ฉบับที่ 203 บอกเลิกสัญญาฟิตเนสไม่ได้

เพราะสุขภาพดีไม่มีขาย ใครอยากได้ต้องทำเอง ส่งผลให้ผู้บริโภคปัจจุบันเริ่มหันมาออกกำลังกายกันเป็นประจำมากขึ้น ซึ่งหลายคนก็นิยมออกกำลังกายในฟิตเนส เพราะสะดวก มีอุปกรณ์หลากหลาย แต่หากวันหนึ่งเกิดปัญหาและต้องการยกเลิกสัญญาใช้บริการ เราสามารถทำได้ง่ายๆ จริงหรือคุณณรงค์สมัครใช้บริการฟิตเนสเจ้าหนึ่ง มาเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี แต่วันหนึ่งเขากลับประสบอุบัติเหตุขณะกำลังออกกำลังกาย ทำให้ต้องพักรักษาตัวและงดออกกำลังกาย 1 เดือน เขาจึงไปแจ้งกับพนักงานของฟิตเนสดังกล่าวว่า ขอระงับการใช้บริการชั่วคราว โดยยินดีเสียค่าธรรมเนียมการระงับตามระเบียบของบริษัท อย่างไรก็ตามพนักงานกลับแจ้งว่าไม่สามารถระงับชั่วคราวในทันทีได้ เพราะตอนที่คุณณรงค์มาแจ้งนั้น เริ่มเข้าเดือนใหม่แล้ว ซึ่งกฎของบริษัทกำหนดให้สามารถระงับได้ในเดือนถัดไป เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณณรงค์จึงเห็นว่าในเดือนถัดไป เขาน่าจะอาการดีขึ้นและสามารถกลับมาออกกำลังกายได้ตามปกติแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอระงับชั่วคราว ดังนั้นเมื่อถึงวันสุดท้ายของเดือนดังกล่าว คุณณรงค์จึงไปขอยกเลิกสัญญา และแจ้งระงับการชำระค่าบริการผ่านบัตรเครดิต ซึ่งปกติจะตัดยอดอัตโนมัติ พร้อมนำกุญแจล็อกเกอร์ไปคืน แต่พนักงานของฟิตเนสกลับแจ้งว่า ไม่สามารถยกเลิกสัญญาได้อีกเช่นกัน เพราะตามกฎการบอกยกเลิกสัญญานั้น จะต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน แสดงว่าจะในเดือนที่กำลังจะถึงนี้ คุณณรงค์ยังคงต้องชำระค่าบริการก่อนและบอกยกเลิกได้ในเดือนถัดๆ ไป ส่งผลให้เขารู้สึกว่าโดนเอาเปรียบและส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ช่วยผู้ร้องร่างหนังสือแจ้งขอยกเลิกสัญญาและปฏิเสธการชำระค่าบริการ เนื่องจากการที่ผู้ร้องประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถออกกำลังกายได้นั้น เป็นเหตุในบอกระงับการใช้บริการได้ ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผุ้บริโภค เรื่องสิทธิในการบอกเลิกสัญญาฟิตเนสที่กำหนดว่า หากมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์(ใบรับรองแพทย์) ยืนยันว่าการใช้บริการออกกำลังกายต่อไป อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรือสภาพร่างกายหรือจิตใจปกติ ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ นอกจากนี้ทางบริษัทยังไม่มีการดูแลหรือแจ้งข้อเสนออื่นๆ ให้ผู้ร้องทราบก่อนเลย เช่น กฎของบริษัทในการบอกเลิกสัญญา ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวของบริษัท อาจเข้าข่ายข้อสัญญาไม่เป็นธรรมได้เช่นกัน ขณะนี้ยังอยูระหว่างเจรจา ได้ผลเช่นไรเราจะติดตามกันต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 สินค้าใหม่ ใช้ครั้งแรกก็พังแล้ว

แม้จะเป็นสินค้าใหม่ แต่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาการชำรุดบกพร่อง หากเราซื้อสินค้าที่มีปัญหาเช่นนี้ขึ้นมา จะสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้างไปดูกันคุณสมัยกำลังจะไปเที่ยวต่างประเทศ จึงไปเดินเลือกซื้อกระเป๋าเดินทางที่ห้างสรรพสินค้าชื่อดังแถวรังสิต เธอตัดสินใจซื้อกระเป๋ายี่ห้อหนึ่ง ราคาประมาณ 2,000 บาทกลับบ้านมา แต่เมื่อนำไปใช้งานในวันเดินทางจริง กลับพบว่าหูกระเป๋าด้านข้างและด้านบนหลุดออกมา ทำให้ไม่สามารถถือหรือลากกระเป๋าได้ ส่งผลให้ได้รับความลำบากในการเดินทางอย่างมากเมื่อกลับมาประเทศไทย คุณสมัยจึงรีบติดต่อไปยังบริษัท เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งได้รับการตอบกลับมาว่า ทางบริษัทยินดีจะซ่อมกระเป๋าดังกล่าว ด้วยการเปลี่ยนหูกระเป๋าให้ใหม่ คุณสมัยไม่รับข้อเสนอดังกล่าวเพราะรู้สึกว่าหูกระเป๋าสามารถใส่และหลุดออกได้ง่าย จึงอาจทำให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีกหากนำไปใช้งาน แต่เนื่องจากบริษัทไม่ได้เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างอื่นเพิ่มเติม เธอจึงตัดสินใจส่งเรื่องไปร้องเรียนยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พร้อมโทรศัพท์มายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธ์ได้แนะนำผู้ร้องว่า ตามมาตรา 472 ประมวลกฎหมายแพ่งฯ กรณีสินค้าชำรุดบกพร่อง จนเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งจะใช้เป็นปกติ ผู้ขายต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ก็ตาม ซึ่งในกรณีนี้หากผู้ร้องไม่ยอมรับข้อเสนอของบริษัท ก็สามารถแจ้งความประสงค์ขอคืนสินค้าได้ ส่งผลให้ภายหลังก่อนการเจรจาที่ สคบ. ทางบริษัทก็ได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมมาว่า ยินดีจะเปลี่ยนกระเป๋ารุ่นอื่นให้ แต่หากมีราคาแพงกว่าก็จะต้องจ่ายเงินเพิ่ม ทั้งนี้ผลการดำเนินการจะเป็นอย่างไรนั้น ผู้ร้องยินดีไปเจรจาที่ สคบ. ต่อด้วยตนเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 ถูกอายัดเงินเดือน เพราะเป็นหนี้บัตรเครดิต

หลายคนที่นิยมการซื้อก่อนแล้วค่อยจ่าย อาจทำให้เป็นหนี้ก้อนใหญ่โดยไม่รู้ตัวได้ แล้วตามมาด้วยปัญหามากมาย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณอมรเคยเป็นเจ้าของร้านหมูย่างเกาหลีที่ขายดีมากๆ แต่หลังพบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ไม่ค่อยมีลูกค้าเข้าร้าน เขาก็เริ่มขาดทุนติดต่อกันหลายเดือน ส่งผลให้หมุนเงินไม่ทันและต้องนำเงินจากบัตรเครดิตมาใช้จ่ายไปก่อน โดยเมื่อคุณอมรใช้จนหมดวงเงินและไม่สามารถหาเงินมาชำระได้ทันกำหนด เขาก็เป็นหนี้ก้อนโตรวมแล้วเป็นเงินกว่า 1 แสนบาท ทำให้โดนบริษัทฟ้องและถูกบังคับคดีด้วยการอายัดเงินเดือน ซึ่งสร้างความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตมาก เขาจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำปรึกษาเรื่องดังกล่าว แนวทางการแก้ไขปัญหา              ในกรณีนี้ผู้ร้องสงสัยว่า ทำไมเขาจึงถูกอายัดเงินเดือน ทั้งที่ๆ เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท เพราะตามมาตรา 302 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 กันยายน 60 เป็นต้นมานั้น เจ้าหนี้จะอายัดเงินเดือนลูกหนี้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทไม่ได้ เพื่อให้ลูกหนี้มีเงินไว้ดำรงชีพ และเพื่อให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน              อย่างไรก็ตามการที่ผู้ร้องถูกอายัดเงินเดือนนั้น อาจเป็นไปได้ 2 กรณีคือ               1. เงินเดือนของผู้ร้องเกินกว่า 20,000 บาทจริง ซึ่งควรสอบถามทางฝ่ายการเงิน หรือฝ่ายบุคคลของบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่ว่า นำเงินอื่นไปบวกเข้ากับฐานเงินเดือนหรือไม่ เช่น ค่าโอทีหรือค่าคอมมิชชั่น เพราะหากทางบริษัทส่งรวมกันไปทั้งหมด ทางกรมบังคับคดีก็ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นค่าอะไรบ้าง แต่หากสามารถแจกแจงรายละเอียดของเงินเดือนได้ ก็สามารถบอกทางบริษัทให้แจ้งกับกรมบังคับคดีใหม่อีกครั้ง หรือ              2. กรณีที่ผู้ร้องถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องก่อนกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้ หรือก่อนวันที่ 4 กันยายน 60 ซึ่งในกฎหมายฉบับเก่านั้น กำหนดให้อายัดเงินเดือนที่ไม่เกิน 10,000 บาทได้ อย่างไรก็ตามผลการดำเนินการจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ยังคงต้องติดตาม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 ผิวเต่งตึงด้วยกรดไฮยาลูโรนิก (ตอนที่ 2)

มาต่อกันกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งเป็นสารสำคัญสำหรับเซลล์ผิวหนัง ในการช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นทำให้ผิวไม่แห้งตึง โดยฉบับที่ผ่านมาเราได้พูดถึงกรดไฮยาลูโรนิกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกันไปแล้ว คราวนี้เราลองมาดูกรดไฮยาลูโรนิกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันบ้าง มารู้จักผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันสักนิดผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารเสริมมีความหมายเดียวกัน แต่จริงๆ แล้วอาหารทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยตรงที่ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ และไม่สามารถใช้รับประทานแทนอาหารหลักได้ โดยมีสารอาหารหรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ และอยู่ในรูปแบบเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลวหรือลักษณะอื่น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้บุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติรับประทาน ในขณะที่ “อาหารเสริม” จะหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากอาหารจริงๆ เช่น ฟักทองบด ที่เป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กเล็ก หรือ โจ๊กปั่น ที่เป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกินอาหาร ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำหรับใช้กินเป็นมื้อเสริมเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินบางชนิดที่จัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย โดยผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อเองได้ตามท้องตลาดทั่วไป อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ต้องมีการควบคุมคุณภาพและได้รับการรับรองจาก อย. ซึ่งผู้บริโภคควรตรวจสอบก่อนซื้อมารับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกแม้ปัจจุบันจะมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกจำนวนมาก ซึ่งผู้บริโภคหลายคนรับประทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว และเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถช่วยชะลอความเหี่ยวย่นได้จริง แต่เราไม่ควรลืมว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นอาหารประเภทหนึ่ง ซึ่งช่วยเสริมสารอาหารบางอย่างให้กับร่างกายตามที่กล่าวไว้ข้างต้น และไม่ควรถูกโฆษณาอวดอ้างในลักษณะสรรพคุณทางยาหรือเครื่องสำอาง เช่น เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย บำรุงหัวใจ ลดการดูดซึมไขมัน ทำให้ผิวขาวเปล่งปลั่ง กระชับรูขุมขนหรือลดรอยเหี่ยวย่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามเรามักพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายยี่ห้อตามท้องตลาด มักโฆษณาว่ามีฤทธิ์หรือให้สรรพคุณคล้ายกับยารักษาโรค จนทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดได้เราจึงควรสำรวจผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก่อนตัดสินใจซื้อด้วยวิธีการง่ายๆ อย่างการอ่านฉลาก ซึ่งหากพบว่ามีเลขสารบบอาหาร 13 หลักก็แสดงให้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นอาหารและไม่มีสรรพคุณทางยาใดๆ แต่หากพบว่ามีเลขทะเบียนยา เช่น Reg. No. …/.. ก็หมายถึงผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นยารักษาโรค ซึ่งเราสามารถคาดหวังสรรพคุณหรือการออกฤทธิ์ต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ บำบัด บรรเทา รักษาโรค หรือให้ออกฤทธิ์ในการเติมเต็มร่องลึกและทำให้ผิวหนังเต่งตึงขึ้น แต่ทั้งนี้ประสิทธิผลก็ขึ้นอยู่กับการดูดซึมของร่างกายแต่ละคนด้วยวิธีการง่ายๆ ในการตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนอกจากเราควรตรวจสอบเลขสารบบอาหาร 13 หลักแล้ว ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ฉลากของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายต่อผู้บริโภคต้องระบุ ดังนี้1. ชื่ออาหาร โดยมีคำว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” เป็นส่วนหนึ่งของชื่ออาหารหรือกำกับชื่ออาหาร 2. เลขสารบบอาหาร 3. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า (แล้วแต่กรณี) 4. ปริมาณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บรรจุ 5. ชื่อและปริมาณของส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และส่วนประกอบที่มีการกล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ ในฉลากของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6. ข้อความว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” (ถ้ามี) 7. ข้อความว่า “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์” (ถ้ามี) 8. ข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นสังเคราะห์” “แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” (ถ้ามี) 9. ข้อความชัดเจนว่า “การได้รับสารอาหารต่างๆ นั้น ควรได้จากการบริโภคอาหารหลักที่หลากชนิดครบทั้ง 5 หมู่ และเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ” 10. คำแนะนำในการใช้ 11. คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี) 12. วันเดือนและปีที่ผลิต/ หมดอายุการบริโภค ทั้งนี้การแสดงข้อความตามข้อ (12) ต้องมีข้อความที่ฉลากระบุตำแหน่งที่แสดงข้อความดังกล่าวด้วย 13. คำเตือนการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง การกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health claim) และคำเตือนการบริโภคอาหาร 14. ข้อมูลเฉพาะอื่นๆ ถ้าเข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้ หรือฉลากโภชนาการ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 แบ่งปันผ่านหนังสือเสียงกับ RFB

ฉบับนี้ขอต้อนรับปีจอด้วยการแนะนำแอปพลิเคชันที่สามารถทำให้ผู้ใช้ทำความดีช่วยเหลือสังคมและสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ได้ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งเป็นโครงการดีๆ ที่ช่วยแบ่งปันบทความและหนังสือต่างๆ ให้กับผู้พิการทางสายตา ผ่านหนังสือเสียงในแอปพลิเคชันนี้ได้เลยแอปพลิเคชันนี้มีชื่อว่า Read for the Blind เป็นแอปพลิเคชันที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้เข้ามาอ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตาโดยเฉพาะ พร้อมทั้งให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเข้ามาใช้แอปพลิเคชันนี้เพื่อฟังหนังสือหรือบทความที่น่าสนใจได้เช่นกันโดยในขณะนี้ภายในแอปพลิเคชันมีหนังสือที่มีผู้ใช้แอปพลิเคชันได้อ่านแล้วมากถึง 33,676 เล่ม โดยแบ่งหมวดหมู่ประเภทของหนังสือ 14 หมวดหมู่ ได้แก่ หมวดหมู่วรรณคดีวรรณกรรม หมวดหมู่ธุรกิจและการจัดการ หมวดหมู่หนังสือสำหรับเยาวชน หมวดหมู่การท่องเที่ยว หมวดหมู่คู่มือสิบต่างๆ หมวดหมู่เบ็ดเตล็ด หมวดหมู่ปรัชญาจิตวิทยา หมวดหมู่ศาสนาโหราศาสตร์ หมวดหมู่สังคมศาสตร์ หมวดหมู่ภาษาศาสตร์ หมวดหมู่วิทยาศาสตร์ หมวดหมู่วิทยาการและเทคโนโลยี หมวดหมู่ศิลปกรรมและการบันเทิง และหมวดหมู่ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เมื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชันแล้ว แอปพลิเคชันจะให้ผู้ใช้ลงชื่อการใช้งาน ซึ่งสามารถเลือกลงชื่อการใช้งานผ่านการเชื่อมต่อเฟซบุ๊คได้ จากนั้นผู้ใช้แอปพลิเคชันสามารถค้นหาและตรวจสอบชื่อหนังสือหรือชื่อผู้แต่ง เพื่อให้ทราบว่ามีหนังสือที่ต้องการจะบันทึกเสียงหรือไม่ และมีการบันทึกการอ่านหนังสือเล่มนั้นหมดเล่มแล้วหรือไม่ โดยสังเกตจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่อยู่บริเวณภาพหนังสือว่าครบร้อยเปอร์เซ็นต์หรือยังในกรณีที่ต้องการบันทึกหนังสือเล่มใหม่ให้กดตรงคำว่า “สร้างหนังสือเสียงเล่มใหม่” แอปพลิเคชันจะให้กรอก ISBN หรือสแกน ซึ่งเป็นหมายเลขประจำหนังสือนั้นๆ เมื่อกรอก ISBN หรือสแกนเรียบร้อยแล้ว แอปพลิเคชันจะขึ้นชื่อและรายละเอียดมาอัตโนมัติ แต่ถ้าไม่มีหมายเลขจะให้กรอกชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อสำนักพิมพ์ จำนวนบท จำนวนหน้า และเลือกหมวดหมู่ของหนังสือ หลังจากนั้นจะสามารถบันทึกเสียงได้คำแนะนำของทางแอปพลิเคชันสำหรับผู้เริ่มใช้นั้น อยากให้เริ่มการอ่านบทความก่อน โดยควรฝึกก่อนเริ่มบันทึกเสียงจริง โดยให้ทดลองอ่านก่อนหนึ่งรอบ ทำความเข้าใจกับเรื่องการอ่าน อ่านด้วยน้ำเสียงที่เข้าใจเรื่องที่อ่าน เว้นจังหวะการอ่านให้เหมาะสม อ่านทอดอารมณ์ และตั้งใจอ่านทั้งนี้การกดฟังเสียงของหนังสือหรือบทความต่างๆ จะมีไว้ให้เฉพาะผู้ที่ลงชื่อใช้งานที่เป็นผู้พิการทางสายตาเท่านั้น นอกจากแอปพลิเคชั่น Read for the Blind แล้ว ยังมีเฟซบุ๊ค readfortheblind ที่บอกเล่ากิจกรรมและข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการทางสายตาอีกด้วย  ลองมาเป็น “ผู้ให้” กันนะคะ และจะรู้ว่าความสุขทางใจดีอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 เคล็ดวิชาสู้พวกหลอกลวง

หลายครั้งที่คนทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ต้องปะทะกับผู้ขายสินค้าที่หลอกลวง และมักจะเกิดเรื่องเกิดราวหรือเพลี่ยงพล้ำ จนบางครั้งพาลจะหมดกำลังใจ  คอลัมน์นี้ขอให้กำลังใจนักคุ้มครองผู้บริโภคทุกคนครับ แต่อย่าลืมว่าการทำงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมันก็เหมือนการต่อสู้  มันต้องมีรูปมวยหรือวรยุทธ์ที่ดี ถึงจะได้เปรียบจนโค่นคู่ต่อสู้ลงได้ผมเคยไปฟังนักเคลื่อนไหวหลายคนที่ต้องทำงานเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้าม แต่ละท่านได้เล่าประสบการณ์ของท่าน ผมเห็นว่าน่าสนใจ เลยนำมาเล่าให้นักคุ้มครองผู้บริโภคทราบ เผื่อลองนำไปปรับใช้เป็นแนวทางของตนเอง1. ต้องลงไปสัมผัสกับข้อมูลจริงๆ : การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ การที่คนทำงานได้ลงไปในพื้นที่ ได้สอบถามข้อมูลจากผู้บริโภค จะทำให้เราได้รายละเอียด ตลอดจนพยานต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานได้มากขึ้น 2. พยายามหากลุ่มคนหรือภาคีเครือข่ายที่สนใจในปัญหาเดียวกันหรือคนที่ได้รับผลกระทบ : เพราะคนกลุ่มนี้จะมีหัวอกเดียวกัน และจะมีข้อมูลชัดเจน เพราะเคยใช้ผลิตภัณฑ์และได้รับอันตรายมาก่อน  นอกจากนี้การรวมกลุ่มกัน จะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับพวกเขาในการลุกขึ้นมาช่วยกันจัดการปัญหาต่างๆ3. ควรนำเสนอข้อมูลปัญหาในลักษณะการเปรียบเทียบ : การนำเสนอข้อมูลในลักษณะเปรียบเทียบ จะทำให้คนทั่วไปรับรู้ได้ง่ายว่า ขนาดปัญหามันใหญ่ หรือรุนแรงขนาดไหน เช่น อาจนำเสนอว่า เงินที่ผู้บริโภคถูกหลอกให้ซื้อผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้ง เท่ากับกี่เท่าของเงินเดือนที่เขาได้รับ หรือค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวหลังใช้ผลิตภัณฑ์เท่ากับกี่เท่าของราคาที่ซื้อมาใช้4. ใช้การสื่อสาร ที่สั้น กระชับ : ในแต่ละวันผู้บริโภคเองมีเรื่องต่างๆ ให้จำมากมาย  การให้ความรู้เพื่อเตือนภัยผู้บริโภค แม้เราจะหวังดี โดยพยายามยัดข้อมูลให้มากที่สุด บางทีมันอาจไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร เพราะผู้บริโภคแต่ละคนมีศักยภาพในการรับรู้ที่ต่างกัน เราควรเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยเน้นข้อความ ให้สั้นกระชับ เข้าใจง่าย และเมื่อเขาสนใจแล้ว เราค่อยเพิ่มรายละเอียดเนื้อหาให้มากขึ้น ตามที่เขาสนใจในลำดับต่อๆ ไป5. ไม่ต้องกังวลแต่ควรระวัง “ต้องพูดความจริง” : นักคุ้มครองผู้บริโภคหลายคนมักจะกังวลว่า หากเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์อันตรายไปแล้ว อาจถูกผู้จำหน่ายสินค้าฟ้องร้องได้  ในประเด็นนี้มีคำแนะนำว่า การพูดความจริงในที่นี้หมายถึงการนำเสนอข้อเท็จจริง เช่น แจ้งว่าผลิตภัณฑ์นี้  รุ่นที่ผลิตนี้  ตรวจพบสารอะไรบ้าง และสารชนิดนี้มีอันตรายอย่างไร สิ่งที่ต้องควรระวังคือคำพูดที่ไปแสดงความรู้สึก เพราะอาจไปเข้าข่ายหมิ่นประมาท เช่น ผลิตภัณฑ์นี้มีสารอันตรายผสม เลวมาก  ทั้งนี้หากไม่มั่นใจ อาจแจ้งให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้แจ้งข้อมูลก็ได้6. ลองใช้ยุทธศาสตร์เชิงบวกบ้าง : การใช้ยุทธศาสตร์เชิงบวก ไม่ได้หมายถึงการห้ามนำเสนอข้อมูลด้านลบ แต่หมายถึงการใช้ศักยภาพดึงพลังบวกในตัวของแต่ละคนออกมาเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา เช่น เราอาจใช้วิธีชักชวน หรือโน้มน้าว ให้เขาลุกขึ้นมาเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อันตรายในชุมชน โดยเน้นให้เขาเห็นว่าเมื่อเขาช่วยกันแล้ว จะเกิดสิ่งดีๆ อะไรขึ้นในชุมชน เช่น  พ่อแม่ ลูกหลานในชุมชนของเราเองจะได้ปลอดภัยลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ เชื่อว่าคราวนี้แหละ พลังนักคุ้มครองผู้บริโภคจะเข้มแข็งขึ้นทันตา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 พลังงานและน้ำตาลในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง

เชื่อว่าหลายคนนิยมรับประทานเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง ซึ่งมีหลากหลายประเภทให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นนมถั่วเหลือง โกโก้ ช็อกโกแล็ต ชานม หรือไมโล โอวันติน เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้มักมาในรูปแบบทรีอินวัน ทำให้มีรสชาติที่กลมกล่อม และเพียงแค่เราฉีกซองเติมน้ำร้อนก็สามารถรับประทานได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอีกด้วย อย่างไรก็ตามด้วยรสชาติที่อร่อย พร้อมขนาดซองที่ไม่ใหญ่มากนักของเครื่องดื่มประเภทนี้ อาจทำให้ผู้บริโภคหลายคนอร่อยเพลิน จนลืมตรวจสอบปริมาณพลังงานและน้ำตาลที่เราจะได้รับ ซึ่งแน่นอนว่าหากเราได้รับพลังงานและน้ำตาลสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน สามารถส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานจากการได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม/วัน หรือโรคหัวใจจากการได้รับไขมันไม่ดีสะสม รวมทั้งโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้นฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาตรวจสอบน้ำตาลและพลังงานในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง จาก 15 ยี่ห้อยอดนิยมจำนวน 22 ตัวอย่าง รวมทั้งทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ ซึ่งจะแสดงผลในเล่มถัดไป สรุปผลการสำรวจฉลากจากตัวอย่างเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผงที่นำมาทดสอบทั้งหมด 15 ยี่ห้อ จำนวน 22 ตัวอย่าง พบว่า 1. มี 1 ตัวอย่าง ไม่มีฉลากโภชนาการคือ มัช ชานมปรุงสำเร็จชนิดผง 2. ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุด คือ ซองเดอร์ เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปผสมงาดำ รสจืด มีปริมาณน้ำตาล 0 กรัม/หน่วยบริโภค ในขณะที่ยี่ห้อที่ให้ปริมาณน้ำตาลมากที่สุดคือ เอ็ก ซอง ชาปรุงสำเร็จ รสนม ชนิดซอง ปริมาณน้ำตาล 22 กรัม/หน่วยบริโภค3. ยี่ห้อที่ให้พลังงานน้อยที่สุดคือ ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่/หน่วยบริโภค ในขณะที่ยี่ห้อที่ให้พลังงานมากที่สุดคือ เอ็ก ซอง ชาปรุงสำเร็จ รสนม ชนิดซอง ให้พลังงาน 190 กิโลแคลอรี่/หน่วยบริโภค4. นอกจากนี้ยังพบว่ามี 1 ยี่ห้อที่ไม่มีเลขสารบบอาหารคือ Royal Myanmar Teamix ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ซื้อจากห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน (กูร์เมต์ มาร์เก็ต)ข้อสังเกต- การแสดงฉลากอาหารจากตัวอย่างที่นำมาทดสอบทั้งหมดพบว่า 1 ตัวอย่างที่ไม่มีเลขสารบบอาหาร อาจเข้าข่ายผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ที่กำหนดไว้ว่า การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือที่จำหน่าย ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย และอย่างน้อยจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (เว้นแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้องระบุข้อความหนึ่งข้อความใด) 1.ชื่ออาหาร 2.เลขสารบบอาหาร 3.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้แบ่งบรรจุหรือผู้นำเข้าหรือสำนักงานใหญ่ (แล้วแต่กรณี) 4.ปริมาณของอาหาร 5.ส่วนประกอบที่สำคัญ 6.คำเตือน/ ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร 7.ชื่อวัตถุเจือปนอาหาร (ถ้ามี) 8.ข้อความ “แต่งกลิ่นธรรมชาติ/ สังเคราะห์” (ถ้ามี) และ 9.แสดงวันเดือนปี ผลิต/หมดอายุนอกจากนี้ตัวอย่างที่ไม่มีฉลากโภชนาการหรือไม่ระบุฉลากโภชนาการภาษาไทย อาจสร้างความสับสนให้ผู้บริโภคบางส่วนได้ เนื่องจากฉลากโภชนาการมีความสำคัญในแง่ของของการให้ข้อมูลและความรู้ ด้านคุณค่าทางโภชนาการอาหารกับผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อเป็นทางเลือกในการบริโภคอาหารในแต่ละวันให้เหมาะสมกับที่ร่างกายต้องการตารางแสดงผลการสำรวจฉลากภาษีน้ำตาล ปัจจุบันตลาดเครื่องดื่มในไทยมีมูลค่าปีละไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งปัจจัยหลักของการเติบโตนี้มาจากการขายเครื่องดื่มที่มีรสหวาน แม้ว่าภาครัฐจะมีการเพิ่มอัตราภาษีน้ำตาลจากร้อยละ 6.9 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 8.9 ในปี 2557 แต่ก็ยังสวนทางกับจำนวนคนเป็นโรคอ้วนที่มีมากขึ้นจากร้อยละ 34.7 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 37.5 ในปี 2557 ดังนั้นรัฐจึงได้มีการเพิ่มภาษีน้ำตาลในอาหารชนิดต่างๆ ในปี 2560 ที่ผ่านมา โดยหวังให้เป็นมาตรการหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของผู้บริโภคให้หันมาลดการทานหวาน มัน เค็ม  โครงสร้างการจัดเก็บค่าความหวานนั้น จะแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ค่าความหวาน 0-6 กรัมต่อ 100 มล. ไม่ต้องเสียภาษี ค่าความหวาน 6-8 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 10 สตางค์ต่อลิตร ค่าความหวาน  8-10 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 30 สตางค์ต่อลิตร ค่าความหวาน 10-14  กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 50 สตางค์ต่อลิตร ค่าความหวาน 14-18 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร และค่าความหวาน 18 กรัมต่อ 100 มล.ขึ้นไป เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร โดยให้เวลาภาคเอกชนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มปรับตัวเป็นระยะเวลา 2 ปี ก่อนจะเริ่มเก็บจริงในวันที่ 1 ต.ค. 2562

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 203 สารกันบูด เรื่องจริงบางอย่างที่คุณอาจยังไม่รู้

สารกันบูดคืออะไรสารกันบูดเป็นสารเคมีที่สามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีหน้าที่หลักในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ในอาหาร  เพราะการขยายตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นดังกล่าวอาจก่อให้เกิดพิษภัยในอาหารหรือทำให้อาหารเน่าเสียได้ จึงเป็นสารที่มีประโยชน์โดยตรงในการยืดอายุการเก็บรักษาของอาหารนั้น บางครั้งสารกันบูดชนิดเดียวกันอาจมีคุณสมบัติในการปรับคุณภาพด้านประสาทสัมผัสให้ดีขึ้นด้วย เช่น สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (สารฟอกขาว) ไม่เพียงช่วยป้องกันจุลินทรีย์หลายชนิดไม่ให้เจริญแล้ว ยังช่วยป้องกันให้อาหารไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำได้  หรือสารไนไตรท ที่หยุดยั้งการเจริญของสปอร์แบคทีเรียคลอสทริเดียม โบทูลินั่มในไส้กรอก ยังช่วยให้ไส้กรอกมีสีชมพูสวยงามด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อจะใช้สารกันบูดก็ควรเน้นในปริมาณที่หยุดยั้งการเจริญของจุลินทรีย์เป็นสำคัญ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคเป็นหลักอันตรายจากสารกันบูดไม่ค่อยมีโอกาสที่จะเป็นแบบเฉียบพลัน  แต่มักเป็นแบบเรื้อรังที่สะสมเป็นเวลานานและมักจบที่โรคมะเร็งตามอวัยวะต่างๆ ยกเว้น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีผลเฉียบพลันที่ทำให้เกิดการหอบหืดจนอาจเสียชีวิตได้ ในผู้บริโภคที่มีอาการแพ้ประเภทของสารกันบูดสารกันบูดมีหลากหลายชนิด ทั้งที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์  ซึ่งสารกันบูดที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์ ได้แก่ กรดอินทรีย์ ชนิดต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดโพรพิโอนิก สารกันบูดที่เป็นกรดอินทรีย์ยังพบในพืชหลายชนิดตามธรรมชาติและยังสามารถสร้างได้โดยจุลินทรีย์บางชนิด เช่น กรดเบนโซอิกมีพบในผลไม้พวกเบอรี่หลายชนิด เครื่องเทศจำพวกอบเชย และนมเปรี้ยว ผลแครนเบอรี่เป็นตัวอย่างของผลไม้ที่มีกรดเบนโซอิกในปริมาณที่สูงมาก กรดซอร์บิกก็มีพบในผลไม้หลายชนิดเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีกรดโพรพิโอนิกที่ใช้เติมเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เบเกอรี ก็สร้างได้โดยแบคทีเรียที่ใช้ในกระบวนหมักเนยแข็งบางประเภท   ในอุตสาหกรรมอาหารยังมีสารเคมีบางชนิดที่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสารกันบูดแต่มีโครงสร้างคล้ายสารกันบูด เช่น สารเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ ที่ใช้ฟอกแป้งให้ขาว มีโครงสร้างเหมือนกรดเบนโซอิก ซึ่งอาจทำให้ถูกวิเคราะห์เป็นสารกันบูดชนิดดังกล่าวได้ จุดนี้จึงอาจเป็นข้อเตือนใจในการวิเคราะห์ผลส่วนสารกันบูดที่อยู่ในรูปสารอนินทรีย์ เช่น สารไนเตรท สารไนไตรท สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์  สารอนินทรีย์เหล่านี้มีสมบัติที่ควรทราบไว้ด้วย เช่น สารไนเตรทและสารไนไตรทสามารถเปลี่ยนกลับไปมาได้ตามปฏิกริยาเคมีที่เกิดจากจุลินทรีย์ในเนื้อสัตว์  สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์สามารถสลายตัวได้ในระหว่างกระบวนการผลิตที่มีการให้ความร้อนและระหว่างการเก็บรักษา  ดังนั้นในการอนุญาตให้ใช้สารกันบูด จึงได้มีการศึกษาถึงปริมาณที่ต่ำสุดที่สามารถก่อให้เกิดผลในการยืดอายุการเก็บรักษาอาหารและปริมาณสูงสุดที่มีโอกาสก่ออันตรายกับสุขภาพ พร้อมกำหนดเป็นเกณฑ์ที่อนุญาตให้เหลืออยู่ในอาหาร เพื่อให้สารเหล่านั้นได้ทำหน้าที่ในการยืดอายุการเก็บรักษาโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผู้ประกอบการหากจะใช้สารกันบูดในผลิตภัณฑ์ของตน ต้องเข้าใจข้อความในกฎหมายอย่างถ่องแท้เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ปริมาณของสารกันบูดที่กำหนดไว้ในกฏหมายมักระบุปริมาณสารกันบูดให้มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมในอาหารที่มีหน่วยเป็นลิตรหรือกิโลกรัม  ซึ่งหน่วยมิลลิกรัมต่อกิโลกรัมหรือลิตร บางครั้งเรียกว่า พีพีเอ็ม (ppm) ซึ่งก็สามารถคิดกลับมาเป็นค่าเปอร์เซนต์ที่คุ้นเคยกันได้ โดยใช้บัญญัติไตรยางค์ธรรมดา เช่น กฎหมายอนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิก 1000 มิลลิกรัมในเครื่องดื่ม 1 ลิตร หมายถึง 0.1%  ทั้งนี้ จะเห็นว่ากรดเบนโซอิก 1000 มิลลิกรัม คือ 1 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมากและไม่สามารถชั่งด้วยตาชั่งตามบ้านได้  ผู้ประกอบการจึงมีทางเลือกเพียง 2 วิธี คือ (1) เตรียมเครื่องดื่มครั้งละอย่างน้อย 25 ลิตร เพื่อให้สามารถใช้ตาชั่งพลาสติกที่ใช้ในร้านเบเกอรีที่มีขีดตัวเลขที่อ่านเห็นเป็น 25 กรัม ตัวละประมาณ 800 บาท หรือ (2) ซื้อตาชั่งไฟฟ้าที่มีความละเอียดเพียงพอให้สามารถใช้ชั่งที่น้ำหนักต่ำขนาด 1 กรัม  ซึ่งมีราคาประมาณ 3,000-5,000 บาท  ทั้งนี้ ห้ามใช้วิธีตวงสารกันบูด(กะเอา) ต้องชั่งเท่านั้น ส่วนอาหารที่เป็นของเหลว อนุโลมให้ตวงได้ แต่อุปกรณ์ที่ใช้ตวงต้องมีความละเอียดเพียงพอ หากอาหารเป็นของแข็งต้องใช้การชั่งเท่านั้น ห้ามตวงเด็ดขาดหลังจากเข้าใจข้อความในกฎหมายที่นำไปสู่การปฏิบัติในการชั่งตวง ซึ่งเป็นการควบคุมให้ปริมาณสารกันบูดที่ใช้ไม่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอีกประการหนึ่ง ซึ่งสำคัญมาก คือ ความทั่วถึงของสารกันบูดที่เติมลงในอาหาร หากเติมลงในอาหารเหลว ต้องมั่นใจว่ามีการคนจนละลายหมด ไม่ตกตะกอนและกระจายตัวจนทั่ว ซึ่งสามารถทำและสังเกตเห็นไม่ยากในกรณีที่อาหารมีลักษณะใสและไม่ข้น  แต่หากอาหารมีลักษณะขุ่นข้นหรือเป็นของแข็งที่อาจเป็นผงหรือกึ่งแข็งกึ่งเหลว ต้องมีวิธีการปฏิบัติที่ช่วยให้มั่นใจว่ามีการกระจายตัวของสารกันบูดอย่างทั่วถึง ได้แก่ การผสมสารกันบูดกับส่วนผสมที่เป็นผงซึ่งใช้ในปริมาณมากให้ทั่วถึงก่อน แล้วจึงนำผงที่ผสมกันแล้วเติมลงในอาหาร  เช่น ในสูตรอาจใช้สารกันบูด 10 กรัมและน้ำตาล 500 กรัม ก็นำสารกันบูดทั้งหมดผสมกับน้ำตาล 100 กรัมให้ทั่วถึงก่อน แล้วนำน้ำตาลที่ผสมกับสารกันบูดแล้วดังกล่าว ไปผสมกับน้ำตาลส่วนที่เหลือ 400 กรัม ให้ทั่วถึง  แล้วจึงนำน้ำตาลทั้งหมดที่มีสารกันบูดผสมอยู่ลงไปคลุกเคล้าในอาหารให้ทั่วถึง ตามวิธีการปกติสรุปแล้วการเติมสารกันบูดลงในอาหารต้องมีข้อควรปฏิบัติ 3 ประการ คือ (1) รู้ปริมาณที่เติมได้ตามกฏหมาย (2) ชั่งสารกันบูดและอาหารให้ถูกต้อง และ (3) ผสมให้ทั่วถึงคำถามที่พบได้บ่อยจากคนใช้สารกันบูดQ1. ทำไมใช้สารกันบูดแล้ว บางทีก็บูด ยกชุด  บางทีก็ไม่บูด ยกชุดชั่งน้ำหนักสารกันบูดถูกต้องไหม? ชั่งน้ำหนักอาหารถูกต้องไหม?2. ทำไมใช้สารกันบูดแล้วบางห่อก็บูด  บางห่อก็ไม่บูด ผสมทั่วถึงหรือเปล่านะ3. เราไม่ใช่คนใช้สารกันบูดสักหน่อย แต่มาหาว่าเราใช้ ได้อย่างไรA- ขอรายละเอียดสินค้าจากคนส่งวัตถุดิบหรือส่วนประกอบทุกตัวว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะอาจมีการใช้ในส่วนประกอบเหล่านั้น ซึ่งภาษาวิชาการ เรียกว่า carry over  ที่หมายความว่าตกค้างมาถึงของเรา- อาจใช้วัตถุดิบจากพืช หรือจากการหมักที่โดยธรรมชาติมีสารกันบูดชนิดนั้นปะปนอยู่- อาจใช้วัตถุดิบที่มีการเติมวัตถุเจือปนอาหารบางชนิด ที่มีโครงสร้างคล้ายสารกันบูดบางชนิด หรือมีการผสมสารกันบูดบางชนิดในวัตถุดิบQเราไม่อยากใช้สารกันบูดแต่อยากให้เก็บรักษาได้นานขึ้น ควรทำอย่างไรA ต้องสังเกตว่าอาหารเน่าเสียจากสาเหตุอะไรแล้วป้องกันตามเหตุนั้น เช่น อาหารกึ่งแห้งพวกขนมเปี๊ยะมักเสียจากเชื้อรา ซึ่งตามธรรมชาติต้องใช้อากาศเพื่อการเจริญ เราก็ใส่ซองสารดูดออกซิเจนลงในถุงที่จำหน่าย ทำให้ในถุงไม่มีออกซิเจนเพียงพอ เชื้อราก็ไม่เจริญ เป็นต้นคำถามจากคนตรวจสารกันบูดQ1. ทำไมสุ่มอาหารชุดเดียวกัน เราตรวจเจอสารกันบูดเกินที่กำหนด  คนขายส่งตรวจเจอต่ำกว่าถามคนขายว่าผสมอย่างไร ทั่วถึงไหม2. ทำไมสุ่มอาหารชุดเดียวกัน คนขายบอกไม่ได้เติมสารกันบูด เราตรวจเจอสารกันบูด  คนขายส่งตรวจไม่เจอ- อาจใช้วัตถุดิบที่มีปนเปื้อนตามธรรมชาติไหม หรือมีการเติมสารกันบูดหรือสารที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายสารกันบูด3. ถ้าพบสารกันบูดปริมาณนิดเดียว ไม่เกินมาตรฐาน แต่ไม่ยอมแจ้งบนฉลาก จะจัดเข้าข่ายฉลากปลอมไหมA- ปริมาณสารกันบูดที่มีผลในการยืดอายุการเก็บรักษา ได้แก่ 500-2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถ้าพบว่าต่ำกว่า น่าจะไม่จงใจ ซึ่งอาจเกิดจากการปนเปื้อนจากวัตถุดิบหรือการปนเปื้อนข้ามจากอาหารสูตรอื่นที่มีการเติมสารกันบูด จึงต้องมีการสอบสวนเหตุ ซึ่งหากมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ ไม่น่าจะเข้าข่าย แต่หากเป็นการ carry over จากวัตถุดิบหรือปนเปื้อนข้ามน่าจะเข้าข่าย อย่างไรก็ตาม ต้องระวังผลวิเคราะห์ที่อาจผิดพลาดจากวัตถุเจือปนอาหารชนิดอื่นที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกันด้วยข้อเตือนใจงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นงานที่สำคัญ ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตอาหารและผู้บริโภคเอง ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความไว้วางใจและปรารถนาดีต่อกัน ทั้งนี้  เรื่องสารกันบูดที่เล่าสู่กันฟังเป็นตัวอย่างของความร่วมมือของหน่วยงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่ทำหน้าที่ของตนในแนวทางที่ควรจะเป็น แต่ก็รับฟังผู้ผลิตอาหารที่ก็มีเจตนาดีเช่นกัน เมื่อพบปัญหาแล้วจึงพูดคุยกัน แสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาคำตอบและทางออกร่วมกัน   ความจริงใจเหล่านี้ในที่สุดจะยังประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริโภค ซึ่งก็คือพวกเราทุกคนนั่นเอง********สรุปการประชุมสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร กรณีวัตถุกันเสีย28 พฤศจิกายน 2560  โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค   นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งสนับสนุนงบประมาณโดย สสส. ผลการประชุมพบว่า ผู้ประกอบการมีความตั้งใจจริงในการที่จะปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยการขอให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบทำใบรับรองสินค้าของตนเอง(Certificate of analysis) ว่าปราศจากสารกันบูด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐาน การประชุมนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกันระหว่างองค์กรผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และห้างค้าปลีก ซึ่งต่างเป็นผู้เล่นที่สำคัญในการผลิตและจำหน่ายสินค้าด้านอาหาร โดยนิตยสารฉลาดซื้อส่งหนังสือเชิญประชุมถึงผู้ประกอบการทุกราย ที่ทางนิตยสารได้เคยสุ่มสำรวจและทดสอบผลิตภัณฑ์ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้สารกันบูด ในช่วงปี 2559-2560 ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมีผู้ประกอบการเข้าร่วมงานอย่างคึกคัก มีการบรรยายด้านวิชาการจาก ศ.วิสิฐ จะวะสิต นักโภชนาการ จากสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล เรื่อง ความสำคัญและการใช้สารกันบูดอย่างเหมาะสม ในหัวข้อใหญ่ๆ ดังนี้  1.สารกันบูดมีความสำคัญเพราะช่วยยืดอายุอาหาร สามารถใช้ได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกต้อง คือ ปริมาณถูกต้องตามกฎหมายกำหนด ต้องใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม และผสมให้ถูกวิธี  2.ความสำคัญของการระบุข้อความบนฉลาก เพื่อแจ้งเป็นข้อมูลแก่ผู้บริโภค  3.เรื่องที่ต้องเข้าใจ บางครั้งเมื่อตรวจพบการปนเปื้อนของสารกันบูด ในปริมาณไม่มากทั้งๆ ที่ผู้ประกอบการไม่ได้ใส่ลงไปในกระบวนการผลิต อาจเป็นได้จากตัววัตถุดิบที่นำมาประกอบเป็นอาหาร ซึ่งมีทั้งที่เป็นการตั้งใจใส่ลงไปในวัตถุดิบก่อนถึงมือผู้ประกอบการ หรือเป็นสารกันบูดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่เองในตัววัตถุดิบ  หรือมีสารบางตัวที่อาจมีคุณสมบัติคล้ายกับตัวสารกันบูดทำให้ผลการวิเคราะห์ได้ค่าที่แสดงว่าตรวจพบ(ในปริมาณน้อย)  4.การเก็บรักษาที่ถูกวิธีช่วยยืดอายุสินค้าได้ ด้วยการทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการบูดเสียและแก้ให้ถูกจุด 5.อาหารหลายชนิดจำเป็นจริงๆ ต้องใช้สารกันบูด มิฉะนั้นจะก่อผลเสียในการบริโภคมากกว่าไม่ใส่เช่น การใช้ไนเตรทในไส้กรอก เป็นต้น แต่ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหลังการบรรยายมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมในบรรยากาศที่ดี ผู้ประกอบการได้นำเสนอให้องค์กรหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสร้างความเข้าใจให้กับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในขั้นตอนในทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติที่ง่าย เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งทางองค์กรผู้บริโภคยินดีนำข้อเสนอดังกล่าวไปจัดประชุมและเสนอเป็นความเห็นกับทางหน่วยงานต่อไป โดยบทสรุปในครั้งนี้คือ  ผู้ประกอบการได้แสดงเจตนารมณ์ว่าตนเองนั้นมีความตั้งใจจริงในการที่จะปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยจะมีการขอให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบทำใบรับรองสินค้าของตนเอง(Certificate of analysis) ว่าปราศจากสารกันบูด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐานต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 รู้เท่าทันกบฏผีบุญทางการแพทย์ (ตอนที่ 1)

ปรากฏการณ์หนึ่งทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ คือ การมีหมอเทวดาปรากฏตัวขึ้นเพื่อรักษาโรคที่การแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีผู้คนแห่ไปรับการรักษาอย่างเนืองแน่น จนทางการต้องเข้ามาควบคุมและห้ามปราม  ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้  เราควรมีท่าทีหรือมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร  เรามารู้เท่าทันกันเถอะมีหมอเทวดาเกิดขึ้นเสมอ ไม่ห่างหาย เมื่อเร็วๆ นี้ คงได้ยินข่าวมีบุคคลท่านหนึ่งแจกยารักษามะเร็ง มีผู้ป่วยมารับยาครั้งละเป็นหมื่นคน พระที่บอกว่า นั่งทางในและค้นพบวิธีการรักษาด้วยการตอกเส้น  รวมทั้งก่อนหน้านี้ ที่มีหมอเทวดาเกิดขึ้นในที่ต่างๆ ทำไมหมอเทวดาเหล่านี้ทำไมจึงเกิดขึ้นและได้รับความนิยม ทั้งๆ ที่การแพทย์แผนปัจจุบันของไทยมีความก้าวหน้ามาก และมีระบบประกันสุขภาพต่างๆ ที่รักษาโดยไม่ต้องเสียเงิน การเกิดปรากฎการณ์ที่ชาวบ้านธรรมดาๆ ลุกขึ้นมารักษาโรคให้กับประชาชน(ทั้งโดยเจตนาบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์) ซึ่งมีกฎหมายวิชาชีพทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และวิชาชีพต่างๆ ดูแลอยู่นั้น นับเป็นการสั่นคลอนความเชื่อมั่น และความไว้วางใจต่อวิชาชีพต่างๆ ที่มีอยู่ ความเชื่อและวัฒนธรรมชุมชนต่อเรื่องการแพทย์ ดั้งเดิมของสังคมไทย ชุมชนจะดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อเจ็บป่วยมากก็จะไปหาหมอพื้นบ้านและหมอแผนไทยเพื่อรับการรักษา หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่ผ่านการบวชเรียน เมื่อมีความรู้ก็ช่วยเยียวยาชาวบ้านโดยไม่ผลตอบแทนเป็นเงินทอง   ต่อมาพ.ศ. 2466 มี พระราชบัญญัติการแพทย์ ทำให้การรักษาพยาบาลประชาชนต้องกระทำโดยผู้ประกอบโรคศิลปะเท่านั้น  ทำให้หมอพื้นบ้านและหมอแผนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะยกเลิกการรักษาผู้ป่วยเนื่องจากเกรงกลัวผิดกฎหมายหมอเทวดานั้นผูกพันกับความเชื่อ และวัฒนธรรมท้องถิ่น  หมอเทวดานั้นจะผูกพันและมีฐานความเชื่อของวัฒนธรรมท้องถิ่นและชุมชน โดยเฉพาะ ยาสมุนไพร วิธีการรักษาพื้นบ้าน ที่มาของภูมิปัญญาจากการนั่งทางใน หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และส่วนใหญ่เป็นการรักษาที่ไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินทอง  ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของหมอเทวดาเหล่านี้ สอดคล้องกับความเชื่อของสังคมไทยที่มองการเยียวยานั้นเป็นการเยียวยาแบบเอื้ออาทร และหมอเป็นผู้มีเมตตากรุณาต่อผู้ป่วย  แน่นอนที่ว่า มีมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นหมอเทวดา เพื่อหวังหลอกลวงและค่าตอบแทนจากผู้หลงเชื่อหมอเทวดาเปรียบเสมือนกบฏผีบุญทางการแพทย์หรือไม่เรื่องของกบฏผีบุญ หรือกบฏผู้มีบุญ เกิดขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2249 เป็นกบฏผีบุญลาวบุญกว้าง เข้ายึดเมืองโคราช  หลังกบฏลาวบุญกว้าง ยังมีกบฏผีบุญ 8 ครั้ง กบฏเชียงแก้ว พ.ศ. 2334 กบฏสาเกียดโง้ง กบฏสามโบก กบฏผู้มีบุญอีสาน กบฏหนองหมากแก้ว กบฏหมอลำน้อยชาดา กบฏหมอลำโสภาและกบฏศิลา วงศ์สิน พ.ศ. 2502   การเกิดกบฏผีบุญอีสาน พ.ศ. 2444-2445 เป็นเพราะ ราษฎรไม่พอใจการเก็บภาษีส่วยจากชายฉกรรจ์ มิหนำซ้ำมาเกิดภัยแล้งติดต่อกันสองสามปี ส่วนขุนนางท้องถิ่นไม่พอใจการปฏิรูปการปกครองที่เอาอำนาจไปจากพวกเขาแล้วยังเอาผลประโยชน์ ประกอบกับการคุกคามจากฝรั่งเศส ทำให้กบฏขยายตัวอย่างกว้างขวางถึง 13 จังหวัด แต่ถูกปราบโดยรัฐบาลการเกิดหมอเทวดาจากผู้ที่ไม่ได้เป็นหมอวิชาชีพ อาจเป็นเสมือนการทวงคืนพื้นที่และสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนในการเลือกที่จะรับการเยียวยาจากหมอชาวบ้าน บนฐานการพึ่งตนเองของชุมชน ก็เป็นได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 รักกันพัลวัน : เพราะ 1+1 ก็อาจไม่เท่ากับ 2 เสมอไป

สังคมมนุษย์ถูกครอบงำด้วยวิธีคิดแบบแบ่งขั้วหรือแบ่งความสัมพันธ์ที่ตรงข้ามกันอย่างชัดเจนมานานแล้ว ถ้าไม่ขาวก็ต้องเชื่อว่าดำ ถ้าไม่ดีก็ต้องแปลว่าเลว หรือถ้าพูดว่า “ใช่” แล้ว ก็จะบอกว่า “ไม่ใช่” ไม่ได้ อันมีนัยว่า สรรพสิ่งล้วนแต่มีอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงด้านเดียว ทั้งนี้ แม้แต่ในระบบคิดของคณิตศาสตร์หรือสถิติศาสตร์ ก็ยังกล่าวกันว่า O ไม่ใช่ 1 หรือ A ย่อมไม่ใช่ non-A และหากเรานำ 1 มาบวกกับ 1 ต้องได้คำตอบเท่ากับ 2 เสมอ จะผิดเพี้ยนเบี่ยงเบนไปจากกฎเกณฑ์คำตอบนี้ไปไม่ได้เลยวิธีคิดแบบแบ่งขั้วของสังคมเฉกเช่นนี้ ปรากฏให้เห็นอยู่แม้แต่ในระบบการควบคุมเรื่องรักๆ ใคร่ๆ หรือเพศและเพศวิถีของมนุษย์เราแม้เรื่องเพศวิถีจะดูผิวเผินเหมือนกับเป็นเรื่องส่วนบุคคล หรือเป็นรสนิยมและความรื่นรมย์เฉพาะตน แต่กับในระบบคิดของสังคมแล้ว ต่อให้เป็นเรื่องเพศที่ “ส่วนตั๊วส่วนตัว” นั้น สังคมก็ยังเข้าไปกำกับควบคุมความหมายให้เราคิดได้แค่เป็นสองแพร่งสองทางเช่นกันตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นเพศชาย ก็ต้องแสดงลักษณะแบบชายที่แข็งแรง เป็นเพศแห่งการพิทักษ์ปกป้อง แต่หากเป็นเพศหญิง ก็ต้องอ่อนโยนและรอคอยการปกป้องจากบุรุษเพศ หรือหากเป็นรสนิยมรักต่างเพศแบบชายหญิง ก็จะมีลักษณะตรงข้ามอย่างชัดเจนจากกลุ่มรักเพศเดียวกันแบบชายรักชาย หญิงรักหญิง หรือบรรดา LGBT ทั้งหลายแต่อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ระบบคิดแบบแบ่งขั้วตรงข้ามกันดังกล่าวได้ถูกท้าทาย และตั้งคำถามเสียใหม่ว่า แน่ใจแล้วหรือที่เส้นกั้นแบ่งขั้วต่างๆ จะไม่มีการข้ามเส้น หรือแม้แต่สลายเส้นแบ่งนั้นๆ ให้พร่าเลือนลงไปก็ได้ เหมือนกับที่ 1 บวก 1 ก็อาจเป็น 1 (แบบที่เราเอาทรายกองหนึ่งมารวมกับอีกกองหนึ่ง ก็ได้เป็นทรายกองเดียวกัน) โดยไม่จำเป็นต้องได้คำตอบเป็น 2 เสมอไปวิธีคิดเรื่องเส้นแบ่งที่ลางเลือนลงเช่นนี้ มีให้เห็นแม้แต่ในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องเพศวิถีและรักๆ ใคร่ๆ แบบที่ปุถุชนคนธรรมดาก็สามารถก่อกลายเป็นความ “รักกัน” ที่ “พัลวัน” อยู่ในละครโทรทัศน์ จนยุ่งเหยิงแทบแยกไม่ออกว่าจะแบ่งขั้วแบ่งวิธีคิดกันต่อไปได้เยี่ยงไรเริ่มต้นเมื่อสาวหล่ออย่าง “ตุลญาณา” พนักงานดูแลสวนสัตว์ Blue Planet เกิดอาการอกหักรักคุดจากสาวๆ มาครั้งแล้วครั้งเล่า หญิงห้าวอย่างตุลญาณาที่ไม่อาจแบกรับความเจ็บปวดจากผู้หญิงด้วยกันได้ จึงตั้งปณิธานกับตนเองว่า นับจากนี้จะกลับมามองหาผู้ชายดีๆ สักคนเพื่อคบเป็นแฟนหนุ่มให้ได้อย่างไรก็ตาม แม้จะ “คิดใหม่ทำใหม่” กับการคบหามนุษย์เพศชาย แต่ความคิดของตุลญาณาก็ช่างย้อนแย้งเป็นอย่างยิ่ง เมื่อลึกๆ เธอเองก็ต่อต้านบุรุษเพศ เพราะตั้งแต่เด็กก็เกลียดพ่อที่ขี้เมาไม่เป็นโล้เป็นพาย กอปรกับการก่อตัวของบุคลิกภาพที่ห้าวและแกร่งเกินหญิงทั่วไป ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง เธอก็อยากลบภาพสาวหล่อ โดยเลือกเดินเกมรุกจีบหนุ่มอย่างเต็มตัวผู้ชายคนแรกที่ก้าวเข้ามาในชีวิตได้แก่ หนุ่มรุ่นพี่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยอย่าง “ฐานัท” ที่ตุลญาณาหวังว่า เขาจะช่วยปลุกเร้าสัญชาตญาณความเป็นหญิงที่อยู่หลืบลึกในตัวเธอให้ปรากฏออกมา แต่ปัญหาก็คือ ฐานัทเองกลับจัดวางนางเอกของเราไว้เพียงสถานะเป็นแค่น้องสาวหญิงห้าวผู้แสนดีเท่านั้น ส่วนชายหนุ่มคนที่สองก็คือ “โตมร” เพื่อนร่วมงานผู้ดูแลสิงสาราสัตว์ใน Blue Planet ด้วยกัน แม้จะเป็นคนที่ขยันขันแข็งและแอบรักตุลญาณามานานแสนนาน โดยไม่สนใจว่าเพศสภาพหรือเพศวิถีของเธอจะเป็นเช่นไร แต่ในทางกลับกัน ตุลญาณาก็เห็นว่าโตมรเป็นได้แค่เพื่อนที่แสนดีคนหนึ่งเท่านั้นและแน่นอน ชายหนุ่มคนสุดท้ายที่เข้ามาเป็นตัวเลือกของตุลญาณาก็คือ “เมธากวิน” พระเอกหนุ่มของเรื่อง นอกจากเขาจะเป็นซีอีโอคนใหม่ของ Blue Planet แล้ว เจ้านายหนุ่มยังเป็นอดีต “ศัตรูหัวใจ” ที่เธอเคยมีคดีแย่งแฟนเก่ากับเขามาก่อน อันนำไปสู่สูตรพ่อแม่แม่งอนที่เขม่นกันตลอดแทบจะทั้งเรื่องยิ่งเมื่อเมธากวินเข้าใจผิดอยู่ตลอดเวลาว่า ตุลญาณาแอบมีจิตปฏิพัทธ์ต่อทั้ง “สโรชินี” แฟนสาวคนล่าสุดของเขา และ “พนิตพิชา” ลูกพี่ลูกน้องของตน ตุลญาณาจึงต้องเข้าไปอยู่ในวังวนรักๆ ใคร่ๆ ของชายสามหญิงสองที่อลวน “พัลวัน” กันยิ่งกว่า “ลิงพันแห” เสียอีกยิ่งเมื่อผนวกกับตัวแปรเรื่องเพศวิถีของตุลญาณาที่ดูคลุมเครือยิ่งนักว่า นางเอกสาวหล่อจะเป็น “ทอม” หรือจะเป็น “เธอ” พร้อมกับคำทำนายของหมอดูที่บอกว่าคู่แท้ของเธอจะต้องเป็นคนที่มอบจุมพิตแรก มอบลมหายใจ และมอบชีวิตใหม่ให้กับตุลญาณา “รักกันที่พัลวัน” ก็ยิ่ง “พัลวันแสนพัลวัน” กันหนักเข้าไปอีกหากดูผิวเผินแล้ว โครงเรื่องของละครก็เหมือนจะสร้างขึ้นบนสูตรของการ “เปลี่ยนทอมให้เธอ” แต่เพราะเหตุที่ว่า 0 ไม่จำเป็นต้องเท่ากับ 1 หรือ A ก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากับ non-A ดังนั้น ความซับซ้อนที่ “พัลวัน” ยวดยิ่งจึงมิใช่แค่การแบ่งขั้วกันระหว่าง “ทอม” กับ “เธอ” หรือมิใช่การแบ่งความคิดตรงข้ามกันเป็นแบบ “รักต่างเพศ” หรือเป็นแบบ “รักเพศเดียวกัน” เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เฉกเช่นเดียวกับที่ 1 บวก 1 ก็สามารถออกมาเป็นคำตอบตัวเลขใดๆ ที่อาจไม่ใช่ 2 เสมอไป เรื่องของเพศวิถีจึงขึ้นอยู่กับสองมือมนุษย์ที่จะเสกสรรปั้นแต่งให้เป็นได้ในทุกๆ ทาง เหมือนกับที่ “หญิงรักหญิง” อย่างตุลญาณาก็อาจพึงใจที่คบหากับหญิงหรือชาย และผู้ชายอย่างเมธากวินเองก็อาจจะเลือกคบหากับหญิงที่ออกแบบเพศวิถีมาแบบใดก็เป็นได้ เพราะทั้งคู่เชื่อในตอนจบของเรื่องว่า “เคมีที่เข้ากันของคนสองคน” ต่างหากที่สำคัญยิ่งกว่าเพศวิถีซึ่งถูกจัดกรอบไว้แล้วด้วยกฎกติกาของสังคมบทเรียนที่ทั้งตุลญาณาและเมธากวินเคยเผชิญเมื่อครั้งที่หมีควายหลุดออกไปจากกรงขัง และวิ่งไล่ล่าโตมรและใครต่อใครในสวนสัตว์ ก็ชี้ให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า สัญชาตญาณ (อันรวมถึงเรื่องเพศวิถีแห่งปุถุชน) นั้น ต่อให้จับขังกรงเพื่อกำกับวินัยควบคุมเอาไว้ แต่มันก็ไม่ต่างจากหมีควายที่ยากจะทำให้เชื่องหรือให้สั่งซ้ายหันขวาหันไปได้ด้วยธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมจริงๆ หรอกไม่ว่าจะเรื่อง “รัก” หรือเรื่อง “ใคร่” คำตอบของมนุษย์เราทุกวันนี้ดูแสนจะ “พัลวัน” เสียยิ่งกว่าที่ 1+1 จักต้องได้ 2 เป็นคำตอบสุดท้ายเช่นนี้แล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 มีปัญหา ค่าเน็ต ค่าโทร อย่าลืมให้บริษัท โชว์หลักฐาน พิสูจน์ความจริง

ในโลกยุค 4.0 อย่างทุกวันนี้ บริการโทรคมนาคม ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน บางคนตื่นขึ้นมาก็ต้องควานหาโทรศัพท์มือถือก่อนเลย เช็คข้อความในไลน์ ตลอดวันจะทำธุรกิจ ติดต่อค้าขาย คุยกับเพื่อนฝูง ครอบครัวก็ต้องใช้โทรศัพท์  อินเทอร์เน็ต ก่อนนอนก็ยังต้อง อัพเดท สเตสัส ราตรีสวัสดิ์ ในเฟซบุ๊ค  บริการเหล่านี้ ไม่ใช่ของฟรี ยิ่งใช้มาก ก็ยิ่งต้องจ่ายค่าบริการมาก อย่างน้อยก็หลักร้อยต่อเดือน หรือบางคนถ้าเลือกใช้แพคเก็จแบบจัดเต็มทั้งเน็ต ทั้งโทร ก็อาจจะต้องจ่ายถึงหลักพันบาทยิ่งใช้มาก ก็ยิ่งมีปัญหามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับค่าบริการที่ถูกเรียกเก็บ  “ไม่เคยสมัครใช้บริการ แต่มีรายการเรียกเก็บค่า sms ดูดวง / ข่าวซุปซิปดารา” “ใช้ WiFi ที่บ้าน แต่ทำไมถูกเก็บค่าเน็ตมือถือ”  “ถูกคิดค่าบริการส่วนเกินแพคเก็จ ทั้งที่ใช้งานนิดเดียว”ฯลฯ เมื่อบริษัทมีบิลเรียกเก็บค่าบริการมา แต่ผู้บริโภคยืนยันว่า “ฉันไม่ได้ใช้” ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นไม่ตรงกัน ปัญหาจึงเกิดขึ้น จริงๆ แล้วปัญหานี้พิสูจน์ได้ไม่ยาก เพราะการกระทำทุกอย่างในระบบโทรคมนาคม จะมีการเก็บข้อมูลไว้ในระบบทั้งหมด สามารถตรวจสอบได้ว่า มีการสมัครใช้บริการ เมื่อวันที่เท่าไร เวลาอะไร ใช้บริการกี่นาที เริ่มกี่โมง จบกี่โมง ใช้บริการจากบริเวณไหน ฯลฯ ซึ่งข้อมูล รายละเอียดเหล่านี้จะอยู่ในมือบริษัทผู้ให้บริการ  ถ้าบริษัทผู้ประกอบการ ยอมเอาข้อมูลออกมายืนยัน พิสูจน์ข้อโต้แย้งของผู้ใช้บริการมันก็จบ แต่ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมักจะพูดลอยๆ ว่าคิดค่าบริการถูกต้องแล้ว โดยไม่ได้แสดงหลักฐานอะไรประกอบ แล้วอย่างนี้จะให้ผู้ใช้บริการเชื่อได้อย่างไรล่ะ ครับ  เมื่อฝ่ายที่กุมข้อมูลไว้ในมือ ไม่ยอมคายหลักฐานออกมา กฎหมายจึงต้องกำหนดเรื่อง “ภาระการพิสูจน์ (Burden of Proof)” ไว้ให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ที่จะต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องในการคิดค่าบริการโทรคมนาคม เมื่อมีการโต้แย้งว่า คิดค่าบริการผิดพลาด ไม่เป็นไปตามสัญญา หรือ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  โดยพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 47 มาตรา 48 และ ประกาศ กทช. เรื่อง กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ข้อ 13 และ ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 22 นั้น บัญญัติไว้สอดคล้องกัน ว่า เมื่อมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าบริการโดยไม่ถูกต้อง ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องในการเรียกเก็บค่าบริการ เพราะผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นฝ่ายที่ครอบครองข้อมูลการใช้บริการโทรคมนาคม  ดังนั้นหากผู้ให้บริการสามารถนำพยาน หลักฐานมาแสดง เพื่อพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องเรียนมีการใช้บริการจริง และผู้ให้บริการเรียกเก็บค่าบริการเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา และเรียกเก็บตามอัตราค่าบริการที่ตกลงกันแล้ว ผู้ให้บริการก็ย่อมมีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ แต่หากผู้ให้บริการไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ว่า ผู้ร้องเรียนได้ใช้บริการจริง หรือผู้ให้บริการได้เรียกเก็บค่าบริการตรงตามเงื่อนไขของสัญญา ผู้ให้บริการก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการ อันเป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายทั่วไป ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 22 กำหนดให้ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องในการเรียกเก็บค่าบริการ และต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบภายในระยะเวลา 60 วันนับแต่วันที่ผู้ใช้บริการมีคำขอ หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ให้บริการนั้นสิ้นสิทธิในการเรียกเก็บค่าบริการในจำนวนที่ผู้ใช้บริการได้โต้แย้งนั้น    การกำหนดระยะเวลา 60 วันนั้น เป็นไปเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ผู้ใช้บริการ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ด้อยกว่าผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม เมื่อผู้ให้บริการไม่สามารถหาพยาน หลักฐาน ซึ่งอยู่ในความครอบครองของตน มาพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องในการเรียกเก็บค่าบริการที่ผู้ใช้บริการโต้แย้งได้ภายใน 60 วัน ผู้ใช้บริการจึงย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ค่าบริการที่โต้แย้งนั้นได้  หลักฐานที่จะพิสูจน์ยืนยันว่าผู้ร้องเรียนมีการใช้บริการโทรคมนาคม หรือไม่ อย่างไรนั้น  จะต้องเป็นหลักฐานที่ไม่อาจแก้ไขดัดแปลงได้ อาทิ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์(log file) ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ แสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ หลักฐาน เช่น ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (log file) นี้ จึงจะเป็นสิ่งที่จะพิสูจน์ว่า ผู้ร้องเรียนมีการใช้บริการ GPRS Roaming ของบริษัท ฯ จริง หรือไม่  ส่วนใบแจ้งหนี้ค่าใช้บริการ ที่ถึงแม้จะแสดงข้อมูลว่า มีการใช้บริการอะไรบ้าง เมื่อวันที่เท่าไร แต่ใบแจ้งค่าใช้บริการนั้น ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยันถึงความถูกต้องในการเรียกเก็บค่าบริการได้ เพราะเป็นเอกสารที่บริษัท ทำขึ้นเองฝ่ายเดียว สามารถแก้ไข ดัดแปลงได้  ดังนั้น ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับค่าบริการโทรคมนาคม ไม่ว่าจะค่าโทร ค่าเน็ต อย่าลังเลใจที่จะใช้สิทธิตรวจสอบกับผู้ให้บริการ ให้ชี้แจง แสดงพยานหลักฐาน พิสูจน์ว่ารายการที่เรียกเก็บมานั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าร้องเรียนแล้ว ผู้ให้บริการนิ่งเฉย ไม่สามารถแสดงหลักฐานที่ยืนยันถึงความถูกต้องในการเรียกเก็บค่าบริการนั้นได้ภายในระยะเวลา 60 วัน ผู้บริโภคก็ไม่ต้องจ่ายค่าบริการส่วนที่โต้แย้งนั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 หนังสือรับสภาพความผิด ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

ครั้งนี้ผมจะนำเกร็ดความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญารับสภาพความผิด มาเล่าสู่กันฟัง หากกล่าวถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ คงไม่เข้าใครออกใคร ตัวอย่างที่จะยกมาเล่าครั้งนี้ ก็เป็นเรื่องของเหรัญญิกคนหนึ่งที่ต้องดูแลเงินของกองทุนหมู่บ้าน แต่ด้วยความโลภก็เอาเงินดังกล่าวไปใช้ส่วนตัว ต่อมามีการทำหนังสือสัญญารับสภาพความผิด และมีข้อตกลงจะรับผิดชอบหาเงินมาคืน แต่สุดท้ายเหรัญญิกก็ผิดสัญญา ไม่คืนเงิน คณะกรรมการกองทุนจึงมาฟ้องคดีให้คืนเงิน ซึ่งก็มีประเด็นที่ขึ้นสู่ศาลฎีกาว่า หนังสือรับสภาพความผิดที่ทำกัน มีผลทำให้มูลหนี้เดิมระงับไปแล้วหรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาก็ได้ตัดสินโดยวางหลักไว้ว่า หนังสือรับสภาพความผิดไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ และมิใช่การแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไป โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่6271/2558 หนังสือรับสภาพความผิดจำเลยทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้นำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวในระหว่างดำรงตำแหน่งเหรัญญิกของโจทก์ และจำเลยยินยอมชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยให้ครบถ้วนภายในวันที่ 1 มิถุนายน  2554 หนังสือรับสภาพความผิดดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียวตกลงยอมรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้โดยไม่ชอบ มิใช่คู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมที่จำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้ระงับไปแล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งไม่มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้ระงับไปอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกัน ศาลฎีกาได้ตัดสินว่า เมื่อกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายแล้ว ต่อมาผู้กระทำผิดได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงจะชำระเงินคืนให้ผู้เสียหาย หากผิดนัดยินยอมให้ผู้เสียหายดำเนินคดี ยังไม่ถือเป็นการยอมความกัน เมื่อต่อมามีการผิดสัญญารับสภาพหนี้ ก็ยังมีสิทธิฟ้องคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ได้คำพิพากษาฎีกาที่ 270/2558เดิมจำเลยได้กระทำการยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายในคดีนี้และก่อนมีการดำเนินคดีผู้เสียหายกับจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กัน มีใจความว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ผู้เสียหายเนื่องจากได้กระทำทุจริตยักยอกเงินค่าไม้และวัสดุก่อสร้างของผู้เสียหายไป เป็นเงิน 260,597.80 บาท จำเลยตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 100,000 บาท วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 80,289.90 บาท และวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นเงิน 80,289.90 บาท หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมดและยินยอมให้ผู้เสียหายเรียกเงินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 10 และยินยอมให้แจ้งความดำเนินคดีฐานทุจริตยักยอกเงินของผู้เสียหาย ปัญหามีว่าถ้อยคำตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นการยอมความกันหรือไม่ศาลฎีกาพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า ข้อตกลงตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว เป็นข้อตกลงที่จำเลยรับว่าเป็นหนี้ผู้เสียหายในเงินที่จำเลยยักยอกไปและจะชดใช้หนี้ให้ผู้เสียหายโดยวิธีการผ่อนชำระเท่านั้น ซึ่งมีผลผูกพันกันทางแพ่งและเป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้อีกทางหนึ่งเท่านั้น หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิ์ในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับไปจากตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองข้างต้น ทุกท่านจะเห็นว่า เวลามีการตกลงทำหนังสือรับสภาพความผิดก็ดี หนังสือรับสภาพหนี้ก็ดี ในกรณีมีการทำผิดฐานยักยอกทรัพย์ สัญญาดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นการทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นระงับไป ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้เสียหายที่ถูกยักยอกเงินยังมีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาเงินคืนได้ และมีสิทธิดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ได้ด้วย 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 การเลือกซื้อรถยนต์ให้สัมพันธ์กับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก

เมื่อทราบข่าวจากคุณแม่ว่าจะมีสมาชิกใหม่ในบ้าน หลายครอบครัวก็ต้องมาวางแผนในการที่จะต้องซื้อของเพื่อใช้ในการเลี้ยงเด็กทารก รถยนต์เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ บางครั้งก็ถูกมองว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเดินทางร่วมกันของครอบครัว ดังนั้นการเลือกซื้อรถยนต์ เพื่อตอบโจทย์ในเรื่อง ความเป็นมิตรกับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก (Family friendly car) จำเป็นต้องมีข้อมูลและแนวทางเบื้องต้นในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกซื้อรถเข็นเด็กทั่วไป คือ ยิ่งเป็นรถขนาดใหญ่ยิ่งดีใช่หรือไม่?คำตอบคือ ถูกเพียงครึ่งเดียว สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ความง่ายในการติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็ก(car seat) และเข็มขัดนิรภัยของรถ สามารถติดตั้งได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งในรถรุ่นเก่าก่อนปี 2004 จะไม่มีตะขอโลหะที่ซ่อนอยู่ใต้เบาะสำหรับติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็ก แบบ Isofix ซึ่งเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานสำหรับรถยนต์ในปัจจุบัน(โดยเฉพาะรถยนต์ ของประเทศยุโรป)  ที่มีไว้สำหรับการติดตั้ง car seat สำหรับเด็ก นอกจากนี้ ควรพิจารณาถึงความยาวของเข็มขัดนิรภัยในรถด้วย เพราะถ้าความยาวของเข็มขัดสั้นเกินไปอาจทำให้เกิดการรัดเข็มขัดที่ยากขึ้น หรือไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้สำหรับกรณีการติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับทารกแบบ carry seat ซึ่งการติดตั้งในกรณีที่ติดตั้งอยู่ข้างหน้าข้างคนขับจะต้องล็อคไม่ให้กลไกถุงลมนิรภัยทำงาน เนื่องจากจะเป็นอันตรายแก่เด็กในกรณีเกิดอุบัติเหตุ  และหากเป็นไปได้ ก็ควรเลือกรถที่มี ประตู ปิด เปิด แบบสไลด์ นอกจากจะต้องคำนึงถึงรถยนต์คันใหม่ที่จะซื้อแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังต้องคำนึงถึง ที่นั่งนิรภัยที่จะซื้อตามมาอีกด้วย เพราะ ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ไม่ได้ทำมาเพื่อติดตั้งได้กับรถทุกคันในตารางที่แสดงผลการทดสอบ ความเหมาะสมของที่นั่งตำแหน่งต่างๆ ของรถยนต์หลากหลายยี่ห้อ หลากหลายแบบ ตั้งแต่ รถยนต์ กลุ่ม Middle class SUV VAN และ Compact wagon จำนวน 18 รุ่น จะเห็นได้ว่า การติดตั้งที่นั่งนิรภัยด้านข้างคนขับนั้นทุกยี่ห้อ ได้ผลการประเมินเพียงแค่ พอใช้ หรือผ่านเท่านั้น เนื่องจากเด็กไม่ควรนั่งข้างหน้าข้างคนขับ ยกเว้นในกรณีจำเป็น เพราะในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เด็กจะได้รับการบาดเจ็บที่รุนแรงกว่า การที่นั่งข้างหลังสำหรับการให้คะแนนในการประเมินทางองค์กรที่ทดสอบการติดตั้งที่นั่งนิรภัยจะพิจารณาจากความยาวของเบาะที่นั่ง ที่ว่างด้านหน้าเบาะ ตำแหน่งของตะขอสำหรับการติดตั้งที่นั่งนิรภัยแบบ Isofix และความยาวของเข็มขัดนิรภัยที่มา วารสาร Test ฉบับที่ 7/2015

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 กลูโคซามีนลดอาการข้อเข่าเสื่อม...จริงหรือ

กลูโคซามีน เป็นสารชีวเคมีธรรมชาติที่สกัดออกมาได้จากเปลือกสัตว์ เช่น หอย กระดูกสัตว์ต่างๆ ไขกระดูก และราบางชนิด(สามารถสังเคราะห์กลูโคซามีนจากข้าวโพดเพื่อขายแก่ผู้ที่เป็นมังสวิรัติ) สารชีวเคมีนี้เมื่อเกิดในร่างกายมนุษย์ จะอยู่ในรูปกลูโคซามีน-6-ฟอสเฟต ส่วนที่มีการขายทั่วไปนั้นมักเป็นกลูโคซามีนซัลเฟต ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารอื่นในกลุ่มน้ำตาลชนิดที่มีอะตอมไนโตรเจนในโมเลกุล(nitrogen-containing sugars)งานวิจัยบางชิ้นให้ผลว่า โมเลกุลกลูโคซามีนนั้น น่าจะถูกนำไปใช้สร้างน้ำหล่อลื่นข้อต่อต่างๆ ในขณะที่กลุ่มซัลเฟตที่ได้จากกลูโคซามีนซัลเฟตนั้น อาจมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์กระดูกอ่อนด้วย ซึ่งสมมุติฐานนี้ไปสนับสนุนผลของบางการศึกษาที่พบว่า กลูโคซามีนที่ได้ผลนั้นต้องอยู่ในรูปกลูโคซามีนซัลเฟตเท่านั้น ไม่ใช่กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์หรือเอ็นอะเซ็ตติลกลูโคซามีน ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีกลูโคซามีนซัลเฟตเป็นหลักมักมีการเติมสารอื่น เช่น คอนดรอยตินซัลเฟต(chondroitin sulfate) กระดูกอ่อนจากปลาฉลาม และสารอื่นเข้าไปด้วย โดยผู้ค้าหวังว่าจะช่วยให้การออกฤทธิ์ของกลูโคซามีนดีขึ้น แต่ยังไม่มีใครพิสูจน์ทางวิชาการได้ว่า หวังนั้นเป็นจริงเว็บของ MedlinePlus (https://medlineplus.gov) สังกัด National Library of Medicine ซึ่งเป็นห้องสมุดการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาที่ใหญ่สุดในโลกให้ข้อมูลว่า กลูโคซามีนซัลเฟตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ให้ความหวังแก่ผู้มีอาการกระดูกเข่าเสื่อม ปวดข้อเนื่องจากยาบางชนิด กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ ปวดขากรรไกร ปวดเข่า ปวดหลัง ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง(Multiple Sclerosis) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการผลิตเป็นสินค้าผสมการบูรและ/หรือสารอื่นๆ ในรูปครีมใช้ทาลดอาการปวดตามข้ออีกด้วยNatural Medicines Comprehensive Database องค์กรด้านวิชาการหนึ่งสังกัด California State University ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการบำบัดโรคด้วยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติกล่าวว่า กลูโคซามีนซัลเฟตน่าจะใช้ได้ผลในการลดความเจ็บปวดของข้อเข่าเสื่อม ในระดับเดียวกันกับการใช้ยาพาราเซ็ตตามอลหรืออยากลุ่ม NSAIDs เพียงแต่ระยะเวลาต่างกันเท่านั้น อย่างไรก็ดีดูเหมือนว่ากลูโคซามีนไม่มีประสิทธิผลในคนไข้บางกลุ่ม โดยเฉพาะพวกที่มีอาการเจ็บปวดมานาน อ้วน หรือเป็นผู้สูงวัยข้อมูลที่ดูดีอีกหน่อยหนึ่งในอินเทอร์เน็ตกล่าวว่า กลูโคซามีนอาจจะช่วยบรรเทาอาการข้อต่อสะโพกเสื่อมและข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม ยืดอายุข้อเข่าในผู้ที่กินติดต่อกัน อีกทั้งผู้ที่กินยานี้มีแนวโน้มว่าอาจจะไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า อย่างไรก็ดีข้อมูลประการนี้ยังควรฟังหูไว้หูNatural Medicines Comprehensive Database ได้กล่าวอีกว่า มีงานวิจัยบางชุดที่ระบุว่า มีหลักฐานไม่พอที่กล่าวว่ากลูโคซามีน (ซึ่งใช้ร่วมกับสารธรรมชาติอื่น) มีประสิทธิผล ในคนไข้ที่มีปัญหาเจ็บข้อต่อ (เนื่องจากการใช้ยาเพื่อลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในการบำบัดมะเร็งเต้านมระยะต้น) คนไข้เจ็บกระเพาะปัสสาวะ(Interstitial cystitis) เจ็บเข่า ปวดขากรรไกร เป็นต้นความปลอดภัยของกลูโคซามีนเกี่ยวกับความปลอดภัยของกลูโคซามีนนั้น MedlinePlus กล่าวเป็นเชิงว่า ควรปลอดภัยถ้ากินอย่างถูกต้องตามที่เภสัชกรแนะนำ และน่าจะปลอดภัยกว่า กรณีที่ถูกฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 ครั้งต่อสัปดาห์นาน 6 สัปดาห์ หรือใช้ทาผิวหนังร่วมกับคอนดรอยตินซัลเฟต กระดูกอ่อนปลาฉลามและการบูรนาน 8 สัปดาห์ผลข้างเคียงของการกินกลูโคซามีนซัลเฟตนั้นมีรายงานว่า ในผู้บริโภคบางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ กรดไหลย้อน ถ่ายท้องและท้องผูก นอกจากนี้ผลข้างเคียงที่อาจเกิดเพิ่มเติมเฉพาะคนคือ ง่วงซึม ความผิดปรกติของผิวหนังและปวดหัว ที่สำคัญคือ หญิงตั้งท้องหรือให้นมลูกนั้นพึงระวัง เพราะยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยของกลูโคซามีนซัลเฟตในประเด็นนี้ สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่ออาการหอบหืดอาจต้องระวังเป็นพิเศษเพราะเคยมีการระบุปัญหาในรายงานทางวิชาการชิ้นหนึ่ง กลูโคซามีนนั้นทำให้ยาวอร์ฟาริน(ซึ่งใช้ลดอาการเลือดข้น) ออกฤทธิ์มากขึ้นจนทำให้ความดันโลหิตผู้ป่วยต่ำลง อีกทั้งยังมีรายงานที่ตั้งข้อสงสัยว่า กลูโคซามีนอาจไปวุ่นวายต่อประสิทธิภาพในการใช้ยาต้านมะเร็ง(chemotherapy)ในสหรัฐอเมริกากลูโคซามีนซัลเฟต ถูกให้อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงพาณิชย์ เพราะจัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(US.FDA) ไม่มีบทบาทในการควบคุมดูแลแต่อย่างใด แม้แต่อำนาจในการขอหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิผลของสินค้าก็ไม่มี ยกเว้นเมื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดก่อปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภค งานจึงจะเข้าให้ US.FDA พิสูจน์และมีบทบาทในการฟ้องร้องสำหรับประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรปนั้น กลูโคซามีนซัลเฟตถูกจัดให้เป็นยาจึงต้องขึ้นทะเบียนพร้อมหลักฐานทางวิชาการถึงประสิทธิผล พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการนำไปใช้บำบัดอาการปวดข้อต่างๆ อย่างไรก็ดีในปี 2014 OARSI (Osteo Arthritis Research Society International) ได้แถลงข่าวเป็นเชิงว่า ไม่แนะนำให้ใช้กลูโคซามีนบำบัดอาการปวดเข่า (เข้าใจว่าเป็นเพราะข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผลยังสับสนอยู่)จากความไม่แน่นอนทางวิชาการเกี่ยวกับผลของกลูโคซามีนในการรักษาอาการเจ็บข้อต่างๆ นั้น ทางคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติของไทย ได้ถอนรายชื่อของกลูโคซามีนออกจากบัญชียาหลัก ทำให้กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 แจ้งเวียน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสถานพยาบาลของทางราชการ /สถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อทราบและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ เรื่องการกำหนดรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยได้กำหนดให้ กลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยติน ซัลเฟตและไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบและกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทา อาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และไม่ให้คณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลออกหนังสือรับรองการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากกลุ่มยาดังกล่าวไม่มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิผลไม่ชัดเจนอย่างไรก็ดีเมื่อเข้าไปในเว็บ www.hfocus.org/content/2015/05/10007 ก็ได้พบข้อมูลว่า ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 132 ตอนที่ 41) ได้ลงประกาศสำนักงานศาลปกครอง เรื่อง ศาลปกครองได้พิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฏ นัยว่าเพื่อให้เป็นไปตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขแดงที่ 502/2558 ระหว่าง ผู้ฟ้องคดี (ขอสงวนนาม) กับกระทรวงการคลัง และคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีหมายเลขแดงที่ 503/2558 ระหว่าง ผู้ฟ้องคดี (ขอสงวนนาม) กับกระทรวงการคลัง โดยพิพากษา “เพิกถอนหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง แจ้งตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค0422.2/ว127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ที่กําหนดให้กลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต และไดอะเซอเรน) ...” ดังกล่าวข้างต้น โดยให้การเพิกถอนคำสั่งกรมบัญชีกลางนั้นมีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลแห่งคําพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558ผู้เขียนได้รับการบอกเล่ามาว่า การที่แพทย์จะจ่ายยาที่อยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติให้ผู้ป่วยซึ่งเป็นข้าราชการทั้งที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่หรือเกษียณไปแล้วนั้น จำต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจ่ายยาดังกล่าว ซึ่งเป็นกระบวนการที่แพทย์หลายส่วนกังวล เพราะสุ่มเสี่ยงต่ออะไรหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ ดังนั้นผู้ที่ประสงค์จะกิน “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” ชนิดนี้คงต้องจ่ายเงินเองไปก่อน จนกว่าจะมีผลการพิสูจน์ว่าสารชีวเคมีชนิดนี้มีประสิทธิผลในการบำบัดอาการปวดข้อต่างๆ แล้วกลับเข้าไปอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือน มกราคม 2561สคบ.เตรียมออกประกาศคุมค่าน้ำ-ไฟหอพัก  ชาวหอพักอาจมีเงินเก็บเพิ่มหลังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตรียมออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจควบคุมสัญญา และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือน พ.ค.นี้ ความในประกาศจะระบุให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องยกเลิกสัญญาฉบับเก่าที่เคยทำไว้กับผู้เช่าทั้งหมด แล้วทำสัญญาภายใต้ข้อกำหนดใหม่  โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ จะกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการเช่า เช่น เขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้ให้เช่าและผู้เช่า กำหนดระยะเวลาในการเช่า จำนวนเงินประกัน สภาพอาคาร อัตราค่าสาธารณูปโภค อัตราค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าส่วนกลาง ค่าที่จอดรถ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ  ซึ่งหากไม่ทำตามจะมีโทษทันที คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนค่าเช่าที่พักอาศัย และค่าบริการสาธารณูปโภคที่แพงเกินควร  น่าจับตาว่าประกาศฉบับนี้จะสามารถแก้ปัญหาให้ชาวหอพักได้จริงหรือไม่ จะสามารถดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการที่กระทำความผิดได้รวดเร็วและเป็นธรรมต่อผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหนซดหอยนางรมสด - กินเนื้อดิบ เสี่ยงอาจถึงตาย เล่นเอาหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ ใจสั่นหวั่นไหว เมื่อมีข่าวผู้เสียชีวิตจากการกินหอยนางรมสดอย่างต่อเนื่อง เพราะหอยนางรมสดแม้ว่าจะอุดมไปด้วยแร่ธาตุสังกะสี (Zinc) และยังเชื่อกันว่าเป็นอาหารเสริมสมรรถภาพทางเพศให้กับคุณผู้ชายทั้งหลาย แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารดิบแล้ว ล้วนแต่มีอันตรายแอบแฝงทั้งสิ้นหอยนางรมสดแทบจะทุกตัวมี เชื้อแบคทีเรียวิบริโอ(Vibrio) ซึ่งอาจก่อโรคระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาหารเป็นพิษ ล่าสุดมีข่าวหญิงอเมริกันวัย 55 ปี ในรัฐเท็กซัส กินหอยนางรมสดที่ซื้อจากตลาดในรัฐหลุยเซียนารวดเดียว 24 ตัว แล้วถูกเชื้อแบคทีเรียวิบริโอซิส(Vibriosis) กัดกินเนื้อบริเวณขาทั้งสองข้างจนเป็นแผลฉกรรจ์ภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนจะเสียชีวิตอีก 21 วันต่อมา กรณีนี้นักวิชาการในเมืองไทยได้ออกมาให้ความรู้ว่า เหตุที่บางคนกินหอยนางรมดิบๆ แล้วไม่เป็นอะไร เพราะยังมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง แต่สำหรับกลุ่มผู้มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยเอชไอวี หรือผู้ที่กินยากดภูมิคุ้มกันอยู่ ต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคหอยนางรมสดอย่างเด็ดขาดนอกจากนี้ ยังมีข่าวหนุ่มจากสปป.ลาว 4 ราย ที่กินลาบหมูดิบแล้วท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ก่อนที่จะถูกนำตัวส่งมารักษาต่อยังโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน ซึ่งแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคทริคิโนซิส โดยจากการตัดชิ้นเนื้อบริเวณน่องขาไปตรวจจึงพบพยาธิ 5 ตัวชอนไชอยู่ภายในชิ้นเนื้อที่มีขนาดเท่าเมล็ดส้ม พยาธิเหล่านี้จะเข้าไปฟักตัวอยู่ในลำไส้แล้วเริ่มผสมพันธุ์วางไข่ และชอนไชไปฝังตัวตามกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกาย รู้อย่างนี้แล้ว เลิกกินของดิบกันดีกว่า อาหารสนามบินไทย แพงเว่อร์จริงหรือ? หลังสื่อมวลชนญี่ปุ่นรายหนึ่งนำเสนอข่าวราคาอาหาร-เครื่องดื่มในสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองทั้งสองแห่งว่ามีราคาแพงเกินเหตุ ทำเอาหน่วยงานรัฐที่ดูแลรับผิดชอบต้องรีบลงพื้นที่ตรวจสอบและแถลงชี้แจงกันวุ่น โดยให้สัมภาษณ์โต้คำกล่าวอ้างดังกล่าวว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด จากนั้นไม่นาน ก็มีข่าวจากสื่อมวลชนที่ลงพื้นที่สำรวจราคาอาหารบริเวณภายในสนามบินทั้งสองแห่ง พบว่ามีจำหน่ายทั้งโซนอาหารราคาแพงและราคาถูกโดยในโซนสำคัญของสนามบินนั้น อาหารจะมีราคาแพง ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ร้านอาหารที่เปิดอยู่ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งถูกควบคุมราคาไม่ให้สูงเกินกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของราคาอาหารตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ซึ่งที่อาหารมีราคาแพงนั้น ก็ด้วยมีต้นทุนสูง เนื่องจากต้องจ้างพนักงานไว้คอยบริการตลอด 24 ชั่วโมง ต้องใช้แรงงานที่มีทักษะด้านภาษาสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการประมูลเช่าพื้นที่ในราคาค่อนข้างสูง สำหรับโซนฟู้ดคอร์ต (Food Court) ที่เป็นศูนย์อาหารอยู่ภายใต้การดูแลของท่าอากาศยานนั้น จะมีราคาถูกและย่อมเยา เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคและพนักงานภายในสนามบิน แต่เป็นคำถามว่าเหตุใดนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนหนึ่ง จึงไม่ทราบว่ามีโซนร้านอาหารราคาถูก จำหน่ายอยู่ภายในสนามบินนับเป็นเรื่องวุ่นๆ ที่เกิดในสนามบิน นอกจากปัญหาเครื่องบินดีเลย์ กระเป๋าเดินทางชำรุดสูญหาย แถวตรวจคนเข้าเมืองที่ใช้เวลานาน จนถึงปัญหามิจฉาชีพที่หากินกับผู้โดยสาร เรื่องจุกจิกเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ ต้องขยันมากกว่าเดิมอีกหรือไม่ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ป่วน งานด่วนของใคร“แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ระบาดหนัก เหยื่อสูญเงินกว่าล้านบาทในพริบตา” พาดหัวข่าวแนวนี้ ที่ปรากฏอย่างไม่ขาดสาย ตอกย้ำ ซ้ำๆ ว่าเหตุใดผู้บริโภคจึงตกเป็นเหยื่อได้ง่ายดายขนาดนี้แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ ธนาคาร หน่วยงานภาครัฐ จะเร่งสื่อสารให้ประชาชนเท่าทันเล่ห์กลของแก๊งค์มิจฉาชีพ แต่ก็ไม่สามารถบอกเล่าเก้าสิบได้ทั่ว โจรพวกนี้มีเทคนิคล่อลวง หลากหลายท่วงท่า ทั้งโทรมาแอบอ้างเป็นไปรษณีย์ หลอกว่ามีพัสดุตกค้างส่งไม่ถึง ลวงถามชื่อ-เลขบัตรประชาชน หรือแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ โทรมากล่าวหาว่าเหยื่อไปพัวพันคดียาเสพติด ให้รีบแจ้งเลขที่บัญชีให้ตรวจสอบโดยด่วน ใครที่ตกใจง่ายเกินไป รู้ตัวอีกทีก็เสร็จโจรมันเสียแล้วล่าสุดข่าวพระลูกวัดแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ ถูกหญิงสาวอ้างว่าโทรมาจากไปรษณีย์ไทย บอกว่ามีพัสดุตกค้างส่งไม่ถึงหลวงพี่ สงสัยว่าจะเกี่ยวพันกับสิ่งผิดกฎหมาย และโอนสายไปให้ชายคนหนึ่งรับสายต่อ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถามเลขบัตรประชาชน 13 หลักไปตรวจสอบ พร้อมโน้มน้าวถามเรื่องเงินในบัญชี โชคดีหลวงพี่ไหวตัวทัน เพราะเคยอ่านข่าวแก๊งต้มตุ๋น หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จึงรุดแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตัวจริง มีที่ไหนเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะมาถามไถ่สารทุกข์สุขดิบของจำนวนเงินในบัญชีกันเล่าน่าสังเกตว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่รู้ทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อก็เพราะเคยดูข่าว หรือมีเพื่อนสนิทมิตรสหายมาบอกกล่าวเล่าเตือนให้ฟัง ความมีสติ การเสพข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอจึงเปรียบเสมือนการสร้างภูมิคุ้มกันให้พ้นภัยกลโกงของแก๊งค์โจรเหล่านี้ไปได้ด้วยดี มาสด้าฟ้องผู้บริโภค ภาพสะท้อนเมื่อผู้บริโภคตัวเล็กถูกผู้ประกอบการละเมิดซ้ำซ้อนช่วงปลายปีที่แล้ว กลุ่มผู้เสียหายจากการใช้รถยนต์ มาสด้า 2 รุ่น คือ รุ่น XD High Plus และ Sky Active ปี 2014 – 2016 รวมตัวกัน พร้อมตัวแทนศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เดินทางไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เรียกร้องให้ผู้ประกอบการแสดงความรับผิดชอบ กรณีรถเกิดอาการเครื่องยนต์สั่นผิดปกติ เร่งความเร็วไม่ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงชีวิต อีกทั้งยังได้ร่วมกันยื่นหนังสือต่อตัวแทนบริษัทฯ ในงาน Motor EXPO จนต้องถูกบริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัดฟ้องคดี ซึ่งผู้เสียหายจากการใช้รถยนต์มาสด้า 2 รุ่นดังกล่าวรายหนึ่งถูกเรียกค่าเสียหายถึง 84 ล้านบาทเศษ โดยอ้างเหตุว่า เป็นการใช้สิทธิเกินส่วน ทำให้ภาพลักษณ์บริษัทฯ เสียหาย ขายรถไม่ได้ ฯลฯ ในขณะที่กลุ่มผู้เสียหาย โดยตัวแทนคือ นายภัทรกร ทีปบุญรัตน์ ผู้เสียหายจากการซื้อรถยนต์มาสด้าและผู้ถูกบริษัทมาสด้าฟ้อง กล่าวว่าการออกมาเรียกร้องสิทธินั้นตนได้ทำด้วยความสุจริตใจและอยากให้บริษัทแก้ปัญหาที่เกิดเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจทำลายชื่อเสียงของบริษัท “ปัญหาของรถเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงต่อชีวิต โดยเฉพาะผู้ใช้รถที่ไปเจอปัญหานี้ครั้งแรกบนถนนในจังหวะเร่งแซงซึ่งอันตรายมาก ตนได้ส่งรถเข้าซ่อมที่ศูนย์ฯแล้วแต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จึงมีการตั้งกลุ่มทางเฟซบุ๊คชื่อว่า อำนาจผู้บริโภคช่วยเหลือผู้ใช้ Mazda Sky Active เครื่องสั่น เร่งไม่ขึ้น ฯลฯ เพื่อรวมตัวกันเสนอแนวทางการแก้ปัญหาของรถ แต่กลับถูกฟ้องเมื่อเราลุกขึ้นมาใช้สิทธิ ก็อยากจะขอความเป็นธรรม” นายภัทรกรกล่าว กรณีนี้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดงานแถลงข่าวขึ้นในวันที่ 19 มกราคม 2561 เพื่อย้ำว่า องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนให้ผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียหายใช้สิทธิร้องเรียนเพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และไม่อยากให้บริษัทฯ ใช้วิธีการฟ้องคดีกับผู้บริโภค แต่ขอให้ดูแลรับผิดชอบผู้เสียหายทุกรายเหมือนการรับผิดชอบเรียกคืนรถในต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของบริษัทฯ มากกว่า อีกประการหนึ่งคือ ถ้าผู้บริโภคถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) จะไม่สามารถรับเป็นคดีผู้บริโภคได้ “อยากให้ สคบ.ได้ใช้อำนาจตามหน้าที่ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม และอยากให้ช่วยกันผลักดัน พ.ร.บ. ความรับผิดต่อสินค้าที่ชำรุดบกพร่องให้เกิดขึ้นในเร็ววัน เพื่อให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน” ในส่วนของคดีความหากผู้ประกอบการยังคงเดินหน้าฟ้องผู้บริโภค ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคก็จะยืนหยัดอยู่ข้างผู้บริโภคเพื่อต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าการออกมาใช้สิทธิของผู้บริโภคเองนั้น ถือเป็นการพิทักษ์สิทธิและเป็นตัวอย่างให้กับผู้บริโภคท่านอื่นๆ"ขอชื่นชมที่ผู้บริโภคออกมาใช้สิทธิและถือว่าเป็นผู้สะท้อนปัญหาสินค้าและการใช้บริการให้กับบริษัทดังกล่าว การที่บริษัทฟ้องผู้บริโภคที่ออกมาใช้สิทธินั้นถือเป็นการฟ้องเพื่อปิดปากผู้บริโภค แทนที่จะขอบคุณที่สะท้อนปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อยกระดับสินค้าและบริการ ซึ่งผู้บริโภคที่ถูกบริษัทฟ้องมูลนิธิฯ ยินดีให้ความช่วยเหลือ"

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 กระแสต่างแดน

ลงดาบเว็บไม่แฟร์ สำนักงานควบคุมการแข่งขันทางการค้าของอิตาลี สั่งปรับเว็บไซต์ท่องเที่ยว 6 ราย เป็นเงินรวมกันไม่ต่ำกว่าสี่พันล้านยูโร(ประมาณ 150,000 ล้านบาท) โทษฐานทำธุรกิจแบบไม่โปร่งใสและปฏิบัติต่อผู้บริโภคอย่างไม่เป็นธรรม ตั้งแต่การไม่ให้ที่อยู่อีเมลสำหรับติดต่อ คิดค่าบริการทางโทรศัพท์ในอัตราที่แพงเกินควร และไม่ให้ความชัดเจนว่าลูกค้ากำลังจอง/ซื้อบริการกับบริษัทไหน ที่สำคัญ คือเว็บพวกนี้คิดค่าบริการบัตรเครดิตบางชนิดแพงเกินควร สำนักงานฯ ถือว่าการบังคับจ่ายค่าทำธุรกรรมโดยผู้บริโภคไม่มีทางเลือกนั้นเป็นการขัดขวางการพัฒนาพาณิชย์ชอิเล็กทรอนิกส์  เว็บเหล่านี้ได้แก่ volagratis.it เจ้าของเดียวกับ it.lastminute.com นอกจากนี้ยังมี opodo.it  govolo.it และ edreams.it ซึ่งเป็นเว็บในเครือ Opodo Group และ gotogate.it จากฟินแลนด์ volagratis.it เจ้าเดียวก็โดนปรับไป 2.2 ล้านยูโร (85.9 ล้านบาท) แล้วเพราะผิดครบทุกข้อหา  พลาสติกขาลง นาทีนี้ดูเหมือนใครๆ ก็กำลังหาทางลดการใช้พลาสติก ประเทศสมาชิกสหประชาชาติมีมติว่าจะลดปริมาณพลาสติกในทะเลลงให้ได้  สหภาพยุโรปกำหนดให้แพคเก็จสินค้าทั้งหมดต้องเป็นชนิดที่รีไซเคิลได้ภายในปี 2030  และจีนก็ประกาศยกเลิกการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศแล้วอังกฤษก็ไม่น้อยหน้า ประกาศแผนลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง ด้วยการห้ามใช้พลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ในสถานที่ราชการ (หลักๆ คือแก้วกาแฟ)  ขอความร่วมมือจากร้านค้าปลีกให้จัดโซนปลอดพลาสติกเพื่อรองรับลูกค้าที่เตรียมบรรจุภัณฑ์มาเอง รวมถึงการเริ่มคิดเงินค่าถุงพลาสติกด้วยผู้ประกอบการอย่าง โคคา-โคล่า แมคโดนัลด์ และเอเวียง ต่างก็ประกาศเป้าหมายการหยุดใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ภายในปี 2030รายงานระบุว่าธุรกิจที่ไปได้สวยในขณะนี้ คือธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง เปรี้ยวกว่ามะนาว บรรดาผู้ค้ารถมือสองในสิงคโปร์ทำทีเป็นเจ้าของรถเองเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีสินค้าและบริการตามข้อกำหนดของกฎหมายมะนาวที่สำคัญขายง่ายกว่าเพราะผู้ซื้อเชื่อถือ “รถบ้าน” ที่เจ้าของขายเอง แถมยังได้กำไรมากกว่าเดิมอย่างน้อย 2,000 เหรียญ(ประมาณ 48,000 บาท) เพราะไม่ต้องจ่ายค่าทำประกัน    ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของสิงคโปร์ ผู้ประกอบการรถมือสองจะต้องทำประกันรถเป็นระยะเวลาหกเดือนให้ลูกค้าและต้องเสียภาษี GST ในขณะที่การซื้อขายกันเองระหว่างบุคคลไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวลูกค้าบางคนไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของรถตัวจริงจนกระทั่งเกิดปัญหา วิธีง่ายๆ คือตรวจสอบกับกรมการขนส่งเพื่อหาเจ้าของที่แท้จริงหรือเลือกซื้อรถมือสองจากดีลเลอร์ที่เป็นสมาชิก STVA ที่สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ให้การรับรองกูเกิ้ลก็หาไม่เจอจักรยานจีไบค์  ที่กูเกิ้ลมีไว้ให้พนักงานได้ใช้เดินทางในระหว่างอาคารที่ตั้งอยู่ห่างกันมักสูญหายบ่อย ทั้งๆ ที่หนึ่งในสามจักรยาน 1,100 คันมีจีพีเอสระบุตำแหน่งผู้คนในเมืองเมาน์เท่นวิว(ซึ่งมีประชากร 80,000 คน) ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท มองว่าจักรยานของกูเกิ้ลก็เหมือนจักรยานของตัวเอง แน่นอนพวกเขาสามารถหยิบยืมไปใช้ได้ตามสบาย กูเกิ้ลกล่าว บริษัทจ้างผู้รับเหมาถึง 30 รายเพื่อทำหน้าที่ “เก็บกู้” จักรยานเหล่านี้กลับมา และในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายนปีที่แล้ว เขาก็สามารถเก็บจักรยานได้สัปดาห์ละ 70 ถึง 190 คัน (จากที่หายไปสัปดาห์ละ 100 ถึง 250 คัน) ข้อมูลจากจีพีเอสระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วจักรยานพวกนี้ถูกใช้ประมาณวันละสิบกว่าเที่ยว เป็นระยะทางประมาณหกไมล์ และมีคนใช้ถีบไปถึงบริษัทออราเคิล คู่แข่งสำคัญของกูเกิ้ลด้วย  เล่นไม่เป็นเรื่องเรื่องสนุกล่าสุดของวัยรุ่นอเมริกัน คือการถ่ายคลิป/ภาพนิ่ง ขณะที่ตัวเองกำลังกัด(และกิน?) ซองน้ำยาซักผ้ายี่ห้อหนึ่ง แล้วโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก ยูทูบ หรืออินสตาแกรม แล้วท้าเพื่อนๆ ให้ทำด้วยกระแสนี้ลุกลามอย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ ที่เห็นได้ชัดว่านอกจากจะเป็นการท้าทายที่ไม่เข้าท่าและยังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตถ้าเผลอกลืนน้ำยาซักผ้านั้นลงไป สมาคมควบคุมสารพิษแห่งสหรัฐอเมริกาออกมาประกาศเตือนให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว เพราะปีนี้ (แค่เดือนมกราคม) มีผู้ป่วยอายุระหว่าง 13 ถึง 19 ปีที่ได้รับสารพิษโดยการจงใจกินเข้าไปกว่า 30 ราย บรรดาแพลทฟอร์มต่างๆ ก็ถูกเรียกร้องให้ลบโพสต์เพี๊ยนๆ พวกนี้ออกไปให้เร็วที่สุด ในขณะที่ผู้ผลิตน้ำยาซักผ้ายี่ห้อไทด์ ก็รีบทำคลิปวิดีโอที่มีนักกีฬาชื่อดังออกมาเตือนว่า “เจ้าถุงเล็กๆ พวกนี้เอาไว้ซักผ้า มันไม่ใช่ของกินนะวัยรุ่น”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 ย้อนรอยสถานการณ์อุบัติเหตุรถตู้โดยสารในปี 2560

ปี 2560 ที่เพิ่งพ้นไปนั้น ต้องถือว่าสถานการณ์การเฝ้าระวังรถโดยสารไม่ปลอดภัยของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายนักวิชาการ มีความร้อนแรงไม่น้อยไปกว่าปีที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะกลุ่มรถตู้โดยสาร ที่พบว่าเกิดอุบัติเหตุสูงสุดมากถึง 252 ครั้ง แบ่งออกเป็น รถตู้โดยสารประจำทาง 61  ครั้ง, รถตู้โดยสารไม่ประจำทาง  72  ครั้ง และรถตู้ส่วนบุคคล 119 ครั้ง  มีผู้บาดเจ็บรวมกว่า 952 คน และเสียชีวิตถึง 229 คน หลายคนคงสงสัยว่า จากโศกนาฏกรรมรถตู้โดยสารจันทบุรีชนรถกระบะไฟไหม้ เมื่อ 2 มกราคม 2560 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 25 คน หลังจากนั้นกรมการขนส่งทางบกได้ออกมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะการบังคับให้รถตู้โดยสารทุกคันต้องติดตั้ง GPS  ภายใน 31 มีนาคม 2560 นอกจากนั้นยังออกประกาศการลดเบาะที่นั่งด้านท้าย เพิ่มทางออกฉุกเฉิน ออกมาตรการควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับขี่และกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบการที่ละเลยความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ แต่ทำไมกลุ่มรถตู้โดยสารถึงยังคงมีความรุนแรงจากอุบัติเหตุเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง แถมยังมีปริมาณการเกิดอุบัติเหตุที่สูงมากกว่าปีที่ผ่านมาอีกด้วย  อันนี้เป็นคำถามที่ต้องมาหาคำตอบกันทุกวันนี้รถตู้โดยสารในประเทศไทยมีกี่คัน? จากข้อมูลการจดทะเบียนสะสมของกรมการขนส่งทางบก ตามพระราชบัญญัติกรมการขนส่งทางบก ในกลุ่มรถมาตรฐาน 2(จ) หรือ รถตู้โดยสาร  ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2560 มีรถตู้โดยสารประจำทางอยู่ทั่วประเทศมากถึง 15,522 คัน แบ่งเป็นส่วนกลาง 9,575 คัน ส่วนภูมิภาค 5,947 คัน  และกลุ่มรถตู้โดยสารไม่ประจำทางมีทั่วประเทศมากถึง 27,148 คัน แบ่งเป็นส่วนกลาง 5,858 คัน ส่วนภูมิภาค 21,290 คัน  รถตู้ส่วนบุคคล คือรถตู้กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุของรถตู้โดยสารข้างต้นที่ระบุว่า จากอุบัติเหตุทั้งหมด 252 ครั้งนั้น มาจากรถตู้โดยสารประจำทาง 61 ครั้ง รถตู้โดยสารไม่ประจำทาง 72 ครั้ง และรถตู้ส่วนบุคคล 119 ครั้ง อาจดูน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณจำนวนรถทั้งหมดที่จดทะเบียนสะสมกับกรมการขนส่งทางบก แต่หากมองลึกลงไปถึงตัวเลขความสูญเสียแล้ว ถ้าเราคิดคำนวณเฉลี่ยอุบัติเหตุเฉพาะกลุ่มรถตู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทางที่มีสถิติไม่ห่างกันมากนัก (61 ครั้ง และ 72 ครั้ง) ไว้ที่ 60 ครั้งต่อปี นั่นเท่ากับจะมีเหตุความรุนแรงกับรถตู้โดยสารทั้งสองประเภทเกิดขึ้น 10 ครั้งต่อเดือน (มาจากรถตู้โดยสารประจำทาง 5 ครั้ง และรถตู้โดยสารไม่ประจำทาง 5 ครั้ง) ขณะเดียวกันกลุ่มรถตู้ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติรถยนต์ กลับยิ่งมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุที่สูงขึ้นเกือบสองเท่าของกลุ่มรถตู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง นั่นเท่ากับว่า รถตู้ส่วนบุคคล คือรถตู้กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุด แล้วทำไมรถตู้ส่วนบุคคลถึงมีความเสี่ยงสูงกว่ารถตู้โดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง ? ต้องบอกเลยว่า หลังเหตุการณ์ 2 มกราคม 2560 กรมการขนส่งทางบกได้ออกมาตรการต่างๆ ทั้งควบคุมและป้องกัน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะทุกประเภททั้งประจำทางและไม่ประจำทาง ไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์ รถบัส และรถตู้โดยสาร มีผลทำให้ภาพรวมของการให้บริการรถโดยสารสาธารณะมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น  เช่น ผลจากการติดตั้ง GPS ทำให้ผู้ประกอบการต้องวิ่งรถช้าลง วิ่งเลนซ้าย โดยทำความเร็วได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ฯลฯ  แต่มาตรการเพิ่มความปลอดภัยดังกล่าว ไม่ครอบคลุมรวมถึงกลุ่มรถตู้ส่วนบุคคลที่ถูกนำมาวิ่งรับจ้างเหมาแบบไม่ประจำทาง เนื่องจากรถตู้ส่วนบุคคลเป็นกลุ่มรถตู้ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ที่ไม่มีกรอบกติกาบังคับด้านความปลอดภัยในการให้บริการ ทำให้รถในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในปี 2560 ที่เกิดอุบัติเหตุมากถึง 119 ครั้งเลยทีเดียว การใช้บริการรถตู้ประเภทนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ที่รับผิดชอบก็คือ คนขับหรือเจ้าของรถเท่านั้น ซึ่งบางครั้งคนขับและเจ้าของรถอาจเป็นคนเดียวกัน สถานการณ์เช่นนี้ สุ่มเสี่ยงที่จะไม่ได้รับค่าชดเชยเยียวยาที่เหมาะสมหรืออาจไม่ได้เลย ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการได้รับบริการที่ไม่เหมาะสม เช่น การขับรถติดต่อกันในเส้นทางระยะไกลที่ต้องขับรถคนเดียว หรือรับเหมางานติดต่อหลายวัน อาจเกิดความอ่อนล้าเหน็ดเหนื่อย หลับในและเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุในเวลาต่อมา    ดังนั้นหากผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังนิยมที่จะใช้รถตู้ส่วนบุคคลในการเดินทางด้วยความสะดวกสบาย ให้เกิดบริการเช่นนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับเรายอมรับความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิในการเลือกใช้บริการรถตู้โดยสารที่มีความปลอดภัย  และเรายังถือว่าเป็นผู้ส่งเสริมให้เรื่องผิดกฎหมายกลายเป็นเรื่องถูกกฎหมายอีกด้วยนั่นเอง---------------------------------------------------------------------รถตู้ส่วนบุคคล คือรถแบบไหน ?รถตู้ส่วนบุคคล คือ รถยนต์ตู้ที่จดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจส่วนตัว ไม่สามารถนำมาวิ่งรับส่งผู้โดยสารได้ แต่ในทางปฏิบัติเราจะพบเห็นว่ามีรถตู้ประเภทนี้ออกมาวิ่งรับส่งผู้โดยสารอยู่อย่างสม่ำเสมอ  โดยรถตู้ส่วนบุคคลกลุ่มนี้หากนำมาวิ่งรับส่งผู้โดยสาร จะถือว่าเป็นการใช้รถผิดประเภทเป็นรถผีรถเถื่อน มีความผิดตามมาตรา 23 ประกอบมาตรา 126  แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 หม้อทอดไร้น้ำมัน

ฉบับนี้เรามีผลทดสอบหม้อทอดไร้น้ำมัน หรือ Air Fryer ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศโดยเพื่อนสมาชิกจาก สเปน โปรตุเกส เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้ส่งตัวอย่าง ได้ทำการทดสอบไว้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับท่านที่กำลังมองหาเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้ไว้ประกอบอาหารทอดให้สมาชิกในครอบครัว ผลการทดสอบพอจะบอกได้ว่าผลิตภัณฑ์นี้ยังต้องการการพัฒนาให้ดีขึ้น เพราะรุ่นที่ดีที่สุดได้คะแนนไปเพียง 71 จากคะแนนเต็ม 100 ในขณะที่รุ่นที่ขี้เหร่ที่สุดได้ต่ำกว่า 30 คะแนน (แต่เนื่องจากเนื้อที่เรามีจำกัด จึงขอนำเสนอในกลุ่มที่คะแนนดีและพอใช้ได้เท่านั้น) ทีมทดสอบแบ่งการให้คะแนนออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่    ประสิทธิภาพ                 ร้อยละ 55ความสะดวกในการใช้งาน ร้อยละ 20การประหยัดพลังงาน         ร้อยละ 15ความปลอดภัย         ร้อยละ 5 คุณภาพการประกอบ         ร้อยละ 5 ถ้าอยากรู้ว่าหม้อทอดรุ่นไหนสามารถใช้ทอดอาหารแช่แข็งอย่างมันฝรั่งทอด ปอเปี๊ยะ โครเกต์เนื้อ และน่องไก่ ออกมาได้เนื้อสัมผัสกรุบกรอบ สีสันสวยงาม ด้วยการใช้งานที่ไม่ยากเกินไป เชิญพลิกอ่านหน้าถัดไปได้เลย(หมายเหตุ ราคาที่เราอ้างอิงเป็นราคาที่เช็คจากอินเทอร์เน็ตในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 202 นับถือคนทำขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะเจ้าอร่อย สามร้าน ขอใบเซอร์จากร้านวัตถุดิบเพื่อไม่ให้ขนมของตนเองมีวัตถุกันเสีย ฉลาดซื้อเชียร์ ผู้บริโภคสนับสนุนเจ้าของร้านขนมเปี๊ยะสิงห์เพชร ขนมเปี๊ยะร้านครูสมทรง ขนมเปี๊ยะร้านหมู ซึ่งเป็นเจ้าของขนมเปี๊ยะชื่อดังยอมรับว่า โกรธนิตยสารฉลาดซื้อมาก เพราะมีลูกค้าโทรศัพท์มาสอบถามว่า “สรุปแล้วยังไง ขนมเปี๊ยะมีสารกันบูดหรือไม่” และแปลกใจที่ร้านของตนเองไม่เคยใช้สารกันบูด แล้วฉลาดซื้อตรวจพบได้อย่างไร เลยสั่งให้มีการนำวัตถุดิบทุกอย่างที่ใช้ในการทำขนมไปตรวจสอบหาสารกันบูด สุดท้ายพบว่า มาจากวัตถุดิบคือ แป้งที่ใช้ทำขนมมีสารกันบูดปนอยู่ และเมื่อได้มีโอกาสพบปะกันในการเสวนาเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ตอนนี้ผู้ประกอบการทั้งสามกล่าวขอบคุณฉลาดซื้อ ที่ทำให้ทางร้านได้โอกาสปรับปรุงคุณภาพเพิ่มขึ้น และเพื่อยืนยันว่า ไม่มีการเติมหรือใส่สารกันบูดอย่างแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ ทางร้านได้ประสานกับร้านวัตถุดิบว่า ต้องส่งใบรับประกันสินค้า(certified) ว่า “วัตถุดิบรุ่นที่ซื้อมาผลิตขนมแต่ละครั้ง ไม่มีวัตถุกันเสีย” เยี่ยมไปเลย ทีมงานฉลาดซื้อทุกคนก็เป็นปลื้มกันมากว่า ร้านขนมเล็กๆ ที่ทำขนมอร่อย มีความตั้งใจ มีความพยายามในการปรับปรุงสินค้าของตนเองสูงมาก ร้านเล็กร้านน้อยทำได้ ไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนเคยกล่าวหา ว่าร้านเล็กๆ มักมีปัญหา ไม่สนใจคุณภาพ  ไม่มีทุนทำไม่ได้ บริษัทใหญ่มักได้มาตรฐาน งานนี้ไม่จริงเลยหากผู้ขายตั้งใจจะพัฒนาสินค้าของตนเองให้มีคุณภาพจริงๆ  งานนี้ทำให้ความเชื่อของฉลาดซื้อที่ว่า การทดสอบเปรียบเทียบสินค้า มีประโยชน์ทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ และเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงคนขายหรือคนผลิตสินค้า เช่นเดียวกัน หากเราต้องการกินขนมเปี๊ยะที่ไม่มีสารกันบูด เราต้องบอกว่ายี่ห้อไหนบ้างไม่มีสารกันบูด จะเป็นพลังให้ผู้ผลิตรู้ว่าผู้บริโภคชอบขนมเปี๊ยะที่ไม่มีสารกันบูด ย่อมส่งผลให้ผู้ผลิตปรับปรุงสินค้าของตนเองตามความต้องการหรือความชอบของผู้บริโภค งานนี้ต้องช่วยกันใช้ข้อมูลทดสอบให้มากสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ได้ ผลจากการทดสอบ ส่งผลให้เกิดการพูดคุยของนิตยสารฉลาดซื้อ กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ฉลาดซื้อทดสอบสินค้าในรอบปี รวมทั้ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอความคิดเห็น ช่วยกันหาแนวทางยกระดับมาตรฐานและความปลอดภัยของอาหาร วิธีจัดทำฉลากอาหารให้ถูกต้องในอาหารที่ตนเองผลิต โดยเฉพาะอาหารกลุ่มที่มีการใส่สารกันบูด หรือใส่สารเจือปนอาหารที่จะต้องมีการระบุในฉลากให้ชัดเจน หนึ่งปีที่ผ่านมา กับความพยายามในการให้ข้อมูลเตือนภัยสารกันบูดในอาหาร ช่วยสร้างความตื่นตัวให้สมาชิกและสังคมไทยใม่น้อย ฉลากอาหารที่มีบ้างไม่มีบ้างว่า มีการใส่สารกันบูดหรือไม่ จำเป็นต้องติดตามต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานนิ่งเฉยไม่ได้ ต้องบังคับใช้มาตรการฉลากภาษาไทยกับอาหารที่ใส่สารกันบูดหรือวัตถุเจือปนอาหารอื่นๆ อย่างเข้มข้น เพราะอาการเจ็บป่วยที่สำคัญ ซึ่งเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตคนไทย แม้จะยังไม่สามารถระบุถึงตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคได้อย่างชัดเจนแบบฟันธง แต่ก็มีข้อมูลว่าส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของอาหารการกิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้หากผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อให้เลือกได้อย่างเหมาะสมปีใหม่นี้ ขอให้สมาชิกฉลาดซื้อและผู้อ่านทุกท่านมีความสุข มีชีวิตที่งดงาม มีพลัง ร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงการคุ้มครองผู้บริโภคไปด้วยกัน สวัสดีปีใหม่มายังทุกท่านนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 ขาวอันตราย

เมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน 2559  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจาก ผู้ร้องเรียนจำนวน 45 ราย ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเพอร์ลี่ จากบริษัท เมย์โรว จำกัด ของนางอมรรัตน์ ก่อเกียรติสิริกุล โดยผู้ร้องบางท่านได้ซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้เองจนเห็นผลลัพธ์ว่ามี ผิวขาวขึ้นเป็นอย่างมาก ภายใน 1-2 เดือนแรก จึงแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้บ้าง แต่เมื่อใช้ต่อไป จึงเริ่มมีอาการผิวหนังแตก คัน และปวดแสบบริเวณที่ใช้ผลิตภัณฑ์ โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อผลิตภัณฑ์จากตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ภาคใต้ เช่น จังหวัดสตูล สงขลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ตรัง กระบี่ นราธิวาส หรือบริเวณภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ กาญจนบุรี สมุทรปราการ และภาคอีสาน เช่น อุบลราชธานี เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อันตราย ครั้งนี้เรามีตัวแทนผู้เสียหาย 2 ท่าน ที่พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวผ่านหน้ากระดาษเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ผู้บริโภคท่านอื่นศุภสุตา มาหนุ๊ สวัสดีค่ะ หนูชื่อ ศุภสุตา มาหนุ๊ ชื่อเล่นว่า ฝ้าย เป็นชาวจังหวัดนราธิวาส ใช้ครีมทาผิวขาว(ยี่ห้อเพิร์ลลี่) เพื่อนได้แนะนำว่าเพื่อนใช้มาก่อนบอกว่าใช้แล้วขาวขึ้น มีออร่า โดนแดดไม่ดำขึ้น และมีการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ เฟซบุ๊ค หนูเลยได้ตัดสินใจซื้อ ปี 2558 ใช้แรกๆ ผิวเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมาก ขาวขึ้นภายในเวลา 2 อาทิตย์ หนูใช้เป็นเซต ใน 1 เซตที่หนูใช้จะมี สบู่ โลชั่น เซรั่ม ดีดีครีม คราวนี้พอใช้ไปใช้มาผิวเริ่มแตกเป็นฝอยเล็กๆ ตอนนั้นหนูก็ไม่ได้คิดอะไรมากนึกว่าเพราะผิวขาวขึ้นเลยเห็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆ (ใช้มาเป็นปีๆ ขนาดผิวเริ่มแตกยังใช้อยู่เพราะไม่คิดว่าผิวแตกเป็นผลมาจากครีมเพิร์ลลี่ หนูคิดว่าแตกเพราะหนูอ้วนมากกว่า แต่หนูก็ไม่ได้อ้วนหรือผอมลง) หนูก็ยังใช้อยู่เรื่อยๆ จนผิวเริ่มแตกใหญ่ ตอนนี้ทั้งคัน แสบ หนูคิดว่ามันคงไม่มีอะไรมั้ง(ปลอบใจตัวเอง) พอแม่เห็นแม่ตกใจ แม่เลยบอกว่าผิวเป็นอะไร ทำไมถึงได้แตกขนาดนี้ แม่เลยบอกว่าให้หนูหยุดใช้ครีมเพิร์ลลี่ หนูเลยหยุดใช้ ต่อมามีพี่ที่รู้จักได้แชร์ทางเฟซบุ๊คเรื่องของพี่วินัย เรื่องที่เขาผิวแตกจากใช้ครีมเพิร์ลลี่ หนูดูไป ฟังไป คือเรื่องมันคล้ายๆ ครีมที่หนูใช้เลย(วันที่ 24 สิงหาคม 59) เลยติดต่อพี่วินัยไป พี่เขาแนะนำให้ไปบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน พอวันที่ 5 กันยายน 59 พี่วินัย ญาติพี่วินัยและหนู ขึ้นไป กทม.เดินทางถึงวันที่ 6 กันยายน 59 เพื่อไปลงทะเบียนผู้ที่มีปัญหาผิวแตกลายจากการใช้ครีมเพิร์ลลี่ และให้ PNAC Care ศูนย์ประสานงานเยียวยาให้ช่วยเหลือ และไลฟ์สดกรณีครีมทาผิว พอวันที่ 9 กันยายน หนูไปออกรายการสถานีประชาชน ทางช่องไทยพีบีเอส และได้ให้สัมภาษณ์สกู๊ปพิเศษให้กับรายการรถปลดทุกข์ทางไทยรัฐทีวี 1 พฤศจิกายน ได้เริ่มไปหาหมอที่คลินิคเพื่อทำการรักษาและบอกได้ระบุว่าผิวแตกเกิดจากสเตียรอยด์6 พฤศจิกายน ไปโรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่ ผลวินิจฉัยออกมาว่า ผิวแตกเกิดจากสเตียรอยด์ ไม่สามารถรักษาให้ได้ค่ารักษาทั้งหมดจะเป็นเท่าไร ก็ไม่สามารถระบุได้เพราะรักษายังไงก็ไม่มีวันหาย จนวันที่ 7 พฤศจิกายน ช่วงเช้า ไปร้องเรียน ที่สคบ.และไปแจ้งความ/บันทึกประจำวัน ที่ บก.ปคบ.ช่วงบ่ายไปร้องเรียนที่ กสทช. และ 18 พฤศจิกายน ไปออกรายการสถานีประชาชนครั้งที่ 2 (ทำกันทุกทางที่สามารถทำได้แล้ว)จำได้ว่าตอนนั้นก็พากันไปที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 1 ครั้ง แต่จำไม่ได้ว่าไปวันที่เท่าไหร่ หลังจากนั้นเรื่องก็เงียบไป เรื่องที่เคยดำเนินการต่างๆ ไป ก็เงียบเช่นกัน หนูคิดว่าคงไม่มีใครช่วยได้ แล้วจะหาที่รับผิดชอบจากไหน เครียด ท้อ จนวันหนึ่งมูลนิธิผู้บริโภคติดต่อเข้ามา ช่วยเหลือทุกอย่าง รู้สึกมีพลังเพิ่มขึ้น  ส่วนในเรื่องคดีหนูและเพื่อนๆ อีกจำนวนหนึ่งได้มอบอำนาจให้กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคดำเนินคดีต่อสู้ให้ถึงที่สุด  ถ้าถามว่า อยากฝากอะไรกับใครบ้าง อยากบอกมากๆ เลยว่า ให้ผู้ผลิตคำนึงถึงความปลอดภัย คำนึงว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตใช้เอง ใช้แล้วปลอดภัย ใช้แล้วไม่อันตรายไม่ใช่แค่โฆษณาเพื่อกระจายสินค้าออกจากสต็อก และต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพผู้ผลิตใช้ปลอดภัย ลูกค้าใช้ไม่เป็นอันตรายเพชราภรณ์ คงกลั่น เราซื้อมาสองแบบ ขวดแรกสูตรสีชมพู ราคาประมาณ 1,500 บาท อีกแบบเป็นสูตร ขาว x2 ราคาขวดละประมาณ 1,700 บาท ก็ใช้มาเรื่อย จนเกือบจะหมดขวดก็รู้สึกแสบๆ ที่ผิว คันๆ เป็นริ้วขาวๆ ทีแรกไม่รู้สึกอะไร คิดว่ามันทำปฏิกิริยา  เพราะเราเพิ่งเปลี่ยนครีม เราก็ใช้มาเรื่อย ก็เป็นรอยเป็นฝอยๆ  แล้วก็เจ็บแสบๆ เหมือนมดกัด แต่ยังฝืนใช้มาจนหมดขวด จนมันกลายเป็นรอยใหญ่กว่าเดิม แล้วก็ผิวแตกหมดทั้งตัวเลย เราก็เลยหยุดใช้ ไปหาหมอถามว่ามันเกิดจากสารอะไรกันแน่ หรือเป็นเพราะว่าฮอร์โมนเราปรับตัวหรือเปล่า หมอบอกว่าเกิดจากโลชั่น เป็นสารสเตียรอยด์ เราก็รักษาตามอาการ จนต้องมาหยุดไปหาหมอเรื่องเงิน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เรื่องค่าเดินทาง ค่ายา เราก็เลยซื้อยามาใช้เอง พวกยากันรอยแตกลาย ก็หมดไปเป็นหมื่นเลย เพราะพวกยาทาแก้แตกลายก็หลอดละ 280 บาทแล้ว บางยี่ห้อก็ขวดละ 300-400 บาท เราใช้อาทิตย์หนึ่งไม่ต่ำกว่าสามขวด เพราะว่าเราต้องทาทั้งตัว ตอนแรกเราทำงานสองคนกับแฟน พอเราเป็นแบบนี้ เราก็เลยไม่ได้ไปทำงาน 1 คือเราอายเพื่อน แฟนทำงานคนเดียวมันไม่มีรายได้เสริม มันก็เลยลำบาก เราก็รักษาตามอาการแบบที่เล่ามาเรื่อยๆ ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ แรกๆ เราเห็นเพจหนึ่งเขารวบรวมเกี่ยวกับคนแปลก เราก็ไปกับเขา ไปร้องเรียนหลายที่แล้ว แล้วพอเรามาร้องเรียนที่เครือข่ายผู้บริโภคที่สงขลา เขาก็พามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่กรุงเทพฯ  พอเรามาที่นี่เราก็เจอกับคนที่มีปัญหาเหมือนๆ กับเราหลายๆ คนมาฟ้องคดีร่วมกัน เขาก็ให้เราเตรียมเอกสาร เช่น ใบรับรองแพทย์ ซึ่งของเราเขาระบุเลยว่า เกิดจากสารสเตียรอยด์ โลชั่นมันกินเนื้อ อาการของเราเป็นมากกว่าคนอื่นเลย คนอื่นสามารถใส่เสื้อแขนสั้นได้ คนอื่นเขาเป็นที่ขา ส่วนเราเป็นที่แขนสองข้าง ถ้าถามว่าเลเซอร์ทั้งตัวหายไหม มันก็ไม่รู้ว่าหายหรือเปล่า คือ อยากให้ผู้ผลิตมารับผิดชอบเราด้วย เราไม่เคยใช้โลชั่นที่มันแพงแบบนี้มาก่อน เราใช้โลชั่นทั่วไป ตลาดทั่วไป ขวดละ 25 บาทเราใช้แบบนั้นมาตลอด มันก็ไม่มีปัญหาอะไร พอเราทำงานที่ดีๆ เราอยากผิวสวย เราไปซื้อของแพงมาใช้ เราคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร เราไม่ได้ซื้อของเถื่อนนะ แล้วมันมี อย.ข้างกล่อง มีเลขที่จดแจ้ง แล้วราคามันสูง มันก็ทำให้เราคิดว่ามันน่าจะดีนะตอนนี้ดำเนินการถึงขั้นตอนที่ศาลอุธรณ์แล้ว  จากนั้นก็จะไต่สวน แล้วก็ไกล่เกลี่ยว่าผู้ผลิตจะชดใช้ให้เราอย่างไร  ตอนนี้มูลนิธิฯ ขอยื่นคำร้องฟ้องแบบกลุ่ม แต่ศาลไม่รับ บอกว่าแต่ละคนมีอาการแพ้ไม่เหมือนกัน บางคนแพ้มาก ก็จะได้ค่าเสียหายมาก บางคนน้อยก็ควรจะได้เงินตามอาการที่เป็น จะรับค่าเสียหายมากไม่ได้ ต้องดูตามอาการ สิ่งที่เราอยากบอกมากๆ เลยคือ อยากให้คนที่ซื้อของมาใช้แล้วมีปัญหาแบบนี้ อยากให้คนที่มีปัญหาแบบพี่ เมื่อมีปัญหาให้รีบหยุดใช้ทันที ดูฉลากให้ดี ว่ามี อย.ไหม มีเลขจดแจ้งชัดเจนหรือไม่ ให้ตรวจสอบให้ดีๆ ลองประเมินดูก่อนว่าของที่เราซื้อมามันโฆษณาเกินจริงไหม  ถ้าหลงเชื่อก็อาจกลายเป็นเหยื่อแบบนี้  และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นให้หยุดใช้ทันที แล้วเก็บตัวอย่างเอาไว้ ตอนนี้สินค้าตัวนี้ตามชุมชนยังมีอยู่ แต่ตามห้างไม่มีแล้วสำหรับผู้ผลิต อยากให้เขารับผิดชอบเราให้ถึงที่สุด ถ้าคุณเป็นแบบที่เราเป็นคุณจะรู้เลยว่าคุณจะเสียใจไปตลอดชีวิต แล้วถ้าคุณอยากทำสินค้าเกี่ยวกับความสวยความงามคุณอย่าโกหกคน คุณอย่าหลอกคนด้วยการเอาตัวยาโน้นมาผสม ตัวนี้มาผสม คุณต้องทำให้ดี แล้วของคุณจะขายดี ไม่ใช่คุณทำแบบนี้ แล้วเห็นไหมผู้เสียหายร้องเรียนเข้ามา พอเรื่องเราจบ ก็จะมีเรื่องคนอื่นอีก คือมันไม่จบไม่สิ้น แล้วประเทศไทยเราก็เหมือนกันพอเรื่องเราจบก็จะให้ขายต่อไปอีก แล้วมันก็ไม่จบ  -----------------------สถานการณ์การฟ้องคดี  วันที่ 18 พฤศจิกายน 2559  มูลนิธิฯ ได้เชิญผู้ประกอบการมาเจรจาไกล่เกลี่ยแต่ได้รับการปฏิเสธ  ตัวแทนผู้เสียหาย 4 ราย จึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีนางอมรรัตน์   ก่อเกียรติศิริกุล    และศาลได้นัดไต่สวนคำร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มในวันที่  18  ตุลาคม 2560 เวลา  13.00 น.  โดยมูลนิธิฯ และเครือข่ายทนายอาสา นายสิษฐวัศ   ภาคินสกุลพัฒน์  เป็นทนายผู้รับผิดชอบ วันที่ 9 - 10 พฤศจิกายน 2560  นัดไต่สวนคำร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม  วันที่ 22 พฤศจิกายน 2560  ศาลมีคำสั่งไม่รับเป็นคดีกลุ่ม  ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำสั่ง

อ่านเพิ่มเติม >