ฉบับที่ 93 เปิดบัญชีเงินฝาก คุณเสียเปรียบอะไรบ้าง

คนไทยนิยมเก็บเงินหรือออมเงินในรูปเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด เพราะเหตุว่ามีความเสี่ยงน้อยและยังได้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเงินฝาก(อยู่บ้าง) บัญชีเงินฝากนั้นมีอยู่หลายประเภท แต่ที่นิยมและสะดวกในการเปิดบัญชีที่สุดคือ บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์หรือออมทรัพย์ ซึ่งมีจุดเด่นที่ความคล่องตัวในการเบิกถอนเงิน และได้รับการยกเว้นภาษีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ช่วยให้เกิดความสะดวกในการจัดสรรเรื่องเงินๆ ทองๆ ในชีวิตประจำวันได้มาก เพราะเป็นได้ทั้งบัญชีเงินฝากสำหรับการออมเงิน รับเงินเดือน ใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ ค่าบัตรเครดิต หรือหนี้สินต่างๆ ตามแต่ที่เราจะกำหนด  แต่สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องสะดวกสบายนี้ อาจมีเรื่องไม่คาดคิดที่ทำให้เราเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์แบบเต็มๆ โดยเราไม่มีโอกาสล่วงรู้อะไรเลยจนกว่าจะเกิดปัญหาขึ้นเคยสังเกตกันบ้างไหมว่า เวลาเราไปขอเปิดบัญชีหรือขอใช้บริการ บัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ทั้งหลาย เราจะได้กระดาษมาหนึ่งแผ่นเพื่อกรอกขอความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ …กระดาษแผ่นนี้เรียกว่า “คำขอเปิดบัญชี” ซึ่งไม่ได้มีอะไรสะดุดตาสะดุดใจ แต่สิ่งที่เราส่วนใหญ่พลาดไป คือเอกสารที่เป็น “ข้อตกลงและเงื่อนไขแนบท้ายคำขอเปิดใช้บริการบัญชีเงินฝาก” ที่จะมีทุกธนาคารแต่เราส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ หรือรู้แล้วก็ไม่สนใจเพราะช่างมีข้อความมากมาย ซับซ้อน และพนักงานธนาคารก็ไม่เคยมอบสำเนาให้เรา กลับมาอ่านหรืออ่านก่อนลงลายมือเลย ฉลาดซื้อเลยอาสาไปฉกเจ้าข้อตกลงและเงื่อนไขฯ ของธนาคารพาณิชย์ 5 รายใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อดูว่า มันมีข้อความอะไรที่ทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบบ้าง โดยได้อาสาสมัครจากเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 11 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา เพชรบูรณ์ สระบุรี ขอนแก่น กาญจนบุรี สมุทรสงครามตราด พัทลุง สตูล) ช่วยกันทำเนียนๆ ไปเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ แล้วสังเกตวิธีการทำงานของพนักงานธนาคารพร้อมกับขอสำเนาข้อตกลงและเงื่อนไขฯ การเปิดบัญชีมาพิสูจน์อักษรทางกฎหมายกัน ได้ข้อสังเกตที่น่าสนใจดังนี้ ข้อสังเกตจากการขอเปิดบัญชีเงินฝากโดยอาสาสมัคร1.อาสาสมัครของเราทำตัวใสซื่อ เปิดบัญชีด้วยเหรียญบ้าง ธนบัตรบ้างแบบปนๆ กันไป พนักงานธนาคารบางแห่งจะปฏิเสธเหรียญดำๆ และธนบัตรเยินๆ เช่น ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาละงู สตูลบอกให้เปลี่ยนใหม่ แต่บางแห่งพนักงานก็แสดงอาการไม่พอใจชัดเจน เช่น ธ.กสิกรไทย ที่สาขาถนนหน้าเมือง ขอนแก่น และ ธ.กรุงเทพ สาขาท่าแพ เชียงใหม่ “อาสาสมัครรายงานว่า พนักงานแสดงอาการไม่ค่อยพอใจที่จะให้บริการ ถึงแม้อาสาสมัครจะบอกว่านับแยกมาเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ยืนยันว่าไม่รับฝากให้ไปแลกเงินที่ร้านสะดวกซื้อก่อน ยิ่งเหรียญ 25และ50 สตางค์ พนักงานบอกเลยว่าไม่รับ 2.เมื่ออาสาสมัครขอเปิดบัญชีเงินฝาก ไม่มีพนักงานธนาคารคนใดเลยที่จะบอกให้อ่านเอกสารข้อตกลงหรือเงื่อนไขฯ  หรือแม้แต่หยิบยื่นให้ผู้ขอใช้บริการได้อ่านก่อนเซ็นชื่อ อาสาสมัครสังเกตว่า พนักงานปฏิบัติแบบเดียวกันนี้กับทุกคน โดยส่วนใหญ่กรอกรายละเอียดแค่ใบคำขอเปิดใช้บริการและเซ็นชื่อตามที่พนักงานระบุตำแหน่งให้เซ็นเท่านั้น 3.เมื่ออาสาสมัครทำทีเป็นขอเอกสารมาอ่านหรือขอเอากลับไปอ่านที่บ้านได้ไหม อาสาสมัครบางคนบอกว่าขอไปอ่านก่อนวันนี้ยังไม่คิดเปิดบัญชี พนักงานส่วนใหญ่จะปฏิเสธโดยอ้างว่าเป็นเอกสารของทางธนาคารห้ามนำออกไป สำเนาให้ก็ไม่ได้  บางธนาคารเช่น ธ.กรุงไทย สาขาย่อยโลตัส หางดง เชียงใหม่ บอกว่า เป็นระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ห้ามไม่ให้นำเอกสารออกไป  หรือ ธ.กรุงไทย สาขาถนนกลางเมือง ขอนแก่น บอกว่า เงื่อนไขต่างๆ มีในสมุดบัญชีหมดแล้ว แต่ก็มีธนาคารที่ยินดีให้อาสาสมัครนำสำเนาคู่ฉบับออกมาได้แบบเต็มใจให้ คือ ธนาคารกรุงเทพ แต่จะให้ต่อเมื่อมีผู้ร้องขอเท่านั้น ส่วน ธ.กสิกรไทย ธ.กรุงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และธ.ไทยพาณิชย์ มีบางสาขาเท่านั้นที่จะอะลุ้มอล่วยให้เอกสาร หรือให้ทำสำเนาข้อตกลงหรือเงื่อนไขฯ ออกมาได้ เช่น ธ.กสิกรไทย สาขาพะเยา แต่ต้องเซ็นชื่อรับเอกสาร ธ.กรุงไทย สาขาพัทลุง ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาพะเยาและสาขาพัทลุง ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาพะเยา (คนพะเยาน่าฮักขนาด) 4.ยอดเงินขั้นต่ำการเปิดบัญชี ส่วนใหญ่ได้รับการแจ้งจากพนักงานแบบอัตโนมัติว่า 500 บาท ซึ่งตามความเป็นจริง อาสาสมัครในหลายพื้นที่สามารถฝากต่ำกว่านั้นได้ จากรายงานพบว่า มีตั้งแต่ 100 – 500 บาท  บางที่พนักงานก็ย้อนถามว่า “จะฝากเท่าไหร่ล่ะ” หรือบางแห่งก็บอกเลยว่า “ให้ฝาก 500 ดีกว่า เพราะหากต่ำกว่า 500 บาท ถ้าบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหว จะโดนหักค่ารักษาบัญชีเดือนละ 50 บาท” (ธ.กรุงไทย สาขาพัทลุง) 5.พนักงานบางธนาคารแจ้งแก่อาสาสมัครว่า ต้องทำบัตรเอทีเอ็มด้วยจึงจะสามารถเปิดบัญชีเงินฝากได้ ได้แก่ ธ.กรุงเทพ สาขาหล่มสัก ธ.กรุงไทย สาขาย่อยโลตัส หางดง เชียงใหม่ และสาขาย่อยโลตัส ลำปาง ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาพะเยา สาขากาญจนบุรี เฉพาะที่ ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขาเชียงใหม่ พนักงานแจ้งว่าถ้าไม่ทำบัตรเอทีเอ็ม ต้องเปิดบัญชีขั้นต่ำ 2,000 บาท ธ.ไทยพาณิชย์ท่าแพ เชียงใหม่ กับ ธ.กรุงเทพ สาขาท่าแพ ก็เล่นมุขเดียวกัน (เชียงใหม่เหมือนกันเน้อ)   6.ค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม และบัตรเดบิต จะต่างกันประมาณ 50 – 100 บาท โดยทุกธนาคารจะเพิ่มทางเลือกให้ปวดหัวอีก เช่น บัตรเอทีเอ็มธรรมดา บัตรเอทีเอ็มบัตรทอง บัตรเอทีเอ็มแบบมีประกันชีวิต ซึ่งค่าธรรมเนียมจะยกระดับขึ้นไปอีก แต่สำคัญคือ ทุกธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมรายปีทันทีที่ขอเปิดใช้บริการเอทีเอ็ม จากนั้นเมื่อครบปีก็จะเก็บใหม่7.จากรายงานในพื้นที่พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานจะส่งเสริมให้ทำบัตรเดบิตมากกว่าบัตรเอทีเอ็ม โดยให้เหตุผลว่าเป็นบัตรที่ใช้แทนเงินสดได้เลย เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการในร้านค้าที่เปิดรับบัตรเดบิตและก็เป็นบัตรเอทีเอ็มไปพร้อมกันด้วย บางธนาคารบอกเลยว่า ถ้าทำบัตรเอทีเอ็มจะต้องรอนานเพราะไม่ค่อยมีคนนิยมทำ หรือบางแห่งก็บอกว่า บัตรเอทีเอ็มธรรมดา หมด8.บริการฝากเงิน กรณีที่เป็นเหรียญ ธนาคารจะคิดเงินเมื่อต้องนับเกินหลักพันบาทขึ้นไป ในอัตรา ร้อยละ 1-2 บาท ถ้าต่ำกว่านั้นก็ไม่คิดค่านับแต่อาจปฏิเสธแบบนุ่มนวลว่า ให้ไปแลกร้านสะดวกซื้อมาก่อนนะจ๊ะ ผู้บริโภคเสียเปรียบอะไรบ้างหลังจากอาสาสมัครของเราสามารถนำเอกสารข้อตกลงหรือเงื่อนไขแนบท้ายคำขอเปิดบัญชีเงินฝากจากธนาคารทั้ง 5 แห่งมาได้แล้ว ฉลาดซื้อสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ 5 ประการ ที่คิดว่าผู้บริโภคเสียเปรียบเห็นๆ คือ การชำระหนี้ การเปิดเผยข้อมูลผู้บริโภค การจัดส่งเอกสาร การสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงข้อตกลง และการปฏิเสธรับผิดชอบการถอนเงินโดยบุคคลอื่น ดูรายละเอียดในตาราง      

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 108 บัตรเดบิตกับเรื่องที่ต้องรู้

“บัตรเดบิต” (Debit Card) คือบัตรที่ทางธนาคารออกให้กับเราเมื่อเราเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ผ่านตู้ ATM ไม่ว่าจะเป็นถอนเงิน โอนเงิน และชำระค่าบริการต่างๆ พูดง่ายๆ ก็คือ “บัตรเดบิต” มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ “บัตร ATM” แต่บัตรเดบิตจะเพิ่มความพิเศษตรงที่สามารถนำไปจับจ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องใช้เงินสด ซึ่งก็คือการ “รูดปึ๊ด!” ตามสไตล์เงินพลาสติกแบบเดียวกับบัตรเครดิต แต่ว่าการใช้บัตรเดบิตไปรูดซื้อสินค้านั้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีของเราทันที ซึ่งต่างจากบัตรเครดิตที่เหมือนเป็นการนำเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปทำบัตรเครดิตไว้มาใช้ก่อนแล้วค่อยจ่ายทีหลัง ถือเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้นสำหรับคนที่ไม่อยากถือเงินสด ซึ่งบัตร ATM ไม่สามารถทำได้  บัตรเดบิต VS บัตร ATMหลายๆ คนอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้เราหลังจากเปิดบัญชีใหม่เป็นบัตร ATM หรือบัตรเดบิต ด้วยความที่หลายคนยังเข้าใจผิดว่า บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้คือบัตร ATM เท่านั้น ซึ่งในช่วงหลายปีมานี้ บัตรเดบิตถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ทางธนาคารพยายามผลักดันทำตลาดอย่างหนักให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ ซึ่งทุกครั้งที่เราไปเปิดบัญชีใหม่ พนักงานของธนาคารจะแนะนำให้เราเลือกทำบัตรเดบิตมากกว่าบัตร ATM ด้วยความที่คุณสมบัติของบัตรเดบิตมีมากกว่า ใช้ได้ครอบคลุมทั้งถอนเงินจากตู้ ATM และใช้จับจ่ายได้แทนเงินสด แถมบัตรเดบิตยังมีเรื่องโปรโมชั่นส่งเสริมการขายจากร้านค้าหรือบริการที่ร่วมรายการเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต เราอาจได้รับส่วนหรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งความพิเศษตรงนี้ก็ถือเป็นเงื่อนไขที่จูงใจให้กลายคนหันมาใช้บริการบัตรเดบิตแทนบัตร ATM กันมากขึ้นเมื่อคุณสมบัตรพิเศษมีมากกว่า เรื่องของค่าบริการที่เราต้องเสียให้กับธนาคารก็ต้องสูงตามไปด้วย บัตรเดบิตจะมีค่าธรรมเนียมทั้งในส่วนของค่าธรรมเนียมในการทำบัตรใหม่และค่าธรรมเนียมรายปีสูงกว่าบัตร ATM นี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ จึงพยายามจูงใจลูกค้าให้หันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตร ATM สำหรับผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องลองพิจารณาดูกันเอาเองว่า เจ้าบัตรเดบิตแม้จะมีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าบัตร ATM แต่ไอ้ความพิเศษของมันนั้นเราได้ใช้ประโยชน์คุ้มค่ากับค่าธรรมเนียมที่เราต้องเสียเพิ่มขึ้นจากบัตร ATM ธรรมดาหรือไม่บัตรเดบิต VS บัตรเครดิต“บัตรเครดิต” (Credit Card) ช่วยให้เราใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากๆ ไปในครั้งเดียว บัตรเครดิตจะทำหน้าที่จ่ายเงินให้เราก่อน หลังจากนั้นเราจึงค่อยจ่ายเงินคืนไปตามเวลาและเครดิตที่เราตกลงไว้กับธนาคารหรือร้านค้าที่เราซื้อสินค้า พูดให้เห็นภาพ บัตรเครดิตก็คือการที่เรานำ “เงินในอนาคต” ออกมาใช้ก่อน ซึ่งหากเราไม่คุมการใช้จ่ายให้ดีหรือใช้จ่ายเกินตัวเกินวงเงินที่เราสามารถหาได้ในแต่ละเดือน ผลที่จะตามมาก็คือการเป็นหนี้บัตรเครดิต เพราะเราไม่สามารถหาเงินมาใช้คืนให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปทำสัญญาไว้ได้ ส่วนบัตรเดบิต เป็นการใช้จ่ายที่ดึงเอาเงินมาจากบัญชีของเราโดยตรง คือใช้ไปเท่าไรเงินก็จะถูกหักออกไปเท่านั้นเดี๋ยวนั้น ไม่สามารถใช้จ่ายเกินยอดเงินในบัญชีได้ ซึ่งแม้บัตรเดบิตจะไม่สร้างหนี้ให้เรากับธนาคารเหมือนบัตรเครดิต แต่ก็ต้องรู้จักควบคุมการใช้จ่ายและหมั่นเช็คยอดเงินในบัญชีเสมอ เพราะเราอาจเผลอรูดบัตรเดบิตซื้อนู้นซื้อนี้ จนเงินหมดบัญชีโดยไม่รู้ตัวบัตรเดบิต = บัตรอันดับหนึ่งการใช้บัตรเดบิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งการมุ่งทำการตลาดที่ผลักดันให้บัตรเดบิตเข้ามาแทนที่บัตร ATM ซึ่งตอนนี้ก็มีบางธนาคารที่ยกเลิกการใช้บัตร ATM ไปแล้ว สิ่งที่ธนาคารใช้เป็นกลยุทธ์ดึงดูดให้เราหันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตร ATM ที่เห็นชัดเจนก็คือ การปรับค่าธรรมเนียนทั้งแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM ให้ขึ้นมาเท่ากับบัตรเดบิต ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อผู้ใช้ส่วนใหญ่ได้รับทราบถึงคุณสมบัติที่เหนือกว่าของบัตรเดบิต ก็ต้องย่อมเลือกบัตรเดบิตมากกว่าบัตร ATM นอกจากนี้บัตรเดบิตยังถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ไม่อยากพกเงินสดจำนวนมากๆ และอยากใช้จ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ผ่านบัตร ซึ่งแต่ก่อนคุณสมบัติแบบนี้มีเฉพาะในบัตรเครดิต แต่ด้วยเงื่อนไขในเรื่องของรายได้และฐานเงินเดือน ทำให้มีคนจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ก็คือคนที่มีรายได้ไม่สูงพอที่จะสมัครบัตรเครดิตได้ ทำให้บัตรเดบิตจึงกลายมาเป็นคำตอบสำหรับคนกลุ่มนี้***จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อปี 2551 มีจำนวนบัตรเดบิตที่ใช้ในประเทศไทย 26.3 ล้านใบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ถึง 12.8% ขณะที่จำนวนบัตร ATM อยู่ที่ 22.4 ล้านใบ ลดลงจากปี 2550 0.9% ส่วนบัตรเครดิตมี่จำนวน 13 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 8.1%บัตรเดบิต VS อุปสรรคแม้ว่าเวลานี้บัตรเดบิตจะถือบัตรอันดับหนึ่งที่มีคนใช้มากที่สุด แต่บัตรเดบิตกลับไม่ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างครบถ้วน เพราะจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยบัตรเดบิตยังคงถูกใช้เพื่อเบิกถอนเงินผ่านทางตู้ ATM เช่นเดียวกับบัตร ATM เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การใช้เพื่อรูดซื้อสินค้าแทนเงินสดยังมีสัดส่วนที่ต่ำมาก ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุ ทั้งจากธนาคารเองที่มุ่งหวังเพิ่มปริมาณจำนวนผู้ใช้บัตรเป็นหลัก แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลหรืออธิบายสิทธิการใช้ประโยชน์ของบัตรเดบิตที่มากกว่าการถอนเงินจากตู้ ATM นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากร้านค้าที่รับชำระด้วยบัตรเดบิตยังมีน้อย บางแห่งมีเรื่องเงื่อนไขเงินขั้นต่ำในการใช้บัตร และสาเหตุหลักจากตัวผู้ใช้เองที่ส่วนใหญ่ยังคงไม่ถนัดกับการใช้จ่ายผ่านบัตร ยังคงสะดวกกับการใช้เงินสดมากกว่า***ในปี 2551 มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตรวมทั้งสิ้น 760 ล้านรายการ คิดเป็นการใช้จ่ายเพื่อชำระสินค้าและบริการเพียง ร้อยละ 1.5 เท่านั้น ขณะที่การเบิกถอนเงินจากตู้ ATM มีมากถึง ร้อยละ 83ตารางเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเดบิต ธนาคารชื่อประเภทบัตรเดบิตค่าธรรมเนียมแรกเข้า(บาท)ค่าธรรมเนียมรายปี(บาท)สิทธิพิเศษเพิ่มเติมธ.กรุงเทพบัตรเดบิตบีเฟิสต์100 200-บัตรบีเฟิสต์-บีทีเอส100200ใช้เป็นบัตรโดยสารบีทีเอสประเภทเติมเงิน บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท100200มีไมโครชิพ EMV สามารถเก็บได้ทั้งข้อมูลและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บัตรของท่านจะยากต่อการปลอมแปลงATM100200กรณีบัตร ATM บัตรชำรุดหรือสูญหายแล้วต้องการบัตรใหม่ ธนาคารจะออกบัตรเดบิตบีเฟิสต์ทดแทนให้ธ.กรุงไทย บัตรเดบิตมาตรฐาน (Classic)ไม่มีรูปถ่าย 100มีรูปถ่าย 150200-บัตรเดบิต-ทิพยประกันภัย150300มีวงเงินความคุ้มครอง การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุจำนวน 200,000.- บาท / บัตร และได้รับการบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน จาก ทิพยประกันภัยATM50 150-ธ.กสิกรไทยK- Debit Card100200-K-My Debit Card  150200ใส่รูปภาพของตัวเองลงบนบัตรได้K-Max Debit Card  (  )100400ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุสูงสุด 200,000 บาท ทันที 24 ชั่วโมงทั่วโลกพร้อมรับสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลสูงสุดครั้งละ 3,000 บาท เมื่อเข้ารักษาตัวจากอุบัติเหตุ ATM100200-ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Debit Card100200-SCB Debit Plus Card100599 บัตรเงิน1,499 บัตรทองเบิกค่ารักษาจากอุบัติเหตุได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง คุ้มครอง 24 ชั่วโมงทั่วโลก ไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อรักษากับสถานพยาบาลคู่สัญญากว่า 200 แห่งATM 100200-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บัตรกรุงศรี วีซ่า เดบิต100200-ATM100150-ธนาคารทหารไทย บัตรเดบิต Basic100200-บัตรเดบิต No Limit Next200200ฟรี ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน และสอบถามยอดที่เครื่อง ATM ทุกธนาคารบัตรเดบิต No Limit500ฟรีฟรี ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน และสอบถามยอดที่เครื่อง ATM ทุกธนาคารATM100200-ธนาคารนครหลวงไทย SCIB D-card100150-ATM50100-ธนาคารออมสิน บัตรออมสินวีซ่า เดบิต50100-ATM50100- *ข้อมูลค่าธรรมเนียมทั้งหมดเป็นการสำรวจภายในวันที่ 1 ม.ค. 53 เท่านั้น-จะเห็นว่าเกือบทุกธนาคารปรับค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM ให้เท่ากับบัตรเดบิตพื้นฐาน ยกเว้น ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารนครหลวงไทย ที่ค่าธรรมเนียมบัตร ATM ยังถูกกว่าบัตรเดบิต-ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM ของบัตรเดบิต ทั้งการถอนเงิน โอนเงิน ชำระค่าบริการต่างๆ คิดค่าธรรมเนียมเท่ากับการทำผ่านบัตร ATM (แต่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร)-บัตรเดบิต No Limit Next และ บัตรเดบิต No Limit ของธนาคารทหารไทย ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM-เรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตถือเป็นจุดขายที่หลายๆ ธนาคารนำมาใช้ดึงดูดคนที่จะใช้บริการ ที่ชัดเจนที่สุด บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ของธนาคารกรุงเทพ ที่การฝังมีไมโครชิพ EMV เพื่อเก็บข้อมูลของเจ้าของบัตร ป้องกันการแอบอ้างหรือปลอมแปลง ส่วนการลงรูปของเจ้าของบัตรลงบนหน้าบัตรในบัตรเดบิตของธนาคารกรุงไทยและบัตร K-My Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย ก็ถือเป็นการป้องกันการแอบอ้างใช้บัตร เพราะข้อเสียใหญ่ของบัตรเดบิตก็คือ หากเจ้าของบัตรทำบัตรหาย โอกาสที่จะถูกคนอื่นเอาบัตรไปรูดใช้ซื้อของสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมาก เพราะแม้จะมีการเซ็นลายเซ็นกำกับที่ใบเสร็จเพื่อเปรียบเทียบกับลายเซ็นที่หลังบัตร แต่ก็สามารถปลอมแปลงได้ง่ายมาก การป้องกันที่ดีที่สุดคือเมื่อบัตรหายต้องรีบติดต่อกับธนาคาร เพื่อระงับการใช้บัตรทันที-เรื่องการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ ก็ถือเป็นจุดขายที่บัตรเดบิตของหลายธนาคารนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น บัตรเดบิต-ทิพยประกันภัย ของธนาคารกรุงไทย, บัตร K-Max Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย และ SCB Debit Plus Card ของธนาคารไทยพาณิชย์ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 167 กระแสต่างแดน

ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ได้สำรวจความพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตวัยเกษียณ ของผู้คนในวัย 25 ปีขึ้นไป และผู้คนในวัยเกษียณ จาก 15 ประเทศ* ทั่วโลกในระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายนปี 2557 และพบสิ่งที่น่าสนใจดังนี้ ... เมื่อแยกดูรายประเทศจะเห็นว่า คนฝรั่งเศสในวัยทำงานที่ไม่มั่นใจว่าจะมีชีวิตสุขสบายหลังเกษียณ มีถึงร้อยละ 60  รองลงมาได้แก่ คนไต้หวัน (ร้อยละ 56) และคนตุรกี (ร้อยละ 54) ส่วนในอินเดียและอินโดนีเซียนั้นมีผู้ตอบแบบสำรวจไม่ถึงร้อยละ 10 ที่รู้สึกไม่มั่นใจว่าตนเองจะสามารถเกษียณอย่างเป็นสุข ถ้าแยกกันระหว่างหญิงชายจะพบว่า ร้อยละ 38 ของผู้หญิงไม่มั่นใจว่าจะได้ใช้ช่วงเวลาเกษียณโดยไม่ลำบากทางการเงิน ในขณะที่ฝ่ายชายนั้นอยู่ที่ร้อยละ 31 ในภาพรวม ประมาณร้อยละ 70 ของคนวัยทำงาน มีความกังวลว่าจะมีเงินไม่พอใช้ในวัยเกษียณ ร้อยละ 66 กลัวว่าจะมีเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายรายวันในอนาคต อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 85 ของคนกลุ่มดังกล่าว ไม่ได้จัดให้การเก็บเงินเพื่อใช้ยามเกษียนเป็นเป้าหมายหลักของการออมเงินในปัจจุบัน อุปสรรคสำคัญที่ทำคนวัยทำงานรู้สึกว่าพวกเขายังไม่สามารถเก็บเงินไว้ใช้ยามชราได้ คือภาระผ่อนบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก และหนี้อื่นๆ  แนวโน้มดังกล่าวชัดเจนมากในประเทศสหรัฐอเมริกา มาเลเซีย เม็กซิโก และแคนาดา เกือบร้อยละ 30 ของคนในวัยเกษียณที่รู้สึกไม่มีความพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตปัจจุบัน บอกว่า ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่ทราบว่าตนเองควรมีเงินเก็บเท่าไร ร้อยละ 37 ของผู้ตอบแบบสำรวจในวัยก่อนเกษียณบอกว่าพวกเขายังเตรียมตัวไม่พร้อมทางการเงินสำหรับการเกษียณอย่างสุขสบาย  โดยประเทศที่คนวัยก่อนเกษียณรู้สึกไม่พร้อมมากที่สุดในการสำรวจนี้ได้แก่ ไต้หวัน และตุรกี สำหรับกลุ่มคนที่เกษียณแล้ว ผู้คนในตุรกี ฝรั่งเศส เม็กซิโก และสิงคโปร์ คือกลุ่มที่รู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมน้อยที่สุด เกือบ 2 ใน 3 ของคนในวัยเกษียณที่รู้สึกไม่พร้อมนั้น ไม่รู้เลยว่าตนเอง “ไม่พร้อม” จนกระทั่งเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในวัยเกษียณบอกว่า ถ้าย้อนเวลากลับไปได้พวกเขาจะเริ่มเก็บเงินให้เร็วกว่านี้ โดยคนวัยเกษียณใน มาเลเซีย เม็กซิโก และอินเดีย เป็นกลุ่มที่อยากกลับไปเปลี่ยนพฤติกรรมการออมของตนเองมากที่สุด ร้อยละ 38 ของคนที่เกษียณแล้วเห็นว่า การเก็บเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณควรเริ่มก่อนอายุ 30 ปี ในขณะที่เพียงร้อยละ 26 ของคนวัยใกล้เกษียณเท่านั้นที่เห็นว่าควรเริ่มเก็บเงินเร็วขนาดนั้น ร้อยละ 38 ของคนวัยทำงาน (ยกเว้น สหรัฐฯ และ ฮ่องกง) ยังไม่เริ่มเก็บเงิน และยังไม่มีแผนที่จะเก็บเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณ ผู้ทำสำรวจ (HSBC) ให้คำแนะนำว่า ถ้าต้องการอยู่สบายในวัยเกษียณ ... -          ควรเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันนี้ ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี -          ประเมินให้ได้ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไรสำหรับการใช้ชีวิตในแบบที่เราต้องการ โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะต้องการเงินสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณอีก 18 ปี (คิดจากอายุเกษียณที่ 60 ปี และอายุคาดเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกประเมินไว้ที่ 78 ปี) -          หาทางทำให้เงินที่มีอยู่งอกเงยขึ้น ด้วยการลงทุนอย่างฉลาด -          คิดถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่น อุบัติเหตุ หรืออาการเจ็บป่วย ไว้ด้วย ว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อแผนการใช้เงินของเราอย่างไร   *ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เม็กซิโก สิงคโปร์ ไต้หวัน ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา *การสำรวจดังกล่าวเป็นการตอบแบบสอบถามออนไลน์ โดยในประเทศอินโดนีเซียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการสอบถามแบบตัวต่อตัวเพิ่มด้วย *อ้างอิงจากรายงาน The Future of Retirement: A balancing act ลิขสิทธิ์ HSBC Holdings plc 2015

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 ซื้อขายที่ดินกันปลอมๆ เพื่อให้กู้เงินธนาคารได้ มีผลทางกฎหมายอย่างไร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ ในเล่มนี้อยากจะพูดถึงเรื่องของคนที่มีทรัพย์สินเป็นที่ดินและบ้าน แต่อยู่ไปอยู่มากลายเป็นหนี้ กลายเป็นคนไม่มีเครดิต แล้วกำลังจะถูกเขายึดบ้านยึดที่ไปขาย เมื่อไม่อยากให้ที่ดินและบ้านของตนถูกบังคับใช้หนี้  จึงหาทางออกโดย ไปตกลงกับเพื่อนหรือญาติที่เครดิตดีกว่า ให้นำบ้านและที่ดินไปจำนองเพื่อกู้ยืมเงินธนาคารแทน ซึ่งก็มีเรื่องจริงเกิดขึ้นกับท่านหนึ่ง เขาก็ไปทำสัญญาซื้อขายกันบังหน้า เพื่อให้เพื่อนที่เครดิตดีกว่าไปกู้เงินธนาคารมาให้ โดยมีข้อตกลงกันว่าเจ้าของที่ดินและผู้กู้เงินธนาคารจะเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารคนละครึ่งผ่อนหมดจะแบ่งที่ดินคืนครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งตกเป็นของผู้กู้และทำสัญญาเช่าที่ดินกับผู้กู้เงินเป็นประกัน เพื่อให้ผ่อนหนี้เงินกู้ตามสัญญา ต่อมาเจ้าของที่ดินไม่ชำระหนี้ตรงตามกำหนด คนที่กู้เงินและมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงนำสัญญาเช่ามาฟ้องขับไล่เจ้าของที่ดินเป็นคดี ซึ่งเรื่องนี้ ได้สู้คดีกันจนถึงศาลฎีกา และศาลได้ตัดสินไว้ว่า สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินและสัญญาเช่าดังกล่าว ทำกันโดยไม่มีเจตนาจะซื้อขายกันจริง หรือเช่ากันจริง จึงเป็นเจตนาลวง ไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่เรื่องนี้ มีข้อสัญญาบางส่วน ซึ่งศาลมองว่าใช้บังคับกันได้ แยกออกจากสัญญาซื้อขาย หรือเช่าดังกล่าว โดยมองเจตนาแท้จริงว่า ต้องการแบ่งที่ดินกันคนละครึ่ง เมื่อเจ้าของที่ดินผ่อนชำระหนี้ตามที่ตกลง จึงมีฐานะเป็นเจ้าของร่วม ผู้กู้จึงไม่มีสิทธิไปฟ้องขับไล่เจ้าของที่ดิน  โดยมีรายละเอียดตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2952/2554 ดังนี้ สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เพื่อให้โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อธนาคาร และให้จำเลยทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร สัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยเกิดจาก ส. และจำเลยเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากเจ้าหนี้จะยึดที่ดินและบ้านที่อยู่อาศัยชำระหนี้ แต่จำเลยและ ส. ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารมาชำระหนี้ได้ จึงต้องขอให้โจทก์เป็นผู้กู้ยืมเงินให้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของจำเลย เพื่อจะนำที่ดินมาเป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ส. โดยจำเลยและ ส. มีหน้าที่ร่วมกันผ่อนชำระหนี้ที่โจทก์กู้ยืมมาคนละครึ่ง หากจำเลยและ ส. ร่วมกันชำระหนี้จนครบ 10 ปี ตามสัญญาจำนอง หนี้จะหมด จำเลยมีสิทธิได้แบ่งที่ดินส่วนที่จำเลยปลูกบ้านแล้วจำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินทั้งหมดนอกจากส่วนที่กันเป็นถนน ส่วนที่ดินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของ ส. ซึ่งถือเป็นตัวการซึ่งเชิดโจทก์เป็นตัวแทนทำนิติกรรมแทน ส. สัญญาตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินแม้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท แต่เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยที่ต้องการให้ ส. และจำเลยมีที่ดินอยู่อาศัยคนละครึ่ง จึงให้จำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารครึ่งหนึ่ง เพื่อว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้ครบแล้วจะได้แบ่งที่ดินครึ่งหนึ่ง จึงพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาจะให้ตกลงในส่วนนี้แยกออกจากสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อตกลงในส่วนนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะและมีผลผูกพันโจทก์ว่า เมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารแม้เพียงบางส่วนจำเลยก็มีสิทธิในที่ดินพิพาทฐานะในเจ้าของร่วมด้วยเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอีกเรื่อง เป็นกรณีโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เอาที่ดินตาม น.ส.3 ก. ของโจทก์ทำสัญญาขายฝากไว้แก่จำเลยเพื่อยืมเงินจากจำเลย 30,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยอ่านหนังสือไม่ออก จึงไม่ทราบว่าสัญญาที่ทำเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาขายฝาก ในวันเดียวกันที่ทำสัญญาดังกล่าว จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าการทำสัญญาซื้อขายข้างต้นนั้นเป็นการขายฝากที่ดินมีกำหนด 2 ปี สัญญาซื้อขายที่ดินจึงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝาก ต่อมาโจทก์ขอไถ่ถอนที่ดินจากจำเลย จำเลยไม่ยอมให้ไถ่ถอน จึงมาฟ้องคดีเพื่อให้จำเลยรับเงินจากโจทก์และโอนที่พิพาทคืนโจทก์ ซึ่งศาลก็มองว่าเรื่องนี้ เป็นการทำ “นิติกรรมอำพราง” คือทำสัญญาซื้อขายกันลวงๆ โดยเจตนาแท้จริงที่อำพรางไว้ คือให้เป็นสัญญาขายฝากที่ดิน ซึ่งก็ต้องบังคับตามสัญญาขายฝาก แต่เรื่องนี้ การขายฝากไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลจึงถือว่าที่ดินดังกล่าว ที่จำเลยได้ไปเป็นลาภมิควรได้ จึงต้องคืนที่ดินให้โจทก์  โดยมีรายละเอียดตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2527โจทก์ต้องการกู้เงินจำเลย จำเลยไม่มีเงิน จึงตกลงจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทมี น.ส.3ก. เพื่อจำเลยจะได้นำน.ส.3ก. ไปยืมเงินเพื่อนมาให้โจทก์กู้ หลังจากนั้นอีก4 วันโจทก์มารับเงินจากจำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทกันเอง ดังนี้ ถือได้ว่าการทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขาย จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก( ปัจจุบันคือ มาตรา 155 )  ส่วนนิติกรรมขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 115 กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย และจำเลยต้องคืนที่ดินให้โจทก์จากตัวอย่างกรณีพิพาทที่ยกมาให้ศึกษากันนี้ ก็อยากเตือนผู้บริโภคว่า การทำสัญญาใดๆ ก็ตาม เราควรทำอย่างสุจริต ไม่ควรไปเสี่ยงทำสัญญากันหลอกๆ เพื่อให้มีผลผูกพันกันโดยไม่มีข้อสัญญาเป็นหนังสือรับรอง เพราะเมื่อภายหลังเกิดการผิดข้อตกลงกัน สัญญาเหล่านี้จะไม่มีผลใช้บังคับกันได้ และเกิดปัญหาต้องมาพิสูจน์ซึ่งอาจทำได้ยากลำบาก และหากคู่สัญญาของเราเกิดอยากเอาเปรียบเราก็จะทำให้เดือดร้อนได้  หลักที่ว่าสัญญาต้องเป็นสัญญาก็ไม่สามารถนำมาใช้กับกรณีเช่นนี้ได้นะครับ  ซึ่งหากโชคร้ายท่านก็อาจต้องสูญเสียทรัพย์โดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นขอให้มีสติก่อนที่จะทำสัญญาใดก็ตาม และทำด้วยความระมัดระวังอ่านข้อสัญญาต่างๆ ให้ดี เพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเองไม่ให้ถูกใครมาเอาเปรียบได้นะครับ สำหรับวันนี้ ก็ขอจบเพียงเท่านี้ ไว้พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ สวัสดีครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 อายุความสัญญาฝากทรัพย์ (3)

ตอนจบของฎีกา(ที่  8772/2550) เรื่อง  ฝากเงินไว้แล้วไม่ได้ติดต่อกับธนาคารไปเกือบสิบปี เมื่อไปถอนเงินโดนปฏิเสธ ... ตลอดจนการที่จำเลยสั่งยกเลิกบัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์ในปี 2516 แล้วโอนเงินที่ยังคงเหลืออยู่ทุกบัญชีรวมทั้งบัญชีของโจทก์ไปเข้าบัญชีไม่เดินหรือบัญชีพักเพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าไปติดต่อขอรับเงินที่ยังคงเหลืออยู่คืนดังที่พยานจำเลยเบิกความอ้างมาส่งเป็นพยานหลักฐานยืนยันข้ออ้างข้อเถียงของจำเลยแต่ประการใด คงมีเพียงคำเบิกความของนายสมเกียรติพยานจำเลยเพียงปากเดียวที่กล่าวอ้างขึ้นลอยๆ อีกทั้งยังได้ความจากนายสมเกียรติว่าหากโจทก์ไม่ได้นำสมุดฝากเงินไปตรวจสอบและปรับยอดเงินตามที่จำเลยได้ระบุไว้ในบัญชีของจำเลยก็ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิในการเบิกถอนเงินแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากฎข้อบังคับอันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยระบุไว้ในสมุดฝากเงินเป็นเพียงระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้อย่างกว้างๆ มิได้เป็นกฎข้อบังคับที่ใช้อย่างเคร่งครัด   ส่วนที่นายสมเกียรติพยานจำเลยเบิกความว่า ธนาคารจำเลยจะเก็บเอกสารเกี่ยวกับการเบิกถอนหรือจ่ายเงินไว้เพียง 10 ปี หลังจากนั้นจำเลยจะนำไปทำลายตามระเบียบของจำเลยนั้น ก็เป็นระเบียบที่จะต้องปฏิบัติภายในองค์กรของจำเลยเองไม่มีผลที่จะนำมาใช้ต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกหรือเป็นเหตุให้ระยะเวลาการรับฝากเงินของจำเลยสิ้นสุดไปด้วย ส่วนที่จำเลยอ้างในฎีกาว่า อาจเป็นไปได้ที่โจทก์สั่งจ่ายเงินโดยเช็คออกจากบัญชีหมดแล้วและไม่ได้นำสมุดฝากเงินไปปรับยอดเงิน จึงไม่ปรากฏยอดเงินที่จำเลยค้างชำระคืน บัญชีของลูกค้าเช่นจำเลยจึงถูกปิดไปโดยระบบนั้น ก็เป็นการคาดคะเนของจำเลยเองโดยไม่มีพยานหลักฐานใดๆ มานำสืบให้เห็นจริงตามที่อ้างดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ตราบใดที่จำเลยยังมิได้บอกเลิกสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยออกสมุดฝากเงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐาน สัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตลอดไปดังนี้ แม้โจทก์จะฝากเงินเมื่อปี 2504 การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากแล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่า ไม่พบว่ามียอดเงินในบัญชี จึงเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ ต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ขอถอนเงินในระหว่างเดือนธันวาคม 2544 ถึงเดือนมกราคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 10 เมษายน 2545 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คดีมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่คิดดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามฟ้องนั้นชอบแล้วหรือไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยรับฝากจากโจทก์ไว้คืนโดยเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 22,596.33 บาท โดยคิดดอกเบี้ยทบต้นทุกๆ ปี นับตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2507 จนถึงวันฟ้องและคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวทบต้นนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ซึ่งปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การโต้แย้งไว้ว่าดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือเกินความเป็นจริงแต่อย่างใด คงให้การต่อสู้แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นเอากับจำเลยได้เท่านั้น รวมทั้งมิได้นำสืบหักล้างอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ภาระการพิสูจน์ว่าในแต่ละช่วงโจทก์ได้รับดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราเท่าใดและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้หรือไม่ เป็นหน้าที่ของโจทก์ซึ่งจะต้องนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าการคิดดอกเบี้ยของโจทก์เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารจำเลยที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับลูกค้าที่นำเงินมาฝากกับจำเลยตลอดจนข้อตกลงเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นให้ศาลเห็น เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ศาลเห็นในประเด็นดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นตามที่โจทก์ขอได้นั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของนายสมเกียรติพยานจำเลยว่าจำเลยจะคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ตามสมุดฝากเงินดังกล่าวปีละ 2 ครั้ง หากมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นก็จะนำดอกเบี้ยและเงินฝากมาเป็นต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่นำมารวมได้นั้นในลักษณะคล้ายๆ กับการคิดดอกเบี้ยทบต้นนั่นเอง และโจทก์สามารถใช้สมุดฝากเงินเบิกถอนดอกเบี้ยออกจากบัญชีได้ ซึ่งข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวเจือสมกับคำเบิกความของโจทก์และสอดคล้องกับรายการคิดดอกเบี้ยในสมุดฝากเงินอีกด้วย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นในเรื่องนี้โดยชัดแจ้งแล้วและเห็นได้ว่าการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยมาจนถึงวันฟ้องเพียงปีละ 1 ครั้งนั้น นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยมากอยู่แล้ว ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขตามกฎข้อบังคับที่ระบุไว้ในสมุดฝากเงินนั้น จำเลยจะต้องคิดดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ถึงปีละ 2 ครั้ง อันเป็นกฎข้อบังคับที่จำเลยกำหนดขึ้นเองในการรับฝากเงินจากโจทก์ตามสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวยังมิได้ถูกยกเลิกหรือระงับสิ้นไป จำเลยจึงหามีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามกฎข้อบังคับดังกล่าวต่อโจทก์ได้โดยลำพัง ทั้งกฎข้อบังคับซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยตามสัญญาฝากทรัพย์ดังกล่าวก็มิใช่ข้อตกลงที่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ประการใด แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทบต้นถึงวันฟ้องนั้น เห็นว่า เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามหนังสือตอบเรื่องบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันดังกล่าวเป็นเงิน 342,318.99 บาท ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน” พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 342,318.99 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 อายุความสัญญาฝากทรัพย์ (2)

ฎีกา(ที่  8772/2550)ในคดีที่ฝากเงินไว้แล้วไม่ได้ติดต่อกับธนาคารไปเกือบสิบปี เมื่อไปถอนเงินโดนปฏิเสธ จึงฟ้องศาลซึ่งสู้กันถึงฎีกานั้น เรามาตามต่อกันเลยครับ ...ส่วนจำเลยมีนายสมเกียรติซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชี มีหน้าที่ดูแลบัญชีธนาคารและบัญชีลูกค้าทั่วไปของจำเลยมาเบิกความเป็นพยานว่าบัญชีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นบัญชีแบบสะสมทรัพย์ซึ่งเป็นบัญชีรุ่นแรกที่จำเลยออกให้แก่ลูกค้าโดยยอมให้ใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีได้ด้วยแต่จำกัดจำนวนการใช้เช็คไม่เกินเดือนละ 4 ฉบับ หากใช้เช็คแล้วก็ไม่จำต้องใช้สมุดฝากเงินเพื่อนำมาถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใด แต่ยอดเงินในสมุดฝากเงินจะถือเป็นยอดที่ถูกต้องแท้จริงไม่ได้จนกว่าจะได้มีการปรับยอดบัญชีตามระยะเวลาที่จำเลยกำหนดไว้   ต่อมาประมาณเดือนกรกฎาคม 2509 บัญชีแบบที่โจทก์ใช้ตามสมุดฝากเงินได้มีการเปลี่ยนชื่อบัญชีจากสะสมทรัพย์เป็นบัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์และให้สาขาของจำเลยทุกสาขามีหนังสือแจ้งไปยังลูกค้าที่ใช้บัญชีประเภทนี้อยู่ว่าจะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าต่อไปแล้ว หากบัญชีของลูกค้าคนใดขาดการติดต่อกับจำเลยแต่ยังคงมีเงินเหลืออยู่ในบัญชี จำเลยก็จะโอนไปไว้ในบัญชีไม่เดินหรือเรียกว่าบัญชีพักเพื่อรอให้ลูกค้ามาติดต่อแล้วจำเลยจะจ่ายเงินคืนไป ต่อมาในปี 2516 บัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์ถูกยกเลิกเนื่องจากมีความยุ่งยากในการปฏิบัติและโอนเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในทุกบัญชีไปเข้าบัญชีไม่เดินหรือบัญชีพักเพื่อให้ลูกค้ามาติดต่อขอรับเงินที่ยังคงเหลืออยู่ต่อไป ตามระเบียบของจำเลยนั้นเอกสารที่เกี่ยวกับการเบิกถอนหรือจ่ายเงินจะเก็บไว้เพียง 10 ปี หลังจากนั้นจำเลยจะทำลายเกี่ยวกับสมุดฝากเงินจะต้องนำไปปรับบัญชีปีละ 2 ครั้ง ทุกสิ้นเดือนมิถุนายนและสิ้นเดือนธันวาคมของทุกปีตามข้อบังคับของธนาคารที่ระบุไว้ในสมุดฝากเงินดังกล่าวเพื่อจะดูว่าลูกค้าได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารหรือไม่เพียงใดด้วย แม้หากลูกค้าไม่นำสมุดฝากเงินไปปรับดอกเบี้ยก็ตาม ธนาคารก็จะคิดและลงไว้ในการ์ดบัญชีให้และลูกค้าสามารถนำสมุดฝากเงินไปปรับบัญชีให้ตรงกันแล้วถอนดอกเบี้ยออกจากบัญชีได้ ลักษณะการคิดดอกเบี้ยตามสมุดฝากเงินนั้น หากมีเงินฝากและมีดอกเบี้ยเกิดขึ้น จำเลยก็จะนำเงินฝากและดอกเบี้ยมาเป็นต้นเงินและคิดดอกเบี้ยจากเงินที่นำมารวมนั้นในลักษณะคล้ายๆ กับการคิดดอกเบี้ยทบต้นนั่นเอง เกี่ยวกับสมุดฝากเงินนั้น หากโจทก์ไม่ได้นำไปตรวจสอบยอดเงินตามที่จำเลยระบุไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิในการเบิกถอนแต่อย่างใด แต่ธนาคารก็จะต้องตรวจดูว่ามีเงินคงเหลือในบัญชีอยู่หรือไม่เพียงใดด้วย เห็นว่า จำเลยเป็นธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์โดยรับฝากเงินและให้ประชาชนทั่วไปกู้ยืมเงินซึ่งในการรับฝากเงินจำเลยจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ยที่จำเลยเรียกจากผู้มากู้ยืมเงินซึ่งส่วนต่างดังกล่าวจะเป็นผลกำไรของจำเลย จากข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของนายสมเกียรติพยานจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าการรับฝากเงินจากโจทก์เป็นบัญชีแบบสะสมทรัพย์ ซึ่งจำเลยออกสมุดฝากเงินให้แก่โจทก์ไว้เป็นหลักฐานนั้นได้กำหนดระยะเวลาที่รับฝากไว้แต่ประการใด อีกทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดระยะเวลาที่รับฝากไว้แต่ประการใด อีกทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดระยะเวลาการรับฝากเงินเช่นนี้ไว้แต่อย่างใดด้วย ดังนั้น เมื่อการรับฝากเงินหรือฝากทรัพย์เป็นสัญญาอย่างหนึ่ง หากจำเลยไม่มีเจตนาที่จะรับฝากเงินจากโจทก์ต่อไปแล้ว จำเลยย่อมกระทำได้โดยการบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยก็ไม่เคยบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ สัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามที่จำเลยออกสมุดฝากเงินมอบให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ ที่จำเลยนำสืบและอ้างในฎีกาว่าเมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2509 บัญชีแบบที่โจทก์ใช้ตามสมุดฝากเงินนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อจากสะสมทรัพย์เป็นบัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์และให้ทุกสาขาของจำเลยมีหนังสือโดยส่งจดหมายแจ้งไปยังลูกค้าที่ใช้บัญชีประเภทนี้อยู่ว่าจะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าต่อไปแล้ว หากลูกค้าคนใดขาดการติดต่อและยังคงมีเงินเหลืออยู่ในบัญชี จำเลยก็จะนำไปโอนไว้ในบัญชีไม่เดินหรือที่เรียกว่าบัญชีพักเพื่อรอให้ลูกค้ามาติดต่อรับเงินคืนไป จนกระทั่งบัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์ได้ถูกยกเลิกไปในปี 2516 และจำเลยโอนเงินทั้งหมดที่มีอยู่ทุกบัญชีไปเข้าบัญชีไม่เดินหรือบัญชีพักเพื่อให้ลูกค้ามาติดต่อขอรับเงินที่ยังคงเหลืออยู่ และจำเลยจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการเบิกถอนหรือจ่ายเงินไว้เพียง 10 ปี ตามระเบียบของจำเลย หลังจากนั้นจำเลยก็จะนำไปทำลายนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือที่แจ้งไปยังโจทก์ว่าได้เปลี่ยนชื่อบัญชีจากสะสมทรัพย์เป็นบัญชีกระแสรายวันแบบสะสมทรัพย์และงดจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ต่อไปแล้ว... แหม เข้มข้นจริงๆ ไปติดตามตอนจบในฉบับหน้าครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 136 อายุความสัญญาฝากทรัพย์ (1)

ฉบับนี้เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคไปเปิดบัญชีฝากเงินไว้กับธนาคารชื่อดัง เค – แบ็งก์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ไปถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อ ปี พ.ศ. 2507 มียอดเงินฝากคงเหลืออยู่ในสมุดคู่ฝากจำนวน 22,596.33 บาท แล้วก็เก็บสมุดไว้และไม่ได้ไปทำธุรกรรมใดๆ กับธนาคารอีกเลย ต่อมาเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2544 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ผู้บริโภคไปติดต่อถอนเงินจากธนาคารดังกล่าว ธนาคารปฏิเสธและแจ้งว่า ไม่มียอดเงินเหลืออยู่ในบัญชีที่ผู้บริโภคอ้าง ผู้บริโภคจึงไปฟ้องศาลดำเนินคดี คดีนี้มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่น่าสนใจหลายประการ จึงขอนำคำพิพากษาศาลฎีกามาลงให้แบบ “ จัดเต็ม “ ให้เห็นว่าศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไว้อย่างไรบ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8772/2550 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่ฝาก 347,070.83 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยคิดดอกเบี้ยทบต้นทุกๆ สิ้นปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์   จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 22,596.33 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 347,070.83 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ รับฝากเงินจากบุคคลทั่วไปโดยให้ดอกเบี้ยเป็นการตอบแทน เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2504 โจทก์ได้เปิดบัญชีเงินฝากแบบสะสมทรัพย์และนำเงินฝากไว้กับจำเลยที่สาขาพัฒนพงศ์ เป็นบัญชีเลขที่ 1194 หลังจากนั้นโจทก์ได้นำเงินเข้าฝากและถอนออกไปตลอดมาโดยโจทก์ได้ถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวเป็นครั้งสุดท้าย 3 ,000 บาท เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2507 ซึ่งในวันดังกล่าวโจทก์ยังคงมีเงินฝากเหลืออยู่ 22,596.33 บาท ปรากฏตามสมุดฝากเงินที่จำเลยทำมอบให้ไว้แก่โจทก์เป็นหลักฐาน หลังจากนั้นโจทก์ก็ไม่ได้ติดต่อกับจำเลยอีกเลย ต่อมาในระหว่างเดือนธันวาคม 2544 ถึงเดือนมกราคม 2545 โจทก์ได้ติดต่อขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวกับจำเลย แต่จำเลยปฏิเสธอ้างว่าไม่พบว่ามียอดเงินคงเหลืออยู่ในบัญชีตามที่โจทก์อ้าง ตามหนังสือตอบเรื่องบัญชีเงินฝากของจำเลย คดีมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ โจทก์มีตัวโจทก์เป็นพยานเบิกความว่าจำเลยต้องชำระเงินฝากคืนให้แก่โจทก์ และโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องถอนเงินคืนจากจำเลยได้ตลอดเวลา โดยโจทก์มีสมุดฝากเงินมาเป็นพยานสนับสนุน ซึ่งตามสมุดฝากเงินดังกล่าวไม่มีข้อความกำหนดระยะเวลาในการรับฝากเงินไว้แต่อย่างใด … เนื้อหามีความละเอียดมาก เพราะฉะนั้นอ่านกันต่อฉบับหน้านะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 128 อายุความสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ

  ฉบับนี้มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องอายุความตามสัญญากู้เงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีผู้บริโภคกู้เงินกันจำนวนมากอายุความคือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดบังคับไว้ให้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลภายในกำหนดเวลา  ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นานจนเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วจะทำให้เกิดผลเสียหายแก่เจ้าของสิทธิเรียกร้อง(เจ้าหนี้)นั้นได้  ซึ่งเรียกว่า “ สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ” หรือ “ หนี้ขาดอายุความ “ ทั้งนี้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 กำหนดไว้เมื่อเจ้าหนี้ปล่อยปละละเลยไม่บังคับสิทธิเรียกร้องของตนที่มีต่อลูกหนี้ จนกระทั่งเลยกำหนดอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว  เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะนำคดีของตนขึ้นฟ้องร้องต่อศาลได้  เพียงแต่ว่าเจ้าหนี้ฟ้องแล้ว อาจถูกศาลพิพากษายกฟ้องได้ถ้าลูกหนี้ได้ยกเหตุหนี้ขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ปฏิเสธการชำระหนี้  แต่ถ้าลูกหนี้ไม่ยกเหตุขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้  ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม ศาลก็ไม่อาจเอาเหตุหนี้ขาดอายุความนี้มาเป็นเหตุยกฟ้องได้ ทั้งนี้เพราะมาตรา 192/29 ได้กำหนดห้ามไว้มาตรา 193/12 บัญญัติว่า “ อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป  ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นกระทำการอย่างใดให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น "มาดูกรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2552 ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ ผู้กู้ทำสัญญากู้เงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยินยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม  และตามหนังสือสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏ ข้อ 4 ระบุว่า ผู้กู้ตกลงให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนและเงินพึงได้อื่นใดที่ผู้กู้พึงได้จากนายจ้างเป็นรายเดือนให้ผู้กู้ โดยวิธีนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้กู้ที่เปิดไว้ ณ สำนักงานธนาคารผู้ให้กู้เป็นประจำทุกเดือนตลอดไป  จากข้อสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่านิติสัมพันธ์ระหว่างผู้กู้กับโจทก์ตามสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏในลักษณะนี้กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป  ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม  2534 หลังจากนั้นผู้กู้หรือหน่วยงานของผู้กู้ ก็มิได้นำเงินมาชำระหนี้โจทก์อีกเลย  จึงถือเป็นการประพฤติผิดสัญญา และเมื่อตามหนังสือสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏ ข้อ 4 ระบุว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดคืนได้ทันที ถือได้ว่าระยะเวลา  ซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นั้นเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม  2534 เป็นต้นไป หาใช่นับแต่วันครบกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ 26  มกราคม  2547 ที่โจทก์บอกเลิกสัญญาดังที่โจทก์ฎีกาไม่  โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 มกราคม2547 จึงเกิน 10 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 ธนาคารมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมนอกเหนือไปจากดอกเบี้ยได้หรือไม่

  ฉบับนี้ผู้เขียนก็มีเรื่องใกล้ตัวผู้บริโภคมาฝากอีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของการกู้ยืมเงินจากธนาคารซิตี้แบงค์   แล้วธนาคารซิตี้แบงค์คิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินที่กู้นอกเหนือจากการคิดดอกเบี้ยตามปกติอีก(ไม่ทราบว่าเป็นธรรมเนียมของประเทศไหนกัน)  และยังเรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าอีกครั้งละ 500 บาทอีก(โหดดี ฮิ)  ดูซิว่าศาลฎีกาจะว่าอย่างไร   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2553 คดีระหว่าง ธนาคารซิตี้แบงค์ โจทก์ กับ นายสมชาย เครือองอาจนุกุล จำเลย   คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 134,688.13 บาท  พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี  จากต้นเงิน 77,058 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์   จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง  จำเลยขาดนัดพิจารณา  ศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาดคดีไปฝ่ายเดียว   ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 132,188.13 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี    77,058 บาท  นับถัดจากวันฟ้อง(ฟ้องวันที่ 10 ตุลาคม 2548)เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 1,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก   จำเลยอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า...... การที่โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์  การประกอบธุรกิจของโจทก์อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้กู้ยืมเงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตอบแทนจากผู้กู้ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง  การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด  ซึ่งในขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้  ดังนั้น  การที่โจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินกู้หรือ 1,5000 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย  จึงเป็นการไม่ชอบ  นอกจากนี้ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้มีข้อกำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระหนี้ล่าช้า  ดังนั้น  การที่โจทก์เรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าครั้งละ 500 บาท จึงไม่ชอบเช่นกัน  แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน  ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้   พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงิน 99,250 บาท โดยให้นำเงินที่จำเลยชำระมาหักชำระหนี้ ณ วันที่มีการชำระในแต่ละครั้ง โดยให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.5 ต่อเดือนในระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์ หลังจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์  แต่ทั้งนี้ดอกเบี้ยหลังฟ้องต้องไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอ  นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น  ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 107 ธนาคารปล่อยให้ดอกเบี้ยบานแล้วนำมาฟ้อง

“ในการใช้สิทธิแห่งตนนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 บัญญัติว่า  ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี  บุคคลทุกคนต้องกระทำการโดยสุจริต” คดีตัวอย่างในฉบับนี้เป็นเรื่องของธนาคารไม่รีบฟ้องคดีเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ แต่กลับเลี้ยงไข้ให้ดอกเบี้ยบานแล้วนำมาฟ้อง  โดยส่วนที่หักเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของลูกหนี้เพื่อมาชำระหนี้บัตรเครดิต เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงก็น่าเกลียดมากคือหักมา 6.68 บาท (สงสัยทั้งบัญชีมีอยู่เท่านั้น) เรื่องนี้น่าจะเข้ากับสุภาษิตกฎหมายที่ว่า  เมื่อมาศาลด้วยมืออันสกปรก  ศาลย่อมไม่รับบังคับบัญชาให้  มาดูกันสิว่าผลคดีจะออกมาอย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2551  ครบกำหนดชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าธนาคารยอมให้จำเลยใช้บัตรเครดิตอีก แสดงว่าธนาคารกับจำเลยถือว่าสัญญาที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 ธนาคารย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2538 แต่จำเลยนำเงินมาชำระให้ธนาคารวันที่ 10 กรกฎาคม 2539 จำนวน 5,000 บาท อันเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดอายุความ 2 ปี ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2541  การที่ธนาคารนำเงินจำนวน 6.68 บาท จากบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยมาหักชำระหนี้บัตรเครดิตเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2541 หลังจากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2538 โดยปล่อยเวลาให้ผ่านไปถึง 2 ปีเศษ และคิดดอกเบี้ยกับค่าเบี้ยปรับชำระหนี้ล่าช้าตลอดมา นอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของธนาคารตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นว่า ธนาคารอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้ธนาคารได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยได้ดอกเบี้ยและค่าเบี้ยปรับชำระหนี้ล่าช้าระหว่างนั้นและเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลง โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 ดังนั้นจึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง จำเลยนำเงินมาชำระหนี้บางส่วนโดยให้ธนาคารหักเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 จำนวน 1,000 บาท เป็นการชำระหนี้ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว จึงเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกเงินคืนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิจากธนาคารนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 จึงเกิน 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) มาตรา 246 ประกอบมาตรา 247 พิพากษายกฟ้องเขียนต้นฉบับมาถึงตรงนี้ ผู้เขียนต้องขอพูดหน่อยว่า  สะใจโก๋จริงๆ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 ตรวจสอบมาตรการช่วยเหลือจากธนาคาร เมื่อหนี้อาจเป็นภัยอย่างหนึ่งหลังน้ำท่วม

คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศไทยเรา แม้ปัญหาน้ำท่วมจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปีในหลายจังหวัด แต่หนนี้ต้องเรียกว่าเป็นภัยพิบัติขั้นรุนแรงจนหลายคนให้คำจำกัดความน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ว่าเป็น "มหาอุทกภัย" เพราะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ หลายจังหวัด น้ำท่วมสูงและท่วมเป็นเวลานานนับเดือน ไม่ว่าจะบนถนนหนทาง หรือบ้านเรือนตามตรอกซอกซอยต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันต้องหยุดชะงัก   การจัดการชีวิตให้สามารถรับมือกับภาวะน้ำท่วมและหาหนทางทำให้ปริมาณน้ำลดลงโดยเร็วที่สุดถือเป็นโจทย์ข้อแรกที่ทุกคนต้องช่วยกันคิดช่วยกันแก้ แต่หลังจากนี้เมื่อวิกฤติน้ำท่วมคลี่คลายอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ตั้งท่าเตรียมพร้อมสำหรับรอการแก้ไขก็คือ เรื่องของการฟื้นฟู การให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพราะในช่วงที่น้ำท่วม หลายๆ คน หลายๆ ครอบครัว คงเจอกับปัญหา บ้านเรือน ข้าวของต่างๆ เสียหายเพราะจมอยู่ใต้น้ำ บางคนที่เอารถไปจอดหนีน้ำไม่ทัน ก็ต้องยอมทำใจรอน้ำลดเมื่อไหร่ค่อยหาทางซ่อม นอกจากนี้ในสถานการณ์ที่น้ำท่วมรุนแรงก็ทำให้หลายๆ คนขาดรายได้ กิจการงานต่างๆ ที่เคยทำก็ต้องหยุดชะงักยอมแพ้ต่อปริมาณน้ำที่มากมายมหาศาล ความเดือดร้อนที่กำลังรออยู่หลังน้ำลด ต้องอาศัยมาตรการที่ดีในการช่วยเหลือ โดยเฉพาะการช่วยเหลือในเรื่องของเงินทุนเพื่อนำไปใช้ในการซ่อมแซมและฟื้นฟูความเสียต่างๆ ที่เกิดจากน้ำท่วม แน่นอนว่าเงินช่วยเหลือส่วนหนึ่งรัฐต้องเป็นคนที่ทำหน้าที่ดูแลช่วยเหลือ แต่อีกส่วนที่ก็มีความสำคัญในฐานะแหล่งที่พึ่งเรื่องเงินๆ ทองๆ ก็คือ "ธนาคาร" แม้จะต้องแลกกับการจ่ายดอกเบี้ย แต่การกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ ก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเงินสักก้อนเพื่อใช้เป็นต้นทุนในการทำธุรกิจหรือผ่อนชำระทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงอย่างบ้านหรือรถ ในช่วงที่วิกฤติน้ำท่วมสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนเป็นจำนวนมาแบบนี้ ธนาคารต่างๆ ก็ได้เตรียมพร้อมความช่วยเหลือ ทั้งเรื่องการปรับลดหนี้สินและขยายเวลาการชำระหนี้ และเตรียมข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าของธนาคารที่ต้องการกู้เพิ่ม ลองมาดูกันสิว่าธนาคารแต่ละแห่งได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเอาไว้อย่างไรกันบ้าง   ตารางแสดงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบภัยน้ำท่วมของสถาบันการเงินต่างๆ ธนาคาร การปรับลด – ผ่อนปรนสินเชื่อเดิม การขอสินเชื่อเพิ่ม อื่นๆ ธนาคารพาณิชย์ กรุงเทพ ชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นสูงสุด 12 เดือน หรือปรับลดยอดการผ่อนชำระรายเดือนลงสูงสุด 40% เป็นเวลา 1 ปี อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษในปีแรก 5% ปีถัดไปคิดดอกเบี้ยในอัตรา 1MRR สามารถผ่อนชำระสินเชื่อที่กู้เพิ่มได้สูงสุด 5 ปี 1.ลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตลง 50% จนถึงเดือนมิถุนายน 2555 2.ยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าบริการโอนเงินข้ามเขตแก่ลูกค้าที่โอนเงินไปยังบัญชีครอบครัวในพื้นที่ประสบภัย กรุงไทย พักชำระหนี้วงเงินกู้แบบมีระยะเวลาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นสามารถทยอยผ่อนชำระดอกเบี้ยที่พักไว้ สูงสุดภายใน 24 เดือน ผ่อนชำระนานสูงสุด 60 งวด ดอกเบี้ยปีแรกอัตรา MRR -1.75 % ต่อปี สำหรับลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย   กรุงศรีอยุธยา 1.สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงผ่อนชำระดอกเบี้ยอย่างเดียวสูงสุด 6 เดือน และอัตราดอกเบี้ยพิเศษแล้วแต่กรณี 2.สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม ให้ความช่วยเหลือผ่อนชำระดอกเบี้ยอย่างเดียว 3 เดือน และอัตราดอกเบี้ยพิเศษแล้วแต่กรณี     กสิกรไทย ลูกค้าสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ลดยอดผ่อนชำระรายเดือน 40-50% เป็นระยะเวลานานสูงสุด 1 ปี ลูกค้าสินเชื่อบ้านสามารถเลือกผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือนได้ ส่วนลูกค้าสินเชื่อรถยนต์จะได้รับการขยายระยะเวลาผ่อนชำระออกไปนานสูงสุด 6 เดือน ลูกค้าสินเชื่อบ้านสามารถขอรับ 1.สินเชื่อบ้านเอนกประสงค์กสิกรไทย ขอเงินกู้เพิ่มสูงสุด 100% ของสินเชื่อบ้านที่ผ่อนชำระไปแล้ว  ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน ผ่อนสูงสุด 15 ปี อนุมัติวงเงินกู้เบื้องต้น 2 แสนบาทแรก ภายใน 48 ชั่วโมง หรือ 2.ขอสินเชื่อบ้านทวีทรัพย์กสิกรไทยโดยนำบ้านที่ปลอดภาระจำนองมาเปลี่ยนเป็นเงินกู้ โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน ผ่อนสูงสุด 15 ปี หรือ 3.นำรถที่ปลอดภาระจำนองมาเปลี่ยนเป็นเงินกู้ รับดอกเบี้ย 0% ใน 3 เดือนแรก ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 72 เดือน 4.ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อเงินสดทันใจกสิกรไทย (K-Express Cash) โดยสามารถอนุมัติและรับเงินก้อนเข้าบัญชีทันที่ ดอกเบี้ย 0% นาน 2 เดือน และ 5.ผู้ถือบัตรเครดิตกสิกรไทยสามารถขอเพิ่มวงเงินช่วยเหลือพิเศษได้อีก 1 เท่าของรายได้ อนุมัติภายใน 24 ช.ม. ผู้ถือบัตรเครดิตกสิกรไทยและผู้ใช้สินเชื่อเงินสด จะได้รับการผ่อนผันให้ชำระดอกเบี้ย 50% และปรับลดยอดผ่อนชำระขั้นต่ำให้เป็น 0-10% เกียรตินาคิน ลูกค้าเช้าซื้อรถยนตร์ พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน   บริการให้ทำรายการต่างสาขา และยืนยันการทำรายการผ่านทางโทรศัพท์ ซีไอเอ็มบี ไทย 1. พักชำระหนี้ให้สูงสุด 90 วัน 2. ขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ให้สูงสุด 12 เดือน 3.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันของลูกค้า เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยลูกค้าสินเชื่อบุคคลมีหลักประกันจะได้ลดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.5% และลูกค้าสินเชื่อบุคคลไม่มีหลักประกันจะได้ลดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 7%     ทหารไทย 1.ลูกค้าที่มีค่างวดค้างชำระตั้งแต่ 1-30 วัน ชำระเฉพาะดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นโดยยังไม่ต้องชำระเงินต้นเป็นเวลา 6 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระจากปัจจุบัน ออกไปอีก 6 เดือน 2.ลูกค้าสินเชื่อทีเอ็มบีแคชทูโก สามารถชำระเฉพาะดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเป็นเวลา 3 เดือน และ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระออกไปอีก 3 เดือน 3.ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตทีเอ็มบี สามารถติดต่อขอชำระเงินเป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆกัน เป็นเวลา 3 เดือน โดยขั้นต่ำชำระไม่น้อยกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน 1.ลูกค้าสินเชื่อบุคคลทีเอ็มบีแคชทูโก ธนาคารจะพิจารณาให้กู้โดยให้วงเงินสินเชื่อเท่ากับวงเงินสินเชื่อเดิมที่มีอยู่กับธนาคาร และเพิ่มโบนัสพิเศษ ให้อีก 10% ของวงเงินสินเชื่อ ในวงเงินกู้ตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท สูงสุด 5 เท่าของรายได้ เมื่ออนุมัติสินเชื่อแล้ว ธนาคารจะดำเนินการหักกลบลบหนี้สินเชื่อทีเอ็มบีแคชทูโก ที่มีอยู่เดิม และจะโอนเงินส่วนที่คงเหลือให้ลูกค้าต่อไป โดยลูกค้ายังไม่ต้องชำระค่างวดในช่วง 3 เดือนแรกนับจากวันอนุมัติ แต่จะเริ่มผ่อนชำระค่างวดตั้งแต่ เดือนที่ 4 เป็นต้นไป และนอกจากนี้ ธนาคารยังขยายระยะเวลาการผ่อนชำระค่างวดออกไปให้อีก 3 เดือน 2.ลูกค้าบุคคลที่ใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆของธนาคารอยู่แล้ว สามารถติดต่อขออนุมัติสินเชื่อทีเอ็มบีแคชทูโก เป็นกรณีพิเศษ ในวงเงิน ตั้งแต่ 20,000 -1,000,000 บาท สูงสุด  5 เท่าของรายได้ ลูกค้าไม่ต้องผ่อนชำระค่างวดคืนธนาคารใน 3 เดือนแรกนับจากวันอนุมัติ แต่จะเริ่มผ่อนชำระงวดแรกตั้งแต่ เดือนที่ 4 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ธนาคารยังขยายระยะเวลาการผ่อนชำระให้เพิ่มอีก 3 เดือน ยกเว้นค่าธรรมเนียมทุกประเภทในกรณีที่ลูกค้าบุคคลที่ได้รับผลกระทบ เช่น ค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ ทิสโก้ 1.พิจารณาปรับโครงสร้างหนี้โดยการขยายระยะเวลาชำระหนี้และลดค่างวดลง 2. พิจารณามาตรการพักชำระหนี้ให้ลูกค้าทุกรายที่ประสบอุทกภัยเป็นเวลา 3 เดือน ในกรณีที่ลูกค้าได้รับผลกระทบรุนแรง จนไม่มีความสามารถชำระหนี้ในช่วงเวลาหนึ่ง 1.พิจารณาให้วงเงินสินเชื่อเพิ่ม หากลูกค้าต้องการวงเงินฉุกเฉินสำหรับไปใช้สอยในช่วงวิกฤติที่เกิดขึ้น โดยคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และช่วงแรกชำระแต่ส่วนดอกเบี้ยเท่านั้น 2.แคมเปญเร่งด่วน “รับเงินวันนี้ ผ่อนปีหน้า” เมื่อติดต่อขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ “ทิสโก้ ออโต้ แคช” วันนี้ สามารถเริ่มผ่อนชำระค่างวดได้ปีหน้า สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ปลอดภาระ โดยจะได้รับการพิจารณาวงเงินและอัตราดอกเบี้ยให้เป็นพิเศษ 1.ยกเว้นค่าปรับล่าช้า และค่าติดตามทวงถาม ในช่วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติ สำหรับลูกค้าที่ประสบภัย 2.ช่วยเหลือประสานงานในการเคลมประกันภัยสำหรับลูกค้าที่รถยนต์คันที่เช่าซื้อได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมอีกด้วย โดยเปิดศูนย์ช่วยเหลือลูกค้าเรื่องประกันภัยตลอด 24 ชั่วโมง ไทยพาณิชย์ 1.สินเชื่อบ้าน- พักชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน และลดดอกเบี้ยสูงสุด 50%  เป็นเวลา 3 เดือน- วงเงินเพิ่มสูงสุด 120% ของราคาประเมินเดิม ดอกเบี้ย 0% เป็นเวลา 3 เดือน 2.สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ - พักชำระหนี้สูงสุดเป็นเวลา 3 เดือน   พักชำระหนี้และลดดอกเบี้ย บัตรเครดิตและ Speedy Loan สูงสุด 50% เป็นเวลา 3 เดือน   ธนชาต 1.สินเชื่อบ้าน พักชำระหนี้สินเชื่อบ้าน เป็นเวลา 3 เดือน หรือ ลดค่างวดเป็นเวลา 12 เดือน 2.สินเชื่อรถ พักชำระหนี้ได้สูงสุด 90 วัน (นับวันที่ตามปฏิทิน) และสามารถขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ เพิ่มสูงสุดได้อีก 12 งวด แต่ต้องไม่เกินงวดสูงสุดตามธนาคารกำหนด ดังนี้ สินเชื่อรถใหม่ทั่วไปสูงสุด 96 งวด สินเชื่อรถใช้แล้วสูงสุดไม่เกิน 84 งวด และสินเชื่อรถแลกเงินสูงสุดไม่เกิน 72 งวด ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศธนาคารเรื่องหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อรถยนต์     กรณีผ่อนชำระมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี สามารถขอวงเงินสินเชื่อเคหะทวีสุข ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก 4.50% หลังจากนั้น 2MLR-0.50% ของราคาประเมินเดิม ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี 1.ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขตที่เครื่องเอทีเอ็มของธนาคารธนชาตทุกรายการ 2.กรณีทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็มของธนาคารอื่น ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการถอนเงินสดต่างธนาคาร และการโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารธนชาตที่ผูกภายในบัตรเดียวกัน ผ่านเครื่องเอทีเอ็มต่างธนาคาร แต่ยังคงมีค่าธรรมเนียมทำรายการต่างธนาคารกรณีทำรายการตั้งแต่ครั้งที่ 5 ภายในเดือนเดียวกัน 3.กรณีบัตร ATM หรือบัตร Debit เสีย/สูญหาย จากเหตุการณ์น้ำท่วม ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมทำบัตรทดแทน และค่าธรรมเนียมรายปีแก่กลุ่มลูกค้าประสบภัยน้ำท่วม 4.ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการฝากเช็คเข้าบัญชี / ขึ้นเงินสดเช็คต่างสาขาแบบไม่รอเรียกเก็บ 5.ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมเช็คคืน กรณีลูกค้าที่สั่งจ่ายเช็คแล้ว แต่ไม่สามารถนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันของตัวเองได้ ยูโอบี เลื่อนการผ่อนชำระหนี้สูงสุด 3 เดือน ยอกเว้นดอกเบี้ยผิดนัด กรณีชำระล่าช้า ลดค่างวดผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน พักการผ่อนชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน 1.ดอกเบี้ย 0% 6 เดือนแรก สำหรับลูกค้าเดิมที่ต้องการกู้เพิ่ม 2.ดอกเบี้ย 0% 3 เดือนแรก สำหรับลูกค้าใหม่ที่กู้สินเชื่อเอนกประสงค์ หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 รายการจะปรับดอกเบี้ยเป็น MLR – 1.00% ตลอดสัญญากู้   สถาบันการเงินของรัฐ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 1.สำหรับลูกค้าเดิมของธนาคาร กรณีหลักประกัน และ/หรือ รายได้ ได้รับผลกระทบ ธนาคารจะพักหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน (คิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี) กรณีได้รับผลกระทบรุนแรง จะพักหนี้ต่อเป็นระยะเวลาอีกไม่เกิน 6 เดือน ( คิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี2.กรณีลูกค้าเดิมได้รับอุบัติเหตุจากเหตุการณ์น้ำท่วมจนทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงหรือเสียชีวิต ธนาคารจะลดดอกเบี้ยให้เหลือ 0.01% ต่อปี ตลอดระยะเวลากู้ที่เหลืออยู่ 3.กรณีลูกค้าเดิมที่อาคารที่อยู่อาศัยพังเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จะได้รับการ ปลดภาระหนี้ตามยอดหนี้คงเหลือในส่วนของอาคาร โดยผู้กู้ผ่อนชำระหนี้ในส่วนของที่ดินที่คงเหลือ 1.สำหรับลูกค้าเดิมของและลูกค้าใหม่ ที่อาคารได้รับความเสียหายสามารถขอกู้เพิ่ม หรือ กู้ใหม่ เพื่อปลูกสร้างอาคารทดแทนอาคารเดิม( มีหลักประกัน (คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ 2% ต่อปี นาน 5 ปี ( วงเงินกู้ 100% ของราคาประเมิน และภายในวงเงินต่อรายไม่เกิน 1 ล้านบาท) หลังจากนั้น คิดอัตราดอกเบี้ย   เท่ากับ  MRR-0.05% ต่อปี สำหรับรายย่อย และคิดอัตราดอกเบี้ย =MRR-1.00% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ 2.กรณีกู้ซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย ให้กู้รายละไม่เกิน 1 แสนบาท (ไม่มีหลักประกันด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4% ต่อปี นาน 5 ปี (   ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) 1.กรณีที่เสียชีวิตจากอุทกภัย จะปลดหนี้พร้อมให้คู่สมรสหรือทายาทขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าแทนผู้เสียชีวิต และมอบเงินบำรุงขวัญให้กับคู่สมรสหรือทายาทครอบครัวละ 20,000 บาท 2.กรณีประสบภัยร้ายแรงหรือเสียหายจนเป็นเหตุให้รายได้ลดลงเกินกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ปกติ จะพักชำระหนี้ 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554 - 2556 พร้อมงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงที่พักชำระหนี้  หากพักชำระหนี้แล้วยังเป็นภาระหนักจะพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ และลดหย่อนหลักประกันเงินกู้ 3.กรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน จากกู้ได้ไม่เกินครั้งหนึ่งเป็นกู้ได้ไม่เกินวงเงินจำนองและกรณีใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ขยายการค้ำประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท ให้เงินกู้ใหม่รายละไม่เกิน 100,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินกู้ปกติร้อยละ 3 ต่อปี   ออมสิน 1.พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน ปรับลดเงินและ/หรือขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ ออกไปจากเดิมอีก ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี สำหรับสินเชื่อบ้าน และไม่เกิน 1 ปี สำหรับสินเชื่อบุคคล 1. ให้กู้เพิ่มได้ไม่เกิน 10% ตามสัญญาเดิม และไม่เกิน 300,000 บาท 2. ชาระหนี้เงินกู้ไม่เกิน 5 ปี 3. อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-3 = 3.45% ต่อปี ปีที่ 4-5 = MLR-0.50% ต่อปี 4. ไม่ต้องประเมินราคาหลักทรัพย์   *ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและมีความประสงค์จะขอทำเรื่องผ่อนผัน – ผ่อนปรนการชำระหนี้ต่างๆ กับธนาคาร ควรรีบติดต่อไปยังธนาคารนั้นๆ เพื่อรักษาสิทธิ์ไม่ให้ตัวเองกลายเป็นผู้ผิดชำระหนี้และเสียประวัติทางการเงินของตัวเอง เพราะมาตรการทั้งหมดที่ออกมาของแต่ละธนาคารมีกำหนดเวลา 1MRR (Minimum retail rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี2MLR (Minimum lending rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดสำหรับลูกค้าชั้นดีตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารทุกครั้งก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ จ่ายหลังน้ำท่วมได้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครั้งนี้ด้วยการผ่อนผันการชำระค่าไฟฟ้าในช่วงเดือนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมออกไปเป็นระยะเวลา 3 เดือน การประปานครหลวง (กปน.) ลดค่าน้ำประปาเดือนตุลาคม 2554 ลง 50% ให้กับผู้ใช้ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วม แถมขยายเวลาการชำระค่าน้ำประปาในเดือนตุลาคม 2554 ออกไป 3 เดือน รวมทั้งหากตรวจสอบได้ว่ามีค่าน้ำส่วนเกินที่เกิดจากการแตกรั่วของท่อน้ำภายในบ้านช่วงน้ำท่วม กปน. จะไม่คิดค่าน้ำส่วนที่เกินมา องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทีโอที) ยกเว้นค่าบริการโทรศัพท์บ้านและค่าบริการอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ที่รัฐประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ โดยผู้ประสบภัยต้องขอแจ้งความจำนงที่ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที ทั่วประเทศ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร หรือ โรงรับจำนำของ กทม. ได้ขยายเวลาในการตามคืนทรัพย์ที่จะหลุดจำนำในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 ออกไปเป็นจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2554 บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ขอความร่วมมือไปยังสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก หากลูกหนี้ที่ประสบภัยที่เข้าโครงการผ่อนผัน-ผ่อนปรนของสถาบันการเงินนั้นๆ จะไม่มีการบันทึกในประวัติการเงินว่าค้างชำระหรือล่าช้าในการชำระหนี้ *ทุกมาตรการที่บอกมาผู้ที่ประสบภัยอย่าลืมไปแจ้งความจำนงขอเข้าร่วมในมาตรการช่วยเหลือ ไม่อย่างงั้นจะเสียสิทธิ์นะ

อ่านเพิ่มเติม >