ฉบับที่ 193 ชำระหนี้ครบ แต่ยังโดนหมายฟ้อง

เอกสารการชำระหนี้ เป็นหลักฐานสำคัญสำหรับลูกหนี้ทุกคน เพราะเราอาจโดนฟ้องให้ชำระหนี้ ทั้งๆ ที่จ่ายครบแล้ว ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้เมื่อปี พ.ศ. 2540 คุณสุนีย์กู้ยืมเงินจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) จำนวน 16,018 บาท ซึ่งกองทุนกำหนดให้ชำระเงินคืนเมื่อสำเร็จการศึกษา และเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้น ภายหลังเมื่อเรียนจบและครบกำหนดชำระหนี้ คุณสุนีย์กลับผิดนัดชำระ เนื่องจากมีปัญหาด้านการเงินและไม่ได้ติดต่อไปยัง กยศ. เพื่อแจ้งเหตุผลหรือขอเลื่อนนัดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามเมื่อเธอเริ่มตั้งตัวได้และต้องการชำระหนี้ดังกล่าว จึงตัดสินใจชำระหนี้เต็มจำนวนเป็นเงิน 25,698.40 บาท โดยชำระผ่านทางธนาคารกรุงไทย ซึ่งหลังชำระเงินพนักงานของธนาคารก็ได้แจ้งว่า ยอดดังกล่าวได้รวมดอกเบี้ยแล้วเรียบร้อย ทำให้เธอไม่มีหนี้ติดค้างกับ กยศ. อีกต่อไปอย่างไรก็ตามเหตุการณ์หลังจากนั้นกลับไม่ได้เป็นอย่างที่พนักงานแจ้ง เพราะไม่นานเธอได้รับหมายศาลให้ชำระหนี้ กยศ. ที่ค้างอยู่ รวมเป็นเงินกว่า 30,000 บาท โดยกองทุนได้ฟ้องร้องเนื่องจากเธอผิดสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณสุนีย์จึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องทำหนังสือถึงธนาคารกรุงไทย เพื่อขอให้ชี้แจงพร้อมขอสำเนาการชำระเงินที่เธอได้ชำระไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องคดีได้ พร้อมส่งจดหมายเชิญตัวแทนของกองทุนมาเจรจาไกล่เกลี่ย อย่างไรก็ตามภายหลังเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากทาง กยศ. ยืนยันว่า จำนวนหนี้ที่ฟ้องมานั้นถูกต้อง และผู้ร้องต้องชำระให้ครบจำนวน ทำให้ต้องไปพิสูจน์ความจริงที่ศาลต่อไปเมื่อถึงวันพิจารณาคดี ศาลให้มีการนัดสืบพยาน แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการใดๆ ทางโจทก์หรือกยศ.ก็ขอถอนฟ้อง เนื่องจากไม่มีพยานเอกสารมาสืบ แต่ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าอาจทำเรื่องฟ้องใหม่ภายหลัง ซึ่งทำให้ผู้ร้องไม่สบายใจ แต่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ได้ชี้แจงว่า อาจเป็นเพียงการพูดกดดันจากอีกฝ่ายเท่านั้น แต่ให้เก็บหลักฐานการชำระเงินไว้ก่อน เพราะสามารถใช้ยืนยันความบริสุทธิ์ได้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 25601 เม.ย.ทำฟันประกันสังคมกับ รพ.รัฐไม่ต้องสำรองจ่าย 1 เมษายน 2560 นี้ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม สามารถเข้ารับบริการด้านทันตกรรมที่โรงพยาบาลรัฐ ทั้งโรงพยาบาลสังกัด สธ., สังกัดกระทรวงกลาโหม, สังกัดกทม. และ โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ตามสิทธิ 900 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งเลื่อนจากเดิมที่วางกำหนดไว้วันที่ 1 ก.พ. เพื่อให้สถานพยาบาลแต่ละแห่งได้เตรียมความพร้อมในการให้บริการในส่วนของโรงพยาบาลเอกชน นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ขณะนี้มีคลินิกทันตกรรมเอกชนที่เข้าร่วมแล้วกว่า 530 แห่ง และคาดว่าภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเพิ่มเป็น 800 แห่ง ทั้งนี้ก่อนรับบริการให้สังเกต “สติกเกอร์สัญลักษณ์ประกันสังคม” ที่จะติดไว้ที่คลินิกที่ร่วมโครงการ ซึ่งสามารถรับบริการโดยไม่ต้องสำรองจ่ายผู้ประกันตนที่พบปัญหาจากใช้บริการหรือพบคลินิกหรือสถานพยาบาลที่มีสติกเกอร์สัญลักษณ์ประกันสังคม แต่ยังมีการเรียกเก็บเงิน สามารถโทร.แจ้งเอาผิดได้ที่สวยด่วน สปส. โทร. 1506 คิดดอกเบี้ยเงินกู้โหด เจอโทษตามกฎหมายจากนี้ไปลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ไม่ต้องกังวลเรื่องเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยโหดอีกแล้ว เพราะล่าสุดได้มีการออกพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 มกราคม 2560 ที่ผ่านมาสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ กำหนดให้ห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยปัจจุบันกฎหมายกำหนดห้ามคิดอัตราดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี หากกระทำความผิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดโทษไว้ว่าจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 3 พันบาทนอกจากนี้ในกฎหมายฉบับนี้ยังมีการระบุว่า ห้ามกำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่นๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมเพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอันตราที่กฎหมายกำหนด หรือมีการระบุว่าจะเรียกรับประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน สิ่งของ หรือโดยวิธการอื่นใด จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงินเส้นก๋วยเตี๋ยวใช้สารกันบูดน้อยลง แต่ยังเจอเกินค่ามาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ ได้ร่วมดำเนินงานภายใต้โครงการก๋วยเตี๋ยวอนามัย โดยหนึ่งในวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการคือการควบคุมเรื่องการใช้ปริมาณวัตถุกันเสียโดยมีการสุ่มตรวจวิเคราะห์วัตถุกันเสียในเส้นก๋วยเตี๋ยวด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2555 - 2559 จากจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 370 ตัวอย่าง ตรวจพบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานกำหนด 71 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 19.2 โดยพบกรดเบนโซอิค ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 10.6 - 3,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในเส้นก๋วยจั๊บ เส้นใหญ่ และเส้นผัดไทชนิดแห้ง ซึ่งค่ามาตรฐานที่อนุญาตให้พบคือไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนกรดซอร์บิค พบประมาณร้อยละ 3.1 ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 102 - 414 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเมื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากงานวิจัยในปี 2550 พบว่า จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานกำหนดลดลงจาก ร้อยละ 36 เหลือเพียง ร้อยละ 19.2 และปริมาณวัตถุกันเสียที่ตรวจพบสูงสุดลดลงจาก 17,250 เหลือเพียง 3,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ก็ยังเกินกว่าค่ามาตรฐาน“เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ชื่อนี้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) เตรียมเปลี่ยนชื่อโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ เป็น “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น แก้ปัญหาความเข้าใจผิด ของทั้งผู้ป่วย ญาติ และสถานพยาบาล ซึ่งที่ผ่านมามีกรณีร้องเรียนเรื่องสถานพยาบาลเรียกเก็บเงินจากการรักษาพยาบาลฉุกเฉินจำนวนไม่น้อยโดยการใช้คำว่า “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต” ก็เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า หมายถึงอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตระดับสีแดง ซึ่งสามารถเข้ารักษาได้ทุกที่ทุกสิทธิ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในช่วง 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งหลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดงที่ กพฉ. กำหนด แบ่งเป็น 25 กลุ่มอาการ ดังนี้ 1.ปวดท้องบริเวณหลัง เชิงกราน และขาหนีบ 2.แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้สัตว์ต่อย แอนาฟิแล็กซิส ปฏิกิริยาภูมิแพ้ 3.สัตว์กัด 4.เลือดออกโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ 5.หายใจลำบาก หายใจติดขัด 6.หัวใจหยุดเต้น 7.เจ็บแน่นทรวงอก หัวใจ มีปัญหาทางด้านหัวใจ 8.สำลัก อุดกั้นทางเดินหายใจ 9.เบาหวาน 10.ภาวะฉุกเฉินเหตุสิ่งแวดล้อม11.ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกติทางตา หู คอ จมูก 12.คลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาท อารมณ์ 13.พิษ รับยาเกินขนาด 14.มีครรภ์ คลอด นรีเวช 15.ชัก มีสัญญาณบอกเหตุการชัก 16.ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุจำเพาะ 17.อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียความรู้สึก ยืนหรือเดินไม่ได้เฉียบพลัน 18.ไม่รู้สติ ไม่ตอบสนอง หมดสติชั่ววูบ 19.เด็ก กุมารเวช 20.ถูกทำร้าย 21.ไหม้ ลวกเหตุความร้อน สารเคมี ไฟฟ้าช็อต 22.ตกน้ำ จมน้ำ บาดเจ็บทางน้ำ 23.พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ เจ็บปวด 24.อุบัติเหตุยานยนต์ และ 25.อื่นๆ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โทร. 1669ชัดเจน!!! ห้ามใช้ “โคลิสติน” ในฟาร์มสัตว์หลังจากมีข่าวว่ามีการตรวจพบฟาร์มเลี้ยงหมูในหลายจังหวัดมีการใช้ยา “โคลิสติน” (Colistin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรุนแรงที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวัง เพราะทำให้เกิดการดื้อยาทั้งในคนและสัตว์เรื่องดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลกับผู้บริโภคไม่น้อย กรมปศุสัตว์ที่มีหน้าที่จัดการดูแลปัญหานี้โดยตรงก็ไม่รอช้าเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ด้วยความรวดเร็ว โดยได้ออกคำสั่ง “เรื่อง การควบคุมการใช้ยา Colistin ในฟาร์ม” ส่งตรงถึง “นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย” ซึ่งมีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 800 คน โดยเนื้อหาสำคัญในประกาศ คือการสั่งห้ามสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสั่งหรือใช้ยาโคลิสตินผสมอาหารหรือละลายน้ำให้สัตว์กินโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งให้สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มต้องคัดกรองและตรวจสอบอาหารสัตว์สำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงสัตว์จะต้องไม่มียาโคลิสตินผสมอยู่ โดยให้มีการเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งตรวจเพื่อพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะแต่ก็ยังผ่อนปรนให้สามารถใช้ยาโคลิสตินได้ ในกรณีที่สัตว์ป่วยแล้วไม่มียาปฏิชีวนะชนิดใดใช้แล้วได้ผล“ยาโคลิสติน” เป็นยาปฏิชีวะที่นิยมใช้รักษาหมูท้องร่วงจากเชื้อแบคทีเรีย “อี.โคไล” แต่เมื่อปีที่แล้วมีข่าวว่าจีนพบหมูและคนดื้อยาโคลิสตินจากฟาร์มหมูชนิดข้ามสายพันธุ์ได้ หรือ “ยีนเอ็มซีอาร์-วัน” ที่สามารถส่งสายพันธุกรรมหรือเชื้อดื้อยาข้ามจากสัตว์มาสู่คน และยังถ่ายทอดไปยังเชื้อโรคตัวอื่นๆ ในร่างกายมนุษย์ได้อีกด้วย ขณะนี้มีรายงานการพบยีนดื้อยาตัวนี้ในมนุษย์ หมู และไก่ ช่วงปี 2010–2015 จำนวนทั้งสิ้น 16 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 กฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้เช่าตึกแถว

คราวนี้เราจะมาพูดถึงการคุ้มครองสิทธิด้านที่อยู่อาศัยของตนเองกันต่อ แต่เป็นเรื่องสิทธิของผู้เช่าที่ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่อาศัยนะครับ แต่ก็ถือว่า เขาเป็นผู้บริโภคคนหนึ่ง มีสิทธิครอบครองใช้สอยทรัพย์ที่เช่าตามสัญญาได้ และมีสิทธิจะอยู่ในที่อยู่อาศัยหรือสิ่งแวดล้อมที่ดีเช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีใครมาทำให้เขาเดือดร้อน กฎหมายก็คุ้มครองเขานะครับมีคดีหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นกรณีผู้เช่าตึกแถวคนหนึ่ง ที่เช่าอยู่มาเกือบ 20 ปี ที่อยู่มาวันดีคืนดี ก็มีเจ้าของที่มาสร้างกำแพงปูนปิดปากทางถนน ที่ผู้เช่าใช้เป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกเป็นประจำ ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถใช้ทางได้โดยปกติสุข ก็มาฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลก็มองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ผู้เช่าตึกแถวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2543แม้โจทก์จะเป็นเพียงผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 แต่ถนนพิพาทเป็นถนนหน้าตึกแถวที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ซื้อหรือเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ใช้เป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ และโจทก์ได้ใช้ถนนพิพาทตลอดมาเป็นเวลานานถึง 17 ปีแล้ว โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยหวงห้าม แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะขายตึกแถวที่โจทก์เช่าอยู่ให้แก่บุคคลภายนอก แต่โจทก์ก็ยังคงอยู่ในตึกแถวที่เช่าต่อมา การที่จำเลยที่ 2 สร้างกำแพงปูนปิดปากทางถนนพิพาทด้านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ตนซื้อจากจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์สัญจรผ่านเข้าออกไม่ได้ตามปกติย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์และผู้เช่ารายอื่นว่าจะจัดให้ถนนพิพาทเป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ตลอดไป มิฉะนั้นโจทก์และผู้เช่ารายอื่นคงไม่ยินยอมจ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้างและจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 เป็นเวลานานถึง 20 ปี และจำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยินยอมให้โจทก์และครอบครัวตลอดจนบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ในตึกแถวดังกล่าวได้ใช้ถนนพิพาทเป็นทางเข้าออกตลอดมาเป็นเวลานานถึง 17 ปี เช่นเดียวกัน แม้สัญญาเช่าตึกแถวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้ระบุเรื่องการใช้ถนนพิพาทไว้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้หวงห้ามมิให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ใช้ถนนพิพาท และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 1 ก่อสร้างถนนพิพาทไว้สำหรับให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ การที่จำเลยที่ 2 ซื้อถนนพิพาทบางส่วนจากจำเลยที่ 1 และได้ก่ออิฐเป็นกำแพงปิดกั้นถนนพิพาทบริเวณปากทางออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมุ่งแต่ประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยรู้อยู่แล้วว่าต้องเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ที่ไม่สามารถใช้ถนนพิพาทออกสู่ทางสาธารณะด้านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้โดยปกติสุข การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ารายหนึ่งอีกเรื่อง เป็นการเช่าช่วง ที่ผู้เช่าช่วงต้องทราบว่า หากจะให้เกิดสิทธิของผู้เช่าช่วงก็ต้องทำหนังสือสัญญาเช่ากับผู้ให้เช่าไว้เป็นหลักฐานด้วย หากไม่มีก็อาจจะถูกฟ้องขับไล่ เหมือนอย่างคดีดังต่อไปนี้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6275/2551การเช่าช่วงที่ดินพิพาทถือ เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง จึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 538 ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า เช่าช่วงจากโจทก์ แต่ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์แต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่อาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ การที่จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทจึงต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จำเลยจะอ้างว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินแก่โจทก์แล้ว เพื่อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไปและได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 8 ปี บทเรียนการใช้กฎหมายคดีผู้บริโภค

ความเป็นมา            ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องคุณภาพสินค้าหรือบริการ  และขาดอำนาจในการต่อรอง เช่นในการเข้าทำสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่เท่าเทียม ตลอดจนไม่อาจเท่าทันความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจ นั่นทำให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น กระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานานและสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้บริโภค ที่จะต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งไม่อยู่ในความรู้เห็นของตน ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง จึงทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการบัญญัติกฎหมายพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ขึ้น เพื่อตามให้ทันเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค โดยการวางแนวทางการพิจารณาไปในทางระบบไต่สวนมากขึ้น สังเกตได้จากการที่กฎหมายได้บัญญัติไว้โดยชัดเจนให้ศาลมีอำนาจในการเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร โดยมีหลักการที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการดำเนินคดี คือ ความสะดวก ประหยัด รวดเร็ว และเป็นธรรมขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามหลังจากการบังคับใช้กฎหมาย พบว่ายังมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการทั้งปัญหาด้านข้อกฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติส่งผลให้ผู้บริโภคยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง อันไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้  ที่มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรมประเทศไทยได้บังคับใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว มีเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่น่ากังวล คือ คนที่นำคดีมาฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค ส่วนใหญ่กลับเป็นผู้ประกอบธุรกิจ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งสะท้อนว่า กฎหมายมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ที่ให้มีระบบวิธีพิจาณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภคธรรมดาสถานการณ์การฟ้องคดีผู้บริโภค            หลังจากที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นั้น จากข้อมูลสถิติคดีของสำนักงานศาลยุติธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551  - 2558  พบว่า มีคดีผู้บริโภคขึ้นสู่ศาลจำนวน  2,794,208 คดี  ซึ่งมากกว่าร้อยละ 90 ของคดีผู้บริโภค ที่เข้าสู่สารบบคดีของศาลเป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภค  โดยเฉพาะในปี 2558 มีคดีผู้บริโภคที่ขึ้นสู่ศาลทั่วราชอาณาจักร จำนวน 592,561 คดี จากคดีแพ่งทั้งหมด 847,551 คดี หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของคดีแพ่งทั้งหมด   นอกจากนี้ในคดี ผู้บริโภคที่ขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลในปี พ.ศ.2558 นั้น  ประเภทข้อหาแห่งคดี 5 อันดับแรกของข้อมูลการฟ้องคดี  เป็นคดีที่ผู้ประกอบการฟ้องผู้บริโภคเป็นคดีผู้บริโภค มีดังนี้สินเชื่อบุคคล / กู้ยืม / ค้าประกัน จำนวน 250,527 ข้อหาบัตรเครดิต จำนวน 99,822 ข้อหากองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวน 92,775 ข้อหาเช่าซื้อ (รถยนต์) จำนวน 73,071 ข้อหาเช่าซื้อ (รถจักรยานยนต์) จำนวน 5,194 ข้อหาจากสถิติข้อหาแห่งคดี หรือการฟ้องคดีผู้บริโภคของศาล จะเห็นได้ชัดเจนว่า การฟ้องคดีผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภคเป็นจำเลย เพื่อบังคับให้ผู้บริโภคชำระหนี้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ  จึงทำให้มีหลายคนวิตกว่าพระราชบัญญัติวิธีพิจาณาคดีผู้บริโภคฯ จะตกเป็นเครื่องมือให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจในการทวงหนี้ และทำให้คดีแพ่งที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ มีมากเกินไป อย่างที่เรียกว่า “คดีล้นศาล” ซึ่งส่งผลกระทบดังนี้  1 ผลกระทบต่อความรวดเร็วในการดำเนินคดี            การมีคดีที่ไม่ควรจัดว่าเป็นคดีผู้บริโภค เข้ามาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก และการที่กฎหมายคดีผู้บริโภคกำหนดให้ศาลต้องนัดพิจารณาภายใน 30 วันนับแต่ยื่นฟ้อง เพื่อจะเป็นวิธีพิจารณาพิเศษที่ทำให้คดีเสร็จไปโดยเร็วนั้น ปรากฏว่าในทางปฏิบัติ ไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีคดีอื่นที่ไม่ใช่ผู้บริโภคเข้าสู่ระบบคดีผู้บริโภคของศาลจำนวนมาก ทำให้วันนัดของศาลเต็ม จึงไม่อาจทำตามเงื่อนไขของกฎหมายที่กำหนดไว้ได้ ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดี เจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนี้ไม่อาจบรรลุผลได้เต็มที่2  ผลกระทบต่อผู้บริโภคในการต่อสู้คดี            เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ได้นำระบบไต่สวนมาใช้ กล่าวคือศาลสามารถไต่สวนหาความจริง โดยเรียกบุคคลหรือพยานหลักฐานได้เอง   แต่ที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่ศาลจะใช้อำนาจในส่วนนี้น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภค เช่น ฟ้องให้ชำระหนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อ กู้ยืมเงิน ซึ่งคดีลักษณะดังกล่าว จะมีการไปฟ้องยังภูมิลำเนาของผู้บริโภคที่โดยมากมักไม่ได้อยู่อาศัยเนื่องจากเข้ามาทำงานในกรุงเทพ หรือจังหวัดอื่น ทำให้เสียโอกาสต่อสู้คดี อีกทั้งศาลก็จะถือข้อเท็จจริงตามที่ผู้ประกอบธุรกิจเสนอ โดยไม่ได้ใช้อำนาจไต่สวนคดีเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบเข้ากับการที่มีคดีอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้มากเกินไป ทำให้บทบาทของศาลในการไต่สวนคดีทำได้ไม่เต็มที่  มีส่วนทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดีผู้บริโภคอื่นไปด้วยสาเหตุที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ            สำหรับสาเหตุในเรื่องการไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาคดีได้อย่างจริงจังหลายประการนั้น  จากการเสวนาแลกเปลี่ยนในหลายเวทีและจากการสังเคราะห์ข้อมูล ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบว่าปัญหาโดยสรุปมีดังนี้ยังต้องใช้ทนายความในการดำเนินคดี แม้ว่ากฎหมายจะบทบัญญัติให้ผู้บริโภคที่จะฟ้องคดีสามารถฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ยื่นฟ้องคดีด้วยวาจา โดยมีเจ้าพนักงานคดีเป็นผู้บันทึกและจัดทำคำฟ้องให้ รวมถึงการฟ้องคดีด้วยเอกสาร ไม่ต้องมีทนายความเป็นผู้จัดทำคำฟ้องให้ โดยมีเจ้าพนักงานคดีเป็นผู้ตรวจเอกสารและจัดทำคำฟ้องให้เช่นกัน แต่กระบวนการดังกล่าวก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกเบื้องต้นเท่านั้น เพราะเมื่อฟ้องคดีและศาลรับคำฟ้องไว้แล้ว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องจัดหาทนายความเพื่อมาดำเนินคดีแทน ในคดีเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะคดีที่มีข้อเท็จจริงที่สลับซับซ้อน เช่น คดีทางการแพทย์  รวมถึงการจัดทำคำร้อง คำแถลง ต่างๆ เนื่องด้วยผู้บริโภคไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาคดีด้วยตนเองได้การนิยามของคำว่า “คดีผู้บริโภค” และ “ผู้บริโภค” ไม่ชัดเจน ทำให้นอกจากผู้บริโภคจะมีสิทธิฟ้องคดีผู้บริโภคแล้ว กฎหมายยังให้สิทธิผู้ประกอบการฟ้องคดีผู้บริโภคได้ด้วย ก่อให้เกิดปัญหาคดีล้นศาล เนื่องจากคดีส่วนมากที่เข้ามาอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้เป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจประเภทสถาบันการเงิน ไฟแนนซ์ เป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภคเพื่อขอให้ชำระหนี้ ทำให้มีปริมาณคดีผู้บริโภคกลุ่มนี้ขึ้นสู่ศาลเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดี และทำให้ศาลและเจ้าพนักงานคดีทำหน้าที่ตามบทบาทได้อย่างไม่เต็มที่ ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้เป็นปัญหาและอุปสรรคให้การ บังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ ทำให้ไม่สามารถบรรลุถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ได้วางไว้เจ้าพนักงานคดีไม่เพียงพอ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่มีความมุ่งหมายที่จะให้ ศาลเข้ามามีบทบาทในการแสวงหาข้อเท็จจริงต่างๆ ในคดีแพ่งมากขึ้นเพื่อลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันในการ ต่อสู้คดีระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ โดยการวางแนวทางการพิจารณาไปในทางระบบไต่สวนมากขึ้น จึงได้กำหนดให้มี "เจ้าพนักงานคดี” ขึ้น เพื่อช่วยเหลือศาลให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามที่กฎหมาย กำหนดไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการสืบหาพยานหลักฐานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี   อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานคดีก็ยังไม่เพียงพอ คือ ในปัจจุบันมีเจ้าพนักงานคดีประจำอยู่ที่ศาลแห่งละหนึ่งหรือสองคนเท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เพียงพอ เป็นเหตุให้ไม่มีเจ้าพนักงานคดีมากพอที่จะตอบสนองความต้องการในการบริหารจัดการคดี ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานคดีที่ถูกส่งไปประจำศาลในจังหวัดต่างๆกลับถูกใช้ให้ไปทำงานในด้านธุรการด้านอื่นๆ โดยไม่ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือศาลในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดีอย่างแท้จริง ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่กฎหมายไม่ได้ยกเว้น แม้พระราชบัญญัติฉบับนี้จะกำหนดให้ผู้บริโภคฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพบว่า การเสียค่าธรรมเนียมฟ้องคดี หากเป็นผู้บริโภคที่ฟ้องคดีนั้นค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะได้รับการยกเว้นเกือบทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีอย่างมากสำหรับการเอื้อประโยชน์ให้ผู้บริโภคเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้สะดวกมากขึ้น แต่นอกจากค่าธรรมเนียมฟ้องคดีแล้ว ในกระบวนพิจารณาคดียังมีค่านำหมาย ค่าส่งคำคู่ความ ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ พบว่ายังมีการลักลั่นของศาลแต่ละแห่ง ที่ยังคงเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวกับผู้บริโภคที่ฟ้องคดีอยู่ศาลยังมีทัศนคติและความเคยชินอยู่กับจารีตปฏิบัติในระบบกล่าวหาและขาดความชำนาญในการไต่สวน พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ศาลใช้ระบบไต่สวนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี ศาลจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นหาความจริง มีอำนาจที่จะให้มีการรวบรวมพยาน เอกสาร สืบพยาน หรืองดสืบพยาน ไม่ใช่รอพยานหลักฐานจากคู่ความ การกำหนดกรอบระเบียบ กฎเกณฑ์ เกี่ยวกับการสืบพยานค่อนข้างยืดหยุ่น เพื่อให้ศาลใช้ดุลยพินิจได้อย่างกว้างขวาง ระบบไต่สวนจึงเหมาะสมกับคดีที่ คู่ความมีความไม่เท่าเทียมกันอย่างมาก เช่น คดีผู้บริโภค นี้ แต่ในทางปฏิบัติ พบว่าศาลยังใช้อำนาจหรือมีบทบาทในการไต่สวนในคดีผู้บริโภคยังไม่เต็มที่ เนื่องด้วยศาลยังมีทัศนคติและความเคยชินอยู่กับจารีตปฏิบัติในระบบกล่าวหาและยังขาดความชำนาญในการไต่สวน พบได้ในหลายกรณีที่ศาลเลือกจะไม่ใช้อำนาจในส่วนนี้ แต่จะถามหาทนายความจากผู้บริโภคเพื่อให้มาดำเนินคดีแทน หากเป็นเช่นนี้ผู้บริโภคก็ยังคงต้องว่าจ้างทนายความ และทำให้เจตนารมณ์ของกฎหมายยังไม่อาจเป็นจริงได้ บทเรียนการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกว่า 8 ปี ที่มีคดีผู้บริโภคเข้าสู่สารบบของศาลทั่วราชอาณาจักรมากถึงกว่า  2.8 ล้านคดี แต่ส่วนใหญ่กลับเป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคเสียมากกว่านั้น ย่อมน่าสนใจว่าทำไมผู้บริโภคจึงไม่ใช้สิทธิฟ้องคดีเท่าที่ควร เมื่อได้นำข้อมูลจากการช่วยเหลือผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาวิเคราะห์ ก็พบว่าเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น  ความเสียหายที่ได้รับเมื่อคิดเป็นมูลค่านั้นเล็กน้อยเกินไป ไม่คุ้มค่าทนาย ค่าใช้จ่าย  หรือความกังวลว่า จะมีขั้นตอนยุ่งยากและใช้เวลานานในการดำเนินคดี สิ่งเหล่านี้ย่อมสะท้อนว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม แม้จะมีกฎหมายเพื่อช่วยให้การฟ้องคดีไม่ยุ่งยากเช่นในอดีตจากสถิติการให้ความช่วยเหลือของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในการช่วยดำเนินคดีให้ผู้บริโภคที่ถูกผู้ประกอบธุรกิจละเมิดสิทธิ ตั้งแต่ปี 2551 –  2558  พบว่า มีคดีผู้บริโภคที่ให้ความช่วยเหลือ จำนวน 289 คดี แบ่งเป็นคดีชุดรถโดยสารสาธารณะ    จำนวน    183     คดีคดีประกันภัย                    จำนวน     52     คดี       คดีผิดสัญญา                    จำนวน     31     คดีคดีละเมิด                        จำนวน     23     คดีและแม้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพียงองค์กรเดียวที่มีนโยบายและความสามารถเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิในการฟ้องคดีผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวนมากถึง 289 คดี  โดยเป็นคดีที่หลากหลาย เช่น รถยนต์ชำรุดบกพร่องผู้ประกอบธุรกิจผิดสัญญา กรณีอาคารชุด และบ้านจัดสรร เรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ เป็นต้น แต่เมื่อเทียบกับปริมาณคดีผู้บริโภคทั้งหมดของศาลนับตั้งแต่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว ต้องถือว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังไม่สามารถตอบโจทย์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ข้อเสนอ            แนวทางต่อไปนี้อาจช่วยในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายนี้ได้แก้ไขคำนิยาม “คดีผู้บริโภค” , “ผู้บริโภค” และ “ผู้ประกอบธุรกิจ” ให้ชัดเจน  ปัญหาหลายประการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าในการดำเนินคดี การทำหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดี หรือการทำหน้าที่ของศาลในการไต่สวนคดี มีสาเหตุประการหนึ่งคือ มีคดีที่ไม่ควรจัดว่าเป็นคดีผู้บริโภคเข้ามาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงสมควรจัดคดีเหล่านี้ให้ไปอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามเดิม ซึ่งได้แก่ คดีที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องทวงหนี้จากผู้บริโภคโดยไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคแต่อย่างใด และคดีเกี่ยวกับสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้วยกันเพื่อประโยชน์ทางการค้าของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย การแก้ปัญหานี้อาจกระทำได้โดยการแก้ไขคำนิยาม “คดีผู้บริโภค” , “ผู้บริโภค”   และ “ ผู้ประกอบธุรกิจ” ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค หรือโดยการออกกฎหมายแก้ไขคำนิยามเหล่านี้เพิ่มและพัฒนาศักยภาพของเจ้าพนักงานคดี การมีเจ้าพนักงานคดีไม่เพียงพอและไม่มีประสบการณ์นั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดทำคู่มือการปฏิบัติหน้าที่ ให้แก่เจ้าพนักงานคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างเจ้าพนักงานคดี การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอควรจัดให้มีการเผยแพร่แนวคำวินิจฉัยของศาล เพื่อจะได้พิจารณาได้ว่าคดีใดควรเป็นคดีผู้บริโภค เพราะการได้ทราบแนวคำวินิจฉัยจะทำให้เกิดความชัดเจน และทำให้คดีที่จะนำขึ้นสู่การวินิจฉัยลดน้อยลง ซึ่งก็จะสามารถแก้ไขปัญหาความล่าช้าของคดีได้บ้างให้ศาลฎีกาออกข้อกำหนดประธานศาลฎีกา กำหนดเวลาพิจารณาคำสั่งการขออนุญาตฎีกาที่ชัดเจน ในหลายคดีที่ผู้บริโภคชนะในชั้นอุทธรณ์แต่คดีก็ยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจมักจะขออนุญาตฎีกา ทำให้คดีล่าช้าไม่เสร็จไปโดยเร็ว ดังนั้นจึงเสนอให้ศาลฎีกา ออกข้อกำหนดประธานศาลฎีกา กำหนดเวลาพิจารณาคำสั่งการขออนุญาตฎีกาที่ชัดเจน เช่น ภายใน 60 หรือ 90 วัน เพื่อให้คดีผู้บริโภคเสร็จไปโดยเร็วพัฒนาการบริหารงานของศาลยุติธรรมและการจัดทำคู่มือตุลาการในการปฏิบัติหน้าที่ในคดีผู้บริโภค แม้กระบวนพิจารณาของคดีผู้บริโภคจะอยู่บนพื้นฐานของระบบไต่สวน แต่ในทางปฏิบัติผู้พิพากษาส่วนใหญ่มีภาระต้องพิจารณาทั้งคดีผู้บริโภค คดีแพ่งทั่วไปและคดีอาญาด้วย และยังเคยชินอยู่กับการพิจารณาคดีที่อยู่บนพื้นฐานของระบบกล่าวหาและยังขาดความชำนาญในการไต่สวน โดยศาลไม่ได้ใช้บทบาทในเชิงไต่สวนแต่กลับถามหาทนายความของฝ่ายผู้บริโภค             ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ในเชิงการบริหาร ด้วยการพัฒนาการบริหารงานของศาลยุติธรรมโดยแยกออกตามสายงานตามระบบการพิจารณาคดีแบบกล่าวหาและแบบไต่สวน เพื่อให้ผู้พิพากษามีความชำนาญและไม่เกิดความสับสนในบทบาทหน้าที่ และการจัดทำคู่มือตุลาการในการปฏิบัติหน้าที่ในคดีผู้บริโภค หรือการจัดตั้งศาลแผนกคดีผู้บริโภคเพื่อการพิจารณาคดีผู้บริโภคไปในทิศทางเดียวกันข้อมูลรศ. ดร. อนันต์ จันทรโอภากร. “ปัญหาข้อขัดข้องการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 42,ฉบับที่ 3 (2556)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 172 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนมิถุนายน 2558“หัวเชื้อกลิ่นแมงดา” ปลอดภัยถ้าใช้ตามปริมาณที่กำหนดจากกรณีที่มีการส่งต่อคลิปวิดีโอผ่านทางโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับการนำวัตถุแต่งกลิ่นรส “กลิ่นแมงดานา” หยดลงบนกล่องโฟมแล้วพบว่าสามารถทำให้กล่องโฟมละลายได้ สร้างความสงสัยและตกใจให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ร้อนถึงทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ต้องรีบออกมาชี้แจงถึงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ซึ่ง อย. ยืนยันว่าวัตถุแต่งกลิ่นดังกล่าวได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ในอาหาร และมีความปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่กำหนดวัตถุแต่งกลิ่นรสกลิ่นแมงดานาจัดเป็นอาหารที่ต้องมีฉลากประเภทวัตถุแต่งกลิ่นรสตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 223) พ.ศ. 2544 เรื่อง วัตถุแต่งกลิ่นรส ทั้งนี้ วัตถุแต่งกลิ่นรสกลิ่นแมงดานาได้จากการผสมของสารสำคัญในกลุ่มสารอินทรีย์ที่ให้กลิ่นรสหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยสารอินทรีย์เหล่านี้มีคุณสมบัติทางเคมีที่สามารถทำให้โฟมละลายได้ เนื่องจากโฟมมีคุณสมบัติสามารถละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์เกือบทุกชนิด ผู้บริโภคสามารถใช้วัตถุแต่งกลิ่นรสกลิ่นแมงดานาเป็นส่วนผสมในอาหาร เพื่อเพิ่มกลิ่นรสได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หากใช้ตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนฉลาก เพราะมีการใช้ในปริมาณที่น้อยมาก (ประมาณ 1 – 3 หยดต่อน้ำพริก 1 ถ้วย) ไม่ได้เทลงไปโดยตรงบนแผ่นโฟมในปริมาณมากดังที่ปรากฏในคลิปวิดีโอ “น้ำตาลฟลุกโตสไซรัป” มากไประวังตับพัง!!!ปัจจุบันคนไทยเรามีปัญหาเรื่องการนริโภคน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งส่งผลเสียอย่างมากต่อสุขภาพ ยิ่งเดี๋ยวนี้คนไทยนิยมดื่มเครื่องดื่มบรรจุขวดกันมากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง แถมหลายยี่ห้อยังเลือกใช้น้ำตาลฟลุกโตสไซรัปสังเคราะห์แทนน้ำตาลทราย เพราะให้ความหวานมากกว่าแต่ต้นทุนถูกกว่า ซึ่งน้ำตาลสังเคราะห์ก็มีอันตรายต่อสุขภาพไม่แพ้น้ำตาลทรายหากรับประทานในปริมาณมากเกินไปทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาเตือนผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลสังเคราะห์เป็นประจำให้ระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เนื่องจากน้ำตาลสังเคราะห์หากรับประทานมากเกินไปแล้วร่างกายเผาผลาญไม่หมด น้ำตาลสังเคราะห์จะเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งทำให้อ้วนลงพุง ที่สำคัญคือเป็นอันตรายต่อตับ เพราะน้ำตาลประเภทนี้เมื่อเข้าไปในร่างกายจะตรงไปที่ตับก่อน แต่เมื่อร่างกายจะดึงพลังงานไปใช้ จะเลือกดึงน้ำตาลจากส่วนอื่นของร่างกายก่อนตับ เมื่อเผาผลาญหรือใช้ไม่หมดก็จะเกาะอยู่ที่ตับ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค ตับอักเสบ และตับแข็งสถานการณ์การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปของคนไทยถือว่าอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วง มีผลวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 83.6 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 16.7 ช้อนชา ทั้งๆ ที่ปริมาณที่เหมาะสมต่อการรับประทานใน 1 วันคือไม่เกิน 6 ช้อนชาเท่านั้นยา 2 มาตรฐาน?!!จากการที่ก่อนหน้านี้มีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมราคายาหลายๆ ชนิดที่จ่ายโดยโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งจึงมีราคาสูงกว่ายาที่จ่ายโดยโรงพยาบาลของรัฐ จนนำไปสู่กระแสข่าวลือที่ว่า ยาที่วางขายในประเทศมี 2 เกรด โดยยาราคาถูกจะผสมแป้งหรือสารอื่นที่ไม่ใช่ตัวยาสำคัญปริมาณมากเพื่อลดต้นทุน ซึ่งนั่นเป็นการส่งผลให้ยาด้อยคุณภาพลง ทำให้ อย. ซึ่งหน่วยที่รับผิดชอบในเรื่องการนำเข้า ผลิต และจำหน่ายยาในประเทศ ต้องออกมาชี้แจงว่าเรื่องดังกล่าวเป็นแค่ข่าวลือเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ยา ต้องได้รับการกำกับดูแลโดย อย. ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 โดยกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะผลิต ขาย นำเข้า มาในประเทศ จะต้องได้รับใบอนุญาตฯ และผลิตภัณฑ์ยาทุกตำรับจะต้องผ่านการพิจารณาตามหลักวิชาการก่อนที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาทั้งในส่วนของสูตรตำรับ วิธีการผลิต และการควบคุมคุณภาพ การแสดงฉลาก ฯลฯโดย อย. ยืนยันว่ามีมาตรการในการเฝ้าระวังคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาที่มีการกระจายอยู่ในท้องตลาด เช่น โครงการเฝ้าระวังคุณภาพยาประจำปี ซึ่งมีการกำหนดชนิดของผลิตภัณฑ์ยาที่มีความเสี่ยง เช่น ยาสำหรับกลุ่มโรคเรื้อรัง ยาที่มีปริมาณการใช้สูง ยาที่มีความคงตัวต่ำ เป็นต้น และมีการเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต/ผู้นำหรือสั่งยาฯ ส่งวิเคราะห์คุณภาพที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ยาที่ผู้บริโภคจะได้รับมีคุณภาพ ความปลอดภัย และมีประสิทธิผลในการใช้ตามที่ได้มีการขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้หมึกสักลาย ปนเปื้อนโลหะหนัก - แบคทีเรีย สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างหมึกสำหรับสักลาย 52 ตัวอย่าง เพื่อประเมินคุณภาพและความปลอดภัย จากผลวิเคราะห์พบ สารหนูเกินมาตรฐานที่กำหนดที่ 5 ไมโครกรัมต่อกรัม จำนวน 4 ตัวอย่าง ไมโครกรัมต่อกรัม ส่วน แคดเมียมเกินมาตรฐานที่กำหนดที่ 1 ไมโครกรัมต่อกรัม จำนวน 4 และตะกั่วพบ 2 ตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐานกำหนดที่20 ไมโครกรัมต่อกรัม แต่ไม่พบปรอทและสีห้ามใช้ในทุกตัวอย่าง สำหรับการตรวจหาเชื้อก่อโรค พบเชื้อแบคทีเรียเกินกำหนด 13 ตัวอย่าง และพบเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา 1 ตัวอย่าง จำนวนที่ปนเปื้อนอยู่ในระดับ 35,000 - 10,000,000 โคโลนีต่อกรัม ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อกรัมหมึกสักลายที่มีการปนเปื้อนโลหะหนัก เมื่อเข้าสู่ร่างกายต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมที่บริเวณผิวหนัง และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง ส่วนเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา สามารถก่อโรคได้หลายชนิด หากติดเชื้อที่ปอดอาจจะทำให้ปอดและหลอดลมอักเสบ รวมถึงหากได้รับเชื้อทางผิวหนังอาจจะทำให้เกิดโรคทางผิวหนัง ทำให้เกิดอาการบวม แดง ผิวหนังแข็ง กลายเป็นเนื้อตาย ซึ่งปัจจุบันนี้หมึกสักลาย ไม่ได้ใช้เฉพาะผู้ที่สักรายสวยงามตามร่างกายเท่านั้น แต่ยังใช้ในกลุ่มเสริมความงาน เช่น สักคิ้ว สักริมฝีปากอีกด้วย ซึ่ง อย. กำลังพิจารณาที่หมึกสักเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอางเพื่อให้มีมาตรฐานและการควบคุมที่ชัดเจนมากขึ้นร่วมลงชื่อสนับสนุนกฎหมายผู้บริโภคที่ change.orgคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ ขอเชิญชวนผู้บริโภคทั่วประเทศร่วมลงชื่อสนับสนุน 2 กิจกรรมรณรงค์ผลักดันให้เกิดกฎหมายดีๆ เพื่อผู้บริโภคในประเทศไทย ประกอบด้วย 1. “ลงชื่อสนับสนุนให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป” หลังจากรอมา 18 ปี ถึงเวลาเสียทีที่กฎหมายสำหรับผู้บริโภคจะต้องเกิดขึ้นในประเทศไทย และ 2. “ลงชื่อสนับสนุนเรียกร้องให้ อย. บังคับใช้ฉลากโภชนาการแบบสัญญาณไฟจราจรในผลิตภัณฑ์อาหาร” คนไทยกำลังเผชิญกับภาวะน้ำหนักเกิน นั่นเป็นเพราะเรายังขาดความรู้เรื่องโภชนการที่ถูกต้อง จะดีกว่ามั้ย? ถ้ามีเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริโภครู้ทันว่าตัวเองกำลังกินอะไร ด้วยฉลากที่บอกปริมาณสารอาหารอย่าง น้ำตาล ไขมัน เกลือ พลังงาน ด้วยสีสัญญาณไฟจราจรโดยสามารถร่วมลงชื่อสนับสนุนทั้ง 2 กิจกรรมรณรงค์ได้ที่ www.change.org/th หรือลิงค์ที่อยู่ในหน้าเพจเฟซบุ๊ค องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และเพจมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทุกเสียงมีความหมาย มาช่วยกันเปลี่ยนแปลงระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นไปพร้อมกัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 143 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนธันวาคม 2555 ปัญหาของ “ซิมฟรี” ซิมมือถือแจกฟรียังเป็นปัญหากวนใจของผู้บริโภค เมื่อของที่ว่าแจกฟรีแต่แท้จริงกลับไม่ได้ฟรีอย่างที่โฆษณา เพราะพอเวลาผ่านไปกลับมีใบเสร็จมาเรียกเก็บค่าบริการ ทั้งๆ ที่ซิมฟรีที่ได้รับแจกมายังไม่ได้ถูกใช้งาน กลุ่มงานรับเรื่องราวร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้สรุปตัวเลขการร้องเรียนปัญหากรณีแจกซิมฟรี ช่วงปี 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งมียอดร้องเรียนทั้งหมด 179 เรื่อง โดยบริษัทผู้ให้บริการที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือ บริษัท เรียลมูฟ หรือ ทรูมูฟ เอช ที่มีเรื่องร้องเรียนจำนวน 91 เรื่อง รวมเข้ากับบริษัทที่อยู่ในเครือเดียวกันอย่าง บริษัท ทรูมูฟ จำกัด อีกจำนวน 10 เรื่อง ส่วนบริษัทผู้ให้บริการอื่นๆ ที่มีเรื่องร้องเข้ามาก็ได้แก่ บริษัท ไอ-โมบาย พลัส จำนวน 74 เรื่อง, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค จำนวน 3 เรื่อง และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส จำนวน 1 เรื่อง   ปัญหาการรับแจกซิมฟรีแล้วถูกเรียกเก็บเงินในภายหลังนั้น มักเกิดจากการที่ผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลหรือเงื่อนไขกับลูกค้าหรือผู้ได้รับแจกซิมฟรีไม่ชัดเจน ผู้ที่ได้รับแจกซิมหลายคนเข้าใจสามารถนำซิมไปใช้โทรได้ฟรีหรือมีวงเงินให้สามารถโทรได้โดยไม่ต้องเติมเงินหรือจ่ายรายเดือน   ซึ่งพนักงานที่แจกซิมที่สามารถพบเจอได้ตามแหล่งชุมชนหรือตามตลาดที่มีผู้คนพลุกพล่าน มักไม่ยอมแจ้งข้อมูลทั้งหมด ว่าซิมที่แจกเป็นซิมประเภทไหน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นซิมแบบจดทะเบียน เพราะเงื่อนไขในการแจกมักมีการขอบัตรประชาชน มีการลงลายมือชื่อ ทำให้มีบิลเรียกเก็บค่าบริการส่งไปหาถึงบ้านในภายหลัง แม้ว่าซิมที่ได้รับแจกมาจะยังไม่เคยได้เปิดใช้เลยก็ตาม   ใครที่ประสบปัญหานี้ สามารถติดต่อแจ้งได้ด้วยตัวเองกับบริษัทเจ้าของซิม หรือแจ้งมายัง กสทช. เพื่อแสดงเจตจำนงว่าไม่ได้มีความประสงค์จะขอใช้บริการและขอยุติการเรียกเก็บค่าบริการต่างๆ ทั้งหมด และครั้งต่อไปหากถูกเรียกให้ไปรับแจกซิมฟรี อย่ารับเด็ดขาดถ้าไม่คิดจะนำมาใช้งาน หรือหากอยากได้ก็ขอให้สอบถามข้อมูลประเภทการใช้งานให้เรียบร้อย โดยเฉพาะเรื่องการคิดอัตราค่าบริการ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   เชื่อมั่น “บัญชียาหลักแห่งชาติ” ทุกวันนี้ผู้ที่ถือสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ต่างก็ได้ใช้ยาในระบบ “บัญชียาหลักแห่งชาติ” ซึ่งอาจมีบางคนที่ยังไม่มั่นใจว่ายาเหล่านี้จะสู้ยาราคาแพงๆ ที่ใช้ในโรงพยาบาลเอกชนได้หรือเปล่า คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. วอนให้คนไทยเชื่อมั่นใน “บัญชียาหลักแห่งชาติ” เพราะยาทุกรายการที่อยู่ในบัญชีมีความเหมาะสมและทันสมัย มีรายการยาที่จำเป็นสำหรับคนไทย ซึ่งผ่านกระบวนการพิจารณากลั่นกรองคัดเลือกยาโดยคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 200 คน  โดยยึดหลักในเรื่องประสิทธิภาพของยา ความปลอดภัย และมีความคุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและความสามารถในการจ่ายของสังคม ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 บัญชี คือ 1.บัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข 2.บัญชียาจากสมุนไพร และ 3.เภสัชตำรับโรงพยาบาล ปัจจุบันมีรายการยาแผนปัจจุบันอยู่ในบัญชียาหลักประมาณกว่า 800 รายการ บัญชียาจากสมุนไพรประมาณ 71 รายการ ซึ่งความครอบคลุมในการรักษาโรคต่างๆ ของคนไทย สำหรับยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ยามะเร็ง ยาโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ยาโรคระบบทางเดินอาหาร คณะกรรมการฯ ของ อย. จะนำหลักการทางด้านเภสัชศาสตร์กับความสามารถในการจ่ายของรัฐ เพื่อจัดทำข้อเสนอในการต่อรองราคายากับบริษัทผู้ผลิตยา เพื่อให้ยาที่มีความจำเป็นต้องอยู่ในบัญชีหลักแห่งชาติมีราคาที่ถูกลง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและมาตรฐานของยาแต่อย่างใด ใครที่อยากทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบัญชียาหลักแห่งชาติ สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ www.nlem.in.th ------------------------------------------------------------------------------------------------------ หมากฝรั่งไฟช้อต มีของเล่นอันตรายมาทำร้ายเด็กไทยกันอีกแล้ว คราวนี้เป็นของเล่นที่ชื่อว่า “หมากฝรั่งไฟช้อต” หรือมีชื่อทางการค้าว่า “Chewing Gum Shock” ของเล่นที่หน้าตาเหมือนหมากฝรั่งแต่มีไว้แกล้งคนอื่น ซึ่งเด็กนักเรียนมักจะซื้อมาแกล้งเพื่อนให้ตกใจ ด้วยการให้ดึงชิ้นส่วนซองบรรจุหมากฝรั่งที่ยื่นออกมา แล้วจะเกิดไฟฟ้าช้อต ซึ่งทำให้มีเด็กนักเรียนได้รับบาดเจ็บ เกิดอาการชาและช้ำบริเวณที่สัมผัสเจ้าของเล่นอันตรายชิ้นนี้ ศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัยของ สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้สุ่มเก็บตัวอย่างหมากฝรั่งไฟช้อตมาทดสอบความแรงของการช้อต ซึ่งผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการของคณะวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าในการดึงแต่ละครั้งจะมีค่ากระแสไฟฟ้าสูงถึง 736 โวลต์ ซึ่งมากกว่าค่ากระแสไฟฟ้าตามบ้านเรือน และกระแสไฟเป็นแบบต่อเนื่องจึงทำให้เกิดการกระตุ้นของกระแสไฟที่ผ่านในร่างกายเป็นระยะๆ ทำให้เกิดอาการชาบริเวณอวัยวะที่สัมผัสเหมือนถูกไฟฟ้าช้อต ยิ่งถ้าดึงค้างไว้นานๆ กระแสไฟฟ้าจะส่งเข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หากใครเห็นสินค้าชนิดนี้ให้แจ้งไปได้ที่ สคบ .ซึ่งทาง สคบ. เองเตรียมนำเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อห้ามขายสินค้าดังกล่าว ตามมาตรา 36 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 -----------------------------------------------------------------------------------------------------   กองทุนเยียวยาผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตรียมจัดตั้งกองทุนอุดหนุนเงินเยียวยาผู้บริโภค เพื่อชดเชยความเสียหายให้ผู้บริโภคทันที หลังจากที่คณะกรรมการมีมติว่าผู้ประกอบการมีความผิดและผู้บริโภคได้รับความเสียหายจริง จากเดิมที่กว่าผู้บริโภคจะได้รับเงินชดเชยต้องรอให้มีคำตัดสินของศาลออกมาก่อน ซึ่งใช้เวลานาน สำหรับแนวทางการจัดตั้งกองทุน ทาง สคบ. วางไว้ 2 แนวทาง แนวทางแรก สคบ.อาจรับเป็นเจ้าภาพแต่เพียงผู้เดียว โดยใช้งบประมาณจากสำนักงบประมาณ หรืออีกแนวทาง คือ ร่วมมือกับผู้ประกอบการในการจ่ายเงินค้ำประกันเพื่อรับประกันว่าหากเกิดปัญหาก็สามารถตัดเงินก้อนดังกล่าวมาใช้เยียวยาให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งทาง สคบ. จะเร่งให้เกิดกองทุนเยียวยาผู้บริโภคให้ได้เร็วที่สุด เพื่อเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภค ที่มีดูเหมือนจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ------------------------------------------------------------------   10 สุดยอดนวัตกรรมปี 2555 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ได้คัดเลือก “10 สุดยอดนวัตกรรมประจำปี 2555” จากโครงการนวัตกรรมทั้งหมด 849 โครงการที่ สนช. ให้การสนับสนุน โดยคัดเลือกธุรกิจใหม่ๆ ที่มีความโดดเด่นในด้านของเทคโนโลยีกระบวนการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดในรูปแบบใหม่ โดย 10 สุดยอดนวัตกรรมประจำปี 2555 จากการคัดเลือกของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมีดังนี้ 1. “ไบโอเวกกี้” วิตามินรวมจากผักเมืองหนาว บริษัท เชียงใหม่ ไบโอเวกกี้ จำกัด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินรวมจากผักเมืองหนาว 12 ชนิด   2. “ฟีนพลัส” หมึกนำไฟฟ้าผสมแกรฟีนสำหรับผลิตลายไฟฟ้า บริษัท อินโนฟิน จำกัด หนึกนำไฟฟ้าผสมแกรฟินที่จะช่วยทดแทนการใช้หมึกน้ำไฟฟ้าที่ผสมสารตัวอื่น เช่น โลหะเงิน ด้วยประสิทธิภาพการใช้งานที่เท่าเทียมกันแต่มีราคาต้นทุนถูกกว่า   3. “ซินนิไพร์” เครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ บริษัท อิมพีเรียลพอทเทอรี่ จำกัด เครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ แทนการใช้ก๊าซหุงต้ม   4. “เอนเนอเร่” เครื่องดื่มให้พลังงานจากข้าว บริษัท บีเอสซีเอ็มฟูดส์ จำกัด เครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวสารเกรดเอได้ถึง 10 เท่า   5. “โดรน” เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู บริษัท ศูนย์การได้ยินดีเมด จำกัด เครื่องช่วยฟังที่มีการประมวลผลแบบดิจิตอล สามารถตัดเสียงรบกวนภายนอก แยกแยะระดับความถี่ของเสียงที่ได้รับเพื่อเพิ่มความดังที่เหมาะสมกับความผิดปกติของแต่ละบุคคล   6. “ชีวาดี” น้ำหวานดัชนีน้ำตาลต่ำจากดอกมะพร้าวอินทรีย์ บริษัท ชีวาดี โปรดักชันส์ จำกัด ผลิตภัณฑ์ให้ความหวานแต่ดัชนีน้ำตาลต่ำ ทำจากน้ำหวานดอกมะพร้าวหมักที่ยับยั้งการตกผลึกของน้ำตาลมะพร้าวและเชื้อจุลินทรีย์ด้วยมังคุดกับไม้พะยอม   7. “ไอริส” กระเบื้องเคลือบผลึกจากเศษกระจกรีไซเคิล ห้างหุ่นส่วนจำกัด ไอริส อินดัสเทียล กระเบื้องที่มีความสวยงามเฉพาะตัว แถมขั้นตอนการผลิตยังมีการลดการใช้อุณหภูมิในการเผาลงถึง 50 – 100 องศาเซลเซียส   8. “บีที ไฮบริด” สารชีวภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงสำหรับกำจัดหนอนศัตรูพืช บริษัท ภูธนเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกำจัดและลดการระบาดหนอนศัตรูพืชได้มากกว่า 1 ชนิด และเหมาะที่จะนำมาใช้แทนสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมต   9. “ซิลค์ แอคเน่” ผลิตภัณฑ์ลดการอักเสบจากโปรตีน บริษัท เอทิกา จำกัด ผลิตจากรังไหมที่ผ่านกระบวนการสกัดจนได้กาวไหมเธริธินที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มการสร้างคอลลาเจนและยับยั้งการอักเสบ สำหรับแผลอักเสบจากสิวและแมลงกัดต่อย   10. “แดรี่โฮม” บรรจุภัณฑ์โยเกิร์ตอินทรีย์จากพลาสติกชีวภาพ บริษัท แดรี่โฮม จำกัด บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีความแข็งแรงทนทาน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 รู้เท่าทันหมามุ่ย

เมื่อเดือนมิถุนายนมีข่าวโด่งดังเกี่ยวกับหญิงสาวเมืองตรังเสียชีวิตจากการกินสารสกัดหมามุ่ยอินเดีย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของธุรกิจขายตรงบริษัทหนึ่ง  หลังจากกินสารสกัดหมามุ่ย 2 แคปซูลมื้อเช้า และ 2 แคปซูลมื้อเที่ยง  ก็เริ่มมีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง ปากบวม ตาบวม ผื่นขึ้น ผิวหนังลอก เลือดออกที่ลิ้น และเสียชีวิตในที่สุด  หมามุ่ยมีอันตรายถึงเสียชีวิตหรือไม่ มีประโยชน์หรือไม่ เรามารู้เท่าทันหมามุ่ยกันเถอะรู้จักหมามุ่ยหมามุ่ยเป็นพืชตระกูลถั่ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna pruriens (L.) DC. เป็นพืชเถา มีขนคัน เติบโตได้ดีในเขตร้อน ตั้งแต่ อินเดีย หมู่เกาะบาฮามาส และอาจไปถึงฟลอริด้าทางใต้  มีการใช้หมามุ่ยตั้งแต่สมัยโบราณ การแพทย์อายุรเวท ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน  และใช้กันมาถึง  รักษาอาการวิตกกังวล ข้ออักเสบ พยาธิ ลดอาการปวดและไข้ กระตุ้นให้อาเจียน และใช้รักษางูพิษกัด  การแพทย์ดั้งเดิมแถบหมู่เกาะแคริบเบียนใช้ในการทำให้อารมณ์ดี สมาธิดีขึ้น และมีพลังมากขึ้น  ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันหมามุ่ยมีหลายสายพันธุ์ แต่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกัน  ในประเทศไทยจะเป็นไม้ป่า Mucuna pruriens (L.) DC. Cultivar group Pruriens  มีขนพิษปกคลุมที่ฝัก จึงไม่นิยมนำมาปลูกหมอพื้นบ้านไทยจะใช้เมล็ดหมามุ่ยในการรักษาโรคบุรุษ เชื่อว่าสามารถใช้เป็นยากระตุ้นกำหนัด หมามุ่ยมีสรรพคุณเพราะอะไร     เมล็ดหมามุ่ยมีสาร L-dopa หรือ levodopa ปริมาณสูง  สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคพาร์กินสัน  สาร L-dopa เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท dopamine ซึ่งมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ โดยเฉพาะการควบคุมการเคลื่อนไหว  ดังนั้น ในผู้ป่วยที่มีระดับสาร dopamine ในสมองต่ำ  เมื่อกินหมามุ่ยแล้วจะดีขึ้นผลข้างเคียงจากการกินหรือใช้หมามุ่ยสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ไม่มีปัญหาการแพ้หมามุ่ย  การทบทวนเอกสารวิชาการพบว่า ถ้ากินในปริมาณระหว่าง 100 – 1,000 กรัมต่อวัน  แต่ถ้ากินในปริมาณ 1,000 กรัม มักจะมีอาการใจสั่น ความดันเลือดสูง การย่อยอาหารไม่ดี ปวดศีรษะ  ในกรณีที่กินต่ำกว่า 500 มก. จะไม่มีอาการดังกล่าว  ดังนั้น จึงควรกินในปริมาณที่ต่ำไว้ก่อน เมื่อพบว่าไม่มีผลข้างเคียงจึงค่อยเพิ่มปริมาณมีงานวิจัยมากพอหรือไม่เมื่อทบทวนใน Pubmed พบว่า มีงานวิจัยเกี่ยวกับหมามุ่ยถึง 194 รายงาน  ที่น่าสนใจคือ มีการวิจัยในระดับคลินิกมากพอควร  มีงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของหมามุ่ยในการรักษาโรคต่างๆ ตั้งแต่ โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวาน โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ผลในการกระตุ้นให้อารมณ์ดีขึ้น การรายงานว่าหมามุ่ยทำให้ผมผู้ป่วยพาร์กินสันที่กินหมามุ่ยมีผมดำขึ้น จนกระทั่งการรักษาพิษงู ก็มีงานวิจัยในห้องปฏิบัติการว่ามีผลในการป้องกันพิษงูเห่าได้ดี ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ยืนยันผลที่ดีของหมามุ่ยในการรักษาโรคต่างๆ ตามการแพทย์อายุรเวท และการแพทย์ดั้งเดิมอื่นๆ  งานวิจัยยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความเป็นอันตรายที่เกิดจากการใช้หมามุ่ยในการรักษาโรคต่างๆ สรุป การใช้หมามุ่ยเพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน  การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ  การช่วยให้อารมณ์แจ่มใส สมาธิดีขึ้นนั้น มีงานวิจัยที่มากพอในการยืนยันประสิทธิผลดังกล่าว  แต่ไม่มีรายงานเกี่ยวกับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต  อย่างไรก็ตามหมามุ่ยเป็นพืชตระกูลถั่ว  จึงอาจมีปัญหาการแพ้ในผู้ที่มีประวัติการแพ้ถั่ว จึงควรมีคำเตือนในการใช้ ที่สำคัญ ต้องรีบศึกษาว่าสารสกัดหมามุ่ยของบริษัทขายตรงนั้น มีสารเคมีอะไรบ้าง  มีส่วนผสมอะไรบ้าง เพื่อจะได้รู้สาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 119 เจาะเวลาทะลุฟ้า..ดันเจอยาอนาคต

  กฎหมายยากำหนดให้ยาที่ผลิต ต้องแสดงวันผลิต วันหมดอายุ ให้ตรงตามความเป็นจริง ... แต่อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อดันมียาแห่งอนาคต เจาะเวลาทะลุฟ้าหล่นมายังโลกมนุษย์ได้ ประมาณเดือนสิงหาคม 2553 กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ให้ช่วยตรวจสอบยาน้ำสมุนไพรสามัญประจำบ้านแผนโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังแพร่ระบาดในพื้นที่ (สมมุติว่าชื่อยาต้นกำลังเสือโครกโครก ตรารูปหมอ......ก็ได้) เหตุที่ชาวบ้านเขาสงสัยก็เพราะเมื่อใครรับประทานเข้าไปแล้ว อาการปวดเมื่อยตามข้อ มันหายเป็นปลิดทิ้ง น้องต้นเภสัชกรหนุ่มรูปหล่อไฟแรง(เหมือนผมสมัย 20 ปีที่แล้ว..ฮา) จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เลยออกไปเก็บตัวอย่างและนำส่งไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก   ผลปรากฏว่าเจ้ายาเสือโครกโครก (นามสมมมุติ) ขวดนั้น มันไม่ใช่เสือนะซิ เพราะดันผ่าไปพบ เดกซาเมธาโซน ซึ่งเป็นสารสเตียรอยด์ ชนิดหนึ่ง (ขอย้ำอีกครั้งกันลืมว่า เจ้าสารสเตียรอยด์นั้นแม้จะเป็นสารที่ทำให้หายปวดข้อได้ชะงัด แต่มันก็มีผลทำลายภูมิต้านทาน หากรับประทานนานๆ ตัวจะบวม กระเพาะทะลุ กระดูกจะพรุน โอ๊ย..จาระไนไม่หมดครับ เพราะโทษมหันต์จริงๆ)  ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ ก็เลยทำหนังสือแจ้งทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เป็นสถานที่ผลิต รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และยังได้ทำหนังสือแจ้งให้ทางอำเภอต่างๆ ในจังหวัดอุตรดิตถ์เฝ้าระวังด้วย   แต่เหตุการณ์มันยังไม่จบนะครับ เพราะต่อมาอำเภอตรอนได้แจ้งว่ามีรถเร่ฉายหนังขายยา นำยาดังกล่าวมาขาย(การเร่ขายยาถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายยาครับ) เมื่อไปล่อซื้อยาน้ำแผนโบราณ เพื่อจะส่งตรวจสอบ ปรากฏว่า แม่เจ้า (โว๊ย) ฉลากมันพิสดารข้ามเวลา เพราะเหตุการณ์เกิดประมาณ “เดือนตุลาคม 2553” แต่ฉลากข้างขวดยา ดันระบุ วัน เดือน ปี ที่ผลิต “1 มกราคม 2554” และวันสิ้นอายุ 1 มกราคม 2556 โอโห้แฮะ ผู้ผลิตมันเจาะฟ้าข้ามเวลา มาผลิตยาล่วงหน้าให้โลกอนาคตได้ด้วยเรอะ อย่างนี้มันก็เข้าข่ายยาปลอมนะซิ (เพราะแสดงวัน ที่ ไม่ตรงความเป็นจริง)  นอกจากนี้ ผลการนำกำลังเข้าตรวจสอบ รถบรรทุก 6 ล้อ 2 คัน มียารวมๆ กันแล้วกว่า 150 โหล ซึ่งผู้ขายยืนยันว่าสั่งซื้อมาจากผู้ผลิต ตำรวจจึงลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน แต่ท่าทางผู้ขายจะไม่เดือดร้อนเลยแฮะ เพราะบอกว่าจะติดต่อหมอ.......มาเคลียให้ ...โอ้โห คาหนังคาเขาอย่างงี้จะมาเคลียร์อีกเรอะ  ขณะนี้กำลังรอผลวิเคราะห์จาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ฯ อยู่นะครับ หากยาที่ผลิตจากโลกอนาคต ดันเจอ สเตียรอยด์ อีกละก็ รับรองโดนดำเนินคดีหลายกระทง ชนิดที่ต้นกำลังเสือโครกโครกจะกลายเป็นแมวหงอยเลยนะซิ ยังไงก็ช่วยกันบอกเล่าต่อๆ กันเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 ฉลากอาหารไม่มีเลข อย. 13 หลักถือว่าผิดกฎหมาย

เครื่องหมาย อย. เป็นสิ่งที่การันตีความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง เมื่อซื้ออาหารแปรรูปต่างๆ มารับประทาน แต่เครื่องหมาย อย. อย่างเดียวอาจไม่ถูกต้อง เพราะจำเป็นต้องมี เลขสารบบอาหารหรือเลขประจำตัวผลิตภัณฑ์อาหาร 13 หลักแสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย. ด้วย จึงจะเรียกว่า ถูกต้องคุณสุจิตราซื้อนมปรุงแต่งพาสเจอร์ไรส์ยี่ห้อ อืมม!..มิลค์ (Umm!..Milk) รสกล้วยหอม ราคา 55 บาท จากห้างสรรพสินค้าเซ็นทัลลาดพร้าวกลับมารับประทานที่บ้าน แต่ได้สังเกตว่านมดังกล่าว แม้จะมีเครื่องหมาย อย.แต่ไม่มีเลขสารบบอาหาร เธอจึงสอบถามไปยังหน้าแฟนเพจเฟซบุ๊กของนมยี่ห้อดังกล่าวซึ่งชี้แจงกลับมาว่า “นมปรุงแต่ง 0% แล็กโทส รสกล้วยหอม เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของ อืมม!..มิลล์ ที่อยู่ในขั้นตอนการขอ อย. และสามารถจำหน่ายได้เนื่องจากจำหน่ายในจำนวนจำกัด โดยมีการส่งตรวจคุณภาพกับ อย. เสมอ”อย่างไรก็ตามคุณสุจิตรา ยังข้องใจในคำตอบของบริษัทฯ เธอจึงได้ส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะไม่แน่ใจว่านมดังกล่าวได้รับมาตรฐานและมีความปลอดภัยจริงหรือไม่ แนวทางการแก้ไขปัญหาหลังได้รับเรื่องร้องเรียนศูนย์ฯ จึงไปซื้อนมดังกล่าวจากห้างสรรพสินค้าทั่วไป เพื่อนำมาตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง ซึ่งพบว่ามีเพียงเครื่องหมาย อย. แต่ไม่มีเลขสารบบอาหารจริง จึงทำหนังสือสอบถามและขอให้มีการตรวจสอบไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่ง อย. ตอบกลับมากว่า ได้ขอความร่วมมือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ให้มีการตรวจสอบสถานที่ผลิตพร้อมเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งตรวจเพื่อวิเคราะห์คุณภาพ ซึ่งพบว่ามีคุณภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข แต่การแสดงอาหารดังกล่าวไม่ถูกต้อง ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 367 พ.ศ.2557 เรื่องการแสดงฉลากอาหารในภาชนะบรรจุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาจึงได้ดำเนินการปรับตามประกาศ (ไม่เกิน 30,000 บาท) เรียบร้อยแล้วทั้งนี้สำหรับอาหารใดๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ต้องมีฉลากอาหาร ก็ไม่ควรวางจำหน่ายก่อนได้รับเครื่องหมาย อย. เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังกระทบต่อความน่าเชื่อถือ และส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 รถตู้ 100% ขับเร็วกว่ากฎหมายกำหนดจริงหรือ?

อุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะ  โดยเฉพาะ”รถตู้” ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดีคือ  สะดวกสบาย  ออกตรงเวลา  ไม่แวะกลางทาง ถึงที่หมายในเวลาที่ชัดเจน รถตู้จึงได้รับความนิยมจากผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็ว  ส่งผลให้วินรถตู้เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ตามอย่างเห็นได้ชัดคือ   อุบัติเหตุจากรถตู้โดยสารสาธารณะก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน   สมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก  จึงได้ทำการสุ่มสำรวจความพึงพอใจในการใช้บริการรถตู้ โดยสุ่มสำรวจจากผู้ใช้บริการทั้งหมด 26 วิน วินละ 10 คน  รวมเป็นจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 260 คน พื้นที่สำรวจ 3 จังหวัด คือ  1.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (18 วิน ) 2.จังหวัดกาญจนบุรี (12 วิน)  3. สุพรรณบุรี (6 วิน)  เชื่อไหมว่า เราพบประเด็นที่น่าตกใจ จากคำถาม “ท่านเคยพบรถตู้ที่ท่านนั่งขับเร็วเกินกฎหมายกำหนดหรือไม่” คำตอบคือ  80% ของ 180 คน  (สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี) พบรถตู้ขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด  และ 100%  ของ 180 คน (จังหวัดประจวบฯ)  ซึ่งผลสำรวจนี้ยังสอดคล้องกับข้อมูลสถิติของกรมการขนส่งทางบก   ที่แจ้งว่ารถตู้โดยสาธารณะจังหวัดประจวบฯ เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด โดยพื้นที่ที่มักจะเกิดอุบัติเหตุ คือบริเวณจังหวัดเพชรบุรี      แม้จำนวนผู้ใช้บริการที่สำรวจครั้งนี้จะมีจำนวนไม่มาก  แต่ผลการสำรวจครั้งนี้ ก็น่าจะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจะต้องลุกขึ้นมาทำอะไรที่มากกว่าที่ทำอยู่ขณะนี้  เพราะผล 100% ที่ระบุว่า มีการขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด  บอกได้หลายมิติ  ทั้งความหย่อนยานของผู้มีหน้าที่ตรวจสอบ  และกำกับดูแล  และสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ  รวมถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น   เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และลดจำนวนอุบัติเหตุ   ต้องบอกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องทำหน้าที่รวดเร็วขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก  มิใช่ปล่อยให้ผู้บริโภคต้องเสี่ยงชีวิตทุกครั้งที่ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ  ที่ตามมาด้วยการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 163 “พรบ.ทวงหนี้” กฎหมายที่ลูกหนี้รอคอย

การกู้ยืมเงิน เพื่อการจัดซื้อสิ่งจำเป็นในชีวิต(บางสิ่งก็ไม่จำเป็น) เช่น ซื้อบ้าน เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ ฯลฯ   สมัยนี้เป็นไปได้ง่าย เพราะมีทั้งสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจที่เสนอบริการเงินด่วน อันแสนง่ายดายให้กับผู้บริโภคเป็นจำนวนไม่น้อย ด้วยเงื่อนไขจูงใจ ทั้งจ่ายเงินคืนขั้นต่ำจากวงเงินที่ใช้จ่ายไปแล้ว ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน ฐานเงินเดือนที่ไม่สูงมาก    จ่ายน้อย ผ่อนนาน ฯลฯ ทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดการใช้จ่ายเงินจาก บัตรเครดิต และบัตรสินเชื่อหมุนเวียน กันเป็นจำนวนเงินมหาศาล บางคนก็ได้รับความสะดวกสามารถจ่ายคืนได้ปกติ แต่หลายคนได้เริ่มเข้าสู่สภาวะมีหนี้สินเกินตัวกันไปแล้วปัญหาหนี้สินที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้นั้นมีมากมาย  จนก่อให้เกิดอาชีพใหม่ คือ “การติดตามทวงหนี้”   พฤติกรรมของคนที่รับทวงหนี้มีหลากหลาย  ตั้งแต่  ทวงหนี้ทั้งวัน  โทรมาหาเจ้านายประจานหนี้   ข่มขู่ ว่าไม่ชำระจะต้องเข้าคุกเพราะโกงเจ้าหนี้  อ้างว่าเป็นตำรวจจะมาจับหากไม่ใช้หนี้  ทวงหนี้กับญาติพี่น้อง หรือใช้จดหมายที่เลียนแบบหมายศาลหลอกลูกหนี้  ฯลฯ  กลวิธีมีหลากหลายมากมาย  โดยเฉพาะการด่า หรือพูดจาหยาบคายดูหมิ่นเหยียดหยาม  เสมือนลูกหนี้ เป็น “อาชญากรของสังคม”ปัญหาการร้องเรียนพฤติกรรมของเจ้าหนี้และคนที่ติดตามหนี้มีมากมาย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2550 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกแนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้กับลูกหนี้แก่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงินทุกแห่ง แต่ยังคงเป็นเพียงแนวปฏิบัติที่มิได้มีบทลงโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืน และไม่ครอบคลุมถึงการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ หรือการรับจ้าง หรือรับมอบอำนาจจากนิติบุคคลผู้ให้สินเชื่อดังกล่าว  อีกทั้งข้อร้องเรียนเรื่องพฤติกรรมการทวงหนี้มิได้ลดลงแต่อย่างใดในปีเดียวกันสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. .... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งได้ลงมติรับหลักการเมื่อเดือนธันวาคม 2550 แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสุดสถานะลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้รับการพิจารณา และต่อมาในเดือนกันยายน 2553 กระทรวงการคลังเสนอ ร่าง ร่างพระราชบัญญัติฯ เข้าไปใหม่ และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ  และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตรวจร่างระราชบัญญัติฯ  เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลต่อไป และต่อมามีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 จึงมิได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัตินี้ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. ได้พิจารณาและจะนำเสนอ คสช. ให้ความเห็นชอบและบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติในลำดับแรก  โดยมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ. ฉบับนี้แล้ว  โดยมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “ (ร่าง) พระราชบัญบัติการทวงถามหนี้ พ.ศ”สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. ....1. ขอบเขตการใช้บังคับ- ผู้ให้สินเชื่อ ซึ่งได้แก่ นิติบุคคลที่ให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ นิติบุคคลที่รับซื้อ หรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด และบุคคลอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง- ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ให้สินเชื่อในการทวงหนี้- ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้2. กำหนดให้มีการจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้โดยผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนต่อสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง3. การติดต่อกับบุคคลอื่นที่มิใช่ลูกหนี้ทำได้เพียงสอบถามสถานที่ติดต่อลูกหนี้เท่านั้นโดยกำหนดวิธีปฏิบัติในการติดต่อกับบุคคลอื่น เช่น ผู้ทวงถามหนี้ต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล ชื่อหน่วยงาน ไม่แจ้งความเป็นหนี้ของลูกหนี้ ไม่ใช้ภาษา สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจบนซองจดหมายหรือในหนังสือหรือในสื่ออื่นใดที่ทำให้เข้าใจว่าติดต่อมาเพื่อทวงถามหนี้ ไม่ติดต่อหรือแสดงตนที่ทำให้เข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อของลูกหนี้4. กำหนดหลักเกณฑ์ในการทวงถามหนี้ ดังนี้4.1  วิธีปฏิบัติในการติดต่อกับลูกหนี้ผู้ทวงถามหนี้ต้องติดต่อกับลูกหนี้ตามสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ ติดต่อในเวลา 9.00น. – 20.00น. แจ้งลูกหนี้ทราบถึงชื่อผู้ให้สินเชื่อและจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้ แสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากผู้ให้สินเชื่อต่อลูกหนี้ด้วย และเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้แล้วให้ผู้ทวงถาม ออกหลักฐานการชำระหนี้แก่ลูกหนี้4.2 ข้อห้ามในการทวงถามหนี้ ห้ามทวงถามหนี้กับบุคคลอื่น1) ไม่กระทำการในลักษณะข่มขู่ใช้ความรุนแรง ใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่น เสียดสีลูกหนี้หรือบุคคลอื่น เปิดเผยความเป็นหนี้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ติดต่อลูกหนี้เกี่ยวกับหนี้โดยใช้ไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึกหรือโทรสาร หรือใช้ภาษา สัญลักษณ์ ชื่อทางธุรกิจบนซองจดหมายหรือในหนังสือที่ทำให้เข้าใจว่าติดต่อมาเพื่อทวงถามหนี้ และทวงถามหนี้ในลักษณะอื่นตามคณะกรรมการประกาศกำหนด2) ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการ ทวงถามหนี้โดยแสดงหรือใช้เครื่องหมาย เครื่องแบบหรือข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้ ทำโดยทนายความ สำนักงานกฎหมาย แสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี ถูกอายัดทรัพย์หรือเงินเดือน ติดต่อหรือแสดงให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน ติดต่อหรือแสดงให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต3) ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะไม่เป็นธรรม โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด หรือการเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็ค ทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้5. การกำกับดูแลผู้ทวงถามหนี้5.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน กรรมการโดยตำแหน่ง 8 ท่าน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  นายกสภาทนายความ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการเงินการธนาคาร กฎหมาย และการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างน้อยด้านละ 1 คน และเจ้าหน้าที่ สศค. เป็นฝ่ายเลขานุการกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระคราวละ 3 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกันสศค. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ทวงถามหนี้ ประสานราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลหรือตรวจสอบผู้ให้สินเชื่อ ผู้ทวงถามหนี้หรือบุคคลอื่นใด รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย6. บทกำหนดโทษ6.1 กำหนดแยกระหว่างการใช้มาตรการบังคับทางปกครองสำหรับการกระทำผิด ที่ไม่ร้ายแรงให้แยกเป็นโทษทางปกครอง เช่น ติดต่อโดยไม่แจ้งชื่อ ที่มา ติดต่อนอกเวลา เรียกค่าธรรมเนียมเกินอัตรา และกรณีความผิดร้ายแรงให้แยกเป็นโทษอาญา โดยกำหนดความรับผิดสำหรับผู้ทวงถามหนี้ที่ดำเนินกิจการฝ่าฝืน ปรับทางปกครองไม่เกิน 1 แสน6.2 โทษอาญา1) จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประกอบธุรกิจโดย ไม่จดทะเบียน เปิดเผยความเป็นหนี้กับบุคคลอื่น ใช้วาจาดูหมื่น เสียดสี จูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็ค)2) จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ (ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ทำให้เชื่อว่าเป็นการกระทำของทนายความ)3) จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ (ใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ เครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ)7. บทเฉพาะกาลผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้อยู่ก่อนวันที่ พรบ. นี้มีผลใช้บังคับ ให้ยื่นขอจดทะเบียนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ พรบ. นี้มีผลใช้บังคับลูกหนี้คงต้องตั้งตาคอยกันว่า  กฎหมายฉบับนี้จะคลอดเมื่อไร และจะคลอบคลุมพฤติกรรมของคนทวงหนี้ได้จริงหรือไม่  หวังว่า การพิจารณาร่างกฎหมายคงออกมาให้ลูกหนี้ได้ชื่นใจ สมกับคำที่ว่า   คสช. คืนความสุขให้กับคนไทย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 163 ป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย สำนักงานเขตบางซื่อช่วยเอาออกที !!!

เช้าวันที่ 11 มีนาคม  2557 คุณวิภาวรรณ ได้โทรศัพท์ร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ตนเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านประชาสุข ซอยประชาชื่น 33 ถนนประชาชื่น แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยตนและกลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างป้ายโฆษณาเหล็กขนาดใหญ่ในพื้นที่ใกล้บริเวณหมู่บ้านประชาสุข ซอยประชาชื่น 33 ระหว่างซอยย่อยที่ 8 กับด่านเก็บเงินทางด่วนประชาชื่นขาเข้า กรุงเทพมหานครคุณวิภาวรรณ  ระบุว่า ป้ายโฆษณาเหล็กดังกล่าวนั้น ก่อนที่จะมีการก่อสร้าง ก็ไม่เคยมีเจ้าหน้าที่หรือใครที่เกี่ยวข้องเข้ามาแจ้งคนที่อยู่อาศัยใกล้เคียงเลย ว่าจะมีการก่อสร้างป้ายโฆษณานี้ อยู่ดีๆ ก็มา สร้างๆ เสร็จก็ติดป้ายโฆษณาทันที โดยไม่สนใจเลยว่าคนแถวนี้จะคิดยังไง  ชาวบ้านก็ไม่รู้จะไปติดต่อใครยังไง ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของป้ายนี้ แล้วได้ขออนุญาตก่อสร้างถูกต้องหรือเปล่าก็ไม่รู้หลังจากที่ป้ายสร้างเสร็จและเปิดให้โฆษณาแล้ว  คนในหมู่บ้านได้พยายามติดต่อไปที่สำนักงานเขตในท้องที่แล้ว  แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตอนนี้ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน นี่ก็ใกล้หน้าฝนแล้ว ตอนนี้กังวลว่าเกิดมีลมพายุแรงๆ พัดมา หากป้ายไม่แข็งแรงล้มหล่นลงมาจะรุนแรงแค่ไหน เกิดมีคนเจ็บคนตายใครจะมารับผิดชอบ คุณวิภาวรรณ จึงมาร้องเรียน เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหา หลังการรับเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้สอบถามรายละเอียดของที่ตั้งและลักษณะป้ายโฆษณา ก่อนนัดหมายลงพื้นที่ถ่ายรูป ดูสถานที่จริงของป้ายโฆษณานั้น  เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา ซึ่งพบว่า ป้ายโฆษณาเหล็กขนาดใหญ่ดังกล่าว  เป็นป้ายที่มีความยาวไม่เกิน 32 เมตร (วัดจากพื้นดิน) สูงไม่เกิน 30 เมตร เข้าข่ายเป็นป้ายโฆษณาที่มีลักษณะเป็นอาคาร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 และตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ต้องมีการขออนุญาตก่อนจะได้รับอนุญาตก่อสร้างได้จึงแนะนำให้คุณวิภาวรรณ ทำหนังสือร้องเรียนถึงสำนักงานเขตบางซื่อ พร้อมแนบเอกสารภาพถ่าย โดยขอให้สำเนาหนังสือร้องเรียนถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักฐานด้วย  สำหรับในส่วนของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  ก็ต้องออกหนังสือถึงสำนักงานเขตบางซื่อเช่นกัน  ส่วนที่ต้องออกหนังสือด้วยนั้น ไม่ใช่ไม่เชื่อมั่นในสำนักงานเขตว่าจะไม่แก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคหรือไม่  แต่การออกหนังสือของมูลนิธิฯ เองก็ถือว่าเป็นการส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหากรณีนี้  และเพื่อการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ด้วย ดังนั้นมูลนิธิฯ จึงออกหนังสือถึงสำนักงานเขตบางซื่อ เมื่อวันที่   11 เมษายน  2557  เพื่อขอให้ตรวจสอบการขออนุญาตก่อสร้างป้ายโฆษณานี้เช่นกันเวลาผ่านไปสามเดือน จนเมื่อวันที่  7  กรกฎาคม  2557  สำนักงานเขตบางซื่อ มีหนังสือตอบกลับมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แจ้งผลการตรวจสอบป้ายโฆษณาว่า สำนักงานเขตบางซื่อได้ตรวจสอบป้ายโฆณษาดังกล่าวแล้วปรากฎว่า “ป้ายโฆษณาดังกล่าวเป็นป้ายที่ก่อสร้างโดยมิได้รับใบอนุญาต” และได้ออกคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อเปรียบเทียบปรับและแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของป้ายตามขั้นตอนต่อไปเห็นการทำงานของสำนักงานเขตบางซื่อแบบนี้แล้วต้องขอชื่นชม  ถึงจะใช้เวลานานไปหน่อย  แต่อย่างน้อยการร้องเรียนก็เป็นผล หน่วยงานก็ยังแลเห็นปัญหาของผู้บริโภค ที่เมื่อตรวจสอบพบว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ก็ใช้อำนาจตามกฎหมายมีคำสั่งห้ามใช้อาคาร  ตามมาตรา 40  และมีคำสั่งให้รื้อถอน ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  ซึ่งโทษของการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานของถิ่นในกรณี  มีความผิด โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และวันละสามหมื่นบาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนแต่เดี๋ยวก่อน เจอเข้าไปแบบนี้ ใครๆ ก็คิดว่าเรื่องจะจบ  แต่งานนี้ยังไม่จบง่ายๆ  หลังจากสำนักงานเขตมีคำสั่งห้ามใช้ป้ายโฆษณาดังกล่าวแล้ว เนื่องจากเป็นป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมาย  เจ้าของป้ายก็ยังไม่ยุติการใช่ป้ายโฆษณาดังกล่าว  กลับยังใช้ป้ายเพื่อการโฆษณาหารายได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเปิดทางให้ผู้ประกอบการบริษัทโทรศัพท์มือถือยี่ห้อหนึ่งเข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือบนป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมาย และยังพบว่ามีป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมายตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกันอีกด้วยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงมีหนังสือถึงสำนักงานเขตบางซื่ออีกครั้ง เพื่อขอให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้อย่างเร่งด่วนทันที  เพราะเล็งเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการเอกชนหรือเจ้าของป้ายผู้ให้เช่าสถานที่  ไม่ได้มีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย กลับยังยิ่งฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานของรัฐอย่างต่อเนื่อง  สมควรที่หน่วยงานของรัฐจะต้องบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ฝ่าฝืนอย่างเด็ดขาด  ซึ่งต่อจากนี้มูลนิธิฯและชาวบ้านผู้ร้องเรียนมีหน้าที่จะต้องร่วมกันจับตา ตรวจสอบการดำเนินการของสำนักงานเขตบางซื่อในครั้งนี้  ซึ่งหากมีความคืบหน้าในกรณีนี้ ผู้เขียนจะมาแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบอีกครั้งอย่างแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 คนใกล้ชิดรับเหมาซ่อมบ้าน รับเงินแล้วงานอืด

โศรส เป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยคราวน้ำท่วมใหญ่ฤทธิ์ของน้ำที่เข้ามาท่วม เอ่อและขัง ทำให้บ้านได้รับความเสียหายทั้งในบ้านและนอกบ้านอย่างที่ทราบกันดี ช่วงหลังน้ำท่วม ผู้รับเหมาซ่อมบ้านงานเข้าเป็นกอบเป็นกำและมีข่าวทิ้งงานก็เยอะ  ซ้ำหาตัวยากแสนยากโศรสพยายามมองหาผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้ จนมีรุ่นน้องที่ทำงานแนะนำให้รู้จักกับน้องชายและทีมงานที่ทำงานรับเหมาทำบ้านซ่อมบ้านสร้างบ้านอยู่โศรสและสามีตกลงทำสัญญาว่าจ้างให้ซ่อมบ้านทั้งในบ้านและนอกบ้าน แม้จะต้องจ่ายเงินค่ามัดจำค่อนข้างเยอะ แต่ด้วยความไว้วางใจเห็นเป็นน้องของคนรู้จักที่ทำงานจึงไม่ได้ต่อรองอะไรเธอเล่าว่าตอนแรกๆ ทีมรับเหมาก็มาทำงานทุกวันจนครบตามสัญญาที่ต้องจ่ายเงินมัดจำ 2 งวด  เป็นจำนวนทั้งหมด 96,000 บาท หรือราว 80% ของยอดทั้งหมด แต่งานที่ทำยังไม่ถึง 50% ของที่ตกลงไว้ในสัญญา โดยแต่ละครั้งที่มาทำจะมากันแค่ 2 คน คือน้องชายของน้องที่ทำงานที่เป็นคนแนะนำกับคนงานอีก 1 คนเมื่อตรวจเช็คงานที่ทำ มีหลายครั้งที่ไม่ตรงตามที่ตกลง เช่น ของเงินเพิ่ม 10,000 บาท เพื่อจะจ้างรถใหญ่มางัดพื้นขุดหลุม แต่ก็ไม่ได้มา อ้างว่ายามหมู่บ้านไม่ให้เข้า พอไปเช็คสอบถามยาม ยามบอกว่าไม่เคยเห็นมีรถใหญ่ขอเข้ามาเลยนอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการเลือกวัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เสาเข็มความยาวไม่ถึง 6 เมตร ช่างรับเหมาอ้างว่า หาซื้อแถวนี้ไม่ได้ร้านไม่มาส่ง  โศรสเธอก็เที่ยวไปตามถามร้านอุปกรณ์ก่อสร้างแถวบ้านพบว่ามีหลายร้านที่ขายและมาส่งด้วย จากนั้นก็เริ่มไม่มาทำงาน โดยมีเหตุผลต่างๆ นานา เช่น ไม่สบายต้องเข้าโรงพยาบาล หรือรถเสียต้องเอาไปซ่อม หลายครั้งที่มีการโทรตามก็ติดต่อไม่ได้ ไม่ยอมรับโทรศัพท์ หรือบางครั้งโทรติดต่อได้ก็รับปากว่าจะมาแต่ก็ไม่ได้มาตามนัด“แฟนที่อุตส่าห์ลางานเพื่อมาเฝ้าดู ต้องเสียวันลาและเวลาไปฟรีๆ ดิฉันและแฟนโกรธมาก”ท้ายสุดต้องไปคุยกับรุ่นน้องที่บริษัทถึงปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น กลัวจะมีการเบี้ยวงาน โกงเงินดิฉันไป รุ่นน้องที่บริษัทจึงช่วยประสานงานให้น้องเขากลับมาทำงานหลังจากหายไม่มาทำงานไปเดือนเศษ แต่พอมาทำได้แค่อาทิตย์เดียว น้องที่รับเหมาเริ่มตุกติก บอกว่าจจะทำให้แต่ส่วนนอกบ้านคือรั้วกับปูกระเบื้องนอกบ้าน แต่งานในบ้านเป็นส่วนของแถมไม่รวมให้“ดิฉันได้ฟังแล้วคิดว่า สงสัยจะถูกโกงแล้ว จึงไม่ยอม และบอกให้ช่างรับเหมาทำตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้แต่แรก แต่ทางผู้รับเหมาบอกว่า ไม่ได้กันเงินมาจ่ายค่าจ้างคนงาน ที่มีแค่หนึ่งคน ถ้าจะให้ทำข้างในบ้านต้องขอเวลารอเงินค่างวดที่จะได้จากอีกงานหนึ่งก่อน”“ดิฉันควรจะทำอย่างไรดีที่จะให้ผู้รับเหมา รับผิดชอบทำงานให้ครบตามที่สัญญาไว้” แนวทางแก้ไขปัญหางานที่ยังเหลือ คือการปูพื้นกระเบื้องในบ้าน ใส่บัว ลอกวอลเปเปอร์และทาสีชั้นล่างทั้งในบ้านและนอกบ้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนะนำให้ผู้ร้องเรียนรีบทำหนังสือเรียกร้องให้ผู้รับเหมารีบมาดำเนินการงานส่วนที่คั่งค้างโดยเร็ว หากไม่ดำเนินการตามคำเรียกร้อง ผู้ร้องเรียนสามารถบอกเลิกสัญญาและจัดหาผู้รับเหมารายใหม่มาทำงานต่อได้ และหากมีภาระค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายเกิดขึ้นเพิ่มเติม ให้ย้อนกลับไปเรียกร้องเอากับผู้รับเหมารายแรกทันทีที่ผ่านมา โศรสได้แต่ใช้การทวงถามทางโทรศัพท์ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้หากต้องมีการฟ้องร้องกันเพราะไม่มีหลักฐานการติดตามเรื่องที่เป็นลายลักษณ์อักษรเลย แม้จะเป็นคนรู้จักมักจี่แค่ไหนก็ควรทำ เธอจึงทำจดหมายขึ้นมาเพื่อเรียกให้ผู้รับเหมามาดำเนินการซ่อมบ้านให้ครบตามสัญญา ซึ่งเหลือไม่มากแล้วไม่นาน หลังได้รับจดหมาย ผู้รับเหมาได้ทยอยเข้าซ่อมแซมงานที่คั่งค้างอยู่จนลุล่วง แม้จะล่าช้าไปบ้าง แต่เมื่อได้กลับเข้าอยู่อาศัยในบ้านแล้ว ผู้ร้องเรียนก็คลายใจ ไม่ติดใจเอาเรื่องเอาความอีกแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 เครื่องหมายสัญลักษณ์ แห่งความอร่อย ใช้ได้จริงหรือ...

 พูดถึงความอร่อย...ท่านผู้อ่านคงรู้แล้วสินะว่า ผู้เขียนต้องเขียนเรื่องเกี่ยวกับอาหารแน่นอน ใช่ !คุณทายถูก วันนี้เราจะคุยกันเรื่องอาหารอร่อย(หรือเปล่า?)ว่าไปประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่โชคดี   เพราะเรามีภูมิประเทศที่ดี มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นประเทศที่เป็นแหล่งผลิตอาหาร เราจึงรอดพ้นปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างที่หลายประเทศกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน    นอกจากไม่ขาดแคลนแล้วเรียกได้ว่ามีกินอย่างเหลือเฟืออีกต่างหาก  การที่มีมากเช่นนี้ทำให้เกิดการแข่งขันสูงมากเช่นกัน  ดังนั้นยุทธศาสตร์การโฆษณาสินค้า(อาหาร)ทั้งกลวิธี ยุทธวิธีที่ทันสมัยจึงถูกนำมาใช้สื่อสารกับประชาชนแบบท่วมท้นทะลักทลาย ทั้งนี้ก็เพื่อแข่งขันกันหาลูกค้าเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจและผลกำไรวันก่อนมีคุณพี่คนหนึ่ง เป็นผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูป(ปลาหยอง) อันเป็นกลุ่มอาชีพในจังหวัดสมุทรสงคราม ได้มาคุยให้ฟังว่า   มีคนโทรมาติดต่อและแนะนำตัวว่าเป็นเจ้าของสัญลักษณ์สินค้าอร่อย.. ชื่อ “ช้อนทองชวนทาน” แล้วบอกว่าได้ซื้อสินค้าปลาหยองจากร้านค้าร้านหนึ่งในกรุงเทพฯ ไปรับประทาน แล้วบอกว่าอร่อยมาก  ต่อจากนั้นก็ได้บอกต่ออีกว่า “ช้อนทองชวนทาน” ของเธอนั้นได้จดทะเบียนไว้กับพาณิชย์(เขาหมายถึงกระทรวงพาณิชย์) มาสิบหกปีแล้ว   ถ้าใครเอาสัญลักษณ์ของเธอไปติดสินค้า สินค้านั้นจะขายดีขึ้น  หากตกลงเธอจะรีบส่งตราสัญลักษณ์มาให้แต่มีข้อแม้ว่าผู้ผลิตต้องจ่ายเงินค่าตราสัญลักษณ์นั้นให้เจ้าของตราสินค้าก่อน    คุณพี่ผู้ผลิตของเราเขาไหวพริบดีเลยตอบกลับไปว่า เอ๊ะ! ก็คุณบอกเองว่าปลาหยองของเราอร่อยอยู่แล้ว   และเราก็ได้ อย. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้ว ทำไมต้องเสียเงินเพื่อซื้อสัญลักษณ์ของคุณ   เจ้าของสัญลักษณ์ก็เลยวางสายไป ที่นำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังเพื่ออยากจะสื่อสารกับผู้บริโภคว่า ไอ้เจ้าตราสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีทั้งแม่นั่นชิม แม่นี่รำต่างๆ มันน่าเชื่อถือแค่ไหน? หากมีการนำตราสัญลักษณ์เหล่านี้มาซื้อ-ขายในเชิงธุรกิจ โดยไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพ   เช่นรายที่เล่าให้ฟังนี้บอกขายสัญลักษณ์กันตรงๆ เลย โดยไม่ต้องลงไปตรวจแหล่งผลิต ไม่ต้องดูกรรมวิธีการผลิตใดๆ ชิมแล้วอร่อยบอกขายตราสัญลักษณ์กันเลยอย่างนี้   ถ้าเจ้าช้อนทองชวนทานนี้ มีกระทรวงพาณิชย์รับรองจริงอย่างที่กล่าวอ้าง ก็วานกระทรวงพาณิชย์ช่วยดูแลหน่อยเถอะ ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องเหนื่อยใจ ผู้บริโภคอย่างเราๆ มันยิ่งหาที่พึ่งยากเสียด้วย  โน่น...คงต้องรอองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่กำลังถูกแช่อยู่ในชั้นวุฒิสภา(เมื่อประกาศยุบสภาการพิจารณากฎหมายต้องหยุดจนกว่าจะมีสภาใหม่) ก็ได้แต่หวังไว้เพียงว่ารัฐบาลใหม่เข้ามาคงจะยืนยันกฎหมายฉบับนี้ให้สามารถเดินหน้าต่อไปและมีผลบังคับใช้โดยเร็วรอลุ้นกันนะว่าใคร พรรคใดจะมาสานต่อเรื่องนี้ที่เรารอมา 14 ปี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 เขียนจดหมายสองฉบับ ช่วยสร้างบ้านให้เสร็จได้

“เหนือกว่า...ด้วยประสบการณ์”สโลแกนรับจ้างสร้างบ้านของซีคอนโฮมที่ดำเนินการโดยบริษัท ซีคอน จำกัด น่าจะสร้างความประทับใจให้กับคนอยากมีบ้านหลังงามบนที่ดินของตัวเองหลายคน และสองแม่ลูกอย่างคุณชไมพรและคุณแม่เพียงพร ก็น่าจะรวมอยู่ในคนจำนวนนั้นด้วย ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2551 คุณชไมพรพร้อมคุณแม่ได้ไปทำสัญญารับเหมาก่อสร้างบ้านกับบริษัท ซีคอน จำกัด ให้สร้างบ้านหนึ่งหลังบนที่ดินของตัวเองเนื้อที่ 52 ตารางวาเศษ โดยซีคอนตกลงจะก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน คิดค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรง รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เบ็ดเสร็จแล้วอยู่ที่ 5.1 ล้านบาทเศษๆสองแม่ลูกต้องวางเงินในวันทำสัญญาจำนวน 7 แสนบาทเศษ ส่วนที่เหลืออีก 4.3 ล้านบาท สัญญากันว่าจะแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ อีก 6 งวดตามความก้าวหน้าของเนื้องานก่อสร้าง และหากบริษัทฯ ทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดโดยที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ว่าจ้าง หรือเหตุสุดวิสัย บริษัทฯ ยินยอมให้ปรับได้วันละ 1 พันบาทเศษต่อมาผู้รับเหมาก่อสร้างของบริษัทฯ ได้ทำการสร้างบ้าน และมีการชำระเงินตามงวดสัญญาเรื่อยมา แม้บางช่วงจะเจอปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน แต่บริษัทซีคอนก็ได้จัดหาผู้รับเหมารายใหม่มาดำเนินการแก้ไขและสร้างบ้านต่อไปได้ ต่อมาคุณชไมพรเริ่มพบปัญหาการก่อสร้างเกิดขึ้นในหลายๆ จุด ทั้งงานโครงสร้าง งานผนัง งานสี งานไม้ ที่มีรอยแยก รอยแตก รอยปูด รอยบวม เห็นแล้วให้กลุ้มใจ จึงต้องแจ้งให้บริษัททราบและให้ผู้รับเหมาแก้ไข ในขณะที่ผู้รับเหมาทำบ้านไปซ่อมไปนั้น บริษัทฯ ก็ร้องขอให้คุณแม่ของคุณชไมพรชำระค่างวดตามสัญญาเรื่อยมาจนถึงงวดที่ 6 งวดสุดท้าย คุณแม่ของคุณชไมพรก็เห็นใจผู้รับเหมาที่ต้องได้เงินไปจ่ายลูกน้อง จึงชำระเงินงวดที่ 6 แล้วเซ็นชื่อรับงานให้ไป โดยยังมีเงินค่างวดค้างอยู่อีก 26,900 บาท กะว่าจะจ่ายเมื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่แจ้งไปก่อนหน้านั้นให้เรียบร้อย ซึ่งต่อมาได้มีหนังสือมาจากบริษัทฯ แจ้งว่าแม้พ้นระยะเวลาการมอบบ้านไปแล้ว บริษัทฯ ยังยินดีที่จะแก้ไขงานให้เป็นกรณีพิเศษ แต่ปรากฏว่าแทนที่จะมีการแก้ไขงานให้เรียบร้อยกลับถูกบริษัทฯ ยื่นจดหมายทวงเงินที่ค้าง หากไม่จ่ายจะส่งเรื่องให้กฎหมายดำเนินการต่อไปพอคุณชไมพรได้รับจดหมายดังกล่าวก็ตกใจ รีบเดินทางมาปรึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทันที แนวทางแก้ไขปัญหาการว่าจ้างก่อสร้างบ้าน มักจะทำสัญญาแบ่งจ่ายเงินกันเป็นงวดๆ โดยใช้ความคืบหน้าของงานเป็นตัววัดผลว่าจะต้องจ่ายงวดต่อไปหรือไม่ ดังนั้นผู้ว่าจ้างจึงต้องติดตามความคืบหน้าของงานตามงวดสัญญาอย่างละเอียด หากพบว่างานส่วนไหนไม่เรียบร้อยจะต้องแจ้งรายละเอียดของปัญหาให้ผู้รับเหมาทราบและแก้ไขทันที โดยทำเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น เอกสารนี้จะใช้เป็นหลักฐานคุ้มครองผู้ว่าจ้างในกรณีที่ไม่ชำระเงินค่างวด และทำให้ผู้รับเหมาต้องดำเนินการก่อสร้างให้เรียบร้อยตามสัญญาเพื่อจะได้รับเงินค่างวดตามสัญญาต่อไปแม้คุณแม่คุณชไมพรจะเซ็นรับงานและชำระเงินงวดสุดท้ายไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่เมื่องานยังไม่เรียบร้อยและยังมีหนังสือจากบริษัทฯ รับรองว่าจะแก้ไขงานให้เป็นกรณีพิเศษ เราจึงแนะนำให้คุณชไมพรทำหนังสือทักท้วงแจ้งไปที่บริษัทฯ เพื่อขอให้มาแก้ไขงานให้เรียบร้อยก่อนที่จะชำระเงินที่เหลือกันหลังได้รับคำแนะนำคุณชไมพรจึงได้ทำหนังสือทักท้วงทวงถามงานแก้ไขส่งไปที่บริษัทฯ ทันที ไม่นานเราก็ได้รับข่าวดีแจ้งจากคุณชไมพรว่า “วันนี้ผู้คุมงานมาพร้อมช่างเพื่อเก็บงานต่อค่ะ และบอกว่าจะมาอีกในวันอังคารหน้า คำแนะนำและร่างจดหมายฉบับนี้และฉบับก่อนหน้า ช่วยปกป้องสิทธิผู้บริโภคได้มากเลยค่ะ ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ”ถามว่า ถ้าไม่มีการส่งจดหมายทักท้วงเอาแต่โวยวายกันทางโทรศัพท์ ใส่ด้วยอารมณ์ล้วนๆ ก็จะเข้าทางผู้รับเหมาทันทีว่า บ้านนั้นสร้างเสร็จเรียบร้อยได้มาตรฐานดีแล้วเพราะคุณชไมพรและคุณแม่ไม่ได้เขียนตอบจดหมายทักท้วงกลับมา กลายเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ที่ค้างอยู่ อย่างนี้บ้านก็ไม่ได้ซ่อม ตัวเองก็ถูกฟ้อง และเงินก็ต้องจ่ายเต็มๆในท้ายที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 โกรธมาก อย่างนี้ต้องฟ้อง

เรื่องนี้เป็นเสียงจากลูกหนี้คนหนึ่งที่ร้องเรียนมาที่ศูนย์ฯ ครับ“เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2554 ได้มีโทรศัพท์เบอร์ 084-088XXXX โทรมาติดตามให้ชำระหนี้ผมเป็นหนี้ควิกแคชอยู่ 25,000 บาท ไอ้คนที่โทรมาคุยด้วยน้ำเสียงเหมือนเหนือกฎหมายมากว่าให้ชำระเงินให้เขา โดยเขาเนี่ยสามารถจะลดยอดให้เหลือเท่าไหร่ก็ได้ แต่สิ้นเดือนให้โอนมาก่อน 500 บาท โดยวาจาที่พูดมามีน้ำเสียงอวดดีมาก “พูดเหมือนเราฆ่าพ่อเขาตายแล้วโดนตำรวจจับได้อย่างงั้นแหละ”ผมเลยบอกไปว่า มึ..(เซ็นเซอร์)...ฟ้องเลย แล้วผมก็ติดต่อบริษัทฯ โดยผมจะขอผ่อนชำระทุกเดือนจนหมดหนี้โดยจะส่งเดือนละ 1,500 บาท เจ้าหน้าที่ก็ตกลงผมไม่เข้าใจว่าสำนักงานกฎหมายพวกนี้เรียนจบมาจากไหนกัน ใครสั่งสอน มีจรรยาบรรณกันบ้างมั้ย ทนายเขามีไว้ช่วยคนหรือหา..แ..(เซ็นเซอร์)...บนหลังคนกัน ผมก็มีการศึกษามีจรรยาบรรณ บ้านเมืองคงจะเจริญล่ะ ถ้ามีพวกนี้มากมายเรียนมาเพื่อกดคนที่เขาไม่รู้กฎหมาย แล้วบริษัทที่ส่งจดหมายทวงถามให้ผมคือ สำนักงานกฎหมาย...(เซ็นเซอร์) เจ้าของช่วยไปอบรมพนักงานบริษัทคุณมั่งนะ ผมเห็นเขาโพสด่ากันหลายคน ถ้ายิ่งใหญ่กันนักก็มาจัดการผมเลย ผมโกรธจริงๆ โกรธมากๆ” แนวทางแก้ไขปัญหา ใส่กันสุดตีนครับ แต่ว่า อย่าเอาแต่โกรธอย่างเดียวครับ หากลูกหนี้รายไหนเจอพฤติกรรมการทวงหนี้ประเภทข่มขู่กดดัน เสียดสีถากถาง ใช้กิริยาวาจาที่ไม่สุภาพควรจัดการทันทีด้วยวิธีการส่งจดหมายร้องเรียนไปถึงบริษัทเจ้าหนี้ สำเนาถึงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค บริษัทเจ้าหนี้ที่ฉลาดเจอจดหมายร้องเรียนแล้วมักจะเลือกเปลี่ยนใช้บริการคนทวงหนี้ล่ะครับ ไม่งั้นเสียชื่อบริษัทเอาได้ง่ายๆ การใช้มุขหยอดให้โอน 500 บาทนี่ เป็นมุขหากินโบราณนานนมมาแล้ว คนทวงหนี้ที่มีการพัฒนาจะเลิกทำแล้ว เพราะจะถูกคนเป็นหนี้จับผิดแล้วแซวได้ว่า ไม่มีอำนาจจริงในการลดยอดหนี้หากินแต่ค่าคอมฯ 5 บาท 10 บาท แล้วจะพอกินเหรออะไรทำนองนี้ล่ะ ดังนั้น ถ้าต้องการจัดการพวกทวงหนี้ไดโนเสาร์เต่าล้านปีพวกนี้ให้สิ้นซากรบกวนทำจดหมายร้องเรียนทันทีครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 114 เรื่องของหมากับสัญญาหมา หมา

เห็นชื่อเรื่องแล้วอย่าคิดว่าเป็นเรื่องหยาบคายกันนะ เรื่องนี้เป็นเรื่องสัญญาซื้อขายหมาสายพันธุ์ที่คนรักหมาต้องอ่านจุดเริ่มต้นของเรื่องมาจากความสงสารหมา   เพื่อนรักของคุณอธิป เป็นคนขายหมา ได้เอาหมาแม่ลูกอ่อนพร้อมลูกหมาไปประกาศขายในเน็ต มีคนซื้อตัวลูกไปแต่ไม่มีคนซื้อตัวแม่ เพราะความสงสารหมาพอรู้เรื่องคุณอธิปเลยอาสารับเลี้ยงแม่หมาให้  ต่อมาอีกสามสี่เดือนเพื่อนรักก็เอาตัวผู้มาให้เลี้ยงอีกตัวและบอกกับคุณอธิปว่าจะยกตัวเมียให้เดี๋ยวเซ็นต์โอนให้เลย แต่คุณอธิปเห็นว่าเป็นเพื่อนสนิทกันไม่ต้องมานั่งเซ็นต์อะไรกันก็ได้จากนั้นได้เฝ้าคอยประคบประหงมป้อนข้าวป้อนน้ำป้อนยาให้หมาทั้งสองตัวจนเวลาล่วงไปเป็นปี เงินทุกบาททุกสตางค์เจ้าของตัวจริงไม่เคยมาจ่าย มีแต่โทรมาบอกว่าให้พาหมาไปเที่ยวที่บ้านบ้าง พอพาหมาตัวเมียไปเที่ยว เจอพี่เขยของเพื่อน หมาคงไม่ชอบหน้าเป็นทุนเดิมถูกหมาเห่าใส่ พี่เขยเลยตบหมาซะปากแตก “วันนั้นพาหมากลับบ้านเลยครับ หลังจากนั้นก็ไม่พาไปอีกเลยเค้าก็ไม่สนใจ” คุณอธิปบอกวันเวลาผ่านไปหมาทั้งสองตัวเกิดอารมณ์เสน่หากันตามธรรมชาติ คุณอธิปไม่คิดขัดขวางเพราะเห็นว่ารักกัน ปล่อยให้มันได้สมรสสมรักจนหมาตัวเมียสมหวังตั้งท้องในเวลาต่อมา พอรู้ว่าหมาตัวเมียตั้งท้องอีกครั้ง เพื่อนสุดที่รักนักขายหมาก็แวะมาหาบอกว่าถ้าหมาคลอดลูกจะแบ่งกันคนละตัว เมื่อครบกำหนดปรากฏว่าแม่หมาคลอดลูกได้สองตัวพอดี แต่แทนที่เพื่อนเลิฟจะรับไปเลี้ยงตามที่ได้ตกลงกัน เพื่อนเลิฟกลับเงียบหาย คุณอธิปจำได้ว่า ลูกหมาอายุได้หนึ่งเดือนเพื่อนเลิฟแวะมาเยี่ยมหนึ่งครั้งซื้อยาสีฟันหมามาให้แค่หลอดเดียวสองเดือนต่อมาคุณอธิปพาลูกหมาไปให้เพื่อนรักดูถึงบ้าน กะว่าเพื่อนคงจะรับเลี้ยงแน่คราวนี้ แต่พอเพื่อนเห็นลูกหมาก็ไม่ได้ว่าอะไร พูดคุยกันเล่นสักพักคุณอธิปจึงอุ้มลูกหมากลับเพราะเห็นว่าลูกหมาห่างนมแม่มาทั้งวัน วันรุ่งขึ้นเพื่อนรักโทรศัพท์มาหา แทนที่จะบอกว่าจะรับเลี้ยงแล้วจ้า กลับบอกให้คุณอธิปถ่ายรูปหมาส่งไปให้หน่อย จะเอาไปฝากขายที่สวนลุมไนท์คุณอธิปบอกเพื่อนว่ารอให้ลูกหมาโตหน่อยไม่ได้เหรอ สงสารมันเห็นมันอยู่กันพร้อมพ่อแม่ลูกทำไมต้องพรากลูกเขาไปด้วย สุดท้ายก็อ้อนวอนขอซื้อตัวที่จะขายซะเอง เพื่อนรักบอกว่า ถ้าจะซื้อก็ต้องซื้อลูกทั้งสองตัวราคา 70,000 บาท และตัวแม่อีก 30,000 บาท รวมเป็นหนึ่งแสน ไม่งั้นจะยึดหมาคืนไปทั้งหมดคุณอธิปกลัวเพื่อนจะพรากหมาไป สงสารและอยากได้หมาตัวแม่และตัวลูกๆ มาก เลยขอต่อรองราคาอีกครั้ง สุดท้ายจบด้วยความปราณีของเพื่อนสุดเลิฟที่ 60,000 บาท และจับคุณอธิปเซ็นต์สัญญาซื้อขายหมาโดยไม่ได้ให้อ่านรายละเอียดและคิดว่าเป็นสัญญาซื้อขายหมากันธรรมดาๆ จนต้องเจ็บกระดองใจ   เมื่อเห็นเนื้อหาในสัญญาของเพื่อนรัก คุณอธิปก็ได้แต่บ่นว่า   คนซื้อไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากสัญญา นอกจากความดีใจที่ได้รับหมากลับมา สาระสำคัญของสัญญาซื้อขายหมาที่เป็นประเด็นปัญหาหน้าตาเป็นอย่างนี้ครับ1. ผู้ซื้อสัญญาว่า จะให้สุนัขเพศเมียได้ตั้งท้องโดยสุนัขที่คลอดมานั้น จะต้องมีชีวิตและมีสภาพสมบูรณ์ครบทุกประการแล้วส่งมอบสุนัขให้แก่ผู้ขายทั้งหมดทุกตัวภายใต้สภาพสมบูรณ์เท่านั้น จำนวน 1 ครอกโดยผู้ซื้อสัญญาว่าจะไม่เก็บเงินค่าลูกสุนัขและค่าใช้จ่ายใดๆ กับผู้ขายทั้งสิ้น2. ผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของสุนัขทั้งสามตัวให้แก่ผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะทำตามข้อ 13. ผู้ขายรับรองว่าสุนัขทั้งสามตัวที่ทำการส่งมอบมีความปกติสมบูรณ์ทุกประการโดยที่ผู้ซื้อรับทราบ โดยผู้ขายส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อไว้ในความดูแลได้ แต่ยังไม่โอนกรรมสิทธิจนกว่าจะสิ้นสัญญาในข้อหนึ่ง4. หากสุนัขตัวใดตัวหนึ่งเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตในระหว่างความดูแลของผู้ซื้อซึ่งยังไม่โอนกรรมสิทธิผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายรวมถึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ขายพร้อมทั้งผู้ขายไม่ต้องคืนเงินและหากตรวจสอบว่าผู้ซื้อได้บอกกล่าวเป็นเท็จไม่ว่าด้วยเหตุใดผู้ขายมีสิทธิเอาผิดจากผู้ซื้อได้ทุกประการโดยจะริบเงินดังกล่าวรวมถึงผู้ซื้อต้องส่งคืนสุนัขทั้งหมดแก่ผู้ขาย5. หากผู้ซื้อผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดแล้ว ผู้ขายสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันทีและริบเอาเงินที่ผู้ซื้อได้ชำระมาแล้วเป็นของผู้ขายทั้งสิ้น และผู้ซื้อต้องส่งคืนสุนัขทั้งหมดแก่ผู้ขาย รวมถึงไม่ตัดสิทธิผู้ขายที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายใดๆ อันเกิดจากการผิดสัญญานั้นด้วย6. สืบเนื่องจากข้อ 5  และให้ถือว่าการโอนกรรมสิทธิการเป็นเจ้าของสุนัขมาเป็นผู้ซื้อถือเป็นโมฆะคุณอธิปสอบถามว่า สัญญาออกมาแบบนี้ ทางผู้ขายยังจะมีสิทธิที่จะทำตามที่เขียนหรือไม่ และผู้ซื้อสามารถอ้างสิทธิในตัวสัตว์ แล้วแจ้งสมาคมพัฒนาสายพันธุ์สุนัขเพื่อเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของได้หรือไม่แนวทางแก้ไขปัญหา ประเด็นที่คนอยากซื้อหมาควรทราบ1. การซื้อขายสัตว์เลี้ยงที่มีราคาต่ำกว่า 2 หมื่นบาทไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือก็ได้ หากฝ่ายไหนผิดสัญญาซื้อขายปากเปล่ากันก็สามารถนำเรื่องฟ้องต่อศาลได้ แต่หากมีราคาซื้อขายตั้งแต่ 2 หมื่นบาทขึ้นไป จะฟ้องร้องต่อศาลกันได้ต้องมีหลักฐานการซื้อขายที่ลงลายมือชื่อผู้ซื้อ ผู้ขายกันด้ว2. การซื้อขายสัตว์เลี้ยงอย่างหมา แมว หมู กระต่ายนั้น กรรมสิทธิในสัตว์เลี้ยงได้ถูกโอนตกเป็นของผู้ซื้อแล้วตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกัน โดยที่ไม่ต้องไปทำเรื่องจดโอนกับเจ้าพนักงานเหมือนสัตว์พาหนะพวกช้าง ม้า วัว ควายที่มีกฎหมายสัตว์พาหนะกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ3. หากสัญญาซื้อขายสัตว์เลี้ยงมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับกันไว้ กรรมสิทธิ์ในสัตว์เลี้ยงที่ขายถือว่ายังไม่โอนให้ผู้ซื้อจนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือถึงกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ดังนั้นจากเรื่องราวและคำถามที่คุณอธิปถามมาแสดงว่า สัญญาซื้อขายหมาที่ทำกันนั้นเป็นสัญญาแบบมีเงื่อนไข ผู้ขายจึงยังมีสิทธิในตัวหมาอยู่ และผู้ซื้อจะต้องปฏิบัติตามสัญญา จนกว่าจะปลดล็อกเงื่อนไขที่ถูกวางไว้ ทางแก้ก็คือปล่อยให้คุณพ่อคุณแม่หมาทั้งสองเร่งสมรสสมรักกันอีกครั้ง เมื่อได้ลูกออกมาแล้วอีกรุ่นก็ยกให้เพื่อนสุดเลิฟโดยทำบันทึกกันให้ชัดเจน กรรมสิทธิ์ของหมาที่ซื้อมาทั้งหมดจึงจะตกเป็นของผู้ซื้อโดยสมบูรณ์ แล้วทีนี้จะนำไปเปลี่ยนชื่อเจ้าของ พาไปประกวดหมาสวยงามที่ไหน ก็เชิญตามสบายครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 108 ถูกตัดบัญชีเงินเดือนทั้งหมดโดยยังไม่มีหมายศาล

ต้องเรียกว่า 100% เต็มครับที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารกรุงเทพทั้งนั้นและได้ร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่าถูกธนาคารดอกบัวหลวงยึดเงินในบัญชีไปโดยไม่มีการบอกกล่าวหรือมีหมายบังคับคดีจากศาลแต่อย่างใด ที่สำคัญคือบัญชีที่ถูกยึดเป็นบัญชีเงินเดือนวันที่ 24 ธันวาคม 2552 เป็นวันสุดช็อคของคุณสุวรรณ(นามสมมติ) เพราะอยู่ดีๆ เงินในบัญชีร่วมสี่หมื่นกว่าหายกลายเป็นศูนย์โดยไม่มีการบอกกล่าว“วันนั้นดิฉันไปกดเงินจากบัญชีธนาคารกรุงเทพซึ่งเป็นบัญชีสำหรับโอนเงินเดือนเข้าแต่พบเงินในบัญชีมียอดเงินเป็นศูนย์บาท ตกใจมากค่ะทีแรกคิดว่าเงินหายจึงโทรสอบถามไปที่คอลเซนเตอร์ ได้รับแจ้งให้ติดต่อไปอีกหมายเลขหนึ่ง ก็กดโทรไปถามจึงได้รับแจ้งว่า ธนาคารเป็นผู้หักเงินในบัญชีไปทั้งหมดจริงเพื่อนำไปชำระหนี้บัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพที่ดิฉันติดค้างชำระอยู่  เจ้าหน้าที่แจ้งว่าธนาคารมีสิทธิจะทำได้เนื่องจากดิฉันทำสัญญาไว้”คุณสุวรรณงงเหมือนเพลงไก่นาตาฟาง ว่าตนเองไปทำสัญญาบ้าๆ แบบนี้ตอนไหนที่ไปอนุญาตให้ธนาคารหักเงินซะหมดเกลี้ยงจนไม่มีจะกิน…คุณวรพลเป็นลูกหนี้บัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพอีกรายที่ประสบชะตากรรมในลักษณะเดียวกัน โดยเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552 ญาติของคุณวรพลได้โอนเงินมาใช้หนี้ของพี่ชายจำนวน 12,500 บาท เข้ามาบัญชีของคุณวรพล พอวันที่  29 ธันวาคม 2552 คุณวรพลจะไปกดเงินมาให้พี่ชาย แต่ว่าไม่มีเงินอยู่แม้แต่บาทเดียว ไปสอบถามทางธนาคารบอกคุณเป็นหนี้บัตรเครดิต ทางบัตรเครดิตได้หักเงินไปแล้ว สุดท้ายคือคุณสมคิด ถูกธนาคารกรุงเทพอายัดเงินในบัญชีเงินเดือนไปทั้งหมด เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิต จำนวนสองหมื่นกว่าบาท โดยคุณสมคิดเข้าใจว่า การที่ธนาคารจะทำเช่นนี้ได้จะต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของบัญชีเสียก่อนการยึดเงินในบัญชีเพื่อนำไปชำระหนี้โดยไม่มีการบอกกล่าวกับลูกหนี้ของธนาคารแห่งนี้ ทำให้ลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก อย่างกรณีของคุณสุวรรณเธอบอกว่า เงินที่ถูกยึดไปนั้นเป็นเงินเดือนและโบนัสที่ได้มาและจะนำมาเคลียประนอมหนี้เจ้าหนี้ที่มี  และเป็นค่าใช้จ่ายจิปาถะในแต่ละเดือนของครอบครัว และเมื่อไม่มีเงินเหลือเลยแม้แต่บาทเดียว ทำให้ต้องไปกู้หนี้ยืมสินญาติพี่น้องเพื่อมาประทังชีวิตแนวทางแก้ไขปัญหาการที่ลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้จะถูกยึดทรัพย์ อายัดเงินทั้งที่เป็นเงินเดือนหรือเงินในบัญชีที่ฝากไว้กับธนาคารได้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เจ้าหนี้จะทำได้โดยพลการ เพราะตามกระบวนการทางกฎหมายแล้วเจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องร้องต่อศาลจนมีคำพิพากษาออกมา หากลูกหนี้ก็ยังไม่มีปัญญาหาเงินมาชำระหนี้ได้นั่นแหละ ทางเจ้าหนี้ถึงจะไปร้องขอต่อศาลอีกครั้งเพื่อออกหมายบังคับคดี อายัดเงินเดือน ยึดทรัพย์ หรือยึดบัญชีฝากเงินในธนาคาร ที่ว่ามานี้เป็นกรณีที่ไม่มีข้อสัญญาผูกกันไว้แต่ต้น แต่ถ้ามีสัญญาผูกพันกันไว้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้จะยอมให้เจ้าหนี้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ได้และลูกหนี้ลงนามยินยอมให้เจ้าหนี้ทำเช่นนั้นได้ก็เสร็จเจ้าหนี้แน่นอนในการทำสัญญาเป็นสมาชิกบัตรเครดิตกับธนาคารกรุงเทพหรือกับสถาบันการเงินอื่นๆ ต้องยอมรับว่ามีผู้บริโภคน้อยรายที่จะสนใจอ่านข้อสัญญากันทุกบรรทัดก่อนลงลายมือชื่อเข้าทำสัญญา แต่ถ้าใครมีบัญชีเงินเดือนอยู่กับธนาคารกรุงเทพและถูกแนะนำให้ทำบัตรเครดิตด้วย ขอแนะนำว่าต้องอ่านครับหากจะทำบัตรเครดิตกับธนาคารแห่งนี้ เพราะในสัญญามีการระบุข้อความสำคัญว่า “ข้าพเจ้า(ผู้ถือบัตรเครดิต) ตกลงว่า หากข้าพเจ้าไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของธนาคาร อันเป็นเหตุให้ธนาคารยกเลิกบัตร ข้าพเจ้ายินยอมให้ธนาคารมีสิทธินำเงินในบัญชีเงินฝากทุกประเภทของข้าพเจ้า มาชำระหนี้บัตรเครดิตที่มีอยู่กับธนาคารได้” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธนาคารยึดเงินในบัญชีไปชำระหนี้บัตรเครดิตที่ค้างได้จนกว่าจะหมดเนื่องจากผู้บริโภคได้ให้ความยินยอมไว้แล้วนั่นเอง และสามารถหักได้แม้จะอายุความของหนี้บัตรเครดิตจะขาดไปแล้วก็ตามข้อสัญญาในลักษณะดังกล่าวนี้ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีการพิจารณาเห็นว่าเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เนื่องจากการไม่ชำระหนี้บัตรเครดิตอาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น บัตรสูญหาย  บัตรถูกลักขโมย  ซึ่งยังไม่ได้พิสูจน์ความรับผิดประกอบกับเป็นการใช้ข้อสัญญาที่เลี่ยงกระบวนการยุติธรรมโดยไม่ไปใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลเพื่อพิสูจน์ความผิดเสียก่อน  การกำหนดข้อสัญญาเช่นนี้ จึงน่าจะเป็นกรณีที่กำหนดข้อสัญญาที่ให้ผู้บริโภคต้องรับผิดชอบ หรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด  ซึ่งอาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร  ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และยังขัดต่อประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542 อีก ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อหาแนวทางกำหนดนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไปแต่ผู้บริโภคอย่างคุณสุวรรณ คุณวรพล คุณสมคิดที่โดนยึดเงินไปแล้วคงจะรอมาตรการของ สคบ. ไม่ไหว ข้อแนะนำที่มีให้คือให้ไปขอเจรจากับธนาคารเพื่อขอลดหย่อนการหักเงินในบัญชีลงส่วนหนึ่งซึ่งธนาคารจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป และที่สำคัญต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิตของธนาคารที่ตนมีสมุดบัญชีเงินเดือนหรือสมุดบัญชีเงินฝากอยู่อย่างเด็ดขาด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 ทวงหนี้โหดจาก สนง.กฎหมายของ เอไอเอส

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) เป็นยักษ์ใหญ่แห่งวงการโทรคมนาคม ที่ผู้บริโภคจำนวนมากให้ความไว้วางใจในการเลือกใช้บริการ โดยบริการหลายอย่างต้องถือว่ามีคุณภาพมาก แต่ยกเว้นอยู่อย่าง คือมารยาทในการติดตามทวงถามหนี้ของสำนักงานกฎหมายที่ทำงานให้ต้องถือว่าอยู่ในขั้นด้อยพัฒนาเอามากๆคุณธิติวัฒน์ ได้รับหนังสือติดตามทวงถามหนี้ที่เต็มไปด้วยข้อความ ข่มขู่ คุกคาม จากสำนักงานกฎหมายเซนิท ลอว์ จำกัด ซึ่งทำงานทวงหนี้ให้กับเอไอเอสเริ่มจาก การประทับตราแดงด้วยข้อความขนาดใหญ่ “ด่วนที่สุด” และ “เอกสารสำคัญเลขที่......./2552 และขึ้นหัวจดหมาย เรื่อง “ขอให้ชำระหนี้ก่อนบังคับคดี” (ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีการฟ้องร้อง)สำหรับเนื้อหาในจดหมายทวงหนี้ก็ด้อยพัฒนาเอามากๆ“ตามที่ท่านได้ค้างชำระค่าบริการโทรศัพท์กับบริษัทฯ ทางสำนักงานฯ ขอแจ้งให้ท่านทราบว่า บัญชีรายชื่อของท่านได้ถูกตรวจสอบและพิจารณาให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมส่งรายชื่อเข้าข้อมูลเครดิตกลางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”เท่านี้ยังไม่พอ ข้อความข่มขู่กดดัน ยังสำรอกออกมาอีกหลายขยอก“ท่านต้องถูกบังคับคดี โดยทางสำนักงานจะนำเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปยังบ้านที่ท่านมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านเพื่อทำการยึดทรัพย์ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นของท่านหรือไม่ก็ตาม...และนำทรัพย์สินที่ยึดได้ออกขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ที่ค้างชำระ”พร้อมกับใส่ข้อความในลงเว็บว่า “(ซึ่งถ้าหากทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของท่าน เจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงจะต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ไปร้องขัดทรัพย์ที่ศาล)” ที่หนักหนาสาหัสคือการกำหนดเวลาชำระหนี้ด้วยข้อความว่า “หากท่านต้องการระงับข้อพิพาท ทางสำนักงานให้โอกาสสุดท้ายกับท่าน(ดูเหมือนใจดีมาก) โดยท่านต้องชำระหนี้ภายใน 24 ชั่วโมง นับจากวันที่ได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือฉบับนี้...”หากคุณธิติวัฒน์เป็นหนี้จริง ก็ต้องกัดฟันทนคำข่มขู่ คุกคาม ดังกล่าว แล้วพยายามหาเงินมาใช้หนี้ให้ทันตามเวลาที่ถูกกำหนดมาให้ (ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยมีใครทำได้หรอกครับ) แต่ข้อเท็จจริงคือว่า คุณธิติวัฒน์ ไม่เคยเปิดใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกทวงหนี้มา จึงเป็นเรื่องที่ต้องร้องเรียนมาให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยจัดการให้แนวทางแก้ไขปัญหาไม่ว่าผู้บริโภคจะเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์จริงหรือไม่ การออกจดหมายทวงหนี้ก็ควรเป็นเพียงการแจ้งยอดหนี้และช่องทางในการชำระหนี้เท่านั้น ไม่ควรจะมีลักษณะเนื้อหาของการข่มขู่กดดันในลักษณะใด ๆ ทั้งสิ้น และเมื่อผู้บริโภคถูกทวงหนี้ค่าโทรศัพท์ที่ตนเองไม่ได้เปิดใช้บริการ หรือเปิดใช้บริการแต่ค่าโทรศัพท์ไม่ถูกต้องตรงตามที่มีการใช้งานจริง ผู้บริโภคไม่ควรใช้วิธีร้องเรียนผ่านทางคอลเซนเตอร์ของบริษัทผู้ให้บริการอย่างเดียวครับ ควรทำเป็นหนังสือทักท้วงการเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าว หากผู้บริโภคไม่ได้เปิดใช้บริการก็ให้ปฏิเสธโดยทันทีว่าตนมิได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ กฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคมกำหนดไว้ว่าถือเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ว่าผู้บริโภคเป็นผู้เปิดใช้บริการหรือได้ใช้บริการโทรศัพท์จริงหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อมูลหลักฐานมายืนยันพิสูจน์ได้ก็ไม่สามารถมาเรียกเก็บหนี้กับผู้บริโภคได้หลังจากที่มูลนิธิฯ ได้ช่วยทำจดหมายร้องเรียนไปยังเอไอเอสแล้ว เอไอเอสจึงได้มีหนังสือตอบรับกลับมาโดยทันทีว่ากำลังตรวจสอบข้อมูลหลักฐานอยู่ และหากไม่สามารถหาข้อมูลมายืนยันว่าคุณธิติวัฒน์เป็นผู้เปิดใช้บริการโทรศัพท์รายเดือนหมายเลขนี้จริงภายใน 60 วันนับแต่ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนก็ถือว่าสิ้นสิทธิในการเรียกเก็บหนี้ส่วนนี้ไปทันที  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 91 ความไวไปรษณีย์ไทย

จดหมายถึงไว วัดใจโลกไซเบอร์เมื่อ 7 ปีก่อน ครั้งที่บริการไปรษณีย์ยังอยู่ภายใต้การบริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) และบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงยังไม่แพร่หลายอย่างทุกวันนี้ ฉลาดซื้อเคยทดสอบบริการไปรษณีย์ไทยมาแล้ว (ฉลาดซื้อฉบับที่ 44 ปกน้ำยาล้างจานไร้สารตกค้าง) ซึ่งผลทดสอบที่ออกมาชี้ชัดเจนว่าบริการไปรษณีย์ไทยสามารถตอบรับความต้องการให้จดหมายถึงเร็วของผู้บริโภคได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้บริการด่วนพิเศษ (EMS) ถ้าผู้บริโภครู้เคล็ดไม่ลับบางประการ เช่น ควรส่งจดหมายในช่วงวันจันทร์ – พุธ เพราะยอดการส่งไปรษณีย์ในช่วงวันปลายสัปดาห์จะหนาแน่นกว่าต้นสัปดาห์มาก เจ็ดปีให้หลัง บริการไปรษณีย์ไทยได้แปรรูปจากรัฐวิสาหกิจ เป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท.) จำกัด (มหาชน) และแยกตัวออกจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ซึ่งก็แปรรูปเป็นบริษัทไปแล้วเช่นเดียวกัน) เมื่อรูปแบบการบริหารจัดการเปลี่ยนไป ความเปลี่ยนแปลงรอบด้านก็เกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการของบริษัท ที่พ้นสภาพขาดทุนในยุคของ กสท. เข้าสู่ผลกำไรสุทธิติดกันหลายปี ไปจนถึงบริการใหม่ๆ ที่ ปณท. ผลักดันออกมา ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวล้ำขึ้น เช่น บริการส่งพัสดุขนาดใหญ่ทางไปรษณีย์ หรือลอจิสโพสต์ (LogisPost) บริการโอนเงินด่วนพิเศษ และบริการรับชำระค่าบริการสาธารณูปโภค (Pay-@-Post) จนทำให้บริการไปรษณีย์ในรูปแบบทั่วๆ ไป เช่น จดหมายส่วนบุคคล หรือโทรเลขที่เพิ่งยกเลิกการให้บริการไปดูจะล้าสมัยไปแล้ว อย่างไรก็ตามบริการไปรษณีย์ก็ยังเป็นที่นิยม และจำเป็นสำหรับหลายคน เช่น การส่งโปสการ์ดจากสถานที่ท่องเที่ยว การส่งจดหมายติดต่อธุรกิจและราชการที่มีรายละเอียดมาก การส่งจดหมายชิงโชค และการสั่งซื้อสินค้าทางไปรษณีย์ ซึ่งล่าสุดเพิ่งเปิดตัวบริการ “อร่อยทั่วไทย” รับสั่งซื้ออาหารยอดนิยมจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ แล้วขนส่งไปรษณีย์ทางอากาศมายังผู้รับ โดยผู้รับไม่ต้องไปรับที่ร้านอาหารหรือสนามบินเพื่อร่วมฉลองครบรอบ 125 ปี “ไปรษณีย์ไทย” ฉลาดซื้อฉบับนี้จะนำเสนอผลสำรวจเล็กๆ เพื่อ “ลองของ” บริการไปรษณีย์ในปัจจุบันว่ามีคุณค่าเพียงพอต่อการเป็นเครื่องมือสื่อสาร ในยุคที่การสื่อสารพุ่งเข้าไปสู่โลกไซเบอร์มากขึ้นเรื่อยๆ ได้หรือไม่ การเดินทางของจดหมายน้อย ฉลาดซื้อร่วมมือกับเครือข่ายใน 14 จังหวัดที่จากภาคต่างๆของประเทศไทย ทั้งเหนือ ใต้ ออก ตก ทำการทดสอบการส่งจดหมายด้วยบริการต่างๆ ของบริษัทไปรษณีย์ไทย ยุคหลังปรับปรุงโครงสร้าง โดยทางเครือข่ายจากจังหวัดต่างๆ ส่งจดหมายจากที่ทำการในเขตที่ตนเองสะดวกมาหาเราที่ที่อยู่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อันเป็นที่สิงสถิตของกองบก. วารสารฉลาดซื้อ ในขณะที่เราก็ฝากจดหมายไปกับที่ทำการไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้ๆ บ้านของเจ้าหน้าที่กองบก.เรา เช่น ที่ทำการไปรษณีย์มักกะสัน สามเสนใน งามวงศ์วาน ดอนเมือง หรือร้านไปรษณีย์ไทยในห้างเซียร์รังสิต เป็นต้นบริการต่างๆ ที่เราทดสอบ พร้อมค่าใช้จ่าย (ยกตัวอย่างกรณีปลายทาง อ.เมือง ขอนแก่น)

อ่านเพิ่มเติม >