ฉบับที่ 190 ระยะเวลารับประกันสินค้า (ไม่) เป็นธรรม

บางครั้งระยะเวลาการรับประกันสินค้าก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างร้านค้ากับผู้โภค ซึ่งมักสร้างปัญหาได้หากผู้บริโภครู้สึกว่าระยะเวลารับประกันสินค้าดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรม ดังเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้คุณสุชัยนำคอมพิวเตอร์ไปซ่อมที่ร้านแห่งหนึ่งในอำเภอหาดใหญ่ เนื่องจากการ์ดจอเสีย โดยหลังซ่อมเสร็จเรียบร้อยทางร้านแจ้งว่าจะรับประกันงานซ่อมให้ 3 เดือน ซึ่งเมื่อใกล้วันหมดอายุการรับประกัน (เหลืออีก 5 วัน) เขาพบว่าคอมพิวเตอร์เสียอีกครั้ง จึงนำกลับไปซ่อมที่ร้านเดิม โดยหลังซ่อมเสร็จเรียบร้อยทางร้านแจ้งว่าจะรับประกันงานซ่อมให้อีก แต่รับประกันเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น จึงทำให้ผู้ร้องสงสัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือไม่ และส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ ชี้แจงว่าในกรณีการรับประกันสินค้าการซ่อมสินค้าของร้านค้าทั่วไป หากสินค้าชำรุดในขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาการรับประกัน ทางร้านก็ต้องซ่อมให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ในกรณีของผู้ร้องที่นำคอมพิวเตอร์ไปซ่อมอีกครั้งเพราะการ์ดจอเสีย โดยอีก 5 วันจะหมดระยะเวลาการรับประกันสินค้า ต้องพิจารณาว่าทางร้านซ่อมแซมให้อย่างไร ซึ่งหากเป็นการซ่อมการ์ดจออันเดิมจากครั้งแรก สามารถนับเวลาการรับประกันต่อจากเดิมที่เคยตกลงกันไว้ได้ แต่หากเป็นการเปลี่ยนการ์ดจอให้ใหม่ก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการรับประกันใหม่เช่นกัน เนื่องจากอะไหล่ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานที่จำกัดนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 เทียบตารางเวลารถไฟไทยบนปลายนิ้ว

ฉึกกะฉักๆ  ปู๊นๆ เสียงนี้เป็นที่คุ้นเคยกันทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเด็กเล็กจนไปถึงผู้ใหญ่  เสียง “ฉึกกะฉักๆ  ปู๊นๆ”  ยังคงเป็นเอกลักษณ์ของรถไฟเหล็กไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลง  และในตำราเรียนในช่วงวัยเด็ก  ทุกคนต้องได้เรียนประวัติศาสตร์รถไฟไทยกันมาบ้าง ไม่มากก็น้อย หลายคนอาจจะยังไม่มีโอกาสได้ขึ้นรถไฟเหล็กของไทย แต่ก็มีหลายคนเช่นกันที่ต้องใช้รถไฟเป็นพาหนะในการเดินทางไปไหนมาไหน ทุกวันในช่วงเช้าและช่วงเย็น มีประชาชนไม่น้อยที่ต้องโดยสารรถไฟมาทำงาน เหมือนกับการใช้บริการรถสาธารณะในรูปแบบอื่นๆ  ฉบับที่ผ่านมาได้พูดถึงรถเมล์ที่ประชาชนต้องใช้โดยสารในชีวิตประจำวันไปแล้ว  ฉบับนี้จึงขอเอาใจผู้อ่านที่ใช้รถไฟเหล็กกันบ้าง ฉบับนี้มารู้จักกับแอพพลิเคชั่น Thai Railway กันบ้าง แอพพลิเคชั่นนี้จะเน้นเรื่องการบอกตารางเวลาแต่ละเส้นทางการเดินรถไฟ โดยสามารถค้นหาข้อมูลตารางเดินรถไฟในประเทศไทย  ค้นหาเส้นทางการเดินรถไฟของแต่ละภาคในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคชานเมือง และมีให้เลือกใช้ 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภายในแอพพลิเคชั่นจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นตารางเวลา สามารถค้นหาโดยใส่ชื่อจุดหมายปลายทาง หรือหมายเลขขบวนรถ จากนั้นจะปรากฏเส้นทางที่ขบวนรถไฟจะผ่านในแต่ละสถานีว่าผ่านสถานีใดบ้าง และถึงสถานีนั้นๆ ในเวลากี่โมง นอกจากนั้นยังบอกว่าขบวนรถไฟสายนี้เป็นขบวนรถเร็ว รถด่วน หรือรถด่วนพิเศษ รถพิเศษชานเมือง รถท้องถิ่น อีกด้วย สังเกตได้จากกรอบสีตรงหมายเลขขบวนนั้นๆ ได้แก่ กรอบสีฟ้า หมายถึงรถด่วนพิเศษ กรอบสีแดง หมายถึงรถด่วน  กรอบสีเขียว หมายถึงรถเร็ว  กรอบสีเทาเข้ม หมายถึงรถธรรมดา  กรอบสีชมพู หมายถึงรถพิเศษชานเมือง  กรอบสีเทาอ่อน หมายถึงรถชานเมือง รถท้องถิ่น ส่วนที่สอง เส้นทางเดินรถ มีไว้เพื่อให้ค้นหาขบวนรถไฟโดยแบ่งออกเป็นแต่ละภาค เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในหาค้นหาได้ดียิ่งขึ้น และส่วนสุดท้ายเป็นส่วนของการค้นหาทั่วไป เมื่อค้นหาขบวนรถไฟที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว  สามารถจองตั๋วโดยสารรถไฟทางโทรศัพท์ผ่านสายด่วน 1690 โดยคลิกผ่านแอพพลิเคชั่น Thai Railway ได้เลย แบบนี้จะเลือกโดยสารรถไฟขบวนไหน มีแอพพลิเคชั่นนี้ก็สามารถทำให้รู้ตารางเวลาการเข้าออกสถานีต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลาได้ ช่วยให้ใช้ชีวิตในการเดินทางง่ายขึ้นทีเดียว    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 136 ค่าบริการมือถือด้วยเสียงต้องไม่เกินนาทีละ 99 ส.ต.

จากสถานการณ์ของผู้บริโภคที่ถูกรุมเร้าในหลายเรื่อง ทั้งการขึ้นราคาค่าโดยสาร รถ-เรือ ค่า Ft น้ำมัน ก๊าซ ฯลฯ ซึ่งหลายเรื่องเป็นข่าวร้ายของผู้บริโภคทั้งสิ้น แต่ในวิกฤติก็จะมีโอกาส ภายใต้ข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดี(อยู่บ้าง) ข่าวดีนั้นเกิดขึ้นในกิจการโทรคมนาคม เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้ออกประกาศเรื่องการกำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ขั้นสูง ซึ่งมีผลเมื่อ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคค่อนข้างมากดังนี้1.กสทช. กำหนดให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาด(smp) 2 รายคือ AIS และ Dtac คิดอัตราค่าบริการโทรศัพท์มือถือด้วยเสียงได้ไม่เกินนาทีละ 99 ส.ต. และทุกนาทีที่ใช้งานต้องไม่เกิน 99 ส.ต.2.โปรโมชั่นที่ผู้บริโภคใช้อยู่หากหมดลง ภายในปี 55 โปรโมชั่นใหม่ต้องคิดค่าบริการเสียงไม่เกิน 99 ส.ต.3.โปรโมชั่นที่ผู้บริโภคใช้อยู่หากมีระยะเวลาเกิน 31 ธ.ค. 55 แต่เมื่อสิ้นปีแล้วโปรโมชั่นทั้งหมดต้องไม่เกินนาที 99 ส.ต.อ่านแล้วก็เห็นได้ค่อนข้างชัดว่าประกาศเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะอัตราค่าบริการขั้นสูง “หมายความว่าห้ามคิดค่าบริการเกิน 99 สต” แต่ต่ำกว่าไม่เป็นไร ปัญหาคือประกาศเหล่านี้ จะไปถึงผู้บริโภคอย่างทั่วถึงได้อย่างไร(ไม่รู้ก็ไม่ได้ใช้) ควรจะผ่านสื่อไหนถึงจะเข้าถึงผู้บริโภคได้(หากสื่อยังอยู่ในลักษณะ ข่าวร้ายลงฟรีข่าวดีเสียเงิน) ต้องยอมรับกันว่า การที่จะให้บริษัทที่ให้บริการโทรคมนาคม ทำตามประกาศ กสทช. คงเป็นไปค่อนข้างยาก อย่างที่เราเห็นๆ กันอยู่ การจะบังคับให้บริษัทเหล่านี้ทำตามประกาศ พึ่ง กสทช.ฝ่ายเดียวไม่ได้ ดังนั้นภาระหนักยังคงตกอยู่ที่คนทำงานด้านผู้บริโภค ที่ต้องให้ความรู้กับผู้บริโภค ให้ร่วมกันกดดันให้ กสทช.บังคับใช้ประกาศของตนเอง เพราะที่ผ่านมาเป็นประเภทประกาศอย่างเดียว แต่ไม่ค่อยบังคับใช้ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เขียนเรื่องนี้มาเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบและประชาสัมพันธ์กันต่อๆ ไป และขอให้ช่วยกันรักษาสิทธิ เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค มิให้ฝ่ายผู้ให้บริการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างเช่นปัจจุบันดังนั้นการจะให้ประกาศนั้นเป็นไปได้จริง ผู้บริโภคต้องมีส่วนร่วมในการรักษาสิทธิคือ 1) ให้ตรวจสอบโปรโมชั่นที่ใช้อยู่ว่า เกิน 99 ส.ต. หรือไม่ หากเกิน ขอให้ช่วยกันใช้สิทธิร้องขอโปรโมชั่นใหม่ที่ราคาเป็นไปตามประกาศ 2) ถ้า โปรโมชั่นเดิมใช้แล้ว ราคายังถูกกว่าประกาศฯ ก็ยังสามารถใช้ต่อไปได้จนถึงสิ้นปี 55นอกจากการใช้บริการของบริษัทผู้ให้บริการรายเดิม ถ้ามีรายอื่นที่ราคาถูกกว่าผู้บริโภคก็มีสิทธิย้ายเลขหมายของเราไปใช้บริการรายอื่นได้เช่นกัน หากผู้ให้บริการรายใดปฏิเสธหรือขัดขวางการใช้สิทธิตามประกาศ กสทช. หรือเห็นว่า กสทช. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศ ผู้บริโภคก็มีสิทธิร้องเรียน ได้ในหลายทาง เช่น ร้องเรียนโดยตรงกับผู้ให้บริการ ร้องผ่าน กสทช. สายด่วน 1200 หรือร้องเรียนผ่านศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ ภาคประชาชนสุดท้ายหากยังไม่ได้รับการแก้ไข ผู้บริโภคสามารถไปที่ศาลจังหวัด เพื่อขอฟ้องคดีผู้บริโภคโดยไม่ต้องจ้างทนายและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากผู้บริโภคอยากเห็นความเป็นธรรม และองค์กรกำกับฯได้ทำงานอย่างจริงจังอย่างที่ควรจะเป็น คงต้องช่วยกันส่งเสียงผ่านการใช้สิทธิที่เป็นจุดแข็งของผู้บริโภคร่วมกัน  

อ่านเพิ่มเติม >