ฉบับที่ 234 ราคาอาหารไม่ตรงกับเมนู

        เวลาที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ ราคาเป็นข้อมูลจำเป็นที่ผู้ผลิต ผู้ขาย ต้องแสดงอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้เป็นข้อมูลช่วยตัดสินใจ ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างราคาอาหารที่ต้องแสดงไว้ในเมนูของร้านเพื่อแจ้งต่อผู้บริโภค ถ้าไม่มีถือว่าผิด         คุณแก้วตากับเพื่อน ๆ ตั้งใจขับรถไปเที่ยวจังหวัดราชบุรีในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อใกล้ถึงเวลาเที่ยงจึงได้จอดรถแวะรับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม เมื่อเปิดดูเมนูอาหาร คุณแก้วตาและเพื่อนสาวก็สั่งอาหารอย่างที่ตนเองชอบ หลังจากจัดการอาหารกันเสร็จเรียบร้อย ก็เรียกพนักงานเสิร์ฟมาคิดเงิน         เมื่อพนักงานแจ้งค่าอาหาร พบว่าราคาแต่ละจานไม่ตรงกับที่แสดงไว้ในเมนูเลย ทุกจานมีราคาแพงกว่าในเมนู 5 บาท คุณแก้วตาจึงขอคุยกับเจ้าของร้าน ซึ่งได้คำตอบว่าช่วงนี้วัตถุดิบขึ้นราคา จึงต้องปรับราคาอาหารขึ้นไปแต่ยังไม่มีเวลาเปลี่ยนป้ายราคา คุณแก้วตาและเพื่อนๆ ไม่ได้ต่อล้อต่อเถียงอะไร เพราะยังมีเรื่องที่ต้องเดินทางต่อแต่ก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เอาเปรียบผู้บริโภคแบบนี้ จึงได้สอบถามมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ร้านอาหารทำแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ ร้องเรียนได้หรือไม่ แนวทางการแก้ไขปัญหา        กรณีร้านค้าแสดงราคาอาหารในเมนูไม่ตรงกับราคาขาย ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 50 พ.ศ. 2562 เรื่อง การแสดงราคาสินค้าและค่าบริการ ข้อ 11 ซึ่งกำหนดให้ การแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าหรือค่าบริการ ต้องแสดงให้ตรงกับราคาที่จำหน่ายหรือค่าบริการที่ให้บริการ ซึ่งร้านค้าต้องปิดป้ายแสดงราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจน กรณีไม่ปิดป้ายแสดงราคาสินค้า หรือค่าบริการ หรือการปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือแสดงไว้ไม่ตรงกับราคาที่จำหน่าย หรือค่าบริการที่เรียกเก็บ เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 40 ที่กำหนดว่า ผู้ใดไม่แสดงราคาหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตาม มาตรา 28 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท         ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่ สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 กุ้งแห้ง แดงนี้อาจมีปัญหา

เมนูยอดฮิตอย่าง ส้มตำ ผัดไทยและยำรสเด็ด กุ้งแห้งตัวแดงๆ นี้ถือเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้เชียว เพราะมันทั้งช่วยเพิ่มรสชาติและสีสันให้อาหารชวนรับประทานมากยิ่งนัก กุ้งแห้งที่เรารับประทานกันทุกวันนี้มีหลายไซด์หลายราคา เกรดดีเกรดไม่ดี ก็แล้วแต่กำลังทรัพย์ ยิ่งกุ้งตัวใหญ่อ้วนท้วนสมบูรณ์ราคาก็จะสูงตามไปด้วย กุ้งแห้งที่ขายกันอยู่ในตลาดนั้นมีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละร้อยกว่าบาทไปจนถึงพันบาท ปัจจัยในการซื้อไม่เพียงแค่เรื่องราคา ขนาด ความสะอาดและแหล่งผลิตแล้ว เราต้องไม่มองข้ามเรื่อง “สี” นะครับเพราะกุ้งแห้งที่ดีไม่ควรผสมสีใดๆ ลงไปทั้งสิ้น ผลการทดสอบที่นำมาเสนอนี้เป็นการเก็บตัวอย่างอาหารครั้งที่ 3 ของโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคเช่นเคยครับ มีจำนวนตัวอย่างที่เก็บทั้งสิ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมกราคม 2553 จากพื้นที่ดำเนินงานโครงการ ใน 8 จังหวัดจาก 4 ภูมิภาค ดังนี้ ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรสงคราม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยา และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล กุ้งแห้งที่นำมาทดสอบเป็นกุ้งแห้งขนาดเล็กไม่แกะเปลือกสำหรับใช้ประกอบอาหาร และมีสิ่งที่ต้องการทดสอบคือตรวจหาสิ่งปนเปื้อนในอาหาร 3 ชนิดได้แก่ สารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาทอกซิน สีปรุงแต่งอาหาร และสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์   ผลการทดสอบ - ข่าวดี ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาทอกซินในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ (8 ตัวอย่าง) - ข่าวร้าย พบสีสังเคราะห์ในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ของตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บ โดยตัวอย่างที่เก็บจากร้านเจ๊รัตนา ในตลาดสดจังหวัดมหาสารคามพบสีตระกูลสีส้ม ซึ่งไม่ใช่สีสังเคราะห์ที่กฎหมายอนุญาตให้ใส่ในอาหาร และตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบสีสังเคราะห์ชนิดสีแดง-ปองโซ 4 อาร์ และชนิดสีเหลือง-ซันเซ็ตเยลโลว์ เอฟซีเอฟ อันนี้อนุญาตให้ใช้กับอาหารแต่ไม่อนุญาตในกุ้งแห้งครับ   - พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บ คือ 1. กุ้งแห้งใหญ่ ยี่ห้อ BDMP ของบริษัทบางกอกดีไฮเดรทมารีนโปรดักส์ จำกัด เก็บตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กรุงเทพฯ พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin )ที่ปริมาณ 0.098 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.131 มิลลิกรัม/กิโลกรัม2. กุ้งแห้งจากร้านเจ๊ดม ณ ตลาดเทศบาลเมืองสมุทรสงครามพบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.052 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.235 มิลลิกรัม/กิโลกรัม3. กุ้งแห้งที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.031 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.061 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 4. กุ้งแห้งนำเข้าจากประเทศจีนที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.048 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.33 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   ข้อสังเกต• ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบการปนเปื้อนทั้งสีสังเคราะห์สีแดงและสีเหลืองและพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ (ยาฆ่าแมลง) • ผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดสอบกว่าร้อยละ 90 ไม่ระบุยี่ห้อ ไม่ทราบวันผลิตและวันหมดอายุ และไม่ทราบผู้ผลิต ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ข้อ 4 (2) ระบุว่าให้พบการปนเปื้อนของ อฟลาทอกซิน ได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สาระน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนที่พบในกุ้งแห้ง สีผสมอาหาร นิยมใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีสีสันสดใสดึงดูดใจให้รู้สึกอยากรับประทาน ซึ่งสีที่ใส่ในอาหารมีทั้งสีจากธรรมชาติและสีที่สังเคราะห์ขึ้นมา แน่นอนสีผสมอาหารไม่มีคุณค่าทางอาหารแถมถ้าสะสมอยู่ในร่างกายในปริมาณมากๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อตัวเราได้ โดยเฉพาะกับระบบการทำงานของกระเพาะอาหาร เพราะสีผสมอาหารจะเข้าไปเคลือบกระเพาะอาหารการดูดซึมสารอาหารก็จะมีปัญหา และอาจลุกลามไปกระทบต่อการทำงานของไตด้วย สำหรับวิธีง่ายๆ เพื่อจะดูว่ากุ้งแห้งที่เราจะซื้อใส่สีหรือเปล่า แม่ค้าอาหารทะเลแห้งจากตลาดมหาชัยแนะนำว่าให้ดูที่ท้องกุ้ง ถ้ากุ้งแห้งไม่ใส่สีท้องกุ้งจะขาว แต่ถ้าเกิดเป็นสีแดงหรือส้มก็ให้สงสัยได้เลยว่าใส่สี สารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ เป็นสารเคมีในกลุ่มยาจำกัดแมลงซึ่งสารพิษชนิดนี้จะทำอันตรายกับคนเราไม่มาก แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายสัมผัสหรือหายใจเข้าไป ยิ่งถ้าหากเข้าสู่ร่างกายโดยการดื่มกินเข้าไปก็ต้องระวัง โดยเฉพาะคนที่เป็นและเคยเป็นโรคหอบหืด เพราะจะทำให้อาการหอบหืดปรากฏขึ้นมาได้ อาการเบื้องต้นก็มีทั้ง คลื่นไส้ อาเจียน ไปจนถึงชีพจรเต้นช้า หายใจติดขัด ผิวหนังซีด เหงื่อออก กล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งเหตุผลที่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาปนเปื้อนอยู่ในกุ้งแห้งก็เพราะพ่อค้า-แม่ค้าบางคนนำเจ้าสารเคมีดังกล่าวมาฉีดลงบนกุ้งแห้งเพราะไม่อยากให้มีแมลงวันมาตอมกลัวจะดูไม่ดีลูกค้าไม่มาซื้อ อะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักเกิดกับพืชตระกูลถั่ว ข้าว และอาหารแห้งต่างๆ โดยเฉพาะยิ่งเมื่ออยู่ในสภาพอาการที่ร้อนชื้น สำหรับพิษของอะฟลาทอกซินจะไปทำอันตรายกับตับ คือทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับตับ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง รวมทั้งอาจทำให้เกิดอาการสมองอักเสบ วิธีหลีกเลี่ยงสารอะฟลาทอกซินอย่างแรกก็คือ ไม่ทานอาหารที่มีเชื้อราขึ้น สังเกตง่ายๆ ก็คือถ้ามีรอยสีดำหรือสีเขียวเข้มๆ เกิดที่อาหาร ให้สงสัยได้เลยว่าเป็นเชื้อรา วิธีทำกุ้งแห้ง บ้านเราแดดจัดดี ถ้าพอมีพื้นที่โล่ง ทำกุ้งแห้งกินเองก็ดีนะครับ กุ้งที่นิยมนำมาทำกุ้งแห้งคือกุ้งทะเลเปลือกบางครับ นำมาต้มหรือนึ่งจนสุก โดยเคล้าเกลือพอให้มีรสเค็ม จากนั้นก็นำไปตากแดด ถ้าแดดดี ๆ แค่วันเดียวก็แห้งใช้ได้แล้วครับ จากนั้นก็หาถุงผ้าใส่กุ้งลงไปแล้วบุบหรือทุบด้วยไม้ตีพริก จะทำให้เปลือกร่อนออกมา แกะส่วนเปลือกทิ้งไป เราก็จะได้กุ้งแห้งอย่างดี รสชาติอร่อย ไม่ปนเปื้อนสารเคมีครับ อ้อสำหรับบ้านที่ไม่มีพื้นที่สำหรับตากแดด ลองนำกุ้งสดหรือกุ้งแช่แข็ง(ละลายก่อนนะครับ) เคล้าเกลือแล้วอบด้วยเตาอบไฟฟ้า ก็พอจะเป็นกุ้งแห้งแบบบ้านๆ ได้แล้วครับ กุ้งขนาดกลาง 1 กิโลกรัม พอตากแดดแห้งแล้วจะเหลือน้ำหนักประมาณ 250 กรัมครับ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281( พ.ศ.2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ระบุว่า เนื้อสัตว์ทุกชนิด ที่ปรุงแต่ง รมควัน ทำให้แห้ง ห้ามใส่สี ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่288 (พ.ศ. 2548) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ไม่ระบุว่าอนุญาติให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในอาหารทะเลแห้ง ดังนั้นจึงไม่ควรมีปนเปื้อนมาในอาหาร (ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้นโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 163 กระแสต่างแดน

ดีเซลไม่ดีจริง ทุกปีมีชาวลอนดอนประมาณ 4,300 คนเสียชีวิตด้วยสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับมลภาวะทางอากาศ และสภาพอากาศในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมาของเมืองนี้ก็เลวร้ายถึงขั้นต้องประกาศให้ผู้คนงดออกจากบ้านกันเลยทีเดียว ลอนดอนมีระดับมลพิษเกินเกณฑ์ของสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2010 แล้ว นายกเทศมนตรีของลอนดอน นายบอริส จอห์นสันก็ยอมรับว่าเขาคิดว่ามหานครแห่งนี้คงจะลดการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ให้อยู่เกณฑ์ได้ก่อนปี 2030 แน่นอน แนวคิดล่าสุดที่เขาเสนอเพื่อลดมลพิษในเมือง คือการจ่ายเงินให้กับเจ้าของรถที่ใช้เครื่องดีเซลให้เปลี่ยนไปใช้รุ่นที่ปล่อยมลพิษน้อยลง โดยเริ่มจากรถรุ่นที่ผลิตก่อนปี 2013 เขาคาดว่าแผนการที่อาจต้องใช้งบประมาณถึง 300 ล้านปอนด์นี้ น่าจะลดจำนวนรถเก่าออกไปจากท้องถนนลอนดอนได้ประมาณ 150,000 คัน (ทั้งนี้ค่าชดเชยอยู่ที่คันละไม่เกิน 2000 ปอนด์) นายบอริสบอกว่า เขาเห็นใจคนที่โดนกล่อมให้ซื้อรถดีเซลด้วยความเชื่อว่ารุ่นใหม่ๆ จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วยมลพิษที่น้อยกว่าและค่าเชื้อเพลิงที่น้อยลง และเขาก็บอกด้วยว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องตระหนักว่ามันคือความผิดพลาดทางนโยบาย (ปัจจุบันรถดีเซลมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 50 ของตลาดในอังกฤษ) ทั้งนี้แผนส่งเสริมการใช้รถพลังไฟฟ้าที่เขาประกาศไว้เมื่อ 5 ปีก่อน ก็ยังไม่ได้ผล จากที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องมี 25,000 คันภายในปี 2015 ขณะนี้ยังมีเพียง 1,400 คันเท่านั้น เรื่องนี้เขาบอกว่าต้องโทษกลไกตลาด ที่ยังไม่สามารถกำหนดราคาขายได้ต่ำเท่าที่ควร     ซูเปอร์ฟู้ดเอาตัวไม่รอด ปีนี้แคลิฟอร์เนียกำลังเผชิญกับภัยแล้งอย่างหนัก และมันจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง เพราะร้อยละ 80 ของเมล็ดอัลมอนด์ที่มีขายอยู่ในตลาดโลกมาจากที่นี่ เมื่อน้ำในแม่น้ำและทะเลสาบพากันเหือดแห้ง เกษตรกรผู้ปลูกอัลมอนด์จึงสูบน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้ และตกเป็นจำเลยข้อหาเอาน้ำใต้ดินที่ควรเป็นแหล่งน้ำสำรองของผู้คนรัฐแคลิฟอร์เนียมาใช้เพื่อผลิต “ซูเปอร์ฟู้ด” ราคาถูกออกมาป้อนตลาดโลก มีผู้ให้ความเห็นว่าเมื่อเกษตรกรไม่มีต้นทุนค่าน้ำ พวกเขาจึงสามารถขายอัลมอนด์ให้พ่อค้าที่ราคาขายส่งแค่ 3 – 4 เหรียญต่อปอนด์เท่านั้น แต่ถ้ามีการคิดต้นทุนที่แท้จริงแล้วละก็ ผู้บริโภคจะต้องจ่ายมากกว่านั้นถึง 3 เท่า ด้านสมาคมผู้ปลูกอัลมอนด์แห่งแคลิฟอร์เนียบอกว่า อัลมอนด์เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี และปีนี้เกษตรกรก็ใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เขาใช้น้ำน้อยลงถึงร้อยละ 33 ต่อการผลิตอัลมอนด์หนึ่งปอนด์ และตั้งคำถามกลับว่าการที่น้ำจะไม่พอใช้นั้นอาจเป็นเพราะการบริหารจัดการน้ำที่ไม่ดีของรัฐเองหรือเปล่า ความจริงแล้วแคลิฟอร์เนียสามารถผลิตนมและองุ่นได้ในปริมาณสูงกว่าอัลมอนด์ด้วยซ้ำ แต่ช่วงหลังนี้อัลมอนด์ได้รับความนิยมสูง(ด้วยสรรพคุณมากหลายตั้งแต่ลดโคเลสเตอรอล ลดความอยากอาหาร บำรุงผิว ฯลฯ) จึงมีคนนิยมปลูกมากขึ้น และทำรายได้ถึง 4,300 ล้านเหรียญต่อปีจากพื้นที่เพราะปลูกประมาณเกือบหนึ่งล้านเอเคอร์ ปีนี้ราคาอัลมอนด์สูงที่สุดในรอบ 9 ปี(ตันละ 10,500 เหรียญ) แต่ปัญหามันอยู่ที่มีเงินก็อาจจะซื้อไม่ได้ เพราะมีแนวโน้มว่าอาจไม่มีผลผลิตออกสู่ตลาดในคริสต์มาสนี้   ผลพลอยได้ ผู้ผลิตปลาทูน่าอันดับหนึ่งของโลก คืออินโดนีเซียเพื่อนบ้านของเรา มีเกาะอยู่ทั้งหมด 17,000 เกาะ และมีประชากรหลายสิบล้านคนที่ทำประมงเลี้ยงชีวิต ปัจจุบันเขามีเรืออวนไม่ต่ำกว่า 33,000 ลำ และทุกครั้งที่เรืออวนออกไปจับปลาทูน่า ก็มักมีผลพลอยได้เป็นปลาฉลามมาด้วย ปลาทูน่าจะถูกส่งไปขายในญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา ส่วนปลาฉลามที่ติดมาด้วยนั้น ชาวบ้านที่นั่นเขาก็นำมากินกันเป็นเรื่องธรรมดา หนังปลาฉลามยังเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญของผู้คนในชุมชนริมทะเล และถ้าคุณไปตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตก็หาซื้อลูกชิ้นปลาฉลาม หรือลูกปลาฉลามได้ไม่ยาก อินโดนีเซียจับปลาฉลามได้ปีละ 109,000 ตัน(น่าจะเป็นประเทศที่จับปลาฉลามได้มากที่สุดในโลกด้วย) และสามารถจับได้อย่างเสรี ไม่มีโควตา ไม่กำหนดขนาดของปลา จึงทำให้นักอนุรักษ์เริ่มวิตก สำหรับชาวอินโดนีเซียแล้ว ปลาฉลามจะเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ไม่ได้เป็นอาหารเหลาเหมือนในอีกหลายๆ ประเทศที่เราเคยได้ยินข่าวการรณรงค์ให้ลด ละ เลิก แต่นักวิชาการเขาก็ยืนยันว่าถ้าเราคิดให้ถี่ถ้วน เราจะพบว่า ฉลามตัวเป็นๆ ที่ยังโลดแล่นอยู่ในทะเลนั้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าฉลามที่ตายแล้วหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลของออสเตรเลียพบว่า นอกจากมันจะช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ทางทะเลแล้ว ตลอดอายุขัยของมัน ฉลามหนึ่งตัวจะสร้างมูลค่าได้ถึง 1.9 ล้านเหรียญ ขาปั่นทำป่วน เราอาจรู้จักโคเปนเฮเกนในฐานะเมืองหลวงจักรยานของยุโรป และเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้จักรยานมากที่สุดในโลก แหม่ ... ก็เขามีเลนจักรยานที่มีความยาวรวมกันทั้งหมดถึง 400 กิโลเมตรเชียว ไม่อยากจะคุยต่อว่าเทศบาลเขาประกาศว่าปีหน้าจะจัดงบให้อีก 75 ล้านโครน เพื่อเพิ่มเส้นทางและขยายช่องทางจักรยานด้วย ว่ากันว่าผู้คน 1 ใน 3 ของเมืองนี้เดินทางด้วยจักรยานเพราะมันถูกและเร็ว แต่นั่นก็ยังไม่สาแก่ใจเทศบาลโคเปนเฮเกนที่ต้องการให้ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นไปเป็นร้อยละ 50 เพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2020 แต่เดี๋ยวก่อน ... หลายคนเริ่มสงสัยว่าพวกเขาหมกมุ่นกับการสร้าง “เมืองสองล้อ” มากเกินไปหรือเปล่า ... คุณอาจคิดว่ามันเป็นสวรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของนักปั่น แต่พักหลังนี้เสียงบ่นทั้งจากตัวผู้ใช้จักรยานและผู้คนที่ร่วมใช้เส้นทางกลับเพิ่มมากขึ้นทุกที นักปั่นเริ่มฝ่าฝืนกฎจราจรกันมากขึ้น เดือนมกราคมที่ผ่านมาเทศบาลต้องมีมาตรการลงโทษผู้ใช้จักรยานที่ละเมิดกฎหมาย เช่น ถ้าฝ่าไฟแดงจะถูกปรับ 1,000 โครน (ประมาณ 5,600 บาท) ถ้าขึ้นมาขี่บนฟุตบาทก็จะโดนค่าปรับ 700 โครน (ประมาณ 4,000 บาท) นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคอยยกจักรยานที่จอดในสถานที่ส่วนบุคคลไปเก็บ และคิดค่าไถ่จักรยานคันละ 187 โครน (ประมาณ 5,600 บาท) เป็นต้น เริ่มมีเสียงร้องเรียนว่าคนใช้จักรยานทำเหมือนตัวเองมีสิทธิพิเศษ ใครๆ ก็ต้องหลีกทางให้ ขึ้นรถไฟก็ต้องได้ที่นั่งและที่เก็บจักรยาน ปั่นอยู่บนถนนก็ไม่ต้องหยุดรอให้ผู้โดยสารที่ลงจากรถเมล์เดินขึ้นฟุตบาทก่อน เจอผู้พิการก็ไม่ชะลอ ... แหม่ ... นี่เข้าข่าย “เมืองดีแล้ว แต่ประชากรยังต้องปรับปรุง” เหมือนกันนะ เรื่องกินสอนกันได้ เด็กๆ ที่ฝรั่งเศสจัดอยู่ในกลุ่มที่มีสุขภาพดีที่สุดเมื่อเทียบกับเด็กในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เพราะมีอัตราน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนต่ำกว่าร้อยละ 20 ว่ากันว่าเรื่องนี้อยู่ในวิถีชีวิต คนฝรั่งเศสเชื่อว่าเด็กๆ ควรจะได้รับการสอนให้กินอาหารเป็น เช่นเดียวกับที่พวกเขาถูกสอนให้สามารถอ่านหนังสือได้นั่นเอง และการรักในรสชาติของอาหารก็เป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นจะต้องสอนกันตั้งแต่เล็กๆ พ่อแม่ชาวฝรั่งเศสมักจะไม่ถามลูกว่า “อิ่มหรือยัง?” แต่จะถามว่า “ยังหิวอยู่ไหม?” และเวลาจะชักชวนลูกให้ทานอะไรสักอย่าง เขาก็จะบอกว่า “ทานสิลูก อร่อยนะ” ไม่ใช่ “ทานสิลูก มีประโยชน์นะ” นอกจากนี้ในร้านอาหารของฝรั่งเศสเขาจะไม่มี “เมนูสำหรับเด็ก” เพราะเชื่อว่าเด็กควรทานทุกอย่างได้เหมือนกับผู้ใหญ่ (แม้ว่าพวกเขาจะไม่ชอบมันในตอนแรกก็ตาม) ทั้งนี้เพราะเด็กที่นี่ได้เรียนรู้การกินอาหารเพื่อสุขภาพทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน สำหรับเด็กประถมนั้น เมื่อถึงเวลาอาหารกลางวันพวกเขาก็จะได้รับประทานอาหารกลางวันแบบ 4 คอร์ส (สลัด จานหลักที่มักประกอบด้วยเนื้อสัตว์ จานชีส และของหวานที่มีผลไม้) และเครื่องดื่มเพียงอย่างเดียวบนโต๊ะอาหารคือน้ำเปล่า กระทรวงศึกษาฯ เขามีนโยบายที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น โรงเรียนจะต้องให้เด็กได้ใช้เวลาทานอาหารกลางวัน อย่างต่ำ 30 นาที และเวลาพักกลางวันจะต้องไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กมีเวลาเล่น และห้ามตั้งเครื่องเครื่องขายขนมอัตโนมัติในโรงเรียนด้วย

อ่านเพิ่มเติม >