ฉบับที่ 217 ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือ

        การล้างมือเพื่อลดความเสี่ยงการติดหรือแพร่กระจายของเชื้อโรค เป็นสุขอนามัยที่ยอมรับกันมากขึ้นเรื่อยๆ เดิมเราอาจไม่ได้ให้ความสำคัญถึงขนาดต้องมีผลิตภัณฑ์สำหรับล้างมือโดยเฉพาะ เพียงแค่สบู่ก้อนกับน้ำสะอาดนับว่าเพียงพอ แต่ตลาดของผลิตภัณฑ์ชำระล้างร่างกายปัจจุบันมีความหลากหลายขึ้น จากสบู่ก้อน มาสู่สบู่เหลว ครีมอาบน้ำ ซึ่งในกลุ่มของสบู่เหลวยังแยกย่อยออกมาเป็น สบู่เหลวเพื่อการทำความสะอาดมือ ที่มีสัดส่วนในตลาดสบู่เหลวประมาณร้อยละ 3        ปัจจุบันสบู่ที่จำหน่ายในท้องตลาดแบ่งตามลักษณะของผลิตภัณฑ์เป็น 2 ลักษณะ คือ สบู่ก้อน(bar soaps) และสบู่เหลว(liquid soaps) ทั้งนี้มูลค่าการตลาดรวมของสบู่ในปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 14,032 ล้านบาท แบ่งออกเป็นสบู่เหลว 4,912 ล้านบาท สบู่ก้อน 9,120 ล้านบาท (ที่มา...ประชาชาติธุรกิจ)        โดยทั่วไปสบู่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในการฟอกทำความสะอาดผิว เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้บริโภคไม่ค่อยยึดติดกับยี่ห้อมากนัก เพราะคุณสมบัติพื้นฐานไม่ต่างกัน ยี่ห้ออะไรก็ใช้แทนกันได้ ดังนั้นแต่ละยี่ห้อจึงต้องสรรหาจุดขายเพื่อสร้างความดึงดูดใจผู้บริโภค สบู่เหลวล้างมือก็เช่นกัน เป็นผลจากการแบ่งย่อยคุณสมบัติสินค้าให้เจาะจงยิ่งขึ้น สบู่เหลวล้างมือจึงมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ที่ออกแบบให้เป็นหัวปั๊มใช้งานง่าย สามารถรีฟิล(refill) ได้ รวมทั้งการใส่สารผสมอย่างน้ำหอม สารให้ความชุ่มชื้น วิตามินต่างๆ หรือสารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อสร้างความแตกต่าง แต่อย่างไรก็ตามในส่วนประกอบพื้นฐานยังคงเป็นสารเคมีเพื่อการชะล้างหรือทำความสะอาดผิว ซึ่งเป็นสารแบบเดียวกันหมดมีอะไรในสบู่ สบู่เหลว        1.ไขมันและน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว         2.ด่าง(alkali) เป็นตัวทำปฏิกิริยากับกรดไขมันและส่วนประกอบอื่นๆ ทำให้สารลดแรงตึงผิวและสารลดความกระด้างของน้ำทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์         3.สารลดความกระด้างของน้ำ(builders) ใช้ลดความกระด้างของน้ำ เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำความสะอาดและป้องกันการเสื่อมของผลิตภัณฑ์ เช่น สี กลิ่น เป็นต้น         4.สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์(synthic surfactants)         5.สารปรับสภาพ(conditioners) เพื่อให้ผิวเกิดความชุ่มชื้นและเกิดความระคายเคืองต่อผิวน้อยลง         6.สี ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายเครื่องสำอาง        7.น้ำหอม(fragrances) ทำหน้าที่ปกปิดกลิ่นของส่วนประกอบต่าง ๆ และให้กลิ่น        8.วัตถุกันเสีย เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของสบู่  และ        9.สารต้านจุลินทรีย์(antimicrobial agents) ทำหน้าที่ฆ่าและยับยั้งการ เจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดเชื้อโรคและกลิ่นสารกลุ่มเสี่ยงที่ควรให้ความสนใจ          สารในกลุ่มที่มีการกล่าวถึงกันมากว่าอาจเป็นอันตรายทั้งต่อตัวผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม คือ         ·        สารในกลุ่มลดแรงตึงผิว (Surfactant ) เป็นส่วนผสม ซึ่งมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่         1.สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant) มีคุณสมบัติทำความสะอาดได้ดี ทำให้เกิดฟองเร็ว มีราคาถูก และมีความแรงมากกว่าชนิดอื่น จึงอาจทำให้เกิดการระคายต่อผิวได้มาก เช่น sodium lauryl sulfate (SLS), Sodium Lauryl Ether Sulfate (SLES)         2.สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวก (cationic surfactant) มักใช้ร่วมกับชนิดประจุลบในปริมาณไม่มากนัก แก้ไขจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ ไม่ให้สบู่เหลวมีประจุลบมากเกินไป เช่น benzalkonium chioride polyquaternium 7, 10, 22 quaternary este        3.สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวกและประจุลบ (amphoteric surfactant) กลุ่มนี้ให้ฟองปานกลางและระคายเคืองต่อผิวน้อย เช่น cocamidopropyl betaine         4.สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ มีประสิทธิภาพในการชำระล้างได้ดี แต่มีฟองไม่มาก ระคายเคืองต่อผิวหนังน้อย เช่น nonyl phenol groups, polyxyethylene fatty alcoholsผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและสบู่เหลวสุตรอ่อนโยนต่อผิว มักใช้สารลดแรงตึงผิวประเภทที่ 3 และ 4 เป็นส่วนผสม เนื่องจากมีความอ่อนโยนกว่าประเภทอื่น        ·        สารกันเสีย (Preservative) คือสารเคมีที่ใส่เข้าไปในผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ แต่หากเราสัมผัสสารตัวนี้ในปริมาณมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย และสารบางชนิด เช่น สารกลุ่มพาราเบน มีการศึกษาวิจัยกันมากขึ้นว่า อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งด้วย        ·        น้ำหอมสังเคราะห์ จัดเป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของสารก่อภูมิแพ้ อยู่ในผลิตภัณฑ์แทบทุกชนิด หากใช้มากเกิน อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ภูมิแพ้ คำว่า น้ำหอม อาจใช้แทนสารเคมีกลุ่ม phthalates ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้เป็นกลิ่นสังเคราะห์หรือน้ำหอมสังเคราะห์นั่นเอง โดยสารกลุ่มนี้จะรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อจึงอาจก่อให้เกิดความอ้วน และอาจมีผลรบกวนระบบสืบพันธ์และการพัฒนาการได้ การหลีกเลี่ยงสารกลุ่ม phthalates การล้างมือที่ถูกวิธี          การเลือกใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลว อาจเป็นเรื่องของความพึงพอใจในการใช้งาน แต่จริงๆ แล้ว การล้างมือถ้าทำได้ถูกวิธี ผลิตภัณฑ์ทั้งสบู่เหลวและสบู่ก้อนให้ผลไม่แตกต่างกัน ถ้าเช่นนั้นการล้างมือที่ถูกวิธี ต้องทำอย่างไร          1.ระยะเวลาในการล้างมือ อย่างน้อยต้อง 15 วินาทีขึ้นไป เพื่อให้เพียงพอในการขัดถูฝ่ามือ หลังมือ ถูซอกนิ้วมือ ซอกเล็บ รวมถึงบริเวณข้อมือด้วย           2.ควรล้างมือเมื่อเลอะคราบสิ่งสกปรก  ต้องเตรียมอาหารหรือกินอาหาร ใส่คอนแทคเลนส์ การทำแผล และควรล้างมือหลังกิจกรรมเหล่านี้ หลังเข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม สั่งน้ำมูกใช้มือปิดปากเมื่อไอ จาม และสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงหรือเก็บกวาดมูลสัตว์           3.จำเป็นไหมว่าต้องเป็นสบู่หรือสบู่เหลวที่ผสมยาฆ่าเชื้อ การล้างมือที่ถูกวิธีก็เพียงพอในการลดการสะสมของเชื้อโรคได้ ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่เหลวที่ผสมสารฆ่าเชื้อ    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 217 ความเคลื่อนไหวเดือนมีนาคม 2562

เด็กไทยกินเค็ม 5 เท่า        พ.อ.นพ.อดิสรณ์ ลำเพาพงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และแพทย์โรคไตในเด็ก กล่าวว่า คนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น 15% ต่อปี ที่น่าห่วงคือ พฤติกรรมการบริโภคของเด็กไทย ซึ่งกินเค็มเกินปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน เกือบ 2-5 เท่า โดยปริมาณโซเดียมเฉลี่ยที่เด็กรับประทานอยู่ที่ 3,194 มิลลิกรัม/วัน ขณะที่ปริมาณโซเดียมที่เด็กวัยเรียน อายุ 6-8 ปี ควรได้รับอยู่ที่ 325-950 มิลลิกรัม/วัน, เด็กอายุ 9-12 ปี อยู่ที่ 400 - 1,175 มิลลิกรัม/วัน และเด็กอายุ 13-15 ปี อยู่ที่ 500-1,500 มิลลิกรัม/วัน        ด้าน ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม กล่าวว่า ผู้ปกครองมักให้เด็กกินเค็มโดยไม่รู้ตัว ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปและขนมกรุบกรอบที่พบว่ามีปริมาณโซเดียมสูง เช่น โจ๊กสำเร็จรูป 1 ถ้วย ซึ่งมีโซเดียมสูงถึง 1,269 มิลลิกรัม, ปลาเส้น มีโซเดียม 666 มิลลิกรัม/ซอง, สาหร่าย 304 มิลลิกรัม/ซอง หรือ มันฝรั่งทอด 191 มิลลิกรัม/ซอง การบริโภคอาหารเหล่านี้เพียง 1 ซอง ปริมาณโซเดียมก็เกินความต้องการต่อวันแล้ว หากเด็กเคยชินกับการกินเค็มก็มีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ติดเค็ม และส่งผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ และไต ตามมา        ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตทั่วโลกกว่า 850 ล้านคน และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 6        เครดิตภาพ : https://teen.mthai.com/variety/165892.htmlเตือนผู้ปกครอง ระวังคลิปการ์ตูน สอนเด็กทำร้ายตัวเอง        อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า พบคลิปการ์ตูนสำหรับเด็กบนยูทูป (YouTube) ถูกดัดแปลงสอดแทรกเนื้อหาที่มีความรุนแรงและการทำร้ายร่างกายตนเอง โดยจงใจทำขึ้นเพื่อมุ่งเป้าโจมตีเด็กที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ให้ทำตามแบบอย่างในคลิป        นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาความรุนแรงอื่นๆ ปะปนอยู่ในคลิปด้วย เช่น ความรุนแรงในโรงเรียน และการค้ามนุษย์ โดยผู้ไม่หวังดีใช้ฉากในการ์ตูนเพื่ออำพรางการตรวจจับของระบบรักษาความปลอดภัยบนเว็บ ซึ่งเมื่อผู้ปกครองตรวจสอบแบบผิวเผินอาจไม่พบความผิดปกติ เพราะเนื้อหาอันตรายมันถูกสอดแทรกอยู่ระหว่างกลางของเนื้อเรื่อง ผู้ปกครองจึงควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กใช้สื่อเพียงลำพัง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และมีการควบคุมเวลาและเนื้อหาอย่างถี่ถ้วน ซึ่งหากเกิดกรณีตามเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถขอคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323มติกก.สถานพยาบาลย้ำผู้ป่วยซื้อยานอก รพ.ได้        18 ก.พ. นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) แถลงข่าวว่า                1) ยาในสถานพยาบาลเป็นส่วนหนึ่งของบริการทางการแพทย์ ตามแผนการรักษาของแพทย์ ซึ่งแพทย์ต้องรับผิดชอบต่อผลการรักษา                2) เรื่องการติดป้ายประกาศแจ้งคนไข้ว่าสามารถขอใบสั่งยาเพื่อนำไปซื้อจากร้านขายยาได้ เห็นว่าเป็นสิทธิของผู้ป่วยอยู่แล้วที่สามารถทำได้ แต่ไม่เห็นด้วยในการติดป้าย เพราะการรักษาในรพ. เป็นลักษณะทีมสหวิชาชีพที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างแพทย์กับเภสัชกร รวมถึงคุณภาพของยา ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของการรักษาผู้ป่วยตามแผนการรักษา แต่ก็ย้ำว่ามติ 2 ข้อนี้เป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมการสถานพยาบาลเท่านั้น ยังไม่ใช่สิ่งสุดท้ายที่ต้องทำตาม แต่จากนี้จะนำเรียนรมว.สาธารณสุขเพื่อทราบ เพื่อส่งมติดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาออกมาตรการในการควบคุมราคาบริการทางการแพทย์ ซึ่งตนยังไม่ทราบว่าอนุกรรมการฯ จะประชุมเมื่อไหร่ เพราะต้องรอความเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ อีก เช่น ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจประกันชีวิต เป็นต้น เพราะผู้ป่วยร้อยละ 60-70 ของรพ.เอกชนเป็นผู้ที่มีประกันเหล่านี้        เมื่อถามว่าสรุปผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลเอกชนสามารถนำใบสั่งยามาซื้อจากร้านขายยาข้างนอกได้หรือไม่ นพ.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า เดิมกฎหมายก็ไม่ได้ห้ามผู้ป่วยนำใบสั่งยาไปซื้อจากร้านขายยาข้างนอกอยู่แล้ว อย่างยาบางตัวที่ไม่มีในรพ. หรือยา รพ.หมดสต๊อก หรือกรณีผู้ป่วยมารพ.รัฐแล้วคิวยาวก็ขอใบเสร็จไปซื้อยาจากร้านข้างนอกได้ เป็นสิทธิของผู้ป่วยอยู่แล้ว แต่ยาบางตัวไม่สามารถซื้อได้ แล้วแต่กรณีพบร้านค้าออนไลน์ โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายกว่า 700 ราย         มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เปิดเผยผลการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่อออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรม ซึ่งพบสินค้าที่ถูกเพิกถอนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) 29 รายการ ยังมีวางขายอยู่ นอกจากนี้ยังมีการอ้างเลข อย.ปลอม ไม่แสดงฉลากภาษาไทย หรือข้อมูลผู้ผลิต        ทั้งนี้ยังพบว่าดาราและเน็ตไอดอลมีส่วนในการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการขออนุญาตจาก อย. หรือมักโฆษณาว่าผ่านมาตรฐาน อย. แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงการจดแจ้งกับทาง อย.เท่านั้น จึงขอให้ดาราและเน็ตไอดอลตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนรับงานโฆษณา        โดยเครือข่ายผู้บริโภค มีข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการแก้ปัญหา เช่น ให้ดำเนินคดีผู้ค้ารายย่อยที่จำหน่ายหรือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง การสร้างระบบเชื่อมต่อฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพระหว่างห้างออนไลน์กับ อย. เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ รวมถึงการให้รัฐจัดเก็บภาษีการขายสินค้าออนไลน์ด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 มันใกล้ตัวเรา เข้ามาแล้ว

        เราคงได้ยินคำว่าเชื้อดื้อยามานานแล้ว นานจนหลายๆ คนเริ่มจะชิน แต่บางคนอาจไม่หวาดกลัวเพราะไม่เคยเจอกับตัวเอง ระยะหลังกระทรวงสาธารณสุขมีการรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันเชื้อดื้อยา โดยรณรงค์ไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย) อย่างพร่ำเพรื่อ โดยเฉพาะการใช้อย่างไม่จำเป็นในสามโรค ได้แก่ หวัดชนิดที่ไม่ได้ติดเชื้อแบคทีเรีย แผลสะอาด ท้องเสีย  อีกทั้งยังมีการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ทั้งของประเทศและระดับโลกมากขึ้น กระแสตื่นตัวเกี่ยวกับเชื้อดื้อยาจึงมากขึ้น จนกระทั่งรัฐบาลนำไปเป็นนโยบายของประเทศ     แม้ว่าการณรงค์การใช้ยาในคนจะเริ่มประสบผลสำเร็จมากขึ้น แต่กลับมีข้อมูลการใช้ยาในภาคเกษตรทั้งพืชและสัตว์ปรากฏขึ้นมาอีก จากการสำรวจข้อมูลในหลายๆ พื้นที่ พบว่ามีการนำยาปฏิชีวนะที่ใช้ในมนุษย์ เช่น แอมพิซิลิน(Ampicillin) อะม็อกซี่ซิลิน(Amoxycillin) มาใช้ในการเกษตร โดยพบการใช้มากในสวนส้ม ข้อมูลจาก Facebook เภสัชกรชายแดน รายงานว่าเกษตรกรได้ทำกันอย่างแพร่หลาย โดยจะไปซื้อยาปฏิชีวนะมาแกะเม็ดแคปซูลออก แล้วเอาแต่ผงยาออกมาละลายน้ำ ทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นจึงนำมากรองเอาแต่น้ำ นำไปใส่ขวดแล้วฉีดที่ต้นส้ม  โดย 1 ปี จะฉีด 3 ครั้ง ไม่เช่นนั้นส้มจะเหลืองและตาย  Facebook เภสัชกรชายแดน ยังได้รายงานว่า จากการลงพื้นที่สำรวจ พบผงยาอะม็อกซี่ซิลินเกลื่อนตามพื้นดิน ซึ่งผงยานี้จะซึมสู่แหล่งน้ำใต้ดินต่อไปได้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากเกษตรกรจะสัมผัสผงยาโดยตรง ซึ่งยาอาจเข้าสู่ร่างกายได้ ผู้บริโภคเองก็มีความเสี่ยงอย่างสูงที่จะได้รับยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นที่ตกค้างในผลส้ม และมีโอกาสสูงที่จะนำไปสู่สภาวะที่เร่งเร้าให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ ซึ่งเคยมีข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่หนังสือพิพม์คมชัดลึก  ฉบับวันที่ 27 มกราคม 2560 นำเสนอว่า มีการตรวจพบเชื้อที่มียีนดื้อยาในมนุษย์แล้วเช่นกัน หรือผู้บริโภคบางคนอาจแพ้ยาที่ตกค้างในส้ม ซึ่งน่าห่วงตรงที่การแพ้ยาของบางคนอาจเป็นการแพ้แบบรุนแรงได้        ล่าสุดมีข้อมูลที่ได้จากการทำงานร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม ซึ่งได้ตรวจผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ประเภท แหนม กุนเชียง ไส้กรอกอีสาน พบยีนเชื้อดื้อยาปะปนมาในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วย ซึ่งหมายความว่า        1. เนื้อสัตว์ที่นำมาผลิตนั้น บางชนิดมียีนเชื้อดื้อยาปะปนมาด้วย        2. หากผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีเชื้อโรคที่ดื้อยาและผู้บริโภคนำมารับประทาน โดยไม่ผ่านความร้อนให้เชื้อโรคตาย (เช่น แหนม ที่สามารถรับประทานดิบๆ ได้) เชื้อโรคที่ดื้อยานั้นก็จะเข้าสู่ร่างกายคนที่รับประทาน        3. เมื่อเชื้อโรคที่เข้าไปในร่างกายคนที่รับประทานมียีนเชื้อดื้อยาแล้ว หากคนนั้นเจ็บป่วยจากเชื้อโรคดังกล่าว การรักษาด้วยยาทั่วๆ ไปที่เชื้อโรคชนิดนี้เคยตาย  มันก็จะไม่ตาย และต้องไปใช้ยาที่แพงและสูงกว่าเดิมที่เคยใช้        ข้อมูลเหล่านี้จึงเสมือนการย้ำเตือนให้พวกเราอย่าลืมว่า เชื้อดื้อยาไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะ มันใกล้ตัวเรา เข้ามาแล้ว ทางออกที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ จะทำได้ คือช่วยกันยับยั้งปัญหาเหล่านี้ เช่น สอบถามหรือปรึกษาบุคลากรทางสาธารณสุขเกี่ยวกับการใช้ยาที่เหมาะสม ไม่นำยาปฏิชีวนะไปใช้ในทางที่ผิดๆ ดังที่เล่ามาข้างต้น ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 ความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 2562

ท้อง 3 เดือนแรก และ 6 เดือนขึ้นไปไม่ควรนวด             ข่าวหญิงท้อง 6 เดือน ช็อกคาร้านนวดทำให้แท้งลูกส่วนตัวเองมีอาการเจ้าหญิงนิทรานั้น รองโฆษก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์นั้นสามารถนวดได้เพียงแต่ต้องดูอายุครรภ์และนวดกับหมอนวดผู้ชำนาญ        โดยหากอายุครรภ์ตั้งแต่เริ่มจนถึง 3 เดือน ไม่ควรนวด เพราะการนวดจะไปกระตุ้นให้มดลูกรัดตัว เสี่ยงแท้งลูกได้ อีกช่วงที่ต้องระวังคือ อายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป การนวดอาจทำให้มดลูกไปกดเส้นเลือดดำ เส้นเลือดแดงในท้อง ในลำไส้ อาจเกิดภาวะช็อกหมดสติ ไม่ควรไปนวดตามร้านนวดทั่วไป หากเลือกที่จะนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ควรเลือกใช้บริการกับหมอแผนไทยที่มีการร่ำเรียนมา 800 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพราะการนวดเป็นเรื่องที่ผู้ให้บริการต้องผ่านการอบรม และสอบจนผ่านการรับรองจากทางราชการ รถจดทะเบียนใหม่ใน กทม. สูงขึ้นทุกปีสวนทางวิกฤตฝุ่นจิ๋ว        ไม่น่าแปลกใจที่ค่าฝุ่นพิษใน กทม. จะเพิ่มขึ้น เมื่อสถิติรถจดทะเบียนใหม่ใน กทม. สูงขึ้นทุกปี จากการเปิดเผยสถิติปริมาณรถยนต์ที่จดทะเบียนในปี 2551 - 2560 โดยสำนักงานจราจรและขนส่ง กทม. พบว่า รถยนต์ส่วนบุคคลมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น 8% ต่อปี ส่วนรถบรรทุกส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น 3.5% ต่อปี โดยการที่กรุงเทพฯ มีปริมาณรถส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นนี้ ส่งผลให้ความเร็วเฉลี่ยของพื้นที่ชั้นนอกลดลง 22% พื้นที่ชั้นกลางลดลง 17% และพื้นที่ชั้นในลดลง 11%         ขณะที่กรมการขนส่งทางบก รายงานข้อมูลจำนวนรถที่จดทะเบียนสะสมในกรุงเทพฯ ณ วันที่ 31 มกราคม 2562 พบว่า มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ทั้งหมด 4,529,691 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 1,378,623 คัน รวม 5,908,314 ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 2.2 ล้านคัน หรือ 38.73% เป็นรถที่ใช้น้ำมันดีเซล        ทั้งนี้การแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก จำเป็นต้องแก้ปัญหาจราจรติดขัดเพื่อลดมลพิษทางอากาศ ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งประกอบไปด้วย PM 2.5 มากกว่า 90% และควรเพิ่มการใช้งานระบบขนส่งมวลชน และรถโดยสารประจำทาง ขณะเดียวกันให้จำกัดรถยนต์ในพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด จึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ส่งเสียงถึง คกก.วัตถุอันตราย ทบทวนลงมติแบน 'พาราควอต'        มูลนิธิชีววิถี องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้องคณะกรรมการวัตถุอันตราย ลงมติทบทวนการใช้พาราควอต ในรอบการประชุมที่จะมีการพิจารณาคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม สามารถให้ประชาชนทราบได้ว่าใครตัดสินอย่างไร  และเรียกร้องให้กรรมการที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจสารเคมีลาออก        นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี กล่าวถึงปัญหาพาราควอตอย่างน้อย 3 เรื่อง คือ 1. เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษเฉียบพลันสูง 2. ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสัน และ 3. มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว         ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) แสดงความเห็นว่า ควรประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีก่อน จนกว่าผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จะสามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่าสารเคมีเหล่านี้ปลอดภัย ไม่เป็นพิษ และไม่ทำให้คนป่วยหรือเสียชีวิตดับฝันคอนโดให้เช่ารายวัน จับปรับ “เจ้าของห้อง-นิติบุคคลฯ”        “ศาลจังหวัดหัวหินถึงเพชรบุรี” ตัดสินคดีตัวอย่างเชือดเจ้าของห้องชุดปล่อยเช่ารายวันผิด กม.โรงแรม จำคุก 6 เดือน ปรับ 5 พัน-1 หมื่น          จากภาวะบูมของตลาดคอนโดมิเนียมนำไปสู่การตลาดแนวใหม่ที่หันไปเน้นลูกค้าซื้อลงทุนปล่อยเช่ามากขึ้น โดยปกติเน้นการปล่อยเช่าแบบรายเดือน อย่างไรก็ตาม ช่วงไม่ต่ำกว่า 4-5 ปีที่ผ่านมาเริ่มหันมาเน้นปล่อยห้องชุดเช่ารายวันมากขึ้น กลายเป็นคู่แข่งของโรงแรมและเป็นการทำผิดกฎหมายโรงแรมโดยตรง        ล่าสุด การนำห้องชุดมาปล่อยเช่ารายวันได้มีคำพิพากษาถูกลงโทษหนักทั้งปรับและจำคุก คำพิพากษาของศาลจังหวัดหัวหิน คดีดำเลขที่ 50/2561 คดีแดงเลขที่ 59/2561 วันพิพากษา 5 มกราคม 2561 จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ. 2547 มาตรา 4, 15, 59 รับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งตาม ปอ.ม.78 ปรับ 5,000 บาท และปรับรายวัน วันละ 500 บาท เป็นเวลา 20 วัน เป็นเงิน 10,000 บาทกับคดีดำเลขที่ 107/2561 คดีแดงเลขที่ 106/2561 วันพิพากษา 16 มกราคม 2561 จำเลยมีความผิดตามฟ้อง รับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งคงปรับ 5,000 บาท ปรับรายวัน วันละ 100 บาท เป็นเวลา 81 วัน เป็นเงิน 8,100 บาท        อีกตัวอย่างการนำห้องชุดปล่อยเช่ารายวันและรายสัปดาห์ ทำเลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยศาลจังหวัดเพชรบุรี คดีดำเลขที่ 277/2561 คดีแดงเลขที่ 900/2561 มีการนำห้องชุดปล่อยเช่ารายวัน ค่าเช่าวันละ 4,990 บาท ผิด พ.ร.บ.โรงแรมฯ พิพากษาจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท ปรับอีกวันละ 1,000 บาท        “กรณีนี้เป็นการป้องปรามไปยังกรรมการนิติบุคคลด้วย เพราะเริ่มมีตัวอย่างจากหลายนิติฯ ที่มีตัวแทนกลุ่มผู้ซื้อลงทุนปล่อยเช่า ส่งตัวแทนมาเป็นกรรมการนิติฯ และพยายามออกระเบียบให้ปล่อยเช่ารายวันได้ ที่หนักข้อสุดน่าจะเป็นตัวแทนลูกค้าจีน ซึ่งซื้อในโควตาต่างชาติ 49% แล้วส่งตัวแทนมาเป็นกรรมการ ดังนั้น คำพิพากษาลงโทษเจ้าของห้องชุดมีผลผูกพันกับนิติบุคคลในฐานะรับฝากเช่ารายวันที่จะทำผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน” ร้องเรียนปี 61 พบปัญหาโฆษณาเกินจริงมากที่สุด        มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยตัวเลขการให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภค จากเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ทั่วประเทศ ประจำปี 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,545 เรื่อง โดยพบว่า เรื่องร้องเรียนด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ มากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 1,505 ราย ส่วนอันดับสอง ด้านบริการสาธารณะ 930 ราย และอันดับสาม ด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุข 705 ราย        โดยเรื่องร้องเรียนด้านอาหารฯ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องโฆษณาหลอกลวงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายซึ่งเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ค และทางช่องเคเบิ้ลทีวี รวมไปถึงวิทยุท้องถิ่น ส่วนหมวดบริการสาธารณะ พบปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งทางบกได้รับการร้องเรียนมากที่สุด โดยเป็นเรื่องการชดเชยเยียวยาจากอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ และการร้องเรียนพฤติกรรมพนักงานผู้ให้บริการ เช่น พูดจาไม่สุภาพ สูบบุหรี่ขณะขับรถ ขับรถหวาดเสียว        สำหรับหมวดบริการสุขภาพและสาธารณสุข ส่วนใหญ่เป็นการสอบถามเรื่องการย้ายและสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะสิทธิบัตรทอง ซึ่งนอกจากการไม่รู้สิทธิแล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆ อีก เช่น การไม่ได้รับความสะดวกตามสมควรหรือไม่ได้รับการปฏิบัติตามสิทธิ การได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล และการถูกเรียกเก็บค่าบริการจากการใช้สิทธิกองทุนฉุกเฉิน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 214 ผลิตภัณฑ์เด็กสมาธิสั้น แต่ครูนักแต่งเพลงของฉันมาได้ไง?

 น้องคนหนึ่งส่งคลิปสั้นๆ มาให้ผมดู พร้อมทั้งคำถามว่า “มันเป็นจริงไหม?” ผมตามไปดูในคลิปซึ่งเผยแพร่ในเฟซบุ๊คของผู้ขาย ภาพแรกในคลิป เป็นภาพนิ่งมีข้อความว่าจะทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นเด็กขี้ลืม หาตัวช่วยจำให้ลูก หากิจวัตรให้ลูก ไม่ควรทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ดูแลสุขภาพของลูก ฝึกสมองอยู่เสมอ แต่ที่สะดุดตาคือ มีภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดหนึ่งอยู่กลางภาพ ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นภาพเด็กๆ พร้อมขึ้นข้อความต่างๆ เช่น เด็กติดเกมส์ เด็กติดโทรศัพท์ ฯลฯ           ผมเข้าไปค้นข้อมูลในเน็ตตามชื่อผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ พบข้อความโฆษณาว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงสมองและระบบประสาท ดูแลสมอง เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการบำรุงดูแลสมอง ผู้ที่มีอาการสมาธิสั้น จำยากลืมง่าย ผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน ผลการเรียนไม่ดี วัยทำงานซึ่งใช้สมองเยอะ สมองล้าบ่อยๆ ผู้ที่วิตกกังวล เครียด ผู้ป่วยความจำเสื่อมหรือเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น ผู้ป่วยอัลไซเมอร์สูญเสียความทรงจำ ทานได้ทุกเพศ ทุกวัย หญิงตั้งครรภ์ก็ทานได้           แค่ข้อความเบื้องต้นก็ค่อนข้างจะเกินขอบเขตผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว พอผมไล่ดูไปเรื่อยๆ ก็พบภาพของครูนักแต่งเพลงที่ออกรายการทีวีบ่อยๆ แกเคยโฆษณาผลิตภัณฑ์บำรุงสายตาที่เคยโดนร้องเรียนไปแล้ว คราวนี้รูปแกมาอยู่ในผลิตภัณฑ์นี้ พร้อมข้อความระบุสรรพคุณผลิตภัณฑ์นี้มากมาย เช่น ช่วยฟื้นฟูความจำและบำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยทำลายและขจัดสารพิษจากตับ ต้านเซลล์มะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเป็นโรค ช่วยส่งเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง บำบัดรักษาการอักเสบของเส้นประสาทในสมอง ช่วยบำรุงประสาทและสมองช่วยเพิ่มความจำและความสามารถในการเรียนรู้ ช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในเลือด เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดขาว ช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรธฮอร์โมน ช่วยแก้ไขอารมณ์ ซึมเศร้า ช่วยคลายเครียด ช่วยฟื้นฟูความจำ ช่วยป้องกันสมองและตับจากการถูกทำลายจากการดื่มแอลกอฮอล์ ยา และ การสูบบุหรี่ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้สมาธิดีขึ้น คิดอ่านได้ดีขึ้น เพิ่มคุณภาพการหลับ ช่วยให้นอนหลับได้สนิทขึ้น ช่วยป้องกัน มะเร็งต่างๆ ลดอาการภูมิแพ้และไข้หวัด ช่วยให้มีสมาธิในการเรียน การทำงาน จดจ่อกับสิ่งนั้นๆ ได้นานยิ่งขึ้น           ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ แจ้งว่ามีส่วนประกอบสำคัญได้แก่  Bacopa สารสกัดพืชพรมมิ สารสกัดโปรตีนจากถั่วเหลือง น้ำมันปลา Choline Bitartrate L-Tyrosine L-Theanine  L-Cysteine Taurine วิตามิน บี1 บี6 บี12 ฯลฯ อันที่จริงเคยมีผลงานวิจัยของอาจารย์ท่านหนึ่ง พบว่า สารสกัดพืชพรมมิ มีฤทธิ์ต่อสมอง องค์การเภสัชกรรมก็ยังนำไปผลิต ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเรียบร้อยแล้ว แต่หากใครเคยซื้อมารับประทานจะพบว่า ไม่มีข้อความระบุสรรพคุณโอเวอร์ขนาดนี้ และที่สำคัญคือ เขายังมีคำเตือนชัดเจนบนฉลากว่า “เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีที่ให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน”            ผมแจ้งน้องที่ส่งข้อมูลไปแล้ว ให้ช่วยกันดำเนินการแจ้งผู้ดูแลต่างๆ ให้จัดการด้วย ตอนนี้พบว่าหลายเว็บปิดไปแล้ว แต่ก็ยังไม่หมดสักที ใครมีญาติพี่น้อง หรือคนรู้จัก อย่าได้หลงเชื่อโฆษณาสรรพคุณโอเวอร์เหล่านี้นะครับ และถ้าใครสนิทกับครูนักแต่งเพลงท่านนี้ก็ช่วยเตือนท่านด้วย ลำพังรายได้ท่านก็เยอะอยู่แล้ว อย่ามายุ่งกับของแบบนี้เลยครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 บ้านเราไม่ต้องมีหมายค้น (2)

ห้องน้ำและห้องนอน (ต่อ) : หลายคนมักเก็บเครื่องสำอาง ซึ่งบางทีเป็นของใช้ส่วนตัวแยกต่างจากเครื่องสำอางที่ใช้ทั่วๆไป เครื่องสำอางเหล่านี้มักเป็นเครื่องสำอางสำหรับผิวกาย ผิวหน้า ฯลฯ ซึ่งแต่ละคนจะหาซื้อมาตามความชอบใจ หากเป็นยี่ห้อที่มีวางขายเปิดเผยตามห้างหรือร้านสะดวกซื้อพวกนี้ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะฉลากจะมีรายละเอียดครบถ้วน ทั้ง เลขจดแจ้ง ชื่อสถานที่ผลิตหรือจำหน่าย วันผลิตวันหมดอายุ ฯลฯ ซึ่งหากเกิดปัญหา เราสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่หรือแจ้งทางห้างหรือร้านที่นำมาจำหน่ายได้แต่เครื่องสำอางที่พบปัญหาเป็นส่วนใหญ่ คือเครื่องสำอางที่ซื้อขายทางอินเตอร์เน็ต ซื้อจากเน็ตไอดอล หรือตามที่ดารามารีวิวแนะนำสินค้า เครื่องสำอางเหล่านี้มีความเสี่ยงสูง เพราะมักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสถานที่ผลิตที่เราอาจไม่รู้จัก และจากกรณีที่เป็นข่าวก็ทำให้เราทราบว่า หลายผลิตภัณฑ์ไม่มีสถานที่ผลิตจริง หากแต่ไปจ้างโรงงานผลิต เวลาไปขอจดแจ้งจากราชการ ก็อาศัยช่องโหว่ที่กฎหมายสมัยนั้นไม่ได้กำหนดว่าต้องตรวจสถานที่ เลยแจ้งที่อยู่อื่นๆ ที่ไม่ใช่สถานที่ผลิตจริง ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามตรวจสอบได้ยาก นอกจากนี้พวกเน็ตไอดอลหรือดาราหลายคน ก็ออกมาสารภาพกันแล้วว่าไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เลย (บางคนก็อ้อมๆ แอ้มๆ ว่าเคยใช้แค่ครั้งสองครั้งเอง ซึ่งไม่รู้ว่าโกหกอีกหรือเปล่า) ดังนั้น ถือโอกาสสังคายนา ตรวจสอบเครื่องสำอางประจำตัวของสมาชิกในบ้านเลยว่า มีเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้อยู่หรือไม่ เพราะเครื่องสำอางเหล่านี้ดูเหมือนจะอยู่ในกลุ่มที่กำพืดไม่ค่อยจะชัดเจน และที่อันตรายอย่างยิ่ง คืออาจมีการเติมสารอันตรายต่างๆ เข้าไปด้วย และหากพบว่าสมาชิกในบ้านใช้ไม่เท่าไร ดันเห็นการเปลี่ยนแปลงทันที เช่น ผิวขาวกะทันหัน ขาวผิดพ่อผิดแม่ ยิ่งส่อให้เห็นว่าแนวโน้มมีสารอันตรายเจือปนสูง ควรกำจัดออกจากบ้านไปเลยพื้นที่อื่นๆ : นอกเหนือจากอาหารและเครื่องสำอางแล้ว เราลองตรวจสอบผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่สมาชิกในบ้านนำมาใช้ด้วย โดยเฉพาะในบ้านที่มีผู้สูงอายุ หรือมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังประจำตัว เพราะจะเป็นเป้าหมายหลักในการถูกหลอกให้ซื้อผลิตภัณฑ์เสี่ยงๆ มาใช้ เช่น ยาน้ำสมุนไพรหรือยาลูกกลอนบางชนิด(หรือผลิตภัณฑ์อาหาร) ที่อ้างรักษาอาการปวดเข่า หรือรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดัน ฯลฯวิธีสังเกตง่ายๆ ก็เหมือนที่เคยบอกไปแล้ว เช่น ถ้าเป็นยาต้องมีเลขทะเบียนยา ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารถ้าอ้างว่ารักษาโรคได้ แสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายแน่นอน เพราะอาหารรักษาโรคไม่ได้ (ถ้ารักษาได้แสดงว่าต้องเติมอะไรเข้าไปแนอน) และที่ต้องย้ำคือ แม้จะมีฉลากถูกต้อง ระบุสรรพคุณเหมาะสมอยู่ในร่องในรอยแล้ว แต่หากสมาชิกในบ้านรับประทานแล้วเกิดได้ผล อาการป่วยต่างๆ หายอย่างน่าประหลาดใจ ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่มาช่วยตรวจสอบทันที จำไว้ว่า “ยาเทวดาสุดมหัศจรรย์ไม่มีในโลก” อย่าลืมนะครับ ใช้วิธีการที่เคยแนะนำไปแล้วตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต่างๆในบ้านตั้งแต่วันนี้ หากพบ “สี่สงสัย” ให้รีบใช้ “สองส่งต่อ” เพื่อเตือนคนใกล้ตัวและแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วยนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 ผลิตภัณฑ์ลดเซลลูไลท์

ฉลาดซื้อฉบับนี้มีข่าวดีที่จะช่วยให้คุณประหยัดเงินมาฝากอีกเช่นเคย ล่าสุดสมาชิกองค์กรทดสอบระหว่างประเทศได้ร่วมกันทดสอบผลิตภัณฑ์เจลหรือครีมที่อ้างว่าใช้เพื่อลดเซลลูไลท์หรือผิวเปลือกส้ม ทั้งหมด 13 แบรนด์ยอดนิยมในยุโรป ว่า “เห็นผล” ภายในหนึ่งเดือนตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ ทีมทดสอบแบ่งสัดส่วนคะแนนออกเป็นสามด้าน ร้อยละ 70 ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ความเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่วัดได้โดยผู้เชี่ยวชาญ เช่นจำนวน และความลึกของรอยบุ๋ม (35) ความแตกต่างที่บันทึกได้ในภาพถ่ายอินฟราเรด (28)  และความแตกต่างของเส้นรอบวง ต้นขาก่อนและหลังการใช้ (7)   ร้อยละ 20 ความพึงพอใจของผู้ใช้ (เช่น กลิ่น เนื้อสัมผัส การซึมลงสู่ผิวหนัง)  ร้อยละ 10 ข้อมูลบนฉลาก (การแสดงข้อมูลที่ครบถ้วนและไม่อวดอ้างเกินจริง) อาสาสมัครที่เข้าร่วมทดสอบได้แก่ผู้หญิงอายุระหว่าง 18 – 50 ปี จำนวน 30 คน ที่มีลักษณะของผิวที่เหมาะแก่การทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ (คัดเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง) อาสาสมัครเหล่านี้จะใช้ผลิตภัณฑ์เป็นเวลา 28 วัน วันละสองครั้งเช้า-เย็น โดยใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและนวดเบาๆ จนซึมเข้าผิวหนัง เราเสียใจที่จะต้องบอกคุณว่า ครีมหรือเจลเหล่านี้ยังไม่สามารถช่วยลดเซลลูไลท์ได้ดีนัก แม้แต่ Collistar Crio-gel Anticellulite ที่ได้คะแนนรวมดีที่สุด ก็ได้ไปเพียง 49 จากคะแนนเต็ม 100 เท่านั้น ที่น่าสนใจคือแม้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะได้คะแนนประสิทธิภาพในระดับเฉลี่ย 2 ดาว แต่ในด้านความพึงพอใจของผู้ใช้กลับได้ไปถึง 4 ดาวเลยทีเดียวอยากรู้ว่ายี่ห้ออื่นมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแบรนด์นี้สักกี่มากน้อย เชิญติดตามได้ในหน้าถัดไปค่าใช้จ่ายในการทดสอบอยู่ที่ประมาณ 3,300 ยูโร หรือประมาณ 128, 600 บาท ต่อหนึ่งตัวอย่าง (ยังไม่รวม ราคาผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ประมาณ 34 – 38 ขวด/หลอด สนนราคาก็มีตั้งแต่ประมาณ 300 ไปจนถึงเกือบ 2,000 บาท)  เงินมาจากไหน … เงินส่วนใหญ่มาจากค่าสมาชิกนิตยสารที่จัดพิมพ์โดยสมาชิกขององค์กร International  Consumer Research and Testing เพื่อนำเสนอผลทดสอบผลิตภัณฑ์/บริการให้ผู้บริโภคได้พิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ ฉลาดซื้อก็เป็นสมาชิกองค์กรนี้เช่นกัน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 208 4 สงสัย 2 ส่งต่อ : วิธีจัดการผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยให้อยู่หมัด

การจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยไม่ให้ไปทำร้ายผู้บริโภค จำเป็นต้องมีเครื่องมือง่ายๆ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ป้องกันตัวเอง เครื่องมือง่ายๆ เริ่มจากการ “สงสัย” และ ”ส่งต่อ” ข้อมูลเพื่อร่วมมือกันในการจัดการปัญหา1. สงสัย : ไม่มีหลักฐานการอนุญาต?เมื่อพบเห็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เริ่มสงสัยทันทีว่า ผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการนั้นๆ มีหลักฐานว่าได้รับอนุญาตหรือยัง เช่น ยาต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาเช่น Reg.No…. , อาหารต้องมีเลขสารบบอาหาร... (หรือที่เรารู้จักกันดีคือเลข อย...) , เครื่องสำอาง ต้องมีเลขจดแจ้ง… , สถานพยาบาลต้องมีหลักฐานใบอนุญาตประกอบกิจการและดำเนินการ , หน่วยตรวจสุขภาพต้องมีหลักฐานการได้รับอนุญาต “หากไม่มีแสดงว่ายังไม่ได้รับอนุญาต”2. สงสัย : ขาดข้อมูลแหล่งที่มา?เมื่อพบเห็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เริ่มสงสัยทันทีว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีแหล่งผลิตจริงหรือไม่ เพราะตามกฎหมายฉลากและเอกสารโฆษณาต้องระบุชื่อที่อยู่ผู้ผลิตชัดเจน “หากไม่มีชื่อที่อยู่ผู้ผลิต จะรู้ได้อย่างไรว่าใครผลิต? เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาจะตามผู้ผลิตได้ที่ไหน?”3. สงสัย : โฆษณาเวอร์เกินไป?เมื่อพบเห็นผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการนั้นๆ ให้เริ่มสงสัยทันทีว่า สรรพคุณที่โฆษณาเป็นไปได้จริงหรือไม่ หากอวดอ้างว่าได้ผลดีแบบมหัศจรรย์ จะพิสูจน์ได้อย่างไร? อย่าเพิ่งเชื่อบุคคลที่เขาอ้างอิงในโฆษณา ถ้าไม่รู้จักเขาดีพอ เพราะอาจเป็นเรื่องหลอกลวงทั้งสิ้น หากได้ผลจริง ผลิตภัณฑ์หรือบริการเหล่านี้ จะต้องได้การรับรองจากหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน หรือมีการนำไปใช้ในสถานพยาบาลอย่างชัดเจน “จำให้ขึ้นใจว่าผลิตภัณฑ์เทวดาไม่มีในโลก”4.  สงสัย : ใช้แล้วผิดปกติ?ให้เริ่มสงสัยทันที หากพบว่าหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ แล้ว เห็นผลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปรกติ เช่น หายปวดเมื่อยทันที ผอมลงอย่างรวดเร็ว อาการต่างๆ ของโรคเรื้อรังหายหมด ผิวขาวขึ้นทันใด ฯลฯ “หากได้ผลรวดเร็วขนาดนี้ อาจมีอะไรที่ไม่ปลอดภัยผสมลงไปในผลิตภัณฑ์”2 ส่งต่อ1. ส่งต่อข้อมูลเตือนภัยเมื่อเราเจอผลิตภัณฑ์หรือบริการสุขภาพที่ต้องสงสัยหรือมีพิรุธ อันดับแรกต้องรีบแจ้งเตือนข้อมูลเบื้องต้นให้คนรอบข้างทราบโดยเร็ว แม้ว่าเรายังไม่อาจสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ ไม่ปลอดภัยจริงหรือไม่ แต่การแจ้งข้อมูลให้ผู้บริโภคหรือคนในชุมชนทราบเบื้องต้น เป็นการช่วยเตือนไม่ให้ผู้บริโภคผลีผลามไปใช้ และยังเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนช่วยกันเฝ้าระวัง ในระหว่างรอผลการตรวจสอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ “ยิ่งแจ้งได้เร็ว ก็เท่ากับช่วยให้คนข้าง เราให้เสี่ยงลดลง”2. ส่งต่อเจ้าหน้าที่รีบส่งต่อข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือบริการสุขภาพที่ต้องสงสัยหรือมีพิรุธให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบโดยเร็ว ข้อมูลที่แจ้งเจ้าหน้าที่ควรรวบรวมรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ผลิตภัณฑ์อะไร สรรพคุณที่อ้างอิงในการโฆษณา วิธีการขาย แหล่งที่มา ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้ ฯลฯ “ยิ่งแจ้งข้อมูลอย่างละเอียด จะทำให้เจ้าหน้าที่ตามรอยต้นตอแหล่งผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 ผิวเต่งตึงด้วยกรดไฮยาลูโรนิก (ตอนที่ 2)

มาต่อกันกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งเป็นสารสำคัญสำหรับเซลล์ผิวหนัง ในการช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นทำให้ผิวไม่แห้งตึง โดยฉบับที่ผ่านมาเราได้พูดถึงกรดไฮยาลูโรนิกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกันไปแล้ว คราวนี้เราลองมาดูกรดไฮยาลูโรนิกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันบ้าง มารู้จักผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันสักนิดผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารเสริมมีความหมายเดียวกัน แต่จริงๆ แล้วอาหารทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยตรงที่ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ และไม่สามารถใช้รับประทานแทนอาหารหลักได้ โดยมีสารอาหารหรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ และอยู่ในรูปแบบเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลวหรือลักษณะอื่น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้บุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติรับประทาน ในขณะที่ “อาหารเสริม” จะหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากอาหารจริงๆ เช่น ฟักทองบด ที่เป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กเล็ก หรือ โจ๊กปั่น ที่เป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกินอาหาร ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำหรับใช้กินเป็นมื้อเสริมเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินบางชนิดที่จัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย โดยผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อเองได้ตามท้องตลาดทั่วไป อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ต้องมีการควบคุมคุณภาพและได้รับการรับรองจาก อย. ซึ่งผู้บริโภคควรตรวจสอบก่อนซื้อมารับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกแม้ปัจจุบันจะมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกจำนวนมาก ซึ่งผู้บริโภคหลายคนรับประทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว และเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถช่วยชะลอความเหี่ยวย่นได้จริง แต่เราไม่ควรลืมว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นอาหารประเภทหนึ่ง ซึ่งช่วยเสริมสารอาหารบางอย่างให้กับร่างกายตามที่กล่าวไว้ข้างต้น และไม่ควรถูกโฆษณาอวดอ้างในลักษณะสรรพคุณทางยาหรือเครื่องสำอาง เช่น เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย บำรุงหัวใจ ลดการดูดซึมไขมัน ทำให้ผิวขาวเปล่งปลั่ง กระชับรูขุมขนหรือลดรอยเหี่ยวย่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามเรามักพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายยี่ห้อตามท้องตลาด มักโฆษณาว่ามีฤทธิ์หรือให้สรรพคุณคล้ายกับยารักษาโรค จนทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดได้เราจึงควรสำรวจผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก่อนตัดสินใจซื้อด้วยวิธีการง่ายๆ อย่างการอ่านฉลาก ซึ่งหากพบว่ามีเลขสารบบอาหาร 13 หลักก็แสดงให้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นอาหารและไม่มีสรรพคุณทางยาใดๆ แต่หากพบว่ามีเลขทะเบียนยา เช่น Reg. No. …/.. ก็หมายถึงผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นยารักษาโรค ซึ่งเราสามารถคาดหวังสรรพคุณหรือการออกฤทธิ์ต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ บำบัด บรรเทา รักษาโรค หรือให้ออกฤทธิ์ในการเติมเต็มร่องลึกและทำให้ผิวหนังเต่งตึงขึ้น แต่ทั้งนี้ประสิทธิผลก็ขึ้นอยู่กับการดูดซึมของร่างกายแต่ละคนด้วยวิธีการง่ายๆ ในการตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนอกจากเราควรตรวจสอบเลขสารบบอาหาร 13 หลักแล้ว ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ฉลากของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายต่อผู้บริโภคต้องระบุ ดังนี้1. ชื่ออาหาร โดยมีคำว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” เป็นส่วนหนึ่งของชื่ออาหารหรือกำกับชื่ออาหาร 2. เลขสารบบอาหาร 3. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า (แล้วแต่กรณี) 4. ปริมาณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บรรจุ 5. ชื่อและปริมาณของส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และส่วนประกอบที่มีการกล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ ในฉลากของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6. ข้อความว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” (ถ้ามี) 7. ข้อความว่า “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์” (ถ้ามี) 8. ข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นสังเคราะห์” “แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” (ถ้ามี) 9. ข้อความชัดเจนว่า “การได้รับสารอาหารต่างๆ นั้น ควรได้จากการบริโภคอาหารหลักที่หลากชนิดครบทั้ง 5 หมู่ และเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ” 10. คำแนะนำในการใช้ 11. คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี) 12. วันเดือนและปีที่ผลิต/ หมดอายุการบริโภค ทั้งนี้การแสดงข้อความตามข้อ (12) ต้องมีข้อความที่ฉลากระบุตำแหน่งที่แสดงข้อความดังกล่าวด้วย 13. คำเตือนการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง การกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health claim) และคำเตือนการบริโภคอาหาร 14. ข้อมูลเฉพาะอื่นๆ ถ้าเข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้ หรือฉลากโภชนาการ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 ผลิตภัณฑ์สุขภาพเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

คนทำงานคุ้มครองผู้บริโภค การเฝ้าระวังดูแลผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แต่จากประสบการณ์การทำงาน กลับพบว่าในโลกที่การติดต่อสื่อสารถึงกันอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์มหัศจรรย์พันลึกชนิดอึ้ง ทึ่ง เสียว มันกลับผุดขึ้นมามากมาย และที่ประหลาดใจคือ ยังมีผู้บริโภคหลายรายเสียเงินไปซื้อมาใช้ หรือบางรายถึงกับเสียสุขภาพไปก็มี ลองมาดูผลิตภัณฑ์เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไรว่าเคยมีคนใกล้ตัวเราเสียเงินไปซ้อมาใช้บ้างหรือเปล่า“น้ำจากกระบอกไม้ไผ่”  ผลิตโดย ใช้สว่านเจาะเข้าบริเวณปล้อง แล้วใช้หลอดต่อ ทิ้งไว้ 3 – 4 ชั่วโมงจะมีน้ำไหลออกมา แล้วนำไปบรรจุขวด อ้างว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์ สามารถขับสารพิษออกจากร่างกาย สลายนิ่ว นอกจากนี้ยังลดเบาหวาน ความดัน ปวดหลัง เอว เกษตรกรหลายรายผลิตกันเป็นล่ำเป็นสัน  ราคาขายขวดละ 20 บาท“น้ำมันจิ้งเหลนตราลิงลมผสมสมุนไพร” ขวดละ 400 บาท โฆษณาว่าเพิ่มขนาดน้องชายใหญ่ยาว 4- 7 นิ้ว ชะลอการหลั่ง บำรุงเลือดให้ไหลเวียนไปยังน้องชายได้ดี มีกลิ่นหอมสมุนไพร ลองตามไปดูในอินเทอร์เน็ตมีทั้งการรีวิว อธิบายวิธีการใช้ และท่าทางจะขายดี จนทางผู้ขายถึงกับต้องออกมาเตือนว่า ขณะนี้มีคนทำของปลอมออกมาจำหน่าย ขอให้ระวังด้วยอย่าคิดว่ามีแต่น้ำมันนวดเท่านั้น ตอนนี้มี “สบู่ชายใหญ่” ออกมาบำรุงใจสุภาพบุรุษอีกชนิด โดยอวดอ้างสรรพคุณชนิดตึ่งโป๊ะว่า แค่ฟอก นวด 3 - 5 นาที ทำให้อวัยวะเพศชายใหญ่ขึ้น มีการแชร์ต่อไปทางอินเทอร์เน็ตต่อๆ กันมากมาย บางเว็บก็บอกโต้งๆ เลยว่า “ฟอกจู๋ เลยค่ะ” ราคาก้อนละ 80 บาทบางผลิตภัณฑ์ก็มีการใช้ชื่อภาษาอังกฤษ ไม่รู้ว่าจงใจเลี่ยงชื่อภาษาไทยหรือเพื่อยกระดับเพื่อให้ดูอินเตอร์ขึ้น เช่น “Hoii Waan” และ “Chu Chan” มองผ่านๆ อาจนึกว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ แต่พอเห็นข้อความบนฉลากและตามไปดูในเว็บ ก็พบว่า ผลิตภัณฑ์ Hoii Waan หอยหวาน สวยกว่าเก่า สาวกว่าก่อน ฟิตหอมมั่นใจ ผลิตภัณฑ์ Chu Chan ชูชัน ก็คืนพลังความเป็นชาย มั่นใจทุกท่วงท่า เขียนชัดขนาดนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากบางครั้งก็มีชนิดที่ไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน บอกกันโต้งๆ ไปเลย “ครีมหอยใสไล่ดำ” “เซรั่มหอยชมพูรูผิวฟิต” เป็นผลิตภัณฑ์ที่อิงกระแสเกาหลี ฉลากผสมผสานตัวอักษรเกาหลีเพื่อความน่าเชื่อถือ ส่วนสรรพคุณก็แทบไม่ต้องอธิบายอะไรเลย เข้าใจตรงกันนะครับที่ฮือฮาล่าสุดคือ “สบู่ล้างซวย LANG SUAY SOAO”  มีการโฆษณาว่า เป็นความเชื่อส่วนบุคคล อาบแล้วรวย ใช้แล้วผิวใสเนียน มีชีวิตชีวา ดูเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล สบู่ล้างซวยผสานพลังงานจากหิน 9 ชนิด เป็นสบู่มงคล ใช้แล้วชีวิตจะดีขึ้น เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี เอากันเข้าไปถึงศรัทธามหานิยมกันไปเลยที่นำมาเล่าในคอลัมน์นี้ไม่ได้ส่งเสริมหรือเชียร์ให้ไปซื้อนะครับ แต่อยากสะท้อนให้เห็นว่าแม้จะมีการเฝ้าระวังตรวจสอบผลิตภัณฑ์อันตรายหรือที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ยังผุดชนิดใหม่ๆ มาเรื่อยๆ  คงต้องอาศัยแรงผู้อ่านและเครือข่ายผู้บริโภคช่วยกันแนะนำคนรอบข้างให้ใช้วิจารณญานที่ดี และหากเจอแหล่งต้นตอ ช่วยแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตามไปตรวจสอบได้เลย แว่วว่าผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่กล่าวมาข้างต้น กำลังถูก อย.ดำเนินการ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 200 กระแสต่างแดน

ยอดผลิตภัณฑ์แย่แห่งปีมาดูกันว่าปีนี้องค์กรผู้บริโภค CHOICE Australia มอบรางวัลผลิตภัณฑ์/บริการยอดแย่ประจำปี 2017 ให้ใครบ้าง• เริ่มจากผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าช่วยเสริมวิตามินและเกลือแร่ให้ลูกน้อยของคุณผ่านทาง เอิ่ม... ลูกอมเจลาติน “Vitamin Gummies”  ความจริงก็มีขายอยู่หลายยี่ห้อ แต่ที่ทำการตลาดหนักที่สุดเห็นจะเป็น Nature’s Way และ Bioglan (ทั้งสองเจ้าอยู่ในเครือ Pharmacare) ที่ทุ่มทุนใช้ตัวละครดิสนีย์และสไปเดอร์แมนมาโปรโมทสินค้าทั้งทางทีวีและอินเทอร์เน็ตCHOICE สงสัยว่านี่เป็นการขายยาพร้อมโรคหรือเปล่า... แคลเซียม สังกะสี หรือวิตามินซีที่อาจจะได้จากการกินขนมที่เคลือบน้ำตาล (ในปริมาณที่ผู้ผลิตไม่นิยมระบุ) มันคุ้มกับการที่เด็ก จะฟันผุหรือเปล่า • ตามด้วยขนมน้องแมว Coles Complete Cuisine ที่ได้รางวัลเพราะชื่อที่ชวนให้เข้าใจผิด  CHOICE บอกว่าตามหลักการแล้วอาหารที่จะอ้างได้ว่าครบถ้วนนั้นต้องมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโซเดียมในปริมาณที่พอเหมาะ แต่เมื่อดูฉลากแล้วพบว่าผลิตภัณฑ์นี้ไม่เฉียดคำว่า “ครบถ้วน” เลยสักนิด ทาสแมวที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจให้แมวกินขนมนี้มากเกินไป (สัตวแพทย์บอกว่าไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน) ทำให้น้องแมวป่วยและมีค่าใช้จ่ายในการรักษานั่นเอง• แฟนๆ สินค้ามหัศจรรย์ที่ขายทางโทรทัศน์โปรดฟังทางนี้ ปากกาลดอาการปวด Pain Erazor ก็ได้รับรางวัลนี้ ผู้ผลิตอ้างว่าแร่ควอทซ์ในปากกาจะผลิตกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ออกมากระตุ้นให้ร่างกายผลิตเอนโดรฟินออกมาช่วยระงับความเจ็บปวด ผู้เชี่ยวชาญของ CHOICE ทดสอบแล้วพบว่าปากกานี้ไม่มีความสามารถในการลดอาการปวด แต่เหมาะมากสำหรับใช้จุดเตาแก๊ส ลองคิดดูว่าคนทางบ้านที่ใช้เอง (ในกล่องที่ส่งมาไม่มีคำแนะนำการใช้) จะได้ผลมากน้อยขนาดไหน• คุณพ่อบ้านแม่บ้านคะ น้ำยาปรับผ้านุ่ม Cuddly Sensitive Hypoallergenic ที่คุณซื้อในราคาลิตรละ 6 เหรียญ (160 บาท) ก็ได้รางวัลนี้เช่นกัน CHOICE ทดสอบน้ำยาปรับผ้านุ่ม 29 ตัวอย่าง และพบว่าผลิตภัณฑ์นี้ได้คะแนนต่ำที่สุด แม้แต่น้ำเปล่าหรือน้ำส้มสายชูก็ยังได้คะแนนดีกว่า ขุ่นพระ! แล้วคุณจะ “จ่ายแพงกว่าทำไม”• มาถึงค่าย ซัมซุง ปีนี้ส่งเครื่องซัก/ปั่นผ้าฝาหน้า WD16J9845KG เข้าชิงและได้รางวัลไปอีกเช่นเคยด้วยสถิติการใช้น้ำที่ไม่ธรรมดา – CHOICE พบว่า เครื่องรุ่นนี้ใช้น้ำถึง 133 ลิตรในขั้นตอนการซัก และไม่มีโปรแกรมประหยัดน้ำให้เลือก คำนวณดูแล้วบ้านไหนที่มีไว้ครอบครองจะมีค่าน้ำปีละ 400 เหรียญ (10,500 บาท) จากการใช้เครื่องซักผ้า แต่เดี๋ยวก่อน ในขั้นตอนการปั่นแห้งนั้นคุณจะได้เพลิดเพลินกับการรอคอยอีก 6.5 ชั่วโมงสำหรับปริมาณผ้า 3.5 กิโลกรัมด้วย เยี่ยมไปเลย!• ต่อด้วยความปลอดภัยของรถยนต์ แม้บริษัททากาตะ ซึ่งเป็นผู้ผลิตถุงลมนิรภัยให้กับรถหลายค่ายจะล้มละลายไปแล้ว แต่เรื่องนี้ยังไม่จบง่ายๆ CHOICE ให้รางวัลนี้แก่ Honda Toyota Lexus Mazda และ BMW เพราะไม่มีการแจ้งเตือนผ่านสื่อใดๆ ให้ผู้ใช้รถทราบว่ายังมีถุงลมที่ผลิตเป็นรุ่นแรกๆจากทากาตะอยู่ในรถของพวกเขา (รวมๆ แล้วประมาณ 50,000 คันในออสเตรเลีย) แถมยังไม่บอกว่ารถบางคันที่ผู้ใช้นำเข้ามาเปลี่ยนถุงลมนิรภัย ก็ได้ถุงลมชนิดที่ยังไม่ปลอดภัยเต็มร้อยและกำลังรอเวลาเรียกคืนไปใช้ชั่วคราวด้วย• CHOICE ไม่เคยพลาดแจกรางวัลให้กับธนาคารที่เสนอบริการได้แย่เยี่ยม ปีนี้ Wespac ชนะทุกค่ายขาดลอย ด้วยบริการเงินออมตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ถ้าคุณเปิดบัญชีให้ลูกน้อยตั้งแต่วันนี้ คุณจะได้โบนัส 200 เหรียญ (5,200 บาท) และดอกเบี้ยร้อยละ 2.3  สมมุติว่าเราฝากเงินเดือนละ 200 เหรียญทุกเดือนเป็นเวลา 16 ปีตามกำหนด เงินต้น 38,600 เหรียญก็จะมีดอกเบี้ยงอกเงยมา 8,054 เหรียญ รวมกับโบนัสตามโฆษณาแล้วจะได้เงิน 46,654 เหรียญ แต่ถ้าฝากกับธนาคารอื่นซึ่งให้ดอกเบี้ยร้อยละ 3.5 โดยไม่มีโบนัส คุณจะได้เงินถึง 51,377 เหรียญ • รายสุดท้ายที่ได้รางวัลจาก CHOCE เคยเป็นข่าวในฉลาดซื้อมาแล้ว สมาชิกคงจำ Viagogo เว็บไซต์จากสวิตเซอร์แลนด์ที่รับจองตั๋วคอนเสิร์ตกันได้ ทั้งขาร็อค ขาป็อป เจ็บกันมาเยอะ ตั้งแต่ตั๋วราคาแพงหูดับ(จะไม่ซื้อก็ไม่ได้ หน้าจอมันบอกว่าใบสุดท้าย) มีตั๋วแต่ไม่สามารถเข้างาน(เพราะที่นั่งซ้ำกับคนอื่น) อุตส่าห์ทุ่มซื้อราคาหน้าเวทีแต่กลับได้นั่งบนสุด ฯลฯ เมื่อเกิดปัญหา ผู้ซื้อไม่สามารถติดต่อกับทางเว็บไซต์ได้ บริษัทอ้างว่าหากต้องการขอรับการชดเชย ต้องแจ้งภายใน 14 วันหลังรับตั๋ว หรือภายใน 48 ชั่วโมงหลังคอนเสิร์ต ซึ่งตามกฎหมายออสเตรเลียแล้ว ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ตลอด ตาม “เวลาที่เหมาะสม”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 199 ว่านหลงปะทะว่าน 500 ผัว

ผมได้รับภาพผลิตภัณฑ์สะท้านใจสองชนิด จากน้องเภสัชกรท่านหนึ่ง ผลิตภัณฑ์แรกเป็นว่านสาวหลง ส่วนผลิตภัณฑ์ชนิดที่สองเป็นว่าน 500 ผัว ด้วยความสงสัยในฐานะคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภค(ไม่ใช่ในฐานะผู้อยากใช้...ฮา) ผมจึงตามไปสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ต จนได้ข้อมูลเบื้องต้นว่านสาวหลง ราคาซองละ 50 บาท(มี 10 แคปซูล) บอกส่วนประกอบหลายชนิด เช่น ถังเช่า โสม กระชายดำ ใบแปะก๊วย กำลังเสือโคร่ง กำลังช้างสาร ตังกุย หรือโกฐเชียง กวาวเครือแดง แถมท้าทายด้วยประโยคที่อาจแทงใจชายไทยหลายๆ คน เช่น น้องชายมีขนาดเล็ก แข็งตัวได้ไม่เต็มที่ เกิดอาการหลั่งเร็วกว่ามาตรฐาน เกิดอาการเข่าอ่อน หรือหมดแรงทันทีที่เสร็จภารกิจ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ไม่อึดเหมือนแต่ก่อน  หมดความมั่นใจ เมื่อสาวข้างกายส่ายหน้า (แค่อ่านยังเหนื่อย) แถมบรรยายสรรพคุณเย้ายวนให้ระทวยในหัวใจอีก เช่น  เพิ่มขนาด เพิ่มน้ำเชื้ออสุจิ เเข็งไวขึ้น อึดทนนาน เเก้อาการนกเขาไม่ขัน  ป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ด้วยฮอร์โมนเพศชาย  ผิวขาว ใสเนียนมีออร่า กระตุ้นน้ำเชื้ออสุจิให้เเข็งเเรง ที่น่าสนใจคือ ในโฆษณามีการแจ้งว่า เลขทะเบียนยา G326/255 ซึ่งผมตามเข้าไปค้นในฐานข้อมูลยากลับไม่พบข้อมูลนี้แต่อย่างใด แต่พอค้นในฐานข้อมูลเครื่องสำอาง กลับพบว่ามีการรับจดแจ้งเครื่องสำอางว่านสาวหลงแทน สรุปว่าตอนนี้สาวอาจยังไม่หลง แต่ผมเองกลับหลงงงงวยกับข้อมูลแทนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ว่าน 500 ผัว(แค่ชื่อก็ตะลึง) ขนาดบรรจุ 30 แคปซูล ราคา 250บาท  แจ้งว่าในกล่องจะมี 2 แบบ(เม็ดสีขาว เพิ่มขนาดหน้าอก 15 แคปซูล และเม็ดสีน้ำตาล น้องสาวฟิต รัด กระชับ 15 แคปซูล) มีส่วนประกอบจาก ว่าน 500 นาง กวาวเครือขาว ว่านชักมดลูก ว่านมหาเมฆ ลูกชัด ตังกุย สรรพคุณ ช่วยทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ไม่ปวดประจำเดือน   แก้ตกขาว คันในช่องคลอด ช่องคลอดมีกลิ่น เป็นสมุนไพรที่เหมาะกับผู้หญิงทุกคนทุกวัย เพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยให้ผิวเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล ไม่เหี่ยวย่น ระบบภายในสะอาด และมดลูกแข็งแรง  ช่องคลอดฟิตกระชับ หน้าอกเต่งตึง ยังไม่หมด ยังมีต่อให้ตะลึงกว่าเดิมอีกเช่น  เพิ่มเนื้อหน้าอก สัมผัสนุ่มขึ้น รูฟิต รัด ตอด ใครมีปัญหาหน้าอกเล็กหย่อนยาน อยากหน้าอกใหญ่เต่งตึง เจ็บน้องสาวเวลาทำการบ้านกับแฟน ผิวกระกร้าน เป็นกระ ฝ้า ไม่ออร่าไม่ใส วัยทอง เลือดจะไปลมจะมา ฮอร์โมนไม่ปกติ มีลูกยาก  ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ตกขาว มีเชื้อรา มีกลิ่น มดลูกต่ำ หอยไม่กระชับ มีลมออกช่องคลอด ช่องคลอดหลวม ก่อนตบท้ายให้โลกตะลึงไปอีกว่า “ต้องทาน!!! มีผัวต้องทาน ไม่มีผัวก็ทานได้ เพราะมันเป็นสมุนไพร!” ผมพยายามเพ่งดูที่ฉลาก ก็ไม่พบเลขทะเบียนยา หรือเลขสารบบในเครื่องหมาย อย. แต่อย่างใด นี่เป็นเพียงข้อมูลที่ผมค้นเจอในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีมากมาย หากผู้บริโภคท่านใด เจอผลิตภัณฑ์สองชนิดนี้ในพื้นที่ ช่วยส่งให้เจ้าหน้าที่ติดตามตรวจสอบเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไปเลยครับ จะได้รู้กันไปเลยว่า ระหว่างสองว่าน กับกฎหมาย อะไรจะชนะกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 198 น้ำตาลและพลังงาน ในกาแฟซอง ทรีอินวัน

กาแฟซอง 3 in 1 เป็นกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงที่ผู้บริโภคในบ้านเราให้การตอบรับเป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะสะดวก เพียงฉีกซองใส่แก้วเติมน้ำร้อนก็ดื่มได้แล้ว ยังมีรสชาติที่อร่อยถูกปากในราคาไม่แพงมากอีกด้วย โดยเหตุผลหลักที่ทำให้กาแฟประเภทนี้รสชาติดีก็มาจากส่วนประกอบหลัก 3 อย่างคือ กาแฟ ครีมเทียมและน้ำตาล ซึ่งผสมผสานมาแล้วพร้อมกับวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ อย่างลงตัว ทำให้ได้รสชาติที่กลมกล่อม อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคที่ไม่อยากชงกาแฟดื่มเองได้เป็นอย่างดีอย่างไรก็ตามด้วยรสชาติที่อร่อยและขนาดซองที่ไม่ใหญ่มากนัก ทำให้ผู้บริโภคหลายคนลืมไปว่าในกาแฟทรีอินวันเหล่านี้อาจมีปริมาณน้ำตาล ไขมันและให้พลังงานสูง ซึ่งหากบริโภคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานจากการได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม/วัน หรือโรคหัวใจ จากการได้รับไขมันไม่ดีสะสม รวมทั้งโรคไขมันในเลือดสูงได้ เราจึงต้องระมัดระวังในการดื่มกาแฟประเภทนี้ ฉลาดซื้อจึงขออาสาตรวจสอบปริมาณน้ำตาลและพลังงาน ของกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง  3 in 1 จาก 15 ยี่ห้อยอดนิยมจำนวน 18 ตัวอย่าง หลังจากในเล่มที่ผ่านมาเราเคยทดสอบ คาเฟอีนและน้ำตาลในกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มหรือกาแฟกระป๋องกันไปแล้ว ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไร ลองไปดูกันเลยสรุปผลการสำรวจฉลากจากกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง แบบ 3in1 ที่นำมาทดสอบทั้งหมด 15 ยี่ห้อ 18 ตัวอย่าง พบว่า1. ยี่ห้อที่มีปริมาณพลังงานมากที่สุดคือ เอ็ก ชอง ไวท์ คอฟฟี่ ทาริก ทรี อิน วัน ให้พลังงาน 185 กิโลแคลอรี/40 กรัม และเนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู ริช อโรมา ให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี/19.4 กรัม ในขณะที่ยี่ห้อที่มีปริมาณพลังงานน้อยที่สุดคือ มัซ เอสเปรสโซคอฟฟี่ ให้พลังงาน 65 กิโลแคลอรี/18 กรัม2. ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุดคือ เอลี่คาเฟ่ คลาสิค มีน้ำตาล 13.8 กรัม/20 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ มัซ เอสเปรสโซคอฟฟี่ มีน้ำตาล 0 กรัม/18 กรัม(ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล)3. ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันมากที่สุดคือ เอ็ก ชอง ไวท์ คอฟฟี่ ทาริก ทรี อิน วัน มีไขมัน 7 กรัม/40 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันน้อยที่สุดคือ บัดดี้ดีน ทรีอินวัน เอ็กซ์ตร้าโรสท์ มีไขมัน 0 กรัม/18 กรัม4. มี 7 ยี่ห้อที่ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณพลังงาน น้ำตาลหรือไขมันได้ เนื่องจากไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ 1. อาราบัส ทรีอินวัน ออริจินัล 2. เฟรนช์ คาเฟ่ ริช โกลด์ 3. จีเซเว่น คอฟฟี่มิกซ์ 4. กาแฟเขาทะลุ สูตรเอสเพสโซ่ 5. กาแฟเขาทะลุ สูตรดั้งเดิม 6. เบอร์ดี้ โรบัสต้า และ 7. มอคโคน่า ทรีโอ เอสเปรสโซ่ตารางแสดงปริมาณพลังงาน น้ำตาลและไขมันในกาแฟ ทรีอินวันสำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 สารปรุงแต่งในผลิตภัณฑ์กาแฟ ทรีอินวัน การใส่สารปรุงแต่งหรือวัตถุเจือปนอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อสัมผัสที่ดี คงตัว สะดวกในการขนส่งและเก็บรักษา และทำให้มีสีสันที่คล้ายธรรมชาติ ได้แก่ 1.สารควบคุมความเป็นกรด2.สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน3.อิมัลซิไฟเออร์ คือ สารที่ทำให้ส่วนผสมที่ปกติไม่สามารถผสมกันได้ สามารถรวมตัวกันได้ เช่น น้ำกับน้ำมัน และช่วยยืดอายุการเก็บรักษา4.สารช่วยทำละลาย 5.สารที่ทำให้คงตัว 6.สารเพิ่มปริมาณ(มอลโตเดกซ์ตริน) คือ คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ (Polysaccharide) 7.สี กลิ่น เลียนแบบธรรมชาติตลาดกาแฟในปี 2557 กาแฟ 3 in 1 ครองส่วนแบ่งของตลาดกาแฟ ด้วยมูลค่าตลาด 15,000 ล้านบาท และมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้นำทางการตลาดคือ เนสกาแฟ มีส่วนแบ่งที่ร้อยละ 63 ตามมาด้วยซูเปอร์กาแฟ ส่วนแบ่งที่ร้อยละ 12 ที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นของเบอร์ดี้และมอคโคน่า อย่างไรก็ตามตลาดกาแฟ 3 in1 จะมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น ดาว คอฟฟี่ อาราบัส ของดัชมิลล์ ทำให้กลายเป็นตลาดที่มีความแข่งขันสูงมากที่มา: http://marketeer.co.th/archives/38718

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 196 ผลิตภัณฑ์ลูกสำรองสยองภัย

ข่าวการเสียชีวิตของวัยรุ่นจากการซื้อผลิตภัณฑ์แมงลักลดความอ้วนที่แอบลักลอบปนสารลดความอ้วนยังไม่ทันจางหาย ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนตัวใหม่ก็ผุดขึ้นมาอีก คราวนี้เป็นผลิตภัณฑ์ลูกสำรองลดน้ำหนักผมได้รับข้อมูลจาก กลุ่มงานเภสัชกรรมฯ รพ.ปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญว่า ในช่วงนี้พบผู้บริโภคในพื้นที่นิยมซื้อ ผลิตภัณฑ์ “ลูกสำรองลดน้ำหนัก สารสกัดธรรมชาติ” ที่จำหน่ายผ่านทางเฟซบุ๊ค มารับประทาน โดยการโฆษณา ได้แสดงข้อความในทำนองว่าสินค้าชนิดนี้ มีเลข อย. ใช้ได้ดี  น้ำหนักลด 5 กก. ภายใน 1 สัปดาห์ และที่สำคัญจะไม่มีภาวะโยโย่เอฟเฟค ( ภาวะน้ำหนักขึ้นหลังหยุดรับประทาน)  และเนื่องจากมีการโฆษณาว่าเป็นสมุนไพร สารสกัดจากธรรมชาติ  ทำให้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กนักเรียนหลายรายหลงเชื่อซื้อมารับประทาน ต่อมาพบว่า มีผู้บริโภค (ทั้งผู้ใหญ่และเด็กนักเรียน)  รับประทานแล้วมีอาการใจสั่น เหนื่อยอ่อนเพลีย จึงร้องเรียนมายังเจ้าหน้าที่จากการลงพื้นที่เพื่อติดตามข้อมูล เจ้าหน้าที่พบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว แสดงฉลาก  LUK- SAM –RONG “ลูกสำรองลดน้ำหนัก” สารสกัดธรรมชาติ  มีการระบุเลขสารบบอาหาร (หรือที่เรียกกันว่า เลข อย) ระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาในประเทศ โดยมีบริษัทจัดจำหน่ายตั้งอยู่ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี  ราคาจำหน่ายแผงละ 200 บาท เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งตรวจศูนย์วิทยาศาสตร์ จังหวัดอุบลราชธานี ผลการตรวจพบว่ามี “ยาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายผสมอยู่” คือ ยา Silbutamine (ยาลดความอ้วน) และ ยา Fluoxetine (ยารักษาอาการซึมเศร้าที่ผลข้างเคียงทำให้ไม่อยากอาหาร) เจ้าหน้าที่จึงได้ประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี เพื่อขอความร่วมมือให้ติดตามตรวจสอบบริษัทจัดจำหน่าย ตามที่อยู่ที่ระบุบนฉลาก  ผลปรากฏว่าสถานที่ดังกล่าว ไม่ได้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการนำเข้าอาหารแต่อย่างใด และเลขสารบบอาหาร (เลข อย) ที่ปรากฏบนฉลากนั้นก็ยกเลิกไปนานแล้ว  ต่อมากลุ่มงานเภสัชกรรมฯ รพ.ปทุมราชวงศา ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามเฝ้าระวังต่อเนื่อง  พบว่า ยังมีผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์“ลูกสำรองลดน้ำหนัก” มารับประทานอีก โดยผู้บริโภคที่ซื้อมารับประทานได้เอาผลิตภัณฑ์ มาให้เจ้าหน้าที่ดู และบอกว่าแม้ฉลากจะเหมือนเดิม แต่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพราะ เลข อย. เป็นหมายเลขใหม่(ผู้ผลิตนำ เลข อย.ใหม่มาปิดทับหมายเลข อย.เดิม) เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฯดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์อีกครั้ง ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ ยังคงพบ Sibutamine เหมือนครั้งแรก  ซึ่งขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ประสานงานกับเครือข่ายต่างๆ ในการสืบหาแหล่งต้นตอเพื่อดำเนินคดีต่อไปจะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์พวกนี้มักจะอาศัยเครื่องหมาย อย.มาสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค แต่สิ่งที่ผู้บริโภคต้องจำให้แม่นคือ “ผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมาย อย. คือผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่สามารถรักษา หรือป้องกันโรคได้ รวมทั้งไม่สามารถลดความอ้วนได้” ดังนั้น หากเจอผลิตภัณฑ์ที่อ้างผลในลักษณะนี้เมื่อไหร่ “อย่าหลงเชื่อ อย่านำมาจำหน่าย” ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยด่วนที่สุดครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 เขาว่านมถั่วเหลืองไม่ดี จริงหรือไม่

เวลานี้มีข้อความแนะนำบนโลกไซเบอร์ว่า การดื่มนมถั่วเหลืองเป็นสิ่งไม่ควรกระทำ เพราะนมนี้ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ โดยชื่อเรื่องของบทความที่ส่งต่อกันนั้นคือ Top 10 compelling reasons to avoid soy milk บทความนี้เผยแพร่ใน www.realfarmacy.com บทความนั้นกล่าวทำนองว่า มนุษย์ไม่ควรดื่มนมถั่วเหลืองเพราะนมถั่วเหลืองที่ผลิตทางอุตสาหกรรมนั้นประกอบด้วย น้ำนมสกัดจากถั่วเหลือง น้ำตาลทราย เกลือ วุ้นคาราจีแนน กลิ่นรสธรรมชาติ แคลเซียมคาร์บอเนต ฯลฯ จากนั้นจึงเริ่มระบุปัญหาประการที่หนึ่งว่า นมถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งก่อให้มีการปรับเปลี่ยนในระบบรอบเดือนสตรีไปจากเดิมกรณีไฟโตเอสโตรเจนผู้บริโภคหลายคนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน(และส่งต่อกันในโลกไซเบอร์) ว่า เมื่อผู้หญิงดื่มนมถั่วเหลืองแล้วจะได้ ไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งมีผลทำให้ฤทธิ์โดยรวมของเอสโตรเจนในสตรีนั้นเพิ่มขึ้น โดยที่เซลล์เป้าหมายหลักของไฟโตเอสโตรเจนในหญิงวัยเจริญพันธุ์คือ เซลล์ต่อมน้ำนม(ของเต้านม) และเซลล์ที่เป็นผนังมดลูกสารเคมีที่ถูกระบุว่ามีฤทธิ์เอสโตรเจนนั้น เมื่อเข้าสู่เซลล์เป้าหมายแล้วจะออกฤทธิ์แบบเดียวกับที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนทำคือ กระตุ้นให้เซลล์เป้าหมายเตรียมพัฒนาตัวเอง(มีการขยายขนาดเซลล์) เพื่อให้ทำหน้าที่ที่ควรเป็นเช่น กรณีเซลล์ของต่อมน้ำนมจะเตรียมพัฒนาตัวเองให้สามารถให้น้ำนมได้ เมื่อได้รับสัญญาณว่ามีการฝังตัวของตัวอ่อนในมดลูก ส่วนเซลล์ของมดลูกเมื่ออยู่ในวัยเจริญพันธุ์ก็จะเตรียมพร้อมในการขยายตัวในแต่ละเดือนเพื่อให้ตัวอ่อนเกาะผนังมดลูก(ถ้าไม่มีการเกาะของตัวอ่อนบนผนังมดลูก เซลล์ที่เป็นผนังมดลูกก็ลอกออกเป็นเลือดประจำเดือน) แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคมักไม่รู้คือ สารที่มีฤทธิ์เอสโตรเจนอาจถูกจัดให้อยู่ใน กลุ่มมีฤทธิ์มากกว่าเอสโตรเจนของมนุษย์ หรือ กลุ่มที่มีฤทธิ์น้อยกว่าเอสโตรเจนของมนุษย์ (เมื่อเทียบจำนวนโมเลกุลเท่ากัน)ไฟโตเอสโตรเจนของพืชนั้นอาจอยู่กลุ่มใด(ข้างต้น)ก็ได้ขึ้นกับชนิดของพืช เช่น ไฟโตรเอสโตรเจนในกวาวเครือนั้นมีฤทธิ์สูงกว่าเอสโตรเจนในมนุษย์ จึงมีการใช้ในการแพทย์แผนไทยด้วยปริมาณที่พอเหมาะเพื่อแก้อาการวัยทองของผู้สูงอายุ(แต่มีการใช้กระตุ้นเต้านมของสาวหรือหนุ่มให้ใหญ่ขึ้นพร้อมผลข้างเคียงบางประการ) ส่วนไฟโตเอสโตรเจนในถั่วเหลืองนั้น แม้มีความสามารถในการจับกับเซลล์เป้าหมายดีแต่ฤทธิ์ในการกระตุ้นเซลล์ให้พัฒนากลับต่ำกว่าความสามารถของเอสโตรเจนของมนุษย์ผู้เขียนเคยแนะนำให้สตรีที่มีอาการปวดเต้านมและมดลูกช่วงมีประจำเดือน เพิ่มการบริโภคผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองล่วงหน้าก่อนมีประจำเดือน 2-3 วัน เพราะไฟโตเอสโตรเจนในผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองนั้นสามารถแย่งไม่ให้เอสโตรเจน ซึ่งมดลูกสร้างในช่วงก่อนมีประจำเดือนของสตรีเข้าจับเซลล์ต่อมน้ำนมและเซลล์ผนังมดลูกได้ ความเจ็บปวดที่เคยเกิดเนื่องจากการขยายตัวของเซลล์ต่อมน้ำนมและผนังมดลูก(ซึ่งอยู่ในพื้นที่เท่าเดิม) ควรน้อยลง ซึ่งส่วนใหญ่ได้ผลตามสมมุติฐานนี้ประการที่สองในบทความที่กล่าวร้ายถึงนมถั่วเหลืองคือ ถั่วเหลืองนั้นเป็นอาหารที่มีสารต้านโภชนาการ(antinutrients) เยอะมาก ซึ่งก็เป็นความจริงในกรณีที่กล่าวถึงถั่วดิบ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากถั่วแล้วไม่สุกพอ ถั่วส่วนใหญ่ที่มีลักษณะเหมือนถั่วเหลืองคือ มีเมล็ดอยู่ในฝักห้อยอยู่เหนือดินนั้น มีสารพิษตามธรรมชาติเมื่อยังดิบอยู่ สารพิษเหล่านี้ยับยั้งการทำงานของเอ็นซัมย่อยโปรตีน ย่อยแป้ง และย่อยไขมัน ซึ่งทำให้สารอาหารเหล่านี้ถูกดูดซึมน้อยลง โดยส่วนที่เหลือเคลื่อนผ่านลงสู่ลำไส้ใหญ่กลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ซึ่งเมื่อกินอาหารที่ไม่ถูกย่อยก็ปล่อยก๊าซต่างๆ ออกมาทำให้ผู้บริโภคท้องอืดท้องเฟ้อที่น่าสนใจคือ ถั่วเหลืองดิบมีสารพิษชื่อ Heamagglutinin ซึ่งสามารถทำให้เซลล์ที่ผนังลำไส้บวมได้ และยังมีสารพิษชื่อ Phytic acid ซึ่งจับแร่ธาตุต่างๆ ไว้ทำให้ร่างกายมนุษยนำไปใช้ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี สารพิษตามธรรมชาติที่ได้ยกตัวอย่างทั้งหมดนั้น ถูกทำลายให้หมดสภาพเมื่อถั่วได้รับความร้อนที่เหมาะสมด้วยระยะเวลาที่นานพอ เช่นในกรณีของนมถั่วเหลืองนั้น ผู้เขียนเคยอ่านพบในเอกสารวิชาการของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา(USDA) ว่า ให้ต้มน้ำนมถั่วเหลืองในลักษณะที่เรียกว่า Simmering หรือเดือดปุด ๆ เบา ๆ นานอย่างน้อย 15 นาที ก็สามารถทำให้สารพิษหมดฤทธิ์ได้ดังนั้นแล้วเมื่อใดที่ท่านพบข้อกล่าวหาว่า การกินผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากถั่วอาจเกิดอันตรายจากสารพิษจากธรรมชาตินั้น ขอให้เข้าใจว่าผู้กล่าวนั้นหมายถึง ผลิตภัณฑ์ถั่วที่ยังไม่สุกพอ ซึ่งผู้อ่านควรมีความรู้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากถั่วต่างๆ นั้นเมื่อสุกดีควรมีลักษณะสัมผัสเช่นไร อีกประเด็นหนึ่งของการกล่าวหาคือ การดื่มนมถั่วเหลืองทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับยากำจัดวัชพืช ถ้าถั่วเหลืองนั้นเป็นถั่วที่ดัดแปลงพันธุกรรม(Roundup ready soybean) เรื่องนี้เป็นเรื่องถูกต้อง ดังนั้นผู้บริโภคอาจต้องสืบเสาะว่า น้ำนมถั่วเหลืองของบริษัทใดที่ประกาศว่าใช้ถั่วเหลืองที่ไม่ใช่ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมกรณีคาราจีแนนการกล่าวถึงสารเจือปนในนมถั่วเหลือง ของสารที่ชื่อ คาราจีแนน (Carrageenan) ซึ่งผู้ประกอบการมักใส่เข้าไปเพื่อปรับเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นก็เป็นประเด็นน่าสนใจ โดยเฉพาะข้อมูลที่กล่าวว่า สารเจือปนในอาหารชนิดนี้ก่อมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ โดยข้อมูลดังกล่าวนั้นได้จากการทดลองที่ใช้ขนาดของคาราจีแนนที่สูงมากจนไม่สามารถโยงมาสู่ปริมาณที่มนุษย์ได้รับจากผลิตภัณฑ์อาหาร (หลักการทางพิษวิทยากล่าวประมาณว่า สารเคมีที่ไม่ใช่สารอาหารจะมีประโยชน์หรือโทษต่อผู้บริโภคนั้นขึ้นกับปริมาณและความถี่ที่ได้รับ)ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากบทความเรื่อง Food additive carrageenan: Part II: A critical review of carrageenan in vivo safety studies. ซึ่งนิพนธ์โดย M.L. Weiner  ในวารสาร Critical Reviews in Toxicology ฉบับประจำเดือน March ปี 2014 นั้นได้กล่าวโดยสรุปว่า คาราจีแนนยังอยู่ในสถานะปลอดภัยตราบที่ยังใช้ในปริมาณที่ Codex ขององค์การสหประชาชาติกำหนด กรณีสารกลุ่มไอโซฟลาโวนสารกลุ่มไอโซฟลาโวน (isoflavone) คือ เดดซีน (daidzein) และ จีนิสทีน (genistein) ซึ่งถูกศึกษาพบว่า กระตุ้นการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งเต้านมในสัตว์ทดลอง นั้น ในความเป็นจริงแล้วยังมี บทความวิชาการกล่าวถึง การลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมของผู้นิยมบริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง โดยกล่าวว่าสารทั้งสองเป็นปัจจัยในการลดความเสี่ยง ท่านผู้อ่านอาจรู้สึกว่า ข้อมูลทั้งสองนั้นดูขัดแย้งกัน...แต่คำอธิบายนั้นมีผลการศึกษาเกี่ยวกับการก่อมะเร็งนั้น เป็นการศึกษาในสัตว์ทดลองที่ใช้สารบริสุทธิ์ในขนาดที่เกินกว่ามนุษย์จะกินได้จากผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ซึ่งจะไม่เกิดเมื่อดื่มนมถั่วเหลือง อย่างไรก็ดีข้อมูลดังกล่าวก็เป็นการเตือนว่า สารธรรมชาติที่มีประโยชน์นั้นควรได้รับเข้าสู่ร่างกายในรูปที่อยู่ในอาหาร เพื่อป้องกันการได้รับมากเกินความต้องการ ซึ่งต่างจากการกินในปริมาณสูงกว่าปรกติจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจแสดงความเป็นพิษได้ ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายและความปลอดภัยของจีนิสทีนในทางวิชาการนั้นสามารถสืบค้นและ download ได้จาก www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26178025

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 “ส่องฉลาก” ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค กลายมาเป็นตัวช่วยเรื่องการกำจัดสิ่งสกปรกที่น่าจะมีติดอยู่แทบทุกบ้าน มาในหลายๆ รูปแบบการใช้งาน ไมว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ และผลิตภัณฑ์ทำความเสื้อผ้า ซึ่งเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าก็ไม่ได้มีแค่ ผงซักฟอก เพียงอย่างเดียว ยังมีแยกประเภทเป็นทั้งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าชนิดน้ำ ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบอเนกประสงค์ที่ใช้แช่เสื้อผ้าเพื่อขจัดคราบสกปรกก่อนนำไปซักปกติ ซึ่งลักษณะก็จะคล้ายกับน้ำยาซักผ้าขาว นอกจากนี้ยังมีน้ำยาปรับผ้านุ่มที่หลายๆ บ้านนิยมใช้ ฉลาดจึงจะพามาส่องฉลากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เพื่อให้สามารถใช้งานกันได้อย่างถูกวิธีผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคต้องใช้อย่างระมัดระวังผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่มีการใช้สารเคมีที่อาจมีฤทธิ์ต่อสุขภาพและเป็นอันอันตรายต่อผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ภายในบ้านเรือนส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 ซึ่งหมายถึงกลุ่มสารเคมีที่มีอันตรายน้อย สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือตามบ้านเรื่องทั่วไปได้ แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ตัวผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการแจ้งข้อเท็จจริงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยจะควบคุมเรื่องสารเคมีที่ใช้และการจัดทำฉลากเพื่อประโยชน์กับผู้บริโภคในการใช้งานได้อย่างปลอดภัยวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น การจัดทำฉลาก การปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขที่รับแจ้งไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวัตถุอันตรายขนิดที่ 1 มีอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ซักผ้า (ยกเว้นผงซักฟอก ที่อยู่ในการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.))  เป็นต้นข้อความที่ไม่อนุญาตให้แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค-“สูตรพิเศษ” ยกเว้นว่ามีเอกสารที่สามารถสนับสนุนหรือชี้แจงได้ว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร-“ไม่เป็นอันตราย”, “ไม่เป็นพิษ”, “ปลอดภัย”, “ไม่มีสารตกค้าง”, “ไร้สารตกค้างที่เป็นอันตราย”, “ไร้สารตกค้าง”, “ไม่มีผลต่อเด็กสัตว์เลี้ยงและอาหาร”, “สูตรไม่ระคายเคือง”, “ปราศจากการระคายเคือง” เนื่องจากอาจทำให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย-“นุ่มละมุนใช้ได้ทุกวัน” เนื่องจากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ควรใช้ตามความจำเป็น และต้องระมัดระวังในการใช้ -“ใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ” เนื่องจากเป็นการชักจูงใจเกินความจำเป็น-“น้ำหอมปรับอากาศ”, “สดชื่น” หรือ “กลิ่นสดชื่น” เนื่องจากคำว่า “สดชื่น” มีความหมายในเชิงเกี่ยวกับสุขภาพอาจสื่อให้เกิดความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นนี้มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และสารเคมี-“ปกป้องสุขภาพของคุณและสิ่งแวดล้อม”, “ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม”, “ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม”, “ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ”, “จึงช่วยรักษาสภาพแวดล้อม”, “ห่วงใยสิ่งแวดล้อม” เนื่องจากก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม-“ได้ผล 100%”, “ประสิทธิภาพสูง”, “ด้วยสูตรพลังประสิทธิภาพ”, “ประสิทธิภาพเยี่ยม”, “ระบบเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด”, “ได้ผลเด็ดขาด”, “ออกฤทธิ์แรง” เนื่องจากเป็นข้อความที่อาจเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินจริง-“ไม่ทำลายเนื้อผ้าหรือทำให้ผ้าเป็นสีเหลือง”, “อ่อนโยนต่อทุกเนื้อผ้า”, “อ่อนโยนต่อเส้นใยผ้า”, “ถนอมผ้า”, “ปลอดภัยต่อผ้าสี”, “คงไว้ซึ่งความนุ่มนวลของเนื้อผ้า”, “พลังสลายคราบสกปรก” เนื่องจากเป็นข้อความที่อาจเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินจริง-แม้แต่ชื่อทางการค้าก็ต้องไม่สื่อไปในทำนองโอ้อวดสรรพคุณ หรือทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของผลิตภัณฑ์ หรือสื่อให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคขาดความระมัดระวังในการใช้ที่มา : คู่มือการจัดทำฉลากวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 โดยกลุ่มควบคุมอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาข้อมูลสำคัญที่ “ต้องมี” บนฉลากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด1.ชื่อทางการค้า ต้องเป็นภาษาไทย ขนาดเห็นได้ชัด หากมีชื่อเป็นภาษาต่างประเทศต้องตรงกันหรือมีความหมายอย่างเดียวกันกับชื่อการค้าภาษาไทย2.ชื่อและอันตราส่วนของสารสำคัญ ต้องแสดงเป็นหน่วยร้อยละของน้ำหนักต่อน้ำหนัก (% w/w) หรือร้อยละของน้ำหนักต่อปริมาตร (% w/v)3.ประโยชน์4.วิธีใช้5.คำเตือนหรือข้อควรระวัง ต้องใช้อักษรทึบหรือขีดเส้นใต้6.วิธีเก็บรักษา7.ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดพิษ (ถ้ามี) ไมว่าจะเป็น อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษเบื้องต้น คำแนะนำสำหรับแพทย์8.การทำลายภาชนะบรรจุ (ถ้ามี)9.เครื่องหมายและข้อความแสดงระดับความเป็นพิษ และ/หรืออันตรายตามที่กำหนด (ถ้ามี) 10.เลขที่รับแจ้ง 11.ขนาดบรรจุ (ปริมาณสุทธิ) 12.วัน เดือน ปี ที่ผลิต 13.วันหมดอายุการใช้ (ถ้ามี)14.เลขหรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต (Lot Number/ Batch Number)15.ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ของผู้ผลิตในประเทศ หรือนำเข้า พร้อมชื่อและประเทศของผู้ผลิตผลการสำรวจฉลากตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่ไม่ว่า สำหรับใช้ทำความสะอาดพื้นหรือทำความสะอาดเสื้อผ้า จะมีการให้ข้อมูลในเรื่องการฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลายตัวอย่าง ที่อ้างว่า สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่า 100% เพราะดูเป็นการโอ้อวดเกินจริง แต่ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความบนฉลากผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค อนุญาตให้แสดงค่าความสามารถหรือตัวเลขที่แสดงความสามารถในการฆ่าเชื้อ เมื่อมีข้อมูลผลการทดสอบประสิทธิภาพเชิงปริมาณ แต่ต้องระบุชื่อเชื้อที่ใช้ทดสอบและแสดงข้อความว่าเป็นข้อมูลที่ได้จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยตัวอย่างที่สำรวจส่วนใหญ่ก็จะมีการอ้างถึงแหล่งที่มาของการทดสอบ แต่ก็มีบางตัวอย่างที่ใช้คำโฆษณาเรื่องการฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% แต่ไม่ได้อ้างอิงที่มาของคำโฆษณาดังกล่าว เช่น แวนิช ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบ เอ๊กซ์ตร้า ไอยีน และ เดทตอล ลอนดรี แซนิไทเซอร์ผลิตภัณฑ์ที่แสดงโฆษณาบนฉลากว่า “สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” หมายความว่าผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ Staphylococcus aureus และ Salmonella enterica (choleraesuis)ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน แม้จะมีสารเคมีที่มีความเป็นพิษต่ำ แต่ก็ถือเป็นสารที่อันตรายหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธี เช่น เข้าตา หรือเผลอกลืนกินเข้าสู่ร่างกาย เพราะฉะนั้นต้องเก็บผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้พ้นมือเด็ก ส่วนผู้ที่ใช้แล้วเกิดอาการแพ้ต้องหยุดใช้ทันทีและควรไปพบแพทย์ ปริมาณที่ใช้ก็ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนฉลากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคสารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าและพื้นที่ภายในอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ เป็นสารในกลุ่ม disinfectant ซึ่งสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจง เหมาะสำหรับใช้ทำความสะอาดพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ โดยสารเคมีหลักๆ ที่ใช้ก็คือสารที่มีผลในการฆ่าและยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรค กับสารที่ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิว (surfactant) ซึ่งก็มีคุณสมบัติในการขจัดสิ่งสกปรกและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะ Ethoxylated alcohol, Sodium Lauryl Sulfate,  Alkyldimethyl benzyl ammonium chloride และ Didecyl dimenthyl ammonium chlorideผลทดสอบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 189 “ทิชชู่เปียก” เลือกใช้เท่าที่จำเป็น

ปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายหลากหลายประเภท ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันชนิดหนึ่งก็คือ ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย” หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “ทิชชู่เปียก” (Wipes) ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์ ใช้เช็ดทำความสะอาดได้ทั้งผิวกาย ผิวหน้า ใช้ลบรอยเครื่องสำอาง บางชนิดบางยี่ห้อก็สามารถนำไปทำความสะอาดผิวกายของทารกได้ด้วย หตุผลที่ผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย หรือ ทิชชู่เปียก ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน น่าจะมาจากความรู้สึกของผู้ใช้ที่รู้สึกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้สามารถทำความสะอาดได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าจะใช้แค่กระดาษชำระธรรมดา ทั้งนี้เพราะผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ มีส่วนประกอบหลักคือ “น้ำ” ทำให้เวลาที่เช็ดทำความสะอาดนอกจากคราบสกปรกจะถูกเช็ดออกได้หมดจดมากกว่าแล้ว ยังทำให้ผิวของผู้ใช้รู้สึกถึงความชุ่มชื่น นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิว สารฆ่าเชื้อโรค สารที่ช่วยบำรุงผิว จึงอาจทำให้ผู้บริโภคมั่นใจและนิยมมากกว่ากระดาษทิชชู่แต่การใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบของสารเคมีในกลุ่มของสารที่ใช้ฆ่าเชื้อ (กลุ่ม Antiseptics หรือสารเคมีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่อยู่ภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิต ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ) แม้ว่าจะเป็นสารที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้เพราะผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตราย แต่ผิวของแต่ละคนไม่เหมือนกันอาการแพ้จากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงอาจเกิดขึ้นได้นอกจากนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกาศว่าพบผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ มีบางตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐานด้านจุลชีววิทยาจำนวน 2 ตัวอย่าง(จาก 44 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีจำนวนรวมของแบคทีเรีย ยีสต์ และ รา ที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศมากกว่า 1,000 cfu/g ซึ่งอาจมีสาเหตุจากกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ จึงต้องระมัดระวังในการใช้ให้ถูกวิธี ฉลาดซื้อ ฉบับนี้จะพาไปดูผลการเปรียบเทียบของผลิตภัณฑ์ “ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย” ว่าแต่ละยี่ห้อที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด มีจุดดีจุดเด่นอะไรกันบ้าง ผลการสำรวจ-จากการสำรวจพบว่า มีการกล่าวอ้างบนฉลากว่า “ไม่มีการใช้แอลกอฮอล์” แทบจะทุกยี่ห้อ อย่างไรก็ตาม แอลกอฮอล์ที่ถูกอ้างถึง น่าจะหมายถึง เอทานอล (ethanol) ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค แต่ก็เป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ง่าย แต่จากการสังเกตบนฉลากในส่วนประกอบบางยี่ห้อที่อ้างว่าปราศจากแอลกอฮอล์นั้น ก็มีการระบุว่า มีการใช้ Dichlorobenzyl alcohol ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ ชนิดหนึ่งเช่นกัน ซึ่งนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในช่องปาก และบางยี่ห้อมีการใช้ Phenoxyethanol ที่มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ถ้าใช้ในปริมาณที่เข้มข้นอาจเกิดอาการแพ้ได้-พบว่า มีการใช้คำอ้างว่า ลดการสะสมของแบคทีเรีย แอนตี้แบคทีเรีย สูตรแอนตี้แบคทีเรีย ในหลายยี่ห้อ แต่มีเพียง 4 ยี่ห้อที่ ระบุลดการสะสมของแบคทีเรีย 99.9% คือยี่ห้อ เดทตอล ซึ่งระบุวิธีการทดสอบ จากผลการทดสอบในหลอดทดลองระยะเวลาสัมผัสเชื้อ E.coli, S.aureus นาน 60 วินาที (เรกคิทท์ เบนคีเซอร์, 2558)ยี่ห้อ เซลล็อกซ์ พิวริฟาย อ้างว่าลดการสะสมของแบคทีเรีย(S.aureus,K.pneumoniae) 99.9% ด้วยเทคโนโลยีเจิร์มเคลียร์พลัส แต่ไม่มีรายละเอียดวิธีการทดสอบเหมือนเดทตอลยี่ห้อ แคริสม่า อเนกประสงค์ อ้างว่า มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อไวรัส รา และแบคทีเรียได้ถึง 99.99% แต่ไม่มีการบอกถึงลักษณะของการทดสอบว่าใช้วิธีการใด อ้างเพียงว่า ผ่านการรับรองโดยนักวิจัยจากห้องทดลองชั้นนำ ใน UK และ VIRUSOLVE+ นอกจากนี้ยังไม่มีการระบุเลขที่จดแจ้งบนฉลากด้วยยี่ห้อ แคริสม่า ผ้าเช็ดผิวแบบเปียก สูตรยับยั้งแบคทีเรีย มีการใช้ภาพเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Antibacterial 99.9% โดยไม่ระบุวิธีการทดสอบแต่อย่างใด ซึ่งน่าจะเข้าข่ายฉลากที่ชวนให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ โดยกล่าวอ้างเกินจริง ว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ 99.9 %ฉลาดซื้อแนะนำ- ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย หรือ ทิชชู่เปียก จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องสำอาง ต้องมีการจดแจ้งเพื่อผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทยชัดเจนครบถ้วน มีเลขที่ใบรับแจ้ง รวมถึงระบุผู้ผลิตชัดเจน และควรสังเกตหากใช้แล้วมีอาการแพ้ เป็นผื่นแดง บวม อักเสบ ต้องหยุดใช้ และไปพบแพทย์ทันที- ควรใช้ให้ถูกวิธีและปฏิบัติตามคำเตือนบนฉลาก เช่น ไม่ควรเช็ดรอบบริเวณดวงตา ไม่ทิ้งลงในชักโครก - ชนิดที่ระบุว่า ฆ่าเชื้อโรคได้ 99% ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่อาจก่อให้เกิดเชื้อโรคดื้อยาในสิ่งแวดล้อม - ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย ที่ถึงแม้จะโฆษณาว่า อ่อนโยนต่อผิวทารก ไม่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีน้ำหอม ใช้แล้วไม่ระคายเคืองต่อผิว แต่ก็ควรใช้แต่พอดีใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อไม่เป็นการสร้างขยะ และการทิ้งเชื้อโรคไว้ในทิชชู่เปียก ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกใช้วิธีทำความสะอาดแบบธรรมดาอย่างการใช้สบู่และน้ำจะดีกว่า ประหยัดกว่า- มีข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) ว่า ได้มีการเรียกเก็บผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาดแบบเปียกบางยี่ห้อคืนจากท้องตลาด เนื่องจากพบจุลินทรีย์ในกลุ่ม Pseudomonas ปนเปื้อน ดังนั้นก็ใช่ว่า ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดแล้ว จะสะอาดเสมอไป เพราะอาจได้เชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่เพิ่มเข้ามาด้วย - ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้วควรทิ้งทันที เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค เมื่อเช็ดทำความสะอาดผิวของตัวเราแล้วไม่ควรนำไปเช็ดทำความสะอาดผิวของคนอื่นอีก- การอ้างว่า ผ่านการทดสอบโดยสถาบันหรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังมาแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวนั้น อย่าได้วางใจ 100% เพราะผิวของแต่คนแตกต่างกัน โอกาสที่จะเกิดอาการแพ้จากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีอย่างผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายถือว่ามีความเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นควรใช้อย่างระมัดระวัง ปฏิบัติตามคำเตือน เมื่อเกิดอาการแพ้ต้องหยุดใช้ทันทีทิชชู่เปียก ทำลายสิ่งแวดล้อม?ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้ว ถือเป็นขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะย่อยสลายช้า ว่ากันว่าต้องใช้เวลามากกว่า 100 ปีในการย่อยสลาย เช่นเดียวกับพลาสติก มีหลายคนที่นำผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้วทิ้งลงในชักโครก ซึ่งการเป็นต้นเหตุให้เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำ อย่างที่ประเทศอังกฤษบรรดาบริษัทด้านระบบประปาต่างรบตัวกันออกแคมเปญ “อย่าทิ้งทิชชู่เปียกลงในชักโครก” ส่วนในอเมริกาก็มีกรณีฟ้องร้องให้บริษัทผู้ผลิตทิชชู่เปียกจำนวน 6 บริษัท ยกเลิกข้อความบนผลิตภัณฑ์ที่บอกว่า “ทิ้งลงชักโครกได้” เพราะเมื่อทิ้งลงไปแล้ว ตัวทิชชู่เปียกไม่ได้ถูกย่อยสลาย แถมจะไปอุดตันตามท่อ ถ้าออกไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมสารประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย1.  น้ำ ใช้เพื่อทำเป็นตัวทำละลายสารต่างๆ ถือเป็นส่วนประกอบหลัก ในฉลากผลิตภัณฑ์อาจจะใช้คำที่หลากหลายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น water, Puriffed water, Pure Water และ Aqua2.   สารที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค ที่พบบ่อย Ethanol, Dichlorobenzyl Alcohol, Benzalkonium Chloride Isopropyl Methylphenol เป็นต้น3. สารลดแรงตึงผิว(Surfactants) มีคุณสมบัติเพื่อช่วยให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากพื้นผิวโดยง่าย เช่น lauryl hydroxysultaine และสารลดแรงตึงผิวบางชนิดมีคุณสมบัติทำลายเชื้อโรคพ่วงด้วย ที่พบใช้อยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ก็คือ Benzalkonium Chloride นอกจากนี้ยังมีสารที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นอย่าง Panthenol และสารที่ได้จากกรดผลไม้อย่าง Malic Acid (สารสกัดจากแอปเปิล), Citric Acid (สารสกัดจากส้ม) หรือ Ascorbic Acid (วิตามินซี)4.  น้ำหอม ใส่เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมเชิญชวนให้น่าใช้มากขึ้น บนฉลากจะใช้คำว่า Fragance, Perfume หรือ Parfum5.  วัตถุกันเสีย (Preservative) มีคุณสมบัติป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพก่อนกำหนด สารที่นิยมใช้คือ Sodium Benzoate เป็นได้ทั้งวัตถุกันเสียและมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อด้วยเช่นกัน และสารในกลุ่ม Paraben เช่น Methylparaben และ Ethylparaben ซึ่ง พาราเบนเป็นสารที่ยังมีข้อสงสัยในหมู่นักวิจัยว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็ยังเป็นสารที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ โดยอ้างว่าปริมาณที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อยู่ในปริมาณที่น้อยมากจนไม่น่าส่งผลกระทบใดๆ แต่ก็เริ่มมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำนวนไม่น้อย ที่เลิกใช้สาร Paraben เพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้บริโภคผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย ทำมาจากผ้าที่มีชื่อเรียกว่า Spunlance Nonwoven เป็นผ้าชนิดที่ไม่มีการถักการทอตามลักษณะโดยทั่วไป แต่เกิดจากการยึดติดกันของเส้นใยโดยการใช้สารเคมี และยึดโดยการใช้ความร้อน อัดติด หรือการทำให้เส้นใยยึดติดเกาะกันเองด้วยกระบวนการทางเคมี เชิงกล ความร้อน สารละเลย หรือหลายๆ อย่างรวมกัน มีคุณสมบัติเป็นผ้าที่มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม เส้นใยไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อผู้ใช้ ดูดซึมน้ำและของเหลวได้ดี น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 เพื่อนบ้านเป็นเหตุวิธีสังเกตเครื่องสำอางที่ปลอดภัย

การเลือกเครื่องสำอางให้ปลอดภัยจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากเราตรวจสอบรายละเอียดสำคัญต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ก่อนใช้งาน ซึ่งจะมีวิธีตรวจสอบเบื้องต้นอย่างไรลองมาดูกันเลย1. ตรวจสอบฉลากกันก่อนฉลากเครื่องสำอาง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดจำเป็นต้องมี ซึ่งตามพระราชพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 กำหนดให้ระบุรายละเอียด ดังนี้ 1. ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า2. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีที่ผลิตในประเทศ ส่วนในกรณีที่นำเข้าให้ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า และชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต 3. ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน เดือนปีที่ผลิตและที่หมดอายุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต และชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต 4. ข้อความอื่นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกขาสำหรับกรณีภาชนะบรรจุเครื่องสำอางมีขนาดเล็ก คือ มีพื้นที่แสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร อย่างน้อยต้องแสดงข้อความ ดังนี้ 1. ชื่อเครื่องสำอาง 2. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต 3. เดือน ปี ที่ผลิต/ปี เดือนที่ผลิต 4. เลขที่ใบรับแจ้ง ส่วนข้อความอื่นๆ ให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารคู่มือที่ใช้ประกอบเครื่องสำอาง2. ตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้งปัจจุบันเครื่องสำอางทุกชนิดต้องมีเลขที่จดแจ้งเป็นตัวเลขจำนวน 10 หลัก เช่น 10-2-5624168 โดย 2 หลักแรก บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดที่จังหวัดใด ถัดมาหลักที่ 3 บ่งบอกว่าเป็นสินค้าที่ผลิต (1) หรือนำเข้า (2) หรือผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออก (3) และหลักที่ 4 – 5 บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดในปี พ.ศ. ใด ซึ่งจะมีอายุ 3 ปีนับแต่วันที่ออกใบรับจดแจ้ง ส่วนหลักที่ 6 -10 จะเป็นลำดับของการออกใบรับแจ้งในปี พ.ศ. นั้น ซึ่งเลขที่จดแจ้งจะแตกต่างจากเลข อย. 13 หลักที่ไว้กำกับควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารหากผลิตภัณฑ์ใดผ่านการตรวจสอบจาก อย.แล้วว่าไม่มีสารห้ามใช้ (หรือหากมีสารที่ควบคุมปริมาณการใช้ก็จะต้องมีปริมาณไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด) จะได้รับเลขที่รับแจ้งและต้องแสดงเลขดังกล่าวไว้บนฉลากเครื่องสำอาง เพื่อบ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้แจ้งรายละเอียดต่อรัฐตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สืบค้นข้อมูลได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ อย. (http://fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/cosmetic/CSerch.asp?id=cos ) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการระบุชื่อผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายตรงกับในฉลากหรือไม่ โดยหากเราพบว่าไม่ตรงกันก็สามารถแจ้ง อย. เพื่อให้ตรวจสอบได้อย่างไรก็ตามการที่ผลิตภัณฑ์มีเลขที่จดแจ้ง ไม่ได้หมายความว่าเราใช้แล้วจะไม่มีอาการแพ้ เนื่องจากการจดแจ้งเป็นเพียงการแจ้งส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่อาการแพ้เป็นปฏิกิริยาเฉพาะบุคคล ซึ่งต่อให้ไม่มีสารต้องห้ามอยู่ในส่วนประกอบ แต่เราสามารถเกิดอาการแพ้ได้จากสารประกอบอื่นๆ เช่น น้ำหอม แอลกอออล์หรือสารกันเสีย จึงควรทดสอบอาการแพ้เบื้องต้นก่อนใช้งานเสมอ3. สังเกตวิธีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ใดที่มีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่า มีจุดมุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ต่อร่างกายมนุษย์ หรือสำหรับใช้ในการบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค ถือว่าเป็นข้อความโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เนื่องจากทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญอันเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เช่น “ยกกระชับ หน้าแลเรียวเล็ก ปลอดภัย 100% นวัตกรรมใหม่ ปรับหน้าเรียวง่ายๆ เมื่อใช้ต่อเนื่อง 7-14 วัน” โดยตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คำว่าปลอดภัย 100% ถือเป็นข้อความที่พิจารณาได้ว่าโอ้อวดเกินจริง ยากแก่การพิสูจน์4. สังเกตร้านค้าร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน เป็นทางเลือกที่ดีในการซื้อเครื่องสำอาง เพราะหากเกิดปัญหา เราสามารถติดต่อผู้รับผิดชอบได้ นอกจากนี้เราก็ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในภาชนะบรรจุหีบห่อสภาพดี และมีการเก็บรักษาอย่างดี ไม่อยู่ในที่ร้อนชื้นหรือโดนแสงแดด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 ตรวจขี้ตา ตรวจขี้หู แล้วดูโรค

ข่าวการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพหลอกลวงชาวบ้านมีออกมาเรื่อยๆ  ส่วนใหญ่ผู้ขายเกือบทั้งหมดมักจะสร้างความน่าเชื่อถือ โดยอ้างอิงผลการศึกษาวิจัยจากสถาบันต่างๆ อ้างผิดอ้างถูก จริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆเหยื่อมักจะระทวยหลงเชื่อไปแล้ว เพราะไม่ค่อยมีใครตรวจสอบล่าสุดผมได้รับข่าวจากน้องเภสัชกร โรงพยาบาลวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เล่าให้ฟังว่า  ได้ทราบข่าวผ่านทางไลน์ของ อสม.ในพื้นที่ว่า มีคนกลุ่มหนึ่งอ้างว่ามาจากศูนย์วิจัยเทคโนโลยีแห่งหนึ่ง นำสมุนไพรมาหยอดตาชาวบ้าน และจะวินิจฉัยโรคจากขี้ตาที่ไหลออกมาหลังจากหยอดตา(สงสัยเป็นทฤษฎีขี้ตาศาสตร์) เมื่อน้องเภสัชกรท่านนี้พร้อมทีมงาน ลงไปติดตามตรวจสอบก็พบว่า คนกลุ่มนี้กำลังหยอดหูชาวบ้าน(สงสัยจะใช้วิชาขี้หูศาสตร์ ทำนายโรคจากขี้หูอีก) จึงได้สั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าว และพาตัวไปดำเนินการตามกฎหมายที่สถานีตำรวจจากข้อมูลที่ได้ฟังมา คนกลุ่มนี้อ้างว่าตนเองมาจากทีมวิจัยสมุนไพรของศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพยั่งยืน  ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งทางภาคอีสาน  ได้เดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาเยี่ยมญาติที่ป่วยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้  จึงอยากนำสินค้ามาแนะนำให้เพื่อเป็นการทำบุญตามโครงการวิจัย(มีการอ้างบุญซะด้วย) พวกตนจึงขอให้ผู้ใหญ่บ้านประกาศเสียงตามสาย ให้ชาวบ้านที่มีปัญหาเรื่อง หู ตา คอ จมูก เบาหวาน ภูมิแพ้ ความดัน นำบัตรประชาชนมาลงทะเบียนเพื่อตรวจสุขภาพฟรี (กวาดต้อนมาซะหลายโรคยังกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่)จากการตรวจสอบพบว่า มีของกลางเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรจีน 4 ชนิด มีราคาตั้งแต่ 500 – 3,600 บาท  โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแสดงเลข อย. หมายถึงมีการขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร แต่เมื่อพิจารณาข้อความบนฉลาก พบว่าใช้ข้อความเชิงโอ้อวด เช่น “เหมาะสำหรับสุภาพบุรุษหรือสุภาพสตรีที่ต้องการสมรรถนะของร่างกายที่ดีเยี่ยม” นอกจากนี้บางผลิตภัณฑ์ยังแสดงฉลากไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย หรือบางผลิตภัณฑ์ก็มีการแสดงชื่อเว็บไซต์บนฉลากด้วย แต่เมื่อตรวจสอบกลับไปก็ไม่พบหน้าเว็บดังกล่าว  แต่พบว่าเคยชื่อของเว็บเคยใช้เป็นชื่อของกิจการผลิตและจำหน่ายน้ำยากำเนิดโฟมผลิตคอนกรีตมวลเบาซะเนี๊ย (ไปกันใหญ่แล้วพี่น้อง) จนมีชาวบ้านหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวหลายราย(อ้าว!ไหนบอกว่ามาเยี่ยมญาติและทำบุญ ไหงกลายเป็นทำการค้าไปได้)เหตุการณ์ที่เล่ามานี้ แสดงให้เห็นถึงกลวิธีต่างๆ ในการหลอกลวงผู้บริโภค เช่น  การขายที่มักจะอ้างผลการศึกษาวิจัย ของสถาบันต่างๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ   หรือ การสร้างความน่าเชื่อถือประกอบการขาย โดยมีการกระทำบางอย่าง เช่น การตรวจสุขภาพ (ดูขี้ตาดูขี้หูก็เอา) แต่ที่น่าสนใจที่สุด คือการลุกขึ้นมาจัดการโดยเครือข่าย อสม. โดยใช้ไลน์เป็นเครื่องมือแจ้งข่าวจากการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สินค้าที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน  นับเป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อให้ผู้บริโภคในที่ต่างๆใช้เป็นแบบอย่างในการร่วมเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 กระแสต่างแดน

เราจะไม่ทนชาวเมืองอัมฮุลท์ ประเทศสวีเดนตัดสินใจฟ้องร้องต่อศาลที่ดินและสิ่งแวดล้อมให้ดำเนินการกับห้างอิเกีย ต้นเหตุของกลิ่นเหม็นที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้พวกเขามาตลอด ตั้งแต่เปิดดำเนินกิจการเมื่อ 4 ปีก่อนเทศบาลได้รับจดหมาย/อีเมล์ร้องเรียนจากชาวบ้านมาโดยตลอดเรื่องกลิ่น “เหม็นเหมือนส้วม” ที่ดูเหมือนจะมีที่มาจากห้างดังกล่าว เทศบาลไม่ได้นิ่งเฉยแต่อย่างใด เขาเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจหลายครั้ง ทำความสะอาดท่อระบายน้ำ รวมถึงสั่งปิดบ่อน้ำเสีย แต่กลิ่นที่ว่าก็ยังไม่จางลงเมื่อต้นปีเทศบาลมีคำสั่งให้อิเกียตรวจสอบระบบกำจัดเศษอาหารและถังดักไขมัน ซึ่งก็พบว่าขาดการบำรุงรักษามาได้พักใหญ่ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็รายงานว่า อิเกียได้ปล่อยน้ำเสียและไขมันลงในระบบน้ำทิ้งเกินโควต้าแล้วเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาห้างอิเกียได้นำระบบกำจัดกลิ่นมาใช้ แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ... เรามากลั้นใจรอดูกันต่อไปว่าศาลจะตัดสินเรื่องนี้อย่างไร เร็วแต่ไม่ระวังในปี 2014 ฝรั่งเศสมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์มากเป็นประวัติการณ์  รัฐบาลจึงเริ่มนำมาตรการความปลอดภัยใหม่ๆ มาใช้ เช่น ลดขีดจำกัดความเร็วบนทางหลวงชนบทจาก 90 กม. /ชม.เหลือ 80 กม./ชม. กำหนดให้ระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจของผู้ขับขี่ต้องเป็นศูนย์ และติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มขึ้นอีก 500 ตัว แถมด้วยกล้องหลอกอีก 10,000 ตัวแต่บริษัท Sanef เจ้าของกิจการมอเตอร์เวย์ในฝรั่งเศสได้เฝ้าสังเกตรถยนต์จำนวน 140,000 คันบนทางพิเศษหมายเลข A13 ระหว่างกรุงปารีสและเมืองก็อง แล้วพบว่า...ปีนี้ความเร็วเฉลี่ยในการขับรถของคนฝรั่งเศสอยู่ที่ 129 กม./ชม.(เพิ่มขึ้น 2 กม.จาก 4 ปีก่อน) และมีถึงร้อยละ 43 ที่ขับรถด้วยความเร็วเกิน 130 กม./ชม. นอกจากนี้จำนวนคนที่ใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถก็เพิ่มขึ้นด้วยพูดง่ายๆ คือผู้คนขับรถเร็วขึ้นในขณะที่มีสมาธิในการขับขี่น้อยลง ที่สำคัญคืออัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนก็เพิ่มสูงขึ้น โดย 7 ใน 10 ของอุบัติเหตุเหล่านั้นมีสาเหตุจากการขับรถเร็วมันยังไม่ตรงใจทุกๆ ปี สหภาพยุโรปจะทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคเรื่องความพึงพอใจในสินค้า อาหารและบริการ ปีนี้เขาพบว่าจาก 30 ประเทศที่สำรวจ นอร์เวย์เป็นหนึ่งในประเทศที่ผู้คนไม่พอใจกับตัวเลือกด้านอาหาร(เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้) มากที่สุด อีกสองประเทศได้แก่ โครเอเชียและบัลเกเรียNortura หรือสหกรณ์การเกษตรของนอร์เวย์ถึงกับแสดงความประหลาดใจออกสื่อ เป็นไปได้อย่างไรกัน   คุณภาพอาหารของเราดีเลิศขนาดนี้ ผู้บริโภคนอร์เวย์ควรจะเป็นกลุ่มที่มีความพึงพอใจสูงที่สุดในยุโรปด้วยซ้ำไปทางด้าน Forbrukerradet องค์กรเฝ้าระวังเรื่องผู้บริโภคของนอร์เวย์ บอกว่าผลสำรวจนี้น่าจะทำให้หลายฝ่ายได้สำนึกกันเสียที และไม่ใช่แค่อาหารเท่านั้น ความพึงพอใจในบริการด้านร้านอาหาร ร้านกาแฟ และบาร์ของคนนอร์เวย์ก็ลดลงด้วยส่วนเรื่องที่คนประเทศนี้มีความพึงพอใจมากกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรปคือ น้ำประปา บริการธนาคาร และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคุณหลอก (ด้วย) ดาว นิวซีแลนด์มีระบบ Health Star Rating เพื่อติดดาวให้กับอาหารสำเร็จรูปสำหรับเด็กเพื่อแสดงระดับความ “เป็นมิตรต่อสุขภาพ”แต่เมื่อทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอ้คแลนด์ลองนำผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13,066 ชนิด ที่ได้ตั้งแต่ “3.5 ดาว” ขึ้นไป(หมายถึงดีต่อสุขภาพในระดับหนึ่งและสามารถโฆษณาได้) มาเทียบด้วยเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก เขาได้ข้อสรุปว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลนิวซีแลนด์จะทบทวนนโยบายเรื่องนี้ ถ้าดูในภาพรวม ร้อยละ 36 เข้าข่ายอาหารที่ดีต่อสุขภาพตามระบบดาว แต่มีเพียงร้อยละ 29 ที่ผ่านเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO)ถ้าแยกประเภทจะพบว่า ร้อยละ 77 ของอาหารเช้าซีเรียล “ดีต่อสุขภาพ” ตามระบบดาว ในขณะที่มีร้อยละ 34 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ของ WHOร้อยละ 12 ของขนมปังกรอบเข้าข่ายอาหารที่ดีตามระบบดาว แต่เพียงร้อยละ 0.3 ผ่านเกณฑ์ของ WHOที่น่าตกใจที่สุดคือประเภทผลไม้อบแห้ง ที่ร้อยละ 44 เข้าข่ายอาหารที่ดีต่อสุขภาพตามระบบดาว แต่มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ WHOตัดไฟแต่ต้นลม ปีที่ผ่านมาอินโดนีเซียเผชิญกับไฟป่าที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ประเทศข้างเคียงอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยต่างก็ได้รับผลกระทบจากหมอกควันที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก รัฐบาลอินโดนีเซียจึงหยุดให้สัมปทานการปลูกปาล์ม รวมถึงไล่ล่าฟ้องร้องบริษัทต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดไฟป่าครั้งก่อน เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาบริษัทหนึ่งถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าปรับเป็นเงินถึง 2,800 ล้านบาทนอกจากนี้ยังจริงจังกับการพัฒนาพื้นที่ป่าพรุ เพื่อลดพื้นที่เสี่ยงต่อการติดไฟหรือฮอทสปอตด้วย  เท่านั้นยังไม่เพียงพอ สื่ออินโดนีเซียเรียกร้องให้ภาคธุรกิจเกษตรในประเทศออกมาแสดงความรับผิดชอบให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ เสียงจากผู้บริโภคที่จะบอกกับผู้ประกอบการว่า เราไม่ต้องการไฟป่าหรือหมอกควัน ด้วยการเลือกสนับสนุนเฉพาะผู้ประกอบการที่ผลิตน้ำมันปาล์มหรือกระดาษด้วยกรรมวิธีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >