ฉบับที่ 224 ทำอย่างไร... เมื่อเผลอโอนเงินไปผิดบัญชี

หลายคนคงเคยใช้มือถือโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารต่างๆ โดยเฉพาะระบบพร้อมเพย์ ที่ใช้เพียงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับได้แล้ว นับว่าสะดวกรวดเร็วกว่าการโอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม หรือ หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร นอกจากไม่เสียเวลารอคิว ยังฟรีค่าธรรมเนียมการโอนอีกด้วย ขอเพียงมีมือถือและอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ทว่าความผิดพลาดในการโอนเงินผ่านแอปฯ ด้วยการกรอกเลขหมายโทรศัพท์ หรือ เลขบัญชีก็สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างเช่นกรณีนี้ ที่ศูนย์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดกำแพงเพชรได้รับร้องเรียนมา        คุณอรวรรณ ได้นำเงินสดจำนวนหนึ่งฝากเข้าบัญชี ธนาคาร A เพื่อที่จะใช้โทรศัพท์มือถือโอนเงินผ่านแอปฯ ไปยังอีกบัญชีหนึ่งซึ่งเป็นของธนาคาร B ขณะที่ใช้แอปฯ โอนเงิน จำนวน 25,500 บาท ด้วยความเร่งรีบ จึงไม่ได้ตรวจทาน ก่อนกดยืนยัน ทำให้เงินจำนวนดังกล่าวถูกโอนเข้าบัญชีคนอื่น เพราะกรอกเลขบัญชีธนาคารสองตัวสุดท้ายผิดไป        เมื่อคุณอรวรรณทราบว่า ตนได้โอนเงินผิดบัญชี ก็รีบเดินทางไปธนาคาร A เพื่อขอความช่วยเหลือทันที เมื่อไปถึงพนักงานธนาคารได้แนะนำให้คุณอรวรรณเดินทางไปยังธนาคาร B เพื่อติดต่อขอข้อมูลเจ้าของบัญชีปลายทางที่โอนผิดไป        เมื่อคุณอรวรรณ เดินทางไปถึงยังธนาคาร B ก็ได้รับแจ้งจากพนักงานของธนาคารว่า ทางธนาคารไม่สามารถให้ข้อมูลลูกค้ากับบุคคลอื่นได้ แต่จะช่วยติดต่อกับเจ้าของบัญชีให้ ขอให้คุณอรวรรณใจเย็นๆ แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถติดต่อได้ จึงต้องส่งเรื่องกลับให้ทางธนาคาร A ดำเนินการตามกระบวนการ        ผ่านไป 60 วัน คุณอรวรรณ ได้รับการติดต่อจากธนาคาร A ว่า ไม่สามารถติดต่อเจ้าของบัญชีได้ ทางธนาคารให้เพียงชื่อที่อยู่และเลขบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ โดยอีก 45 วันต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกหมายจับในคดียักยอกทรัพย์        ผ่านไปหลายเดือน คุณอรวรรณคิดว่าคงไม่ได้เงินคืนเสียแล้ว จนวันหนึ่งได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าจับตัวผู้ต้องหาได้แล้ว และต่อมาศาลได้นัดไกล่เกลี่ย โดยผู้ต้องหาขอให้ญาติเป็นผู้ผ่อนชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืน เดือนละ 500 บาท        อย่างไรก็ตาม หลังการเจรจาไกล่เกลี่ย คุณอรวรรณ ก็ยังไม่มีวี่แววได้รับเงินคืนอีก จึงได้ติดต่อไปยังทนายความของผู้ต้องหาอีกครั้งเพื่อขอความช่วยเหลือ จนผ่านไปอีกกว่าครึ่งปี ญาติผู้ต้องหาจึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาคืนให้ทั้งหมด        นับเป็นเวลาหลายเดือน กว่าที่คุณอรวรรณจะได้เงินทั้งหมดคืน จากความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคจะใช้บริการโอนเงินผ่านมือถือ ก็ขอให้ตรวจสอบชื่อเจ้าของบัญชีให้แน่ใจเสียก่อน ที่จะกดยืนยันการโอนเงิน เพราะการสละเวลาในการตรวจสอบเพียงเล็กน้อย ย่อมดีกว่าเวลาที่อาจเสียไปอีกมาก เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดตามมา ซึ่งกรณีแบบนี้ เกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อย        ทั้งนี้ หากผู้บริโภค เจอเหตุการณ์ที่คล้ายกัน ก็ขอให้รีบดำเนินการตามขั้นตอน ต่อไปนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหา        1.   หากทราบว่าโอนเงินผิด ให้รีบติดต่อเจ้าของบัญชีปลายทางให้โอนเงินคืน (หากสามารถติดต่อได้)        2.   หากติดต่อเจ้าของบัญชีปลายทางไม่ได้ หรือ ถูกปฏิเสธที่จะโอนเงินคืน ให้รีบโทรแจ้งคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารที่ใช้บริการ แจ้งรายละเอียดต่างๆ เช่น วัน เวลา และจำนวนเงินที่โอนผิด ให้ทางธนาคารช่วยอายัดเงินจำนวนดังกล่าวไว้        3.   รีบเดินทางไปยังสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด เพื่อแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน        4.   รอเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทางธนาคารดำเนินการตามขั้นตอน        นอกจากนี้ หากท่านบังเอิญได้รับเงินโอนเข้าบัญชีแบบไม่ทราบที่มา ก็ไม่ควรนำเงินจำนวนนั้นไปใช้ โดยเฉพาะหากเป็นเงินที่เจ้าของโอนผิดเข้ามา เพราะท่านอาจโดนฟ้องในคดียักยอกทรัพย์ได้ หรืออาจเป็นแผนของมิจฉาชีพที่หลอกให้ท่านโอนเงินหรือหลอกถามข้อมูลความลับทางบัญชี เช่น เลขที่บัญชี เลขบัตรเดบิต เลขบัตรเครดิต หรือรหัสผ่าน หากท่านได้รับเงินโอนเข้าบัญชีโดยที่ไม่ทราบที่มา ก็ขอให้ลองติดต่อไปยังคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูล ว่าเงินจำนวนดังกล่าวมาจากไหน        หากผู้บริโภคต้องการขอคำแนะนำหรือร้องเรียน กับ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จังหวัดกำแพงเพชร สามารถติดต่อได้ที่ เฟสบุ๊คแฟนเพจ https://www.facebook.com/consumerthai.kp/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 214 ทวงหนี้โหดร้องเรียนได้แล้วนะ

หลายท่านคงหงุดหงิดรำคาญใจจากการถูกโทรศัพท์ทวงหนี้ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีกฎหมายทวงหนี้ (พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558) ออกมาแล้วก็ตาม ก็ยังมีเจ้าหนี้ทวงถามหนี้แบบข่มขู่คุกคาม และมีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายอยู่ ถ้าเราเป็นหนี้แล้วถูกทวงถามแบบสุภาพชนถือว่าปกติ แต่ผู้ร้องรายนี้ไม่ได้เป็นหนี้และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับลูกหนี้ที่บริษัททวงหนี้โทรมาตามเลย จะทำอย่างไรดี        คุณภูผาร้องเรียนศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคว่า ถูกเจ้าหน้าที่บริษัททวงหนี้แห่งหนึ่งโทรศัพท์มาทวงถามหนี้ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ลูกหนี้ชื่อคุณดวงรัตน์(นามสมมติ) เป็นคนที่คุณภูผาไม่รู้จัก ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ของตัวเอง ซึ่งคุณภูผาก็งงว่าทำไมโทรศัพท์มาทวงที่ตนเอง ดวงรัตน์เป็นใครตนเองไม่ได้รู้จักแม้สักนิด การทวงถามนี้คุณเจ้าหน้าที่ของบริษัทไม่แสดงตนว่าชื่อ-นามสกุลอะไร มาจากบริษัทอะไร เมื่อคุณภูผาขอให้แจ้งข้อมูล ชื่อ-นามสกุล ของพนักงานคนดังกล่าว เขาก็บ่ายเบี่ยงไม่ยอมตอบ ทั้งนี้ยังแสดงวาจาไม่สุภาพ ใช้ถ้อยคำหยาบคาบ และข่มขู่คุกคามอีกด้วย คุณภูผาปฏิเสธว่าไม่รู้จักลูกหนี้คนดังกล่าวและตนเองก็ไม่เคยเป็นหนี้บัตรเครดิตใคร จึงวางสายไป  แต่เจ้าหน้าที่ของบริษัทยังโทรศัพท์มาทวงถามซ้ำๆ อีกหลายครั้ง จนเหนื่อยใจ คุณภูผาจึงตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ที่โทรมาทวงหนี้คือ 02-7912800 จากเว็ปไซด์ www.google.com พบว่าคือเบอร์โทรศัพท์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ไอคอน แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนในการทวงถามหนี้ของธนาคาร แนวทางการแก้ไขปัญหา         เบื้องต้นคุณภูผาได้ทำหนังสือไปยังกรรมการผู้จัดการธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ขอให้แก้ไขพฤติกรรมการทวงหนี้ และแสดงความรับผิดชอบโดยมีหนังสือขอโทษเป็นลายลักษณ์อักษรให้ นอกจากนี้ยังทำหนังสือไปถึงผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ขอให้ดำเนินการกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดตามกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้ เวลาผ่านมาหลายเดือนคุณภูผาไม่ได้รับการติดต่อจากธนาคาร หรือผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเลย จึงปรึกษาศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ว่าควรดำเนินการต่ออย่างไรดีประเด็นนี้การกระทำของบริษัททวงหนี้เข้าข่ายการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 11 (1) ห้ามข่มขู่คุกคาม บทลงโทษอยู่ในมาตรา 41 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ (2) ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้ บทลงโทษอยู่ในมาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   กรุงเทพมหานคร ผู้ร้องสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนได้ที่ สำนักการสอบสวนและนิติกร กรมการปกครอง กองบัญชาการตำรวจนครบาล หรือสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสถานีตำรวจนครบาล สำหรับในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ที่ทำการปกครองจังหวัดทุกจังหวัด ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอและสถานีตำรวจภูธรทุกท้องที่        ผู้ร้องอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ศูนย์พิทักษ์ฯ จึงมีหนังสือไปยังประธานคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำกรุงเทพมหานคร (ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล) ขอให้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัท เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง และมีหนังสือถึงธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อติดตามผลการดำเนินการกรณีคุณภูผา         สถานการณ์ปัจจุบัน จากการที่ตัวแทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ระดับประเทศ พบว่าในแต่ละจังหวัดมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการทวงถามหนี้ค่อนข้างน้อย หรือบางจังหวัดไม่มีเรื่องร้องเรียนเลย ทำให้คณะกรรมการฯ ระดับประเทศเข้าใจว่าลูกหนี้ไม่ถูกละเมิดสิทธิ และบริษัททวงหนี้มีพฤติกรรมการทวงถามหนี้ที่ปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558  ทั้งที่จริงๆ แล้วยังมีลูกหนี้อีกเป็นจำนวนมาก ที่ถูกบริษัททวงถามหนี้ข่มขู่ คุกคาม และมีพฤติกรรมการทวงถามหนี้ที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นจึงขอให้ผู้บริโภคทุกท่านที่พบเห็นหรือถูกทวงหนี้ผิดกฎหมาย ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่แนะนำไว้ข้างต้น เพื่อให้บริษัทที่กระทำผิดกฎหมายถูกลงโทษ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 ฟ้องหนี้บัตรเครดิต

หนี้บัตรเครดิตกลายเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นกรณีร้องเรียนอันดับต้นๆ ของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ครั้งนี้เราขอนำเสนอกรณีศึกษาเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการฟ้องคดีหนี้มาเป็นข้อมูลสำหรับลูกหนี้ที่รักทุกท่าน             เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน คุณประนอมเกิดภาวะธุรกิจขาดทุน ทำให้การผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตกับธนาคารแห่งหนึ่งต้องหยุดชะงักลง เป็นจำนวนเงินที่ค้างชำระหนี้ 50,000 บาท และแม้ว่าจะได้เคยมีการเจรจากันไปครั้งหนึ่ง โดยธนาคารเจ้าของบัตรเสนอคุณประนอมให้จ่ายขั้นต่ำทุกเดือนอย่างน้อยเดือนละ 2,000 บาท แต่คุณประนอมต่อรองเป็น 1,000 บาท ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ยินยอมบอกว่าจำนวน 2,000 บาทนี้ถือว่าต่ำสุดแล้ว เรื่องจึงเป็นอันไม่คืบหน้าไปไหน หนี้ก็ยังเป็นหนี้ต่อไป             ต่อมา ธนาคารได้ส่งข้อความแจ้งว่า ได้ส่งเรื่องของคุณประนอมให้สำนักงานกฎหมายแห่งหนึ่งไปแล้ว คุณประนอมต้องเจรจาทุกอย่างกับสนง.กฎหมายแห่งนั้นเอง ซึ่ง สนง.กฎหมายแห่งนั้นก็ติดตามทวงหนี้กับคุณประนอม อย่างไม่ประนีประนอมเท่าไร เมื่อปฏิเสธการจ่ายไป  สุดท้ายทาง สน.แห่งนั้น แจ้งว่าจะดำเนินการฟ้องคดีกับคุณประนอม จึงกลายมาเป็นเรื่องปรึกษาที่ว่า “ควรทำอย่างไรดี ขณะนี้ตนเองก็มีภาระบ้านซึ่งติดจำนองอยู่” แนวทางการแก้ไขปัญหา            เมื่อนำข้อมูลของคุณประนอมมาพิจารณาพบว่า การชำระหนี้ล่าสุดของคุณประนอมคือ พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี ทำให้เกิดข้อต่อสู้คดีได้ว่า กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าหนี้สามารถฟ้องคดีได้ไม่เกินระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ครั้งสุดท้าย หากเกินกว่า 2 ปี ถือว่าขาดอายุความ            ดังนั้นหาก สนง.กฎหมายซึ่งรับซื้อหนี้จากธนาคารมา จะฟ้องคุณประนอมจริง คุณประนอมจะต้องหาทนายความเพื่อเขียนคำให้การต่อสู้ในเรื่อง อายุความ หากผู้ร้องไม่ให้การเรื่องนี้ จะถือว่าคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้นสมบูรณ์และสามารถชนะคดีจนบังคับคดีได้                กรณีที่หนี้ขาดอายุความ  ลูกหนี้ต้องสู้คดี  ศาลจึงจะสามารถนำมาพิจารณายกฟ้องได้   และหากศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง    หมายความว่าเจ้าหนี้จะฟ้องร้องอีกไม่ได้ จึงจะไม่มีผลทางบังคับคดีอีก              อย่างไรก็ตามเป็นหนี้ก็ควรชำระ ทั้งนี้เพื่อรักษาเครดิตไว้ ต่อไปจะได้สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว เมื่อคุณประนอมมีสถานะทางการเงินดีขึ้น ควรขอเจรจาเพื่อปิดหนี้จำนวนนี้โดยต่อรองเพื่อลดหนี้ลงมาให้อยู่ในกำลังที่สามารถทำได้จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 กระแสต่างแดน

เปลี่ยนแล้วปังปัจจุบันผู้ประกอบการค้าปลีกเสื้อผ้าแฟชั่นเริ่มหันมาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมกันมากขึ้น นี่คือข้อสรุปจากรายงานของ Baptist World Aid Australia ที่สำรวจแบรนด์เสื้อผ้า 407 แบรนด์มีผู้ได้คะแนนสูงสุด (A+) แปดราย แต่ที่น่าสนใจคือแบรนด์ที่เคยได้คะแนน B- เมื่อห้าปีก่อนอย่าง Cotton On สามารถเพิ่มคะแนนจริยธรรมการประกอบการของตนเองขึ้นมาเป็นระดับ A ได้สวยๆ  บริษัทยอมรับว่าผลสำรวจคราวก่อนเป็นแรงผลักดันให้คิดใหม่ทำใหม่ ต้องเพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบ บริษัทแสดงรายชื่อโรงงานกว่า 2,500 แห่งที่ผลิตสินค้าของบริษัทให้ผู้สนใจเข้าดูได้ในเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังให้ทุนสนับสนุนไร่ฝ้ายในเคนยาที่มีการจ้างงานคนท้องถิ่นกว่า 1,500 คน และมีโครงการรับเสื้อผ้าเก่าจากลูกค้ากลับไปรีไซเคิลด้วย  ในขณะเดียวกันรายที่ได้คะแนนต่ำอ้างว่าการสำรวจนี้ให้เวลาน้อยเกินไป ถามคำถามจุกจิก และเกณฑ์ของผู้สำรวจไม่ตรงกับเกณฑ์ที่บริษัทใช้อยู่ อืม...นะ(เผื่อคุณสงสัย... Zara และ H&M ได้คะแนน A- และ B+ ตามลำดับ)  ปิดบัญชีตำรวจเซี่ยงไฮ้กำลังจับตาบัญชีธนาคารที่ไม่มีเงินฝาก เพราะมีแนวโน้มจะเป็นบัญชีที่แก๊งมิจฉาชีพใช้หลอกลวงให้คนโอนเงินผ่านมือถือหรืออินเทอร์เน็ต ล่าสุดเขาสั่งปิดบัญชีแบบนี้ไป 405 บัญชี หน่วยปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์และโทรคมนาคมของเซี่ยงไฮ้ พบว่ามีโทรศัพท์ “น่าสงสัย” วันละไม่ต่ำกว่า 2,000 สาย โดยคนที่โทรมามักแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเป็นผู้ดูแลที่อยู่อาศัยที่ ทางการส่งมา การหลอกลวงรูปแบบนี้แพร่ระบาดมากขึ้น สองปีก่อนตอนที่เริ่มก่อตั้งหน่วยฯ สถิติโทรศัพท์โทรศัพท์หลอกลวงอยู่ที่วันละ 100 สายเท่านั้น นอกจากจะตามปิดบัญชีเปล่าแล้ว หน่วยนี้ยังจัดการอบรมให้กับกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้แก่ผู้สูงอายุ นักศึกษา มหาวิทยาลัย และพนักงานฝ่ายบัญชีของบริษัทต่างๆ ด้วย  “คุณกำลังคิดอะไรอยู่”เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสมีที่อยู่อาศัยที่ดี กฎหมาย Fair Housing Act ของอเมริกาจึงห้ามการโฆษณาขายหรือให้เช่าที่อยู่อาศัยแบบเลือกปฏิบัติตามเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา เพศ ความพิการ หรือสถานะครอบครัว  ล่าสุด กลุ่มผู้รณรงค์ด้านที่อยู่อาศัยร่วมกันฟ้อง facebook ที่ยอมให้มีการเจาะจงเลือกเสนอโฆษณาขายหรือให้เช่าบ้านกับคนบางกลุ่ม ในขณะที่ “ผู้หญิง” และ “ครอบครัวที่มีเด็ก” เสียโอกาสในการมีที่อยู่อาศัยเพราะไม่สามารถมองเห็นโฆษณานั้นได้  องค์กรพัฒนาเอกชน ProPublica เคยทดลองปลอมเป็นตัวแทนขายบ้านและซื้อโฆษณากับ facebook โดยระบุเงื่อนไขว่าไม่ต้องแสดงโฆษณาดังกล่าวกับ คนเชื้อสายยิว ชาวต่างชาติจากอาร์เจนตินา คนที่พูดภาษาสเปน คนที่เคยแสดงความสนใจเรื่องทางลาด และคุณแม่ชาวอัฟริกันอเมริกันที่มีลูกกำลังเรียนมัธยมปลาย สิ่งที่เขาพบคือ facebook ยินดีจัดให้ตามนั้นจริงๆ  จัดก่อนจรการใช้จักรยานร่วมกัน (bike sharing) กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในเยอรมนี ขณะนี้มีผู้ให้บริการไม่ต่ำกว่าสิบบริษัทในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ แน่นอนการเปลี่ยนมาใช้จักรยานเช่านั้นมีข้อดีหลายอย่าง ตามข้อตกลงการใช้ ผู้ขับขี่สามารถจอดจักรยานไว้ตรงไหนก็ได้เพื่อให้คนที่ผ่านมาใช้แอปเปิดล็อกและใช้ต่อได้เลย แต่สิ่งที่เริ่มเป็นปัญหาตอนนี้คือ จักรยานที่จอดเกะกะอยู่ทั่วทั้งเมือง ตั้งแต่กลางทางเท้า เลนจักรยาน หรือแม้แต่ในสวนสาธารณะ เมื่อจำนวนจักรยานดูเหมือนจะมากเกินพื้นที่จอด หลายเมืองในเยอรมนีจึงต้องรีบออกมาจัดระเบียบ เมืองโคโลญกำหนดโซนห้ามจอดจักรยานแล้ว ในขณะที่มิวนิคและแฟรงค์เฟิร์ตจัดพิมพ์คู่มือให้ผู้ประกอบการนำไปใช้กำหนดพื้นที่จอด รวมถึงจำนวนจักรยานที่อนุญาตให้จอดได้ต่อหนึ่งจุดด้วยด้านสมาคมจักรยานก็กำลังเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนพื้นที่จอดรถเป็นพื้นที่จอดจักรยานเสียเลย วนิลาบุกป่าไม่นานมานี้ มาดากัสการ์เบียดเม็กซิโกขึ้นมาเป็นผู้ผลิตวนิลาอันดับหนึ่งของโลก ด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นถึงสิบเท่าในรอบห้าปีที่ผ่านมา(ปัจจุบันกิโลละประมาณ 16,000 บาท) ใครๆ ก็อยากปลูกสิ่งที่เกิดตามมาคือการถางป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกวนิลา และอัตราการเกิดอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การลักขโมยผลผลิต การข่มขู่รีดไถโดยกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่น ไปจนถึงการลงมือทำร้ายหรือสังหาร “ผู้ร้าย” โดยกลุ่มชาวบ้านที่ไม่ต้องการพึ่งพาตำรวจพืชที่ให้กลิ่นรสหอมหวานนี้ยังกลายเป็นสินค้าหลักในการฟอกเงินของขบวนการลักลอบค้าไม้พยูงไปยังประเทศจีนอีกด้วย  ถ้าเหตุการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป เกาะมาดากัสการ์ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกและมีความหลากหลายทางชีวภาพอันน่าทึ่งนี้คงจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 169 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนมีนาคม 2558 ฟ้องไทยพาณิชย์-ธปท. ทวงค่าปรับโดยมิชอบ-ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ อดีตอัยการอาวุโสยื่นฟ้องแพ่งผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ เหตุเรียกค่าปรับทวงถามโดยมิชอบ แถมฟ้องอาญาผู้บริหาร ธปท.ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ชี้แม้เป็นเรื่องเล็กๆ แต่ต้องการให้เป็นคดีตัวอย่างป้องกันประชาชนถูกเอาเปรียบ นายประวิทย์ สิทธิถาวร อดีตอัยการอาวุโส สำนักงานอัยการสูงสุด ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ "มติชน" ว่าได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องธนาคารไทยพาณิชย์ต่อศาลแพ่ง และฟ้องผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต่อศาลอาญา สำหรับสาเหตุที่ยื่นฟ้องว่า สืบเนื่องจากธนาคารได้เปลี่ยนแปลงวงเงินเครดิตและการเบิกถอนเงินสดจากบัตรเครดิตโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า และยังเรียกค่าปรับหรือค่าทวงถามโดยมิชอบไม่เป็นไปตามระเบียบของธปท. จึงฟ้องต่อศาลแพ่งดำเนินคดี บริษัท ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด เพื่อให้เพิกถอนประกาศค่าปรับ, ละเมิด, ผิดสัญญา เรียกค่าเสียหาย พร้อมทั้งได้เรียกค่าชดเชยเป็นเงิน 100,000 บาท ส่วนที่ฟ้อง ธปท. เพราะ ธปท.มีอำนาจหน้าที่กำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ แต่กลับละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะหลังโดนธนาคารไทยพาณิชย์กระทำอย่างไม่ชอบ ได้เข้าร้องเรียนต่อ ธปท.ในฐานะองค์กรกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ขอให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามประกาศ ของ ธปท. ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 กระทั่งล่วงเลยมาจนครบ 60 วัน แต่ไม่มีความคืบหน้า จึงได้ทวงถามถึงเรื่องดังกล่าวอีกครั้งต่อ ธปท. ซึ่งได้รับชี้แจงว่าได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้วและได้กำชับไปถึงสถาบันการ เงินให้ปฏิบัติต่อลูกค้าตามแนวนโยบายและประกาศที่เกี่ยวข้องส่วนการเรียกค่า ธรรมเนียมติดตามทวงถามหนี้ของธนาคารไทยพาณิชย์ธปท.จะตรวจสอบต่อไปและจะพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งตนเห็นว่าการดำเนินการของ ธปท.ไม่ได้เป็นไปตามหน้าที่ที่ควรกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ให้ดำเนินการ ถูกต้องตามประกาศของ ธปท. เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย "ผมถูกเรียกเก็บค่าทวงถามเพียงหลักร้อยบาทเท่านั้น หลายคนอาจยอมจ่ายให้เรื่องจบเพราะเงินเล็กน้อยมาก ถ้าจะดำเนินการฟ้องร้องต้องเสียค่าดำเนินการเป็นหลักหมื่นบาท ต้องเสียเวลา แต่ที่ตัดสินใจฟ้องเพราะอยากให้เป็นคดีตัวอย่าง ไม่อยากให้ธนาคารเอาเปรียบผู้บริโภค คิดง่ายๆ ต่อรอบบัญชี หากมีลูกหนี้บัตรเครดิตถูกเรียกปรับอย่างผมสัก 10,000 คน ธนาคารจะได้รับเงินกินเปล่าถึง 2.5 ล้านบาททีเดียว ส่วนที่ฟ้องผู้บริหาร ธปท.ด้วยเพราะอยากให้ ธปท.คำนึงถึงหน้าที่กำกับดูแลธนาคารให้ดีอย่าให้มาเอาเปรียบประชาชน" นายประวิทย์กล่าว     คนไทยป่วย ไบโพลาร์ เพิ่ม ในงานเสวนาหัวข้อ ‘เปลี่ยนโรค “ทุกข์”เป็น “สุข สมหวัง”ด้วยใจเหนือคน’ นพ.จิตริน ใจดี จิตแพทย์แห่งศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึงโรคไบโพลาร์ ว่า ไม่ใช่อาการโรคจิตหรือโรคจิตเภท แต่เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ สาเหตุหลักเกิดจากกรรมพันธุ์-สารเคมีในสมองไม่สมดุล ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ 1-2 % ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 700,000-1,500,000 คน ในทางจิตเวช สามารถแบ่งโรคต่างๆ ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ได้แก่  กลุ่มที่ 1 มีความผิดปกติทางความคิดเช่น หลงผิด หวาดระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน กลุ่มนี้จัดว่าเป็นโรคจิตเภท (Schizophre-nia) หรือที่เรียกว่า “โรคจิต” ซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับไบโพลาร์ กลุ่มที่ 2 มีความผิดปกติทางอารมณ์ จะมี 2 โรค คือซึมเศร้า กับไบโพลาร์ กลุ่มที่ 3 โรคเกี่ยวกับความวิตกกังวล เช่น ตื่นตระหนก (โรคแพนิก,Panic) กลัวที่สูง กลัวที่แคบ ย้ำคิด ย้ำทำ กลุ่มที่ 4 โรคที่เกิดจากสารเสพติด ส่วนสาเหตุของโรค นพ.จิตริน กล่าวว่า ในปัจจุบันยังไม่มีผลการวิจัยที่ระบุชัดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สาเหตุหลักๆ มี 2 ปัจจัยคือ 1.กรรมพันธุ์ หากพบว่าพ่อแม่ รวมถึงปู่ย่าตายายเป็นโรคนี้ ลูกหลานก็มีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย และ 2.สารเคมีในสมองไม่สมดุล คือสิ่งที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด เปลี่ยนแปลงไม่ได้ คือ สมองของคนที่เป็นไบโพลาร์จะโปรแกรมไว้ตั้งแต่ต้นหรือตั้งแต่เกิด โดยปัจจุบันมีคนไทยป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ 1-2 % ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 700,000-1,500,000 คน ขณะที่ 5% ของประชากรทั่วโลกกำลังป่วยเป็นโรคดังกล่าว   เราอ่านและซื้อหนังสือกันน้อยลงทุกปี ระยะเวลาของคนไทย(ที่มีอายุ 15 -69 ปี) ใช้เวลาในการอ่านหนังสือเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 28 นาที  ลดลงจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2556 ที่พบผู้อ่านหนังสือเฉลี่ย 37 นาทีต่อวัน เหตุเวลาว่างของคนไทย ถูกใช้ไปกับอินเตอร์เน็ตมากกว่าการอ่านหนังสือมาก สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่าย หนังสือฯ จับมือคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เผยผลสำรวจพฤติกรรมการอ่าน และซื้อหนังสือของคนไทย(ที่มีอายุ 15 -69 ปี) พบมีกลุ่มที่อ่านหนังสือเป็นประจำเพียง 40%  ที่เหลือ 20% อ่านบ้าง อีก 39.7% ไม่อ่านหนังสือเลย วัยรุ่นหรือคนอายุต่ำกว่า 20 ปี  ใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตมากที่สุดเกือบ 4 ชั่วโมง    โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 2 ใน 5 ยอมรับการใช้อินเตอร์เน็ตมีผลให้อ่านหนังสือเล่มน้อยลง ระบุอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษน้อยเพราะส่วนใหญ่หันไปอ่านเว็บข่าวและเว็บรวบรวมข่าวแทน สำหรับการซื้อหนังสือ ดร.มิ่งมานัส ศิวรักษ์ กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์ กล่าวว่า คนไทยจะซื้อหนังสือเฉลี่ยปีละ 4 เล่ม โดยคนกลุ่มที่ซื้อหนังสือมากที่สุด คือคนที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ซื้อเฉลี่ยปีละ 9 เล่ม รองลงมาคือ คนที่อายุ 21-30 ปี ซื้อเฉลี่ยปีละ6 เล่ม และค่อยๆลดจำนวนลงในคนที่มีอายุมากขึ้น  จนกระทั่งคนที่มีอายุมากกว่า 61 ปี ขึ้นไปจะกลับมาซื้อเพิ่มเป็นเฉลี่ย 4 เล่มต่อปี “หากหนังสือที่เกิดการซื้อได้รับการอ่านครบทุกเล่มก็ยังถือได้ว่า การอ่านของคนไทยเมื่อนับเป็นจำนวนเล่มอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และเป็นที่น่าสนใจว่าเด็กไทยอ่านหนังสือปีละ 9 เล่มนั้น จำนวน 4 เล่มเป็นการ์ตูน นิยายภาพ และอีก 3 เล่มเป็นคู่มือเตรียมสอบ”   โปรดเกล้าฯ แล้ว พ.ร.บ.ทวงหนี้ ฉบับใหม่ "ใช้ความรุนแรง- ข่มขู่- กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายชื่อเสียงทรัพย์สิน ลูกหนี้หรือผู้อื่น" แอบอ้างคำสั่ง "ศาล" โทษหนัก จำคุกไม่เกิน5 ปี ปรับห้าแสน เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวประกอบธุรกิจโดนด้วย ในการทวงถามหนี้ กฎหมายระบุว่า บุคคลใดจะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงบุคคลซึ่งจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถาม หนี้ตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ มีดังต่อไปนี้ (1) การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น (2) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น (3) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ (4) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้า หนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (5) การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้ เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบ ธุรกิจทวงถามหนี้ (6) การทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดความใน (5) มิให้นำมาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อ ศาล และในกฎหมายยังห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดดังต่อไปนี้ (1) การแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ (2) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความสำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย (3) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน (4) การติดต่อหรือการแสดงตนให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิตหรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต หรือกระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม คือ (1) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (2) การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทั้งนี้ ระวางโทษ จำคุกสูงถึงห้าปี หรือ ปรับสูงสุดห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคม 255410 มีนาคม 2554ขอระงับใช้มือถือชั่วคราว ต้องไม่เสียเงินสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยข้อมูล พบผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ขอระงับการใช้บริการชั่วคราว ยังคงถูกเรียกเก็บเงินค่ารักษาเลขหมายโดยไม่เป็นธรรม ทั้งที่ตามมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 25 ระบุไว้ว่า ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในการระงับใช้บริการชั่วคราวได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า 3 วัน โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราว ที่สำคัญคือ บริษัทไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่าย เพียงแต่ให้มีการระงับการให้บริการไปจนครบกำหนดตามเงื่อนไข เมื่อครบกำหนดแล้วบริษัทผู้ให้บริการจึงค่อยกลับมาเปิดให้บริการและคิดค่าบริการตามปกติ  จากการตรวจสอบข้อมูลของ สบท. พบว่า ในทางปฏิบัติ มีเพียงผู้ให้บริการรายเดียวที่เปิดให้ผู้บริโภคสามารถระงับบริการชั่วคราวได้ 2 ปี โดยไม่คิดค่าบริการใน 30 วันแรก หลังจากนั้นจะคิดค่ารักษาเลขหมายเดือนละ 60 บาท ขณะที่ผู้ให้บริการที่เหลือไม่ได้ให้สิทธิผู้บริโภคในการระงับบริการชั่วคราวตามกฎหมาย หากมีการระงับบริการชั่วคราวต้องจ่ายค่าบริการตามปกติ หรือสมัครใช้โปรโมชั่นที่ราคาต่ำสุด หรือ บางรายที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านและมีบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ให้สิทธิในการระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านได้ แต่ต้องจ่ายค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ และกรณีสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ด้วย ไม่สามารถระงับการใช้บริการชั่วคราวได้ต้องยกเลิกบริการเท่านั้น -------------------     19 มีนาคม 2554สคบ. เดินหน้า 6 นโยบายเชิงรุกเพื่อผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เตรียมผลักดันการดำเนินงานนโยบายการทำงานเชิงรุก 6 ข้อ เน้นที่ตรวจสอบเฝ้าระวังสื่อโฆษณาทุกช่องทาง ควบคู่กับการสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภค พร้อมประเดิมลงดาบกับบรรดาธุรกิจขายตรงที่ไม่มีความเคลื่อนไหว ซึ่งธุรกิจประเภทนี้มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น หวั่นเป็นการตั้งบริษัทแบบไม่โปร่งใส โดยนโยบายเชิงรุกในการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มความรู้ในงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 6 ข้อมีดังนี้  1. รายงานผลการ ดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกเดือน 2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่พนักงานข้าราชการสคบ.ประจำจังหวัด จำนวน 150 อัตรา เพื่อให้การทำงานมีความต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันการทำงานเพื่อรับเรื่องร้องเรียนในต่างจังหวัดนั้น จะมีพนักงานลูกค้าอยู่ประจำ 2 คน ทำให้มีการลาออกจากตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เห็นความก้าวหน้าในอาชีพ ซึ่งทาง สคบ.ได้ยื่นเรื่องเพื่อขออัตราตำแหน่ง เป็นกรณียกเว้น ตามมติครม. ที่มีคำสั่งไม่ให้เพิ่มจำนวนข้าราชการ 3. แต่งตั้งกองงานสำนักงานเพื่อดูแลธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะ 4. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น 5. มอบตราสัญลักษณ์ธุรกิจติดดาว เพื่อยกมาตรฐาน สินค้าและบริการให้กับธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบ้านจัดสรร ร้านค้าทอง วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการร่วมรับผิดชอบในการยกระดับมาตรฐานสินค้า และบริการ 6. เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบโฆษณาเกินจริง โดยเฉพาะสื่อโฆษณาเคเบิลทีวีเนื่องจากที่ผ่านมาสคบ. ได้รับร้องเรียนจากผู้บริโภคถึงการอวดอ้าง สรรพคุณสินค้าและบริการที่เกินจริง ซึ่ง มีสินค้าและบริการที่เข้าข่ายอยู่ 4 กลุ่ม คือ เครื่องสำอาง เสริมอาหาร ยา และการพยากรณ์โชคชะตา การใบ้หวย----------------------------------------     21 มีนาคม 2554ห้าม! ธนาคารพาณิชย์จัดชิงโชคเรียกคนออมเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกกฎเหล็กห้ามธนาคารพาณิชย์จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดด้วยวิธีการชิงโชคแจกรางวัลเพื่อหวังจะระดมเงินฝากจากลูกค้า เพราะบางครั้งการโฆษณาให้ฝากเงินเพื่อร่วมชิงโชคนั้น ทางธนาคารให้ข้อมูลที่ซับซ้อนและไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์มีการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่หลากหลาย เรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการแจกของรางวัลในการระดมเงินฝาก ดูเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม หากธนาคารต้องการกระตุ้นการฝากเงินจากผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ ควรใช้วิธีการเพิ่มดอกเบี้ยเงิน ซึ่งเป็นวิธีที่จริงใจตรงไปตรงมา และตัวผู้บริโภคเองก็ได้รับประโยชน์มากที่สุด-------------------------------------------------------------   22 มีนาคม 2554หมวกกันน็อคไม่ได้คุณภาพกองบังคับการปราบปราม การกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริดภค (บก.ปคบ.) ได้ตรวจยึดสินค้าและจับกุมผู้ผลิต หมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อคสำหรับเด็กยี่ห้อ GUARDNER กว่า 1 พันใบ หลังจากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ยืนยันจากผลการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญจากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) แม้จะมีตรา มอก.ติดอยู่แต่ตัวหมวกนั้นดูเปราะบางกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งในปีนี้ทางภาครัฐได้ประกาศรณรงค์ให้เป็นปีส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อค 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเฉพาะกับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต ได้แก่ เด็ก เยาวชน และผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้ต่ำและขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการใช้หมวกนิรภัย กองบังคับการปราบปราม การกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริดภค (บก.ปคบ.) จึงได้จัดทำโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย ไปกับหมวกนิรภัย มอก.” โดยได้มีการลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนควบคู่กับการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าประเภทหมวกนิรภัย  สำหรับที่พบเจอหรือสงสัยว่าสินค้าที่ซื้อมาไม่ได้มาตรฐาน สามารถแจ้งมายังเจ้าหน้าที่ บก.ปคบ.ได้ที่หมายเลข 1135    ฉลากขนมแบบสัญญาณไฟจราจร คำตอบที่ใช่ของสุขภาพเด็กไทยเครือข่ายผู้บริโภคเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีสาธารณสุข เพื่อขอให้ทบทวนการอนุมัติการใช้ฉลากขนมแบบ GDA เพราะยังเข้าใจยาก ไม่ได้บอกถึงข้อดีข้อเสียของขนมชนิดนั้นๆ อย่างตรงไปตรง พร้อมเสนอให้ใช้ฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรซึ่งให้ข้อมูลต่างๆ ที่ดูเข้าใจง่ายกว่า ฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรจะแสดงปริมาณสารอาหารทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ พลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม ในรูปแบบของสีสัญญาณไฟจราจร 3 สี คือ สีเขียว หมายถึง สารอาหารดังกล่าวมีปริมาณน้อย สีเหลือง เท่ากับมีพอสมควรหรือปานกลาง ส่วนสีแดงหมายถึงมีมาก ทานเยอะไม่ดี ซึ่งฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรจะช่วยให้เด็กๆ และรวมถึงพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง เข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว รู้ได้ทันทีว่าขนมที่ซื้อมาให้พลังงานหรือมีไขมัน น้ำตาล โซเดียม มากน้อยเพียงใด ช่วยทำให้การควบคุมการทานขนมให้เหมาะสมกับสุขภาพเป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่ง พลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม แม้จะเป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย แต่หากได้รับมากเกินไปก็เป็นอันตราย ทำให้เด็กเป็นโรคอ้วน ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคร้ายแรงอย่าง เบาหวาน หัวใจ ความดัน  ส่วนฉลากขนมแบบ GDA จะแสดงเพียงตัวเลขปริมาณของสารอาหารและเปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ควรทานต่อวัน มีสีเดียว ทำให้เห็นฉลากนี้ชัดเจนน้อยกว่าฉลากแบบอื่น จนบางครั้งกลืนไปกับบรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการจึงมักใช้ฉลากแบบ GDA ที่มีสีเดียวเพื่อหลบเลี่ยงความสนใจจากผู้บริโภคในค่าสารอาหารที่ไม่มีประโยชน์แต่มีมากจนทำลายสุขภาพ  ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ให้ใช้มาตรการลักษณะสีสัญญาณพร้อมคำเตือนในอาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาล หรือโซเดียม หากคณะกรรมการอาหารเห็นชอบให้ใช้ฉลากจีดีเอสีเดียว ก็ถือว่าขัดกับมติ ครม.อย่างชัดเจน  ...ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเรามีความจริงใจและห่วงใยสุขภาพเด็กๆ จริงๆ ก็คงไม่ต้องบอกว่าฉลากขนมแบบไหนที่ควรใช้มากกว่ากัน...--------------     “3 ระวัง! เพื่อรถโดยสารปลอดภัย”ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิเพื่อผู้บริโภค พร้อมอาสาสมัครผู้บริโภคจากเครือข่ายผู้บริโภค 24 จังหวัด จัดกิจกรรมเนื่องในวันสงกรานต์ “3 ระวัง! เพื่อรถโดยสารปลอดภัย” เชิญชวนประชาชนผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการรถโดยสาร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันป้องกันภัยอันตรายจากการใช้บริการรถโดยสารที่ไม่เหมาะสม 1.ระวัง! รถผี รถเถื่อน เพราะช่วงเทศกาลเป็นช่วงที่มีคนต้องการเดินทางออกต่างจังหวัดกันเป็นจำนวนมาก แม้จะมีการจัดหารถโดยสารมาเสริมเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พอกับความต้องการ ทำให้เกิดการให้บริการรถโดยสารผิดกฎหมายหรือที่เรียกว่า “รถผี รถเถื่อน” รถประเภทนี้จะไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเดินรถที่ บขส. ได้กำหนดไว้ มีการเรียกเก็บค่าโดยสารที่แพงเกินกำหนด เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้งมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และเมื่อเกิดเหตุร้ายกับผู้โดยสารแล้ว มักจะหาผู้รับผิดชอบได้ยาก เราจึงไม่ควรเลือกใช้บริการพวก “รถผี รถเถื่อน” บขส.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้มงวดกวดขันเฝ้าระวังมิให้ผู้ใดมาชักชวนประชาชนไปใช้บริการรถโดยสารที่ผิดกฎหมายได้  2.ระวัง! ขับอันตราย สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารส่วนใหญ่เกิดจากพนักงานขับรถขับรถด้วยความประมาท หรือร่างกายหย่อนความสามารถ ไม่พร้อม การแก้ไขปัญหา ผู้ประกอบการทั้ง บขส.และรถร่วมทุกบริษัท ต้องกำชับให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามระเบียบและคู่มือการเดินรถของ บขส. อย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด  3.ระวัง! ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย รถโดยสารสาธารณะโดยเฉพาะรถประจำทางปรับอากาศที่เดินทางระหว่างจังหวัดหรือข้ามจังหวัด ควรจัดให้มีเข็มขัดนิรภัยแก่ผู้โดยสารทุกที่นั่ง และควรให้พนักงานประจำรถแนะนำผู้โดยสารให้ใช้เข็มขัดนิรภัยทุกคน การที่ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัยหากรถเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะทำให้ร่างกายของผู้โดยสารไม่หลุดจากที่นั่งไปชนกระแทกกับผู้โดยสารคนอื่นหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ ในรถได้ ซึ่งช่วยลดความสูญเสียที่เกิดจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้เป็นอย่างดี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 116 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์ กันยายน 2553 5 กันยายน 2553 “คอนแท็กเลนส์” ขึ้นทะเบียนสินค้าควบคุม ต้องมีฉลาก+คำเตือนกระทรวงสาธารณสุข ประกาศควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยผู้ใช้คอนแทคเลนส์ โดยกำหนดให้คอนแทคเลนส์เป็นเครื่องมือแพทย์ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องมีฉลากภาษาไทย แสดงชื่อคอนแทคเลนส์ วัสดุที่ใช้ทำ คุณสมบัติของเลนส์ เช่น กำลังหักเห รัศมีความโค้ง บอกชื่อของสารละลายที่ใช้แช่เลนส์ ระยะเวลาการใช้งาน ส่วนคอนแทคเลนส์ที่ไม่กำหนดระยะเวลาการใช้งาน ให้ระบุวันหมดอายุ เลขที่ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ในกรณีที่นำเข้าให้แสดงชื่อผู้ผลิต เมืองและประเทศผู้ผลิตด้วย   พร้อมทั้งต้องแสดงข้อห้ามการใช้ เช่น ห้ามใส่คอนแทคเลนส์นานเกินระยะเวลาที่กำหนด ห้ามใช้ร่วมกับบุคคลอื่น ห้ามใส่คอนแทคเลนส์ทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้ว่าจะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม รวมถึงข้อความควรระวัง ผู้ที่ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ และระบุข้อปฏิบัติหากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาอย่างมากร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัว น้ำตาไหลมาก หรือตาแดง ให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ทันทีและรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว -------------------------------------------------- 13 กันยายน 2553 ตรวจ “ผลไม้รถเข็น” พบสารพิษเพียบ!!!คนที่ชอบซื้อผลไม้จากรถเข็นมาทานต้องระวัง!!! เมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยข้อมูลผลทดสอบความไม่ปลอดภัยในผลไม้รถเข็นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งพบว่า ผลไม้153 ตัวอย่างปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์มหรือเชื้อจุลินทรีย์เกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดถึง 67.3% นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของสีสังเคราะห์ ในตัวอย่างผลไม้ 161 ตัวอย่าง และพบการปนเปื้อนของสารกันรา (ซาลิซิลิค) ส่วนผลไม้แปรรูปจำพวกของดอง พบการปนเปื้อนหรือเจือปนของสารเคมี และสารปนเปื้อนของสารกันรา ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย โดยเฉพาะ ฝรั่งดองบ๊วยที่มีสีเขียวเข้ม และสีแดงเข้มจนม่วง   นอกจากนี้ในการลงพื้นที่แหล่งผลิตและกระจายผลไม้ 5 แห่งได้แก่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ซอยลูกหลวง 7 (ข้างวัดญาณ) ชุมชนริมทางรถไฟยมราช พบพฤติกรรมผู้ผลิตและจำหน่าย ใช้วัสดุ วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะและมีการเติมสารเคมีจำพวกสารกันรา และสีสังเคราะห์ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง คลื่นไส้อาเจียน และอาจก่อให้เกิดมะเร็ง รวมทั้งทำให้ร่างกายอ่อนแอขาดความต้านทานโรคจนถึงแก่ชีวิตได้----------------------------------------------------------------------- 24 กันยายน 2553“ดื่มแล้วไม่ฉลาด” อย.เตือน!!! อย่าเชื่ออาหารโม้สรรพคุณคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ออกโรงเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาสรรพคุณของสารอาหารที่อ้างว่าทำให้ฉลาดขึ้น ซึ่งการโฆษณาที่ไม่ระบุสรรพคุณ คุณประโยชน์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก อย.จากนั้นผู้ประกอบการจะออกโฆษณาชุดใหม่เพื่อบอกว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีสารอาหารดังกล่าว เช่น มีวิตามินบี 12 โดยมุ่งหมายให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าถ้ากินผลิตภัณฑ์ของตนก็จะได้วิตามินบี 12 ก็จะทำให้ฉลาดเกิดความคิดดีๆ ซึ่งวิธีโฆษณาแบบนี้เป็นวิธีที่ขาดจริยธรรม-------------------------------------------------- 28 กันยายน 2553กทม. ใส่ใจผู้บริโภค เตรียมส่งเสริมความรู้สิทธิ 5 ประการกรุงเทพมหานคร เตรียมออกแผนการดำเนินงาน ในการดูแลและคุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการ ประกอบด้วย 1.สิทธิในการรับข่าวสาร/คำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 2.สิทธิในการเลือกสินค้าหรือบริการ 3.สิทธิที่ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4.สิทธิที่ได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และ 5.สิทธิที่ได้รับพิจารณาและชดเชยความเสียหายจากการบริโภคสินค้า ซึ่งทางกรุงเทพมหานครมีสำนักงานเขต และสำนักอนามัย เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน โดยมีชมรมคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต คอยสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ป้องกันผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองตามสิทธิสูงสุด-------------------------------------------------- บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรีทั่วประเทศกระทรวงสาธารณสุขประเกศดีเดย์ 1 ต.ค.นี้ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรีได้ทั่วประเทศ หลังจากเตรียมความพร้อมมากว่า 6 เดือน โดยประชาชน 48 ล้านคนที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ ผ่านระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ออนไลน์ระหว่างหน่วยบริการกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ส่วนสถานีอนามัยและโรงพยาบาลตำบลที่อยู่ห่างไกลและไม่มีระบบคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต เจ้าหน้าที่จะสำเนาฐานข้อมูลรายชื่อจากส่วนกลางและปรับให้ทันสมัยทุกเดือน สำหรับใครที่ยังไม่ได้รับบัตรประชาชน สามารถใช้บัตรอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และรูปถ่าย ส่วนคนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีซึ่งยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านแทนได้ ซึ่งสิทธิการรักษาฟรีนี้ครอบคลุมเกือบครบทุกโรค ทั้งบริการทำฟัน การตรวจสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพหลังเจ็บป่วยในรายการที่เหมาะสม เช่นโรคเอดส์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต ถ้าจำเป็นสามารถผ่าตัดเปลี่ยนไต ล้างไต และมีบริการส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้านฟรี ยกเว้นการล้างไตผ่านเครื่อง มีค่าใช้จ่ายครั้งละ 1,500 บาท รัฐจ่ายให้ 1,000 บาท ผู้ป่วยร่วมจ่ายเพิ่มเพียง 500 บาท แต่ไม่ได้ครอบคลุมการผ่าตัดตกแต่ง การปลูกถ่ายตับ ปอด และหัวใจ ซึ่งมีราคาสูง-------------------------------------------------- ปรับลดค่าธรรมเนียมธนาคารการทำธุรกรรมข้ามเขต ธนาคารแห่งประเทศไทยมีมติร่วมกับธนาคารพาณิชย์เรื่องการปรับลดค่าธรรมเนียม ในการทำธุรกรรมทางการเงินข้ามเขตทั้งการถอนเงินโอนเงิน เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันทันสมัยขึ้น สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ด้วยระบบออนไลน์ซึ่งทำให้ต้นทุนลดลงไปมาก ซึ่งค่าธรรมเนียมใหม่ที่ออกมามีดังนี้ 1.อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ของการโอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต จากหมื่นละ 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท บวกค่าบริการ 20 บาท เป็นโอนฟรีครั้งแรกส่วนครั้งต่อไปคิดไม่เกิน 15 บาท   2.การถอนเงินในธนาคารเดียวกันข้ามเขต ปัจจุบันธนาคารพานิชย์ส่วนใหญ่คิดหมื่นละ 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท บวกค่าบริการ 20 บาท เป็นไม่เกิน 15 บาทต่อรายการ 3.การถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต ปัจจุบันคิดหมื่นละ 10 บาท ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 20 – 25 บาท ครั้งที่ 5 ขึ้นไปใน 1 เดือน คิดเพิ่ม 5 บาท ปรับเป็นไม่เกิน 20 บาทต่อรายการ 4.การถอนเงินและถามยอดผ่านตู้ ATM ต่างธนาคารในจังหวัดเดียวกัน ปัจจุบันถอนและสอบถามยอดในเขตกรุงเทพฯ ใช้ฟรี 4 ครั้งต่อเดือน ครั้งที่ 5 คิดครั้งละ 5 บาท ต่างจังหวัดคิดค่าธรรมเนียม 20 – 25 บาทต่อครั้ง ครั้งที่ 5 ขึ้นไปคิดเพิ่ม 5 บาท เป็นให้ใช้บริการฟรี 4 ครั้งต่อเดือน ครั้งที่ 5 ขึ้นไปคิดไม่เกิน 10 บาท ซึ่งค่าธรรมเนียมใหม่นี้จะเริ่มใช้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมครั้งนี้จะช่วยเหลือประชาชนรายย่อยหรือคนที่ไม่ได้มีธุระต้องทำธุรกรรมทางการเงินเป็นประจำ เช่นการโอนเงินที่ให้ฟรีได้ 1 ครั้งในแต่ละเดือน แต่ที่น่าจะส่งผลกับคนที่ถอนเงินบ่อยตรงที่การปรับค่าธรรมเนียมการถอนเงินผ่านตู้ ATM ต่างธนาคาร จากที่เสีย 5 บาท ในครั้งที่ 5 ของเดือน สำหรับตู้ ATM ในจังหวัดเดียวกัน ส่วนตู้ในต่างจังหวัดคิด 20 - 25 บาท ปรับเป็น 10 บาท ราคาเดียวทั่วประเทศ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 “อยากปิดบัญชีหนี้ ต้องมีเอกสารยืนยัน”

เมื่อมีการเจรจาปิดบัญชีหนี้ หากไม่อยากถูกเจ้าหนี้หลอกให้ชำระหนี้บางส่วน ลูกหนี้ต้องเรียกร้องขอเอกสารยืนยันที่ชัดเจน เพราะสามารถใช้ยืนยันทางกฎหมายได้นี่เป็นกรณีตัวอย่างของการรักษาสิทธิของตัวเอง ด้วยการเรียกร้องขอเอกสารยืนยันการเจรจาปิดบัญชีหนี้ก่อนชำระเงิน ซึ่งกว่าจะได้เอกสารก็ล่วงเลยกำหนดการชำระไปแล้ว ทำให้ผู้ร้องต้องกลายเป็นคนผิดนัดการชำระหนี้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำผิดอะไรผู้ร้องเป็นหนี้บัตรเครดิต ของธนาคาร กรุงศรีอยุธยาจำกัด จำนวนกว่า 90,000 บาท บริษัทฯ จึงนัดเจรจา เพื่อให้เข้าโปรแกรมส่วนลดหนี้เหลือเป็น 50,000 บาท โดยมีเงื่อนไขให้ชำระภายใน 5 วันถัดมานับจากวันที่มีการเจรจา ซึ่งหากไม่ชำระจะถือว่าการเจรจาส่วนลดนี้เป็นอันยกเลิก เมื่อมีเงื่อนไขแบบนี้ ผู้ร้องจึงยินดีตอบตกลง และเร่งหาเงินมาให้ครบตามจำนวนที่ได้ส่วนลดไว้ เพียงต้องการเอกสารการยืนยันที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทฯ ก่อนการชำระหนี้นั้น อย่างไรก็ตามบริษัทฯ กลับแจ้งว่าสามารถชำระได้เลย โดยจะส่งเอกสารตามไปทีหลังแน่นอนว่าผู้ร้องไม่ยอมทำตามด้วยการไปชำระหนี้ก่อน ยังคงยืนยันที่จะรอเอกสารยืนยัน เพราะต้องการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ จนในที่สุดเอกสารก็ส่งมา แต่กลับส่งเลยกำหนดการชำระหนี้ที่เคยตกลงกันไว้ จนทำให้ผู้ร้องตกอยู่ในสถานะผิดนัดชำระหนี้ และทำให้การเจรจาดังกล่าวถูกยกเลิกเมื่อเหตุการณ์กลายเป็นอย่างนี้ ผู้ร้องจึงต้องการให้บริษัทฯ แก้ไขความผิดพลาดดังกล่าว ที่ทำให้การเจรจาปิดบัญชีหนี้นั้นต้องสูญเปล่า จึงมาร้องเรียนเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหา ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องทำหนังสือทักท้วงไปที่บริษัทฯ โดยระบุสาเหตุที่ผู้ร้องไม่ชำระหนี้ว่า เป็นเพราะบริษัทฯ ทำเอกสารส่งมาให้ผู้ร้องล่าช้า และเลยวันที่กำหนดชำระหนี้ไปแล้ว ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่ถือว่าเป็นคนผิดสัญญาการชำระหนี้ดังกล่าว ทั้งนี้ระหว่างที่รอบริษัทฯ ส่งเอกสารที่แก้ไขแล้วมาให้ใหม่ ผู้ร้องยังไม่ต้องชำระหนี้นั้นหลังจากบริษัทฯ ได้รับเรื่องก็ยินยอมที่จะแก้ไขวันที่ในเอกสารให้ใหม่ เป็นวันที่ปัจจุบันและขยายกรอบเวลาออกไป ด้านผู้ร้องเมื่อได้รับเอกสารยืนยันที่ชัดเจนแล้ว ก็ดำเนินการชำระหนี้เสร็จสิ้นเรียบร้อยทั้งนี้สำหรับเอกสารยืนยันการปิดบัญชีหนี้ สามารถถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งหากมีการเจรจาปิดบัญชีหนี้ต้องมีเอกสารยืนยันเสมอ เพราะหากเราไม่มีเอกสารยืนยัน ก็อาจกลายเป็นว่าเราถูกเจ้าหนี้หลอกให้เราชำระหนี้เพียงบางส่วนได้ และเราก็ยังคงต้องชำระเงินเต็มจำนวนเช่นเดิม หรือกรณีที่แย่ไปกว่านั้นคือ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อความบางอย่างในเอกสาร จนทำให้การเจรจาปิดบัญชีหนี้ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้อย่างไรก็ตามเอกสารยืนยันการชำระหนี้ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน แต่ควรมีคำสำคัญดังต่อไปนี้ จึงจะถือว่าเป็นเอกสารที่สามารถมีผลใช้ยืนยันทางกฎหมายได้1. เลขที่สัญญา หรือ เลขที่บัญชีหนี้2. จำนวนเงินที่เป็นหนี้3. จำนวนเงินที่ตกลงกันเพื่อปิดบัญชีหนี้4. ข้อความที่ระบุว่า “หากลูกหนี้ชำระแล้ว จะถือว่าท่านชำระหนี้เสร็จสิ้น ไม่มีหนี้ค้างอยู่กับบริษัท”5. ลายเซ็นผู้มีอำนาจของบริษัทในการอนุมัติปิดบัญชีหนี้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 คนกันเองยิ่งต้องระวัง

 หลังเทศกาลสงกรานต์หมาดๆ   น้องวดี ตื่นตระหนกพบว่า เงินในบัญชีธนาคารที่มีสัญลักษณ์ใบโพธิ์  สาขาหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ของตน ได้ล่องหนโดยไม่ทราบสาเหตุมากถึง 35,000 บาท  สำหรับเด็กอายุเพียง 20 ปีมันเป็นเรื่องใหญ่มาก น้องรีบไปแจ้งความต่อสถานีตำรวจเจ้าของพื้นที่ แล้วก็ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อ เพราะตำรวจไม่ได้บอกความคืบหน้าใดๆ  แม่ยาคุณแม่ของน้องวดีความร้อนใจมาก จึงโทรมาขอคำปรึกษาศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อให้ช่วยติดตามหาความจริงวันต่อมา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ให้ผู้ร้องดำเนินการนำใบแจ้งความยื่นขอตรวจสอบจากธนาคาร จึงพบว่ามีการใช้บัตรเอทีเอ็ม กดเงินที่ตู้เอทีเอ็มหน้าตลาดธานินทร์ เชียงใหม่ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรก 15,000 บาทและครั้งที่สองอีก 20,000 บาท  ซึ่งตู้เอทีเอ็มตั้งอยู่บริเวณใกล้บ้านเสียด้วย  เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าว  แม่ยาจึงได้ลองสอบถามผู้อาศัยในบ้านของตนเอง(สอบเค้น)  จนมาทราบในเวลาต่อมาว่า ผู้พักอาศัยภายในบ้านหรือคนใกล้ตัวนี่แหละ เป็นผู้นำบัตรเอทีเอ็มไปกดเงินสด 35,000 บาท    แม่ยาได้แจ้งต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ไม่ติดใจที่ดำเนินการต่อแล้ว เพราะยังไงก็เป็นญาติกัน แนวทางแก้ไข  หากกรณีที่มีเงินในบัญชีธนาคารหายไป ผู้บริโภคต้องปฏิบัติดังนี้ 1. รีบดำเนินการแจ้งคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารเจ้าของบัตร เพื่ออายัดการทำธุรกรรมต่างๆ 2. แจ้งความดำเนินคดีต่อสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ เพื่อดำเนินการหาผู้กระทำความผิดและเป็นหลักฐาน 3. ทำหนังสือหรือจดหมายถึงธนาคารฯ เพื่อตรวจสอบว่าเงินหายไปได้อย่างไร เช่น มีผู้อื่นนำบัตรเอทีเอ็มไปกดเงิน เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 161 เบื่อไหม ขายพ่วง

เดี๋ยวหากผู้บริโภค อย่างเราๆ เริ่มมีทางเลือกมากมาย แค่ไปเปิดบัญชีในธนาคาร   อันดับแรกของการเปิดบัญชีคือคำถามจากเจ้าหน้าที่ธนาคาร  ว่า “ทำบัตร ATM  ด้วยมั้ยคะ”  ถ้าคุณตอบว่าทำ คำถามต่อไปคือ “จะทำแบบไหนดีคะ  จะทำแบบบัตร ATM อย่างเดียว   หรือทำประกันด้วย” หากทำบัตรATM  อย่างเดียวโดยไม่ซื้อพ่วงประกันคุณจะกดเงินในบัญชีของคุณได้ 50,000 บาทต่อวัน   แต่หากซื้อประกันพ่วงด้วย  นอกจากความคุ้มครองตามวงเงินเอาประกันที่มีให้เลือกแบบหลากหลายแล้ว     ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นคือ      คุณจะสามารถ กดเงินในบัญชีของคุณเองได้มากกว่าการทำบัตร ATM อย่างเดียว ถึง 3 เท่า  นั่นคือ วันละ 150,000  บาทประเด็นอยู่ตรงนี้ คือการกำหนดวงเงินที่กดใช้ได้แต่ละวันที่ไม่เท่ากัน ทั้งๆที่ ไม่ว่าผู้บริโภคจะเลือกทำบัตรแบบไหน  การกดเงินก็คือเงินในบัญชีของเราเอง   ไม่ได้เกี่ยวกับการซื้อประกันใดๆ เลย การนำเรื่องการใช้วงเงินในบัญชีของเรามาเป็นข้อกำหนด  เป็นทางเลือกในการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อประกัน น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ผู้เขียนได้ไปทำหน้าที่ สว.  และได้คุยแลกเปลี่ยนกับ กรรมาธิการ การเงินการธนาคาร บางท่าน ถึงเรื่องนี้ก็ได้คำตอบว่า   “ธนาคารเข้ามีสิทธิกำหนด ผู้บริโภค ก็มีทางเลือก หากผู้บริโภคไม่พอใจก็ไปธนาคารอื่นเลย”(คำตอบแบบนี้งง!  มากกว่าเก่าอีก) เพราะไปธนาคารไหนๆ ข้อกำหนดก็ล้วนเอาเปรียบผู้บริโภคอยู่ดี คำถาม คือปัญหา เหล่านี้ ใคร? หน่วยงานไหน? บ้างที่มีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง   อย่าตอบนะว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย   เพราะวันนี้ก็มีอยู่แต่ไม่เห็นแก้ปัญหาอะไรได้เลย      สังคมไทยกำลังเข้าสู่ โหมดของการปฏิรูป   เรื่องสำคัญที่ต้องรีบปฏิรูป คือ เรื่องการเงินการธนาคาร  ที่แสนจะเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างเช่นทุกวันนี้   การที่จะลดความขัดแย้งได้ดีที่สุดคือทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียม ในระยะเวลาอันใกล้นี้คงไม่มีใครที่จะเป็นที่พึ่งได้ดีเท่าพี่ ทะ-หาน   และจะให้ดีมากขึ้น  พี่ทะ-หาน ช่วยผลักให้ “พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว  เพื่อเป็นที่พึ่งของผู้บริโภคในระยะยาว  อย่างยั่งยืน   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 160 โดนขโมยบัตรเดบิตไปรูด ธนาคารพิสูจน์ไม่ได้ ต้องคืนเงิน !!!

เมื่อเดือนมกราคม 2554 เจฟฟรี จี เอเลน หนุ่มใหญ่ชาวออสเตรเลีย พร้อมภรรยา ได้เข้ามาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่า ถูกขโมยรหัสบัตรเดบิตไปใช้ซื้อสินค้าที่สหรัฐอเมริกา ทั้งที่ตนไม่ได้เป็นผู้ใช้ เมื่อติดต่อไปที่ธนาคาร ธนาคารก็ไม่รับผิดชอบ อยากขอให้มูลนิธิฯ ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ สอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ความว่า เจฟฟรี ได้ย้ายมาอาศัยอยู่กินกับอาจารย์ทิพย์รัตน์ ภรรยาชาวไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียง ตั้งแต่วันที่ 13  ตุลาคม 2548 เพื่อฝากเงินที่ได้รับจากสวัสดิการผู้สูงอายุประเทศออสเตรีย และสมัครเป็นผู้ถือบัตรเดบิตและทำสัญญาเป็นผู้ใช้บัตรเดบิต เพื่อนำไปใช้ชำระค่าซื้อสินค้าและบริการต่างๆ แทนเงินสด และในการเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ หรือ เอทีเอ็มต่อมาประมาณวันที่ 27 กันยายน 2554 เจฟฟรีพบความผิดปกติของจำนวนเงินในบัญชีที่ลดลงจำนวนมาก จึงติดต่อไปธนาคารกรุงไทยสาขาแม่สะเรียง เพื่อขอให้ตรวจสอบความผิดปกตินี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบแล้วแจ้งว่า มีรายการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2554  ถึงวันที่ 5 กันยายน 2554 รวมเป็นเงิน 120,599.35 บาท ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว เจฟฟรี และภรรยา ยืนยันว่าทั้งคู่อยู่ในประเทศไทย ไมได้เดินทางออกนอกประเทศไปที่ไหน และไม่เคยให้บัตรหรือรหัสกับผู้ใดไปใช้แน่นอน เจฟฟรีพยายามทักท้วงและให้เหตุผลกับธนาคารเพื่อให้คืนเงินกลับเข้าบัญชี แต่ธนาคารแจ้งว่าไม่พบความผิดปกติ คือธนาคารไม่เชื่อว่าเจฟฟรีไม่ได้ใช้นั่นเอง ธนาคารจึงไม่คืนเงินให้  แนวทางแก้ไขปัญหาทางศูนย์ฯ ได้แนะนำให้ เจฟฟรี เตรียมพยานหลักฐานที่สำคัญเพื่อแก้ข้อกล่าวหาของธนาคารคือ หนังสือเดินทาง ที่ยืนยันว่าในช่วงเวลาดังกล่าว เจฟฟรีอยู่ในประเทศไทย  และให้ทำหนังสือถึงธนาคารเพื่อยืนยันว่าตนไม่ได้เป็นผู้ใช้และไม่ได้มอบบัตรให้บุคคลใดไปใช้ และขอให้ธนาคารแก้ไขคืนเงินในบัญชีโดยทันที เพื่อเป็นหลักฐานการร้องเรียนเสียก่อนต่อมาธนาคารปฏิเสธการคืนเงินให้กับเจฟฟรี โดยให้เหตุผลน่าเชื่อว่า เจฟฟรีเป็นผู้ใช้บัตรเอง จึงไม่คืนเงินเมื่อตกลงกันไม่ได้ เจฟฟรี จึงจำเป็นต้องฟ้องธนาคารกรุงไทย เป็นคดีผู้บริโภค ต่อศาลแขวงพระนครใต้ เรียกค่าเสียหาย 125,357.11 บาทในชั้นพิจารณาคดี เจฟฟรีและภรรยา เป็นพยานเบิกความว่า ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2554 ถึง วันที่ 5 กันยายน 2554 เจฟฟรีอยู่กับภรรยา ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนและที่จังหวัดเชียงใหม่ เจฟฟรีไม่เคยมอบบัตรเดบิตให้ผู้อื่นนำไปใช้และมิได้เป็นผู้ใช้หรือยินยอมให้ใครนำไปใช้แต่อย่างใดส่วนจำเลยมีนายอรรนพ ชื่นบุญ พนักงานจำเลยเบิกความพบว่า ในช่วงวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ถึง วันที่ 5 กันยายน 2554 บัตรเดบิตของโจทก์ถูกนำไปใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ แบบซื้อสินค้าทั่วไปตามปกติ เช่น อาหาร หรือ ร้านสะดวกซื้อ ไม่ใช่ลักษณะของพวกมิจฉาชีพ และยืนยันว่ารายการดังกล่าวเป็นการใช้บัตรของโจทก์เองหรือตัวแทน โจทก์จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะถือว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ เนื่องจากโจทก์มีหน้าที่เก็บรักษาบัตรและรหัสไว้เอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้คืนโจทก์ตามที่ฟ้องแต่พยานจำเลยเองก็ได้เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า ในการนำบัตรเดบิตไปซื้อสินค้าและบริการต่างๆ จะต้องมีเซลส์สลิปและลายมือชื่อของลูกค้าทุกครั้ง ซึ่งพยานจำเลยอ้างว่า ได้ทำเรื่องไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อขอหลักฐานแล้วแต่ไม่ได้อ้างศาลและจากประสบการณ์การทำงานของพยานจำเลยที่ทำงานมานาน สันนิษฐานได้ว่าบัตรเดบิตของโจทก์ถูกขโมยไปใช้ที่สหรัฐอเมริกาศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้นำบัตรเดบิตไปใช้ด้วยตนเองหรือยินยอมให้บุคคลอื่นนำไปใช้ แต่กลับไปนำความจากทางนำสืบของจำเลยว่าบัตรเดบิตของโจทก์น่าจะถูกขโมยไปใช้ โดยไม่ปรากฎว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงเชื่อว่าบัตรเดบิตของโจทก์ถูกขโมยไปใช้ที่สหรัฐอเมริกา กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้ใช้บัตรเองหรือยินยอมให้บุคคลอื่นนำไปใช้ตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จำเลยจึงไม่มีสิทธินำรายการการซื้อสินค้าและใช้บริการดังกล่าวมาหักเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ จึงพิพากษาให้ จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์“ส่วนตัวตอนแรกไม่คิดว่าจะต้องฟ้องเป็นคดีความต่อศาล เพราะคิดว่าธนาคารจะคืนเงินให้กับตน เพราะตนไม่ได้เป็นผู้ใช้ แต่เมื่อธนาคารไม่สนใจจะแก้ไขปัญหานี้ก็ต้องฟ้องคดี ซึ่งผลคดีที่ออกมา ตนรู้สึกพอใจกับคำพิพากษา ที่ท่านให้ความเป็นธรรมกับผู้บริโภค ตนเชื่อว่านอกจากตนแล้ว น่าจะมีผู้บริโภครายอื่นที่เจอปัญหาแบบนี้ ก็อยากฝากให้คนที่เจอปัญหาแบบตนลุกขึ้นมาใช้สิทธิร้องเรียนให้ถึงที่สุด ตนเชื่อว่าทุกคนจะรับความเป็นธรรมอย่างแน่นอน” คุณเจฟฟรีกล่าวทิ้งท้ายไว้ //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 โอนเงินแล้ว บอกไม่ได้รับ แล้วใครจะรับผิดชอบระหว่างธนาคารหรือคนรับโอน

ธุรกรรมทางการเงินที่สะดวกและหลากหลายช่องทางในปัจจุบัน ช่วยสร้างความคล่องตัวให้กับผู้บริโภคและภาคธุรกิจอย่างมากมาย แม้แต่ธุรกรรมอย่างการโอนเงิน ไม่ต้องไปหน้าเคาน์เตอร์หรือตู้เอทีเอ็มเราก็สามารถทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้เช่นเดียวกันคุณเขมวิภากับน้องสาวสนใจจะเข้าอบรมเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะจัดอบรมกันที่จังหวัดพัทลุงโดยบริษัทโซล่า เซล แห่งหนึ่ง ซึ่งจะจัดในวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา เธอจึงโอนเงินจำนวน 5,500 บาทผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง จากบัญชีธนาคารทหารไทยของเธอไปที่ธนาคารกรุงไทยของผู้รับโอน ซึ่งก็คือตัวแทนบริษัทโซล่า เซล ดังกล่าว ในตอนเย็นของวันที่ 24 ตุลาคมวันที่ 25 ตุลาคม ระบบเอสเอ็มเอสได้แจ้งเข้ามาที่มือถือยืนยันว่า การโอนเงินสำเร็จ โดยแจ้งทั้งทางมือถือผู้โอนและผู้รับโอนพอวันที่ 26 ไปถึงหน้าห้องอบรม ปรากฏว่า ทางผู้จัดบอกว่า “ยังไม่ได้รับเงิน” (ไม่มีเงินในบัญชี) จึงไม่อนุญาตให้เข้าอบรม “ดิฉันร้อนใจโทรไปสอบถามทางคอลเซนเตอร์ 1558 พนักงานยืนยันว่ารายการสำเร็จเรียบร้อย แต่ถ้าอยากให้เช็ครายละเอียดขอเวลาสักหน่อย” คุณเขมวิภาเห็นว่าไหนๆ ก็มาถึงที่แล้ว ไม่เข้าอบรมไม่ได้ จึงให้น้องสาวกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มมาจ่ายให้กับทางผู้จัดการอบรม และขอให้ทำหนังสือว่าได้รับเงินจำนวนนี้ไว้แล้วระหว่างที่อบรมน้องสาวของคุณเขมวิภาได้ไปติดต่อกับธนาคารทหารไทยสาขาพัทลุงให้ช่วยตรวจสอบ แต่ถูกปฏิเสธบอกไม่มีอำนาจต้องรอคอลเซนเตอร์ ซึ่งต้องใช้เวลาสำหรับการตรวจสอบถึง 7 วันวันที่ 1 พฤศจิกายน ครบ 7 วันคอลเซนเตอร์ไม่โทรมา คุณเขมวิภาต้องโทรไปเอง คำตอบเดิมคือยืนยันว่า การโอนเงินสำเร็จ เงินไปอยู่ในบัญชีผู้รับแล้วดึงกลับมาไม่ได้ “ดิฉันโทรกลับไปทางผู้จัดการอบรม ทางนี้ก็ยืนยันว่า ไม่มียอดเงินเข้า แต่ไม่ยอมแสดงหลักฐานบัญชี บอกแต่ว่าเป็นเอกสารของบริษัท แต่ส่งจดหมายเพื่อเป็นเอกสารยืนยันกับดิฉันว่า ไม่ได้รับเงินจริงๆ” คุณวิภาจึงต้องย้อนไปธนาคารอีกครั้งเพื่อยื่นเรื่องให้ตรวจสอบและคืนเงิน ทางธนาคารแนะนำให้ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบ เมื่อรอผลการตรวจสอบทางสำนักงานใหญ่ธนาคารยืนยันเหมือนเดิมว่า รายการโอนสำเร็จ “ตอนนี้ดิฉันเริ่มหงุดหงิดแล้วค่ะ จึงโทรไปหาบริษัทฯ บริษัทฯ ก็ปฏิเสธเช่นเดิม และขอให้เอาหลักฐานมาแสดงว่าเงินเข้ายังบัญชีปลายทางจริงๆ ทั้งสองฝ่ายต่างปฏิเสธแล้วคนที่เสียหายอย่างดิฉัน จะไปเอาเงิน 5,500 บาทนี้ คืนจากใครค่ะ” การแก้ไขปัญหาเมื่อพิจารณาจากความเป็นไปได้แล้ว ทางฝ่ายธนาคารน่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจนกว่าทางบริษัทฯ ที่ไม่ยอมแสดงหน้าบัญชีให้เห็นว่า มีรายการโอนเงินเข้าในเวลาและจำนวนดังกล่าวตามที่ทางธนาคารทหารไทยยืนยัน ทางศูนย์พิทักษ์ฯ จึงแนะนำให้คุณเขมวิภา ทำหนังสือถึงบริษัทอย่างเป็นทางการเพื่อขอคืนเงิน โดยระบุเนื้อหาและเอกสารที่ยืนยันว่าการโอนเงินนั้นสำเร็จ โดยทางศูนย์ฯ ได้ช่วยประสานกับทางบริษัทฯ ด้วย เพราะถ้าหากบริษัทยืนยันว่า ทางตนเองไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวควรแสดงหลักฐานยืนยัน หากไม่มีหลักฐานก็ควรคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้กับผู้บริโภคเพราะทางบริษัทฯ ได้รับเงินสดสำหรับเป็นค่าอบรมไปแล้วสุดท้ายบริษัทก็คืนเงินจำนวน 5,500 บาทให้กับคุณเขมวิภาเรียบร้อย แต่เงินจำนวนนี้ไปค้างอยู่กับบริษัทถึง 13 วัน (25 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน) แหม มันน่าเอาเรื่องต่อจริงๆ   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 ฝรั่งออสเตรเลีย ฟ้อง ธ.กรุงไทย หลังโดนหักเงินในบัตรเดบิตไม่ทราบเหตุ

ฝรั่งออสเตรเลียฟ้องธนาคารกรุงไทย ฐานหักค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้ใช้ เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 1.25 แสน ศาลพิพากษาธนาคารผิดจริงให้จ่ายค่าเสียหายตามที่เรียกพร้อมค่าเสียหายเชิงลงโทษอีก 120,000 บาทเจฟฟรี ชายชราชาวออสเตรเลีย เข้ามาใช้ชีวิตบั้นปลายอาศัยอยู่ในเมืองไทยที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณปี 2548 เขาเปิดบัญชีออมทรัพย์ กับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียง เพื่อฝากเงินที่ได้รับจากสวัสดิการผู้สูงอายุประเทศออสเตรเลีย และเปิดใช้บริการบัตรเดบิตผ่านบัญชีดังกล่าวต่อมาราวปลายปี 2554 เจฟฟรี ใช้บัตรเดบิตเบิกเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม พบความผิดปกติว่าเงินในบัญชีลดลงอย่างมาก จึงติดต่อกับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียงเพื่อให้ตรวจสอบการหักเงินจากบัญชีเงินฝาก ผลการตรวจสอบของธนาคารพบว่า  มีรายการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  ติดต่อกันในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2554 เป็นเงินประมาณ 120,000 กว่าบาท ซึ่งการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นการใช้จ่ายที่ต้องใช้บัตรเดบิตพร้อมกับการลงลายมือชื่อของเจ้าของบัตรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการซื้อสินค้าหรือบริการที่สามารถชำระด้วยการโอนเงินโดยใช้บัตรเดบิตพร้อมกับรหัสประจำตัวได้ปัญหาอยู่ตรงที่ รายการใช้จ่ายซื้อสินค้าดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่เจฟฟรียังพำนักพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย และบัตรเดบิตก็อยู่กับตัวเขาตลอดเวลา เจฟฟรีจึงมีหนังสือถึงธนาคารปฏิเสธรายการใช้บัตรเดบิตและเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานทันทีที่ทราบเรื่อง ต่อมาธนาคารกรุงไทยได้แจ้งผลการตรวจสอบรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต และปฏิเสธการคืนเงินให้กับเจฟฟรี อ้างว่าเป็นการใช้บัตรซื้อสินค้าและบริการตามปกติ ไม่ใช่การทำธุรกรรมของมิจฉาชีพ   แนวทางแก้ไขปัญหาหลังได้รับเรื่องร้องเรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ส่งอาสาสมัครขึ้นไปที่ จ.แม่ฮ่องสอนเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเจฟฟรีและภรรยาชาวไทย และพยายามนัดเจรจากับ ธ.กรุงไทย แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าใดนัก ด้วยข้ออ้างว่าธนาคารมีประสบการณ์ในการแยกแยะการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตของคนธรรมดาทั่วไปกับมิจฉาชีพ หากเป็นการใช้จ่ายของมิจฉาชีพจริง เมื่อปลอมบัตรหรือได้รหัสผ่านแล้วจะรีบนำเงินออกจากบัญชีให้เร็วที่สุด ไม่ใช่ใช้บัตรเดบิตเดินช้อปปิ้งซื้อของเล็กบ้างใหญ่บ้าง แถมยังใช้บัตรเดบิตจ่ายค่าแท๊กซี่ปรากฏอยู่ด้วย เป็นสภาพของการซื้อใช้สินค้าและบริการตามปกติของผู้คนทั่วไปที่ใช้บัตรเดบิตของตัวเอง จึงยืนกระต่ายขาเดียวปฏิเสธการคืนเงินให้แก่เจฟฟรีเมื่อหมดหนทางการพูดคุยในทางปกติ เราจึงถามใจเจฟฟรีว่าจะสู้กับธนาคารต่อหรือไม่ เจฟฟรีบอก ผมอยากได้รับความเป็นธรรม ผมไม่ได้เป็นคนซื้อสินค้าเหล่านี้ ธนาคารต้องคืนเงินให้กับผมวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 จึงเป็นวันที่เจฟฟรีเข้ายื่นฟ้องธนาคารกรุงไทย เป็นคดีผู้บริโภค กล่าวหาธนาคารกรุงไทยมีความผิดฐานผิดสัญญาการใช้บัตรเดบิต เรียกค่าเสียหาย 125,357 บาท พร้อมดอกเบี้ยในวันที่  7  พฤศจิกายน  2555   ศาลแขวงพระนครใต้ พิพากษาให้ ธนาคาร กรุงไทย จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับเจฟฟรี เป็นเงินตามจำนวนที่ฟ้อง พร้อมกับสั่งให้ธนาคารกรุงไทย จ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เนื่องจากพบว่ามีการกระทำที่มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม เพิ่มอีก 120,599.35 บาท  รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 245,956.46 บาทเหตุที่ศาลชั้นต้นให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะคดี เพราะว่าเมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงแล้วฟังได้ว่า กรณีนี้ธนาคารกรุงไทยยอมรับว่ามีผู้นำบัตรเดบิตที่ออกให้กับนายเจฟฟรี ไปใช้ในต่างประเทศจริงและทราบด้วยว่าใช้ที่ไหนบ้าง ซึ่งในการให้บริการดังกล่าวจะต้องมีเซลล์สลิปการใช้บริการหรือลายมือชื่อลูกค้าเป็นหลักฐาน แต่ธนาคารกลับไม่นำหลักฐานที่ว่ามาแสดงต่อศาล อีกทั้งพยานของธนาคารเองยังเบิกความย้ำว่า จากประสบการณ์ทำงานที่ยาวนานสันนิษฐานได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากการถูกขโมยบัตรเดบิตไปใช้จริง ซึ่งหากมีกรณีบัตรถูกขโมยไปใช้นั้น ธนาคารจะไม่ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัญญาให้บริการ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้ออ้างของเจฟฟรีที่ยืนยันว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ใช้บัตรในช่วงขณะดังกล่าวดังนั้นเมื่อธนาคารไม่มีหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ว่าผู้บริโภคเป็นผู้ใช้เองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นนำไปใช้ ธนาคารจึงไม่มีสิทธินำรายการดังกล่าวมาหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้า เมื่อธนาคารหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้าไปแล้ว ธนาคารจึงต้องคืนเงินที่หักไปจากบัญชีของลูกค้าทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยหักเงินไปจากบัญชี และการที่ธนาคารทราบอยู่แล้วว่า กรณีนี้เกิดจากการมีบุคคลอื่นขโมยบัตรเดบิตของลูกค้าไปใช้ เมื่อลูกค้าทวงถามแล้ว แต่ธนาคารกลับปฏิเสธไม่คืนเงินให้กับลูกค้า จึงถือว่าธนาคารมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินชดเชยความเสียหายทั้งค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและเงินในเชิงลงโทษให้กับเจฟฟรีตามจำนวนที่กล่าวมา และยังสั่งให้ธนาคารชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลรวมทั้งค่าทนายความจำนวน 5,000 บาทแทนนายเจฟฟรีอีกด้วย“ผมรู้สึกพอใจกับคำพิพากษาของศาลไทยเป็นอย่างมาก ผมดีใจที่ได้ความยุติธรรมกลับคืนมา เนื่องจากการจ่ายเงินคืนของธนาคารเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคมาก ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวมีความจำเป็น แม้จะไม่มากมายแต่ก็เป็นเงินเพื่อใช้ในการยังชีพของผมที่อายุมากและภรรยา  ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ต้องเจอแบบนี้เหมือนกัน อยากให้ธนาคารให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากกว่านี้” เจฟฟรี กล่าวนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า กรณีนี้เป็นคดีตัวอย่างสำหรับผู้บริโภค ที่ถูกธนาคารในฐานะผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบและจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะการกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษกับธนาคาร  ที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีของการป้องปรามหรือยับยั้งไม่ให้ผู้ประกอบการทำเช่นนี้กับใครอีก โดยเฉพาะการที่จำเลยในคดีนี้เป็นรัฐวิสาหกิจควรต้องมีการประกอบการที่สุจริตเป็นที่น่าเชื่อถือต่อนานาชาติ“ในคดีนี้กระบวนพิจารณาของศาลก็รวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคอย่างแท้จริง ทำให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอนาน ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย  ทั้งนี้ศูนย์ทนายความอาสาฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะนำผลของคดีนี้ไปศึกษา เพื่อขยายผลและสร้างให้เป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายต่อไป ” นายเฉลิมพงษ์กล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 เสียความรู้สึกเอทีเอ็มเออเรอร์ ไร้รับผิดชอบ

เดือนนี้ 2 รอบแล้วค่ะ คุณพิมพ์พรผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มธนาคารกรุงไทยเธอว่างั้นรอบแรกเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 เป็นบัตรประเภทรายปี 200 บาท แล้วได้เข้าไปทำใหม่เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555 เปลี่ยนเป็นประเภท 500 บาท ฟรีรายปี 3 ปี กดได้ทุกธนาคาร ทุกสาขา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการกดแล้วล่าสุด โดนยึดเมื่อ 27 มีนาคม 2555 (วันที่ส่งเรื่องร้องเรียน) ตอนประมาณ 12.00 น. ที่ตู้ธนาคารกรุงเทพ สาขาบิ๊กซี จ.ตากเธอบอกว่า กดเอทีเอ็มใส่รหัสถูกต้อง แต่พอจะไปกดไปที่เมนูบัญชีออมทรัพย์ ทันใดนั้นหน้าจอได้ขึ้นข้อความ งดใช้บริการชั่วคราวและไม่ยอมคายบัตรออกมาพอเข้าไปติดต่อที่ธนาคารกรุงเทพเจ้าของตู้ แจ้งว่าเป็นบัตรเอทีเอ็มของธนาคารทหารไทย ได้รับคำตอบว่า รอไปก่อน ไม่รู้ว่าจะไปเปิดตู้เมื่อไหร่ เพราะไม่รู้ว่าเงินจะหมดเมื่อไหร่คุณพิมพ์พรบอกว่า ตอนนี้ตู้ขึ้นข้อความว่า งดใช้บริการชั่วคราวแล้ว ได้รับคำตอบกลับมาว่า “อืมมม นั่นแหละ ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะไปแก้ไข ให้รอไปก่อน ไม่ก้อไปติดต่อทำบัตรใหม่”ได้รับคำตอบแบบนี้เลยถึงอึ้งกิมกี่ ไม่รู้จะเซ้าซี้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารเจ้าของตู้ยังไงต่อไป คุณพิมพ์พรจึงรีบมาแจ้งทางธนาคารทหารไทย ได้รับคำแนะนำว่า ให้ทำบัตรใหม่ อายัดบัตรเดิม เพราะตู้อื่นยึด เราเอาคืนไม่ได้ “แบบนี้แล้วจะให้เราทำบัตรประเภทกดได้ทุกตู้ทำไมล่ะคะ คุณพี่ แล้วยังจะให้เราทำบัตรใหม่เสียค่าบัตร อีก 500 บาท ทั้งๆ ที่เราเพิ่งทำใหม่ไปเมื่อไม่ถึง 2 อาทิตย์ เราถามว่า ไม่มีทางออกทางไหน อีกเหรอคะ เค้าตอบว่าไม่มี ต้องทำใหม่อย่างเดียวและเสีย 500 บาท ถ้าแบบนี้ เดือนหนึ่ง เราไปกดเงินแล้วโดนยึดบัตรทุกครั้งที่กด เราก้อต้องเสียเงินทำบัตรใหม่ทุกครั้งเหรอคะ ถ้ากด 10 ครั้ง เสีย 10 รอบ รอบละเท่าไหร่คะ เสียดายเงินค่ะ รบกวน ขอคำปรึกษา และคำแนะนำหน่อยค่ะ” แนวทางแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ทำนองนี้ต้องเรียกว่า “ผีซ้ำด้ำพลอย” คือโดนกระทำจากผีนอกบ้านแล้วยังโดนผีเรือนในบ้านเหยียบซ้ำอีก (ด้ำ ภาษาอีสานแปลว่า ผีบ้าน ผีเรือน )เท่าที่ติดตามการร้องเรียนในเรื่องนี้ มีปัญหากันเยอะเหมือนกัน บางรายกดเงิน เงินไหลออกมา แต่ตัวบัตรไม่ยอมคืนออกมา บางรายกำลังทำรายการอยู่ อยู่ๆหน้าจอตู้ดับเครื่องรีเซ็ทใหม่ เงินไม่ได้บัตรไม่ออก เดือดร้อนกันเป็นแถวๆ เพราะไม่มีบัตรกดเบิกเงิน พอไปติดต่อกับธนาคารเจ้าของตู้ก็บอกว่าต้องรออีก 10-15 วันถึงจะมาเปิดตู้ให้ แต่บอกไม่ได้ว่าจะมาเมื่อไหร่เพราะต้องเป็นความลับเดี๋ยวโจรมันรู้ สุดท้ายทนรอไม่ไหวก็ต้องเสียเวลาเสียเงินทำบัตรใหม่กันข้อแนะนำ1.ใช้บัตรเอทีเอ็มของธนาคารไหนก็ควรกดของธนาคารนั้นดีที่สุด จำเป็นหรือหาตู้ไม่ได้จริงค่อยไปกดตู้ของธนาคารอื่น เวลาเกิดเรื่องยุ่งยากจะได้ติดต่อแค่ธนาคารเดียว2.ตู้ที่จะกดเงิน ส่ายสายตาหาดูก่อนว่า มีกล้องวงจรปิดที่สามารถใช้งานได้เป็นปกติ ไม่มีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น รังนกมาบังมุมกล้อง เมื่อเกิดปัญหาให้แสดงอาการฟ้องต่อหน้ากล้องทันที เช่น ได้เงินไม่ครบก็ให้นับเงินหน้ากล้องแล้วชูบอกให้เห็นว่าเงินไม่ครบ เพื่อให้ภาพบันทึกไว้เป็นหลักฐาน3.ถ้าเป็นไปได้เลือกกดตู้ที่ตั้งอยู่หน้าธนาคารนั่นแหละดีที่สุด มีทั้งกล้อง มีทั้งเจ้าหน้าที่ พนักงานรักษาความปลอดภัยคอยให้ความช่วยเหลือ4.หากบัตรเอทีเอ็มถูกยึดไม่ว่าจะเกิดที่ตู้ของธนาคารเจ้าของบัตรเองหรือธนาคารอื่น คนที่จะเอาออกมาได้ก็คือธนาคารที่เป็นเจ้าของตู้ ให้เข้าไปแจ้งพร้อมกรอกเอกสารร้องเรียนทันที ระบุตำแหน่งที่ตั้งและหมายเลขของตู้ พร้อมขอชื่อพนักงานและผู้จัดการสาขา พร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อเรื่องการติดตามรับบัตร หากพนักงานบริการไม่เอาอ่าวเอาทะเล ให้รีบติดต่อร้องเรียนกับผู้จัดการสาขาโดยตรงทันที โดยขอให้เร่งรัดติดตามเอาบัตรกลับคืนโดยเร็วและให้นัดหมายวันเวลารับบัตรให้ชัดเจน5.ในกรณีที่ไม่ใช่ความผิดพลาดของผู้บริโภค ไม่ควรใจด่วนทำบัตรใหม่ หากธนาคารไม่มีนโยบายยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับปัญหาเออร์เรอร์ลักษณะนี้ ควรเบิกถอนเงินด้วยสมุดบัญชีก่อน ดังนั้นไม่ควรหลงเชื่อธนาคารง่ายๆ ที่แนะนำให้ทำบัตรเอทีเอ็มโดยไม่มีสมุดบัญชี กันไว้ดีกว่าแก้ครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 ถูกบังคับให้ทำ เอทีเอ็ม?

เวลาไปเปิดบัญชีธนาคาร เคยรู้สึกกันบ้างไหมว่า พนักงานธนาคารจะพยายามชักชวนให้เราทำโน่นทำนี่อยู่เรื่อย เอทีเอ็มบ้างล่ะ เดบิตบ้างล่ะ ล่าสุดก็ให้ซื้อประกันชีวิตอีก จนผู้บริโภครู้สึกเหมือนถูกบังคับให้ใช้บริการ ไม่ทำตามแล้วดูเหมือนจะมีความผิดและเป็นลูกค้าที่ไม่สมประกอบ ธนาคารมีสิทธิที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกแบบนี้หรือไม่ ประสบการณ์จากคุณวัชระน่าจะให้คำตอบในเรื่องนี้ได้คุณวัชระร้องเรียนเข้ามาว่า วันหนึ่งได้พาพ่อตาไปเปิดบัญชีที่ธนาคารทหารไทย สาขาอุดรธานี แล้วรู้สึกเหมือนว่า ถูกพนักงานธนาคารบังคับให้ทำบัตรเอทีเอ็ม พ่อตาของคุณวัชระบอกว่ายังไม่สะดวกที่จะทำ เลยขอร้องพนักงานธนาคารไปว่า ไม่ทำได้มั้ยวันนี้จะขอทำในภายหลัง แต่กลับถูกพนักงานของธนาคารปฏิเสธ อ้างว่าเป็นนโยบายของธนาคาร“ผมเองได้ยินอย่างนั้นแล้วก็ไม่สบายใจ จึงได้โทรไปที่ 1558 (คอลเซนเตอร์ของธนาคารมหารไทย) สอบถามความจริงได้คำตอบว่า ลูกค้าจะไม่ทำเอทีเอ็มก็ได้ ผมเลยให้พนักงานคนนั้นรับสายคุยกับ 1558 จากนั้น ก็มีทีท่าว่าไม่ยอมอ้างว่ายังไงก็ต้องทำเอทีเอ็ม และต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท เพื่อจะได้ร่วมลุ้นบอลโลก “ “ผมคิดในใจ (นี่บ้าหรือเปล่า) สุดท้ายก็ต้องยอมทำตาม(ความต้องการ)ของพนักงานธนาคาร เพราะอยากไปทำธุระอย่างอื่น”คุณวัชระจึงฝากคำถามนี้มายังเราเพื่อให้สอบถามไปที่ผู้บริหารของธนาคารธนาคารทหารไทยว่ามีนโยบายเช่นนี้จริงหรือไม่ แนวทางแก้ไขปัญหาเราได้ทำหนังสือสอบถามไปที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารทหารไทย ต่อมาธนาคารทหารไทยได้มีหนังสือตอบจากเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารคุณภาพบริการสาขา แจ้งว่า คุณวัชระและพ่อตามาเปิดบัญชีกับธนาคาร และพนักงานธนาคารได้แนะนำผลิตภัณฑ์และอธิบายสิทธิประโยชน์รวมทั้งความสะดวกของบัตรเอทีเอ็ม โนลิมิต ให้ลูกค้าทราบ ซึ่งเป็นนโยบายที่เจ้าหน้าที่จะต้องหใบริการแนะนำบริการและผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า แต่ธนาคารไม่มีนโยบายให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีต้องทำบัตรเอทีเอ็มด้วย“อย่างไรก็ตามธนาคารได้ขออภัยลูกค้าที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารอาจจะสื่อสารให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งธนาคารได้แจ้งพนักงานแล้วให้ระมัดระวังการสื่อสารไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก”ชัดเจนกันแล้วนะครับว่า ธนาคารจะขายอะไรก็ขายไป แต่ผู้บริโภคนั้นมีสิทธิเต็มร้อย ที่จะเลือกซื้อหรือจะปฏิเสธสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่ไม่ต้องการได้ตลอดเวลา สิทธิที่จะซื้อหรือไม่ซื้อนั้นเป็นสิทธิของผู้บริโภคที่ใครจะมาล่วงละเมิด หรือบีบบังคับให้เราต้องสละสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 99 อย่างนี้มันต้อง…ถอน

ต้องถามว่าเรายังจำลุงช่วย ณ ธนาคารออมสินได้ไหมล่ะจ๊ะ หากจำไม่ได้จะบอกให้ ก็ลุงช่วยคนที่เอาขี้ราดตัวประท้วงออมสินไง แนะๆๆ จำได้แล้วใช่ไหม ในสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่อย่างนี้ เหตุการณ์อย่างนั้นกำลังจะกลับมาอีก ผู้เขียนไม่อยากเห็นลุงช่วย 2…3 จึงนำเรื่องที่ประสบด้วยตัวเอง 2 เรื่อง 2 ธนาคาร จะมาเล่าสู่กันฟัง ธนาคารแรก ธกส. (ไม่ใช่ธรณีกรรแสงนะ เอ๊ะหรือว่าใช่) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธนาคารคนจนไง...) เพราะคนที่ใช้ธนาคารนี้โดยเฉพาะในชนบทส่วนใหญ่ก็จะเป็นเกษตรกรและส่วนใหญ่มาใช้บริการกู้เงินและใช้หนี้ หมุนกันอยู่อย่างนี้ คือต้องส่งตามงวดของสัญญา ผู้เขียนก็เป็นคนหนึ่งที่เป็นหนี้ ธกส. และก็เป็นลูกค้าชั้นดี ส่งตรงทุกงวดไม่เคยบิดพลิ้ว ที่ส่งมาก็ไม่มีปัญหาอะไรแต่เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2552 ครบสัญญา ผู้เขียนก็นำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยไปใช้หนี้ แล้วก็กู้กลับเท่ากับเงินต้นที่ส่งไป ตอนแรกก็ไม่มีอะไร จนเมื่อเจ้าหน้าที่หน้าเคาน์เตอร์เรียกหมายเลขให้เราไปรับเงิน ก็มีเจ้าหน้าที่อีกคนมายืนรออยู่ พร้อมบอกว่า “เอาเงินต้นที่กู้ไว้ออกมาทั้งหมดไม่ได้ ต้องแบ่งส่วนหนึ่งออมไว้กับธนาคาร” (อ้าว..เรากู้เงินเราเสียดอกเบี้ยนะจะมาบอกว่าเราต้องออมได้ไง..) ผู้เขียนก็บอกว่ายังไม่พร้อมที่จะออม เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่ได้ เพราะเป็นนโยบายของธนาคารลูกค้าทุกคนต้องทำตาม (เฮ้ย..เงินฉันนะ......จะออมไม่ออมฉันต้องตัดสินใจเองไม่ใช่ถูกบังคับ) จึงตอบกลับไปว่า ถึงจะเป็นนโยบายของธนาคาร แต่ก็นำมาบังคับลูกค้าไม่ได้ การจะออมหรือไม่ออมต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของลูกค้า เพราะเงินที่กู้ออกมาอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากเงินหลายเท่า และที่สำคัญคนที่ตัดสินใจกู้เงินก็เพราะมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงิน เมื่อเขากู้เสียดอกธนาคารมาบังคับให้ออมไม่ได้ เพราะเงินนี้เป็นสิทธิของเรา จะฝากหรือไม่ฝากเรามีสิทธิเต็มที่ในการตัดสินใจ ไม่ใช่ใครจะมาบังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เห็นอาการแข็งขืนของเรา ก็เดินกลับไปนั่งที่เดิมไม่พูดอะไรต่ออีก นี่เป็นบุญยืนนะ... คิดดูหากเป็นชาวบ้านที่ไม่ค่อยรู้เรื่อง คงหนีไม่พ้น ต้องเอาเงินที่กู้มาดอกแพงๆ มาฝากได้ดอกถูกๆ เป็นแน่แท้.... ธนาคารที่ 2 ธนาคารไทยพาณิชย์ อันนี้เรามีเงินฝากอยู่ และก็มีเงินบางส่วนไปฝากเพิ่ม(บัญชีออมทรัพย์) เจ้าหน้าที่ธนาคารก็แนะนำว่าการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ปัจจุบันดอกเบี้ยต่ำมากแค่ 50 สตางค์เท่านั้น จึงแนะนำให้เรานำเงินส่วนหนึ่งไปฝากอีกรูปแบบหนึ่งที่มีค่าตอบแทนสูงกว่าหลายเท่า เช่น ฝาก 40,000 บาท ปีที่ 2 จะได้ดอกเบี้ยตอบแทนถึง 6,000 บาท ฝากแล้วถอนคืนได้ปกติ ให้ข้อมูลด้านดีด้านเดียว เรียกได้ว่าหว่านล้อมพูดแต่ความดีงามของเงินฝากประเภทนั้น จนเราแทบละลาย พร้อมบอกย้ำว่าไม่ต้องกลัวนี่ธนาคารทำเองไว้ใจได้ ไป 10 ครั้งก็ชวน 10 ครั้ง (ชวนทุกครั้งที่เห็นหน้า) ตอนแรกผู้เขียนก็ไม่ได้คิดอะไร พอบ่อยครั้งเข้าก็เริ่มสงสัย มันอะไรกันแน่ชวนจัง? จึงทำทีเป็นสนใจและขอข้อมูลเพิ่มซึ่งขอไม่ง่าย (แต่ก็ได้มาจนได้ล่ะ)ปรากฏเงินฝากที่ถูกชักชวนมันไม่ใช่บัญชีเงินฝากธรรมดา แต่มันเป็นการชวนลงประกัน (ตอนมันชวนมันไม่บอกสักคำ) หากเราไม่รอบคอบ เห็นแก่ดอกเบี้ยยอมฝากอย่างที่เขาแนะนำ หากฝาก 40,000 บาท และถอนในหนึ่งปีต่อมาเราจะได้เงินเพียง 9,750 บาท เท่านั้นนะพี่น้อง ที่เหลือจะถูกหักเป็นค่าคุ้มครองในหลายส่วน คิดดูว่าอย่างนี้ ลุงช่วย 2…3 ก็น่าจะเกิดขึ้นไม่ยากใช่ไหม เจ้าหน้าที่พวกนี้แปลกตอบสนองแต่นโยบายธนาคาร ไม่สนใจสิทธิของลูกค้าผู้มีพระคุณอย่างเราเลย น่าจะคิดนะว่าหากเราไม่เข้าไปใช้บริการ ธนาคารจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายเงินเดือนให้ เอ้า.. ใครมีหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้ดูแลหน่อย รัฐมนตรีการคลังก็เป็นหนุ่มไฟแรงปล่อยให้ธนาคาร มาให้ข้อมูลหลอกลวงและใช้นโยบายมาบังคับผู้บริโภคอย่างนี้ได้ไง อย่างนี้มันต้องถอน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 ทำธุรกรรมธนาคาร อะไรๆ ก็ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม

พูดถึงธนาคารก็ต้องคิดถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ซึ่งแน่นอนว่าหน้าที่หลักๆ ของธนาคาร ก็คือการให้บริการด้านเงินฝาก นอกจากนี้ยังมีบริการอื่นๆ ที่หลายคนก็คงเคยหอบเงินไปใช้บริการที่ธนาคารแถวบ้านกันมาบ้าง ตั้งแต่…การบริการด้านสินเชื่อ การบริการด้านผลิตภัณฑ์การเงิน เช่น การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การบริการด้านการโอนเงิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การโอนเงินและเช็คยอดเงินผ่านตู้ ATM อินเตอร์เน็ต หรือทางโทรศัพท์ รวมทั้ง การให้บริการรับชำระค่าบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ สุดท้ายคือบริการการให้คำปรึกษาทางการเงินอีกด้วยอะไรๆ ก็ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมหลายคนอาจจะยังไม่ทราบ หรือทราบแล้วแต่ว่าไม่ได้สนใจ ว่าเงินในกระเป๋าที่เราเอาไปฝากไว้กับธนาคาร รวมถึงการทำธุรกรรมต่างๆ นานา อาจหายไปในพริบตากับเจ้าสิ่งที่เรียกว่า “ค่าธรรมเนียม” ค่าธรรมเนียม ก็คือเงินที่เราต้องเสียให้ธนาคารเพื่อเป็นค่าบริการเมื่อเราไปขอรับบริการต่างๆ จากธนาคารอย่างที่เราได้เกริ่นไว้แล้ว โดยบริการหลักอย่างการฝากเงิน เป็นบริการที่ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารมากที่สุด จากข้อมูลผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าปี 2551 ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการจำนวน 74,978 ล้านบาท โดยคิดเป็นค่าธรรมเนียมจากการบริการ เช่น ค่ารักษาบัญชีเงินฝาก 27% ตามมาด้วยค่าธรรมเนียมการโอนและเรียกเก็บเงิน 19.1% ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต 17.3% และค่าธรรมเนียม ATM และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 16.6% ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมที่เราต้องเสียให้ธนาคารอยู่ในอัตราที่สูงพอสมควร ตัวอย่างเช่น การไปเปิดบัญชีใหม่ เราอาจต้องเสียเงินอย่างน้อยๆ เกือบ 500 บาท เริ่มจากการฝากเงินเปิดบัญชีขั้นต่ำ 200 บาท บวกกับเงื่อนไขให้ทำบัตร ATM ซึ่งทางธนาคารมักแนะนำให้เราทำควบคู่กัน เพราะช่วยอำนวยความสะดวกเวลาถอนเงิน โดยจะต้องเสียอีกอย่างน้อยๆ 300 บาท ประกอบด้วยค่าทำบัตรใหม่ 100 บาท และค่าธรรมเนียมปีแรกอีก 200 บาท หรืออย่างการกดเงินจากตู้ ATM ต่างธนาคารก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมถึง 25 บาท ซึ่งคิดดูแล้วก็เป็นเงินจำนวนไม่น้อยที่เราต้องเสียให้การถอนเงินจากตู้ ATM เพียงครั้งเดียว ฉลาดซื้อ จึงอยากช่วยผู้บริโภคที่มีธนาคารและตู้ ATM เป็นที่พึ่งทางการเงิน ได้รู้เท่าทันเรื่องค่าธรรมเนียม ด้วยตารางเปรียบเทียบค่าธรรมบริการของเหล่าธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยเราเลือกเอาบริการหลักๆ อย่างการบริการเงินฝากและการบริการผ่านบัตร ATM เพื่ออย่างน้อยๆ เราจะได้เลือกใช้บริการธนาคารได้อย่างถูกใจ รู้วิธีจัดการบริหารเงินฝากของตัวเอง ไม่ให้หายวับไปเพราะค่าธรรมเนียม และจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจเพราะเสียเงินไปแบบไม่รู้ตัว Download ตารางเปรียเทียบค่าธรรมค่าบริการด้านเงินฝาก ATM ของธนาคารพาณิชย์ และตารางเปรียเทียบค่าธรรมค่าบริการผ่านบัตร ATM ของธนาคารพาณิชย์ อัตราค่าธรรมเนียมเขาคิดจากอะไรธนาคารแห่งประเทศไทยให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ศึกษาและสำรวจต้นทุนการให้บริการทางการเงินประเภทต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์ แล้วนำมาปรับฐานราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง โดยมีหลักการคิดหลักๆ คือ จูงใจผู้บริโภค ให้หันมาใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีต้นทุนถูกกว่าการใช้บริการผ่านเคาน์เตอร์ ซึ่งมีต้นทุนสูง เพราะต้องทำธุรกรรมผ่านกระดาษ อย่างเช่น เช็ค ลดช่องว่างของผู้บริโภคระหว่างผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยจะทำให้ค่าบริการเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ ผู้บริโภคจะมีทางเลือกที่หลากหลายในการทำธุรกรรมกับธนาคาร ด้วยรูปแบบและอัตราค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม เป็นอัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์คิดต่อลูกค้า ซึ่งแต่ละธนาคารสามารถทำการเสนอค่าธรรมเนียมต่อลูกค้าในอัตราที่แตกต่างกัน ตามกลไกทางด้านตลาดได้ ซึ่งเมื่อเกิดการแข่งขัน เราก็อาจจะได้เห็นการปรับลดค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่ใช้จูงใจผู้บริโภคได้ ธนาคารมีรายได้จากไหนธนาคารพาณิชย์มีรายได้หลักๆ อยู่ 2 ทาง คือส่วนที่หนึ่ง รายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผล มาจากเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน 80%ส่วนที่สอง รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย มาจากการขายสินทรัพย์และค่าธรรมเนียมและบริการ 20% 5 อันดับธนาคารพาณิชย์ไทยที่มี สินทรัพย์ เงินฝาก และเงินให้เชื่อสุทธิสูงสุด ธนาคาร   สินทรัพย์ เงินฝาก   เงินให้เชื่อสุทธิ จำนวน (ล้านบาท) สัดส่วน (ร้อยละ) จำนวน (ล้านบาท) สัดส่วน (ร้อยละ) จำนวน (ล้านบาท) สัดส่วน (ร้อยละ) ธนาคารกรุงเทพ 1,659,844 18.9 1,311,477 20.0 1,111,948 18.9 ธนาคารกรุงไทย 1,327,184 15.1 1,063,532 16.2 1,010,687 17.2 ธนาคารกสิกรไทย 1,303,552 14.9 968,788 14.8 872,085 14.8 ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,228,494 14.0 913,534 14.0 854,142 14.5 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 742,576 8.5 540,747 8.3 516,717 8.8 ***ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (ข้อมูล ณ สิ้นธันวาคม 2551) ไขข้อข้องใจการใช้ ATM-บัตร ATM ใช้ได้กับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน -เครื่อง ATM จะยึดบัตรด้วยสาเหตุใหญ่ ๆ คือ 1. เจ้าของบัตรโทรแจ้งให้ธนาคารอายัดบัตร และในเวลาต่อมามีการนำบัตรดังกล่าวไปใช้บัตรใบนั้นจะถูกยึดทันที 2. ในการนำบัตรไปใช้ถอนเงิน หากมีการกดรหัสผิดเกินกว่าจำนวนครั้งที่ธนาคารกำหนด เช่น 3 ครั้ง เครื่องก็จะยึดบัตร -บัตร ATM สามารถใช้บริการได้หลายอย่าง เช่น สอบถามยอดเงินคงเหลือในบัญชี ฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงินระหว่างบัญชี ชำระค่าสินค้าและบริการ ชำระค่าสาธารณูปโภค ทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล โอนเงินให้บุคคลที่ 3 ภายในธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคาร นอกจากบัตร ATM จะใช้บริการที่ตู้ ATM แล้ว บัตร ATM ของธนาคารบางแห่งยังสามารถนำมาซื้อสินค้าและบริการได้ทันที เรียกว่า ใช้เป็นบัตรเดบิต โดยไม่ต้องเสียเวลาถอนเงินจากตู้ ATM -ถ้าเครื่อง ATM ไม่ยอมจ่ายเงิน ควรติดต่อธนาคารเจ้าของบัญชีที่ออกบัตรทันที หรือโทรศัพท์ติดต่อศูนย์แก้ปัญหาที่สำนักงานใหญ่ โดยแจ้งข้อมูลแก่ธนาคาร วัน เวลาที่ทำรายการ สถานที่ตั้งเครื่อง ATM เลขที่บัญชี เลขที่บัตร และจำนวนเงิน -ถ้าเจ้าของบัตรลืมรหัสตัวเอง แล้วบัตรถูกยึด สามารถติดต่อขอรับบัตรคืนจากธนาคารได้1.กรณีเป็นเครื่องต่างธนาคาร ให้ติดต่อขอคืนบัตรที่ธนาคารเจ้าของบัตร ซึ่งอาจต้องรอหลายวัน 2.กรณีเป็นเครื่องของธนาคารผู้ออกบัตร ให้ขอรับได้จากธนาคารภายในวันรุ่งขึ้น ทั้ง 2 กรณี เจ้าของบัตรต้องเตรียมหลักฐานยืนยันว่า เป็นเจ้าของบัตรที่แท้จริง -ผู้ถือบัตร ATM ที่ออกโดยธนาคารในต่างจังหวัดสามารถใช้ตู้ ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรในจังหวัดนั้นได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ถ้าหากไปใช้ตู้ ATM ของธนาคารอื่น จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 10-20 บาทต่อรายการ เนื่องจากธนาคารมีค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร (ค่าคู่สาย) เข้ามาที่ศูนย์ประมวลผลในกรุงเทพ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ธนาคารจึงต้องนำค่าคู่สายรวมเข้าไปด้วย 423,720 บาท คือราคาของเครื่อง ATM 1 เครื่อง200,090 บาท คือราคาของเครื่องปรับสมุด 1 เครื่อง1,200,000 บาท คือราคาของเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ 1 เครื่อง***ที่มา : การศึกษาปัญหาและการกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมของบมจ.ธนาคารกรุงไทย โดย จงกรมแก้ว พหลพลพยุหเสนา ข้อแนะนำสำหรับคนที่ไม่อยากเสียเงินฟรีๆ ไปกับค่าธรรมเนียม1.ควบคุมบัญชีเงินฝากของตัวเองให้ดี อย่าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำอะไร และปล่อยให้เงินในบัญชีเหลือน้อยกว่าที่ธนาคารเขากำหนด เพราะถ้าทำแบบนี้เสียเงินแน่2.เป็นไปได้ก็อย่าไปกด ATM ของธนาคารอื่น ถ้าไม่อยากเสียเงินฟรี3.ไปกดเงินที่ ATM ในต่างจังหวัดก็ต้องทำใจเพราะยังไงก็เสียค่าธรรมเนียม4.โอนเงินผ่านตู้ ATM ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม ทั้งแบบข้ามเขตและต่างธนาคาร ยิ่งโอนมากก็ยิ่งเสียมาก5.แต่ถ้าใครอยากฝากเงินเพื่ออนาคต ไม่คิดว่าจะถอนมาใช้จนกว่าจะถึงเวลาจำเป็น ไม่ต้องสมัครบัตร ATM ก็ได้ เพราะช่วยประหยัดได้หลายร้อยบาท6.จะฝาก จะถอน ก็ต้องดูให้ดี ว่าธนาคารที่เราเปิดบัญชีอยู่ในเขตเดียวกับธนาคารที่เราจะใช้บริการหรือเปล่า ถ้าไม่ใช้ก็ทำใจว่าต้องเสียค่าธรรมเนียม7.หมั่นเช็คสมุดบัญชีเงินฝากอยู่เสมอ เพราะหากข้อมูลหาย แล้วอยากขอสำเนารายงานแสดงบัญชีย้อนหลังกับทางธนาคาร แบบนี้เขาคิดเงิน8.ดูแลรักษาสมุดบัญชีและบัตร ATM ให้ดี เพราะถ้าชำรุดหรือทำหาย ขอใหม่ก็ต้องเสียเงิน9.หากเปิดบัญชีแล้วเกิดเปลี่ยนใจ อยากปิดบัญชีแต่ว่าเปิดมาไม่ถึงตามเวลาที่ธนาคารกำหนด แบบนี้บางที่เขาคิดเงินนะ ข้อมูลประกอบการเขียน : ธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th, สมาคมธนาคารไทย www.tba.or.th, โครงการวิจัยเรื่อง ‘แนวทางปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ควบคุมธนาคารพาณิชย์ประเทศไทย’ ผู้แต่ง ปกรณ์ วิชยานนท์, มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.2532, การศึกษาปัญหาและการกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมของบมจ.ธนาคารกรุงไทย โดย จงกรมแก้ว พหลพลพยุหเสนา.2548, แบบแสดงรายงานข้อมูลประจำปี 2551 ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 169 เอทีเอ็มแบบธรรมดา ธนาคารยังมีบริการไหม

เปิดหัวเรื่องมาแบบนี้ เพราะมีคำถามจากผู้บริโภคจำนวนหนึ่ง ที่จำเป็นต้องเปิดบัญชีธนาคารพร้อมกับทำบัตรเอทีเอ็ม เพื่อไว้อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมต่างๆ แต่ปัญหาที่เป็นประสบการณ์ร่วมกันคือ ธนาคารมักเสนอบัตรเอทีเอ็มแบบที่มีลักษณะเป็นบัตรเดบิตไปด้วย(สามารถใช้บัตรรูดแทนเงินสดได้ตามจำนวนเงินที่มีในบัญชี) หรือไม่ก็เสนอบัตรที่มีการทำประกันภัยไปด้วย ทำให้ค่าธรรมเนียมในการทำบัตรพุ่งพรวดไปหลายร้อยบาท เรื่องนี้มิใช่เพิ่งมามีปัญหา แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เวลามีการโวยวายผ่านสื่อขึ้นมาสักครั้ง ทุกธนาคารก็ให้คำตอบประมาณว่า ธนาคารไม่มีการบังคับ(แบบตรงๆ) ว่าทุกคนต้องทำบัตรเอทีเอ็มชนิดพิเศษ ผู้บริโภคสามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ ซึ่งก็จริง แต่ในสถานการณ์จริง ผู้บริโภคมักถูกบังคับกลายๆ ให้ต้องเลือกทำบัตรเอทีเอ็มแบบพิเศษด้วยข้ออ้างประเภท “บัตรเอทีเอ็มธรรมดาหมด ต้องรอหลายอาทิตย์กว่าบัตรจะมา” หรือ “บัตรแบบนี้ดีกว่าเยอะ สามารถเบิกถอนได้คราวละมากๆ” เป็นต้น ผู้บริโภคหลายคนจึงเลือกเอาความสะดวก ไหนๆ ก็มาแล้ว ทำไปให้เสร็จๆ เพื่อไม่ต้องเสียเวลามาอีก จึงจำยอมทำไป ทั้งที่ไม่เต็มใจเท่าไหร่ เสียงบ่นเสียงครวญจึงเกิดขึ้นมากมาย เพราะค่าธรรมเนียมบัตรประเภทพิเศษนี้ จะวนเวียนมาอีกทุกๆ ปี ซึ่งเป็นเรื่องเกินความจำเป็น   ปัญหาการเปิดใช้บริการเอทีเอ็ม ปัญหาการเงินการธนาคารเป็นประเด็นหนึ่งที่ คณะกรรมการองค์การอิสระภาคประชาชน ให้ความสำคัญและในปี2557 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มทดลองทำหน้าที่ ได้มีการจัดทำข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ทางคณะกรรมการฯ มองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน คือ 1.ยกเลิกการขายพ่วง บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม ร่วมกับการขายประกัน ข้อเสนอนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหนังสือตอบว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทย จะขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการ และออกประกาศ หรือกำหนดมาตรการบังคับ ห้ามการขายพ่วงบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม และประกันภัย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย จะให้แยกแบบฟอร์มการสมัคร (แยกโต๊ะสำหรับการขายประกันโดยเฉพาะ) 2.ยกเลิกการบังคับ ทำบัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็มธรรมดา ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งว่า ได้ทำหนังสือถึงธนาคารต่างๆ เพื่อจัดการปัญหาการบังคับทำบัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็มแล้ว 3.ลดราคาค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขต ข้อเสนอนี้ ในขั้นต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินทางอินเตอร์เน็ตแล้ว(มีเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร) อย่างไรก็ตาม แม้มีการตอบรับเรื่องการจัดการแก้ไขปัญหา การบังคับทำบัตรเดบิตแทนเอทีเอ็มธรรมดา โดยธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ก็ยังมีเสียงร้องเรียนมาจากฟากผู้บริโภคว่า ปัญหายังไม่หมดไป ธนาคารหลายแห่งยังมามุขเดิมๆ คือพยายามบ่ายเบี่ยงการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ของผู้บริโภค ดังนั้นในการประชุมคณะอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชนด้านการเงินและการธนาคาร  ครั้งที่ 5/2557 จึงมีมติให้ทดลองติดตามมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคของธนาคารแห่งประเทศไทยว่า มีผลในทางปฏิบัติจริงหรือไม่ ในประเด็น 1) บัตรเอทีเอ็มธรรมดายังทำได้อยู่หรือไม่ 2) ค่าธรรมเนียมการทำบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต ตรงกับที่ทางธนาคารแจ้งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยฉลาดซื้อขออาสาทดสอบเรื่องดังกล่าว   ขั้นตอนการทดสอบ 1.เราเลือกธนาคารเป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยเลือกจาก 3 สาขาของแต่ละธนาคาร ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 2.จัดหาอาสาสมัครเพื่อไปทดลองเปิดบัญชีและทำบัตรเอทีเอ็ม โดยในการทดสอบอาสาสมัครจะบอกเพียงขอทำบัตรเอทีเอ็มเท่านั้นเพื่อดูการเสนอบริการของพนักงานว่ามีการให้ข้อมูลแบบใด เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงค่อยยืนยันว่าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาเท่านั้น เพื่อดูว่าพนักงานจะมีปฏิกิริยาอย่างไร และอาสาสมัครยังสามารถทำเฉพาะบัตรเอทีเอ็มธรรมดาได้หรือไม่ 3.ก่อนจะส่งอาสาสมัครไปเปิดบัญชี เราได้ตรวจสอบข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อดูข้อมูลเรื่องค่าธรรมเนียมการทำบัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต ที่แต่ละธนาคารได้แจ้งไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งพบว่า ธนาคารกรุงเทพ ได้ยกเลิกการให้บริการบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาแล้ว มีเพียงบัตรเดบิต “บีเฟิร์ส” เท่านั้น     จากตารางจะเห็นว่า การทำบัตรเอทีเอ็ม 1 ใบ แบบธรรมดาจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า+รายปี ไม่เกิน 300 บาท เว้นธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งมีค่ารายปี 250 บาท+แรกเข้า 100 บาท รวมเป็นเงิน 350 บาท ข้อสังเกตคือ บัตรเอทีเอ็มธรรมดา ของธนาคารกสิกรไทย กรุงศรีฯ และไทยพาณิชย์จะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า+รายปี ไม่แตกต่างจากการทำบัตรเดบิตแบบธรรมดา เว้นของธนาคารกรุงไทยที่ค่าธรรมเนียมบัตรธรรมดาจะถูกกว่าบัตรเดบิต คือ บัตรเอทีเอ็มธรรมดา 230 บาท บัตรเดบิตธรรมดา 300 บาท         จากการทดลองสรุปว่า 12 สาขาของธนาคารเป้าหมาย ที่อาสาสมัครได้ทดลองเปิดบัญชีใหม่พร้อมทำบัตรเอทีเอ็ม พบว่า ไม่สามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ ถึง 6 สาขา (50%) โดยธนาคารกสิกรไทยทำไม่ได้เลยทั้ง 3 สาขาที่อาสาสมัครได้ทดลองขอใช้บริการ รองลงมาคือ ธนาคารกรุงไทย ทำไม่ได้ 2 สาขา ไทยพาณิชย์ ทำไม่ได้ 1 สาขา(อ้างบัตรหมดเช่นกัน) ส่วนที่ต้องปรบมือให้ คือธนาคารกรุงศรีฯ อาสาสมัครของเราสามารถเปิดบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ทั้งสามสาขา   ฉลาดซื้อแนะ 1.ถ้าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาจริงๆ ขอให้ยืนยันกับทางพนักงานว่าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มธรรมดาเท่านั้น ซึ่งค่าธรรมเนียมจะไม่เกิน 300 บาท เว้นธนาคารไทยพาณิชย์ 350 บาท 2.ระวังพนักงานเล่นกลกับท่าน กรณีที่บัตรเอทีเอ็มธรรมดาของธนาคารอาจมีหลายประเภท ท่านอาจได้ประเภทที่ค่าธรรมเนียมสูงแทนบัตรธรรมดาที่ค่าธรรมเนียมต่ำ  หรือได้เป็นบัตรเดบิตมาแบบงงๆ เพราะค่าธรรมเนียมเท่ากัน 3.โปรดเลือกบริการโดยคำนึงถึงความเสี่ยง ด้วยค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มกับบัตรเดบิต อาจไม่ได้มีราคาต่างกัน ท่านจึงอาจเลือกบัตรเดบิตเพื่อความสะดวก แต่การเลือกใช้บัตรเดบิตต้องคำนึงเรื่องความปลอดภัย เพราะบัตรเดบิตสามารถนำไปรูดซื้อสินค้าได้เช่นเดียวกับบัตรเครดิต เพียงแต่ไม่เกินยอดเงินในบัญชี ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงในการสุญเงิน หากท่านทำบัตรสูญหายหรือถูกขโมยไปใช้ เพราะผู้ไม่หวังดีต่อท่านจะสามารถรูดซื้อสินค้าได้ง่ายๆ เพียงแค่ปลอมลายมือชื่อของท่านเวลาซื้อของเท่านั้น(ร้านค้าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้พิจารณาเรื่องลายมือชื่อสักเท่าไร) ดังนั้นท่านอาจสูญเงินทั้งหมดในบัญชีไปได้ง่ายๆ 4.ถ้าพบปัญหาว่าไม่สามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ เพราะการอ้างเรื่องบัตรหมด ท่านควรทำหนังสือร้องเรียนต่อธนาคารดังกล่าว โดยการส่งจดหมายถึงธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานใหญ่ของธนาคารนั้น เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการให้บริการ ถ้าจะไม่มีบัตรแบบธรรมดาแล้ว ก็ควรประกาศยกเลิกไปอย่างเป็นทางการ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 125 เงินฝากดอกเบี้ยสูง... แค่จูงใจหรือได้จริง!?

 การฝากเงินกับธนาคารของใครหลายคนอาจไม่ใช่เพียงแค่การออมเงิน แต่เป็นการต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับเงินที่นำไปฝาก ด้วยผลกำไรที่ได้จาก “ดอกเบี้ย”  การฝากเงินไว้กับธนาคารแล้วปรารถนาดอกเบี้ยสูงแทบเป็นไปได้น้อยในบัญชีประเภท ออมทรัพย์ ดังนั้นทางเลือกที่น่าสนใจที่สุดก็คือ เลือกฝากกับ “บัญชีเงินฝากประจำ” ซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา แถมช่วงนี้กระแสฝากเงินรับดอกเบี้ยสูงกำลังมาแรง ธนาคารหลายเจ้าใช้กลยุทธ์ดึงดูดใจลูกค้าด้วยตัวเลขดอกเบี้ยสูงปี๊ด แบบที่ใครเห็นก็ต้องตะลึง รู้สึกใจเต้นตึงตัง อยากควักเงินจากกระเป๋าเอาไปเข้าบัญชีแบบเดี๋ยวนั้นทันที   สงครามเงินฝากดอกเบี้ยสูง!!!  ช่วงนี้แต่ละธนาคารกำลังทำสงครามแย่งชิงเม็ดเงิน (ฝาก) จากลูกค้ากันอย่างหนัก โดยต่างก็ชูเรื่องเงินฝากดอกเบี้ยสูงมาเป็นจุดขาย ซึ่งส่วนใหญ่เลือกใช้กลยุทธ์ดอกเบี้ย 7% มาเป็นตัวเรียกแขก ให้หลายคนเกิดแรงบันดาลใจหันมาออมเงินกันวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีในวันหน้า ไม่ว่าจะเป็น ธ.นครหลวงไทย กับโปรโมชั่นเงินฝากประจำพิเศษ super grow up 10 เดือน, ธ.ไทยพาณิชย์ เงินฝากประจำดอกเบี้ยก้าวกระโดด 11 เดือน, ธ.กสิกรไทย เปิดบัญชีเงินฝากประจำดอกเบี้ยพุ่งพรวด 13 เดือน ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเพื่อนที่ 7.50% หรือแม้แต่ ธ.ออมสิน ก็มีเงินฝากประจำ 11 เดือน ให้ดอกเบี้ย 7% เป็นทางเลือกให้กับคนที่อยากฝากเงินไว้กินดอก  ลองมาดูกันหน่อยสิว่าแต่ละธนาคารใช้โปรโมชั่นอะไรมาจูงใจคนที่รักการออมอย่างเรากันบ้าง   ธ.นครหลวงไทย เงินฝากประจำพิเศษ super grow up 10 เดือน ดอกเบี้ย 7%อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)เดือนที่ 1 – 6 = 2.00%เดือนที่ 7 – 8 = 2.50%เดือนที่ 9 - 11 = 7.00%อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 3.10% เงื่อนไข-ต้องมีสมุดบัญชีคู่ฝากอีกหนึ่งบัญชี-ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท ไม่จำกัดวงเงิน-จ่ายดอกเบี้ย 3 ครั้ง เดือนที่ 6 เดือนที่ 8 และเดือนที่ 10-ฝากไม่ครบ 6 เดือนไม่ได้ดอกเบี้ย-บัญชีไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อ-หากจะถอนต้องถอนทั้งยอดฝาก ยอดฝากใดก็ได้----------   ธ.กสิกรไทย เงินฝากประจำดอกเบี้ยพุ่งพรวด 13 เดือน ดอกเบี้ย 7.50%อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)เดือนที่ 1 – 3 = 2.00%เดือนที่ 4 – 6 = 2.50%เดือนที่ 7 – 9 = 3.25%เดือนที่ 10 – 11 = 5.75%เดือนที่ 12 – 13 = 7.50%อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 3.827%เงื่อนไข-ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท-จ่ายดอกเบี้ยเดือนที่ 3 เดือนที่ 6 เดือนที่ 9 เดือนที่ 11 และเดือนที่ 13-ผู้ฝากต้องมีบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวันอีกหนึ่งบัญชี เพื่อใช้ผูกกับบัญชีใหม่ไว้สำหรับรองรับการโอนดอกเบี้ยตามช่วงเวลาที่ครบกำหนด-ถ้าถอนเงินก่อนครบกำหนด จะได้รับดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี-ถ้าถอนเงินต้นบางส่วนก่อนครบกำหนด เงินต้นส่วนที่เหลือเมื่อฝากจนครบกำหนดยังคงได้รับดอกเบี้ยตามปกติ-----------    ธ.ไทยพาณิชย์ เงินฝากประจำดอกเบี้ยก้าวกระโดด 11 เดือน ดอกเบี้ย 7%อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)เดือนที่ 1 – 4 ดอกเบี้ย 2%เดือนที่ 5 – 8 ดอกเบี้ย 3%เดือนที่ 9 – 11 ดอกเบี้ย 7%อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 3.727% ต่อปีเงื่อนไข-ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท ฝากครั้งต่อไปขั้นต่ำ 1,000 บาท-ไม่จำกัดวงเงินสูงสุด -ฝากไม่ครบ 3 เดือน ไม่ได้รับดอกเบี้ย-ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบ 11 เดือน จะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเดียวกับบัญชีออมทรัพย์ ------------   ธ.ทหารไทย เงินฝากประจำ Up & Up 24 เดือน ดอกเบี้ย 7%อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)เดือนที่ 1 – 6 = 2.00%เดือนที่ 7 -12 = 3.00%เดือนที่ 13 – 18 = 4.00%เดือนที่ 19 – 24 = 7.00%อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย = 3.1875% ต่อปีเงื่อนไข-เปิดบัญชีครั้งแรกและการฝากครั้งต่อไปกำหนดขั้นต่ำที่ 25,000 บาท -จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือนพร้อมหักภาษี ณ ที่จ่าย-ถอนเงินก่อนครบกำหนดต้องถอนเต็มจำนวนเงินของแต่ละรายการที่ฝาก คิดดอกเบี้ยตามระยะเวลาฝากในเดือนที่ถอน-ถอนเงินได้เฉพาะกับสาขาที่เปิดบัญชีไว้เท่านั้น และต้องมีสมุดคู่ฝากด้วย------------------------------   ธ.ออมสิน เงินฝากประจำ 11 เดือน ดอกเบี้ย 7%อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี)เดือนที่ 1 – 3 = 2.50%เดือนที่ 4 – 6 = 3.00%เดือนที่ 7 – 9  = 3.50%เดือนที่ 10 – 11 = 7.00%อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.7273% เงื่อนไข -ฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท -คิดดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาฝาก-ฝากไม่ครบ 3 เดือน ไม่ได้รับดอกเบี้ย-ฝากครบ 3 เดือน แต่ไม่ครบ 11 เดือน คำนวณดอกเบี้ยให้ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 11 เดือน ตามระยะเวลาที่ฝากไว้จริง-ไม่สามารถถอนบางส่วนของเงินฝากแต่ละรายการได้ ให้ถอนปิดทั้งรายการฝากนั้น-ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ หรือค้ำประกันบุคคลได้--------   ความจริงในเลข 7 ต้องยอมรับว่าดอกเบี้ย 7% ต่อปี ถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก ยิ่งถ้านำไปเทียบกับดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากประจำแบบ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน ที่ได้ดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ไม่เกิน 3.75% ต่อปี (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย) ยิ่งกับบัญชีออมทรัพย์ธรรมดายิ่งไม่ต้องพูดถึงเพราะคิดดอกเบี้ยให้แค่ปีละ 0.75% เท่านั้น  ดอกเบี้ย 7% ที่ธนาคารนำมาเป็นจุดขายยั่วใจให้เรายอมควักเงินไปนอนนิ่งๆ อยู่ที่ตู้เซฟของธนาคาร ในความเป็นจริงแล้วเรา 7% ที่ว่าอาจเป็นแค่ตัวเลขลวงตา เพราะเมื่อมาพิจารณาในเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยที่แต่ละธนาคารกำหนดไว้จะพบว่าดอกเบี้ยที่เราจะได้รับจริงๆ อาจได้ไม่ถึง 7% เนื่องจากบัญชีเงินฝากที่บอกว่าจะคิดดอกเบี้ยให้เราสูงถึง 7% ต่อปีนั้น   จะใช้หลักการคิดดอกเบี้ยแบบขั้นบันได หมายถึงดอกเบี้ยจะมีการเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการฝากตามแต่ที่เงื่อนไขของบัญชีเงินฝากนั้นๆ จะกำหนดไว้ เช่น 10 เดือน หรือ 11 เดือน โดยในช่วง 3 เดือนแรก เราจะได้รับดอกเบี้ยจากการฝากเงินอยู่ที่ประมาณ 2 – 3% ต่อปี   หลังจากนั้นมูลค่าของดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาของการฝาก 6 เดือน 8 เดือน จนในช่วงเดือนท้ายๆ เราถึงจะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสูงสุดที่ 7% เมื่อเฉลี่ยตลอดช่วงเวลาการฝากเงินเราจะได้รับดอกเบี้ยสุทธิจริงๆ อยู่ที่ประมาณ 3 – 4% เท่านั้น   ซึ่งตัวเลขนี้ก็ยังไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิจริงๆ ที่เราได้ เพราะดอกเบี้ยที่ทางธนาคารแจ้งกับเรานั้นเป็นดอกเบี้ยที่เฉลี่ยต่อปี แต่บรรดาบัญชีเงินฝากประจำให้ดอกเบี้ยสูงทั้งหลายที่แต่ละธนาคารส่งมาประชันกันนั้นถือเป็นบัญชีแบบพิเศษ คือจะเป็นการเปิดให้ฝากในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นและอายุของบัญชีที่ใช้คิดปันผลดอกเบี้ยของบางบัญชีก็ไม่ถึง 1 ปี ซึ่งนั่นก็ทำให้ตัวเลขดอกเบี้ยเฉลี่ยที่แจงไว้ก็ต้องลดลงไปอีกเมื่อถึงเวลาที่คิดยอดรวม แถมยังต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายในส่วนของดอกเบี้ยที่ได้รับอีกด้วย ------------------------------------------------------   วิธีการคำนวณหาดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้จริงๆ จากการฝากเงินในบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง  หลายคนอาจจะคิดว่าการคำนวณหาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารเป็นเรื่องยาก เห็นตัวเลขมากๆ แล้วอาจจะตาลาย แต่ความจริงแล้วการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากนั้นง่ายนิดเดียว  สูตรที่ใช้ในการคำนวณก็คือ ระยะเวลาการฝาก × อัตราดอกเบี้ย ÷ ด้วย 12 ซึ่งก็จำนวนเดือนใน 1 ปี  ตัวอย่างธนาคารให้ดอกเบี้ยสูงสุดที่ 7% ระยะเวลาการฝาก 10 เดือน โดยคิดดอกเบี้ยเป็นขั้นบันได แบ่งการจ่ายเป็น 3 ครั้ง ช่วงเดือนที่ 1 – 5 ให้ดอกเบี้ย 2% ต่อปี เดือนที่ 6 – 8 ให้ดอกเบี้ย 3% ต่อปี และในเดือนที่ 9 – 10 ให้ดอกเบี้ย 7% ต่อปี ถ้าสมมุติว่าเรามีเงินต้นอยู่ 10,000 บาท เราก็จะสามารถคิดดอกเบี้ยจริงด้วยการคำนวณดังต่อไปนี้ เดือนที่ 1 – 5 ดอกเบี้ย 2.00% ต่อปี = 2.00 คูณ 5 หาร 12 = 0.83% เป็นดอกเบี้ยที่ได้ใน 5 เดือนแรกเดือนที่ 6 – 8 ดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี = 3.00 คูณ 3 หาร 12 = 0.75% เป็นดอกเบี้ยที่ได้ใน 3 เดือนต่อมาเดือนที่ 9 – 10 ให้ดอกเบี้ย 7.00% ต่อปี = 7.00 คูณ 2 หาร 12 = 1.16% เป็นดอกเบี้ยที่ได้ในอีก 2 เดือนต่อมา รวมฝากเงิน 10 เดือนจะได้ดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.74% ไม่ใช่ 7% อย่างที่ธนาคารโฆษณาไว้ ------------------------------------------------------   เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับเงินฝากประจำพิเศษดอกเบี้ยสูง  -ต้องดูที่ดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการฝาก อย่าเชื่อตัวเลขดอกเบี้ยที่ธนาคารเอามาโฆษณา ซึ่งดอกเบี้ยเฉลี่ยจะมีการแจ้งไว้ในเงื่อนไขรายละเอียดจากคิดดอกเบี้ยอยู่แล้ว  -เงินฝากประจำดอกเบี้ยสูงให้ดอกเบี้ยสูงกว่าในระยะเวลาที่สั้นกว่า ถ้าเทียบกับเงินฝากประจำทั่วไป  -แม้การฝากประจำระยะยาวจะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากระยะสั้นหรือฝากแบบออมทรัพย์ แต่ก็ส่งปัญหาต่อสภาพคล่องของผู้ฝาก เพราะไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้สะดอก ถ้ามีการถอนก็จะมีการปรับลดดอกเบี้ยทันที แถมยังอาจเสียสิทธิได้รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น หากในอนาคตข้างหน้าเกิดมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดก่อนถึงวันที่ครบกำหนดฝาก  -เงินฝากประจำดอกเบี้ยสูงฝากขั้นต่ำที่ 1 หมื่นบาท ได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการฝาก ส่วนเงินฝากประจำทั่วไปดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นตามวงเงินฝาก ซึ่งส่วนใหญ่ต้องเป็นวงเงินที่สูงมากระดับหลายล้านบาท  -อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยบัญชีฝากประจำ 3 เดือนอยู่ที่ 1.50 – 3.45% ต่อปี, 6 เดือนอยู่ที่ 1.70 – 3.50% ต่อปี, 12 เดือนอยู่ที่ 1.90 -3.75% ต่อปี และ 24 เดือนอยู่ที่ 2.40 – 4.45% ต่อปี (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย)-เงินฝากประจำที่มีการแบ่งจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในรอบระยะเวลาการฝากแต่ละประเภท ถ้าผู้ฝากถอนเงินก่อนครบกำหนด โดยธนาคารได้มีการแบ่งจ่ายดอกเบี้ยไปแล้ว ธนาคารจะดำเนินการเรียกคืนดอกเบี้ยที่จ่ายไปแล้วคืนตามสัดส่วนที่คำนวณจากยอดเงินต้น และไม่คืนภาษีเงินที่ได้เสียไปแล้ว ------------------------------------------------------  พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก  พ.ร.บ ที่จะช่วยให้อุ่นใจว่าเงินที่เราฝากไว้มีคนคอยดูแล หากวันหนึ่งธนาคารที่เราฝากเงินไว้เกิดเรื่องไม่คาดฝันถูกปิดกิจการ เงินของเราจะได้รับการคุ้มครอง ทั้งเงินฝากประเภทออมทรัพย์ กระแสรายวัน เงินฝากประจำ บัตรเงินฝาก และใบรับเงินฝากที่เป็นเงินบาท เฉพาะของธนาคารพาณิชย์  สำหรับวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองตามประกาศของ พ.ร.บ. คือ11 ส.ค.53 – 10 ส.ค. 54 คุ้มครองเต็มจำนวนเงินฝาก11 ส.ค.54 – 10 ส.ค.55 คุ้มครองไม่เกินวงเงิน 50 ล้านบาท11ส.ค.55 เป็นต้นไป คุ้มครองไม่เกินวงเงิน 1 ล้านบาท  (*หลังจาก 11ส.ค.55 ถ้าหากมีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท เงินส่วนที่มาต้องรอการชดเชยจากการขายทรัพย์สินของธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้นๆ) ------------------------------------------------------ เงินฝากประเภทอื่นๆ ที่น่าสนใจ  เงินฝากทวีทรัพย์ ดอกเบี้ย 3% ต่อปี (ธ.กสิกรไทย)วงเงินฝาก 1,000 – 25,000 บาท โดยต้องฝากเงินเท่าๆ กันทุกเดือนติดต่อกัน 24 เดือน ถึงจะได้รับดอกเบี้ย 3% ต่อปี แถมยังได้ดอกเบี้ยพิเศษอีก 2.50% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ ในความพยายามที่สามารถฝากมาจนครบ 2 ปี แต่ถ้าขาดฝากแค่ 1 งวด ก็จะถูกปรับให้ได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.75% ต่อปี)  เงินออมปลอดภาษี ดอกเบี้ย 3.35% ต่อปี (ธ.นครหลวงไทย)ข้อดีคือไม่ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% สำหรับดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ต้องทำตามเงื่อนไขคือ ฝากเงินจำนวนเท่าๆ กัน ติดต่อกันทุกเดือน นาน 24 เดือน หรือ 36 เดือน โดยถ้าฝากครบตามกำหนดจะมีโบนัสดอกเบี้ยเพิ่มให้ ฝาก 24 เดือนจะได้ดอกเบี้ยเพิ่มอีก 5% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ ส่วน 36 เดือนจะได้เพิ่มอีก 6 % ของดอกเบี้ยที่ได้รับ สำหรับวงเงินในการฝากกำหนดไว้ที่ 500 – 600,000 บาท แต่ถ้าฝากช้าเกิน 2 ครั้งจะถูกตัดสิทธิการเป็นบัญชีปลอดภาษี และห้ามถอนเงินจนกว่าจะครบกำหนดฝาก  เงินฝากไม่ประจำ ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยสูง ดอกเบี้ย 2.50% ต่อปี (ธ.ทหารไทย)ไม่จำกัดวงเงินในการฝาก จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง แต่ว่ามีข้อห้ามหลายอย่าง ทั้งไม่สามารถใช้บัตร ATM หรือบัตรเดบิตไม่ได้ ใช้ชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ได้ แถมถ้าถอนเงิน โอนเงินที่เคาน์เตอร์ของธนาคารมากกว่า 2 ครั้งใน 1 เดือน ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายการละ 50 บาท แต่ทำผ่านระบบออนไลน์ไม่เสียค่าธรรมเนียม   ออมทรัพย์ฟรีค่าธรรมเนียม  ดอกเบี้ย 0.75% ต่อปี (ธ.ทหารไทย)บัญชีเงินฝากประเภทนี้แม้จะให้ดอกเบี้ยเท่ากับบัญชีออมทรัพย์ทั่วๆ ไป แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่สามารถใช้ทำธุรกรรมต่างๆ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ทำให้สามารถช่วยประหยัดเงินในบัญชีได้เยอะ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมผ่านเครื่อง ATM ผ่านะระบบอินเตอร์เน็ท ผู้ถือบัญชีนี้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม รวมถึงค่าธรรมเนียมจากการผ่อนซื้อสินค้าโดยการหักบัญชี และค่ารักษาบัญชี แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องมีเงินอยู่ในบัญชีไม่น้อยกว่า 2 หมื่นบาท ไม่งั้นจะถูกหักค่าธรรมเนียมเดือนละ 50 บาท (อ้าว!ไหนว่าฟรีค่าธรรมเนียม)-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------  ***หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ระบุในบทความ มาจากประกาศล่าสุดของแต่ละธนาคารในเดือน กรกฎาคม 2554 ตัวเลขอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศอื่นๆ ในอนาคต

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 95 Blacklist บัตรเครดิตเจ้าไหนใจร้ายสุด

ปีที่ผ่านมานักวิจัยของฉลาดซื้อได้รวบรวมแผ่นพับเชิญชวนให้คนเป็นหนี้ เอ้ย…ไม่ใช่ เชิญคนสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตเกือบทุกเจ้าในประเทศไทย โดยรวบรวมทั้งที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคาร แล้วก็ลองพินิจพิเคราะห์ดูว่า แต่ละเจ้ามีความใส่ใจในผู้บริโภคมากแค่ไหน ข้อความมีความละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจหรือมีการระบุข้อความอะไรที่เข้าข่ายจะละเมิดสิทธิผู้บริโภคบ้าง ปรากฎว่าข้อมูลเยอะมากมายจนสามารถทำเป็นซีรี่ส์เรื่องบัตรเครดิตยอดเยี่ยม ยอดแย่ได้ทีเดียว แต่เพราะเนื้อที่เราจำกัดมาก ฉบับนี้จึงขอนำเสนอเฉพาะกรณีเกี่ยวกับการทวงหนี้ ซึ่งพบว่ามีผู้ประกอบการหลายเจ้าทีเดียว ที่ระบุเสียชัดเจนว่า สามารถทวงหนี้กับใครอื่นก็ได้ที่ไม่ใช่เรา แต่จะอ่านเจอหรือไม่ อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสายตาของผู้บริโภคเพราะว่า ตัวอักษรมันเล็กมากๆ น้อยกว่า 2 มิลลิเมตรเสียอีก ฉลาดซื้อทดสอบ1.บัตรเครดิต ที่ระบุเงื่อนไขว่า บริษัทฯ สามารถกระทำการทวงถามติดตามหนี้สินได้ จากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือบัตร ได้แก่ ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารยูโอบี และ บ.จีอี แคปปิตอล ประเทศไทย จำกัด (เฟิร์สช้อยส์ วีซ่า, บัตรเซ็นทรัล มาสเตอร์การ์ด, บัตรเครดิต โรบินสัน วีซ่า, บัตรเครดิต เทสโก้ วีซ่า)2.บัตรสินเชื่อบุคคล ที่ระบุเงื่อนไขว่า บริษัทฯ สามารถกระทำการทวงถามติดตามหนี้สินได้ จากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือบัตร ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (สินเชื่อหมุนเวียนสปีดี้แคช/สินเชื่อบุคคลสปีดี้โลน) บ.จีอี แคปปิตอล ประเทศไทย จำกัด (สินเชื่อเงินสด พาวเวอร์บาย) 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point