ฉบับที่ 147 ยกเลิกคอร์สทำหน้าแล้ว แต่บัตรเครดิตยังเรียกเก็บเงิน

ขอความกรุณาช่วยแนะนำด้วยค่ะได้ทำเรื่องยกเลิกคอร์สทำหน้ากับคลินิกแห่งหนึ่ง(ยังไม่เคยไปใช้บริการเลยค่ะ) จ่ายไปจำนวนเงิน 30,000 บาทเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ทางเจ้าหน้าที่ของคลินิกได้ออกเอกสารทำเรื่องคืนเงินเข้าบัตรมาให้ 2 ฉบับและดิฉันได้ไปทำเรื่องขอปฏิเสธการชำระเงินพร้อมกับแนบเอกสารที่คลินิกออกให้กับดิฉันให้ทางธนาคารด้วย  แต่พอใกล้ ๆ สิ้นเดือนตุลาคม มีจดหมายใบแจ้งหนี้ยอดบัตรเครดิตส่งมาให้ โทรสอบถามกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารก็ได้รับคำตอบว่าในระหว่างดำเนินการตรวจสอบยอดจำนวนเงินที่ขอปฏิเสธการชำระไว้ ดิฉันต้องจ่ายเงินที่รูดไปให้กับทางธนาคารก่อน  ระยะเวลาในการตรวจสอบอาจนานถึง 120 วันดิฉันอยากจะถามว่าทำไมต้องตรวจสอบนานมากขนาดนั้นด้วยคะ ทั้ง ๆ ที่ดิฉันก็มีเอกสารที่ทางร้านค้าให้เป็นหลักฐานในการคืนเงินเข้าบัตรเครดิตแล้ว แล้วถ้าเกิดว่าทางร้านค้าไม่ยอมคืนเงินให้ดิฉันจะทำอย่างไรได้บ้าง โทรไปสอบถามกับทางธนาคารหลายทีแล้วว่าเรื่องได้ดำเนินการไปถึงไหนแต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่เป็นประโยชน์เลยค่ะ ดูเหมือนทางธนาคารจะไม่สนใจไม่ยอมช่วยเหลืออะไรดิฉันเลย กลุ้มใจมากค่ะ อยากขอความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำด้วยนะคะ แนวทางแก้ไขปัญหาคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ประกาศให้ ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ในกรณีที่มีการชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการผ่านทางบัตรเครดิต แล้วผู้บริโภคเกิดเปลี่ยนใจไม่ต้องการที่จะซื้อสินค้าหรือบริการนั้นอีกต่อไปและทางผู้ให้บริการยินดียกเลิกสัญญาการใช้บริการโดยไม่มีเงื่อนไข จึงถือว่าผู้บริโภคไม่ได้เป็นผู้ขอรับบริการอีกต่อไปประกาศฉบับนี้ได้ให้ความคุ้มครองกับผู้บริโภคในกรณีดังกล่าว ด้วยการบังคับให้บัตรเครดิตต้องมีข้อสัญญาว่า ถ้าผู้บริโภคทักท้วงว่าไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าหรือไม่ได้เป็นผู้ขอรับบริการ จากผู้ขายหรือผู้ให้บริการดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจจะระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคทันที หรือในกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้วจะคืนเงินให้กับผู้บริโภคทันที เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจจะพิสูจน์ได้ว่าภาระหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของผู้บริโภคเองและใช้สิทธิเรียกคืนจากผู้บริโภคในภายหลังดังนั้น เมื่อผู้บริโภคได้ทักท้วงไปยังธนาคารที่ออกบัตรเครดิตว่า ไม่ได้เป็นผู้ขอรับบริการจากทางคลินิกแล้ว เมื่อธนาคารรับทราบแล้ว จะต้องปฏิบัติตามสัญญาควบคุมของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยการระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคทันที หากมีการเรียกเก็บเงินไปแล้วก็จะต้องคืนให้กับผู้บริโภคทันทีเช่นกัน หากมิได้ดำเนินการโดยทันที ผู้บริโภคมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากธนาคารได้ โดยอาจเทียบเคียงจากเบี้ยปรับการชำระเงินล่าช้าที่ธนาคารเรียกเก็บก็ได้นอกจากนี้ ประกาศฉบับดังกล่าว ยังให้ความคุ้มครองในสิทธิของผู้บริโภคในการยกเลิกการซื้อสินค้าหรือรับบริการอีกด้วย ด้วยการออกข้อบังคับให้สัญญาบัตรเครดิตต้องมีเงื่อนไขที่จะไม่ตัดสิทธิของผู้บริโภคที่จะขอยกเลิกการซื้อสินค้าหรือรับบริการภายในระยะเวลา 45 วัน นับตั้งแต่วันที่สั่งซื้อหรือขอรับบริการ หรือภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันถึงกำหนดการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ในกรณีที่มีการกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้าหรือบริการเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าผู้บริโภคพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้รับสินค้า หรือไม่ได้รับบริการ หรือได้รับแต่ไม่ตรงตามกำหนดเวลาหรือได้รับแล้วแต่ไม่ครบถ้วน หรือชำรุดบกพร่อง หรือไม่ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์โดยผู้ประกอบธุรกิจจะระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภค หรือในกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้ว ถ้าเป็นการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการภายในประเทศ จะคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้บริโภคแจ้ง ถ้าเป็นการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ จะคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายในระยะเวลา 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้บริโภคแจ้ง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 ปัญหาหนึ่งของบัตรสมาร์ทเพิร์ส บัตรไม่ชำรุดแต่ถูกบอกว่าชำรุด แนะให้ทำบัตรใหม่จ่ายเงินเพิ่ม

คุณยิ่งยศร้องเรียนเข้ามาว่า...ผมได้ซื้อบัตรสมาร์ทเพิร์ส Smart Purse ที่บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ออกร่วมกับ SF cinema city ก็ใช้ได้ตามปกติตลอดจนมาวันหนึ่งนำบัตรไปแตะกับเครื่องอ่าน แต่เครื่องไม่อ่านแจ้งไปทางบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด เขาให้ไปติดต่อกับเอสเอฟ แต่เอสเอฟไม่รับคืนเพราะเลิกใช้บัตรนี้แล้วทาง บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด จึงให้ไปคืนที่ 7-11 ก่อนส่งบัตรไป ผมให้ทางผู้จัดการร้าน 7-11 ตรวจดูบัตรว่าแตกหักหรือไม่ แต่ก็ไม่มีร่องรอยแตกหัก พอส่งบัตรไป ทาง บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด แจ้งว่าบัตรแตก ให้ซื้อบัตรใหม่ในราคา 160 บาท และบัตรโอนได้แต่เงินคงเหลือในบัตร แต้มไม่สามารถโอนได้ ผมไม่ยอมตอนหลัง บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด จึงให้โอนแต้มได้ แต่ต้องซื้อบัตรใหม่อยู่ดี พร้อมส่งหนังสือและบัตรกลับมาให้ จึงเรียนสอบถามว่าผมจะสามารถทำอะไรได้บ้างกับกรณีนี้ครับ เพราะก่อนส่งไป ผู้จัดการร้าน 7-11 ก็ตรวจสอบแล้วว่าบัตรไม่แตกแต่พอไปถึง บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด กลับแจ้งว่าบัตรแตก แนวทางแก้ไขปัญหาเราได้เข้าไปตรวจสอบข้อมูลที่ http://www.thaismartcard.co.th ได้รับคำอธิบายขยายความว่า บัตรสมาร์ทเพิร์ส คือ การเก็บเงินสดไว้ในบัตรในรูปของเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ชำระค่าสินค้าและบริการผ่านเครื่อง ณ ร้านค้าที่รับบัตรสมาร์ทเพิร์ส เหมาะสำหรับการใช้จ่ายที่มีมูลค่าไม่มากนักแทนการใช้ธนบัตรหรือเหรียญ โดยมูลค่าในบัตรจะลดลงตามปริมาณการใช้ และสามารถเติมเงินลงในบัตรได้ด้วยเงินสด ที่จุดรับบริการเติมเงิน ได้แก่ ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ทรูช้อป ยามาฮ่า โชคดีติ่มซำ และSF Cinema ซึ่งการทำบัตรหายเท่ากับการทำเงินหายจึงควรดูแลเหมือนเงินสดและเก็บในที่ปลอดภัยสำหรับข้อดีที่บริษัทใช้ชักชวนผู้บริโภคมีหลายข้อ เช่น- บัตรสมาร์เพิร์สสามารถลดภาระ และความเสี่ยงจากการถือเงินสดช่วยให้ผู้ถือบัตรมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นในการพกพาบัตรเพียงใบเดียวแต่ใช้งานได้หลากหลาย- ผู้ถือบัตรจะได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว แก้ปัญหาการซื้อของแล้วไม่มีเงินทอน- ผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรสมาร์ทเพิร์สไปใช้ยังบริการอื่นๆ ที่รับบัตร นับเป็นช่องทางใหม่ในการจับจ่ายใช้สอย เช่น โทรศัพท์ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม โรงภาพยนตร์ ร้านหนังสือ-บันเทิง ระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น- บัตรสมาร์ทเพิร์สช่วยบริหารค่าใช้จ่ายส่วนตัวอย่างมีประสิทธิภาพ- ผู้ถือบัตรสามารถใช้บริการของธุรกิจหลากหลายประเภทที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนภายในบัตรใบเดียวกัน พร้อมระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด- ผู้ถือบัตรมีโอกาสได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มเติมสำหรับผู้ถือบัตรจากร้านค้าและเครือข่ายบัตรที่บริษัท ออกร่วมกับองค์กรภาคเอกชน (Co-Branded Card)เมื่อได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วว่าการที่บัตรใช้งานไม่ได้ ไม่ได้เกิดจากการใช้งานหรือความบกพร่องของผู้บริโภค เราจึงได้โทรติดต่อไปที่บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด เพื่อขอให้ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องแจ้งกลับมาว่าจะปรึกษากับผู้ใหญ่และติดต่อมาอีกครั้งหลังจากประสานงานกับทางบริษัทไทยสมาร์ทการ์ดแล้ว ได้มีการชี้แจงว่าได้ดำเนินการเปลี่ยนบัตรใหม่ให้กับทางผู้ร้องเรียนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้ทางบริษัทฯ แจ้งว่าเป็นการเข้าใจผิดระหว่างลูกค้ากับทางส่วนหน้าร้านในการเปลี่ยนบัตร บริษัทฯ ต้องขออภัยทางลูกค้าด้วย จบข่าว สมาร์ทเพิร์ส  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 134 กสทช. ออกคำสั่งห้ามตัดสัญญาณบัตรเติมเงิน

หลังจากรอให้เกิด กสทช. มานานเกือบ 15 ปี วันนี้มีแล้ว และได้เริ่มปฏิบัติงานมาแล้วเกือบ 5 เดือน อาจถือได้ว่าเป็นช่วงทดลองงาน ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงที่ กสทช.ยังชุลมุนอยู่กับ การจัดทำแผนแม่บท ทั้งเขียนทั้งรับฟัง เพื่อให้ได้แผนแม่บทที่เป็นเป้าหมายการปฏิบัติงานของ กสทช. ที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนแต่ในช่วงชุลมุนนี้ กสทช.ก็ยกมาเป็นข้ออ้างในการชะลอการบังคับใช้ประกาศของ กทช.เดิมไม่ได้(ยกเว้นกสทช.มีประกาศในเรื่องเดียวกันที่ดีกว่าออกมาบังคับใช้เสียก่อน) โดยเฉพาะประเด็น การกำหนด ระยะเวลาการให้บริการบัตรเติมเงิน ที่มีเรื่องร้องเรียนกันมาอย่างยาวนาน จนอาจารย์อนุภาพ ถิรลาภ ซึ่งเป็นหน่วยกล้าตายฟ้องคดีนี้ต่อศาล นำไปสู่การมีคำสั่งของศาล ช่วงปลายปี 2554 ให้ กทช.เร่งดำเนินการบังคับใช้ระเบียบของ กทช.ภายใน 90 วัน(หลังจากศาลตัดสินเป็นที่สุด) และคำสั่งดังกล่าวคาบเกี่ยวตั้งแต่ กทช.ที่กำลังหมดวาระ จนมาถึง กสทช. ชุดปัจจุบัน ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งเกือบ 5 เดือน แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่ขยับผู้เขียนในนามประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค จึงได้ออกแถลงการณ์ผ่านสื่อเพื่อกระตุ้นให้ กสทช.บังคับใช้(ประกาศ กทช) ซึ่งส่งผลให้ กสทช. นัดให้ผู้ประกอบการและตัวแทนผู้บริโภคเข้ามาหารือกันถึงการแก้ปัญหาการกำหนดอายุบัตรเติมเงิน ในระยะยาว ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 โดยมีข้อสรุปให้ฝ่ายผู้ให้บริการไปคำนวณต้นทุนและให้หาข้อสรุปร่วมกันภายใน 30 วันหลังจากที่ได้หารือกัน โดยในวันนั้น “กสทช.สุทธิพล ทวีชัยการณ์ พูดชัดเจนว่า ขณะนี้ กสทช.ได้บังคับใช้ ประกาศมาตรฐานสัญญาข้อ 11 แล้วโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินจะไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ ใครจะมาตัดวันเราไม่ได้” นั่นหมายถึงโทรศัพท์แบบเติมเงินทุกเจ้าไม่มีสิทธิตัดการใช้บริการผู้บริโภคได้อีกแล้ว จนกว่าจะมีข้อสรุปร่วมกันใหม่ แต่เรื่องจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น ผู้ให้บริการบางเจ้า ยังใช้เล่ห์เหลี่ยมทางธุรกิจตัดการให้บริการอยู่ เรื่องนี้ยืนยันเห็นจริงปฏิบัติจริงมากับมือ เหตุมีอยู่ว่ามีคนมาหารือกับผู้เขียนว่า ตนเหลือเงินอยู่ในโทรศัพท์ 400 กว่าบาท แต่โทรออกไม่ได้ โดยมีการแจ้งว่าสาเหตุมาจากผู้ให้บริการว่าวันหมด ผู้เขียนจึงให้น้องโทรประสานไปที่คอลเซ็นเตอร์ของบริษัทนั้น และได้แจ้งว่าบริษัทกำลังละเมิดคำสั่ง กสทช. ที่ห้ามตัดการใช้บริการ ก็ได้คำตอบมาว่า บริษัทได้ทำตามคำสั่ง กสทช.แล้ว โดยไม่ได้ตัดสัญญาณ เพราะเบอร์ดังกล่าว สามารถรับสายเข้าได้ปกติ แต่ไม่ให้โทรออกเท่านั้นเอง(ดูเขาทำ) น้องก็เถียงไปว่า กสทช.ห้ามตัดการใช้บริการทั้งโทรเข้าโทรออก ทำอย่างนี้ก็ขัดคำสั่ง กสทช.อยู่ดี เพราะเงินเรายังมีเราต้องใช้บริการได้ เจ้าหน้าที่ก็ตอบกลับมาอย่างกำปั้นทุบดินว่า หากต้องการโทรออกได้ให้เอาเงินที่เหลือไปแลกวันมาก็จะสามารถใช้บริการได้ปกติต่อไป เจอเข้าไปแบบนี้ผู้ใช้บริการก็ได้แต่มึนไปไม่เป็นว่าจะเอาอย่างไรต่อไป ผู้เขียนได้แนะนำให้โทรไปร้องทุกข์ที่สายด่วน กสทช. หมายเลข 1200 เพื่อร้องเรียนผู้ประกอบการรายนี้ จนสามารถโทรออกได้ปกติและได้วันฟรีมา 1 ปี เรื่องนี้ผู้เขียนเห็นว่ายังอยู่ในระยะเวลาของการหารือจึงยังมิได้ดำเนินการทางกฎหมายหลังจากวันที่ 8 มีนาคม 2555 หากใครถูกจำกัดการใช้บริการด้วยเหตุวันหมด สามารถเดินขึ้นไปบนศาลจังหวัด ขอฟ้องคดีผู้บริโภคได้ทันทีทุกศาล โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ อ้อ... หากจะฟ้องนอกจากบริษัทผู้ประกอบการแล้ว ที่ขาดไม่ได้คือต้องฟ้อง กสทช.ด้วย ในฐานะเป็นองค์กรกำกับ แต่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีความสามารถกำกับให้ผู้ให้บริการปฏิบัติการคำสั่งได้ เพราะ กสทช.มีอำนาจสั่งปรับบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง กสทช.ได้ พวกเราผู้บริโภคควรร่วมกันผลักดันให้องค์กรกำกับทำหน้าที่ มิให้ผู้ประกอบการกระทำการเอาเปรียบผู้บริโภคได้อย่างเช่นที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 116 “สปาเซ็นเตอร์” คนมีบัตรเครดิต ตั้งสติให้ดี ก่อนคิดใช้บริการ

 “สปาเซ็นเตอร์” ประกาศตัวเองว่าเป็นสถาบันลดน้ำหนักและกระชับสัดส่วน เปิดสาขาให้บริการตามห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ๆ ใช้พนักงานสาวหน้าตาดีออกมายืนเชิญชวนคนที่มีบัตรเครดิตให้สมัครเข้าไปใช้บริการปรากฏว่าขณะนี้ได้มีผู้บริโภคทยอยเข้ามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า หลงเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกใช้บริการเพราะทนคำรบเร้าของสาวพนักงานไม่ได้  แต่เมื่อเข้าไปใช้บริการแล้วพบว่าการบริการไม่เป็นไปตามที่สาวนักขายโฆษณาไว้ อยากจะบอกเลิกสัญญาขอเงินที่จ่ายผ่านทางบัตรเครดิตคืน ก็ขอคืนไม่ได้เพราะสัญญาที่ไปเซ็นไว้มีข้อผูกมัดที่จะไม่คืนเงินให้กับผู้บริโภคในทุกๆ กรณี“ดิฉันซื้อคอร์สมา 30,000 บาทเมื่อ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมา” ผู้บริโภครายหนึ่งได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ประสบมา“ตอนนั้นจำได้ว่ารีบมากจะต้องไปธุระต่อ แต่พนักงานขายคะยั้นคะยอบวกกับความเกรงใจและหวังว่าจะเห็นผลเพราะราคาไม่ใช่ถูกๆ คอร์สจริงเซลอ้างว่า 70,000 บาท แต่ลดลงมาเหลือ 45,000 บาท แต่ดิฉันจ่ายไม่ไหวเซลเลยลดให้เหลือ 30,000 บาท”“กลับมาบ้านสมองก็ตึงๆ ไปเหมือนกัน เพราะราคาสูงมาก ไม่รู้ตกลงไปได้ยังไงดิฉันชำระผ่านบัตรเครดิตค่ะ 3000x10 เดือน ตอนนั้นยังไม่เอะใจกับคำว่า "ไม่คืนเงินทุกกรณี" ถ้าสติดีกว่านี้ ตอนนั้นคงยกเลิกไปทันทีที่พนักงานให้เซ็นเอกสาร”เมื่อผู้บริโภครายนี้เข้าไปใช้บริการก็พบว่ามีการให้บริการที่ผิดไปจากเงื่อนไขที่พนักงานเสนอขาย“จากการที่ไปใช้บริการ 1 ครั้ง การบริการไม่เหมือนคอร์ส 30,000 บาทเลยค่ะ ผิดหวังกับการบริการมาก แถมตอนขายคอร์สบอกจำนวนที่ใช้บริการประมาณ 15 ครั้งแต่สอบถามเจ้าหน้าที่อีกครั้ง ตกใจมากที่หดเหลือ 10 ครั้ง แถมอีก 1” ผู้บริโภคอีกรายร้องเรียนมาว่า สปาฯ ไม่มีบริการพอกตัวมีแต่นวดตัว และไม่มีอ่างน้ำวนบริการ ทั้งๆ ที่ตอนที่พนักงานสาวเสนอขายบอกว่ามีบริการทั้งหมด แต่พอถึงเวลาไปใช้บอกว่ากำลังติดตั้งอ่างน้ำยังไม่เสร็จปัญหาส่วนใหญ่ที่ร้องเรียนเข้ามาก็คือ ใช้บริการไปได้เพียงแค่ครั้ง 2 ครั้งแต่เมื่อเห็นว่าบริการไม่คุ้มค่าเงินที่จ่ายไปจึงอยากจะเลิกบริการขอเงินคืน แต่บริษัทไม่ยอมให้คืน โดยอ้างข้อความในสัญญาที่ระบุว่าจะไม่มีการคืนเงินให้ในทุกกรณีแนวทางแก้ไขปัญหาลักษณะสัญญาของสปา มีข้อผูกมัดคล้ายๆ กับข้อสัญญาของฟิตเนสชื่อดังหลายแห่ง เช่น ต้องอยู่เป็นสมาชิกอย่างน้อย 12 เดือน ห้ามบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด เน้นวิธีการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ดังนั้น คนที่มีบัตรเครดิตโดยเฉพาะคุณผู้หญิงจึงตกเป็นเหยื่อของสัญญาลักษณะนี้กันเป็นจำนวนมากคำถามสำคัญของคุณผู้หญิงที่หลงเข้าไปสมัครใช้บริการกับสถานบริการเหล่านี้คือ ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้หรือไม่ ขอตอบว่าได้หากผู้บริโภคพบว่าทางผู้ประกอบการไม่จัดให้มีบริการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นข้อสำคัญในสัญญาหรือโฆษณาก็ให้ใช้เป็นเหตุผลในการบอกเลิกสัญญาได้เลยครับ เช่น เป็นสปาแต่ไม่มีอ่างน้ำวน หรือบอกว่าเป็นนวดน้ำมันแต่พอไปใช้จริงเหมือนโดนลูบตัวหรือถูขี้ไคลเสียมากกว่า ไม่ได้ใช้ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีใบอนุญาตมาให้บริการ อย่าไปใช้เหตุผลว่าไม่มีเวลา ไม่อยากไปเล่น ไม่สะดวกอย่างนั้นอย่างนี้ ขืนพาซื่อไปใช้เหตุผลแบบนี้ รับรองโดนตามทวงหนี้หัวหงอกแน่ เพราะฝ่ายผิดสัญญาจะเป็นผู้บริโภคนั่นแหละที่ไม่รู้จักประเมินตัวเอง เห็นว่าเงินหาง่าย แล้วไปเที่ยวเซ็นสัญญาทิ้งๆ ขว้างๆวิธีบอกเลิกสัญญาเคยเขียนไว้ในเล่มก่อนๆ แต่เพื่อไม่ต้องไปค้นย้อนหลังเลยขอย้ำอีกครั้งว่า การแจ้งเลิกสัญญาและขอเงินคืนนั้น อย่าไปใช้วิธีโทรศัพท์หรือเดินไปบอกด้วยตัวเองอย่างเดียวครับ ต้องทำเป็นจดหมายบอกเลิกสัญญาส่งไปที่กรรมการผู้จัดการบริษัท และให้สำเนาจดหมายนี้ส่งไปที่บริษัทบัตรเครดิตที่จ่ายเงินแทนด้วย เพื่อให้ระงับการเรียกเก็บเงินจดหมายที่ส่งไปทั้งสองที่ให้ส่งเป็นจดหมายแบบไปรษณีย์ตอบรับเท่านั้น จะได้มีหลักฐานไว้ยันกันในภายหลัง หากต้องเป็นคดีความกันวิธีการแก้ไขปัญหาสัญญาจำพวกผูกมัดไม่ให้เลิกใช้บริการแบบนี้ใช้ได้กับบริการพวกฟิตเนสหรือ บริการที่มีการเรียกเก็บเงินล่วงหน้าผ่านบัตรเครดิตได้เช่นกันครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 102 แม่บ้านดวงอับ ถูกแบงค์ฟ้องหนี้บัตรเครดิต

แทบเป็นลมล้มทั้งยืนเมื่อเห็นหมายศาลส่งมาถึงบ้านแจ้งให้ไปศาลในวันที่ 17 สิงหาคม 2552 และให้ชำระหนี้บัตรเครดิตให้กับธนาคารกรุงเทพ เป็นเงินสามหมื่นกว่าบาท“ได้รับเงินแค่เดือนละ 4-5 พันบาท จะเอาปัญญาที่ไหนไปใช้เงินเขา ที่สำคัญยังไม่รู้เลยว่าเคยไปทำบัตรเครดิตใบนี้ไว้ตอนไหน”คุณชิดชนก แม่บ้านทำความสะอาดอยู่ที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(สปก.) โอดครวญ“ก็เคยได้รับจดหมายทวงหนี้จากธนาคารมาก่อนเหมือนกัน เขาบอกว่าเราได้รับอนุมัติให้ใช้บัตรเครดิตของธนาคาร และก็มียอดหนี้แจ้งมาในจดหมาย เรากับสามีก็งงๆ เพราะบัตรเครดิตสักใบก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยใช้แล้วจะมีหนี้ได้อย่างไร ไม่มีความรู้ทางข้อกฎหมายด้วยว่าจะต้องทำยังไงต่อไป คิดในแง่ดีไปว่าเขาอาจจะส่งผิดก็ไม่ได้สนใจอะไร”เมื่อไม่มีการทักท้วงใดๆ ออกไป ในที่สุดหมายฟ้องคดีจึงมาเกาะที่หน้าประตูบ้านทันที คราวนี้ทั้งบ้านเหมือนร้อนเป็นไฟอยู่เฉยกันไม่ได้ ต้องมานั่งตรวจเอกสารต่างๆ ที่แนบมากับหมายฟ้อง ก็มาสะดุดกับลายเซ็นชื่อของตัวเองในใบสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิต“ไม่ใช่ลายเซ็นของเราแน่นอน” คุณชิดชนกยืนยัน”“คนอื่นอาจจะดูเหมือนมาก แต่เราเห็นแล้วบอกเลยว่าไม่ใช่ ส่วนรายละเอียดอย่างอื่น เช่น ยอมรับว่าชื่อ-นามสกุลเป็นของเรา เลขบัตรประชาชนก็เป็นของเรา แต่ที่อยู่บ้าน เบอร์โทรศัพท์ ไม่ใช่ เป็นบ้านใครเบอร์โทรศัพท์ใครก็ไม่รู้ มาดูชื่อสถานที่ทำงานก็ไม่ใช่บริษัทที่เราทำงานให้อยู่ แถมแจ้งรายได้ถึง 3 แสนบาทต่อปีอีก มันไม่ใช่ตัวเราเลยน่ะ เงินเดือนเราแค่ 4-5 พันเท่านั้น” หลังจากนั้นคุณชิดชนกจึงหอบหลักฐานประจำตัว หลักฐานตามสำนวนฟ้องคดีที่ได้รับมาโดยไม่ต้องการวิ่งไปหาธนาคารกรุงเทพ เพื่อปฏิเสธภาระหนี้ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 แต่ด้วยความร้อนใจที่วันนัดของศาลใกล้เข้ามาเรื่อยๆ คุณชิดชนกจึงดิ้นรนไปร้องทุกข์กับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ได้รับเรื่องในเวลาต่อมาแนวทางแก้ไขปัญหา สำหรับผู้บริโภคที่โดนแจ็คพอตมีหนี้บัตรเครดิตทั้งที่ตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของบัตรหรือใช้บัตร ให้ใช้หลักทักท้วงและปฏิเสธโดยทันที ดังนี้ครับ1.เมื่อผู้บริโภคตรวจสอบพบว่าตนไม่ได้เป็นผู้เข้าทำสัญญาขอใช้บัตรเครดิตกับธนาคาร หรือไม่ได้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการตามที่มีใบแจ้งหนี้มา ให้ทำหนังสือปฏิเสธสัญญาหรือรายการใช้จ่ายดังกล่าวโดยทันทีและส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนตอบรับถึงธนาคารโดยทันที(การโทรไปที่ศูนย์บริการของผู้ประกอบธุรกิจมีข้อดีคือสะดวก ง่าย แต่ผู้บริโภคจะไม่มีหลักฐานไว้ยืนยันในภายหลัง)2.ถือเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต หรือธนาคารที่จะเป็นผู้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการทำสัญญาว่ามีผู้ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารมาทำสัญญาหรือไม่3. หนี้ที่เกิดขึ้นถือเป็นหนี้เสียของธนาคารที่ธนาคารจะต้องติดตามดำเนินคดีเองกับผู้กระทำผิด มิใช่ผู้บริโภคในส่วนผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาของคุณชิดชนกได้รับการชี้แจงจากธนาคารกรุงเทพว่าหลังคุณชิดชนกมาแจ้งเรื่อง ธนาคารจึงได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการขอทำบัตรเครดิตและยอมรับว่าเป็นเอกสารที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณชิดชนกแต่ที่ช้าไปบ้างก็เพราะธนาคารต้องใช้เวลาตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้แน่ใจโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 อาทิตย์ ท้ายที่สุดธนาคารยินยอมที่จะถอนฟ้องคุณชิดชนกในวันที่ศาลนัดโดยทันที แต่เพื่อความปลอดภัย... มูลนิธิฯ จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่พร้อมทนายไปเป็นพี่เลี้ยงในวันขึ้นศาลด้วย หากธนาคารเกิดเปลี่ยนใจคุณชิดชนกจะสามารถต่อสู้คดีได้ทันที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและเดบิตเป็น “บัตรชิปการ์ด” แต่ละธนาคารมีเงื่อนไขอะไรบ้าง?

ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะมีการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต จากบัตรแบบเดิมที่เป็นแบบแถบแม่เหล็ก มาเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” (chip card) โดยการใช้งานยังคงสามารถใช้ได้ตามปกติเช่นเดียวกับบัตรแบบเดิม ทั้งการกดเงินหรือทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งการใช้บัตรเดบิตใช้จ่ายแทนเงินสดผ่านเครื่องรับบัตรโดยผู้ที่ขอทำบัตรใหม่กับทางธนาคารตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นต้นมา ก็จะได้รับบัตรแบบชิปการ์ดทันที ส่วนผู้ที่มีบัตรเดิมแบบแถบแม่เหล็กต้องไปดำเนินการขอเปลี่ยนบัตรเป็นแบบชิปการ์ดได้ที่ธนาคารผู้ให้บริการบัตรนั้นๆ ทั้งนี้บัตรชนิดแถบแม่เหล็กยังสามารถใช้งานได้ปกติ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 การขอเปลี่ยนบัตรจากแบบแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดนั้น ธนาคารแต่ละแห่งก็มีเงื่อนไขในการเปลี่ยนแตกต่างกัน บางแห่งก็บริการเปลี่ยนฟรีไม่มีค่าบริการ บางแห่งเปลี่ยนฟรีแต่มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา บางแห่งก็มีการคิดค่าธรรมเนียมปกติไม่ต่างจากการขอทำบัตรใหม่ “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้จึงได้สำรวจเงื่อนไขในการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดของแต่ละธนาคารว่ามีความแตกต่างอย่างไรบ้าง            ทำไมต้องเปลี่ยนเป็น “ชิปการ์ด”นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พูดถึงเหตุผลในการให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศดำเนินการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด ไว้ 2 เหตุผลสำคัญ คือ ข้อที่ 1.เรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวปัญหาการโจรกรรมปลอมแปลงข้อมูลบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต หรือการ skimming ปรากฏเป็นข่าวบ่อยครั้ง ซึ่งสร้างความเสียหายและมีผลต่อความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยกับผู้ใช้บัตร ซึ่งนางทองอุไรให้ความมั่นใจว่า บัตรแบบชิปการ์ดจะเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้บัตรมากขึ้นกว่าบัตรแบบแถบแม่เหล็ก โดยถือเป็นมาตฐานที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกใช้กัน ทั้งในยุโรป และในประเทศแถบภูมิภาคเอเซียอย่าง มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ข้อที่ 2.เป็นการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ประกาศไว้ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2558 ซึ่งนโยบายนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร โดยการปรับเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตจากชนิดแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดอยู่ในแผนการดำเนินการโครงการที่ 2 จากทั้งหมด 4 โครงการ เรื่อง “การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์” ที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการใช้บัตรและใช้จ่ายทำธุกรรมการเงินต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยภาครัฐจะรับหน้าที่กระจายอุปกรณ์ชำระเงินเพื่อรองรับการใช้จ่ายผ่านบัตร โดยจะเริ่มที่หน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งนี้การเปลี่ยนเป็นบัตรแบบชิปการ์ดก็เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตรูดชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เป็นนโยบายที่ภาครัฐใช้เพื่อส่งเสริมการให้ประชาชนในประเทศหันมาทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ประกอบด้วย 4 โครงการหลัก คือโครงการที่ 1 การรับชำระเงินแบบ Any ID ซึ่งเป็นนโยบายที่จะให้ประชาชนนำเลขที่บัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มาใช้เป็นรหัสสำหรับทำธุรกรรมทางการเงิน แทนการใช้เลขที่บัญชี ซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ง่ายมากขึ้น สอดรับไปกับระบบการโอนเงินแบบใหม่ที่มีชื่อว่า “พร้อมเพย์-PromptPay” ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียน พร้อมเพย์-PromptPay ด้วย Any ID ตั้งแต่วันที่ 15. ก.ค.59 เป็นต้นไปโครงการที่ 2 การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือการสนับสนุนให้มีการเข้าถึงและใช้จ่ายผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เริ่มด้วยการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” เพื่อเพิ่มความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บัตรโครงการที่ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการพัฒนาการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เพื่อช่วยให้ภาคเอกชนสะดวกสบายในการนำส่งภาษีผ่านระบบออนไลน์ คาดว่าจะพร้อมใช้ในปี 2560โครงการที่ 4 e-Payment ภาครัฐ เป็นแผนที่หน่วยงานภาครัฐจะเลือกใช้วิธีจ่ายค่าสวัสดิการเงินช่วยเหลือต่างๆ ที่จ่ายให้กับภาคประชาชนโดยตรงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2559 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ด-บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กแบบเดิม ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ จนถึง 31 ธันวาคม 2562-จากการสำรวจค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด จะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์เจ้าใหญ่ๆ ที่มีสาขาบริการเยอะๆ ต่างก็ถือโอกาสช่วงปรับเปลี่ยนบัตร ยกเลิกการให้บริการบัตรเอทีเอ็ม(ธรรมดา) ไปในเวลาเดียวกัน เท่ากับว่าตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นปีที่บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตทุกใบจะต้องเป็นบัตรแบบชิปการ์ดทั้งหมด บัตรเอทีเอ็มก็จะไม่สามารถใช้งานได้อีก บัตรพื้นฐานที่สุดก็จะเป็นบัตรเดบิตแบบชิปการ์ดฉลาดซื้อ ฉบับที่ 169 เคยได้สำรวจราคาค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีเปรียบเทียบระหว่างบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบพื้นฐานเมื่อเดือน มกราคม 2558 พบว่าราคาค่าธรรมเนียมของบัตรทั้ง 2 ชนิด ธนาคารส่วนใหญ่คิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกัน คือแรกเข้า 100 บาท รายปี 200 บาท ซึ่งก็ยังเป็นราคาเดียวกับบัตรเดบิตชิปการ์ดแบบพื้นฐานที่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีที่ 100 บาท และ 200 บาท ตามลำดับ-บัตรแบบชิปการ์ด จะเพิ่มรหัสบัตรในการใช้งานกับตู้เอทีเอ็มเป็น 6 ตัว จากเดิมที่มีแค่ 4 ตัว ทั้งนี้อาจจะยังมีบางธนาคารที่ยังใช้ 4 ตัวตามเดิม-ควรนำบัตรเก่าไปยืนยันการขอบัตรใหม่ด้วย เพื่อแสดงให้ธนาคารรู้ว่ามา ขอเปลี่ยนบัตร ไม่ใช่ทำบัตรใหม่-จากการสำรวจพบว่าแม้ธนาคารหลายแห่งจะโฆษณาว่าสามารถเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ดได้ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ส่วนใหญ่ก็มีเงื่อนไขของเวลามากำหนด โดยจะให้เวลาถึงแค่ 31 ธ.ค. 59 นี้เท่านั้น ที่แตกต่างก็คือ ธนาคารกรุงไทย ที่ให้เปลี่ยนได้จนถึง 31 ธ.ค. 62 หรือกำหนดวันสุดท้ายที่ยังสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบเดิม-ธนาคารกสิกรไทย แจ้งว่าไม่คิดค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน แต่เมื่อไปขอเปลี่ยนบัตร ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งผู้ใช้บัตรสามารถขอคืนค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเก่าตามระยะเวลาที่ไม่ได้ใช้ได้แต่ยังไม่ทันไรก็มีปัญหาเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ดของธนาคารกสิกรไทย เมื่อธนาคารมีการตัดค่าธรรมเนียมของผู้เปลี่ยนบัตรโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ ในช่วงเวลา 02.00-05.00 น.ของวันที่ 12 มิถุนายน 59 ซึ่งมีผู้ร้องเรียนผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก สุดท้ายธนาคารกสิกรไทยก็ออกมายอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของธนาคารเอง โดยทางธนาคารก็ออกมาชี้แจงว่าได้ทำการโอนเงินที่ถูกตัดไปคืนให้กับผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดที่มา: facebook.com/KBankLive-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กรณีขอเปลี่ยนบัตรต่างสาขากับที่ออกบัตรเดิม จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 30 บาท-บัตรแบบชิปการ์ดสามารถใช้งานได้กับตู้เอทีเอ็มได้ตามปกติ แต่ในระยะแรกอาจมีตู้เอทีเอ็มบางตู้ในบางพื้นที่ของบางธนาคารที่ยังไม่พร้อมใช้งาน โดยเครื่องเอทีเอ็มที่ยังไม่พร้อมรองรับการใช้งานจะมีการแสดงข้อความให้ทราบที่หน้าตู้   คนไทยใช้บัตรเอทีเอ็มน้อยลง?ข้อมูลจากรายงานระบบการชำระเงิน 2557 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุเอาไว้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินของคนไทยผ่านตู้เอทีเอ็มพบว่า คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มในสัดส่วนที่ลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2548 คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มอยู่ 418.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 6.3% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินต่างๆ ของคนไทย แต่ในปี 2557 มูลค่าการชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มลดลงมาอยู่ที่ 373.8 พันล้านบาท หรือแค่ 1.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมดโดยวิธีการทำธุรกรรมการชำระเงินที่คนไทยเลือกใช้มากที่สุดก็คือ การใช้จ่ายด้วยเงินสด โดยในปี 2557 คนไทยถอนเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มทั้งหมด 7,508. พันล้านบาท หรือ 30.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมด รองลงมาคือ โอนเงินและตัดเงินล่วงหน้าอัตโนมัติ 6,312.4 พันล้านบาท หรือ 25.7% และการชำระเงินและโอนเงินด้วยบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ 4,952.8 พันล้านบาท หรือ 20.2% โดยสถิติปัญหาแต่ละเรื่องจะประกอบไปด้วย การขอคำปรึกษา การร้องเรียน และการแจ้งเบาะแส/ให้คำแนะนำ ที่มา: รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ในการให้ข้อมูล/คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ปี 2558, ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 บัตรเดบิตพ่วงประกัน รู้ให้ทันก่อนใช้

เดี๋ยวนี้บัตรเดบิตไม่ได้มีไว้แค่กดเงินสดจากบัญชีของเราผ่านทางตู้ ATM เพียงอย่างเดียว แต่บัตรเดบิตใบเดียวยังทำได้อีกหลายอย่าง แต่ที่หลายๆ คนให้ความสนใจแถมยังเคยเป็นประเด็นร้อนแรงจนเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ก็คือ “บัตรเดบิตที่มาพร้อมสิทธิด้านประกันอุบัติเหตุ”  ที่เคยผู้บริโภคออกมาโวยว่าถูกธนาคารเอาเปรียบบังคับให้ทำบัตรเดบิตพ่วงประกัน ซึ่งค่าธรรมเนียมแพงกว่าบัตรเดบิตทั่วไป ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพาผู้อ่านไปดูกันสิว่า “บัตรเดบิตที่มาพร้อมสิทธิด้านประกันอุบัติเหตุ” (เราเลือกเฉพาะคุ้มครองด้านอุบัติเหตุ) มีข้อดี-ข้อเสียยังไง เป็นทางเลือกที่น่าสนใจแค่ไหน สำหรับคนที่อยากมีประกันอุบัติเหตุไว้ให้อุ่นใจเวลาเจอเหตุที่ไม่คาดฝัน แต่เดี๋ยวก่อน ข้อมูลเรื่องการใช้สิทธิเรามีมาฝากแน่ๆ แต่สิ่งที่เราอยากบอกคือ ลักษณะการให้บริการที่ไม่ตรงไปตรงมาของธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรปรับปรุงเพื่อมิให้ก่อปัญหาในอนาคต    โดยฉลาดซื้อได้ทดลองให้อาสาสมัครไปเปิดบัญชีธนาคารพร้อมกับสมัครบัตรเดบิตประเภทที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุกับธนาคาร 5 แห่งได้แก่ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ และออมสิน  พบว่าทุกธนาคารที่ทดสอบไม่มีกรมธรรม์มอบให้ทั้งในขณะที่ขอเปิดบริการ มีเพียง 3 ธนาคารที่ให้แผ่นพับข้อมูลรายละเอียดการใช้สิทธิ อย่างไรก็ตาม เพื่อดูว่าจะมีการส่งกรมธรรม์มาให้ในภายหลังหรือไม่ ฉลาดซื้อได้ทิ้งระยะเวลาไว้  1 เดือน ซึ่งก็ไม่พบว่า มีการส่งกรมธรรม์มาให้กับอาสาสมัครตามที่อยู่ในการเปิดใช้บริการ และเมื่ออาสาสมัครเดินทางกลับไปยังสาขาที่เปิดใช้บริการบัตรเดบิตพร้อมประกันภัยเพื่อขอกรมธรรม์ด้วยวาจา ก็ได้รับการปฏิเสธว่า ไม่มีกรมธรรม์ให้ ทั้งๆ ที่กรมธรรม์นั้น เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะก่อนที่เราจะใช้สิทธิเราควรรู้สิทธิประโยชน์ของเราก่อนว่ามีอะไรบ้าง รายละเอียด ข้อยกเว้น ฯลฯ ซึ่งควรเป็นรายละเอียดที่เราต้องได้พิจารณาจากกรมธรรม์ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ว่าจะยังคงทำสัญญากับบริษัทประกันภัยต่อไป หรือขอยกเลิกสัญญา เช่นเดียวกับการทำประกันภัยแบบอื่นๆ บัตรเดบิตท่านเลือกได้ว่าต้องการแบบใด เมื่อประมาณปีที่แล้วมีข่าวการร้องเรียนจากผู้ใช้บัตรเดบิตผ่านตามสื่อต่างๆ ว่าไปสมัครของใช้บัตร ATM หรือบัตรเดบิตแบบธรรมดาแล้วถูกทางธนาคารอ้างว่าไม่มีบัตรรุ่นพื้นฐานให้บริการ หรือต้องรอหลายวันถึงจะอนุมัติบัตรได้ พร้อมเสนอให้ทำบัตรที่ราคาสูงกว่า หรือบัตรที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุ โดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา จนลูกค้าบางคนใจอ่อน แต่พอเมื่อรู้ว่าบัตรพ่วงประกันมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า ทำให้ลูกค้าหลายคนปฏิเสธที่จะใช้บริการ แต่บางคนก็ต้องตกลงทำบัตรแบบจำยอมเพราะจำเป็นต้องใช้บัตรเดบิตในการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเมื่อเรื่องดังกล่าวกลายเป็นกระแสหนักเข้า ทางผู้บริหารธนาคารก็ต้องออกมาชี้แจงว่าทางธนาคารไม่ได้มีนโยบายในการบังคับให้ผู้บริโภคต้องสมัครบัตรเดบิตที่มีการพ่วงสิทธิประกันอุบัติเหตุ และบัตรขั้นพื้นฐานก็ยังมีให้บริการตามปกติซึ่งจากที่ฉลาดซื้อได้ลองไปสำรวจล่าสุดเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่าน เรายังพบการให้ผู้บริโภคสมัครบัตรที่มีการพ่วงสิทธิประกันโดยไม่มีการสอบถามหรือชี้แจงก่อนจากพนักงานธนาคาร ซึ่งหากผู้บริโภคที่ไม่รู้เท่าทันหรือไม่มีข้อมูลเรื่องบัตรก่อนก็อาจหลงสมัครใช้บัตรเดบิตพ่วงประกันโดยไม่รู้ตัว ทำให้ต้องเสียเงินเป็นค่าธรรมเนียมบัตรที่สูงกว่าบัตรขั้นพื้นฐาน โดยบัตรเดบิตขั้นพื้นฐานจะมีค่าธรรมเนียมรายปีอยู่ที่ 200 บาทต่อปี ขณะที่บัตรเดบิตที่พ่วงสิทธิประกันอุบัติเหตุจะมีค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 500 – 4,000 บาทต่อปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลการให้บริการธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศไทย ได้กำหนดข้อบังคับไว้ในประกาศ เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันชีวิต ว่าห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับให้ลูกค้าทำประกันทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นประกันวินาศภัย ประกันอุบัติเหตุ ประกันชีวิต รวมทั้งห้ามใช้วิธีบังคับขายประกันคู่กับผลิตภัณฑ์ของธนาคาร หรือตั้งเป็นเงื่อนไขว่าต้องทำประกันก่อนจึงอนุมัติการทำธุรกรรมอื่นๆ ของธนาคาร เช่น ให้ผู้บริโภคต้องซื้อประกันผ่านทางธนาคารก่อนเพื่อเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาการขอสินเชื่อแต่ธนาคารสามารถให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ประกันได้ แต่ต้องให้ข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน และต้องไม่บังคับผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ส่วนข้อกำหนดเรื่องการให้แยกเคาน์เตอร์ขายผลิตภัณฑ์ด้านประกันออกจากเคาน์เตอร์ที่ให้บริการรับฝากถอนเงิน โดยมีป้ายบ่งบอกหรือสัญลักษณ์ที่ให้ผู้บริโภคเห็นได้อย่างชัดเจนนั้น ในทางปฏิบัติดูแล้วยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะดูเป็นเพิ่มภาระให้กับธนาคาร ที่สำคัญในข้อบังคับเองก็ยังเปิดช่องว่างว่าหากเป็นการทำธุรกรรมที่ต่อเนื่องกัน อย่างการทำบัตรเดบิตที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุ ธนาคารก็สามารถให้บริการต่อเนื่องกันได้เลย ถือว่าเป็นไปในลักษณะการบริการแบบ One Stop Serviceฉลาดซื้อแนะนำ-สำรวจตัวเองว่ามีความจำเป็นต้องใช้บัตรเดบิตที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุหรือไม่ สำหรับคนที่มีประกันจากแหล่งอื่นอยู่แล้ว เช่น มีประกันชีวิตอยู่แล้ว หรือมีประกันอุบัติเหตุที่ที่ทำงานทำไว้ให้ หรือใครที่พอใจกับสิทธิการรักษาพยาบาลของประกันสังคม หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็ไม่มีความจำเป็นต้องสมัครบัตรเดบิตพ่วงประกันเพิ่มอีก ใช้บัตรเดบิตแบบธรรมดาก็พอไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย-แต่ถ้าใครสนใจอยากจะสมัครใช้บัตรเดบิตที่ให้สิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุ ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบครบถ้วน ดูเรื่องค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย วงเงินในการคุ้มครอง โรงพยาบาลที่อยู่ในสิทธิ์ เงื่อนไขในการคุ้มครอง และเหตุที่จะทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครอง ขั้นตอนการใช้สิทธิ์ โดยเราสามารถศึกษาข้อมูลเหล่านี้ได้กับธนาคารโดยตรง หรือทางหน้าเว็บไซต์ของธนาคาร (บางธนาคารมีเอกสารกรมธรรม์ให้ดาวน์โหลด เพื่อใช้ศึกษาข้อมูลและเป็นหลักฐานอ้างอิงในการขอรับสิทธิ)  หรือจะสอบถามที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรสายด่วน 1213 www.1213.or.th ซึ่งที่นี่เราสามารถร้องเรียนปัญหาจากการใช้บริการสถาบันการเงินต่างๆ ได้ด้วย-ส่วนใครที่เจอปัญหาธนาคารบังคับให้ทำบัตรเดบิตที่พ่วงประกัน โดยอ้างเหตุผลต่างๆ ว่าไม่สามารถออกบัตรเดบิตแบบธรรมดาหรือบัตร ATM ได้ ให้รู้ไว้เลยว่าธนาคารกำลังหลอกลวงเราอยู่ ปัจจุบันธนาคารเกือบทุกธนาคารยังมีบัตรเดบิตแบบธรรมดาให้บริการอยู่ ให้แจ้งยืนยันกับทางธนาคารว่าเราต้องการบัตรแบบธรรมดาเท่านั้น หากธนาคารยังแจ้งว่าไม่มีให้บริการ ให้ปฏิเสธการใช้บริการแล้วเปลี่ยนไปใช้บริการกับสาขาอื่น หรือธนาคารเจ้าอื่นแทน รู้ก่อนทำบัตรเดบิตพร้อมสิทธิประกันอุบัติเหตุจุดเด่นของบัตรเดบิตที่ให้สิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุก็คือ แค่เราเปิดบัญชีทำบัตรเดบิตเหมือนปกติทั่วไป แต่ได้รับการคุ้มครองเวลาที่เราได้รับอุบัติเหตุ ได้รับการดูแลเรื่องค่ารักษาพยาบาล พิการหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุญาติพี่น้องของเราได้รับเงินชดเชยตามวงเงินที่บัตรกำหนดไว้ เพียงแต่ค่าธรรมเนียมรายปีที่เราต้องจ่ายให้กับบัตรเดบิตพ่วงประกันอุบัติเหตุก็จะสูงกว่าบัตรธรรมดาทั่วไป ตั้งแต่ปีละ 500 บาทจนไปถึงหลักหลายพันบาทคุ้มครองอะไรบ้าง?บัตรเดบิตที่เพิ่มสิทธิประโยชน์เรื่องการประกันอุบัติเหตุมาด้วย จะมีการระบุวงเงินชดเชยกรณีที่ผู้ถือบัตรเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ย้ำว่าเฉพาะจากอุบัติเหตุเท่านั้น ถ้าหากสาเหตุมาจากโรคภัยไข้เจ็บ ปวดหัว ตัวร้อน บอกเลยว่าหมดสิทธิ ซึ่งวงเงินที่บัตรเดบิตของแต่ละธนาคารจะจ่ายให้อยู่ที่ตั้งแต่ 100,000 – 500,000 บาท ซึ่งวงเงินชดเชยนี้ครอบคลุมทั้ง การเสียชีวิต การได้รับอุบัติเหตุถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร และการสูญเสียการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีการจ่ายชดเชยให้กรณีเข้ารักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท ต่อการเข้ารักษาพยาบาล 1 ครั้ง ไม่จำกัดจำนวนตลอดอายุการถือครองบัตร ซึ่งหากค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าวงเงินที่บัตรระบุไว้ ผู้ใช้สิทธิจะต้องจ่ายเองในส่วนเกิน บางธนาคารมีเงินชดเชยการขาดรายได้ขณะเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลให้ด้วย ถ้าจะใช้สิทธิต้องทำยังไง?สำหรับวิธีการใช้สิทธิเมื่อต้องการเข้ารักษาตัวจากอาการบาดเจ็บทำได้โดย แสดงบัตรเดบิตที่ให้สิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุ พร้อมกับบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายและออกโดยหน่วยงานราชการ ถ้าหากมีการเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล ต้องแสดงหลักฐานการเปลี่ยนการทางสถานพยาบาลด้วย ซึ่งสามารถใช้สิทธิได้ทันทีกับสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาผูกอยู่กับบัตรเดบิตที่เราถืออยู่ โดยจะรับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามวงเงินที่กำหนดไว้ ไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ถ้าเกินวงเงินเราต้องจ่ายเองแต่หากเป็นในกรณีที่เราเข้ารักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับทางธนาคาร ผู้ถือบัตรก็ยังมีสิทธิในการเรียกร้องค่าชดเชย แต่ต้องสำรองจ่ายเองไปก่อน แล้วค่อยทำเอกสารขอรับสิทธิไปยังบริษัทประกันที่ดูแล โดยเอกสารที่ต้องใช้ มีตั้งแต่ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรเดบิตตามสิทธิ แบบคำร้องขอชดเชยค่ารักษาพยาบาล ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่เราเข้ารับบริการ **การขอรับค่าชดเชยจากการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับธนาคาร ธนาคารมักจะให้สิทธิเฉพาะกับโรงพยาบาลเท่านั้น ส่วนคลินิกกับสถาเวชกรรมจะถูกยกเว้นเรียกร้องขอรับค่าชดเชยไม่ได้ส่วนการเรียกร้องค่าชดเชยเมื่อเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และชดเชยการขาดรายได้ระหว่างที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล มีเงื่อนไขว่าต้องจัดส่งเอกสารสำคัญให้กับบริษัทประกัน ไม่ว่าจะเป็นแบบฟอร์มคำร้องขอค่าชดเชย ใบรับรองแพทย์ สำเนาใบมรณะบัตร สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรเดบิตตามสิทธิ ฯลฯ โดยต้องจัดส่งเอกสารทั้งหมดภายใต 30 วัน นับจากวันที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตหรือจากวันที่แพทย์ลงความเห็นว่าทุพพลภาพยกเลิกได้มั้ย?บัตรเดบิตที่มาพร้อมสิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุจะมีการต่ออายุบัตรเป็นรายปี โดยการหักเงินค่าธรรมเนียมอันโนมัติจากยอดเงินคงเหลือที่อยู่ในบัญชี เช่นเดียวกับบัตรเดบิตทั่วไป เพราะฉะนั้นหากต้องการยกเลิกใช้บัตรให้แจ้งยกเลิก หรือทำให้เงินคงเหลือในบัญชีน้อยกว่าค่าธรรมเนียมรายปีของบัตร เมื่อครบกำหนดธนาคารไม่สามารถหักค่าธรรมเนียมรายปีจากบัตรของเราได้ บัตรก็จะถูกยกเลิกโดยอันโนมัติ หากอยากยกเลิกบัตรก่อนครบกำหนดก็สามารถไปแจ้งยกเลิกได้ทันทีที่ธนาคารสาขาที่เราสมัครไว้ โดยเรามีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมบัตรคืนตามสัดส่วนระยะเวลาการใช้บัตรข้อจำกัดที่จะทำให้เรา “ไม่ได้รับการคุ้มครอง”-อุบัติเหตุที่เกิดขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์จะได้รับการชดเชยที่น้อยกว่าอุบัติเหตุจากอุบัติเหตุทั่วไป เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยง บริษัทประกันจึงประเมินจ่ายค่าชดเชยให้น้อยกว่าอุบัติเหตุทั่วไป (ประกันอุบัติเหตุบางเจ้าถึงขั้นกำหนดเงื่อนไขไม่จ่ายกรณีอุบัติเหตุจากการขับขี่และโดยสารจักรยานยนต์)-การเจ็บป่วยใดๆ ที่ไม่ได้สืบเนื่องหรือมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ-อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะผู้เอาประกันอยู่ในอาการมึนเมาจากการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ สารเสพติด ยาเสพติดให้โทษตามกฏหมาย-การเจ็บป่วยจากอาการติดเชื้อโรคต่าง หรือติดเชื้อจากบาดแผลที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ-การรักษาทางเวชกรรม หรือศัลยกรรม เว้นแต่แพทย์วินิจฉัยว่าต้องทำเนื่องจากอุบัติเหตุ-การแท้งลูก-การรักษาฟันที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ-อาหารเป็นพิษ-อุบัติเหตุที่เกิดจากสถาการณ์ความไม่สงบทางการเมือง การก่อจลาจล สงคราม การก่อการร้าย-การฆ่าตัวตาย หรือความพยายามใดๆ ที่จงใจให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บ-อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะผู้เอาประกัน ทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น แข่งรถ แข่งเรือ ชกมวย โดดร่ม โดยสารอยู่บนบอลลูน เครื่องร่อน เล่นบันจี้ จัมพ์ ปีนเขา ดำน้ำ ฯลฯ-อุบัติเหตุขณะโดยสารเครื่องบินที่ไม่ใช่เครื่องบินทางการพาณิชย์-    อุบัติเหตุจากการทะเลาะวิวาท-ตำรวจ ทหาร หรือแม้แต่อาสาสมัคร ที่ประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม หรืออยู่ในสงคราม***ข้อจำกัดที่จะทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองอาจแตกต่างกันไปในบัตรของแต่ละธนาคาร 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 95 Blacklist บัตรเครดิตเจ้าไหนใจร้ายสุด

ปีที่ผ่านมานักวิจัยของฉลาดซื้อได้รวบรวมแผ่นพับเชิญชวนให้คนเป็นหนี้ เอ้ย…ไม่ใช่ เชิญคนสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตเกือบทุกเจ้าในประเทศไทย โดยรวบรวมทั้งที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคาร แล้วก็ลองพินิจพิเคราะห์ดูว่า แต่ละเจ้ามีความใส่ใจในผู้บริโภคมากแค่ไหน ข้อความมีความละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจหรือมีการระบุข้อความอะไรที่เข้าข่ายจะละเมิดสิทธิผู้บริโภคบ้าง ปรากฎว่าข้อมูลเยอะมากมายจนสามารถทำเป็นซีรี่ส์เรื่องบัตรเครดิตยอดเยี่ยม ยอดแย่ได้ทีเดียว แต่เพราะเนื้อที่เราจำกัดมาก ฉบับนี้จึงขอนำเสนอเฉพาะกรณีเกี่ยวกับการทวงหนี้ ซึ่งพบว่ามีผู้ประกอบการหลายเจ้าทีเดียว ที่ระบุเสียชัดเจนว่า สามารถทวงหนี้กับใครอื่นก็ได้ที่ไม่ใช่เรา แต่จะอ่านเจอหรือไม่ อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสายตาของผู้บริโภคเพราะว่า ตัวอักษรมันเล็กมากๆ น้อยกว่า 2 มิลลิเมตรเสียอีก ฉลาดซื้อทดสอบ1.บัตรเครดิต ที่ระบุเงื่อนไขว่า บริษัทฯ สามารถกระทำการทวงถามติดตามหนี้สินได้ จากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือบัตร ได้แก่ ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารยูโอบี และ บ.จีอี แคปปิตอล ประเทศไทย จำกัด (เฟิร์สช้อยส์ วีซ่า, บัตรเซ็นทรัล มาสเตอร์การ์ด, บัตรเครดิต โรบินสัน วีซ่า, บัตรเครดิต เทสโก้ วีซ่า)2.บัตรสินเชื่อบุคคล ที่ระบุเงื่อนไขว่า บริษัทฯ สามารถกระทำการทวงถามติดตามหนี้สินได้ จากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือบัตร ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (สินเชื่อหมุนเวียนสปีดี้แคช/สินเชื่อบุคคลสปีดี้โลน) บ.จีอี แคปปิตอล ประเทศไทย จำกัด (สินเชื่อเงินสด พาวเวอร์บาย) 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 108 บัตรเดบิตกับเรื่องที่ต้องรู้

“บัตรเดบิต” (Debit Card) คือบัตรที่ทางธนาคารออกให้กับเราเมื่อเราเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ผ่านตู้ ATM ไม่ว่าจะเป็นถอนเงิน โอนเงิน และชำระค่าบริการต่างๆ พูดง่ายๆ ก็คือ “บัตรเดบิต” มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ “บัตร ATM” แต่บัตรเดบิตจะเพิ่มความพิเศษตรงที่สามารถนำไปจับจ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องใช้เงินสด ซึ่งก็คือการ “รูดปึ๊ด!” ตามสไตล์เงินพลาสติกแบบเดียวกับบัตรเครดิต แต่ว่าการใช้บัตรเดบิตไปรูดซื้อสินค้านั้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีของเราทันที ซึ่งต่างจากบัตรเครดิตที่เหมือนเป็นการนำเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปทำบัตรเครดิตไว้มาใช้ก่อนแล้วค่อยจ่ายทีหลัง ถือเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้นสำหรับคนที่ไม่อยากถือเงินสด ซึ่งบัตร ATM ไม่สามารถทำได้  บัตรเดบิต VS บัตร ATMหลายๆ คนอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้เราหลังจากเปิดบัญชีใหม่เป็นบัตร ATM หรือบัตรเดบิต ด้วยความที่หลายคนยังเข้าใจผิดว่า บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้คือบัตร ATM เท่านั้น ซึ่งในช่วงหลายปีมานี้ บัตรเดบิตถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ทางธนาคารพยายามผลักดันทำตลาดอย่างหนักให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ ซึ่งทุกครั้งที่เราไปเปิดบัญชีใหม่ พนักงานของธนาคารจะแนะนำให้เราเลือกทำบัตรเดบิตมากกว่าบัตร ATM ด้วยความที่คุณสมบัติของบัตรเดบิตมีมากกว่า ใช้ได้ครอบคลุมทั้งถอนเงินจากตู้ ATM และใช้จับจ่ายได้แทนเงินสด แถมบัตรเดบิตยังมีเรื่องโปรโมชั่นส่งเสริมการขายจากร้านค้าหรือบริการที่ร่วมรายการเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต เราอาจได้รับส่วนหรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งความพิเศษตรงนี้ก็ถือเป็นเงื่อนไขที่จูงใจให้กลายคนหันมาใช้บริการบัตรเดบิตแทนบัตร ATM กันมากขึ้นเมื่อคุณสมบัตรพิเศษมีมากกว่า เรื่องของค่าบริการที่เราต้องเสียให้กับธนาคารก็ต้องสูงตามไปด้วย บัตรเดบิตจะมีค่าธรรมเนียมทั้งในส่วนของค่าธรรมเนียมในการทำบัตรใหม่และค่าธรรมเนียมรายปีสูงกว่าบัตร ATM นี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ จึงพยายามจูงใจลูกค้าให้หันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตร ATM สำหรับผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องลองพิจารณาดูกันเอาเองว่า เจ้าบัตรเดบิตแม้จะมีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าบัตร ATM แต่ไอ้ความพิเศษของมันนั้นเราได้ใช้ประโยชน์คุ้มค่ากับค่าธรรมเนียมที่เราต้องเสียเพิ่มขึ้นจากบัตร ATM ธรรมดาหรือไม่บัตรเดบิต VS บัตรเครดิต“บัตรเครดิต” (Credit Card) ช่วยให้เราใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากๆ ไปในครั้งเดียว บัตรเครดิตจะทำหน้าที่จ่ายเงินให้เราก่อน หลังจากนั้นเราจึงค่อยจ่ายเงินคืนไปตามเวลาและเครดิตที่เราตกลงไว้กับธนาคารหรือร้านค้าที่เราซื้อสินค้า พูดให้เห็นภาพ บัตรเครดิตก็คือการที่เรานำ “เงินในอนาคต” ออกมาใช้ก่อน ซึ่งหากเราไม่คุมการใช้จ่ายให้ดีหรือใช้จ่ายเกินตัวเกินวงเงินที่เราสามารถหาได้ในแต่ละเดือน ผลที่จะตามมาก็คือการเป็นหนี้บัตรเครดิต เพราะเราไม่สามารถหาเงินมาใช้คืนให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปทำสัญญาไว้ได้ ส่วนบัตรเดบิต เป็นการใช้จ่ายที่ดึงเอาเงินมาจากบัญชีของเราโดยตรง คือใช้ไปเท่าไรเงินก็จะถูกหักออกไปเท่านั้นเดี๋ยวนั้น ไม่สามารถใช้จ่ายเกินยอดเงินในบัญชีได้ ซึ่งแม้บัตรเดบิตจะไม่สร้างหนี้ให้เรากับธนาคารเหมือนบัตรเครดิต แต่ก็ต้องรู้จักควบคุมการใช้จ่ายและหมั่นเช็คยอดเงินในบัญชีเสมอ เพราะเราอาจเผลอรูดบัตรเดบิตซื้อนู้นซื้อนี้ จนเงินหมดบัญชีโดยไม่รู้ตัวบัตรเดบิต = บัตรอันดับหนึ่งการใช้บัตรเดบิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งการมุ่งทำการตลาดที่ผลักดันให้บัตรเดบิตเข้ามาแทนที่บัตร ATM ซึ่งตอนนี้ก็มีบางธนาคารที่ยกเลิกการใช้บัตร ATM ไปแล้ว สิ่งที่ธนาคารใช้เป็นกลยุทธ์ดึงดูดให้เราหันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตร ATM ที่เห็นชัดเจนก็คือ การปรับค่าธรรมเนียนทั้งแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM ให้ขึ้นมาเท่ากับบัตรเดบิต ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อผู้ใช้ส่วนใหญ่ได้รับทราบถึงคุณสมบัติที่เหนือกว่าของบัตรเดบิต ก็ต้องย่อมเลือกบัตรเดบิตมากกว่าบัตร ATM นอกจากนี้บัตรเดบิตยังถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ไม่อยากพกเงินสดจำนวนมากๆ และอยากใช้จ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ผ่านบัตร ซึ่งแต่ก่อนคุณสมบัติแบบนี้มีเฉพาะในบัตรเครดิต แต่ด้วยเงื่อนไขในเรื่องของรายได้และฐานเงินเดือน ทำให้มีคนจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ก็คือคนที่มีรายได้ไม่สูงพอที่จะสมัครบัตรเครดิตได้ ทำให้บัตรเดบิตจึงกลายมาเป็นคำตอบสำหรับคนกลุ่มนี้***จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อปี 2551 มีจำนวนบัตรเดบิตที่ใช้ในประเทศไทย 26.3 ล้านใบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ถึง 12.8% ขณะที่จำนวนบัตร ATM อยู่ที่ 22.4 ล้านใบ ลดลงจากปี 2550 0.9% ส่วนบัตรเครดิตมี่จำนวน 13 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 8.1%บัตรเดบิต VS อุปสรรคแม้ว่าเวลานี้บัตรเดบิตจะถือบัตรอันดับหนึ่งที่มีคนใช้มากที่สุด แต่บัตรเดบิตกลับไม่ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างครบถ้วน เพราะจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยบัตรเดบิตยังคงถูกใช้เพื่อเบิกถอนเงินผ่านทางตู้ ATM เช่นเดียวกับบัตร ATM เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การใช้เพื่อรูดซื้อสินค้าแทนเงินสดยังมีสัดส่วนที่ต่ำมาก ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุ ทั้งจากธนาคารเองที่มุ่งหวังเพิ่มปริมาณจำนวนผู้ใช้บัตรเป็นหลัก แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลหรืออธิบายสิทธิการใช้ประโยชน์ของบัตรเดบิตที่มากกว่าการถอนเงินจากตู้ ATM นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากร้านค้าที่รับชำระด้วยบัตรเดบิตยังมีน้อย บางแห่งมีเรื่องเงื่อนไขเงินขั้นต่ำในการใช้บัตร และสาเหตุหลักจากตัวผู้ใช้เองที่ส่วนใหญ่ยังคงไม่ถนัดกับการใช้จ่ายผ่านบัตร ยังคงสะดวกกับการใช้เงินสดมากกว่า***ในปี 2551 มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตรวมทั้งสิ้น 760 ล้านรายการ คิดเป็นการใช้จ่ายเพื่อชำระสินค้าและบริการเพียง ร้อยละ 1.5 เท่านั้น ขณะที่การเบิกถอนเงินจากตู้ ATM มีมากถึง ร้อยละ 83ตารางเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเดบิต ธนาคารชื่อประเภทบัตรเดบิตค่าธรรมเนียมแรกเข้า(บาท)ค่าธรรมเนียมรายปี(บาท)สิทธิพิเศษเพิ่มเติมธ.กรุงเทพบัตรเดบิตบีเฟิสต์100 200-บัตรบีเฟิสต์-บีทีเอส100200ใช้เป็นบัตรโดยสารบีทีเอสประเภทเติมเงิน บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท100200มีไมโครชิพ EMV สามารถเก็บได้ทั้งข้อมูลและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บัตรของท่านจะยากต่อการปลอมแปลงATM100200กรณีบัตร ATM บัตรชำรุดหรือสูญหายแล้วต้องการบัตรใหม่ ธนาคารจะออกบัตรเดบิตบีเฟิสต์ทดแทนให้ธ.กรุงไทย บัตรเดบิตมาตรฐาน (Classic)ไม่มีรูปถ่าย 100มีรูปถ่าย 150200-บัตรเดบิต-ทิพยประกันภัย150300มีวงเงินความคุ้มครอง การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุจำนวน 200,000.- บาท / บัตร และได้รับการบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน จาก ทิพยประกันภัยATM50 150-ธ.กสิกรไทยK- Debit Card100200-K-My Debit Card  150200ใส่รูปภาพของตัวเองลงบนบัตรได้K-Max Debit Card  (  )100400ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุสูงสุด 200,000 บาท ทันที 24 ชั่วโมงทั่วโลกพร้อมรับสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลสูงสุดครั้งละ 3,000 บาท เมื่อเข้ารักษาตัวจากอุบัติเหตุ ATM100200-ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Debit Card100200-SCB Debit Plus Card100599 บัตรเงิน1,499 บัตรทองเบิกค่ารักษาจากอุบัติเหตุได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง คุ้มครอง 24 ชั่วโมงทั่วโลก ไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อรักษากับสถานพยาบาลคู่สัญญากว่า 200 แห่งATM 100200-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บัตรกรุงศรี วีซ่า เดบิต100200-ATM100150-ธนาคารทหารไทย บัตรเดบิต Basic100200-บัตรเดบิต No Limit Next200200ฟรี ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน และสอบถามยอดที่เครื่อง ATM ทุกธนาคารบัตรเดบิต No Limit500ฟรีฟรี ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน และสอบถามยอดที่เครื่อง ATM ทุกธนาคารATM100200-ธนาคารนครหลวงไทย SCIB D-card100150-ATM50100-ธนาคารออมสิน บัตรออมสินวีซ่า เดบิต50100-ATM50100- *ข้อมูลค่าธรรมเนียมทั้งหมดเป็นการสำรวจภายในวันที่ 1 ม.ค. 53 เท่านั้น-จะเห็นว่าเกือบทุกธนาคารปรับค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM ให้เท่ากับบัตรเดบิตพื้นฐาน ยกเว้น ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารนครหลวงไทย ที่ค่าธรรมเนียมบัตร ATM ยังถูกกว่าบัตรเดบิต-ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM ของบัตรเดบิต ทั้งการถอนเงิน โอนเงิน ชำระค่าบริการต่างๆ คิดค่าธรรมเนียมเท่ากับการทำผ่านบัตร ATM (แต่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร)-บัตรเดบิต No Limit Next และ บัตรเดบิต No Limit ของธนาคารทหารไทย ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM-เรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตถือเป็นจุดขายที่หลายๆ ธนาคารนำมาใช้ดึงดูดคนที่จะใช้บริการ ที่ชัดเจนที่สุด บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ของธนาคารกรุงเทพ ที่การฝังมีไมโครชิพ EMV เพื่อเก็บข้อมูลของเจ้าของบัตร ป้องกันการแอบอ้างหรือปลอมแปลง ส่วนการลงรูปของเจ้าของบัตรลงบนหน้าบัตรในบัตรเดบิตของธนาคารกรุงไทยและบัตร K-My Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย ก็ถือเป็นการป้องกันการแอบอ้างใช้บัตร เพราะข้อเสียใหญ่ของบัตรเดบิตก็คือ หากเจ้าของบัตรทำบัตรหาย โอกาสที่จะถูกคนอื่นเอาบัตรไปรูดใช้ซื้อของสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมาก เพราะแม้จะมีการเซ็นลายเซ็นกำกับที่ใบเสร็จเพื่อเปรียบเทียบกับลายเซ็นที่หลังบัตร แต่ก็สามารถปลอมแปลงได้ง่ายมาก การป้องกันที่ดีที่สุดคือเมื่อบัตรหายต้องรีบติดต่อกับธนาคาร เพื่อระงับการใช้บัตรทันที-เรื่องการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ ก็ถือเป็นจุดขายที่บัตรเดบิตของหลายธนาคารนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น บัตรเดบิต-ทิพยประกันภัย ของธนาคารกรุงไทย, บัตร K-Max Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย และ SCB Debit Plus Card ของธนาคารไทยพาณิชย์ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 149 กระแสต่างแดน

คุณบอกดาว! มาตรการใหม่จากกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรของออสเตรเลียจะทำให้คุณแอบอิจฉา เพราะต่อไปนี้จะมีการ “ติดดาว” ให้กับอาหารสำเร็จรูปเพื่อบอกให้รู้ว่าอาหารนั้นดีต่อสุขภาพมากน้อยเพียงใด Health Star Rating ที่ว่านี้มีตั้งแต่ ครึ่ง ถึง 5 ดาว โดย 5 ดาวหมายถึงอาหารที่มีประโยชน์สุดๆ จะกี่ดาวไม่ว่า แต่เขากำหนดให้ผู้ผลิตนำเสนอดาวอย่างชัดเจนบนฉลากด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์เท่านั้น เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน กว่าจะตกลงกันได้ รัฐบาล ผู้ผลิต องค์กรด้านสุขภาพ และองค์กรผู้บริโภค ก็ใช้เวลาหลายปี ไหนจะมีการล็อบบี้จากอุตสาหกรรมอาหารเข้าแทรกเป็นระยะ   ด้านผู้ผลิตก็มีความหงุดหงิดอยู่บ้างเป็นธรรมดา เขาบอกว่าต้องใช้เงินถึง 200 ล้านบาท ในการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของแพคเก็จ และยังบอกด้วยว่ายังไม่เห็นหลักฐานจากงานวิจัยที่บอกว่าการติดดาวนี้จะแก้ปัญหาโรคอ้วนได้ ออสเตรเลีย ซึ่งประชากร 10 ล้านคน (จากทั้งหมด 23 ล้านคน) อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน ตั้งเป้าจะลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังและโรคอ้วนได้ด้วยวิธี “ติดดาว” ซึ่งถือเป็นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ขั้นแรกเขาให้เป็นความสมัครใจของผู้ผลิต แต่ถ้าสองปีผ่านไปแล้วคนสมัครใจยังมีน้อยมาก ก็จะเปลี่ยนเป็นแบบบังคับกันล่ะครับผม   การศึกษาดีเริ่มที่บ้าน ที่เมืองจีนนั้นคุณจะไม่มีสิทธิเลือกโรงเรียนถ้าคุณต้องการให้ลูกเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาล เพราะกฎหมายกำหนดให้คุณส่งลูกเรียนในโรงเรียนใกล้บ้านเท่านั้น แต่โรงเรียนดีๆ ที่สามารถการันตีอนาคตเด็กได้กลับมีน้อยมาก (คุ้นๆนะ) เรียกว่าถ้าใครมีบ้านอยู่ในเขตเดียวกับโรงเรียนดังก็เหมือนถูกหวยเลยทีเดียว ถึงไม่มีก็ไม่ยาก ถ้าคุณมีเงิน ในข่าวเขายกตัวอย่างของครอบครัวหนึ่งที่ตัดสินใจขายบ้านหลังใหญ่ ในย่านที่มีสภาพแวดล้อมยอดเยี่ยม เพื่อนำเงินมาซื้ออพาร์ตเมนต์ในเขตเดียวกับโรงเรียนที่หมายตาไว้ให้ลูก ซึ่งจะเข้าโรงเรียนในอีก 3 ปีข้างหน้า (กฎของเมืองเซี่ยงไฮ้กำหนดให้เด็กต้องมีชื่อเป็นผู้อาศัยในเขตเดียวกับโรงเรียนอย่างน้อย 3 ปี) แต่คุณต้องทำใจ เพราะที่อยู่อาศัยในเขตเดียวกับโรงเรียนดังนั้นจะมีราคาแพงกว่าที่อยู่นอกเขตเป็นเท่าตัว และยังไม่นับว่าสภาพก็ค่อนข้างจะย่ำแย่ด้วย อพาร์ตเมนท์ขนาด 28 ตารางเมตร ที่ครอบครัวนี้ตัดสินใจซื้อนั้น แม้จะอายุ 30 ปีแล้ว ก็ยังขายได้ราคาประมาณ 250,000 บาท (50,000 หยวน) ต่อตารางเมตร ไม่ว่าจะแพงแค่ไหน พ่อแม่เหล่าก็ยินดีจ่ายโดยไม่ลังเล เพราะช้าเดี๋ยวหมดแล้วลูกจะอดเรียน ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าจีนมีคอนโดสร้างใหม่ที่ไม่มีใครไปซื้ออยู่ ... คงเป็นเพราะไม่มาสร้างในย่านที่มีโรงเรียนดีๆ นี่เอง     คนรุ่นใหม่เชิดใส่บัตรเครดิต เรากำลังพูดถึงคนอเมริกันในยุคเศรษฐกิจชะลอตัวที่กลัวการเป็นหนี้ ข้อมูลจาก FICO (คล้ายๆ บริษัทเครดิตบูโรที่บ้านเรา) ระบุว่า คนอายุระหว่าง 18 – 29 นิยมไม่มีบัตรเครดิตกันมากขึ้น ข้อมูลปี 2012 ระบุว่ามีถึงร้อยละ 16 และหนี้บัตรเครดิตของกลุ่มอายุนี้ก็ลดลงด้วย เมื่อ 5 ปีก่อนเป็นหนี้เฉลี่ยคนละ 3,073 เหรียญ (95,500 บาท) ปีที่แล้วลดลงมาเหลือ 2,087 เหรียญ (65,000 บาท) ข่าวบอกว่าสาเหตุหนึ่งคือ พ.ร.บ.บัตรเครดิต ที่ประกาศใช้เมื่อสี่ปีที่แล้วนั้นทำให้คนอายุต่ำกว่า 21 ปีขอมีบัตรเครดิตได้ยากขึ้นกว่าเดิม และภาวะฝืดเคืองยังทำให้หนุ่มสาวอเมริกันเลือกที่จะไม่ซื้อรถเพราะต้องการเก็บเงินสำรองไว้ยามจำเป็น และไม่ใช้บัตรเครดิตเพราะกลัวว่าจะเมื่อมีปัญหาไม่สามารถชำระเงินได้ ก็จะถูกบันทึกประวัติ ทำให้ไม่สามารถขอกู้เงินในยามฉุกเฉิน และคนกลุ่มนี้ยังนิยมใช้การจ่ายเงินผ่านมือถือหรือการหักบัญชีธนาคารกันมากขึ้นด้วย แต่เดี๋ยวก่อน ... แม้จะไม่มีหนี้บัตรเครดิต แต่หนุ่มสาวเหล่านี้กลับมีหนี้เงินกู้เพื่อการศึกษามากขึ้น จากหนี้เฉลี่ยคนละ 6,500 เหรียญ (202,000 บาท) เมื่อ 5 ปีก่อน เพิ่มเป็น 11,500 เหรียญ (358,000 บาท) ในปี 2012   กีวีนิยมกินกล้วย สำนักงานสถิติแห่งชาติของนิวซีแลนด์ระบุว่า ผลไม้ที่ชาวกีวีนิยมซื้อหามารับประทานมากที่สุดคือกล้วยหอม สถิติระบุว่า ประชากรหนึ่งคนจะบริโภคกล้วยหอมปีละ 18 กิโลกรัม (หรือสัปดาห์ละ 2 ลูก) และแต่ละครัวเรือนจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องกล้วยๆ ไม่ต่ำกว่าปีละ 2,000 บาท แซงหน้าแอปเปิ้ลและส้ม ซึ่งมียอดซื้ออยู่ที่ 1,500 และ 650 บาท ต่อครัวเรือนต่อปีไปขาดลอย อาจเป็นเพราะผู้คนรู้สึกว่ากล้วยเป็นอาหารที่คุ้มค่าเงินที่สุด ในขณะที่ราคาอาหารในนิวซีแลนด์พากันขึ้นราคาเป็นสามเท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กล้วยหอมมีราคาเพิ่มจากเดิมเพียงสองเท่าเท่านั้น (จาก 34 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 68 บาท) แถมกล้วยหอมยังเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง ถูกใจคนที่ต้องการอิ่มท้องแต่ไม่ต้องเสียเงินมากอีกด้วย แต่ขอบอกว่านิวซีแลนด์ไม่ได้ปลูกกล้วยหอมเองเลย เขาต้องพึ่งพากล้วยหอมนำเข้าจากเอกวาดอร์และฟิลิปปินส์ ความต้องการเยอะขนาดนี้ เกษตรกรไทยสนใจจะปลูกไปขายเขาบ้างไหม?     ระวังผู้ติดตาม แม้ปัจจุบันการมีผู้ติดตาม หรือ Follower ในเว็บโซเชียลทั้งหลายจะไม่ใช่เรื่องใหม่และเป็นสิ่งที่หลายคนปรารถนาจะมีให้มากไว้ แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากคนอเมริกันจะถูกรัฐบาลแอบฟังเป็นประจำแล้ว (ตามที่เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนออกมาแฉ) แล้ว พวกเขายังเป็นเป้าหมายการติดตามของบรรดาเว็บไซต์ต่างๆ ที่ต้องการข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย งานวิจัยชิ้นล่าสุดจากมหาวิทยาลัยเซาท์เธิร์นแคลิฟอเนีย พบว่ามีคน “อยากรู้ว่าคุณอยากรู้อะไร” เพื่อนำไปประเมินหรือตีความว่าสุขภาพร่างกายจิตใจของคุณปกติดีหรือไม่ นักวิจัยทดลองใส่คำค้นเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ อย่าง “โรคซึมเศร้า” หรือ “มะเร็ง” ลงไปในเว็บไซต์ด้านสุขภาพ เช่น เว็บของสถาบันสุขภาพ องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ WebMD และ Weight Watcher แล้วใช้ซอฟต์แวร์ฟรี DoNotTrackMe และ Ghostery ตรวจจับว่าบุคคลที่สาม (Third Party) ในเว็บไซต์ที่เข้าไปมีใครบ้าง แล้วใช้ซอฟท์แวร์อีกตัวหนึ่งตรวจหาว่ามีการส่งต่อข้อมูลจากเว็บนั้นไปยัง Third Party ด้วยหรือไม่ ผลคือทุกเว็บที่สำรวจต่างก็มี “บุคคลที่สาม” และมีอยู่ 13 จากทั้งหมด 20 เว็บที่คอยติดตามข้อมูลผู้ใช้ สำคัญที่สุดคือมี 7 เว็บจาก 20 เว็บที่ส่งต่อข้อมูลการค้นหาของคุณออกไปให้คนอื่น ทั้งนี้ผู้วิจัยให้เหตุผลว่า เว็บไซต์ต่างๆ ยังสามารถทำอย่างนี้ได้ก็เพราะกฎหมายของอเมริกายังไม่ชัดเจนเรื่องการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้นั่นเอง นักวิจัยเตือนว่า การถูกเปิดเผยว่าเรากำลังวิตกกับอาการเจ็บป่วยอะไรนั้นไม่ได้แค่ทำให้เราอับอาย แต่มันหมายถึงเราอาจถูกปฏิเสธโอกาสในการได้งานทำด้วย //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 กระแสต่างแดน

  บัตรของเรา เรทของเรา บริษัทบัตรเครดิตวีซ่างานเข้า เมื่อถูกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าและการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งออสเตรเลียฟ้องในข้อหาพยายามใช้อำนาจทางการตลาดผูกขาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ   ข่าวบอกว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น นักท่องเที่ยวที่ถอนเงินจากตู้กดเงินอัตโนมัติด้วยบัตรวีซ่าจะต้องใช้อัตราแลกเงินที่วีซ่าเป็นผู้กำหนดเท่านั้น   แม้คุณจะเลือกจ่ายค่าสินค้าบริการด้วยบัตรเครดิต บริษัทเขาก็กำหนดให้ร้านค้าต่างๆ ที่เปิดรับการจ่ายเงินด้วยบัตรวีซ่าใช้อัตราแลกเปลี่ยนของเขาอยู่ดีนั่นแหละ   คณะกรรมการฯ เป็นห่วงว่าจะเกิดการผูกขาดในธุรกิจบริการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และเจ้าอื่นจะพากันล้มหายตายจาก ไม่เหลือทางเลือกให้ผู้บริโภคในที่สุด  นั่นสินะ.. เวลาจะแลกเงินเรายังต้องเสาะหาว่าจะไปแลกเงินกับเจ้าไหนดีให้ได้อัตราสูงที่สุด แต่เวลาใช้บัตรเรากลับหมดทางเลือกไปซะอย่างนั้น     ภาษีที่เลี่ยงได้ คือกำไรของเรา? เว็บไซต์ www.ethicalconsumer.org ของอังกฤษกำลังชักชวนให้ผู้บริโภคบอยคอตอเมซอน ร้านหนังสือออนไลน์ที่เรารู้จักกันดี เพื่อกดดันให้บริษัทจ่ายภาษีให้สมน้ำสมเนื้อกับผลกำไรมหาศาลเสียที   อเมซอนไม่ใช่บริษัทเดียวที่เลี่ยงภาษี แต่ที่ถูกเพ่งเล็งหนักเพราะเว็บนี้เขาเชื่อว่าอเมซอนใช้การเลี่ยงภาษีเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของการทำธุรกิจ   รายงานในหนังสือพิมพ์ The Guardian ระบุว่า 1 ใน 4 ของลูกค้าของบริษัทอยู่ในอังกฤษ คิดเป็นยอดขายในประเทศนี้ถึง 7,500 ล้านปอนด์ (350,000 ล้านบาท) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา   แต่บริษัทไม่ได้เสียภาษีจากผลกำไรดังกล่าวให้กับรัฐบาลอังกฤษเลย เขาคาดว่าการสูญเสียครั้งนี้มีมูลค่าประมาณ 100 ล้านปอนด์ (4,600 ล้านบาท)   เมื่อพ.ศ. 2551 นิตยสาร Business Week ระบุว่าอเมซอนจ่ายภาษีให้รัฐบาลอเมริกันเพียงร้อยละ 4 ของผลกำไรเท่านั้น ... น้อยกว่าอีก 488 บริษัทที่อยู่ใน 500 อันดับบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ   ถัดมาอีก 3 ปี อเมซอนใช้เงิน 5 ล้านเหรียญ(ประมาณ 150 ล้านบาท) สนับสนุนการแก้ไขกฎหมายภาษีของรัฐแคลิฟอร์เนียให้เป็นประโยชน์ต่อบริษัทมากขึ้นด้วย       ใครอยากบอยคอตก็ให้ไปซื้อหนังสือจากเว็บของสำนักพิมพ์โดยตรง หรือไม่ก็อุดหนุนร้านหนังสือแถวบ้านดีกว่า(แต่ใครจะเข้าไปเปิดดูตัวอย่างหนังสือจากเว็บของอเมซอนฟรีๆ อันนี้ไม่ว่ากัน)     เมื่อสตาร์บัคส์ชักจะไม่หอมกรุ่น หลังจากสตาร์บัคส์อังกฤษถูกเปิดโปงในรัฐสภาว่ามีมาตรการเลี่ยงภาษีที่ “ไร้จริยธรรม” บริษัทจึงรีบแก้ไขสถานการณ์ด้วยการออกนโยบายลดเงินเดือนและสวัสดิการพนักงานเสียเลย โดยให้เหตุผลว่าต้องลดรายจ่ายเพื่อให้มีเงินเหลือมาจ่ายภาษีมากขึ้น   นโยบายนี้มีผลต่อพนักงานประมาณ 7,000 คน ของร้านกาแฟสตาร์บัคส์กว่า 750 สาขาในอังกฤษ ที่ต่อไปนี้จะไม่ได้ค่าจ้างในช่วงพักกลางวัน 30 นาที ค่าจ้างในวันแรกของการลาป่วย เงินโบนัสพิเศษ หรือแม้แต่คูปองกินฟรีในวันเกิด   พนักงานบอกว่าพวกเขามีทางเลือกอยู่ 2 ทางคือ หนึ่งเซ็นรับทราบข้อตกลง/เงื่อนไขการจ้างงานใหม่ แล้วทำงานต่อไปเงียบๆ อย่าหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาคุยเป็นอันขาด สองไม่เซ็นก็ได้ แต่ต้องลาออกไปโดยพลัน   สตาร์บัคส์แถลงว่า รายจ่ายของธุรกิจร้านกาแฟของบริษัทหมดไปกับค่าจ้างและสวัสดิการพนักงานมากที่สุด บริษัทจึงใช้เวลาในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมาปรับโครงสร้างรายจ่ายให้สมดุลกับการพัฒนาธุรกิจ   บริษัทบอกว่าได้ทำความเข้าใจกับพนักงานแล้ว โดยบางคนได้รับคำอธิบายจากผู้จัดการว่าสตาร์บัคส์ขาดทุนค่อนข้างมากในยุโรป จึงต้องหาวิธีลดรายจ่ายลง   แต่รายงานข่าวในช่วงก่อนหน้านี้บอกว่า ด้วยวิธีการอันซับซ้อนซ่อนเงื่อน ทำให้สตาร์บัคส์เสียภาษีเพียง 8.6 ล้านปอนด์ (403 ล้านบาท) จากรายได้ทั้งหมด 3,100 ล้านปอนด์ (145,200 ล้านบาท) ในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา   ด้านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษก็ตั้งข้อสงสัยว่า มันเป็นไปได้อย่างไรที่บริษัทนี้จะขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาตลอดเวลา 15 ปีที่เปิดกิจการในอังกฤษ ทั้งๆ ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้อยละ 30   และที่สำคัญยังแถลงต่อผู้ถือหุ้นว่าบริษัททำกำไรได้ร้อยละ 15 ต่อปีด้วย   ตกลงมันยังไงกันแน่? แล้วทำไมภาระภาษีถึงมาตกอยู่กับพนักงานรายได้น้อยไปเสียได้?     บอกแล้วให้ซื้อรถใหม่ เรื่องร้องเรียนอันดับหนึ่งของ สมาคมผู้บริโภคแห่งสิงคโปร์สิงคโปร์ (คล้ายๆ สคบ.บ้านเรา) ปีนี้ได้แก่ “รถมือสอง” ที่เบียดแชมป์เก่าอย่าง “ผลิตภัณฑ์ความงาม” ตกถนนไปเลย   ข่าวบอกว่าเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับรถมือสองที่เคยครองอันดับ 9 ในปีที่แล้ว ขึ้นจากมาครองตำแหน่งแชมป์ในปีนี้ ด้วยสถิติเรื่องร้องเรียนถึง 2,255 กรณี (เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 80)   สาเหตุเพราะปัจจุบันการจะซื้อรถใหม่ที่สิงคโปร์นั้นต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่อง “ใบรับรองการเป็นเจ้าของรถ” ที่สูงถึง 92,100 เหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 2 ล้านกว่าบาท ... โอ้แม่เจ้า ... นี่ยังไม่ได้รวมราคารถเลยนะ) ที่สำคัญเขาบอกว่าใบรับรองฯ ที่ว่านี้ยังสามารถแพงได้อีก   ก็คงมีแต่เศรษฐีเท่านั้นที่จะซื้อรถใหม่ได้ ส่วนครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางก็ต้องพึ่งรถมือสองซึ่งนอกจากจะเกเรอยู่บ่อยๆ แล้วยังจะฝ่าฝืนนโยบายลดมลพิษด้วยการพ่นควันดำกระจาย...ให้รัฐบาลปวดหัวอีกด้วย     เวียดนามร้องซีพีขายไข่ไก่แพง หลังจากชาวบ้านร้องเรียนกันเข้ามามากว่าราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี   กรมอุตสาหกรรมและการค้าแห่งนครโฮจิมินห์เรียกตัวแทนของซีพีเวียดนามเข้าชี้แจงนโยบายการตั้งราคาไข่ไก่ของบริษัทโดยด่วน   กรมฯ บอกว่า ไข่ที่นำเข้าตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วก็ยังเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ  ราคาอาหารไก่ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง แล้วเหตุใดซีพีท่านจึงขึ้นราคาเสียเล่า   ซีพีออกมายอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมาได้ปรับราคาไข่ไก่ขึ้นหลายครั้ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนเทศกาลเต๊ดหรือตรุษจีนของเวียดนาม ที่ความต้องการสูงเป็นพิเศษ แต่สัญญาว่าต่อไปนี้จะตั้งราคาให้เป็นธรรมขึ้น   เกษตรกรขายไข่ให้ซีพีในราคาฟองละ 1550 ด็อง (2.2 บาท)  รวมค่าขนส่งค่าบรรจุหีบห่อแล้วก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,700 ด็อง (2.4 บาท) แต่ ณ วันที่ 15 มกราคม ซีพีเวียดนามขายที่ราคา 2,500 ด็อง (3.5 บาท)   ตามกฏหมายเวียดนาม การฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันทางการค้ามีความผิด ต้องเสียค่าปรับร้อยละ 5 – 10 ของรายได้บริษัท   ปี 2011 ซีพีเวียดนามมีรายได้ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (44,670 ล้านบาท) //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 สัญญาไม่เป็นธรรมกรณีบัตรเครดิตหาย

ฉบับนี้ขอนำเสนอเรื่อง ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้ใช้บัตรเครดิตต้องรับผิดต่อธนาคารฯ ในกรณีที่บัตรเครดิตสูญหาย ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ในการยื่นคำขอมีบัตรเครดิตนั้นผู้ยื่นจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญาตามที่ทางธนาคารฯ เจ้าของบัตรเครดิตได้กำหนดไว้  ซึ่งในสัญญาดังกล่าวจะมีข้อตกลงต่างๆ ที่ทางธนาคารฯ เจ้าของบัตรเครดิตกำหนดไว้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็น “สัญญาสำเร็จรูป” “สัญญาสำเร็จรูป” หมายความว่า สัญญาที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีการกำหนดชื่อสัญญาที่เป็นสาระสำคัญไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะทำในรูปแบบใด ซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำมาใช้ในการประกอบกิจการของตน” สัญญาสำเร็จรูปมีผลก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมความไม่เสมอภาคในการทำสัญญา เพราะจะมีการกำหนดความละเอียดหลักเกณฑ์ทางสัญญาไว้เป็นแบบสำเร็จรูป คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีเวลาพอที่จะตรวจสอบหรือหากสามารถตรวจสอบได้ก็ไม่อาจจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ต่อรองเงื่อนไขให้เป็นประการอื่นใด ทำให้เกิดปัญหาการทำสัญญาโดยไม่สมัครใจ หรืออยู่ในภาวะที่ต้องยอมรับข้อเสียเปรียบที่อาจเห็นอยู่แล้วตั้งแต่ตอนทำสัญญา  ในทางปฏิบัติจะเห็นได้ว่า  สัญญาสำเร็จรูปมีลักษณะของความไม่เป็นธรรมตั้งแต่รูปแบบของสัญญา กล่าวคือ ใช้ตัวเล็ก มีข้อความละเอียดมากมาย ใช้ศัพท์เทคนิคเข้าใจได้ยาก และมีการพัฒนามาจากกรณีความผิดพลาดที่คู่สัญญาฝ่ายที่นำมาใช้เคยประสบมาก่อน จึงมีการเขียนในลักษณะปิดช่องทางที่เคยผิดพลาดและพยายามเอาเปรียบอย่างรัดกุมยิ่งขึ้น เพราะเคยผ่านบทเรียนมามากในขณะที่อีกฝ่ายเพิ่งจะเข้าทำสัญญาเป็นครั้งแรกหรือเพิ่งเคยทำไม่กี่ครั้ง ทำให้ขาดประสบการณ์ ไม่สามารถรู้เท่าทันอีกฝ่ายหนึ่งได้ จึงเป็นลักษณะของมืออาชีพกับมือสมัครเล่น   ซึ่งมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540  ได้บัญญัติไว้ว่า “ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น” ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความสัญญาสำเร็จรูปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งมิได้เป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น (8) ข้อตกลงในสัญญาบัตรเครดิตที่กำหนดให้ผู้บริโภคต้องชำระดอกเบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายหรือประโยชน์อื่นใดสูงเกินกว่าที่ควรในกรณีที่ผิดนัดหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการชำระหนี้ “ ลองมาดูตัวอย่างที่ศาลฎีกานำบทบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมาปรับบทบังคับสักเรื่องหนึ่ง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2552 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ที่กำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่บัตรเครดิตสูญหาย ถูกลักขโมย หรือถูกใช้โดยบุคคลอื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ถือบัตร(จำเลย) ที่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ศูนย์บัตรเครดิตของธนาคาร(โจทก์)ทราบแล้วโดยพลันเพื่อให้ระงับการใช้บัตรเครดิต ในภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นก่อนมีการแจ้งดังกล่าวในจำนวนเงินที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตของผู้ถือบัตร ซึ่งถูกนำไปใช้โดยมิชอบ รวมถึงภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นหลังจากแจ้งให้ธนาคารทราบแล้วไม่เกิน 5 นาที นอกจากจะขัดแย้งกับข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 6 วรรคสอง แล้ว ยังถือเป็นข้อสัญญาที่ทำให้จำเลยต้องรับภาระในหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยไม่ได้ก่อขึ้นและไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย  ทั้งโจทก์ยังมีทางแก้ไขความเสียหายของโจทก์ได้โดยหากโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าลายมือชื่อผู้ใช้บัตรเครดิตในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อของจำเลยผู้ถือบัตร  โจทก์สามารถเรียกเงินที่ได้จ่ายไปคืนจากร้านค้าได้ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งจากจำเลยบัตรเครดิตได้สูญหายไปเพื่อขอให้โจทก์ระงับการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะต้องรีบดำเนินการให้จำเลยโดยเร็ว ก็จะทราบได้ทันทีว่าลายมือชื่อผู้ใช้บัตรเครดิตในเซลสลิปไม่ตรงกับลายมือชื่อของจำเลย แสดงว่าร้านเจมาร์ทไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อในเซลสลิป  ย่อมทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนจากร้านเจมาร์ทแทนการมาเรียกเก็บจากจำเลยได้ซึ่งเป็นธรรมกับทุกฝ่าย  แต่โจทก์มิได้ทำเช่นนั้น โดยเห็นว่ามีข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 ที่ให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว ถือเป็นการเอาเปรียบจำเลยเกินสมควรและเป็นการผลักภาระให้จำเลยต้องรับผิดเกินกว่าวิญญูชนทั่วไปจะคาดหมายได้ตามปกติ อันเข้าลักษณะข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  ข้อตกลงการใช้บัตรวีซ่า ข้อ 8 จึงไม่มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 ระวังปัญหาแอบใช้บัตรประชาชน…ช่วงน้ำท่วม

  มีโอกาสไปประชุมกับศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลพบุรีเลยได้มีโอกาสฟังปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในจังหวัด ซึ่งเป็นปัญหาเก่าแก่ที่เกิดขึ้นมานานคือ การแอบนำสำเนาบัตรประชาชนไปใช้ทำกิจการอย่างอื่นๆ เรื่องมีอยู่ว่าชาวบ้านจำนวนสามสิบกว่าคนได้นำสำเนาบัตรประชาชนไปให้ผู้ใหญ่บ้านเพื่อขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร แต่วันดีคืนดีก็พบว่า สมาชิกในกลุ่มทั้งสามสิบกว่าคนเป็นหนี้กันถ้วนหน้าคนละหลายแสนบาท เรื่องแดงขึ้นเพราะถูกโทรศัพท์ทวงเงินว่าไปกู้เงินกับเขาไว้แล้วทำไมไม่จ่ายคืน แถมถูกแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจ ตำรวจพาซื่อนัดผู้เสียหายไปข่มขู่ให้เสร็จว่า เป็นหนี้เขาแล้วก็ต้องจ่าย จะทำบันทึกจ่ายกันยังไงก็ว่ามา เจอเรื่องแบบนี้กับเรา หากไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือไม่มีความรู้คงปวดหัวและวุ่นวายมากพอควร แต่เผอิญสามสิบกว่าคนนี้โชคดี จังหวัดลพบุรีมีศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เลยมีคนนำเรื่องมาเล่าให้ผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ ฟังก็ได้สืบสาวเรื่องราวจนทำให้ได้ข้อเท็จจริงว่า ลูกสะใภ้ผู้ใหญ่บ้านได้นำสำเนาบัตรประชาชนของคนที่ไปขึ้นทะเบียนไปทำสำเนาเพิ่มเติมแล้วปลอมลายเซ็นต์ไปกู้เงิน และน่าจะรับรู้ร่วมกันระหว่างคนแอบไปกู้กับคนให้กู้ โดยอาจจะเคยดำเนินการแบบนี้มาก่อนหรือไม่ ในอดีตเราอาจจะมีปัญหาเรื่องนี้เพราะนำบัตรประชาชนไปขอใช้โทรศัพท์มือถือเรียกว่านอนอยู่บ้านเฉยๆ ก็เป็นหนี้ หรือบางคนก็กลายเป็นสมาชิกพรรคการเมืองกันไป กรณีนี้เมื่อศูนย์ฯ เข้าไปให้การช่วยเหลือนอกจากไม่ต้องจ่ายเงินเพราะไม่ได้กู้แล้ว ยังได้แจ้งความดำเนินคดีกับลูกสะใภ้ผู้ใหญ่บ้านว่า ใช้เอกสารทางราชการโดยไม่ได้รับอนุญาต และฉ้อโกงประชาชน ช่วงนี้หลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและรัฐบาลได้มีมติให้เยียวยาความเสียหาย ซึ่งในคอลัมน์นี้เราคงไม่ถกเถียงเรื่องจำนวนที่จ่ายว่ามากน้อยเพียงพอหรือไม่เพียงใด แต่ทุกครั้งในการดำเนินการก็ต้องใช้บัตรประชาชนเป็นหลักฐาน อย่าลืมคิดถึงเรื่องนี้ไว้เป็นบทเรียน การใช้สำเนาบัตรประชาชนต้องระบุให้ชัดเจนว่าเพื่อวัตถุประสงค์อะไร และกรุณาเขียนให้ชัดเจนในการใช้งานและเขียนระบุบนรูปของตนเองไม่ต้องกลัวว่ารูปจะไม่สวยหรือมองไม่เห็นเพราะมิเช่นนั้น อาจจะมีผู้ไม่หวังดีนำสำเนาไปใช้ประโยชน์เพื่อการอื่นและอาจจะลำบากและเจ็บตัวภายหลังได้ ให้กำลังใจกับผู้ประสบภัยน้ำท่วมทุกคน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 ดอกเบี้ยบัตรเครดิต

เดือนนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ยบัตรเครดิตมาฝากแฟนๆ ฉลาดซื้อ คดีนี้โจทก์คือบริษัทกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ยื่นฟ้องผู้บริโภคเป็นจำเลย ส่วนจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ( ภาษาชาวบ้านก็คือไม่ได้ไปศาล ขี้เกียจไปซะอย่างงั้นละ ) โจทก์มัดมือชกจำเลยอยู่ข้างเดียว ดูมวยคู่นี้ซิผลจะออกมาอย่างไร ออกหัวหรือก้อย ดูตัวเลขจำนวนเงินให้ดีๆ นะครับ  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2551 โจทก์ฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 21,342.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงิน 14,923.09 บาท และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 6 ต่อปี ของต้นเงิน 14,923.19 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 11,704 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 1,000 บาท โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 ทวิ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อกำหนดซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาต ตาม ข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58( เรื่องสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ไว้ในข้อ 4.4(1) ให้ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งนี้ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ดังกล่าว รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ โดยอัตรารวมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี แต่ข้อเท็จจริงตามหนังสือแจ้ง ผลการพิจารณาสินเชื่อบุคคลปรากฏว่า ในการที่โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยจำนวน 18,900 บาทนั้น โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อปี หรือร้อยละ 15 ต่อปี และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ กับค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการจำนวน 1,000 บาท ซึ่งสามารถคำนวณเป็นร้อยละได้อัตราร้อยละ 5.29 ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและค่าดำเนินการ การอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นอัตราร้อยละ 30.29 เกินกว่าอัตราร้อยละ 28 ต่อปีที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยค่าบริการและค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 พิพากษายืน “ อ้าว!!! โจทก์เตะผิดลื่นหงายหลังหัวฟาดพื้นสลบไปซะแล้วครับ ท่านผู้ชม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 อายุความสินเชื่อบัตรเรดดี้เครดิต

รู้กฎหมายกับทนายอาสาsmbuyer@hotmail.comอายุความบัตรเครดิตนั้นมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามซึ่งเป็นระยะเวลาอันสั้น ทางฝ่ายสถาบันการเงินจึงพยายามทำสัญญาต่างๆ เพื่อลากให้เป็น “บัญชีเดินสะพัด” ให้ได้เพราะบัญชีเดินสะพัดมีอายุความถึง 10 ปี ถึงขนาดให้ลูกค้าเปิดบัญชีกระแสรายวันแล้วมอบเช็คให้ไว้เบิกจ่ายเลยทีเดียว เรามาดูกันสิว่าศาลท่านจะเล่นด้วยหรือไม่  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10262/2550 แม้สัญญาให้บริการสินเชื่อเรดดี้เครดิตโจทก์กับจำเลยต้องเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับโจทก์เพื่อให้จำเลยใช้บัญชีดังกล่าวเบิกถอนเงินโดยการใช้เช็คที่โจทก์มอบให้จำเลยไว้และมีข้อตกลงให้โจทก์หักทอนเงินในบัญชีเพื่อการชำระหนี้ใดๆ ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาใช้สินเชื่อข้อ 11 ระบุไว้ว่า หากผู้กู้นำเงินสดและ/หรือเช็คเข้าฝากในบัญชีกระแสรายวันที่ผู้กู้เปิดไว้โดยผู้กู้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ใดๆ แก่ธนาคาร ผู้กู้ยอมให้ธนาคารโอนเงินจำนวนดังกล่าวหรือที่เรียกเก็บได้ตามเช็คเข้าฝากในบัญชีเงินฝากประเภทไม่มีดอกเบี้ยที่ธนาคารจัดให้มีขึ้นทันที  ทั้งนี้ ผู้กู้ตกลงและรับทราบว่าในเวลาใดๆ เวลาหนึ่ง ยอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีกระแสรายวันจะมีจำนวนเท่ากับศูนย์ ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่า จำเลยไม่มีโอกาสเป็นเจ้าหนี้โจทก์ตามบัญชีกระแสรายวันอันจะเป็นเหตุให้ต้องหักทอนบัญชีกัน ทั้งตามพฤติการณ์แห่งคดีก็ปรากฏว่าจำเลยใช้เช็คที่โจทก์มอบให้เบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยเพียงช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจำเลยเบิกถอนเงินโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว ในการคิดดอกเบี้ยเนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยอย่างทบต้นแต่อย่างใด บัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้จึงเป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้ให้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเรดดี้เครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้หักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย และคงชำระหนี้แต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 865  การที่โจทก์ออกบัตรซิตี้การ์ดพร้อมเลขรหัสประจำตัวให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยใช้เบิกถอนเงินสดจากพนักงานของโจทก์หรือจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติโดยไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเบิกเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของโจทก์เท่านั้น ซึ่งหากจำเลยเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของสถาบันการเงินอื่นๆ โจทก์ต้องออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไปก่อน อันเป็นการรับทำการงานแทนนั่นเอง ส่วนการมอบเช็คให้จำเลยไว้ใช้ในการเบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลย หรือออกรหัสประจำตัวแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยสามารถใช้บริการสินเชื่อเรดดี้เครดิตได้นั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว  กรณีถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่างๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2546 ตามที่กำหนดไว้ในใบแจ้งยอดบัญชี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2546 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 25 เมษายน 2548 ซึ่งพ้นกำหนด 2 ปี แล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ  สรุปว่า ศาลท่านไม่เล่นด้วยนะครับ อายุความยังเป็น 2 ปีเช่นเดิมสำหรับบัตรเรดดี้เครดิต

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 96 บัตรเครดิตปลอมและถูกลัก

รู้กฎหมายกับทนายอาสาsmbuyer@hotmail.com กรณีที่มีบุคคลอื่นทำปลอมบัตรเครดิตหรือลักบัตรเครดิต เช่น เป็นการลักหรือโจรกรรมข้อมูลจากบัตรเครดิตในขณะมีการใช้บัตรเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ โดยผู้ขโมยข้อมูลเป็นพนักงานของร้านค้าหรือสถานบริการ หรือข้อมูลถูกขโมยจากเครื่องมืออิเล็กโทรนิกส์ที่คนร้ายลักลอบติดตั้งไว้บริเวณด้านบนของเครื่อง เอ ที เอ็ม (มีการถ่ายภาพหรือบันทึกข้อมูล ขณะมีการใช้บัตรเครดิตนั้นกดรหัสประกอบบัตรเครดิตเบิกถอนเงินจากเครื่อง เอ ที เอ็ม) ซึ่งเจ้าของบัตรเครดิตไม่ทราบเรื่อง หรือขโมยจากข้อมูลที่ธนาคารหรือบริษัทเจ้าของบัตรเครดิตเก็บรักษาไว้ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ แล้วนำข้อมูลนั้นมาทำบัตรเครดิตปลอม แล้วมีการนำบัตรปลอมนั้นออกไปซื้อสินค้าและบริการต่างๆ รวมทั้งการเบิกถอนเงินจากเครื่อง เอ ที เอ็ม ซึ่งกรณีที่สองนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่า สมาชิกหรือเจ้าของบัตรเครดิตที่ไม่มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมให้มีการทำบัตรเครดิตปลอม ไม่ต้องรับผิดใช้เงินที่ธนาคารหรือบริษัทเจ้าของบัตรเครดิตได้ออกทดรองไปก่อน จากการใช้บัตรเครดิตปลอมของบุคคลอื่น เพราะธนาคารหรือบริษัทเจ้าของบัตรเครดิตจะต้องจัดทำบัตรเครดิตและจัดเก็บข้อมูลเป็นความลับ ให้ยากต่อการถูกลักหรือโจรกรรมข้อมูลไปได้ เว้นแต่เจ้าของบัตรเครดิตมีส่วนรู้เห็นให้บุคคลอื่นทำบัตรเครดิตปลอมขึ้นมา แล้วมีการนำบัตรเครดิตไปใช้ซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งเบิกถอนเงินสดจากเครื่อง เอ ที เอ็ม เจ้าของบัตรเครดิตนั้นต้องรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้น ดังนั้นหากสมาชิกบัตรเครดิตได้รับใบแจ้งยอดหนี้ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเป็นรายเดือนจากธนาคารหรือบริษัทเจ้าของบัตรเครดิตแล้ว ถ้าตรวจสอบใบแจ้งยอดหนี้แล้วเห็นว่าตนมิได้ใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการรายใด รวมทั้งการเบิกถอนเงินสดจากเครื่อง เอ ที เอ็ม ก็ต้องรีบแจ้งและทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรไปทันที เพื่อธนาคารหรือบริษัทเจ้าของบัตรเครดิตจะได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อยกเลิกบัตรเครดิตใบดังกล่าว แล้วออกบัตรเครดิตใหม่ให้แทนต่อไป  สำหรับกรณีบัตรเครดิตถูกคนร้ายลักไปแล้วนำไปใช้นั้น มีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยล่าสุด ซึ่งมีความน่าสนใจดังนี้  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2550 ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ระบุว่า บัตรเครดิตนี้ธนาคารได้ออกให้และสงวนไว้เฉพาะผู้ถือบัตรเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ถือบัตรยินยอมอนุญาตหรือนำบัตรเครดิตไปให้บุคคลอื่นใช้ ดังนั้นในกรณีที่มีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ที่ออกให้แก่จำเลยไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการแก่สถานประกอบกิจการและร้านค้าเป็นการใช้บัตรเครดิตซึ่งมิได้เป็นไปโดยถูกต้องตามประเพณีปฏิบัติและ/หรือเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องรับผิดชำระหนี้อันเกิดจากการที่มีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้ต่อเมื่อจำเลยได้ยินยอม อนุญาตหรือนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นใช้ตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น การที่บัตรเครดิตของจำเลยถูกคนร้ายลักไปย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าจำเลยมิได้ยินยอมอนุญาตหรือนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นใช้ตามข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ที่บุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้ ถ้าบัตรเครดิตถูกขโมยไปใช้ เราก็ไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ที่เราไม่ได้ก่อขึ้นครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 คดีความเรื่องดอกเบี้ยบัตรเครดิต : ศาลต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนในยุคบริโภคนิยม

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการเรื่องที่ผมจะนำเสนอในฉบับนี้ จะเป็นลักษณะ “เสียงจากผู้บริโภค” โดยนำคดีเกี่ยวกับการฟ้องร้องเรื่องการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ที่เอาเปรียบผู้บริโภคในเยอรมนี และในประเทศไทยเองผู้บริโภคจำนวนมากก็ผจญกับปัญหาหนี้บัตรเครดิต ที่นับวันปัญหาก็จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสังคม เรื่องก็มีอยู่ว่า นายยิลดิซ เป็นนักศึกษานิติศาสตร์ อยู่ที่กรุงเบอร์ลิน ได้ทำสัญญา เปิดบริการใช้บัตรเครดิตกับธนาคาร Barclay Card ของ Barclay เยอรมนี ในปี ค.ศ. 2000 โดยสามารถชำระเงินคืนบางส่วนได้ คล้ายๆ กับเงื่อนไขการชำระเงินของบัตรเครดิตรในประเทศไทยของเรานั่นเอง แต่อัตราดอกเบี้ย ตอนที่เริ่มทำสัญญานั้น  อยู่ที่ 14.84 % ต่อปี และในสัญญาบัตรเครดิตก็ยังได้ระบุไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะตลาด ในปี ค.ศ. 2007 อัตราดอกเบี้ยได้ถีบตัวสูงขึ้นไป ถึง 19.99 % ต่อปีและไม่มีทีท่าว่าจะลดตามสภาวะของตลาดที่อัตราดอกเบี้ยโดยรวมลดต่ำลงมากเพราะเศรษฐกิจเป็นช่วงขาลง และการที่ผู้บริโภคสามารถแบ่งชำระจ่ายได้บางส่วน ทำให้วงเงินที่เป็นหนี้บัตรเครดิตสูงขึ้นๆ อันเนื่องมาจากดอกเบี้ยที่สูงมากนั่นเอง และทำให้นายยิลดิซ ไม่สามารถชำระหนี้จำนวน 8,000 ยูโรได้ จนกระทั่งทางธนาคารให้บริษัททวงหนี้เข้ามาทำการไกล่เกลี่ยกับนายยิลดิซ แต่นายยิลดิซ ไม่ตกลงยินยอม คดีจึงเข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรมตั้งแค่ปี ค.ศ. 2009  ในกรณีนี้ศาลตัดสินว่า ในข้อสัญญาที่ระบุว่าให้ธนาคารสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะตลาดได้นั้น เป็นข้อสัญญาที่เอาเปรียบผู้บริโภคอย่างไม่ต้องสงสัย "unzweifelhaft unwirksam" เพราะฉะนั้นสัญญาในข้อนี้จึงเป็นโมฆะและสั่งให้ธนาคารกลับไปคิดอัตราดอกเบี้ยใหม่โดยให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตอนเริ่มทำสัญญา ผลของคำตัดสินในคดีนี้ส่งผลต่อ ผู้บริโภครายอื่น ที่ทำสัญญาบัตรเครดิตในลักษณะเดียวกันนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลทางเวบไซต์พบว่า มีบัตรเครดิตภายใต้สัญญาที่เป็นโมฆะดังกล่าวเป็นจำนวนถึง 1.3 ล้านใบ และอาจต้องคืนเงินให้กับผู้บริโภคทุกรายด้วย แต่อย่างไรก็ตามคดีนี้ยังไม่จบ โดยจะดำเนินการพิพากษาคดีต่อในเดือนมีนาคม 2014 แต่ถึงแม้ว่าคดียังไม่จบ ทางธนาคาร Barclay ก็ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสัญญาที่เป็นโมฆะใหม่แล้วตั้งแต่ปี 2011   ปัจจุบันนี้นายยิลดิซ ได้เรียนจบแล้ว และได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมือง CDU ที่นายกหญิงเหล็ก แองเจลา แมร์เคิลเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ เรื่องที่เล่ามานี้เกิดขึ้นจริง ในประเทศเยอรมนี ที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในอียู ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ศาลได้ทำหน้าที่ดำรงความยุติธรรม เพื่อรักษาความเป็นนิติรัฐ นิติธรรมของประเทศ ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญและเป็นที่พึ่งของคนเล็กคนน้อยมิให้ถูกธนาคาร ที่เป็นองคาพยพหนึ่งในระบอบทุนนิยมเอารัดเอาเปรียบมากจนเกินไป  และหวังว่าจะได้เห็นองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรในเร็ววันนี้ เพื่อมาเป็นปากเสียงให้กับประชาชน ผู้บริโภคไทยตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญครับ (ที่มา www.welt.de วันที่ 12.11.2013) รูปแสดงอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตในประเทศเยอรมนีตั้งแต่ปี 2010-2013: ที่มา Deutsche Bundesbank

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 97 บัตรเครดิตยอดเยี่ยม ยอดแย่

ความเดิมตอนที่แล้ว ฉลาดซื้อฉบับที่ 95 ได้นำเสนอผลการสำรวจบางส่วนเกี่ยวกับสัญญาบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ไปบ้างแล้วโดยเน้นที่ประเด็นการทวงหนี้ ที่เราพบว่ามีผู้ประกอบการ หลายเจ้าที่ระบุในสัญญาว่า เรายินยอมให้เขาไปทวงหนี้กับบุคคลอื่นได้ การสำรวจของฉลาดซื้อเป็นการเก็บข้อมูลจากแผ่นพับที่สถาบันการเงิน แจกจ่ายให้กับลูกค้า และจากการโทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก เจ้าหน้าที่ของบริษัท งานนี้มีบัตรเครดิตลงแข่งทั้งหมด 17 ใบ (รวมเจ้าที่เป็นบัตรเครดิตพ่วงสินเชื่อด้วย 1 ใบ) และบัตรสินเชื่ออีก 6 ใบคราวนี้ลองมาดูกันเต็มๆ ว่า บัตรเครดิต/สินเชื่อ เจ้าไหน น่าใช้ (หรือไม่น่าใช้) กว่ากัน บัตรเครดิต/สินเชื่อ ที่ฉลาดซื้อชอบ ...* มีขนาดตัวอักษรในสัญญาไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร* ผู้ถือบัตรจะได้รับแจ้งล่วงหน้ากรณีมีการเปลี่ยนแปลง เรื่องอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ฯลฯ* ผู้ถือบัตรจะได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน* ไม่มีข้อความที่ระบุให้ผู้ถือบัตร ยินยอมผูกพันตามข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ จะมีเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงในภายหน้า* ไม่มีข้อความระบุว่าผู้ถือบัตรจะไม่เพิกถอนความยินยอม และไม่เรียกร้องค่าตอบแทน* ไม่มีข้อความระบุว่าผู้ถือบัตร ยินยอมให้ธนาคารใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลได้ (เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด)* ไม่มีข้อความระบุว่าเจ้าของบัตรไม่สามารถเพิกถอนความยินยอมที่ให้ไว้แม้จะยกเลิกบัตร* ไม่มีข้อความที่ระบุว่ายินยอมให้บริษัทนำข้อมูลที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์* ไม่มีข้อความระบุให้เจ้าหนี้สามารถทวงหนี้กับบุคคลอื่นได้* ไม่มีข้อความระบุว่าข้อตกลงการใช้บัตรเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา* ไม่มีข้อความว่าบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า* ผู้ถือบัตรสามารถโทรไปอายัดบัตรได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่ต้องรอเฉพาะเวลาทำการ) บัตรเครดิตTop 3ลำดับ 1. บัตรเครดิตกสิกรไทยลำดับ 2. บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพลำดับ 3. บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ Bottom 4ลำดับ 14. บัตรเครดิต กรุงศรี จีอีลำดับ 15. บัตรเครดิตเซ็นทรัลการ์ดลำดับ 16. บัตรเครดิตเทสโก้ วีซ่าลำดับ 17. (คะแนนน้อยที่สุด). บัตรเครดิตเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า สินเชื่อ (เรียงตามลำดับคะแนนได้ดังนี้)สินเชื่อบุคคล เคทีซี แคชบัตรกดเงินสดยูเมะ พลัสสินเชื่อบุคคล กรุงศรี สไมล์ แคช สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้สินเชื่อหมุนเวียนสปีดี้แคช / สินเชื่อบุคคลสปีดี้โลน สินเชื่อเงินสด เพาเวอร์บาย ดาวโหลด File รายละเอียด ผลการสำรวจ บัตรเครดิต และสินเชื่อ ตัวอย่างค่าธรรมเนียมต่างๆ ของบัตรเครดิต บัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมแรกเข้าบัตรหลัก ค่าธรรมเนียมแรกเข้า บัตรเสริม ค่าธรรมเนียมรายปี บัตรหลัก ค่าธรรมเนียมรายปี บัตรเสริม ค่าธรรมเนียมการขอตรวจสอบรายการ ค่าธรรมเนียมการขอบัตรใหม่ บัตรเครดิตกสิกรไทย 600 -- 2,000 ฟรี 1,050 -- 3,500 1,050 -- 3,500 ไม่มี 200 - 500 บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ ฟรี -- 4,000 ไม่ระบุ ฟรี -- 4,000 ไม่ระบุ 100/ครั้ง 200 บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ ไม่ระบุ ไม่ระบุ ฟรี -- 4,000 ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ บัตรเครดิตทหารไทย 500 -- 1,500 500 -- 1,500 600 -- 1,500 600 -- 1,500 ไม่ระบุ 100 -200 บัตรเครดิตพร้อมสินเชื่อบ้าน ฟรี ยกเว้นบัตรวีซ่าแพลทินัม อีลีท บัตรมาสเตอร์การ์ด แพลทินัม บัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ บัตรมาสเตอร์การ์ด ไททาเนียม 15,000 บาท ฟรี 1,600 - 4,000 1,000 -- 1,500 ฟรีถ้าไม่ต้องการสำเนา 200 บัตรเครดิตไทยพาณิชย์ ฟรี และฟรีปีต่อไปถ้าใช้จ่ายตามที่กำหนด ไม่ระบุ ฟรี และฟรีปีต่อไปถ้าใช้จ่ายตามที่กำหนด ไม่ระบุ ไม่ระบุ 150 บัตรเครดิตธนาคารนครหลวงไทย 500 -- 1,000 500 -- 1,000 650 -- 1,200 500 -- 1,000 100/รายการ 250 บัตรเครดิตธนาคารยูโอบี 500 - 750 (ฟรีสำหรับแพลทินัม) ฟรี 600 -- 3,000 300 - 600 (ฟรีบัตรแพลทินัม) 100/ครั้ง ไม่ระบุ บัตรเครดิตอิออน ฟรี ฟรี ฟรี 100 ไม่มี 200 บัตรเครดิตเอชเอสบีซี ฟรี - 500 ฟรี 500- 3,800 ฟรี - 800 ไม่ระบุ 200 บัตรเครดิตโรบินสัน วีซ่า ฟรี ไม่ระบุ 100 200 ไม่ระบุ 200 บัตรบิ๊กซีมาสเตอร์การ์ด ฟรี ไม่ระบุ 199 ไม่ระบุ 150/ครั้ง 150 บัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย ฟรี ไม่ระบุ ฟรี ไม่ระบุ ไม่มี ไม่มี บัตรเครดิต กรุงศรี จีอี ฟรี ไม่ระบุ ฟรี ไม่ระบุ ไม่ระบุ 200 บัตรเครดิตเซ็นทรัลการ์ด ไม่ระบุ ไม่ระบุ 100 - 300 50 -- 150 200/ครั้ง 200 บัตรเครดิตเทสโก้ วีซ่า ไม่ระบุ ไม่ระบุ 600 100 200/ฉบับ 200 บัตรเครดิตเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า ฟรี ไม่ระบุ 300 -500 150 - 250 200/ครั้ง 100 - 200 อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน สำหรับสินเชื่อ สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย (% ต่อปี)/ วันที่เริ่มคิด ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน (% ต่อปี) /วันที่เริ่มคิด ค่าธรรมเนียมการขอตรวจสอบรายการ ต่อครั้ง ค่าธรรมเนียมการขอบัตรใหม่ สินเชื่อบุคคล เคทีซี แคช 15% ไม่ได้ระบุวันที่เริ่มคิด สูงสุดไม่เกิน 13% ไม่ได้ระบุวันที่เริ่มคิด ไม่มี ไม่มี บัตรกดเงินสดยูเมะ พลัส สูงสุด 28% 100 บาท/ครั้ง 100 บาท/ครั้ง สินเชื่อบุคคล กรุงศรี สไมล์ แคช 26% ต่อปี สำหรับวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 30,000-44,999 บาท 21% ต่อปี สำหรับวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 45,000-100,000 บาท ไม่ได้ระบุวันเริ่มคิด รวมกับดอกเบี้ยแล้ว สูงสุดไม่เกิน 28% ต่อปี ไม่ได้ระบุวันเริ่มคิด ไม่มี ไม่ได้ระบุ สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ ไม่เกิน 28% ขึ้นอยู่กับวงเงินสินเชื่อ 28% (5,000-99,000 บาท) 21.25% (100,000-399,999 บาท) 19.16% (400,000-499,999 บาท) 17.06%(ตั้งแต่ 500,000บาทขึ้นไป) 200 บาท/ครั้ง 200 บาท/ใบ สินเชื่อหมุนเวียนสปีดี้แคช / สินเชื่อบุคคลสปีดี้โลน สูงสุด 28% - ไม่มี ไม่มี สินเชื่อเงินสด เพาเวอร์บาย สูงสุดไม่เกิน 15% ไม่ได้ระบุวันที่เริ่มคิด สูงสุดไม่เกิน 13% ไม่ได้ระบุวันที่เริ่มคิด ไม่ระบุ 100 บาท/ครั้ง                                                             ความปลอดภัยในการใช้บัตรบัตรเครดิตหรือสินเชื่อทุกบัตรที่เราสำรวจนั้น การอายัดบัตรสามารถทำได้ภายใน 5 นาที และแน่นอนเราต้องเสียค่าธรรมเนียม ในการทำบัตรใหม่อันเนื่องมาจากการขออายัดบัตรเก่าด้วย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 97 บัตรเครดิต ใช้อย่างไรไม่เป็นหนี้

กองบรรณาธิการบัตรเครดิต ใช้อย่างไรไม่เป็นหนี้การใช้บัตรเครดิต ว่าไปแล้วก็คือการนำเงินในอนาคต (ของเรา) มาใช้จ่าย ณ เวลาปัจจุบัน จัดเป็นสินเชื่อประเภทหนึ่ง ถ้าผู้ใช้บัตรมีวินัยในการใช้จ่ายดีพอ เรียกว่า ฉลาดใช้ กล่าวคือ ไม่จ่ายจนเกินความสามารถในการจ่ายหนี้คืนได้เต็มจำนวนเมื่อครบกำหนด บัตรเครดิตก็มีประโยชน์เพราะช่วยให้จับจ่ายใช้สอยได้สะดวกขึ้นโดยไม่ต้องพก พาเงินสดเป็นจำนวนมากๆ เรียกว่า เอาเงินของธนาคารมาใช้ก่อนโดยไม่มีดอกเบี้ยกวนใจแต่คงต้องยอมรับกันล่ะว่า คนส่วนหนึ่ง(อาจเป็นส่วนใหญ่) ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการจับจ่ายของตัวเองได้ อาจเพราะถูกโปรโมชั่นต่างๆ ล่อใจ หรืออาจเพราะคิดว่าสามารถผ่อนจ่ายได้เรื่อยๆ สบายๆ เนื่องจากบัตรเครดิตมีบริการให้จ่ายคืนขั้นต่ำได้ (ร้อยละ 10) จนอาจลืมไปว่า ดอกเบี้ยของสินเชื่อบัตรเครดิตนั้นสูงมาก คือสูงถึงร้อยละ 20 ต่อปี (ลองคิดเทียบกับเงินฝากหรือเงินกู้ประเภทอื่น) ดังนั้นหากยิ่งมีจำนวนเงินค้างชำระมากเท่าไร จำนวนดอกเบี้ยก็จะยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว รวมถึงค่าธรรมเนียมยิบย่อยเป็นต้นว่า ค่าทวงถาม ค่าธรรมเนียมรายปี ฯลฯ สุดท้ายก็พัวพันเป็นหนี้สินก้อนโต ผ่อนใช้กันไม่รู้จักจบสิ้น ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีอย่างนี้ โอกาสที่จะสูญเสียรายได้หรือตกงาน จนหมดความสามารถจ่ายหนี้คืนได้อาจมาถึงโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นก่อนคิดมีบัตรเครดิตหรือก่อนใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตทุกครั้ง ต้องรอบคอบและมั่นใจว่า ไม่ได้ใช้จ่ายจนเกินตัวและมีเงินมากพอที่จะจ่ายคืนได้ครบเมื่อถึงรอบกำหนด จ่ายคืน ถ้าทำได้เช่นนี้บัตรเครดิตก็จะไม่เป็นปัญหาอะไรกับชีวิตเลยปี 2552 แนวโน้มบัตรใหม่ลดลง ธนาคารก็กลัวหนี้เสียเหมือนกันข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ภาพรวมปริมาณบัตรเครดิตทั้งระบบ ณ สิ้นปี 2552 น่าจะมีปริมาณบัตรเครดิตอยู่ที่ประมาณ 13,650,000 บัตร ซึ่งถือว่าเป็นภาวะชะลอตัว เมื่อเทียบกับปริมาณบัตรเครดิตในปัจจุบัน (สิ้นปี 2551) คือ 12,987,073 บัตร เหตุเพราะปี 2552 ฝ่ายผู้ประกอบการจะอนุมัติบัตรยากขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคเองส่วนใหญ่อาจจะประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งการตกงาน ขาดรายได้ หรือการยกเลิกบัตรเพื่อลดภาระการใช้จ่ายลงทิศ ทางที่ทำให้เห็นว่า ผู้ประกอบการจะคัดคุณภาพผู้ถือบัตรมากขึ้นคือ ธนาคารบางแห่งได้ปรับฐานเงินเดือนของผู้ที่จะขอทำบัตรเครดิตจากที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดคือ ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็น 18,000 – 20,000 บาท ไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2551 กล่าวคือป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบสินเชื่อนั่นเอง บัตรเครดิตทั้งระบบ ณ สิ้นปี 2551 คาดการณ์ ณ สิ้นปี 2552 ปริมาณบัตรเครดิต 12,987,073 บัตร 13,650,000 บัตร ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 799,717ล้านบาท 879,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิต 189,227 ล้านบาท 201,900 ล้านบาท ผู้บริโภคต้องรอบคอบกับแคมเปญกระตุ้นการใช้จ่ายเมื่อคัดคุณภาพของผู้ที่จะถือครองบัตรรายใหม่อย่างเข้มงวด ผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัวเน้นการทำยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรกับผู้ถือบัตรเดิม ให้มากขึ้น เราจึงเห็นแคมเปญต่างๆ ออกมามากมาย ทั้งการสะสมแต้มรับรางวัลพิเศษเป็นของรางวัลต่างๆ หรือการบินไปต่างประเทศ การนำเงินคืนเข้าบัญชีผู้ใช้บัตร(Cash Back) หรือการให้สิทธิพิเศษในการผ่อนซื้อสินค้าในอัตราดอกเบี้ย 0 ฯลฯ ถ้าผู้บริโภคไม่รอบคอบในการใช้จ่าย อาจส่งผลเสียหายในอนาคตได้ดังนั้นต้องระวังให้มากเช่น การให้สิทธิในการซื้อตั๋วเครื่องบินราคาพิเศษ ลองถามตัวเองก่อนว่า เดินทางได้ตามเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการกำหนดหรือไม่ หากทำได้ก็ถือว่าคุ้ม แต่ถ้าไม่มีทางทำได้อย่างเงื่อนไข การใช้จ่ายหนักมือก็คือภาระที่ต้องแบกรับหนักขึ้นเมื่อถึงกำหนดจ่ายชำระคืน หรือการคืนเงินสดกลับบัญชี ประเภท “จ่ายมากสะสมมาก” ลองพิจารณาเงื่อนไขให้ดีก่อน หากจ่ายแล้วต้องมาเดือดร้อนหาเงินจ่ายหนี้คืนให้ทันรอบบัญชีเพื่อไม่ให้เกิด ดอกเบี้ย สู้ไม่ใช้ดีกว่าไหม เพราะถึงเงินในบัญชีไม่เพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่ลดลงล่ะน่าฉลาดใช้บัตรเครดิต1.การที่ผู้ประกอบการแข่งขันกันให้สิทธิพิเศษมากมายแก่ผู้ใช้บัตร มองให้ดีก็ดี มองให้ร้ายก็ได้ เพราะเท่ากับกระตุ้นให้ใช้จ่ายเกินตัว ดังนั้นควรพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ให้รอบคอบเสียก่อน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์และประเมินตัวเองแล้วว่า มีเงินสดพอที่จะจ่ายคืนได้ทันกำหนดโดยไม่เสียดอกเบี้ย ถือว่าเป็นสิทธิประโยชน์ที่น่าพิจารณา เช่น การผ่อนชำระเมื่อซื้อสินค้าได้ถึง 6 เดือนไม่มีดอกเบี้ย นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ควรเป็นสินค้าที่สามารถสร้างประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เท่านั้น ไม่ควรนำเงินไปใช้จ่ายกับสินค้าฟุ่มเฟือยหรือหรูหราเกินตัว2.ควรใช้บัตรเครดิตเฉพาะการชำระค่าสินค้าหรือบริการเท่านั้น อย่าใช้เบิกเงินสดล่วงหน้า เพราะท่านต้องเสียทั้งค่าธรรมเนียมเบิกเงินสดล่วงหน้าระหว่างร้อยละ 3 - 5 และดอกเบี้ยอีกร้อยละ 20 เมื่อนำมารวมกันแล้วกลายเป็นดอกเบี้ยที่สูงมาก (ประมาณร้อยละ 33) แต่หากมีความจำเป็นจริงๆ ที่ต้องใช้เงินสดจำนวนมาก ควรหารูปแบบสินเชื่อประเภทอื่นดีกว่า3.การใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของรายได้ต่อเดือน รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้ยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตสะสมเป็นวงเงินที่สูงเกิน กว่ารายได้ต่อเดือน การชำระเงินคืนควรจ่ายให้ทันรอบบัญชีเพื่อมิให้มีดอกเบี้ยเกิดขึ้น หรือไม่ไหวจริงๆ ก็ให้จ่ายเท่าที่จ่ายได้แต่ไม่ควรเป็นขั้นต่ำ เพราะจะถูกคิดอัตราดอกเบี้ยในรอบบัญชีถัดไป เงินคงค้างเหลือมากเท่าไร ดอกเบี้ยก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น4.อย่ามีบัตรเครดิตหลายใบ จำนวนที่เหมาะสมคือ 1 – 2 ใบ หากเกินกว่านี้จะทำให้เกิดภาระหนี้สินได้ไม่รู้ตัวระลึกไว้เสมอ การใช้บัตรเครดิตจะเกิดประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อผู้ใช้บัตรเครดิตมีการวาง แผนและมีวินัยทางการเงินที่ดี หากเผลอรูดเพลินจนลืมตัวเมื่อไรแล้วล่ะก็ ได้กลายเป็นสมาชิกชมรมหนี้บัตรเครดิตไปอีกยาวเลยเชียว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point