ฉบับที่ 277 ยาชื่อพ้อง มองคล้าย อันตรายกว่าที่คิด

        จากข่าวแม่พาลูกชายวัย 1 ขวบที่ลื่นล้มศีรษะฟาดพื้นในห้องน้ำไปรักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้โรงพยาบาลสแกนสมอง และโรงพยาบาลได้ส่งตัวลูกไปสแกนสมองที่โรงพยาบาลอีกแห่ง ระหว่างเดินทางพยาบาลที่นั่งไปด้วยให้น้องกินยานอนหลับ เพื่อที่น้องจะได้หลับไม่ดิ้นตอนเข้าเครื่องสแกน ปรากฎว่ายาที่ให้กลับไม่ใช่ยานอนหลับแต่เป็นยาที่มีกรดไตรคลอโรอะเซติก (TCA) ที่เป็นยาใช้ภายนอกสำหรับใช้ในการจี้-รักษาหูดหงอนไก่ เมื่อเด็กกินไปแล้วจึงเกิดอาการปากและลำคอไหม้ หลังจากเกิดเหตุมีการสืบสวนที่มาของยา เจ้าหน้าที่เภสัชที่จ่ายยาให้น้องกินอ้างว่าหยิบผิด เนื่องจากมีบรรจุภัณฑ์คล้ายกันกับยานอนหลับ         ปัญหายา “ชื่อพ้อง มองคล้าย”         ปัญหาลักษณะนี้ไม่ได้มีความเสี่ยงเฉพาะยาในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังพบกับยาทั่วไปทั้งในร้านขายยา คลินิก สถานพยาบาลเอกชน รวมถึงร้านชำ ซึ่งมีทั้งเกิดจากความคล้ายกันโดยบังเอิญและความจงใจของบริษัทผู้ผลิตยา เนื่องมาจากผลประโยชน์เพื่อการโฆษณาทางการค้าที่คอยอาศัยช่องว่างทางกฎหมายการกำกับควบคุมเข้มงวดที่ต่างกัน กล่าวคือ โฆษณาสินค้าตัวหนึ่ง แต่วางสินค้าที่ชื่อพ้องกันหรือลักษณะภายนอกบรรจุภัณฑ์ที่คล้ายกัน ทั้งที่ตัวยาสำคัญออกฤทธิ์นั้นแตกต่างกัน จึงเกิดความเสี่ยงนำไปสู่การใช้ยาผิดจากข้อบ่งใช้หรืออาจได้รับยาผิดกลายเป็นยาที่เคยแพ้มาก่อนนี้ หรืออาจได้รับยาต่ำกว่าหรือเกินกว่าขนาดที่ปลอดภัย หรืออาจได้รับยาคนละชนิดแล้วเกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างกรณีที่เป็นข่าวนี้        ปัญหาความคล้ายคลึงของฉลากยาที่มีลักษณะ “ชื่อพ้อง มองคล้าย” เป็นปัญหาที่มีมานานและได้รับการแก้ไขในระดับองค์กรหรือโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจำเป็นต้องมีมาตรการแก้ไขปัญหานี้ทั้งระบบอย่างเร่งด่วน ตั้งแต่ต้นทางการอนุญาต ไม่ให้มียาที่“ชื่อพ้อง มองคล้าย”เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้ยาของประชาชน            ความโหดร้าย ยาหน้าคล้าย ที่หมายมุ่ง            น้าป้าลุง แยกออกไหม ใครใคร่สน        ทั้งผลิต โฆษณา บิดเบือนปน                              ระชาชน ทุกข์ยาก ลำบากกาย             แสวงหา ยารักษา ยามป่วยเจ็บ                        แก้อักเสบ หรือฆ่าเชื้อ เรียกหลากหลาย        เสี่ยงลองกิน ตามคำบอก จากตายาย                   อันตราย ถึงชีวิน สิ้นเหลียวแล             บริษัทยา ผู้ผลิต คิดอะไรอยู่                            กฎหมายรู้ ผลกระทบ ไม่แยแส        อนาคต สุขภาพไทย จะอ่อนแอ                           หากไม่แก้ ทำไม่รู้ อดสูใจ             ยาสามัญ ประจำบ้าน เรียกขานชื่อ                    แท้จริงคือ แค่โฆษณา ยาอยู่ไหน        มีทะเบียน ไม่ผลิต หรืออย่างไร                            ยาปลอดภัย ยาสามัญ เฝ้าฝันรอ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 273 เล็บเป็นเชื้อราจากการทำเล็บควรอย่างไรดี

        การทำเล็บเพื่อความสวยมีการพัฒนารูปแบบไปอย่างหลากหลาย ร้านทำเล็บมีกันเกลื่อนเมือง มีทั้งการทำเล็บเจลที่นิยมทำกันมากหรือการต่อเล็บปลอมแล้วตกแต่งให้สวยงาม ซึ่งเป็นเล็บปลอมจากอะคริลิก PVC แต่รู้หรือไม่ อาจเสี่ยงให้เกิดเชื้อราหรือเป็นเล็บเขียวๆ หลังจากถอดเล็บปลอมออกไปได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวเพราะว่ามองไม่เห็น จะมารู้ตัวอีกทีก็หลังจากถอดเล็บออกมาเท่านั้น         อาการเล็บเป็นเชื้อราจากการทำเล็บนั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ส่วนมากคือเกิดจากความอับชื้น และจากอุปกรณ์ของช่างที่ไม่สะอาด ดังนั้นเพื่อให้รู้จักสังเกตอาการก่อนจะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ลุกลาม สามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือหลังจากถอดเล็บปลอมออกแล้ว พบว่า เล็บเป็นสีเขียว หรือสีขาวหรือออกเหลืองๆ  และบางคนอาจมีอาการคัน บวม แดง ก็แสดงว่าติดเชื้อราเข้าแล้ว  เกิดอาการเล็บติดเชื้อรา ควรทำอย่างไรดี         ฉลาดซื้อ แนะนำว่าหลังถอดเล็บทุกครั้งให้ดูแลความสะอาดให้ดี พร้อมกับพักระยะเวลาการต่อเล็บปลอมหรือทาสีเจลไปอีกสักพักก่อน เพื่อให้เล็บได้ฟื้นตัว หากมีอาการแบบที่บอกไว้ข้างต้น ควรทายาฆ่าเชื้อราเพื่อรักษาอาการคู่ไปด้วย โดยหากเป็นไม่มากแค่ออกสีเขียวๆ ปรึกษาเภสัชกรให้แนะนำยาที่เหมาะแก่การรักษาให้ แต่หากมีอาการมาก คัน อักเสบ ให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันทีเพื่อไม่ให้เชื้อราเกิดลุกลามจนหน้าเล็บพัง เพราะในกรณีที่ลุกลามมากๆ อาจจะต้องให้แพทย์ทำการรักษา เช่น ตัดเล็บหรือถอดเล็บบริเวณเกิดเชื้อราออก ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาให้รับประทานโดยเฉพาะ         อีกเรื่องคือ หากใครที่ต่อเล็บแล้วพบว่าเล็บเหมือนจะหลุดแต่ยังไม่หลุด จนมีช่องว่างระหว่างตรงกลางไว้ แนะนำให้รีบไปถอดออกทันที อย่าปล่อยไว้ เพราะอาจมีช่องว่างให้น้ำเข้าไปจนเกิดความอับชื้น ซึ่งอาจเป็นแหล่งก่อเกิดเชื้อราโดยเฉพาะนั้นเอง ร้านทำเล็บต้องสะอาด         การเลือกร้านทำเล็บ ควรเลือกที่น่าเชื่อถือ มีการทำความสะอาดอุปกรณ์และมีอุปกรณ์เพื่อการฆ่าเชื้ออย่างดี ที่สำคัญฉลาดซื้อย้ำเตือนเสมอ คือ มีใบอนุญาตหรือช่างผ่านการอบรมมาอย่างดี รวมถึงเรื่องสุขอนามัยของร้าน เช็กให้ดีก่อนเข้าใช้บริการทุกครั้ง  เพราะการที่เราจะทำอะไรเกี่ยวกับร่างกาย ไม่ว่าจะภายนอกหรือภายใน เราควรที่จะเน้นเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยเป็นหลักข้อมูลจาก : www.Pobpad.com ข้อควรรู้ก่อนทำเล็บปลอม เพื่อป้องกันเล็บพังwww.Pobpad.com ความหมาย เชื้อราที่เล็บwww.hellokhunmor.com เล็บปลอม กับข้อควรรู้ก่อนต่อเล็บปลอม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 269 สระผมอย่างไร? ให้ไม่เสี่ยงปัญหาหนังศีรษะ

        ฉลาดซื้อ คิดว่ามีหลายคนที่เจอปัญหาเกี่ยวกับหนังศีรษะ ทั้งรังแค เชื้อรา หรือแม้แต่ปัญหาผมร่วง ซึ่งสาเหตุก็คงมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเกิดจากโรคประจำตัว พันธุกรรมหรืออื่นๆ แต่อย่างหนึ่งที่เราน่าจะรู้กันอยู่แล้วหรือบางคนก็อาจลืมไป ก็คือ พฤติกรรม “การสระผม” ของเรานี้ล่ะที่เป็นสาเหตุ ขั้นตอนสระผมให้สะอาด ป้องกันปัญหาบนหนังศีรษะ        ·     หนังศีรษะของเราโดยปกติมักมีเหงื่อ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ สะสมอยู่แล้ว  ดังนั้นควรที่จะทำความสะอาดสระผมเป็นประจำ เช่น  2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่แนะนำให้สระบ่อยจนเกินไป ทั้งนี้ บางคนที่มีหนังศีรษะที่มันง่าย อาจจะเปลี่ยนเป็นสระวันเว้นวันได้ ขึ้นอยู่ที่สภาพหนังศรีษะของแต่ละบุคคล        ·     สิ่งที่ควรทำก่อนสระผม คือ การล้างผมด้วยน้ำสะอาดก่อนให้ทั่วหัว ไม่ควรใช้น้ำอุ่น ควรใช้แค่น้ำอุณหภูมิปกติทั่วไป หลังจากนั้นบีบแชมพูลงไป แต่พยายามอย่าบีบยาสระผมให้ลงไปที่หนังศีรษะจนเกินไป  ส่วนใครที่ใช้ครีมนวดผมก็ควรจะใช้บริเวณกลางหัวถึงปลายผมพอ        ·     ไม่เกาหนังศีรษะเวลาสระผมแรงๆ เพราะอาจเกิดแผลและระคายเคือง ใครที่ชอบเกาแรงๆ เพราะชอบหรือผ่อนคลายก็ควรงดเลย        ·     เมื่อสระผมเสร็จแล้วควรจะมีการเป่าให้แห้ง หากสระผมก่อนนอน อย่านอนในขณะที่ผมยังไม่แห้งเด็ดขาด เพื่อป้องกันหนังศีรษะอับชื้น และไม่เป่าผมด้วยอุณหภูมิที่ร้อนจนเกินไป        ·     การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แชมพูสระผมก็เกี่ยวด้วยเช่นกัน เพราะแต่ละยี่ห้อก็มีส่วนผสมที่แตกต่างกันไป ดังนั้นควรเลือกยาสระผมที่อ่อนโยน ไม่ระคายเคือง หลีกเลี่ยงส่วนผสมพวกพาราเบน พทาเลต ซัลเฟต หรือกลุ่มซิลิโคน         สำหรับคนที่มีปัญหาหนังศีรษะ เช่น รังแค ควรเลือกแชมพูสระผมที่เน้นเรื่องการลดปัญหานั้นๆ ที่มีขายอยู่ตามตลาดมากกว่าแชมพูทั่วไป หากไม่หายควรไปพบแพทย์ นอกจากนี้ใครที่มีอาการแพ้ยาสระผมอย่างรุนแรงก็ควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการรักษาให้ถูกวิธีเช่นกัน และเชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่หลายๆ คนมองข้ามคือ การใช้ผ้าขนหนูร่วมกับผู้อื่น ทางที่ดีอย่าใช้ร่วมกับคนอื่น และผ้าขนหนูเช็ดตัวกับเช็ดผมก็ควรใช้แยกกันไปไปเลยดีกว่า อุปกรณ์หวีผมก็ดูแลทำความสะอาดให้ดี ไม่ปล่อยให้สิ่งสกปรกหมักหมมไว้นาน         อีกเรื่องช่วงนี้เริ่มเข้าสู่หน้าฝนที่ร้อนชื้น อบอ้าว ดังนั้นหลายคนคงพบปัญหาฝนตกจนเปียกไปทั้งตัวกันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะที่เมื่อเปียกและปล่อยทิ้งไว้ก็อาจจะทำให้เป็นหวัดหรือเกิดการอับชื้น จนอาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น เชื้อรา ดังนั้นช่วงหน้าฝนควรดูแลหนังศรีษะเบื้องต้น ซึ่งมาฝากดังนี้         เมื่อหนังศีรษะเปียกฝนควรสระผมทันทีที่ทำได้ เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกที่เรามองไม่เห็นที่มาพร้อมกับฝนออก เช่น พวกกลุ่มเชื้อโรค ไวรัสต่างๆ ที่อาจทำให้ไม่สบายเป็นหวัดได้ และควรเป่าให้แห้งสนิท ห้ามนอนในระหว่างที่ผมยังไม่แห้งดี กรณีที่เราไม่สามารถสระผมได้ทันที ก็อาจจะซับผมและเป่าพัดลมให้แห้งไว้ก่อนได้เพื่อขจัดความอับชื้นออกไป  ข้อมูลจาก :  https://hellokhunmor.com : วิธีสระผมที่ถูกต้อง เพื่อผมแข็งแรงสุขภาพดี ทำอย่างไรhttps://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1130https://www.springnews.co.th/news/583062https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/question-healthy-in-the-rain-wash-the-hair/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 261 ความเคลื่อนไหวเดือนพฤศจิกายน 2665

ภาชนะพลาสติกสำหรับอาหารจะเป็นสินค้าควบคุม         สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ประกาศเพิ่มเติมให้สินค้าประเภทพลาสติกที่ใช้กับอาหารเป็นสินค้าควบคุม เนื่องจากภาชนะที่ใช้สัมผัสอาหารโดยตรงอาจมีความเสี่ยงให้ก่อสารมะเร็งได้ เช่น สีที่ใช้ทาเคลือบภายนอก สารที่ใช้ทำพลาสติก         นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จำนวน 136 รายการ ที่ทาง สมอ. ประกาศเป็นสินค้าควบคุม และกำลังจะเพิ่มอีก 5 รายการ ได้แก่ 1.ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับใส่อาหาร ทำจากพอลิเอทิลีน พอลิพรอพิลีน พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ และพอลิเมทิลเพนทีน  2. ภาชนะเครื่องใช้พลาสติกสำหรับใส่อาหาร ทำจากพอลิไวนิลคลอไรด์ พอลิคาร์บอเนต พอลิแอไมด์ และพอลิเมทิลเมทาคริเลต 3. ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับใส่อาหาร ทำจากอะคริโลไนไทรล์-บิวทะไดอีน-สไตรีน และสไตรีน-อะคริโลไนไทรล์  4. ภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารสำหรับเตาไมโครเวฟ สำหรับการอุ่น (ใช้ซ้ำได้)  5. ภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารสำหรับเตาไมโครเวฟ สำหรับการอุ่นครั้งเดียว เพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งทั้ง 5 รายการที่กล่าวมาจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 มกราคม 2565 นี้ ทวงหนี้ผิดกฎหมายระบาด         นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยว่า พบแก๊งมิจฉาชีพส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ทวงหนี้เงินกู้มากขึ้น และชักชวนให้กู้วงเงินเพิ่ม โดยมี 3 ข้ออ้าง ดังนี้ 1.ขู่ว่าเป็นหนี้ไม่จ่ายจะติดคุก ความจริงคือ ไม่จ่ายหนี้ไม่ใช่ความผิดทางอาญา แต่เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ 2.จะมีการยึดทรัพย์ทันทีหากไม่ยอมจ่ายหนี้ ความจริงคือ เจ้าหนี้ต้องฟ้องคดีถึงที่สุดก่อน 3.การทวง เช้า กลางวัน เย็น ไม่สามารถทำได้ ทางกฎหมายให้ทวงนี้แค่วันละ 1 ครั้งเท่านั้น หากใครได้รับการข่มขู่ลักษณะข้างต้นให้ตั้งสติแล้วบันทึกข้อมูลเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ เช่น ข้อมูลสนทนา ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ เพื่อใช้ดำเนินคดีอย่าเพิกเฉย         การทวงหนี้ตามกฎหมายหากมีลักษณะการข่มขู่ ดุหมิ่น เปิดเผยข้อมูลของลูกหนี้ หรือใช้ความรุนแรงทำให้เสียทรัพย์ใดๆ อาจถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท และ ผู้ประประกอบการสินเชื่อที่ไม่ได้รับอนุญาต โทษจำคุก 1-5 ปี ปรับตั้งแต่ 100,000 – 500,000 บาท เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ห้ามโอนลอยรถ เสี่ยงได้รถผิดกฎหมาย                    กรมการขนส่งทางบก แจ้งเตือนประชาชนที่ ซื้อ-ขาย รถมือสองว่าไม่ควรซื้อ-ขาย โดยวิธีการโอนลอย เช่น การเซ็นเอกสารแล้วมาดำเนินการทีหลัง เพราะอาจจะก่อให้เกิดปัญหาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายได้ เช่น ผู้ซื้อไม่ยอมชำระภาษีประจำปี รถเกิดอุบัติเหตุ หรือเคยนำรถไปกระทำโดยผิดกฎหมายอาจจะสร้างปัญหาผู้ขายได้ เนื่องจากชื่อเจ้าของรถยังคงปรากฎเป็นเจ้าของรายเดิมอยู่ในระบบ         ทั้งนี้การไม่นำรถมาโอนทางทะเบียน อาจทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของรถได้ว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมาหรือไม่ อย่างไรก็ตามทางกรมการขนส่งทางบกได้กำชับทั้งผู้ซื้อ-ผู้ขายว่าต้องตรวจสอบแหล่งที่มาของรถก่อนการซื้อทุกครั้ง และต้องตรวจสอบหลักฐานทะเบียนรถให้ครบถ้วน โดยเฉพาะคู่มือรถฉบับจริงที่มีชื่อเจ้าของรถ เลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์ สีรถถูกต้องตรงกับที่ซื้อขายทุกรายการ ที่สำคัญควรตรวจสอบว่ามีการชำระภาษีประจำปีถูกต้องครบถ้วน สั่งอาหารออนไลน์ระวังเชื้อรา        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาเตือนผู้บริโภคที่นิยมสั่งซื้ออาหารผ่านทางออนไลน์ ว่า ระวังเสี่ยงเชื้อราและให้สังเกตบรรจุภัณฑ์ หรือดูวันหมดอายุก่อนบริโภคทุกครั้ง         นายแพทย์เอกชัย  เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัยและโฆษกกรมอนามัย เผยว่า ปัจจุบันประชาชนนิยมซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแอปพลิเคชันทางออนไลน์กันมากขึ้น เพราะสะดวก ประหยัดน้ำมัน และไม่เสียเวลาในการเดินทาง ผู้ผลิตยังนิยมจัดกลยุทธ์การตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย ทำให้ผู้บริโภคสั่งซื้ออาหารนั้นบ่อยและมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว จึงควรระวังสินค้าเก่าเก็บที่อาจเสี่ยงเชื้อรา เพราะหากเก็บรักษาไม่เหมาะสม เช่น เก็บไว้ในที่ชื้นเกินไปหรือไม่มีการอบให้แห้งดีพอ จะก่อให้เกิดสาร “อะฟลาทอกซิน” หากมีการบริโภคเข้าไปสะสมในปริมาณมากก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ ดังนั้น เมื่อได้รับสินค้าควรสังเกตบรรจุภัณฑ์ว่าสะอาด มีฝาปิดมิดชิด ซองบรรจุไม่มีรูรั่ว และอ่านฉลากให้ครบถ้วน ตั้งแต่ชนิด ส่วนประกอบ วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดคุณภาพ         สำหรับอาหารสดก่อนที่จะนำมาปรุง ประกอบอาหาร ควรล้างให้สะอาดเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อน และควรตรวจสอบวันหมดอายุก่อนนำมาบริโภคทุกครั้ง นอกจากผู้บริโภคควรสังเกตเรื่องความปลอดภัยของอาหารแล้ว หากพบอาหารที่สั่งมามีกลิ่นหรือสีที่เปลี่ยนไปถึงแม้จะมองไม่เห็นว่ามีเชื้อราก็ไม่ควรนำมาบริโภค ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ “สารอะฟลาทอกซิน” เป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง โดยปริมาณเพียง 1 ไมโครกรัมสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรียและทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ หากได้รับอย่างต่อเนื่อง ศาลปกครองกลาง "รับฟ้อง" คดีควบรวมธุรกิจทรู-ดีแทค        จากที่ทางสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ได้ยื่นคำร้อง ให้เพิกถอนมติ กสทช. “รับทราบ” การควบรวมธุรกิจระหว่างบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งรับคำฟ้องแล้ว และทาง สอบ.ได้นำรายชื่อผู้บริโภค 2,022 ราย ที่ได้ร่วมรณรงค์คัดค้านและสนับสนุนเรื่องดังกล่าวยื่นต่อศาลปกครองอีกด้วย         กรณีที่ผู้บริโภคยื่นคำขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ศาลได้รับคำขอดังกล่าวไว้ และรอให้ ทรู-ดีแทค มาเป็นผู้ร้องสอดในคดีจึงจะเริ่มพิจารณา เนื่องจากศาลมองว่า 2 บริษัทเป็นบุคคลภายนอกที่อาจมีผลกระทบจากการพิพากษา นอกจากนี้ สาเหตุที่ สอบ.ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางนั้นมาจากที่ มติในการประชุมของ กสทช.นัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งด้านเนื้อหาและกระบวนการเพราะก่อนลงมติฯ กสทช.ไม่ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้บริการก่อน ทั้งนี้มติดังกล่าวกระทบกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนมากกว่า 118 ล้านเลขหมาย โดยเฉพาะผู้ใช้บริการของทรูและดีแทคที่มีจำนวนสูงถึง 60 ล้านเลขหมาย คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 260 จะรักษาทั้งที อย่าให้ยา”ตีกัน”

        คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วต้องไปหาแพทย์ เภสัชกรหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรักษานั้น  ก็บอกแค่อาการป่วยและข้อมูลแพ้ยาอะไรก็เพียงพอแล้ว แต่ความจริงข้อมูลเท่านี้ยังไม่พอ เพราะยังมีเรื่องสำคัญมากอีกอย่างเช่นข้อมูลพฤติกรรมและการกินยาหรืออาหารอะไรอยู่ในช่วงเวลาที่เจ็บป่วย ก็เพื่อว่า “ป้องกันยาตีกัน” นั่นเอง         ไม่ใช่แค่บอกว่าแพ้ยาอะไร ผู้ป่วยควรจะต้องแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าในช่วงนี้ตนใช้ยา ยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมอะไรร่วมอยู่ด้วย เพราะยาบางตัวเมื่อนำไปใช้ร่วมกับยา ยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมตัวอื่นๆ มักจะเกิดปฏิกิริยาทำให้ระดับยาในเลือดเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา บางครั้งอาจเกิดอาการที่รุนแรงเพิ่มขึ้นไปหรือบางครั้งก็ไปทำให้ประสิทธิภาพของยาที่ใช้ลดต่ำลง ทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายขึ้นในภายหลัง  ปฏิกิริยาแบบนี้ ภาษาชาวบ้านจะเรียกว่า “ยาตีกัน”         ตัวอย่าง คนไข้ เอ ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้รับยาฆ่าเชื้อคลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin) จากแพทย์มารับประทาน  อีก 2 วันต่อมา คนไข้มีอาการปวดไมเกรน จึงกลับไปที่โรงพยาบาลอีกครั้ง แต่คนไข้ไม่ได้แจ้งว่า ตนเองกำลังใช้ยาคลาริโทรมัยซินอยู่  โรงพยาบาลจึงจ่ายยาเออร์โกตามีน (Ergotamine)  เพื่อรักษาไมเกรนมาให้  เมื่อคนไข้กลับบ้านจึงรับประทานยาทั้ง 2 ตัวร่วมกัน  ปรากฎว่ายาทั้ง 2 ตัว  “ตีกัน”  ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหดตัว  เลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลง  กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเสียชีวิต          กรณีนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น  ในโลกนี้ยังมียาจำนวนมากที่สามารถเกิด “ยาตีกัน” กับยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพร ยาแผนโบราณและอาหารเสริมได้  การบอกข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้รักษา “ทราบชื่อ” ยาหรือ อาหารเสริมที่คนไข้ใช้อยู่  นอกจากป้องกันยาตีกันได้แล้วยังป้องกันการได้รับยาเกินขนาด  ยาซ้ำซ้อนกับยาเดิมที่มีอยู่อีกด้วย และยังช่วยให้ประเมินได้ว่าอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากโรคหรืออาการข้างเคียงจากยาที่ใช้อยู่หรือไม่  ยาหรืออาหารเสริมหลายตัวนอกจากจะรักษาโรคได้ ก็ยังทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ด้วยเช่นกัน   หากทราบข้อมูลเหล่านี้แล้ว ผู้ที่รักษาก็จะเปลี่ยนยา ลดขนาดหรือปรับวิธีรับประทานยา  ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาอื่นเพิ่มเติม         ท่องจำย้ำเตือนให้ขึ้นใจเลยครับ เวลาไปโรงพยาบาล ร้านขายยา คลินิกหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หากในช่วงนั้นผู้ป่วยมีการใช้ ยา ยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมอยู่ด้วย ขอให้นำติดตัวไปด้วยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ แนะนำ หากมีฉลากหรือเอกสารต่างๆ ก็ขอให้นำติดไปด้วยจะยิ่งดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 257 กระแสต่างแดน

จ่ายแล้วจ่ายอีก        ตำรวจไต้หวันเตือนนักช้อปออนไลน์ให้ระวัง “โทรศัพท์แอบอ้าง” หลังมีผู้มาแจ้งความเรื่องดังกล่าวมากกว่า 2,725 ครั้งในไตรมาสที่สองของปีนี้กองบัญชาการสอบสวนอาชญากรรมของไต้หวันระบุว่า มิจฉาชีพเหล่านี้จะอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้าของร้านดังหรือแพลตฟอร์มรายใหญ่ เช่น ร้านหนังสือ books.com.tw ร้านอุปกรณ์กีฬา Decathlon Group หรือ Shopee เป็นต้น ลูกค้าจะได้รับแจ้งให้ชำระเงินซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากครั้งแรก “ทำรายการไม่สำเร็จ” หรือมีปัญหาในการทำ แบ่งผ่อนชำระ บ้างก็ได้รับข้อมูลว่าทำแล้วจะได้รับของแถม หรือได้อัปเกรดเป็นสมาชิกระดับวีไอพี ตำรวจจึงขอให้เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มเหล่านี้กำกับดูแลบริษัทที่รับจ้างดูแลฐานข้อมูลของลูกค้าอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการรั่วไหล หรือการแฮคข้อมูล และให้แจ้งเตือนผู้ใช้ที่หน้าแรกของร้านด้วยส่วนผู้บริโภค ขอให้หลีกเลี่ยงการรับสายจากหมายเลขที่ขึ้นต้นด้วย +2 หรือ +886   จมด้วยกัน        ฝันร้ายของบริษัทประกันรถยนต์กลายเป็นจริง เมื่อมีการเคลมประกันเข้ามาพร้อมกันเป็นจำนวนมากโดยเจ้าของรถยนต์ในกรุงโซล หลังเกิดน้ำท่วมหนักเพราะฝนที่ตกหนักสองวันติดต่อกันเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีการแจ้งเคลมประกันยานพาหนะที่เสียหายเข้ามากว่า 7,000 คัน และในจำนวนนั้นมีไม่ต่ำกว่า 1,500 คัน ที่เป็นรถนำเข้าราคาแพงของคนมีฐานะที่อาศัยอยู่ในย่านกังนัม   กรณีของบริษัทซัมซุงไฟร์แอนด์มารีนอินชัวรันส์ จากรถที่แจ้งเคลมเข้ามา 2,371 คัน มี 939 คัน (เกือบร้อยละ 40) ที่เข้าข่ายเป็นรถหรู ที่มีทุนประกันรวมกันไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านวอน หรือประมาณ 680 ล้านบาท แม้บริษัทประกันรถยนต์จะไม่เดือดร้อนถึงขั้นต้องปิดตัวไปเหมือนธุรกิจประกันสุขภาพในบางประเทศ เพราะได้กำไรดีมาตลอดแม้ในช่วงโควิดระบาด แต่คนที่ฝันสลายคือผู้บริโภคที่ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าจะได้จ่ายเบี้ยประกันถูกลง ตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ตลาด อะไรอยู่ในกระเป๋า            เทรนด์ใหม่มาแรงใน Tiktok ขณะนี้คือคลิปลุ้นเปิดกระเป๋าไม่มีเจ้าของ ที่คนทำคอนเทนท์อ้างว่าได้มาจากสนามบิน สถานีรถไฟ หอพักนักศึกษา หรือบ้านเช่า เป็นต้น ความสนุกอยู่ตรงที่ได้ลุ้นว่าข้างในมีอะไร มูลค่าเท่าไร เช่น ผู้ใช้รายหนึ่งนำกระเป๋าที่อ้างว่าซื้อผ่านแอปฯ ขายของมือสองมาในราคา 1,000 หยวน (ประมาณ 5,250 บาท) มาเปิดในคลิป นอกจากข้าวของทั่วไปของผู้หญิงแล้ว เธอยัง “เซอร์ไพรซ์” ที่เจอสร้อยคอแบรนด์เนม ราคาไม่ต่ำกว่า 40,000 หยวน (ประมาณ 200,000 บาท) ตามกฎหมาย การซื้อขายกระเป๋าดังกล่าวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของถือเป็นความผิด และทั้งสนามบินและสถานีรถไฟต่างก็ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายนำกระเป๋าไม่มีเจ้าของออกมาขายหรือเปิดประมูล ผู้ค้ารายหนึ่งบอกว่ากระเป๋าที่เขาขายนั้นส่วนใหญ่มาจากบ้านเช่าหรือหอพักนักศึกษา แต่ “ของมีค่า” นั้นถูกใส่เพิ่มเข้าไปภายหลัง เพื่อสร้างความตื่นเต้นและเป็นอุบายขายของมือสองในราคาสูงขึ้น    เข้ากลุ่มอัตโนมัติ        ศาลสูงออสเตรเลียมีคำสั่งให้ผู้เสียหายจากการถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอย่างไม่เป็นธรรมโดยธนาคาร ANZ และธนาคาร ASB เป็นผู้ร่วมฟ้องคดีแบบกลุ่มโดยอัตโนมัติ เพื่อเรียกร้องเงินคืน เดือนมีนาคม ปี 2563 ธนาคาร ANZ ยอมรับว่าคำนวณดอกเบี้ยผิดเพราะข้อบกพร่องของโปรแกรมที่ใช้ในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2558 ถึง พฤษภาคม 2559 และตกลงจะจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกค้าประมาณ 100,000 คน รวมเป็นเงิน 29.4 ล้านเหรียญ  ด้านธนาคาร ASB ซึ่งไม่มีหลักฐานยืนยันว่าได้ส่งข้อมูลอัตราดอกเบี้ยหลังการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2015 ถึง 2019 ก็ตกลงยินยอมจ่ายเงินรวม 8.1 ล้านเหรียญให้กับผู้ได้รับผลกระทบ 73,000 ราย คำสั่งศาลครั้งนี้ทำให้ลูกหนี้สินเชื่อบ้านและสินเชื่อส่วนบุคคลเหล่านี้อุ่นใจได้ว่าจะมีการดำเนินคดีและมีโอกาสได้รับเงินคืน อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่ต้องการร่วมฟ้องก็สามารถขอถอนตัวจากคดีนี้ได้ ฟังก์ชันเหลือเชื่อ        กรมยานยนต์แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ยื่นร้องเรียนต่อสำนักงานพิจารณาคดีปกครองด้วยข้อ กล่าวหาว่าโฆษณารถยนต์เทสลาว่าด้วยระบบช่วยเหลือในการขับขี่ เข้าข่ายเกินจริง ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสาระสำคัญของฟังก์ชัน “ออโตไพล็อต” และฟีเจอร์ “ขับอัตโนมัติ” โฆษณาในเว็บไซต์บริษัทระบุว่า “สิ่งที่คุณต้องทำคือแค่เข้าไปนั่ง แล้วบอกรถคุณว่าจะให้ไปที่ไหน ถ้าคุณไม่พูดอะไรเลย รถจะเปิดดูปฏิทินของคุณ แล้วพาคุณไปยังที่ๆ คาดว่าคุณมีนัดหมาย” ซึ่งกรมฯ ยืนยันว่ารถเทสลาไม่ใช่ยานยนต์ที่สามารถทำเช่นนั้นได้ ไม่ว่าจะในช่วงเวลาขณะนี้หรือในขณะที่ทำการโฆษณา หากถูกตัดสินว่าผิดจริง เทสลาจะไม่มีสิทธิจำหน่ายรถในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของแบรนด์และเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ อีกต่อไป ขณะนี้บริษัทกำลังถูกสอบสวนกรณีอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งคาดว่าอาจเกิดขึ้นขณะรถอยู่ในโหมดออโตไพล็อตด้วย        

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 257 โฆษณาสินเชื่อจำนำทะเบียนรถหลอกลวง สัญญามีผลใช้บังคับได้ไหม

ในยุคที่สินค้าราคาแพง แถมยังมีการกลับมาระบาดของโควิดระลอกใหม่ ทำให้หลายคนประสบปัญหาทางการเงินต้องวิ่งหาแหล่งเงินกู้เพื่อนำเงินมาหมุนใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ซึ่งธุรกิจให้กู้ยืมเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงินก็มีเพิ่มขึ้นมากมาย โดยเฉพาะช่วงหลายปีที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจปล่อยสินเชื่อโดยเรียกเก็บโฉนดที่ดินหรือทะเบียนรถยนต์ก็เริ่มมีเพิ่มขึ้น เพราะเป็นแหล่งเงินกู้ที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย และแน่นอนว่าเราก็พบเห็นข้อความโฆษณาของธุรกิจแบบนี้บนสื่อต่างๆ ในทำนองว่า “รับจัดสินเชื่อบ้าน ที่ดิน และรถทุกประเภท ไม่ต้องมีสลิป ไม่เช็คประวัติ อยู่ที่ไหนก็จัดได้ ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน” ซึ่งการโฆษณาเช่นนี้ ก็ทำให้คนโดยทั่วไปเข้าใจว่ากู้ง่ายได้ไวและตัดสินใจเข้ามาทำสัญญากู้เงิน          อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พบว่าในความเป็นจริงธุรกิจให้สินเชื่อดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการให้เป็นอย่างที่โฆษณา  เมื่อผู้บริโภคเข้าทำสัญญาปรากฎว่ามีการให้โอนเล่มทะเบียนซึ่งไม่ตรงตามที่โฆษณา เช่นนี้จึงได้มีการนำเรื่องไปฟ้องร้องกันในศาลและเรื่องไปสู่ศาลฏีกา ซึ่งศาลก็ได้พิจารณาและมีคำพิพากษาว่า การที่ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อโฆษณาเกินจริง หลอกลวง โดยอ้างว่าไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน แต่เมื่อผู้บริโภคมาเข้าทำสัญญากลับมีการให้โอนเล่มทะเบียน เช่นนี้จึงทำให้การโอนเป็นโมฆะ เพราะขัดเเย้งกับสิ่งที่ได้โฆษณาไว้   ผลคือผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ให้กู้จะต้องส่งมอบรถแทรกเตอร์คันพิพาทคืนแก่ผู้กู้   และผู้กู้มีหน้าที่ต้องคืนเงินต้นที่รับมาจากผู้ให้กู้ทั้งหมดให้แก่ผู้ให้กู้   โดยต้องนำเงินที่ผู้กู้ชำระเงินให้แก่ผู้ให้กู้ไปแล้ว มาหักออกจากจำนวนที่ผู้กู้ต้องรับผิด ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799 / 2563         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799 / 2563         แผ่นป้ายโฆษณาของจำเลยข้อความว่า “ให้เงินกู้ค่ะ มีบ้านมีรถเงินสดทันใจ ไม่โอนเล่ม ไม่จดจำนอง” และ “ให้เงินกู้ จัด 2 แสน รถยนต์ไม่ต้องโอน ทะเบียนรถทุกชนิด รถไถ โฉนดบ้าน ที่ดิน คอนโด”         แม้ป้ายโฆษณาจะระบุให้ติดต่อกับสาขาของจำเลยคนละสาขา แต่ก็เป็นการโฆษณากิจการให้เงินกู้ของจำเลย   เมื่อโจทก์เข้าทำธุรกรรมทางการเงินกับจำเลยเนื่องมาจากการโฆษณาตามแผ่นป้ายดังกล่าวจึงถือว่าแผ่นป้ายโฆษณาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างโจทก์ผู้บริโภคกับจำเลยผู้ประกอบธุรกิจ ตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 เมื่อรถที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยเป็นรถแทรกเตอร์ขุดตักประเภทเดียวกับที่ระบุในแผ่นป้ายโฆษณาว่าไม่โอนเล่ม การที่จำเลยให้โจทก์กู้เงินโดยทำสัญญาเช่าซื้อและมีการโอนกรรมสิทธิ์รถแทรกเตอร์ให้แก่จำเลยจึงไม่เป็นไปตามที่โฆษณา การโฆษณาดังกล่าวของจำเลยถือได้ว่าเป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการตามมาตรา 22 (2) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ถือเป็นโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมมีลักษณะเป็นการลวงผู้บริโภคซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 47 อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดจากการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์ย่อมไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ และต้องคืนทรัพย์สินต่อกันตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องส่งมอบรถแทรกเตอร์คันพิพาทคืนแก่โจทก์และโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับมาจากจำเลยทั้งหมดให้แก่จำเลย โดยต้องนำเงินที่โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยไปแล้วมาหักออกจากจำนวนที่โจทก์ต้องรับผิดและเมื่อการคืนทรัพย์สินหรือเงินอันเกิดจากโมฆะกรรม ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องใช้ดอกเบี้ย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องคืน แต่มีอำนาจเพิกถอนรายการจดทะเบียนอันเกิดจากนิติกรรมอันเป็นโมฆะนั้นเสียได้         จากคำพิพากษาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้การโฆษณาเพื่อลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดและหลงทำสัญญา ผลคือสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับได้เลย  ดังนั้นการที่ไปโอนเล่มทะเบียนกันไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ก็ถูกเพิกถอนรายการจดทะเบียนดังกล่าวไปด้วย  สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้บริโภคก็ต้องคืนเงินที่กู้ให้ผู้ประกอบธุรกิจผู้ให้กู้และเงินที่คืนกันนี้เป็นการคืนแบบลาภมิควรได้ ไม่ใช่การใช้เงินคืนตามสัญญากู้ ดังนั้นจึงมาคิดดอกเบี้ยไม่ได้  และเมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องคดีผู้บริโภค พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ก็มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินคดี ทั้งเรื่องกำหนดให้ข้อความโฆษณาถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา (มาตรา 11 )  การประกอบธุรกิจต้องกระทำโดยสุจริต ( มาตรา 12 ).................................        พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551         มาตรา 11 ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของบริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่าข้อความ การกระทำหรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคลหรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตาม         มาตรา 12 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำด้วยความสุจริตโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม         นอกจากนี้ การใช้โฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดและหลงทำสัญญาก็เป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษจำคุกและปรับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  มาตรา 47 อีกด้วย         มาตรา 47 ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น โฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกระทำผิดซ้ำอีก ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 254 ผลทดสอบหน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก (อายุระหว่าง 5-12 ปี)

        ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ทำให้การสวมหน้ากากอนามัยกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทั่วไปและเด็กเล็ก เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค อีกทั้งยังมีส่วนช่วยป้องกันการติดเชื้อได้บางส่วน อย่างไรก็ตามปัจจุบันหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ใหญ่มีมาตรฐานกำกับ  สำหรับหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียว (มอก. 2424-2562) และหน้ากากแบบ N 95 (มอก.2480-2562) แต่สำหรับหน้ากากอนามัยเด็กนั้น มาตรฐานที่กำหนดอาจยังไม่เหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งานได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเด็กเล็กมีสภาพร่างกายต่างจากผู้ใหญ่ สำหรับคุณสมบัติของหน้ากากอนามัยที่ใช้สำหรับเด็กนั้น อาจจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลต่างของค่าความดันอากาศ นอกเหนือจากประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น         และในปี พ.ศ. 2565 นี้ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำลังพิจารณาผลักดันให้ สินค้าหน้ากากอนามัยเป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. จึงร่วมกันทดสอบหน้ากากอนามัยที่ระบุบนฉลากว่าสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 5-12 ปี เพื่อเป็นข้อมูลในการผลักดันเพื่อออกมาตรฐานหน้ากากอนามัยที่หมาะสมกับสภาพร่างกายของเด็กด้วยเช่นกัน         คณะทำงานได้เก็บตัวอย่างสินค้าทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง โดยทดสอบสองรายการ ที่กำหนดใน มอก.2424-2562 และ มอก. 2480-2562 ได้แก่        1) ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก (Filter Efficiency)        2) ทดสอบผลต่างความดันของอากาศ (Pressure Difference: DP) ผลการทดสอบ        1.ผลการทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยประเภทใช้งานด้านการแพทย์ทั่วไป และการแพทย์ศัลยกรรมตามเกณฑ์ มอก. 2424-2562         ผลิตภัณฑ์ที่สำรวจและสุ่มซื้อในกลุ่มนี้ มีจำนวน 3 ยี่ห้อ ผลการทดสอบพบว่า ประสิทธิภาพการกรองอนุภาค พบว่า ทุกยี่ห้อ ต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ผลต่างความดันอยู่ในเกณฑ์ของ มอก. ทุกยี่ห้อ (ดูตารางที่ 1)         2.ผลการทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยประเภทใช้งานทั่วไปตามเกณฑ์ มอก. 2424-2562         ผลิตภัณฑ์ที่สำรวจและสุ่มซื้อในกลุ่มนี้ มีจำนวน 11 ยี่ห้อ สำหรับประสิทธิภาพการกรองอนุภาค พบว่า ยี่ห้อ Unicharm ต่ำกว่าเกณฑ์         สำหรับยี่ห้อ ที่มีค่า ผลต่างความดันเกินกว่าค่ามาตรฐาน ได้แก่ ยี่ห้อ Glowy Star ยี่ห้อ Lotus’s ยี่ห้อ KSG ยี่ห้อ Iris OYAMA และ ยี่ห้อ Linkcare (ดูตารางที่ 2)         3.ผลการทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากป้องกันระบบทางเดินหายใจ ประเภท FFP2 KN95 KF94 และ N95 ตาม มอก. 2480-2562        ผลิตภัณฑ์ที่สำรวจและสุ่มซื้อในกลุ่มนี้ มีจำนวน 6 ยี่ห้อ สำหรับประสิทธิภาพการกรองอนุภาค พบว่า ทุกยี่ห้อ เป็นไปตามเกณฑ์         สำหรับยี่ห้อที่มีค่าผลต่างความดันเกินกว่าค่ามาตรฐาน ได้แก่ ยี่ห้อ SUMMIT PEREON ยี่ห้อ Minicare ยี่ห้อ Kuwin และ ยี่ห้อ Kangju (ดูตารางที่ 3)         4.เครื่องหมาย มอก. จากการตรวจสอบข้อมูลหน้ากากอนามัยสำหรับเด็กที่จำหน่ายอยู่โดยทั่วไปในท้องตลาด พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม ยกเว้นยี่ห้อ Welcare ที่มีการระบุเครื่องหมายมาตรฐานอยู่บนบรรจุภัณฑ์คำแนะนำการเลือกหน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก        ข้อมูลจากทางองค์กรทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภคแห่งเยอรมนี ได้แนะนำว่า หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กนั้น ค่าของผลต่างความดัน ไม่ควรเกิน 50% ของมาตรฐานหน้ากากอนามัยที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบการหายใจของเด็กต่างจากผู้ใหญ่ หน้ากากอนามัยที่มีผลต่างความดันมาก อย่างหน้ากากอนามัยชนิด N95 อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กเล็ก ดังนั้นคำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อหน้ากากอนามัยให้เด็กคือ        1.ควรเลือกชนิดที่มีค่ากรองอนุภาคเป็นไปตามมาตรฐาน         2.เลือกชนิดที่มีค่าผลต่างความดันต่ำกว่า 50% ของค่ามาตรฐาน         3.ในกรณีที่จำเป็นต้องให้เด็กใช้หน้ากากอนามัยชนิด N 95 ไม่ควรใส่เกิน 1 ชม. และเมื่อเข้าในอาคารควรถอดออกเพื่อพักหายใจ         4.ประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยจะใช้งานได้ดีเมื่อการสวมใส่หน้ากากนั้นกระชับไปกับรูปหน้าของเด็ก ปัจจุบัน (ข้อมูลถึงเดือนมีนาคม 2565) มีผู้ประกอบการสมัครใจยื่นขอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. 2424-2562 หน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว และได้รับใบอนุญาตแล้ว จำนวน 9 ราย ดังนี้1.บริษัท ทีพีซีเอส จำกัด (มหาชน) แบรนด์  Welcare 2.บริษัท เมดิเชน จำกัด แบรนด์ MedCmask 3.บริษัท เคเอส โกลเด้น จำกัด แบรนด์ SureMask / G Lucky / KSG 4.บริษัท วิชัย เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด แบรนด์ WCE Mask5.บริษัท เอ็น.เอ็น.สกายเทรด จำกัด แบรนด์ HYGUARD6.บริษัท เอส.เจ.อีควิปเมนท์ แอนด์ แคร์ จำกัด แบรนด์ GAMSAI7.บริษัท เบฟเทค จำกัด แบรนด์ BevTech 8.บริษัท เอ็มไนน์ เมดิคอล อีควิปเม้นท์ จำกัด แบรนด์ M9 9.บริษัท เฮลท์เวย์ ซัพพลาย จำกัด แบรนด์ LIVE SEF และมีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. 2480-2562 หน้ากาก N 95 แล้ว จำนวน 1 ราย ดังนี้ 1.บริษัท มารีอา โปรดักส์ จำกัด แบบไม่มีลิ้นระบายอากาศ แบรนด์ MARI-R[1] มาตรฐาน มอก. 2424-2562ขอบคุณภาพประกอบจาก ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยอนุบาลสาธิต ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มมหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 250 รู้เท่าทันกินเนยถั่ว

กินเนยถั่ว (ลิสง) อันตรายต่อสุขภาพไหม        เนยถั่วลิสงเป็นอาหารยอดนิยมที่ผู้คนใช้ในการประกอบอาหารและของว่างหลายชนิด เป็นอาหารที่ไม่ควรมีคอเลสเตอรอลและเป็นตัวเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เต็มไปด้วยโปรตีนและไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เพราะเนยถั่วลิสงมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามความที่มันเป็นอาหารที่มีรสมันจัดจึงน่าสงสัยว่าดีต่อสุขภาพจริงหรือ         เนยถั่วลิสงนั้นต่างจากเนยสำหรับทาขนมปัง (หรือ butter ที่ทำจากนมวัว) ตรงที่เนยถั่วลิสงมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบสูงเท่าที่ถั่วลิสงมี แต่เนยทาขนมปังนั้นเป็นไขมันเกือบทั้งหมด โดย 100 กรัม เนยถั่วลิสงมีโปรตีนประมาณ 25 กรัม ในขณะที่เนยทาขนมปังนั้น 100 กรัม มีโปรตีนไม่เกิน 1 กรัม         นอกจากนี้ไขมันในเนยถั่วลิสงยังเป็นไขมันไม่อิ่มตัวสูงหรือ PUFA ซึ่งไม่มีคอเลสเตอรอล ในขณะที่เนยทาขนมปังมีไขมันตามที่นมมีคือ มักเป็นไขมันอิ่มตัวแต่อาจมีไขมันไม่อิ่มตัวได้บ้างตามอาหารที่วัวกินว่า เป็นหญ้าหรือกากถั่วเหลือง กากข้าวโพด ที่สำคัญคือ เนยทาขนมปังมีคอเลสเตอรอลได้เพราะเป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ดังนั้นถ้าเนยถั่วลิสงยี่ห้อใดมีการเติม butter เพื่อให้รสชาติดีโอกาสพบคอเลสเตอรอลในระดับหนึ่งย่อมเป็นไปได้         สิ่งที่ควรคำนึงเมื่อกล่าวถึงกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในเนยถั่วลิสงคือ สารอาหารนี้ถูกออกซิไดส์ให้เกิดความหืนได้ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จึงอาจจำเป็นต้องมีการเติมสารต้านออกซิเดชั่น (antioxidants) ให้มากพอเพื่อช่วยในการดำรงสภาพของกรดไขมันไม่อิ่มตัว แม้ว่าเนื้อถั่วลิสงเองก็มีสารต้านออกซิเดชั่นธรรมชาติหลายชนิดก็ตามแต่ก็อาจไม่พอ สารต้านออกซิเดชั่นสังเคราะห์นั้นมีหลายชนิดที่อุตสาหกรรมอาหารสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ เช่น BHA นอกจากนี้เนยถั่วลิสงบางยี่ห้ออาจมีการแต่งสีเพื่อให้มีความสม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้งของการผลิต พร้อมเติมไขมันอื่น ๆ เพื่อให้เนื้อเนยมีความเนียน และที่สำคัญคือ เนยถั่วลิสงอาจต้องมีการเติมสารกันเสียเพื่อกันราขึ้นด้วย         สิ่งที่ต้องแลกกับประโยชน์ของเนยถั่วลิสงคือ ความเสี่ยงในการรับสารพิษจากเชื้อราคือ aflatoxin  (B1, B2, G1 และ G2) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วลิสงนั้นเป็นที่ยอมรับว่าปลอดจากสารพิษนี้ยาก จึงต้องพยายามคุมให้มีระดับไม่เกิน 20 ส่วนในพันล้านส่วน ซึ่งในทางพิษวิทยาถือว่า มีความเสี่ยงต่ำ         ก่อนซื้อเนยถั่วลิสงควรดูฉลากว่า มีการเติมองค์ประกอบอื่น เช่น น้ำตาลทราย และสารเจือปนต่าง ๆ หรือไม่ แล้วจึงถามตัวเองว่ายอมรับได้หรือไม่ถ้าเนยถั่วลิสงไม่ได้มีเฉพาะถั่วลิสงบดกับเกลือ ซึ่งถ้ารับไม่ได้ก็จำเป็นต้องเลือกเนยถั่วยี่ห้อที่แสดงฉลากว่า ไม่เติมสารเจือปนใด ๆ หรือทำกินเองเพราะทำได้ง่ายมาก         อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริโภคเนยถั่วลิสงคือ เนยถั่วลิสงนั้นอร่อยสุด ๆ การกินมากเกินไปย่อมทำให้อ้วนได้ สมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association) แนะนำให้กินเนยถั่วลิสงได้วันละ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งมีประมาณ 188 calories เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนั้นวันไหนที่กินเนยชนิดนี้ก็ควรออกกำลังกายเพิ่มขึ้นสักหน่อยเพื่อความสบายใจของแพทย์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 250 โควิดก็ยังไม่หมด และข้อมูลมั่วๆ ก็ยังมา (2)

        ยืนตากแดดก็ฆ่าเชื้อโควิด 19         จากกรณีที่โลกออนไลน์มีการแชร์ข้อมูล โดยแนะนำให้ประชาชนออกมาตากแดดตอนเช้า เพื่อให้แดดฆ่าเชื้อโควิด 19  เพราะเชื้อโควิด 19 ชอบความเย็นมากกว่าความร้อน ดังนั้นเมื่อเจอความร้อนจากแสงแดดเชื้อโควิด 19 จะตาย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จ การยืนตากแดดไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้จริง         ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็นโควิด19         มีการแชร์ข้อมูลเชิญชวนให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยอ้างว่าฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็นโควิด-19 แม้ในแง่วิชาการ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ในประเด็นที่อ้างว่า ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็นโควิด 19 ได้นั้น ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่าไม่เป็นความจริง วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้เฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโควิด 19 ได้ แต่อาจจะเกี่ยวข้องกันบ้างในแง่ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะลดความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจจะพบการติดเชื้อร่วมกับโควิด 19         เราจะรับมือกับกับข้อมูลเท็จในยุคที่ผู้บริโภคกำลังสำลักข้อมูลอย่างไรดี?        ในโลกปัจจุบันที่ผู้คนสามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลมั่วๆ เหล่านี้ยังคงถาโถมมาเรื่อยๆ และมันก็จะวนเวียนอยู่ในอินเทอร์เน็ตแบบไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อเวลาผ่านไปมันก็จะหมุนเวียนกลับมาอีกเป็นระยะๆ ผู้บริโภคอย่างเราจึงต้องตั้งสติให้ดี         1. ตรวจสอบต้นตอที่มาของข่าว         เมื่อได้รับข้อมูล อย่าเพิ่งรีบเชื่อ และต้องไม่รีบส่งต่อหรือแชร์ข้อมูล เพราะการส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จจะเป็นการทำร้ายคนอื่นโดยไม่รู้ตัว ผู้บริโภคควรตรวจสอบรายละเอียดในข้อมูลก่อนว่ามีการระบุต้นตอแหล่งที่มาชัดเจนหรือไม่ ถ้าไม่มีแหล่งที่มาอย่างชัดเจนก็ไม่ควรแชร์  แต่ส่วนใหญ่ข้อมูลมั่วๆ เหล่านี้มักจะมีการอ้างอิงแหล่งที่มาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ดังนั้นเราก็ไม่ควรรีบเชื่อ เพราะอาจเป็นการอุปโลกน์แหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อหลอกเรา         2. ลองค้นข้อมูลด้วยตัวเองดูก่อน         เนื่องจากข้อมูลที่แชร์ๆ ต่อๆ กันมา บางทีก็เป็นข้อมูลเก่าที่เคยแชร์มาหลอกชาวบ้านเมื่อหลายปีมาแล้ว ผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน ควรจะลองเข้าไปค้นหาข้อมูลดูด้วย เช่น อาจค้นจาก google ดูก็ได้ บางทีเราจะพบว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จ และในอดีตก็มีหน่วยงานต่างๆ ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว         3. สอบถามผู้รู้ เช่น คน หน่วยงาน         หากไม่มั่นใจในข้อมูล ผู้บริโภคสามารถติดต่อสอบถามยังหน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ช่วยหาข้อเท็จจริงมาบอกเราได้ ทั้งนี้ควรเลือกหน่วยงานที่เรามั่นใจและน่าเชื่อถือในแง่วิชาการด้วย                 4. จัดการต้นตอข่าวลือให้อยู่หมัด         หากข่าวลือดังกล่าวนำไปสู่การโฆษณาหรือขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรแจ้งเบาะแสให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 245 เลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เดี๋ยวนี้

        โพลล่าสุด บอกคนกรุงเทพต้องการให้รัฐบาลเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด่วน        วิกฤตการระบาดของเชื้อโควิดโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สะท้อนการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโควิดได้อย่างยากยิ่งในเมืองหลวง แต่ได้เห็นความพยายามของกลุ่มคนต่างๆมากมายซึ่งเป็นโอกาสที่รัฐบาลจะได้ใช้ความร่วมมือของกลุ่มคนต่างๆเหล่านี้ หน่วยงานที่ต้องยกย่องชมเชย เห็นจะเป็นชมรมแพทย์ชนบท และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีความพยายามที่จะมองปัญหาเรื่องนี้ไปข้างหน้าไม่ว่าจะเป็นการจัดการปัญหาเรื่องการแยกตัวที่บ้าน(Home Isolation) หรือการแยกตัวในชุมชน(Community Isolation) กับสนับสนุนให้ประชาชนสามารถกลับไปรักษาที่จังหวัดของตนเอง โดยการสนับสนุนรถรับส่ง เพราะเห็นได้ว่าหน่วยบริการไม่สามารถจัดบริการเหล่านี้ได้หรือรองรับได้เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ประชาชนต้องพึ่งกลุ่มบุคคลต่างๆที่ทำงานนอกระบบหรืออาสาสมัครในปัจจุบัน เช่น วัดสะพาน หลายชุมชนในคลองเตย คลองเตยดีจัง กลุ่มเส้นด้าย คลินิกพริบตา IHRI กลุ่มออนไลน์อีกจำนวนมาก และรวมถึงมูลนิธิและองค์กรสาธารณประโยชน์ อาสาสมัครอีกมากมายในการแก้ไขปัญหาวิกฤตโควิด หรือแม้แต่การสนับสนุนการทำกิจกรรมป้องกัน ดูแล รักษา กันเองในชุมชน         สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นรัฐบาลการดำเนินการ คือการสนับสนุนกลุ่มองค์กรต่างๆเหล่านี้ ด้วยงบประมาณแผ่นดิน แทนที่แต่ละองค์กรจะต้องมีภาระในการระดมเงินบริจาคจากประชาชนเพียงอย่างเดียว หรือการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐสามารถทำได้เพียงหน่วยบริการสาธารณสุขในระบบเท่านั้น         ซึ่งต้องยอมรับว่าในปัจจุบันหน่วยบริการต่างๆได้มีความพยายามให้บริการได้อย่างเต็มความสามารถ และได้ขยายการให้บริการในรูปแบบต่างๆเต็มศักยภาพเท่าที่จะสามารถทำได้ แต่จำนวนยังไม่เพียงพอต่อการเจ็บป่วยของประชาชน         ทางออกสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโควิดในปัจจุบันก็คือให้ชุมชนดูแลกันเองให้มากที่สุด ให้ประชาชนที่สามารถแยกตัวเองที่บ้านได้มีชุดความรู้ ชุดข้อมูล ชุดอุปกรณ์ดูแลตัวเองแบบเบ็ดเสร็จ พร้อมสนับสนุนการเข้าถึงยาที่จำเป็นในการรักษาตนเองโดยเร็วที่สุด         เขียนมาตั้งนานไม่เห็นจะเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเลย หากย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รัฐบาลได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้เกือบแปดเดือนแล้ว หลายคนก็คาดหวังว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่ต่างก็ต้องผิดหวัง ทำให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันไม่ยึดโยงกับประชาชนใช่หรือไม่ เพราะไม่ได้มาจากการตัดสินใจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ทำให้การตัดสินใจหลายครั้งของผู้ว่ากรุงเทพมหานครไม่ได้ยึดโยงอยู่กับความเดือดร้อนของประชาชน ไม่ว่าการออกประกาศให้เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท แต่ถูกนายกรัฐมนตรีสั่งห้าม ดึงดันคิดราคา 65 บาททั้งที่ไม่มีที่ไปที่มา หรือแม้แต่การแก้ไขปัญหาโควิดของกรุงเทพมหานครก็สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่ไม่สามารถดูแลประชาชนได้อย่างน่าภูมิใจ ถึงแม้ทุกคนจะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนความต้องการผู้ว่าราชการที่มาจากการเลือกตั้งเดี๋ยวนี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 245 รู้จักแผนจัดการเชื้อดื้อยา กำจัดจุดอ่อนก่อนเข้าสู่แผนปี 2565-2569

        ปัญหาเชื้อดื้อยาถูกพูดถึงบ่อยครั้ง แต่ก็ยังคงต้องพูดถึง ย้อนกลับไปวันที่ 6 กันยายน 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้นลงนามในปฏิญญานครชัยปุระว่าด้วยการดื้อยาต้านจุลชีพ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาต่อๆ มากระทั่งเกิดเป็น ‘แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564’ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 แต่กว่าจะมีคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติก็ล่วงเลยถึง 10 มีนาคม 2560         พอถึงเดือนธันวาคม 2562 มีการจัดทำรายงานความก้าวหน้าระยะครึ่งแผนออกมา ซึ่งเราจะกล่าวถึงในภายหลัง ส่วนปี 2564 ที่ผ่านมาแล้ว 7 เดือน ทั้งเป็นปีสุดท้ายของแผนยังไม่มีการจัดทำ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19         ส่วนแผนยุทธศาสตร์ฯ ปี 2565-2569 กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการ ‘ฉลาดซื้อ’ ฉบับนี้จะชวนมาทำความรู้จักแผนดังกล่าว ความคืบหน้า จุดอ่อน และสิ่งที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 5 เกี่ยวกับการส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชน ซึ่งเป็นส่วนที่ภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายเข้ามามีบทบาท         ทำไมต้องมีแผนยุทธศาสตร์จัดการเชื้อดื้อยา         เรามาทำความรู้จัก ‘แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564’ อย่างย่นย่อกันก่อน         ข้อมูลจากแผนฯ ระบุว่ามีผู้คนประมาณ 700,000 คนต่อปีเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ทำอะไร ปี 2593 ตัวเลขผู้เสียชีวิตจะสูงถึง 10 ล้านคน โดย 4.7 ล้านคนอยู่ในทวีปเอเชีย สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 3.5 พันล้านล้านบาท ขณะที่ประเทศไทยมีการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาปีละประมาณ 38,000 คน 4.2 หมื่นล้านบาทคือความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น นี่คือที่มาของแผน         ตัวแผนกำหนดเป้าหมายที่ต้องไปให้ถึงในปี 2564 ไว้ 5 ข้อคือ การป่วยจากเชื้อดื้อยาลดลงร้อยละ 50 การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์และสัตว์ลดลงร้อยละ 20 และ 30 ตามลำดับ ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และประเทศไทยมีระบบจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพที่มีสมรรถนะตามเกณฑ์สากล        โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว ยุทธศาสตร์ที่ 2 การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในภาพรวมของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาลและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม         ยุทธศาสตร์ที่ 4 การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชน และยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารและพัฒนากลไกระดับนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างยั่งยืน         ผลสำรวจดูดี แต่ในรายละเอียดนั้น...         เราจะไปดูความคืบหน้าจากรายงานระยะครึ่งแผน ‘ความรู้และความตระหนักเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของประชาชนในประเทศไทย: ผลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.2562’ จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (International Health Policy Program หรือ IHPP) ว่าผลลัพธ์ออกมาอย่างไร โดยแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ         ข้อแรก-การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ พบว่าประชาชนน้อยกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 21.5 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นนี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.8 จากการสำรวจในปี 2560 โดยประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.7 ได้รับข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์         หัวข้อที่ 2 ความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ พบว่า ประชาชนมีความเรื่องนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.7 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 24.3 ในปี 2562 แต่ข้อที่น่าสังเกตคือประชาชนมากกว่าครึ่งที่ตอบแบบสอบถามตอบคำถามไม่ถูกต้องในประเด็น ‘ยาปฏิชีวนะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัส’ ‘ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาไข้หวัด’ ‘ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ’ และ ‘การได้รับยาปฏิชีวนะบ่อยครั้งก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย’         ข้อที่ 3 ตระหนักเรื่องความสำคัญของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โดยคะแนนในส่วนนี้เท่ากับ 3.3 จาก 5 คะแนน ประชาชนร้อยละ 89.6 เห็นว่าควรใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่แพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกรสั่งให้เท่านั้น ถึงกระนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดในบางประเด็น เช่น ร้อยละ 83.3 เชื่อว่าหากใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องจะไม่มีความเสี่ยงเรื่องเชื้อดื้อยา เป็นต้น         และข้อที่ 4 การใช้ยาปฏิชีวนะในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่าประชาชนร้อยละ 6.3 ใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบการกินในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยประชาชนร้อยละ 98.1 ได้รับยาปฏิชีวนะจากบุคลากรทางการแพทย์ แต่ยังมีร้อยละ 1.9 ที่ซื้อจากร้านขายของชำ ทั้งนี้สาเหตุการใช้ยาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 43.2 ใช้เพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่ซึ่งเป็นการใช้ยาไม่เหมาะสม เพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 27.0 ในปี 2560                ข้อสังเกตจากเภสัชกร         นอกจากนี้ ปี 2563 กลุ่มนิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ยังได้ทำการสำรวจออนไลน์ในหัวข้อ ‘ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์’         ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และนักวิชาการประจำศูนย์วิชาการเฝ้าระวังแลพัฒนาระบบยา (กพย.) อธิบายผลสำรวจว่า         “เรามีการถามว่าในช่วงปี 2563-2564 ก่อนสำรวจ 6 เดือนมีการใช้ยาปฏิชีวนะหรือเปล่า ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ตอบว่าเคย ซึ่งในยุทธศาสตร์ที่ 5 เรื่องการสื่อสารเราเน้นเรื่องหวัด เจ็บคอ ท้องเสีย แผลสดไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะจึงมีคำถามด้วยว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาที่บอกว่าใช้ยาปฏิชีวนะ คุณได้ใช้รักษาอาการเจ็บคอ ท้องเสีย แผลสดหรือเปล่า ก็ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ตอบว่าใช้         “ในส่วนความรู้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือความรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยาและความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ ผลโดยภาพรวมคนส่วนมากจะตอบข้อความรู้ได้ถูกต้องเกิน 60 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นข้อหนึ่งที่น่าสนใจที่ไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ คือคนยังคิดว่ายาปฏิชีวนะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ายาแก้อักเสบ เป็นข้อที่คนส่วนใหญ่ยังตอบผิดอยู่คือ 56 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนเรื่องทัศนคติส่วนใหญ่ค่อนข้างดีว่าต้องทานยาปฏิชีวนะจนครบ         “ส่วนในเรื่องของพฤติกรรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับกลางๆ คนที่ตอบว่าเคยซื้อยาปฏิชีวนะมากินเองส่วนใหญ่เคยประมาณ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์อันนี้ก็เป็นจุดที่น่าสนใจ และร้อยละ 50 ซื้อยาฆ่าเชื้อมากินเองตามที่เคยได้รับจากหมอ ส่วนพฤติกรรมอื่นๆ เช่นการแกะแคปซูลเอายามาโรยแผลยังน้อยอยู่ อาจเพราะเราใช้สื่อออนไลน์กลุ่มประชาชนที่เข้าถึงแบบสำรวจอาจเป็นประชาชนที่มีการศึกษา”         คนทำงาน         คราวนี้เราจะกลับมาที่ยุทธศาสตร์ที่ 5 ซึ่งที่ผ่านมามีความร่วมมือจากหลายเครือข่ายที่เข้ามาร่วมทำงานอย่างศูนย์วิชาการเฝ้าระวังแลพัฒนาระบบยา (กพย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เอ็นจีโอ ภาคประชาสังคม บุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานรัฐ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นต้น         ยุทธศาสตร์นี้มี 3 กลยุทธ์คือ ส่งเสริมบทบาทขององค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคม สื่อมวลชนในการสร้างความเข้าใจเรื่องเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมอ ส่งเสริมและพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยทำงาน และสุดท้าย เสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย         ภก.ชินวัจน์ อธิบายว่า หน่วยงานรับผิดชอบประกอบไปด้วยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพซึ่งในกรมนี้จะมี 2 กองย่อยคือกองสนับสนุนบริการสุขภาพทำหน้าที่ดูแล อสม. ทั่วประเทศ อีกกองหนึ่งคือกองสุขศึกษาทำหน้าที่จัดทำสื่อหรือเผยแพร่สื่อให้ อสม. นำไปใช้กระจายความรู้ให้กับประชาชน        ในส่วนผู้รับผิดชอบส่วนที่ 2 คือ สสส. ทำหน้าที่ให้ความรู้ในระดับกว้างทั้งประเทศผ่านสื่อออนไลน์ โทรทัศน์ วิทยุ รถไฟฟ้า ใน สสส. ยังมีภาคีเครือข่าย เช่น กพย. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นต้น         “ในส่วนของ กพย. เราจัดกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์เรื่องการรู้และตระหนักการใช้ยาต้านแบคทีเรีย แล้วก็ชวนแต่ละที่มาร่วมกันตรงนี้เพื่อทำเป็นแคมเปญ นอกจากนี้ กพย. ก็ผลิตสื่อด้วย เช่น กระจกส่องคอ ยาวิพากษ์ แผ่นพับต่างๆ กระจายไปยังโรงพยาบาลในเครือข่ายของ กพย.”        ส่วนที่ 3 คือสมัชชาสุขภาพแห่งชาติซึ่งมีมติให้ ‘วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ’ เป็นประเด็นที่ต้องจัดการในการประชุมครั้งที่ 8 ปี 2558 แต่ยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ        สิ่งที่ต้องแก้ไขในแผนปี 2565-2569         จากตอนต้นถึงบรรทัดนี้ การขับเคลื่อนประเด็นเชื้อดื้อยาดูจะดำเนินไปด้วยดี แม้บางข้อจะยังมีความเข้าใจผิดในหมู่ประชาชนก็ตาม แต่ในมุมมองของ ภก.ชินวัจน์ กลับเห็นว่ามีหลายสิ่งอย่างที่ต้องจัดการและแก้ไข         เบื้องต้น ผลการสำรวจปี 2562 ออกมาถือว่าไม่เลว อย่างไรก็ตาม เมื่อลงไปดูในรายละเอียดยังมีหลายจุดที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังเข้าใจคลาดเคลื่อน ส่วนหนึ่งมาจากแผนการสื่อสารที่ยังไม่ชัดเจน         “ผมคิดว่าข้อที่สำคัญที่สุดคือเรื่องการสื่อสารของภาครัฐยังแย่อยู่ เป็นการสื่อสารแบบราชการที่ประชาชนเข้าใจยาก คุณตั้งยุทธศาสตร์ขึ้นมาและต้องการภาคประชาชนในการสนับสนุน แต่การสื่อสารการให้ข้อมูลที่ถูกต้องคุณยังไม่ชัดเจน แล้วสื่อที่คุณผลิตออกมามันไม่ใช่สื่อที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายๆ” ภก.ชินวัจน์ วิพากษ์วิจารณ์         ประเด็นที่ 2 การสื่อสารของภาคประชาชนในระดับท้องถิ่นบางครั้งต้องอาศัยหน่วยงานรัฐท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาลในส่วนของสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) พบว่างบประมาณสนับสนุนให้บุคลากรของโรงพยาบาลหรือ สสจ. ลงพื้นที่พูดคุยทำความเข้าใจกับประชาชนยังน้อย ภก.ชินวัจน์ กล่าวว่าหน่วยงานราชการไม่มีงบประมาณให้ในการทำสื่อหรือกิจกรรม แม้กระทั่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพก็ไม่มีงบประมาณเพื่อทำตามยุทธศาสตร์นี้         ในส่วนของภาคประชาชน ภก.ชินวัจน์ แสดงความคิดเห็นว่าภาคประชาชนมีเครือข่ายที่เหนียวแน่น เครือข่ายเหล่านี้ควรมีแกนนำที่เข้ามาร่วมทำงานกับภาครัฐ เพราะขณะที่ภาครัฐยังทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม หากภาคประชาชนช่วยกันส่งเสียงสะท้อนปัญหาก็น่าจะมีส่วนเร่งความกระตือรือร้นในการทำงานได้         อีกด้านหนึ่ง ภก.ชินวัจน์ ยอมรับว่าที่ผ่านมาการสื่อสารกับประชาชนยังไม่มีการจำแนกกลุ่มที่ชัดเจนเพื่อผลิตสื่อที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย สื่อที่ผลิตออกมาส่วนใหญ่ดูเหมือนว่าจะเน้นกลุ่มชนชั้นกลางในเมือง ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับกลุ่มประชาชนที่อยู่นอกเขตเมือง        และจุดนี้จะเป็นประเด็นที่ภาคประชาชนจะมีการหารือต่อไปเพื่อกำหนดออกมาเป็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชน ในแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2565-2569 ต่อไป         หมายเหตุ การสัมภาษณ์ ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี เกิดขึ้นก่อนมีการประชุมหารือเพื่อวางแนวทางยุทธศาสตร์ 

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 239 ผดทดสอบหน้ากากอนามัย จากองค์กรผู้บริโภคต่างประเทศ

        ในยุคที่คนทั้งโลกต้อง “สวมหน้ากาก” เข้าหากัน จึงเป็นธรรมดาที่คนจะตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของมัน กรณีของ “หน้ากากอนามัยเกรดการแพทย์” นั้นไม่น่าเป็นห่วง เพราะกว่าจะเรียกตัวเองเช่นนั้นได้ ก็ต้องผ่านมาตรฐานหลายประการ         แต่สภาผู้บริโภคแห่งฮ่องกง (ผู้จัดพิมพ์ CHOICE นิตยสารเพื่อผู้บริโภค) ก็ไม่ยอมปล่อยผ่าน เขาทดสอบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 30 ยี่ห้อ (ผลิตในฮ่องกง 18 ยี่ห้อ  ผลิตในจีน 8 ยี่ห้อ ที่เหลือผลิตจากไต้หวัน และเวียดนาม) สนนราคาชิ้นละ 2-9 เหรียญฮ่องกง (ประมาณ 8-35 บาท)          เขาพบว่า 29 รุ่นมีประสิทธิภาพการกรองแบคทีเรียและอนุภาคทั่วไปได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 จึงถือว่าวางใจได้พอสมควร ในภาพรวมหลายยี่ห้อทำได้ดี แต่ไม่ดีเท่าที่เคลม ราคาแพงกว่าไม่ได้แปลว่าดีกว่า และหลายยี่ห้อไม่น่าซื้อเพราะสายคล้องคุณภาพไม่ดี        แต่ที่ต้องระวังคือยี่ห้อ Perfetta Disposable High Filtration Face Mask ที่ผลิตในเวียดนาม (ราคาเฉลี่ยชิ้นละ 8 บาท) ที่ฉลากอ้างว่ามีประสิทธิภาพกันอนุภาคทั่วไปได้ 99.99% แต่เขาทดสอบพบว่าทำได้เพียง 86.64% เท่านั้น แถมสายคล้องหูก็ยืดย้วยง่ายด้วย ติดตามตารางแสดงผลการทดสอบแบบเต็มๆ ได้ที่        https://www.consumer.org.hk/ws_en/news/specials/2020/coronavirus-prevention-collection.html          ไปดูการทดสอบ “หน้ากากผ้า” ชนิดใช้ซ้ำ ซึ่งป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดี โดยไม่เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อมกันบ้าง         องค์กรผู้บริโภคของอังกฤษหรือนิตยสาร Which? ซึ่งได้ทดสอบหน้ากากผ้าชนิดใช้ซ้ำได้ รูปแบบต่างๆ จำนวน 15 ตัวอย่างที่หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา        Which? ทดสอบและให้คะแนนในด้านต่างๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพในการป้องกันแบคทีเรีย การหายใจได้สะดวก ความรู้สึกสบายในการสวมใส่ และความทนทานต่อการซักโดยไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป           หน้ากากผ้าสองยี่ห้อที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ NEQI และ Bags of Ethics ที่ขายในราคาชิ้นละ 5 ปอนด์ (ประมาณ 200 บาท) แต่ถ้าใครอยากประหยัดเงินอาจเลือก Step Ahead ที่คะแนนน้อยกว่าเล็กน้อยแต่ราคาถูกกว่ามาก (2 ปอนด์ หรือประมาณ 80 บาท)         ในภาพรวม มีหน้ากากผ้าที่สามารถป้องกันละอองฝอยได้ถึงร้อยละ 99 แต่ก็มีบางรุ่นที่กันได้เพียงร้อยละ 7 เท่านั้น         Which? ให้คำแนะนำ “ไม่ควรซื้อ” กับหน้ากากผ้า 3 ยี่ห้อ ได้แก่ Termin8 / Etiquette / และ White Patterned สองยี่ห้อแรกซึ่งวางขายในร้านขายยา โต้ว่าเขาไม่ได้ทำผิดอะไร กฎหมายไม่ได้กำหนดเกณฑ์แบบที่ Which? ทดสอบ ส่วนยี่ห้อสุดท้ายที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต ASDA นั้น ทางห้างเรียกเก็บออกจากชั้นไปแล้ว ข้อค้นพบจากการทดสอบหน้ากากผ้า-  การป้องกันจะดีขึ้นตามจำนวนชั้นของผ้า ใส่ฟิลเตอร์ได้ยิ่งดี (แต่ฟิลเตอร์ก็เป็นขยะอีก) หน้ากากผ้าที่ไม่ควรซื้อใช้คือหน้ากากผ้าโพลีเอสเตอร์ที่มีชั้นเดียว-  หน้ากากที่ดีต้องมีสมดุลระหว่างประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อกระจายและการระบายอากาศที่ดี ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดความชื้นทำให้ประสิทธิภาพลดลง และเราอาจเอามือไปขยับบ่อยๆ หรือไม่ก็รำคาญจนไม่อยากใส่ต่อ-  หน้ากากผ้าแบบทำเองก็ใช้ได้ดี การทดสอบพบว่าหน้ากากผ้าที่ตัดเย็บตามแพทเทิร์นที่รัฐบาลอังกฤษแชร์ออนไลน์ สามารถกรองละอองได้ร้อยละ 73 และเมื่อผ่านการซัก 5 ครั้ง กลับสามารถกรองได้ถึงร้อยละ 81 ด้วย! แต่อาจมีปัญหาเรื่องการสวมแล้วอึดอัดไม่สบาย-  การให้คำแนะนำในการใช้บนฉลาก (ทั้งในการใช้งานและการซักทำความสะอาด) ยังทำได้ไม่ดี มีถึง 6 เจ้าที่ไม่ระบุว่า “ไม่ใช่อุปกรณ์ทางการแพทย์” และมี 7 เจ้าไม่แจ้งวิธีการใช้อย่างปลอดภัย            องค์กรผู้บริโภคอื่นๆ ที่ทดสอบหน้ากากผ้า ได้แก่ Forbrugerradet Taenk ของเดนมาร์ก ที่ทดสอบทั้งหน้ากากผ้าและหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แล้วพบว่ามีประสิทธิภาพในการกรองไม่ต่างกันนัก  ในขณะที่ UFC-Que Choisir ของฝรั่งเศส ทดสอบหน้ากากที่ทำจากผ้าหลากชนิด เขาพบว่าผ้าฝ้ายชนิดที่ใช้ทำเสื้อยืด หรือแม้แต่ทิชชูคลิเน็กซ์ ก็ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรองเชื้อโรคเหมือนกัน ทางด้าน Altroconsumo ของอิตาลี ก็ทดสอบหน้ากากผ้า และพบว่ามันสามารถกรองละอองฝอยได้ระหว่างร้อยละ 80-90 แตกต่างกันตรงที่บางรุ่นใส่แล้วหายใจสะดวก บางรุ่นสวมแล้วอึดอัด เช่นเดียวกับ Deco Proteste ของโปรตุเกส

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 239 เช็คสุขภาพใจกับ Mental Health Check Up

        ช่วงนี้นั่งฟังข่าววันไหน ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด -19 ยังคงมีให้เห็นอยู่ทุกวัน แถมยังต้องระมัดระวังตนเองให้การ์ดไม่ตกตามมาตรการของรัฐบาลอีก จนทำให้ใครหลายคนอาจต้องทำงานที่บ้าน งดการเดินทางท่องเที่ยว งดการสร้างสรรค์กันอีกระลอก เพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด -19 ให้หมดไปจากประเทศไทยโดยเร็ว         “แล้วฉันเลือกอะไรได้ไหม” ขอฮัมเพลงเบาๆ  กันสักหน่อย เพราะจะหมุนตัวไปทางไหนก็ไม่ได้ เครียดเหลือเกินกับการต้องมาระวังตัวจนจิตตกคิดตลอดว่า “เป็นหรือยังเนี่ย” เครียดเหลือเกินที่ไม่ได้ออกไปเที่ยวกับเพื่อน เครียดเหลือเกินไม่ได้ทานข้าวกับแฟนมาเนิ่นนานมากแล้ว และเครียดเหลือเกินไม่รู้ว่าบริษัทจะลดเงินเดือนเมื่อไรกันหนอ         กลับมาสู่โลกความเป็นจริงกัน ทุกคนต้องพึ่งสุภาษิตที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ดีที่สุด ดังนั้นการขจัดความเครียดและรู้เท่าทันความรู้สึกของตนเองสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดระลอกใหม่ ที่ดูทุกอย่างจะถาโถมมาพร้อมกันเหลือกัน ทุกคนต้องตั้งสติ และตระหนักกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่ตระหนกกับเหตุการณ์ต่างๆ มากจนเกินไป         เพื่อคลายความเครียดไม่ให้สะสมจนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตมากไปกว่านี้ ลองหันมาพึ่งแอปพลิเคชั่น Mental Health Check Up ที่จะช่วยเช็คสุขภาพจิตของเราว่าเป็นเช่นไร เพื่อให้รู้เท่าทันและพร้อมปรับเปลี่ยนสุขภาพจิตให้เหมาะสม จนไม่เกิดภาวะเครียด ภาวะซึมเศร้า และจิตตกกันดีกว่า         แอปพลิเคชั่น Mental Health Check Up เป็นแอปพลิเคชั่นของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยออกแบบมาเพื่อประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นด้วยตนเอง และคัดกรองปัญหาโรคจิตเวชที่พัฒนาขึ้น ทำให้ผู้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว         ภายในแอปพลิเคชั่นจะใช้วิธีการประเมินตนเองที่เกี่ยวกับสุขภาพใจหลากหลายหมวด ได้แก่ ประเมินดัชนีวัดความสุข ประเมินความเครียด ประเมินภาวะซึมเศร้า ประเมินความฉลาดทางอารมณ์ EQ ประเมินภาวะติดสุรา ประเมินภาวะความจำ ประเมินภาวะติดเกม ประเมินภาวะหมดไฟในการทำงาน ประเมินพลังสุขภาพจิต RQ         โดยก่อนเริ่มใช้แอปพลิเคชั่นจะสอบถามข้อมูลผู้ใช้งาน ดังนี้ ชื่อนามสกุล (ไม่บังคับใส่) อายุ เพศ ที่อยู่ หลังจากนั้นเมื่อเข้ามาในหน้าแรกจะปรากฎวิธีการประเมินตนเองที่เกี่ยวกับสุขภาพใจในหมวดต่างๆ ที่กล่าวมา การทำแบบประเมินจะเป็นในรูปแบบคำถามเชิงจิตวิทยา โดยในแต่ละหมวดจะมีจำนวนข้อแตกต่างกันไป         เมื่อตอบคำถามครบทุกข้อแล้ว แอปพลิเคชั่น Mental Health Check Up จะประมวลผลและแจ้งผลการประเมินว่าอยู่ในระดับใด พร้อมคำแนะนำ ในกรณีที่ผลการประเมินออกมาในเชิงลบ อย่างเช่น มีความเครียดปานกลาง คำแนะนำจะอธิบายถึงสาเหตุที่อาจทำให้เกิดความเครียดเกิดขึ้น และเสนอทางแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย อ่านหนังสือ เล่นดนตรี ดูหนัง ฟังเพลง รดน้ำต้นไม้ สวดมนต์ไหว้พระ ทำจิตใจให้สงบ ไม่นึกถึงเรื่องอดีต เป็นต้น         ถ้าสถานการณ์ช่วงนี้ทำให้จิตใจว้าวุ่นใจ เครียด ไม่มีสมาธิ ลองใช้แอปพลิเคชั่น Mental Health Check Up เช็คสุขภาพใจของตนเองกันดู อย่างน้อยก็ทำให้รู้ตัวว่าสุขภาพใจอยู่ในภาวะใด จะได้รับมือและฟื้นฟูสภาพจิตใจของตนเองได้ทันถ่วงที

อ่านเพิ่มเติม >

‘มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค’ ยืนหยัด ‘คุ้มครองผู้บริโภค’ แถลงชัดไม่มีนโยบายถอนข้อมูลผลทดสอบจากเว็บไซต์

            ตามที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ดำเนินการเชิงรุกเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคช่วงโควิด - 19 โดยเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอล์ล้างมือในช่วงที่ขาดแคลนและมีราคาแพง รวมทั้ง ขาดข้อมูลอ้างอิงที่จะทำให้ผู้บริโภคเชื่อถือได้ว่ามีคุณภาพตรงกับฉลากหรือคำโฆษณา และไม่ปนเปื้อนสารที่ก่ออันตราย มูลนิธิฯ ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอล์ล้างมือจำนวน 39 ตัวอย่าง เพื่อตรวจหาปริมาณแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์ว่าเป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่ และตรวจหาการปนเปื้อนของเมธิลแอลกฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค ผลพบว่า จำนวน 27 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 69.23 มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกว่าร้อยละ 70 จากนั้นจึงได้เผยแพร่ข้อมูลให้ผู้บริโภคได้รับทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเปิดเผยชื่อยี่ห้อ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อเท็จจริง และมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการเลือกซื้อสินค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้สำหรับปกป้องสุขภาพในภาวะที่มีการระบาดของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตนั้น (อ่านข้อมูล ผลทดสอบเจลแอลกอฮอล์ จากนิตยสารฉลาดซื้อ ได้ที่ https://www.chaladsue.com/article/3420)         ต่อมาวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 บริษัท รีเอกซ์ โปรดักส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตเจลแอลกอฮอล์ ได้ฟ้องคดีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นจำเลยที่ 1 และนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่า จำเลยได้กระทำผิดอาญา ใส่ความหมิ่นประมาทบริษัท และระบุว่า “...ไม่ใช่ผลการทดสอบที่ถูกต้องที่จะนำเสนอเป็นข่าวหรือบทความให้สาธารณชนได้รับทราบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์เจลล้างมือ เพราะเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบจำเป็นต้องมีการควบคุมการทดสอบและกำหนดค่าความผันแปรของผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมระหว่างทดสอบ...”         ในวันนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงได้แถลงข่าวเพื่อให้ข้อเท็จจริงและแสดงจุดยืนต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้         1. นิตยสารฉลาดซื้อ และ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดให้มีการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลกับผู้บริโภค โดยมีการเปิดเผยชื่อยี่ห้อให้ผู้บริโภคได้รับทราบ ด้วยเหตุผลในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า ตามหลักการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการตามหลักการนี้มาอย่างต่อเนื่องตลอดมา         2. การทดสอบได้ทำอย่างสุจริตและโปร่งใส โดยยึดมั่นหลักวิชาการ และดำเนินการอย่างมีคุณภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยการทดสอบเจลแอลกอฮอล์ในครั้งนี้ ดำเนินการโดย ศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ มีความเป็นอิสระ และเป็นห้องทดลองที่ได้มาตรฐานและผ่านการรับรอง ISO 17025 แม้แต่ อย. ก็ใช้ห้องทดลองนี้เช่นกัน และในการแถลงข่าวเพื่อเผยแพร่ข้อมูล เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ผู้เกี่ยวข้องกับการทดสอบได้ร่วมในการให้ข้อมูลอย่างเปิดเผย ประกอบด้วย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รศ.ดร.ภก.วรสิทธิ์ วงศ์สุทธิเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร. ยุพดี ศิริสินสุข คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) และรองผู้จัดการแผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย         3. มูลนิธิฯ เห็นว่า การฟ้องร้องของบริษัท รีเอ็กซ์ โปรดักส์ จำกัด อาจเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้มูลนิธิฯ ยุติการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภค         4. มูลนิธิฯ ไม่มีนโยบายถอนข้อมูลผลทดสอบที่ได้จัดทำและเผยแพร่จากเว็บไซต์ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคให้สามารถเลือกซื้อสินค้า โดยเป็นไปตามหลักการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ดังที่ได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติตลอดมา         ด้าน ดร. ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ยืนยัน กระบวนการทดสอบสินค้าและบริการของนิตยสารฉลาดซื้อ ใช้ห้องทดสอบที่มีมาตรฐาน ระดับประเทศที่พัฒนาแล้ว สำหรับกระบวนการทดสอบด้านสินค้าและบริการ จะอ้างอิงหลักการและวิธีการออกแบบการทดสอบ ขององค์กรผู้บริโภคระหว่างประเทศ ที่เป็นสมาขิกของ International Consumer Product Research and Testing โดยเน้นหลักการความเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ใช้การสุ่มซื้อสินค้าที่มีการจำหน่ายจากร้านค้าจริงทั่วไปและออนไลน์เหมือนผู้บริโภคซื้อสินค้าและเผยแพร่ผลการทดสอบผ่านนิตยสารฉลาดซื้อ ซึ่งเป็นสื่อสาธารณะที่ไม่รับโฆษณาจากบริษัทต่าง ๆ เพื่อทำให้สามารถรักษาผลประโยชน์สาธารณะได้อย่างตรงไปตรงมา         "การทดสอบสินค้าที่มีมาตรฐานกำกับจะดำเนินการทดสอบตามมาตรฐาน โดยใช้ห้องทดสอบของมหาวิทยาลัย หรือ ห้องทดสอบเอกชนระดับมาตรฐาน ISO 17025 กรณีสินค้าที่ยังไม่มีมาตรฐานกำกับจะทดสอบโดยใช้มาตรฐานของต่างประเทศที่ได้รับความน่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น กรณีการทดสอบเครื่องฟอกอากาศ การทดสอบเปรียบเทียบมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทยที่จะเข้าไปกำกับมาตรฐานของเครื่องฟอกอากาศในอนาคต เป็นต้น"        ทั้งนี้ พลังของผู้บริโภคในการสนับสนุนการต่อสู้คดีในครั้งนี้ ซึ่งเป็น “ครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี” ที่ผลการทดสอบและการเปิดเผยข้อมูลของนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ถูกฟ้องคดีโดยบริษัทผู้ผลิตหลังจากเปิดเผยชื่อผู้ผลิตและยี่ห้อของสินค้าจากการทดสอบ” จึงมีความสำคัญต่อการยืนหยัดทำหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 235 ควรใช้ Far UVC ฆ่าเชื้อในสถานบริการหรือไม่

        องค์ประกอบของแสงอาทิตย์นั้นแบ่งง่าย ๆ เป็น แสงที่มองเห็นได้ (visible light) และ แสงที่มองเห็นไม่ได้ (invisible light) โดยแสงที่มองเห็นได้นั้นอยู่ในแถบความยาวคลื่นช่วงระหว่าง 400 – 700 นาโนเมตร ส่วนแสงที่มองไม่เห็นนั้นมีสองกลุ่มคือ กลุ่มที่มีความยาวคลื่นเกิน 700 นาโนเมตรขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า อินฟราเรด (infrared) มีพลังงานต่ำกว่าพลังงานของแสงสีต่างๆ และอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่า 400 นาโนเมตรลงมา ซึ่งเรียกว่า อัลตราไวโอเล็ท (ultraviolet หรือ UV) นั้น มีพลังงานสูงกว่าพลังงานของแสงที่มองเห็นได้        แสงอัลตราไวโอเล็ทนั้นมักแบ่งง่าย ๆ (www.who.int/uv/uv_and_health/en/) เป็น 3 ระดับคือ UVA (ความยาวคลื่น 315-400 นาโนเมตร), UVB (ความยาวคลื่น 280-315 นาโนเมตร) และ UVC (ความยาวคลื่น 100-280 นาโนเมตร) โดย UVA นั้นไม่ค่อยก่อปัญหาอะไรนักเพียงแค่ทำให้คนที่ผิวคล้ำโดยกำเนิดแล้วคล้ำหนักขึ้นกว่าเดิม แสง UVB เป็นแสงที่เมื่อส่องผิวราว 15-20 นาที ในช่วงเช้าและบ่ายแก่ ๆ จะช่วยในการสร้างวิตามินดี แต่ถ้ามากไปก็จะไม่ค่อยดี ระดับความร้อนอันตรายต่อผิวหนังชั้นล่างที่เป็นเซลล์มีชีวิตในลักษณะที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์และมีโอกาสขยายต่อเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ส่วนแสง UVC นั้นยังไม่ต้องพูดถึงเพราะแม้เป็นแสงที่มีพลังงานสูงมากจนฆ่าเซลล์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี แต่แสง UVC นี้ถูกดูดซับไว้ด้วยก๊าซโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก        ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือ SARS-CoV-2 ซึ่งก่อให้เกิดโรค Covid-19 นั้นได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำลายวิถีชีวิตแบบเดิมของมนุษย์ มนุษย์ปรับตัวให้อยู่กันแบบ นิวนอร์มอล อย่างไรก็ดีมีข่าวเรื่องหนึ่งที่ทั้งน่าตื่นเต้นและชวนให้กังวล นั่นคือ มีแนวความคิดในการใช้แสงที่มีความยาวคลื่นในช่วง far UVC (207-222 นาโนเมตร ซึ่งต่ำกว่าช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคทั่วไปคือ ราว 245 นาโนเมตร) ช่วยในการฆ่าไวรัสที่ก่อโรคดังกล่าว โดยที่คนซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นและได้รับแสง far UVC ไม่ได้รับอันตราย         แนวความคิดนี้มันช่าง  โหด มัน ฮา เพราะ แสง far UVC นั้นเป็นแสงที่มีพลังงานทำลายล้างได้สูงกว่าแสง UVC ที่ 245 นาโนเมตรเสียอีก ซึ่งโดยพื้นฐานความเข้าใจของคนทั่วไปแล้ว แนวความคิดในการใช้แสงกลุ่ม UV เพื่อฆ่าไวรัสที่ก่อให้เกิด Covid-19 นั้น ควรทำได้เฉพาะการฆ่าไวรัสที่ปนเปื้อนบนพื้นผิววัตถุเท่านั้น แต่ปรากฏว่าเมื่อมีข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มในการใช้แสงกลุ่ม UV ในสถานที่ที่มีคนอยู่ได้ เลยเป็นประเด็นที่ควรหาความรู้มาศึกษากัน    Far-UVC light กับการฆ่าเชื้อโรค        ผู้เขียนได้พบข้อมูลจากบทความวิจัยเรื่อง Far-UVC light: A new tool to control the spread of airborne-mediated microbial diseases (doi:10.1038/s41598-018-21058-w) ซึ่งเผยแพร่ใน www.nature.com/scientificreports เมื่อปี ค.ศ. 2018 ในบทความแสดงให้เห็นว่า แสง far UVC ที่ขนาดความเข้มข้นต่ำคือ 2 มิลลิจูลต่อตารางเซนติเมตรของแสง far UVC ที่ความยาวคลื่น 222 nm สามารถฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ที่อยู่ในฝอยน้ำ (aerosol) ได้มากกว่าร้อยละ 95 และกล่าวว่า น่าจะเป็นแนวทางที่ประหยัดสุดและได้ผลดีในการฆ่าไวรัสเช่น ไข้หวัดใหญ่ที่กระจายในอาคาร (ผลงานนี้ตีพิมพ์ก่อนมีการระบาดของ Covid-19)         งานวิจัยที่กล่าวถึงข้างบนเป็นผลงานของทีมนักวิจัยที่ Center for Radiological Research ของ Columbia University Irving Medical Center (CUIMC) ในมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นกลุ่มที่โดดเด่นในสหรัฐอเมริกา ในแวดวงที่ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของแสง UV เข้าใจว่า หน่วยงานนี้น่าจะมีความร่วมมือกับทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยทางญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะได้มีข้อมูลเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตถึงการทดสอบหลอด Care222® series ของบริษัทหนึ่งในญี่ปุ่นที่ปล่อยแสงความยาวคลื่น 222 นาโนเมตร (far UVC) ที่ได้รับการรับรองให้ใช้ฆ่าเชื้อในห้องปลอดเชื้อของโรงพยาบาลต่างๆ ว่า ได้ผลดี โดยมีเอกสารรับรองประสิทธิภาพของการใช้แสง far UVC ในการทำลายไวรัส ชื่อ Performance test for virus inactivation efficacy by UV irradiation จากสถาบัน Kitasato Research Center for Environmental Science (KRCES) สังกัด Kitasato University         ตัวอย่างงานวิจัยเพิ่มเติมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้แสง far UVC ในการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ของกลุ่มนักวิจัยของ Columbia University นั้นเช่น บทความเรื่อง Germicidal Efficacy and Mammalian Skin Safety of 222-nm UV Light ตีพิมพ์ใน Radiation Research ปี 2017 ได้แสดงให้เห็นว่า far UVC (222 นาโนเมตร) ขนาด 0.036 มิลลิจูลต่อตารางเซนติเมตร สามารถฆ่า methicillin-resistant Staphylococcus aureus ได้ และในบทความเรื่อง 207-nm UV Light—A Promising Tool for Safe Low-Cost Reduction of Surgical Site Infections. II: In-Vivo Safety Studies ตีพิมพ์ใน PLoS ONE ปี 2016 กล่าวถึงการฉายแสง far UVC (207 นาโนเมตร) ขนาด 157 มิลลิจูลต่อตารางเซนติเมตร นาน 7 ชั่วโมง ให้กับหนูถีบจักรสายพันธุ์ที่ไม่มีขน (hairless SKH1-Elite strain 477 mice) แล้วปรากฏว่าเมื่อเวลาผ่านไป 48 ชั่วโมงหลังการได้รับแสง นักวิจัยได้ทำการศึกษาผิวหนังของหนูและพบว่า แสงที่ความยาวคลื่น 207 นาโนเมตรนั้นไม่ก่ออันตรายต่อผิวหนังหนู         ล่าสุดในปี 2020 ทีมนักวิจัยจาก Columbia University ได้เผยแพร่ข้อมูลในบทความชื่อ Far-UVC light (222 nm) efficiently and safely inactivates airborne human coronaviruses (doi: 10.1038/s41598-020-67211-2.) ใน www.nature.com/scientificreports ซึ่งเป็นการรายงานผลการทดลองใช้แสงที่ความยาวคลื่น 222 นาโนเมตรด้วยขนาดของแสงที่ 1.7 และ1.2 มิลลิจูลต่อตารางเซนติเมตร ฆ่าเชื้อ coronavirus สายพันธุ์ alpha HCoV-229E และ beta HCoV-OC43 ที่อยู่ในสภาพเป็นละอองฝอย (aerosol) ตามลำดับได้สำเร็จถึงร้อยละ 99.9 จึงเสนอว่าการใช้แสง Far UVC ในลักษณะดังกล่าวน่าจะฆ่าเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งก่อให้เกิดโรค Covid-19 ได้ (โคโรนาไวรัสมีพันธุกรรมใกล้เคียงกับสายพันธุ์ที่ใช้ในการทดลอง) ด้วยขนาดความเข้มข้นของแสงที่จำกัดไว้ที่ประมาณ 3 มิลลิจูล/ตารางเซนติเมตร/ชั่วโมง เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ร้อยละ 90, 95, 99.5 และ 99.9 ด้วยระยะเวลาการฉายแสง 8 นาที,11 นาที, 16 นาที และ 25 นาที ตามลำดับ โดยไม่ทำอันตรายต่อผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้น         สมมุติฐานที่อธิบายว่า far UVC ฆ่าไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆ โดยไม่ทำอันตรายต่อผิวหนังและน่าจะรวมถึงชั้นเนื้อเยื่อของตานั้นเพราะแสงในระดับ far UVC ไม่สามารถทะลุผ่านเซลล์ชั้นบนๆ ของผิวหนังซึ่งตายแล้วรวมถึงชั้นเนื้อเยื้อ (tear layer) ของลูกตาได้ ดังปรากฏในคำสัมภาษณ์ของ David J. Brenner ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ของ Columbia University Irving Medical Center ในบทความเรื่อง Far-UVC Light Could Safely Limit Spread of Flu, Other Airborne Viruses ของเว็บ www.photonics.com         นอกจากนี้ยังมีข้อมูลในอินเทอร์เน็ตว่า มีผู้เสนอให้ใช้แสง far UVC บนเครื่องบินโดยสาร ซึ่งมีผู้โดยสารอยู่ในกรณีฉุกเฉินที่ทราบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้ออยู่บนเครื่องก่อนนำเครื่องลงที่สนามบินปลายทาง อย่างไรก็ดีผู้เขียนยังรู้สึกระแวงว่า จริงหรือที่ว่าแสง far UVC นั้นไม่เป็นอันตรายต่อตามนุษย์ ทั้งนี้เพราะ แสง far UVC นั้นมีพลังงานสูงมาก  จึงอาจทำให้เกิดความร้อนแก่บริเวณที่แสงสัมผัสหรือทำให้น้ำตาที่อยู่ในลูกตามีอุณหภูมิสูงขึ้น ถ้าผู้บริหารการใช้แสงไม่ชำนาญในการควบคุมปริมาณความเข้มแสงและช่วงเวลาการสัมผัสที่ถูกต้อง         ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดที่หาได้นั้นกล่าวว่า ปัจจุบัน US.FDA ยังไม่รับรองการใช้แสง far UVC ในสถานบริการที่มีผู้บริโภคอยู่ เพียงแต่ยอมให้หลอดกำเนิดแสงชนิดนี้ถูกใช้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์และห้องที่ต้องปลอดเชื้อเช่น ห้องผ่าตัดเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีใครพยายามซื้อหลอดที่ให้แสง far UVC (ซึ่งอาจมีขายใน platform online ในไม่ช้านี้) เพื่อฆ่าไวรัสในสถานบริการในขณะที่มีผู้บริโภคอยู่ด้วย เช่น ผับ บาร์ อาบอบนวด สนามมวยหรือโรงภาพยนต์ เนื่องจากกระบวนการยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อโรคต่างๆ เช่น ระยะห่างระหว่างบุคคล (personal distancing) นั้นทำได้ลำบาก สถานที่ดังกล่าวจึงน่าจะเป็นเป้าหมายของสินค้านี้ แม้ยังไม่มีการประเมินความปลอดภัยก่อนก็ตาม “อย่าหาทำ”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 235 หน้าฝนระวังอาการภูมิแพ้เชื้อรา

        ฝนตกหนักน้ำท่วมขังและบ้านที่อับชื้น ไม่เพียงทำให้อารมณ์ไม่สดชื่น มันอาจเสี่ยงกับอาการภูมิแพ้เชื้อราด้วย  ซึ่งคนที่รู้ตัวว่ามีอาการภูมิแพ้อากาศคงไหวตัวทัน เมื่อเริ่มหายใจอึดอัด น้ำตาไหล หรือเกิดหอบหืดกำเริบ แต่หลายคนอาจเพิ่งเริ่มหรือเพิ่งเคยมีอาการ ก็ขอให้ระมัดระวังและเร่งป้องกันก่อนกลายเป็นปัญหาใหญ่        ในสิ่งแวดล้อมมีเชื้อราลอยอยู่ในอากาศทั่วไป ซึ่งมีทั้งชนิดก่อให้เกิดโรคและไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เชื้อราบางชนิดอาจทำให้เกิดโรคได้ถ้าร่างกายอ่อนแอ ปกติคนแข็งแรงมักไม่ก่ออาการ แต่ในคนที่มีอาการภูมิแพ้อาจจะมีอาการน้ำมูกไหล หายใจไม่ออก น้ำตาไหล หอบหืด มีผื่นผิวหนังอักเสบ และมักจะกำเริบในช่วงที่มีอากาศเย็นและชื้น เพราะมีเชื้อราเป็นตัวกระตุ้น โดยสปอร์ของเชื้อราสามารถกระจายไปได้ในอากาศ เราจึงควรทราบถึงแหล่งที่มาของเชื้อราเหล่านี้ และพยายามกำจัดให้หมดไปจากบริเวณบ้าน         เชื้อราชอบอยู่ตามที่ชื้นและอับทึบ         ห้องน้ำ ห้องครัวหรือในพื้นที่ส่วนที่ใช้ในการชำระล้าง ต้องหมั่นทำความสะอาดและทำให้แห้ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ปล่อยให้ชื้นแฉะตลอดเวลา        ห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศเป็นประจำจะเป็นที่ที่มีความชื้นมาก เชื้อราเกิดขึ้นได้ง่าย ควรหมั่นตรวจตราเปิดให้อากาศถ่ายเท ตัวเครื่องปรับอากาศต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เพราะอาจมีเชื้อราสะสมอยู่ได้         ตู้เย็น หลายครั้งที่สะสมอาหารไว้เป็นจำนวนมากในตู้เย็นแล้วรับประทานไม่ทัน อาหารบางอย่างก่อให้เกิดเชื้อรา ถ้าพบทิ้งทันที ห้ามรับประทาน วิธีป้องกันง่ายๆ คือ ไม่สะสมอาหารจนรับประทานไม่ทัน        ต้นไม้ ปัจจุบันนิยมปลูกต้นไม้ในบ้านเพื่อช่วยฟอกอากาศ แต่รู้ไหมว่าดินที่ใช้ปลูกก็เป็นแหล่งที่ก่อเกิดเชื้อราได้ ควรวางไว้ในตำแหน่งที่แดดส่องถึง รดน้ำแต่พอชุ่มไม่บ่อยเกินไป แต่หากเป็นผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ไม่ควรนำต้นไม้วางไว้ในบ้าน อีกอย่างที่อาจคาดไม่ถึงคือ ดอกไม้ประดับ ดอกไม้บูชาพระ หากเหี่ยวเฉาแล้วควรรีบทิ้งไป ไม่ปล่อยไว้เพราะเป็นแหล่งเพาะเชื้อราได้เช่นกัน         สํารวจเชื้อราหลังน้ำท่วม         หน้าฝนหลายบ้านระบายน้ำไม่ทัน น้ำท่วม หลังคารั่ว ควรต้องสังเกตว่ากลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อราหรือไม่ อาจทําได้ง่ายมองหาว่า ผนังมีรอยเปื้อนหรือมีลักษณะเชื้อราขึ้นหรือไม่ และวิธีดมกลิ่น กลิ่นเชื้อราเป็นกลิ่นเหม็นอับทึบหรือเหม็นคล้ายกลิ่นดิน ทั้งนี้หากสงสัยว่ามีเชื้อราควรให้ใช้หลักว่า สิ่งของใดที่ไม่สามารถกําจัดเชื้อราได้หมดจดให้ทิ้ง โดยเฉพาะวัสดุที่มีรูพรุน ซึ่งไม่สามารถชะล้างและทําให้แห้งได้จะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา ส่วนผ้าที่เกิดเชื้อราฝังอยู่ หากยังเสียดายต้องฆ่าเชื้อด้วยการต้มด้วยน้ำร้อนก่อนจึงจะนํามาใช้อีก         หลังน้ำลดต้องรีบทําความสะอาดพื้นและผนังโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุดภายใน 24 - 48 ชั่วโมง อย่าทิ้งไว้จนเกิดคราบรา กรณีเกิดคราบราขึ้นแล้ว ต้องเร่งกำจัด ควรล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อนแล้วตามด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยา ถ้าเป็นการขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่หยาบควรขัดด้วยแปรงชนิดแข็ง น้ำยาฆ่าเชื้อรามีจำหน่ายในท้องตลาดหลายชนิด ชนิดที่หาซื้อง่ายและราคาไม่แพง คือน้ำยาดับกลิ่นไลโซล หรือน้ำยาฟอกฝ้าขาวเช่น คลอร็อกซ์ เป็นต้น ระหว่างทําความสะอาดให้เปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ และเปิดพัดลมเพื่อช่วยให้แห้งโดยเร็ว กรณีกำจัดเชื้อราไม่ออกเป็นคราบฝังแน่นตามผนังควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ทาสีทับ         เชื้อรานอกบ้าน        หลีกเลี่ยงการสูดดมสปอร์ของเชื้อรา ง่ายๆ โดยใช้ผ้าปิดปากหรือจมูก แนะนำเป็นการสวมหน้ากากอนามัย (จะป้องกันได้ดีกว่าชนิดที่ทำจากผ้า)        ตรวจร่างกาย         บางคนไม่เคยมีประวัติของโรคภูมิแพ้แต่มีอาการหอบ ไอและเหนื่อยเมื่อถึงฤดูฝน หากสงสัยตัวเอง แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นเพียงไข้หวัดหรือเป็นโรคภูมิแพ้ ถ้าเป็นภูมิแพ้ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคภูมิแพ้เพื่อตรวจว่าแพ้อะไรบ้าง จากนั้นก็ต้องคอยหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นซึ่งจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการใช้ยามาตามแก้เมื่อมีอาการแพ้เกิดขึ้น         เราสามารถควบคุมความชื้นได้ โดยอาจจะใช้อุปกรณ์วัดระดับความชื้น เครื่องดูดความชื้น ซึ่งสามารถหาซื้อมาใช้ได้ทั่วๆ ไป แต่ในการเลือกซื้อและนำมาใช้งานก็ควรศึกษาผลให้ดี เพราะในระดับความชื้นที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป ก็สามารถส่งผลเสียให้กับร่างกายได้ทั้งนั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 234 ‘โควิด-19’ ภาพสะท้อนการจัดการขยะติดเชื้อของไทย

พอจะพูดได้ว่า เวลานี้เราผ่านช่วงตึงเครียดของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มาแล้ว มาตรการล็อคดาวน์ทยอยไขกุญแจออกทีละส่วน (แต่ทำไมไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน?) อย่างไรก็ตาม การระบาดระลอก 2 ยังต้องเฝ้าระวัง กระทรวงสาธารณสุขย้ำเตือนบ่อยครั้งว่าการ์ดห้ามตก         ประเด็นที่ถูกพูดถึงไม่มากคือเรื่องขยะติดเชื้อ         ขยะติดเชื้อไม่ใช่ปัญหาใหม่ ตรงกันข้าม มันเป็นปัญหาที่หมักหมมมานานแรมปี ลองดูตัวเลขจาก ‘แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564)’ ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ระบุว่า ในปี 2557 มีมูลฝอยติดเชื้อทั่วประเทศประมาณ 52,147 ตัน โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากปี 2553 ที่มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเพียง 40,000 ตันเท่านั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 57 มาจากโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ขณะที่อีกร้อยละ 43 มาจากโรงพยาบาลเอกชนและสถานบริการขนาดเล็ก ได้แก่ คลินิก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัย และสถานพยาบาลสัตว์        ตัวเลขที่ชวนให้ตั้งคำถามและเรียกร้องคำตอบจากภาครัฐอยู่ที่ว่า ในปี 2557 มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่ได้รับการจัดการอย่าง ‘ถูกต้อง’ โดยการเผาไม่น้อยกว่า 35,857 ตันต่อปี หรือร้อยละ 70 ของปริมาณขยะติดเชื้อทั้งหมด         ขยะติดเชื้ออีก 16,290 ตันไปไหน?         ล่วงเลยถึงปี 2563 ขยะติดเชื้อคาดได้ว่าเพิ่มปริมาณขึ้นจากเมื่อ 6 ปีก่อนแน่นอน การกำจัดอย่างถูกต้องรองรับได้แค่ไหน คงต้องบอกว่าเสียใจที่งานชิ้นนี้ไม่มีคำตอบให้ แต่เราจะพาไปสำรวจสถานการณ์ในปัจจุบัน ภาพจากอดีต และความคาดหวังเล็กๆ ในอนาคต         ปริมาณขยะติดเชื้อช่วงโควิด        กลางเดือนเมษายนเว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจสัมภาษณ์ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เนื้อหาช่วงหนึ่งระบุว่า กรมอนามัยได้เฝ้าระวังและติดตามสถานะการณ์ขยะติดเชื้อใน 2 กลุ่มเป้าหมาย         กลุ่มแรกคือผู้ป่วย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำให้จำนวนขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นในระบบของการรักษาพยาบาล พบว่าผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 1 คนมีอัตราการเกิดมูลฝอยติดเชื้อประมาณ 2.85 กิโลกรัมต่อเตียงต่อวัน ส่งผลให้ประเทศต้องดูแลระบบติดเชื้อเพิ่มขึ้นในกลุ่มเป้าหมายนี้         กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่ถูกกักกันหรือการกักตัวเอง ซึ่งมีการกำจัดขยะแบบขยะติดเชื้อ เมื่อรวมขยะติดเชื้อของ 2 กลุ่มเป้าหมายนี้ถือว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้น         ด้าน ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวผ่านเว็บไซต์ของทางสถาบันว่า ขยะติดเชื้อที่เกิดจากหน้ากากอนามัยใช้แล้วทั่วประเทศมีประมาณ 1.5–2 ล้านชิ้นต่อวัน ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้น 1.7 ตันต่อวัน เมื่อรวมขยะติดเชื้อที่รวบรวมได้จากสถานพยาบาลต่างๆ และนำไปกำจัดโดยเตาเผาที่มีประสิทธิภาพวันละ 50 ตัน ในขณะที่สภาวะปกติมีขยะติดเชื้อ 43 ตันต่อวัน          แต่ยังมีข้อมูลอีกชุดที่น่าสนใจ...         นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวกับ ‘ฉลาดซื้อ’ ว่า หลังจากมีสถานการณ์โควิด-19 ระบบติดตามขยะติดเชื้อในสถานบริการหรือหน่วยต่างๆ พบว่า โดยปกติก่อนมีสถานการณ์โควิด-19 ปริมาณที่มีการจัดการและกำจัดตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 3,900 ตันต่อเดือน แล้วมาขึ้นสูงช่วงที่มีการพบผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อวันที่ 12 มกราคม         “แล้วคงมีการตื่นตัว ระมัดระวังในการให้บริการกับผู้ป่วยมากขึ้นกว่าปกติ เพราะเดิมจาก 3,900 ตันต่อเดือนมันไหลลงมาอยู่เกือบ 3,700 ตันต่อเดือนแล้วก็กลับขึ้นไปประมาณ 4,000 ตันต่อเดือนอีกครั้งหนึ่งในเดือนมกราคม พอเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,600-3,700 ตันต่อเดือน         แต่ข้อมูลตรงนี้ผมอยากเรียนเป็นเปอร์เซ็นต์ให้เห็น ในเดือนกุมภาพันธ์ไม่ดูตามจำนวนยอดใหญ่ แต่ดูจากภาพรวมที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ปริมาณมูลฝอยขยะติดเชื้อลดลงจากฐานเดิมที่เคยมีอยู่ประมาณ 6.98 เปอร์เซ็นต์ เดือนมีนาคมลดลงไปอยู่ที่ประมาณ 4.22 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของเดือนเมษายนและพฤษภาคมกำลังรวบรวมอยู่”         ขณะที่ตัวเลขผู้ป่วยนอกต่อเดือนจากเดือนตุลาคมถึงธันวาคมปี 2562 มีจำนวนประมาณ 26 ล้าน 28 ล้าน และ 30 ล้านครั้งต่อเดือน และขึ้นสูงสุดในช่วงเดือนมกราคมปีนี้ที่ประมาณ 31 ล้านครั้งต่อเดือน แต่พอเดือนกุมภาพันธ์ที่เริ่มมีมาตรการต่างๆ ออกมาบวกกับการปรับตัวของโรงพยาบาลเพื่อลดความแออัด เพราะเริ่มมีความกังวลว่าการไปรับบริการที่โรงพยาบาลอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะรับเชื้อ ทำให้ยอดผู้ป่วยนอกของเดือนกุมภาพันธ์ตกลงมาอยู่ประมาณ 26 ล้านครั้งต่อเดือน และ 23 ล้านครั้งต่อเดือนในเดือนมีนาคม ซึ่งจำนวนขยะติดเชื้อมีความสัมพันธ์กับจำนวนคนไข้ที่มาโรงพยาบาล         “ถ้าเป็นข้อมูลที่เราได้จากสถานบริการจะเป็นข้อมูลที่แม่นยำกว่าและมีระบบการรายงานในส่วนของการคาดการณ์ต่างๆ และตัวเลขจากห้องแล็บต่างๆ ที่มีมาในช่วงแรกๆ ยังไม่ค่อยสูงเท่าไหร่ โดยเฉพาะช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ยังมีปริมาณการตรวจไม่มากนัก เนื่องจากห้องแล็บที่จะตรวจได้มีจำกัด แล้วตอนหลังก็มีการประเมินและให้ห้องแล็บโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลจังหวัดตรวจเพิ่มขึ้น ดังนั้นปริมาณของขยะติดเชื้อก็เป็นเรื่องของนิยามส่วนหนึ่งว่าอะไรก็แล้วแต่ที่มาจากห้องปฏิบัติการติดเชื้อก็ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นสูงในช่วงเดือนเมษายนเพราะว่าเริ่มตรวจเยอะขึ้นและห้องแล็บมีปริมาณเยอะขึ้น” นพ.ดนัย กล่าว          ว่าด้วย ‘นิยาม’ ขยะติดเชื้อ คืออะไรกันแน่?         นพ.ดนัย เอ่ยถึง ‘นิยาม’ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อปริมาณขยะติดเชื้อ          “ในส่วนของครัวเรือนหลายคนอาจคิดว่าก็เป็นมูลฝอยติดเชื้อ แต่ในข้อเท็จจริงก็ไม่สามารถอธิบายได้ ผมเรียนว่า ถ้าเป็นการใส่หน้าอนามัยโดยบุคลากรทางการแพทย์หรือคนไข้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อแล้ว ส่วนนี้ยังไงก็ต้องจัดการแบบมูลฝอยติดเชื้อ แต่กรณีการใส่หน้ากากอนามัยของบุคคลทั่วไปที่ยังไม่ได้ป่วย ถ้าจะให้คำจำกัดความว่าหน้ากากอนามัยเหล่านี้เป็นมูลฝอยเชื้อด้วย มันคงจะเป็นปริมาณมหาศาลและในเชิงระบบของเราก็ไม่สามารถรองรับได้ หมายความว่าทุกเคสที่เราวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโควิดหรือสงสัยว่าเป็น เราจะรับตัวไว้รักษาที่โรงพยาบาลและมีการตรวจ ดังนั้นข้อมูลขยะติดเชื้อจึงเป็นข้อมูลที่เกิดจากการให้บริการผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าป่วย สิ่งต่างๆ ที่เราใช้กับผู้ป่วยเหล่านี้ทุกอย่างจะถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ”         ด้วยนิยามดังกล่าว ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อจะมากจริงหรือไม่ ต้องดูข้อมูลของผู้มารับบริการที่เป็นโควิด แต่ถ้าประชาชนทั่วไปขยะที่มาจากหน้ากากอนามัยถือว่าเป็นขยะทั่วไป ไม่ใช่ขยะติดเชื้อ เพียงแต่ถ้าจะให้เกิดความเหมาะสมก็ควรมีการคัดแยกและทิ้งให้เป็นสัดส่วน ส่วนการกำจัดก็ทำเหมือนขยะทั่วไป เพราะความเสี่ยงที่หน้ากากเหล่านี้จะสัมผัสกับเชื้อถ้าเทียบเคียงแล้วถือเป็นเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างน้อย         ถึงจุดนี้เราจะเห็นประเด็นปัญหาเรื่องนิยาม มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยมองว่าหน้ากากอนามัยที่ประชาชนทั่วไปใส่เป็นขยะติดเชื้อ แต่กรมอนามัยมองว่าไม่ใช่ ซึ่งเป็นหัวข้อที่ต้องถกเถียงอภิปรายกันขนานใหญ่ทีเดียว         ขณะที่ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ เห็นว่าหน้ากากอนามัยที่ประชาชนใส่ก็ถือเป็นขยะติดเชื้อด้วย เธอกล่าวว่า         “ภายใต้สถานการณ์โควิดเกิดการตั้งคำถามว่าขยะติดเชื้อโดยเฉพาะหน้ากากอนามัย ถุงมือ ขวดน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นมันเหมือนกับทั้งประเทศอยู่ในช่วงต้องตื่นตัว โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐก็จะตื่นตัวกับเรื่องนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไปได้สักพักหนึ่งกรมอนามัยก็มีหนังสือแนะนำแจ้งไปยังกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทุกประเภท แล้วกรมส่งเสริมก็มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดของทุกจังหวัด จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดของทุกจังหวัดก็จะมีหนังสือแจ้งไปยัง อปท. ว่ากรมอนามัยได้มีข้อแนะนำมาอย่างนี้ๆ ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ซึ่งก็เป็นคำแนะนำทั่วๆ ไป”         เพ็ญโฉมคิดว่า ถ้าพิจารณาถึงมาตรการในการรับมือและการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ซึ่งแตกต่างไปจากสถานการณ์ปกติ คำแนะนำดังกล่าวไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังไม่นับความใหญ่โตของระบบราชการที่ต้องส่งคำสั่งเป็นทอดๆ ที่อาจทำให้การรับมือล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น          อาการหมักหมมของปัญหาขยะติดเชื้อในไทย         “พูดถึงปัญหาการจัดการขยะติดเชื้อของบ้านเรา ซึ่งเป็นปัญหาเดิมอยู่แล้ว เท่าที่เราเคยสำรวจดูการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบางพื้นที่ เราพบว่าระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลบางแห่งที่เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐานที่รับรองได้ว่าจะมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปกติขยะติดเชื้อมีส่วนผสมหลายอย่างจะถูกส่งเข้าเตาเผา สิ่งที่กังวลมากเวลาเผาขยะติดเชื้อก็คือการปลดปล่อยสารไดออกซินสู่สิ่งแวดล้อม เพราะขั้นตอนที่จะสามารถกำจัดควันที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาต้องใช้อุณหภูมิประมาณ 1,000 องศาเซลเซียส แต่เราพบว่าการจัดการขยะติดเชื้อของบ้านเราหลายพื้นที่น่าจะยังไม่ได้มาตรฐานเรื่องการควบคุมมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาวัสดุต่างๆ”          ปัญหาการจัดการขยะติดเชื้อประการที่ 2 เนื่องจากประเทศไทยมีคลินิกเอกชนกระจายอยู่ในทุกจังหวัด ต้องดูว่า อปท. ในแต่ละพื้นที่มีมาตรการเก็บขนและการกำจัดอย่างไร บางพื้นที่จะมีการจ้างบริษัทเอกชนให้เป็นผู้รับขยะติดเชื้อไปกำจัดในเตาเผา แต่จะขึ้นกับปริมาณขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากสถานพยาบาลแต่ละแห่งถ้าเป็นสถานพยาบาลขนาดใหญ่ บริษัทเอกชนที่ให้บริการรับขนจะมาเก็บขนเป็นล็อตๆ แต่เนื่องจากว่าเรามีคลินิกเอกชนและสถานพยาบาลขนาดกลาง ขนาดเล็กทั่วประเทศ ตรงนี้ตรวจสอบไม่ได้เลยว่ามีการเก็บขนและกำจัดขยะติดเชื้ออย่างไร ทำให้มีข่าวว่ามีการทิ้งขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาลบางแห่งปะปนกับขยะมูลฝอยจากชุมชนที่นำไปทิ้งตามหลุมฝังกลบของเทศบาลต่างๆ         “การเก็บขนขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาลทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ของรัฐหรือของเอกชนทุกวันนี้ เราบอกไม่ได้ว่ามีการเก็บขนที่ครบถ้วนสมบูรณ์และนำไปสู่การจัดการที่ปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ ถ้ามองในเชิงสถานการณ์โควิค ปัญหาที่มีอยู่เดิมก็ยังไม่ดีขึ้น ปัญหาใหม่ก็ทับถมเข้ามา ถ้าพูดโดยสรุปคือการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบ้านเรายังไม่อยู่ในภาวะที่สามารถรับมือและนำไปสู่มาตรการการเก็บขนและกำจัดได้อย่างมีมาตรฐานที่ปลอดภัยเพียงพอทั้งต่อคนและสิ่งแวดล้อม”          ความพยายาม         นพ.ดนัย กล่าวถึงปัญหาการกำจัดขยะติดเชื้อว่า ทางกรมอนามัยพยายามติดตามและดำเนินการอยู่โดยในอดีตขยะติดเชื้อสามารถกำจัดได้ด้วยเตาเผาขยะที่โรงพยาบาล แต่ 10 ถึง 20 ปีให้หลังมานี้ โรงพยาบาลของเราอยู่ในที่ชุมชน รวมถึงปริมาณขยะติดเชื้อก็เพิ่มปริมาณมากขึ้นจึงไม่สามารถเผาในโรงพยาบาลได้ อีกทั้งต้องเป็นเตาเผาคุณภาพสูงและเผาด้วยความร้อนสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส ทำให้ต้องใช้การรวบรวมขยะติดเชื้อไปกำจัดในแหล่งที่ได้มาตรฐาน ซึ่งขณะนี้ไม่ได้มีทั่วไปในทุกจังหวัด         เหตุนี้จึงต้องใช้บริการเก็บขนจากบริษัทเอกชนที่มีอยู่ประมาณ 24 รายที่ไปรับจากโรงพยาบาลต่างๆ มาส่งยังแหล่งกำจัด 10 กว่าแห่งที่มีการดำเนินการ         “เรากำกับในส่วนของบริษัทเอกชนกับเตาเผาขยะโดยการใช้ระบบ Manifest Online ข้อมูลขยะติดเชื้อที่มีการเก็บมาจากโรงพยาบาลมีจำนวนเท่าไหร่และนำส่งไปที่เตาเผาจำนวนเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะต้องเชื่อมกัน ซึ่งตอนนี้สามารถดำเนินการได้ในระดับหนึ่งอาจจะยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็อยู่ในเป้าหมายที่เราดำเนินการได้ 70-80 เปอร์เซ็นต์ และยังเหลืออีกจำนวนหนึ่งที่เรากำลังเร่งรัดให้มีการดำเนินการให้ถูกต้อง ซึ่งเรากำลังพัฒนาโปรแกรมอื่นๆ อยู่ซึ่งยังต้องลงทุนอีกเยอะ         มาตรการที่เราดำเนินการอยู่ตอนนี้ เราพยายามกำหนดบทบัญญัติต่างๆ ให้มีความรัดกุมมากขึ้นโดยมีมาตรการการกำจัดเก็บขนในการบังคับให้หน่วยต่างๆ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เรากำหนด แต่อาจจะมีผลบังคับใช้จริงภายในเดือนกันยายนปีนี้เพราะมีขั้นตอนในเชิงกฎหมาย และเรากำลังปรับปรุงระบบกำกับติดตามการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อให้มีความทันสมัย สามารถติดตามดูว่ารถขนส่งมูลฝอยติดเชื้อจากแหล่งกําเนิดไปยังแหล่งกำจัดมีเส้นทางและมีการดำเนินการที่ถูกต้อง”          สร้างทางเลือกใหม่ๆ         1,000 องศาเซลเซียส คืออุณหภูมิที่เพียงพอจะกำจัดขยะติดเชื้อโดยไม่ปล่อยสารไดออกซินสู่สิ่งแวดล้อม แต่ ดร.สมไทย วงษ์พาณิชย์ ผู้ก่อตั้งโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ บอกกับเราว่า ขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลที่ส่งให้บริษัทที่รับอนุญาตนำไปกำจัดโดยการเผามี 2 ระบบคือ 400 องศาและ 800 องศา เพื่อเผาขี้เถ้าให้หมดสิ้นไปเป็นการจัดการที่ถูกวิธีเบื้องต้น         “แต่ขยะติดเชื้อที่อยู่นอกสถานพยาบาล ที่อยู่ในทุกหมู่บ้าน ทุกหน่วยงานราชการ มีการทิ้งปะปนไปกับขยะชุมชนเป็นสิ่งที่ต้องสนใจเฝ้าดูว่ามันจะอันตรายแพร่กระจายเชื้อได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเราไม่ทราบ”         ดร.สมไทย มองปัญหาขยะติดเชื้อในไทยว่า กลไกและระเบียบของภาครัฐในการจัดการขยะติดเชื้อของไทยยังไม่ทันสมัย และเรายังไม่เคยมีความรอบรู้มาก่อนในกรณีมีภัยคุกคามจากโรคระบาดต่างๆ ว่าจะมีการป้องกันในระยะยาวอย่างไร         ส่วนการจัดการขยะติดเชื้อของ 20 กว่าบริษัทในไทย ก็ยังไม่สมบูรณ์ เพียงแค่จัดการได้เบื้องต้นเท่านั้น การตรวจเตาเผาขยะติดเชื้อที่ปลายปล่องต้องส่งไปตรวจยังต่างประเทศ ซึ่งเรายังไม่มีห้องปฏิบัติการเพียงพอสำหรับงานนี้         “ในเยอรมนี ฟินแลนด์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์จะไม่เผาขยะติดเชื้อ แต่ใช้วิธี steam ด้วยความร้อนสูงพันกว่าองศา ขยะที่ถูกฆ่าเชื้อและมีความเสถียรแล้ว เขานำมารีไซเคิลได้โดยไม่ต้องเผา นอกจากนี้ยังมีการทำบ่อซีเมนต์เป็นผนังคอนกรีตหนาที่ซีนแล้วไม่มีรั่วเลย เป็น secure landfill ซึ่งบริษัทในไทยที่รับจัดการขยะติดเชื้อยังไม่มีเทคโนโลยีเหล่านี้”         ด้านเพ็ญโฉมแสดงทัศนะว่า สิ่งที่พอจะเริ่มต้นได้ทันทีคือการรณรงค์และให้ความรู้แก่ประชาชนว่าขยะติดเชื้อคืออะไรและควรจัดการอย่างไร ในส่วนภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งกับหน่วยงาน องค์กร หรือบริษัทผู้ก่อมลพิษและประชาชน         โควิด-19 เป็นปัจจัยภายนอกที่แทรกซ้อนเข้ามาโดยไม่คาดคิด ตอกย้ำให้เห็นสถานการณ์และปัญหาการจัดการขยะติดเชื้อในไทย แน่นอนว่าด้วยพื้นที่อันจำกัดย่อมไม่สามารถฉายภาพทั้งหมดได้ แต่อย่างน้อยผู้บริโภคอย่างเราคงได้เห็นภาพคร่าวๆ และการแสวงหาความรู้และนำไปปฏิบัติของตัวเราก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทุเลาปัญหาได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ขาลาย เพราะน้ำเหลืองไม่ดีจริงหรือ

        ผู้ใหญ่หลายคนมักทักเด็กน้อย หรือคนที่ขาเป็นแผลถลอกพุพอง มีน้ำเหลืองเยิ้ม หรือมีรอยแผลเป็นที่ลายพร้อยไปทั้งแขน ขาว่า เป็นโรคน้ำเหลืองไม่ดี ซึ่งก็งงกันไปว่า มันไม่ดียังไง เกิดจากอะไร เป็นกรรมพันธุ์หรือเปล่า เพราะอันที่จริงโรคน้ำเหลืองไม่ดีนั้น ไม่มี มีแต่สิ่งที่เรียกว่า ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง         บ้านเรานั้นอากาศร้อนชื้น มีแมลงรำคาญก็มาก ดิน น้ำ พงหญ้าชื้นแฉะ แมลงชุม เวลาที่ผิวหนังของเรา โดนแมลงต่างๆ กัด หรือระคายเคืองจากพืชบางชนิด หากมีอาการแพ้เกิดผื่นหรือตุ่มคัน บางคนเกาเบาๆ อาการก็ดีขึ้นหรือแค่ป้ายยาหม่องก็หาย แต่หลายคนคันมากก็เกามาก บางคนห้ามใจไม่อยู่เกากันจนเกิดแผลถลอกและติดเชื้อจนกลายเป็นตุ่มหนอง เมื่อแผลหายแล้วก็ยังเกิดเป็นรอยแผลเป็นทิ้งไว้ให้คิดถึงอีก อาการแบบนี้คนสมัยก่อนจะบอกว่า เป็นโรคน้ำเหลืองไม่ดี ต้องกินยานี้ ไม่กินอาหารนี้เพราะมันแสลงโรค รวมทั้งมีสื่อที่โฆษณาขายยาหรืออาหารเสริมหลายชนิดที่มักอวดอ้างสรรพคุณว่า กินแล้วช่วยให้หายจากโรคน้ำเหลืองไม่ดี มาขายในราคาแสนแพงอีกด้วย  สวยอย่างฉลาดคราวนี้จึงขอนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้เข้าใจผิดอีกต่อไป และเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องในการรักษา            โรคน้ำเหลืองไม่ดี ไม่มีอยู่จริงในวงการแพทย์ ภาวะที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงแค่ ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง หรือโรคที่มีแผลเรื้อรังที่ขา แขน หรือผิวหนังของร่างกาย บางที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Impetigo ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคที่เรียที่ชื่อว่า Staphylococcus aureus และ Streptococcus pyogenes ที่สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้ทั้งนั้น เพียงแค่การลุกลามและเรื้อรังของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการดูแลและรักษาอาการนั้นมากน้อยแค่ไหน                    การรักษาความสะอาดสำคัญที่สุด        ภาวะนี้หากเกิดกับเด็ก จะดูแลยากหน่อย เพราะห้ามเด็กไม่ให้เกาเมื่อคันนั้นยาก บางทีหลับแล้วก็ยังเผลอเกาจนน้ำเหลืองเยิ้มกลายเป็นแผลติดเชื้อ ดังนั้นต้องเริ่มจากการป้องกัน กล่าวคือ ไม่ควรให้เด็กเล่นดิน ทราย หรือน้ำที่สกปรก ไม่เข้าพงหญ้าที่มีแมลง แต่หากสัมผัสกับสิ่งสกปรกเหล่านี้ต้องรีบล้างทำความสะอาดทันที และควรต้องตัดเล็บเด็กให้สั้นเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อที่ซ่อนอยู่ในเล็บและการเกาจนเกิดบาดแผล         การรักษา หากเกิดตุ่มคัน ผื่นแพ้ บวม แดง ให้รีบล้างแผลให้สะอาด รักษาแผลโดยอาจฟอกด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น chlorhexide หรือทายาฆ่าเชื้อกลุ่ม cloxacillin dioxacillin หรือ Cephalexin แต่หากอาการรุนแรง แผลลุกลาม มีไข้ ต้องรีบไปพบแพทย์ ซึ่งอาจต้องใช้ยาฆ่าเชื้อแบบกินหรือฉีด และอาจต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล         ในผู้ใหญ่ก็คล้ายกัน ป้องกันก่อนดีที่สุด หากเกิดผื่นแพ้หรือตุ่มคัน ควรหายาทาบรรเทาอาการ หรือรับประทานยาแก้แพ้ สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาโรคนี้คือ การรักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น อาบน้ำล้างแผลให้สะอาด ไม่แกะ ไม่เกาแผล เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบที่แผล เพราะจะทำให้แผลหายช้า         เรื่องจริงของแผลติดเชื้อ        ·  ไม่มีของแสลง อาหารกินได้ทุกชนิด ไม่ต้องงด เนื้อ นม ไข่        ·  พ่นยา พ่นเหล้า พ่นสมุนไพร อาจจะยิ่งติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น        ·  ไม่มีอาหารเสริมเพื่อมารักษา ดีสุดกินอาหารครบ 5 หมู่

อ่านเพิ่มเติม >