ฉบับที่ 184 ยาแผนโบราณ ควรทานแบบมีสติ

เรามักจะพบข่าวคราวการเจือปนสารอันตรายในยาแผนโบราณเสมอๆ เจ้าสารเจือปนยอดนิยมในยาแผนโบราณที่ทางสาธารณสุขมักตรวจพบคือ สารสเตียรอยด์  ซึ่งมีการลักลอบเจือปนทั้งในผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน  การติดตามตรวจสอบเพื่อหาต้นตอก็ยากเพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้มันจะขายต่อกันมาเป็นทอดๆ  (ในส่วนของยาที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายนั้น เมื่อไปติดตามตรวจสอบในสถานที่ผลิตก็ไม่พบว่ามียาที่ปลอมปน ผู้ผลิตมักให้การว่ามีคนมาปลอมยาของตนไปจำหน่าย)ในระยะหลังๆ ที่เจ้าหน้าที่ติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็พลิ้วไหว แปลงกายใหม่ จากที่เคยปลอมปนในยาแผนโบราณ  ก็แอบไปปลอมปนในเครื่องดื่มกลุ่มพืชสมุนไพรแทน  โดยผลิตภัณฑ์พวกนี้มักจะตั้งชื่อยี่ห้อให้คล้ายกับชื่อยี่ห้อเดิมของยาแผนโบราณที่เคยแพร่ระบาดขายดิบขายดี เครื่องมือในการติดตามเพื่อดำเนินการกับผลิตภัณฑ์พวกนี้คือ ชุดทดสอบเบื้องต้นสำหรับใช้ตรวจหาสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปน แต่ผู้ผลิตเหล่านี้จะเรียนรู้เร็วกว่าปกติ เมื่อรู้ว่าเจ้าหน้าที่ใช้ชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ตรวจ  ก็หันไปใช้สารตัวอื่นมาผสมแทน  เพราะเวลาตรวจจะได้ไม่เจอ ล่าสุดน้องเภสัชกรที่จังหวัดอุตรดิตถ์ได้พบพิรุธในยาน้ำสมุนไพรยี่ห้อหนึ่งที่ขึ้นทะเบียนเป็นแผนโบราณสามัญประจำบ้าน(สถานที่ผลิตระบุจังหวัดนครราชสีมา)  คุณแม่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซื้อมาจากคนแถวบ้าน (ที่อยู่ในจังหวัดแพร่ ราคาขวดละ 2700 บาทขายต่อๆ กันมา) เมื่อรับประทานแล้วก็ติดอกติดใจ อาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย นอนหลับดีขึ้น  น้องเภสัชกรลองตรวจด้วยชุดทดสอบสเตียรอยด์ ก็ไม่พบสารสเตียรอยด์แต่อย่างใด  ด้วยความสงสัยว่าทำไมมันได้ผลทันอกทันใจขนาดนั้น เลยส่งผลิตภัณฑ์ตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก พบว่ามีการเอายาแก้ปวด“แอสไพริน”มาผสม หากคาดทำนายต่อไป ผู้ผลิตที่ไม่หวังดีเห็นแก่ได้โดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อผู้บริโภค ก็คงนำเอาสารอื่นๆ มาเจือปนไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตรวจจับได้  สุดท้ายก็จะทำร้ายทั้งผู้ป่วยและทำลายชื่อเสียงของยาแผนโบราณดีๆ ที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของเราจนหมด  ผมมีคำแนะนำสำหรับผู้บริโภคที่จะเลือกใช้ยาแผนโบราณ ขอให้มีสติ พิจารณาให้ครบดังนี้1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีทะเบียน มีชื่อที่อยู่ผู้ผลิตชัดเจน และวางขายเป็นหลักแหล่งแน่นอน(เพราะหากพบว่าผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้อง จะได้ติดตามต้นตอเพื่อมาดำเนินคดีได้)2. เมื่อรับประทานแล้วได้ผลรวดเร็วทันใจแบบยาเทวดา ให้สงสัยได้เลยว่า น่าจะมีส่วนผสมของสารเคมีหรือยาแผนปัจจุบันเจือปน เพราะยาแผนโบราณเป็นภูมิปัญญา ผลการรักษามันจะนุ่มนวล ค่อยเป็นค่อยไปอย่างสมดุล3. หากรับประทานแล้วได้ผลทันอกทันใจแบบข้อ 2 ให้นำยาไปให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจสอบ พร้อมทั้งให้รายละเอียดต่างๆ ด้วย เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ติดตามต้นตอแหล่งที่มาให้เจอ(จะได้ช่วยกันคนอื่นๆให้ปลอดภัยด้วย)ท้ายที่สุดนี้ ขอเชิญชวนหมอพื้นบ้าน หมอแผนโบราณและแพทย์แผนไทย มาช่วยกันกวาดล้าง ผลิตภัณฑ์ที่ทำลายภาพลักษณ์ดีๆ ของยาไทยออกจากสังคมด้วยกันนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ผลของการเลิกสัญญา

สวัสดีครับครั้งนี้เราจะมากล่าวกันถึงเรื่อง ผลของสัญญา กัน โดยทั่วไปเมื่อสัญญาเกิดขึ้น คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเกิดสิทธิหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามที่ตกลงในสัญญา แต่ทุกสัญญาย่อมมีวันสิ้นสุด เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง อีกฝ่ายหนึ่งจึงใช้สิทธิเลิกสัญญา แต่เมื่อเลิกสัญญากันไป กฎหมายก็ได้กำหนดสิทธิหน้าที่ไว้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงไม่ควรละเลยสิทธิที่เกิดจากการเลิกสัญญานะครับ  ซึ่งสิทธิอย่างแรกที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 กำหนดไว้ คือ “เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม.........”   หลายท่านคงสงสัย อะไรคือกลับสู่ฐานะเดิม  ซึ่งในประเด็นนี้ ขอยกตัวอย่างคำพิพากษาเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เป็นเรื่องของการเช่าซื้อรถบรรทุกสิบล้อเพื่อบรรทุกของ แต่มาทราบภายหลังว่าผู้ให้เช่าซื้อเอารถที่ไม่ได้จดทะเบียนมาขาย รถดังกล่าวจึงนำมาใช้งานไม่ได้ ผู้เช่าซื้อจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา   ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540 ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม)ใช้บรรทุกของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้นเมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ประกอบมาตรา 537และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ที่จำเลยอ้างว่า ได้นำรถไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จึงมีเหตุผลสนับสนุนเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลยโดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยาย โดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อและผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลย ปรากฎว่าจำเลยออกเช็คพิพาท 9 ฉบับผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย จากคำพิพากษาข้างต้น การกลับคืนสู่ฐานะเดิมคือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับมาอยู่ในสภาพก่อนที่จะทำสัญญากัน นั่นคือ ผู้ให้เช่าซื้อมีรถบรรทุก ผู้ขายยังไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อมีการเลิกสัญญากัน จึงทำให้ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถบรรทุกคืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อ และผู้ให้เช่าซื้อก็ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมดให้แก่ผู้เช่าซื้อนั่นเอง แต่กรณีทำสัญญาตกลงทำการงานให้กัน และมีการจ่ายค่าตอบแทน เมื่อมีการเลิกสัญญา การงานที่ได้กระทำให้แก่กันตามสัญญาซึ่งโดยสภาพไม่อาจคืนได้ ต้องใช้เงินแทนตามสมควรแก่ค่าของงานนั้น คำพิพากษาฎีกาที่ 175/2521 โจทก์ทำสัญญาตกลงกับจำเลย ให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์และตึกแถวลงในที่ดินของโจทก์ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเองโดยโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่ามีกำหนด 20 ปี จำเลยผิดสัญญาในการก่อสร้างตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยโดยชอบแล้ว ดังนี้ สัญญาและข้อผูกพันต่าง ๆ ในสัญญาก่อสร้างต้องสิ้นสุดลงจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเช่าหรือครอบครองโรงภาพยนตร์และตึกแถวตามสัญญานั้นอีกต้องคืนที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้โจทก์ส่วนโจทก์ก็ต้องชดใช้ค่าก่อสร้างอันเป็นผลงานที่จำเลยสร้างลงไปให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามส่วนการเลิกสัญญา โดยทั่วไป กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่า ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การแสดงเจตนาเลิกสัญญาไม่มีแบบ  ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 853/2522 ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายนาว่า ถ้าจำเลยผู้ซื้อชำระราคาไม่ครบโจทก์เรียกนาและคืนเงินได้ ฉะนั้นเมื่อจำเลยชำระราคาไม่ครบ โจทก์ขอคืนเงินที่จำเลยชำระแล้ว และเรียกคืนที่ดิน ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายแล้วสัญญาทำเป็นหนังสือ การแสดงเจตนาเลิกสัญญาไม่ต้องทำเป็นหนังสือในการเลิกสัญญานั้น  ผลอีกประการคือทำให้สัญญาไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ดังนั้น เมื่อบอกเลิกสัญญาไปแล้ว จะมาเรียกร้องสิทธิตามสัญญาอีกไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 2568/2521 สัญญาก่อสร้างตึกแถวมีข้อความว่า ผู้ก่อสร้าง (จำเลย) ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการขับไล่ผู้อยู่อาศัยที่ยังเหลืออยู่อีกสองรายในที่ดิน ส่วนที่ผู้ให้ก่อสร้าง (โจทก์) ชนะคดีแล้วนั้น ผู้ให้ก่อสร้างรับผิดชอบขับไล่ให้โดยบังคับคดีภายใน 20 วันนับแต่วันทำสัญญา ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำแถลงให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับคดีแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีให้ผู้เช่าออกจากตึกแถวแล้วตามสัญญามิได้หมายความว่าโจทก์จะต้องขับไล่ผู้เช่าออกไปจากตึกแถวภายใน 20 วันนับแต่วันทำสัญญา ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นได้ว่าการทำสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์จำเลยมิได้มุ่งเรื่องเวลาเป็นข้อสารสำคัญ หากแต่มีเจตนาผ่อนปรนซึ่งกันและกันตามสมควรในกรณีผิดสัญญา สิทธิของคู่สัญญาที่จะบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญานั้นมีอยู่สองประการ คือ บังคับให้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามมูลหนี้ประการหนึ่ง กับบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายอีกประการหนึ่ง คดีนี้โจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้วย่อมจะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้ การที่โจทก์อ้างว่าถ้าจำเลยสร้างตึกแถวเสร็จโจทก์จะได้กรรมสิทธิ์และได้ค่าเช่านั้น เท่ากับโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิ แต่การที่จำเลยผิดสัญญาทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะได้รับค่าหน้าดินตามสัญญา ค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้จึงควรเท่ากับจำนวนเงินดังกล่าว  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 สาวแม่บ้านเรียกร้องสิทธิ

จากสาวแม่บ้าน สุนี อนุพงศ์วรางกูร ที่เลี้ยงลูกเป็นหลัก ต้องลุกขึ้นมาหาหลักฐาน ตลอดจนข้อมูลในการพิทักษ์สิทธิ์ เรียกร้องค่าเสียหาย จากคนที่อยู่แบบไม่เบียดเบียนใครๆ ต้องมาเป็นนักสู้มือเปล่า ประโยคสวยงามภาษากวี ที่ในความเป็นจริงกว่าจะผ่านความเจ็บปวดมาได้แต่ละด่านบอกได้เลยว่ายาก “สุนี อนุพงศ์วรางกูร” จะมาเล่าอีกมุมของความยากลำบากในการเรียกร้องสิทธิ“เหตุเกิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลาประมาณ 5.30 น. รถโดยสารของอินทราทัวร์ที่คนขับหลับในรถจึงพลิกคว่ำ ทั้งคันรถล้มระเนระนาด คนในรถได้รับบาดเจ็บ แล้วแฟนก็เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พร้อมชาวต่างชาติเป็นผู้หญิงชาวอินเดียอีก 1 คน เป็น 2 คนที่เสียชีวิต จากเหตุการณ์วันนั้นถึงวันนี้ทางบริษัทอินทราทัวร์ก็ยังไม่ได้เยียวยาอะไรเลย จนทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเข้ามาช่วยเหลือและแนะนำว่าเราควรไปที่หน่วยงานไหนบ้างที่จะช่วยเราได้ เราก็ไปทั้ง คปภ. ที่รัชดาและ คปภ. ที่เชียงใหม่แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ เพิ่งได้รับการยืนยันจาก คปภ. เชียงใหม่ว่าตอนนี้เขาได้ส่งหนังสือไปถึง บ.อินทราทัวร์แล้วเพื่อให้ทางบริษัทรับผิดชอบว่าตกลงจะจ่ายหรือไม่จ่าย ส่วนเรื่องคดีตอนนี้ก็ยื่นฟ้องแล้ว ยื่นฟ้องคนขับรถเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ตอนนั้นทำอย่างไรบ้างคือทางมูลนิธิฯ เข้ามาหาผู้บาดเจ็บก่อนหลายๆ คนและได้แนะนำเราจึงติดต่อไปว่าเราต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องอะไรบ้าง จึงปรึกษามาโดยตลอด ก็มีโอกาสได้เข้าร่วมงานเสวนากับมูลนิธิฯ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ในงานผ่าทางตันรถโดยสาร กรณีอินทราทัวร์ เรื่องรถลาดเอียงด้วยขั้นตอนตอนที่ทำเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายมีการเก็บเอกสาร หลักฐานอย่างไรบ้าง เพื่อท่านอื่นๆ ที่อ่านจะได้มีข้อมูลตอนนี้เอกสารที่ได้มาคือเอกสารที่ได้จากการบันทึกให้ปากคำของ สภ. อ่างทอง เราจะเก็บไว้ทุกครั้ง ใบมรณะบัตร บัตรประชาชนทุกอย่างของสามีและของครอบครัวเราเพราะเรามีลูก 3 คนและเราไม่ได้จดทะเบียนสมรสเลยทำให้ยังใช้สิทธิอะไรไม่ได้และยังมีพ่อแม่ของสามี ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องขอให้พ่อแม่เขาเซ็นมอบอำนาจให้เราเป็นคนดำเนินการเพราะแกก็แก่แล้ว ลูกก็ยังไม่บรรลุนิติภาวะจึงยังทำอะไรไม่ได้เราก็ต้องให้ลูกเขียนมอบอำนาจให้เราทำเรื่องแทน เลยต้องเตรียมเอกสารพวกนี้เก็บไว้ และยังมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการดำเนินคดี พวกเอกสารการประกอบอาชีพของสามี สามีมีอาชีพเลี้ยงปลาต้องทำเอกสารไปขอที่หน่วยงานต่างๆ ที่เราเกี่ยวข้อง เอกสารเกี่ยวกับลูกค้าก็ต้องมีมายืนยันว่าเรามีอาชีพนี้และ มีรายได้จากอาชีพนี้จริง คนที่มีปัญหาคล้ายๆ กันต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับรายได้ทั้งหมดก็มีทำรายรับ-รายจ่ายของปีที่แล้วไว้ และค่าใช้จ่ายตั้งแต่สามีเสียชีวิตจนถึงปัจจุบันเพราะเราไม่มีรายได้ต้องใช้เงินที่เก็บไว้เลยทำเอกสารเตรียมไว้ รายจ่ายที่เกี่ยวกับลูกด้วยเพื่อจะเอามาเป็นข้อมูลในการเรียกร้องค่าเสียหายการเรียกร้องสิทธิมีอุปสรรคอย่างไรบ้างโดยส่วนตัวที่ไปดำเนินการยังไม่มี เพียงแต่บางครั้งเราไปยื่นเอกสารแล้วมันไม่ตรงประเด็นที่เขาต้องการแล้วเขาก็ไม่ได้ให้คำแนะนำเรา อย่างที่มีปัญหาครั้งแรกเลยคือ คปภ. ที่รัชดา เราไปยื่นเรื่องตั้งแต่เดือนธันวาคม แต่เพิ่งทราบว่าเขาไม่ได้ตามเรื่องให้เราเพราะเราไม่ได้ยื่นกองทุนทดแทน รถก็ไม่มี พ.ร.บ. เขาก็ไม่รับผิดชอบอยู่แล้วเลยไม่ได้ช่วยเหลือตรงส่วนนั้น จึงไปเรียนถามท่าน ผอ.คปภ. ก็ให้คำแนะนำว่าต้องยื่นกองทุนทดแทน คือเราต้องยื่นไปอีกฉบับหนึ่งแต่คนที่รับเรื่องคนแรกนั้น เขาป่วยแล้วหยุดไปหลายเดือนก็เลยทิ้งเรื่องของเราเลย ทางมูลนิธิฯ ก็ให้โทรไปถามว่าเอกสารติดอะไรจึงได้คุยกับทาง ผอ. แล้วก็แนะนำว่าอยู่เชียงใหม่ให้ไปยื่นกองทุนทดแทนที่เชียงใหม่เลย คือปัญหามันเหมือนกับเจ้าหน้าที่เขาก็มีแยกเป็นแขนงๆ ของเขา คนนี้ดูและเรื่องอุบัติเหตุ คนนี้ช่วยเหลือเรื่องผู้พิการ หน้าที่แยกกันเลยพอเราไปไม่ตรงจุดก็ไม่ได้อะไร ถ้าไม่ตามก็ไม่รู้อีกว่าปัญหามันติดอยู่ตรงไหน มันเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของการร้องเรียนกับภาครัฐ ถ้าเราไม่รู้ช่องทางว่าจะต้องไปหน่วยงานไหน ตรงฝ่ายไหนก็ทำให้เสียเวลาเพราะจริงๆ ตอนนั้นไปเยอะมากเลยหน่วยงานที่กรุงเทพฯ เสียค่าใช้จ่ายก็เยอะ เวลาเดินทางก็ต้องนั่งรถแท็กซี่เสียเงินครั้งละ 500 – 600 บาทเพราะบางที่ก็ไกลมาก ตอนแรกจะไปมูลนิธิปวีณาแต่มีคนบอกว่าการเดินเรื่องก็นานเหมือนกันเราก็เลยกลับ พอไป คปภ. ก็ยังไม่ได้เรื่องเพราะจนตอนนี้ก็ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือเลยสักบาทเดียวมีท้อบ้างไหมไม่หรอกเพราะบางคนแย่กว่าเรา น้องคนหนึ่งเป็นเคสในอุบัติเหตุครั้งนี้เขาอยู่บนดอยอมก๋อย เขาไม่มีเงินรักษาตัวเองต้องไปรักษากับหมอผีแล้วจะไปเบิกอะไรกับใครได้ เขาก็โทรมาเล่าให้ฟังซึ่งเขาลำบากกว่าเราเพราะเขาก็เป็นเยอะเหมือนกัน ส่วนกรณีของเรา คือสามีเสียชีวิตไปอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาทรมานแบบน้องคนนี้ ของเราก็มีเพื่อนคอยช่วยกระตุ้นให้ตามเรื่องเพื่อให้เป็นกรณีแบบอย่างเผื่อมีใครต้องพบปัญหาแบบเรา ไม่อยากให้ลอยนวลไปเฉยๆ คือเราต้องสู้ ตอนนี้คนอื่นๆ ที่ได้รับอุบัติเหตุในครั้งนั้นเป็นอย่างไรกันบ้างก็มีคุยกันในไลน์บ้างซึ่งทุกคนก็ยังรอความหวังว่าทางขนส่งจะช่วยเหลืออะไรไหม แต่ละคนเขาก็มีภาระหน้าที่การงาน บางคนต้องถูกไล่ออกจากงานเพราะจากอุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้เขาทำงานไม่ได้ เราเองก็ต้องเดินเรื่องต้องฝากลูกให้ญาติๆ ช่วยดูแล ซึ่งค่าใช้จ่ายนั้นมีเพิ่มทุกวันๆ ก็อยากให้มันผ่านพ้นไปด้วยดี ให้เรื่องจบโดยเร็วแล้วทาง บขส. ช่วยเหลืออะไรบ้างไหมก็ให้เราทำเอกสารใหม่ค่ะ ไอ้ที่ยื่นๆ ไปเขาบอกว่าใช้ไม่ได้ต้องไปยื่นใหม่อีกทีอย่างนี้คิดว่าการคุ้มครองผู้บริโภคของไทยควรจะให้ข้อมูลในการจัดเตรียมเอกสารให้ผู้บริโภคเข้าใจก่อนไปยื่นมากกว่านี้ไหมจริงๆ ในแต่ละหน่วยงานมีความยุ่งยากนะ น่าจะมีแบบฟอร์มให้เรากรอก ให้เราเตรียม ถ้าเรารู้ก็จะได้เตรียมถูก แต่นี่เราไม่รู้ก็เอาเท่าที่เรามี บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านพวกนี้มันต้องใช้อยู่แล้วแต่ที่นอกเหนือจากนี้เราไม่รู้เขาต้องแนะนำว่าเราต้องใช้อะไรบ้าง เพราะคงมีหลายคนที่ท้อแท้ไปตอนขั้นตอนยื่นเอกสาร จริงๆ เราเองก็ถอดใจไปแล้วด้วยเพราะมันยุ่งยากมากๆ แล้วคนก็ตายไปแล้วอยากให้จบๆ ไปตั้งนานแล้วแต่ว่าถ้าคิดแบบนี้ก็จะลอยนวลกันอยู่อย่างนี้ ต้องทำให้เป็นกรณีตัวอย่างไปเลยไหนๆ ก็ทำมาจนถึงขั้นนี้แล้ว เสียเวลามาเยอะแล้วโดนดึงเวลามาทุกหน่วยงานเลย  นอกจากนี้เอกสารที่ต้องเตรียมก็เยอะมาก ทั้งที่ต้องถ่ายเอกสารและภาพถ่ายที่ทางเราต้องถ่ายเป็นภาพสี ซึ่งในการจัดเตรียมเอกสารครั้งนี้ก็คิดออกมาเป็นค่าใช้จ่ายสูงมาก ไหนจะมีค่าโทรศัพท์ที่จะต้องประสานงานให้คำแนะนำผู้ประสบอุบัติเหตุรายอื่นๆ ซึ่งบางคนก็ถามว่า “เรียกร้องได้ด้วยเหรอพี่” เราโทรหาเกือบทุกคนที่อยู่บนรถในวันนั้น เราก็ช่วยเขาเท่าที่เราช่วยได้นอกจากเรื่องนี้ เคยใช้สิทธิกับเรื่องอื่นไหมเคยเจอปัญหาเรื่องการซื้อของ เมื่อพบปัญหาต้องบอกคนขายเลย บางคนคิดว่าคนอื่นซื้อไปก็ได้แบบนี้เหมือนกันก็ปล่อยไป แต่ของมันเสีย ไม่ได้คุณภาพ ต้องบอก ต้องตักเตือนคนผลิต ก็แจ้งทางมูลนิธิฯ เข้าไปช่วยตักเตือนว่าของคุณไม่ได้มาตรฐานปกติเป็นคนที่จะยอมไหมเวลาเจอเหตุการณ์แบบนี้เพราะบางคนจะไม่กล้าพูดถ้าเป็นญาติพี่น้องจะบอกเลย แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะพยายามบอกต่อๆ ไปว่ามันไม่ดีแค่นั้น เพราะก่อนหน้านี้ไม่ค่อยทราบว่ามีการร้องเรียนกันได้ด้วย เพิ่งจะมาทราบตอนหลัง ตอนนี้ทราบแล้วก็จะบอกเลย เราต้องใช้สิทธิของเราให้เป็นประโยชน์ ที่ผ่านมาก็ปล่อย อย่างเวลาซื้อผลไม้เราก็ไว้ใจคนขายคิดว่าเขาจะหยิบของดีๆ ให้แต่พอเขาหยิบของไม่ดีมาให้ เราก็จะไม่ซื้อร้านนั้นอีกแล้วก็จะบอกต่อว่าร้านนี้อย่าไปซื้อนะของเขาไม่ดี เพราะคนขายของเขาต้องมีความซื่อสัตย์กับลูกค้านะ ของที่ไม่ดีต้องเอาออก ไม่ใช่คิดจะเอาแต่กำไรอย่างนี้ไม่ซื่อสัตย์ เราก็จะหมดความไว้ใจคิดว่าบริษัทรถหรือบริษัทขนส่งต่อไปควรจะปรับปรุงเรื่องการให้บริการอย่างไรบ้างคือไม่มีใครอยากสูญเสียหรือบาดเจ็บแต่ในเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วเขาต้องทำให้มันดี พ.ร.บ. ของคุณ ประกันของคุณต้องพร้อมถ้าไม่พร้อมไม่ต้องออกมาวิ่ง อย่างรถ 2 ชั้นที่กำลังรณรงค์กันอยู่เขาต้องแก้ไขได้แล้ว รถที่ไม่ได้ตรวจสภาพต้องไม่มีมาวิ่งแล้ว ไม่รู้ขนส่งทำอะไรอยู่ ไม่เข้ามาดูแลปล่อยให้รถพวกนี้มาวิ่งได้อย่างไร อยากให้ช่วยดูแลในส่วนนี้หน่อยให้ลูกค้าได้ปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างสวัสดิภาพ เพราะทุกชีวิตมีค่า ไหนจะคนที่ต้องอยู่ข้างหลังพวกเขาอีกใครจะดูแล มันต้องแก้ที่ต้นเหตุ ตรวจสภาพรถของตัวเองให้ดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 อารี แซ่เลี้ยว 9 ปี ที่ป้ารอคอย

หากวันที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของ อารี แซ่เลี้ยว ในวันนั้น ใช้เวลามากถึง 9 ปี ในการรอคอยสิ่งที่ยากยิ่งของการต่อสู้ระหว่างประชาชนกับรัฐ กลับกลายเป็นอีก 1 คดีผู้บริโภคตัวอย่างในวันนี้ ถามว่ามันคุ้มค่าแล้วหรือไม่นับจากบ่ายวันที่ 23 เมษายน 2550 ที่ป้าอารีขึ้นรถเมล์ ขสมก. สาย 4 เพื่อเดินทางจากคลองเตย กลับบ้านพักที่เขตบางกอกใหญ่ เมื่อรถเมล์ขับมาถึงบริเวณแยกสามย่าน คนขับได้เบรกรถกะทันหัน ทำให้อารี หน้ากระแทกราวเหล็กด้านหน้า จนเลือดกบปาก ฟันหักทันที 4 ซี่ หลังเกิดเหตุ คนขับรถเมล์พาป้าอารีส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แพทย์ตรวจแล้วต้องถอนฟันที่หักอีก 3 ซี่ ออกด้วย รวมเป็น 7 ซี่ ที่ป้าอารีต้องเสียฟันไปหลังจากวันนั้นเธอก็ไม่เคยได้รับการดูแลหรือเยียวยาใดๆ จาก ขสมก. เลย ป้าอารี ต้องทนกับความทุกข์ทรมานจากการบาดเจ็บแต่เพียงลำพัง จนกระทั่งผ่านไป 2 ปีกว่า  ป้าอารีจึงได้มาขอให้มูลนิธิฯ ช่วยเหลือเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกับ ขสมก.  แต่เนื่องจากคดีของป้าอารี อายุความคดีละเมิดเกิน 1 ปีแล้ว ทีมทนายความอาสามูลนิธิฯ จึงต้องใช้เวลาหาทางแก้ไขปัญหาคดีขาดอายุความ โดยในระหว่างนั้นก็เชิญ ขสมก. มาเจรจาไกล่เกลี่ยค่าเสียหายให้กับป้าอารี แต่ถึงกระนั้น  ขสมก. ก็ยังไม่ยอมจ่าย อ้างติดระเบียบที่จ่ายไม่ได้และขอให้ไปฟ้องคดีที่ศาลกันก่อน  ขสมก.ถึงจะจ่ายให้ได้ป้าอารี ไม่มีทางเลือก จึงต้องฟ้องคนขับและ ขสมก. เป็นคดีผู้บริโภคต่อศาลแพ่ง แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นอย่างที่ตกลงกันไว้ นอกจาก ขสมก. จะไม่ยอมจ่ายแล้ว ยังสู้คดีกับ ป้าอารีที่เป็นผู้ใช้บริการรถเมล์ ขสมก. ถึง  3  ศาล จนสุดท้ายในวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่รับฎีกา ขสมก. เหตุค่าเสียหายและอายุความไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ ส่งผลให้คดีนี้สิ้นสุด รวมเป็นเวลากว่า 5 ปี ที่ป้าอารี ฟ้องคดีต่อศาลให้ ขสมก. ชดใช้ค่าเสียหาย หรือรวมเป็นเวลากว่า 9 ปี นับแต่เกิดเหตุจนถึงวันที่คดีสิ้นสุด     ป้าอารี วัย 62 ปี ย้อนเล่าถึงวันเกิดเหตุว่า “วันนั้นป้านัดกันไปเดินดูงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์  จากนั้นเดินทางกลับบ้านด้วยการโดยสารรถเมล์ร้อนสีครีมแดง สาย 4 จากตลาดคลองเตย โดยป้านั่งที่นั่งแบบเดี่ยวถัดไปด้านหลังจากคนขับ 2-3 ที่ เราก็นั่งมาเรื่อยๆ จนถึงสามย่าน เรานั่งเบลอ ง่วง เพราะเพลียจากการเดินในงาน ตอนนั้นประมาณบ่าย 2 ถึงบ่าย 3 ตอนเรานั่งๆ แบบเอียงๆ เอาเข่าหันเฉียงออกมาด้านทางเดิน ตอนนั้นรถก็ขับแบบสบายๆ ไปเรื่อยๆ เราก็เลยคิดว่าไม่มีอะไร แล้วรถก็เบรคอย่างแรง ขนาดที่ว่าเรากระเด็นจากที่นั่งไปกระแทกบริเวณเหล็กกั้นแถวๆ ที่นั่งคนขับ ฟันหลุดทันทีเลย 4 ซี่” แล้วคนอื่นๆ ในรถล่ะคะคนอื่นๆ อีก 4 คนก็ล้มเหมือนกัน แต่ไม่แรงเท่ากับเรา มี 4 คน รวมเราก็เป็น 5 คน เราบาดเจ็บหนักที่สุด ตอนนั้นก็ถามคนขับว่าเกิดอะไรขึ้น คนขับบอกว่ามีมอเตอร์ไซต์ตัดหน้าเลยต้องเบรคกระทันหัน ตัวป้าเองตอนนั้นเลือดกบปาก คนขับไล่คนในรถให้ลงจากรถ ยกเว้นคนที่บาดเจ็บ แล้วพาไปรักษาที่ รพ.จุฬาฯ เขาพาไปก็ไม่ได้สนใจอะไร นั่งอยู่เฉยๆ ส่วนเราฟันหลุดไป 4 ซี่ แล้วก็โยกอยู่อีก 3 ซี่ รวมเป็น 7 ซี่ ฟันที่ร่วงไปตกอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้เราก็หาไม่เจอ ถ้าหาเจอก็เอามาแช่น้ำนมตัดต่อได้  แต่ตอนนั้นเราก็คิดไม่ถึง ป้ารออยู่นาน หมอๆ ก็ยังไม่มา มีแต่นางพยาบาลมาซับเลือดให้  จนมารู้ทีหลังว่าที่คนขับกับเรารอ คือรอบริษัทประกันภัยมาทำเรื่อง  สรุปคือเรารอ 3 ชั่วโมง รอจนเกือบ 1 ทุ่ม พอประกันภัยมาถึงก็บอกให้เราไปรักษาเองนะ ออกเงินไปก่อนรักษาให้หายแล้วค่อยมาเบิกเงินทีเดียว พอเค้าเขียนใบเสร็จส่งให้เรา เราไม่รู้เรื่องก็เอาใบเสร็จเก็บกลับบ้าน พอวันรุ่งขึ้นลูกสาวบอกว่าแม่ต้องกลับไปรักษาที่ รพ.แล้วต้องเอาใบรับรองแพทย์มาด้วย ก็เลยไปด้วยกัน ไปเอาใบรับรองแพทย์กับไปแจ้งความที่โรงพัก พอไปถึงที่ รพ.เจอหมอคนเมื่อวาน  เลยถามหมอว่าฟันที่โยกอยู่อีก 3 ซี่ให้ถอนออกเลยได้ไหม มันเจ็บจนทนไม่ไหวแล้ว แต่หมอไม่ยอมถอนให้เนื่องจากต้องรักษาตามคิว ตอนนั้นคิวก็ยาวมาก คือตอนนั้นไม่ว่าจะพูดอย่างไรหมอก็ไม่ยอมถอนให้ พอออกจาก รพ. ลูกสาวเลยพาไปแจ้งความที่โรงพัก พอแจ้งความเสร็จเราทนเจ็บไม่ไหวแล้ว ลูกสาวจึงพาไปที่ รพ.เอกชน หมอที่ รพ.นี้ถอนฟันให้เรา วันนั้นหมดค่ารักษาไปประมาณ 2,000-3,000 บาท ตอนนี้ฟันล่างของป้าจึงหลอหมดเลย แต่จะทำอะไรต่อไม่ได้นะ ใส่ฟันก็ไม่ได้ เพราะหมอบอกว่าเหงือกเรายังบวมอยู่ ตอนนั้นเจ็บมากดื่มได้แต่นม ทานอาหารไม่ได้เลย เราต้องรอเพื่อจะใส่ฟันปลอมอยู่ประมาณ 7-8 เดือน เพราะต้องให้เหงือกยุบก่อน ซึ่งการไปตรวจแต่ละครั้ง เราต้องเสียเงินเองทุกครั้ง ไม่มีใครมาดูแลเราเลย ก่อนใส่ฟันปลอมเราฟันหลออยู่หลายเดือน เราก็อายเค้า ไม่กล้าไปทำงาน ซึ่งเราทำงานเป็นช่างทำผมอยู่ เรากลุ้มใจมาก เราไม่มั่นใจ ไม่กล้าไปทำงาน แต่โชคดีมีพี่สาวที่คอยช่วยเหลือ ให้เงินเราไปรักษา ส่วนเราก็ไม่ค่อยมีเงินเพราะปกติเรามีรายได้จากการทำงานร้านทำผม แต่พอไม่ได้ทำงานเงินก็หายไปทั้งก้อน เราเป็นลูกน้องเขา  หลังเกิดเหตุ 7-8 เดือนแรก เราไม่ได้ทำงานเลย แต่พอผ่านไปสัก 1 – 2 ปีร้านต้องย้ายไปที่อื่นเนื่องจากหมดสัญญาเช่า เขาก็ต้องให้เราออกจากงาน เพราะเราทำงานให้เขาไม่ได้ ส่วนเรื่องการรักษาที่ รพ.เอกชน ตอนเรายังไม่ได้ใส่ฟันปลอม เราหมดไปสองหมื่นกว่าบาท พี่สาวก็มาบอกว่า บ.สัมพันธ์ประกันภัยที่เป็นคู่กรณีเราจะเจ๊งแล้วนะ ให้เรารีบเอาอันนี้ไปยื่นก่อนเลย ได้กี่หมื่นก็หยวนๆ แล้วค่อยมารักษาต่อทีหลัง พอเรายื่น เรายื่นเอกสารเสร็จเจ้าหน้าที่ก็ให้รอไปเรื่อยๆ โดยเราก็ไม่รู้ว่าอีก 2 อาทิตย์บริษัทจะปิด สรุปก็คือเราไม่ได้เงิน จากนั้นเลยไปติดต่อที่ ขสมก.สาย 4 ซึ่งเป็นอู่จอดรถเมล์สาย 4  เราไปทุกอาทิตย์ไปตามเขาว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะได้เงินค่ารักษาที่เราออกไปก่อน  ทาง ขสมก.ก็ไม่ได้แนะนำเราเลยว่าต้องไปติดต่อที่ไหน อย่างไร เราก็เพิ่งมารู้ทีหลังว่าปกติ ขสมก.มีการเยียวยาค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นแต่ต้องทำเรื่องภายใน 6 เดือน ตอนที่เรามาตามเรื่องที่ ขสมก.คือเข้าเดือนที่ 8  ตอนนั้นในใจป้าคิดว่าคงไม่ได้อะไรแล้วละได้ติดตามเรื่องที่สถานีตำรวจบ้างไหมไปแจ้งความ แต่ทางตำรวจเขาก็ต้องรอประกัน แต่ บ.ประกันมันก็เจ๊งไปแล้วไง เรื่องราวก็เลยยืดเยื้อไปถึงหนึ่งปี เราได้ไปเจอพี่สุคนธา ที่วัดปากน้ำ วันนั้นเราไปไหว้พระ เราเห็นแขนแกเหมือนได้รับบาดเจ็บมาก็เลยถามแก แกบอกว่าเกิดอุบัติเหตุมา จากนั้นก็เล่าเรื่องราวของตัวเองให้ป้าสุคนธาฟัง พร้อมแนะนำให้ป้ามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เราก็เลยมาร้องเรียนที่มูลนิธิฯ จนทุกวันนี้ป้าก็ยกย่องมูลนิธิฯ ที่มาช่วยเรา ฟ้องให้ ทำอะไรให้ เราไม่ต้องเสียสตางค์สักบาทเดียว เราภูมิใจ ถึงจะได้หรือไม่ได้สตางค์ก็ภูมิใจ  เพราะเขาช่วยเราเต็มที่ เรามาที่นี่ก็เตรียมเอกสารมา ทั้งใบแจ้งความ ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลที่เราสำรองจ่ายไปก่อน มูลนิธิฯ ช่วยเหลือเราโดยการฟ้อง พาไปขึ้นศาลประมาณ 3 ครั้ง จนตอนนี้คดีสิ้นสุดแล้ว ตอนขึ้นศาลป้าก็เจอทาง ขสมก.พวกเขาก็ไม่คิดว่าเราจะเป็นหนักขนาดนี้ ใน 5 คนที่ได้รับบาดเจ็บครั้งนั้นมีป้าคนเดียวที่อาการหนักแล้วก็เป็นคดีความฟ้องร้อง ส่วนคนอื่น ๆ อาการไม่หนักก็หยวนๆ แล้วก็ไม่อยากฟ้องร้องยืดเยื้อเสียเวลาระยะเวลาการรอคอยถึง 9 ปี ป้าเจออะไรบ้าง ต่อสู้มา 9 ปี  เกิดเหตุตั้งแต่ปี 50 เรามาที่มูลนิธิฯ เมื่อปี 52 หรือ 53 เราก็จำไม่ค่อยได้ เพราะว่ามันนานมากแล้ว ขสมก.ไม่เคยช่วยเหลืออะไรเราเลย แม้ว่าคดีจะสิ้นสุด ศาลฎีกาพิพากษาแล้ว ถึงตอนนี้ ขสมก. ก็ยังไม่ยอมจ่ายเงิน  ทั้งที่ตอนเราไปหา ไปตามเรื่อง หน้าเรายังบวมอยู่ เขาก็เห็น ฟันก็ยังไม่ได้ใส่ หลอๆ อยู่แบบนี้ ป้าก็รู้สึกท้อมากเลย และผิดหวังกับ ขสมก.ที่ทำกับเราจนเจ็บช้ำแบบนี้ แล้วทุกวันนี้เกิดอุบัติเหตุในสังคมมากมาย บางคนได้รับเงินค่าเสียหาย ก็ได้นิดเดียว ไม่คุ้มกับที่เราต้องเจ็บตัว บางคนก็เสียชีวิต การได้เงินแค่นี้จะมีประโยชน์อะไร อย่างกรณีที่มาร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็มีมากมายใช่ไหม แบบนี้มันท้อไหมล่ะ ของเรายังมีพี่สาวกับลูกสาวช่วย อย่างตอนนี้เราก็มีลูกสาวช่วย ตอนนี้เขาทำงานแล้วเราก็สบาย นี่ถ้ายังไม่ทำงานเราก็เสร็จ ช่วงสิบปีที่ผ่านมาหลังจากเกิดเรื่องเราจะส่งเขาเรียนหนังสือยังไม่มีเงินเลย ตอนนั้นได้พี่สาวช่วยส่งออกเงินให้ลูกสาวเราเรียน ตอนนี้ลูกสาวเราทำงานส่งเงินให้เรากินข้าวทุกวันก็โอเคแล้ว คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคท่านอื่นๆ ที่อาจจะประสบเหตุแบบป้าจะแนะนำให้มาปรึกษาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะว่าเข้ามาที่นี่จะมีความรู้มากขึ้น เราเข้าไปนี่ไม่รู้สักอย่าง ไม่มีอยู่ในหัวสมองเลย เวลาคนที่เจอเหตุการณ์แบบเราถ้าไม่เจ็บหนักมาก ให้รีบไปแจ้งความที่โรงพักแล้วก็รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน  เรื่องการแจ้งความสำคัญมาก ต้องแจ้งให้เร็วที่สุด มีอยู่รายหนึ่งที่ป้าเห็นคือ เขาไม่แจ้งความการเรียกร้องค่าเสียหายก็เลยฟาวล์ไปเพราะว่าไม่มีหลักฐาน ถ้าไม่มีใบแจ้งความจะไปที่อื่นหรือทำเรื่องต่อไม่ได้นะ “เราเคยเกิดอุบัติเหตุครั้งที่ 2 เราถูกรถเก๋งชนที่ขา ตอนครั้งก่อนเราไม่ค่อยรู้เรื่อง พอครั้งนี้เราเริ่มรู้แล้ว คนนี้ชนแล้วไม่หนี เขาพาเราไป รพ. ยอมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทุกอย่าง ลูกสาวคนโตเราบอกว่าคนนี้เขาดี รับผิดชอบเราทุกอย่างเราไม่ต้องแจ้งความเขา แต่ทางที่ดีเราต้องแจ้งความเพื่อให้เรามีหลักฐานว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา การแจ้งความจะทำให้เรามีหลักฐานให้ บ.ประกันภัยจ่ายเงินเรา คนคนนี้เขาใช้ประกันรถของเขามารักษาเรา” เหตุการณ์ครั้งนี้เราต้องรักษาตัวนานถึง 6 เดือน แล้วพักฟื้นที่บ้านอีกเกือบ 2 ปีถึงจะเดินได้ ตรงนี้แหละ ที่เราสามารถเรียกร้องค่าสินไหมได้ เราคิดถึงตรงนี้ก็เลยไปแจ้งความ ถ้าไม่ได้แจ้งความก็จะไม่ได้ตรงนี้ คือจะบอกว่าแม้คนที่ทำเราจะดีแค่ไหน แต่เราก็ต้องไปแจ้งความ ถึงเล่าให้ฟังว่าครั้งแรกเราไม่รู้เรื่อง พอเกิดเหตุครั้งที่สองเราก็รู้ว่าเราต้องทำอย่างไร เลยได้ค่าสินไหมฯ มาหลายหมื่นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเราก็ทำให้เรารู้ว่าเราต้องทำอย่างไร เราจะช่วยเหลือตัวเองอย่างไร ป้าว่าคนทั่วไปไม่ค่อยรู้หรอกว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นกับตัวเองจะทำอย่างไร คนจะรู้ก็เมื่อเกิดเหตุกับตัวเอง เลยอยากให้ทุกคนหาความรู้ว่าถ้าหากเกิดอุบัติเหตุแล้วเราจะต้องช่วยตัวเองอย่างไร  เรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้กันน้อยไป อย่างเราคุยกับเพื่อนๆ เราหลายๆ คนก็บอกว่าไม่รู้เรื่องพวกนี้เลย ตอนเราประสบอุบัติเหตุเพื่อนเราก็แนะนำอะไรไม่ได้เลย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 หน้าเป็นแผล เพราะเลเซอร์

แม้ปัจจุบันสถานบริการความงามต่างๆ จะมีบริการกำจัดไฝหรือขี้แมลงวันด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งมักโฆษณาว่าเป็นวิธีที่สะดวก เห็นผลชัดเจนและราคาไม่สูงมากนัก แต่เราสามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้จริงหรือ เหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้เกิดขึ้นกับคุณดวงใจ เธอตกลงใช้บริการเลเซอร์ลบขี้แมลงวันบนใบหน้า ที่คลินิกแห่งหนึ่งในห้างสรรพสินค้าชั้นนำโดยคิดราคาเป็นคอร์สละ 16,500 บาท อย่างไรก็ตามระหว่างที่กำลังใช้บริการ เธอได้ยินพนักงานคุยกันว่า “เลเซอร์เครื่องนี้ไม่ดีเลย ไม่ยอมโฟกัสจุดบนผิวหน้า” ซึ่งเธอก็คิดว่าพนักงานจะหยุดใช้เครื่องดังกล่าว แต่เธอคิดผิด เพราะพนักงานยังคงใช้เครื่องเลเซอร์นั้นบริการเธอต่อไป ซึ่งภายหลังการยิงเลเซอร์ เธอก็รู้สึกร้อนผ่าวไปทั่วหน้า และพบว่ามีรอยแผลเป็นจุดแดงๆ ที่ทราบภายหลังว่า ไม่สามารถหายเองได้ เธอจึงร้องเรียนไปยังคลินิก เพื่อให้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่กลับได้รับคำตอบว่าให้มารักษากับทางคลินิก ซึ่งเธอไม่ยินดีกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะไม่มั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัยของคลินิกดังกล่าวอีกต่อไป ดังนั้นเธอจึงไปรักษาต่อที่สถาบันด้านผิวหนังด้วยตนเอง ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินกว่า 2 หมื่นบาท นอกจากนี้ยังต้องเลื่อนงานแต่งงานของตัวเองออกไปอีกด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้ผู้ร้องมีหลักฐานเป็นใบรับรองแพทย์ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น มาจากการเข้ารับบริการเลเซอร์ขี้แมลงวันบนใบหน้า ซึ่งถือเป็นความประมาทเลินเล่อของแพทย์จากคลินิกดังกล่าว โดยทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจ ทั้งยังเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลบนใบหน้า ที่เกิดจากความผิดพลาดในการรักษาอีกด้วย ศูนย์ฯ จึงส่งหนังสือเชิญให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจา โดยผู้ร้องได้เสนอให้ทางคลินิกช่วยเยียวยาความเสียหาย ซึ่งภายหลังคลินิกก็ยินยอมช่วยเหลือผู้ร้อง ด้วยการคืนเงินค่าคอร์ส พร้อมชดเชยค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต ค่าเสียเวลา และค่าทำขวัญ รวมเป็นเงิน 100,000 บาท ด้านผู้ร้องก็ยินดีรับข้อเสนอดังกล่าว และยุติการร้องเรียนไป  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ระวังถูกล้วงข้อมูลส่วนตัว

ใครจะไปคิดว่าการบอกข้อมูลส่วนตัวทั่วๆ ไปกับบริษัทประกันภัย จะสามารถสร้างปัญหาหนักใจให้เราภายหลังได้ และเราควรจัดการปัญหานั้นอย่างไร ลองมาดูตัวอย่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้กันคุณสุชาติถูกชักชวนให้ทำประกันทางโทรศัพท์จากบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ซึ่งภายหลังฟังข้อเสนอต่างๆ เขาก็ไม่มีความประสงค์ที่จะทำประกันดังกล่าว อย่างไรก็ตามก่อนวางสายพนักงานก็พยายามสอบถามข้อมูลส่วนตัวทั่วๆ ไป เช่น ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ และแน่นอนเขาได้บอกไปตามความจริงทุกอย่าง เนื่องจากไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาอะไร แต่ภายหลังได้รับกรมธรรม์ประกันภัย จึงรู้ว่าตัวเองถูกหลอกให้ทำประกันไปซะแล้ว เมื่อโทรศัพท์กลับไปสอบถามที่บริษัทดังกล่าวก็ได้รับการชี้แจงว่า บริษัทไม่ได้ไม่ได้หลอกผู้ร้องแต่อย่างใด เพราะผู้ร้องเป็นคนบอกข้อมูลส่วนตัวให้ทำประกันเอง ซึ่งมีหลักฐานเป็นคลิปเสียงการสนทนาในครั้งนั้นอีกด้วย เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เขาจึงมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องยกเลิกประกันภัยทางโทรศัพท์ โดยส่งหนังสือยกเลิกสัญญา พร้อมหนังสือปฏิเสธการชำระหนี้ไปยังบริษัทประกันภัย และธนาคารเพื่อไม่ให้มีการเรียกเก็บเงิน หรือตัดเงินผ่านบัตรเครดิต ซึ่งต้องส่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มของหนังสือยกเลิกสัญญาดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค http://www.consumerthai.org หรือโทรศัพท์มาขอคำแนะนำได้ที่เบอร์ 02 - 2483737 (จันทร์ – ศุกร์, 09.00 – 17.00 น.)นอกจากนี้สำหรับใครที่ไม่อยากเกิดปัญหาสมัครประกันแบบไม่รู้ตัว สามารถทำได้โดยการปฏิเสธอย่างชัดเจน หรือในกรณีที่สนใจข้อเสนอของประกันภัยนั้นๆ เราควรขอกรมธรรม์มาศึกษาก่อน และหากไม่แน่ใจรายละเอียดยิบย่อย สามารถโทรศัพท์สอบถามที่สายด่วนประกันภัย คปภ. ที่เบอร์ 1186 ได้เลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 แพ้ครีม ร้องเรียนได้หรือไม่

“อยากบอกว่าครีมนี้ใช้แล้วหน้าขาวใสขึ้นจริง ปลอดภัยแน่นอน” นี่เป็นตัวอย่างคำโฆษณาที่แสนจะคุ้นหู ตามช่องเคเบิลทีวีและสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามีผู้บริโภคหลายคนที่หลงเชื่อซื้อครีมดังกล่าวมาใช้ แล้วมาค้นพบความจริงภายหลังว่าครีมไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณสุนีย์ตัดสินใจซื้อครีมยี่ห้อหนึ่ง ที่โฆษณาผ่านทางเคเบิลทีวีมาบำรุงให้ผิวหน้าขาวใส เพราะเห็นว่าคนที่มาแนะนำครีมดังกล่าวมีผิวหน้าดีจริง เธอจึงเชื่อว่าหากใช้บ้างหน้าจะเด้งและดูดีขึ้นเหมือนกัน อย่างไรก็ตามเมื่อเธอใช้ครีมดังกล่าวกลับว่า มีอาการแพ้ บวมแดงและแสบคัน เธอจึงติดต่อไปยังผู้จัดจำหน่าย ซึ่งรับผิดชอบด้วยการคืนเงินค่าครีมให้ แต่ไม่เยียวยาค่ารักษาอื่นๆ ที่เรียกร้องไป ทำให้เธอร้องเรียนมาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาแม้ผู้ร้องต้องการให้ศูนย์ฯ ช่วยเหลือ โดยให้ตรวจสอบว่าครีมดังกล่าวผสมสารที่อันตรายต่อใบหน้าหรือไม่ แต่เมื่อศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องส่งหลักฐานมาให้เพิ่มเติมคือ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวพร้อมรายละเอียดการโฆษณาต่างๆ หลักฐานการซื้อขาย และใบรับรองแพทย์ ที่สามารถยืนยันได้ว่าอาการแพ้ที่เกิดขึ้น เกิดจากการใช้ครีมดังกล่าวจริง ผู้ร้องก็แจ้งว่าเธอส่งครีมดังกล่าวคืนไปให้บริษัทแล้ว นอกจากนี้ไม่ได้ไปพบแพทย์ เพื่อรักษาอาการแพ้ แต่ซื้อยามาทาเอง ดังนั้นเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ทางศูนย์ฯ จึงไม่สามารถช่วยผู้ร้องต่อได้ เนื่องจากขาดหลักฐานที่มากพอ ศูนย์ฯ จึงขอฝากเตือนผู้ที่ซื้อครีมไม่ว่ายี่ห้อใดมาใช้ว่า ควรเก็บหลักฐานสำคัญดังที่กล่าวไว้ข้างต้นไว้ก่อน และหากพบว่าใช้แล้วมีอาการแพ้ ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยอาการ และขอใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานยืนยัน นอกจากนี้ควรทดสอบการแพ้เบื้องต้นด้วยตัวเองทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าเสียโฉม ด้วยการทาครีมทิ้งไว้ในส่วนที่บอบบางของร่างกายอย่าง ใต้ท้องแขน หรือหลังใบหู ประมาณ 24 ชม. ซึ่งหากพบว่ามีผื่นแดงขึ้นหรือคัน แสดงว่าเราแพ้ และไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์นั้นต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ค่าโดยสาร คิดราคาตามใจชอบ

แม้ปัจจุบันวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จะมีป้ายใหญ่ๆ กำหนดอัตราค่าโดยสารให้ผู้ใช้บริการตัดสินใจก่อนเรียก แต่ก็เป็นไปได้ยาก ที่เราจะเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างเจ้าเดิม หรือวินเดิมทุกครั้ง ทำให้ผู้โดยสารมีโอกาสในการเรียกวินเถื่อน ที่ไม่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งอาจเรียกเก็บอัตราค่าบริการตามใจชอบ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณปาริชาตเล่าว่า ปกติเธอใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นประจำ โดยจะเรียกจากหน้าบ้าน ไปปากซอย ระยะทางประมาณ 600 เมตร ซึ่งทุกครั้งจะเสียค่าบริการราคา 10 บาท แต่ครั้งนี้เสีย 15 บาท เมื่อสอบถามว่าทำไมวันนี้ราคาแพงกว่าเดิม ก็ได้รับคำตอบว่า “คันอื่นผมไม่รู้ แต่รถผมเก็บราคานี้” จึงทำให้เธอรู้สึกว่า แม้จะเป็นเงินจำนวนไม่มากนัก แต่มอเตอร์ไซค์คันดังกล่าวกำลังเอาเปรียบลูกค้า ซึ่งเขาอาจทำแบบนี้กับลูกค้ารายอื่นๆ อีกก็ได้ เธอจึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะอยากรู้ว่าเหตุการณ์เช่นนี้ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไรบ้าง แนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้แม้ผู้ร้องจะจำชื่อวินที่แปะไว้หลังเสื้อของคนขี่ได้ แต่เมื่อศูนย์ฯ ส่งจดหมายไปกรมการขนส่งทางบกกลับพบว่า กรมฯ ไม่สามารถติดตามผู้ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างคันดังกล่าวได้ เนื่องจากในซอยนั้นมีหลายวิน และมีมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ผู้ร้องจำต้องยุติการร้องเรียน ด้วยเหตุผลข้างต้น ทางศูนย์ฯ จึงขอแนะนำให้ผู้ใช้บริการว่า ไม่ควรจำเฉพาะป้ายวินอย่างเดียว แต่ควรจำหมายเลขทะเบียนรถคันที่เราขึ้นไว้ เพราะสามารถบอกได้ว่าผู้ที่ขับขี่เป็นใคร นอกจากนี้หากเราพบว่าการเรียกเก็บค่าบริการไม่มีความเป็นธรรม สามารถโทรศัพท์ไปร้องเรียนโดยตรงได้ที่กรมการขนส่งทางบก เบอร์ 1584

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ร้องเรียนเรื่องนมถั่วเหลืองบูดก่อนวันหมดอายุ

กลับมาแล้วจ้ะ  หลังจากหายหน้าไปนาน เล่มนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการพิทักษ์สิทธิของเราเอง  เมื่อเจอสินค้าเสื่อมคุณภาพ(สินค้าเน่าเสียก่อนวันหมดอายุ)   โดยต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม  ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับ กรณีนมถั่วเหลืองชนิดยูเอชที เน่าเสียก่อนวันหมดอายุ(ตามที่ระบุไว้ที่กล่อง)   เอาล่ะเราก็ต้องตรวจสอบไล่เรียงเรื่องราวกันก่อน ได้ความว่าผู้ร้องได้ซื้อนมถั่วเหลืองยี่ห้อหนึ่งจากร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน  เพื่อนำไปแจกในงานศพญาติ  ก่อนซื้อได้ตรวจดูวันผลิตและวันหมดอายุแล้ว(ผลิตวันที่ 25 กุมภาพันธ์.59 หมดอายุ 25 ธันวาคม 59) ผู้ร้องซื้อสินค้าตอนต้นเดือนมีนาคม ห่างจากวันผลิตไม่ถึง 10 วัน จริงๆ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่หลังจากแจกจ่ายนมไปแล้ว   ปรากฏว่าแขกในงานที่ได้รับแจกนมกล่องไป ได้โทรมาต่อว่าผู้ร้อง ว่าแจกนมบูดไปให้เขากิน  ผู้ร้องจึงได้ไปตรวจสอบนม ที่เหลืออยู่ปรากฏว่าบูดเสียจริงทั้งแพ็กที่ซื้อมาจึงได้มาร้องเรียนที่สมาคมฯ   จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า เรื่องนี้ไม่สามารถไปเอาผิดกับร้านสะดวกซื้อได้ เพราะไม่ได้จำหน่ายสินค้าหมดอายุ  จึงต้องนำเรื่องไปร้องเรียนที่บริษัทผู้ผลิต ซึ่งเหตุการณ์นี้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเกิดจากความบกพร่องในกระบวนการผลิต    ทางสมาคมฯ จึงได้แนะนำกับผู้ร้องให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้  1. ผู้ร้องต้องกลับไปซื้อนมร้านเดิม วันเดือนปี ผลิตเดียวกัน(ซึ่งพบว่ายังมีจำหน่ายอยู่) มาเปิดพิสูจน์อีกครั้งว่าเน่าเสียเหมือนกันหมดหรือไม่ 2. ถ้าพบว่านมนั้นเน่าเสีย  ให้นำนมนั้นไปเป็นหลักฐานในการแจ้งความลงบันทึกประจำวันกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเป็นหลักฐาน ซึ่งผลคือพบนมเน่าเสียทั้งหมด (อันที่จริงถ้าไม่พบที่ร้านอีกก็สามารถนำนมที่เหลืออยู่กับผู้ร้องไปแจ้งความได้) ผู้ร้องจึงได้ไปแจ้งความลงบันทึกตามคำแนะนำของสมาคมฯ จากนั้นสมาคมฯ ได้รวบรวมเอกสารหลักฐาน พร้อมส่งหนังสือร้องเรียนไปที่บริษัทผู้ผลิตนมยี่ห้อนั้น  ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตแสดงความรับผิดชอบต่อสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานของตน และได้ทำหนังสือมาขอโทษและแจ้งว่าบริษัทฯ ได้ตรวจสอบนมล็อตที่ถูกร้องเรียน ซึ่งพบว่า มีปัญหาเน่าเสียจริง อันเป็นผลจากกระบวนการขนส่งบริษัท และทางบริษัทฯ ได้เรียกเก็บนมล็อตนั้นออกจากตลาดแล้วทั้งหมด   จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการเจราจาความเสียหายของผู้ร้องเรียน  บริษัทเสนอชดเชยด้วยนมจำนวน 4 ลัง และขอให้เรื่องจบ   สมาคมฯ เห็นว่าไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้บริโภค และแจ้งบริษัทว่ากรณีร้องเรียนนี้ ผู้ร้องมิได้เสียหายแค่ซื้อสินค้ามาบริโภคเอง แต่มีการแจกจ่ายไปให้ผู้ร่วมงานศพ ทำให้เพื่อนบ้านในวงกว้าง เข้าใจผิด ทำให้ผู้ร้องเสียหายจากการถูกกล่าวหาว่าซื้อของเน่าเสียมาแจก  ทำให้เกิดความเสียหายทางด้านจิตใจ สมาคมฯในฐานะคนกลางในการไกล่เกลี่ย ได้เสนอการเยียวยาความเสียหายของผู้ร้อง 2 ข้อดังนี้ คือหนึ่งให้บริษัทเยียวยาความเสียหายของผู้ร้องเป็นจำนวนเงิน  20,000  บาท  สองให้บริษัททำหนังสือขอโทษ และสัญญาว่าจะระมัดระวังผลิตสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐานทุกชิ้นก่อนถึงมือผู้บริโภค  จากนั้นมีการลงนาม 3 ฝ่าย (บริษัทผู้ผลิต สมาคมฯ ผู้รับเรื่องร้องทุกข์ ผู้ร้องเรียนในฐานะผู้เสียหาย) ในข้อตกลง และแต่ละฝ่ายเก็บข้อตกลงไว้คนละฉบับ ซึ่งทางบริษัทยินดีปฏิบัติตามข้อเสนอ      

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารออนไลน์ ฉบับที่ 184 เสียงผู้บริโภค

หน้าเป็นแผล เพราะเลเซอร์แม้ปัจจุบันสถานบริการความงามต่างๆ จะมีบริการกำจัดไฝหรือขี้แมลงวันด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งมักโฆษณาว่าเป็นวิธีที่สะดวก เห็นผลชัดเจนและราคาไม่สูงมากนัก แต่เราสามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้จริงหรือ เหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้เกิดขึ้นกับคุณดวงใจ เธอตกลงใช้บริการเลเซอร์ลบขี้แมลงวันบนใบหน้า ที่คลินิกแห่งหนึ่งในห้างสรรพสินค้าชั้นนำโดยคิดราคาเป็นคอร์สละ 16,500 บาท อย่างไรก็ตามระหว่างที่กำลังใช้บริการ เธอได้ยินพนักงานคุยกันว่า “เลเซอร์เครื่องนี้ไม่ดีเลย ไม่ยอมโฟกัสจุดบนผิวหน้า” ซึ่งเธอก็คิดว่าพนักงานจะหยุดใช้เครื่องดังกล่าว แต่เธอคิดผิด เพราะพนักงานยังคงใช้เครื่องเลเซอร์นั้นบริการเธอต่อไป ซึ่งภายหลังการยิงเลเซอร์ เธอก็รู้สึกร้อนผ่าวไปทั่วหน้า และพบว่ามีรอยแผลเป็นจุดแดงๆ ที่ทราบภายหลังว่า ไม่สามารถหายเองได้ เธอจึงร้องเรียนไปยังคลินิก เพื่อให้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่กลับได้รับคำตอบว่าให้มารักษากับทางคลินิก ซึ่งเธอไม่ยินดีกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะไม่มั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัยของคลินิกดังกล่าวอีกต่อไป ดังนั้นเธอจึงไปรักษาต่อที่สถาบันด้านผิวหนังด้วยตนเอง ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินกว่า 2 หมื่นบาท นอกจากนี้ยังต้องเลื่อนงานแต่งงานของตัวเองออกไปอีกด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้ผู้ร้องมีหลักฐานเป็นใบรับรองแพทย์ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น มาจากการเข้ารับบริการเลเซอร์ขี้แมลงวันบนใบหน้า ซึ่งถือเป็นความประมาทเลินเล่อของแพทย์จากคลินิกดังกล่าว โดยทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจ ทั้งยังเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลบนใบหน้า ที่เกิดจากความผิดพลาดในการรักษาอีกด้วย ศูนย์ฯ จึงส่งหนังสือเชิญให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจา โดยผู้ร้องได้เสนอให้ทางคลินิกช่วยเยียวยาความเสียหาย ซึ่งภายหลังคลินิกก็ยินยอมช่วยเหลือผู้ร้อง ด้วยการคืนเงินค่าคอร์ส พร้อมชดเชยค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต ค่าเสียเวลา และค่าทำขวัญ รวมเป็นเงิน 100,000 บาท ด้านผู้ร้องก็ยินดีรับข้อเสนอดังกล่าว และยุติการร้องเรียนไป     ระวังถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวใครจะไปคิดว่าการบอกข้อมูลส่วนตัวทั่วๆ ไปกับบริษัทประกันภัย จะสามารถสร้างปัญหาหนักใจให้เราภายหลังได้ และเราควรจัดการปัญหานั้นอย่างไร ลองมาดูตัวอย่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้กันคุณสุชาติถูกชักชวนให้ทำประกันทางโทรศัพท์จากบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ซึ่งภายหลังฟังข้อเสนอต่างๆ เขาก็ไม่มีความประสงค์ที่จะทำประกันดังกล่าว อย่างไรก็ตามก่อนวางสายพนักงานก็พยายามสอบถามข้อมูลส่วนตัวทั่วๆ ไป เช่น ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ และแน่นอนเขาได้บอกไปตามความจริงทุกอย่าง เนื่องจากไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาอะไร แต่ภายหลังได้รับกรมธรรม์ประกันภัย จึงรู้ว่าตัวเองถูกหลอกให้ทำประกันไปซะแล้ว เมื่อโทรศัพท์กลับไปสอบถามที่บริษัทดังกล่าวก็ได้รับการชี้แจงว่า บริษัทไม่ได้ไม่ได้หลอกผู้ร้องแต่อย่างใด เพราะผู้ร้องเป็นคนบอกข้อมูลส่วนตัวให้ทำประกันเอง ซึ่งมีหลักฐานเป็นคลิปเสียงการสนทนาในครั้งนั้นอีกด้วย เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เขาจึงมาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องยกเลิกประกันภัยทางโทรศัพท์ โดยส่งหนังสือยกเลิกสัญญา พร้อมหนังสือปฏิเสธการชำระหนี้ไปยังบริษัทประกันภัย และธนาคารเพื่อไม่ให้มีการเรียกเก็บเงิน หรือตัดเงินผ่านบัตรเครดิต ซึ่งต้องส่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มของหนังสือยกเลิกสัญญาดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค http://www.consumerthai.org หรือโทรศัพท์มาขอคำแนะนำได้ที่เบอร์ 02 - 2483737 (จันทร์ – ศุกร์, 09.00 – 17.00 น.)นอกจากนี้สำหรับใครที่ไม่อยากเกิดปัญหาสมัครประกันแบบไม่รู้ตัว สามารถทำได้โดยการปฏิเสธอย่างชัดเจน หรือในกรณีที่สนใจข้อเสนอของประกันภัยนั้นๆ เราควรขอกรมธรรม์มาศึกษาก่อน และหากไม่แน่ใจรายละเอียดยิบย่อย สามารถโทรศัพท์สอบถามที่สายด่วนประกันภัย คปภ. ที่เบอร์ 1186 ได้เลย     แพ้ครีม ร้องเรียนได้หรือไม่“อยากบอกว่าครีมนี้ใช้แล้วหน้าขาวใสขึ้นจริง ปลอดภัยแน่นอน” นี่เป็นตัวอย่างคำโฆษณาที่แสนจะคุ้นหู ตามช่องเคเบิลทีวีและสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามีผู้บริโภคหลายคนที่หลงเชื่อซื้อครีมดังกล่าวมาใช้ แล้วมาค้นพบความจริงภายหลังว่าครีมไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณสุนีย์ตัดสินใจซื้อครีมยี่ห้อหนึ่ง ที่โฆษณาผ่านทางเคเบิลทีวีมาบำรุงให้ผิวหน้าขาวใส เพราะเห็นว่าคนที่มาแนะนำครีมดังกล่าวมีผิวหน้าดีจริง เธอจึงเชื่อว่าหากใช้บ้างหน้าจะเด้งและดูดีขึ้นเหมือนกัน อย่างไรก็ตามเมื่อเธอใช้ครีมดังกล่าวกลับว่า มีอาการแพ้ บวมแดงและแสบคัน เธอจึงติดต่อไปยังผู้จัดจำหน่าย ซึ่งรับผิดชอบด้วยการคืนเงินค่าครีมให้ แต่ไม่เยียวยาค่ารักษาอื่นๆ ที่เรียกร้องไป ทำให้เธอร้องเรียนมาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาแม้ผู้ร้องต้องการให้ศูนย์ฯ ช่วยเหลือ โดยให้ตรวจสอบว่าครีมดังกล่าวผสมสารที่อันตรายต่อใบหน้าหรือไม่ แต่เมื่อศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องส่งหลักฐานมาให้เพิ่มเติมคือ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวพร้อมรายละเอียดการโฆษณาต่างๆ หลักฐานการซื้อขาย และใบรับรองแพทย์ ที่สามารถยืนยันได้ว่าอาการแพ้ที่เกิดขึ้น เกิดจากการใช้ครีมดังกล่าวจริง ผู้ร้องก็แจ้งว่าเธอส่งครีมดังกล่าวคืนไปให้บริษัทแล้ว นอกจากนี้ไม่ได้ไปพบแพทย์ เพื่อรักษาอาการแพ้ แต่ซื้อยามาทาเอง ดังนั้นเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ทางศูนย์ฯ จึงไม่สามารถช่วยผู้ร้องต่อได้ เนื่องจากขาดหลักฐานที่มากพอ ศูนย์ฯ จึงขอฝากเตือนผู้ที่ซื้อครีมไม่ว่ายี่ห้อใดมาใช้ว่า ควรเก็บหลักฐานสำคัญดังที่กล่าวไว้ข้างต้นไว้ก่อน และหากพบว่าใช้แล้วมีอาการแพ้ ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยอาการ และขอใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานยืนยัน นอกจากนี้ควรทดสอบการแพ้เบื้องต้นด้วยตัวเองทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าเสียโฉม ด้วยการทาครีมทิ้งไว้ในส่วนที่บอบบางของร่างกายอย่าง ใต้ท้องแขน หรือหลังใบหู ประมาณ 24 ชม. ซึ่งหากพบว่ามีผื่นแดงขึ้นหรือคัน แสดงว่าเราแพ้ และไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์นั้นต่อไป     ค่าโดยสาร คิดราคาตามใจชอบ แม้ปัจจุบันวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จะมีป้ายใหญ่ๆ กำหนดอัตราค่าโดยสารให้ผู้ใช้บริการตัดสินใจก่อนเรียก แต่ก็เป็นไปได้ยาก ที่เราจะเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างเจ้าเดิม หรือวินเดิมทุกครั้ง ทำให้ผู้โดยสารมีโอกาสในการเรียกวินเถื่อน ที่ไม่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งอาจเรียกเก็บอัตราค่าบริการตามใจชอบ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณปาริชาตเล่าว่า ปกติเธอใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นประจำ โดยจะเรียกจากหน้าบ้าน ไปปากซอย ระยะทางประมาณ 600 เมตร ซึ่งทุกครั้งจะเสียค่าบริการราคา 10 บาท แต่ครั้งนี้เสีย 15 บาท เมื่อสอบถามว่าทำไมวันนี้ราคาแพงกว่าเดิม ก็ได้รับคำตอบว่า “คันอื่นผมไม่รู้ แต่รถผมเก็บราคานี้” จึงทำให้เธอรู้สึกว่า แม้จะเป็นเงินจำนวนไม่มากนัก แต่มอเตอร์ไซค์คันดังกล่าวกำลังเอาเปรียบลูกค้า ซึ่งเขาอาจทำแบบนี้กับลูกค้ารายอื่นๆ อีกก็ได้ เธอจึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะอยากรู้ว่าเหตุการณ์เช่นนี้ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไรบ้างแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้แม้ผู้ร้องจะจำชื่อวินที่แปะไว้หลังเสื้อของคนขี่ได้ แต่เมื่อศูนย์ฯ ส่งจดหมายไปกรมการขนส่งทางบกกลับพบว่า กรมฯ ไม่สามารถติดตามผู้ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างคันดังกล่าวได้ เนื่องจากในซอยนั้นมีหลายวิน และมีมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ผู้ร้องจำต้องยุติการร้องเรียน ด้วยเหตุผลข้างต้น ทางศูนย์ฯ จึงขอแนะนำให้ผู้ใช้บริการว่า ไม่ควรจำเฉพาะป้ายวินอย่างเดียว แต่ควรจำหมายเลขทะเบียนรถคันที่เราขึ้นไว้ เพราะสามารถบอกได้ว่าผู้ที่ขับขี่เป็นใคร นอกจากนี้หากเราพบว่าการเรียกเก็บค่าบริการไม่มีความเป็นธรรม สามารถโทรศัพท์ไปร้องเรียนโดยตรงได้ที่กรมการขนส่งทางบก เบอร์ 1584    

อ่านเพิ่มเติม >