ฉบับที่ 122 กระแสต่างแดน

  นิวเคลียร์เริ่มไม่เคลียองค์กรผู้บริโภคของญี่ปุ่น Consumers Union of Japan ได้ทำจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คาน เรียกร้องให้ญี่ปุ่นจัดหาแหล่งพลังงานใหม่โดยด่วน เพราะเป็นที่ประจักษ์กันแล้วว่าพลังงานนิวเคลียร์นั้นไม่ใช่ทางเลือกพลังงานที่สะอาด หรือปลอดภัยหายห่วงอีกต่อไป  องค์กรผู้บริโภค CUJ ซึ่งคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาตลอดด้วยเหตุผลว่าสิ่งมีชีวิตและกัมมันตรังสีไม่มีทางอยู่ร่วมกันได้ ยังได้ทำจดหมายไปถึงคณะกรรมการด้านความปลอดภัยของอาหารเรียกร้องของให้คำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้ในการพิจารณากฎหมายว่าด้วยระดับความปลอดภัยของกัมมันตรังสีในอาหารด้วย  เช่น ให้ถือว่ากัมมันตรังสีซีเซียมและไอโอดีน เป็นสารก่อมะเร็ง ให้คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวต่ออวัยวะภายใน และให้ใช้แนวปฏิบัติขององค์การอนามัยโลกที่ว่าด้วยภัยพิบัติและสุขภาพ มาประกอบการพิจารณาด้วย ที่สำคัญ CUJ ยังเรียกร้องให้คณะกรรมการดังกล่าวออกมาชี้แจงต่อประชาชนด้วยว่า เหตุใดก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นจึงไม่มีกฎหมายเรื่องนี้มาก่อน (น่านสิ) อีกอย่างที่ยังไม่มีในขณะนี้คือ มาตรฐานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ที่ทั่วโลกใช้ร่วมกัน เรียกว่าใครใคร่จะทำด้วยมาตรฐานความปลอดภัยสูง (หรือต่ำ) แค่ไหนก็ทำกันไป เหตุการณ์เตาปฏิกรณ์ที่ผ่านมาตรฐานยูเครนแต่ไม่ผ่านมาตรฐานของประเทศตะวันตก ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เชอโนบิล ระเบิดเมื่อปี 2529 ก็ไม่ได้ทำให้เกิดการกำหนดมาตรฐานร่วมกันขึ้นมาแต่อย่างใด  แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ที่ญี่ปุ่นได้สะท้อนให้เห็นอีกครั้งว่า เราทั้งหมดที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ต่างก็มีสิทธิลุ้นรับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีได้โดยทั่วกัน   ข่าวล่าสุดบอกว่า นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส นิโคลา ซาโกซี เสนอให้มีการคุยกันเรื่องนี้เสียที ในการประชุม G20 ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ แต่ยังไม่ข่าวต่อว่าผู้นำประเทศอื่นๆ คิดเห็นอย่างไร  ขณะนี้ ร้อยละ 90 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในประเทศจีน เกาหลี อินเดีย และรัสเซีย   ข่าวลือกลายเป็นข่าวร้าย (ของคนปล่อย)เฉินเป็นหนุ่มมือไว เลยต้องนอนคุก 10 วันแถมโดนปรับอีก 500 หยวน(ประมาณ 2,300 บาท)  เหตุเพราะแกไปโพสต์ข้อความที่บอกว่าขณะนี้กัมมันตรังสีที่รั่วไหลมากจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ไดอิจิ ได้ลุกลามมาถึงชายฝั่งทางทิศตะวันออกของเมืองชานตุงแล้วนั่นเอง  เท่านั้นยังไม่พอ แกยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับเหล่าสาวกออนไลน์อีกว่า ให้รีบออกไปซื้อเกลือหรือสาหร่ายทะเลชนิดที่มีไอโอดีนสูงมากินกันให้ไว และอย่าลืมซื้อตุนไว้ด้วย แถมยังแนะนำให้งดกินอาหารทะเลเป็นเวลาหนึ่งปี  ข่าวนี้ได้รับการกระจายออกไปอย่างรวดเร็วตามสปีดของอินเตอร์เน็ท และทำให้ผู้คนเมืองนั้นเกิดความตื่นตระหนก จนทำให้เกิดภาวะเกลือขาดตลาดกันในซีเจียง กวางตุ้ง เจียงสี และเสฉวนกันเลยทีเดียว  แต่ไม่นานหลังจากนั้น ผู้บริโภคก็ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องว่าเกลือไอโอดีนไม่ได้สามารถช่วยต้านกัมมันตรังสีได้อย่างที่ลือกัน ว่าแล้วก็พากันเอาเกลือกลับไปที่ร้านและขอเงินคืนกันเป็นการใหญ่  นายเฉินแกก็ยอมสารภาพว่าข้อมูลที่แกได้มานั้นก็ไม่ได้มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้แต่อย่างใด นักวิชาการของจีน ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ความจริงเรื่องนี้รัฐบาลต้องรับผิดชอบ โทษฐานที่ให้ข้อมูลกับประชาชนช้าเกินไปในยามที่เกิดภัยพิบัติ ชาวบ้านร้านตลาดอย่างที่ไม่มีข้อมูลเรื่องนี้มาก่อนจึงเกิดความตื่นตระหนกเป็นธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนในวัยกลางคน และผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะเชื่อข่าวลือมากกว่าคนวัยอื่นๆ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าก่อนปักใจเชื่อฟอร์เวิร์ดเมล์ อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลกับผู้รู้จริง ที่มีตัวตนจริงก่อน   เมื่อ App. ถูกโหวตออก เมื่อ App. Store ของบริษัท Apple วางจำหน่ายโปรแกรมที่อ้างว่าสามารถ “เปลี่ยนผู้ใช้ให้เป็นอดีตเกย์” ได้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็ปลุกกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิคนรักเพศเดียวกันไม่น้อยทีเดียว App. ดังกล่าวจัดมาโดยองค์กรทางศาสนาที่ชื่อว่า Exodus International ที่อ้างว่าต้องการช่วยให้มนุษย์ทักผู้ทุกนามหลุดพ้นจากการรักชอบเพศเดียวกันมาเป็นการรักชอบเพศตรงข้ามได้ ด้วยพลังของพระเยซู  สาวๆ ฟังแล้วอาจจะแอบดีใจ แต่เรื่องนี้มันไม่ง่ายอย่างนั้น สิ่งที่กลุ่มคนรักร่วมเพศรับไม่ได้คือการที่องค์กรนี้ รวมถึงร้าน Apple ที่นำ Gay Cure App. ไปวางขาย กำลังสื่อสารให้คนรุ่นใหม่เข้าใจว่าการรักเพศเดียวกันนั้นเป็น “บาปที่เกาะกินหัวใจ” ไม่ใช่แค่เรื่องของรสนิยมทางเพศ  กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับการละเมิดสิทธิครั้งนี้จึงทำจดหมายไปยังคุณ สตีฟ จ็อบส์ พร้อมกับลายเซ็นของผู้คัดค้านการจำหน่าย App. ดังกล่าว กว่า 146,000 คน  ผลคือทางร้านยกเลิกการขาย App. ดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา แปลกดีที่ Apple ยังไม่เข็ดจากการถูกเรียกร้องให้ถอน App. คล้ายๆ กันนี้ที่ชื่อว่า Manhattan Declaration ไปเมื่อปีที่แล้ว   เช้านี้ คุณอาบน้ำหรือยัง เรามาดูสถิติการอาบน้ำของคนฝรั่งเศส ที่ลือกัน(โดยคนที่อื่น) ว่าไม่ถูกกับการอาบน้ำเป็นที่สุด ถึงขั้นที่บางคนยังเข้าใจไปว่าผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายนั้นเป็นสินค้าผิดกฎหมายในฝรั่งเศสด้วยซ้ำ ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษ ระบุว่าการสำรวจเมื่อปี 19   98 พบว่าร้อยละ 47 ของคนฝรั่งเศสอาบน้ำทุกวัน ในขณะที่ในเนเธอร์แลนด์หรือเดนมาร์กนั้นมีคนอาบน้ำทุกวันถึงร้อยละ 80  องค์กรด้านสุขอนามัยของฝรั่งเศสเขาบอกว่า ถ้าร้อยละ 47 ที่ว่านั้นพูดจริงไม่สร้างภาพ ตัวเลขการบริโภคผลิตภัณฑ์อาบน้ำก็ควรจะอยู่ที่ 1 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่ความจริงแล้วมีการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว 0.58 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม ต่อมาในปี 2002 มีการสำรวจที่พบว่า คนฝรั่งเศสเป็นกลุ่มที่มีการบริโภคสินค้าประเภท เจลอาบน้ำ แชมพู และโรลออน มากที่สุดในยุโรป และร้อยละ 90 ของผู้หญิงฝรั่งเศส ยังใช้น้ำหอมทุกวันอีกด้วย เอาเป็นว่า ถึงจะไม่อาบน้ำ แต่เขาก็ไม่เหม็นหรอกน่า   คนมาเลย์ก็หนี้ท่วมคนมาเลย์ก็เจอปัญหาหนี้ไม่แพ้บ้านเราเหมือนกัน หลักๆ แล้วคนส่วนใหญ่ที่นั่นแล้วจะมีหนี้เป็นสองเท่าของรายได้ตนเองสถิติเขายังระบุอีกว่า ระหว่างปี 2005 ถึง 2010 มีคนมาเลย์มากกว่า 80,000 คน เป็นบุคคลล้มละลาย ด้วยสาเหตุหลักๆ เพราะหนี้จากการเช่าซื้อ(ร้อยละ 24) หนี้จากเงินกู้ส่วนบุคคล(ร้อยละ 12) หนี้จากเงินกู้เพื่อทำธุรกิจ(ร้อยละ 11) หนี้จากการกู้ซื้อบ้าน(ร้อยละ 8) และอีกร้อยละ 5 เป็นหนี้จากบัตรเครดิต แม้หนี้จากบัตรเครดิตจะไม่มากเมื่อเทียบกับหนื้อื่นๆ แต่น่าสนใจตรงที่ร้อยละ 50 ของคนที่ล้มละลายเพราะหนี้บัตรเครดิตนั้น อายุยังไม่ถึง 30 ปีด้วยซ้ำ  แต่ใช่ว่าสูงวัยแล้วจะปลอดภัยจากหนี้  องค์กรผู้บริโภคของมาเลเซียบอกว่า ร้อยละ 72 ของผู้สูงอายุจะใช้เงินสะสมที่ได้รับเมื่อเกษียณจากงานประจำ หมดไปภายใน 3 ปี ทั้งนี้เขาประมาณการไว้ว่าแต่ละคนจะใช้เงินประมาณ 1,300 ริงกิต (13,000) ต่อเดือน ซึ่งในจำนวนนี้ 500 ริงกิต (5,000 บาท) เป็นค่าอาหารล้วนๆ เขาจึงเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความรู้ทางเรื่องการเงินกับผู้คนแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ระดับโรงเรียน และขอให้รัฐบาลมีกฎหมายแบบเดียวกับของอังกฤษที่ควบคุมดูแลบริการทางการเงินทุกประเภทไว้ภายใต้กฎหมาย Consumer Credit Act ฉบับเดียว  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 160 10 คำถามกับนโยบายปฏิรูปพลังงานในเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการแหล่งพลังงานจากฟอสซิลอย่างน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติมีข้อด้อยอยู่สองประการหลักๆ คือ เป็นพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด และการเผาไหม้ยังปล่อยก๊าซที่เป็นพิษต่อสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดผลเสียและค่าเสียหายอย่างมหาศาลอีกด้วย ยูเรเนียมเองก็มีอยู่อย่างจำกัดเช่นกัน ดังนั้นการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจึงไม่เพียงแต่สมเหตุสมผลแต่เป็นประโยชน์อย่างมากในแง่เศรษฐกิจโดยรวม ลม น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ และชีวมวล เป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่อย่างไม่สิ้นสุด นอกจากนี้การใช้พลังงานจากแหล่งเหล่านี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีความแน่นอนและมั่นคงทางพลังงาน ต่างจากแหล่งพลังงานอย่าง น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และยูเรเนียม การใช้พลังงานหมุนเวียนช่วยลดการนำเข้าพลังงานจากนอกประเทศ เพิ่มความมั่นคงในการจ่ายกระแสไฟฟ้า และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการให้บริการไฟฟ้าอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดนวัตกรรมที่เข้มแข็ง และยังช่วยสร้างงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ อีกด้วย 10 คำถาม คำตอบ ต่อนโยบายปฏิรูปพลังงานในเยอรมนีจะช่วยทำให้เราเห็นภาพและทิศทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานของเยอรมนี ที่จะสร้างความมั่นคงและยั่งยืนสำหรับนโยบายพลังงานของประเทศ  1. เยอรมนีเชื่อมั่นต่อนโยบายปฏิรูปพลังงาน (Energiewende) คำถามคือ อะไรคือการปฏิรูปพลังงาน ? การปฏิรูปพลังงาน หมายถึงการปฏิรูประบบสำรองพลังงานที่ ก้าวข้ามการใช้พลังงานจากน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานนิวเคลียร์ แต่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มสำรองพลังงานหมุนเวียนแทน ภายในปี 2050 เยอรมนีจะผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 80 % และใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 60 % ของพลังงานทั้งระบบ เป้าหมายสำคัญคือ จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 20222. เทคโนโลยีประเภทใดที่เป็นหัวใจสำคัญสำหรับ นโยบายการปฏิรูปพลังงาน ? พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญสำหรับเยอรมนี ภายใต้การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 20 ปี ส่งผลให้ราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ มีราคา 6- 9 ยูโรเซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (2.6 – 3.8 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง) ซึ่งจะมีราคาเทียบเคียงกับการผลิตไฟฟ้าจากก้าซและถ่านหิน และถูกกว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากนิวเคลียร์3. ในฐานะประเทศอุตสาหกรรม เยอรมนีสามารถให้ความเชื่อมั่นกับพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ได้หรือไม่ และจะเกิดปัญการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าได้หรือไม่ ? “เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดไฟฟ้าดับ น้อยที่สุดในยุโรป และคาดว่าจะคงรักษาอันดับนี้ต่อไป” การใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียน จะมีเทคโนโลยีระบบสำรองพลังงาน(Backup Technology) ซึ่งสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในสถานการณ์ที่พลังงานจากลมและพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ โดยในระยะแรกจะยังคงใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ในระยะยาวพลังานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น พลังงานจากน้ำ ไบโอแมส และพลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพ จะเป็นพลังงานสำรองเพิ่มขึ้น4. พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้นำมาใช้ ในพื้นที่ที่ผลิต มีเทคโนโลยีใดที่จะมาแก้ปัญหานี้ได้ ? โครงข่ายที่จ่ายกระแสไฟฟ้าที่มีอยู่ในตอนนี้มีความทนทานและสามารถส่งกระแสไฟฟ้าเพิ่มได้อีก            มาก ในระยะต่อไป จะมีการสร้างโครงข่ายสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลมบริเวณ            ชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือของประเทศ ไปยังบริเวณที่มีกระแสลมไม่แรง หรือจะมีการสร้าง  โครงข่ายกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ที่มีการใช้พลังงานอย่างเข้มข้น5. เยอรมนีจะเป็นตัวอย่าง ที่แสดงถึงความสำคัญของนโยบายปฏิรูปพลังงาน ต่อประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างไร ? การใช้พลังงานหมุนเวียนจะเป็นคำตอบของความท้าทายการขาดแคลนพลังงานในอนาคต เนื่องจากพลังงานฟอสซิล ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจะลดน้อยลง และเป็นสาเหตุของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง การใช้พลังงานหมุนเวียนจะเป็นคำตอบของการแก้ปัญหาทั้งสองเรื่อง ในประเด็นนี้เยอรมนีจะเป็นมิตรต่อประเทศเพื่อนบ้านที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการสร้างระบบโครงข่ายกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการผลิตไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์6. มีแรงจูงใจอะไรสำหรับนโยบายปฏิรูปพลังงาน เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของเรกูเลเตอร์ ? พระราชบัญญัติพลังงานหมุนเวียน(Das Erneubare- Energie Gesetz: EEG) ในปี 2000 ได้ทำให้เกิดการแข่งขันของเทคโนโนโลยีการผลิตพลังงาน โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นฝ่ายได้รับประโยชน์จากกฏหมายฉบับนี้ โดยได้รับการสนับสนุนทั้งในเชิงเงินทุนสนับสนุนและ ในเชิงกฎหมาย7. ประเทศเยอรมนีจัดอยู่ในประเทศที่มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และภายใต้การปฏิรูปพลังงานจะนำพาประเทศไปสู่ การสร้างนวัตกรรมได้หรือไม่? “นโยบายการปฏิรูปพลังงาน เป็น โครงการสำหรับอนาคตของประเทศเยอรมนี ในฐานะที่เป็นประเทศอุตสาหกรรม.พลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นสินค้าสำหรับตลาดทั่วโลก ถ้าราคาพลังงานหมุนเวียนใกล้เคียงกับราคาพลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ก็จะส่งผลให้ประเทศอื่นๆ สนใจพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะประเทศที่อุดมไปด้วยลมและแสงอาทิตย์ และประเทศเยอรมนีก็จะเป็นประเทศผู้นำการผลิตนวัตกรรมไม่เพียงเฉพาะทางด้านพลังงาน(Energy Technology) แต่จะขยายผลไปยังด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and communication technology) และเทคโนโลยีวัสดุ (Material Technology)8. นโยบายปฏิรูปพลังงานเป็นนโยบายที่ต้องใช้งบประมาณสูง(ระดับพันล้านยูโร) จะทำอย่างไรให้การปฏิรูปพลังงานมีต้นทุนไม่สูงสำหรับผู้บริโภคจนเกินไป และมีความคุ้มค่าในการลงทุน ? ประเทศเยอรมนี ต้องจ่ายเงินสำหรับการนำเข้าถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ปีละกว่า 80,000 ล้านยูโร เงินที่ต้องจ่ายออกไปนอกประเทศแต่ละปีๆ นั้น ถ้าสะสมกันก็จะเป็นเงินจำนวนมหาศาล หากสามารถลดการนำเข้าพลังงานด้วยการผลิตพลังงานหมุนเวียน ก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหลักประกันในเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน ถึงแม้นว่าในระยะแรกเริ่มซึ่งเป็นระยะการลงทุน ผู้บริโภคจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ค่าพลังงานที่จ่ายสำหรับครัวเรือนคิดเป็นมูลค่าเพียง 3% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในครัวเรือน9. การลดการใช้ไฟฟ้าเป็นเป็นความยั่งยืนสูงสุด การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจะมีความหมายอย่างไรต่อ การปฏิรูปพลังงาน ? การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเสาหลักแท่งที่สองของการปฏิรูปพลังงาน รองจากการใช้พลังงานหมุนเวียน การประหยัดพลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธภาพ ทำให้ลดการสร้างโรงไฟฟ้าและโครงข่ายการจ่ายกระแสไฟฟ้าลง การใช้กระแสไฟฟ้าในเยอรมนีลดลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2007 และเป้าหมายในการลดการใช้ไฟฟ้าลง 10 % ในปี 2020 ยังคงเป็นเป้าหมายที่ยังห่างไกลอยู่ อย่างไรก็ตาม ภาคการเมืองก็ต้องมีมาตรการออกมาสำหรับผลักดันให้เป้าหมายเป็นจริง10. การเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์มีผลต่อการปฏิรูปพลังงานอย่างไร ? หลายๆ คนเข้าใจว่า การประกาศเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ของเยอรมนี เกิดจากปฏิกริยาของ เหตุการณ์ ฟูกูชิมา ที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2011 แต่แผนการเลิกการใช้นิวเคลียร์ได้เริ่มมาก่อนนั้นแล้ว การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 1990 และออกมาเป็น พระราชบัญญัติพลังงานหมุนเวียน(EEG) ในปี 2000 โดยในปีนี้ รัฐบาลเยอรมนีได้ทำความตกลงกับผู้ประกอบการผลิตพลังงาน ว่าจะเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในปี 2020 มติของรัฐบาลนายกแองเจลา แมร์เคิล ในปี 2011 คือ ลดการใช้ ถ่านหิน น้ำมัน และ เลิกการใช้นิวเคลียร์ เพิ่มการใช้พลังงานจากลม แสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ ไบโอแมส และความร้อนจากใต้พื้นพิภพ หวังว่าการปฏิรูปพลังงานในไทย จะทำให้คนไทยสามารถมีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน ในราคาที่เป็นธรรม และค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานในครัวเรือนจะลดลงสามารถอยู่ที่ระดับ 3 %  ของค่าใช้จ่ายในครัวเรือน แหล่งข้อมูล DE Magazin Deutschland ฉบับที่ 1/2014 //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 118 หลอดไฟประหยัดพลังงาน และการจัดการขยะหลังหมดอายุการใช้งาน

หลอดไฟประหยัดพลังงาน  และการจัดการขยะหลังหมดอายุการใช้งาน โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ ถ้าเพื่อนสมาชิกยังจำได้ ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับหลอดตะเกียบหรือหลอดไฟประหยัดพลังงาน ในฉบับที่ 98 เมื่อเดือนเมษายน 2552 กลับมาคราวนี้เพราะทางกองบรรณาธิการบอกว่ามีผลการทดสอบหลอดประหยัดไฟอีกครั้ง ผมจึงขอนำเสนอวิธีการเลือกหลอดประหยัดไฟเพื่อประกอบการผลทดสอบนะครับ แถมด้วยการจัดการกับหลอดที่หมดอายุแล้วด้วยครับ  เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ยุโรปได้สั่งห้ามขายหลอดไฟแบบกลมในตลาด  เพราะหลอดไฟแบบเก่านั้น สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแสงสว่างได้เพียง 5 % พลังงานที่เหลืออีก 95 % สูญเสียเป็นความร้อน นับว่าได้ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนทางอ้อมอีกด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคต้องเสียเงินค่าไฟแบบสูญเปล่าเป็นจำนวนมหาศาล  สถานที่ที่จะติดหลอดไฟวิธีการเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟสำหรับผู้บริโภค ให้พิจารณาถึงประเด็นสำคัญดังนี้ครับ หลอดไฟแบบประหยัดไฟหรือหลอดตะเกียบนั้น มีอายุในการใช้งานนานเท่าไหร่ และต้องปิดเปิดบ่อยมากน้อยแค่ไหน ถ้าเราจะเลือกหลอดไฟที่ต้องให้แสงสว่างในห้องน้ำ ตามทางเดินที่ต้องมีการปิดเปิดบ่อยครั้ง ควรจะเลือกหลอดไฟที่มีความทนทานในการปิดเปิด ความรู้สึกสบาย   ในกรณีที่จะติดไฟที่ห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น ควรเลือกหลอดไฟแบบ warm white (WW) ซึ่งจะมีหมายเลข 827 หรือ 927 อยู่ที่ข้างกล่องบรรจุ หมายเลขด้านหน้า 8 หรือ 9 หมายถึงระดับของสีที่หลอดไฟแผ่รังสีออกมา ระดับ 9 จะให้ระดับของสี สูงกว่าหมายเลข 8 หมายเลข 27 หมายถึงให้อุณหภูมิสี 2700 เคลวิน ซึ่งจัดว่าเป็นระดับอุณหภูมิสีที่ให้ความอบอุ่น และถ้าเลขสองหลักสุดท้ายมีค่าสูง จะทำให้ค่าสีแดงลดลง แต่ส่วนของค่าสีน้ำเงินเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกว่าเย็นขึ้น   ลักษณะของแสงในบ้าน (day light)หากจะเลือกหลอดไฟในสถานที่ทำงานที่ต้องการความสว่างมากๆ ควรเลือกหลอดไฟที่มีหมายเลข 860, 865, 960 หรือ 965 เนื่องจากมีอัตราส่วนของแสงสีน้ำเงินสูง ทำให้เราตาสว่าง และตื่นตัวดี   การจัดการกับหลอดไฟที่หมดอายุการใช้งานแล้วเนื่องจากหลอดไฟประหยัดพลังงานจะมีโลหะปรอทผสมอยู่ โลหะปรอทจัดเป็นวัตถุที่มีพิษ ต้องจัดการด้วยวิธีพิเศษ เช่นเดียวกับถ่านไฟฉาย ซึ่งการจัดเก็บขยะของบ้านเราปล่อยปละละเลยกันในเรื่องการจัดการวัตถุมีพิษในครัวเรือน หากวัตถุมีพิษเหล่านี้ ออกมาสู่สิ่งแวดล้อม และมีโอกาสที่จะปนเปื้อนแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป และก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในระยะยาวอย่างมาก   สำหรับเรื่องการจัดการขยะตามครัวเรือนนั้น ทางภาครัฐควรจะวางนโยบายและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งครับ นอกจากจะรณรงค์ให้คนทั่วไปรู้จักแยกขยะแล้ว รัฐบาลควรมีแนวทางในการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งพวกขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือขยะที่เป็นของเสียที่สามารถย่อยสลายได้ พูดถึงเรื่องการแยกขยะ ทำให้ผมนึกถึงประสบการณ์ที่เคยพบมา ในประเทศเยอรมนีทุกบ้านจะต้องแยกขยะ ขยะไหนเป็นขยะรีไซเคิล ให้ใส่ขยะ (ซึ่งก็จะเป็นพวกภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจาก พลาสติก กระป๋องอลูมิเนียม     โดยก่อนจะทิ้งก็ต้องล้างน้ำเพื่อไม่ให้มีกลิ่นและใส่ในถุงสีเหลืองที่ ทางเทศบาลแจกไว้ให้ หากเป็นขยะธรรมชาติ เช่นกิ่งไม้ ใบไม้ หญ้า ฯลฯ ก็จะนำไปทำปุ๋ยหมัก สำหรับกระดาษนั้นก็ต้องแยกไว้และนำไปทิ้งในถังขยะรวม   เนื่องจากประเทศเยอรมันไม่ได้มีอาชีพรับซื้อของเก่าแบบบ้านเรา นอกจากนี้พวกแก้วก็จะต้องรวมแล้วขนไปทิ้งในตู้ container สำหรับแก้วโดยเฉพาะ และต้องแยกแก้วออกเป็นสามกลุ่มคือ สีขาว สีเขียวและสีแดง และถ้าบ้านไหนไม่ยอมแยกขยะ ทางเทศบาลสามารถปฏิเสธไม่รับขยะได้ครับ และตามซูเปอร์มาร์เก็ตหรือ ไมโครมาร์เก็ต   จึงต้องจัดหาถังขยะโดยแยกขยะเป็น พลาสติก แก้ว และกระดาษ ผู้บริโภคที่ซื้อของแล้วสามารถทิ้งขยะไว้ให้ที่ร้านค้าจัดการได้ นอกจากนี้ทางร้านต้องรับขยะที่จัดเป็นขยะอันตรายด้วยไม่ว่าจะเป็นขยะ Electronics แบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย เรียกว่าสินค้ามาจากไหนขยะก็กลับไปทางนั้นครับ   และถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์ เตียง ที่นอน ตู้ทั้งหลายเวลาจะทิ้งต้องโทรตามเทศบาลมาเก็บครับ ซึ่งเทศบาลบางที่ ก็จะมีวันเก็บของเก่าเหล่านี้ โดยจะมาเก็บขยะเหล่านี้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากใครมีโอกาสไปเมืองเล็ก ก็อาจจะเห็นว่าชาวบ้านจะขนขยะพิเศษเหล่านี้ มาตั้งไว้ที่หน้าบ้าน เพื่อให้เทศบาลมาเก็บครับ   สำหรับมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นแบบนี้ ต้องฝึกเด็กๆของเราครับ นอกจากฝึกเด็กแล้ว ผู้ใหญ่ก็ต้องสร้างจิตสำนึกในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบง่ายๆ ที่ต้องทำทุกวันก่อนครับ ทำร่วมกับการปลูกต้นไม้ ในโครงการ CSR ที่บริษัทต่างๆ เริ่มทำกัน ก็ยังไม่สายนะครับคนไทย รู้จักใช้ก็ต้องรู้จักทิ้งด้วย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 115 “รถใช้น้ำ” ช่วยโลกร้อน ประหยัดเชื้อเพลิง ?

ราคาน้ำมันที่พุ่งตัวสูงขึ้นอยู่ในขณะนี้ สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจแก่ผู้ใช้รถเป็นจำนวนมาก ในสื่อต่างๆ มีการโฆษณาถึงผลิตภัณฑ์ในรูปแบบหลากหลาย ที่อวดอ้างสรรพคุณว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความสามารถ ช่วยลดปริมาณการปล่อยมลภาวะ และยังช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมัน อันทำให้ช่วยผู้ใช้รถจำนวนมากสามารถประหยัดค่าน้ำมันได้ วันนี้มีเพื่อนสมาชิกสอบถามเข้ามาถึงเรื่อง “รถใช้น้ำ” ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด คอลัมน์ ช่วง ฉลาด ช้อป มีคำตอบให้ครับ รถพลังงานน้ำ vs. รถพลังงานไฮโดรเจนตามหลักทางวิทยาศาสตร์แล้ว การได้มาซึ่งพลังงานเกิดจากการปฏิกริยาทางเคมีของสสารที่มีพลังงานสะสมสูงกว่า เปลี่ยนไปเป็นสสารที่มีพลังงานสะสมต่ำกว่า โดยระหว่างการเปลี่ยนแปลงนั้นสสารจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ยกตัวอย่างเช่น การเผาไหม้ของสสารกลุ่มไฮโดรคาร์บอน (พลังงานฟอสซิล) ไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจน   เปรียบเช่นเดียวกับกระบวนการหายใจของมนุษย์ ที่สามารถเปลี่ยนอาหารที่มนุษย์รับประทานไปทำปฏิกริยากับก๊าซออกซิเจน ทำให้ได้มาซึ่งพลังงานที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราหายใจออกมา   ในลักษณะเดียวกัน ก๊าซไฮโดรเจน สามารถทำปฏิกริยากับก๊าซออกซิเจน ทำให้เกิดน้ำและพลังงาน ได้เช่นกันดังสมการเคมี   เนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนมีพลังงานสะสมสูงกว่าน้ำ ลักษณะเช่นนี้เป็นที่มาของพลังงานทางเลือกใหม่ หรือที่เราเรียกกันว่า Hydrogen Fuel เมื่อนำหลักการนี้มาใช้เป็นพลังงานแก่รถยนต์ เราจึงเรียกว่ารถพลังงานไฮโดรเจน ซึ่งกำลังได้รับการพัฒนาและกำลังคาดหมายว่าจะสามารถมาทดแทนพลังงานจากฟอสซิลได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ในทางตรงกันข้ามหากเราต้องการนำน้ำมาทำให้เกิดไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจน สิ่งที่เราต้องทำคือการใส่พลังงานลงไปในน้ำเพื่อทำให้เกิดปฏิกริยาดังสมการเคมี ซึ่งปฏิกริยาดังกล่าวสามารถทำได้ด้วยกระบวนการ Electrolysis คือการใส่พลังงานไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าทั้งสองลงไปในน้ำ ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนที่ขั้วลบ และก๊าซออกซิเจนที่ขั้วบวก  จากหลักการที่อธิบายมานี้จะเห็นได้ว่า รถที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนนั้นกำลังได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกแห่งอนาคต ในทางตรงกันข้ามการให้ได้มาซึ่งพลังงานจากน้ำโดยปฏิกริยาเคมีนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะน้ำเป็นสสารที่มีพลังงานสะสมต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจน ดังนั้นรถยนต์ที่วิ่งได้ด้วยพลังงานน้ำล้วนๆ จึงไม่มีอยู่จริง แล้ว “รถใช้น้ำ” ที่โฆษณากันคืออะไร? หลักการของอุปกรณ์เหล่านี้ คือ ติดตั้งตัว Electrolyze โดยนำพลังงานจากแบตเตอรี่เพื่อแยกเอาก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจนออกจากน้ำ แล้วนำเอาก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนที่ได้เหล่านั้น ใส่เข้าไปในเครื่องยนต์ โดยมักจะอ้างว่าเป็นการทำให้เครื่องยนต์ใช้น้ำมันน้อยลง และเกิดมลภาวะที่น้อยลงด้วย   ข้อเท็จจริง: การนำก๊าซไฮโดรเจนใส่เข้าไปในเครื่องยนต์นี้ ได้รับการศึกษาและรับรองทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า “สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ และทำให้เกิดมลภาวะที่น้อยลงจริง” แต่ประสิทธิภาพก็เพิ่มในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น นอกเหนือจากนี้สิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้มักไม่พูดถึงคือ กระบวนการ Electrolysis เพื่อแยกก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำนั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังงานเช่นเดียวกัน โดยพลังงานที่ว่านี้ก็มาจากแบตเตอรี่ ซึ่งมาไล่เรียงกันดีๆ แล้ว จะเห็นว่าพลังงานแบตเตอรี่ก็มาจากการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ ก็คือพลังงานน้ำมันนั้นเอง  และเมื่อพิจารณาตามกฎทางเทอร์โมไดนามิกแล้ว ในทุกกระบวนการนั้นจะต้องเกิดการสูญเสียพลังงานทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น การนำพลังงานทางกลที่ได้จากน้ำมัน ไปปั่นเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วนำพลังงานไฟฟ้าไปแยกไฮโดรเจน แล้วนำกลับมาเผาไหม้ใหม่ จึงเป็นกระบวนการที่ไม่คุ้มอย่างยิ่ง โดยสรุปจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่อุปกรณ์พวกนี้จะสามารถช่วยประหยัดการใช้น้ำมันได้ ที่ต่างประเทศก็มีการขายผลิตภัณฑ์เช่นนี้เหมือนกันไม่ใช่หรือ? ณ ปัจจุบัน ไม่มีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ใดๆ ที่ได้รับการรับรองและค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จาก United States Environmental Protection Agency นั้นหมายความถึง ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ในต่างประเทศก็อาจจะเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภคเช่นกัน ผลิตภัณฑ์พวกนี้โดยส่วนมาก มักจะมีการอ้างถึงผลการทดสอบการประหยัดน้ำมัน และการปล่อยมลภาวะ ซึ่งค่าที่เกิดจากการทดสอบเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้จากลักษณะการขับขี่ หรือการปรับค่าของหัวฉีดและ Engine Control Unit (ECU) ต่างๆ สรุปโดยรวมแล้ว การใช้ก๊าซไฮโดรเจนที่เกิดจากการใช้กระบวนการ Electrolysis แยกออกมาจากน้ำนั้น ไม่ได้ช่วยให้ผู้ใช้รถที่ติดตั้งอุปกรณ์สามารถประหยัดน้ำมันได้จริง ขณะที่เรากำลังรอการมาของเทคโนโลยีรถที่ใช้ Hydrogen fuel cell การดูแลเช็คสภาพรถยนต์ ให้อยู่ในสภาพดี ตรวจสอบลมยางและไส้กรองอยู่เสมอ ไม่บรรทุกของเกินความจำเป็น รวมถึงขับรถไม่เร็วเกินไปนัก หรือถ้าเป็นไปได้ก็หลีกเลี่ยงการใช้รถเมื่อไม่จำเป็น น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับการประหยัดน้ำมันในยุคน้ำมันราคาแพงนี้ครับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 98 หลอดไฟประหยัดพลังงาน

ช่วงฉลาดช้อปดร.ไพบูลย์ ช่วงทองมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค  ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันสงกรานต์ที่ผ่านมาครับ ความแตกแยกทางความคิดในสังคมไทยเกือบกลายมาเป็นสงครามกลางเมือง แต่ยังโชคดีที่ไม่มีการสูญเสียชีวิตประชาชนมากเหมือนกับการขัดแย้งในอดีต นับว่าเป็นวิวัฒนาการของสังคมไทยที่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งไปในทิศทางที่ดีขึ้น วันนี้ขอเล่าเรื่องเบาๆ เกี่ยวกับหลอดไฟประหยัดพลังงาน ว่ามีหลักการทำงานอย่างไร ตลอดจนประเภทของหลอดไฟ และการเลือกหลอดไฟให้เหมาะกับการใช้งานภายในบ้าน ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคทุกคนในการเลือกซื้อหลอดไฟฟ้าครั้งต่อไปครับ หลักการทำงานของหลอดประหยัดพลังงาน (หลอดตะเกียบ)หลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงานโดยทั่วไปใช้กับความต่างศักย์ ขนาด 230 โวลต์ เมื่อกดสวิตช์เพื่อเปิดไฟ ความต่างศักย์ที่สตาร์เตอร์ (Starter) จุดติดอยู่ระหว่าง 250 โวลต์- 450 โวลต์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า (Glow discharge) เมื่อกระแสไฟไหลผ่านวงจรผ่านขั้วบวกและขั้วลบที่มีแท่งโลหะ (Bimetal) ต่อเชื่อมอยู่ เมื่อกระแสไฟไหผ่านขั้วทั้งสองแล้ว จะเกิดการไหลของกระแสไฟภายใต้ความต่างศักย์ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ขดลวดที่ทำมาจากโลหะทังสเตนปล่อยอิเลคตรอนวิ่งไปชนกับอะตอมของก๊าซในหลอดไฟ (Impact ionization) ทำให้อะตอมของก๊าซเกิดปฎิกริยาไอออนไนเซชัน (เกิดเป็นอนุภาคของก๊าซที่มีขั้ว) เมื่ออนุภาคที่มีขั้วดังกล่าววิ่งไปชนกับสารเรืองแสง (Luminescent substance) ก็จะเกิดเป็นสเปคตรัมหรือแสง ที่เรามองเห็นนั่นเอง อายุการใช้งานจากผลการทดสอบของนิตยสาร TEST ของเยอรมันนี สามารถบอกได้เลยว่า หลอดตะเกียบมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดไส้ โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6,000 – 15,000 ชั่วโมง ขณะที่หลอดไส้มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 1,000 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่า ความสว่างของหลอดไฟจะลดลงตามอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 15- 40 % (เป็นสินค้าที่น่าทดสอบเปรียบเทียบเป็นอย่างมาก นอกจากการประหยัดไฟฟ้าแล้ว ความสว่างที่ลดลงตามอายุการใช้งานของแต่ละยี่ห้อนั้นเป็นอย่างไร)อย่างไรก็ตามอายุการใช้งานจริงมักจะน้อยกว่าตามที่ฉลากบอกไว้ รวมไปถึงรายละเอียดอื่น เช่น กำลังไฟฟ้าด้วย (ไม่ทราบว่ากรณีดังกล่าวเข้าข่ายติดฉลากลวงหรือไม่ เนื่องจากในต่างประเทศ เช่น เยอรมนีการติดฉลากไม่ตรงตามความเป็นจริงถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค นอกจากเรื่องการติดฉลากลวงแล้ว ยังมีเรื่องบรรจุลวงด้วย ซึ่งหากบรรรจุสินค้าโดยใช้หีบห่อที่มีขนาดใหญ่กว่าสินค้ามากๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้ามีขนาดใหญ่ สำหรับปัญหาเรื่องการบรรจุลวงนี้ ไม่มีกฏหมายรองรับ แต่แสดงให้เห็นถึงคุณธรรม จริยธรรมและการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตและผู้ประกอบการ)หลอดประหยัดไฟช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม?ในเชิงอนุรักษ์ทรัพยากร เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างหลอดธรรมดากับหลอดประหยัดพลังงาน หลอดประหยัดพลังงานสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า 80 % หมายความว่า การใช้พลังงานไฟฟ้าของหลอดประหยัดไฟ 1 หลอดเทียบเท่ากับการใช้ไฟฟ้าของหลอดไส้ 5 หลอด โดยที่ความสว่างของหลอดไฟเท่ากัน สาเหตุที่หลอดประหยัดไฟใช้พลังงานน้อยกว่าหลอดไฟแบบไส้ เพราะหลอดประหยัดไฟสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงสว่างได้มากถึง 25 % ขณะที่หลอดไฟแบบไส้จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงสว่างได้เพียง 5 % พลังงานที่สูญเสียจะเปลี่ยนเป็นความร้อนประเภทของหลอดไฟประหยัดพลังงานหลอดประเภท Warm white แสงที่ได้จากหลอดไฟประเภทนี้เป็นสีขาว ซึ่งเป็นสีหรือแสงจากสารเรืองแสง อุณหภูมิของสี (Color temperature) มีค่า 2,700 เคลวิน อุณหภูมิของสีเป็นตัวที่บอกถึงอัตราของสีที่ผสมในแสงไฟ แสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีค่า Color temperature สูง และแสงสีแดงมีค่า Color temperature ต่ำ ค่า Color temperature นี้สามารถดูได้จากกล่องบรรจุ สำหรับหลอดไฟประเภท Warm white เหมาะจะใช้ในห้องนอนและห้องนั่งเล่น เป็นที่ชื่นชอบของคนที่อยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น ยุโรป และอเมริกาเหนือ เพราะให้ความรู้สึกอบอุ่นและไม่สว่างจ้าเกินไป หลอดประเภท Day light ให้แสงไฟที่คล้ายกับแสงแดดธรรมชาติ ค่า Color temperature ของหลอด ไฟประเภทนี้มากกว่า 5,000 เคลวิน คนที่อยู่ในภูมิภาคที่อบอุ่น เช่น คนแถวยุโรปใต้ รวมทั้งคนไทยมักนิยมใช้หลอดไฟประเภทนี้ ข้อดีของหลอดไฟประเภทนี้คือ ใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างในห้องหรือบนโต๊ะทำงานได้ดีกว่า เพราะให้แสงสว่างที่ใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติมากที่สุด มีผลต่อการทำงานของมนุษย์คือ ทำให้มนุษย์ทำงานได้ดี และทำให้ไม่ง่วง การจัดการขยะที่เกิดจากหลอดประหยัดไฟเมื่อหลอดไฟสิ้นอายุการใช้งานแล้ว วิธีการกำจัดหรือจัดการกับขยะประเภทนี้ ไม่ควรทิ้งรวมกับขยะปกติ เนื่องจากหลอดไฟประหยัดพลังงานมีสารปรอทเคลือบเป็นสารเรืองแสงที่หลอดด้านใน โดยเฉลี่ยสูงถึง 7 มิลลิกรัม ปรอทเป็นโลหะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต หากสารปรอทไปปนเปื้อนกับน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับบริโภคอุปโภคของประชาชน  การกำจัดและจัดการขยะที่เป็นพิษควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยที่หน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรหามาตรการและวิธีการจัดการตลอดจนให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกกับประชาชน อย่างเช่นประชาชนในยุโรป เขาตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดการขยะที่เป็นพิษ ไม่ใช่เพราะว่ามีกฎหมายบังคับในเรื่องดังกล่าว แต่เกิดจากความรู้สึกสำนึกในด้านการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ประชาชนให้ความร่วมมือในเรื่องการแยกขยะที่เป็นพิษ โดยการนำไปคืนให้กับผู้ผลิต ผู้ขาย ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายก็ต้องรับผิดชอบในการกำจัดขยะพิเศษนี้อีกทีหนึ่ง ภายใต้การควบคุมดูแลของภาครัฐและการจับตามองหรือเฝ้าระวังขององค์กรภาคประชาชน แหล่งข้อมูลอ้างอิง[1] เวปไซต์ http://www.energiespar-lampen.de[2] วารสาร Test NO. 3 March, 2008

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 ปัญหาราคาพลังงาน ความจริงที่ไม่เท่ากัน

  พลังงานราคาแพง ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 1.ปรับขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) อัตรา 50 สตางค์ต่อกิโลกรัมต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคมถึงธันวาคม 2555 รวม 6 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาเอ็นจีวีสิ้นปีจะอยู่ที่ 14.50 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 8.50 บาทต่อกิโลกรัม (เท่ากับปรับขึ้นสูงถึง 70%) 2. ปรับขึ้นราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) อัตรา 75 สตางค์ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคมถึงธันวาคม 2555 หรือราคาหน้าโรงกลั่น รวม 9 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาแอลพีจีสิ้นปีจะอยู่ที่ 27.13 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 18.13 บาทต่อกิโลกรัม3. ปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินทั้งระบบอัตรา 1 บาทต่อลิตร ทำให้เบนซิน 91 อยู่ที่ 31.09 บาทต่อลิตร เบนซิน 95 อยู่ที่ 42.42 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 35.44 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 จะอยู่ที่ 37.19 บาทต่อลิตร และอี 20 อยู่ที่ 34.44 บาทต่อลิตร และราคาน้ำมันดีเซล อัตรา 60 สตางค์ต่อลิตร อยู่ที่ 31.09 บาทต่อลิตร เพื่อส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยน้ำมันทั้ง 2 ชนิดปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 ส่วนการปรับขึ้นครั้งต่อไป กระทรวงพลังงานระบุว่าจะพิจารณาอัตราที่เหมาะสมและเสนอ กพช. พิจารณาอีกครั้ง ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เมื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติเห็นชอบตามมติ กพช. ให้ปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซเอ็นจีวีและแอลพีจี ด้วยเหตุผลเพื่อให้ราคาจำหน่ายสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง คำถามก็คือ ต้นทุนที่แท้จริง เป็นความจริงของใคร ต้นทุนพลังงานที่แท้จริง ?? จากผลการศึกษาและจากการจัดประชุมสัมมนาหลายครั้งที่ผ่านมาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา พบว่า นโยบายการลอยตัวเชื้อเพลิงทุกประเภทของรัฐบาล ซึ่งรวมถึงการประกาศให้ปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG และ NGV ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก โดยอ้างถึงความต้องการให้ราคาเชื้อเพลิงสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงนั้น  ข้อเท็จจริงคือ รัฐบาลใช้ฐานข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนรอบด้าน  และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งที่เรื่อง พลังงานแพงจะส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างใหญ่หลวง ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำ รายงานการศึกษา ของคณะกรรมาธิการฯ มาสรุปสาระสำคัญ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลอีกด้าน ที่ไม่ค่อยมีสื่อใดจะนำไปเปิดเผย   รายงานศึกษาตรวจสอบ เรื่อง “ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ” ของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา   1.ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบขนาดใหญ่หลายแหล่ง และมีการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา   ปัจจุบันประเทศไทยมีการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบทั่วประเทศแล้วกว่า 5,000 หลุม  โดยมีแปลงสัมปทานทั้งสิ้น 81 แปลง แท่นผลิต 225 แท่น     เดือนมิถุนายนปี 2553 ไทยสามารถขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวได้ 40 ล้านลิตรต่อวัน และก๊าซธรรมชาติ (เทียบเท่าน้ำมันดิบ) ปริมาณ 105 ล้านลิตรต่อวัน จากเอกสารรายงานประจำปี 2552 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ระบุว่าปริมาณการขายปิโตรเลียมของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2524 ถึงสิ้นปี 2552 รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,628,647.50 ล้านบาท4 โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จัดเก็บค่าภาคหลวงได้เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 329,729.26 ล้านบาท เท่ากับร้อยละ 12.54 และตั้งแต่ปี 2528 ถึงปี 2551 มีการจัดเก็บภาษีเงินได้เป็นจำนวนเงิน 429,212.28 ล้านบาท5 หากรวมค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้ที่จัดเก็บตั้งแต่ปี 2524-2552 โดยเทียบกับมูลค่าปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากพื้นแผ่นดินไทย รายได้ที่รัฐจัดเก็บได้จากทรัพยากรปิโตรเลียมในประเทศเท่ากับร้อยละ 28.87 ของมูลค่าเท่านั้น ซึ่งจัดว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศที่มีทรัพยากรปิโตรเลียมอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยมีสถิติในการผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นทุกปี นับตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปัจจุบัน  แผนภูมิปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ  ก๊าซธรรมชาติ  และก๊าซธรรมชาติเหลว (เทียบเท่าน้ำมันดิบ)จำนวนล้านลิตรต่อปี (พ.ศ. 2529-2553) ที่มา : กระทรวงพลังงานจากฐานข้อมูลของสถาบัน Energy Information Administration (EIA) ของรัฐบาลสหรัฐฯ ในปี 2552 ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับ 23 และเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ1อันดับ 35 จากจำนวน 217 ประเทศของโลก2  ขณะที่กลุ่มโอเปค หรือ Organization of the Petroleum Exporting Countries (OPEC) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มผู้ผลิตพลังงานปิโตรเลียมขนาดใหญ่ของโลกจำนวน 12 ประเทศ จัดอยู่ในผู้ผลิตน้ำมันดิบอันดับที่ 31 แรกของโลก  ข้อมูลดังกล่าวของสถาบัน EIA จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตพลังงานได้ปริมาณมาก แม้ว่าไทยจะไม่มีศักยภาพมากเท่าประเทศซาอุดิอาระเบียก็ตาม การผลิตปิโตรเลียมของไทยยังมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยมูลค่าของปิโตรเลียมที่สูงนี้เองทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่ต้องเผชิญกับปัญหาการบริหารจัดการรายได้จากทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม การทุจริตคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ระดับสูง การใช้อำนาจโดยมิชอบ และความขัดแย้งในสังคม   2. การขึ้นราคาก๊าซ NGV เป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ?     บริษัท ปตท จำกัด(มหาชน) ได้ประชาสัมพันธ์ถึงต้นทุนที่แท้จริงของ NGV อยู่ที่ 14.96 บาท/ กิโลกรัมการขาย NGV ในราคา 8.50 บาท/กิโลกรัม จึงทำให้ ปตท ขาดทุน และต้องการให้รัฐบาลขึ้นราคา NGV   โครงสร้างราคา NGV ของ ปตท ต้นทุนเนื้อก๊าซ 8.39 บาท + ¬¬¬ค่าบริหารจัดการและขนส่ง 5.56 บาท + ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีค่าการตลาด 1.01 บาท  รวม 14.96 บาท/กิโลกรัม   2.1 ต้นทุนเนื้อก๊าซ 8.39 บาท เป็นราคาที่สูงเกินจริง? โฆษณาของ ปตท. ระบุว่า “ต้นทุนเนื้อก๊าซที่ 8.39 บาท/ ก.ก. เป็นราคาเดียวกับที่ขายให้โรงไฟฟ้า” แต่ ปตท. ไม่เคยสดงข้อมูลต่อสาธารณะเลยว่า ราคาเนื้อก๊าซที่ ปตท. ซื้อจากปากหลุมก๊าซในอ่าวไทยนั้นราคาเท่าไหร่?  ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนที่แท้จริงโดยตรง คณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา พบข้อมูลว่า ปตท. ซื้อก๊าซจากปากหลุมก๊าซในอ่าวไทย ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลกเกือบ 45-50% เช่น ในปี 2551 ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดสหรัฐ  ที่แหล่ง Henry Hub อยู่ที่ 8.79 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู แต่ราคาปากหลุมก๊าซในอ่าวไทย ปตท.ซื้ออยู่เพียง 4.85 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู (รายละเอียดตามตารางด้านล่าง) ปัจจุบัน (ตุลาคม 2554)  ราคาก๊าซธรรมชาติตลาดโลกถูกลงอย่างมาก ในแหล่ง Henry Hub ราคาอยู่ที่ 3.63 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียูหรือเท่ากับ 4 บาท/กิโลกรัมเท่านั้น (คิดเทียบจากค่าความร้อน NGV จาก ปตท = 35,947 บีทียู/ก.ก.) ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลที่รัฐบาลและ ปตท. ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน ดังนั้น ประชาชนจึงต้องตั้งคำถามกับ รมต.พลังงานและรัฐบาลว่า ได้เคยตรวจสอบหรือไม่ว่า ปตท. มีต้นทุนค่าซื้อก๊าซจากปากหลุมในอ่าวไทยในราคา 2 บาท/กิโลกรัม จริงหรือไม่ ถ้าใช่ย่อมแสดงว่า ราคาเนื้อก๊าซ 8.39 บาท/กิโลกรัม ที่ ปตท. โฆษณาประชาสัมพันธ์และนำไปเสนอขอปรับขึ้นราคากับรัฐบาลนั้น ย่อมเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จ และสูงกว่าราคาต้นทุนที่แท้จริงถึง 4 เท่าตัว 2.2 ต้นทุนปั๊ม NGV และค่าขนส่ง 5.56 บาท/กิโลกรัม  ต้นทุนที่สะท้อนถึงความไร้ประสิทธิภาพของ ปตท ? ก๊าซธรรมชาติที่ประเทศไทยผลิตได้ ส่วนใหญ่ใช้โดยตรงเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(ปตท.)และโรงไฟฟ้าเอกชน และเมื่อนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูงสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ได้ (NGV) เนื่องจาก NGV เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ และมีน้ำหนักเบากว่า LPG หลายเท่าตัวจึงมีแรงดันมหาศาล การขนส่งไปให้ถึงสถานีบริการอย่างปลอดภัยจึงเป็นปัญหาสำคัญ เพราะ NGV ไม่สามารถบรรจุลงถังเหล็กขนาดใหญ่แบบรถบรรทุกก๊าซ LPG ได้ จึงต้องใช้วิธีส่งตามท่อส่งก๊าซหรือบรรจุลงในถังก๊าซที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษเท่านั้น และจะมีสถานีบริการ NGV ทำหน้าที่จ่ายก๊าซ NGV ให้กับผู้ใช้รถยนต์ NGV ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2554 มีสถานีบริการ NGV จำนวน 453 สถานี จำหน่ายก๊าซ NGV 6,895 ตันต่อวัน และ สถานีบริการ NGV ที่มีอยู่แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ สถานีบริการ NGV แนวท่อส่งก๊าซฯ และสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อส่งก๊าซฯ ข้อมูลจาก ปตท ณ วันที่ 30 กันยายน 2554 พบว่า มีสถานีบริการ NGV แนวท่อส่งก๊าซฯ เพียง 104 แห่งทั่วประเทศ (มีการใช้งานอยู่เพียงร้อยละ 54 ของกำลังการผลิตเท่านั้น)  ดังนั้นจึงมีสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อส่งก๊าซฯมากถึงเกือบ 350 สถานี การตั้งสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อส่งก๊าซฯ จำนวนมาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดทุนของก๊าซ NGV เนื่องจากสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อฯ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณใกล้ชุมชนที่ไม่มีแนวท่อก๊าซธรรมชาติผ่าน จึงต้องพึ่งพารถบรรทุกพ่วง(Trailer) ขนส่ง NGV จากสถานีจ่ายก๊าซฯ หลัก ซึ่งการขนส่ง NGV ในแต่ละเที่ยวจะขนส่งในสถานะที่เป็นก๊าซจึงบรรจุได้ในปริมาณน้อย มีระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งนาน มีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้สถานีบริการ NGV นอกแนวท่อฯ นี้มีปริมาณ NGV สำหรับบริการแก่ผู้ใช้รถ NGV ไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ความต้องการใช้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และผู้ใช้ NGV จะต้องรอจนกว่ารถ Trailer รอบถัดไปจะมาถึง สถานีบริการ NGV แนวท่อฯ เป็นสถานีฯ ที่ตั้งอยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซฯ ซึ่งรับก๊าซธรรมชาติจากท่อส่งก๊าซฯ โดยตรง และสามารถจำหน่ายให้กับผู้ใช้รถ NGV ได้โดยตรง ดังนั้น สถานีบริการฯ ประเภทนี้จึงไม่ต้งพึ่งพารถ Trailer ในการขนส่ง NGV ทำให้ไม่มีข้อจำกัดเรื่องความต่อเนื่องของปริมาณก๊าซฯ สำหรับให้บริการผู้ใช้รถ NGV จึงได้รับความสะดวกในการเติม NGV ที่สถานีบริการ NGVตามแนวท่อฯ ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ สถานีบริการ NGV จึงควรจะอยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซ ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องมีการบริหารสินค้าคงคลัง(Inventory) และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางรถบรรทุก เพราะก๊าซถูกส่งไปตามแนวท่ออยู่แล้ว แต่หากเพิ่มสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อฯให้มีมากขึ้น ต้นทุนของค่าขนส่งก็จะสูงตามไปด้วย แทนที่ ปตท. จะแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มสถานีบริการ NGV  แนวท่อฯ ให้มากขึ้น กลับแก้ปัญหาด้วยการปรับขึ้นราคาผลักภาระมาให้ผู้ใช้ก๊าซ NGV แทน จึงไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้รถยนต์ NGV ทั้งหมดเป็นอย่างยิ่ง เมื่อคิดเทียบต้นทุนค่าปั๊ม ค่าขนส่งก๊าซที่ ปตท. แสดงอยู่ที่ 5.56 บาท/กิโลกรัม (ซึ่งไม่ควรจะสูงขนาดนี้หากเป็นสถานีบริการ NGV แนวท่อฯ) รวมกับราคาเนื้อก๊าซ NGV ที่ ปตท ใส่เข้ามาอีก 8.39 บาท/กิโลกรัม จะพบว่าต้นทุนค่าปั๊มและค่าขนส่งก๊าซมีสัดส่วนสูงถึง 40% ของราคาก๊าซทั้งหมดที่ยังไม่รวมภาษี แต่หากคิดเทียบจากต้นทุนราคาเนื้อก๊าซที่แท้จริงซึ่งซื้อจากหลุมก๊าซในอ่าวไทยที่ 2 บาท/กิโลกรัม จะพบข้อมูลที่น่าตกใจยิ่งกว่าว่า สัดส่วนของต้นทุนค่าปั๊ม ค่าขนส่งสูงถึง 73% ของราคาก๊าซทั้งหมดยังไม่รวมภาษี ใครที่ทำธุรกิจคงรู้ดีว่า...ถ้าต้นทุนค่าขนส่งมีสัดส่วนสูงขนาดนี้ หากไม่มีวิธีแก้ไขทางอื่น การเลิกทำธุรกิจน่าจะเป็นความคิดที่ดีที่สุด เพราะธุรกิจทั่วไปไม่สามารถผลักภาระขนาดนี้มาให้กับผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน   3. การขึ้นราคาก๊าซ LPG เป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ? ก๊าซ LPG เป็นก๊าซที่ผลิตได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงกลั่นน้ำมัน โดยการนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนซึ่งเป็นส่วนประกอบของก๊าซธรรมชาติมาผสมกัน อัดใส่ถังก็จะเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas - LPG) หรือที่เรียกว่า ก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เชื้อเพลิงของรถยนต์ และนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย ความจริงที่ควรรู้คือ รถยนต์ LPG ไม่ใช่ต้นเหตุที่ทำให้ก๊าซ LPG ขาด และต้องเสียเงินนำเข้า จึงไม่ใช่เหตุผลที่รัฐบาลจะใช้เพื่อการปรับขึ้นราคา LPG ในปี 2553 ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซ LPG ได้ 4.4 ล้านตัน พบว่าภาคครัวเรือนใช้อยู่ที่ 2.4 ล้านตัน และรถยนต์ใช้ 6.8 แสนตัน รวมแล้วเท่ากับ 3.1 ล้านตันเท่านั้น ยังเหลือให้ภาคอุตสาหกรรมได้ใช้ถึง 1.3 ล้านตันโดยไม่ต้องนำเข้า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ก๊าซ LPG ไม่พอเพียง เป็นเพราะกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มบริษัทในเครือของ ปตท. มีการใช้ LPG ในปริมาณที่สูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศไม่เพียงพอ ในปี 2551-2553 การใช้ก๊าซ LPG ของกลุ่ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ที่ 9 แสนตัน , 1.28 ล้านตัน และ 1.59  ล้านตัน เรียงตามลำดับ เป็นปริมาณการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด แม้แต่ข้อมูลที่กระทรวงพลังงานเสนอต่อที่ประชุม กพช. เพื่อขอปรับราคา LPG ที่ผ่านมา ยังแสดงให้เห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีสัดส่วนการใช้ LPG สูงเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 68% ของปริมาณที่ประชาชนทั้งประเทศใช้ นี่จึงเป็นสาเหตุแท้จริงที่ทำให้ก๊าซ LPG ไม่เพียงพอ และเกิดภาระ การชดเชยจากการนำเข้าจาก ต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 – กันยายน 2554 คิดเป็นเงินประมาณ 57,339 ล้านบาท แทนที่รัฐบาลจะไปจัดเก็บเงินค่าก๊าซกับกลุ่มปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น กลับกำหนดให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพียงกิโลกรัมละ 1 บาทเท่านั้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้ก๊าซ LPG ต้องจ่ายเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน ในอัตรากิโลกรัมละ 8 - 11 บาท (ในช่วงปี 2555 เป็นต้นไป) และยังผลักภาระมาให้ประชาชนด้วยการขึ้นราคา LPG อีก   ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ข้อขี้แจงของ ปตท. ต่อกรณีต้นทุนราคาก๊าซเอ็นจีวี ปตท. ยืนยันว่าต้องปรับราคาก๊าซเอ็นจีวีขึ้นตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากราคาก๊าซเอ็นจีวีที่ 8.50 บาท ต่อกิโลกรัม ต่ำกว่าต้นทุนมาก โดยราคากลางที่สถาบันปิโตรเลียมทำการศึกษาอยู่ที่ 15 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งการที่ภาครัฐอุดหนุนราคามาโดยตลอดเป็นการบิดเบือนกลไกราคา ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ทำให้ขณะนี้มีประชาชนออกรถใหม่ที่ใช้เอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิงมาวิ่งบนท้องถนนเพิ่มถึงวันละ 300 คัน ซึ่งสุดท้ายจะมาแย่งการเติมก๊าซเอ็นจีวีจากรถบรรทุกและรถขนส่ง ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ จะทำให้ก๊าซเอ็นจีวีขาดแคลน และ ปตท.ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้น และหากไม่ขึ้นราคาก็ต้องเข้าไปอุดหนุน โดยที่ผ่านมาตลอด 9 ปี ปตท. ขาดทุนสะสมแล้วกว่า 40,000 ล้านบาท การนำราคาก๊าซแอลเอ็นจีในสหรัฐฯมาอ้างอิงกับราคาของปตท. และพบว่าราคาที่สหรัฐฯถูกกว่า นั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถมาอ้างอิงได้ เนื่องจากเป็นคนละแหล่งกับที่ ปตท.นำเข้า ซึ่ง ปตท.นำเข้ามาจากพม่า จีน และยังต้องมีต้นทุนค่าขนส่งในระดับสูง นอกจากนี้ราคาก๊าซที่สหรัฐฯ ต่ำ เนื่องจากเป็นนโยบายภายในประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน   ต่อกรณีต้นทุนราคาก๊าซแอลพีจี ปตท. บริษัทที่กำลังจะถูกแปรรูปอีกครั้งได้ชี้แจงถึงราคาต้นทุกก๊าซแอลพีจีว่า  การคำนวณราคาก๊าซที่ทำโดยสถาบันปิโตรเลียม ซึ่งได้ประมาณการต้นทุนราคาแอลพีจีแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ  ต้นทุนโรงแยกก๊าซอยู่ที่ 14.10 บาท กิโลกรัม มีราคาขายปลีกจะอยู่ที่ 21.80 บาท กิโลกรัมซึ่งรัฐบาลยังไม่ได้ให้เงินชดเชยราคาก๊าซส่วนนี้ ทำให้ผู้ผลิตต้องรับภาระ 3.50 บาท กิโลกรัม หรือ 612 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนที่สองต้นทุนโรงกลั่นอยู่ที่ 23.33บาท กิโลกรัม ซึ่งรัฐบาลจ่ายเงินชดเชย 12.88 บาท กิโลกรัม หรือ 955ล้านบาท/เดือน ส่วนที่สามคือ ต้นทุนการนำเข้าอยู่ที่ 29.28บาท กิโลกรัม ซึ่งรัฐบาลจ่ายชดเชย 19.22บาท กิโลกรัม หรือ 2,153 ล้านบาทต่อเดือน และจากโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจี และขอยืนยันว่าราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีปัจจุบันยังต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริงอยู่มาก และปัจจุบันรัฐบาลต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยการนำเข้าก๊าซแอลพีจีถึง 2 หมื่น 6 พันล้านบาท และชดเชยราคาให้โรงกลั่นน้ำมันอีก 1หมื่นล้านบาท นายวัชระ คุณาวัฒนาวุฒิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวางแผนหน่วยธุรกิจก๊าซ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) )   โครงสร้างราคาที่อิงประโยชน์ผู้ขาย โครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจีกับเอ็นจีวียึดราคาที่ต่างกัน ขณะที่แอลพีจีไปยึดราคาตลาดโลกแต่เอ็นจีวียึดตลาดในประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่าลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อก๊าซแอลพีจีคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ต้องซื้อก๊าซในราคาที่สูงกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 4 เท่าตัว  เมื่อราคาแอลพีจีสูงก็ไปยึดหลักอิงตามราคาตลาดโลก หลักอิงนี้จะได้ประโยชน์ต่อผู้ขายอย่างเดียว แต่เมื่อเป็นก๊าซเอ็นจีวีราคาตลาดโลกต่ำกว่า 3-4 เท่า เราไม่อิงตลาดเขาแต่ยึดตลาดในประเทศ (แสดงว่าจะใช้ราคาอะไรก็ได้ใช่หรือไม่)   นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่10 อันดับแรกของ ปตท. ณ วันที่ 9 กันยายน 2554 ลําดับที่ รายชื่อ จํานวนหุน รอยละของจํานวน หุนทั้งหมด 1. กระทรวงการคลัง 1,459,885,575 51.145 2. กองทุนรวม วายุภักษ หนึ่ง โดย บลจ. เอ็มเอฟซี จํากัด (มหาชน) 217,900,000 7.634 3. กองทุนรวม วายุภักษ หนึ่ง โดย บลจ. กรุงไทย จํากั ด (มหาชน) 217,900,000 7.634 4. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร จํากัด 88,919,503 3.115 5. CHASE NOMINEES LIMITED 42 72,840,201 2.552 6. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 57,254,742 2.006 7. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 41,235,271 1.445 8. NORTRUST NOMINEES LTD 31,371,462 1.099 9. สํานักงานประกันสังคม (2 กรณี) 25,794,700 0.904 10. STATE STREET BANK EUROPE LIMITED ที่มา http://ptt-th.listedcompany.com/shareholdings.html   กําไรและที่มาของรายได้ของปตท.วิเคราะห ผลการดําเนินงาน แยกตามกลุมธุรกิจ ป กําไรกอนหัก ดอกเบี้ยและ ภาษี (ลานบาท) กําไรก่อนหัก ภาษีและดอก เบี้ย หนวยธุรกิจ กาซธรรมชาติ (ลานบาท) กําไรจาก ธุรกิจการ สํารวจ และผลิต ปโตรเลี่ยม (ปตท สผ) (ลานบาท) กําไร (ขาดทุน) จากธุรกิจ น้ำมัน (ลานบาท) จากการคา ระหวางประเทศ (ลานบาท) คาใชจายในการบริหาร (ลานบาท) คาตอบแทน กรรมการ (ลานบาท) กําไรสุทธิทั้งป (ลานบาท) กําไรตอหุน(บาท) 2551 109,882.83 48,505 74,643 (1,720) 4,310 18,190 389 66,535 18 2552 102,004.71 32,921 51,570 9,000 2,016 22,322 508 68,690 21 2553 139,037.13 37,617 64,348 9,402 2,338 24,196 697 99,930 29 2554 ถึง ก.ย. 54 137,367.382 เกาเดือนแรก 21,052 465 101,772 มค-กย 54 31 อ้างอิงจาก รายงาน 56-1 ประจําปี 2553 หน้า 306 , 311 รอบปีงบประมาณ 2554 (1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2554) ปตท.ใช้งบประมาณว่าจ้างหน่วยงาน องค์กรเอกชน โฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมต่างๆ รวม 44 รายการ วงเงินรวม 651.1 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงบประมาณ 2553 ปตท.ได้ใช้เงินประชาสัมพันธ์ ผ่านบริษัทต่างๆ 34 รายการ รวมเม็ดเงิน 687.2 ล้านบาท รวม 2 ปี ปตท.หว่านเม็ดเงินเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สูงเกือบ 1,400 ล้านบาท

อ่านเพิ่มเติม >