ฉบับที่ 103 กระแสต่างแดน

“สร้างภาพ” ได้ ไม่ถือว่าหลอกกันองค์กรเฝ้าระวังโฆษณาของอังกฤษออกมายืนยันว่าจะไม่สั่งห้ามการใช้เทคนิค “สร้างภาพ” ให้บุคคลที่ปรากฏตัวบนหน้านิตยสารดูดีเกินจริง กลุ่มเสรีนิยมประชาธิปไตยได้ออกมาเรียกร้องให้มีการห้ามใช้เทคนิคต่างๆ ในการตกแต่งรูปภาพของบรรดาคนดัง หรือนางแบบนายแบบที่ปรากฏบนหน้านิตยสาร เพราะมันทำให้เด็กๆ เกิดความกังวลในเรื่องรูปร่างหน้าตาของตนเอง และขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้โฆษณาสำหรับผู้ใหญ่นั้น มีคำเตือนทำนอง “ภาพนี้ผ่านการตกแต่งด้วยเทคนิค” อยู่ด้วย กลุ่มดังกล่าวบอกว่าการตกแต่งหรือเปลี่ยนแปลงภาพเพื่อทำให้คนดูดีขึ้นนั้น มันหมายถึงการที่สังคมคาดหวังใน “ภาพลักษณ์ที่เป็นไปไม่ได้” และเทคนิคการลบไฝ ฝ้า หรือรอยย่นบนใบหน้านั้นอาจจะทำให้บรรดาเด็กผู้หญิงเสียความมั่นใจในตนเอง ในขณะที่ภาพสาวๆ ที่ผอมเกินเหตุก็อาจทำให้เด็กๆ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางการกินมากขึ้นด้วย ดาราหลายคนก็เคยออกมาพูดถึงการใช้เทคนิคเหล่านี้ เคท วินสเล็ท ไม่พอใจที่นิตยสาร GQ ทำให้เธอขายาวขึ้นและผอมเกินจริงในรูปที่ขึ้นปก ในขณะที่นักร้องสาว เคลลี่ คล้ากสัน ก็เคยถูก “ลดไซส์” บนปกของนิตยสารอเมริกันฉบับหนึ่งมาแล้วเช่นกัน แม้แต่คีร่า ไนท์ลี่ย์ นางเอกจากเรื่องคิงอาเธอร์ ก็เคยพูดถึงหน้าอกที่ดูเหมือนเป็นของเธอในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวนั้น “ไม่ใช่ของชั้นแน่ๆ” โฆษกขององค์กรที่ควบคุมดูแลเรื่องมาตรฐานการโฆษณา (ซึ่งตั้งขึ้นโดยอุตสาหกรรมการโฆษณา) บอกว่า ไม่จำเป็นต้องไปห้ามกันให้วุ่นวายเพราะปีที่แล้วมีเรื่องร้องเรียนดังกล่าวเพียง 5 กรณีเท่านั้นที่สำคัญเขาบอกว่า ใครๆ ก็รู้อยู่แล้ว(จริงหรือ?) ว่าภาพโฆษณาเหล่านี้มีการใช้เทคนิคช่วยทั้งนั้น ใครมีรถเก่า เอามาขาย หนึ่งในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเยอรมนีได้แก่ การประกาศรับซื้อรถเก่า (กว่า 9 ปี) ในราคาคันละ 2,500 ยูโร (ประมาณ 124,000 บาท) กระทรวงการคลังของเยอรมนีบอกว่านี่คือแผนการกระตุ้นให้ผู้คนตัดสินใจลงทุนซื้อรถใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นมาใช้แทนคันเก่า ส่วนเจ้ารถเก่าที่ว่านั้นก็ไม่ได้เอาไปจอดที่เต็นท์ไหนแต่จะถูกเอาไปเข้าเครื่องบดให้เป็นเศษเหล็กนั่นเอง ผู้คนให้ความสนใจโครงการนี้กันล้นหลาม งบที่เตรียมไว้(ประมาณ 2,600 ล้านยูโรหรือ 129,000 ล้านบาท) ก็ถูกใช้หมดไปภายในวันเดียว แถมยังมีคนมาลงชื่อต่อคิวไว้ล่วงหน้าอีก 15,000 คนด้วย แต่ไม่รู้ว่าแผนนี้ จะกระตุ้นเศรษฐกิจของเยอรมนีได้จริงหรือไม่ งานวิจัยจากสถาบัน Halle Economic Research Institute ระบุว่า 3 ใน 4 ของคนที่เอารถเก่ามาขายให้รัฐบาลในโครงการนี้ คือคนที่ตั้งใจจะซื้อรถใหม่อยู่แล้วแม้จะไม่ได้เงินช่วยเหลือจากรัฐก็ตาม ซึ่งหมายความว่าในจำนวนรถที่คาดว่าขายได้ 2 ล้านคันตามโครงการเอื้ออาทรที่ว่านี้ มีถึง 1.5 ล้านคันที่ยังไงๆ ก็ขายได้อยู่แล้ว เรื่องนี้รัฐบาลออกมาแก้ต่างว่า เจตนาของโครงการคือการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ปีหน้า ซึ่งเยอรมนีเตรียมงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด 5,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 247,000 ล้านบาท ความสุขที่คุณตัดไม่ได้ประเทศภูฏานออกมาเตือนประชาชนเรื่องการตัดต้นไม้มาทำธงในการอธิษฐานให้กับผู้ล่วงลับ เพราะเหตุว่ามันจะไม่ดีต่อพื้นที่ป่าอันเขียวชอุ่มและ “ความสุขมวลรวม” ของประเทศ ชาวพุทธที่นี่นิยมปักธงเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตหรือเพื่ออุทิศให้กับผู้ที่ล่วงลับให้สามารถค้นพบทางไปสู่โลกหน้าได้ เชื่อกันว่ายิ่งปักมากยิ่งดี และที่สำคัญคือต้องใช้ธงใหม่ทุกครั้งด้วย ถ้าใครใช้ธงเก่าก็จะดูเหมือนไม่พยายามเท่าที่ควร ซึ่งก็หมายถึงว่าจะไม่ได้บุญไปด้วย คนภูฏานเชื่อว่า ลมจะพัดพาเอากระแสดีๆ จากสัญลักษณ์ตันตระที่เขียนอยู่บนธงสีเหลือง เขียว แดง ขาว และน้ำเงิน ซึ่งเป็นตัวแทนของธาตุทั้ง 5 ออกไป และจะต้องมีการปักธงทั้งหมด 108 ธง เมื่อมีคนเสียชีวิต รัฐบาลภูฏานต้องคิดหนักเพราะไม่สามารถชักชวนให้ประชาชนเปลี่ยนจากธงไม้มาใช้ธงเหล็กหรือธงรีไซเคิลได้ ในขณะที่รัฐธรรมนูญของภูฏานซึ่งให้ความสำคัญกับความสุขมวลรวมประชาชาติของประชากรซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 700,000 คนนั้นระบุไว้ชัดเจนว่าจะต้องมีพื้นที่ป่าไม้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ประเทศ ในระหว่างเดือนมิถุนายนปี 2007 ถึงมิถุนายน 2008 ภูฏานมีการตัดต้นไม้ 60,000 ต้น เพื่อนำมาใช้ในการทำธงดังกล่าว อยู่คุกกินอร่อยกว่าอยู่โรงพยาบาลนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบอร์นมัธ ในอังกฤษ ได้ทำการสำรวจเปรียบเทียบคุณภาพของอาหารที่โรงพยาบาลของรัฐเตรียมให้ผู้ป่วยกับอาหารที่เรือนจำเตรียมให้กับนักโทษ ผลปรากฏว่าอาหารสำหรับนักโทษนั้นมีคุณภาพสูงกว่าอาหารสำหรับผู้ป่วย ทั้งนี้นักวิจัยเขาบอกว่าอาหารในเรือนจำ จัดว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการดีเยี่ยม เป็นอาหารที่ไม่เน้นไขมัน แถมยังใส่เกลือน้อยกว่าและไม่นิยมใช้วิธีการทอดหรือผัดด้วย ศาสตราจารย์ จอห์น เอ็ดเวิร์ดส์ หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยบอกว่าเรื่องนี้เรื่องใหญ่ ร้อยละ 40 ของคนไข้จะมีภาวะทุพโภชนาการเพราะอาการเจ็บป่วยทำให้คนไข้มีความอยากอาหารน้อยลง คนเหล่านี้จึงควรจะได้รับความใส่ใจเป็นพิเศษจากโรงพยาบาลในการกระตุ้นให้รับประทานอาหารดีๆ ให้มากขึ้น แต่ทีมวิจัยกลับพบว่าเวลาที่โรงพยาบาลของรัฐถูกตัดงบประมาณนั้น งบอาหารจะเป็นอย่างแรกที่ถูกตัด แต่ทั้งนี้โฆษกจากกรมสุขภาพของอังกฤษเขายืนยันว่า คนไข้ส่วนใหญ่ก็พอใจกับอาหารที่โรงพยาบาลจัดให้(เป็นไปได้ว่าคนไข้ยังไม่เคยรับประทานอาหารในเรือนจำ ... แต่ก็น่าจะไม่จำเป็นต้องเข้าไปลองนะ) น้ำหนักไม่ลด อดได้เงินคืน เดี๋ยวนี้คลินิกลดน้ำหนักในฮ่องกงหันมาชักชวนผู้บริโภคให้เข้ารับบริการด้วยข้อเสนอว่าพวกเขาจะได้บริการฟรี ถ้าสามารถลดความอ้วนได้จริงและช่วยเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับทางคลินิกด้วย แต่มันไม่ง่ายอย่างที่คิด ก่อนอื่นผู้ที่ประสงค์จะใช้บริการลดน้ำหนักกับทางคลินิกพวกนี้ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนล่วงหน้าไปก่อน เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นว่าต้องการจะลดน้ำหนักจริงๆ และมีการทำสัญญาตั้งเป้าหมายการลดไว้ด้วย ถ้าพลาดเป้าไม่สามารถลดได้ตามที่แจ้งความจำนงไว้กับทางร้าน ลูกค้าก็จะไม่ได้เงินคืนหรือได้ส่วนลดตามที่เสนอไว้ในตอนแรก เช่น รายหนึ่งที่ร้องเรียนเข้ามาบอกว่าเธอต้องจ่ายเงิน 24,800 เหรียญฮ่องกง (ประมาณ 108,000 บาท) ต่อคอร์สลดน้ำหนักที่ใช้เวลา 2 เดือน และเธอจะได้เงินคืนถ้าสามารถลดน้ำหนักได้ 15 ปอนด์ (ประมาณ 7 กิโลกรัม) ภายในระยะเวลาดังกล่าว แต่เธอก็ไม่ได้เงินก้อนนั้นคืนมา เพราะไม่สามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ เรื่องนี้จัดการยากจริงๆ เพราะแม้จะมีการดูสัญญาโดยละเอียดแล้วก็ตาม แต่ในสัญญาก็ระบุไว้แล้วว่า การรักษาอาจไม่ประสบความสำเร็จเสมอไป ขึ้นอยู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารของผู้เข้ารับบริการ ทำให้เป็นการยากที่จะชี้ลงไปว่าความล้มเหลวในการลดน้ำหนักนั้นเป็นความผิดของใคร แต่ส่วนมากแล้วจะเป็นฝ่ายลูกค้า ปัจจุบันสภาผู้บริโภคของฮ่องกงมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับคลินิกลดความอ้วนมากขึ้น แค่ช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ก็มีกรณีร้องเรียนที่เกี่ยวกับเงื่อนไขคืนเงินที่ว่านี้กว่า 31 กรณี (มากกว่าปีที่แล้ว 7 เท่า) จากเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 86 เรื่องที่เกี่ยวกับบริการของคลินิกลดความอ้วน คำแนะนำที่ทางการฮ่องกงให้กับผู้บริโภคขณะนี้คือ ให้ระลึกไว้เสมอว่าใดๆ ในโลกล้วนไม่ฟรี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 98 กระแสต่างแดน

กระแสต่างแดนศศิวรรณ ปริญญาตรเชื่อโค้กซิ ถ้ามีคนบอกคุณว่าน้ำอัดลมโค้กไม่ทำให้คุณอ้วนหรือฟันผุ คุณก็คงไม่เชื่อ แต่เชื่อเถอะนะว่า บริษัทโคคา โคล่า เซาท์ แปซิฟิก เขากล้าโฆษณาให้คุณเชื่ออย่างนั้นจริงๆ   โฆษณาทางโทรทัศน์ชิ้นดังกล่าวมีดารายอดนิยมของออสเตรเลีย เคอรี่ อาร์มสตรอง เป็นพรีเซ็นเตอร์ เคอรี่ซึ่งแต่งงานแล้วและมีลูกชายสามคนพูดกับผู้ชมว่า “ตอนนี้ดิฉันรู้แล้วว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง ดีจังที่ได้รู้ว่าเราสามารถดื่มเครื่องดื่มสุดโปรดของครอบครัวต่อไปได้อย่างสบายใจ”   ซึ่งก่อนหน้านั้นเนื้อหาในโฆษณาได้พูดถึง “ข่าวลือ” เกี่ยวกับเครื่องดื่มโค้ก ในทำนอง “เขาว่ากันว่า กินโค้กแล้วอ้วน ... กินโค้กแล้วฟันผุ” จากนั้นก็จบลงด้วยการฟันธงว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเพียงแค่ข่าวลือเท่านั้น ก็เท่ากับบอกคนดูว่า เครื่องดื่มโค้กไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เด็กมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือฟันผุ นั่นเอง   โฆษณาชิ้นนี้จึงถูกคณะกรรมการเพื่อผู้บริโภคและการแข่งขันทางการค้าของออสเตรเลียเบรกเข้าอย่างจัง คณะกรรมการฯ สั่งให้โคคา โคล่าออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงในโฆษณาดังกล่าวต่อผู้บริโภคโดยด่วน เนื่องจากข้อความในโฆษณาของโค้กนั้นถือว่าอุกอาจอย่างยิ่ง เพราะมันทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดว่าโค้กนั้นไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็ก เรื่องนี้จบลงที่บริษัทโคคา โคล่า ยินยอมซื้อเนื้อที่ในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วทุกรัฐในออสเตรเลีย เพื่อชี้แจงสิ่งที่ตนเองได้โมเมไปก่อนหน้านี้ รวมถึงการชี้แจงในเว็บไซต์ของบริษัทเองด้วย แต่ยังไม่หมด คณะกรรมการฯ ออกคำสั่งให้บริษัทชี้แจงเรื่องปริมาณคาเฟอีนด้วย เนื่องจากบริษัทเคยบอกกับผู้บริโภคเป็นทำนองว่า โค้กไม่ได้มีคาเฟอีนในปริมาณที่มากมายอย่างที่เข้าใจกัน ไดเอทโค้กขนาด 250มล. นั้น มีคาเฟอีนปริมาณเท่ากับครึ่งหนึ่งของชาในปริมาณ 250 มล. เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว (ในข้อมูลที่บริษัทได้แก้ไขแล้ว) โค้กมีคาเฟอีนถึง 2/3 ของชาในปริมาณเดียวกัน อยากประหยัด ต้องลดน้ำหนักก่อนบินขณะนี้ในอเมริกานั้นมีการคิดค่าโดยสารเครื่องบินตามน้ำหนักตัวผู้โดยสารมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดสายการบินยูไนเต็ดก็ออกมาประกาศว่า ผู้โดยสารที่ตัวใหญ่เกินกว่าที่นั่งในชั้นประหยัดนั้น อาจจะต้องถูกขอร้องให้ซื้อตั๋วสองที่นั่งหรือไม่ก็เพิ่มเงินเพื่อเปลี่ยนเป็นตั๋วชั้นธุรกิจซึ่งที่นั่งมีขนาดใหญ่กว่าแทน สายการบินดังกล่าวบอกว่าเหตุที่ต้องมีนโยบายดังกล่าวขึ้นมาก็เพราะเมื่อปีที่แล้วมีผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 700 คน ที่มาร้องเรียนกับทางบริษัทว่าได้รับความอึดอัดเป็นอย่างยิ่งตลอดการเดินทางเพราะผู้โดยสารที่นั่งข้างๆ นั้นตัวใหญ่เกินไป ในยุคที่สายการบินกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะหลีกเลี่ยงการถูกฟ้องร้องจากผู้โดยสาร เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นแล้วกับสายการบินเวอร์จิน แอตแลนติก ที่ต้องจ่ายค่าเสียหายถึง 13,000 ปอนด์ (ประมาณ 660,000 บาท) ให้กับบาร์บาร่า ฮิวสัน ซึ่งถูกผู้โดยสารที่นั่งข้างๆ เบียดจนได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่กล้ามเนื้อขา (ข่าวบอกว่าทุกวันนี้เธอยังคงต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน) ทางฝั่งอังกฤษก็มีสายการบินไรอันแอร์ ที่ดูเหมือนจะเป็นผู้บุกเบิกในการนำนโยบายดังกล่าวมาใช้บ้าง สายการบินได้ทำการสำรวจความเห็นผู้บริโภคว่า บริษัทควรเก็บเงินจากผู้โดยสารที่มีความต้องการพิเศษหรือไม่ ขณะนี้มีคนโหวตเข้ามาแล้ว 45,000 คน และเกือบร้อยละ 50 เห็นด้วยกับการคิดเงินเพิ่มจากผู้โดยสารที่มีน้ำหนักเกิน (เสียงโหวตยอดนิยมอันดับสองได้แก่ การคิดเงินเพิ่มจากคนที่เข้าไปสูบบุหรี่ในห้องน้ำบนเครื่องบิน) ความจริงเรื่องการคิดเงินเพิ่มจากผู้โดยสารที่มีน้ำหนักเกินนี้เป็นสิ่งที่สายการบินต่างๆ คิดมานานแล้วแต่ไม่มีใครกล้าทำจริงๆ แต่ไรอันแอร์บอกว่าคราวนี้เป็นเสียงเรียกร้องจากผู้โดยสารเอง แต่ข่าวเขาไม่ได้บอกนะว่า จะลดค่าโดยสารให้กับผู้โดยสารที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานด้วยหรือเปล่า โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์สีเขียว คุณก็เป็นได้ หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวเรื่องการเปิดตัวภาพยนตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมเรื่อง The Age of Stupid เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาแล้ว เหตุการณ์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2055 เมื่อโลกเข้าสู่ภาวะล่มสลาย ตัวเอกซึ่งเป็นชายชราคนหนึ่งมองกลับไปยังอดีตของเขา แล้วถามตนเอง (ถามคนดูด้วย) ว่าเหตุใดมนุษย์จึงไม่ลงมือทำอะไรในขณะที่พวกเขายังมีโอกาส ภาพยนตร์เรื่องนี้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง นอกจากจะมีดารานำที่เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้ว และมีผู้กำกับคือ แฟนนี่ อาร์มสตรอง ก็เคยที่ทำภาพยนตร์เรื่อง McLibel เมื่อปี 2005 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับนักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมสองคนที่เคยยืนหยัดต่อต้านยักษ์ใหญ่ฟาสต์ฟู้ดอย่างแมคโดนัลด์มาแล้ว อีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจคือที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการสร้างหนังเรื่องดังกล่าวผู้อำนวยการสร้างหนังเรื่องนี้มีทั้งหมด 228 ราย (ในนี้มีทีมฮ็อคกี้ และศูนย์สุขภาพด้วย) ซึ่งก็คือคนกลุ่มหนึ่งที่ยินดีบริจาคเงินให้กับทีมผู้สร้าง ด้วยการลงหุ้น (ในที่นี้น่าจะเป็นลงขัน) กันคนละตั้งแต่ 500 ถึง 35,000 ปอนด์ รวมๆ แล้วเป็นทุนสร้างทั้งหมด 450,000 ปอนด์ (ประมาณ 23 ล้านบาท) ที่ทีมงานสามารถนำไปสร้างหนังได้โดยไม่มีการแทรกแซงแต่อย่างใด แฟนนี่บอกว่า สาเหตุที่มีคนจำนวนถึง 25 ล้านคนได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับแมคโดนัลด์ ทั้งๆ ที่หนังเรื่อง McLibel ของเธอถูกห้ามฉายในโรงภาพยนตร์ ก็เพราะว่ามันเป็นหนังที่เธอเป็นเจ้าของเอง และเธอสามารถให้สิทธิการฉายกับช่องเคเบิลที่ติดต่อเข้ามา และการที่เธอไม่ได้รับสปอนเซอร์จากบริษัทใดๆ ก็หมายความว่าเธอสามารถนำเสนอเรื่องราวได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ต้องตัดบางตอนออกเพราะเกรงใจใครด้วย ส่วนการฉายรอบปฐมทัศน์ของหนังเรื่องนี้ก็แหวกแนวเล็กน้อย แทนที่จะเป็นการจำกัดเฉพาะนักข่าวบันเทิงหรือคนดังที่ดูอยู่ที่โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งในลอนดอน ผู้จัดได้ฉายพร้อมๆ กัน ในโรงหนัง 60 โรงทั่วประเทศอังกฤษ รวมถึงในอินเตอร์เน็ตด้วย ที่เก๋ไปกว่านั้นคือ ผู้กำกับบอกด้วยว่าในการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกสร้างขึ้นตลอดเวลาการถ่ายทำเป็นปริมาณทั้งหมด 94 ตัน ซึ่งก็เท่ากับปริมาณก๊าซดังกล่าวที่คนอเมริกัน 4 คน หรือคนอังกฤษ 8 คน จะสร้างขึ้นในเวลา 1 ปี นั่นเอง เพื่อน .. เราหลอกนายว่ะเราควรจะดีใจที่มีสินค้ามากมายในท้องตลาดที่ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เพราะมันทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ รู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม แต่…เราดีใจไม่ออกเสียแล้ว เพราะความจริงคือ มีเพียงร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้เท่านั้นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงๆ นี่คือผลการสำรวจโดยองค์กร TerraChoice Environmental Marketing ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลแคนาดา ที่มีหน้าที่สอดส่องดูแลการเรื่องฉลากแสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ องค์กรดังกล่าวบอกว่ามีจำนวนผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่า “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในช่วงสองปีที่ผ่านมาและผู้ผลิตก็เริ่มใช้เทคนิคการตลาดที่หลากหลายขึ้น ความจริงแล้วก็เป็นเรื่องดี เพราะนั่นหมายความว่าผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจต่อเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และบริษัทก็พยายามจะสนองตอบความต้องการนั้นๆ แต่ข่าวร้ายคือ เมื่อทำการสำรวจดูสินค้าในซูเปอร์มาร์เกตในอเมริกาและแคนาดาทั้งหมด 2,219 ชิ้น (องค์กรดังกล่าวบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ คำโฆษณา ข้อมูลสนับสนุน และการให้ข้อมูลจากบริษัท แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ขององค์กรรัฐที่ควบคุมดูแลเรื่องการค้าที่เป็นธรรม ทั้งอเมริกาแคนาดา ออสเตรเลีย หรือแม้แต่ ISO) กลับพบว่ามีถึงร้อยละ 98 ของผลิตภัณฑ์ ที่เข้าข่าย “แอบอ้าง” ว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่แย่ไปกว่านั้นคือเขาพบว่าผู้ผลิตเหล่านี้มีการอุปโลกน์เครื่องหมายรับรองปลอมๆ จากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมา เพื่อหลอกลวงผู้บริโภคอีกด้วย สถานที่ราชการ กรุณางดตั้งเป็นชื่อบุหรี่องค์กรต่อต้านการสูบบุหรี่แห่งหนึ่งในจีน ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งห้ามไม่ให้ใช้ชื่อ “จงหนานไห่” เป็นยี่ห้อบุหรี่อีกต่อไป วู ยี ชุน รองผู้อำนวยการขององค์กรพัฒนาเอกชน Think Tank Research Center for Health Development บอกว่าการยินยอมให้มีบุหรี่ยี่ห้อดังกล่าวอยู่ในท้องตลาดต่อไป เท่ากับเป็นการส่งเสริมการสูบบุหรี่ทางอ้อม เธอบอกว่าชื่อ “จงหนานไห่” (ซึ่งเป็นชื่อทำเนียบรัฐบาลของจีน) อาจจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ยี่ห้อดังกล่าวได้รับการรับรองจากรัฐบาล บุหรี่จงหนานไห่ เป็นหนึ่งในบุหรี่ยี่ห้อดังๆ ที่มีขายในประเทศจีน ซึ่งมีมูลค่าการตลาดถึงเจ็ดหมื่นแปดพันล้านหยวน (ประมาณ 40,000 ล้านบาท) นักกฎหมายหลายคนบอกว่าการใช้ชื่อดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเครื่องหมายการค้า เพราะในมาตรา 10 ของกฎหมายฉบับดังกล่าวระบุว่าห้ามนำชื่อของสถานที่ราชการมาใช้เป็นชื่อยี่ห้อสินค้า แต่ทั้งนี้เมื่อสามปีก่อน สำนักงานเครื่องหมายการค้าแห่งปักกิ่งได้อนุญาตให้บริษัทโรงงานยาสูบปักกิ่งใช้ชื่อ “จงหนานไห่” ได้ต่อไปจนถึงปี ค.ศ. 2017 นี่ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกที่จะให้รัฐบาลห้ามใช้ชื่อของสถานที่ราชการมาตั้งเป็นยี่ห้อสินค้า แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีใครประสบความสำเร็จ บริษัทต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะเก็บชื่อเดิมไว้ เพราะว่ากันว่าถ้าต้องเปลี่ยนชื่อจริงๆ บริษัทนี้จะต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนหลายร้อยล้านหยวน นอกจากนี้ บุหรี่จงหนานไห่ ยังมีประเด็นที่ไม่เข้าตากรรมการอีกสองเรื่องคือ หนึ่ง บริษัทบอกกับผู้บริโภคว่า ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายบุหรี่ดังกล่าวจะมอบให้กับองค์กรการกุศลที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน สองคือบริษัทสื่อสารให้ผู้สูบบุหรี่เข้าใจว่า บุหรี่ที่มีน้ำมันดินเป็นส่วนประกอบในปริมาณต่ำจะเป็นอันตรายต่อร่างกายน้อยลง ซึ่งไม่เป็นความจริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 130 เอาอาหารจากข้างนอกเข้าไปในโรงภาพยนตร์ได้หรือไม่

  เป็นเรื่องถกเถียงกันมาตลอดว่า เราสามารถเอาอาหาร เครื่องดื่ม ที่ไม่ได้จำหน่ายหน้าโรงภาพยนตร์เข้าไปรับประทานในขณะชมภาพยนตร์ได้หรือไม่ “ได้สิ ก็หน้าโรงขายแพงเหลือเกิน ราคาขูดรีดมาก ซื้อข้างนอกถูกกว่าตั้งแยะ” “ทำไมจะไม่ได้ ก็ขายของราคาเอาเปรียบมาก เราซื้อตั๋วแล้ว ก็น่าจะนำเอาอาหารเข้าไปได้ ของที่เราซื้อก็เหมือนหน้าโรงหนังนั่นแหละ” บลาๆๆ เรื่องนี้ก็เห็นจะต้องแยกเป็นสองประเด็นก่อน คือ 1.เราเอาอาหารจากข้างนอกเข้าไปในโรงภาพยนตร์ได้หรือไม่ 2.ราคาอาหารหน้าโรงหนังแพงเกินไป ประเด็นแรกคือ เราต้องยอมรับก่อนว่า เราเข้าไปซื้อบริการ “ชมภาพยนตร์” ในสถานที่ของเจ้าของกิจการ เท่ากับว่า เรายินยอมรับเงื่อนไขที่ทางโรงกำหนด เช่น ห้ามนำอาหารจากร้านค้าภายนอกที่ไม่ได้จำหน่ายโดยโรงหนังเข้าไปภายในโรง หรือการขอตรวจกระเป๋าเพื่อดูว่าเรานำกล้องเข้าไปแอบถ่ายหรือเปล่า ฯลฯ ถ้าเราไม่ยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทางโรงกำหนด ก็เท่ากับเราละเมิดสัญญาเขาก็มีสิทธิยกเลิกการชมภาพยนตร์ของเราได้ เพราะเราเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไข แต่ในทางปฏิบัติ หลายโรงก็ยืดหยุ่นให้เรานำอาหารเข้าไปได้ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความพอใจให้ลูกค้า คงไม่มีโรงไหนกล้าไล่เราออกมาอย่างจริงจัง นอกจากจะเตือนๆ บ้าง สรุปว่า ทางโรงมีสิทธิห้ามไม่ให้เรานำอาหารจากภายนอกเข้าไปได้ ประเด็นที่สอง สินค้าหน้าโรงราคาแพงมาก โดยปราศจากการควบคุมราคานั้น อันนี้เป็นเรื่องน่าคิด เคยมีการทำเรื่องร้องเรียนกระทรวงพาณิชย์มาแล้ว โดยหน่วยงานที่ดูแลเรื่องราคาสินค้าก็คือ กรมการค้าภายใน ซึ่งได้อธิบายว่า สินค้าโรงภาพยนตร์ไม่ได้อยู่ในบัญชีสินค้าและบริการควบคุม เพราะถือเป็น “บริการทางเลือก” ซึ่งไม่สามารถใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ไปเอาผิดกรณีจำหน่ายสินค้าในราคาแพงกว่าท้องตลาดได้ บริการทางเลือก หมายความว่า เขาไม่ได้บังคับให้ซื้อ ไม่พอใจก็ไม่ต้องซื้อ อืม ก็จริงนะ แต่ว่า เมื่อไปรวมกับการห้ามนำอาหารจากข้างนอกเข้าไป ก็เลยกลายเป็นว่า มันเหมือนการ “มัดมือชก” ผู้บริโภคดีๆ นี่เอง(ยังไม่รวมเรื่องราคาตั๋วที่แพงจัดและการโฆษณาบ้าเลือดในโรง) เรื่องนี้สำหรับประเทศนี้ กฎหมายคงไม่ใช่ทางออก ผู้บริโภคต้องรวมตัวกันให้ได้จนมีพลังมากๆ มากพอที่จะต่อรองด้วยการไม่ซื้อสินค้าหน้าโรงหนัง จนกว่าผู้ประกอบการจะสำนึกได้ ซึ่งถ้าทำได้จริง รับรองว่า ราคาจะลดลงมาแน่นอน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 เรื่องที่คนรักสุขภาพต้องรู้ ก่อนสมัครเป็นสมาชิก “ฟิตเนส เซ็นเตอร์”

ยุคนี้เป็นยุคของคนรักสุขภาพ ใครๆ ก็หันมาให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพ เล่นกีฬา ออกกำลังกายกันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เพราะการออกกำลังกายช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ การที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยหันมาใส่ใจสุขภาพและออกกำลังกายกันมากขึ้น เป็นผลให้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีสถานออกกำลังกาย หรือ ฟิตเนส เซ็นเตอร์ เปิดให้บริการรองรับกระแสคนอยากออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องจากเหตุการณ์ของ “แคลิฟอร์เนีย ว๊าว” ฟิตเนส เซ็นเตอร์ชื่อดัง ที่มีสาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ปิดตัวลงในปี 2555 จากการหลอกลวงเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งมีความผิดร้ายแรงถึงขั้นเป็นคดีฉ้อโกง มีผู้เสียมากกว่าหนึ่งพันคน ผลจากกรณีของ แคลิฟอร์เนีย ว๊าว ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่กับทั้งหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องหันกลับมามองหามาตรการควบคุมดูแล และรวมถึงตัวผู้บริโภค ผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกาย ที่ต้องให้ความสนใจในเรื่องของมาตรฐานการบริการและเรื่องสัญญาการให้บริการมากขึ้น ปกป้องตัวเองไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยแบบ แคลิฟอร์เนีย ว๊าว การเลือกใช้บริการสถานออกกำลังกาย หรือ ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ต้องคำนึงถึงหลายๆ องค์ประกอบ มากกว่าจะมองเพียงแค่สุขภาพหรือรูปร่างที่เราจะได้ แต่ยังต้องมองถึงเรื่องสวัสดิภาพความปลอดภัยของสุขภาพร่างกายจากการใช้บริการ ระบบดูแลที่มีมาตรฐานของสถานที่ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีกรณีที่ชวนให้ตกใจ เมื่อมีผู้ใช้บริการฟิตเนสเสียชีวิตเนื่องจากเหตุไฟไหม้อาคารที่ฟิตเนสดังกล่าวเปิดให้บริการอยู่แม้ต้นเพลิงจะเกิดขึ้นในส่วนอื่นที่ไม่ใช่ตรงส่วนของฟิตเนสก็ตามแต่นั่นก็แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากระบบรักษาความปลอดภัยที่ไม่ได้มาตรฐานปัจจุบัน สถานบริการด้านการออกกำลัง หรือ ฟิตเนส เซ็นเตอร์ มีกฎหมายที่ควบดูแลหลักๆ อยู่ 4 ฉบับ คือ   สถานออกกำลังกาย แบบไหนน่าใช้บริการ จากจำนวนของสถานออกกำลังกายที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ย่อมแสดงให้เห็นถึงความต้องการสถานที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งหน่วยงานอย่างกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออก  “ข้อแนะนำมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ” เพื่อเป็นแนวทางให้กับสถานออกกำลังกายต่างๆ นำไปเป็นปฏิบัติ ซึ่งในมุมของผู้ใช้บริการเองก็จำเป็นต้องทราบถึงมาตรฐานต่างๆ ที่มีการกำหนดควบคุม เพื่อที่เราจะได้นำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกใช้บริการสถานออกกำลังกาย 1.มาตรฐานด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม- อาคาร สถานที่ตั้ง ทั้งภายใน ภายนอก ต้องดูแล้วมีความมั่นคง แข็งแรง และเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร - ต้องมีการแสดงแผนผังสถานที่ ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของผู้ที่มาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ป้ายบอกทางหนีไฟ ป้ายห้ามสูบบุหรี่ และระเบียบการใช้บริการที่ชัดเจน- ต้องมีการติดตั้งเครื่องมือดับเพลิงแบบมือถือ 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารทุกๆ 1,000 ตารางเมตรสำหรับอาคารขนาดใหญ่ และติดตั้ง 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารทุกๆ 100 ตารางเมตร สำหรับอาคารขนาดเล็ก ซึ่งแต่ละเครื่อง ต้องติดตั้งห่างกันไม่เกิน 45 เมตร และอยู่สูงจากระดับพื้นอาคารไม่เกิน 1.5 เมตร สามารถมองเห็นได้ง่าย และนำไปใช้ได้โดยสะดวก- จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ (ไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์ (มาตรความสว่าง (lux meter))- ห้องออกกำลังกายที่มีเครื่องปรับอากาศ ควรมีคุณภาพการปรับอากาศที่ดี มีอุณหภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส และห้องออกกำลังกายที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ควรมีการถ่ายเทอากาศที่เพียงพอไม่มีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์- ความดังของเสียงในห้องออกกำลังกายเฉลี่ยสูงสุดต้องไม่เกิน 90 เดซิเบล (เอ)- มีการแบ่งพื้นที่ให้บริการออกกำลังกาย เป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เช่น พื้นที่ต้อนรับ พื้นที่สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ออกกำลังกาย และพื้นที่กิจกรรมการออกกลุ่ม- พื้นที่จัดวางอุปกรณ์ ควรมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และช่องทางเดินร่วมไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร- พื้นที่กิจกรรมการออกกำลังกายกลุ่ม มีพื้นที่ให้บริการไม่น้อยกว่า 2x2 ตารางเมตร- มีห้องน้ำ แยกชาย-หญิง อย่างละ 1 ห้องต่อผู้ใช้บริการไม่เกิน 15 คน, 2 ห้อง ต่อผู้ใช้บริการ 40 คน, 3 ห้อง ผู้ใช้บริการไม่เกิน 80 คน และเพิ่มขึ้นต่อจากนี้ 1 ห้อง ต่อจำนวนผู้ใช้บริการไม่เกิน 50 คน มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องอาบน้ำ ล็อคเกอร์เก็บของ และอ่างล้างมือแยกชาย-หญิง ที่สะอาดและเพียงพอ2.มาตรฐานด้านอุปกรณ์ออกกำลังกาย- ต้องมีอุปกรณ์ หรือรูปแบบวิธีการในการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การสร้างเสริมระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต การสร้างเสริมระบบกล้ามเนื้อ และการสร้างเสริมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ- มีระบบและรายงานการตรวจเช็คอุปกรณ์ออกกำลังกายให้มีความแข็งแรง ทนทาน สะอาดและพร้อมใช้งานทุกวัน- ต้องมีป้ายคำแนะนำ คำเตือนในการใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ติดไว้เห็นได้ชัดเจน- จัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการให้บริการด้านสุขภาพ ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง เครื่องวัดความดันโลหิต และ สายวัดรอบเอว3.มาตรฐานด้านการให้บริการ- มีการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพแก่สมาชิก ก่อนการให้บริการครั้งแรก เพื่อคัดกรองความเสี่ยง ได้แก่ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต การจัดทำประวัติสุขภาพ และการตอบแบบสอบถามการประเนิมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย- จัดให้มีคำแนะนำ หลักการ และขั้นตอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โปรแกรมการออกกำลังกาย การประเมินผลสมรรถภาพทางกายและสัดส่วนของร่างกาย- จัดทำป้ายคำแนะนำและคำเตือน ในการออกกำลังกาย โดยติดไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน ได้แก่ ป้ายคำแนะนำหลักการและขั้นตอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ วิธีการออกกำลังการที่เหมาะสมกับเพศและวัย ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย และข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ- มีบริการน้ำดื่มที่สะอาดและมีปริมาณเพียงพออยู่ใกล้บริเวณที่ออกกำลังกาย โดยไม่คิดค่าบริการ4.มาตรฐานบุคลากรผู้ให้บริการ- บุคลากรผู้ให้บริการออกกำลังกาย ควรมีคุณสมบัติจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, วิทยาศาสตร์การกีฬา, พลศึกษา และผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย (instructor exercise) ที่จัดโดยกรมอนามัย หรือหลักสูตรที่ได้รับการเห็นชอบร่วมกันระหว่างกรมอนามัยและสถาบันการศึกษา- บุคลากรผู้ให้บริการออกกำลังกาย ได้รับการฟื้นฟูวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ อย่างน้อยปีละครั้ง- บุคลากรผู้ให้บริการด้านการออกกำลังกาย สามารถทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาหลักการและขั้นตอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กำหนดโปรแกรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศ วัย และสภาพร่างกาย คัดกรองสุขภาพก่อนกำหนดโปรแกรมการออกกำลังกาย และประเมินสมรรถภาพของสมาชิกทั้งก่อนและหลังการรับบริการ- มีบุคลากรรับผิดชอบให้คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ 1 คนต่ออุปกรณ์ออกกำลังกายทุกชนิดไม่เกิน 15 เครือง และกรณีการออกกำลังกายกลุ่ม มีบุคลากรรับผิดชอบให้คำแนะนำ 1 คน ต่อผู้ใช้บริการไม่เกิน 30 คน5.มาตรฐานด้านความปลอดภัยและมาตรการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน- ต้องมีแผนเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และการซ้อมแผน ได้แก่ แผนการช่วยชีวิต และแผนการระงับอัคคีภัย อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์สถานพยาบาลใกล้เคียงติดไว้ในที่มองเห็นชัดเจน- ต้องมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาล พร้อมใช้ตลอดเวลา โดยชุดปฐมพยาบาลควรเก็บไว้ในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดได้สนิท หรืออุปกรณ์ที่กันน้ำ และติดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของสถานพยาบาลต่างๆ ไว้ด้วย ที่มา : คู่มือ ข้อแนะนำมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ฉบับที่ 1โดย กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรม อนามัย กระทรวงสาธารณสุข คนไทยกับการออกกำลังกาย   สุขภาพดีได้ไม่ต้องง้อฟิตเนสประโยคที่บอกว่า “สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องสร้างเอง” คงไม่ได้เป็นคำพูดที่เกินความจริงแต่อย่างใด เพราะต่อให้มีเงินไปสมัครตามฟิตเนสชื่อดัง ค่าสมาชิกหลักพันหลักหมื่น อุปกรณ์แน่น เทรนเนอร์เก่ง แต่ถ้าได้แค่สมัครสมาชิกทิ้งไว้โดยไม่เคยไปใช้บริการเลย หรือเดือนหนึ่งจะได้เข้าไปออกกำลังสักครั้งสองครั้ง แบบนั้นสุขภาพดีๆ ก็คงไม่ทางเกิดขึ้นกับเราแน่นอน ฉลาดซื้อ ขอเสนอทางเลือกให้กับคนที่มีใจรักอยากจะออกกำลังกาย อยากจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่ไม่อยากต้องเสียทรัพย์ไปกับฟิตเนส เซ็นเตอร์ ด้วย 3 ทางเลือกในการออกกำลังกายที่ทำได้ง่ายด้วยตัวของคุณเอง 1.ออกไปสูดอากาศอันสดชื่นที่ “สวนสาธารณะ”ประเทศไทยเรามีสวนสาธารณะอยู่ทั้งหมด 593 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ (ข้อมูลจากการสำรวจของกองออกกำลังกายฯร่วมกับศูนย์อนามัย) ซึ่งเดี๋ยวนี้เราก็จะเห็นผู้คนจำนวนมากทุกเพศทุกวัย ไปใช้เวลาว่างหลังเลิกงานเลิกเรียน เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายตามสวนสาธารณะต่างๆ ซึ่งหลักๆ ก็มักจะเลือกวิธีเดินหรือวิ่ง แต่สวนสาธารณะหลายๆ ที่ก็ยังมีกิจกรรมออกกำลังกายวิธีอื่นๆ เตรียมไว้รอคนรักสุขภาพ ทั้งเต้นแอโรบิก รำมวยจีน รวมทั้งมีเครื่องออกกําลังกายกลางแจ้ง สำหรับคนที่อยากอยากลองออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์แต่ไม่อยากลงทุนซื้อเครื่องมาไว้ที่บ้าน และก็ไม่อยากต้องเสียเงินไปสมัครเป็นสามาชิกตามฟิตเนส เซ็นเตอร์ เรียกว่าเราสามารถมีสุขภาพดีได้ไม่ยาก ขอแค่แบ่งเวลาวันละนิด อย่างน้อย 30 นาที หารองเท้าสำหรับออกกำลังกายดีๆ สักคู่ แค่นี้ก็ออกไปออกกำลังกายกันที่สวนสาธารณะใกล้บ้านได้แล้ว2.ฟิตผ่านหน้าจอ กับช่องออกกำลังกายใน “Youtube”เดี๋ยวนี้เราสามารถหาดูคลิปวิดีโอต่างๆ ได้เกือบจะทุกอย่างผ่านทางเว็บไซต์ยูทูป (Youtube) แน่นอนว่าวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายก็มีให้ชมมากมายเช่นกัน ในต่างประเทศจะมีช่องรายการในยูทูป (Youtube Channel) ที่เสนอวิดีโอเฉพาะเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะเป็นจำนวนมาก สำหรับช่องรายการที่ทำโดยคนไทยที่ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ฉลาดซื้ออยากแนะนำ 3 ช่องรายการเกี่ยวกับการออกกำลังกายในยูทูป ที่สอนทั้งท่าออกกำลังกายแบบง่ายๆ แค่ดูก็ทำตามได้ทันที พร้อมด้วยความรู้เกี่ยวการดูแลสุขภาพ เรื่องของโภชนาการ เอาไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เอาเป็นว่าไปเปลี่ยนชุดสำหรับออกกำลังกาย แล้วเปิดคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ คลิ้กรอไว้ที่เว็บไซต์ยูทูปได้เลยFitjunctionsหนุ่มๆ สาวๆ ที่อยากฟิตหุ่นให้เฟิร์ม อยากมีกล้ามอย่างสร้างซิกแพ็ค น่าจะชื่นชอบช่องรายการนี้เป็นพิเศษ  เพราะ Fitjunctions มีคลิปวิดีโอที่สอนท่าออกกำลังกายตั้งแต่เริ่มต้นสำหรับคนทั่วไป ไปจนถึงความรู้สำหรับที่อยากเพิ่มกล้ามเนื้อ ปรับรูปร่างให้ดูใหญ่ขึ้น ที่สำคัญคือมีคลิปที่นำเสนอความรู้เกี่ยวกับร่างกายของเรา การออกกำลังกายแบบไหนมีผลต่อรูปร่างอย่างไร รวมทั้งเรื่องการกินอาหาร ว่ากินอย่างไรถึงจะดีต่อร่างกาย ตามสโลแกนของช่องที่ว่า “แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับการ ฟิตหุ่นและรักษาสุขภาพ  เน้นหลักๆ 3 ข้อ คือ ไม่อดของอร่อย ไม่หักโหม และเน้นที่การสอนความรู้ที่เข้าใจง่าย แต่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์”KalamareTVช่องรายการของพิธีสาวเก่งชื่อดังอย่าง “กะลาแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ” ที่ทำยูทูป แชนแนล เป็นของตัวเอง โดยในช่องรายการของเธอก็จะรวบรวมหลากหลายผลงานในฐานะพีธีกรของเธอเอาไว้ให้แฟนคลับและคนที่ชอบผลงานของเธอได้เข้ามาชมกัน ซึ่ง 1 ในรายการที่มีให้ชมทาง KalamareTV ก็คือรายการ “ทุกที่ทุกท่ากับกาละแมร์” ซึ่งเป็นคลิปวิดีโอที่พิธีกรคนเก่งจะมาสอนท่าออกกำลังกายง่ายๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน เรียกว่าเป็นท่าออกกำลังกายที่ประยุกต์มาจากอิริยาบถธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน  ทั้งการนั่ง การยืน การนอน ทำให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องง่ายสุดๆ ไม่ต้องออกไปไหนไกล แค่อยู่บ้านก็ออกกำลังกายได้Fit Minutes [by Mahidol]ช่องรายการนี้เป็น ช่องรายการย่อยของ มหิดล แชนแนล (Mahidol Channel) เป็นช่องรายการที่จะมาสอนการออกกำลังกายแบบถูกต้องถูกวิธี ที่เราสามารถเข้าใจและทำตามได้ง่ายๆ เพราะมีการอธิบายขั้นตอนต่างๆ แบบละเอียดในการออกกำลังกายแต่ละท่า คำแนะนำที่ถูกต้อง ได้ความรู้ว่าท่าออกกำลังกายแต่ละท่าที่เราทำอยู่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไร ส่งผลต่อกล้ามเนื้อส่วนไหน  สามารถทำได้เองสบายๆ ที่บ้าน ซึ่งเราสามารถทำได้ไปพร้อมกับๆ เทรนเนอร์ผู้ฝึกสอนในคลิปได้ทันที3.สุขภาพดีผ่านตำรา ด้วยสารพัดคู่มือออกกำลังกายปัจจุบันมีหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เทคนิคต่างๆ ในการดูแลสุขภาพและรูปร่างออกมาว่างจำหน่ายเป็นจำนวนมาก สามารถซื้อมามาลองอ่านลองฝึกด้วยตัวเองดูได้ นอกจากนี้ยัง E-book เกี่ยวกับการออกกำลังกายให้โหลดไปอ่านกันฟรีๆ  ซึ่งมี 2 เว็บไซต์ที่ฉลาดซื้ออยากจะแนะนำสำหรับคนรักสุขภาพอยากออกกำลังกายลองคลิ๊กเข้าไปดูกัน 1.เว็บไซต์ของกองออกกำลังกาย กรมอนามัย (dopah.anamai.moph.go.th) ที่นี่มี E-book ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย ทั้งความรู้ในการการเล่นกีฬา และดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคนทุกเพศทุกวัย เช่น การเดินเพื่อสุขภาพ การออกกำลังสำหรับผู้สูงวัย การออกกำลังกายสำหรับเด็ก การยืดเหยียดพื้นฐาน ฯลฯ2.ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร สสส. (resource.thaihealth.or.th) ในเว็บไซต์นี้จะมีบริการ E-book ให้โหลดไปอ่านกันแบบฟรีๆ จำนวนมาก โดย 1 หมวดหมู่ยอดนิยมก็คือ หมวดการออกกำลังกาย ซึ่งมี E-book ที่แนะนำเรื่องการออกกำลังกายมากกว่า 100 เล่มให้ได้ลองโหลดไปอ่านและฝึกออกกำลังกายไปพร้อมๆ กัน    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 157 ตรวจสุขภาพอย่างไรไม่เปลืองเงินไม่เปลืองตัว

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 200 บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ   เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความ “คุ้มเงิน” สินค้าบริการต่างๆ นานาจึงต้องมาเป็นแพ็คเกจ บริการตรวจสุขภาพก็ไม่น้อยหน้า มีโปรแกรมให้เลือกกันตั้งแต่ราคาไม่ถึงหนึ่งพันไปจนเลยหนึ่งหมื่น อย่างที่ ฉลาดซื้อ เคยลงเปรียบเทียบราคาและรายการตรวจของสถานบริการตรวจสุขภาพไปแล้ว แต่หลายคนยังมีปัญหาคาใจอยู่ถึงความจำเป็นและความถูกต้องแม่นยำของการตรวจคัดกรองสุขภาพที่เป็นที่นิยมแพร่หลายกันอยู่ในขณะนี้ เหตุฉะนี้เราจึงต้องมีภาคสองเพื่อค้นหาคำตอบในเรื่องดังกล่าว เราตกลงกันตรงนี้ก่อนว่า “การตรวจสุขภาพ” หรือ “การตรวจคัดกรองสุขภาพ” ในที่นี้หมายถึงการเข้ารับการตรวจเบื้องต้นในขณะที่เรายังไม่ได้รู้สึกเจ็บป่วย และเป็นการตรวจเพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยงหรือลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเท่านั้น ย้ำอีกที ... การตรวจสุขภาพไม่ใช่การตรวจหาโรค แต่เป็นการตรวจหาความเสี่ยงของการเกิดโรค    เราควรรับการตรวจคัดกรองอะไรบ้าง เราคงไม่บอกคุณว่าควรหรือไม่ควรตรวจอะไร เพราะสุดท้ายแล้วคุณคือคนที่ทราบถึงปัจจัยแวดล้อมตัวเองดีที่สุด แต่เนื่องจากปัจจุบันบ้านเรายังไม่มีมาตรฐานการตรวจสุขภาพสำหรับประชาชน และเรายังอยู่ในระหว่างการรอคู่มือการตรวจสุขภาพสำหรับผู้บริโภค ฉลาดซื้อ จึงขออ้างอิงผลการวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ที่ศึกษารายการตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบสุขภาพ (ซึ่งในอนาคตอาจมีการรวมกันของทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และระบบประกันสังคม ที่ยังไม่เท่าเทียมกันอยู่ในปัจจุบัน*)     การตรวจทั้งหมดนี้มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยไม่เกิน 400 บาทต่อคนต่อปี  (เทียบกับระบบการตรวจคัดกรองตามสวัสดิการข้าราชการที่มีค่าใช้จ่ายระหว่าง  530 – 1,200 บาท เพราะมีการตรวจบางรายการที่ค่าใช้จ่ายสูงแต่ประโยชน์ยังไม่ชัดเจน) อาจต้องเลิกใช้คำว่า “การตรวจสุขภาพประจำปี” เพราะบางอย่างไม่ต้องตรวจทุกปี ในขณะที่บางอย่างตรวจได้ปีละมากกว่า 1 ครั้ง   ในกรณีที่คุณรู้สึกว่ารายการตรวจข้างต้นน่าจะยังไม่เพียงพอ และกำลังชั่งใจกับแพ็คเกจตรวจสุขภาพสุดคุ้มที่ฝ่ายการตลาดของสถานบริการสุขภาพปล่อยออกมาเอาใจ “คนรักสุขภาพ” ที่มีรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้นอีกหลายรายการ ด้วยสนนราคา “พิเศษ” เราขอฝากประเด็นเหล่านี้ไว้ให้คุณพิจารณา   ฉลาดซื้อขอแชร์ ทุกครั้งที่เราส่งผลิตภัณฑ์เข้าทดสอบในห้องปฏิบัติการ เราจะต้องเลือกว่าต้องการตรวจเพื่อหาอะไร และอ้างอิงตามมาตรฐานไหน เพราะมันสัมพันธ์กับการเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือ และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการนำผลไปใช้ด้วย เช่นกรณีของขนมปัง เราต้องระบุไปว่าต้องการตรวจหาสารกันบูด (เพราะมีประเด็นที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามา) เป็นต้น นอกจากนี้เรายังต้องยอมรับข้อจำกัดของเครื่องมือที่ใช้ เช่นบางครั้ง สารเคมีที่เราต้องการตรวจหานั้นมีปริมาณน้อยกว่าที่เครื่องจะตรวจจับได้ (แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มี เป็นต้น) สำคัญที่สุดคือห้องปฏิบัติการที่เราใช้จะต้องผ่านการตรวจรับรองเพื่อความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบที่ได้ (ไม่ได้ส่งไปตรวจที่หลังบ้านใครอย่างที่เคยถูกกล่าวหา) เรื่องนี้น่าจะพอนำมาประยุกต์ได้กับการเลือกแพ็คเกจตรวจร่างกาย คุณสามารถเลือกตรวจเฉพาะรายการที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยง แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าผลที่ออกมานั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการตั้งค่าของเครื่อง และที่สำคัญปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานควบคุมบริการตรวจคัดกรองสุขภาพเอาไว้อ้างอิงด้วย     ตามที่เป็นข่าวเมื่อปีกลาย คนไทยใช้เงินกับการตรวจคัดกรองสุขภาพไปถึงปีละ 2,200 ล้านบาท (ส่วนหนึ่งของคนเหล่านี้คือผู้ที่มีสิทธิได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการถึง 16 รายการภายใต้ระบบสวัสดิการข้าราชการอยู่แล้ว) ข่าวไม่ได้บอกว่ามีกี่กรณีที่ตรงกับความเป็นไปได้ในรูปแบบที่ 1   เจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการฉลาดซื้อพบเจอมาด้วยตนเอง เนื่องจากไอต่อเนื่องอยู่หลายสัปดาห์จึงไปโรงพยาบาล แพทย์สั่งตรวจเอ็กซเรย์ปอดด้วยเครื่องตรวจแบบอัตโนมัติ แพทย์อ่านผลแล้วบอกว่าพบจุดที่อาจหมายถึงเป็นวัณโรค จึงให้ตรวจซ้ำตอนบ่าย (เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพักเที่ยง) คราวนี้ตรวจด้วยเครื่องอีกชนิดหนึ่ง ปรากฏว่าไม่พบจุดดังกล่าวแล้ว  ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ. สายพิณ หัตถีรัตน์ อาจารย์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี ดร.ภญ. ศิตาพร ยังคง นักวิจัย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) บทความ “การตรวจคัดกรองที่เหมาะกับสังคมไทย” โดย ภญ.ธนัญญา คู่พิทักษ์ขจร นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)   ฉลาดซื้อสำรวจ จากการโทรศัพท์ไปสอบถามสถานบริการการตรวจสุขภาพ 9 แห่ง (โรงพยาบาลรัฐ 3 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 5 แห่ง และ ศูนย์ตรวจสุขภาพ 1 แห่ง) โดยอาสาสมัครของฉลาดซื้อ เราพบว่าแม้ประเทศเราจะยังไม่มีมาตรฐานการตรวจสุขภาพและยังไม่มีการตรวจสอบบริการเหล่านี้ แต่สถานประกอบการเหล่านี้มีความพร้อมและให้ความสำคัญกับการจัดบริการตรวจคัดกรองสุขภาพ หรือบางแห่งอาจเรียกว่า “การตรวจสุขภาพประจำปี” ออกมาให้บรรดา “ผู้รักสุขภาพ” ได้เลือกช้อปกัน อาสาสมัคร (สาวทำงานวัย 38 ปี) ที่โทรไปสอบถามข้อมูลจากสถานพยาบาลเหล่านี้ โดยอ้างอิงข้อมูลที่ประชาสัมพันธ์ผ่านอินเตอร์เน็ทหรือโบรชัวร์ พบว่า   ธุรกิจสถานพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีมูลค่าการตลาดสูงที่สุด 5 อันดับได้แก่ อันดับ 1         บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) มูลค่าการตลาด 194,400 ล้านบาท  กิจการ: โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ โรงพยาบาลวัฒโนสถ   โรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งกรุงเทพ ถือหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช อันดับ 2         บริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าการตลาด 63,931 ล้านบาท   กิจการ: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  อันดับ 3         บริษัทโรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) มูลค่าการตลาด 21,600 ล้านบาท    กิจการ: โรงพยาบาลรามคำแหง อันดับ 4         บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) มูลค่าการตลาด 19,400 ล้านบาท   กิจการ: กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช อันดับ 5         บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) มูลค่าการตลาด 14,900 ล้านบาท กิจการ: โรงพยาบาลเกษมราษฎร์  โรงพยาบาลเวิรลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์  นวนครการแพทย์ -------------------------------------------------->>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 200 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค--------------------------------   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 150 ทำไมต้องสนใจการเจรจาเอฟทีเอ ไทยกับสหภาพยุโรป

แล้วกระแสเรื่องการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ก็วนกลับมาสู่ความสนใจของสาธารณะอีกครั้ง หลังการเจรจารอบแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่จัดขึ้น ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม จบลงด้วยการที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำความเข้าใจในข้อเสนอต่างๆ และย้ำเจตนารมณ์ที่จะพยายามสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในปี 2557 โดยจะมีการหารือในรายละเอียดมากขึ้นในการเจรจารอบสอง ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นที่เชียงใหม่ ประเทศไทย ในระหว่างวันที่  16 – 20 กันยายน 2556 นี้ ในโลกที่ทุกประเทศต้องแข่งขันกันในด้านการค้าขาย แน่นอนว่าประเทศไทยไม่อาจเลี่ยงการค้าระหว่างประเทศได้ การส่งออกถือเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และเพราะเหตุที่ต้องแข่งขันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเจาะตลาด การส่งเสริมการส่งออก และการทำให้อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดประเทศคู่ค้าลดน้อยลงนั้นต้องทำผ่านการเจรจาในเวทีระดับต่างๆ เอฟทีเอหรือความตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement : FTA) ก็คือหนึ่งในเวทีการเจรจาที่สำคัญ เป็นระดับความสำคัญขนาดที่ว่ามีผลกระทบต่อความเป็นความตายของคนในประเทศเลยทีเดียว ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยได้ทำเอฟทีเอกับหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกับประเทศจีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย ฯลฯ ซึ่งจากบทเรียนที่ผ่านมานั้น น่าจะทำให้เราได้ประจักษ์ในการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจการค้าหลายประการ และขณะนี้เราก็มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์เดิมอีกครั้ง(อาจร้ายแรงกว่า) เมื่อจำต้องเร่งเปิดเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เพื่อไม่ให้ภาคธุรกิจบางส่วนเสียหายเนื่องจากการเสียสิทธิ จีเอสพี(การให้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร) ที่เคยทำให้ภาคธุรกิจนั้นได้เปรียบคู่แข่งขันจากชาติอื่นในการค้าขายกับสหภาพยุโรป   การให้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(Generalized System of Preferences) หรือ GSP เกิดขึ้นครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเกิดปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในคราวประชุมของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development- UNCTAD) เมื่อปี 2507 ได้มีการเสนอให้มีสิทธิพิเศษ GSP ขึ้น เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งต่อมาในคราวประชุม UNCTAD ปี 2511 ที่ประชุมจึงได้ยอมรับในระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือ GSP โดยกำหนดให้ระบบ GSP ที่ก่อตั้งขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการส่งออก การพัฒนาอุตสาหกรรมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย และอยู่บนหลักการพื้นฐาน 3 ประการ คือ เป็นการให้สิทธิโดยทั่วไป(Generalized) ไม่หวังผลตอบแทน(Non - recipocal) และไม่เลือกปฎิบัติ (Non-discrimination) สำหรับประเทศไทยนั้นใช้สิทธิพิเศษฯ GSP จากประเทศต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2514   ถูกตัดสิทธิ จีเอสพี เหตุที่ไทยต้องเร่งเจรจาเอฟทีเอ “17 ธันวาคม 2555 คณะกรรมาธิการยุโรปออกระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2012 เพื่อประกาศรายการสินค้าตาม Section ที่จะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้โครงการ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559” สหภาพยุโรป หรือ อียู เป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าส่งออกจากไทย ขณะนี้กำลังจะตัดสิทธิพิเศษทางการค้า จีเอสพี (Generalised System of Preferences) ที่เคยให้กับไทยมาเป็นระยะเวลานานหลายปี การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยุโรป เมื่อไทยถูกตัดสิทธิ จีเอสพี จึงเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วสาขาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจะเดินหน้าอย่างไร ซึ่งอันที่จริงแล้วมันมีหลายคำตอบเพื่อการปรับตัวสำหรับโจทย์นี้ แต่สิ่งที่ถูกหยิบมาก่อนมาตรการอื่นใด(ประสานเสียงกันทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาล) คือ ไทยต้องเร่งเจรจา Free Trade Agreement (FTA) กับอียู เพื่อให้ได้สิทธิพิเศษทางภาษีครอบคลุมสาขาส่งออกสำคัญเช่นที่เคยได้รับตามระบบ จีเอสพี โดยทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาลต่างเห็นพ้องกันว่า เป็นมาตรการที่จะช่วยลดผลกระทบจากการถูกตัด จีเอสพี ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งในความเป็นจริงการเร่งรีบเจรจา เอฟทีเอ ระหว่าง ไทย-อียู นี้ไม่แน่ว่าอาจทำให้เสียมากกว่าได้...ก็เป็นได้ สินค้าส่งออกของไทยที่ถูกตัดสิทธิ GSP เรียงตามมูลค่าส่งออก 10 อันดับแรก ในปี 2555 (ม.ค.-พ.ย.) สินค้า มูลค่าส่งออกไปอียู (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วนการพึ่งพาอียู (ร้อยละ) อัญมณีและเครื่องประดับ 1,501.7 11.8 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 347.0 24.4 ปลาทูน่ากระป๋อง 262.6 10.9 กุ้งแปรรูป 225.7 16.7 อาหารสัตว์เลี้ยง 132.9 13.1 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและ อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 98.9 10.3 เนื้อสัตว์และของปรุงแต่ง ที่ทำจากเนื้อสัตว์ 63.3 23.2 ปลาแปรรูป 53.9 10.8 ผักกระป๋ องและแปรรูป 45.1 14.3 โกโก้และของปรุงแต่งที่ ทำจากโกโก้   15.0 20.4   ที่มา กระทรวงพาณิชย์ 10 มกราคม 2556 คนไทยรวยขึ้น ต้นเหตุสำคัญการถูกตัดจีเอสพีจากอียู ในวันที่ 1 ม.ค. 2557 อียูจะทำการทบทวนประจำปีเพื่อตัดชื่อประเทศที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ จากระบบ GSP โดยเน้นหลักการที่จะให้ประโยชน์เฉพาะประเทศที่มีความต้องการจริง หากประเทศไทยยังคงได้รับการจัดอันดับโดย World Bank ตาม GNI per capita ให้เป็น upper-middle income country อีกในปี 2556 นี้  เท่ากับว่าไทยจะครองตำแหน่งนี้ติดกันมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ไม่มีสิทธิได้รับสิทธิ GSP จากอียูอีก ไม่ว่าในสินค้าใดๆ โดยที่อียูให้เวลาปรับตัว 1 ปีหมายความว่าสิทธิ GSP จากอียูอาจจะหมดไปสำหรับทุกตัวสินค้าจากไทยในต้นปี 2558 วันที่ 4 ธันวาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกรอบการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย – สหภาพยุโรป และได้มอบหมายผู้แทนการค้าไทย (ดร.โอฬาร ไชยประวัติ) เป็นหัวหน้าคณะเจรจา และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ที่ประชุมรัฐสภาร่วมฯ ได้มีมติเห็นชอบร่างกรอบการเจรจา กรอบการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปจะครอบคลุมความ   ตกลงด้านการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งการเจรจาอาจแยกเป็นรายฉบับ รวมทั้งภาคผนวกและเอกสารแนบท้ายที่จะมีการเจรจาเพิ่มเติมในภายหน้า สาระสำคัญครอบคลุม 17 ประเด็น 1)            การค้าสินค้า 2)            พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 3)            กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 4)            มาตรการเยียวยาทางการค้า 5)            มาตรการปกป้องด้านดุลการชำระเงิน 6)            มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 7)            อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า 8)            การค้าบริการ 9)            การลงทุน 10)          การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ 11)          ทรัพย์สินทางปัญญา 12)          การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 13)          ความโปร่งใส 14)          การแข่งขัน 15)          การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 16)          ความร่วมมือ 17)          เรื่องอื่นๆ เมื่อพิจารณาจากกรอบการเจรจาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ จะพบว่า การเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียูนี้ มีหลายประเด็นที่ไม่เคยเจรจาเปิดเสรีมาก่อนในเอฟทีเออื่นๆ ทั้งเป็นประเด็นที่มีผลกระทบสูง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองการลงทุนที่เปิดโอกาสให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน และสินค้าทำลายสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เป็นต้น        จึงทำให้เกิดประเด็นร้อนในสังคมขึ้นมาทันใดว่า รัฐบาลจะเร่งเจรจาไปเพื่อผลทางการค้าของสินค้าส่งออกไม่กี่กลุ่ม แล้วยอมละทิ้งผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่หรือ?   สิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าไทยขาดความระมัดระวังในการเจรจา - ยารักษาโรคถูกผูกขาดยาวนานยิ่งขึ้น ยาราคาแพงจะคงอยู่ในตลาดยาโดยไม่มียาที่ถูกกว่าเข้ามาแข่งขัน ส่งผลให้คนจำนวนมากเข้าไม่ถึงยา เข้าไม่ถึงการรักษา เพิ่มภาระกับงบประมาณของประเทศ และระบบหลักประกันสุขภาพจะถูกสั่นคลอน  หากมีการยอมรับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาด้านยา - เปิดทางให้บรรษัทการเกษตรยักษ์ใหญ่เข้ามาผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการผลิตเกษตรกรรมและอาหารจะสูงขึ้นอย่างมาก หากยอมรับประเด็น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพ - เปิดทางให้บริษัทธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลงทุน ทางการเกษตร ด้วยเงินทุนเทคโนโลยี และการเอื้อประโยชน์ทางนโยบายจากรัฐบาล เกษตรกรรายย่อยจะกลายเป็นแรงงานรับจ้างในที่ดินของตัวเอง อาหารถูกผูกขาดและถูกกำหนดราคาโดยบริษัทจากการเปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและการเกษตร - ขณะที่ยารักษาโรคมีราคาแพง สินค้าที่มีอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนจะได้รับการลดภาษีอย่างมโหฬาร เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ จะมีราคาถูก กระตุ้นให้เกิดนักดื่ม-นักสูบหน้าใหม่ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาระโรคใน ระยะยาว และยังจำกัดอำนาจของรัฐในการออกนโยบายและมาตรการเพื่อควบคุมการบริโภค แอลกอฮอล์และยาสูบ - เอฟทีเอนี้ จะเป็นอุปสรรคสำหรับการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข, การคุ้มครองผู้บริโภค, ปกป้องสิ่งแวดล้อม, ช่วยเหลือเกษตรกร, อุดหนุนเอสเอ็มอี ด้วยกลไกที่เรียกว่า “กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน” ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องผ่านอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เรียก ค่าเสียหายจากงบประมาณแผ่นดิน หากรัฐบาลกำหนดนโยบายที่กระทบต่อการหากำไรของ บริษัทข้ามชาติ - ปิดกั้นการเข้าถึงความรู้ทั้งหนังสือและโลกออนไลน์ ผ่านเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและการบังคับใช้กฎหมายที่เกินไปกว่าที่ตกลงไว้ ในองค์การการค้าโลก (WTO) ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- เราไม่ได้ ค้าน FTA แต่เราต้องการ FTA ที่เป็นธรรมกับประชาชน และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงมากกว่า กรรณิการ์ กิจติเวชกุล FTA Watch “เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้มีแค่เรื่องยา แต่ยังมีเรื่องทรัพยากรชีวภาพอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ดังนั้นสิ่งที่เรากำลังทำคือ ทำอย่างไรก็ตามเพื่อให้การเจรจา ผลของการเจรจาเป็นประโยชน์กับประชาชน กับสังคมมากที่สุด โดยที่พยายามลดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุดไม่ใช่เป็นเหมือนกับการเจรจา FTA ครั้งที่ผ่านๆ มา โดยต้องใช้ข้อมูล ใช้การศึกษา ใช้งานวิจัยให้มากที่สุด ถ้าอะไรเป็นผลกระทบไม่ควรจะยอมรับ อะไรที่ยังพอได้ก็ยังสามารถกำหนดระยะเวลาออกไปได้ เพื่อให้มีผลบังคับช้าหน่อย แต่อะไรที่ยอมได้และเป็นประโยชน์กับประเทศไทยก็ยอม แต่ไม่ใช่ว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกดดันของภาคธุรกิจเท่านั้น ปัญหาสำคัญของเรื่องนี้มาจากการที่ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาระดับล่างๆ ทำให้ได้สิทธิพิเศษทางการค้า หรือ GSP หมายความว่าประเทศด้อยพัฒนาที่ส่งสินค้าไปขายจะเสียภาษีน้อยกว่า แต่เมื่อไหร่ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วจะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวอีก ต้องมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งช่วงทศวรรษหลังนี้ประเทศไทย ธุรกิจของไทยมีศักยภาพสูงขึ้นมา ถือเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ระดับสูง 3 ปีติดต่อกัน และเรายังมีสินค้าจำนวนมากที่เคยได้สิทธิ GSP และไปครองตลาดเกิน 17.5% สินค้าบางประเภทที่เขากำหนดก็เกิน 14.5% สินค้าหลายตัวของไทยทยอยหมดสิทธิได้รับ GSP ไปแล้ว และที่ล็อตใหญ่ๆ จะหมดสิ้นปี 2557 เพราะฉะนั้นภาคธุรกิจควรจะปรับตัวเองก่อนหน้านี้ 3-4 ปีแล้ว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่กลับพบว่าภาคธุรกิจไทยไม่ยอมทำอะไรเลย แต่มาเรียกร้องและกดดันรัฐบาลไทยว่าต้องไปเจรจา FTA ให้แล้วเสร็จในปีครึ่ง ให้มันใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2558 เพื่อให้ได้ต่อสิทธินี้อย่างถาวร ซึ่งตรงนี้เราถือว่าเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งเพราะว่ามันจะทำให้การเจรจาด้อยประสิทธิภาพอย่างมาก อินเดียเป็นประเทศใหญ่กว่าประเทศไทย เจรจามาแล้วกว่า 5 ปี กับสหภาพยุโรปยังไม่ยุติ สิงคโปร์ขนาดเป็นประเทศเล็กเขายังเจรจาไป 3 ปีใกล้จะเสร็จแล้ว” โฟกัสมาที่เรื่องยาเพราะไม่ใช่แค่ผลทางธุรกิจแต่มีต่อสุขภาพของคนไทยด้วย ? “เรื่องยา เราต้องบอกว่ามีความพยายามของภาคธุรกิจเอกชนที่จะได้ผลประโยชน์จากการคง สิทธิ GSP พยายามร่วมมือกับสมาคมบริษัทยาข้ามชาติ ใช้คำเรียกยาชื่อสามัญว่าเป็นการทำปลอม ซึ่งน่าแปลกใจมากที่เขาใช้คำเดียวกับทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยใช้บอกกับ ผู้สื่อข่าวว่ายาชื่อสามัญของไทย หรือยาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยเป็นยาปลอมจำนวนมาก แต่คำว่าปลอมของเขาจงใช้ในเรื่องของการปลอมทรัพย์สินทางปัญญา แต่คำว่ายาปลอมในบ้านเราเป็นยาปลอมเรื่องคุณภาพ ยาปลอมตาม พ.ร.บ.ยา ซึ่งพวกนี้ไม่สนใจ พยายามที่จะขยายนิยามออกมาเพื่อที่จะกีดกันยาชื่อสามัญไม่ให้เข้าสู่ตลาด ยาชื่อสามัญมีความสำคัญอย่างไร ก็ย้อนหลังกับไปเมื่อ 10 ปีก่อน ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีการผู้ขาดเพียงเจ้าเดียว ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ต่อคนประมาณ 3-4 หมื่นบาท ตอนนั้นมีเพียงผู้ติดเชื้อที่อยู่ในโครงการทดลองเท่านั้นถึงจะได้ใช้ แต่เมื่อมีการผลิตได้มากขึ้น ประเทศบราซิลผลิตได้ อินเดียผลิตได้ ประเทศไทยผลิตได้ ราคาลดลงเกินกว่าครึ่ง และเมื่อเวลาผ่านมา เมื่อมีจำนวนผู้เข้าแข่งขันในตลาดมากขึ้นราคาก็ลดลง ปัจจุบันยา จีพีโอเวียร์ของเราอยู่ที่ประมาณ 700-800 บาทต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่ยาต้นแบบเองก็ลดลงเหลือเพียงไม่กี่พันบาท แบบนี้มันทำให้คนเข้าถึงยาเพิ่มขึ้น ซึ่งชัดเจนว่าสามารถช่วยชีวิตคนได้ เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวเขาได้ต่อไป เรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่ายาชื่อสามัญมีความสำคัญ เราไม่ได้คัดค้านระบบทรัพย์สินทางปัญญา ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้สิทธิผูกขาดกับผู้คิดค้นนวัตกรรมที่มีความใหม่ และมีนวัตกรรมที่สูงขึ้น แต่สมควรได้รับในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการตกลงขององค์กรการค้าโลกระบุไว้ที่ 20 ปี แต่อยู่ๆ คุณบอกว่าจะมาขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี เนื่องจากความล่าช้าในการออกสิทธิบัตร และบวกความล่าช้าในการอนุมัติทะเบียนยา ซึ่งคุณไม่เคยไปดูเลยว่าความล่าช้านั้นเกิดจากเจ้าหน้าที่หรือเกิดจากผู้ที่ มาขอสิทธิบัตรหรือมาขอขึ้นทะเบียนยา ทั้งๆ ที่กรณีการขอสิทธิบัตรถ้าของดีจริง ได้สิทธิบัตรตั้งแต่วันที่ขอยื่นแล้ว ถ้าใครจะไปผลิต ถึงแม้จะยังไม่ได้สิทธิแต่สามารถยื่นโนติสไปให้ผู้ผลิตเหล่านั้นได้ ซึ่งบริษัทยาข้ามชาติในประเทศไทยก็ทำอยู่บ่อย เพียงแต่ถ้ายาของคุณไม่ได้คุณภาพจริง ไม่สมควรได้สิทธิบัตรจริง คนอื่นก็กล้าผลิตเพราะรู้ว่าไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิบัตร หรือแม้แต่กรณีที่มีบางคนอ้างว่าการขึ้นทะเบียนยาใช้เวลาถึง 13 ปีจึงอนุมัตินั้น คิดว่าตัวเลขนี้เป็นการโกหก ถ้าจริงออกมาบอกเลยว่าเป็นยาตัวไหน เพราะว่าจากงานวิจัยเราพบว่าบริษัทยาข้ามชาติที่มาขอสิทธิบัตรในประเทศไทย พยายามขอถ่วงเวลาในการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจ พยายามยืดเวลาออกไป 3-5 ปี เพราะรู้อยู่แล้วว่าในช่วงเวลานั้นถึงอย่างไรก็ได้รับความคุ้มครอง เพราะฉะนั้นก็ไม่รีบร้อนยื่นให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจ ถ้ามีความล่าช้าในส่วนของผู้อนุมัติคุณก็ต้องไปเร่งกระบวนการอนุมัติ ไม่ใช่มาบอกว่าคุณควรต้องได้รับการขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี” จริงๆ แล้วของไทยใช้เวลาขอขึ้นทะเบียนนานแค่ไหน ? “มันไม่ได้นานขนาดนั้นหรอก อย่างขอขึ้นทะเบียนยาใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1 ปี จะมีบางเคสที่ใช้เวลา 2 ปี แต่มีไม่เยอะ ซึ่งเรื่องนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงได้ เขามีตัวเลขเหล่านี้ทั้งหมด ส่วนเรื่องการขอสิทธิบัตรจะอยู่ที่ 4-5 ปี ที่เป็นปัญหาแบบนี้ ก็อย่างที่บอกว่างานวิจัยพบว่าบริษัทที่มาขอสิทธิบัตรไม่ยอมยื่นจรวจสอบ คือยื่นขอแล้ว จะมีระยะเวลาที่จะมาขอยื่นตรวจสอบ หากไม่มาขอยื่นตรวจสอบ กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ แล้วเขาก็ยืดเวลาออกไป 3-5 ปีอย่างนี้ ยืดจนสุดขีดของเขาเพราะรู้ว่าช่วงเวลานั้นจะได้รับการคุ้มครองถ้าสิทธิบัตร ของเขาดีจริง ฉะนั้นไม่ได้เป็นปัญหาจากหน่วยงานราชการของไทยเลย ซึ่งประเด็นนี้คนที่ไม่ได้อยู่ในภาคส่วนที่เกี่ยวกับยามักจะไม่รู้ และยังมีสมาคมบริษัทยาข้ามชาติพยายามไปกรอกหูคนเหล่านี้ให้มาพูดจาโกหก ประชาชน เป็นเรื่องที่เรารับไม่ได้ ยังไม่นับเรื่องที่คุณพยายามใช้ Data Exclusivity เพื่อที่จะได้ผูกขาดข้อมูลทางยา เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มีบริษัทยาข้ามชาติมาขึ้นทะเบียนแล้ว ห้ามคนอื่นมาขึ้นทะเบียนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี จะอ้างว่าเป็นโมเลกุลใหม่ แต่กลับไม่มีระบุไว้ตรงไหนเลยว่าเป็นโมเลกุลใหม่ เนื้อหาคำขอที่ยุโรปยื่นให้อินเดีย ยื่นให้อาเซียนไม่มีคำขอใดบอกเลยว่าเป็นโมเลกุลใหม่ พวกนี้ต้องการใช้วิธีการนี้สำหรับตัวยาที่หมดสิทธิบัตรแล้วแต่ยังไม่ได้ขึ้น ทะเบียน ยาตัวใหม่ที่คิดค้นขึ้นกว่าจะมาถึงบ้านเราก็ช้ามาก การขึ้นสิทธิบัตรถ้าขึ้นช้าจะถือว่าเก่า เพราะฉะนั้นก็ต้องมาขึ้น กว่าที่ยาจะมา กว่าจะมาขึ้นทะเบียนยาก็เก่าแล้ว ถ้าไม่ใช้วิธี Ever greening หรือสิทธิบัตรต่อเนื่อง ไม่ใหม่มากแต่ก็มาต่ออายุไปเรื่อยๆ คือเป็นอีกระบบหนึ่งที่สามารถตั้งราคาได้โดยไม่มีผู้แข่ง เพราะเมื่อไหร่ที่มีคนมาแข่งราคาจะลดลงไปกว่าครึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งที่พยายามทำคือการขัดขวางบริษัทยาชื่อสามัญ และตอนนี้มีความพยายามที่จะบอกว่ายาชื่อสามัญในไทยไม่มีศักยภาพ ซึ่งคิดว่าคนที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจนี้คงจะเข้าใจผิด ในวงธุรกิจเดียวกันเขาเป็นที่ยอมรับว่าบริษัทยาชื่อสามัญในไทยมีศักยภาพ อย่างมาก และตอนนี้หลายเจ้าทำส่งขายในยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมถึงทำให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่ส่งขายในประเทศไทยด้วย” มีข้อเสนอจากภาคธุรกิจว่า เมื่อเป็นกังวลเรื่องยาแพงก็ให้เจรจากันในเรื่องของยาแพง ถ้าหากประเทศไทยยอมตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรป แล้วเจรจาในประเด็นเรื่องยาแพงอย่างเดียวจะเกิดผลอย่างไรกับประเทศไทย ? “เกิดผลกระทบแน่นอน ต้องบอกก่อนว่าคนที่พูดแบบนี้คือไม่เข้าใจระบบการควบคุมราคายาของประเทศไทย เลย ว่าบ้านเราไม่เคยมีระบบนี้อยู่ในประเทศ ดังนั้นเราจะไปคุมราคาเขาไม่ได้ มีแต่กรมการค้าภายในที่บอกว่าราคายาต้องไม่ขายเกินกว่าที่ระบุไว้ที่กล่อง แต่สามารถขายถูกกว่านี้ได้ บ้านเราไม่มีระบบควบคุมราคายา เพราะฉะนั้นการที่อ้างว่าไปเจรจา แล้วบอกเขาว่าหากได้ตรงนี้ไป จะต้องขายไม่เกินเท่านี้ๆ แต่คุณไม่มีกลไกอะไรเลยที่จะไปควบคุมเขา แล้วบอกไว้ก่อนเลยว่า หลัง FTA มีผลบังคับใช้กฎแบบนี้ออกไม่ได้ เพราะถ้าออกมาแล้วบริษัทยาสามารถเอาไปฟ้องร้องดำเนินคดีได้เลย เอาไปฟ้องร้องกับอนุญาโตตุลาการ เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาการควบคุมราคายาของไทยคือ การที่เมื่อไหร่ก็ตามมีคู่แข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น ราคายาในตลาดจะลดลง หรือเขาใช้วิธีการซื้อจำนวนมากแล้วต่อรองราคายา แต่ว่าถ้าซื้อจำนวนมากแล้วมีขายแค่เจ้าเดียวก็ไม่ได้ลดราคาเหมือนกัน ประเทศไทยมีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ทำหน้าที่ผลิตยา จะมียาตัวใหม่ๆ ออกมาเพื่อยันราคายาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่สหภาพยุโรปเรียกร้องอีกข้อหนึ่งคือการตัดแขนตัดขา อภ. คือให้ให้ยกเลิกกฎระเบียบให้ซื้อยากับ อภ.ก่อน ถ้าไม่เกิน 5% ซึ่งปกติโรงพยาบาลแทบไม่ได้ใช้กฎนี้แล้ว เพราะว่าเงินที่ได้รับจากสปสช.จะเข้าไปในลักษณะของเงินบำรุง ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้กฎนี้  ดังนั้นข้อดีของการมี อภ.คือเอาไว้ยันราคา แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ทำให้ อภ.ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ เลยไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ก็ตาม เมื่อนั้นเท่ากับว่าตัดแขน ตัดขา อภ. เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียที่เมื่อก่อนเคยมีองค์การเภสัชกรรมคล้ายกับบ้าน เรา แต่แปรรูปไป หลังจากนั้นยาในมาเลเซียแพงมาก ทุกวันนี้มีผู้ติดเชื้อและใช้ยาเรื้อรังในมาเลเซียมาซื้อยาในประเทศไทยเยอะ มาก เวลาที่คุณเป็นคนรวยมากๆ คุณไม่เข้าใจหรอกว่าคนเข้าไม่ถึงยาเป็นอย่างไร คนที่ผ่านช่วงเวลาเห็นเพื่อนล้มตายเป็นจำนวนมากทั้งๆ ที่มียาแต่มันแพงเกินไปมันผ่านมาแล้วทั้งนั้น ถึงต้องลุกมาบอกว่าไม่เฉพาะยาของผู้ติดเชื้อ แต่รวมถึงยารักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ ด้วย และจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพตาย เพราะว่าถ้าระบบหลักประกันสุขภาพไม่สามารถซื้อได้เพราะยาราคาแพง ระบบหลักประกันสุขภาพก็จะกลายเป็นประกันชั้น 2 ในที่สุดก็จะล้มเหลวถ้าไม่สามารถทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ สิ่งที่ระบบหลักประกันสุขภาพต้องทำคือการต่อรองราคายาให้ถูก การที่มีภาคธุรกิจมาบอกว่าให้ต่อรองราคายาจากเขาลงนั้นเป็นไปไม่ได้ ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนั้นสหรัฐอเมริกากดดันประเทศไทยให้แก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ปี 2528-2535 โดยอ้างว่าจะตัดสิทธิ GSP ไทย พวกธุรกิจที่ส่งออกก็บอกว่าให้ยอมรับไปเถอะเดี๋ยวก็มีการควบคุมราคายาโดยคณะ กรรมการสิทธิบัตรด้านยา จนในที่สุดคณะกรรมการสิทธิบัตรด้านยาก็ถูกยกเลิกไป เพราะว่ามีความตกลงลับๆ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาขณะนั้นว่า ความจริงจะให้ยกเลิกคณะกรรมการชุดนี้หลังจากที่ออกกฎหมายแล้ว ในที่สุดก็ไม่มีตัวควบคุมราคายา แต่คุณได้ประโยชน์จากการได้สิทธิ GSP และขณะนี้ 20 ปี ต่อมาคุณยังจะทำแบบนี้ใช่ไหม คือไม่เคยเลยที่จะคิดถึงประชาชนคนอื่น ไม่เคยเลยที่จะคิดว่าจริงอยู่ที่ธุรกิจของคนทำให้ประเทศชาติก้าวหน้า แต่ว่าผลประโยชน์มันต้องถูกแบ่งปันบ้าง คนที่ยากจนควรมีตาข่ายทางสังคมมารองรับ เราไม่ได้บอกว่าคุณเจรจา FTA ไม่ได้ คุณเจรจาได้ แต่อะไรที่มันเป็นผลกระทบระยะยาว งานวิจัยที่ชี้ออกมาว่าการผูกขาดข้อมูลทางยาทำให้เกิดผลกระทบ 8 หมื่นล้าน จากการขยายอายุสิทธิบัตรอีก 2 หมื่นล้าน ยังไม่นับเรื่องสิทธิบัตรพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ของประเทศอีกประมาณแสนล้าน ถามว่าตรงนี้ใครจะรับภาระ จะเป็นเรื่องผลได้กระจุก ผลเสียกระจายอีกใช่ไหม” จากสถานการณ์ที่คณะเจรจาถูกกดดันจากภาคธุรกิจทำให้ขณะนี้แนวโน้มของการเจรจาคาดว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ? “ตอนนี้ต้องบอกว่าต้องแยกก่อนว่า เราจะเห็นความพยายามของหัวหน้าคณะเจรจาคุณโอฬาร ไชยประวัติ และกรมทรัพย์สินทางปัญหาให้ อย. ดูเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยาเป็นหลัก แต่พี่คิดว่าว่าเขายังให้ดูน้อยเกินไป เพราะว่าดูแค่การขยายอายุสิทธิบัตรและการผูกขาดข้อมูลทางยา แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการคือการแก้ไขการบังคับใช้ กฎหมายของไทยให้เข้มข้นขึ้น ให้ยึดจับยาได้โดยอ้างว่าเป็นเป็นยาปลอม หรือยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าเวลาที่บอกว่ายานี้เป็นยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ฉะนั้นทริปส์ไม่เคยกำหนดว่าให้สามารถยึดจับได้ เพราะว่าสิทธิบัตรต้องไปฟ้องร้องกันในชั้นศาล และดูถึงระดับโมเลกุล ใช้ตาดูไม่ได้ แต่สิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการคือให้ยึดจับเลย ไม่ว่าจะละเมิดหรือยัง หรือเกือบจะละเมิดให้ยึดจับได้ ตามกระบวนการของศาลไทยหากจะมาร้องขอให้ยึดจับโดยอ้างว่าเป็นการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า หรือว่าทรัพย์สินทางปัญญาต้องวางเงินประกัน เพราะศาลเกรงว่าอาจจะมีการกล่าวหาอย่างไม่สมเหตุผล เป็นการกลั่นแกล้งกัน แต่สหภาพยุโรปเขียนเลยว่า “ห้ามวางเงินประกัน” ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ใช้วิธีรังแกเขาเลยสิ แถมยังบอกว่าสามารถหยุดได้ทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นคนส่งวัตถุดิบ คนส่งของ ร้านขายยา แล้วใครยังจะอยากขายยาชื่อสามัญอีก ทั้งที่จริงๆ ไม่ใช่ยาปลอม เพราะยาชื่อสามัญจะผลิตได้ก็เมื่อสิทธิบัตรยานั้นหมดอายุไปแล้ว พี่เลยเข้าใจเลยว่าตอนนี้ทำไมทั้งสหภาพยุโรป ทูตสหภาพยุโรป และสภาหอการค้าไทยและพรีม่าพยายามโจมตีเรื่องยาปลอม ทั้งที่จริงๆ เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลอยากมาก เพราะว่าเขาเอาไปรวมกับยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ยาที่ลักลอบเอาเข้ามา ซึ่งตอนนี้อย.ไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ตรวจจับอยู่แล้ว ตอนนี้เป็นปัญหามาก คิดว่าฝ่ายคณะเจรจาเขาเริ่มดูเรื่องพวกนี้มากขึ้น ทางอย.เขาพยายามที่จะทำเตรียมพร้อมรับการเจรจา และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่ อย.ร่วมกับสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกันทำ ตรงนี้ก็จะเสร็จประมาณเดือนก.ย. นี้ ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเจรจา FTA ไทย ที่มีงานศึกษาที่พร้อมมูลมากกว่าครั้งไหนๆ ที่ผ่านมา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้ใช้งานวิจัยพวกนี้ไหม ถ้าภาคธุรกิจยังมากดดันอยู่ทุกวันว่าต้องเจรจาให้เสร็จภายในสิ้นปีหน้า พวกนี้มันต้องเจรจากันอย่างรอบคอบ ถ้ารู้ว่ามีปัญหาอย่างนี้แล้วจะเขียนอย่างไรให้รอบคอบ เขียนหลบอย่างไรให้ผลกระทบเกิดน้อยที่สุด ซึ่งถามว่าทำได้ไหม ทำได้ เพราะอินเดียเจรจากับสหภาพยุโรปจนสหภาพยุโรปยอมที่จะไม่เรียกร้องการขยาย อายุสิทธิบัตร ไม่เรียกร้องการผูกขาดข้อมูลทางยาแล้ว ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้าอนุสัญญา UPOV 1991[1] ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้า สนธิสัญญาบูดาเปส ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้ากลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน เหลือที่ยังยันกันอย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 ใครๆ ก็อยากมีรถโดยสารที่มีคุณภาพ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภค 24 จังหวัด โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะประจำทางในท้องถิ่นเส้นทางภายในจังหวัดและเส้นทางระหว่างจังหวัด ในช่วงระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 8 เมษายน 2554 พบว่า ผู้บริโภคมีปัญหาเรื่องพนักงานขับรถ ขับเร็ว หรือขับรถหวาดเสียว และพนักงานขับรถโดยสารใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สนทนาระหว่างปฏิบัติหน้าที่สูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่า เวลาที่ผู้บริโภคจะคืนตั๋วเมื่อไม่สามารถเดินทางได้ เกือบ 50 % ไม่ได้เงินคืน แต่...ผู้บริโภคเกือบ 90 % ไม่เคยใช้สิทธิร้องเรียนเมื่อเกิดปัญหาจากคุณภาพและงานบริการของรถโดยสารเลย   ผลสำรวจความคิดเห็น • รถประจำทางวิ่งในจังหวัด1.บริการยอดนิยม อันดับหนึ่ง รถสองแถว 44.8 % ตามมาด้วย รถทัวร์โดยสารปรับอากาศ 35.4 % รถเมล์(ไม่ปรับอากาศ) 33.9 % และรถตู้ 24.4 %   2.คุณภาพงานบริการ 2.1 ความถี่ในการรับตั๋วหลังจ่ายค่าโดยสาร ใน 100 คน ไม่เคยได้ตั๋วเลย 9 คน ผลสำรวจ ไม่เคยได้รับตั๋วโดยสารหรือไม่มีบัตรอื่นใดให้เลย 35 % ได้รับตั๋วโดยสารทุกครั้ง 34.4 % ได้รับเป็นบางครั้ง 22.1 % และไม่ได้รับตั๋ว แต่ได้รับเป็นบัตรหมายเลขแทน 8.5 %2.2 การระบุราคาและหมายเลขที่นั่งไว้อย่างชัดแจน ใน 100 คน มี 21 คนที่ไม่เคยเห็นราคาและเลขที่นั่งบนตั๋ว ผลสำรวจ มีการระบุราคาและหมายเลขที่นั่ง 37 % มีการระบุราคาแต่ไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 32.3 % ไม่มีการระบุราคาและไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 20.5 % ไม่มีการระบุราคาแต่ระบุหมายเลขที่นั่ง 10.2 %2.3 การเก็บค่าโดยสาร ครึ่งหนึ่ง โอเคและคิดว่าเหมาะสม มี 19 % ที่บอกแพงเกินไปผลสำรวจ เห็นว่า ถูกต้อง เหมาะสม 50.6 % ไม่แน่ใจเพราะ ไม่ทราบว่าอัตราค่าโดยสารเป็นเท่าไหร่ 30.9 % ถูกต้อง แต่ไม่เหมาะสมเพราะแพงเกินไป 18.5 % 2.4 การขอเงินค่าโดยสารคืนเมื่อจ่ายเงินค่าโดยสารแล้ว แต่ไม่สามารถเดินทางได้ มีถึง 46 % บอกว่า ไม่เคยขอคืนได้เลย ผลสำรวจ ขอไม่ได้เลย 46.1 % ขอได้และได้เงินคืนครบถ้วน 30.6 % ขอได้เหมือนกัน แต่ได้เงินคืนไม่ครบ 23.3 %2.5 การติดประกาศแจ้งถึงข้อมูล เงื่อนไขในการให้บริการของรถโดยสาร ณ จุดพักรถ เกือบครึ่งหนึ่ง ไม่เคยเห็นประกาศใดๆ เลยผลสำรวจ ไม่มีการติดประกาศ 43.3 % มีติดประกาศ ในบริเวณที่เห็นได้ในชัดเจน 32.8 % มีติดประกาศ แต่ไม่อยู่ในบริเวณที่จะเห็นได้อย่างชัดชัดเจน 23.9 % 2.6 บริการของพนักงานประจำรถโดยสาร มากกว่าครึ่งหนึ่ง พอรับได้ (สงสัยชิน)ผลสำรวจ พึงพอใจปานกลาง 64.9 % พึงพอใจน้อย 21.3 % พึงพอใจมาก 10.6 % และไม่พึงพอใจเลย3.2 % 2.7 เคยโดยพนักงานประจำรถ แสดงกริยาไม่สุภาพ เช่น ลวนลาม เสียดสี ข่มขู่ กรรโชก ใน 100 คน มี 35 คนที่เคยโดนมาแล้ว ผลสำรวจ เคย 34.8 % ไม่เคย 65.2 %   3. ความปลอดภัยและการเยียวยาความเสียหาย เรื่องของพนักงานขับรถ 3.1 พนักงานขับรถโดยสาร มีการแสดงป้ายใบอนุญาตการขับขี่ไว้ในรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ ใน 100 คน มี 35 คน ตอบว่า ไม่แน่ใจ ผลสำรวจ มี 38.1 % ไม่แน่ใจ 35.2 % ไม่มี 26.7 % 3.2 เคยเห็นพนักงานขับรถเม้าท์มือถือระหว่างขับรถไหม 80 % เห็นมากับตา ผลสำรวจ เคยพบ 80.8 % ไม่เคยพบ 19.2 % เคยพบใช้โทรศัพท์สนทนาโดยใช้มือจับ  53.4 % เคยพบใช้ในขณะที่รถจอด  13.2 % เคยพบใช้โดยเสียบผ่านหูฟัง (Small talk)  11.6 % และ ไม่แน่ใจ 2.7 % 3.3 เคยเจอพนักงานขับรถ ขับเร็ว น่ากลัว หวาดเสียวไหม ผู้บริโภค 75 % มีประสบการณ์ระทึกมาแล้ว ทั้งนั้น โดยมี 28 % เจอประจำ ผลสำรวจ เคย 75.2 % ไม่เคย 20.8 % เคยเป็นบางครั้ง 36.3 % เคยบ่อยมาก 28 % เคยนานๆครั้ง 14.4 % และไม่แน่ใจ  4 % (สงสัยว่าหลับ) 3.4 เคยเจอพนักงานขับรถเมาขณะขับรถไหม 63 % ไม่เคยเห็นคนขับเมาเลย ผลสำรวจ เคยพบ 15.7 % ไม่เคยพบ 62.7 % และไม่แน่ใจ 21.6 % (คงเนียนมาก) 3.5 เคยเจอคนขับรถสูบบุหรี่ขณะขับไหม เกือบ 40 % เคยเจอเหมือนกัน ผลสำรวจ เคยพบ 39 % ไม่เคยพบ 47.4 % ไม่แน่ใจ 13.6 % 3.6 เคยพบพนักงานขับรถมีอาการง่วงหรือหลับในขณะขับรถหรือไม่ มากกว่าครึ่งหนึ่งยังไม่เคยเจอ (โชคดีจัง) ผลสำรวจ เคยพบ 18 % ไม่เคยพบ 54.2 % ไม่แน่ใจ 27.8 % 3.7 เคยพบรถโดยสารที่จอดรับผู้โดยสารนอกจุดรับส่งที่กำหนดหรือไม่ ผลสำรวจ เคยพบ 53.3 % ไม่เคยพบ 25.5 % ไม่แน่ใจ เพราะไม่รู้ตำแหน่งจุดจอดที่กำหนด 21.2 % 3.8 เคยพบรถโดยสารที่ขับช้าเกินควรหรือขับกีดขวางทางรถคันอื่นไหม ขับเร็วก็เจอมาแล้ว ขับช้าก็ต้องมีบ้าง เกือบครึ่งหนึ่งก็เจออยู่บ้าง ผลสำรวจ เคยพบ 48.2 % ไม่เคยพบ 51.8 % เรื่องสภาพรถโดยสาร3.9 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการมีเข็มขัดนิรภัย หรือไม่ ผลสำรวจ พบว่า มี 57.6 % ไม่มี 42.4 % 3.10 เข็มขัดนิรภัยอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ ผลสำรวจ เหมาะสม 55.2 % ไม่เหมาะสม (พันไว้หลังที่นั่ง , สายสั้น ,สายขาด , ไม่มีหัวคาด ฯลฯ) 44.8 % 3.11  เคยพบรถโดยสารที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารเพราะไม่มีที่นั่งพอหรือไม่ผลสำรวจ เคย 74.4 % ไม่เคยพบ 25.6 % 3.12 เห็นด้วยหรือไม่ที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารบนรถโดยสารผลสำรวจ ไม่เห็นด้วย 79 % เห็นด้วย 16.5 % และ ไม่แน่ใจ 0.5 % 3.13 รู้ไหมว่า ป้ายทะเบียนของรถโดยสารสาธารณะจะต้องใช้ป้ายทะเบียนสีเหลืองตัวอักษรสีดำตามกฎหมายกำหนดเท่านั้นผลสำรวจ รู้ 60 % ไม่รู้ 40 % 3.14 แล้วรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่เป็นป้ายทะเบียนสีเหลือง สำหรับขนส่งผู้โดยสารใช่หรือไม่ ผลสำรวจ ใช่ 57.8 % ไม่ใช่ 34.5 % ไม่แน่ใจ 7.7 % 3.15 สภาพรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ผลสำรวจ สภาพมั่นคงแข็งแรง เหมาะสมกับการใช้งาน 70.0 % สภาพเก่า ทรุดโทรม ไม่เหมาะกับการใช้งาน 30.0 % 3.16 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพภายใน สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะสมกับการใช้บริการหรือไม่ ส่วนใหญ่สะอาดใช้ได้เลย ผลสำรวจ สะอาด ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 70.3 % ไม่สะอาด สกปรก ทรุดโทรม มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 29.7 %   เรื่องการชดเชยเยียวยาความเสียหาย 3.17 เคยประสบอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสารวิ่งในจังหวัดหรือไม่ ผลสำรวจ ไม่เคย 89 % เคย 11 % 3.18 เคยเจอรถเสียระหว่างเดินทางไหม ผลสำรวจ ไม่เคย 59.9 % เคยสิ 40.1 % 3.19 ถ้าเกิดปัญหาจากการใช้บริการ เคยร้องเรียนไหม เกือบ 88 % ไม่เคยใช้สิทธิเลย(เศร้าจัง) ผลสำรวจ ไม่เคย 87.5 % เคย 12.5 % 3.20 ช่องทางที่ผู้บริโภครู้ว่า ถ้าเกิดปัญหาเรื่องรถโดยสารจะร้องเรียนได้ที่ไหน ผลสำรวจ ผู้ประกอบการ  68.6 % บริษัทประกันภัย 45.5 % กรมการขนส่งทางบก 43 %โรงพยาบาล 11.6 % มูลนิธิ องค์กรทางสังคม 10.9 % และสื่อมวลชน 6.8 % 3.21 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือไม่ผลสำรวจ ไม่แจ้ง 60.8 % แจ้ง 39.2 % 3.22 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตามประกันภัยรถเพิ่มเติม หรือไม่ผลสำรวจ ไม่มีแจ้ง 65.9 % มีแจ้ง 34.1 %   4.การกำกับดูแล การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 4.1 คิดว่าการกำกับดูแลคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดผลสำรวจ ปานกลาง 52.7 % น้อย 31.5 % มาก 15.8 % 4.2 คิดว่า ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ผลสำรวจ สมควร 94.4 % ไม่สมควร 5.6 % 4.3 คิดว่า ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลด้านคุณภาพและความปลอดภัยของบริการรถโดยสารด้วยช่องทางใดบ้าง ผลสำรวจ จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน 75.9 % จัดตั้งหน่วยเฝ้าระวัง และรายงาน พฤติกรรมของผู้ประกอบการเจ้าของรถ พนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน 60.7 % มาร่วมกำหนดนโยบาย มาตรการ เช่น บทลงโทษผู้กระทำความผิดซ้ำ และไม่แก้ไข 53.2 % เป็นอาสาสมัคร ให้ข้อมูลเรื่องสิทธิของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 40.4 % --   • รถประจำทางวิ่งระหว่างจังหวัด1.บริการยอดนิยม อันดับหนึ่ง รถทัวร์โดยสารปรับอากาศ 54.3 % รถตู้ 36.2 % รถเมล์ (ไม่ปรับอากาศ) 33.7 %รถสองแถว 17.1 %   2.คุณภาพงานบริการ 2.1 ความถี่ในการรับตั๋วหลังจ่ายค่าโดยสาร ใน 100 คน ไม่เคยได้ตั๋วเลย 13 คน ผลสำรวจ ได้รับตั๋วโดยสารทุกครั้ง  58.6 % ได้รับเป็นบางครั้ง 24.7 % ไม่เคยได้รับตั๋วโดยสารหรือไม่มีบัตรอื่นใดให้เลย 12.3 % ไม่ได้รับตั๋ว แต่ได้รับเป็นบัตรหมายเลขแทน 4.4 %2.2 การระบุราคาและหมายเลขที่นั่งไว้อย่างชัดแจน ผลสำรวจ มีการระบุราคา และหมายเลขที่นั่ง 47.9 % มีการระบุราคา แต่ไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 34.2 % ไม่มีการระบุราคา และไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง 11 % ไม่มีการระบุราคา แต่ระบุหมายเลขที่นั่ง 6.9 %2.3 การเก็บค่าโดยสาร ครึ่งหนึ่ง โอเคและคิดว่าเหมาะสม ผลสำรวจ ถูกต้อง เหมาะสม 55.1 % ถูกต้อง แต่ไม่เหมาะสมเพราะแพงเกินไป 15.6 % ไม่แน่ใจเพราะ ไม่ทราบว่าอัตราค่าโดยสารเป็นเท่าไหร่ 29.3 % 2.4 การขอเงินค่าโดยสารคืนเมื่อจ่ายเงินค่าโดยสารแล้ว แต่ไม่สามารถเดินทางได้ มีถึง 40 % บอกว่า ไม่เคยขอคืนได้เลย ผลสำรวจ ขอไม่ได้เลย 39.2 % ขอได้และได้เงินคืนครบถ้วน 31.9 % ขอได้ แต่ได้เงินคืนไม่ครบถ้วน 28.9 % 2.5 การติดประกาศแจ้งถึงข้อมูล เงื่อนไขในการให้บริการของรถโดยสาร ณ จุดพักรถ เกือบครึ่งหนึ่ง เคยเห็นประกาศใดๆ เลยผลสำรวจ มีติดประกาศ ในบริเวณที่เห็นได้ในชัดเจน 42.7 % ไม่มีการติดประกาศ 31.3 % มีติดประกาศ แต่ไม่อยู่ในบริเวณที่จะเห็นได้อย่างชัดชัดเจน 26 % 2.6 บริการของพนักงานประจำรถโดยสาร 72.5 พอรับได้ (สงสัยชิน)ผลสำรวจ พึงพอใจปานกลาง 72.5 % พึงพอใจน้อย 13.8 % พึงพอใจมาก 10.9 % ไม่พึงพอใจเลย 2.8 % 2.7 เคยโดยพนักงานประจำรถ แสดงกริยาไม่สุภาพ เช่น ลวนลาม เสียดสี ข่มขู่ กรรโชก ใน 100 คน มี 35 คนที่เคยโดนมาแล้ว ผลสำรวจ เคย 35 % ไม่เคย 65 % 3. ความปลอดภัยและการเยียวยาความเสียหาย เรื่องของพนักงานขับรถ 3.1 พนักงานขับรถโดยสาร มีการแสดงป้ายใบอนุญาตการขับขี่ไว้ในรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ ใน 100 คน มี 40 คน ตอบว่า ไม่แน่ใจ ผลสำรวจ มี 42.7 % ไม่แน่ใจ 39.9 % ไม่มี 17.4 % 3.2 เคยเห็นพนักงานขับรถเม้าท์มือถือระหว่างขับรถไหม เกือบ 80 % เห็นมากับตา ผลสำรวจ เคยพบ 78.9 % ไม่เคยพบ 21.1 % เคยพบใช้โดยเสียบผ่านหูฟัง (Small talk) 11.9 % เคยพบใช้ในขณะที่รถจอด 10.5 % เคยพบใช้โทรศัพท์สนทนาโดยใช้มือจับ 53 % ไม่แน่ใจ 3.5 % 3.3 เคยเจอพนักงานขับรถ ขับเร็ว น่ากลัว หวาดเสียวไหม ผู้บริโภค 73 % มีประสบการณ์ระทึกมาแล้ว ทั้งนั้น ผลสำรวจ เคย 72.9 % ไม่เคย 27.1 % เคยเป็นบางครั้ง 34.5 % เคยบ่อยมาก 19.5 % เคยนานๆ ครั้ง 14.4 % ไม่แน่ใจ 4.6 % 3.4 เคยเจอพนักงานขับรถเมาขณะขับรถไหม 67 % ไม่เคยเห็นคนขับเมาเลย ผลสำรวจ เคยพบ 14.5 % ไม่เคยพบ 66.8 % ไม่แน่ใจ 18.7 3.5 เคยเจอคนขับรถสูบบุหรี่ขณะขับไหม 33.5 % เคยเจอเหมือนกัน ผลสำรวจ เคยพบ 33.5 % ไม่เคยพบ 56.6 % ไม่แน่ใจ 9.9 % 3.6 เคยพบพนักงานขับรถมีอาการง่วงหรือหลับในขณะขับรถหรือไม่ ผลสำรวจ เคยพบ 15.9 % ไม่เคยพบ 61.8 % ไม่แน่ใจ 22.3 % 3.7 เคยพบรถโดยสารที่จอดรับผู้โดยสารนอกจุดรับส่งที่กำหนดหรือไม่ ผลสำรวจ เคยพบ 49.7 % ไม่เคยพบ 30.2 % ไม่แน่ใจ เพราะไม่รู้ตำแหน่งจุดจอดที่กำหนด 20.1 % 3.8 เคยพบรถโดยสารที่ขับช้าเกินควรหรือขับกีดขวางทางรถคันอื่นไหม ขับเร็วก็เจอมาแล้ว ขับช้าก็ต้องมีบ้าง ผลสำรวจ เคยพบ 36.6 % ไม่เคยพบ 63.4 % เรื่องสภาพรถโดยสาร3.9 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการมีเข็มขัดนิรภัย หรือไม่ ผลสำรวจ พบว่า มี 66.4 % ไม่มี 33.4 %3.10 เข็มขัดนิรภัยอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ ผลสำรวจ เหมาะสม 52.8 % ไม่เหมาะสม (พันไว้หลังที่นั่ง , สายสั้น ,สายขาด , ไม่มีหัวคาด ฯลฯ) 47.2 %3.11  เคยพบรถโดยสารที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารเพราะไม่มีที่นั่งพอหรือไม่ผลสำรวจ เคยพบ 71.1 % ไม่เคยพบ 28.9 %3.12 เห็นด้วยหรือไม่ที่ผู้โดยสารต้องยืนโดยสารบนรถโดยสารผลสำรวจ ไม่เห็นด้วย 83.5 % เห็นด้วย 11.3 % ไม่แน่ใจ 5.1 %3.13 รู้ไหมว่า ป้ายทะเบียนของรถโดยสารสาธารณะจะต้องใช้ป้ายทะเบียนสีเหลืองตัวอักษรสีดำตามกฎหมายกำหนดเท่านั้นผลสำรวจ ทราบ 62.7 % ไม่ทราบ 37.3 %3.14 แล้วรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่เป็นป้ายทะเบียนสีเหลือง สำหรับขนส่งผู้โดยสารใช่หรือไม่ ผลสำรวจ ใช่ 59.9 % ไม่ใช่ 8.0 % ไม่แน่ใจ 32.1 %3.15 สภาพรถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ผลสำรวจ มั่นคงแข็งแรง เหมาะสมกับการใช้งาน 72.1 % สภาพเก่า ทรุดโทรม ไม่เหมาะกับการใช้งาน 24.2 % 3.16 รถโดยสารที่ท่านใช้บริการส่วนใหญ่ มีสภาพภายใน สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะสมกับการใช้บริการหรือไม่ ส่วนใหญ่สะอาดใช้ได้เลย ผลสำรวจ สะอาด ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 71.8 % ไม่สะอาด สกปรก ทรุดโทรม มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 27.1 %   เรื่องการชดเชยเยียวยาความเสียหาย 3.17 เคยประสบอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสารวิ่งในจังหวัดหรือไม่ ผลสำรวจ ไม่เคย  89.4 % เคย 10.6 % 3.18 เคยเจอรถเสียระหว่างเดินทางไหม ผลสำรวจ ไม่เคย  59.9 % เคย 40.1 % 3.19 ถ้าเกิดปัญหาจากการใช้บริการ เคยร้องเรียนไหม เกือบ 89 % ไม่เคยใช้สิทธิเลย(เศร้าจัง) ผลสำรวจ ไม่เคย 88.8 % เคย 11.2 % 3.20 ช่องทางที่ผู้บริโภครู้ว่า ถ้าเกิดปัญหาเรื่องรถโดยสารจะร้องเรียนได้ที่ไหน ผลสำรวจ ผู้ประกอบการ 69.1 % กรมการขนส่งทางบก 46.8 % มูลนิธิ องค์กรทางสังคม 7.2 %โรงพยาบาล 6.6 % บริษัทประกันภัย 42 % สื่อมวลชน 4 %3.21 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือไม่ผลสำรวจ ไม่แจ้ง 59.4 % แจ้ง 40.6 %3.22 รถโดยสารที่ท่านโดยสารมานั้นได้มีการแจ้งความคุ้มครองในการประกันภัยตามประกันภัยรถเพิ่มเติม หรือไม่ผลสำรวจ ไม่มีแจ้ง 67.8 % มีแจ้ง 32.2 % 4.การกำกับดูแล การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 4.1 คิดว่าการกำกับดูแลคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดผลสำรวจ ปานกลาง 59.1 % น้อย 28.1 % มาก 12.7 % 4.2 คิดว่า ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะหรือไม่ ผลสำรวจ สมควร 92.8 % ไม่สมควร 7.2 % 4.3 คิดว่า ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลด้านคุณภาพและความปลอดภัยของบริการรถโดยสารด้วยช่องทางใดบ้าง ผลสำรวจ จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน 72.6% จัดตั้งหน่วยเฝ้าระวัง และรายงาน พฤติกรรมของผู้ประกอบการ เจ้าของรถ พนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน 68.4 % ร่วมกำหนดนโยบาย มาตรการ เช่น บทลงโทษผู้กระทำวามผิดซ้ำ และไม่แก้ไข 51.6 % เป็นอาสาสมัคร ให้ข้อมูลเรื่องสิทธิของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 35.8 %   วิธีการสำรวจ เนื้อหาของแบบสำรวจส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 คุณภาพบริการและมาตรฐานรถโดยสารสาธารณะส่วนที่ 3 สิทธิเรื่องความปลอดภัยและการเยียวยาความเสียหาย ส่วนที่ 4 การกำกับดูแล และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  โดยผู้ตอบจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเป้าหมายที่ทำการสำรวจ และเป็นผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ  จังหวัดที่ทำการสำรวจจำนวน 24 จังหวัด ใน 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง เชียงราย แพร่ เพชรบูรณ์ พิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร ภาคใต้ 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล สงขลา พัทลุง ภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตก รวม 7 จังหวัด คือสระบุรี ตราด สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และกาญจนบุรี  ทำการสำรวจทั้งสิ้นจำนวน 1,310 ชุด โดยเป็นการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทางที่วิ่งในจังหวัดจำนวน 562 คน และเป็นเส้นทางระหว่างจังหวัด 748 คน -------------------------------------------------------------------- สิทธิของผู้บริโภคบริการรถสาธารณะ1. ผู้โดยสารมีสิทธิร้องเรียนหรือฟ้องร้องเพื่อให้ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา เยียวยา หรือชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น 2. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายจากการประกันภัยโดยไม่มีการประวิงเวลา หรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ 3. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายทั้งทางร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน และสิทธิอื่น ๆ ที่ถูกละเมิด 4. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายด้วยหลักแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด 5. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของตนและของผู้อื่น 6. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการรถโดยสาร 7. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับการบริการจากรถโดยสารและผู้ให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน 8. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพเกี่ยวกับบริการรถโดยสาร รวมทั้งความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่ถูกต้องเป็นจริง ครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจใช้บริการ 9. ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในด้านสัญญา และราคาค่าบริการ 10. ผู้โดยสารมีอิสระในการเลือกใช้บริการรถโดยสารด้วยความสมัครใจ และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม --------------------------------------------------------------------

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 121 ถึงเวลาคนไทยใช้ระบบประกันสุขภาพมาตรฐานเดียวกัน

  “จะดีไหม!?...ถ้า 0.88% ของเงินเดือนที่เราและนายจ้างต้องจ่ายให้ระบบประกันสังคมในกรณีเจ็บป่วย ถูกนำไปเพิ่มเป็นเงินบำนาญหลังเกษียณ ส่วนเรื่องการรักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วยก็เปลี่ยนให้ไปใช้บัตรทองซึ่งให้สิทธิรักษาฟรีกับคนไทยทั่วประเทศอยู่แล้ว...”   ผู้ประกันตนระบบประกันสังคมฟังทางนี้!!! เรารู้จักสิทธิของตัวเองดีพอหรือยัง? คงยังมีหลายคนที่สงสัยว่า “ผู้ประกันตน” ที่ว่านี้หมายถึงใคร ?  ผู้ประกันตน ก็คือ พวกเราเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ต้องจ่ายเงินให้กับประกันสังคม โดยการหักจากเงินเดือน (แบบอัตโนมัติ) ทุกเดือนเดือนละ 5% สำหรับเป็นเงินไว้สำหรับสมทบเพื่อสิทธิประโยชน์ เวลาที่เราเจ็บป่วยแล้วใช้บริการที่สถานพยาบาล หรือเป็นเงินช่วยเหลือตอนตกงาน รวมทั้งจะได้มีเงินบำนาญไว้ใช้ตอนอายุมาก ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ค่อยช่วยเหลือเวลาที่เราลำบาก โดยไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้กับประกันสังคม แต่นายจ้างและรัฐก็ร่วมจ่ายสมทบเพื่อสิทธิของเราด้วย โดยนายจ้างจ่าย 5% ของเงินเดือนของเรา ส่วนรัฐช่วยน้อยลงมาหน่อยที่ 2.75% ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจ เหล่ามนุษย์เงินเดือนก็ต้องจ่าย 5% ของเงินเดือน เข้าสู่กองทุนประกันสังคม หลายคนอาจจะตั้งข้อสงสัยว่า  “นานทีปีหนถึงจะได้เข้าโรงพยาบาล แล้วแบบนี้ทำไมต้องมาจ่ายเงินให้ประกันสังคมด้วย”  ไขข้อข้องใจ ที่เราต้องจ่ายก็เพราะว่าหลักการของประกันสังคมคือเรื่องของการ “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” เงินของเราที่ถูกหักให้ประกันสังคมทุกๆ เดือนนั้นจะกลายไปเป็นเงินกองกลางสำหรับบริหารจัดการดูแลทุกๆ คนที่อยู่ในระบบประกันสังคมร่วมกับเรา ใครป่วยต้องรักษาพยาบาลก็ได้รับการดูแล วันหนึ่งถ้าเราไปหาหมอก็จะได้รับการดูแลเช่นกัน หรือถ้าวันหนึ่งเราตกงานหรือเกษียณก็จะมีเงินชดเชยให้ ซึ่งก็คือเงินของเราที่ถูกหักไปทุกๆ เดือนนั้นแหละ   5% ของเงินเดือนที่เราจ่ายให้ประกันสังคมถูกใช้ไปทำอะไรบ้าง   %ของเงินเดือนที่จ่าย สิทธิประโยชน์ สิทธิที่ได้รับ เงื่อนไขการใช้สิทธิ 0.88% กรณีเจ็บป่วย *รักษาฟรีที่ รพ.ตามสิทธิที่เลือกไว้ *เงินทดแทนการขาดรายได้ ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนใช้สิทธิครั้งแรก 0.12% กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนหญิง *ได้เงินทดแทน 13,000 บาทต่อครรภ์ ได้ไม่เกิน 2 คน *เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ไม่เกิน 90 วัน ผู้ประกันตนชาย *ได้เงินทดแทน 13,000 บาท ต่อครรภ์ ได้ไม่เกิน 2 คน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร 0.44% กรณีทุพพลภาพ *ใช้บริการ รพ.ของรัฐฟรี *หากเป็น รพ.เอกชน -ผู้ป่วยในเดือนละ 4,000 บาท -ผู้ป่วยนอกเดือนละ 2,000 บาท *เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค้าจ้างรายเดือนไปตลอดชีวิต *อวัยวะเทียมที่จำเป็นฟรี ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนทุพพลภาพ 0.06% กรณีตาย เงินสงเคราะห์ และค่าปลงศพ 40,000 บาท *หากส่งสมทบมาแล้วมากกว่า 3 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้เงินสงเคราะห์ เท่ากับค่าจ้าง 1 เดือนครึ่ง *หากสมทบมากกว่า 10 ปี เงินสงเคาระห์เท่ากับค่าจ้างของผู้ประกันตน 5 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายใน 6 เดือนก่อนตาย 3% กรณีชราภาพ *จะได้รับบำนาญ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากส่งสมทบมามากกว่า 180 เดือน *หากส่งสมทบมาไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินสมทบทั้งหมดบวกกับดอกเบี้ยตามอัตราที่สำนักงานประกันสังคมประกาศในแต่ละปี อายุ 55 ปี บริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 0% (เพราะรัฐออกให้) กรณีสงเคราะห์บุตร *เดือนละ 400 บาท ไปจนบุตรอายุ 6 ปี และได้ครั้งละ 2 คน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับสิทธิ 0.5% กรณีว่างงาน *หากถูกให้ออกโดยไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างจะได้ 50% ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 6 เดือน *หากลูกจ้างลาออกหรือหมดโครงการจะได้ 30% ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 3 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน   ความจริงเรื่องประกันสุขภาพ ประเทศไทยเรา ไม่ได้มีระบบประกันสุขภาพสำหรับดูแลเรื่องความป่วยไข้ของคนไทยแค่ระบบประกันสังคมเท่านั้น แต่ยังมีอีก 2 ระบบสำคัญที่ค่อยเป็นที่พึ่งเรื่องสุขภาพของคนไทย นั้นคือ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อที่ว่า “ระบบบัตรทอง” ซึ่งเป็นระบบที่รัฐดูแลจัดการ ถือเป็นสวัสดิการให้กับคนไทยทุกคน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม หรือระบบประกันสุขภาพอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยที่ได้รับการดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล ค่ายา ประมาณ 47 ล้านคน งบประมาณที่ใช้ก็มาจากเงินภาษีของเรานี่แหละ  คิดเป็นตัวเลขก็ประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายต่อคนที่รัฐออกให้อยู่ที่ประมาณ 2,401.33 บาท อีกระบบ คือ ระบบสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ สำหรับดูแลข้าราชการและครอบครัว ซึ่งมีประมาณ 5 ล้านคนทั่วประเทศ งบประมาณที่ใช้ก็มาจากเงินภาษีของเราอีกนั้นแหละ ซึ่งให้งบประมาณดูแลสูงถึง 7 หมื่นล้านบาท ค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายรายต่อคนประมาณ 10,000 บาท  ส่วนระบบประกันสังคม ซึ่งดูแลเหล่าลูกจ้างและมนุษย์เงินเดือนซึ่งมีอยู่ประมาณ 9 ล้านคน โดยงบประมาณที่นำมาใช้ดูแลสุขทุกข์ก็มาจากเงินที่เราถูกหักจากเงินเดือนทุกๆ เดือน บวกกับนายจ้างและรัฐช่วยสมทบให้ ซึ่งเงินที่เราจ่ายไปถูกนำไปเฉลี่ยสำหรับการดูแลคุ้มครองหลายๆ ส่วน (อย่างที่เราแจกแจงให้ดูในตารางก่อนหน้านี้) ซึ่งถ้าดูเฉพาะส่วนของค่ารักษาพยาบาลเราจะมีงบประมาณดูแลอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่น 2 พันล้านบาท คิดเป็นค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายที่คนละ 2,105.26 บาท  “น่าคิดมั้ย?...ทำไมระบบประกันสังคมถึงเป็นระบบประกันสุขภาพระบบเดียว ที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเอง”   ทั้ง ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ ระบบสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ใช้เงินจากรัฐซึ่งก็มาจากเงินภาษีของเราเองในการดูแลเรื่องสุขภาพของคนที่อยู่ในระบบ แต่ระบบประกันสุขภาพในระบบประกันสังคน ผู้ประกันตนต้องเป็นคนจ่ายสมทบเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลก ว่าทำไมรัฐจึงไม่ดูแลเรื่องสุขภาพของคนไทยให้เหมือนกันเป็นระบบเดียว เพราะเมื่องบประมาณที่ใช้ดูแลก็มาจากเงินภาษีของคนไทยทุกคนอยู่แล้ว ทำไมเรายังต้องจ่ายเพิ่มอีก?!  จริงอยู่ที่ว่าระบบประกันสังคม เป็นระบบการดูแลคุ้มครองความมั่นคงของชีวิตที่ดีและมีประโยชน์ คือมีทั้งเรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและในแบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข และยังเป็นการออมเพื่ออนาคต แต่หากสามารถนำหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขในเรื่องของการดูแลสุขภาพให้เท่าเทียมเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกระบบก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่ามั้ย?   มาเปลี่ยนเป็นระบบสุขภาพที่เท่าเทียมกันเถอะ“ถ้าเปลี่ยนให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ว่ายังจ่ายสมทบเท่าเดิม แล้วนำเงินที่ต้องจ่ายกรณีเจ็บป่วยไปเพิ่มให้กรณีชราภาพ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนมากกว่า”ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ ระบบบัตรทอง ทำหน้าที่ดูแลเรื่องสุขภาพคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศอยู่แล้ว หากจะเพิ่มการดูแลให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ก็คงไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกหรือยุ่งยากอะไร ถือเป็นการช่วยเหลือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ยังเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินในการดูแลรักษาสุขภาพยามเจ็บป่วย ถึงแม้จะเปลี่ยนไปรับความคุ้มครองในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ก็เชื่อว่าผู้ประกันตนส่วนใหญ่ก็ยังยินดีที่จะจ่ายสมทบในระบบประกันสังคม เพราะยังมีข้อดีในส่วนของการออมเพื่ออนาคต ทั้งการช่วยเหลือตอนว่างงาน และเงินบำเหน็จบำนาญตอนเกษียณ  ซึ่งถ้าหากได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพจากระบบบัตรทองแล้ว เงินที่เคยจ่ายให้ประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย 0.88% ของเงินเดือน ก็น่าจะถูกไปเพิ่มในส่วนของเงินชราภาพ ตอนเกษียณอายุเราจะได้มีเงินใช้เพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันเราได้เงินบำนาญจากการจ่ายเงินสมทบให้ประกันสังคมอยู่ที่ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ถ้าหากได้อีก 0.88% ของเงินเดือนไปเพิ่ม %เฉลี่ยของเงินที่จะได้เป็นบำนาญก็จะสูงขึ้น หรือถ้าเป็นเงินบำเหน็จ ซึ่งปัจจุบันใช้เกณฑ์คิดจากเงินสมทบทั้งหมดที่เราจ่าย + กับอัตราดอกเบี้ยอีกนิดหน่อย ถ้าได้ 0.88% ของเงินเดือนไปเพิ่มก็จะทำให้ได้บำเหน็จเยอะขึ้นจากเดิมทันที (อย่าคิดว่า 0.88% ของเงินเดือนเป็นเงินไม่กี่บาท ถ้าหากเราเงินเดือนเดือนละ 10,000 บาท แต่ละเดือนเราก็จ่ายสมทบไป 88 บาท 1 ปี เราจะจ่ายไป 1,056 บาท และถ้าเป็น 10 ปี ก็เท่ากับเงิน 10,560 บาทเลยนะ)  และยิ่งถ้าเรานำเงินสมทบให้ระบบประกันสังคมจาก กรณีคลอดบุตร 0.12% ของเงินเดือน และ กรณีทุพพลภาพ 0.44% ของเงินเดือน ซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ให้ความดูแลคุ้มครองตรงนี้ด้วยเช่นกัน ไปเพิ่มให้เงินสมทบสำหรับกรณีชราภาพอีก ตัวเงินหรือสิทธิที่เราจะได้รับการดูแลหลังเกษียณในฐานะผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมก็น่าจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก  ***แต่ที่เล่ามาทั้งหมดยังเป็นแค่ความฝันและความหวัง ของเหล่าผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่อยากเห็นเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง เพราะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้ประกันตนและสังคมโดยรวม งานนี้ก็คงต้องวิงวอนภาครัฐและบรรดาผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ช่วยทำให้ฝันเล็กๆ ของลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน และมนุษย์เงินเดือนในระบบประกันสังคมเป็นจริงด้วยเถิด*** ************************************************** “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” มาร่วมกันสร้างระบบหลักประกันสุขภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน อยากเชิญชวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทุกคนมาร่วมกันสร้างระบบหลักประกันสุขภาพที่เท่าเทียม สิทธิประโยชน์ที่ดีและเหมาะสมสำหรับพวกเราผู้จ่ายเงินสมทบในระบบประกันสังคม เพราะเงินทุกบาทที่เราจ่ายไปมีความหมาย ประกันสังคมต้องสามารถเป็น “หลักประกันให้สังคมได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิ”  ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม สามารถเข้าร่วม หรือติดตามข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ ของการประกันสังคม ได้ที่หน้า facebook ของ “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” **************************************************  ตัวอย่างสิทธิประโยชน์การบริการทางการแพทย์ที่แตกต่างกันของระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ***(O) = คุ้มครอง   (X) = ไม่คุ้มครอง   ลักษณะการบริการ ระบบประกันสังคม ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ โรคเดียวกันที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลเกิน 180 วัน X   O กรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เจ็บป่วยฉุกเฉิน แล้วไม่สามารถใช้บริการ รพ. ที่ลงทะเบียนไว้ได้ O ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี O ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โรคหรือประสบอันตรายจากการใช้สารเสพติด X O เฉพาะหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ได้รับอันตรายหรือทุพพลภาพจากการที่ตัวเองตั้งใจให้เกิด (กรณีพยายามฆ่าตัวตาย) X O การบริการรักษาตัวเองหรือฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่บ้านหลังออกจาก รพ. X O การส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่าทางอากาศยาน (เฮลิคอปเตอร์) X O ไม่เกิน 60,000 บาทต่อครั้ง การช่วยเหลือเบื้องต้นให้แกผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ X O 1.เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงิยช่วยเหลือไม่เกิน 200,000 บาท 2.สูญเสียอวัยวะหรือพิการ จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 120,000 บาท 3.บาดเจ็บหรือเจ็บต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 50,000 บาท การให้ยาไวรัสโรคเอดส์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังสัมผัส เช่น ถูกข่มขืน หรือติดเชื้อระหว่างปฏิบัติงาน เช่น แพทย์ พยาบาล X O การบริการแพทย์แผนไทยหรือแพทย์ทางเลือก X O ข้อมูลประกอบบทความ : “สู่ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว สู่หลักประกันทั้งสังคม”.เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, “รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปี 2552”, “รายงานประจำปีสำนักงานประกันสังคม 2552”, “คู่มือบัตรทองสำหรับอาสาสมัครสาธารณะสุข”, “สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2537 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542”, บทความ “ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย” สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, http://www.posttoday.com/ข่าว/อาชญากรรม-สังคม/72522/เทียบผลประโยชน์-บัตรทองดีกว่าประกันสังคมทุกด้าน/page-1/   เปรียบเทียบบริการทางการแพทย์ของระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   ระบบประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีประสบอันตราย/อุบัติเหตุ ขอรับค่าบริการได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้ 1.สถานพยาบาลของรัฐ -ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น -ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้อง และค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท 2.สถานพยาบาลของเอกชน *ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท และสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด **ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด กรณีที่ใช้บริการที่หน่วยบริการซึ่งขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้รับบริการไม่ต้องเสียค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย และสามารถใช้สิทธิใช้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ตามความจำเป็นโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง กรณีใช้บริการที่สถานบริการอื่น ผู้รับบริการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนที่เกินจากที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายให้สถานบริการ โดยสถานบริการดังกล่าวจะต้องแจ้งให้ผู้ป่วยและญาติทราบก่อนการให้บริการทุกครั้ง   การคลอดบุตร ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีคลอดบุตรสำหรับตนเองหรือคู่สมรส มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ในการคลอดบุตรคนละ 2 ครั้ง รวมถึงประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ได้แก่ ค่าตรวจรับฝากครรภ์ ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่าบริการและค่ารักษาพยาบาลทารกแรกเกิด ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย ค่าบริการอื่นที่จำเป็น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยจะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท สำหรับการคลอดบุตร (อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป) ของผู้ประกันตนหรือภริยาของผู้ประกันตน หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ประกันโดยเปิดเผยกรณีผู้ประกันไม่มีภริยา *กรณีผู้ประกันหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท และยังจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีก ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน และสามารถหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรครั้งหนึ่ง ไม่เกิน 60 วัน *กรณีผู้ประกันตนชายที่มีภรรยาจดทะเบียนสมรส หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรส สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร *กรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้คนละ 2 ครั้ง รวมกันได้ไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตร ไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก และแนะนำให้ใช้สิทธิของภรรยาก่อนเนื่องจากจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรด้วยนอกเหนือจากค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท สนับสนุนค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม จำนวนไม่เกิน 2 ครั้ง (กรณีบุตรมีชีวิตอยู่) ครอบคลุมถึงค่าตรวจและรับฝากครรภ์ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง จนสิ้นสุดการตั้งครรภ์ และการตรวจเยี่ยมดูแลหลังคลอด และจะได้รับวัคซีนทุกชนิดวัคซีนตามตารางแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน (EPI) ของกรมควบคุมโรค *คุ้มครองถึงหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 7 เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บริการทันตกรรม 1. กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก และรากฟันเทียม 2.การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กรณีผู้ประกันตนไม่มีปัญหาด้านการกลืน แต่ช่องเพดานโหว่มีเพดานกว้างพอประมาณ ครอบคลุมอยู่ในเงินเหมาจ่ายรายหัว หมายเหตุ: 1) ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการบริการสถานพยาบาลใดก็ได้ในกรณี ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานมาขอเบิกเงินคืนได้ในอัตราไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง ปีละไม่เกิน 600 บาท และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก (พลาสติก) 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,200 บาท ตั้งแต่ 6 ซี่ขึ้นไปจะเบิกได้ไม่เกิน 1,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก 2) ผู้ประกันยังต้องร่วมจ่ายในกรณีที่วงเงินเกินกำหนด โดยสามารถไปใช้บริการที่ใดก็ได้ 1.กรณีถอนฟัน การผ่าตัดช่องปาก (oral surgery) อุดฟัน ขูดหินปูน การเกลารากฟัน (root planing) ฟันเทียมฐานพลาสติก และทันตกรรมประดิษฐ์ 2.การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนมสำหรับเด็กเคลือบหลุมร่องฟัน (ในกลุ่มอายุไม่เกิน 15 ปี) นอกจากนั้นยังมีงานทันตกรรมเพิ่มทวีที่ดูแลเด็กชั้นประถมปีที่ 1 ทุกคนอย่างครบวงจร 3.ทันตกรรมรักษาในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ 4.การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำด้านทันตสุขภาพ 5.การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ 6.การผ่าตัดแก้ไขความพิการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงการจัดฟัน และแก้ไขปัญหาด้านการพูด (สำหรับเด็ก) โดยค่าผ่าตัดสามารถรับค่าใช้จ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนด ค่าเพดานเทียมในอัตรา 500 บาทต่อชิ้น ค่าอรรถบำบัด/แก้ไขการพูด จ่าย 3,850 บาทต่อรายต่อปี ค่าทันตกรรมบำบัด (ฟื้นฟู) จ่าย 12,000 บาทต่อรายต่อปี หมายเหตุ: ผู้มีสิทธิไม่ต้องร่วมจ่ายในกรณีที่วงเงินเกินกำหนด การส่งต่อผู้ป่วยไปหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่า กรณีมีความจำเป็น ต้องรับหรือส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัยหรือรักษาต่อยังสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง สามารถเบิกค่าพาหนะตามอัตรา ดังนี้ 1.ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน สำหรับค่ารถพยาบาลหรือเรือพยาบาลจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง และ 300 บาทต่อครั้งสำหรับพาหนะรับจ้างหรือส่วนบุคคล 2.กรณีข้ามเขตจังหวัดจ่ายเพิ่มจากกรณีภายในเขตจังหวัดเดียวกันอีกตามระยะทางกิโลเมตรละ 6 บาท (ตามระยะทางกรมทางหลวง) ให้จ่ายตามราคาเรียกเก็บแต่ไม่เกินราคากลางที่กำหนดในแต่ละประเภทพาหนะและระยะทาง ดังนี้ 1.ค่าบริการรับส่งต่อทางรถยนต์ เป็นไปตามระยะทาง ถ้าไม่เกิน 50 กิโลเมตร ให้เบิกตามค่าใช้จ่ายจริงในอัตราไม่เกิน 500 บาท แต่ถ้ามากกว่า 50 กิโลเมตรขึ้นไป ให้เบิกจ่ายค่าชดเชยครั้งละ 500 บาท และให้ได้รับค่าชดเชยเพิ่มอีกกิโลเมตรละ 4 บาทต่อระยะทางจากหน่วยบริการต้นทางถึงหน่วยบริการปลายทาง (ตามระยะทางกรมทางหลวง) 2.ค่าบริการรับส่งต่อทางเรือ เป็นไปตามประเภทเรือ และระยะทางอัตราจ่ายไม่เกิน 35,000 บาทต่อครั้ง โรคไต 1) การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร เหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในความตกลง และจ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท และเบิกค่าวางท่อพร้อมอุปกรณ์ได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 2) การฟอกเลือด เหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในความตกลง และเบิกได้ครั้งละไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 3,000 บาทต่อสัปดาห์ ค่าเตรียมเส้นเลือด (Shunt) อัตรา 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 3) การปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายก่อนการปลูกถ่ายไต เหมาจ่ายให้สถานพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาทต่อราย ค่าใช้จ่ายระหว่างปลูกถ่ายไต เหมาจ่ายให้สถานพยาบาลไม่เกิน 230,000 บาทต่อราย โดยครอบคลุมผู้ประกันตนและผู้บริจาคไตเป็นเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตรวมทั้งการรักษาภาวะสลัดไตอย่างเฉียบพลันของผู้ประกันเป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ทำการปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายหลังการปลูกถ่ายไต สำหรับสถานพยาบาลที่ปลูกถ่ายไตผู้ประกันตนที่มีสิทธิโดยครอบคลุมการตรวจรักษา ยากดภูมิคุ้มกัน ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับยากดภูมิภูมิคุ้มกัน เหมาจ่ายในอัตรา ดังนี้ ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 30,000 บาท เดือนที่ 7-12 เดือนละ 20,000 บาท ปีที่ 2 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 15,000 บาท ปีที่ 3 เป็นต้นไป เดือนละ 10,000 บาท หมายเหตุ: การปลูกถ่ายไต จะไม่ได้รับคุ้มครองเมื่อผู้ป่วยเป็นไตวายเรื้อรังก่อนเป็นผู้ประกันตน 1) การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร เหมาจ่ายค่าบริการให้โรงพยาบาล 220,000 บาทต่อรายต่อปี หรือ 18,320 บาทต่อรายต่อเดือน (ค่าน้ำยา 14,100 บาท ร่วมกับ ค่าดูแลครบวงจร) 2) การฟอกเลือด ผู้ป่วยลงทะเบียนก่อน 1 ต.ค. 51 1,000 บาทต่อครั้ง+ผู้ป่วยร่วมจ่าย 500 บาท 1,200 บาทต่อครั้ง (อายุเกิน 60 ปี+มีโรคเรื้อรัง) +ผู้ป่วยร่วมจ่าย 500 บาท ผู้ป่วยลงทะเบียนหลัง 1 ต.ค. 51 1,500 บาทต่อครั้ง 1,700 บาทต่อครั้ง (อายุเกิน 60 ปี+มีโรคเรื้อรัง) ค่าเตรียมเส้นเลือด (Shunt) จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 3) การปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายก่อนการปลูกถ่ายไต ให้สิทธิผู้ป่วยที่สามารถหาไตบริจาคได้ โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายคือ (1) ค่าเตรียมผู้รับบริจาคก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่สมองตาย 40,000 บาท (2) ค่าเตรียมผู้รับบริจาคก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่มีชีวิต ก่อนเข้ารับการผ่าตัด 40,000 บาท (จ่ายไม่เกิน 2 ครั้ง) ระหว่างเข้ารับการผ่าตัด 32,800 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับเตรียมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด 31,300 บาทและค่าเตรียมผู้รับบริจาคระหว่างรอผู้บริจาคที่สมองตาย ทุก 3 เดือน ครั้งละ 1,800 บาท ค่าใช้จ่ายระหว่างปลูกถ่ายไต จ่ายตามความเสี่ยง ตั้งแต่ Protocol I-IV โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำสุดคือ 143,000 บาท และสูงสุดคือ 292,000 บาท กรณีมีภาวะแทรกซ้อนจ่ายตาม Protocol ทั้งสิ้น 7 Protocol โดยมีค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายตั้งแต่ 23,000 บาทและสูงสุดคือ 493,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลังปลูกถ่ายไต สนับสนุนค่าใช้จ่าย ยากดภูมิ ตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับยากดภูมิคุ้มกัน เหมาจ่าย ดังนี้ ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 30,000 บาท เดือนที่ 7-12 เดือนละ 25,000 บาท ปีที่ 2 เดือนละ 20,000 บาท ปีที่ 3 เป็นต้นไป เดือนละ 15,000 บาท

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 107 แค่ดื่มก็สวย…จริงหรือ??

กระแสของคนใส่ใจสุขภาพมีแนวโน้มมากขึ้นตลอดเวลา จึงเป็นโอกาสของตลาดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่พยายามพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มีผลดีต่อสุขภาพ ปัจจุบันเราจึงเห็นว่ามีการโฆษณากล่าวอ้างถึงคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในเครื่องดื่มที่มีการโฆษณาว่ามีผลดีต่อสุขภาพ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Functional Drinks แค่ดื่มก็สวย…จริงหรือ?? กี่ครั้งกันนะที่คุณๆ อาจนึกสงสัยว่าเจ้าน้ำดื่มสารพัดยี่ห้อที่ใช้เรื่องความงามเป็นจุดขายนั้น ดื่มเข้าไปแล้วมันจะสวยได้จริงหรือ?? หนุ่มจะหันมามองตาค้างอย่างในโฆษณาจริงหรือเปล่า รวมทั้งชื่อสารเคมีแปลกๆ ที่พูดปาวๆ ในสื่อต่างๆ อะมิโนเปปไทด์ คอลลาเจน คิว 10 มันจะมีสรรพคุณวิเศษมหัศจรรย์จนสามารถบันดาลความสวยงามให้ได้จริงล่ะหรือ เรามาหาคำตอบกัน   อย.ให้ขายและโฆษณาได้ แสดงว่าของเขาดีจริงสิ??เชื่อว่ายังมีผู้บริโภคอีกหลายท่าน ที่เข้าใจผิดว่ามี อย. หมายถึงรับรองว่า ดื่มแล้วสวยจริง อันนี้ขอแก้ไขเรื่องจริงคือ อย.รับรองเพียงแค่ว่าดื่มแล้วปลอดภัย(ไม่ตาย) แต่ไม่ได้รับรองแต่อย่างใดเลยว่า ดื่มแล้วสวย ฉลาด สมาร์ท เลิศ อย่างที่เข้าใจกันไปตามที่โฆษณาบอก ลองอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ดูสิ อย.เขาไม่อนุญาตให้กล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ทางอาหารบนฉลากเด็ดขาด เพราะมันไม่มีหลักฐานอะไรที่มันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ไงล่ะ แต่จะไปห้ามคนไม่ให้เอาสารอาหารมาผสมน้ำขายก็ไม่ได้ เขาจึงรับรองแค่ว่า มันปลอดภัย แต่ไม่ได้ดื่มแล้วสวยขึ้นหรือฉลาดขึ้นนะ แถมยังบังคับให้น้ำดื่มพวกนี้ต้องติดคำเตือนเอาไว้ด้วย“ควรกินอาหารหลากหลายชนิดให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ” ฉลากบอกอะไรเราบ้าง• เกือบทุกผลิตภัณฑ์เป็นน้ำรสผลไม้(ไม่เกิน 20%) ส่วนใหญ่เป็นน้ำองุ่นขาวจากน้ำองุ่นขาวเข้มข้น เติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานเพื่อให้มีรสชาติดี จากนั้นก็แล้วแต่ว่าต้องการให้มีคุณสมบัติเพื่อขายอะไรก็เติมสารอาหารนั้นเข้าไป • ฉลากส่วนใหญ่ไม่มีการโฆษณาสรรพคุณว่าดื่มเพื่ออะไร แต่จะแสดงให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งว่า มีสารอะไรเป็นตัวเด่น(จุดขาย) แล้วให้ข้อมูลวิชาการเสริม หรือเพื่อโน้มน้าวใจผู้ซื้อ ซึ่งบางผลิตภัณฑ์เป็นข้อมูลที่คลุมเครือและน่าจะได้มีการตรวจสอบว่า ผิดกฎหมายหรือไม่ “คลอโรฟิลล์สารสกัดสีเขียว จากอัลฟาฟ่า ช่วยขับสารพิษในร่างกาย บำรุงเลือด ช่วยให้ ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น” เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ คลอโรฟิลล์ • หลายผลิตภัณฑ์เนื้อที่แค่บนฉลากมันไม่พอต้องมีป้ายพิเศษเพิ่มคล้องไว้ที่ขวดด้วย ซึ่งป้ายให้ข้อมูลเพิ่มเติมนี้ บางข้อความหมิ่นเหม่เข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง “ หุ่นดีไม่มีหน้าท้อง หุ่นสวยเพรียวอย่างใจเพราะไฟเบอร์สูงช่วยระบบขับถ่าย อยากหุ่นดีไม่มีหน้าท้องใช่ไหม” บีอิ้ง คอมฟอร์ท สารอาหารหรือยาวิเศษจากการพลิกดูฉลากผลิตภัณฑ์ ที่อ้างว่าเพื่อความสวยงามหรือฉลาดสดใสนี้ น่าจะพอแบ่งกลุ่มหลักๆ ของสารอาหารที่ถูกนำมาผสมขึ้นเป็นเครื่องดื่มแต่ละขวดได้ดังนี้ เครื่องดื่มที่เน้นว่าดื่มแล้วสวย การโฆษณาว่าดื่มแล้วสวย คงเป็นที่ถูกใจวัยรุ่นสาว ๆ และผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะทุกคนก็อยากเป็นคนสวยทั้งนั้น เครื่องดื่มประเภทนี้มักมีคำว่า “บิวติ” อยู่ในชื่อผลิตภัณฑ์ ซึ่งคำนี้เป็นเสียงพ้องของคำภาษาอังกฤษ “beauty” ที่แปลว่าสวยนั่นเอง หรืออาจมีคำว่า “สกินฟิต” ซึ่งสื่อให้เข้าใจว่ามีผิวหนังที่แข็งแรง เมื่อพิจาณาส่วนประกอบในเครื่องดื่มเหล่านี้มักพบว่ามีการเติม ”คอลลาเจน” เพิ่มลงไปในปริมาณที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 125 – 3000 มิลลิกรัม โดยที่หลายชนิดมีการใช้คำว่าคอลลาเจนในชื่อของผลิตภัฑ์ด้วย เช่น “เซนต์ แอนนา คอลลาเจน” “สก๊อต คอลลาเจน-อี” เป็นต้น ความจริงกินคอลลาเจนแล้วช่วยให้ผิวสวย หรือแก่ช้าจริงหรือไม่ ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า คอลลาเจนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากที่สุดในร่างกายคือประมาณ 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย มีลักษณะโครงสร้างที่เกาะเป็นเกลียว ทำหน้าที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ในส่วนของผิวหนังมีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบหลัก (ประมาณร้อยละ 75) และทำหน้าที่ช่วยให้ผิวหนังเรียบ ตึง และเนียนเรียบ โดยทำหน้าที่คู่กับโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าอีลาสติน (Elastin) คอลลาเจนที่ผิวหนังเกิดจากการสร้างภายในร่างกายเราเอง โดยสร้างจากกรดอะมิโนที่ได้จากการกินอาหารประเภทโปรตีนต่างๆ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง และต้องอาศัยวิตามินซีเป็นผู้ช่วยให้เกิดคอลลาเจนที่สมบูรณ์ จากหน้าที่ของคอลลาเจนที่ผิวหนังดังกล่าว ทำให้คอลลาเจนได้รับความสนใจนำมาใช้ในการชะลอริ้วรอย เสริมความงาม ช่วยให้ไม่แก่ ผิวหนังจะสวยได้ต้องมีคอลลาเจนที่แข็งแรงอยู่มากพอเป็นเรื่องจริง แต่อย่าลืมว่าการกินคอลลาเจนเข้าไปไม่ได้หมายความว่าคอลลาเจนที่กินนั้นจะไปอยู่ที่ผิวหนังได้ เพราะคอลลาเจนเป็นโปรตีน เมื่อกินเข้าไป จะถูกย่อยเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนเช่นเดียวกับโปรตีนชนิดอื่นๆ จากนั้นกรดอะมิโนจึงถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เอาไว้เป็นตัวตั้งต้นสำหรับการสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกายต่อไป ที่จริงแล้วในทางโภชนาการคอลลาเจนจัดเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพต่ำ เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างไม่ได้ไม่ครบถ้วนและไม่เพียงพอ ดังนั้นการกินแต่คอลลาเจนโดยที่ไม่ได้รับโปรตีนที่มีคุณภาพดีอย่างอื่นมากพอในระยะยาว จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ และการกินคอลลาเจนเพื่อให้ผิวสวยนั้นคงได้ผลน้อย ถ้าร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วนจากการกินอาหารที่ครบหมวดหมู่อย่างหลากหลายและสมดุล การที่ผิวหนังจะสวยได้จำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดอย่างมากพอ และต้องรู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เร่งการเสื่อมสลายของคอลลาเจนด้วย เช่น การอยู่ในที่แสงแดดจัดเป็นเวลานานหรือการสูบบุหรี่ เป็นต้น เครื่องดื่มที่เน้นว่ามีผลบำรุงสมองตัวนี้กำลังมาแรง เครื่องดื่มที่โฆษณาว่าทำให้เก่ง มีผลต่อสมอง เครื่องดื่มในกลุ่มนี้บางชนิดใช้คำว่า “เบรนฟิต” หรือ “สมาร์ท” เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์ ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้คือ มีส่วนประกอบของเปปไทด์หรือกรดอะมิโน หรือในบางผลิตภัณฑ์จะมีการเสริมกรดไขมันโมเลกุลยาวที่สกัดจากปลา ที่เรียกว่าโอเมก้าสามหรือดีเอชเอ ร่วมด้วย ความจริงเปปไทด์และกรดอะมิโนคือหน่วยย่อยของโปรตีนที่ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้เลย โดยปกติเมื่อเรากินอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากพืช (ถั่วต่างๆ) หรือโปรตีนจากสัตว์ ร่างกายจะมีน้ำย่อยหรือเอนไซม์ มาย่อยสลายโปรตีนนั้นให้มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นกรดอะมิโนเพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป สำหรับเปปไทด์นั้นคือกรดอะมิโน 2 หรือ 3 ตัวเรียงต่อกัน ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าร่างกายสามารถดูดซึมเปปไทด์สายสั้นนี้ได้ดีกว่ากรดอะมิโนเดี่ยว ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของเปปไทด์หรือกรดอะมิโนเข้าไป ก็จะทำให้ร่างกายสามารถนำเปปไทด์หรือกรดอะมิโนนั้นไปใช้ได้ทันที อย่างไรก็ตามแต่ละท่านคงต้องพิจารณาว่าร่างกายท่านมีความจำเป็นที่ต้องการเปปไทด์หรือกรดอะมิโนต่างๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นทันทีหรือไม่ ถ้าเรามีการรับประทานอาหารที่เหมาะสมครบถ้วนทั้งสามมื้อแล้ว การได้รับโปรตีนที่มากเกินไปไม่ว่าในรูปแบบใดจะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นในการกำจัดออกจากร่างกาย ซึ่งมีโอกาสทำให้ไตของเราเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของเปปไทด์หรือกรดอะมิโนจะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารเหล่านั้นไปใช้ได้ทันที อาจมีผลทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ฉลาดขึ้นไปด้วย ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ก่อนเข้าห้องสอบของนักเรียน/นักศึกษานั้นคงไม่ได้ทำให้นักศึกษาผู้นั้นทำคะแนนสอบได้ดีขึ้น ถ้าไม่ได้มีการศึกษาทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอมาก่อน ดีเอชเอ (DHA) เป็นคำย่อมาจาก docosahexaenoic acid ซึ่งก็คือคือกรดไขมันโมเลกุลยาวชนิดหนึ่งทีมีอยู่มาก ในสมอง ประสาทตา และหัวใจ เนื่องจากในสมองจะมีเซลล์ไขมันอยู่มากที่สุด ดังนั้นการได้รับกรดไขมันชนิดนี้มากพอจึงเชื่อว่าช่วยพัฒนาการของสมองและระบบประสาทของร่างกายทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ แหล่งอาหาที่สำคัญของไขมันชนิดนี้คือการบริโภคปลาเป็นประจำ อย่างไรก็ตามหลายท่านอาจบอกว่าไม่ค่อยได้กินปลา จึงหันมากินผลิตภัณฑ์ที่มีการเสริม DHA แทน เพื่อหวังผลทางสุขภาพเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานผลทางสุขถาพที่ชัดเจนของเครื่องดื่มเหล่านี้ว่ามีผลต่อพัฒนาการของสมอง นอกจากนี้อย่าลืมว่าการที่สมองของคนเราจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วย เช่น การได้รับออกซิเจนและกลูโคสที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดของสมองอย่างเพียงพอด้วย การพักผ่อน ที่เพียงพอและไม่เครียดเกินไปก็มีส่วนช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้นด้วย เครื่องดื่มที่เน้นว่ามีผลดีต่อการระบายเครื่องดื่มเชิงสุขภาพส่วนใหญ่ที่จำหน่ายทั่วไปมักมีการเสริมใยอาหารในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่ระบุชนิด (เช่น อินนูบิน) และไม่ระบุชนิดในปริมาณที่แตกต่างกัน (0.25 – 2.1 %) และมักจะกล่าวอ้างคุณประโยชน์ที่ช่วยเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหารและกระตุ้นการขับถ่าย ความจริงอย่างไรก็ตามปริมาณใยอาหารที่เพิ่มขึ้นในบางผลิตภัณฑ์อาจไม่มากพอที่จะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้ เช่น “บริ๊งค์ คอลลาเจน ดริ๊งค์” ที่มีส่วนประกอบของใยอาหารเพียง 0.25 % ในขวดผลิตภัณฑ์บรรจุ 50 มิลลิลิตรจะได้รับใยอาหารเพียง 0.125 กรัม เท่านั้น หรือบางผลิตภัณฑ์ที่ระบุคำว่าใยอาหารในชื่อผลิตภัณฑ์ เช่น “เซ็ปเป้บิวติ ดริงค์ ใยอาหาร” มีส่วนประกอบของใยอาหาร 2 % ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วพบว่ามีใยอาหารประมาณ 3.6 กรัม ต่อขวด (180 มิลลิลิตร) ปริมาณที่เพิ่มขึ้นนี้ยังไม่มากพอต่อความต้องการของร่างกายใน 1 วัน (20-25 กรัมต่อวัน) ดังนั้นผู้บริโภคที่ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ต้องไม่ลืมที่จะมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม ถูกสัดส่วนเช่นเดิมด้วย เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีตามต้องการ เครื่องดื่มที่เน้นว่ามีผลดีต่อสุขภาพโคเอนไซม์คิวเทน (Co Q 10) เป็นสารเสริมอีกชนิดหนึ่งที่มีการเติมกันมากในเครื่องดื่มที่มีการกล่าวอ้างทางสุขภาพ ปริมาณที่เติมประมาณ 15-29 มิลลิกรัมต่อขวด ความจริงโคเอนไซม์คิวเทนหรือบางคนเรียกว่าคิวเทน เป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์ มีอยู่มากในอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ตับ ไต มีหน้าที่ช่วยให้เกิดพลังงานสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหลัก โดยทำหน้าที่ดักจับอิเลคตรอนเพื่อส่งให้ไมโตคอนเดรียผลิตพลังงานแก่เซลล์ ในความเป็นจริง การทำงานของโคเอนไซม์คิวเทนไม่ได้เพียงแค่จับอิเลคตรอนไว้กับตัวแต่ยังส่งผ่านหน้าที่ไปยังส่วนอื่นเพื่อให้เกิดการทำงานครบกระบวน ดังนั้นในทางทฤษฎีแทนที่จะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพียงอย่างเดียว โคเอนไซม์คิวเทนอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระเสียเองได้ ดังนั้นการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคิวเทน จึงไม่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ แต่จะไปเพิ่มปริมาณโคเอนไซม์คิวเทน ให้ร่างกายนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องสร้างเอง โดยปกติการสังเคราะห์โคเอนไซม์คิวเทนอาจลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น รวมทั้งการได้รับยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA reductase ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดก็ทำให้การสังเคราะห็โคเอนไซม์คิวเทนลดลงได้ จึงควรมีการบริโภคโคเอนไซม์คิวเทนจากอาหารเพิ่มให้มากเพียงพอ โดยการกินอาหารเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับเครื่องดื่มที่มีการเสริมโคเอนไซม์คิวเทนต้องระวังว่าปริมาณที่เติมนั้นอาจลดลงจากเดิมได้ง่าย เนื่องจากสารโคเอนไซม์คิวเทนมีความไวต่อแสงมาก เครื่องดื่มที่มีการกล่าวอ้างว่าช่วยในการเผาผลาญพลังงาน มักจะมีการเติมสาร แอล-คาร์นีทีน (L-Carnitine) ประมาณ 0.04-0.7 % ความจริงแอล-คาร์นีทีนเป็นสารที่ร่างกายสร้างได้เองภายในตับและไต ทำหน้าที่เปลี่ยนกรดไขมันให้เป็นพลังงาน เพื่อให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายนำไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา กล้ามเนื้อหัวใจ สมอง และช่วยระบบเผาผลาญ ดังนั้นข้อดีของแอล-คาร์นีทีนที่ถูกยกมาเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์ คือ ให้พลังงานมากขึ้นจึงเหมาะสำหรับผู้รักการออกกำลังกาย ต้องการควบคุมน้ำหนัก พร้อมทั้งช่วยเผาผลาญไขมัน โดยปกติร่างกายเราจะมีสารแอล-คาร์นีทีนอยู่มากพอ ยกเว้นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยและดูดซึมอาหาร และผู้ที่รับประทานมังสวิรัติที่อาจพบว่ามีการขาดสารแอล-คาร์นีทีนได้ โดยที่จริงแล้วคนรักสุขภาพทั่วไปไม่มีความจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีการเติมสารคาร์นีทีนเพิ่ม ถ้ามีการกินอาหารที่เป็นแหล่งของแอลคาร์นีทีนเป็นประจำ ที่พบมากในเนื้อแดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืช ผักใบเขียว อะโวคาโด ถั่วรับประทานทั้งฝัก และผลิตภัณฑ์จากถั่วหมัก เด็กและสตรีมีครรภ์ก็ไม่ควรได้รับแอลคาร์เนทีนในรูปของผลิตภัณฑ์หรือเครื่องดื่มที่เสริมสารอาหาร เครื่องดื่มที่อ้างว่าดื่มเพื่อความขาวของผิวพรรณ แอลกลูตาไธโอน (L-glutathione) เป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่พบว่ามีการเติมเพิ่มในเครื่องดื่มที่กล่าวอ้างทางสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องความขาว รวมทั้งอ้างว่าแก้อาการเมาค้างด้วย ความจริงมีการศึกษาพบว่ากลูตาไธโอนช่วยเสริมการทำงานของวิตามินซี และอี ในการทำลายอนุมูลอิสระ และยังมีหน้าที่สำคัญ ในการช่วยขจัดสารพิษหรือขับของเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตับ โดยทำหน้าที่เปลี่ยนสารพิษกลุ่มที่ไม่ละลายน้ำ เช่น สารพิษในอาหารปิ้ง ย่าง รมควัน สารพิษจากเชื้อราต่างๆ หรือยาบางชนิดให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ เพื่อให้ร่างกายกำจัดออกได้ง่ายขึ้น และยังช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายโดยแอลกอฮอล์และบุหรี่ ในประเด็นหลังนี้ผู้ผลิตเครื่องดื่มนำมาเป็นจุดขายกับผู้ที่นิยมการดื่มแอลกอฮอล์ที่ยังห่วงใยสุขภาพ โดยปกติร่างกายคนเราผลิตสารกลูตาไธโอนได้เอง ยกเว้นคนที่เป็นโรคบางชนิด เช่น โรคตับ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้สูบบุหรี่จัด กลูตาไธโอนพบได้ทั่วไปในเนื้อสัตว์ ผลไม้และผัก โดยเฉพาะหน่อไม้ฝรั่ง อย่างไรก็ดีจากรายงานวิจัยของสถาบันโภชนาการพบว่า กลูตาไธโอนที่อยู่ในอาหารเสริมหรือเครื่องดื่มนั้นจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารได้ไม่ดีนัก และไม่ควรรับประทานเกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน การโฆษณาว่าเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกลูตาไธโอนแก้เมาค้างและบำรุงตับได้นั้น จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตลาดเครื่องดื่มสุขภาพในประเทศไทยที่พบเห็นทั่วไปมักจะกล่าวอ้างว่า “ดื่มแล้วสวย เก่ง ฉลาด มีผลดีต่อสมอง” เป็นหลัก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนหนุ่มสาวหรือวัยทำงานในเมืองที่มีวิถีชีวิตค่อนข้างรีบเร่ง อาจไม่มีเวลาในการดูแลตนเองมากนัก แต่รักสวยรักงาม อยากมีร่างกายที่ฟิต เก่ง และมักมีความสนใจในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ จากการสำรวจตลาดพบว่ามีผลิตภัณฑ์เคื่องดื่มประเภทนี้มากกว่า 30 ชนิดที่วางจำหน่ายอยู่ทั่วไป โดยมีราคาแตกต่างกันตั้งแต่ประมาณ 20-40 บาท เครื่องดื่มเหล่านี้มีผลดีต่อสุขภาพมากน้อยเพียงใดคงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย จากการพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องดื่มเหล่านี้ที่แสดงอยู่ที่ภาชนะบรรจุจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะประกอบด้วยส่วนผสมของน้ำผลไม้ และมักมีการเติมวิตามินแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี วิตามินซี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มหลายชนิดที่มีการเติมสารเฉพาะบางอย่างที่มีการกล่าวอ้างว่ามีผลดีต่อสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น คอลลาเจน โคเอนไซม์คิวเทน คาร์นีทีน กรดอะมิโนหรือเปปไทด์ เป็นต้น เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วเครื่องดื่มเหล่านี้ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อดื่มแล้วจะได้รับ”น้ำ”เข้าสู่ร่างกายเป็นหลัก ช่วยลดความกระหายและเพิ่มความชุ่มชื้นกับร่างกาย สำหรับสารเสริมต่างๆ นั้นอาจมีประโยชน์กับร่างกายบ้างแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งที่จริงแล้วคนเราทั่วไปไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องดื่มสารเสริมต่าง ๆ เหล่านั้น เพิ่มขึ้น เพราะสารต่างๆ เหล่านั้นมีอยู่มากพอในอาหารตามธรรมชาติ (ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้) ที่รับประทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้นจึงถือว่า การดื่มเครื่องดื่มเสริมสุขภาพเหล่านี้เป็นการดื่มน้ำที่มีราคาแพงที่ให้ผลต่อสุขภาพค่อนข้างน้อย แต่จากการโฆษณาอาจทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเหล่านี้มีผลดีต่อสุขภาพ ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ จนละเลยการปฏิบัติตนในเรื่องการบริโภคที่ดี ก็อาจจะไม่มีสุขภาพแข็งแรง ผิวสวย เก่ง หรือฉลาดอย่างที่ต้องการได้ โดยทั่วไปราคาของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเหล่านี้มีค่อนข้างแพง จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องซื้อหามาบริโภค โดยเฉพาะถ้ามีรายได้ไม่มากพอ แต่ถ้าคุณรวยล้นฟ้าจะซื้อหามาดื่มบ้างก็คงไม่ว่ากันถ้ายังยึดการปฏิบัติตนในเรื่องการบริโภคให้ดีอยู่ ท้ายที่สุดคงไม่มีอะไรที่จะดีกับสุขภาพของตนเองเท่ากับการให้เวลาใส่ใจในสุขภาพของตนเองอย่างแท้จริง รู้จักการกินอาหารตามธรรมชาติให้เหมาะกับความต้องการ มีการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เหมาะสม อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และทำใจให้เป็นสุข ไม่เครียดจนเกินไป ถ้าทำได้เช่นนี้แล้วอาหารเสริมสุขภาพชนิดใดก็สู้ไม่ได้แน่นอนค่ะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point