ฉบับที่ 51 นมเปรี้ยวมาแรงแซงสุขภาพเด็กไทย

จากการเก็บข้อมูลของ MDR PACIFIC เกี่ยวกับการใช้เงินเพื่อการโฆษณาของบริษัทผู้ผลิตนมเจ้าต่าง ๆ พบว่า นมผงและนมเปรี้ยวกำลังเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ภาคธุรกิจส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกมากที่สุด โดยมีเด็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ การรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันกลับมาดื่มนมจืดหรือนมสด 100% เพื่อให้ปลอดภัยจากน้ำตาลที่ถูกเติมลงไปในนมจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักหากไม่สามารถฝ่าด่านแรงโฆษณาการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการที่เล็งเห็นเฉพาะผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าผลกระทบต่อสุขภาพบางด้านที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคได้ ........................................................................ MDR PACIFIC ซึ่งเป็นบริษัทจัดเก็บข้อมูลด้านการโฆษณา มีรายงานออกมาว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2545 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมเจ้าต่างใช้เงินเพื่อการโฆษณาสินค้าของตนรวมทั้งสิ้น 853,135,000 บาท มากที่สุดประมาณ 287 ล้านบาทถูกใช้ไปกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์นมผง และอีกประมาณ 170 ล้านบาทได้ถูกใช้ไปกับการโฆษณานมเปรี้ยว(ไม่รวมโยเกิต) สื่อที่ใช้ส่วนใหญ่คือโทรทัศน์มากถึง 84% ของช่องทางสื่อที่ใช้ทั้งหมด การส่งเสริมให้ผู้บริโภคดื่มนมผงและนมเปรี้ยวของผู้ประกอบการนั้นได้ทำกำไรให้ธุรกิจนี้อย่างมหาศาล นายเนวิน  ชิดชอบ สมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เคยให้ข้อมูลว่า สาเหตุที่ผู้บริโภคต้องซื้อนมผงสำหรับเลี้ยงเด็กในราคาแพงซึ่งทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นเพราะผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติสำแดงต้นทุนการนำเข้าเพียงกิโลกรัมละ 60-70 บาทเท่านั้นเพื่อจะได้จ่ายภาษีอากรการนำเข้าในอัตราที่ไม่สูงมาก ในขณะที่ราคาจำหน่ายในท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-200 บาท นมผงจึงเป็นเรื่องที่คนไทยและประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติมาโดยตลอด ในขณะที่นมเปรี้ยวเองก็กำลังเป็นสินค้ามาแรง ด้วยการโชว์ตัวเองว่าเป็นนมที่ดื่มแล้วไม่อ้วน ดีทั้งต่อสุขภาพและการรักษาทรวดทรง แต่แท้ที่จริงนมเปรี้ยวกลับไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดความอ้วนได้จริง เนื่องจากร่างกายได้รับน้ำตาลที่เติมเข้าไปในนมเปรี้ยวในสัดส่วนที่สูงนั่นเอง ผลดีสำหรับผู้ผลิตนมเปรี้ยวคือแทนที่จะใช้นมสดในการผลิต ผู้ผลิตกลับใช้นมผงขาดมันเนยผสมน้ำแทนแล้วใช้โยเกิตเป็นเชื้อหมักทำให้ลดต้นทุนไปได้เยอะ ล่าสุดพบนมเปรี้ยวสำหรับเด็กออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมากซึ่งล้วนแต่มีการเติมน้ำตาลในปริมาณที่สูงในขณะที่สัดส่วนของนมก็มีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น การดื่มนมเปรี้ยวแบบนี้ของเด็กจึงเหมือนการดื่มน้ำเชื่อมผสมนมมากกว่า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายไปด้วย การใช้เม็ดเงินมากกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทส่งเสริมให้เด็กดื่มนมเปรี้ยวที่มีรสชาติในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์นม 3 อันดับแรกที่ใช้เงินโฆษณาสูงสุด ใช้เงินโฆษณารวมทั้งสิ้น (บาท) คิดเป็นร้อยละ อันดับที่ 1 ผลิตภัณฑ์นมผง 286,905,000 33.63 อันดับที่ 2 ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว 169,541,000 19.87 อันดับที่ 3 ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง 115,915,000 13.59   โทรทัศน์เป็นช่องทางหลักของโฆษณานม ช่องทางในการโฆษณา เงินที่ใช้(บาท) คิดเป็นร้อยละ 1.โทรทัศน์ 717,453,000 84.10 2.วิทยุ 45,671,000 5.35 3.ป้ายโฆษณา 40,597,000 4.76 4.หนังสือพิมพ์ 29,932,000 3.51 5.นิตยสาร 17,841,000 2.09 6.อินเตอร์เน็ต 888,000 0.10 7.โรงภาพยนตร์ 753,000 0.09 รวม 853,135,000 100   รายละเอียดของการใช้เงินโฆษณาในผลิตภัณฑ์นมแต่ละประเภท กลุ่มผลิตภัณฑ์ งบโฆษณาของแต่ละสื่อ  (บาท) ยอดรวม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา โรงภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต นมผง (14 ยี่ห้อ) 275,184,000 0 4,580,000 7,141,000 0 0 0 286,905,000(33.63%) นมเปรี้ยว (8 ยี่ห้อ) 117,895,000 16,735,000 11,092,000 2,631,000 21,084,000 0 104,000 169,541,000 (19.87%) นมถั่วเหลือง (5 ยี่ห้อ) 89,762,000 16,662,000 3,783,000 3,917,000 1,038,000 753,000 0 115,915,000 (13.59%) โฆษณาแบบรวม (13 ยี่ห้อ) 92,272,000 2,237,000 8,313,000 2,639,000 5,218,000 0 784,000 111,463,000 (13.07%) นมยูเอชที (9 ยี่ห้อ) 91,217,000 1,390,000 0 635,000 1,920,000 0 0 95,162,000 (11.15%) นมสเตอริไลซ์ (1 ยี่ห้อ) 34,232,000 0 1,331,000 0 0 0 0 35,563,000 (4.17%) นมสดพาสเจอไรส์ (3 ยี่ห้อ) 7,678,000 5,948,000 118,000 139,000 5,076,000 0 0 18,959,000 (2.22%) โยเกิต (5 ยี่ห้อ) 2,561,000 2,699,000 715,000 739,000 5,401,000 0 0 12,115,000 (1.42%) นมข้นหวาน (1 ยี่ห้อ) 6,652,000 0 0 0 860,000 0 0 7,512,000 (0.88%) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 717,453,000 45,671,000 29,932,000 17,841,000 40,597,000 753,000 888,000 853,135,000   รายละเอียดงบโฆษณาของผลิตภัณฑ์นมแต่ละชนิด 1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ นมผง งบโฆษณาของแต่ละสื่อ  (บาท) ยอดรวม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา โรงภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต 1.ตราหมี 90,432,000 2,350,000 1,464,000 94,246,000(32.85%) 2.ดูเม็กซ์ 62,144,000 902,000 2,411,000 65,487,000(22.83%) 3.อะแลคต้าเอ็นเอฟ 36,236,000 234,000 36,470,000(12.71%) 4.คาร์เนชั่น 30,169,000 30,169,000(10.51%) 5.เอ็นฟาโกรว์ 26,424,000 717,000 27,141,000(9.46%) 6.เอ็นฟาคิด 13,289,000 13,289,000(4.62%) 7.มิชชั่น 8,061,000

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 100 น้ำตาลในอาหารเสริมสำเร็จรูปของเด็กเล็ก

  “อาหารเสริม” เวลาที่พูดถึงคำๆ นี้มักจะชวนให้คิดถึง บรรดาผลิตภัณฑ์ที่อ้างสรรพคุณว่ากินแล้วดีต่อสุขภาพ ทำให้สวย ขาว หรือแข็งแรงเว่อร์ๆ อะไรประมาณนั้น ซึ่งในทางกฎหมายเขามีชื่อที่นิยามไว้เฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมานี้ว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” ไม่ใช่ “อาหารเสริม” เพราะอาหารเสริม โดยแท้จริงแล้วจะหมายถึง อาหารที่ให้เด็กรับประทานเสริมจากนมแม่หรือนมผสม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมขึ้นเอง หรือบางครั้งก็เลือกใช้ผลิตภัณฑ์แบบสำเร็จรูปที่ขายในท้องตลาดแทน จากงานวิจัยของกองทันตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551 พบว่า เด็กอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปเริ่มมีการบริโภคอาหารเสริมถึงร้อยละ 52.7 ปัญหาคือ เป็นอาหารเสริมปรุงสำเร็จ หรือกึ่งสำเร็จรูป ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลักในปริมาณสูง ซึ่งมันมีผลต่อการ “ติดรสหวาน” ของเด็กในอนาคต ฉลาดซื้อได้ทดลองหยิบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่วางขายทั่วไป และมียอดขายลำดับต้นๆ มาทดสอบหาปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ว่าจะ “หวาน” กันสักแค่ไหน ผลปรากฏว่า หวานมากเมื่อคิดว่าเป็นอาหารที่ป้อนให้ลูกน้อยรับประทานเสริมในช่วงปีแรกของชีวิต เรียงลำดับ 3 อันดับหวานมาก ได้แก่ 1. เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผสมน้ำผึ้ง ปริมาณน้ำตาล 19.9 กรัม/ผลิตภัณฑ์ 100 กรัม หรือประมาณ 5 ช้อนชา2. เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผลไม้รวม ปริมาณน้ำตาล 18.8 กรัม/ผลิตภัณฑ์ 100 กรัม หรือประมาณ 4 ช้อนชาครึ่ง 3. เนสท์เล่ ซีรีแลค ข้าวโอ๊ต&ลูกพรุน ปริมาณน้ำตาล 18.2 กรัม/ผลิตภัณฑ์ 100 กรัม หรือประมาณ 4 ช้อนชา อย่าปล่อยให้เด็กติดหวาน การดูแลเรื่องอาหารการกินในวัยต้นของชีวิต โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรกถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากพ่อแม่คิดจะสร้างความแข็งแรง ความมีสุขภาพดีให้แก่ลูกรักที่จะเติบโตต่อไปเป็น “เด็กฉลาด แข็งแรง” และ “ผู้ใหญ่สุขภาพดี” หลังคลอดอาหารที่ดีที่สุดคือ นมแม่ ซึ่งสามารถให้ได้ถึง 6 เดือน โดยไม่ต้องกินอย่างอื่น จากนั้นจึงค่อยๆ เสริมด้วยอาหารอื่นเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอสมวัย หรือหากไม่ได้กินนมแม่ตลอดมีการให้นมผงผสมผสานในการเลี้ยงดู ก็จำเป็นต้องให้อาหารอื่นเสริมไวขึ้น  อาหารเสริมที่คุ้นเคยกันดี ก็เช่น กล้วยน้ำว้าบด ข้าวบด ไข่แดงบด และอาจรวมไปถึงเนื้อสัตว์ผัก และปลา ซึ่งเตรียมเองได้ง่ายๆ ในครัวเรือน แต่ด้วยสภาพสังคมที่อาจจะไม่เอื้อต่อคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน ส่งผลให้พ่อแม่ไม่มีเวลามากพอในการจัดเตรียมอาหารเสริมแบบปรุงเองเพื่อป้อนให้ลูกน้อยได้ ก็จำเป็นต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ปรุงสำเร็จรูปมาป้อนเข้าปากลูกแทน ซึ่งจุดนี้อาจถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง “ติดรสหวาน” จากการศึกษา พบว่า เด็กไทยอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 52.7 เริ่มบริโภคอาหารเสริมสำเร็จรูป นั่นเท่ากับว่า เด็ก 1 ใน 2 คน มีโอกาสได้ลิ้มรสชาติ “น้ำตาล” ตั้งแต่อายุเพียง 6 เดือนเท่านั้น เพราะอาหารเสริมปรุงสำเร็จส่วนใหญ่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มรสชาติ ติดรสหวานไม่ดีอย่างไร เรื่องนี้พิสูจน์ได้ด้วยสถานการณ์สุขภาพเด็กไทยในปี พ.ศ.2545 ที่พบเด็กฟันผุมากถึงร้อยละ 72 จนหน่วยงานทั้งหลายต้องเร่งออกมาศึกษาและหาทางแก้ไขกันยกใหญ่ ซึ่งจุดหนึ่งของปัญหาคือ พบว่า เด็กไทยเริ่มกินนมสูตรต่อเนื่องที่มีน้ำตาลผสมในปริมาณสูง ทำให้น้ำตาลสะสมในช่องปากก่อให้เกิดฟันผุ แต่หลังจากที่หลายองค์กรทางด้านสุขภาพได้ช่วยกันรณรงค์ผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ สธ.ที่ 286 ห้ามไม่ให้เติมน้ำตาลในนมสูตรต่อเนื่องสำหรับเด็ก รวมทั้งเร่งให้การศึกษาพ่อแม่ให้ดูแลสุขภาพภายในช่องปากของลูก ทำให้พบว่า เด็กไทยมีแนวโน้มฟันผุน้อยลงมาหน่อย คือ ร้อยละ 62.8 ในปี พ.ศ. 2550 ติดรสหวานไม่เพียงทำให้ฟันผุ (ซึ่งอาจแก้ได้ด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธี) แต่ยังทำให้เด็กปฏิเสธอาหารรสชาติธรรมชาติ ตลอดจนอาหารอื่น โดยเรียกร้องแต่จะกินอาหารที่หวานด้วยน้ำตาลเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นขนมขบเคี้ยว ขนมถุง น้ำหวานหรือน้ำอัดลม ส่งผลให้เด็กมีภาวะน้ำหนักเกิน ขาดสารอาหาร และมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ควรเกิดในเด็กเล็ก อย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ดังนั้นหากไม่อยากให้ลูกติดรสหวาน ถ้าจำเป็นต้องเลือกอาหารเสริมสำเร็จรูป ก็ควรเลี่ยงที่มีส่วนผสมของน้ำตาล พยายามทำอาหารให้ลูกกินเองให้ได้มากที่สุด ใช้อาหารเสริมเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อไม่ให้ลูกของคุณกลายเป็นเด็กที่อ้วนแต่อ่อนแอ และหากพ่อแม่คนไหนยังมีความเชื่อว่าอาหารเสริมกึ่งสำเร็จรูปสำหรับเด็กเป็นอาหารที่ดี มีประโยชน์มากกว่าอาหารปกติ ขอให้ข้อคิดว่า อาจไม่เป็นเรื่องจริงก็ได้ เพราะความจริงคือ ไม่น่าจะมีอะไรวิเศษไปกว่าอาหารสดที่เราหาซื้อได้จากตลาดและนำมาปรุงเอง อาหารที่เตรียมเองไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิต การบรรจุขวด ซึ่งผ่านขั้นตอนที่ทำลายคุณค่าอาหารและยังอาจมีสารกันบูดผสมด้วย ดังนั้นในยุคเศรษฐกิจฝืดๆ แบบนี้ อาหารเสริมสำเร็จรูปจากต่างประเทศ “ราคาแพงเกินไป” ทำเองดีกว่า ถูกกว่าและปลอดภัยกว่าแน่นอน ผลทดสอบปริมาณน้ำตาลในอาหารเสริมกึ่งสำเร็จรูปสำหรับเด็ก   ผลิตภัณฑ์ น้ำหนัก (กรัม) ราคาต่อหน่วย (บาท) วันผลิต – วันหมดอายุ น้ำตาล (กรัมต่อ 100 กรัม) เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผสมน้ำผึ้ง 120 38.75 10-11-08 09-02-10 19.9 เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผลไม้รวม 120 38.75 19-11-08 18-02-10 18.8 เนสท์เล่ ซีรีแลค ข้าวโอ๊ต&ลูกพรุน 150 120.75 16-05-08 15-08-09 18.2 เนสท์เล่ ซีรีแลค ข้าว แอปเปิลและแครนเบอรี่ 150 120.75 29-05-08 28-08-09 16.2 ไฮนซ์ แอปเปิ้ลผสมบลูเบอร์มูสลี่ 110 41.25 01-07-08 01-07-10 7.8 ไฮนซ์ คัสตาร์ด กลิ่นวานิลลา 110 41.25 04-06-08 04-06-10 6.7 ไฮนซ์ คัสตาร์ด รสไข่ 110 41.25 06-06-08 06-06-10 5.8   อายุ อาหารเสริม ครบ 4 เดือน ข้าวบดใส่น้ำแกงจืด สลับกับกล้วยน้ำว้าสุกครูด ข้าวบดกับไข่แดงต้มสุก ข้าวบดกับตับ หรือข้าวบดกับถั่วต้มเปื่อย ครบ 5 เดือน เริ่มอาหารปลา และควรเติมฟักทองหรือผักบดละเอียดในข้าวด้วย ครบ 6 เดือน ให้อาหารเสริมเป็นอาหารหลัก 1 มื้อ และให้กล้วย มะละกอสุก องุ่น มะม่วงสุก เป็นอาหารว่างอีก 1 มื้อ โดยตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ถ้วยให้ลูกหยิบรับประทานเองได้ และให้เริ่มดื่มน้ำส้มได้โดยผสมกับน้ำสุก 1 เท่าตัว ควรเริ่มทีละน้อยก่อน เช่น 1 ช้อนชา ครบ 7 เดือน เริ่มเนื้อสัตว์บดผสมในข้าว เริ่มให้ไข่ทั้งฟองได้ แต่ต้องต้มสุก ครบ 8-9 เดือน อาหารมื้อหลัก 2 มื้อ ถ้าลูกน้ำหนักตัวน้อย อาหารอาจเป็นของทอดที่มีน้ำมันด้วย ครบ10-12 เดือน อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และเปลี่ยนจากบด หรือสับละเอียดมาเป็นอาหารอ่อนนิ่มธรรมดาได้แล้ว   ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็กมีมูลค่าตลาดราว 427 ล้านบาท โดยมีผลิตภัณฑ์ภายใต้เนสท์เล่ เป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่ง 97% หลักเกณฑ์ทั่วไปการให้อาหารเสริมแก่ทารก      1) เริ่มให้อาหารเสริมทีละอย่าง ไม่ควรให้พร้อมกันหลายอย่าง เพราะถ้าเด็กเกิดอาการแพ้ จะได้ทราบว่าเกิดจากอาหารอะไร     2) การเริ่มให้อาหารเสริมแต่ละชนิด ควรเว้นห่างกัน 1-2 สัปดาห์ เพื่อคอยสังเกตดูว่าเด็กมีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ เช่น มีผื่นตามผิวหนัง ร้องกวนมาก ไอ หอบ     3) เริ่มให้ทีละน้อยจากครึ่งช้อนชา แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น     4) เตรียมอาหารให้เหมาะกับอายุและพัฒนาการของเด็ก     5) ต้องระวังสนใจเรื่องความสะอาดให้มาก ผู้ปรุงต้องล้างมือให้สะอาดก่อนปรุง ภาชนะต้องต้มฆ่าเชื้อให้สะอาด แยกต่างหากจากของผู้อื่น อาหารต้องใหม่สด และต้มให้สุกอย่างทั่วถึง และเมื่อปรุงเสร็จแล้วต้องมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงวันตอม     6) อาหารของทารกต้องรสไม่จัด ปรุงรสเพียงเจือจาง และไม่ใส่ผงชูรส     7) ให้เด็กรับประทานอาหารเป็นเวลา เป็นที่เป็นทาง ไม่เล่นไปด้วย ควรสร้างบรรยากาศให้เพลิดเพลินสนุกสนาน และหากเด็กปฏิเสธให้หยุดไปก่อน แล้วค่อยเริ่มใหม่ในอีก 3-4 วัน     8) ให้เด็กหัดช่วยตัวเอง หัดถือช้อนเอง หัดหยิบอาหารเข้าปากเอง โดยทั่วไป เด็ก 6-7 เดือนจะนั่งได้ และเริ่มอยากจะช่วยตัวเอง นำอาหารเข้าปากเอง     9) ไม่ควรให้น้ำหวาน กลูโคส น้ำอัดลม เพราะไม่มีประโยชน์ ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหารอื่นที่มีประโยชน์(ข้อมูล ภญ. อ. ดร. สุญานี พงษ์ธนานิกร ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)   วิเคราะห์โดย สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดลผลการวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 168 กระแสต่างแดน

โบนัสขจัดมลพิษ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของฝรั่งเศสต้องการส่งเสริมให้ผู้คนเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ดีเซลมาใช้รถพลังงานไฟฟ้า จึงเสนอให้เงิน 10,000 ยูโร (ประมาณ 370,000 บาท) กับผู้ที่ยินดีเปลี่ยน โครงการนี้จะเริ่มในเดือนเมษายนนี้ รมต.สิ่งแวดล้อมบอกว่าถึงเวลาแล้วที่จะหยุดละเมิดสุขภาพของประชาชน เพราะมีเทคโนโลยีที่เป็นทางออกแล้ว แต่เงื่อนไขมีอยู่ว่าคุณต้องเป็นผู้อยู่อาศัยในเขตที่มีมลภาวะสูงที่สุดในประเทศที่นิยมเรียกกันว่า PPA ทั้ง 23 เขต และคุณต้องมีหลักฐานมาแสดงว่าคุณได้นำรถที่อายุเกิน 13 ปีของคุณไปส่งที่สุสานรถเก่าแล้ว สินจ้างรางวัลสำหรับคนรักสิ่งแวดล้อมยังมีอีก เช่น เจ้าของรถไฮบริดทั่วไปจะได้รับโบนัส 1,500 ยูโร (55,900 บาท) แต่ถ้าใครใช้รถไฮบริดแบบชาร์จไฟได้ก็มีโบนัสให้ 2,500 ยูโร (93,000 บาท) ในทางกลับกัน เจ้าของรถที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต้องเสียค่าปรับ ระหว่าง 150 – 3,700 ยูโร (5,600 – 138,000 บาท) ฝรั่งเศสวางแผนติดตั้งสถานีชาร์จแบตฯให้ได้ 7 ล้านจุดทั่วประเทศ ทั้งในบริเวณลานจอดรถทั้งของรัฐและเอกชน สถานีรถไฟ ซูเปอร์มาร์เก็ต และสนามบิน   มีขึ้นต้องมีลง มาเลเซียประกาศลดค่าไฟฟ้าในเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ... ก็ไม่มีอะไรมาก แค่ต้นทุนการผลิตเขาลดลง รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน เทคโนโลยีสะอาด และน้ำ ประกาศว่าค่าไฟจะลดลงร้อยละ 3.5 สำหรับครัวเรือนบนคาบสมุทรมาเลย์ ในขณะที่ผู้ใช้ไฟในซาบาห์และลาบวนก็จะเสียค่าไฟน้อยลงร้อยละ 5.8 เช่นกัน เอาเป็นว่าเขาจะประหยัดกันได้เดือนละประมาณ 120 บาท และ 400 บาท ตามลำดับ เขาบอกว่าร้อยละ 70 ของผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากงานนี้ ที่ทำได้เพราะว่าบริษัทเทนากา เนชั่นแนล ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้ารายใหญ่ของมาเลเซียเขาสามารถประหยัดเงินได้ 700 กว่าล้านริงกิต (ไม่ต่ำกว่า 6,600 ล้านบาทไทย) จากค่าเชื้อเพลิงและค่าการผลิตที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ถามว่าทำไมถึงลดแค่เดือนมิถุนายน ก็เพราะมาเลเซียใช้กลไกการคิดอัตราค่าไฟแบบ ICPT (Imbalance Cost Pass Through) ที่ทำให้รัฐสามารถเพิ่มหรือลดอัตราค่าไฟได้ด้วยการคำนวณจากราคาของถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมันดิบ โดยรัฐจะคำนวณอัตราค่าไฟทุกๆ 6 เดือน เอาเป็นว่าเดือนมิถุนายนนี้มาดูกันใหม่อีกที อาจจะถูกหรือแพงกว่านี้ก็ต้องมาลุ้นกัน ... ยังดีที่ได้มีโอกาสลุ้น เครื่องดื่ม 18 + คณะกรรมการยุโรปด้านสุขภาพและความปลอดภัยด้านอาหารกำลังพิจารณาห้ามขายเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เรื่องนี้เรื่องใหญ่ของเขาเพราะร้อยละ 68 ของเยาวชนของเขานิยมดื่มเครื่องดื่มดังกล่าว มีถึงร้อยละ 24 ที่ดื่มถึงสัปดาห์ละ 4 ครั้ง นอกจากนี้งานวิจัยขององค์การความปลอดภัยทางอาหารของยุโรปเขาพบว่า ไม่ว่าจะผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นก็ไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกินกว่าวันละ 3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เครื่องดื่มดังกล่าวในปริมาณ 500 มิลลิกรัม ก็มีคาเฟอีนในปริมาณเกินกว่าที่เด็กอายุ 12 ควรได้รับต่อวันแล้ว และมันยังอันตรายมากสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ เพราะมันอาจเร่งความเร็วในการเต้นของหัวใจ ทำให้ความดันสูงขึ้นและทำให้เสียชีวิตในที่สุด ข่าวนี้เป็นที่สรรเสริญขององค์กรที่รณรงค์เรื่องอาหารปลอดภัยอย่าง Foodwatch  ในขณะที่เครื่องดื่ม “บำรุงกำลัง” ยี่ห้อที่ขายดีที่สุดในโลกอย่างเรดบูล หรือที่บ้านเราเรียกกระทิงแดง ออกมาโต้ตอบว่า คาเฟอีนที่ผู้คนทุกวันนี้ได้รับส่วนใหญ่นั้นมาจาก ชา กาแฟ และน้ำอัดลม ไม่ได้มาจากเครื่องดื่มชนิดนี้เสียหน่อย   ปรับไม่เลี้ยง ศาลเยอรมันสั่งให้เทศบาลเมืองไลป์ซิกจ่ายค่าชดเชย 15,000 ยูโร (ประมาณ 560,000 บาท) ให้กับสามครอบครัวที่รวมตัวกันฟ้อง พ่อแม่เหล่านี้บอกว่าพวกเขาได้รับความเดือดร้อนลำบากจากการที่เทศบาลมีสถานรับเลี้ยงเด็กไม่เพียงพอสำหรับลูกๆในวัยขวบกว่าของพวกเขา ทำให้ต้องผลัดกันลางานมาเลี้ยงลูกและยอมถูกหักเงินเดือน เพราะตามกฎหมาย รัฐจะต้องจัดหาสถานรับเลี้ยงเด็กสำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไปให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เทศบาลเมืองนี้ก็ยืนยันว่าเขากำลังเร่งสร้างศูนย์รับเลี้ยงเด็กเพิ่มเติมอยู่ เพียงแต่มันมีปัญหาขลุกขลักนิดหน่อยในขั้นตอนการวางแผนและการทำสัญญาการก่อสร้างนี่แหละพี่น้อง แต่ศาลถือว่านั่นไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างของการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลได้ ในเยอรมนี พ่อแม่มีสิทธิหยุดงานโดยได้ยังรับค่าจ้าง 15 เดือน(ทั้งนี้แต่ละฝ่ายหยุดได้ไม่ต่ำกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน) และสามารถหยุดงานเพื่อเลี้ยงลูกได้สูงสุดถึง 3 ปี   อย่างนี้ต้องพิสูจน์ มินห์ พบแมลงวันตายหนึ่งตัวในเครื่องดื่มยี่ห้อนัมเบอร์วัน เขาจึงโทรหาบริษัทผู้ผลิตแล้วบอกว่าจะไม่แพร่งพรายเรื่องนี้ให้ใครรู้ถ้าบริษัทยินดีจ่ายค่าเสียหาย 1,000 ล้านดอง(ประมาณ 1,540,000 บาท) ให้กับเขา แต่ถ้าไม่จ่ายเขาจะฟ้องสื่อ บริษัทจึงตกลงจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง(โดยไม่ลืมแจ้งตำรวจไว้ด้วย) ผลคือมินห์ถูกตำรวจรวบตัวได้ขณะที่มารับเงินและถูกดำเนินคดีข้อหาขู่กรรโชกทรัพย์ และขวดเครื่องดื่มที่ว่าก็ถูกตรวจสอบพบว่ามีร่องรอยการเจาะโดยวัตถุมีคม แต่เดี๋ยวก่อน เรื่องนี้ยังจบไม่ได้ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กระทรวงอนามัยและความปลอดภัยด้านอาหารของเวียดนาม ตั้งชุดเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบสายการผลิตของบริษัททัน เฮียบ พัด กรุ๊ป ผู้ผลิตเครื่องดื่มดังกล่าว เนื่องจากก่อนหน้านี้ก็มีการส่งต่อเรื่องราวในอินเตอร์เน็ตว่าด้วยเรื่องเครื่องดื่มของบริษัทนี้ที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนสภาพ หรือมีสิ่งปลอมปนทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงวันหมดอายุ จนกระทั่งเกิดกลุ่มผู้บริโภคที่ชักชวนกันผ่านโซเชียลมีเดียให้บอยคอตผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้ด้วย ที่สำคัญเมื่อ 6 ปีก่อน ทางการเคยตรวจพบผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นที่หมดอายุแล้วกว่า 67 ตันในโกดังของบริษัทนี้ทั้งที่เมืองบินห์ดวงและโฮจิมินห์ บริษัทดังกล่าวมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 40 ของตลาดชาพร้อมดื่มในเวียดนาม และร้อยละ 14 ของเครื่องดื่มบำรุงกำลัง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 163 กระแสต่างแดน

ดีเซลไม่ดีจริง ทุกปีมีชาวลอนดอนประมาณ 4,300 คนเสียชีวิตด้วยสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับมลภาวะทางอากาศ และสภาพอากาศในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมาของเมืองนี้ก็เลวร้ายถึงขั้นต้องประกาศให้ผู้คนงดออกจากบ้านกันเลยทีเดียว ลอนดอนมีระดับมลพิษเกินเกณฑ์ของสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2010 แล้ว นายกเทศมนตรีของลอนดอน นายบอริส จอห์นสันก็ยอมรับว่าเขาคิดว่ามหานครแห่งนี้คงจะลดการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ให้อยู่เกณฑ์ได้ก่อนปี 2030 แน่นอน แนวคิดล่าสุดที่เขาเสนอเพื่อลดมลพิษในเมือง คือการจ่ายเงินให้กับเจ้าของรถที่ใช้เครื่องดีเซลให้เปลี่ยนไปใช้รุ่นที่ปล่อยมลพิษน้อยลง โดยเริ่มจากรถรุ่นที่ผลิตก่อนปี 2013 เขาคาดว่าแผนการที่อาจต้องใช้งบประมาณถึง 300 ล้านปอนด์นี้ น่าจะลดจำนวนรถเก่าออกไปจากท้องถนนลอนดอนได้ประมาณ 150,000 คัน (ทั้งนี้ค่าชดเชยอยู่ที่คันละไม่เกิน 2000 ปอนด์) นายบอริสบอกว่า เขาเห็นใจคนที่โดนกล่อมให้ซื้อรถดีเซลด้วยความเชื่อว่ารุ่นใหม่ๆ จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วยมลพิษที่น้อยกว่าและค่าเชื้อเพลิงที่น้อยลง และเขาก็บอกด้วยว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องตระหนักว่ามันคือความผิดพลาดทางนโยบาย (ปัจจุบันรถดีเซลมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 50 ของตลาดในอังกฤษ) ทั้งนี้แผนส่งเสริมการใช้รถพลังไฟฟ้าที่เขาประกาศไว้เมื่อ 5 ปีก่อน ก็ยังไม่ได้ผล จากที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องมี 25,000 คันภายในปี 2015 ขณะนี้ยังมีเพียง 1,400 คันเท่านั้น เรื่องนี้เขาบอกว่าต้องโทษกลไกตลาด ที่ยังไม่สามารถกำหนดราคาขายได้ต่ำเท่าที่ควร     ซูเปอร์ฟู้ดเอาตัวไม่รอด ปีนี้แคลิฟอร์เนียกำลังเผชิญกับภัยแล้งอย่างหนัก และมันจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง เพราะร้อยละ 80 ของเมล็ดอัลมอนด์ที่มีขายอยู่ในตลาดโลกมาจากที่นี่ เมื่อน้ำในแม่น้ำและทะเลสาบพากันเหือดแห้ง เกษตรกรผู้ปลูกอัลมอนด์จึงสูบน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้ และตกเป็นจำเลยข้อหาเอาน้ำใต้ดินที่ควรเป็นแหล่งน้ำสำรองของผู้คนรัฐแคลิฟอร์เนียมาใช้เพื่อผลิต “ซูเปอร์ฟู้ด” ราคาถูกออกมาป้อนตลาดโลก มีผู้ให้ความเห็นว่าเมื่อเกษตรกรไม่มีต้นทุนค่าน้ำ พวกเขาจึงสามารถขายอัลมอนด์ให้พ่อค้าที่ราคาขายส่งแค่ 3 – 4 เหรียญต่อปอนด์เท่านั้น แต่ถ้ามีการคิดต้นทุนที่แท้จริงแล้วละก็ ผู้บริโภคจะต้องจ่ายมากกว่านั้นถึง 3 เท่า ด้านสมาคมผู้ปลูกอัลมอนด์แห่งแคลิฟอร์เนียบอกว่า อัลมอนด์เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี และปีนี้เกษตรกรก็ใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เขาใช้น้ำน้อยลงถึงร้อยละ 33 ต่อการผลิตอัลมอนด์หนึ่งปอนด์ และตั้งคำถามกลับว่าการที่น้ำจะไม่พอใช้นั้นอาจเป็นเพราะการบริหารจัดการน้ำที่ไม่ดีของรัฐเองหรือเปล่า ความจริงแล้วแคลิฟอร์เนียสามารถผลิตนมและองุ่นได้ในปริมาณสูงกว่าอัลมอนด์ด้วยซ้ำ แต่ช่วงหลังนี้อัลมอนด์ได้รับความนิยมสูง(ด้วยสรรพคุณมากหลายตั้งแต่ลดโคเลสเตอรอล ลดความอยากอาหาร บำรุงผิว ฯลฯ) จึงมีคนนิยมปลูกมากขึ้น และทำรายได้ถึง 4,300 ล้านเหรียญต่อปีจากพื้นที่เพราะปลูกประมาณเกือบหนึ่งล้านเอเคอร์ ปีนี้ราคาอัลมอนด์สูงที่สุดในรอบ 9 ปี(ตันละ 10,500 เหรียญ) แต่ปัญหามันอยู่ที่มีเงินก็อาจจะซื้อไม่ได้ เพราะมีแนวโน้มว่าอาจไม่มีผลผลิตออกสู่ตลาดในคริสต์มาสนี้   ผลพลอยได้ ผู้ผลิตปลาทูน่าอันดับหนึ่งของโลก คืออินโดนีเซียเพื่อนบ้านของเรา มีเกาะอยู่ทั้งหมด 17,000 เกาะ และมีประชากรหลายสิบล้านคนที่ทำประมงเลี้ยงชีวิต ปัจจุบันเขามีเรืออวนไม่ต่ำกว่า 33,000 ลำ และทุกครั้งที่เรืออวนออกไปจับปลาทูน่า ก็มักมีผลพลอยได้เป็นปลาฉลามมาด้วย ปลาทูน่าจะถูกส่งไปขายในญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา ส่วนปลาฉลามที่ติดมาด้วยนั้น ชาวบ้านที่นั่นเขาก็นำมากินกันเป็นเรื่องธรรมดา หนังปลาฉลามยังเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญของผู้คนในชุมชนริมทะเล และถ้าคุณไปตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตก็หาซื้อลูกชิ้นปลาฉลาม หรือลูกปลาฉลามได้ไม่ยาก อินโดนีเซียจับปลาฉลามได้ปีละ 109,000 ตัน(น่าจะเป็นประเทศที่จับปลาฉลามได้มากที่สุดในโลกด้วย) และสามารถจับได้อย่างเสรี ไม่มีโควตา ไม่กำหนดขนาดของปลา จึงทำให้นักอนุรักษ์เริ่มวิตก สำหรับชาวอินโดนีเซียแล้ว ปลาฉลามจะเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ไม่ได้เป็นอาหารเหลาเหมือนในอีกหลายๆ ประเทศที่เราเคยได้ยินข่าวการรณรงค์ให้ลด ละ เลิก แต่นักวิชาการเขาก็ยืนยันว่าถ้าเราคิดให้ถี่ถ้วน เราจะพบว่า ฉลามตัวเป็นๆ ที่ยังโลดแล่นอยู่ในทะเลนั้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าฉลามที่ตายแล้วหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลของออสเตรเลียพบว่า นอกจากมันจะช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ทางทะเลแล้ว ตลอดอายุขัยของมัน ฉลามหนึ่งตัวจะสร้างมูลค่าได้ถึง 1.9 ล้านเหรียญ ขาปั่นทำป่วน เราอาจรู้จักโคเปนเฮเกนในฐานะเมืองหลวงจักรยานของยุโรป และเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้จักรยานมากที่สุดในโลก แหม่ ... ก็เขามีเลนจักรยานที่มีความยาวรวมกันทั้งหมดถึง 400 กิโลเมตรเชียว ไม่อยากจะคุยต่อว่าเทศบาลเขาประกาศว่าปีหน้าจะจัดงบให้อีก 75 ล้านโครน เพื่อเพิ่มเส้นทางและขยายช่องทางจักรยานด้วย ว่ากันว่าผู้คน 1 ใน 3 ของเมืองนี้เดินทางด้วยจักรยานเพราะมันถูกและเร็ว แต่นั่นก็ยังไม่สาแก่ใจเทศบาลโคเปนเฮเกนที่ต้องการให้ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นไปเป็นร้อยละ 50 เพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2020 แต่เดี๋ยวก่อน ... หลายคนเริ่มสงสัยว่าพวกเขาหมกมุ่นกับการสร้าง “เมืองสองล้อ” มากเกินไปหรือเปล่า ... คุณอาจคิดว่ามันเป็นสวรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของนักปั่น แต่พักหลังนี้เสียงบ่นทั้งจากตัวผู้ใช้จักรยานและผู้คนที่ร่วมใช้เส้นทางกลับเพิ่มมากขึ้นทุกที นักปั่นเริ่มฝ่าฝืนกฎจราจรกันมากขึ้น เดือนมกราคมที่ผ่านมาเทศบาลต้องมีมาตรการลงโทษผู้ใช้จักรยานที่ละเมิดกฎหมาย เช่น ถ้าฝ่าไฟแดงจะถูกปรับ 1,000 โครน (ประมาณ 5,600 บาท) ถ้าขึ้นมาขี่บนฟุตบาทก็จะโดนค่าปรับ 700 โครน (ประมาณ 4,000 บาท) นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคอยยกจักรยานที่จอดในสถานที่ส่วนบุคคลไปเก็บ และคิดค่าไถ่จักรยานคันละ 187 โครน (ประมาณ 5,600 บาท) เป็นต้น เริ่มมีเสียงร้องเรียนว่าคนใช้จักรยานทำเหมือนตัวเองมีสิทธิพิเศษ ใครๆ ก็ต้องหลีกทางให้ ขึ้นรถไฟก็ต้องได้ที่นั่งและที่เก็บจักรยาน ปั่นอยู่บนถนนก็ไม่ต้องหยุดรอให้ผู้โดยสารที่ลงจากรถเมล์เดินขึ้นฟุตบาทก่อน เจอผู้พิการก็ไม่ชะลอ ... แหม่ ... นี่เข้าข่าย “เมืองดีแล้ว แต่ประชากรยังต้องปรับปรุง” เหมือนกันนะ เรื่องกินสอนกันได้ เด็กๆ ที่ฝรั่งเศสจัดอยู่ในกลุ่มที่มีสุขภาพดีที่สุดเมื่อเทียบกับเด็กในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เพราะมีอัตราน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนต่ำกว่าร้อยละ 20 ว่ากันว่าเรื่องนี้อยู่ในวิถีชีวิต คนฝรั่งเศสเชื่อว่าเด็กๆ ควรจะได้รับการสอนให้กินอาหารเป็น เช่นเดียวกับที่พวกเขาถูกสอนให้สามารถอ่านหนังสือได้นั่นเอง และการรักในรสชาติของอาหารก็เป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นจะต้องสอนกันตั้งแต่เล็กๆ พ่อแม่ชาวฝรั่งเศสมักจะไม่ถามลูกว่า “อิ่มหรือยัง?” แต่จะถามว่า “ยังหิวอยู่ไหม?” และเวลาจะชักชวนลูกให้ทานอะไรสักอย่าง เขาก็จะบอกว่า “ทานสิลูก อร่อยนะ” ไม่ใช่ “ทานสิลูก มีประโยชน์นะ” นอกจากนี้ในร้านอาหารของฝรั่งเศสเขาจะไม่มี “เมนูสำหรับเด็ก” เพราะเชื่อว่าเด็กควรทานทุกอย่างได้เหมือนกับผู้ใหญ่ (แม้ว่าพวกเขาจะไม่ชอบมันในตอนแรกก็ตาม) ทั้งนี้เพราะเด็กที่นี่ได้เรียนรู้การกินอาหารเพื่อสุขภาพทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน สำหรับเด็กประถมนั้น เมื่อถึงเวลาอาหารกลางวันพวกเขาก็จะได้รับประทานอาหารกลางวันแบบ 4 คอร์ส (สลัด จานหลักที่มักประกอบด้วยเนื้อสัตว์ จานชีส และของหวานที่มีผลไม้) และเครื่องดื่มเพียงอย่างเดียวบนโต๊ะอาหารคือน้ำเปล่า กระทรวงศึกษาฯ เขามีนโยบายที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น โรงเรียนจะต้องให้เด็กได้ใช้เวลาทานอาหารกลางวัน อย่างต่ำ 30 นาที และเวลาพักกลางวันจะต้องไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กมีเวลาเล่น และห้ามตั้งเครื่องเครื่องขายขนมอัตโนมัติในโรงเรียนด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 กระแสต่างแดน

สวรรค์ของคนเป็นแม่ กระแสต่างแดนฉบับนี้ พาคุณไปสำรวจสุขภาวะของบรรดาคุณแม่รอบโลก ผ่านรายงานว่าด้วยสุขภาวะของมารดาทั่วโลกประจำปี 2012 (Mother’s Index 2012) ที่องค์กร Save the Children เขาเก็บข้อมูลจาก 165 ประเทศทั่วโลก และมีการจัดอันดับให้คะแนนประเทศเหล่านั้นโดยแยกประเทศเหล่านั้นออกเป็น 3 กลุ่มก่อนจัดอันดับ ได้แก่ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว 43 ประเทศ กลุ่มที่กำลังพัฒนา 80 ประเทศ และกลุ่มที่ยังต้องการการพัฒนาอีกมากอีก 42 ประเทศ ----- เกณฑ์การให้คะแนน สุขภาวะของเด็ก                                                 ร้อยละ 30 สุขภาพของสตรี                                                  ร้อยละ 20 สถานภาพทางการศึกษาของสตรี                          ร้อยละ 20 สถานภาพทางเศรษฐกิจของสตรี                           ร้อยละ 20 สถานภาพทางการเมืองของสตรี                            ร้อยละ 10 ---- 10 อันดับประเทศในกลุ่ม “พัฒนาแล้ว” ที่มีคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กสูงที่สุด นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม ไอร์แลนด์ 10.  เนเธอร์แลนด์ ในกรณีที่คุณสงสัย สหรัฐอเมริกาได้อันดับที่ 25 ในขณะที่ญี่ปุ่นได้อันดับ 30  ส่วนสเปน แชมป์ฟุตบอลยูโรหมาดๆ นั้นได้อันดับที่ 16 ---- คุณแม่ชาวนอร์เวย์สามารถลาคลอดได้ถึง 9 เดือน โดยยังได้เงินเดือนเต็มจำนวน และถ้าลาเพิ่มอีก 10 สัปดาห์ก็ยังได้เงินเดือนร้อยละ 80 ที่สำคัญเมื่อกลับเข้าทำงานแล้วยังสามารถขอลาไปดูแลลูกระหว่างวันได้อีก และนั่นคงเป็นสาเหตุให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่นอร์เวย์สูงถึงร้อยละ 99 และร้อยละ 70 ของทารกที่นั้นยังได้กินนมแม่จนอายุ 3 เดือน ผู้หญิงชาวนอร์เวย์ได้รับการศึกษาเฉลี่ย 18 ปี และมีอายุขัยเฉลี่ย 83 ปี มากกว่าร้อยละ 80 ใช้วิธีการคุมกำเนิดสมัยใหม่เพื่อการวางแผนครอบครัว นอกจากนี้ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และความเท่าเทียมทางรายได้ของสตรีชาวนอร์เวย์ก็สูงด้วยเช่นกัน ตรงกันข้ามกับสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีข้อกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานที่ใช้สิทธิลาคลอด ซึ่งเขากำหนดไว้ที่ 3 เดือน ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และนอกจากนี้อัตราการตายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์สูงที่สุดในกลุ่มอีกด้วย ---- 10 อันดับประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่คุณภาพชีวิตของแม่และเด็กสูงสุด คิวบา อิสราเอล บาร์เบโดส อาร์เจนตินา ไซปรัส เกาหลีใต้ อุรุกวัย คาซัคสถาน มองโกเลีย 10.  บาฮามาส ประเทศไทยรั้งอันดับที่ 16 ของกลุ่ม ตามด้วยเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ที่ได้อันดับ 20  41  52  และ59 ตามลำดับ บราซิลอยู่อันดับที่ 12  จีนอันดับที่ 14 ส่วนอินเดียตามมาห่างๆ ที่อันดับ 76 ---- 10 อันดับท้ายซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ยังต้องการการพัฒนา ที่แม่และเด็กยังมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีเท่าที่ควรได้แก่ คองโก ซูดานใต้ ซูดาน ชาด เอริเทรีย มาลี กินี-บิสเซา เยเมน อัฟกานิสถาน 10.  ไนเจอร์ ประเทศกัมพูชา พม่า และลาวอยู่ในอันดับที่ 6  7 และ 11 ตามลำดับ ที่ประเทศไนเจอร์นั้น ผู้หญิง 1 ใน 30 คนมีโอกาสเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับการตั้งครรภ์ และเด็ก 1 ใน 7 คนจะเสียชีวิตก่อนอายุ 5 ปี โดยเฉลี่ยแล้วพวกเธอได้รับการศึกษาประมาณ 6 ปี และมีรายได้น้อยกว่าผู้ชายมากกว่าครึ่งหนึ่ง ---- นมแม่นานาชาติ ประเทศที่มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยอดเยี่ยม ได้แก่ นอร์เวย์ สโลเวเนีย สวีเดน และลักเซมเบอร์ก ในขณะที่ออสเตรเลีย มอลต้า และสหรัฐฯ  เป็น 3 ประเทศที่ได้คะแนนต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ ที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงแค่ร้อยละ 35 เท่านั้น ทั้งนี้มีงานวิจัยที่ระบุว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ต่ำเกินไปนั้น ทำให้รัฐบาลอเมริกันต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยของทารกถึง 13,000 ล้านเหรียญต่อปี   ในกลุ่มอาเซียนนั้น พม่า และกัมพูชาจัดอยู่ในกลุ่มที่ได้คะแนนระดับ “ดี” ในขณะที่ลาว ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียได้ระดับ “พอใช้” ส่วนเวียดนามอยู่ในระดับ “แย่” นอร์เวย์ได้มีการนำเนื้อหาในหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารเสริมและอาหารทดแทนนมแม่ (International Code of Marketing of Breast-milk Substitutes) มาบัญญัติเป็นกฎหมาย ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีสาระสำคัญคือการขอให้รัฐบาลของประเทศที่ร่วมลงนามนั้นมีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และในขณะเดียวกันก็ห้ามการโฆษณานมผงหรือผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่อื่นๆ ห้ามการแจกสินค้าตัวอย่างแก่ทั้งบรรดาคุณแม่และบุคลากรทางการแพทย์ และห้ามการใช้งบของระบบสุขภาพในการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์นมผง เป็นต้น   ประเทศไทยของเราก็ลงนามยอมรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2524 แล้ว แต่ดูเหมือนจะยังไม่ค่อยได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวมากนัก เพราะภาพคุณแม่หมาดๆ หิ้วตะกร้าผลิตภัณฑ์นมผงที่ได้รับแจกจากผู้ผลิตในวันที่ออกจากโรงพยาบาลก็มีให้เห็นกันบ่อยๆ ---- นมแม่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของทารก เพราะนมแม่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย การเป็นโรคอ้วน โรคภูมิแพ้ หรือแม้แต่การตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome) ของทารกได้ และตัวคุณแม่เองก็มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่น้อยลงด้วย ไหนจะช่วยลดโลกร้อนได้อีก เพราะนมแม่ไม่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรในการจัดเก็บ จัดส่ง หรือแช่เย็น และมาจากแหล่งพลังงานทดแทน เรียกว่าเป็นการแสดงความรับผิดชอบของคุณแม่ต่อสังคมด้วยนั่นเอง ----

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 มาตรฐานขวดนมเด็ก: ถึงเวลาที่ผู้ปกครอง ต้องใส่ใจ

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ เด็กและทารก เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิมากที่สุด ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานเฉพาะเพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะการควบคุมปริมาณสารเคมีอันตรายที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อและคุณแม่จะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการเลือกซื้อ โดยจะขอยกตัวอย่างเรื่อง ขวดนม  เนื่องจากเด็กและทารกมีระดับความต้านทานต่อสารพิษได้น้อยกว่าผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดกว่า การเพิ่มระดับการป้องกันในเชิงกฎหมายที่เข้มข้นกว่าสินค้าทั่วๆ ไปจึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่การออกกฎหมายหรือมาตรฐานสินค้านั้นใช้เวลานานและไม่ทันต่อสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน บทความนี้จะกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ประเภทขวดนมสำหรับเด็กและทารก ความเสี่ยงและอันตรายของสารเคมี Bisphenol A ที่ยุโรปมีออกมาตรการที่เข้มที่สุด คือ คำสั่งห้ามผลิต ห้ามและห้ามจำหน่าย การป้องกันอันตรายจากสารเคมี และผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ตลอดจนมาตรการในการจัดการของหลายๆ ประเทศ เรื่องความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทขวดนมเด็ก ซึ่งหลายๆประเทศ ได้ห้ามการจำหน่ายสินค้าประเภทขวดนมเด็ก หากตรวจพบสารเคมี Bisphenol A  จริงๆ แล้ว องค์กรผู้บริโภคในประเทศยุโรปได้เรียกร้องให้มีการสั่งห้ามผลิต และห้ามขายขวดนมที่มีสาร Bisphenol A มานานแล้ว จนกระทั่งในระดับประเทศ คือ ประเทศฝรั่งเศส และ เดนมาร์ค เป็นประเทศแรกๆ ที่ได้เริ่มสั่งห้ามผลิต ห้ามจำหน่ายก่อน และในที่สุดกรรมาธิการยุโรปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เกรงว่าจะเกิดการลักลั่นกัน ในประเทศสมาชิก จึงได้มีคำสั่งห้ามผลิต ห้ามจำหน่ายในประเทศสมาชิกอียูตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554  สำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีการจัดการอย่างเป็นรูปธรรมกับผลิตภัณฑ์ประเภทขวดนมสำหรับเด็กนี้ ซึ่งในเบื้องต้นจะต้องมีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนและชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่อาจมีสารเคมีอันตรายแอบแฝงอยู่ และสำหรับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรเข้ามามีบทบาทในการจัดการอย่างรีบด่วนที่สุด เพื่อยกระดับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ และเด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศไทย   Bisphenol A ภัยร้ายในขวดนมบิสฟีนอลเอ (Bisphenol A) เป็นสารเคมีที่ใช้กันทั่วไปในการผลิตโพลีคาร์บอเนต หรือพลาสติกแบบใส เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ 50 อันดับแรกที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมปิโตรเคมี บิสฟีนอลเอ พบได้ในสินค้าบริโภคหลากหลายชนิดรวมถึงขวดนมพลาสติกแบบใส ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านและเพื่อการบริโภคอีกหลายสิบชนิดที่มีสารบิสฟีนอลเอ เช่น ขวดน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้บางประเภท กล่องบรรจุอาหารที่ใช้ในไมโครเวฟได้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ หมวกกันน็อคใส่เล่นกีฬา เลนส์แว่นตา ฯลฯ ยังพบ บิสฟีนอลเอ ได้ใน อีพ็อกซี่เรซิน ที่พบในวัสดุอุดฟันสีขาว วงจรพิมพ์สีทาบ้าน กาว สารเคลือบในกระป๋องโลหะที่บรรจุอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ ยังพบว่า บิสฟีนอลเอ เป็นสารเจือปนในพลาสติกประเภทอื่นที่ใช้ในการผลิตของเล่นเด็กด้วย   บิสฟีนอลเอก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างไร จากการศึกษาและรายงานผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากการได้รับ บิสฟีนอลเอ แสดงให้เห็นว่า บิสฟีนอลเอ สามารถเปลี่ยนแปลงหน่วยพันธุกรรมหลายร้อยหน่วย ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อบางชนิดและขึ้นอยู่กับจำนวนเวลาที่ได้รับ อีกทั้งการศึกษาในสัตว์ทดลองมากกว่า 150 ชนิด บ่งชี้ว่าการได้รับ บิสฟีนอลเอ มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพมากมาย รวมถึงมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านม ภาวะอ้วนผิดปกติ ภาวะไม่อยู่นิ่ง เบาหวาน ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง จำนวนอสุจิลดลง และการเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ   กลุ่มเสี่ยงคือ เด็ก เด็กที่กำลังเจริญเติบโตมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีเป็นพิษในสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพราะตามธรรมชาติของเด็กมักจะมีความรู้สึกไวต่อสิ่งเหล่านั้น เด็กได้รับสารตั้งแต่อยู่ในครรภ์ผ่านรกในร่างกายของมารดาที่ตั้งครรภ์ได้ มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ปัญหาที่เกิดการได้รับสาร บิสฟีนอลเอ ระหว่างช่วงที่มีพัฒนาการจะไม่แสดงออกมาในขณะนั้น แต่จะปรากฏอาการภายหลังการได้รับสารดังกล่าวหลายปี ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการป้องกันเด็กไม่ให้เด็กได้รับสาร บิสฟีนอลเอ จากผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาใช้อยู่ทุกวัน   บิสฟีนอลเอสามารถก่อให้เกิดความผิดพลาดในการเรียงโครโมโซม บิสฟีนอลเอเป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้นในฐานะที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การเรียง โครโมโซมผิดพลาด ในปี 2003 ดร.แพท ฮันท์ และทีมงานได้ค้นพบว่า บิสฟีนอลเอ สามารถทำให้โครโมโซมเรียงตัวกันผิดพลาดได้ ถึงแม้จะได้รับในปริมาณที่ต่ำมากก็ตาม โดยปกติเซลล์สืบพันธุ์จะแบ่งเป็นสองเซลล์เมื่อสร้างไข่ แล้วแบ่งโครโมโซมเท่าๆ กันระหว่างเซลล์ลูกแต่ละเซลล์ เซลล์พวกนี้สามารถเข้าสู่กระบวนการสืบพันธุ์ และเมื่อผสมกับอสุจิ จะเกิดการปฏิสนธิขึ้น ดร.ฮันท์ แสดงให้เห็นว่าการได้รับ บิสฟีนอลเอ จะส่งผลให้โครโมโซมไม่สามารถจัดเรียงอย่างถูกต้อง ส่งผลให้การเรียงลำดับโครโมโซมผิดพลาดคล้ายกับที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome)    ขัดขวางพัฒนาการทางสมอง ในการศึกษาส่วนมาก พบว่า บิสฟีนอลเอเลียนแบบการทำงานของเอสโตรเจนในการพัฒนาประสาท อย่างไรก็ตาม ในบางส่วนของสมอง บิสฟีนอลเอ มีผลในการขัดขวางกิจกรรมของเอสโตรเจน ซึ่งปกติจะเพิ่มการเจริญเติบโตและควบคุมการเชื่อมโยงระหว่างเส้นประสาทด้วยเหตุนี้ บิสฟีนอลเอจึงมีสมบัติคล้ายคลึงกับ ทาม็อกซิเฟน ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งเต้านม คือกระตุ้นการตอบสนองแบบเอสโตรเจนในเนื้อเยื่อบางประเภท และขัดขวางการตอบสนองแบบเอสโตรเจนในเนื้อเยื่ออื่นๆ จะเห็นได้ว่าผลกระทบจากบิสฟีนอลเอ คือ สารบิสฟีนอลเอ เป็นตัวขัดขวางการเรียนรู้และความทรงจำ นอกจากนี้ บิสฟีนอลเอยังมีผลกระทบต่อการพัฒนาสมองหรือทำให้เกิดการเชื่อมโยงในสมองในเวลาที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้น จากการที่บิสฟีนอล เอเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของสมอง จึงนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงมากมาย เช่น   ภาวะไม่อยู่นิ่ง : ดร.มาซาโตชิ โมริตะและทีมงานที่สถาบันศึกษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติญี่ปุ่น รายงานว่า การให้สารบิสฟีนอลเอ 30 g/kg/วัน กับหนูอายุ 5 วันเพียงครั้งเดียว ทำให้หนูมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งนักวิทยาศาสตร์ยังพบอีกว่าการได้รับสารบิสฟีนอลเอ เปลี่ยนแปลงระบบส่งสัญญาณโดปามีนที่พัฒนาในเซลล์สมอง ส่งผลให้ตัวรับและตัวส่งโดปามีนน้อยลง โดปามีนเป็นตัวส่งสัญญาณประสาทที่สำคัญในสมอง และการสูญเสียประสาทที่ผลิตโดปามีนเกิดขึ้นในโรคพาร์กินสัน เพิ่มความก้าวร้าว : การได้รับสารบิสฟีนอลเอที่ปริมาณ 2 – 40 g/kg/วัน ทำให้ทารกหนูเพศผู้ในครรภ์มีพฤติกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการที่ความเข้มข้นของเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น   บทสรุปและข้อเสนอแนะ ปัจจุบันผู้บริโภคมีข้อมูลไม่มากนักที่จะช่วยประกอบการตัดสินใจเวลาซื้อสินค้าสำหรับครอบครัว  การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและผลิตภัณฑ์เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยคุ้มครองสุขภาพและสามารถเลือกใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย  ในส่วนของผู้ผลิตเองควรมีการติดฉลากในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ถ้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีสารเคมีที่เป็นอันตรายหรือมีศักยภาพที่จะเป็นอันตรายเป็นส่วนประกอบ นอกเหนือจากการระบุชื่อส่วนผสมที่เป็นอันตรายหรืออาจเป็นอันตรายแล้ว ความเสี่ยงทางสุขภาพที่เกี่ยวกับสารเคมีดังกล่าวควรจะมีการอธิบายไว้บนผลิตภัณฑ์ด้วย   ในหลายประเทศได้มีการตระหนักถึงอันตรายที่แอบแฝงอยู่ของ บิสฟีนอลเอ จนมีมาตรการออกมาหลายอย่าง เช่น คณะกรรมาธิการด้านนโยบายสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคแห่งสหภาพยุโรป (อียู) ออกประกาศห้ามบริษัทผู้ผลิตขวดนมสำหรับเด็กใช้สารเคมีบิสเฟอนอล-เอ (บีพีเอ) เป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าพลาสติกทั้งหมด โดยประกาศห้ามจะมีผลบังคับใช้ในกลุ่มประเทศสมาชิกอียูตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป องค์การการกุศลด้านเด็กและครอบครัว (NCT) ประเทศอังกฤษ ออกมาเรียกร้องให้ติดป้ายแสดงส่วนประกอบที่ใช้ผลิตขวดนมว่ามีสารพิษที่เป็นอันตรายหรือไม่ เป็นต้น   สำหรับในประเทศไทยเองเริ่มมีการตื่นตัวเกี่ยวกับอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในขวดนมพลาสติกขึ้นมาบ้าง  องค์กรภาครัฐเริ่มขยับ แต่ถ้ามองจากผู้บริโภค และผู้ปกครองแล้ว กว่าจะมีประกาศห้ามผลิตและห้ามจำหน่ายนั้น คงจะใช้เวลาอีกนาน  ดังนั้นการเลือกซื้อขวดนม ขอให้เลือกจากผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากว่า ปลอด Bisphenol A อย่าเห็นแกของถูก ควรศึกษาหาความรู้ในด้านวิธีการใช้งานขวดนมพลาสติกที่ถูกต้องและปลอดภัย จากแหล่งข้อมูล ที่เชื่อถือได้ และคำนึงถึงการคุ้มครองสุขภาพสวัสดิภาพของเด็กมากกว่าประโยชน์ทางการค้า ก็จะช่วยเด็กไทยให้มีความปลอดภัยจากสารเคมี   ---------------------------------------------------------------------------------------------- การเลือกขวดใช้ขวดนมที่ปลอดภัยสำหรับเด็กควรเลือกขวดนมพลาสติกที่ปราศจาก Bisphenol A ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ ตามรูป หรือขวดนมแก้ว ขวดนมพลาสติกเกือบทั้งหมดผลิตจากโพลีคาร์บอเนตพลาสติกที่มี บิสฟีนอลเอ เพียงแค่การล้าง 50-100 ครั้ง ปริมาณของบิสฟีนอลเอ จำนวนมากสามารถรั่วออกมาปนเปื้อนสู่นมของเด็กเล็กๆ ได้ วิธีการหลีกเลี่ยง คือ เปลี่ยนไปใช้ขวดนมแก้วสำหรับการใช้งานของทารก หากยังจำเป็นต้องใช้ขวดนมพลาสติก เวลาที่จะล้างทำความสะอาดให้หลีกเลี่ยงน้ำยาล้างจานที่ความเข้มข้นสูง หรือน้ำร้อนเวลาที่ล้าง เพื่อลดการรั่วไหลของสาร BPA อย่าใส่ขวดนม บรรจุภัณฑ์หรือ ในเครื่องล้างจาน และให้ทิ้งขวดนม บรรจุภัณฑ์หรือจานชามพลาสติกที่เริ่มมีรอยขีดข่วนหรือขุ่นมัว และห้ามทิ้งนมไว้ในขวดพลาสติกเป็นเวลานาน บทความนี้ ได้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการพัฒนาเวบไซต์ เพื่อการทดสอบสินค้า ศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และอนุกรรมการทดสอบและพิสูจน์สินค้า  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 124 ข้อแนะนำสำหรับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและทารก (2)

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ บทความฉบับนี้จะต่อเนื่องจากฉบับที่แล้วนะครับ เป็นบทความที่ผมเคยเรียบเรียงและได้ พิมพ์แจกในงาน สัมมนาวิชาการ ระดับชาติเรื่องชุมชนปลอดภัย  ครั้งที่ 2 “ก้าวอย่างยั่งยืนของชุมชนปลอดภัย” ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2554 จัดโดยศูนย์วิจัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับศูนย์เฝ้าระวังและจัดการสินค้าไม่ปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ข้อมูลเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อพ่อ แม่และครูพี่เลี้ยงเด็ก ในการหลีกเลี่ยงของเล่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็ก โดยเฉพาะของเล่นที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายแอบแฝงอยู่ ลองนำข้อมูลไปใช้ประกอบในการตัดสินใจเพื่อเลือกซื้อของเล่นให้กับเด็กๆ กัน ครับ   การเลือกซื้อของเล่นประเภทต่างๆ ตุ๊กตาตุ๊กตามีสารเคมีอันตรายได้หลากหลาย  เนื่องจากผลิตจากพลาสติก กำมะหยี่และอุปกรณ์ยัดไส้  ใส่เสื้อผ้าและเครื่องประดับหรือมีส่วนประกอบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์  การทดสอบโดยองค์กรผู้บริโภคของเยอรมัน (Stiftung Warentest) ในปีที่ผ่านมา พบว่ามีตุ๊กตา 42 จาก 50 ตัว พบสารเคมีที่เป็นพิษในปริมาณมากเกินระดับกว่าที่มาตรฐานกำหนด   คำแนะนำ• หลีกเลี่ยงการซื้อตุ๊กตาตัวเล็ก  เพราะมันถูกจัดอยู่ในประเภทของตกแต่งและไม่ต้องทำตามข้อจำกัดทางกฎหมายสำหรับสารเคมี• ซื้อตุ๊กตาผ้าหรือตุ๊กตาที่เป็นธรรมชาติที่มีฉลากสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากเขียว• ซักล้างตุ๊กตายัดไส้ก่อนใช้   ตุ๊กตาหมี ตุ๊กตาหมีเป็นของเล่นกำมะหยี่และจัดเป็นของเล่นที่ยัดไส้ด้วยเส้นใย  ของเล่นที่มีขนยาวหรือขนสังเคราะห์มักจะประกอบไปด้วยสารหน่วงการติดไฟที่เป็นพิษและแพ้ได้ง่าย รวมถึงเส้นใยที่เด็กๆ สามารถกลืนได้  สำหรับ “สินค้าที่ไม่ปลอดภัย” หาดูได้ที่นิตยสารผู้บริโภค และระบบแจ้งเตือนสินค้าที่ไม่ปลอดภัยผ่านทางเวบไซต์ของศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (http://upvac.ocpb.go.th) คำแนะนำ• มองหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หรือผู้ผลิตที่ไร้สารเคมีที่เป็นพิษ  เช่น ฉลาก GS  ฉลากเขียว และฉลากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ• ซักของเล่นและตากให้แห้งก่อนใช้• หลีกเลี่ยงของเล่นที่ได้ฟรีหรือเป็นของแถมจากการจัดรายการต่างๆ   ของเล่นไม้ ของเล่นไม้มีหลากหลายประเภท รวมถึงตัวต่อ  บล็อกก่อสร้าง  บ้านตุ๊กตา  และร้านของเล่นและฟาร์ม เป็นต้น  ของเล่นไม้เรียบๆ ที่ไม่ได้ทาสีมักจะปลอดภัย  แต่ของเล่นไม้บางอย่างอาจเป็นอันตรายได้  ไม่มีตัวต่อไม้ชนิดไหนเลยที่ผ่านการทดสอบสิ่งแวดล้อมของเยอรมัน ในเดือนพฤศจิกายน 2008  ของเล่นไม้ที่มีกาวเป็นส่วนประกอบ  มีแนวโน้มที่จะมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์  ผู้ปกครองควรระวังสารชักเงาและสีที่มีตะกั่วและสารโลหะหนักอื่นๆ  คำแนะนำ• ซื้อของเล่นไม้ที่มีส่วนที่ติดกาวให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้• ซื้อของเล่นที่ไม่เคลือบเงาและไม่ทาสีทุกครั้งที่เป็นไปได้ และมองหาชิ้นส่วนธรรมชาติ  พลาสติก ของเล่นพลาสติกแบบอ่อน เช่น ของเล่นยางสังเคราะห์ บอลลูน  ของเล่นอาบน้ำแบบอ่อน เป็นต้น  มีสารพทาเลต (Phathalate) ที่ส่งผลต่อฮอร์โมน  มีข่าวเตือนอันตรายหลายครั้งทั้งในระดับโลกและในยุโรป  ในปี 2004 มีการค้นพบว่าตัวตุ๊กตาที่ทำจากยางยี่ห้อสคูบี้ดู (ดูรูปประกอบ) มีสารพทาเลตมากถึง 50%  ทำให้ของเล่นพลาสติกแบบแข็งปลอดภัยกว่าเพราะไม่ได้ใช้สารพทาเลต  อย่างไรก็ตาม ของเล่นพลาสติกอาจจะมีสารโลหะหนักและสารพิษอื่นๆปนเปื้อนแฝงอยู่  รูปแสดงตุ๊กตาที่ทำจากยางยี่ห้อ Scoubidou ที่มีสารพทาเลตสูงจนต้องสั่งเก็บจากตลาด   คำแนะนำ • เลือกของเล่นที่เป็นยางธรรมชาติ• มองหาฉลาก  “ปลอดพีวีซี PVC-Free” หรือ “ปลอดสารพทาเลต Phathalate-Free”• หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นสารเคมีรุนแรง  ตารางสรุปแสดงรายการสารเคมีอันตรายที่พบอยู่ในของเล่นเด็ก สารเคมีอันตราย ผลกระทบที่อาจเกิดกับสุขภาพ Aniline   อนิลีน Very toxic, carcinogenic and mutagenic เป็นพิษมาก, ก่อให้เกิดมะเร็งและก่อให้เกิดการกลายพันธุ์  Bisphenol-A   บิสฟีนอล-เอ Disrupts the reproductive and hormone system, and increases cancer risk ทำให้ระบบสืบพันธุ์และระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน  และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง Brominated Flame Retardants   สารหน่วงกันไฟ   Disrupts development and the hormone system, toxic to the reproductive system ทำให้พัฒนาการและระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน  เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ Cadmium  แคดเมียม Carcinogenic, toxic by inhalation, impaires fertility, disrupts development of child’s brain ก่อให้เกิดมะเร็ง  ได้รับพิษจากการสูดดม  ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง  หยุดพัฒนาการทางสมองของเด็ก Chlorinated paraffins   คลอริเนเตท พาราฟิน Carcinogenic, disrupts the hormone system ก่อให้เกิดมะเร็ง  ระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน Chromium    โครเมียม Carcinogenic, mutagenic, toxic: causes severe burns, impaires fertility ก่อให้เกิดมะเร็ง  ก่อให้เกิดการกลายพันธ์  ทำให้เกิดอาการไหม้รุนแรง  ความสามารถในการสืบพันธ์ลดลง Formaldehyde  ฟอร์มัลดีไฮด์ Carcinogenic, mutagenic and toxic to reproduction ก่อให้เกิดมะเร็ง  ก่อให้เกิดการกลายพันธ์  และเป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์  Lead   ตะกั่ว Carcinogenic and impaires fertility. Effects on the developing brain ก่อให้เกิดมะเร็ง  ความสามารถในการสืบพันธ์ลดลง  มีผลกระทบต่อพัฒนาการสมอง Nonylphenol   โนนิลฟีนอล Disrupts the hormone system ระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน Organotin  ออกาโนติน Carcinogenic, disrupts the hormone system and fertility ก่อให้เกิดมะเร็ง ระบบฮอร์โมนและระบบสืบพันธ์หยุดทำงาน Perfluorinated chemicals  เพอฟลูออริเนตเคมิคัล Carcinogenic, disrupts fertility ก่อให้เกิดมะเร็ง ระบบสืบพันธ์หยุดทำงาน  Phthalates (softeners)  พทาเลต (สารทำให้อ่อนตัว) Disrupts development and the hormone system. Impaires fertility พัฒนาการและระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน  ความสามารถในการสืบพันธ์ลดลง Triclosan  ไตรโคลซาน Very toxic to aquatic life, disrupts the hormone system เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 123 ข้อแนะนำสำหรับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและทารก (1)

 โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ บทความฉบับนี้ผมได้เรียบเรียงและได้พิมพ์แจกในงาน สัมมนาวิชาการ ระดับชาติเรื่องชุมชนปลอดภัย ครั้งที่ 2 “ก้าวอย่างยั่งยืนของชุมชนปลอดภัย” ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2554 จัดโดยศูนย์วิจัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับศูนย์เฝ้าระวังและจัดการสินค้าไม่ปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อพ่อ แม่และครูพี่เลี้ยงเด็ก ในการหลีกเลี่ยงของเล่นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็ก โดยเฉพาะของเล่นที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายแอบแฝงอยู่ จึงขออนุญาตนำเสนอในคอลัมน์ช่วง ฉลาด ช้อป เพื่อให้เพื่อนสมาชิกได้รับทราบและใช้เป็นประโยชน์ในการเลือกหาของเล่น ที่จะไม่เป็นอันตรายต่อเด็กเล็กต่อไปครับ  ของเล่นสำหรับเด็กและทารก ของเล่นเป็นจำนวนมากผลิตจากสารสังเคราะห์ที่รู้กันดีว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กๆ  สารเหล่านี้รวมถึงสารทำให้อ่อนตัวที่ใช้ในของเล่นพลาสติกซึ่งทำให้ระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน  ฟอร์มัลดีไฮด์ที่ใช้ในการเชื่อมตัวต่อไม้ ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง  หรือสารหน่วงกันไฟในตุ๊กตาหมีที่สามารถเป็นพิษต่อพัฒนาการของร่างกาย   การทดสอบที่เป็นอิสระต่อกันยืนยันว่าสารเคมีอันตรายเกือบทั้งหมดสามารถใช้ตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่าทดแทนได้  ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายเรื่องสารเคมีในยุโรปและระเบียบเรื่องของเล่นที่ใช้ในสหภาพยุโรป และระเบียบสารเคมีของสหภาพยุโรปตลอดจนมาตรฐานต่างๆ อยู่ก็ตาม แต่โดยข้อเท็จจริงยังไม่สามารถคุ้มครองเด็กๆ ได้มากพอ  เพราะสารเคมีอันตรายยังได้รับอนุญาตให้มีอยู่ในผลิตภัณฑ์  ยิ่งกว่านั้น  ผู้ผลิตของเล่นไม่จำเป็นต้องระบุรายชื่อสารเคมีที่ถูกใช้ในการผลิตของเล่น  ถึงแม้จะมีสารเคมีอันตรายอยู่ก็ตาม   เอกสารฉบับนี้ช่วยคุณพ่อและคุณแม่ ตลอดจนครูพี่เลี้ยงได้อย่างไรมีฉลากที่ได้รับการทดสอบสองสามชนิดและไม่มีข้อบังคับเรื่องการติดฉลากสารเคมีที่เป็น “ส่วนประกอบ” ในของเล่น  เรื่องนี้ทำให้การซื้อของเล่นที่ปลอดภัยเป็นเรื่องยาก  คู่มือของเล่นของ กลุ่มสตรีในยุโรปเพื่ออนาคตร่วมกัน  (Woman in Europe for a Common Future (WECF)) องค์กรนี้เป็นองค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการยุโรปที่เป็นปากเป็นเสียงในด้านการพัฒนากฎหมายและข้อบังคับสำหรับการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและทารก  ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายและเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงสารเคมีเหล่านั้น  ซึ่งกำลังรณรงค์เพื่อให้ของเล่นปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตราย  ทั้งในภาคการเมืองและภาคผู้ผลิต  กรณีของผู้บริโภคในยุโรปนั้น การซื้อของเล่นในสหภาพยุโรป ผู้บริโภคสามารถถามผู้ขายและผู้ผลิตเกี่ยวกับข้อมูลผลิตภัณฑ์  ซึ่งผู้ผลิตจะต้องตอบภายใน 45 วัน  เพื่อแจ้งให้คุณรู้ว่าของเล่นชิ้นนั้นมีสารประกอบเฉพาะอยู่หรือไม่  โชคร้ายที่ข้อมูลนี้ถูกใช้บังคับกับสารประกอบบางชนิดเท่านั้น  แต่อย่างไรก็ตาม  ยิ่งมีลูกค้าสอบถามมากเท่าไร  ผู้ผลิตจะยิ่งเปลี่ยนนโยบายในการผลิตเร็วขึ้นเท่านั้น  ในการทำแบบนี้  เราสามารถปกป้องสุขภาพของลูกเราและส่งผลต่อผู้ผลิตได้   ทำไมเด็กถึงอ่อนไหวเป็นพิเศษ เด็กๆ มักจะอ่อนไหวต่อการได้รับสารเคมีที่เป็นพิษมากกว่าผู้ใหญ่  เพราะผิวหนังที่ใหญ่กว่าเมื่อเทียบสัดส่วนกับน้ำหนักของพวกเขา  ปริมาตรการหายใจที่สูงกว่า  และอัตราการเผาผลาญที่เพิ่มขึ้น  ส่งผลให้พวกเขาดูดซึมสารเคมีที่เป็นอันตรายได้มากกว่าผู้ใหญ่  ระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทของพวกเขายังอยู่ในระหว่างการพัฒนา  สารเคมีที่เป็นอันตรายยังถูกพบในเครื่องสำอาง เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันอื่นๆ  ดังนั้น เด็กๆ จะรับสารเคมีที่เป็นอันตรายหลากหลายชนิดจากแหล่งต่างๆ มากมาย  ถึงแม้จะเป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะทำอันตรายต่อพัฒนาการของเด็กคนหนึ่งแล้ว – ซึ่งบางครั้งส่งผลไปตลอดชั่วชีวิต   เห็นได้จากอัตราโรคภูมิแพ้และโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้น   เคล็ดลับทั่วไปในการเลือกของเล่นที่ปลอดภัย• ยิ่งน้อยชิ้นยิ่งดี  ซื้อของเล่นน้อยชิ้น  โดยตั้งเป้าที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ• หลีกเลี่ยงของเล่นที่ถูกมากๆ เพราะมักจะมีสารเคมีที่เป็นอันตรายมากกว่า• อย่าซื้อของเล่นที่มีสารเคมีรุนแรงหรือกลิ่นน้ำหอมหรือของที่ให้ความรู้สึกไม่สบายเวลาที่สัมผัส• สำหรับเด็กเล็ก  ขอให้มั่นใจว่าจะไม่มีชิ้นส่วนเล็กๆ ที่สามารถดึงออกมาได้ หรือกลืนลงไปได้• แกะบรรจุภัณฑ์ของเล่นใหม่และทิ้งไว้ภายนอกอาคาร เพื่อให้สารเคมีอันตรายบางส่วนระเหยไป• หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.healthytoys.org ที่กำหนดขึ้นใหม่โดยศูนย์นิเวศวิทยาอเมริกา  • สำหรับผู้บริโภคในประเทศไทยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  http://upvac.ocpb.go.th   ในฉบับหน้าจะแนะนำการเลือกซื้อของเล่นเป็นรายผลิตภัณฑ์ไปครับ ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตา ตุ๊กตาหมี ของเล่นไม้ ฯลฯ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 116 การเลือกซื้อที่นั่งเสริมนิรภัยสำหรับเด็ก

หลายครั้งที่เห็นคุณพ่อคุณแม่ พาลูกที่เป็นทารก หรือเด็กน้อยติดไปกับรถยนต์ด้วย และก็มักจะพบภาพ ที่ก่อให้เกิดความหวั่นวิตกเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากกฎหมายบ้านเรา ไม่ได้บังคับให้ติดตั้งที่นั่งเสริมนิรภัยสำหรับเด็กเหมือนในยุโรปหรืออเมริกา เนื่องจากเด็กนั้นมีสถานะพิเศษต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐ (ที่ไม่ใช่รัฐล้มเหลว หรือ failed state) หากพ่อแม่หรือใครก็ตามที่ละเมิดสิทธิของเด็ก ก็จะต้องโดนกฎหมายเอาผิดครับ ทำให้พ่อแม่ที่พาเด็กติดรถ จะต้องขับด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เด็กจะบาดเจ็บมากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า  ถึงแม้นว่าจะขับด้วยความเร็ว 30 กิเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขับรถชน ด้วยความเร็วขนาดนี้ ทารกหรือเด็ก ก็อาจได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่ ที่ตระหนักถึงความปลอดภัย และคิดอยากจะติดตั้งที่นั่งเสริมสำหรับเด็ก ช่วง ฉลาด ช้อป วันนี้มีเคล็ดลับดีๆ มาแนะนำครับ ประเภทของที่นั่งเสริม ในการเลือกซื้อที่นั่งสำหรับเด็ก จะต้องพิจารณาถึงอายุ และขนาดของเด็กเป็นสำคัญ การแบ่งประเภทของที่นั่งเสริมสำหรับเด็ก ตามน้ำหนักของเด็กครับ โดยแบ่งออกเป็นประเภท 0, 0+, I, II, III ประเภท 0 หมายถึง ที่นั่งเสริม ที่จะติดตั้งให้หันหัวไปทางด้านหลังรถ เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 13 กิโลกรัม เป็นที่นั่งเสริมที่ปลอดภัยสูง ประเภท I เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักระหว่าง 9-18 กิโลกรัม ที่นั่งเสริมประเภทนี้ จะมีระบบยึดติดตัวเด็กแบบยึดเข็มขัดนิรภัยที่ตัวเด็ก (full belt safety harness system) และระบบนี้มีข้อดี คือ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน แรงกระแทกที่กระทำต่อที่นั่งเสริมจะน้อย แต่การติดตั้งที่นั่งเสริมประเภทนี้ ค่อนข้างยุ่งยากทีเดียว ประเภท II เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 15 – 25 กิโลกรัม หรือ อายุ ตั้งแต่ 3 ขวบครึ่ง ถึง 7 ปี และ ประเภท III เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 22 – 36 กิโลกรัม หรือ อายุ ตั้งแต่ 6 ขวบ ถึง 12 ปี ที่นั่งเสริมทั้งสองสามารถปรับระดับความสูงของที่นั่งได้ และมีพนักพิงด้านหลังและด้านข้าง ตำแหน่งและทิศทางในการติดตั้ง ทิศทางในการติดตั้งที่นั่งทารกและเด็กเล็กที่ปลอดภัย คือ การที่ให้เด็กนั่งหันหน้าเข้าสู่เบาะหลัง  เนื่องจากหากเกิดอุบัติเหตุ มีการชนเกิดขึ้น ความปลอดภัยจากการติดตั้งที่นั่งแบบนี้จะสูงมาก เพราะกระดูกต้นคอเด็กจะได้รับการปกป้องจากแรงชนปะทะ นักวิจัยทางด้านอุบัติภัยแนะนำให้ใช้การติดตั้งที่นั่งแบบนี้ กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ขวบ การติดตั้งที่นั่งแบบหันหน้าเข้าสู่เบาะ จะใช้พื้นที่มาก บางครั้งอาจต้องปรับที่นั่งข้างคนขับไปด้านหน้าจนสุด เพื่อให้มีพื้นที่ด้านหลังเพียงพอต่อการติดตั้ง กรณีที่เด็กอายุมากกว่า 4 ขวบ ควรติดตั้งที่นั่งหันหน้าไปทิศทางเดียวกับรถวิ่ง เนื่องจากเด็กในวัยนี้ กล้ามเนื้อต้นคอแข็งแรงแล้ว นอกจากนี้เข็มขัดนิรภัยของที่นั่งเสริม ยังช่วยป้องกันการเหวี่ยงตัวได้ดี ที่นั่งเสริมแบบนี้ประกอบด้วย พนักหลังพิง (seat back) และพนักสำหรับพักศีรษะ (head cusion) ตามรูปที่ 1 ในกรณีที่ติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็ก ไว้ที่ที่นั่งข้างคนขับ จะต้องปรับตำแหน่งที่นั่งให้เลื่อนไปข้างหลัง และต้องล็อคการทำงานของ air bag เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ เมื่อ air bag ทำงานจะไปกระแทกที่นั่งเสริม ทำให้ไม่ปลอดภัยได้  เครื่องหมายแห่งคุณภาพ การเลือกซื้อที่นั่งเสริมสำหรับเด็ก คุณพ่อคุณแม่ ควรจะลองติดตั้งในรถดู และลองให้ลูกลองนั่งดูก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความสบายของเด็ก และดูว่าที่นั่งเสริมนั้น เหมาะกับขนาดตัวของเด็กหรือเปล่า นอกจากนี้ยังจะต้องดูด้วยว่าที่นั่งเสริมสำหรับเด็กนั้น มีเครื่องหมายมาตรฐาน ECE R 44 หรือไม่ เครื่องหมายนี้ ทางสมาคมยานยนต์แห่งเยอรมนี (Der Allgemein Deutsche Automobile Club: ADAC) ได้ทำการทดสอบและให้ เครื่องหมายมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อให้คุณพ่อแม่สะดวกในการตัดสินใจเลือกซื้อที่นั่งเสริม เนื่องจากตามกฎหมายยุโรปนั้น ที่นั่งเสริมเป็นอุปกรณ์บังคับ ในกรณีที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี นั่งอยู่ในรถ สำหรับประเทศไทยนั้นการใช้ที่นั่งเสริมยังไม่ได้กำหนดเป็นกฎหมายบังคับ แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ท่านใด ที่ประสงค์อยากจะติดตั้งที่นั่งเสริมสำหรับเด็ก ในเบื้องต้นก็อาจจะลองหาสัญลักษณ์ ECE R 44 เพื่อความปลอดภัยของลูกรักในการนั่งรถยนต์ร่วมทางไปกับผู้ใหญ่ครับ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 105 รถเข็นเด็ก: อันตรายจากสารเคมีที่แอบแฝง

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการรายการข่าวหลายช่องได้นำเสนอข่าวอุบัติเหตุสุดช็อคที่เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลีย กรณีที่รถเข็นเด็กไถลจากชานชาลาและคว่ำลงในรางรถไฟจังหวะเดียวกับที่รถไฟวิ่งเข้าชานชาลาพอดี เดชะบุญเด็กน้อยไม่เป็นอะไรมากนอกจากหัวโน เนื่องจากคุณแม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัยไว้ทำให้เด็กไม่กระเด็นหลุดออกมานอกรถเข็นขณะโดนกระแทก (ตามข่าววันที่ 16 ตุลาคม 2552)  ไม่ว่าคุณแม่คนดังกล่าวจะเลือกใช้รถเข็นเด็กยี่ห้ออะไร แต่ถือว่ารถเข็นยี่ห้อดังกล่าวใช้ได้ครับ เพราะมีความแข็งแรงมากพอจนสามารถป้องกันเด็กจากอุบัติเหตร้ายแรงได้ พูดถึงเรื่องของรถเข็นเด็ก ในเยอรมนีก็ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เป็นอย่างมาก มีการทดสอบสินค้าประเภทนี้เฉลี่ยแล้วปีละครั้ง แต่ละครั้งที่ทดสอบก็จะพบข้อบกพร่องมากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งทางผู้ทดสอบก็จะแจ้งให้ผู้ผลิตรับทราบ ซึ่งผู้ผลิตของเยอรมนีเองก็ไม่เคยเพิกเฉย และไม่เคยโต้แย้งเกี่ยวกับผลการทดสอบเลยสักครั้ง ทั้งๆ ที่มาตรฐานอุตสาหกรรมการผลิตของเยอรมนีเองก็ขึ้นชื่อว่ามีมาตรการควบคุมและบังคับอย่างเข้มข้น สำหรับเมืองไทยของเรานั้น หากมีการร้องเรียนหรือการแจ้งข้อมูลจากผู้บริโภค/สื่อสารมวลชน ผู้ประกอบการและผู้ผลิตควรมีมาตรการรับผิดชอบหากพบข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ หากเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งผู้ซื้อซื้อไปไม่เกิน 7 วัน แล้วพบว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถใช้ได้ เกิดข้อบกพร่องเสียหายซึ่งมาจากการผลิต ก็ควรจะเปลี่ยนสินค้าอันใหม่ให้เลย หลายครั้งที่ผู้เขียนมีประสบการณ์จากเพื่อนฝูง พี่น้องมาปรารภเกี่ยวกับการซื้อสินค้ามาใช้ไม่นานแล้วพบว่าสินค้าดังกล่าวไม่สมบูรณ์ ชิ้นส่วนบางอย่างเสียโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ซื้อเองต้องการจะเปลี่ยนสินค้าเป็นชิ้นใหม่แต่ผู้ขายไม่สามารถเปลี่ยนได้ ทำได้แค่เพียงส่งซ่อมและแก้ไขให้เท่านั้น บางกรณีอ้างว่า ไม่สามารถเปลี่ยนสินค้าชิ้นใหม่ได้ เนื่องจากผู้ซื้อไม่ได้ซื้อเงินสด (ใช้บริการผ่อนชำระ 0% ทำให้เสียสิทธิ!!!) ซึ่งการเปลี่ยนสินค้าให้แบบไม่มีเงื่อนไขคงไม่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปิดกิจการเพราะโอกาสเกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ (หากเกิดขึ้นหลายๆ ครั้ง สินค้าชิ้นนั้นควรได้รับการตรวจสอบ เพราะอาจจะผลิตไม่ได้มาตรฐานจริงๆ) ลองติดตามดูข่าวคราวเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้ประกอบการในบ้านเรายังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องดังกล่าวเลยครับ แต่เรื่องลักษณะนี้ก็มีเกิดขึ้นในสังคมอยู่เป็นประจำ สำหรับผมนั้นก็จะนำข่าวเหล่านี้มาเสนอให้เพื่อนสมาชิกทราบเป็นระยะๆ ครับ และหวังว่าการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีผลต่อความรับผิดขอบของผู้ผลิตในเมืองไทย ตามมาตรฐานสากล สมกับที่ได้ตรามาตรฐาน ISO ซึ่งผู้ผลิตบ้านเราพยายามทำหรือหาวิธีที่จะให้ได้มาซึ่งมาตรฐานนี้ สำหรับมาตรฐานของฝรั่งที่ไม่ได้ออกเป็น ISO แต่เป็นมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ผลิตคือ การรับผิดชอบสินค้าที่ผลิตขึ้นและพบข้อบกพร่อง โดยการรับเปลี่ยนสินค้าแบบไม่มีเงื่อนไข และหากผู้ผลิตจะส่งสินค้าไปยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ก็ต้องยอมรับเงื่อนไขจริยธรรมแบบฝรั่งด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นในสังคมไทยเมื่อไหร่ คงต้องดูกันต่อไปครับ กลับมาเรื่องของเราดีกว่า ฉบับนี้ผมนำเรื่องผลการทดสอบรถเข็นเด็กของนิตยสาร Test เยอรมนี ฉบับเดือนกันยายน 2552 มานำเสนอครับ ผลการทดสอบพบสารเคมีอันตรายในรถเข็นเด็กถึง 10 ยี่ห้อ จากจำนวนยี่ห้อที่นำมาทดสอบทั้งหมด 14 ยี่ห้อ ชิ้นส่วนที่มีการตรวจพบสารเคมีอันตราย ได้แก่ บริเวณที่จับ (Handle) เข็มขัดนิรภัย เบาะคลุม และที่กันฝน ชิ้นส่วนดังกล่าวมีปริมาณสารเคมีประเภท Plasticizer หรือ Phatalate และ สารเคมีประเภท Polycyclic Aromatic Hydro Carbon (PAHC) สารเคมีกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง และทำให้เป็นหมันได้ สารเคมีดังกล่าวถูกตรวจพบในกลุ่มสินค้าหลายอย่าง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเด็กอ่อน (baby article) ได้แก่ เก้าอี้เสริมของเด็ก เก้าอี้หัดเดิน และเครื่องเขียน เป็นต้น ในการทดสอบครั้งนี้ยังพบสารเคมีอันตรายชนิดอื่นด้วย อาทิ Chlorinated paraffin, สารป้องกันการติดไฟ (flame retardant) สารเคมีกลุ่ม Organozine กลุ่ม Phenol และFormaldehyde ผลการทดสอบสะท้อนให้เห็นว่าผู้ผลิตยังไม่ตระหนักถึงอันตรายที่หลบซ่อนอยู่ในผลิตภัณฑ์ ถึงแม้ว่าสารเคมีที่กล่าวมานี้จะไม่ทำให้เกิดอันตรายแบบปัจจุบันทันด่วน แต่หากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ก็จะเกิดการสะสม สามารถส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเด็กในอนาคตได้ ดังนั้น ผู้ผลิตควรต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐาน เพื่อให้ปลอดภัยจากสารเคมีอันตรายทั้งหลายเหล่านี้ สำหรับยี่ห้อที่ตรวจพบสารเคมีอันตรายดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่สามารถดูได้จากข้อมูลที่เรานำมาลง และหากพบสินค้ายี่ห้อดังกล่าวมีวางจำหน่ายในประเทศไทย ก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่เลือกมาใช้งานและแจ้งมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้วยนะครับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 175 บ้าน..ปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย

นอกจาก“บ้าน...คือวิมานของเราแล้ว บ้านยังเป็น”โลก”ของเด็กๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นที่อาศัย ยังเป็นโลกแห่งจินตนาการ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความคิดสร้างสรรค์ทั้งมวล ซึ่งผู้ใหญ่จะต้องสนับสนุน แต่ขณะเดียวกันบ้านก็เป็นตำแหน่งที่เด็กเล็กวัยต่ำกว่า 5 ปีเกิดการบาดเจ็บได้มากที่สุดเช่นเดียวกัน “การดูแลความปลอดภัยในบ้าน” จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างยิ่งของคุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแลเด็ก หลักการสำคัญสำหรับการจัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยได้แก่ “จัดพื้นที่ให้ปลอดภัย เพื่อให้ลูกเล่นได้อิสระ..แต่ไม่ให้คลาดสายตา”เด็กปฐมวัย หมายถึงเด็กแรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ เด็กปฐมวัยใช้ชีวิตภายในอาคารเป็นส่วนใหญ่ การจัดการความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยจะต้องใช้ทั้งสามองค์ประกอบได้แก่ ประการที่หนึ่งการเฝ้าดูแลโดยผู้ดูแล ประการที่สองการสอนเด็ก ฝึกเด็กให้รู้ความเสี่ยง มีทักษะในการป้องกันความเสี่ยงอันตราย และประการที่สามได้แก่การจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก แต่เนื่องจากพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถเข้าใจเหตุและผลอย่างแท้จริง จึงยังไม่สามารถใช้การเรียนรู้ของเด็กเป็นวิธีการป้องกันอันตรายต่างๆได้ การดูแลเด็กให้ปลอดภัยนั้น ผู้ดูแลเด็กไม่ควรใช้วิธีการเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดและห้ามเด็กสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผู้ดูแลเด็กต้องมีความรู้ในเรื่องความเสี่ยงอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ และจัดการความเสี่ยงให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กในอาคารมีลักษณะปลอดภัย เพื่อให้เด็กได้สร้างเสริมพัฒนาการตนเองทุกด้านโดยการสำรวจสิ่งแวดล้อมได้อย่างอิสระ ในพื้นที่ที่มีการจัดการความปลอดภัย รั้ว และประตูรั้ว รั้วมีหลายรูปแบบเช่นเป็นโครงเหล็ก เป็นไม้ หรือเป็นกำแพงปูน ประตูรั้วอาจทำจากวัสดุได้หลายแบบเช่นเดียวกับรั้ว กลไกการเปิดประตูรั้วอาจเป็นบานเปิดหรือบานเลื่อน กรณีประตูรั้วบานเลื่อนมีความเสี่ยงต่อการหลุดออกจากรางเลื่อนและล้มทับเด็กได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักเกิดขึ้นขณะที่เด็กปีนป่ายและเลื่อนประตูเล่น รั้วต้องสร้างให้มั่นคงแข็งแรง ไม่ล้มหรือหลุดออกจากรางและมีการตรวจสอบความแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ สำหรับประตูรั้วบานเลื่อนควรเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ออกแบบให้มีอุปกรณ์ป้องกันการหลุดออกจากรางแล้วล้มทับผู้ใช้โดยมีกลไกป้องกันการล้มหลายระบบร่วมกันเช่น มีล้อบังคับบานที่วางระดับให้สามารถประคองประตูไว้ได้ตลอดเวลา ประตูไม่หลุดออกจากล้อบังคับบานได้ง่าย และมีเสาป้องกันการล้ม ร่วมกับส่วนยื่นเพื่อไม่ให้ส่วนริมประตูเลยออกจากเสาป้องกันการล้มเมื่อเลื่อนปิดประตู รางเลื่อนและชุดล้อเลื่อนต้องเป็นวัสดุที่ไม่เป็นสนิม เคลื่อนที่ได้ง่าย ตัวหยุดการเลื่อนของบานประตูซึ่งมักใช้น๊อตหรือสกรูต้องมีขนาดที่ใหญ่ แข็งแรง เหมาะสมกับขนาดและน้ำหนักของประตู ซึ่งถ้าเป็นประตูบานขนาดใหญ่ รางเลื่อนและชุดล้อเป็นสนิมต้องออกแรงลากมาก ล้อและตัวบานประตูอาจกระโดข้ามตัวน๊อตไปได้ ซึ่งก็จะสัมพันธ์กับส่วนป้องกันบานประตูล้ม ทั้งสามส่วนที่กล่าวมา คือเมื่อน๊อต หยุดบานประตูไม่ได้ ก็จะเลยระยะส่วนยื่นกันบานประตูล้มที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ รวมทั้งอาจหลุดออกจากรางเลื่อน ชุดบนได้ด้วย ฉะนั้นการออกแบบส่วนหยุดนี้ก็มีความสำคัญมากโดยเฉพาะบานประตูที่มีน้ำหนักมากเมื่อเคลื่อนที่แล้วจะหยุดได้ยากรั้วและประตูรั้งต้องได้รับการบำรุงรักษาที่ หากขาดการดูแลเป็นประจำขณะใช้งานเช่น บริเวณล้อราง มักจะมีเศษวัสดุอยู่บริเวณรางประตู เมื่อเปิดปิด ล้อจะกระดกตกรางได้ หรือประตูและอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ในสภาพผุกร่อน ชำรุดทรุดโทรม หรือ รางประตู จะมีปัญหาเรื่องการทรุดตัวของพื้นบริเวณรางประตู ทำให้รางประตูคดงอ บิดเบี้ยว การทรุดตัวของพื้นหน้าประตูทำให้ล้อวิ่งออกนอกราง ผนังอาคาร ต้องมีความแข็งแรง สิ่งของที่แขวนบนผนังต้องถูกยึดติดอย่างมั่นคงและต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเช่นการแขวนโทรทัศน์ไว้กับผนังเป็นต้น ไม่ควรจัดให้พื้นที่ใต้วัสดุที่ถูกแขวนไว้กับผนังเป็นพื้นที่กิจกรรมต่างๆของเด็ก สิ่งที่ใช้แขวนไว้โดยไม่ได้ยึดติดเช่นกรอบรูปควรมีน้ำหนักเบาและแขวนไว้สูงเกินกว่าที่เด็กจะคว้าถึงได้ นอกจากทางกายภาพแล้ว ทางเคมีต้องไม่มีความเป็นพิษด้วย ผนังอาคารสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของเด็กต้องไม่ทาด้วยสีที่มีสารตะกั่ว (lead) สารตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของคนโดยเฉพาะต่อพัฒนาการของเด็กเล็ก เนื่องจากสารตะกั่วสามารถสะสมในร่างกายคนได้ยาวนาน และมีอันตรายโดยตรงต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทของเด็ก โดยอาจก่อผลกระทบถาวรต่อเด็กคนนั้นไปชั่วชีวิต องค์การอนามัยโลกเคยทำการศึกษาและเปิดเผยถึงอันตรายจากพิษตะกั่วเมื่อปี พ.ศ. 2553 ว่า สารตะกั่วมีอันตรายต่อร่างกายของคนไม่ว่าจะได้รับเข้าไปในปริมาณเล็กน้อยเพียงไรก็ตาม นอกจากนี้ยังระบุว่า “โรคปัญญาอ่อนจากสารตะกั่ว” เป็น 1 ใน 10 โรคร้ายแรงที่สุดอันเกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันพบว่า ยังมีบริษัทจำนวนมากทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยที่ผลิตสีผสมสารตะกั่วเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะสีน้ำมันทาอาคาร และผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีการวางจำหน่ายตามท้องตลาดอย่างแพร่หลาย สารตะกั่วที่ปนเปื้อนอยู่ในสีทาอาคาร สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการหายใจและการกิน สำหรับเด็กปฐมวัยจะได้รับสารตะกั่วในสีโดยการกินตามพฤติกรรมที่ชอบหยิบของเข้าปากหรือพฤติกรรมอยากรู้อยากเห็น องค์การอนามัยโลกชี้ว่า เด็กอาจกลืนฝุ่นและดินที่สารตะกั่วปนเปื้อนที่มีอยู่รอบตัวโดยไม่ตั้งใจ ประมาณวันละ 100 มิลลิกรัม จากนั้นก็จะถูกดูดซึมโดยระบบทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดและสะสมที่กระดูก สมองเป็นระยะเวลายาวนาน โดยร่างกายสามารถขับออกจากร่างกายได้อย่างช้าๆ พื้น การพลัดตกจากพื้นที่ต่างระดับและการหกล้มจากพื้นระนาบอาคารเดียวกันเป็นความเสี่ยงต่ออันตรายภายในบ้านที่พบได้บ่อยมากที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัย ควรจัดเตรียมป้องกันการหกล้ม โดยเตรียมพื้นให้ไม่ลื่น เช่นไม่เปียกน้ำเฉอะแฉะ หรือ เป็นคราบมัน ไม่สะดุดหกล้มได้ง่ายเช่น ไม่มีความต่างระดับ เก็บของเล่น ของใช้ ไม่ให้เรี่ยราดตามพื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งของชิ้นเล็กที่เด็กสามารถนำเข้าปากและสำลักได้บันได ระเบียง นับว่าเป็นจุดที่เด็กชอบปีนป่าย อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยคือ การพลัดตกจากที่สูง เช่นการพลัดตกจากการปีนราวกันตก หรือมุดลอดราวกันตก หรือมุดลอดได้แต่ลำตัว แต่ศีรษะของเด็กติดคาระหว่างราวกันตก เกิดการติดค้างของศีรษะหรือลำคอ (head or neck entrapment) หากลำตัวเด็กที่มุดลอดออกก่อนตกจากที่สูงโดยศีรษะติดค้างทำให้เกิดการขาดอากาศหายใจในลักษณะแขวนคอ (strangulation) งานวิจัยของ คาล์เวเนอร์ (Culvenor, 2002) ประเทศออสเตรเลียซึ่งศึกษาเด็กได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกจากที่สูง 6,642 คน พบว่าเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปีถึงร้อยละ 33 ของการบาดเจ็บทั้งหมด โดยเหตุการณ์การตกส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากการตกจากเครื่องกั้นหรือราวกันตกที่สูงไม่เกิน 90 เซนติเมตรเท่านั้น หรือไม่ก็เป็นการมุดลอดตามช่องของซี่ราวกันตกซึ่งมีความกว้างมากจนเด็กสามารถมุดลอดได้ โดยระบุว่าช่องว่างระหว่างราวระเบียงเป็นจุดที่ดึงดูดให้เด็กเข้าไปเล่นมาก เพราะเนื่องจากมีขนาดที่เหมาะต่อการสอดแขน ขา หรือศีรษะ หรืออีกพฤติกรรมหนึ่งของเด็กคือการปีนราวกันตกหรือที่กั้นกันตก การป้องกันคือ ควรจัดพื้นที่เล่นปลอดภัยสำหรับเด็ก ไม่ให้เด็กเล่นปีนป่ายบันได ควรมีประตูกั้นไม่ได้เด็กเล็กขึ้นลงบันไดได้เองตามลำพัง (ภาพที่1)  ภาพที่1 ลักษณะที่ปลอดภัยของราวระเบียงของอาคารที่มีความสูงหรือแผ่นกั้นกันตกควรมีความสูงจากพื้นถึงขอบราวไม่ต่ำกว่า 100 เซนติเมตร โดยอาคารตั้งแต่สามชั้นขึ้นไป (ซึ่งพบว่ามีการบาดเจ็บรุนแรงจากการตก) ต้องมีความสูงของราวหรือแผ่นกันตก ไม่ต่ำกว่า 120 เซนติเมตรจากพื้น ไม่มีจุดที่สามารถปีนป่ายได้ หมายถึงต้องไม่มีโครงสร้างลักษณะที่เป็นแท่งในแนวนอนและมีช่องรูให้วางเท้าที่เอื้อต่อการปีนป่าย รวมไปถึงตำแหน่งการวางของที่ใกล้ราวกันตก ที่ทำให้สามารถปีนป่ายได้ เช่น ตู้แอร์ (คอมเพรสเซอร์) ที่วางไว้บริเวณระเบียง เป็นต้น ถ้าไม่เป็นผนังทึบกันตกแล้วราวกั้นกันตกควรเป็นลักษณะแนวตั้งโดยมีราวแนวนอนเฉพาะคานล่างและบนหรือคานแบ่งที่ระยะ 100 เซนติเมตร เมื่อราวกันตกมีความสูงมากกว่า 100 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้เด็กปีนป่ายได้ โดยช่องว่างระหว่างราวควรมีระยะห่างที่พอเหมาะไม่กว้างเกินกว่า 9 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะที่แคบที่สุดที่เด็กเล็กจะสามารถมุดลอดโดยเอาเท้า ขา และลำตัวสอดเข้าไปได้แต่ศีรษะติดค้างเกิดการเสียชีวิตในลักษณะแขวนคอได้ หรือมิฉะนั้นก็ควรหาไม้ ตาข่าย หรือ แผ่นพลาสติคมาปิดกั้น (ภาพที่ 2)  ภาพที่2ประตู เป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บได้บ่อยๆ เช่น ปิดประตูโดยไม่ระวังทำให้หนีบนิ้ว หรือกระแทกศีรษะ การบาดเจ็บจากประตูพบได้บ่อยในอาคารที่มีเด็กหลายคนอยู่อาศัยร่วมกัน และเปิดประตูห้องต่างๆไว้ให้เดินไปมาระหว่างห้องได้ โดยไม่มีการยึดติดประตูไม่ให้เด็กปิดได้เอง หากเป็นประตูที่ต้องเปิดปิดสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันการหนีบนิ้วมือได้ทั้งด้านที่เป็นลูกบิดประตู และด้านที่เป็นส่วนของบานพับ (ภาพที่3) สำหรับการใช้ประตูบานเลื่อนที่เป็นกระจกธรรมดานั้นมีความเสี่ยงที่เด็กปฐมวัยจะวิ่งชนกระแทกด้วยความไม่ระมัดระวังทำให้กระจกแตกและชิ้นส่วนกระจกอาจบาด หรือทิ่มแทงเด็กก่อให้เกิดบาดแผลรุนแรงได้ ภาพที่ 3  ประตูกระจกควรเป็นกระจกนิรภัย หรือกระจกที่มีความแข็งแรงไม่แตกหักง่าย ควรเป็นกระจกมีสี สังเกตได้ง่าย เพื่อป้องกันการวิ่งชนกระแทกของเด็ก หน้าต่าง เป็นจุดที่เด็กให้ความสนใจในการปีนเพื่อมองเห็นภายนอกอาคาร หน้าต่างที่ปลอดภัยต้องอยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กปีนป่ายออกนอกหน้าต่างได้ ไม่จัดวางเฟอร์นิเจอร์เช่นเก้าอี้หรือเตียงไว้ชิดกับหน้าต่างเพราะเด็กใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับปีนป่ายสู่หน้าต่างได้ หากติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเด็กปีนออกหรือโจรขโมยปีนเข้าจากช่องหน้าต่างเช่นเหล็กดัด ต้องออกแบบให้ผู้ใหญ่สามารถเปิดเปิดออกได้จากด้านใน หน้าต่างในห้องต่างๆที่มีผ้าม่าน มีมู่ลี่ แล้วมีสายยาวๆให้ดึง ต้องระวังเส้นสายยาวรัดคอได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมาพบเด็กที่เสียชีวิตจากเชือกกระตุกมู่ลี่ที่ขดเป็นวงกว่า 200 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี ในเด็กทารกมักถูกจัดให้นอนบนเตียงที่อยู่ใกล้กับหน้าต่าง แล้วเด็กสามารถคว้าเล่นสายมู่ลี่ได้ ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปีมักจะปีนป่ายโดยต่อเก้าอี้บ้าง กล่องบ้าง แล้วเล่นเชือกสายเหล่านั้น ก่อนจะพลัดตกจากสิ่งของ เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ปีน ทำให้เชือกสายรัดคอเสียชีวิต การเปลี่ยนสายจากลักษณะเป็นวง กลายเป็นปลายเปิดทั้งสองข้าง (ภาพที่ 4) จะสามารถลดความเสี่ยงได้   ภาพที่ 4 ก.ภาพจำลองการการรัดคอเด็กโดยสายกระตุกมู่ลี่ ข.การแก้ไขลักษณะเส้นสายที่ขดเป็นวงที่มีความเสี่ยงต่อการรัดคอเด็ก เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้ จัดให้ปลอดภัยจากการชนกระแทกเช่น ไม่มีเสาหรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีเหลี่ยมมุม โต๊ะและตู้ไม่มีขอบคม มุมคม เช่นโต๊ะเป็นรูปทรงกลม หรือ รูปไข่ หรือติดตั้งอุปกรณ์กันกระแทกมุมขอบโต๊ะ ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ที่ล้มคว่ำได้ง่ายเมื่อเด็กปีนป่าย เฟอร์นิเจอร์ที่มีความสูง มีน้ำหนักมากควรยึดติดผนัง เช่นตู้ ชั้นวางของต่างๆ ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากกระจกเพื่อป้องกันการทิ่มแทงบาดหากมีการแตกหักของกระจกการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความปลอดภัยที่หลายคน อาจคาดไม่ถึง เช่น โซฟาที่ไม่ควรวางใกล้หน้าต่าง โดยเฉพาะเด็กๆที่เริ่มตั้งแต่วัยเตาะแตะ กระทั่งเด็กโตที่มักจะชอบปีนป่าย ใช้โซฟาปีนป่ายไปยังหน้าต่างเป็นสาเหตุให้เด็กตกตึกจากหน้าต่างได้ โต๊ะวางทีวี หรือตู้วางเครื่องเสียงหรือชั้นวางของโชว์ต่างๆต้องถูกออกแบบมามั่นคงไม่ล้มง่าย หรือควรจะหาอุปกรณ์ยึดติดกับกำแพง (ภาพที่5)  ภาพที่5 โต๊ะวางทีวี หรือตู้วางเครื่องเสียงหรือชั้นวางของโชว์ต่างๆต้องถูกออกแบบมามั่นคงไม่ล้มง่ายปลั๊กไฟ เต้าเสียบ เด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนจะมีพัฒนาการในการสอดใส่ส่วนของร่างกายเข้าไปในช่องรู เช่นแหย่นิ้วเข้าไปในปลั๊กไฟเป็นต้น เต้าเสียบปลั๊กไฟควรจะอยู่สูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตรเพื่อป้องกันเด็กไม่ให้เล่นปลั๊กไฟ หากติดตั้งปลั๊กไฟไว้ต่ำควรมีฝาครอบ หรือมีที่เสียบสำหรับปิดรูปลั๊ก ในอาคารทุกอาคารระบบไฟฟ้ารวมควรมีเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ และมีการวางระบบสายดินให้ถูกต้องเสมอ ห้องนอน เตียง เครื่องนอน การจัดการนอนที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการขาดอากาศหายใจจากการกดทับทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการนอนของทารก (อายุต่ำกว่า 1 ปี) ลักษณะที่นอนที่ปลอดภัยสำหรับทารกคือ เบาะบาง ที่มีความแข็งกำลังดีไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป ต้องจัดเด็กให้นอนหลับในท่านอนหงายเสมอ นอนคว่ำหน้าจะมีความเสี่ยงต่อการขาดอากาศหายใจ จากการกดทับใบหน้า ปาก จมูกบนที่นอน ไม่ควรมีผู้ใหญ่หรือเด็กโตนอนใกล้กว่า 1 เมตรเพราะมีความเสี่ยงต่อการนอนทับ (overlying) โดยเฉพาะหากผู้นอนข้างทารกมีลักษณะอ้วนมาก มีอาการเมา ขาดสติลึกจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด หรือเซื่องซึมจากการรับประทานยาแก้หวัด หรือยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงทั้งหลาย เตียงนอนสำหรับเด็กอาจมีอันตรายได้ทั้งเด็กทารกและเด็กปฐมวัย หากเป็นเตียงแบบที่มีราวกั้นกันการตกซึ่งเหมาะสมสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ซี่ราวกั้นแต่ละซี่ควรห่างกันไม่เกิน 6เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเอาลำตัวลอดซี่ราวและติดค้างที่บริเวณลำคอหรือศีรษะได้ภาพที่6) ภาพที่ 6 ความเสี่ยงของเตียงเด็กจากซี่ราวกันตกและมุมเสา ห้องน้ำ     ห้องน้ำเป็นพื้นที่ที่เด็กหกล้มได้ง่าย พื้นผิวห้องน้ำควรทำด้วยวัสดุที่ไม่ลื่นเมื่อเปียกน้ำ ผู้ดูแลต้องหมั่นทำความสะอาดและทำให้พื้นแห้งอยู่เสมอ สุขภัณฑ์ที่ใช้ต้องมีขนาดและการติดตั้งที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถใช้สุขภัณฑ์ได้พอดี ไม่ต้องปีนป่ายในแต่ละปีมีเด็กปฐมวัยทั้งทารก วัยเตาะแตะ และวัยอนุบาลต้องเสียชีวิตเพราะจมน้ำในถังน้ำ กะละมัง ตุ่ม โอ่ง อ่างอาบน้ำในบ้าน ไห โถชักโครก ร่องน้ำ และ บ่อน้ำข้างๆบ้าน สระว่ายน้ำในบ้าน (ภาพที่ 4 ) ดังนั้นการกำจัดแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็นในบ้านเช่นการคว่ำกะละมัง ปล่อยน้ำในอ่างอาบน้ำทิ้งทันทีหลังใช้งานเสร็จ การปิดแหล่งน้ำ แยกแหล่งน้ำไม่ให้เด็กเข้าถึงเช่นการปิดฝาตุ่ม โอ่ง ปิดประตูห้องน้ำ ทำรั้วกั้นบ่อเลี้ยงปลา การจำกัดพื้นที่เด็กไม่ให้เข้าใกล้แหล่งน้ำเช่นการทำรั้วเสริมปิดกั้นไม่ให้เด็กออกนอกบ้าน กั้นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กเคลื่อนไหว (ภาพที่ 7) เป็นสิ่งที่จำเป็นในการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยเด็กเล็กปีนป่ายตุ่มน้ำแล้วหน้าทิ่มลงไป เพียง 4นาที เด็กจะขาดอากาศหายใจจนสมองเสียหายนำไปสู่การตายหรือพิการถาวร เด็กวัยนี้จึงจัดอยู่ในวัยที่ผู้ดูแลจะต้องมองเห็นเด็กตลอดเวลา และเด็กต้องอยู่ในระยะที่เอื้อมคว้าถึง ดังนั้นความเผอเรอของผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็ก แม้แต่เพียงแค่ชั่วขณะ หมายถึงวินาทีแห่งความเป็นความตายที่อาจคาดไม่ถึง ปัจจุบันสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้ผู้ผลิตอ่างน้ำ กะละมัง ถังน้ำต้องมีคำเตือนเรื่องการจมน้ำของเด็กเล็กเพื่อเตือนสติพ่อแม่ผู้ดูแลเด็ก คำเตือนต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีความกว้าง 3 นิ้ว ยาว 4 นิ้ว และข้อความที่เป็นคําเตือนต้องใช้ตัวอักษรทึบขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่น ในกรอบสี่เหลี่ยม สีของกรอบและข้อความตัดกับสีพื้นของฉลากในกรอบสี่เหลี่ยม สีของกรอบและข้อความตัดกับสีพื้นของฉลาก แสดงไว้ในลักษณะที่คงทน (ภาพที่9)นอกจากนั้นในห้องน้ำมักมีน้ำยาทำความสะอาดรูปแบบต่างๆเป็นสารพิษที่พบบ่อยในเด็ก เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ชอบสำรวจสิ่งแวดล้อม รื้อค้นของ น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาเคมีหรือสารพิษชนิดต่างๆควรเก็บไว้ที่ในที่สูงที่เด็กปีนค้นไม่ถึง หรือเก็บในตู้ที่สามารถปิดล๊อกซึ่งเด็กไม่สามารถเปิดเองได้  ภาพที่ 7 แสดงการจมน้ำของเด็กในถังที่สูงประมาณ 35-40 เซนติเมตร ภาพที่ 8 กั้นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กเคลื่อนไหว    ภาพที่ 9 สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้ผู้ผลิตอ่างน้ำ กะละมัง ถังน้ำต้องมีคำเตือนเรื่องการจมน้ำของเด็กเล็กห้องครัว ห้องครัวเป็นบริเวณที่มีอันตรายหลายประเภทต่อเด็ก เช่นของมีคม ของร้อน สารเคมีทำความสะอาด ไฟ เป็นต้น ลักษณะห้องครัวที่ปลอดภัยควรแยกพื้นที่ครัวออกจากพื้นที่อื่น โดยใช้ประตูหรือรั้วเตี้ยๆ เพื่อกั้นไม่ให้เด็กเล็กเข้าไปในพื้นที่ห้องครัวได้ เก็บของมีคม และสารเคมีไว้ในตู้ที่สามารถล๊อกได้ หรือหากไม่สามารถล๊อกได้ให้ติดตั้งอุปกรณ์เสริมสำหรับการปิดล๊อก อุปกรณ์เหล่านี้ออกแบบมาให้ติดตั้งได้ง่าย (ภาพที่ 10)ผู้ใหญ่สามารถเปิดออกได้ง่ายในขณะที่เด็กไม่สามารถเปิดออกได้ และต้องไม่ให้เด็กอยู่ใกล้เตาแก็สหรือเตาไฟฟ้าที่กำลังหุงต้ม และไม่ให้เด็กอยู่ในบริเวณที่กำลังแจกจ่ายอาหารที่ร้อน  ภาพที่ 10 อุปกรณ์เสริมสำหรับล๊อคตู้ไม่ให้เด็กเปิดออกได้เอง         เด็กจะต้องซนได้อย่างปลอดภัย เพราะธรรมชาติของเด็กๆย่อมต้องชอบ ปีนป่ายกระโดด โลดเต้น การจัดการสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยเสียแต่แรกเป็นสิ่งจำเป็นควบคู่ไปกับการเฝ้าดูแลระวังใกล้ชิด ความผิดพลาดมักเกิดเสมอเมื่อคิดว่า “ไม่เป็นไรหรอก” “เอาไว้ก่อน” “ไม่ต้องหรอกเดี๋ยวดูแลเองได้” “ประเดี๋ยวเดียว” 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 128 ป้องกันภัย...เด็กตกตึก

  ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก สังกัดภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี   กรณีข่าวการเสียชีวิตของเด็กเล็กที่ตกลงมาจากตึกสูง ไม่อาจมองเป็นเพียงแค่อุบัติเหตุที่น่าสลดใจเท่านั้น หากเมื่อได้ประมวลสถานการณ์และสภาพแวดล้อมแล้ว จะพบว่าเป็นอุบัติเหตุที่ป้องกันได้ ขอเพียงแต่ให้เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ปกครอง ผู้ออกแบบ และเจ้าของอาคารสูงสำหรับพักอาศัย ตลอดไปถึงอาคารสูงสาธารณะ ที่พร้อมจะช่วยกันดูแลและปกป้องชีวิตน้อยๆ ให้อยู่รอด ปลอดภัย   เหตุการณ์จริง   กรณีที่ 1   คอนโดมิเนียมย่านเมืองทองธานี เด็กหญิง 4 ปี ตกระเบียงชั้น 12   เวลาราว 9 โมงเช้าของวันที่ 6  ก.พ. 2553  เด็กหญิงวัย 4 ปี ต้องอยู่ในห้องพัก(ชั้น12) โดยลำพัง เพราะคุณพ่อลงไปซื้อของกินของใช้ที่ร้านสะดวกซื้อ ที่ชั้นล่างของคอนโด ส่วนคุณแม่ซึ่งเป็นนางพยาบาลก็ต้องไปเข้าเวรตามกิจวัตร อาจเพราะด้วยความซุกซนตามวัย หรือตามหาคุณพ่อคุณแม่ จึงเดินไปเปิดประตูบานเลื่อนแล้วเข้าสู่ระเบียง(เพราะประตูห้องปิดล๊อกไว้)   แล้วเธอก็ปีนตู้แอร์(คอมเพรสเซอร์)ซึ่งจัดวางอยู่ติดระเบียง  พลัดตกลงมา บนพื้นปูนที่ชั้น 5 ซึ่งทำยื่นออกมาเพื่อเป็นที่ตั้งของสวนหย่อม –สระว่ายน้ำ-สนามเทนนิส   กรณีที่ 2   สถานที่คอนโดแห่งหนึ่ง ย่าน บางแค เด็กชาย 5 ปี ตกระเบียงชั้น 7  คุณพ่อปล่อยให้ลูกชายวัย 5 ปีนอนหลับโดยลำพัง โดยตนเองขับรถออกไปจากห้องพักเพื่อไปรับลูกสาวและภรรยาที่สถานีขนส่งหมอชิตใหม่  หลังจากคุณพ่อออกรถไปได้ไม่นาน เด็กชายตื่นขึ้น คาดว่าได้เดินไปเปิดที่ประตูกระจกบานเลื่อน แล้วออกมาที่หน้าระเบียง ซึ่งมีราวระเบียงสูงเพียง 70 ซ.ม. และมีช่องว่างระหว่างราวแต่ละช่องประมาณ 20 ซ.ม. เด็กได้ตกลงมาโดยไม่รู้ว่าเป็นการปีนป่าย หรือมุดลอดช่องห่างระหว่างราว  กรณีที่ 3   สถานที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง ย่านพัทยา พ่อกินยาตาย หลังจากลูกชายวัย 4 ปีตกระเบียงชั้น 16   โค้ชสอนมวยไทย ชาวอเมริกัน วัย40 ปี ได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายในห้องพัก โดยกินยาเกินขนาด 3 วันหลังจากลูกชายประสบอุบัติเหตุ เสียชีวิตจากการตกราวระเบียงจากห้องพักที่ชั้น 16 โดยทิ้งบันทึกไว้ว่า...I love my son   เหตุที่คล้ายคลึงกันและป้องกันได้ เมื่อเด็กพลัดตกจากที่สูงไม่ว่าจะบ้าน อาคารสูง คอนโด หรือที่สาธารณะ จุดที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงในเด็ก คือ การบาดเจ็บบริเวณศีรษะ เนื่องจากเด็กมีน้ำหนักศีรษะมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ ดังนั้นการตกลงมาของเด็กจะคล้ายลูกแบดมินตัน คือเอาส่วนหัวเป็นส่วนนำ หากไม่เสียชีวิตก็มีโอกาสพิการได้มาก ไม่เพียงแค่นั้น เด็กเล็กๆ คือศูนย์รวมจิตใจของพ่อ แม่ และผู้ดูแล การเสียชีวิตของเด็ก อาจก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อสภาพจิตใจของผู้ปกครองอย่างรุนแรง เกิดความซึมเศร้า จนคิดทำร้ายตนเองตามมาได้ จะมีก็แต่ผู้ออกแบบ ผู้ประกอบการ ผู้รับผิดชอบควบคุมอาคารตามอำนาจหน้าที่ฝ่ายรัฐ เท่านั้น ที่อาจจะยังไม่รู้สึกเลยว่า การเสียชีวิตที่เกิดขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งคือความรับผิดชอบของตนเองด้วย  จากการวิเคราะห์เหตุการณ์ตายของเด็กเล็กเหล่านี้พบว่า องค์ประกอบของเหตุมีจุดบกพร่องทั้งสามด้านคือพฤติกรรมของเด็ก การดูแลของผู้ปกครอง และการออกแบบสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมกับเด็กที่เป็นผู้ใช้สถานที่ร่วมกับผู้ใหญ่  1.พฤติกรรมของเด็กเล็ก  เด็กวัยนี้ เป็นวัยซุกซน ชอบสำรวจ ขณะเดียวกันก็ยังไม่รับรู้ความเสี่ยงมากนักจนกว่าจะอายุหกปีขึ้นไป จึงเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ยาก การดูแลของผู้ปกครองที่ประมาทแม้เพียงนิด เช่น การทอดทิ้งเด็กอายุน้อยกว่าหกปีให้อยู่ในสถานที่เสี่ยงตามลำพังนั้น ไม่เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำในการดูแลเด็ก จริงๆ แล้ว ถือว่า มีความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ่อแม่ต้องเข้าใจเรื่องพัฒนาการเด็ก วิธีการดูแลที่ถูกต้องและสำคัญต้องไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพัง ในต่างประเทศมีการใช้กฎหมายเข้าแทรกแซงครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่เหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหาลักษณะนี้ แต่เมืองไทยยังไม่เคยเห็นการจัดการที่เป็นรูปธรรม  2. สถานที่  ความเสี่ยงสำคัญคือ  มีการออกแบบไม่เหมาะสมกับผู้ใช้ที่เป็นเด็ก ผิดพลาด โดยในประเทศเราไม่มีกฎหมายกำหนด แต่ในต่างประเทศมีการศึกษาและกำหนดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็กอย่างชัดเจน ที่ประเทศออสเตรเลียมีงานวิจัยของ Dr. John F Culvenor ที่พบว่าในปี 1992-1993 มีเด็กได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกจากที่สูงถึง 6,642 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปีถึงร้อยละ 33 ของการบาดเจ็บทั้งหมด โดยเหตุการณ์การตกส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากการตกจากเครื่องกั้นหรือราวกันตกที่สูงไม่เกิน 90 เซนติเมตรเท่านั้น! หรือไม่ก็เป็นการมุดลอดตามช่องของซี่ราวกันตก  ซึ่งมีความกว้างมากจนเด็กสามารถมุดลอดได้ โดยระบุว่าช่องว่างระหว่างราวระเบียงเป็นจุดที่ดึงดูดให้เด็กเข้าไปเล่นมาก เพราะเนื่องจากมีขนาดที่เหมาะต่อการสอดแขน ขา หรือศีรษะ หรืออีกพฤติกรรมหนึ่งของเด็กคือการปีนราวกันตกหรือที่กั้นกันตก (ซึ่งไม่แตกต่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่บ้านเราเลย) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ต้องเริ่มต้นที่การออกแบบอาคาร โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบความเสี่ยงและสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังนี้  1) ราวหรือแผ่นกั้นกันตกควรมีความสูงจากพื้นถึงขอบราวไม่ต่ำกว่า 100 เซนติเมตร โดยอาคารตั้งแต่สามชั้นขึ้นไป (ซึ่งพบว่ามีการบาดเจ็บรุนแรงจากการตก) ต้องมีความสูงราวหรือแผ่นกันตก ไม่ต่ำกว่า 120 เซนติเมตร จากพื้น 2) ไม่มีจุดที่สามารถปีนป่ายได้ หมายถึง ต้องไม่มีโครงสร้างลักษณะที่เป็นแท่งในแนวนอนและมีช่องรูให้วางเท้าที่เอื้อต่อการปีนป่าย รวมไปถึงตำแหน่งการวางของที่ใกล้ราวกันตก ที่ทำให้สามารถปีนป่ายได้ เช่น ตู้แอร์(คอมเพรสเซอร์) ที่วางไว้บริเวณระเบียง เป็นต้น  3) ราวกั้นกันตก ควรเป็นลักษณะแนวตั้ง โดยช่องว่างระหว่างราวควรมีระยะห่างที่พอเหมาะไม่กว้างเกินกว่า 9 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะที่แคบที่สุดที่เด็กเล็กจะสามารถมุดลอดโดยเอาเท้า ขา และลำตัวสอดเข้าไปได้แต่ศีรษะติดค้างเกิดการเสียชีวิตในลักษณะแขวนคอได้ หรือออกแบบให้เป็นแผ่นทึบแทนเช่น คอนกรีต โดยไม่เจาะช่องลมให้เป็นที่สอดเท้าเหยียบแล้วปีนป่ายได้  4) ซี่ราวแนวนอนซึ่งเป็นคานล่างของซี่ราวแนวตั้งนั้นมีได้ แต่ต้องอยู่สูงจากพื้นไม่เกิน 9 เซนติเมตร เช่นเดียวกันซี่ราวที่สูงเกินกว่า 100 เซนติเมตร นั้นมีซี่ราวแนวนอนเป็นคานยึดซี่ราวแนวตั้งได้ที่ระดับ 100 เซนติเมตรเป็นต้นไปเท่านั้น   ในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่กฎหมายบังคับที่แน่ชัด แต่ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารของกระทรวงมหาดไทยระบุไว้แต่เพียงว่า ความสูงจากพื้นถึงขอบหน้าต่างไม่ควรต่ำกว่า 90 เซนติเมตร ไม่มีการกำหนดลักษณะระเบียง ราวกันตก ช่องห่าง การวางเฟอร์นิเจอร์ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการปีนป่าย ทั้งในบ้าน อาคาร และที่สาธารณะ  ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้สามารถแก้ไขได้ เพียงแค่ผู้บริหารบ้านเมืองกำหนดกฎหมายที่แน่ชัด ผู้ประกอบการให้ความสำคัญและคำนึงถึงความปลอดภัยควบคู่ไปกับผลประกอบการที่จะได้รับ และพ่อแม่ผู้ปกครองใสใจดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด เพียงเท่านี้ก็จะสามารถลดอัตราการบาดเจ็บจากการพลัดตกจากที่สูงได้ดีที่สุด   ข้อมูล จากการประชุมเวทีประชาชนเพื่อความปลอดภัยในเด็ก จัดโดย คณะแพทยศาสตร์สามสถาบัน (จุฬา-รามา-ศิริราช) ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และ สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ วันที่ 18 มิถุนายน 2554 ณ อิมแพค คอนเวนชั่น เซนเตอร์ เมืองทองธานี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 119 เขาหลอกให้เด็กเป็นนักช้อปได้อย่างไร

เรียบเรียงจากหนังสือเรื่อง Born to Buy แต่งโดย จูเลียต บี. ชอร์   เมื่อปี 2546 โครงการวิจัย Child Watch ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ระบุเด็กไทยเป็นนักบริโภค และติดวัตถุมากกว่าครอบครัวและศาสนา ในรอบ 1 เดือนพบว่า เด็กกินอาหารจานด่วนเฉลี่ยราว 3 ครั้ง ไปเดินห้างสรรพสินค้าประมาณ 4 ครั้ง ซื้อเครื่องสำอางค์บำรุงผิวประมาณ 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กวัยรุ่นในต่างจังหวัดราวร้อยละ 50 ที่เข้าร้าน internet เป็นประจำ และร้อยละ 30 มีโทรศัพท์มือถือใช้และจากการที่เด็กวัยรุ่นใช้เวลาไปกับกระแสบริโภคนิยม และหมดเวลาไปกับการเดินห้าง หรือพูดคุยกับเพื่อน หรือเล่นเกมผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เด็กวัยรุ่นใช้เวลากับครอบครัวน้อยลงด้วย  กระแสบริโภคนิยมได้เข้าไปก่อร่างสร้างตัวในเด็กมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่เพียงแต่เด็กไทยเท่านั้นที่ต้องเผชิญวิกฤตนี้ เด็กทั่วโลกก็ไม่ต่างกัน  ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำผลงานวิจัยเชิงลึกของจูเลียต บี. ชอร์ ในหนังสือเรื่อง Born to Buy ที่ตีแผ่เทคนิคการโฆษณา และช่องทางในการเข้าถึงเด็กๆ ชาวอเมริกัน รวมถึงศึกษาผลกระทบจากวัฒนธรรมการบริโภคที่มีต่อจิตใจของเด็กเหล่านั้นด้วย โดยมีเด็กประถม 5 – 6 จำนวน 300 คนและผู้ปกครอง 25 คนเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ มานำเสนอ ท่านสามารถหาอ่านฉบับเต็มได้จาก คุณหนูนักช็อป เมื่อโฆษณาบอกให้ลูกคุณต้องซื้อ. จูเลียต บี. ชอร์ เขียน ศศิวรรณ ปริญญาตร แปล สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก,2553.   คุณหนูนักช้อปงานวิจัย* ที่ทำกับเด็กอเมริกัน ฟันธงแล้วว่าเด็กที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการบริโภคมาก จะมีปัญหาทางจิตใจมากขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น หรือมีความรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า นอกจากนี้ยังมีสุขภาพแย่ลงด้วย   ในภาพรวมแล้วเด็กอเมริกันทุกวันนี้มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ทั้งๆที่อัตราความยากจนไม่ได้สูงเหมือนเมื่อก่อน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีปัจจัยลบที่บั่นทอนสุขภาวะของพวกเขาอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่ว่านั้นได้แก่ค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับวัตถุและการบริโภค  ที่สำคัญการตลาดและโฆษณากำลังจู่โจมพวกเขามากขึ้นทุกวัน ในทุกที่ๆพวกเขาอยู่ จึงไม่ได้มีเพียง “เด็กมีปัญหา” เท่านั้นที่ถูกดึงเข้าสู่วังวนแห่งบริโภคนิยม   เรื่องที่คุณอาจรู้แล้วเกี่ยวกับกลยุทธ์การโฆษณา1. โฆษณาจะนำเสนอภาพโลกของสินค้าดังกล่าวที่เป็นมิตรกับเด็ก โลกนั้นจะไม่มีครู ไม่มีพ่อแม่ที่น่ารำคาญ นี่คือโฆษณาที่สร้างขึ้นจากผลการวิจัยเรื่องเจตคติของเด็กต่อครูและพ่อแม่  2. โฆษณาจะต้องทำให้เด็กรู้สึกว่าพวกเขาจะไม่เอาไหน ไม่เท่ ถ้าพวกเขาไม่มีสินค้าตัวดังกล่าวในครอบครอง ขอบอกว่ากลยุทธ์นี้ได้ผลกว่าการบอกเด็กให้ไปซื้อสินค้านั้นมาด้วยซ้ำ  3. โฆษณาจะเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับความต้องการทางอารมณ์ของเด็กๆ เช่น การต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม โฆษณาจึงนิยมส่งสารไปยังเด็กๆว่า ซื้อสินค้าตัวนี้สิ แล้วหนูจะมีเพื่อนแน่นอน   4. โฆษณาที่จะได้ผลนั้นจะต้องทำให้เด็กเกิดความต้องการอย่างท่วมท้นด้วย เราจึงได้เห็นการสร้างความตื่นเต้นเร้าใจด้วยแสง เสียง หรือภาพคลื่นครีมมหึมา หรือทะเลช็อกโกแลต เสมอๆ  5. บริษัทมักอ้างว่าโฆษณาไม่ได้มีผลต่อเด็กมากมายอย่างที่ผู้ใหญ่หลายคนวิตกกัน แต่ก็ยังตอบคำถามไม่ได้ว่าทำไมถึงทุ่มเงินให้กับการโฆษณาเป็นเงินหลายพันล้านเหรียญต่อปี   กลยุทธ์การตลาดที่ผู้ประกอบการใช้ในการเข้าถึงเด็กๆ1. สร้างอาณาจักรที่ทำให้เด็กรู้สึกเป็นอิสระได้โดยผ่านทางการบริโภค  2. เมื่อเด็กมีเงินใช้มากขึ้น หัวใจของวัฒนธรรมการบริโภคของพวกเขาคือการได้รู้สึกพิเศษเหนือคนอื่นๆ บริษัทต่างๆจึงพยายามปรับราคาสินค้าขึ้น เพื่อจะได้ดูเป็นสินค้า “เกินเอื้อม” และทำให้เด็กๆหลงใหล อยากเป็นเจ้าของมากขึ้น  3. สิ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จของการทำการตลาดสินค้าสำหรับเด็กคือความเท่ทันสมัย เพราะนาทีนี้มันคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ได้ในชีวิตของพวกเขา  4. นักการตลาดรู้ว่าเด็กเล็กก็ดูรายการสำหรับวัยรุ่น หรือรายการสำหรับผู้ใหญ่ และเด็กทุกคนก็มีความต้องการลึกๆที่ “อยากจะเป็นผู้ใหญ่” จึงจงใจนำเสนอสินค้าที่ “แก่กว่าวัย” ให้กับกลุ่มเป้าหมาย  5. การสื่อสารสองความหมายก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ เช่น ในการโฆษณาอาหารสำเร็จรูปยี่ห้อหนึ่ง เนื้อหาที่ส่งไปยังพ่อแม่คืออาหารดังกล่าวมีวิตามินและทำจากวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ในขณะที่บอกกับเด็กๆ ว่าอาหารนั้นทานแล้วสนุกสนาน มีเพื่อนมากมาย  6. มีงานวิจัยที่ระบุว่าครอบครัวที่มีเวลาให้ลูกน้อยจะให้เงินลูกใช้มากขึ้นเพื่อเป็นการ “ไถ่บาป” และการใช้เงินทดแทนเวลานั้นเป็นสิ่งที่แม่นิยมทำมากกว่าพ่อ นักการตลาดจึงไม่พลาดโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากความรู้สึกผิดดังกล่าว ด้วยการสื่อสารถึงเด็กๆว่าสินค้าต่างหากที่อยู่เคียงข้างพวกเด็กๆเสมอ (ไม่ใช่พ่อแม่)  7. นักการตลาดใช้วิธี “สร้างโลก 360 องศา” ด้วยการจู่โจมผู้บริโภคด้วยข้อมูลจากทุกด้าน ในสื่อทุกประเภท รวมถึงการตลาดแบบ “ใช้ดีแล้วบอกต่อ” ด้วย 8. เงินซื้อได้ทุกอย่าง นักการตลาดสามารถจ่ายเงินให้พ่อแม่เพื่อซื้อเวลาที่จะได้พูดคุยกับลูกของพวกเขาได้อย่างเป็นส่วนตัวแม้กระทั่งการมาถ่ายวิดีโอลูกของตนในห้องนอนหรือห้องอาบน้ำ ---------------------------------------------------------------------------------------- เด็กกับพลังตื๊อเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยกันดี แต่เรื่องใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นคือเด็กกำลัง “ฝึก” พ่อแม่ให้จัดหาสิ่งที่ต้องการให้โดยไม่ต้องร้องขออีกต่อไป เพราะเมื่อพ่อแม่เรียนรู้ว่าเด็กชอบหรือไม่ชอบอะไร ก็จะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ลูกไม่ชอบ เพราะไม่อยากเสียเงินหรือเวลาไปกับสิ่งที่ซื้อมาแล้วลูกจะไม่กิน ไม่ใช้ ซึ่งก็เข้าทางทั้งเด็กและทั้งคนที่จะหากำไรจากเด็ก ---------------------------------------------------------------------------------------- - สหรัฐอเมริกามีศูนย์การค้ากว่า 105,000 แห่ง เมื่อปลายปีพ.ศ. 2552 มีพื้นที่ช้อปปิ้งประมาณ 7,000 ล้านตารางฟุต เมื่อนำมาเฉลี่ยกับจำนวนประชากร 300 กว่าล้านคนแล้ว อเมริกันชนแต่ละคนจะมีพื้นที่ศูนย์การค้าประมาณ 23 ตารางฟุต - ข้อมูลจาก The International Council of Shopping Centers จากสถิติของกรุงเทพมหานคร เมื่อปีพ.ศ. 2551 กรุงเทพฯ มีศูนย์การค้าทั้งหมด 136 แห่ง (และตลาดนัดอีกนับไม่ถ้วน)- อัตราการเป็นเจ้าของเครื่องรับโทรทัศน์ของอเมริกันชน เท่ากับ 740 เครื่องต่อ 1,000 คน (เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก เบอร์มิวดาและโมนาโค) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 86 ที่ 236 เครื่องต่อ 1,000 คน ----------------------------------------------------------------------------------------   เด็กติดแบรนด์ ข้อมูลจากการสำรวจของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งในอเมริการะบุว่าโดยเฉลี่ยแล้ว เด็กอายุ 10 ขวบ จะสามารถจดจำแบรนด์ได้ระหว่าง 300 ถึง 400 แบรนด์  เวลาที่เด็กอ้อนให้ซื้อของ พวกเขามักจะระบุแบรนด์ของสินค้า และที่แย่กว่านั้นเด็กอเมริกันเดี๋ยวนี้จะร้องอยากได้สินค้า “แบรนด์ดัง” เท่านั้น และประสบการณ์การบริโภคของเด็กอเมริกัน (และก็คงจะไม่ต่างกับเด็กที่บ้านเรา) ทุกวันนี้ก็จะต้องหรูหราขึ้นด้วยเด็กไม่ได้มีทางเลือกมากมาย อย่างที่พวกเขาเข้าใจ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันธุรกิจสื่อและความบันเทิงสำหรับเด็กก็ อยู่ในมือของ 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ ดิสนีย์ เวียคอม นิวส์คอร์ป และเอโอแอล ไทม์ วอร์เนอร์ เท่านั้น   อย่างนี้จะดีไหมงานวิจัยเรื่องดังกล่าวมีข้อเสนอดังต่อไปนี้ • ให้มีการเก็บภาษีร้อยละ 2 จากโฆษณาที่ออกอากาศทางวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และอินเทอร์เน็ท เมื่อฉายในเวลาที่มีผู้ชมในวัยต่ำกว่า 18 ปี ดูเกินร้อยละ 25  • รวมโฆษณาเอาไว้ในช่องเดียวกัน เมื่อบริษัทอ้างว่าโฆษณานั้นเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ มีคุณค่า ก็ไม่มีอะไรต้องวิตก คนที่ชอบดูโฆษณาก็จะตามไปดูเอง ดูแต่โฆษณาให้จุใจกันไปเลย • เปลี่ยนระบบจากการให้โฆษณาเป็นผู้สนับสนุนรายการ มาเป็นระบบที่ผู้ชมสามารถจ่ายเงินซื้อสาระที่ต้องการชมได้เลย   หน่วยสืบราชการลับ GIA: Girls Intelligence Agency Girls Intelligence Agency หรือ GIA ที่ว่านี้ไม่ได้เป็นสาขาหนึ่งของซีไอเอ หรือหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐอเมริกาแต่อย่างใด แต่กิจการของเขาก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างตรงที่ จีไอเอก็มี “สายลับ” เช่นกัน  เว็บไซต์ของจีไอเอ ระบุว่าตนเองมีสายลับหญิงในสังกัดประมาณ 40,000 คน พวกเธออายุระหว่าง 8 – 29 ปี อยู่ทั่วอเมริกา ซึ่งจะทำการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่จีไอเอเพื่อแจ้งข้อมูล ข้อมูลที่ว่านี้ได้แก่ความคิดเห็น ความฝัน เป้าหมาย แรงบันดาลใจของบรรดาสาวๆเหล่านั้นและเพื่อนๆของเธอ จากนั้นบริษัทก็จะแปรข้อมูลที่ได้ให้เป็นข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อ “ลูกค้า” ซึ่งก็คือบริษัทที่ต้องการเพิ่มยอดขายสินค้าสำหรับเด็กและวัยรุ่นหญิงนั่นเอง จีไอเอ จะให้ “สิทธิพิเศษ” กับเด็กที่ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็น “เจ้าหน้าที่” ของตนด้วยการให้โอกาสพวกเธอทดลองใช้ผลิตภัณฑ์หรือไม่ก็เชิญพวกเธอเข้าร่วมงานเปิดตัวสินค้าต่างๆ  เด็กๆเหล่านี้จะได้รับการอบรมเทคนิคการล้วงความลับจากเพื่อนๆ โดยจีไอเอ บอกกับพวกเธอว่าพวกเธอจะต้องสอดรู้สอดเห็นเพื่อองค์กร   หนึ่งในสิ่งที่ “สาวสืบราชการลับ” ตัวน้อยเหล่านี้ต้องทำคือจัดงานปาร์ตี้ชุดนอน เชิญเพื่อนๆอีก 11 คนมาร่วมงาน เพื่อมา “ทดลองใช้สินค้าตัวอย่างก่อนใคร” และ “กินอาหารขยะกันให้พุงกาง” ไม่ว่าเด็กๆเหล่านี้จะรู้ตัวหรือไม่ งานปาร์ตี้ดังกล่าวก็คือการทำโฟกัสกรุ๊ปเพื่อสำรวจความเห็นของผู้บริโภคและเป็นชั่วโมงขายของไปโดยปริยาย  โดยหลังงานเลิก บรรดาเจ้าภาพตัวน้อยๆ เหล่านี้จะต้องรายงานผลกลับไปยังหน่วยเหนือของพวกเธอ นอกจากนี้บางครั้งจีไอเอจะส่งเจ้าหน้าที่ไปบันทึกภาพปาร์ตี้ดังกล่าวไว้ด้วย จีไอเอถึงกับกล้าพูดว่าสายลับแต่ละคนจะสามารถเข้าถึงเพื่อนสาวของพวกเธอได้อีก 512 คน ได้ในทุกแง่มุมของชีวิต ฟังแล้วก็น่าวิตกแทนพ่อแม่ของพวกเธอและของเด็กๆที่พวกเธอเรียกว่า “เพื่อน” เพราะไม่รู้ว่าคำว่า “มิตรภาพ” จะยังมีความหมายเหมือนเดิมหรือไม่---ตลาดสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในสหรัฐคือสินค้าสำหรับเด็กและวัยรุ่นหญิง จีไอเอระบุในเว็บไซต์ว่าขณะนี้สหรัฐอเมริกามีประชากรที่เป็นเด็กหญิงอายุระหว่าง 10 – 19 ปีกว่า 18 ล้านคน และเด็กเหล่านี้มีการใช้จ่ายรวมกันถึงปีละ 75,000 ล้านเหรียญ  นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าวัยรุ่นมีส่วนในการทำให้เกิดการใช้จ่ายของครอบครัวถึง 700,000 ล้านเหรียญต่อปี และร้อยละ 56 ของวัยรุ่นเหล่านี้เป็นวัยรุ่นหญิง---

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point