ฉบับที่ 214 จดหมายถึงบอกอ

พลาสติกย่อยสลายได้ จริงหรืออ่านฉลาดซื้อมานาน แต่ไม่เคยเขียนถึงครับ เมื่อวานรื้อของทำ 5ส.ที่บ้าน พบถุงพลาสติกย่อยสลายที่กลายเป็นเศษพลาสติกป่นๆ เลยสงสัยว่าถุงที่เขียนว่าย่อยสลายได้มันสลายได้จริงหรือไม่ ฝากทีมงานช่วยหาข้อมูลมาให้หน่อยครับ                                                                                                                                                                                       ต้นขอบคุณที่ติดตามเราตลอดมานะคะ ในส่วนของพลาสติกที่บอกว่าย่อยสลายได้นั้น ทางเรามีความสนใจตรงกันพอดี ตอนนี้กำลังอยู่ในคิวของเรื่องที่จะนำมาเสนอค่ะ ติดตามฉลาดซื้ออย่าให้พลาดนะคะ             อยากบริจาคหนังสือเก่า          ที่บ้านมีหนังสือเยอะมากค่ะ อยากบริจาคมีที่ไหนรับบ้างคะ ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ขอให้ฉลาดซื้อยืนหยัดเป็นคู่มือเพื่อประชาชนต่อไปเรื่อยๆ นะคะ                                                                                                                                                                                                   แม่บ้านชาวใต้           ขอบพระคุณสมาชิกที่เขียนจดหมายมาหาทีมงานนะคะ สมัยนี้คนเขียนจดหมายน้อยลงทุกที ที่คุณแม่บ้านชาวใต้ถามมานั้น มีหลายแห่งที่รับบริจาคหนังสือค่ะ ลองสอบถามที่ มูลนิธิกระจกเงา  ซึ่งสนับสนุนและส่งเสริมการอ่าน หนังสือที่ได้รับบริจาค เมื่อผ่านการคัดแยกแล้วจะนำส่งต่อให้กับ โรงเรียน ชุมชน ที่ขาดแคลน ทั้งเมืองและต่างจังหวัด รวมถึง “ตู้หนังสือเย็นๆ” ตู้บรรจุหนังสือ พร้อมให้บริการนักอ่าน ที่กระจายอยู่ตาม วินมอเตอร์รับจ้างใน กทม. กว่า 50 แห่ง ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.read4thai.mirror.or.th “การแบ่งปันของคุณเปลี่ยนแปลงสังคมได้” หรือหน่วยงานของการศึกษานอกโรงเรียน ก็รับบริจาคหนังสือนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 กระแสต่างแดน

ลงดาบเว็บไม่แฟร์ สำนักงานควบคุมการแข่งขันทางการค้าของอิตาลี สั่งปรับเว็บไซต์ท่องเที่ยว 6 ราย เป็นเงินรวมกันไม่ต่ำกว่าสี่พันล้านยูโร(ประมาณ 150,000 ล้านบาท) โทษฐานทำธุรกิจแบบไม่โปร่งใสและปฏิบัติต่อผู้บริโภคอย่างไม่เป็นธรรม ตั้งแต่การไม่ให้ที่อยู่อีเมลสำหรับติดต่อ คิดค่าบริการทางโทรศัพท์ในอัตราที่แพงเกินควร และไม่ให้ความชัดเจนว่าลูกค้ากำลังจอง/ซื้อบริการกับบริษัทไหน ที่สำคัญ คือเว็บพวกนี้คิดค่าบริการบัตรเครดิตบางชนิดแพงเกินควร สำนักงานฯ ถือว่าการบังคับจ่ายค่าทำธุรกรรมโดยผู้บริโภคไม่มีทางเลือกนั้นเป็นการขัดขวางการพัฒนาพาณิชย์ชอิเล็กทรอนิกส์  เว็บเหล่านี้ได้แก่ volagratis.it เจ้าของเดียวกับ it.lastminute.com นอกจากนี้ยังมี opodo.it  govolo.it และ edreams.it ซึ่งเป็นเว็บในเครือ Opodo Group และ gotogate.it จากฟินแลนด์ volagratis.it เจ้าเดียวก็โดนปรับไป 2.2 ล้านยูโร (85.9 ล้านบาท) แล้วเพราะผิดครบทุกข้อหา  พลาสติกขาลง นาทีนี้ดูเหมือนใครๆ ก็กำลังหาทางลดการใช้พลาสติก ประเทศสมาชิกสหประชาชาติมีมติว่าจะลดปริมาณพลาสติกในทะเลลงให้ได้  สหภาพยุโรปกำหนดให้แพคเก็จสินค้าทั้งหมดต้องเป็นชนิดที่รีไซเคิลได้ภายในปี 2030  และจีนก็ประกาศยกเลิกการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศแล้วอังกฤษก็ไม่น้อยหน้า ประกาศแผนลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง ด้วยการห้ามใช้พลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ในสถานที่ราชการ (หลักๆ คือแก้วกาแฟ)  ขอความร่วมมือจากร้านค้าปลีกให้จัดโซนปลอดพลาสติกเพื่อรองรับลูกค้าที่เตรียมบรรจุภัณฑ์มาเอง รวมถึงการเริ่มคิดเงินค่าถุงพลาสติกด้วยผู้ประกอบการอย่าง โคคา-โคล่า แมคโดนัลด์ และเอเวียง ต่างก็ประกาศเป้าหมายการหยุดใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ภายในปี 2030รายงานระบุว่าธุรกิจที่ไปได้สวยในขณะนี้ คือธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง เปรี้ยวกว่ามะนาว บรรดาผู้ค้ารถมือสองในสิงคโปร์ทำทีเป็นเจ้าของรถเองเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีสินค้าและบริการตามข้อกำหนดของกฎหมายมะนาวที่สำคัญขายง่ายกว่าเพราะผู้ซื้อเชื่อถือ “รถบ้าน” ที่เจ้าของขายเอง แถมยังได้กำไรมากกว่าเดิมอย่างน้อย 2,000 เหรียญ(ประมาณ 48,000 บาท) เพราะไม่ต้องจ่ายค่าทำประกัน    ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของสิงคโปร์ ผู้ประกอบการรถมือสองจะต้องทำประกันรถเป็นระยะเวลาหกเดือนให้ลูกค้าและต้องเสียภาษี GST ในขณะที่การซื้อขายกันเองระหว่างบุคคลไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวลูกค้าบางคนไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของรถตัวจริงจนกระทั่งเกิดปัญหา วิธีง่ายๆ คือตรวจสอบกับกรมการขนส่งเพื่อหาเจ้าของที่แท้จริงหรือเลือกซื้อรถมือสองจากดีลเลอร์ที่เป็นสมาชิก STVA ที่สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ให้การรับรองกูเกิ้ลก็หาไม่เจอจักรยานจีไบค์  ที่กูเกิ้ลมีไว้ให้พนักงานได้ใช้เดินทางในระหว่างอาคารที่ตั้งอยู่ห่างกันมักสูญหายบ่อย ทั้งๆ ที่หนึ่งในสามจักรยาน 1,100 คันมีจีพีเอสระบุตำแหน่งผู้คนในเมืองเมาน์เท่นวิว(ซึ่งมีประชากร 80,000 คน) ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท มองว่าจักรยานของกูเกิ้ลก็เหมือนจักรยานของตัวเอง แน่นอนพวกเขาสามารถหยิบยืมไปใช้ได้ตามสบาย กูเกิ้ลกล่าว บริษัทจ้างผู้รับเหมาถึง 30 รายเพื่อทำหน้าที่ “เก็บกู้” จักรยานเหล่านี้กลับมา และในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายนปีที่แล้ว เขาก็สามารถเก็บจักรยานได้สัปดาห์ละ 70 ถึง 190 คัน (จากที่หายไปสัปดาห์ละ 100 ถึง 250 คัน) ข้อมูลจากจีพีเอสระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วจักรยานพวกนี้ถูกใช้ประมาณวันละสิบกว่าเที่ยว เป็นระยะทางประมาณหกไมล์ และมีคนใช้ถีบไปถึงบริษัทออราเคิล คู่แข่งสำคัญของกูเกิ้ลด้วย  เล่นไม่เป็นเรื่องเรื่องสนุกล่าสุดของวัยรุ่นอเมริกัน คือการถ่ายคลิป/ภาพนิ่ง ขณะที่ตัวเองกำลังกัด(และกิน?) ซองน้ำยาซักผ้ายี่ห้อหนึ่ง แล้วโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก ยูทูบ หรืออินสตาแกรม แล้วท้าเพื่อนๆ ให้ทำด้วยกระแสนี้ลุกลามอย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ ที่เห็นได้ชัดว่านอกจากจะเป็นการท้าทายที่ไม่เข้าท่าและยังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตถ้าเผลอกลืนน้ำยาซักผ้านั้นลงไป สมาคมควบคุมสารพิษแห่งสหรัฐอเมริกาออกมาประกาศเตือนให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว เพราะปีนี้ (แค่เดือนมกราคม) มีผู้ป่วยอายุระหว่าง 13 ถึง 19 ปีที่ได้รับสารพิษโดยการจงใจกินเข้าไปกว่า 30 ราย บรรดาแพลทฟอร์มต่างๆ ก็ถูกเรียกร้องให้ลบโพสต์เพี๊ยนๆ พวกนี้ออกไปให้เร็วที่สุด ในขณะที่ผู้ผลิตน้ำยาซักผ้ายี่ห้อไทด์ ก็รีบทำคลิปวิดีโอที่มีนักกีฬาชื่อดังออกมาเตือนว่า “เจ้าถุงเล็กๆ พวกนี้เอาไว้ซักผ้า มันไม่ใช่ของกินนะวัยรุ่น”

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 127 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 25547 สิงหาคม 2554ไม่ถูกจริงมีสิทธิโดนฟ้อง ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครจะชอบของฟรีของถูก แต่ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะห้างสรรพสินค้าสมัยนี้ชอบใช้วิธีโฆษณาจูงใจให้คนออกมาซื้อสินค้า โดยบอกว่ามีการจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ที่มักเห็นบ่อยๆ ตามแผ่นโบรชัวร์ที่เดินแจกกันตามบ้าน หรือไม่ก็ลงโฆษณากันในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่พอถึงเวลาไปซื้อสินค้าที่ห้างจริงๆ กลับไม่มีสินค้าที่บอกว่าแถมว่าถูกอย่างที่โฆษณาไว้วางขายอยู่ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็ถือว่าเข้าข่ายโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค งานนี้จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ต้องออกโรงช่วยเหลือผู้บริโภค  สคบ.มีแนวคิดในการจัดทำร่างแนวทางการโฆษณาของการลด แลก แจก แถม หรือการจัดโปรโมชั่นของห้างสรรรพสินค้าใหม่ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภค ซึ่งกลยุทธการโฆษณาจัดรายการโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ที่ห้างสรรพสินค้าใช้นั้น จริงๆ ก็เป็นเพียงการตลาดอย่างหนึ่งเพื่อดึงลูกค้าให้มาใช้บริการ และซื้อสินค้าอื่นแทน ถือว่าเป็นการเอาเปรียบ และเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค   สคบ. ก็ได้หาวิธีการแก้ไข หลังจากเริ่มการร้องเรียนถึงปัญหาที่กล่าวมาเพิ่มมากขึ้น โดย สคบ. จะบังคับกับทางห้างสรรพสินค้าว่า ต้องระบุจำนวนของสินค้าที่มีจำหน่ายแต่ละสาขาลงในโฆษณา เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลก่อนตัดสินใจไปซื้อคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา จะร่างแนวทางการโฆษณาสำหรับสินค้าที่จัดโปรโมชันในห้างสรรพสินค้า เพื่อขอความร่วมมือไปยังสินค้าและห้างสรรพสินค้าที่จัดรายการต่างๆ โดยคาดว่าจะสามารถประกาศเป็นกฎกระทรวงได้ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อป้องกันการเอาเปรียบ ซึ่งหากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 30,000 บาท รวมทั้งสื่อที่โฆษณาก็จะต้องถูกเทียบปรับกึ่งหนึ่งคือ 15,000 บาทด้วย--------------------     28 สิงหาคม 2554ขวดพลาสติกใช้ซ้ำ ต้องระวังเรื่องความสะอาด บ้านใครที่ใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ซ้ำสำหรับใส่น้ำดื่มอีกรอบ คงต้องตั้งใจอ่านข่าวนี้ให้ดี เพราะกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกมาเตือนคนที่อยากประหยัดและช่วยลดโลกร้อนด้วยการนำขวดน้ำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ อย่าลืมดูเรื่องความสะอาด ก่อนนำมาใช้ก็ต้องล้างทำความสะอาดให้ดี โดยเฉพาะบริเวณปากขวดและฝาขวด ที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคจากการสัมผัสกับมือและปากเวลาที่เราดื่มน้ำจากขวด นอกจากนี้ขวดที่นำกลับมาใช้ซ้ำเมื่อใช้ไปนานๆ สีของขวดอาจมีการเปลี่ยนแปลง ต้องคอยสังเกตดูว่าหากมีคราบสีเหลือง มีสีขุ่น ขวดไม่ใสเหมือนเดิม ก็ไม่ควรนำมาใช้ต่อ  ขวดที่บุบ มีรอยร้าว รอยแตก ก็ไม่เหมาะสำหรับนำมาใส่น้ำดื่ม  สำหรับพลาสติกที่ใช้สำหรับผลิตขวดน้ำดื่มจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ ขวดสีขาวขุ่น ทำจากพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน (Polyethylene) หรือ PE และขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต (Poly Ethylene Terephthalate) หรือ ขวด PET ซึ่งนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขวดที่แบบขวดใสควรเก็บในที่แสงสว่างส่องไม่ถึง เพราะน้ำในขวดอาจเสื่อมคุณภาพหรืออาจเกิดตะไคร่ขึ้นภายในขวดได้-----------------------     31 สิงหาคม 2554อย.ลงดาบ “ซันคลาร่า” แค่อาหารเสริม...ไม่ใช่ยารักษาโรคอาหารเสริมตัวร้ายยังสร้างเรื่องวุ่นวายได้เรื่อยๆ ล่าสุด คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เอาผิดผลิตภัณฑ์อาหารเสริม “ซันคลาร่า” ที่กำลังโฆษณาขายกันอย่างแพร่หลาย ทั้งใน เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน และเว็บไซต์ ซึ่งอวดอ้างสรรพคุณครอบจักรวาล ทั้ง ดูแลผิวพรรณ ลดน้ำหนัก กระชับภายใน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคเบาหวาน พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ฯลฯ โดย อย. ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นการโฆษณาอย่างผิดกฎหมาย เพราะผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงแค่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค การโฆษณาในลักษณะดังกล่าวเป็นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สร้างความสับสนให้ผู้บริโภค ทาง อย. จึงได้ดำเนินคดีกับบริษัท สตาร์ ซันไชน์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งรับว่าเป็นผู้จัดทำข้อความโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ พร้อมทั้งมีหนังสือ ไปยังบริษัทฯ เพื่อระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวในทุกสื่อ  ผู้บริโภคต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ต้องศึกษาข้อมูลให้ดี อย่าได้หลงเชื่อสรรพคุณว่าสามารถป้องกันหรือรักษาโรค เพราะนอกจากกินแล้วจะไม่หายป่วย อาจจะซวยได้โรคอื่มเพิ่มมาแทน แถมบรรดาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่มีราคาแพง ใครที่หลงซื้อมารับประทานผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป-----------------------------------------------------------------     คลีนิคสำหรับคนเป็น “หนี้” มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เปิดคลินิกให้คำปรึกษาปัญหาหนี้บัตรเครดิต รองรับนโยบายจากภาครัฐที่ใช้วิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนโดยการออกบัตรเครดิตให้กับประชาชนหลายกลุ่ม ทั้งบัตรเครดิตเพื่อเกษตรกร บัตรเครดิตพลังงาน รวมถึงนโยบายการเพิ่มฐานเงินเดือนขั้นต่ำปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท ซึ่งเอื้อต่อการทำบัตรเครดิตเพิ่มมากขึ้น  นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หากรัฐบาลเลือกใช้วิธีสนับสนุนให้ประชาชนใช้บัตรเครดิตเพื่อแก้ปัญหาความเป็นอยู่ รัฐบาลก็จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งการกำหนดฐานรายได้และยอดวงเงินรวมของผู้ถือบัตรเครดิตให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำหนี้ได้อย่างเหมาะสม การแก้ไขอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต้องไม่เกินร้อยละ 15 จึงจะถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม การมอบหมายให้มีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบที่ชัดเจนในการรับเรื่องร้องเรียน ให้คำปรึกษา และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต และต้องมีกฎหมายทวงหนี้ที่เป็นธรรม ซึ่งปัจจุบันนี้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตถือเป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนและขอคำปรึกษาเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมากเป็นอันดับหนึ่ง  ด้าน นายชูชาติ  บุญยงยศ ประธานชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เล่าให้ฟังถึงสภาวะของลูกหนี้ในยุคปัจจุบันว่า ลูกหนี้บัตรเครดิตจำนวนมากต้องเจอกับวิธีการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ถูกกดดันจนเกิดภาวะเครียด หวาดกลัว เนื่องจากมองไม่เห็นทางออกในการหาเงินมาชำระหนี้ บางคนก็คิดสั้นจนถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองหรือครอบครัวอย่างที่ได้ยินข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เป็นประจำ ใครที่มีปัญหาเรื่องหนี้บัตรเครดิตหรืออยากรู้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับบัตรเครดิต สามารถขอคำปรึกษาได้ที่สำนักงานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซอยราชวิถี 7 ในวันทำการจันทร์ถึงศุกร์ตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น. เบอร์โทรศัพท์ 02-2483734-37 หรือผ่านทางเว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในส่วนชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ www.consumerthai.org/debt/ --------------------------------------     หน่วยพิทักษ์รถโดยสารปลอดภัย ต่อไปนี้ใครที่พบเจอปัญหาจากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น รถเมล์ รถทัวร์ รถตู้ รถไฟ แท็กซี่ ฯลฯ อย่าเก็บไว้ในใจ เมื่อมีปัญหาเราต้องแก้ไข คิดใหม่ทำใหม่ ด้วยการมาสมัครเป็น “หน่วยพิทักษ์รถโดยสารปลอดภัย” โครงการดีเพื่อสังคมโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงานสัมมนาระดับชาติ “เรื่องความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 10 ทศวรรษแห่งการลงมือทำ : Time for Action” เมื่อวันที่ 25 - 26 สิงหาคมที่ผ่านมา โดย “หน่วยพิทักษ์รถโดยสารปลอดภัย” จะมีหน้าที่ในการช่วยกันแจ้งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับความในปลอดภัยจากบริการรถโดยสารสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น รถขับซิ่ง ขับประมาท คนขับหรือพนักงานเก็บเงินบริการไม่สุภาพ รวมทั้งเรื่องสภาพรถที่ไม่ปลอดภัย ผ่านมาที่สายด่วนคุ้มครองผู้โดยสารสาธารณะ 1584 และที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยทุกครั้งที่แจ้งข้อมูลมายังมูลนิธิฯ จะได้รับแต้มสะสมเพื่อลุ้นของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ จากทางมูลนิธิฯ ซึ่งการบอกต่อปัญหาเหล่านี้ถือเป็นหนึ่งวิธีในการช่วยแก้ไขปัญหาบริการรถโดยสารสาธารณะซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ ที่เราทุกคนต้องช่วยกันเปลี่ยนแปลง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใครที่สนใจสมัครเป็น “หน่วยพิทักษ์รถโดยสารปลอดภัย” สามารถโหลดใบสมัครและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.consumerthsi.org หรือที่ 02-248-3737

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 เอาไงดีกับขวดพลาสติกใส ตอน 2

จากที่กล่าวในฉลาดซื้อฉบับที่แล้วว่า “ทั้งที่ความจริงแล้วสารเคมีที่อาจก่อปัญหาสุขภาพของผู้บริโภคเนื่องจากการหลุดออกมาจากขวดพลาสติกคือ Bisphenol A” การลงท้ายในลักษณะนี้อาจทำให้ท่านผู้อ่านสับสนได้ว่า Bisphenol A นั้นอาจหลุดออกมาจากขวดพลาสติกใสทั่วไปได้ ท่านผู้อ่านโปรดอย่าสับสน เพราะขวดพลาสติกใสที่มีการใช้ใส่เครื่องดื่มหรือน้ำดื่มนั้นเป็นขวด PET ส่วนกรณีของ Bisphenol A นั้น เป็นการกล่าวถึงปัญหาของขวดพลาสติกใสอีกประเภทที่เรียกกันว่า โพลีคาร์บอเนต (polycarbonate) ซึ่งแตกต่างจากขวด PET ที่ใช้ใส่น้ำดื่มบรรจุขวด ในการผลิตพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนตนั้นมีการใช้สาร Bisphenol A เป็นสารช่วยในการผลิต ดังนั้นต้องขอให้ท่านผู้อ่านตั้งสตินิดหนึ่งว่า พลาสติกทั้งสองนั้นต่างกันในเรื่อง การทนความร้อนและที่สำคัญคือ ราคาผู้บริโภคทั่วไปสามารถสัมผัส Bisphenol A จากอาหารเป็นหลัก เพราะมีการวิเคราะห์พบในเลือดคนทั่วไป ตลอดจนในเด็กทารก ซึ่งมีกระบวนการทำลายสารพิษไม่สมบูรณ์ ปริมาณที่วิเคราะห์ได้ในปัสสาวะคนสามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.cdc.gov/nchs/about/major/nhanes/nhanes2003-2004/lab03_04.htm แต่ตามรายงานของโครงการพิษวิทยาแห่งชาติ (National Toxicology Program) ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1982 ระบุว่าสาร Bisphenol A นี้ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ท่านผู้อ่านอาจสัมผัส Bisphenol A ได้ในพลาสติกอีกประเภทคือ โพลีไวนิลคลอไรด์ ที่ใช้ทำท่อพีวีซี และแผ่นพลาสติกใสหุ้มอาหารหรือที่เรียกกันว่า แรบพ์ (wrap) ซึ่งชาวไทยหลายล้านคนได้มีประสบการณ์การใช้แผ่นพีวีซีจากแซนด์วิชต่างๆ ที่มีการขายแก้จน โดยไม่รู้ว่าถ้านำเอาแซนด์วิชที่มีแผ่นพลาสติกใสหุ้มอาหารอยู่นั้นไปอุ่นให้ร้อนด้วยไมโครเวฟ โอกาสที่ Bisphenol A จะหลุดออกมาก็พอมีได้แหล่งของสารเคมีนี้ที่ผู้บริโภคอาจได้รับอีกแหล่งคือ จากพลาสติกใสที่มีการนำไปเคลือบกระป๋องบรรจุอาหารที่ต้องผ่านความร้อนสูงวิกิพีเดีย (www.wikipedia.org) เล่าว่ามีงานวิจัยชิ้นหนึ่งทำในหนูถีบจักรเพศเมียที่ท้องพบว่า สาร Bisphenol A ที่ขนาด 1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ก่อพิษต่อระบบสืบพันธุ์และก่อมะเร็งต่อตัวอ่อนที่ได้รับสารนี้ในช่วงการพัฒนาอวัยวะของตัวอ่อน นอกจากนี้สารเคมีดังกล่าวยังสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์สืบพันธุ์ของหนูถีบจักรที่เลี้ยงในหลอดทดลอง เมื่อเราเข้าไปดูข้อมูลใน http://www.emaxhealth.com เกี่ยวกับขวดนมพลาสติกซึ่งเป็นขวดใสพบว่า ในปีที่แล้วหน่วยงานด้านสุขภาพของแคนาดาได้ระงับใบอนุญาตจำหน่ายขวดนมพลาสติกที่มี Bisphenol A เป็นองค์ประกอบ ปฏิบัติการดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกที่หน่วยงานด้านกฎหมายของแคนาดาเริ่มจับตามองสาร Bisphenol A ทั้งที่หน่วยงานดังกล่าวเคยออกมาแถลงว่า ปริมาณการสัมผัสสารนี้อยู่ในระดับต่ำ สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้น สภาสูงได้เริ่มขอให้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสาร Bisphenol A และที่สำคัญฝรั่งเศสก็เป็นอีกประเทศที่เริ่มดำเนินการในเรื่องเกี่ยวกับการทบทวนการใช้พลาสติกที่มีสาร Bisphenol A ด้วยฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกนั้นได้กล่าวว่า ปริมาณการปนเปื้อนสู่อาหารของสารเคมีจากบรรจุภัณฑ์นั้น ส่วนใหญ่มีปริมาณค่อนข้างน้อยไม่น่าเป็นห่วง และที่สำคัญคือ ยังไม่มีสารเคมีอื่นมาแทนที่ Bisphenol A ได้ในการทำให้ผลิตภาชนะบรรจุที่ทนร้อนระดับการฆ่าเชื้อทางอุตสาหกรรมซึ่งป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ การกล่าวนี้เหมือนกับบอกว่า ยอมๆ กันไปก่อนเถอะน่า ไว้หาสารตัวแทนมาได้ค่อยตื่นเต้นใหม่ผู้เชี่ยวชาญในการผลิตภาชนะบรรจุอาหารบริษัทหนึ่งได้กล่าวเสริมว่า ยังมีความจำเป็นในการทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการเจ็บป่วยที่มีความสัมพันธ์กับระบบฮอร์โมนเพศที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวันซึ่งอาจเกิดเนื่องจากสารเคมีที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศและปัญหาที่เกี่ยวกับเต้านม ต่อมลูกหมาก โรคอ้วน โรคเบาหวาน และภูมิแพ้ก่อน เพื่อให้มีการเชื่อมต่อกับข้อมูลการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหาร จากนั้นจึงค่อยมากังวลกับการปนเปื้อนสารพิษนี้อย่างจริงจังการดื่มเครื่องดื่มจากขวดโพลีคาร์บอเนตแล้วสามารถตรวจสอบพบสาร Bisphenol A ในปัสสาวะของผู้บริโภคนั้นเป็นข้อมูลงานวิจัยของคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard School of Public Health) และศูนย์ควบคุมโรคกลาง (CDC) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ในกรณีขวดนมนั้นการปนเปื้อนสามารถเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากความร้อนที่ใช้ในการอุ่นขวดนม ในสหรัฐอเมริกานั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และโครงการพิษวิทยาแห่งชาติ (National Toxicology Program) ได้เคยสรุปแล้วว่า Bisphenol A ไม่ก่อปัญหาในด้านสุขภาพ ซึ่งต่างจากหน่วยงานด้านสุขภาพในแคนาดาที่มองว่าปัญหาอาจเกิดต่อตัวอ่อนในท้องแม่ที่ได้รับสารดังกล่าว การวิเคราะห์ปริมาณปนเปื้อนของ Bisphenol A จากขวดพลาสติกที่มีสีสันสวยงามแบบหลอดนีออนพบได้ไม่ยาก ไม่ว่ามากหรือน้อย จึงมีหลายบริษัทที่ผลิตขวดพลาสติกได้เปลี่ยนไปผลิตพลาสติกที่ไม่ต้องใช้สารดังกล่าว ทั้งนี้เพราะขวดที่ใช้ Bisphenol A ในการผลิตจะมีการปนเปื้อนของสารออกมาเมื่อได้รับความร้อนไม่ว่าจากแสงแดดหรือจากไมโครเวฟ ในสหรัฐอเมริกาเองหน่วยงานท้องถิ่นของรัฐมินนิโซตาและคอนเน็คติกัค ได้เริ่มห้ามการจำหน่ายภาชนะพลาสติกที่มีสารดังกล่าวเป็นส่วนผสม และอย่างน้อยผู้ผลิตภาชนะพลาสติกรายใหญ่ 5 รายในสหรัฐอเมริกาได้หยุดการผลิตหรือเพิ่มทางเลือกในการผลิตพลาสติกประเภทอื่นที่ไม่มี Bisphenol A ให้ผู้บริโภคแล้ว ข้อมูลดังกล่าวดูได้จาก http://www.alternet.org/story/141196/ และ http://www.findingdulcinea.com/news/health/2009/june/Are-BPA-Marketers-Purposely-Misleading-the-Public.html ปรากฏการนี้ทำให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐต้องเริ่มทำการทบทวนเกี่ยวกับความปลอดภัยของพลาสติกที่มี Bisphenol A เป็นองค์ประกอบตั้งแต่ปี 2008ใน http://network.nationalpost.com นักสถิติชื่อ S. Robert Lichter จาก George Mason University และ Trevor Butterworth จาก edits.stats.org ได้เขียนบทความเกี่ยวกับแนวทางการเลิกให้ใบอนุญาตการใช้สาร Bisphenol A ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป ทั้งที่ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนนัก อย่างไรก็ตามเมื่อทำการสอบถามความเห็นจากนักพิษวิทยาจำนวน 937 คน พบว่า มีเพียงร้อยละ 9 เท่านั้นที่คิดว่าสารนี้เป็นปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพ โดยเทียบกับอันตรายที่เกิดจากแสงแดด สุรา หรือ อะฟลาท็อกซิน ส่วนในกลุ่มของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเอง สารพิษนี้ก็ยังอยู่ที่ท้ายๆ ของบัญชีสารพิษที่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์ อาจเนื่องจากปริมาณที่ประชากรโลกสัมผัสสารพิษนี้ค่อนข้างต่ำ ตามการประเมินของสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Institute of Environmental Health Sciences) เคยมีนักพิษวิทยาคนหนึ่งในสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ปริมาณที่มนุษย์ได้รับแต่ละวันนั้นน้อยกว่าปริมาณที่ก่อให้เกิดพิษในสัตว์ทดลองถึง 500,000 เท่า อย่างไรก็ดีท่านผู้อ่านควรทราบว่า การศึกษาและการประเมินความเป็นพิษของสารเคมีที่อาจเข้าสู่ร่างกายมนุษย์นั้น เป็นการตั้งสมมุติฐานว่า มนุษย์ได้รับสารนั้นอย่างเดียว และสุขภาพมนุษย์ก็อยู่ในสภาวะที่ดีที่สุดด้วย ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่เลย ทั้งนี้เพราะถ้าเราคิดถึงปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพ สภาวะโภชนาการ ความแตกต่างทางพันธุกรรมที่บางคนกำจัดสารพิษได้ต่ำกว่าคนอื่นแล้ว ปริมาณสารพิษที่ดูน้อย อาจก่อให้เกิดปัญหาที่น่าตกใจได้ในวารสาร ScienceDaily (July 9, 2009) ของเว็บ http://www.sciencedaily.com กล่าวว่า Bisphenol A มีผลในการทำให้ไข่ของหนูถีบจักรพัฒนาตัวช้ากว่าปรกติ เนื่องจากผลที่มันเป็นสารที่มีฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศหญิง แต่เรายังไม่ทราบว่าเมื่อเทียบกับฮอร์โมนเพศหญิงธรรมชาติแล้ว มันมีฤทธิ์ต่ำกว่า หรือสูงกว่าฮอร์โมนเพศธรรมชาติ และข้อที่น่าสนใจอีกประการในรายงานนี้คือ การศึกษานี้เป็นการศึกษาระยะยาวในสัตว์ด้วยสารที่มีความเข้มข้นต่ำนอกจากนี้ โครงการพิษวิทยาแห่งชาติของสหรัฐอเมริกายังได้รายงานว่า สารเคมีนี้มีผลต่อสมอง พฤติกรรมและต่อมลูกหมากของลูกสัตว์ทดลองที่แม่ได้รับสารนี้ ซึ่งอาจเชื่อมโยงได้ว่ามีผลอย่างเดียวกันในคนเนื่องจากนักพิษวิทยาบางส่วนไม่สามารถกล่าวอย่างเต็มปากว่าสารเคมีนี้ปลอดภัย บริษัท Nalgene ซึ่งผลิตขวดพลาสติกหลายชนิดขาย ทั้งในห้องปฏิบัติการเคมี และใช้เป็นขวดบรรจุน้ำ อาหารและอื่น ๆ จึงได้แนะนำผู้บริโภคประมาณว่า ถ้าไม่แน่ใจในการใช้ขวดพลาสติกใสทนร้อนให้หันกลับไปใช้ขวดพลาสติกขุ่นที่บริษัทผลิตขายเช่นกันแทน เพื่อความสบายใจ ข้อมูลดังกล่าวหาดูได้จาก http://www.ecopledge.com/detoxnalgene.asp?id2=27717ดังนั้นถ้าท่านต้องการใช้ภาชนะพลาสติกใสที่ทนร้อนได้ ท่านคงต้องยอมเสี่ยงที่จะรับสารดังกล่าวบ้าง มันอาจไม่เลวร้ายนักเพราะเวลาล้างขวดนมด้วยการต้ม น้ำที่ใช้ต้มเราก็เททิ้ง แต่ยังไม่มีใครรับประกันว่าว่า มี Bisphenol A ติดอยู่ที่ผนังขวดหรือไม่ ดังนั้นน่าจะถึงเวลาหันกลับไปใช้ขวดนมแก้ว โดยยอมเสี่ยงกับการที่สาวใช้ทำขวดแตก เพราะท่านทำลูกเป็นอย่างเดียว แต่ทำงานบ้านไม่เป็น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 102 เอาไงดีกับขวดพลาสติกใส

รศ. ดร.แก้ว กังสดาลอำไพสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2552 เวลาใกล้ 20.00 น ข่าวพยากรณ์อากาศของสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ได้ให้ความรู้ในเรื่องที่นอกเหนือไปจากการพยากรณ์อากาศว่า การใช้ขวดพลาสติกใสที่เคยบรรจุน้ำดื่มซ้ำ อาจมีปัญหาการปนเปื้อนของสารพิษออกมา โดยเฉพาะเมื่อเอาขวดบรรจุน้ำนั้นไปแช่ในช่องแช่แข็งแล้ว สารพิษในกลุ่มไดออกซินจะหลุดออกมาปนเปื้อนในน้ำดื่ม ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นที่น่าสนใจกันมานานแล้วว่า ข้อมูลดังกล่าวมาจากไหน มีความน่าเชื่อถือสักเท่าไร เพราะผู้เขียนเองก็เคยได้เห็นข้อมูลดังกล่าวใน Forward mail ตลอดจนในเว็บไซต์ของคนไทย ผู้ที่คิดว่าตนเองรู้รอบทิศ แค่เดาว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งนั้นก็เป็นจริงได้ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสารพิษ ซึ่งก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ผู้ได้รับข้อมูลแล้วไม่ใช้หลักกาลามสูตร จนต้องไปใช้บริการล้างพิษในธุรกิจส่วนตัวของผู้ให้ข่าว ดังนั้นในฉลาดซื้อฉบับนี้ ผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้ใช้ขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่มซ้ำซาก จึงค่อนข้างกระตือรือล้นในการหาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำว่า ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่ เพื่อประกอบการตัดสินใจว่า ควรไปซื้อขวดขุ่นมาใส่น้ำแช่ตู้เย็นหรือไม่ เริ่มแรกผู้เขียนหาข้อมูลจาก Google ด้วยกุญแจคำว่า drinking water bottle plastic reuse ก็ได้ความรู้เอามาแบ่งปันกัน เว็บแรกคือ http://www.snopes.com ซึ่งเป็นผู้ให้แหล่งที่มาของ e-mail ยอดนิยมที่คนชอบส่งต่อ ซึ่งเขียนว่า “No water bottles in freezer. A dioxin chemical causes cancer, especially breast cancer. Dioxins are highly poisonous to the cells of our bodies. Don't freeze your plastic bottles with water in them as this releases dioxins from the plastic...... เป็นเรื่องหนึ่ง และอีกเรื่องเขียนว่า “My husband has a friend whose mother recently got diagnosed with breast cancer. The doctor told her women should not drink bottled water that has been left in a car. The doctor said that the heat and the plastic of the bottle have certain chemicals that can lead to breast cancer. So please be careful and do not drink that water bottle that has been left in a car and pass this on to all the women in your life.” ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างน่ากลัว เนื่องจากพาดพิงถึงสารไดออกซิน (dioxin) ผู้เขียนขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ไดออกซิน ก่อนว่า เป็นกลุ่มสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูงที่สุดที่มนุษย์เคยประดิษฐ์ขึ้นมา ครั้งแรกที่สารกลุ่มนี้เป็นข่าวนั้นนานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเป็นสารปนเปื้อนที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจในการผลิตสารกำจัดวัชพืชสองชนิดที่มีชื่อเล่นเรียกง่าย ๆ ว่า 2,4-D และ 2,4,5-T สารพิษเหล่านี้ประเทศมหาอำนาจผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการโปรยจากเครื่องบินเพื่อทำให้ป่าทึบกลายเป็นป่าโปร่ง ทหารของประเทศมหาอำนาจจะได้ยิงทหารของประเทศด้อยอำนาจได้ง่าย ผลกรรมเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ทหารที่อยู่บนเครื่องบินที่โปรยสารพิษนี้ก็ได้รับสารไดออกซิน เนื่องจากลมที่ตีกลับไปมาระหว่างการโปรยสารพิษนี้ และเมื่อกลับประเทศแบบผู้ปราชัย ทหารผู้โชคร้ายเหล่านั้นก็เป็นมะเร็งกันเป็นระนาว ส่วนข้าศึกที่อยู่ภาคพื้นดินก็รับกรรมไปชั่วลูกชั่วหลาน เพราะสารพิษนี้ตกค้างบนพื้นดิน กลายเป็นสารปนเปื้อนเข้าสู่วงจรอาหาร ทำให้ลูกหลานของคนในประเทศผู้ชนะสงครามมีความพิการมากมาย สารกลุ่มไดออกซินนั้นเป็นทั้งสารก่อมะเร็งและสารก่อลูกวิรูป (สารที่ทำให้เด็กในท้องพิการ) ด้วยเหตุนี้พอมีข่าวว่ามีสารพิษนี้หลุดออกมาจากขวดพลาสติกใส ใครๆ ก็ต้องกลัว อย่างไรก็ดีในเรื่องของขวดพลาสติกใสใส่น้ำนั้น เรื่องของไดออกซินเป็นเพียงสิ่งที่เข้าใจกันเองว่ามี ทั้งที่ความจริงไม่ควรมี เพราะไดออกซินนั้นมักเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสารเคมีที่มีคลอรีนเข้าไปเกี่ยวข้อง ดังตัวอย่างการผลิตสารกำจัดวัชชพืช 2,4-D และ 2,4,5-T ซึ่งใช้คลอรีนเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในขณะที่ขวดพลาสติกใสที่เรียกว่า ขวด PET นั้นไม่ได้มีคลอรีนร่วมในการผลิต โอกาสจะเกิดไดออกซินจึงไม่น่าเป็นไปได้ ผู้เขียนเข้าใจว่า บุคคลที่เริ่มต้นเขียนบทความเกี่ยวกับการปนเปื้อนของสารพิษในขวดพลาสติกใสนั้น เข้าใจคลาดเคลื่อนและเขียนชื่อสารพิษอีกชนิดหนึ่ง (ซึ่งจะกล่าวต่อไป) ผิดไปเป็นไดออกซินทั้งนี้เพราะอาจชินกับชื่อสารพิษไดออกซินซึ่งมีประวัติอันยาวนาน ตัวอย่างความเข้าใจผิดในเรื่องชื่อสารเคมีของผู้ที่ไม่ได้เรียนด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง ที่มักพบได้ในอินเตอร์เน็ตคือ ความเข้าใจผิดๆ ถูกๆ เกี่ยวกับคำว่า ฝนเหลือง หรือ Yellow rain คนทั่วไปในปัจจุบันมักคิดว่า ฝนเหลืองนั้นมีสารพิษคือ ไดออกซิน เป็นองค์ประกอบ ทั้งที่ความจริงแล้วไดออกซินนั้นเป็นสารปนเปื้อนที่เกิดจากสารกำจัดวัชพืชดังกล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งเวลานำไปใช้งานในสงครามนั้น สารผสมดังกล่าวถูกผลิตในรูปที่มีสีออกส้ม จึงเรียกว่า agent orange ไม่ใช่ Yellow rain ดังที่มีผู้กล่าวกันอย่างผิดๆ Yellow rain นั้นเป็นชื่อเรียกง่ายๆ ของสารพิษกลุ่ม Trichothecene ที่เรียกว่า T-2 Toxin ที่ได้จากเชื้อรากลุ่ม Fusarium, Myrothecium, Trichoderma, Trichothecium, Cephalosporium, Verticimonosporium และ Stachybotrys ซึ่งประเทศมหาอำนาจอีกประเทศได้นำสารนี้ไปใช้ในสงครามในเอเชียกลางเมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลเกี่ยวกับ Yellow rain หรือฝนเหลืองนั้น สามารถหาได้จาก www.wikipedia.org สารพิษ T-2 Toxin ในฝนเหลืองนี้ออกฤทธิ์ทำให้ผู้ได้รับมีอาการเหมือนโดนรังสีจากระเบิดปรมาณู เพราะสารพิษทำลายการสร้างเม็ดเลือดขาวของระบบภูมิต้านทานในไขกระดูก ดังนั้นโดยสรุปแล้ว การรายงานสารปนเปื้อนในรายการพยากรณ์อากาศที่กล่าวข้างต้นนั้นเป็นการเอาข้อมูลที่คลาดเคลื่อนมารายงาน ซึ่งอาจเป็นเพราะความไม่ถูกต้องของแหล่งข้อมูล โดยเฉพาะถ้าเป็นแหล่งข้อมูลในอินเตอรเน็ตซึ่งไม่สามรถควบคุมความถูกต้องได้ อย่างไรก็ดี ในข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้หมายความว่าไม่มีสารพิษหลุดออกมาจากขวดพลาสติกใส แต่จะเป็นสารอะไรนั้นขอให้ท่านผู้อ่านติดตามดูข้อมูลที่ผู้เขียนจะนำมาเสนอให้อ่านเป็นความรู้ประกอบการตัดสินใจว่า จะใช้ขวดพลาสติกใสใส่น้ำซ้ำหรือไม่ ก่อนอื่นต้องทบทวนกับท่านผู้อ่านว่า ขวดพลาสติกใสนั้นชื่อทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษเรียกว่า ขวด PET ขวดพลาสติก PET ผลิตจากสารตั้งต้นชื่อ ethylene terepthalate ด้วยกระบวนการทางเคมีทำให้ได้สารโพลีเมอร์ชื่อ polyethylene terepthalate ซึ่งเป็นพลาสติกที่ได้รับการยอมรับจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศว่าสามารถใช้กับอาหารและยาได้ PET มีความสวยงาม และใสเหมือนขวดแก้ว หรืออาจจะเพิ่มสีสันให้กับขวดได้ตามความเหมาะสม มีน้ำหนักเบา และความเหนียวในเนื้อพลาสติกมีสูงจึงไม่เกิดความเสียหายในขณะขนส่ง จึงเหมาะอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมอาหาร ยา เคมี เครื่องดื่มและอื่นๆ ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของสารที่อาจหลุดออกมาจากขวด PET นั้นควรเริ่มจากการเข้าไปดูได้ที่ www.wikipedia.org เช่นกัน ก่อนไปถึงเรื่องของสารเคมีที่อาจหลุดออกมาจากขวด PET เราคงต้องไปดูประเด็นว่า ทำไมเรื่องของไดออกซินในพลาสติกจึงถูกปล่อยออกมาทำให้มีความหวาดกลัวกันในหมู่ผู้บริโภค ในครั้งแรกที่ได้ยินเรื่องนี้ ผู้เขียนพยายามเดาว่า เป็นนโยบายที่ผู้ผลิตขวดพยายามให้มีการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เพื่อที่บริษัทจะได้ขายขวดได้มากขึ้น แต่เมื่อประเมินผลได้ผลเสียแล้ว คิดว่าผู้ผลิตคงไม่เสี่ยงทุบหม้อข้าวตัวเองแน่ ดังนั้นจึงลองค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ก็ไปพบว่าเรื่องดังกล่าวนี้มีใน wikipedia เจ้าประจำ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ในปี 2001 มีนักศึกษาคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐไอดาโฮได้รายงานในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทรายงานว่า สาร DEHA อาจหลุดออกมาจาก ขวดพลาสติกชนิดที่เรียกว่า PET (polyethylene terephthalate) ซึ่งถูกใช้ซ้ำหรือได้รับความร้อน จากนั้นในปี 2003 ข้อมูลดังกล่าวก็ถูกส่งว่อนไปทั้วอินเตอร์เน็ต สารเคมีดังกล่าวที่นักศึกษาผู้นั้นกล่าวถึงคือ bis(2-ethylhexyl) adipate (หรือ di(2-ethylhexyl) adipate) แต่ข้อมูลที่ส่งในอินเตอร์เน็ตกลับไปเข้าใจผิดว่าเป็นสาร diethylhydroxylamine ซึ่งก็มีชื่อเช่นเดียวกันคือ DEHA ด้วยเหตุ สมาคมผู้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกจึงไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ต้องลุกขึ้นมาอัดมหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยระบุว่าการใช้ขวด PET บรรจุน้ำดื่มนั้นได้ผ่านการรับรองจาก อย ของสหรัฐแล้ว และที่สำคัญสารดังกล่าวที่อาจหลุดออกมาจากขวด PET นั้นไม่ได้อยู่บัญชีสารก่อมะเร็งของ EPA (สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา) และไม่ได้ถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็งตามบัญชีของ IARC ซึ่งเป็นสำนักงานระหว่างชาติที่ดูแลงานวิจัยเกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการพยายามเคลียร์กันแล้วแต่เรื่องที่เกิดในทางไม่ดีนั้น ไม่ว่าจริงหรือเท็จมักค้างคาใจ เหมือนใบสั่งการจอดรถผิดกฎหมาย ซึ่งถึงจ่ายค่าปรับแล้ว ผู้จ่ายก็ยังมักหงุดหงิดทุกครั้งที่เห็นคนเขียนใบสั่ง และมักรู้สึกไม่ดีตลอดไป ฉันใดก็ดี เรื่องสารพิษในขวดพลาสติกก็ยังพูดกันต่อๆ ไป แล้วมันก็กลายเป็นสารไดออกซินในที่สุด ทั้งที่ความจริงแล้วสารเคมีที่อาจก่อปัญหาสุขภาพของผู้บริโภคเนื่องจากการหลุดออกมาจากขวดพลาสติกคือ Bisphenol A ซึ่งขอยกไปคุยกันในฉบับหน้า สำหรับช่วงรอเดือนหน้าผู้เขียนได้จัดการกำจัดขวดพลาสติกใสในตู้เย็นให้หมดไป โดยได้ไปซื้อขวดบรรจุน้ำที่เป็นพลาสติกขุ่นที่กำหนดว่า ใช้ใส่น้ำดื่ม มาใช้ในการแช่น้ำในตู้เย็นแทน ท่านผู้อ่านจะทำตามหรือไม่ก็แล้วแต่ใจครับตอนนี้ตัวใครตัวมันก่อนแล้วกัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 168 “ถุงพลาสติกชีวภาพ” บรรจุภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค

ยุคนี้...ตามร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้ามักมีสินค้าพืชผักและผลไม้ห่อหุ้มด้วยพลาสติกวางจัดจำหน่ายให้เห็นละลานตา มีทั้งแบบสุกกำลังพอดีแกะถุงพลาสติกก็สามารถกินได้ทันที และแบบที่สุกๆ ดิบๆ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ยังไม่รีบกินได้เลือกซื้อเลือกหาไว้ไปบ่มกินที่บ้าน หรือเก็บไว้เป็นอาทิตย์ๆ ได้โดยที่ยังมีสีสันน่ารับประทาน อย่างไรก็ตาม การห่อหุ้มยืดอายุผลไม้ด้วยพลาสติกมีทั้งคุณประโยชน์ ที่ช่วยเก็บรักษาคงสภาพของพืชผักผลไม้ให้น่ารับประทาน แต่หากห่อหุ้มในสภาพที่ผลไม้ยังคงมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลง ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลว่าผัก ผลไม้ ส่วนใหญ่มีสารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาทิ จุลินทรีย์ก่อโรคและยาฆ่าแมลง เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาฆ่าแมลงหากมีการใช้ในขั้นตอนการปลูกในปริมาณมากเกินไป หรือเก็บเกี่ยวพืชผลออกจำหน่ายก่อนสารเคมีสลายตัว ก็จะทำให้เกิดสารตกค้างจนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยอาการที่พบ มีตั้งแต่คลื่นไส้ , อาเจียน , ท้องเสีย , กล้ามเนื้อสั่น , ชักกระตุกจนหมดสติ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นหยุดหายใจไปเลยก็ได้ และหากสะสมในร่างกายต่อเนื่องจำนวนมากก็จะทำให้เป็นโรคมะเร็ง ด้วยความห่วงใยผู้บริโภคทุกท่าน ก่อนเลือกซื้อผักผลไม้จะดูที่สีสันอย่างเดียวคงไม่ได้ บรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มน่าจะสร้างความปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง วันนี้จึงมีนวัตกรรมดีๆ จากนวัตกรไทยมาเล่าสู่กันฟัง โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยคณะผู้วิจัย ที่ได้พัฒนาศักยภาพ “ถุงพลาสติกชีวภาพ” บรรจุภัณฑ์ที่น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมี สามารถเก็บรักษาผักผลไม้ได้และคงสภาพยืดอายุผักผลไม้ไว้ได้นาน และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้ผลงานวิจัยเรื่อง “บรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกชีวภาพเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาพืชผลสดและผลไม้แห้ง” จนได้รับรางวัล ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2558 ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จากงานวิจัย“ถุงพลาสติกชีวภาพ” ระบุว่าได้ต่อยอดมาจากเม็ดพลาสติก ด้วยการเติมสารชีวภาพ ให้มีรูขนาดเล็กที่ทำให้ ออกซิเจน  คาร์บอนไดออกไซด์  ไอน้ำ สามารถผ่านได้ กระบวนการทำให้สามารถเก็บรักษาความสดใหม่ได้ดีกว่าเดิม 2-7 เท่า ในขณะที่เชื้อโรคไม่สามารถผ่านได้ เห็นข้อดีแบบนี้ผู้บริโภคก็น่าจะเบาใจได้เปาะหนึ่งว่าตั้งแต่กระบวนการห่อหุ้มผักผลไม้ลงในถุงพลาสติก ไปจนส่งถึงมือผู้บริโภค “จุลินทรีย์และเชื้อโรค” คงผ่านเข้าไปในถุงพลาสติกได้ยาก! นอกจากศักยภาพในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ “ถุงพลาสติกชีวภาพ” นี้สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกร รวมถึงผู้ทำการค้าส่งออก และสร้างความปลอดภัยให้ผู้บริโภคแล้ว  บรรจุภัณฑ์นี้ยังย่อยสลายได้เร็วกว่าถุงพลาสติกทั่วไป โดยใช้ระยะเวลาย่อยสลายได้ภายในหนึ่งปีเท่านั้น นับว่าเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่สามารถช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกอีกด้วย แต่ถ้าท่านผู้อ่านสนใจเลือกซื้อเลือกหาผักผลไม้ที่ห่อหุ้มถุงพลาสติกชีวภาพ อาจต้องรอหน่อยเพราะนวัตกรรมนี้ยังมีต้นทุนที่สูง เมื่อเทียบกับพลาสติกห่อหุ้มผลไม้ทั่วไป จำหน่ายราคาประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท ขณะที่ถุงพลาสติกชีวภาพมีต้นทุนสูงกว่าถึง 3 เท่า โดยราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาท เห็นตัวเลขถ้าเทียบเฉพาะราคาอาจมองว่าแพง!กว่ามาก...แต่ถ้าวัดกันที่คุณค่าคุณประโยชน์แล้วก็คงต้องยกนิ้วให้กับถุงพลาสติกชีวภาพอย่างแน่นอน คงต้องฝากความหวังไว้ให้ภาครัฐยื่นมือเข้ามาสนับสนุนงานวิจัยดีๆ แบบนี้ให้เป็นรูปธรรม เพราะประเทศไทยมีผลผลิต ทางด้านเกษตรจำนวนมากที่พร้อมส่งถึงมือผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ถ้าผลผลิตเหล่านี้สามารถยืดอายุได้นานโดยสินค้ายังมีคุณภาพดี ก็จะเป็นที่ยอมรับในนานาประเทศและน่าจะทำให้อัตราการส่งออกของสินค้าเกษตรไทยดีขึ้น แต่สำหรับตอนนี้ วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีและเชื้อโรคที่ง่ายสุด ก็คงต้องทำตามอย่างง่าย ๆ แบบที่โบราณสอนไว้ คือให้เลือกผักที่มีรูพรุน จากการเจาะของแมลง  เลือกกินผักผลไม้ตามฤดูกาล  ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคไปก่อนก็แล้วกัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 126 “ถุงพลาสติก” สิ่งเล็กๆ ที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก

  ถือเป็นวาระแห่งชาติกับการแก้ปัญหาถุงพลาสติกครองโลก หลายคนคงพอจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าถุงพลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นตัวการร้ายทำลายโลกของเรา ทั้งจากขั้นตอนการผลิตที่ต้องอาศัยพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ไปจนถึงขั้นตอนการจัดการเมื่อกลายเป็นขยะ เพราะถุงพลาสติกยากต่อการทำลาย ถุงพลาสติกพวกนี้อายุยืนเป็นร้อยๆ ปี ถ้านำไปเผาก็ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปทำลายชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ทำให้โลกของเราร้อนขึ้น ซึ่งภัยธรรมชาติร้ายแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศในโลกของเราเปลี่ยนแปลงผันผวนไปอย่างน่าตกใจ  ดังนั้นแล้วทั้งโลกเขาก็เลยตื่นตัวกันมากเรื่อง การลดการใช้ถุงพลาสติก ในประเทศไทยของเราก็เริ่มมีความตื่นตัวในการลดการใช้ถุงพลาสติกด้วยเช่นกัน ซึ่งจากข้อมูลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พบว่าคนไทยผลิตขยะถุงพลาสติกถึง 7,391 ตันต่อวัน  ถุงพลาสติก ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรทั้งในการผลิต การขนย้ายและกำจัด ยังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย เพราะมาตรการต่างๆ ในบ้านเราที่พยายามทำๆ กันอยู่นั้น ยังไม่ค่อยเห็นผลนัก “ฉลาดซื้อ” จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาช่วยโลกของเรา มาร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติก เพราะฉะนั้นเรามาดูกันสิว่า เราจะบอกลาถุงพลาสติกด้วยวิธีไหนได้บ้าง   “นโยบายลดถุงพลาสติกจากภาครัฐ – ความฝันที่ยังเลือนราง”ปัญหาขยะถุงพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งถึงวันนี้ทุกคนต่างก็รับรู้กันดีว่าถุงพลาสติกเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำเกิดสภาวะโลกร้อน ประเทศไทยของเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจขานรับภารกิจมนุษยชาติในการลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติก ซึ่งถ้าใครพอจะติดตามข่าวสารอยู่บ้างอาจจะเคยได้ยินข่าวการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่ทางภาครัฐนำมาใช้เป็นเป็นกลยุทธิหยุดพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของคนในประเทศ กิจกรรมที่น่าสนใจก็เช่น โครงการ “No Bag No Baht” ที่จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นโครงการที่ให้นักช้อปได้มีโอกาสแสดงพลังรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการบอกปฏิเสธไม่รับถุงพร้อมรับส่วนลดจากการซื้อสินค้าทันที 1 บาท แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเลือกที่จะขอรับถุงพลาสติกก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 บาท โดยร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ก็มีตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงร้านค้าในตลาดนัดจตุจักร   อีกหนึ่งกิจกรรมที่ทางภาครัฐจับมือกับบรรดาห้างร้านต่างๆ เพื่อหวังสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกให้เกิดขึ้นในสังคม คือกิจกรรม “45 วัน รวมพลัง ลดถุงพลาสติก ลดโลกร้อน” ซึ่งกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเจ้าเก่าเจ้าเดิมเป็นหัวเรือใหญ่ เป้าหมายของกิจกรรมก็คือการลดจำนวนการใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ กิจกรรมนี้จัดต่อเนื่องติดต่อกันเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2552  โดยมีรายงานว่าในช่วง 2 ปีแรกสามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่ร่วมกิจกรรมได้ถึง 12 ล้านกว่าใบ   แม้จะมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการลดการใช้ถุงพลาสติก แต่ก็เป็นแค่กิจกรรมที่ทำชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช้กิจกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ใช้ชีวิตผูกพันกับถุงพลาสติกน้อยคนนักที่จะรับทราบข้อมูลของการจัดกิจกรรมดังกล่าว หรือพอหมดช่วงเวลาการจัดกิจกรรมผู้บริโภคและผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า ก็กลับมามีพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกในแบบเดิม ซึ่งแน่นอนว่าภาครัฐต้องมีความจริงใจและจริงจังในการวางนโยบายและเดินหน้าปฏิบัติการลดถุงพลาสติกให้ต่อเนื่องและชัดเจนมากกว่านี้   อย่างที่บอกว่าหนทางการจัดการกับถุงพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ไม่ใช่แค่เมืองไทยเท่านั้นที่ปัญหานี้ยังเป็นคำถามที่ยังต้องหาคำตอบ หลายประเทศทั่วโลกก็คิดไม่ตกกับปัญหาขยะถุงพลาสติก  ซึ่งหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่เป็นเหมือนประตูปิดกั้นการสู้กับปัญหาถุงพลาสติกอย่างจริงจังในประเทศไทยเราก็คือ การที่ยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดการใช้ถุงพลาสติก ทำให้ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพียงแค่การขอความร่วมมือเท่านั้น การจะออกกฎหมายมาบังคับใช้เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจและต้องมีความพยายามในการเริ่มต้น แน่นอนว่าในสังคมปัจจุบันความต้องและจำเป็นในการใช้ถุงพลาสติกยังคงมีค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเริ่มต้นการลดการใช้ถุงพลาสติกที่ภาครัฐควรทำให้เกิดขึ้น คือการสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมให้ผู้บริโภครู้จักเลือกใช้วัสดุอื่นที่ย่อยสลายง่าย และเมื่อกลายเป็นขยะแล้วไม่ไปทำลายสิ่งแวดล้อม แม้ว่าอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการผลิต อย่างเช่น ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้หรือใช้เวลาน้อยลงในการย่อยสลาย หรืออาจให้มีการเก็บภาษีถุงพลาสติก หากจะซื้อสินค้าต้องเสียเงินค่าถุงพลาสติกซึ่งเป็นวิธีที่มีใช้ในหลายประเทศ แต่ก็ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของผู้บริโภคด้วยต้องศึกษาความเป็นไปได้ให้ดีก่อนนำมาใช้ในบ้านเรา ขณะที่มาตรการขั้นเด็ดขาดอย่างการห้ามใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ หากพบเห็นว่ามีการใช้ถือว่ามีความผิด ก็เป็นไปได้ยากที่จะนำมาใช้ในเมืองไทย เพราะดูเป็นวิธีการที่โหดร้ายไปหน่อย “ความร่วมมือจากห้างสรรพสินค้า – อีกหนึ่งความหวังในการบอกลาถุงพลาสติก” ขยะถุงพลาสติกที่กลายเป็นปัญหาในทุกวันนี้ สถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของมันคงหนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ที่เปิดกระจายกันอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในกทม. ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมบอกว่าในแต่ละสัปดาห์คนไทยนำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง   ความต้องการใช้ถุงพลาสติกของคนไทยยังคงมีค่อนข้างสูง เรายังคงรักความสะดวกสบายเวลาจับจ่ายสินค้าก็ต้องการถุงพลาสติกสำหรับใส่ของ เพราะถือง่ายและแข็งแรงทนทาน แถมหลายคนยังติดนิสัยชอบขอถุงพลาสติกเพิ่ม เวลาซื้อของหนักๆ ต้องขอซ้อนถุงก็ยิ่งกลายเป็นว่าไปเพิ่มปริมาณขยะถุงพลาสติกมากขึ้นไปอีก   เมื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมจะเปิดใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดการใช้ถุงพลาสติก แล้วแบบนี้ทางฝั่งผู้ประกอบการอย่างบรรดาห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ จะพอมีหนทางอะไรบ้างในการช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก   ฉลาดซื้อทำแบบสำรวจถึงบรรดาห้างสรรพสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครือเซ็นทรัล เดอะมอลล์ เทสโก้ คาร์ฟูร์ บิ๊กซี ฯลฯ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจสักเท่าไหร่ มีบริษัทที่เต็มใจตอบรับเพียง ซีพี ออลล์และฟู้ดแลนด์ เท่านั้น  บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ได้ให้ข้อมูลถึงนโยบายการลดการใช้ถุงพลาสติกของทางร้านว่า มีการรณรงค์กับทั้งลูกค้าและพนักงาน โดยในช่วงปี 2552 -2553 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดทำโครงการลดการใช้ถุงพลาสติก 3 โครงการที่น่าสนใจ คือ โครงการ “รับถุงด้วยไหม ครับ/ค่ะ”, โครงการ “บริจาคถุงพลาสติกคืน เพื่อรีไซเคิล” และ  โครงการ “ร่วมใจใช้ถุงผ้า ไม่เรียกหาถุงพลาสติก” ซึ่งผลจากการรณรงค์ทั้ง 3 โครงการ สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านได้มาประมาณ 12 ล้านถุง ส่วนในปี 2554 ได้มีทดลองลดการใช้ถุงพลาสติกภายในร้าน โดยนำร่องจำนวน 100 สาขา ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554 ซึ่งผลปรากฏว่า สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกลงได้ 4,400 ใบต่อวัน  ขณะที่ ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ก็ใช้วิธีการง่ายๆ อย่างการรณรงค์ให้ลูกค้าใช้ถุงพลาสติก ซึ่งรณรงค์มาต่อเนื่องตลอด 4 ปี   ส่วนแนวคิดที่ว่าจะเป็นไปได้แค่ไหนถ้าหากจะให้มีการยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกเป็นเด็ดขาด ทั้ง เซเว่น อีเลฟเว่น และ ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ต่างก็ยอมรับว่า ยังไม่มีนโนบายเลิกใช้ถุงพลาสติกในร้านอย่างเด็ดขาดในตอนนี้ เพราะยังต้องอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ แต่ถ้าหากภาครัฐมีมาตรการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดใช้ถุงพลาสติกออกมา ก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ  “เราทำได้ ลดการใช้ถุงพลาสติก” ในเมื่อยังไม่มีมาตรการหรือกฎหมายที่ออกมาบังคับเรื่องการลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจัง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการสร้างพฤติกรรมใหม่ในการใช้ถุงพลาสติก   -สำรวจพฤติกรรมของตัวเองว่าในแต่ละวันต้องเกี่ยวข้องกับการใช้ถุงพลาสติกในเรื่องอะไรบ้าง แล้วลองคิดดูสิว่ามีอะไรที่เราพอจะลดการใช้ถุงพลาสติกได้บ้าง เช่น เวลาซื้อของในร้านสะดวกซื้อของที่เราซื้อจำเป็นแค่ไหนที่ต้องใส่ถุงพลาสติก ถ้าซื้อของไม่กี่ชิ้นลองเลือกปฏิเสธถุงพลาสติก หรือเวลาที่ไปซื้อข้าวซื้อก๋วยเตี๋ยวลองเอาจานชามจากที่บ้านไปใส่ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกมาจากที่ร้าน ถ้าจะเติมน้ำตาลน้ำปลาก็ปรุงมาให้เรียบร้อย ไม่ต้องขอใส่ถุงกลับมาปรุงที่บ้าน ฯลฯ   -ใช้ถุงผ้าให้ถูกวิธี ไม่ใช้แค่สะพายไว้เก๋ๆ เพื่อบอกใครๆ ว่าคุณรักโลก แต่จงใช้มันเพื่อช่วยโลกจริงๆ นำถุงผ้าไปใช้ใส่สิ่งของต่างๆ ไม่รับถุงพลาสติกจากร้านค้าเพราะว่าคุณมีถุงผ้าสำหรับใส่ของอยู่แล้ว   -จุดเด่นของถุงพลาสติกคือความทนทานพยายามนำกลับมาใช้งานหลายๆ ครั้ง ใช้ให้คุ้มค่าอย่าให้มันกลายเป็นขยะเร็วเกินไป   -อย่าลืมต่อบอกเทคนิคดีๆ ในการลดการใช้ถุงพลาสติกให้กับคนอื่นๆ อย่าลืมชักชวนคนใกล้ๆ ตัวให้เห็นถึงความสำคัญในการลดการใช้ถุงพลาสติก ถ้า 1 คนลดได้ 1 ใบ 10 คนก็ลดได้ 10 ใบ ถ้าทุกๆ คนช่วยกัน ถุงพลาสติกก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่ยากเกินจะแก้ไขอีกต่อไป   ความแตกต่างของถุงพลาสติกแต่ละประเภท ถุงพลาสติกทั่วไป -ทำจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ -ใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 100 – 450 ปี-ราคาถูก มีความเหนียวและทนทาน-เพราะความทนทานจึงสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ แต่ก็พึ่งระบบการคัดแยกขยะที่ดี-เป็นอันตรายต่อธรรมชาติมาก ทั้งต่อสัตว์ที่เผลอกินเข้าไป และมักจะเป็นต้นเหตุของน้ำท่วมตามเมืองใหญ่ๆ เพราะขยะถุงพลาสติกจไปอุดตันตามท่อระบายน้ำ   OXO-DEGRADABLE ออกโซดีเกรดเอเบิล -เป็นถุงพลาสติกที่มีการผลิตให้มีความเหนียวน้อยลง ทำให้ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น-ถุงย่อยสลาย ภายใน 2 - 5 ปี ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การย่อยสลาย อาจมีชีวิตอยู่ยาวนาน เป็นร้อยปีได้เหมือนถุงพลาสติกธรรมดาทั่วไป-ราคาถุงกว่าถุงพลาสติกทั่วไป -ไม่มีปัญหาเรื่องการเก็บสต็อก-แม้จะย่อยสลายง่ายขึ้นแต่ก็ยังเป็นอันตรายกับธรรมชาติ   BIODEGRADABLE ไบโอดีเกรดเอเบิล (Bio Bag) -ทำจากพืช เช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง -สามารถย่อยสลายได้ภายใน 6 – 9 เดือน แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือ โดนแสงแดดและอากาศที่เหมาะสม-หมักเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ ไม่เป็นสารพิษ-แต่มีราคาแพง แถมไม่สามารถเก็บไว้นานๆ ได้ เพราะถุงจะเปลี่ยนสภาพค่อยๆ เปื่อยลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถใช้งานได้ ----------------------------------------------------------------------------------------   การลดการใช้ถุงพลาสติกในต่างประเทศ อิตาลี ประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ แล้วให้ร้านค้าใช้ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้แทน ซึ่งสาเหตุมาจากที่คนตาลีใช้ถุงพลาสติกกันมากถึง 20 พันล้านใบต่อปี ทำให้เกิดมลพิษทางธรรมชาติ ทั้งในทะเล แม่น้ำ และป่า โดยห้างร้านต่างๆ ในอิตาลีก็ขานรับนโยบายนี้กันอย่างพร้อมเพียง แต่ว่ามาตรการนี้เพิ่งเริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 54 ที่ผ่านมา ต้องรอดูกันต่อว่าจะได้ผลแค่ไหน   จีนมีกฎห้ามผลิต จำหน่าย และใช้ถุงพลาสติกที่มีความบางน้อยกว่า 0.025 มิลลิเมตร หรือเรียกว่าถุงชนิดบางมาก รวมทั้งห้ามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตไม่ให้แจกถุงพลาสติกฟรีกับลูกค้าถ้าอยากได้ต้องซื้อ หรือไม่ก็นำถุงพลาสติกหรือถุงผ้ามาเอง   พม่าห้ามผลิต ห้ามใช้ และเข้มงวดถึงขั้นห้ามไม่ให้ร้านค้าร้านขายของชำเก็บถุงและเชือกพลาสติกไว้ในร้าน โดยกฎหมายนี้เริ่มทยอยบังคับใช้ตามเมืองสำคัญๆ ของประเทศอย่าง มัณฑะเลย์ เนปิตอว์ และย่างกุ้ง แถมยังมีโครงการเก็บขยะถุงพลาสติกและการนำกลับมารีไซเคิลเปลี่ยนเป็นท่อพลาสติก เพื่อลดปัญหาขยะถุงพลาสติกล้นเมือง   ไต้หวันถ้าหากไปซื้อตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ แล้วอยากได้ถุงพลาสติก คุณต้องยอมจ่ายเงินเพิ่ม ซึ่งประชาชนก็ให้ความร่วมมือดี เป็นมาตรการที่สามารถลดขยะถุงพลาสติกได้เป็นจำนวนมาก   อินเดียใช้ไม้แข็งในการจัดการกับปัญหาขยะถุงพลาสติกล้นเมือง โดยใช้วิธีทั้งจำทั้งปรับคนที่ใช้ถุงพลาสติก แต่ต้องบอกว่าวิธีการดังกล่าวยังถือว่าล้มเหลว เพราะคนส่วนใหญ่ก็ยังใช้ถุงพลาสติกกันเป็นปกติหาได้หวั่นเกรงต่อกฎหมายแต่อย่างใด ซึ่งเหตุผลก็เป็นเพราะว่าหากไม่ใช้ถุงพลาสติกก็ยังไม่เห็นตัวเลือกอื่นที่จะสามารถนำมาใช้แทนได้   สหรัฐอเมริกามีหลายเมืองในอเมริกาที่ออกกฎหมายรองรับการลดการใช้ถุงพลาสติก หรือเปลี่ยนมาใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายง่ายขึ้น และเน้นให้มีการรีไซเคิลถุงพลาสติกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมหลายๆ เมืองยังมีการเรียกเก็บภาษีถุงพลาสติกเพิ่มขึ้น แม้ในอเมริกาจะมีมาตการลดการใช้ถุงพลาสติกที่ดูเข้มแข็ง แต่ก็ยังติดปัญหาสำคัญตรงที่อุตสาหกรรมผลิตถุงพลาสติกในอเมริกามีการจ้างงานอยู่มากกว่า 1 หมื่นตำแหน่ง ถ้าหากมีปรับลดการใช้ถุงพลาสติกแบบทันทีทันใดก็อาจจะส่งผลต่อคนงานเหล่านี้   เม็กซิโกร้านค้าในเม็กซิโกเปลี่ยนมาใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายง่ายหลังจากรัฐบาลออกกฎหมายบังคับเรื่องการลดการใช้ถุงพลาสติก แม้กฎหมายฉบับนี้ยังมีผลบังคับใช้แค่ในเมืองหลวงของประเทศอย่างเม็กซิโก ซิตี้ แต่ที่นี่ก็มีประชากรอยู่มากถึง 9 ล้านคน บวกกับประชากรที่อาศัยอยู่ตามเมืองรอบอีกกว่า 10 ล้านคน ก็สามารถลดขยะถุงพลาสติกไปได้พอสมควร   ฮ่องกง นักช้อปจะต้องจ่ายค่าถุงพลาสติกในราคา 50 เซนต์ฮ่องกง สำหรับถุงพลาสติก 1 ใบ มีข้อมูลบอกว่าที่ฮ่องกงมีการใช้ถุงพลาสติก 23 ล้านใบต่อปี หรือ เฉลี่ยวันละ 3 ใบต่อคน แต่ก็ใช่ว่าพอเก็บตังค์แล้วคนจะใช้ถุงพลาสติกน้อยลง เพราะนักช้อปส่วนใหญ่ก็ยังเต็มใจจ่ายค่าถุงพลาสติกอยู่ดี ฮ่องกงเลยใช้วิธีรณรงค์ให้ใช้ถุงพลาสติกมากกว่า 1 ครั้งเป็นตัวเสริมเข้าไป ซึ่งก็สามารถช่วยลดปริมาณขยะถุงพลาสติกภายในประเทศได้พอสมควร

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 55 สังฆทานถังเหลือง

 เวลา 24 ชั่วโมงของคนในยุคนี้ กับเวลา 24 ชั่วโมงของคนสมัยอยุธยาดูมันจะหดแคบกว่ากันเยอะ เดี๋ยวนี้อะไร ๆ ก็ต้องด่วนไปหมด ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการทำบุญ เรา มักจะอ้างว่าไม่ค่อยมีเวลาไปเข้าวัดฟังธรรม การทำสังฆทานเลยกลายเป็นทางเลือกหนึ่ง และกลายเป็นวิธีการทำบุญแบบเร่งด่วนไปโดยที่เราไม่รู้ตัว เดี๋ยวนี้ตามหน้าวัดหรือในวัดต่าง ๆ เราจะเห็นการจัดสังฆทานสำเร็จรูปในถังพลาสติกสีเหลืองไว้คอยบริการญาติโยม แต่เราเคยสำรวจกันไหมว่าในสังฆทานถังเหลืองเหล่านั้นจะมีของสักกี่ชิ้นที่จะ ก่อให้เกิดบุญก่อให้เกิดผลทั้งต่อผู้ให้และผู้รับที่เป็นพระสงฆ์องค์เจ้า จริง ๆ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้ได้ไปเก็บรวบรวมสังฆทานถังเหลืองตามที่ต่าง ๆ เพื่อจะดูว่า มีของอะไรบ้างที่ถูกใส่เข้าไป และในของเหล่านั้นมีของอะไรบ้างที่เราใส่เข้าไปแล้วจะก่อให้เกิดบุญเกิดผล และของอะไรบ้างที่เราควรจะลดละเลิกไม่ควรใส่เข้าไปในสังฆทานเพราะจะเกิดโทษ ภัยกับพระสงฆ์หรือกับคนอื่น ๆ ที่พระท่านมอบต่อให้ไป   สิ่งของที่สำรวจพบในสังฆทานสำเร็จรูป(แสดงรูปประกอบเป็นกลุ่ม ๆ ) ก.      ภาชนะที่ใช้บรรจุสังฆทาน  ถังพลาสติกสีเหลือง กล่องพลาสติกใสแบบมีฝาปิด กระติกน้ำแข็ง ขันเงินใบใหญ่ ถังน้ำพลาสติกขนาดใหญ่ ข. ผลิตภัณฑ์ในสังฆทาน กลุ่มอาหาร น้ำปลาขวดเล็ก น้ำผลไม้บรรจุขวด ใบชา เครื่องดื่มขิง บะหมี่สำเร็จรูป ผลไม้กระป๋อง น้ำพริกเผาบรรจุขวด ขนมคุ๊กกี้บรรจุกล่อง เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม นมสดกระป๋อง ปลากระป๋อง น้ำดื่มบรรจุขวด ข้าวสารแบ่งบรรจุ ค. ผลิตภัณฑ์ในสังฆทาน กลุ่มสิ่งของเครื่องใช้ ผ้าขนหนูผืนเล็ก ผ้าอาบน้ำฝน อังสะ ผงซักฟอก สบู่ กล่องสบู่ ไฟฉายและถ่านไฟฉาย ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ แก้วน้ำพลาสติก แปรงสีฟัน ทิชชู่ น้ำยาล้างจาน ร่ม รองเท้าฟองน้ำ ไม้จิ้มฟัน ยาสีฟัน ขันน้ำพลาสติก ด้าย และเข็มเย็บผ้า ง. ผลิตภัณฑ์ในสังฆทาน กลุ่มยา ยาหอม ยาสามัญประจำบ้าน ทำไมเราควรจัดถังสังฆทานเองเหตุผลสำคัญที่เราควรจะจัดหาสิ่งของมาจัดเป็นสังฆทานด้วยตนเอง คือ1.    สิ่งของที่อยู่ในสังฆทานสำเร็จรูปที่จำหน่ายโดยทั่วไปเกินกว่าครึ่ง เป็นของที่พระนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย2.    การจัดสังฆทานเองนอกจากจะได้ของที่เกิดประโยชน์แน่นอนแล้ว เรายังสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย3.    สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งของที่คนชอบถวายจนพระใช้ประโยชน์ไม่ทันจนเหลือล้นวัดได้ การจัดสังฆทานที่ไม่ได้บุญ สังฆทานที่แท้คืออะไร คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการทำสังฆทานจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะส่งผลบุญไปถึงญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วใน002อีก ภพอีกชาติหนึ่งได้ แต่ความหมายที่แท้จริงของการทำสังฆทานก็คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อเราถวายให้แล้วก็ถือว่า พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก ซึ่งอาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน ดังนั้นบุญที่เราเข้าใจว่าจะได้จากการ ทำสังฆทานก็คือ การที่หมู่ภิกษุสงฆ์ได้ประโยชน์จากสิ่งของที่เราทำทานให้ท่าน ยิ่งของที่เราให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มาก บุญก็จะเกิดมากตามไปด้วย แต่ถ้าของที่อยู่ในสังฆทานหาประโยชน์ไม่ได้ สังฆทานก็จะกลายเป็นขยะล้นวัดไป การใส่ใจในสิ่งของที่จะทำสังฆทานจึง เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากเราให้ของไม่ดีไม่เกิดประโยชน์กับพระไป บุญที่จะได้ก็อาจจะกลายเป็นบาปก็ได้    ทานที่ใหญ่กว่าสังฆทาน  มีทานอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้าย ๆ สังฆทาน เป็นทานที่มีอาณาเขตกว้างขวางกว่า คือ ทานที่ให้แก่หมู่พวกที่ไม่เฉพาะกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เรียก สาธารณทาน เป็นทานที่ไม่จำกัดเฉพาะในรั้ววัด เป็นการให้ที่ไม่มีขอบเขต สังฆทานเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณทานเช่นกัน   ทานที่น้อยกว่าสังฆทาน การถวายทานที่ให้เฉพาะพระภิกษุสงฆ์รูป นั้นรูปนี้ เรียก ปาฏิปุคคลิกทาน มีอานิสงส์น้อยกว่าทานสองประเภทข้างต้น เพราะเป็นการจำกัดเฉพาะบุคคลว่าต้องเป็นคนนั้นคนนี้ การให้ทานแก่ส่วนรวมย่อมได้อานิสงส์มากกว่า   คำถวายสังฆทานการ ทำพิธีถวายสังฆทาน ไม่มีอะไรยุ่งยาก เมื่อนำสิ่งของไปและพระสงฆ์รู้ความประสงค์ ท่านก็จะให้จุด ธูป เทียน แล้วก็ว่า นโม 3 จบ แล้วกล่าวถวาย สังฆทาน ดังนี้ อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะโอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆอิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ  บุญไม่ใช่แค่เรื่องการบริจาคทรัพย์ทำทาน บุญ แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด หรือ คุณสมบัติที่ทำให้บริสุทธิ์ ส่วนคำว่า "ทาน" แปลว่า การให้ การสละ การเผื่อแผ่แบ่งปัน จะมอบของให้ใคร หรือจะถวายของให้ใครก็เป็นบุญทั้งนั้น จะต่างกันก็เพียงว่าได้บุญมากบุญน้อยเท่านั้นเอง   ฉะนั้น เวลาพูดว่า ไปทำบุญทำทาน จึงหมายความว่าไปชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการแบ่งปันสิ่งของซึ่งเป็นการแบ่งปันให้ใครก็ได้ และการทำบุญก็ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ แต่เพียงแค่การให้ทานบริจาคสิ่งของแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น    ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ1. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทาน เป็นการช่วยขัดเกลา ความเห็นแก่ตัว ความคับแคบ ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไป ก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคล หรือชุมชนโดยส่วนรวม สังฆทานก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำบุญในข้อนี้ 2. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิก ความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น เป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงาม และพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ 3. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนา เป็นการพัฒนาจิตใจ และปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น 4. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ทั้งในความคิดความเชื่อ และวิถีปฏิบัติ ของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่น ในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย) 5. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกายเพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้าน ที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย) 6. เปิดโอกาสให้คนอื่น มาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงาน ก็เปิดโอกาสให้คนอื่น มีส่วนร่วมทำ - ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญ ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย) 7. ยอมรับและยินดีในการทำความดี (หรือทำบุญ) ของผู้อื่น เป็นการเปิดโอกาสร่วมใจอนุโมทนา ในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย) 8. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย) 9. แสดงธรรม ให้ธรรมะ และข้อคิดที่ดี กับผู้อื่น แสดงธรรม นำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)  10. ทำความเห็นให้ถูกต้อง และเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น - ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญก็เป็นบุญ (ทิฏฐุชุกรรม)  ทิฏฐุชุกรรม หรือ สัมมาทัศนะ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำบุญทุกชนิด และทุกโอกาส จะต้องประกบและประกอบเข้ากับบุญกิริยาวัตถุข้ออื่นทุกข้อ เพื่อให้งานบุญข้อนั้น ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมาย พร้อมทั้งได้ผลถูกทาง    อย่างไรที่เรียกว่า "ฉลาดทำบุญ" พระพยอม กัลยาโณ "การทำบุญตามหลักพุทธศาสนานั้น เราสรรเสริญคนที่ใคร่ครวญ คิดวินิจฉัยดีแล้วจึงทำบุญ ใครที่ทำบุญเก่งอย่างเดียว แต่คิดสังเกต ใคร่ครวญ ถึงประโยชน์ของบุญน้อยไป ก็จะเป็นพวกที่เรียกว่า หลงบุญ เมาบุญ บ้าบุญ คือ ทำดีไม่ถึงดี ทำดีไม่ถูกดี ทำดีไม่พอดี บางทีก็เป็นดีซ่านไป   ฉะนั้น จึงต้องวินิจฉัยว่า ประโยชน์ของการทำบุญในเวลานี้นั้น มันเกื้อกูลกับสังคมมนุษย์แค่ไหน เพราะบุญนั้นทำเพื่อให้มนุษย์สมบูรณ์ขึ้น พูดง่าย ๆ ว่าบุญนั้นต้องทำให้เกิดความสมบูรณ์ในความขาดแคลน เราจึงต้องมองว่าในเวลานี้อะไรขาดแคลนมากที่สุด เช่น มีเด็ก ๆ เป็นจำนวนมากที่ขาดสารอาหาร เราก็ควรทำบุญอาหารกลางวันเลี้ยงเด็กบ้าง ส่วนอาหารพระ เณร สังฆทานนั้น บางทีก็มากเกินไปแล้ว และของในสังฆทานบางครั้งก็ไม่จำเป็น เช่น เกลือ น้ำมันพืช บางครั้งก็มีมากเกินไป พระไม่ได้มีเวลาไปผัด ไปจิ้ม ไปทอดอะไรมากมาย หรืออย่างทำบุญปล่อยสัตว์ ปล่อยวัว ปล่อยควายเวลานี้ก็มากเกิน และบางวัดก็ทำไปในลักษณะหารายได้เข้าวัด ตัวเดียววนเวียนปล่อยอยู่ตั้งเป็นร้อยเจ้า หลายคนช่วยแต่ช่วยได้ชีวิตเดียว มันก็ไม่ฉลาด วัดรวยแต่สังคมก็ยังขาดแคลน  ดีที่สุด ก็คือ การทำบุญเพื่อให้ศีลธรรมกลับมา เช่น เอาวัวควายไปให้ชาวนาที่ยากจน ไม่ติดอบายมุข ไม่ติดการพนัน พวกที่ติดเหล้า เที่ยวเตร่ เล่นการพนันก็ต้องเลิกถึงจะให้ยืมวัว ยืมควายไปใช้ เพราะถ้าทำบุญแล้วศีลธรรมไม่กลับมา บุญก็จะมิได้ช่วยโลก ช่วยชาติ ช่วยบ้าน ช่วยเมืองเท่าไรเลย อาตมาจึงอยากจะให้เปลี่ยนจากการทำบุญด้วยสังฆทานต่าง ๆ มาเป็นการทำบุญเพื่อให้ศีลธรรมกลับมา ให้เกิดความสมบูรณ์ ให้ความขาดแคลนของสังคมหายไป"    แหล่งข้อมูลจากหนังสือฉลาดทำบุญ เรียบเรียงโดย พระชาย  วรธมโม และพระไพศาล  วิสาโล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 102 ช้อปช่วยโลก ซื้อของห้างไหนช่วยลดใช้ถุงพลาสติก

ฉลาดซื้อ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกระตุ้นให้ทุกคนหันมาสนใจปัญหาโลกร้อนกันอย่างจริงจัง เราจึงอยากชวนทุกคนมาช่วยกันลดขยะถุงพลาสติก ซึ่งเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก สิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต แถมยังสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม เมื่อเรากำจัดมันไม่ได้ (เพราะถ้าเผาก็จะไปทำลายชั้นบรรยากาศ ถ้าฝังดินก็จะทำให้ดินเสื่อมสภาพ) เราก็ลองมาหาวิธีลด-ละ-เลิกการใช้ถุงพลาสติกกันดีกว่า   ในชีวิตประจำวันของเราคงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก เพราะร้านค้าเกือบแทบจะทุกแห่งต่างก็ใช้ถุงพลาสติกใส่ของให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นในตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ต วงจรชีวิตการใช้งานของถุงพลาสติกนั้นสั้นมากๆ คือเมื่อของที่ใส่ถุงพลาสติกมาถูกนำไปใช้ ถุงพลาสติกก็จะถูกทิ้งให้กลายเป็นขยะ มีบ้างที่เก็บไว้สำหรับใส่ของอื่นๆ (ซึ่งส่วนมากก็มักจะเป็นขยะ) ซึ่งเมื่อเก็บรวมกันไว้มากๆ เป็นเวลานานๆ แล้วไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อะไร สุดท้ายถุงพลาสติกทั้งหลายก็ต้องแปรสภาพกลายเป็นขยะอยู่ดี   ฉลาดซื้อ อยากชวนทุกคนมาลดการใช้ถุงพลาสติก เราเลยลองสุ่มสำรวจซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างค้าปลีกต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ว่าแต่ละที่มีวิธีการจัดสรรถุงพลาสติกใส่ของให้กับลูกค้าอย่างไรบ้าง โดยเราได้กำหนดรายการสินค้าจำนวน 20 รายการ โดยเลือกสินค้าที่คนส่วนใหญ่ต้องซื้อใช้อย่างน้อยๆ ก็น่าจะเดือนละครั้ง อย่าง ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาถูพื้น กระดาษชำระ กาแฟ นม น้ำตาล เสริมด้วยพวกของสด อย่าง ผัก และลูกชิ้น เพื่อเพิ่มความหลากหลายของประเภทและลักษณะแพ็คเก็จบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการจัดสินค้าใส่รวมลงในถุงพลาสติก ฉลาดซื้อ อยากรู้ว่าซูเปอร์มาร์เก็ตไหนให้ถุงพลาสติกกับเราน้อยที่สุด ตารางแสดงผลสุ่มสำรวจการใช้ถุงพลาสติกของห้างค้าปลีกและซุปเปอร์มาร์เก็ต(รายชื่อสินค้า 1. ผงซักฟอก โอโมพลัส ดีโอเฟรช 1,100 กรัม 2.น้ำยาทำความสะอาดพื้น มาจิคลีน 900 มิลลิลิตร 3.น้ำยาล้างห้องน้ำ วิกซอล 900 มิลลิลิตร 4.น้ำยาซักผ้าขาว ไฮเตอร์ 600 ซีซ๊ 5.น้ำยาล้างจาน ซันไลต์ 600 ซีซี x 3 6.เนสกาแฟ เรดคัพ (ถุงเติม) 200 กรัม 7.ครีมเทียม .คอฟฟี่เมต 450 กรัม 8.น้ำตาล มิตรผล 1 กิโลกรัม 9.นม UHT โฟร์โมสต์ 225 มิลลิลิตร x 6 10.น้ำสละ เฮลส์ บลู บอย 710 ซีซี 11.กระดาษเช็ดหน้า เลดี้สก็อตต์ กล่อง 150 ชิ้น 12.กระดาษชำระ สก็อตต์เอ็กซ์ตร้า แพ็ค 6 ม้วน x 2 13 ผ้าอนามัน ลอริเอะซูเปอร์อัลตร้าสลิม 20 ชิ้น 14.บะหมี่คัพ มาม่า 60 กรัม x 3 15.มันฝรั่งทอดกรอบ เลย์ 125 กรัม 16.แฮม ซีพี แพ็ค 150 กรัม 17.ไข่เค็ม 18.อาหารสด 19.ผักสด)  *หมายเหตุ: เป็นการทดสอบสุ่มซื้อในช่วงวันที่ 16 – 22 กรกฎาคม 2552 ห้างเขาก็ใส่ใจเรื่องลดใช้ถุงพลาสติก“โลกร้อน” เป็นปัญหาของทุกคนบนโลกใบนี้ เราจึงต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ซึ่งบรรดาผู้ประกอบการห้างค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งหลายก็ไม่ได้ใจร้าย ปล่อยให้ผู้บริโภคอย่างเราต้องหาวิธีลดใช้ถุงพลาสติกกันอยู่ฝ่ายเดียว เพราะแต่ละที่ก็คิดว่าวิธีการดีๆ เพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในสถานประกอบการของตัวเอง วิธีที่ฮิตที่สุด คงหนีไม่พ้น “ถุงผ้าฟีเวอร์” ซึ่งก็มีอยู่หลายห้างที่ขานรับวิธีนี้ ซึ่งการแจกหรือจำหน่ายถุงผ้าของห้างค้าปลีกหรือซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เป็นวิธีการที่ช่วยกระตุ้นและสร้างความรู้สึกของการช่วยกันลดใช้ถุงพลาสติกให้กับผู้ที่มาซื้อสินค้าได้ชัดเจนที่สุด เช่น บิ๊กซี ที่มีแคมเปญให้ ซื้อถุงผ้าที่ห้างทำขึ้น จะได้รับค่าโทรศัพท์ฟรี 10 บาท หรือ คาร์ฟูร์ ที่มีการจำหน่ายถุงผ้าซึ่งผลิตจากสารที่ได้จากการรีไซเคิลขวดพลาสติก เพื่อให้ลูกค้านำมาใช้แทนถุงพลาสติก เป็นต้น บางห้างไม่ได้ทำออกมาแค่เพียงถุงผ้า แต่ยังผลิตถุงกระดาษออกมาใช้ด้วย เช่น เซ็นทรัล ฟู้ดส์ ฮอลล์ และ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่อยู่ในเครือ เซ็นทรัล รีเทล บางที่ก็ใช้วิธีให้ส่วนลดสำหรับคนที่หิ้วถุงผ้ามาซื้อสินค้า หรือจัดแคมเปญกระตุ้นจิตสำนึกเรื่องภาวะโลกร้อน เช่น Think Green ของเดอะ มอลล์ กรุ๊ปส์ (โฮม เฟรช มาร์ช และ กรูเมต์ มาร์เก็ต) ที่เป็นโครงเพื่อสิ่งแวดล้อม อย่างการจัดกิจกรรมให้ลูกค้าที่บอกไม่รับถุงพลาสติก 1 ใบ เท่ากับได้ร่วมปลูกต้นไม้ 1 ต้น หรืออย่าง ตั้งฮั้วเส็ง ที่เคยร่วมกับเขตหลักสี่ ส่งวิทยากรมาสาธิตประดิษฐ์และตกแต่งถุงผ้าในโครงการรณรงค์ใช้กระเป๋าผ้าลดภาวะโลกร้อน แถมแต่ละห้างที่เราสำรวจในครั้งนี้ก็เข้าร่วมในโครงการ “45 วัน รวมพลัง ลดถุงพลาสติก ลดโลกร้อน” ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถ้าการลดการใช้ถุงพลาสติกเป็นเรื่องยาก ก็มีอีกหนึ่งทางเลือก คือ ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ หรือ oxo-biodegradable plastic bag ซึ่งถุงพลาสติกชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้ด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ และออกซิเจนในอากาศ ภายในระยะเวลา 1 - 2 ปี (แตกต่างจากถุงพลาสติกทั่วไปที่มีอายุยาวนานหลายร้อยปี) สาเหตุที่ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ยังไม่ค่อยแพร่หลาย คงเป็นเพราะต้นทุนที่สูงกว่าถุงพลาสติกทั่วไปประมาณ 5 – 10% ห้างค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใช้ถุงพลาสติกชนิดนี้ ก็อย่างเช่น วิลล่า มาร์เก็ต, โฮม เฟรช มาร์ช กับ กรูเมต์ มาร์เก็ต ในเครือ เดอะ มอลล์ กรุ๊ปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ดส์ ฮอลล์ กับ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในเครือ เซ็นทรัล รีเทล   ไม่ใช้ถุงพลาสติก เราทุกคนทำได้-ถุงผ้ารักษาโลก –ถุงผ้าไม่ได้มีไว้สะพายตามแฟชั่นเท่านั้น แต่ประโยชน์ของมันคือการนำมาใช้แทนถุงพลาสติก ไม่ว่าจะซื้ออะไรก็เอามาใส่ไว้ในถุงผ้า แบบนี้ลดใช้ถุงพลาสติกได้แน่นอน-ถือเอาเลยก็ได้ ถ้าซื้อไม่กี่ชิ้น – ซื้อชิ้น 2 ชิ้น จะใส่ถุงทำไมให้เป็นขยะทำลายโลก ถือกลับมาเลยดีกว่า ไม่น่าจะลำบาก-ขับรถมาอย่าพาถุงไป –ใครที่ขับรถยนต์ไปซื้อของ ก็บอกกับห้างได้เลยว่าไม่เอาถุง แค่ใส่ของที่ซื้อมาลงในรถเข็นแล้วค่อยหยิบมาใส่ไว้ในรถได้เลย-รวมกันได้ในถุงใบเดียว – ถุงพลาสติกมีความยืดหยุ่นและทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี ถ้ามีของมากสามารถใส่ถุงเดียวกันได้ ก็บอกให้พนักงานเขาใส่รวมกันได้เลย-บอกอย่างมั่นใจ ว่าไม่เอาถุง – พยายามฝึกให้เป็นนิสัย ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ถุงพลาสติก ซื้อของคราวหน้า บอกไปเลยว่า “ไม่เอาถุง”-ลดการซื้อ = ลดใช้ถุง – ซื้อเท่าที่ใช้ ใช้เท่าที่จำเป็น ทั้งช่วยโลกแล้วยังช่วยประหยัดอีกต่างหาก แถมจ้า! ตารางเปรียบเทียบราคาสินค้าจากการทดสอบการใช้ถุงพลาสติกของห้างค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ต*หมายเหตุ: เป็นราคาในช่วงระหว่างวันที่ 16 – 22 กรกฎาคม 2552 ประเทศไทยมีปริมาณขยะต่อวันเท่ากับ 40,000 ตันเฉพาะในกทม.มีปริมาณขยะต่อวันเท่ากับ 8,500 ตันขยะถุงพลาสติกเฉพาะในกทม.ต่อวันเท่ากับ 1,800 ตันเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บขนขยะต่อวันเป็นเงิน 1.78 ล้านบาท แต่ถ้าหากเราสามารช่วยกันลดการใช้ถุงพลาสติกลงได้ จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บขนขยะได้ถึง 650 ล้านบาทต่อปี และยังช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจกได้ถึง 1 ล้านตันต่อปี(ข้อมูลจาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 133 กระแสต่างแดน

  เที่ยวบินขาขึ้น สายการบินที่ดำเนินงานโดยรัฐบาลแล้วยังอยู่ดีมีแฮงนั้นยังพอมีอยู่ในโลก สายการบินโบลิเวียนา ของรัฐบาลประเทศโบลิเวีย เป็นหนึ่งในนั้น ถ้ายังจำกันได้สายการบินอาลิตาเลีย (Alitalia) ของอิตาลี ถูกขายให้กับเอกชนไปในปี 2551 ตามด้วยสายการบินโอลิมปิก (Olympic) ในปีต่อมา หรือแม้แต่สายการบินแห่งชาติของอาร์เจนตินา ก็ต้องได้รับการต่อลมหายใจด้วยเงินภาษีกว่า 23,000 ล้านบาท เมื่อปีที่แล้ว โบลิเวียนา นั้นนอกจากจะไม่ขาดทุนแล้วยังกลายเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 50 ของเที่ยวบินในประเทศ เบียดสายการบินเอกชน ไอโรซูร์ (Aerosur) ที่เคยผูกขาดบริการนี้ตกเวทีไปเลย โบลีเวียนาแทรกเข้ามาขอส่วนแบ่งตลาดที่มีลูกค้าประมาณ 1.5 ล้านคนได้เพราะเมื่อ 5 ปีก่อน สายการบิน Lloyd Aereo Boliviano (ซึ่งเป็นของรัฐบาลเช่นกัน) ปิดตัวไปเพราะล้มละลายและไม่มีเอกชนสนใจเข้ามาซื้อกิจการไปทำต่อ ด้วยเงินตั้งต้น 800 ล้านบาท โบลิเวียนาเปิดตัวด้วยโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 และยึดนโยบายขายตั๋วถูกมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังประกาศยกเลิกที่นั่งเฟิร์สทคลาสเพื่อขายตั๋วในราคาเดียวกันหมดทุกที่นั่ง เพื่อให้ตรงกับคอนเซ็ปท์ “ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน” ที่ประธานาธิบดี อีโว โมราเลสเคยประกาศไว้ ตัวอย่างเช่น ตั๋วไปกลับระหว่างเมืองลาปาซกับเมืองซานตาครูส ของสายการบินไอโรซูร์อยู่ที่ 7,500 บาท ในขณะที่โบลิเวียนาขายเพียง 5,800 บาทเท่านั้น  แต่เดี๋ยวก่อน เด็กและผู้สูงอายุยังมีสิทธิได้รับส่วนลดเพิ่มอีก ใจป้ำขนาดนี้เลยขาดทุนไป 185 ล้านบาทในปีแรก แต่ปีต่อมาทำกำไรได้ 123 ล้านบาท (หลังหักภาษีเข้ารัฐไปแล้วกว่า 1,000 ล้าน) โบลิเวียนากำลังเพิ่มเส้นทางการบินและซื้อเครื่องบินเพิ่มอีก 6 ลำ เอาไว้รองรับผู้โดยสารที่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกขณะ(สถิติระบุว่าในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา จำนวนชาวโบลิเวียที่เดินทางด้วยเครื่องบินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35) ก็ใครจะไม่อยากบินล่ะ ... ทั้งถูก ทั้งทั่วถึงขนาดนี้ ...   “วัดแห่งนี้สีเขียว” นี่ไม่ใช่ป้ายสติ๊กเกอร์ติดหน้าวัด แต่เป็นคำอธิบายกิจกรรมรักษ์โลกที่เกิดขึ้น ณ วัดฮินดูแห่งหนึ่ง ในเมืองทีรุมาลา รัฐอันตระประเทศของอินเดีย วัดทีรุปาตีแห่งนี้ ติดอันดับท็อปเท็นของวัดที่รวยที่สุดในแดนภารตะ ด้วยรายได้ 10,000 ล้านบาทต่อปี ที่มาจากการบริจาคโดยญาติโยมชาวฮินดู ที่มาสักการะองค์เทพเวงกเฏศวร(อวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์) ประมาณวันละ 50,000 ถึง 100,000 คนนั่นเอง ที่นี่จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการรณรงค์เรื่องการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ในประเทศที่มีความต้องการพลังงานสูงมากอย่างอินเดีย ที่ร้อยละ 45 ของรายได้จากการส่งออกสินค้า ต้องถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อการนำเข้าพลังงาน โรงครัวหลังมหึมาที่วัดนี้เปิดบริการอาหารฟรี 24 ชั่วโมง โดยใช้พลังงานที่ส่งลงมาจากแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาตึก ในแต่ละวัน “พลังเบื้องบน” นี้สามารถผลิตไอน้ำอุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส ได้ถึง 4,000 กิโลกรัม จึงช่วยทำให้การหุงข้าวและต้มถั่วประมาณ 50 ตันต่อวัน เป็นไปอย่างรวดเร็วและประหยัด เขาประเมินคร่าวๆ ว่าสามารถประหยัดการใช้น้ำมันดีเซลไปถึง 500 ลิตรต่อวัน เมื่อวัดลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากครัวของตัวเองได้ 1,350 กิโลกรัม จึงนำโควตาดังกล่าวไปขายให้กับรัฐบาลประเทศเยอรมนี มีรายได้เข้าวัดอีกมิใช่น้อย ส่วนพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในวัดนั้น ส่วนหนึ่งมาจากกังหันลมที่บริษัทซูสลอน ของอินเดีย และเอ็นเนอคอน ของเดนมาร์ก ได้ร่วมกันบริจาคตั้งต้นไว้ ทางวัดบอกว่าการใช้วิธีสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนนี้ น่าจะได้ผลดีกว่าการโฆษณาหรือการรณรงค์ของรัฐบาลด้วยซ้ำไป ญาติโยมท่านใดสนใจจะทำทานในรูปแบบของพลังงานหมุนเวียน ก็ซื้อกังหันลมไปบริจาคให้กับทางวัดได้ เขาจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะขณะนี้ฟาร์มกังหันลมข้างๆ วัด (ลืมบอกไปว่าวัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนภูเขา) ยังว่างอยู่อีกเยอะ ทำบุญกันมากๆ ก็ช่วยให้โลกเย็นได้นะพี่น้อง   ถ้ารู้ (กู) พกไปนานแล้ว คอกาแฟไต้หวันคงฉุนไปตามๆ กัน ถ้ามารู้ทีหลังว่า ความจริงแล้วตนเองควรจะต้องได้ส่วนลดถ้านำถ้วยพลาสติกที่เคยได้จากทางร้าน กลับมาซื้อเครื่องดื่มที่ร้านนั้นอีกครั้ง เรื่องนี้มีผลสำรวจยืนยัน องค์กรผู้บริโภคของไต้หวันพบว่า ร้อยละ 14 ของบรรดาร้านแฟรนไชส์เครื่องดื่มเหล่านี้ ไม่ได้ติดประกาศแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงสิทธิประโยชน์ที่พวกเขาจะได้ ทั้งๆ ที่อ้างว่าตนเองมีนโยบายส่งเสริมการนำถ้วยกาแฟกลับมาใช้ซ้ำ ข่าวบอกว่าในไต้หวัน มีแก้วพลาสติกถูกทิ้ง (ทั้งๆ ที่ยังใช้ได้) ถึงปีละ 1,500 ล้านแก้ว รัฐบาลจึงออกเป็นกฎหมายว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2554 เป็นต้นไป ร้านฟาสต์ฟู้ด ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายเครื่องดื่มทั้งหลายจะต้องให้ส่วนลดกับลูกค้าที่นำแก้วของทางร้านกลับมาซื้อเครื่องดื่มอีก หรือไม่เช่นนั้นก็จ่ายเงิน 1 หรือ 2 เหรียญไต้หวันให้กับลูกค้าที่นำแก้วกลับมาคืนให้ทางร้าน และที่สำคัญ จะต้องติดประกาศแจ้งให้ลูกค้าทราบด้วย กฎหมายกำหนดบทลงโทษไว้ว่าร้านไหนไม่ทำตาม จะมีโทษปรับ 60,000 – 300,000 ดอลล่าร์ไต้หวันแต่ข่าวไม่ได้บอกว่าบรรดาร้านเหล่านั้นโดนปรับกันไปคนละเท่าไร ซื้อสร้างสุข สมาชิกฉลาดซื้อหลายคนคงจะเลือกซื้อช็อกโกแลต โดยอ้างอิงคะแนนความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทผู้ผลิตช็อกโกแลตที่เราเคยลงไว้ในเล่มกุมภาพันธ์เมื่อปีที่แล้ว หลายคนยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อช็อกโกแลตที่ได้รับการรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ออกานิก หรือแฟร์เทรด ซึ่งเราขอบอกว่าคุณทำถูกแล้ว ผลผลิตโกโก้ในตลาดโลก 3 ล้านตันต่อปีนั้น มาจากแรงงานของเกษตรกร 6 ล้านคน ที่มีรายได้เฉลี่ยวันละไม่ถึง 100 บาท ในขณะที่ราคาโกโก้นั้นไม่ต่ำกว่า 700 บาทต่อกิโลกรัม ในไร่โกโก้นั้น มีแรงงานเด็กอยู่ประมาณ 200,000 คน ในกลุ่มนี้มีจำนวนไม่น้อย ที่ไม่มีรายได้ใดๆ เพราะถูกซื้อขาดมาจากครอบครัวแล้ว จากการสำรวจพบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของเด็กๆ ที่ทำงานในไร่โกโก้ในไอโวรี่ โคสต์ (ผู้ผลิตโกโก้อันดับหนึ่งของโลก) ถูกใช้งานให้แบกน้ำหนักเกินตัว ส่วนที่ประเทศกาน่า (อันดับสอง) นั้นเกือบร้อยละ 50 ของเด็กๆ ในฟาร์มโกโก้ต้องทำงานที่เสี่ยงอันตราย ที่สำคัญ 1 ใน 4 ของเด็กเหล่านี้ทำงานโดยไม่ได้สวมอุปกรณ์ใดๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากสารเคมีเลยด้วย การเลือกสนับสนุนช็อกโกแลต ออกานิก หรือแฟร์เทรด นั้นจะช่วยให้ผู้ผลิตหันมาให้ความใส่ใจดูแล เลือกซื้อเฉพาะเมล็ดโกโก้จากไร่ที่ไม่เอาเปรียบแรงงาน ไม่ใช่สารเคมี และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 110 กระแสต่างแดน

เกลือต้องห้าม แม้ครั้งหนึ่งเกลือจะเคยมีค่าดั่งทองและมีเครดิตเป็นหนึ่งในรากฐานของอารยธรรมมนุษย์ แต่วันนี้เกลืออาจมีโอกาสตกอับถึงขั้นโดนห้ามใช้ในร้านอาหาร ถ้าคุณเป็นแฟนกระแสต่างแดน คงจำกันได้ว่ารัฐนิวยอร์คของอเมริกานั้นช่างเป็นรัฐที่เป็นห่วงเป็นใยสุขภาพประชากรดีจริงๆ ขณะนี้มีประชากรนิวยอร์คที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ถึง 1.5 ล้านคน รัฐบาลท้องถิ่นที่นั่นจึงออกมารณรงค์ให้ผู้คนบริโภคเกลือให้น้อยลง โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะลดการบริโภคเกลือลงให้ได้ร้อยละ 25 ภายในเวลา 5 ปี นายฟิลิกส์ ออร์ทิส สมาชิกสภาจากเขตบรู๊คลิน เลยคิดจะจัดการกับปัญหานี้อย่างเด็ดขาดด้วยการเสนอร่างกฎหมายห้ามร้านอาหารในนิวยอร์คใช้เกลือเสียเลย ถ้าจับได้ว่าร้านไหนแอบใส่ก็จะลงโทษด้วยการปรับ 1,000 เหรียญ (ประมาณ 32,000 บาท) คุณออร์ทิสแกบอกว่าสำหรับผู้บริโภคนั้นไม่มีปัญหา ถ้าใครอยากได้รสเค็มก็เติมเองได้จากกระปุกเกลือที่มีวางไว้คู่กับกระปุกพริกไทยบนโต๊ะ จุดประสงค์ของเขาคือต้องการให้ผู้บริโภคเป็นคนที่ควบคุมปริมาณเกลือด้วยตนเอง แต่บรรดาพ่อครัวในร้านอาหารต่างก็หงุดหงิดไปตามๆ กัน พวกเขามองว่าเป็นการห้ามที่เหลวไหลที่สุด และเผลอๆ อาจจะบ่อนทำลายธุรกิจอาหารของเมืองไปด้วย คนอเมริกันบริโภคเกลือวันละ 3,400 มิลลิกรัม ซึ่งเกินจากปริมาณที่แนะนำ 2,300 มิลลิกรัมไปเยอะทีเดียว     รวยเกินไป หัวใจว้าวุ่นข่าวดีสำหรับประเทศที่ยังไม่รวยทั้งหลาย งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารอิโคโนมิก เจอร์นัล พบว่าความมั่งคั่งนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาวะของคนในชาติ อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์สองคน เคอร์ทิส อีตัน จากมหาวิทยาลัยคาลการี และมูเคช เอสวารานจากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย เขาฟันธงว่าคนอังกฤษมีสุขภาวะที่แย่ลงสืบเนื่องจากความอยากได้อยากมี และเขาคาดว่านโยบายรัดเข็มขัดที่รัฐบาลอังกฤษจะนำมาใช้นั้นจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ อีตันและเอสวาราน เสนอแนวคิดว่าเมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งมีมาตรฐานการใช้ชีวิตของประชากรที่ดีในระดับหนึ่งแล้ว การสร้างความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นให้ประชากรก็แทบจะไม่เกิดประโยชน์อะไร โดยทั่วไปเมื่อประเทศร่ำรวยเกินภาวะอยู่ดีกินดี การบริโภคของคนในชาติก็จะเปลี่ยนเป็นการซื้อสิ่งที่เรียกว่า “สัญลักษณ์ทางสถานภาพ” เช่น เสื้อผ้าแบรนด์เนม เครื่องประดับล้ำค่า หรือรถหรู มากกว่าการซื้อคุณค่าการใช้สอยตามปกติของสินค้านั้น ทฤษฎีการบริโภคเพื่อความโดดเด่น บอกว่าคนเราแสวงหา “สถานภาพ” ผ่านทางการบริโภคแบบนี้ ซึ่งคุณค่านั้นไม่ใช่คุณค่าที่แท้จริงของสิ่งที่เราบริโภค หากแต่เป็นเพราะมันทำให้คนที่บริโภคได้รู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากคนอื่น ที่สำคัญคือคนเราจะแสวงหาสินค้าประเภทนี้กันมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจขยายตัว รวมๆ แล้วงานวิจัยของพวกเขาช่วยยืนยันว่าเวลาที่ความมั่งคั่งโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นนั้น ประชากรจะมีเงินในกระเป๋ามากขึ้นแต่ไม่ได้มีความสุขมากขึ้นไปด้วย และเมื่อคนมุ่งแสวงหา “สัญลักษณ์ทางสถานภาพ” ที่ว่านี้ ก็จะมีเวลาใส่ใจกับเพื่อนบ้าน ชุมชนและสังคมน้อยลง ส่งผลให้ภาวะความอยู่ดีมีสุขร่วมกันลดลงไปโดยปริยาย เฮ้อ รอดตัวไป ดีนะที่ยังไม่รวย บอลลิวูดก็โดนผีหลอกไม่ใช่แค่ฮอลลิวูดเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับภัยแผ่นผี ธุรกิจภาพยนตร์อินเดียที่มีมูลค่าสูงถึง 2,300 ล้านเหรียญก็ต้องสูญเสียรายได้ไปไม่น้อยกับการลักลอบดาวน์โหลดหรือปั๊มแผ่นเช่นกัน สถานการณ์เรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ในอินเดียแย่ลงฮวบฮาบ เพราะความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่จำนวนครัวเรือนที่มีเครื่องเล่นดีวีดีก็เพิ่มจาก 4 ล้านครัวเรือน เป็น 45 ล้านครัวเรือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ข่าวบอกว่าการอัพโหลดไฟล์หนังขึ้นไปบนอินเตอร์เน็ตจะมีขึ้นทุกๆ 5 นาที และมีการประมาณการว่าภารตะชนซื้อแผ่นผิดกฎหมายประมาณปีละ 700 ล้านแผ่น สร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตแผ่นปลอมไป 330 ล้านเหรียญชิลๆ ด้านฮอลลิวูดก็ดีใจที่จะได้บอลลิวูดมาเป็นพันธมิตรในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ โดยทั้งนี้ก็จะพยายามลืมๆ ไปว่าครั้งหนึ่งเคยเคืองบอลลิวูดอยู่ไม่น้อยที่ชอบก็อปปี้หนังดังๆ ของตนเองมาทำเป็นฉบับภารตะ เพราะถ้าอินเดียสามารถปราบปรามได้ก็จะเป็นผลดีต่อตนเองไปด้วย ใครจะไม่อยากได้ตลาดอินเดียที่มีประชากร 1,000 ล้านคนที่ชื่นชอบการดูหนังเป็นชีวิตจิตใจมากกว่าที่ใดๆ ในโลก แต่คงจะเป็นงานหนักอยู่เหมือนกัน แม้ข่าวจะไม่ได้บอกว่าตั๋วหนังที่อินเดียราคาเท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆแผ่นผีซึ่งราคาประมาณ 2 เหรียญ (ประมาณ 65 บาท) ก็ทำให้คนไม่อยากเข้าโรงหนังสักเท่าไร คล้ายๆ ที่ประเทศไหนน้า.... ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ช้อปได้แม้อยู่ในห้องน้ำห้องน้ำที่สถานีรถไฟโอซาก้า ในย่านกินซ่าของญี่ปุ่นกำลังเป็นสถานที่แฮงเอาท์แห่งใหม่ของทั้งเด็กมัธยมและสาววัยทำงาน บริการห้องน้ำ “แองเจิลบี” ที่เปิดบริการมาได้ 3 ปีกว่านี้คิดค่าบริการประมาณ 100 บาทต่อหนึ่งชั่วโมง นอกจากเข้าไปทำธุระส่วนตัวแล้ว สาวๆ ยังจะสามารถนั่งจิบชาสมุนไพรชิลๆ  เรียนเทคนิคการแต่งหน้า ทำผม หรือแม้แต่เลือกซื้อชุดชั้นในกันได้ ผู้ประกอบการห้องน้ำดังกล่าวได้แก่บริษัทเวสต์ เจแปน เรลเวย์ ที่ให้บริการรถไฟในฝั่งตะวันตกของเกาะฮอนชู บอกว่าที่เปิดบริการนี้ก็เพราะได้รับเสียงเรียกร้องจากบรรดาผู้โดยสารหญิงว่าไม่มีสถานที่ให้พวกเธอได้เติมหน้าเติมปากหรือแต่งผมหลังการเดินทางยาวไกลเลย บ้างก็บอกว่าไม่มีกิจกรรมอะไรจะทำเพื่อฆ่าเวลาขณะรอรถไฟ ทุกวันนี้กิจการดีมาก สาวๆ เข้ากันหัวบันไดไม่แห้ง จนมีผู้ประกอบการอื่นๆ เข้ามาทำการตลาดกันในห้องน้ำกันด้วย เช่น พานาโซนิคก็ส่งช่างผมมืออาชีพมาแนะนำวิธีการใช้เครื่องรีดผมของตัวเอง หรือบริษัทเสื้อชั้นในวาโก้ก็มีเสื้อชั้นในรุ่นใหม่ๆ มาให้สาวๆ ได้ลอง รวมถึงชิเซโด้ที่มาตั้งเคานท์เตอร์เครื่องสำอางด้วยเช่นกัน ข่าวไม่ได้บอกว่าค่าบริการจะลดลงหรือไม่หลังจากมีสปอนเซอร์แล้ว หรือสาวๆ จะต้องเสียเงินเข้าไปทำอย่างเดียวกับที่ทำได้ในห้างโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ เมืองปลาที่ไม่มีปลา อีกครั้งที่ผู้บริโภคต้องเตือนตนเองว่าสิ่งที่เห็น อาจไม่เป็นจริงเสมอไป นักท่องเที่ยวมากมายที่ไปเยือนฟลอริด้าจะต้องไม่พลาดการสั่งอาหารทะเลมารับประทาน ไม่อย่างนั้นจะเหมือนไปไม่ถึง แต่ขณะนี้ชาวประมงในรัฐที่เรียกตนเองว่า “เมืองหลวงแห่งการตกปลาของโลก”  จับปลาได้น้อยลง เพราะภาวะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติในบางช่วง รวมถึงกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นเช่นข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการจับปลา หรือชนิดของปลาที่อนุญาตให้จับได้ ชาวประมงที่นี่เคยชุมนุมประท้วงต่อต้านนโยบายเรื่องการจับปลามาแล้ว เพราะไม่ใช่แค่ห้ามจับปลาชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นการห้ามจับปลาทุกชนิดในบริเวณที่ปลาชนิดนั้นๆอาศัยอยู่ด้วย ปัจจุบันชาวประมงจำนวนไม่น้อยจึงเลิกอาชีพนี้ไป และเรือที่ลอยอยู่ในน่านน้ำฟลอริด้านั้นส่วนใหญ่เป็นพวกล่องเรือตกปลาเล่นๆ มากกว่าจะเป็นประมงตัวจริง สรุปว่าปลาที่เสิริ์ฟในร้านอาหารที่ฟลอริด้านี้เป็นปลานำเข้าจากที่อื่น เช่น แซลมอนจากนอร์เวย์หรือสก็อตแลนด์ ทูน่าครีบเหลืองและโลมาจากเอกวาดอร์ ปลาเก๋าจากเม็กซิโกหรือไม่ก็เวียดนาม เป็นต้น ทางร้านอาหารบอกว่าปลาที่ไหนมันก็ปลาเหมือนกัน(ถ้างั้นกินที่บ้านก็น่าจะได้หรือเปล่า) แต่ตามความเห็นของนักชีววิทยาทางทะเลแล้วปลาที่เดินทางไกลเหล่านี้จะมีคุณภาพลดลง หนึ่งเพราะระยะเวลาและสองกฎระเบียบที่ควบคุมการจับปลาในบางประเทศนั้นไม่เข้มงวดเท่าที่ฟลอริด้าอีกด้วย +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ร่วมใช้ร่วมจ่ายเขตปกครองพิเศษฮ่องกงประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ลดการใช้ถุงพลาสติกด้วยการเก็บภาษีถุงพลาสติกในราคาใบละ 50 เซ็นต์ ( 2 บาท) ไปเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้เขาจึงคิดจะเริ่มปฎิบัติการขั้นต่อไปในการสร้างจิตสำนึกของการบริโภคอย่างรับผิดชอบ (ค่าใช้จ่าย) ต่อไปผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นในวันที่เราไม่ต้องการมันอีกต่อไป เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กอย่างโทรทัศน์จะมีค่าจัดการ 100 เหรียญฮ่องกง (ประมาณ 420 บาท) หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ขึ้นมาอย่างตู้เย็นจะมีค่าจัดการเพิ่มขึ้นอีกเท่าเป็น 200 เหรียญ แต่รายละเอียดนั้นเขายังเถียงกันไม่จบ เช่น ค่าธรรมเนียมที่ว่านั้นจะถูกลงหรือไม่ถ้าเราใช้มันนานขึ้นและจะเก็บค่าธรรมเนียมเท่ากันหรือไม่สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างขนาด ต่างกำลังไฟ ร้อยละ 86 ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ในฮ่องกงนั้นเป็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และคอมพิวเตอร์

อ่านเพิ่มเติม >