ฉบับที่ 177 สารกันราตกค้าง ในเห็ดหอมแห้ง

“เห็ดหอม” เป็นส่วนประกอบสำคัญในเมนูอาหารต่างๆ โดยเฉพาะอาหารจีน บางคนยกย่องให้เป็นอาหารชั้นเลิศ เพราะมีความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากชาวจีนว่า สามารถใช้บำรุงกำลัง และมีสรรพคุณทางยามากมาย สำหรับการนำมาปรุงอาหาร คนส่วนใหญ่จะนิยมใช้เห็ดหอมแห้ง เพราะให้กลิ่นหอมมากกว่าแบบสด บ้างว่านำมาเคี่ยวในน้ำ แล้วนำน้ำเห็ดที่เหลือไปใช้ปรุงอาหารต่อ เพราะให้รสชาติที่หวาน กลมกล่อม แต่จะมีใครเคยฉุกคิดกันไหมว่า กรรมวิธีก่อนที่จะมาเป็นเห็ดหอมแห้งนั้น ต้องผ่านสารอะไรมาบ้าง แล้วหากเรารับประทานเข้าไปจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เห็ดหอมแห้งเหล่านั้นไม่พ่วงสารปนเปื้อนอย่าง สารป้องกันกำจัดเชื้อรามาด้วย เมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา ฉลาดซื้อเคยเก็บตัวอย่างเห็ดหอมแห้ง 17 ตัวอย่าง จาก 8 จังหวัดมาทดสอบแล้ว ซึ่งผลการทดสอบครั้งนั้นพบว่า ตัวอย่างเห็ดหอมแห้งเกินครึ่งหนึ่งมีการปนเปื้อนยากันรา หรือคาร์เบนดาซิม (Carbendazim) อย่างไรก็ตามตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ที่กำหนดปริมาณขั้นต่ำของสารกันราแต่อย่างใด ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอทดสอบปริมาณสารกันราในเห็ดหอมแห้งอีกครั้ง เพราะเรายังเชื่อว่าสารดังกล่าว แม้จะยังไม่มีการควบคุมอย่างเป็นทางการ แต่ก็จัดเป็นสารเคมีทางการเกษตรที่อยู่ในกลุ่มกำจัดศัตรูพืช ที่ไม่ควรมีตกค้างมาอยู่ในพืชผักหรืออาหารที่เรารับประทาน โดยสุ่มเก็บตัวอย่างเห็ดหอมแห้งที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าต่างๆ รวมทั้งตามตลาดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวม 13 ยี่ห้อ ซึ่งผลการทดสอบจะออกมาเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลย   ผลทดสอบการปนเปื้อนสารป้องกันราในเห็ดหอมแห้งแต่ละยี่ห้อ               สรุปผลการทดสอบเห็ดหอมแห้งยี่ห้อไหน มีสารกำจัดเชื้อราปนเปื้อนมากที่สุด- ผลการทดสอบพบว่า จากตัวอย่างเห็ดหอมแห้งยี่ห้อ เอโร่ aro มีสารป้องกันราตกค้างมากที่สุด คือ 0.14 มก./กก.- ในขณะที่มีเพียงเห็ดหอมแห้ง 2 ยี่ห้อจากตัวอย่างทั้งหมด คือ ยี่ห้อปลาทอง และไม่มียี่ห้อ จากตลาดคลองเตยเท่านั้น ที่ไม่มีการปนเปื้อนของสารกันราเลย- นอกจากนี้ยังอีกมี 1 ตัวอย่างที่ฉลากแสดงปริมาณสุทธิบนใบเสร็จรับเงิน กับฉลากหน้าซองบรรจุภัณฑ์ ไม่ตรงกันคือ เห็ดหอมแห้ง ตรา บิ๊กซี ทำความรู้จักสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม (Carbendazim) หรือ สารป้องกันกำจัดเชื้อรา นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นในพืชผัก พืชไร่ ข้าวและธัญพืช ผลไม้ และไม้ดอก เพราะช่วยป้องกันไม่ให้อาหารบูดเสียง่าย ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด ซึ่งหากร่างกายของเราได้รับสารดังกล่าวเป็นประจำ ก็จะส่งผลให้กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง น้ำหนักลด ท้องเสีย อาเจียน เกิดผื่นแดงบนผิวหนัง หรือเป็นโรคโลหิตจาง นอกจากนี้ยังเป็นสารอันตรายเมื่อถูกผิวหนัง สามารถสร้างความระคายเคืองต่อดวงตา และระบบทางเดินหายใจได้ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา รายงานว่าจากการศึกษาในอเมริกาพบว่า สารคาร์เบนดาซิมมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอัตราการเกิดโรคมะเร็ง และทำให้เป็นหมัน ที่มา: http://ww.foodinsight.org, 2015-------------------------------------------------------------------------------------------------------สาร Carbendazim ไม่มีการกำหนดค่า MRL ของเห็ดหอมแห้งในไทยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช)กำหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (MRL) ของคาร์เบนดาซิม(2556) ในสินค้าเกษตร 26 รายการกุยช่าย เงาะ ต้นหอม ถั่วเหลืองฝักสด หอมแดง องุ่น = 3 mg/kgถั่วเขียว มะเขือเทศ ถั่วเหลืองเมล็ดแห้ง = 0.5 mg/kgเมล็ดถั่วลิสง ใบหม่อน เมล็ดฝ้าย อ้อย เครื่องในสัตว์ปีก = 0.1 mg/kgข้าวสาร พริก มะม่วง หอมใหญ่ = 2 mg/kgเนื้อโค กระบือ เครื่องในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื้อสัตว์ปีก มันสัตว์ปีก ไข่ นม = 0.05 mg/kgเทคนิคการเลือกซื้ออาหารแห้งเราควรมีความระมัดระวังในการเลือกซื้ออาหารแห้ง ไม่ใช่แค่การเลือกซื้อเห็ดหอม เพราะอาหารแห้งทุกประเภทอาจมีสารตกค้างอยู่ได้เช่นกัน โดยใช้เทคนิคง่ายๆ คือ 1. ไม่ซื้ออาหารแห้งในปริมาณมาก เพราะหากใช้ไม่หมดอาจเกิดเชื้อราได้2. เลือกซื้ออาหารแห้งที่มีสีใกล้เคียงกับสีธรรมชาติของอาหารชนิดนั้น3. ไม่ซื้ออาหารแห้งที่มีกลิ่นหืน โดยควรเลือกอาหารแห้งที่มีลักษณะ สี ที่สดใหม่ ไม่แตกหัก4. ตรวจดูฉลากโภชนาการและวันหมดอายุ5. วิธีการเก็บรักษา ควรเก็บไว้ที่โปร่ง มีอากาศถ่ายเท หรือในตู้เย็น หากเป็นอาหารแห้งที่สามารถแช่เย็นได้6. สำหรับการรับประทานเห็ดหอมแห้งอย่างปลอดภัย คือไม่ควรนำน้ำที่แช่เห็ดหอมไว้มาปรุงอาหารต่อ เพราะ สารพิษที่มีอยู่ในเห็ดหอมแห้งนั้นจะยังปนเปื้อนในน้ำเหมือนเดิม และควรเว้นระยะการรับประทานอาหารแห้ง เพื่อให้ร่างกายกำจัดสารปนเปื้อนเหล่านั้นออกไปบ้าง  

อ่านเพิ่มเติม >