ฉบับที่ 207 รู้เท่าทันยาลดไขมัน

มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ยาลดไขมันโดยเฉพาะกลุ่มยาสแตตินว่า จะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงจากยา ซึ่งมีอันตรายกว่าไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ สมองเสื่อม มะเร็ง เป็นต้น  ความวิตกกังวลเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เป็นมากแค่ใด เรามารู้เท่าทันกันเถอะยาลดไขมันคืออะไรยาลดไขมันที่รู้จักกันในชื่อ สแตติน (statins) นั้นคือ Hydroxymethyl glutaryl coenzyme A reductase (HMG-CoA) inhibitors เป็นกลุ่มยาลดไขมันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกมานานกว่า 20 ปี ในท้องตลาดมียาสแตติน 6 ชนิดได้แก่ pitavastatin, atorvastatin, rosuvastatin, pravastatin, simvastatin และ fluvastatin  ยา pitavastatin เป็นยาที่นิยมใช้ในผู้ป่วยเอเชีย  มีหลักฐานชัดเจนว่า การรักษาด้วยยาสแตตินมีผลในการลดการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีหลักฐานชัดเจนว่า การรักษาด้วยยาสแตตินมีผลในการลดการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือดยาสแตตินจะยับยั้ง HMG-CoA ซึ่งไปลดการสร้างโคเลสเตอรอลในร่างกาย ยาสแตตินจะช่วยในการลดระดับของไขมัน LDL-C (low density lipoprotein cholesterol) ในเลือด ร้อยละ 20-50 และลดไตรกลีเซอไรด์ ร้อยละ 10-20  และช่วยเพิ่ม HDL-C (high density lipoprotein cholesterol) ร้อยละ 5-10 ผู้อ่านคงทราบกันดีว่า ไขมัน LDL และ ไตรกลีเซอไรด์นั้นเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ส่วนไขมัน  HDL นั้นเป็นไขมันที่ดี ช่วยป้องกันหรือยับยั้งไม่ให้ไขมันที่ไม่ดีนั้นเกิดผลเสียต่อร่างกายข้อดีของการใช้ยาสแตตินมีหลักฐานบ่งชี้ว่า การรักษาด้วยยาสแตตินนั้นมีผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด ในบทความทบทวนของคอเครน ฉบับเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 จากการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม 18 การทดลอง จากผู้เข้าร่วมการวิจัย 56,934 ราย พบว่า การรักษาด้วยสแตตินลดการตายลงจากทุกสาเหตุ ลดอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ทำให้เสียชีวิตและไม่เสียชีวิต และลดอุบัติการของโรคหลอดเลือดในสมองที่ทำให้เสียชีวิตและไม่เสียชีวิตนอกจากนี้ The Cholesterol Treatment Trialists’ (CTT) Collaboration in 2010 ได้ทำการวิเคราะห์อภิมาณ (meta-analysis) การทดลอง 26 รายงาน มีผู้เข้าร่วมการวิจัยกว่า 170,000 ราย ระยะเวลาการศึกษาเฉลี่ยเกือบ 5 ปี ก็พบว่า มีการลดลงโดยรวมของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุร้อยละ 10 ต่อการลดลงของ LDL-C ทุก 1.0 mmol/L รวมทั้งการลดลงของอาการผิดปกติของหลอดเลือดสำคัญอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่ หัวใจขาดเลือด และหลอดเลือดในสมองตีบ  ด้วยหลักฐานดังกล่าว ทำให้สมาคมหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา และสมาคมหัวใจวิทยาแห่งสหภาพยุโรปได้กำหนดให้การรักษาด้วยสแตตินเป็นแนวทางมาตรฐานในการรักษาผลข้างเคียงของยาลดไขมันยาลดไขมันมีผลข้างเคียงต่อกล้ามเนื้อ อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นอาการที่พบมากที่สุด ประมาณร้อยละ 9.4 ของผู้ใช้ยา ยาลดไขมันอาจทำให้เอนไซม์ของตับสูงขึ้น ร้อยละ 1-3 ของผู้ป่วย แต่จะพบในช่วงสามเดือนแรกเท่านั้น และไม่มีผลต่อการทำงานของตับในระยะยาวยาลดไขมันอาจมีผลต่อการเป็นเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณของยาที่ใช้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับประโยชน์จากยาสแตตินในการป้องกันความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือดยาลดไขมันไม่มีผลในการทำให้เกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น และไม่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อมในการใช้ระยะยาว แต่กลับพบว่าช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์โดยสรุป ยาลดไขมันมีประโยชน์ ป้องกันการเสียชีวิตและเจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือด อาจมีผลข้างเคียงบ้าง แต่โทษที่ไม่สามารถลดไขมันในเลือดได้นั้นจะเป็นอันตรายมากกว่าผลข้างเคียงจากยา  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 ชั่วโมงต้องมนต์ : อย่าปล่อยให้กาลเวลาผ่านไปดุจสายน้ำ

“เวลา” เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งในชีวิตมนุษย์ทุกวันนี้ แต่ดูเหมือนว่า คนยุคใหม่แทบจะไม่สำเหนียกเลยว่า “เวลา” มีคุณค่าเพียงไร และปล่อยให้กาลเวลาไหลผ่านไปไม่แตกต่างอันใดจากสายน้ำ จนกว่าที่คนเราจะสูญสิ้น “เวลา” ไปจากชีวิตนั่นแหละ เราจึงจะรู้ว่า “เวลา” มีค่ากับตนเพียงใด ด้วยโจทย์ง่ายๆ เกี่ยวกับ “เวลา” เช่นนี้ เป็นที่มาของการวางพล็อตหรือโครงเรื่องของละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ผสานแฟนตาซี อย่างเรื่อง “ชั่วโมงต้องมนต์” เหตุแห่ง “ชั่วโมง” ที่ “ต้องมนต์” เกิดขึ้นเมื่อ “มาร์ค” หรือ “ณฤทธิ์” หนุ่มเกย์เซเล็บไฮโซเจ้าของบริษัทปั้นนางแบบนายแบบชื่อดัง “มาร์คเอ็นเตอร์เทนเมนท์” ประสบอุบัติเหตุรถคว่ำเสียชีวิต และด้วยความเป็นคนที่เป็นคนบ้างาน อารมณ์เหวี่ยงวีนต่อผู้คนรอบข้างอยู่เนืองนิตย์ และไม่เคยสนใจต่ออารมณ์ความรู้สึกของใครใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อสิ้นลมหายใจลง มาร์คก็ได้กลายเป็นวิญญาณผีเร่ร่อน ที่ไม่อาจหลุดพ้นไปสู่สุคติได้ ในเวลาเดียวกัน อีกด้านหนึ่ง “บุญสิตา” นางเอกสาวสุดเฉิ่ม แต่จิตใจดีงาม มองโลกสวยแสนซื่อ ก็เผชิญชะตากรรมชีวิตของชนชั้นที่ฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย ครอบครัวของเธอมีภาระหนี้สินมากมายเพราะแม่เลี้ยงติดการพนันอย่างหนัก แถมบุญสิตาก็มีเหตุให้ตกงานในคราวเดียวกันอีก ดังนั้น เมื่อผีเกย์หนุ่มไฮโซขี้วีนวนเวียนโคจรมาพบเจอกับหญิงสาวแสนเชย และบุญสิตาก็กลายเป็นมนุษย์เพียงผู้เดียวที่มีสัมผัสที่หก และติดต่อพูดคุยกับวิญญาณผีเร่ร่อนของมาร์คได้ จุดเริ่มต้นของการจัดการเปลาะปมต่างๆ ในชีวิตของผีเกย์หนุ่มกับนางเอกสาวคนสวยจึงออกตัวขึ้นนับแต่นั้น ด้วยความเป็นวิญญาณผีเร่ร่อน และด้วยทรัพยากร “เวลา” ในชีวิตมีอันต้องสิ้นสุดลง มาร์คจึงค่อยๆ ทบทวนและเล็งเห็นว่า มีหลายสิ่งในชีวิตที่ยังค้างคาและไม่ได้รับการสะสางในขณะที่ตนยังมีลมหายใจอยู่ และปรารถนาจะ “ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ” ดังกล่าวอีกครั้ง ปมที่ผูกไว้และยังค้างคาอยู่ในจิตใจของมาร์ค มีตั้งแต่การมองไม่เห็นสายสัมพันธ์ที่ตนมีกับ “สมบัติ” ผู้เป็นบิดา ซึ่งมาร์คคิดตลอดมาว่าพ่อไม่เคยรักหรือภูมิใจในตัวเขาเลย การมองข้ามความรู้สึกของคนรอบข้างและเพื่อนร่วมงาน เพราะตนเองเอาแต่มุ่งมั่นทำงาน...งาน...และงานเพียงอย่างเดียว ไปจนถึงการได้ล่วงรู้ความจริงที่ว่า “กันต์” ชายคนที่เขารักเป็นหนักเป็นหนานั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงคนหลอกลวงและวางแผนให้เขารถคว่ำจนเสียชีวิต แต่เนื่องจากภารกิจหรือ “mission” ที่มีแนวโน้มจะ “impossible” มากในครั้งนี้ ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้หากว่ามาร์คไม่อาจ “ต่อเวลา” ในชีวิตของเขาออกไป ดังนั้น โครงเรื่องของละครจึงเปิดโอกาสให้วิญญาณของมาร์คถูกดูดเข้าไปในโลกเสมือนคล้ายกับนาฬิกาขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “ห้องเวลาชีวิต” ซึ่งมีตัวละครสมมติเป็นหญิงสาวชื่อว่า “เวลา” คอยทำหน้าที่กำกับควบคุมความเป็นไปในชีวิตของผู้คน รวมทั้งเวลาในชีวิตของผีเกย์หนุ่มด้วย  และเพราะวิญญาณของมาร์คสามารถสิงร่างของบุญสิตาได้ เวลาจึงต่อชะตาอนุญาตให้เขาสามารถอยู่บนโลกได้อีกร้อยวัน เพื่อใช้ห้วงเวลาครั้งสุดท้ายไปจัดการสิ่งที่เขาคิดว่ามีค่าและค้างคาอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่า เขาสามารถสิงร่างของบุญสิตาได้วันละไม่เกิน 1 ครั้ง และครั้งละไม่เกิน 4 ชั่วโมง  จากที่เคยคิดว่าเวลาเป็นทรัพยากรที่มนุษย์เรามีอยู่อย่างไม่สิ้นไม่สุด เมื่อต้องมาอยู่ในบริบทที่เวลากลายเป็นทรัพยากรมีจำกัด มีเงื่อนไขการใช้ และตนเองไม่อาจควบคุมเวลาได้เบ็ดเสร็จสมบูรณ์ มาร์คก็ได้หวนทบทวนว่า การปล่อยให้กาลเวลาผ่านไปเหมือนสายน้ำ หรือใช้ห้วงเวลาในชีวิตไปทำบางสิ่งบางอย่างที่เป็นภาพลวงตามากกว่าของจริงนั้น เป็นประหนึ่งการพร่าผลาญให้เวลาชีวิตหมดคุณค่าลงไป  ด้วยเหตุฉะนี้ มาร์คจึงใช้ห้วงเวลาที่มีอยู่จำกัดและน้อยนิดแบบนี้จัดการกับปัญหาต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่ความพยายามต่อสายสัมพันธ์และปรับความเข้าใจกับบิดา ซึ่งท้ายสุดคุณสมบัติเองก็เรียนรู้เช่นกันว่า การเรียกร้องให้บุตรชายเป็นแบบที่เขาคาดหวัง ทั้งในแง่หน้าที่การงานและในแง่การดำเนินชีวิตไปตามเพศสภาพที่สังคมกำหนดนั้น หาได้มีคุณค่าอันใดไม่เมื่อเทียบกับลมหายใจในชีวิตของมาร์คบุตรชายตน จากนั้น มาร์คก็บริหารเวลาของเขาเพื่อให้บทเรียนกับคนรอบข้าง ทั้ง “ศรัณย์” “จัสติน” “เจนนี่” “ดนุดล” และบรรดาผองเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานของเขาว่า แม้มนุษย์เราจะรักการทำงาน หรือรักที่จะสร้างสรรค์งานการเป็นชิ้นเป็นอัน แต่จริงๆ แล้ว มนุษย์เราก็ต้องจัดสรรห้วงเวลาบางช่วงเพื่อสร้างคุณค่าให้กับตนและคนรอบข้างควบคู่กับการทำงานรับใช้ระบบเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญ กับชีวิตของหนุ่มไฮโซผู้เติบโตมาบนกองเงินกองทอง มาร์คเองไม่เคยรับรู้มาก่อนว่า บนโลกใบนี้ยังมีชีวิตของคนกลุ่มอื่นที่ฐานะต่ำต้อยกว่า อย่างกรณีของบุญสิตาซึ่งก็มีปัญหารุมล้อมในช่วงเวลาชีวิตหลายอย่าง ไม่แตกต่างจากคนที่ “คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด” อย่างเขาเลย แม้บุญสิตาจะมีฐานะทางเศรษฐกิจน้อยกว่ามาร์ค แต่คุณงามความดีในจิตใจของเธอก็ทำให้มาร์คพบว่า การตัดสินคุณค่าของคนไม่ใช่อยู่ที่ฐานะการเงินหรอก แต่เป็นเรื่องนิสัยใจคอต่างหาก ซึ่งในท้ายที่สุด มาร์คก็ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุญสิตากับ “พุฒิเมธ” น้องชายของตนลงเอยสมหวังในความรัก เพื่อตอบแทนคุณความดีที่เธอยอมให้เขาสิงร่างและทำให้ “mission” ของเขาเป็นไปได้นั่นเอง กล่าวกันว่า ในปัจจุบันระบอบทุนนิยมประสบความสำเร็จยิ่งที่พรากเวลาไปจากชีวิตของคนเรา หรืออีกนัยหนึ่ง สังคมทุนนิยมมีอำนาจดึงห้วงเวลาของเราให้ไปอยู่กับการทำงาน...งาน...และงาน เพียงเพื่อรับใช้และต่อลมหายใจให้กับสายพานของระบอบดังกล่าวออกไป คล้ายๆ กับบรรดาชีวิตของมนุษย์งานแบบมาร์คที่ทำงานโดยเพิกเฉยต่อสายสัมพันธ์และโลกรอบตัว จนกว่ามาร์คและรวมทั้งมนุษย์ในระบอบอย่างเราๆ จะสูญเสียเวลาชีวิตของตนไป หรือต้องเข้าไปอยู่ในเงื่อนไขที่เวลาชีวิตมีจำกัด และเราไม่อาจจัดการต่อรองกับเงื่อนไขดังกล่าวได้เลย เมื่อนั้นตัวละครและผู้คนทั้งหลายจึงจะตระหนักว่า เวลามีคุณค่าและความหมายต่อชีวิตเราอย่างไร  คงคล้ายๆ กับประโยคที่บิดาของมาร์คกล่าวเตือนสติกับ “ธีมา” เพื่อนที่บ้างานของเขาว่า “ชีวิตของคนเรามีช่วงเวลาอยู่สามช่วงคือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต แต่ปัญหาก็คือ เราจะได้ใช้เวลาในชีวิตทั้งสามช่วงนั้นหรือเปล่า” นั่นก็เป็นเพราะว่า “ชั่วโมงต้องมนต์” แบบที่ผีเกย์ไฮโซอย่างมาร์คได้รับนั้น อาจจะไม่ใช่ช่วงเวลาที่ “ต้องมนต์” ให้ชีวิตคนเราทุกคนได้จริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 เครื่องทำกาแฟ Manual & automatic

ตามที่สัญญากันไว้ ฉบับที่แล้วเราลงผลทดสอบเครื่องทำกาแฟแบบแคปซูล คราวนี้เรายังเอาใจคอกาแฟต่อไปด้วยผลทดสอบเครื่องทำกาแฟแบบอัตโนมัติและอัตโนมือ มีมาให้เลือกกัน 14 รุ่น แบ่งออกเป็นแบบอัตโนมัติ 8 รุ่น (ราคาระหว่าง 22,000 ถึง 89,000 บาท) และแบบแมนวลอีก 6 รุ่น (ราคาระหว่าง 3,500 ถึง 10,500 บาท) โดยรวมแล้วพบว่าถ้าอยากประหยัดเงินเราก็ต้องลงแรงกันหน่อย เพราะเครื่องทำกาแฟแบบแมนวลส่วนใหญ่ที่เราทดสอบก็ได้คะแนนใกล้เคียงกับเครื่องอัตโนมัติที่ราคาสูงกว่าหลายเท่า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 207 โฆษณามั่วซั่วต้องตอบแทน (ตอนที่ 2)

ดังได้กล่าวในตอนที่แล้วประมาณว่า การทำธุรกิจในสหรัฐอเมริกานั้น ใครใคร่ทำนั้นสามารถทำได้ แต่อย่าโอ้อวดจนน่าเกลียดเพราะมีนักร้อง(เรียน) อาชีพคอยจัดการอยู่ตัวอย่างต่อไปที่ผู้เขียนอ่านพบในอินเทอร์เน็ตคือ เมื่อปี 2009 ซึ่งกระแสความตื่นกลัวของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดหมู(H1N1) กำลังแรง บริษัทขายอาหารเช้าชนิดที่ใช้ธัญพืชเป็นวัตถุดิบยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งตัวสินค้านั้นมีความละม้ายคล้ายข้าวเม่าคั่ว ได้ทำฉลากติดพาดกลางกล่องสินค้าชนิดที่ผลิตจากข้าวโพดว่า สินค้านี้ช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของเด็กได้ดี พร้อมการอวดอ้างว่า การกินสินค้าดังกล่าวด้วยปริมาณที่บริษัทแนะนำนั้น ทำให้ผู้บริโภคได้สารต้านออกซิเดชั่นและสารอาหารถึงร้อยละ 25 ที่ร่างกายต้องการ แต่ทันทีที่ข้อมูลบนฉลากกระทบตานักวิชาการ คำถามถึงที่มาและการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลถึงที่มาของข้อความดังกล่าวก็ถูกตั้งเป็นประเด็นขึ้น จนสุดท้ายบริษัทก็ฉีกฉลากดังกล่าวทิ้งถังขยะไปในปีเดียวกันนั้นกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐได้ขอคำอธิบายจากบริษัทเดียวกันนั้นว่า การอวดอ้างว่าสินค้าที่ทำจากข้าวสาลีนั้นช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในเรื่อง ความเอาใจใส่(attentiveness) สูงขึ้นร้อยละ 20 นั้น ท่านได้แต่ใดมา ซึ่งทางบริษัทก็ไม่สามารถอธิบายได้ สุดท้ายกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐจึงได้สั่งการแบบปรานี ประมาณว่า ให้บริษัทถอดโฆษณาดังกล่าวออกพร้อมสำทับว่า คราวหน้าถ้าจะโฆษณาอะไรก็ตามเกี่ยวกับสินค้าว่า มีผลต่อสุขภาพผู้บริโภคนั้น ขอให้ทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์จนได้ข้อมูลที่ชัดแจ้ง อย่าได้บังอาจคิดว่าผู้บริโภคนั้นกินฟางเป็นอาหารหลักสืบเนื่องจากการโฆษณาสินค้าที่อ้างว่า มีผลต่อการเพิ่มความสามารถของคนดังกล่าวข้างต้นนั้น ชาวอเมริกันหลายคนที่มีโอกาสได้ดูโฆษณาสินค้าอาหารบางชนิดในประเทศไทย อาจประหลาดใจว่า โฆษณาสินค้าที่อ้างว่าทำให้คนฉลาดนั้นหลุดรอดออกมาสู่สายตาผู้ชมได้อย่างไร เช่น สินค้าบางชนิดอ้างเองว่า ผู้ที่กินเข้าไปแล้วจะฉลาดขึ้น เสมือนคนที่มะงุมมะงาหราอยู่ในที่มืดมานานแล้วสามารถเปิดไฟสว่างมองเห็นทางออก เช่น สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้ โดยไม่ได้คำนึงเลยว่า ความฉลาดของมนุษย์นั้นมีหลายปัจจัยเป็นตัวคุม โดยหนึ่งนั้นคือ สภาวะโภชนาการ ซึ่งเป็นผลจากการกินอาหาร ซึ่งต้องเป็นอาหารที่ครบหมู่ต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ ไม่ใช่สินค้าที่เหมือนได้จากการต้มโครงหมูกระดูกไก่แล้วแต่งสีบรรจุขวดขายอีกตัวอย่างที่ดูเหมือนเป็นปัจจัยที่ห้าของชีวิตสตรีและผู้ที่ข้ามเพศจำต้องหามาใช้บำรุงชีวิตนั้น คือ เครื่องสำอาง ผู้เขียนได้ดูภาพยนตร์สั้นเรื่องหนึ่งใน YouTube เกี่ยวกับสตรีไทยผู้มีอาชีพเป็นนางแบบภาพเปลือย ซึ่งทำให้เข้าใจความหมายของคำว่า nude นั้นเป็นอย่างไร มีตอนหนึ่งที่สะกิดใจมากคือ นางแบบนั้นขอทาอายไลเนอร์ก่อนถ่ายภาพทั้งที่วันนั้นเป็นการถ่ายภาพที่มองไม่เห็นส่วนดวงตาของเธอก็ตาม ซึ่งน่าจะแสดงว่าสตรีบางคนในเมืองที่มีแสงสีนั้น ขอบำรุงผิวหน้าสักหน่อยก่อนออกไปไหนๆ เพื่อความมั่นใจในตนเอง เกี่ยวกับเครื่องสำอางโฆษณาเกินจริงนี้ ผู้เขียนขอข้ามจากสหรัฐอเมริกาไปยังสหราชอาณาจักรสักหน่อย เพราะในปี 2009 นั้นผู้ดูแลด้านกฏหมายการโฆษณาของสหราชอาณาจักร(U.K.’s Advertising Standards Authority) ได้สั่งถอดโฆษณาเครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งเป็นครีมที่ใช้บำรุงผิวหนังบริเวณหลังตา โดยการสั่งห้ามนั้นมาจากสาเหตุที่ในการโฆษณานั้นมีการใช้นางแบบวัยดึกอายุราว 60 ปี คนหนึ่งซึ่งเคยถูกขนานนามว่า สวยแบบผอมกระหร่องที่สุดในโลก (นางเข้าวงการเดินแบบเมื่ออายุ 15 ปีในปี 1966 โดยเป็นต้นกำเนิดของแฟชั่นสไตล์ "Androgyny" ซึ่งเป็นสไตล์กึ่งหญิงกึ่งชาย) มาอวดอ้างว่า ครีมนั้นป้องกันตีนกา(ซึ่งฝรั่งใช้คำว่า crow’s feet) ได้ สุดท้ายแล้วข่าวในอินเทอร์เน็ตกล่าวว่า หลังจากการพูดจากันระหว่างผู้ดูแลกฎหมายและผู้ประกอบการ  ซึ่งก็ยอมรับแบบเสียไม่ได้ว่า ภาพที่โฆษณานั้นใช้การตกแต่งด้วยคอมพิวเตอร์(retouching) เพื่อกำจัดริ้วรอยของความแก่ตามวัยที่หางตานางแบบนั้นออกไป และสุดท้ายบริษัทก็เปลี่ยนภาพนางแบบจากสาวแก่เป็นสตรีเยาว์วัยแทนปรากฏการณ์เอาเรื่องของผู้ดูแลกฎหมายเกี่ยวกับโฆษณาเครื่องสำอางในอังกฤษนั้น ยากที่จะเกิดในบางประเทศ เพราะผู้ดูแลกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องสำอางส่วนใหญ่ในประเทศ กำลังพัฒนา มักใช้กระบวนการประมาณว่า(สมน้ำหน้า) ถ้าเครื่องสำอางนั้นใช้ไม่ได้ผลก็ให้โยนลงถังขยะแล้วอย่า(โง่) ไปซื้อมาใช้อีก โดยไม่คำนึงเลยว่า ค่าโง่ของผู้บริโภคนั้นมันต้องเสียเงินไปมากแค่ไหนย้อนกลับไปที่สหรัฐอเมริกาเพื่อดูข่าวเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการที่คนอเมริกัน ถูกหลอกให้กินผลไม้กวนปลอมปนที่ผลิตโดยบริษัทผลิตอาหารยักษ์ใหญ่หนึ่งของสหรัฐอเมริกา(บริษัทนี้ขึ้นชื่อในการผลิตอาหารที่ทำจากแป้งเมื่อเริ่มต้นตั้งบริษัท จากนั้นก็ขยายไลน์ของผลิตภัณฑ์ออกไปมากมาย พร้อมธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวกับอาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อลือชามากคือ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดแผ่นอบกรอบชนิดที่ขายดีในวันฮาโลวีน) ขนมผลไม้กวนม้วนที่คล้ายมะม่วงกวนบ้านเราซึ่งบริษัท(ซึ่งผู้เขียนไม่ขอออกนาม) ผลิตนั้น ได้ใช้ชื่อที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า ทำจากผลสตรอว์เบอร์รี ทั้งที่มีส่วนผสมหลักคือ น้ำคั้นจากลูกแพร์เข้มข้น น้ำตาลข้าวโพดเข้มข้น น้ำตาลทราย และอื่น ๆ เช่น เพ็กตินซึ่งทำให้สินค้าเป็นแผ่นเหมือนผลไม้กวน โดยอาจมีสตรอว์เบอร์รีบ้างเป็นบางครั้งแต่ก็ไม่ถึงร้อยละ 2 (ข้อมูลจาก wikipedia)การหลอกพ่อแม่เด็กชาวอเมริกันว่า สินค้านั้นทำจากผลไม้ธรรมชาติแล้วโฆษณาว่า เด็กจะมีสุขภาพดีเพราะได้สารอาหารเหมือนกินผลไม้แท้นั้น กระตุ้นให้ The Center for Science in the Public Interest (CSPI) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไรที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นั้นเกิดอาการ หัวร้อน จัดการฟ้องร้องบริษัทนี้ในด้านละเมิดสิทธิที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อปี 2011 จนสุดท้ายมีการตกลงกันนอกศาล(ตามระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกา) ว่า ผู้ผลิตต้องเลิกใช้รูปผลไม้บนฉลากสินค้า เลิกอวดอ้างว่าทำจากผลไม้แท้ หรือข้อมูลที่ทำให้ผู้จ่ายเงินซื้อเข้าใจว่าซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผลไม้แท้ สำหรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนี้กระทำครบแล้วตามศาลสั่งในปี 2014สินค้าอาหารหลายอย่างที่มีลักษณะการผลิตดังที่ผู้เขียนเล่าให้ฟังนี้ ในบ้านเราคงมีขายอยู่บ้าง ตัวอย่างที่ผู้เขียนเคยพบและคิดว่าน่าจะเข้าข่ายการหลอกลวงนั้นเกิดในสมัยผู้เขียนยังทำงานสอนหนังสืออยู่คือ เมื่อชงกาแฟ 3 in 1 ยี่ห้อหนึ่งในช่วงเช้าก่อนเวลาทำงาน ปรากฏว่าเกิดกลิ่นหอมออกไปจากห้องทำงานถึงทางเดินส่วนกลางจนมีผู้ตามกลิ่นเข้ามาดูว่า กาแฟอะไรทำไมถึงหอมอย่างนี้ ปรากฏว่าเมื่อดูที่ฉลากบนซองได้พบมีการระบุชัดเจนว่า เติมกลิ่นรสกาแฟสังเคราะห์ ซึ่งสารเคมีดังกล่าวนี้ผู้เขียนคงได้เคยประสบมาแล้วอีกเช่นกัน เมื่อวันหนึ่งเดินเข้าไปในศูนย์การค้าใหญ่แถวสยามสแควร์เวลาประมาณ 11.00 น. ก็ได้กลิ่นกาแฟหอมฉุยมาจากร้านกาแฟร้านหนึ่ง จึงเดินตามกลิ่นไปดู สิ่งที่พบคือ พนักงานของร้านยังไม่ได้ต้มน้ำร้อนสำหรับชงกาแฟเลย เพียงแต่เอาสเปรย์กลิ่นกาแฟฉีดเพื่อให้เกิดบรรยากาศเรียกน้ำย่อยเท่านั้น ดังนั้นโดยสรุปแล้ว สินค้าที่ท่านซื้อมาบริโภคในวันนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่ท่านต้องการได้จริงในบางครั้ง เพราะเทคโนโลยีต่างๆ ในการผลิตเพื่อตบตานั้นได้ก้าวล้ำไปไกลแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 โซเดียม และพลังงาน น้ำตาล จากบิสกิต-แซนวิช-แครกเกอร์

ขนมห่อเล็กๆ ที่เด็กมักจะเลือกหยิบฉวยเมื่อมีโอกาสได้เดินเข้าร้านสะดวกซื้อกับผู้ปกครอง โดยเฉพาะขนมอบกรอบ ตลอดจนขนมประเภทบิสกิต แซนวิช และแครกเกอร์ ที่มีบรรจุภัณฑ์สีสันสวยงาม รสชาติอร่อย และราคาไม่แพง ขนมเหล่านี้ล้วนสร้างความพึงพอใจและรอยยิ้มให้กับเด็กๆ ไม่น้อย ไม่เพียงแต่เด็ก ผู้ใหญ่อย่างเราบางครั้งเวลาเดินช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า แล้วยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้ออะไรติดไม้ติดมือกลับบ้าน ขนมประเภทนี้ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ หรือแม้แต่จะซื้อไปทำบุญใส่บาตร ก็รู้สึกเข้าท่าดีเหมือนกัน อย่างไรก็ตามขนมประเภทนี้แม้เห็นว่าห่อเล็กๆ หน่วยบริโภคไม่ถึง 30 กรัม แต่ก็ให้พลังงานที่สูง และที่สำคัญมีปริมาณโซเดียมสูงด้วย การรับประทานจึงต้องเพิ่มความระวัง ซึ่งวิธีหนึ่งที่เราจะเลือกรับประทานให้ได้อย่างเหมาะสม ก็คือการพิจารณาฉลาก โดยเฉพาะฉลากโภชนาการ ซึ่งฉลาดซื้อฉบับนี้อาสานำข้อมูลบนฉลากโภชนาการของขนมประเภทนี้ มานำเสนอไว้เป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ  ข้อสรุปจากการเปรียบเทียบฉลากโภชนาการ เมื่อพิจารณาที่ฉลากของผลิตภัณฑ์ทั้ง 35 ตัวอย่าง พบว่า หน่วยบริโภคที่น้อยที่สุดคือ ยี่ห้อ แซนวิชเค้กสอดไส้ครีมคัสตาร์ด ตราฟันโอ คือ 1 ชิ้น 13 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี ปริมาณโซเดียม 40 มก. ขณะที่หน่วยบริโภคซึ่งมากสุด คือ ยี่ห้อ  เลมอน ครีมแซนวิซ ตราเบลลี่ คือ 1 ชิ้น 100 กรัม ให้พลังงาน 498 กิโลแคลอรี ปริมาณโซเดียม 390.2 มก.   ส่วนผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นๆ ส่วนใหญ่น้ำหนัก 1 หน่วยบริโภคจะอยู่ที่ประมาณ 30-35 กรัม  และหากลองนำผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มาคำนวณในหน่วยบริโภคที่เท่ากันหรือใกล้เคียง(30 กรัม) จะพบว่า ขนมอบที่นำมาดูฉลาก จะมีค่าพลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ 150-160 กิโลแคลอรี สำหรับปริมาณโซเดียมนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของขนม โดยผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคสูง(หน่วยบริโภคไม่เกิน 42 กรัม) คือ 1.แครกเกอร์สอดไส้ช็อคโกแลต ตรา มอลคิสท์  โซเดียม 200 มก. ต่อหน่วยบริโภค 42 กรัม 2.แครกเกอร์ไส้ครีม กลิ่นวานิลลา ตรา ไวโอเลต โซเดียม 160 มก. ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม3.คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลต ตรา เพรสโต้ ครีมโอ โซเดียม  150 มก. ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม4.โอรีโอ คุกกี้แซนวิชรสช็อกโกแลตสอดไส้ครีมกลิ่นวานิลลา โซเดียม 150 มก. ต่อหน่วยบริโภค 29 กรัม5.คุกกี้สตัฟ รสคุกกี้และครีม ตราวอยซ์ โซเดียม 130 มก. ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม อย่างไรก็ตาม หากดูจากฉลากที่นำมาเปรียบเทียบทั้งหมด ยี่ห้อ เลมอน ครีมแซนวิซ (ตราเบลลี่) ซึ่งมีหน่วยบริโภคที่ 100 กรัม(ชิ้นใหญ่) จะให้ปริมาณโซเดียมมากถึง 390.2 มก/100 กรัม ดังนั้นจึงควรแบ่งรับประทานในสัดส่วนที่เล็กลงมา ความสำคัญของฉลากโภชนาการนอกจากฉลากสินค้าจะบ่งบอกปริมาณหรือน้ำหนัก ให้เราได้เทียบความคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายจริงแล้ว ฉลากบนสินค้ายังมีประโยชน์มากกว่านั้นอีก โดยเฉพาะฉลากข้อมูลโภชนาการ ที่สามารถบอกเราได้ว่า หนึ่งหน่วยของอาหารที่เราบริโภคนั้น ได้มอบคุณค่าทางโภชนาการอะไรแก่ร่างกายเราบ้าง ยกตัวอย่างเช่น หนึ่งหน่วยบริโภคของขนมแครกเกอร์ 1 ห่อ (คำแนะนำว่า เราควรบริโภคเพียงครั้งละกี่ชิ้น คิดเป็นน้ำหนักกี่กรัม), จำนวนหน่วยบริโภคต่อบรรจุภัณฑ์ (แครกเกอร์ 1 ห่อ ควรแบ่งกินกี่มื้อ) หรือบอกว่าในหนึ่งหน่วยบริโภค (ปริมาณที่เราบริโภค 1 มื้อ) นั้นให้พลังงานต่อร่างกายเราทั้งหมดเท่าใดหากผู้บริโภคสังเกตบริเวณด้านหน้าของห่อขนม จะเห็นฉลากพื้นสีขาวที่มีลักษณะคล้ายปล้องไม้ไผ่ ถูกแบ่งเป็น 4 ช่อง ได้แก่ พลังงาน, น้ำตาล, ไขมัน และโซเดียม ซึ่งเรียกว่า ฉลากหวานมันเค็ม หรือ ฉลากจีดีเอ (Guideline Daily Amount; GDA) ซึ่งเป็นฉลากที่บอกให้ทราบว่าเมื่อกินขนมเข้าไปทั้งถุงหรือซอง จะได้รับพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมปริมาณทั้งหมดเท่าไหร่ ถ้าเราดูเฉพาะตัวเลขในช่องพลังงาน จะเป็นตัวเลขค่าพลังงานของขนมทั้งซอง ถ้าสมมติว่าเป็นขนมห่อใหญ่ที่สามารถแบ่งกินได้ 4 ครั้ง ก็จะต้องนำค่าพลังงานจากฉลากจีดีเอ ไปหาร 4 จึงจะได้ค่าพลังงานที่ได้ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่ฉลากแนะนำ ในความเป็นจริง ผู้บริโภคสามารถพลิกดูบนฉลากข้อมูลโภชนาการได้เลย ว่าขนมแต่ละซองได้แนะนำให้แบ่งกินกี่ครั้ง ครั้งละกี่ชิ้น และในการกินแต่ละครั้งตามคำแนะนำบนฉลาก จะได้รับพลังงานทั้งหมดเท่าใด ซึ่งง่ายต่อการสอนให้เด็กๆ รู้จักการแบ่งขนมห่อใหญ่รับประทานแต่พอดี ตามความเหมาะสมที่ฉลากแนะนำไว้ โดยร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI)* โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี (kcal), ไขมันทั้งหมดไม่เกิน 65 กรัม, โซเดียมไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม และร่างกายของคนเรามีความต้องการน้ำตาลต่อวันประมาณ 6 ช้อนชา (ประมาณ 23-25 กรัม) หรือ สูงสุดไม่เกิน 10 ช้อนชา (40 กรัม) ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุเอาไว้การใช้ข้อมูลฉลากโภชนาการทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกกินอาหารได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันขนมหลายยี่ห้อมีการบรรจุในหีบห่อขนาดใหญ่วางจำหน่ายในร้านค้า ซึ่งขนมห่อใหญ่เหล่านี้ สามารถแบ่งกินได้มากกว่า 1 ครั้ง การบริโภคในปริมาณมากเกินพอดี หรือกินหมดทั้งห่อ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงาน ไขมัน น้ำตาล หรือโซเดียมเกินความจำเป็นของร่างกายในหนึ่งวัน อาจก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไต และโรคอื่นๆ อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 เครื่องทำกาแฟแบบแคปซูล

ฉบับนี้เอาใจคนรักคาเฟอีนด้วยผลทดสอบเครื่องทำกาแฟแบบแคปซูล ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศได้ทำไว้ในระหว่างปลายปี 2560 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา องค์กรผู้บริโภคจากยุโรปและเอเชียร่วมลงขันทดสอบเครื่องรุ่นที่ได้รับความนิยมในประเทศของตนเอง รวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 50 รุ่น แต่ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอลงเฉพาะรุ่นที่รองรับการใช้งานร่วมกับแคปซูลก่อน ท่านที่สนใจเครื่องชนิดที่เราเลือกเมล็ดกาแฟมาบดดื่มเอง ติดตามได้ในฉบับหน้าการทดสอบครั้งนี้แบ่งคะแนนออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่- คุณภาพของกาแฟที่ได้ ร้อยละ 35- ประสิทธิภาพการทำงาน ร้อยละ 30- ความสะดวกในการใช้งาน ร้อยละ 30- การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 5  การให้น้ำหนักกับคะแนนด้านต่างๆ อ้างอิงจากผลการทำโฟกัสกรุ๊ปกับผู้ใช้เครื่องทำกาแฟตัวจริง คะแนนเหล่านี้ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ร่วมกับความเห็นของอาสาสมัครที่นำเครื่องกลับไปใช้ที่บ้าน และความพึงพอใจในรสชาติกาแฟของนักชิมกาแฟ (8 คนต่อหนึ่งตัวอย่าง)การตั้งค่าเครื่องทำกาแฟ และแคปซูลกาแฟที่ใช้เป็นไปตามที่ผู้ผลิตระบุในคู่มือการใช้งานไปดูกันเลยว่าเครื่องทำกาแฟแคปซูลรุ่นไหนจะถูกใจคุณที่สุด 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 206 หลักสูตรไม่ตรงกับที่สมัคร

เป็นเรื่องธรรมดา ที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยินดีจ่ายค่าเทอมราคาสูง เพื่อให้บุตรหลานเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนชื่อดัง หรือมีหลักสูตรที่สามารถพัฒนาทักษะของเด็กได้ดีที่สุด แต่หากสมัครเรียนไปแล้วกลับพบว่า ไม่เป็นไปตามที่โรงเรียนโฆษณาไว้ เราจะสามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง ลองไปดูกันคุณสมพลพาลูกสาวเข้าเรียนที่โรงเรียนโยธินบูรณะ ในหลักสูตรของโครงการนานาชาติ เนื่องจากได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านงาน Open House ของโรงเรียนว่า มีชื่อเสียงด้านการจัดการเรียนการสอนที่ดี ทั้งหลักสูตรดังกล่าวได้ใช้แนวทางการเรียนการสอน ตามหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามหลังลูกสาวเข้าเรียน และชำระเงินค่าเทอมไปแล้วกว่า 200,000 บาท กลับพบปัญหาหลายอย่างที่ไม่เป็นไปตามเอกสารประชาสัมพันธ์ที่แจ้งไว้ เช่น ไม่มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (Lab) ขาดอุปกรณ์เครื่องดนตรี ขาดครูผู้สอนชาวตะวันตกหลายวิชา หรือการเปลี่ยนแปลงตารางเรียนกะทันหันเนื่องจากครูไม่พอ ส่งผลให้คุณสมพลและผู้ปกครองท่านอื่น พยายามสอบถามถึงวิธีแก้ปัญหาไปยังผู้อำนวยการของโรงเรียน แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ปัญหาใดๆจนกระทั่งเปิดภาคเรียนถัดมาและถึงเวลาชำระเงิน ซึ่งแน่นอนว่าคุณสมพลได้จ่ายเพิ่มไปอีกเกือบ 200,000 บาท เขาก็พบว่าเหล่าปัญหาดังกล่าวยังคงไม่ได้รับการแก้ไข และแม้จะมีการรวมตัวของผู้ปกครองเพื่อเรียกร้องให้ทางโรงเรียนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับ ทำให้ภายหลังมีนักเรียนลาออกกว่า 20 คนจากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้คุณสมพลไม่พอใจอย่างมาก และรู้สึกไม่มั่นใจคุณภาพการศึกษาของโครงการ จึงย้ายลูกสาวออกจากโรงเรียนกลางคัน โดยในเวลาต่อมาเขาก็ได้ส่งลูกสาวไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกในราคาที่เกือบจะเท่ากับที่สมัครเรียนไปรอบแรกเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณสมพลจึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ โดยต้องการสอบถามว่าสามารถขอเงินคืนจากโรงเรียนดังกล่าวทั้งหมดได้หรือไม่ เนื่องจากเห็นว่าการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามที่โรงเรียนได้ประชาสัมพันธ์ไว้แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำผู้ร้องว่า ในกรณีนี้ผู้ร้องสามารถทำหนังสือขอเงินคืนจากโรงเรียนดังกล่าวได้ โดยใช้เอกสารการประชาสัมพันธ์โรงเรียนเป็นหลักฐาน เพราะตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา(วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค) พ.ศ. 2522 (มาตรา 11) กำหนดไว้ว่า ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของบริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่าข้อความ การกระทำ หรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตามอย่างไรก็ตามหากฟ้องร้องคดี ผู้ร้องอาจไม่ได้รับเงินคืนทั้งหมด เพราะเกิดการเรียนการสอนไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่แน่นอนว่าทางโรงเรียนต้องมีการชดเชยเยียวยา ในกรณีที่ผิดสัญญาดังกล่าวทั้งนี้ศูนย์ฯ จะช่วยทำจดหมายถึงเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับ ควบคุม ดูแล โรงเรียนดังกล่าว เพื่อให้ตรวจสอบหลักสูตรโครงการนานาชาติว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ขออนุญาตหรือไม่ ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวยังไม่ปิดเพียงเท่านี้ และจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ยังคงต้องติดตาม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 สะสมแต้มครบ แต่แลกของไม่ได้

หนึ่งในกลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่โดนใจผู้บริโภคมากที่สุด หนีไม่พ้นวิธีการสะสมแต้มเพื่อแลกรับของรางวัล ซึ่งนอกจากจะทำให้ธุรกิจนั้นๆ มียอดขายที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้สึกว่าเงินที่เสียไป สามารถสร้างประโยชน์กลับคืนมาได้อีกอย่างไรก็ตามกลยุทธ์ดังกล่าวอาจสร้างปัญหาได้ ในกรณีที่ผู้บริโภคสะสมแต้มครบ และทำตามกติกาที่กำหนดไว้ทุกอย่าง แต่กลับแลกรับของรางวัลไม่ได้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณพชรเข้าร่วมกิจกรรมสะสมดาว (แต้มที่จะได้รับหลังการซื้อสินค้า) เพื่อแลกรับของรางวัล ของห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส ซึ่งภายหลังเขาสะสมครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ และต้องการแลกรับของรางวัลเป็นหมอนสุขภาพ กลับได้รับการแจ้งจากพนักงานว่า ระหว่างนี้สินค้าดังกล่าวหมด แต่สามารถเขียนใบจองไว้ก่อนได้ ซึ่งหากสินค้ามาถึงจะโทรศัพท์ติดต่อกลับไปหลังผ่านไปนานหลายสัปดาห์ และใกล้ครบกำหนดวันที่สามารถแลกรับของรางวัลได้ คุณพชรก็ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับจากพนักงานของห้างฯ ดังกล่าวแต่อย่างใด เขาจึงทดลองไปสอบถามโดยตรงกับพนักงานอีกครั้ง ซึ่งได้รับการตอบกลับมาว่า สินค้าหมดและหมดเวลาแลกแล้ว ถึงจะมีใบจองไว้ก็หมดสิทธิเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณพชรจึงไม่พอใจมากและนำเรื่องราวดังกล่าวไปโพสต์ลงสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งหลังจากนั้นได้มีผู้บริโภครายอื่นๆ จำนวนมาก ได้เข้ามาแสดงคิดเห็นว่าประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน ส่งผลให้คุณพชรส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิ เพราะต้องการให้ห้างฯ แสดงความรับผิดชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาจากกรณีดังกล่าว พบว่า ผู้ร้องทำตามกติกาที่ทางห้างฯ ระบุไว้ แต่ไม่สามารถแลกรับของรางวัลได้ตามโปรโมชั่น เนื่องจากสินค้าหมด ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา มาตรา 22 กำหนดไว้ว่า การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมโดยให้ข้อความดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม (1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง(2) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรือไม่ก็ตาม(3) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ(4) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน(5) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งตาม (5) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2534) นั้น กำหนดให้ ข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ระบุหรือประกาศว่า ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการประกวดชิงรางวัล โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ ถือเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค(ก) หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือข้อกำหนดในการเสี่ยงโชคหรือในการประกวดชิงรางวัล(ข) วัน เดือน ปีที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของการจัดให้มีการเสี่ยงโชคหรือการประกาศชิงรางวัล เว้นแต่กรณีที่เป็นการโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ ข้อความโฆษณาที่กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นของการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัลนั้นจะให้ปรากฏในส่วนที่เป็นภาพหรือในส่วนที่เป็นเสียงอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ แต่ข้อความโฆษณาที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดนั้นจะต้องให้ปรากฏทั้งในส่วนที่เป็นภาพและส่วนที่เป็นเสียง(ค) ประเภทและลักษณะของของแถมพก หรือรางวัลจำนวนและมูลค่าของของแถมพกหรือรางวัลแต่ละสิ่ง หรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภท เว้นแต่กรณีที่การโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ระบุมูลค่าของของแถมพกหรือรางวัล แต่ละสิ่ง หรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภทก็ได้   แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องระบุมูลค่ารวมของแถมพกหรือรางวัลทุกประเภทไว้แทน(ในกรณีที่สิ่งซึ่งจัดเป็นของแถมพกหรือรางวัลเป็นสิ่งซึ่งมีมูลค่าที่ผู้บริโภคอาจทราบได้โดยทั่วไป  และข้อความโฆษณานั้นได้แสดงให้ผู้บริโภคทราบถึงประเภทและลักษณะของของแถมพกหรือรางวัลไว้โดยชัดแจ้งแล้ว  ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ระบุมูลค่าของของแถมพกหรือรางวัลนั้นไว้ก็ได้)(ง) เขตหรือถิ่นที่มีการจัดให้มีการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัล เว้นแต่กรณีที่เป็นการจัดให้มีขึ้นทั่วราชอาณาจักร(จ) วัน เดือน ปี เวลา และสถานที่ซึ่งกำหนดไว้สำหรับการทำการเสี่ยงโชคหรือการตัดสินการประกวดชิงรางวัล(ฉ) สื่อโฆษณาที่จะใช้ในการประกาศรายชื่อผู้ได้รับของแถมพกหรือรางวัลจากการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัลดังนั้นจากเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้ การที่ห้างฯ ไม่ระบุจำนวนของรางวัลไว้ให้ผู้บริโภคทราบ และอ้างว่าสินค้าหมดนั้น อาจเข้าข่ายการโฆษณาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งผู้บริโภคสามารถร้องเรียนขอให้มีการตรวจสอบได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 จักรยานหาย ในพื้นที่ของห้างฯ

เพราะปัญหารถจักรยานหายมีให้พบเห็นได้ทั่วไป ผู้บริโภคหลายคนจึงป้องกันด้วยการจอดในพื้นที่ ที่ดูมีความปลอดภัย แต่ความจริงก็คือ ทุกพื้นที่ล้วนมีความเสี่ยงทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่ลานจอดของห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยเดินตรวจตราอยู่ก็ตามคุณพลพลปั่นจักรยานคู่ใจไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าแถวบ้าน ซึ่งเขาได้นำรถจักรยานไปจอดในบริเวณจอดรถที่ห้างฯ จัดไว้ให้ และคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรจึงไม่ได้ใช้กุญแจล็อกล้ออย่างที่เคยทำประจำ ครั้นเวลาผ่านไปเมื่อซื้อของกลับออกมาปรากฏว่ารถจักรยานหาย เขาจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ และแจ้งเรื่องร้องเรียนไปยังห้างสรรพสินค้าดังกล่าว เพื่อขอให้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับใดๆ จึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนวทางการแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า หากรถจักรยานหายในบริเวณที่ทางห้างสรรพสินค้าจัดไว้ให้ ถือว่าทางห้างฯ ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ตามมาตรา 420 ความรับผิดเพื่อละเมิด ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ผู้นั้นจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน สำหรับกรณีร้องเรียนนี้ ทางศูนย์ฯ สามารถช่วยผู้ร้องทำหนังสือไปยังห้างฯ ดังกล่าว เพื่อขอเจรจาเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อตรวจสอบเรื่องราวแล้วพบว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นมาปีกว่าแล้ว ซึ่งเลยอายุความละเมิดไปเรียบร้อย เพราะสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายนั้นมีอายุความ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงจำต้องยุติการร้องเรียนไป ศูนย์ฯ จึงอยากฝากเตือนผู้บริโภคที่พบลักษณะปัญหาทำนองเดียวกันนี้ว่า ควรรีบร้องเรียนให้ขอให้มีการรับผิดชอบเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันคดีหมดอายุความ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 ป่วย เพราะอาหารเสริม?

มีผู้บริโภคอีกจำนวนไม่น้อยเลย ที่ยังคงสับสนระหว่างคำว่า “ยา” และ “อาหาร” ซึ่งส่วนใหญ่มักรับประทาน อาหาร เข้าไป แต่เผลอคิดไปว่าสามารถช่วยบำบัด รักษาโรคหรือออกฤทธิ์ได้เหมือน ยา ดังในกรณีของผู้ร้องรายนี้ ที่เธอรับประทาน ‘อาหารเสริม’ เข้าไป แต่คาดหวังสรรพคุณในการโรค คุณพลอยต้องการลดน้ำหนัก จึงตัดสินใจรับประทานอาหารเสริมยี่ห้อ Mizme เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะเห็นว่าเพื่อนกินแล้วหุ่นดีขึ้น อย่างไรก็ตามหลังรับประทานอาหารเสริมดังกล่าวไปได้จำนวน 7 กล่อง เธอกลับรู้สึกถึงอาการผิดปกติของร่างกาย และมีอาการแน่นหน้าอกเป็นประจำ จึงไปพบแพทย์และพบว่าเส้นเลือดหัวใจอักเสบ ซึ่งแพทย์ได้สันนิษฐานสาเหตุว่า อาจเกิดจากการการรับประทานอาหารเสริมดังกล่าวเข้าไป คุณพลอยจึงติดต่อไปยังบริษัทผู้ผลิตอาหารเสริม เพื่อขอให้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ทางบริษัทตอบกลับมาว่าเลิกผลิตยี่ห้อนี้ไปแล้ว และไม่ขอรับผิดชอบใดๆ เพราะอาการดังกล่าวอาจเกิดจากยาตัวอื่นก็เป็นได้ส่งผลให้คุณพลอยส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพื่อขอคำปรึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ผู้ร้องต้องการให้ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ ช่วยตรวจสอบส่วนประกอบของอาหารเสริมยี่ห้อดังกล่าว ว่ามีสารอันตรายที่สามารถส่งผลต่ออาการของเธอจริงหรือไม่ ศูนย์ฯ จึงแนะนำผู้ร้องเบื้องต้นว่า สามารถส่งผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามหลังได้รับเรื่องร้องเรียนไม่นาน ผู้ร้องได้แจ้งกลับมาว่าขอยุติการร้องเรียน เนื่องจากพบข่าว สสจ.จังหวัด นำเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมแหล่งผลิตยาลดความอ้วนยี่ห้อดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีการปลอมหมายเลข อย. นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังแจ้งข้อหาอื่นๆ อีก คือ 1. ตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต 2.ผลิตอาหารปลอม 3.โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณอันเป็นเท็จเป็นการหลอกลวงให้เกิดความเชื่อโดยไม่สมควร และ 4.ผลิตหรือนำเข้า หรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ ทั้งนี้เจ้าหน้ายังระบุว่า อาหารเสริมดังกล่าวเคยถูกร้องเรียนและตรวจพบส่วนผสมของ ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) หรือยาที่ใช้สำหรับคนไข้จิตเวช/ โรคซึมเศร้า โดยมีผลทำให้ไม่อยากอาหาร และหากใช้ไปนานๆ ระยะยาว อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง บางรายอาจถึงขั้นอยากฆ่าตัวตายได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 ฉีดเลือด เพื่อผิวอ่อนเยาว์

ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้กาลเวลาพรากความอ่อนเยาว์ของผิวหน้าไป จึงสรรหาสารพัดวิธีมาเอาชนะปัญหาดังกล่าว โดยหนึ่งในวิธีที่ยังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลายก็หนีไม่พ้น “การฉีดเลือดเพื่อผิวอ่อนเยาว์” ซึ่งจะมีข้อมูลน่าสนใจหรือให้ผลลัพธ์ได้อย่างที่หลายคนปรารถนาหรือไม่นั้น เราลองไปหาคำตอบกันฉีดเลือดเพื่อผิวอ่อนเยาว์ คืออะไรหลักการฉีดเลือดเพื่อให้ผิวอ่อนเยาว์ขึ้นนั้น คือการนำเลือดตัวเองมาปั่นเพื่อให้ได้เกล็ดเลือด ที่เรียกว่า Growth Factors (โกรท แฟคเตอร์) ซึ่งเป็นสารที่สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และมีความสามารถกระตุ้นให้เซลล์มีการเพิ่มจำนวนหรือเจริญเติบโตได้ โดยหลังจากได้เกล็ดเลือดดังกล่าวแล้ว ก็จะฉีดกลับเข้าไปที่ผิวหน้าในบริเวณที่ต้องการ เช่น ริ้วรอยเหี่ยวย่นต่างๆ บนผิวหน้า ทั้งนี้สถาบันเสริมความงามหลายแห่งที่นำวิธีการนี้มาบริการ อาจใช้ชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น PRP (Platelet-Rich Plasma) หรือ Vampire Facelift เป็นต้น รวมทั้งบางแห่งอาจมีการผสมสารอื่นๆ เช่น คอลลาเจน/ อีลาสติน หรือใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมักโฆษณาว่าการฉีดเลือดกลับเข้าไปที่ผิวนั้นสามารถทำให้ผิวกระจ่างใส ดูอ่อนวัย และสามารถให้ผลลัพธ์ได้ 1 – 2 ปี นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยสูงอีกด้วยฉีดเลือด ปลอดภัยสูงจริงหรือแม้การฉีดเลือดด้วยโกรท แฟคเตอร์ เพื่อการเสริมความงาม จะถูกโฆษณาถึงผลดีมากมายตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น แต่ในทางกลับกันกลับพบว่าวิธีการดังกล่าว ยังไม่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์และยังถือว่าไม่ใช่วิธีการรักษาที่เป็นไปตามมาตรฐาน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อได้ โดยสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวหนังอักเสบบริเวณ ข้อบวมอักเสบ เกิดสิวหรือหนอง รวมทั้งยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโลหิตได้ ส่งผลให้วิธีการดังกล่าวมักถูกใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะร่างกายขาดเกล็ดเลือด เกล็ดเลือดต่ำหรือโรคไข้เลือดออกเท่านั้นตรวจสอบ ก่อนรับบริการแน่นอนว่าการฉีดเลือด เพื่อหวังผลให้ผิวอ่อนเยาว์นั้นจะยังคงมีอยู่ และอาจเปลี่ยนชื่อเรียกไปเรื่อยๆ ดังนั้นผู้บริโภคอย่างเรา จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสถาบันเสริมความงามที่เรากำลังจะเข้ารับบริการนั้น มีความปลอดภัยจริง โดยที่ผ่านมากรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการในด้านระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัยและไม่โฆษณาโอ้อวดเกินจริง ซึ่งผู้บริโภคสามารถสอบถามไปยังกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ว่าสถานบริการเสริมความงามดังกล่าว ได้รับอนุญาตให้โฆษณาข้อมูลหรือโปรโมชั่นต่างๆ หรือไม่ ผ่านทางเบอร์โทรศัพท์ 02-1397041 หรือที่เว็บไซต์ http://hss.moph.go.th/index2.phpทั้งนี้การโฆษณาดังกล่าว หมายถึง การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชน เห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความ เสียง หรือภาพ เพื่อประโยชนทางการค้า ซึ่งต้องขออนุมัติจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะเผยแพร่ได้ทั้งนี้การโฆษณาดังกล่าว หมายถึง การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชน เห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความ เสียง หรือภาพ เพื่อประโยชนทางการค้า ซึ่งต้องขออนุมัติจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะเผยแพร่ได้ (รวมทั้งการติดประกาศในลิฟต์ เสียงตามสาย สื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ) และหากพบว่าการโฆษณาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ หรือเข้าข่ายเป็นเท็จ หรือโอ้อวดเกินจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล จะถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2559 ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา หรือหากมีการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาทจนกว่าจะระงับการโฆษณา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 เท่าทันฝุ่นละออง PM2.5 กับ Air Visual

มลพิษในอากาศของประเทศไทยมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีข่าวการรายงานสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีค่าเกินมาตรฐาน ซึ่งสามารถมองเห็นสภาพอากาศที่มีฝุ่นละอองในอากาศได้อย่างชัดเจน และทำให้เกิดกระแสการป้องกันตนเองของผู้ที่ต้องใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานครฝุ่นละออง PM2.5 หมายถึง ค่าฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งมีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เป็นขนาดที่เล็กเกินกว่าที่ขนจมูกของมนุษย์จะสามารถกรองฝุ่นละอองชนิดนี้ได้ โดยจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง จะทำให้ฝุ่นละอองสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมเข้าสู่การทำงานในอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับฝุ่นละอองในสภาพอากาศในประเทศไทย จึงนำแอปพลิเคชันเช็คสภาพมลพิษในอากาศที่มีชื่อว่า Air Visual ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และระบบปฏิบัติการ iOS  เพื่อติดตามสภาพอากาศได้ตลอดเวลา ภายในแอปพลิเคชันจะมี หมวด My Air  เพื่อแจ้งผลสภาพอากาศของจังหวัดในประเทศ เป็นระดับตัวเลขให้ทราบว่าสภาพอากาศเป็นเช่นไร โดยแบ่งมาตรฐานตามคุณภาพอากาศได้ 6 ระดับ ดังนี้ ระดับ 0-50 Good  หมายถึงสภาพอากาศดี ไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงน้อย  ระดับ 51-100 Moderate  หมายถึงคนที่แพ้หรือภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ควรทำกิจกรรมนอกบ้าน  ระดับ 101-150 Unhealthy for sensitive group หมายถึงสภาพอากาศคนที่แพ้หรือภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ควรออกนอกบ้าน  และอาจเกิดการระคายเคืองหรือมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้  ระดับ 151-200 Unhealthy หมายถึงสภาพอากาศมีผลต่อคนภูมิคุ้มกันต่ำอย่างมากและระดับนี้มีผลกระทบต่อคนทั่วไป อาจมีความเสี่ยงทางเดินหายใจได้  ระดับ 201-300  Very Unhealthy หมายถึงสภาพอากาศมีผลต่อผู้คนทั่วไป ไม่ควรออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน และระดับ 301-500 Hazardous หมายถึงผู้คนทั่วไปมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วย เกิดการระคายเคืองหรือมีปัญหาด้านทางเดินหายใจซึ่งในหมวด My Air จะแบ่งสภาพอากาศเป็นช่วงเวลา และมีการคาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้าได้ 3 วัน นอกจากนี้ผู้ใช้แอปพลิเคชั่นยังสามารถเพิ่มจังหวัดที่ต้องการทราบสภาพอากาศ ให้กดสัญลักษณ์บวกที่อยู่บริเวณตรงกลางด้านล่างแอปพลิเคชันหมวด Map จะแสดงสภาพอากาศทั่วประเทศและทั่วโลก เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบสภาพอากาศภายในประเทศและทั่วโลก  และหมวด News&Ranking มีไว้เพื่อแจ้งข่าวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสภาพอากาศทั่วโลก และแสดงการจัดลำดับสภาพอากาศที่แย่ที่สุดทั่วโลกสภาพอากาศที่มีฝุ่นละอองมากขนาดนี้ ประชาชนอย่างเราควรมีวิธีป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 ที่เกินมาตรฐานนั้น โดยการหาซื้อหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองมาตรฐาน N95 ซึ่งสามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาด 0.3 ไมครอน จะทำให้สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนได้   แต่ถ้าเป็นหน้ากากอนามัยทั่วไปจะไม่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนได้ ป้องกันสุขภาพตัวเองให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บกันด้วยนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 จ่ายหลักร้อย เจ็บหลักแสน

“ซื้อยาลูกกลอนในราคาไม่กี่ร้อยบาท แค่ดาดไม่ถึงว่าสุดท้ายเกือบตาย ต้องจ่ายค่ารักษาในราคาหลักแสน”มารดาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขท่านหนึ่ง ซื้อยาลูกกลอนแพ็คละ 100 บาท มาสองสามแพ็ค(ในแต่ละแพ็คจะมียาใส่ถุงซิบใสจำนวน 10 ซอง ซึ่งในแต่ละซองจะมียา 5 เม็ด เม็ดสีน้ำตาลแดง 2 เม็ด เม็ดสีเขียวขี้ม้า 2 เม็ด และเม็ดกลมสีดำ 1 เม็ด) ฉลากระบุให้กินหลังอาหารวันละ 2 ซอง (เช้า เย็น)  “จู่ๆ แม่ก็มีอาการหน้าบวม ถ่ายเป็นเลือดออกมาเป็นชามๆ หลังจากนั้นอีก 1 วัน แม่อ่อนเพลียไม่มีแรง ดูแล้วอาการแย่มาก  น้องชายเข้าใจว่าโรคหัวใจโตของแม่กำเริบ  จึงรีบพาไปโรงพยาบาล  ระหว่างทางแม่ช็อคหมดสติในรถปลุกไม่ตื่น  ตกใจมาก ดูเหมือนเป็นตายเท่ากัน จึงตัดสินใจรีบพาเข้า รพ.เอกชน เพราะอยู่ใกล้ที่สุด”  เมื่อไปถึง แพทย์ พยาบาลและทีมฉุกเฉิน รีบดำเนินการ เจาะตรวจน้ำตาลในเลือด พบว่าเหลือแค่ 30 กว่าๆ mg/dl  หมอจึงฉีดกลูโคสเข้าเส้นเลือดทันที แม่จึงฟื้นขึ้นมาได้  และถูกนำตัวส่งเข้า ICU ทันที  หลังจากอยู่ ICU และให้น้ำเกลือที่มีกลูโคสแล้ว  แม่มีอาการเบลอๆ และยังพบอาการน้ำตาลต่ำเกิดอีกน่าจะสัก 2 ครั้ง  ทั้งๆ ที่น้ำเกลือที่ให้ก็มีกลูโคสแต่ก็ยังเอาไม่อยู่ จนหมอต้องฉีดกลูโคสเข้าเส้นเลือดเพิ่มอีก  หมอเองก็ยังงงกว่าทำไมน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ Hematocrit ของแม่เหลือแค่ 22% หมอจึงสั่งให้เลือด 2 ถุง แม่นอนใน ICU 1 คืน จนระดับน้ำตาลคงที่ และอาการดีขึ้น หมอจึงให้ออกจาก ICUน้องสะใภ้ สังเกตว่า 3 วันก่อนที่จะแม่มีอาการหนัก  แม่กินยาลูกกลอน จึงเอาถุงยามาให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  เจ้าหน้าที่จึงเอาไปส่งตรวจสเตียรอยด์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการตรวจยา 5 เม็ด ในถุงย่อย  ยาเม็ดสีน้ำตาลแดง 2 เม็ด และยาสีเขียวขี้ม้า 2 เม็ดมีสเตียรอยด์  ส่วนลูกกลอนเม็ดกลมสีดำ 1 เม็ดไม่พบสเตียรอยด์“แม่เพิ่งทานไม่ได้ทานยานี้มาเป็นเวลานานนะ  ทานไปแค่สามวันเอง  แม่มีโรคเบาหวาน ความดัน และหัวใจโต  กินยาลูกกลอนที่มีสเตียรอยด์เข้าไป ทำให้เกือบตาย  ต้องจ่ายค่ารักษาไปเป็นแสน หมดไป 1 แสน กว่าๆ ผลการส่องกล้องทางเดินอาหาร มีแผลที่กระเพาะ  และลำไส้ใหญ่”เพื่อนแม่แนะนำว่ามียาที่กินแล้วดี  บอกว่าตัวเขาเองกินก็ดีมาก  แม่จึงโทรไปสั่งกับคนขาย  คนขายให้แม่ไปที่บ้าน เมื่อไปถึงตามจุดที่เขาบอก  คนขายออกมาพบที่ถนน และบอกให้รอ  แล้วเดินเข้าไปที่บ้านไปหยิบยาให้  เขาไม่ได้ขายหน้าร้าน  ต้องเดินไปเอาหลังบ้านเหตุการณ์จริงที่ออกจากปากของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรายนี้ ขณะนี้ถึงมือเจ้าหน้าที่แล้ว เอามาเล่าเพื่อเป็นบทเรียนให้ผู้อ่านรับรู้ และช่วยกันเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวังภัยใกล้ตัวแบบนี้ให้มากๆ นะครับ  ยาอันตรายบางทีมันก็ผ่านมาทางผู้หวังดี และการขายมันก็หลบๆ ซ่อนๆ ยากที่เจ้าหน้าที่จะรู้ได้ หากเราพลาดไป นอกจากเสียเงินแล้ว เรายังอาจจะเสียใจไปตลอดชีวิต 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 ตลาดออนไลน์และมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค

โพลล์เผย คนกรุง 74.7%  เชื่อมั่นใน Online shopping แต่พบว่า  32.4% เคยถูกหลอกลวงจากการซื้อสินค้าผ่านทางระบบออนไลน์ที่มา นิตยสารฉลาดซื้อและบ้านสมเด็จโพลล์ปัจจุบันการจับจ่ายสินค้าผ่านตลาดออนไลน์ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับในประเทศไทย มูลค่า e-Commerce ในปี 2559 รวมทั้งสิ้น 2,560,103.36 ล้านบาท ขณะที่งบโฆษณาดิจิทัล ในปี 2559 มีมูลค่า 9,477 ล้านบาท และปี 2560 พุ่งทะลุหมื่นล้านบาทไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นของการซื้อขายออนไลน์ ได้ทำให้เกิดปัญหาสำคัญกับผู้บริโภค เช่น การฉ้อโกง การหลอกลวง ซื้อของแล้วไม่ได้ของ ไม่ได้เงินคืนหรือถึงแม้ได้เงินคืนก็แสนยากเย็น ซึ่งปัญหาจะยิ่งร้ายแรงมากขึ้น หากการถูกหลอกลวง ฉ้อโกง นั้นเป็นเรื่องของโฆษณาเกินจริง เป็นเท็จ ในสินค้าที่เกี่ยวพันกับสุขภาพ จนทำให้เกิดผลเสียที่ร้ายแรงตามมา ดังนั้นหากจะคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนถึงผู้ที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ก็ควรที่จะร่วมมือกันเพื่อสร้างระบบที่เป็นธรรมให้เกิดขึ้นในงานสมัชชาผู้บริโภค ซึ่งถูกจัดขึ้นทุกปี(วันคุ้มครองผู้บริโภคสากล 15 มีนาคม) โดยภาคประชาชนนั้น ประเด็นในปีนี้ทางผู้จัดได้ให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีต่อการตลาดออนไลน์ และจัดให้มีวงเสวนาที่เกี่ยวพันกับประเด็นดังกล่าวในหลายแง่มุม อย่างไรก็ตามทีมฉลาดซื้อจะขอสรุปบางส่วนของวงเสวนาสำคัญสองเรื่อง คือ “มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคตลาดออนไลน์” และ “แนวทางการแจ้งเตือนภัยสินค้าไม่ปลอดภัยทางสื่อดิจิตัล” มานำเสนอในลำดับแรกก่อน เพราะเห็นว่าน่าจะช่วยให้ติดตามสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิด และมีข้อมูลในส่วนของการแจ้งเตือนภัยที่ผู้บริโภคควรมีไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน   เสวนาเรื่อง “มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคตลาดออนไลน์” วันพุธที่ 14 มีนาคม 2561สถานการณ์ปัญหาการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ จากมุมมองของผู้เข้าร่วมเสวนา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากประชาชน ผู้แทนหน่วยงานรัฐ (สคบ.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ นักวิชาการ และตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นั้น พอสรุปได้ดังนี้  1.ผู้บริโภคให้ความเชื่อถือกับสื่อโซเชียลที่มีคนจำนวนมากสนใจ เช่น มียอดแชร์ ยอดเข้าชมจำนวนมาก สินค้าได้รับการรีวิวจากบุคคลหลากหลายและหากมีการใช้บุคคลที่เป็นที่นิยมอย่างเน็ตไอดอล หรือดารา ศิลปิน จะเพิ่มความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น  2.แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าในระบบออนไลน์ คือ ราคา ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า การซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้ราคาที่ถูกกว่าหน้าร้านปกติ แต่ที่จริงแล้วสินค้าบางอย่างกลับมีราคาแพงกว่า 3.ส่วนใหญ่ของผู้เสียหาย มักถูกหลอกลวงด้วยโฆษณา ไม่ว่าจะด้วยภาพหรือคำบรรยาย ที่ไม่ตรงกับความจริง  4.ผู้บริโภคมักเข้าใจว่า สินค้าบางประเภทจัดทำและจำหน่ายโดยดาราหรือคนดัง ซึ่งพอติดต่อเพื่อซื้อจริงกลับกลายเป็นบุคคลอื่น   5.คำอ้างว่า สามารถเปลี่ยนคืนสินค้าได้ หากไม่พอใจ พอถึงเวลาจริงไม่สามารถทำได้ หรือบางครั้งเกิดจากข้อสัญญาที่ผู้บริโภคไม่ได้อ่านให้ชัดเจน ซึ่งระบุว่า ไม่คืนเงินในทุกกรณี  6.แม้มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ขายที่น่าเชื่อถือ เช่น การให้เลขบัตรประชาชน การได้รับคำชมจำนวนมาก หรือการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้วยการบริการที่ดีในระยะแรกๆ ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่า ผู้ขายจะไม่ฉ้อโกงผู้ซื้อ   7..สินค้าที่ส่งมอบมีสภาพชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงกับคำสั่งซื้อ และสินค้ามีอันตราย แต่ไม่สามารถขอเปลี่ยนคืน ขอคืนเงิน หรือการชดเชยเยียวยาหากเกิดความเสียหายต่อสุขภาพ  8.กรณีเกิดปัญหาจากการซื้อสินค้า ผู้บริโภคต้องดิ้นรนเองมากๆ ต้องเข้าไปติดตามด้วยตัวเอง ประกาศแจ้ง เพื่อให้คนในโซเชียลมีเดียรับรู้ด้วยกัน บางส่วนไม่เก็บหลักฐานการซื้อขาย ทำให้เสียโอกาสการร้องเรียน หรือในหลายกรณีแม้มีหลักฐานสมบูรณ์ เมื่อนำไปแจ้งความ ขั้นตอนจะหยุดอยู่ที่การแจ้งความแต่เรื่องจะไม่ได้รับการประสานต่อ เพราะกำลังเจ้าหน้าที่มีน้อย  หากร้องเรียนกับหน่วยงานรัฐก็มีระยะเวลาดำเนินการถึง 90 วัน ซึ่งระหว่างนั้นผู้บริโภคจะไม่สามารถเช็คสถานะได้ว่าเรื่องร้องเรียนของตนเองอยู่ตรงจุดไหน มาตรการ นโยบาย ของหน่วยงานรัฐต่อกรณีการจัดการเพื่อให้เกิดธุรกิจตลาดออนไลน์ที่เป็นธรรม ปัจจุบันและอนาคต ดร.สรณันท์ จิวะสุรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กล่าวโดยสรุปว่า “การตลาดแบบออนไลน์มีสภาพคล้ายกับตลาดนัดทั่วไปหรือการเปิดท้ายขายของ คือ ผู้ค้าใช้ช่องทางบนโลกออนไลน์เป็นสถานที่ค้าขาย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ค้าเป็นล้านราย จึงไม่สามารถทำให้ทุกคนมาขึ้นทะเบียนได้ ผู้ค้าก็มีทั้งคนที่ตั้งใจดีและคนโกง กลุ่มคนที่โกงจะโหมโฆษณาสินค้าเพื่อหวังขายเอากำไรในระยะสั้น โดยใช้จุดขายเรื่องราคาถูก พอได้เงินแล้วก็หนีไปสักพักแล้วก็ไปเปิดตัวที่ใหม่ แนวคิดที่ว่าคนขายของทุกคนจะต้องมาจดทะเบียนธุรกิจไม่อาจเป็นจริงได้ แต่กลไกที่เป็นไปได้คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตลาดที่ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกัน หรือรูปแบบของการเป็นตัวกลาง ซึ่งคนกลางนี้ต้องเป็นผู้คอยดูแลปัญหา ทำให้ผู้ซื้อมีความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้ารูปแบบที่น่าจะเป็นได้อีกอย่างหนึ่งคือการเชื่อมพลังของคนสองรุ่น คือผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์กับวัยรุ่นที่อาจเผลอหรือไม่รู้เท่าทันการโฆษณาบนโลกออนไลน์ และที่สำคัญที่สุด คือการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลเพื่อให้เกิดการจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบพันตำรวจเอก ประทีป เจริญกัลป์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรง และการตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นำเสนอข้อมูลการทำงานของ สคบ.ว่า ในบทบาทของการรับเรื่องร้องเรียน พบว่า มีผู้บริโภคจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบ จากการซื้อขายออนไลน์ แต่ไม่ได้ร้องเรียน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมูลค่าของสินค้าไม่มาก หรือไม่เชื่อมั่นในหน่วยงานของภาครัฐ ส่วนที่ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญคือ เรื่อง ปัญหาเรื่องโครงสร้างด้านกฎหมาย ขณะนี้มีกฎหมายอยู่ 2 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือพ.ร.บ.ขายตรง ซึ่งมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่องความรับผิดเกี่ยวกับการขายออนไลน์น้อยมาก อีกทั้งบทบาทหน้าที่ตามที่กฎหมายเขียนไว้ มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง  ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งรับจดทะเบียนบริษัท ในขณะเดียวกันหากเป็นธุรกิจออนไลน์ อีคอมเมิร์ซจะต้องไปจดทะเบียนในหมวดของอีคอมเมิร์ซด้วย และยังต้องจดทะเบียนกับ สคบ.อีกด้วย “ทุกวันนี้ผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีเป็นล้านราย จดทะเบียนกับกรมธุรกิจการค้ามีจำนวนหลักหมื่นราย ส่วนที่จดทะเบียนขายตรงกับ สคบ. ก็มีเพียง 400 กว่าราย” แม้ สคบ. จะเป็นหน่วยงานกลางในการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ตามความจริงแล้วจะมีหน่วยงานหลักในการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายแต่ละฉบับ เช่น อย.ก็มีบทบาทคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องอาหารและยา เป็นต้น แต่ทุกวันนี้ประชาชนจำนวนมากไม่เข้าใจ คิดว่า สคบ.จะต้องเข้าไปจัดการทุกเรื่องในส่วนของกลไกการเฝ้าระวังของต่างประเทศ คุณพลินี เสริมสินสิริ นักวิชาการอิสระ นำเสนอว่า ในงานวิจัยของตนนั้น การคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ จะมีระบบเรื่องการป้องกันว่า ทำอย่างไรที่เว็บไซต์ต่างๆ จะไม่มีการหลอกลวง โดยมีหน่วยงานที่คอยดูแลและตรวจสอบ และมีกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น เมื่อผู้บริโภคประสบปัญหา จะทราบได้ทันทีว่าต้องไปร้องเรียนที่ไหน และสามารถติดตามสถานะได้อย่างไร ซึ่งหากเป็นเรื่องการซื้อขายออนไลน์ ก็จะมีกลไกเรื่องการรับเรื่องร้องเรียนทางออนไลน์และการติดตามสถานะของการร้องเรียนทางออนไลน์ ซึ่งจะสะดวกกับผู้บริโภคยกตัวอย่างประเทศจีน มีสมาคมผู้บริโภคจีน ซึ่งเป็นของภาครัฐ เมื่อผู้บริโภคมีปัญหา เขาก็จะติดต่อกับผู้ประกอบการก่อน ถ้าผู้ประกอบการสามารถทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจได้ด้วยการคืนสินค้า คืนเงิน เรื่องก็จบ แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการของการยื่นเรื่องร้องเรียนต่อไป ซึ่งจะมีการยื่นเอกสาร มีระบบการจัดการ รวมทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 90 วันในการดำเนินการ นอกจากนี้ หากผู้บริโภคไม่พอใจการติดตามของภาครัฐ เขาจะมีระบบอนุญาโตตุลาการออนไลน์อีกด้วย โดยจะคอยติดตามต่อ เมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว จะมีค่าดำเนินการไม่น้อยกว่า 4,000 หยวนส่วนในประเทศสิงคโปร์ เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่ค้ากำไร ทำเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการซื้อขายของออนไลน์ ผู้บริโภคต้องสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมและจ่ายค่าสมาชิก เมื่อผู้บริโภคมีปัญหาเขาก็จะดำเนินการรับเรื่องร้องเรียนให้ด้วยภาพรวมของต่างประเทศก็คือ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคมีช่องทางร้องเรียน โดยมีทั้งออนไลน์และไม่ใช่ออนไลน์ อย่างเช่น สมาคมผู้บริโภคของประเทศจีนที่ได้กล่าวไปแล้ว ไม่ได้ออนไลน์ ผู้บริโภคจะต้องเข้าไปร้องเรียนด้วยตัวเอง แต่หากเป็นของภาคเอกชนก็สามารถติดต่อหรือร้องเรียนทางออนไลน์ได้ ทำให้เห็นได้ว่าในแต่ละประเทศจะมีกลไกในการร้องเรียนของผู้บริโภคที่สามารถติดตามได้“เรื่องระบบการป้องกัน หลายประเทศจะมีการคัดกรองตัวเว็บไซต์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรืออยู่ในระบบที่ไม่สามารถให้บริการแก่ผู้รับบริการได้ เช่น อาจจะไม่มีชื่อ ไม่มีตัวตน ไม่มีสถานที่ เขาก็จะสุ่มตรวจ และเมื่อเห็นก็จะโชว์เป็นตัวสีแดงให้ผู้บริโภคเห็น อีกเรื่องหนึ่งก็คือหน่วยงานภาครัฐมีการคัดกรองเรื่องนี้ให้ระดับหนึ่งคือ แจ้งให้รู้ว่าผู้ประกอบการรายไหนที่มีความสุ่มเสี่ยงกับการมีปัญหาหากผู้บริโภคจะไปซื้อของกับเขา ซึ่งการระบุแบบนี้ก็จะช่วยผู้บริโภคได้” -------------------------------------------------------------------- ข้อเสนอของสมัชชาผู้บริโภคต่อหน่วยงานภาครัฐ 1.ให้มีระบบตรวจสอบเว็บไซต์ซื้อขายที่ทำผิดกฎหมาย เช่น ข้อมูลผู้ประกอบการไม่ครบถ้วน ไม่มีข้อมูลที่ติดต่อ ข้อมูลราคาไม่ครบถ้วน และมีการหลอกลวง เช่น การเปลี่ยนราคาของสินค้าที่ซื้อ 2.ให้จัดทำข้อมูลของผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมาย และเปิดเผยต่อผู้บริโภค ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย หรือใช้ในการแจ้งเตือนเพื่อดำเนินงานแบบเชิงรุก 3.ให้พัฒนากลไกการรับเรื่องร้องเรียนออนไลน์ และสามารถแก้ไขปัญหาแบบที่เดียวจบ  4.สนับสนุนสร้างความตื่นตัว และความเท่าทันให้กับผู้บริโภค 5.ประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดการกำกับการดูแลกันเอง   การเชื่อมโยงระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการเตือนภัยจากข้อเสนอที่น่าจะเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเรื่อง การถูกหลอกลวงจากการตลาดออนไลน์ คือเรื่องของการเฝ้าระวังภัย ด้วยการบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล ซึ่งมีด้วยกันหลายหน่วยงาน และเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เพื่อให้เกิดการผู้บริโภคสามารถใช้เป็นคู่มือในการตัดสินใจได้ เช่นเดียวกับต่างประเทศ  ที่มีหน่วยงานภาครัฐคัดกรองให้ระดับหนึ่งคือ แจ้งให้รู้ว่าผู้ประกอบการรายไหนที่มีความสุ่มเสี่ยงกับการมีปัญหาหากผู้บริโภคจะไปซื้อของกับเขา อย่างที่คุณพลินี ได้กล่าวไว้ และเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลนี้ มีการพูดคุยกันอย่างเข้มข้นในวงเสวนาอีกห้องหนึ่งในวันเดียวกัน คือ การเสวนาเรื่อง “แนวทางการแจ้งเตือนภัยสินค้าไม่ปลอดภัยทางสื่อดิจิทัล” ผู้ร่วมเสวนาได้แก่ ผู้แทนจาก สคบ.  อย. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) และอดีตรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีช่องทางการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ของตนเองเริ่มจาก ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คุณพิฆเนศ ต๊ะปวง พูดถึงการทำหน้าที่ของ สคบ. ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งในเรื่องของการเตือนภัย อยู่ในมาตรา 10(3) ในพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค โดยให้อำนาจคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่า มีอำนาจหน้าที่ในการแจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าบริการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเสื่อมเสียต่อสิทธิของผู้บริโภค ในการนี้จะระบุชื่อสินค้าหรือบริการ หรือชื่อของผู้ประกอบธุรกิจก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ทำไปแล้ว และปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงาน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการแจ้งชื่อผู้ประกอบการที่ถูกดำเนินคดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการโฆษณาเป็นเท็จ การทำสัญญาไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้อง การพิจารณาเยียวยาความเสียหาย หรือการละเมิดต่อผู้บริโภค และมีการร้องเรียนมาที่ สคบ.ปัจจุบันนี้มีเว็บไซต์สำหรับการเตือนภัย มี 2 แบบคือ อย่างแรกผู้ประกอบธุรกิจสมัครใจแจ้งข้อมูลการเตือนภัยขึ้นมาว่าสินค้าของเขาขายไปที่ไหนบ้าง และการแจ้งเบาะแสสินค้าไม่ปลอดภัย เป็นส่วนที่ประชาชนส่งข้อมูลมาให้ ซึ่งจะถูกนำมาวิเคราะห์ แล้วส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ ในการศึกษาข้อมูลและรวบรวมกลับเข้ามาสู่ระบบแจ้งเตือนภัย ซึ่งส่วนนี้กำลังพัฒนาอยู่แบบที่สอง คือ การตรวจสอบข้อมูลสินค้า ส่วนนี้ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรม เรียกว่าระบบบาร์โค้ด (GS1) จะใช้ตัวบาร์โค้ดแจ้งสถานะข้อมูลของผู้ประกอบการ โดยทั้งสองแบบนี้เกิดจากการประชุมยุทธศาสตร์อาเซียน ซึ่ง สคบ.มีบทบาทในส่วนนี้สำหรับประเทศไทย ทั้งนี้ นโยบายอาเซียนต้องการให้กระบวนการการจัดการเป็นไปภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของแต่ละประเทศในส่วนของแนวทางที่ สคบ.กำลังพัฒนา คือ ศูนย์เตือนภัย นั้น ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จะมีทั้งรับมาจากผู้บริโภค,องค์กรวิชาการต่างๆ ที่มีการศึกษาวิจัยและส่งข้อมูลเข้ามา,โรงพยาบาล,สถานีตำรวจ,ศูนย์ป้องกันภัยต่างๆ ก็จะส่งข้อมูลเข้ามาในศูนย์เตือนภัยนี้ ศูนย์นี้ก็จะวิเคราะห์ข้อมูลและแจ้งข้อมูล จัดลำดับการส่งข้อมูลเป็น 3 ระดับคือระดับต้น คือแจ้งข้อเท็จจริง คือข้อมูลที่เป็นจริง ตรวจสอบแล้วว่าเป็นจริงก็แจ้งเข้าไประดับที่ 2 คือข้อมูลที่สามารถสื่อไปทางฝ่ายเฝ้าระวังได้ระดับที่ 3 คือข้อมูลที่จะนำไปสู่การจัดการ เช่น จัดการห้ามขาย จัดการเรียกคืน จัดการนำสิ่งค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศออกไป โดยจะมีกฎมายรองรับเรื่องเหล่านี้โดยข้อมูลต่างๆ ที่ สคบ.เผยแพร่ออกไปก็หวังให้ผู้บริโภคนำไปขยายต่อในวงกว้าง ภก.วิษณุ โรจน์เรืองไร นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มสารสนเทศ กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงงานในความรับผิดชอบว่า อย.ได้เตรียมช่องทางการสื่อสารดิจิทัล แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือกลุ่มแรก เป็นเว็บไซต์ มี 2 อันคือ www.fda.moph.go.th  เป็น official website ของ อย. มีข้อมูลที่หลากหลาย ให้บริการทั้งผู้ประกอบการ ประชาชน ส่วนเว็บไซต์ที่ 2 จัดทำเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนโดยตรงคือ www.oryor.com เป็นเว็บไซต์ที่มีแต่ข้อมูลสำหรับประชาชนทั่วไปเป็นหลัก ถ้าเป็นผู้ประกอบการก็อาจจะไม่มีประโยชน์สักเท่าไร  ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นพวก แอปพลิเคชัน มีชื่อว่า oryorsmart application ปัจจุบันเป็นเวอร์ชันที่ 3 รองรับการใช้งานทั้งไอโอเอสและแอนดรอยด์ และจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันสมัยที่สุดกลุ่มที่ 3 เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค อย.ก็พยายามสร้างทางเลือก เพราะเข้าใจว่าทุกคนอาจไม่ได้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คที่เหมือนกันหมด จึงพยายามทำหลายช่องทางเพื่อรองรับ ปัจจุบันมีด้วยกัน 5 แพลตฟอร์ม ได้แก่ เฟสบุ๊ค,ทวิตเตอร์,ยูทูป,อินสตาแกรม,ไลน์ นี่คือช่องทางต่าง ๆ ที่อย.ใช้สำหรับการสื่อสารเตือนภัย --------------------------------------------------------------------- 5 แพลตฟอร์มของ อย. facebook.com/fdathai twitter.com/fdathai Instagram.com/fdathai YouTube.com/fdathai Line@fdathai ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ประธานมูลนิธิวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ  เรื่องการแจ้งเตือนภัยในมุมมองของตัวเอง มองว่าเป็นการเสริมพลังในภาคประชาชนหรือผู้บริโภคและภาคี มีตัวอย่างสินค้าจำนวนมากที่เป็นอันตรายต่อประชาชน และกลุ่มผู้บริโภคหรือภาคีเครือข่ายเป็นผู้แจ้งเบาะแส แจ้งเตือนภัย ในฐานะที่เคยอยู่กรมวิทย์ฯ ผู้บริโภคสามารถเข้าไปดูผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยได้ที่ www.tumdee.org  ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในมุมมองของ ภก.วรวิทย์ มองว่า การแจ้งเตือนภัย ต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้1.การแจ้งเตือนภัยถ้าทำอย่างล่าช้าก็จะไม่มีประโยชน์ ต้องทำให้ทันต่อเหตุการณ์ 2.การแจ้งเตือนภัยถ้าทำไปไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีประโยชน์  3.ชาวบ้านสามารถเข้าถึงได้สะดวก การเฝ้าระวังที่ดีก็จะนำมาซึ่งข้อมูลที่รวดเร็ว ทำให้สามารถเตือนภัยได้เร็ว จากนั้นก็ควรนำไปสู่การจัดการสินค้านั้นๆ พ.ต.อ.ทีนัฐกรณ์ วัฒนแสงประเสริฐ   ผู้กำกับการสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด   เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.)“การแจ้งเตือนภัย ทุกหน่วยงานมีอยู่แล้ว ตำรวจเองก็มี แต่ว่าในเพจกองปราบปราม พบว่ามีผู้ติดตามเพียงพันกว่าคนเท่านั้น คิดว่าประชาชนคงอยากไปดูทางอย. หรือทาง สคบ.มากกว่าเพราะคิดว่าเขารับผิดชอบโดยตรง ข้อมูลที่ได้แสดงไว้ในเพจ คือผลลัพธ์ของการสืบสวนและมีการจับกุมแล้ว มีด้วยกัน 2 เพจบนเฟซบุ๊ค ชื่อ “รู้ทันภัยเครื่องสำอาง อาหาร และยา” และอีกเพจคือ “กองบังคับการปราบปรามคุ้มครองผู้บริโภค” และก็มีเพจส่วนตัว ชื่อว่า “ผกก.เติ้ล” จะมีสาระความรู้อยู่ในเพจนี้ เป็นการแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนทุกรูปแบบ บางครั้งก็มีการเผยแพร่แบบไลฟ์ด้วย เช่น เกี่ยวกับเรื่องแชร์ลูกโซ่ เรื่องการขายตรง เป็นต้น” ในกรณีของสินค้าออนไลน์ สามารถเข้าไปแจ้งได้ มีเวรรับแจ้งตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว แต่ประชาชนมักกลัวการแจ้งความเพราะกลัวการขึ้นศาล ไม่กล้าลงชื่อเพราะกลัวเขาจะรู้ว่าตัวเองไปร้องเรียน ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่มีชื่อ เขาก็รับการร้องเรียน แต่จะต้องตรวจสอบข้อมูลว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ แต่หากมีชื่อหรือหมายเลขติดต่อก็จะสะดวก เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ เพื่อที่จะชี้ชัดเรื่องข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องเสียเวลาไปตามหา อย่างไรก็ตาม หากมีปัญหา สามารถโทรแจ้งที่สายด่วนได้เลย  เพราะหากไปแจ้งความตามโรงพักในต่างจังหวัด ตำรวจจะขาดความชำนาญเฉพาะทาง สายด่วน ปคบ.คือหมายเลข 1135 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 รู้เท่าทันแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษ

โลกโซเชียลกำลังโฆษณาขายแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษกันอย่างครึกโครม ทั้งในอาลีบาบา อเมซอน และอื่นๆ โดยอ้างว่าสามารถดูดสารพิษออกจากร่างกายเมื่อใช้แผ่นแปะเท้าเวลานอน แผ่นแปะเท้าสามารถขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้จริงหรือไม่ เรามารู้เท่าทันกันเถอะ แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษคืออะไร“เมื่อติดแผ่นแปะเท้า........ที่ฝ่าเท้าเวลานอน จะช่วยขับโลหะหนัก สารพิษ พยาธิ สารเคมี และเซลลูไลต์ออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยรักษา อาการซึมเศร้า อ่อนล้า เบาหวาน ข้ออักเสบ ความดันเลือดสูง และระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ”นี่เป็นตัวอย่างโฆษณาขายผลิตภัณฑ์แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษยี่ห้อที่ดังที่สุดยี่ห้อหนึ่งแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษนั้นถูกโฆษณาขายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อสุขภาพและขับสารพิษออกจากร่างกาย  ใช้แปะที่ฝ่าเท้าเวลานอน เมื่อตื่นนอนจะเห็นสีดำๆ คล้ำๆ ที่แผ่นแปะเท้า ซึ่งเป็นสารพิษที่ถูกขับออกมาจากร่างกาย แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษ มีส่วนผสมสารประกอบต่างๆ ตั้งแต่ น้ำส้มควันไม้จากไม้ไผ่ หินแร่ ยูคาลิปตัส ไคโตซาน (เกล็ดปลา เปลือกกุ้ง) นอกจากนี้ยังมี สมุนไพร วิตามิน แร่ธาตุ เกลือทะเล วิตามินซี ไอออนลบ เส้นใยจากผัก เป็นต้นแผ่นแปะเท้าดูดพิษออกจากร่างกายได้อย่างไรแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษเป็นความเชื่อแบบการแพทย์ตะวันออก มีการผลิตแผ่นแปะเท้าหลากหลายชนิดตามความเชื่อ ส่วนผสม และวัสดุต่างๆ  แผ่นแปะเท้าจึงมีคุณสมบัติและผลข้างเคียงแตกต่างกันไป เช่น การนวดกดจุดสะท้อน (reflexology) แผ่นแปะเท้าซึ่งไปกดจุดที่ฝ่าเท้า  อิออนลบซึ่งไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่เท้า แผ่นแปะเท้าจากถ่าน แผ่นแปะเท้าจากน้ำส้มควันไม้จากไม้ไผ่ และแผ่นแปะเท้าจากสมุนไพรต่างๆส่วนผสมต่างๆ ในแผ่นแปะเท้าจะดูดและจับกับสารพิษในร่างกาย ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดมาที่เท้า สารพิษจะถูกเลือดพามาที่เท้า และถูกดูดซึมไปที่แผ่นแปะเท้าแผ่นแปะเท้าดูดพิษได้จริงหรือเรื่องนี้ได้รับการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในหลายๆ ประเทศ ด้วยความไม่เชื่อว่า แผ่นแปะเท้าจะดูดสารพิษได้จริง ความจริงแผ่นแปะเท้ามีหลักการเดียวกับการขับสารพิษด้วยการแช่เท้าในน้ำที่มีแร่ธาตุ และปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ลงไปในน้ำ น้ำที่มีไอออนลบจะดึงสารพิษในร่างกายและขับออกมาทางเท้า ทำให้น้ำที่แช่เท้าเปลี่ยนเป็นสี มีงานวิจัยที่พยายามไขข้อข้องใจเรื่องนี้มากพอควร มีงานวิจัยหนึ่ง พบว่า แร่ธาตุในน้ำ รวมทั้งวัสดุที่เป็นโลหะของเครื่องแช่เท้า เมื่อมีปฏิกิริยาทางเคมีและฟิสิกส์ จะทำให้น้ำเปลี่ยนสี ไม่ว่าจะแช่เท้าหรือไม่ก็ตาม  เมื่อตรวจปัสสาวะเพื่อดูการขับสารพิษต่างๆ ทางไต และการตรวจสารพิษที่สะสมในเส้นผม ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง การวิจัยครั้งนี้ ยืนยันว่า การขับสารพิษในร่างกายด้วยเท้านั้น ไม่เป็นเรื่องจริง ทำไมแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษจึงเปลี่ยนเป็นสีดำแผ่นแปะเท้าที่เปลี่ยนเป็นสีดำเกิดจากสารพิษที่ดูดออกมาจริงหรือเพียงแค่เอาน้ำดื่มที่สะอาดเทลงที่แผ่นแปะเท้า ก็จะเปลี่ยนสีได้เช่นเดียวกัน นักวิจัยเอาแผ่นแปะเท้าที่เปลี่ยนสีไปหาสารพิษ สารหนูและโลหะหนักในห้องปฏิบัติการ ก็ไม่พบอะไร  เมื่อตรวจแผ่นแปะก่อนและหลังการใช้ ก็ไม่พบความแตกต่าง   สรุป  แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษนั้น ไม่สามารถขับสารพิษในร่างกายได้จริงตามโฆษณา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 เรือนเบญจพิษ : จากการ “รวมศูนย์” สู่การ “กระจาย” ความรู้

ในสังคมปัจจุบันซึ่งถือเป็น “สังคมที่มีความรู้เป็นพื้นฐาน” หรือเป็น “knowledge-based society” นั้น กล่าวกันว่า ใครก็ตามที่มีความรู้ ก็มักจะใช้ความรู้เป็นอำนาจเพื่อผลประโยชน์แก่ผู้ครอบครองความรู้ดังกล่าว ในขณะเดียวกัน เฉพาะคนที่มีอำนาจเท่านั้น ที่จะใช้อำนาจกำหนดให้เรื่องใดบ้างกลายมาเป็นความรู้อันเป็นที่ยอมรับของผู้คนในสังคมเมื่อความรู้กับอำนาจเป็นสองสิ่งซึ่งแยกกันไม่ขาดเยี่ยงนี้ “การจัดการความรู้” หรือ “knowledge management” ที่เรียกย่อๆ ว่า “KM” จึงกลายเป็นศาสตร์ที่ผู้คนยุคนี้พยายามทำความเข้าใจ รวมทั้งแปลงเรื่อง “KM” ให้กลายมาเป็นภาพการช่วงชิงผลประโยชน์ของภรรยาทั้งสี่คนในละครเรื่อง “เรือนเบญจพิษ”เพื่อสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความรู้นั้น ละครได้เลือกย้อนความกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ในเรือนของ “คุณพระยศ” ผู้แต่งงานอยู่กินกับภรรยาอยู่แล้วสองคนคือ เมียเอกที่มีศักดิ์ชั้นอย่าง “ปิ่น” และเมียบ่าวผู้เป็นรักแรกของคุณพระอย่าง “แหวน” แต่แล้วความขัดแย้งระลอกแรกก็เกิดขึ้น เมื่อคุณพระยศรับผู้หญิงอีกสองนางเข้ามาเป็นภรรยาอยู่ร่วมชายคาเรือนเพิ่มขึ้น คนแรกก็คือลูกสาวคหบดีจีนผู้มั่งคั่งอย่าง “ทับทิม” กับอีกคนหนึ่งคือพี่สาวบุญธรรมของทับทิมหรือ “หยก” ที่แอบบ่มเพาะความแค้นในใจอยู่ลึกๆ เนื่องจากชีวิตของหยกถูกทับทิมกดขี่เอาไว้ตั้งแต่เด็กเมื่อผู้หญิงสี่คนได้เข้ามาสู่วังวนในเรือนเดียวกันของคุณพระยศ แต่ละนางต่างก็มีความมุ่งมั่นและต่างก็พยายามใช้เขี้ยวเล็บเพื่อช่วงชิงอำนาจนำในความเป็นภรรยาหมายเลขหนึ่งของเรือนมาเป็นของตนยิ่งเมื่อต้องเผชิญกับตัวแปรความขัดแย้งระลอกใหม่ เพราะสยามประเทศยุคนั้นเริ่มรณรงค์ค่านิยมแบบผัวเดียวเมียเดียว และทางการประกาศใช้กฎหมายการจดทะเบียนสมรสขึ้น ทะเบียนสมรสจึงกลายเป็น “สนามรบ” ผืนใหม่ ที่บรรดาคุณนายทั้งสี่ปรารถนาจะแก่งแย่งช่วงชิงชัยชนะมาไว้ในมือให้ได้เพียงหนึ่งเดียวแต่เพราะที่มาของอำนาจก็ต้องผนวกผสานกับการจัดการความรู้เป็นกลไกขับเคลื่อน ดังนั้นละครจึงได้สร้างสัญลักษณ์ชนิดหนึ่งขึ้นมาแทนอำนาจในท้องเรื่อง อันได้แก่สิ่งที่เรียกกันว่า “กู่” คล้ายคลึงกับหลักทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่กล่าวว่า “สัตว์โลกที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอด” กู่เป็นองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นตามตำนานจีนโบราณ กรรมวิธีสร้างกู่จะใช้การจับสัตว์พิษทั้งห้าชนิดมากักขังและปิดผนึกไว้ในไห สัตว์พิษทั้งห้าได้แก่ งูพิษ แมงมุม ตะขาบ คางคก และแมงป่อง ที่เมื่อถูกขังเอาไว้รวมกัน ต่างตัวต่างก็จะเริ่มต่อสู้กัดกันจนเหลือ “อยู่รอด” ตัวสุดท้ายที่จะกลายเป็นกู่ โดยผู้สร้างก็จะใช้กู่อันเป็นอสรพิษที่ “แข็งแรงที่สุด” ไปฆ่าศัตรูของตนด้านหนึ่งละครก็คงต้องการบอกเป็นนัยๆ ว่า แท้จริงแล้วภรรยาทั้งสี่คนที่อยู่ในขอบขัณฑ์แห่งเรือนคุณพระยศ ก็ไม่ต่างอะไรจากอสรพิษที่ต้องห้ำหั่นเข่นฆ่า เพื่อจะได้เป็นประหนึ่งกู่ตัวที่ “แข็งแรงที่สุด” แต่อีกด้านหนึ่ง กู่ก็เป็นสัญลักษณ์ของชุดความรู้ที่ผู้ครอบครองอยู่นั้นใช้เพื่อสถาปนาอำนาจนำขึ้นมาได้ในท่ามกลางผู้หญิงทั้งสี่คนที่ใช้ชีวิตในสังคมซึ่งความรู้มักถูกผูกขาดและ “รวมศูนย์” อยู่ในมือของคนบางกลุ่มนั้น หยกคือภรรยาที่มีองค์ความรู้เรื่องกู่ ซึ่งสืบทอดต่อมาจากบ่าวคนสนิทอย่าง “ยายพ่าง” ด้วยเหตุนี้ เมื่อการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจความเป็นเมียใหญ่เมียเดียวเริ่มเปิดศึกขึ้น หยกจึงใช้กู่เป็นอาวุธที่ขับไสไล่ส่งและขจัดเมียคนอื่นๆ ของคุณพระยศออกจากเรือนไปทีละคนเริ่มจากการบริหารความรู้เพื่อจัดการอัปเปหิทับทิมให้ต้องไปตกระกำลำบากใช้ชีวิตอยู่กับคณะงิ้วเร่ร่อน จากนั้นก็ใช้พิษกู่ทำร้ายเมียเอกอย่างปิ่นจนต้องพิการเสียแขนไปข้างหนึ่ง จนต้องหลบเร้นหนีไปบวชอยู่สำนักนางชี ปิดท้ายด้วยการไล่ฆ่าแหวนจนต้องหนีหัวซุกหัวซุน และวางกลอุบายพรากเอา “เพชร” หนึ่งในบุตรชายฝาแฝดของแหวนมาสวมรอยเป็นลูกของตน ก่อนที่หยกจะได้ถือครองทะเบียนสมรสและอำนาจของภรรยาหมายเลขหนึ่งในเรือนของคุณพระยศในท้ายที่สุดอย่างไรก็ดี หลังจากยี่สิบกว่าปีผ่านไป พร้อมๆ กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่การจัดการความรู้ซึ่งเคย “รวมศูนย์” ได้เปลี่ยนผ่านสู่การบริหารความรู้แบบ “กระจายตัว” ไม่ให้ผูกขาดอำนาจหรือกระจุกตัวอยู่ในมือของใครคนใดคนหนึ่งอีกต่อไป การกระจายศูนย์แห่งความรู้ก็ส่งผลต่อการครอบครองอำนาจนำในเรือนของภรรยาตามกฎหมายอย่างหยกเช่นกันการผันผ่านสู่ความเปลี่ยนแปลงระลอกล่าสุดนี้ เกิดขึ้นพร้อมกับการกลับมาของภรรยาทั้งสามคนของคุณพระยศที่หายสาบสูญไปกว่าสองทศวรรษ และในขณะเดียวกัน แม้หยกจะขึ้นครองอำนาจเป็นใหญ่ในเรือน แต่เธอก็ต้องเรียนรู้ว่า อำนาจแห่งความรู้ที่เคยรวมศูนย์อยู่ในมือนั้นก็ไม่ได้เสถียรอีกต่อไปแล้วประการแรก แม้จะมีองค์ความรู้เรื่องการสร้างกู่ที่ถือครองไว้ แต่ความรู้ดังกล่าวก็ต้องเผชิญหน้ากับชุดความรู้ดั้งเดิมแบบอื่นที่ถูกใช้เพื่อช่วงชิงอำนาจในเรือน เฉกเช่นที่ทับทิมและ “ริทธิ์” บุตรชายอีกคนของแหวนได้ร่ำเรียนและฝึกฝนความรู้จีนโบราณเรื่องมีดบิน เพื่อใช้เป็นอาวุธห้ำหั่นกับกู่พิษของหยกและยายพ่างประการถัดมา เมื่อสังคมไทยได้เปิดรับองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เข้ามาจากโลกตะวันตก “อนงค์” ผู้เป็นคนรักของริทธิ์และประกอบอาชีพเป็นพยาบาล ก็อาศัยความรู้แผนใหม่เรื่องกรุ๊ปเลือด เป็นกลไกกุมความลับเรื่องลูกชายของหยก อนงค์จึงเป็นศัตรูหน้าใหม่ที่หยกอยากใช้กู่กำจัดออกไปเพื่อรักษาอำนาจของตนเอาไว้และประการสำคัญ ในยุคที่การจัดการความรู้เน้นเรื่องการกระจายอำนาจออกไปนั้น ตัวละครภรรยาของคุณพระยศในยุคกว่ายี่สิบปีให้หลัง ต่างคนต่างก็สามารถเข้าถึงองค์ความรู้เรื่องกู่ ไปจนถึงการที่แต่ละนางก็สามารถสร้างกู่ของตนขึ้นมา เพื่อเอาไว้ประหัตประหารและช่วงชิงผลประโยชน์แบบไม่มีใครเหนือใครอีกต่อไปในท้ายที่สุดของเรื่อง แก่นแกนเรื่องเล่าของละครคงตั้งใจนำผู้ชมไปให้เห็นด้านมืดในจิตใจของมนุษย์ เหมือนกับคำพูดที่แหวนได้กล่าวกับคุณพระยศหลังจากที่ตัวละครฆ่ากันตายจนเกือบหมดเรือนว่า “ความอยากได้อยากมีคือพิษที่ร้ายกาจที่สุด เราคงจะต้องปล่อยวาง จึงจะแก้พิษนี้ได้...”แต่ในเวลาเดียวกัน ควบคู่ไปกับแก่นแกนของละครข้างต้นนี้ แม้การจัดการความรู้ยุคใหม่จะเน้นกระจายอำนาจให้ทุกคนเข้าถึงความรู้ได้ก็จริง แต่หากความรู้กับอำนาจนั้นมีมิจฉาทิฐิเข้าครอบงำเพื่อให้มนุษย์ห้ำหั่นกันโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องอันใดด้วยแล้ว ความรู้ในมือก็ทำให้คนเราไม่ต่างไปจากกู่ที่แข็งแกร่งน่ากลัว และปรารถนาจะอยู่เป็นอสรพิษตัวสุดท้ายในเกมแห่งอำนาจนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 แบไต๋ ‘โฆษณาออนไลน์’

โฆษณาออนไลน์...เชื่อได้แค่ไหน ผู้บริโภคจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่ถูก “หลอก” เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า การซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ ต้องอาศัยความ “เชื่อใจ” ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพราะผู้ซื้อไม่ได้เห็นสินค้าจริงๆ และที่สำคัญคือ ต้องจ่ายเงินไปก่อน ผู้ขายจึงจะส่งสินค้าให้  เรียกว่า ต้อง “ลุ้น” กันหลายต่อ ลุ้นว่า จ่ายเงินแล้ว ผู้ขายจะส่งสินค้ามาให้หรือไม่  จ่ายเงินแล้วจะได้รับสินค้าตามที่สั่งซื้อหรือไม่   จ่ายเงินไปสินค้าจะมีคุณภาพ(ผลลัพธ์) เหมือนอย่างที่ “โฆษณา” ไว้หรือไม่  ข้อมูลผลการดำเนินงานตรวจสอบและเฝ้าระวังโฆษณาฯ ปี 2559 ของศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) พบ เครื่องสำอาง (ร้อยละ 47) รองลงมาคือ อาหาร (ร้อยละ 36) และยา ร้อยละ 15 ขณะที่ผลการรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภค (มพบ.) โดยสถาพร อารักษ์วทนะ นักวิชาการอิสระ พบว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีผู้ร้องเรียนมายังศรป.มากที่สุดคือ เครื่องสำอาง (ร้อยละ 47) ขณะที่ มพบ. พบการร้องเรียนอันดับ 1 คือ อาหาร (ร้อยละ 54)    ที่น่าสนใจคือ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สั่งซื้อออนไลน์มากสุดคือ เครื่องสำอาง (ร้อยละ 38) รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลดอ้วน และขาวใส (ร้อยละ 24) โดยเหตุผลที่เลือกซื้อเนื่องจาก โฆษณาจูงใจ พรีเซ็นเตอร์เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และอาจได้ผลเหมือนโฆษณา  (ร้อยละ 30)  และ เห็นโลโก้ อย. บนตัวผลิตภัณฑ์ มั่นใจว่ามี อย.จึงคิดว่าปลอดภัย (ร้อยละ 25) เผยไต๋...โฆษณาออนไลน์ ผิดกฎหมายซ้ำซาก จากการเสวนาแนวทางการจัดการโฆษณาผิดกฎหมายบนออนไลน์ซ้ำซาก กรณีผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนหนึ่งของงานสมัชชาผู้บริโภคประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นสถานการณ์ปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย แต่ “ผู้บริโภค” ไม่รู้ หนึ่งในวิทยากรที่มาร่วมเสวนาครั้งนั้นคือ คุณวรรณวิษา ถนอมสินธุ์ ตัวแทนเพจดอกจิก ที่เกาะติดและเฝ้าระวังการโฆษณาออนไลน์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการ “หลอกลวงผู้บริโภค” โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษา บริษัทเมจิก สกิน จำกัด ที่พบการกระทำผิด  พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ภายหลังจากการตรวจค้นโรงงานที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ฐานความผิดที่พบในส่วนของ พ.ร.บ.อาหาร คือ  ผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง (มาตรา 6  วรรคหนึ่ง) ผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต(มาตรา 14  วรรคหนึ่ง) ผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารปลอม(ตามมาตรา 27 (4)) กรณีแสดงฉลากเพื่อลวง หรือพยายามลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในลักษณะพิเศษว่าได้รับเลขสารบบอาหาร ณ สถานที่ผลิตแห่งนี้แล้ว(มาตรา 25(2))  โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต(มาตรา 41 ) ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง  คือ แสดงฉลากที่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง(มาตรา 22 (1)  ฉลากไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด(มาตรา 22 วรรค 2 (3) )  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผิดกฎหมาย ที่พบ เช่น  Linda Drink, Apple Slim, Shi-No-Bi, Fern Vitamin และ Treechada (Underraem Serum) ซึ่งเป็นการรับจ้างผลิตให้บริษัทตรีชฎา)  “ปัญหาหลักๆ เกิดจาก การโฆษณาผลิตภัณฑ์เกินจริง ไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่าย ซึ่งในที่นี้มีผู้เสียหายที่ถูกหลอกให้ลงทุนโดยการเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านั้น แม้ว่าเจ้าของแบรนด์จะชี้แจงว่า มีเลข อย. แต่ อย.แจ้งว่าเป็นการนำเข้าข้อมูลในสารบบที่ผิด เพราะบริษัทเมจิกสกินไม่ได้ผลิตสินค้าเองตามที่กล่าวอ้าง แต่มีบริษัทอื่นผลิตให้จึงถือว่าทำผิดกฎหมายชัดเจน”  คุณวรรณวิษากล่าว พร้อมยกตัวอย่าง รูปแบบการโฆษณาออนไลน์ ที่เป็นการหลอกลวงผู้บริโภคหลอกล่อให้...กิน  กินแล้วผอม กินแล้วขาว กินแล้วสวย.... ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ใช้วิธี  “จูงใจ” ผู้บริโภคให้หลงเชื่อว่าเมื่อบริโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้แล้วจะได้ “ผลลัพธ์” ตามคำโฆษณา ด้วยราคาที่ “ถูก”  ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นและมีความย้อนแย้งกันอยู่ในตัวโฆษณานั้นๆ เช่น  “หญิงย้วยอยากหน้าเด็กเหมือนอลิส อลิสอยากสวยเหมือนพี่หญิงย้วย (เด็กทานได้ ผู้ใหญ่ทานดี)”    ขณะที่ด้านหลังซองมีคำเตือนว่า “เด็กและสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน” และด้านหน้าซองมีข้อความว่า “ขาวใสใน 7 วัน”   “Mezzo 100%  สบู่เมโสหน้าใสเหมือนฉีด นำเข้าจาก Switzerland”  ทั้งที่ เมื่อตรวจตรวจสอบส่วนประกอบแล้วไม่ใช่สารสกัดจากรกแกะดังที่กล่าวอ้างแต่เป็นสารสกัดจากพืช   นอกจากนี้ ยังมีการโฆษณา โดยใช้ดาราและ เน็ต ไอดอล เพื่อจูงใจให้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่า พรีเซ็นเตอร์ย่อมมีความผิดด้วยเช่นกันหลอกล่อให้ลงทุน...รวย รวย รวย เป้าหมายสำคัญของบริษัทเหล่านี้ ไม่ได้เพียงต้องการขายผลิตภัณฑ์ชิ้นต่อชิ้นเท่านั้นแต่มุ่งเน้นโฆษณาเชิญชวนให้คนสมัครเข้ามาเป็นตัวแทนจำหน่าย  ด้วยการลงทุน “หลักร้อย” แต่ได้ค่าตอบแทน “หลักล้าน” เช่น  โรงเรียนสอนรวยหญิงย้วยออนไลน์  “สมัครเป็นตัวแทนจำหน่าย ลงทุนหลักร้อย ! เงินเข้าบัญชี 1.5 ล้าน”  ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นเพียงการแต่งบัญชีธนาคารเพื่อใช้ในการโฆษณาเท่านั้น   มีรูปแบบการขายในลักษณะแชร์ลูกโซ่ คือแบ่งระดับขั้นตามมูลค่าการลงทุน เช่น ตัวแทนรายย่อย ต้องซื้อ 20 ชิ้น ตัวแทนหลัก ต้องซื้อ 1,000 ชิ้น ระดับ VIP ต้องซื้อสินค้า 5,000 ชิ้น เพื่อได้ต้นทุนต่อชิ้นที่ถูกลง  โดยตัวแทนเหล่านี้จะมีลักษณะเป็น “แม่ทีม” ที่ต้องไปแสวงหาเครือข่ายมาเป็น “ลูกทีม” ต่อๆ กันเป็นทอดๆ แต่ละทีมจะมีวิธีจูงใจให้คนสมัครแตกต่างกันไป เช่น จูงใจด้วยสินค้าแบรนด์เนม โทรศัพท์มือถือ ทองคำ หรือแม้แต่การไปเที่ยวต่างประเทศ  พร้อมการรับประกันว่า “ขายไม่ได้ ยินดีคืนเงิน”  ทั้งที่ไม่เป็นเช่นนั้น มีการสอนแต่งบัญชีธนาคาร มีการดึงเน็ตไอดอล หรือดารามาโฆษณาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ มีการสอนเทคนิควิธีไลฟ์สดผ่านสื่อโซเชียล โดยใช้ “หน้าม้า” เพื่อกระตุ้นเร่งเร้าให้รีบตัดสินใจสมัครเข้ามาเป็นตัวแทน  ดังเช่นที่ คุณณภัทร ทยุติชยาธร ในฐานะผู้เสียหายที่เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เปิดเผยในการเสวนาครั้งนี้ว่า “ตอนแรกเราสั่งสินค้า 1,000 ชิ้น จ่ายเงินเต็ม 30,000 แต่ได้ของมา 100  ชิ้น ซึ่งเขาบอกว่า ถ้าอยากได้ของมากกว่านี้ต้องเลื่อนระดับขึ้นไปอีก กระทั่งจองไป 5,000 ชิ้น จ่ายเงินไป 135,000 ได้ของประมาณ 1,000 ชิ้น เมื่อของไม่พอ ทำให้เราต้องจองสินค้าเป็น 10,000 ชิ้นเสียเงินอีก 2 แสนกว่า  แล้วบอกให้เรารีบโอนเงินมาภายในวันนี้ๆ เดี๋ยวของไม่เกิน 5 วันส่งมาให้ พอเช้ารับสินค้า บ่ายโมงเขาดีดเราออกจากกลุ่มไลน์ทันที  ไม่ให้เราอยู่  “เขาให้เหตุผลว่า เราไปบอกความจริงกับเด็กระดับล่าง เพราะเมื่อเราเข้าไปอยู่ระดับ Super VIP เขาจะสอนวิชามารการไลฟ์สดให้ว่า ก่อนจะไลฟ์สด ลูกต้องเตรียมทีมงานไว้หลายๆ  คน มีมือถือไว้คนละเครื่องสองเครื่อง แล้วโพสต์กันเข้าไปเวลาที่แม่ทีมไลฟ์สด ให้บอกว่า สินค้าเราดีมาก อยากสมัครจัง ซึ่งจริงๆ แล้วหน้าม้าทั้งหมด ส่วนคนที่สมัครจริงๆ จะรู้ได้จากการทิ้งลิงค์ไลน์ไว้ด้านล่าง  เขาจะไลฟ์สดทุกวัน ทำให้ได้ยอดคนสมัครตัวแทนจำหน่ายเพิ่มขึ้น เขาไม่เคยบอกให้เราไปขายเป็นซอง แล้วถามว่าสินค้าที่ได้มา เอาไปทำอะไร ถ้าขายได้ก็ขายไป แต่ถ้าขายไม่ได้ก็ต้องใช้กันเอง”  ในกรณีของบริษัทเมจิก สกิน  ยังมีการเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์สร้างแบรนด์ของตัวเองด้วย  โดยการโฆษณาว่า “รับผลิต” และ “จำหน่ายสินค้า” อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และเครื่องสำอาง มีการลงรูปโรงงานที่ทันสมัยเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และมีการส่งเสริมการขายเพื่อจูงใจให้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์  “กรณีความผิดการสวมเลขสารบบ อย.  เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ชิ-โน-บิ ที่ด้านหลังซองระบุว่า  ผลิตโดยบริษัท  เมจิกสกิน จำกัด แต่เมื่อตรวจสอบพบผู้ได้รับอนุญาต คือ บริษัทอินโนว่า แล็บโบราโทรี่  ส่วนผลิตภัณฑ์ Mezzo ที่ระบุว่า บริษัทเมจิกสกินผลิตเองนั้น แท้จริงกลับผลิตที่ บริษัท พี โอ เอส  คอสเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งบริษัทนี้รับผลิต ให้บริษัทเมจิก สกิน ตั้งแต่ปี 2555 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เพิ่มความขาวใส เช่น โอโม่  ขณะที่ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริมลดน้ำหนักที่เป็นน้ำชง เช่น Apple Slim , Linda Drinks ผลิตที่บริษัท เนเจอร์ นิวทรี”  คุณวรรณวิษา กล่าว  เห็นได้ว่า นอกจากการ ชวนลงทุน ทั้งที่ไม่มีโรงงานผลิต ชวนกิน ว่ากินแล้วดี สวย ผอม ขาว โดยใช้กลยุทธ์สื่อบุคคล เช่น ดาราและ เน็ตไอดอล  สร้างระบบตัวแทนจำหน่ายขึ้นมาหลอกล่อให้สต๊อกสินค้าจำนวนมาก  แต่ปัญหาที่ดูจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากที่สุด คงไม่พ้น เรื่องของ “คุณภาพสินค้า” ที่ไม่ได้เป็นไปตามที่โฆษณา หรืออาจจะได้ผลลัพธ์ แต่สุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ และการ  “สูญเสียชีวิต”  ที่ด้วยเช่นกันโลกเปลี่ยน...ผู้บริโภคต้องปรับ    ในท่ามกลางการหลั่งไหลของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ยังมีสื่อโฆษณาออนไลน์ที่ทำผิดกฎหมายซ้ำซากอีกจำนวนมาก เห็นได้จากข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่อออนไลน์ภายหลังจากที่ อย.ออกประกาศเตือนผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายผิดกฎหมายและมีสารอันตราย เช่น Abdomen Slim จากการค้นหาในกูเกิ้ลพบมากถึง 6,990,000 รายการ และพบมีขายอยู่ใน Market Place เช่น Lazada  3,650รายการสินค้า  แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทเมจิก สกิน ภายหลังจากบุกค้นโรงงานก็ยังสามารถพบโฆษณาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ทั่วไป เช่น บนสะพานลอย ป้ายรถเมล์ ท้ายรถเมล์ เป็นต้น โลกทุกวันนี้ แค่เห็นแล้ว “เชื่อ” คงไม่พอ หากผู้บริโภคต้อง “ตรวจสอบ” และแสวงหาข้อมูลรวมถึงวิธีการที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า ก่อนที่เราจะแตะสั่งสินค้าและจ่ายเงินไปนั้น สินค้าที่สั่งซื้อจะไม่ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเราเองด้วย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 เรื่องเล่าจากหมอยา

ภญ.สุภาวดี เปล่งชัย เภสัชกรชำนาญการ หรือคุณหมอติ๊กของชาวบ้าน เป็นฟันเฟืองหนึ่งในงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ทำหน้าที่แข็งขันในพื้นที่เล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่  เพราะงานของเธอเหมือนป่าล้อมเมือง เริ่มเพียงแค่เรื่องเล่าจากห้องยา เรื่องราวของความทุกข์จากใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในชุมชน กลายเป็นงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพที่ยั่งยืนต่อสังคม หมอติ๊กเล่าประสบการณ์การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคของเธอ ที่โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ให้ฟังว่า “เริ่มแรกก็ทำงานตามตัวชี้วัดตามลักษณะงานที่ตัวเองต้องทำอยู่แล้ว แต่พอทำงานไปสักระยะเราก็จะเห็นว่าคนไข้ที่เราได้ดูแล เขาได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยา อาหารหรือเครื่องสำอาง เราจึงเริ่มคิดว่าจะต้องเริ่มทำงานนี้กัน โดยเริ่มจากตอนจ่ายยาผู้ป่วยนอกผู้ป่วยใน เราเห็นว่าคนไข้มีผลกระทบจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ เราจึงคิดว่าน่าจะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจังและเข้มข้นกว่า”ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบของผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้ยาส่วนใหญ่เป็นเรื่องอะไรเรื่องการใช้ยาไม่เหมาะสมของคนอีสาน อย่างเช่นพวกยาสเตียรอยด์ที่เราเจอบ่อยๆ ซึ่งบางทีก็ใช้โดยไม่รู้ตัวเพราะบางทีปลอมปนมากับยาลูกกลอน ยาน้ำแผนโบราณ ยาประดง พวกยาที่เข้ามาขายตามหมู่บ้าน คนขายจะบอกว่ารักษาอาการปวดนั่นนี่ ทำให้กินข้าวได้ ชาวบ้านก็ซื้อมากินกัน บางทีเขาก็ไม่รู้ว่ากำลังกินสเตียรอยด์อยู่ พอมาโรงพยาบาลหรือบางทีเราตรวจเจอถึงรู้ อย่างเช่นคนไข้ที่เป็นเบาหวานความดันทำไมคุมความหวานไม่ได้ คุมความดันไม่ได้ พอเราซักประวัติไปก็ได้รู้ว่าเขากินผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เพราะสเตียรอยด์มีผลทำให้น้ำตาลขึ้นสูง และอย่างเช่นการใช้ยาปฏิชีวนะที่มาจากแหล่งชุมชน เช่นพวกร้านขายของชำ เขาก็จะไปซื้อมาจากร้านค้าซึ่งพวกร้านของชำไม่ควรจำหน่ายยาพวกนี้เพราะเป็นยาอันตราย เช่น เพนนิซิลลิน แต่คนก็ไปซื้อมากินตามทัศนคติความเชื่อของเขาว่าเวลาที่เกิดอาการแบบนี้ ปวดหลังหรือปวดเอวจะคิดว่าเป็นการอักเสบก็จะไปซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง ซึ่งลักษณะการกินมันจะไม่ครบขนาดการรักษา แต่จะกิน 1 - 2 เม็ดบ้างหรือกินตอนที่มีอาการ ซึ่งเป็นพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมสื่อต่างๆ ในชุมชนมีผลกับการใช้ยาผิดวิธีด้วยหรือไม่มีค่ะ จริงๆ แล้วยาปฏิชีวนะนั้นถ้าตาม พ.ร.บ. ยา เขาจะห้ามไม่ให้แสดงสรรพคุณยาอันตราย แต่ในวิทยุจะมีการโฆษณา อย่างเช่นยี่ห้อของกาโนรักษาอาการมดลูกอักเสบ รักษาแผลฝีหนอง ประมาณนี้ค่ะ และพวกยา แก้อักเสบ แก้ปวด พวกนี้ก็เป็นยาอันตราย อย่างเช่นยาเพียแคมจะมีโฆษณาทางวิทยุว่ากินแล้วหายปวดทันทีชาวบ้านเขาก็จะซื้อมากินกัน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าทุกคนจะกินยาพวกนี้ได้หมดอย่างปลอดภัย คนไข้ที่มีโรคประจำตัว เป็นโรคหัวใจ โรคไต กินยาแก้ปวดพวกนี้จะทำให้อาการเขาแย่ลงหรือคนที่ใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำก็จะเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดไตวายได้ในอนาคต ซึ่งในภาคอีสานก็จะซื้อมากินเพราะความสะดวก รวดเร็ว หาซื้อได้ตามร้านขายของชำ แต่พอกินแล้วก็จะเกิดผลต่อร่างกายตามมา เห็นง่ายๆ เลยก็คือจะเกิดอาการแพ้ได้ เคยมีคนไข้ที่มาโรงพยาบาลพอเราซักประวัติจึงทราบว่าเคยแพ้ยากาโนที่ซื้อจากร้านขายของชำ ซึ่งคนที่แพ้จะเกิดร่องรอยการแพ้บนผิวหนัง สังเกตว่าคนไข้มีรอยเป็นปื้นดำๆ ที่แขน ที่ใบหน้า ซึ่งบางคนไม่ได้แพ้แค่ครั้งเดียวแต่มีการแพ้ยาซ้ำ 2 - 3 ครั้ง เพราะบางทียามันมีทั้งรูปแบบเม็ดและรูปแบบน้ำ ทำให้เขากินโดยที่ไม่รู้ว่าคือยาที่เขาแพ้นั่นเอง บางคนก็ซื้อยาตามโฆษณาบ้าง ซื้อตามพฤติกรรมที่มีการบอกต่อกันมาบ้าง อย่างเช่นมีคนไข้คนหนึ่งเป็นผู้หญิงอายุประมาณ 25 ปี เพิ่งจะคลอดลูก แล้วมดลูกยังไม่เข้าอู่ แม่ของผู้หญิงคนนี้จึงบอกว่าให้กินยากาโนวันละ 1 เม็ด ให้กินติดต่อกัน 3 เดือน ซึ่งยาพวกนี้ก็จะมีผลต่อการเติบโตของกระดูกทารกได้เพราะว่าเด็กยังกินนมแม่ และยังส่งผลให้ฟันของเด็กเหลืองไปถาวรตลอดชีวิตเลย ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนยังไม่มีความรู้ถึงผลข้างเคียงของพวกยาเหล่านี้ แต่ไปซื้อโดยมีความเชื่อจากปัจจัยต่างๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงอันตรายของยาบางคนก็ซื้อยาตามโฆษณาบ้าง ซื้อตามพฤติกรรมที่มีการบอกต่อกันมาบ้าง อย่างเช่นมีคนไข้คนหนึ่งเป็นผู้หญิงอายุประมาณ 25 ปี เพิ่งจะคลอดลูก แล้วมดลูกยังไม่เข้าอู่ แม่ของผู้หญิงคนนี้จึงบอกว่าให้กินยากาโนวันละ 1 เม็ด ให้กินติดต่อกัน 3 เดือน ซึ่งยาพวกนี้ก็จะมีผลต่อการเติบโตของกระดูกทารกได้เพราะว่าเด็กยังกินนมแม่ และยังส่งผลให้ฟันของเด็กเหลืองไปถาวรตลอดชีวิตเลยทำงานยากไหมกับความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเราก็จะไปทำเรื่องความเข้าใจในเรื่องยาในชุมชนทั้งตัวผู้ขายเองและตัวผู้ซื้อ ในส่วนของผู้ขายก็อาจจะยากหน่อยเพราะมันเป็นผลประโยชน์ของเขา และการที่เขาเอายามาขายก็เป็นเพราะชาวบ้านเรียกหาให้เอามาขายเขาจึงต้องไปหาซื้อยามาขายจากตัวเมืองบ้าง ในห้างแม็คโครบ้าง ก็ได้มีการรวมตัวกันประชุมกับเจ้าของร้านขายของชำเองว่าในตำบลของเรามันมียาที่ไม่เหมาะสมอยู่ในร้านค้า เป็นยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาอันตราย เช่น พวกยาห้ามถ่าย ยาพวกนี้ห้ามขายในร้านขายของชำนะ และเราก็จะบอกถึงผลกระทบที่เกิดจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถ้าอยู่ในร้านของท่านจะเกิดอะไรขึ้น ก็จะมีทั้งคนไข้แพ้ยา เป็นผื่นคัน หรือคนไข้ที่กินจนเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของเขาในระยะยาวได้ ก็ได้ขอความร่วมมือว่าให้หยุดขายยาพวกนี้เถอะ แต่ก็ให้ระยะเวลาอาจจะเป็น 1 เดือนบ้าง 2 เดือนบ้างให้ขายยาเหล่านี้ให้หมดนอกจากนั้นก็มีการให้แกนนำ อสม. ในพื้นที่สำรวจว่ายังมียาพวกนี้หลงเหลืออยู่ในพื้นที่บ้างหรือเปล่า ก็ต้องค่อยๆ คุยทำความเข้าใจกันไป เพราะเราจะใช้กฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ แม้ว่าเภสัชกรเองเป็นเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. ยา จะสามารถดำเนินการทางกฎหมายกับร้านขายของชำได้ แต่ใช้วิธีนี้ก็อาจจะไม่ได้ผลในระยะยาว เราอยากให้เขาเรียนรู้และทำความเข้าใจว่ายาในร้านค้าสามารถส่งผลกระทบได้นะ และให้ความรู้ว่ายาที่พวกเขาขายได้คือยาสามัญประจำบ้านเท่านั้น ก็ทำรายการให้ว่ายาตัวไหนขายได้ อย่างเช่นยาพาราเซตามอลต้องบรรจุแผงละกี่เม็ด ส่วนยาอันตรายไม่ได้เลย ห้ามขาย ก็ค่อยๆ ทำความเข้าใจและขยายพื้นที่ไป ตอนนี้ทำอยู่ในอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจะมีอยู่ 5 ตำบลในพื้นที่ โดยเริ่มแรกจะให้ รพ.สต. (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) และ อสม. ในพื้นที่สำรวจยาที่ขายอยู่ในร้านขายของชำทั้ง 5 ตำบล พอได้ข้อมูลมาแล้วเราก็จะคืนข้อมูลให้คนขายทั้ง 5 ตำบลว่าตำบลนี้มียาเท่านี้นะ ทั้งยาสเตียรอยด์ยาชุด ชุดละ 5 บาท 8 บาท เป็นยาชุดแก้ไข้ แก้หวัด เขาก็ขายกันแบบนี้ ซึ่งเราต้องบอกว่ายาพวกนี้เราห้ามขายและขอเก็บคืน ก็คือห้ามขายยาชุดเลย ส่วนพวกยาอันตรายเราก็ขอให้ขายให้หมดเสียและไม่ให้รับมาขายเพิ่มอีก ก็กำหนดระยะเวลาที่พอจะทำให้เขาขายหมดได้ เป็นเหมือนข้อตกลงระหว่างเรากับคนขายทำเป็นข้อกำหนดมาแบบนี้ 5 ข้อ 5 ตำบล ช่วงปีที่ผ่านมาคือปี 2560 เราก็ทำในข้อนี้ไปก่อน ส่วนปี 2561 นั้นเราก็จะลงไปดูว่ายังมีขายอยู่ไหม และให้คำแนะนำเพิ่มเติมและอาจจะมีการประสานกับทางท้องถิ่นหรือ อบต. ให้เขาช่วยมีมาตรการตรงนี้เพิ่มขึ้น อันนี้ในส่วนของคนขาย ในส่วนของประชาชนเราก็พยายามให้เขามีความรู้ความเข้าใจว่ายาพวกนี้มันมีประโยชน์ในการรักษาโรคแต่มันก็มีผลข้างเคียงที่อันตรายต่อเขาได้เหมือนกัน โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะและกลุ่มยาแก้ปวด แก้อักเสบซึ่งไม่ควรไปหาซื้อมากินเอง เพราะยาปฏิชีวนะถ้ากินพร่ำเพรื่อก็อาจทำให้เกิดการดื้อยาได้ซึ่งจะส่งผลกับเขาในอนาคตได้ระหว่างคนขายกับคนซื้อคุยกับใครยากกว่ากันน่าจะคนขาย เพราะเขาก็จะคิดว่าถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องมากินสิ ไม่ต้องให้ร้านยาในอำเภอขายยาตัวนี้ให้เขาสิ เขาก็จะมองแบบนี้ไป ซึ่งจริงๆ แล้วตัวยามันไม่ได้ผิดแต่มันไปอยู่ผิดที่ เพราะยาพวกนี้ตาม พ.ร.บ. ยาอนุญาตให้อยู่ในร้านที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงจะสามารถขายได้ ส่วนผู้บริโภคนั้นก็ค่อยๆ ทำความเข้าใจ เราอาจจะคิดว่าคนอายุ 20 ถึง 30 ปี ไม่ค่อยกินยาชุดแต่จริงๆ แล้วอายุน้อยๆ เขาก็ซื้อยาชุดกินกัน เหมือนกับซื้อกินตามความสะดวกของเขา ด้วยความไม่อยากไปโรงพยาบาล ไม่อยากไป รพ.สต. ซื้อยาชุดละ 5 บาท 10 บาทกินดีกว่า มีอยู่เคสหนึ่งอายุแค่ 25 ปี กินยาชุดไปแค่ชุดเดียวถึงขั้นเสียชีวิตจากภาวะไตวายฉับพลัน จึงทำให้คนในพื้นที่หมู่บ้านนั้นรู้สึกตื่นตัวมากขึ้น เวลาเราไปคุยกับเขาก็จะง่ายกว่าเดิม และอย่างพวกครีมที่ขายตามตลาดนัด อย่างครีมพม่าหน้าขาวมันมีพวกสารสเตียรอยด์ มีปรอท คนไข้ก็บอกว่าเคยใช้เช่นเดียวกันและก็เกิดอาการแพ้ จะเป็นลักษณะนี้ ถ้าเราเข้าไปพูดกับเขาบ่อยๆ เขาก็จะเกิดการตระหนักรู้มากขึ้นจากประสบการณ์ที่ทำงานด้านนี้มานาน มีอะไรที่อยากฝากถึงผู้บริโภคบ้างสำหรับคนขายที่เป็นเภสัชกรก็ให้ตระหนักว่า เวลาที่คุณขายส่งยาอันตรายแบบนี้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่อยู่ในชุมชน นั่นก็แสดงว่าเขาต้องเอาไปขายให้คนในชุมชนอีกทีหนึ่ง ซึ่งตัวร้านขายยาเองไม่ควรเป็นแหล่งที่กระจายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ลงไปในชุมชน ขอให้ขายได้เฉพาะยาที่เป็นยาสามัญประจำบ้านสำหรับอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ส่วนยาอันตราย ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ขอให้อย่าขายส่งให้เอาไปขายต่อเลย เพราะจริงๆ แล้วมันทำผิดกฎหมายและยังก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในพื้นที่ด้วย ในส่วนของประชาชนก็อยากให้ใช้อะไรที่เป็นเหตุผล อย่างอาการเจ็บป่วยไข้หวัด ไอ เจ็บคอนั้นไม่ต้องกินยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ เพราะร้อยละ 90 ของไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสแต่ยาปฏิชีวนะมันฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เรากินไปมันก็ไม่หายจากโรคแต่กลับจะทำให้เชื้อดื้อยาด้วยซ้ำ ทางที่ดีให้รักษาร่างกายให้อบอุ่น ทานน้ำอุ่น ทานพาราเซตามอลลดไข้ เช็ดตัวหรือกินยาลดน้ำมูกพวกนี้ค่ะ หรือว่ากินพวกยาฟ้าทะลายโจรก็สามารถหายจากอาการไข้หวัดไอ เจ็บคอได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะเลย อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องท้องเสียโดยฉับพลัน ไม่ต้องไปหายาห้ามถ่ายมากินเลยเพราะมันจะทำให้เชื้ออยู่ในร่างกาย อยู่ในลำไส้ ทำให้เกิดเชื้อแพร่มากขึ้น เกิดอันตรายมากกว่าเดิมอีก ถ้าเกิดอาการท้องเสียแบบฉับพลันให้กินพวกผงเกลือแร่หรือผงถ่าน พวกนี้จะทำให้หายจากการถ่ายได้ ไม่จำเป็นต้องกินยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะเลย เพราะเชื้อพวกนี้ก็เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในอาหารแต่ถ้ามีอาการรุนแรง เช่นถ่ายเป็นลิ่มเลือดอันนี้แสดงว่าติดเชื้อแน่ๆ อย่างนี้ควรไปโรงพยาบาลดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 โฆษณาเกินจริง แม้ไม่เชื่อ ก็มีความผิด

สวัสดีครับ พบกันทุกเดือนเช่นเคยฉบับนี้ ผมขอบอกเล่าเรื่องอุทาหรณ์ของการโอ้อวดเกินจริง โดยเฉพาะทุกวันนี้ มีการเผยแพร่ข่าวสาร โฆษณาต่างๆ เพื่อชวนเชื่อให้เราซื้อสินค้าหรือบริการมากมาย  ที่มีทั้งจริงและไม่จริง มีคนสงสัยว่า ในทางกฎหมาย การโฆษณานอกจากเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาแล้ว หากข้อความโฆษณานั้น มีลักษณะโอ้อวดเกินจริง ใครก็รู้ ไม่ได้หลงเชื่อ แบบนี้จะมีความผิดไหม  พอค้นๆ ดู ก็พบว่า มีคดีหนึ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการโฆษณาในแผ่นพับของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ที่โอ้อวดว่าของตนดีกว่าโรงพยาบาลอื่นๆ และไปกล่าวหาว่าโรงพยาบาลของโจทก์เขาไม่ดี  ทำให้โรงพยาบาลดังกล่าวเอาเรื่องมาฟ้องศาล สู้กันจนถึงศาลฎีกา และมีคำพิพากษาในที่สุดว่า การโฆษณาของโรงพยาบาลที่โอ้อวดเกินจริงมีความผิด และเป็นการละเมิดทำให้ผู้อื่นเสียหายด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2553ข้อมูลเปรียบเทียบศักยภาพของจำเลยในใบแผ่นพับโฆษณา จำเลยแสดงผลการเปรียบเทียบให้เห็นว่าโรงพยาบาลของจำเลยดีกว่า น่าใช้บริการมากกว่า เพราะมีผู้ประกันตนที่รับได้จำนวนมากที่สุด สะดวกสบายกว่า มีจำนวนเครือข่ายหลายแห่งกว่ามีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยมากกว่าเพราะมีผู้เข้าร่วมโครงการประกันสังคมเป็นจำนวนมากกว่าใคร โรงพยาบาลของจำเลยใหญ่กว่าเพราะมีเตียงจำนวนมากกว่ามีความมั่นคงกว่าเพราะมีประกันอุบัติเหตุให้ด้วย การโฆษณาแผ่นพับของจำเลยดังกล่าวเป็นการจูงใจให้บุคคลมาใช้บริการของจำเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 38 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ โฆษณา หรือประกาศหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใดๆ ซึ่งชื่อ ที่ตั้งหรือกิจการของสถานพยาบาลหรือคุณวุฒิหรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพสถานพยาบาลเพื่อชักชวนให้มีผู้มาขอรับบริการจากสถานพยาบาลของตน โดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล" ดังนั้น การที่จำเลยระบุในแผ่นพับในช่องผู้ประกันตนที่รับได้ว่า โจทก์รับได้ 25,000 คน ช่องระยะเวลาเข้าร่วมโครงการประกันสังคมว่า โจทก์เพิ่งเริ่มเข้า ช่องขนาดโรงพยาบาลว่า โจทก์มี 150 เตียง ช่องประสบการณ์การบริหารงานโรงพยาบาลด้านโครงการประกันสังคมว่า โจทก์ไม่มีประสบการณ์เลย ซึ่งความเป็นจริงทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า โจทก์มีจำนวนผู้ประกันตนที่รับได้ 50,000 คน โจทก์มีเตียง 400 เตียง และโจทก์เข้าร่วมโครงการประกันสังคมตั้งแต่ปี 2535 โจทก์จึงมีประสบการณ์ตั้งแต่ปีที่เข้าร่วมโครงการเป็นต้นมา จึงเป็นการที่จำเลยเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาไม่ตรงกับความจริงโดยมีเจตนาให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โรงพยาบาลจำเลยมีศักยภาพดีกว่าโรงพยาบาลโจทก์เป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่ามีประสบการณ์มากกว่า จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริงเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 38 และเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ คำว่า สิทธิ หมายความถึงประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ และจำเลยหรือบุคคลอื่นต้องเคารพหรือได้รับการรับรองคุ้มครองตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่สิทธิเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 423 หรือบางครั้ง แม้ข้อความที่พูด จะไม่เข้าข่ายการกล่าวโอ้อวดเกินจริง แต่หากทำให้ผู้อื่นเสียหาย เสียชื่อเสียงก็เป็นละเมิดต้องรับผิดต่อเขาเช่นกัน ดังฎีกาต่อไปนี้คำพิพากษาฎีกาที่ 891/2557คำกล่าวของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องที่ว่า “พวกมันมีเหี้ย 7 ตัว” หรือ “มันเป็นสามานย์” แม้เป็นการกล่าวกระทบถึงโจทก์ทั้งเจ็ด แต่ก็มิใช่การนำความเท็จหรือข้อความที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับตัวโจทก์ทั้งเจ็ดมากล่าว หากแต่เป็นการด่าโจทก์ทั้งเจ็ดด้วยความรู้สึกเกลียดชังว่าโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นคนไม่ดี โดยเปรียบเหมือนสัตว์ซึ่งไม่ใช่เป็นการนำข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงมากล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 423แต่การพูดปราศรัยด้วยถ้อยคำตามฟ้องต่อประชาชนที่มาฟังการชุมนุม ณ ที่เกิดเหตุนั้นประชาชนที่ฟังย่อมรู้สึกได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นคนไม่ดี ไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งประธานสภาหรือสมาชิกสภาเทศบาล อันเข้าลักษณะเป็นการทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 420 ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดเสียชื่อเสียงอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งเจ็ดและจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (ตอนจบ)

หลังจากที่พรรค CDU ของนางแองเจล่าร์ แมร์เคลประสบความสำเร็จได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงข้างมากได้ และคะแนนนิยมตกต่ำลงซึ่งเป็นผลพวงมาจาก นโยบายการรับผู้อพยพลี้ภัย โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยภายใน ส่งผลให้การเจรจากับพรรคอื่น ไม่ว่าจะเป็น พรรค FDP หรือ พรรค The Green Party ประสบความล้มเหลว และในที่สุด ก็สามารถจัดตั้งพรรครัฐบาลผสมโดยพรรคขนาดใหญ่ 3 พรรค คือ พรรค CDU CSU ซึ่งเป็นพรรคการเมืองสายอนุรักษ์นิยม และพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้สั่นคลอนความเป็นปึกแผ่นของพรรค SPD มีการเปลี่ยนผู้นำพรรค และ ผู้บริหารพรรค นอกจากนี้ หลังการเจราจาจัดตั้งรัฐบาลผสมแล้ว ก็ยังมีการทำสัตยาบรรณ(Koalitionsvertrag) ในการเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยสิ่งที่น่าสนใจสำหรับ พรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม คือ การลงคะแนนเสียงของสมาชิกพรรคเพื่อยอมรับสัตยาบรรณ ดังกล่าว ซึ่งเสียงของสมาชิกส่วนใหญ่ (66.02%) จากสมาชิกพรรคทั้งหมด 463,723 คน เรียกได้ว่า การจัดตั้งรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ผ่านอุปสรรคด่านแรกไปอย่างหืดขึ้นคอทีเดียวสำหรับความเห็นขององค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี จัดทำเอกสาร เพื่อประเมินนโยบายของรับบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็นได้แก่• การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving)• การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิตัล (Digital  world)• ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market)• การประกันสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย (health and care insurance market)• อาหาร (food market)• พลังงาน (Energy market)• อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation)• การเดินทาง การท่องเที่ยว (Mobility and tourism)• การบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection)• การค้าข้ามชาติ (International commerce)• การรู้เท่าทัน (consumer education)• การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance)นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็น ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market) ทางคณะรัฐมนตรีเสนอให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการจัดการการประกันเงินบำนาญ ชราภาพแห่งชาติ โดยทำหน้าที่ ศึกษาและจัดทำข้อเสนอ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการระบบประกันเงินบำนาญ ชราภาพ ภาคบังคับ (Gesetzliche Renterversicherung) เนื่องจาก ระบบสวัสดิการของประเทศเยอรมันนั้น เมื่อคนทำงานมีรายได้ จะถูกหักเงินรายได้ส่วนหนึ่งเข้ากองทุนเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับการหักเงินประกันสังคมในบ้านเรานั่นเอง วัตถุประสงค์การจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้คือ เพื่อทำให้กองทุนบำนาญชราภาพ ที่จัดเก็บจากรายได้ประชาชนและเงินสมทบของผู้ประกอบการ ให้เกิดความยั่งยืน ภายในปี 2025 องค์ประกอบของคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจาก ภาคประชาสังคม ภาคการเมือง และภาคธุรกิจต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า การตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญในการที่จะต้องมีตัวแทนฝ่ายองค์กรผู้บริโภคเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย เพราะระบบการประกันบำนาญ ชราภาพ ไม่ได้มีเฉพาะการประกันภาคบังคับเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการประกันเงินบำนาญชราภาพ ภาคสมัครใจ ที่ มีผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมากที่ใช้บริการ การประกันภาคสมัครใจอยู่ และมีผลต่อนโยบายการประกันเงินบำนาญชราภาพในภาพรวมของประเทศ การจัดระบบการประกันเงินบำนาญชราภาพภาคสมัครใจ (Private Altersvorsorge) รัฐบาลมีนโยบายในการจัดการระบบ ประกันเงินบำนาญชราภาพใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เอาประกัน โดยมีกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น(Dialog) ระหว่าง ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกภาคส่วน และ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงระบบการประกันบำนาญชราภาพ ภาคสมัครใจที่เป็นมาตรฐาน( Riester Rente) ตอนนี้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน(หมายเหตุ Riester Rente เป็นมาตรการ การปฏิรูประบบการประกันเงินบำนาญชราภาพ ที่ จัดเป็นการประกันภาคสมัครใจของผู้ทำงานมีรายได้ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2000- 2001 ภายใต้การเป็นรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานของนาย Walter Riester สังกัดพรพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสังคมนิยม โดยหักจากเงินรายได้ของผู้เอาประกันและ เงินสมทบที่รัฐบาลช่วยเหลือ) ต่อประเด็นนี้ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนแนวความคิดในการปฏิรูประบบการประกันเงินบำนาญชราภาพใหม่ เพื่อให้คุณภาพของระบบประกันเงินบำนาญชราภาพดียิ่งขึ้น โดยที่เงินที่จ่ายเข้ากองทุนนี้ต้องลดลง แต่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยใช้มาตรการ การลดค่าการตลาด ซึ่งในกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น(Dialog) นั้น การมีส่วนร่วมนอกจากภาคตัวแทนภาคธุรกิจแล้ว องค์กรภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดทำ dialog โดยเฉพาะองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน รัฐบาลจะจัดให้มีการประเมินกลไก การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินต่อประเด็นนี้ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมีความเห็นสนับสนุน การประเมินมาตรการที่ใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลในการทำรายงานผลการประเมินมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินต่อสาธารณะ และควรระบุด้วยว่ามาตรการในการกำกับใดของรัฐ ที่เกินความจำเป็น (Over regulation) ก็ควรจะต้องปรับปรุง หรือ กลไกใดของรัฐที่ การกำกับดูแลแล้ว ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ก็ต้องมีการปรับปรุงเช่นกัน  การปรับปรุงค่าธรรมเนียม Prepayment charge ในการ กู้ยืมเงินซื้ออสังหาริมทรัพย์นโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นนี้ คือ ต้องการให้สัญญา การกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย ในกรณีที่ผู้บริโภคต้องการ Refinance ที่อยู่อาศัย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ย ลดลง แต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมที่เรียกว่า prepayment charge มีความเป็นธรรม และฐานในการคำนวณค่าธรรมเนียมเข้าใจ และเห็นภาพได้ง่ายความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค สนับสนุนนโยบายนี้ของรัฐบาล และได้เรียกร้องประเด็นนี้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว การกำกับ ควบคุม และเฝ้าระวัง ระบบการเงินการลงทุน รัฐบาลมีนโยบายในการโอนหน้าที่การกำกับดูแล ผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนทางการเงิน ให้กับ หน่วยงานรัฐคือ Federal Financial Authority (BaFin: Bundesanstalt fÜr Finanzdienstleistungsaufsicht) อย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีแผนที่จะให้หน่วยงานกำกับองค์กรนี้ มีอำนาจในการกำกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุน ใน digital platform และทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานรัฐที่ดูแลทางด้าน IT-securityเพิ่มขึ้นด้วยความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เห็นด้วยในหลักการแต่ควรจะมีรายละเอียดในการทำงานขององค์กรกำกับดูแลนี้ให้ชัดเจนขึ้นครั้งหน้าจะนำเสนอ ความเห็นต่อนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านสุขภาพ และบริการสุขภาพครับ

อ่านเพิ่มเติม >