติดต่อขอสินเชื่อจากไฟแนนซ์แห่งหนึ่ง จนสามารถทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับไฟแนนซ์ได้สำเร็จในเดือนตุลาคม 2553 และมีการรับมอบโอนกันเรียบร้อยที่ขนส่งทางบก กรุงเทพฯ คุณณัฐสุดาจึงนำรถกลับบ้าน ต่อมาในเดือนมกราคม 2554 รถมีปัญหาเร่งไม่ขึ้นและสัญญาณเตือนถอยหลังไม่ทำงาน คุณณัฐสุดาจึงนำรถไปเข้าศูนย์โตโยต้าที่จังหวัดปทุมธานี ช่างได้ทำการตรวจเช็คและมาแจ้งคุณณัฐสุดาว่า รถถูกปรับแก้ไมล์จากระยะทางจริงคือ 240,000 กิโลเมตร/ไมล์ และรถต้องทำการเปลี่ยนซ่อมหลายอย่าง ความลับของรถยนต์ที่ถูกเปิดเผยทำให้คุณณัฐสุดา ต้องจ่ายค่าซ่อมไปร่วม 2 หมื่นกว่าบาท คุณณัฐสุดาได้โทรศัพท์ติดต่อไปที่นายณรงค์ศักดิ์ผู้ขายรถ แต่นายณรงค์ศักดิ์ปฏิเสธความรับผิดชอบ คุณณัฐสุดาจึงต้องร้องเรียนมาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในท้ายที่สุด แนวทางแก้ไขปัญหา มีหลักฐานค่าหนังคาเขา ว่ารถถูกปรับแก้ไมล์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงได้ให้คำแนะนำแก่คุณณัฐสุดาว่า สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีผู้บริโภคได้ คุณณัฐสุดาบอกว่าจะลองให้โอกาสแก่ผู้ขายอีกสักครั้งเพื่อให้แสดงความรับผิดชอบ หากไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ จะใช้สิทธิฟ้องร้องอย่างแน่นอน พอคุณณัฐสุดาบอกว่าจะฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคและฟ้องเป็นคดีอาญาด้วยที่หลอกขายสินค้าแน่ๆ หากไม่รับผิดชอบ ทางผู้ขายจึงเสนอที่จะชดใช้เงินให้จำนวน 1 แสนบาท คุณณัฐสุดาจึงตกลงและได้รับเงินชดใช้ในความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นที่เรียบร้อยเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี่เอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 สามีไปม็อบ - ไม่ยอมส่งค่างวดรถ

เหตุการณ์เรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลยังไม่สามารถขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผุ้ชุมนุมเสื้อแดงได้  เช้าวันหนึ่งของต้นเดือนพฤษภาคม 2553  คุณวรรณาโทรศัพท์เข้ามาที่มูลนิธิฯ ด้วยเสียงกระหืดกระหอบปนแค้นๆ เธอบอกว่า ตนเองทำสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าให้กับสามีที่มีอาชีพขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง โดยให้พี่สาวเป็นคนค้ำประกัน ส่วนสามีของเธอเป็นผู้ส่งค่างวด ที่ผ่านมาสามีก็ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างและรับส่งเธอซึ่งทำงานเป็นลูกจ้างร้านค้า มีเงินไปชำระค่างวดอย่างต่อเนื่องไม่เคยขาดต่อมาประมาณต้นปี 2553 มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง สามีก็ไปเข้าร่วมม็อบด้วยโดยอ้างว่าอยากเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ช่วงที่มีม็อบแถวสนามหลวงก็ไปๆ มาๆ  แต่ก็กลับเอาเงินมาให้ที่บ้านทุกวัน จนกระทั่งเสื้อแดงย้ายมาที่ราชประสงค์สามีเริ่มไม่กลับบ้าน อ้างว่าเป็นการ์ดต้องอยู่ช่วยคนเสื้อแดง จนเดือนมีนาคมสามีเธอไม่กลับบ้านเลย ติดต่อไปก็อ้างโน่นอ้างนี่ จนกระทั่งต้นเดือนพฤษภาคม เธอได้รับเอกสารติดตามทวงหนี้ค่างวดรถที่ค้างชำระจำนวน 2 งวดจากไฟแนนซ์ทำให้ทราบว่า สามีไม่ได้ส่งค่างวดรถมาตั้งแต่เดือนมีนาคมด้วยความร้อนใจจึงโทรมือถือไปหาสามี ปรากฏว่าติดต่อไม่ได้  จึงได้ไปดักรอเพื่อนของสามีที่ไปม็อบเสื้อแดงด้วยกันแล้วกลับมาแถวบ้าน  เพื่อนสามีบอกว่า สามีของเธอไปติดผู้หญิงในม็อบเสื้อแดงด้วยกัน  คงไม่กลับบ้านแล้วคุณวรรณาโกรธมากที่สามีนำรถไปใช้กลับไม่รับผิดชอบอะไร ซ้ำยังไปมีผู้หญิงใหม่อีก แต่ก็กัดฟันบอกกับเพื่อนสามีให้ไปบอกกับสามีในม็อบว่า ไฟแนนซ์ทวงค่างวดรถมาให้เอาเงินไปจ่ายด้วย เพื่อนของสามีแจ้งว่าคงไม่เข้าไปแล้ว เพราะสถานการณ์กดดันและกลับบ้านยากมากกว่าจะออกจากม็อบได้  เธอจึงสอบถามถึงการปัญหาติดต่อทางโทรศัพท์ เพื่อนสามีบอกว่า ไม่สามารถติดต่อได้หรอก เพราะคนที่พาเข้าไปเค้าไม่ให้เปิดมือถือ คุณวรรณาเล่าด้วยความแค้นใจที่สามีทรยศ และรู้สึกทุกข์ใจที่ทำให้พี่สาวต้องเดือดร้อน นอกจากนี้ก็ยังกังวลว่าสามีอยู่ในม็อบเสื้อแดงถ้านำรถไปใช้ในทางไม่ดีผู้ร้องจะติดร่างแหไปด้วยหรือเปล่า จึงต้องการรถคืน  และยินดีผ่อนค่างวดรถเอง  แต่ไม่รู้จะทำยังไงต่อไปดีแนวทางการแก้ไขปัญหาเราได้ให้ข้อแนะนำกับคุณวรรณาว่า หากกังวลเรื่องจะมีการนำรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ก็ให้ไปแจ้งความไว้กับตำรวจเพื่อขอให้ทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่ารถมอเตอร์ไซค์คันนี้ถูกสามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสนำไปใช้โดยที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม ในระหว่างที่ยังลูกผีลูกคนยังไม่รู้ว่ามอเตอร์ไซค์จะพาสามีกลับมาบ้านได้หรือไม่ ก็ต้องผ่อนส่งค่างวดอย่าให้ติดค้างเป็นดีที่สุด เพราะเมื่อสถานการณ์คลี่คลายสามารถติดตามรถมาจากสามีได้ก็ได้ใช้ต่อไป ส่วนตัวสามีนั้นจะใช้งานในฐานะสามีต่อไปหรือไม่ก็ขอให้คุณวรรณาได้พิจารณาเอาเองก็แล้วกัน เรื่องนี้ไม่ขอเกี่ยวครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 111 เมียเก่าอยากปลดกระดูก

การทำสัญญาค้ำประกันให้กับคนอื่น ตรงกับคำโบราณที่ว่า “เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง มีแต่เอากระดูกมาแขวนคอ” แม้ว่าคนที่เราค้ำประกันให้นั้นจะเป็นสามีหรือภรรยากันก็ตามคุณวรินบอกว่าได้ไปค้ำประกันรถยนต์ให้กับสามี โดยสามีไปทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มาจากบริษัทไฟแนนซ์แห่งหนึ่ง แต่บุญวาสนาของสามีภรรยาคู่นี้นั้นแสนสั้นนัก หลังเช่าซื้อรถคันนี้ไม่ถึงปีคุณวรินได้หย่าขาดแยกทางจากสามี เหตุเพราะฝ่ายชายไปมีภรรยาใหม่“ตอนนี้สามีดิฉันยังส่งรถคันนี้อยู่ตลอดค่ะ แต่ที่กังวลก็คือเขาจะส่งไปได้ตลอดหรือเปล่าไม่รู้ เพราะยังเหลือค่างวดอีกตั้ง 5 ปีกว่าจะครบ”คุณวรินเธอปรึกษาว่า ตอนนี้ไม่อยากจะเป็นคนค้ำประกันรถยนต์ให้อดีตสามีอีกต่อไป เพราะไม่ได้มีความผูกพันกันเหมือนแต่ก่อน จะมีวิธีไหนบ้างที่จะยกเลิกการค้ำประกันรถยนต์ของอดีตสามีได้แนวทางแก้ไขปัญหาสัญญาค้ำประกัน คือการที่ไปทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทน ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดแทนได้ สัญญาค้ำประกัน ถ้าผู้ค้ำประกันไม่ต้องการรับผิดอะไร หรือต้องการจำกัดขอบเขตความรับผิดไว้เพียงใด ต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจน เมื่อจำกัดความรับผิดไว้แล้วก็รับผิดเท่าที่จำกัดไว้ แต่สัญญาค้ำประกันส่วนใหญ่เป็นสัญญาสำเร็จรูป ซึ่งจะให้ผู้ค้ำประกันรับผิดเสมือนลูกหนี้ร่วมเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาต่อเจ้าหนี้ ไม่ชำระเงินหรือค่าเสียหายมากน้อยเพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดจนสิ้นเชิงเช่นเดียวกับลูกหนี้ทุกอย่าง ไม่มีสิทธิเกี่ยงการยกเลิกหรือสิ้นสุดสัญญาค้ำประกันนั้นกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิในการให้ผู้ค้ำประกันบอกเลิกสัญญาเองได้ทันที ยกเว้นกรณีที่ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตาย หรือศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หากจะถอนค้ำประกันหรือเปลี่ยนตัวผู้ค้ำประกันคงต้องคุยกับอดีตสามีในฐานะลูกหนี้โดยตรงว่าจะขอเปลี่ยนคนค้ำประกันใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นภรรยาใหม่ก็ได้ เมื่อตกลงกันได้แล้วถึงจะพากันไปเจรจาตกลงกับไฟแนนซ์หรือเจ้าหนี้ว่าจะยินยอมตกลงด้วยหรือไม่ ซึ่งบริษัทไฟแนนซ์อาจมีสองทางเลือกคือยินยอมที่จะเปลี่ยนสัญญาให้ หรือที่พบโดยมากคือให้บุคคลที่เพิ่มเข้ามาทำสัญญาค้ำประกันพ่วงต่อท้ายไปอีกคนหนึ่งเลย ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ช่วยกันกดดัน ควบคุมลูกหนี้ให้ชำระหนี้ต่อไปตามสัญญานั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 รถไฟไหม้หลังเข้าศูนย์ซ่อม

คุณรัชตะ (นามสมมติ)ใช้รถยนต์ฮอนด้า แอคคอร์ด (V6) รุ่นปี 2003 มาได้ประมาณ 3 ปี 3 เดือน วิ่งประมาณ 113,XXX กิโลเมตรต่อมาในราว ๆ กลางเดือนกันยายน 2552 บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีจดหมายถึงคุณรัชตะรวมทั้งผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ฮอนด้า แอคคอร์ด (V6) รุ่นปี 2003 ถึง 2007 ว่าให้นำรถยนต์ฮอนด้ารุ่นดังกล่าวเข้ารับการเปลี่ยนท่อน้ำมันของระบบบังคับเลี้ยว เนื่องจากพบว่า ท่อน้ำมันระบบบังคับเลี้ยวเกิดเสื่อมสภาพ หลังจากผ่านการใช้งาน ส่งผลให้ระบบบังคับเลี้ยวทำงานผิดปกติและต้องใช้แรงในการหมุนเพิ่มขึ้นขณะหมุนพวงมาลัย โดยบริษัทฯ จะดำเนินการเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพ(เพิ่มเติม) โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่ประการใดในวันพุธที่ 23 กันยายน 2552 คุณรัชตะได้นำรถเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการฮอนด้าเอกอินทราฮอนด้า ออโตโมบิล เพื่อเปลี่ยนชุดลิ้นปีกผีเสื้อและเปลี่ยนท่อน้ำมันของระบบบังคับเลี้ยวตามที่บริษัทฮอนด้าแจ้ง และได้ไปรับรถออกมาในวันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2552 คุณรัชตะได้เล่าถึงเหตุการณ์ระทึกขวัญในวันที่ไปรับรถที่เกือบเป็นวันมรณะของตนเองว่าผมรับรถออกมาเมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. และขับขึ้นทางด่วนโยธินพัฒนา วิ่งแค่พักเดียว (ถึงประมาณแถวพระราม 9) ก็เกิดอาการพวงมาลัยหนัก/แข็ง (อาการแบบพวงมาลัยหมุนแทบไม่ไปจากระบบพาวเวอร์ไม่ทำงาน) จึงได้นำรถลงบริเวณคลองตันเพื่อวกขึ้นทางด่วนกลับไปศูนย์ฯ(เอกอินทราฮอนด้า ออโตโมบิล) หลังจากผ่านด่านเก็บเงินเพื่อขึ้นกลับไปศูนย์ดังกล่าวซักระยะ การจราจรเริ่มชะลอตัว เริ่มได้กลิ่นเหม็นไหม้ กลิ่นเหมือนการไหม้ของน้ำมันเครื่องโดนความร้อน ซึ่งในกรณีนี้น่าจะเป็นน้ำมันพาวเวอร์ที่รั่วฉีดไปทั่วห้องเครื่อง และเริ่มเห็นควันขาวซึ่งน่าจะเป็นควันจากน้ำมันพาวเวอร์โดนความร้อน ผมจึงได้โทรเข้าศูนย์ เพื่อสอบถามว่าจะทำอย่างไรดีศูนย์แนะนำให้จอดและให้รถลากของทางด่วนลากไปส่ง ผมจึงได้ขับตัดเข้าข้างทาง (บริเวณดังกล่าวเป็นทางบรรจบบนทางด่วน ช่วงพระราม 9) และจอดบริเวณตู้โทรศัพท์ ซึ่งระหว่างนั้นยังไม่ได้ลงจากรถเนื่องจากมีฝนพรำๆ ซึ่งตอนนั้นยังคุยอยู่กับศูนย์ฯ เพื่อขอเบอร์ทางด่วน และได้เบอร์ 1543 ของทางด่วนเพื่อโทรขอความช่วยเหลือระหว่างนั้นกลุ่มควันขาวเริ่มมากขึ้น เนื่องจากตอนนี้รถจอดนิ่งสนิทแล้ว ไม่มีลมพาควันออกไป และจึงเริ่มสังเกตเห็นเปลวเพลิงลุกขึ้นมาบริเวณระหว่างฝากระโปรงและกระจกบังลมหน้า (บริเวณช่องที่ปัดน้ำฝน) จึงได้ออกจากรถ โดยหลังจากนั้นเพลิงได้โหมไหม้จนไม่สามารถควบคุมได้ (เจ้าหน้าที่กู้ภัยทางด่วนใช้ถังดับเพลิงมือถือ หมดไป 4 ถัง) ซึ่งต้องรอรถน้ำของหน่วยกู้ภัยเพื่อเข้าระงับเหตุจึงสามารถควบคุมเพลิงได้ หลังเกิดเหตุ ซึ่งรถเสียหายบริเวณห้องเครื่องทั้งหมดและลามบริเวณส่วนหน้าของคนขับจากการถูกเพลิงไหม้ เจ้าหน้าที่การทางได้ให้เข้าลงบันทึกประจำวันที่ สน.ทางด่วน 1 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเสียหายของการทาง ประกอบด้วยค่าใช้จ่าย เติมสารดับเพลิง 4 ถัง, ค่ารถน้ำ 1 คัน, พื้นทางเสียหาย (เข้าใจว่าประกันเป็นผู้สำรองจ่าย) ภายหลังจากลงบันทึกประจำวันที่ สน. ทางด่วนแล้ว รถถูกลากไปรอที่ศูนย์เอกอินทราเพื่อรอการตรวจพิสูจน์ โดยได้นัดทำการตรวจสอบในวันจันทร์ ที่ 28 กันยายน 2552ทั้งนี้ผมโดยส่วนตัวมั่นใจว่าเป็นความผิดพลาดจากการเปลี่ยนท่อน้ำมันระบบบังคับเลี้ยว (ท่อ Hi Power) โดยเป็นข้อผิดพลาดจากการเปลี่ยน/ประกอบ หรือ ตัวอะไหล่ โดยมีข้อสังเกตจากการที่ศูนย์ขอเลื่อนการรับรถผม 1 วัน โดยแจ้งว่าเปลี่ยนท่อ Hi Power แล้วพวงมาลัยมันหนัก (ผมก็ไม่ได้ถามว่าที่บอกว่าหนักนี่คือหนักขึ้น หรือหนักขนาดไหน) โดยศูนย์แจ้งว่าขอไล่ลมและตรวจสอบทั้งระบบ นอกจากนี้ ก่อนที่จะเกิดเหตุเพลิงไหม้ อาการก็คือพวงมาลัยหนัก/แข็ง จากระบบพาวเวอร์นี้เองโดยในปัจจุบัน (3 ตุลาคม 2552) บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับทราบเรื่องแล้ว รวมทั้งได้ส่งพนักงานเพื่อเข้ามาตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว (ตั้งแต่วันอังคารที่ 29 กันยายน 2552) แต่ไม่พบการสรุปสาเหตุของปัญหา หรือแนวทางการชดเชยค่าเสียหายแต่อย่างใด และมีข้อสังเกตว่า ศูนย์บริการ เอกอินทราฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด / บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์เท่าที่ควร และไม่ได้ดำเนินการเพื่อเร่งการสรุปสาเหตุ หรือพิจารณาการชดเชยแต่อย่างใด เนื่องจากตั้งแต่เกิดเรื่อง ผมจะต้องเป็นคนติดตามเกือบทั้งหมด ตั้งแต่นัดประกันเข้าตรวจสอบ, การแจ้งเรื่องให้ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะเจ้าของผลิตภัณฑ์เข้ามาร่วมตรวจสอบ, การเรียกร้องให้ได้มาซึ่งการชดเชยเบื้องต้น (ได้ขอรถชั่วคราวเพื่อสำรองใช้ 1 คัน) , และจากการติดตามจากเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้ดูแลปัญหานี้ (ติดตามวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2552 และ ศุกร์ 2 กันยายน 2552) ก็ได้ความว่ายังไม่มีความคืบหน้าทั้งที่เป็นกรณีที่มีความรุนแรง รวมทั้งมีผู้ใช้รถรุ่นเดียวกันที่ถูกเรียกให้เข้าไปดำเนินการเปลี่ยนท่อดังกล่าวจำนวนมากสิ่งที่คุณรัชตะต้องการขอความช่วยเหลือคือต้องการให้เร่งการสรุป การชดเชยค่าเสียหาย รวมทั้งเป็นแกนหลักในการแนะนำถึงความสมเหตุสมผลของการชดเชยที่พึงจะได้รับ ทั้งการชดเชยต่อทรัพย์สิน การชดเชยต่อความไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการชดเชยอื่นๆ ที่พึงจะประเมินได้ตามสมควรแนวทางแก้ไขปัญหาคุณรัชตะร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552 หลังจากที่รถไฟไหม้ได้ 1 อาทิตย์และพยายามตามเรื่องด้วยตนเอง จนในที่สุดได้มีหนังสือแจ้งจากคุณรัชตะว่าศูนย์บริการฮอนด้า (เอกอินทราฮอนด้า) ได้แสดงความรับผิดชอบในเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว คือ หนึ่ง ได้มีการจัดหารถยนต์สำรองใช้ระหว่างดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2552 สอง ศูนย์บริการฮอนด้าฯ แห่งนี้ได้ทำการชดเชยค่าเสียหายทั้งในส่วนของทรัพย์สินและค่าเสียหายอื่น ๆ ตามที่คุณรัชตะได้รียกร้อง โดยที่คุณรัชตะพึงพอใจต่อการดำเนินการดังกล่าวของศูนย์ฯ และไม่ติดใจเอาความหรือเรียกร้องอื่น ๆ เพิ่มเติมแต่อย่างใดสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ฮอนด้า แอคคอร์ด (V6) รุ่นปี 2003 ถึง 2007 และได้รับแจ้งให้ไปเปลี่ยนท่อน้ำมันของระบบบังคับเลี้ยว(เพิ่มเติม) หากสงสัยว่าอาจมีปัญหาเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนอะไหล่ ไม่ควรปล่อยให้ชักช้าเนิ่นนานไป รีบติดต่อศูนย์บริการโดยทันทีเป็นดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 104 “รถเปลี่ยนเป็นเงิน” อันตรายติดเสาไฟฟ้า

“หนูจ๋า ช่วยป้าด้วยจ้ะ...!”“มีอะไรหรือคะป้า” เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถาม“คืออย่างนี้...”ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็ได้รับฟังความทุกข์จากป้าอารีย์ที่หลั่งไหลออกมาอย่างไม่ขาดสาย“สามีป้ามีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยออดๆ แอดๆ ป้าต้องทำงานหาเงินคนเดียว ทำทุกอย่างทั้งเย็บมุ้งขาย ทั้งทำสวนอยู่ต่างจังหวัด ยังไม่พอนะหนู แม่สามีของป้าแกก็มาป่วยเข้าอีกคน ป้าแทบหมดหนทางไม่รู้จะหาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายจุนเจือครอบครัว”ที่เล่ามาเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ปัญหาจริง ๆ ของป้าอารีย์เกิดขึ้นเมื่อ...“ป้าต้องใช้เงินมากไม่รู้จะไปกู้ที่ไหน เห็นเบอร์ตามเสาไฟฟ้าที่บอกว่า ให้นำรถไปเปลี่ยนเป็นเงินได้ พอดีสามีป้ามีรถกระบะอยู่คันหนึ่ง ก็ตัดสินใจวินาทีนั้นล่ะ กะจะเอารถไปจำนำเปลี่ยนเป็นเงินมาใช้กันก่อน มีเงินเมื่อไหร่ค่อยไปไถ่ถอนคืนทีหลัง”ป้าอารีย์จึงโทรไปขอความช่วยเหลือตามเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้ในป้ายข้างเสาไฟฟ้าทันที“ตอนนั้นประมาณเดือนกรกฎาคม ปี 2548 เขาบอกคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน ใช้สมุดรถยนต์ค้ำประกัน ก็นัดหมายทำสัญญากันเลย” “ไปทำสัญญากันที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งแถวถนนเพชรเกษม ช่วงบางแค วันนั้นเห็นมีพนักงานแค่ 2 คน ก็เอารถเราไปให้เขาดูด้วย เขาตีราคาบอกว่าได้แค่ 70,000 บาท และให้วางสมุดทะเบียนรถไว้กับเขาแต่รถเอาไปใช้ได้ป้าก็ลังเลอยู่แต่สามีป้า ซึ่งเป็นเจ้าของรถตกลงเซ็นสัญญาทันที ก็ไม่ได้อ่านเอกสารหรอกเพราะตัวเล็กมาก แล้วพนักงานก็ให้ป้าเซ็นกำกับในสัญญานี้ด้วย โดยบอกว่าป้าเป็นเจ้าบ้านต้องเซ็นอนุญาตให้รถที่จำนำทะเบียนนั้นจอดได้ ป้าก็งง ๆ อยู่แต่ก็เซ็นไป”“เมื่อทำสัญญาเสร็จป้ากับสามีได้รับเงินแค่ 64,000 บาท เพราะพนักงานแจ้งว่ามีค่าใช้จ่าย 6,000 บาท หลังจากนั้นเขาก็ให้ป้ากับสามีเดินทางไปโอนทะเบียนรถให้เขา โดยให้พนักงานอีกคนขับรถของสามีป้าตามไปที่ขนส่งเขาเอารถไปทำเรื่องอยู่นานมาก แล้วเมื่อทำเรื่องโอนรถเสร็จป้ายังต้องเสียค่าโอนอีก 1,050 บาท”สรุปว่าวันนั้น ป้าอารีย์กับสามีได้รับเงินเพียงแค่ 62,950 บาท เท่านั้น จากการจำนำรถ 70,000 บาทและไม่ได้รับเอกสารใดๆ กลับบ้านเลยหลังจากนั้นไม่นานป้าอารีย์ได้รับเอกสารสัญญาส่งมาทางไปรษณีย์ เมื่อแกะเปิดดูแบบเต็มๆ ถึงได้รู้ว่าสัญญาที่ได้ทำไปนั้นแทนที่จะเป็นสัญญาจำนำรถกลับเป็นสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของตัวเอง โดยมีหนี้เช่าซื้อรถจำนวน 137,700 บาท ผ่อนงวดละ 3,825 บาท ระยะเวลาผ่อน 36 งวด ได้รับเอกสารสัญญาแล้วป้าอารีย์ก็น้ำตาตกใน แต่ไม่ได้ทักท้วงอะไรตั้งหน้าตั้งตาผ่อนรถของตัวเองไปโดยไม่ปริปาก มีบางงวดที่ขาดส่งหรือล่าช้าไปบ้างจึงถูกเรียกเบี้ยปรับและค่าติดตามทวงถามเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ก็กัดฟันสู้ จนเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2551 คราวนี้ป้าอารีย์และสามีไม่มีเงินกันจริงๆ จึงไม่ได้ชำระเงินค่างวดอีก“พอถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2551 มีคนของไฟแนนซ์มาทวงหนี้ถึงที่บ้านแจ้งว่าให้ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อทั้งหมด 50,000 กว่าบาทไม่เช่นนั้นจะยึดรถทันที แต่อีกไม่กี่วันป้าได้โทรไปถามยอดหนี้ให้แน่ใจอีกครั้งกลับได้รับแจ้งว่ามีหนี้เช่าซื้อถึง 70,000 กว่าบาทและถ้าจ่ายไม่ได้จะถูกยึดรถ”“ป้ากับสามีไม่รู้จะทำอย่างไรจากที่ไปขอกู้เงินเขาแค่ 70,000 บาท จ่ายคืนหนี้มาตั้ง 2-3 ปีก็ยังไม่หมด ตอนนี้เอารถยนต์ไปหลบที่ต่างจังหวัดอยู่ อยากให้มูลนิธิฯ ช่วยเหลือป้าด้วย”แนวทางแก้ไขปัญหาน่าเห็นใจครับกับปัญหาเศรษฐกิจระดับครัวเรือนที่ไม่มีทางออก เมื่อไม่มีแหล่งเงินกู้ในที่สว่างก็ต้องไปหาเก็บเอาตามเสาไฟฟ้ากันอย่างนี้ล่ะครับชีวิตคนไทยเมื่อเสียรู้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถของตัวเองไปแล้วก็คงต้องเดินหน้าต่อไปล่ะครับ เมื่อดูใบเสร็จรับเงินที่ป้าอารีย์จ่ายค่างวดไปแล้วพบว่าค้างเหลืออยู่อีกแค่ 7 งวด เป็นเงิน 26,775 บาท เพื่อไม่ให้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อจึงแนะนำให้ป้าอารีย์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ให้ครบ โดยใช้วิธีโอนเงินเข้าบัญชีไฟแนนซ์ไป ไม่ต้องสนใจว่าใบเสร็จที่ได้รับจะถูกหักเป็นเบี้ยปรับล่าช้าหรือไม่ เพราะธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ถือเป็นธุรกิจที่ถูกคณะกรรมกาคุ้มครองผู้บริโภคเขาควบคุมสัญญาไว้ แม้จะให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิคิดเบี้ยปรับ เบี้ยล่าช้า ได้แต่สัญญาควบคุมก็ห้ามคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลูกค้าชั้นดีรายย่อยของธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) บวกสิบ(MRR. + 10) อย่างที่หลาย ๆ ไฟแนนซ์ชอบเขียนกันไว้ในสัญญา หรือค่าทวงถามก็ให้คิดได้แต่ต้องอยู่ในอัตราที่เหมาะสมสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามนั้นจริง ที่สำคัญสัญญาควบคุมเขาถือว่าเมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่างวดและค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ปรากฏในสัญญาและไม่ขัดต่อสัญญาควบคุมของ สคบ.แล้วถือว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นตกเป็นของผู้เช่าซื้อโดยทันที และผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องดำเนินการโอนทะเบียนรถให้ผู้เช่าซื้อโดยทันทีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวกับการโอนทะเบียนจากผู้เช่าซื้อครบถ้วนดังนั้นเมื่อป้าอารีย์ได้ชำระค่างวดรถไปครบถ้วนหลังจากนั้นมูลนิธิฯ จึงได้ช่วยทำหนังสือแจ้งไฟแนนซ์ให้ทำการโอนเปลี่ยนชื่อในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ ตอนแรกไฟแนนซ์ก็ทำทีอิดเอื้อนจะขอเรียกเก็บเบี้ยปรับอยู่แต่ด้วยไม่มีข้อต่อสู้ทางกฎหมายเนื่องจากสัญญาที่ทำขึ้นได้กำหนดค่าเบี้ยปรับที่ขัดต่อสัญญาควบคุมท้ายที่สุดจึงต้องทำการโอนเปลี่ยนชื่อรถโดยไม่มีเงื่อนไขครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 เขาหาว่าผมค้างค่างวดรถ

คุณเดชาเดินทางมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ด้วยสีหน้าบอกบุญไม่รับ พร้อมกับยื่นกระดาษแผ่นหนึ่งให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์พิทักษ์สิทธิมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “พี่ช่วยผมด้วยครับ” เจ้าหน้าที่รับกระดาษมาอ่านในรายละเอียด เห็นหัวกระดาษเป็นชื่อและที่อยู่ของบริษัทกรุงไทย ออโต้ลีส จำกัด เนื้อหาแจ้งว่า คุณเดชาได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่น M’TX ตอนเดียว จำนวน 1 คัน จากบริษัท กรุงไทย ออโต้ลีส จำกัด ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2547 หรือเมื่อ 5 ปีที่แล้ว หนังสือแจ้งว่าคุณเดชาไม่เคยชำระค่าเช่าซื้อเลยสักงวด จึงมีหนังสือฉบับนี้มาถึงคุณเดชาเพื่อให้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา หนี้ที่คุณเดชาจะต้องจ่ายคือค่างวดเช่าซื้อ 48 งวดเป็นเงิน 254,976 บาท ค่าเบี้ยปรับโดยคิดจากยอด ณ วันที่ออกหนังสือ เป็นเงิน 401,954 บาท และค่าผิดสัญญาค่าติดตามอีก 10,000 บาทรวมเป็นเงิน 666,930 บาท เมื่อเจ้าหน้าที่อ่านรายละเอียดในกระดาษเสร็จจึงเงยหน้าขึ้น “จะให้เราช่วยยังไงครับ ไม่ใช่จะให้เราช่วยชำระหนี้แทนนะครับ” เจ้าหน้าที่เอ่ยถามด้วยอาการเสียวๆ เพราะมีคนเป็นหนี้หลายรายคิดว่ามูลนิธิฯเป็นแหล่งปล่อยเงินกู้ “ไม่ใช่อย่างงั้นครับพี่ คือไอ้สัญญาฉบับที่ไฟแนนซ์เขาอ้างมาในจดหมายทวงหนี้น่ะ ผมไม่เคยเห็นมันมาก่อนเลยครับ ไม่รู้เคยไปเซ็นอะไรไว้ตรงไหน คนค้ำประกันผมก็ไม่รู้จักตอนนี้ผมอายุ 27 ปี ถ้าผมไปทำสัญญาจริงๆ ตอนนั้นผมก็อายุแค่ 22 ปียังเดินเตะฝุ่นหางานทำอยู่เลยครับ ไฟแนนซ์หน้าไหนจะปล่อยเงินให้ผมไปซื้อรถ อยู่ดีๆ ก็มีจดหมายทวงหนี้โผล่มาที่บ้าน...แม่ผมแทบช็อกตาย หนี้ตั้ง 5 แสน 6 แสน บ้านผมทำนาคงไม่มีปัญญาจะหาเงินไปใช้หนี้เขาได้หรอกครับ ช่วยผมที” “เอ้า...ช่วยก็ช่วย” เจ้าหน้าที่รับปาก  แนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องของการเช่าซื้อรถยนต์นั้น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ประกาศให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ.2543 โดยมีสัญญาข้อหนึ่งที่ให้สิทธิผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้หากมีการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรายงวด 3 งวดติดๆ กัน...แต่กรณีนี้บริษัทปล่อยให้หนี้ค้างอยู่ได้ตั้ง 48 งวด แถมไม่เคยมีการติดตามทวงถามกันมาก่อนเลย เมื่อสอบถามกับคุณเดชาว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมาเคยได้รับใบแจ้งหนี้ ใบทวงหนี้มาก่อนหรือเปล่า ได้รับคำตอบว่ามีโทรศัพท์มาทวงหนี้อยู่ครั้งเดียว ก่อนที่จะได้รับจดหมายทวงหนี้ฉบับดังกล่าวเท่านั้น แปลกไหมล่ะครับ ถ้าผู้บริโภคท่านใดเจอหนี้แปลกพิสดารแบบนี้ สิ่งที่ควรทำโดยทันทีคือการทำจดหมายทักท้วงปฏิเสธหนี้ดังกล่าวโดยทันทีส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและเก็บใบตอบรับไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งหากบริษัทไฟแนนซ์ยืนยันที่จะเรียกเก็บหนี้ต่อไปก็ต้องมั่นใจในเอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญาว่า เป็นเอกสารที่ได้มาโดยชอบ และดำเนินการฟ้องต่อศาลต่อไป แต่หากเป็นการ “ลักไก่” เรียกเก็บหนี้กับคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เมื่อเรารู้ทัน เขาก็ต้องยุติการติดตามทวงหนี้ไปโดยปริยาย กรณีของคุณเดชา มูลนิธิฯ ได้ทำหนังสือทักท้วงแจ้งปฏิเสธการชำระหนี้ดังกล่าวส่งไปถึงบริษัทฯ ซึ่งขณะนี้สัญญาณตอบรับจากบริษัทยังคงเงียบฉี่ ติดต่อไม่ได้ในขณะนี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 ที่นั่งสำหรับเด็กในรถยนต์

ฉบับนี้เรามีผลทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารตัวน้อยมาฝากสมาชิกที่กำลังมองหาที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (หรือที่เรียกกันติดปากว่าคาร์ซีท) มาติดรถไว้ยามที่มีเด็กเล็กร่วมเดินทางไปด้วย  เราใช้ผลทดสอบที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ได้ทำไว้กับคาร์ซีทรุ่นที่วางตลาดในยุโรปในปีที่ผ่านมา สนนราคาค่าทดสอบก็ไม่มากเลย แค่ตัวอย่างละประมาณ 8,000 ยูโร (240,000 บาท) เท่านั้น การทดสอบครั้งนี้มีคะแนนให้ ด้านความปลอดภัย (การป้องกันอันตรายจากการชนด้านหน้า ด้านข้าง รวมถึงความแข็งแรงในการยึดกับเบาะรถ) ตามด้วยความสะดวกในการติดตั้ง/การใช้/การปรับให้พอดี/การทำความสะอาด การออกแบบที่ถูกหลักทางการยศาสตร์ (ergonomics) ที่เกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอย ลักษณะการนั่ง และความนุ่มสบาย นอกจากนี้ยังดูเรื่องของการใช้สารเคมีอันตรายที่ถูกห้ามใช้ในยุโรปด้วย ที่นั่งนิรภัยเหล่านี้ดีจริงสมราคาหรือคำร่ำลือในสังคมออนไลน์หรือไม่ ติดตามได้ในหน้าถัดไป•    หมายเหตุ ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่ค้นจากอินเตอร์เน็ทในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 กรุณาตรวจสอบราคา นอกจากนี้อย่าลืมสอบถามผู้ขายเพื่อความแน่ใจว่าที่นั่งนิรภัยรุ่นดังกล่าวสามารถใช้ได้กับรถยนต์ที่ท่านต้องการติดตั้งหรือไม่   ECE R44/04ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา พาหนะทุกคันในยุโรปต้องมีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย และมีการใช้ที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็ก นอกจากนี้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการใช้ที่นั่งเสริมในรถสำหรับเด็กจนกว่าเด็กจะมีความสูงถึง 135 หรือ 150 ซม.ด้วยทั้งนี้ที่นั่งสำหรับเด็กจะต้องมีฉลากแสดงตรารับรอง ECE R44/04 เมื่อผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นใน พ.ศ. 2525 ที่นั่งสำหรับเด็ก สามารถแบ่งกลุ่มตามน้ำหนักตัวของเด็ก ดังนี้Group O    ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม (หรืออายุต่ำกว่า 9 เดือน)Group O+    ต่ำกว่า 13 กิโลกรัม (หรืออายุต่ำกว่า 15 เดือน)Group I        9 - 18 กิโลกรัม (ประมาณ 8 เดือน – 3 ปีครึ่ง)Group II    15 - 25 กิโลกรัม (ประมาณ 3 – 7 ปี)Group III      22 - 36 กิโลกรัม (ประมาณ 6 – 12 ปี)i-Size คืออะไร?i-Size คือมาตรฐานใหม่ของยุโรปสำหรับที่นั่งในรถสำหรับเด็ก ปัจจุบันรถยนต์ที่ได้รับการประเมิน 5 ดาวจาก Euro NCAP ทุกคันจะต้องสามารถใช้กับที่นั่งเด็กตามมาตรฐาน i-Size ได้   มาตรฐานนี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็ก เพื่อใช้ควบคู่ไปกับ R44/04 ตัวเดิม สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือการรองรับศีรษะและคอของเด็ก การป้องกันที่ดีขึ้นทั้งจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง ที่จะทำให้เด็กยังคงอยู่ในที่นั่งแม้รถจะพลิกคว่ำการจัดกลุ่มจะแบ่งตามความสูงของเด็ก (ไม่ใช่น้ำหนัก) ที่นั่งมาตรฐาน i-Size จะใช้ได้กับรถยนต์ที่มีหัว IsoFix เพื่อรองรับการติดตั้ง (รถส่วนใหญ่ที่ผลิตหลัง พ.ศ. 2550 จะมีอุปกรณ์ดังกล่าว)                                    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 TYRES CSR ความรับผิดชอบของผู้ผลิตยางรถยนต์

  คราวนี้องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing เขาได้ทำการสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรดาผู้ผลิตยางรถยนต์แบรนด์ต่างๆ ที่เรารู้จักกันดี ทั้งจากเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ฟินแลนด์ อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี   สมาชิกฉลาดซื้อคุ้นเคยกันดีแล้วกับการแสดง “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ในรูปแบบที่เป็นการรับผิดชอบตั้งแต่กระบวนการสรรหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจ้างงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงความโปร่งใสในทุกกระบวนการ  เรามาดูกันเลยว่ายางรถยนต์แบรนด์ไหน ให้ความสนใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน   เกณฑ์การให้คะแนน นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 40 นโยบายสิ่งแวดล้อม /  มาตรฐานการจัดซื้อ / โปรแกรมและเครื่องมือในการเฝ้าระวัง   นโยบายด้านสังคมร้อยละ 30 นโยบายแรงงาน / มาตรฐานการจัดซื้อ / โปรแกรมและเครื่องมือในการเฝ้าระวัง   การจัดซื้อยางดิบ ร้อยละ 20 เงื่อนไขในการจัดหายางดิบ / เงื่อนไขในการแปรรูปยางดิบ / แนวปฏิบัติต่อชุมชนและต่อการคอรัปชั่น   ความโปร่งใส ร้อยละ 10 การมีส่วนร่วมในการตอบแบบสอบถาม / การอนุญาตให้เข้าชมโรงงาน / การรายงานต่อสาธารณะ   วิธีการสำรวจ ค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสาร เช่น ข่าว รายงานประจำปี รายงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ถือหุ้น เป็นต้น ใช้แบบสำรวจ (ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม 2555) ด้วยคำถามใน 5 หัวข้อต่อไปนี้ -          นโยบาย CSR สะท้อนมาตรฐานหรือระเบียบปฏิบัติสากลหรือไม่ -          บริษัทมีการกำกับดูแลสภาพการใช้แรงงานและสิ่งแวดล้อมในสายการผลิตหรือไม่ -          บริษัทได้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตหรือไม่ -          บริษัทออกแบบยางโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือไม่ -          มีข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับแหล่งที่มาของน้ำยางดิบหรือไม่   การสำรวจนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้สำรวจได้เยี่ยมชมโรงงานและไร่ยางของบริษัท แต่เนื่องจากบริษัทไม่ยินดีเปิดเผยว่าซื้อยางจากที่ใด มีเพียง 3 บริษัทเท่านั้นจากทั้งหมด 7 บริษัทที่ยินดีเข้าร่วมการสำรวจ ที่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมได้ แต่มีเงื่อนไขว่าผู้สำรวจจะต้องลงนามยินยอมว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว  ลองมาดูกันว่าแต่ละแบรนด์ตอบว่าอย่างไรกันบ้าง   Michelin มิชลิน บอกว่า “โดยปกติแล้วเราไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าชมโรงงาน ด้วยเหตุผลด้านการรักษาความลับของบริษัท กระบวนการทางสิ่งแวดล้อมและสังคมของเรา ผ่านการตรวจสอบโดย PWC และมีการนำเสนอผลในรายงานประจำปีและรายงานด้านความยั่งยืนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ดูรายงานเล่มล่าสุดของบริษัท (ปีปฏิทิน 2011)”   “ส่วนเรื่องการขอเยี่ยมชมสวนยางพารา ซึ่งเป็นไปตามความเข้าใจว่าเราได้ยางดิบจากสวนนั้น ความจริงแล้วบริษัทซื้อจากคนกลางที่รับซื้อน้ำยางจากเกษตรกรรายย่อย”   Good Year “น้ำยางดิบ ถือเป็นความลับทางธุรกิจ บริษัทไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก”   Bridgestone “บริษัทได้ส่งข้อตกลงเรื่องการไม่เปิดเผยข้อมูลให้กับทางผู้สำรวจก่อนการเยี่ยมชม ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติตามปกติของบริษัท แต่ผู้สำรวจไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว”   Pirelli “บริษัทมีนโยบายให้ผู้เข้าเยี่ยมชมลงนามรับรองว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูล ก่อนการเข้าเยี่ยมชม”   Nokian บริษัทปฏิเสธการให้เข้าเยี่ยมชมโรงงานในฟินแลนด์โดยไม่แจ้งเหตุผล     ภาพรวม ไม่มีบริษัทใดเปิดเผยชื่อของซัฟฟลายเออร์หรือผู้จัดหายางดิบให้กับบริษัท ในการจัดซื้อยางดิบนั้นแต่ละบริษัทจะดูเรื่องคุณภาพและราคาเป็นเหลัก ยังไม่เน้นเรื่องความยั่งยืนในการผลิตยางดิบ แม้ประเด็นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมจะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการผลิตยางรถ แต่ยังไม่มีแบรนด์ใดมีนโยบายแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตยางดิบ นโยบายสิ่งแวดล้อมของแบรนด์ต่างๆอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีและครอบคลุมไปถึงผู้จัดหาวัตถุดิบ ในขณะที่นโยบายด้านแรงงานยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น แบรนด์ที่มีนโยบายด้านสังคมและการจัดซื้อที่ดีที่สุดในกลุ่มที่ทำการสำรวจได้แก่ BRIDGESTONE และ PIRELLI   PIRELLI 56 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ Pirelli นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 5 นโยบายด้านสังคม 5 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 4     MICHELIN 55 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ Michelin/ Kleber นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 5 นโยบายด้านสังคม 5 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 3     BRIDGESTONE 49 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Bridgestone/ Firestone นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 4 นโยบายด้านสังคม 5 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 3     Nokian 32 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Nokian นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 4 นโยบายด้านสังคม 2 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2     CONTINENTAL 31 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Continental/ Semperit/ Uniroyal/ Barum นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2     Hankook 29 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Hankook นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2     Apollo-Vredestein 27 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Apollo/ Vredestein นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2   GOODYEAR 27 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Goodyear/ Dunlop/ Fulda นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2   Yokohama 18 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Yokohama นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 2 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2         Kumho 5 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Kumho นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 2 นโยบายด้านสังคม 1 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 1     GT Radial 0 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  GT Radial นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 1 นโยบายด้านสังคม 1 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 1     Nexen 0 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Nexen นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 1 นโยบายด้านสังคม 1 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 1   เรื่องของยาง ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตยางและยางรถยนต์แห่งยุโรประบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วยางแต่ละเส้นมียางธรรมชาติเป็นส่วนประกอบร้อยละ18 และยางสังเคราะห์ร้อยละ 25  ของน้ำหนัก แต่ละแบรนด์ จะมีสูตรผสมที่แตกต่างกันไป เช่น ข้อมูลการจัดซื้อของมิชลินในปี 2011 ระบุว่า ในมูลค่าการจัดซื้อวัตถุดิบ ร้อยละ 42 เป็นมูลค่าของยางธรรมชาติ และร้อยละ 24 เป็นมูลค่าของยางสังเคราะห์ ยางที่ใช้ในเมืองหนาวจะมีสัดส่วนของยางธรรมชาติสูงกว่ายางที่ใช้ในเมืองร้อน และยางของรถบรรทุกก็จะมีสัดส่วนของยางธรรมชาติมากกว่ายางของรถยนต์นั่งทั่วไปเช่นกัน ยอดขายยางรถยนต์ในปี 2010 อยู่ที่ 111,000 ล้านยูโร (ประมาณ 4.3 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 จากปีก่อนหน้า ฟื้นตัวจากช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2008 แต่หลังจากเติบโตต่อเนื่องมา 2 ปี บริษัทยางในยุโรปรายงานว่ายอดขายลดลงถึง 2 หลักในปี 2012 ปัจจุบันประเทศไทยรั้งตำแหน่งแชมป์โลกด้านการผลิตและส่งออกยางพารา   10 อันดับบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งยึดครอง 2 ใน 3 ของตลาดยางทั่วโลก (ข้อมูลปี 2553) ได้แก่   บริษัท                           สำนักงานใหญ่              ยอดขาย (ล้านเหรียญสหรัฐ)   Bridgestone                   Japan                           24,400   Michelin                        France                          22,400   Goodyear                     USA                             17,000   Continental                    Germany                      8,100   Pirelli                            Italy                               6,300   Sumitomo                     Japan                            5,900   Yokohama                    Japan                            4,800   Hankook                       South Korea                 4,500   Cooper                          USA                             3,400   Maxxis /Cheng Shin       Taiwan                        3,400 ---

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 ความปลอดภัยของรถยนต์

ฉลาดซื้อฉบับปิดท้ายปี 2555 ขอเกาะกระแสข่าวยอดขายรถยนต์พุ่งกระฉูด ด้วยการนำเสนอผลทดสอบความปลอดภัยรถยนต์ที่ EuroNCAP* ได้ทำไว้ ต้องบอกกันตรงนี้ก่อนว่าตามกฎหมายแล้ว รถยนต์ทุกยี่ห้อต้องผ่านการทดสอบความปลอดภัยก่อนจะนำมาขาย แต่นี่คืออีกระดับของการคุ้มครองผู้บริโภคและการยกระดับคุณภาพสินค้านั่นเอง ผู้ประกอบการเจ้าไหน ใจป้ำจัดเต็มก็จะได้ใจ (พร้อมเงินในกระเป๋า) ผู้บริโภคไป ----------------------------------------------------------------------------------------------------- EuroNCAP คือหน่วยงานอิสระที่ก่อตั้งโดยกรมการขนส่งของอังกฤษใน พ.ศ. 2540 จากนั้นรัฐบาลของฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และแคว้นคาตาโลเนียของสเปน รวมถึงองค์กรผู้บริโภค และสมาคมรถยนต์ในประเทศต่างๆในยุโรปก็เข้าร่วมด้วย หน้าที่ของ EuroNCAP คือการทดสอบความปลอดภัยของรถที่จำหน่ายในยุโรปและเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้บริโภค ย้ำว่าองค์กรนี้ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ หนึ่งในสมาชิกของ EuroNCAP ได้แก่ องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ที่ ฉลาดซื้อ และองค์กรผู้บริโภคในอีก 39 ประเทศเป็นสมาชิกอยู่นั่นเอง -----------------------------------------------------------------------------------------------------   การให้คะแนน EuroNCAP ให้คะแนนรวมจากการทดสอบทั้งหมดเป็นดาว สูงสุดคือ 5 ดาว คะแนนในแต่ละด้าน คิดเป็นคะแนนจากคะแนนเต็ม 100 ได้แก่ ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า ความปลอดภัยของเด็ก (เมื่อนั่งบนเบาะนั่งนิรภัย) ความปลอดภัยของคนเดินถนน อุปกรณ์ความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานในตัวรถ ----------------------------------------------------------------------------------------------------- CRASH TESTS -     การชนด้านหน้า ทดสอบด้วยการชนเข้ากับสิ่งกีดขวางแบบยุบตัวได้ ที่ความเร็ว 64 กิโลเมตร/ชั่วโมง - การชนจากด้านข้าง ทดสอบโดยการใช้สิ่งกีดขวางแบบยุบตัวได้พุ่งเข้าชนประตูด้านคนขับ ที่ความเร็ว 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง -      การชนเสา ตัวรถจะถูกเหวี่ยงให้ด้านข้างชนกับเสาด้วยความเร็ว 29  กิโลเมตร/ชั่วโมง -      การชน “คนเดินถนน” (โดยการพุ่งชนดัมมี่ศีรษะและขา ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่) ที่ความเร็ว 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง -      อุปกรณ์ความปลอดภัย การใส่ ถอด หรือการเตือนให้คาดเข็มขัดนิรภัย (ความชัดเจนทั้งเสียง และไฟสัญญาณเตือน) อุปกรณ์ช่วยจำกัดความเร็ว (ทั้งแบบที่ไม่ยอมไปเร็วกว่าความเร็วที่ผู้ขับขี่ตั้งไว้ และแบบที่มีเสียงเตือนเมื่อผู้ขับขี่ใช้ความเร็วเกิน) และระบบควบคุมการทรงตัวของรถ (Electronic Stability Control) -   การทดสอบความปลอดภัยของเด็ก ใช้ดัมมี่ขนาดเด็กขวบครึ่งและสามขวบนั่งบนเบาะนิรภัย (ชนิดที่ผู้ผลิตรถแต่ละยี่ห้อแนะนำ) ที่เบาะหลังของรถ นอกจากจะให้คะแนนโดยดูพฤติกรรมการเหวี่ยงของเบาะนิรภัยแล้ว ยังให้คะแนนในเรื่องคำแนะนำในการติดตั้ง และคำเตือนเรื่องถุงลมนิรภัย รวมถึงความสามารถของรถในการรองรับการติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กได้อย่างปลอดภัยด้วย   ----------------------------------------------------------------------------------------------------- อาการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลถึงปีละหนึ่งหมื่นล้านยูโร ในยุโรป EuroNCAP จึงเพิ่มการทดสอบเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการออกแบบเบาะนั่งและหมอนรองศีรษะ และให้คะแนนไว้ในเรื่องความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า ----------------------------------------------------------------------------------------------------- Meet the Iron Men: รู้จักกับ สองหุ่นกระดูกเหล็ก Hybrid III และ ES-2 คือหุ่นหลักที่ใช้ในการทดสอบความปลอดภัยภายในห้องโดยสาร โดย Hybrid III จะ เก็บข้อมูลการชนด้านหน้า ในขณะที่ ES-2 ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการชนด้านข้าง ส่วนการทดสอบความปลอดภัยของคนเดินถนนนั้นเขาจะใช้เพียงชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ในการทดสอบ   แม้หน้าตาจะไม่หล่อโดนใจ แต่ขอบอกว่าเขารับได้ทุกอย่าง ส่วนหัวทำด้วยอลูมิเนียม โครงกระดูกทำจากเหล็กกล้าถูกห่อหุ้มด้วย “ผิวหนัง” ที่ทำจากยาง ภายในศีรษะ คอ หน้าอก ช่องท้อง เชิงกราน และขา จะมีอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่แสดงผลให้เรารู้ถึงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับบริเวณดังกล่าว   สนนราคาของหุ่นทรหดแต่ละตัวนั้นไม่ต่ำกว่า หนึ่งแสนยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) Supermini Chevrolet Aveo  รุ่นปี 2011 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  95% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           87% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       54% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    93%     Citroen C3  รุ่นปี 2009 คะแนนรวม       4          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  83% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           74% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       33% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     40%     Honda Jazz รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  78% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           79% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       60% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     71%     Nissan Micra (Nissan March) รุ่นปี 2010 คะแนนรวม        4          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  84% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          79% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      58% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    57%   Suzuki Swift รุ่นปี 2010 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  94% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           82% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       62% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     71%   Toyota Yaris รุ่นปี 2011 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  89% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           81% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      60% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    86%     Peugeot 208 รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  88% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           78% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       61% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     83%   Ford Fiesta รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  91% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          86% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      65% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%   Small Family Car BMW 3 Series รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  95% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           84% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       78% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     86%   Chevrolet Cruze รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  96% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           84% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       34% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     71%     Ford Focus รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  92% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           82% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       72% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     71%     Honda Civic รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  94% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           83% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      69% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    86%     Mazda 3 รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  86% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          84% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      51% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%     Mitsubishi Lancer รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  81% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          80% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      34% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%     VW Beetle รุ่นปี 2011 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  92% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          90% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      53% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                   86%     Chevrolet Captiva รุ่นปี 2011 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  88% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          82% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      48% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%   Large Family Car Audi A4 รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                 93% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          84% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      39% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%   Honda Accord รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  86% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          79% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      54% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                   86%   Peugeot 508 รุ่นปี 2011 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  90% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          81% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      41% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                   97%     Toyota Prius รุ่นปี 2009 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  88% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          82% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      68% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    86%     Volvo V60 รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  94% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           82% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      64% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    100%     Nissan Cube รุ่นปี 2010 คะแนนรวม        4          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  83% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          64% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      56% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    84%   Pick-up Ford Ranger รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        5          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  96% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           86% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      81% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                    71%     Isuzu D-Max รุ่นปี 2012 คะแนนรวม        4          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                 83% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                          67% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                      51% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                   71%     VW Amarok รุ่นปี 2010 คะแนนรวม        4          ดาว ความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า                  86% ความปลอดภัยของเด็กเล็ก                                           64% ความปลอดภัยของคนเดินถนน                                       47% อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน                                     57%

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 129 ตรวจสอบมาตรการช่วยเหลือ กรณีการเช่าซื้อรถยนต์

ช่วงน้ำท่วมหนักๆ เราได้รับข่าวสารจาก สคบ. ว่าได้ขอความร่วมมือกับหน่วยงาน 5 แห่ง ได้แก่ สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย   สมาคมอู่กลางแห่งประเทศไทย  สมาคมนายหน้าประกันวินาศภัย   สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน การไฟฟ้านครหลวง เพื่อหามาตรการช่วยเหลือผู้บริโภค ฉลาดซื้อจึงสอบถามเพิ่มเติมในกรณีช่วยเหลือผู้บริโภคที่ประสบอุทกภัยกรณีการเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคไว้ดูแลตนเองหลังน้ำท่วม   มาตรการน้ำท่วมของสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย มาตรการน้ำท่วม 7 ข้อ สำหรับผู้ประสบภัยและมีปัญหาเกี่ยวกับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เพื่อจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อได้อย่างเหมาะสม มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าว สรุปได้ดังนี้   1. ให้มีการยกเว้นค่าติดตามทวงถามและเบี้ยปรับล่าช้าสำหรับลูกค้าที่ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงระยะเวลาที่เกิดภาวะน้ำท่วม 2. มีแนวทางการพักชำระค่างวดเช่าซื้อ สำหรับลูกหนี้ปกติที่ประสบภัยน้ำท่วม 3. ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ขยายเวลาการผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อ ทั้งนี้แต่ละสถาบันจะพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้าต่อไป 4. ในส่วนของผู้เช่าซื้อเพื่อการพาณิชย์หรือเช่าซื้อรถยนต์หลายคัน (Fleet Finance) จะพิจารณาช่วยเหลือตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า 5. ให้มีมาตรการหยุดการทวงถามสำหรับลูกหนี้เช่าซื้อปกติที่ประสบภัยน้ำท่วมและอยู่ในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม 6. ในกรณีที่ลูกค้าต้องการวงเงินฉุกเฉินเพิ่มเติมหลายๆ สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกสมาคมก็ได้จัดให้มีวงเงินกู้สำหรับลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉิน (สามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย โทร 02 6550240-5) 7. มาตรการอื่นๆ ตามที่ลูกค้าเช่าซื้อร้องขอ โดยพิจาณาเป็นรายๆ ไป   หมายเหตุ: ทั้งนี้มาตรการต่างๆ ที่สมาคมและบริษัทสมาชิกได้สรุปแนวทางมานั้น จะใช้ตามความเหมาะสมและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างตามปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมกันนี้สมาคมได้มีหนังสือเลขที่ ชซ.342/2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2554 เพื่อขอให้ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีหนังสือประสานไปยังคณะกรรมการการคุ้มครองข้อมูลเครดิต และบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เพื่อให้มีการปรับ Code สำหรับลูกค้าที่ได้รับการผ่อนผันหรือช่วยเหลือด้านการเงินจากการประสบภาวะน้ำท่วมเช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   ทั้งนี้มาตรการน้ำท่วมดังกล่าวถือว่าเป็นครั้งที่ 4 ที่สมาคมและบริษัทสมาชิกได้ออกแนวทางช่วยเหลือผู้บริโภคนับตั้งแต่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในภาคเหนือและภาคอีสานปี 2553 ที่ผ่านมา สำหรับมาตรการดังกล่าวเป็นนโยบายกว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงเนื่องจากความจำเป็นด้านการเงินของผู้บริโภคและนิติบุคคล เนื่องจากฐานะของผู้บริโภคมีความแตกต่างกัน  ซึ่งผู้บริโภคสามารถร้องขอตามความจำเป็น พร้อมทั้งเป็นการเปิดกว้างให้บริษัทสมาชิกมีแนวทางในการช่วยเหลือให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของบริษัทด้วย สำหรับขั้นตอนในการยื่นขอเข้ามาตรการน้ำท่วม 7 ข้อ ข้างต้น ทางผู้บริโภคสามารถติดต่อไปที่บริษัทลีสซิ่งหรือสถาบันการเงินพร้อมยื่นเอกสาร อาทิ -บัตรประชาชน -สำเนาทะเบียนรถ -รูปถ่ายหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้เช่าซื้อประสบภัยน้ำท่วม อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้บริโภคผ่อนชำระกับบริษัทที่ไม่ใช่สมาชิกของสมาคมสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ที่หมายเลข 1166 ได้ ผู้ให้ข้อมูล นายบุญหนา จงถิ่นสุวรรณ ผู้จัดการสมาคมเบอร์โทรประสานงาน   สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย   02 655 0240-5 --------------------------------- บริษัทสมาชิกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทยปี 2553(THAI HIRE-PURCHASE ASSOCIATION) 1. บมจ. อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง โทร. 0-2612-3233 แฟกซ์.0-2612-3255 Website:  www.navaleasing.co.th 2. บมจ.ธนาคารทิสโก้ โทร. 0-2633-6000 แฟกซ์. 0-2633-6800 Website:  www.tiscogroup.com 3. บจ. ตรีเพชรอีซูซุลิสซิ่ง โทร.0-2792-2000 แฟกซ์. 0-2966-2282-4 4. บมจ.ธนาคารเกียรตินาคิน โทร. 0-2680-3333 แฟกซ์.0-2256-9165 Website:  www.Kiatnakin.co.th 5. บมจ. เงินทุนสินอุตสาหกรรม โทร. 0-2263-2100 แฟกซ์. 0-2253-7086 Website:  www.sicco.co.th E-mail:     finance@mozart.inet.co.th 6. บจ. ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง โทร. 0-2637-5445-51 แฟกซ์. 0-2637-5442 7. บมจ. เอเชียเสริมกิจลีสซิ่ง โทร. 0-2679-6226 แฟกซ์. 0-2679-6241-3 Website:  www.bgpl-lease.com E-mail:     bgpl@bkk.loxinfo.co.th 8. บมจ. เมโทรโพลิส ลีสซิ่งโทร.0-2642-5031  0-2642-5043 9. บจ. โตโยต้า ลีสซิ่ง (ปทท.) โทร. 0-2634-6400 แฟกซ์.0-2636-1408 Website:  www.tlt.co.th   10. บจ. ยูไนเต็ดลีสซิ่ง โทร. 0-2318-4058 แฟกซ์.0-2314-2083 11. บมจ. ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง โทร. 0-2949-1800 12. บจ. ชยภาค โทร.0-2318-2000 แฟกซ์.0-2318-6677 13. บจ. พระนคร ยนตรการ โทร. 0-2561-4610 แฟกซ์. 0-2579-9826 14. บจ. ซิตี้คอร์ป ลิสซิ่ง (ปทท.) โทร. 0-2788-2000 แฟกซ์. 0-2788-4889 Website:  www.citibank.com 15. บจ. บีเอ็มดับเบิลยู ลิสซิ่ง (ปทท.) โทร.0-2305-8999 แฟกซ์.0-2305-8998 Website:  www.bmw.co.th 16. บมจ. ราชธานีลิสซิ่ง โทร. 0-2440-0844แฟกซ์. 0-2440-0848Website:  www.ratchthani.com E-mail:    info@ratchthani.com 17. บจ. ฮอนด้า ลีสซิ่ง (ปทท.)โทร. 0-2706-2800, 706-2900 แฟกซ์. 0-2744-7714 Website:  www.honda.co.th 18. บจ. เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ปทท.)โทร. 0-2676-5900 แฟกซ์. 0-2676-5949 Website:  www.mercedes-benz-leasing.co.th 19. บมจ. ตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง โทร. 0-2641-5252 แฟกซ์.0-2641-5995 20. บมจ. อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส โทร.0-2627-8000 แฟกซ์.0-2627-8001 Website:  www.krungsriauto.com 21. บจ. ไทยประกันชีวิตโทร. 0-2247-0247 แฟกซ์.0-2246-9688 Website:  www.thailife.com 22. บจ. คลังเศรษฐการ โทร. 0-2274-0111 แฟกซ์.0-2274-0311 23. บจ. กรุงไทย ออโต้ลีส โทร. 0-2969-7628-29 แฟกซ์.0-2968-5900 24. บจ. ลีสซิ่งกสิกรไทย โทร. 0-2696-9900 แฟกซ์. 0-2696-9988 25. บจ. เซ็นเตอร์ ออโต้ ลีส โทร. 0-2673-9111-8 แฟกซ์.0-2673-9092 26. บจ. ลีสซิ่งสินเอเชีย โทร.0-2626-8100 แฟกซ์. 0-2626-8190 27. บจ. นิสสัน ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) โทร. 0-2207-4000 แฟกซ์. 0-2207-4001 28. บมจ.ธนาคารธนชาต โทร. 0-2217-8000 แฟกซ์. 0-2217-9642 Website:  www.nfs.co.th 29. บจ. เคทีบี ลีสซิ่ง โทร. 0-2299-3888 แฟกซ์. 0-2299-3801 30. บมจ.ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย โทร.0-2697-5454 แฟกซ์. 0-2642-3048 Website:  www.tcrbank.com 31. ธนาคารไทยพาณิชย์  จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2544-1111 32. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยโทร. 0-2650-6999 แฟกซ์.0-664-3345 Website:  www.isbt.co.th 33. บริษัท แฟคเตอรี แอนด์ อีควิปเมนท์ กสิกรไทย จำกัด โทร. 0-2290-2900 แฟกซ์. 0-2277-3322 Website:  www.kasikornbankgroup.com

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 กระแสต่างแดน

กระแสต่างแดนฉบับนี้ขอพาสมาชิกไปที่เมืองบันดุง เมืองใหญ่อันดับสามของประเทศอินโดนีเซีย (รองจากจาการ์ตา และสุราบายา) ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงาน Asean Automobile Safety Forum 2015 ในระหว่างวันที่ 21 – 22 กันยายน 2558    ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียมีจำนวนพาหนะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 200 ในขณะที่ถนนหนทางที่รองรับการสัญจรเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 35 ผู้ว่าเมืองบันดุงก็ยืนยันว่าร้อยละ 75 ของคนที่นี่ใช้รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ส่วนตัว มีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่ใช้การขนส่งสาธารณะ ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม ปี 2557 ระบุว่าอินโดนีเซียมีพาหนะบนท้องถนน 113 ล้านคัน ในจำนวนนั้นเป็นรถมอเตอร์ไซค์ 93 ล้านคัน (ร้อยละ 83) และจำนวนอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์ไซค์ก็มีมากถึงร้อยละ 70 จากอินโดนีเซียเรามาดูตัวเลขของทั้งโลกกันบ้าง ... ปัจจุบันค่าเฉลี่ยอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางท้องถนนทั่วโลกอยู่ที่ 18 รายต่อประชากร 100,000 คน เมื่อดูเฉพาะในอาเซียนจะพบว่าอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 20.1 รายต่อประชากร 100,000 คน  (ประเทศไทยอยู่ที่ 33.5 ราย ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ที่ 4.75 ราย) ที่น่าสนใจคือ ถ้าแบ่งกลุ่มประเทศต่างๆ เหล่านี้ออกเป็นกลุ่มรายได้น้อย รายได้ปานกลาง และรายได้สูง เราจะพบว่ากลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง (เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย) มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยสูงที่สุด (20.1 ต่อ 100,000) ตามด้วยกลุ่มประเทศรายได้น้อย (18.3) และกลุ่มที่รายได้สูง (8.7) หลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า “ทศวรรษแห่งความปลอดภัย” ที่สหประชาชาติได้กำหนดไว้ให้ช่วงปีค.ศ. 2011 ถึง 2020 เป็นช่วงเวลาที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วโลกลงให้ได้ เป้าหมายคือการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุท้องถนนให้เหลือเพียง 7 รายต่อประชากร 100,000 คนภายในในปีค.ศ. 2020 สหประชาชาติเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกมีการพัฒนาทาง 5 ด้าน ได้แก่ การจัดการความปลอดภัยทางท้องถนน  ถนนที่ปลอดภัยขึ้น พาหนะที่ปลอดภัยขึ้น พฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัยขึ้น ไปจนถึงการบริหารจัดการในช่วงก่อนและหลังเกิดอุบัติเหตุ ในขณะประเด็นเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนในบ้านเรายังเน้นเรื่องเมาไม่ขับเป็นหลัก เพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีความเคลื่อนไหวด้านกฎหมายและด้านการทดสอบความปลอดภัยที่น่าสนใจทีเดียว อินโดนีเซียได้ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุแล้ว เพราะตระหนักดีว่าข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ และที่ผ่านมาการบันทึกข้อมูลของเขายังขาดความเที่ยงตรง ทำให้ไม่สามารถได้ข้อมูลที่แท้จริงเพื่อนำมาออกแบบหาทางแก้ปัญหาได้  วิทยากรจากญี่ปุ่นเล่าให้ฟังว่าเวลาที่เกิดอุบัติเหตุนั้น ตำรวจญี่ปุ่นต้องกรอกข้อมูลไม่ต่ำกว่า 300 ช่องเลยทีเดียว และญี่ปุ่นก็ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้ด้วยข้อมูลจากการวิเคราะห์อุบัติเหตุนั่นเอง ปีนี้การประชุม Asean Automobile Safety Forum ที่บันดุงเขาเน้นเรื่อง “พาหนะปลอดภัย” เพราะประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นติดอันดับผู้ผลิตรถยนต์อันดับต้นๆ ของโลก ประเทศที่ผลิตรถมากเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนได้แก่อินโดนีเซีย ตามด้วยไทย และมาเลเซีย สมาชิกหลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อองค์กรทดสอบรถที่มีคำต่อท้ายชื่อว่า NCAP ซึ่งย่อมาจาก New Car Assessment Program เช่น EURO NCAP (ยูโรเอ็นแคป) ที่มีหน้าที่ทดสอบความปลอดภัยของรถใหม่เมื่อเกิดการชน (ความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้โดยสารทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงผู้ใช้ถนน)     องค์กรดังกล่าวยังมีอยู่ในละตินอเมริกา ออสเตรเลีย และเกาหลี และขณะนี้เรามีองค์กรเพื่อทดสอบการชนรถของรุ่นที่ผลิตขายในภูมิภาคอาเซียนในนาม ASEAN NCAP แล้วเช่นกัน สำนักงานตั้งอยู่ที่เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย องค์กรนี้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานรัฐบาลที่ชื่อว่า สถาบันวิจัยความปลอดภัยทางถนนแห่งมาเลเซีย Malaysia Institute of Road Safety Research หรือเรียกสั้นๆ ว่า MIROS   นั่นหมายความว่าเราสามารถคลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ของ ASEAN NCAP ก่อนตัดสินใจซื้อรถได้เลยว่าคันไหนได้คะแนนความปลอดภัยไม่ต่ำกว่า 4 ดาว ซึ่งความจริงแล้วผู้ผลิตรถยนต์สามารถเพิ่มดาวได้ไม่ยากเลย ยกตัวอย่างรถ เกีย พิคันโต รุ่นที่ไม่มีถุงลมนิรภัย ไม่ได้คะแนนความปลอดภัยเลย แต่รถรุ่นที่มีถุงลมนิรภัย 6 ใบและมีระบบควบคุมเสถียรภาพรถ กลับได้คะแนนความปลอดภัยไปถึง 4 ดาว เดวิด วอร์ด เลขาธิการของ Global NACP ระบุว่าค่าใช้จ่ายในการทำให้รถยนต์ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำด้านความปลอดภัยอยู่ที่คันละไม่เกิน 200 เหรียญ (ประมาณ 7,000 บาท) ที่สำคัญวันนี้ถุงลมนิรภัยมีต้นทุนต่ำกว่าเดิมถึงร้อยละ 60 เหลือเพียงแค่ใบละ 50 เหรียญ (ประมาณ 1,800 บาท) และระบบควบคุมเสถียรภาพรถก็ไม่เกินคันละ 50 เหรียญเช่นกัน ที่สำคัญถ้าผู้บริโภคทั่วโลกรวมตัวกันเรียกร้องให้เกิดมาตรฐานเดียวกันได้ ค่าใช้จ่ายในการผลิตรถยนต์ก็จะยิ่งถูกลงไปได้อีก เขาบอกอีกว่า เรื่องนี้ภาครัฐสามารถเข้ามามีบทบาทเพื่อความปลอดภัยของประชาชนได้ด้วยการลงนามรับรองแผนแม่บทเพื่อความปลอดภัยในท้องถนน ปี 2020 ที่ว่าด้วยข้อกำหนดด้านมาตรฐานความปลอดภัยรถยนต์ หากมติดังกล่าวผ่าน รถที่ผลิตใหม่ทุกรุ่น (ทั้งที่ผลิตเองและนำเข้า) ในประเทศนั้นๆจะต้องผ่านมาตรฐานขั้นต่ำการชนทั้งด้านหน้า ด้านข้าง มาตรฐานเข็มขัดนิรภัยและตัวยึด ภายในปี ค.ศ. 2016 และในขั้นต่อไปรถยนต์ใหม่ทุกคันจะต้องผ่านมาตรฐานเรื่องระบบควบคุมเสถียรภาพของรถและการคุ้มครองคนเดินถนน ภายในปี ค.ศ. 2018 และภายในปี 2020 รถทุกคันไม่ว่าจะใหม่หรือเก่าจะต้องผ่านมาตรฐานดังกล่าว เพราะ “ความปลอดภัยไม่ใช่สิทธิพิเศษ”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 กระแสต่างแดน

รถยนต์ความเสี่ยงสูง ข่าวนี้สร้างความสั่นสะเทือนให้อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ขนาดเล็กในอินเดียไม่น้อย เมื่อองค์กรทดสอบรถยนต์ Global NCAP ได้ทดสอบความปลอดภัยของรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ผลิตและจำหน่ายในอินเดียจำนวน 5 รุ่น และพบว่าระดับคะแนนความปลอดภัยของทุกรุ่นเท่ากับ ... 0 ดาว (จากคะแนนเต็ม 5 ดาว) เขาทดสอบด้วยการชนด้านหน้า ที่ความเร็ว 64 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยรถรุ่นพื้นฐาน (ซึ่งไม่มีการติดตั้งถุงลมนิรภัย) เขาพบว่าโครงสร้างของ Suzuki Maruti Alto 800 / Tata Nano และ Hyundai i10 มีความปลอดภัยต่ำเสียจนกระทั่งแม้จะมีถุงลมนิรภัยก็ไม่สามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บสาหัสจากการชนได้ ส่วนอีก 2 รุ่นคือ Ford Figo และ Volkswagen Polo นั้น ยังพอทำเนาตรงที่มีโครงสร้างแข็งแรงกว่า และการติดตั้งถุงลมนิรภัยก็จะช่วยให้ปลอดภัยขึ้นได้ (หลังการทดสอบครั้งนี้ Volkswagen ประกาศเลิกขายรุ่นที่ไม่ทีถุงลมนิรภัย) Max Mosley ประธาน Global NCAP กล่าวว่าขณะนี้ระบบความปลอดภัยของรถยนต์อินเดียยังล้าหลังยุโรปหรืออเมริกาอยู่ถึง 20 ปี อีกครั้งที่ประชากรของประเทศที่สามารถผลิตรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อส่งออกไปขายทั่วโลก กลับต้องขับรถยนต์ตกมาตรฐานอยู่ในบ้านตัวเอง ปีที่ผ่านมา รถยอดนิยมทั้ง 5 รุ่นมียอดขายรวมกันเป็นร้อยละ 20 ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในอินเดีย     เลือกกินไม่ได้ ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าความหลากหลายของการปลูกพืชเพื่อใช้เป็นอาหารในช่วงศตวรรษที่ 20 ลดลงไปถึงร้อยละ 75 และยิ่งไปกว่านั้น 1ใน 3 ของความหลากหลายที่เหลืออยู่ ณ วันนี้อาจจะหายไปภายในปี 2050 ด้วย ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาอาหารการกินของผู้คนในโลกเปลี่ยนไป และโลกาภิวัฒน์ด้านอาหารก็ทำให้ผู้คนที่อยู่ต่างถิ่นกันบริโภคอาหารที่เหมือนกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่ให้พลังงานสูงอย่าง ข้าว มันฝรั่ง อ้อย และข้าวสาลี (อย่างหลังนี้เป็นหนึ่งในอาหารหลักในร้อยละ 97 ของประเทศทั่วโลก)  และพืชที่ไม่เคยมีความสำคัญเลยเมื่อ 50 ปีก่อนก็กลับมีความสำคัญขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ปลูกเพื่อสกัดน้ำมันเช่น ถั่วเหลือง ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญในอาหารใน 3 ใน 4 ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก แม้พืชเหล่านี้จะช่วยบรรเทาความหิวโหยของประชากรโลกได้ แต่การบริโภคพืชที่ให้พลังงานสูงเป็นหลักก็เป็นสาเหตุของอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเช่นโรคหัวใจหรือโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน นี่ยังไม่นับว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยวนั้นเสี่ยงต่อความแห้งแล้ง แมลงศัตรูพืช และโรคต่างๆ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นเมื่อสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง และพันธุ์พืชบางชนิดยังถูกครอบครองโดยบรรษัทข้ามชาติเพียงไม่กี่ราย ซึ่งนิยมลงทุนในพืชเพียงไม่กี่สายพันธุ์อีกด้วย ทางเลือกในการกินของเราจึงถูกจำกัดด้วยประการฉะนี้     “มีฉลากก็ไม่ช่วย” ภายใต้กฎหมาย Affordable Care Act ของอเมริกานั้น ผู้ประกอบการตู้ขายอาหารอัตโนมัติหยอดเหรียญจะต้องติดฉลากโภชนาการแสดงปริมาณแคลอรี่ ไว้ในบริเวณใกล้ๆ กับจุดที่วางอาหาร(ขนมหวาน ของขบเคี้ยว น้ำอัดลม) กฎหมายที่จะมีผลภายในหนึ่งปีนี้มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่มีตู้ขายอาหารอัตโนมัติตั้งแต่ 20 ตู้ขึ้นไป(ข่าวบอกว่ามีประมาณ 10,800 ราย) ร้านอาหารที่มีสาขามากกว่า 20 สาขาขึ้นไป ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายของชำด้วย แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านโยบายจาก Heritage Foundation บอกว่าที่ผ่านมานั้นชัดเจนแล้วว่าฉลากเปลี่ยนพฤติกรรมของคนอเมริกันไม่ได้ เขาว่ารัฐบาลอาจมาผิดทาง เพราะปัญหาคือประชาชนยังไม่สามารถตัดสินใจเลือกซื้ออาหารอย่างถูกต้อง จึงควรให้ความรู้เรื่องแคลอรี่ในอาหารกับผู้บริโภคเสียก่อน เพื่อให้ผู้บริโภคอยากควบคุมปริมาณแคลอรี่ด้วยตนเอง ด้านผู้ประกอบการ(ซึ่งกว่าร้อยละ 75 เป็นรายย่อยที่มีลูกจ้างไม่เกิน 3 คน) บอกว่าเรื่องนี้มีค่าใช้จ่ายมากโขอยู่ บริษัทขนาดเล็กจะมีค่าใช้ประมาณ 2,400 เหรียญในปีแรก และ 2,200 เหรียญในปีต่อๆ ไป และเงินที่ลงไปก็ไม่ได้สร้างผลตอบแทนทางธุรกิจด้วย อัตราส่วนประชากรต่อตู้ขายอาหารอัตโนมัติของอเมริกาอยู่ที่ 40 คนต่อ 1 ตู้ และร้อยละ 5 ของเงินที่คนอเมริกันใช้จ่ายนอกบ้านเป็นการใช้จ่ายกับตู้เหล่านี้    มันช่างน่าอิจฉายิ่งนัก นอกจากเนเธอร์แลนด์จะมีนายกอินดี้ที่ขี่จักรยานไปทำงาน (ขออภัยพี่น้องประชาชนที่ต้องการหาเลขเด็ดเพราะจักรยานเขาไม่มีหมายเลขทะเบียน) องค์กรผู้บริโภคของเขาก็ยังเปรี้ยวไม่แพ้กันอีกด้วย Netherlands Authority for Consumers and Markets หรือ ACM บอกว่าปีที่ผ่านมาเขาสามารถช่วยชาวบ้านประหยัดเงินได้ถึง 300 ยูโร (13,400 บาท) ต่อครัวเรือนเลยทีเดียว รวมๆ แล้วการทำงานของ ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของผู้บริโภคลงได้มากกว่า 1,850 ล้านยูโร (80,000 ล้านบาท) จากค่าแก๊ส ไฟฟ้า ค่าบริการโทรศัพท์ หรืออินเตอร์เน็ต ถ้าเป็นวงดนตรีก็ต้องเรียกว่าเป็น “ซูเปอร์กรุ๊ป” เพราะเป็นการรวมตัวของ 3 องค์กรที่ดูแลผู้บริโภค เหมือนการรวม สคบ. เข้ากับ กสทช. และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เข้าด้วยกัน ล่าสุด ACM ขู่จะเข้าไปตรวจสอบเรื่องร้องเรียนจากร้านค้าปลีกว่ามาสเตอร์การ์ดเก็บค่าธรรมเนียมจากพวกเขาแพงเกินไป แต่ยังไม่ทันลงมือ มาสเตอร์การ์ดก็ยอมปรับลดค่าธรรมเนียมลงจากปัจจุบันที่ร้อยละ 0.9 เหลือ 0.7 ในเดือนมิถุนายนและลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือร้อยละ 0.3 ในเดือนมกราคมปี 2016 แน่นอนจริงๆ แค่เงื้อก็ได้ผลแล้ว หมายเหตุ : เรื่องร้องเรียน 3 อันดับต้นของผู้บริโภคชาวดัทช์ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน บริการโทรคมนาคม(ซึ่งปีนี้ถูกเบียดตกมาอยู่อันดับสอง) และบริการขนส่งและการท่องเที่ยว   ฟินแลนด์ ไม่น่าเชื่อว่าประเทศฟินแลนด์จะยังไม่มีข้อกำหนดเรื่องเงื่อนไขการจ้างงานในฟิตเนส จนทำให้บรรดาครูฝึกต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดแบบใครตัวมัน แม้จะไม่มีองค์กรด้านวิชาชีพนี้อย่างจริงจัง แต่ ERTO องค์กรด้านแรงงานก็เคยเสนอค่าจ้างที่เหมาะสมสำหรับงานครูผู้ฝึกสอนในฟิตเนสไว้ที่ชั่วโมงละ 29.90 ยูโร (1,300 บาท) ในเมืองหลวง และ 26.10 ยูโร(1,165 บาท) ในพื้นที่อื่นๆ แต่ไม่มีใครจ่ายอัตราที่ว่าเลย ผู้ประกอบการฟิตเนสบางรายจ่ายค่าจ้างพื้นฐานต่ำกว่า 5 ยูโร แล้วให้ค่าหัวตามจำนวนผู้เรียนในคลาสหัวละ 50 เซนต์ (ถ้าครูฝึกสอนคลาสละ 10 คน ก็จะได้ค่าจ้างรวมชั่วโมงละ 10 ยูโรเท่านั้น)  ส่วนบางแห่งก็จ่ายเพียงชั่วโมงละ 20 ยูโร ให้กับครูฝึกที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 10 ปี การปริปากบ่นก็ไม่ใช่ทางเลือก เพราะเจ้าของฟิตเนสพร้อมที่จะหาครูหน้าใหม่ไร้ประสบการณ์เข้ามาแทนที่อยู่เสมอ หรือไม่ก็อาจถูกย้ายช่วงเวลาสอนไปอยู่ในช่วงที่ไม่ค่อยมีคนมาใช้บริการ นอกจากนี้ยังจ่าย “โบนัสวันอาทิตย์” น้อยกว่าที่ควรด้วย ปกติแล้วโบนัสนี้ต้องจ่ายตามค่าแรงรายชั่วโมง แต่ผู้ประกอบการหัวใสกลับแจ้งค่าจ้างรายชั่วโมงต่ำกว่าที่จ่ายจริง เช่นในจำนวน 30 ยูโรที่จ่ายนั้น มีเพียง 10 ยูโรที่แจ้งเป็นค่าแรง ที่เหลือกลับเรียกว่าเงินที่ชดเชยให้สำหรับเวลาที่ใช้เตรียมสอน เป็นต้น   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 กระแสต่างแดน

กระแสต่างแดน 99 ศศิวรรณ ปริญญาตร เทคโนโลยีใหม่ ขายตรงถึงใจ จิตใจมนุษย์เรานั้นอาจจะไม่ได้ยากแท้หยั่งถึงอีกต่อไป เมื่อนักวิจัยหันมาใช้เทคโนโลยีที่สามารถบอกได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในสมองของเราบ้างสิ่งที่ผู้บริโภคอย่างเราฟังแล้วต้องหนาวคือ บริษัทผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ๆ และบริษัทผู้ประกอบการอาหารฟาสต์ฟู้ด ได้หันมาซื้อบริการอ่านใจลูกค้าผ่านสมองกันแล้วนักวิจัยอ้างว่าวิธีดังกล่าวได้ผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือกว่าการทำโฟกัสกรุ๊ปหลายเท่า เพราะโดยมากแล้วคนเราไม่ค่อยรู้ถึงความรู้สึกของตนเอง หรือถึงจะรู้ก็อาจไม่กล้ายอมรับด้วยเหตุผลต่างๆ นานา จากสถิติที่มีการบันทึกไว้ปรากฏว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวในตลาดจะต้องปิดตัวไปภายในระยะเวลาหนึ่งปี ทั้งๆที่สินค้าหรือบริการเหล่านี้ผ่านการทำโฟกัสกรุ๊ปกับผู้บริโภคมาแล้วทั้งสิ้นว่ากันว่าการตัดสินใจของคนเรานั้นเป็นสิ่งที่เรากระทำไปโดยไม่รู้ตัว คงไม่มีใครคิดว่าคำเตือนที่อยู่บนซองบุหรี่นั้นเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้คนอยากสูบบุหรี่มากขึ้น แต่นี่คือเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์พบจากการแสกนสมอง ที่พบว่า ความอยากบุหรี่ของคนเราถูกกระตุ้นโดยคำเตือนดังกล่าวเรียกว่าอีกหน่อยอาจจะไม่ต้องมีการสัมภาษณ์ผู้บริโภคกันแล้ว ไม่ว่านักการตลาดจะอยากรู้ว่าเราคิดอย่างไร หรือต้องการอะไร เขาก็จะสามารถสื่อสารกับสมองของเราโดยตรงได้เลย และเทคโนโลยีที่สามารถทำให้มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองเราจากระยะไกลก็มีแล้วด้วย เช่น แทนที่ผู้ประกอบการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดกำลังค้นหาวิธีที่จะหลอกล่อสมองเราให้คิดไปว่าอาหารของตนนั้นดีต่อสุขภาพ โดยไม่ต้องพัฒนาสูตรอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้นให้เป็นการเพิ่มต้นทุนแต่อย่างใด เช่นอาจจะเป็นการปล่อยกลิ่นอาหารชนิดหนึ่งออกมาในร้าน ที่ทำให้สมองของเราเกิดความรู้สึกในเชิงบวก เป็นต้น วิทยาศาสตร์กำลังบอกเราว่า สมองของคนเรานั้นยังไม่สามารถวิวัฒนาการมาได้ทันกับความซับซ้อนของระบบการตลาดในปัจจุบันด้วยเช่นกัน หลอดน่ะ ประหยัดไฟ แต่ไม่ประหยัดคน ข่าวดี กลุ่มประเทศยุโรปประกาศว่าจะเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟแบบประหยัดพลังงานทั้งหมดภายในอีก 3 ปีข้างหน้าเพราะมันสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงปีละ 5 ล้านตัน เอ…แต่ว่า หลอดไฟจำนวนมหาศาลที่จะต้องจัดหามาเพื่องานนี้ จะมาจากที่ไหนได้ล่ะ ถ้าไม่ใช่ประเทศจีน ซึ่งมีทั้งโรงงานแบบที่มีมาตรฐานการผลิตไม่แพ้โรงงานในยุโรปและโรงงานนรกที่เปิดตัวขึ้นมากมายเพื่อรองรับคำสั่งซื้อจำนวนมากมายดังกล่าวนั้น การผลิตหลอดประหยัดไฟก็ทำให้เกิดผลเสียต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมไม่น้อย เพราะใช้สารปรอทเป็นตัวที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่จะทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น ซึ่งเรารู้กันดีว่าเป็นสารที่อันตรายต่อระบบประสาท ปอด และไต แม้แต่ทางยุโรปเองก็เตือนผู้บริโภคว่า ถ้าทำหลอดชนิดนี้แตกเมื่อไหร่ให้รีบออกไปจากห้องดังกล่าวและอย่ากลับเข้ามาก่อน 15 นาทีเป็นอันขาด ก็น่าคิดว่าแล้วคนที่ต้องทำงานอยู่กับมันทั้งวันจะเป็นอย่างไรกันบ้างจากการตรวจสุขภาพคนงานในโรงงานที่ไม่ผ่านมาตรฐานการผลิต พบว่าคนงานเกือบทั้งหมดที่มารับการตรวจร่างกายมีปรอทในร่างกายเกินระดับมาตรฐาน (มีอยู่คนหนึ่งที่มีปรอทในร่างกายเกินไปถึง 150 เท่า) ในกรณีของเมืองอันยาง พบว่า ร้อยละ 35 ของคนงานในเมืองนี้มีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากสารปรอทและที่สำคัญปรอทจากโรงงานก็ไหลลงสู่แหล่งน้ำของเมืองด้วยปรอทส่วนใหญ่มาจากเหมืองในเมืองกุ้ยโจว ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่นี่มีการทำเหมืองปรอทกันอย่างต่อเนื่องมาหลายร้อยปีตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงแล้ว ก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนได้สั่งปิดไปเนื่องจากราคาปรอทในตลาดโลกลดต่ำลง ในขณะที่แม่น้ำ ไร่นาได้รับความเสียหาย และประชากรมีอาการเจ็บป่วยมากขึ้น แต่ด้วยความต้องการอันล้นหลามจากยุโรป เหมืองเหล่านี้จึงถูกเปิดขึ้นมาอีกครั้ง ภาษีช็อกโกแลต ไม่นานมานี้มีคุณหมอและนักโภชนาการชาวสก็อตแลนด์คนหนึ่งออกมาเรียกร้องให้มีการเก็บภาษีช็อกโกแลต เพื่อที่คนจะได้กินมันให้น้อยลง คุณหมอเดวิด วอล์กเกอร์ บอกว่าขณะนี้ 1 ใน 4 ของคนสก็อตเป็นโรคอ้วน และอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสาเหตุจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากขนมหวานรสช็อกโกแลตที่มีขายอย่างดาษดื่นนั่นเองขนมหวานถุงหนึ่ง (225 กรัม) มีพลังงานสูงถึง 1,200 แคลอรี่ (ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณแคลอรี่ที่เราควรได้รับในแต่ละวัน และเราจะต้องเดินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงจึงจะเผาผลาญมันได้หมด)คุณหมอจึงเสนอให้มีการเก็บภาษีช็อกโกแลตมันเสียเลย แล้วเอาเงินที่ได้มาทำนุบำรุงกิจกรรมกีฬาสร้างเสริมสุขภาพกันดีกว่า แต่ในที่ประชุมนั้นมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวมากกว่า ข้อเสนอนี้จึงตกไปแต่ที่น่าสนใจมากอีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่เจ้าของร้านช็อกโกแลตแห่งหนึ่งออกมาคัดค้าน เธอบอกว่าความจริงแล้ว ถ้าเป็นช็อกโกแลตแท้ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องกินเข้าไปมาก พูดง่ายๆ ว่าของแท้นั้นแม้จะกินเพียงเล็กน้อยแต่สามารถให้ความรู้สึกเป็นสุขได้นานกว่า เธอจึงอยากให้ผู้บริโภคได้รับรู้และแยกแยะให้ออกระหว่างช็อกโกแลตจริงๆ กับขนมหวานที่แอบอ้างเรียกตนเองว่า ช็อกโกแลตไปด้วย เพราะอย่างแรกนั้นเป็นสินค้าที่ทำให้เกิดการพัฒนาชุมชน และสร้างรายได้อย่างเป็นธรรมให้กับเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดโกโก้ในประเทศกำลังพัฒนาแต่อาจมีราคาค่อนข้างแพงกว่าเพราะไม่ได้ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากๆการคิดภาษี (เพิ่มไปจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้บริโภคจ่ายอยู่แล้ว) จะทำให้ช็อกโกแลตดีๆ ยิ่งมีราคาแพงขึ้นไปอีก ทำให้คนที่รายได้น้อยแต่ใจรักช็อกโกแลตไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ต้องหันไปหาทางเลือกที่ถูกกว่าซึ่งก็คือขนมหวานรสช็อกโกแลตที่ว่าเม็กซิโก ครองตำแหน่งประเทศที่มีประชากรที่เป็นโรคอ้วนมากที่สุดในโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ทั้งๆ ที่มีปริมาณการบริโภคช็อกโกแลตเพียง 500 กรัมต่อคนต่อปี แต่ในขณะที่สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งมีอันดับประชากรเป็นโรคอ้วนมากเป็นอันดับที่ 28 นั้นมีการบริโภคช็อกโกแลตถึงปีละ 11 กิโลกรัมต่อปีเลยทีเดียว ชุมชนคนไม่ใช้รถประเทศเยอรมนีนั้นเป็นบ้านเกิดของทั้งรถยนต์และถนนคุณภาพ แต่ที่ชุมชน Vauban ในเมือง Freiburg ใกล้กับพรมแดนสวิสและฝรั่งเศสนั้นกำลังเป็นชุมชนนำร่องที่ทดลองการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพารถยนต์ส่วนตัวชุมชนที่อยู่ห่างตัวเมืองออกมา 4 กิโลเมตรนี้ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการวางผังเมืองอย่างฉลาด เพื่อเป็นชุมชนตัวอย่างที่ทำให้ใครๆ ได้เห็นว่าคุณภาพชีวิตแบบคนเมืองนั้นเป็นไปได้โดยไม่ต้องพึ่งพารถส่วนตัวร้อยละ 70 ของผู้อยู่อาศัยที่นี่ไม่มีรถใช้ และร้อยละ 57 ยอมขายรถที่ตนเองมีอยู่ก่อนที่จะย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชนนี้ ซึ่งความจริงแล้วเขาไม่ได้ห้ามไม่ให้มีรถนะ เพียงแต่คุณต้องนำรถไปจอดในเขตนอกชุมชนในที่จอดที่ค่อนข้างจำกัดและมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยชุมชนที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 1 ตารางไมล์นี้มีประชากรประมาณ 5,500 คน พื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นค่ายทหารของนาซีซึ่งไม่เคยออกแบบเพื่อการใช้รถส่วนตัวอยู่แล้ว และเพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่และพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่อยู่อาศัยจึงเป็นตึกขนาด 4 -5 ชั้น (ไม่มีบ้านเดี่ยว) ขนาบเส้นทางวิ่งของรถราง เพื่อให้ทุกคนสามารถเดินออกจากอาคารที่พักมาขึ้นรถเข้าไปยังตัวเมือง Freiburg ได้โดยสะดวกน่าอยู่ไหมล่ะ หมูตัวเดียวข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่มีคนเริ่มต้นเรียกมันว่า “โรคหวัดหมู” นั้นทำให้อัฟกานิสถานต้องกักบริเวณหมูที่มีอยู่เพียงตัวเดียวทั้งประเทศเอาไว้คุณอาจสงสัยถึงที่มาที่ไปของเจ้าหมูตัวดังกล่าวว่ามาทำอะไรอยู่ในประเทศมุสลิมแห่งนี้ ที่ผลิตภัณฑ์จากหมูถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เฉลยให้ก็ได้ว่าเป็นของขวัญที่ประเทศจีนมอบให้กับสวนสัตว์ของอัฟกานิสถาน เจ้าหมูน้อยตัวดังกล่าวซึ่งปกติเป็นของแปลกประจำสวนสัตว์ ต้องถูกพรากจากเพื่อนกวางและแพะที่อยู่ในคอกเดียวกัน ออกมาอยู่ในห้องขังเดี่ยวเพราะผู้ที่มาเยี่ยมชมสวนสัตว์กลัวว่ามันจะแพร่เชื้อหวัดสายพันธุ์อันตรายมาให้ แต่จะว่าไปหมูตัวนี้ถือว่ายังโชคดีอยู่ เพราะที่ผ่านมาสัตว์ที่พักอาศัยอยู่ที่สวนสัตว์แห่งนี้เคยผ่านเรื่องที่หนักหนาสาหัสกว่านี้มาแล้ว เช่นในช่วงที่เกิดสงครามนั้นทั้งบรรดาเก้ง กวางหรือกระต่าย ก็ถูกพวกนับรบมูจาฮิดีนที่เข้ามายึดสวนสัตว์สำเร็จโทษด้วยการกินเป็นอาหารประทังความหิว ส่วนเจ้าสิงโตมาร์จัน ดาวเด่นประจำสวนสัตว์ในขณะนั้นก็เผลอตัวไปเขมือบนักรบคนหนึ่งที่แอบปีนเข้ามาในกรงเข้า เลยทำให้ญาติผู้พี่ของนักรบคนดังกล่าวกลับมาล้างแค้นด้วยการเอาระเบิดมาขว้างใส่กรง ทำให้เจ้ามาร์จันต้องกลายเป็นสิงโตตาบอดฟันหลอไป เอ่อ…เป็นหมูตัวเดียวในประเทศมุสลิมก็ดีไปอย่างเนอะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 114 รู้กฎหมายกับทนายอาสา รถยึดไป ข้าฯไม่ว่า แต่ซีดี ข้าฯ ใครอย่าแตะ

รถยึดไป ข้าฯไม่ว่า แต่ซีดี ข้าฯ ใครอย่าแตะ เวลาที่ผู้บริโภคถอยรถยนต์ใหม่สภาพป้ายแดงออกมา ก็มักจะชอบนำไปตกแต่งประดับยนต์ เปลี่ยนล้อแม็กซ์ เปลี่ยนวิทยุเครื่องเล่นเทป เครื่องเล่น ซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียง ถ้าซื้อรถยนต์ด้วยเงินสดก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นรถยนต์ที่เช่าซื้อมาจากบริษัทลิสซิ่งหรือไฟแนนซ์ หากเอาเงินไปตกแต่งรถยนต์จนค้างค่างวดแล้วถูกยึดรถยนต์คันนั้นไป ปัญหามีอยู่ว่าเครื่องเสียงที่ติดรถไปนั้นจะเป็นของใคร คำตอบอยู่ที่ว่า เครื่องเสียงนั้นเป็นอุปกรณ์ของรถยนต์หรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 147 บัญญัติว่า “ อุปกรณ์ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแลใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น” มาดูตัวอย่างของจริงกันเลยดีกว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2545 จำเลยนำวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงมาสู่รถที่เช่าซื้อเพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง หาใช่เพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแลใช้สอยหรือรักษาอันเป็นทรัพย์ประธานไม่ ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่อุปกรณ์อันจะตกติดไปกับทรัพย์ประธานตาม ป.พ.พ. 147 วรรคท้าย ส่วนข้อสัญญาที่กำหนดว่า “ หากผู้เช่าซื้อนำสิ่งของเข้ามาดัดแปลง ต่อเติมหรือตั้งอยู่ในตัวทรัพย์สินที่เช่าซื้อ สิ่งนั้นจะตกเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินที่เช่าซื้อและเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทันที “ นั้น ก็เป็นแบบฟอร์มที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจัดทำขึ้นเพียงฝ่ายเดียว และเป็นข้อความที่มาจากปัญหาที่มักเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับผู้เช่าซื้อรายอื่นที่ผู้เช่าซื้อมักนำสิ่งของเข้าดัดแปลง ต่อเติมหรือติดกับทรัพย์ที่เช่าซื้อ และเมื่อต้องการเอาสิ่งของดังกล่าวคืนก็จะทำการรื้อไปอันทำให้ทรัพย์ที่เช่าซื้อของโจทก์เสียหาย แต่กรณีที่จำเลยนำทรัพย์ดังกล่าวมาสู่ตัวรถย่อมไม่ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหากจะต้องรื้อออกไปจึงไม่อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาดังกล่าว โจทก์หาอาจจะยกข้อสัญญาที่ปรากฏว่าเป็นเหตุไม่คืนวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี ลำโพงและอุปกรณ์เครื่องเสียงให้แก่จำเลยหาได้ไม่ คำโบราณว่า ครกนั้นคู่กับสาก แต่เครื่องเสียงไม่จำเป็นต้องคู่กับรถยนต์เสมอไป ------------------------------------------------------------------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 100 ขายเงินดาวน์รถยนต์ไปแล้วยังโดนฟ้อง

รถยนต์เป็นทรัพย์ที่มีราคาสูง ชาวบ้านธรรมดาซึ่งเป็นผู้บริโภคทั่วๆ ไป อย่างเราๆ ท่านๆ ที่ไม่ใช่เศรษฐีอยากจะมีรถยนต์ใช้กับเขาสักคันแม้จะเป็นรถยนต์ปิคอัพ ก็รถยนต์กระบะนั้นแหละแต่เรียกให้มันเท่ๆ ไปอย่างนั้นเอง เมื่อไม่มีเงินสดทีละหลายๆ แสนจะซื้อ ก็คงต้องพึ่งบริการบริษัทไฟแนนซ์หรือบริษัทลิสซิ่งอันว่าบริษัทลิสซิ่งสมัยนี้ก็แสนโหด นอกจากจะตรวจสอบประวัติอย่างละเอียดราวกับว่าจะไปสมัครเป็นลูกเขยแล้ว ยังต้องหาคนค้ำประกันแน่นๆ (ศัพท์ของเซลส์ขายรถ) อีกด้วย แถมบางบริษัทยังให้ผู้บริโภคไปเปิดบัญชีกระแสรายวัน เอาเช็คมาออกชำระค่างวดอีกด้วย “ประมาณว่าไม่ผ่อนตูเมื่อไรจะได้ดำเนินคดีอาญาเรื่องเช็คอีกดอกหนึ่งด้วย”ครั้นซื้อรถมาได้ใช้ไประยะหนึ่งอยากเปลี่ยนรถใหม่จะทำยังไง ก็ต้องขายดาวน์รถยนต์คันเก่าซิครับท่าน ขายดาวน์ไปแล้ว บริษัทลิสซิ่งก็รับทราบแล้ว จนผู้เช่าซื้อคนใหม่ผ่อนไปได้ 4 งวด แล้วไม่ผ่อนต่อ บริษัทลิสซิ่งก็มาฟ้องผู้เช่าซื้อกับผู้ค้ำประกันคนเดิม เพราะไม่ได้คืนสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเดิมให้ผู้บริโภค(โหดจริงๆ) มาดูกันซิว่าศาลจะว่าอย่างไรคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2551 ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า “ พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งกันรับฟังเป็นที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2538 จำเลยที่ 1 ได้เช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อนิสสัน เซฟิโร หมายเลขทะเบียน 3ธ-230 กรุงเทพมหานคร ไปจากโจทก์ในราคา 538,770 บาท ตกลงผ่อนชำระ 30 งวดๆ ละ 17,959 บาทตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2538 และทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไปจนกว่าจะครบ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหลังจากทำสัญญาเช่าซื้อประมาณ 2 สัปดาห์ จำเลยที่ 1 ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่นายศุภชัย …เป็นการขายเงินดาวน์ และเมื่อเดือนกันยายน 2538 นายขนิษฐ์ มาขอซื้อรถคันที่เช่าซื้อจากนายศุภชัย โดยนายขนิษฐ์จะต้องไปผ่อนชำระค่าเช่าซื้อกับโจทก์ นายศุภชัยได้ติดต่อขอวงเงินกู้จากโจทก์และนัดให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อให้แก่นายขนิษฐ์ ต่อมามีการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 5 ประจำวันที่ 5 ธันวาคม 2538 โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันตามฟ้องหรือไม่ แม้ตามคำขอโอนสิทธิการจะเช่าซื้อจะระบุว่า คำขอยังไม่มีผลผูกพันโจทก์จนกว่าจะทำการตรวจสอบหลักฐานของผู้เช่าซื้อ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์คืนเช็คที่จำเลยที่ 1 ชำระเป็นค่าเช่าซื้อล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 และนายขนิษฐ์ ผู้เช่าซื้อรายใหม่กับผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน และยอมให้นายศุภชัยมอบรถยนต์คันพิพาทให้แก่นายขนิษฐ์ ผู้เช่าซื้อรายใหม่ รวมทั้งรับเงินค่าเช่าซื้อจากนายขนิษฐ์ต่อมาถึงสี่งวด และงวดที่ 5 บางส่วนแสดงว่าผู้เช่าซื้อรายใหม่รับรถคันที่เช่าซื้อไปแทนโจทก์ สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงสิ้นผลผูกพัน จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์“ ศาลฎีกายกฟ้อง ผู้บริโภครอดตัวไป บริษัทนี้มันโหดจริงๆ ขายดาวน์ไปแล้วยังมีหน้ามาฟ้องอีก ใครอยากรู้ว่าบริษัทอะไรต้องมาถามเป็นการส่วนตัวครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 สถานการณ์รถยนต์ส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า Electricity car (E-car) ของเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการปี 2007 รัฐบาลเยอรมนีมีมติสนับสนุนเงินงบประมาณให้กับโครงการรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (E-car) โดยมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2020 จะต้องมีจำนวนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคันวิ่งบนท้องถนน แต่จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก (Kraftfahrtbundesamt: KBA) ในปี 2015 มีเพียงแค่ 31,000 คัน เท่านั้น ซึ่งยังห่างไกลจากเป้าหมายที่วางไว้มาก และในเดือนมกราคม ปี 2016 ที่ผ่านมา มีรถไฟฟ้าที่ขอจดทะเบียนเพียงแค่ 477 คัน จากรถทั้งหมด 218,365 คัน (น้อยกว่า 27% เมื่อเทียบกับข้อมูลจากปีที่แล้วในเดือนเดียวกัน) และมีเพียง 976 คันที่เป็นรถ plug-in hybrid (รถที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันและไฟฟ้า) ทำให้การเติบโตและความนิยมของรถไฟฟ้าต่ำกว่าความคาดหวังของตลาดรถยนต์ แม้ว่าภาพลักษณ์ของรถไฟฟ้าถูกมองว่าเป็นความหวังของอนาคต เนื่องจากเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างมลพิษ และโฆษณาชวนเชื่อว่า ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 0 กรัม สำหรับรถแบบ plug in hybrid ที่ โฆษณาว่า ประหยัดพลังงาน ยกตัวอย่างรถ ปอร์เช่ Cayenne S E-hybrid ใช้น้ำมันเพียง 3.4 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร และได้ฉลากประหยัดน้ำมันระดับ A+ ในการปล่อยก๊าซ CO2  สู่บรรยากาศ (ซึ่งยังไม่ได้รวมปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้ไฟฟ้า ที่เกิดจาก โรงไฟฟ้า) แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับรัฐบาลเยอรมนี คือ การติดตามผล การดำเนินนโยบายในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ที่จะผลักดันให้เยอรมนีเป็นผู้นำในด้าน รถไฟฟ้า ในด้านการตลาด และเป็นผู้นำในการส่งออก ซึ่งใช้มาตรการให้เงินสนับสนุน (Kaufprämien: buyer’s premium) แก่ผู้ผลิตหลังจากที่ได้มีการพูดคุยกันระหว่างรัฐบาล และผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ รถที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่ ? แน่นอนว่าถ้าใช้รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (E-Car) ปัญหาของก๊าซ NOX จะลดลง แต่อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องมองภาพรวมการก่อให้เกิดมลพิษโดยรวม ด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ในปัจจุบันใช้พลังงานสิ้นเปลืองมากเช่นกัน นอกจากนี้การผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ถ่านหิน ก็มีส่วนในการปลดปล่อยก๊าซสู่บรรยากาศอย่างมหาศาลเช่นกัน ยังไม่รวมถึงก๊าซพิษอื่นๆ เช่น ปรอทที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน หากพิจารณาถึงสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในเยอรมนีซึ่งขณะนี้ใช้ถ่านหิน ถึง 42 % ก็หมายความความว่า การใช้รถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้านั้น ไม่ได้หมายถึงการลดมลภาวะ และก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ หากเปรียบเทียบกับ รถที่ใช้เบนซิน ก๊าซธรรมชาติ ดีเซล และเครื่องยนต์ ไฮบริดที่มีประสิทธิภาพ จากข้อมูลของสมาคมยานยนต์ของเยอรมนี (VCD) รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (E-Car) ปล่อยก๊าซ CO2 67-103 กรัมต่อ ระยะทาง 1 กิโลเมตร ในขณะที่รถยนต์ที่ติดอันดับต้นๆในการประหยัดพลังงานที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานอย่างอื่น ปล่อยก๊าซ CO2 ระหว่าง 79-94 กรัมต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรความคาดหวังของรัฐบาลเยอรมนี ในการสนับสนุนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า คืออะไรจริงๆ แล้วเงินสนับสนุนที่รัฐทุ่มให้กับรถยนต์ E- Car นั้น ไม่ว่าจะเป็นการลดราคาให้ผู้ซื้อ (buyer’s premium) คันละ 5000 ยูโรหรือ การลดภาษี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้งาน E-Car ในวงกว้างนั้น อาจไม่เป็นดังที่รัฐบาลคาด (รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณที่สูงถึง 2500 ล้านยูโร) ที่จะทำให้เกิดการขยายปริมาณการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งงบประมาณดังกล่าว เปรียบเสมือนของขวัญที่รัฐบาลมอบให้กับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทำอย่างไร รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจึงจะขยายตัวการใช้งานได้มากขึ้น หากเราพิจารณาแต่เพียงรถยนต์ส่วนบุคคล อาจเป็นการมองที่คับแคบไป จริงๆ แล้วขณะนี้ในเยอรมนีเอง ก็มีรถขนส่งสาธารณะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งมีมานานแล้วแทบทุกเมือง นอกจากนี้ รถไฟฟ้าความเร็วสูง รถไฟ รถบัสที่ขนส่งในเมือง ก็ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอยู่แล้ว นอกจากนี้ รถจักรยานไฟฟ้า ก็เป็นที่นิยม ในปี 2015 สามารถจำหน่ายรถจักรยานไฟฟ้า ได้ถึง 500,000 คัน ซึ่งเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าในเมืองใหญ่     ดังนั้นเป้าหมายที่ทางรัฐบาลเยอรมนี เพิ่มปริมาณรถที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 1 ล้านคัน (ซึ่งคิดสัดส่วนเทียบกับปริมาณรถทั้งหมด เพียงแค่ 2 %) แทบไม่ได้ส่งผลต่อการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเลย จากข้อมูลดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า รัฐบาลเยอรมนี ไม่ควรให้น้ำหนักกับปริมาณรถไฟฟ้าที่จะวิ่งในถนนให้ครบ 1 ล้านคัน ตามเป้าที่ได้ตั้งไว้แต่แรก แต่ควรตั้งเป้าในการลดต้นทุนการผลิตแบตเตอรีประกอบกับพัฒนาประสิทธิภาพแบตเตอรี เพื่อให้รถสามารถวิ่งได้ในระยะทางไกลขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความจริงใจของภาคอุตสาหกรรมในการปฏิวัติเทคโนโลยีระบบการขับเคลื่อนแบบใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องรอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเลย(ที่มา http://www.tagesschau.de/wirtschaft/elektroautos-kaufpraemien-101.htm)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 128 องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค: กรณีรถยนต์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ ในปัจจุบัน มีสินค้าหลายชนิดที่อยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก   สินค้าชนิดเดียวกันมีความหลากหลายทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ   บริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่ต่างมุ่งที่จะขายสินค้าหรือบริการของตนโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด  มีการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบเพื่อให้สินค้าสามารถขายและแข่งขันได้ การประชาสัมพันธ์สินค้ามักมุ่งเน้นให้ผู้บริโภคเห็นความดีและประโยชน์ของสินค้าแต่เพียงด้านเดียวจึงทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบเนื่องจากขาดข้อมูลที่สำคัญบางอย่างในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เช่น ไม่แจ้งผลข้างเคียงของการใช้สินค้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง หรือได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ไม่เหมาะสมกับราคาหรือสินค้า มีผลข้างเคียงอื่นๆ  อันเป็นเหตุให้ผู้บริโภคสูญเสียเงินจำนวนมาก  ในประเทศที่พัฒนาแล้ว  ภาครัฐได้เห็นความสำคัญของผู้บริโภค  และเห็นว่าประชาชนควรจะมีข้อมูลรอบด้าน เพื่อเลือกซื้อสินค้าให้เหมาะสมกับความต้องการและคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป บางประเทศรัฐบาลสนับสนุนองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรให้ทดสอบสินค้าที่มีอยู่ตามท้องตลาด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงในด้านต่างๆของสินค้านั้น  รวมทั้งเผยแพร่ผลการทดสอบสินค้าและให้คำแนะนำในการเลือกซื้อสินค้าแก่ผู้บริโภค  ตัวอย่างองค์กรในประเทศเยอรมนีที่ทำหน้าที่ด้านการให้ข้อมูล คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รถยนต์ ในประเทศเยอรมนีชื่อว่า สมาคมยานยนต์แห่งประเทศเยอรมนี (Der Allgemein Deutsche Automobil Club: www.adac.de)  หน้าที่ ที่สำคัญขององค์กรนี้คือ การให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ โดยจะทำการทดสอบรถยนต์ที่วางขายอยู่ในท้องตลาด โดยจะทำการทดสอบและให้ข้อมูลแก่ผุ้บริโภคโดยละเอียดมาก เช่น เทคนิคและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไรบ้าง ลักษณะของตัวรถทั้งภายในและภายนอก ลักษณะของเครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง ความปลอดภัย  การขับเคลื่อนของรถ และราคา ยกตัวอย่างผลการทดสอบรถยนต์ รุ่น Chevrolet  Aveo 1.4 (ดูเอกสารแนบประกอบ)   นอกจากนี้  ยังได้ทำข้อมูลในด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการบำรุง ดูแลรักษารถยนต์ การป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดจากรถยนต์ วิธีการขับรถที่ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน  มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับสภาพถนนที่เป็นปัจจุบัน ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย ตลอดจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับการหาแหล่งเงินกู้เพื่อซื้อรถยนต์ ทดสอบคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์ และศูนย์ให้บริการของรถยนต์ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเช่น  น้ำมัน ที่นั่งเสริมนิรภัยสำหรับเด็ก  ยาง เบรก ฯลฯ ตลอดจนให้คำแนะนำในเรื่องการขับรถยนต์แก่คนพิการ   สำหรับประเทศไทย การจัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย พ.ศ. 2550 ตามมาตรา 61 บัญญัติว่า สิทธิของบุคคล ซึ่งเป็นผู้บริโภค ย่อมได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค อีกทั้งยังกำหนดให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาหน่วยงานของรัฐในการตรวจตรา และการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย ซึ่งได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีการเสนอร่างโดยคณะรัฐมนตรี ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและส.ส.ฝ่ายค้าน จำนวนทั้งหมด 7 ร่าง   ผ่านการพิจารณาในชั้นของสภาผู้แทนราษฎรทั้งสามวาระ และกำลังพิจารณาแปรญัตติอยู่ในชั้นของกรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภา ก็ได้มีการประกาศยุบสภาไปก่อน ทำให้ตอนนี้ ร่าง พรบ.ดังกล่าว ต้องได้รับคำรับรองยืนยันจากนายกรัฐมนตรี จึงจะพิจารณาร่าง พรบ.ดังกล่าวต่อไปได้ และจากรายงานสถิติการร้องเรียนในรอบ 11 เดือนที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีการร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รถยนต์ มากที่สุด โดยมีผู้ร้องเรียนถึง 7752 ราย (โพสต์ ทูเดย์ 18 กันยายน 2554) จะเห็นได้ว่า ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ และถูกละเมิดสิทธิเป็นวงกว้าง  หากสังคมไทยมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการองค์การอิสระทั้ง 7 ด้าน คือ   1ด้านการเงินและการธนาคาร2 ด้านการบริการสาธารณะ3 ด้านที่อยู่อาศัย4 ด้านบริการสุขภาพ5 ด้านสินค้าและบริการทั่วไป6 ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม7ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ  จะช่วยคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและป้องกันการการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในวงกว้างได้ โดยเฉพาะกรรมการที่ดูแลรับผิดชอบทางด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ทั่วไป ที่จะต้องนำข้อมูลเกี่ยวกับผลการทดสอบรถยนต์ เหมือนกับที่องค์กรผู้บริโภคของหลายๆประเทศ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ เพื่อช่วยผู้บริโภคการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ ได้อย่างคุ้มค่า เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในเชิงรุก ในระยะยาวหากมาตรฐานสินค้ารถยนต์ในประเทศสูงขึ้น ก็จะช่วยทำให้ยกระดับมาตรฐานของรถยนต์ในประเทศไทยสูงขึ้น เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางอ้อม เหมือนกับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเยอรมัน ที่เป็นผลมาจากนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคเชิงรุกที่ทุกภาคส่วนในสังคมให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 “รถใช้น้ำ” ช่วยโลกร้อน ประหยัดเชื้อเพลิง ?

ราคาน้ำมันที่พุ่งตัวสูงขึ้นอยู่ในขณะนี้ สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจแก่ผู้ใช้รถเป็นจำนวนมาก ในสื่อต่างๆ มีการโฆษณาถึงผลิตภัณฑ์ในรูปแบบหลากหลาย ที่อวดอ้างสรรพคุณว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความสามารถ ช่วยลดปริมาณการปล่อยมลภาวะ และยังช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมัน อันทำให้ช่วยผู้ใช้รถจำนวนมากสามารถประหยัดค่าน้ำมันได้ วันนี้มีเพื่อนสมาชิกสอบถามเข้ามาถึงเรื่อง “รถใช้น้ำ” ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด คอลัมน์ ช่วง ฉลาด ช้อป มีคำตอบให้ครับ รถพลังงานน้ำ vs. รถพลังงานไฮโดรเจนตามหลักทางวิทยาศาสตร์แล้ว การได้มาซึ่งพลังงานเกิดจากการปฏิกริยาทางเคมีของสสารที่มีพลังงานสะสมสูงกว่า เปลี่ยนไปเป็นสสารที่มีพลังงานสะสมต่ำกว่า โดยระหว่างการเปลี่ยนแปลงนั้นสสารจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ยกตัวอย่างเช่น การเผาไหม้ของสสารกลุ่มไฮโดรคาร์บอน (พลังงานฟอสซิล) ไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจน   เปรียบเช่นเดียวกับกระบวนการหายใจของมนุษย์ ที่สามารถเปลี่ยนอาหารที่มนุษย์รับประทานไปทำปฏิกริยากับก๊าซออกซิเจน ทำให้ได้มาซึ่งพลังงานที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราหายใจออกมา   ในลักษณะเดียวกัน ก๊าซไฮโดรเจน สามารถทำปฏิกริยากับก๊าซออกซิเจน ทำให้เกิดน้ำและพลังงาน ได้เช่นกันดังสมการเคมี   เนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนมีพลังงานสะสมสูงกว่าน้ำ ลักษณะเช่นนี้เป็นที่มาของพลังงานทางเลือกใหม่ หรือที่เราเรียกกันว่า Hydrogen Fuel เมื่อนำหลักการนี้มาใช้เป็นพลังงานแก่รถยนต์ เราจึงเรียกว่ารถพลังงานไฮโดรเจน ซึ่งกำลังได้รับการพัฒนาและกำลังคาดหมายว่าจะสามารถมาทดแทนพลังงานจากฟอสซิลได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ในทางตรงกันข้ามหากเราต้องการนำน้ำมาทำให้เกิดไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจน สิ่งที่เราต้องทำคือการใส่พลังงานลงไปในน้ำเพื่อทำให้เกิดปฏิกริยาดังสมการเคมี ซึ่งปฏิกริยาดังกล่าวสามารถทำได้ด้วยกระบวนการ Electrolysis คือการใส่พลังงานไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าทั้งสองลงไปในน้ำ ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนที่ขั้วลบ และก๊าซออกซิเจนที่ขั้วบวก  จากหลักการที่อธิบายมานี้จะเห็นได้ว่า รถที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนนั้นกำลังได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกแห่งอนาคต ในทางตรงกันข้ามการให้ได้มาซึ่งพลังงานจากน้ำโดยปฏิกริยาเคมีนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะน้ำเป็นสสารที่มีพลังงานสะสมต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจน ดังนั้นรถยนต์ที่วิ่งได้ด้วยพลังงานน้ำล้วนๆ จึงไม่มีอยู่จริง แล้ว “รถใช้น้ำ” ที่โฆษณากันคืออะไร? หลักการของอุปกรณ์เหล่านี้ คือ ติดตั้งตัว Electrolyze โดยนำพลังงานจากแบตเตอรี่เพื่อแยกเอาก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจนออกจากน้ำ แล้วนำเอาก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนที่ได้เหล่านั้น ใส่เข้าไปในเครื่องยนต์ โดยมักจะอ้างว่าเป็นการทำให้เครื่องยนต์ใช้น้ำมันน้อยลง และเกิดมลภาวะที่น้อยลงด้วย   ข้อเท็จจริง: การนำก๊าซไฮโดรเจนใส่เข้าไปในเครื่องยนต์นี้ ได้รับการศึกษาและรับรองทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า “สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ และทำให้เกิดมลภาวะที่น้อยลงจริง” แต่ประสิทธิภาพก็เพิ่มในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น นอกเหนือจากนี้สิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้มักไม่พูดถึงคือ กระบวนการ Electrolysis เพื่อแยกก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำนั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังงานเช่นเดียวกัน โดยพลังงานที่ว่านี้ก็มาจากแบตเตอรี่ ซึ่งมาไล่เรียงกันดีๆ แล้ว จะเห็นว่าพลังงานแบตเตอรี่ก็มาจากการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ ก็คือพลังงานน้ำมันนั้นเอง  และเมื่อพิจารณาตามกฎทางเทอร์โมไดนามิกแล้ว ในทุกกระบวนการนั้นจะต้องเกิดการสูญเสียพลังงานทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น การนำพลังงานทางกลที่ได้จากน้ำมัน ไปปั่นเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วนำพลังงานไฟฟ้าไปแยกไฮโดรเจน แล้วนำกลับมาเผาไหม้ใหม่ จึงเป็นกระบวนการที่ไม่คุ้มอย่างยิ่ง โดยสรุปจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่อุปกรณ์พวกนี้จะสามารถช่วยประหยัดการใช้น้ำมันได้ ที่ต่างประเทศก็มีการขายผลิตภัณฑ์เช่นนี้เหมือนกันไม่ใช่หรือ? ณ ปัจจุบัน ไม่มีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ใดๆ ที่ได้รับการรับรองและค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จาก United States Environmental Protection Agency นั้นหมายความถึง ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ในต่างประเทศก็อาจจะเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภคเช่นกัน ผลิตภัณฑ์พวกนี้โดยส่วนมาก มักจะมีการอ้างถึงผลการทดสอบการประหยัดน้ำมัน และการปล่อยมลภาวะ ซึ่งค่าที่เกิดจากการทดสอบเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้จากลักษณะการขับขี่ หรือการปรับค่าของหัวฉีดและ Engine Control Unit (ECU) ต่างๆ สรุปโดยรวมแล้ว การใช้ก๊าซไฮโดรเจนที่เกิดจากการใช้กระบวนการ Electrolysis แยกออกมาจากน้ำนั้น ไม่ได้ช่วยให้ผู้ใช้รถที่ติดตั้งอุปกรณ์สามารถประหยัดน้ำมันได้จริง ขณะที่เรากำลังรอการมาของเทคโนโลยีรถที่ใช้ Hydrogen fuel cell การดูแลเช็คสภาพรถยนต์ ให้อยู่ในสภาพดี ตรวจสอบลมยางและไส้กรองอยู่เสมอ ไม่บรรทุกของเกินความจำเป็น รวมถึงขับรถไม่เร็วเกินไปนัก หรือถ้าเป็นไปได้ก็หลีกเลี่ยงการใช้รถเมื่อไม่จำเป็น น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับการประหยัดน้ำมันในยุคน้ำมันราคาแพงนี้ครับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point