ฉบับที่ 110 กระแสต่างแดน

เกลือต้องห้าม

00020

แม้ครั้งหนึ่งเกลือจะเคยมีค่าดั่งทองและมีเครดิตเป็นหนึ่งในรากฐานของอารยธรรมมนุษย์ แต่วันนี้เกลืออาจมีโอกาสตกอับถึงขั้นโดนห้ามใช้ในร้านอาหาร


ถ้าคุณเป็นแฟนกระแสต่างแดน คงจำกันได้ว่ารัฐนิวยอร์คของอเมริกานั้นช่างเป็นรัฐที่เป็นห่วงเป็นใยสุขภาพประชากรดีจริงๆ


ขณะนี้มีประชากรนิวยอร์คที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ถึง 1.5 ล้านคน รัฐบาลท้องถิ่นที่นั่นจึงออกมารณรงค์ให้ผู้คนบริโภคเกลือให้น้อยลง โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะลดการบริโภคเกลือลงให้ได้ร้อยละ 25 ภายในเวลา 5 ปี


นายฟิลิกส์ ออร์ทิส สมาชิกสภาจากเขตบรู๊คลิน เลยคิดจะจัดการกับปัญหานี้อย่างเด็ดขาดด้วยการเสนอร่างกฎหมายห้ามร้านอาหารในนิวยอร์คใช้เกลือเสียเลย ถ้าจับได้ว่าร้านไหนแอบใส่ก็จะลงโทษด้วยการปรับ 1,000 เหรียญ (ประมาณ 32,000 บาท)


คุณออร์ทิสแกบอกว่าสำหรับผู้บริโภคนั้นไม่มีปัญหา ถ้าใครอยากได้รสเค็มก็เติมเองได้จากกระปุกเกลือที่มีวางไว้คู่กับกระปุกพริกไทยบนโต๊ะ จุดประสงค์ของเขาคือต้องการให้ผู้บริโภคเป็นคนที่ควบคุมปริมาณเกลือด้วยตนเอง


แต่บรรดาพ่อครัวในร้านอาหารต่างก็หงุดหงิดไปตามๆ กัน พวกเขามองว่าเป็นการห้ามที่เหลวไหลที่สุด และเผลอๆ อาจจะบ่อนทำลายธุรกิจอาหารของเมืองไปด้วย


คนอเมริกันบริโภคเกลือวันละ 3,400 มิลลิกรัม ซึ่งเกินจากปริมาณที่แนะนำ 2,300 มิลลิกรัมไปเยอะทีเดียว

 

 

รวยเกินไป หัวใจว้าวุ่น
ข่าวดีสำหรับประเทศที่ยังไม่รวยทั้งหลาย งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารอิโคโนมิก เจอร์นัล พบว่าความมั่งคั่งนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาวะของคนในชาติ


อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์สองคน เคอร์ทิส อีตัน จากมหาวิทยาลัยคาลการี และมูเคช เอสวารานจาก
00017
มหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย เขาฟันธงว่าคนอังกฤษมีสุขภาวะที่แย่ลงสืบเนื่องจากความอยากได้อยากมี และเขาคาดว่านโยบายรัดเข็มขัดที่รัฐบาลอังกฤษจะนำมาใช้นั้นจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้


อีตันและเอสวาราน เสนอแนวคิดว่าเมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งมีมาตรฐานการใช้ชีวิตของประชากรที่ดีในระดับหนึ่งแล้ว การสร้างความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นให้ประชากรก็แทบจะไม่เกิดประโยชน์อะไร โดยทั่วไปเมื่อประเทศร่ำรวยเกินภาวะอยู่ดีกินดี การบริโภคของคนในชาติก็จะเปลี่ยนเป็นการซื้อสิ่งที่เรียกว่า “สัญลักษณ์ทางสถานภาพ” เช่น เสื้อผ้าแบรนด์เนม เครื่องประดับล้ำค่า หรือรถหรู มากกว่าการซื้อคุณค่าการใช้สอยตามปกติของสินค้านั้น


ทฤษฎีการบริโภคเพื่อความโดดเด่น บอกว่าคนเราแสวงหา “สถานภาพ” ผ่านทางการบริโภคแบบนี้ ซึ่งคุณค่านั้นไม่ใช่คุณค่าที่แท้จริงของสิ่งที่เราบริโภค หากแต่เป็นเพราะมันทำให้คนที่บริโภคได้รู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากคนอื่น


ที่สำคัญคือคนเราจะแสวงหาสินค้าประเภทนี้กันมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจขยายตัว รวมๆ แล้วงานวิจัยของพวกเขาช่วยยืนยันว่าเวลาที่ความมั่งคั่งโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นนั้น ประชากรจะมีเงินในกระเป๋ามากขึ้นแต่ไม่ได้มีความสุขมากขึ้นไปด้วย และเมื่อคนมุ่งแสวงหา “สัญลักษณ์ทางสถานภาพ” ที่ว่านี้ ก็จะมีเวลาใส่ใจกับเพื่อนบ้าน ชุมชนและสังคมน้อยลง ส่งผลให้ภาวะความอยู่ดีมีสุขร่วมกันลดลงไปโดยปริยาย


เฮ้อ รอดตัวไป ดีนะที่ยังไม่รวย



บอลลิวูดก็โดนผีหลอก
ไม่ใช่แค่ฮอลลิวูดเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับภัยแผ่นผี ธุรกิจภาพยนตร์อินเดียที่มีมูลค่าสูงถึง 2,300 ล้านเหรียญก็ต้องสูญเสียรายได้ไปไม่น้อยกับการลักลอบดาวน์โหลดหรือปั๊มแผ่นเช่นกัน


สถานการณ์เรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ในอินเดียแย่ลงฮวบฮาบ เพราะความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่จำนวนครัวเรือนที่มีเครื่องเล่นดีวีดีก็เพิ่มจาก 4 ล้านครัวเรือน เป็น 45 ล้านครัวเรือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา


ข่าวบอกว่าการอัพโหลดไฟล์หนังขึ้นไปบนอินเตอร์เน็ตจะมีขึ้นทุกๆ 5 นาที และมีการประมาณการว่าภารตะชนซื้อแผ่นผิดกฎหมายประมาณปีละ 700 ล้านแผ่น สร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตแผ่นปลอมไป 330 ล้านเหรียญชิลๆ


ด้านฮอลลิวูดก็ดีใจที่จะได้บอลลิวูดมาเป็นพันธมิตรในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ โดยทั้งนี้ก็จะพยายามลืมๆ ไปว่าครั้งหนึ่งเคยเคืองบอลลิวูดอยู่ไม่น้อยที่ชอบก็อปปี้หนังดังๆ ของตนเองมาทำเป็นฉบับภารตะ เพราะถ้าอินเดียสามารถปราบปรามได้ก็จะเป็นผลดีต่อตนเองไปด้วย ใครจะไม่อยากได้ตลาดอินเดียที่มีประชากร 1,000 ล้านคนที่ชื่นชอบการดูหนังเป็นชีวิตจิตใจมากกว่าที่ใดๆ ในโลก


แต่คงจะเป็นงานหนักอยู่เหมือนกัน แม้ข่าวจะไม่ได้บอกว่าตั๋วหนังที่อินเดียราคาเท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆแผ่นผีซึ่งราคาประมาณ 2 เหรียญ (ประมาณ 65 บาท) ก็ทำให้คนไม่อยากเข้าโรงหนังสักเท่าไร


คล้ายๆ ที่ประเทศไหนน้า....

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



ช้อปได้แม้อยู่ในห้องน้ำ
ห้องน้ำที่สถานีรถไฟโอซาก้า ในย่านกินซ่าของญี่ปุ่นกำลังเป็นสถานที่แฮงเอาท์แห่งใหม่ของทั้งเด็กมัธยมและสาววัยทำงาน


บริการห้องน้ำ “แองเจิลบี” ที่เปิดบริการมาได้ 3 ปีกว่านี้คิดค่าบริการประมาณ 100 บาทต่อหนึ่งชั่วโมง นอกจากเข้าไปทำธุระส่วนตัวแล้ว สาวๆ ยังจะสามารถนั่งจิบชาสมุนไพรชิลๆ  เรียนเทคนิคการแต่งหน้า ทำผม หรือแม้แต่เลือกซื้อชุดชั้นในกันได้


00016
ผู้ประกอบการห้องน้ำดังกล่าวได้แก่บริษัทเวสต์ เจแปน เรลเวย์ ที่ให้บริการรถไฟในฝั่งตะวันตกของเกาะฮอนชู บอกว่าที่เปิดบริการนี้ก็เพราะได้รับเสียงเรียกร้องจากบรรดาผู้โดยสารหญิงว่าไม่มีสถานที่ให้พวกเธอได้เติมหน้าเติมปากหรือแต่งผมหลังการเดินทางยาวไกลเลย บ้างก็บอกว่าไม่มีกิจกรรมอะไรจะทำเพื่อฆ่าเวลาขณะรอรถไฟ


ทุกวันนี้กิจการดีมาก สาวๆ เข้ากันหัวบันไดไม่แห้ง จนมีผู้ประกอบการอื่นๆ เข้ามาทำการตลาดกันในห้องน้ำกันด้วย เช่น พานาโซนิคก็ส่งช่างผมมืออาชีพมาแนะนำวิธีการใช้เครื่องรีดผมของตัวเอง หรือบริษัทเสื้อชั้นในวาโก้ก็มีเสื้อชั้นในรุ่นใหม่ๆ มาให้สาวๆ ได้ลอง รวมถึงชิเซโด้ที่มาตั้งเคานท์เตอร์เครื่องสำอางด้วยเช่นกัน


ข่าวไม่ได้บอกว่าค่าบริการจะลดลงหรือไม่หลังจากมีสปอนเซอร์แล้ว หรือสาวๆ จะต้องเสียเงินเข้าไปทำอย่างเดียวกับที่ทำได้ในห้างโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



เมืองปลาที่ไม่มีปลา 
อีกครั้งที่ผู้บริโภคต้องเตือนตนเองว่าสิ่งที่เห็น อาจไม่เป็นจริงเสมอไป นักท่องเที่ยวมากมายที่ไปเยือนฟลอริด้าจะต้องไม่พลาดการสั่งอาหารทะเลมารับประทาน ไม่อย่างนั้นจะเหมือนไปไม่ถึง


แต่ขณะนี้ชาวประมงในรัฐที่เรียกตนเองว่า “เมืองหลวงแห่งการตกปลาของโลก”  จับปลาได้น้อยลง เพราะ
00019
ภาวะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติในบางช่วง รวมถึงกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นเช่นข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการจับปลา หรือชนิดของปลาที่อนุญาตให้จับได้


ชาวประมงที่นี่เคยชุมนุมประท้วงต่อต้านนโยบายเรื่องการจับปลามาแล้ว เพราะไม่ใช่แค่ห้ามจับปลาชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นการห้ามจับปลาทุกชนิดในบริเวณที่ปลาชนิดนั้นๆอาศัยอยู่ด้วย ปัจจุบันชาวประมงจำนวนไม่น้อยจึงเลิกอาชีพนี้ไป และเรือที่ลอยอยู่ในน่านน้ำฟลอริด้านั้นส่วนใหญ่เป็นพวกล่องเรือตกปลาเล่นๆ มากกว่าจะเป็นประมงตัวจริง


สรุปว่าปลาที่เสิริ์ฟในร้านอาหารที่ฟลอริด้านี้เป็นปลานำเข้าจากที่อื่น เช่น แซลมอนจากนอร์เวย์หรือสก็อตแลนด์ ทูน่าครีบเหลืองและโลมาจากเอกวาดอร์ ปลาเก๋าจากเม็กซิโกหรือไม่ก็เวียดนาม เป็นต้น


ทางร้านอาหารบอกว่าปลาที่ไหนมันก็ปลาเหมือนกัน(ถ้างั้นกินที่บ้านก็น่าจะได้หรือเปล่า) แต่ตามความเห็นของนักชีววิทยาทางทะเลแล้วปลาที่เดินทางไกลเหล่านี้จะมีคุณภาพลดลง หนึ่งเพราะระยะเวลาและสองกฎระเบียบที่ควบคุมการจับปลาในบางประเทศนั้นไม่เข้มงวดเท่าที่ฟลอริด้าอีกด้วย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



ร่วมใช้ร่วมจ่าย

เขตปกครองพิเศษฮ่องกงประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ลดการใช้ถุงพลาสติกด้วยการเก็บภาษีถุงพลาสติกในราคาใบละ 50 เซ็นต์ ( 2 บาท) ไปเรียบร้อยแล้ว


00018
ตอนนี้เขาจึงคิดจะเริ่มปฎิบัติการขั้นต่อไปในการสร้างจิตสำนึกของการบริโภคอย่างรับผิดชอบ (ค่าใช้จ่าย) ต่อไปผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นในวันที่เราไม่ต้องการมันอีกต่อไป


เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กอย่างโทรทัศน์จะมีค่าจัดการ 100 เหรียญฮ่องกง (ประมาณ 420 บาท) หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ขึ้นมาอย่างตู้เย็นจะมีค่าจัดการเพิ่มขึ้นอีกเท่าเป็น 200 เหรียญ แต่รายละเอียดนั้นเขายังเถียงกันไม่จบ เช่น ค่าธรรมเนียมที่ว่านั้นจะถูกลงหรือไม่ถ้าเราใช้มันนานขึ้นและจะเก็บค่าธรรมเนียมเท่ากันหรือไม่สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างขนาด ต่างกำลังไฟ


ร้อยละ 86 ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ในฮ่องกงนั้นเป็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และคอมพิวเตอร์

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

150 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ เกลือ มั่งคั่ง ลิขสิทธิ์ ห้องน้ำ ถุงพลาสติก ตกปลา

ฉบับที่ 275 กระแสต่างแดน

ส้วมสะเทือนใจ        การรถไฟอินเดียต้องจ่ายค่าชดเชย 30,000 รูปี (ประมาณ 12,900 บาท) ให้กับผู้โดยสารคนหนึ่งที่ได้รับความกระทบกระเทือนต่อร่างกายและจิตใจจากสภาพห้องน้ำบนขบวนรถ         วันที่ 3 กันยายน 2564 ผู้โดยสารคนดังกล่าวขึ้นรถไฟตู้ปรับอากาศชั้นสามจากนิวเดลลีเพื่อไปลงที่เมืองอินดอร์ ซึ่งเป็นการเดินทางข้ามคืนที่ใช้เวลาประมาณ 15 ชั่วโมง          แปดโมงเช้าวันต่อมา เขาลุกไปเข้าห้องน้ำเพื่อล้างหน้าและทำธุระส่วนตัว แต่พบว่าไม่มีทั้งน้ำล้างหน้าและน้ำสำหรับกดชักโครก ซึ่งขณะนั้นอยู่ในสภาพสกปรกสุดทน และเนื่องจากรถไฟเสียเวลา เขาจึงต้องทนปวดท้องอยู่สองชั่วโมงและไปถึงที่ทำงานสายด้วย         แม้จะแย้งว่าห้องน้ำไม่ถือเป็น “บริการ” ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค แต่การรถไฟฯ มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตาม “กฎบัตรพลเมือง” ที่กำหนดให้หน่วยงานรัฐจัดหาน้ำใช้ที่สะอาดและห้องน้ำที่ถูกสุขอนามัยให้กับประชาชนและยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง 10,000 รูปีด้วย  ยาถูกมีอยู่จริง         เป็นเรื่องปกติที่คนสิงคโปร์จะขับรถข้ามชายแดนไป “ซื้อของ” ที่ยะโฮร์บารู เมืองหลวงของรัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย เพราะนอกจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในซูเปอร์มาร์เก็ตที่นั่นจะถูกกว่า รวมถึงยารักษาโรคก็ถูกกว่าด้วย แถมร้านยาในมาเลเซียก็ไม่ถามหา “ใบสั่งแพทย์” อีก         ตัวอย่างเช่น ราคาของยาลดความดัน Micardis ในสิงคโปร์อยู่ที่ 53 เหรียญ (1,400 บาท) แต่สามารถซื้อได้ในมาเลเซียที่ราคา 62 ริงกิต (470 บาท)         นอกจากความแตกต่างของค่าเงินแล้ว ยาในมาเลเซียยังถูกกว่าเพราะร้านยาซึ่งมีหลายร้านในบริเวณเดียวกันมักจะกระหน่ำลดราคาเพื่อแย่งลูกค้าด้วย         อย่างไรก็ตามช่องข่าว CNA ซึ่งนำเสนอเรื่องดังกล่าวพบว่ายาที่สั่งซื้อจากร้านออนไลน์ในมาเลเซียมักใช้ไม่ได้ผล อาจเป็นเพราะคุณภาพการเก็บรักษาหรือการขนส่ง แถมหลายตัวยังเป็นยาปลอมหรือมีสารต้องห้าม         ทางช่องข่าวแนะนำให้คนสิงคโปร์ประหยัดด้วยการซื้อ “ยาชื่อสามัญ” เพราะเขาทดสอบแล้วพบว่าหลายตัวมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากยาที่มีแบรนด์เลย ถือบัตรไหนดี         กรุงโซลและปริมณฑลมีบัตรขึ้นรถสาธารณะหลายใบให้เลือก เป้าหมายร่วมกันคือลดภาระค่าเดินทางให้คนเมือง แต่สิทธิประโยชน์และเขตพื้นที่ให้บริการนั้นไม่เหมือนกัน         “ไคลเมทการ์ด” บัตรรายเดือนโดยเทศบาลโซล ใช้ขึ้นรถเมล์และรถไฟได้ดินได้ทุกเส้นทางในโซลได้ไม่จำกัด ใบละ 62,000 (ประมาณ 1,650 บาท) และบัตรดังกล่าวจะครอบคลุมพื้นที่เมืองอินชอนด้วยตั้งแต่ปี 2024         “ไอพาส” ของเทศบาลเมืองอินชอน ใช้เดินทางในเมืองนี้ได้โดยไม่จำกัดเที่ยว ผู้สูงอายุสามารถรับเงินคืนร้อยละ 30 จากที่จ่ายไป         “เคพาส” ของกระทรวงที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและการขนส่ง ใช้เดินทางได้ 60 เที่ยวทั่วประเทศ หากใช้รถสาธารณะมากกว่า 15 ครั้งต่อเดือน สามารถขอเงินคืนได้ร้อยละ 30 (สำหรับผู้ที่อายุ 19-34 ปี) ส่วนผู้มีรายได้น้อยจะได้เงินคืนร้อยละ 52         แล้วยังมี “คยองกีพาส” สำหรับใช้ในจังหวัดคยองกี ที่จะเริ่มใช้เดือนพฤษภาคมได้เงินคืนเหมือนกันแต่ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว         ประชาชนเกาหลีหลายคนสงสัยดังๆ จะง่ายกว่าไหม ถ้ารัฐบาลลดราคาตั๋วไปเลย   ไม่ต้องฝัง         เพราะความสะดวกและความประหยัด คนดัทช์ยุคนี้จึงหันมาเลือกใช้บริการพิธีศพแบบเผา แทนที่จะฝังตามธรรมเนียมดั้งเดิม         ที่เนเธอร์แลนด์พิธีศพแบบเผามีค่าใช้จ่าย 6,000 ยูโร (ประมาณ 232,000 บาท) แต่อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มบ้างในกรณีที่ราคาพลังงานแพงขึ้น ในขณะที่การฝังมีค่าใช้จ่ายถึง 9,000 ยูโร (ประมาณ 350,000 บาท)         สถิติระบุว่าร้อยละ 68.4 ของผู้ที่เสียชีวิตในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2023 ได้รับการฌาปนกิจศพ ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นดูได้จากจำนวนฌาปนสถานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน         ข้อเสียอย่างเดียวคือ ตามขั้นตอนปกติของเนเธอร์แลนด์ ญาติจะต้องรอประมาณหนึ่งเดือนถึงจะสามารถมารับกระดูกกลับได้         หลายคนไม่อยากทิ้งภาระให้ลูกหลานต้องจ่ายค่าดูแลหลุมศพก็จะสั่งเสียไว้ให้เลือกวิธีนี้ ส่วนการกล่าวไว้อาลัยหน้าหลุมศพก็ไม่จำเป็น เพราะปัจจุบันผู้คนนิยมบอกลากันตั้งแต่ก่อนที่ผู้ล่วงลับจะจากไปฟาสต์เฟอร์นิเจอร์        รัฐบาลไต้หวันต้องรีบออกมาเคลียร์ หลังสื่อออกมาเปิดเผยว่าในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2023 ยังมีที่นอนเก่าที่ควรนำไปรีไซเคิลตกค้างอยู่ถึง 140,000 หลัง หมายความว่ามีสปริงที่ยังไม่ถูกนำไปใช้งานและมีผ้าที่สามารถเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงได้ค้างอยู่         กระทรวงสิ่งแวดล้อมบอกว่าที่ผ่านมาเขาก็จัดการรีไซเคิลที่นอนได้ปีละเกือบหนึ่งล้านหลังโดยไม่มีปัญหา แถมบอกอีกว่าเดี๋ยวช่วงตรุษจีนก็จะมีฟูกถูกทิ้งเพิ่มอีกเพราะคนต้องซื้อของใหม่เข้าบ้าน         ผู้แทนกระทรวงฯ อธิบายว่าเครื่องรีไซเคิลของเขานั้น ถ้าจะให้คุ้มค่ากับพลังงานที่เสียไปต้องใส่ฟูกเข้าไปอย่างต่อเนื่องครั้งละไม่ต่ำกว่า 5,000 หลัง มันก็เลยเกิด “ความกอง” อย่างที่เห็น         แต่คำถามคือใครควรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย มูลค่าตลาดที่นอนมีมากกว่า 10,000 ล้านเหรียญ ด้วยยอดขายประมาณ 330,000 หลังต่อปี แต่ที่ผ่านมารัฐยังไม่มีกลไกที่จะทำให้ผู้ประกอบการร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อขยะที่นอนเลย         อีกปัญหาที่ต้องรับมือคือ “ฟาสต์เฟอร์นิเจอร์” ที่ราคาถูก ดีไซน์สวย แต่ใช้งานได้ไม่นาน

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 274 กรแสต่างแดน

เงินขวัญถุง         คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งเมืองเดลลี สั่งปรับห้างจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป lifestyle เป็นเงิน 3,000 รูปี (ประมาณ 1,300 บาท) และขอให้ห้างคืนเงิน 7 รูปีที่เรียกเก็บเป็นค่าถุงกระดาษ ให้กับลูกค้าด้วย         คณะกรรมการได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภครายหนึ่ง ว่าด้วยความบกพร่องในการให้บริการของห้าง ซึ่งอ้างว่าถุงกระดาษมีต้นทุนแพงกว่าถุงพลาสติก (ที่รัฐบาลประกาศห้ามใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565) จึงขอเรียกเก็บค่าถุงจากลูกค้า         คำถามคือห้างควรผลักภาระค่าใช้จ่ายไปให้ลูกค้าที่จ่ายเงินค่าสินค้าแล้วหรือเปล่า สำคัญกว่านั้นคือลูกค้าได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่         จากหลักฐานภาพถ่ายที่ยืนยันว่าห้างไม่ได้แจ้งให้ลูกค้านำถุงมาเอง รวมถึงไม่ได้บอกราคาและประเภทของถุงกระดาษ บริษัทจึงไม่สามารถเก็บค่าถุงที่ใช้ใส่สินค้าที่ซื้อจากทางร้านได้ และต้องจ่ายค่า “ทำขวัญ” ลูกค้าเป็นจำนวนดังกล่าว   ชื่อไฮเอนด์         เทศบาลกรุงโซลขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ให้ลดความยาวและความซับซ้อนของโครงการอพาร์ตเมนท์ หลังผลสำรวจพบว่าชาวเมืองส่วนใหญ่ไม่ถูกใจสิ่งนี้         หลายปีที่ผ่านมาเกิดเทรนด์การตั้งชื่ออพาร์ตเมนท์เป็นภาษาเกาหลีผสมกับภาษาต่างประเทศ ยำรวมกันทั้งชื่อย่าน ชื่อบริษัทที่ก่อสร้างรวมถึงชื่อแบรนด์เพื่อแสดงถึงความ “ไฮเอนด์” ทั้งที่ชื่อเหล่านี้ไม่ได้การันตีคุณภาพของที่อยู่อาศัย         เทศบาลฯ ได้สำรวจความเห็นประชากรกว่า 1,000 คน และพบว่าร้อยละ 77.3 ไม่ชอบชื่อยืดยาวแบบนี้ บางหมู่บ้านถึงกับร้องขอให้เอาชื่อของตัวเองออกจากชื่ออพาร์ตเมนท์ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวกันด้วย         หลังการพูดคุยมีผู้ประกอบการ 9 ราย (Samsung Hyundai และ Posco ก็อยู่ในกลุ่มนี้) ให้คำมั่นว่าจะตั้งชื่อโครงการให้สั้นและง่ายกว่าเดิม รวมถึงใช้คำภาษาเกาหลีให้มากขึ้น         เทศบาลโซลมีกำหนดจะประกาศ “แนวทางการตั้งชื่ออพาร์ตเมนท์” ภายในครึ่งปีแรกของปี 2024  ซ่อมกันก่อน         เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้คนไม่ทิ้งขว้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสียหายเพียงเล็กน้อย รัฐบาลฝรั่งเศสจึงให้ “โบนัสช่วยซ่อม” แบบเหมาจ่ายมาตั้งแต่ปี 2022  โดยเงินช่วยเหลือดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการลดขยะและสร้างเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนที่ประกาศใช้เมื่อปี 2020         สิ่งที่จะเพิ่มมาในปี 2024 คือค่าซ่อมหน้าจอโทรศัพท์ 25 ยูโร (ประมาณ 950 บาท) และค่าซ่อมโน๊ตบุ๊ค 50 ยูโร         รวมแล้วจึงมีเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าข่ายได้รับเงินช่วยเหลือ 73 รายการ เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน กาต้มน้ำ เครื่องทำกาแฟ โทรทัศน์และเครื่องเล่นดีวีดี         เงินช่วยเหลือนี้จะปรากฎเป็นส่วนลดในบิลค่าซ่อมโดยอัตโนมัติ ลูกค้าไม่ต้องลงทะเบียน เพียงแต่ต้องไปใช้บริการกับร้านซ่อมที่เข้าร่วมโครงการ         ฝรั่งเศสตั้งเป้าเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ารับการซ่อมจากปีละ 10 ล้านชิ้น เป็น 12 ล้านชิ้นให้ได้ภายในปี 2027   ไม่ใช่ที่สูบ         อุตสาหกรรมท่องเที่ยวญี่ปุ่นออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการห้ามสูบบุหรี่ให้มากขึ้น โดยอาจระบุ “พื้นที่สูบบุหรี่” ผ่านแอปพลิเคชันที่ให้ข้อมูลเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในภาษาต่างๆ เป็นต้น         ญี่ปุ่นห้ามการสูบบุหรี่ทั้งในอาคารและกลางแจ้ง (ยกเว้นในพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่) มาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2020 ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงการระบาดของโควิด 19 จึงไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากนัก แต่เมื่อการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว จำนวนชาวต่างชาติที่ถูกปรับเพราะ “เดินไปสูบไป” ก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในบางเมืองเช่น โกเบ มีถึงร้อยละ 40 ของผู้ฝ่าฝืนที่เป็นนักสูบจากต่างแดน         นอกจากกฎหมายที่ใช้ทั่วประเทศแล้ว สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมบางแห่งมีค่าปรับสำหรับการสูบบุหรี่ในพื้นที่ด้วย เช่น การสูบบุหรี่ในสวนนารา มีค่าปรับ 1,000 เยน (ประมาณ 240 บาท) โดยเจ้าหน้าที่สามารถแสดงตนและปรับผู้ฝ่าฝืนได้ทันที   ลดเวลาหน้าจอ         กระทรวงเด็กและโรงเรียนของเดนมาร์กเล็งออกกฎหมายห้ามศูนย์รับดูแลเด็กเล็กใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ช่วยเลี้ยงเด็ก         ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ดูแลจะให้เด็กดูหน้าจอแท็บเล็ตหรือโทรทัศน์ไม่ได้ เพียงแต่ต้องจำกัดเวลา เช่น สำหรับเด็กอายุไม่เกินสองปี จะอนุญาตให้ดูหน้าจอมือถือหรือแท็บเล็ตได้ในกรณีที่ “จำเป็นอย่างยิ่ง” เท่านั้น เพราะเด็กเล็กไม่ควรมี “เวลาหน้าจอ” มากเกินไป         ขณะที่เด็กอายุระหว่างสามถึงห้าปีจะอนุญาตให้ใช้หน้าจออย่างเหมาะสม โดยเด็กจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้รับผิดชอบ         สรุปว่าสถานรับเลี้ยงเด็กจะอ้างว่าจำเป็นต้องปล่อยให้เด็กดูจอเพราะ “วันนี้ยุ่งมาก” หรือ “ใกล้เวลาพ่อแม่มารับแล้ว” ไม่ได้ รัฐมนตรีฯ เขามองว่ามันเป็นความบกพร่องในการดูแลเยาวชนของชาติ กระทรวงฯ คาดว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะผ่านเป็นกฎหมายได้ในเดือนกรกฎาคมปี 2024   

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 273 กระแสต่างแดน

ลดแล้วเพิ่ม         หลังจากเนเธอร์แลนด์ปรับลด “ความเร็วจำกัด” บนท้องถนนในเมือง จาก 50 กิโลเมตร เป็น 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จำนวนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจรกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21 จากปี 2022         ข้อมูลจากสถาบันความปลอดภัยทางถนน (SWOV) ระบุว่า ปีนี้มีผู้เสียชีวิต 745 คน บาดเจ็บสาหัส 8,300 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 39 ของผู้เสียชีวิต และร้อยละ 70 ของผู้ได้รับบาดเจ็บคือผู้ใช้จักรยาน คนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ยังเป็นผู้สูงอายุอีกด้วย         สาเหตุหลักคือ อุบัติเหตุรถล้มขณะขับขี่ การชนกับจักรยานด้วยกันเอง หรือไม่ก็อุบัติเหตุที่คู่กรณีไม่ใช่พาหนะคันอื่น         เรื่องนี้ค้านกับสิ่งที่ผู้คัดค้านการบังคับสวมหมวกนิรภัยเคยเสนอว่าการบาดเจ็บล้มตายจากอุบัติเหตุจักรยานควรเป็นการทำสภาพถนนให้ปลอดภัยและปรับลดความเร็วจำกัดบนท้องถนน พวกเขาไม่เชื่อในการบังคับสวมหมวกนิรภัย เพราะจะทำให้คนไม่อยากใช้จักรยานไม่เอาหนี้นอก         ช่วงนี้เทรนด์การจัดการหนี้นอกระบบกำลังมา ประเทศร่ำรวยอย่างเกาหลีใต้เพิ่งจะประกาศใช้กฎระเบียบที่เข้มขึ้นพร้อมเพิ่มบทลงโทษเจ้าหนี้เงินกู้ที่คิดดอกแพงลิ่ว จุดประสงค์คือการคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้จมกองหนี้โดยไม่มีทางออก         ลูกหนี้รายหนึ่งกู้เงินมา 250,000 วอน สามเดือนต่อมาหนี้ดังกล่าวงอกเงยขึ้นเป็น 150,000,000 วอน ในขณะที่เจ้าหนี้สาวรายหนึ่งถูกจับกุมดำเนินคดีเพราะเรียกเก็บดอกเบี้ยร้อยละ 5,000 และยังข่มขู่ลูกหนี้ไปไม่ต่ำกว่า 300 ครั้ง            แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าปัญหาที่แท้จริงคือการเข้าไม่ถึงเงินกู้จากแหล่งทุนถูกกฎหมาย (สมาคมผู้ให้บริการเงินกู้บอกว่าพวกเขาปล่อยกู้ได้น้อยลงเกือบร้อยละ 70) แม้แต่การกู้เงินจากบัตรเครดิตก็ไม่ง่ายเช่นกัน         เกาหลีใต้มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้นจากปี 2019 มากกว่าสองเท่าตัว และในปี 2022 มีคนเข้าสู่วงจรนี้ไม่ต่ำกว่า 70,000 คน  ทาสแมวมีเฮ         รัฐบาลสิงคโปร์เสนอให้ยกเลิกการห้ามเลี้ยงแมวในแฟลตของรัฐ หลังใช้กฎหมายดังกล่าวมานานกว่า 30 ปี โดยรัฐบาลให้คำมั่นว่าแผนนี้จะเป็นผลดีทั้งต่อคนที่เลี้ยงและไม่ได้เลี้ยงแมว         ทั้งนี้ภายใต้ร่างกฎหมายใหม่ที่ว่าด้วย “การจัดการแมว” เจ้าของจะต้องนำแมวไปขึ้นทะเบียน ฝังไมโครชิป (ผู้มีรายได้น้อยสามารถขอรับบริการฟรีได้) และปฏิบัติตามมาตรการในการดูแลสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยง เช่น การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมด้วยการติดตั้งลูกกรงหรือตาข่ายป้องกันน้องตกจากตึก เป็นต้น         หลังการประกาศใช้ในครึ่งหลังของปี 2024 ทาสแมวจะมีเวลา 2 ปีในการยื่นเรื่องขอใบอนุญาตขอเลี้ยงแมวที่มีอยู่ (ซึ่งอาจจะมากกว่าสองตัวก็ได้) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากเกินกำหนด ทาสจะถูกปรับ 5,000 เหรียญ (ประมาณ 130,000 บาท)         ส่วนมือใหม่ที่จะเริ่มเลี้ยงแมวก็ต้องเข้ารับการอบรมออนไลน์ว่าด้วยการมีสัตว์เลี้ยงอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ก่อนจะได้รับใบอนุญาตด้วย  ขยะที่ถูกลืม         หลายประเทศมีแผนรับมือกับขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รวม “ก้นบุหรี่” ไว้ในขยะประเภทนี้         งานวิจัยโดยศูนย์ธรรมาภิบาลนานาชาติในการควบคุมการบริโภคยาสูบ ยังเสนอให้มีการ “แบน” ก้นบุหรี่โดยด่วน เพราะขยะที่ถูกทิ้งในประมาณมากที่สุดในโลกคือก้นบุหรี่ ซึ่งข้อมูลวิชาการยืนยันว่าไม่ได้มีสรรพคุณในการลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ได้อย่างที่เข้าใจกัน         ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือประเทศจีนซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคยาสูบรายใหญ่ที่สุดของโลก ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะจากก้นบุหรี่และซองใส่บุหรี่ในจีนสูงถึงปีละ 2,600  ล้านเหรียญสหรัฐ (คิดเป็นร้อยละ 20 ของค่าใช้จ่ายทั้งโลกรวมกัน)         ปัญหาสิ่งแวดล้อมอาจเป็นเรื่องใหม่ แต่ปัญหาสุขภาพนั้นมีมานานแล้ว จีนมีนักสูบไม่ต่ำกว่า 300 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคอย่างมะเร็ง โรคปอด โรคหัวใจ วันละประมาณ 3,000 คน    เงินไม่ถึง         หน่วยงานควบคุมดูแลการแข่งขันทางการค้าของอิตาลีสั่งปรับบริษัทของบล็อกเกอร์/ดีไซเนอร์ ชื่อดัง เคียร่า แฟร์รานี เป็นเงินล้านกว่ายูโร         การสอบสวนพบว่าบริษัทดังกล่าวไม่ได้นำเงินที่ได้จากการขาย “เค้กการกุศล” ไปมอบให้กับมูลนิธิของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในช่วงคริสต์มาสปีที่แล้ว ตามที่โฆษณาไว้ ด้านบริษัท Balocco ผู้ผลิตเค้กก็โดนปรับไป 420,000 ยูโรเช่นกัน         หน่วยงานดังกล่าวพบว่า มูลนิธิเพื่อการวิจัยและรักษาโรคมะเร็งกระดูกของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองตูริน ได้รับเงินบริจาค 50,000 ยูโร จากบริษัทผู้ผลิตเค้กหลายเดือนก่อนคริสต์มาส แต่หลังจากที่บริษัทของแฟร์รานีออกแคมเปญชวนทำบุญและระดมทุนได้มากกว่าหนึ่งล้านยูโร กลับไม่มีการบริจาคเพิ่มให้อีกเลย             มาดูกันว่าผู้ติดตามเกือบ 30 ล้านคนในอินสตาแกรมของแฟร์รานีจะมีปฏิกิริยากับเรื่องนี้อย่างไร 

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 272 กระแสต่างแดน

เงินไม่ถึง         ธนาคารกลางฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority) ประกาศคืนเงินให้กับผู้ซื้อ “ที่ทับกระดาษ” จากร้านขายสินค้าที่ระลึกของธนาคารเมื่อหกปีก่อน หลังพบว่าสิ่งที่อยู่ด้านในไม่เป็นไปตามที่แจ้งบนฉลาก         ของที่ระลึกดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปลักษณ์ของแก้วบรรจุธนบัตรมูลค่า 1,000 เหรียญฮ่องกงที่ถูกตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย วางจำหน่ายเมื่อต้นปี 2560 ในราคาชิ้นละ 100 เหรียญ (ประมาณ 450 บาท)         ฉลากและการประชาสัมพันธ์ของธนาคาร ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าที่ทับกระดาษคอลเล็คชันนี้ ทำขึ้นจากแบงก์พันเก่าจำนวน 138 ใบ รวมเป็นมูลค่า 138,000 เหรียญ         ล่าสุดธนาคารฯ ออกมายอมรับว่าได้ใส่กรวดเข้าไปเพื่อเพิ่มน้ำหนัก เท่ากับว่าในนั้นมีธนบัตรน้อยกว่าจำนวนที่แจ้ง ข้อมูลที่ให้ไว้จึงไม่ตรงตามความจริง ธนาคารฯ จึงขอแจ้งให้ผู้ที่ซื้อไปมาติดต่อขอรับเงินคืนได้         รายงานระบุว่าที่ทับกระดาษรุ่นดังกล่าวยังมีขายออนไลน์ในราคาระหว่าง 420 – 600 เหรียญ   เอาที่ไหนมาพูด        องค์กรผู้บริโภคสหภาพยุโรปร่วมกับ Consumentenbond องค์กรผู้บริโภคของเนเธอร์แลนด์  และองค์กรผู้บริโภคในอีก 12 ประเทศ  ยื่นขอให้มีการตรวจสอบคำกล่าวอ้างของบริษัทโคคาโคลา และบริษัทเนสท์เล่ เรื่องการรีไซเคิลขวดพลาสติก         เนื้อหาของข้อความที่เป็นปัญหาได้แก่ “100% ของขวดน้ำพลาสติกในยุโรปสามารถรีไซเคิลได้” และ “ขวดน้ำนี้ใช้วัสดุรีไซเคิล 100%”         นอกจากนั้นยังมีการใช้ภาพประกอบที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าขวดน้ำพลาสติกไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย         การกล่าวอ้างแบบข้างต้นถือว่าผิดระเบียบสหภาพยุโรป เพราะไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง         ปัจจุบันยุโรปมีอัตราการรีไซเคิลขวดพลาสติกอยู่ที่ร้อยละ 55 เท่านั้น ในขณะที่อัตราการนำกลับมาใช้ใหม่อยู่ที่ร้อยละ 30 และขยะบริเวณชายหาดของยุโรปส่วนใหญ่คือขวดน้ำพลาสติกนั่นเอง  ไม่หยุดบิน         สมาคมผู้ประกอบการสายการบินของสเปน ยืนยันว่าจะไม่ทำตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลที่ต้องการให้ยกเลิกเส้นทางบินระยะใกล้ที่สามารถเดินทางด้วยรถไฟภายในเวลาไม่เกินสองชั่วโมงครึ่ง         โดยให้เหตุผลว่าจะยกเลิกก็ต่อเมื่อมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่ครอบคลุมเมืองหลัก รวมถึงมีรถไฟเชื่อมต่อกับสนามบินหลักอย่างเพียงพอ เช่น เส้นทางระหว่างเมืองมาดริดและบาราคัสควรจะมีรถไฟวันละ 8-10 เที่ยวต่อชั่วโมง ซึ่งในทางปฏิบัติยังต้องใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่าเจ็ดปี         การสำรวจโดยหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า ร้อยละ 35 ของเที่ยวบินในสเปน (ที่ส่วนใหญ่ตั้งต้นจากเมืองมาดริด) สามารถถูกยกเลิกได้ และจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงร้อยละ 10         รัฐบาลสเปนเริ่มแผนลดเที่ยวบินระยะสั้น (ไม่เกินสี่ชั่วโมง) โดยนำรถไฟความเร็วสูงเข้ามาแทนที่ได้ระยะหนึ่งแล้ว หลังเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนเข้ามาร่วมทำกิจการรถไฟ และดูเหมือนรถไฟของ Iryo และ Ouigo จะมีผลประกอบการดีกว่ารถไฟของรัฐฯ อย่าง Renfe ด้วย  ลดกระดาษ         พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเดนมาร์กอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปลงทะเบียนขอปิดบังข้อมูล “ที่อยู่สำหรับจัดส่งไปรษณีย์” กับกรมทะเบียนกลางได้ โดยคำขอดังกล่าวจะมีอายุครั้งละหนึ่งปี           การกระทำดังกล่าวจะทำให้กรมฯ ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลที่อยู่ของประชาชนให้กับเอกชนรายใดได้ และกฎหมายเดียวกันก็ห้ามผู้ประกอบการส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับผู้อื่น รวมถึงไม่สามารถขอที่อยู่จากกรมฯ ได้ ยกเว้นกรณีติดตามทวงหนี้         ส่วนโบรชัวร์โฆษณาชนิดไม่ได้ระบุชื่อที่อยู่ผู้รับ เขาก็มีทางออกให้เช่นกัน ใครที่ไม่อยากได้กระดาษล้นตู้จดหมายก็สามารถลงทะเบียนเข้าโครงการ “ขอบใจ แต่ขอไม่รับ” แล้วจะได้รับสติ๊กเกอร์ประกาศิตมาติดตู้จดหมาย รับรองว่าใครเห็นก็ไม่กล้าแจก         แน่นอนว่าเรื่องนี้ดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะดีลลดราคาหรือโฆษณาต่างๆ ก็สามารถเข้าถึงลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้อยู่แล้ว   รวมกันเราอุ่น         ปัจจุบันมีห้องเช่าจำนวนไม่น้อยในฝรั่งเศสที่ยังใช้ระบบให้ความร้อนจากส่วนกลาง หมายความว่าผู้ “สั่งเปิด” ฮีตเตอร์ ได้คือเจ้าของตึกซึ่งมีหน้าที่ดูแลอาคารให้มีอุณหภูมิเหมาะกับการอยู่อาศัยนั่นเอง         หลักการคือถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศาเกินหนึ่งวัน ให้ถือว่าเข้าข่าย “หนาวเกินไป” และควรเปิดเครื่องทำความร้อน แม้กฎหมายจะไม่ระบุช่วงเวลาเปิดฮีตเตอร์ แต่ที่ปฏิบัติกันมาคือระหว่าง 15 ตุลาคม ถึง 15 เมษายน ของทุกปี         ใครที่รู้สึกหนาวก่อนนั้นก็สามารถยื่นคำร้องไปขอความเห็นชอบจากกลุ่มผู้เช่าได้ แต่ถ้าเพื่อนบ้านไม่หนาวด้วย หรือไม่อยากจ่ายค่าไฟเพิ่ม ก็ต้องทำใจ ใส่เสื้อหนาวเพิ่มหรือไปซื้อฮีตเตอร์มาใช้เอง         ฟังดูเป็นเรื่องทรมาน แต่วิธีนี้จะทำให้ทุกคนในตึกจ่ายค่าไฟน้อยลง เพราะการเปิดระบบให้ความร้อนตามเวลาที่ตกลงกันไว้กับบริษัทพลังงานจะได้อัตราค่าไฟที่ถูกกว่า และยังประหยัดพื้นที่วางฮีตเตอร์ ที่ผู้เช่าต้องจ่ายค่าซ่อมบำรุงโดยไม่มีคนร่วมแชร์ด้วย

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)