ฉบับที่ 180 สถานการณ์รถยนต์ส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า Electricity car (E-car) ของเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการปี 2007 รัฐบาลเยอรมนีมีมติสนับสนุนเงินงบประมาณให้กับโครงการรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (E-car) โดยมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2020 จะต้องมีจำนวนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคันวิ่งบนท้องถนน แต่จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก (Kraftfahrtbundesamt: KBA) ในปี 2015 มีเพียงแค่ 31,000 คัน เท่านั้น ซึ่งยังห่างไกลจากเป้าหมายที่วางไว้มาก และในเดือนมกราคม ปี 2016 ที่ผ่านมา มีรถไฟฟ้าที่ขอจดทะเบียนเพียงแค่ 477 คัน จากรถทั้งหมด 218,365 คัน (น้อยกว่า 27% เมื่อเทียบกับข้อมูลจากปีที่แล้วในเดือนเดียวกัน) และมีเพียง 976 คันที่เป็นรถ plug-in hybrid (รถที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันและไฟฟ้า) ทำให้การเติบโตและความนิยมของรถไฟฟ้าต่ำกว่าความคาดหวังของตลาดรถยนต์ แม้ว่าภาพลักษณ์ของรถไ...

สมาชิกอ่านต่อ...

แหล่งข้อมูล: ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ

250 point

LINE it!

  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ รถยนต์

ฉบับที่ 186 Repair café การจัดการทางสังคมในการลดขยะอิเลคทรอนิกส์

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการจากบทความฉบับที่แล้ว นำเสนอปัญหาของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่มีความรู้สึกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ มือถือ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน มีอายุการใช้งานที่สั้นมากจนผิดปกติ บางครั้งการชำรุดบกพร่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กล่าวมานั้นยังพอใช้งานได้ เพียงแต่ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์บางชิ้นชำรุดเสียหาย ต้องการแค่เปลี่ยนอะไหล่ แต่พอติดต่อศูนย์บริการหลังการขาย ก็ประสบปัญหาอะไหล่ไม่มี หรือค่าแรงในการซ่อมแพงกว่าการซื้ออุปกรณ์เครื่องใหม่ ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นองค์กรผู้บริโภค และหน่วยงานภาครัฐของเยอรมนีที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่างมีความกังวลกับการที่อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มสั้นลง ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสียและสิ้นเปลืองงบค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคแล้ว ยังก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะอิเลคทรอนิกส์ตามมาอีกด้วยสำหรับบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการทางสังคม ที่เข้ามาช่วยจัดการเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดมาจาก การชำรุดบกพร่องของโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟนก่อนอายุอันสมควรRepair Café Repair Café เป็นการรวมกลุ่มของผู้มีใจรักสิ่งแวดล้อมและต้องการลดปัญหาขยะอิเลคทรอนิกส์ เนื่องจากว่า การซ่อมสมาร์ตโฟนในเยอรมนีมีราคาแพงมาก ไม่ว่าจะซ่อมเล็กหรือซ่อมใหญ่ เนื่องจากค่าแรงของช่างซ่อมนั้นมีราคาสูงตามมาตรฐานช่างฝีมือในประเทศที่พัฒนาแล้ว การรวมกลุ่มในรูปแบบ repair café จึงเป็นการนัดพบปะกันของผู้ใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งการรวมตัวกันของกลุ่มคนเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการช่วยเหลือกัน เพื่อให้คนในกลุ่มสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในกรณีที่สมาร์ตโฟนมีปัญหา โดยในกลุ่มจะมีผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นช่างซ่อมมืออาชีพมาสอน และสนับสนุนทางด้านทักษะและความรู้ ตลอดจนการช่วยหาอะไหล่ ในรูปแบบอาสาสมัคร และหากการซ่อมไม่ประสบความสำเร็จทาง repair café ก็ไม่ได้รับประกันผล เนื่องจากการให้ช่างซ่อมมืออาชีพตามร้านหรือตามศูนย์ซ่อมของสมาร์ตโฟนนั้นๆ บางครั้งก็ไม่ได้ดีไปกว่าการซ่อมเองในรูปแบบ repair café ตัวอย่างการซ่อมเองตามกลุ่ม repair café ที่ผู้บริโภคสามารถซ่อมได้เอง เช่น การเปลี่ยนหน้าจอที่แตกหักชำรุด บางครั้งอาสาสมัครที่มาช่วยเหลือการซ่อม คือ นักศึกษาตามมหาวิทยาลัย การซ่อมสมาร์ตโฟนยิ่งรุ่นใหม่ๆ ก็จะยิ่งซ่อมเองได้ยากกว่า การที่มาพบปะกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาสาสมัคร จึงเป็นวิธีการที่ดีกว่าการซ่อมด้วยตัวเองเพียงคนเดียว สำหรับเวลาที่ใช้ในการซ่อมขึ้นอยู่กับความชำนาญและประสบการณ์ของอาสาสมัครทางเทคนิค จากการสำรวจข้อมูลขององค์กรผู้บริโภคเยอรมนี ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า กรณีตัวอย่างการซ่อม หน้าจอสมาร์ตโฟน ราคาซ่อมที่ศูนย์จะตกประมาณ 166 ยูโร ซึ่งราคานี้รวมค่าแรงและค่าอะไหล่แล้ว แต่ลูกค้าต้องรอนานถึง 10 วัน ในขณะที่การซ่อมตาม repair café จะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง และราคาค่าซ่อมไม่คิด แต่คิดค่าอะไหล่ 100 ยูโร และค่ากาแฟ อีก 10 ยูโร รวมเป็น 110 ยูโร สามารถประหยัดเงินได้ 56 ยูโร แต่ประหยัดเวลาได้ถึง 10 วันรูปแบบการจัดการทางสังคมแบบนี้ถือได้ว่า เป็นการจัดการเรื่องขยะอิเลคทรอนิกส์ที่ทำให้เกิดความยั่งยืน และทำประโยชน์ให้สังคมส่วนรวม และผู้บริโภคที่สามารถจัดการซ่อมแซมสมาร์ตโฟนของตัวเองได้ ก็ย่อมมีความรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตน และมีส่วนร่วมในการลดปัญหาขยะอิเลคทรอนิกส์ไปพร้อมๆ กันด้วยประเทศแรก ที่ให้กำเนิด repair café คือ ประเทศ เนเธอร์แลนด์ โดยเริ่มในปี 2009 โดยดำเนินการในรูปแบบมูลนิธิ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในการผลิตและการใช้ทรัพยากรโลก ปัจจุบันมีจำนวน repair café 1,000 แห่ง ใน 25 ประเทศ ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเบอร์ลินมีอัตราการจัด repair café บ่อยครั้งมาก เนื่องจากทางเทศบาลให้การสนับสนุนไม่คิดค่าใช้จ่ายในการใช้พื้นที่สาธารณะเช่น โรงเรียน สมาคมเพื่อการกุศล และศูนย์เยาวชนที่กระจายอยู่ตามชุมชน รูปแบบการจัดการทางสังคมเพื่อสาธารณกุศลลักษณะนี้น่าสนใจมาก ในประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ น่าที่จะมีรูปแบบการจัดการของสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเข้มแข็งของพลเมืองและจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชน ในการก้าวไปสู่สังคมแห่งสุขภาวะ(ที่มา: Test ฉบับที่ 6/2016)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 181 โลกนี้..มีน้ำให้ใช้ไม่มาก

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการปีนี้คงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า น้ำไม่ได้มีมากพอที่เราจะนำมาสาดเล่นหรือปล่อยทิ้งไปเปล่าๆ ไม่ว่าจะที่ใดในโลกน้ำเป็นทรัพยากรที่ต้องถนอมใช้ ถึงบางคนจะรู้สึกว่าตนเองมีเงินจ่ายเพื่อซื้อน้ำ จ่ายค่าน้ำ แต่เราคงไม่เห็นแก่ตัวกันขนาดที่จะมองดูน้ำสะอาดไหลทิ้งไปอย่างไม่เสียดาย ในขณะที่บางพื้นที่โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมต้องยืนดูพืชผลของตนแห้งตายคาพื้นดิน     การใช้น้ำของคนไทย ซึ่งแบ่งออกเป็นน้ำดื่มและน้ำใช้ ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2555 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า แหล่งน้ำใช้ของครัวเรือนไทยส่วนใหญ่ (ร้อยละ78.9) ใช้น้ำประปา ส่วนน้ำดื่ม ส่วนใหญ่(ร้อยละ 64.0) เป็นน้ำประปาเช่นกัน โดยการนำน้ำประปามาผ่านกรรมวิธีทำให้สะอาดพร้อมดื่มเป็นน้ำบรรจุขวดหรือตู้ น้ำหยอดเหรียญ(ร้อยละ 40.9) และวิธีการอื่นๆ (ร้อยละ 23.1) เช่น ต้ม กรอง เป็นต้น กระบวนการผลิตและการใช้น้ำทุกขั้นตอนก่อให้เกิดต้นทุน ซึ่งต้นทุนเหล่านี้ก็คือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้น้ำของครัวเรือนนั่นเอง ผลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้น้ำซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำประปา(ไม่รวมค่าใช้จ่ายน้ำดื่ม) สูงขึ้น จากเฉลี่ยเดือนละ 86 บาทในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 135 บาทในปี 2555 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเพราะน้ำประปาทุกหยดมีต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนที่มองไม่เห็น คือการแย่งน้ำจากภาคส่วนอื่นๆ มาใช้ การปลูกจิตสำนึกให้มีการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและช่วยกันประหยัดจึงไม่ใช่เรื่องทำกันเล่นๆ อีกต่อไป     แนวทางการประหยัดน้ำภาคครัวเรือน    1.ประหยัดน้ำที่ไหลจากก๊อก ปิดก๊อก/วาล์วน้ำขณะที่คุณแปรงฟัน โกนหนวด ล้างมือ แล้วก็ปิดก๊อกน้ำเวลาที่คุณอาบจากฝักบัวด้วยเช่นกัน โดยเปิดน้ำให้ตัวเปียกก่อน จากนั้นค่อยปิดน้ำตอนที่คุณถูสบู่ สระผม แล้วก็เปิดน้ำอีกครั้งให้พอชำระล้างร่างกายจนสะอาด รู้ไหมว่า การปล่อยน้ำไหลขณะแปรงฟัน จะเสียน้ำไปประมาณ 4 แกลลอนหรือ 14.8 ลิตร ต่อนาที( 1 แกลลอนเท่ากับ 3.7 ลิตร โดยประมาณ)     การล้างจาน ล้างผักผลไม้ ควรรองน้ำในภาชนะแทนการปล่อยน้ำไหล และน้ำส่วนที่ยังสะอาดอยู่ ก็สามารถนำไปทำประโยชน์อย่างอื่น เช่น รดน้ำต้นไม้หรือล้างบริเวณพื้นที่สกปรกได้     2.ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำในบ้าน โดยการปิดก๊อกทุกตัวแล้วเช็คมาตรวัดว่ายังขยับหรือไม่ ถ้าพบว่ามาตรหมุน แสดงว่าอาจมีจุดที่รั่วไหลต้องรีบซ่อมแซม อาจเป็นที่ชักโครก หรือท่อประปาบริเวณที่มองไม่เห็น รู้ไหมว่า น้ำ 1 หยดในทุกวินาที จะรวมกันได้ถึง 5 แกลลอนต่อวัน หรือ 18.5 ลิตร     3.ถ้าทำได้ควรเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นแบบประหยัดน้ำ เช่น ติดตั้งหัวฝักบัวและก๊อกแบบประหยัดน้ำ (Low-flow) หรือปากกรองก๊อกน้ำ อุปกรณ์ที่ใหม่และดีจะช่วยรักษาระดับแรงดันและความแรงของการไหลโดยที่ใช้น้ำเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของอุปกรณ์แบบธรรมดาทั่วไป หรือปรับไปใช้โถสุขภัณฑ์แบบประหยัดน้ำ สามารถกดล้างให้สะอาดได้โดยใช้น้ำเพียง 6 ลิตรหรือต่ำกว่านั้น หรือเปลี่ยนเครื่องซักผ้าจากแบบฝาบน เป็นแบบฝาหน้าจะประหยัดน้ำได้มากกว่า     4.เรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ให้ถูกต้อง จะช่วยประหยัดน้ำได้ เช่น ไม่ใช้ชักโครกเป็นที่ทิ้งขยะ ทิชชู่ก็ควรทิ้งลงถังขยะไม่ทิ้งลงในโถ การทำให้โถชักโครกสะอาดแต่ละครั้งต้องใช้น้ำมากถึง 9 ลิตร ถ้ากด 1 ครั้งไม่สะอาดคุณก็ต้องเสียน้ำเพิ่มขึ้นอีกในการกดเพื่อทำความสะอาดซ้ำ     การซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใช้เครื่องซักผ้าให้เต็มประสิทธิภาพ เช่น ควรรอจนกว่าจะมีผ้าเต็มถังก่อนที่คุณจะซัก และเวลาที่ซักผ้าก็อย่าลืมใช้โหมดประหยัดพลังงานเพราะการซักแบบนี้จะช่วยให้คุณประหยัดได้ทั้งน้ำและไฟฟ้า     5.ลดกิจกรรมการใช้น้ำ เช่น ลดเวลาการอาบน้ำลง ซักผ้าไม่บ่อยเกินไป การอาบน้ำน้อยกว่า 5 นาที จะประหยัดน้ำได้มากกว่า 1000 แกลลอนหรือ 3700 ลิตรต่อเดือน  วิธีนี้จะสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา เช่น ไม่ทำให้เสื้อผ้าสกปรกมาก ไม่ใส่เสื้อผ้ามากชิ้น เป็นต้น หรือการสนับสนุนพืชผักอินทรีย์ก็ช่วยให้ไม่ต้องล้างผักผลไม้โดยใช้น้ำจำนวนมากๆ 6.รวบรวมน้ำที่ยังสะอาดอยู่ไปใช้ในกิจกรรมอื่น เช่น น้ำเหลือจากล้างผัก ผลไม้ น้ำแข็งที่ละลายค้างในกระติกหรือน้ำจากการละลายน้ำแข็งในตู้เย็น นำไปใช้รดน้ำต้นไม้ ล้างพื้น ล้างรถได้  ทั้งนี้อาจเลือกใช้สบู่และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ไม่เป็นอันตรายต่อต้นไม้ หากคุณต้องการรองน้ำเก็บไว้ใช้ในการทำสวน     และถ้าทำได้ควรนำแนวทางการประหยัดน้ำภาคครัวเรือนไปปฏิบัติในองค์กรที่ท่านทำงานอยู่ด้วย จะช่วยให้เราทุกคนมีน้ำสะอาดใช้กันไปได้นานๆ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 179 สมาร์ทโฟน รุ่นไหนที่เหมาะกับความต้องการของเรา

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการบทความในเดือนนี้ผมขอเสนอผลการรีวิวการทดสอบ สมาร์ตโฟนทั้งรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ จำนวน 100 รุ่น ของ มูลนิธิทดสอบสินค้าแห่งเยอรมนี (Stiftung Warentest) ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2014  มีผลสรุปโดยแบ่งประสิทธิภาพและคุณภาพเป็น 4 กลุ่มตามตารางข้างล่างนี้ หวังว่าสมาชิกฉลาดซื้อสามารถใช้ข้อมูลนี้ เลือกซื้อสมาร์ตโฟนเป็นของขวัญในปีใหม่นี้ ได้อย่างฉลาดและรู้เท่าทันกันนะครับ ท้ายนี้ผมขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ดลบันดาลให้ทุกท่านเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุข พละ ตลอดปีวอก 2559 ครับ ผลการรีวิวการทดสอบสมาร์ตโฟน          

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 177 Smart watch

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการสมาร์ตวอตช์ ทำหน้าที่เหมือนกับเป็นคอมพิวเตอร์พกพาขนาดจิ๋วที่ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้•    แจ้งการรับข้อมูล ในกรณีที่มี SMS อีเมล และข้อความข่าวสารที่ส่งเข้า•    แจ้งเตือนหมายนัดต่างๆ•    โทรศัพท์ •    เก็บข้อมูลจากกิจกรรมการเล่นกีฬาเช่น จ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน และตีกอล์ฟ•    เป็น navigator บอกทิศทางในการเดินทาง ตั้งแต่เดือน เมษายน- มิถุนายน 2015 มูลนิธิทดสอบสินค้าแห่งเยอรมนี (Stiftung Warentest) ได้ทำการทดสอบ สมาร์ตวอตช์ จำนวน 12 ยี่ห้อ ได้แก่1. Apple watch 42 mm,2. Apple sport watch 42 mm, 3. LG G watch R, 4. LG Watch Urbane, 5. Samsung Gear S, 6. Sony Smart Watch 3, 7. Asus ZemWatch, 8. Pebbele Time9. Pebbel Steel, 10. Motorola Moto 360, 11. Garmin Vivoactive, 12. Alcatel Onetouch Watch ผลการทดสอบไม่มียี่ห้อไหนได้คะแนน ดีมาก ยี่ห้อที่ได้คะแนนพอใช้ ได้แก่ 1. Apple watch 42 mm (คะแนนเฉลี่ย 2.6)* 2. Apple sport watch 42 mm (คะแนนเฉลี่ย 2.7) 3. LG G watch R (คะแนนเฉลี่ย 3.0) 4. LG Watch Urbane (คะแนนเฉลี่ย 3.2) 5. Samsung Gear S (คะแนนเฉลี่ย 3.2) 6. Sony Smart Watch 3 (คะแนนเฉลี่ย 3.3) 7. Asus ZemWatch (คะแนนเฉลี่ย 3.5) 8. Pebbele Time (คะแนนเฉลี่ย 3.5)ยี่ห้อที่ได้คะแนนเพียงแค่ผ่านได้แก่ 9. Pebbel Steel (คะแนนเฉลี่ย 3.6) , 10. Motorola Moto 360 (คะแนนเฉลี่ย 3.7), 11. Garmin Vivoactive (คะแนนเฉลี่ย 4.3)ยี่ห้อที่ได้คะแนน ไม่ผ่าน ได้แก่ 12. Alcatel Onetouch Watch (คะแนนเฉลี่ย 4.8) ในโปรแกรมการทดสอบ หน่วยงานที่ทดสอบให้ความสำคัญกับเรื่อง การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล กรณีสมาร์ตวอตช์ ยี่ห้อ Alcatel Onetouch Watch และ ยี่ห้อ Garmin Vivoactive นาฬิกาได้ส่งข้อมูลอัตโนมัติโดยที่ไม่มีการใส่รหัสป้องกันความลับของข้อมูล ทำให้ข้อมูลของผู้ใช้งานสามารถถูกดักจับและนำไปทำ user profile ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายเยอรมันหวังว่าข้อมูลผลการทดสอบเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกฉลาดซื้อได้บ้างพอสมควร*หมายเหตุ หลักการคิดเกรดการคะแนนตามแนวทางของคนเยอรมันนั้น มีลักษณะ ตัวเลขน้อยคือ เกรดดี ตัวเลขมากคือ เกรดแย่ ดังนี้เกรด 1 หมายถึง ดีมาก (เกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 1.6 ขึ้นไป)เกรด 2 หมายถึง ดี (เกรดเฉลี่ยระหว่าง 1.7- 2.6)เกรด 3 หมายถึง พอใช้ (เกรดเฉลี่ยระหว่าง 2.7- 3.6)เกรด 4 หมายถึง ผ่าน (เกรดเฉลี่ยระหว่าง 3.7-4.6)เกรด 5 หมายถึง ไม่ผ่าน (เกรดเฉลี่ย มากกว่า 4.7 ลงไป)(ที่มา วารสาร Test 8/2015)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ความคิดเห็น (0)