ฉบับที่ 185 น้ำตาลในน้ำผักผลไม้

เครื่องดื่มประเภทน้ำผักผลไม้ สามารถสร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับผู้บริโภคได้เสมอ เพราะมักโฆษณาว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งมันคงเป็นเช่นนั้นจริงๆ หากเครื่องดื่มเหล่านั้นไม่ผสมน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน หรือตามที่นักโภชนาการแนะนำคือ 24 กรัม/วัน หรือ 6 ช้อนชา/วัน เพราะน้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งหากเราบริโภคมากเกินไป สามารถเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคอ้วนหรือฟันผุ ทั้งนี้ไม่ว่าน้ำตาลนั้นจะมาจากการสกัดหรือเป็นน้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในผลไม้ก็ตาม เพราะร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนน้ำตาลฟรักโทสให้กลายเป็นกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานได้เช่นกันฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเสนอผลทดสอบ ปริมาณน้ำตาลในน้ำผักผลไม้จำนวน 27 ตัวอย่างจาก 8 ยี่ห้อยอดนิยม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพ และป้องกันการบริโภคน้ำตาลมากเกินความต้องการโดยไม่รู้ตัว ซึ่งยี่ห้อไหนจะมีน้ำตาลมากหรือน้อยกว่ากัน ไปดูกันเลย    ตารางผลทดสอบ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 159 “เครื่องดื่มแมนๆ” ไว้ดูแลผู้ชายแน่หรือ??

กระแสเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ (functional drink) หรือเครื่องดื่มที่มีการเติมวิตามินและสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพลงไป กำลังมาแรงสุดๆ หวังเรียกเรตติ้งจากกลุ่มคนรักสุขภาพ กลุ่มคนรุ่นใหม่ คนวัยทำงาน โดยเฉพาะคนในเมืองที่อยากมีสุขภาพที่ดีแต่ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง เครื่องดื่มประเภทนี้เริ่มต้นเจาะกลุ่มของผู้หญิงเป็นหลัก เน้นเสริมด้านสุขภาพและความงาม ก่อนจะขยายต่อมายังกลุ่มของผู้ชาย ตามกระแสรักสุขภาพและการดูแลตัวเองที่มีเพิ่มมากขึ้นของหนุ่มๆ แบบไม่น้อยหน้าสาวๆ ขนาดที่ว่าเครื่องดื่มแมนๆ ที่เคยมีภาพลักษณ์เป็นเครื่องดื่มให้พลังงานอย่าง “เครื่องดื่มชูกำลัง” ที่เจาะกลุ่มคนใช้แรงงาน และ “เครื่องดื่มเกลือแร่” ที่เน้นคนเล่นกีฬาเป็นหลัก ยังต้องปรับตัวเองด้วยการเติมวิตามินและสารอาหารต่างๆ เพิ่มลงไป เพื่อหวังปรับภาพลักษณ์ตัวเองให้เป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์กับเขาด้วย   ดื่มแล้ว “แมน” จริงหรือ? เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่สาวๆ เท่านั้นที่ห่วงใยดูแลตัวเอง หนุ่มๆ หลายคนก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการเอาใจใส่ดูแลตัวเองกันมากขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพ แต่ยังรวมไปถึงผิวพรรณ หน้าตา ความหล่อ เครื่องดื่มที่อ้างว่าดีต่อสุขภาพสำหรับคุณผู้ชาย จึงกลายเป็นอีกหนึ่งสินค้ามาแรง ที่ถูกผลิตออกมาวางขายมากมายหลายรูปแบบหลายยี่ห้อ หวังเกาะกระแสคนรักสุขภาพแต่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเอง โดยมาพร้อมกับสโลแกนแมนๆ อย่าง “เครื่องดื่มแมนๆ ที่มีไว้ดูแลผู้ชาย” หรือ “ปลุกความเป็นชายในตัวคุณ” ฟังแล้วรู้สึกหึกเหิมขึ้นมาทันที คล้ายว่าดื่มแล้วกล้ามจะโตขึ้นมาสักเซ็น 2 เซ็น เครื่องดื่มแมนๆ ทั้งหลายที่วางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่ มีส่วนผสมหลักๆ 3 อย่าง คือ น้ำผลไม้ วิตามินหรือแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ และสุดท้ายขาดไม่ได้คือ น้ำตาล เราลองมาช่วยกันหาคำตอบดูสิว่า เครื่องดื่มที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเอาใจหนุ่มๆ ผู้รักสุขภาพนั้น ดีจริงหรือแค่ราคาคุย   แกะรอยน้ำตาลตัวร้าย เครื่องดื่มที่เจาะตลาดหนุ่มๆ ทั้ง 3 ประเภทที่ฉลาดซื้อสำรวจ ประกอบด้วย เครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มเกลือแร่ ถ้าสังเกตจากข้อมูลบนฉลากที่เรานำมาเปรียบเทียบให้ดูนั้น จะเห็นว่าส่วนใหญ่จะมีการเติมน้ำตาลลงไปในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ที่พบปริมาณสูงที่สุดคือผลิตภัณฑ์ “แมนซั่ม” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ ที่เจาะกลุ่มผู้ชายชัดเจน และมีการโฆษณาว่าเป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้ชายที่อยากดูแลตัวเอง ข้อมูลฉลากโภชนาการแจ้งว่าใน 1 ขวด มีน้ำตาลสูงถึง 44 กรัม ทั้งๆ ที่ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน คือไม่เกิน 24 กรัม ซึ่งถ้าดื่มเครื่องดื่ม “แมนซั่ม” หมด 1 ขวด ร่างกายของเราจะได้รับน้ำตาลเกินกว่าที่ต้องการถึง 20 กรัม และอย่างที่หลายๆ คนรู้กันดีอยู่แล้วว่า น้ำตาลที่สะสมในร่างกายเป็นตัวการก่อเกิดโรคอันตรายเรื้อรังต่างๆ ทั้ง โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน หัวใจ ความหวังของหนุ่มๆ ที่หวังว่าจะดื่มแล้วดูดี ได้วิตามิน แร่ธาตุ ก็เป็นเพียงแค่ฝันกลางวันเท่านั้น เพราะความจริงสิ่งที่หนุ่มๆ จะได้จากการดื่มเครื่องดื่มขวดนี้ คือ น้ำตาลล้วนๆ เพราะน้ำตาลมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพลังงานแก่ร่างกาย กระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่น เครื่องดื่มส่วนใหญ่จึงมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก โดยเฉพาะเครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มเกลือแร่ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มความสดชื่น สร้างความตื่นตัวของสมองและระบบประสาท ซึ่งทำให้เครื่องดื่มเหล่านี้มีการเติมน้ำตาลลงไปในปริมาณที่ค่อนข้างสูง โดยเครื่องดื่มชูกำลังจะมีปริมาณนำตาลต่อ 1 ขวด อยู่ที่ 17 – 28 กรัม ขณะที่เครื่องดื่มเกลือแร่จะมีน้ำตาลอยู่ประมาณ 30 – 36 กรัม ส่วนเรื่องของวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีการผสมลงไปนั้น เป็นการเติมลงไปเพื่อผลทางการตลาดเป็นสำคัญ แม้บางตัวอย่างบางยี่ห้อมีการเติมวิตามินและแร่ธาตุลงไปในปริมาณที่ค่อนข้างสูง  แต่ก็ไม่คุ้มกันกับที่ร่างกายของเราต้องรับปริมาณน้ำตาลจำนวนมากเข้าไปด้วย               “วิตามิน” ใน “ฟังก์ชันนัล ดริงค์” ดีจริงหรือแค่โฆษณา   วิตามินบี12 วิตามินบี 12 ถือเป็นวิตามินยอดฮิตที่เครื่องดื่มในกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลังนิยมนำมาเติมลงไป พร้อมกับชูเป็นจุดขายว่าเครื่องดื่มชูกำลังขวดนี้ไม่ใช่แค่เครื่องดื่มชูกำลังธรรมดา แต่ว่าดื่มแล้วดีมีประโยชน์ เพราะมีวิตามินบี 12 ช่วยบำรุงสมอง โฆษณากันขนาดนี้ จนทาง อย. ต้องรีบออกมาควบคุม เพราะเครื่องดื่มชูกำลังอย่างที่รู้กันว่าเป็นเครื่องดื่มควบคุมจำกัดปริมาณการปริโภค “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด” นั่นเป็นเพราะการที่ร่างกายได้รับปริมาณคาเฟอีมมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เพราะนอกจากจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ยังมีผลต่อหัวใจ ทำให้ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทำให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัย ถ้าหากจะถามว่าร่างกายของเรามีความจำเป็นที่จะต้องได้รับวิตามินบี 12 จากเครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีการเติมวิตามินบี 12 เพิ่มลงไปหรือไม่ ตอบได้ทันทีเลยว่าไม่จำเป็น เพราะวิตามินบี 12 นั้นหาทานได้ง่าย ร่างกายเราสามารถได้รับวิตามินมี 12 อยู่แล้วจากจากกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยอาหารที่ถือเป็นแหล่งที่มีวิตามินบี 12 สูง มีอย่างเช่น เครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะตับ ไข่แดง นม อาหารทะเลอย่าง หอย และ ปู ที่สำคัญปริมาณวิตามินบี 12 ที่ร่างกายของเราต้องการต่อวันอยู่ที่แค่ 600 ไมโครกรัม (0.06 มิลลิกรัม) เท่านั้น เราจึงไม่มีความจำเป็นต้องรับวิตามินเข้าสูงร่างกายในปริมาณมากๆ ซึ่งวิตามินบี 12 (และรวมถึงวิตามินบีอื่นๆ) เป็นวิตามินที่มีคุณสมบัติละลายน้ำ เมื่อร่างกายได้รับเกินความต้องการ สุดท้ายก็จะถูกขับทิ้งทางปัสสาวะ   วิตามินซี อีกหนึ่งวิตามินยอดนิยมที่ถูกนำมาเป็นจุดขายในเครื่องดื่มกลุ่มฟังก์ชันนัลดริงค์ ด้วยความที่วิตามินซีถูกสร้างภาพทางการตลาดว่าเป็นวิตามินวิเศษครอบจักรวาล ป้องกันได้ทั้งโรคหวัด ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ขาวกระจางใส ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่วิตามินซีดีต่อร่างกายของเรา แต่ถึงอย่างไรร่างกายของเราก็ต้องการวิตามินซีในปริมาณที่พอเหมาะพอดี และใครที่กินอาหารครบ 5 หมู่ กินผักกินผลไม้เป็นประจำอยู่แล้ว โอกาสที่ร่างกายจะขาดวิตามินซีนั้นแทบจะเป็น 0 ในหนึ่งวันร่างกายของคนเราต้องวิตามินซีที่ปริมาณ 60 มิลลิกรัม (ที่มา: สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป thai RDI) ซึ่งวิตามินซีมีอยู่มากมายในผัก – ผลไม้ โดยเฉพาะ ฝรั่ง ยอดคะน้า มะรุม มะละกอ ส้มโอ ฯลฯ สำหรับเรื่องของวิตามินซีเสริมที่มีวางจำหน่ายมากมายในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากคำแนะที่ว่าใน 1 วัน เราควรกินวิตามินซีเฉลี่ยที่ 1,000 มิลลิกรัม (ซึ่งตรงกับปริมาณของวิตามินชนิดเม็ดที่วางขายอยู่ในปัจจุบันแบบพอดิบพอดี) ก็ถือเป็นทางเลือกสำหรับคนที่พอจะมีทุนทรัพย์หาซื้อมารับประทานเพิ่มเติม หรือใครที่มีภาวะขาดวิตามินซีและแพทย์แนะนำว่าต้องทานวิตามินเสริม คนที่ทานผัก-ผลไม้เป็นประจำ ร่างกายก็น่าจะได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการแล้ว   คอลลาเจน คอลลาเจน ถือเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผิวหนังของเรามีความยืดหยุ่น เต่งตึง ทำงานประสานกับเซลล์อื่นๆ ในชั้นผิวหนัง ซึ่งคอลลาเจนใต้ชั้นผิวหนังก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพไปตามวัย เป็นเหตุให้เมื่ออายุมากเข้าผิวหนังจะเริ่มหย่อนคล้อยลงเรื่อยๆ  ด้วยความที่หน้าที่ของคอลลาเจนดันไปเกี่ยวโยงเข้ากับเรื่องผิวพรรณความงาม ทำให้คอลลาเจนถูกดึงไปเป็นจุดขายของบรรดาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทั้งหลายๆ ที่ขายเรื่องความงาม ขนาดเครื่องดื่มแมนๆ บางยี่ห้อยังต้องใช้คอลลาเจนมาเป็นจุดขาย บรรดาคุณหมอและนักวิชาการด้านสุขภาพส่วนใหญ่ต่างก็ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า การทานคอลลาเจนที่มาในรูปแบบของเครื่องดื่ม ทั้งแบบฟังก์ชันนัล ดริงค์ และแบบผงที่เอามาชงน้ำดื่ม ร่างกายไม่สามารถดูดซึมคอลลาเจนนำไปใช้งานเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกายได้ เพราะคอลลาเจนที่เรากินเข้าไปนั้นก็จะต้องถูกนำไปย่อยเช่นเดียวกับโปรตีนทั่วไป ก่อนจะกลายเป็นกรดอะมิโนเพื่อให้ร่างกายดูดซึมไปใช้งาน ความจริงแล้วร่างกายของเราสามารถผลิตคอลลาเจนได้เอง แต่ว่าปริมาณจะลดน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น และปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น อันตรายจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต รวมถึงปัจจัยจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม อย่างอาหารปิ้งย่างที่มีส่วนที่ไหม้เกรียม อาหารมันๆ อาหารปนเปื้อนสารเคมี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น   ซิงค์ หรือ สังกะสี สังกะสีถือเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีส่วนในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยในการสร้างเซลล์ใหม่ๆ สร้างอินซูลิน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ช่วยให้กระดูกและผนังหลอดเลือดแข็งแรง โดยปกติร่างกายเรามีความต้องการแร่ธาตุสังกะสีอยู่ที่ประมาณ 15 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเราสามารถได้รับสังกะสีจากการกินอาหารจำพวก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล (โดยเฉพาะหอยนางรม) ไข่แดง นม ตับ จมูกข้าวสาลี ถั่วและธัญพืชต่างๆ    ไนอะซิน ไนอะซิน หรือ วิตามินบี 3 ประโยชน์ใกล้เคียงกับวิตามินบี 12 ที่ช่วยในการทำงานของระบบประสาท ทำให้เครื่องดื่มชูกำลังก็มักมีการเติมไนอะซินลงไปด้วยเช่นเดียวกับวิตามินบี 12 เหตุผลหนึ่งที่ทำให้วิตามินบีทั้งหลาย ถูกเลือกนำมาผสมในเครื่องดื่มต่างๆ เป็นเพราะ วิตามินบีมีคุณสมบัติละลายน้ำ เหมาะแก่การนำมาผสมลงในเครื่องดื่ม ร่างกายไม่ได้ต้องการไนอะซินเยอะ กินเนื้อสัตว์ ไข่ นม และธัญพืชต่างๆ ก็เป๊ะแล้ว   ฉลาดซื้อแนะ -เครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด ไม่ว่าจะเจาะกลุ่มผู้ชายหรือผู้หญิง ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก เพราะช่วยเพิ่มเรื่องรสชาติ ดื่มง่าย อร่อย ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น ส่วนความคิดที่ว่าดื่มแล้วจะได้รับวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ดื่มแล้วสุขภาพดี ผิวขาวสวย หน้าใส คงเป็นเพียงแค่คำโฆษณาเพื่อผลทางการตลาดเท่านั้น ดีที่สุดก็คงได้แค่ดื่มแก้กระหาย แต่ระวังให้ดีดื่มมากๆ น้ำตาลจะไปทำร้ายสุขภาพ   -เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมหลัก ซึ่งดื่มมากๆ คาเฟอีนจะส่งผลเสียต่อระบบประสาทและการทำงานของหัวใจ เพราะฉะนั้นที่โฆษณาว่า ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังแล้วดีเพราะมีวิตามินบี 12 จึงเป็นแค่คำโฆษณาหวังกระตุ้นให้มีการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด และทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง อย. ก็พยายามจัดการกับผู้ผลิตที่มีการโฆษณาในลักษณะนี้ เพราะกฎหมายบอกไว้ชัดเจนว่าห้ามมีการส่งเสริมการขายเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ต้องมีการควบคุมการบริโภค ใครที่หวังจะฉลาดเพราะได้วิตามินบี 12 จากเครื่องดื่มชูกำลัง ให้ทิ้งความคิดนี้ไปได้เลย เพราะไม่เป็นผลดีกับสุขภาพแน่นอน   -เครื่องดื่มเกลือแร่ ส่วนประกอบหลักๆ คือ น้ำตาล และสารให้ความหวานอื่นๆ เช่น กลูโคส ฟรุคโตส รวมถึงโซเดียมคลอไรด์ กับ โพแทสเซียมคลอไรด์ ซึ่งสารเหล่านี้มีส่วนช่วยให้ร่างกายของเราดูดซึมน้ำในร่างกายไปใช้ได้เร็วขึ้น ซึ่งเครื่องดื่มเกลือแร่ก็มีข้อเสียถ้าดื่มในปริมาณมากเกินไป เพราะเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและโซเดียมสูง อาจส่งผลเสียต่อสมดุลการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ไต หัวใจ ระบบไหลเวียนของเลือด เครื่องดื่มเกลือแร่จึงเหมาะกับคนที่เสียเหงื่อมากๆ จากการเล่นกีฬา เพราะเครื่องดื่มชนิดนี้ช่วยกระตุ้นการดูดซึมน้ำในร่างกาย ชดเชยน้ำที่เสียไป แต่ในความเป็นจริงการดื่มน้ำเปล่าธรรมดาก็สามารถช่วยลดอาการเหนื่อยและอาการขาดน้ำได้เช่นกัน    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 140 กาเฟอีนในชาพร้อมดื่ม

เราทราบกันดีว่าเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน (เครื่องดื่มชูกำลัง) เป็นเครื่องดื่มที่มีคำเตือน “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน” อยู่บนฉลาก อีกทั้ง ด้วยเป็นเครื่องดื่มที่ผสมสารเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้ควบคุมปริมาณกาเฟอีนที่เป็นส่วนผสมไว้ว่าห้ามเกิน 50 มิลลิกรัม ต่อขวดหรือกระป๋อง (หน่วยบรรจุ) นอกจากนี้ ยังมีการควบคุมเรื่องการโฆษณาอีกต่างหากเพื่อให้ผู้บริโภคไม่เกิดความเข้าใจที่ขาดเคลื่อนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น ต้องมีการระบุคำเตือนในสปอตโฆษณาทุกครั้ง และต้องไม่โฆษณาในลักษณะการแถมพก หรือให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคหรือมีการให้ของแถม เป็นต้น อย่างไรก็ดี เรื่องที่ฉลาดซื้อจะนำข้อมูลมาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นหากแต่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีกาเฟอีนเหมือนกันแต่เป็นกาเฟอีน (Caffeine) ตามธรรมชาติ ซึ่งก็คือ ชาเขียว และกาแฟพร้อมดื่ม ด้วยเหตุผลที่ว่า มันไม่มีคำเตือน! และไม่ได้รับการควบคุมครับพี่น้อง   ด้วยกระแสความนิยมชาที่มีมาอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะชาเขียว) กับ กระแสกาแฟที่อ้างว่ากินแล้วหุ่นดี ไม่อ้วน ทำให้ผู้บริโภคหลายคนลืมไปว่าสิ่งที่ตนจะดื่มมีสารเสพติดเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย (ถึงแม้จะมีการบังคับให้แสดงปริมาณกาเฟอีนบนฉลาก ชา – กาแฟ ก็ตาม) ผู้บริโภคบางคนถึงขนาดเคยพูดให้ผู้เขียนฟังว่า “ดื่มน้ำอัดลมไม่ดี ดื่มชา (เขียว) ดีกว่า ดีกับสุขภาพด้วย” ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาเอาฉลากชา แต่ละยี่ห้อ จำนวน 23 ตัวอย่าง (13 ยี่ห้อ) ทั้งชาเขียว ชาขาว ชาดำ ฯลฯ และปิดท้ายด้วยกาแฟกระป๋อง โดยนำฉลากกาแฟจำนวน 3 ตัวอย่างบวกกับฉลากเครื่องดื่มชูกำลังจำนวน 4 ตัวอย่าง มากางเห็นกันอย่างชัดเจนว่า ผลิตภัณฑ์ของเจ้าใด มีกาเฟอีน มากน้อยต่างกันเพียงใด นอกจากนี้ เรามีสมนาคุณพิเศษแถมข้อมูลน้ำตาลบนฉลาก กับการแสดงฉลากโภชนาการ มาให้ท่านผู้อ่านได้ยลกันอีกด้วย     ภาพรวมจากการเปรียบเทียบฉลาก ชาสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทั้งหมดที่สุ่มมาจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ประการคือ น้ำชาและน้ำตาล (หรือสารอื่นที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล) โดยในน้ำชานั้นจะมีกาเฟอีนอยู่ระหว่าง เกือบ 7 ถึง 20 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร ขณะที่กาแฟกระป๋องมีกาเฟอีนอยู่ที่ 40 – 80 มล.ต่อ 100 มิลลิกรัม หากคำนวณเป็นปริมาณกาเฟอีนต่อภาชนะบรรจุแล้วจะพบว่าอยู่ในช่วง ประมาณ 23 ถึง 101 มิลลิกรัมต่อภาชนะบรรจุ ส่วนกาแฟกระป๋องจะมีกาเฟอีนอยู่ที่ 98 – 144 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง และเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนทั้งหมดจะมีกาเฟอีนอยู่ที่ 50 มิลลิกรัม/ขวด สำหรับการแสดงฉลากโภชนาการ สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 3 โดยมีการแสดง 1 ส่วน ขณะที่ อีก 2 ส่วนไม่มีการแสดงซึ่งทำให้ผู้บริโภคที่ใช้ฉลากเพื่อการตัดสินใจจะพบความลำบากเมื่อต้องการทราบปริมาณน้ำตาลว่ามีอยู่เท่าไร บทวิเคราะห์ ชาพร้อมดื่ม(ทุกประเภท) เป็นเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนตามธรรมชาติในปริมาณต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ต่างกันกับเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลสูง ยิ่งไปกว่านั้นด้วยมีการบังคับแสดงคำเตือน ว่า “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน” สำหรับเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน ดังนั้นชาพร้อมดื่มจึงไม่ใช่เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพตามที่ผู้ประกอบการทำให้เราเข้าใจแต่อย่างใด การบริโภคชาพร้อมดื่มเกินกว่าวันละ 2 ขวดคู่กับการดื่มกาแฟวันละ 1 – 2 แก้ว หรืออาหารอื่นที่มีกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ อาจจะนำมาซึ่งอาการติดกาเฟอีน (Caffeinism) ได้ (การได้รับกาเฟอีนเกินกว่า 250 มก./วันนำมาซึ่งอาการติดกาเฟอีน : อาการหงุดหงิด ทำงานไม่ได้ จนกว่าจะเพิ่มปริมาณคาเฟอีนในกระแสเลือดก่อน) อีกทั้งยังอาจนำมาซึ่งโรคอ้วนและโรคเบาหวาน (จากการได้รับน้ำตาลมากเกินไป – เกณฑ์น้ำตาลต่อวันที่นักโภชนาการแนะนำคือ 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัมต่อวัน) หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการแสดงฉลากอาหาร หรือ อย. จึงควรมีการบังคับให้มีฉลากคำเตือนแบบเดียวกันกับที่มีในเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ฉลาดซื้อแนะนำ 1. ถ้าต้องการดื่มชาเพื่อสุขภาพ ขอแนะนำให้ชงชาดื่มเองเพราะไม่ได้ยุ่งยากอะไรแค่ใส่ใบชาลงในน้ำร้อน ทิ้งไว้ไม่เกิน 3 นาที (เกินกว่านี้ สารแทนนินจะออกมามากทำให้มีรสขม) 2. อย่าเข้าใจว่า ชาเขียวพร้อมดื่มดีต่อสุขภาพ เพราะในระหว่างกระบวนการผลิตชาพร้อมดื่มที่ต้องใช้ความร้อนสูงในการฆ่าเชื้อโรค ทำให้สารที่เป็นประโยชน์ในชาหายไปจนเกือบหมดแล้ว 3. สำหรับผู้ชื่นชอบชาพร้อมดื่ม เราขอแนะนำให้ดื่มไม่เกินวันละ 2 ขวด (แบบไม่มีน้ำตาล) โดยเด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน และผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน 4. สำหรับท่านที่ชอบดื่มชาปกติ (มีน้ำตาล) ฉลาดซื้อแนะว่า ขวดเดียวต่อวันก็เกินพอครับ (หวานเกิ๊น )

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 133 กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ

  “ดื่มกาแฟเพื่อลดน้ำหนัก” กำลังเป็นกระแสนิยมของสาวๆ ที่อยากหุ่นดี ฉลาดซื้ออดไม่ได้ ต้องทำเป็นเรื่องทดสอบมาฝาก เพราะเป็นที่ประจักษ์กันในทางการว่า กาแฟที่ลดน้ำหนักได้นั้น มันคือกาแฟที่มีส่วนผสมของ ยาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาดในอาหารทุกประเภท แล้วถ้าเป็นกาแฟธรรมดาๆ ล่ะ   แค่ดื่มกาแฟจะลดน้ำหนักได้จริงหรือ? คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ระบุชัดเจนว่า กาแฟ เป็น "อาหาร" ไม่ใช่ "ยา" จึงไม่มีสรรพคุณลดน้ำหนัก และด้วยเงื่อนไขนี้เองที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตกาแฟ ที่ผลิตออกมาเพื่อจูงใจสาวๆ ที่อยากผอม จะไม่มีการบอกสรรพคุณหรือโฆษณาออกมาตรงๆ ว่าดื่มแล้วผอม ดื่มแล้วช่วยลดน้ำหนัก เพราะถ้าทำแบบนั้นจะมีความผิดเข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงทันที ผลิตภัณฑ์กาแฟเหล่านี้จึงเลี่ยงไปใช้ภาพสาวๆ หุ่นผอมเพรียว ไม่ก็นางแบบหุ่นดี ลงในโฆษณาหรือในแพ็คเก็จของสินค้า รวมทั้งวิธีง่ายๆ แต่ได้ผลอย่างการเติมคำว่า “สลิม” (Slim) “เชฟ” (Shape) “เฟิร์ม” (frim) ต่อท้ายชื่อสินค้า เป็นอันรู้กัน(หรือปล่อยให้ผู้บริโภคคิดเอาเอง) ว่าผลิตภัณฑ์กาแฟที่ใช้เทคนิคเหล่านี้ในการโฆษณาคือกาแฟเพื่อการลดน้ำหนัก ก็ในเมื่อผู้ผลิตเขายังไม่กล้าการันตีเลยว่า ผลิตภัณฑ์ของเขาสามารถช่วยลดน้ำหนักหรือทำให้ผอมได้จริงๆ แบบนี้ผู้บริโภคอย่างเรายังจะหลงซื้อมารับประทานกันอีกหรือ?   รู้ให้ทันก่อนดื่มส่วนประกอบหลักของกาแฟ(ที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก) ประกอบด้วยครีมเทียมประมาณ 60% – 70% และกาแฟอีก 10 กว่า% ส่วนพวกสารอาหารต่างๆ ที่เติมเข้ามาหวังเป็นจุดขายเรื่องสุขภาพ เช่น แอล-คาร์เนทีน คอลลาเจน หรือสารสกัดจากธรรมชาติต่างๆ ก็มีอยู่อีกแค่ไม่กี่% ซึ่งเมื่อดูจากส่วนประกอบแล้วเป็นไปไม่ได้เลยว่าดื่มแล้วจะมีผลในการลดน้ำหนัก เมื่อลองมาดูเปรียบเทียบส่วนประกอบของกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก ดื่มแล้วไม่อ้วน กับกาแฟผงพร้อมชงทั่วไปเราจะพบความจริงว่า ปริมาณสารอาหารแทบไม่มีความแตกต่างกัน จุดเด่นของกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักคือ เรื่องของพลังงาน ซึ่งในกาแฟทั่วไป อย่างกาแฟผงพร้อมชงสูตร 3 in 1 หนึ่งซองจะให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี ขณะที่กาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักจะให้พลังงานเฉลี่ยต่อหนึ่งซองอยู่ที่ 60 – 70 กิโลแคลอรี ที่แม้จะน้อยกว่าแต่ก็แตกต่างกันไม่มาก   สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะความที่เป็นกาแฟที่(แอบ)โฆษณาว่าดื่มแล้วดีต่อสุขภาพ ดื่มแล้วไม่อ้วน  กาแฟเหล่านี้จึงหลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาล แต่จะใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นๆ แทน ซึ่งการตัวอย่างกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักที่เราสำรวจ พบว่าสารให้ความหวานที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ ซูคลาโครส (Sucralose) และ แอสปาร์เทม (Aspartame) ที่ใช้ร่วมกับ อะซีซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) ข้อดีของสารทดแทนความหวานคือ ให้ความหวานได้เท่ากับหรือมากกว่าน้ำตาล แต่ให้พลังงานน้อยกว่า อย่างไรก็ดีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะ แอสปาร์เทม ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรค ฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถย่อยฟีนิลอะลานีนได้ เป็นสาเหตุของอาการโลหิตเป็นพิษ ทาง อย. จึงออกข้อบังคับให้ทุกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้แอสปาร์เทม ต้องมีคำเตือนห้ามไม่ให้ผู้ที่มีสภาวะฟีนิลคีโตนูเรียรับประทาน   สารอาหารที่ใส่มาในกาแฟช่วยให้ผอมได้จริงหรือ? หลายคนคงจะสงสัยว่า สารอาหารต่างๆ ที่ถูกเติมเข้าไปในกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักนั้น ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็น สารสกัดจากถั่วขาว, แอล – คาร์นิทีน, โอลิโกฟรุตโตส ฯลฯ ซึ่งถูกอ้างว่า สารเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เกิดการเผาผลาญในร่างกาย หรือไม่ก็ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งฟังแล้วก็น่าจะดีต่อการลดน้ำหนักได้ ยิ่งเวลาที่ดื่มกาแฟหลายคนก็มักจะรู้สึกว่า ร่างกายกระฉับกระเฉงขึ้น รู้สึกร้อนๆ ตามตัว เลยคิดว่าน่าจะเกิดกระบวนเผาผลาญขึ้นในร่างกาย ซึ่งทั้งหมดเป็นความเข้าใจที่ผิดเพราะการที่เรารู้สึกว่าร่างกายกำลังตื่นตัวหลังจากดื่มกาแฟ นั้นก็เป็นเพราะคุณสมบัติทั่วไปที่เกิดจากดื่มกาแฟอยู่แล้ว ฤทธิ์ของกาเฟอีนช่วยทำให้เกิดการเผาผลาญในร่างกายจริง แต่ไม่ได้ถึงขนาดที่ทำให้น้ำหนักลดลง เช่นเดียวกับสารต่างๆ ที่ใส่เพิ่มเข้ามาแม้จะช่วยเร่งการเผาผลาญก็ไม่ได้ถึงขนาดทำให้น้ำหนักลดลง ผอม รูปร่างดี แถมสารอย่าง แอล – คาร์นิทีน แม้อาจมีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งเผาผลาญไขมันส่วนเกิน แต่จะได้ผลก็ต่อเมื่อมีการออกกำลังกายควบคู่กันไป ไม่ได้มีผลต่อการลดน้ำหนักโดยตรง แถมสารต่างๆ ที่ใส่ในกาแฟลดน้ำหนักก็ไม่มีงานวิจัยหรือข้อมูลทางการแพทย์ใดๆ ที่รับรองผลว่าจะช่วยลดน้ำหนักลงได้   ดื่มกาแฟมากไปไม่ดีต่อสุขภาพอย่างที่เรารู้กันดีว่าในกาแฟที่เราดื่มทุกๆ เช้านั้น มีสารประกอบสำคัญคือ กาเฟอีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ทั้งสมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ เราจึงรู้สึกสดชื่น ตื่นตัว เมื่อได้ดื่มกาแฟ แต่สารกาเฟอีนก็มีผลเสียต่อร่างกายถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป ซึ่งโดยปกติแล้วใน 1 วันเราควรได้รับกาเฟอีนไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม หรือเทียบได้เท่ากับการดื่มกาแฟไม่เกิน 2 แก้ว สำหรับอันตรายที่จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราได้รับสารกาเฟอีนมากเกินไป คือมีผลทำให้สมองและหัวใจถูกกระตุ้นเกินกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการ ปวดศีรษะ ใจเต้นเร็ว ใจสั่น และทำให้ความดันโลหิตสูง   ดื่มกาแฟลดน้ำหนัก...ระวังกระอักเพราะ “สารไซบูทรามีน”ก่อนหน้านี้ สารไซบูทรามีน เป็นยาควบคุมพิเศษที่ใช้กับผู้ป่วยโรคอ้วน  (คือหมายถึงคนที่ป่วยจริงๆ ไม่ใช้คนที่คิดว่าตัวเองอ้วน หุ่นไม่ดี แล้วอยากจะลดน้ำหนัก) แต่เพราะความรุนแรงของสารตัวนี้มีผลถึงขั้นทำให้หัวใจหยุดทำงาน และการที่มีผู้ไม่หวังดีนำสารไซบูทรามีนไปใส่ในอาหารเสริมแล้วอ้างสรรพคุณว่าดื่มแล้วช่วยให้น้ำหนักลด ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทำให้ อย. ต้องตัดสินใจประกาศยกเลิกตำรับยาชนิดนี้ แต่ก็ยังไม่วายยังมีคนนำสารไซบูทรามีนมาใส่ในผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าช่วยลดความอ้วน ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงกาแฟด้วย อย่างที่ อย. เคยตรวจพบในกาแฟสำเร็จรูปนำเข้าจากจีนยี่ห้อ Slimming Coffee Splrultn เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ควรหลีกเลี่ยงทั้งการดื่มกาแฟและผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าดื่มแล้วช่วยทำให้น้ำหนักลดทุกชนิด โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่มีเลขมาตรฐานอาหารของ อย. เพราะเราอาจกำลังเสี่ยงอันตรายจากสารไซบูทรามีนโดยไม่รู้ตัว   ฉลาดซื้อแนะนำความจริงเรื่องกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน เป็นเรื่องที่ทาง อย. เองก็ออกข่าวเตือนถึงอันตรายและการโฆษณาหลอกลวงเกินจริงอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ฉลาดซื้อ ก็อยากเป็นอีกหนึ่งเสียงที่อยากฝากเตือนว่า กาแฟประเภทนี้ ไม่ช่วยให้น้ำหนักลดลงได้จริงอย่างที่อวดอ้างกัน แถมดื่มมากๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ยิ่งเป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า ประเภทที่ไม่ฉลากภาษาไทย ไม่มีข้อมูลทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า ยิ่งอันตราย ถ้าเกิดใครดื่มกาแฟประเภทนี้เข้าไปแล้ว เกิดน้ำหนักลดลงไปจริงๆ แบบเห็นผลทันตา อย่าดีใจไป เพราะแบบนั้นยิ่งอันตราย เป็นไปได้ว่า มีการใส่ยาลดความอ้วนลงไป ซึ่งอันตรายมาก ดีไม่ดีอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต   ตารางแสดงผลทดสอบข้อมูลบนฉลากและการปนเปื้อนของสารไซบูทรามีนในกาแฟลดน้ำหนักจำนวน 19 ตัวอย่าง ชื่อยี่ห้อ ราคา / น้ำหนัก ที่อยู่ ข้อมูลโภชนาการ แสดงส่วนประกอบ วันที่ผลิต – หมดอายุ สารให้ความหวานที่ใช้แทนน้ำตาล ผลทดสอบสารไซบูทรามีน คิว-ไบร์ท 99- บ.ธันยพรสมุนไพร จก.   ไม่มี มี มี ซูคราโลส                                           ไม่พบ พลอยใส   บ.นูทิน่า  อินเตอร์ฟู้ด จำกัด   มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค คอฟฟี่ เลิฟ   หจก.สยามโปรดักส์ แอนด์ แพคกิ้ง   ไม่มี มี มี ซูคราโลส ฟ้าใส คอฟฟี่ 145 หจก.คิงส์ส์ริช ไม่มี มี มี ซูคราโลส แพลตตินั่ม คอฟฟี่พลัส 80 บ.คิงส์ คอฟฟี่ จก. ไม่มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค UCC 39 บ.UCC UESHIMA COFFEE (THAILAND) CO.,LTD มี มี มี กลูโคส Srimcup 125 บ.บิ๊กเบนซ์ เฮลธ์ โปรดักส์ จำกัด มี มี มี ซูคราโลส Body Shape coffee 160 บ.เขาช่องอุตสาหกรรม 1979 โดยการควบคุมของ บ.บอดี้เชฟฯ มี มี มี ซูคราโลส บัดดี้ดีน สลิม เทร็ท  Collagen-G   บ.เคทีวาย  ฟู๊ด อินเตอร์เนชั่นแนล จก มี มี มี ซูคราโลส คอลลาเจน คอฟฟี่ 120 หจก.ดี เค เฮ็ลธ โปรดักท์ มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค เขาช่อง คอฟฟี่ ไฟว์   บ.เขาช่องอุตสาหกรรม1979 จก.   มี มี มี ซูคราโลส เอลี่คาเฟ่ 99 บ.พาวเวอร์ รูท แมนูแฟคเตอริ่ง จก. เมืองฮะโฮร์ มาเลเซีย นำเข้าโดย บ.โปรคอม (เอส.เค)จก. มี (เป็นภาษาอังกฤษ) มี มี น้ำตาล 10 กรัม ต่อ กาแฟ 20 กรัม เนเจอร์กิฟ คอฟฟี่ พลัส 49 หจก.ดี เค เฮ็ลธ โปรดักท์   มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค Equal (อิควล) 132 บ.นูทริน่า อินเตอร์ฟู้ดส์ จก.   มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค เนสกาแฟ โพรเทค โพรสลิม 180 บ.เบญจพันธ์พงศ์ จก. มี มี มี ซูคราโลส แคล์รคอฟฟี่(Clare’s Coffee) 129 บ.แฟนซีเวิลด์ จก.   ไม่มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค ทรูสเลน คอฟฟี่ พลัส 142 บ.นูทริน่า อินเตอร์ฟู้ดส์ จก.   มี มี มี ซูคราโลส ฟิตเน่ คอฟฟี่ สูตร 1 95 บ.นิวคอนเซพท์ โปรดัคท์ จก. มี มี มี ซูคราโลส คอฟฟี่ 21 49 หจก.ดี เค เฮ็ลธ โปรดักท์ มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค ทดสอบตัวอย่างโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี หมายเหตุ: ฉลาดซื้อ ได้สุ่มทดสอบสารไซบูทรามีนจากตัวอย่างกาแฟลดน้ำหนัก 19 ยี่ห้อที่วางขายทั่วไป ถือว่าเป็นโชคดีที่เราไม่พบสารไซบูทรามีนเลยในทุกตัวอย่าง แต่เนื่องจากฉลาดซื้อมีข้อจำกัดในเรื่องการเก็บตัวอย่างสินค้าที่อาจไม่สามารถกระจายพื้นที่ในการเก็บตัวอย่างได้กว้างเท่าที่ควร รวมทั้งสินค้าที่ขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 น้ำผัก – ผลไม้รวม 100%

  เพราะเรารู้ว่าแฟนๆ “ฉลาดซื้อ” เป็นคนที่รักและห่วงใยดูแลสุขภาพ ฉบับนี้เรามีผลทดสอบเครื่องดื่มยอดฮิตสำหรับคนรักสุขภาพอย่าง “น้ำผัก – ผลไม้รวม 100%” มาฝาก  ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์น้ำผักพร้อมดื่มทั้ง 100% และไม่ 100% ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น มีการผลิตออกมาหลากหลายยี่ห้อหลากหลายรสชาติ ตอบรับกระแสรักสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ซึ่งการเลือกดื่มน้ำผัก – ผลไม้พร้อมดื่มนั้นสะดวกสบาย หาซื้อง่าย เข้ากับยุคสมัยที่ผู้คนหันมาห่วงใยสุขภาพมากขึ้นแต่กับมีเวลาดูแลตัวเองน้อยลง แถมบางคนที่ไม่ชอบกินผักก็เลือกที่จะดื่มน้ำผักแทน เพราะกินง่ายกว่า รสชาติก็อร่อยกว่า  ลองมาหาคำตอบกันดูสิว่า น้ำผัก – ผลไม้รวม 100% พร้อมดื่ม จะเป็นทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพได้จริงหรือ? ------------------------------------------------------------------------------------------ น้ำผัก - ผลไม้ถือเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปประเภทหนึ่ง เป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผัก – ผลไม้ ในช่วงเวลาที่ผัก – ผลไม้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ การแปรรูปน้ำผัก – ผลไม้ยังเป็นช่วยยืดอายุของผักและผลไม้เพราะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น ประเภทของน้ำผัก ผลไม้1.น้ำผลไม้เข้มข้น ทำจากน้ำผลไม้แท้ที่ผ่านการต้มเพื่อให้น้ำระเหยออกบางส่วนจนได้เป็นน้ำผลไม้เข้มข้น เวลาดื่มต้องผสมกับน้ำให้เจือจางก่อน ซึ่งน้ำผลไม้เข้มข้นนิยมใช้เป็นส่วนผสมในขนม ไอศครีม และเครื่องดื่มต่างๆ 2.น้ำผัก - ผลไม้พร้อมดื่ม ก็คือน้ำผลไม้บรรจุกล่องหรือขวดที่วางขายอยู่ตามร้านค้าหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป ซึ่งน้ำผัก – ผลไม้พร้อมดื่มก็ทั้งแบบที่เป็นน้ำผัก – ผลไม้ 100% และแบบที่ไม่ถึง 100% คือจะอยู่ที่ประมาณ 25 – 50% ซึ่งคือการนำน้ำผลไม้เข้มข้นมาเจือจางและแต่งรสชาติเพิ่มเติม ------------------------------------------------------------------------------------------ สรุปผลทดสอบ -ถือเป็นข่าวดีของผู้บริโภคที่สามารถสบายใจได้ว่าน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 100% ที่เราทดสอบทั้ง 10 ตัวอย่าง ปลอดภัยจากการปนเปื้อนและสารเคมีทางการเกษตร -เครื่องดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวม 100% แม้จะอ้างว่ามีส่วนประกอบจากน้ำผัก – ผลไม้หลาย 10 ชนิด แต่ถ้าเราลองดูข้อมูลส่วนประกอบจะเห็นว่า เกือบทุกยี่ห้อจะมีน้ำแครอทเป็นส่วนประกอบหลัก หรือกว่า 30% ของส่วนประกอบทั้งหมด ที่เหลือก็จะเป็นน้ำผลไม้ที่ทำหน้าที่เพิ่มรสชาติให้ดื่มง่ายและอร่อยขึ้น เช่น น้ำสับปะรด น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล ส่วนน้ำผักอื่นๆ จะผสมมาในสัดส่วนที่น้อยมากๆ ไม่ถึง 10%  -เครื่องดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวม 100% บางยี่ห้อมีการเติมวิตามินลงไปด้วย แต่ก็ในปริมาณที่น้อยมาก แถมวิตามินส่วนใหญ่ถูกทำลายได้ง่ายมาก โดยเฉพาะวิตามินซี ทั้งจากการถูกความร้อน แสงแดด หรือสัมผัสกับอากาศ แม้จะมีการเติมวิตามินลงไป แต่น้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่มก็ให้วิตามินได้ไม่เท่าผัก – ผลไม้สดๆ อยู่ดี  -ปริมาณน้ำตาลจากการทดสอบ พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ 9.27 กรัม / 100 มิลลิลิตร ถ้าคิดปริมาณน้ำตาลเป็นช้อนชาจะอยู่ประมาณ 2 ช้อนชากว่าๆ (1 ช้อนชา = 4.2 กรัม) ปริมาณน้ำตาลที่นักโภชนาการแนะนำให้รับประทานต่อวันคือ ไม่ควรเกิน 4 ช้อนชาสำหรับเด็ก และ 6 ช้อนชาสำหรับผู้ใหญ่ ถ้าหากเราดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 1 แก้ว หรือประมาณ 200 มิลลิลิตร เราก็จะได้น้ำตาลที่ประมาณ 4 ช้อนชา ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง  ดังนั้นใครที่คิดจะดื่มน้ำผัก น้ำผลไม้พร้อมดื่มเพื่อเป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนักอาจจะต้องคิดใหม่   ผลทดสอบปริมาณน้ำตาลและการปนเปื้อนของสารเคมีทางเกษตรในน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 100% ชื่อผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ส่วนประกอบ ราคา (บาท) ผลการทดสอบ น้ำตาล / 100 มิลลิลิตร  (กรัม) การปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ ดอยคำ น้ำผักผลไม้รวม 100% โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป น้ำสับปะรด 50% น้ำแครอท 31% น้ำเสาวรส 7% น้ำมะเขือเทศ 7% น้ำบีทรูท 5% 55 บ. / 1 ลิตร 9.3 ไม่พบ ไม่พบ Chooze ชูส น้ำผักผลไม้รวมผสมผักโขม 100% Universal food public company limited   น้ำองุ่นขาว 43% น้ำสับปะรด 30% น้ำส้ม 20% น้ำแตงกวา 4% น้ำผักโขม 1.3% น้ำแครอท 1.2% น้ำฝักทอง 0.5% 69 บ. / 1 ลิตร 8.6 ไม่พบ ไม่พบ Big C น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม 100% บริษัท มาลีบางกอก จำกัด   น้ำแครอท 30% น้ำส้ม 27% น้ำแอปเปิ้ล 25% น้ำฟักทอง 5% น้ำสับปะรด 5% น้ำนะนาว 3.97% น้ำมะเขือเทศ 3% น้ำขึ้นฉ่าย 1% วิตามิน ซี 0.03% 45 บ. / 1 ลิตร 11.4 ไม่พบ ไม่พบ ชบา น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม 100% บริษัท มาลีบางกอก จำกัด   น้ำแครอท 40% น้ำแอปเปิ้ลแดง 17.47% น้ำส้มเขียวหวาน 15% น้ำฟักทอง 10% น้ำสับปะรด 5% น้ำขึ้นฉ่าย 5% น้ำมะเขือเทศ 5% น้ำมะนาว 2.5% วิตามิน ซี 0.03% 51 บ. / 1 ลิตร 10.3 ไม่พบ ไม่พบ ยูนิฟ น้ำผักผลไม้รวม 100% บริษัท ยูนิ-เพรสซิเดนท์ (ประเทศไทย) จำกัด น้ำแครอท 40% น้ำสับปะรด 32.3% น้ำส้ม 15% น้ำแอปเปิ้ล 13% น้ำมะเขือเทศ 3.3% น้ำมะนาว 2% น้ำขึ้นฉ่าย 2% น้ำฟักทอง 1% น้ำแครอทม่วง 0.3% น้ำองุ่นแดง 0.1% 52 บ. / 1 ลิตร 9.8 ไม่พบ ไม่พบ ทิปโก้ 100% น้ำผักผลไม้รวม 32 ชนิด บริษัท ทิบโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด   น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม จากน้ำผักผสมน้ำผลไม้รวมเข้มข้น 32 ชนิด 39.4187925% น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 30% น้ำแอปเปิ้ลจากน้ำแอปเปิ้ลเข้มข้น 15% น้ำส้มเช้งจากน้ำเช้งเข้มข้น 10% น้ำมะม่วง 3% น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ 2% ใยอาหาร 0.55% วิตามินซี 0.03% วิตามินเอ 0.0012% วิตามินบี 2 0.000005% วิตามินบี 1 0.0000025% 69 บ. / 1 ลิตร 8.6 ไม่พบ ไม่พบ V8 เครื่องดื่มน้ำผักผสม ผลิต บริษัท แคมเบลล์ ซุปคัมปานี จำกัด เมืองแคมเด็น รัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา นำเข้า บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด น้ำมะเขือเทศ 44.05% น้ำผัก 33.07% เกลือ 0.95% แต่งกลิ่นธรรมชาติ 129 บ. / 964 ซีซี 4.0 ไม่พบ ไม่พบ เซปเป้ ฟอร์วันเดย์ บริษัท ทรัพย์อนันต์ เยนเนอรัลฟู้ด จำกัด น้ำผักรวม (คื่นฉ่าย, ผักกาดหอม, ผักโขม, บีทรูท, ผักชีฝรั่ง, บล๊อกโคลี่) 30% น้ำแครอทจากน้ำแครอทเข้มข้น 30% น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 20% น้ำสับปะรดจากน้ำสับปะรดเข้มข้น 20% แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ 25 บ. / 350 มิลลิลิตร 10.4 ไม่พบ ไม่พบ Malee veggies 100% บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) น้ำผลไม้รวม 88% (น้ำแอปเปิ้ลแดง, น้ำองุ่นขาว, น้ำแอปเปิ้ลเขียว, น้ำกีวี) น้ำผักรวม 12% (น้ำคื่นฉ่าย, น้ำบร็อกโคลี่, น้ำหน่อไม้ฝรั่ง, น้ำแตงกาว, น้ำผักขม) 49 บ. / 1 ลิตร 10.0 ไม่พบ ไม่พบ Smile น้ำผักผลไม้รวม 100% บริษัท นูบูน จำกัด   น้ำผักรวม 40% น้ำแอปเปิ้ล 25% น้ำสับปะรด 24% น้ำส้ม 8% น้ำแพชชั่น 3% 98 บ. / 1 ลิตร 10.3 ไม่พบ ไม่พบ     ฉลาดซื้อแนะนำ1) หากอยากจะดื่มน้ำผัก – ผลไม้ให้ได้คุณค่าและดีกับสุขภาพร่างกายจริงๆ ฉลาดซื้อแนะนำให้คั้นดื่มเอง เพราะเราสามารถเลือกผัก – ผลไม้จะมาทำได้  ถ้าไม่อยากได้น้ำตาลเยอะเราสามารถเลือกผัก – ผลไม้ที่ไม่หวานมากมาทำ แถมน้ำผัก น้ำผลไม้ที่เราคั้นเองปั่นเองก็จะมีทั้งกากใยและเนื้อผัก – ผลไม้เหลืออยู่ด้วย ซึ่งก็คือใยอาหารที่มีประโยชน์ช่วยในการขับถ่าย 2) คั้นน้ำผักดื่มเอง ต้องล้างทำความสะอาดผักก่อนจะนำมาทำน้ำผัก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรที่มากับผัก  3) น้ำผักควรเป็นเพียงเครื่องดื่มเพื่อหลีกหนีความจำเจเท่านั้น การรับประทานผักสดเป็นประจำมีความจำเป็นต่อร่างกายมากกว่า ถ้าอาหารในแต่ละมื้อที่เรารับประทานมีผักเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่มากพออยู่แล้ว การดื่มน้ำผักก็ไม่มีความจำเป็น ซึ่งราคาของน้ำผักก็สูงกว่าราคาของผักสดธรรมดาที่เราซื้อมาประกอบอาหารค่อนข้างมาก   ----------------------------------------------------------------------------------------- 7,500 ล้านบาท คือตัวเลขมูลค่าทางการตลาดน้ำผัก – ผลไม้ในบ้านเรา ซึ่งธุรกิจน้ำผัก – ผลไม้ในบ้านเรามีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ซึ่งมาจากกระแสรักสุขภาพ2,400 ล้านบาท คือตัวเลขมูลค่าทางการตลาดเฉพาะน้ำผัก – ผลไม้ 100% ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำผัก – ผลไม้ประเภทอื่นๆ  (ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปีที่ 15 ฉบับที่ 2519 วันที่ 29 พฤษภาคม 2552) -----------------------------------------------------------------------------------------  ทำน้ำผักไว้ดื่มเองก็ได้  หากอยากจะได้น้ำผัก – ผลไม้ที่รสชาติถูกใจและดีต่อสุขภาพจริงๆ รวมทั้งประหยัดด้วย การเลือกผัก – ผลไม้มาคั้นเองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด (ใครอยากรู้สูตรการทำน้ำผัก – ผลไม้ลองคลิกไปที่ http://www.vegetablejuicerecipes.org/ มีให้เลือกลองทำหลากหลายสูตรหลากหลายเมนู) แต่การทำน้ำผัก – ผลไม้เองต้องอย่าลืมสิ่งสำคัญที่สุด คือการล้างทำความสะอาด เพราะผัก – ผลไม้สมัยนี้วางใจไม่ได้เรื่องสารเคมีปนเปื้อน แทนที่จะมีสุขภาพดีอาจต้องมาป่วยเพราะยาฆ่าแมลงก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 89 เมื่อน้ำส้มจะทำร้ายนางเอก

น้ำผลไม้ในความคิดของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพราะต่างก็รู้ว่า ผลไม้นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะน้ำส้มคั้นเป็นน้ำผลไม้ที่นิยมกันมาก ขนาดนางเอกหนังไทยต้องสั่งมาดื่มทุกครั้งที่มีฉากในร้านอาหาร จึงถูกเรียกอย่างน่ารักๆ ว่า “น้ำนางเอก” น้ำส้มหากคั้นสดแล้วดื่มเลยทันที ย่อมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่เพียงเวลาผ่านไปไม่นาน วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ในน้ำส้มจะเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อให้น้ำส้มคงคุณภาพได้นานขึ้นและสะดวกในการขนส่ง จึงได้มีการผลิตน้ำส้มพร้อมดื่ม (น้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท) ออกมาจำหน่ายเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ทุกวันนี้ตามชั้นวางเครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า เราจะพบน้ำส้มพร้อมดื่มหลากหลายยี่ห้อ มีทั้งที่เป็นน้ำส้มแท้ (100%) น้ำส้มผสม ที่มีปริมาณน้ำส้มตั้งแต่ 25% ขึ้นไป และอีกหลายยี่ห้อมีน้ำส้มผสมเป็นหัวเชื้ออยู่ประมาณ 10 – 15% แล้วแต่งสี กลิ่น รส สังเคราะห์ให้คล้ายน้ำส้ม ซึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทหลังนี้ อย.ไม่ให้เรียกว่า “น้ำส้ม” แต่ต้องเรียกว่า “น้ำรสส้ม” (จริงๆ ฉลาดซื้ออยากเรียกว่า “น้ำสีส้ม” มากกว่า เพราะสีส้มได้ใจมาก) แม้ว่าในระยะสองสามปีที่ผ่านมานี้ น้ำส้มพร้อมดื่มอาจจะถูกตีตลาดด้วย “ชาเขียว” ทำให้ซบเซากันไประยะหนึ่ง แต่เมื่อมาถึงวันนี้ที่ชาเขียว out ไปแล้ว น้ำส้มกำลังกลับมาผงาดอีกครั้ง ลองสังเกตปรากฏการณ์น้ำส้มฟีเวอร์ได้จากโฆษณาและชั้นวางสินค้าเครื่องดื่ม ลองดูสิ คุณจะเห็นขวดและกล่องสีส้มละลานตาไปหมด กับสินค้าสุดฮิต ฉลาดซื้อย่อมไม่พลาดที่จะหยิบมาทดสอบ เราเก็บตัวอย่างน้ำส้มและน้ำรสส้มพร้อมดื่ม จำนวน 22 ยี่ห้อ จากชั้นวางเครื่องดื่มในห้างสรรพสินค้า มาทดสอบหาปริมาณ “น้ำตาล” และ “วิตามิน ซี” ที่คนส่วนใหญ่มักเชื่อกันไปเองว่า ส้มเป็นผลไม้ที่มีวิตามิน ซี สูง เมื่อทำให้เป็นน้ำส้มแล้ววิตามิน ซี ย่อมสูงตามไปด้วย  ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกือบถูก แต่ไม่ถูกต้อง เพราะคนส่วนใหญ่จะยังขาดความเข้าใจอีกมากเกี่ยวกับวิตามินตัวนี้ ผลทดสอบน้ำส้มและน้ำรสส้มพร้อมดื่ม จำนวน 22 ยี่ห้อ •    น้ำส้ม น้ำรสส้ม สามอันดับแรกที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ได้แก่ น้ำรสส้ม ฟรุ้ตฟิตฟอร์ฟัน มีปริมาณน้ำตาลถึง 15 ช้อนชาต่อขวด ขนาด 330 มล.(19.3 กรัม/100 มล.) อันดับสอง มาลี จู๊ซมิกซ์ 13 ช้อนชาครึ่งต่อขวด ขนาด 350 มล.(16.4 กรัม/100 มล.) และน้ำส้ม 30% ทิบโก้ คูลฟิต 11 ช้อนชาครึ่งต่อขวด ขนาด 300 มล.(16.3 กรัม/100 มล.)•    น้ำส้ม 100% ที่ไม่เติมน้ำตาลจะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 5.5 ช้อนชา ต่อ 200 มล.(1 แก้ว) ส่วนน้ำส้มผสมจะมีปริมาณน้ำตาลโดยเฉลี่ยที่ 12.8  กรัมต่อ 100 มล.หรือประมาณ 6 ช้อนชา ต่อ 1 แก้ว (200 มล.)   •    เมื่อนำน้ำส้ม น้ำรสส้มมาทดสอบหาวิตามิน ซี พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีวิตามิน ซี เหลืออีกแล้ว หรือไม่ก็เหลือในปริมาณที่น้อยมาก บางผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า มีการเติมวิตามิน ซี ก็ไม่พบ ได้แก่ น้ำส้ม 25% ฟิวเจอร์ น้ำรสส้ม 20 % โออิชิ เซกิ •    จากการทดสอบ มีผลิตภัณฑ์อยู่สามยี่ห้อที่พบว่ามีวิตามิน ซี อยู่มากกว่า 20 มก./100 มล. ได้แก่ น้ำรสส้ม แบร์รี่ ซันเบลสท์ มีปริมาณวิตามิน ซี 24 มก. น้ำส้ม 40% ยูเอฟซี มีวิตามิน ซี 23 มก. น้ำรสส้ม อะมิโนโอเค มีวิตามิน ซี 20 มก. ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนผสม 7 ช้อนชา ต่อ 1 กระป๋อง น้ำหวาน 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 6 ช้อนชา นมถั่วเหลือง1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 5 ช้อนชาชาเขียว 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 5 ช้อนชา ฉลาดซื้อแนะ•    ภาชนะบรรจุน้ำส้ม น้ำรสส้มพร้อมดื่มที่นำมาทดสอบมีขนาดตั้งแต่ 180 – 500 มล. โดยขนาดบรรจุที่ปริมาณ 180 – 350 มล. จะเป็นขนาดที่ดื่มได้หมดภายในครั้งเดียว ทำให้ปริมาณน้ำตาลที่ดื่มเข้าไปในแต่ละครั้งมีปริมาณที่ค่อนข้างสูง แต่ปริมาณน้ำตาลที่นักโภชนาการแนะนำต่อวัน คือระหว่าง 6 - 8 ช้อนชา ดังนั้นน้ำส้มพร้อมดื่ม จึงไม่น่าจะใช่เครื่องดื่มที่เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพสำหรับนางเอกหรือผู้ที่รักสุขภาพ  •    บางครั้งคนเราก็ต้องการดื่มอะไรที่หวานเย็นชื่นใจบ้าง ดังนั้นหากคิดจะดื่มน้ำส้มหรือน้ำรสส้มจึงไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพียงแต่ควรจะเลือกขวดหรือกล่องขนาดเล็กหรือแบ่งดื่มเพื่อไม่ให้ร่างกายรับความหวานมากเกินไป เพราะคุณต้องไม่ลืมว่าวันหนึ่งคุณยังต้องกินอาหารที่มีน้ำตาลผสมอยู่อีกหลายชนิด รวมๆ กันแล้วต่อวันก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ •    น้ำรสส้มที่ผลิตโดยค่ายน้ำอัดลมยักษ์ สแปลช (ลิขสิทธิ์โคค่า โคล่า) และทรอปิคานา ทวิสเตอร์ (ลิขสิทธิ์เป๊ปซี่) ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหวานไม่ต่างจากน้ำอัดลม โดยที่ สแปลช มีปริมาณน้ำตาล 6 ช้อนชาต่อขนาดกล่อง 180 มล.(14 กรัม/100 มล.) และ ทรอปิคานา มีปริมาณน้ำตาล ประมาณ 12 ช้อนชาต่อขนาดขวด 350 มล.(14.3 กรัม/100 มล.) พอๆ กับน้ำอัดลมหรือมากกว่า โดยน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 7 ช้อนชาต่อ 1 กระป๋อง •    ข้อแตกต่างระหว่างผลไม้สดกับน้ำผลไม้ คือเส้นใยอาหาร เมื่อผลไม้ถูกสกัดมาเป็นน้ำผลไม้ กากใยอาหารถูกแยกออกไป ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้เร็ว แต่ไม่ช่วยเรื่องการขับถ่าย  ส่วนการกินผลไม้สดซึ่งมีใยอาหารสูง การดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดจะช้ากว่าและเนื้อของผลไม้จะช่วยให้เราไม่รับประทานน้ำตาลมากจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยในเรื่องการขับถ่ายอีกด้วย•    อย่าเข้าใจผิดว่า น้ำส้มหรือน้ำรสส้มพร้อมดื่มจะมีวิตามิน ซี สูง เสมอไป อย่างที่ฉลาดซื้อได้ทดสอบให้เห็นแล้วว่า ขนาดผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า เติมวิตามิน ซี ลงไปด้วยหรือผลิตด้วยเทคโนโลยีสุดทันสมัยก็ยังหาแทบไม่เจอ ทั้งนี้คุณต้องมีความเข้าใจในเรื่องจริงที่ว่า วิตามิน ซี นั้นถูกทำลายได้ง่ายมาก และกว่าที่เครื่องดื่มจะมาถึงผู้บริโภคก็ต้องผ่านการขนส่ง ผ่านการจัดเก็บในสถานที่ต่างๆ อาจโดนทั้งแสง ความร้อน ทำให้ปริมาณวิตามิน ซี (ที่เหลือมาบ้างจากกระบวนการผลิต) ลดลงไปเรื่อยๆ จนไม่เหลือค่าอะไรให้วัดได้อีก•    น้ำส้มที่ผสมวิตามิน ซี ไม่ควรมาพร้อมกับวัตถุกันเสีย(เบนโซอิก) เพราะมีข้อมูลที่ชวนให้สงสัยว่า เมื่อทั้งสองมาอยู่รวมกันอาจเกิดเป็นสารพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ (หาอ่านได้จากเรื่อง วันนี้คุณดื่มน้ำอัดลมแล้วหรือยัง ในฉลาดซื้อฉบับที่ 80)  •    น้ำส้มเสื่อมคุณภาพได้ง่าย ดังนั้นควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา •    ไม่แนะนำสำหรับเด็กและสาวๆ ที่ต้องการมีหุ่นแบบนางเอก เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง เสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวาน ตลาดน้ำผลไม้มีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท เป็นน้ำผลไม้ 100% มูลค่า 2,500 ล้านบาท ส่วนน้ำผลไม้ต่ำกว่า 25% มีมูลค่าอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นน้ำผลไม้ 40% รสชาติที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ "น้ำส้ม" ที่มีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดน้ำผลไม้ปริมาณวิตามินซีในผัก ผลไม้และน้ำผลไม้คั้นสด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 51 นมเปรี้ยวมาแรงแซงสุขภาพเด็กไทย

จากการเก็บข้อมูลของ MDR PACIFIC เกี่ยวกับการใช้เงินเพื่อการโฆษณาของบริษัทผู้ผลิตนมเจ้าต่าง ๆ พบว่า นมผงและนมเปรี้ยวกำลังเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ภาคธุรกิจส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกมากที่สุด โดยมีเด็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ การรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันกลับมาดื่มนมจืดหรือนมสด 100% เพื่อให้ปลอดภัยจากน้ำตาลที่ถูกเติมลงไปในนมจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักหากไม่สามารถฝ่าด่านแรงโฆษณาการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการที่เล็งเห็นเฉพาะผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าผลกระทบต่อสุขภาพบางด้านที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคได้ ........................................................................ MDR PACIFIC ซึ่งเป็นบริษัทจัดเก็บข้อมูลด้านการโฆษณา มีรายงานออกมาว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2545 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมเจ้าต่างใช้เงินเพื่อการโฆษณาสินค้าของตนรวมทั้งสิ้น 853,135,000 บาท มากที่สุดประมาณ 287 ล้านบาทถูกใช้ไปกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์นมผง และอีกประมาณ 170 ล้านบาทได้ถูกใช้ไปกับการโฆษณานมเปรี้ยว(ไม่รวมโยเกิต) สื่อที่ใช้ส่วนใหญ่คือโทรทัศน์มากถึง 84% ของช่องทางสื่อที่ใช้ทั้งหมด การส่งเสริมให้ผู้บริโภคดื่มนมผงและนมเปรี้ยวของผู้ประกอบการนั้นได้ทำกำไรให้ธุรกิจนี้อย่างมหาศาล นายเนวิน  ชิดชอบ สมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เคยให้ข้อมูลว่า สาเหตุที่ผู้บริโภคต้องซื้อนมผงสำหรับเลี้ยงเด็กในราคาแพงซึ่งทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นเพราะผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติสำแดงต้นทุนการนำเข้าเพียงกิโลกรัมละ 60-70 บาทเท่านั้นเพื่อจะได้จ่ายภาษีอากรการนำเข้าในอัตราที่ไม่สูงมาก ในขณะที่ราคาจำหน่ายในท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-200 บาท นมผงจึงเป็นเรื่องที่คนไทยและประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติมาโดยตลอด ในขณะที่นมเปรี้ยวเองก็กำลังเป็นสินค้ามาแรง ด้วยการโชว์ตัวเองว่าเป็นนมที่ดื่มแล้วไม่อ้วน ดีทั้งต่อสุขภาพและการรักษาทรวดทรง แต่แท้ที่จริงนมเปรี้ยวกลับไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดความอ้วนได้จริง เนื่องจากร่างกายได้รับน้ำตาลที่เติมเข้าไปในนมเปรี้ยวในสัดส่วนที่สูงนั่นเอง ผลดีสำหรับผู้ผลิตนมเปรี้ยวคือแทนที่จะใช้นมสดในการผลิต ผู้ผลิตกลับใช้นมผงขาดมันเนยผสมน้ำแทนแล้วใช้โยเกิตเป็นเชื้อหมักทำให้ลดต้นทุนไปได้เยอะ ล่าสุดพบนมเปรี้ยวสำหรับเด็กออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมากซึ่งล้วนแต่มีการเติมน้ำตาลในปริมาณที่สูงในขณะที่สัดส่วนของนมก็มีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น การดื่มนมเปรี้ยวแบบนี้ของเด็กจึงเหมือนการดื่มน้ำเชื่อมผสมนมมากกว่า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายไปด้วย การใช้เม็ดเงินมากกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทส่งเสริมให้เด็กดื่มนมเปรี้ยวที่มีรสชาติในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์นม 3 อันดับแรกที่ใช้เงินโฆษณาสูงสุด ใช้เงินโฆษณารวมทั้งสิ้น (บาท) คิดเป็นร้อยละ อันดับที่ 1 ผลิตภัณฑ์นมผง 286,905,000 33.63 อันดับที่ 2 ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว 169,541,000 19.87 อันดับที่ 3 ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง 115,915,000 13.59   โทรทัศน์เป็นช่องทางหลักของโฆษณานม ช่องทางในการโฆษณา เงินที่ใช้(บาท) คิดเป็นร้อยละ 1.โทรทัศน์ 717,453,000 84.10 2.วิทยุ 45,671,000 5.35 3.ป้ายโฆษณา 40,597,000 4.76 4.หนังสือพิมพ์ 29,932,000 3.51 5.นิตยสาร 17,841,000 2.09 6.อินเตอร์เน็ต 888,000 0.10 7.โรงภาพยนตร์ 753,000 0.09 รวม 853,135,000 100   รายละเอียดของการใช้เงินโฆษณาในผลิตภัณฑ์นมแต่ละประเภท กลุ่มผลิตภัณฑ์ งบโฆษณาของแต่ละสื่อ  (บาท) ยอดรวม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา โรงภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต นมผง (14 ยี่ห้อ) 275,184,000 0 4,580,000 7,141,000 0 0 0 286,905,000(33.63%) นมเปรี้ยว (8 ยี่ห้อ) 117,895,000 16,735,000 11,092,000 2,631,000 21,084,000 0 104,000 169,541,000 (19.87%) นมถั่วเหลือง (5 ยี่ห้อ) 89,762,000 16,662,000 3,783,000 3,917,000 1,038,000 753,000 0 115,915,000 (13.59%) โฆษณาแบบรวม (13 ยี่ห้อ) 92,272,000 2,237,000 8,313,000 2,639,000 5,218,000 0 784,000 111,463,000 (13.07%) นมยูเอชที (9 ยี่ห้อ) 91,217,000 1,390,000 0 635,000 1,920,000 0 0 95,162,000 (11.15%) นมสเตอริไลซ์ (1 ยี่ห้อ) 34,232,000 0 1,331,000 0 0 0 0 35,563,000 (4.17%) นมสดพาสเจอไรส์ (3 ยี่ห้อ) 7,678,000 5,948,000 118,000 139,000 5,076,000 0 0 18,959,000 (2.22%) โยเกิต (5 ยี่ห้อ) 2,561,000 2,699,000 715,000 739,000 5,401,000 0 0 12,115,000 (1.42%) นมข้นหวาน (1 ยี่ห้อ) 6,652,000 0 0 0 860,000 0 0 7,512,000 (0.88%) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 717,453,000 45,671,000 29,932,000 17,841,000 40,597,000 753,000 888,000 853,135,000   รายละเอียดงบโฆษณาของผลิตภัณฑ์นมแต่ละชนิด 1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ นมผง งบโฆษณาของแต่ละสื่อ  (บาท) ยอดรวม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา โรงภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต 1.ตราหมี 90,432,000 2,350,000 1,464,000 94,246,000(32.85%) 2.ดูเม็กซ์ 62,144,000 902,000 2,411,000 65,487,000(22.83%) 3.อะแลคต้าเอ็นเอฟ 36,236,000 234,000 36,470,000(12.71%) 4.คาร์เนชั่น 30,169,000 30,169,000(10.51%) 5.เอ็นฟาโกรว์ 26,424,000 717,000 27,141,000(9.46%) 6.เอ็นฟาคิด 13,289,000 13,289,000(4.62%) 7.มิชชั่น 8,061,000

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 กาแฟ…ทุกครั้งที่ดื่มอย่าลืมคนปลูก

เรื่องทดสอบ 1เดิมการดื่มกาแฟเคยเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูงมาก่อน แล้วจึงค่อยแพร่มาสู่ชนชั้นกลางและประชาชนทั่วไป ในยุคที่วัฒนธรรมการดื่มกาแฟแพร่หลายมาถึงคนระดับล่าง มีร้านกาแฟปรากฏขึ้นทั่วไปในบริเวณที่เป็นชุมชนหรือตลาดที่มีคนมากๆ การมานั่งดื่มกาแฟในตอนเช้าพร้อมทั้งพูดคุยถกปัญหาประจำวันได้กลายมาเป็นวัฒนธรรม “สภากาแฟ” ที่รู้จักกันโดยทั่วไป แต่ปัจจุบัน สภากาแฟโดยอาแปะ อากง ได้ถูกท้าทาย โดยการมาถึงของร้านกาแฟแบรนด์หรูจากต่างประเทศ ในรูปแบบร้านกาแฟสดคั่วบด ที่มีการตกแต่งร้านให้หรูหราทันสมัย สะดวกสบาย และมีบรรยากาศที่รื่นรมย์ นิ่ง สงบ กว่า สภากาแฟ ที่เอะอะ ฮาเฮ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ที่ผู้คนมีลักษณะโดดเดี่ยวและมีโลกส่วนตัวสูง จากข้อมูลของสำนักเศรษฐกิจการเกษตร บริโภคกาแฟของคนไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ปัจจุบันคนไทยดื่มกาแฟคนละ 200 แก้วต่อคนต่อปี ซึ่งในช่วง 10 ปีก่อนนั้นคนไทยดื่มกาแฟเพียงปีละ 50 แก้วเท่านั้น ถ้ามองผ่านภาพธุรกิจร้านกาแฟสดเอาเฉพาะแบรนด์หรูจากต่างประเทศ ก็พบว่ามีการแข่งขันสูง แม้ราคาขายจะค่อนข้างแพง แต่ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นก็สามารถดึงดูดคนเข้าร้านได้ไม่ยาก ส่วนกลุ่มที่ชื่นชอบกลิ่นกาแฟสด แต่เงินน้อย เดี๋ยวนี้แฟรนส์ไชส์ร้านกาแฟสดแบบ “หัวมุมถนน” ก็มีให้เลือกมากมายเช่นกัน หากจะลองแบ่งประเภทของ ธุรกิจร้านกาแฟ อาจพอแบ่งคร่าวๆ ได้ ดังนี้1.ร้านกาแฟที่เป็นแฟรนไชส์จากต่างประเทศ เช่น สตาร์บัคส์ ซึ่งร้านประเภทนี้ ส่วนใหญ่จับกลุ่มลูกค้าระดับบน ราคาสินค้าโดยเฉลี่ย 65 บาทขึ้นไป2.ร้านกาแฟของนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาสร้างแบรนด์ในไทย อาทิ คอฟฟี่ เวิลด์ เน้นจับกลุ่มนักธุรกิจ คนทำงานมากขึ้น ราคากาแฟขายอยู่ที่ 45-65 บาทต่อแก้ว3.ร้านกาแฟที่เป็นจากเชนฟาสต์ฟู้ดชื่อดัง เช่น แมคโดนัลด์ แบล็คแคนยอน เชสเตอร์กริลล์ ดังกิ้นและทรูคอฟฟี่ ราคากาแฟขายที่ 40-60 บาทต่อแก้ว4.ร้านกาแฟของคนไทยทั้งที่ลงทุนเองและเปิดสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ ร้านกาแฟในกลุ่มนี้มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ร้านเหล่านี้จำหน่ายกาแฟที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับ กาแฟจากร้านใหญ่ๆ แต่ราคาถูกกว่า สิ่งนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีทางเลือกสำหรับการดื่มกาแฟเพิ่มขึ้น5.ร้านกาแฟของคนไทยที่เปิดร่วมกับปั๊มน้ำมัน เน้นจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักเดินทาง ราคากาแฟจะไม่สูงนัก เฉลี่ยประมาณ 30-45 บาทต่อแก้วนอกจากการแบ่งเป็นกลุ่มดังกล่าวแล้ว ในตลาดยังมีธุรกิจร้านกาแฟรายย่อยอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ร้านเหล่านี้จะลงทุนในรูปแบบมุมกาแฟ (Corner/Kiosk) หรือรถเข็น (Cart) ที่ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ทำไมต้องคิดถึงคนปลูกกาแฟ ต้นกำเนิดของกาแฟนั้นอยู่ในทวีปอัฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เป็นประเทศเอธิโอเปีย แต่เดิมประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมจะต้องปลูกกาแฟเพื่อส่งผลผลิตไปยังประเทศแม่ โดยการปลูกนั้นจะเป็นแบบดั้งเดิมคือการปลูกในแนวร่มเงาของไม้อื่น เมื่อถึงช่วงของการปฏิวัติเขียวระหว่างปีค.ศ. 1970 – 1980 นั้น สหรัฐได้เป็นแกนนำการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต ด้วยการสนับสนุนประมาณ 80 ล้านเหรียญให้เกษตรกรปลูกต้นกาแฟในที่โล่งเพื่อเพิ่มผลผลิต จึงนำไปสู่การทำลายป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้การปลูกพืชเชิงเดี่ยว การพึ่งพาปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงก็ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย ในปี 1988 เกิดกาแฟยี่ห้อ Max Havelaar โดยองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่งในประเทศเนเธอร์แลนด์ Solidaridad ทำให้มีกาแฟที่จัดซื้ออย่างเป็นธรรมเข้ามาขายในซูเปอร์มาร์เกตของเนเธอร์แลนด์ ชื่อยี่ห้อ Max Havelaar นั้นเป็นชื่อของตัวละครที่คัดค้านการเอาเปรียบแรงงานของคนงานในไร่กาแฟในกลุ่มประเทศที่เป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์นั่นเอง ต่อมาแนวคิดดังกล่าวได้ขยายไปยังประเทศอื่นๆในทวีปยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นด้วย แนวคิดเรื่องแฟร์เทรด หรือการค้าที่เป็นธรรมนั้นมีจุดประสงค์เพื่อลดปัญหาความยากจน และทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการสร้างโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยหรือคนงานที่ถูกเอาเปรียบจากระบบการค้าทั่วไป ได้รับค่าตอบแทนจากการขายสินค้าเกษตรในราคาที่เป็นธรรม และเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยที่เพาะปลูกอย่างพอเพียงและปลูกกาแฟในไร่นาสวนผสมหรือปลูกแซมภายใต้ร่มไม้แบบดั้งเดิม จริงๆ แล้ว แนวคิดเรื่อง “การค้าที่เป็นธรรม” นั้นมีมากว่า 40 ปีแล้ว แต่การมีตราสัญลักษณ์ที่ชัดเจนเพิ่งจะเกิดขึ้นหลังปีค.ศ. 1980 Fairtrade Labelling Organizations International คือองค์กรที่ตั้งขึ้นที่กรุงบอนน์ เยอรมนี เพื่อดูแลมาตรฐานและการรับรองระหว่างประเทศ มีการใช้เครื่องหมายรับรองแฟร์เทรด FAIRTRADE ขึ้นในปี 2002 สินค้าเกษตรที่มีตราแฟร์เทรดนั้น มีการกำหนดราคาซื้อขั้นต่ำและค่าธรรมเนียมไว้ เช่น เมล็ดกาแฟอาราบิกาธรรมดานั้นจะรับซื้อที่กิโลกรัมละ 2.5 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 90 บาท) ในขณะที่เมล็ดกาแฟอาราบิกาที่ปลูกแบบออกานิกจะรับซื้อที่กิโลกรัมละ 3.2 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 108 บาท) และมีค่าธรรมเนียมแฟร์เทรดกิโลกรัมละ 22 เซ็นต์ (ประมาณ 7 บาท) รายได้จากการขายสินค้า FAIRTRADE จะถูกนำกลับไปใช้ลงทุนในด้านการสาธารณสุข การศึกษา การดูแลรักษาสภาพแวดล้อม และทำให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้ทางเศรษฐกิจ กาแฟเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีมูลค่ามากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากปิโตรเลียม ในแต่ละปีมีการบริโภคกาแฟถึง 5,400 ล้านกิโลกรัม ประเทศที่มีการบริโภคกาแฟมากที่สุดในโลก ได้แก่ ฟินแลนด์ (คนละ 12 กิโลกรัมต่อปี) คนไทยนั้นสถิติบอกว่าบริโภคคนละ กิโลกรัมต่อปี ในขณะที่คนอเมริกันบริโภคกาแฟคนละ 4.2 กิโลกรัมต่อคนต่อปี (ข้อมูลจาก World Resource Institute 2007) ประเทศที่มีการผลิตเมล็ดกาแฟมากที่สุดในโลกได้แก่ บราซิล รองลงมาได้แก่ เวียดนาม โคลัมเบีย อินโดนีเซีย และเม็กซิโก ตามลำดับ   ประเภทของกาแฟเอสเพรสโซ (espresso) คือกาแฟที่มีรสแก่และเข้ม ซึ่งมีวิธีการชงโดยใช้แรงอัดไอน้ำหรือน้ำร้อนผ่านเมล็ดกาแฟคั่วที่บดละเอียด ที่มาของชื่อ เอสเพรสโซ มาจากคำภาษาอิตาลี "espresso" แปลว่า เร่งด่วน เอสเพรสโซเป็นกาแฟที่นิยมมากที่สุดในแถบประเทศยุโรปตอนใต้ โดยเฉพาะประเทศอิตาลีและฝรั่งเศส การสั่งกาแฟ "caffe" ในร้านโดยทั่วไปก็คือสั่งเอสเพรสโซ อเมริกาโน หรือ คาเฟ่ อเมริกาโน (cafe americano) คือเครื่องดื่มกาแฟชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีการชงโดยเติมน้ำร้อนผสมลงไปในเอสเพรสโซ. การเจือจางเอสเพรสโซซึ่งเป็นกาแฟเข้มข้นด้วยน้ำร้อน ทำให้อเมริกาโนมีความแก่พอ ๆ กับกาแฟธรรมดา แต่มีกลิ่นและรสชาติที่เข้มอันมาจากเอสเพรสโซ คาปูชิโน (cappuccino) เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มประเภทกาแฟซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิตาลี คาปูชิโนมีส่วนประกอบหลักคือ เอสเพรสโซ และ นมลาเต้ (ภาษาอิตาลี: Latte) เป็นภาษาอิตาลีแปลว่านม ส่วนในประเทศอื่น จะหมายถึง กาแฟลาเต้ หรือเครื่องดื่มกาแฟที่เตรียมด้วยนมร้อน มอคค่า (Mocha) หมายถึงเครื่องดื่มกาแฟซึ่งมี เอสเพรสโซ่ และ โกโก้ เป็นส่วนประกอบ เสิร์ฟทั้งแบบร้อนและแบบเย็นใส่น้ำแข็ง คาเฟอีน (Caffeine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ มีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7 trimethylxanthine พบได้ในกาแฟ ชา น้ำอัดลมสีดำ เครื่องดื่มชูกำลัง หรือโกโก้ มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าและไม่ง่วงนอน แต่ว่าสมองจะมีปฏิกิริยาทางเคมีตอบสนองต่อกาเฟอีน เมื่อได้รับกาเฟอีนครั้งต่อไป ฤทธิ์ของมันจะทำงานน้อยลง เรียกว่า ภาวะทนต่อคาเฟอีน (caffeine tolerance) ทำให้จำเป็นต้องบริโภคกาเฟอีนมากขึ้นเพื่อให้ออกฤทธิ์ การเสพกาเฟอีนมากๆ ในครั้งเดียวจะทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ พูดจาสับสน ปวดท้อง หัวใจเต้นแรง และอาจเลยเถิดถึงขั้นเสียชีวิตBiology Chemistry Food Chemistry Health Heart Disease Medical Yale University รายงานในวารสาร FASEB Journal ว่าการดื่มกาแฟเพียง 2 แก้ว หรือ 1 โดสของกาเฟอีนในระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของหัวใจของเด็กในครรภ์ได้ พ่อแม่มักไม่อนุญาตให้ลูกดื่มกาแฟเพราะกลัวผลจากกาเฟอีน แต่พบว่าเดี๋ยวนี้ในขนม ลูกอม เค้ก มีส่วนผสมของกาเฟอีนจำนวนมาก อาจทำให้เด็กมีสมาธิสั้น นอนไม่หลับ และกระทบต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ปริมาณคาเฟอีนในอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ   ผลิตภัณฑ์ ปริมาตร(มล.) ปริมาณคาเฟอีน(มก.) กาแฟผงสำเร็จรูป 150 40-108 ชาซอง 150 28-44 ชาชงจากใบ 150 30-40 ชาเขียวสำเร็จรูป* 500 24-76 โกโก้ร้อน 180 5-30 เครื่องดื่มช็อกโกแลต 180 9-12 ดาร์กช็อกโกแลต แบบแท่ง 60 กรัม 40-50 ช็อกโกแลตนม แบบแท่ง 60 กรัม 3-20 เครื่องดื่มรสโคล่า 355 กรัม 38-46 กาแฟกระป๋อง*** 180 74-212 เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน** (เครื่องดื่มชูกำลัง) 100-150 50 ที่มา สำนักงานอาหารและยา สหรัฐอเมริกา*วารสารฉลาดซื้อ**สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)***สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 98 รับร้อนกับชานมเย็นๆ สักแก้ว??

ชานมพร้อมเสิร์ฟชานม ไม่ว่าจะแบบร้อนหรือแบบเย็น จะรสต้นตำรับไทยแบบโบราณหรือแบบฝรั่งตะวันตก ต่างก็ให้รสชาติหวานหอม กลมกล่อมและชวนดื่มยิ่งนัก ยิ่งอากาศร้อนๆ อย่างนี้ หากเป็นชานมเย็นๆ สักแก้วก็จะยิ่งทำให้ชื่นใจกันไปใหญ่โดยเฉพาะคอชา แต่ยังไงก็ตามเพื่อให้ดื่มได้อย่างรู้จริงและมั่นใจว่าปลอดภัย ฉลาดซื้อจึงนำชานมสำเร็จรูปทั้งชนิดผงพร้อมชงและแบบบรรจุกล่อง/ขวดสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ส่งเข้าห้องทดสอบเพื่อลองดูว่า ชานมประเภทนี้มีความเสี่ยงเรื่องไขมันสูงหรือไม่ โดยเฉพาะไขมันชนิดทรานส์ ที่ว่ากันว่า เป็นผู้ร้ายตัวฉกาจไม่แพ้ไขมันอิ่มตัว ผลการทดสอบพบว่า มีอยู่ 4 ผลิตภัณฑ์ที่มีกรดไขมันทรานส์ คือ ชานมลิปตันมิลค์ที รสวานิลลา ชานมลิปตันมิลค์ที รสต้นตำรับไทย ซุปเปอร์ ชานมสำเร็จรูปและมะลิ ชาไทยผสมนม โดยลิปตันมิลค์ที รสวานิลลามีปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์ 0.36 กรัมต่อ 100 กรัม รองมาคือ ลิปตันรสต้นตำรับไทย 0.28 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งน่าจะมาจากส่วนประกอบที่มีครีมเทียมผสมลงไปด้วย (ดูในตารางผลทดสอบ) ส่วนผลิตภัณฑ์ที่พบว่า มีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูงได้แก่ ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ คือ 6.1 กรัม/ 100 กรัม   แต่เดี๋ยว…ช้าก่อน อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป เนื่องจากเวลาที่เราดื่มจริงๆ เราก็คงดื่มไม่ถึง 100 กรัม(นอกจากจะชอบเอามากจริงๆ) ฉลาดซื้อจึงลองคำนวณโดยใช้น้ำหนักจากขนาด 1 ซองเป็นตัวตั้ง ได้ข้อมูล ดังนี้ ปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวเมื่อเทียบหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ หน่วยบริโภค กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) 1. ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ 1 ซอง 17 กรัม 1 2. ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 1 ซอง 20 กรัม 0.9 ปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์เมื่อเทียบหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ หน่วยบริโภค กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) 1. ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 1 ซอง 20 กรัม 0.07 2. ลิปตัน มิลค์ที รสต้นตำรับไทย 1 ซอง 15 กรัม 0.04 สรุปว่าการดื่มชานม 1 แก้ว ไม่มีความเสี่ยงมากในเรื่องของไขมัน เพราะมีปริมาณไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวน้อย แต่ที่ต้องระวังคือ เรื่องน้ำตาลหรือความหวาน ซึ่งมีปริมาณสูงพอสมควร ยิ่งประกอบกับคำแนะนำที่ข้างฉลากของผลิตภัณฑ์ชนิดผงที่ระบุว่า ชงเพิ่มเป็น 2 ซอง เมื่อต้องการดื่มกับน้ำแข็ง ก็จะเสี่ยงได้รับน้ำตาลมากเกินไป ส่วนชนิดพร้อมดื่ม ดูจากปริมาณ 1 หน่วยบริโภคคือขวดหรือกล่องแล้ว ก็พบว่า ยังไม่เข้าข่ายเสี่ยงมากในเรื่องปริมาณของไขมันเช่นกัน หลายยี่ห้อก็ไม่พบกรดไขมันชนิดทรานส์ แต่เรื่องน้ำตาลถือว่าแรงอยู่ บางยี่ห้อก็หวานเกินไป เช่น ไอวี่ ชาเย็นสูตรโบราณที่มีน้ำตาล 13.9 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ถ้าดื่ม 1 กล่อง 180 มิลลิลิตรก็จะได้น้ำตาลไปถึง 25 กรัม หรือคิดเป็นน้ำตาลประมาณ 6 ช้อนชาทีเดียว (พอๆ กับดื่มน้ำอัดลมหนึ่งกระป๋อง)ปริมาณน้ำตาลเมื่อเทียบหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ หน่วยบริโภค กรดไขมันอิ่มตัว (กรัม) ไอวี่ 1 กล่อง 180 มิลลิลิตร 25 กรัม ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 1 ซอง 20 กรัม 10 กรัม (20 กรัมเมื่อทำเป็นชาเย็น) ลิปตัน มิลค์ที รสต้นตำรับไทย 1 ซอง 15 กรัม 9 กรัม (18 กรัมเมื่อทำเป็นชาเย็น) ผลทดสอบชานมสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ น้ำหนัก ราคาต่อหน่วย (บาท) วันผลิต-วันหมดอายุ ผลทดสอบ น้ำตาล (กรัม/100 กรัม) กรดไขมันอิ่มตัว (กรัมต่อ 100 กรัม) กรดไขมันชนิดทรานส์ (กรัมต่อ 100 กรัม) ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ 510 กรัม (30 ซอง ซองละ 17 กรัม) 79 หมดอายุ 18-05-2010 51.20 6.10 0.08 ลิปตัน มิลค์ที รสต้นตำรับไทย 150 กรัม (10 ซอง ซองละ 15 กรัม) 46 07-08-2008 07-02-2010 57.60 4.00 0.28 ลิปตัน มิลค์ที รสวานิลลา 100 กรัม (5 ซอง ซองละ 20 กรัม) 27 20-10-2008 20-04-2010 52.40 4.70 0.36 ไอวี่ ชาเย็น สูตรโบราณ 180 มล. 13 ผลิต 27-11-2009 13.90 0.40 0 ยูนิฟ บาเล่ ชานมและข้าวบาร์เลย์ 350 มล. 17.50 18-12-2008 18-10-2009 7.40 0.20 0 มะลิ ชาไทยเย็นยูเอชทีผสมนมปรุงสำเร็จ 180 มล. 11 หมดอายุ 22-09-2009 8.80 0.70 0.02 นะมาชะ กรีนลาเต้น้ำชาเขียวญี่ปุ่น ผสมนม 280 มล. 18 03-09-08 03-07-09 8.0 0.2 0   ดื่มชาเพียวๆ ดีกว่าชานมจริงหรือมีงานวิจัยที่ระบุว่า ชาที่เติมนมจะมีดีที่รสชาติอร่อยเท่านั้น แต่คุณประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากชาจะหายไป เพราะนมจะไปหยุดสารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทันทีที่ผสมกับน้ำชา นักวิจัยได้ทดลองจนพบว่า โปรตีนในนมจะเข้าไปจับกับสารประกอบในน้ำชาที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (รวมทั้งบรรดาสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ในน้ำชา) ทำให้สารประกอบนั้นไม่สามารถออกฤทธิ์ได้อีกต่อไป ผลการทดลองดังกล่าวช่วยให้ข้อสรุปได้ว่า หากจะรับประโยชน์จากการดื่มชา ให้ดื่มชาแท้ๆ ไม่ผสมนม แต่หากใจมันชอบจะเติมนมหรือครีมผสมกับน้ำชา ก็ให้รู้ไว้ว่า มันไม่ค่อยมีประโยชน์อะไร ท่านจะได้แค่ความอร่อยหวานมันเท่านั้น อย่างไรก็ตามเรื่องอย่างนี้มันก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ห้ามกันไม่ได้อยู่แล้ว   กรดไขมันชนิดทรานส์กรดไขมันชนิดทรานส์ (Trans Fatty acid ) เป็นกรดไขมันที่เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจน (Partial hydrogenation) ลงในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว พบในอุตสาหกรรมเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) ครีมเทียม เป็นต้น   จากการศึกษาวิจัยพบว่ากรดไขมันชนิดทรานส์ให้ผลร้ายเช่นเดียวกับกรดไขมันอิ่มตัว คือทำให้ไขมันไม่ดีชนิดอื่นเพิ่มปริมาณมากขึ้นในร่างกาย ขณะเดียวกันก็ไปลดไขมันชนิดดี ส่งผลให้หลอดเลือดในร่างกายอักเสบ เสื่อม จนตีบตัน เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ประเทศที่นิยมรับประทานอาหารที่ต้องใช้กรดไขมันชนิดทรานส์เข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิต จึงต้องออกประกาศ ให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในประเทศทั้งหมดระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ เช่น แคนาดาและสหรัฐอเมริกา สำหรับอาหารที่มีความเสี่ยงมาก ต้องระวังในการรับประทานคือ อาหารที่มีปริมาณกรดไขมันชนิดทรานส์มากกว่า 0.7 กรัมต่อมื้อ และมีกรดไขมันชนิดทรานส์บวกกับกรดไขมันอิ่มตัว มากกว่า 4 กรัมต่อมื้อ อาหารที่เป็นที่นิยมของคนไทยก็พบว่ามี กรดไขมันชนิดทรานส์ด้วยเช่นกัน ได้แก่พวก ขนมอบหรือเบเกอรีที่มีมาการีนเป็นส่วนประกอบ อย่างคุกกี้ พาย หรืออาหารที่ใช้มาการีนในการทอด อย่าง โรตี โดนัท แฮมเบอร์เกอร์ เป็นต้น  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 กระแสต่างแดน

โบนัสขจัดมลพิษ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของฝรั่งเศสต้องการส่งเสริมให้ผู้คนเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ดีเซลมาใช้รถพลังงานไฟฟ้า จึงเสนอให้เงิน 10,000 ยูโร (ประมาณ 370,000 บาท) กับผู้ที่ยินดีเปลี่ยน โครงการนี้จะเริ่มในเดือนเมษายนนี้ รมต.สิ่งแวดล้อมบอกว่าถึงเวลาแล้วที่จะหยุดละเมิดสุขภาพของประชาชน เพราะมีเทคโนโลยีที่เป็นทางออกแล้ว แต่เงื่อนไขมีอยู่ว่าคุณต้องเป็นผู้อยู่อาศัยในเขตที่มีมลภาวะสูงที่สุดในประเทศที่นิยมเรียกกันว่า PPA ทั้ง 23 เขต และคุณต้องมีหลักฐานมาแสดงว่าคุณได้นำรถที่อายุเกิน 13 ปีของคุณไปส่งที่สุสานรถเก่าแล้ว สินจ้างรางวัลสำหรับคนรักสิ่งแวดล้อมยังมีอีก เช่น เจ้าของรถไฮบริดทั่วไปจะได้รับโบนัส 1,500 ยูโร (55,900 บาท) แต่ถ้าใครใช้รถไฮบริดแบบชาร์จไฟได้ก็มีโบนัสให้ 2,500 ยูโร (93,000 บาท) ในทางกลับกัน เจ้าของรถที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต้องเสียค่าปรับ ระหว่าง 150 – 3,700 ยูโร (5,600 – 138,000 บาท) ฝรั่งเศสวางแผนติดตั้งสถานีชาร์จแบตฯให้ได้ 7 ล้านจุดทั่วประเทศ ทั้งในบริเวณลานจอดรถทั้งของรัฐและเอกชน สถานีรถไฟ ซูเปอร์มาร์เก็ต และสนามบิน   มีขึ้นต้องมีลง มาเลเซียประกาศลดค่าไฟฟ้าในเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ... ก็ไม่มีอะไรมาก แค่ต้นทุนการผลิตเขาลดลง รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน เทคโนโลยีสะอาด และน้ำ ประกาศว่าค่าไฟจะลดลงร้อยละ 3.5 สำหรับครัวเรือนบนคาบสมุทรมาเลย์ ในขณะที่ผู้ใช้ไฟในซาบาห์และลาบวนก็จะเสียค่าไฟน้อยลงร้อยละ 5.8 เช่นกัน เอาเป็นว่าเขาจะประหยัดกันได้เดือนละประมาณ 120 บาท และ 400 บาท ตามลำดับ เขาบอกว่าร้อยละ 70 ของผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากงานนี้ ที่ทำได้เพราะว่าบริษัทเทนากา เนชั่นแนล ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้ารายใหญ่ของมาเลเซียเขาสามารถประหยัดเงินได้ 700 กว่าล้านริงกิต (ไม่ต่ำกว่า 6,600 ล้านบาทไทย) จากค่าเชื้อเพลิงและค่าการผลิตที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ถามว่าทำไมถึงลดแค่เดือนมิถุนายน ก็เพราะมาเลเซียใช้กลไกการคิดอัตราค่าไฟแบบ ICPT (Imbalance Cost Pass Through) ที่ทำให้รัฐสามารถเพิ่มหรือลดอัตราค่าไฟได้ด้วยการคำนวณจากราคาของถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมันดิบ โดยรัฐจะคำนวณอัตราค่าไฟทุกๆ 6 เดือน เอาเป็นว่าเดือนมิถุนายนนี้มาดูกันใหม่อีกที อาจจะถูกหรือแพงกว่านี้ก็ต้องมาลุ้นกัน ... ยังดีที่ได้มีโอกาสลุ้น เครื่องดื่ม 18 + คณะกรรมการยุโรปด้านสุขภาพและความปลอดภัยด้านอาหารกำลังพิจารณาห้ามขายเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนให้กับผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เรื่องนี้เรื่องใหญ่ของเขาเพราะร้อยละ 68 ของเยาวชนของเขานิยมดื่มเครื่องดื่มดังกล่าว มีถึงร้อยละ 24 ที่ดื่มถึงสัปดาห์ละ 4 ครั้ง นอกจากนี้งานวิจัยขององค์การความปลอดภัยทางอาหารของยุโรปเขาพบว่า ไม่ว่าจะผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นก็ไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกินกว่าวันละ 3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เครื่องดื่มดังกล่าวในปริมาณ 500 มิลลิกรัม ก็มีคาเฟอีนในปริมาณเกินกว่าที่เด็กอายุ 12 ควรได้รับต่อวันแล้ว และมันยังอันตรายมากสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ เพราะมันอาจเร่งความเร็วในการเต้นของหัวใจ ทำให้ความดันสูงขึ้นและทำให้เสียชีวิตในที่สุด ข่าวนี้เป็นที่สรรเสริญขององค์กรที่รณรงค์เรื่องอาหารปลอดภัยอย่าง Foodwatch  ในขณะที่เครื่องดื่ม “บำรุงกำลัง” ยี่ห้อที่ขายดีที่สุดในโลกอย่างเรดบูล หรือที่บ้านเราเรียกกระทิงแดง ออกมาโต้ตอบว่า คาเฟอีนที่ผู้คนทุกวันนี้ได้รับส่วนใหญ่นั้นมาจาก ชา กาแฟ และน้ำอัดลม ไม่ได้มาจากเครื่องดื่มชนิดนี้เสียหน่อย   ปรับไม่เลี้ยง ศาลเยอรมันสั่งให้เทศบาลเมืองไลป์ซิกจ่ายค่าชดเชย 15,000 ยูโร (ประมาณ 560,000 บาท) ให้กับสามครอบครัวที่รวมตัวกันฟ้อง พ่อแม่เหล่านี้บอกว่าพวกเขาได้รับความเดือดร้อนลำบากจากการที่เทศบาลมีสถานรับเลี้ยงเด็กไม่เพียงพอสำหรับลูกๆในวัยขวบกว่าของพวกเขา ทำให้ต้องผลัดกันลางานมาเลี้ยงลูกและยอมถูกหักเงินเดือน เพราะตามกฎหมาย รัฐจะต้องจัดหาสถานรับเลี้ยงเด็กสำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไปให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เทศบาลเมืองนี้ก็ยืนยันว่าเขากำลังเร่งสร้างศูนย์รับเลี้ยงเด็กเพิ่มเติมอยู่ เพียงแต่มันมีปัญหาขลุกขลักนิดหน่อยในขั้นตอนการวางแผนและการทำสัญญาการก่อสร้างนี่แหละพี่น้อง แต่ศาลถือว่านั่นไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างของการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลได้ ในเยอรมนี พ่อแม่มีสิทธิหยุดงานโดยได้ยังรับค่าจ้าง 15 เดือน(ทั้งนี้แต่ละฝ่ายหยุดได้ไม่ต่ำกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน) และสามารถหยุดงานเพื่อเลี้ยงลูกได้สูงสุดถึง 3 ปี   อย่างนี้ต้องพิสูจน์ มินห์ พบแมลงวันตายหนึ่งตัวในเครื่องดื่มยี่ห้อนัมเบอร์วัน เขาจึงโทรหาบริษัทผู้ผลิตแล้วบอกว่าจะไม่แพร่งพรายเรื่องนี้ให้ใครรู้ถ้าบริษัทยินดีจ่ายค่าเสียหาย 1,000 ล้านดอง(ประมาณ 1,540,000 บาท) ให้กับเขา แต่ถ้าไม่จ่ายเขาจะฟ้องสื่อ บริษัทจึงตกลงจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง(โดยไม่ลืมแจ้งตำรวจไว้ด้วย) ผลคือมินห์ถูกตำรวจรวบตัวได้ขณะที่มารับเงินและถูกดำเนินคดีข้อหาขู่กรรโชกทรัพย์ และขวดเครื่องดื่มที่ว่าก็ถูกตรวจสอบพบว่ามีร่องรอยการเจาะโดยวัตถุมีคม แต่เดี๋ยวก่อน เรื่องนี้ยังจบไม่ได้ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กระทรวงอนามัยและความปลอดภัยด้านอาหารของเวียดนาม ตั้งชุดเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบสายการผลิตของบริษัททัน เฮียบ พัด กรุ๊ป ผู้ผลิตเครื่องดื่มดังกล่าว เนื่องจากก่อนหน้านี้ก็มีการส่งต่อเรื่องราวในอินเตอร์เน็ตว่าด้วยเรื่องเครื่องดื่มของบริษัทนี้ที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนสภาพ หรือมีสิ่งปลอมปนทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงวันหมดอายุ จนกระทั่งเกิดกลุ่มผู้บริโภคที่ชักชวนกันผ่านโซเชียลมีเดียให้บอยคอตผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้ด้วย ที่สำคัญเมื่อ 6 ปีก่อน ทางการเคยตรวจพบผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นที่หมดอายุแล้วกว่า 67 ตันในโกดังของบริษัทนี้ทั้งที่เมืองบินห์ดวงและโฮจิมินห์ บริษัทดังกล่าวมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 40 ของตลาดชาพร้อมดื่มในเวียดนาม และร้อยละ 14 ของเครื่องดื่มบำรุงกำลัง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 กระแสต่างแดน

เครื่องดื่มบำรุงคลัง สภาล่างของฝรั่งเศสผ่านกฎหมายรับรองการเก็บภาษี “เครื่องดื่มบำรุงกำลัง” ด้วยเหตุผลว่าผลิตภัณฑ์ที่มีคาเฟอีนสูงอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กและเยาวชน เพราะมันส่งต่อการเต้นของหัวใจและความดันเลือด ถ้ากฎหมายนี้ผ่านการรับรองของวุฒิสภา รัฐบาลฝรั่งเศสจะมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 60 ล้านยูโร(ประมาณ 2,647 ล้านบาท) จากการเก็บภาษีในอัตรา 1 ยูโร(44 บาท) ต่อเครื่องดื่มบำรุงกำลัง 1 ลิตร ฝรั่งเศสซึ่งเก็บภาษีจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงมาได้สองปีแล้ว เพิ่งจะมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังได้เพียง 5 ปีเท่านั้น แต่ด้วยการเป็นสปอนเซอร์ให้กับกิจกรรมกีฬาต่างๆ และการทำตลาดทางโซเชียลมีเดีย เครื่องดื่มดังกล่าวก็เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่น ทั้งในผับ คอนเสิร์ต และสถานที่ออกกำลังกายต่างๆ   ข่าวบอกว่ามีชาวฝรั่งเศสที่เป็นลูกค้าเครื่องดื่มชนิดนี้อยู่ประมาณ 9 ล้านคน และ 1 ใน 4 ของคนกลุ่มนี้อายุระหว่าง 14 – 25 ปี ก่อนหน้านี้องค์การอาหารและยาฝรั่งเศสได้ออกคำแนะนำให้เด็กและวัยรุ่นหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเรดบูล มอนสเตอร์ เบิร์น และ ร็อคสตาร์ และเตือนว่าไม่ควรดื่มพร้อมกับแอลกอฮอล์ หรือดื่มหลังการออกกำลังกาย ถ่ายมากลืมหมด งานวิจัยเขาพบว่าการถ่ายภาพเก็บทุกรายละเอียดในช่วงเวลาดีๆ อย่างวันเกิด วันรับปริญญา วันแต่งงาน ฯลฯ มันจะทำให้เราจดจำเรื่องราวในวันนั้นได้น้อยลง ดร. ลินดา เฮนเคล จากมหาวิทยาลัยแฟร์ฟิลด์ ที่ทำการวิจัยครั้งนี้บอกว่า การที่เราวุ่นวายกดชัตเตอร์อยู่นั้น เราจะประสบการณ์ร่วมกับเหตุการณ์ตรงหน้าน้อยลง และนั่นทำให้เราจำรายละเอียดของช่วงเวลาพิเศษนั้นไม่ได้ดีเท่าที่ควร ข้อสรุปนี้เขาได้จากการทดลองพานักศึกษากลุ่มหนึ่งเดินชมภาพที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งหนึ่งพร้อมฟังการบรรยาย เขาบอกให้นักศึกษาจดจำรายละเอียดของภาพต่างๆ ให้ได้ ใครอยากจะถ่ายรูปเก็บไว้ด้วยก็ไม่ว่ากัน เช้าวันต่อมามีการทดสอบความจำ ปรากฏว่านักศึกษาที่ดูภาพอย่างเดียว กลับจำรายละเอียดของภาพได้ดีกว่าคนที่ใช้กล้องบันทึกภาพไว้ แล้วสิ่งที่อยู่ในภาพถ่าย มีผลต่อความจำของเราหรือไม่? ดร. เฮนเคลบอกว่า มันขึ้นอยู่กับว่าตอนถ่ายรูปนั้นคุณตั้งใจสำรวจวัตถุและพื้นหลังในขณะนั้นจริงๆ หรือไม่ เพราะงานสำรวจอีกชิ้นของเธอพบว่า การ “ถ่ายเจาะ” ไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจะทำให้เราจดจำมันได้ดีขึ้น ไม่ใช่เฉพาะสิ่งที่เราถ่ายเจาะมาเท่านั้น แต่เราจะจำได้ว่าเรากันอะไรออกไปนอกเฟรมด้วย   ภาระผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุชาวจีนคงจะไม่สามารถเปิดกรุเงินเก็บมาใช้เที่ยวต่างประเทศ หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ใช้เงินมากได้ เพราะยังคงมีภาระต้อง “เลี้ยง” ลูก ลี ชวน ในวัย 57 ยังต้องช่วยลูกชายจ่ายค่าผ่อนบ้าน ทั้งๆ ที่ลูกชายของเขาก็มีรายได้ประมาณ 30,000 – 45,000 บาทต่อเดือนแล้วเชียว(ลืมบอกไปว่าลูกชายเขาเพิ่งจะแต่งงาน และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงค่าน้ำค่าไฟ และอื่นๆ เพราะอยู่ในเมืองที่ ค่าบ้านแพงกว่ารายได้เฉลี่ยต่อปีของครัวเรือนถึง 28 เท่า) ผู้สูงวัยเหล่านี้อยากให้ลูกหลานมีชีวิตที่ดี จึงยินดีให้เงินช่วยเหลือ ถ้าไม่มีเงินก็จะใช้วิธีเปิดบ้านให้ลูกและครอบครัวย้ายเข้ามาอยู่เป็นการประหยัดรายจ่าย การสำรวจโดยบริษัทประกัน HSBC Life Insurance ระบุว่าร้อยละ 76 ของชาวจีน จะยังต้องให้เงินสนับสนุนลูกหลานเมื่อตัวเองเข้าสู่วัยเกษียน งานสำรวจครั้งในทำกับกลุ่มตัวอย่างขนาด 16,000 คน ใน 15 ประเทศ มีคนจีนเข้าร่วมการสำรวจ 1,000 คน งานสำรวจนี้พบว่า ร้อยละ 40 ของคนจีนวัยเกษียนยังคงต้องอุปการะลูก ร้อยละ 28 ยังต้องเลี้ยงพ่อแม่ และร้อยละ 9 ยังต้องรับผิดชอบเลี้ยงหลาน เฮ้อ! รวมๆ แล้วเงินเก็บเพื่อความสุขส่วนตัวของผู้สูงอายุเหลือน้อยลง แถมยังต้องทำงานหาเงินหลังวัยเกษียนอีกด้วย   แผนปรองดอง หลังจากพยายามหาทางออกกันมากว่า 20 ปี ในที่สุดอิสราเอล จอร์แดน ปาเลสไตน์ ก็ตกลงกันได้ ... เรากำลังพูดถึงข้อตกลงเรื่องโครงการนำน้ำจากทะเลแดงมาใช้ ข่าวบอกว่าโครงการที่ไปเซ็นสัญญาที่ธนาคารโลก สาขาใหญ่ในกรุงวอชิงตันนี้มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 240 ล้านเหรียญ(7,700 ล้านบาท) ตามแผนแล้วเขาจะสร้างโรงบำบัดน้ำที่เมืองอคาบา ในจอร์แดน เพื่อเปลี่ยนน้ำเค็มจากทะเลแดงให้เป็นน้ำจืดเพื่อรองรับชุมชนทางตอนใต้ของอิสราเอลและจอร์แดน สองประเทศนี้จะได้น้ำไปใช้กันคนละ 8,000 – 13,000 ล้านลูกบาศก์แกลลอนต่อปี ส่วนน้ำเกลือที่เป็น “น้ำเสีย” จากการผลิตจะถูกส่งผ่านท่อในจอร์แดนขึ้นเหนือไปประมาณ 100 ไมล์ เพื่อปล่อยลงในทะเลสาบเดดซี นั่นหมายความว่าต้องมีการจับตาดูการบริหารจัดการน้ำเค็มนี้ให้ดี ไม่อย่างนั้นทะเลสาบเดดซีจะกลายเป็นทะเลสาบมรณะไปจริงๆ นอกจากนี้อิสราเอลจะต้องส่งน้ำจืด 13,000 พันล้านแกลลอน จากทะเลกาลิลีทางตอนเหนือของประเทศ ให้กับอัมมานเมืองหลวงของจอร์แดน และปาเลสไตน์ก็คาดหวังว่าจะสามารถซื้อน้ำได้อีก 8,000 ล้านลูกบาศก์แกลลอนจากอิสราเอลในราคาพิเศษด้วย ที่มาของข้อตกลงนี้คือการพยายามแก้ปัญหาหลักๆ สองประการคือ 1) การขาดแคลนน้ำจืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจอร์แดน และ 2) การลดลงของระดับน้ำในทะเลสาบเดดซีปีละกว่า 3 ฟุต เพราะน้ำส่วนใหญ่ในแม่น้ำจอร์แดน ถูกเบี่ยงเส้นทางออกไปยังชุมชนและไร่นาในอิสราเอล จอร์แดน และซีเรีย จึงทำให้แทบไม่มีน้ำไหลเขามาในทะเลสาบ แถมยังมีอุตสาหกรรมโปแตช สองฝั่งทะเลสาบอีกด้วย   ศึกคุ้มครองผู้บริโภค ที่เมียนมาร์ไม่ได้มีแค่ศึกซีเกมส์ เขายังมีแมทช์องค์การอาหารและยา ปะทะ สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ลุ้นกัน ด้าน อย. นั้นเตรียมจะฟ้องสมาคมฯ โทษฐานแอบอ้างอำนาจของกระทรวงสาธารณสุขในการออกตรวจแผงขายอาหาร ส่วนสมาคมฯ ก็ขู่จะฟ้อง อย. ที่พยายามลดความน่าเชื่อถือของสมาคมฯ ซึ่งเพิ่งจะได้รับการก่อตั้งเมื่อปีที่แล้วให้มาช่วย อย.ทำงานด้านอาหารปลอดภัยและอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สองหน่วยงานนี้ไฝ่ว์กัน ล่าสุดเมื่อมีสายมารายงานว่ามีการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตกะปิจากปลา เพื่อช่วยย่นระยะเวลาการหมัก(ซึ่งปกติจะนานถึง 12 เดือน) จึงมีการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาทดสอบ ผลปรากฏว่าห้องแล็บของอย. พบยูเรียในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจำนวน 3 ตัวอย่าง แต่อย. ไม่ยอมเปิดเผยปริมาณที่พบ เพียงแต่แถลงข่าวว่าพบในปริมาณปกติทั่วไป ส่วนสมาคมฯ นั้นตีพิมพ์ผลทดสอบทั้งหมด ให้รู้กันไป จึงสร้างความหงุดหงิดใจให้กับ อย.และบรรดาผู้ประกอบการ ที่อ้างว่ายอดขายกะปิปลาของเขาลดลงทั้งๆ ที่เขาได้รับการรับรองความปลอดภัยจาก อย.แล้ว หมัดเด็ดอยู่ตรงที่ สมาคมฯ ประกาศว่าจะเปิดห้องปฏิบัติการของตัวเองเพื่อทดสอบอาหาร เพราะรู้สึกไม่เชื่อในผลการทดสอบจากอย. แล้ว   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 117 น้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญกับเรื่องที่ต้องระวัง

คนเราทุกคนต้องดื่มน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายดำเนินไปเป็นปกติ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่อาจขาดน้ำได้ เพราะการขาดน้ำย่อมหมายถึงการสิ้นสุดของชีวิตโดยทั่วไปร่างกายได้น้ำมาจากน้ำดื่ม เครื่องดื่มและอาหาร น้ำที่เราใช้ดื่มกินมาจากหลายแหล่ง ทั้งที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำฝน น้ำบาดาล และที่ผ่านกระบวนการผลิต เช่น น้ำประปา น้ำดื่มบรรจุขวด ซึ่งอย่างหลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายจนเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจในน้ำประปาว่า สะอาดเพียงพอสำหรับการดื่มกิน อย่างไรก็ตาม น้ำดื่มบรรจุขวดนั้นมีราคาแพงมาก น้ำดื่มขนาด 600 มิลลิลิตรที่วางจำหน่ายทั่วไปมีราคาสูงถึง 7 บาทต่อขวด และยังอาจมีราคาสูงไปได้อีกหากจำหน่ายในร้านอาหารที่ไม่มีการควบคุมราคาน้ำดื่ม ดังนั้นหากเป็นการซื้อมาไว้เพื่อการบริโภคในครัวเรือน น้ำดื่มบรรจุขวดอาจไม่ใช่ทางเลือกสำหรับครอบครัวที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย การติดตั้งเครื่องกรองน้ำ ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่บางครอบครัวเลือกใช้ แต่สำหรับบางครอบครัวหรือบางคนที่ไม่ได้มีบ้านพักถาวร เช่นผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในหอพักหรือห้องเช่า น้ำดื่มที่กำลังมาแรงสุดตอนนี้ก็คือ น้ำดื่มที่ได้มาจากตู้หยอดเหรียญ ที่ปัจจุบันมีกระจายติดตั้งอยู่ทั่วไปในย่านชุมชนที่มีหอพักจำนวนมาก เพราะทั้งสะดวกในการใช้บริการและมีราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับน้ำดื่มบรรจุขวด โดยน้ำที่ได้จากตู้หยอดเหรียญจะมีราคาอยู่ที่ประมาณลิตรละ 70 – 85 สตางค์ เท่านั้น __________________________________________________________________________ ตู้น้ำหยอดเหรียญเป็นการพัฒนาระบบบริการน้ำดื่มให้ครอบคลุมความต้องการ โดยเฉพาะในแหล่งชุมชนที่มีประชาชนอยู่จำนวนมาก เช่น หอพัก ห้องเช่า ตลาด หรือบริษัทห้างร้านที่มีประชาชนจำนวนมาก พบได้ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตลอดจนในพื้นที่เขตเมือง เขตเทศบาลและแหล่งชุมชนใหญ่ๆ ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ จากการศึกษาล่าสุดโดยกองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ประมาณการว่า เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร มีมากถึง 20,000 ตู้ และส่วนใหญ่เป็นตู้น้ำดื่มที่ใช้กระบวนการรีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO) __________________________________________________________________________ น้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญปลอดภัยหรือไม่ โดยวิธีการและแหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำ น้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญน่าจะมีความปลอดภัยเหมาะสำหรับการบริโภค เพราะใช้น้ำประปาที่คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานมาผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนที่ทำให้ได้น้ำดื่มที่มีคุณภาพและความสะอาดที่ดี แต่จากการวิจัยของหลายหน่วยงานในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา พบว่า น้ำที่ได้จากตู้หยอดเหรียญยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ ข้อมูลจากศึกษาวิจัยและเฝ้าระวังของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ได้ทำการศึกษาเชิงสำรวจคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ โดยสุ่มตัวอย่างจากพื้นที่ 30 เขตของกรุงเทพฯ จำนวน 546 ตัวอย่างจาก 20 ตราผลิตภัณฑ์ ในช่วง มี.ค. – มิ.ย. 2548 โดยอาศัยเกณฑ์ประเมินคุณภาพของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ มอก. 257-2521 ของกระทรวงอุตสาหกรรม มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (2524) และฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534) และมาตรฐานของการประปานครหลวง ในภาพรวมพบว่า มีน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสูงถึง 289 ตัวอย่างหรือคิดเป็นร้อยละ 52.9 โดยมีประเด็นที่น่าสังเกตคือเมื่อจำแนกตามตรายี่ห้อผลิตภัณฑ์ของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้ง 20 ตราผลิตภัณฑ์พบว่าไม่มีกลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากตรายี่ห้อใดเลยที่ผ่านเกณฑ์ได้ทั้งหมด และในจำนวนนี้มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของตราผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในสัดส่วนมากกว่า 50% ของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มตรวจของแต่ละตราผลิตภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2549 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ได้ทำการเฝ้าระวังความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ โดยสุ่มตรวจตู้น้ำหยอดเหรียญจาก 9 จังหวัด (รวม กทม. และนนทบุรี) พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (แบคทีเรีย) ของกรมอนามัย จำนวน 3 ตัวอย่าง (จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 33 ตัวอย่าง) และพบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์ม (Coliforms) จำนวน 1 ตัวอย่าง (จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 22 ตัวอย่าง) ในปี 2550 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาเรื่องความปลอดภัยของการบริโภคน้ำจากเครื่องผลิตน้ำดื่มหยอดเหรียญ โดยสุ่มตัวอย่างจากเขตพื้นที่ต่าง ๆ ใน กทม. จำนวน 350 ตัวอย่าง (50 เขต ๆ ละ 7 ตัวอย่าง) ปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524 และฉบับที่ 135 พ.ศ. 2534) จำนวน 264 ตัวอย่าง ซึ่งหมายความว่ากว่าร้อยละ 25 ของกลุ่มตัวอย่างไม่ผ่านเกณฑ์ และในจำนวนนี้พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์เรื่องกรด – ด่าง (pH) และความกระด้างร้อยละ 20.9 พบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์ม (Coliforms) ร้อยละ 5.43 และ อี. โคไล (E.coli) ร้อยละ 0.57 นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์ม บริเวณหัวจ่ายน้ำของตู้น้ำหยอดเหรียญถึงร้อยละ 23.41 และมีตะไคร่เกาะอยู่ที่หัวจ่ายน้ำกว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และในปี พ.ศ. 2552 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ได้ทำการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคครัวเรือนอีกครั้ง โดยสุ่มตรวจน้ำดื่มเพื่อการบริโภคประเภทต่างๆ ของครัวเรือน จาก 19 จังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ (ไม่รวม กทม.) ทั้งเขตเมืองและชนบท ซึ่งได้มีการสุ่มตรวจคุณภาพน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญด้วยจำนวน 6 ตัวอย่าง พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์แบคทีเรีย จำนวน 4 ตัวอย่าง ซึ่งจากการทบทวนการสำรวจทั้งหลายที่กล่าวมา พบว่า สาเหตุสำคัญที่น้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรียและโคลิฟอร์ม เนื่องจากความไม่สะอาดของอุปกรณ์กรองน้ำ ภาชนะที่เก็บน้ำและการเก็บน้ำที่กรองออกมาจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอย่างไม่ถูกสุขลักษณะนั่นเอง ที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนี้ในบางจุดยังพบสาหร่ายและตะไคร่ในบริเวณหัวจ่ายน้ำอีกด้วย __________________________________________________________________________ ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในพื้นที่จังหวัดสงขลา สมาคมผู้บริโภคสงขลา ได้ทำการสำรวจคุณภาพของน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญจำนวน 13 ตัวอย่าง 11 ตราผลิตภัณฑ์ ในการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง ในเดือน กันยายน และ พฤศจิกายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยส่งทดสอบหาจุลินทรีย์ก่อโรค 4 ชนิด ได้แก่ เสต็ฟฟิโลคอคคัส ออเรียส (เอส.ออเรียส/S. aurius) ซัลโมเนลล่า (Salmonella ) อี.โคไล (E.coli) และ โคลิฟอร์ม (Coliform) ผลการทดสอบพบว่า มีเพียงหนึ่งตัวอย่างที่ไม่ผ่านการทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 8 ได้แก่ตัวอย่างยี่ห้อสยามวอเตอร์ จากหอพักณัชชา อพาร์ทเม้นท์ ในการเก็บตัวอย่างเดือนมกราคม 2553 พบโคลิฟอร์มจำนวนมากกว่า 22 เอ็มพีเอ็น ต่อน้ำดื่ม 100 มิลลิลิตร ซึ่งตามมาตรฐานในประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 61 และ ฉบับที่ 135 ระบุไว้ว่าไม่เกิน 2.2 เอ็มพีเอ็น ต่อน้ำดื่ม 100 มิลลิลิตร (ข้อมูลจาก โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ./TUHPP) __________________________________________________________________________ ใครรับผิดชอบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ในรายงานการศึกษาทบทวนองค์ความรู้ทางด้านน้ำกับความปลอดภัยด้านอาหาร โดย โปรแกรมศึกษาระบบความปลอดภัยอาหารและโภชนาการ (FSN) สถาบันคลังสมองของชาติ (KNIT) ร่วมกับ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกำกับดูแลน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญยังไม่มีความชัดเจน ไม่ว่าจะทางด้านหน่วยงาน/องค์กรหรือด้านตัวกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ก็ยังไม่มีกฎหมายใดที่กำหนด ควบคุมและกำกับดูแลน้ำดื่มเพื่อการบริโภคที่ได้จากตู้น้ำหยอดเหรียญโดยตรงเลย มีก็เพียงเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มทั่วไปในการตรวจสอบและเฝ้าระวังเท่านั้น อย่างไรก็ดีปัจจุบันเริ่มมีความพยายามที่จะเข้าควบคุมกำกับดูแลคุณภาพบ้างแล้ว เช่น ในเขตกรุงเทพมหานคร จากการให้สัมภาษณ์ของ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ  ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 ระบุว่า มีผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มแบบหยอดเหรียญมาลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานเขต ทั้งสิ้น 2,000 ตู้ ซึ่งต่อไปนี้ทางสำนักงานเขตแต่ละพื้นที่จะเข้มงวดให้ผู้ประกอบการทุกรายมาขึ้นทะเบียน โดยเตือนว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมาลงทะเบียนที่สำนักงานเขต หากตู้น้ำใดไม่มีการขึ้น ทะเบียน หรือไม่มีใบจดทะเบียนที่สำนักงานเขตออกให้ก็จะดำเนินการตามกฎหมาย อาจจะถึงขั้นไม่ให้ตั้งตู้น้ำในพื้นที่นั้นๆ เลย และยังกล่าวอีกว่า “ขอความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ให้ ช่วยเป็นหูเป็นตาด้วย หากพบว่าตู้น้ำดื่มใดไม่มีใบขึ้นทะเบียนจากทางสำนักงานเขตก็อย่าได้ไว้ วางใจกดน้ำมาบริโภค” ถึงกระนั้น หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงทางกฎระเบียบข้อบังคับเท่านั้น แต่การเฝ้าระวัง การกำกับดูแลและการตรวจสอบที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ทางวิชาการในส่วนที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญยังไม่ปรากฏว่า มีการดำเนินงานหรือการสนับสนุนที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่น ยังไม่การวิจัยหรืองานวิชาการเรื่องฐานความรู้ในเรื่องสำคัญๆ ที่จะเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ อย่างเช่น ลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มที่ดีควรเป็นเช่นไร หัวจ่ายที่ใช้ในการจ่ายน้ำต้องมีความปลอดภัยแค่ไหนหรือแม้แต่มาตรฐานของวิธีการบำรุงรักษาว่าควรเป็นเช่นใด ถึงตรงนี้ผู้บริโภคก็ต้องทำใจรอกันล่ะ ว่าเมื่อไหร่ผู้มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย จะเร่งศึกษาวิจัยและจัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญกันเสียที ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาบานปลายแก้ไขไม่ทัน เพราะปัจจุบันธุรกิจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญกำลังเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงมาก   ฉลาดซื้อแนะ การเลือกใช้บริการน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ 1. สภาพภายนอกของตู้น้ำดื่ม : ควรเลือกตู้ที่สะอาด มีการทำความสะอาด ไม่มีฝุ่นผงหรือคราบสกปรก ผู้ประกอบการมีการปัดกวาดเช็ดถูบริเวณรอบๆ ตู้ โดยเฉพาะตรงจุดที่ใช้สำหรับวางภาชนะบรรจุเพื่อรองน้ำจากหัวบรรจุต้องสะอาด ไม่มีฝุ่นผง มีฝาปิดเพื่อป้องกันฝุ่นละออง หัวจ่ายน้ำจะต้องสะอาด ไม่มีคราบสนิมหรือตะไคร่น้ำ และควรเลือกใช้ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ตั้งอยู่ในที่ร่มไม่มีแสงแดดส่องถึง ซึ่งแสงแดดมักจะก่อให้เกิดตะไคร่ขึ้นภายในหัวบรรจุ 2. การควบคุมคุณภาพของน้ำ : ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบางยี่ห้อจะมีการดูแลและควบคุมคุณภาพของน้ำดื่มโดยผู้ ดูแลตู้จะเข้ามาทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องและไส้กรอง จากนั้นจะทำการแปะสติ๊กเกอร์แสดงข้อความบอกวัน เวลาที่เข้ามาตรวจสอบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้บริโภครู้ว่าเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้นี้มีการดูแล และควบคุมคุณภาพของน้ำหรือไม่ 3. การสังเกตกลิ่น สี รส : ผู้บริโภคควรตรวจดูสภาพของน้ำที่ได้จากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเบื้องต้นด้วยตน เอง จากการสังเกตสี ความขุ่น-ใส กลิ่นและรสชาติของน้ำ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ถ้าเป็นตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ใช้อยู่เป็นประจำ เมื่อน้ำที่ได้มามีกลิ่นหรือรสชาติของน้ำเปลี่ยน ก็ควรที่จะเปลี่ยนตู้ใหม่ หรือรอให้ตู้ที่ใช้อยู่เดิมนั้นได้รับการดูแลทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรอง เสียก่อน 4. ภาชนะบรรจุที่จะนำไปบรรจุน้ำดื่มจากตู้ : ควรเป็นภาชนะที่สะอาดและมีขนาดพอดีกับปริมาณน้ำที่ซื้อ 5. ไม่สัมผัสหัวจ่ายน้ำด้วยมือหรือวัสดุอื่นใด : เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคลงในน้ำดื่ม   __________________________________________________________________________ น้ำดื่มจากระบบรีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO) อันตรายจริงหรือ เนื่องจากน้ำจากตู้หยอดเหรียญส่วนใหญ่ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า รีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO) ที่เคยมีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นน้ำดื่มที่มีอันตรายเพราะ เป็นน้ำดื่มที่มีความบริสุทธิ์สูงนั้น ในความเป็นจริงยังไม่มีวิจัยไหนมารับรองว่าการกินน้ำ RO จะทำให้เกิดโทษหรือเกิดประโยชน์ไปมากกว่าน้ำปกติ กระบวนการผลิตน้ำบริโภคด้วยระบบ รีเวอร์ส ออสโมซิส เป็นการกรองน้ำให้มีความบริสุทธิ์เกือบ 100% ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ได้น้ำที่สะอาดปลอดภัยวิธีหนึ่ง และไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตน้ำแบบใดก็ตาม หากน้ำผ่านการกรองที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งยึดหลักเกณฑ์ตามองค์การอนามัยโลก น้ำนั้นจะไม่มีอันตราย __________________________________________________________________________ คุณภาพน้ำประปาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้เหมาะกับการนำมาบริโภคหรือไม่?โดย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหิดล ตีพิมพ์ใน วารสารโภชนาการปีที่ 43 ฉ.1 มค.-มีค. 51 ถาม : คุณภาพน้ำประปาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้เหมาะกับการนำมาบริโภคหรือไม่?ตอบ : กองอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ได้ทำการสำรวจคุณภาพน้ำบริโภคจากแหล่งต่างๆ คือ ประปาขนาดใหญ่ ประปาขนาดกลาง ประปาขนาดเล็ก บ่อบาดาล และบ่อตื้นทั่วประเทศ ยกเว้นในกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจคุณภาพในแง่กายภาพ เคมี และแบคทีเรีย พบว่าน้ำบริโภคจากแหล่งน้ำเหล่านี้ประมาณร้อยละ 80 ไม่ได้มาตรฐาน แม้แต่ในกรณีประปาขนาดใหญ่ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 27.2 ที่ได้มาตรฐานทั้ง 3 ด้านคุณภาพของน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ได้มาตรฐาน ยกเว้นอีกประมาณร้อยละ 8 ที่จ่ายให้ในบางพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำประปาไม่เพียงพอ จึงต้องใช้น้ำบาดาลแทน น้ำบาดาลเหล่านั้นมักไม่ได้มาตรฐานทั้งในด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย สรุปแล้วน้ำบริโภคจากทั้ง 5 แหล่งในชนบท มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเหมาะกับการบริโภค ส่วนน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานครประมาณร้อยละ 90 ได้มาตรฐาน   ถาม : การต้มหรือกรองน้ำประปาจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำให้เหมือนกับคุณภาพน้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปได้หรือไม่? ตอบ : การต้มช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำและลดความกระด้างโดยเฉพาะในน้ำกระด้างชั่วคราว นอกจากนี้ยังช่วยลดกลิ่นคลอรีนด้วย คุณภาพจึงน่าจะใกล้เคียงกับน้ำดื่มบรรจุขวด ส่วนน้ำประปาที่ผ่านระบบกรองที่นิยมใช้อยู่ตามบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งก็ประกอบด้วยถ่านและเรซิน เหมือนกับกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด ยกเว้นไม่มีขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือก๊าซโอโซน อย่างไรก็ตามถ้าน้ำประปาที่ใช้ผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนในปริมาณที่เพียงพอ น้ำที่กรองจากเครื่องมือเหล่านั้นก็มีคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำดื่มบรรจุขวดเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 107 แค่ดื่มก็สวย…จริงหรือ??

กระแสของคนใส่ใจสุขภาพมีแนวโน้มมากขึ้นตลอดเวลา จึงเป็นโอกาสของตลาดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่พยายามพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มีผลดีต่อสุขภาพ ปัจจุบันเราจึงเห็นว่ามีการโฆษณากล่าวอ้างถึงคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในเครื่องดื่มที่มีการโฆษณาว่ามีผลดีต่อสุขภาพ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Functional Drinks แค่ดื่มก็สวย…จริงหรือ?? กี่ครั้งกันนะที่คุณๆ อาจนึกสงสัยว่าเจ้าน้ำดื่มสารพัดยี่ห้อที่ใช้เรื่องความงามเป็นจุดขายนั้น ดื่มเข้าไปแล้วมันจะสวยได้จริงหรือ?? หนุ่มจะหันมามองตาค้างอย่างในโฆษณาจริงหรือเปล่า รวมทั้งชื่อสารเคมีแปลกๆ ที่พูดปาวๆ ในสื่อต่างๆ อะมิโนเปปไทด์ คอลลาเจน คิว 10 มันจะมีสรรพคุณวิเศษมหัศจรรย์จนสามารถบันดาลความสวยงามให้ได้จริงล่ะหรือ เรามาหาคำตอบกัน   อย.ให้ขายและโฆษณาได้ แสดงว่าของเขาดีจริงสิ??เชื่อว่ายังมีผู้บริโภคอีกหลายท่าน ที่เข้าใจผิดว่ามี อย. หมายถึงรับรองว่า ดื่มแล้วสวยจริง อันนี้ขอแก้ไขเรื่องจริงคือ อย.รับรองเพียงแค่ว่าดื่มแล้วปลอดภัย(ไม่ตาย) แต่ไม่ได้รับรองแต่อย่างใดเลยว่า ดื่มแล้วสวย ฉลาด สมาร์ท เลิศ อย่างที่เข้าใจกันไปตามที่โฆษณาบอก ลองอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ดูสิ อย.เขาไม่อนุญาตให้กล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ทางอาหารบนฉลากเด็ดขาด เพราะมันไม่มีหลักฐานอะไรที่มันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ไงล่ะ แต่จะไปห้ามคนไม่ให้เอาสารอาหารมาผสมน้ำขายก็ไม่ได้ เขาจึงรับรองแค่ว่า มันปลอดภัย แต่ไม่ได้ดื่มแล้วสวยขึ้นหรือฉลาดขึ้นนะ แถมยังบังคับให้น้ำดื่มพวกนี้ต้องติดคำเตือนเอาไว้ด้วย“ควรกินอาหารหลากหลายชนิดให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ” ฉลากบอกอะไรเราบ้าง• เกือบทุกผลิตภัณฑ์เป็นน้ำรสผลไม้(ไม่เกิน 20%) ส่วนใหญ่เป็นน้ำองุ่นขาวจากน้ำองุ่นขาวเข้มข้น เติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานเพื่อให้มีรสชาติดี จากนั้นก็แล้วแต่ว่าต้องการให้มีคุณสมบัติเพื่อขายอะไรก็เติมสารอาหารนั้นเข้าไป • ฉลากส่วนใหญ่ไม่มีการโฆษณาสรรพคุณว่าดื่มเพื่ออะไร แต่จะแสดงให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งว่า มีสารอะไรเป็นตัวเด่น(จุดขาย) แล้วให้ข้อมูลวิชาการเสริม หรือเพื่อโน้มน้าวใจผู้ซื้อ ซึ่งบางผลิตภัณฑ์เป็นข้อมูลที่คลุมเครือและน่าจะได้มีการตรวจสอบว่า ผิดกฎหมายหรือไม่ “คลอโรฟิลล์สารสกัดสีเขียว จากอัลฟาฟ่า ช่วยขับสารพิษในร่างกาย บำรุงเลือด ช่วยให้ ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น” เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ คลอโรฟิลล์ • หลายผลิตภัณฑ์เนื้อที่แค่บนฉลากมันไม่พอต้องมีป้ายพิเศษเพิ่มคล้องไว้ที่ขวดด้วย ซึ่งป้ายให้ข้อมูลเพิ่มเติมนี้ บางข้อความหมิ่นเหม่เข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง “ หุ่นดีไม่มีหน้าท้อง หุ่นสวยเพรียวอย่างใจเพราะไฟเบอร์สูงช่วยระบบขับถ่าย อยากหุ่นดีไม่มีหน้าท้องใช่ไหม” บีอิ้ง คอมฟอร์ท สารอาหารหรือยาวิเศษจากการพลิกดูฉลากผลิตภัณฑ์ ที่อ้างว่าเพื่อความสวยงามหรือฉลาดสดใสนี้ น่าจะพอแบ่งกลุ่มหลักๆ ของสารอาหารที่ถูกนำมาผสมขึ้นเป็นเครื่องดื่มแต่ละขวดได้ดังนี้ เครื่องดื่มที่เน้นว่าดื่มแล้วสวย การโฆษณาว่าดื่มแล้วสวย คงเป็นที่ถูกใจวัยรุ่นสาว ๆ และผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะทุกคนก็อยากเป็นคนสวยทั้งนั้น เครื่องดื่มประเภทนี้มักมีคำว่า “บิวติ” อยู่ในชื่อผลิตภัณฑ์ ซึ่งคำนี้เป็นเสียงพ้องของคำภาษาอังกฤษ “beauty” ที่แปลว่าสวยนั่นเอง หรืออาจมีคำว่า “สกินฟิต” ซึ่งสื่อให้เข้าใจว่ามีผิวหนังที่แข็งแรง เมื่อพิจาณาส่วนประกอบในเครื่องดื่มเหล่านี้มักพบว่ามีการเติม ”คอลลาเจน” เพิ่มลงไปในปริมาณที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 125 – 3000 มิลลิกรัม โดยที่หลายชนิดมีการใช้คำว่าคอลลาเจนในชื่อของผลิตภัฑ์ด้วย เช่น “เซนต์ แอนนา คอลลาเจน” “สก๊อต คอลลาเจน-อี” เป็นต้น ความจริงกินคอลลาเจนแล้วช่วยให้ผิวสวย หรือแก่ช้าจริงหรือไม่ ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า คอลลาเจนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากที่สุดในร่างกายคือประมาณ 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย มีลักษณะโครงสร้างที่เกาะเป็นเกลียว ทำหน้าที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ในส่วนของผิวหนังมีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบหลัก (ประมาณร้อยละ 75) และทำหน้าที่ช่วยให้ผิวหนังเรียบ ตึง และเนียนเรียบ โดยทำหน้าที่คู่กับโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าอีลาสติน (Elastin) คอลลาเจนที่ผิวหนังเกิดจากการสร้างภายในร่างกายเราเอง โดยสร้างจากกรดอะมิโนที่ได้จากการกินอาหารประเภทโปรตีนต่างๆ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง และต้องอาศัยวิตามินซีเป็นผู้ช่วยให้เกิดคอลลาเจนที่สมบูรณ์ จากหน้าที่ของคอลลาเจนที่ผิวหนังดังกล่าว ทำให้คอลลาเจนได้รับความสนใจนำมาใช้ในการชะลอริ้วรอย เสริมความงาม ช่วยให้ไม่แก่ ผิวหนังจะสวยได้ต้องมีคอลลาเจนที่แข็งแรงอยู่มากพอเป็นเรื่องจริง แต่อย่าลืมว่าการกินคอลลาเจนเข้าไปไม่ได้หมายความว่าคอลลาเจนที่กินนั้นจะไปอยู่ที่ผิวหนังได้ เพราะคอลลาเจนเป็นโปรตีน เมื่อกินเข้าไป จะถูกย่อยเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนเช่นเดียวกับโปรตีนชนิดอื่นๆ จากนั้นกรดอะมิโนจึงถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เอาไว้เป็นตัวตั้งต้นสำหรับการสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกายต่อไป ที่จริงแล้วในทางโภชนาการคอลลาเจนจัดเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพต่ำ เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างไม่ได้ไม่ครบถ้วนและไม่เพียงพอ ดังนั้นการกินแต่คอลลาเจนโดยที่ไม่ได้รับโปรตีนที่มีคุณภาพดีอย่างอื่นมากพอในระยะยาว จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ และการกินคอลลาเจนเพื่อให้ผิวสวยนั้นคงได้ผลน้อย ถ้าร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วนจากการกินอาหารที่ครบหมวดหมู่อย่างหลากหลายและสมดุล การที่ผิวหนังจะสวยได้จำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดอย่างมากพอ และต้องรู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เร่งการเสื่อมสลายของคอลลาเจนด้วย เช่น การอยู่ในที่แสงแดดจัดเป็นเวลานานหรือการสูบบุหรี่ เป็นต้น เครื่องดื่มที่เน้นว่ามีผลบำรุงสมองตัวนี้กำลังมาแรง เครื่องดื่มที่โฆษณาว่าทำให้เก่ง มีผลต่อสมอง เครื่องดื่มในกลุ่มนี้บางชนิดใช้คำว่า “เบรนฟิต” หรือ “สมาร์ท” เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์ ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้คือ มีส่วนประกอบของเปปไทด์หรือกรดอะมิโน หรือในบางผลิตภัณฑ์จะมีการเสริมกรดไขมันโมเลกุลยาวที่สกัดจากปลา ที่เรียกว่าโอเมก้าสามหรือดีเอชเอ ร่วมด้วย ความจริงเปปไทด์และกรดอะมิโนคือหน่วยย่อยของโปรตีนที่ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้เลย โดยปกติเมื่อเรากินอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากพืช (ถั่วต่างๆ) หรือโปรตีนจากสัตว์ ร่างกายจะมีน้ำย่อยหรือเอนไซม์ มาย่อยสลายโปรตีนนั้นให้มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นกรดอะมิโนเพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป สำหรับเปปไทด์นั้นคือกรดอะมิโน 2 หรือ 3 ตัวเรียงต่อกัน ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าร่างกายสามารถดูดซึมเปปไทด์สายสั้นนี้ได้ดีกว่ากรดอะมิโนเดี่ยว ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของเปปไทด์หรือกรดอะมิโนเข้าไป ก็จะทำให้ร่างกายสามารถนำเปปไทด์หรือกรดอะมิโนนั้นไปใช้ได้ทันที อย่างไรก็ตามแต่ละท่านคงต้องพิจารณาว่าร่างกายท่านมีความจำเป็นที่ต้องการเปปไทด์หรือกรดอะมิโนต่างๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นทันทีหรือไม่ ถ้าเรามีการรับประทานอาหารที่เหมาะสมครบถ้วนทั้งสามมื้อแล้ว การได้รับโปรตีนที่มากเกินไปไม่ว่าในรูปแบบใดจะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นในการกำจัดออกจากร่างกาย ซึ่งมีโอกาสทำให้ไตของเราเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของเปปไทด์หรือกรดอะมิโนจะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารเหล่านั้นไปใช้ได้ทันที อาจมีผลทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ฉลาดขึ้นไปด้วย ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ก่อนเข้าห้องสอบของนักเรียน/นักศึกษานั้นคงไม่ได้ทำให้นักศึกษาผู้นั้นทำคะแนนสอบได้ดีขึ้น ถ้าไม่ได้มีการศึกษาทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอมาก่อน ดีเอชเอ (DHA) เป็นคำย่อมาจาก docosahexaenoic acid ซึ่งก็คือคือกรดไขมันโมเลกุลยาวชนิดหนึ่งทีมีอยู่มาก ในสมอง ประสาทตา และหัวใจ เนื่องจากในสมองจะมีเซลล์ไขมันอยู่มากที่สุด ดังนั้นการได้รับกรดไขมันชนิดนี้มากพอจึงเชื่อว่าช่วยพัฒนาการของสมองและระบบประสาทของร่างกายทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ แหล่งอาหาที่สำคัญของไขมันชนิดนี้คือการบริโภคปลาเป็นประจำ อย่างไรก็ตามหลายท่านอาจบอกว่าไม่ค่อยได้กินปลา จึงหันมากินผลิตภัณฑ์ที่มีการเสริม DHA แทน เพื่อหวังผลทางสุขภาพเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานผลทางสุขถาพที่ชัดเจนของเครื่องดื่มเหล่านี้ว่ามีผลต่อพัฒนาการของสมอง นอกจากนี้อย่าลืมว่าการที่สมองของคนเราจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วย เช่น การได้รับออกซิเจนและกลูโคสที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดของสมองอย่างเพียงพอด้วย การพักผ่อน ที่เพียงพอและไม่เครียดเกินไปก็มีส่วนช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้นด้วย เครื่องดื่มที่เน้นว่ามีผลดีต่อการระบายเครื่องดื่มเชิงสุขภาพส่วนใหญ่ที่จำหน่ายทั่วไปมักมีการเสริมใยอาหารในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่ระบุชนิด (เช่น อินนูบิน) และไม่ระบุชนิดในปริมาณที่แตกต่างกัน (0.25 – 2.1 %) และมักจะกล่าวอ้างคุณประโยชน์ที่ช่วยเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหารและกระตุ้นการขับถ่าย ความจริงอย่างไรก็ตามปริมาณใยอาหารที่เพิ่มขึ้นในบางผลิตภัณฑ์อาจไม่มากพอที่จะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้ เช่น “บริ๊งค์ คอลลาเจน ดริ๊งค์” ที่มีส่วนประกอบของใยอาหารเพียง 0.25 % ในขวดผลิตภัณฑ์บรรจุ 50 มิลลิลิตรจะได้รับใยอาหารเพียง 0.125 กรัม เท่านั้น หรือบางผลิตภัณฑ์ที่ระบุคำว่าใยอาหารในชื่อผลิตภัณฑ์ เช่น “เซ็ปเป้บิวติ ดริงค์ ใยอาหาร” มีส่วนประกอบของใยอาหาร 2 % ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วพบว่ามีใยอาหารประมาณ 3.6 กรัม ต่อขวด (180 มิลลิลิตร) ปริมาณที่เพิ่มขึ้นนี้ยังไม่มากพอต่อความต้องการของร่างกายใน 1 วัน (20-25 กรัมต่อวัน) ดังนั้นผู้บริโภคที่ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ต้องไม่ลืมที่จะมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม ถูกสัดส่วนเช่นเดิมด้วย เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีตามต้องการ เครื่องดื่มที่เน้นว่ามีผลดีต่อสุขภาพโคเอนไซม์คิวเทน (Co Q 10) เป็นสารเสริมอีกชนิดหนึ่งที่มีการเติมกันมากในเครื่องดื่มที่มีการกล่าวอ้างทางสุขภาพ ปริมาณที่เติมประมาณ 15-29 มิลลิกรัมต่อขวด ความจริงโคเอนไซม์คิวเทนหรือบางคนเรียกว่าคิวเทน เป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์ มีอยู่มากในอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ตับ ไต มีหน้าที่ช่วยให้เกิดพลังงานสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหลัก โดยทำหน้าที่ดักจับอิเลคตรอนเพื่อส่งให้ไมโตคอนเดรียผลิตพลังงานแก่เซลล์ ในความเป็นจริง การทำงานของโคเอนไซม์คิวเทนไม่ได้เพียงแค่จับอิเลคตรอนไว้กับตัวแต่ยังส่งผ่านหน้าที่ไปยังส่วนอื่นเพื่อให้เกิดการทำงานครบกระบวน ดังนั้นในทางทฤษฎีแทนที่จะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพียงอย่างเดียว โคเอนไซม์คิวเทนอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระเสียเองได้ ดังนั้นการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคิวเทน จึงไม่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ แต่จะไปเพิ่มปริมาณโคเอนไซม์คิวเทน ให้ร่างกายนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องสร้างเอง โดยปกติการสังเคราะห์โคเอนไซม์คิวเทนอาจลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น รวมทั้งการได้รับยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA reductase ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดก็ทำให้การสังเคราะห็โคเอนไซม์คิวเทนลดลงได้ จึงควรมีการบริโภคโคเอนไซม์คิวเทนจากอาหารเพิ่มให้มากเพียงพอ โดยการกินอาหารเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับเครื่องดื่มที่มีการเสริมโคเอนไซม์คิวเทนต้องระวังว่าปริมาณที่เติมนั้นอาจลดลงจากเดิมได้ง่าย เนื่องจากสารโคเอนไซม์คิวเทนมีความไวต่อแสงมาก เครื่องดื่มที่มีการกล่าวอ้างว่าช่วยในการเผาผลาญพลังงาน มักจะมีการเติมสาร แอล-คาร์นีทีน (L-Carnitine) ประมาณ 0.04-0.7 % ความจริงแอล-คาร์นีทีนเป็นสารที่ร่างกายสร้างได้เองภายในตับและไต ทำหน้าที่เปลี่ยนกรดไขมันให้เป็นพลังงาน เพื่อให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายนำไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา กล้ามเนื้อหัวใจ สมอง และช่วยระบบเผาผลาญ ดังนั้นข้อดีของแอล-คาร์นีทีนที่ถูกยกมาเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์ คือ ให้พลังงานมากขึ้นจึงเหมาะสำหรับผู้รักการออกกำลังกาย ต้องการควบคุมน้ำหนัก พร้อมทั้งช่วยเผาผลาญไขมัน โดยปกติร่างกายเราจะมีสารแอล-คาร์นีทีนอยู่มากพอ ยกเว้นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยและดูดซึมอาหาร และผู้ที่รับประทานมังสวิรัติที่อาจพบว่ามีการขาดสารแอล-คาร์นีทีนได้ โดยที่จริงแล้วคนรักสุขภาพทั่วไปไม่มีความจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีการเติมสารคาร์นีทีนเพิ่ม ถ้ามีการกินอาหารที่เป็นแหล่งของแอลคาร์นีทีนเป็นประจำ ที่พบมากในเนื้อแดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืช ผักใบเขียว อะโวคาโด ถั่วรับประทานทั้งฝัก และผลิตภัณฑ์จากถั่วหมัก เด็กและสตรีมีครรภ์ก็ไม่ควรได้รับแอลคาร์เนทีนในรูปของผลิตภัณฑ์หรือเครื่องดื่มที่เสริมสารอาหาร เครื่องดื่มที่อ้างว่าดื่มเพื่อความขาวของผิวพรรณ แอลกลูตาไธโอน (L-glutathione) เป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่พบว่ามีการเติมเพิ่มในเครื่องดื่มที่กล่าวอ้างทางสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องความขาว รวมทั้งอ้างว่าแก้อาการเมาค้างด้วย ความจริงมีการศึกษาพบว่ากลูตาไธโอนช่วยเสริมการทำงานของวิตามินซี และอี ในการทำลายอนุมูลอิสระ และยังมีหน้าที่สำคัญ ในการช่วยขจัดสารพิษหรือขับของเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตับ โดยทำหน้าที่เปลี่ยนสารพิษกลุ่มที่ไม่ละลายน้ำ เช่น สารพิษในอาหารปิ้ง ย่าง รมควัน สารพิษจากเชื้อราต่างๆ หรือยาบางชนิดให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ เพื่อให้ร่างกายกำจัดออกได้ง่ายขึ้น และยังช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายโดยแอลกอฮอล์และบุหรี่ ในประเด็นหลังนี้ผู้ผลิตเครื่องดื่มนำมาเป็นจุดขายกับผู้ที่นิยมการดื่มแอลกอฮอล์ที่ยังห่วงใยสุขภาพ โดยปกติร่างกายคนเราผลิตสารกลูตาไธโอนได้เอง ยกเว้นคนที่เป็นโรคบางชนิด เช่น โรคตับ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้สูบบุหรี่จัด กลูตาไธโอนพบได้ทั่วไปในเนื้อสัตว์ ผลไม้และผัก โดยเฉพาะหน่อไม้ฝรั่ง อย่างไรก็ดีจากรายงานวิจัยของสถาบันโภชนาการพบว่า กลูตาไธโอนที่อยู่ในอาหารเสริมหรือเครื่องดื่มนั้นจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารได้ไม่ดีนัก และไม่ควรรับประทานเกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน การโฆษณาว่าเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกลูตาไธโอนแก้เมาค้างและบำรุงตับได้นั้น จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตลาดเครื่องดื่มสุขภาพในประเทศไทยที่พบเห็นทั่วไปมักจะกล่าวอ้างว่า “ดื่มแล้วสวย เก่ง ฉลาด มีผลดีต่อสมอง” เป็นหลัก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนหนุ่มสาวหรือวัยทำงานในเมืองที่มีวิถีชีวิตค่อนข้างรีบเร่ง อาจไม่มีเวลาในการดูแลตนเองมากนัก แต่รักสวยรักงาม อยากมีร่างกายที่ฟิต เก่ง และมักมีความสนใจในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ จากการสำรวจตลาดพบว่ามีผลิตภัณฑ์เคื่องดื่มประเภทนี้มากกว่า 30 ชนิดที่วางจำหน่ายอยู่ทั่วไป โดยมีราคาแตกต่างกันตั้งแต่ประมาณ 20-40 บาท เครื่องดื่มเหล่านี้มีผลดีต่อสุขภาพมากน้อยเพียงใดคงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย จากการพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องดื่มเหล่านี้ที่แสดงอยู่ที่ภาชนะบรรจุจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่จะประกอบด้วยส่วนผสมของน้ำผลไม้ และมักมีการเติมวิตามินแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี วิตามินซี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มหลายชนิดที่มีการเติมสารเฉพาะบางอย่างที่มีการกล่าวอ้างว่ามีผลดีต่อสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น คอลลาเจน โคเอนไซม์คิวเทน คาร์นีทีน กรดอะมิโนหรือเปปไทด์ เป็นต้น เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วเครื่องดื่มเหล่านี้ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อดื่มแล้วจะได้รับ”น้ำ”เข้าสู่ร่างกายเป็นหลัก ช่วยลดความกระหายและเพิ่มความชุ่มชื้นกับร่างกาย สำหรับสารเสริมต่างๆ นั้นอาจมีประโยชน์กับร่างกายบ้างแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งที่จริงแล้วคนเราทั่วไปไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องดื่มสารเสริมต่าง ๆ เหล่านั้น เพิ่มขึ้น เพราะสารต่างๆ เหล่านั้นมีอยู่มากพอในอาหารตามธรรมชาติ (ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้) ที่รับประทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้นจึงถือว่า การดื่มเครื่องดื่มเสริมสุขภาพเหล่านี้เป็นการดื่มน้ำที่มีราคาแพงที่ให้ผลต่อสุขภาพค่อนข้างน้อย แต่จากการโฆษณาอาจทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเหล่านี้มีผลดีต่อสุขภาพ ซื้อมาบริโภคเป็นประจำ จนละเลยการปฏิบัติตนในเรื่องการบริโภคที่ดี ก็อาจจะไม่มีสุขภาพแข็งแรง ผิวสวย เก่ง หรือฉลาดอย่างที่ต้องการได้ โดยทั่วไปราคาของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเหล่านี้มีค่อนข้างแพง จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องซื้อหามาบริโภค โดยเฉพาะถ้ามีรายได้ไม่มากพอ แต่ถ้าคุณรวยล้นฟ้าจะซื้อหามาดื่มบ้างก็คงไม่ว่ากันถ้ายังยึดการปฏิบัติตนในเรื่องการบริโภคให้ดีอยู่ ท้ายที่สุดคงไม่มีอะไรที่จะดีกับสุขภาพของตนเองเท่ากับการให้เวลาใส่ใจในสุขภาพของตนเองอย่างแท้จริง รู้จักการกินอาหารตามธรรมชาติให้เหมาะกับความต้องการ มีการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เหมาะสม อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และทำใจให้เป็นสุข ไม่เครียดจนเกินไป ถ้าทำได้เช่นนี้แล้วอาหารเสริมสุขภาพชนิดใดก็สู้ไม่ได้แน่นอนค่ะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point