ฉบับที่ 133 ซื้ออย่างฉลาด ด้วยระบบแนะนำสินค้า

  ผู้เขียนเป็นนักซื้อ(shopper) ที่ไม่ดีเพราะเท้าไม่ติดดิน เนื่องจากเวลามีดินติดเท้ามักมีความรู้สึกว่ามันไม่สะอาด แต่ถ้าต้องลุยลงสนามเพื่อทำอะไรสักอย่างที่เลอะดินก็มักไม่ปฏิเสธเพราะเป็นเรื่องจำเป็นต้องสกปรก แต่ถ้าต้องสกปรกแบบไม่จำเป็น เช่น การเดินไปซื้อกับข้าวหรือวัตถุดิบในการปรุงอาหารจากตลาดทั่วไปของพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้เขียนมักปฏิเสธเพราะมีภาพพจน์ที่ไม่ดีเรื่องความแฉะของตลาดแบบนี้ ทั้งที่ความจริงแล้วตลาดหลายๆ แห่งในกรุงเทพมหานครหรือเมืองใหญ่อื่นๆ ค่อนข้างแห้งและสะอาดแล้วดังนั้นผู้เขียนจึงยอมถูกกล่าวหาว่า นิยมชมชอบตลาดติดแอร์ ในแต่ละครั้งที่เดินในตลาดติดแอร์นั้น สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนคิดอยู่ตลอดเวลาคือ การตัดสินใจซื้อสินค้าอาหารนั้น เราควรใช้อะไรเป็นเกณฑ์ หลายคนรวมทั้งผู้เขียนในบางครั้งใช้ราคาต่อหน่วยน้ำหนักเป็นตัวตัดสินใจ เช่น กรณีกาแฟที่ขายในรูป 3 in 1 ซึ่งยี่ห้อไหนก็ไม่อร่อยเท่ากัน เหมาะต่อการดื่มเพื่อเลิกกาแฟหรือดื่มเพื่อบอกกระเพาะอาหารว่า ดื่มกาแฟแล้วนะเลิกอยากสักที ส่วนสินค้าอื่นบางชนิดที่ไม่ใช่อาหารเช่น ตู้เย็น อาจใช้เครื่องหมายการค้าเป็นตัวตัดสิน แต่เวลาที่ผ่านไปเครื่องหมายการค้าที่เชื่อถือนั้นบางครั้งก็ต้องเลิกเชื่อ เพราะข้อมูลใหม่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่ไม่เคยเชื่อถือนั้นดีขึ้น จะเห็นว่าเกณฑ์ในการซื้อสินค้าของผู้เขียนไม่ได้เรื่อง ขาดรูปแบบที่ดี ไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์สักเท่าไร การดูฉลากของอาหารนั้นก็ไม่ได้ช่วยสักเท่าไร เพราะขนาดผู้เขียนทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวกับเรื่องคุณภาพทางโภชนาการ บางครั้งก็งงกับตัวฉลากและรู้สึกว่าเป็นการสิ้นเปลืองในการทำฉลากอาหารตามวิธีการปัจจุบัน จนวันหนึ่งในปีที่แล้ว (พ.ศ. 2554) ก่อนจะรู้จักกับประสบการณ์น้ำท่วมหลายเดือน ผู้เขียนก็ได้ดูข่าวทางโทรทัศน์ช่องหนึ่งที่มีรายงานข่าวถึงระบบที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น ด้วยระบบที่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ข่าวนั้นสั้นมากจนต้องเข้าไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แล้วนำไปสอนนักศึกษา ซึ่งก็ไม่ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเท่าไร จนปีนี้เมื่อนำมาใช้สอนอีกครั้งปรากฏว่าได้รับการตอบสนองที่ดีขึ้น จึงคิดว่าน่าจะนำมาเล่าสู่กันฟัง   ระบบการแนะนำสินค้าอาหาร ระบบการแนะนำในการซื้อสินค้าอาหารนั้น อาจมีหลายระบบ แต่ผู้เขียนหาพบเพียงสองระบบคือ ระบบ Guiding Stars และ NuVal โดยระบบแรกคือ Guiding Stars นั้นได้แบ่งระดับความน่าซื้อสินค้าไว้ด้วยการติดดาวซึ่งมีมากสุด 3 ดวง เมื่อเข้าไปในเว็บของ Guiding Stars นั้นก็ไม่ใคร่ได้ข้อมูลที่น่าสนใจสักเท่าไร ดังนั้นในฉบับนี้จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะระบบ NuVal ว่าเป็นอย่างไร ก่อนอื่นคงต้องเล่าให้ฟังว่า การแนะนำว่าสินค้าห่อใดควรซื้อหรือไม่นั้นเป็นระบบที่ร้านค้าในรูปของ Chain Stores จ้างหน่วยงานเอกชนทำการจัดระดับความน่าซื้อสินค้าอาหารต่างๆ โดยการให้ระดับความน่าสนใจ เช่น ดาว หรือตัวเลข ซึ่งในกรณีของ NuVal นั้นให้ตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดย 100 นั้นแสดงว่าอาหารนั้นมีความน่าซื้อที่สุดเมื่อคำนึงถึงสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับโดยคำนึงถึงสุขภาพที่ดี NuVal นั้นคำนึงถึงทั้งประโยชน์และโทษของสินค้าที่ผู้บริโภคได้ในแง่โภชนาการ สิ่งที่มีประโยชน์คือ สารอาหารทั่วไป ส่วนที่เป็นโทษนั้น เช่น น้ำตาลและเกลือแกง (เมื่อมากไป) โคเลสเตอรอล ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นไขมันเลว โดยข้อมูลทั้งดีและไม่ดีนั้นจะถูกนำมาผสมผสานเพื่อการตัดสินใจให้ระดับความน่าซื้อเป็นตัวเลขที่ประชาชน (ซึ่งเชื่อในหลักการของระบบนี้) ใช้ตัดสินใจซื้อได้ในเวลาไม่กี่วินาทีโดยไม่ต้องอ่านฉลาก (ซื่งมักแสดงด้วยตัวหนังสือเล็กจิ๋ว) นานนัก กระบวนการตัดสินใจให้ตัวเลขลำดับนั้นเป็น อัลกอริธึม (Algorithm) โดยที่อัลกอริธึมนั้นเป็นกระบวนการนำหลักเหตุผลและคณิตศาสตร์มาช่วยเลือกวิธีการหรือขั้นตอนการดำเนินงานต่อไปจนกระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้าย เป็นวิธีการที่ใช้แยกย่อยและเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการในการทำงานต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและแก้ไขปัญหา โดยผู้ที่เข้ามาดำเนินการในองค์กรเอกชนนี้เป็นทั้งนักวิชาการในวงการโภชนาการ สาธารณสุข และด้านการแพทย์ต่าง ๆ ฐานข้อมูลความรู้หลักที่ใช้ของ NuVal นั้นได้มาจาก  Institute of Medicine’s Dietary Reference Intakes ซึ่งให้ข้อมูลว่าสารอาหารอะไรที่มนุษย์ควรกินเข้าไป และข้อแนะนำการบริโภคอาหารของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า Dietary Guidelines for Americans ในการคำนวณหาตัวเลขนั้นหลังจากได้ข้อมูลแล้ว ข้อมูลที่ดีของอาหารที่สนใจจะเป็นตัวตั้งที่หารด้วยข้อมูลที่ไม่ค่อยดีของอาหารนั้น เพื่อให้เห็นภาพชัด ก็จะขอเสนอภาพที่ NuVal แสดงไว้ในเว็บ จะเห็นว่า ตัวตั้งหรือ numerator นั้นคือ สารอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น ใยอาหาร วิตามินโฟเลท วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี วิตามินบี 12 วิตามินบี 6 โปแตสเซียม แคลเซียม สังกะสี แมกนีเซียม เหล็ก กรดไขมันโอเมกา 3 ไบโอฟลาโวนอยด์ แคโรตีนอยด์ เป็นต้น ส่วนตัวหารนั้นที่ยกตัวอย่างชัดๆ คือ ไขมันทรานซ์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาในการทำงานของหัวใจ เกลือแกงซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิต น้ำตาลซึ่งเป็นต้นเหตุของเบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับ คุณภาพของโปรตีน ไขมัน พลังงานที่ได้ ค่าดัชนีน้ำตาล คือ ค่าที่บอกถึงอัตราการเพิ่มของกลูโคสในกระแสเลือดภายหลังจากการรับประทานอาหาร เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากเว็บของ NuVal นั้นไม่ละเอียดถึงขั้นว่า การนำข้อมูลมาใช้นั้นใช้หน่วยน้ำหนักอย่างไร หรือมีชนิดข้อมูลเท่าไร ทั้งนี้คงเป็นเพราะระบบของ NuVal นั้นมีลิขสิทธิ์ที่วิธีการประเมินให้ตัวเลขนั้นจึงลับพอควรแต่ก็อาจเข้าถึงได้ถ้าสนใจเป็นลูกค้าจริง ตัวอย่างสินค้าที่ได้ค่า NuVal แบบเสียไม่ได้คือ 1 นั้นได้แก่ น้ำอัดลมรสองุ่น ซึ่งบ้านเรามีขายหลายยี่ห้อ ส่วนสินค้าที่ได้ค่า NuVal สูง ๆ ได้แก่ หอมใหญ่เหลือง (yellow onion) และแอปเปิ้ลการา ได้ค่าระดับ 93 และ 93 ตามลำดับ ที่น่าสังเกตคือ สินค้าเกษตรนั้นมักได้ค่า NuVal สูง ทั้งนี้เพราะยังไม่มีการนำข้อมูลเกี่ยวกับพิษวิทยามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่ความจริงแล้วผักผลไม้ดิบนั้นส่วนใหญ่มีสารพิษเกิดตามธรรมชาติปนอยู่แทบทั้งนั้น การทำลายสารพิษจะต้องใช้กระบวนการปรุงอาหาร เช่น ความร้อนเป็นวิธีการกำจัดสารพิษที่เกิดตามธรรมชาติดังนั้นเรื่องของสารพิษจึงยังเป็นจุดด้อยของ NuVal การขาดการนำขอมูลของการปนเปื้อนของสารพิษมาประกอบการให้ลำดับตัวเลข ทั้งที่สารพิษนั้นมีแน่ๆ นั้น อาจเป็นเพราะสารพิษที่เป็นองค์ประกอบของอาหารดิบ หรือที่อาจปนเปื้อนลงในอาหาร(ซึ่งรวมถึงแบคทีเรีย) นั้นเป็นข้อมูลด้านความปลอดภัยซึ่งต้องมีการวิเคราะห์เป็นครั้งๆ ไป (ไม่สามารถวิเคราะห์ครั้งเดียวแล้วใช้ไปตลอดชาติเหมือนองค์ประกอบทางอาหาร) จึงจะบอกได้ว่า มีหรือไม่มี ทั้งที่กฎหมายของทุกประเทศนั้นมักกำหนดให้ไม่มีหรือมีสารพิษในระดับไม่ก่ออันตราย แต่ข้อมูลประเภทนี้ในทางพิษวิทยาแล้วเป็นข้อมูลที่ต้องระบุเป็นความเสี่ยง ซึ่งทำได้ไม่ง่ายนักในการตั้งระบบขึ้นด้วยองค์กรเอกชน แม้ในประเทศที่นำหน้าในเรื่องพิษวิทยาอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังทำได้เท่าที่ NuVal ทำ ประเด็นที่ผู้เขียนตั้งคำถามในเรื่องการดำเนินการของระบบแนะนำการซื้อสินค้าอาหารนั้นคือ ผู้ประกอบการที่สินค้าถูกให้คะแนนต่ำคงไม่พอใจ แล้วสามารถฟ้องร้องว่า NuVal หมิ่นประมาทสินค้าหรือบริษัทหรือไม่ ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่การค้าความนั้นเป็นอาชีพที่ได้เงินมากที่สุด หมอความนั้นค่อนข้างรวยกว่าหมอรักษาคน ผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่า บริษัทเจ้าของ NuVal นั้นคงมีนักกฎหมายประเภทเซียนเหยียบเมฆเรียกพี่อยู่หลายคนแน่ๆ จึงยังอยู่รอดปลอดภัยได้ บทความนี้เขียนขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ให้ผู้อ่านวารสารฉลาดซื้อได้ทราบความก้าวหน้าของการทำฉลากอาหารในสหรัฐอเมริกา ไม่ได้หวังว่าบ้านเราจะมีการนำมาใช้เพราะเป็นการเพิ่มราคาของสินค้าอาหารให้สูงขึ้น เนื่องจากเป็นระบบที่แพงเหมาะกับประเทศที่ประชาชนมีความสนใจรักษาสุขภาพ หรือเป็นประเทศที่มีสุขภาพเป็นปัญหา เช่น สหรัฐอเมริกา

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 166 หนูไม่รู้ เขาให้หนูมา

เรื่องเล่าเฝ้าระวังฉบับที่แล้ว นำเสนอกระบวนการหลอกขายสินค้าให้กับผู้สูงอายุไปแล้ว แต่อย่าเพิ่งชะล่าใจว่าผู้บริโภคกลุ่มวัยอื่นๆ จะไม่ถูกหลอกลวง เพราะขึ้นชื่อว่าการค้าแล้ว มันสามารถโน้มน้าวหลอกลวงผู้บริโภคได้ทุกกลุ่มอย่างแน่นอน กระทั่งวัยอย่างผม (วัยไหนคงต้องเดากันเองนะครับ) ผมพบกับน้องคนนี้ในวันหนึ่ง เธอโผล่มาที่สำนักงานของผมในชุดนักศึกษา ภายใต้ใบหน้าอ่อนเยาว์แม้จะแต่งหน้าเข้มไปหน่อย แต่ก็พอเดาได้ว่าอายุเธอคงประมาณใกล้ๆ ยี่สิบ เธอยื่นจดหมายแนะนำตัวจากบริษัทให้ผม ข้อความในจดหมายระบุว่า “ขออนุญาตฝึกงานสาธิตนวดเพื่อสุขภาพ” พร้อมรายละเอียดแจ้งว่า “ทางบริษัทได้จัดส่งนักศึกษาที่กำลังฝึกงานอยู่ที่บริษัทให้ออกฝึกงานนอกสถานที่ และขออนุญาตให้นักศึกษาได้พูดและสาธิตการนวดเพื่อสุขภาพ ใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที โดยบริษัทจะเตรียมอุปกรณ์มาเองทั้งหมด ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักศึกษาได้ทดสอบการพูดและฝึกการสาธิตอุปกรณ์เพื่อหาประสบการณ์จริง” (โถ..เพื่อการศึกษา น่าสนับสนุน) เมื่อผมถามข้อมูลเพิ่มเติม เธออธิบายว่า บริษัทที่เธอฝึกงานให้เธอมาพูดอธิบายเครื่องมือนวดเพื่อสุขภาพ ซึ่งเธอจะได้แต้มในการพูดเป็นเงินจำนวนประมาณสามสิบบาทต่อครั้ง วันหนึ่งจะต้องพูดให้ได้สามสิบราย และต้องพยายามให้คนฟังยินยอมให้เธอสาธิตอุปกรณ์นวดเพื่อสุขภาพ อย่างน้อยสิบราย ซึ่งเธอจะได้ค่าเหนื่อยในการสาธิตอุปกรณ์อีกรายละหนึ่งร้อยบาท ถ้าทำได้ครบถ้วนดังกล่าวจึงจะถือว่าการฝึกงานผ่าน ส่วนอุปกรณ์ที่สาธิตนี้ ผู้ฟังจะซื้อไปใช้หรือไม่ก็ไม่เป็นไร แต่เธอไม่ยอมโชว์อุปกรณ์ให้ผมเห็น แต่ที่แน่ๆ ผม คำนวณรายได้พบว่าหากเธอทำได้ครบถ้วน นอกจากเธอจะได้ฝึกงานแล้ว เธอยังจะได้ค่าตอบแทนอีกหนึ่งพันเก้าร้อยบาท (โถ...มากไม่ใช่เล่น) ผมถามเธอไปว่า การที่เธอจะเอาอุปกรณ์มาใช้ เธอรู้หรือเปล่าว่าอุปกรณ์นี้เป็นเครื่องมืออะไร และมีกฎหมายควบคุมดูแลหรือไม่ ปรากฏว่าเธอตอบว่าไม่ทราบ เอกสารหลักฐานอะไรที่ต้องมีตามกฎหมาย เธอไม่รู้ทั้งสิ้น เธอทราบแค่ว่า บริษัทสั่งให้มาฝึกงาน (โถ...ไร้เดียงสานะหนู) ผมจึงต้องอธิบายเพิ่มเติมไปว่า อุปกรณ์นวดเพื่อสุขภาพน่าจะเป็นเครื่องมือแพทย์ตามกฎหมาย ซึ่งมีกฎหมายเครื่องมือแพทย์ควบคุมดูแลอยู่ หากนำเข้ามาในประเทศก็ต้องไปติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อขออนุญาตเสียก่อน และหากจะทำการโฆษณาก็ต้องขออนุญาตด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ใครจะเอามาใช้ หรือโฆษณาได้อย่างตามใจชอบ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ เธอทำหน้าละห้อย พยายามคะยั้นคะยอเพื่อให้ผมใจอ่อนยอมให้เธอได้ทำตามที่บริษัทสั่งมา แต่ผมยังยืนกรานไม่ยอม และแนะนำให้เธอกลับไปดูเอกสารหลักฐานมาจากบริษัทก่อน ทั้งนี้เพื่อตัวของเธอเองจะได้ไม่ถูกใครหลอกให้กระทำผิด สุดท้ายเธอจึงยอมจากไป (โถ...อย่าหาว่าผมใจร้ายนะหนู) เมื่อเธอกลับไปแล้ว ผมลองสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ก็ไม่พบชื่อบริษัทดังกล่าวแต่อย่างใด ผมเลยไม่รู้ว่า เธอถูกเขาหลอกให้มาขายของ หรือผมถูกเธอหลอกว่าเธอถูกหลอกให้มาขายของกันแน่ (โถ...น่าสงสารทั้งหนูและผม) ยังไงก็ระวังการหลอกขายสินค้าในรูปแบบแปลกๆ นี้ด้วยนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 ตาดีได้ ตาร้ายอย่าให้เสียของ

เมื่อผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า ความคาดหวังในคุณภาพสินค้าย่อมเกิดขึ้น แต่เมื่อกลับมาบ้านและพบว่าสินค้าที่ตนเสียสตางค์ซื้อมานั้น มีคุณภาพไม่เป็นดังที่หวัง อารมณ์ของผู้บริโภคยามนั้นคงเหมือนโลกาจะวินาศ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีช่องทางมากมายในการร้องเรียนและผู้บริโภคเองก็มีความตื่นตัวในเรื่องการเรียกร้องสิทธิ เรื่องราวการทวงสิทธิของผู้บริโภคด้วยวิธีต่างๆ จึงเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่วิธีการที่มาแรงแซงโค้งคือการเล่าเรื่องราวของตนที่ถูกกระทำ เพื่อฟ้อง(หรือประจาน) ผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ค ไลน์ หรือเว็บไซต์ต่างๆ หลังจากนั้นก็จะมีผู้มาแสดงความเห็น หรือแชร์ส่งต่อกันเป็นทอดๆ เพียงไม่กี่นาที เรื่องราวก็กระจายไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าจรวดเสียอีก ผู้เขียนมีประสบการณ์ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ มีผู้แชร์คลิปสั้นๆ ผ่านทางเฟซบุ๊ค ในคลิปแจ้งว่า “ซื้อปลาทูจากดอนหอยหลอด เมืองแม่กลอง แล้วพบว่า ปลาทูในกล่อง ซึ่งผู้ขายซ้อนเป็นสองชั้นนั้น ชั้นบนเป็นปลาทูแม่กลองหน้างอ คอหัก เนื้อสวย ผิวเต่ง แต่เมื่อพลิกดูชั้นล่างกลายกลับเป็นปลาทูเก่า หน้าไม่งอ คอไม่หักแล้ว แต่ดันเป็น หน้าแก่ ท้องทะลัก ซะนี่” ผู้เขียนเข้าใจว่าตอนซื้อมานั้น ผู้บริโภคคงไม่เห็น เพราะปลาทูชั้นบนคงบังชั้นล่างอยู่ ในฐานะคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัด ได้มีโอกาสร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ลงไปติดตามตรวจสอบข้อมูลสถานที่จำหน่ายในบริเวณดอนหอยหลอด แต่ก็พบว่าช่างยากลำบากในการติดตามตรวจสอบ จนผู้เขียนแทบจะหน้างอพอๆ กับปลาทูแม่กลอง เพราะมันแทบไม่มีข้อมูลที่จะติดตามขยายผลได้เลย ทราบจากคลิปเพียงว่า ซื้อมาจากดอนหอยหลอดเท่านั้น แต่ไหนๆ ก็ไปตรวจสอบแล้ว เพื่อไม่ให้เสียเที่ยว ก็เลยถือโอกาสแนะนำ กำชับกับทางผู้ขายให้รักษามาตรฐานให้ดี อย่าให้เสียชื่อจังหวัด และได้ประสานกับผู้ขายและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้คอยสอดส่องดูแลด้วย หากพบข้อมูลใดๆ ขอให้รีบแจ้งให้ทราบด้วย เลยขอเอาประสบการณ์ตรงจากเหตุการณ์นี้ มาแนะนำว่า ไหนๆ เราก็พลาด ตาดีได้ ตาร้ายเสีย จนต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิแล้ว อย่าให้เสียของนะครับ ผู้เขียนมีคำแนะนำง่ายๆ สำหรับการแชร์ข้อมูลหรือนำเสนอข้อมูลเพื่อเรียกร้องสิทธิผ่านทางโซเชียลมีเดียว่า ถ้าเป็นไปได้ ขอให้บอกเล่ารายละเอียดให้มากพอที่เจ้าหน้าที่จะทำงานได้อย่างต่อเนื่องด้วย เช่น เกิดเหตุการณ์อะไรที่ไหน ใครทำอะไร อย่างไร ถ้าสามารถมีบุคคลยืนยันได้ยิ่งดี เพราะในหลายกรณีที่ผ่านมา เมื่อผู้เขียนได้ทราบข้อมูล ก็มักจะตามรอยข้อมูลที่แชร์ เพื่อพยายามติดตามไปยังแหล่งต้นตอว่ามาจากที่ใด เมื่อเจอแล้วก็จะส่งข้อความไปสอบถามเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นทอดๆ จนกว่าจะพบต้นตอตัวจริง แต่ก็พบว่าหลายครั้งที่เมื่อตามไปเรื่อยๆ ก็มักจะพบว่าข้อมูลเหล่านี้แชร์ต่อๆ กันมาเป็นทอดๆแต่ไม่ทราบว่าต้นตอมาจากไหน สุดท้ายผู้เขียนก็ต้องหยุดการติดตามเพราะหาอะไรไม่เจอ ดังนั้นหากใครจะแชร์เรื่องราวต่างๆ อย่าลืมนะครับ ช่วยบอกแหล่งที่มาให้ชัดเจนหรือมากเท่าที่พอจะมากได้ก็จะยิ่งดี เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้เร็วขึ้นและได้ผล คาหนังคาเขา มิฉะนั้นการเรียกร้องสิทธิของเรามันจะเสียของโดยเปล่าประโยชน์นะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 163 สินค้าชายแดน...แฟนๆ อย่าเพิ่งไว้ใจ

ยังไม่ทันจะถึง AEC ในปี 2558 แต่ทุกวันนี้เราก็เห็นสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านหลากหลายชนิดเข้ามาเพ่นพ่านในไทย เพราะขึ้นชื่อว่าคนไทยแล้ว เราไม่เคยแพ้ชาติใดในด้านการจับจ่ายใช้สอย ดังนั้นสินค้าจากต่างประเทศหลายชนิดจึงมาชูคอกันสลอนวางขายในห้างกันมากมาย นอกจากนี้ยังมีสินค้าอีกบางประเภทที่แม้จะไม่ได้วางขายในห้าง แต่ก็มาลืมตาอ้าปากวางขายกันอย่างเอิกเกริกตามตะเข็บชายแดน แถมเป็นที่นิยมของคนไทยที่ได้ไปท่องเที่ยวบริเวณนั้นเสียด้วย มีข้อมูลจากกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ได้ออกไปสุ่มตรวจประเมินความเสี่ยงของคุณภาพผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ณ บริเวณ จุดผ่านแดนไทย-สหภาพเมียนม่า ด่านสิงขร เจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากเพื่อนบ้านที่มาวางจำหน่ายในบริเวณนั้น ได้แก่ อาหาร 11 ตัวอย่าง(เช่น พริกป่น ถั่วลิสงบด ถั่วลิสงทอด ชายำ กุ้งปลาดอง  พุทราแห้ง พุทราดอง) และเครื่องสำอางอีก  25 ตัวอย่าง(เช่น ผงขัดผิวทานาคา แป้งทาหน้า สบู่ ) เพื่อตรวจดูความถูกต้องของฉลากและตรวจวิเคราะห์ว่ามีเชื้อโรคหรือสารเคมีปนเปื้อนมากน้อยแค่ไหน ผลการตรวจสอบพบว่า ฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารไม่ถูกต้องทุกรายการ คือไม่มีภาษาไทยแม้แต่น้อย(แต่นักซื้อชาวไทยก็ยังกล้าซื้อ) ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง แม้จะมีฉลากถูกต้องบ้างบางตัวอย่าง(หมายถึงได้มายื่นขออนุญาตจากสาธารณสุขแล้ว) แต่ก็พบว่ายังมีฉลากที่ไม่ถูกต้องเกินครึ่ง(15 ตัวอย่าง) เมื่อตรวจเชื้อโรค พบว่าผลิตภัณฑ์อาหารมีปริมาณเชื้อโรคสูงถึง 7 ตัวอย่าง และมี 2 ตัวอย่าง (พริกป่นและถั่วลิสงทอด) มีเชื้อราเกินมาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบสีที่ห้ามใช้ในพุทราเชื่อมและพุทราแห้ง ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางพบว่าผิดมาตรฐานด้านเชื้อโรค 8 ตัวอย่าง คือมีบักเตรีเกินมาตรฐานที่กำหนด นอกจากนี้ยังพบเชื้อราเกินมาตรฐาน ในผงขัดผิวทานาคา(สีเหลือง) และแป้งทาหน้า(กลิ่นกุหลาบ) เนื่องจากจุดผ่านแดนหลายแห่งในประเทศ ยังไม่ได้ถูกตั้งเป็นจุดผ่านแดนถาวร หน่วยงานที่ดูแลสินค้าเข้า-ออก ณ บริเวณนี้ คือ หน่วยงานของศุลกากร  ซึ่งไม่ได้กำกับดูแลในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพ แม้ว่าทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายา ได้มีการติดตามลงมาดูพื้นที่บ้างแล้วก็ตาม  แต่ก็ยังทำได้ไม่ทั่วถึงเนื่องจากข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน ดังนั้น ในยุคที่ ประเทศไทยกำลังจะกระโจนเข้าสู่ AEC นักซื้อชาวไทย อย่าเพิ่งไว้ใจสินค้าจากเพื่อนบ้านที่เข้ามาจำหน่ายตามตะเข็บชายแดนนะครับ ช่วงนี้ขอให้ช่วยกันสนับสนุนสินค้าในประเทศเราก่อน ส่วนสินค้าจากต่างแดน ถ้าดีจริง ต้องมายื่นขออนุญาตหรือปฏิบัติให้ถูกต้องจากสาธารณสุขก่อนนะครับ ตอนนี้ทราบว่าแต่ละประเทศก็พยายามเชื่อมโยงมาตรการต่างๆ กันอยู่ ยังไงก็หวังว่าเมื่อเริ่ม AEC ในปี 2558 สินค้าทั้งหลายในเขตแดนนี้จะมีมาตรฐานที่ปลอดภัยเท่าเทียมกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 162 เตรียมพร้อมให้ดี...อย่าให้ผีมารังควาน

ยุคนี้เหมือนยุคทองของพลเมืองดี ผู้บริโภคหลายรายเมื่อพบเห็นการถูกละเมิดสิทธิจากสินค้าต่างๆ เช่น พบสินค้าหมดอายุหรือไม่ได้คุณภาพ มักจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่ในโซเซียลมีเดีย แต่พบว่าผู้บริโภคหลายรายที่พยายามจะเป็นพลเมืองดีกลับถูกผู้ประกอบการที่กระทำผิดย้อนกลับมาข่มขู่ อันที่จริงการข่มขู่เจ้าหน้าที่หรือประชาชน จากผู้ประกอบการที่กระทำผิดมีมานานแล้ว มีหลายรูปแบบ เริ่มต้นอาจแค่ให้คนอื่นมาโน้มน้าวให้ยุติเรื่องโดยมาคุยโดยตรง หรือมาคุยกับคนใกล้ชิดแทน หรือไม่ก็ส่งจดหมายหรือโทรศัพท์มาข่มขู่ มาด้อมๆ มองๆ ให้เห็นเพื่อให้เกิดความหวาดกลัว หรืออย่างรุนแรงถึงขนาดใช้กำลังประทุษร้ายหรือไปแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาทก็โดนกันมาแล้ว น้องๆ เภสัชกร ที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ก็โดนกันหลายราย “ถ้าเป็นแบบนี้ผู้บริโภคที่พร้อมจะเป็นพลเมืองดีจะทำอย่างไร?” “หากตั้งใจจะทำดี อย่าหวั่นไหวครับ” แต่สิ่งแรกที่เราต้องยึดให้แม่นคือ “ข้อมูลที่เราได้พบเห็นหรือรับรู้มานั้นต้องเป็นข้อเท็จจริง” หลายครั้งที่พลเมืองดีได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน แล้วผลีผลามรีบไปดำเนินการ กว่าจะรู้ว่าข้อมูลที่ได้มานั้น มันมีส่วนจริงบ้างไม่จริงบ้างก็ถลำลงไปเยอะแล้ว อันดับแรกขอให้ตรวจสอบให้ชัดว่า ผลิตภัณฑ์อะไร เกิดกับใคร เกิดอันตรายอย่างไร ถ้ารู้จักกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขยิ่งดี ให้เขาช่วยกันตรวจสอบให้ชัดว่าอันตรายที่เกิดขึ้นนั้นมันมาจากผลิภัณฑ์นี้จริงหรือไม่ และพยายามรักษาสภาพเดิมของสินค้าให้มากที่สุด เผื่อบางทีเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์ เจ้าของสินค้าเขาจะอ้างไม่ได้ว่ามีการสลับเปลี่ยนตัวอย่าง (หรือหากจะส่งพิสูจน์เองควรให้มีเจ้าหน้าที่หรือคนกลางเป็นพยานรับรู้เห็นด้วย) โดยปกติ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลและพบว่า ผลิตภัณฑ์นั้นๆ อาจจะเกิดอันตราย ก็จะออกประกาศเตือนภัยให้ประชาชนรู้ แต่ผู้บริโภคบางรายหากอยากจะเตือนประชาชนด้วยตัวเองก็สามารถกระทำได้ แต่ขอให้เป็นการแจ้งข้อมูลเพื่อเตือนภัยจากสิ่งที่ตนเองพบ โดยอาจใช้ข้อความในลักษณะว่า “พบผลิตภัณฑ์สินค้าที่แสดงฉลากแบบนี้” ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือพบว่าทำให้ได้รับความเสี่ยงหรืออันตราย พยายามเลี่ยงข้อความที่ไประบุว่า “ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนั้นทั้งหมด” มันเลวหรืออันตราย เพราะข้อมูลที่พบคือสิ่งที่เราเจอตรงหน้าเท่านั้น “หากเป็นพลเมืองดีแล้วโดนขู่” ขอให้ตั้งสติให้ดี ระลึกไว้เสมอว่าผู้ผลิตสินค้าที่ผิดกฎหมายมักไม่กล้าแสดงตัว เพราะหากแสดงตัวว่าเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เมื่อไร ก็จะถูกเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีแน่นอน เมื่อตั้งสติได้แล้ว ขอให้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน พร้อมทั้งเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าที่น่าจะเป็นมูลเหตุที่ทำให้ถูกขู่ไปด้วย เพื่อจะได้มีการบันทึกข้อมูลให้เห็นความเชื่อมโยงกัน หลังจากนั้นให้ไปแจ้งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทราบด้วย (เช่น โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา แต่หากไม่ประสงค์จะแสดงตัว จะฝากคนอื่นๆ ไปแจ้งข้อมูลแทนตนเอง ขอให้มีข้อมูลที่ละเอียด ชัดเจนครบถ้วน เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว ให้กำลังใจพลเมืองดีทุกคนครับ “ถ้ามั่นใจในเจตนาดี อย่าให้ผีมารังควาน”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 ผิวขาวของคน ทำไมต้องซุกซนมาถึงหมีและหอย?

“เกิดเป็นคนโชคดี” ข้อความสั้นๆ ในโฆษณาที่ลงในหน้าหนังสือพิมพ์ เรียกร้องความสนใจจากผม เพราะโฆษณาชิ้นนี้ไม่ได้มีแค่ข้อความข้างต้นเท่านั้น  แต่มันยังมีภาพสาวผิวขาวหันหลังให้หมีขนคล้ำ พร้อมกับภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชนิดหนึ่ง สัญชาติญาณที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค ทำให้ผมพยายามค้นหาสิ่งที่ผิดปกติในโฆษณาชิ้นนี้ คนมาเกี่ยวอะไรกับหมีหรือหมีมาเกี่ยวอะไรกับคน  ผมตามไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสินค้านี้ในอินเตอร์เน็ต ปรากฏว่ามีคลิปโฆษณาใน Youtube เป็นอนิเมชั่น เรื่องราวของหมีขนคล้ำนั่งคุยกับสาวผิวขาว ทำนองว่าหมีอิจฉาหญิงสาวที่ผิวขาว แต่ตัวเองมีขนคล้ำ ก่อนจบลงด้วยสาวผิวขาวกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผมลองตามรอยเข้าไปหาข้อมูลต่อไปอีกว่าผลิตภัณฑ์นี้มันคืออะไร ก็พบข้อความบรรยายว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เป็นสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อบำรุงผิวให้สวยใส มีสารต้านอนุมูลอิสระ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ผิวทำให้ผิวขาวอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นก็บรรยายว่ามีส่วนประกอบสามัญประจำบ้านที่เราแทบจะพบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนานาชนิด และตามเคยนอกจากจะบรรยายว่าผิวขาวแล้ว ยังตามมาด้วยการอ้างสรรพคุณมากมายทั้งผอม ลดน้ำหนัก ป้องกันกระดูกพรุน ป้องกันมะเร็งลำไส้ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ผิดกฎหมายเพราะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแต่โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณจนเข้าข่ายผลิตภัณฑ์ยา ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อผมลองสืบค้นไปเรื่อยๆ พบว่าข้อมูลเหล่านี้มีการแพร่กระจายไปตามเว็บอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการขายสินค้าอีกมากมาย กระทั่งเว็บเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กๆ  ผมเข้าไปเจอกระทู้ที่เด็กมัธยมปลายเข้าไปถามในเว็บว่า มีใครเคยใช้ผลิตภัณฑ์นี้แล้วได้ผลอย่างไรบ้าง ตามด้วยข้อความที่มีคนมาตอบกระทู้มากมายหลากหลาย ทั้งเชียร์ให้ใช้และห้ามไม่ให้ใช้  จนผมต้องไล่ตามไปอธิบายข้อเท็จจริงในที่ต่างๆ   ไม่กี่วันผมเห็นโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกยี่ห้อ โฆษณาในทำนองเดียวกัน เน้นผิวขาวดุจประกายมุก แถมใช้ภาพประกอบเป็นหอยมุกสดๆ แหกฝาให้เห็นเม็ดมุกอยู่ข้างใน  ถึงผมไม่ใช่ผู้ชำนาญเรื่องหอย แต่ก็อดตะลึงไปกับความคิดสร้างสรรค์ของคนทำโฆษณาไม่ได้ ไม่รู้บอกอย่างไรดี โฆษณาทั้งสองชิ้นที่เล่ามา ดูผ่านๆ อาจไม่ผิดกฎหมาย เพราะมันแล้วแต่ใครจะตีความ แต่จากการตามรอยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโฆษณา มันมีอิทธิพลให้เด็กๆ หรือคนบางกลุ่มโน้มเอียงที่จะหลงเชื่อ แถมผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีวางขายเกลื่อนตามร้านสะดวกซื้ออีกด้วย ผู้ใหญ่ท่านใดเห็นโฆษณาชิ้นนี้คอยเหลือบดูแลบุตรหลาน คนใกล้ตัวด้วยนะครับ เพราะโฆษณาปัจจุบันนี้มันเนียนมาก มันไม่ใช้ดารามาแนะนำอย่างเดียวแล้วครับ มันมีหลายวิธีที่จะใช้ชักจูง ไม่เว้นแม้กระทั่งหมีและหอย...แถมคนก็ดันหลงเชื่อเสียด้วย...กรรมจริงๆ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 ฉลาดเลือกซื้อสินค้าบนโลกออนไลน์

“สินค้าคุณภาพดี ราคาถูก” ได้ยินคำนี้อาจทำให้ผู้บริโภคหลายต่อหลายคนตาเป็นมัน ! เพราะของดี ราคาย่อมเยาใคร ๆ ก็อยากได้เป็นธรรมดา...แต่ถ้าจะหาสินค้าแบบนี้บนโลกออนไลน์คงต้องวัดดวง ระมัดระวังและเตรียมข้อมูลให้ถี่ถ้วน เพราะอาจตกหลุมพรางของบรรดามิจฉาชีพที่จับจ้องหวังจะหลอกลวงผู้บริโภคด้วยวิธีต่างๆ ได้เช่นกัน ข้อมูลจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีคดีที่เกี่ยวกับการหลอกลวงให้ซื้อสินค้าออนไลน์ ปีละกว่า 160 คดี ซึ่งมีทั้งรูปแบบพูดคุยหลอกให้โอนเงินมาก่อนแล้วถึงจะได้รับสินค้า หรือแบบสั่งซื้อสินค้าแล้วแต่ไม่ได้รับของตามที่นัดหมายไว้ หรือได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ และแบบที่หลอกว่าเป็นของแท้แต่เอาเข้าจริงแล้วเป็นได้สินค้ามาตรวจสอบแล้วกลายเป็นก๊อปปี้ของแท้เกรดเอ รู้ตัวอีกทีเจ้าของร้านก็โกยเงินปิดมือถือ ปิดหน้าเว็บไซต์ ติดต่อหาคนรับผิดชอบไม่ได้แล้ว ซึ่งคดีเหล่านี้ในแต่ละปีมีมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยปีละกว่า 60 ล้านบาท หากลองย้อนดูข้อมูลประเทศไทย จะพบว่าเราเริ่มมีการเปิดให้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ในปี 2538 ซึ่งช่วงแรกๆ มีคนใช้งานอินเทอร์เน็ตแค่ 45,000 คน ส่วนบนโลกออนไลน์เริ่มมีการทำธุรกิจซื้อขายสินค้ามาประมาณ 10 ปี แต่เพิ่งจะได้รับความนิยมในช่วงหลังที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรวดเร็วและรองรับได้ดี จนทำให้ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 30 ล้านคนทั่วประเทศ เกือบครึ่งของประชากรทั้งประเทศเลยก็ว่าได้ เมื่อสังเกตพฤติกรรมการซื้อสินค้าของคนไทยในปัจจุบัน ที่ดูจะมีแนวโน้มนิยมซื้อสินค้าผ่านโลกออนไลน์กันมากขึ้นทุกปี จากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กว่า 16,000 คนทั่วประเทศ พบว่าส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าผ่านโลกออนไลน์ เพราะสะดวก ประหยัดเวลา ไม่ต้องไปเดินตามตลาดนัดหรือห้างสรรพสินค้าก็มีของที่อยากได้มาส่งถึงหน้าประตูบ้าน หรือไปรับที่ร้านสาขาซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เงินซื้อสินค้าเฉลี่ย 4,000 บาทต่อครั้ง เงินจำนวนหลักพันน่าจะเป็นจำนวนไม่น้อยเลย โดยเฉพาะสำหรับเยาวชนในช่วงอายุ 15 -19 ปี ซึ่งเป็นวัยที่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากเป็นอันดับหนึ่ง หากแบ่งเป็น 3 ช่วงวัย ได้แก่ วัยเรียน วัยทำงาน และวัยเกษียน จากผลสำรวจวัยเรียนที่กล่าวมาจะนิยมซื้อสินค้าราคาไม่เกิน 1,000 บาท และจ่ายด้วยเงินสดหรือบัตรเติมเงิน ส่วนคนวัยทำงาน จะซื้อสินค้าราคาเฉลี่ยที่ 1,000 – 4,000 บาท โดยจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต ขณะที่คนวัยเกษียนจะซื้อสินค้าราคาเฉลี่ยที่ 1,000 – 4,000 บาท เช่นเดียวกัน แต่จะจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตและโอนเงินผ่านธนาคาร การจะตัดสินใจซื้อสินค้า บนโลกออนไลน์ ไม่เห็นหน้าคนขาย จ่ายเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าจะให้เปรียบก็เหมือนกับซื้อขายผ่านอากาศ ไม่เห็นสินค้าหน้าร้าน ไม่ได้จับต้องของที่อยากได้ ดังนั้นก่อนผู้บริโภคจะตัดสินใจก็ต้องมั่นในมากพอ เพราะอาจถูกมิจฉาชีพหลอกเหมือนกับผู้เสียหายหลาย ๆ ท่านที่ต้องควักเงินในกระเป๋าไปฟรี ๆ สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกที่จะซื้อสินค้าผ่านโลกออนไลน์ ที่น่าจะปลอดภัยในระดับหนึ่ง มี 6 ข้อ ดังนี้ ตรวจสอบเว็บไซต์หรือแหล่งขายที่ใช้บริการก่อนที่จะไปชำระเงิน  เว็บไซต์ต้องจดทะเบียนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากับกระทรวงพานิชย์ ซึ่งจะมีข้อมูลของผู้จดทะเบียน ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ – สกุล , ที่อยู่ , สัญลักษณ์ทางการค้า เป็นต้น ทั้งนี้เครื่องหมายสัญลักษณ์ทางการค้าจะสามารถตรวจสอบแสดงตัวตนของผู้ขาย ช่วยให้ผู้บริโภคอุ่นใจและสามารถดำเนินคดีได้รวดเร็วหากมีการกระทำความผิด สังเกตผลตอบรับการซื้อจากผู้บริโภค และตรวจสอบจากการโต้ตอบของผู้ขายและโภคบริโภค ต้องมีความสม่ำเสมอ สุภาพ และรวดเร็ว พร้อมมีข้อมูลแจ้งสถานการณ์การส่งของ และหลักฐานที่เห็นชัดเจน หรือต้องมีรหัสเลขพัสดุชัดเจนกรณีส่งสินค้าผ่านไปรษณีย์ เว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์ของผู้ขายต้องมีระยะเวลาในการเปิดใช้งาน อย่างน้อย 2 ปี สินค้าของผู้ขายต้องไม่ผิดกฎหมาย และสังเกตราคาต้องไม่ควรถูกกว่าราคาจริงมากจนน่าเหลือเชื่อ เพราะมิจฉาชีพจะใช้ความโลภของผู้ซื้อในการดึงดูดให้สนใจซื้อสินค้า เว็บไซต์ควรมีระบบความมั่นคงปลอดภัย หลังการซื้อขาย ผู้บริโภคต้องเก็บสลิปหรือหลักฐานโอนเงินให้ดีไว้ใช้ในยามที่ได้รับสินค้าไม่ตรงตามความต้องการที่ตกลงกันไว้ หรือไม่ได้รับสินค้า จะได้ใช้เป็นหลักฐานแจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีได้ และหากจะให้ดียิ่งขึ้นควรถ่ายสลิปไว้ด้วยเพราะอยู่ได้นาน ข้อความไม่ซีดจาง สรุปคือ ก่อนซื้อสินค้าออนไลน์ ระวังกันสักหน่อย รอบคอบกันสักนิด ก็น่าจะดีกว่ามาช้ำใจภายหลัง เพราะโดนหลอกลวง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

บทบาทขององค์กรทดสอบและประเมินสินค้า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

บทความพิเศษบทบาทขององค์กรทดสอบและประเมินสินค้า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดย ศลิษา เตรคุพ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภคในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี องค์กรที่มีหน้าที่ทดสอบและประเมินสินค้าไม่ใช่ของใหม่ เนื่องจากภาครัฐได้คำนึงถึงความสำคัญของผู้บริโภคที่ควรจะมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ตลอดจนได้รับสินค้าและบริการที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา องค์กรดังกล่าวในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจะประสบปัญหาและอุปสรรคโดยเฉพาะด้านข้อกฎหมายอยู่บ้าง แต่ก็ยังคงยืนหยัดปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงตรงมาโดยตลอด ดังที่ท่านจะได้รับทราบจากประวัติการก่อตั้งและการดำเนินงานขององค์กร รวมถึงกรณีศึกษาจากการทดสอบสินค้าต่างๆ   ปัจจุบันมีสินค้าวางจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้สินค้าชนิดหนึ่งๆมีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นด้านปริมาณหรือคุณภาพ ส่งผลให้มีการแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างดุเดือดของผู้ผลิตสินค้าต่างๆ กลยุทธ์หนึ่งที่ผู้ผลิตมักนำมาใช้คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ให้ข้อมูลเฉพาะด้านดีของสินค้า หรือ การให้ข้อมูลสินค้าไม่ครบ ผู้บริโภคจึงตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบอยู่เนืองๆ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆในประเทศไทยได้รวมตัวกันจัดตั้ง “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภคขึ้น เพื่อดำเนินการทดสอบสินค้าและบริการต่างๆในประเทศไทยตามหลักวิชาการอย่างเป็นกลางและเป็นธรรม ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลและให้ข้อคิดเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แก่สาธารณชน รวมถึงหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนเช่นเดียวกับที่มูลนิธิองค์กรทดสอบสินค้าในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ STIFTUNG WARENTEST ได้ดำเนินการมาแล้วเกือบครึ่งศตวรรษ ประวัติการก่อตั้งและการดำเนินงานขององค์กรฯปี 1962 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นาย Konrad Adenauer นายกรัฐมนตรีคนแรกของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ได้เสนอความคิดในการจัดตั้งองค์กรทดสอบคุณภาพสินค้าที่เป็นกลางขึ้นต่อรัฐสภา หลังจากที่กระทรวงเศรษฐกิจได้วางแผนสร้างองค์กรนี้เป็นเวลาถึง 12 ปี ต่อมา ในการประชุมรัฐสภา เมื่อ วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1964 รัฐสภา (สภาบุนเดสทาก) มีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้องของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ ที่ขอจัดตั้งองค์กรทดสอบคุณภาพสินค้าในรูปของมูลนิธิ ภายใต้ชื่อ STIFTUNG WARENTEST (ชติ๊ฟทุ่ง วาเร่นเทสท์) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงเบอร์ลิน และใน วันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1964 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจได้ทำพิธีเปิดมูลนิธิองค์กรทดสอบสินค้านี้อย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งร่วมกำหนดระเบียบแบบแผนในการดำเนินงาน ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลกลางสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ปี 1966 STIFTUNG WARENTEST ได้จัดจำหน่ายวารสาร test ฉบับปฐมฤกษ์ตามร้านค้าทั่วไปในราคาเล่มละ 1.50 มาร์ค รวมทั้งจัดจำหน่ายวารสารในรูปแบบของสมาชิกอีกด้วย โดยสินค้าแรกๆ ที่ถูกนำมาทดสอบคือ จักรเย็บผ้าและเครื่องผสมอาหาร ส่วนผลการทดสอบสินค้าในวารสารฉบับแรกๆ นั้นจะเป็นการบรรยายความคิดเห็นโดยรวมเท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนาผลการทดสอบให้อยู่ในรูปของค่าคะแนนและจัดอันดับระดับคุณภาพสินค้า ตั้งแต่ระดับ ‘ดีมาก’ ‘ดี’ ‘ปานกลาง’ ‘พอใช้’ ไปจนถึง ‘คุณภาพต่ำ’ ค่าคะแนนและการจัดอันดับนี้บริษัทผู้ผลิตสินค้าต่างๆ (ที่ได้รับคะแนนดี!) สามารถนำไปใช้โฆษณาสินค้าของตนได้ แต่จะต้องเป็นไปตามรูปแบบที่มูลนิธิกำหนดไว้เท่านั้น จวบจนทุกวันนี้ STIFTUNG WARENTEST ก็ยังคงจำหน่ายวารสารดังกล่าวอยู่ ในราคา 4.20 ยูโร ซึ่งในแต่ละฉบับก็จะมีการทดสอบสินค้าและบริการที่แตกต่างกันออกไป ผลจากการดำเนินงานที่น่าเชื่อถือของ STIFTUNG WARENTEST ทำให้บริษัทเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์และการวิเคราะห์ทางสถิติ Forsa (Forsa: Gesellschaft f?r Sozialforschung und statistische Analysen mbH) สรุปผลการวิจัยในปี 2000 ว่า ชาวเยอรมันจำนวนถึง 96 % รู้จัก STIFTUNG WARENTEST และหนึ่งในสามของกลุ่มประชากรจะยึดผลการทดสอบประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า ต่อไปนี้ คือ ตัวอย่างเรื่องราวของกรณีศึกษาซึ่งเกี่ยวกับข้อพิพาททางกฎหมายที่ผ่านมาของมูลนิธิฯ และคำพิพากษาของศาลล้วนแล้วแต่ถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่างๆ ในเวลาต่อมาทั้งสิ้น กรณีศึกษาที่ 1 : การทดสอบอุปกรณ์ยึดรองเท้าสกี (1975)เกิดข้อพิพาททางกฎหมายระหว่าง STIFTUNG WARENTEST กับบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ยึดรองเท้าสกี จึงทำให้ศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งสหพันธ์ (Bundesgerichtshof) ณ เมือง คาร์ลสรูเฮ่อ (Karlsruhe)ได้เข้ามาพิจารณาการทำงานของมูลนิธิเพื่อการทดสอบสินค้าเป็นครั้งแรก และให้คำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานแก่มูลนิธิ โดยศาลฯได้เน้นย้ำถึงหน้าที่อันจำเป็นต่อเศรษฐกิจโดยรวมและความสำคัญขององค์กรนี้ ตลอดจนได้ให้อำนาจแก่ STIFTUNG WARENTEST เพื่อพิจารณากำหนดขั้นตอนการทดสอบสินค้า การประเมินคุณภาพ และการแสดงผลการทดสอบเองอีกด้วย   กรณีศึกษาที่ 2: เครื่องย่อยขนาดขยะธรรมชาติ (1987)ศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งสหพันธ์ได้พิพากษากรณีข้อพิพาททางกฎหมายระหว่าง STIFTUNG WARENTEST กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องย่อยขนาดขยะธรรมชาติแห่งหนึ่ง ข้อพิพาทนี้เกี่ยวเนื่องกับข้อสงสัยที่ว่า การทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์โดยมูลนิธินั้นทำให้สินค้าต้องมีมาตรฐานสูงเกินกว่ามาตรฐานที่สถาบันเพื่อการวางมาตรฐานแห่งเยอรมันหรือ สถาบันมาตรฐานสินค้า DIN (DIN: Deutsches Institut f?r Normung) กำหนดไว้หรือไม่ โดยศาลฯพิจารณาเห็นว่า การกระทำดังกล่าวถือเป็นภาระหน้าที่ของมูลนิธิที่จะต้องทำการเปิดเผยสิ่งที่เห็นว่าเป็นข้อบกพร่องหรือตำหนิของสินค้าให้สาธารณชนรับรู้รับทราบ ทั้งนี้รวมถึงข้อบกพร่องของมาตรฐาน DIN ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากเครื่องมืออย่างไร้ความเสี่ยงต่ออันตรายใดๆ อย่างไรก็ดี การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ เสีย อันจะเป็นประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป กรณีศึกษาที่ 3 : ครีมบำรุงผิวหน้า (2005-2006)เกิดคดีพิพาทระหว่างบริษัทผู้ผลิตครีมบำรุงผิวหน้ายี่ห้อ Hautnah (เฮ้าท์นา) ที่มีดาราหญิงยอดนิยมรุ่นใหญ่ ชื่อ อุ๊ชชี่ กลาส (Uschi Glas)เป็นพรีเซนเตอร์ โดยได้เป็นโจทก์ได้ยื่นฟ้อง STIFTUNG WARENTEST ต่อศาลชั้นต้น เนื่องจากทางมูลนิธิได้ทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางขายตรงต่างๆ และให้ผลการประเมินครีมชนิดนี้ว่า ‘คุณภาพต่ำ’ เพราะอาจทำให้ระคายเคืองผิวได้ คดีนี้เป็นที่สนใจของสื่อมวลชนอย่างมาก แม้ต่อมาศาลแขวงกรุงเบอร์ลินจะพิจารณาเพิกถอนคำร้องของโจทก์ แต่บริษัทผู้ผลิตก็ไม่ละความพยายามและยื่นคำร้องขออุทธรณ์เพื่อให้ศาลพิจารณาคดีอีกครั้ง ทว่าศาลสูงกรุงเบอร์ลินก็เพิกถอนคำร้องดังกล่าวซึ่งทำให้คดียุติลงได้ในที่สุด จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านทุกท่านจะตระหนักถึงความจำเป็นและประโยชน์ขององค์กรทดสอบสินค้าและบริการ ซึ่งทางกลุ่ม “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค สนใจและเห็นความสำคัญ ในการทดสอบสินค้า ตลอดจนให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในประเทศไทย เพราะนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ที่ประสบความสำเร็จในประเทศเยอรมนีและยุโรป คือการให้ความรู้และข้อมูลแก่ผู้บริโภค นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 สินค้าซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนคืน ผู้บริโภคมีสิทธิอะไรบ้าง

หลายครั้งที่ผู้บริโภคอย่างเราจำเป็นต้องซื้อสินค้าที่ติดป้ายว่า “ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนคืน” ซึ่งบางคนอาจจะโชคดีที่ได้ของมีคุณภาพไป ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งอาจจะต้องเสียเงินเพิ่ม เพื่อซ่อมสินค้าชิ้นนั้นหรือแก้ปัญหาด้วยการซื้อของใหม่ให้รู้แล้วรู้รอดไป อย่างไรก็ตามไม่ใช่สินค้าทุกประเภท ที่มีสิทธิจะติดป้ายเอาเปรียบดังกล่าว ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณภา ต้องการซื้อกล้องวงจรปิด ที่มีความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล ไปเดินดูที่ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต ก็พบร้านที่ถูกใจ พนักงานขายแจ้งว่ามีกล้องวงจรปิดอย่างที่ต้องการ จึงตกลงซื้อมา ในราคา 1,450 บาท อย่างไรก็ตามในวันนั้น คุณภาต้องรีบไปทำธุระอย่างอื่นต่อ พร้อมกับที่ทางร้านแจ้งว่าคอมพิวเตอร์สำหรับไว้ใช้ทดสอบการทำงานของกล้องเสีย จึงทำให้เธอไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดของกล้องให้ครบถ้วนเมื่อกลับมาทดสอบด้วยตนเองที่บ้านจึงพบว่า กล้องดังกล่าวมีความละเอียดเพียง 3 แสนพิกเซลเท่านั้น นอกจากนี้เมื่อพลิกดูใบเสร็จรับเงินก็พบข้อความว่า สินค้าซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนหรือคืน แต่มีการรับประกัน 1 ปี เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงเกรงว่าอาจจะไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงส่งเรื่องร้องเรียนมาทางอีเมล์ของศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอคำแนะนำก่อนเบื้องต้น   แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ แนะนำให้ผู้ร้องเข้าไปเจรจากับทางร้านก่อน พร้อมส่งหลักฐานการชำระเงินและรูปสินค้ามาให้ ซึ่งผู้ร้องก็ได้ติดต่อกลับไปที่ร้าน ตามนามบัตรที่ร้านเคยให้ไว้ โดยทางร้านแจ้งว่า ไม่มีกล้องวงจรปิดที่มีความละเอียดเกิน 3 แสนพิกเซล อาจมีการเข้าผิดระหว่างผู้ร้องกับพนักงานขายหน้าร้าน อย่างไรก็ตามให้ผู้ร้องกลับไปที่ร้านเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อน ซึ่งภายหลังการเจรจาทางร้านก็ยินดีรับคืนสินค้า พร้อมคืนเงินให้เต็มจำนวน เพราะผู้ร้องมีหลักฐานการชำระเงินจากทางร้านนับว่าผู้ร้องโชคดีที่ยังเก็บหลักฐานดังกล่าวไว้ เพราะหากเราไม่มีเอกสารอะไรไปยืนยัน ก็อาจต้องเสียเงินฟรีให้กับสินค้าที่ไม่ต้องการ และยังเปลี่ยนคืนไม่ได้อีกต่างหาก อย่างไรก็ตามสำหรับการซื้อสินค้าที่ติดป้ายเช่นนี้ ผู้บริโภคอย่างเรา จำเป็นต้องตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อมา โดยสังเกตรายละเอียดเบื้องต้นต่างๆ คือ1. ป้ายราคาที่ชัดเจน 2. สินค้านั้นต้องสามารถจับต้อง พิสูจน์คุณภาพด้วยมือและตาของผู้ซื้อก่อนได้ หรือให้ลองได้ 3. เป็นสินค้าที่ไม่ต้องเปลี่ยนอะไหล่ เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าอะไหล่ข้างใน มีประสิทธิภาพหรือเสื่อมภาพมากน้อยแค่ไหนแล้ว เช่น กรณีสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ หากผู้ขายติดป้ายห้ามเปลี่ยนคืน อย่างน้อยก็ต้องมีป้ายการรับประกันไว้ ทั้งนี้ หากเราโดนหลอกขายของคุณภาพต่ำ ไม่ตรงกับป้ายประกาศโฆษณา ก็สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ เพราะแสดงถึงเจตนาของร้านค้าที่จงใจไม่แสดงรายละเอียดให้ชัดเจน อาจมีเจตนาที่จะหลอกลวงเรา หรือเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นความผิดอาญาหลอกให้ซื้อด้วยวิธีการต่างๆ นั่นเอง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 “เมื่อรถใหม่ ไม่ใหม่อย่างที่คิด”

ปัญหารถยนต์ใหม่ป้ายแดงกลับมาอีกแล้ว หลังผู้บริโภคถอยมาได้สองวันแล้วขับไปเที่ยวต่างจังหวัดพร้อมครอบครัว แต่ดันเกิดอุบัติเหตุยางระเบิดเสียหลักบนทางด่วน เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสทั้งครอบครัว หลังสอบถามไปยังบริษัทรถยนต์ดังกล่าว กลับปฏิเสธว่ารถยนต์มีปัญหา อ้างเป็นเพราะปัจจัยแวดล้อม แม้ผู้บริโภคจะมีทางเลือกมากมายในการซื้อสินค้าและใช้บริการต่างๆ แต่ความเสี่ยงในการเลือกซื้อสินค้าต่างๆ เหล่านั้นกลับไม่ได้ลดลงเท่าไรนัก เพราะ เราก็ไม่มีทางรู้ได้ว่า สินค้าที่เราเลือกไว้อย่างดีแล้วนั้น จะดีจริงตามที่เราคิดไว้หรือไม่ เนื่องจากสินค้าเหล่านั้นอาจมีความชำรุดบกพร่องอันเนื่องมาจากขาดการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ผลิต หรือผ่านการตรวจสอบแต่ไม่พบข้อบกพร่องในขั้นตอนการผลิต ซึ่งผู้บริโภคไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความชำรุดบกพร่อง หรือมีคุณภาพตามที่ได้ระบุไว้หรือไม่ รวมถึงการบริการต่างๆ ของผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็นไปตามสัญญา ล้วนส่งผลให้ผู้บริโภคตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ได้รับสินค้าที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่เป็นไปตามโฆษณา เหมือนกรณีของคุณสุชาติที่เกือบได้รับอันตรายถึงชีวิตคุณสุชาติและภรรยาเข้ามาร้องเรียนหลังจากซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดงยี่ห้อ เชฟโรเลต รุ่นสปิน (Chevrolet Spin) มาได้ 2 วัน แล้วเกิดอุบัติเหตุยางระเบิด ทำให้ทั้งครอบครัวที่โดยสารไปด้วยกันวันนั้นได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยเมื่อทางบริษัทรถยนต์นำยางรถดังกล่าวไปตรวจสอบกลับพบว่า ยางไม่มีความผิดปกติใดๆ จึงปฏิเสธว่าสาเหตุไม่ได้เกิดจากยางรถยนต์ของบริษัท หากแต่เป็นเพราะปัจจัยภายนอกอื่นๆ มากกว่า เช่น ผู้ร้องขับรถยนต์ไปทับตะปูหรือก้อนหินขนาดใหญ่ ทั้งๆ ที่ในวันเกิดเหตุกำลังขับรถอยู่บนเส้นทางด่วนบูรพาวิถี ไม่มีก้อนหินใหญ่ใดๆ รวมทั้งอากาศปลอดโปร่ง ไม่มีปัจจัยใดที่ทำให้ยางระเบิดได้แน่นอน อย่างไรก็ตามหลังจากผู้ร้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้นำยางรถยนต์ที่เหลือไปตรวจสอบ ซึ่งผลปรากฏว่ายางรถที่เหลือทั้ง 3 ล้อเป็นยางเก่าทั้งหมด ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงแนะนำให้ผู้ร้องติดต่อไปยังบริษัทประกันภัยและเจ้าหน้าฝ่ายขายของรถยนต์ (ไฟแนนซ์) เพื่อทำหนังสือยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ หรือการจ่ายค่างวดรถยนต์ เพราะ ตั้งแต่เกิดเรื่องผู้ร้องก็ไม่ได้มีการใช้รถ แต่ว่าต้องจ่ายค่าเช่ามาเป็นระยะเวลา 2 เดือนแล้ว อย่างไรก็ตามไฟแนนซ์ก็ได้ปฏิเสธโดยอ้างว่าเป็นเพียงผู้ให้กู้ยืมเงินไม่เกี่ยวกับกับการซื้อรถยนต์ และไม่ยอมให้ยกเลิกเพียงแต่ให้ชะลอการจ่ายค่างวดแทน ต่อมาก็ได้แนะนำให้ผู้ร้องใช้ประกันภาคสมัครใจชั้น 1 คุ้มครองรถยนต์ที่เสียหาย โดยให้ช่วยตรวจสอบว่ารถยนต์มีความผิดปกติอย่างไรจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้นแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้นอกจากผู้ร้องจะได้เข้ามาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แล้ว ยังได้มีการดำเนินคดีฟ้องร้องต่อศาล โดยหลังจากการเจรจากับอัยการก็ได้ข้อเสนอ 2 ข้อดังนี้ 1. ให้ทางบริษัทรถยนต์ เชฟโรเลต รับรถคืนไปและช่วยเหลือเงินชดเชยค่างวดที่ผู้ร้องได้เสียไปก่อนหน้านี้ ได้แก่ ค่าดาวน์รถยนต์และค่าเช่าซื้อ พร้อมขอให้ผู้ร้องได้รับส่วนลดพิเศษสำหรับการซื้อรถยนต์ยี่ห้อ เชฟโรเลต คันใหม่ หรือ 2. ทางบริษัทรถยนต์ เชฟโรเลต และศูนย์บริการซ่อมรถคันดังกล่าวให้เหมือนเดิม พร้อมช่วยเยียวยาค่าเสียหายและค่าเช่าซื้อจนกว่ารถยนต์นั้นจะซ่อมเสร็จ และหารถยนต์คันใหม่ให้ผู้ร้องใช้งานจนกว่าจะได้รถยนต์คืนหลังจากบริษัทรถยนต์ เชฟโรเลต นำข้อเสนอกลับไปพิจารณาก็ได้แจ้งกับผู้ร้องว่า บริษัทประกันภัยรถยนต์ตกลงที่จะรับซื้อซากรถ และทางบริษัทรถยนต์ เชฟโรเลต จะให้การช่วยเหลือส่วนหนึ่งเพื่อให้ผู้ร้องขาดทุนน้อยลง ส่วนทางไฟแนนซ์ก็จะยกเว้นค่าเบี้ยปรับให้ ด้านฝ่ายผู้ร้องเมื่อเห็นว่าทุกฝ่ายมีความเต็มใจที่จะให้การช่วยเหลือ จึงตกลงรับข้อเสนอและยุติเรื่องแต่เพียงเท่านี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 9 เทคนิคจับผิดร้านค้าออนไลน์ เพื่อไม่โดนหลอก

แม้ว่าการซื้อของผ่านระบบออนไลน์เป็นที่นิยมของคนไทย แต่ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นแหล่งโจรของมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาอีกไม่น้อย S! Money มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อย ฝากไว้เป็นข้อสังเกต ก่อนที่จะตัดใจจ่ายเงินซื้อของออนไลน์ ดังนี้1. นำชื่อ เบอร์โทรศัพท์ หรือ username ของคนขายมา search หาใน google หากชื่อนี้เคยหลอกลวงคนอื่นมาก่อน แล้วกลับมาโพสต์ขายของอีก จะมีคนพูดถึงรายละเอียดคดีความของเขาขึ้นมาเลยด้วย2. ให้กดค้นหาชื่อร้านค้า หรือคนขาย ใน Facebook หรือ Twitter ตรวจสอบสถานะว่ามีการขายของจริงๆ หรือไม่ เพราะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องมีตัวตัวผ่านเครื่องมือ ต่างๆ ของโซเชียลแน่นอน3. ลองค้นหาในเว็บไซต์ที่สามารถตรวจสอบตัวตน เช่น  peekyou.com , touchgraph.com/seo หรือ socialmention.com แล้วใส่ชื่อ หรือ username ของผู้ขายลงไป ก็จะเจอข้อมูลมากมายทั้งอีเมล์ ข้อมูลบนเว็บต่างๆ และ Social Network ของเขา4. ตรวจสอบกับผู้ที่เคยซื้อ ว่าได้รับสินค้าจริงๆ หรือไม่? อาจจะหลังไมค์ไปพูดคุยกับคนที่เคยสั่งซื้อที่มีชื่อปรากฏการจองสินค้า เช่น ถ้าร้านขายใน Facebook เราก็ Inbox ไปสอบถามความรู้สึก ความคิดเห็นว่า สินค้าเป็นอย่างไร เพื่อเก็บเป็นข้อมูลการตัดสินใจได้อีกทาง 5. อย่าเห็นแก่ของราคาถูก! ถ้าพบว่าร้านค้าออนไลน์ขายของถูกเกินจริง ต้องยิ่งสังเกตและระวังเป็นอย่างมาก เพราะโอกาสโดนหลอกสูงมากๆ  และอุทาหรณ์ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีนี้6. ลองสั่งซื้อของจำนวนน้อยๆ ก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า คนขายคนนั้น ส่งของจริง และมีตัวตนจริงๆ (หากเป็นคนโกง เค้าจะพยายามให้คุณสั่งของทีละมากๆ ระวังเอาไว้)7.อย่าไว้ใจแค่ social network ของผู้ขาย เพราะบางคนมีหลายแอ็คเค้า(account)  พยายามขอแอ็คเค้าจริงๆ ที่เขาใช้ ที่สามารถเห็น เพื่อนๆ และพฤติกรรมจริงๆ ได้8.ตรวจสอบดูความใหม่ของสินค้าหน้าเว็บไซต์ และการอัพเดทเว็บไซต์ หากเว็บไซต์มีการอัพเดทเป็นประจำ เช่นมีสินค้าใหม่ๆ มีการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่น การอัพเดทสินค้าเป็นประจำ ก็แสดงให้เห็นว่าเจ้าของร้านดูแลหน้าร้านออนไลน์ของเขาอยู่จริง ทำให้เรามั่นใจได้มากขึ้น9. ส่วนการจ่ายเงิน หากจำเป็นต้องโอนผ่านธนาคาร พยายามเลือกร้านที่มีรีวิวการส่งสินค้า การรับสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้ใช้รูปเดิม เพื่อยืนยันว่ามีการส่งสินค้าจริงที่มา  http://money.sanook.com/229693/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 กล่องโฟม เลิกได้ไหม

ทำดีต้องชม     ก่อนอื่นขอชื่นชมการทำงานของ อย.  ณ  ยุคสมัยนี้  ที่กล้าหาญ  ออกมาประกาศชื่อสินค้าไม่ปลอดภัยกว่า 20  รายการ  นับว่ามีกระบวนการพัฒนาการทำงานที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้ระดับหนึ่ง   แต่ปัญหาเรื่องอาหารปลอดภัย  ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ที่รอการแก้ไขทั้งการโฆษณาหลอกลวง ทั้งกระบวนการผลิต ที่ผู้ผลิตขาดความรู้ความเข้าใจและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคโดยที่ผู้ผลิตเองก็มิได้ตั้งใจต้นเดือน พฤศจิกายน  2557  ผู้เขียนได้เดินทางไปร่วมประชุมกับเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดหนึ่ง ที่อยู่ใกล้ๆกับกรุงเทพฯ  น้องๆ บอกว่า  วันนี้อาหารว่างเป็นขนมไทย(อุ้ยดีใจ..ของชอบของเราเลย) ถึงเวลาน้องๆ ก็เอาขนมมาเสิร์ฟ    เห็นแล้วว่าเป็นขนมตะโก้เผือกอยู่ในกล่องโฟม   ไม่ทันดูให้ละเอียดตักกินเลย   คำแรกถึงกับอึ้ง  เพราะขนมที่กินเข้าไป กลิ่นโฟมฉุนมาก  เลยก้มไปดูในกล่อง   บอกตรงๆ เห็นแล้วตกใจ  เพราะไม่ใช่ขนมชิ้นๆ ตักใส่กล่องมาอย่างที่เคยเห็น    แต่เป็นการเอาขนมใส่นึ่งมาในกล่องเลยเราเชื่อว่าแม่ค้าคงเน้นความสะดวกเป็นหลัก  คงไม่ทันนึกว่าทำเช่นนี้ จะเกิดอันตรายต่อคนกินอย่างไร     แต่เรื่องนี้ในฐานะคนทำงานด้านสิทธิผู้บริโภค  เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องออกมาเตือนกัน   ไม่อย่างนั้นจะเกิดวัฒนธรรมเลียนแบบ   และจะก่อให้เกิดอันตรายต่อคนกินในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ งานนี้บอกตรง   หากใครจะใช้สิทธิ ร้องเรียน  น่าลำบากมากในการเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาดูแล  เพราะไม่รู้หน่วยงานไหนกันแน่ที่ดูแลเรื่องนี้     ถ้าเป็นอาหาร(ในบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป มีหีบห่อ) ก็รู้อยู่ว่า   อย. ดูแล  แต่ถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์(ที่เป็นโฟม) สมอ. และ สคบ. ดูแล   แต่พอเอาอาหารมาใส่กล่องโฟม  เลยยุ่งๆ ไม่รู้ใครกันแน่ที่ต้องดูแลเรื่องนี้  เอาเป็นว่าหน่วยงานไหนก็ได้ ช่วยออกมาส่งเสียงเตือนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค   ถึงอันตราย  ที่เรามองเห็นแต่ “ไม่รู้” ให้ได้รู้เพื่อป้องกันต่อไป  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 จัดฉากไปทำไม??

1  กันยายน  2556   วันที่ผู้บริโภคไทยต้องจดจำเป็นพิเศษ   เพราะเป็นวันของแพงแห่งชาติ  บรรดาสินค้าที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันตั้งแต่  แก๊ส   ค่าไฟฟ้า  ค่าทางด่วน  นัดกันขึ้นราคาพร้อมๆ กัน จนผู้บริโภคอย่างเรามึนไปตามๆ กัน  และยิ่งมึนไปกว่านั้นคือ ประโยคเด็ด ของท่านปลักกระทรวงพาณิชย์ ที่ว่า  “ของไม่ได้แพงจริง  ที่คิดว่าของแพง มันเป็นแค่ความรู้สึก”  เล่นเอาผู้ฟังอย่างเราๆ สะอึกจนพูดไม่ออกเอ้า..กลับมาเข้าเรื่องกันหน่อย  เรื่องนี้ยังผูกติดอยู่กับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ที่เขียนย้ำบ่อยๆ เกี่ยวกับกกพ. เพียงต้องการให้ผู้บริโภคทราบว่า  กกพ.นี่แหละ เป็นคนชี้เป็นชี้ตาย  เรื่องการขึ้นราคาไฟฟ้าในประเทศเรา  คราวที่แล้วเขียนเรื่องไฟดับ 14  จังหวัด  ส่งข้อเสนอไป  เงียบ...ไม่มีคำตอบ  (อยู่ระหว่างทวงถาม) คราวนี้มาใหม่ วันที่ 23  สิงหาคม 2556  มีข้อมูลผ่านสื่อว่า กกพ. มีมติขึ้นค่าไฟฟ้า อัตโนมัติ(FT)  สำหรับเดือนกันยายน – ธันวาคม 2556 อีก 7.2  สต.ต่อหน่วย  ผู้เขียนในฐานะคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต  ได้ท้วงติงการตัดสินใจของกกพ. ที่ไม่ผ่านการรับฟังความคิดเห็น  จากนั้นก็ได้รับข้อมูลจากฝ่ายคุ้มครองสิทธิฯ(กกพ) ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกับการขึ้นราคาค่า FTโดยเปิดให้แสดงความคิดเห็นจนถึงวันที่ 30  สิงหาคม  2556   ผู้เขียนจึงนำเรื่องนี้เข้า ที่ประชุมเพื่อให้คณะกรรมการร่วมกันที่ประชุมได้พิจารณาข้อมูลที่ กกพ. เสนอมา และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง  และได้มีมติเป็นเอกฉันท์  “ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าFT ” ที่กกพ. มีมติ เห็นชอบตามข้อเสนอของ กฟผ. ฝ่ายเดียว      ผลสรุปมีข้อเสนอส่งไปถึงกกพ. ดังนี้1. กกพ.  เป็นองค์กรกำกับ  ไม่ควรที่จะด่วนตัดสินใจขึ้นค่า FT   โดยพิจารณาเพียงข้อมูลที่ กฟผ. เสนอมาเพียงฝ่ายเดียว  เพราะขาดความรอบคอบ เกี่ยวกับการตัดสินใจที่ ส่งผลต่อผู้ใช้พลังงานทั้งประเทศ      2. กกพ.    ควรจัดให้มีมีกระบวนการ ศึกษาข้อมูล ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า  เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลจาก กฟผ.  เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านในการตัดสินใจ ให้เกิดความเป็นธรรม  ทั้งกับผู้ประกอบการ และผู้ใช้พลังงาน3. กกพ.ควรดำเนินการพัฒนาสูตรคำควณการขึ้นค่าไฟฟ้า อัตโนมัติ(ค่าFT)ขึ้นใหม่      โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย  เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำสูตรคำนวณการขึ้นค่าไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (FT) ให้เป็นที่ยอมรับ และมีความเป็นธรรมมากขึ้นเมื่อได้ข้อเสนอแล้วก็ส่งไปให้กกพ. ภายในวันที่กำหนดคือ 30 สิงหาคม 2556  ซึ่งเป็นวันศุกร์  เจ้าหน้าที่ตอบรับเรียบร้อย  วันที่ 31 เป็นวันเสาร์  วันที่ 1 กันยายน 2556 วันอาทิตย์  ค่า FT ขึ้นทันที  คำถามคือ เขารับฟังความคิดเห็นทำไม?  รับฟังแล้วนำข้อเสนอไปพิจารณาตอนไหน?  คำถามนี้คงยังไม่มีคำตอบ  แต่คงเป็นภาระที่พวกเราต้องค้นหาคำตอบร่วมกัน  ว่าองค์กรกำกับที่ปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้พวกเราจะจัดการกับพวกเขาอย่างไร ?  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 สมาร์ทโฟนแค่เดือนเดียวเจ๊งต้องขอเปลี่ยนคืน

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555 เวลาประมาณ 6 โมงเย็นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภูษิตเข้าไปซื้อสมาร์ทโฟน Sony Xperia SZ(LT26i) ในราคา 15,990 บาทจากบริษัท ทีจี เซลลูล่าร์เวิลด์ จำกัด สาขาที่ 108หลังจากใช้งานได้ประมาณ 1 เดือน มือถือเริ่มมีอาการค้างบูทเอง และเปิดเครื่องไม่ได้ในท้ายที่สุด“วันที่ 15 ตุลาคม 2555 ผมเอาเครื่องไปส่งซ่อมที่ศูนย์โซนี สาขามาบุญครอง ช่างบอกว่าต้องลงโปรแกรมใหม่ ใช้เวลา 2 ชั่วโมงมารับเครื่องได้ หลังจากรับเครื่องไปใช้ได้เพียงหนึ่งวัน เครื่องก็มีอาการเดิมครับ”“วันที่ 17 ตุลาคม 2555 ผมนำเครื่องกลับไปที่ศูนย์มาบุญครองอีก ช่างแจ้งว่าต้องนำไปที่ศูนย์ทองหล่อ ซอย 9 เพื่อตรวจสอบ เพราะอาจเสียที่ฮาร์ดแวร์และเป็นศูนย์ใหญ่แน่นอนกว่า”“ในวันเดียวกันผมจึงเดินทางไปที่ศูนย์ทองหล่อซอย 9 ช่างยืนยันจะลงโปรแกรมให้เหมือนเดิม อ้างว่าศูนย์มาบุญครองอาจลงไม่ครบ”“หลังจากที่ผมรอ 2 ชั่วโมงกลับมารับเครื่อง ระหว่างตรวจสอบก่อนรับเครื่องคืน เครื่องก็มีอาการดับเอง บูทเครื่องเองอีก ต้องใช้เวลานานมากเพื่อให้ช่างรับเครื่องไว้ เพื่อให้ตรวจสอบฮาร์ดแวร์”“ช่างพยายามบอกให้ผมนำเครื่องกลับไปใช้ก่อน แต่ผมไม่มีความมั่นใจอีกแล้ว สุดท้ายเจ้าหน้าที่จึงรับปากจะตรวจสอบฮาร์ดแวร์ให้อย่างละเอียด บอกว่าใช้เวลา 3 วัน” วันที่ 19 ตุลาคม 2555 ครบกำหนดสามวันภูษิตกลับไปรับเครื่อง เมื่อเปิดเครื่องตรวจสอบเครื่องก็ดับต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของศูนย์โซนีเลย“ผมไปรับเครื่องตั้งแต่บ่ายสามโมงเย็น คุยจนศูนย์ปิดห้าโมงเย็น ถามเจ้าหน้าที่ว่าเครื่องมีปัญหาชัดเจนแบบนี้ทำไมไม่ทำอะไรให้ ช่างจึงรับปากว่าจะเปลี่ยนเมนบอร์ดให้ แต่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 อาทิตย์”“ผมไม่มีความมั่นใจในบริการอีกแล้ว เครื่องไม่สามารถใช้ได้ต้องรอนาน ศูนย์ไม่ใส่ใจในการแก้ปัญหา ผมเขียนอีเมล์ถึงบริษัทโซนี เพื่อขอให้รับซื้อสินค้าคืน และขอร้องเรียนต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้ช่วยติดตามเรื่องด้วยครับ” แนวทางแก้ไขปัญหาโดยทั่วไป ผู้ประกอบธุรกิจมักจะมีระยะเวลารับประกันสินค้าหากเกิดความชำรุดบกพร่องอันเนื่องจากสภาพตัวเครื่องหรือการใช้งานตามปกติ และมักจะใช้วิธีการซ่อมแล้วซ่อมอีกซ่อมไปเรื่อยๆ จนหมดระยะเวลารับประกัน หลังจากนั้นก็โบกมือบ๊ายบายแต่เดี๋ยวนี้มือถือนี่เหมือนรถยนต์ ราคาไม่ใช่ถูก จึงเป็นสินค้าที่เอามาขายต่อได้ ซื้อมาใช้ อยากเปลี่ยนใหม่ก็ขายต่อได้ แต่ถ้าต้องเจอแบบซื้อมาแป๊บเครื่องซ่อมแล้วซ่อมอีก ซ่อมก็ไม่หายจะเอาไปขายต่อใครก็ไม่ได้ เพราะเครื่องยังเจ๊งอยู่ซ่อมไม่หาย ใช้งานไม่ได้ ขายไม่ได้ ดังนั้นผู้ขายผู้ผลิตจึงต้องรับผิดชอบที่เกิดขึ้นซ่อมได้ หายก็จบ ซ่อมไม่ได้ก็ต้องคืนสินค้าและเรียกร้องค่าใช้จ่ายทั้งหมดคืนหลังจากที่ภูษิตส่งอีเมล์ถึงโซนี และได้แสดงอาการเสียและความล้มเหลวในการซ่อมให้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง และได้แสดงความประสงค์อย่างชัดเจนว่าไม่ต้องการเปลี่ยนสินค้าตัวใหม่เพราะขาดความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า ท้ายที่สุดโซนีจึงให้บริษัททีจี เซลลูล่าร์เวิลด์ จำกัด ผู้จำหน่ายสินค้า ชำระเงินคืนทั้งหมดจำนวน 15,990 บาทคืนแก่ภูษิตจนเป็นที่เรียบร้อย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 เครื่องซักผ้านำเข้า...ซักผ้านวมแล้วเอ๋อ

เมื่อปลายปี 2553 ในงานแสดงสินค้าที่เมืองทองธานี ประสารได้ซื้อเครื่องซักผ้านำเข้าจากนิวซีแลนด์ ยี่ห้อ Fisher & Paykal บริษัท ทิมแลง 2000 จำกัดเป็นตัวแทนจำหน่าย เครื่องซักผ้าที่ซื้อเป็นระบบฝาบน ขนาดความจุประมาณ 10 กิโลกรัม ราคา 25,000 บาท เหตุผลสำคัญที่ซื้อเพราะตัวแทนขายสินค้ายืนยันว่า เครื่องซักผ้ารุ่นนี้สามารถซักผ้านวมขนาด 6 ฟุตได้แน่นอนตอนที่ซื้อเครื่องซักผ้า ประสารเพิ่งปลูกบ้านหลังใหม่ยังสร้างไม่เสร็จ จึงฝากเครื่องไว้กับตัวแทนขายก่อน และได้รับเครื่องซักผ้าจริงๆ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2554พอได้เครื่องซักผ้ามาก็ฉลองใช้งานเลย เสื้อ-กางเกงผ้าชิ้นไม่ใหญ่น้ำหนักไม่มาก ซักได้ไม่มีปัญหาอะไร แต่พอเอาผ้าห่มนวมขนาด 6 ฟุตมาซักปรากฏว่าเกิดปัญหาทุกครั้ง“เครื่องจะมีอาการหยุดทำงานระหว่างที่การซักยังไม่จบ หน้าจอเครื่องร้องว่าเครื่องขัดข้อง พร้อมกับมีน้ำค้างที่ก้นถังซัก ปั่นออกไม่หมด และไม่สามารถดำเนินการซักต่อได้”วิธีการแก้ไขของประสารคือ ต้องเอาผ้าห่มออกและถอดปลั๊ก ปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ พร้อมกับกดโปรแกรมให้ปั่นน้ำออก เครื่องก็จะกลับมาทำงานได้ใหม่ และซักผ้าอื่นๆ ต่อไปได้ แต่หากเอาผ้าห่มนวม 6 ฟุตกลับมาซักอีกก็จะเกิดปัญหาแบบเดิมซ้ำๆ ทุกครั้ง บางครั้งเกิดหลังซักผ้าห่มนวม 1-2 ผืน บางครั้งซักผ้าห่มนวมผืนแรกก็เกิดปัญหาที่ว่าแล้ว และประสารต้องใช้วิธีแก้ไขแบบเดิมๆ ทุกครั้งเขาตั้งข้อสงสัยว่า เครื่องซักผ้าที่ซื้อมา น่าจะซักผ้าห่มนวมขนาด 6 ฟุตไม่ได้จริงตามที่โฆษณาก่อนที่จะนำเรื่องมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ประสารติดต่อไปที่บริษัทจัดจำหน่ายคือบริษัททิมแสง 2000 ให้มาตรวจสอบแก้ไข บริษัทแสดงความรับผิดชอบด้วยการส่งช่างเข้ามาซ่อมหลายครั้งในช่วงเวลาราว 1 ปี ตั้งแต่ที่รับเครื่องมาเมื่อต้นปี 2554 จนถึงปี 2555 การซ่อมของช่างจากบริษัททุกครั้งก็ทำและได้ผลชั่วคราวเหมือนกับที่ประสารจัดการแก้ปัญหาเอง “คือเครื่องซักผ้ากลับมาใช้งานได้ชั่วคราว ก่อนจะเกิดปัญหาเดิมอีกครั้งเมื่อซักผ้าห่มนวม 6 ฟุตอีก”สำหรับสาเหตุอาการเสียของเครื่องซักผ้าก็มีความแตกต่างกันไปในการซ่อมแต่ละครั้ง เช่น ยกท่อน้ำทิ้งสูงเกินไป เครื่องชื้นจากโดนละอองน้ำฝน หรือเครื่องชื้นจากการอยู่ในห้องปิดระบายน้ำไม่ดี เครื่องวางบนพื้นเอียง อุปกรณ์บางชิ้นเสื่อม ซึ่งเปลี่ยนแล้วก็ไม่หาย“ผมได้ร้องเรียนที่บริษัทหลายครั้งในช่วงปี 2555 เป็นต้นมา ด้วยความเชื่อว่าเครื่องซักผ้ารุ่นนี้อาจไม่สามารถซักผ้านวมขนาด 6 ฟุตได้จริงตามที่โฆษณา สุดท้ายทางผู้จัดการบริษัทแจ้งผมว่า ถ้าเครื่องมีปัญหาอีกให้รีบโทรบอก อย่าเพิ่งถอดปลั๊ก ให้ปล่อยเครื่องร้องข้ามวันข้ามคืนไปก่อนเพื่อให้การบันทึกการเสียโดยอัตโนมัติยังอยู่ที่เครื่องซักผ้า จะรีบนำเครื่องเข้ามาตรวจจับให้เพื่อจะได้ทราบสาเหตุเสียที่แน่นอนและแก้ไขได้ถูกต้อง และจะยอมคืนเงินพร้อมรับเครื่องคืน ถ้ามีหลักฐานชัดเจนแจ้งไปที่บริษัทผู้ผลิตที่นิวซีแลนด์ว่าเครื่องใช้ไม่ได้จริงๆ” ข้อเสนอของผู้จัดการบริษัทนี้มีขึ้นในช่วงปลายปี 2555หลังจากนั้นเครื่องซักผ้ายังคงทำงานตามปกติ คือรับซักเฉพาะเสื้อและกางแกง แต่ไม่รับซักผ้านวมเจอผ้านวม 6 ฟุตลงเครื่องเมื่อไหร่เป็นต้องหยุดปั่นผ้าทุกครั้ง แต่ประสารก็ไม่สามารถเปิดเครื่องให้ร้องข้ามวันข้ามคืนไว้ให้ทางบริษัทเข้ามาตรวจได้ตามที่บอก เพราะกว่าบริษัทจะเข้ามาได้ก็ต้องนัดนานเป็นสัปดาห์ ก็ต้องทนใช้วิธีการแก้ปัญหาชั่วคราวแบบเดิมไปพลางๆ“จนถึงต้นปี 2556 เมื่อเกิดปัญหาแบบเดิมอีก ผมได้แจ้งบริษัทให้ส่งช่างมาดู พร้อมกับบอกว่าจะยอมเปิดเครื่องให้ร้องทิ้งไว้ข้ามสัปดาห์ ทางบริษัทแจ้งว่า ผู้จัดการคนเดิมที่เคยคุยกับผมมาตลอดนั้นตอนนี้เสียชีวิตไปแล้ว ไม่ทราบว่าตกลงยังไงกันไว้บ้าง ให้ปิดเครื่องไปได้เลยแล้วจะส่งช่างเข้ามาดูในสัปดาห์ถัดไป” ประสารเล่าพอถึงวันนัด มีช่างเข้ามาดูแลแจ้งว่าอุปกรณ์บางชิ้นเสื่อมอีก จะเปลี่ยนให้ฟรีแม้จะหมดประกันแล้ว แต่ช่างมาสังเกตพบว่า น้ำไหลเข้าเครื่องไม่สม่ำเสมอ และตรวจพบว่าเกิดจากแผงวงจรเสีย ซึ่งต้องเปลี่ยนแผงวงจรราคา 4,000 บาท เพราะหมดประกันแล้วประสารไม่ตกลงเพราะอะไหล่ที่จะเปลี่ยนไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเครื่องซักผ้าไม่ยอมซักผ้านวม ทางช่างจึงกลับไปโดยไม่คิดค่าตรวจ แต่เครื่องซักผ้าก็ถูกทิ้งในสภาพเดิมที่แจ้งสถานะว่า ใช้งานไม่ได้ต่อไป แนวทางแก้ไขปัญหาประสารพยายามโทรติดต่อกับผู้จัดการคนใหม่หลายครั้งแต่ติดต่อไม่ได้เลย เลขาหรือเจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่ว่างทุกครั้ง แล้วจะติดต่อกลับมาแต่ไม่เคยติดต่อกลับมาอีก ประสารจึงส่งเรื่องมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแม้เรื่องนี้จะเกิดมาเนิ่นนานหลายปี แต่ก็เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่บริษัทเองก็ไม่สามารถแก้ไขให้เครื่องสามารถใช้งานได้ตามโฆษณา มูลนิธิฯ จึงติดต่อไปที่บริษัทเพื่อให้แสดงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคประสารแจ้งว่า หลังจากที่มูลนิธิฯ ช่วยประสานงานให้ ในที่สุดทางผู้จัดการคนใหม่ได้ยอมพูดคุยด้วย และส่งช่างเข้ามาดู ทางผู้จัดการยังคงยืนยันว่าเครื่องซักผ้ารุ่นนี้ซักผ้านวมขนาด 6 ฟุตได้แน่นอนตามที่โฆษณา แต่คาดว่าประสารอาจจะโชคร้ายได้รับเครื่องการผลิตที่มีปัญหาเอง แต่ยินดีที่จะรับเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้มาใช้ต่อประสารบอก ผมไม่สามารถเชื่อใจทางบริษัทได้อีก จึงยื่นข้อเสนอขอคืนเครื่องและรับเงินคืนหลังจากการเจรจาต่อรองกันอีกราว 2 เดือน ในที่สุดจึงได้ข้อตกลงร่วมกัน โดยทางบริษัทยอมรับคืนเครื่องและคืนเงินให้จำนวน 15,000 บาท เรื่องจึงเป็นอันยุติความจริงแล้ว กระบวนการร้องเรียนเพื่อการเยียวยาความเสียหายไม่จำเป็นต้องปล่อยให้ยืดยาว รอซ่อมแล้วซ่อมอีก หากผู้บริโภคพบว่า สินค้ามีคุณภาพไม่เป็นไปตามที่โฆษณาก็สามารถที่จะแสดงเจตจำนงขอเปลี่ยนสินค้าหรือคืนสินค้าเพื่อขอคืนเงินได้ตั้งแต่การมาตรวจซ่อมครั้งแรกแล้ว หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ยินยอมผู้บริโภคก็สามารถร้องเรียนต่อ สคบ. หรือที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ทันที  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 ชอบของจัดโปรโมชั่น ระวังสินค้าหมดอายุ

“ซื้อ 1 แถม 1” ถือเป็นข้อความโดนใจของนักช้อป ถ้าเจอโปรโมชั่นแบบนี้จากของที่ไม่เคยซื้อเคยกินก็ต้องเปลี่ยนใจรีบซื้อทันที เป็นกลยุทธ์การขายที่ใช้ได้ดีมาตลอดสานีต้องหยุดเดินทันทีเมื่อเห็นป้าย “ซื้อ 1 แถม 1” ของเครื่องดื่มนมผสมงาดำ เนเจอร์อัพสูตรบิวตี้ไซน์ ในบิ๊กซีซูเปอร์มาร์เก็ตย่านราชดำริ พอดูรายละเอียดแล้วยิ่งน่าสนใจใหญ่เพราะไม่ใช่แค่ซื้อกล่องแถมกล่อง แต่แถมเป็นแพ็คเลย แพ็คละ 3 กล่องจัดวางกันเป็นคู่ขาย 36 บาท ประหยัดตั้ง 18 บาท แต่วันนั้นสานีดีใจสุดๆ หยิบมา 4 แพ็ค จ่าย 72 บาท ในใจคิดได้ฟรี 2 แพ็คประหยัดไปตั้ง 36 บาทแน่ะพอกลับมาถึงบ้านก็จับกล่องเจาะดื่มเลย ปรากฏว่านมรสชาติออกแนวเสียๆ บ้วนทิ้งแทบไม่ทัน เลยต้องตรวจสอบฉลากขนานใหญ่ พบ 2 แพ็คที่ติดมาเป็นของแถมฉลากแสดงวันที่หมดอายุมันผ่านเลยมาแล้วร่วมเดือน จึงนำเรื่องนี้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ที่สถานีตำรวจ แต่ยังชั่งใจไม่ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการรับทราบ เพราะคิดว่าห้างคงไม่ได้ตั้งใจหลอกขายสินค้าให้ผู้บริโภคต่อมาอีกวัน ไปที่ห้างเดิมไปซื้อไก่สดมาปรุงอาหาร ยี่ห้อ KCF ของบริษัท เกษมชัยฟาร์มกรุ๊ป จำกัด พอนำกลับมาถึงบ้านเพิ่งสังเกตฉลาก อั๊ยย่ะ หมดอายุไปแล้ว 3 วัน ตัดใจต้องทิ้งลงถังขยะไม่กล้าฝืนใจนำไปทำอาหาร “โอ้ย...ทำไมฉันถึงซวยอย่างนี้” แนวทางแก้ไขปัญหาสานีแบกเอาปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องสองวันติดกันและเกิดจากห้างเดียวกันมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เมื่อเราตรวจสอบข้อเท็จจริงกันแล้วเห็นว่า แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารจะมีการแสดงฉลากของอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 ครบถ้วน แต่การนำมาจำหน่ายหลังวันหมดอายุไปแล้วทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเข้าลักษณะไม่ปลอดภัยในการบริโภค มีสรรพคุณไม่เป็นที่เชื่อถือ หรือมีคุณค่าหรือคุณประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่ไม่เหมาะสม ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายอาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 25(4) ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ได้ มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามสิทธิของผู้บริโภคโดยตรงและผู้ประกอบการได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงได้เชิญผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาเจรจาเพื่อพิจารณาเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้บริโภค ผลของการเจรจาห้างบิ๊กซีตกลงให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บริโภคเป็นเงิน 10,000 บาทผู้บริโภคยอมรับ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคขอขอบพระคุณห้างบิ๊กซีที่ใส่ใจในการปกป้องสิทธิของผู้บริโภคอย่างจริงใจ และได้นำปัญหาข้อร้องเรียนไปพัฒนาปรับปรุงการบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 ชวนลงทุนไม้กฤษณา ผลตอบแทนอาจต่ำกว่าที่คิด

ด้วยราคาอันสูงลิ่วของน้ำมันกฤษณา และมักมีข่าวการลักลอบตัดไม้กฤษณาถี่ขึ้นเรื่อยๆ จึงมีคนหัวใสตั้งบริษัทลงทุนปลูกไม้กฤษณาขึ้นมา ชวนคนมาร่วมระดมทุน นำเสนอผลตอบแทนแบบสูง แต่พอเอาเข้าจริงๆ กลับไม่เป็นอย่างที่คิดไม้กฤษณา เป็นสินค้าส่งออกราคาสูงของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับแต่ช่วงศตวรรษที่ 16 ...ในประเทศไทย บริษัท ทัชวู้ด ฟอร์เรสตรี จำกัด ได้รับอนุญาตจัดตั้งโรงงานกลั่นน้ำมันกฤษณา เพื่อการขายและการส่งออกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันจะส่งผลให้บริษัทฯ เป็นศูนย์กลางในการกลั่นน้ำมันไม้กฤษณาขนาดใหญ่ได้ในอนาคตด้วย...”เมื่อสัก 6 ปีที่แล้ว คุณอัฐวุฒ ได้เห็นข้อความโฆษณาชวนลงทุนปลูกต้นกฤษณาจากนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ชื่อดังฉบับหนึ่ง และบริษัทแห่งนี้ยังไปจัดบูธกิจกรรมตามห้างสรรพสินค้าใหญ่  ข้อความโฆษณาที่โดนใจเอามากๆ คือ ผลประโยชน์ทางการเงินจากการร่วมลงทุน แจ้งว่า ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ร่วมลงทุน ในระยะเวลา 6 ปี สามารถได้รับผลประโยชน์ถึง 230,000 บาท จากเงินลงทุนเพียง 82,000 บาท และสูงสุดถึง 3,680,000 บาท จากเงินลงทุน 1,173,000 บาท  ทำให้เขาซึ่งเป็นช่างภาพอิสระและเป็นคนรักธรรมชาติ คิดอยากจะเพิ่มรายได้จากเงินออมที่เก็บไว้ด้วยการเข้าร่วมลงทุนปลูกต้นกฤษณากับบริษัทแห่งนี้คุณอัฐวุฒเข้าทำสัญญาซื้อขายแปลงปลูกต้นไม้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549 โดยเลือกโปรแกรมการลงทุนขนาดเล็กสุดคือ เนื้อที่ปลูก 25 ตารางวา กับไม้กฤษณาจำนวน 23 ต้น โดยวางเงินก้อนแรก 55,000 บาท และต้องจ่ายเป็นรายปีในปีต่อๆ มาอีกปีละ 5,500 บาทเป็นเวลา 5 ปี รวมเป็นเงินร่วมลงทุนทั้งสิ้น 82,500 บาท   ซึ่งบริษัทฯ ได้แสดงราคาผลตอบแทนทางการตลาดที่ผู้ร่วมลงทุนจะได้รับอยู่ที่ประมาณ 138,000-230,000 บาท โดยประเมินจากมูลค่าทางการตลาดของต้นกฤษณา ณ เวลาที่เก็บเกี่ยวคือ 10,000 บาทต่อต้น เวลา 6 ปีผ่านไปไวเหมือนฝัน หลังจากส่งเงินค่างวดไปจนครบ ตามสัญญาบริษัทบอกว่าจะตัดต้นไม้ในปีนี้ คุณอัฐวุฒนั่งดีดลูกคิดทันที ปลูกไว้ 23 ต้น ต้นละ 10,000 บาท จะได้เงิน 230,000 บาท ลงทุนไป 82,500 บาท   กำไร 147,500 บาท หาร 6 ปี เท่ากับว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 24,583 บาทเหมือนรู้ใจ...ไม่นานเกินรอ บริษัทฯ ได้ส่งเอกสารขออนุญาตตัดต้นไม้มาให้ พร้อมให้เซ็นชื่อรับเงิน ด้วยอารามดีใจจรดปากกาเซ็นรับเงินทันที พอเซ็นไปแล้วถึงเพิ่งเห็นจำนวนเงินที่บริษัทฯจะจ่ายให้ เป็นเงิน 138,000 บาทเท่านั้น ซึ่งเป็นผลตอบแทนขั้นต่ำสุดของการลงทุน ไม่รู้จะแก้ไขยังไงเพราะตัวเองเซ็นชื่อลงไปแล้ว ตอนหลังจึงโทรไปถามพนักงานดูแลของบริษัทฯ ว่า สภาพการปลูกต้นไม้เสียหายอะไรบ้างหรือเปล่า ทำไมถึงได้รับแค่นี้ พนักงานก็ตอบว่า ไม่มีความเสียหายใดๆ แม้แต่เรื่องของน้ำท่วมก็ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ปลูกคุณอัฐวุฒ ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ได้แต่เลยตามเลย ส่งเอกสารพร้อมลายเซ็นยอมรับค่าตอบแทนจำนวนดังกล่าวกลับคืนให้บริษัทฯ มาขุ่นใจเพิ่มเติมตรงที่ว่า จะได้รับเงินต้องรออีก 3 เดือน พอมีเวลาว่างเลยคิดทบไปทบมาว่าเกิดอะไรขึ้น มีอะไรไม่ตรงไปตรงมาตรงไหน ตัวเองจะได้เงินหรือเปล่า สับสนวุ่นวายไปหมดท้ายที่สุดเลยส่งเรื่องมาปรึกษากับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องของสติเป็นสำคัญ ดีที่คุณอัฐวุฒไม่โลภมากเลือกลงทุนในโปรแกรมที่เล็กที่สุดก่อนกับธุรกิจที่ตัวเองไม่มีความสันทัด หรือมีข้อมูลประกอบในการตัดสินใจค่อนข้างน้อยในเอกสารของบริษัทฯ ที่แสดงเงื่อนไขการได้รับผลตอบแทน ให้ข้อมูลว่า ผลตอบแทนจะอิงกับราคารับซื้อคืนต้นไม้ที่ปลูก โดยราคารับซื้อคืน หมายถึง ถ้า ณ วันเก็บเกี่ยว ราคาตลาดของกฤษณาลดลงน้อยกว่าราคารับซื้อคืน บริษัทฯ จะจ่ายผลตอบแทนให้ไม่น้อยกว่าราคารับซื้อคืน โดยที่ทางบริษัทจะเป็นผู้ให้ข้อมูลความเคลื่อนไหวของการตลาด รวมทั้ง กำหนดเวลาการเก็บเกี่ยวของลูกค้าแต่ละราย กระบวนการเก็บเกี่ยว ทางบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด โดยจะแจ้งรายละเอียด ขนาด ข้อมูลของต้นไม้ น้ำหนัก ราคาโดยมีการคำนวณก่อนการตัดโค่น เพื่อให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า และหลังการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 30 วัน บริษัทฯ จะดำเนินการจ่ายคืนลูกค้าตามราคาตลาดเต็มจำนวนถ้าพูดกันแบบสั้น ราคาตลาดที่บริษัทว่ามา ก็คือราคาตลาดที่บริษัทกำหนดมานั่นเอง เพราะเป็นทั้งผู้ปลูก ผู้กำหนดจำนวนปลูก ผู้กำหนดเวลาปลูก ผู้กำหนดเวลาเก็บเกี่ยว ผู้เก็บเกี่ยวและวัดขนาด น้ำหนักของต้นไม้ และเป็นผู้จำหน่ายไม้กฤษณาด้วย จึงทำให้บริษัทเป็นผู้กุมข้อมูลสภาพการตลาดทั้งหมด      ดังนั้น ผู้ร่วมลงทุนจึงแทบไม่มีข้อมูลที่จะต่อรองได้เลย ซ้ำยังไม่มีความรู้พื้นฐานของการตลาดว่าจะไปเช็คตรวจสอบราคาตลาดเปรียบเทียบได้ที่ไหน ไม่เคยไปดูสภาพการเจริญเติบโตของต้นไม้ ไม่เคยเห็นขนาดของต้นไม้ที่ตนเองปลูกชัดๆ  ข้อมูลทุกอย่างบริษัทฯจัดทำให้ ผู้ร่วมลงทุนเป็นแต่เพียงผู้รับทราบข้อมูลที่บริษัทแจ้งมาเท่านั้น และที่สำคัญเมื่อเซ็นยินยอมรับในราคาแล้วก็ยากจะดึงกลับคืนมาได้มีจุดเดียวที่พอจะต่อสู้กันได้คือ การจ่ายเงินคืนลูกค้าเกิน 30 วัน จึงได้แนะนำให้ติดตามเงินผลตอบแทนที่บริษัทฯ ตกลงจะจ่ายให้อย่างใกล้ชิด ท้ายสุดคุณอัฐวุฒได้ถอนหายใจโล่งอกเมื่อได้รับเงินขั้นต่ำสุดในท้ายที่สุดในเวลาไม่นานนัก โดยได้กำไรเพิ่ม 55,500 บาทด้วยระยะเวลาลงทุน 6 ปี“เอาน่ะ ยังได้” คุณอัฐวุฒรำพึง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่่ 136 รองเท้าแตะคู่ 3 พัน ใช้ไม่กี่วันเจ๊ง

“ดิฉันได้ไปซื้อรองเท้า FITFLOP ที่ห้างสรรพสินค้าพารากอน เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2554” คุณเสาวรินทร์เริ่มเรื่องเธอบอกว่ารองเท้าคู่นี้ ราคา 3,290 บาท เป็นรองเท้าแตะ...“บ๊ะ!” เจ้าหน้าที่รับเรื่องของมูลนิธิฯ ร้อง รองเท้าแตะอะไรจะแพงขนาดนั้นเปิดดูภาพรองเท้าที่คุณเสาวรินทร์ส่งมาให้ ก็เห็นเป็นรองเท้าแตะหูหนีบ พื้นหนาหน่อย สไตล์โฉบเฉี่ยวเพรียวเท้าถูกใจสาวรุ่น คิดในใจก็ว่าราคายังไม่น่าถึงสามพัน ดูที่สายรองเท้าเห็นลวดลายมองได้เป็นทั้งหนังงูหรือไม่ก็หนังตัวเงินตัวทอง ดูใกล้เคียงกัน ไม่แน่ใจ“คงจะสายรองเท้ามั๊ง ที่ทำให้สมราคาสามพัน” เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนคิดในใจคุณเสาวรินทร์เล่าปัญหาของเธอต่อไปว่า รู้ว่าเป็นรองเท้าราคาแพง พอซื้อมาก็สวมใส่ใช้งานอย่างทะนุถนอม ถามว่าทะนุถนอมยังไงเธอบอกว่า ใช้ใส่เดินในห้างเดินในตึกอย่างเดียว ไม่เคยเอามาใส่เดินบนถนน บนฟุตบาทให้แปดเปื้อนศักดิ์ศรีรองเท้าจากพารากอนเลยสักครั้ง เพราะเดี๋ยวเกิดไปสะดุดปุ่ม สะดุดตออะไรเข้าจะเกิดรอยฉีกรอยขาดเสียหายได้  เวลาเก็บก็เช็ดวางเข้าชั้นวางรองเท้าอย่างดี เรียกว่าแทบจะอัญเชิญเข้าหิ้งก็ไม่ปานอุตส่าห์ทะนุถนอมถึงขนาดนั้น ปรากฏว่าใส่ขึ้นห้างได้แค่ 6 วัน สายหนีบรองเท้าข้างหนึ่งก็ฉีกขาดเสียแล้ว จะปลอบใจตัวเองว่ายังเหลืออีกข้างราคาพันห้าทนใส่ข้างเดียวมันก็ยังไงๆ อยู่ จึงเอาใบเสร็จขึ้นมาดู ปรากฏข้อความเด่นหราว่า“รับประกันสินค้าภายใน 14 วัน” อ่านแล้วเหมือนได้รับข้อความจากสวรรค์ รีบโทรติดต่อไปที่บริษัท สตาร์แฟชั่น(2551) จำกัด ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏอยู่ในใบเสร็จรับเงินว่าเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายและนำเข้ารองเท้า ได้รับคำตอบว่า รองเท้ายังอยู่ในเงื่อนไขระยะเวลารับประกันขอให้ส่งใบเสร็จและนำรองเท้าส่งไปที่ร้านคุณเสาวรินทร์จึงได้ส่งรองเท้าและใบเสร็จไปและรอการติดต่อกลับมาเป็นเวลา 20 วัน แต่ต้องผิดหวังกับคำตอบที่ได้รับเป็นอย่างมาก“ดิฉันได้รับคำตอบว่า การฉีกขาดของหูรองเท้าไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของตัวสินค้า แต่เกิดจากการสวมใส่ จึงไม่สามารถรับผิดชอบ หรือซ่อม หรือเปลี่ยนรองเท้าให้ได้แต่อย่างใด”“ด้วยการสวมใส่ของดิฉันไม่ได้สะดุด หรือมีการกัดของสัตว์เลี้ยงแต่อย่างใด ดิฉันมั่นใจว่า รองเท้าของดิฉันมีปัญหาจากโรงงานเนื่องจากการผลิต อยากทราบว่า ถ้าทางบริษัทฯ รับประกันสินค้า และสินค้าเกิดความชำรุดภายในระยะเวลากำหนด และทางบริษัทฯ ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ดิฉันสามารถดำเนินการใดๆ ได้บ้างคะ” คุณเสาวรินทร์ร้องถามความเป็นธรรมให้เท้าของตนเอง แนวทางแก้ไขปัญหาขอว่าด้วยเรื่องหลักกฎหมายเป็นความรู้กันก่อนในความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กล่าวไว้ในมาตรา 472 ว่า กรณีสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่จะใช้ได้เป็นปกติก็ดี หรือประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี กฎหมายกำหนดให้ผู้ขายต้องรับผิด ไม่ว่าในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้นผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นมีอยู่กรณีที่ผู้ขายสินค้าไม่ต้องรับผิดก็มีเช่นกัน กล่าวในมาตรา 473 ของกฎหมายฉบับเดียวกัน คือ(1)  ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน(2) ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยไม่อิดเอื้อน(3) ถ้าทรัพย์นั้นได้ขายทอดตลาดทั้งนี้ ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้น กฎหมายห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องนั้น (ป.พพ. มาตรา 474)สำหรับกรณีจึงสรุปได้ว่า เมื่อผู้ขายไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ความชำรุดบกพร่องของสินค้าเกิดจากการใช้ของผู้บริโภค ก็คงต้องรับผิดชอบในสินค้าที่ชำรุดเสียหายนั้น แม้จะมีเงื่อนไขว่ารับคืนหรือเปลี่ยนสินค้าภายใน 14 วัน แต่ในหลักกฎหมายก็ยังให้สิทธิในการฟ้องร้องในอายุความ 1ปี แต่นี่คือหลักกฎหมายเพราะในชีวิตมีเพียงน้อยรายที่จะยอมเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อแลกกับค่าเสียหายระดับหลักพันบาทเช่นนี้ดังนั้น การเจรจาไกล่เกลี่ยจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมในสถานการณ์เช่นนี้ มูลนิธิฯ จึงได้มีหนังสือร้องเรียนสินค้าชำรุดบกพร่องถึงบริษัท สตาร์แฟชั่น(2551) จำกัด ในฐานะผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย และยังส่งหนังสือร้องเรียนอีกฉบับไปที่บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในฐานะเจ้าของพื้นที่ขายสินค้า เพื่อให้ช่วยกดดันลูกค้าของตนเองให้แสดงความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการของห้างผลปรากฏว่า บริษัท สตาร์แฟชั่น(2551) ยอมเยียวยาความเสียหายให้กับคุณเสาวรินทร์เป็น Gift Voucher มูลค่า 3,500 บาท มากกว่ามูลค่าราคารองเท้าที่เสียหายเล็กน้อย (รองเท้าซื้อราคา 3,290 บาท) คุณเสาวรินทร์บอกแค่นี้ก็พอใจมากแล้ว เพราะไม่คาดว่าจะเรียกร้องกับบริษัทได้ หลังจากนั้นจึงนำ Gift Voucher ไปแลกซื้อรองเท้าคู่ใหม่ทันที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 หัวดูดไรฝุ่น เครื่องดูดฝุ่น LG ไม่ทำงาน

คุณจีวัฒน์ร้องเรียนผ่านทาง www.consumerthai.orgผมซื้อเครื่องดูดฝุ่นแอลจี เพราะมีหัวดูดพิเศษ sani punch ปรากฏว่าหัวดูดมันไม่ทำงาน ขอเคลมผ่านตัวแทนจำหน่ายหนึ่งอาทิตย์ผ่านไป ตัวแทนจำหน่ายแจ้งว่า ทางแอลจีบอกว่าเคลมไม่ได้ เพราะถือว่าหัวดูดนั้นเป็นของแถมในกล่อง “ตอนที่โฆษณาบอกว่ามันคือคุณสมบัติเด่นของสินค้าเลยนะครับนั่น ที่ผมซื้อก็เพราะมันมีคุณสมบัตินั้นนั่นแหละ ผมควรทำไงดี แนะนำด้วยครับ” แนวทางแก้ไขปัญหาเราได้เปิดไปดูข้อมูลโฆษณาของเครื่องดูดฝุ่นของ LG ที่ถูกร้องเรียนเข้ามา มีรายละเอียดทางอินเตอร์เน็ตคร่าวๆ ว่าLG VC4920NHTMY เป็นเครื่องดูดฝุ่นกำลังไฟ 2,000 วัตต์ มีหัวดูด Mop อเนกประสงค์ ซึ่งช่วยให้ดูดฝุ่นและถูพื้นได้พร้อมกันในครั้งเดียว พร้อมหัวดูด Sani Punch ซึ่งมีลูกกลิ้งสัมผัสพื้นผิวถึง 3,000 ครั้งต่อนาที สามารถลดไรฝุ่นตามที่นอนและโซฟาได้มากถึง 80% หลังจากใช้เพียง 5 ครั้ง ทำให้บ้านสะอาดอย่างแท้จริง ประโยชน์ของหัวดูด Sani Punch มีการโฆษณาข้อมูลเพิ่มเติมว่า“กำจัดผิวหนังที่หลุดร่วงบนที่นอนของคุณผิวหนังที่หลุดลอกออกมาบนที่นอนของคุณ เป็นอาหารชั้นเลิศให้กับไรฝุ่นทั้งหลาย ทำให้ไรฝุ่นขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วกำจัดไรฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพหัวดูด Sani Punch จะช่วยลดไรฝุ่นบนที่นอน ที่เป็นสามาเหตุของโรคภูมิแพ้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ครอบครัวของคุณพักผ่อนได้อย่างสบายตัว และสบายใจ”ดูจากเนื้อหาโฆษณาแล้ว ต้องถือว่าเจ้า หัวดูด Sani Punch นั้นเป็นสาระสำคัญในการขายสินค้า จะอ้างว่าเป็นเพียงของแถมเมื่อเสียแล้วเปลี่ยนให้ใหม่ไม่ได้ ดูจะเป็นพฤติกรรมที่ขาดความรับผิดชอบไปหน่อยเมื่อลูกค้าเขาเชื่อโฆษณาว่ามันสามารถดูดไรฝุ่นหรือแม้กระทั่งเศษผิวหนังของมนุษย์ได้ เลยซื้อมาใช้ แต่เมื่อซื้อมาแล้วกลับเปิดใช้ไม่ได้ หรือไม่สามารถดูดไรฝุ่น เศษผิวหนังของมนุษย์ได้อย่างที่กล่าวอ้าง เจ้าของสินค้าและผู้ผลิตก็จะต้องรับผิดชอบในปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อเรียกร้องปากเปล่ากันไม่ได้เรื่อง เราจึงแนะนำให้ผู้ร้องรายนี้ได้ทำหนังสือไปถึงกรรมการผู้จัดการของบริษัท แอลจี เพื่อขอให้เปลี่ยนหัวดูดไรฝุ่นอันใหม่ให้ ไม่นานหลังได้รับหนังสือทวงสิทธิจากผู้บริโภค บริษัทแอลจีก็ได้ส่งหัวดูดไรฝุ่นอันใหม่มาให้คุณจิรวัฒน์ใช้งาน ปัญหานี้จึงจบลงได้ด้วยดีส่วนจะดูดไรฝุ่น เศษผิวหนังได้ดีขนาดไหน ใครที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ช่วยบอกมาด้วยนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 ไอเสียรั่วในรถโตโยต้า อินโนว่า ศาลสั่งเปลี่ยนรถใหม่ให้ผู้บริโภค

 ศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาสั่ง โตโยต้าเปลี่ยนรถใหม่ให้ผู้บริโภค เหตุเชื่อว่ารถมีความบกพร่องก่อนส่งมอบให้ผู้บริโภค คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเป็นเงิน 759,850 บาท หลังฟ้องศาลผู้บริโภค 1 ปีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน คุณสุภาภรณ์ ว่องวีรวัฒนกุล กับบุตร 3 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท โตโยต้า ธนบุรี จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 บริษัท โตโยต้า ทีบีเอ็น จำกัด เป็นจำเลยที่ 2 และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศ ไทย จำกัด เป็นจำเลยที่ 3 เป็นคดีผู้บริโภค เรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท สาเหตุที่ฟ้องร้องกันเนื่องจาก คุณสุภาภรณ์ได้ซื้อรถยนต์โตโยต้า รุ่นอินโนว่า แต่ปรากฏว่ามีไอเสียจากเครื่องยนต์รั่วเข้ามาในห้องโดยสารทำให้คุณสุภาภรณ์และบุตรซึ่งใช้รถคันนี้ไปรับส่งลูกที่โรงเรียนเป็นประจำมีสุขภาพย่ำแย่ไปตามๆ กันจุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้น เมื่อประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ.2547 คุณสุภาภรณ์ไปเที่ยวงานมหกรรมรถยนต์ที่ศูนย์แสดงสินค้าเมืองทองธานี และได้ตกลงซื้อรถยนต์โตโยต้า อินโนว่า ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลกับบริษัท โตโยต้า ธนบุรี จำกัด ต่อมาได้รับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าวมาเป็นที่เรียบร้อย ก็ได้ใช้งานตามปกติวิสัยรวมทั้งใช้รับส่งลูกทั้งสามไป-กลับโรงเรียนเช้า-เย็นตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ เท่ากับว่าคุณสุภาภรณ์กับลูกๆ ต้องอยู่ในรถยนต์คันดังกล่าววันละประมาณ 5-6 ชั่วโมงหลังจากนั้นไม่นาน คุณสุภาภรณ์เริ่มรู้สึกว่า มีกลิ่นคล้ายกลิ่นจากท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร จึงได้แจ้งกับพนักงานขายของบริษัท โตโยต้า ธนบุรีฯ พนักงานก็แจ้งว่าเป็นเรื่องปกติของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งคุณสุภาภรณ์ไม่เคยใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลมาก่อน จึงไม่ทราบว่าว่าเป็นเรื่องปกติหรือไม่ คุณสุภาภรณ์ใช้รถยนต์คันนี้ (ร่วมกับกลิ่นท่อไอเสีย) จนครบระยะ 50,000 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 จึงได้นำรถยนต์เข้าตรวจเช็คกับศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ของโตโยต้า โดยแจ้งกับพนักงานว่า มีกลิ่นควันคล้ายกลิ่นท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร พนักงานแจ้งว่า เป็นเรื่องปกติของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและแนะนำให้คุณสุภาภรณ์ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไปแล้วแต่กลิ่นดังกล่าวก็ยังไม่หายไป และเริ่มมีคราบเขม่าเข้ามาในห้องโดยสาร จึงได้นำรถกลับไปให้ศูนย์ดูอีกหลายครั้งก็ได้รับคำตอบเหมือนเดิมว่า “ไม่เป็นไร เป็นธรรมดาของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล”ยิ่งใช้รถไปรอยคราบเขม่าในห้องโดยสารยิ่งชัดยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ.2552 จึงได้มีการนัดตรวจรถยนต์คันนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการตรวจสอบว่ามีควันพิษของท่อไอเสียรั่วไหลอยู่ในห้องโดยสารของรถจริงหรือไม่ โดยทำการตรวจวัดประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้วิธีขับรถยนต์รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยนำรถยนต์อีกยี่ห้อหนึ่งมาเปรียบเทียบกับรถของคุณสุภาภรณ์ ผลปรากฏว่า พบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ในห้องโดยสารรถยนต์ของคุณสุภาภรณ์สูงถึง 16 พีพีเอ็ม ส่วนรถยนต์ยี่ห้อที่นำมาเปรียบเทียบตรวจไม่พบก๊าซดังกล่าวคุณสุภาภรณ์ มาทราบภายหลังว่า รถยนต์ที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 2547 มีก๊าซอันตรายและเขม่าจากไอท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนและลูกทั้งสาม จึงหยุดใช้รถยนต์คันนี้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และได้ยื่นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคในเวลาต่อมา ผลของคำพิพากษาวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 ศาลแพ่งธนบุรีออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาในคดี ซึ่งได้ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานการนำสืบของฝั่งผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจแล้ว เห็นว่า จำเลย(โตโยต้า)ไม่สามารถพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงและสาเหตุของปัญหาไอเสียเครื่องยนต์ที่รั่วเข้ามาในห้องโดยสารได้ว่า เหตุของไอเสียเกิดจากสภาพการใช้งานของผู้บริโภคไม่ได้เกิดจากปัญหาการผลิต ทำให้เชื่อได้ว่า รถยนต์คันพิพาทมีความชำรุดบกพร่องมาตั้งแต่บริษัทโตโยต้า ธนบุรี จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ให้แก่คุณสุภาภรณ์ และไม่ได้เกิดจากการใช้งานของคุณสุภาภรณ์แต่อย่างใด ดังนั้นบริษัทโตโยต้า ธนบุรี จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จำหน่าย และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ผลิต นำเข้า จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานพิพากษาให้บริษัททั้งสอง เปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ที่เป็นรุ่นเดียวกับที่ขายให้กับคุณสุภาภรณ์ หรือไม่ก็ซื้อรถยนต์คันที่มีปัญหาคืน ในราคา 759,850 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น และยังสั่งให้จ่ายค่าเสียหายแก่ผู้บริโภคอีก 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2552 หรือวันที่คุณสุภาภรณ์รู้ว่าในรถมีควันพิษและหยุดใช้รถ“รู้สึกพอใจกับคำพิพากษามากและรู้ว่าความยุติธรรมมีอยู่จริง ซึ่งกฎหมายผู้บริโภคเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภคให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ จึงอยากฝากบอกกับผู้บริโภคที่มีปัญหาว่าให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ตามกระบวนการทางกฎหมายเหมือนดิฉัน” คุณสุภาภรณ์กล่าว  

อ่านเพิ่มเติม >