ฉบับที่ 139 “จานดาวเทียม” และ “กล่องรับสัญญาณ” ติดเจ้าไหนถูกใจที่สุด

หากเสาอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์แบบเดิมๆ อย่างเสาอากาศที่เป็นโครงเหล็กแบบก้างปลาหรือเสาขนาดเล็กแบบหนวดกุ้ง ไม่อาจตอบสนองอรรถรสในการชมจนทำให้หลายๆ คนรู้สึกหงุดหงิดใจ เพราะภาพก็ไม่ชัด สัญญาณก็ขัดข้อง บางช่องก็ดูไม่ได้ แต่ปัญหาเหล่านี้หมดไป พร้อมการมาถึงของ “จานดาวเทียม” และ “กล่องรับสัญญาณ” นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงการรับชมทีวีของคนไทย นอกจากจะดูทีวีได้ชัดแจ๋วยิ่งกว่าเดิม ยังได้ดูช่องรายการต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกเป็น 100 ช่อง แถมยังเป็นแบบ “ขายขาด” ติดแล้วดูฟรีไม่มีค่าบริการรายเดือน จึงไม่น่าแปลกใจถ้าเดี๋ยวนี้มองไปตามตึกรามบ้านช่องต่างๆ ไม่ว่าจะบ้านเล็กบ้านใหญ่ ห้องเช่าราคาประหยัดหรือคอนโดหรูราคาแพง เราก็จะพบเห็นจานดาวเทียมหลากสีถูกติดอยู่ทั่วไป ใครที่กำลังคิดจะติดจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณไว้ที่บ้าน หรืออาจจะติดไปแล้ว (แถมเชื่อว่าคงจะมีหลายคนที่ติดมากกว่า 1 จาน หรือ 1 กล่อง)  ที่มีข้อสงสัยว่าแต่ละเจ้าแต่ละผู้ผลิตเขามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันยังไง ติดจานไหนโดนใจกว่าหรือติดกล่องไหนคุ้มค่ามากที่สุด ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาพาไปตะลุยตลาดกล่องรับสัญญาณและจานดาวเทียม ไปดูกันสิว่าแต่ละยี่ห้อเขามีจุดขายอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง   1. กล่องทรูไลฟ์พลัส (True Life+) ผู้ผลิต บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ราคา เฉพาะกล่อง 1,290 บาท ราคาพร้อมจาน จานทึบ (จานแดง) ระบบ KU – Band  พร้อมค่าติดตั้ง บวกเพิ่ม 2,050 บาท (จาน 800 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 250 บาท ค่าติดตั้ง 1,000 บาท) จานแบบโปร่งขนาด 1.5 เมตร รับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band ราคารวมค่าติดตั้ง จ่ายเพิ่ม 3,200 บาท (จาน 900 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 800 บาท ค่าติดตั้ง 1,500 บาท) จานแบบโปร่งขนาด 1.8 เมตร รับได้ทั้งระบบ KU – Band, C – Band และ NSS6 ราคารวมติดตั้ง 4,200 – 4,500 บาท (จาน 1,200 – 1,500 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 1,000 บาท ค่าติดตั้ง 2,000 บาท) จุดเด่น มีช่องรายการด้านบันเทิงประเภท หนัง และ เพลง เฉพาะของตัวเอง (ไม่มีในกล่องเจ้าอื่น) มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศ คือ พรีเมียร์ ลีก ของประเทศอังกฤษ (เฉพาะบางคู่เท่านั้น ต่างจากแบบที่บอกรับสมาชิกที่มีถ่ายทอดสดทุกคู่) หากเป็นจานทึบระบบ KU – Band สามารถรับชมช่องรายการร่วม 47 ช่อง จานโปร่งขนาด 1.5 เมตร สามารถดูได้ 170 ช่อง ส่วนจานโปร่งขนาด 1.8 เมตร สามารถดูได้ 240 ช่อง นอกจากนี้ หากเป็นคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบ ทรู มูฟ หรือ ทรู มูฟ เอช ยังมีสิทธิได้รับชมช่องรายการเพิ่มขึ้นอีก 12 ช่อง truevisions.truecorp.co.th 2. กล่องพีเอสไอทรูทีวี (PSI – True Tv) ผู้ผลิต บริษัท โพลี เทเลคอม จำกัด (Poly Telecom Co.LTD) ราคา เฉพาะกล่อง 890 บาท ราคารวมจานรับสัญญาณระบบ KU – Band (จานดำ) 1,990 บาท จุดเด่น เป็นการรวมตัวกันของ 2 ผู้ให้บริการ คือ พีเอสไอ (PSI) และ ทรู วิชั่นส์ (True Visions) ซึ่งนอกจากจะได้รับชมรายการในระบบ KU – Band แล้ว ยังได้รับชมช่องรายการจากทางทรู วิชั่นส์ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีช่องที่น่าสนใจอย่าง True 10 ซึ่งเป็นช่องที่ถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศลิขสิทธิ์ของทรู วิชั่นส์ (ช่องรายการที่เป็นของทรู วิชั่นส์ จะคล้ายกับช่องรายการของกล่องทรูไลฟ์พลัส) www.psisat.com 3. กล่องไอพีเอ็ม พีวีอาร์ พลัส (IPM - PVR Plus) ผู้ผลิต บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด ราคา ราคากล่อง + จานระบบ KU - Band (จานส้ม) 2,990 บาท จุดเด่น มีช่องรายการเฉพาะของตัวเองกว่า 30 ช่อง ทั้ง ภาพยนตร์ การ์ตูน เพลง ข่าว สารคดี แต่ส่วนใหญ่เป็นช่องที่ผลิตในไทย ไม่ใช่ช่องลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ ช่องรายการที่น่าสนใจคือช่องท้องถิ่น ที่นำเสนอศิลปะ วัฒนธรรม พื้นบ้านของไทย โดยที่ช่องรายการจะแบ่งเป็นภาค เหนือ อีสาน กลาง ใต้ รวมแล้วช่องรายการที่สามารถรับชมได้จะอยู่ที่ 80 กว่าช่อง www.ipmtv.tv 4. กล่องดีทีวี-เอชดีวัน (DTV - HD1) ผู้ผลิต บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ราคา เฉพาะกล่อง 4,990 บาท ราคารวมจานรับสัญญาณระบบ KU – Band (จานเหลือง) 5,490 บาท จุดเด่น เป็นกล่องรัฐสัญญาณที่มีช่องรายการที่ออกอากาศในระบบ HD (High-definition) ที่ให้ความคมชัดของภาพและเสียงมากกว่าการออกอากาศแบบทั่วไป (สาเหตุที่ทำให้กล่องมีราคาสูง) แต่ใช่ว่าทุกช่องรายการจะเป็นระบบ HD ทั้งหมด เพราะจะมีช่องรายการซึ่งเป็นช่องเฉพาะของกล่องอยู่ 5 ช่องที่ออกอากาศในระบบ HD ประกอบด้วยช่องรายการวาไรตี้ 1 ช่อง ช่องภาพยนตร์ 1 ช่อง ช่องกีฬา 2 ช่อง (มีถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศ) และช่องสารคดีอีก 1 ช่อง ช่องอื่นๆ ที่เหลือก็จะเป็นช่องรายการทั่วไปในระบบ KU – Band รวมช่องรายการทั้งหมดที่สามารถรับชมได้อยู่ที่ 79 ช่อง www.dtvthai-hd.com 5. กล่องจีเอ็มเอ็มแซท (GMMZ) ผู้ผลิต บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ราคา เฉพาะกล่อง 999 บาท (ได้รับค่าโทรศัพท์มือถือระบบ AIS และ 12 CALL 1,200 บาท) จุดเด่น เพราะผลิตมาเฉพาะกล่อง คนที่จะติดจะต้องมีจานดาวเทียมอยู่แล้วที่บ้าน (จานดาวเทียมของเจ้าไหนก็ได้) รองรับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band ช่องรายการที่ได้รับชมหลักๆ ก็เป็นไปตามระบบของจานดาวเทียม โดยจะมีช่องรายการพิเศษเฉพาะ 4 ช่อง คือช่องรายการวาไรตี้ ช่องซีรีส์ต่างประเทศ ช่องสารคดี และช่องถ่ายทดสดฟุตบอลต่างประเทศ ซึ่งกล่อง GMMZ ได้ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศถึง 6 ลีก 6 ประเทศ เช่น บุนเดสลีกา เยอรมัน, ลีกเอิง ฝรั่งเศส, เจลีก ญี่ปุ่น ฯลฯ (ไม่ซ้ำกับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดของ ทรู วิชั่นส์) www.gmmz.tv 6. กล่องซันบ็อกซ์ (Sunbox) ผู้ผลิต บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ราคา เฉพาะกล่อง 1,590 บาท (ได้รับค่าโทรศัพท์มือถือระบบ Dtac 1,590 บาท) จุดเด่น ผลิตมาเฉพาะกล่องแบบเดียวกับกล่องจีเอ็มเอ็มแซท ซื้อแล้วต้องนำไปติดกับเจ้าดาวเทียมของเจ้าอื่น รองรับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band จุดขายหลักคือมีช่องรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างเทศ เป็นลาลีกา ลีก จากประเทศสเปน (ไม่ซ้ำกับทั้งของ ทรู วิชั่นส์ และ กล่องจีเอ็มเอ็มแซท)  ช่องที่เหลือก็จะเป็นช่องรายการที่ออกอากาศให้รับชมฟรีทั่วไปตามแต่ระบบของจาน www.rssunbox.com หมายเหตุ : กล่องรับสัญญาณและจานดาวเทียมที่ฉลาดซื้อนำมาแนะนำทั้งหมดเป็นแบบขายขาด ไม่เสียค่าบริการรายเดือน : ราคาที่แสดงเป็นราคาที่แจ้งในเว็บไซต์ของแต่ละผู้ผลิต กรณีซื้อผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่าย ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง   เรื่องที่ควรรู้ก่อนติดจานดาวเทียม 1.ประเภทของจาน และ ระบบของสัญญาณ ก่อนที่เราจะติดตั้งจานดาวเทียม ต้องไม่ลืมศึกษาข้อมูลของจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณว่ามีกี่ชนิดกี่ประเภทที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งที่นิยมกันอยู่ทุกวันนี้จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ จานดาวเทียมระบบ C – Band (ซี – แบนด์) และระบบ KU – Band (เคยู – แบนด์)   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ความแตกต่างของจานรับสัญญาณระบบ C – Band และระบบ KU – Band จานรับสัญญาณระบบ C – Band ลักษณะของจานจะเป็นแบบจานตะแกรงพื้นผิวโปร่ง ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางจะอยู่ที่ประมาณ 5 ฟุต หรือ 1.5 เมตร ไปจนถึง 10 ฟุต หรือ 3 เมตร ซึ่งจานระบบ C – Band สามารถรับสัญญาณได้คลอบคลุมเป็นวงกว้าง รับสัญญาณได้ทั้งดาวเทียมในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีรายการทีวีให้รับชมหลายช่องรายการมากกว่าจานในระบบ KU – Band ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่องฟรีทีวีจากต่างประเทศ แต่ด้วยขนาดของจานซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ต้องอาศัยพื้นที่ในการติดตั้งเหมาะสำหรับคนที่บ้านมีดาดฟ้า ผู้อาศัยอยู่ตาม อพาร์ทเม้นท์ หรือ คอนโด อาจยากในการติดตั้งเพราะมีพื้นที่ไม่เพียงพอ จานรับสัญญาณระบบ KU – Band จะเป็นจานทึบขนาดจะเล็กกว่าจานแบบตะแกรงโปร่งของ C-Band เส้นผ่าศูนย์กลางจะอยู่ที่ 2 ฟุต หรือ 60 ซม. เพราะความที่ใช้รับสัญญาณภายในประเทศ บวกกับความเข้มของสัญญาณมีมากกว่าจานในระบบ C – Band ขนาดของจานระบบ KU – Band จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่มากก็สามารถรับสัญญาณได้อย่างคมชัด ซึ่งด้วยขนาดที่เล็กกว่าจานในระบบ C – Band ค่อนข้างมาก แถมการติดตั้งก็มีความยุ่งยากน้อยกว่า จึงทำให้จานระบบ KU – Band เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะติดได้ทั่วไป ทั้งตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ หรือแม้แต่ตามหอพัก อพาร์ทเม้นท์ ที่มีพื้นที่จำกัด แต่จานระบบ KU – Band ก็มีข้อเสียตรงที่ในช่วงเวลาที่มีฝนตกหนักและมีเมฆหนาทึบ การรับชมทีวีผ่านสัญญาณระบบ KU – Band จะมีปัญหาไม่สามารถรับชมได้ เพราะสัญญาณจะถูกบดบัง ขณะที่จานรับสัญญาณระบบ C – Band จะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เนื่องจากสัญญาณที่ส่งมาจะมีความเบาบางกว่า พื้นที่ของจานในการรับสัญญาณก็มีมากกว่า เวลาที่ฝนตกหนักจึงไม่เป็นปัญหาต่อการรับสัญญาณ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2.ช่องรายการที่ต้องการรับชม สิ่งที่ผู้ผลิตจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณแต่ละเจ้านำมาเป็นจุดขายแสดงความพิเศษและแตกต่างของตัวเองก็คือ “ช่องรายการ” ซึ่งเมื่อลองดูในภาพรวมจะเห็นว่า ช่องรายการที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมากนัก จะมีที่แตกต่างกัน (ที่แต่ละเจ้าจะใช้เป็นจุดขายในการโฆษณา) แค่ไม่กี่ช่อง ส่วนมากจะเป็นช่องรายการจากต่างประเทศ เช่น การแข่งขันกีฬา ภาพยนตร์ และสารคดี  โดยเฉพาะในจานรับสัญญาณระบบ KU – Band ซึ่งส่วนใหญ่จะรับสัญญาณของรายการของประเทศไทย (อาจมีของต่างประเทศบ้าง แต่จะเป็นของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง อย่าง ลาว หรือ กัมพูชา) ช่องรายการที่สามารถรับชมได้จะอยู่ที่ประมาณ 80 – 100 ช่อง แต่หากเป็นจานรับสัญญาณในระบบ C – Band จะสามารถรับชมได้จำนวนช่องมากกว่า คือ ตั้งแต่ 100 ช่องขึ้นไป แถมยังได้รับชมช่องฟรีทีวีของต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น แม้จะมีช่องรายการให้ดูเป็น 100 ช่อง  แต่เชื่อว่าคนที่ดูทีวีส่วนใหญ่คงไม่ได้ดูทั้งหมดทุกช่องที่มี จะมีที่ดูอยู่เป็นประจำเพียงแค่ไม่กี่ช่อง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะติดตั้งเราควรต้องรู้ก่อนว่า จานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณที่เราเลือกนั้นมีช่องรายการอะไรบ้าง มีช่องที่เราสนใจหรือเปล่า หรือถ้าชอบบางรายการเป็นพิเศษ อย่างเช่น เป็นคนชอบดูหนัง ชอบดูข่าว หรือชอบดูกีฬา ก็ต้องลองพิจารณาดูว่าจานและกล่องที่เราจะติดนั้นมีสัดส่วนของรายการต่างๆ เหล่านี้มากน้อยแค่ไหน เนื้อหาและคุณภาพของรายการตรงกับความต้องการของเราหรือไม่   3.ราคา ราคาก็ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่หลายๆ คนใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ ซึ่งราคาถือว่าค่อนข้างใกล้เคียงกัน ในระบบจานรับสัญญาณแบบ KU – Band ขณะที่ระบบ C – Band ราคาก็จะสูงขึ้นมาอีก ซึ่งราคาของกล่องรับสัญญาณพร้อมจานดาวเทียมระบบ KU – Band จะอยู่ที่ 2,000 – 3,000 กว่าบาท แต่ถ้าหากว่าตัวกล่องระบุว่าเป็นระบบที่ถ่ายทอดสัญญาณภาพโทรทัศน์แบบละเอียดและคมชัดกว่าแบบธรรมดา หรือที่เรียกว่าระบบ HD (High-definition) ราคาก็จะสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 7,000 บาท สำหรับจานระบบ C – Band ราคาทั้งชุดจะอยู่ที่ 2,000 บาทขึ้นไป โดยปกติยิ่งขนาดของจานมีความกว้างมากขึ้นเท่าไหร่ ราคาก็มักจะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ในกรณีที่ซื้อเฉพาะตัวกล่องรับสัญญาณราคาก็จะลดลงมาอีกประมาณ 500 – 1,000 บาท ที่สำคัญอย่าลืมบวกค่าบริการติดตั้งซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับร้านตัวแทนจำหน่ายที่เราเลือก   4.บริการหลังการขาย การบริการหลังการขายเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญในการที่จะเลือกซื้อจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณ ทั้งเรื่องของการซ่อมบำรุงรักษากรณีที่สินค้าเมื่อใช้งานแล้วเกิดการชำรุดเสียหาย หากเกิดปัญหาเรื่องการรับชมสามารถดูแลหรือให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาได้ รวมถึงเรื่องของช่องรายการต่างๆ ที่เปิดให้รับชมต้องเป็นไปตามที่โฆษณาไว้ หากไม่สามารถเปิดให้รับชมได้ต้องมีการแจ้งถึงเหตุผล รวมทั้งในกรณีหากมีการเพิ่มช่องรายการก็ควรต้องมีการแจ้งวิธีการรับชม ถ้าต้องมีการเข้ารหัสผ่านกล่องรับสัญญาณก็ต้องการแจ้งให้กับผู้ชมทราบ   5.พื้นที่ที่จะใช้ติดตั้งจานดาวเทียม พื้นที่ที่จะใช้ติดตั้งวางตำแหน่งจานดาวเทียมถือเป็นเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนมองข้าม โดยเฉพาะจานรับสัญญาณในระบบ C – Band ขนาดใหญ่ต้องใช้พื้นที่พอสมควรในการติดตั้ง นอกจากนี้เพื่อประสิทธิภาพในการรับชมจำเป็นต้องคำนึงถึงทิศทางในการรับสัญญาณของตัวจาน ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของการติดตั้งเป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญงาน แต่เราในฐานะผู้ซื้อสินค้าก็ควรทำความใจในเรื่องนี้ไว้บ้าง หลักการง่ายๆ ก็คือ ต้องติดตั้งไว้ในจุดที่ปลอดภัย อยู่ในพื้นที่ที่มีความแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักของจานได้ และต้องไม่อยู่ใกล้กับจุดที่อาจเกิดอันตรายอย่าง สายไฟ หม้อแปลงไฟฟ้า หรือเสาไฟฟ้าแรงสูง และจานที่ติดตั้งควรเป็นจุดสะดวกต่อการเข้าถึงเพื่อซ่อมบำรุงแก้ไข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 132 รู้ทันสัญญาฟิตเนส

  อยากเสียเหงื่อให้กีฬา...แต่กลับต้องเสียน้ำตาให้บริการฟิตเนส คนที่ไม่เคยใช้บริการ ฟิตเนส คลับ คงจะสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีข่าวการร้องเรียนของคนที่ใช้บริการออกมาอยู่ตลอดเวลา หรือถ้าใครลองเสิร์ชข้อมูลเรื่องฟิตเนสในอินเตอร์เน็ตก็จะพบว่า มีคนมาบอกเล่าปัญหาต่างๆ ที่ได้เจอจากการใช้บริการฟิตเนสเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดกับบรรดาฟิตเนส คลับชื่อดังที่เป็นแฟรนไชส์มาจากต่างประเทศทั้งสิ้น เรียกว่าสวนทางกับภาพลักษณ์ที่แสนจะหรูเลิศอลังการของความเป็นสถานบริการเพื่อสุขภาพราวฟ้ากับเหว ฉลาดซื้อเลยส่งทีมงานหน้าใส ไปนั่งฟังพนักงานขายหรือเซลล์ของฟิตเนส คลับ ชื่อดังแห่งหนึ่ง ทำให้ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจ พร้อมๆ กับนึกชมตัวเองที่สามารถรอดพ้นจากพนักงานขายฝีมือขั้นเทพเหล่านั้นมาได้เรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับสถานบริการฟิตเนสปี 2554  จำนวน 32 เรื่อง แบ่งตามสถานบริการแต่ละแห่งได้ดังนี้ทรู ฟิตเนส  14  เรื่องแคลิฟอร์เนีย ว้าว  9 เรื่องฟิตเนส เฟิร์ส  7  เรื่องอื่นๆ   2 เรื่อง ปัญหาที่ร้องเข้ามาส่วนใหญ่เป็นเรื่องสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและปัญหาเรื่องการขอยกเลิกสัญญา ซึ่งมีการร้องเรียนเข้ามาถึง 29 เรื่องจากทั้งหมด 32 เรื่อง ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่มีการร้องเรียนเข้ามาคือ ถูกนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางอื่นโดยไม่ขออนุญาต ปิดบริการไม่แจ้งล่วงหน้า และปัญหาด้านมาตรฐานการบริการ ที่มา ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  สำนักงานคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลปัญหาของผู้บริโภคโดยตรง ก็เคยเก็บรวบรวมสถิติเรื่องร้องเรียนปัญหาจากการใช้บริการฟิตเนสเอาไว้เมื่อปี 2548 - 2551 มีเรื่องร้องเรียนเข้ามามากถึง 893 เรื่อง โดย แคลิฟอร์เนีย ว้าว นำมาเป็นอันดับ 1 ที่ 576 เรื่อง ลองลงมาคือ ทรู ฟิตเนส 180 เรื่อง และ ฟิตเนส เฟิร์ส 74 เรื่อง   ฟิตสมองก่อน ใช้ฟิตเนส ฟิตเนสเป็นบริการที่คนให้ความสนใจมาก เพราะฟิตเนส คลับ ต่างๆ จะมีบริการที่พร้อมสำหรับคนเมือง และมักตั้งอยู่ในย่านที่สะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะบรรดาฟิตเนส คลับที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นสาขามาจากต่างประเทศ จะมีบริการครบวงจร ตั้งแต่อุปกรณ์ออกกำลังกายแบบพื้นฐาน อย่าง ลู่วิ่งไฟฟ้า ที่ปั่นจักรยาน ไปจนถึงกิจกรรมพิเศษอื่นๆ อย่าง โยคะ เต้นรำ และอื่นๆ อีกเยอะแยะมากมาย ฉลาดซื้อสนับสนุนให้ทุกคนออกกำลังกาย เพราะอย่างที่ทุกคนรู้ดีว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์และจำเป็นกับชีวิต ซึ่งการเลือกที่จะใช้บริการ ฟิตเนส คลับ ต่างๆ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่ภาพข่าวที่ปรากฏออกมาตามสื่อต่างๆ อาจทำให้ผู้บริโภคหวั่นๆ ว่าตัวเองจะกลายเป็นอีกคนหนึ่งหรือไม่ ที่ต้องปวดหัวจากบริการฟิตเนส ฉลาดซื้อได้ลองประมวลปัญหาที่เกิดจากการเข้าใช้บริการฟิตเนสแล้วพอจะสรุปได้ดังนี้ 1. ความไม่จริงใจของฟิตเนส คลับ ที่เน้นเพียงการเพิ่มยอดสมาชิกหนึ่งในเรื่องปวดสมองของผู้ได้รับความเสียหายที่ร้องเรียนเกี่ยวกับบริการฟิตเนส คือ เซลล์บอกอย่างแต่จริงๆ เป็นอีกอย่าง บรรดาคุณเซลล์ทั้งหลายจะเน้นอธิบายแต่ตัวเลขราคาค่าใช้จ่าย บริการที่จะได้ แต่ไม่ได้อธิบายถึงสิทธิการร้องขอเมื่อเกิดปัญหา รวมทั้งการสร้างสัญญาที่ผูกมัดมากเกินไป ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาในการใช้บริการ ตัวสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนั่นเองที่เป็นตัวกดดันให้ผู้ใช้บริการที่เกิดปัญหาต้องออกไปร้องเรียนหน่อยงานต่างๆ และบางคนที่เจอปัญหาแล้วแต่ไม่ได้ไปร้องเรียน ก็ต้องกลายเป็นคนมีหนี้ มีภาระ ต้องยอมจ่ายเงินเป็นจำนวนมากเพื่อยุติปัญหา ทั้งที่ปัญหานั้นไม่ได้มาจากตัวผู้ที่ใช้บริการ 2. ผู้บริโภคใจไม่แข็งพอ เชื่อคนง่าย ในฐานะผู้ใช้บริการ ก่อนจะทำสัญญาก็ต้องมีหน้าที่ด้วยเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าในการทำสัญญาตกลงใช้บริการ ตัวเราเองก็ยินยอมที่จะเซ็นสัญญา การใช้บริการไม่ได้เกิดจากการบังคับขืนใจ (แต่อาจจะเกิดจากการถูกหว่านล้อมกดดัน) ทำให้เวลาที่ปัญหาเกิดขึ้น ฟิตเนส คลับ คู่กรณีจึงมักไม่ยินยอมจัดการในสิ่งที่เราร้องของไป เพราะเขาก็จะใช้ข้อได้เปรียบตรงที่เราได้ยินยอมทำสัญญากันไว้แล้ว ถือว่ารับรู้และยินยอมในเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้หากใครที่อยากจะไปสมัครใช้บริการที่ ฟิตเนส คลับ ไม่ว่าชื่อดังหรือไม่ดัง มีบริการที่ปั่นจักรยานเป็นร้อยตัวหรือไม่ถึงสิบตัวก็ตาม ต้องขอดูสัญญาก่อน ไม่งั้นไม่เซ็นชื่อ 3.ไม่ได้ศึกษาข้อมูลในสัญญาให้ดีการใช้บริการฟิตเนสเป็นอะไรที่มากกว่าเซลล์บอก ดังนั้นต้องขอเอกสารมาศึกษาก่อน โดยไล่ตั้งแต่ ค่าบริการ วิธีการชำระเงิน บริการที่จะได้รับ เงื่อนไขการยกเลิกสัญญา ระยะเวลาการเป็นสมาชิก ฯลฯ ต้องทำความเข้าใจให้ดี ให้ได้มากที่สุด ก่อนเซ็นสัญญา และที่สำคัญคือ ต้องพิจารณาจากสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อตกลงที่มาจากคำพูดของพนักงานขาย เพราะหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาก็มาจาก การที่ตัวพนักงานขายมักจะเสนอโปรโมชั่นและเงื่อนไขสุดพิเศษ เรียกว่าดีจนไม่มีที่ติ ยิ่งพอมาเทียบกับราคา ก็ยากที่จะหักห้ามใจ แต่ถ้ามาดูในใบสัญญาก็จะไม่เจอข้อความที่บอกถึงสิทธิพิเศษอย่างที่พนักงานโม้ให้เราฟังก่อนเซ็นสัญญา เช่น เรื่องการขอยกเลิกสัญญา ที่ว่าถ้ามีปัญหาสามารถมาขอยกเลิกสัญญาได้ตลอดเวลา แต่เอาเข้าจริงกลับทำไม่ได้เพราะในสัญญาจริงๆ ระบุว่าต้องเป็นสมาชิกไปอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งถ้าเลือกตัดสินใจจากการฟังแต่สิ่งที่ได้ยินจากพนักงานขายที่มาทำสัญญาเพียงอย่างเดียว ผู้ใช้บริการอย่างเราก็จะเข้าใจผิด พออยากจะขอยกเลิกสัญญาเข้าจริงๆ ก็ทำไม่ได้ ข้อควรสังเกตในสัญญาฟิตเนส -เงื่อนไขในการยกเลิกสัญญา เพราะเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของคนที่ใช้บริการฟิตเนส ไม่รู้ว่าเป็นเพราะฟิตเนสห่วงใยสุขภาพของเราเป็นอย่างมากหรือเปล่าไม่แน่ใจ ตอนสมัครก็คะยั้นคะยอเราสุดฤทธิ์ ว่าให้มาออกกำลังกายเถอะ มาดูแลสุขภาพกันเถอะ พอตอนจะขอยกเลิกสัญญาก็ไม่ยอม บอกว่าทำไม่ได้ต้องใช้บริการให้ครบตามระยะเวลาขั้นต่ำที่ทำสัญญากันเอาไว้ เพราะฉะนั้นก่อนจะเซ็นสัญญาอย่าลืมพิจารณาให้ดีๆ ว่าการขอยกเลิกสัญญาสามารถทำได้หรือไม่ ระยะขั้นต่ำของสัญญาคือเท่าไหร่ ถ้าหากเกิดเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถมาใช้บริการได้ต้องทำอย่างไรจึงจะยกเลิกสัญญาได้ แล้วเมื่อขอยกเลิกสัญญาแล้วมีเงื่อนไขในการขอรับเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ คืนได้หรือไม่อย่างไร -เงื่อนไขในการตัดเงินอัตโนมัติจากบัตรเครดิตเป็นค่าบริการรายเดือน การหักเงินผ่านบัตรเครดิต เป็นวิธีที่ฟิตเนสชื่อดังทุกแห่งเลือกใช้ในการเก็บค่าบริการกับผู้ใช้บริการ ผู้บริโภคอาจมองว่าเป็นความสะดวก แต่ความจริงแล้วเป็นการการันตีให้กับผู้ให้บริการฟิตเนสว่า จะได้รับค่าบริการรายเดือนจากสมาชิกแน่นอน แม้สมาชิกคนนั้นอาจไม่ได้มาใช้บริการเลยสักครั้งในเดือนนั้นๆ สิ่งที่ผู้ใช้บริการควรรู้ก่อนเซ็นสัญญาคือ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน และระยะเวลาที่ต้องจ่าย วันที่ทำการตัดยอดในแต่ละเดือน รวมทั้งค่าปรับที่เกิดจากการผิดนัดชำระ -ความรับผิดต่ออาการบาดเจ็บที่เกิดจากใช้บริการ อาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แล้วถ้าหากเกิดขึ้นขณะที่ใช้บริการฟิตเนสล่ะ ดังนั้นให้ดูในสัญญาว่าเรามีสิทธิได้รับการดูแลหรือเรียกร้องอะไรได้หรือไม่ ถึงแม้ฟิตเนสที่เราไปใช้บริการจะดูปลอดภัยหรือน่าเชื่อถือแค่ไหนก็ตาม ส่วนใหญ่พนักงานขายมักอ้างว่า ทางฟิตเนสมีทั้งบุคลากรและเครื่องมืออย่างดีและมีคุณภาพสำหรับดูแลเรื่องนี้ แต่ถ้าดูในสัญญาส่วนใหญ่จะระบุไว้ว่า สมาชิกจะไม่เรียกร้องความรับผิดชอบใดๆ ต่อทางฟิตเนส กรณีเกิดความบาดเจ็บไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจ ไม่ว่ากรณีใดๆ ขณะใช้บริการในฟิตเนส หรือแม้แต่อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้สมาชิกต้องรับประกันและรับรองตัวเองได้ว่า มีสุขภาพร่างกายที่พร้อมกับการออกกำลังกาย หรือได้ความเห็นชอบจากแพทย์มาแล้วก่อนที่จะมาใช้บริการของฟิตเนส -ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ ปกติฟิตเนสส่วนใหญ่จะมีบริการตู้ล็อคเกอร์ไว้สำหรับเก็บสิ่งของต่างๆ ให้กับสมาชิก แต่เรื่องของหายในฟิตเนสก็เคยเกิดขึ้นจนเป็นข่าวโด่งดังมาแล้ว ต้องดูให้ดีว่าฟิตเนสที่เราไปใช้บริการนั้นมีมาตรการในการดูแลทรัพย์สินของผู้ที่ไปใช้บริการอย่างไรบ้าง จะชดเชยเยียวยาแค่ไหน อย่างไร  ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รับผิดชอบถ้าของหายไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อ “ฉลาดซื้อ” ถูกชวนให้ไปทดลองใช้บริการฟิตเนส-ไม่รู้โชคดีหรือโชคร้าย เมื่อฉลาดซื้อได้รับโทรศัพท์จากฟิตเนสชื่อดังแห่งหนึ่งให้ไปทดลองใช้บริการฟรี เพราะทางฟิตเนสกำลังจะเปิดสาขาใหม่ จึงมีโปรโมชั่นดีๆ มานำเสนอเพียบ -พอไปถึงเราจึงได้รู้ว่า ที่บอกว่าให้มาทดลองใช้บริการฟรีนั้น ความจริงกลับไม่ได้ทดลองใช้บริการอะไรสักอย่าง เพราะพนักงานจะพาเราไปคุยเพื่อเปิดการขาย โดยจะถามเรื่องพฤติกรรมการออกกำลังกายของเรา มีการตรวจปริมาณไขมันและกล้ามเนื้อของเราด้วย -หลังจากนั้นก็จะเอาโปรโมชั่นมาเสนอ ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยราคาที่สูงจนน่าตกใจ ก่อนจะค่อยๆ ลดลงมาโดยอ้างว่าเป็นสิทธิพิเศษนู่นนี่ ซึ่งราคาที่เสนอมาถ้าเรายังไม่พอใจ พนักงานก็จะลดให้เราได้อีก เพราะว่าเราเป็นคนพิเศษเลยได้รับสิทธิพิเศษอีก แต่เป็นเงื่อนไขที่ต้องตกลงทำสัญญากันในวันนี้เท่านี้ ถ้ามาสมัครวันอื่นจะไม่ได้ราคานี้ -ตลอดระยะเวลาที่พนักงานนำเสนอเรื่องราคา เราไม่มีโอกาสได้เห็นสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น -แรกๆ พนักงานก็แสดงความห่วงใยสุขภาพของเราดี ที่อยากให้สมัครเพราะอยากให้มาออกกำลังกาย แต่พอเราเริ่มแสดงท่าทีว่าไม่สนใจสมัคร โดยให้เหตุผลไปว่ากลัวไม่มีเวลามาใช้บริการ สมัครไปแล้วอาจจะไม่คุ้มกับเงินที่ต้องเสีย พนักงานก็จะบอกในเชิงว่าให้สมัครทิ้งไว้ มีเวลาก็ค่อยมาเล่น ซึ่งถ้าคิดในแง่ของการออกกำลังกายให้ได้ประโยชน์จริงๆ ก็ควรออกให้ได้สม่ำเสมอ การมาออกกำลังกายตามสะดวกอย่างที่พนักงานบอกคงไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่ -เมื่อการเจรจาเพื่อให้สมัครสมาชิกดูแววแล้วจะไม่สำเร็จ พนักงานขายก็จะไปตามพนักงานมาอีกคน ซึ่งเป็นระดับตัวแม่ เพื่อเพิ่มระดับการเจรจา(กดดัน)ให้เข้มข้นขึ้นอีก -มาถึงตรงนี้การเจรจาเพื่อชักชวนของพนักงานขายเพื่อให้เราสมัครสมาชิกเริ่มมีความตึงเครียดมากขึ้น พนักงานขายจะใช้คำพูดทั้งอ้อนวอน หว่านล้อม บางครั้งก็เริ่มใช้คำพูดที่ไม่ค่อยเหมาะสม อย่างการพูดเหน็บแนม ประชดประชัน ดูหมิ่น เมื่อเริ่มเห็นว่าเรามีท่าทีว่า ยังไงก็ไม่สมัครแน่ๆ -แม้จะแสดงท่าทีชัดเจนว่าไม่สมัครสมาชิกแน่ๆ แต่การจะปลีกตัวออกมาก็แสนยากเย็น เพราะพนักงานขายต้องการให้เราตกลงทำสัญญาให้ได้(ทำยอด) โปรโมชั่นต่างๆ จะเพิ่มมาเรื่อยๆ ปรับราคาลงมาเรื่อยๆ พูดคุยกับเราไปเรื่อยหวังว่าเราจะใจอ่อน ซึ่งก็คงมีหลายคนที่ต้องจำยอมตกลงสมัครสมาชิกไป ไม่ใช่เพราะอยากใช้บริการ แต่เพราะอยากตัดความรำคาญมากกว่า หรือไม่ก็ใจอ่อนกับตัวเลขค่าบริการ จากระดับหมื่นเหลือแค่ไม่กี่พัน ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าสมัครไปแล้วจะหาเวลามาใช้บริการได้หรือเปล่า วันนั้นฉลาดซื้อก็รอดตัวมาได้อย่างหวุดหวิด คำแนะนำง่ายๆ ที่อยากฝากไว้ก็คือ ถ้าไม่ได้มีความสนใจที่จะไปใช้บริการฟิตเนสตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริการเหล่านี้จะดีที่สุด ไม่ว่าจะคำชวนแบบไหน ให้ไปทดลองใช้บริการฟรี ได้บัตรส่วนลด หรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะถ้าเผลอไปทดลองตามคำชวนล่ะก็ ไม่ปวดหัวก็ต้องปวดใจ และเผลอๆ อาจต้องเสียทรัพย์ทั้งๆ ที่ไม่อยากเสียด้วย -------------------------------------------------------------------- “ฟิตเนสเป็นบริการควบคุมสัญญา” ฟิตเนสที่ดีต้องมีอะไรบ้าง1.สัญญาต้องเป็นข้อความภาษาไทย ขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร มีจำนวนไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว 2.เงื่อนไขในสัญญาต้องมีรายละเอียดของขนาดสถานที่ให้บริการ จำนวนและประเภทของอุปกรณ์การออกกำลังกาย สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และการให้บริการอื่นๆ ตามที่ผู้ใช้บริการจะได้รับ 3.รายละเอียดแสดงอัตราค่าบริการ ค่าสมาชิก ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการใช้บริการ พร้อมทั้งวิธีการชำระและเงื่อนไขต่างๆ 4.วันเริ่มต้นและการสิ้นสุดการเป็นสมาชิก 5.เงื่อนไขที่นำไปสู่การบอกยกเลิกสัญญา ต้องมีการแสดงข้อความเฉพาะที่ทำให้เห็นได้ชัดเจน โดยต้องใช้ตัวอักษรสีแดง สีดำ หรือตัวเอียง เพื่อสามารถเห็นได้ชัดกว่าข้อความทั่วไป 6.ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ตามเงื่อนไขต่อไปนี้-ไม่มีอุปกรณ์หรือบริการตามที่บอกไว้ตามข้อตกลงในสัญญา หรืออุปกรณ์ชำรุดเสียหาย มีไม่เพียงพอต่อความต้องการต่อผู้ใช้บริการ โดยไม่มีการหามาทดแทนหรือทดแทนด้วยอุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำกว่า-มีใบรับรองจากแพทย์ว่าไม่สามารถออกกำลังกายได้ เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียกับสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ-ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการใช้บริการ อุปกรณ์ไม่ได้คุณภาพชำรุด ผู้ดูแลฝึกสอนไม่มีความชำนาญ 7.การคืนเงินให้กับผู้บริโภคหลังยกเลิกสัญญา ผู้ให้บริการต้องคืนตามจำนวนเงินที่เหลือจากค่าสมาชิกหรือตามระยะเวลาที่ยังไม่ได้ใช้บริการ ภายใน 30 วัน หลังจากยกเลิกสัญญา 8.ผู้บริโภคมีสิทธิในการโอนสิทธิความเป็นสมาชิกตามสัญญาให้กับบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเป็นสมาชิกได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้ให้บริการ แต่ต้องมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้ให้บริการ 9.หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการในการต่อสัญญาใหม่หลังจากผู้บริโภคใช้บริการมาจนครบกำหนดสัญญา ผู้ให้บริการต้องทำหนังสือแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ของการต่ออายุสมาชิกครั้งใหม่ 10.ห้ามกำหนดให้การต่ออายุสมาชิกเป็นไปแบบอัตโนมัติ 11.ห้ามกำหนดอายุสัญญาสมาชิกเกิน 1 ปี 12.ในสัญญาต้องห้ามมีข้อความที่แสดงถึงความไม่รับผิดชอบต่อผิดพลาดหรือเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการ ทั้งเรื่องการผิดสัญญาของผู้ให้บริการ อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย และทรัพย์สินสูญหายภายในสถานที่ที่ให้บริการ--

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 สัญญาแบบใด ไม่เป็นธรรม ?

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านครั้งนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องสัญญากันครับ  สังเกตไหมครับว่า เวลาเราไปซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือไปเช่าบ้าน เช่าหอพัก ฝ่ายผู้ขายหรือผู้ให้เช่า มักจะนำฟอร์มสัญญาที่ตนได้เขียนข้อสัญญาต่างๆ ไว้ มาให้เราเซ็นชื่อ เพื่อทำสัญญา ซึ่งสัญญาประเภทนี้  ภาษากฎหมายเรียกว่า “สัญญาสำเร็จรูป” ซึ่งด้วยในการทำสัญญาดังกล่าว บ่อยครั้ง จะพบว่าผู้บริโภคมักจะเสียเปรียบ เนื่องจากคนกำหนดข้อสัญญาเป็นฝั่งผู้ประกอบธุรกิจที่มักเขียนเงื่อนไขในสัญญาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตน หรืออีกความหมายคือเป็น สัญญาจำยอม(adhesive contract) สัญญาจำยอม คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายที่มีอำนาจในทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่ากำหนดในข้อสัญญา ในลักษณะที่เอาเปรียบหรือไม่เป็นธรรมตู่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก็มีเพียงเสรีภาพที่จะเลือกว่า จะทำสัญญาหรือไม่ทำสัญญา ถ้าทำสัญญาก็ต้องทำตามเนื้อหาที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า มีลักษณะมัดมือชก ทั้งนี้ ให้ศาลใช้ดุลพินิจปรับลดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมให้มีผลเพียงเท่าที่เป็นธรรม ด้วยเหตุนี้ เมื่อเกิดสัญญาสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคฉบับหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540”คำถามที่เกิดขึ้นต่อมาคือ แล้วข้อสัญญาแบบใดบ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งก็มีคดีฟ้องขับไล่คดีหนึ่งที่ขึ้นสู่ศาล โดยในสัญญาเช่า ข้อหนึ่งระบุว่า “ตกลงให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าที่จะบอกเลิกสัญญาได้แม้สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดแต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนไม่ต่ำกว่า 30 วัน” ปรากฎว่า ผู้ให้เช่าก็ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า ทำให้ผู้เช่าต้องย้ายออกไป ซึ่งผู้เช่าเห็นว่าข้อสัญญาดังกล่าวไม่เป็นธรรม จึงฟ้องให้ศาลชี้ขาด ซึ่งสุดท้ายศาลฏีกาก็ตัดสินว่าข้อสัญญาเช่นนี้ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ตามคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2298/2553“ข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปใดๆ อาจเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้ หากปรากฏว่าข้อตกลงนั้นมีผลทำให้ผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร ทั้งนี้โดยคู่สัญญาในสัญญาสำเร็จรูปไม่จำต้องเป็นสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพแบบพิมพ์สัญญาเช่าที่โจทก์เป็นผู้กำหนดขึ้นล่วงหน้าและโจทก์นำมาใช้กับผู้เช่าทุกคนจึงเป็นสัญญาสำเร็จรูป เมื่อไม่ปรากฏจากข้อนำสืบของจำเลยว่าข้อตกลงตามสัญญาเช่า ข้อ 8 เป็นการเอาเปรียบฝ่ายผู้เช่าเกินสมควรอย่างไร เพราะเหตุใด ลำพังเพียงการตกลงให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าที่จะบอกเลิกสัญญาได้แม้สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดแต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนไม่ต่ำกว่า 30 วันนั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ทำให้ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าได้เปรียบฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเกินสมควร ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540  ตามสัญญาเช่าข้อ 8 ไม่มีลักษณะเป็นข้อความอันบังคับไว้ให้สัญญาเช่าเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคตตาม ป.พ.พ. มาตรา 182 แต่เป็นเรื่องของการตกลงให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่จะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนที่อายุสัญญาตามที่ตกลงกันไว้จะสิ้นสุด โดยคู่สัญญาฝ่ายนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าชั่วระยะเวลาหนึ่ง จึงไม่ใช่เงื่อนไขของสัญญาเช่า  โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างเหตุว่า จำเลยกับ พ. หลอกลวงโจทก์จนหลงเชื่อเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ประการหนึ่ง กับโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า ข้อ 8 ทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลง อีกประการหนึ่ง สิทธิของโจทก์ทั้งสองประการแยกจากกันได้ไม่เป็นการขัดกัน แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ในการทำสัญญาเช่าก็หาเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิตามสัญญาเช่าข้อ 8 เพื่อเลิกสัญญาแก่จำเลยไม่”อีกเรื่องที่น่าสนใจ เป็นกรณีสัญญาจ้างงาน โดยมีการกำหนดข้อตกลงในทำนองว่า ระหว่างจ้างงานจะไม่ดำเนินการหรือมีส่วนได้เสียในธุรกิจอื่น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้าง และภายหลังการจ้างสิ้นสุดลง ภายใน 6เดือน ต้องไม่ดำเนินการหรือมีส่วนได้เสียในกิจการหรือเป็นคู่แข่งผู้ว่าจ้าง ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่า ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นไปเพื่อปกป้องข้อมูลความลับทางการค้าของผู้ว่าจ้างให้อยู่รอดต่อไปได้ เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เกินสมควรหรือเอาเปรียบกัน  ( คำพิพากษาที่ 4123/2549 )อีกเรื่องเป็นกรณี สัญญาใช้หนี้แทน ที่เจ้าหนี้ให้พี่น้องของผู้ตายทำขึ้น มีข้อตกลงให้ผู้ทำสัญญาชำระหนี้ส่วนต่างจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง และหากขายทอดตลาดไม่ได้ภายใน 1 ปี ผู้ทำสัญญาจะชำระหนี้ให้เป็นงวดจนกว่าจะครบ ศาลตัดสินว่าข้อสัญญาดังกล่าว เป็นข้อตกลงที่ทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายเกินสมควร จึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ให้มีผลบังคับได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11731/2555จำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย และจำเลยกับผู้ตายเป็นลูกหนี้สินเชื่อของโจทก์เช่นเดียวกัน การที่จำเลยทำสัญญารับใช้หนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่ง โดยจำเลยยอมรับผิดร่วมกับกองมรดกของผู้ตาย โดยมีข้อตกลงและเงื่อนไขสำคัญว่า เมื่อโจทก์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เพียงใด จำเลยจะชำระหนี้ในส่วนต่างระหว่างหนี้ตามคำพิพากษาและดอกเบี้ยจนถึงวันชำระเสร็จและค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองคดีกับเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาด และหากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์เป็นงวดจนกว่าจะครบนั้นก็เนื่องจากในขณะนั้นสินเชื่อในส่วนของจำเลยเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ หากจำเลยไม่เข้ารับใช้หนี้ของผู้ตายแล้วโจทก์ก็จะไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมให้แก่จำเลยอีก ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มเติมความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายที่ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 ดังนั้น สัญญารับใช้หนี้จึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ผลของการเลิกสัญญา

สวัสดีครับครั้งนี้เราจะมากล่าวกันถึงเรื่อง ผลของสัญญา กัน โดยทั่วไปเมื่อสัญญาเกิดขึ้น คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเกิดสิทธิหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามที่ตกลงในสัญญา แต่ทุกสัญญาย่อมมีวันสิ้นสุด เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง อีกฝ่ายหนึ่งจึงใช้สิทธิเลิกสัญญา แต่เมื่อเลิกสัญญากันไป กฎหมายก็ได้กำหนดสิทธิหน้าที่ไว้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงไม่ควรละเลยสิทธิที่เกิดจากการเลิกสัญญานะครับ  ซึ่งสิทธิอย่างแรกที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 กำหนดไว้ คือ “เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม.........”   หลายท่านคงสงสัย อะไรคือกลับสู่ฐานะเดิม  ซึ่งในประเด็นนี้ ขอยกตัวอย่างคำพิพากษาเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เป็นเรื่องของการเช่าซื้อรถบรรทุกสิบล้อเพื่อบรรทุกของ แต่มาทราบภายหลังว่าผู้ให้เช่าซื้อเอารถที่ไม่ได้จดทะเบียนมาขาย รถดังกล่าวจึงนำมาใช้งานไม่ได้ ผู้เช่าซื้อจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา   ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540 ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม)ใช้บรรทุกของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้นเมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ประกอบมาตรา 537และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ที่จำเลยอ้างว่า ได้นำรถไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จึงมีเหตุผลสนับสนุนเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลยโดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยาย โดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อและผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลย ปรากฎว่าจำเลยออกเช็คพิพาท 9 ฉบับผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย จากคำพิพากษาข้างต้น การกลับคืนสู่ฐานะเดิมคือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับมาอยู่ในสภาพก่อนที่จะทำสัญญากัน นั่นคือ ผู้ให้เช่าซื้อมีรถบรรทุก ผู้ขายยังไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อมีการเลิกสัญญากัน จึงทำให้ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถบรรทุกคืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อ และผู้ให้เช่าซื้อก็ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมดให้แก่ผู้เช่าซื้อนั่นเอง แต่กรณีทำสัญญาตกลงทำการงานให้กัน และมีการจ่ายค่าตอบแทน เมื่อมีการเลิกสัญญา การงานที่ได้กระทำให้แก่กันตามสัญญาซึ่งโดยสภาพไม่อาจคืนได้ ต้องใช้เงินแทนตามสมควรแก่ค่าของงานนั้น คำพิพากษาฎีกาที่ 175/2521 โจทก์ทำสัญญาตกลงกับจำเลย ให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์และตึกแถวลงในที่ดินของโจทก์ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเองโดยโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่ามีกำหนด 20 ปี จำเลยผิดสัญญาในการก่อสร้างตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยโดยชอบแล้ว ดังนี้ สัญญาและข้อผูกพันต่าง ๆ ในสัญญาก่อสร้างต้องสิ้นสุดลงจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเช่าหรือครอบครองโรงภาพยนตร์และตึกแถวตามสัญญานั้นอีกต้องคืนที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้โจทก์ส่วนโจทก์ก็ต้องชดใช้ค่าก่อสร้างอันเป็นผลงานที่จำเลยสร้างลงไปให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามส่วนการเลิกสัญญา โดยทั่วไป กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่า ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การแสดงเจตนาเลิกสัญญาไม่มีแบบ  ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 853/2522 ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายนาว่า ถ้าจำเลยผู้ซื้อชำระราคาไม่ครบโจทก์เรียกนาและคืนเงินได้ ฉะนั้นเมื่อจำเลยชำระราคาไม่ครบ โจทก์ขอคืนเงินที่จำเลยชำระแล้ว และเรียกคืนที่ดิน ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายแล้วสัญญาทำเป็นหนังสือ การแสดงเจตนาเลิกสัญญาไม่ต้องทำเป็นหนังสือในการเลิกสัญญานั้น  ผลอีกประการคือทำให้สัญญาไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ดังนั้น เมื่อบอกเลิกสัญญาไปแล้ว จะมาเรียกร้องสิทธิตามสัญญาอีกไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 2568/2521 สัญญาก่อสร้างตึกแถวมีข้อความว่า ผู้ก่อสร้าง (จำเลย) ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการขับไล่ผู้อยู่อาศัยที่ยังเหลืออยู่อีกสองรายในที่ดิน ส่วนที่ผู้ให้ก่อสร้าง (โจทก์) ชนะคดีแล้วนั้น ผู้ให้ก่อสร้างรับผิดชอบขับไล่ให้โดยบังคับคดีภายใน 20 วันนับแต่วันทำสัญญา ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำแถลงให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับคดีแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีให้ผู้เช่าออกจากตึกแถวแล้วตามสัญญามิได้หมายความว่าโจทก์จะต้องขับไล่ผู้เช่าออกไปจากตึกแถวภายใน 20 วันนับแต่วันทำสัญญา ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นได้ว่าการทำสัญญาก่อสร้างระหว่างโจทก์จำเลยมิได้มุ่งเรื่องเวลาเป็นข้อสารสำคัญ หากแต่มีเจตนาผ่อนปรนซึ่งกันและกันตามสมควรในกรณีผิดสัญญา สิทธิของคู่สัญญาที่จะบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญานั้นมีอยู่สองประการ คือ บังคับให้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามมูลหนี้ประการหนึ่ง กับบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายอีกประการหนึ่ง คดีนี้โจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้วย่อมจะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้ การที่โจทก์อ้างว่าถ้าจำเลยสร้างตึกแถวเสร็จโจทก์จะได้กรรมสิทธิ์และได้ค่าเช่านั้น เท่ากับโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิ แต่การที่จำเลยผิดสัญญาทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะได้รับค่าหน้าดินตามสัญญา ค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้จึงควรเท่ากับจำนวนเงินดังกล่าว  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 คำมั่นสัญญา มีผลทางกฎหมายอย่างไร

 สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้ เราจะมาคุยกันถึงเรื่องการไปสัญญามั่นหมายกับคนอื่นในการซื้อของ บางครั้งการที่กล่าวอะไรออกไป แม้ดูว่าเหมือนจะไม่มีอะไร แต่ในทางกฎหมายนั้น คำมั่นคือสัญญาที่ผู้ให้คำมั่นผูกพันตนเองในการที่จะให้คำมั่นแก่ผู้รับคำมั่น เรียกง่ายๆ ว่าผู้ให้สัญญายอมผู้ผูกพันตนเองแต่ฝ่ายเดียวนั่นเอง ตามกฎหมายแล้วถือว่ามีผลผูกพันมีผลใช้บังคับกันได้นะครับ ดังนั้นจะต้องระวังกันให้ดี อย่างเช่นเรื่องดังต่อไปนี้ มีคนสองคนเขาเป็นญาติกัน วันหนึ่งพวกเขาตกลงขายที่ดินและโรงเรือนให้แก่กัน  โดยมีเงื่อนไขว่า ภายใน 10 ปี ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายมาซื้อคืนได้ แต่ตกลงกันด้วยปากเปล่า แล้วต่อมาจึงมีการทำสัญญากันภายหลัง โดยมีคำมั่นต่อกันว่า ผู้ขายจะไม่นำที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวไปขายคนอื่น และภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ซื้อขาย หากผู้ขายมีเงินสามารถซื้อคืนได้    เช่นนี้ คำมั่นดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ เมื่อต่อมา ผู้ขายมีเงินมาซื้อที่ดินและโรงเรือนคืน ผู้ซื้อไม่ยอมขาย ผู้ขายจึงมีสิทธิมาฟ้องบังคับตามคำมั่นในสัญญาได้ ดังตัวอย่างคำพิพากษาฏีกาที่  170/2497  และ คำพิพากษาฎีกาที่ 3670/2528 คำพิพากษาฏีกาที่  170/2497   “ขายที่ดินและโรงเรือนให้แก่ญาติกัน โดยตกลงกันด้วยปากเปล่า ก่อนทำหนังสือสัญญาซื้อขายว่า ภายใน 10 ปีผู้ซื้อยอมให้ผู้ขายมีสิทธิไถ่คืนได้ ถือว่าการตกลงด้วยปากเปล่าดังนี้เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนแล้ว ข้อตกลงเช่นนี้ ก็สูญเปล่าไม่มีผลบังคับแก่กันได้ สัญญาซื้อขายที่ทำกันในภายหลังนั้น จึงสำเร็จเด็ดขาดไป แต่เมื่อปรากฎว่าต่อมาอีก 2 ปีเศษ ผู้ซื้อกับผู้ขายได้ทำหนังสือสัญญากันอีก ให้คำมั่นสัญญาว่า ที่ดินและโรงเรือนรายนี้จะไม่ขายคนอื่น และภายใน 10 ปีนับแต่วันซื้อขาย ผู้ขายมีเงินจะซื้อกลับผู้ซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันเซ็นสัญญา ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นคำมั่นจะขายตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 456 วรรค 2 ผู้ขายเดิมจึงมีสิทธิจะฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาใหม่นี้ได้”  คำพิพากษาฎีกาที่ 3670/2528 “ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์จำเลยทำสัญญาต่อกันอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนได้ภายใน 10 ปี ดังนี้ สัญญาที่ทำต่อกันไม่ใช่สัญญาขายฝากหรือนิติกรรมอำพราง แต่ข้อกำหนดที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลยได้ภายใน 10 ปี เป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 2 จึงมีผลผูกพันคู่กรณีใช้บังคับกันได้” อีกเรื่องที่อยากให้ผู้อ่านทราบคือ เวลาให้คำมั่นกับใครก็ตาม หากเราได้กำหนดระยะเวลาไว้ คำมั่นนั้นก็มีผลเพียงเท่าระยะเวลาที่กำหนด  แต่ถ้าเกิดให้คำมั่นแล้วไม่กำหนดเวลาไว้ ศาลได้ตัดสินว่า คำมั่นที่ไม่มีกำหนดเวลา จะมีผลผูกพันตลอดไป ดังเช่น คำพิพากษาฏีกาที่ 1004/2485 คำพิพากษาฎีกาที่ 1004/2485(ประชุมใหญ่) “ทำสัญญาขายนาแล้ว ต่อมาทำหนังสือมีข้อความว่า ถ้าผู้ขายมีเงินมาไถ่คืนเมื่อใด ผู้ซื้อจะคืนนาให้เมื่อนั้น โดยไม่มีกำหนดเวลา ดังนี้เป็นคำมั่นในการซื้อขาย คำมั่นในการซื้อขายซึ่งไม่มีกำหนดเวลา ถ้าผู้ให้คำมั่นมิได้บอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งตอบตกลงให้เสร็จไป คำมั่นนั้นก็ผูกพันอยู่ตลอดไป แม้จะเกิน 10 ปี อีกฝ่ายก็ยังตอบตกลงให้ทำการซื้อขายได้”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 คำมั่นสัญญา มีผลทางกฎหมายอย่างไร

 สวัสดีครับท่านผู้อ่าน เราจะมาคุยกันถึงเรื่องการไปสัญญามั่นหมายกับคนอื่นในการซื้อของ บางครั้งการที่กล่าวอะไรออกไป เหมือนจะไม่มีอะไร แต่ในทางกฎหมายนั้น คำมั่นคือสัญญาที่ผู้ให้คำมั่นผูกพันตนเองในการที่จะให้คำมั่นแก่ผู้รับคำมั่น เรียกง่ายๆ ว่าผู้ให้สัญญายอมผู้ผูกพันตนเองแต่ฝ่ายเดียวนั่นเอง ตามกฎหมายแล้วถือว่ามีผลผูกพันมีผลใช้บังคับกันได้นะครับ ดังนั้นจะต้องระวังกันให้ดี อย่างเช่นเรื่องดังต่อไปนี้ มีคนสองคนเขาเป็นญาติกัน วันหนึ่งพวกเขาตกลงขายที่ดินและโรงเรือนให้แก่กัน  โดยมีเงื่อนไขว่า ภายใน 10 ปี ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายมาซื้อคืนได้ แต่ตกลงกันด้วยปากเปล่า แล้วต่อมาจึงมีการทำสัญญากันภายหลัง โดยมีคำมั่นต่อกันว่า ผู้ขายจะไม่นำที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวไปขายคนอื่น และภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ซื้อขาย หากผู้ขายมีเงินสามารถซื้อคืนได้    เช่นนี้ คำมั่นดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ เมื่อต่อมา ผู้ขายมีเงินมาซื้อที่ดินและโรงเรือนคืน ผู้ซื้อไม่ยอมขาย ผู้ขายจึงมีสิทธิมาฟ้องบังคับตามคำมั่นในสัญญาได้ ดังตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่  170/2497  และ คำพิพากษาฎีกาที่ 3670/2528 คำพิพากษาฎีกาที่  170/2497   “ขายที่ดินและโรงเรือนให้แก่ญาติกัน โดยตกลงกันด้วยปากเปล่า ก่อนทำหนังสือสัญญาซื้อขายว่า ภายใน 10 ปีผู้ซื้อยอมให้ผู้ขายมีสิทธิไถ่คืนได้ ถือว่าการตกลงด้วยปากเปล่าดังนี้เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนแล้ว ข้อตกลงเช่นนี้ ก็สูญเปล่าไม่มีผลบังคับแก่กันได้ สัญญาซื้อขายที่ทำกันในภายหลังนั้น จึงสำเร็จเด็ดขาดไป แต่เมื่อปรากฏว่าต่อมาอีก 2 ปีเศษ ผู้ซื้อกับผู้ขายได้ทำหนังสือสัญญากันอีก ให้คำมั่นสัญญาว่า ที่ดินและโรงเรือนรายนี้จะไม่ขายคนอื่น และภายใน 10 ปีนับแต่วันซื้อขาย ผู้ขายมีเงินจะซื้อกลับผู้ซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันเซ็นสัญญา ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นคำมั่นจะขายตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 456 วรรค 2 ผู้ขายเดิมจึงมีสิทธิจะฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาใหม่นี้ได้” คำพิพากษาฎีกาที่ 3670/2528 “ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์จำเลยทำสัญญาต่อกันอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนได้ภายใน 10 ปี ดังนี้ สัญญาที่ทำต่อกันไม่ใช่สัญญาขายฝากหรือนิติกรรมอำพราง แต่ข้อกำหนดที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลยได้ภายใน 10 ปี เป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 2 จึงมีผลผูกพันคู่กรณีใช้บังคับกันได้” อีกเรื่องที่อยากให้ผู้อ่านทราบคือ เวลาให้คำมั่นกับใครก็ตาม หากเราได้กำหนดระยะเวลาไว้ คำมั่นนั้นก็มีผลเพียงเท่าระยะเวลาที่กำหนด  แต่ถ้าเกิดให้คำมั่นแล้วไม่กำหนดเวลาไว้ ศาลได้ตัดสินว่า คำมั่นที่ไม่มีกำหนดเวลา จะมีผลผูกพันตลอดไป ดังเช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 1004/2485 คำพิพากษาฎีกาที่ 1004/2485(ประชุมใหญ่) “ทำสัญญาขายนาแล้ว ต่อมาทำหนังสือมีข้อความว่า ถ้าผู้ขายมีเงินมาไถ่คืนเมื่อใด ผู้ซื้อจะคืนนาให้เมื่อนั้น โดยไม่มีกำหนดเวลา ดังนี้เป็นคำมั่นในการซื้อขาย คำมั่นในการซื้อขายซึ่งไม่มีกำหนดเวลา ถ้าผู้ให้คำมั่นมิได้บอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งตอบตกลงให้เสร็จไป คำมั่นนั้นก็ผูกพันอยู่ตลอดไป แม้จะเกิน 10 ปี อีกฝ่ายก็ยังตอบตกลงให้ทำการซื้อขายได้”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 ไม่จ่ายค่าผ่อนบ้านเพราะยังไม่สร้าง ต่อมาบอกเลิกสัญญา ผู้ขายมีสิทธิริบมัดจำหรือไม่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน วันนี้ เรามารู้จักสิทธิของผู้บริโภคที่ทำสัญญาซื้อบ้านหรืออาคารพาณิชย์กันครับ สมัยนี้ มีการสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ซึ่งหากท่านลองสังเกตดีๆ จะพบว่าผู้ขายมักมีป้ายโฆษณาเปิดให้จองกันตั้งแต่ยังไม่เริ่มสร้าง ผู้บริโภคเมื่อเห็นว่าเป็นทำเลดี ก็รีบจองกันมากมาย กลัวจะเสียโอกาสได้ที่พักอาศัยอย่างที่ตนต้องการ  แต่เมื่อหลงจ่ายเงินจองบ้านไปแล้ว ตกลงทำสัญญากันเป็นหนังสือเรียบร้อย โดยไม่ได้สังเกตให้ดีว่าในสัญญาไม่ได้ระบุวันที่จะเริ่มก่อสร้าง และวันที่ต้องสร้างเสร็จเอาไว้ เมื่อถึงกำหนดจ่ายเงินงวดแรก จึงทราบว่า บ้านหรืออาคารพาณิชย์ที่วาดฝันไว้ ยังไม่เริ่มสร้าง เช่นนี้ จึงตัดสินใจไม่ชำระเงิน และบอกเลิกสัญญาเพื่อขอเงินจองคืน  แต่ผู้ขายก็มักชอบอ้างว่า ผู้บริโภคผิดสัญญาไม่ยอมจ่ายเงินตามที่ตกลงกัน จึงขอริบมัดจำ เช่นนี้ มีสิทธิทำได้หรือไม่   เรื่องนี้ เกิดขึ้นกับผู้บริโภคท่านหนึ่ง ซึ่งได้ทำสัญญาจะซื้อขายอาคาร โดยชำระเงินจองในวันทำสัญญา และตกลงชำระเงินดาวน์ 12 งวด ถึงกำหนดชำระเงินดาวน์งวดแรก ผู้ซื้อไม่ชำระเพราะผู้ขายยังไม่เริ่มก่อสร้าง จึงร้องเรียน สคบ.และบอกเลิกสัญญา ผู้ขายริบมัดจำ ผู้บริโภคจึงนำเรื่องขึ้นสู่ศาล และศาลได้ตัดสินให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะคดี การไม่จ่ายเงินค่างวดยังไม่ถือว่าเป็นการทำผิดสัญญา ดังนั้น ผู้ขายไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำ คำพิพากษาฎีกา 797/2556 แม้สัญญาจะซื้อจะขายมิได้กำหนดเวลาการเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ให้แล้วเสร็จไว้ แต่เป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องรีบลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาก่อสร้างที่แล้วเสร็จไว้ เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชนในฐานะผู้บริโภค เมื่อสัญญาไม่ได้กำหนดเวลาไว้แต่เป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยก็มีหน้าที่ต้องรีบลงมือก่อสร้าง และก่อสร้างให้แล้วเสร็จในเวลาอันสมควรอันเป็นไปตามหลักความสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 หาใช่การจะเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาแล้วเสร็จนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว เพราะจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์จากเงินที่โจทก์ชำระไปแล้ว จึงมีหน้าที่ต้องรีบก่อสร้างโดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203  เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ดังนั้น การที่โจทก์ชำระเงิน 800,000 บาท แก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วย่อมมีความคาดหวังจะได้เห็นจำเลยปฏิบัติชำระหนี้ตอบแทน คือ การเริ่มลงมือก่อสร้าง แต่เมื่อจะครบกำหนดเวลาชำระเงินดาวน์งวดแรกได้ความว่า จำเลยยังไม่ได้เริ่มลงมือก่อสร้างอาคารพาณิชย์ทำให้โจทก์เกิดความไม่มั่นใจในโครงการของจำเลย เพราะเงินค่างวดที่จะจ่ายแต่ละงวดเป็นจำนวนมากถึงงวดละ 334,000 บาท โจทก์จึงไม่ยอมจ่ายเงินค่างวดและไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จำเลยเองก็ไม่ได้แสดงความสุจริตโดยการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโครงการให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือหรือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดอีก จึงถือได้ว่าการชำระหนี้ของโจทก์มิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่างวดแก่จำเลยจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยในการริบมัดจำไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจึงมีผลให้สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อพูดถึงเรื่องการวางเงินจองเพื่อซื้อที่ดินหรืออาคารพาณิชย์  โดยทั่วไป จะมีเขียนข้อตกลงในใบจองว่า จะไปทำสัญญาเป็นหนังสือกันอีกครั้งในภายหลัง จึงทำให้เข้าใจกันว่า ใบจองเป็นเพียงข้อตกลงเบื้องต้น เพื่อจะไปทำสัญญากันอีกครั้ง แต่เคยมีคดีขึ้นสู่ศาลเรื่องหนึ่ง ถือว่าใบจองที่ทำกันเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา และในใบจองไม่ได้เขียนเรื่องการสิทธิบอกเลิกสัญญาไว้ จึงต้องใช้การเลิกสัญญาตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดว่าหากจะเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ก่อนโดยให้เวลาพอสมควร หากไม่ดำเนินการก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ซึ่งในคดีตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีการซื้อขายที่ดินสองแปลง แปลงแรก ผู้ขายมีหนังสือแจ้งให้ผู้ซื้อมารับโอนแล้ว และให้มาชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด แต่ปรากฎว่าผู้ซื้อไม่ชำระเงิน ศาลจึงเห็นว่าการบอกเลิกสัญญาของผู้ขาย ได้ทำตามกฎหมายแล้ว จึงถือว่าผู้ซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ขายมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ แต่ที่ดินอีกแปลงหนึ่ง ผู้ขายไม่ได้แจ้งให้ผู้ซื้อชำระเงิน และใช้สิทธิบอกเลิกทันที จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้ซื้อผิดสัญญา และกรณีนี้ทั้งสองฝ่ายต่างตกลงเลิกสัญญาต่อกัน จึงถือได้ว่าไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา ผู้ขายจึงไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำของผู้ซื้อ ต้องคืนเงินมัดจำแก่ผู้ซื้อ คำพิพากษาฎีกาที่ 2569/2556โจทก์จองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์จากจำเลยสองแปลงโดยวางเงินจองไว้แปลงละ 100,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานได้ทำสัญญากันขึ้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 แม้ตามใบจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มีข้อความว่าให้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน และโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำก็ตาม แต่ใบจองระบุราคาขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไว้และระบุว่าวางเงินจองจำนวน 100,000 บาท กับระบุค่าโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยเป็นผู้ชำระซึ่งตามแผนผังที่ดินและภาพถ่ายอาคารพาณิชย์จำนวน 4 ภาพ ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ที่โจทก์จองซื้อเป็นแปลงหมายเลข 1314 และ 1315 แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์กันต่อไป จึงมีสาระสำคัญครบถ้วนเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์กับจำเลย ใบจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ ตามใบจองซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีข้อความระบุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ หากโจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์เพียงแปลงเดียว ทั้งโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงกับจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาโดยเหตุใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อหนี้ที่ต่างต้องชำระต่อกันมิได้กำหนดเวลาลงไว้แน่นอนต่างฝ่ายย่อมเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ได้โดยพลันโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดได้ หากจำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวไปยังโจทก์ให้ชำระราคาที่ค้างชำระโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อน และจำเลยจะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ด้วยว่าจำเลยพร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ประกอบมาตรา 369 การที่จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์เฉพาะแปลงหมายเลข 1314 เพียงแปลงเดียวโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก่อน แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลากำหนด จำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ การบอกเลิกสัญญาของจำเลยเฉพาะที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1314 ชอบแล้ว และถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378(2) ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 387 แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างบอกเลิกสัญญาต่อกันแม้ไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาแสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายว่าสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 จึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไป กรณีไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา จำเลยย่อมไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่ตกเป็นโมฆียะ

คดีนี้นายใจประกันชีวิตไว้กับจำเลย โดยมีโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมา นายใจถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุ โจทก์ขอรับเงินจากจำเลย จำเลยปฏิเสธการจ่าย โดยอ้างว่านายใจไม่เปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพ จึงใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิต  ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง ระบุว่า “ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญานั้นก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป“ ซึ่งหน้าที่นำสืบในเรื่องนี้เป็นภาระการพิสูจน์ของผู้รับประกันภัย ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2557  ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกา หรือไม่ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคสอง เห็นว่าโจทก์ฟ้องว่านายใจเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุในขณะที่กรมธรรมประกันชีวิตมีผลคุ้มครอง  จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ซึ่งเป็นผู้รับผลประโยชน์  จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่ตกเป็นโมฆียะแล้ว  จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่า จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตั้งแต่เมื่อใด และได้บอกล้างสัญญาดังกล่าวภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง ทางนำสืบของจำเลยคงมีแต่นายวันชัย ผู้รับมอบอำนาจช่วงของจำเลย และนายวิศิษฐ์ พนักงานของจำเลย ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบริการผู้ถือกรมธรรม์มีหน้าที่ตรวจสอบและให้บริการแก่ผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นพยานเบิกความว่า นายใจเสียชีวิตภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่เริ่มต่ออายุสัญญา อยู่ในช่วงเวลาที่จำเลยสามารถใช้สิทธิโต้แย้งได้ จำเลยจึงตรวจสอบสุขภาพของนายใจ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายใจมีสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังก่อนที่จะขอต่อสัญญาประกันชีวิต ตามบัตรตรวจโรคของโรงพยาบาลบางมูลนากและเวชระเบียนผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพิจิตร นายใจได้เคยตอบคำถามและแถลงข้อเท็จจริงในหนังสือรับรองสุขภาพเพื่อต่ออายุกรมธรรม์ว่า ในช่วงระยะเวลาที่ขาดการชำระเบี้ย มีสุขภาพแข็งแรงและร่างกายสมบูรณ์ดีทุกประการไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคใดๆ ไม่เคยได้รับการตรวจหรือแนะนำจากแพทย์ที่เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพหรือการเจ็บป่วยแต่ประการใด หากนายใจเปิดเผยข้อเท็จจริงให้จำเลยทราบว่าเคยเข้ารักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง จำเลยจะไม่รับต่ออายุกรมธรรม์ จำเลยจึงใช้สิทธิบอกล้างสัญญา ซึ่งเป็นโมฆียกรรมและคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์แล้ว ตามหนังสือบอกล้างโมฆียกรรมและคืนเบี้ยประกันภัย อันเป็นการบอกล้างสัญญาภายในระยะเวลา 2 ปีนับแต่ขอต่ออายุสัญญาประกันชีวิตจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์   โดยพยานจำเลยทั้งสองปากมิได้เบิกความว่า โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเมื่อใด และจำเลยทราบว่านายใจเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งถือว่าเป็นมูลอันจำบอกล้างได้ตั้งแต่เมื่อใด คงได้ความเพียงว่าจำเลยได้มีหนังสือบอกล้างสัญญาประกันชีวิต ซึ่งอยู่ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันต่ออายุสัญญาเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้นำสืบว่า จำเลยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตรายนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนหมายเหตุ ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยให้จำเลยผู้รับประกันภัย ที่ปฏิเสธการจ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิตมีภาระการพิสูจน์ ( ฎีกาที่ 6711/2553)  แต่คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ได้วางหลักเพิ่มเติมต่อไปว่า นอกจากผู้รับประกันภัยต้องมีภาระการพิสูจน์แล้ว ยังมีหน้าที่พิสูจน์ต่อไปตามข้อยกเว้นความรับผิดในมาตรา 865  วรรคสอง ให้ครบถ้วนสิ้นกระแสความด้วย กล่าวคือ ต้องนำสืบหรือพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า ผู้รับประกันภัยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลเหตุอันจะบอกล้าง เมื่อใด ภายในกำหนดเวลา 1 เดือนแล้วหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 บ้านไม่มีกำหนดเวลาสร้าง สัญญาไม่บอก จะหาทางออกอย่างไร

หลายคนฝันจะมีบ้านเป็นของตนเอง อดทนทำงานเก็บหอมรอมริบอย่างดี จนมีเงินพอ และตั้งใจว่าจะสร้างบ้านเป็นของตนเอง เพราะไม่ค่อยวางใจกับบ้านจัดสรร หรือพวกห้องชุดคอนโดต่างๆ ที่มักมีข่าวอยู่เสมอว่าสร้างไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ตรงตามแบบ ใช้วัสดุไม่ได้คุณภาพ แต่เมื่อคิดจะสร้างเองก็ต้องมีการทำสัญญาจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างมาดำเนินการ ทำสัญญากันตกลงกันว่าจะสร้างบ้านแบบไหนออกแบบบ้านโดยสถาปนิก และให้ผู้ว่าจ้างเป็นคนเลือกสี วัสดุต่างๆ ซึ่งก็เคยมีปัญหาเกิดขึ้นว่า ตอนตกลงทำสัญญาจ้างปลูกสร้างบ้านนั้น กำหนดแต่เรื่องเงินค่าก่อสร้าง ว่าจะจ่ายกันกี่งวด เป็นจำนวนเท่าใด แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จเอาไว้ เช่นนี้ ผู้รับจ้างก่อสร้าง จะต้องสร้างให้เสร็จเมื่อใด  ถ้าเวลาล่วงเลยผ่านไปนาน  บ้านยังสร้างไม่เสร็จ ผู้ว่าจ้างยังไม่ได้บ้านจะมีสิทธิทำอะไรบ้าง ในเรื่องนี้ ก็เคยมีการฟ้องคดีต่อศาล เนื่องจากบ้านยังสร้างไม่เสร็จ ทั้งสัญญาจ้างก่อสร้างก็ไม่มีเขียนไว้ว่ากำหนดเวลาสร้างบ้านต้องภายในกี่เดือน กี่ปี ผู้ว่าจ้างก็อยากเลิกสัญญา เรียกค่าเสียหาย   โดยคดีดังกล่าว ศาลฏีกาได้วางแนวตัดสินไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้  คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1378/2546 สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านระบุว่าโจทก์จะชำระค่าจ้างในวันทำสัญญา150,000 บาท และให้ถือว่าเป็นการชำระเงินงวดที่ 1 และชำระเงินงวดอีก 1,433,190บาท โดยแบ่งชำระรวม 21 งวด ภายในวันที่ 20 ของเดือน ส่วนที่เหลือ 3,694,110บาท จะชำระเมื่องานก่อสร้างทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น แม้สัญญาไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปลูกสร้างบ้านให้แล้วเสร็จไว้ แต่ก็อนุมานได้ว่าภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระค่างวดครบ 22 งวด จำเลยจะต้องปลูกสร้างบ้านได้ไม่น้อยกว่าตามสัดส่วนของเงินค่าจ้างที่จำเลยได้รับชำระไปแล้ว แต่จำเลยก็ไม่ได้เริ่มลงมือปลูกสร้าง โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามไปยังจำเลย และให้จำเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จสมบูรณ์จำเลยก็มิได้มีหนังสือชี้แจงหรือโต้แย้งคัดค้าน เมื่อตามหนังสือสอบถามโจทก์ให้เวลาจำเลยอีก 4 เดือนเศษ จำเลยก็ยังไม่ปลูกสร้างบ้าน ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า"เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม...." และวรรคสอง บัญญัติว่า "ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้" และมาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" ดังนั้น เมื่อสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยของเงินที่จำเลยจะต้องใช้คืนแก่โจทก์ไว้ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับชำระแต่ละงวดจนกว่าจะใช้คืนเสร็จแก่โจทก์  จากคำพิพากษาของศาลฏีกาดังกล่าว ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า แม้กำหนดเวลาปลูกสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ จะไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา ก็สามารถใช้เรื่องกำหนดเวลาผ่านชำระค่างวดมาเป็นตัวกำหนดได้ เพราะสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านนั้น ตามกฎหมาย ถือว่าเป็น “ สัญญาจ้างทำของ “ อย่างหนึ่ง ซึ่งวัตถุประสงค์ของสัญญาคือผลสำเร็จของงานที่ว่าจ้าง ดังนั้น เมื่อผู้ว่าจ้างชำระเงินไปแล้ว ผู้รับจ้างก็มีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างได้ผ่อนชำระค่างวดบ้านไปด้วย ในเมื่อไม่ได้ดำเนินการทั้งที่รับค่าจ้างไปแล้ว จนบ้านยังไม่ได้ปลูกสร้าง อีกทั้งมีเงื่อนไขว่าจะชำระเงินงวดสุดท้าย ต่อเมื่อบ้านได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ดังนั้น เมื่อบ้านยังสร้างไม่เสร็จ จึงถือว่าผู้รับจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญา ตกเป็นผู้ผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และเรียกเงินที่ได้ชำระไปแล้วคืนได้   ซึ่งในฏีกาดังกล่าว ท่านผู้พิพากษาไพโรจน์ วายุภาพ  ได้มีหมายเหตุท้ายฏีกาอย่างน่าสนใจ ดังนี้  หมายเหตุ  สัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านเป็นสัญญาจ้างทำของ จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างต้องทำการปลูกสร้างบ้านจนเสร็จ จึงจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง ตราบใดที่งานไม่เสร็จ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง แต่การปลูกสร้างบ้านย่อมต้องใช้เวลานานพอสมควรจนกว่าจะเสร็จจึงจะถือว่าชำระหนี้ครบถ้วน แต่จำเลยกลับไม่ทำการปลูกสร้างบ้านเลย เมื่อโจทก์ไม่ต้องการผูกพันกันต่อไปจึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืน ซึ่งการบอกเลิกสัญญาจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โดยจำเลยต้องตกเป็นผู้ไม่ชำระหนี้แล้วโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ถ้าจำเลยยังไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอีก โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า จำเลยตกเป็นผู้ไม่ชำระหนี้แล้วหรือไม่ ปรากฏว่าสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ซึ่งถ้านำมาตรา 203 มาปรับ ก็ต้องถือว่าหนี้ถึงกำหนดชำระโดยพลันแล้ว จำเลยต้องลงมือก่อสร้างบ้านทันที เมื่อจำเลยไม่ทำการปลูกสร้างบ้านเลยย่อมถือว่าเป็นผู้ไม่ชำระหนี้ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้โดยลงมือก่อสร้างบ้านภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรได้ ถ้าจำเลยไม่ลงมือทำการปลูกสร้างบ้านภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตามมาตรา 387 ต่างกับการที่จำเลยลงมือก่อสร้างบ้านแล้วและทำงานไปเรื่อย ๆ ตามขั้นตอนของการก่อสร้าง ย่อมจะถือว่าจำเลยไม่ชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีไม่น่าจะต้องพิจารณาว่าภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระค่างวดครบ 22 งวด จำเลยต้องปลูกสร้างบ้านได้ไม่น้อยกว่าตามสัดส่วนของเงินค่าจ้างที่ได้รับจากโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้เริ่มลงมือปลูกสร้างดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัย ส่วนการที่โจทก์ชำระเงินให้จำเลยไปถูกต้องทุกงวดก็คงเพียงแต่เป็นการแสดงว่าโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงไม่เสียสิทธิในการบอกเลิกสัญญาเท่านั้น  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 จองแล้ว ทำสัญญาแล้ว ไม่สร้างซะที บอกเลิกสัญญาได้ไหม

ฉบับนี้เป็นเรื่องผู้บริโภคไปทำสัญญาจะซื้ออาคารพาณิชย์ 6 ชั้น ชื่อสวนมะลิเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่ 146  และ 1705 แขวงสำเพ็ง  เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จากบริษัทจำเลย โดยเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2548  ผู้บริโภคทำนิติกรรมจองซื้ออาคารพาณิชย์โครงการดังกล่าว เนื้อที่ 17 ตารางวา 1 คูหา จากจำเลยในราคา 16,000,000 บาท ชำระเงินในวันจอง 300,000 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 15  พฤษภาคม 2548 ผู้บริโภคทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยและ ชำระเงินอีก รวมเป็นเงิน 800,000 บาท ตกลงชำระเงินดาวน์ 12 งวด งวดละ 334,000 บาท งวดแรกชำระวันที่ 15 กันยายน  2548งวดสุดท้ายวันที่ 15 สิงหาคม  2548 รวมเป็นเงิน 4,008,000 บาท ส่วนที่เหลือ 11,192,000 บาท จะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ  โดยสัญญาจะซื้อจะขายมิได้กำหนดเวลาการเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ให้แล้วเสร็จไว้ แต่เมื่อจะครบกำหนดจะชำระเงินดาวน์งวดแรก จำเลยยังไม่ลงมือก่อสร้าง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจในโครงการของจำเลย เพราะเงินค่างวดที่จะจ่ายแต่ละงวดเป็นจำนวนมากถึงงวดละ 334,000 บาท ผู้บริโภคจึงไม่ยอมจ่ายเงินค่างวดและไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แล้วต่อมาได้บอกเลิกสัญญา แล้วฟ้องเรียกเงินคืน แต่จำเลยก็สู้ยิบตาโดย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ผิดสัญญาทำให้จำเลยเสียหายไม่ได้รับชำระเงิน 2,004,000 บาท แต่จำเลยขอคิดค่าเสียหายส่วนนี้เพียง 1,000,000 บาท ขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์ชำระเงิน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าชำระเสร็จแก่จำเลย   โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และยกฟ้องแย้งจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ เอาละซิ โจทก์(ผู้บริโภค) แพ้มาสองศาลแล้ว แต่ก็ไม่ถอดใจ กัดฟันฎีกา ให้มันรู้ไปว่าจะแพ้ทั้งสามศาล ศาลฎีกาจะว่าอย่างไรมาดูกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2556 วินิจฉัยว่า แม้สัญญาจะซื้อจะขายมิได้กำหนดเวลาการเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ให้แล้วเสร็จ  แต่เป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องรีบลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาก่อสร้างที่แล้วเสร็จไว้เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชนในฐานะผู้บริโภค เมื่อสัญญาไม่ได้กำหนดเวลาไว้แต่เป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องรีบลงมือก่อสร้าง และก่อสร้างให้แล้วเสร็จในเวลาอันสมควรอันเป็นไปตามหลักความสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 หาใช่การจะเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาแล้วเสร็จนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว เพราะจำเลยเป็นผู้รับผลประโยชน์จากเงินที่โจทก์ชำระไปแล้ว จึงมีหน้าที่ต้องรีบก่อสร้างโดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 ดังนั้นการที่โจทก์ชำระเงิน 800,000 บาท แก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ย่อมมีความคาดหวังจะได้เห็นจำเลยปฏิบัติชำระหนี้ตอบแทน คือการเริ่มลงมือก่อสร้าง แต่เมื่อจะครบกำหนดเวลาชำระเงินดาวน์งวดแรกได้ความว่าจำเลยยังไม่เริ่มลงมือก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ทำให้โจทก์เกิดความไม่มั่นใจในโครงการของจำเลยเพราะเงินค่างวดที่จะจ่ายแต่ละงวดเป็นจำนวนมากถึงงวดละ 334,000 บาท โจทก์จึงไม่ยอมจ่ายเงินค่างวดและไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จำเลยเองก็ไม่ได้แสดงความสุจริตโดยการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโครงการให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือหรือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดอีก จึงถือได้ว่าการชำระหนี้ของโจทก์มิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่างวดแก่จำเลยจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยในการริบมัดจำไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จึงมีผลให้สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยไปแล้ว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 พิพากษาแก้ให้จำเลยชำระเงินตามฟ้อง กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 161 ห้องชำรุด ยังไม่ต้องรับโอน บอกเลิกสัญญาขอเงินคืนได้

ฉบับนี้เป็นปัญหาของผู้บริโภคที่ซื้ออาคารชุดแล้วห้องไม่เรียบร้อย เมื่อแจ้งโครงการให้แก้แล้ว แต่โครงการแก้ไขไม่เสร็จ และไม่สามารถให้ผู้บริโภครับโอนกรรมสิทธิ์ได้ ปัญหาลักษณะนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดจวบจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิในการบอกเลิกสัญญา กรณีนี้เช่นนี้ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเป็นตัวอย่างมาแล้ว เรามาดูกันครับ คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดในโครงการทรัพย์แก้วทาวเวอร์ ของบริษัท ทรัพย์แก้ว จำกัด กับจำเลยในราคา 740,000 บาท ตกลงชำระเงินในวันจอง 5,000 บาท ในวันทำสัญญา 5,000 บาท และระหว่างการก่อสร้างอาคารชุดจำนวน 24 งวด งวดละ 5,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 148,000 บาท โดยให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินมัดจำ จำเลยตกลงจะส่งมอบห้องชุดในสภาพเรียบร้อยให้แก่โจทก์ประมาณเดือนเมษายน 2539 สำหรับเงินส่วนที่เหลืออีกจำนวน 592,000 บาท มีข้อตกลงให้ชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ได้ชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาและยังได้ชำระค่าตกแต่งเพิ่มเติมห้องชุดให้แก่จำเลยอีกจำนวน 1,470 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยทั้งสิ้นจำนวน 149,470 บาท เมื่อครบกำหนดส่งมอบปรากฏว่าผนังของห้องชุดดังกล่าวมีรอยร้าวเป็นแนวยาวจากเพดานถึงพื้นห้อง จำเลยจึงขอเลื่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นวันที่ 26 ธันวาคม 2539 แต่จำเลยก็ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามที่ตกลงได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและทวงถามขอเงินคืน แต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยต้องรับผิดคืนเงินจำนวน 149,470 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2540 อันเป็นวันครบกำหนดให้จำเลยชำระเงินคืน คำนวณถึงวันฟ้องเป็นเงินจำนวน 1,627.78 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 151,097.78 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 151,097.78 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 149,470 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 148,000 บาท คืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ทั้งนี้ดอกเบี้ยคำนวณถึงวันฟ้อง(วันที่ 30 กันยายน 2540) ต้องไม่เกิน 1,627.78 บาท กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 7,500 บาท คำขออื่นให้ยก จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 1,500 บาท จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการจำหน่ายห้องชุดเพื่อบุคคลภายนอกในโครงการอาคารชุดพักอาศัยทรัพย์แก้วทาวน์เวอร์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับจำเลยในราคา 740,000 บาท โจทก์ได้ชำระเงินในวันจอง 5,000 บาท ในวันทำสัญญา 5,000 บาท และชำระในระหว่างก่อสร้างห้องชุดจำนวน 24 งวด งวดละ 5,750 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ได้ชำระไปแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 148,000 บาท สำหรับเงินที่เหลืออีกจำนวน 592,000 บาท มีข้อตกลงให้ชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยได้รับเงินจำนวน 148,000 บาท แล้ว แต่จำเลยมิได้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่โจทก์ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ จำเลยอ้างว่าจำเลยบอกเลิกแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2539 ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับสิ้นไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยอีก เห็นว่า ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ ปรากฏว่าผนังของห้องชุดพิพาทมีรอยแตกร้าว ซึ่งจำเลยรับกับโจทก์ว่าจะแก้ไขรอยแตกร้าวในห้องชุดพิพาทให้เรียบร้อย และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2539 จำเลยได้ให้โจทก์ตรวจรับห้องชุดพิพาท ซึ่งพบว่าห้องชุดพิพาทมีรอยแตกร้าวต้องซ่อมแซม และในวันที่ 29 ธันวาคม 2539 ได้มีการนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทซึ่งเป็นวันหลังจากที่จำเลยอ้างว่าได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว การที่มีการนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทหลังจากที่จำเลยอ้างว่าได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า จำเลยมิได้มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์ในเดือนกันยายน 2539 ทั้งหลังจากนั้นจำเลยยังได้ยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจรับห้องชุดพิพาทและจำเลยได้นัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดกับโจทก์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 แต่ในวันดังกล่าวไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์กัน เนื่องจากจำเลยเรียกเงินจากโจทก์อีก 50,000 บาท โดยอ้างว่าโจทก์รับโอนห้องชุดพิพาทล่าช้า หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทอีก เมื่อสัญญายังไม่เลิกกันและจำเลยไม่โอนห้องชุดพิพาทให้โจทก์ตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน โจทก์ไม่แก้ฎีกาจึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้. (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8390/2549) //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 159 ผลของการทำสัญญาค้ำประกันโดยประมาทเลินเล่อ

อุทาหรณ์จากการทำสัญญาค้ำประกันโดยประมาท จากเรื่องที่ นาย ก. ในที่นี้คือ จำเลยที่ 2  ลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน ซึ่งยังไม่มีการกรอกข้อความพร้อมมอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการให้ไว้แก่โจทก์ นาย ก.  ถูก นาง ศ. หลอกว่า เป็นการค้ำประกันให้ นาง ศ.  และต่อมา นาง ศ. กับพวกนำไปใช้เป็นหลักฐานในการค้ำประกันจำเลยที่ 1 (คนที่นาย ก. ไม่รู้จัก) ต่อโจทก์ ในการเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์  ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์ติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้แล้วนำออกขายได้ราคาไม่คุ้มกับความเสียหายของโจทก์  จึงได้ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 (ซึ่งเข้าสำนวนไทยว่า เนื้อไม่กิน แต่ได้กระดูกแขวนคอ) ให้การต่อสู้คดีว่า เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด ขอให้ศาลยกฟ้อง(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ) มาดูกันว่าศาลฎีกาจะตัดสินว่าอย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่  357/2548 ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า “ พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ... ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์  โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น   คดีมีปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 2  ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกัน หรือไม่ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาค้ำประกันนาง ศ.    มิใช่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 เป็นโมฆะไม่สามารถบังคับจำเลยที่ 2 ได้ และการลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ไม่ได้กรอกข้อความเนื่องจากถูกนาง ศ. หลอกลวง จึงไม่ใช่การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 นั้น เห็นว่า การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกัน ซึ่งยังไม่มีการกรอกข้อความพร้อมกับมอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการให้ไว้แก่โจทก์นั้น  เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อซึ่งเป็นการยอมเสี่ยงภัยในการกระทำของตนเองอย่างร้ายแรง แม้นาง ศ. กับพวกจะนำไปใช้เป็นหลักฐานในการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยกรอกข้อความในหนังสือค้ำประกันให้ผิดไปจากเจตนาของจำเลยที่ 2 ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158**   จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว  ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น  ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น “ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ ก่อนทำสัญญาใดๆ ท่านผู้อ่านอย่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเปล่าใดๆ ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความดังกรณีนี้เป็นอันขาด และการทำนิติกรรมใดๆ ควรไปทำด้วยตนเอง  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ทะเบียนบ้านจะมอบให้ใครนำไปใช้เรื่องอะไรให้เขียนให้ชัดเจนว่ามอบให้ไปทำอะไร ช่องว่างที่เหลือแบบฟอร์มของสัญญาให้ใช้ไม้บรรทัดขีดออก เพื่อป้องการการเติมข้อความอื่น **ปพพ. มาตรา 158 ความสำคัญผิด ตาม มาตรา 156 หรือ มาตรา 157 ซึ่ง เกิดขึ้น โดย ความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง ของบุคคล ผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้น จะถือเอา ความสำคัญผิดนั้น มาใช้เป็นประโยชน์ แก่ตน ไม่ได้   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 158 สัญญาฝากทรัพย์ กรณีรถหายในอู่ซ่อม

สัญญาฝากทรัพย์เป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ลักษณะ 10 หมวด 1 โดย มาตรา 657 ได้ให้ความหมายของสัญญาฝากทรัพย์ว่า “อันว่าฝากทรัพย์นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ฝาก  ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง  เรียกว่าผู้รับฝากและผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้” ในการรับฝากทรัพย์นั้นมีทั้งเป็นการรับฝากทรัพย์เป็นการให้เปล่าไม่มีบำเหน็จ  และมีทั้งการรับฝากทรัพย์มีบำเหน็จค่าฝาก  ซึ่งผลของรับฝากทรัพย์เป็นการให้เปล่าไม่มีบำเหน็จและมีบำเหน็จค่าฝากมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะใช้ระดับความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินต่างกัน  ยิ่งผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ต้องมีระดับความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินสูงเพิ่มขึ้นไปอีก โดย มาตรา 659 บัญญัติว่า “ถ้าการฝากทรัพย์เป็นการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง ถ้าการรับฝากทรัพย์นั้นมีบำเหน็จค่าฝาก  ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดั่งนั้น  ทั้งนี้ย่อมรวมทั้งการใช้ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใด  ก็จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่ เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น” มาดูตัวอย่างกรณีศึกษากันหน่อย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2551 วินิจฉัยว่า การที่จะพิจารณาว่าจำเลยในฐานะผู้รับฝากรถยนต์คันพิพาทไว้โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับคนทั่วๆ ไป ในภาวะเช่นนั้นว่าควรจะพึงใช้ความระมัดระวังเช่นไร  ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า  จำเลยจอดรถยนต์คันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าอู่ซ่อมรถของจำเลยโดยได้ล็อกประตูและล็อกพวงมาลัยรถยนต์คันพิพาท ส่วนตัวจำเลยก็นอนอยู่ภายในอู่ดังกล่าว เมื่อได้ยินเสียงเครื่องยนต์รถดังขึ้นก็ได้ลุกขึ้นดู  ปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาทหายไปก็ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจสายตรวจที่ผ่านมาทราบและออกติดตามคนร้ายกับเจ้าพนักงานตำรวจด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นแล้ว อู่ซ่อมรถของจำเลยเป็นห้องแถวและเป็นอู่ขนาดเล็ก  บริเวณด้านหน้าของอู่ตั้งประชิดติดกับขอบถนน ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะมีการกั้นรั้วหรือจัดหายามมาคอยระแวดระวังในเวลากลางคืน ดังนั้น การที่จำเลยจอดรถยนต์คันพิพาทไว้บริเวณด้านหน้าของอู่จะถือว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นหาได้ไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2554 วินิจฉัยว่า  โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ โดยจำเลยเป็นนิติบุคคลประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ว่ารับฝากเงิน  จำเลยจึงเป็นผู้รับฝากผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใดจึงต้องใช้ความระมัดระวังและฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้นตามบทบัญญัติมาตรา 659  วรรคสาม แห่ง ป.พ.พ. อันเป็นการกำหนดมาตรฐานในการระมัดระวังในการปฏิบัติตามสัญญาในขั้นสูงสุดเยี่ยงผู้มีวิชาชีพเช่นนั้นจะพึงปฏิบัติในกิจการที่กระทำ  เมื่อปรากฏว่า พนักงานของจำเลยทุจริตลักลอบเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าต่างๆ จำนวน 34 บัญชี รวมทั้งรายบัญชีของโจทก์  แสดงว่าจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลบัญชีเงินฝากของโจทก์ อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา  ได้ความว่าโจทก์ฝากเงินประเภทประจำ 3 ปี กรณีเป็นเรื่องปกติวิสัยที่เจ้าของบัญชีจะอุ่นใจมิได้ติดตามผลในบัญชีเงินฝากจนกว่าจะครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนด การที่โจทก์ไม่ได้ไปติดต่อรับดอกเบี้ย จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติวิสัยและไม่ใช่ความผิดของโจทก์ เนื่องจากโจทก์เป็นลูกค้าของจำเลย มิใช่ผู้มีหน้าที่ระมัดระวังทรัพย์สินที่ตนฝาก  เมื่อจำเลยผิดสัญญาฝากเงินไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้นในการดูแลเงินฝากของโจทก์ เมื่อเงินฝากของโจทก์ถูกเบิกถอนไปจนหมด  จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ หมายเหตุผู้เขียน สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินตามสัญญาฝากทรัพย์ มิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 (ฎ. 2542/2549)     //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 ใครเป็นฝ่ายผิดสัญญา?

คดีนี้ผู้บริโภคได้ซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้านในโครงการที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบริษัทฯ ชื่อดังระดับบริษัทมหาชน ปรากฏว่าถนนหน้าที่ดินที่ผู้บริโภคทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบริษัทฯ  ยังมิใช่ถนนที่ บริษัทฯ ยกให้เป็นถนนสาธารณะ และติดจำนองไว้แก่ธนาคาร เมื่อผู้บริโภคเรียกร้องให้บริษัทฯ จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงพิพาทตามเงื่อนไขที่ธนาคารผู้ให้เงินกู้แก่ผู้บริโภคกำหนดไว้ แต่บริษัทฯ ไม่ยินยอมกระทำ แล้วอ้างว่าผู้บริโภคเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินตามที่บริษัทฯ นัดหมาย แล้วบริษัทฯ บอกเลิกสัญญาแก่ผู้บริโภคและริบเงินที่ผู้บริโภคชำระให้แก่บริษัทฯ ทั้งหมด  ผู้บริโภคจึงไปฟ้องศาลขอให้ศาลบังคับให้บริษัทฯ คืนเงิน  มาดูผลคดีกันว่าในที่สุดศาลจะตัดสินอย่างไร   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5430/2554 คดีระหว่าง นายบุญชัย  พัฒนปิยะทรัพย์ โจทก์ กับ บริษัท ศุภาลัย จำกัด(มหาชน) ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ วันที่ 19 พฤศจิกายน  2542 โจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญารับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทจากจำเลย  โดยเตรียมแคชเชียร์เช็คจำนวนเงินเท่ากับที่ต้องชำระแก่จำเลย  หากแต่จำเลยไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้โจทก์  และแม้จำเลยจะนำสืบว่าได้ขอเลื่อนการโอนกรรมสิทธิ์เป็นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 เพราะเตรียมเอกสารในการโอนไม่ทัน และในวันที่ 26 พฤศจิกายน  2542 ฝ่ายจำเลยก็ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์แต่โจทก์ไม่ไปตามกำหนดนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญานั้น ก็เห็นได้จากหนังสือบอกเลิกสัญญาซึ่งจำเลยส่งไปถึงโจทก์มีข้อความในตอนท้ายสรุปความได้ว่า  จำเลยจะไม่จดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์เพราะไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับภาระจำยอมในสัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์  จึงเป็นที่เห็นได้อย่างแจ้งชัดว่าแม้จำเลยจะไปที่สำนักงานที่ดินตามกำหนดนัดของโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2542 หรือโจทก์จะไปที่สำนักงานที่ดินตามกำหนดนัดของจำเลยในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 โจทก์จำเลยก็ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทกันได้   เพราะจำเลยไม่ยินยอมจดทะเบียนภาระจำยอมให้เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร อ. ที่ให้เงินกู้แก่โจทก์เพื่อชำระราคาบ้านและที่ดินพิพาท  ซึ่งตามแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการของจำเลยมีรูปแผนที่เป็นผังโครงการแสดงให้เห็นว่า  หน้าที่ดินแต่ละแปลงจะมีถนนออกสู่ถนนใหญ่ ที่เป็นถนนสาธารณะเช่นนี้  สิ่งที่ปรากฏในแผ่นพับโฆษณาเชิญชวนก็ล้วนเป็นปัจจัยที่จะจูงใจให้ประชาชนทั่วไปตลอดจนโจทก์ตัดสินใจเข้าทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยทั้งสิ้น จำเลยจึงต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสิ่งที่พรรณนาประชาสัมพันธ์ไว้ อันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่จำเลยได้ให้สัญญาแก่บุคคลที่จะเข้าทำสัญญากับจำเลยไว้   เมื่อปรากฏว่าถนนหน้าที่ดินแปลงที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายจากจำเลยยังมิใช่ถนนที่จำเลยยกให้เป็นถนนสาธารณะ  อีกทั้งถนนดังกล่าวจำเลยยังนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารด้วย จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินแปลงพิพาทที่โจทก์จะซื้อและเจ้าของที่ดินส่วนที่เป็นถนนหน้าที่ดินแปลงพิพาทจะต้องจดทะเบียนภาระจำยอมให้ที่ดินแปลงพิพาทที่โจทก์จะซื้อได้ใช้ประโยชน์ผ่านเข้าออกที่ดินส่วนที่เป็นถนนหน้าที่ดินแปลงพิพาทสู่ถนนสาธารณะได้เพราะมิฉะนั้นแล้วหากภายหน้าส่วนที่ดินที่เป็นถนนหน้าที่ดินแปลงพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นไม่ว่าจำเลยจะถูกบังคับจำนองหรือโอนให้บุคคลอื่น  โจทก์ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในถนนหน้าที่ดินแปลงพิพาทดังเช่นที่จำเลยพรรณนาไว้ในแผ่นพับเชิญชวนให้เข้าทำสัญญาซื้อขายได้   ดังนั้น  เมื่อโจทก์เรียกร้องให้จำเลยจดภาระจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงพิพาทที่จำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขที่ธนาคารผู้ให้เงินกู้แก่โจทก์กำหนดไว้  ซึ่งโดยภาระหน้าที่จำเลยต้องกระทำการดังกล่าวให้แก่โจทก์  แต่จำเลยไม่ยินยอมกระทำ  ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยโดยชอบแล้ว  โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา  391 วรรคหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 ที่ดินข้างเคียงตอกเข็มจนบ้านทรุด ใครต้องรับผิดชอบ

การตอกเสาเข็มส่วนใหญ่เจ้าของที่ดินที่จะก่อสร้างจะไปจ้างให้บุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการให้  ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างทำของมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587  ผู้รับจ้างมีหนี้ที่จะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ และส่งมอบให้แก่ผู้ว่าจ้าง ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติทั่วไปในลักษณะจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน  ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน  จึงถือว่าเป็นการงานของนายจ้างเอง ฉะนั้นโดยหลัก ผู้ว่าจ้างทำของจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่จ้าง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ซึ่งบัญญัติว่า  “ ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง “ มาดูตัวอย่างจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2554  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า...แม้งานตอกเสาเข็มเสร็จแล้ว แต่การก่อสร้างบ้านยังคงดำเนินต่อมา ตราบใดที่การก่อสร้างโดยรวมยังไม่เสร็จสิ้นก็ถือว่าโจทก์ยังถูกทำละเมิดอยู่อายุความละเมิดเริ่มนับเมื่อการก่อสร้างโดยรวมเสร็จสิ้นแล้ว  โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นปีหนึ่ง นับแต่วันก่อสร้างโดยรวมเสร็จสิ้น  สิทธิของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ   การตอกเสาเข็มในการสร้างบ้านของจำเลยที่ 1 นั้นมิได้ใช้แผ่นเหล็กชีทไพล์ (Steel Sheet Pile) ย่อมส่งผลให้มีแรงสั่นสะเทือนไปยังพื้นที่ข้างเคียง จึงเป็นเหตุให้พื้นที่โรงจอดรถและถนนรอบบ้านของโจทก์ทรุดตัวและแตกร้าว และถึงแม้จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก่อสร้างบ้าน ส่วนจำเลยที่ 2 ว่าจ้างบริษัท ป.จำกัด ทำการงานในส่วนการตอกเสาเข็มซึ่งล้วนเป็นสัญญาจ้างทำของ จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดให้ใช้วิธีตอกเสาเข็มเพื่อจะได้เสียค่าสินจ้างน้อยกว่าวิธีใช้เสาเข็มเจาะ  จำเลยที่ 3 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็เป็นผู้กำหนดให้บริษัท ป. จำกัด ใช้วิธีตอกเสาเข็มตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงล้วนเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ  จึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันบริษัท ป.จำกัด ได้ก่อให้เกิดแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 และเมื่อจำเลยที่ 3 ได้กระทำการดังกล่าวในฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 2 ดังนั้น ความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 และโจทก์ย่อมต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ว่าด้วยตัวแทน  จำเลยที่  2 จึงต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167  ประกอบมาตรา 425 และมาตรา 427 ที่เป็นสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค  ไปค้าขายทำกำไร 2 ต่อ คำถามตามมาคือ หากองค์กรกำกับฯ (กสทช.)  ละเลยไม่กำกับดูแลตามหน้าที่  ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิกันอย่างไร? 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 ผลของการซื้อขายที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอน (2)

เมื่อนิติกรรมการซื้อขาย(ที่ดิน) เป็นโมฆะ ผู้ซื้อจะเรียกเงินมัดจำหรือเงินค่าที่ดินคืนได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อว่ารู้หรือไม่รู้ถึงข้อกำหนดห้ามโอน ศึกษาได้จากคำพิพากษาศาลฎีกาดังต่อไปนี้   กรณีรู้ถึงข้อกำหนดห้ามโอน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2551 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “โจทก์ทราบดีมาแต่แรกว่าขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนั้น มีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี แต่โจทก์ก็ยอมตนเข้าผูกพันทำสัญญาดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฏหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินมัดจำไป 400,000 บาท จึงเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ลักษณะ 4 ว่าด้วยลาภมิควรได้ มาตรา 411 บัญญัติว่า บุคคลใดได้กระทำการเพื่อชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่  โจทก์จึงไม่อาจเรียกเงินมัดจำ 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยคืนจากจำเลย   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2554 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ โจทก์และจำเลยทราบดีว่าที่ดินมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน  แต่ก็ซื้อขายกันโดยหลีกเลี่ยงข้อกำหนดดังกล่าวโดยวิธีทำสัญญาจะซื้อจะขาย อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ทั้งยังจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้จะซื้อเป็นการอำพราง และทำพินัยกรรมไว้ว่าเมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายให้ที่ดินของโจทก์ตกเป็นของจำเลย ซึ่งนิติกรรมดังกล่าวล้วนเป็นโมฆะมาแต่ต้น มิใช่กรณีที่เป็นโมฆียะแล้วมาถูกบอกล้างในภายหลัง อันที่จะทำให้คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม เงินค่าที่ดินบางส่วนที่จำเลยชำระไปจึงเป็นการกระทำตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะได้รับเงินดังกล่าวคืนจากโจทก์ “ กรณีไม่รู้ถึงข้อกำหนดห้ามโอน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2553 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ขณะโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่ทราบว่ามีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินพิพาท นิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ดินที่เหลือแก่จำเลยที่ 1 อีก  การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเพราะต้องการที่ดินพิพาทโดยไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินพิพาท อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายที่กำหนดข้อห้ามโอนไว้  กรณีดังกล่าวไม่ใช่โจทก์กระทำการตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระหรือกระทำการชำระหนี้ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฏหมายหรือศีลธรรมอันดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 จำเลยที่  1 จึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้ชำระมาแล้วให้แก่โจทก์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 ผลของการซื้อขายที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอน (1)

  ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่มีราคา สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบอาชีพ และทรัพยากรที่ดินดังกล่าวมีจำนวนจำกัดเมื่อเทียบกันกับจำนวนประชากรที่มีแต่จะเพิ่มขึ้น  คนจนก็อยากจะมีที่ดินเมื่อรัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ก็เกิดปัญหาประชาชนที่อ้างปัญหาความยากจนไม่มีที่ดินทำกินบุกรุกป่าสงวนหรือป่าเสื่อมโทรมเกิดเป็นปัญหามวลชน   ดังนั้นบางครั้งรัฐก็ต้องแก้ปัญหาด้วยการออกเอกสารสิทธิต่างๆ ให้หลายประเภทเพื่อแก้ปัญหาที่ทำกินของราษฎร  ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า โฉนดครุฑดำ ครุฑแดง ครุฑเขียว(ซึ่งความจริงแล้วอาจจะไม่ใช่โฉนดก็ได้) แต่ด้านหลังของเอกสารดังกล่าวมักจะมีตัวพิมพ์สีแดงเป็นข้อกำหนดห้ามโอนในชั่วระยะเวลาหนึ่งเช่น สิบปี ฯลฯ ทั้งนี้รัฐมีความประสงค์ที่จะให้ราษฎรมีที่ดินทำกินและเพื่อป้องกันไม่ให้ที่ดินดังกล่าวตกไปอยู่ในมือของนายทุน แต่ก็มีผู้ที่อยากจะได้ที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวทำนิติกรรมต่างๆ นานาหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าว ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร ศึกษาได้จากคำพิพากษาศาลฎีกาดังต่อไปนี้   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2539 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาตามข้อกำหนดห้ามโอน เป็นการหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอน ย่อมตกเป็นโมฆะ “   แม้จะตกลงให้มีการจดทะเบียนโอนกันเมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตกเป็นโมฆะเช่นกัน ( ฎ.5083/2537 , 36/2549) กรณีเป็นที่ดินมือเปล่า ก็จะถือว่าสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบไม่ได้ ( ฎ.9087/2539 , ฎ.3133/2538) ถ้าได้ส่งมอบที่ดินให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว ก็ถือว่าผู้ซื้อครอบครองที่ดินนั้นไว้แทนผู้ขาย (ฎ.3372/2538 , ฎ.1765/2548) แม้พ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตามผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิในที่ดิน (ฎ.3372/2538) บางรายทำสัญญาไว้หลายชั้น เช่น ทำสัญญาจะซื้อจะขายให้โอนหลังพ้นกำหนดห้าม และผู้ขายยังจดทะเบียนการเช่าให้ผู้ซื้อ และทำพินัยกรรมไว้ว่าหากผู้ขายตายให้ที่ดินตกเป็นของผู้ซื้อ นิติกรรมดังกล่าวล้วนเป็นโมฆะมาแต่ต้น (ฎ.1365/2554)   เมื่อนิติกรรมการซื้อขายเป็นโมฆะ ผู้ซื้อจะเรียกเงินมัดจำหรือเงินค่าที่ดินคืนได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อว่ารู้หรือไม่รู้ถึงข้อกำหนดห้ามโอน ซึ่งจะขอต่อเรื่องราวในฉบับหน้าครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 สัญญาไม่เป็นธรรมกรณีบัตรเครดิตหาย

ฉบับนี้ขอนำเสนอเรื่อง ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้ใช้บัตรเครดิตต้องรับผิดต่อธนาคารฯ ในกรณีที่บัตรเครดิตสูญหาย ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ในการยื่นคำขอมีบัตรเครดิตนั้นผู้ยื่นจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญาตามที่ทางธนาคารฯ เจ้าของบัตรเครดิตได้กำหนดไว้  ซึ่งในสัญญาดังกล่าวจะมีข้อตกลงต่างๆ ที่ทางธนาคารฯ เจ้าของบัตรเครดิตกำหนดไว้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็น “สัญญาสำเร็จรูป” “สัญญาสำเร็จรูป” หมายความว่า สัญญาที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีการกำหนดชื่อสัญญาที่เป็นสาระสำคัญไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะทำในรูปแบบใด ซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำมาใช้ในการประกอบกิจการของตน” สัญญาสำเร็จรูปมีผลก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมความไม่เสมอภาคในการทำสัญญา เพราะจะมีการกำหนดความละเอียดหลักเกณฑ์ทางสัญญาไว้เป็นแบบสำเร็จรูป คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีเวลาพอที่จะตรวจสอบหรือหากสามารถตรวจสอบได้ก็ไม่อาจจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ต่อรองเงื่อนไขให้เป็นประการอื่นใด ทำให้เกิดปัญหาการทำสัญญาโดยไม่สมัครใจ หรืออยู่ในภาวะที่ต้องยอมรับข้อเสียเปรียบที่อาจเห็นอยู่แล้วตั้งแต่ตอนทำสัญญา  ในทางปฏิบัติจะเห็นได้ว่า  สัญญาสำเร็จรูปมีลักษณะของความไม่เป็นธรรมตั้งแต่รูปแบบของสัญญา กล่าวคือ ใช้ตัวเล็ก มีข้อความละเอียดมากมาย ใช้ศัพท์เทคนิคเข้าใจได้ยาก และมีการพัฒนามาจากกรณีความผิดพลาดที่คู่สัญญาฝ่ายที่นำมาใช้เคยประสบมาก่อน จึงมีการเขียนในลักษณะปิดช่องทางที่เคยผิดพลาดและพยายามเอาเปรียบอย่างรัดกุมยิ่งขึ้น เพราะเคยผ่านบทเรียนมามากในขณะที่อีกฝ่ายเพิ่งจะเข้าทำสัญญาเป็นครั้งแรกหรือเพิ่งเคยทำไม่กี่ครั้ง ทำให้ขาดประสบการณ์ ไม่สามารถรู้เท่าทันอีกฝ่ายหนึ่งได้ จึงเป็นลักษณะของมืออาชีพกับมือสมัครเล่น   ซึ่งมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540  ได้บัญญัติไว้ว่า “ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น” ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความสัญญาสำเร็จรูปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งมิได้เป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น (8) ข้อตกลงในสัญญาบัตรเครดิตที่กำหนดให้ผู้บริโภคต้องชำระดอกเบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายหรือประโยชน์อื่นใดสูงเกินกว่าที่ควรในกรณีที่ผิดนัดหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการชำระหนี้ “ ลองมาดูตัวอย่างที่ศาลฎีกานำบทบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมาปรับบทบังคับสักเรื่องหนึ่ง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2552 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ที่กำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่บัตรเครดิตสูญหาย ถูกลักขโมย หรือถูกใช้โดยบุคคลอื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ถือบัตร(จำเลย) ที่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ศูนย์บัตรเครดิตของธนาคาร(โจทก์)ทราบแล้วโดยพลันเพื่อให้ระงับการใช้บัตรเครดิต ในภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นก่อนมีการแจ้งดังกล่าวในจำนวนเงินที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตของผู้ถือบัตร ซึ่งถูกนำไปใช้โดยมิชอบ รวมถึงภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นหลังจากแจ้งให้ธนาคารทราบแล้วไม่เกิน 5 นาที นอกจากจะขัดแย้งกับข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 6 วรรคสอง แล้ว ยังถือเป็นข้อสัญญาที่ทำให้จำเลยต้องรับภาระในหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยไม่ได้ก่อขึ้นและไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย  ทั้งโจทก์ยังมีทางแก้ไขความเสียหายของโจทก์ได้โดยหากโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าลายมือชื่อผู้ใช้บัตรเครดิตในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อของจำเลยผู้ถือบัตร  โจทก์สามารถเรียกเงินที่ได้จ่ายไปคืนจากร้านค้าได้ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งจากจำเลยบัตรเครดิตได้สูญหายไปเพื่อขอให้โจทก์ระงับการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะต้องรีบดำเนินการให้จำเลยโดยเร็ว ก็จะทราบได้ทันทีว่าลายมือชื่อผู้ใช้บัตรเครดิตในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อของจำเลย แสดงว่าร้านเจมาร์ทไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อในเซลสลิป  ย่อมทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากร้านเจมาร์ทแทนการมาเรียกเก็บจากจำเลยได้ซึ่งเป็นธรรมกับทุกฝ่าย  แต่โจทก์มิได้ทำเช่นนั้น โดยเห็นว่ามีข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ที่ให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว ถือเป็นการเอาเปรียบจำเลยเกินสมควรและเป็นการผลักภาระให้จำเลยต้องรับผิดเกินกว่าวิญญูชนทั่วไปจะคาดหมายได้ตามปกติ อันเข้าลักษณะข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  ข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 จึงไม่มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 สัญญาต่างตอบแทน

ฉบับนี้มีเรื่องเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านและที่ดินพร้อมเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟของโครงการแก่งกระจานคันทรีคลับ  จังหวัดเพชรบุรี  โดยผู้บริโภคจองซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแปลงหมาย เฟสซีแอล 486  ในราคา 1,200,000 บาท  โดยวางเงินค่าจองซื้อเป็นเงิน 10,000 บาท ต่อมาได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยชำระเงินมัดจำ 20,000 บาท ส่วนเงินมัดจำที่เหลืออีก 503,000 บาท ตกลงผ่อนชำระเป็นเงิน 60 งวด โดยผู้ขายจะทำการก่อสร้างบ้านเมื่อผู้บริโภคชำระเงินมัดจำครบ 24 งวด ภายหลังจากที่ผู้บริโภคผ่อนชำระเงินมัดจำไปได้ 18 งวด  ผู้ประกอบธุรกิจมีหนังสือแจ้งให้ผู้บริโภคบ้านที่ดินที่จะซื้อในเฟสซี แปลงหมายเลข ซีแอล 486 และให้ไปเลือกที่ดินแปลงใหม่ในเฟสบีแทน  ผู้บริโภคไม่ยินยอมจึงบอกเลิกสัญญาและขอเงินคืนแต่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ยอมคืนให้จึงต้องมาฟ้องศาล คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2554 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “  การที่โจทก์ทั้งสองตกลงใจจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและสมัครเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น ก็เพราะการจูงใจที่เกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายตามที่ปรากฏในแผ่นพับและภาพในวีดีทัศน์  ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพรรณนาประชาสัมพันธ์ซึ่งได้โฆษณาตามแผ่นพับและภาพในวีดีทัศน์ให้ปรากฏต่อบุคคลทั่วไป  ซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งสอง ผู้ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วน ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือแจ้งแก่โจทก์ทั้งสองว่าขอย้ายที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขาย  โดยกำหนดเวลาให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเลือกแปลงที่ดินก่อนเป็นลำดับที่ 6 มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิเลือกก่อนอันเป็นการกำหนดวัตถุแห่งหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองผิดไปจากข้อตกลงในสัญญาที่กำหนดกันไว้ โดยโจทก์ทั้งสองไม่ตกลงยินยอมด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งหนี้ที่โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 2 ตกลงทำสัญญากันไว้  จำเลยที่ 2 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิงดชำระค่างวดที่ดินและบ้านอันเป็นการตอบแทนให้แก่จำเลยที่ 2 และบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 2 ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย   หมายเหตุผู้เขียน  1.คดีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สิ่งสาธารณูปโภคสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตามแผ่นพับโฆษณา ฯลฯ เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนา  ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 503 วรรคสอง บัญญัติว่า “ ในการขายตามคำพรรณนา ผู้ขายจำต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามคำพรรณนา “ แต่ปัจจุบัน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ มาตรา 11 ได้บัญญัติเกี่ยวกับข้อตกลงนอกสัญญาว่า  “  ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของหรือบริการหรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา  หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่าข้อความ การกระทำหรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตาม “ 3. ตามปพพ. มาตรา 369 ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ถึงกำหนด    ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบธุรกิจไม่ดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา ผู้บริโภคซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิที่จะงดการผ่อนค่างวดให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจได้ และไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญา เพราะการส่งค่างวดต่อไปทั้งๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจผิดสัญญาจะยังความเสียหายให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 อายุความสัญญาฝากทรัพย์ (3)

ตอนจบของฎีกา(ที่  8772/2550) เรื่อง  ฝากเงินไว้แล้วไม่ได้ติดต่อกับธนาคารไปเกือบสิบปี เมื่อไปถอนเงินโดนปฏิเสธ ... ตลอดจนการที่จำเลยสั่งยกเลิกบัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์ในปี 2516 แล้วโอนเงินที่ยังคงเหลืออยู่ทุกบัญชีรวมทั้งบัญชีของโจทก์ไปเข้าบัญชีไม่เดินหรือบัญชีพักเพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าไปติดต่อขอรับเงินที่ยังคงเหลืออยู่คืนดังที่พยานจำเลยเบิกความอ้างมาส่งเป็นพยานหลักฐานยืนยันข้ออ้างข้อเถียงของจำเลยแต่ประการใด คงมีเพียงคำเบิกความของนายสมเกียรติพยานจำเลยเพียงปากเดียวที่กล่าวอ้างขึ้นลอยๆ อีกทั้งยังได้ความจากนายสมเกียรติว่าหากโจทก์ไม่ได้นำสมุดฝากเงินไปตรวจสอบและปรับยอดเงินตามที่จำเลยได้ระบุไว้ในบัญชีของจำเลยก็ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิในการเบิกถอนเงินแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากฎข้อบังคับอันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยระบุไว้ในสมุดฝากเงินเป็นเพียงระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้อย่างกว้างๆ มิได้เป็นกฎข้อบังคับที่ใช้อย่างเคร่งครัด   ส่วนที่นายสมเกียรติพยานจำเลยเบิกความว่า ธนาคารจำเลยจะเก็บเอกสารเกี่ยวกับการเบิกถอนหรือจ่ายเงินไว้เพียง 10 ปี หลังจากนั้นจำเลยจะนำไปทำลายตามระเบียบของจำเลยนั้น ก็เป็นระเบียบที่จะต้องปฏิบัติภายในองค์กรของจำเลยเองไม่มีผลที่จะนำมาใช้ต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกหรือเป็นเหตุให้ระยะเวลาการรับฝากเงินของจำเลยสิ้นสุดไปด้วย ส่วนที่จำเลยอ้างในฎีกาว่า อาจเป็นไปได้ที่โจทก์สั่งจ่ายเงินโดยเช็คออกจากบัญชีหมดแล้วและไม่ได้นำสมุดฝากเงินไปปรับยอดเงิน จึงไม่ปรากฏยอดเงินที่จำเลยค้างชำระคืน บัญชีของลูกค้าเช่นจำเลยจึงถูกปิดไปโดยระบบนั้น ก็เป็นการคาดคะเนของจำเลยเองโดยไม่มีพยานหลักฐานใดๆ มานำสืบให้เห็นจริงตามที่อ้างดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ตราบใดที่จำเลยยังมิได้บอกเลิกสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยออกสมุดฝากเงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐาน สัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตลอดไปดังนี้ แม้โจทก์จะฝากเงินเมื่อปี 2504 การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากแล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่า ไม่พบว่ามียอดเงินในบัญชี จึงเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ ต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ขอถอนเงินในระหว่างเดือนธันวาคม 2544 ถึงเดือนมกราคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 10 เมษายน 2545 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คดีมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่คิดดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามฟ้องนั้นชอบแล้วหรือไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยรับฝากจากโจทก์ไว้คืนโดยเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 22,596.33 บาท โดยคิดดอกเบี้ยทบต้นทุกๆ ปี นับตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2507 จนถึงวันฟ้องและคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวทบต้นนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ซึ่งปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การโต้แย้งไว้ว่าดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือเกินความเป็นจริงแต่อย่างใด คงให้การต่อสู้แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นเอากับจำเลยได้เท่านั้น รวมทั้งมิได้นำสืบหักล้างอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ภาระการพิสูจน์ว่าในแต่ละช่วงโจทก์ได้รับดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราเท่าใดและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้หรือไม่ เป็นหน้าที่ของโจทก์ซึ่งจะต้องนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าการคิดดอกเบี้ยของโจทก์เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารจำเลยที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับลูกค้าที่นำเงินมาฝากกับจำเลยตลอดจนข้อตกลงเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นให้ศาลเห็น เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ศาลเห็นในประเด็นดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นตามที่โจทก์ขอได้นั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของนายสมเกียรติพยานจำเลยว่าจำเลยจะคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ตามสมุดฝากเงินดังกล่าวปีละ 2 ครั้ง หากมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นก็จะนำดอกเบี้ยและเงินฝากมาเป็นต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่นำมารวมได้นั้นในลักษณะคล้ายๆ กับการคิดดอกเบี้ยทบต้นนั่นเอง และโจทก์สามารถใช้สมุดฝากเงินเบิกถอนดอกเบี้ยออกจากบัญชีได้ ซึ่งข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวเจือสมกับคำเบิกความของโจทก์และสอดคล้องกับรายการคิดดอกเบี้ยในสมุดฝากเงินอีกด้วย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นในเรื่องนี้โดยชัดแจ้งแล้วและเห็นได้ว่าการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยมาจนถึงวันฟ้องเพียงปีละ 1 ครั้งนั้น นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยมากอยู่แล้ว ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขตามกฎข้อบังคับที่ระบุไว้ในสมุดฝากเงินนั้น จำเลยจะต้องคิดดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ถึงปีละ 2 ครั้ง อันเป็นกฎข้อบังคับที่จำเลยกำหนดขึ้นเองในการรับฝากเงินจากโจทก์ตามสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวยังมิได้ถูกยกเลิกหรือระงับสิ้นไป จำเลยจึงหามีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามกฎข้อบังคับดังกล่าวต่อโจทก์ได้โดยลำพัง ทั้งกฎข้อบังคับซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยตามสัญญาฝากทรัพย์ดังกล่าวก็มิใช่ข้อตกลงที่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ประการใด แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทบต้นถึงวันฟ้องนั้น เห็นว่า เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามหนังสือตอบเรื่องบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันดังกล่าวเป็นเงิน 342,318.99 บาท ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน” พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 342,318.99 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

อ่านเพิ่มเติม >